ISSUE 100 I 5 - 11 FEBRUARY 2016
100 LIFE JOURNEY
ปีที่ 2 ฉบับที่ 100 วันที่ 5 - 11 กุมภาพันธ์ 2559
NOTE ON LIFE ทุกครั้งที่เดินทางไกล หลักไมล์บนท้องถนนคือเครื่องหมายบอกทางที่หลายคนชอบเหลือบมอง เพราะมันบอกเราว่าอีกไกลแค่ไหนจึงจะถึงจุดหมาย ตัวเลขที่สลักบนหินที่เราเรียกว่าหลักไมล์นั้นจะลดลงเรื่อยๆ ตามระยะทาง ยิง่ ใกล้จะถึงทีห่ มาย ตัวเลขยิง่ น้อย ต่างกับหลักไมล์ทเี่ อาไว้ชวี้ ดั สิง่ ต่างๆ ในชีวติ ไม่วา่ จะเป็นอายุ หรือขวบปีที่ผ่านไปกับการท�างานที่ตัวเลข ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แปลว่าเราเดินทางมาไกล ผ่านอะไร มามาก การผ่านและพบนั้นคือช่วงเวลาแห่งการสะสมประสบการณ์ แต่ประสบการณ์จะไม่มีค่าอะไรเลย หากคนเราไม่ทบทวนและเรียนรู้ การใช้ชีวิตนั้นไม่เกี่ยวกับความยาวนานของวันเวลา ไม่ใช่สักแต่ว่าอยู่นาน แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราลึกซึ้งกับวันเวลาที่ใช้ไปมากแค่ไหน ไม่ใช่สักแต่ว่าเดินทางไกล แต่อยู่ที่เรารู้หรือไม่ว่าก�าลัง มุ่งไปทิศทางไหน ชีวิตคนอาจไม่ได้มีหลักไมล์ให้เหลือบมองได้บ่อยๆ เหมือนอยู่บนถนน ความท้าทาย อยู่ตรงที่เราต้องรู้ทันว่า เราก�าลังท�าอะไร เราไปไกลเพราะเดินหน้า หรือว่าถอยหลัง และหลงทางหรือเปล่า? ถ้าไม่อาศัยการทบทวนและเรียนรู้ ก็ยากที่จะอาศัยสิ่งอื่นในการชี้วัดว่าเราอยู่ตรงไหนของเส้นทาง a day BULLETIN LIFE เดินทางมาถึงฉบับที่ 100 แม้จะยังไม่ไกลมาก แต่เรามั่นใจว่าเราก�าลังเดินไปข้างหน้า และไม่เคยเพิกเฉยต่อการทบทวน เรียนรู้ว่าเราก�าลังท�าอะไร เพื่อใคร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin
CONTENTS
4 The Stuff
6 Feature
สารพัดสิง่ รอบตัวเรา เมื่ อ ตั ว เลข 100 ทีเ่ ล่าผ่านตัวเลข ไม่ใช่แค่หลักไมล์ แต่ มีความหมายมากกว่า นัน้ ในวาระฉบับที่ 100 ของ adB LIFE
20 Calendar
22 24 Supermarket Make a Dish
ใคร ท�าอะไร ที่ไหน เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ จะได้ไม่พลาด เรื่องราวสนุกๆ
ฉวยตะกร้ า คว้ า หนึ่งจานอร่อยจาก รถเข็ น แ ล ้ ว ไ ป ร้านดังที่เราอยาก เดินเล่นจับจ่ายกับ ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง เราใน Supermarket แห่งนี้
26 HOME MADE
บ้านสไตล์มินิมอล ของสาวน้อย พิมพิกา วิ บู ล ย ์ วั ฒ น กุ ล ที่ ทุ ก มุ ม ล้ ว นเต็ ม ไปด้วยของรักมีสไตล์
27 Selective
28 The 5ive
30 Out There
34 THE WORD
ข้าวของที่รวบรวม ทั้ ง ด้ า นร็ อ กเกอร์ มาดเท่ และน่ารัก กุ๊กกิ๊กของ พิลินธร แป้นน้อย
สรรพสิ่ ง เพิ่ ม แรง บั น ด า ล ใ จ ข อ ง นั ก แสดงและว่ า ที่ สถาปนิกหนุม่ ณัฏฐ์ กิจจริต
เพราะเราเชื่ อ ว่ า โลกใบนี้ มี ส ถานที่ มากมายรอให้ ไ ป ค้นหา
พลิ ก มุ ม คิ ด ปรั บ มุมมอง กับ ‘หนึ่ง ถ้อยค�า... ที่เปลี่ยน ความคิด’
LETTER เราชอบคอลัมน์ Supermarket มาก มีของกินที่น่าอร่อยมาแนะน�าตลอด ทั้งที่เรารู้จักแล้วก็ไม่รู้จัก แถมยังมีเกร็ดความรู้สั้นๆ อีก อ่านแล้วเพลินดี ภาพก็สีสดยั่วน�า้ ลาย ชอบการจัดวางในแต่ละหน้าที่ดูสบายๆ เอาไว้คลายเครียดระหว่างท�างานได้ดี - Saxzophone
ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife
A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ ห้วหน้ากองบรรณาธิการ วรรณวนัช ท ว้ มสมบูรณ์ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม ล้ า� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ า่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ า่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผู อ้ �านวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผูจ้ ดั การฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุง่ รัตนสุทธิกลุ 08-4491-9241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน จรัตพร โมรา วัลญา นิ่มนวลศรี ศิริกาญจน์ ศรีเจริญ ณัฐณิชา หงษ์อา�่
STUFF 4
Microphone การพูดให้คนที่อยู่ไกลๆ ได้ยิน มีความส�าคัญอย่างไรนั้น ค�าตอบคงเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ความส�าคัญนั้นท�าให้ไมโครโฟนกลายเป็นอุปกรณ์สามัญ และจ�าเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจ�าวัน ที่สามารถพบได้ตั้งแต่ในโทรศัพท์มือถือไปจนถึงสถานีอวกาศ
214 ไมโครโฟนรุ่น AKG C214 เป็นไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์ ทีน่ ยิ มใช้ในการบันทึกเสียง เพราะสามารถเก็บรายละเอียดได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถท�างานได้หากไม่มี Phantom Power หรือแบตเตอรี่ขนาดเล็กร่วมด้วยตลอดเวลา
58
ไมโครโฟนรุ่น Shure SM 58 ผลิตขึ้นในปี ค.ศ. 1966 โดย Shure Incorporated แ ล ะ ค ร อ ง ต� า แ ห น ่ ง ไมโครโฟนที่ ข ายดี ที่ สุ ด ในโลกมานานกว่ า ครึ่ ง ศตวรรษ ด้วยความทนทาน และคุ ณ ภาพเสี ย งที่ คุ ้ ม เกินราคา เรียกได้วา่ นักร้อง แทบทุ ก คนในปั จ จุ บั น ต้ อ ง เคยได้จับมาแล้ว
1140
3
ไมโครโฟนรุ่น The Optoacoustics 1140 ผลิตจาก ใยแก้ ว น� า แสง ใช้ ก ารตรวจจั บ ความเปลี่ ย นแปลง ของความเข้มแสงที่เกิดจากคลื่นความสั่นสะเทือน แล้ ว แปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า เหมาะส� าหรับใช้ ใน สถานที่ที่ ไมโครโฟนทั่วไปไม่สามารถท�างานได้ เช่น ในอุโมงค์ลม หรือในเครื่อง MRI ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone) พัฒนาขึน้ พร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมายจาก 3 นักประดิษฐ์ คือ เดวิด ฮิวจ์ จากอังกฤษ, เอมิลี เบอร์ลิเนอร์ และ โธมัส เอดิสัน จากสหรัฐอเมริกา แต่คนที่จดลิขสิทธิ์เป็นคนแรกคือ โธมัส เอดิสนั ในปี ค.ศ. 1877 นับเป็นไมโครโฟนประเภทแรกของโลก
1931
ไมโครโฟนชนิ ด ริ บ บอน (Ribbon Microphone) มี ก ารพั ฒ นามา ตั้ ง แต่ ต ้ น ยุ ค 1920s แต่ เ พิ่ ง ผลิ ต เพื่ อ ขายทั่ ว ไปโดยบริ ษั ท RCA ที่ ผลิ ต ไมโครโฟนรุ ่ น Photophone Type PB-31 ขึ้นในปี ค.ศ. 1931 ซึ่ง ให้ คุ ณ ภาพเสี ย งที่ ดี ก ว่ า ไมโครโฟน ชนิ ด คาร์ บ อนมาก จึ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการ บันทึกเสียงและกระจายเสียง
1941 Elvis Microphone เปิดตัวในปี ค.ศ. 1941 โดยบริษทั Shure ชือ่ รุน่ จริงคือ Unidyne พัฒนาโดยเน้นความแข็งแรง และรูปร่างหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ และเป็นที่ จดจ�าในชือ่ ไมโครโฟนเอลวิส เพราะทัง้ นักร้องและตัวไมค์ เป็นที่นิยมที่สุดในยุคนั้น
สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นไมโครโฟนคือ ‘lovers’ telephone’ จากการทดลองของ โรเบิร์ต ฮุก ท�าจากถ้วยสองใบที่เชื่อมต่อกันด้วยเส้นลวด คล้ายๆ โทรศัพท์จากกระป๋องนมที่เราเคยทดลองในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์นั่นเอง
