ISSUE 113 I 6 - 12 MAY 2016
HEARTLAND
ปีที่ 3 ฉบับที่ 113 วันที่ 6 - 12 พฤษภาคม 2559
NOTE ON LIFE
Home is Where the Heart is เมื่อไหร่ที่เหน็ดเหนื่อย ไม่มีใคร และต้องการความสงบสุข เราเลือกที่จะกลับบ้าน ไม่ใช่บ้านในแง่ที่ทา� หน้าที่เป็นเพียงที่อยู่อาศัย คุ้มแดดคุ้มฝน แต่เป็นที่ที่ท�าให้เราอบอุ่นหัวใจ เราหายเหนื่อยและเติมเต็มไปด้วยพลังก็ที่บ้าน รู้สึกว่ามีใครสักคนที่เข้าใจในสิ่งที่เราเป็นก็ที่บ้าน รู้สึกห่างไกลจากความวุ่นวายก็ที่บ้าน จึงจ�าเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมีบ้านให้กลับ แต่ส�าหรับบางคนก็ไม่มีสถานที่เช่นนั้นบนโลกใบนี้ เพราะเขามีคนบางคนท�าหน้าที่เป็นบ้าน ได้อย่างสมบูรณ์แบบ คนคนนั้นอยู่ที่ไหน บ้านของเขาก็อยู่ที่นั่น และมันก็ทดแทนบ้านในทุกๆ ความหมายได้เป็นอย่างดี คนที่โชคร้ายที่สุด จึงไม่ใช่แค่คนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยอันอบอุ่นพอที่จะเรียกว่าบ้าน แต่คือคนที่ไม่มีทั้งที่อยู่ และไม่มีแม้ใครสักคนให้วางหัวใจไว้และหันหน้าไปหา - ไม่มีทั้งที่อยู่ และไม่มีทั้งที่ไป - ยิ่งเราอยู่ในโลก ที่เต็มไปด้วยผู้คนมากหน้าหลายตา ทุกคนล้วนแต่รักสุข เกลียดทุกข์ จึงไม่แปลกที่เราจะท�าร้ายกัน เพียงเพราะมีใครสักคนมาขวางหนทางที่น�าไปสู่ความสุขของตัวเอง คนที่เราวางหัวใจไว้ได้ง่ายๆ จึงหาได้ยาก และอาจจะยากกว่าการหาที่อยู่อาศัยเสียด้วยซ�้า บางคนมีบ้านทั้งหลังรออยู่ แต่หัวใจกลับร่อนเร่พเนจร เหมือนหาที่หวนคืนไม่เคยเจอ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin
CONTENTS
The Stuff
Feature
Calendar
Selective
Supermarket
Make a Dish
HOME MADE
Out There
THE WORD
สารพัดสิ่งรอบตัวเรา ที่เล่าผ่านตัวเลข
พบกับเรือ่ งราวความทรงจ�าของคน 6 คน ที่ มี ต ่ อ บ้ า นเกิ ด ของ พวกเขา
ใคร ท�าอะไร ที่ไหน เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ จะได้ไม่พลาด เรือ่ งราวสนุกๆ
ย้ อ นกลั บ ไปดู จุ ด เริ่มต้นที่สร้างความภูมิใจให้กับ จิรณรงค์ วงษ์สุนทร ที่บอกถึง ตัวตนของเขาในทุกวันนี้
ฉวยตะกร้า คว้ารถเข็น แ ล ้ ว ไ ป เ ดิ น เ ล ่ น จั บ จ ่ า ย กั บ เ ร า ใ น Supermarket แห่งนี้
หนึ่ ง จานอร่ อ ยจาก ร้ า นดั ง ที่ เ ราอ ย า ก ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง
เยี่ยมชมสถานที่แห่ง ความสุ ข ของ สหะ พุกศิรวิ งศ์ชยั ทีร่ วบรวม ความฝั น ของคนใน ครอบครัวมาไว้ดว้ ยกัน
เพราะเราเชื่อว่าโลก ใบนีม้ สี ถานทีม่ ากมาย รอให้ไปค้นหา
พ ลิ ก มุ ม คิ ด ป รั บ มุ ม มอง กับ ‘หนึ่ง ถ้ อ ยค� า ... ที่ เ ปลี่ ย น ความคิด’
LETTER ชอบ a day BULLETIN LIFE ฉบับสงกรานต์ที่ผ่านมา เห็นแล้วรู้สึกสดใส ชอบเป็นพิเศษตรงที่เอารถเมล์สาย 3 มาขึ้นปก เพราะรถเมล์สายนี้เป็นสายที่วิ่งผ่านจุดที่เขาเล่นน�า้ หลักๆ เวลานั่งต้องปิดหน้าต่างเพราะกลัวโดนสาดน�้า และชอบความคิดของบุคคลท่านอื่นๆ ที่ต้องท�างานในช่วงวันหยุด ท�าให้เราเห็นมุมมองอะไรที่แตกต่างไปจากเดิมเยอะขึ้นเหมือนกัน แต่ติดตรงที่หาหยิบยากมาก ไปตามจุดแจกแล้วไม่ค่อยเจอเลย - เอกรัตน์
ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife
A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ ห้วหน้ากองบรรณาธิการ วรรณวนัช ท ว้ มสมบูรณ์ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี ทัตชญา มิง่ ขวัญ พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝา่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝา่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผูอ้ า� นวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผูจ้ ดั การฝา่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุง่ รัตนสุทธิกลุ 08-4491-9241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com
STUFF
Nasa's Spin-off Stuff หลายคนคงเคยสงสัยว่าเราจะส�ารวจอวกาศไปท�าไม ในเมื่อแค่จุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรของโลกเราก็ยังส�ารวจได้ไม่หมด แต่อย่าลืมว่าความพยายามในการท่องอวกาศนั้น น�าพามาซึ่งการคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งหลายอันได้น�ามาพัฒนาต่อ และกลายร่างเป็นของใช้ประจ�าวันที่คุณอาจเซอร์ ไพรส์ถ้าได้รู้ที่มา ดังเช่นหกชิ้นต่อไปนี้
กาแฟส�าเร็จรูปทีเ่ ราฉีกซอง ชงกั น อยู ่ ทุ ก เช้ า พั ฒ นา มาจากอาหารนักบินอวกาศ ที่ใช้วิธี Freeze Dry ในช่วง ที่พัฒนาโครงการ Apollo ซึง่ นักบินอวกาศต้องอยูบ่ น สถานีเป็นเวลานาน บริษัท Nestle จึ ง เข้ า มาช่ ว ย พัฒนาเทคนิคการเก็บรักษา อาหารแบบ freeze drying ซึ่ ง อาหารที่ ป รุ ง เสร็จแล้วจะถูกแช่แข็งแล้ว ให้ ค วามร้ อ นอย่ า งช้ า ๆ ในสภาพสุญญากาศเพื่อ ก�าจัดเกล็ดน�้าแข็งออกไป อาหารที่ได้จะมีน�้าหนักเบา ลง แต่คงสารอาหารไว้เกือบ ครบถ้วน
เครื่องตรวจจับควันพัฒนาขึ้นมาในช่วงที่นาซาด�าเนินโครงการ Skylab สถานีอวกาศแรกของสหรัฐอเมริกาที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 1973 มีน�้าหนักกว่า 68,175 กิโลกรัม นาซาให้ความส�าคัญกับเครื่องมือชิ้นนี้ มากด้วยเหตุผลที่ว่า ไฟไหม้นั้นถือเป็นที่สุดแห่งหายนะที่สามารถเกิดขึ้น ได้บนสถานีอวกาศ
Space blanket พัฒนาขึน้ ในปี ค.ศ. 1964 นิยมใช้มาก ในหมู่หน่วยกู้ภัยและนักวิ่งทางไกล จัดเป็นอุปกรณ์ พื้ น ฐานในชุ ด ปฐมพยาบาลเคลื่ อ นที่ ข องประเทศ ในเขตหนาว เพราะมีจุดเด่นคือ บาง เบา และท�าจาก วั ส ดุ ที่ ส ามารถสะท้ อ นคลื่ น อิ น ฟราเรดได้ จึ ง เก็ บ ความร้อนได้ดีมาก
