ART & ART CENTRE
วารสารหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร Art Journal of Art Centre, Silpakorn University ภาพปก : “Escape from the Circus”, Anna Talbot จากนิทรรศการ Art Exhibition Thai : Nordic 2011 (Temperature) บรรณาธิการ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ กองบรรณาธิการ กฤษฎา ดุษฎีวนิช วิชนัญ กลั่นรอด สร้อยฟ้า แสนคำก้อน โสภา ศรีสำราญ ศิลปกรรม ปุณณดา สายยศ พิสูจน์อักษร วิชนัญ กลั่นรอด นักเขียนรับเชิญ ผศ.ดร.นรินทร์ รัตนจันทร์ ดร.วรนันท์ โสวรรณี อาจารย์โอชนา พูลทองดีวัฒนา นุ วุฒิวิชัย ภักดี ไชยหัด พิมพ์ท ี่ โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 296 ซอยอรุณอมรินทร์ 30 ถนนอรุณอมรินทร์ บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700 ผลิตโดย หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน พระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร: 02-2212841 โทรสาร: 02-2212841 www.art-centre.su.ac.th
aw �������������.indd 2
7/17/12 2:19:22 PM
สารจากผู้อํานวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันที่มีการเรียนการสอนศิลปะใน ระดับอุดมศึกษาเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในปัจจุบันสถาบันที่มีการเรียน การสอนศิลปะมีมากมายและมีวิธีเรียนสอนที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนส่งเสริม และเผยแพร่องค์ความรู้และการบริหารจัดการงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อรองรับการบูรณาการการเรียนการสอนและการสร้างกิจกรรมทางศิลปะ นอกเหนือจากการแสดงนิทรรศการในหอศิลป์แล้ว การเผยแพร่ความรู้ทาง ศิลปะก็เป็นพันธกิจอีกส่วนที่ทางหอศิลป์ตระหนักในภารกิจนี้ การจัดทําวารสารหอศิลป์จึงเป็นงานอีกด้านที่จะช่วยเผยแพร่องค์ ความรู้ทางศิลปะ อันเกิดจากการค้ น คว้ า ของนั ก วิ ช าการทางศิ ล ปะ และ อาจารย์ผู้สอนทางด้านทฤษฏีศิลปะ รวมทั้งยังเป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้น จากกิจกรรมของหอศิลป์เอง และมีการนำเสนอเรื่องราวโครงการและกิจกรรม ต่างๆ ของหอศิลป์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งหมายให้การเผยแพร่ข้อมูล
มีความสมบูรณ์ตามความประสงค์ ข องผู้ เขี ย นและเป็ น ประโยชน์ แ ก่ ผู้ อ่ า น
อย่างแท้จริง หอศิลป์ขอขอบคุณคณาจารย์นักวิชาการและผู้เขียนบทความ รวม ทั้งศิลปินทุกท่านที่มีส่วนให้วารสารหอศิลป์สำเร็จด้วยดี รวมถึงผู้ติดตามอ่าน โดยทางผู้จัดทํามีเจตนามุ่งหมายที่จะให้วารสารฉบับนี้เป็นสื่อกลางในการ สื่อสารเรื่องราวทางศิลปะออกไปสู่สาธารณชน และมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารศิลปะฉบับนี้จะสามารถเผยแพร่ได้อย่างสม่ำเสมอต่อไป อํามฤทธิ์ ชูสุวรรณ ผู้อํานวยการหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร
aw �������������.indd 3
7/17/12 2:19:23 PM
บทบรรณาธิการ
Art & Art Centre - วารสารหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับนี้เป็นการปรับ โฉมและเนื้อหาของวารสารหอศิลป์ในรูปแบบใหม่ หลังจากห่างหายมาหลายปี เพื่อให้ วารสารหอศิลป์สามารถทำหน้าที่ของสื่อกลางทางความรู้ความเข้าใจด้านศิลปะที่สามารถ เข้าถึงยังกลุ่มคนทั่วไปให้ได้มากที่สุด ภาพของวารสารวิชาการจึงถูกลบออกจนหมดสิ้น เหลือแต่ภาพของวารสารที่อ่านง่ายแต่ได้ความรู้ มีเนื้อหาที่หลากหลายที่แสดงให้เห็นถึง ความเชื่อมโยงระหว่างหอศิลป์กับงานศิลปะและเรื่องราวต่างๆ รอบตัว ในฉบับนี้เราเริ่มจากนิทรรศการที่เป็นโครงการศิลปะเชิงปฏิบัติการระหว่าง ศิลปินไทยและศิลปินจากนอร์ดิกที่จัดขึ้นในปีที่ผ่านมา ตามด้วยคอลัมน์ประจำต่างๆ ทั้ง จากกองบรรณาธิการและนักเขียนรับเชิญ เริ่มจากเนื้อหาที่เป็นวิชาการศิลปะทั้งตะวันตก และตะวันออกซึ่งได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.นรินทร์ รัตนจันทร์ และดร.วรนันท์ โสวรรณี, เนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรมกับเรื่องราวของสล่ามณฑล ปินตาสี - พ่อครูแห่งเมืองลำปาง, ศิลปะชุมชนกับคนทำงานชุมชนที่มาบอกเล่าการเข้าไปทำงานศิลปะกับเด็กๆ ในชุมชน จริงๆ, คอลัมน์ดนตรีของศิลปินนุ วุฒิวิชัย, บทความสะท้อนภาพวงการศิลปะร่วมสมัย, งานจากโครงการศิลปกรรมสะสมกับนิทรรศการแรก “สรรพนามธรรม”, เกร็ดความรู้ของ งานอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นงานส่วนหนึ่งของหอศิลป์ฯ, คอลัมน์ภาพยนตร์อิสระที่ไม่เป็น ภาพยนตร์กระแส, บทความเกี่ยวกับงานด้านพิพิธภัณฑ์, บทความท่องเที่ยวเชิงศิลปะที่ใน ฉบับนี้เราจะอยู่ในภูมิภาคนอร์ดิก, เรื่องของศิลปะเกี่ยวเนื่องสาขาอื่นที่น่าสนใจกับงาน ศิลปะภาพถ่าย, และที่ขาดไม่ได้คือ บทสัมภาษณ์ศิลปิน โดยในฉบับแรกนี้ อาจารย์สมวงศ์ ทัพรัตน์ เป็นศิลปินที่เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักในฐานะของศิลปินครูที่แท้จริง ทีมงานจัดทำวารสารหอศิลป์ฉบับนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถทำให้ผู้อ่าน เห็นภาพของศิลปะที่สัมพันธ์กับเรื่องราวต่างๆรอบตัวได้กว้างขึ้นและเข้าใจมากยิ่งขึ้น ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ บรรณาธิการ
aw �������������.indd 4
7/17/12 2:19:23 PM
สารบัญ 6
18
24
32
34
39
44
46
Art & Exhibition หนาว หนาว ร้อน ร้อน กับ Art Exhibition Thai : Nordic 2011 (Temperature) กองบรรณาธิการ Art & Today ศิลปะร่วมสมัยกับกระบวนการเรียนรู้ โลกและเรียนรู้ศิลปะ กฤษฎา ดุษฎีวนิช Art & Theory นิยาม “หลังสมัยใหม่” (Defining Postmodern) ผศ.ดร.นรินทร์ รัตนจันทร์ Art & Film Who are you?...ใครคือคุณ soifa Art & Collections มรรคาของนามธรรม = มรรคาของศิลปะสมัยใหม่ กฤษฎา ดุษฎีวนิช Art & Conservation เรียนรู้อนุรักษ์ที่ CCMC อาจารย์โอชนา พูลทองดีวัฒนา Art & Relation Portrait and Delineation กองบรรณาธิการ
46
34
6
56
64
72
82
83
86
93
Art & Theory “อาคารถาวรวัตถุ” กับ ความงามแบบไทย ที่ (ไม่ค่อยจะ) “โปร่ง เบา ลอย” ดร.วรนันท์ โสวรรณี Art & Culture “ต้องลาย” ตามหา พบพาน ขานต่อ กองบรรณาธิการ Art & Community ศิลปะชุมชนกับคนอาสา กองบรรณาธิการ Art & Activities เก็บข่าวมาฝาก กองบรรณาธิการ Art & Sound นัยยะแห่งองค์ราชัน นุ วุฒิวิชัย Art & Museum พิพิธภัณฑ์เพลินๆ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ Art & Sights เก้าอี้นั่ง (ศิลป์) สาธารณะ วิชนัญ กลั่นรอด
Art & Artist ศิลปินครู อ.สมวงศ์ ทัพรัตน์ กองบรรณาธิการ
aw �������������.indd 5
7/17/12 2:19:33 PM
aw �������������.indd 6
7/17/12 2:19:35 PM
ART & EXHIBITION
กองบรรณาธิ การ
หนาว หนาว ร้อน ร้อน กับ
ART EXHIBITION THAI : NORDIC 2011 (Temperature)
ราวเดื อ นสิ ง หาคมปี ที่ ผ่ า นมา หอศิ ล ป์ ม หาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรได้ มี โครงการศิลปกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือที่ เราเรี ย กกั น สั้ น ๆ ว่ า กลุ่ ม ประเทศนอร์ ดิ ก ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม ประเทศที่ มี ที่ ตั้ ง และ กายภาพที่มีความต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก สิ่งที่เรารับรู้ได้ทันทีก็คือ ความแตกต่างทางอุณหภูมิ ซึ่งความต่างด้วยเรื่องอุณหภูมินี้อาจเป็นปัจจัยหลักที่ ก่อให้เกิดในสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เครื่อง
แต่ ง กาย ที่ พั ก อาศั ย หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ศิ ล ปะ อุ ณ หภู มิ จึ ง ถู ก นำมาเป็ น กรอบ
ความคิดหลักของนิทรรศการในครั้งนี้ และผลจากความต่างของอุณหภูมิในแง่มุมต่างๆ จึงถูกถ่ายทอดผ่าน
ผลงานของศิลปินในนิทรรศการ ART EXHIBITION THAI : NORDIC 2011 (Temperature) ซึ่งเป็นโครงการศิลปะเชิงปฏิบัติการที่ได้นำศิลปินจากกลุ่ม ประเทศในภูมิภาคนอร์ดิกและศิลปินจากประเทศไทยมาร่วมกันสร้างสรรค์ผล งานศิลปะ โดยมีศิลปินเข้าร่วมทั้งหมดรวม 18 คน โดยแบ่งเป็นศิลปินจากกลุ่ม ประเทศนอร์ดิก 3 คน และศิลปินไทยจำนวน 15 คน โดยศิลปินไทยจะทำงาน เป็ น คู่ ห รื อ กลุ่ ม ส่ ว นศิ ล ปิ น จากกลุ่ ม ประเทศนอร์ ดิ ก นั้ น จะเปิ ด โอกาสให้ สร้างสรรค์เดี่ยวได้อย่างอิสระ ซึ่งผลงานที่ปรากฏออกมาเมื่อหลังจากเสร็จสิ้น โครงการในครั้งนั้นได้สร้างปรากฏการณ์ของการเผยความต่างทางวัฒนธรรมจาก 2 ขั้วภูมิประเทศอย่างมาก ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลงานศิลปะร่วมสมัยที่ กลั่นกรองออกมาจากตัวตน พื้นเพของแต่ละทัศนคติ ความรู้สึก และวัฒนธรรม อย่างแท้จริง ซึ่งภาพร่วมของผลงานที่เกิดขึ้นในแต่ละชิ้นงานนั้นล้วนมีความ
น่ า สนใจและแตกต่ า งกั น ไปตามมิ ติ แ ละมุ ม มองของการตี โจทย์ ที่ ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ ง อุณหภูมิ
aw �������������.indd 7
7/17/12 2:19:36 PM
โดยผลงานมีทั้งสิ้น 10 ผลงาน จากศิลปินไทย 7 ผลงาน และจากศิลปินจากกลุ่ม ประเทศนอร์ดิก 3 ผลงาน แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนั้นมีความหลากหลาย บางกลุ่ม เลือกที่จะใช้วัสดุเป็นสื่อความคิด บางกลุ่มเลือกที่จะให้เนื้อหาที่เป็นเรื่องราว/เรื่องเล่า ความเป็นพื้นถิ่น/พื้นเพ หรือแม้แต่บางกลุ่มที่แสดงออกในมิติของความเป็นปัจเจกมุ่งเน้น เรื่องราวความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก แต่ความน่าสนใจในผลงานที่เกิดขึ้นนั้นคือ ผลงาน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีการใช้วัสดุเป็นสื่อในการสร้างสรรค์เป็นหลัก ซึ่งล้วนมีนัยที่สะท้อนถึง กรอบความคิ ด หลั ก ของนิ ท รรศการ นั่ น คื อ อุ ณ หภู มิ เช่ น มี ก ารใช้ ไ ม้ ไ ผ่ ทราย ขี้ ผึ้ ง
ดินเหนียว ฯลฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศิลปินไม่ว่าจะเป็นศิลปินไทย หรือศิลปินจากกลุ่ม
ประเทศนอร์ดิกก็ล้วนแต่มีมุมมองในเรื่องของอุณหภูมิที่ผูกโยงกับเนื้อหาของวัสดุ ดังนั้น การที่ศิลปินเลือกใช้สื่อที่เป็นวัสดุซึ่งมีนัยในทิศทางของอุณหภูมิก็แสดงให้เห็นว่า วัสดุคือ ทางออกของการตีความ/ตีโจทย์ของศิลปินนั่นเอง
“Shelter”
aw �������������.indd 8
7/17/12 2:19:39 PM
Henny Linn Kjellberg เป็นศิลปินที่มีการนำวัสดุมากล่าวใน ประเด็นที่ว่าด้วยเรื่องอุณหภูมิได้อย่างน่าสนใจ ในผลงานที่ชื่อ “Shelter” มีการใช้วัสดุที่เป็นไม้ไผ่และดินเซรามิกเป็นหลัก เฮนนี่เป็นศิลปินเซรามิกชาว สวีเดนมักสร้างสรรค์งานศิลปะโดยการผสานพอร์ซเลนสีขาวกับงานประเภท อื่นๆ มากมายโดยเล่นกับสื่อและวัสดุที่แปรไปตามพื้นที่ที่เธออยู่ ในผลงาน “Shelter” เธอได้สร้างสรรค์ผลงานด้วยวัสดุที่เป็นไม้ไผ่ และดินเหนียว (เซรามิก) นำมาประกอบสร้างเป็นผนังที่ตอบสนองถึงความต้องการในด้านที่ อยู่อาศัยซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยของอุณหภูมิ ในสภาพอากาศที่หนาวต้องการ ความอบอุ่นถูกแทนด้วยโครงสร้างผนังไม้ไผ่ที่ผสานกับชิ้นเซรามิกสีขาวที่ขด เป็นก้นหอยแน่นๆ แทนผนังที่ไม่ต้องการให้อากาศหนาวเย็นผ่านเข้ามาได้ และโครงสร้างค่อยๆ คลายให้เป็นวงหลวมที่สะท้อนสภาพภูมิอากาศร้อน ต้องการความโปร่งสบายและระบายอากาศได้ดี เช่นเดียวกับที่อยู่อาศัยใน เขตภูมิประเทศของไทยที่มีทั้งความร้อนและความชื้น โดยเฮนนี่ยังได้นำ “ความร้อนและความชื้น” มาสื่อผ่านไม้ไผ่ที่ทั้ง สดและชื้น โดยมีการยืดและหดตัวเมื่อเจออุณหภูมิที่ต่างกันมาประกอบ สร้างกับวัสดุอย่างเซรามิกที่เป็นวัสดุแข็งไม่ยืดหด จึงเกิดปฏิกิริยาของการ เปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากความต่างของอุณหภูมิ จากผนังที่ตั้งสง่าและมี โครงสร้างของความคงทนแข็งแรง กลายสู่ซากกองไม้ไผ่ที่พังทลายลงสู่พื้น ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในงานนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เป็นภาพคู่ขนานที่ เกิดจากการปะทะกันระหว่างอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นและเย็นลงอย่างรวดเร็ว อาจอุ ป มาเปรี ย บดั่ ง ความบอบบางของมนุ ษ ย์ ร วมทั้ ง โลกที่ อ ยู่ ภ ายใต้ ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดย การเลือกใช้วัสดุนั้นตอบสนองต่อทั้งกรอบความคิดนิทรรศการ และต่อโลกที่ เราอาศัยอยู่
aw �������������.indd 9
7/17/12 2:19:40 PM
10
“2 อุณหภูมิ 2 สภาวะ”
การปะทะกันของอุณหภูมิยังสามารถเห็นได้ในงานของกลุ่มของ ศิลปิน พรรษา พุทธรักษา, ศุภวัฒน์ วัฒนภิโกวิท และ วรรณพล แสนคำ ใน “2 อุณหภูมิ 2 สภาวะ” ซึ่งมีการใช้วัสดุที่มีเรื่องราวและ กายภาพที่มุ่งไปที่อุณหภูมิโดยตรง นั่นคือ ขี้ผึ้งหรือเทียน ขี้ผึ้งคือสสาร ทางธรรมชาติที่ตอบสนองและเปลี่ยนแปลงไปตามความแปรเปลี่ยนของ อุณหภูมิ เมื่อร้อนจะกลายเป็นของเหลว เมื่อเย็นจะกลายเป็นของแข็ง อาจกล่ า วได้ ว่ า วั ส ดุ ดั ง กล่ า วนี้ มี ส องบุ ค ลิ ก ภาพที่ พ ร้ อ มจะเป็ น ได้ ทั้ ง ของเหลวและของแข็ง การสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ต้องการให้เห็นรูปและ นามของสิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า อุ ณ หภู มิ ด้ ว ยการแสดงออกของการปะทะกั น ระหว่ า งความร้ อ นและความเย็ น ผ่ า นการต้ ม ขี้ ผึ้ ง จากก้ อ นที่ มี ค วาม
