3 Angular Momentum

Page 1

Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-1

3

Angular Momentum

เนื้อหา 3.1 Orbital Angular Momentum และ Spin Angular Momentum 3.2 Commutation 3.3 ⎡⎣ Jˆ x , Jˆ y ⎤⎦ = i Jˆ z 3.4 Commuting Operator 3.5 Eigenvalue ของ Angular Momentum 3.6 สมบัติของ Operator 3.7 Raising และ Lowering Operator 3.8 m และ λ 2 3.9 Jˆ+ j, m และ Jˆ− j, m 3.10 บทสรุป 3.11 ปญหาทายบท ลักษณะการเคลื่อนที่ ที่สําคัญอันหนึ่งในทางฟสิกส ก็คือการหมุน ปริมาณทางฟสิกสที่เราใชในการ อธิบายพฤติกรรมของอนุภาคที่เกี่ยวของกับการหมุนนัน้ เรียกวา angular momentum

ภาพ 3.1 angular momentum เปนคุณสมบัติทางฟสิกสที่แสดงถึงการเคลื่อนที่แบบหมุน ดังในภาพ จะเห็น Shizuka Arakawa กําลังแสดงการหมุนตัวแบบ Donut Spin ในการแขงขัน Figure Ice Skating

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-2

ในกลศาสตรแบบ Newton คํานิยามของ angular momentum อยูในรูปของ L = r × p นั่นก็ หมายความวาขนาดของ angular momentum ขึ้นอยูกับความเร็วเชิงมุมขณะที่กาํ ลังหมุน, มวลของ วัตถุ, และ รัศมีของการหมุน ยกตัวอยางเชน ถามวล 1 kg ที่มีลักษณะเปนทรงกลมซึ่งมีรัศมี 10 cm เมื่อหมุนดวยความเร็วเปน 10 รอบตอวินาที จะมี angular momentum ประมาณ 0.25 Js แตทวาระบบอนุภาคในระดับอะตอม ซึ่งมีมวลขนาดเล็กมาก และเคลื่อนที่อยูแตในวงจํากัดภายใน ระยะทางระหวางอะตอมนัน้ มี angular momentum ที่เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอยางขางตน เปนคาที่ เล็กมาก ยกตัวอยางเชน spin angular momentum ของอิเล็กตรอนที่กลาวในบทที่ 2 มีคาเทากับ

2

หรือ 0.5 ×10−34 Js เมื่อเปรียบเทียบกับ L = 0.25 Js ในกรณีของการหมุนของลูกทรงกลมดังกลาว นอกเหนือไปจากขนาดของ angular momentum ที่เล็กมากๆ พฤติกรรมของ angular momentum ของอนุภาคในระดับอะตอม ยังมีคุณสมบัตอิ ันหนึ่งที่นาทึง่ นั่นก็คือ คาของ angular momentum ไมใชปริมาณที่ตอเนื่อง หากแตมีคาเปนเสมือนกับขั้นบันได ซึ่งในบทที่ 3 นี้ เราจะพยามทําความ เขาใจถึงธรรมชาติของ angular momentum ดวยระเบียบวิธีทาง quantum mechanics

3.1 Orbital Angular Momentum - Spin Angular Momentum สืบเนื่องจากการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ไดกลาวมาแลวใน Section 1.6 อะตอมของ silver ที่มี สมบัติคลายๆกับแทงแมเหล็กขนาดเล็กนั้น สนามแมเหล็กขนาดจิว๋ ของมัน มีผลมาจากอิเล็กตรอนใน ชั้น 5s โดยธรรมชาติแลว เนื่องจากสิ่งที่เราไดเคยศึกษาในวิชาแมเหล็กไฟฟา การที่อนุภาคที่มีประจุ อาทิ เชน อิเล็กตรอนหรือโปรตอนมีการเคลื่อนที่ จะทําใหเกิดกระแสไหล หรือกลาวโดยคราวๆวา ถา อนุภาคมี orbital angular momentum จะทําใหเกิดสนามแมเหล็ก ตามทฤษฏีของ Bio-Savart อยางไรก็ตามในกรณีของอะตอม silver นั้น เราจะดวนสรุปวา สนามแมเหล็กขนาดจิ๋วดังกลาว เกิด มาจากการที่อิเล็กตรอนในชัน้ 5s วิ่งวนเปนวงโคจรรอบๆนิวเคลียสมิได ดวยเหตุทวี่ า จากแบบฝกหัด 1.3 ที่เราไดทบทวน wave function ของอิเล็กตรอน โดยที่เรามักจะใช quantum number (n, l, m) เปนตัวกํากับคุณสมบัติและรูปทรงการกระจายตัวของกลุม หมอก อิเล็กตรอน (electron density) ในชัน้ ระดับพลังงานตางๆ ซึ่งถาหากเราพิจารณาในชัน้ 5s จะพบวา อิเล็กตรอนในชั้นดังกลาวนี้ มี orbital angular quantum number เปนศูนย นั่นก็หมายความวา

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-3

อิเล็กตรอนในชั้น 5s มิไดมีลักษณะของ electron density ที่สอใหเห็นวามันวิ่งเปนวงโคจรรอบแกน ใดแกนหนึ่งแตอยางใด แลวเพราะเหตุใด อิเล็กตรอนในชั้น 5s จึงยังสามารถสรางสนามแมเหล็กขนาดจิว๋ นี้ขนึ้ มาได ? คําตอบก็คือ spin ในทาง quantum mechanics เราจัดให spin อยูในประเภทเดียวกันกับ angular momentum ก็เพราะมันทําใหเกิดสนามแมเหล็กไดเชนเดียวกันกับ orbital angular momentum เพือ่ หลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจจะเกิดขึ้น เรามักจะใชสัญลักษณดังตอไปนี้ L ≡ orbital angular momentum

( เกี่ยวของกับการเคลื่อนที่ ) S ≡ spin angular momentum ( เปนสมบัติเฉพาะตัวของอนุภาค ) ( ไมเฉพาะเจาะจงวาเปน spin หรือ orbital ) J ≡ angular momentum หรือในบางครัง้ เรามักจะเขียนเปนสมการไดวา J = L+S

_________________________ สมการ (3.1)

ซึ่งสมการ (3.1) ดังกลาว ถาเราตีความโยงไปถึงการทดลองของ Stern-Gerlach ก็อาจจะกลาวไดวา โดยทั่วไปแลว angular momentum J ที่ทําใหเกิดสนามแมเหล็กขนาดเล็กๆนั้น สามารถเกิดขึ้นได ดวยปจจัยสองประการคือ 1) L ในกรณีที่อิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่มีลักษณะเปนวงกลมทําใหเกิด กระแสไหล และ 2) S ซึ่งเปนคุณสมบัติเฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ ระยะแรกๆของการศึกษา angular momentum ในบทที่ 3 นี้ เราจะเริ่มดวยการใชสัญลักษณ J หรือ กลาวถึง angular momentum โดยภาพรวม ทั้งนี้ก็เพื่อใหขอบเขตของการนําไปประยุกตใชงานมีความ กวางขวาง จากนั้นเราจึงจะยกตัวอยางทีแ่ คบลงไป และศึกษากรณีของ spin angular momentum ใน โอกาสตอไป

3.2 Commutation สมบัติเชิง angular momentum ในประเด็นแรกที่เราจะศึกษาก็คือวา การนํา operator ที่เกีย่ วของกับ การหมุนเขาไปกระทํากับสถานะของระบบนั้น เราจะสลับลําดับที่ไมได ภาพ 3.2 ชี้แจงประเด็น ดังกลาวนีใ้ หเห็นเปนภาพพจนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

z

3 Angular Momentum

หมุนรอบแกน x

3-4

หมุนรอบแกน y

y

x

หมุนรอบแกน y

หมุนรอบแกน x

ภาพ 3.2 แสดงการหมุนวัตถุรอบแกน x และ รอบแกน y ใน 2 ลักษณะ จะสังเกตเห็นวา ถาลําดับ ในการหมุนนัน้ แตกตางกัน ผลลัพธที่ได ก็จะแตกตางกัน ถาเริ่มดวยวัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยมดังในภาพ 3.2 ซึ่งวงกลมสีดําบนวัตถุนั้น มีไวก็เพื่อใหงายตอการ สังเกตลักษณะของการหมุน จากนั้นเราหมุนวัตถุใน 2 ลักษณะดวยกันคือ 1) หมุนรอบแกน x ตาม ดวยการหมุนรอบแกน y และ 2) สลับลําดับของการหมุน จะพบวาวัตถุดงั กลาว ภายหลังจากการหมุนทั้งสองแบบแลว อยูในทิศทางที่แตกตางกัน ในทาง quantum mechanics นั้นก็เชนเดียวกัน โดยทัว่ ไปแลว หากเรามี operator อาทิเชน Sˆx และ Sˆ y ลําดับกอนหลังในการนํา operator ทั้งสองตัวดังกลาวไปกระทํากับสถานะใดๆ มีความสําคัญ และ จะทําใหสถานะผลลัพธออกมาแตกตางกัน กลาวคือ Sˆ x Sˆ y Ψ ≠ Sˆ y Sˆ x Ψ

_________________________ สมการ (3.2)

หรือ Sˆx Sˆ y − Sˆ y Sˆx ≠ 0 นั่นเอง ในเมื่อผลตางดังกลาวไมเทากับศูนย ในภาษาของ quantum mechanics นัน้ เราใชสัญลักษณทเี่ รียกวา commutator เพื่อใชเขียนแทนผลตางของการสลับลําดับ กอนหลังของ operator สอง operator ใดๆ ดังตอไปนี้ ˆ ˆ − BA ˆ ˆ _________________________ สมการ (3.3) ⎡ Aˆ , Bˆ ⎤ ≡ AB ⎣ ⎦