อุปกรณ์จัดฟันเซรามิกแบบใส เป็นเซรามิกแบบใสที่เรียกว่า TPA (translucent polycrystalline alumina) ซึ่งเป็นผล จากงานวิจยั ร่วมกันระหว่างนาซากับ Ceradyne บริษทั ลูก ของ 3M ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1967 ซึ่งเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เซรามิกขั้นสูง เดิมทีแล้ว TPA ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเกราะ ป้องกันระบบล็อกเป้าด้วยความร้อนของจรวดมิสไซล์
1967
ปรอทวั ด ไข้ แ บบเสี ย บหู สามารถรายงานผลได้ ภายใน 3 วินาที ใช้การตรวจ จับอุณหภูมทิ แี่ ผ่ออกมาจาก แก้ ว หู ซึ่ ง นาซาพั ฒ นา ร่ ว มกั บ บริ ษั ท Diatek Corporation ใช้หลักการ เดี ย วกั บ การวั ด อุ ณ หภู มิ ของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ มี ข ้ อ ดี คื อ ปรอทไม่ ต ้ อ ง สั ม ผั ส กั บ สารคั ด หลั่ ง แบบ ปรอทที่ ใ ช้ อ มใต้ ลิ้ น ท� า ให้ ลดโอกาสในการติดเชื้อได้
เครื่องดูดฝุ่นแบบไร้สายพัฒนามาจากเครื่องมือช่างแบบ ไร้สายทีค่ ดิ ค้นส�าหรับโครงการ Apollo และ Gemini ซึง่ นาซา ต้องการเครื่องมือไร้สายส�าหรับเก็บตัวอย่างจากใต้พื้นผิว ของดวงจันทร์ Black & Decker บริษทั ผูผ้ ลิตเครือ่ งมือช่าง จึงรับหน้าที่พัฒนาเครื่องมือดังกล่าว และกลายมาเป็น เครือ่ งดูดฝุน่ ขนาดเล็กไร้สาย Dustbuster ในปี ค.ศ. 1981
1964
เวลโคร หรือที่เราเรียกกันว่าตีนตุ๊กแก เทฟลอน และเครื่องดื่มรสผลไม้ชนิดผง เป็นสามสิ่งที่มักถูกเข้าใจผิดว่าพัฒนาขึ้นโดยนาซา แต่ที่จริงแล้วนาซาไปซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ในโครงการท่องอวกาศ จึงท�าให้พวกมันกลายเป็นที่รู้จักต่างหาก
FEATURE
Heartland
เราเชื่อว่าคนที่อยู่ในเมืองใหญ่กว่าครึ่งเป็นคนที่มาจากต่างจังหวัด สังเกตได้จากในช่วงเทศกาลที่ผู้คนหลั่งไหลกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดจนท้องถนนคับคั่ง เหมือนบ้านเกิด ก�าลังส่งเสียงเรียกให้ทกุ คนหวนคืนกลับไปเยีย่ มเยือนเพือ่ เติมพลังให้ชวี ติ แม้จะเป็นแค่ชว่ งเวลาสัน้ ๆ แต่กเ็ ป็นช่วงเวลาทีม่ คี า่ ส�าหรับทุกคน ฉบับนีเ้ ราจึงอยากพาผูอ้ า่ นตามไปดูบา้ นเกิด ของคนธรรมดาทั้ง 6 คน กับเรื่องราวความผูกพันและความทรงจ�าของพวกเขากับบ้านในต่างจังหวัดที่พวกเขาจากมา เพื่อให้เราได้หวนคิดถึงบ้านร่วมกัน
TRANG CHULEE WANGSIRILERT
ชุลี หวังศิริเลิศ Incubation Manager ศูนย์ hatch (startup incubator) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
“เราเกิดที่กรุงเทพฯ แต่ทั้งพ่อและแม่เป็นคน จังหวัดตรัง เราจึงย้ายมาอยู่ตรังตั้งแต่เล็กๆ เวลา ไปไหนมาไหนเราจึ ง ไม่ เ คยแนะน� า ตั ว ว่ า เป็ น คนกรุงเทพฯ เพราะจ�าอะไรที่เป็นกรุงเทพฯ แทบ ไม่ได้เลย จากนัน้ เราย้ายมาอยูก่ รุงเทพฯ ช่วงเรียน มหาวิทยาลัยและอยู่ท�างานต่อที่นี่ เพราะงานที่ สนใจยังไม่มชี อ่ งทางเหมาะๆ ทีจ่ ะท�าทีต่ รัง เรามัก เริม่ ต้นการกลับบ้านด้วยการขับรถวนรอบหอนาฬิกา จังหวัด แลนด์มาร์กที่ทา� ให้เรารู้สึกว่า ‘ฉันมาถึง ตรังแล้ว!’ นอกจากนีย้ งั มีอกี สถานทีท่ ชี่ อบไปมาก อย่างสนามกีฬาเทศบาลนครตรัง ซึ่งสมัยเรียน เรามาออกก�าลังกายที่นี่บ่อยมาก ขัดกับชีวิตที่ กรุงเทพฯ อย่างสิน้ เชิง เพราะเราแทบจะหมดเวลา ในแต่ละวันไปกับการเดินทางและท�างาน แต่ทตี่ รัง เราสามารถไปถึงสนามกีฬาได้ภายใน 15 นาที และที่นี่ยังคงความมีชีวิตชีวาได้อย่างไม่น่าเชื่อ “ทุกครั้งที่กลับตรัง เราจะมีโปรแกรมประจ�า ที่ต้องท�าเสมอ ไม่อย่างนั้นจะรู้สึกเหมือนกลับมา ไม่ถงึ บ้าน ได้แก่ 1. กินติม่ ซ�ามือ้ เช้า เราไม่รวู้ า่ ทีต่ รัง เอาประเพณีนี้มาจากไหน แต่ถ้าไม่ได้กินติ่มซ�า ตอนเช้ า สั ก มื้ อ มั น จะรู ้ สึ ก เหมื อ นขาดอะไรไป เรามีรา้ นประจ�าชือ่ ‘จีบขาว’ ซึง่ ติม่ ซ�าทีต่ รังจะกิน กับน�า้ จิม้ ทีท่ า� จากส้มเจือ่ ง ท�าให้รสชาติของติม่ ซ�า ไม่ เ หมื อ นใคร 2. หาร้ า นข้ า วรวมกิ น ส� า หรั บ มื้อเที่ยง ‘ข้าวรวม’ เป็นเมนูธรรมดาสามัญของ
คนตรัง เป็นข้าวที่โปะหน้าด้วยหมูแดง ไก่ต้ม กุนเชียง หรือทุกอย่างที่ร้านนั้นมี แล้วราดด้วย น�้าราดสูตรเฉพาะของแต่ละร้าน ที่ไม่ใช่น�้าราด ข้าวหมูแดงหรือข้าวมันไก่ 3. จิบน�า้ ชากับโรตีมอื้ ค�า่ ร้านน�้าชาและร้านโรตีเคยเป็นสถานที่แฮงก์เอาต์ ของวัยรุ่นตรังในสมัยที่ยังไม่ค่อยมีร้านเหล้าใน จังหวัด ธรรมเนียมการกินโรตีกบั น�า้ ชาตอนกลางคืน จึงกลายเป็นกิจกรรมฮิตหลังเลิกเรียนทีผ่ ปู้ กครอง ไว้วางใจ หลังจากเรียนจบก็ยงั คงติดนิสยั กลับตรัง ทีไรจะต้องหาเรื่องลากญาติหรือเพื่อนๆ ไปนั่งคุย กันตามร้านโรตี และ 4. เดินรับลมริมชายหาด โดยเฉพาะหาดปากเมง ความเจ๋ ง ของที่ นี่ คื อ วิวทะเลที่จะเห็นเกาะน้อยใหญ่อยู่ลิบๆ แถมยังมี นักท่องเที่ยวไม่เยอะ ไม่พลุกพล่าน
TRAT DANUPORN TEAMPUEAN
ดนุพร เทียมเพื่อน Content Supervisor ของคลื่นวิทยุรสจัด Seed 97.5 FM