แข็งตัวให้กลายเป็นของเหลว แล้วจึงนำมาเทใส่ภาชนะ (แม่พิมพ์) ที่มี
น้ำแข็งก้อน ผลลัพธ์ที่ได้คือการปะทะกันระหว่างความร้อน (จัด) และ ความเย็น (จัด) ซึ่งทำให้เกิดรูปทรงแห่งการปะทะของอุณหภูมิ ก้อนขี้ผึ้ง สีขาวในรูปทรงต่างๆ นั้นคือภาพประทับของกระบวนการทางศิลปะ
ผลงานชิ้ น นี้ มุ่ ง เน้ น ทดลองหาความเป็ น ไปได้ ใ หม่ ใ นทางศิ ล ปะโดยใช้ กรอบความคิดที่ว่าด้วยเรื่องอุณหภูมิเป็นตัวแปรมากกว่าที่จะต้องการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่เสร็จสิ้นและจบสมบูรณ์ในตัวมันเอง
aw �������������.indd 10
7/17/12 2:19:41 PM
ในผลงานของ Anna Talbot ชื่อ “Escape from the Circus” เป็นการ นำตัวละครจากเรื่องเล่านิทานพื้นบ้านของประเทศนอร์เวย์มาผสานกับสีสันและ
รูปลักษณ์สัตว์ในวรรณคดีของไทย ซึ่งทำให้ผลงานของอันนานั้นมีความสนุกสนาน เป็นอย่างมาก ด้วยพื้นเพของอันนาเป็นศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะเครื่องประดับ (Jewelry) ทั้งตกแต่งร่างกายและตกแต่งผนัง และในครั้งนี้อันนาได้สร้างสรรค์เครื่อง ประดับที่มีขนาดใหญ่ด้วยการใช้เทคนิค/วัสดุและสีสันที่สวยงามอย่างไม้ ทองเหลือง ประกอบกับการสร้างรูปลักษณ์จากนิทาน/เทพนิยายและวรรณคดีจากทั้ง 2 ประเทศ ซึ่ ง ทำให้ ผ ลงานที่ ไ ด้ อ อกมานั้ น ปรากฏ “เรื่ อ ง” ที่ ส ามารถสะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง จินตนาการที่มีแต่ความสนุกสนานอันเนื่องมาจากประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้ วัฒนธรรมที่แตกต่างจากประเทศไทย สิ่งที่ปรากฏเด่นชัดที่สุด คือการใช้รูปลักษณ์ที่มี ความต่างทางวัฒนธรรมมาปะทะกันเพื่อให้เกิดเรื่องราว ซึ่งสอดคล้องกับผลงานของ กลุ่มศิลปินไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่มีการใช้รูปลักษณ์ในความเป็นพื้นถิ่นหรือรากเหง้าของ ตนและนำมาแสดงออกให้เห็นถึงวัฒนธรรมในเขตภูมิภาคของตน ผลงานของ ชูศักดิ์ ศรีขวัญ และ ฤทัยรัตน์ คำศรีจันทร์ ซึ่งเป็นศิลปินไทย ที่มีแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มุ่งเน้นอัตลักษณ์ความเป็นไทยเป็นพื้นเพ
ชู ศั ก ดิ์ นิ ย มสร้ า งสรรค์ ผ ลงานศิ ล ปะในเทคนิ ด ตอกหนั ง สั ต ว์ (หนั ง ตะลุ ง ) ส่ ว น
ฤทัยรัตน์สร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยเทคนิคเย็บปักถักร้อย และเมื่อทั้งคู่มาร่วมกัน สร้างสรรค์ผลงานศิลปะในครั้งนี้ ความสนุกสนานในด้านเทคนิคและเนื้อหาของ
“Escape from the Circus”
aw �������������.indd 11
11
“แดนสุวรรณภูมิ”
7/17/12 2:19:44 PM
12
ผลงานศิลปะจึงได้เกิดขึ้น “แดนสุวรรณภูมิ” คือชื่อผลงานที่กล่าวถึงเรื่องราวใน ดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วยการเล่าเรื่องแบบภาพพระบฏ ที่มีเนื้อหาเรื่องราวอยู่ที่ ความสวยงามความสงบสุขในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งมีการใช้เทคนิคที่ผสมและสอด ผสานได้อย่างน่าสนใจ ด้วยเทคนิดการปะติด ฉลุกระดาษ เย็บผ้า แม้จะไม่ได้มี การหยิบยกประเด็นในเรื่องอุณหภูมิในมิติที่เด่นชัดนัก แต่ในความงามความสงบ สุขในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้สามารถสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในดินแดนนี้ได้ อย่างดี ผลงานอี ก ชิ้ น ที่ น ำเสนออุ ณ หภู มิ ด้ ว ยความรู้ สึ ก อี ก ด้ า นของวั ส ดุ คื อ
ผลงานของ Petri Eskelinen ศิลปินฟินแลนด์ที่มุ่งเน้นสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ในเชิงทดลอง และมีการผสมผสานศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และกลไกเข้ากับ ศิ ล ปะ เพตริ เ ปรี ย บเสมื อ นนั ก ทดลองทางศิ ล ปะที่ มี ห้ อ งแล็ ป เป็ น แกลอรี่
แสดงผลงานศิลปะ เขาใช้วัสดุอย่าง “ทราย” ในงาน “Dry rain” ซึ่งเป็นการ ทดลองที่ว่าด้วยเรื่องอุณหภูมิ โดยการนำเสียงมาสร้างให้เกิดเป็นเสียงฝนที่ให้ ความรู้สึกเย็นและชื้น ด้วยวัสดุที่มีกายภาพแห้งกับเสียงฝนที่กำลังตกนั้นกลับ สร้างความรู้สึกขัดแย้งในความจริงเป็นอย่างมาก ในสิ่งที่เพตริทำคือการสร้าง เครื่องมือในการเทเม็ดทราย และมีวัสดุรองรับอย่างถ้วย ชาม สังกะสี (ในแบบ ไทยๆ) มาเป็นวัตถุที่ทำให้เกิดเสียง เมื่อผู้ชมนำทรายที่อยู่ในกระบะด้านล่าง
เทลงภาชนะด้านบน เม็ดทรายก็จะร่วงหล่นลงมากระทบจานชามสังกะสีจน
“Dry rain”
aw �������������.indd 12
7/17/12 2:19:46 PM
13
“วาฬวิชนี”
สามารถเกิดเสียงฝนที่เย็นฉ่ำ ด้วยกลวิธีของการนำผู้ชมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ สร้างเสียงของฝน จึงนับได้ว่าผลการทดลองในครั้งนี้ของเพตริ ประสบผลสำเร็จใน ด้านศิลปะเป็นอย่างมาก ผลงานชิ้นต่อมาที่มีการนำกายภาพของวัสดุมานำเสนอให้รู้สึกในทิศทาง ที่ตรงกันข้ามจนสามารถสร้างมายาของคำว่าอุณหภูมิได้ คือ “วาฬวิชนี” โดย เถกิง พัฒโนภาษ และ พิม สุทธิคำ ผลงานชิ้นเป็นการนำรูปทรงของพัดที่เป็น เครื่องมือคลายร้อนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนานในดินแดนแถบนี้ รูปทรงของพัดที่นำมาใช้นี้คือรูปทรงของพัดโบกที่นิยมใช้กันในชนชั้นสูงที่มีชื่อเรียก ว่า “วาลวิชนี” และด้วยชื่อนี้จึงเป็นการเล่นเสียงพ้องกับการนำเรื่องราวของการ ดำรงชีพของ “วาฬ” มากล่าวถึง ผ่านรูปร่างของ “วาฬ” ที่นำมาเสนอให้เห็นถึง การอพยพย้ายถิ่นของเหล่าปลาวาฬซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่สุดใน โลกจากท้องทะเลเขตหนาวมาผสมพันธุ์ในเขตร้อนกลางมหาสมุทรอันอบอุ่นใน แถบเส้นศูนย์สูตร ปลาวาฬจึงเป็นสัญญะอันเชื่อมโยงระหว่างอุณหภูมิอันต่างขั้ว ของภูมิภาค และพัดที่ศิลปินสร้างขึ้นนี้จึงมีนัยที่ซ้อนทับแฝงอยู่ โดยมีการสร้าง มายาของคำว่าอุณหภูมิ ซึ่งกายภาพของพัดควรมีรูปทรงเบาที่ให้ลมเย็นที่ผ่อน คลายแต่กลับมีกายภาพจริงที่หนัก (ราว 30 กิโลกรัม) นอกจากนั้นในนิทรรศการ ศิลปินยังได้มีการใช้สื่อร่างกายเข้ามาเป็นสื่อในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ (ศิลปะ แสดงสด) โดยการมีผู้แสดงคอยพัดไปตามผลงานของศิลปินท่านอื่น ซึ่งนับได้ว่า เป็นกิจกรรมที่สร้างความตื่นตา/ตื่นใจเป็นอย่างมากในวันเปิดนิทรรศการเสมือน
aw �������������.indd 13
7/17/12 2:19:49 PM
14
เป็นการเชื่อมโยงผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากความต่างทางอุณหภูมิให้โยงใย และสัมพันธ์กัน สอดคล้องกับผลงานของ ประสิทธิ์ วิชายะ และ ลูกปลิว จันทร์ พุดซา ใน “ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน” ศิลปินทั้งสองได้สร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะที่มีเนื้อหา/เรื่องราวผูกโยงกับการที่เรา (มนุษย์) อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ ของธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างกันระหว่างเชื้อชาติ สายพันธุ์ หรือ วั ฒ นธรรมแต่ ล ะบุ ค คล ในผลงานนี้ ป ระสิ ท ธิ์ แ ละลู ก ปลิ ว ใช้ วั ส ดุ อ ย่ า ง
ดินเหนียวมาปั้นเป็นใบหน้าคนที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและ เมื่อปั้นเสร็จจึงนำมาเผาด้วยความร้อนสูงด้วยเทคนิคดินเผาพื้นบ้าน ซึ่งผล
ที่ได้ออกมานั้นจะปราศจากความสม่ำเสมอในแต่ละใบหน้า เปรียบดั่งคน
แต่ละคนที่ไม่มีทางที่จะหาความเหมือนที่ตรงกันได้ ซึ่งทำให้สอดคล้องกับ กรอบความคิดของผลงานที่ว่าด้วยการดำรงอยู่ของมนุษย์ภายใต้กฏเกณฑ์ ของธรรมชาติที่ว่าด้วยความต่างและความต่างของสิ่งต่างๆ นี้มันคือสิ่งที่เรียก ว่าธรรมชาติ
“ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน” aw �������������.indd 14
7/17/12 2:19:54 PM
“ท่วงทำนองของอากาศ จินตนาการ และอารมณ์”
“อุณหภูมิ”
aw �������������.indd 15
ผลงานชิ้ น ต่ อ มาคื อ ผลงานของ วี ร วั ฒ น์ 15 สิริเวสมาศ และ อดิเรก โลหะกุล ใน “ท่วงทำนองของ อากาศ จิ น ตนาการ และอารมณ์ ” ซึ่ ง เป็ น ผลงาน ประติ ม ากรรมที่ มี ก ารใช้ ไ ม้ ไ ผ่ เ ป็ น วั ส ดุ ห ลั ก ในการ สร้างสรรค์ ผลงานที่ปรากฏนี้ค่อนข้างจะเป็นผลงานใน แนวทางนามธรรมที่มุ่งเน้นสภาวะภายในของศิลปินที่มี การแสดงออกผ่าน “เส้น” และเส้นที่ว่านี้คือเส้นที่ได้จาก ไม่ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เส้นไม้ไผ่ได้ถูกถักร้อยเสมือนกับการวาดภาพใน อากาศอย่างอิสระ ซึ่งรูปทรงที่เกิดขึ้นคล้ายกับว่าเป็น
รูปทรงมนุษย์ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดออกมาจากภายในสู่ พื้นที่ของความเป็นจริงภายนอก โดยมีที่มาจากบริบท ของสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสภาพภูมิอากาศที่สร้างวิถีชีวิต ทัศนคติ วัฒนธรรม รวมทั้งความคิดอ่านของศิลปิน ซึ่ง อาจเปรียบดั่งหลักฐานทางจินตนาการและอารมณ์ความ รู้สึกที่เป็นผลกระทบจากบริบทและสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่ และมี อี ก หนึ่ ง ผลงานที่ มี ป ระเด็ น ในการ
สร้ า งสรรค์ จ ากเรื่ อ งราวเฉพาะตน นั่ น คื อ รณภพ เตชะวงศ์ และ คงศั ก ดิ์ กุ ล กลางดอน ผลงานชื่ อ “อุณหภูมิ” ได้หยิบจับวัสดุที่สามารถบ่งบอกถึงวิถีชีวิต (ของคนไทย) ได้อย่างชัดเจน จอบ เสียม และวัสดุต่างๆ ที่ ใ ช้ ป ระกอบอาชี พ เกษตรกรรมล้ ว นถู ก นำมาเป็ น
วั ส ดุ ห ลั ก ในการสร้ า งสรรค์ ผ ลงานเพื่ อ ที่ จ ะบ่ ง บอกถึ ง
วิถีชีวิตที่เป็นผลสืบเนื่องมากจากบริบทหรือสิ่งแวดล้อมที่ เป็นอยู่ สังคมเกษตรกรรมคือวิถีชีวิตที่ผูกโยงกับคนไทย มายาวนาน และในผลงานชิ้นนี้ก็ได้มีการนำเสนอวิถี แห่งสังคมเกษตร ด้วยการนำเสนอวัสดุอย่างเครื่องมือ เครื่องใช้ในทางเกษตรกรรมผนวกกับการสร้างสรรค์ใน ทางความงามที่มีการวาดภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีชีวิต
7/17/12 2:19:59 PM
16
“ที่มา ที่เป็น ที่ไป”
ดังกล่าวลงไปในเครื่องมือเครื่องใช้ดังกล่าว ซึ่งทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาใน ผลงานศิลปะชิ้นดังกล่าวนั้นอุดมไปด้วยเรื่องราวแห่งวิถีชีวิตที่ผูกโยงกับ บริบทของสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสภาพภูมิอากาศ ผลงานชิ้นท้ายสุดที่มีการนำเรื่องของอุณหภูมิที่มีที่มาจากสภาวะ ภายในที่เป็นส่วนตัวมาสื่อเป็นผลงานของ สุวิชชา และ กฤษฎา ดุษฎีวนิช ศิ ล ปิ น สองพี่ น้ อ งในครั้ ง นี้ ทั้ ง คู่ ไ ด้ จ ำลองยานพาหนะที่ ส ามารถบ่ ง บอก
เรื่องราวในความเป็นส่วนตัว ที่ทั้งผ่านร้อน ผ่านหนาว ผ่านอุณหภูมิและ บรรยากาศแห่งการใช้ชีวิต ในงาน “ที่มา ที่เป็น ที่ไป” ซึ่งเป็นผลงาน--การ ขุดเรื่องราวออกมาจากชีวิตจริงและสถานการณ์จริง รูปทรงรถกระบะที่ทำ จากไม้ที่ปรากฏในนิทรรศการนั้นคือภาพแทนของความเป็นจริงที่มี “ที่มา ที่เป็น และที่ไป” ต่างกรรม ต่างวาระกัน ผลงานชิ้นดังกล่าวอาจไม่ค่อยนำ เสนอสารต่างๆ ที่เป็นสาธารณะมากนัก เพราะในเนื้อหาของผลงานมีความ เป็นส่วนตัวอยู่มาก คนที่จะรับทราบเนื้อหา/เรื่องราวของผลงานนั้นย่อมจะ ต้องเป็นคนที่รู้จักศิลปินทั้งคู่เป็นอย่างดี ซึ่งตามจุดประสงค์ของการสร้าง สรรค์ผลงานของศิลปิน ดังข้อความที่ปรากฎอยู่ท้ายรถกระบะที่ว่า “Don’t let him carry exceed load” ข้อความดังกล่าวนี้อาจมีประวัติศาสตร์ และความเป็นมาที่ศิลปินรู้สึกและต้องการจะบอกให้คนใกล้ๆ ตัวรับรู้และ เข้าใจ
aw �������������.indd 16
7/17/12 2:20:05 PM
17
นิ ท รรศการ Temperature นี้ ไ ด้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง ความต่ า งใน
ศิลปวัฒนธรรมจากคนที่อยู่คนละซีกโลก แต่ผลลัพธ์กลับสะท้อนให้เห็นถึง สภาพความเป็นจริงของวัฒนธรรมที่แม้จะมีความแตกต่างแต่หากเกิดการ เรียนรู้และเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ความแตกต่างนั้นก็ไม่สามารถ สร้างสภาวะของความเป็น “อื่น” ของวัฒนธรรมได้ กระบวนการดังกล่าว อาจเป็นสิ่งที่ควรนำมาเป็นวิธีในการมองโลกและวัฒนธรรมในยุค “โลกา ภิวัตน์” ที่ดูเหมือนจะมีการสร้างวัฒนธรรมโลกขึ้นมา และวัฒนธรรมโลกที่ สร้างขึ้นมานี้อาจจะไม่ใช่การเอาวัฒนธรรมหนึ่งเข้าไปแทนที่วัฒนธรรมอื่น หากแต่ ค วรเกิ ด การเรี ย นรู้ เข้ า ใจ และยอมรั บ ในความต่ า ง ซึ่ ง ถ้ า เกิ ด กระบวนการต่างๆ เหล่านี้แล้ว ความเป็นอื่นและความแปลกแยกทางสังคม วั ฒ นธรรมอั น นำมาซึ่ ง ความรุ น แรงและสงครามก็ จ ะเป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ เข้ า มา
ย่างกรายเราและโลกของเรา p *นิทรรศการ ART EXHIBITION THAI : NORDIC 2011 (Temperature) ได้จัดแสดง ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม - 23 กันยายน 2554
aw �������������.indd 17
7/17/12 2:20:06 PM
18
“...การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นควรเป็น “การเรียนรู้” ที่ขยายตัว “ในแนวราบ” ที่มิใช่แนวดิ่งอย่างที่เคยเป็นมา...”
