ปีที่ 2 ฉบับที่ 87 วันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2558
NOTE ON LIFE
Book from the Past
ไม่นานมานี้ มีนักเขียนท่านหนึ่งมาสัมภาษณ์ผู้เขียนเรื่องหนังสือเล่มโปรดที่เปลี่ยนชีวิต แวบแรกที่ได้คา� ถามมา ความหนักใจก็เริ่มก่อตัว เพราะตลอดชีวิตของการเป็นหนอนหนังสือ ไม่เคยคิดเลยว่าเล่มไหนคือเล่มที่เปลี่ยนชีวิตตัวเองได้ เพราะแต่ละเล่มที่อ่านก็ส่งแรงปะทะ สร้างแรงปะทุ ภายในตัวเราแตกต่างกันไป แต่ลองว่าอ่านอย่างตั้งใจแล้ว ไม่มีเล่มไหนที่ไม่ทิ้งร่องรอยภายในใจและความคิด เพียงแต่เราจะรู้ตัวหรือไม่เท่านั้น และเพราะค�าถามว่า หนังสือเล่มไหนที่เปลี่ยนชีวิตเรา เป็นค�าถามที่กว้างเกินไป ผู้เขียนจึงขยับกรอบมันเข้ามาอีกนิด แล้วเลือกเฉพาะเล่มที่ตอบค�าถามได้ว่า เล่มไหนบ้างที่อยู่กับเราในวันที่เรารู้สึกแย่และอยากหาที่พึ่ง หรือหาค�าตอบบางอย่าง ให้กับชีวิต ซึ่งก็พบว่าในจ�านวนนั้นมีอยู่เล่มหนึ่งที่จ�าได้ดีที่สุด มันคือหนังสือเรื่อง ปีกหัก ของ คาลิล ยิบราน หนังสือเก่าที่ผู้เขียนรู้สึกผูกพันมากเป็นพิเศษ เพราะมันอยู่กับผู้เขียนในช่วงเวลาที่หนักหนาสาหัสเป็นพิเศษ หนังสือบางเล่ม จะว่าไปก็เหมือนเพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรามานาน เพื่อปลอบโยนหรือเยียวยาความรู้สึก และที่ส�าคัญที่สุด มันท�าให้เรามองเห็นตัวเราเองในอดีตว่าเคยเป็นคนแบบไหน ทุกข์ สุข ด้วยเรื่องอะไร เมื่อเติบโตขึ้น เป็นธรรมดาที่เราจะมีทางเลือกที่หลากหลายในการอ่านหนังสือ แต่ถ้าพอมีเวลาและอยากสนทนากับตัวเองในอดีต เราก็มีทางเลือกเดียวคือ อ่านหนังสือที่เราเคยอ่านในอดีต เล่มที่ฉุดเราให้ผ่านพ้นความมืดมัวโง่เขลามาได้ จริงอยู่ว่า เราอาจหัวเราะกับความไร้เดียงสาของตัวเองในอดีต แต่อีกด้านหนึ่ง เราก็อาจจะให้อภัยในความไม่รู้ของตัวเองได้เช่นกัน วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin
CONTENTS
4 The Stuff
6 Feature
สารพัดสิง่ รอบตัวเรา เข้าป่า สวน และฟาร์ม ทีเ่ ล่าผ่านตัวเลข เพื่อเรียนรู ้ ผลิต ผล กาแฟ ชา และไข่ไก่ ที่ ฟู ม ฟั ก และดู แ ล แบบปลอดสารพิษ
12 Calendar
14 Make a Dish
ใคร ท�าอะไร ที่ไหน หนึ่งจานอร่อยจาก เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ ร้านดังที่เราอยาก จ ะ ไ ด ้ ไ ม ่ พ ล า ด ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง เรื่องราวสนุกๆ
16 18 Supermarket HOME MADE
20 Selective
22 The 5ive
26 Out There
30 THE WORD
ฉวยตะกร้ า คว้ า รถเข็ น แ ล ้ ว ไ ป เดินเล่นจับจ่ายกับ เราใน Supermarket แห่งนี้
ข้ า วของในความทรงจ�าของ พรวรา สิ ท ธิ ป ร ะ ศ า ส น ์ นั ก ร้ อ งสาวเสี ย งดี จากค่าย Yes! Music
เพลง 5 อัลบัม้ ของ สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ทีย่ งั ติดตรึง อยู่ในหัวใจของเขา ไม่เปลี่ยนแปลง
เพราะเราเชื่ อ ว่ า โลกใบนี้ มี ส ถานที่ มากมายรอให้ ไ ป ค้นหา
พลิ ก มุ ม คิ ด ปรั บ มุมมอง กับ ‘หนึ่ง ถ้อยค�า... ที่เปลี่ยน ความคิด’
เยี่ยมบ้านหลังใหญ่ ของ จ�าเนียร ทองมา ที่ ผ ส ม ผ ส า น ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ ของเก่าแบบยุโรป
LETTER ส่วนตัวติดตามผลงานของ Alex Face อยู่แล้ว พอได้มาอ่าน a day BULLETIN LIFE ฉบับที่ 81 ก็ยิ่งประทับใจ เนื้อหาบทสัมภาษณ์น่าสนใจ ท�าให้เข้าใจถึงแนวความคิดและไลฟ์สไตล์ของผู้ให้สัมภาษณ์ได้จากบทสัมภาษณ์ที่ถึงแม้จะเป็นตัวหนังสือ ก็สื่อสารถึงผู้อ่านได้เป็นอย่างดี ขอบคุณอย่างสูงที่น�าเสนอเรื่องราวดีๆ ให้ได้อ่านกันทุกๆ ฉบับ - Sirirat Netiphat
ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife
A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ไอรดา รืน่ ภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตัง้ พิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝา่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝา่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผูอ้ า� นวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผู จ้ ัดการฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธิดา อังศุวัฒนากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุ่งรัตนสุทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอี่ยมมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com ฝ่ายสมาชิก นริศรา ธาระพุฒ โทร. 0-2716-6900 ต่อ 412
STUFF
MOVIES ยังจ�าหนังเรื่องแรกที่ดูในโรงภาพยนตร์ ได้ ไหม ในตอนนั้นอะไรๆ ก็ดูยิ่งใหญ่ไปเสียหมด ทั้งเก้าอี้สีแดงที่วางเรียงรายอยู่ในห้องมืดๆ ข้าวโพดคั่วรสหวานเค็มโชยกลิ่นมาจากที่นั่งแถวหน้า นี่ยังไม่รวมถึงภาพเคลื่อนไหวจากจอขนาดยักษ์ที่ไม่รู้ว่าผ่านกระบวนการอะไรมาบ้างก่อนจะมาอยู่ตรงนี้ การไปดูหนังในวันนี้ไม่ตื่นเต้นเหมือนวันนั้นแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนก็คือ เราได้ใช้เวลา 90 นาที หลบหนีชีวิตธรรมดาไปใช้ชีวิตกับตัวละครในภาพยนตร์ และสนุกกับช่วงเวลาตรงนั้น
1900
96
Clapperboard เริม่ เข้ามามีบทบาทส�าคัญในการถ่ายท�าภาพยนตร์ ตัง้ แต่มภี าพยนตร์แบบมีเสียงเกิดขึน้ ในปี ค.ศ.1900 เนือ่ งจากว่า กระบวนการอั ด ภาพและเสี ย งแยกกั น โดยสิ้ น เชิ ง การใช้ clapperboard ในการบอกรายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ฉากนั้ น ๆ จึงช่วยให้การท�างานเร็วและง่ายขึ้น
1893
เก้าอี้ผู้ก�ากับเริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในช่วงเทศกาล Chicago World’s Fair ประจ�าปี ค.ศ. 1893 โดยมีบริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์ Gold Medal เป็ น ผู ้ อ ยู ่ เ บื้ อ งหลั ง ความนิ ย มในครั้ ง นั้ น ทั้ ง ยั ง ได้ รั บ รางวั ล ส�าหรับการออกแบบเก้าอี้ดังกล่าวอีกด้วย
7
ก่ อ นหน้ า นี้ เราเชื่ อ กั น ว่ า ภาพ เคลื่ อ นไหวที่ ใ ช้ ฟ ิ ล ์ ม สี ค รั้ ง แรก เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1909 จนเมื่อ ไม่ กี่ ป ี ก ่ อ น National Media Museum ในเมืองแบรดฟอร์ด สหราชอาณาจั ก ร ค้ น พบ ฟิ ล ์ ม ภาพเคลื่ อ นไหวที่ ถ ่ า ยไว้ ก่อนหน้านั้น 7 ปี โดย เอ็ดเวิร์ด เรย์มอนด์ เทอร์เนอร์ นักประดิษฐ์ และผูส้ ร้างภาพยนตร์ชาวอังกฤษ
77,866,600
ภาพยนตร์ ที่ ข ายตั๋ ว ได้ ม ากที่ สุ ด ในสหรั ฐ อเมริ ก า ประจ�าปีนี้ ได้แก่ Jurassic World ด้วยจ�านวนตั๋วทั้งหมด 77,866,600 ใบ
6
วันที่ 6 เดือน 6 ในปี ค.ศ.1842 เป็นวันเกิดของ Steele MacKaye ผูเ้ ป็นทัง้ นักเขียนบทละคร นักแสดง ผูจ้ ดั การโรงละคร จวบจนถึง นักประดิษฐ์เจ้าของผลงานอย่างเก้าอีห้ นังในโรงละครแบบพับได้ ที่เป็นต้นแบบของที่นั่งในโรงภาพยนตร์ทุกวันนี้
รูห้ รือไม่วา่ จากสถิตพ ิ บว่านอกเหนือจากไปทานอาหารแล้ว คนอายุระหว่าง 18-21 ปี จะชวนไปดูหนังกันในเดตครัง้ แรก
