ISSUE 105 I 11 - 17 MARCH 2016
GOOD TO BE TWO
ปีที่ 3 ฉบับที่ 105 วันที่ 11 - 17 มีนาคม 2559
NOTE ON LIFE Be Yourself, Not a Look Alike ฝาแฝด จัดเป็นความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งส�าหรับผู้เขียน ที่คนสองคนเกิดมาเหมือนกันทุกประการ หรือต่อให้เป็นแฝดแบบไม่เหมือน เราก็ยังรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้รู้ ชีวิตของฝาแฝดต้องอยู่เคียงคู่กันมาตั้งแต่ในครรภ์ จะมาแยกกันอีกทีก็ต่อเมื่อเติบโตมากพอที่จะเลือก เส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน แต่เคยได้ยินมาว่า ฝาแฝด (เหมือน) บางคนอึดอัดมากกว่าสนุก ที่ถูกเลี้ยงดู มาให้เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่การแต่งตัว ไปจนถึงการท�ากิจกรรมต่างๆ สร้างความสับสน ให้คนที่บ้านยังไม่พอ ยังลามไปท�าให้คนอื่นๆ งงงวยอีก เพราะแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร เรื่องแบบนี้เคยมี ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าไม่ควรท�า เพราะคนแต่ละคนรวมถึงฝาแฝดที่ไม่ว่าจะเหมือนกันมากเพียงใด ก็ย่อมมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่แตกต่างและเราควรเคารพความต่างนั้น การที่แม้แต่ฝาแฝดยังไม่ชอบความเหมือน แต่คนที่เกิดมาต่างกันในแทบทุกๆ ด้าน ต้องการจะเป็นเหมือนใครสักคน จึงเป็นอีกเรื่องที่ผู้เขียนว่ามหัศจรรย์ไม่แพ้กัน เพราะมันต้องใช้ ความพยายามอย่างหนัก เพื่อสุดท้ายแล้วก็เป็นได้เพียงคนที่ ‘ดูเหมือน’ หาใช่ ‘เป็นเหมือน’ อาจจะดูดีที่เรามีชีวิตเหมือนคนที่เราอยากเป็น แต่อย่าลืมว่านั่นไม่ใช่ชีวิตที่ควรเป็น เพราะเราไม่ได้ใช้ชีวิต ในแบบที่เป็นตัวเอง ให้สมกับที่เราเกิดมาเพื่อเป็นในสิ่งที่แตกต่างกัน วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin
CONTENTS
3 The Stuff
4 Feature
สารพัดสิง่ รอบตัวเรา พบกับเรื่องราวของ ทีเ่ ล่าผ่านตัวเลข ฝาแฝด 4 คู ่ ที่ มี ความเหมื อ นและ ความต่างทั้งในแง่ ชีวติ และการท�างาน
12 Calendar
13 Make a Dish
ใคร ท�าอะไร ที่ไหน หนึ่งจานอร่อยจาก เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ ร้านดังที่เราอยาก จ ะ ไ ด ้ ไ ม ่ พ ล า ด ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง เรื่องราวสนุกๆ
14 16 Supermarket Selective
18 The 5ive
20 AT HOME
22 Out There
26 THE WORD
ฉวยตะกร้ า คว้ า รถเข็ น แ ล ้ ว ไ ป เดินเล่นจับจ่ายกับ เราใน Supermarket แห่งนี้
เพลง 5 อั ล บั้ ม ที่ นรเทพ มาแสง หยิ บ มาเล่ า ให้ ฟ ั ง เกี่ยวกับความหลัง เมือ่ เขาเริม่ จับกีตาร์
พบกับเหตุผลทีท่ า� ให้ แสงพล จิ ร ายุ กู ล และ มาริสา จันทรัช ตกหลุ ม รั ก บ้ า นใน โครงการ Noble BE19
เพราะเราเชื่ อ ว่ า โลกใบนี้ มี ส ถานที่ มากมายรอให้ ไ ป ค้นหา
พลิ ก มุ ม คิ ด ปรั บ มุมมอง กับ ‘หนึ่ง ถ้อยค�า... ที่เปลี่ยน ความคิด’
ข้าวของสไตล์มนิ มิ อล เท่ๆ ของ พิมพิกา วิบลู ย์วฒ ั นกุล หนึง่ ใน ตัวแทนจัดจ�าหน่าย สินค้าแบรนด์ Koloer
LETTER เราติดตาม a day BULLETIN LIFE มาตั้งแต่เล่มแรกๆ ที่เปิดตัว เวลาได้อ่าน a day BULLETIN LIFE จะรู้สึกสบาย คลายเครียด และช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ให้เราได้เยอะมาก โดยเฉพาะ Feature ที่อ่านแล้วได้แรงบันดาลใจจากคนที่ทีมงาน เลือกมาสัมภาษณ์ และเรายังชอบรูปในเล่มทุกรูปที่สวย ดูดี มีการคุมโทนให้สบายตา แต่ติดเรื่องจุดแจกที่ไปทีไรหาไม่เคยได้เลย จนท�าให้ต้องตามอ่านจากใน Ookbee แทน แต่ก็อยากได้ฉบับจริงมานั่งอ่านมากกว่า - Chalida
ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife
A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ ห้วหน้ากองบรรณาธิการ วรรณวนัช ท ว้ มสมบูรณ์ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง ทัตชญา มิง่ ขวัญ พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ ่ายผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ ่ายโฆษณา ศรวณีย ์ ศิรจิ รรยากุล ผูอ้ า� นวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผูจ้ ดั การฝ ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุง่ รัตนสุทธิกลุ 08-4491-9241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน จรัตพร โมรา วัลญา นิม่ นวลศรี ศิรกิ าญจน์ ศรีเจริญ ณัฐณิชา หงษ์อา�่
STUFF
Calendar กว่าจะมาเป็นปฏิทินที่เอาไว้ให้เรานับอายุ นับถอยหลังข้ามปี นับวันรอโบนัส หรือฉลองครบรอบวันส�าคัญต่างๆ ปฏิทินได้เปลี่ยนรูปแบบมาแล้วหลายต่อหลายหน การค�านวณก็แสนซับซ้อน บ้างก็ใช้หลักสุริยคติ บ้างก็ใช้หลักจันทรคติ ก่อนจะใช้ก็ยังต้องถกเถียงและพิสูจน์ความถูกต้องกันอีกมากมาย จนกระทั่งเมื่อเขียน สิ่งที่คุณก�าลังจะได้อ่านต่อไปนี้จบ เราแสนดีใจที่ในยุคนี้มีปฏิทินในอุดมคติ ที่เมื่ออยากรู้วันที่ก็ ไม่ต้องท�าอะไรมากไปกว่าเหลือบตามอง
11
2
ปฏิทินแอซเท็คมีวงกลมซ้อนกัน 2 วง วงกลมนอก มีจ�านวนวัน 365 วัน เรียกว่า xiuhpohualli (year count) เป็ น ปฏิ ทิ น ส� า หรั บ การเกษตร และวงกลม ด้านในมี 260 วัน เรียกว่า tonalpohualli (day count) เป็นปฏิทนิ ส�าหรับวันส�าคัญทางศาสนา เมือ่ สองปฏิทนิ รวมกัน หนึ่งศตวรรษจะมีความยาว 52 ปี หรือเรียก อีกอย่างว่าหนึ่งปีปฏิทิน
1582
ปฏิทนิ ฮิจญ์เราะฮ์ หรือปฏิทนิ อิสลามนัน้ ใช้ครัง้ แรกโดย Umar ibn Al-Khattab ในปี ค.ศ. 638 ก�าหนดให้ 1 ปี มี 12 เดือน เป็นปฏิทินแบบจันทรคติ มาจากการค้นคว้าของนักดาราศาสตร์ ที่ท�าให้ทราบว่า ดวงจันทร์ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกนาน 29.5 วัน และจะมีจ�านวนวัน น้อยกว่าปฏิทินเกรกอเรียนที่ใช้กันทั่วไปประมาณ 11 วัน