aw �������������.indd 18
7/17/12 2:20:06 PM
ART & TODAY
กฤษฎา ดุษฎีวนิช
19
ศิลปะร่วมสมัย
กับกระบวนการเรียนรู้โลกและเรียนรู้ศิลปะ หลังจากการประสบความสำเร็จในการก่อตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน ของรัฐที่จะมาคอยกำกับดูแลและสนับสนุนให้ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย มี ท างเดิ น ที่ ส วยงามและมั่ น คง ด้ ว ยการก่ อ ตั้ ง สำนั ก งานศิ ล ปวั ฒ นธรรม
ร่วมสมัยหรือ ส.ศ.ร. ซึ่งเป็นองค์กรรัฐที่อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ในปี พ.ศ.2545 จากความสำเร็จของการเกิดขึ้นขององค์กรนี้ทำให้เหล่า บรรดาศิ ล ปิ น ในประเทศไทยมี ค วามหวั ง ที่ จ ะเห็ น ภาพของพั ฒ นาการ
ศิลปะร่วมสมัยให้มีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง หากแต่ในโครงสร้างสังคมไทย รูปร่างหน้าตาของศิลปะร่วมสมัยที่ เกิดขึ้นในขณะนั้นยังเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากผู้คนในสังคมอยู่มาก ทั้งความสูงส่ง ของศิลปิน ทั้งผลงานศิลปะที่ค้อนข้างจะเข้าถึงได้ยาก ทำให้ผู้คนในสังคม มองว่าศิลปะเป็นเรื่องที่ไกลตัว ซึ่งปัญหาต่างๆ ที่ได้กล่าวมานี้เป็นปัญหาที่ ทำให้เกิดการคิดและทบทวนมาแล้วในช่วงเวลาหนึ่ง และได้ถูกแก้ไขโดยการ มองไปที่สาเหตุว่า ผู้คนในสังคมไม่รับทราบหรือรับรู้กิริยาอาการทางศิลปะ ร่ ว มสมั ย ที่ เ ป็ น อยู่ เ พราะพื้ น ที่ ใ นการแสดงออกของศิ ล ปะต่ า งๆ นั้ น ยั ง มี จำนวนน้อยและยังห่างไกลกับผู้คนในสังคม หรือที่มีนั้นก็เป็นพื้นที่ที่เป็นใน ลักษณะเฉพาะกลุ่ม ซึ่งสามารถรองรับผลงานศิลปะและผู้ชมผลงานศิลปะที่ อยู่ในวงหรือเครือข่ายของใครของมันเท่านั้น และด้วยมูลเหตุต่างๆ เหล่านี้ที่ถูกทำความเข้าใจว่าเป็นปัญหาหลัก ผนวกกับการเพาะบ่มมาเป็นเวลานานจึงทำให้กลายเป็นเป้าหมายเพื่อที่จะ เรียกร้องพื้นที่ของศิลปะตามมา และหลังจากนั้นไม่นานปัญหาต่างๆ ก็ดู เหมื อ นจะคลี่ ค ลายลงด้ ว ยการเปิ ด พื้ น ที่ ท างศิ ล ปะแห่ ง ใหม่ ซึ่ ง เป็ น พื้ น ที่
aw �������������.indd 19
7/17/12 2:20:06 PM
20
...ผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงเป็นกระจกบานใหญ่ ที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม สังคมเป็นเช่นไร ศิลปะก็มีการแสดงออกเช่นนั้น...
ที่อุดมไปด้วยกายภาพทางการแสดงผลงานศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่างเพรียบพร้อม และพื้นที่ดังกล่าวนี้คือ หอศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) หอศิลป์แห่งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งผลสำเร็จที่เกิดจากการผลักดันโดยกลุ่มศิลปินใน ประเทศไทยที่ได้ต่อสู้และเรียกร้องให้มีการสร้างพื้นที่แห่งนี้มาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนหน้า นายสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร และหลังจากการต่อสู้เพื่อ ให้ได้มาซึ่งพื้นที่ดังกล่าวสำเร็จลงจึงเกิดพื้นที่แสดงผลงานศิลปะที่มีที่ตั้งในทำเลที่สวยงาม และอยู่ย่านใจกลางเมือง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คือสถานที่แสดงผลงาน ศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยแห่งใหม่ที่ถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองและรองรับในสิ่งที่ เรียกว่าศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อเป็นพื้นที่หลักในการแสดงออกของการมีอยู่ของคำว่า วัฒนธรรมร่วมสมัยในสังคมไทย และเมื่อหอศิลป์แห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้นปัญหาต่างๆ ที่ดู เหมือนว่าจะเป็นปัญหาทางการรับรู้ผลงานศิลปะ (ร่วมสมัย) ก็ดูเหมือนจะจบลงด้วยการ เกิดขึ้นของหอศิลป์แห่งนี้ แต่ทั้งนี้การมีอยู่ของหอศิลป์ที่มีพื้นที่อาคารอันใหญ่โตไม่สามารถเป็นตัวชี้วัดว่า โครงสร้างของศิลปะร่วมสมัยในสังคมไทยมีความพร้อมเพรียงและเข้มแข็งเพียงพอที่จะ ทำให้ผู้คนสาธารณะมีความสนใจและเข้าใจในศิลปะร่วมสมัยในแบบที่เป็นอยู่ ทั้งนี้อาจ เป็นเพราะการมองปัญหาในระดับโครงสร้างนั้นเป็นการมองไปที่ระดับยอดบนสุด หากแต่ ยังมิได้มีการมองในระดับรากฐานอย่างจริงจัง และปัญหาในระดับรากฐานดังกล่าวนี้มันคือ ปั ญ หาของการขาดความเข้ า ใจในบริ บ ทของศิ ล ปะร่ ว มสมั ย โดยปั ญ หาในเรื่ อ งการ ขาดแคลนพื้นที่รองรับการผลงานศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่รองมาจากปัญหาหลักเพียงเท่านั้น
aw �������������.indd 20
7/17/12 2:20:06 PM
การขาดความเข้าใจในบริบทของศิลปะร่วมสมัยนี้หากมอง 21 ย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือประวัติศาสตร์ศิลปะ ของประเทศไทยนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้เราได้เคยก้าวข้ามมาแล้ว ทั้งสิ้น เช่น ปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของภาพที่มีความถูกต้องตามหลัก ทัศนียภาพ (perspective) ราวสมัยรัชกาลที่ 4 ขรัวอินโข่งเขียนภาพ จิตรกรรมประกอบฝาผนังวัดบรมนิเวศวิหาร, วัดบรมนิวาสฯ ซึ่งปรากฏ ภาพที่มีระยะใกล้ไกลตามหลักทัศนียวิทยาอันสร้างความตื่นตาและ แปลกใจกันในสังคมยุคสมัยนั้นเป็นอย่างมาก และยังอีกทั้งอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 (พระบรมรูปทรงม้า) ที่ถูกสร้างขึ้นก็เป็นสิ่งแปลกใหม่ต่อ ผู้คนในสังคมยุคสมัยหนึ่งเช่นกัน ทั้งนี้การไหลบ่าของศิลปะที่มีรูปร่าง หน้าตาผิดแผกไปจากเดิมนี้ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เรื่อยมา จนถึง รัชกาลที่ 5-6 ซึ่งทำให้คำว่าศิลปะที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในประเทศ ไทยนั้นมีรูปร่างหน้าตาที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเดิม ปรากฏการณ์ของความผิดแผกแตกต่างของศิลปะในสมัยนั้น ได้ถูกคลี่คลายลงเมื่อศาสตร์ความรู้ทางศิลปะทางฝั่งตะวันตก (ยุโรป) เข้ามาในประเทศไทยอย่างจริงจังโดยการนำทัพของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (Corrado Feroci) และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยศาสตร์ความรู้ ทางฝั่งอเมริกา โดยการนำเข้ามาของศาสตราจารย์อารี สุทธิพันธ์ ซึ่ง จากนั้นเป็นต้นมา ความผิดแผกแตกต่างของศิลปะก็กลับกลายและ หล่อหลอมเป็นเนื้อก้อนเดียวกับสังคมไทย (ทั้งนี้อาจมีประเด็นทาง
การเมือง รัฐ ชาติ เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งทำให้ศิลปะเข้าไปแฝงตัวอยู่ใน ทุกๆ อณูบริบทของสังคมไทย) สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น เพี ย งการยกตั ว อย่ า งของการก้ า วข้ า ม ปรากฏการณ์ของความไม่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของผลงานศิลปะใน ยุคสมัยอดีต จากประวัติศาสตร์ที่เราก้าวข้ามมานั้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลให้เรามีความเข้าใจต่อรูปร่างหน้าตาของ ศิลปะที่มีความผิดแผกแตกต่างไปจากอดีตได้นั้นก็คือ “การเรียนรู้” การเรี ย นรู้ นั้ น คื อ ปั จ จั ย หลั ก ที่ ส ำคั ญ ต่ อ การรั บ รู้ ผ ลงาน
ศิลปะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานศิลปะร่วมสมัย ทั้งนี้เพราะผลงาน
aw �������������.indd 21
7/17/12 2:20:07 PM
22
ศิลปะร่วมสมัยนั้นเป็นศิลปะที่มีการแสดงออกจากศิลปินที่หลากหลายซึ่งมี ภาวะการรับรู้และการแสดงออกทางศิลปะที่แตกต่างกันไป ซึ่งการรับรู้และการ แสดงออกนั้นมาจากบริบท/สภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบศิลปินซึ่งส่งผลต่อ กระบวนการกลั่ น กรองออกมาเป็ น ผลงานศิ ล ปะ ผลงานศิ ล ปะที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน ปัจจุบันจึงเป็นกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนความเป็นไปของสังคม สังคมเป็น
เช่นไร ศิลปะก็มีการแสดงออกเช่นนั้น และเมื่อศิลปะมีบทบาทและหน้าที่ใน การสะท้อนสังคมแล้ว การเรียนรู้ศิลปะก็เปรียบเสมือนการเรียนรู้สภาวะต่างๆ ของสังคมด้วยขณะเดียวกัน ทั้งนี้การเรียนรู้ดังกล่าวมิใช่เป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจ และรับรู้ ความเป็นไปของกลไกสุนทรีย์ศาสตร์ในมิติทางศิลปะเท่านั้น หากการเรียนรู้นี้ คือการเรียนรู้ที่จะเข้าใจสังคมเข้าใจโลกที่มีการเคลื่อนตัวอย่างต่อเนื่อง ในทุกๆ วันนี้เราเองอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นโลกที่ทุกอย่างดูแคบลงด้วยวิทยาการ เทคโนโลยีการสื่อสาร เป็นโลกที่เป็นกลุ่มก้อน ที่เราถูกเทคโนโลยีกระทำให้ อาศัยอยู่ในหมู่บ้านโลกเดียวกัน และเมื่อเป็นเช่นนี้กระบวนการเรียนรู้ทาง ศิลปะจึงมีความสำคัญเพื่อที่จะเข้าใจความเป็นไปต่างๆ ในบริบทของโลก เมื่อ เราเรียนรู้การเคลื่อนตัวของศิลปะ เราเองก็จะเรียนรู้การเคลื่อนตัวของโลก
เช่นกัน และด้ ว ยเหตุ ปั จ จั ย ของการขาดการเรี ย นรู้ ใ นสิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า ศิ ล ปะ
ร่วมสมัยในประเทศไทยนั้นทำให้สังคมไทยอาจยังเป็นสังคมที่ห่างและไกลจาก ความเข้าใจในบริบทของศิลปะร่วมสมัย ที่เข้าใจก็เป็นความเข้าใจของกลุ่ม
คนเฉพาะกลุ่ ม เป็ น ความเข้ า ใจในแวดวงซึ่ ง มี จ ำนวนไม่ ม ากนั ก หรื อ ไม่ กระบวนการที่ จ ะทำให้ เข้ า ใจก็ อ ยู่ เ พี ย งในแวดวงวิ ช าการที่ ใช้ ภ าษาในการ สื่อสารอันยากจะเข้าถึง ซึ่งก็ไม่แตกต่างไปจากผลงานศิลปะ
...การเรียนรู้ในกระบวนการดังกล่าวนี้ จะสร้างบทสนทนาระหว่างผลงานศิลปะ กับผู้คนในสังคมโดยตรง...
aw �������������.indd 22
7/17/12 2:20:07 PM
ดังนั้น การเรียนรู้นี้ทุกฝ่ายต้องมีการร่วมมือกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าใน 23 ระดับองค์กรรัฐ เอกชน หรือแม้แต่ในโครงสร้างของศิลปะ (ภัณฑารักษ์ ศิลปิน นักวิจารณ์ฯ) ก็ย่อมจะต้องคิดและทบทวนกระบวนการการเรียนรู้ในสิ่งดังกล่าว เสียใหม่เพื่อที่จะทำให้โครงสร้างของศิลปะในสังคมไทยมีรากฐานที่มั่นคงและ อุดมไปด้วยความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่าศิลปะร่วมสมัยอย่างแท้จริง กระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวอาจเป็นฐานข้อมูลในการทำความเข้าใจ
ผลงานศิลปะร่วมสมัย หรือนิทรรศการศิลปะที่ได้จัดแสดงขึ้น ซึ่งฐานข้อมูลนี้คือ กลไกหนึ่งของการ “สื่อสาร” ที่ควรจะเป็นการสื่อสารที่ดี โดยทำให้เกิดความ เข้าใจกันอย่างทั่วถึง และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นควรเป็น “การเรียนรู้” ที่ขยายตัว “ในแนวราบ” ที่มิใช่แนวดิ่งอย่างที่เคยเป็นมา การเรียนรู้ในแนวราบนี้จะเป็น
การขยายต่อการเรียนรู้จากจุดศูนย์กลางออกไปสู่สังคมในระดับที่เท่าๆ กัน มีการ แบ่งปันความรู้ที่เกิดขึ้น โดยมีการโต้ตอบแลกเปลี่ยนกันไปมาตามความรู้ความ เข้าใจ การเรียนรู้ในกระบวนการดังกล่าวนี้จะสร้างบทสนทนาระหว่างตัวผลงาน ศิลปะกับผู้คนในสังคมโดยตรง ผลงานศิลปะหรือศิลปินไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่ในอีก โลกหนึ่ ง (หรื อ อยู่ ใ นโลกศิ ล ปะ) หรื อ มิ ไ ด้ สู ง ส่ ง ไปกว่ า ผู้ ค นธรรมดาในสั ง คม
ผลงานศิลปะ ศิลปิน มีความเท่าเทียมกับผู้คนในสังคม ผู้คนในสังคมมีสิทธิและ เสรีภาพในการเข้าถึงและและรับรู้ผลงานศิลปะโดยที่ไม่มีความสูงส่งของชนชั้น และระดับความรู้มาขวางกั้น และถ้าเกิดกระบวนการเรียนรู้ในทิศทางดังกล่าว แล้วปัญหาว่าด้วยเรื่องการรับรู้และการเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่าศิลปะร่วมสมัยก็จะ ถูกคลี่คลายไปตามลำดับ และเมื่ อ เกิ ด กระบวนการเรี ย นรู้ ดั ง นี้ แ ล้ ว วงการศิ ล ปะร่ ว มสมั ย ใน ประเทศไทยอาจมี ค วามเคลื่ อ นไหวที่ น่ า สนใจและพร้ อ มที่ จ ะส่ ง มอบสารที่ มี คุณค่าต่อผู้คนในสังคมให้รับรู้ได้ถึงความเป็นไปในโลกของศิลปะและโลกของเรา พร้อมๆ กัน เพราะทั้งโลกของศิลปะและโลกที่เราอาศัยอยู่นั้นก็คือโลกใบกลมๆ
ใบเดียวกัน p
aw �������������.indd 23
7/17/12 2:20:08 PM
ART & THEORY
24
ผศ.ดร.นรินทร์ รัตนจันทร์
นิยาม “หลังสมัยใหม่” (Defining Postmodern)
แปลเรียบเรียงจากบทความของ ดร.รีเบคคา ซอแรค คำว่าหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ถูกใช้คล้ายกับแนวทาง การใช้คำอื่นๆ ในประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อการบ่งชี้ถึงช่วงเวลาแห่งการ สร้างสรรค์ ซึ่งหมายถึงศิลปะทำขึ้นภายหลังความรุ่งโรจน์ของศิลปะ ลัทธิสมัยใหม่ เริ่มขึ้นในทศวรรษ 1960 ในยุโรปและอเมริกา และสิ้นสุด ทศวรรษ 1990 (ยังเป็นที่ถกเถียง) คำนี้มีคุณลักษณะคล้ายกับ คลาสสิก (classic) หรือ บาโรก (baroque) ซึ่งส่อแสดงถึงคุณภาพที่ก่อให้เกิดแบบอย่างศิลปะแนวหนึ่ง ด้วยการต่อต้านแนวทางเกิดขึ้นก่อนหน้า หรือต่อต้านศิลปะสมัยนิยม และสภาพการต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่เห็นว่าควรต่อต้าน เป็นการยากที่จะแยกลัทธิหลังสมัยใหม่ออกจากลัทธิสมัยใหม่ “หลัง” (post) หมายถึงสิ่งที่ตามมาหรือเกิดขึ้นภายหลัง และการใช้
คุณศัพท์คำนี้นำหน้าความเคลื่อนไหวทางศิลปะใดจะให้ความหมายถึง การต่อเติม การเบี่ยงเบนออกไป การข้ามพ้นและการวิพากษ์วิจารณ์ แนวทางความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เมื่อไม่นานมานี้ในอเมริกา มีการถกเถียงถึงคำ “หลังสตรีนิยม” (Post Feminism) ว่าจะหมายถึง การ “ต่อต้าน” สตรีนิยม ด้วยหรือไม่ แต่โดยทั่วไปคำนี้ถูกใช้เพียงเพื่อ ต้องการอธิบายถึงเนื้อความทางเพศแนวทางใหม่เพิ่มเติมขึ้น หรืออาจ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางเดิม การเป็นลัทธิหลังสมัยใหม่ทางด้านเทคนิควิธีการขึ้นอยู่กับการ ใช้เทคโนโลยีที่มีความพิเศษ เฉพาะในช่วงขณะเวลาแห่งการเคลื่อนไหว ของแนวทางพร้อมไปกับจุดมุ่งหมายเน้นการโต้ตอบและพัฒนาการ สร้างสรรค์ต่อเนื่องจากแนวทางก่อนหน้า อย่างไรก็ตามลัทธิสมัยใหม่หลังสมัยใหม่ ส่อแสดงถึงการมีลักษณะตรงข้ามและมีความเชื่อมโยง
aw �������������.indd 24
7/17/12 2:20:08 PM
25
...เป็นการยากที่จะแยกลัทธิหลังสมัยใหม่ ออกจากลัทธิสมัยใหม่...
