a day BULLETIN LIFE issue 98

Page 1

ISSUE 98 I 22 - 28 JANUARY 2016

FRAME OF FAME


ปีที่ 2 ฉบับที่ 98 วันที่ 22 - 28 มกราคม 2559

NOTE ON LIFE

“I Promise it Won’t be Boring.” หลังจาก เดวิด โบวี ศิลปินที่สร้างสีสันให้กับวงการเพลงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จากโลกนี้ไปด้วยวัย 69 ปี ก็มีคนสร้างสรรค์ผลงานเพื่ออุทิศให้กับเขามากมายทั่วโลก รวมทั้งการหยิบยกค�าพูด ที่เขาเคยพูดไว้สมัยยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งหนึ่งในนั้น ไม่มีอะไรแพร่หลายเกินกว่าค�าพูดประโยคหนึ่งของเขาที่ว่า “I don’t know where I’m going from here, but I promise it won’t be boring.” ผมก็ไม่รู้หรอกว่าจากตรงนี้ ชีวิตผมจะเดินไปทางไหน แต่สัญญาได้เลยว่ามันจะไม่น่าเบื่อ เดวิด โบวี ท�าตามสัญญาที่ให้ไว้เป็นอย่างดี เพราะตลอด 69 ปีของการมีชีวิตอยู่ เขาใช้ชีวิตเหมือนเสียงดนตรี ที่เขาสร้างขึ้นนั่นแหละ สนุก เต็มไปด้วยลีลาจัดจ้าน เก๋าแต่เก๋ ถ้าหากเปรียบชีวิตเป็นผืนผ้าใบ เขาก็สาดสีสันในแบบที่สะกดทุกสายตาให้หยุดมอง ลงท้าย ภาพที่เขาสร้างขึ้น ก็เป็นงานมาสเตอร์พีซ มีชิ้นเดียวในโลก เป็นชีวิตในแบบที่ไม่มีขาย อยากได้ต้องท�าเอง และไม่รู้ว่าโดยบังเอิญหรือตั้งใจ ที่เพลง Space Oddity เพลงที่ เดวิด โบวี เขียนและร้องไว้จนโด่งดัง ก็ถูกน�าไปใช้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง The Secret Life of Walter Mitty ที่ว่าด้วยเรื่องของชายหนุ่มที่มีชีวิตในจังหวะที่เนิบนาบ น่าเบื่อ ไร้สีสัน จนต้องอาศัยความฝันพาตัวเองหลุดออกจากความเป็นจริง การมีชีวิตที่น่าเบื่อ ไม่ได้มีอันตรายแบบทันทีทันใด แต่ในระยะยาว มันจะค่อยๆ ดูดกลืนพลังกายและใจของเรา ไปทีละนิด รู้ตัวอีกที ก็ไม่เคยได้มีชีวิตอย่างที่ฝัน ท�าได้มากที่สุดก็แค่ ฝัน... ว่าอยากใช้ชีวิต วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan www.facebook.com/adaybulletin

CONTENTS

3 The Stuff

4 Feature

10 Calendar

สารพัดสิ่งรอบตัวเรา ทีเ่ ล่าผ่านตัวเลข

เ รื่ อ ง ร า ว ข อ ง 6 ช่ า งภาพไทยที่ ไ ป ดังไกลในต่างประเทศ

ใคร ท�าอะไร ที่ไหน เช็กดูได้ สุดสัปดาห์นี้ จะได้ไม่พลาดเรือ่ งราว สนุกๆ

11 Make a Dish

หนึ่ ง จานอร่ อ ยจาก ร้ า นดั ง ที่ เ ราอ ย า ก ชวนคุ ณ ไปลิ้มลอง

12 Supermarket

14 HOME MADE

16 THE 5IVe

18 Out There

22 THE WORD

ฉวยตะกร้ า คว้ า รถเข็น แล้วไปเดินเล่น จั บ จ ่ า ย กั บ เ ร า ใ น Supermarket แห่งนี้

พบวิธกี ารแต่งบ้านเท่ๆ ตามแบบฉบั บ ของ กงพัฒน์ ศักดาพิทกั ษ์ ศิลปินสุดเก๋า

แรงบันดาลใจที่สร้าง ตัวตนให้กับ นัฐวุฒิ พูนพิรยิ ะ จนกลายเป็น ผู้ก�ากับหนังมากฝีมือ

เพราะเราเชื่ อ ว่ าโลก ใบนีม้ สี ถานทีม่ ากมาย รอให้ไปค้นหา

พ ลิ ก มุ ม คิ ด ป รั บ มุ ม มอง กั บ ‘หนึ่ ง ถ้ อ ยค� า ... ที่ เ ปลี่ ย น ความคิด’

LETTER คงเป็นเรื่องที่ยากที่จะระบุชัดเจนว่ารู้จัก a day BULLETIN LIFE ตั้งแต่เมื่อไหร่ อาจจะเป็นความบังเอิญหรือตั้งใจก็ไม่ทราบ แต่ที่จ�าได้แม่นคือความรู้สึกตอนที่อ่านทุกครั้ง โดยเฉพาะคอลัมน์ Home Made ที่จะต้องอ่านเป็นคอลัมน์แรก เนื่องจากเราชอบที่นิตยสารขยันหาบ้านเจ๋งๆ มาให้รู้จักและอิจฉาอยู่เสมอ จนท�าให้ตอนนี้เพ้ออยากมีบ้านเป็นของตัวเองจนเพื่อนร�าคาญ ขอบคุณส�าหรับความตั้งใจนะคะ จะอยู่ติดตามเรื่อยๆ ค่ะ - APPDLUFF

ส่งจดหมายติชม ทักทาย และให้คา� แนะน�า a day BULLETIN LIFE มาได้ที่ adaybulletinmagazine@gmail.com และสามารถติดตามความเคลือ่ นไหวและกิจกรรมดีๆ ได้ที่ Facebook/Twitter: a day BULLETIN และ Instagram: adaybulletinlife

A TEAM ทีป่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สงิ ห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอีย่ ม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ ห้วหน้ากองบรรณาธิการ วรรณวนัช ท ว้ มสมบูรณ์ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวลิ าศ บรรณาธิการภาพ นิตพิ ฒ ั น์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกติ ติบตุ ร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยีด่ วง มณีนชุ บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสจู น์อกั ษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิส์ ทิ ธิ์ ไม ล้ า� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ า่ ยผลิต วิทยา ภูท่ อง ทศพล บุญคง ทีป่ รึกษาฝ า่ ยโฆษณา ศรวณีย ์ ศิริจรรยากุล ผู อ้ �านวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผูจ้ ดั การฝ า่ ยโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุง่ รัตนสุทธิกลุ 08-4491-9241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผูจ้ ดั การ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การ ณัฐธยาน์ อึง้ ตระกูลนิธศิ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผูผ้ ลิต บริษทั เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วจิ ยั 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com นักศึกษาฝึกงาน จรัตพร โมรา วัลญา นิ่มนวลศรี ศิริกาญจน์ ศรีเจริญ ณัฐณิชา หงษ์อา�่


STUFF 4

Match เด็กๆ หลายคนสนุกเสมอเมื่อได เล นไฟ และเราอาจนึกไม ถึงมาก อนว าความรู สึกด านบวกเมื่อเห็นเปลวไฟลุกติดปลายไม นั้นสืบย อนไปได ไกลถึงทฤษฎีเกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย ซึ่งบางทฤษฎีคาดคะเนไว ว า สิ่งมีชีวิตในกลุ ม Homo มีวิวัฒนาการทางด านสมองและร างกายอย างก าวกระโดดได เพราะรู จักจุดไฟทําอาหารให สุก ทําให ได รับสารอาหารรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อุปกรณ จุดไฟง ายๆ อย างไม ขีดไฟ ในช วงระยะเวลาหนึ่งจึงมีความหมายถึงความอยู รอดและคุณภาพชีวิตที่ดีด วย

1855 ไม ขดี ประเภท strike anywhere matches นัน้ ทําให เกิดอุบตั เิ หตุ จากการติดไฟเองบ อยครั้ง โจฮัน เอ็ดวาร ด ลุนด สตรอม จึงพัฒนา Safety Match ขึ้นและจดลิขสิทธิ์ในป ค.ศ. 1855 โดยใช ฟอสฟอรัสแดงฉาบบนแถบกระดาษด านนอกกล อง เพื่อป องกันไม ขีดเกิดการเสียดสีแล วติดไฟเอง

ไม ขดี ไฟกันลมมักจะมีขนาด ยาวกว าปกติ และมีสารเคลือบ ที่ ทํ า ให ไ ฟลุ ก ไหม ไ ด ย าว เกิ น กว า ครึ่ ง ก า น และไฟ จะติ ด อยู น านอย า งน อ ย 6 นาที แม จ ะจุ ด ติ ด ยาก กว าไม ขดี ปกติ แต มคี ณ ุ สมบัติ พิ เ ศษคื อ ต า นลมและหิ ม ะ ถึ ง จะเป ย กก็ ยั ง สามารถ ติดไฟต อได จึงนิยมนําไป ใส ไ ว ในถุ ง อุ ป กรณ บ น เรือชูชีพ

6

5

4,000

1829

ไม ขดี นํา้ มัน เป นลูกครึง่ ระหว างไฟแช็กและไม ขดี ไฟ ทําจากโลหะและ พลาสติก ขนาดทีน่ ยิ มคือ 5 เซนติเมตร ใช เชือ้ เพลิงแบบเดียวกับ ไฟแช็กนํ้ามัน แท งชนวนทําจากแมกนีเซียมจุ มไว ในเชื้อเพลิง เมื่อหมุนก านไม ขีดออกมาแล วขีดด านชนวนนํ้ามันก็จะติดไฟ

7

ในอดีต ไทยนําเข าไม ขดี ไฟจากประเทศสวีเดน และญีป่ น ุ จนถึงช วงสมัยรัชกาลที่ 7 จึงผลิต ไม ขดี ไฟได เอง และไม ขดี ไฟตราพระยานาค ที่ีรู จักมาจนถึงป จจุบัน เริ่มแรกผลิตโดย บริ ษั ท ไม ขี ด ไฟ ไทย ซึ่ ง ทํ า ไม ขี ด ตรา ธงไตรรงค และตราพระยานาค

มีผู ประดิษฐ ไม ขีดไฟก านไม หัวเคลือบด วยซัลเฟอร และโพแทสเซียม ขึ้นในป ค.ศ. 1829 และตั้งชื่อไม ขีดไฟของเขาว า Lucifers ตามชื่อเทพ ผู ตกจากสวรรค พร อมเปลวเพลิง เป นไม ขีดประเภท strike anywhere matches ที่ไม วา ใช ขดู กับอะไรก็ตดิ ไฟได แบบทีเ่ รามักเห็นคาวบอยในหนัง จุดไม ขีดด วยกางเกงยีนส หรือส นรองเท า

ไม ขี ด ไฟชนิ ด บรรจุ ส มุ ด เป น แผง แบบที่ เ รี ย กว า matchbook รุ นแรกๆ นั้น คิดค นและจดลิขสิทธิ์ใน ช ว งยุ ค 1890s โดย โจชั ว พู ซี ย ชาวอเมริ กั น แล วบริษทั Dimond Match มาขอซือ้ ลิขสิทธิ์ไปในราคา 4,000 เหรียญฯ เพราะกําลังพัฒนา matchbook อยู เช นกัน