งานวิจัยใน Journal of Consumer Psychology ได้ ท� า การส� า รวจ กลุ่มตัวอย่าง 96 คน เกี่ยวกับความเชื่ อ มโยงระหว่ า งป๊ อ ปคอร์ น และ การโฆษณา พบว่าผู้ที่ทานป๊อปคอร์น ระหว่างดูหนังมีแนวโน้มที่จะสามารถ ปกป้ อ งตั ว เองจากโฆษณาชวนเชื่ อ ได้ดีกว่าคนที่ไม่ทาน
FEATURE
Grow a Good Life อาหารเป็นปัจจัยในการด�ารงอยู่ที่ส�าคัญที่สุดของมนุษย์ ในอดีตเราผลิตอาหารเพื่อบริโภคเองในครัวเรือนหรือแบ่งปันกันในชุมชน แต่ปัจจุบันเมื่อสังคมขยายตัว อาหารและเครื่องดื่มกลับไปอยู่ในวงจรการผลิตที่บางครั้งเราไม่ทราบที่มาของสิ่งที่เราเลือกดื่มกินในแต่ละวัน บางครั้งเราเห็นอาหารในบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่มีตราประทับบอกว่าปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ ก็เกิดค�าถามว่ามันดีอย่างที่เราคิดจริงหรือไม่ และในขั้นตอนการผลิตก่อนถึงมือเรา มันได้สร้างหรือท�าลายอะไรลงไปบ้าง ในฉบับนี้เราจึงเดินทางไปยังจังหวัดเชียงราย เพื่อไปเจาะลึกที่มาที่ไปในการผลิต ชา กาแฟ และไข่ ของสามบริษัทที่ร่วมกับชุมชนเล็กๆ บนดอย เพื่อผลิตพืชพันธุ์ที่ไม่ใช้สารพิษ ให้กับคนพื้นราบ และการผลิตนี้ยังเป็นการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ยั่งยืนของคนในชุมชนแบบที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติอีกด้วย
HILLTRIBE ORGANICS เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง, มณีนุช บุญเรือง
เราเดินทางไป ณ สถานที่ท�าการของบริษัท ฮิลล์ ไทรบ์ ออร์แกนิคส์ ในต�าบลวาวี จังหวัดเชียงราย เพื่อไปพบกับทีมงานของโครงการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ (ปลอดสารพิษ) อย่าง แซค โกมส์ และ นรินทร์ มะโนลา ที่จะพาเราไปรู้จักกับการเลี้ยงไก่ไข่แบบออร์แกนิก ไก่ไข่ที่ปราศจากสารเคมีทั้งหลาย ซึ่งนอกเหนือไปจากแนวคิดการผลิตอาหารเพื่อโลกที่ปลอดภัยแล้ว พวกเขายังเป็น องค์กรที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านและชุมชนให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย The Starting Point :
แซค : จุดเริ่มต้นมาจากการที่กลุ่มนักธุรกิจ นานาชาติกลุ่มหนึ่ง ต้องการที่จะท�าโครงการเพื่อ ส่งเสริมสังคมเมื่อปี ค.ศ. 2011 ซึ่งกลุ่มวิจัยนั้นก็ เข้าไปดูคนในหมูบ่ า้ นว่าจะสามารถท�าอะไรได้บา้ ง แล้ ว พวกเขาก็ ไ ด้ เ ห็ น ไก่ บ ้ า น ก็ เ ลยสนใจว่ า สัตว์ชนิดนี้มันสามารถเลี้ยงเป็นอาชีพได้หรือไม่ แต่ตอนนั้นเขาคิดเพียงแค่ว่าจะได้ผลิตภัณฑ์ไข่ เพือ่ เป็นอาหารประจ�าวันได้เท่านัน้ เอง จนมาถึงปี ค.ศ. 2013 เจ้าของบริษัทข้าวออร์แกนิกที่เป็น พาร์ตเนอร์ของเราอยากจะให้เราท�างานกับชาวบ้าน และคิดโครงการมาเสนอให้ ผมก็เลยคิดโครงการ การเลี้ ย งไก่ ไ ข่ อิ น ทรี ย ์ ขึ้ น มาอย่ า งละเอี ย ด แล้วโครงการมันก็ผา่ น เราก็เลยได้เงินทุนประมาณ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วจึงเกิดเป็นบริษทั ได้ เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2013 THE BIG IDEA :
แซค : กลุม่ ชนเผ่าทีท่ า� อาชีพเกษตรกรแถวนี้ มีรายได้ทตี่ า�่ มาก เพราะเขาควบคุมตลาดไม่ได้เลย ต้องซือ้ ขายตามราคาทีพ่ อ่ ค้าคนกลางตัง้ ไว้เท่านัน้ ซึ่งเกษตรกรก็จ�าเป็นต้องขาย หลังจากการไป ส�ารวจชุมชน เราพบว่าชาวบ้านมีพนื้ ทีท่ า� กินเยอะ มาก แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมัน อาจเป็นเพราะว่า มันเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้เหมาะกับการท�างานเกษตร ทางกลุ่มของเราก็เลยคิดว่าการเลี้ยงไก่ไข่จะเป็น สิง่ ทีเ่ พิม่ มูลค่าให้พนื้ ทีท่ ไี่ ม่มมี ลู ค่าได้ ซึง่ นัน่ ท�าให้ ชาวบ้านสามารถมีเงินได้ทกุ วันจากไข่ทเี่ ขาเก็บได้ ไม่ใช่ได้เงินปีละ 2 ครั้ง จากการปลูกข้าวโพด อย่างเดียว ซึ่งไอเดียเหล่านี้มันมาจากการที่เรา เป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ท�าธุรกิจอินทรีย์ รวมกับ ชาวบ้านและชนเผ่าที่มีปัญหาเรื่องรายได้ จึงเกิด เป็นบริษัทนี้ขึ้นมา WORKING ON THE FARM :
นรินทร์ : ครั้งแรกเมื่อชาวบ้านรับไก่ไข่อายุ 17 สัปดาห์จากบริษทั ไปแล้ว ไก่ตอ้ งเข้ามาปรับตัว และเรียนรู้พฤติกรรมการอยู่ในฟาร์มก่อน หน้าที่ ของชาวบ้านคือการมารับอาหารไก่ที่ต้องท�าแบบ สดใหม่ทกุ วันจากบริษทั ไปให้ไก่ ซึง่ มาตรฐานอินทรีย์ บอกว่า เราต้องมีอาหารทีม่ สี ดั ส่วนของความเป็น อินทรีย์ 85% ประกอบด้วย ปลายข้าว ร�าละเอียด ถั่วเหลือง ข้าวโพด แล้วก็ผสมด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ อินทรีย์อีก 15% คือ ปลาป่น หิน แคลเซียม เกลือ
ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องยืนยันได้ว่าไม่ได้มีสารเคมีเลย และ Non-GMO เรามีการผสมอาหารทุกวัน เพราะ เราไม่ ไ ด้ ใ ส่ ส ารกั น หื น ไม่ มี ส ารถนอมอาหาร นอกจากนี้ยังต้องดูแลสุขภาพของไก่และคอย สังเกตพฤติกรรมของไก่ในฟาร์มด้วย คือตัวไหน เดินซึมต้องคัดแยกไว้ในเล้าต่างหาก เพื่อควบคุม อาหารพร้ อ มทั้ ง ให้ ส มุ น ไพรเป็ น การรั ก ษาโรค เพราะตามกฎไข่ไก่ออร์แกนิกคือ เราไม่สามารถ ใช้ ย าปฏิ ชี ว นะได้ เขาจะอนุ ญ าตให้ ใ ช้ ย าได้ ครัง้ เดียวในชีวติ ของการเป็นแม่ไก่ ดังนัน้ เราต้อง เน้นวิธกี ารป้องกันมากกว่าการรักษา นัน่ เป็นสิง่ ที่ ท�าให้เราแตกต่างจากฟาร์มที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ORGANIC EGGS :
นรินทร์ : การที่จะได้รับการันตีว่าเป็นไข่ไก่ แบบออร์ แ กนิ ก คื อ เราจะต้ อ งเป็ น ธรรมชาติ ทุกอย่าง หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าแค่เลี้ยงไก่ แบบปล่อยก็เป็นแบบออร์แกนิกแล้ว จริงๆ แล้ว มันไม่ใช่ มันต้องเป็นธรรมชาติมาตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้น อาหารการกิน การเลี้ยงดู การดูแลรักษาโรค เราจะเริม่ ส�ารวจพืน้ ทีข่ องชาวบ้านทีม่ าสมัครร่วม โครงการก่ อ นว่ า เป็ น ไปได้ ห รื อ ไม่ และคุ ย กั บ เกษตรกรว่าจะต้องเลีย้ งไก่ไข่แบบออร์แกนิกอย่างไร เราสอนการให้อาหาร การให้นา�้ การดูแลท�าความสะอาดไข่เพื่อเตรียมส่งขาย ไปจนถึงการแพ็กไข่ เอาไปส่งทีบ่ ริษทั กลางหมูบ่ า้ น ซึง่ ในทีส่ ดุ มันก็จะ เป็นระบบทีช่ าวบ้านเขาได้ประโยชน์ไม่โดนเอาเปรียบ และคนทีท่ านไข่เขาก็จะได้ทานของทีด่ ตี อ่ สุขภาพ
MIVANA COFFEE เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ, นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง, มณีนุช บุญเรือง