“สิง่ ทีท่ า� ให้คดิ ถึงบ้านมากทีส่ ดุ เวลาอยูก่ รุงเทพฯ อันดับแรกคือ อาหาร เพราะแม้จะกินอาหารตามสัง่ เช้ากลางวันเย็นแต่เมนูก็จะซ�้าๆ แต่เวลาอยู่บ้าน อาหารมันจะให้ความรู้สึกของกับข้าว ที่แม้แม่จะ ท�าบ้างหรือซือ้ มาบ้าง แต่มนั ก็มคี วามหลากหลาย คงเพราะคนคิดเมนูคอื แม่ เราเลยชิล (หัวเราะ) เรา เกิดในจังหวัดทีต่ ดิ ทะเล ก็เลยชอบกินอาหารทะเล โดยเฉพาะปลาหมึก เวลากลับบ้านพ่อก็จะไปซื้อ ปลาหมึกมาผัดกะเพราให้ลูกสาวกิน เพราะรู้ว่า ชอบ และพ่อท�าอร่อย ส่วนแม่กจ็ ะถามว่ากลับมา รอบนี้อยากกินอะไร สิ่งที่แม่ทา� ให้กินบ่อยๆ ก็คือ หลนปู ต้มซีโ่ ครงหมูใส่ผกั กาดกระป๋อง ผัดหอยลาย ปูม้า เราก็เลยไม่ค่อยชอบกินอาหารที่กรุงเทพฯ เพราะรูส้ กึ ว่ามันไม่ได้มาตรฐาน อีกเหตุผลส�าคัญ ของการกลับบ้านคือ ทุเรียน เพราะเวลากลับไปกิน ทีบ่ า้ นมีคนซือ้ มาให้ ไม่เสียตังค์ (หัวเราะ) แล้วก็ได้ ทุเรียนดีมีคุณภาพ นอกจากเรื่องอาหารก็คงเป็น พืน้ ที่ เพราะเวลาอยูก่ รุงเทพฯ เราอยูใ่ นห้องสีเ่ หลีย่ ม ที่ ไ ม่ มี อ าณาบริ เ วณ ไม่ มี ที่ นั่ ง จิ บ กาแฟมอง สนามหญ้า นั่งดูทีวีกับคนอื่นๆ อย่างที่บ้านเรามี “สมัยย้ายมาเรียนมหาวิทยาลัยยังไม่ค่อย เป็นห่วงพ่อกับแม่เท่าไหร่ เพราะเขายังแข็งแรงดี แต่ตอนนีเ้ ขาอายุมากขึน้ ช่วงทีแ่ ม่สขุ ภาพไม่คอ่ ยดี ก็ต้องหาเวลากลับบ้านบ่อยขึ้น ส่วนความกังวล ในระยะยาวคือ ถ้าเราสนุกสนานเทีย่ วเล่นท�างาน
อยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ รอจนพ่อกับแม่ป่วยแล้วค่อย กลับบ้าน มันก็จะฉุกละหุกมาก เลยเริ่มคิดมาสัก ปีสองปีแล้วว่าจะกลับบ้าน แต่ก็ต้องคิดก่อนว่า กลับไปท�าจะท�าอะไร จะได้ไม่เคว้ง ไม่ว่าง เพราะ เราเคยชินกับชีวิตวุ่นๆ แล้วก็อยู่คนเดียวมานาน ทั้งที่กรุงเทพฯ และอังกฤษ ดังนั้น ถ้าต้องกลับไป อยู่กับครอบครัวก็คงต้องปรับตัวกันใหม่ แต่ที่จริง เราก็รู้ตัวมาตลอดว่าวันหนึ่งต้องกลับบ้าน ดังนั้น การเดินทางไปใช้ชีวิตตามที่ต่างๆ ของเราไม่ใช่ เพื่อจะไปอยู่ที่อื่นหรอก แต่เราเดินทางเพื่อเก็บ ประสบการณ์ ร ะหว่ า งทางกลั บ ไปบ้ า นด้ ว ย เท่านั้นเอง”
KHON KAEN VARANYOO INTRAKUMHANG
วรัญญู อินทรก�าแหง บรรณาธิการบทความ นิตยสาร ELLE MEN
“เวลาคิดถึงบ้านจะคิดถึงซอยจากถนนใหญ่ ทีล่ กึ เข้าไปในซอยก็ถงึ บ้าน เพราะถ้าจะกลับบ้าน ก็จะผ่านซอยนี้ทุกครั้ง พอนึกถึงบ้านก็จะเห็น ภาพซอยนี้ขึ้นมา... อีกนิดก็จะถึงบ้านเราแล้ว และก็ของกินมากมายทีค่ นุ้ เคย มาอยูก่ รุงเทพฯ รูส้ กึ อย่างหนึง่ ว่าของกินทีต่ า่ งจังหวัดคุณภาพดี และราคาถูกกว่า รวมถึงการท�าก็พถิ พี ถิ นั กว่า ด้วย แม้จะเป็นของที่แม่ค้าในตลาดท�าก็ตาม เวลากลับบ้านนอกไม่วา่ จะท�าอาหารกินกันทีบ่ า้ น หรือซือ้ ของกินจากนอกบ้าน ก็จะได้กนิ ของอร่อย เสมอ ผิดกับเวลาอยูก่ รุงเทพฯ ดังนัน้ ความทรงจ�าที่เกี่ยวกับบ้านเกิดที่แม่นที่สุดจึงเป็นซอย ทางเข้าบ้าน จ�าได้วา่ สมัยเด็กๆ โดนใครสักคนดุ ร้องไห้ เสียใจ เรือ่ งใหญ่มาก วิง่ หนีออกจากบ้าน เดินไปร้องไปถึงครึ่งซอย งูเลื้อยตัดผ่านถนน ตกใจ ก็กลับบ้านสิ รออะไร (หัวเราะ) “บ้านเป็นสถานที่ปลอดภัย รีแล็กซ์มาก เวลากลับบ้าน ง่วง นอนได้ทั้งวัน เป็นสถานที่ เติมพลัง อุ่นใจทุกครั้งที่ได้กลับบ้าน ได้กิน ของอร่ อ ย ได้ ก อดแม่ อยู ่ กั บ คนที่ รั ก เรา การกลับบ้านท�าให้รู้ว่าเรามีคนรออยู่ คอย เตือนว่าเราเป็นใครมาจากไหน ช่วงทีช่ อบกลับ คื อ เมษายน ดอกคู น บานสะพรั่ ง กั บ ช่ ว ง
ปลายๆ ปีอากาศเย็นสบาย แต่กลับไปทุกครัง้ ได้เห็นอะไรเปลีย่ นแปลงไป ก็จะชอบออกไปวิง่ ปั่นจักรยาน ทัวร์สถานที่ที่เราไปตอนเป็นเด็ก ก็จะพบเจอความเปลีย่ นแปลง เออ มันเปลีย่ น เมืองทีเ่ ราเติบโตมามันเปลีย่ น รูส้ กึ เหมือนเป็น นักท่องเทีย่ วในเมืองทีเ่ ราคุน้ เคยบ้างในบางครัง้ ”
PATTANI SUBHAN BENJALAK
ซุบฮาน เบ็ญจลักษณ์ Event Designer
“ส่วนใหญ่ผมจะกลับบ้านทีป่ ตั ตานีประมาณ 3 เดือนครั้ง โดยจะเป็นช่วงวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ ถ้าเป็นช่วงเทศกาลผมจะกลับก่อนหรือไม่ก็หลัง เทศกาลประมาณ 1 อาทิตย์ เพื่อความสะดวกใน การเดินทาง ตอนทีน่ งั่ เครือ่ งบินกลับไปบ้านก็รสู้ กึ ดี เพราะจะได้กลับไปเจอคนที่บ้าน และจะได้กลับ ไปกินอาหารที่เราชอบกินบ่อยๆ อย่างโรตีกับแกง ต่างๆ สะเต๊ะเนือ้ และก็ขา้ วย�า ซึง่ เป็นอาหารท้องถิน่ ทีม่ รี สชาติทเี่ ราคุน้ เคย และเป็นอาหารทีเ่ ราหากิน ที่ ก รุ ง เทพฯ ได้ ย ากมาก ถึ ง มี ก็ ร สชาติ ไ ม่ ใ ช่ การปรุงแต่งก็ไม่เหมือนกับอาหารทีเ่ รากินทีป่ ตั ตานี กินแล้วก็ไม่ถูกปาก และเวลากลับบ้านไปผมก็จะ ได้พาครอบครัวออกมากินข้าวกันตามร้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ปัตตานี เป็นการใช้ช่วงเวลา ที่มีน้อยในการอยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด และ ได้เจอกับเพื่อนๆ สมัยมัธยมด้วย “เรื่องของความเป็นห่วงผมเองก็ไม่ค่อยรู้สึก อะไร เพราะเรามีกลุ่ม LINE ของครอบครัวอยู่ คุณพ่อก็จะคอยถามความเป็นไปของผมอยูต่ ลอด เวลาที่ ผ มเจองานหนั ก ๆ จนรู ้ สึ ก เหนื่ อ ยมาก หรื อ เวลาที่ ไ ม่ ส บายใจมี ป ั ญ หาหรื อ เครี ย ด ก็ จ ะโทร.กลั บ ไปที่ บ ้ า น แต่ ผ มก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ล่ า ให้ พวกเขาฟังหรอกว่าเป็นอะไร ซึ่งผมเหมือนได้ ก�าลังใจจากพ่อแม่กลับมา ส่วนในอนาคตผมก็คดิ ว่า คงกลับไปท�างานอยู่ที่บ้านเกิด อยากกลับไปช่วย
พัฒนาจังหวัดปัตตานี เพราะหลายๆ คนคงนึกว่า ที่นี่มีแต่เหตุการณ์ไม่ปลอดภัย แต่จริงๆ แล้ว ปัตตานีมีสถานที่ที่น่าสนใจเยอะมาก เวลาที่ผม ถ่ายรูปสถานทีต่ า่ งๆ มาโพสต์ เพือ่ นผมเห็นก็บอก กันว่าอยากลองไปเที่ยวดูสักครั้ง เพราะถึงแม้ ปั ต ตานี จ ะเป็ น เมื อ งเล็ ก ๆ แต่ มี ธ รรมชาติ ที่ ดี มีเอกลักษณ์ของเมืองที่ไม่เหมือนใคร เป็นชุมชน ทีค่ นหลากหลายศาสนาอยูร่ ว่ มกัน และมีวฒ ั นธรรม ที่ แ ตกต่ า งกั น แต่ ผ สมผสานกั น ได้ อ ย่ า งลงตั ว และตอนนี้ก็มีกลุ่มที่รวมตัวกันท�างานด้านศิลปะ เกิดขึ้นมา ซึ่งท�าให้เมืองนี้มีสีสันมากขึ้น น่าลอง ไปเยี่ยมเยือนสักครั้ง”