คําว า Phillumeny เป นศัพท เฉพาะซึ่งหมายถึงการสะสมทุกสิ่งที่เกี่ยวข องกับไม ขีดไฟ มาจากคําว า phil หรือ loving ในภาษากรีก รวมกับ lumen หรือ light ในภาษาละติน เริ่มใช คํานี้ในป ค.ศ. 1943 โดยกลุ มผู สะสมไม ขีดและฉลาก The British Matchbox Label & Booklet Society


FEATURE

Frame of Fame ความน่าสนใจของการถ่ายภาพ คือการเก็บภาพเหตุการณ์หรือความทรงจ�าในชีวติ ทีอ่ าจมีผลต่อจิตใจผูค้ นเมือ่ ย้อนกลับมาดูอกี ครัง้ ซึง่ ทักษะเหล่านีต้ อ้ งผ่านประสบการณ์ทงั้ จากการท�างาน และการใช้ชวี ติ กว่าจะได้ภาพถ่ายทีม่ มี มุ มองทีน่ า่ สนใจทีส่ ามารถสือ่ สารกับผูค้ นได้ ฉบับนีเ้ ราพาไปเจาะลึกเรือ่ งราวของช่างภาพไทย 6 คน ทีม่ ผี ลงานระดับโลก พวกเขาสัง่ สมประสบการณ์ในชีวติ จาก สายงานถ่ายภาพทีต่ วั เองรัก จนวันหนึง่ พาตัวเองก้าวข้ามไปในจุดทีเ่ ชือ้ ชาติไม่ได้เป็นอุปสรรคในการท�างาน รางวัลระดับโลกทีพ ่ วกเขาเคยได้รบั เป็นเครือ่ งการันตีได้เป็นอย่างดีถงึ ความทุม่ เทตลอดชีวติ ของการเป็นช่างภาพ วันนีพ ้ วกเขายังท�างานต่อไปอย่างมีความสุข โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้ผคู้ นสัมผัสและรูส้ กึ ได้ถงึ สิง่ ทีเ่ ขาน�าเสนอ ผ่านภาพถ่ายหนึง่ ภาพทีท่ ดแทนหนึง่ ล้านค�าอธิบาย

TAVEPONG PRATOOMWONG เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เราเคยลองถามความเห็นคนรอบตัวว่า อะไรคือ Street Photography หรือที่เรียกแบบไม่เป็นทางการ แต่คุ้นหูว่า ‘การถ่ายภาพแนวสตรีท’ และพบว่าค�าตอบนั้นหลากหลายจนชวนงง ดังนั้น เราคิดว่าให้ ‘พงษ์’ - ทวีพงษ์ ประทุมวงษ์ เจ้าของรางวัลชนะเลิศหมาดๆ จาก Los Angeles Center of Photography (LACP) เป็นคนตอบดีกว่าว่าจริงๆ แล้ว Street Photography คืออะไรกันแน่


THE STARTING POINT :

ผมเริ่มถ่ายรูปตั้งแต่สมัยเรียนภาพยนตร์ที่ มหาวิทยาลัยรังสิต มีความฝันว่าอยากถ่ายรูปลง นิตยสาร National Geographic ก็เลยไปถ่ายรูป ตึกเก่าย่านพาหุรัดแล้วก็ส่งไป ปรากฏว่าได้ลง คอลัมน์รหัสไปรษณีย์ แต่หลังจากเรียนจบก็เริ่ม ท� า บริ ษั ท สาธุ ฟ ิ ล ์ ม เลยไม่ มี เ วลาไปถ่ า ยรู ป เท่าไหร่นกั เลยกลายเป็นบ้ากล้อง เพราะสมัยเรียน ไม่มสี ตางค์ มีกล้องตัวเดียวเราก็บา้ ถ่ายรูป แต่พอ ท�างาน มีเงิน แต่ไม่มเี วลา เลยหันมาบ้าอุปกรณ์แทน (หัวเราะ) อาการหนักมาก จนภรรยาเห็นว่าไม่ไหวละ ก็เลยเซอร์ไพรส์ให้ของขวัญครบรอบแต่งงานเป็น ตั๋ ว เครื่ อ งบิ น พร้ อ มที่ พั ก ไปพาราณสี อิ น เดี ย เมือ่ ปลายปี 2013 ให้ไปคนเดียวด้วยนะ ตืน่ เช้ามา คว้ากล้องออกไปเดินถ่ายรูปทั้งวัน ก็เลยเป็น จุดเปลี่ยนที่ท�าให้กลับมาจริงจังกับการถ่ายภาพ อีกครั้ง และค้นพบด้วยว่า Street Photography ซึ่งมีข้อก�าหนดง่ายๆ อยู่ว่า ต้องถ่ายภาพใน ที่สาธารณะ ไม่จัดฉาก และสุดท้ายที่ส�าคัญมาก คือต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ซึง่ เป็นแนวทีเ่ ราถนัด EXPERIENCED EYE :

ผมไม่เคยส่งภาพประกวดในเมืองไทย เพราะรูส้ กึ ว่าสไตล์เราไม่เหมาะ เช่น ผมมีข้อแม้ส่วนตัวอยู่ ว่าจะไม่ถา่ ยภาพคนทีม่ ชี วี ติ ล�าบาก อย่างขอทาน หรืออะไรที่ดูดราม่า ซึ่งมักเป็นหัวข้อแรกๆ ที่คน อาจนึกถึงเวลาถ่ายสตรีท เพราะทีจ่ ริงเราสามารถ สร้างสรรค์อย่างอื่นได้โดยที่ไม่ต้องไปเอาความทุกข์ยากของเขามาเป็นผลงานของเรา ผมชอบทีจ่ ะ ถ่ายชีวิตปกติให้ดูพิเศษมากกว่า ครั้งแรกที่ส่ง ภาพประกวดเลยเป็นงาน Urban Picnic ของอังกฤษ ได้ Honorable Mention ต่อมาก็ส่งงานประกวด Miami Street Photography ซึง่ จัดทุกปี และรางวัลใหญ่ ขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับเป็นการแข่งขันโอลิมปิกของ ช่างภาพวงการสตรีท ซึ่งผมได้ที่ 1 ล่าสุดที่เพิ่งได้ รางวัลมาคือ Street Shooting Around The World จัดโดย LACP กรรมการคือ แมต สจวร์ต ช่างภาพสตรีท ทีเ่ ก่งทีส่ ดุ คนหนึง่ ของโลก งานนีใ้ ห้สง่ 6-10 รูป ทีค่ ดิ ว่าดีทสี่ ดุ ผมเข้ารอบ 6 รูป แล้วได้ท ี่ 1 ซึง่ เพิง่ รูผ้ ล วันที ่ a day BULLETIN LIFE ติดต่อมาขอสัมภาษณ์ พอดี ผมยังงงเลยว่า เฮ้ย รู้ได้ไง (หัวเราะ) THE PICTURE :

ภาพแตงโมถ่ายทีเ่ ยอรมนี ไปร่วมงาน Observe ซึ่งเป็นนิทรรศการภาพถ่าย แล้วผมกับช่างภาพ คนอืน่ ๆ ก็พากันออกไปเทีย่ วงานเทศกาลนอกเมือง ผมเห็นคนก�าลังหัน่ แตงโมแบ่งกันอยู ่ ก็เลยเดินเข้าไป กดแชะ ช็อตนี้ยืนยันได้ว่าอุปกรณ์ส�าคัญที่สุด ส�าหรับช่างภาพสตรีทคือ ‘โชค’ ครับ

RUNGROJ YONGRIT เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

รุ่งโรจน์ ยงฤทธิ์ คือหนึ่งในช่างภาพชาวไทยที่ท�างานให้กับส�านักข่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง european pressphoto agency (epa) ประสบการณ์ยี่สิบกว่าปีกับการถ่ายภาพข่าว คือหนึ่งในใบเบิกทางที่ท�าให้เขาท�างานระดับโลกได้อย่างมีคุณภาพจนได้รับรางวัล ภาพข่าวยอดเยี่ยมประจ�าส�านักข่าวในปี 2014 เมื่อเราถามถึงเหตุผลแรกๆ ในการมาเป็นช่างภาพข่าว เขาบอกว่า ความอยากรู้อยากเห็น เป็นส่วนส�าคัญในชีวิต การได้อยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ แบบใกล้ชิด คือความสุขในการท�างานของเขา

THE STARTING POINT :

EXPERIENCED EYE :

ผมรักการถ่ายภาพและรู้สึกว่าตัวเองเป็นคน อยากรูอ้ ยากเห็น มันจึงเป็นคุณสมบัตติ น้ ๆ ทีท่ า� ให้ ผมเลือกทีจ่ ะมาท�างานเป็นช่างภาพข่าว แต่ชว่ งเริม่ ต้น ก็ไม่ได้ออกมาดีเลยนะ เคยไปถ่ายรูปเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ แล้วใส่ฟลิ ม์ ไม่เข้า สุดท้ายก็ไม่ได้รปู ซึง่ เป็นบทเรียนส�าคัญในชีวติ เราก็วา่ ได้ หลังจากนัน้ ก็ทา� งานให้กบั หนังสือพิมพ์หลายเล่ม นานทีส่ ดุ คือ หนังสือพิมพ์ The Nation ท�าอยูห่ ลายปี ได้ผา่ น เหตุการณ์สา� คัญอย่างเขมรแตก ซึง่ เราต้องไปอยู่ ชายแดนเพือ่ เก็บภาพข่าวถึงสองอาทิตย์ มีการยิง ปืนใหญ่ไปมาทุกวัน ก็ตอ้ งคอยหลบลูกกระสุน หรือ ในเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยหลายครัง้ เราก็ตอ้ ง ไปเก็บภาพ จนมาอยู่ที่ epa งานของเราก็เริ่ม หลากหลายขึน้ และมีโอกาสถ่ายภาพกีฬา ได้ไปถ่าย มหกรรมกีฬาส�าคัญอย่างฟุตบอลโลก 2006 ทีเ่ ยอรมนี ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยโุ รป 2008 ทีส่ วิตเซอร์แลนด์ โอลิมปิก ปี 2008 ทีก่ รุงปักกิง่ ฟุตบอลโลก 2010 ทีแ่ อฟริกาใต้ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยโุ รป 2012 ทีย่ เู ครน ฟุตบอลโลก 2014 ทีบ่ ราซิล

การเป็นช่างภาพข่าวส�านักข่าวต่างประเทศ จะมีการท�างานทีแ่ ตกต่างจากช่างภาพข่าวของไทย ตรงที่เราจะต้องเป็นเหมือนบรรณาธิการข่าวเอง ในหนึง่ วันเราก็ตอ้ งเลือกข่าวทีน่ า่ สนใจทีเ่ ราจะต้อง ไปท�าสัมภาษณ์เอง และเลือกข่าวทีน่ า่ สนใจส่งไปให้ ส�านักงานใหญ่ เราต้องดูแลเองทัง้ หมด และถ้าถาม เราว่าการจะได้ภาพทีด่ จี ะได้มาอย่างไร อย่างแรก ต้องมีความรู ้ ช่างภาพทีด่ ตี อ้ งรอบรู ้ ต้องอ่านหนังสือ ต้องตามข่าว จดจ�าหน้าคนได้ ประการทีส่ องคือ ต้องฝึกฝนตัวเองอยูต่ ลอดเวลา ทัง้ ในเรือ่ งเทคนิค และมุมมองของภาพ และประการสุดท้ายคือต้องเป็น คนที่เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เพราะการจะได้ภาพ แต่ละภาพ บางครัง้ ก็ตอ้ งเข้าถึงคน สร้างความไว้ใจ เพื่อให้คนในเหตุการณ์รู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด และเมือ่ ถึงจุดนัน้ แล้ว ภาพทีไ่ ด้จะออกอย่างเป็น ธรรมชาติ และมีเรือ่ งราวทีน่ า่ สนใจ THE PICTURE :