FEATURE
100 Life Journey การเริม่ ต้นสิง่ ใดเป็นสิง่ แรก ไม่ใช่เรือ่ ง ที่ ง ่ า ยนั ก แต่ ก ารจะท� า สิ่ ง นั้ น ต่ อ เนื่ อ ง ยาวนานอย่างมีความสุขเป็นสิ่งที่ยาก ยิ่งกว่า ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 100 ของ a day BULLETIN LIFE เราจึงอยากจะน�าเสนอ เรื่องราวของผู้คนที่ท�าในสิ่งที่ตัวเองรัก โดยท� า สิ่ ง นั้ น อย่ า งต่ อ เนื่ อ งยาวนาน มากกว่าร้อยครั้ง และปัจจุบันพวกเขา ก็ ยั ง ท� า สิ่ ง เหล่ า นั้ น อย่ า งมี ค วามสุ ข โดยไม่คดิ จะเลิก 10 บุคคล ในฉบับที่ 100 กั บ บทสั ม ภาษณ์ ต ่ อ จากนี้ มี เ รื่ อ งราว จุ ด เริ่ ม ต้ น ระหว่ า งทาง และหลั ก ไมล์ เกิ น ร้ อ ยที่ น ่ า สนใจ และสามารถเป็ น แรงบั น ดาลใจให้ ค นที่ อ ยากเริ่ ม ต้ น ท� า อะไรสักอย่างในชีวิตได้เป็นอย่างดี
7
ขอบคุณร้าน Another Story เอือ้ เฟือ้ สถานทีแ่ ละอุปกรณ์ในการถ่ายท�า
PHISINEE TANWIBOON MODEL
เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
“ไม่รวู้ า่ คนอืน่ เป็นเหมือนกันไหม ว่าในเวลาทีเ่ รารูส้ กึ ตืน่ เต้นมากๆ เวลาจะผ่านไปเร็วมากจนเราแทบไม่รตู้ วั ว่าได้ทา� สิง่ นัน้ เสร็จไปแล้ว การเดินแบบแฟชัน่ โชว์ของเราเป็นความรูส้ กึ แบบนัน้ เลย จ�าได้วา่ ตืน่ เต้น มากๆ เห็นอีกทีคือตอนที่ภาพออกมาแล้ว ท�าให้รู้เลยว่าเรายังท�าได้ไม่ด ี ในครั้งต่อๆ มา เราก็เริ่มเรียนรู้จากคนรอบข้าง จากรุ่นพี่ที่ทา� งานมาก่อน แอบดูเทคนิคว่าเขาเดินกันอย่างไร ซึ่งยิ่งท�าให้เราอยากท�าให้ ดีขึ้นๆ อยากให้ทุกคนที่จ้างงานได้รับผลงานที่เต็มที่จากเรา จากการเดินแฟชั่นโชว์เวทีแรกจนถึงวันนี้เป็นเวลา 12 ปีแล้ว เราอาจจะจ�าไม่ได้แม่นว่างานแฟชั่นโชว์ที่ 100 ของเราเป็นอย่างไร แต่ตั้งแต่วันแรก จนถึงวันนี้ อายุ ประสบการณ์ และชั่วโมงบินในการท�างานที่มากขึ้น ท�าให้เรามีความมั่นใจขึ้น เป็นเพราะว่าเราคุ้นชินกับคนในวงการเหมือนท�างานกับคนในครอบครัว ซึ่งท�าให้รู้สึกท�างานง่ายขึ้น ส�าหรับเรา การเดินแบบสนุกตรงทีแ่ ต่ละครัง้ เหมือนเราได้แสดงโชว์ละครเวที แม้บทค�าพูดจะเหมือนเดิม แต่ความรูส้ กึ ทีส่ ง่ ต่อและได้รบั นัน้ เปลีย่ นไปทุกครัง้ ทีโ่ ชว์ เรารูส้ กึ พิเศษตรงทีแ่ ต่ละครัง้ เป็นเหตุการณ์เรียลไทม์ มากๆ และทุกครั้งเราต้องดึงสมาธิให้คนดูจับจ้องมาที่เรา ซึ่งเป็นการใช้พลังจากข้างในเยอะ เราคิดว่าอีกสิ่งที่ส�าคัญไม่แพ้ประสบการณ์และการฝึกฝน คือโชคชะตาที่พาเรามาถึงจุดนี้ และหากตัวเรา ในวันนี้มีอะไรจะบอกตัวเองในวันที่เดินแฟชั่นโชว์ครั้งแรกได้ก็คงจะบอกว่า โอเคแล้ว ผลจากวันนั้นท�าให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ถ้าเดินได้สวยกว่านี้อีกนิดได้ก็ขอให้สวยกว่านี ้ (หัวเราะ)”
PATHOMPOL JAREONPOD BARTENDER, HOTEL INDIGO
เรื่อง : นภษร ศรีวิลาส, วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
“ค็อกเทลแก้วแรกที่ผมหัดผสมคือโมฮิโต้ ตอนที่ทา� นี่ตื่นเต้นจนมือสั่นเลย เพราะเคยเห็นแต่เหล้าแล้วก็ส่วนผสม แต่ยังไม่รู้ว่าเหล้ากับมิ้นต์ และน�้าตาลมันจะมารวมกันแล้วกลายเป็นค็อกเทลหนึ่งแก้วได้ยังไง จากนั้นก็เรียนเกี่ยวกับเหล้าชนิดต่างๆ ว่ามีวิธีกลั่นยังไง หมักอย่างไร เหล้าแต่ละขวดถึงจะเป็นชนิดเดียวกัน แต่รสชาติต่างกันอย่างไรบ้าง จากนั้นถึงหัดผสมเบสิกค็อกเทลต่างๆ แต่ไม่รู้ท�าไมลูกค้าที่มาเจอผมมักจะ อยากได้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่มีในเมนู ส่วนมากจะขอให้ผสมค็อกเทลใหม่จากเหล้าที่มีอยู่ แก้วแรกที่ผสมเองก็โดนลูกค้าบ่นนะ เพราะมันไม่อร่อยไง ยอมรับเลย (หัวเราะ) หลังๆ ได้อาศัยความเข้าใจเหล้าชนิดต่างๆ ที่มีมากขึ้นและความรู้ที่เรียนมาจากพี่ๆ มาผสมกัน ก็เลยเริ่มพัฒนา หลังๆ ได้คิดสูตรใหม่อยู่บ่อยๆ รวมๆ ก็น่าจะเกินร้อยสูตรไปนานแล้ว แล้วเวลาไปแข่ง อย่างครั้งล่าสุด Perrier Mixologist Competition ก็ต้องคิด สูตรค็อกเทลใหม่ไปแข่ง 3 แก้ว ดังนั้น การคิดสูตรค็อกเทลใหม่ๆ พูดว่าเป็นหน้าที่หนึ่งของบาร์เทนเดอร์ก็ว่าได้ ความคิดสร้างสรรค์จึงส�าคัญ อย่างผมลองใช้โหระพาผสมกับสะระแหน่ ซึ่งปกติคงไม่มีใครใช้ในค็อกเทลเพราะกลัวว่าจะเหม็นเขียว แต่ต้องเราหาจุดที่พอดีเวลาจับมันมา รวมกันให้ได้ เหมือนเล่นเกมแล้วต้องอัพเลเวลไปเรื่อยๆ ดังนั้น ผมจึงสนุกกับการท�าซ�้าเพื่อให้เกิดความช�านาญ และแม้ตัวงานจะดูเหมือน ไม่มอี ะไรเปลีย่ นแปลงมากนัก แต่เวลาทีเ่ รายืนอยูห่ ลังบาร์ได้เจอลูกค้าใหม่ๆ ทุกวัน ผมว่าท้าทายด้วยซ�้า เวลาเจอลูกค้าประจ�าซึง่ เขาชอบค็อกเทล ที่เราผสมให้คราวก่อน แต่เราจ�าไม่ได้ว่ามันคืออะไร (หัวเราะ) ก็ต้องคิดให้เขาใหม่ ซึ่งก็มีโอกาสที่คราวนี้เขาจะไม่ชอบ กดดันพอสมควร แต่ถ้าเราท�าให้เขามีความสุขจากผลงานของเราได้ ผมว่ามันดีนะ”
DECHA RODRAKEE
หัวหน้าควบคุมงานท�าความสะอาด บริษัท โอวาท โปร แอนด์ ควิก จ�ากัด www.o-wat.com เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
“การเช็ดกระจกภายนอกอาคารด้วยการโรยตัวดูเหมือนจะอันตราย แต่จริงๆ แล้วมีความเสี่ยงน้อยกว่าการใช้กระเช้า เพราะตัวกระเช้าต้องใช้มอเตอร์ในการชักรอก ซึ่งไฟฟ้ากับน�้าไม่ถูกกัน ถ้าเกิดไฟรั่ว ขึ้นมาเราก็ตายอย่างเดียว ตึกที่ผมเช็ดกระจกสูงสุดคือ 22 ชั้น แต่ถ้าเป็นการโรยตัวเช็ดกระจกก็จะอยู่ท ี่ 15 ชั้น วันที่ผมเริ่มโรยตัวเช็ดกระจกครั้งแรกคือ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ วันนั้นตื่นเต้นมาก จึงท�าให้เชือก ลื่นหลุดจากตัวยึด เกือบตกลงไปข้างล่าง ตอนนั้นนึกถึงพระคุณพ่อพระคุณแม่ พระวัดต่างๆ นี่มาหมดเลย (หัวเราะ) แต่ลูกทีมก็ช่วยดึงขึ้นมาได้ทัน จากนั้นก็นั่งตั้งสติอยู่สักพักแล้วก็ลงมือท�างานต่อ ผมเคยบอกลูกว่า พ่อแม่ท�างานล�าบากมากกว่าจะได้เงินมา ส่วนตึกที ่ 100 ที่ผมไปเช็ดมาอยู่ที่ศรีราชา ซึ่งก็คือตึกที่สูง 15 ชั้นนั่นเอง ใช้เวลาในการท�าความสะอาดทั้งหมด 2 อาทิตย์ ต้องโรยตัวลงมาทั้งหมด 33 ครั้ง แต่งานแบบนี้ก็สอนให้เรามีความอดทน และมีความรับผิดชอบ รู้ว่าหน้าที่ของตัวเองคืออะไร ถ้าเราท�าแบบขอไปที เมื่อถึงเวลาตรวจงานแล้วไม่ผ่าน ก็ต้องขึ้นไปโรยตัวมาเช็ดใหม่อีกครั้ง ดังนั้น ถ้าเราท�าให้จบไปเลยในครั้งเดียวจะดีกว่า แต่ก่อนที่จะปลดระวางจากงานนี้ ผมก็หวังว่าจะมีโอกาสได้ขึ้นไปเช็ดกระจกให้กับอาคารจามจุรีสแควร์สักครั้ง”
VICHAYA KIATYING-ANGSULEE ช่างภาพอาชีพ, www.travelplanetx.com เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