365.25 ปฏิทนิ โรมันค่อนข้างจะไร้หลักการและปรับเปลีย่ นบ่อยๆ เพือ่ ให้เอือ้ ต่ออ�านาจของนักการเมือง ชาวโรมัน ท�าให้เกิดปัญหาการปกครอง ในสมัยจูเลียส ซีซาร์ ครองโรมัน จึงบัญชาให้มกี ารปฏิรปู ปฏิทนิ โดยการสร้างปฏิทนิ ขึน้ จากวิถโี คจรของดวงอาทิตย์โดยปราศจากการแทรกแซงจาก มนุษย์ ปฏิทนิ จูเลียน มี 12 เดือน มีจา� นวนวันรวม 365 วัน นอกจากนีเ้ ดือนกุมภาพันธ์จะเพิม่ อธิกวารทุก ๆ 4 ปี ดังนัน้ รอบปีโดยเฉลีย่ ต่อ 4 ปีของปฏิทนิ จูเลียน เท่ากับ 365.25 วัน ปฏิทนิ เกรกอเรียนเป็นระบบปฏิทนิ ทีเ่ ราใช้กนั อยู่ ในปั จ จุ บั น ดั ด แปลงมาจากปฏิ ทิ น จู เ ลี ย น ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปา เกรกอรีที่ 13 เมือ่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1582 เนือ่ งจากปีในปฏิทนิ จูเลียนทีต่ อ้ งเพิม่ วันเข้าไปใน ปฏิทิน 1 วัน ในทุกๆ 4 ปี ท�าให้ในสมัยต่อๆ มา เกิดความสับสน เพราะปีปฏิทนิ สัน้ กว่าปีฤดูกาล ดั ง นั้ น ปรากฏการณ์ ท างธรรมชาติ ต ่ า งๆ จะมาถึงเร็วกว่าปีปฏิทนิ มากขึน้ ทุกปี นอกจากนี้ ยั ง ก� า หนดให้ วั น ที่ 1 มกราคมของทุ ก ปี เ ป็ น วันขึ้นปีใหม่ด้วย
ปฏิทนิ อียปิ ต์เกิดจากการสังเกตว่า เมือ่ ครบปี น�้าในแม่น�้าไนล์จะท่วมฝั่ง น�าโคลนและปุ๋ย มาทับถมที่ดินท�านา วัฏจักรประจ�าปีเช่นนี้ ท�าให้ชาวอียิปต์เมื่อ 6,240 ปีก่อน แบ่งปี ออกเป็นฤดูกาล คือ ฤดูนา�้ ท่วม ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูเก็บเกี่ยว หนึ่งปีมี 12 เดือน เดือนละ 30 วัน 360 วันต่อปี และเพิ่มวันพิเศษอีก 5 วันในเดือนสุดท้ายของทุกปีเพือ่ ให้ตรงกับ solar year หรือปีสุริยคติ และใน 5 วันนี้จะ กลายเป็นวันเทศกาลที่ผู้คนจะไม่ท�างาน เพราะเชื่อว่าจะท�าให้โชคร้าย
7
ปฏิทนิ จีนโบราณมีหลักฐานการบันทึกไว้วา่ จักรพรรดิ เหยาโปรดให้โหรหลวงสร้างปฏิทิน โดยก�าหนดให้ 1 ปี มี 354 วัน ซึ่งสอดคล้องกับเวลาทางจันทรคติคือ เวลาที่ดวงจันทร์ ใช้ ในการโคจรรอบโลก (12x29.5) และไม่ใช้เวลาทางสุริยคติ ซึ่งเป็นเวลาที่โลกโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ (365) เลย โหรหลวงจึงก�าหนดว่าทุก 19 ปี ทีใ่ ช้ปฏิทนิ จีน ให้เพิม่ เดือนพิเศษอีก 7 เดือน แล้วจึงเริม่ ปีต่อไป
5
Calendar มาจากภาษาละติน ซึ่งมาจากกรีกโบราณ Kalend แปลว่า I cry เพราะในสมัยนั้นจะมีคนท�าหน้าที่ร้องบอกเวลาและประกาศวันขึ้นเดือนใหม่แก่ชาวเมือง จนต่อมามนุษย์จึงได้เริ่มบันทึกวัน เวลา เป็นลายลักษณ์อักษร หรือที่เรียกกันว่าปฏิทิน 3
FEATURE
Good To Be Two ความเหมือนกันจนบางครั้งก็แยกกันแทบไม่ออกของพี่น้องฝาแฝด ไม่เพียงแต่สร้างความทึ่งให้กับเราทุกครั้งที่ได้พบเจอ แต่เรื่องราวของคนคู่หนึ่ง ที่มีหน้าตาเหมือนกันตั้งแต่เกิด ทวีความน่าสนใจมากขึ้น เมื่อคู่แฝดต้องมาท�างานร่วมกัน นั่นจึงเป็นที่มาที่ให้เราพาคุณไปพบกับฝาแฝดจ�านวน 4 คู่ ที่มีทั้งมุมเหมือน มุมต่าง และเรื่องราวน่ารักระหว่างการร่วมงาน ที่เราได้ค้นพบว่าการเชื่อมโยงความคิดของพวกเขานั้นน่าทึ่งมากทีเดียว
DANUPHAN AND THANAPHAN YATHUAM เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, จรัตพร โมรา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
ผูช้ ายส่วนใหญ่มกั จะไม่คอ่ ยแสดงความรูส้ กึ ออกมาตรงๆ ก็เหมือนกับคูพ ่ นี่ อ้ งฝาแฝดอย่าง ‘เอิง’ - ดนุพรรษ์ และ ‘เอย’ - ธนพรรษ์ ยาท้วม นักร้องน�าและกีตาร์คู่ของวง Summer Stop แต่พวกเขาก็ยังมีมุม ที่น่ารักๆ ให้เราได้เห็นกัน อย่างเคยใช้กระเป๋าสตางค์ใบเดียวกันมาตั้งแต่เด็ก จนมาถึงวันที่ชีวิตของทั้งคู่ ต้องแยกออกจากกันไปบ้าง แต่การท�างานด้วยกันก็เชื่อมให้ทั้งสองคนนี้ได้กลับมาต่อติดกันอีกครั้ง WHEN WE WERE YOUNG :
ดนุพรรษ์ : ตอนเป็นเด็กเรามักถูกจับให้ แต่งตัวเหมือนกัน แต่กม็ บี า้ งทีเ่ สือ้ แบบเดียวกัน แต่คนละสีแล้วเราอยากได้ของไอ้เอยมัน (หัวเราะ) และตอนเด็กๆ พ่อกับแม่จะบังคับให้พวกเรา เรียกแทนตัวเองกันว่า เรา กับ ตัวเอง ซึ่งพอโต ขึน้ มาก็เริม่ รูส้ กึ ว่าเรียกกันแบบนีแ้ ล้วรูส้ กึ ขนลุก เปลี่ยนดีกว่า (หัวเราะ) ธนพรรษ์ : ตอนเป็นเด็ก ลึกๆ ก็รู้สึกพิเศษ ที่มีอีกคนหน้าตาเหมือนกัน เวลาไปไหนผู้ใหญ่ ก็จะชมว่า ฝาแฝดน่ารัก แต่พอโตเป็นวัยรุน่ เอิงก็ เริม่ อยากเป็นตัวของตัวเอง มันก็พยายามท�าตัว เคร่งขรึม วางมาดให้ดสู ขุ มุ เพือ่ นๆ ก็จะเรียกว่า ไอ้เบ๊ก ซึ่งมาจากค�าว่าเกิดระเบ๊ก เก๊กระเบิด (หัวเราะ) พอเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เราก็เริม่ ปรับตัว เข้ามาตรงกลาง ให้ดูเป็นคนปกติเหมือนเดิม WORKING TOGETHER :
ดนุพรรษ์ : เรื่องการถูกเปรียบเทียบก็มี อยู่แล้วตามประสาพี่น้อง แต่เราก็ไม่ได้ใส่ใจ อะไร เพราะพวกเราเท่ า กั น หมดทุ ก อย่ า ง เกิ ด วั น เดี ย วกั น ชั่ ว โมงเดี ย วกั น พ่ อ แม่ ก็ คนเดียวกัน จะมีปัญหาบ้างก็คงเป็นเรื่องของ ความคิดทีไ่ ม่เหมือนกัน เพราะเราคุยกันน้อยลง หรือคุยกันแต่เรื่องงานอย่างเดียว เรื่องส่วนตัว แทบจะไม่ได้คุยกันแล้ว ธนพรรษ์ : เราเป็นคนใจเย็นกันทั้งคู่ และ ทีบ่ ้านจะคุยกันด้วยเหตุผล ไม่มกี ารทะเลาะกัน อยูแ่ ล้ว ดังนัน้ การท�างานจึงมีแค่เรือ่ งการปรับตัว เข้ า หากั น จากที่ เ คยลองท� า เพลงด้ ว ยกั น ก็ เปลี่ยนเป็นแยกกันไปท�า เอิงท�าแบบนี้มา เราก็ ให้เกียรติในงานส่วนของเขา และเอิงก็ให้เกียรติ ในงานส่วนของผมด้วย แต่สุดท้ายพอเอางาน มาประกบกันก็ตอ้ งท�างานด้วยกันอยูด่ ี (หัวเราะ) แต่ก็ดีว่าได้ทดลองท�าอะไรใหม่ๆ ด้วยกัน the TWIN CONNECTION :
ดนุพรรษ์ : พืน้ ฐานของเรามาจากครอบครัว เดียวกัน ก็ทา� ให้มีความชอบคล้ายๆ กันอยู่ แต่ พอเข้ า มหาวิท ยาลัย เราก็แ ยกจากกัน เพราะ เรียนกันคนละที่ เวลากลับบ้านมาเจอกันก็เริ่ม รูส้ กึ ว่าอีกคนคิดไม่เหมือนกัน ผมก็เริม่ เดาไม่ออก