ภาพนี้เป็นภาพจากการแข่งขันยิมนาสติก ที่ นั ก กี ฬ าจากเกาหลี ใ ต้ พ ลั ด ตกลงจากบาร์ ผมรูส้ กึ ว่ามันเป็นภาพทีส่ อื่ สารอารมณ์ของนักกีฬา ได้ดจี ากสีหน้าของเขา เราจะเห็นว่าสีหน้าเขาผิดหวัง ทัง้ ๆ ทีต่ วั เขายังไม่ตกลงสูพ่ นื้ ด้วยซ�า้ และองค์ประกอบ ในภาพยังมีแป้งทีป่ ลิวลงมา มันเป็นภาพทีส่ อื่ สาร ถึงความรู้สึกของแบบได้ดี และภาพนี้ได้รับเลือก จากส�านักข่าว epa ให้เป็นหนึ่งในภาพยอดเยี่ยม ประจ�าส�านักข่าวในปี 2014 ซึ่งส�าหรับผมแล้วก็ รูส้ กึ ดีใจ แต่มนั ก็แค่สว่ นหนึง่ ของงานเท่านัน้ งานนี้ จบไปมันก็ต้องมีงานใหม่เข้ามา หน้าที่เราก็คือ การท�าให้ดีที่สุดแค่นั้นเอง


CHAIYASITH JUNJUERDEE เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ในวันที่ยังเป็นเด็กจบใหม่ ‘โอ๊ต’ - ชัยสิทธิ์ จุนเจือดี ใช้เวลาหนึ่งปีท�างานตั้งแต่แจกใบปลิว เป็นช่างภาพ ท�ากราฟิก ฯลฯ เก็บเงินจนครบ 1 ล้านบาท เพื่อไปเรียนถ่ายภาพที่อังกฤษ เปลี่ยนตัวเองจากเด็กที่รู้ตัวตั้งแต่อายุสิบขวบว่าอยากเป็นสถาปนิกและถ่ายรูปไม่ได้เรื่อง กลายเป็น ช่างภาพระดับอินเตอร์ ด้วยเส้นทางที่ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่อาศัยความกล้าจนถึงขั้น คนรอบตัวบอกว่าบ้า และที่ส�าคัญคือเขาประสบความส�าเร็จด้วยสิ THE STARTING POINT :

ตอนเอ็นทรานซ์ตดิ ผมทุบกระปุกเพิม่ เงินจนได้ แคนนอน 300D กล้อง DSLR ตัวแรกที่ราคาไม่ถึง ห้าหมืน่ พอเริม่ ถ่ายรูปก็รตู้ วั เลยว่าถ่ายรูปห่วยมาก เพือ่ นทุกคนทีใ่ ช้กล้องคอมแพ็กต์ถา่ ยรูปสวยกว่าผม หมดเลย แม่ยังแซวอยู่จนทุกวันนี้ เพราะตอนนั้น ไม่เข้าใจเรือ่ งการถ่ายภาพเลย ก็เลยเริม่ ศึกษาจาก อินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ดี เพราะข้อมูลเหล่านั้นท�าให้ ผมเข้าใจเรื่องการถ่ายภาพผิดไปเยอะ ช่วงเรียน มหาวิทยาลัยผมรับงานถ่ายภาพตั้งแต่ปี 1 ตอน ปี 3 นี่เรียกว่าเป็นช่างภาพอาชีพได้แล้ว เพราะ รายได้ด ี แต่กไ็ ม่ได้ทงิ้ เรือ่ งเรียน และได้ใช้กระบวนการ คิ ด ทางสถาปั ต ย์ ม าใช้ ใ นการถ่ า ยรู ป ช่ ว งปี 5 ท�าธีสสิ ได้เจอคนเยอะ มีอาจารย์และพีๆ่ หลายคน บอกว่าน่าจะไปเรียนเมืองนอกเพราะโลกจะกว้างขึน้ ก็เลยตัดสินใจไปอังกฤษ EXPERIENCED EYE :

ตอนเท้าเหยียบสนามบินฮีธโรว์ ผมบอกตัวเอง ว่า เรามาที่นี่เพื่อถ่ายรูป ไม่ได้มาเป็นเด็กเสิร์ฟ หรือล้างจาน มัน่ ใจมาก ปรากฏว่าแห้วแดก (หัวเราะ) ผมส่งอีเมลเป็นพันฉบับ วอล์กอินเป็นร้อย แต่หางาน ไม่ได้เลย แถมพอเริ่มเรียนที่ London College of Communication วันแรก รู้ตัวเลยว่าประสบการณ์ 6 ปี ทีเ่ มืองไทยมีคา่ เท่ากับศูนย์ เพราะเขาไม่ได้สอน ว่าท�ายังไงจะถ่ายรูปสวย แต่ถามว่าคุณจะสือ่ สาร อะไรกั บ คนที่ ดู รู ป นาที นั้ น รู ้ สึ ก เหมื อ นตกเหว แต่สิบวินาทีต่อมาก็ดีใจว่าคิดถูกแล้วที่มาเรียน เพราะ Conceptual Base คือสิง่ ทีผ่ มขาด หลังจากนัน้ ผมไม่เคยขาดเรียนเลย ตั้ง ใจเรียนมากจนได้ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากนั้นก็เกิดวิกฤต คือ เหลือเงินอยู่ 9 ปอนด์ แล้วกลับมาร้องไห้กับแฟน เขาเลยบอกว่า สูอ้ กี เดือนหนึง่ แล้วกัน ยืมเงินเขาก่อน หลังจากนั้นผมส่งอีเมลไปอีกเซต แล้วคนที่อีเมล กลับมาคือ จูล ี คิม ช่างภาพเวดดิง้ ทีเ่ คยติดท็อป 5 ของอังกฤษเมื่อปี 2008 ขอดูพอร์ตฯ แล้วก็รับผม เป็นผูช้ ว่ ยช่างภาพ ก็ไปยกกระเป๋า แบกของให้เขา ตัง้ ใจท�างานมากจนเขาให้ชว่ ยถ่ายช่วงอาฟเตอร์ปาร์ตี้ งานหนึง่ เขาดูรปู แล้วกลับมาบอกว่า งานหน้ายูเป็น second shooter เลยนะ จากนั้นชีวิตก็ดีขึ้นอย่าง เห็นได้ชัด ก็เลยเริ่มอยากไปฝึกงานกับช่างภาพ สายคอมเมอร์เชียลด้วย ลิสต์รายชื่อช่างภาพ ระดับโลกทีอ่ ยูอ่ งั กฤษแล้วอีเมลหาเลย เพือ่ นทุกคน บอกว่าบ้า แต่ปรากฏว่ามี 3 คน ติดต่อกลับมา แล้วก็ได้ฝึกงานกับช่างภาพดังชื่อ Rankin ผ่านไป 3 เดือน เขาจะให้ทา� งานประจ�า แต่ทา� ไม่ได้เพราะ

ถือวีซ่านักเรียน แต่ถือเป็นหนึ่งเดือนที่มีค่ามาก THE PICTURE :

ภาพนี้เป็นจังหวะที่คู่บ่าวสาวต้องเต้นร�ากัน ซึ่งเราก็พยายามเก็บทุกช่วงเวลาที่สา� คัญของเขา ให้ได้มากที่สุด จังหวะนี้เป็นจังหวะที่ผมพยายาม ทีจ่ ะเก็บภาพย้อนแสง ผมเลยเดินมาทีม่ มุ นีแ้ ละเป็น จังหวะที่เขาทั้งคู่เต้นแอ็กชันในท่านี้พอดี ผมเลย ได้โอกาสกดชัตเตอร์ประจวบเหมาะกับอารมณ์ สีหน้าของพวกเขา ซึ่งมันได้อารมณ์สุดๆ จ�าได้ว่า เมือ่ ตอนเห็นภาพนีภ้ ายหลัง แม้มนั จะไม่สมบูรณ์แบบ มากที่สุดในสายตาเรา แต่มันก็ได้ความรู้สึกที่สุด ทั้งสวยงาม และจริงใจ ผมคิดว่าเพราะภาพมัน สื่อสารอารมณ์ได้ด ี ภาพนี้จึงกลายเป็น The Best แห่ ง ปี ข องผม และได้ เ ป็ น ภาพที่ ดี ที่ สุ ด ของ International Society of Professional Wedding Photographer (ISPWP) ในปี 2014


THE STARTING POINT :

เริ่ ม ถ่ า ยภาพตอนสมั ย เรี ย นปี 4 ที่ ค ณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ตอนนัน้ ตัง้ ใจว่าจะซือ้ กล้อง มาถ่ายงานออกแบบ แต่กล้องมันแพง ซือ้ มาก็ตอ้ ง ใช้ให้คมุ้ ก็เลยศึกษาเรือ่ งกล้องอย่างจริงจัง มีโอกาส ไปออกทริปถ่ายรูป ไปดูนก ออกเดินทางไปตาม ทีต่ า่ งๆ ก็เริม่ รูส้ กึ ว่าการถ่ายภาพนัน้ สนุกดี เราท�า แล้ ว มี ค วามสุ ข บางที โ ดดเรี ย นไปถ่ า ยรู ป ก็ ม ี พอเรี ย นจบท� า งานเป็ น สถาปนิ ก อยู ่ 2 เดื อ น แล้วไปเป็นช่างภาพสายแฟชั่น แต่ก็รู้สึกว่ามัน ไม่ใช่เรา หลังจากนัน้ ก็ลาออกมาท�าหนังสือสารคดี ท่องเที่ยว ท�าอยู่ 2 ปี สนุกมาก แต่ไม่ตอบโจทย์ เรื่องรายได้ (หัวเราะ) ก็เลยลาออก ระหว่างนั้น ก็ได้ถา่ ยงานแต่งงานเพือ่ น ซึง่ เป็นจุดทีเ่ ราค้นพบว่า การถ่ายภาพเวดดิง้ เป็นงานทีน่ า่ สนใจ เพราะเราได้ ท�างานกับคนทีเ่ ขาก�าลังมีความสุข จากวันนัน้ เรา ก็เป็นช่างภาพงานแต่งงานเรือ่ ยมา จนวันหนึง่ มีเพือ่ น ทีอ่ ยูอ่ เมริกาเขากลับมาแต่งงานทีเ่ มืองไทย เราก็ได้ ไปถ่ายงานแต่งงานเขา พอถ่ายเสร็จเขาก็ชอบ รูปเรามาก เลยชวนให้ไปรับงานถ่ายภาพแต่งงาน ทีอ่ เมริกา หลังจากนัน้ ก็ตดั สินใจไปอเมริกา ซึง่ ใน ช่วงแรกยากพอสมควร เพราะเรายังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ผลงานของก็เป็นเครื่องพิสูจน์ตัวเอง จนมีงาน เยอะขึน้ และสามารถท�างานเป็นช่างภาพแต่งงาน ได้อย่างจริงจัง EXPERIENCED EYE :