ใกล้ชิดในขณะเดียวกัน ซึ่งความสัมพันธ์เช่นนี้สามารถนำไปใช้เปรียบเทียบกับสภาพการใน ช่วงเวลาอื่นของประวัติศาสตร์นอกเหนือจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ครึ่งหลัง ศตวรรษที่ 20) คุณภาพเฉพาะที่ปรากฏเด่นชัดของลัทธิสมัยใหม่ได้แก่ การแสดงออกซึ่ง อากัปกริยา ความจริงใจ การคิดค้นด้วยตนเอง เอกภาพแห่งความงาม และนวัตกรรมใหม่ ส่วนลักษณะเฉพาะของการเป็นหลังสมัยใหม่ได้แก่ การสะท้อนให้เห็นสภาวะการต่างๆ การเสียดสีประชดประชัน การหยิบยืม การทำซ้ำลอกเลียน และการวิจารณ์ การพิจารณาคำ “หลังสมัยใหม่” ในบริบทกว้างขวางกว่าในกระแสวัฒนธรรม ต่างไปจากตะวันตกเช่นในเมืองไทยอาจแสดงให้เห็นสภาพการชัดเจนกว่า ในประเทศไทย ที่ซึ่งการเป็นศิลปะสมัยใหม่ได้ถูกหยิบยืม (appropriated) มาจากเนื้อความเดิมของมัน
ในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก (หากเข้าใจไม่ผิด) นักวิจารณ์ศิลปะผู้ทรงอิทธิพล เครก โอเวนส์ (Craig Owens, 1950-1990) ได้ เขี ย นบทความสองตอนบ่ ง ชี้ ค วามสำคั ญ เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ แ ห่ ง นิ ท านเปรี ย บเที ย บ (allegorical nature) ของศิลปะหลังสมัยใหม่ชื่อว่า “แรงกระตุ้นจากนิทานเปรียบเทียบ: สู่ทฤษฎีหลังสมัยใหม่” บทความของเขาได้สร้างความกระจ่างเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะบาง ประการของศิลปะหลังสมัยใหม่ นิทานเปรียบเทียบมีรากคำมาจากภาษากรีก หมายถึง “การพูดเป็นอีกอย่าง” ซึ่งความหมายดั้งเดิมดังกล่าวมีที่มาจากการตีความมิได้เกี่ยวข้องกับการสร้างศิลปะแต่ อย่างใด ความหมายของมันแสดงถึงวิถีทางของนักตีความใช้ความพยายามถอดความหมาย จากเนื้อความศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้เข้าถึงแนวทางที่ยากต่อการเข้าใจ และนำมาซึ่งคำตอบที่มิได้ มี บ ทบั ญ ญั ติ ต ราไว้ อ ย่ า งชั ด เจน การตี ค วามในลั ก ษณะนี้ ส ามารถใช้ ต อบสนองความ ต้องการได้มากกว่าการแปลความหมายตามตัวอักษรโดยตรง เนื่องจากคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์มัก จะถูกจารึกขึ้นมาด้วยภาษาพิเศษอำพรางไว้ด้วยนัยยะกำกวม และจากความจำเป็น
เบื้องต้นจะต้องใช้วิธีการตีความในการอ่านบทบัญญัติ ต่อมาได้แพร่กระจายไปสู่วิธีการอ่าน
aw �������������.indd 25
7/17/12 2:20:09 PM
26
เนื้อความทางวรรณคดีและแม้กระทั่งวิธีการดูภาพ คนเขียนข้อความ และคนทำภาพลักษณ์ต่างๆ นิยมใช้วิธีการเช่นเดียวกัน ด้วยคาดคิดว่า คนอ่านและคนดูภาพคงมีประสบการณ์คุ้นเคยต่อการตีความเพื่อให้ได้ มาซึ่งความรู้ความเข้าใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากพิจารณานิทานเปรียบเทียบในแง่ของการพูดจะพบว่ามี ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคำอุปมากล่าวคือ นิทานเปรียบเทียบเป็น
รูปแบบหนึ่งของคำอุปมาที่มีความยืดยาวมากกว่าปกติ และมีโครงเรื่อง นอกจากนี้นิทานเปรียบเทียบยังมีการใช้บทบาทต่างๆ ของตัวแสดง พร้อมกับชื่อเฉพาะบุคคลในการดำเนินเรื่องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ของเนื้อเรื่องไม่แตกต่างไปจากวิถีแห่งการละคร แต่ไม่เป็นที่กระจ่างชัด ว่าการอุปมาและการเล่าเรื่องเกิดจากต้นแบบของความเป็นจริงหรือ เป็ น ผลผลิ ต ของนั ก ตี ค วาม อย่ า งไรก็ ต ามประเด็ น ความกำกวมของ
เส้นแบ่งขอบเขตระหว่างคำทั้งสองนี้มีความน่าสนใจควรแก่การศึกษา เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน นิทานเปรียบเทียบยังมีความสัมพันธ์กับการประชดประชัน
ซึ่งหมายถึงการปะทะกันระหว่างการปรากฏของสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับสภาพ ความเป็นจริงของมัน หรือการรวมเข้าด้วยกันระหว่างสิ่งตรงข้ามที่
ขัดแย้งกันซึ่งส่งผลต่ออากัปกริยาและสภาวะทางอารมณ์ที่ดี หากต้ อ งการทราบว่ า การสร้ า งผลงานศิ ล ปะเชิ ง นิ ท าน
เปรียบเทียบหมายถึงอะไร ควรมองย้อนกลับไปในยุโรปศตวรษที่ 19 ศิลปินและนักประพันธ์ลัทธิโรแมนติคมีความพยายามหลีกเลี่ยงการ แสดงออกตามแนวทางนิทานเปรียบเทียบเป็นอย่างยิ่ง ศิลปินกลุ่มนี้หันไปส่งเสริมทฤษฎีการแทนค่าความเหมือนจริง บนพื้ น ฐานของการใช้ รู ป สั ญ ลั ก ษณ์ ความเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ส ำหรั บ แนวทางโรแมนติ ค หมายถึ ง การผสมผสานกั น อย่ า งลึ ก ซึ้ ง ระหว่ า ง
รูปทรงกับเนื้อหาหรือระหว่างการสำแดงออกทางกายภาพภายนอกกับ ความหมายภายในของรูปทรง นักสร้างสรรค์ในช่วงเวลานั้นวิพากษ์ วิจารณ์การใช้สัญลักษณ์ในนิทานเปรียบเทียบว่ามีการใช้รูปลักษณ์กับ ความหมายแปลกแยกออกจากกัน พวกโรแมนติคเห็นว่านิทานเปรียบ เทียบมีสภาวะหยุดนิ่งไร้อารมณ์หรือหลอกลวง อย่างไรก็ตามการใช้ สัญลักษณ์ของแนวทางโรแมนติคไม่จำเป็นต้องบรรลุถึงการรวมตัวกัน
aw �������������.indd 26
7/17/12 2:20:10 PM
27
...ความเคลื่อนไหวแนวทางหลังสมัยใหม่ได้นำ แนวทางการใช้สัญลักษณ์ของศิลปะแห่งนิทาน เปรียบเทียบกลับมาใช้ใหม่... ระหว่างรูปทรงกับเนื้อหาอย่างแท้จริง แต่มุ่งแสวงหาการแสดง ออกถึงตัวตน ในด้านอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการเป็นบทกวีแนวไร้เดียงสา ตัวอย่างเช่น แนวทางการประพันธ์ของโยฮาน คริสทอป ฟริดริค วอน ชิลเลอร์ (Johann Christoph Friedrich von Schiller) แสดงให้เห็นถึงการหลีกเลี่ยงออกห่าง จากการใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นประกอบสำคั ญ ในแบบของนิ ท าน
เปรียบเทียบ ความเคลื่ อ นไหวแนวทางหลั ง สมั ย ใหม่ ไ ด้ น ำแนวทางการใช้ สัญลักษณ์ของศิลปะแห่งนิทานเปรียบเทียบกลับมาใช้ใหม่นำมาซึ่งการรวม กันระหว่างการอธิบายความกับภาพลักษณ์ผนวกไว้ด้วยการแสดงความเห็น การวิ จ ารณ์ เพื่ อ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะความแปลกปลอม (แนวทาง
หลังสมัยใหม่ใช้หลักการโจมตีความเป็นของแท้หรือต้นฉบับ) ด้วยการแยก
รูปสัญลักษณ์ออกห่างจากความหมายของมัน (รูปสัญลักษณ์แนวโรแมนติค ส่อแสดงความหมายโดยตรงไม่มีการอธิบายความ) ไม่ให้เกิดการรวมเป็น หนึ่งเดียวกัน เจตจำนงในการกระทำเช่นนี้เพื่อต้องการตีแผ่ถึงความล้มเหลว ของแนวคิดลัทธิโรแมนติคเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (ที่ได้เคยกล่าวหาศิลปะแห่ง นิทานเปรียบเทียบเอาไว้) แนวทางหลังสมัยใหม่นิยมใช้กรรมวิธีการรื้อสร้างเป็นแนวทางใน การสร้างผลงาน กรรมวิธีนี้เปิดโอกาสให้ศิลปิน นักประพันธ์ และนักวิจารณ์ ตั้งข้อสงสัยและเปิดใจรับแนวความคิดตรงกันข้ามระหว่างการจำลองแบบ หรือ สำเนา (copying) กับต้นแบบหรือ ต้นฉบับ (originality) การวิจารณ์ เชิงรื้อสร้างได้เปิดเผยให้เห็นความคล้ายกันอย่างคาดไม่ถึงระหว่างนวัตกรรม ใหม่หรือต้นฉบับกับการสำเนา และแท้ที่จริงที่มาของการเป็นต้นฉบับคือการ สำเนานั่นเอง (จึงไม่มีความแตกต่างระหว่างคุณค่าของแนวความคิดทั้งสอง)
aw �������������.indd 27
7/17/12 2:20:10 PM
28
ไม่ มี อ ะไรแปลกใหม่ ทุ ก สิ่ ง เกิ ด ขึ้ น จากสิ่ ง ที่ มี ม าก่ อ นแล้ ว มี ตั ว อย่ า ง
หลั ก ฐานสนั บ สนุ น ให้ เ ห็ น ได้ จ ากโครงการสร้ า งผลงานของเชอร์ รี
เลอวายน์ (Sherrie Levine) ศิลปินภาพถ่ายหลังสมัยใหม่กล่าวคือ ศิลปินได้กระทำการจำลองแบบอย่างไม่ผิดเพี้ยนจากภาพถ่ายรูปบุคคล โดยเอดวาร์ด เวสตัน (Edward Weston) เป็นรูปลูกชายของเขา เนล (Neil) (ดู รูป ) แม้ ว่ า เวสตั นเป็ น ศิล ปิ น ลั ทธิ ส มั ยใหม่ (ยึ ด ถือ แนวคิ ด ยกย่องการเป็นต้นแบบไม่นิยมและต่อต้านการจำลองแบบ) แต่เมื่อ พิจารณาผลงานของเขากลับมีที่มาจากแบบฉบับรูปเปลือยของกรีก
ผลงานของเลอวายน์จึงช่วยเปิดเผยให้เห็นว่าการจำลองแบบ (ในกรณี ของเวสตันได้เลียนแบบรูปลักษณ์มาจากแบบฉบับของกรีก) ได้ดำรงอยู่ แล้วภายในหลักการความเป็นต้นแบบของลัทธิสมัยใหม่
“เนล” เอดวาร์ด เวสตัน 1925
aw �������������.indd 28
“เนล” เชอร์รี เลอวายน์ 1980
7/17/12 2:20:11 PM
เราควรจะตัดสินศิลปะภายหลังลัทธิสมัยใหม่อย่างไร การพิจารณาถึง 29 คำตอบควรเริ่มต้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาก่อนคือแนวทางการตัดสินสำหรับศิลปะ ลัทธิสมัยใหม่ซึ่งมิอาจกระทำได้โดยง่าย ลัทธิสมัยใหม่มีความคล้ายกันอย่างมาก กั บ ลั ท ธิ โรแมนติ ค แห่ ง ศตวรรษที่ 19 เนื่ อ งจากลั ท ธิ โรแมนติ ค พยายามขจั ด จิตรกรรมแนวหลักวิชา (academic painting) แห่งยุโรปในศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้ รับการสนับสนุนจากรัฐให้พ้นไปจากเส้นทาง แต่ความพยายามดังกล่าวถือเป็น ความผิ ด พลาดเนื่ อ งจากจิ ต รกรรมแนวหลั ก วิ ช ามี ก ารจั ด แบ่ ง หลั ก เกณฑ์
มาตรฐานสำหรั บ การตั ด สิ น ความงามไว้ แ ล้ ว อย่ า งเป็ น รู ป ธรรม ต่ า งไปจาก
หลักการแห่งโรแมนติคซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นสำคัญ เช่ น เดี ย วกั น กั บ การไม่ มี ห ลั ก เกณฑ์ ก ารตั ด สิ น คุ ณ ค่ า อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมของ จิ ต รกรรมลั ท ธิ ส มั ย ใหม่ ทั้ ง ที่ ค วรจะมี เ ฉพาะเป็ น ของตนเองเพื่ อ จะ “ผลั ก ดั น เจตจำนง” ดังคำกล่าวของไมเคิล ฟรายด์ (Michael Fried) ได้บ่งชี้ไว้ในบทความ มีชื่อเสียงของเขาชื่อ “ศิลปะและวัตถุสภาพ” อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ของลัทธิสมัยใหม่ไม่สามารถผลักดันเจตจำนง ของผู้ชมผลงานให้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายตามที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุที่ยังคงมีคน จำนวนมากไม่เข้าใจคุณค่าของผลงานศิลปะลัทธิสมัยใหม่ ไม่ว่าผู้ดูเหล่านั้นจะ
ไม่เคยหรือเคยมีประสบการณ์ในการดูผลงานแนวนี้มาก่อน สิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิด ความเข้าใจและเข้าถึงของสาธารณชนในการตัดสินคุณค่าผลงานกลับต้องมาจาก การพึ่งพาความเชี่ยวชาญของนักวิจารณ์ศิลปะ ชื่อเสียงของสถาบันศิลปะต่างๆ ที่ ให้การรับรอง หรือการอธิบายความถึงกระบวนการและความหมายตามวิถีทาง ต่างๆ ของศิลปินแต่ละคนถนัด ส่วนหนึ่งของสิ่งที่ลัทธิหลังสมัยใหม่แสดงออกคือ การล่วงรู้ (ถึงสาระ สำคัญของลัทธิสมัยใหม่) การแสดงให้เห็น พร้อมไปกับการวิจารณ์สภาวะการ ศิลปะลัทธิสมัยใหม่ดังกล่าว ในช่วงเริ่มต้นของศิลปะสมัยใหม่อาจถูกมองว่ามี
เนื้อความทางภาษาเป็นสิ่งจำเป็นปรากฏร่วมอยู่ในฐานะของการเป็นส่วนหนึ่ง ของผลงาน ในเวลาต่อมาศิลปะแนวทางความคิดสรุปและศิลปะหลังสมัยใหม่ได้ ทวีการใช้เนื้อความทางภาษาผสมผสานลงในผลงานด้วยจุดประสงค์เพื่อสร้างการ ปรากฏของสิ่งที่เคยปรากฏมาก่อนหน้าแล้วของสังคมโลกศิลปะสมัยใหม่ แล้ว
ตั้งคำถามขึ้นมาว่า ผลงานศิลปะ “ถูกกำหนดกรอบ” เพื่อการบ่งชี้คุณค่า จาก ภาพรวมของโครงการ (หนึ่งซึ่งอาจมีผลงานหลายชิ้น) จากการสาธยายของ
aw �������������.indd 29
7/17/12 2:20:11 PM
30
...เหตุใดบริบทแวดล้อมในโลกศิลปะ จึงมีความสำคัญ...