ทั้งนี้ การใชสญ ั ลักษณดังกลาว ก็เพียงเพื่อใหงายและประหยัดเวลาในการเขียนเทานัน้ Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-5

ทั้งนี้ commutator มีเอกลักษณทางคณิตศาสตรอยูหลายขอ ยกตัวอยางเชน 1) ⎡⎣ Aˆ , Aˆ ⎤⎦ = 0 2) 3) 4) 5)

⎡ Aˆ , Bˆ ⎤ = − ⎡ Bˆ , Aˆ ⎤ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ˆ ⎡ A, c ⎤ = 0 เมื่อ c คือคาคงที่ ⎣ ⎦ ˆ ˆ ˆ ⎡ A + B, C ⎤ = ⎡ Aˆ , Cˆ ⎤ + ⎡ Bˆ , Cˆ ⎤ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ˆ ˆ ˆ ˆ ˆ ˆ ˆ ⎡ A, BC ⎤ = ⎡ A, B ⎤ C + B ⎡ Aˆ , Cˆ ⎤ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦

แบบฝกหัด 3.1 จงอาศัยเอกลักษณของ commutator ขางตน เพื่อพิสูจน Jacobi identity ที่วา ⎡ Aˆ , ⎡ Bˆ , Cˆ ⎤ ⎤ + ⎡ Bˆ , ⎡Cˆ , Aˆ ⎤ ⎤ + ⎡Cˆ , ⎡ Aˆ , Bˆ ⎤ ⎤ = 0 ⎦⎦ ⎣ ⎣ ⎦⎦ ⎣ ⎣ ⎦⎦ ⎣ ⎣

3.3 ⎡⎣ Jˆ x , Jˆ y ⎤⎦ = i

Jˆ z

ในบทที่ 2 เราไดศึกษาถึง operator ที่สามารถใชในการวัด spin angular momentum ในแนวแกน z นั่น ก็คือ Sˆz ดังที่ไดกลาวใน Section 3.1 spin angular momentum เปนอีกประเภทหนึ่งของ angular momentum ซึ่งเราใชสัญลักษณ Jˆ z เปนตัวแทนของ angular momentum อยางกวางๆ และไมจําเพาะ เจาะจงวาเปนประเภทใด การอธิบายความในลําดับตอไป เราจะใชรูปแบบสัญลักษณ Jˆ z เพื่อแสดง ใหเห็นวาบทสรุปตางๆของการวิเคราะหนั้น สามารถนํามาประยุกตไดทั้งกับ spin angular momentum Sˆz และ orbital angular momentum Lˆz ในขั้นตนนี้ เราไมจําเปนทีจ่ ะจํากัดการวิเคราะหใหอยูแ ตเฉพาะในแนวแกน z เทานั้น หากแต สามารถมอง angular momentum ในทิศทางใดๆก็ได ดังนั้นเราอาจจะเขียน operator ใหอยูใ น ทิศทางทั่วๆไปไดวา Jˆ = Jˆ x + Jˆ y + Jˆ z _________________________ สมการ (3.4)

ซึ่งสมการ (3.4) นั้นเปนการเขียน angular momentum operator ใหอยูในรูปขององคประกอบตาม แนวแกน x, แกน y, และ แกน z ตามลําดับ โดยที่ operator ทั้งสามดังกลาว มิไดเปนอิสระตอกัน เสียเลยทีเดียว แตมีความสัมพันธในทางคณิตศาสตรกนั อยู ก็คือ ⎡ Jˆ x , Jˆ y ⎤ = i Jˆ z ⎣ ⎦

Dr. Teepanis Chachiyo

_________________________ สมการ (3.5)

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-6

และใน Section 3.3 เราจะพิสูจนความสัมพันธดังสมการ (3.5) โดยใช spin ของอิเล็กตรอนเปน ตัวอยางในการพิสูจน แตถึงแมวาตัวอยางที่ใชจะเปนกรณีพิเศษ ความสัมพันธดังสมการ (3.5) นั้น เปนกรณีทวั่ ไปที่ประยุกตใชกับ angular momentum ในทุกสถานการณ จาก บทที่ 2 เราสามารถเขียน operator { + Z , − Z } basis state ไดวา Jx =

⎡0 1 ⎤ , 2 ⎢⎣1 0 ⎥⎦

Jy =

Jˆ x , Jˆ y , Jˆ z

⎡ 0 −i ⎤ , 2 ⎢⎣ i 0 ⎥⎦

และ

ใหอยูในรูปของ matrix โดยใช เปน

Jz =

⎡1 0 ⎤ 2 ⎢⎣0 −1⎥⎦

____________ สมการ (3.6)

เพราะฉะนั้น ทางขวามือของสมการ (3.5) สามารถเขียนใหอยูใ นรูปของ matrix ⎡ 0 1 ⎤ ⎡ 0 −i ⎤ ⎡ 0 −i ⎤ ⎡ 0 1 ⎤ − ⎢ ⎢ ⎥ ⎢ ⎥ 2 ⎣1 0 ⎦ 2 ⎣ i 0 ⎦ 2 ⎣ i 0 ⎥⎦ 2 ⎢⎣1 0 ⎥⎦ ⎡i 0 ⎤ ⎡ −i 0 ⎤ = − ⎢ ⎥ 2 2 ⎣ 0 −i ⎦ 2 2 ⎢⎣ 0 i ⎥⎦

JxJ y − J yJx =

JxJ y − J yJx =

⎡ 2i 0 ⎤ 2 2 ⎢⎣ 0 −2i ⎥⎦

ซึ่งผลลัพธขางตนสามารถจัดรูปใหมไดวา

⎛ ⎡1 0 ⎤ ⎞ JxJ y − J yJx = i ⎜ ⎢ ⎥⎟ ⎝ 2 ⎣0 −1⎦ ⎠

ซึ่งเมื่อพิจารณา

Jz

ในสมการ (3.6) ทําใหเห็นความสัมพันธ JxJ y − J yJx = i Jz

_________________________ สมการ (3.7)

ซึ่งก็ตรงกับสมการ (3.5) อยางไรก็ตาม ความสัมพันธดังกลาวเปนการพิสูจนโดยใชกรณีเฉพาะใน เรื่องที่เกี่ยวของกับ spin ของอิเล็กตรอนเทานั้น ในลําดับตอไป เราจะพิสูจนวาความสัมพันธดังใน สมการ (3.5) นั้นเปนจริงในทุกๆกรณี ในบทที่ 2 เราไดกลาวถึง rotation operator ในทาง quantum mechanics ที่เรียกวา

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

Rˆ (ϕ k ) = e

i − ϕ Jˆ z

3-7

_________________________ สมการ (3.8)

ซึ่งสามารถหมุนสถานะเชิง spin ของระบบเปนมุม ϕ radian รอบแกน z ในครั้งนี้เราจะมากลาวถึง rotation operator ในเชิงเรขาคณิต

matrix Θ (ϕ k ) ที่สามารถหมุน vector a เปนมุม ϕ radian รอบแกน z คือ

z

b = Θ (ϕ k ) a b

⎡ cos ϕ y Θ (ϕ k ) = ⎢ sin ϕ ⎢ ⎢⎣ 0

a

− sin ϕ cos ϕ 0

0⎤ 0 ⎥⎥ 1 ⎥⎦

x

ภาพ 3.3 เมื่อทบทวนเนื้อหาของวิชาเรขาคณิตเบื้องตน matrix Θ (ϕ k ) ซึ่งมี matrix element ดัง แสดงในภาพ สามารถที่หมุน vector a เปนมุมขนาด ϕ radian รอบแกน z และทําใหไดผลลัพธ เปน vector b = Θ (ϕ k ) a ดังภาพ 3.2 ตําแหนงของจุดตางๆในพิกดั แบบ Cartesian coordinate สามารถแทนดวย vector a ใน 3 มิติ และ vector เหลานี้สามารถที่จะมีการเปลี่ยนตําแหนงดวยการนํา matrix เขามาคูณ หรือ เขามา กระทํา และทําใหเกิด vector ผลลัพธอันใหมขึ้นมา เมื่อทบทวนเนือ้ หาของวิชาเรขาคณิตเบื้องตน จะพบวา matrix Θ (ϕ k ) ซึ่งมี matrix element ⎡ cos ϕ Θ (ϕ k ) = ⎢⎢ sin ϕ ⎢⎣ 0

− sin ϕ cos ϕ 0

0⎤ 0 ⎥⎥ 1 ⎥⎦

_________________________ สมการ (3.9)

สามารถที่หมุน vector a เปนมุมขนาด ϕ radian รอบแกน z และจะสังเกตเห็นวา เราใชสัญลักษณ Θ (ϕ k ) แทน rotation operator ในเชิงเรขาคณิต เพือ ่ ไมใหสับสนกับ rotation operator Rˆ (ϕ k ) ในทาง quantum mechanics

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-8

นอกจากการหมุนเปนมุม ϕ radian แลว เรายังสามารถพิจารณาการหมุนเปนมุมขนาดเล็กมาก อาทิ เชน ε 1 และในกรณีดังกลาวนี้ cos ε ≅ 1 และ sin ε ≅ ε เพราะฉะนัน้ สมการ (3.9) จะลด รูปไดเปน ⎡ 1 −ε Θ ( ε k ) ≅ ⎢⎢ε 1 ⎢⎣ 0 0