WASIN PUMMARIN เรื่อง : ประพัฒน์ สกุณา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

การเป็นช่างภาพงานแต่งงานนั้นไปได้ ไกลแค่ไหน และมีความน่าสนใจกว่าช่างภาพแขนงอื่น อย่างไร นี่คือค�าถามที่เราถาม วศิน ภุมรินทร์ ช่างภาพงานแต่งงานชาวไทยที่ไปสร้างชื่อ ในสหรัฐอเมริกาจนได้รางวัลระดับโลกจากภาพถ่ายงานแต่งงานที่เขาถ่ายตลอดหลายปี วศินบอกว่า เขารักในสิ่งที่ท�าเป็นอย่างมาก เพราะงานของเขาคือการเก็บภาพความสุข ของผู้คนในช่วงเวลาที่น่าจดจ�าที่สุดในชีวิต และความสุขเหล่านั้นก็ย้อนกลับมาหาเขา ผ่านรอยยิ้มและค�าขอบคุณของบ่าวสาวเมื่อได้เห็นภาพที่เขาใช้ใจถ่ายให้

สิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนซิกเนเจอร์ของเราก็คือ การผสมผสานความเป็นศิลปะเข้าไปในภาพถ่าย เหตุการณ์ คืออย่างแรก เราต้องถ่ายตามโจทย์ ที่ลูกค้าต้องการ แต่ต้องสวยงามน่าสนใจ สื่อสาร ได้จับใจคน และที่ส�าคัญ ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ยิ่งเราเป็นคนเอเชีย สิ่งแรกที่ส�าคัญคือเรียนรู้ วัฒนธรรมการแต่งงานของคนที่โน่นว่าพิธีกรรม เป็นอย่างไร สิ่งใดท�าได้และท�าไม่ได้ ต้องใส่ใจใน รายละเอียดความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว ต้องรู้ถึงขนาดที่ว่าคนไหนมีปัญหากันหรือเปล่า คนไหนสามารถถ่ า ยภาพใกล้ กั น ได้ คนไหน ควรแยก สิ่งนี้เป็นค�าถามที่จะต้องส่งไปให้ลูกค้า ตอบในเบื้องต้น เพื่อความสมบูรณ์แบบของรูป เพราะเหตุการณ์บางเหตุการณ์ถา่ ยได้แค่ครัง้ เดียว ถ้าพลาดมันจะต้องอยู่กับเจ้าของภาพไปทั้งชีวิต ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องส�าคัญมากส�าหรับคนที่จะเป็น ช่างภาพแต่งงานมืออาชีพ THE PICTURE :

รู ป นี้ ถ ่ า ยในงานแต่ ง งานคู ่ รั ก เกย์ คู ่ ห นึ่ ง ที่ โคโลราโด ตอนนัน้ ก�าลังท�าพิธอี ยูก่ ลางแจ้ง แล้วอยูๆ่ ลมก็มา ฝนก็ตก และที่แย่ไปกว่านั้นคือมีลูกเห็บ ตกด้วย ทุกคนในงานก็แตกฮือหนีลกู เห็บกันใหญ่ ตอนนัน้ เราคิดว่าอารมณ์นนี้ า่ สนใจ น่าจะเก็บภาพ นาทีนี้ไว้ ก็เลยขึ้นไปยืนบนหิน แล้วก็กดชัตเตอร์ รัวๆ ถ่ายอยู่สักพักจนกล้องเปียกแล้วรวนไปเลย สุดท้ายก็ต้องเอากล้องตัวนี้ไปผึ่งกับไฟ สุดท้าย กล้องก็ใช้ได้ พอเอารูปให้ลูกค้าดูเขาก็ชอบรูปนี้ มาก เพราะมันเป็นเหตุการณ์ทอี่ ยูใ่ นความทรงจ�า ต่อมารูปนี้ก็ได้รางวัล Fearless Awards ซึ่งเป็น องค์กรทีร่ วมเอาช่างภาพระดับต้นๆ ของโลก เพือ่ จัดเวิรก์ ช็อป หรือจัดอันดับภาพทีน่ า่ สนใจในปีนนั้ และภาพถ่ายนี้ก็ได้รับเลือกเป็นภาพยอดเยี่ยม เมือ่ กลางปี 2015 ซึง่ เราก็ดใี จมากทีภ่ าพได้รางวัล แต่ เ หนื อ สิ่ ง อื่ น ใด รางวั ล ก็ คื อ ผลตอบแทน ของความตั้งใจ ความสุขของการเป็นช่างภาพ งานแต่งงานคือการได้เก็บวินาทีแห่งความสุข ของผู้คนเอาไว้ เจ้าของภาพเอากลับมาดูแล้ว มีความสุข นั่นคือรางวัลที่ยิ่งใหญ่ของเรา


THE STARTING POINT :

แรกเริม่ เดิมทีผมไม่ได้จบถ่ายภาพ ผมจบครู สาขาสอนศิลปะ แต่ชอบถ่ายภาพ เมื่อก่อน การถ่ า ยรู ป จะใช้ ก ล้ อ งฟิ ล ์ ม เราอยากฝึ ก อยากเก่ง เราก็ยอมถ่ายฟรี แค่คณ ุ ซือ้ ฟิล์มมา ให้เรา แล้วเอาไปล้างเอง ต่อมาก็ไปฝึกงาน บ้านอยูพ่ ทุ ธมณฑล ไปฝึกงานบางนา เพือ่ จะได้ ไปถ่ายรูปในสตูดิโอ ได้เงินบ้างไม่ได้เงินบ้าง พอฝึ ก งานเสร็จ ก็ ไ ด้ ไ ปท� า งานด้ า นจิว เวลรี โดยทีเ่ ราก็รบั จ๊อบถ่ายรูปไปเรือ่ ยๆ พอหัวหน้า รูว้ า่ เราถ่ายรูปเป็น ก็จา้ งคนมาสอนถ่ายจิวเวลรี ให้เรา ท�าสตูดิโอให้เรา อยู่ได้ 2 ปี เราก็เบื่อ เพราะเราอยูแ่ ค่ในสตูดโิ อ ก็เลยออก ระหว่างออก ก็มีเพื่อนที่ท�างานหนังสือพิมพ์ชวนว่ามาถ่าย ภาพข่าวไหม ซึ่งตอนนั้นหนังสือพิมพ์ไทย ฉบับหนึง่ เปิดรับ เราก็ออกจากงานเก่าเงินเดือน 2-3 หมืน่ ออกมารับเงินเดือนไม่ถงึ หมืน่ เพราะ อยากท�ามาก ก็อยู่อย่างนั้น เรียนรู้มา พอมา วันหนึ่งมีพี่ที่ epa มาชวนไปท�างานแทนเขา ตอนแรกเราก็ ไ ม่ ก ล้ า ไหนจะเรื่ อ งภาษา ไหนจะความรับผิดชอบ ชวน 2-3 รอบ เราก็ ยังไม่ตกลง จนพีเ่ ขาจะออกจากงานทีเ่ ดิมแล้ว ต้ อ งหาคนไปแทนให้ ไ ด้ เราก็ เ ลยลองดู แรกๆ ก็เครียดเหมือนกัน แต่ก็ผ่านมาได้ EXPERIENCED EYE :

การถ่ า ยภาพข่ า วมั น ขึ้ น อยู ่ กั บ มุ ม มอง คุณต้องอ่านข่าวเยอะๆ แล้วตีความ คุณถึงจะ คิดได้ว่าภาพที่ควรจะใช้มันจะเป็นภาพอะไร ถามว่ า ยากไหมในการเข้ า มาท� า งานข่ า ว จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็งา่ ย ทุกอย่างก็ขนึ้ อยู่ กับความรับผิดชอบ ถึงแม้คุณถ่ายรูปเป็น แต่มนั ต้องอยูบ่ นพืน้ ฐานของความรับผิดชอบ ด้วยว่าคุณน�าเสนออะไร อย่างแรกเลยก็คือ ต้องรูก้ อ่ นว่าจะไปงานอะไร มีคา� สัง่ เฉพาะไหม ว่าต้องไปถ่ายอะไร ถ้าไม่มีก็คิดให้ได้ก่อนว่า เราจะถ่ายอะไร แล้วก็ไปดูสถานที่ ไปดูคน ดูก�าหนดการ แล้วก็ต้องไปให้เร็ว อยู่ให้นาน ดูรายละเอียดต่างๆ ให้เยอะ ถ้าไม่มหี มายงาน ก็ต้องสแตนด์บายเตรียมตัวให้พร้อมตลอด เวลา เพราะการท�า งานส�า นั ก ข่ า วคื อ ต้ อ ง รับผิดชอบ 24 ชั่วโมง ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นคุณก็ ต้องพร้อม อย่างล่าสุดที่มีการจับมือระเบิด ราชประสงค์ ผมก็กา� ลังพาครอบครัวไปกินข้าว ภรรยาผมขับรถไม่เป็น ก็ต้องส่งเขาขึ้นแท็กซี่ แล้วค่อยขับรถไปท�าข่าว THE PICTURE :

การท�างานถ่ายรูปที่จ�าได้ไม่ลืมของผม คงไม่ พ ้ น เหตุ ก ารณ์ ป ระท้ ว งในแต่ ล ะครั้ ง ผมผูกพันกับการประท้วงมานานมาก เพราะ ว่าเริ่มแรกที่มีประท้วง ผมก�าลังจะแต่งงาน แฟนผมลองชุดแต่งงานอยู ่ ผมต้องมาถ่ายงาน ระหว่างแต่งงานก็มปี ระท้วงอีก ก็ลนุ้ ว่าจะมีมอ็ บ ออกมาไหม แล้วพอหลังจากนั้นผมเริ่มมีลูก ก็มีความรับผิดชอบมากขึ้น ลูกก็จะคอยโทร. มาหาว่า พ่อระวังตัวนะ อันตรายมันเจออยูแ่ ล้ว เราต้ อ งรู ้ แ ละปรั บ ตั ว โดยใช้ สั ญ ชาตญาณ แต่ รู ป ที่ ใ ห้ เ ลื อ กมาส่ ว นใหญ่ จ ะสะท้ อ นถึ ง ธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมถึง ภาพเวียนเทียนที่พุทธมณฑลที่ผมได้รับเลือก เป็น Pictures of the Week ของ TIME ที่เขา คัดเลือกภาพจากทั่วโลกเลย

NARONG SANGNAK เรื่อง : วสิตา กิจปรีชา ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

ช่างภาพข่าวประจ�าส�านักข่าวระดับโลก น่าจะเป็นจุดสูงสุดในวิชาชีพดังที่ ณรงค์ แสงนาค ช่างภาพประจ�าส�านักข่าว european pressphoto agency (epa) บอกกับเราระหว่างให้สัมภาษณ์ในวันที่เขาไม่มีงานส�าคัญให้ต้องไปเก็บภาพ ซึ่งชายไทยรูปร่างไม่สูงใหญ่ที่ท�างานร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับช่างภาพข่าวจากทั่วโลกคนนี้ มีเส้นทางการท�างานอย่างไรถึงได้มายืนอยู่ในจุดที่หลายคนใฝ่ฝัน และการท�างานเพื่อให้ ได้ภาพข่าวที่ดีนั้นต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง


LEK KIATSIRIKAJORN เรื่อง : วรรณวนัช ท้วมสมบูรณ์ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