การวิจารณ์ จากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และทางสถาบันที่ เกี่ยวข้อง ได้อย่างไร ดังกล่าวแล้วนี้แสดงให้เห็นว่าเหตุใดบริบทแวดล้อมในโลก ศิลปะจึงมีความสำคัญ หล่อหลอมความเป็นศิลปะลัทธิสมัยใหม่ซึ่ง
ไม่แตกต่างไปจากการเป็นศิลปะหลักวิชา (ที่ลัทธิสมัยใหม่ต่อต้าน) ใน ปัจจุบันหากมีศิลปินสร้างผลงานดูเหมือนศิลปะสมัยใหม่จึงไม่จำเป็น ต้องถูกเรียกว่าเป็นนวัตกรรมใหม่เหมือนแต่ก่อน สภาพการเช่นนี้บ่งชี้ ให้เห็นจุดยืนที่ไม่มั่นคงของลัทธิสมัยใหม่ ทำนองเดียวกับศิลปินผู้สร้าง ผลงานดูเป็นแนวทางหลังสมัยใหม่ จะมีปัญหาเช่นเดียวกัน และปัญหา จะทวีขึ้นเมื่อเกิดคำถามขึ้นว่า หากแนวทางหลังสมัยใหม่คือการตอบ สนองต่อลัทธิสมัยใหม่ แนวทางทั้งสองถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง
ต่ออะไร ส่วนคำถามสำคัญต้องการคำตอบอย่างแท้จริงต่อมา ได้แก่
ผลงานของแนวทางทั้งสองถูกสร้างขึ้นเพื่อให้อยู่ในสภาวะการอะไร และคำถามเดิมที่ว่า ผลงานของทั้งสองแนวทางในปัจจุบัน “ถูกกำหนด กรอบ” โดยภาพรวมของโครงการเหมื อ นกั น ของศิ ล ปิ น โดยการ สาธยายของการวิจารณ์ โดยความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และทาง สถาบันที่เกี่ยวข้องได้อย่างไร เนื่องจากศิลปะในปัจจุบันมีสถานะความ เป็นไปได้ในการสร้างสรรค์หลายประการเช่นว่า ศิลปะมีลักษณะการ ทำงานเหมื อ นกั บ การทำสมาธิ การประท้ ว งต่ อ ต้ า น กระบวนการ
ร่วมมือกัน หรือการวิจารณ์ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงเบื้องหลังของ กระบวนการนำเสนอไม่น้อยไปกว่าการปรากฏของเนื้อหาที่ใช้สื่อกับผู้ดู
aw �������������.indd 30
7/17/12 2:20:12 PM
ปฏิบัติการศิลปะสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่กระทำได้อย่างไร 31 ในบริ บ ททางวั ฒ นธรรมที่ แ ตกต่ า งไปจากตะวั น ตกอย่ า งมากเช่ น ใน ประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากศิลปะประเทศไทยย่างเข้าสู่การ เป็น “ศิลปะสมัยใหม่” ในทศวรรษ 2500 ภายหลังการได้รับอิทธิพล อย่างมากจากแนวทางแบบตะวันตกดั้งเดิม (ศิลปะหลักวิชา) ซึ่งเริ่มต้น มาก่ อ นหน้ า ในทศวรรษ 2470 สภาพการเช่ น นี้ ส ามารถกล่ า วได้ ว่ า ศิลปะในประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็นศิลปะสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ พร้อมกัน ด้วยเหตุที่ศิลปะในประเทศไทยหยิบยืม ศิลปะสมัยใหม่ของ ตะวันตก คำถามที่ น่ า สนใจคื อ โครงการศิ ล ปะหลั ง สมั ย ของไทยมี ลั ก ษณะอะไรเป็ น ลั ก ษณะเฉพาะมี ส องตั ว อย่ า งที่ ผู้ เขี ย นนึ ก ถึ ง คื อ นิทรรศการ “วัฏฏะ อัตตา” ของคามิน เลิศชัยประเสริฐ จากปี 2547 ส่งผลอย่างแรงให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสุนทรีย์ศาสตร์แนวสมัยใหม่และ อัตลักษณ์ของศิลปินที่นำแนวคิดเชิงพุทธมาใช้ในผลงาน และโครงการ ศิลปะชื่อว่า “ไม่เป็นสับปะรด” ของทัศนัย เศรษฐเสรี ในปี 2552 เป็ น การเสนอผลงานด้ ว ยการใช้ ลั ก ษณะร่ ว มระหว่ า งไทยตะวั น ตก
คัดลอกผลงานชิ้นสำคัญของศิลปินตะวันตกแล้วนำเสนอเชิงวิพากษ์ต่อ วัฒนธรรมลัทธิชาตินิยม ไม่เป็นที่กระจ่างชัดว่าจะมีอะไรปรากฏต่อไป ในวงการศิลปะกระแสสากลโดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งวิกฤตเศรษฐกิจ แต่สิ่งแน่นอนที่จะต้องดำเนินต่อไปคือ ศิลปินจะไม่หยุดยั้งการค้นหา ความคิดต่างๆ จากในลัทธิสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่เพื่อนำมาใช้แทน สำเนียง (ทางการเห็น) ของศิลปินเพื่อการกล่าวถึงบริบทเฉพาะต่างๆ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งในเรื่องส่วนตัว วัฒนธรรม และทางการเมือง p
aw �������������.indd 31
7/17/12 2:20:12 PM
ART & FILM
soifa
32
WHO ARE YOU? ใครคือคุณ หลายคนคิดว่าภาพยนตร์อิสระ (หนังอิ น ดี้ ) คื อ หนั ง อาร์ ต คื อ หนั ง ที่ ดู ไ ม่ รู้ เรื่ อ ง
ล้ำบ้าง หลับบ้าง แต่หนังดูไม่รู้เรื่องหรือหนังที่คิดว่าอาร์ตก็อาจจะไม่ใช่หนังอินดี้เสมอไป
การเลือกแนวทางแบบอินดี้ (Independent) เป็นการตอบสนองความคิดของตัวเองด้วย
การหาทุนในการสร้างสรรค์เอง อีกส่วนหนึ่งที่มักจะเลือกแนวทางของการเป็นหนังอินดี้ ก็ พวกภาพยนตร์นอกกระแส ที่มีเนื้อหาในภาพยนตร์แตกต่างไปจากกระแสหลัก ที่นายทุนเห็น ว่าคงจะขายไม่ได้ หลายๆ ประเด็นในหนังไม่ใช่สิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากจะดูและไม่สอดคล้อง กับความเป็นพาณิชย์ มันจึงถูกเรียกให้เป็นภาพยนตร์นอกกระแส ทั้งที่จริงแล้ว “กระแส” คือ อะไร ใครหรืออะไรเป็นผู้กำหนดกระแส และเราสร้างกระแสที่ดีกว่าขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่ “แต่เพียงผู้เดียว” เป็นภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของคงเดช จาตุรันต์รัศมี (ส่วน จะ”กระแส”หรือไม่ อย่างไร ไปดูกันเอาเอง) โดยภาพยนตร์เล่าเรื่องผ่านชายสองคน คือ เล็ก (นำแสดงโดย อภิชัย ตระกูลเผด็จไกร) และก้อง (นำแสดงโดย ปริญญา งามวงศ์วาน) ที่มี ความหลังเรื่องความรักและชีวิตที่ต่างกัน ทั้งคู่ตัดสินใจลักลอบเปิดประตูเข้าไปตามห้องต่างๆ ในเวลากลางวัน เพื่อรื้อค้นชีวิต ความลับและข้าวของต่างๆ และจะจัดทุกอย่างให้เหมือนเดิม ก่อนกลับออกมา โดยตั้งกฎไว้ว่าจะไม่ขโมยอะไรเป็นอันขาด แต่เมื่อกฎที่ทั้งคู่ตั้งไว้เป็นไปไม่ได้ เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ขโมยและฉกฉวยจากคนอื่นตลอดเวลา Identity หรือ อัตลักษณ์ ที่เราต่างก็เข้าใจว่า มันคือตัวเรา เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น
มาเองโดยธรรมชาติ หากถูกยกย่องว่ามันคืออัตลักษณ์แล้วล่ะก็ นั่นไม่ใช่ความดัดจริตแน่นอน
อัตลักษณ์คือความเฉพาะตัวที่เราพยายามขวนขวายหาอยู่ตลอดเวลา ทุกสิ่งที่เราเป็นเกิดขึ้น จากสิ่งที่เราชอบเรียกกันว่า “ประสบการณ์” ประสบการณ์ที่พบเจอหล่อหลอมให้ฉันเป็น
แบบนี้ แต่ใครจะรู้ว่ามันคือ ประสบการณ์ที่เราได้รับ หรือมันคือประสบการณ์ที่เรา “ขโมย” ใครมากันแน่ “หากชีวิตคือการหยิบยืมเรื่องราวจากผู้อื่นมาต่อยอดชีวิตเราออกไป นำมาทำสำเนา หรือดัดแปลงจนเป็นของเรา และสุดท้ายก็ส่งต่อกันไป ผ่านมือกันครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วจะหลง เหลือสิ่งใดที่เป็นของเรา”, คงเดช จาตุรันต์รัศมี p “แต่เพียงผู้เดียว”, คงเดช จาตุรันต์รัศมี / ผู้กำกับภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่อง “แต่เพียงผู้เดียว” เปิดตัวครั้งแรกที่ Venice International Film Festival ประเทศอิตาลี นอกจากนี้ยังได้เข้าฉายและประกวดในเทศกาล หนังนานาชาติมากมาย อาทิ Busan International Film Festival, 2011 ประเทศเกาหลี, Gijon International Film Festival, 2011 ประเทศสเปน และ Festival des 3 Continents, 2011 ประเทศฝรั่งเศส
aw �������������.indd 32
7/17/12 2:20:15 PM
33
aw �������������.indd 33
7/17/12 2:20:20 PM
34
aw �������������.indd 34
7/17/12 2:20:25 PM
ART & COLLECTIONS
กฤษฎา ดุษฎีวนิช
35
มรรคาของนามธรรม มรรคาของศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ได้เริ่มแรกแย้มในสังคมไทย ราวปลายทศวรรษที่ 2500 โดยในยุคสมัยนั้นเป็นช่วงเวลาที่รูปแบบทาง ศิ ล ปะมี พั ฒ นาการที่ เ คลื่ อ นตั ว อย่ า งน่ า สนใจ ราวกั บ รู ป แบบศิ ล ปะ
นามธรรมนี้ ไ ด้ เ ป็ น ปลายทางหนึ่ ง ของพั ฒ นาการทางศิ ล ปะที่
เริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่ ศิ ล ปะเหมื อ นจริ ง (Realistic) ศิ ล ปะแบบประทั บ ใจ (impressionism) บาศก์นิยม (cubism) และกึ่งนามธรรม (Semi Abstract Art) ซึ่งทำให้เราเห็นว่าเส้นทางของรูปแบบศิลปะที่ผ่านมา นั้นได้คลี่คลายสู่ความความงามในรูปแบบใด ศิลปะนามธรรมอาจเป็น คำตอบหนึ่งของพัฒนาการทางศิลปะสมัยใหม่ที่มีความชัดเจนที่สุด จน สามารถปรากฏรอยต่อสำคัญของศิลปะร่วมสมัย และยังอีกทั้งแสดงให้ เห็นว่าศิลปะสมัยใหม่มีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะ ค้นหาเอกภาพของความงามที่สมบูรณ์ ทั้งนี้ศิลปะนามธรรมก็ได้เฟื่องฟูสูงสุดในราวทศวรรษที่ 2510 ศิลปะนามธรรมได้เป็นที่นิยมจากเหล่าบรรดาศิลปิน จนอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นยุคทองของศิลปะนามธรรม และยังเป็นยุคที่ สร้างความชัดเจนในนิยามของคำว่าศิลปะสมัยใหม่ในสังคมไทย ซึ่ง แสดงให้เห็นว่าศิลปะในรูปแบบนามธรรมนี้เป็นที่นิยมกันแพร่หลายเป็น อย่างมากในหมู่ศิลปิน และผู้ชมผลงานศิลปะ โดยอาจเป็นผลสืบเนื่อง มาจากผลงานศิลปะในแนวทางนามธรรมนี้เป็นผลงานศิลปะที่อุดมไป ด้ ว ยความงามที่ ล งตั ว มี เ อกภาพ และมี ค วามสมบู ร ณ์ ใ นตั ว มั น เอง
รูปแบบศิลปะดังกล่าวปราศจากการชี้นำทางความคิดหรือการพรรณา ถึงวัตถุ แต่ในสิ่งที่ประจักษ์นั้นมีแต่ความสมบูรณ์ของทัศนธาตุที่เป็น
aw �������������.indd 35
7/17/12 2:20:27 PM
36
รูปทรง เส้น สี น้ำหนัก พื้นที่ว่าง ซึ่งทำให้ผลงานศิลปะนามธรรมนั้น เป็นผลงานศิลปะที่มีความงามอันบริสุทธิ์ ในปรากฏการณ์การเฟื่องฟูของศิลปะนามธรรมที่ได้กล่าวมา นั้นอาจจะมีมุมหนึ่งที่เกี่ยวโยงกับสภาพสังคมในยุคสมัยดังกล่าวที่เกิด ความไม่สงบทางสังคมบีบคั้น เร่งเร้าให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะที่ ปลอดจากพันธะทางสังคมเพื่อที่จะหาหนทางปลดปล่อยศิลปะให้มี อิสระและเสรี ซึ่งเป็นไปตามคติของ “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่มิได้ต้องการ ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องราวรายรอบไม่ว่าจะเป็นลัทธิการเมือง/สังคมหรือรับใช้ อุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่ง ศิลปะนามธรรมที่ได้เคยสร้างสรรค์อย่างแพร่หลายในสังคม ไทยในยุคสมัยดังกล่าวนั้นอาจเป็นจุดเชื่อมของการศึกษาประวัติศาสตร์ ทางศิลปะสมัยใหม่ของไทยที่ได้เดินทางผ่านเรื่องราวต่างๆ ทางสังคม
aw �������������.indd 36
7/17/12 2:20:32 PM
37
อย่างมากมาย ถึงแม้ศิลปะนามธรรมจะไม่มีเรื่องราวใดๆ ที่แสดงออกถึงภาวะ ต่างๆ รายรอบ แต่ถ้าหากมองกันอีกมุมก็จะพบว่าผลงานศิลปะนามธรรมที่เกิด ขึ้นในยุคสมัยนั้นได้สร้างความหลากหลายของหน้าประวัติศาสตร์ศิลปะของ ประเทศไทย ซึ่งสามารถฉายภาพการเคลื่อนของพัฒนาการทางศิลปะที่มิได้มี
ขีดจำกัดในการสร้างสรรค์ศิลปะเพียงแค่แนวทางใดแนวทางหนึ่ง หากแต่ยัง สามารถทำให้เราเห็นภาพของความหลากหลายของผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นใน ประเทศไทย ทั้งนี้ผลงานศิลปะนามธรรมที่เกิดขึ้นในทศวรรษดังกล่าวก็ปรากฏความ หลากหลายในแนวทางการสร้ า งสรรค์ ศิ ล ปะนามธรรมด้ ว ยเช่ น กั น ไม่ ว่ า จะ เป็นการแสดงความชัดเจนของทัศนธาตุเน้นเส้นขอบที่คมชัด หรือการนำเสนอ ภาวะของอารมณ์ภายในที่เป็นไปในรูปแบบของของความสงบ เป็นระเบียบ แต่ แฝงตัวอยู่ในรูปทรงที่เคลื่อนไหว ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแบบนามธรรม นั้นไม่ว่าจะเป็นในทิศทางไหน สิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจหลักของผลงานคือผลลัพธ์ที่ เป็นความงามซึ่งเกิดจากความลงตัวในการจัดวางองค์ประกอบของทัศนธาตุ
รูปทรง เส้น สี น้ำหนัก พื้นที่ว่าง ทุกสิ่งคือส่วนประกอบที่สำคัญในการทำให้
ผลงานศิ ล ปะนามธรรมเกิ ด ความงามขึ้ น มา และความงามนี้ คื อ ความงามที่ บริสุทธิ์ ปลอดพันธนาการทางสังคมและการชี้นำ ผู้ชมจะลิ้มรสความงามได้จาก รสนิยม ประสบการณ์ส่วนตัว ด้วยการปะทะทางสายตาต่อทัศนธาตุต่างๆ ที่มี ความเป็นเอกภาพจนเกิดความพึงพอใจ ความเข้าใจในผลงานนั้นมิได้เป็นสิ่ง จำเป็นต่อการรับขมผลงานศิลปะนามธรรมแต่ประการใด แต่สิ่งที่ช่วยในการ
เข้าถึงผลงานศิลปะนามธรรมนั้นคือ “ความรู้สึก” ที่ไปประทับกับผลงาน เมื่อ
aw �������������.indd 37
7/17/12 2:20:36 PM
38
aw �������������.indd 38
