บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54

Page 1

บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 ศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่น (Installation Art) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สิงหาคม 2551

ภาพหน้าซ้าย “หลอดสี” กมล ทัศนาญชลี 2523

ปัจจุบันศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่นเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการศิลปะร่วมสมัยของไทยแต่ ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะประเภทนี้ยังคงเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อย ความหมายโดยทั่วไปของคาว่า “อินสตอล เลชั่น” (Installation) คือการติดตั้งหรือการจัดวาง แต่คาว่า “Installation art” หรือศิลปะในรูปแบบของอิน สตอลเลชั่นมีความหมายที่แตกต่างไปจากความหมายทั่ว ๆไปโดยสิ้ นเชิง การแปลชื่อศิล ปะลักษณะนี้เป็น ภาษาไทยว่าเป็นศิลปะติดตั้งหรือศิลปะจัดวาง นั้นอาจมีผลทาให้นักศึกษาศิลปะและผู้สนใจทั้งหลายเกิดความ เข้าใจผิด โดยคิดว่าเป็นการนาวัสดุ สื่อต่าง ๆ หรือผลงานศิลปะมาติดตั้งและจัดวางที่ไหนแห่งใดก็ได้ ความจริง ในวงการศิลปะนานาประเทศจะไม่แปลคาว่าอินสตอลเลชั่นอาร์ต เป็นภาษาของเขาเนื่องจากว่าเป็นคาศัพท์ เฉพาะและจะเรียกทับศัพท์โดยตรง เนื่องจากว่า เมื่อแปลเป็นภาษาหนึ่งภาษาใดแล้วทาให้ความหมายที่แท้จริง อาจผิดเพี้ยนไป เป็นการยากที่จะหาคาศัพท์ภาษาไทยสื่อความหมายให้ตรงกับประเภทของงานในรูปแบบ ศิลปะอินสตอลเลชั่นได้อย่างชัดเจน นอกเสียจากว่าจะเรียกทับศัพท์และให้คานิยามหรือคาจากัดความมาขยาย ให้เป็นที่เข้าใจได้ ความจริงแล้วทุกวันนี้ก็ยังไม่มีบทสรุปที่แน่นอนว่าศิลปะในรูปแบบอิ นสตอลเลชั่น จะเป็นไป