เล็ก เกียรติศิริขจร เป็นที่รู้จักในฐานะช่างภาพโฆษณาฝีมือดี แต่เขากลับหลงใหลในเสน่ห์ของ Documentary Photography หรือภาพถ่ายเชิงสารคดี ซึ่งเป็นงานที่อาจจะดูไม่หวือหวานักเมื่อแรกเห็น แต่เมื่อเวลาผ่านไป ภาพถ่ายจะกลายเป็นบันทึก ประวัติศาสตร์ที่สะท้อนทั้งเหตุการณ์ในภาพและมุมมองของผู้ถ่ายไว้พร้อมกัน

THE STARTING POINT :

EXPERIENCED EYE :

สมัยเรียนคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนปี 2 ผมไปรับจ๊อบในสตูดโิ อของรุ่นพีเ่ พือ่ เก็บ เงินซือ้ กล้อง เอามาถ่ายงานศิลปะของตัวเองนีแ่ หละ แล้วก็ถ่ายรูปมาเรื่อยๆ หลังเรียนจบคิดว่าจะขอ เงินพ่อไปเปิดร้านเหล้ากับเพื่อน แต่พี่สาวบอกว่า ไม่นา่ รอด ให้เอาเงินไปเรียนต่อเถอะ ก็เลยตัดสินใจ ไปเรียนทีอ่ งั กฤษ เลือกถ่ายภาพทัง้ ทีย่ งั ไม่รจู้ กั มัน เท่าไหร่ แค่รู้สึกว่าอยากให้คนเห็นงานเราเยอะๆ (หัวเราะ) เพราะตอนนั้นวงการศิลปะบ้านเรา ยังเล็กมาก แต่ภาพถ่ายมันปรากฏอยู่ทุกที่ไง ก็เลยคิดว่าอันนี้แหละ

ระหว่างเรียนที ่ The Art Institute of Bournemouth (ปัจจุบันคือ Art University Bournemouth) ก็ไป ฝึกงานทีส่ ตูดโิ อกับพีค่ นไทยคนหนึง่ แล้วก็รอ่ นพอร์ตฯ ขอฝึกงานกับช่างภาพ ส่งไปเป็นร้อยมัง้ ตอบกลับมา 2 ที่ แต่ถือว่าโชคดีมาก เพราะคนที่ตอบกลับมา คือ Mariano Vivanco ซึง่ ท�างานให้แมกกาซีนหัวใหญ่ๆ หลายเล่ม ท�าอยู่ 2 ปี ได้เรียนรู้เยอะมาก อย่าง การต่อรองกับโมเดลลิงเรื่องนางแบบ เพราะเรา เป็นสไตล์คนเอเชีย ขี้เกรงใจ แต่พอไปอยู่ตรงนั้น ก็ต้องดุดันขึ้น กล้าตัดสินใจ ฝึกไปได้สักพักผู้ช่วย ช่างภาพของเขาลาออก ก็เลยได้งาน แต่พอนานเข้า ก็รสู้ กึ ว่าเรามีขอ้ จ�ากัดเรือ่ งวีซา่ ท�างานค่อนข้างมาก อย่างเวลาไปถ่ายแฟชัน่ ทีม่ ลิ านหรือปารีสเราก็ไป ไม่ได้ เพราะวีซ่าท�างานได้แค่ในอังกฤษ ก็เลย ตั ด สิ น ใจว่ า กลั บ มาท� า งานที่ เ มื อ งไทยดี ก ว่ า แล้วก็กลับมาเริ่มอาชีพช่างภาพอิสระที่เมืองไทย รั บ งานคอมเมอร์ เ ชี ย ลเป็ น หลั ก เพื่ อ หาเงิ น มา ท�างาน Documentary Project ส่วนตัวของตัวเอง ซึ่งแรงบันดาลใจของผมไม่ใช่อะไรใหญ่โตเลย แค่ รู ้ สึ ก ว่ า อยากเป็ น คนหนึ่ ง ที่ บั น ทึ ก ภาพสิ่ ง ที่ เกิดขึ้นในยุคสมัยของตัวเองเอาไว้เท่านั้น THE PICTURE :

มีภณ ั ฑารักษ์จากฝรัง่ เศสเห็นงานชุด As Time Goes By ของผมที่แสดงอยู่ที่สิงคโปร์ เลยติดต่อ มาขอให้ ไ ปแสดงที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ Quai Branly หลังจากนัน้ ได้รวู้ า่ ทางพิพธิ ภัณฑ์มที นุ ให้ชา่ งภาพ ก็เลยส่งงานชุด Lost in Paradise ซึ่งเพิ่งท�าได้ 30% ไปให้เขาดูวา่ เราก�าลังท�าโปรเจ็กต์น ี้ เกีย่ วกับ วิถชี วี ติ แบบคนต่างจังหวัดซึง่ เกิดขึน้ ในพืน้ ทีร่ กร้าง ของเมื อ ง ในยุ ค ที่ รั ฐ บาลตั ด สิ น ใจจะพั ฒ นา ประเทศให้เป็น NICs แต่ขาดการจัดการทีด่ ี ท�าให้ เกิดพื้นที่รกร้างกลายเป็นป่าเล็กๆ ขึ้นกลางเมือง แล้วคนต่างจังหวัดทีอ่ พยพเข้ามาหางานท�าในเมือง เขาก็จะเข้าไปเก็บผัก ตกปลา ซึ่งมันเป็นความรู้ สัญชาตญาณ และวิถีการด�ารงชีวิตแบบคนใน สังคมเกษตรกรรมซึง่ คนเมืองไม่ม ี และมันสะท้อน ภาพรวมของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับชาติ และบุคคล ก็ได้เป็นหนึ่งในสามคนจากทั่วโลก ที่ได้รับทุนมา แล้วงานเราก็จะกลายเป็นหนึ่งใน คอลเล็กชันถาวรของทางพิพิธภัณฑ์

9


CALENDAR FRI

MON

25

ROBOTICLISM FROM UNCONSCIOUS MIND ART EXHIBITION CHARITY นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘การแสดงผลงานจิตรกรรม เพื่อการกุศลจักรกลศิลป์ จากจิตไร้สา� นึก’ โดย นชภัช จาตุ ร งค์ ค กุ ล ศิ ล ปิ น ได้ ถ่ายทอดผลงานศิลปะผ่าน กระบวนการสร้างสรรค์ของ งานทัศนศิลป์ที่เป็นภาษา การสือ่ สาร ซึง่ แสดงออกถึง อัตลักษณ์ของแต่ละบุคคล อันบริสทุ ธิท์ สี่ ดุ นัน้ วันนีถ้ งึ 2 กุมภาพันธ์ 2559 ณ หอศิลป์ จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-3709

TUE

26

WHO AM I - KEIN SYSTEM IST SICHER เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เยอรมันเรื่อง ‘Who Am I - Kein System ist sicher’ เบนจามิน ชายหนุม่ ผูซ้ อ่ นตัว ลึกอยู่ในโลกเสมือนด้วย การเป็นแฮกเกอร์ เขาได้รจู้ กั มั ก ซ์ ผู ้ ซึ่ ง มี ค วามคิ ด คล้ายๆ กัน ทัง้ สองได้กอ่ ตัง้ กลุ ่ ม แฮกเกอร์ขึ้นร่วมกับ เพือ่ นสนิทของมักซ์ สเตฟาน และพอล โดยใช้ชอื่ กลุม่ ว่า ‘CLAY’ ที่ ย ่ อ มาจาก Clowns Laughing @ You ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.30 น. ณ สถาบั น เกอเธ่ โทร. 0-2108-8231

WED

27

UN AMOUR DE JEUNESSE เชิ ญ ชมภาพยนตร์ เรื่ อ ง ‘Un Amour de Jeunesse’ กามีวัย 15 ปี มี ค วามรั ก ที่ ลุ ่ ม หลงกั บ ซูลิแวง แต่เขาหายตัวไป หลั ง วั น หยุ ด ช่ ว งฤดู ร ้ อ น หมดลง จากนั้นเธอก็กลับ ไปเรียนหนังสือ มีชีวิตที่ เลือกได้ดังใจหวัง แปดปี หลังจากนั้น เธอได้พบกับ ซูลิแวงอีกครั้ง หากแต่เมื่อ เวลาเปลี่ ย น ความรั ก ก็จดื จาง ชมฟรี วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ สมาคม ฝรั่ ง เศสกรุ ง เทพ โทร. 0-2670-4231

THU

22

SAT

23

SUN

24

28

PLEASE DO NOT LEAVE ME นิ ท ร ร ศ ก า ร ศิ ล ป ะ ‘Please do not leave me’ โดย อ�ามฤทธิ์ ชูสุวรรณ น� า เสนอผลงานศิ ล ปะที่ เกิดจากการพินิจถึงตัวเอง ตัวตน และบริบทรอบข้าง ในการด�าเนินงานทางศิลปะ มาตลอดชี วิ ต โดยน� า ประสบการณ์ ท างศิ ล ปะ ที่ ผ ่ า นมา มาผสานกั บ ความคิดทีเ่ ป็นปัจจุบนั ขณะ วั น นี้ ถึ ง 20 กุ ม ภาพั น ธ์ 2559 ณ ท้ อ งพระโรง หอศิ ล ป์ ม หาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร (วังท่าพระ) โทร. 0-2221-3841 (เว้นวันอาทิตย์)

JA PA N EX PO THAILAND 2016 มหกรรมญีป่ น่ ุ ทีย่ งิ่ ใหญ่ ที่ สุ ด ในประเทศไทยและ เอเชีย ‘Japan Expo Thailand 2016’ ครบรส ทุกรูปแบบ พบกับ AKB48 ศิลปินไอดอล ชื่อดัง มันกันสุดเหวี่ยงกับ SuG วงร็อกชั้นแนวหน้า อิ่ ม อร่ อ ยกั บ โซนอาหาร Taste of Japan กว่า 30 ร้านดังที่บินตรงจากญี่ปุ่น แฟชั่ น โชว์ จ ากสมาคม ผ้ากิโมโน Nishijin-ori ฯลฯ วันนี้ถึง 24 มกราคม 2559 ณ เซ็นทรัลเวิลด์

GRAVITY THAILAND 2016 ก า ร ก ลั บ ม า สู ่ ประเทศไทยอี ก ครั้ ง ของ เวทีหุ่นยนต์แมงมุมยักษ์ สุดตระการตา ในเทศกาล ดนตรีที่ไม่มีเทศกาลไหน เหมือน ‘Gravity Thailand 2016 : Arcadia - The Bangkok Takeover’ พบกับดีเจชือ่ ดัง มากมาย อาทิ DVBBS, Kaskade, Must Die! ฯลฯ วั น นี้ เวลา 17.00 น. ณ ลุ ม พิ นี ส แ ค ว ร ์ ถ.พระรามสี่ จ�าหน่ายบัตร ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์

BUKRUK URBAN ARTS 2016 การกลั บ มาอี ก ครั้ ง ของเทศกาลสตรี ท อาร์ ต ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ในกรุ ง เทพฯ ‘บุ ก รุ ก ’ ที่ ดึ ง ศิ ล ปิ น ไทย เอเชีย และศิลปินฝั่งยุโรป มาปะทะและสร้างสรรค์ งานเพนต์สนุกๆ บนก�าแพง ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ โลเล ทวีศักดิ์ (ไทย), Florence Lucas (ฝรัง่ เศส), Motomichi Nakamura (ญี่ปุ่น) ฯลฯ วันนี้ถึง 31 มกราคม 2559 ทั่ ว พื้ น ที่ ส าธารณะและ แกลเลอรี ริ ม ฝั ่ ง แม่ น�้ า เจ้าพระยา