ผู้ ช มผลงานรู้ สึ ก เช่ น ไร ไม่ ว่ า จะเป็ น ความพึ ง พอใจ สงบ สวยงาม สนุกสนาน เศร้า หดหู่ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้คือผลลัพธ์ของความงามที่ เกิดจากผลงานศิลปะแบบนามธรรม p โครงการศิลปกรรมสะสมมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 1 ภายใต้นิทรรศการ “สรรพนามธรรม” เป็นนิทรรศการที่รวบรวมงาน ศิ ล ปะนามธรรมจากคลั ง สะสมของมหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ตั้ ง แต่ ทศวรรษ 2500 จนถึงกลางทศวรรษ 2520 มาจัดแสดง ณ ชั้น 1 ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัด นครปฐม ซึ่ ง นิ ท รรศการดั ง กล่ า วนี้ ส ามารถฉายภาพให้ เ ห็ น ถึ ง พั ฒ นาการศิ ล ปะสมั ย ใหม่ ข องประเทศไทยที่ เ คยเฟื่ อ งฟู สู ง สุ ด
สมัยหนึ่งให้บุคคลทั่วไปได้รับชม และซึมซับกับรูปแบบความงาม ของศิลปะที่เคยกล่าวขานกันว่าเป็นศิลปะที่อุดมไปด้วยความงาม อันบริสุทธิ์
7/17/12 2:20:36 PM
ART & CONSERVATION
อาจารย์ โอชนา พูลทองดีวัฒนา
39
เรียนรู้อนุรักษ์ศิลป์ที่ CCMC
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ถึงวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา ผู้เขียน มีโอกาสเข้าร่วมโครงการทัศนศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์ที่สถาบัน The Centre for Cultural Materials Conservation (CCMC) University of Melbourne ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งใน โครงการพัฒนาหลักสูตรอนุรักษ์ศิลป์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างฝ่าย ศิ ล ปวั ฒ นธรรม สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย คณะ จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ และหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยผู้ร่วมโครงการครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ท่าน คือ
aw �������������.indd 39
7/17/12 2:20:37 PM
40
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิชัย ภิรมย์รักษ์ อาจารย์วิชญ มุกดามณี และ
ผู้เขียน จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ และคุณสุชา ศิลปชัยศรี จากหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยกิจกรรมตลอดระยะ เวลาการศึกษาดูงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ การดูงานด้านการ เรี ย นการสอนในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษาของ CCMC University
of Melbourne การฝึ ก ปฏิ บั ติ ง านด้ า นการอนุ รั ก ษ์ ที่ CCMC Commercial และการศึกษาดูงานด้านการอนุรักษ์นอกสถานที่ อัน ได้แก่ Heritage Victoria Conservation and Research Centre, The Ian Potter Museum of Art, The State Library of Victoria และ Museum Victoria ในส่วนของการดูงานด้านการเรียนการสอน วิชาที่เปิดสอนใน ภาคการศึ ก ษานี้ มี อ ยู่ 3 วิ ช าด้ ว ยกั น คื อ วิ ช า Conservation Assessment and Treatment 1 โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน คือ Cushla Hill, Holly Jones-Amin และ Sophie Lewincamp, วิชา Preventive Conservation โดย Marcelle Scott อาจารย์อาวุโส
ผู้ ดู แ ลหลั ก สู ต รของ CCMC และวิ ช า Analytical Chemistry in
aw �������������.indd 40
7/17/12 2:20:38 PM
Conservation สอนโดย Dr. Petronella Nel นักวิจัยและนักเคมีเพื่อ 41 การอนุรักษ์ สำหรับผู้เขียนแล้ว วิชา Conservation Assessment and Treatment 1 เป็นวิชาที่น่าสนใจที่สุด เพราะได้ทดลองปฏิบัติ จริง โดยการเรียนการสอนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ การบรรยายถึง ลักษณะและคุณสมบัติของสารละลาย วัสดุอุปกรณ์ และเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการอนุรักษ์วัตถุแต่ละประเภท และการปฏิบัติการทดลองโดย ใช้แผ่นทดลองหรือวัตถุตัวอย่าง ก่อนที่จะไปทำการอนุรักษ์ชิ้นงานจริง เพื่อให้สามารถเลือกใช้วัสดุและเทคนิคที่เหมาะสมกับการอนุรักษ์ได้ ตัวอย่างเช่น ในสัปดาห์แรกหัวข้อการบรรยายคือ Adhesives and Adhesion ผู้สอนได้อธิบายถึงส่วนประกอบ คุณสมบัติของกาว ชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการอนุรักษ์ ซึ่งมีทั้งกาวจากธรรมชาติ เช่น กาวปลา กาวแป้ง และกาวสังเคราะห์ หลังจากนั้นก็สาธิตวิธีการทำกาวแป้ง และวิธีการใช้กาวชนิดต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนได้ทดลองว่ากาวชนิดไหน เหมาะที่จะใช้กับวัสดุใด ส่วนในช่วงการทำ Treatment ได้เรียนรู้ เรื่องการทำความสะอาด ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกของการอนุรักษ์ ภายหลัง จากการบันทึกข้อมูลสภาพก่อนการอนุรักษ์ และการวิเคราะห์สภาพ ปัญหาแล้ว โดยให้ทดสอบการทำความสะอาดบนแผ่นทดลอง ด้วยการ ใช้ ส ารละลายชนิ ด ต่ า งๆ เช่ น น้ ำ น้ ำ ผสมเอทานอล 50% และ
aw �������������.indd 41
7/17/12 2:20:39 PM
42
aw �������������.indd 42
เอทานอล 100% ทดลองกั บ สี แ ต่ ล ะชนิ ด เช่ น สี อ ะคริ ลิ ค สี น้ ำ มั น
สี ช อล์ ก ฯลฯ โดยเริ่ ม จากการทดลองใช้ น้ ำ ทำความสะอาดก่ อ น เนื่องจากมีผลกระทบน้อยที่สุด แต่หากไม่สามารถทำความสะอาดได้ จึง ใช้น้ำผสมเอทานอล 50% และเอทานอล 100% ตามลำดับ ส่วนการ ทำความสะอาดเชื้อราบนวัตถุให้ใช้น้ำผสมเอทานอลในอัตราส่วน 20:80 ฉีดพ่นลงไป สัปดาห์ต่อมาเรียนเรื่อง Tape Removal ซึ่งเป็นปัญหาที่พบ บ่อยและสร้างความเสียหายให้กับงานกระดาษมาก แต่มักจะถูกมอง ข้ามเสมอ จากการเรียนทำให้ทราบถึงลักษณะของเทปชนิดต่างๆ และ วิธีการนำเทปเหล่านั้นออกโดยไม่สร้างความเสียหายให้กับวัตถุ โดย
วิธีการขั้นแรกก็คือ ใช้เครื่องมือที่มีความร้อนแกะออก ซึ่งถ้าเป็นเทปใส
ก็จะสามารถลอกออกมาได้ แต่ถ้าเป็นเทปที่มีความเหนียวมากกว่า เช่น พวกเทปผ้า เทปพลาสติก ก็ให้ลองใช้สารละลาย ซึ่งได้แก่ น้ำผสม
เอทานอล 50% เอทานอล 100% และอะซิโทน ตามลำดับ โดยนำมา ทาด้านหลังของกระดาษ หรือนำสำลีชุบอะซิโทนใส่ในบิกเกอร์แล้วคว่ำ ไว้บนเทปก่อนจะลอกออก สัปดาห์สุดท้ายได้เรียนรู้เรื่องการซ่อมแซมรักษาวัตถุที่เสียหาย โดยวัตถุตัวอย่าง คือ แผ่นไม้อัดที่เกิดการโป่งพอง บริเวณมุมลอกออก มาเป็ น ชั้ น ๆ ซึ่ ง เป็ น ปั ญ หาที่ พ บบ่ อ ยในภู มิ อ ากาศเขตร้ อ นเนื่ อ งจาก
7/17/12 2:20:39 PM
43
ความชื้นสูง วิธีการซ่อมแซมก็คือ นำแผ่นใส Mylar มาทากาวแป้ง แล้ว ผนึกลงไปในแต่ละชั้น แล้วนำกระดาษ Reemay มาประกบลงไป แล้ว ปิดทับด้วยกระดาษ Mouthboard ทั้งด้านบนและด้านล่าง แล้วใช้
ตัวหนีบหนีบทิ้งไว้จนกว่าจะผนึกกันแนบสนิทดี สิ่งที่ได้รับจากการทัศนศึกษาครั้งนี้ นอกจากความรู้พื้นฐาน ด้านการอนุรักษ์ ซึ่งสามารถนำมาให้คำแนะนำแก่นักศึกษาได้แล้ว ยัง ได้เห็นตัวอย่างสถาบันการเรียนการสอนด้านการอนุรักษ์ที่มีความพร้อม ทั้ ง ทางด้ า นกายภาพของอาคารสถานที่ ห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร และวั ส ดุ อุปกรณ์ รวมไปถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ด้วย การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ การจัดการเรียน
การสอน ซึ่งรวมตลอดหลักสูตรแล้วจะมีรายวิชาไม่มาก ในแต่ละวัน
นักศึกษาจะเรียนเพียงวิชาเดียวเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็นการบรรยาย
1 ชั่วโมง และการทดลอง 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะให้นักศึกษาใช้เวลา ปฏิ บั ติ ง านอนุ รั ก ษ์ กั บ ชิ้ น งานจริ ง ภายใต้ ก ารดู แ ลของอาจารย์ อี ก ประมาณ 2 ชั่วโมง ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติอย่างเต็มที่ นั บ เป็ น กรณี ศึ ก ษาหนึ่ ง ที่ น่ า สนใจหากนำมาปรั บ ใช้ ใ ห้ เ หมาะสมกั บ
การเรียนการสอนด้านการอนุรักษ์ของเรา p aw �������������.indd 43
7/17/12 2:20:41 PM
ART & RELATION
44
กองบรรณาธิการ
Portrait and Delineation ในโลกปัจจุบันที่ไร้พรมแดน การสื่อสารมีการแลกเปลี่ยนกันไปมาอยู่ ตลอดเวลา การเดินทางจากเก่าสู่ใหม่ หรือจากใหม่สู่เก่าเป็นเรื่องไม่ยาก ศาสตร์ และศิลป์ต่างๆ ถูกผสมผสานกันอย่างหลากหลาย วิทยาการต่างๆ ก็ล้วนถูกเชื่อม โยงกันไปมาอย่างไม่น่าเชื่อ รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมด้วย ความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิด ขึ้นกับศิลปะและศาสตร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านแรงบันดาลใจ เทคนิค หรือความรู้ ส่งผลให้เกิดงานรูปแบบใหม่ๆ ที่พัฒนาความคิดของทั้งผู้สร้างและผู้ชม เป็นประตู เปิดไปสู่แนวทางการสร้างสรรค์ใหม่ ชุดภาพถ่ายในนิตยสารดีกรี นิตยสารแนว fashion-art ที่เน้นกลุ่มผู้อ่าน เพศที่สาม เป็นภาพมาดามมด พิธีกรคนดังแห่งโลกออนไลน์ โพสต์ท่า และสื่อ
รู ป แบบออกมาคล้ า ยภาพเขี ย นในหน้ า หนั ง สื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ศิ ล ปะตะวั น ตก ภาพถ่ายชุดนี้เป็นผลงานของ สุรชัย แสงสุวรรณ ช่างภาพและศิลปิน เจ้าของ ภาพถ่ายแฟชั่นสวยๆ ตามนิตยสารแฟชั่นชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ เขาไม่ได้ทำ หน้าที่เป็นเพียงช่างภาพเท่านั้น แต่เป็นทั้งคนคิดคอนเซปต์ สไตลิสต์ และแต่งหน้า จนออกมาเป็นภาพถ่ายแฟชั่นที่สวยงาม ที่สามารถดึงผู้อ่านเข้าไปในโลกศิลปะได้ อย่างรื่นรมย์ สุรชัยเริ่มก้าวเข้ามาสู่วงการศิลปะร่วมสมัยจากความชื่นชอบและความ สนใจส่วนตัวที่จะผสมผสานมุมมองทางศิลปะเข้าไปสู่การถ่ายภาพ โดยได้รับเลือก ให้เป็นศิลปินที่ร่วมนำเสนอมุมมองที่ตีความจากสุภาษิตไทยสู่งานศิลปะร่วมสมัยใน นิทรรศการ “ถึงพริกถึงขิง Thai Folk Wisdom” ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานครเมื่อปลายปี 2552 และทำให้ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในโครงการ art workshop ที่ประเทศสิงคโปร์อย่างต่อเนื่อง “มีคนถามเข้ามาว่าแนวคิดในการถ่ายเซ็ตมาดามมดคืออะไร แนวคิดก็คือ เราไม่ค่อยเห็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับโฮโมเลยในประวัติศาสตร์ยุคเก่า ทั้งที่ความจริง จากการสืบค้นก็มีมานานแล้ว แต่ไม่ได้รับความสำคัญ เราจึงนำนิยามความงามแบบ ใหม่เข้าไปสวมในประวัติศาสตร์ผ่านเรื่องราวของมาดามมด เป็นการตั้งคำถามว่า
สมมติว่าภาพเขียนแบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยก่อนจะเป็นเช่นไร แล้วจะทำให้ให้สังคมใน ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด” สุรชัย แสงสุวรรณ p
aw �������������.indd 44
7/17/12 2:20:44 PM
45
aw �������������.indd 45
7/17/12 2:20:52 PM
46
เนื่องในวาระเกษียณอายุราชการของอาจารย์สมวงศ์ ทัพรัตน์ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ถือโอกาสจัดแสดงนิทรรศการประวัติ และผลงานของอาจารย์สมวงศ์ไปเมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว โดยได้รับความ สนใจอย่างมากจากทั้งบุคคลภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร ทางทีมงานวารสารฯ ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมภาษณ์อาจารย์ถึงที่บ้าน สถานที่ส่วนตัวที่สามารถบ่งบอกตัวตนของบุคคลได้ และที่นี่เองที่ทำให้ เรารู้จักอาจารย์ในอีกมุมหนึ่ง ที่เราไม่เคยสัมผัสถึงเมื่อตอนที่เดินสวนกัน ในรั้วมหาวิทยาลัย ช่วยเล่าถึงแรงบันดาลใจในการทำงานให้ฟังหน่อยค่ะ แรงบันดาลใจที่ใช้สร้างสรรค์งานนั้น เริ่มแรกก็เป็นเรื่องของภาพ เปลือย (Nude) แล้วก็มาเป็นเรื่องของธรรมชาติกับชีวิตชนบท ภาพเปลือย นั้นทำตอนช่วงที่ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาตรี ที่ใช้ภาพเปลือยเป็นแรงบันดาล ใจ ก็เพราะว่าในยุคนั้นการใช้คนเป็นแรงบันดาลใจมันเป็นที่นิยม คนทำ ประติมากรรมก็ใช้คนเป็นแรงบันดาลใจ ถึงแม้จะเป็นกึ่งนามธรรมก็จะใช้คน เป็นแรงบันดาลใจ เวลาเขียนภาพเปลือย มันไม่ใช่ภาพเปลือยเหมือนจริง แต่ มั น ตั ด ทอนให้ เ หลื อ เป็ น เรื่ อ งของสี แ สงเงา แล้ ว แนวทางนี้ ก็ ห ายไป
ช่วงหนึ่งผมไปสอนหนังสือ เลยไม่ค่อยได้วาดรูป พอเริ่มได้วาดบ้างก็ตอนอยู่ ที่ จ.นครศรีธรรมราช วาดเป็นงานสร้างสรรค์ และเริ่มหันมาหาธรรมชาติ ต้นไม้ เน้นเรื่องสีแสงเงาธรรมชาติ เปลี่ยนจากเนื้อหาภาพเปลือยมาเป็น