หมู่บ้านในต�าบลวาวี จังหวัดเชียงราย หลายหมู่บ้านปลูกต้นกาแฟแบบออร์แกนิก นั่นหมายถึงผลผลิตกาแฟแบบปลอดสารเคมี ซึ่งทุกครอบครัวที่หันมาปลูกต้นกาแฟ แบบอินทรีย์ ต่างเกิดจากความตั้งใจของ สมชาย เตชนันท์ หัวหน้าส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน และ ธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข จากบริษัท กรีนเนท เอสอี จ�ากัด ที่ช่วยกันส�ารวจพื้นที่บนเขาและให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านให้หันมาท�าการเกษตรแบบปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพร่างกายของตัวเอง เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพ แถมยังช่วยปลูกป่าให้คืนกลับมาได้ด้วย
THE STARTING POINT :
ธีรสิทธิ์ : มูลนิธิสายใยแผ่นดินเป็นผู้บุกเบิก เรื่องเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยตั้งแต่ยังเป็น เพียงโครงการเล็กๆ งานหลักคือการส่งเสริมการท�า เกษตรอินทรียแ์ ละผลักดันเรือ่ งการค้าทีเ่ ป็นธรรม จากข้อมูลการส�ารวจ พืน้ ทีป่ า่ ของภาคเหนือลดน้อย ลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสัน้ ซึง่ เหตุผลหนึง่ มาจากความต้องการใช้พื้นที่ท�าการเกษตรของ ชาวบ้านจนท�าให้เกิดการบุกรุกพืน้ ทีป่ า่ ทางแก้หนึง่ ทีเ่ ราค้นพบคือ การปลูกกาแฟด้วยระบบออร์แกนิก ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาป่า ช่วยฟื้นคืนสมดุล ธรรมชาติและระบบนิเวศจากการไม่ใช้สารเคมีแล้ว ยังช่วยให้เกษตรกรเกิดรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยัง่ ยืน เพราะเป็นกาแฟ ที่ปลูกในป่าที่มีความสมบูรณ์ รสชาติของกาแฟ ที่ได้จึงมีรสชาติที่ดีกว่า แถมยังช่วยฟื้นคืนสมดุล ธรรมชาติอีกด้วย THE BIG IDEA :
ธีรสิทธิ ์ : เริม่ จากเดินสายพูดคุยกับชาวบ้าน ตามหมูบ่ า้ นต่างๆ ถ่ายทอดองค์ความรู้ สนับสนุน ปัจจัยการผลิต เช่น สอนท�าปุย๋ อินทรีย์ เพาะต้นกล้า กาแฟ จัดหาแหล่งทุนส�าหรับต้นทุนการผลิต สอน การดูแลรักษาต้นกาแฟ การก�าจัดแมลงด้วยวิธี ทางธรรมชาติ เพราะต้นกาแฟจะมีปัญหารุนแรง จากมอด มันจะเจาะอยูใ่ นผลกาแฟเลย ซึง่ การพ่น สารเคมีนั้นไม่สามารถฆ่ามอดที่อยู่ในเมล็ดได้ ท�าได้เพียงเคลือบเปลือกนอกของผลกาแฟเท่านัน้ วิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการช่วยกันเก็บ ทุกเมล็ดกาแฟที่มีอยู่ในสวน ซึ่งหากว่ามีกาแฟ ที่ ค ้ า งอยู ่ ก็ เ ป็ น สาเหตุ ใ ห้ เ กิ ด ที่ อ ยู ่ อ าศั ย เป็ น แหล่ ง อาหารของมอดได้ ในส่ ว นของผลผลิ ต การปลูกกาแฟอินทรียใ์ ช้เวลาพร้อมเก็บเกีย่ ว 3 ปี โดยเรารับซื้อจากชาวบ้านทั้งหมด และมีระบบ ออร์ แ กนิ ก พรี เ มี ย ม นั่ น คื อ ราคารั บ ซื้ อ สู ง ขึ้ น เมื่อคุณภาพผลผลิตที่ได้อยู่ในระดับสูง WORK ON a FARM :
ตัวแทนชาวบ้าน : เวลาประมาณ 8 โมงเช้า เราก็ออกเดินทางไปในสวนป่าที่ปลูกต้นกาแฟไว้ ระยะทางประมาณ 2-3 กิโลเมตร ไปดูแลทัง้ ต้นกาแฟ ไม้สวน ไม้ผล ข้าว หรือถัว่ ทีป่ ลูกไว้ดว้ ย วิธกี ารดูแล ต้นกาแฟคือ ต้องคอยถอนวัชพืช สังเกตเมล็ดของ ต้ น กาแฟว่ า เป็ น อย่ า งไรบ้ า ง อั น ไหนสุ ก ก่ อ น ควรเก็บเลย เพื่อจะไปไม่เน่าอยู่บนต้น ต้นกาแฟ
ก็จะให้ผลผลิตครัง้ แรกหลังเริม่ ปลูกประมาณ 3 ปี และหลังจากนัน้ ก็จะให้ผลผลิตเรือ่ ยๆ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ORGANIC COFFEE :
สมชาย : หลักการของการท�าเกษตรอินทรีย์ มีทั้งเรื่องไม่ใช้สารเคมีใดๆ แต่ก็ยังมีหลักการอื่น อีกทั้งการเกื้อกูลธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่ การท�าเกษตรตามยถากรรม ความจริงแล้วเราเอง ต้องดูแล บ�ารุงดิน การให้ป๋ยุ อินทรีย์ การปรับปรุง คุณภาพดินด้วยพืชอื่นๆ ที่ปลูกประกอบกันเพื่อ การฟื้นฟูดิน นอกจากจะสร้างรายได้ สร้างอาชีพ หยุดการบุกรุกป่าแล้ว ขณะเดียวกันการหยุดใช้ สารเคมี ก็ ท� า ให้ ธ รรมชาติ ไ ด้ ฟ ื ้ น ฟู ตั ว เองขึ้ น มา ยกตัวอย่างหมูบ่ า้ นห้วยมะเกลีย้ ง เมือ่ ก่อนชาวบ้าน นิยมปลูกเสาวรสซึ่งต้องใช้สารเคมีอย่างมาก พอ ฝนตกสารเคมีเหล่านัน้ ก็ไหลลงสูแ่ ม่นา�้ ปลาบูท่ ราย ก็หายไป แต่แล้วในปัจจุบันที่ชาวบ้านกว่าครึ่ง หันมาปลูกกาแฟเกษตรอินทรีย์ ปรากฏว่าปลาบูท่ ราย สายพันธุ์นี้ก็กลับมาสู่ป่าต้นน�้าอีกครั้ง ตัวแทนชาวบ้าน : พอเราเข้าร่วมโครงการ ก็มคี วามรูม้ ากขึน้ ท�าให้ผลผลิตดีขนึ้ การปลูกกาแฟ แบบออร์แกนิกนั้นมีทั้งความง่ายและความยาก ส่วนทีง่ า่ ยคือเราไม่จา� เป็นต้องท�าอะไรมาก ถ้าเรา ปลูกกาแฟใต้รม่ ไม้ หญ้ามันก็จะไม่ขนึ้ คอยหมัน่ ดูแล คอยเด็ดผลเชอรีทเี่ น่าออกไป ก็เพียงพอ แต่สงิ่ ทีย่ าก คื อ มั น ใช้ แ รงงานเยอะ ทั้ ง เรื่ อ งของการดู แ ล ถางหญ้าต้องใช้เวลาหลายวัน เพราะเราไม่ได้ใช้ สารเคมีทจี่ ะฉีดวันเดียวด้วยตัวคนเดียวก็ทา� ได้ แต่ ท้ายทีส่ ดุ มันเป็นผลดีตอ่ สุขภาพของคนในหมูบ่ า้ น อย่างเห็นได้ชดั แต่กอ่ นคนในหมูบ่ า้ นก็ปว่ ยกันบ่อย ตายกันก็เยอะ แต่เดี๋ยวนี้ก็แทบไม่ค่อยมีเลย
CHAIDIM PREMIUM ORGANIC TEA เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง, มณีนุช บุญเรือง
หากใครเป็นคนที่รักการดื่มชาเป็นชีวิตจิตใจ ย่อมรู้ดีว่าใบชาแห้งหน้าตาอ่อนน้อมถ่อมตนนั้น จะให้รสชาติ กลิ่น และสัมผัสที่มีเสน่ห์มากแค่ไหน ยิ่งหากเป็นใบชาที่ปลูกด้วยระบบ เกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีแล้ว แค่จิบน�้าชาค�าแรกก็ท�าให้เรารีบส่งค�าถามพูดคุยกับ Nedim Behar เจ้าของแบรนด์ ‘Chaidim ชายดิม’ ถึงเรื่องราวและแนวคิดของการท�า แบรนด์ชาออร์แกนิก รวมถึงพูดคุยกับ จารุวรรณ์ ณติณณ์วิรุฬห์ พาร์ตเนอร์ผู้ดูแลไร่ชาออร์แกนิก และแม้ ไร่ชาเกษตรอินทรีย์ (ชาออร์แกนิก) ที่จังหวัดเชียงรายนี้จะไม่ได้กว้างใหญ่ สุดลูกหูลกู ตาอย่างในละครหรือภาพประชาสัมพันธ์การท่องเทีย่ วสวยๆ แต่เมือ่ ได้ฟงั เรือ่ งราววิถคี วามเป็นออร์แกนิกจากทัง้ คู่ เราเห็นถึงความตัง้ ใจและความรักในชาทีม่ อี ยูบ่ นทิวเขาแห่งนี้
THE STARTING POINT :
Nedim : ในช่วงอายุเข้าสูว่ ยั รุน่ ผมได้มโี อกาส ลองชิมชาจีนและชาเขียวญี่ปุ่น จนท�าให้ผมเริ่ม สนใจว่าใบชานัน้ มีลกั ษณะอย่างไร เพราะคนตุรกี เราดื่มชาด�ามาโดยตลอด และเมื่อ 25 ปีก่อนนั้น การดืม่ ชาจีนและญีป่ นุ่ ยังไม่เป็นทีน่ ยิ มนักในยุโรป ท�าให้ชามีราคาสูง ด้วยความสนใจผมจึงเริ่มต้น ค้นคว้าศึกษาเรื่องชามาเรื่อยๆ ประกอบกับการเดินทางไปยังที่ต่างๆ ที่ผมจะเสาะหาชิมชาไม่ว่า ร้านนั้นจะเล็กหรือเข้าถึงยากแค่ไหน เราชอบ ความรูส้ กึ ทีไ่ ด้ชมิ และคิดถึงรสชาติชาว่าเป็นอย่างไร ท�าไมถึงให้รสชาติเช่นนั้น และในวันหนึ่งที่เราได้ ชิมรสชาติชาออร์แกนิก ได้รู้สึกถึงรสชาติที่แท้จริง ค�าถามก็ผุดในใจว่าแล้วท�าไมเราต้องกินชาที่มี ส่วนผสมของยาฆ่าแมลง จึงออกตามหาว่าทีไ่ หน สามารถท�าชาแบบออร์แกนิกได้ ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งง่ายเลย THE BIG IDEA :