CHIANG MAI WISARUTH WISIDH
วิศรุต วิสิทธิ์ นักเขียน และนักวาดภาพอิสระ
“ผมมาท�างานกรุงเทพฯ ปีนี้ปีที่ 5 แล้ว แต่ ช่วงนีไ้ ม่คอ่ ยได้กลับบ้านทีเ่ ชียงใหม่เพราะว่างานยุง่ แถมยิง่ นานวันผมยิง่ ทิง้ ช่วงเวลากลับบ้านห่างขึน้ เรื่อยๆ แต่ทุกครั้งที่ผมได้กลับบ้าน ผมจะแวะไป นัง่ เล่นทีห่ นึง่ เสมอ นัน่ คือทีท่ มี่ องเห็นวิวดอยสุเทพ (จากมุมไหนก็ได้ในเมืองเชียงใหม่) เพราะดอยสุเทพ เป็นภูเขาที่ผมเห็นมาตั้งแต่เกิด เป็นแลนด์มาร์ก ประจ�าจังหวัด คือกลับมาถึงแล้วก็ต้องมานั่งมอง จะนัง่ เฉยๆ หรือซือ้ ข้าวมานัง่ กินบนเบาะมอเตอร์ไซค์ ก็มองภูเขาลูกนีไ้ ด้เสมอ ไม่มเี บือ่ ส่วนร้านอาหาร ‘เนตรดวงดาว’ เป็นร้านอาหารเก่าแก่ของเมือง เชียงใหม่ กลับไปเมือ่ ไหร่กต็ อ้ งแวะเพือ่ กินอาหาร เหนือ หรือ ‘ของกิ๋นเมือง’ ให้หายอยาก เหมือน การชาร์จพลังทีม่ เี ฉพาะทีน่ ี่ เพราะทีก่ รุงเทพฯ หากิน ของพวกนีย้ ากยิง่ กว่าอะไร อาหารเหนือทีผ่ มชอบ เป็นพิเศษคือ ‘ลู่’ หรือเลือดสดๆ ใส่กับผักและ เครือ่ งเทศเพือ่ ดับคาว เรียกว่าอันนีห้ ากินไม่ได้เลย ทีก่ รุงเทพฯ (เพราะค่อนข้างเถือ่ น) แล้วก็พวกไส้อวั่ ไส้ย่าง น�า้ พริก ฯลฯ ที่กรุงเทพฯ หาไม่ได้สักอย่าง เดียว “การจากบ้ า นเกิ ด มาท� า งานและอาศั ย ที่ กรุงเทพฯ ปีนเี้ ข้าปีที่ 5 ก็ปฏิเสธไม่ได้วา่ คิดถึงบ้าน แม้ไม่คดิ ถึงมากเท่าตอนมาอยูใ่ หม่ๆ เพราะตอนนี้ ก็ปรับตัวกับอะไรๆ ได้แล้ว แต่ก็ยังคิดถึงอยู่ดี จริงๆ อยากกลับไปอยู่เชียงใหม่มากกว่า และยัง
ไงก็ต้องกลับแน่ๆ เพราะคิดไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า การมาท�างานกรุงเทพฯ นีแ่ ค่ชวั่ คราวเฉยๆ ถึงแม้วา่ การกลับไปแต่ละครั้งเชียงใหม่จะเปลี่ยนไปเสมอ เพราะตอนนี้ ตั ว เมื อ งโตเร็ ว มาก (เพื่ อ รองรั บ นักท่องเที่ยวจีนจ�านวนมาก) คือกลับบ้านทีก็เห็น ตึกสร้างใหม่ผดุ ขึน้ มาที วิวทิวทัศน์กเ็ ปลีย่ นไปเสมอ เปลีย่ นไปจนตอนนีจ้ ะเหมือนกรุงเทพฯ แล้ว ทัง้ รถติด คนเยอะ ปัญหาต่างๆ ก็เพิม่ ขึน้ ตามจ�านวนประชากร ทีเ่ พิม่ ขึน้ แต่ยงั ไงเชียงใหม่กย็ งั เป็นเชียงใหม่อยู่ดี แม้ตึกใหม่ๆ จะผุดเป็นต้นหญ้า รถราจะเยอะจน เหมือนก๊อบปีม้ าทัง้ กรุงเทพฯ แต่ทงั้ หมดไม่มอี ะไร เปลีย่ นความเป็นบ้านเกิดทีผ่ ้คู นท้องถิน่ นัน้ สุดชิล โดยมี ด อยสุ เ ทพอยู ่ ข ้ า งๆ เมื อ งให้ เ ห็ น เป็ น แลนด์มาร์กอยู่ทุกวันได้แน่นอน”
CHANTHABURI KONGKALP WIRIYALAMPA
ก้องกัลป์ วิริยะลัมภะ Creative / Design Director ELEMENTSEDEN
“นึกถึงบ้านจะคิดถึงช่วงปี 2011 เป็นปี Ground Zero / Turning Point ของผมเลยก็ว่าได้ ทุกอย่าง ต้องคิดใหม่, นับหนึ่งเริ่มใหม่หมด โดยเฉพาะ ความคิดของตัวเองกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ตอนนั้น น่าจะอายุ 30 พอดี เพิ่งมารู้ว่าความคิดตลอด 30 ปีทผี่ า่ นมา ส่วนใหญ่ตอ้ งเปลีย่ นแปลงแก้ไขใหม่ บวกกับเพิง่ ทราบว่าคุณพ่อเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย และเราเองเป็นคนที่เคยหันหลังให้กับครอบครัว และบ้านเกิดมาก่อน ธุรกิจส่วนตัวก็เพิ่งเริ่มต้น และยังไปได้ไม่ดีนัก คิดหนักพอสมควร สุดท้าย ตัดสินใจกลับบ้านไปดูพ่อ และเอางานกลับไปท�า ด้วย กลับจันทบุรีช่วงนั้นเหมือนกลับไปเก็บตัว ฝึกควบคุมความคิดและอารมณ์ตัวเอง และผม คิดว่าผมโชคดีมากที่ได้มีโอกาสกลับไปก่อนท่าน จะเสีย ได้มโี อกาสท�าอะไรให้ทา่ นแบบทีไ่ ม่เคยท�า เช่น นวดเท้าท่าน อ่านหนังสือให้ท่านฟังบ้าง เดินเล่น ออกก�าลังกายบ้าง เจอคนในครอบครัว มากขึ้น รู้สึกอบอุ่น รู้สึกดีใจที่ได้กลับมาเป็น ส่วนหนึ่งของครอบครัว “การกลับบ้านให้ประโยชน์เราแทบจะทุกด้าน เลยนะ ความคิด กลับมาแล้วมันดี หลังจากนั้น ก็เลยกลับบ่อยขึน้ ผมเลยเรียกช่วงเวลาทีก่ ลับจันท์ ว่า Chantaburi Weekend ผมให้ความพิเศษกับมัน เพราะกลับไปแล้วมีความสุข
“อยากกลับเมือ่ ไหร่กก็ ลับ การได้เปลีย่ นสถานที่ มันดีนะส�าหรับผม บางทีอยู่กรุงเทพฯ นานๆ เข้า มันเฉาอะ ต้นไม้ก็น้อย คิดงานไม่ออก พอมาอยู่ ต่างจังหวัดมันไม่ได้ทา� งานนะ แต่มันคิดงานออก เยอะเลย สมองมันโล่ง กลับมาก็ไปเดินดูตลาด เพลินดี ไปร้านกาแฟใหม่ที่คนรุ่นใหม่มาเปิด ก็เลยรู้ว่าไม่ใช่แค่เรานะที่กลับบ้าน สรุปแล้วคือ ผมรูส้ กึ โชคดีทเี่ ป็นคน ต่างจังหวัด เหมือนได้ใช้ชวี ติ สองที่ มันท�าให้ชีวิตผมดีขึ้นจากเดิมมาก”
CALENDAR FRI
MON
9
TUE
The Long Lasting Journey นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘The Long Lasting Journey’ โ ด ย ก ลุ ่ ม ศิ ล ป ิ น จ า ก โครงการถ่ายทอดงานศิลป์ กับศิลปินแห่งชาติรุ่นที่ 5 น� า เสนอผลงานศิ ล ปะ ที่ ผ ่ า นการแชร์ ค วามคิ ด และประสบการณ์ ต ่ า งๆ แ ล ะ จ า ก ก า ร ที่ ศิล ป ิ น ทุกคนโคจรมาร่วมเดินทาง บนเส้ น ทางที่ ย าวไกล ในลอสแองเจลิส วันนี้ถึง 19 พฤษภาคม 2559 ณ น� า ท อ ง แ ก ล เ ล อ รี อารีย์ โทร. 0-2617-2794 (เว้นวันอาทิตย์)
10
WED