0⎤ 0 ⎥⎥ 1 ⎥⎦

_________________________ สมการ (3.10)

และในทํานองเดียวกันกับ matrix ที่สามารถหมุน vector ใหเปนมุมขนาดเล็ก ε เราสามารถสราง matrix ในลักษณะดังกลาวที่หมุนรอบแกน y และ แกน x ไดวา ⎡ 1 0 ε⎤ Θ ( ε j) ≅ ⎢⎢ 0 1 0 ⎥⎥ ⎢⎣ −ε 0 1 ⎥⎦ ⎡1 0 0 ⎤ Θ ( ε i ) ≅ ⎢⎢0 1 −ε ⎥⎥ ⎢⎣0 ε 1 ⎥⎦

1 รอบแกน z

_________________________ สมการ (3.11) _________________________ สมการ (3.12)

matrix ทั้ง 3 ดังสมการ (3.10), (3.11), และ (3.12) นั้น มีเอกลักษณทางคณิตศาสตรที่นาสนใจอยู อันหนึ่ง พิจารณา ⎡1 ⎢ Θ ( ε i ) Θ ( ε j) − Θ ( ε j) Θ ( ε i ) = ⎢ε 2 ⎢ −ε ⎢⎣

ε ⎤ ⎡ 1 ε 2 ε ⎤ ⎡ 0 −ε 2 0 ⎤ ⎥ ⎥ ⎢ ⎥ ⎢ 2 ⎢ 1 −ε ⎥ − ⎢ 0 1 −ε ⎥ = ε 0 0⎥ ⎢ ⎥ ε 1 ⎥⎥ ⎢⎢ −ε ε 1 ⎥⎥ ⎢ 0 0 0⎥ ⎦ ⎣ ⎦ 0

___________ สมการ (3.13) และ ถาเราวิเคราะห rotation matrix ที่หมุน vector เปนมุม ε 2 รอบแกน z และ ลบดวย identity matrix จะไดวา ⎡1 ⎢ 2 Θ ε k − I = ⎢ε 2 ⎢ ⎢0 ⎣

( )

Dr. Teepanis Chachiyo

−ε 2 1 0

0⎤ ⎡ 1 ⎥ ⎢ 0⎥ − ⎢0 ⎥ ⎢ 1⎥ ⎢ 0 ⎦ ⎣

0 1 0

0⎤ ⎡ 0 ⎥ ⎢ 0 ⎥ = ⎢ε 2 ⎥ ⎢ 1⎥ ⎢ 0 ⎦ ⎣

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

−ε 2 0 0

0⎤ ⎥ 0⎥ ⎥ 0⎥ ⎦

________ สมการ (3.14)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-9

จะสังเกตเห็นวา ทางขวามือของสมการ (3.13) และ สมการ (3.14) นั้นมีคาเทากัน เพราะฉะนัน้ เรา สรุปเอกลักษณขอดังกลาว ของ rotation matrix ในเชิงเรขาคณิตไดวา

( )

Θ ( ε i ) Θ ( ε j) − Θ ( ε j) Θ ( ε i ) = Θ ε 2 k − I

___________ สมการ (3.15)

สมการขางตนมีความสําคัญอยูมากทีเดียวในแงของการวิเคราะหสมบัติของการหมุนวัตถุใดๆใน 3 มิติ ดังที่แสดงในภาพ 3.2 ที่วา การสลับลําดับกอนหลังของการหมุน ใหผลลัพธที่ไดแตกตางกัน สมการ (3.15) ชี้แจงใหเห็นวา เมื่อพิจารณาการหมุนเปนมุมขนาดเล็ก ผลของการสลับลําดับกอนหลัง ของการหมุนรอบแกน x และ รอบแกน y ก็ทําใหสถานะผลลัพธออกมาแตกตางกัน โดยที่ผลตาง ของผลลัพธทั้งสอง เปรียบเสมือนการหมุนรอบแกน z เปนมุมขนาดเล็กลงไปอีก อยางไรก็ตาม หนังสือเลมนีไ้ มไดเกี่ยวของกับวิชาเรขาคณิต เพราะฉะนั้นความหมายที่ลึกซึ้งในเชิง เรขาคณิตของสมการ (3.15) ไมมีความจําเปนแตอยางใด ในขั้นตนนี้ เราจะมองสมการ (3.15) เปน เพียงเอกลักษณทางคณิตศาสตรขอหนึ่งที่จะใชเปนสะพานเชื่อมไปสูการพิสูจนสมการ (3.5) เทานัน้ ถาเราตั้งสมมุติฐานวา rotation operator ในเชิง quantum mechanics หรือ Rˆ (ϕ i) , Rˆ (ϕ j) , และ Rˆ (ϕ k ) นั้น มีเอกลักษณทางคณิตศาสตรเหมือนกับ rotation operator ในเชิงเรขาคณิตดังสมการ (3.15) จะเขียนไดวา Rˆ (ε i ) Rˆ (ε j) − Rˆ (ε j) Rˆ (ε i ) = Rˆ (ε 2 k ) − 1ˆ

___________ สมการ (3.16)

เมื่อ ε 1 แทนมุมของการหมุนทีม่ ีขนาดเล็กมาก และในกรณีที่มุมขนาดเล็กมากเชนนี้ rotation operator ดังในสมการ (3.8) ลดรูปเหลือเพียง Rˆ (ε i ) = e Rˆ (ε j) = e

Rˆ (ε i ) = e 2

Dr. Teepanis Chachiyo

i − ε Jˆ x

i − ε Jˆ y

i − ε 2 Jˆ z

i ≅ 1 − ε Jˆ x

เมื่อ ε

1

____________________ สมการ (3.17)

i ≅ 1 − ε Jˆ y

เมื่อ ε

1

____________________ สมการ (3.18)

i ≅ 1 − ε 2 Jˆ z

เมื่อ ε

1

____________________ สมการ (3.19)

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-10

และเมื่อแทนสมการ (3.17) - (3.19) เขาไปในสมการ (3.16) จะไดวา ⎛ i ˆ ⎞⎛ i ˆ ⎞ ⎛ i ˆ ⎞⎛ i ˆ ⎞ ⎛ i 2 ˆ ⎞ ⎜1 − ε J x ⎟⎜1 − ε J y ⎟ − ⎜1 − ε J y ⎟⎜1 − ε J x ⎟ = ⎜1 − ε J z ⎟ − 1 ⎝ ⎠⎝ ⎠ ⎝ ⎠⎝ ⎠ ⎝ ⎠

ซึ่งสามารถลดรูปใหงายขึน้ ก็คือ −

ε2 ˆ ˆ ε2 ˆ ˆ i Jx J y + J y J x = − ε 2 Jˆ z 2

2

หรือเขียนในรูปของ commutator ไดวา ⎡⎣ Jˆ x , Jˆ y ⎤⎦ = i

Jˆ z

ซึ่งก็คือสมการ (3.5) นั่นเอง

แบบฝกหัด 3.2 จงใชกระบวนการของการวิเคราะห rotation matrix ในทํานองเดียวกับ Section 3.2 เพื่อแสดงใหเห็นวา ⎡⎣ Jˆ y , Jˆ z ⎤⎦ = i Jˆ x และ ⎡⎣ Jˆ z , Jˆ x ⎤⎦ = i Jˆ y แบบฝกหัด 3.3 ในการทดลองของ Stern-Gerlach ที่ใชอนุภาคที่มี spin เปน 1 (spin-1 particles) ยกตัวอยางเชน อนุภาคในกลุม boson ซึ่งจะทําให beam ในการทดลองนั้น แยกออกมาเปน 3 สาย ดวยกัน ดังนัน้ เราสามารถเลือกใช basis state เปนสถานะทั้งสามในแนวแกน z ไดวา { − , 0 , + } นอกจากนี้ เรายังสามารถนิยาม spin angular momentum operator ในทั้งสามแกนดังตอไปนี้ Jˆ z + = + + Jˆ z 0 = 0 0 Jˆ z − = − −

จากการทดลอง ปรากฏวาไดผลดังภาพ 3.3

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-11 25

100

50

SG-Z

SG-X

SG-X

100

25

50

+ 0

0

SG-Z

+ 0

50

Spin 1 Particles

ภาพ 3.3 แสดงผลของการทดลอง Stern-Gerlach โดยใชอนุภาคที่มี spin เปน 1 1) จงใชระเบียบวิธีทาง quantum mechanics ในทํานองเดียวกับบทวิเคราะหใน Section 1.7 และ Section 2.3.4 เพื่อที่จะเขียน operator Jˆ x , Jˆ y , และ Jˆ z ในรูปของ matrix และตรวจสอบวา คําตอบที่ไดอยูในรูปดังตอไปนี้หรือไม ⎡0 ⎢1 Jˆ x ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯→ { − , 0 , + } basis 2⎢ ⎢⎣ 0 ⎡0 ⎢i Jˆ y ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯→ { − , 0 , + } basis 2⎢ ⎢⎣0

1 0⎤ 0 1 ⎥⎥ 1 0 ⎥⎦ −i

⎡1 0 Jˆ z ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯→ ⎢⎢0 0 { − , 0 , + } basis ⎢⎣0 0

0 i

0⎤ −i ⎥⎥ 0 ⎥⎦ 0⎤ 0 ⎥⎥ −1⎥⎦

b) จงใช matrix ในขอ (a) พิสูจนโดยการคูณ matrix วา ⎡⎣ Jˆ x , Jˆ y ⎤⎦ = i

Jˆ z

3.4 Commuting Operator จากภาพที่ 3.2 และตัวอยางใน Section 3.3 จะเห็นวาโดยทั่วไปแลว ⎡⎣Oˆ1, Oˆ 2 ⎤⎦ ≠ 0 เมื่อ Oˆ1 และ Oˆ 2 เปน operator ใดๆ แตในกรณีพิเศษบางกรณีนั้น การสลับลําดับกอนหลังในการนํา operator 2 operator ก็อาจจะไมมีผลตอสถานะผลลัพธที่เกิดขึ้น หรือกลาวอีกนัยหนึ่ง เราจะมาศึกษาใน ประเด็นทีว่ า ถามี operator Aˆ และ Bˆ ที่มีลักษณะพิเศษคือ Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-12