“โอซาก้าเป็นเมืองแรกทีท่ า� ให้ผมลาออกจากงานประจ�าแล้วหันมาท�างานเป็นช่างภาพอาชีพอย่างเต็มตัว ผมเริม่ ถ่ายภาพจากเมืองต่างๆ เพือ่ ส่งขายให้กบั เว็บสต็อกโฟโต้มาเรือ่ ยๆ แต่เมืองทีจ่ า� ได้ดซี งึ่ มันก็คอื เมืองที ่ 100 คือ เรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ ทีจ่ า� ได้เพราะตอนเดินทางมีเหตุการณ์ทที่ า� ให้เราอาจจะพลาดการถ่ายรูปแสงเหนือครัง้ นีไ้ ด้ เพราะผมเคยตัง้ ใจไปถ่ายแสงเหนือทีแ่ ถบสแกนดิเนเวียแต่ไม่สา� เร็จมาแล้ว ตอนนั้นจ�าได้เลยว่าเจอทั้งเรื่องของรถไฟที่หยุดวิ่งหนึ่งวันเพราะเป็นวันคริสต์มาสอีฟ ต่อมาก็เจอการดีเลย์ของเครื่องบินที่เครื่องยนต์เกิดเหตุขัดข้อง และกว่าจะไปถึงจุดถ่ายรูป พยากรณ์อากาศก็บอกว่า ท้องฟ้าจะมีเมฆปกคลุม นีเ่ ราจะพลาดการถ่ายแสงเหนืออีกแล้วเหรอเนีย่ (หัวเราะ) แต่สดุ ท้ายโชคก็เข้าข้างตรงทีผ่ มได้ทนั เห็นแสงเหนือก่อนทีเ่ มฆจะลอยมาปกคลุมท้องฟ้า จึงสามารถเก็บภาพได้ทนั เวลาพอดี การเดินทางไปท�างานในแต่ละครั้งมักมีเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ทุกครั้ง ต่อให้เตรียมตัวมาดีแค่ไหนก็ตาม ประสบการณ์ที่เจอท�าให้เรามีสติมากขึ้น เมืองแรกๆ ที่เจอเราอาจจะตื่นเต้น ท�าอะไรไม่ค่อยถูก พอหลังๆ ก็จะเริ่มมีสติมากขึ้น อย่างตอนไปไต้หวันผมท�าพาสปอร์ตหาย ก็ค่อยๆ คิดหาทางแก้ไขไป ในที่สุดก็หาพาสปอร์ตเจอ ส่วนประสบการณ์ในการถ่ายภาพนั้นก็จะได้เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่กลับมาอยู่แล้ว”
CHARLIE RUEDPOKANON
STUNTMAN, THE ACTION GUYS (TAG) STAGACTION@GMAIL.COM เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
“ผมเริ่มงานสตันต์ครั้งแรกด้วยการกระโดดข้ามตึกความสูง 12 ชั้น โดยคนที่มาติดต่อบอกแค่ว่าเป็นดับเบิ้ลของพระเอกโฆษณา พอไปถึงโลเกชันผม เลยเหวอ สูงขนาดนีเ้ ลยเหรอ กลัวนะ ตอนนัน้ ผมยังไม่มคี วามรูอ้ ะไรเกีย่ วกับสลิง ก็เลยเหลือทางเดียวคือต้องไว้ใจทีมงานว่าเขาจะจัดการทุกอย่างไว้เรียบร้อย พอรุ่นพี่ผมเขาโดดครั้งแรกเป็นตัวอย่างให้ดูก่อน ผมเลยคิดว่าถ้าเขาท�าได้ แล้วผมไม่กล้าท�า ก็ควรเลิกคิดจะเป็นสตันต์แมนเสียเถอะ ตอนขึ้นไปยืนตรง ต�าแหน่งที่ต้องโดด ในหัวก็กลัวไปสารพัด สลิงจะขาดไหม อย่าขาดนะๆ พอทุกคนมองมา กล้องเริ่มถ่าย ผู้กา� กับสั่งแอ็กชัน ปรากฏว่าสมองผมหยุดคิด แล้วโดด สิ่งแรกที่ผมคิดพอตัวออกไปอยู่กลางอากาศคือ สูงว่ะ นี่สูงมากเลยนะเนี่ย!!! จากนั้นก็นับวินาทีรอให้รู้สึกว่าสายสลิงตึง เพราะถ้าไม่ตึงคือตกแน่ (หัวเราะ) แต่ก็จบงานด้วยดีภายในการกระโดด 3 ครั้ง สิบปีผ่านไป แม้จะเรียกตัวเองว่าสตันต์แมนได้แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่ามีคนอื่นที่เป็นตัวจริงมากกว่าผม อีกเยอะ สิง่ ทีเ่ ปลีย่ นไปคือตอนทีก่ ระโดดด้วยสลิงครัง้ ล่าสุดเมือ่ สองเดือนก่อน สิง่ ทีอ่ ยูใ่ นหัวเปลีย่ นไปแล้ว ไปกังวลเรือ่ งท่าโดด ความสวยของมือ ต�าแหน่งขา กับมุมกล้องมากกว่า การกระโดดกลายเป็นเรื่องง่าย แต่สิ่งที่ยากคือการกระโดดให้ได้ภาพเพื่องานที่ดี แต่ถ้าโลเกชันเป็นที่สูงมากๆ ผมก็ยังกลัวอยู่นะ ซึ่งถือเป็นเรื่องดี เพราะความกลัวเป็นสิ่งที่ปกป้องเราจากอันตราย เราควรจะกลัว และรู้ว่าความกลัวแบบไหนที่เราควรจะก้าวข้ามไป และความกลัว แบบไหนที่เราควรจะหยุดและเชื่อฟังมัน สตันต์แมนควรจะมั่นใจในตัวเอง แต่ไม่มั่นใจมากจนเกินไป เพราะเราไม่ใช่ผู้ท้าทายความตาย ฉะนั้น ไม่ว่าจะโดด ครั้งแรกหรือครั้งที่ร้อยก็ต้องไม่ประมาท”
SOMBAT METANEE นักแสดง
เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, วัลญา นิ่มนวลศรี ภาพ : สลัก แก้วเชื้อ
“ภาพยนตร์ที่ผมเล่นเป็นเรื่องแรกคือเรื่อง รุ่งเพชร ตอนนั้นได้ค่าตัว 300 บาท ซึ่งเทียบกับทองหนึ่งบาทในยุคนั้นจะอยู่ท ี่ 400 บาท เป็นหนังเรื่องแรกที่เดิมพันว่าผมจะได้เป็นพระเอกในหนังเรื่องต่อๆ ไป หรือไม่ ถ้าหนังไม่ประสบความส�าเร็จตามเป้าที่ผู้สร้างวางไว้ ก็อาจจะต้องไปเล่นเป็นพระรองหรือตัวร้ายแทน หนังเรื่องนี้ได้ไปฉายที่เชียงใหม่ในงานเทศกาลลอยโคมยี่เป็งก่อนเข้ามาฉายที่กรุงเทพฯ ช่วงนั้น ผมต้องออกมาร้องเพลงประกอบในหนังทุกรอบตั้งแต่ 10 โมงเช้า จนถึงตี 3 แต่คนดูก็ประทับใจมาก เมื่อออกฉายจริงหนังก็ประสบความส�าเร็จ ท�าให้ผมได้รับบทพระเอกเรื่อยมา ถ้าให้นึกถึงหนังเรื่องที่ 100 ของตัวเอง น่าจะเป็นเรือ่ ง นางพญา ทีอ่ อกฉายในปี พ.ศ. 2512 ตอนนัน้ ผมได้รบั ฉายาเยอะมาก ทัง้ พระเอกนักบู ๊ พระเอกนักฉิง่ หนึง่ ในธรณี (นักสู)้ พระเอกนักควงปืน ฯลฯ ตอนนัน้ มิตร ชัยบัญชา จะอยูใ่ นหมวด ของนักบูภ๊ ธู ร ส่วนผมจะอยูฝ่ า่ ยนักบูน๊ ครบาล ก็อารมณ์ประมาณ เจมส์ บอนด์ เป็นพระเอกทีใ่ ส่เสือ้ นอก เวลาจะชักปืนออกมาก็ตอ้ งสะบัดชายเสือ้ ก่อน (ท�าท่าสะบัดชายเสือ้ ชักปืน และยักคิว้ ) แต่ขอ้ ดีของผมคือ ผมร้องเพลงได้ จึงมีโอกาสได้เล่นหนังที่หลากหลายแนว อะไรที่ท�าไม่ได้ก็จะฝึกฝน อย่างการควงปืน เต้นร�าจังหวะวอลต์ซ ตีกลอง หรือสีไวโอลิน ทุกอย่างต้องใช้วิธีแบบครูพักลักจ�า ไม่มีใครมาสอนเรา แต่งหน้าท�าผมหาเสื้อผ้ามาใส่ในหนังนี่ก็ต้องหามาเอง (หัวเราะ) แต่ข้อดีคือ เวลาคนดูได้เจอตัวเราจริงๆ เขาจะรู้สึกว่านี่คือคนที่เขาเห็นในจอภาพยนตร์ เขาจะรู้สึกผูกพันกับเรา เข้ามาขอถ่ายรูป มาขอกอด บางครั้งผมต้องยืนถ่ายรูปกับแฟนๆ จนตกเครื่องบินก็มี (หัวเราะ) แต่ถึงแม้จะมีชื่อเสียงโด่งดังแค่ไหน ผมก็ยังประพฤติตัวแบบเดิมอยู่เสมอ เพราะได้รับการอบรมมาจากคุณย่ากับคุณพ่อเสมอในการวางตัวให้ เป็นสุภาพบุรุษ ไม่หยิ่ง ไม่ขี้เก๊ก เพราะเราเป็นคนของประชาชน เราอาศัยประชาชนในการท�าอาชีพ เราจึงต้องเป็นคนของพวกเขา ผมจึงไม่เคยมีใครเข้ามาหาเรื่องเลยทั้งๆ ที่เขามองว่าเราอาจจะเก่งแค่ในหนัง ก็ได้ (หัวเราะ) ถ้าวันไหนเราไม่พร้อมจริงๆ ก็เลือกที่จะไม่ไปปรากฏตัวเสียดีกว่า การที่เราประพฤติตัวดี ก็จะเป็นสิ่งที่ประเสริฐกับตัวเราเองที่สุด”
MARK ABBOTT
ASSISTANT TO THE CHAIRMAN, TRUE VISIONS และผู้ก่อตั้งเพจ THAI TOP FITNESS เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