แล้วว่าเอยก�าลังคิดอะไรอยู่ คนเราต่อให้เป็น ฝาแฝดกันก็จริงแต่ความชอบลึกๆ ของแต่ละคน ก็คงแตกต่างกัน ธนพรรษ์ : เราไม่ได้มเี ซนส์อะไรทีส่ อื่ ถึงกัน แบบทีค่ นทัว่ ไปคิดหรือแบบในหนัง แต่เหมือนเป็น ความเข้าใจซึง่ กันและกันมากกว่า สมมติวา่ ถ้าเรา ยืนต่อแถวกันคนละแถวแล้วมีกา� แพงกัน้ ตรงกลาง ระหว่างเราไว้ แต่มเี หตุการณ์ทไี่ ม่ดเี กิดขึน้ เหมือนกัน ผมจะรู้ทันทีว่าเอิงจะคิดอะไรอยู่ ถึงแม้เอิงจะ ไม่ได้คิดแบบเดียวกับที่ผมคิดอยู่ก็ตาม GOOD TO BE TWO :
ดนุพรรษ์ : เวลาท�าเพลงก็เป็นธรรมดาของ วงดนตรีที่รู้สึกว่างานยังไม่โดนใจตัวเอง แต่เรา ก็จัดการด้วยหลักประชาธิปไตยกัน ธนพรรษ์ : ตอนเราเด็กๆ พ่อผมเป็นครู ก็จะ พาลูกศิษย์ที่เป็นนักเรียนหญิง ม.ปลาย มาติว หนังสือทีบ่ า้ น ผมก็อยูป่ ระมาณ ป.6 เป็นเด็กขีร้ อ้ น ก็เลยไม่ใส่เสือ้ ผ้าตอนอยูบ่ า้ น วันนัน้ ผมวิง่ ลงมา จากชัน้ บน พอลงมาถึงบันไดข้างล่างทุกคนมอง เห็นผมหมด ผมก็รบี วิง่ ขึน้ ข้างบนด้วยความอาย และตะโกนว่า เฮ้ย! เอิงลงไปท�าอะไรข้างล่าง ซึ่งวันนั้นเอิงไม่อยู่บ้านด้วยครับ (หัวเราะ)
SUMMER STOP
วงดนตรีแนวพ็อพ สังกัดค่ายสมอลล์รูม มีสมาชิกทั้งหมด 4 คน เพลงเด่นๆ ของ วงนี้ก็คือ เราเคยรักกัน (FREEZE) และ อยากให้ เ ป็ น อย่ า งนี้ ทุ ก วั น (l EVERY RAINY DAY)
WANWEAW AND WEAWWAN HONGVIVATANA เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, จรัตพร โมรา ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
เราเริม่ รูจ้ กั ฝาแฝดคูน่ จี้ ากภารกิจเดินทางกลับประเทศไทยด้วยรถไฟจากลอนดอน ในภาพยนตร์สารคดี Wish Us Luck ขอให้เราโชคดี จากนัน้ ทั้ง วรรณแวว และ แวววรรณ หงษ์วิวัฒน์ ก็ยังมีโปรเจ็กต์ต่างๆ ออกมาให้เห็นกันเป็นประจ�า และถ้าพูดถึงงานที่ทั้งสองท�าร่วมกันแล้วก็คือ การช่วยกันเปิดแผนกถ่ายวิดีโอในชื่อว่า Spoonful Production ขึ้นมา และนั่นก็เป็นสิ่งที่ท�าให้ทั้งคู่เรียนรู้อีกครึ่งหนึ่งของกันและกันได้ดีขึ้น
WHEN WE WERE YOUNG :
วรรณแวว : เราใช้ชีวิตแบบแบ่งครึ่งมา ตลอด ถ้าพ่อแม่ซอื้ อะไรมาให้กต็ ้องแบ่งครึง่ กัน หรือไม่ก็ต้องซื้อสองชิ้น ถ้ามีของอย่างเดียว ครั้งนี้คนนี้ได้ ครั้งต่อไปอีกคนต้องได้ ทุกอย่าง ต้องแฟร์ เลี้ยงสุนัขก็ต้องสองตัว แต่เราไม่เคย รู้สึกว่าตัวเองเป็นคู่ที่พิเศษ เรารู้สึกว่าเวลาท�า อะไรก็จะมีเพื่อน ไปเรียนก็มีเพื่อนไปด้วยกัน แวววรรณ : จริงๆ เราก็แยกกันยากนะ เพราะตอนเราเรียนคณะเศรษฐศาสตร์ ส่วน วรรณเรียนนิเทศศาสตร์ เวลามีอะไรก็ปรึกษา กันตลอด อย่างงานธีสิสจบของวรรณที่เป็น หนังสั้นก็จะมีชื่อของเราอยู่ในนั้นด้วย WORKING TOGETHER :
วรรณแวว : เราคิดอะไรคล้ายๆ กัน มี รสนิยมบางอย่างเหมือนกัน เสื้อผ้าก็ใส่ด้วยกัน หนังทีด่ กู ช็ อบคล้ายๆ กัน เวลาคุยงานกัน บางที พูดแค่ครึ่งประโยคก็เข้าใจกันแล้ว อย่างเรื่อง ภาพยนตร์ ซึ่ ง มี ร ายละเอี ย ดเยอะ ถ้ า คุ ย กั บ คนอืน่ เราจะรูว้ า่ มองภาพไม่ตรงกัน ต้องใช้เวลา คุยกันไปเรื่อยๆ กว่าจะมองเห็นภาพเดียวกัน แต่พอคุยกับแววแค่นิดเดียวก็เข้าใจกันแล้ว แวววรรณ : มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ ถึงแม้เราจะถนัดกันคนละอย่าง แต่กย็ งั สามารถ ท� า งานแทนอี ก คนได้ ถ้ า วรรณเป็ น ผู ้ ก� า กั บ เราก็จะเป็นโปรดิวเซอร์ ถ้าเราไม่พร้อม อีกคน ก็พร้อมที่จะท�างานแทน เหมือนเรามีคนคอย ซัพพอร์ตอยู่ แต่ข้อเสียก็คือ จะมีความขัดแย้ง ในเรือ่ งของการท�างานอยูเ่ หมือนกัน และก็มอี าการ งอแงเกิดขึ้นด้วย ว่าท�าไมไม่ช่วยฉันท�างานเลย the TWIN CONNECTION :
วรรณแวว : เราทัง้ คูเ่ ป็นโรคหาโทรศัพท์มอื ถือ ของตัวเองไม่คอ่ ยเจอ (หัวเราะ) บางทีเข้าห้องน�า้ ออกมา อ้าว โทรศัพท์หายไปไหน พอเราพูดว่า ภาพสุดท้ายที่เห็นโทรศัพท์ของตัวเองนั้นคือ ที่ไหน แววก็จะพูดขึ้นมาทันทีว่า เห็นวางอยู่บน ม้วนทิชชูใช่ไหม ซึ่งในหัวของเราก็เป็นภาพนั้น จริงๆ แวววรรณ : เราเป็นเหมือนคูพ่ นี่ อ้ งทีส่ นิทกัน มากกว่า แต่เราอาจจะอยูก่ งึ่ กลางระหว่างพีน่ อ้ ง กับความเป็นเพือ่ น แต่ตอนไปดูพลุปใี หม่ทอี่ งั กฤษ ตอนนัน้ เราพลัดหลงกัน พอเราหลุดออกมาจาก ฝูงคนได้ก็มาเจอวรรณ วรรณก็ร้องไห้ออกมา
เขาคงเป็นห่วงว่าเราจะโดนคนเหยียบตายหรือ มีอะไรเกิดขึ้นกับเราหรือเปล่า GOOD TO BE TWO :
วรรณแวว : มีอยูค่ รัง้ หนึง่ ทีเ่ ราไปท�าใบขับขี่ แล้วไม่ได้ถา่ ยรูปไปด้วย เราก็เลยเอารูปของแวว มาใช้แทน แต่ขอ้ เสียก็มเี หมือนกัน เช่น ตอนท�า วีซ่า เอเจนซีที่ท�าให้เราก็จะสับสน ไม่รู้ว่าใคร เป็นใคร ตอนสมัครเรียนปริญญาโท อีกคนก็ถกู ปฏิเสธเพราะชือ่ ภาษาอังกฤษของพวกเราเขียน คล้ายๆ กัน จะสลับกันแค่ตวั E กับตัว A เท่านัน้ นามสกุลก็เหมือนกัน เกรดเฉลี่ยก็เท่ากัน ถึงจะ เรียนคนละคณะแต่ GPA เท่ากัน (หัวเราะ) แวววรรณ : เราอาจจะเป็นคู่ที่ไม่ได้คิด อะไรตรงกันทุกเรือ่ ง อย่างวรรณชอบใช้กล้องฟิลม์ แต่เราจะใช้กล้องดิจิตอล จริงๆ ก็อยากเรียนรู้ การถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มเหมือนกันนะ แต่ก็ ชอบคิดว่าอีกคนท�าเป็นแล้ว เราไม่ต้องท�าก็ได้ (หัวเราะ) ข้อดีคือ ถ้าใครสนใจเรื่องอะไร อีกคน ก็ปล่อยทิง้ ไปได้เลย เหมือนกับพอเรารูว้ า่ อีกคน จะรับผิดชอบเรือ่ งนี้ เราก็ปล่อยให้เขาท�าเพราะ ไว้ใจ เป็นทัง้ ความเข้ากัน และเป็นความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นได้เสมอ
SPOONFUL PRODUCTION
แผนกรับผลิตงานภาพเคลื่อนไหวของ ส� า นั ก พิ ม พ์ แ สงแดด งานถนั ด คื อ การถ่ายวิดีโอเกี่ยวกับอาหาร แต่งานใน แบบอืน่ ๆ ก็สามารถท�าได้ เพราะพวกเขา ถือว่าตัวเองเป็นช้อนที่พูนไปด้วยเรื่อง สนุกๆ ที่อยากสร้างสรรค์ตลอดเวลา
CHANCHANA AND CHAYANUCH AKJIRATIKARL เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
เรารู้จักฝาแฝดนักออกแบบท่าเต้นจากรอยสักรูปนักบัลเลต์ที่จะแตะมือประสานกันทุกครั้งที่พวกเธอยืนแขนชิดกัน แต่รอยสักของ ‘เอ้ก’ - ชัญชนา และ ‘เอาท์’ - ชญานุช อรรฆจิรัตฐิกาล ยังไม่เชื่อมโยงกันมากเท่าความรู้สึกของเธอทั้งคู่ ที่บอกเราอย่างมั่นใจมากว่า พวกเธอไม่เคยอยากแยกจากกันเลย