ลดทันที 20%

เมื่อสั่งซื้อดอกไม้วาเลนไทน์กับเมลโรส ในราคาตั้งแต่ 1,500 บาท ขึ้นไป และชำาระเงินสดก่อน 31 มกราคมนี้

Valentine’s promotion 20%

www.flowerbymelrose.net หรือโทร.สั่งซื้อได้ทุกสาขา MELROSE @ LA VILLA

02 619 0477-8 / 081 499 0633

MELROSE @ ERAWAN BANGKOK 02 250 7725-6

MELROSE @ ALL SEASONS PLACE 02 654 0220 / 086 770 8600

MELROSE @ EKAMAI

02 714 4232 / 089 493 2552


MAKE A DISH

Thai Spicy Mackerel Pasta เรื่อง : นภษร ศรีวิลาศ ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

วันนีเ้ ราชวนคุณมาล้มล้างความคิดเดิมๆ ทีว่ า่ เมนูอาหารสุขภาพจะต้องมีรสชาติทจี่ ดื ชืด ไม่มสี สี นั ด้วยการสัง่ เมนู สปาเกตตีเส้นหมึกด�าผัดพริกแห้งกระเทียมปลาทู ์ ทุกเมนูดว้ ยหัวใจ กลิน่ หอมๆ ของปลาทูทอดกรอบและรสชาติ ของร้าน greenmade café ที่ AIA Capital Center ร้านอาหารเพือ่ สุขภาพทีค่ ดั สรรวัตถุดบิ ธรรมชาติ บรรจงเสิรฟ ทีอ่ ร่อยจัดจ้านอาจจะท�าให้คณ ุ เผลอฮัมเพลง ด้วยรักและปลาทู ออกมาจนคนข้างๆ ต้องหันมามอง

Owner วาสินี ตาปัญญา

THAI SPICY MACKEREL PASTA ราคา : 165 บาท

INGREDIENTS ปลาทู / น�า้ มันมะกอก / สปาเกตตีเส้นหมึกด�า / พริกแห้ง / กระเทียม / พริกชีฟ ้ า้ แดง / เกลือ / ใบโหระพา / พริกไทย

Owner's Inspiration

เป็นเมนูที่เกิดจากการให้โจทย์กับน้องๆ ในทีมลองใช้ปลาทูกับเมนู สปาเกตตีผัดพริกแห้งกระเทียมแอนโชวีของฝรั่ง เส้นโฮมเมดสปาเกตตี ทีท่ า� จากหมึกด�าเกิดจากการลองท�าแล้วพบว่าเข้ากันดีกว่าเส้นทีท่ า� จาก ไข่ปกติ เพิ่มความเป็นไทยลงไปด้วยใบโหระพาและพริกชี้ฟ้า ปลาทูสด เราน�ามาจากแหล่งทีช่ าวบ้านต้มเอง ลูกค้าจะได้รสปลาทูเต็มค�าทัง้ จาก เนื้อปลาที่ผัดพร้อมเส้นและจากชิ้นปลาทูชุบไข่ทอดกรอบ

TIPS เคล็ดลับอยูท่ กี่ ารใช้ไฟแรงๆ ในการผั ด ปลาทู เ พื่ อ กลบ กลิ่นคาว และนอกจากจะท�าให้ รสชาติ เ ข้ า เส้ น แล้ ว ยั ง ช่ ว ย เคลือบเส้นจนได้เส้นสปาเกตตี เงาวาวน่ารับประทาน


SUPERMARKET

Strong Strong Strong! อาหารกลิ่นแรงมีให้พบเจอทุกวัฒนธรรม แต่กลิ่นที่ว่าแรงนั้น บางคนก็ว่าเหม็นสุดจะทน แต่บางคนก็ว่าหอมน่ากิน ใครอยากเปิดใจลองของแปลกใหม่ ลองปิดจมูก แล้วเปิดใจให้กับอาหารกลิ่นสตรอง! เหล่านี้ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้เมนูโปรดประจ�าตัวใหม่ก็ ได้

Durian Fermented Fish

Chinese Chives

GARLIC

Bitter Bean Acacia Acacia Pennata Pennata


KIMCHI Fermented Bean Curd

NATTO

CHEESE

Salted Mackerel Fish

MARMITE

Fermented Fish ปลาร้า อาหารทีเ่ ราคุน้ เคยกันดี โดยเฉพาะในแถบ ภาคอี ส านที่ น� า ปลาน�้ า จื ด มาหมั ก เกลื อ จนได้ ปลาร้าเอาไว้ใช้ปรุงรส และท�าอาหารต่างๆ ซึง่ เมือ่ เอ่ยถึงอาหารทีม่ กี ลิน่ แรง เราก็คงจะนึกถึงปลาร้า เป็นอันดับต้นๆ โดยเฉพาะส้มต�าปลาร้าทีห่ ลายคน ติดใจถึงขั้นขาดไม่ได้เลยทีเดียว Acacia Pennata ชะอม ผักสีเขียวกลิน่ แรง นิยมน�ามาใส่ในไข่เจียว บ้างก็เอาไปผัด ใส่ในแกงอ่อม แกงเลียง ใครทีบ่ า้ น มีพื้นที่ ลองปลูกชะอมเอาไว้ พอได้ที่ก็เด็ดยอด มาท�ากับข้าว รับรองว่าภูมิใจกว่าแน่นอน Bitter Bean สะตอ สัญลักษณ์ของอาหารใต้ที่หลายคนนึกถึง กลิ่นที่แรงของมัน เมนูที่นิยมส่วนใหญ่ก็จะเป็น สะตอผัดกุง้ ใส่กะปิ ทานคูก่ บั น�า้ พริก หรือน�าไปดอง แล้วเอามาทานกับขนมจีน แกง ย�าต่างๆ Cheese ชีส หนึ่งในอาหารกลิ่นแรงขึ้นชื่อของยุโรปที่มี มากมายหลายชนิดตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งจุดร่วม อย่างหนึง่ ของชีสก็คอื กลิน่ ทีเ่ กิดจากการหมักบ่มนม จนกลายเป็นชีส Chinese Chives กุยช่าย ใครที่ถอื ศีลกินเจ ก็น่าจะทราบว่ากุยช่าย เป็ น หนึ่ ง ในผั ก ที่ ห ้ า มน� า มาปรุ ง เป็ น อาหารเจ เนื่องจากมีกลิ่นฉุน แต่ตามปกติแล้วเราก็อาจจะ ไม่ค่อยได้ทานกุยช่ายบ่อยนัก โดยจะมีเมนูที่ใช้ กุยช่ายก็อย่างเช่น ขนมกุยช่าย กุยช่ายผัดตับ Durian ทุเรียน เจ้าของฉายาราชาแห่งผลไม้ ซึ่งสิ่งหนึ่ง ที่ เ ด่ น มากๆ ของทุ เ รี ย นก็ คื อ กลิ่ น ที่ ช าวไทย อย่างเราคุน้ ชินกันเป็นอย่างดี แต่สา� หรับชาวต่างชาติ ทุเรียนก็คืออาวุธท�าลายล้างดีๆ นี่เอง Fermented Bean Curd เต้าหู้ยี้ อาหารเหม็นๆ ทางฝั่งจีน ท�าจากเต้าหู้ น�ามาหมัก สามารถน�ามาปรุงอาหาร หรือบางคน ก็กนิ เปล่าๆ กับข้าวต้ม แต่ทคี่ นุ้ เคยสุดก็นา่ จะเป็น วัตถุดิบท�าเย็นตาโฟ และน�้าจิ้มสุกี้นั่นเอง Garlic กระเที ย ม พื ช ที่ เ ราใช้ หั ว ของมั น มาท� า อาหาร โดยน�าความเผ็ดและฉุนของมันมาดับคาวจาก เนื้อสัตว์ ทานสดๆ เป็นเครื่องเคียง หรือแม้แต่ น�าไปสกัดท�ายาสมุนไพร Kimchi กิมจิ ผักดองสไตล์เกาหลีทคี่ นไทยเราคุน้ เคยกันดี ซึ่งใครที่เคยซื้อกิมจิมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ล่ะก็ เวลาเปิดถุงมาก็คงจะได้กลิ่นตลบอบอวล แต่ผักกรอบๆ รสเผ็ดๆ พวกนี้ก็อร่อยจนเราเผลอ กินหมดไม่รู้ตัว Marmite มาร์ไมต์ หรือยีสต์หมัก ซึ่งชื่อมาร์ไมต์นั้นเป็น เครื่องหมายการค้าที่หลายคนคุ้นเคย โดยเฉพาะ ทางฝัง่ อังกฤษทีน่ ยิ มน�ามาทาขนมปัง หรือใช้บริโภค แบบอืน่ ๆ ซึง่ เจ้ามาร์ไมต์นนั้ ขึน้ ชือ่ เรือ่ งกลิน่ มากๆ จึงมีทั้งคนที่รักและเกลียดแบบสุดๆ Natto นัตโตะ หรือถั่วเน่า อาหารดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น เป็ น การน�า ถั่ว เหลือ งมาหมัก กับ เชื้อ แบคทีเ รีย ใส่ ไ ว้ ใ นฟาง เมื่ อ หมั ก ได้ ที่ ก็ จ ะได้ ถั่ ว เน่ า ที่ มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งกลิ่น และยางเหนียวๆ Salted Mackerel Fish ปลาอินทรีเค็ม ปลาเค็มรูปทรงก�าลังดี น�าไปทอด ในน�า้ มันร้อนๆ อือ้ หือ กลิน่ โชยไปสามบ้านแปดบ้าน ซึ่งคนที่ชอบก็ว่าหอม ยิ่งได้ทานกับข้าวต้มร้อนๆ ซอยพริก หอม บีบมะนาวใส่ แต่คนที่ไม่คุ้นเคย ก็คงอยากจะวิง่ หนีไปให้ไกล โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ที่ไม่คุ้นเคยกับปลาเค็มบ้านเรา


HOME MADE

Let’s Play and Have Fun เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ, วัลญา นิ่มนวลศรี ภาพ : มณีนุช บุญเรือง

เวลาผ่านไปนานกว่า 6 ปี หลังจากทีเ่ รามีโอกาสได้ไปเยีย่ มเยือนบ้านของ ‘โอ่ง’ - กงพัฒน์ ศักดาพิทกั ษ์ ศิลปินสุดเก๋า ซึง่ แน่นอนว่าอะไรหลายๆ อย่างก็ ได้เปลีย่ นแปลงไป ตามกฎของกาลเวลา ท�าให้การกลับมาพบกันในครั้งนี้นอกจากจะได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ภายในบ้านเท่ๆ หลังนี้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ยังคงเหมือนเดิมอยู่เสมอก็คือ รอยยิ้มที่อบอุ่น ของผู้ชายคนนี้ และแง่คิดในการตกแต่งบ้านที่จัดจ้านไม่แพ้ผลงานของเจ้าตัวแม้แต่น้อย

“บ้านที่ให้เราเล่นสนุกกับมันได้เสมอ”


พบกับ a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ุงเทพฯ ได้แล้ววันนี้ที่สตาร์บัคส์ 40 สาขาทั่วกร