ต้นไม้
aw �������������.indd 46
7/17/12 2:20:56 PM
ART & ARTIST
กองบรรณาธิ การ
47
“ศิลปินครู”
อ.สมวงศ์ ทัพรัตน์
aw �������������.indd 47
7/17/12 2:20:59 PM
48
ทำไมอาจารย์ถึงเลือกใช้สีน้ำคะ ใช้สีน้ำเพราะเป็นสีที่ชอบมาตั้งแต่สมัยเรียนเพาะช่าง พอมา เรียนศิลปากรก็เป็นสีน้ำมัน พอจบก็พยายามมาทำสีน้ำมัน แล้วก็เลิก หันมาหาสีน้ำเหมือนเดิม เพราะรู้สึกว่าเป็นเป็นเรื่องของความฉับพลัน แสดงอารมณ์ได้รวดเร็วไม่ต้องใช้เวลามาก สะดวกด้วย เลยติดสีน้ำ ทำ
สีน้ำมายาวนาน มีศิลปินคนไหนที่ให้แรงบันดาลใจไหมคะ มี แ ต่ เ พื่ อ นไปเขี ย น ช่ ว ยกั น หิ้ ว ของไป แต่ สิ่ ง ที่ อ ยู่ ต รงหน้ า
มากกว่าที่ให้แรงบันดาลใจ อาจารย์คิดว่าผลงานของอาจารย์ให้อะไรกับคนดูบ้าง งานของผมเป็นพวกสุขนิยม ทำให้คนดูแล้วมีความสุข คนดู ภาพ เข้าใจว่าสุขไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเห็นอะไรในภาพ ตัวเราเขียนใน แต่ละช่วงที่ทำงาน ก็จะเห็นความสงบไม่เท่ากัน คนดูอาจจะมองแค่ สวย หมอกลง ดูเงียบๆ แต่เราเห็นมากกว่านั้นไม่รู้คนอื่นจะคิดรึเปล่า
aw �������������.indd 48
7/17/12 2:21:07 PM
49 ถ้าอย่างนั้น ความสุขของอาจารย์คืออะไร สุ ข คื อ เข้ า สู่ ค วามสงบ ชอบตั้ ง แต่ แรกเลย ตอนที่ ท ำภาพ เปลือยก็เป็นเรื่องความสงบ ไปดูได้เลยไม่มีเรื่องเซ็กซ์ เป็นเรื่องของสี และแสงเงา ทั้งๆ ที่อยู่กับผู้หญิงสองคน แต่มันแยกกันได้ ตอนนั้นเราก็ ยังหนุ่มอยู่ สีของแสงเงา ดูแล้วมันนิ่ง เป็นแค่ความงาม เป็นรูปทรงที่ เรียบง่าย พอมาเป็นธรรมชาติก็เห็นความสงบ อย่างชนบทเนี่ยมันมีชีวิต เคลื่อนไหว แต่มันเต็มไปด้วยความสงบ ธรรมชาติถึงจะไม่มีคน แต่ ต้ น ไม้ มั น ก็ มี ชี วิ ต ของมั น เหมื อ นกั น เวลามั น โน้ ม อ่ อ นตามลม น้ ำ ที่ กระเพื่อม หรือแม้กระทั่งปลาที่ฮุบเหยื่อ อาจารย์วาดรูปมาตั้งแต่เมื่อไรคะ ก็วาดมาตั้งแต่เด็ก พ่อเป็นครูวาดเขียน ตอนแรกก็แอบวาด ไม่ให้พ่อเห็นเพราะอาย พอวาดได้ใกล้เคียงพ่อก็เอามาโชว์ พอวาด ดีแล้วก็ทีนี้ไม่ต้องเรียนหนังสือกันเลย วาดรูปให้เพื่อนทั้งห้อง (หัวเราะ) เวลาตั้งกลุ่มก็แย่งกันใหญ่ เอาไปวาดรูปให้ทำปกรายงาน เวลาเพื่อน ของพ่อมา พ่อก็เอางานเรามาโชว์ ชอบวาดภาพขนาดนี้ มีแรงผลักดันอะไรหรือเปล่าคะ คงเพราะพ่อเป็นครูวาดเขียน ใครต่อใครก็ชอบมาหา มาให้ วาดภาพ เขียนป้ายโฆษณา เขียนตัวอักษร ก็เห็นว่าพ่อเป็นคนสำคัญ ใครๆ ก็มาหา พ่อก็มีหน้ามีตา แต่ไม่ได้ตังค์นะ อาจจะมีของมาฝากบ้าง แต่ มั น ดู ดี ดู เ ป็ น คนที่ มี ค่ า มั น ทำให้ ป ระทั บ ใจแล้ ว เราก็ พ ยายามจะ
เลียนแบบพ่อ ผลสุดท้ายเราก็เป็นได้จริงๆ งานของอาจารย์สามารถสะท้อนบุคลิกของอาจารย์ได้ไหม มันก็เป็นไปตามอายุ อายุมากขึ้นอาจจะดูสงบมากขึ้น แต่ตอน หลังก็มานั่งสมาธิ ก็นั่งทุกวันๆ วันละครึ่งชั่วโมงก็ยังดี แล้วรู้สึกว่าเวลา เรามองอะไรมันเปลี่ยนไป มันมองไม่เหมือนก่อน เวลามองธรรมชาติ เหมื อ นเราไม่ เ ห็ น สาระของมั น มั น ก็ แ ค่ วั ต ถุ อย่ า งดอกไม้ ด อกหนึ่ ง
สักวันมันก็ต้องแห้งเหี่ยว พูดไปก็เหมือนกับโม้ แต่มันรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
aw �������������.indd 49
7/17/12 2:21:09 PM
50
aw �������������.indd 50
ทุ ก อย่ า งก่ อ ตั ว ขึ้ น มาแล้ ว ก็ ห ายไป พยายามจะอธิ บ ายความว่ า ง (Space) โดยใช้บรรยากาศของสี เป็นการอธิบายเรื่องความว่าง ความ ไม่มีอะไร มีรูปทรง แต่ว่ามันก็ไม่ใช่อะไรที่จับต้องได้ ไม่ใช่กิ่งไม้ใบไม้ที่ จับต้องได้ มันเหมือนเป็นเวิ้งหายไป เป็นแค่อากาศ งานอาจารย์ เ ป็ น ลั ก ษณะค่ อ นไปทางแนวนามธรรม (Abstract) รู้ได้ยังไงคะว่างานนั้นเสร็จแล้ว เสร็ จ ด้ ว ยความที่ ทุ ก ส่ ว นในภาพมั น สั ม พั น ธ์ กั น หมด เดิ ม
ทีเดียวเราเรียนรู้ว่ามันมากหรือน้อยจากธรรมชาติ พยายามจะลอก ธรรมชาติ เรี ย นรู้ ธ รรมชาติ เมื่ อ เรี ย นรู้ ม ากๆ เข้ า เราก็ เริ่ ม รู้ จั ก หา ธรรมชาติที่เป็นส่วนตัวของเราว่าแค่ไหนมันพอ เสร็จก็คือเสร็จ เราจะรู้ ไม่มีใครบอกเราได้ เหมือนกับเราดรออิ้งน้ำหนักจากขาวไปสู่ดำ แต่งาน ของผมมันเริ่มจากเทาลงมาขาว ไม่มีดำที่สุด ตอนอยู่กลุ่มไวท์เป็นอย่างไรบ้างคะ อยู่กลุ่มไวท์ปี พ.ศ.2526 เวลาทำงานก็อยากแสดงออก กลุ่ม ไวท์ได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับสมาพันธ์สีน้ำอินเดีย ทำให้กว้างขึ้น ได้มีโอกาสไปต่างประเทศมากขึ้น ตอนนั้นทำต่อเนื่อง ถ้าจำไม่ผิด 14 ปี เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างยาวนาน กลุ่มไวท์ก็ช่วยค้นคว้าเกี่ยวกับสีน้ำ พอ เรียนปริญญาโท มาอยู่มหาลัย ก็มีโอกาสมากขึ้น ก็ไม่ต้องไปอยู่ในกลุ่ม เรามีโอกาสแสดงออกมากขึ้น การเป็นศิลปินมันต้องขึ้นอยู่กับตัวเรา ส่วนหนึ่ง สภาพแวดล้อม โอกาส คิดว่าคนเก่งๆ นี่เขามีความสามารถ แต่เขาไม่มีโอกาส คนที่เด่นดังไม่ควรยกตัวเองข่มคนอื่น เช่น คนเรียน มัธยมเรียนเก่ง แต่พ่อแม่ไม่มีเงิน ก็หมดโอกาส อะไรมันไม่แน่ไม่นอน ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่าง โอกาสเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ และต่อมากลุ่มไวท์ ก็หายๆ กันไป เหลือแต่ชื่อ มีอะไรที่ทำให้อาจารย์อยากเลิกวาดรูปบ้างไหมคะ ไม่เคยคิดที่จะเลิกวาดรูปเลย มีแต่จะอยากวาดให้มากขึ้นแต่ บางทีตั้งความหวังอะไรไว้มันก็ไม่ได้เป็นไปตามนั้น เราอยากจะวาดรูป ให้ ส บาย บรรจุ เ ป็ น ข้ า ราขการครั้ ง แรกก็ รั บ ภาระสอนวิ ช าสามั ญ
7/17/12 2:21:10 PM
51
aw �������������.indd 51
7/17/12 2:21:11 PM
52
aw �������������.indd 52
วิชาศิลปะก็แทบไม่ค่อยได้สอน สมัยก่อน จะวาดรูปก็ไปไกลๆ ก็ไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะถูกเข้าใจผิด หาว่าเป็นผู้ก่อการร้ายอีก มันก็เลยไม่ได้ทำเต็ม ที่ มาอยู่ที่คณะจิตรกรรมฯ ก็ได้ทำมากขึ้น แต่ภาระอื่นก็ต้องมีอยู่ เกษียณ แล้วก็คิดว่าจะทำศิลปะให้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่มันก็ไม่รู้ ตอบ ไม่ได้ ชีวิตคนเราไม่แน่นอน อยากทราบทัศนคติของอาจารย์กับศิลปะร่วมสมัย เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถไปหยุดว่าศิลปะมันจะหยุดไว้ได้แค่ไหน มีที่ดีแล้วก็มีดีกว่าไปเรื่อยๆ มันก็ร่วมสมัยไปเรื่อยแต่ละช่วงของมัน เป็น แนวความคิดที่เกิดขึ้น ว่าช่วงนั้นคิดอะไรกัน ทำอะไรกัน ในยุคนี้อาจจะมี หลากหลายแนวทาง การศึกษามากขึ้น มีช่องทางมากขึ้น ฉีกแนวออกมา แต่ในด้านคุณภาพคิดว่างานที่ดีที่สุด คืองานที่ดีที่สุดในแนวทางนั้นๆ ซึ่งไม่ น่ากังวลอะไร เราไม่ต้องไปว่าใคร ถ้ามันดีจริงๆ เวลาผ่านไป มันก็ยังดีอยู่ งานก็ยังคงอยู่ ไม่ว่าจะใหม่แค่ไหน บางงานอาจมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้เกิดอะไรต่อไป คล้ายกับเป็นจุดเปลี่ยน แต่จะมีสักกี่คน กี่กลุ่มในโลก อาจารย์คิดว่าวงการศิลปะบ้านเรามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้างคะ มันดีขึ้นในแง่ที่ว่าศิลปินจำนวนมากขึ้น คนดูมากขึ้น คนเข้าใจ งานมากขึ้ น องค์ ก รสนั บ สนุ น ก็ ม ากขึ้ น แต่ โ ครงสร้ า งของเราอาจจะ
ไม่ค่อยดี ถือว่าเป็นปัญหา ศิลปินต้องพยายามดิ้นรนด้วยตัวเอง หาวิธี
7/17/12 2:21:12 PM
กันไป ซึ่งบางทีแตกต่างวิธีกันก็มีการโจมตีกันไป คิดว่าจะดีมากขึ้นต่อ เมื่อรัฐบาลเข้ามาดูแลให้มากขึ้น แม้ตอนนี้จะมีบ้าง แต่ถ้ามากกว่านี้ก็ จะดีขึ้น ถ้าเทียบกับยุคสมัยก่อน สมัยนี้ดีกว่ามาก คนแสดงงานสมัย ก่อน ศิลปินคือศิลปินจริงๆ ไม่ได้คิดเรื่องขายงาน ขายไม่ได้จริงๆ ชิ้น เดียวก็ไม่มีใครซื้อ แสดงงานกันจริงๆ ไม่รู้จะยืนอยู่ได้ยังไง เป็นที่พูดกัน ว่าคนจะทำงานศิลปะได้ต้องมาเป็นครูอาจารย์มีเงินเดือนกิน จะได้มีที่ ยืนได้ทำงานศิลปะได้ คนที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ บางคนเก่ง แต่ก็สาบสูญ ไปเลย บางคนเก่งกว่าที่เป็นอาจารย์ด้วย แต่อาจจะโชคร้าย จากที่อาจารย์เป็นครูมาเกือบจะตลอดอายุการทำงาน “ครูที่ดี” ใน ความคิดของอาจารย์เป็นอย่างไรคะ มีคนชอบพูดว่าครูต้องเป็นคนดี มีจรรยาบรรณกี่ข้อๆ เป็น ระเบียบ เหมือนบวชเณรบวชพระ มีศีลกี่ข้อ ถึงจะเป็นพระที่ดี ครูก็ ต้องมีอะไรกี่ข้อๆ มันก็เป็นตัวอักษรที่คอยกำกับให้เรามีความเป็นครู แต่จริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ตรงนั้น จริงๆ แล้วอยู่ที่ใจของคน ถ้าใจของคนที่ เขาคิดว่าเขาเป็นครู มันเป็นโดยอัตโนมัติ เช่น เป็นครูก็ต้องให้คำปรึกษา แม้นอกเวลาก็ต้องให้คำปรึกษาได้ ควรมีช่วงเวลาให้คำปรึกษาเท่าไรๆ ตามแผนการสอน เหล่านี้เป็นแค่วิธีการเพื่อให้เป็นครูจริงๆ มากขึ้น เท่านั้นเอง แต่จริงแล้วความเป็นครูมันคือตอนไหนก็ได้ โทรมาตอนไหน ก็ต้องให้คำปรึกษาได้ ใครจะเป็นครูมากน้อยขนาดไหน คิดว่าคำตอบ จริ ง ๆ อยู่ ที่ นั ก ศึ ก ษานั่ น เอง ตอนเรี ย นไม่ รู้ ห รอก แต่ พ อจบไปแล้ ว ทำงานแล้ว คิดได้ ก็จะเข้าใจเองว่าใครเป็นครูที่แท้จริง ใครเป็นครูใน ดวงใจของเรา กาลเวลาจะให้คำตอบได้ จากการทำงานที่ผ่านมาจนเกษียณอายุ สิ่งที่ภาคภูมิใจมากที่สุดของ อาจารย์คืออะไรคะ ภูมิใจที่ตั้งแต่รับราชการตอนแรก คือที่บ้านหลวง เป็นการ ทำงานที่แรก ตอนนั้นเป็นคนไม่มีประสบการณ์เลย แต่ก็ได้รับการปลูก ฝั ง ความเป็ น ครู ทำให้ เราเข้ ม แข็ ง ขึ้ น อี ก ที่ ก็ คื อ วิ ท ยาลั ย ศิ ล ปะ นครศรีธรรมราชที่นั่นทำประโยชน์ได้มากที่สุด ทั้งเรื่องความรู้และการ
aw �������������.indd 53
53
7/17/12 2:21:12 PM
54
บริหารจัดการอยู่สามปีครึ่ง พอมาอยู่ศึกษานิเทศก็ถือว่าทำงานได้ดีมีความ ภูมิใจเหมือนกันแต่ว่ายังไม่มาก พออยู่จุฬาฯ สอนสี่ปี ก็สอนเต็มที่ตามวิชาที่ ได้ รั บ มอบหมาย ที่ นั่ น ไม่ ไ ด้ ยุ่ ง เรื่ อ งการบริ ห ารเลย ที่ ภู มิ ใจน้ อ ยที่ สุ ด คื อ
คณะจิตรกรรมฯ ที่รู้สึกว่าส่วนรวมไม่ได้ประโยชน์ แต่เราได้รับประโยชน์มาก ได้ ท ำงานศิ ล ปะ สอนก็ ไ ม่ ค่ อ ยเต็ ม ที่ ได้ รั บ อานิ ส งส์ จ ากคณะจิ ต รกรรมฯ มากมาย แต่ไม่ได้ให้อะไรกลับไปนัก นั่นถือว่าน้อยมาก ถ้าเทียบกับความรู้ ความสามารถที่มี ก็ไม่มีโอกาสจะได้ทำ ไม่เอื้ออำนวย ที่นี่คงเป็นที่ที่ทำให้ น้อยที่สุด แล้วอาจารย์วางแผนอนาคตหลังเกษียณไว้อย่างไรบ้างคะ ก็ ไ ม่ มี อ ะไรมาก ภรรยาเคยถามว่ า คนอื่ น เขาต้ อ งวางแผนเมื่ อ เกษียณ แต่เราไม่วางแผน เพราะเราวางแผนก็ไม่เคยได้ดั่งใจเลย ก็แค่ตั้งใจจะ ทำงานศิลปะต่อไป ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่การทำงาน การเดินทางสู่วัยเกษียณของ อาจารย์สมวงศ์ ทัพพรัตน์ เปิดเผยให้เห็นถึงชีวิตที่เรียบง่ายและเต็มเปี่ยม ไปด้วยความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม จนบางครั้งดูเหมือนจะเห็น ความสำคัญของสังคมมากกว่าตัวเองเสียอีก แต่สิ่งเหล่านี้นี่เองคือตัวตน ของอาจารย์ ชีวิตที่ผ่านมาของอาจารย์ทำให้เราเรียนรู้ว่าหน้าที่และความ สุขที่แสวงหามักสวนทางเสมอ แม้มันจะไม่ได้มาพร้อมกันแต่ถ้าเรายอมรับ และทำทุกสิ่งอย่างเต็มที่ ณ เวลานั้นแล้ว ความสำเร็จที่ตามมาก็คือความ สุขในปัจจุบันแบบเดียวกับที่อาจารย์สมวงศ์ได้รับ ณ ตอนนี้ และจากการรู้จักตัวตนอีกด้านหนึ่งของอาจารย์ในครั้งนี้ ไม่ลังเล ใจเลยที่จะเรียก “ศิลปิน” คนนี้ ว่าเป็น “ครู” ที่แท้จริง p
aw �������������.indd 54
7/17/12 2:21:13 PM
55
ผ ลึ ก ตะ วั น
ดั่งเดินหลงดงลึก...ผลึกตะวัน ที่สีสันสาดแสงอยู่สดสวย ที่ยามร้อน ฝน หนาว เอื้ออำนวย คอยเปลี่ยนผลัดผ้าผวยปฐพี หลงอยู่ในดงลึก ลึกลึกนั้น ฤดูกาลกรองกลั่นกี่หูก-กี่ กี่ด้ายกรอทอปักวันเดือนปี จึงพงพีพรั่งพร้อมด้วยพฤกษ์พันธุ์ แลดังนั้นฉันจึงเห็นเป็นดังนี้ เมื่อสูรย์สีสาดแสงมาสร้างสรรค์ ฟืมที่แม่ตำฝ้ายอยู่หลายวัน คือดงลึก ผลึกตะวัน เช่นนั้นเอง คือไหมฝ้ายด้ายผันนั่นหรือแม่ ที่ทอแพรผืนป่าอันปลั่งเปล่ง คือสมวงศ์ ทัพพรัตน์ผู้บรรเลง ทำนองเพลงดงลึก...ผลึกตะวัน คือสมวงศ์ ทัพพรัตน์ผู้นี้เอง ที่บรรเลงเพลงพฤกษ์ผลึกตะวัน.