WHEN WE WERE YOUNG :
ตั้งแต่เด็กๆ ชอบอะไรเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าไม่ถูกอาจารย์จับแยกห้องเพราะกลัวว่า เราจะไม่สนใจเพือ่ นคนอืน่ ๆ ก็เลยเรียนด้วยกัน มาตลอด จนถึงเรียนมหาวิทยาลัยก็เลือก เรียนภาควิชาเดียวกัน คือภาพยนตร์และ ภาพนิ่ง ท�างานกลุ่มถ้าเลือกได้ก็อยู่กลุ่ม เดียวกันเพราะว่าสะดวก (หัวเราะ) เพราะอยู่ ด้ ว ยกัน ตลอดเวลาอยู ่ แ ล้ ว แล้ ว ก็ม าเริ่ม สนใจการเต้นพร้อมๆ กัน จริงๆ เราไม่ได้ตั้งใจว่าจะเหมือนกัน แต่กลายเป็นว่าพออยู่ด้วยกันแล้วมันเป็น คาแร็กเตอร์ที่ขายได้ แต่ความที่อยู่ด้วยกัน ตลอด มีประสบการณ์เหมือนกัน รับสื่อ เหมือนกัน เดินทางด้วยกัน ความคิดก็เลย คล้ายกัน เฟซบุ๊กยังใช้ด้วยกันเลย ซึ่งก็เลย กลายเป็น identity ที่คนรู้จักและจ�าได้ว่า สองคนนี้คือ 1 แพ็ก ต่างกันแค่เอ้กอาจจะ ดูเป็นผู้หญิงมากกว่า ในขณะที่เอาท์ออก ห้าวๆ หน่อย WORKING TOGETHER :
อย่ า งที่ บ อกว่ า เฟซบุ ๊ ก ใช้ อั น เดี ย วกั น มือถือก็ใช้ด้วยกัน เพราะท�างานด้วยกันมา ตลอด แม้ว่าจะจ้างคนเดียว จ่ายค่าตัวแค่ คนเดียว เราก็ไปสองคนอยูด่ ี ไม่วา่ จะสอนเต้น หรือออกกองโฆษณา คนหนึ่งอยู่หน้ากล้อง หรือหน้าห้อง อีกคนก็จะคอยยืนดูหรือดู มอนิเตอร์ แล้วเราก็จะมีวิธีการสื่อสารแบบ เพีย้ นๆ เฉพาะตัวทีไ่ ม่สามารถอธิบายออกมา ตรงนีไ้ ด้ (หัวเราะ) ส่งซิกกันตลอด รูส้ กึ ว่าท�างาน ด้วยกันมันมีประสิทธิภาพมากกว่า เพิ่งมา แยกกันใช้โทรศัพท์มือถือคนละเครื่องช่วง ปีหลังๆ นี่เอง เพราะต้องเริ่มรับงานแยกกัน ซึ่งปรับตัวยากเหมือนกันนะ นอกจากเป็นแดนเซอร์ งานหลักเราคือ เป็นนักออกแบบท่าเต้นให้ทีมแดนเซอร์และ ศิลปินส�าหรับแสดงคอนเสิร์ต มิวสิกวิดีโอ และงานโฆษณา ก็จะช่วยกันคิดตัง้ แต่ตโี จทย์ หา reference เลือกแดนเซอร์ ออกแบบ
ท่าเต้น วางบล็อกกิ้ง ซ้อมแดนเซอร์ ซ้อม ศิลปิน ซึง่ ความเป็นคูแ่ ฝดของเรามีประโยชน์ เวลาท�างานกับศิลปินเหมือนกัน เพราะศิลปิน มีหลายคาแร็กเตอร์ เราต้องใช้จิตวิทยา ในการเข้าหาแต่ละคนต่างกัน พอมีสองคน ประกบซ้ายขวา เราก็จะดูมีพลังมากขึ้น GOOD TO BE TWO :
ที่ผ่านมายังไม่เคยมีช่วงไหนในชีวิตที่ รู้สึกว่าอยากแยกกันเลย แต่ก็เป็นไปตาม ช่วงอายุ อย่างตอนนีเ้ อ้กมีแฟน เอาท์ยงั โสด เราก็ มี แ ยกกั น บ้ า ง แต่ มั น เป็ น ไปตาม ธรรมชาติ ก็ เ ลยไม่ รู ้ สึ ก อะไร ความเป็ น ฝาแฝดส�าหรับเราคือมีจติ วิญญาณเดียวกัน เชื่อมถึงกัน มีทัศนคติเดียวกัน เรารู้สึกว่า โชคดีที่ได้เกิดมาเป็นฝาแฝด เหมือนมีเพื่อน คู่คิดมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสิ่งพิเศษของชีวิต
Choreographer
สองฝาแฝดนั ก ออกแบบท่ า เต้ น นี้ มีผลงานล่าสุดคือการออกแบบท่าเต้น ให้กับคอนเสิร์ต ‘รวมวง Thongchai Concert ตอน สุขใจนักเพราะรักค�าเดียว’ ที่เพิ่งผ่านไปหมาดๆ
PIMPAN AND PIMLAOR POOKAIYAUDOM เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
‘กิ่ง’ - พิมละออ และ ‘แก้ว’ - พิมพรรณ โภไคยอุดม สองสาวเจ้าของร้านอาหารบรรยากาศสบายๆ The Artwins และร้านเสื้อผ้า The Adjective ออกตัวตั้งแต่เริ่มบทสนทนาเลยว่า อย่าถามแยกกันเลยค่ะ เพราะว่าเราก็จะตอบเหมือนกันอยู่ดี
WHEN WE WERE YOUNG :
สนิทกันมากในระดับที่ถ้าถามอะไรมา ก็จะตอบเหมือนกันแน่ๆ สี เสื้อผ้า ข้าวของ ใช้ด้วยกันได้หมดจนถึงทุกวันนี้ เสื้อผ้าใช้ตู้ เดียวกันได้ทกุ ชิน้ เพราะไซซ์เดียวกัน ซือ้ เสือ้ ผ้า มาโทนด�าขาวเหมือนกันโดยไม่ได้นัดหมาย นอนห้องเดียวกันมาตลอดตัง้ แต่เด็กๆ เรียกว่า อยู่ด้วยกันเกือบตลอดเวลาเว้นตอนนอน ซึ่งที่จริงก็เพิ่งแยกห้องนอนเมื่อปีก่อนนี้เอง เพราะว่าท�าบ้านใหม่แล้วที่บ้านให้แยกห้อง ตามฮวงจุ้ย เรียนปริญญาตรีสาขาเดียวกัน แล้วก็ไปเรียนท�าอาหารทีเ่ ลอ กอร์ดอง เบลอ ที่ อั ง กฤษด้ ว ยกั น แยกกั น แค่ ต อนเรี ย น ปริญญาโท เพราะเรียนขีม่ า้ และมีมา้ สองตัว ซึง่ ต้องมีคนไปขีท่ กุ สัปดาห์ ก็เลยตกลงกันว่า สลับกันไปเรียนคนละปี แล้วใครอยูเ่ มืองไทย ก็ต้องไปดูแลม้า ซึ่งเหนื่อยมาก เพราะต้อง ขี่สองตัว (หัวเราะ) WORKING TOGETHER :
เราเริม่ สนใจการท�าอาหารมาตัง้ แต่ตอน ไปเรียนที่ออสเตรเลีย เพราะต้องช่วยกันท�า อาหารกินเอง แล้วก็ต้องท�าให้พี่ชายด้วย ก็เริ่มท�าบาร์บีคิว ออสซีพาย ซึ่งเป็นอาหาร ประจ�าชาติ อาหารไทยไม่ค่อยได้ท�าเพราะ คนอืน่ ท�าอร่อยกว่า (หัวเราะ) เคยท�ารายการทีวี เกี่ยวกับการท�าอาหารด้วยกัน แต่หลังจาก ไปเรียนต่อก็หยุดไป ตอนนี้มีร้านอาหารกับ ร้านเสือ้ ผ้าทีย่ งั ท�าด้วยกันอยู่ แล้วพอมาท�าร้าน ก็ เ ลยมี ค นมาสั ม ภาษณ์ ใ นฐานะคู ่ แ ฝด ค่อนข้างบ่อย ค�าถามที่ถูกถามบ่อยทีส่ ดุ และตอบยากที่สุดคือ ประทับใจกันและกัน ตรงไหนบ้าง ตอบยากมาก (ประสานเสียง พร้อมหัวเราะ) แต่ก็ชินพอๆ กับที่ถูกถามว่า คนไหนกิ่งคนไหนแก้ว บางทีก็อยากให้เขา ถามบ้ า งว่ า อยากมี แ ฟนเป็ น คู ่ แ ฝดไหม (หัวเราะ) เพราะเคยเห็นคูแ่ ฝดสองคูท่ แี่ ต่งงาน กัน แล้วลูกของทั้งคู่ออกมาหน้าเหมือนกัน เลยโดยไม่ได้เป็นแฝด ก็คดิ ว่าดีเหมือนกันนะ สเปกหนุ่มๆ คล้ายกันบ้างในบางที แต่ชอบ พี่น้อย กฤษดา (น้อย วงพรู) มาก (ประสาน
เสียง) มี adB เล่มที่พี่น้อยขึ้นปกเรียบร้อย ชอบเพราะพีเ่ ขารักและให้เกียรติภรรยามาก แล้วเวลาพูด สิ่งที่เขาสื่อออกมามันจริงใจ และให้แง่บวก จนท�าให้เรารู้สึกดีไปด้วย GOOD TO BE TWO :
การมี ฝ าแฝดอาจจะไม่ ต ่ า งกั บ การมี พี่น้องที่อายุใกล้ๆ กัน แต่เราไม่มีความรู้สึก ว่าใครเป็นพีเ่ ป็นน้อง เป็นครอบครัวมากกว่า เคยมี ฝ รั่ ง คนหนึ่ ง เดิ น เข้ า มาแล้ ว บอกว่ า เราสองคนควรที่จะขอบคุณพ่อกับแม่มากๆ ที่ เ ขาให้ เ พื่ อ นที่ ดี ที่ สุ ด กั บ เราตั้ ง แต่ เ กิ ด เป็นเพื่อนแท้ในชีวิต จนคนรอบข้างบอกว่า เราสองคนไม่ตอ้ งการแฟน เพราะการมีแฟน ก็คอื การมีคนไปกินข้าว ไปดูหนัง ท�าโน่นท�านี่ ด้วยกัน ซึ่งเรามีแล้ว ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคย ได้กินข้าวคนเดียวเลย