___________________ สมการ (3.20)

⎡ ˆ ˆ⎤ ⎣ A, B ⎦ = 0

แลวนั้น จะเกิดผลกระทบที่ตามมาอยางไร ? ในแงของการใชภาษานั้น ถา operator ความสัมพันธดังสมการ (3.20) เราเรียกวา "operator Aˆ commute กับ Bˆ " สมมุติวาเมื่อเราพิจารณา operator Aˆ แลวพบวา มันมี eigenstate เปน α หรือเขียนในรูปของความสัมพันธเชิงคณิตศาสตรไดวา

a

และ Bˆ มี

และมี eigenvalue เปน

___________________ สมการ (3.21)

Aˆ a = α a

เมื่อเรานํา operator Bˆ เขาไปกระทํากับทั้งสองขางของสมการ (3.21) จะทําให ˆ ˆ a = Bˆ (α a BA

(

= α Bˆ a

เนื่องจาก operator Aˆ commute กับ จัดรูปของนิพจนไดวา

หรือ

ˆ ˆ = BA ˆˆ AB

)

)

___________________ สมการ (3.22)

ทางซายมือของสมการ (3.22) จึงสามารถ

( ) ___________________ สมการ (3.23) Aˆ ( Bˆ a ) = α ( Bˆ a ) ˆ ˆ a = α Bˆ a AB

ใหสังเกตผลลัพธที่ไดจากสมการ (3.23) โดยเฉพาะอยางยิ่งการจัดรูปของ Bˆ เห็นวา สมการ (3.21) และ สมการ (3.23) จะเปนจริงพรอมๆกันได ก็ตอเมื่อ

a

ใหอยูใ นวงเล็บ จะ

Bˆ a = (คาคงที่) a

หรือเขียนในอีกรูปแบบหนึ่งไดวา Bˆ a = β a

สมการขางตนแสดงใหเห็นวา Dr. Teepanis Chachiyo

a

___________________ สมการ (3.24)

คือ eigenstate ของ operator Bˆ ซึ่งมี eigenvalue เทากับ β

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-13

จากสมการ (3.24) และ สมการ (3.21) เราสามารถกลาวโดยสรุปวา

ถา operator

commute กับ Bˆ แลว eigenstate ของ

ก็ยอมเปน eigenstate ของ

ดวยเชนกัน

ขอควรระวัง การที่ operator Aˆ และ Bˆ มี eigenstate อันเดียวกัน ไมไดหมายความวา operator ทั้ง สองจะมี eigenvalue เหมือนกัน

3.5 Eigenvalue ของ Angular Momentum เพื่อเปนการมิใหเราหลงทางและจมอยูทามกลางคณิตศาสตร จนลืมเห็นเปาหมายที่แทจริงในเนื้อหา ทางฟสิกสที่เรากําลังศึกษา ผูเขียนจะขอเกริ่นถึงประเด็นหลักที่เราตองการวิเคราะหในบทที่ 3 นี้ เราตองการที่จะศึกษาวาในเชิงของ quantum mechanics นั้น คาของ angular momentum มีความไม ตอเนื่อง หากแตมีลักษณะเปนขั้นบันได ซึ่งแตกตางกันอยางสิ้นเชิงกับกับ Newtonian mechanics ที่ angular momentum จะมีคาเปนเทาไหรก็ได ขึ้นอยูกับมวล, ความเร็วรอบในการหมุน, และ รัศมี ของการหมุน quantum mechanics ใชสิ่งที่เรียกวา operator เปนตัวแทนในการตรวจวัดปริมาณทางฟสิกส และสิ่งที่ เรียกวา eigenvalue เปนตัวแทนของปริมาณนั้นๆทีว่ ัดได เชนเดียวกันกับในกรณีของ angular momentum ที่เรากําลังใหความสนใจวิเคราะหอยูน ี้ ในบทที่ 3 นี้ เราสนใจในปริมาณทางฟสิกส 2 ชนิดดวยกัน ซึ่งแทนดวย operator (1) Jˆ z และ (2)

Jˆ 2

1). operator Jˆ z คือการวัด angular momentum ตามแนวแกน z และ 2) operator Jˆ 2 คือการวัดขนาดของ angular momentum ยกกําลังสอง ซึ่งมีคํานิยามวา Jˆ 2 ≡ Jˆ ⋅ Jˆ = Jˆ x2 + Jˆ y2 + Jˆ z2 ___________________ สมการ (3.25)

เมื่อมี operator ที่ใชในการวัด ก็จะตองมีคา ที่วัดออกมาได แทน Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-14

1) m เปน angular momentum ตามแนวแกน z ที่วัดได ดังนั้น m มีสถานะภาพเปน eigenvalue ของ operator Jˆ z 2) λ 2 เปน ขนาดของ angular momentum ยกกําลังสอง ที่วัดได ดังนัน้ λ 2 มีสถานะภาพเปน eigenvalue ของ operator Jˆ 2 ใหสังเกตการคูณ และ 2 เขาไปในคํานิยามของ eigenvalue ทั้งสองประเภท ทั้งนี้กเ็ พราะ มี หนวยเปน angular momentum อยูกอนแลว ทําให m และ λ จะตองเปนตัวเลขธรรมดาที่ไมมี หนวยไปโดยปริยาย ในเมื่อเราสนใจที่จะศึกษาระบบโดยใชปริมาณทางฟสิกสทั้งสองประเภทดังกลาว เราอาจจะใช m และ λ เปนตัวเลขที่กํากับคุณสมบัติของระบบ ยกตัวอยางเชน Ψ = λ, m

ดวยขอสังเกตที่กลาวมาแลวทั้งหมด เราสรุปไดวา ในบทที่ 3 เราตองการที่จะวิเคราะหสมการ Jˆ z λ , m = m λ , m

___________________ สมการ (3.26)

Jˆ 2 λ , m = λ 2 λ , m

___________________ สมการ (3.27)

และในลําดับตอไป เราจะใชการบวนการทางคณิตศาสตรเพื่อที่จะคํานวณ eigenvalue m และ λ และ eigenstate λ , m ของ operator Jˆ z และ Jˆ 2 ในสมการ (3.26) และ (3.27) ตามลําดับ แบบฝกหัด 3.4 จงพิสูจนวา Jˆ 2 commute กับ Jˆ z ซึ่งเปนเหตุผลที่เราสามารถเขียนสถานะ λ , m ใหเปน eigenstate ของทั้ง Jˆ 2 และ Jˆ z พรอมกันได อยางไรก็ตาม เนื่องจากความซับซอนของคณิตศาสตรในการวิเคราะห เราจะตองมากลาวถึงเรื่อง สําคัญที่เกี่ยวของกับ operator ใน 4 ประเด็นกอน ซึ่งก็คือ 1) adjoint operator 2) unitary operator 3) Hermitian operator และ 3) raising and lowering operator

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009

2


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-15

3.6 สมบัติของ Operator operator ที่เกี่ยวของกับ quantum mechanics มีสมบัติอยูหลายประการ อีกทั้งมีอยูหลายประเภท ทั้งนี้ความหลากหลายดังกลาวก็เพื่อประโยชนในการคํานวณทางคณิตศาสตร เพราะเราจะตองไม ลืมวาในทายทีส่ ุดแลว quantum mechanics จะตองสามารถทํานายผลการทดลองออกมาเปนตัวเลข ที่ ตรวจวัดได ตรวจสอบได และแมนยํา ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไมไดเลยที่จะตองใชคณิตศาสตร และใน Section 3.6 เราจะมากลาวถึง adjoint operator, unitary operator, และ Hermitian operator ตามลําดับ adjoint ของ operator ใน Section 2.3.1 ของบทที่ 2 เราไดกลาวถึง conjugate transpose ของ matrix หรือ ที่เรียกสั้นๆวา adjoint ของ matrix และเนื่องจาก matrix และ operator นั้นมี ความสัมพันธกันอยู ในคราวนี้เราจะขยายขอบเขตการวิเคราะหใหครอบคลุมไปถึง adjoint ของ operator ใดๆ operator Oˆ โดยทั่วไปแลวจะกระทํากับสถานะ ket ψ เพราะฉะนัน้ แลว probability amplitude ที่ เขียนในรูปของ bra-ket probability amplitude = φ Oˆ ψ ____________________ สมการ (3.28) และเพื่อใหมีความชัดเจนวา operator Oˆ นั้น จะตองเขามากระทํากับ อาจจะเขียนสมการ (3.28) เสียใหมโดยการใสวงเล็บ อาทิเชน probability amplitude =

(

φ Oˆ ψ

)

ψ

เปนอันดับแรก เรา

_____________________ สมการ (3.29)

ขอจํากัดที่ operator จะตองกระทํากับสถานะ ket ไดเพียงเทานั้น จะทําใหเกิดความไมสะดวกใน กระบวนการทางคณิตศาสตร ในเมื่อ quantum mechanics ใชทั้ง ket และ ทั้ง bra ในการแสดงถึง สถานะของระบบ เราสามารถนิยามสิ่งที่เราเรียกวา adjoint operator ของ Oˆ โดยเขียนเปนสัญลักษณวา Oˆ † ในทาง ตรงกันขามกับ operator Oˆ ซึ่งกระทํากับสถานะ ket adjoint operator Oˆ † จะกระทํากับสถานะ bra ซึ่งมีคํานิยามทางคณิตศาสตรดังนี้

(

φ Oˆ ψ

Dr. Teepanis Chachiyo

) = ( φ Oˆ † ) ψ

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

_____________________ สมการ (3.30)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-16

นั่นก็คือ adjoint operator Oˆ † มีคํานิยามใหเปนสิ่งที่กระทํากับ bra ที่อยูทางซายมือ ในขณะที่ operator Oˆ จะกระทํากับ ket ที่อยูทางขวามือ แตอยางไรก็ตามผลการคํานวณ probability amplitude ที่ได จะตองมีคาเทากัน

กําหนดให operator O หมุน vector ใดๆ 90 องศา ทวนเข็มนาฬิกา แลวจะไดวา

y

R2 = 2 j

(

)

R2 ⋅ OR1 = 4

O x

R1 = 2i y

ถาม operator O† ควรเปนอยางไร ?