My Daughters นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘ลูกสาวผม’ โดย เอช. เอช. คาพอร์ จากแรงโหยหาถึง ลู ก สาวที่ ต ้ อ งพลั ด พราก หลังการหย่าร้าง จุดแรงบั น ดาลใจให้ ส ร้ า งสรรค์ ภาพถ่ายตัวเองที่โพสกับ หญิงสาวรุน่ ราวคราวเดียว กับลูก โดยองค์ประกอบ ของแต่ละภาพล้วนบรรจง เ ลื อ ก ม า ด ้ ว ย ค ว า ม ละเมี ย ดละไม วั น นี้ ถึ ง 3 0 มิ ถุ น า ย น 2 5 5 9 ณ คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี สีลม โทร. 0-2234-6700 (เว้นวันอาทิตย์และจันทร์)
11
THU
GAM : MANUAL นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘ภาพพิมพ์บูรพา ครั้งที่ 17 : ‘แมนนั ว Manual’ ’ โดยนิสติ ทุกชัน้ ปีของสาขา กราฟิกอาร์ตและกราฟิก มีเดีย มหาวิทยาลัยบูรพา น�าเสนอผลงานศิลปะใน รูปแบบภาพพิมพ์ และสื่อ สิ่ ง พิ ม พ์ ใ นรู ป แบบต่ า งๆ ฯลฯ วันนีถ้ งึ 15 พฤษภาคม 2559 ชั้ น L หอศิ ล ปวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ ง เทพมหานคร โทร. 0-22146630-8
6
SAT
7
SUN
8
12
Thailand Dive Expo 2016 ขอเชิญก้าวเข้าสู่โลก แห่งการท่องเทีย่ วด�าน�า้ ลึก ในงาน ‘Thailand Dive Expo 2016’ พบแพ็กเกจ ราคาพิเศษมากมายจาก ผูป้ ระกอบการ ทัง้ โรงเรียน สอนด�าน�า้ , แพ็กเกจด�าน�า้ , เรื อ Liveaboard และ อุ ป กรณ์ ด� า น�้ า ในราคา พิเศษ พร้อมร่วมกิจกรรม แชร์ประสบการณ์การด�าน�า้ จากช่างถ่ายภาพใต้นา�้ ชือ่ ดัง ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ วั น นี้ ถึ ง 15 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์
Bangkok Analog Fest 2 ‘Bangkok Analog Fest 2’ งานเดี ย วที่ ร วบรวม ร้านขายแผ่นเสียงมากทีส่ ดุ มีแผ่นเสียงมาให้เลือกกว่า 50,000 แผ่นในราคาพิเศษ ทัง้ เพลงไทยและเพลงสากล พิเศษ พบกับมินคิ อนเสิรต์ จาก หงา คาราวาน, มาโนช พุฒตาล, Blackhead และ นุภาพ สวันตรัจฉ์ วันนี้ถึง 7 พฤษภาคม 2559 เวลา 17.00-24.00 น. ณ เจเจกรีน จตุ จั ก ร รายละเอี ย ด เพิ่มเติม www.facebook. com/vlovevinyl
Saranya live Orchestra Concert ค อ น เ สิ ร ์ ต ใ ห ญ ่ เต็มรูปแบบของ ศรัณย่า ส่ ง เสริ ม สวั ส ดิ์ ดี ว าส์ แถวหน้ า ของเมื อ งไทย ‘Saranya Live Orchestra Concert’ ดืม่ ด�า่ ไปกับเพลง ลู ก กรุ ง เพราะๆ ในแบบ ศรั ณ ย่ า ที่ ม าพร้ อ มวง ออร์เคสตราจากราชนาวี สโมสร บนเวที ยิ่ ง ใหญ่ อลั ง การ วั น นี้ เวลา 14.00 น. ณ สยามนิรมิต จ�าหน่ายบัตรทีไ่ ทยทิกเก็ต เมเจอร์
Farewell, Herr Schwarz เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรื่ อ ง ‘Farewell, Herr Schwarz’ ถ่ายทอดเรือ่ งราว ความขัดแย้งของตระกูลหนึง่ ทีผ่ กู รัดอยูก่ บั ความคัง่ แค้น กับอดีตอันแสนเจ็บปวดที่ มีตอ่ กันระหว่างบรรพบุรษุ เ ชื้ อ ช า ติ เ ย อ ร มั น กั บ อิสราเอล อันเนื่องมาจาก เหตุการณ์พนั ธุฆาตชาวยิว ในอดีต ชมฟรี วันนี้ เวลา 13.00 น. ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ศาลายา โทร. 0-2108-8200
OF อะบุ๊กภูมิใจนำ�เสนอ 2 เรื่องร�วชีวิตของบุคคลระดับตำ�น�นของประเทศไทย ที่ได้นักเขียนร�งวัลศรีบูรพ� วันชัย ตันติวิทย�พิทักษ์ ม�จับป�กก�ถ่�ยทอด หล�กหล�ยแง่มุมที่น้อยคนนักจะได้สัมผัส ให้ผู้อ่�นได้สำ�รวจลึกไปถึงคว�มคิด ตัวตน และผู้คนแวดล้อม ของ 2 ช�ยผู้สร้�งคุณคว�มดีมห�ศ�ลแก่สังคม
THE LAST HERO
ชีวิตและความตายของลูกผู้ชายชื่อ สืบ นาคะเสถียร
250.-
ในสมัยที่ สืบ นาคะเสถียร มีชีวิตอยู่ เขาทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อแก้ปัญหาการล่าสัตว์ ทำาลายป่า แต่สุดท้ายระบบราชการ และความไม่ใส่ใจของผู้มีอำานาจในสังคมกลายเป็นอุปสรรคสำาคัญ จนเขาตัดสินใจเอาชีวิตเข้าแลกกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น
A MAN CALLED PUEY 100 ปีชาตกาล ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กูชายชาญชาติเชื้อ ชาตรี 275.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ไม่เคยมีตำาแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่ชีวิตของท่านกลายเป็นตำานานที่ผู้คนกล่าวขานกัน ตั้งแต่เมื่อท่านมีชีวิตอยู่จนกระทั่งเสียชีวิตไปแล้ว ในฐานะคนดี คนเก่ง และคนกล้าที่นับวันจะหาได้ยากมากในสังคม หนังสือเล่มนี้มีเรื่องราวที่สื่อสะท้อนความเป็นป๋วยได้ครบถ้วน รวมทั้งฉายภาพสถานะของความเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นลูกศิษย์ เป็นอาจารย์ เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำา และเป็นตำานานอย่างชัดเจน
บนผืนป่าห้วยขาแข้ง หลายปีที่ผ่านมามีคนสงสัยกันว่าสาเหตุใด ที่ทำาให้สืบฆ่าตัวตาย และกลายเป็นวีรบุรุษในใจผู้คนจำานวนมาก จนถึงทุกวันนี้ ซึ่งหากจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องรู้ก่อนว่า เขาเป็นคนนิสัยแบบใด และหนังสือเล่มนี้อาจจะ พอให้แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ได้บ้าง
พบกันได้แล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือชั้นน�าทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อโดยตรงได้ที่ godaypoets.com ในราคาลด 10% และลดพิเศษ 15% ส�าหรับ #abooker
SELECTIVE
On Your Mark, Get Set, Go! เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
มีคนบอกว่าจุดเริ่มต้นยากที่สุดเสมอ แต่เมื่อใดก็ตามที่เริ่มต้นแล้ว มองย้อนกลับไปครั้งใดก็อดภูมิใจกับสิ่งที่ผ่านมาไม่ได้ เช่นเดียวกับของรักทั้ง 12 สิ่ง ของ จิรณรงค์ วงษ์สุนทร บรรณาธิการศิลปกรรม ของนิตยสาร a day ผู้ที่ในอดีตเริ่มวิ่ง เริ่มวาดรูป เริ่มหลงรักกลิ่นหอมๆ ในรสชาติ และบรรยากาศของกาแฟ เริ่มฟังเพลงคลาสสิก และเริ่มกุ๊กกิ๊กกับของชิ้นเล็กน่ารักๆ ซึ่งเรื่องราวการเริ่มต้นจากของรักเหล่านี้ล้วนสะท้อนความเป็นตัวตนในปัจจุบันของเขาได้อย่างครบถ้วน