ในทิศทางใด เนื่องจากว่าศิลปินมีพัฒนาการสร้างสรรค์ศิลปะแนวนี้อย่างกว้างขวางไม่มีขีดจากัด ศิลปะใน รูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสามมิติและจะต้องมีพื้นที่ (Space) เป็นปัจจัยสาคัญที่ศิลปินต้องเลือกสรรและทา ความเข้าใจกับมันก่อนที่จะสร้างเป็นผลงาน บ่อยครั้งพื้นที่จะมีส่วนในการให้ความคิดและความบันดาลใจแก่ ศิลปินและพื้นที่นั้น ๆ มีความหมายอย่างไรต่อศิลปิน การเลือกสรรพื้นที่ต้องใช้เวลา ใช้ความคิด ความเข้าใจ และจินตนาการ พื้ นที่ที่จะสร้างให้เป็นงานศิลปะอาจจะเป็นพื้นที่ว่างเปล่าซึ่ง อาจมีสภาพแวดล้อมที่ศิลปิน จะต้องคานึงถึงและนามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน ศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่นคืองานศิลปะที่ สามารถสร้างในพื้นที่ เฉพาะเจาะจง (Site-Specific Installation) หรือเป็นพื้นที่แห่งไหนก็ได้ พื้นที่ดังกล่าวจะต้องถูกสร้างหรือแปรสภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของงาน ซึ่งจะมีความหมายแตกต่างไปจากเดิม ศิลปินที่ทางานในแนวนี้จะไม่นาสิ่งต่าง ๆ มาจัดวางในพื้นที่เพียงเพื่อ ความสวยงามหรือความเหมาะสม แต่เป็นการสร้างพื้นที่ขึ้นใหม่ตามกรรมวิธี เทคนิคหรือการใช้สื่อต่าง ๆ ไม่ว่า จะเป็นวัสดุเหลือใช้ วัส ดุสาเร็จรูป งานจิตรกรรม ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ ประติมากรรมหรืองานวาดเส้น มา สร้างสรรค์ให้เป็นงานศิลปะตามความคิด อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการของศิลปิน ศิลปะในรูปแบบนี้ สามารถสร้างกับพื้นที่หลากชนิด อาทิเช่น บนผนัง เพดาน พื้น หรืออาจจะเป็นพื้นที่ที่เป็นห้อง มุมหนึ่งมุมใด ของตัวอาคาร ผู้ดูสามารถเดินเข้าไปในงานเพื่อสัมผัสกับความคิดของศิลปินหรืออาจกลายเป็นส่วนหนึ่งของ งานได้ด้วยเช่นกัน พื้นที่สาหรับสร้างงานศิลปะแนวนี้จะเป็นพื้นที่ที่ไหนแห่งใดก็ได้ที่ศิลปินมีความคิดจะนามา สร้างงาน ซึ่งได้แก่พื้ นที่ภ ายในอาคาร นอกอาคาร พื้นที่ต่าง ๆ กลางแจ้งในเมือง ในชุมชนหรือท่ามกลาง ธรรมชาติ เช่น ในน้า ทุ่งหญ้าหรือป่าเขา และแม้กระทั่งพื้นที่รกร้างไม่มีประโยชน์ทางการใช้สอย ศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่น จะแตกต่างจากงานประติมากรรมสามมิติศิลปินสร้างงานประติมากรรม และนาไปติดตั้งในที่ซึ่งมีความเหมาะสม และจะคานึงถึงแสงเงาที่ส่งเสริมให้งานดูเด่นสวยงามสื่อความหมายได้ ทั้งนี้เป็นเพียงการติดตั้งจัดวางงานศิลปะที่เสร็จสมบูรณ์แล้วลงในพื้นที่เท่านั้น แต่ศิลปะอินสตอลเลชั่นจะเป็น การจัดการและสร้างพื้นที่ขึ้นใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของงานตามแนวคิดของศิลปิน ศิลปะในลักษณะนี้สามารถ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพและขนาดของพื้นที่ ศิลปินต้องแก้ไขปัญหากับพื้นที่ในขณะที่สร้างงานให้สอดคล้อง กับความคิดตลอดเวลา ศิลปะประเภทนี้มี ทั้งที่ศิลปินสร้างขึ้นอย่างถาวรหรือเพียงชั่วคราวก็ได้ มีการใช้กรรม วิธีการใช้สื่อ วัสดุ และเทคนิควิธีการอย่างอิสระ อาจเป็นภาพพิมพ์รูปแบบ หรือแนวอินสตอลเลชั่น (Print Installation) จิตรกรรมรูปแบบอินสตอลเลชั่น (Painting Installation) ประติมากรรม รูปแบบอินสตอลเลชั่น (Sculpture Installation) วี ดี โอ อินสตอลเลชั่น (Video Installation) ภาพถ่ายรูปแบบอินสตอลเลชั่น (Photo Installation) งานวาดเส้นรูปแบบอินสตอลเลชั่น (Drawing Installation) สื่อประสมรูปแบบอิน สตอลเลชั่น (Mixed-Media Installation) และศิลปะที่เน้นการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ นาเสนอในรูปแบบ อินสตอลเลชั่น (Documentary Installation) รวมทั้ง อินสตอลเลชั่นที่มุ่งเน้นในเรื่องของแนวความคิด โดยตรง (Conceptual Installation) จะเห็นได้ว่าประเภทศิลปะที่มีกรรมวิธีหลักดังกล่าวจะบ่งบอกประเภท ของอินสตอลเลชั่นได้ชัดเจนอยู่แล้ว