“เส้นระหว่างความกล้าหาญกับความโง่นี่มันบางมากนะครับ เป็นปัญหาของหลายคนที่เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม เพราะต้องมีความมั่นใจ แต่ไม่มากเกินไป และไม่ข้ามขั้น เพราะมั่นใจคือดีแต่ถ้ามั่นใจมากไป คือตาย อย่างวิงสูท (Wing Suit) นี่มีสถิติโดด 18 พลาด 1 และถ้าพลาดก็รอดยาก ผมฝันว่าวันหนึ่งผมจะต้องกระโดดวิงสูทให้ได้มา 15 ปีแล้ว แต่ตอนนั้นไม่มีสตางค์ ถึงมันไม่ใช่กีฬาที่เราต้องจ่ายเงินครั้งเดียว เยอะๆ ก็จริง แต่รวมๆ แล้วแพงมาก เช่น ค่าท�าใบอนุญาตก็เสียแล้ว 1 แสนบาท บวกค่าอุปกรณ์แล้วก็หนักอยู่ และต้องเริ่มจากฝึกกระโดดร่มก่อน โดยครั้งแรกที่กระโดดร่มจากความสูง 13,000 ฟุต สีว่ นิ าทีแรกหลังจากกระโดดคือการตกลงมาโดยไร้การควบคุม เป็นความรูส้ กึ ทีอ่ ธิบายไม่ถกู สายตากลายเป็น tunnel vision จ้องอยูแ่ ต่ขา้ งหน้า ยังไม่สามารถเอ็นจอยกับวิวได้เลย (หัวเราะ) จากนัน้ สักครัง้ ที ่ 8 ก็ต้องสอบการเลี้ยว 90 องศา ตีลังกาหน้าหลัง ฯลฯ และต้องโดดร่มครบ 25 ครั้ง ถึงจะได้ A license จาก USPA (United State of Parachute Association) แล้วก็ต้องโดดครบ 200 ครั้ง ถึงจะเริ่มฝึกกระโดด วิงสูทได้ เพราะการบินด้วยวิงสูทต้องมีทั้งความช�านาญและใจต้องนิ่ง เพราะถ้าเจอปัญหาแล้วตกใจกลัวสมองหยุดท�างานก็จะแก้ไขสถานการณ์ไม่ทัน ร่างกายก็ต้องผ่อนคลายได้ในระดับหนึ่งเพื่อให้สามารถ จัดระเบียบร่างกายได้ อย่างเวลากางปีก สองข้างต้องให้ได้ระดับเหมือนเป็นกระจกของกันและกัน เพราะร่างกายต้องรับแรงปะทะของลมที่ความเร็วเฉลี่ย 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ท�าให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ ถ้าเทียบการกระโดดครั้งแรกกับครั้งล่าสุด การเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้มาแบบทันที การพัฒนาจะเห็นได้หลังจากหลักร้อยครั้งขึ้นไป แต่ทุกครั้งที่กระโดดร่มผมมีความสุขกับปัจจุบันนะ ไม่ได้รีบๆ ให้มันผ่าน 200 ครั้งไป เพื่อจะได้กระโดดเร็ววิงสูทเร็วๆ เหมือนที่ผมชอบการเล่นเวต ผมชอบความรู้สึกเวลาเล่นเวตมันก็เลยได้ผล แต่ถ้าท�าเพื่อให้ได้ซิกซ์แพ็กอย่างเดียวก็ฝันไปเถอะ ไม่มีทางส�าเร็จเพราะมองไกลเกินไป แล้วเราพัฒนาแค่นิดเดียวในแต่ละวันไม่นานก็ท้อ แต่ถ้าสนุกกับกระบวนการ วันหนึ่งมันก็จะส�าเร็จ”
CHATPONG EAMSA-ARD
DIVE MASTER TRAINEE, SCUBA JAMBOREE เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง, ชัชพงศ์ เอี่ยมสะอาด
“การด�าน�้าครั้งแรกๆ ของผมมีจุดเริ่มต้นจากความชอบเที่ยวทะเล ครั้งที่ไปเที่ยวเกาะเต่า ได้เห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติมาด�าน�้าลึกกัน พอกลับมากรุงเทพฯ ก็ตัดสินใจสมัคร เรียนด�าน�้าจริงจัง ดังนั้น ครั้งแรกของการด�าน�้าลึกของผมคือการออกสอบที่แสมสาร สัตหีบ เป็นครั้งแรกที่ลงไปหายใจใต้นา�้ ซึ่งในหัวคิดแต่เรื่องการท�าท่าทางให้ถูกต้อง จึงไม่ได้ โฟกัสความสวยงามรอบตัวมากนัก แต่หลังจากการกลับไปด�าน�้าที่เกาะเต่า ผมก็ติดใจการด�าน�้าไปเลย โลกใต้น�้าลึกนั้นเหมือนเป็นโลกอีกโลก ได้อยู่กับตัวเอง ได้ยินเสียงหายใจ ของตัวเอง ฉากความสวยงามใต้ทอ้ งทะเลทีถ่ งึ แม้คณ ุ จะด�าลงไปจุดเดิม แต่สงิ่ ทีค่ ณ ุ ได้พบนัน้ จะไม่เหมือนเดิมสักครัง้ เพราะปลาไม่ได้วา่ ยน�า้ อยูก่ บั ที ่ สิง่ มีชวี ติ ต่างๆ เปลีย่ นไปทุกครัง้ เหล่านี้ท�าให้ผมยิ่งหลงใหลอยากท�าต่อไปเรื่อยๆ ส�าหรับผมแล้ว การท�าสิ่งเดิมซ�้าๆ เกินร้อยครั้ง นั่นแปลว่าคุณหลงใหลสิ่งนั้นมากๆ เราไม่รู้สึกเบื่อเลยสักครั้ง จากวันแรกที่เรา อยากด�าน�้าเพื่อการผ่อนคลาย มาวันนี้ผมเหมือนได้เจอสิ่งที่ชอบมากๆ ทักษะและประสบการณ์ผลักให้เราได้ทา� สิ่งนี้เป็นอาชีพ อย่างตอนนี้ได้เป็นผู้ช่วยครูดูแลนักเรียนด�าน�้าใหม่ๆ หากตัวเราในวันนี้มีอะไรจะบอกตัวเองในการด�าน�้าครั้งแรก ก็คงจะบอกว่าคุณคิดถูกแล้วที่วันนั้นคุณตัดสินใจมาลองเรียนด�าน�้า (หัวเราะ)”
BIN BUNLUERIT นักแสดง
เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
“ผมช่วยคนครั้งแรกตอนอายุ 15 ตอนนั้นมีเด็กจะจมน�า้ ผมก็พยายามลงไปช่วยทั้งๆ ที่ว่ายน�า้ ยังไม่ค่อยเป็น พยายามร้องให้คนช่วยแต่ตรงนั้นก็ไม่มีใคร จนในที่สุดผมก็ต้องเดินลงไปในน�า้ เพื่อไปดึงตัวเด็ก คนนั้นขึ้นมา ซึ่งโชคดีที่น�้าไม่ลึก ผมยังสามารถยืนถึง หลังจากนั้นผมก็ช่วยงานบุญต่างๆ เรื่อยมา ช่วยเก็บศพไร้ญาติ มีเรื่องอะไรที่มีคนต้องการความช่วยเหลือผมก็ไปหมด พอมาเป็นดาราผมก็ไปอยู่ มูลนิธิร่วมกตัญญู ช่วยเก็บศพ ท�ามาอย่างต่อเนื่อง จนมีช่วงที่เราก็คิดว่าการเก็บศพมันก็ด ี แต่อาจจะเป็นการช่วยคนที่ปลายเหตุเกินไป แล้วพอเกิดวิกฤตน�้าท่วมปี 54 ตอนนั้นเราก็ออกไปให้ความช่วยเหลือ คนที่ติดอยู่ตามที่ต่างๆ เห็นคนเดือดร้อนไม่มีบ้านอยู่ บางคนเจ็บป่วย ไม่มีญาติ มันก็ทา� ให้เราอยากจะช่วยคนที่ลา� บากจริงๆ ให้ชีวิตเขาดีขึ้น ก็เลยเปิดเพจของตัวเองทางเฟซบุ๊กเพื่อช่วยคน หลังจากวันนั้น ผมก็เข้าไปให้ความช่วยเหลือคนที่ล�าบากมาหลายร้อยรายแล้ว บางรายที่เจ็บป่วยก็มีเงินรักษา คนแก่ไร้ญาติก็มีที่อยู่อาศัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แม้ว่าบางครั้งระหว่างทางที่ช่วยคนเราจะต้องเจอคน มาหาประโยชน์กับคนที่ล�าบากอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้สึกแย่กับความคิดของคนบางคนที่จ้องจะหาประโยชน์จากคนที่ล�าบาก แต่มันก็เป็นบทเรียนให้เราต้องรอบคอบมากขึ้นในการลงไปช่วยใครสักคน เพื่อให้เขาได้รับความช่วยเหลือจริงๆ ตอนนี้ผมก�าลังมีแผนที่จะท�าสถานที่ส�าหรับสงเคราะห์คนแก่ที่ไร้ญาติ เพราะว่าคนแก่บางคนถูกลูกหลานทอดทิ้ง ไม่มีแม้แต่บ้านจะอยู่ ผมจะรับมาดูแลในสถานที่ที่ผม จะสร้างขึน้ ซึง่ เป็นแผนการส�าหรับอนาคตทีผ่ มวางไว้ ถ้าถามว่าสิง่ ทีผ่ มท�าทัง้ หมดผมได้อะไร ผมคงต้องบอกว่าได้ความสุขทางใจ การได้เห็นคนล�าบากยากเข็ญแล้วเขากลับมายิม้ ได้ มันท�าให้จติ ใจผมเป็นสุข”
YUVAPORN THANATHIKHUNVANICH WEB EDITOR, WE MAGAZINE เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
“หน้าทีข่ องเราคือการเป็นคนเก็บเรือ่ งราวของงานแต่งงานแต่ละงานทีเ่ ราคัดเลือกแล้วมาลงนิตยสาร ซึง่ เราก็ตอ้ งเลือกคูร่ กั ทีม่ เี รือ่ งราวน่าสนใจ งานแต่งงานงานแรกทีไ่ ปเป็นงานแต่งงาน ชาวต่างชาติกับคนไทย ซึ่งคู่นี้แต่งงานหลังจากมีลูก เหตุผลหนึ่งที่เขาแต่งงานหลังจากมีลูกก็เพราะอยากให้ลูกมาอยู่ในงานแต่งงานด้วย ตอนนั้นเราก็ประทับใจมาก เพราะเรารู้สึกได้ถึง ความรักที่เจ้าบ่าวมีต่อเจ้าสาว เป็นงานครั้งแรกที่เรารู้สึกว่า ดีจังที่ได้อยู่ในวันพิเศษของคู่รักคู่หนึ่ง หลังจากงานแรก ก็มีงานต่อๆ มา เฉลี่ยแล้วเราต้องไปงานแต่งงานเดือนละ 6-7 งาน ท�างานเป็นนักเขียนมา 7 ปี ก็ไปมาเกินกว่าร้อยงานแล้ว แต่ว่าการไปงานแต่ละงานมันก็ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษแทบทุกครั้ง เพราะเราต้องเตรียมตัวไปอย่างดี ทั้งเรื่องค�าถามที่จะต้องถาม บ่าวสาว การเลือกช็อตถ่ายภาพดีๆ ที่สื่อสารเรื่องราวของคู่รัก ซึ่งเรื่องพวกนี้เราก็ต้องใช้ไหวพริบพอสมควร เพราะงานแต่งงานเป็นงานส่วนตัวที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคน แต่ถ้าถามว่าการไปงานแต่งงานมาเกินร้อยงานให้บทเรียนชีวิตอะไรกับเราบ้าง ก็ต้องบอกว่างานแต่งงานเป็นแค่จุดเริ่มต้นของชีวิตคู่เท่านั้น เพราะในที่สุดแล้วชีวิตคู่คือการอยู่ด้วยกัน และปรับตัวเข้าหากันให้ได้มากทีส่ ดุ หลายคูท่ เี่ ราไปงานแต่งแล้วเลิกกันก็มเี ยอะ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ส�าหรับตัวเองนัน้ การแต่งงานอาจส�าคัญในเชิงการบอกกล่าวความสัมพันธ์ให้ครอบครัว และเพื่อนฝูงรับรู้อย่างเป็นทางการ แต่ในที่สุดแล้วงานแต่งงานไม่ใช่เครื่องการันตีความสัมพันธ์ของคนสองคนว่าจะยั่งยืน ความรักต่างหากที่จะท�าสามารถให้ชีวิตคู่ยั่งยืนไปได้ตลอด”