R2 = 2 j เพื่อที่จะให

(O†R2 ) ⋅ R1 = 4 = R2 ⋅ (OR1 )

O†

x

R1 = 2i

ตอบ operator O† จะตองหมุน vector ใดๆ 90 องศา ตามเข็มนาฬิกา

ภาพ 3.4 แสดงความสัมพันธระหวาง operator Oˆ และ adjoint operator Oˆ † ภาพ 3.4 แสดงถึงตัวอยางของ adjoint operator Oˆ † โดยอาศัยคํานิยามในสมการ (3.30) โดยที่ภาพ กลาวถึงตัวอยางของการหมุน vector ในระนาบ x-y ซึ่งกําหนดให operator Oˆ ทําหนาที่ในการ หมุน vector ใดๆ 90 องศาทวนเข็มนาฬิกา เพราะฉะนัน้ แลว dot product ของ

(

)

R2 OR1 = 4

จากคํานิยามของ O† ในสมการ (3.30) ที่วา ( O† R2 ) ⋅ R1 = R2 ⋅ ( OR1 ) ทําใหเราสรุปไดวา adjoint operator Oˆ † จะตองเปน operator ที่หมุน vector ใดๆ 90 องศาตามเข็มนาฬิกานัน่ เอง จะสังเกตวา ในกรณีของตัวอยางขางตน เมื่อเราเริ่มดวยการหมุนทวนเข็ม และจากนัน้ ทําการหมุนตาม เข็ม ผลลัพธที่ไดก็เทากับวาไมมีการหมุนเกิดขึ้นเลย หรือเขียนเปนรูปของสมการไดวา

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-17

Oˆ †Oˆ = 1ˆ

operator ที่มีคุณสมบัติขางตน จัดอยูในประเภทของ operator ที่เรียกวา unitary operator ทั้งนี้ นักศึกษาตองไมลืมวา operator โดยทัว่ ไปนั้น ไมจําเปนจะตองมีคุณสมบัติดังกลาว adjoint operator โดยทัว่ ไปแลว มีคุณสมบัติไมแตกตางจาก adjoint matrix ใน Section 2.3.1 ของบท ที่ 2 ซึ่งสามารถสรุปไดวา 1) ( Aˆ † )

= Aˆ

2) ( Aˆ + Bˆ )

= Aˆ † + Bˆ †

ˆ ˆ) 3) ( AB

= Bˆ † Aˆ †

4) ( Aˆ † )

= Aˆ −1

−1

5) ( λ Aˆ )

( )

= λ ∗ Aˆ †

เมื่อ λ คือตัวเลขจํานวนเชิงซอนใดๆ

unitary operator ตามระเบียบวิธีของ quantum mechanics เราเรียก operator Uˆ วา unitary operator ถามันมีคุณสมบัติ ______________________ สมการ (3.31)

Uˆ †Uˆ = 1

แบบฝกหัด 3.5 ให

เปน operator จงพิสูจนวา ( λ Aˆ )

= λ ∗ Aˆ †

เมื่อ λ คือตัวเลขจํานวน

เชิงซอนใดๆ Hermitian operator จากที่กลาวมาแลวในภาพ 3.4 วา operator ที่เกี่ยวของกับการหมุนนั้น เปน unitary operator นั่นก็คือ adjoint operator Rˆ † (dϕ k ) จะหมุนในทิศทางตรงขามกับ operator Rˆ (dϕ k ) ดังนั้นถาเรายอนกับไปพิจารณาสมการ (2.122) จะไดวา Rˆ † (dϕ k ) Rˆ (dϕ k ) = 1 †

⎛ i ˆ ⎞ ⎛ i ˆ ⎞ ⎜ 1 − J z dϕ ⎟ ⎜ 1 − J z dϕ ⎟ = 1 ⎝ ⎠ ⎝ ⎠

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

__________________ สมการ (3.32)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-18

โดยใชเอกลักษณของ adjoint operator ในแบบฝกหัด 3.5 ทําใหเราทราบวา †

i ˆ† ⎛ i ˆ ⎞ ⎜ 1 − J z d ϕ ⎟ = 1 + J z dϕ ⎝ ⎠

เพราะฉะนัน้

i ˆ† ⎛ ⎞⎛ i ˆ ⎞ ⎜ 1 + J z dϕ ⎟ ⎜ 1 − J z dϕ ⎟ = 1 ⎝ ⎠⎝ ⎠ i i 1 ˆ† ˆ − Jˆ z dϕ + Jˆ z† dϕ + J z J z ( dϕ ) 2 = 0

______ สมการ (3.33)

2

ู อยูกบั ( dϕ )2 ในสมการ (3.33) ทิ้ง เนื่องจากมุม dϕ มีคาที่เล็กมาก เราสามารถที่จะตัดเทอมที่คณ ไปได ทําให Jˆ z† = Jˆ z

_________________________ สมการ (3.34)

operator ที่มี adjoint เทากันกับตัวมันเอง ดังในสมการ (3.34) นั้น มีชื่อเรียกวา Hermitian operator ซึ่งเปนกลุมของ operator ที่มีความสําคัญมากในทาง quantum mechanics เนื่องจาก Hermitian operator มี eigenvalue เปนจํานวนจริง มันจึงเปน operator ที่ใชแทนการวัดหรือ measurement เพราะวาปริมาณทางฟสิกสทสี่ ามารถวัดไดนั้น จะตองเปนเลขจํานวนจริง (คงจะเปนเรื่องตลกที่เรา บอกวาในหองมีนักศึกษาอยู 1 + i คน)

3.7 Raising และ Lowering Operator กอนที่จะทําการวิเคราะห eigenvalue ของ angular momentum operator Jˆ 2 และ Jˆ z ทั้งสอง เรา จะตองมานิยาม operator ที่จะอํานวยความสะดวกในการวิเคราะหเชิงคณิตศาสตรในอนาคตกัน เสียกอน นิยาม operator Jˆ+ ≡ Jˆ x + iJˆ y Jˆ ≡ Jˆ − iJˆ −

x

y

________________________ สมการ (3.35) ________________________ สมการ (3.36)

operator ที่นิยามไวดังในสมการ (3.35) และ สมการ (3.36) นั้น มีสมบัติทางคณิตศาสตรซึ่งจะชวยให เราสามารถตีความหมายของมันในทางฟสกิ สในภายหลังอยูสามประการ ก็คือ

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

1) ⎡⎣ Jˆ z , Jˆ± ⎤⎦ = ±

3-19

เอกลักษณในทางคณิตศาสตรดังกลาวนี้ สามารถพิสูจนไดอยางงายดาย โดย

Jˆ±

การแทนคํานิยามของ

3 Angular Momentum

Jˆ±

จากสมการ (3.35) และ สมการ (3.36) จะได ⎡ Jˆ z , Jˆ± ⎤ = ⎡ Jˆ z , Jˆ x ± iJˆ y ⎤ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ = ⎡⎣ Jˆ z , Jˆ x ⎤⎦ ± i ⎡⎣ Jˆ z , Jˆ y ⎤⎦

________________ สมการ (3.37)

จากนั้น เราใชความสัมพันธในเชิง commutator ดังที่ไดกลาวในแบบฝกหัด 3.2 ที่วา ⎡ Jˆ x , Jˆ y ⎤ = i Jˆ z , ⎡ Jˆ y , Jˆ z ⎤ = i Jˆ x , และ ⎡ Jˆ z , Jˆ x ⎤ = i Jˆ y ดังนั้นสมการ (3.37) สามารถจัดรูป ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ใหงายขึน้ คือ

(

⎡ Jˆ z , Jˆ± ⎤ = i Jˆ y ± i −i Jˆ x ⎣ ⎦ = ± Jˆ ± iJˆ

(

x

y

)

) ________________ สมการ (3.38)

⎡ Jˆ z , Jˆ± ⎤ = ± Jˆ± ⎣ ⎦

สมการ (3.38) นั้นเขียนใหอยูใ นรูปของ commutator ซึ่งเราสามารถที่จะเปลี่ยนใหอยูใ นรูปของ ผลบวก และผลคูณธรรมดาไดวา Jˆ z Jˆ± = Jˆ± Jˆ z ± Jˆ±

________________ สมการ (3.39)

2) Jˆ+ Jˆ− = Jˆ 2 − Jˆ z2 + Jˆ z และ Jˆ− Jˆ+ = Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z เอกลักษณทางคณิตศาสตรขอนี้ สามารถพิสูจนไดโดยใชคํานิยามในสมการ (3.35) และ (3.36) ผนวกเขากับคํายามของ Jˆ 2 และ Jˆ z operator ในสมการ (3.25) , (3.26) , และ (3.27) ยกตัวอยางเชน