02 01 03
06
04 05 07 08
10
11
12
09
1. ตุก๊ ตาดินปัน้ รูปเด็กผูช้ ายและหมี 2. แผ่นป้ายวิง่ มาราธอน “งานวิง่ มาราธอนงานแรกของเรา เป็นจุดเริม่ ต้นทีท่ า� ให้วงิ่ เรือ่ ยมา” 3. หนังสือ A Year of Marathon “เกีย่ วกับประสบการณ์การวิง่ ของเราตลอด 1 ปี ตัง้ แต่ เตรียมตัวไปจนถึงงานวิง่ ใหญ่” 4. ป้ายแขวนประตูลาย To-Fu “งานของ Devilrobots (เจ้าของคาแร็กเตอร์ To-Fu) เป็นจุดเริม่ ต้นให้เราสนใจงานคาแร็กเตอร์ดไี ซน์” 5. หนังสือทีม่ ผี ลงานภาพประกอบของ ชิฮโิ ระ อิวาซากิ “เราชอบงานสีนา�้ ของเขามากๆ มีเส้นน้อยๆ แต่ดแู ล้วมีความอ่อนโยนละมุนละไม” 6. สมุดสเกตช์ 7. Apple Pencil “เราชอบมากเพราะมันรวมอุปกรณ์เครือ่ งเขียนทุกอย่างทีเ่ ราใช้มาอยูใ่ นนีท้ งั้ หมด” 8. ซีดีเพลงอัลบั้ม ไหมไทยคอนเสิร์ต 2553 ของ ดนู ฮันตระกูล 9. Moka Pot “อุปกรณ์ชงกาแฟชิ้นแรกที่รู้จัก จุดเริ่มต้นที่ทา� ให้กินกาแฟด�า” 10. จานเซรามิก “เราชอบความเป็นเซเรมิกที่แต่ละใบนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว” 11. ตุก๊ ตาดินญีป่ นุ่ “เป็นตัวการ์ตนู ทีเ่ ราวาดประจ�า และเราอยากเห็นมันในรูปแบบสามมิติ จึงพยายามปัน้ จากดินญีป่ นุ่ ” 12. ห่อลูกไม้ “เราชอบทีม่ นั เหมือนของขวัญทีโ่ ตโตโร่ให้เมย์จงั ในการ์ตนู ”
SUPERMARKET
Too Hot to Handle ขอสารภาพตรงนี้เลยว่า พอเจออากาศร้อนจัดๆ ท�าเอาเราเหนียวเนื้อตัวจนไม่อยากท�าอะไร กว่าจะท�างานได้ก็ต้องขอจัดเครื่องดื่ม หรือขนมหวานเย็นๆ ให้ได้ชื่นใจกันสักหน่อย แล้วค่อยลุยงานที่คั่งค้างกันต่อเลย Lod Chong ลอดช่อง ขนมไทยที่เราต้องนึกถึงช่วงเวลา ร้อนๆ อย่างนี้ เส้นลอดช่องสีเขียวหอมใบเตย ใส่ในน�้ากะทิและน�้าเชื่อมอบกลิ่นควันเทียน เสริมด้วยแตงไทยหรือเผือกชิ้นเล็กๆ เป็นอัน ครบถ้วนสมบูรณ์
Iced Cola โคล่าเย็น ถ้าอากาศร้อน เมื่อไหร่ น�้าอัดลมรสซ่า คงเป็นค�าตอบที่ง่ายที่สุด โดยเฉพาะน�้ า โคล่ า สี ด� า ทีม่ เี อกลักษณ์ เวลาจะดืม่ ก็ ต ้ อ งขอเอาไปแช่ ใ ห้ เย็นเจีย๊ บ รินใส่แก้วพร้อม น�า้ แข็ง ยกดื่มสัก 2-3 อึก แฮ่! ค่อยหายร้อนหน่อย Grass Jelly เฉาก๊วย ขนมหวานทีท่ �าจากพืช น�ามาต้มผสมกับแป้งจนได้เป็น เนื้อเฉาก๊วยเหนียวหนึบ ปกติ เราคนไทยจะน� า มาท� า ผสม น�้ า เชื่ อ มและทานกั บ น�้ า แข็ ง หรืออีกสูตรก็คือใส่น�้าแข็งและ น�า้ ตาลทรายแดง คลุกให้เข้ากัน ก็เป็นอันกินได้
Soft Serve ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ไอศกรีม แบบตูก้ ด เวลาเสิรฟ์ ก็จะกดใส่โคน หรือถ้วย ได้รปู ทรงแหลมๆ ดูเป็น เอกลักษณ์ ซึ่งไอศกรีมชนิดนี้จะ นิ่มกว่าไอศกรีมปกติ จึงได้ชื่อว่า ซอฟต์เสิร์ฟ หรือซอฟต์ครีม
Blended Green Tea ชาเขียวปั่น ใครที่ชอบแวะเข้าร้านกาแฟ แต่ไม่ปลื้มเครื่องดื่มรสขมๆ ชาเขียวใส่นม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะชาเขียวปั่นเนื้อละมุน จะเพิ่ม วิ ป ครี ม หรื อ ท้ อ ปปิ ้ ง ด้ ว ยถั่ ว แดงกวน ก็ได้รสชาติสไตล์ญี่ปุ่นดีเหมือนกัน
Shaved Ice น�า้ แข็งไส ครืดๆๆ เสียงเครือ่ งไสน�า้ แข็งทีท่ า� ให้เราลุน้ ระหว่างยืนดู น�า้ แข็งก้อนใหญ่หดเล็กลงเรือ่ ยๆ ถ้าเป็นสมัยก่อนหน้าโรงเรียนจะมี รถเข็นขายน�า้ แข็งไสทีใ่ ช้เครือ่ งไสแบบไม้ หรือถ้าเป็นร้านขนมหวาน ก็จะมีเครือ่ งแบบหมุนๆ เสร็จแล้วก็ราดด้วยน�า้ หวานและนมข้นหวาน
Infused Water น�า้ หมักผลไม้ สีสนั สวยงาม น่าดืม่ มากๆ วิธที า� ก็ไม่ยาก เ พี ย ง แ ค ่ หั่ น ผ ล ไ ม ้ ส ด ผสมกั บ สมุ น ไพร น�้ า ส้ ม น�้ า มะนาว และน�้ า เปล่ า น�าไปแช่เย็นทิ้งไว้ สามารถ ใช้ดมื่ แทนน�า้ เปล่า ลองเลือก ผลไม้ตามชอบแล้วลงมือ ท�าได้เลย
Ice Pop ไอศกรีมแท่ง น่าจะเป็นไอศกรีมทีท่ กุ คนได้ทานกันมา ตัง้ แต่เด็ก มีทงั้ แบบไทยๆ ทีข่ ายตามงานวัด หรือทีม่ า กับรถขายไอศกรีม ทั้งสีส้ม สีแดง สีเขียว รสชาติ หวานชื่นใจ หรือจะท�าเองก็ได้ง่ายมากๆ
Gelato ไอศกรีมเจลาโต้ ไอศกรีม สไตล์อิตาเลียนที่ดูน่ากิน มากๆ เวลาเดินผ่านตูข้ าย ทีไรก็อดใจไม่ไหวต้องขอ ซื้ อ สั ก ถ้ ว ย ซึ่ ง ไอศกรี ม ชนิ ด นี้ จ ะแตกต่ า งจาก ไอศกรี ม สไตล์ อ เมริ กั น ตรงที่จะมีเนื้อเหนียวแน่น กว่า เวลาตักก็จะใช้ช้อน ตักป้ายใส่ถ้วยหรือโคน
Coconut Ice Cream ไอศกรีมกะทิ ส�าหรับคนไทยอย่างเรา ถ้ า จะให้ นึ ก ถึ ง ไอศกรี ม สไตล์ ไ ทยๆ ก็ต้องไอศกรีมกะทิรสหวานมัน พบเจอ ได้ตามร้านทัว่ ไป โดยเฉพาะเวลาไปเดิน ตลาดนัดอากาศร้อนๆ ถ้าได้เจอคนขาย ไอติมล่ะก็ ตะโกนเรียกแทบไม่ทัน
Lemon Iced Tea ชามะนาวเย็น สามารถหาซื้อได้ แบบส�าเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อ หรือเวลาไปทานอาหารก็จะมีเมนู ชามะนาวให้ได้เลือกกัน ซึ่งแต่ละ ร้านก็มสี ตู รทีแ่ ตกต่างกัน อย่างเช่น เอาชามะนาวมาแช่เป็นน�า้ แข็งก้อน ก็ ไ ด้ และใครที่ ช อบชามะนาว ลองปรั บ สู ต รที่ ช อบ ชงที เ ดี ย ว สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน แถมยัง เป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย
Bubble Tea ชานมไข่มกุ เครือ่ งดืม่ ทีฮ่ ติ สุดๆ ในยุคหนึง่ โดยเฉพาะในย่านสยามสแควร์แหล่งวัยรุน่ ร้านชานมไข่มุกนั้นเปิดกันทั่วให้พรึบ โดยมีแก้วรูปร่างแปลกๆ และหลอดดูด หน้าตัดกว้างเป็นตัวทดสอบพลังปอด ซึ่งปัจจุบัน ชานมไข่มุกก็ยังมีให้อร่อย กันอยู่