เหตุผลที่เลือกบ้านหลังนี้ “ผมซื้อไว้ราวๆ 7 ปี ที่แล้ว ซื้อพร้อมกับเพื่อนอีกคน อยู่คนละฝั่งกัน บ้านหลังนี้เป็นทาวน์เฮาส์ 4 ชั้น ซึ่งตอนนั้นยัง ไม่แพงมาก และอยูใ่ กล้ทที่ า� งาน ตัวบ้านก็ทรุดโทรม ไปบ้างตามเวลา ผมก็จัดการเอาตามที่ตัวเอง สะดวก อย่ า งบั น ได ถ้ า แผ่ น ไม้ แ ตกก็ เ อา สติก๊ เกอร์แปะทับ หรือปลวกกินก็เอาสติก๊ เกอร์ตดิ วันไหนปลวกกินหมดบ้านก็จะได้รีโนเวตไปเลย ทีเดียว (หัวเราะ) ส่วนด้านหน้าซอยก็มรี า้ นขายของช�าของเจ๊อังอยู่ ผมไปนั่งคุยกับแกประจ�า ทีช่ อบย่านอารียเ์ พราะเรายังเจอกับร้านขายของช�า ได้ ส่วนที่เป็นโรงจอดรถผมก็ใช้เป็นที่วาดรูป หรือปูเสื่อนอนเล่นตอนกลางวันเพลินๆ” การตกแต่งบ้านแต่ละครั้ง “ผมใช้เฟอร์นิเจอร์ ลอยตัว เพราะเราจะขยับไปมาได้ ตรงไหนทีเ่ คย อยู่แล้วรู้สึกว่าไม่ลงตัว หรือท�าให้ห้องแคบไป ก็ยา้ ยได้ ห้องครัวทีช่ นั้ 2 มีตไู้ ม้ตงั้ อยู่ เวลาเพือ่ นๆ มากินข้าวทีบ่ า้ นแล้วพืน้ ทีไ่ ม่พอ เราก็ขยับมาไว้ ตรงกลาง ก็ได้พนื้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ หรือชัน้ วางของทีเ่ คย บังทิศทางของแสง เราไม่ชอบก็เลื่อนมาวาง อีกด้านได้ แล้วค่อยๆ จัดองค์ประกอบ สี สิง่ ของ ให้อยู่ด้วยกัน” วิธีเลือกของแต่งบ้านแต่ละชิ้น “ผมจะซื้อของ ในราคาทีเ่ ราซือ้ ได้ ถ้าของชิน้ นัน้ แพงเกินไปก็รอ ตอนช่วงลดราคา เพราะอย่างไรร้านขายเฟอร์นเิ จอร์ ก็ต้องมีช่วงลดราคาประจ�าปีอยู่แล้ว หรือโต๊ะ

บางตัวมีรอยช�ารุดนิดหน่อย หรือมีรอยร้าว รอยบิ่นบ้าง ผมก็ไม่แคร์ เพราะตอนใช้งาน ผมก็ไม่ได้ไปนั่งจ้องตรงจุดที่มันเสียหายอยู่ แล้ว อีกอย่างของแบบนีม้ นั รอกันได้ เรายังอยู่ อีกนาน เหมือนอย่างทีส่ ามีของป้าไอริส (ไอริส แอพเฟล - ดีไซเนอร์ไอคอนวัย 93 ปี) พูดว่า ถ้าของสิง่ นัน้ เป็นของเรา กลับมาอีกครัง้ ตอนบ่าย มันก็ยังอยู่ (หัวเราะ)” ค�าแนะน�าในการตกแต่งบ้าน “อย่าเพิง่ ตัดสินใจ ซือ้ บ้านทีพ่ ร้อมอยู่ เพราะคุณจะท�าอะไรกับบ้าน ไม่ได้เลย บ้านแบบนีไ้ ม่สนุก มันไม่ได้รใู้ จเรา ถ้าอยากแต่งบ้านต้องไม่เลือกบ้านแบบนี้ และดูวา่ จริงๆ แล้วเราชอบอะไร หรือสไตล์ของ เราเป็นอย่างไร จากนั้นก็ลองซื้อของตกแต่ง บ้านมาสักสองสามชิน้ ลองจัดมุมห้องสักมุม ดูก่อน ถ้าจะทาสีก็ลองทาที่ผนังสักด้านหนึ่ง แล้วค่อยเขยิบไปทีละมุม เป็นไปไม่ได้หรอก ทีบ่ า้ นเราจะสวยได้ทกุ มุม แต่เราก็จะต้องได้มมุ ที่เราชอบที่สุดออกมาแน่นอน”

• เพลงที่เปิดฟังเวลาวาดรูป... เพลง

ของวง Everything but the Girl สมัยที่ยังไม่เป็นอิเล็กทรอนิก

• นิ ต ยสารเล่ ม บนสุ ด ที่ อ ยู ่ บ นกอง หนังสือ... Madame Figaro Japan • บ้านหรือรถ... เราควรมีบ้านสวยๆ

ก่อนที่จะมีรถหรูๆ ขับ • ต้นไม้ที่ภูมิใจ... ต้นหูกระจง ผมปลูก ในกระถาง บ้านไม่พังแน่นอน (ยิ้ม)

• เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 • เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 3 • สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 • เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A • Big C เอกมัย • เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ • เอ็มโพเรียม มอลล์ ชั้น 5 • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส • ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซ.11 และ 13) • มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ ซ.4 • เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น G • ออล ซีซัน เพลส • อาคารอือ้ จือเหลียง ชัน้ G • หลังสวน • สีลมคอมเพล็กซ์ • ไทมส์ สแควร์ ซ.สุขมุ วิท 12 • ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า ชั้น 1 • จามจุรีสแควร์ • The 19th. ชิดลม • อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ • IDEO พญาไท • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ ชั้น 1 • โรงพยาบาลบ�ารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 • โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 • โรงพยาบาลกรุงเทพ ชั้น 1 • โรงพยาบาลรามาธิบดี • โรงพยาบาลพระราม 9 •The Crystal • CDC • RCA • นวมินทร์ซิตี้อเวนิว • นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ • The Nine Center • Terminal 21 • The Walk เกษตร-นวมินทร์ • The Promenade • The Scene ทาวน์อินทาวน์

ailand • SOHO Th ง อ ื ถนนบ�ารุงเม n ถนนจนั ทน์ • Vanilla Mooare 1 • Siam Squ ามย่าน • I’m Park ส Mall วัชรพล • Plearnary ังหิน • The JAS ว • ท่ามหาราช าวเวอร์ • อาคารซันท ุลราฮิมเพลส • อาคารอับด รทาวเวอร์ • อาคารสินธลพญาไท 2 • โรงพยาบา r • EmQuartieรซิตี้ทาวเวอร์ • อาคารสาธ River Walk • Yodpiman ระราม 9 • U-Place พ


THE 5IVE

Ways of Inspiration เรื่อง : ไอรดา รื่นภิรมย์ ใจ

เมื่อย้อนกลับไปนึกถึงเรื่องราวในวัยเด็ก จะพบว่าเราต่างมีความทรงจ�าที่พร่าเลือนหรือยังชัดเจนอยู่บ้างในแต่ละเรื่อง แต่เชื่อแน่นอนว่าความประทับใจต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมานั้น ได้หล่อหลอมให้กลายเป็นตัวของเราในวันนี้ เหมือนกับเส้นทางชีวิตของ ‘บาส’ - นัฐวุฒิ พูนพิริยะ ผู้ก�ากับรุ่นใหม่ที่หลงรักภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็ก แต่เขาเองก็ยังไม่ทิ้งแรงบันดาลใจอื่นๆ ในชีวิตอย่างเพลงและหนังสือ ที่คอยช่วยขยายโลกของเขาให้กว้างขึ้นกว่าเดิม 01 AnnIe Hall “หนังเรื่องนี้ถือเป็นหนังในดวงใจอีกเรื่องหนึ่ง เป็นหนัง ที่ผมดูไม่ต�่ากว่า 10 รอบ แล้วทุกรอบที่ดูเราก็รู้สึกว่ามีอะไร ตกหล่นไปสักอย่างที่เรายังไม่ได้เก็บเกี่ยวมัน เรารู้สึกว่า หนั ง เรื่ อ งนี้ ไ ม่ มี วั น เชย และสะท้ อ นให้ เ ห็ น มุ ม มอง บางอย่างในการใช้ชีวิต ทุกวันนี้ผมก็มีสภาพไม่ต่างจาก ตั ว ละครในเรื่ อ งนี้ เ ท่ า ไหร่ ล้ ม เหลวในชี วิ ต รั ก แต่ ผ ม พยายามที่จะโอเคกับมัน เรามองเหตุการณ์เหล่านั้นเป็น เรื่องตลก เพราะในท้ายที่สุด คนเราก็ต้องก้าวต่อไป” 02 Lost in Translation “ผมไปได้ดวี ดี หี นังเรือ่ งนีเ้ วอร์ชนั ญีป่ นุ่ มาจากร้านมือสอง แห่ ง หนึ่ ง ตอนไปญี่ ปุ ่ น ตอนที่ ไ ด้ ม าคื อ กรี๊ ด ลั่ น ร้ า นเลย เพราะผมชอบหนังเรื่อ งนี้อ ยู ่ แ ล้ ว และยิ่งได้ แ พ็ก เกจจิ้ง หน้าปกที่เป็นแบบญี่ปุ่น ผมก็หยิบมาจ่ายเงินแบบไม่ต้อง คิดเลย ดีวีดีแผ่นนี้เลยถือเป็นแผ่นที่ผมรักที่สุด ในเรื่อง ของหนัง มันเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่สามารถสร้างบรรยากาศ ให้ รู ้ สึ ก ได้ เพราะจริ ง ๆ แล้ ว เนื้ อ เรื่ อ งมั น เบาบางมาก มั น เป็ น โมเมนต์ ข องคนสองคนที่ ใ ช้ เ วลาด้ ว ยกั น เป็นโลกที่เขาสร้างขึ้นมา มันมีความรู้สึก มีตัวละครที่ผม รู้สึกว่ามันพิเศษ” "Nobody ever tells you that." Lost in Translation

“เขาไม่แน่ใจในเรื่องของความรัก ความงาม และชีวิต จึงจัดอันดับ ท็อปไฟฟ์ของของการเลิกราอันเจ็บปวดสุดเพื่อทบทวนตัวเอง” รักตกร่อง

รั ก ตกร่ อ ง โดย นิ ก ฮอร์นบี 04

“หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ล่ า เรื่ อ งของ ผู ้ ช ายวั ย สามสิ บ กว่ า หนุ ่ ม โสด เ จ ้ า ข อ ง ร ้ า น ข า ย แ ผ ่ น เ สี ย ง ผู้คลั่งไคล้ดนตรี และอัลบั้มเพลง ที่คนสะสมสามารถบอกตัวตนของ ผู้เป็นเจ้าของได้ ซึ่งตัวเขาเองเป็น คนที่ล้มเหลวในชีวิต แล้วเขาก็เริ่ม ออกตามหาแฟนเก่า 5 คน เพื่อจะ คุ ย ว่ า ท� า ไมถึ ง เลิ ก กั น และเกิ ด อะไรขึ้ น หลั ง จากนั้ น ซึ่ ง เวลานี้ ท�าให้เขาได้ทบทวนตัวเอง หนังสือ เล่มนี้มันเล่าเรื่องที่อยู่ข้างในจิตใจ ของผู้ชายได้ดีมากๆ คือทั้ง ตลก น่ า สมเพช เศร้ า แต่ ก็ ส วยงาม ในเวลาเดียวกัน”