(

Jˆ+ Jˆ− = Jˆ x + iJˆ y

)( Jˆx − iJˆ y )

= Jˆ x2 − iJˆ x Jˆ y + iJˆ y Jˆ x + Jˆ y2

(

) (

= Jˆ x2 + Jˆ y2 − i Jˆ x Jˆ y − Jˆ y Jˆ x

)

________________ สมการ (3.40)

Jˆ+ Jˆ− = Jˆ 2 − Jˆ z2 + Jˆ z

และในทํานองเดียวกัน

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum Jˆ− Jˆ+ = Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z

3-20

________________ สมการ (3.41)

แบบฝกหัด 3.6 จงพิสูจนสมการ (3.41) 3) adjoint ของ operator

Jˆ+

ก็คือ

Jˆ−

หรือกลาวอีกนัยหนึ่ง _________________________ สมการ (3.42)

Jˆ±† = Jˆ∓

โดยที่สมบัติขอนี้ สามารถพิสูจนไดโดยเริม่ จากคํานิยามของ Jˆ± ดังสมการ (3.35) และ สมการ (3.36) จากนัน้ ใชเอกลักษณตางๆที่เกีย่ วของกับ adjoint operator ดังที่ไดเห็นในแบบฝกหัด 3.5

( ) = ( Jˆ x ∓ iJˆ y )

† Jˆ±† = Jˆ x ± iJˆ y

___________________________ สมการ (3.43)

Jˆ±† = Jˆ∓

จากคุณสมบัตทิ ั้งสามประการของ operator ถึงความหมายของ Jˆ+ ไดดังตอไปนี้ พิจารณา ผลของ operator

Jˆ z Jˆ+

Jˆ±

ที่เราไดศึกษามาแลวนัน้ เราสามารถที่จะวิเคราะห

ที่กระทํากับสถานะ

(

λ, m

จะไดวา

)

Jˆ z Jˆ+ λ , m = Jˆ+ Jˆ z + Jˆ+ λ , m = Jˆ+ Jˆ z λ , m + Jˆ+ λ , m

______________ สมการ (3.44)

สมการ (3.44) ขางตนนั้น ไดมาจากการนํา commutator ในสมการ (3.39) มารวมพิจารณาดวย จากนั้นเราสามารถใชคํานิยามของ Jˆ z ในสมการ (3.26) เพื่อลดรูปใหงายขึ้น Jˆ z Jˆ+ λ , m = Jˆ+ Jˆ z λ , m + Jˆ+ λ , m = Jˆ+ m λ , m + Jˆ+ λ , m

(

)

= (m + 1) Jˆ+ λ , m

Jˆ z Jˆ+ λ , m = (m + 1)

Dr. Teepanis Chachiyo

______________ สมการ (3.45)

( Jˆ+ λ , m )

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-21

จากสมการ (3.26) ซึ่งเปน eigen equation ของ Jˆ z โดยมี λ , m เปน eigenstate และมี m เปน eigenvalue เราสามารถจินตนาการไดวามี eigenstate อีกอันหนึง่ คือ λ , m + 1 ซึ่งมี eigenvalue (m + 1) เพราะฉะนัน้ จึงสามารถเขียนสมการในทํานองเดียวกันกับสมการ (3.26) ไดวา Jˆ z λ , m + 1 = (m + 1) λ , m + 1

เมื่อพิจารณาสมการ (3.45) และ (3.46) ควบคูกันไป เราจะเห็นวา

______________ สมการ (3.46)

Jˆ+ λ , m ∼ λ , m + 1

หรือ

เมื่อ ξ+ คือคาคงที่ _________________ สมการ (3.47)

Jˆ+ λ , m = ξ + λ , m + 1

นั่นก็คือ operator Jˆ+ จะทําการเปลี่ยนสถานะ λ , m ใหกลายเปนสถานะ λ , m + 1 อันเปนที่มา ของชื่อที่วา "raising operator" ซึ่งเปนคําศัพทภาษาอังกฤษที่มีความหมายวา operator ที่ทําใหสถานะ เปลี่ยนแปลงขึน้ ไปหนึ่งขัน้ สวนในกรณีของคาคงที่ ξ + ที่คูณอยูกบั ดานขวามือของสมการ (3.47) นั้น เราจะไดทําการศึกษากัน ตอไปตามลําดับ ในทํานองเดียวกัน เราสามารถวิเคราะหถึงความหมายของ operator

(

Jˆ−

ดวยการเริ่มพิจารณา

)

Jˆ z Jˆ− λ , m = Jˆ− Jˆ z − Jˆ− λ , m = Jˆ− Jˆ z λ , m − Jˆ− λ , m = Jˆ− m λ , m − Jˆ− λ , m

______________ สมการ (3.48)

Jˆ z Jˆ− λ , m = (m − 1) Jˆ− λ , m

และเมื่อทําการจัดรูปสมการ (3.48) เสียใหมจะไดวา

(

)

Jˆ z Jˆ− λ , m = (m − 1)

( Jˆ− λ , m ) ______________ สมการ (3.49)

ดังนั้นเราจึงสรุปไดวา Jˆ− λ , m = ξ − λ , m − 1

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

____________________ สมการ (3.50) teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-22

ซึ่งเปนที่มาของชื่อที่เรียกวา "lowering operator" ดวยเหตุที่ operator Jˆ− นั้น สามารถเปลี่ยน สถานะ λ , m ใหกลายเปนสถานะ λ , m − 1 หรือ กลาวอีกนัยหนึ่ง

lowering operator จะทําการเปลี่ยนสถานะของระบบ ที่เดิมทีมี angular momentum ในแนวแกน z (eigenvalue ของ Jˆ z ) เปน m ใหกลายเปนสถานะที่มี angular momentum ในแนวแกน z ดังกลาว เปน (m − 1) นั่นเอง

3.8 m และ λ

2

เมื่อเราลองมองถึงความหมายของ m และ λ 2 ในทางฟสิกส จะไดวา λ 2 ก็คือขนาดของ angular momentum ยกกําลังสอง สวน m นั้น เปนเพียง angular momentum ตามแนวแกน z ดังนั้นจะไดวา m2 ≤ λ

____________________ สมการ (3.51)

สมการ (3.51) นั้นมีที่มาจากการวิเคราะห ขนาดของปริมาณ vector ใดๆ (ซึ่งรวมไปถึง angular momentum ดวย) ที่วา องคประกอบในแนวแกน z ของ vector จะมีคานอยกวาหรือเทากับ ขนาด ของ vector นั้นๆ เสมอ ถาเราเรียกคาสูงที่สุดที่เปนไปไดของ m วา mmax และนํา raising operator ดังกลาวจะไดวา Jˆ+ λ , mmax = 0

Jˆ+

มากระทํากับสถานะ

____________________ สมการ (3.52)

สาเหตุที่สมการ (3.52) จะตองมีคาเปนศูนยก็เพราะวา ไมมีสถานะใดๆ ที่สูงไปกวาสถานะ λ , mmax อีกแลว ดังนัน ้ raising operator Jˆ+ ไมมีทางที่จะเปลี่ยนสถานะ λ , mmax ไปเปนอะไร ไดอีก นอกเสียจากเปนศูนย ดังสมการ (3.52) ดังนั้นจะไดวา Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

(

Jˆ− Jˆ+ λ , mmax = Jˆ− Jˆ+ λ , mmax

3-23

) ____________________ สมการ (3.53)

= Jˆ− ⋅ 0 Jˆ− Jˆ+ λ , mmax = 0 λ , mmax

แตจากสมการ (3.41) เราทราบวา

(

Jˆ− Jˆ+ = Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z

ซึ่งทําให

)

Jˆ− Jˆ+ λ , mmax = Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z λ , mmax = Jˆ 2 λ , mmax − Jˆ z2 λ , mmax − Jˆ z λ , mmax

(

)

_______ สมการ (3.54)

2 2 Jˆ− Jˆ+ λ , mmax = λ 2 − mmax − mmax 2 λ , mmax

เมื่อเราเปรียบเทียบสมการ (3.53) และ สมการ (3.54) จะเห็นวา λ 2 λ = mmax + mmax

2

2 − mmax

2

− mmax

2

=0

หรือ

______________________ สมการ (3.55)

ในทํานองเดียวกัน เราสามารถที่จะเขียนคาที่นอยที่สุดที่เปนไปไดของ m วา mmin ซึ่งจะทําให Jˆ− λ , mmin = 0

____________________ สมการ (3.56)

โดยที่สมการ (3.56) ดังกลาว จะมีผลสืบเนือ่ งที่จะเกิดขึ้นก็คือ 2 λ = mmin − mmin

__________________ สมการ (3.57)

2 ซึ่งเมื่อเราพิจารณาสมการ (3.55) และ สมการ (3.57) จะไดวา mmax + mmax หรือ

mmin = −mmax

2 = mmin − mmin

__________________ สมการ (3.58)

และโดยทัว่ ไปแลวใน quantum mechanics เราจะใชสัญลักษณ j แทนคาของ mmax ซึ่งนั่นก็ หมายถึง mmin = − j นั่นเอง เนื่องจากขอกําหนด mmin ≤ m ≤ mmax เราจะเห็นวาคาของ angular momentum ในแนวแกน z (หรือคา eigenvalue ของ operator Jˆ z ) นั้น มีคาไดอยูในชวง Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