the ARTWINS
ร้านอาหารเมนูไม่หวือหวา ไม่ซับซ้อน ไม่ตอ้ งคิดมากเวลากิน เพราะหมูเป็นหมู ไก่เป็นไก่ เป็นอาหารง่ายๆ ทีท่ งั้ คูช่ ว่ ยกัน คิดเมนูขึ้นมาจากวัตถุดิบที่ชอบ รสชาติ ทีช่ อบ หน้าตาอาจจะดูธรรมดา แต่อร่อย กินแล้วมีความสุข
SUPERMARKET
Let’s Color
นอกจากสมุดภาพระบายสีกับดินสอสีสวยๆ สักกล่องแล้ว เชื่อหรือไม่ว่าคุณยังสามารถสนุกกับสีสันได้อีกหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว เลือกจับคู่สี และกับอาหารก็เช่นกัน ลองมองหาวัตถุดิบเหล่านี้ แล้วชวนคนใกล้ตัวมาละเลงสีสันกันให้สนุกไปเลย Butterfly Pea
Orange Sweet Potato
Taro
Turmeric
Pumpkin
Beetroot Roselle
Spinach
Carrot
purple Sweet Potato
Coconut Spathe
Pandan Leaf
Beetroot บีตรูต ถ้าจะจัดอันดับผักทีม่ สี สี ดทีส่ ดุ เราขอยกให้ บีตรูตหัวเล็กๆ นี้เป็นที่หนึ่ง เพราะด้วยสีแดง ที่จัดจ้าน เพียงแค่เอามาต้มและหั่นทานกับสลัด ผักทั้งจานก็แทบจะกลายเป็นสีแดงไปหมด Butterfly Pea ดอกอัญชัน ใครทีม่ รี วั้ บ้าน การปลูกดอกอัญชันไว้ นับว่าให้ประโยชน์มากมาย เพราะสามารถน�า มาบริโภคได้ โดยน�าดอกอัญชันมาคั้นน�้า ก็จะได้ สีน�้าเงินใช้ท�าขนม คลุกกับข้าว เส้นขนมจีน Carrot แครอต ผักที่เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ของสีส้ม ซึ่งสีส้มที่ว่านี้ก็เป็นแหล่งของทั้งวิตามินเอ บี ซี อี แร่ธาตุ และสารต้านอนุมลู อิสระ ช่วยบ�ารุงผิวและ กระดูก นอกจากจะน�าไปท�าอาหารแล้ว ก็นยิ มน�า ไปท�าน�้าผักผลไม้ที่หลายคนชอบดื่มเพื่อสุขภาพ Coconut Spathe กาบมะพร้าว คนที่ชอบทานขนมไทย น่าจะจ�าได้ ถึงคุณประโยชน์ของกาบมะพร้าวเผาทีใ่ ห้ขเี้ ถ้าสีดา� ซึ่งเป็นแหล่งสีด�าตามธรรมชาติส�าหรับขนมไทย รสอร่อย เช่น ขนมเปียกปูนด�า ที่มีสีแปลกตา Orange Sweet Potato มั น หวานสี ส ้ ม เราคนไทยอาจจะคุ ้ น เคยกั บ มันหวานจากญีป่ นุ่ ทีม่ รี สหวาน เหมาะกับการน�ามา ท�าอาหารทัง้ ของคาวของหวาน โดยเฉพาะของว่าง ต่างๆ เช่น มันอบ มันทอด มันบด ก็จะได้เมนู สีส้มน่าทาน Pandan Leaf ใบเตย วัตถุดิบที่ให้สีเขียว แถมยังมีกลิ่นหอม เฉพาะตัว จึงนิยมน�ามาใช้เป็นส่วนผสมในการท�า ขนม เช่น ขนมชัน้ ใบเตย ขนมเปียกปูน เค้กใบเตย สังขยาใบเตย นอกจากนี้ก็ยังน�าไปใส่ในข้าวต้ม หรือน�้าเต้าหู้อีกด้วย Pumpkin ฟักทอง แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นฟักที่มีสีทอง ดังนั้น สีเหลืองทองจึงเป็นจุดเด่นของผักชนิดนี้ ซึ่งฟักทองนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกากใยมาก เหมาะส�าหรับ คนที่ต้องการควบคุมน�้าหนัก โดยน�ามานึ่ง ต้ม หรือท�าเป็นซุปฟักทอง น�้าฟักทอง Purple Sweet Potato มันหวานสีมว่ ง ถ้าจะมองหาวัตถุดบิ สีมว่ ง อย่ารีรอ ทีจ่ ะหยิบฉวยมันหวานสีมว่ งสไตล์ญปี่ นุ่ มาเข้าครัว ไม่ว่าจะเอามาท�าเมนูง่ายๆ อย่างมันเผา หรือน�า ไปเป็นส่วนผสมของขนมหลากชนิด รับรองว่าได้ สีม่วงจากธรรมชาติที่สวยสมใจ Roselle ดอกกระเจี๊ยบ ดอกไม้สีแดงสวย มีสรรพคุณเป็น ยาสมุนไพร นิยมน�ามาท�าเป็นน�้าสมุนไพรอย่าง น�้ากระเจี๊ยบ ที่มีสีแดงรสชาติอมเปรี้ยวสดชื่น นอกจากนี้ดอกกระเจี๊ยบยังน�าไปท�าอาหารได้อีก เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ย�าดอกกระเจี๊ยบ Spinach ผั ก โขม วั ต ถุ ดิ บ ที่ ใ ห้ สี เ ขี ย วส� า หรั บ เมนู ต ่ า งๆ โดยเฉพาะใครที่ ดู ร ายการท� า อาหารตามช่ อ ง เคเบิลทีวี ก็มกั จะเห็นพ่อครัวเอาผักโขมสีเขียวสวย มาผสมกับแป้งแล้วก็รีดออกมาเป็นพาสต้าสด Taro เผือก คนที่ท�าขนมน่าจะคุ้นเคยดีกับหัวเผือก ทีส่ ามารถน�ามาท�าไส้ขนมปัง ท�าเค้ก หรือบัวลอย ซึ่งสีที่ได้จากเผือกนั้นจะออกเป็นสีม่วงอ่อนๆ Turmeric ขมิน้ หรือขมิน้ ชัน สมุนไพรทีใ่ ช้สว่ นเหง้ามาบริโภค มีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น ลดอาการท้องอืด จุกเสียด ลดการอักเสบ ขมิน้ นัน้ มีสารสีเหลืองส้ม เวลาน�ามาท�าอาหาร เช่น ไก่ตม้ ขมิน้ หรือข้าวหมกไก่ ก็จะได้อาหารสีเหลืองดูน่ากิน
CALENDAR FRI
MON
14
TUE
CONTOUR นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘คอนทัวร์’ น�าเสนอผลงาน จิ ต รกรรมโดย อั ง กฤษ อัจฉริยโสภณ และภาพถ่าย ร่ ว มสมั ย โดย ธวั ช ชั ย พัฒนาภรณ์ จากการเข้าร่วม โครงการศิลปินในพ� านัก ที่ เ มื อ งริ คุ เ ซนทะคะตะ ประเทศญี่ ปุ ่ น วั น นี้ ถึ ง 9 เมษายน 2559 ณ น�าทอง แกลเลอรี ซ.อารีย์ 5 (ฝั่ง เหนือ) โทร. 0-2617-2794 (เว้นวันจันทร์)
15
IT'S ME. นิทรรศการศิลปะ ‘It’s me.’ โดย สุรยิ ะ ฉายะเจริญ น�าเสนอผลงานด้วยแนวคิด ที่ว่า งานจิตรกรรมเสมือน เป็นการบันทึกผ่านภาษา ข อ ง ภ า พ ที่ ผสมผสาน ระหว่างความเป็นจริงและ จินตนาการ และยั ง เป็ น ภาพแทนความรู ้ สึ ก และ ความคิดของจิตรกร วันนี้ ถึ ง 31 มี น าคม 2559 ณ Art Cafe by Brown Sugar ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร โทร. 08-1666-8383 (เว้นวันจันทร์)
WED
16
TWO IN THE WAVE เชิ ญ ชมภาพยนตร์ สารคดี เ รื่ อ ง ‘Two in the Wave’ เรื่องราวของ มิตรภาพที่เที่ยงแท้ และ มิ ต รภาพที่ จ บลงแบบ ไม่สวยงาม ในปี ค.ศ. 1950 ฌอง-ลุกซ์ โกดาร์ด และ ฟรองซัวส์ ทรุฟโฟต์ พบกัน เพราะหลงใหลในภาพยนตร์ เหมื อ นกั น หลั ง จากนั้ น พวกเขาก็ เ จอกั น บ่ อ ยๆ ตามชมรมภาพยนตร์ และยั ง เขี ย นบทความ ลงในนิตยสารเล่มเดียวกัน ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคมฝรัง่ เศสกรุงเทพ โทร. 0-2670-4231
THU
11
SAT
12
SUN
13
17