MAKE A DISH
Grilled Octopus เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
อิสเลโร (Islero) นัน้ เป็นชือ่ ของวัวกระทิงทีส่ ามารถเอาชนะมาทาดอร์ชอื่ ดังของสเปนได้ เมือ่ กลายเป็นชือ่ ร้านอาหารกึง่ ไฟน์ ไดนิงทีต่ งั้ อยูใ่ น Athenee Tower ชือ่ นีจ้ งึ สะท้องถึงความหนักแน่นแน่นอนของเมนูอาหารแบบสแปนิชตอนเหนือแท้ๆ ซึง่ เป็นอิทธิพลของชาวอาหรับ จึงอาจไม่เหมือนอาหารสเปนทีเ่ ราคุน้ เคยนัก หัวหน้าเชฟเปโดรได้นา� เอา เมนูอาหารสเปนต้นต�ารับมาผสมผสานกับเทคนิคการท�าอาหารยุคใหม่ กลายเป็น Modern Spanish Cuisine ทีข่ อบอกเลยว่าต้องลอง
Chef
Head Chef Pedro
Grilled Octopus ราคา : 460 บาท
INGREDIENTS หนวดปลาหมึ ก / ถั่ ว G r a n j a / Spanish Lardo / น�้ า มั น สะระแหน่ / น�้าสตูหมู
CHEF'S INSPIRATION หมึกเป็นสัญลักษณ์ของอาหารสเปน เราจึงใช้หนวดปลาหมึกทีส่ งั่ ตรงมาจาก สเปน เนือ้ หนึบแต่ไม่เหนียว อบในเตาแบบ Josper ทีส่ งั่ มาพิเศษเพือ่ ให้ได้หนังกรอบ และเนือ้ นุม่ ราดด้วยน�า้ สตูหมูแบบ Castilian เสิรฟ ์ พร้อมไจแอนต์บนี ทีน่ มุ่ นวลละลาย ในปาก เสริมด้วยความมันและกลิน่ เฉพาะตัวของ Spanish Lardo ชิน้ บาง เวลาทาน ต้องตักทั้งสามอย่างเข้าปากให้ได้ในค�าเดียวเพื่อให้รสชาติบาลานซ์กันพอดี
TIPS เนือ้ สัตว์และอาหารทะเลทีน่ ี่ เราสัง่ น�าเข้ามาทัง้ หมดเป็นพิเศษ โดยไม่ได้แช่แข็ง จึงสามารถคง ความสดและรสชาติ ดั้ ง เดิ ม เอาไว้ ได้ครบถ้วน
HOME MADE
Our Dream, Our House เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
เราเชื่อว่าการสร้างบ้านล้วนเกิดมาจากความฝัน ยิ่งส�าหรับครอบครัวแล้ว การจะสร้างบ้านสักหลัง ก็คือการแชร์ความฝันร่วมกัน ดังเช่นบ้านของ สหะ พุกศิริวงศ์ชัย อาจารย์หนุ่มจากสถาบันราชภัฏนครปฐม ที่เกิดขึ้นจากการระดมความฝันของทุกคนในครอบครัว แล้วมาช่วยกันสร้างให้ตรงใจทุกคน ในครอบครัวมากที่สุด โดยระหว่างทางอาจจะเกิดปัญหามากมาย แต่นั่นคือการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งก็ให้บทเรียนชีวิตที่ดีและมีค่ากับทุกคน
“สถานที่แห่งความสุข”
บ้านหลังนีเ้ กิดขึน้ มาได้อย่างไร “ครอบครัวเรามีทดี่ นิ อยู่ตรงนี้ (ทวีวัฒนา) มานานแล้ว บ้านเก่าของ ครอบครัวเป็นห้องแถวทีต่ ลาดพลู พอคิดจะมาสร้าง บ้านตรงนี้ คุณแม่ก็ไปซื้อบ้านทรงไทยมาทั้งหลัง ตัง้ ใจว่าจะปลูกบ้านทรงไทย แต่เกิดความผิดพลาด ในขั้นตอนการสร้าง ท�าให้บ้านทรงไทยที่ตั้งใจไว้ สร้างไม่สา� เร็จ ก็เลยต้องมาช่วยกันคิดต่อว่าจะท�า อย่างไรให้บ้านหลังนี้ยังเป็นบ้านไม้อย่างที่ตั้งใจ กันไว้ ก็เลยมีการประยุกต์ให้บ้านมีลักษณะเป็น ครึ่งปูนครึ่งไม้โดยใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้ทั้งหมด โดยมี คุณแม่ (บุญเพ็ญ พุกศิริวงศ์ชัย) เป็นคนควบคุม การออกแบบและดูแลงานก่อสร้าง ทั้งๆ ที่คุณแม่ ไม่ได้มีความรู้ทางด้านนี้ ฝันทีท่ กุ คนต่างมีกบั บ้านหลังนีค้ อื อะไร “ส�าหรับ คุณแม่มีฝันที่อยากจะได้บ้านทรงไทย อยู่บ้านไม้ แบบทีท่ า่ นฝันไว้ตอนเด็กๆ และก็มเี ฟอร์นเิ จอร์ไม้ เก่าๆ เป็นของใช้ทสี่ ามารถดึงความทรงจ�าในอดีต เมือ่ มาอยูอ่ าศัย ส่วนผมก็เน้นเรือ่ งการอยูส่ บาย เงียบ และมีพนื้ ทีท่ ไี่ ด้ทา� กิจกรรมรอบบ้าน ช่วงนีก้ ป็ ลูกต้นไม้ ส่วนน้องชายกับคุณพ่อก็คิดไม่ต่างกัน คือทุกคน อยากให้บา้ นนีอ้ ยูส่ บายและมีพนื้ ทีใ่ ช้สอยมากทีส่ ดุ มุมทีท่ กุ คนใช้เวลาร่วมกันมากทีส่ ดุ “เป็นกลางบ้าน หน้าทีวี เพราะทุกคนจะมารวมกันท�าโน่นนี่ นัง่ ดูทวี ี นัง่ คุยกันบ้าง เป็นทีร่ วมตัวของทุกคน หรือบางที เราก็ชว่ ยกันท�าสวน รดน�า้ ต้นไม้บา้ ง จริงๆ บ้านหลังนี้ มีกจิ กรรมเยอะ เพราะคุณแม่จะคิดต่อเติม มีไอเดีย อยูเ่ รือ่ ยๆ คือแค่รดน�า้ ต้นไม้ซงึ่ อยูร่ อบบ้านก็เกือบ 2 ชั่วโมงแล้ว อย่างตอนช่วยกันสร้างบ้านหลังนี้ คุณแม่กจ็ ะออกไอเดียทุกอย่าง บางอย่างทีช่ า่ งท�า ไม่ได้หรือท�าไม่ถูกใจ พวกเราสมาชิกในครอบครัว ก็ช่วยกันท�าเอง อย่างขัดพื้นไม้ใ ห้ เ งา ดี ไ ซน์ เฟอร์นิเจอร์จากไม้ที่เหลือ หรือปรับปรุงแก้ไข บางส่วนของบ้าน เราก็จะมีคุณแม่เป็นแม่งาน
ก็จะนัง่ ปรึกษากันตรงกลางบ้านนีแ่ หละ” อะไรคือความชอบเหมือนกันของสมาชิกในบ้าน “เฟอร์นิเจอร์ไม้ คือสิ่งที่ทุกคนชอบเหมือนกัน คุณแม่เขาก็จะเก็บเฟอร์นิเจอร์ไม้จากบ้านเก่า ที่ตลาดพลูมาไว้ที่นี่ มีโต๊ะตัวหนึ่งอายุเกิน 60 ปี แม่บอกว่าตอนเด็กๆ มันเคยเป็นโต๊ะทีค่ ณ ุ ยายเคย ให้แม่นงั่ ขายลอตเตอรี่ ซึง่ บางครัง้ ลอตเตอรีก่ โ็ ดน ขโมย ขายไม่ได้ มันก็เลยเป็นสิง่ ของทีอ่ บอวลไปด้วย ความทรงจ�าทีข่ องชิน้ ไหนก็มาแทนไม่ได้ ส่วนของอืน่ ๆ ในบ้าน ถ้าเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าๆ ที่คนจะทิ้ง เราก็จะซื้อมาซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ อย่างโต๊ะ ตูก้ บั ข้าว เก้าอี้ ทุกอย่างทีเ่ ป็นไม้ เราไม่เคยคิดจะทิง้ จะพยายามชุบชีวติ มันให้กลับมาใช้งานได้อกี ครัง้ ซึ่ ง ผมว่ า นี่ คื อ จุ ด ร่ ว มของเราทุ ก คนที่ มี ใ นบ้ า น หลังนี้”
• ห้องทีช่ อบทีส่ ดุ ในบ้าน... ห้องนอน เพราะรูส้ กึ ว่า
เย็นที่สุด
• ของรักของหวง... รถโฟล์กเต่า • อะไรในบ้านทีม่ องแล้วมีความสุข... เฟอร์นเิ จอร์ไม้
ทุกชิ้น
• ของกินติดบ้าน... ขนมไทยจากตลาดพลู
OUT THERE
Sardinia