− j ≤m ≤+j

3-24

__________________ สมการ (3.59)

จากภาพ 3.5 ถาเราเริ่มดวยระบบที่อยูในสถานะ λ , m = j จะเห็นวา lowering operator สามารถ ที่จะเปลี่ยนใหสถานะดังกลาวไปเปน λ , m = j − 1 และเมื่อเรานํา lowering operator มากระทํา อีกครั้งหนึ่ง ก็จะไดสถานะ λ , m = j − 2 อยางนี้เรื่อยไป จนกระทั่งสถานะของระบบมาหยุดอยู ที่ λ , m = − j ซึ่งเปนสถานะสุดทาย ที่จะต่ําไปกวานี้อกี ไมได เนื่องจาก lowering operator Jˆ− นั้นสามารถที่จะลดคาของ m ไดคราวละหนึง่ จะไดวา mmax − mmin = จํานวนเต็ม หรือ j − (− j ) = n

__________________ สมการ (3.60)

เมื่อ n เปนจํานวนเต็มใดๆ ซึ่งจะมีคาเปนเทาไหรนั้น ขึน้ อยูกับระบบทางฟสิกสที่เรากําลังศึกษาอยู เมื่อวิเคราะหสมการ (3.60) จะไดวา 1 3 j = 0, ,1, , 2, … 2 2

Dr. Teepanis Chachiyo

j=

และ

n 2

ซึ่งคาของ j และ m ที่เปนไปไดนั้นก็คือ

m ∈{− j, − j + 1,…, j − 1, j}

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

__________ สมการ (3.61)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-25

ภาพ 3.5 ถากําหนดใหคาของ m มีคามากที่สุดคือ j จากนั้น lowering operator Jˆ− จะทําให สถานะของระบบเปลี่ยนแปลง โดยมีคาของ m ลดลงมาคราวละหนึ่งเปนลําดับ และมาสิ้นสิ้นสุดที่ m=−j

ดังนั้น เมื่อเราทราบคาที่เปนไปไดของ

j

จากสมการ (3.55) จะไดวา λ = j(j + 1)

__________________ สมการ (3.62)

เราสามารถตีความสมการ (3.62) ไดดังตอไปนี้ ถาให j คือคาที่สูงที่สุดที่เปนไปไดของ angular momentum ในแนวแกน z ของระบบใดๆ จะไดวา คาของ angular momentum ยกกําลังสองของ ระบบจะเปน j(j + 1) 2 แบบฝกหัด 3.7 กําหนดให vector R ซึ่งมีขนาดเทากับ 2 cm. เมื่อ vector R ชี้ไปในทิศตางๆ ในพิกดั ทรงกลม ที่มีมุมกมเปน θ เทียบกับแกน +z และมุมกวาดในแนวราบเปน ϕ เทียบกับแกน +x จะไดวาองคประกอบตามแนวแกน x, y, และ z ของ vector R ก็คือ

ภาพ 3.6 แสดง vector R ในสามมิติ โดยที่ระบบพิกดั แบบทรงกลมนั้น เราใชมุม θ และ มุม φ เปนตัวบอกทิศทางที่ vector ดังกลาวชี้ไป และจากวิเคราะหจะไดวา องคประกอบตามแนวแกน z ของ vector นั้น ขึ้นอยูกับมุม θ R x = 2 sin(θ ) cos(φ ) R y = 2 sin(θ ) sin(φ ) R z = 2 cos(θ )

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-26

a) จงหาคา Rzmax ซึ่งหมายถึงคาสูงที่สุดที่เปนไปไดของ Rz และบอกวา Rzmax มีความสัมพันธกับ 2 R อยางไร b) Rzmax ในขอ (a) เกิดขึ้นที่มุม θ เทากับเทาใด? c) เปรียบเทียบความแตกตางของคําตอบที่ไดในขอ (a) กับ ระบบ angular momentum ของ quantum mechanics ในสมการ (3.62) d) ถาเราตองการยึดตาม angular momentum ของ quantum mechanics โดยใช สมการ (3.62) และ 2 บอกวา R = Rzmax ( Rzmax + 1) จงแกสมการเพื่อหาวา Rzmax มีคาเปนเทาใด e) Rzmax ในขอ (d) เกิดขึ้นที่มุม θ เทากับเทาใด? ในทาง quantum mechanics นั้น อนุภาคไมสามารถที่จะมี angular momentum ที่ชี้ในทิศทางขนาน กับแนวแกน z ไดเสียเลยทีเดียว เหตุที่เปนเชนนี้กด็ วยเงือ่ นไขในทางคณิตศาสตรดังสมการ (3.62) แบบฝกหัด 3.8 อิเล็กตรอนที่โดยทัว่ ไปเรามักจะกลาวถึง spin angular momentum ในแนวแกน z วา "spin up" หรือ "spin down" นั้น แททจี่ ริงแลว อิเล็กตรอนที่มี spin up หรือ spin ชี้ขึ้นที่วานี้ a) ชี้ในทิศทางที่ขนานกับแกน z เลยหรือไม ? b) ถาไม ทํามุมกี่องศากับแนวแกน +z ? [บอกใบ - ในกรณีของ vector ใดๆ มุมทีท่ ํากับแกน z มีความสัมพันธ

R cos θ = z R

]

นอกจากนี้ เนื่องจาก λ มีความสัมพันธขึ้นอยูกับ j ดังสมการ (3.62) โดยสากลแลว ในระเบียบ วิธีทาง quantum mechanics นั้น เราไมนยิ มเขียนสถานะของระบบในรูปของ λ , m ดังในสมการ (3.26) และ (3.27) หากแตเขียนใหอยูใ นรูปของ j, m ดังจะยกตัวอยางใน 2 กรณี ตัวอยาง 1) กรณีของอิเล็กตรอน ถาเราพิจารณาเฉพาะ angular momentum ในสวนของ spin จะมี คา

j=

j=

1 2

ดังนั้นสถานะ spin angular momentum ของอิเล็กตรอนมีอยู 2 สถานะดวยกันคือ

1 1 ,m = + 2 2

และ

j=

1 1 ,m = − 2 2

หรือ เขียนสั้นๆวา

สถานะ spin angular momentum ของอิเล็กตรอนคือ operator

Jˆ z

และ

Jˆ 2

Dr. Teepanis Chachiyo

1 1 ,+ 2 2

และ

1 1 ,− 2 2

โดยที่ เมื่อเรานํา

เขามากระทํากับสถานะดังกลาวจะไดวา ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

1 1 Jˆ z , + =+ 2 2 2 1 1 Jˆ z , − = − 2 2 2

1 1 ,+ 2 2 1 1 ,− 2 2

3-27

______________ สมการ (3.63) ______________ สมการ (3.64)

และ 1 1 1⎛1 ⎞ 1 1 Jˆ 2 , + = ⎜ + 1⎟ 2 , + 2 2 2⎝2 ⎠ 2 2 1 1 1⎛1 ⎞ 1 1 Jˆ 2 , − = ⎜ + 1⎟ 2 , − 2 2 2⎝2 ⎠ 2 2

__________ สมการ (3.65) __________ สมการ (3.66)

ซึ่งจากสมการขางตน เราสรุปไดวา ขนาดของ angular momentum ยกกําลังสองของ อิเล็กตรอนนั้น มีคาเทากับ

3 4

2

และขนาดของ spin angular momentum ในแนวแกน z นั้นมีได 2 คา คือ

+

1 2

และ − 1 ตามลําดับ 2

ตัวอยาง 2) ในกรณีของ gluon ซึ่งเปนอนุภาคที่มี spin angular momentum เปน j = 1 ดังนั้น สถานะเชิง spin ของ อนุภาค gluon มีอยู 3 สถานะดวยกันคือ 1,−1 , 1,0 , และ 1,+1 ซึ่งสถานะ ทั้ง 3 เหลานี้ มี eigenvalue ของ operator Jˆ 2 คือ 2 2 และ eigenvalue ของ operator Jˆ z ก็คือ + , 0 , และ − ตามลําดับ

3.9

Jˆ+ j, m

และ

Jˆ− j, m

อยางที่กลาวในขางตนแลววา eigenstate ของ operator ในรูป j, m โดยที่

Jˆ z

Jˆ z j , m = m

และ operator

j, m

Jˆ 2 j , m = j ( j + 1) 2 j , m

Jˆ 2

______________ สมการ (3.67) ______________ สมการ (3.68)

ซึ่งสืบเนื่องจากสมการ (3.47) นั้น เราสามารถเขียนผลกระทบของ operator j, m ไดดังนี้ Jˆ+ j , m = ξ + j , m + 1

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

นั้นสามารถเขียนใหอยู

Jˆ+

ที่มีตอสถานะ

______________ สมการ (3.69)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-28

ซึ่งในขณะนี้เราก็พรอมที่จะวิเคราะหวา ξ + มีคาเปนเทาใด โดยที่การคํานวณดังกลาวนี้ ทําไดดว ย การพิจารณา

(

j , m Jˆ− Jˆ+ j , m

)

_________________ สมการ (3.70)

จะสังเกตเห็นวา operator Jˆ− นัน้ แทนทีจ่ ะกระทํากับสถานะ ket j, m เราสามารถยายเขามา กระทํากับสถานะ bra j, m พรอมๆกันนั้นจะตองเปลี่ยนใหเปน adjoint operator ของ Jˆ−† ตามคํา นิยามที่ใหไวใน Section 3.6 j , m Jˆ− Jˆ+ j , m =

แตเนื่องจากใน Section 3.7 นั้น เราทราบวา

(

j , m Jˆ−†

Jˆ±† = Jˆ∓

j , m Jˆ− Jˆ+ j , m =

(

) ( Jˆ+

j, m

)