THE PURSUIT OF HAPPINESS นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘The Pursuit of Happiness’ โดย ไชยวัฒน์ กุดาพันธ์ ร่ ว มค้ น หาสั จ ธรรมและ ความสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง ผ่ า น ผลงานประติ ม ากรรม ซึ่ ง สะท้ อ นหลากหลาย อารมณ์ ข องมนุ ษ ย์ ทั้ ง ความสุข ความทุกข์ และ ความรัก วันนีถ้ งึ 30 เมษายน 2559 ณ ก้ อ ย อาร์ ต แกลเลอรี ซ.สุขุมวิท 31 (ซ.สวัสดี) โทร. 0-26623218 (เว้นวันจันทร์)
JAPAN KURASHIKI DENIM FAIR พบกับการรวมตัวของ 9 แบรนด์ พ รี เ มี ย มยี น ส์ ชื่ อ ดั ง จากโรงงานเมื อ ง คุราชิกิ ประเทศญีป่ นุ่ ได้แก่ Baistone, Betty Smith, DeeTa, Denim Closet, E, High-Rock, Pallet Life Story, Senio และ Tenryo Denim ที่ เ ดี ย วในงาน ‘Japan Kurashiki Denim Fair’ วันนี้ถึง 13 มีนาคม 2559 ณ ห้างสรรพสินค้า ดิ เอ็มควอเทียร์
GERMAN FILM WEEK 2016 พบกั บ ‘เทศกาล สัปดาห์ภาพยนตร์เยอรมัน 2559’ ที่คัดสรรภาพยนตร์ เยอรมั น คุ ณ ภาพหลากหลายแนวมาให้ รั บ ชม อาทิ Jack, Patong Girl ฯลฯ วันนี้ถึง 13 มีนาคม 2559 รอบฉาย 19.00 น. ณ โรงภาพยนตร์พารากอน ซีนเี พล็กซ์ สยามพารากอน บัตรราคา 120 บาท (ที่นั่ง ธรรมดา) และ 150 บาท (ที่นั่งพิเศษ) รายละเอียด เพิ่มเติมที่ 0-2108-8231
SEASIDE SHADE นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Seaside Shade’ โดย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ จิ ต รกรรมประติ ม ากรรม และภาพพิมพ์ ม.ศิลปากร น� า เสนอจิ ต รกรรมภาพ ทิ ว ทั ศ น ์ น อ ก ส ถ า น ที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าทางศิลปะร่วมสมัย อันเป็นพืน้ ฐานทีจ่ ะน�าไปสู่ การพั ฒ นาในการสร้ า งสรรค์จติ รกรรมขัน้ สูงต่อไป วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2559 ณ Art Space at Venice di Iris (วัชรพล) โทร. 08-6797-2259 (เว้นวันจันทร์)
facebook.com/polkadotbook ig : polkadotpublishing
Be prepared f r the next
spring-summer journey 350.-
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำาทั่วไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ในราคาพิเศษได้ที่ godaypoets.com
395.-
อ่านเรื่องราวของแสงยามเช้าใน The Lunch Box issue 1 : Sunlight Issue และสูดกลิ่นธรรมชาติจากสารพัดเมืองน่าเที่ยวใน The Lunch Box issue 2 : smells like a vacation ก่อนจะพบกับการผจญภัยครั้งที่ 3 ที่กำาลังจะเดินทางมาถึงเร็วๆ นี้
MAKE A DISH
Grilled River Prawn with Butter Sauce เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์, จรัตพร โมรา ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
ความประทับใจแรกที่พบในร้าน House46Ari คงหนี ไม่พ้นรอยยิ้มของเจ้าของร้านที่ออกมาต้อนรับลูกค้าด้วยตัวเองและยังชวนเราคุยเรื่องสารทุกข์สุกดิบบ้าง เรื่องอาหารในร้านบ้าง ท�าให้บรรยากาศดูเป็นกันเองมากขึ้น เรานั่งคุยกันได้ ไม่นาน เมนูเด็ดประจ�าร้านอย่าง กุ้งแม่น�้ำย่ำงซอสเนย ก็พร้อมให้เราได้ลิ้มลองความอร่อยกันแล้ว
Chef รัถพร เดชพันธ์
Grilled river prawn with butter sauce ราคา : 888 บาท (โทร.จองล่วงหน้า 1 วัน)
INGREDIENTS กุ ้ ง แม่ น�้ า / เนย / กระเทียม / เกลือ / พริกไทยด�า / มะนาว
CHEF'S INSPIRATION เกิดขึน้ จาก คุณกอบกาญจน์ ประสิทธิย์ ทุ ธศิลป์ เจ้าของร้าน ชอบทานอาหาร ที่ร้าน Burger & Lobster ประเทศอังกฤษ ท�าให้อยากมีเมนูกุ้งในร้านบ้าง แต่ไม่อยากให้ราคาสูงมาก เราเลยคิดเมนูนขี้ นึ้ มา โดยเปลีย่ นจากกุง้ ล็อบสเตอร์ เป็นกุง้ แม่นา�้ แทน เน้นความสดของเนือ้ กุง้ ทีย่ า่ งจนสุกพอดีและกลิน่ หอมของซอส ที่ใช้เนยมาผัดกับมันกุ้ง เพื่อเพิ่มความมัน และช่วยให้สีสันน่าทานมากขึ้น
TIPS ทางร้านจะคัดกุง้ แม่นา�้ ขนาดตัว 9 นิ้ว ที่สดใหม่เท่านั้นมาปรุงอาหาร เมนูนี้ และดับกลิ่นคาวของกุ้งโดย การบีบมะนาวลงไปเล็กน้อยให้พอ ได้กลิ่นอ่อนๆ ของมะนาวแทน
THE 5IVE
Could This Be Love เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ
กลับมารวมตัวกันแบบครบทีมอีกครั้ง เพื่อส่งซิงเกิล รักอยู่รอบกาย ให้แฟนๆ ได้หายคิดถึงกันในวาระครบรอบ 20 ปีของวงพอส ซึ่ง ‘นอ’ - นรเทพ มาแสง บอกกับเราว่า การรวมตัวครั้งนี้เป็นแบบเฉพาะกิจ เพื่อส่งของขวัญชิ้นนี้ให้แก่คนที่คิดถึงโจ้ (อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์) อดีตนักร้องน�าของวง แต่ในส่วนการท�างานเพลงของเขานั้น ก็ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างแน่นอน 1. ECLIPSE : YNGWIE MALMSTEEN “อัลบัม้ ทีท่ ำ� ให้ผมอยำกเป็นนักดนตรี ผมได้มอื กีตำร์คนนีเ้ ป็นต้นแบบในกำรซ้อมกีตำร์ จ�ำไม่ได้แล้วว่ำ ฟังอัลบัม้ นีไ้ ปถึงพันครัง้ หรือยัง แต่ถำ้ ต้องไปติดเกำะแล้วให้หยิบเพลงไปฟังได้หนึง่ อัลบัม้ ยังไงก็ตอ้ งเป็นเพลง อัลบัม้ นี ้ Yngwie Malmsteen ได้รบั กำรยกย่องว่ำเป็นมือกีตำร์นวิ้ ลมกรด และเพลงของเขำก็มกี ำรผสมระหว่ำง ดนตรีรอ็ ก คลำสสิก และเทคนิคกำรเล่นกีตำร์ไว้ดว้ ยกัน ฟังทีไรก็อยำกหยิบกีตำร์ขนึ้ มำเล่นตำม” Recommended Tracks : Making Love, Save Our Love และ What Do You Want
2. FAHRENHEIT : TOTO “วงดนตรีที่มีส่วนผสมของเพลง ทีเ่ พรำะกับเพลงทีฟ่ งั ยำกเข้ำไว้ดว้ ยกัน พวกเขำสำมำรถท�ำเพลงยำกๆ ให้ ออกมำเพรำะได้ ผมฟั ง เพลงของ พวกเขำตัง้ แต่ยงั ไม่มคี วำมรูเ้ รือ่ งดนตรี จนกระทั่งเรียนดนตรีมำได้พอสมควร ก็ยังชอบอยู่ คงเป็นเพรำะพวกเขำ เรียบเรียงกำรท�ำเพลงได้ลงตัวมำก แม้ แ ต่ ก ำรแสดงสด และในแต่ ล ะ อัลบั้มยังมีกำรรวบรวมนักดนตรีกับ บุ ค ลำกรทำงดนตรี ที่ ผ มชอบมำไว้ ด้วยกัน จึงเป็นอัลบั้มที่อยำกแนะน�ำ ให้นักดนตรีรุ่นใหม่ลองฟังกันดู” Recommended Tracks : Till the End, I’ll Be Over You และ Could This Be Love
“คิดถึงเธอแทบใจจะขาด อยากให้เธอกลับมาสักที คิดถึงเธอทุกวินาที อยากจะพบเธอคนเดียว” คิดถึง - หรั่ง ร็อกเคสตร้า
ไวกว่าแสง : หรั่ง ร็อกเคสตร้า
3.