Nedim : ในปัจจุบนั นี้ ในยุคทีท่ กุ อย่างเร่งรีบ และรวดเร็ว ความมีพธิ รี ตี องแบบเก่าหาได้ยากขึน้ ดังนั้น เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เห็นการชงชาแบบเต็มใบ ก็อาจท�าให้เกิดความสงสัยว่า แล้วชาที่เราเคย ดื่มๆ กันมันคืออะไรกันแน่ เมื่อสงสัยก็เริ่มที่จะ อยากจะค้นหาที่มา จนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของ การเรียนรู้สิ่งที่เรากินเราดื่ม รวมถึงการดื่มชา ด้วย วัฒนธรรมของชาคือการชงให้ดมื่ การหยิบยืน่ สิง่ ทีด่ แี ละคิดถึงผูร้ บั เสมอ ชาออร์แกนิกตอบโจทย์ เรือ่ งนี้ และวิธกี ารปลูกชาของเรามันไม่ใช่การฝาก ไว้ให้ฟ้าดินและธรรมชาติดูแลเท่านั้น ใจความ ส�าคัญคือการดูแลเอาใจใส่ของเกษตรกรผู้ปลูก เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว เราเลือกได้นะว่าชีวิตเราจะ เลือกกิน เลือกอยู่กับอะไร และแบบไหน SUSTAINABLE TEA FARMING :
จารุวรรณ์ : ในจังหวัดเชียงราย เราจะเห็น ต้นชาอัสสัมนั้นเติบโตขึ้นในป่าเองตามธรรมชาติ แล้วท�าไมชาพันธุ์อื่นๆ ต้องใช้สารเคมีตามที่ใคร บอกกัน ในเมื่อก็เป็นพืชตระกูลเดียวกันต่างกัน ที่สายพันธุ์ เราจึงทดลองปลูกไปก่อน ปรากฏว่า ผลผลิตทีไ่ ด้นนั้ น้อยมากหากเทียบกับการปลูกชา ในระบบสารเคมี ค�าถามคือ จ�านวนทีแ่ ตกต่างกันนี้ เกิดขึ้นจากอะไร เกิดจากการที่ไม่ได้เร่งให้โต ซึง่ พอบอกตัวเลขผลผลิต ใครๆ ก็จะบอกเราว่าเจ๊ง แน่ น อน แม้ แ ต่ ค นสวนเองยั ง รู ้ เ ลยว่ า กว่ า ปุ ๋ ย อินทรีย์ที่ใส่ไปจะย่อยปีหน้า ซึ่งเรารู้ไหม เรารู้
ดังนั้น เราไม่หวังเรื่องตัวเลขผลผลิตที่ได้อย่าง การปลูกระบบเคมี แต่เมื่อเวลาผ่านไปผลผลิต ที่ได้นั้นเริ่มให้ผลที่มากขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านไป 10 ปี เราได้เห็นต้นชาที่แข็งแรงขึ้น เหมือนคนสุขภาพดี นัน่ คือพอไปถึง ณ จุดหนึง่ ต้นชาอินทรียท์ เี่ ราปลูก จะเริ่ ม นิ่ ง ปุ ๋ ย อิ น ทรี ย ์ ที่ เ คยใช้ ก็ ส ามารถใส่ ใ น ปริมาณที่น้อยลงได้ one two TEA :
จารุวรรณ์ : ความตั้งมั่นและตั้งใจที่จะท�า เป็นทัง้ เรือ่ งทีง่ า่ ยทีส่ ดุ และยากทีส่ ดุ ในการท�าไร่ชา ออร์แกนิก ในช่วงแรกที่เราเริ่มปลูกชาในระบบ ออร์แกนิก เราท�าปุย๋ นมวัวสดเองด้วยนะ ใช้นมสด ผสมไข่ไก่ กากน�้าตาล จุลินทรีย์ 10 ชนิด ใช้เวลา หมัก 2 เดือน จากนั้นผสมกับน�้าอัตราส่วน 1:200 แล้วพ่นปุ๋ยนมที่บริเวณใบชา สารฆ่าแมลงใน ระบบออร์แกนิกทีเ่ ราใช้คอื สมุนไพรอย่างสาบเสือ ที่มีรสชาติขม ซึ่งเราจะหมุนเวียนสมุนไพรทุกๆ 3 เดือน เพื่อเป็นการลวงแมลง (หัวเราะ) ส�าหรับ ปุ๋ยคอกเราท�าจากมูลวัวผสมแกลบร�าข้าว หมัก จนแห้งแล้วกลบใส่ในดินใต้ตน้ ชาทีส่ มบูรณ์ทกุ อณู ซึง่ ต่างจากระบบเคมีทเี่ หือดแห้ง ต้นไม้กจ็ ะเติบโต สมบูรณ์ เนือ้ ใบชาทีไ่ ด้กห็ นา และแม้ไร่ชาของเรา จะไม่ได้สวยงามเหมือนไร่ชาในระบบเคมี เราสวย จาก 5 ไร่นี้แล้วค่อยขยาย คนที่รู้เรื่องเกษตร เมื่อสังเกตดูก็จะรู้ได้เองว่ามันสวยด้วยตัวมันเอง นี่คือความเป็นอินทรีย์
CALENDAR FRI
MON
9
TUE
NEO CONSERVATIVE TRADITIONAL THAI ART นิทรรศการศิลปะ ‘เก่าไป ใหม่มา’ โดยศิลปินกลุ่ม Neo Conservative Traditional Thai Art น�าเสนอผลงาน ศิลปะทีแ่ สดงออกซึง่ ความคิด ความหมาย อารมณ์ ความรูส้ กึ ส่วนตนของศิลปิน สร้างสรรค์ขึ้นจากความวิรยิ ะ พากเพียร ในการทีจ่ ะ เชื่ อ มผสานศิ ล ปะแบบ ขนบประเพณี ใ นอดี ต ให้ ร่วมสมัยกับสังคมปัจจุบัน วันนี้ถึง 17 พฤศจิกายน 2558 ณ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3709
10
MEASURING THE WORLD เชิญชมภาพยนตร์เรือ่ ง ‘ส� า รวจตรวจวั ด โลก’ ฮัมบอลต์ นักวิทยาศาสตร์ ธ ร ร ม ช า ติ กั บ เ ก ๊ า ส ์ นักคณิตศาสตร์ มีความต้ อ งการส� า รวจตรวจวั ด สรรพสิ่ ง บนโลก เมื่ อ ได้ แ ล ก เ ป ลี่ ย น ทั ศ น ะ กั น พวกเขาก็ได้เบนเข็มการส�ารวจออกไปจากแนวคิด เดิมๆ ในที่สุดการเดินทาง ได้ชกั น�าทัง้ สองให้เริม่ ส�ารวจ วัดโลกด้วยวิธใี หม่ ชมฟรี วันนี้ เวลา 18.00 น. ณ ห้อง ภาพยนตร์ หอศิ ล ปวั ฒ นธรรมแห่ ง กรุ ง เทพมหานคร โทร. 0-2214-6630-8
WED
11
TARA, JOURNEY TO THE HEART OF THE CLIMATE MACHINE เชิญชมภาพยนตร์เรือ่ ง ‘Tara, Journey to the Heart of the Climate Machine’ ยิ่งไปกว่าความอุตสาหะ ในการเดินทางทีไ่ ม่ธรรมดา ในมหาสมุทรอาร์กติก ทีม นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ที่ อ อก เดินทางไปกับทารา เรือใบ ส�ารวจขัว้ โลกเหนือ ทีจ่ ะชี้ ให้เราเห็นถึงสภาพการณ์ ในปัจจุบนั ของสภาพอากาศ โลก ชมฟรี วั น นี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคมฝรัง่ เศส กรุงเทพ โทร. 0-2670-4231
THU
6
SAT
7
SUN
8
12
A DAY BIKE FEST 2015 เ ท ศ ก า ล จั ก ร ย า น ‘a day BIKE FEST 2015’ ที่ปีนี้มากับธีม ‘Tour de World’ เทรนด์ ก ารปั ่ น จักรยานเพือ่ การท่องเทีย่ ว ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั่ ว โลก พบกั บ กิ จ กรรมมากมาย อาทิ การออกร้านขายจักรยาน และสินค้าเกีย่ วกับจักรยาน พื้นที่โชว์รถวินเทจหายาก การแสดงดนตรีโดยศิลปิน ชั้ น น� า ฯ ล ฯ วัน นี้ ถึง 15 พฤศจิ ก ายน 2558 ณ ชัน้ 2-3 สถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์ มักกะสัน
โหมโรง เดอะ มิวสิคัล รีสเตจ
การกลับมาของละครเวที เ รื่ อ งยิ่ ง ใหญ่ แ ห่ ง ปี ‘โหมโรง เดอะมิ ว สิ คั ล รีสเตจ’ ทีจ่ ะพาคุณไปสัมผัส ถึงรากของความเป็นไทย ตื่ น ตาไปกั บ การประชั น ระนาดเอกกันสดๆ บนเวที ทีจ่ ะสร้างความอัศจรรย์ใจ และความภาคภู มิ ใ จใน รากเหง้าของความเป็นไทย ให้กับคนไทยทุกคน วันนี้ ถึง 22 พฤศจิกายน 2558 ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชัน้ 7 สยามสแควร์ วั น จ� า หน่ า ยบั ต รและ ติ ด ตามรอบการแสดงที่ ไทยทิกเก็ตเมเจอร์
ROYAL KHON PERFORMANCE - EPISODE OF PROMMAS เชิญชมการแสดงโขน มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ประจ�าปี พ.ศ. 2558 ‘โขน พระราชทาน ชุดศึกอินทรชิต ต อ น พ ร ห ม า ศ ’ เ พื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ พ ร ะ น า ง เ จ ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินีนาถ วันนี้ ถึ ง 6 ธั น วาคม 2558 ณ ห อ ป ร ะ ชุ ม ใ ห ญ ่ ศู น ย ์ วั ฒ น ธ ร ร ม แ ห ่ ง ประเทศไทย จ�าหน่ายบัตร และติดตามรอบการแสดง ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์
UNDER THE BRIDGE นิทรรศการภาพถ่าย ‘ใต้สะพาน’ โดย แอนดรูว์ แม็ ก นี ล ล์ ช่ า งภาพชาว อังกฤษ น�าเสนอความเป็น มนุษย์ของคนทีเ่ ปราะบาง ในลักษณะที่เป็นทางบวก และดูงดงาม ผ่านภาพถ่าย พอร์ เ ทรตของคนไร้ บ ้ า น วันนี้ถึง 26 ธันวาคม 2558 ณ คัดมันดู โฟโต้ แกลเลอรี โทร. 0-2234-6700 (เว้นวัน อาทิตย์และจันทร์)
IG: POLKADOTPUBLISHING WWW.FACEBOOK.COM/POLKADOTBOOK
E! FRE PING SHIP
POLKADOT CHUBBY PAPERWRAP
Paperwrap เล่มใหม่ chubby กว่าเดิม ด้วยกระดาษงานคราฟต์ขนาด 50 x 68 ซม. กว่า 16 ลาย ลายละ 2 แผ่น ภายในเล่ม พร้อมให้สาวกงานประดิษฐ์ทุกคน ฉีก ตัด แปะและห่อ ตามใจชอบ
AVAILABLE NOW!