CALENDAR FRI
MON
8
TUE
FLOWER WATER COLORS นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘ดอกไม้ น�า้ สี’ โดย โฉมศรี กล�่ า ถนอม ดอกไม้ น�้ า และสี เป็นส่วนหนึ่งของ ธรรมชาติทมี่ คี วามเกีย่ วพัน และเชื่อมโยงกันอยู่ตลอด เวลา พลังแห่งธรรมชาติ สามารถบันดาลความรูส้ กึ ที่ ลุ ่ ม ลึ ก มี พ ลั ง ชี วิ ต มี ค วามประณี ต และให้ ความสงบใจ วั น นี้ ถึ ง 18 กุ ม ภาพั น ธ์ 2559 ณ ห อ ศิ ล ป ์ จ า ม จุ รี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3709
9
THE CIRCLE เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรือ่ ง ‘The Circle’ ถ่ายทอด เรื่ อ งราว ‘องค์ ก รแม่ ’ ของสมาคมคนรักร่วมเพศ ในยุโ รปตั้ง แต่ ยุค รุ่ ง เรือ ง ไปจนถึ ง ยุ ค ร่ ว งราอย่ า ง ช้าๆ ในยุคทีภ่ าวะการกดขี่ ชาวชายรั ก ชายในซู ริ ก รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ชายหนุ่ม ที่ แ ตกต่ า งสองคนกลั บ ลุ ก ขึ้ น ต่ อ สู ้ เ พื่ อ ความรั ก ข อ ง พ ว ก เ ข า ร ่ ว ม กั บ ผองเพื่ อ น เพื่ อ สิ ท ธิ ข อง กลุม่ ชายรักชาย ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.30 น. ณ สถาบัน เกอเธ่ โทร. 0-2108-8231
WED
10
LE PETIT LIEUTENANT เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรื่อง ‘Le Petit Lieutenant’ ทั น ที ท่ี จ บจากโรงเรี ย น ต�ารวจ อองตวนก็ไปปารีส เพือ่ เข้าร่วมทีมต�ารวจฝ่าย อาชญากรรม การอรี น โวดี เ ยอ ที่ เ พิ่ ง กลั บ มา ท� า งานหลั ง จากเอาชนะ การบ�าบัดอาการเสพติด แอลกอฮอล์ ได้ เ ลื อ ก ต� า รวจหนุ ่ ม น้ อ ยคนนี้ เข้าร่วมทีมของเธอ ชมฟรี วั น นี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคมฝรัง่ เศสกรุงเทพ โทร. 0-2670-4231
THU
5
SAT
6
SUN
7
11
JAPANESE FILM FESTIVAL เชิ ญ ชมภาพยนตร์ ญี่ ปุ ่ น หลากหลายรสใน ‘เทศกาลภาพยนตร์ญปี่ นุ่ ’ ทีค่ รัง้ นีม้ ากับธีม ‘หลากรูปนามของความรัก’ พบกับ Beyond to Memories, My Pretend Girlfriend, Be Sure to Share ฯลฯ วันนีถ้ งึ 14 กุมภาพันธ์ 2559 ณ เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนมา เซ็ น ทรั ล เวิ ล ด์ ติ ด ตาม รอบฉายและจ�าหน่ายตัว๋ ที่ www.sfcinemacity.com (เฉพาะภาพยนตร์เรือ่ ง Love & Peace ต้องได้รบั บัตรเชิญ เท่านัน้ )
SCENE FROM A WAKE นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Scene from a Wake’ โดย อานูป แมทธิว โทมัส น�าเสนอผลงานภาพถ่าย ที่ ถ ่ า ยทอดเรื่ อ งราวของ พิธีก รรมที่สืบ ทอดกัน มา เป็นเวลากว่าหนึง่ ศตวรรษ ตัวละครของเขาประกอบ ไปด้วยนักเคลื่อนไหวทาง สังคม คนงานในไร่ หมอฟัน เจ้าของร้านอาหาร บิชอป และศิลปิน วันนีถ้ งึ 6 มีนาคม 2559 ณ หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร โทร. 0-2214-6630-8 (เว้นวันจันทร์)
GYPSY CARNIVAL เทศกาลกลางแจ้ ง ‘ยิปซี คาร์นวิ ลั ’ ทีจ่ ะเนรมิต เรื่องราวของ ดนตรี ศิลปะ แคมปิ้ง อาหาร และการท่องเที่ยวบนมอเตอร์ไซค์ พบกับศิลปินมากมาย เช่น ทีโบน, พงษ์สทิ ธิ์ ค�าภีร,์ ธีร์ ไชยเดช, แสตมป์ อภิวัชร์, ฮิวโก้, เหล่าดีเจ Shubo Star จากเกาหลี ฯลฯ วันนี้ เปิดให้เข้างานเวลา 10.00 น. ณ ต้นผึ้งฟาร์ม อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี จ�าหน่ายบัตรที่ ไทยทิกเก็ตเมเจอร์
L'AMOUR นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘ละเมอรั ก ’ โดยศิ ล ปิ น 34 ท่ า น เช่ น อ.ช่ ว ง มูลพินิจ (ศิลปินแห่งชาติ), ดิ น หิ น รั ก พงษ์ อ โศก, ประที ป คชบั ว , องอาจ โล่ ห ์ อ มรปั ก ษิ ณ ฯลฯ ทีต่ า่ งผนึกก�าลังกันประสาน ค ว า ม รั ก ใ น มุ ม ม อ ง ที่ แตกต่ า ง และสะท้ อ น ออกมาผ่านผลงานศิลปะ วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2559 ณ สาทร11 อาร์ต สเปซ ซอยสาทร 11 โทร. 0-20041199 (เว้นวันจันทร์)
ลดทันที 20%
เมื่อสั่งซื้อดอกไม้วาเลนไทน์กับเมลโรส ในราคาตั้งแต่ 1,500 บาท ขึ้นไป และชำาระเงินสดก่อน 31 มกราคมนี้
Valentine’s promotion 20%
www.flowerbymelrose.net หรือโทร.สั่งซื้อได้ทุกสาขา MELROSE @ LA VILLA
02 619 0477-8 / 081 499 0633
MELROSE @ ERAWAN BANGKOK 02 250 7725-6
MELROSE @ ALL SEASONS PLACE 02 654 0220 / 086 770 8600
MELROSE @ EKAMAI
02 714 4232 / 089 493 2552
State of the Arts
Wind-Up Toys
หลายครั้งที่แรงบันดาลใจมักเกิดมาจากตะกอนความทรงจ�าในอดีต ส�าหรับ ไพริน ภู่ประดับ ก็เช่นกัน เขาอาศัยความทรงจ�า เกี่ยวกับของเล่นในวัยเด็ก มาแปรเปลี่ยนเป็นผลงานศิลปะแสนลึกซึ้งชิ้นนี้ จนสามารถคว้ารางวัลเหรียญทองแดงประเภทศิลปินอาชีพ จากการประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) ปี 2558 ได้ส�าเร็จ
Pairin Pupradup Oil on Canvas 140 x 180 CM
Behind the Picture : “มนุ ษ ย์ เ ราสามารถมี วั ย เด็ ก ได้ เ พี ย งครั้ ง เดี ย ว ความบริสทุ ธิท์ เี่ กิดขึน้ ในช่วงเวลานัน้ สามารถสร้างความสุข ได้งา่ ยๆ การเล่นเป็นเหมือนการเรียนรู้ และสร้างจินตนาการ อันไร้ขอบเขต ของเล่นจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่สงิ่ ของ หากแต่ ยังเป็นเสมือนเพื่อนเล่นคนหนึ่ง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป ก็โดนละความสนใจ กลายเป็นแค่ความทรงจ�าช่วงหนึ่ง ที่ถูกทิ้งไว้ในอดีต”
The Artist : “ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือการ์ตนู มาตัง้ แต่เด็กๆ แล้วก็ชอบวาดตัวการ์ตนู ตามหนั ง สื อ ที่ อ ่ า น จนไม่ รู ้ ว ่ า ตนเอง กลายเป็ นคนชอบวาดรู ป ไปตอนไหน มารู้ตัวอีกทีก็หลงรักการวาดรูปไปแล้ว ซึง่ พอเป็นอย่างนัน้ ผมก็คดิ ว่า ถ้าสามารถ เลื อ กท� า ในสิ่ ง ที่ รั ก ได้ ก็ ค วรจะเลื อ ก และท�าก่อนทีจ่ ะไม่มโี อกาสได้ทา� ผมจึง ตัดสินใจเลือกเรียนทางด้านศิลปะ”
การประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) คือการประกวดผลงานจิตรกรรมระดับอาเซียนทีจ่ ดั โดยกลุม่ ธนาคารยูโอบี เปิดกว้างส�าหรับศิลปินอาชีพ และศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ผลงานทีไ่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย จะมีโอกาสได้ชงิ รางวัล UOB Southeast Asian Painting of the Year และจัดแสดง ณ ประเทศสิงคโปร์ การประกวดจิตรกรรมยูโอบีเปิดรับผลงานประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ผูท้ สี่ นใจสามารถติดตามรายละเอียดเกีย่ วกับการประกวดได้ทาง www.uobpoy.com 21