ศิล ปะแนวอิน สตอลเลชั่ น เป็ น รู ป แบบของศิล ปะที่แสดงให้ เห็ นถึงการแสวงหาแนวทางใหม่ใ นการ แสดงออกของศิลปิน ซึ่งเริ่มมีบทบาทในช่วงทศวรรษของปี ค.ศ. 1970 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป ปัจจุบันศิลปะประเภทนี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก และยังคงมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะสรุป รูปแบบโดยรวมที่แน่นอนตายตัวว่าควรเป็นเช่นไร แต่ในทัศนะของผู้เขี ยนการติดตั้งหรือการจัดวางงานศิลปะ ในพื้นที่กับการสร้างพื้นที่ให้เป็นงานศิลปะหรือเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะนั้นแตกต่างกันอย่างแน่นอน การชม งานอินสตอลเลชั่นนั้น ผู้ดูต้องเคลื่อนไหวไปรอบงานหรือเดินเข้าไปในพื้นที่ของงานซึ่งเปรียบเสมือนการเดิน เข้าไปในความคิดจินตนาการและความรู้สึกของศิลปิน

สี รูปทรง และทะเล อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ 2517

ศิลปินไทยหลายท่านทางานศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่นได้สร้างชื่อเสียงให้กับวงการศิลปะร่วมสมัย ของประเทศไทยและมีผลงานเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติมาแล้ว เช่น มณเฑียร บุญมา อารยา ราษฎร์จาเริญสุข นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล กมล เผ่าสวัสดิ์ พิ รรี สัณฑ์พิทักษ์ สุรสีห์ กุศลวงศ์ และ ศิลปินอีกหลายท่านที่สร้างสรรค์ศิลปะในแนวดังกล่าว ศิลปะในรูปแบบอินสตอลเลชั่นเอื้ออานวยให้ ศิลปินมีอิสรภาพทางด้านความคิด การใช้สื่อ เทคนิค วิธีการและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้พื้นที่อย่างมีความหมายไร้ขอบเขตจากัด ศิลปะในแนวนี้มีบทบาทสาคัญ ต่อวิวัฒนาการศิลปะร่วมสมัยของไทย ซึ่งมีจุดเริ่มต้นตลอดจนอิทธิพลในลักษณะต่าง ๆ ประกอบด้วยอิทธิพล จากศิลปินไทยที่ใช้ชีวิตและศึกษาในต่างประเทศ อิทธิพลที่ได้จากการจัดแสดงผลงานของศิลปิ นจากต่างประเทศ และประการสุดท้ายอิทธิพลที่ศิลปิน ได้รับจากขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมของไทย แต่ก่อนที่ศิลปะอินสตอลเลชั่นจะก้าวมาถึงปัจจุบัน มี ศิลปินหลายท่านที่ได้บุกเบิกศิลปะในแนวนี้มาก่อน เช่น กมล ทัศนาญชลี ประวัติ เล้าเจริญ ธนะ