AT
GERERAL
300.- 270.-
#abooker
255.-
State of the Arts
ธิดารัตน์ จันทเชื้อ ศิลปินสาวไฟแรง ผู้พิสูจน์ฝีมือด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศ UOB Painting of the Year ประเภทศิลปินอาชีพ ในการประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) ครั้งที่ 6 ที่เพิ่งประกาศผลล่าสุด ซึ่งศิลปะเป็นสิ่งที่เธอชื่นชอบ และวนเวียนอยู่ในชีวิตตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งที่ช่วยบำาบัดความรู้สึกส่วนตัว และทำาให้เธอเข้าใจความซับซ้อนของจิตใจผู้คนมากขึ้น
Thidarat Chantachua Mixed media Embroidery 119 x 180 cm
Behind the Picture : “ภาพนีเ้ ป็นการเล่าเรือ่ งราวการรวมตัวกันเพือ่ ท�าความดี ในภาพเป็นรูปทรงของคนที่ก�าลังละหมาด ซึ่งต้นแบบของ ภาพนี้เป็นการที่คนในครอบครัวก�าลังละหมาดอยู่ในบ้าน แต่ปรับเปลี่ยนด้วยการน�าลวดลายที่ใช้ในสถาปัตยกรรม อิสลามมาทดแทน เพือ่ สือ่ ว่าไม่วา่ จะอยูท่ ไี่ หนเราก็สามารถ ท�าความดีได้ โดยใช้เส้นด้ายเป็นวัสดุหลักในการสร้างสรรค์ ผลงาน”
The Artist : “ตอนเด็กๆ เป็นคนชอบอ่าน การ์ตนู โดยเฉพาะพวกการ์ตนู ญีป่ นุ่ แล้วก็เล่นเกม ซึ่งภาพในการ์ตูนนั้น สวย ท�าให้เราอยากสร้างภาพวาด แบบนั้นได้บ้าง แล้วช่วงที่เราเรียน ปริ ญ ญาตรี ก็ มี สั ง คมที่ เ ป็ น แรงบันดาลใจให้เรา ทั้งอาจารย์ที่เป็น ศิลปิน และก็เพือ่ นๆ ทีเ่ ก่งและมุง่ มัน่ ประจวบเหมาะกั บ ช่ ว งหนึ่ ง ที่ มี ปัญหาชีวิต เราเลยเลือกใช้ศาสนา และศิลปะเป็นทางออก”
การประกวดจิตรกรรมยูโอบี (UOB Painting of the Year) คือการประกวดผลงานจิตรกรรมระดับอาเซียนทีจ่ ดั โดยกลุม่ ธนาคารยูโอบี เปิดกว้างส�าหรับศิลปินอาชีพ และศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ผลงานทีไ่ ด้รบั รางวัลจากการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจ�าปี 2558 จะได้รบั การจัดแสดงที่ HOF Art Space ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2558 โดยศิลปินทีไ่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศ UOB Painting of the Year จะเดินทางไปจัดแสดงผลงานและชิงรางวัลระดับอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.uobpoy.com 13
Reflections : “เริม่ แรกเราอยากสร้างงานศิลปะก็เพราะว่า ชอบ ซึง่ พอเข้าใจสุนทรียภาพของศิลปะ ทีส่ ามารถ บ�าบัดจิตใจตนเอง และเมือ่ ผลงานส�าเร็จออกมา แล้วยังมีผลต่อจิตใจของคนอื่นด้วย ซึ่งศิลปะ เป็นสิง่ ทีข่ ยายโอกาสทางสังคม ท�าให้เราได้รจู้ กั และเรี ย นรู ้ ผู ้ ค น จิ ต ใจเราละเอี ย ดอ่ อ นและ ซับซ้อนกว่าเดิม และยังท�าให้เราสนใจความซับซ้อนของจิตใจคนอื่นด้วย”
MAKE A DISH
Breakfast Sandwich เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
ใครๆ ก็รู้ว่ามื้อเช้าส�าคัญต่อการเริ่มต้นของวันมากแค่ไหน และยิ่งถ้าอาหารจานนั้นอร่อยด้วย น่ารักด้วย วันทั้งวันก็คงสดใส เหมือนเมนูใหม่ล่าสุดอย่าง Breakfast Sandwich ของร้าน Jaywalk ที่มีเสิร์ฟเฉพาะสาขาราชเทวีเท่านั้น แค่เพียงค�าแรกที่กัดแซนด์วิช ความกลมกล่อมจากรสหวานอร่อยของขนมปัง รสชาติหวานมันจากเบคอน ไข่ และอะโวคาโด สดชื่นด้วยผักสดๆ อย่างร็อกเกตและหน่อไม้ฝรั่ง รับรองว่าจานเดียวไม่พอ
BREAKFAST SANDWICH ราคา : 220 บาท
Owner อัญชลี พิรุณทอง
INGREDIENTS ขนมปัง / มะเขือเทศ / เบคอน / อะโวคาโด / ร็อกเกต / หน่อไม้ฝรั่ง / ต้ น อ่ อ นทานตะวั น / ซอสบัลซามิก / ไข่ดาว
OWNER's Inspiration
เมนูใหม่ทพ ี่ ฒ ั นามาจากเมนู weekend special ของทางร้าน ที่ เ คยมี เ สิ ร ์ ฟ เฉพาะวั น หยุ ด สุ ด สั ป ดาห์ โดยคิ ด จากลั ก ษณะ เมนูอาหารเช้าปกติที่มักจะอยู่แยกส่วนกัน เช่น ขนมปัง ไข่ดาว เบคอน หรืออืน่ ๆ และหยิบเอาทุกอย่างมาประกอบกันเป็นแซนด์วชิ เพิ่ ม ความเข้ ม ข้ น จากอะโวคาโด และตั ด ด้ ว ยรสชาติ เ ปรี้ ย ว ของซอสบัลซามิก ซึ่งให้รสสัมผัสที่เข้ากันพอดี
TIPS เพราะเมนูแซนด์วิชแน่นๆ ที่มี ทั้งเบคอน ไข่ดาว อะโวคาโดที่ให้ รสชาติมนั ๆ ทอดๆ เราจึงเลือกใส่ผกั อย่างหน่อไม้ฝรั่ง และผักร็อกเกต ทีค่ วามขมจะช่วยตัดความมันเลีย่ น ได้เป็นอย่างดี
SUPERMARKET
Where have All the Flowers Gone ดอกไม้หลากสีหลายพันธุต์ า่ งก็มกี ลไกในการดึงดูดแมลงหรือสัตว์ตา่ งๆ ให้มาแวะเวียนเพือ่ เผยแพร่เผ่าพันธุข์ องมันต่อไป ซึง่ นอกจากแมลงหรือนกตัวน้อยๆ แล้ว เราก็ตดิ ใจกับดอกไม้สวยๆ เหล่านีด้ ว้ ยเช่นกัน จนอดไม่ได้ทจี่ ะน�ามาสร้างสรรค์เมนูทเี่ ป็นทัง้ อาหารตาและอิม่ ท้อง ดังนัน้ อย่าแปลกใจทีส่ ดุ สัปดาห์นดี้ อกไม้รมิ รัว้ บ้านของหลายคนจะหายไปบ้าง
Agasta
Mexican Creeper
Pumpkin Flower
Ixora Sesbania
ROSE Plumeria
Marigold
LOTUS
Moonflower
Nepenthes Flower
Torch Ginger
Agasta ดอกแค ดอกไม้พนื้ บ้านทีพ่ บเห็นได้ทวั่ ไป โดยเฉพาะ ตามเรือกสวนไร่นา ดอกแคจึงกลายมาเป็นส�ารับ กับข้าวง่ายๆ ของชาวไทยเรามานาน อย่างเช่น แกงส้มดอกแค ดอกแคลวกจิ้มน�้าพริก Ixora ดอกเข็ม ดอกไม้ริมรั้วของหลายๆ บ้าน หลายคน ชอบเด็ดดอกเข็มมาดูดน�า้ หวานกิน แต่ใครทีอ่ ยาก สร้างสรรค์เมนูสวยน่าทาน ให้ลองน�าดอกเข็ม มาท�าอาหาร เช่น ย�าดอกเข็ม ดอกเข็มทอด Lotus ดอกบัว ดอกไม้ที่คนไทยเราเอาไว้บูชาพระ ซึ่ง นอกจากเม็ดบัวทีเ่ ราเอามาท�าเป็นอาหารทานเล่น แล้ ว ดอกบั ว ที่ มี ก ลี บ สี ช มพู ส วยก็ ยั ง สามารถ น�ามาทานได้ โดยน�ามาประยุกต์เป็นเมนูเมี่ยง แบบไทยๆ โดยใช้กลีบบัวแทนใบชะพลู Marigold ดอกดาวเรือง ดอกไม้สีเหลืองสดใสที่เอามาใช้ บูชาพระและท�างานฝีมือ แต่ถึงแม้ว่าจะมีสีสด และกลิ่นฉุนสักหน่อย ดอกดาวเรืองก็ทานได้ เช่นกัน เช่น ใช้ดอกตูมลวกจิม้ น�้าพริก ฉีกใส่ในย�า Mexican Creeper ดอกพวงชมพู บ้ า นใครที่ มี รั้ ว ก็ มั ก จะปลู ก ต้ น พวงชมพูให้เลือ้ ยออกดอกสวยงาม ซึง่ ดอกไม้ชนิดนี้ นอกจากจะดูสวยน่ารักแล้ว ยังน�ามาใช้ทา� อาหาร ได้ ตั้งแต่น�ามาประดับจาน ใส่ในย�าเพิ่มสีสัน หรือท�าเมนูชบุ แป้งทอดก็ดสู วยน่าทานไปอีกแบบ Moonflower ดอกชมจันทร์ ไม้เลือ้ ยคล้ายผักบุง้ มีดอกสวยงาม ที่บานในตอนกลางคืน แต่ที่เราน�ามากินจะเป็น ดอกตูม สามารถน�ามาท�าอาหารได้ เช่น น�ามาผัด แบบง่ายๆ ใส่ในแกงส้ม ลวกจิ้มกับน�้าพริก Nepenthes Flower ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง ดอกไม้ที่คอยดักจับ แมลงกินเป็นอาหาร ซึ่งเจ้าดอกหน้าตาแปลกนี้ สามารถน�ามาใช้ท�าขนมได้ โดยใส่ข้าวเหนียว กับกะทิลงไปและน�าไปนึ่งเป็นขนมข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง Plumeria ดอกลีล าวดี ต้ น ไม้ ใ หญ่ ที่มีกิ่ง ก้ า นที่ส วยงาม ใครที่อยากสร้างสรรค์เมนูจากดอกไม้ ก็สามารถ ใช้ดอกที่หล่นจากต้นสดๆ น�ามาท�าดอกลีลาวดี ชุบแป้งทอด ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังก็คือยางของมัน Pumpkin Flower ดอกฟักทอง ใครๆ ก็รวู้ า่ ฟักทองนัน้ มีประโยชน์ตอ่ ร่างกาย สามารถน�ามาท�าอาหารได้ ใครที่อยาก ลองปลูกฟักทอง ก็ไม่ต้องรอให้ออกผลก็สามารถ น�าดอกของมันมาท�าอาหารทานได้แล้ว โดยน�า มาใส่ในแกงส้ม ลวกจิม้ กับน�า้ พริก หรือทอดกรอบ Rose ดอกกุหลาบ ดอกไม้สีสวยกลิ่นหอมที่ครองใจคน ทั้ ง โลก นอกจากจะดู เ พื่ อ ความสวยงามแล้ ว การใช้ประโยชน์จากกุหลาบยังมีมากมาย ทัง้ น�ามา ท�ากลิ่น น�ามาท�าชากุหลาบ น�้ากุหลาบ รวมทั้ง ใช้กลีบสวยๆ เหล่านี้มาท�าอาหารได้อีกด้วย Sesbania ดอกโสน ดอกไม้สีเหลืองสวยที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามริมหนองน�้า สามารถเก็บดอกมาท�าอาหาร ทานได้ หรือจะซื้อที่ตลาดก็มีขาย ส่วนใหญ่นิยม น�ามาลวกจิม้ กับน�า้ พริก ใส่ในไข่เจียวหรือแกงต่างๆ Torch Ginger ดอกดาหลา พืชตระกูลเดียวกับขิงข่า นอกจาก ความสวยงามแล้ว คุณก็ยงั สามารถอร่อยกับดอก ดาหลาได้ โดยน�าดอกสีแดงสวยนีม้ าซอยใส่ในย�า ข้าวย�า หรือจะผสมในน�้าพริกก็ได้ ขอขอบคุณแรงบันดาลใจจากเซตเมนู The Floral Set โดย เชฟปูริดา ธีระพงษ์ จากร้าน OSHA ถนนวิทยุ
HOME MADE
Home is Where the Art Is เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : มณีนุช บุญเรือง
ถ้าลองท�าแบบส�ารวจถามคนเมืองกรุงถึงบ้านในฝันที่พวกเขาต้องการ แน่นอนว่าค�าตอบส่วนหนึ่งจะต้องเป็นบ้านที่อยู่ต่างจังหวัด อากาศดีๆ ยิ่งถ้ามีล�าธารน�้าใสไหลอยู่บริเวณใกล้ๆ ต่อให้เอาอะไรมาแลกก็ ไม่ยอม อย่างบ้านอาคารสีขาวเกลี้ยงขนาดกะทัดรัดของ จ�ำเนียร ทองมำ ศิลปินและประติมากร หลังนี้ ที่นอกจากรายล้อมด้วยธรรมชาติที่ใครๆ ก็อิจฉา แต่บรรยากาศทุกอณูในบ้านที่อยู่ภายหลังประตูโคโลเนียลบานสวยบานนั้น ต่างท�าให้ผู้เยี่ยมชมอย่างเราตาลุกวาวราวกับหลุดเข้ามาชมงานศิลปะในแกลเลอรีมีชื่อ สมกับที่เจ้าของบ้านบอกว่า “เราไม่ได้มองบ้านเป็นแค่ที่อยู่อาศัย เรามองเป็นงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่เราแทรกตัวอยู่กับมันได้”
“บ้านคืองานศิลปะที่เรา แช่มชื่นอยู่กับมันได้ทุกวัน”
พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร
ทีม่ ำของบ้ำนหลังนี้ “เดิมทีเรำมีบำ้ นอยูท่ กี่ รุงเทพฯ และปำกช่องอยูแ่ ล้ว พอได้รบั งำนออกแบบตกแต่ง ภำยในให้โรงแรมแห่งหนึง่ ทีเ่ ชียงใหม่ จำกเดิมทีค่ ดิ ว่ำแค่มำดูงำน 2-3 อำทิตย์ครั้งหนึ่ง แต่ปรำกฏ ต้องมำอยู่เป็นปี จึงเริ่มมองหำที่ทำงในเชียงใหม่ จนได้มำเจอกับทีน่ ี่ เรำรู้สกึ ว่ำแถวแม่รมิ นัน้ น่ำอยู่ มีทั้งธรรมชำติ บรรยำกำศ และกลิ่นอำยที่ไหล ลงมำจำกภูเขำ ท�ำให้ที่นี่อำกำศเย็นสบำยทุกคืน เรำชอบควำมเป็นธรรมชำติอยู่แล้ว ขอแค่ได้อยู่ ใกล้ตน้ ไม้และล�ำธำร ตอนเช้ำก็ขบั รถเข้ำไปท�ำงำน ในเมืองห่ำงออกไปเพียง 20 กิโลเมตรเท่ำนั้น” บ้ำนทีเ่ ชือ่ มผสำนตัวตนของเจ้ำของกับธรรมชำติ “บ้ ำ นหลั ง นี้ ต ่ อ เนื่ อ งจำกคอนเซ็ ป ต์ เ ดิ ม ที่ เ รำ พยำยำมเชือ่ มต่อระหว่ำงควำมเป็นธรรมชำติและ ควำมเป็นตัวเรำทีท่ ำ� งำนศิลปะ ท�ำงำนประติมำกรรม รำยล้อมด้วยต้นไม้และล�ำธำร เรำอยำกสัมผัสดิน กับทรำย อันนี้ส�ำคัญนะ เรำรู้สึกว่ำเรำอยู่ในเมือง มำตั้งนำนแล้ว ชีวิตที่เหลือเรำอยำกมำปรับตัว อยำกนั่งนอนสบำยๆ เดินเท้ำเปล่ำแถวบ้ำนเรำ ไม่ตอ้ งพิธรี ตี องใดๆ ในเช้ำวันสบำยก็แค่หยิบหนังสือ ที่ชอบขึ้นมำอ่ำน มีแรงบันดำลใจเกิดขึ้นยำมใด ก็จดบันทึกไว้เพื่อถ่ำยทอดในงำนของเรำ” ทุกพืน้ ที่ในบ้ำนคืองำนศิลปะ “ตัวบ้ำนหลังนีไ้ ม่ได้ ใหญ่กว่ำบ้ำนตึกแถวทัว่ ไปนะ เพียงแค่เรำท�ำเพดำน ให้สงู ขึน้ 4-5 เมตร ท�ำให้บำ้ นดูโล่งโปร่งสบำย จะหยิบ วำงของตกแต่งบ้ำนตรงไหนก็ดลู งตัว มีสว่ นพืน้ ที่ ส�ำหรับนัง่ เล่น ส่วนของพืน้ ทีท่ ำนอำหำรหรือไว้นงั่ ท�ำงำน อีกส่วนเป็นห้องนอน กำรตกแต่งบ้ำนเรำ มำจำกของเก่ำทีเ่ รำสะสมทัง้ ของทีม่ ำจำกแถบยุโรป และหลำยๆ ที่ อย่ำงพวกเก้ำอี้ คอนโซล เชิงเทียน
เตียง ประตู ทีเ่ ลือกหยิบมำผสมผสำนกับตัวอำคำร ทีเ่ รียบง่ำยในแบบของเรำ ใช้วสั ดุกอ่ สร้ำงไม่แพง เพรำะตั้งใจให้เรียบง่ำยเบำสบำย ไม่ต้องดู หรูหรำ ไม่มีหลืบหรือมุมที่ท�ำให้รู้สึกสวยจำก ตัวอำคำร และเพื่อรองรับเฟอร์นิเจอร์และ ของตกแต่งที่เรำตั้งใจเลือกและจัดวำงเพื่อจะ เสพงำนศิลปะนั้นๆ ได้อย่ำงเต็มที่” ควำมสุขที่มำจำกกำรท�ำบ้ำนหลังนี้ “จำก ควำมคิดฝันของเรำว่ำอยำกได้บ้ำนแบบไหน ขนำดเท่ ำ ไหร่ เรำมี ค วำมสุ ข ที่ ไ ด้ ท� ำ ขึ้ น มำ ตำมใจของเรำ เรำจัดวำงสิ่งของที่ซื้อสะสมมำ ไม่วำ่ จะเล็กหรือใหญ่ บำงอย่ำงอำจจะดูไม่มคี ำ่ อะไร แต่เรำกลับชอบในอำรมณ์ทสี่ งิ่ นัน้ ให้ สวย ในแบบทีเ่ ป็นอยูโ่ ดยไม่จำ� เป็นต้องตีคำ่ ควำมสวย ทีร่ ำคำ เพียงแค่เรำอยำกอยูก่ บั สิง่ นัน้ เท่ำนีก้ ม็ ี ควำมสุข เรำไม่ได้มองบ้ำนเป็นแค่ที่อยู่อำศัย เรำมองเป็นงำนศิลปะชิ้นหนึ่งที่เรำแทรกตัว อยู่กับมันได้ เพรำะฉะนั้น ส�ำหรับเรำแล้ว ควำมสุขนั้นเกิดจำกควำมกลมกลืนของตัวเรำ และศิลปะทีส่ ะท้อนออกมำเป็นบ้ำนหลังนี”้
• สร้ำงบ้ำนให้เข้ำกับประตู... เป็นประตู แบบโคโลเนี ย ลของอั ง กฤษ ท� ำ ขึ้ น ในอิ น เดี ย เห็ น ครั้ ง แรกก็ ถู ก ใจเลย แล้วจึงมำคิดต่อว่ำควรวำงประตูอยู่ใน ต�ำแหน่งไหนที่จะสวยเด่นที่สุด • กำรสร้ำงมิติของผนังสีขำว... อย่ำง กำรเลือกวำงโซฟำสีขำวบนพืน้ ขำว โดยมี แสงเงำเป็นตัวท�ำให้สีขำวที่เรำเห็นมีมิติ • จริตก้ำนใบของต้นตำลฟ้ำ... เรำชอบ เส้นใบของต้นตำลฟ้ำที่กำงแผ่สวยงำม เลิศเลอมำก และเมื่อมำอยู่กับผนังบ้ำน เกลีย้ งๆ ของเรำ เท่ำนัน้ จบเลย ไม่ตอ้ งกำร อะไรมำกกว่ำนี้แล้ว
• เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 • เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 3 • สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 • เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A • Big C เอกมัย • เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ • เอ็มโพเรียม มอลล์ ชั้น 5 • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส • ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซ.11 และ 13) • มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ ซ.4 • เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น G • ออล ซีซัน เพลส • อาคารอือ้ จือเหลียง ชัน้ G • หลังสวน • สีลมคอมเพล็กซ์ • ไทมส์ สแควร์ ซ.สุขมุ วิท 12 • ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า ชั้น 1 • จามจุรีสแควร์ • The 19th. ชิดลม • อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ • IDEO พญาไท • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 • โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 • โรงพยาบาลกรุงเทพ ชั้น 1 • โรงพยาบาลรามาธิบดี • โรงพยาบาลพระราม 9 •The Crystal • CDC • RCA • นวมินทร์ซิตี้อเวนิว • นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ • The Nine Center • Terminal 21 • The Walk เกษตร-นวมินทร์ • The Promenade • The Scene ทาวน์อินทาวน์
ailand • SOHO Th ง อ ื ถนนบ�ารุงเม n ถนนจนั ทน์ • Vanilla Mooare 1 • Siam Squ ามย่าน • I’m Park ส Mall วัชรพล • Plearnary ังหิน • The JAS ว • ท่ามหาราช าวเวอร์ • อาคารซันท ุลราฮิมเพลส • อาคารอับด รทาวเวอร์ • อาคารสินธลพญาไท 2 • โรงพยาบา r • EmQuartieรซิตี้ทาวเวอร์ • อาคารสาธ River Walk • Yodpiman ระราม 9 • U-Place พ
SELECTIVE
Never Ever Forget เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง
บางครั้งเราสามารถนึกถึงบางเหตุการณ์ ได้ทันที แต่บางเหตุการณ์ก็ต้องมีตัวช่วยจ�า นั่นก็คือวัตถุบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่หยิบสิ่งนั้นขึ้นมาดู ภาพวันเวลาเก่าๆ ก็จะย้อนกลับมาให้นึกถึงเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน ดังเช่นข้าวของที่เรียงรายอยู่ในกระดาษแผ่นนี้ ที่ ‘พ้อย’ - พรวรา สิทธิประศาสน์ นักร้องสาวเสียงทรงพลังจากค่าย Yes! Music เลือกมาเล่าเพื่อสื่อความหมายถึงใครอีกหลายคน
1 2
3
5 4
6 7
8 9
1. การ์ด “ทีโ่ รงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ทุกงานเทศกาลรุน่ น้องจะมีการท�าการ์ดหรือให้ของขวัญรุน่ พีก่ นั อย่างจริงจัง อันนีเ้ ป็นสิง่ ทีร่ นุ่ น้องมอบให้เราตอนทีเ่ รียนจบ” 2. ตัว๋ “เราชอบเก็บตัว๋ เพราะเป็นคนขีล้ มื เราอยากจะ เก็บของอะไรสักอย่างไว้ดู เพือ่ ให้เรายังจ�ามันได้” 3. กระเป๋าสีนา�้ ตาล “เราชอบอะไรก็ตามทีท่ า� มาจากหนัง ซึง่ ใบนีเ้ ป็นกระเป๋าใบทีส่ องทีเ่ ราซือ้ แบบเดิม รุน่ เดิม สีเดิม ซึง่ เราชอบมาก สามารถหิว้ ไปได้แทบทุกโอกาสเลย” 4. สร้อยคอ “มันเป็นของเก่าของคุณแม่ตงั้ แต่สมัยทีค่ ณ ุ พ่อสูข่ อคุณแม่” 5. สร้อยข้อมือ “มันเป็นสร้อยหนังสีชมพู เราชอบในความเรียบง่ายของมัน แม้มนั จะเป็นสร้อยทีแ่ ฟนเก่าให้มา แต่มนั ก็เป็นเครือ่ งประดับชิน้ หนึง่ ทีเ่ ราใส่ตลอด” 6. รูปถ่าย “รูปถ่ายพวกนีจ้ ะเห็นว่าเป็นเด็กสามคนทีแ่ ต่งตัวเป็นแฝดกัน ซึง่ เป็นสิง่ ทีค่ ณ ุ ย่าชอบให้หลานๆ อย่างเราท�า เห็นรูปแล้วจะนึกถึงคุณย่า” 7. เทปคาสเซ็ต All Stars 2003 “เทปม้วนนีเ้ ราซือ้ เองเลย มันเป็นอัลบัม้ รวมเพลงฮิตสากลทีเ่ ราร้องได้ทกุ เพลงในอัลบัม้ ” 8. กระเป๋าหนังใส่บตั ร 9. แว่นตา “เราค้นเจอแว่นอันนีเ้ มือ่ หลายปีทแี่ ล้ว มันเป็นของคุณปู่ ซึง่ เราก็เป็นคนทีช่ อบของวินเทจอยูแ่ ล้วด้วย ก็เลยใส่มาตลอด”
THE 5IVE
The Art of Mixing เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ
พี่ชายใจดีที่ครั้งหนึ่งเคยพาคนฟังเพลงไปรู้จักกับดนตรีแนวรีมิกซ์ จนได้ฉายาว่าพ่อมดเพลงแดนซ์ วันนี้ ‘MR.Z’ - สมเกียรติ อริยะชัยพาณิชย์ ก�าลังขึ้นเวทีร่วมกับน้องๆ ในคอนเสิร์ต 5 วงเพื่อนรัก คึกคักเวลาลงเล่น CIRCLE of FRIENDS ที่ก�าลังจะถึงนี้ ซึ่งนอกจากความผูกพันที่แน่นแฟ้นระหว่างพี่น้องในวงการเพลงแล้ว ความผูกพันในเรื่องการฟังเพลงของนักแต่งเพลงมือเก๋าคนนี้ก็มีความเป็นมาที่ยาวนานไม่แพ้กัน 1. Thriller : Michael Jackson
“อัลบั้มที่ฟังเอาสนุกก็ได้ ฟังเอาวิชาก็ได้อีก ตอนเด็กๆ ฟังเพลงของ ไมเคิล แจ็กสัน เราก็รู้ว่า เป็นเพลงสนุก ฟังง่าย เต้นตามได้ เพลงช้าก็เพราะๆ ซึง้ ๆ จนกระทัง่ เริม่ เข้ามาท�าเพลงให้กบั เบเกอรี มิวสิก เราได้คุยกับนอ (นรเทพ มาแสง) ว่าเพลง Billie Jean นี่แปลกมาก เบสกับคอร์ดดนตรีนี่ไป กันคนละทาง ถึงได้รู้ว่าการท�าเพลงก็มีเรื่องของทฤษฎีเขามาประกอบด้วยเหมือนกัน นั่นจึงเป็น เหตุผลว่าท�าไมเพลงของไมเคิลถึงเป็นอมตะ และเป็นแม่แบบให้นักดนตรีหลายๆ คน” Recommended Tracks : Thriller, Beat It และ Billie Jean
"Billie Jean is not my lover She's just a girl who claims that I am the one" Billie Jean - Michael Jackson
2. Magical Mystery Tour : The Beatles “อัลบั้มที่แต่ละเพลง มีความทันสมัยมาก มีการทดลองแนวทางใหม่ๆ ของ วงสูงมาก เป็นเหมือนกับ งานศิลปะแบบแอบสแตร็กต์ ที่พอเราท�าความเข้าใจได้ แล้ ว จะชอบอั ล บั้ ม นี้ ข อง สีเ่ ต่าทองมาก และเหมือน ตั ว เองถู ก ดู ด เข้ า ไปใน โลกเสียงเพลงของพวกเขา” Recommended Tracks : I Am the Walrus, Strawberry Fields Forever และ All You Need Is Love 4. Happy End of the World : Pizzicato Five
“วงดนตรีจากประเทศญีป่ นุ่ ทีเ่ อาดนตรีเรโทร มาใช้ ใ นเพลง มีการใช้ เครื่องดนตรีส ดและ เสียงสังเคราะห์เข้ามาประกอบ แต่ผมจับไม่ได้เลย ว่าเสียงไหนคือเสียงทีส่ งั เคราะห์ขนึ้ มา (หัวเราะ) เพลงของวงนี้เพราะมาก มิวสิกวิดีโอก็สวย การแต่งตัวต่างๆ ก็เท่ เป็นแรงบันดาลใจให้ผม ในการท�าอัลบั้ม Return to Retro ด้วย” Recommended Tracks : The World Is Spinning at 45 RPM, It’s a Beautiful Day และ My Baby Portable Player Sound
"Atarashii asa no Fushigi na yokan Suteki na yokan" It's a Beautiful Day - Pizzicato Five
3. Everybody Knows : Sonia