Reflections : “ศิ ล ปะส� า หรั บ ผมคื อ การแสดงออกของ จินตนาการ หรือความปรารถนาที่เก็บซ่อนเอาไว้ ภายในตัว ซึ่งถ่ายทอดออกมาผ่านการขีดเขียน ศิลปะท�าให้ผมมองเห็นคุณค่าของความงามจาก ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ทุกสิ่งทุกอย่างมีความงาม อยูใ่ นตัวเอง อยูท่ เี่ ราจะเลือกมองในด้านไหน”
SUPERMARKET
Scandinavian Cuisine วัฒนธรรมอาหารหลายที่เกิดจากสภาพแวดล้อม อากาศ ทรัพยากร ที่ส่งผลถึงวิถีชีวิตของผู้คน ภูมิประเทศทางตอนเหนือของโลก และอากาศอันหนาวเหน็บของสแกนดิเนเวีย ก็ส่งผลถึงวัฒนธรรมอาหารของแถบนั้นเช่นกัน ซึ่งใครที่ไม่กลัวหนาวเราขอเชียร์ให้ ไปลองชิมอาหารนอร์ดิกแท้ๆ ถึงถิ่นไปเลย
Lingonberry
Semla Meatball
Cardamom
Smoked Halibut
Crayfish Crayfish
DILL
Rye Bread Pickled Herring
Gravlax
Veal Braised Reindeer
Meatball หลายคนน่าจะคุน้ เคยดีกบั สวีดชิ มีตบอลทีห่ าทานได้งา่ ย ทีร่ า้ นเฟอร์นเิ จอร์สญ ั ชาติสวีเดนในบ้านเรา หรือถ้าจะ ท�าเองก็เป็นเมนูที่ท�าได้ไม่ยาก เพียงใช้เนื้อที่เหลือ มาผสมกับเครือ่ งปรุงนิดหน่อย ท�าให้สกุ โดยการทอด หรืออบ และท�าซอสราดอีกนิดก็เป็นอันใช้ได้ Rye Bread ขนมปังทีท่ า� จากข้าวไรย์ เนือ้ แน่น สีเข้ม การท�าขนมปังไรย์ นัน้ มีในหลายประเทศในแถบยุโรปและแถบสแกนดิเนเวีย โดยมีการบริโภคมาตั้งแต่ยุคกลาง เหมาะทีจ่ ะทานคู่ กับแซลมอน ครีมเปรีย้ ว เคเปอร์ เลมอน และผักชีลาว Dill ผักชีลาว อยูใ่ นอาหารหลายวัฒนธรรม แต่ทเี่ ห็นเด่นชัด ก็คงเป็นอาหารสแกนดิเนเวีย หลายเมนูมักจะใช้ เครือ่ งปรุงพืน้ ฐาน เช่น ปลาทะเล ผัก ซอส แค่นกี้ อ็ อกมา เป็นอาหารที่ดูน่าทาน และมีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะกับประเทศที่มีอากาศหนาวยาวนาน Semla ขนมหวานที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของอาหารสแกนดิเนเวีย เดิมทีการกิน Semla จะเสิรฟ์ ในนมร้อนจนชุม่ ปัจจุบัน หากใครไปเที่ยวประเทศสวีเดนก็จะพบเห็น ขนมชนิดนี้ขายในช่วงคริสต์มาสไปจนถึงวันอีสเตอร์ Pickled Herring ปลาแฮร์รงิ ดอง ในหลายประเทศทีต่ ดิ ทะเล เมือ่ จับปลา มาได้ปริมาณมาก การถนอมอาหารเพื่อเก็บไว้ทาน โดยเฉพาะในฤดูหนาวทีโ่ หดร้ายจึงเป็นสิง่ ทีส่ บื ทอดกันมา โดยเฉพาะปลาแฮร์ริงที่สามารถจับได้มากในแถบนั้น Crayfish กุ้งเครย์ฟิช ส�าหรับวัฒนธรรมนอร์ดิกปาร์ตี้กินกุ้ง เครย์ฟิชกับครอบครัวนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ นิยมจัดกันในฤดูรอ้ น ประมาณเดือนสิงหาคม โดยน�า กุง้ เครย์ฟชิ มาต้มในน�า้ เกลือ ปรุงรสด้วยผักชีลาว มะนาว Gravlax กราฟลักซ์ คือปลาแซลมอนสดที่น�ามาผ่านกรรมวิธี ถนอมอาหาร เป็นกรรมวิธที มี่ มี าตัง้ แต่โบราณของชาว สแกนดิเนเวียน โดยชาวประมงจะน�าปลาที่จับได้ไป ฝังในทรายผสมด้วยเกลือและน�า้ ตาล ซึง่ ค�าว่า grav นัน้ หมายถึงฝัง lax หมายถึงแซลมอนนั่นเอง Lingonberry ลิงงอนเบอรี หน้าตาคล้ายๆ กับแครนเบอรี และการน�ามา บริโภคก็คล้ายๆ กัน คือน�ามาท�าซอส แยม น�า้ ผลไม้ นอกจากจะมีขายแบบแปรรูปแล้ว ชาวสแกนดิเนเวีย ยังนิยมเข้าป่าไปเก็บผลลิงงอนเบอรีในหน้าร้อนอีกด้วย Smoked Halibut ปลาฮาลิบตั รมควัน คล้ายปลาตาเดียวแต่มขี นาดใหญ่ เนือ้ แน่นสีขาว จับได้ในทะเลแถวซีกโลกเหนือ ซึง่ ด้วย ขนาดที่ ใ หญ่ การน� า เนื้ อ ของมั น มาถนอมอาหาร อย่างเช่นรมควัน ท�าให้คนสแกนดิเนเวียสามารถเก็บ เนื้อปลาชนิดนี้ไว้กินได้นานขึ้น Braised Reindeer เนือ้ กวางเรนเดียร์ตม้ ส�าหรับประเทศหนาวๆ เนือ้ สัตว์ ประจ�าถิน่ ก็เป็นแหล่งโปรตีนชัน้ ดี อย่างเช่น การบริโภค เนื้อกวางเรนเดียร์ในแถบซีกโลกเหนืออย่างประเทศ ฟินแลนด์ โดยเนื้อกวางเหล่านี้สามารถน� ามาท�า อาหารง่ายๆ อย่างเช่นสตู หรือน� ามาแปรรูปเป็น เนื้อต้มกระป๋องเอาไว้ใช้ท�าอาหารก็ได้เช่นกัน Veal เนื้อลูกวัว ปกติแล้วเนื้อวัวแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติ แตกต่างกันไป เนื้อลูกวัวที่มีอายุน้อยซึ่งเนื้อจะออก สีชมพูนิยมใช้ในการท�าอาหารยุโรปหลายๆ ประเทศ รวมถึงอาหารสไตล์สแกนดิเนเวียด้วย Cardamom กระวานเทศ เครื่องเทศที่นิยมใช้กันในขนมอบสไตล์ สแกนดิเนเวีย อย่างเช่น Cinnamon Bun ก็สามารถเปลีย่ น เป็น Cardamom Bun ก็จะได้กลิน่ และรสชาติทเี่ ปลีย่ นไป รวมถึงขนมอื่นๆ อีกที่มีการใช้กระวานเทศที่เป็นฝัก สีเขียวๆ นี้
MAKE A DISH
Philly Beef Sandwich เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
หากคุณก�าลังฝันถึงการเริ่มต้นมื้อเช้าอันเรียบง่ายอย่างขนมปังสักชิ้นกับกาแฟหอมๆ แก้วโปรด แต่แล้วลืมตามาพบกับความจริงของชีวิตที่แสนเร่งรีบ ยิ่งต้องห้ามพลาด หาโอกาสลิ้มลองแซนด์วิชชิ้นโตอร่อยๆ อย่างเมนู Philly Beef Sandwich ของร้าน Eatdustry ร้านอาหารโฮมเมดสไตล์อเมริกัน ในซอยทองหล่อ 19 กลิ่นหอมๆ ของเนื้อ อันอบอวล และความนุ่มเมื่อแรกกัด ก็รับรู้ ได้ถึงคุณภาพของเนื้อชั้นดี บอกได้ค�าเดียวว่าไม่มีอะไรจะเหมาะกับเช้าวันที่รีบเร่งได้เท่านี้อีกแล้ว
Owner ตู่
PHILLY BEEF SANDWICH ราคา : 295 บาท
INGREDIENTS เนื้ อ ออสเตรเลี ย นริ บ อ า ย ส ไ ล ซ ์ / ซอสเกรวี / ชีสเอ็มเมนทอล / ขนมปั ง โฮลวีต
OWNER's Inspiration
เริม่ จากเราได้เนือ้ ออสเตรเลียนริบอายสไลซ์คณ ุ ภาพดีมาก จึงน�า มาท�าเมนูแซนด์วิชกินง่ายๆ น�าเนื้อมาผัดกับซอสเกรวี กินคู่กับชีส และขนมปังโฮมเมดโฮลวีตสูตรเฉพาะของทางร้าน ซึ่งเราให้ความใส่ใจ กับการคิดสูตรเป็นพิเศษ เพือ่ ให้ได้ขนมปังทีแ่ ข็ง กรอบและนุม่ เหมาะเจาะ กับเมนูแซนด์วิชของเรา ท�าให้เมนูนี้ลงตัวทั้งรสชาติเนื้อนุ่มๆ อร่อย เต็มค�า และกลิน่ หอมๆ ของเนือ้ ทีเ่ ราอยากรักษารสชาติเฉพาะตัวนัน้ ไว้
TIPS เคล็ดลับอยูท่ จี่ งั หวะการปรุง เนื้อ ต้องระวังไม่ให้โอเวอร์คุ้ก เกินไป รวมถึงปริมาณซอสเกรวี ที่ใช้ผัดกับเนื้อต้องไม่มากเกิน เพราะจะท�าให้ขนมปังแซนด์วิช แฉะจนเสียรสชาติได้
HOME MADE
Less is More เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
ครั้งแรกที่ได้เห็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของบ้านหลังนี้ เราไม่ลังเลใจที่จะรีบหลังไมค์ติดต่อ ‘พริก’ - พิมพิกา วิบูลย์วัฒนกุล สาวน้อยมินิมอลสไตล์ตัวเป้ง และหนึ่งใน distributor แบรนด์กระเป๋าและแอ็กเซสซอรี Koloer จากเกาหลี เธอออกตัวว่า บ้านหลังนี้อาจไม่ใช่บ้านสไตล์มินิมอลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะเธอและพี่น้องต่างใช้ที่นี่เป็นแหล่งรวบรวมของรักของชอบมากมายจนไม่อาจจ�ากัดความว่าเป็นมินิมอลได้เสียทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังประทับใจ ในสไตล์ที่ชัดเจนของเจ้าของบ้านจนต้องแอบเก็บภาพมุมบางมุมไว้เป็นตัวอย่างแต่งห้องครั้งต่อไป
จุดเริ่มต้นของบ้านหลังนี้ “ก่อนหน้านี้พวกเรา พวกเราแล้ ว ความสุข ที่ไ ด้ จ ากบ้ า นหลัง นี้คือ
“Where we belong.”