_________ สมการ (3.71)

ดังนั้นสมการ (3.71) ขางตน จะแปรสภาพเปน

j , m Jˆ+

)( Jˆ+

j, m

)

= ξ +*ξ + j , m + 1 j , m + 1

__________ สมการ (3.72)

2 j , m Jˆ− Jˆ+ j , m = ξ +

นอกจากนี้ เรายังทราบวา

Jˆ− Jˆ+ = Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z

เพราะฉะนัน้

(

) j, m = { j ( j + 1) 2 − m2 2 − m 2 } j , m j , m j , m = { j ( j + 1) − m2 − m} 2

j , m Jˆ− Jˆ+ j , m = j , m Jˆ 2 − Jˆ z2 − Jˆ z

j , m Jˆ− Jˆ+

________ สมการ (3.73)

เมื่อเปรียบเทียบสมการ (3.72) และ สมการ (3.73) เราสามารถที่จะเลือกให ξ+ =

j ( j + 1) − m 2 − m

เพราะฉะนั้น สรุปคุณสมบัติของ operator Jˆ+ j, m =

Dr. Teepanis Chachiyo

Jˆ+

__________________ สมการ (3.74)

ไดวา

j ( j + 1) − m2 − m j , m + 1

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

______________ สมการ (3.75) teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-29

และในทํานองเดียวกัน Jˆ− j , m =

j ( j + 1) − m2 + m j, m − 1

______________ สมการ (3.76)

แบบฝกหัด 3.9 จงพิสูจนสมการ (3.76) แบบฝกหัด 3.10 พิจารณาระบบ spin angular momentum ของอิเล็กตรอนซึ่งมี a) จงใชคํานิยามของ

Jˆ+ และ Jˆ−

ในสมการ (3.75) และ (3.76) เพื่อเขียน operator

ใหอยูใ นรูปของ matrix โดยกําหนดใหมี basis state คือ b) จงใชคํานิยามของ ในรูปของ matrix

Jˆ+ และ Jˆ−

j=

1 1 j = ,m = + 2 2

และ

1 2 Jˆ+

และ

Jˆ−

1 1 j = ,m = − 2 2

ในสมการ (3.35) และ (3.36) ในการเขียน operator

Jˆ x

และ

Jˆ y

3.10 บทสรุป ในบทที่ 3 ที่เราไดเริ่มศึกษาพฤติกรรมของ angular momentum ในทาง quantum mechanics angular momentum ที่เราใชสัญลักษณอยางหลวมๆวา J โดยที่ J = L+S

กลาวคือ angular momentum แบงออกเปนสวนประกอบยอยๆเปนสองกลุม คือ orbital angular momentum L ซึ่งเกี่ยวของกับการเคลื่อนที่แบบหมุน และ spin angular momentum S ซึ่งเปนสมบัติ เฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ จากนั้นเราไดเริ่มศึกษาถึงการที่เราจะเขียน angular momentum operator Jˆ = Jˆ x + Jˆ y + Jˆ z ใหอยู ในรูปของผลบวกขององคประกอบในแนวแกน x, y, และ z ตามลําดับ ซึ่ง operator ดังกลาวนี้ มี ความสัมพันธกันอยูคือ ⎡ Jˆ x , Jˆ y ⎤ = i Jˆ z ⎣ ⎦

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-30

โดยอาศัยความสัมพันธของ angular momentum operator อันนีแ้ ละสมบัติทางคณิตศาสตรอื่นๆที่ เกี่ยวของ นําไปสูประเด็นที่มีความสําคัญอยางมากเกีย่ วกับ angular momentum กลาวคือ 1) ให j เปนคาสูงที่สุดที่ angular momentum ในแนวแกน z จะพึงมีได คา ลักษณะเปนขัน้ บันได โดยที่

j

ดังกลาวนี้มี

1 3 j = 0, ,1, , 2,… 2 2

ซึ่งคาของ j จะเปนเทาไหรภายในเซตดังกลาวนี้ ก็ขนึ้ อยูกบั อนุภาคหรือระบบที่เรากําลังศึกษาอยู 2) เมื่อเราทราบคา j ในระบบแลว คา angular momentum ในแนวแกน z ที่เปนไปได หรือที่เรา เรียกวา m นั้น ก็จะตามมา โดยที่ m = + j, j − 1,…,− j + 1,− j

3) ดังนั้นตามหลักสากลแลว เราจะใชสัญลักษณ j, m เปนตัวกํากับสถานะของระบบที่มีคา ุ สมบัติดังตอไปนี้ และ m เฉพาะตัว ซึ่งสถานะดังกลาว มีคณ Jˆ z j , m = m

j

j, m

Jˆ 2 j , m = j ( j + 1) 2 j , m Jˆ+ j , m =

j ( j + 1) − m 2 − m j , m + 1

Jˆ− j , m =

j ( j + 1) − m 2 + m j , m − 1

การวิเคราะหสมบัติเหลานี้ในเชิงฟสิกสที่เปนรูปธรรมนั้น ถึงแมบางครั้งจะทําไดยาก ดวยเหตุผลของ คณิตศาสตรที่นักศึกษายังไมคุนเคย แตก็เปนสิ่งที่จําเปน และผลสุดทายที่จะไดรับก็จะเปนความรู ทาง quantum mechanics ที่ลึกซึ้ง ยกตัวอยางเชน อิเล็กตรอนที่โดยมากเรามักเรียกวา มี spin ขึ้นนั้น แททจี่ ริงทิศของ spin ไมไดชี้ขึ้นขนานกับแกน +z เสียเลยทีเดียว หากแตทาํ มุมประมาณ 54.7 องศา กับแกน z

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-31

3.11 ปญหาทายบท แบบฝกหัด 3.11 พิจารณาอนุภาค boson ซึ่งเปน spin-1 และมี 1, +1 , 1, 0 , 1, −1 เปน basis state จงเขียน Jˆ+ , Jˆ− , และ Jˆ z ในรูปของ matrix จากนั้นใช J + และ J − ที่ไดเพื่อหา Jˆ y และ Jˆ x

แบบฝกหัด 3.12 พิจารณาอนุภาค boson ซึ่งเปน spin-1 และมี eigenstate ของ Jˆ z operator เปน basis state ซึ่งก็คือ 1, +1 , 1, 0 , และ 1, −1 สมมุติวาอนุภาคอยูในสถานะ ⎡3⎤ 1 ⎢ ⎥ Ψ ⎯⎯⎯⎯ → 2 Jˆ z basis 14 ⎢ ⎥ ⎢⎣1i ⎥⎦ a) เมื่อทําการวัด angular momentum ตามแนวแกน z หรือ Jˆ จงหาความนาจะเปนที่จะวัดคาได z

เทากับ + , 0 , และ − b) จงหา Jˆ z c) เมื่อวัด angular momentum ในแนวแกน x จะไดคาโดยเฉลี่ยเทาใด ? บอกใบ - คํานวณ

Jˆ x

แบบฝกหัด 3.13 จากแบบฝกหัด 3.11 จงหา Jˆ ⋅ nˆ ในรูปของ matrix คลายๆกับสมการ (2.85) จากนั้นคํานวณ eigenvalue และ eigenstate ในทํานองเดียวกันกับสมการ (2.93) เฉลย - มี eigenstate อยู 3 สถานะดวยกันคือ (1 + cos θ ) sin θ (1 − cos θ ) 1, +1 + 1, 0 + e +iϕ 1, −1 2 2 2 sin θ sin θ 0n = 1, +1 − cos θ 1, 0 − e+iϕ 1, −1 e−iϕ 2 2 (1 − cos θ ) sin θ (1 + cos θ ) − n = e−iϕ 1, +1 − 1, 0 + e+iϕ 1, −1 2 2 2 + n = e−iϕ

แบบฝกหัด 3.14 จงพิสูจนวา rotation operator ในแนวแกน y นอกจากจะสามารถเขียนอยูใ นรูป Rˆ (ϕ j) = e

i − ϕ Jˆ y

แลว ในกรณีของอนุภาคที่มี spin s = 1 ยังสามารถเขียนอยูใ นรูป

ϕ 2i ϕ Rˆ (ϕ j) = cos − Jˆ y sin 2 2

Dr. Teepanis Chachiyo

2

ไดอีกดวย

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

3 Angular Momentum

3-32

แบบฝกหัด 3.15 ในแบบฝกหัด 2.22 เราคํานวณ ΔSˆx ในกรณีที่ระบบอยูใ นสถานะ + n = cos

θ

+ Z + e +iϕ sin

2 a) จงคํานวณ ΔSˆ y

และ

θ

−Z

2

Sˆ z

b) พิสูจนใหเห็นวา ΔSˆx ΔSˆ y ≥

Sˆ z

2

c) มุม (θ , ϕ ) เปนเทาใด จึงจะทําให ΔSˆx ΔSˆ y =

2

Sˆ z

แบบฝกหัด 3.16 กําหนดให operator Cˆ มีคํานิยามคือ iCˆ = ⎡⎣ Aˆ , Bˆ ⎤⎦ พิสูจนวาถา เปน Hermitian operator แลว

ψ = α +λ β

ψ ψ ≥0

และ

ก็เปน Hermitian ดวย

แบบฝกหัด 3.17 จงพิสูจน Schwarz inequality บอกใบ - เริ่มจาก

เมื่อ

ψ

α α β β ≥ α β

2

คือสถานะใดๆ จากนั้นพิจารณาในกรณีที่

เมื่อ λ คือคาคงที่ใดๆ จะไดวา ( α

+ λ∗ β

)( α

+λ β

)≥0

แลววิหาคา λ ที่ทําให ทางซายมือของสมการมีคานอยที่สุด

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.