เลาหกัยกุล กมล เผ่าสวัสดิ์ จุมพล อภิสุข ธรรมศักดิ์ บุญเชิด และมณเฑียร บุญมา ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานที่ มีค่าควรแก่การศึกษาทั้งสิ้น ศิลปะอินสตอลเลชั่นเริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงศิลปะของไทย เมื่อครั้งที่ กมล ทัศนาญชลี ศิลปินที่ใช้ชีวิต อยู่ในลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาหลายสิบปี ได้นาผลงานของเขาในช่วงระยะเวลาสิบปีใน อเมริกา พ.ศ. 2513-2523 มาแสดงเดี่ยว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2523 ศิลปินท่านนี้ ใช้พื้นที่ของห้องแสดงงานสร้างศิลปะอินสตอลเลชั่นด้วยการใช้ทรายปู บนพื้นให้มี ความ หนา และนาหลอดสีที่สร้างขึ้นให้มีขนาดใหญ่กว่าหลอดสีจริงหลายสิบเท่า มาปักไว้ในพื้นทราย ศิลปินนาผงสี ซึ่งเป็นแม่สีโรยบนพื้นทรายให้เป็น แนวเชื่อมต่อกับ หลอดสีอีกทีหนึ่ง พื้นที่ของห้องแสดงงานได้ถูกแปรสภาพ ให้เป็นงานศิลปะในลักษณะ 3 มิติ ผู้ชมสามารถเดินดูได้โดยรอบ แต่ เนื่องจากว่างานชิ้นนี้ของกมลเป็นสิ่งที่ แปลก และใหม่เกินไปสาหรับคนไทยในช่วงเวลานั้น รูปแบบของงานดังที่ปรากฏ ซึ่งจัดได้ว่า เป็นศิลปะอิน สตอลเลชั่นประเภทหนึ่ง จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าใดนัก กมล เผ่าสวัสดิ์ ศิลปินรุ่นเยาว์ในขณะนั้น เป็นอีกผู้หนึ่งซึ่งจบการศึกษาทางด้านศิลปะที่สหรัฐอเมริกา ได้สร้างสรรค์ผลงานแนวอินสตอลเลชั่นเป็นชิ้นแรกในประเทศไทย ชื่อ “บทเพลงศิลปะที่ตายแล้ว ” (Song for the Dead Art) จัดแสดง ณ หอศิลป์พีระศรี ในปีพ.ศ. 2528 กมลนาเศษเหล็กวางกองทั่วพื้นที่ของห้องแสดง และมี ภ าพถ่ า ยส าเนาของศิ ล ปะในยุ ค ต่ า ง ๆ ติ ด กระจายบนผนั ง กมล ยั ง ได้ น าเสนอศิ ล ปะในแนว Performance โดยเคลื่อนไหวตนเองไปรอบ ๆ งานตามความรู้สึกและเคาะเหล็กเหล่านั้นให้เกิดเสียงเป็น จังหวะเสมือนส่ งสัญญาณ และสะท้อนให้เห็ นถึงทัศนะของเขาที่มีต่อศิล ปะสมัยใหม่ ในเวลานั้นซึ่งยังคงมี รูปแบบดั้งเดิม ซ้าซากไม่เปลี่ยนแปลง เป็นที่น่าสังเกตว่า ลักษณะการทางานของ กมล ทัศนาญชลี และ กมล เผ่าสวัสดิ์ นั้นเป็นศิลปะแนวคอนเซ็บชวล (Conceptual Art) ซึ่งเน้นการแสดงออกของความคิดเป็น หลักสาคัญ ศิลปินอีกสองท่าน คือ ประวัติ เล้าเจริญ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในกรุงนิวยอร์ก และธนะ เลาหกัยกุล ซึ่งเป็นทั้ง ศิลปินและอาจารย์สอนศิลปะที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสติน สหรัฐอเมริกาเดินทางกลับประเทศไทยเป็นครั้ง คราว และได้นาผลงานสร้างสรรค์ที่สหรัฐอเมริกามาเผยแพร่ แก่นักศึกษาศิลปะอยู่เสมอ ส่วนประวัติ เล้า เจริญ นั้นเดินทางกลับประเทศไทยในปีพ.ศ.2530 และมักจะนาผลงานของเขามาเผยแพร่ในลักษณะของการ บรรยายประกอบสไลด์เช่นเดียวกันกับธนะ ผลงานดังกล่าวของประวัติงานแนวอินสตอลเลชั่น ซึ่งเป็นงานภาพ พิมพ์ในลักษณะใหม่ ที่ไม่เน้นการพิมพ์โดยผ่านระบบ และขั้นตอนของภาพพิมพ์ที่ต้องใช้แท่นพิมพ์อย่างที่ ทา กันโดยทั่วไป ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับงานพิมพ์ จะถูกนามาประกอบรวมกันเป็นงาน แสดงให้เห็นมิติใหม่ของ ศิลปะภาพพิมพ์ ผลงานดังกล่าวมีชื่อว่า “Metamorphosis on the Theme of Morandi” จัดแสดง ณ หอ ศิลป์ Orion Editions ในกรุงนิวยอร์ก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ประวั ติเรียกงานของเขาว่า “Print Installation” ศิลปะภาพพิมพ์แนวอินสตอลเลชั่นของเขานั้น ประกอบด้วยเครื่องมือ วัสดุที่นามาใช้ทั้งหมด ในระบบการพิมพ์เช่นน้ากรด และแม่พิมพ์ รวมทั้งงานซึ่งพิมพ์บนกระดาษแล้วโดยสมบูรณ์ เขาสร้างงานด้วย การใช้พื้นที่ของห้องเป็นส่วนสาคัญขององค์ประกอบของงาน