“เพลงที่ ผ มชอบมำกคื อ เพลง รถไฟ ส�ำหรับผม พีห่ รัง่ ถือเป็นอัจฉริยะ ในกำรท� ำ เพลง น้ อ ยคนมำกที่ จ ะ สำมำรถเป็นได้ทงั้ นักดนตรีและนักร้อง ที่เก่ง เพลงของพี่หรั่งถ้ำฟังดีๆ จะพบ ว่ ำ เขำซ่ อ นลู ก เล่ น ไว้ ม ำกมำย และ ควำมเจ๋ ง ก็ คื อ พี่ เ ขำสำมำรถไปหำ มือกีตำร์เก่งๆ มำเล่นด้วยกันได้ ยิ่งได้ ฟั ง เพลงชุ ด นี้ ใ นตอนวั ย รุ ่ น ด้ ว ยแล้ ว ภำพจ�ำ ต่ ำงๆ ของผมที่มีต ่ อ พี่หรั่ง ร็อกเคสตร้ำ จึงชัดมำก” Recommended Tracks : ไวกว่าแสง, คิดถึง และ รถไฟ
"I LIKE SOUL WITH A CAPITAL S SOUL WITH A CAPITAL S SWEET SOUL MUSIC, THAT'S THE BEST SOUL WITH A CAPITAL S " SOUL WITH A CAPITAL 'S' - TOWER OF POWER
4. T.O.P. : TOWER OF POWER “ผมชอบงำนเพลงของ Tower of Power ทุกอัลบั้ม แต่ก็มีเรื่องที่น่ำเสียดำยอยู่บ้ำง ที่สมำชิกของวงนี้ไม่ค่อยได้ท�ำเพลงด้วยกัน แต่อัลบั้มนี้ผมชอบตรงที่มีเพลงดังๆ เยอะ และได้ฟังในช่วงที่ผมก�ำลังเป็นวัยรุ่นด้วย เพลงของวงนี้ เ ป็ น เพลงฟั ง ก์ ที่ ม ำจำกคน ผิวขำว ท�ำให้ดนตรีมีส�ำเนียงของเพลงร็อก เจื อ อยู ่ ด ้ ว ย ฟั ง แล้ ว ก็ รู ้ สึ ก แตกต่ ำ งจำก เพลงฟังก์ของนักดนตรีผิวสี” Recommended Tracks : Soul With a Capital ‘S’, Please Come Back (to Stay) และ I Like Your Style
5. 5150 : VAN HALEN “ผมมีโอกำสได้ดูกำรแสดงสดของ แวน เฮเลน เพรำะแต่กอ่ นโอกำสทีจ่ ะได้ดคู อนเสิรต์ จำกนักดนตรีตำ่ งประเทศนัน้ มีนอ้ ยมำก จะหำ ดู ไ ด้ ก็ จ ำกวิ ดี โ อบั น ทึ ก กำรแสดงสดเท่ ำ นั้ น ผมประทับใจในตัวของ แวน เฮเลน มำก ตอน เป็นวัยรุน่ จะรูส้ กึ ว่ำเพลงของเขำค่อนข้ำงฟังยำก แต่เรำกลับจ�ำเพลงเหล่ำนัน้ ได้ขนึ้ ใจ คงเพรำะ เป็นควำมชอบ และชัน้ เชิงของเขำ ทีค่ ดิ ค้นสไตล์ กำรเล่นกีตำร์ของตัวเองขึน้ มำ และไลน์กำรเล่น กีตำร์ของคนคนนี้เลียนแบบได้ยำกมำก” Recommended Tracks : Why Can’t This Be Love, Dreams และ Love Walks In
SELECTIVE
Minimal and Me เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
หากใครได้ติดตามแฟชั่นสม�่าเสมอ จะพบว่าสไตล์การแต่งตัวแบบมินิมอล หรือน้อยแต่มาก นั้นยังคงเป็นโจทย์ใหญ่ของหนุ่มสาวสุดชิคอยู่ ซึ่งความน่าสนใจก็คือ รสนิยมการเลือกหยิบใช้ที่พอเหมาะพอดีไม่น้อยเกินหรือมากเกิน เราจึงชวนสาวน้อยมินิมอลลิสต์อย่าง ‘พริก’ - พิมพิกา วิบูลย์วัฒนกุล หนึ่งใน distributor แบรนด์กระเป๋าและแอ็กเซสซอรี Koloer จากเกาหลี มาเลือกหยิบและเล่าถึงของรักสุดมินิมอล 10 ชิ้นตรงหน้า และติดตามสไตล์ของสาวคนนี้เพิ่มเติมได้ที่อินสตาแกรม @prigpimpiga
03 02
01
06 04 05
10
08
07
09
1. กระเป๋าสะพาย A.P.C. “กระเป๋าใบนีเ้ ป็นไอเทม must have คุม้ ค่ามาก เพราะเข้ากับเสือ้ ผ้าได้ทกุ ชุด” 2. นาฬิกาข้อมือ “เป็นแบรนด์นาฬิกาของเพือ่ น ชือ่ ว่า Taste เราชอบทีร่ ปู ทรงและรายละเอียดเล็กน้อยทีส่ วยงาม หน้าปัดท�าจากหินอ่อน” 3. กระเป๋าเครื่องส�าอางของ Koloer “ชอบพกของจุกจิกอยู่แล้ว ก็จะมีกระเป๋าเครื่องส�าอางแบบนี้เยอะ” 4. โทรศัพท์และเคสมือถือ “เคสโทรศัพท์จากร้าน Maison Kitsune ที่ฝรั่งเศส” 5. แว่นกันแดดของ Thom Browne 6. อัลบั้ม Women ของ Rhye “เปิดบ่อยมากจนแผ่นลายแล้ว (หัวเราะ) เป็นเพลงที่ฟังแล้วผ่อนคลายสบายใจ” 7. กระจกของ Cool Enough Studio “เป็นแบรนด์ของเกาหลี ส่องแล้วเห็นชัดทุกรูขมุ ขนเลย ชอบดีไซน์ทเี่ ป็นทรงแท่งแบบนีเ้ ลยซือ้ มาเป็นของแต่งบ้านด้วย (หัวเราะ)” 8. เครือ่ งเล่นซีดขี อง Muji “เป็นทัง้ เครือ่ งเล่นเพลงทีท่ า� ให้ผอ่ นคลายและยังเป็นของแต่งบ้านทีน่ า่ รักมากด้วย” 9. กระเป๋าสตางค์ของ Koloer “ชอบใช้กระเป๋าหนัง ส�าหรับใบนีเ้ ราคิดว่ากะทัดรัดดี” 10. แฟ้มสะสมบันทึกความทรงจ�า “เป็นชิน้ ทีร่ กั เอาไว้เก็บรวบรวมนามบัตรและบัตรต่างๆ ทีพ่ บเจอระหว่างเดินทาง”
AT HOME
Make Yourself At Home เรื่อง : พิมพ์อร นทกุล ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
ภาพยนตร์ที่ชอบและเพลงที่ฟังอาจจะเป็นตัวบ่งบอกรสนิยมของคนคนนั้นได้ดีที่สุด แต่การจะเข้าถึงตัวตนที่แท้จริงของใครสักคนได้ เราอาจจะต้องมองลึก ลงไปกว่านั้น ซึ่งวันนี้เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘เป็ก’ - แสงพล จิรายุกูล และ ‘ซู’ - มาริสา จันทรัช คู่รักทันสมัย ถึงเหตุผลที่ท�าให้พวกเขาตัดสินใจให้ Noble BE19 ในซอยสุขุมวิท 19 แห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตครอบครัวและเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นตัวตนพวกเขาได้ดีที่สุด
“พื้นที่ที่บ่งบอกความเป็น ตัวตนของเรา”
สิง่ ทีค่ นรุน่ ใหม่มองหาจาก ‘บ้าน’ “ไลฟ์สไตล์ ของคนสมัยใหม่ไม่ได้ต้องการอะไรที่ต้องดูแล มากมาย อย่างบ้านที่มีพื้นที่ มีบริเวณ มีสวน ก็ตอ้ งมีคนมาคอยตัดหญ้า รดน�า้ ต้นไม้ ถ้าน�า้ รัว่ หรือระบบไฟฟ้ามีปญ ั หาก็ตอ้ งจัดการด้วยตัวเอง พออยูค่ อนโดฯ เกิดปัญหาอะไรขึน้ เราก็สามารถ เรี ย กนิ ติ ฯ ให้ ม าช่ ว ยดู ไ ด้ เ ลย หรื อ เวลาไป ต่างจังหวัดที ถ้าอยู่บ้านก็จะกังวลตลอดว่า ล็อกประตูหรือยัง ปิดไฟหรือยัง จะมีใครเข้ามา หรือเปล่า ที่ส�าคัญคือเรื่องความสะดวกสบาย ของการคมนาคม ซึง่ ทีน่ อี่ ยูใ่ กล้กบั สถานีรถไฟฟ้า บีทเี อส สะดวก เวลาไปไหนมาไหนแทบจะไม่ได้ ขับรถไปเลย ใช้รถไฟฟ้าตลอด และที่ส�าคัญ แถวนี้มีห้างสรรพสินค้าอยู่ใจกลางเมือง มีที่ แฮงเอาต์ให้นัดสังสรรค์กับเพื่อนได้ ทุกอย่าง มันสะดวกไปหมด” ไลฟ์สไตล์ของครอบครัวเรา “เราเป็ น คน บ้ า ออกก� า ลั ง กายกั น ทั้ ง คู ่ รั ก ษาสุ ข ภาพกั น พอสมควร บางทีก็ไปเล่นโยคะด้วยกัน ไม่ก็เข้า ฟิตเนสสัปดาห์ละประมาณ 3 วัน หลังๆ นี่ก็เริ่ม ไปวิ่ ง กั น บ้ า ง ซึ่ ง แถวนี้ ก็ มี ส ตู ดิ โ อโยคะและ ฟิตเนสหลายแห่ง เลยไปหน่อยทางพร้อมพงษ์ ก็มีสวนเบญจสิริ หรือจะไปทางรัชดาภิเษกก็มี สวนเบญจกิติ ส่วนไลฟ์สไตล์นอกเหนือจากนั้น ก็จะอยู่ในเมืองเสียส่วนใหญ่ เย็นวันศุกร์หรือ เสาร์ - อาทิ ต ย์ ก็ อ อกไปกิ น ข้ า วนอกบ้ า นบ้ า ง ซึ่งตรงนี้ก็อยู่ใกล้ Terminal 21 มีโรงหนัง มี ร้านอาหาร มีแหล่งช้อปปิ้งและซูเปอร์มาร์เก็ต คอยอ�านวยความสะดวก เรียกได้ว่า Noble BE19 สามารถตอบโจทย์การใช้ชวี ติ เราได้อย่าง พอดิบพอดี” ‘บ้าน’ ในความหมายของเรา “บ้านก็คอื ทีท่ เี่ รา กลับมาแล้วสบายใจ เป็นทีพ่ กั ผ่อนทัง้ กายและใจ แต่เราซือ้ คอนโดฯ เราไม่ได้ซอื้ แค่หอ้ งอย่างเดียวนะ เราซื้อสิ่งแวดล้อม ซื้อส่วนกลาง ซื้อสระว่ายน�้า