หาดทรายสีชมพู น�้าทะเลใสดุจกระจก ท้องทะเลอันอุดมสมบูรณ์ นี่คือเกาะซาร์ดิเนีย เกาะที่ใหญ่หนึ่งในสองเกาะของอิตาลี ปัจจุบันแม้ว่าเกาะแห่งนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทาง มาเยือนไม่ขาดสาย แต่กฎระเบียบอันเคร่งครัดท�าให้พื้นที่แห่งนี้ยังคงความสวยงาม คงอยู่เป็นสมบัติทางทะเลที่ส�าคัญของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไม่ใช่แค่ความสวยงามของเกาะเท่านั้น ซาร์ดิเนียยังมีวัฒนธรรมและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ หากคุณอยากรู้เรื่องราวของเส้นไหมแห่งท้องทะเล ซาร์ดิเนียมีค�าตอบให้
THE ISLAND FACTS เกาะซาร์ดิเนีย เป็นหนึ่งในสองเกาะใหญ่ของอิตาลี ที่ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตของ ชาวยุโรป เนื่องจากมีชายหาดขาว น�้าทะเลใส ทรายละเอียด และมีทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเล เมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งอาบแดดสุดฮิตแห่งหนึง่ ของโลก แต่มเี ฉพาะบางหาดเท่านัน้ ทีส่ ามารถ อาบแดดได้ และมีหาดทีใ่ ห้เข้าชมได้เพียงอย่างเดียวอย่างหาดสีชมพู ทีม่ ที รายละเอียดสีชมพูซงึ่ เกิด จากซากแพลงตอน หาดนีไ้ ม่ให้อาบแดด แต่กย็ งั เป็นหาดทีส่ วยงามและต้อนรับผูม้ าเยือนอยูเ่ สมอ
ด้ ว ยความใหญ่ โ ตของเกาะซาร์ ดิ เ นี ย ท�าให้ที่นี่ถูกตั้งให้เป็นแคว้นปกครองตนเอง ของอิตาลี โดยประกอบด้วยจังหวัดใหญ่ถึง 8 จังหวัด ซึง่ แต่ละจังหวัดก็มพี นื้ ทีอ่ นั สวยงาม และภูมิประเทศแตกต่างกันไป หนึ่งในนั้นคือ เกาะตาโวลารา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะซาร์ดิเนีย ที่นี่เป็นดินแดน โบราณทีใ่ ช้เป็นยุทธศาสตร์การรบของชาวโรมัน ต่อมาถูกครอบครองโดยตระกูลแบร์โตเลโอนี ซึ่ ง ตระกู ล นี้ ก็ ดู แ ลเกาะจวบจนถึ ง ปั จ จุ บั น ความพิเศษของเกาะนี้อยู่ที่น�้าทะเลที่ใสราว กระจก มีปะการังที่สวยงามใต้น�้า และเป็น อีกแห่งของเกาะใหญ่ทมี่ ที รายสีชมพู นอกจากนัน้ พื้นที่บนภูเขายังเป็นแหล่งปลูกองุ่นชั้นเลิศ อีกด้วย
เกาะซาร์ดิเนียไม่ใช่เกาะร้างๆ ที่มีแต่ธรรมชาติ ภายในเมืองก็มีความเจริญไม่ต่างจากเมืองใหญ่ และยังเป็น แหล่งรวมของร้านอาหาร โรงแรมห้าดาว แหล่งช้อปปิง้ แบรนด์เนม หรือร้านกาแฟเก๋ๆ เหมาะกับนักท่องเทีย่ วทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบ็กแพ็กเกอร์ ไปจนถึงนักท่องเที่ยวขาช้อปที่ชอบของแบรนด์เนม นอกจากนั้นหากคุณพักในโรงแรม ทีด่ หี น่อย ก็จะสามารถเห็นวิวของเมืองตัดไปกับสีฟา้ น�้าทะเล ยามพระอาทิตย์ตกดิน แนะน�าให้หาร้านกาแฟวิวสวยๆ ชมพระอาทิตย์ ก็จะท�าให้ช่วงเวลาในซาร์ดิเนียเป็นช่วงเวลาที่แสนพิเศษ
เพราะเป็นเกาะใหญ่ ดังนัน้ เกาะซาร์ดเิ นียจึงมีภมู ปิ ระเทศทีห่ ลากหลาย ตัง้ แต่ ภูเขา อุทยานแห่งชาติขนาดใหญ่ ในหน้าหนาวมีหมิ ะ และยังมีชายหาดทีอ่ ากาศ อบอุน่ ท�าให้สงิ่ มีชวี ติ บริเวณนีม้ คี วามหลากหลาย บางครัง้ เราจะเห็นคนเลีย้ งแกะ ทีโ่ ขดหินริมชายหาด เห็นไร่องุน่ ในเนินเขาใกล้กบั อ่าว บางครัง้ หิมะก็โปรยปราย ท่ามกลางวิวทะเลทีส่ วยจับใจ เหมาะกับนักเดินทางทีอ่ ยากใช้ชวี ติ แบบเงียบสงบ และสนุกสนานไปกับการท�ากิจกรรมผจญภัยหลากหลายรูปแบบ
"SARDINIA WAS LOVE AT FIRST SIGHT FOR ME. NO MATTER HOW OFTEN I RETURN, I FIND NEW COASTAL TRAILS TO EXPLORE AND MOUNTAINS TO CLIMB, HIDDEN BAYS TO KAYAK TO AND LITTLE-KNOWN AGRITURISMI TUCKED AWAY IN THE SILENT HINTERLAND." KERRY CHRISTIANI, TRAVEL WRITER
หนึง่ ในเกร็ดเล็กๆ ทีน่ า่ สนใจของซาร์ดเิ นีย ก็คอื การเป็นสถานทีก่ า� เนิด ของไหมทะเล ซึง่ เชือ่ กันว่าเป็นหนึง่ ของเส้นใยธรรมชาติทศี่ กั ดิส์ ทิ ธิจ์ าก ท้องทะเล โดยไหมทะเลจะได้จากหอยชนิดหนึง่ ซึง่ อาศัยอยูใ่ นน�า้ ทะเลที่ สะอาดและใสเท่านัน้ โดยหอยชนิดนีจ้ ะปล่อยเส้นใยออกมา แล้วจะมี นักบวชหญิงเพียงไม่กี่คนที่ไปเก็บเส้นใยชนิดนี้มาทอเป็นผืนผ้าเล็กๆ ความพิ เ ศษของไหมชนิ ด นี้ คื อ เมื่ อ ต้ อ งแสงแดดแล้ ว จะเป็ น สี ท อง และไหมชนิดนี้ถูกครอบครองโดยบุคคลส�าคัญของโลกหลายคน
อาหารทะเล ไวน์ และชีสของซาร์ดเิ นีย เป็นหนึง่ ในความพิเศษทีไ่ ม่เหมือนเมืองไหนๆ ชีสทีน่ จี่ ะมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่วา่ ชีสจากนมแพะหรือวัวทีถ่ กู เลีย้ งท่ามกลางหญ้าบนเนินเขาริมอ่าวทีแ่ ดดอบอุน่ อาหารทะเลสดๆ ทีห่ าทานได้จากร้านอาหาร เล็กๆ บริเวณท่าเรือ ลองชิมสตูปลา ซุปหอย หอยอบซอสไวน์ขาว ก็เป็นเมนูทไี่ ม่ควรพลาด ไวน์ของทีน่ มี่ ชี อื่ เสียงในแง่ของรสชาติ ทีม่ เี อกลักษณ์เป็นของตัวเองเพราะได้ดนิ และอากาศแบบเกาะทีไ่ ม่เหมือนทีไ่ หน ถ้ารักทะเล รักการดืม่ ชอบชมพระอาทิตย์ตกดิน ตัดกับท้องทะเล และชอบทานอาหารทะเลเป็นชีวติ จิตใจ หาโอกาสไปซาร์ดเิ นียสักครัง้ แล้วจะไม่ผดิ หวัง WHAT YOU NEED TO KNOW สถานทูตอิตาลี ประจ�าประเทศไทย 399 แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 0-2285-4090 สามารถยื่นขอวีซ่าอิตาลีได้ที่ http://vfsglobal.com/italy/thailand/thai การเดินทาง สายการบินลุฟต์ฮันซา www.lufthansa.com สายการบินแอโรฟลอต www.aeroffllflot.ru สายการบินเคแอลเอ็ม www.klm.co.th ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 11 ชั่วโมง
THE WORD
การค้นหาผู้เล่นที่ดีเป็นเรื่องง่าย แต่การจะท�าให้พวกเขาเล่นกันเป็นทีมเดียวกันได้นั้นเป็นอีกเรื่อง
- Casey Stengel -