03 Simon & Garfunkel “ผมเริ่มเล่นแผ่นเสียงตอนไปอยู่ที่นิวยอร์ก ที่นั่นแผ่นเสียงถูกมาก จุดเริ่มต้นเกิดจากวันหนึ่ง ผมเดิ น ไปท� า งานแล้ ว เจอคนเอาถุ ง ขยะไปทิ้ ง หน้าอพาร์ตเมนต์ เราก็เข้าไปรือ้ แล้วเจอแผ่นเสียง 50 กว่าแผ่น ก็เลยเลือกๆ มา หลังจากนั้นเราก็ ซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงแล้วก็หาซื้อมาฟังเยอะขึ้น มัน มีบ รรยากาศ มีมู ้ ด มีค าแร็ก เตอร์ ส ่ ว นตัว ที่ ท� า ให้ มั น พิ เ ศษขึ้ น เหมื อ นกล้ อ งฟิ ล ์ ม ที่ ใ ส่ ฟิลเตอร์บางอย่างที่เราหาไม่ได้ในกล้องดิจิตอล” Recommended Tracks : The Sound of Silence, Homeward Bound และ I Am a Rock 05 Leaving Las Vegas : Original Motion Picture Soundtrack “ผมดูหนังเรือ่ งนีม้ าตัง้ แต่เด็ก Leaving Las Vegas เป็นหนังรักทีโ่ รแมนติก มาก เป็นเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ติดแอลกอฮอล์ ชีวิตล้มเหลว พอได้ เงินค่าจ้างก้อนสุดท้าย เขาก็เลือกที่จะเดินทางไปลาสเวกัสเพื่อกินเหล้า และให้ตัวเองตายที่นั่น แต่ระหว่างนั้นเขาก็เจอโสเภณีคนหนึ่งที่คุยกัน เข้าใจ เพลงประกอบภาพยนตร์ล้วนแต่เป็นเพลงที่ขยี้หัวใจเรามากๆ” Recommended Tracks : Angel Eyes, My One and Only Love และ Come Rain or Come Shine


ดูรายละเอียดหนังสือและชุดโปสการ์ด ของสองสาว ‘กลูต้า’ และ ‘กอลลั่ม’ พร้อมสั่งซื้อออนไลน์ในราคาลดพิเศษ ได้ที่ godaypoets.com

อะบุ๊กขอชวนทุกท่านมาสัมผัส เรื่องราวแสนละมุนชวนอุ่นใจ ของเจ้าหมาจรใต้หอพัก ที่เคยผ่านโรคร้ายมากมาย สู่หมายิ้มได้ที่หลายสื่อยกตำาแหน่งให้ เป็นหมาที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยการดูแลอย่างดีของหนุ่มช่างภาพ และผู้กำากับโฆษณา ที่เชื่อว่า หมาทุกตัวน่ารัก ถ้าเรารักเขาจริงๆ อย่าง สรศาสตร์ วิเศษสินธุ์

IG: POLKADOTPUBLISHING WWW.FACEBOOK.COM /POLKADOTBOOK

Lo ok i n t o m y e y e s& fa l l in r e a d fo r a w h il e

AVAILABLE NOW! ที่ร้านหนังสือชั้นนำาทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อโดยตรงในราคาพิเศษได้ที่ godaypoets.com

หรือโทร 02-716-6900 ต่อ 412


OUT THERE

Vilnius การถูกยึดครอง อาจจะเป็นความทรงจ�าในอดีตที่ไม่สวยงามเท่าไหร่ส�าหรับชาวบอลติก โดยเฉพาะคนลิทัวเนียที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตมาอย่างยาวนาน ภาพของประชาชนยืนคล้องแขนกันต่อต้านก�าลังทหารเพื่อเรียกร้องอิสรภาพ เป็นหนึ่งในภาพประวัติศาสตร์ที่ผู้มาเยือนจะต้องรู้สึกสะเทือนใจ วันนี้เมืองหลวงของลิทัวเนียอย่างวิลนีอุส ไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของใคร เสรีภาพของผู้คนและความสวยงามของบ้านเมือง เป็นหนึ่งในความรู้สึกที่เมืองนี้อยากแบ่งปันผ่านรอยยิ้มให้ผู้มาเยือน


THE CITY FACTS กรุงวิลนีอุส เป็นเมืองหลวงของประเทศลิทัวเนีย โดยตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ มี แ ม่ น�้ า เนริ ส กั บ วิ ล เนี ย ไหลผ่ า น โดยแม่ น�้ า วิ ล เนี ย เป็ น แม่ น�้ า สายส� า คั ญ ของเมื อ ง และเป็นที่มาของชื่อเมือง สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นก็คือสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาได้ อย่างสวยงามและกลมกลืนกับธรรมชาติ ยิ่งในเขตเมืองเก่าย่านจัตุรัสทาวน์ฮอลล์ ซึง่ เป็นทีส่ งั สรรค์ของชาวเมือง เราจะพบบ้านเมืองทีส่ ะอาด สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ดูมีชีวิตชีวาในแบบที่แตกต่างจากเมืองอื่นในเขตบอลติก

หนึ่งในสิ่งที่จะพบมากที่สุดเมื่อไปเยือนเมืองนี้ก็คือโบสถ์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่ทั่วเมือง ไม่วา่ จะเป็นโบสถ์เก่าแก่อายุหลายร้อยปี โบสถ์ขนาดเล็ก โบสถ์ทใี่ ช้ประกอบพิธกี รรมใหญ่ๆ ซึง่ โบสถ์แต่ละแห่งก็มกี ารออกแบบด้วยสไตล์ทแี่ ตกต่างกันไป ไม่วา่ จะเป็นโบสถ์ทมี่ ศี ลิ ปะ แบบโกธิก โบสถ์แบบบาโร้ก โบสถ์สไตล์คลาสสิก เหตุที่มีโบสถ์เยอะเพราะผู้คนที่นี่นับถือ ศาสนาคริสต์หลายนิกาย แต่ก็เป็นการอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งก็ท�าให้เมือง แห่งนี้มีความหลากหลาย และน่าสนใจไม่ใช่น้อย


"Vilnius's bustling cafe culture and medieval heritage are a wonderful match." Adrian Bridge, travel journalist

สถานที่ส�าคัญๆ ในเมืองที่ไม่ควรพลาดคือ มหาวิหาร Basilica ซึ่งเป็นมหาวิหารที่ในอดีต เป็นอาคารไม้ มีอายุตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 14 แต่ภายหลังเมื่อถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต โบสถ์ ไ ม้ ห ลั ง งามได้ ถู ก ท� า ลายลง แต่ ก็ ไ ด้ รั บ การบูรณะขึ้นมาใหม่ โดยน�าเอาเค้าโครงเดิม ที่ พ อจะยั ง เหลื อ อยู ่ เ ป็ น ต้ น แบบ ด้ า นหน้ า มหาวิ ห ารเป็ น ลานกว้ า งที่ ผู ้ ค นจะนั ด พบกั น และมีหอระฆังขนาดใหญ่เป็นจุดเด่น


มหาวิหารทีส่ า� คัญอีกแห่งคือ มหาวิหารแห่งวิลนีอสุ สร้างขึน้ เมือ่ ปี ค.ศ. 1251 และมีการบูรณะครัง้ ใหม่ในปี ค.ศ. 1387 นอกจาก ความสวยงามของโบสถ์สไตล์คลาสสิกทีโ่ ดดเด่นแตกต่างจากทีอ่ นื่ แล้ว ภายในยังมีภาพวาดส�าคัญทีม่ คี วามเก่าแก่ตงั้ แต่ศตวรรษที่ 14 ซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติ ไม่ไกลจากมหาวิหารก็มีปราสาท Gediminas หนึ่งในสิ่งก่อสร้างส�าคัญของเมือง ทีน่ นี่ อกจากจะ สวยงามแล้วยังเป็นจุดชมวิวทีด่ แี ห่งหนึง่ ปราสาทแห่งนีส้ ร้างตัง้ แต่ศตวรรษที่ 13 และผ่านเหตุการณ์ในประวัตศิ าสตร์ส�าคัญของเมือง หลายครั้ง ทั้งไฟไหม้ครั้งใหญ่ สงครามแย่งดินแดน สงครามการค้า แต่ก็ยังคงสภาพที่สมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน

เพราะเป็นเมืองของชาวคริสต์ ที่นี่จึงมีอนุสรณ์สถานส�าคัญ อย่าง The Hill of Three Crosses ทีร่ ะลึกถึงเหตุการณ์สงั หารนักบวช ชาวคริสต์ทั้งเจ็ด ก่อนที่ศาสนาคริสต์จะลงหลักปักฐานที่นี่อย่าง มั่นคง ความพิเศษของเนินแห่งนี้นอกจากจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ในประวัตศิ าสตร์ชาวคริสต์แล้ว ทีน่ ยี่ งั เป็นจุดชมวิวทีด่ ที สี่ ดุ ของเมือง เพราะสามารถมองเห็นเมืองได้แบบ 360 องศาเลยทีเดียว ยั ง มี ส ถานที่ ส� า คั ญ ที่ ค วรไปอี ก หลายแห่ ง ถ้าไม่เร่งรีบ อย่างเช่นหอคอย Gediminas ทีภ่ ายใน หอคอยเป็นพิพธิ ภัณฑ์ทแี่ สดงประวัตคิ วามเป็นมาของ ประเทศลิทวั เนียตัง้ แต่สมัยโบราณ Gediminas Avenue เป็นถนนทีผ่ ค้ ู นจะมาจับจ่ายซือ้ ของกัน เราจะเห็นชีวติ ของผูค้ นเมืองนีไ้ ด้จากทีน่ ี่ และสิง่ หนึง่ ทีค่ วรท�าก็คอื การล่องแม่นา�้ เนริสกับวิลเนีย ซึง่ เป็นเหมือนเส้นเลือด ใหญ่ของเมืองมาตัง้ แต่อดีต วิวสองฝัง่ น�า้ อาจไม่งดงาม อลังการเท่าเมืองอืน่ ๆ แต่สงิ่ ทีจ่ ะได้เห็นคือวิถชี วี ติ ของผูค้ นทีจ่ ริงแท้ รวมถึงร่องรอยของกาลเวลาทีย่ งั คง หลงเหลืออยู่ พาให้หวนจินตนาการย้อนกลับไปถึง เมืองนีใ้ นอดีต ไม่วา่ จะเป็นความสุข ความทุกข์ น�า้ ตา และรอยยิม้ แห่งอิสรภาพทีช่ าวเมืองได้รบั WHAT YOU NEED TO KNOW ประเทศลิทัวเนียไม่มีสถานทูตในไทย ติดต่อขอวีซ่าที่ www.vfsglobal.com การเดินทาง สายการบินแอโรฟลอต www.aeroffllflot.ru สายการบินเตอร์กชิ แอร์ไลน์ www.turkishairlines.com สายการบินฟินแอร์ www.fiffiinnair.com ระยะเวลาในการเดินทางประมาณ 16 ชั่วโมง


THE WORD

จงอ่อนโยนในทุกๆ ยามทีเ่ ป็นไปได้ เพราะมันเป็นไปได้เสมอ

- Dalai Lama -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.