สามพี่น้องอยู่บ้านญาติที่ย่านอารีย์ พอโตขึ้นพ่อ กับแม่กเ็ ห็นว่าพวกเราควรจะมีพนื้ ทีเ่ พือ่ ความเป็น ส่วนตัว พวกท่านจึงตัดสินใจมองหาคอนโดฯ ใน ท�าเลและราคาทีเ่ หมาะสม ค�านึงถึงสภาพแวดล้อม และความสะดวกในเรื่องอาหารการกิน” สไตล์การตกแต่งพื้นที่ของเรา “เราชอบดู ไลฟ์สไตล์ของคน ดูบา้ นสวยๆ หลายครัง้ เราจึงได้ ไอเดี ย ใหม่ ๆ จากชาวต่ า งชาติ ที่ เ ป็ น เพื่ อ นใน อิ น สตาแกรม บางที ก็ ไ ด้ จ ากการไปหยิ บ จั บ ของแต่งบ้านตามแหล่งร้านต่างๆ เพื่อดูว่าจะ สามารถน�ามาจัดวางตรงไหนหรือส่วนไหนในบ้าน ได้บ้าง ดังนั้น การตกแต่งบ้านหลังนี้จึงเกิดจาก การรวบรวมของทีเ่ ราชอบและเลือกหยิบมาจัดวาง ค่อยๆ สะสมเรื่อยมา บางชิ้นได้จากการเดินทาง บางชิ้นได้จากการดัดแปลงของที่มีอยู่” บรรยากาศของบ้านและพืน้ ทีโ่ ปรด “บ้านหลังนี้ เราอยู่กันสามคนพี่น้อง ดังนั้น บรรยากาศจะ ครื้นเครงมาก บางทีคุณพ่อคุณแม่ก็จะมาจาก ต่างจังหวัดมาพักด้วยกัน หรือเพือ่ นๆ ของพวกเรา ก็แวะเวียนกันมาพักและท�ากิจกรรมสนุกๆ กัน ส่วนพื้นที่โปรดที่สะท้อนตัวตนของเรามากที่สุด จะเป็นตรงชัน้ วางของและหนังสือ เพราะรวบรวม ทุกสิ่งที่เป็นตัวเรา” ความสุขที่ ได้จากบ้านหลังนี้ “ส�าหรับคนอื่น อาจจะเรียกทีน่ วี่ า่ คอนโดฯ แต่สา� หรับเรา ทีน่ คี่ อื บ้าน เพราะเราให้ค�านิยามจากคนที่อยู่อาศัยร่วมกัน เพราะต่อให้เป็นคอนโดฯ หลังเล็กๆ แต่เราได้อยู่ กับคนที่เราสนิทด้วย เราก็จะเรียกว่าบ้าน ในทาง กลับกัน ต่อให้เป็นบ้านใหญ่โต แต่ต้องอยู่กับใคร ทีเ่ ราไม่สนิท เราว่าก็ไม่ใช่บา้ นอยูด่ ี ดังนัน้ ส�าหรับ
ทุกอย่างเลย อย่างการได้กลับมาบ้านแล้วได้เจอ พื้นที่ที่เป็นของเรา ได้ทา� สิ่งที่อยากท�า นั่งดูหนัง ฟั ง เพลงกัน พู ด คุย กัน แล้ ว ทุก พื้น ที่ก็คุ้ น เคย กับเราไปหมด พวกเราอาจจะตอบเรือ่ งความสุขนี้ ได้ไม่หมด พวกเราสามพี่น้องขอบคุณพ่อกับแม่ มากที่ท�าให้พวกเราได้อยู่บ้านหลังนี้”
• เพลงทีช่ อบเปิดในบ้าน... เพลงของวง Got7 และ Rhye • ร้านของเก๋มสี ไตล์รา้ นโปรด... ร้าน Things to make and do • ประเทศที่ประทับใจ... ติดอกติดใจประเทศ เกาหลีใต้มาก เพราะชอบไลฟ์สไตล์และรสนิยม ของคนที่นั่น • ทริปการเดินทางครั้งล่าสุด... ไปไต้หวัน กั บ แก๊ ง เพื่ อ นที่ รู ้ จั ก กั น ผ่ า นอิ น สตาแกรม เป็นทริปที่สนุกมาก เพราะเพื่อนร่วมทริป ลุยมาก ไปไหนไปกัน
SELECTIVE
We will, We will Rock You เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
ใครๆ ก็รู้ว่าเราไม่ควรตัดสินและตีกรอบสิ่งที่เขาหรือเธอเป็นจากการมองเห็นแค่ภายนอก เพราะใครบางคนที่ดูมาดมั่นฟังเพลงร็อก ก็อาจจะมีด้านกุ๊กกิ๊กน่ารักอยู่เช่นกัน เหมือนอย่าง ‘พี’ - พิลินธร แป้นน้อย Senior Writer แห่ง Unlockmen ไลฟ์สไตล์เว็บไซต์ ที่ของรัก 10 ชิ้นตรงหน้า ล้วนบ่งบอกความเป็นตัวเธอได้อย่างครบถ้วนไม่มีขาด
2
1
4 5 3
7 8 6 10
9
1. หนังสือ 500 Rock Bands โดย Joanne Huffa “เป็นเหมือนคัมภีรฟ์ งั เพลงร็อกของเรา เวลาทีน่ กึ ไม่ออกว่าจะฟังวงอะไรดี ก็จะเปิดเล่มนี”้ 2. กระเป๋าผ้า The Smiths 3. ลิปสติกสีแดง “แท่งนีพ้ เิ ศษเพราะเพือ่ น ซือ้ ให้เป็นของขวัญวันเกิด เป็นสีแดง Russian Red” 4. พาวเวอร์แบงก์ “เป็นของร้านขายซีดแี ผ่นเสียงชือ่ Tower Records ทีญ ่ ปี่ นุ่ ” 5. เสือ้ ยืด Unlockmen 6. ตุก๊ ตาแอนนาเบล “ซือ้ เพราะเห็นแล้วชอบเลย ไม่รมู้ าก่อน ว่านีค่ อื ต้นแบบตุก๊ ตาผีแอนนาเบล ซึง่ ใครจะกลัวยังไง เราก็ยงั มองว่าน่ารักดีนะ” 7. แผ่นเสียงอัลบัม้ London Calling ของ The Clash “แผ่นนีเ้ ป็นแผ่นเสียงแผ่นแรกทีเ่ ริม่ เก็บสะสม” 8. ไอพอด “ถึงจะเล่น แผ่นเสียง แต่บางทีเราก็มอี ารมณ์รบี ๆ” 9. กระปุกออมสิน “เป็นคนชอบหยอดกระปุกออมสิน ปกติหยอดอย่างเดียวไม่คอ่ ยแกะเหรียญออกมา จะมีบา้ งถ้าเดือนนัน้ ช็อต (หัวเราะ) ” 10. สมุดและปากกา
THE 5IVE
The Truth about Material Things เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ
เหล็กกับไม้ล้วนแต่เป็นวัสดุพื้นฐานที่ส�าคัญส�าหรับการท�าโครงสร้างในงานสถาปัตยกรรม ดังนั้น นักแสดง และว่าที่สถาปนิกหนุ่มอย่าง ณัฏฐ์ กิจจริต จาก แม่จ๋าอย่าหักโหม ซิตคอมที่เรียกเสียงหัวเราะแก่คนดูอย่างต่อเนื่อง ทางช่องเวิร์คพอยท์ จึงหมั่นเติมความรู้ให้ตัวเองเพื่อใช้ในการเรียนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์อย่างขะมักเขม้น เพื่อให้งานออกแบบของเขาออกมาอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด 01 DESIGN ANTHOLOGY “นิตยสารที่รวมงานด้านการออกแบบที่ใช้กระดาษที่ดี ให้ความรู้สึก ในการสัมผัส ผมชอบการจัดวางเลย์เอาต์ของนิตยสารเล่มนี้ที่ดูแล้วมี ความตัง้ ใจ และผมเรียนทางด้านสถาปัตยกรรมเป็นหลัก จึงค่อนข้างรูเ้ รือ่ ง การออกแบบภายในน้อย ก็อาศัยการดูดไี ซน์ตา่ งๆ จากนิตยสารเล่มนีม้ าใช้ ประกอบ เพราะถ้าเราเอาแต่สนใจเรื่องของอาคารอย่างเดียว แล้วไม่รู้ การตกแต่งภายใน พอเอาเฟอร์นเิ จอร์มาใส่ ห้องก็อาจจะดูตลก ไม่สวยงาม” 02 THAILAND ARCHITECTURE IN STEEL 3 “โจทย์การเรียนของผมในตอนนีค้ อื การปรับปรุงโรงแรมระดับสามดาว ให้ออกมาเป็นโรงแรมห้าดาว ก็เลยคิดว่าอยากท�าโรงแรมออกมาให้ดแู ข็งแรง และมีความเป็นไปได้ในเรือ่ งของรูปทรง จึงนึกถึงงานเหล็ก ก็ไปทีร่ า้ นหนังสือ แล้วเลือกเล่มนี้มาโดยไม่เปิดดูข้างในก่อนซื้อ เพราะอยากเอามาลองลุ้นดู ที่บ้านว่าข้างในจะเป็นอย่างไร ซึ่งก็เป็นความสนุกอย่างหนึ่งเหมือนกัน (หัวเราะ) พออ่านแล้วก็รวู้ า่ งานเหล็กนัน้ ถูกจัดวางไว้เพือ่ เหตุผลทางโครงสร้าง ไม่ใช่เพือ่ การตกแต่ง แต่กส็ ามารถท�าออกมาให้ดหู รูหราได้เหมือนกัน” 03 DESIGN FOR AGING REVIEW “หนั ง สื อ ที่ ร วบรวมโปรเจ็ ก ต์ ต ่ า งๆ ของการสร้ า งอาคารที่ ค� า นึ ง ถึ ง ชุ ม ชนหรื อ บ ริ บ ท โ ด ย ร อ บ โ ด ย เ ข า จ ะ แ จ ก แ จ ง รายละเอียดเลยว่าโครงการนี้มีพื้นที่เท่าไหร่ ใช้งบในการก่อสร้างแค่ไหน และชุมชนนั้น มีความเป็นอยู่อย่างไร เมื่อดูผังเมืองโดยรวม จะเห็นว่าสิ่งก่อสร้างนี้กลมกลืนไปกับพื้นที่ ซึ่งเป็นอีกแนวคิดของการท�าสถาปัตยกรรม ที่ ท� า ตั ว เป็ น ศู น ย์ แ ล้ ว เปิ ด รั บ ทุ ก อย่ า ง เป็ น งานสถาปั ต ยกรรมที่ ท�า เพื่ อ โลกอย่ า ง แท้จริง”
"I'VE ALWAYS BEEN INTERESTED IN DESIGNING FURNITURE BUT APPROACHING IT FROM AMORE ARCHITECTURAL PERSPECTIVE." DESIGN ANTHOLOGY