ศิลปินทั้งสองได้เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ในสหรัฐอเมริกาที่สร้างความสนใจให้กับศิลปินและนักศึกษา ศิลปะ การเผยแพร่เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับกลุ่มคนดังกล่าวให้กว้างไกลไปกว่าเดิม ประวัติ เล้าเจริญได้ แสดงผลงานของเขาที่ชื่ อว่า “Japan Reverse” ซึ่ง เป็นภาพพิมพ์ ในรูปแบบอิ นสตอลเลชั่น (Print Installation) เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2530 และต่อมาได้นามาจัด แสดงที่หอศิลป์พีระศรี กรุงเทพฯ ประวัติ มีความคิดในการนาเทคนิคที่สาคัญคือการพิมพ์แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น มาสร้างใหม่ งานของเขาพิมพ์จากตัวอักษรญี่ปุ่นที่เขาแกะลงบนตอไม้จานวนหนึ่ง ด้วยการใช้กระดาษทาบและ ฝนด้วยมือ ซึ่งงานชิ้นนี้ของเขาทั้งตอไม้ ผลงานที่พิมพ์แล้วและพื้นที่ทางานร่วมกันอย่างมีเอกภาพ

“การเฉลิมฉลองไฟ” จุมพล อภิสุข 2528

หากมองย้อนกลับไปในช่วงปี พ.ศ. 2517 มีศิลปินไทยในกรุงเทพฯ ได้ทดลองสร้างสรรค์ศิลปะแนวอิน สตอลเลชั่นอยู่บ้าง เช่น อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ ได้สร้างผลงานชุด “สี รูปทรงและทะเล” ที่หาดพัทยา เป็นการ สร้างผลงานที่อาศัยพื้นที่ ท่ามกลางธรรมชาติ ด้วยการใช้พลาสติกหลากสี มีรูปทรงคล้ายท่อวางบน หาดทราย เป็นจานวนมาก รูปทรงเหล่านั้นมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง ในลักษณะต่าง ๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดและ คลื่นซัดไปในทิศทางต่าง ๆ ภาพที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งกันระหว่างวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้นและ สภาพแวดล้อมของธรรมชาติ พื้นที่ของหาดทรายที่คุ้นเคยได้ถูกแปรสภาพให้เป็นงานศิลปะที่มีสี สันงดงามไป โดยปริยาย หากจะกล่าวไปแล้ว ศิลปินไทยรุ่นแรก ๆ ที่สร้างสรรค์ผลงานในแนวอินสตอลเลชั่นที่ควรกล่าวถึงด้วย นั้น คือ จุมพล อภิสุขได้สร้างผลงานในปี พ.ศ. 2528 ที่ชื่อว่า “การเฉลิมฉลองไฟ” (Light Celebration) ซึ่ง ได้รับแรงบันดาลใจจาก ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีลอยกระทงของทางภาคเหนือ จุมพลนาเทียนไข 150 เล่ม รวมทั้งพลุไฟและโครงสร้างทาด้วยไม้ไผ่ เป็นวัสดุสาคัญของงาน จุมพลใช้แสงเป็นหัวใจสาคัญ แสงดังกล่าวมีทั้ง แสงเทียนและแสงจากพลุไฟ ซึ่งสะท้อนเห็นถึงวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม การร่วมสนุกของชุมชนในเทศกาล ดังกล่าว