“ผมชอบที ม ที่ ท�า เพลงให้ กั บ เธอ ซึง่ เพลง You’ll Never Stop Me Loving You พอปล่อยออกมาก็ขนึ้ อันดับ 1 ของ ชาร์ตเพลงทีอ่ งั กฤษทันที ทัง้ ๆ ทีต่ วั ศิลปิน ก็โนเนมมาก ที่สา� คัญคือ ทีมท�าเพลง ของอัลบัม้ นีเ้ ป็นแรงบันดาลใจให้กบั ผม ในการท�าเสียงกลองและซาวนด์ต่างๆ ใน Z-MYX อัลบัม้ แรกของผมด้วย” Recommended Tracks : You’ll Never Stop Me Loving You, Can’t Forget You และ Listen to Your Heart
5. A Broken Frame : Depeche Mode
“อัลบัม้ นีส้ า� คัญกับผมมาก เพราะเป็น จุดเปลี่ยนจากคนที่ชอบฟังเพลงเป็นคนที่ อยากท�าเพลง อย่างเพลง The Sun & the Rainfall ที่อยู่แทร็กสุดท้าย ซึ่งเป็น เพลงที่เศร้ามาก แต่เขากลับใช้ซาวนด์ ที่หลากหลายมาก ฟังแล้วก็ทึ่งในความสามารถของวงนี้ ท�าให้ผมสงสัยว่าการท�า ดนตรีอิเล็กทรอนิกนั้นต้องมีองค์ประกอบ อะไรบ้าง” Recommended Tracks : My Secret Garden, See You และ The Sun & the Rainfall
OUT THERE
Tasmania
แทสเมเนีย รัฐที่เล็กที่สุด ไกลที่สุด และอยู่ทางใต้ที่สุดของออสเตรเลีย หากคุณลองดูแผนที่ของประเทศนี้ จะเห็นเกาะเล็กๆ รูปหัวใจเป็นติ่งแยกตัวออกมา จากแผ่นดินใหญ่ อยู่ใกล้กับเมืองเมลเบิร์น เมืองหลวงของรัฐวิกตอเรีย มีขนาดไม่ใหญ่ โดยมีระยะทางจากเหนือจรดใต้ 296 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 315 กิโลเมตร เหมาะกับการขับรถเที่ยวชมธรรมชาติที่สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นชายฝั่ง ป่าไม้ ภูเขาที่มีหิมะปกคลุม ซึ่งทั้งภูมิประเทศที่แสนตื่นตาและสภาพอากาศที่แสนบริสุทธิ์ ก็จะท�าให้แทสเมเนียเป็นจุดหมายที่ติดตาตรึงใจคุณไปอีกนาน
The State Facts เมื่อมาเที่ยวเกาะแทสเมเนียแห่งนี้ ทางเลือกที่หนึ่งคือ เริ่มต้นที่ เมืองหลวงของรัฐที่ชื่อโฮบาร์ต ซึ่งอยู่ทางใต้ของเกาะ เป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่วุ่นวาย แตกต่างจากเมืองหลวงในรัฐอื่นของออสเตรเลีย ในอดีต เมืองนีเ้ คยใช้เป็นสถานทีส่ า� หรับให้นกั โทษจากเกาะอังกฤษมาอยูอ่ าศัย เหมือนๆ กับอีกหลายเมืองในออสเตรเลีย แต่ต่อมาก็มีการปรับปรุง จนกลายเป็ น เมื อ งท่ า ที่ มี ก ารค้ า ขายสิ น ค้ า กลั บ ไปยั ง อั ง กฤษ นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวเมืองเก่าที่เป็นหมู่บ้านยุคอาณานิคม มีทั้งโบสถ์ โกดังเก็บสินค้า พิพิธภัณฑ์ และโรงละครที่เก่าแก่ที่สุด ในออสเตรเลีย
รอบๆ เมืองโฮบาร์ต คุณสามารถไปเที่ยวที่ใกล้ๆ ได้อย่างเวลลิงตันปาร์ก ที่นี่มี ยอดเขาเวลลิงตันให้ผคู้ นไปแวะเยีย่ มชม และมีกจิ กรรมหลากหลายให้คนรักการผจญภัย ได้ท�า เช่น เดินป่า ขี่จักรยาน ขี่ม้า ปีนเขา เมื่อสนุกกับป่าเขาแล้ว ลองไปที่ริชมอนด์ เมืองเล็กๆ ที่มีสะพานเก่าแก่ประจ�าเมืองเป็นแลนด์มาร์ก ซึ่งเป็นสะพานที่เก่าแก่ที่สุด ของออสเตรเลียที่ยังใช้งานอยู่
"Tasmania may be sparsely populated, but it is rich in wildlife, wilderness reserves, and a strong sense of community long forgotten by the more traditionally celebrated tourism hotspots on the mainland of Australia." brooke saward, an australian founder & Editor-in-chief of www. worldofwonderlust.com
หากตั้งต้นที่เมืองโฮบาร์ต แล้วขับรถไปทางตะวันตก ระหว่างทางสามารถแวะเยี่ยมชมโรงงานช็อกโกแลตแคดเบอรี ที่เมืองแคลร์มอนต์ ซึ่งเปิดเป็นศูนย์เยี่ยมชมให้นักท่องเที่ยวเข้าชมในวันจันทร์-ศุกร์ ถัดไปก็จะเป็นเมืองนิวนอร์โฟล์ก ซึง่ เป็นเมืองทีม่ คี นอังกฤษมาตัง้ ถิน่ ฐานเก่าแก่เป็นอันดับสามของเกาะแทสเมเนีย และเป็นศูนย์กลางการปลูกฮ็อบส�าหรับ ผลิตเบียร์ในออสเตรเลีย ลองขับรถไปชมความงามของทะเลสาบเพดเดอร์และทะเลสาบกอร์ดอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติเซาท์เวสต์ และไม่ไกลจากนัน้ คุณก็สามารถแวะไปทีอ่ ทุ ยานแห่งชาติเมานต์ฟลิ ด์ อุทยานแห่งชาติแห่งแรก ของแทสเมเนีย ที่มีน�้าตกสวยงามหลายแห่งให้ชม
อีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางมาแทสเมเนียก็คือ การนั่งเรือโดยสารจากเมลเบิร์นมาลงที่เดวอนพอร์ตทางเหนือของเกาะ แถบนี้มีหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อว่าหมู่บ้านเพนกวิน ซึ่งมีการประดับตกแต่งเมืองด้วยงานศิลปะรูปเพนกวิน เช่น ถังขยะรูปเพนกวิน ถัดไปทางตะวันตกเลียบชายฝั่ง คุณสามารถแวะไปเยี่ยมชมเคปกริม แหลมปลายยอดของเกาะ และชื่นชมท้องทะเลสีน�้าเงินเข้ม ขับรถลงมาทางใต้อีกนิดจะพบกับเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติเครเดิลเมาน์เทน-เลก เซนต์แคลร์ ซึ่งเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางธรรมชาติมาก เป็นแหล่งเดินป่าส�าหรับนักเดินป่าที่รักการผจญภัยแบบสมบุกสมบัน ลอนเชสตัน เมืองใหญ่อนั ดับสองของแทสเมเนีย อยู่ทางตอนเหนือของเกาะ มีวิวทิวทัศน์สวยงาม โอบล้อมด้วยภูเขา มีอาคารเก่าแก่ สวนสาธารณะ มีแม่นา�้ ทามาร์เป็นแม่นา�้ สายส�าคัญ รอบๆ เมือง มี ไ ร่ อ งุ ่ น ที่ เ ป็ น แหล่ ง ผลิ ต ไวน์ ขึ้ น ชื่ อ ของ ออสเตรเลีย และยังมีทงุ่ ดอกลาเวนเดอร์ขนาดใหญ่ ให้เยีย่ มชม โดยจะออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึง มกราคม
ไฮไลต์สา� คัญทีน่ กั ท่องเทีย่ วไม่ควรพลาดเมือ่ มา เยือนออสเตรเลีย โดยเฉพาะเกาะแทสเมเนีย แห่งนี้ ก็คอื เหล่าสัตว์พนื้ เมืองทัง้ หลาย โดยเฉพาะ แทสเมเนียนเดวิลที่หลายคนหลงรัก รวมไปถึง โคอะลา วอมแบต วัลลาบี จิงโจ้ เพนกวิน และสัตว์ อืน่ ๆ อีกมากมาย ลองแวะไปทีส่ วนสัตว์แทสเมเนีย ทีเ่ มืองลอนเชสตัน ทีน่ มี่ สี ตั ว์กว่า 250 ชนิด ทีไ่ ด้รบั การดูแลอย่างดีตามธรรมชาติ หรือไปทีเ่ ขตสงวน พันธุ์สัตว์ป่า Bonorong ไม่ไกลจากเมืองโฮบาร์ต ก็มีสัตว์พื้นเมืองให้ได้ใกล้ชิดเช่นกัน WHAT YOU NEED TO KNOW ติดต่อขอวีซ่าประเทศออสเตรเลียได้ผ่านทางบริษัท วีเอสเอฟ (ประเทศไทย) จ�ากัด ชั้น 28 อาคารเดอะเทรนดี้ ออฟฟิศ ซอยสุขุมวิท 13 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0-2118-7100 เว็บไซต์ www.vfsglobal.com/Australia/Thailand การเดินทาง สายการบินเจ็ตสตาร์ www.jetstar.com สายการบินควอนตัส www.qantas.com.au ใช้เวลาเดินทางรวมต่อเครื่องประมาณ 13-17 ชั่วโมง
THE WORD 30
You can't hate the roots of a tree and not hate the tree. ท่านไม่สามารถเกลียดรากของต้นไม้โดยไม่เกลียดต้นไม้ต้นนั้นได้หรอก
- Malcolm X -