04 THE NEW WOOD ARCHITECTURE BY NAOMI STUNGO “หนั ง สื อ เล่ ม นี้ บ อกถึ ง เทคนิ ค ใหม่ๆ ของงานไม้ในสถาปัตยกรรม คนอาจจะคิดว่าไม้คงเอาไปใช้งานได้ ไม่เยอะในการสร้างอาคาร แต่จริงๆ แล้ ว เราสามารถน� า ไม้ ไ ปดั ด แปลง เป็นอะไรได้อกี เยอะมาก และในหนังสือ จะบอกว่ า ไม้ ข องประเทศนี้ เ อาไป ใช้ ง านแบบไหน มี เ ทคนิ ค อะไร ที่น่าสนใจ และในเล่มก็จะมีการแสดง แบบแปลนของตั ว อาคารให้ เ รา ได้ศึกษา ได้เห็นแนวคิดของสถาปนิก ว่ าการออกแบบแต่ ล ะครั้ง เขาไม่ ไ ด้ คิ ด ถึ ง แต่ ตั ว โครงสร้ า งอย่ า งเดี ย ว แต่ คิ ด ถึ ง การใช้ ง านของตั ว อาคาร อย่างละเอียดด้วย”
"THIS PROJECT PROVIDES AN ATTRACTIVE AND WELCOMING SPACE THAT IS WELL POISED FOR CURRENT AND FUTURE GENERATIONS." DESIGN FOR AGING REVIEW
05
7+7 เขียนแบบถาปัด
“หนังสือทีร่ วมเรือ่ งสัน้ จากนักเขียน 14 คน ทีเ่ รียนจบ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่ า ง วิ น ทร์ เลี ย ววาริ ณ , ประภาส ชลศรานนท์ หรือ คมสัน นันทจิต บางเรื่องอ่านแล้วเข้าใจยากมาก แต่อา่ นแล้วรูส้ กึ ดี ผมชอบมุมมองของพีๆ่ นักเขียนทุกคน ในเล่ ม นี้ เพราะทุ ก คนเขี ย นเรื่ อ งในแง่ บ วกหมดเลย ไม่ ว ่ า บางเรื่ อ งจะเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยเรื่ อ งราวที่ เ ป็ น ด้ า นลบ แค่ไหน แต่ก็จะจบด้วยความคิดบวกตลอด”
OUT THERE
Bruges บรูจส์เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศเบลเยียม ในอดีตที่นี่เป็นเมืองท่าส�าคัญที่มีการติดต่อค้าขายกับหลายดินแดนในยุโรป และเพราะมีแม่น�้าและคูคลองใหญ่น้อยไหลลัดเลาะทั่วเมือง บรูจส์จึงได้ชื่อว่าเป็น ‘The Venice of the North’ หรือเวนิสแห่งยุโรปเหนือ วันนี้บรูจส์อาจไม่ได้เป็นเมืองท่าที่ส�าคัญเช่นในอดีต แต่สิ่งหนึ่งที่ยังดึงดูดผู้คนให้เดินทางมาเยือนก็คือความโรแมนติก ของเมือง ดอกนาร์ซิสซัสเบ่งบานสดใส การนั่งเรือชมบ้านเรือนในยุคที่ศิลปะเฟื่องฟูริมฝั่งน�้าเป็นความทรงจ�าที่หากใครได้พบเจอคงอยากหวนกลับมาสัมผัสความพิเศษของเมืองนี้อีกครั้งเป็นแน่
THE City Facts เมืองบรูจส์เป็นเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งของประเทศเบลเยียม เมืองนี้มีประวัติศาสตร์ ยาวนานหลายร้อยปี และช่วงทีเ่ จริญรุง่ เรืองถึงขีดสุดคือในช่วงศตวรรษที่ 14 เพราะเป็น เมืองท่าส�าคัญทีแ่ ลกเปลีย่ นค้าขายสินค้าหลายอย่าง และการทีม่ คี คู ลองมากมายนัน้ ก็ท�าให้ ในอดีตเมืองนีม้ กี ารสัญจรทีเ่ หมาะกับการขนส่งสินค้าเป็นอย่างยิง่ ปัจจุบนั องค์การยูเนสโก ได้ก�าหนดให้เมืองบรูจส์เป็นเมืองมรดกโลก เพราะเมืองยังคงมีสิ่งก่อสร้างยุคโบราณ อยูม่ ากมาย และเป็นสิง่ ก่อสร้างทีม่ คี วามส�าคัญในฐานะแหล่งอารยธรรมของยุโรป
เมืองในยุโรปส่วนใหญ่จะมีจตั รุ สั ขนาดใหญ่ให้ชาวเมืองออกมาท�า กิจกรรมกัน ทีบ่ รูจส์กม็ มี าร์เก็ตสแควร์ ที่นอกจากจะเป็นแหล่งการค้าแล้ว ยังเป็นสถานทีร่ วมตัวกันของชาวเมือง และมีสิ่งก่อสร้างส�าคัญหลายแห่ง ตัง้ อยูท่ นี่ ี่ ไม่วา่ จะเป็นโบสถ์ อนุสาวรีย์ ศาลาว่าการของเมือง ปัจจุบนั ยังเป็น ที่ ตั้ ง ของร้ า นอาหาร ร้ า นกาแฟ โรงแรมขนาดเล็ก ตลาดขนาดย่อม โดยใช้อาคารหลังเก่าที่มีมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 15 มาดั ด แปลงเป็ น โรงแรมและร้านอาหาร ซึ่งมีเสน่ห์ และสวยงามแบบไม่มที ไี่ หนเหมือน
"BRUGES IS A BEAUTIFUL MEDIEVAL CITY ALMOST UNTOUCHED BY TIME. IF YOU LIKE JAZZ, YOU WILL BE WELL CATERED FOR. IF YOU LIKE CHOCOLATE AND BEER, YOU WILL BE IN HEAVEN." JAMES FRAIN, AN ENGLISH STAGE AND SCREEN ACTOR
สถานที่ ส� า คั ญ ในเมื อ งที่ ค วรไปเยี่ ย มและ ท�าความรูจ้ กั ก็อย่างเช่น อนุสาวรีย์ Pieter De Coninck and Jan Breydel ผูน้ า� ต่อต้านการยึดครองของดยุก แห่งเบอร์กนั ดี อนุสาวรียแ์ ห่งนีถ้ อื ว่าเป็นจุดนัดพบ ส�าคัญ นอกจากนัน้ ยังมีหอระฆังของเมืองทีต่ งั้ อยู่ ตัง้ แต่ศตวรรษที่ 13 ในอดีตหอระฆังแห่งนีเ้ ป็นไม้ แทบทั้งหมด และถูกท�าลายลงไปบางส่วน แต่ได้ มีการบูรณะใหม่ให้เหมือนของเดิม เป็นสถานที่ บอกเวลาที่มีประโยชน์กับชาวเมืองเมื่อครั้งอดีต
การล่องเรือในแม่น�้าและคลองสายเล็กๆ ในบรูจส์เป็นทางเลือกที่พิเศษอย่างหนึ่ง ส�าหรับคนที่อยากสัมผัสเรื่องราวและบรรยากาศในอดีตของ เมืองเวนิสแห่งยุโรปเหนือ บ้านเรือนริมน�า้ ที่เป็นศิลปะแบบโกธิกชวนให้ตื่นตาตื่นใจ เราจะเห็นรูปแบบของบ้านเรือนที่แตกต่างกันไปแต่ผสมผสาน กันได้อย่างลงตัว เป็นความโรแมนติกแบบยุโรปที่เมืองบรูจส์ยังคงรักษาไว้ได้เป็นอย่างดี
โบสถ์ถือเป็นศูนย์รวมใจในทุกเมืองของยุโรป ที่บรูจส์ก็เช่นกัน โบสถ์ขนาดใหญ่ที่มีความส�าคัญก็อย่างเช่น Church of Our Lady ที่ตั้งเด่น เป็นสง่าอยู่ใจกลางเมือง โบสถ์แห่งนี้สร้างในศตวรรษที่ 13 มีหอคอยขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ความพิเศษก็คือ ในสมัยก่อนหอคอยแห่งนี้ มีความสูงเป็นอันดับต้นๆ ของยุโรป มีความสูงถึง 122 เมตร และความพิเศษอีกประการหนึ่งของโบสถ์แห่งนี้คือ ภายในโบสถ์มีผลงาน ประติมากรรมที่ชื่อ Madonna and Child ของมีเกลันเจโล ผลงานชิ้นนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 และยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ช็อกโกแลตคือความหอมหวานที่เมืองบรูจส์ สร้างสรรค์ให้ผู้มาเยือน เมืองบรูจส์มีร้านขาย ช็อกโกแลตหลายร้าน และไม่วา่ จะเข้าไปร้านไหน รสชาติของช็อกโกแลตก็อร่อยไม่แพ้กัน หนึ่งใน กิจกรรมทีค่ วรท�าคือการจิบช็อกโกแลตร้อนๆ ในคาเฟ่ เล็กๆ สักแห่ง นัง่ ชมเมืองแบบไม่เร่งรีบเกินไป และ ใช้เวลาพูดคุยกับผู้คน ดั่งเช่นในอดีตที่เมืองนี้มี นักเดินทางแวะเวียนมาแลกเปลีย่ นวัฒนธรรมอย่าง ไม่ขาดสาย และถ้าคุณใช้เวลากับบรูจส์ได้เพียงพอ คุณจะเข้าใจและหลงรักเมืองนีแ้ น่นอน WHAT YOU NEED TO KNOW ติดต่อขอวีซ่าการเดินทาง www.vfsglobal.com/belgium/thailand/thai การเดินทาง สายการบินเอทิฮัด www.etihad.com/th สายการบินแอโรฟลอต www.aeroflffllot.com สายการบินเตอร์กชิ แอร์ไลน์ www.turkishairlines.com ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง
THE WORD
บางทีการเดินทางก็ ไม่ได้เกี่ยวกับการกลายเป็นอะไรมากนักหรอก มันอาจจะเกี่ยวกับการไม่กลายเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ของคุณ ด้วยซ�้า ดังนั้น คุณจึงเป็นอย่างที่คุณเคยเป็นมาตั้งแต่แรกนั่นแหละ
- Unknown -