ธรรมศักดิ์ บุ ญเชิด ได้ทางานอิน สตอลเลชั่นที่น่าตื่นเต้น ณ ท้องสนามหลวง เขาใช้เมล็ ดข้าวโพด ประมาณ 20 กิโลกรัม มาโรยบนพื้นเป็นรูปวงกลม อันเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ เมล็ดข้าวโพดสีเหลืองเป็น ที่ต้องตาต้องใจนกในบริเวณนั้น ซึ่งต่างพากันมาจิกกินอย่างรวดเร็ วและในช่วงพริบตาเดียวเท่านั้น แทบไม่ เหลือร่องรอยของข้าวโพดให้เห็นบนพื้นหญ้า ประชาชนที่เฝ้าดูงานอยู่นั้น ต่างก็ตะลึงกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าแต่ ก็ยังมีข้อกังขาว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นศิลปะอย่างไร ผลงานอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นงาน ท้าทายของธรรมศักดิ์ คือ นิทรรศการที่ชื่อว่า “เส้นบนผนัง หมายเลข 1” จัดแสดงที่หอศิลป์คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพ พิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. 2533 ธรรมศักดิ์ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มห่องานจิตรกรรมที่เป็น รูปทรงสี่เหลี่ยมเป็นจานวนมาก ซึ่งติดตั้งอยู่บนฝาผนังของห้องแสดงงาน ในวันเปิดนิทรรศการ เขาได้เชิญชวน ให้ผู้มาชมงานร่วมฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ที่หุ้มห่อผลงานอยู่ เมื่อฉีกเสร็จแล้วก็ให้ผู้ชมนากระดาษหนังสือพิมพ์ เหล่านั้นมากองรวมกันเป็นงานศิลปะอีกชิ้นหนึ่ง ขั้นตอนเหล่านี้เป็นวิธีการที่นาผู้ชมเข้าสู่โลกของศิลปะโดยเริ่ม จากการสัมผัส เริ่มคิด เริ่มใช้จินตนาการและประสบการณ์ของตนเองโต้ตอบกับงานของธรรมศักดิ์โดยไม่รู้ตัว การชักชวนให้ผู้ชมงานมีส่วนร่วมในงานศิลปะดังกล่าว เป็นเสมือนการทดสอบว่าผู้ชมที่ร่วมงานนั้นพร้อมที่จะ ยอมรับงานศิลปะในแนวอินสตอลเลชั่นได้หรือไม่ สาหรับผลงานของศิลปินต่างชาติในรูปแบบอินสตอลเลชั่นที่นามาแสดงในประเทศไทยและมีบทบาทต่อ การพัฒนาของศิลปินไทยในเวลานั้นคือ นิทรรศการของศิลปินชาวญี่ปุ่น สองคน ที่นามาจัดแสดง ณ หอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยฮาร่า (Hara) จากประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2532 ศิลปินคือ จุงโกะ ซูซุกิ (Junko Suzuki) และทัสซุโอะ มิยาจิมา (Tatsuo Miyajima) ใช้วัสดุ ไฮเทคในการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับความเชื่อในคุณค่าประเพณีวัฒนธรรมญี่ปุ่น และในปีเดียวกันนั้นเอง สถาบันเกอเธ่ได้นานิทรรศการศิลปะ ซึ่งเป็นอินสตอลเลชั่น เน้นในการให้ข้อมูลเชิง สารคดี ซึ่งให้ข้อเท็จจริง และความรู้แก่ผู้ชม (Documentary Installation) ชื่อ เจมส์ เบ โพรเจค (Jame’s Bay Project) จัดแสดงที่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผลงานของ ไรเนอร์ วิทเทนบอร์น (Rainer Wittenborn) ซึ่งได้รับเชิญให้ ดาเนินการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับศิลปะและสิ่งแวดล้อมกับศิลปินไทย ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ จากการปฏิบัติงานนี้อีกเช่นกันที่ศิลปินไทยหลายคนที่ร่วมโครงการได้ก้าวสู่ การพัฒนางานศิลปะจาก 2 มิติ มา เป็นการใช้วัสดุต่าง ๆ และสร้างสรรค์ผลงานแนวอินสตอลเลชั่น ศิลปินที่ร่วมโครงการได้แก่ สุรสีห์ กุศลวงศ์ มณเฑียร บุญมา วิโชค มุกดามณี ชาติชาย ปุยเปีย พิ นรี สัณฑ์พิทักษ์ อามฤทธิ์ ชูสุวรรณ อลิตา จั่น ฝังเพ็ชร และจักรพันธ์ วิลาสิ ณีกุล อิทธิพลของศิลปะ อินสตอลเลชั่นบางส่วนได้จากศิลปินต่างชาติที่มา ปฏิบัติงาน (Artist in Residence) ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร และได้แสดงผลงานแนวอินสตอลเลชั่น เพื่อการ เผยแพร่แก่สาธารณชนชาวไทย ซึ่งเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2533 โดยมีศิลปินชาวออสเตรเลียนคือ โจน กราวส์ (Joan Grounds) และ โนลีน ลูคัส (Noelene Lucas) ในปีต่อมา