ซื้อทางเดินต่างๆ ด้วย แล้วเราไม่ได้อยู่กันแค่ สองคนตลอด บางทีเรามีเพื่อนมาหา ดังนั้น มันไม่ใช่แค่เรื่องของภายในห้องอย่างเดียวแล้ว ถ้าคอนโดฯ ของเราสวยงาม ก็เป็นหน้าเป็นตา ให้กับเรา การซื้อคอนโดฯ ก็เหมือนกับการซื้อ ตัวตนของเราไปด้วย” เหตุผลที่เลือกที่นี่ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต “Noble BE19 เป็นคอนโดมิเนียมที่โลเกชัน ดีมาก วัสดุที่ใช้ก็ดีมาก ต่อให้จะผ่านไปนาน แค่ไหนมันก็ไม่ได้โทรมเก่าไปตามเวลา เป็นสไตล์ โมเดิรน์ ดูอบอุน่ ถ้าเปรียบเป็นคนก็คงเป็นผูช้ าย วัยท�างาน มีบุคลิกนิ่ง เท่ ข้อดีอีกข้อของที่นี่คือ เรื่องความสูงจากพื้นถึงเพดานกว่า 3 เมตร ที่ท�าให้ตัวห้องโปร่งโล่งสบาย ซึ่งเป็นจุดเด่น ทีค่ อ่ นข้างหาได้ยากจากทีอ่ นื่ ๆ มาจนถึงเรือ่ งของ สิ่งอ�านวยความสะดวกก็ครบครันแบบจัดเต็ม ทั้ง Indoor & Semi-Outdoor Lobby, Lobby Lounge, Lap Pool, Sky Jacuzzi Pool & Reclining Pool, Recreation Area, Sky Fitness, Sky Lounge & Game Room, Sauna, Steam, Game Room, BBQ Area, Playground และ Meeting Room ที่ทุกคนสามารถมาใช้ร่วมกันได้ พร้อมสวน ด้านนอกสไตล์ English Contemporary การใช้ชวี ติ แบบทีจ่ ะเหมาะกับทีน่ ี่ “ทีน่ เี่ หมาะกับ คนที่มีไลฟ์สไตล์คล้ายๆ เรา มันตอบโจทย์ได้ หลายโจทย์ การคมนาคมสะดวก มีหา้ งสรรพสินค้า อยู่ใกล้ๆ มีโรงเรียนดีๆ อยู่ไม่ไกล ไม่ว่าจะเป็น คนโสด คนเพิ่งแต่งงานใหม่ หรือคนที่แต่งงาน มาสักพักแล้วถึงเวลาทีค่ ดิ เรือ่ งมีลกู แล้ว บางคน บอกว่าไม่ชอบอยู่ในเมืองเพราะวุ่นวาย ที่นี่ ไม่ได้วุ่นวายอย่างที่คิดครับ แม้จะอยู่ใจกลาง สุขุมวิท-อโศก แต่โดยรอบก็ยังสงบอยู่ จะบอก ว่าเป็นบ้านในฝันของคนเมืองเลยก็วา่ ได้ (ยิม้ )”
Noble BE19 คอนโดมิเนียมใจกลาง เมืองสุขมุ วิท-อโศก จ�านวน 586 ยูนติ เริม่ ตัง้ แต่ 1 ห้องนอน ขนาด 33 ตารางเมตร ไปจนถึง 50 ตารางเมตร ส่วนยูนิต ประเภท 2 ห้องนอน เริ่มต้นที่ขนาด 51 ตารางเมตร ไปจนถึง 73 ตารางเมตร และยั ง มี เ พนท์ เ ฮาส์ แ บบ 2 และ 3 ห้องนอน ขนาด 86-146 ตารางเมตร ตอบโจทย์ ไลฟ์ ส ไตล์ ทุ ก รู ป แบบ โดยสามารติ ด ต่ อ สอบถามข้ อ มู ล เพิม่ เติมได้ทโี่ ทร. 0-2251-9955 หรือ www.noblehome.com
OUT THERE
Tokyo โตเกียวคือเมืองส�ำคัญของโลก ทั้งในด้ำนเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แต่ควำมส�ำคัญอีกด้ำนที่เรำไม่ควรมองข้ำมไปก็คือ ประวัติศำสตร์ของเมืองที่ผ่ำนร้อนผ่ำนหนำวมำมำกมำย ร่องรอยของอดีตในวันวำนนั้นยังคงมีให้เห็นอยู่ทั่วทั้งเมืองที่แสนจะทันสมัยแห่งนี้ เป็นเงำของประวัติศำสตร์ที่ยังคงบอกเล่ำเรื่องรำวในอดีต อันเป็นที่มำของเมืองที่แสนจะรุ่งเรืองในปัจจุบัน
THE City Facts โตเกียวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1868 โดยเปลี่ยนชื่อ จากเมืองเอโดะมาเป็ น โตเกี ย วในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น และหากย้ อ นกลั บ ไปในอดี ต เมืองเอโดะแห่งนี้น่าสนใจยิ่งนัก เพราะที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองการทหารของ ญี่ปุ่น และแม้ไม่ได้เป็นเมืองหลวงในยุคแรก แต่ก็เป็นเมืองที่เข้มแข็ง โดยมีโชกุน ตระกู ล โทะกุ ง ะวะเป็ น ผู ้ ป กครอง โชกุ น คนแรกที่ ส ถาปนาเมื อ งหลวงแห่ ง นี้ ใ ห้ เ ป็ น เมืองส�าคัญของญี่ปุ่น คือโชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ ว่ากันว่าในศตวรรษที่ 18 เมืองเอโดะเป็นเมืองหลวงที่น่าจะมีประชากรมากที่สุดเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ในโลก
หากพูดถึงสถานที่ที่มีความส�าคัญในโตเกียวจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คงต้องนึกถึง พระราชวังอิมพีเรียล ซึ่งในอดีตเคยเป็นปราสาทเอโดะในยุคที่ตระกูลโทะกุงะวะปกครอง ประเทศมาก่อน ภายหลังเมื่อตระกูลโทะกุงะวะเสื่อมอ�านาจและมีการเปลี่ยนแปลงทาง การเมือง สมเด็จพระจักรพรรดิเมจิจึงได้ย้ายมาประทับ ณ ปราสาทแห่งนี้ ในช่วง สงครามโลกครั้งที่สองมีการทิ้งระเบิดจากสัมพันธมิตร ท�าให้ปราสาทแห่งนี้ถูกท�าลายไป บางส่วน จึงได้มีการบูรณะใหม่ และกลายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิ ตราบจนถึงปัจจุบัน
หนึ่ ง ในสถานที่ ส� า คั ญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู ้ ค น ในโตเกี ย วมาตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง ปั จ จุ บั น ก็ คื อ ศาลเจ้า ซึ่งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมส�าคัญ ของคนทุกชนชั้นในโตเกียว โดยมีศาลเจ้าส�าคัญ สองแห่งทีค่ วรไปเยือน แห่งแรกคือศาลเจ้ายะซุกนุ ิ ที่สร้างขึ้นในยุคเมจิ เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตใน สงครามกลางเมื อ งระหว่ า งผู ้ ส นั บ สนุ น โชกุ น โทะกุงะวะกับผู้สนับสนุนสมเด็จพระจักรพรรดิ หลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ทีน่ กี่ ใ็ ช้เป็นทีส่ ถิตของ ดวงวิญญาณทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในสงคราม
"I LOVE JAPAN, AND TOKYO IS MY FAVORITE CITY." BARRY EISLER, AN AMERICAN WRITER
ศาลเจ้ า อี ก แห่ ง ที่ มี ค วามส�าคัญไม่แพ้กันคือศาลเจ้าเมจิ ศาลเจ้าแห่งนีส้ ร้างขึน้ ในปี ค.ศ. 1920 เพื่ออุทิศให้ดวงวิญญาณ ของสมเด็ จ พระจั ก รพรรดิ เ มจิ ปัจจุบนั ศาลเจ้าแห่งนีเ้ ป็นหนึง่ ใน สถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วส� า คั ญ โดย จะมีผู้คนมาขอพรตลอดทั้งปี
แลนด์มาร์กส�าคัญของเมืองโตเกียวที่ใครๆ ก็ ต ้ อ งแหงนหน้ า มองก็ คื อ โตเกี ย วทาวเวอร์ ซึ่ ง ถู ก สร้ า งเป็ น หอคอยส่ ง สั ญ ญาณวิ ท ยุ แ ละ โทรทั ศ น์ ใ นปี ค.ศ. 1958 โดยมี ค วามสู ง ถึ ง 333 เมตร นอกจากจะเป็ น หอคอยกระจาย สัญญาณแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่รวมใจของประชาชน ในช่วงหลังสงครามโลกที่ผู้คนต้องผ่านความยากล�าบากในการฟื้นฟูประเทศ หอคอยแห่งนี้ จึ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นการเริ่ ม ต้ น ใหม่ แ ละการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าของผูค้ นในช่วงหลังสงคราม นั ก เดิ น ทางสามารถเข้ า ชมหอคอยได้ ทุ ก วั น และสามารถไปชมวิวที่สูงที่สุดของเมืองได้จาก หอคอยแห่งนี้ โตเกียวยังมีเรือ่ งราววิถชี วี ติ แบบดัง้ เดิมให้ได้ ค้นหาอีกมากมาย ไม่วา่ จะเป็นอาหารจากร้านเก่าแก่ ที่เปิดมาเกินร้อยปี ตลาดปลาก็เช่นกัน ในอดีต ตลาดปลาแห่งแรกจัดตัง้ ขึน้ ในสมัยโชกุน โทะกุงะวะ อิเอะยะสึ ยามค�า่ คืนโตเกียวก็นา่ สนใจไม่แพ้เมืองไหน เพราะที่นี่ไม่เคยหลับ และหากมองจากอวกาศ เราจะเห็นเมืองโตเกียวสว่างไสวด้วยแสงไฟอยู่ ตลอดเวลา ความรุ ่ ง เรื อ งของโตเกี ย วในวั น นี้ เปลี่ยนผ่านมาจากความยากล�าบากในวันวาน หากไปเยือนโตเกียว มองหาประวัติศาสตร์ แล้ว เข้าไปทักทายมัน ก็จะได้ความสนุกไปอีกแบบ WHAT YOU NEED TO KNOW สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจ�าประเทศไทย 177 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 0-2696-3000 นักท่องเที่ยวชาวไทยได้รับยกเว้นวีซ่าเข้าประเทศ ญี่ปุ่นในการพ�านักระยะสั้นไม่เกิน 15 วัน การเดินทาง สายการบินไทย www.thaiairways.com สายการบินแอร์เอเชีย www.airasia.com สายการบินออลนิปปอนแอร์เวย์ www.ana.co.jp ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง
THE WORD 26
are meant to serve YOU , NOT ENSLAVE ความทรงจ�ามีหน้าทีร่ บั ใช้คณ ุ ไม่ใช่ทา� ให้คณ ุ ตกเป็นทาส
- A. J. Darkholme -