“เรื่องราวของการแปรเปลี่ยน” “รูป-สภาพ ชีวิตในท้องทุ่ง” มณเฑียร บุญมา 2532

ศิลปินทั้งสองได้รับ ความบันดาลใจจากการใช้ชีวิตและประสบการณ์ในประเทศไทยและ ได้นาวัส ดุ ท้องถิ่น เช่น ข้าวของเครื่องใช้ ที่ใช้ในชีวิตประจาวันของไทยมาสร้างสรรค์ผลงาน การใช้วัสดุเหล่านั้นเป็นการ ผสมผสานความคิดแบบตะวันตกกับวัสดุของไทย ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้ศิลปินไทยเริ่มมองเห็นคุณค่าของวัสดุ สิ่งของที่เรียบง่ายธรรมดา ๆ ที่มีอยู่แล้วในประเทศมาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เพื่อสะท้อนความคิด ความรู้สึกได้อย่าง มีคุณค่า มีความงามและมีความหมาย มณเฑี ย ร บุ ญ มา สร้ า งสรรค์ ผ ลงานแนวอิ น สตอลเลชั่ น เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศและ นานาชาติ การทางานของมณเฑียร มีสาระเกี่ยวกับ จิตวิญญาณ และความศรัทธาในพุทธศาสนา มณเฑียร ได้รับความบันดาลใจจากเจดีย์เก่าแก่ กลางเมืองเชียงใหม่และได้นาลักษณะของรูปทรงรวมทั้งโครงสร้างของ เจดีย์มาสร้างเป็นงานแนวอินสตอลเลชั่น บางครั้งมณเฑียรจะใช้วัสดุที่มีความหมายเชื่อมโยงกับพุทธศาสนา เช่น เทียนและแผ่นทองคาเปลวสร้างรูปทรงของเจดีย์บนกระดาษ ในงานบางชิ้น วัสดุต่าง ๆ ที่นามาใช้ในงาน ของมณเฑียรเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เช่น อิฐ ดิน ทราย ถ่านและกิ่งไม้ ผสมผสานกับวัสดุสาเร็จรูปและวัสดุ เหลือใช้ เช่น จอบ เสียม พลั่ว ที่มีความหมายเกี่ยวกับการเกษตรกรรม วิถีชีวิตของชาวนาในชนบทบางครั้งสื่อ หรือวัสดุต่าง ๆ ที่มณเฑีย รนามาจั ดการใหม่ในงานศิลปะของเขา เป็นแรงกระตุ้นให้ ผู้ดูเกิดความคิด และ ตระหนักถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของคนไทย ซึ่งเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเมื่อวัตถุนิยมได้เข้ามาแทนที่ ผลงานอินสตอลเลชั่นของมณเฑียรเป็นที่ยอมรับและเป็นที่ชื่นชอบอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ และให้อิทธิพลทางความคิดตลอดจนรูปแบบ รวมทั้งการจัดการกับวัสดุและพื้นที่ในการสร้างผลงานให้กับ ศิลปินรุ่นหลังเป็นจานวนมาก จากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า ศิลปะแนวอินสตอลเลชั่นมีจุดเริ่มต้นมาจากอิทธิพลในลักษณะ ต่าง ๆ และในปัจจุบันได้มีการคลี่คลายอย่างต่อเนื่อง ดูเหมือนว่าจะยังไม่มีที่สิ้นสุด บทบาทของศิลปะประเภท นี้ยังคงน่าติดตาม เนื่องจากว่ายั งมีผลงานของศิลปินร่วมสมัยอีกจานวนมากที่มีคุณค่า ควรแก่การศึกษาอย่าง ยิ่ง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.