aw �������������.indd 55
ภักดี ไชยหัด นักศึกษาชั้นปีที่ 5 ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ 11 มิถุนายน 2554
7/17/12 2:21:14 PM
56
aw �������������.indd 56
7/17/12 2:21:15 PM
ART & THEORY
ดร.วรนั นท์ โสวรรณี
57
“อาคารถาวรวัตถุ”
กับความงามแบบไทย ที่ (ไม่ค่อยจะ) “โปร่ง เบา ลอย” เมื่อไม่นานมานี้ได้มีโอกาสเข้าไปในอาคารถาวรวัตถุ ชื่อเดิมคือ
หอสมุดวชิรญาณ หรือที่เมื่อก่อนคนที่ผ่านไปมาแถวท้องสนามหลวงเรียกกัน ว่า “ตึกแดง” อาคารนี้ตั้งอยู่ข้างกรมศิลปากร ใกล้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่นักศึกษาและคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มีโอกาสเข้าไปชมความงามภายใน อาคาร นอกจากผ่านไปมาภายนอก หรือมองจากฝั่งสนามหลวงซึ่งก็มักมี
รถทัวร์มาจอดบดบัง ทำให้มองเห็นตัวอาคารได้ไม่ถนัดนัก อาคารถาวรวั ต ถุ เป็ น ผลงานการออกแบบของสมเด็ จ พระเจ้ า
บรมวงศ์ เ ธอ เจ้ า ฟ้ า กรมพระยานริ ศ รานุ วั ติ ว งศ์ นายช่ า งเอกแห่ ง กรุ ง รัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2439 ตามพระราชประสงค์ของพระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว รั ช กาลที่ 5 เพื่ อ ใช้ เ ป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐาน
พระศพและพระที่นั่งทรงธรรมในงานพระเมรุ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร บรรยากาศภายในอาคารถาวรวัตถุปัจจุบันแตกต่างจากเมื่อ 2-3 ปี ก่ อ นอย่ า งชั ด เจน หลั ง จากที่ ปิ ด ปรั บ ปรุ ง จากเดิ ม เป็ น อาคารเรี ย นของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และสำนักงานของหน่วยงานใน สังกัดกรมศิลปากร เป็นอาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเดินชมตัวอาคารร่วมกับนักศึกษากลุ่มใหญ่ โดยมีอาจารย์ศมประสงค์ ชาวนาไร่ เป็นผู้ให้ความรู้ ทำให้เกิดประสบการณ์ ใหม่ ใ นการรั บ รู้ ค วามงามของสถานที่ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในประเด็ น การ ออกแบบที่มีการนำลักษณะบรรยากาศแบบไทยมาคลี่คลาย (simplify) ให้
aw �������������.indd 57
7/17/12 2:21:16 PM
58
อยู่ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากงานไทยประเพณี ซึ่งแสดงกระบวนการทาง ความคิดและงานออกแบบที่ก้าวจากงานประเพณี ก้าวจากความหมายและ ความงามของพื้นที่แบบเดิม ซึ่งเน้นเรื่องความ “โปร่ง เบา ลอย” มาสู่ความงาม แบบไทยที่มีความใหม่ ทั้งในเรื่องประโยชน์ใช้สอย รูปลักษณ์ วัสดุ ความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความงามที่ต่างจากความงามแบบไทยประเพณี แสดงให้เห็น ถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด จนเกิดงานออกแบบที่มีความงามที่แตกต่างไป จากเดิม ซึ่งเป็นการนิยามความงามในความหมายใหม่ของศิลปะไทย ความงามแบบใหม่ ใ นที่ นี้ เ ห็ น ได้ ชั ด เจนที่ สุ ด จากการออกแบบ
รู ป ทรงอาคาร สร้ า งมิ ติ ใ หม่ ใ นเรื่ อ งความงามของรู ป ทรงและปริ ม าตรของ สถาปัตยกรรมไทยที่แตกต่างไปจากเดิม จากความงามของความ “โปร่ง เบา ลอย” มาเป็นอาคารที่มีความหนักแน่น มีกรอบของโครงสร้างเน้นให้มวลของ ที่ว่างภายในมีรูปทรงและปริมาตรที่หนักแน่นชัดเจน มุ่งแสดงความงามของ โครงสร้างและวัสดุ แสดงตัวโครงสร้างและเนื้อวัสดุคอนกรีต ปราศจากการ ประดับตกแต่งผิว การประดับประดาด้วยลวดลายหรือเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ เกิดความงามแบบใหม่ ที่แตกต่างจากศิลปะไทยแบบเดิม พระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ต้องการสร้างให้เป็น “อาคาร ประกอบพระเมรุถาวร” ก็จัดว่าเป็นเรื่องใหม่ นอกจากนั้นยังมีพระราชประสงค์ ให้ อ าคารสามารถสลั บ สั บ เปลี่ ย นการใช้ ง านตามแต่ โ อกาส คื อ เป็ น ทั้ ง ที่ ตั้ ง
พระศพ อาคารประกอบพระเมรุ เมื่อมีงานพระราชพิธี และเป็นอาคารเรียน ของมหาวิ ท ยาลั ย สงฆ์ ใ นเวลาปกติ การออกแบบจึ ง ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง ประโยชน์
aw �������������.indd 58
7/17/12 2:21:17 PM
ใช้สอย ผังและลักษณะอาคารเดิมจากแบบร่างฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระเจ้า 59 บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ปรากฏมียอดปรางค์สามยอด ตั้ ง อยู่ ด้ า นที่ หั น เข้ า สู่ วั ด มหาธาตุ โดยปรางค์ ป ระธานองค์ ก ลางใช้ เ ป็ น ที่ ประดิ ษ ฐานพระบรมศพ ก่ อ นเชิ ญ ไปประดิ ษ ฐานที่ พ ระเมรุ ม าศในท้ อ ง
สนามหลวง แม้ว่าอาคารแห่งนี้สร้างไม่เสร็จทันใช้ในงานพระเมรุ แต่การวาง ตำแหน่งของอาคารที่อยู่ระหว่างวัดมหาธาตุและสนามหลวง การแบ่งพื้นที่ ใช้สอยและการออกแบบพื้นที่ภายใน ก็แสดงถึงประโยชน์ใช้สอยและเหตุผล มีการวางผังที่สามารถปรับเปลี่ยนตามการใช้สอย ทุกห้องสามารถเปิดทะลุ เชื่อมถึงกันได้หมดในเวลางานพิธี ส่วนในเวลาปกติก็กั้นผนัง ปิดประตูเชื่อม เป็นห้องแยกจากกันโดยมีระเบียงเป็นทางเดินเชื่อมแทน ความงามของบรรยากาศภายในอาคารถาวรวัตถุ เป็นผลมาจาก การใช้แสงจำนวนมาก ต่างจากการออกแบบให้ภายในงามจากแสงเงาใน ความมืดสลัวแบบของเดิม แต่ถึงแม้ว่าจะดูว่ามีแสงในอาคารมาก แต่กลับ
ไม่สว่างจ้าหรือดูโล่งแห้งแล้ง อาจเป็ น เพราะตำแหน่ ง ของช่ อ งเปิ ด ประตู หน้ า ต่ า ง สามารถ กำหนดตำแหน่งและปริมาณของแสงสว่างที่ส่องเข้ามาภายใน เกิดจังหวะ ของแสง มวล และที่ว่างภายใน ที่มีจังหวะ ปริมาตร และปริมาณที่สวยงาม พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินงาม โดยหากเปิดหน้าต่างและช่องแสงตาม
aw �������������.indd 59
7/17/12 2:21:18 PM
60
ตำแหน่งและจำนวนเดิม ภายในอาคารจะมีแสงสว่างเพียงพอทั้งต่อการใช้งาน
ทั้งใช้ประกอบพระราชพิธี และเป็นห้องเรียนสำหรับพระสงฆ์ ไม่จำเป็นต้องใช้
แสงไฟฟ้าในเวลากลางวัน แม้แต่ในปัจจุบันที่มีการดัดแปลงอาคารเป็นอาคาร นิทรรศการ ช่องแสงและหน้าต่างด้านที่หันสู่ท้องสนามหลวงถูกปิดไปเกือบหมด ภายในอาคารก็แทบไม่จำเป็นต้องใช้แสงไฟส่องสว่าง มีเพียงแสงไฟเฉพาะจุดที่ ต้องการเน้นเนื้อหาจัดแสดงเท่านั้น ทำให้รู้สึกว่าความงามของบรรยากาศภายในเปลี่ยนจากความงามของ แสงเทียน แสงระยิบระยับในความมืด มาเป็นความงามจากปริมาตรของเงา ภายในที่ว่างซึ่งอยู่ท่ามกลางแสงสว่างแทน ในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและมัณฑนศิลป์ โดยเฉพาะงาน มัณฑนศิลป์ภายในอาคารถาวรวัตถุแทบไม่มีเค้าเงื่อนทางประวัติศาสตร์และแทบ ไม่มีการประดับตกแต่ง มีเพียงแค่การนำอิทธิพลของศิลปะไทยมาช่วยในการ ออกแบบเท่านั้น ซึ่งเมื่อพิจารณาดูจะพบว่า เป็นการนำองค์ประกอบบางอย่าง ของลวดลายเดิ ม มาตั ด ทอน คลี่ ค ลาย แล้ ว จั ด วางในจั ง หวะ รู ป แบบ และ
องค์ประกอบของสีสันแบบใหม่ เกิดเป็นความงามจากความเรียบง่าย แต่ยังคง สื่อสารถึงบรรยากาศและความงามของไทย อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีส่วนที่แสดงถึงอิทธิพลศิลปะสถาปัตยกรรมแบบเดิม โดยเฉพาะองค์ ป รางค์ ทั้ ง สามยอด (ไม่ มี ก ารก่ อ สร้ า ง) การลดชั้ น ของหลั ง คา หลังคาทรงโค้ง ฐานสิงห์ ลวดบัว ที่มาจากสถาปัตยกรรมไทยและบางอย่างดูแล้ว นึกถึงสถาปัตยกรรมขอม สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดจังหวะ และสัดส่วนที่ลงตัว แต่แทบ ไม่ได้ช่วยให้อาคารดู โปร่ง เบา ลอย แม้ว่าจะอยู่ ณ ตำแหน่งเดิมที่เคยอยู่บน อาคารแบบไทยประเพณี ในทางตรงข้ามกลับช่วยให้เกิดความงามในด้านจังหวะ สัดส่วนของรูปทรงและปริมาตร การที่ต้องคงลักษณะองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยเดิมไว้นี้ อาจเป็น เพราะองค์ประกอบเหล่านี้เป็นเนื้อหาของตัวสถาปัตยกรรม ถ้าตัดออกก็จะไม่ สามารถสื่อสาร “สาระ” ของสถานที่ ที่ต้องสื่อความหมายถึงสถานที่ตั้งพระบรม ศพ และเป็นพระที่นั่งทรงธรรมของพระมหากษัตริย์ ซึ่งยังคงต้องถูกรับรู้ผ่านคติ จักรวาล สุเมรุ สัตตบริภัณฑ์ สีทันดรสมุทร กำแพงจักรวาลฯ และการแทนค่า ด้วยสัญลักษณ์ในงานมัณฑนศิลป์ประกอบสถาปัตยกรรม
aw �������������.indd 60
7/17/12 2:21:18 PM
61
aw �������������.indd 61
7/17/12 2:21:20 PM
62
อาคารถาวรวั ต ถุ เป็ น ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ของความพยายามที่ จ ะสร้ า ง
ศิลปะไทยแบบใหม่ขึ้น โดยมีลักษณะผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกัน (Integration) ระหว่างความงามของศิลปะไทยแบบเดิม กับความงามแบบใหม่ อันเกิดจาก
รูปทรง องค์ประกอบ รวมถึงวัสดุ เทคโนโลยี กลวิธีการจัดองค์ประกอบที่แตกต่าง ออกไป ความงามของอาคารถาวรวัตถุ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทาง ความคิดของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ จนเกิด งานออกแบบที่มีความงามที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งน่าจะเทียบเคียงได้กับการ
ก้าวเข้าสู่นิยามความงามในความหมายใหม่ของศิลปะไทย ในทำนองเดียวกับ
การก้าวจากความงามแบบคลาสสิก (Classicism) เป็นสมัยใหม่ (Modernism) และหลังสมัยใหม่ (Post Modernism) ของศิลปะตะวันตก เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง นี่คืองานออกแบบที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว กระบวนการความคิดเช่นนี้เป็นพัฒนาการก้าวสำคัญของศิลปะไทย จากรูปแบบ ไทยประเพณี สู่รูปแบบใหม่ ที่ยังคงเชื่อมโยงกับความเป็นไทย โดยมีมิติและบริบท ของเวลาและวัฒนธรรมมากำกับ น่าเสียดายที่นักออกแบบไทยปัจจุบัน มีการเรียนรู้กระบวนการทาง ความคิดนี้ไม่มากเท่าที่ควร งานออกแบบ (ที่อยากให้ดูเป็นไทย) ในปัจจุบันดูจะ เป็นเพียงการ “ตัด” (Cut) เอารูปแบบ ลักษณะที่สวยงามบางประการ มา “ปะ” (Paste) เข้าในพื้นที่ใหม่ หรือ เอามาผสมผสานแบบปะติดปะต่อ (Combination) ซึ่งแสดงถึงการหยิบยืมรูปแบบโดยออกจะห่างไกลจากความเข้าใจในสาระและ กระบวนความคิด
aw �������������.indd 62
7/17/12 2:21:21 PM
63
จนดูเหมือนกับ “ความงามแบบไทย” จะหยุดนิ่งและไม่ได้ก้าวไป ไกลกว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้วเลย สิ่งที่น่าคิด คือ การหยุดนิ่งนี้ เกิดจากความไม่มีจิตวิญญาณ จิตวิญญาณที่ขาดหายไปในสังคมไทย หรือเรามีจิตวิญญาณความเป็นไทย แต่ไม่สามารถ “แปล” และ “แปร” ให้เป็นงานออกแบบใหม่ๆ ที่แสดงถึงจิตวิญญาณความงามนั้น หรื อ บางที งานศิ ล ปะ งานออกแบบที่ พ บเห็ น กั น อยู่ ทุ ก วั น นี ้
นี่แหละคือ นิยามใหม่ของ “ความงามแบบไทย” ซึ่งเราได้สร้างขึ้นจาก จิตวิญญาณที่ออกจะสับสนวุ่นวาย ณ ช่วงเวลานี้ p หมายเหตุ : การนำ “อาคารถาวรวัตถุ” มาเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการ ความคิดด้านการออกแบบ และกล่าวว่า มีความงามแบบไทยที่ต่างไปจากความ “โปร่ง เบา ลอย” นั้นเป็นเพียงความคิดเห็นที่เกิดจากประสบการณ์อันจำกัดของผู้เขียน หากมีความ บกพร่ อ งหรื อ ผิ ด พลาดประการใด ต้ อ งขออภั ย มา ณ ที่ นี้ ผู้ เขี ย นขอน้ อ มรั บ คำสอน
คำแนะนำ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้รู้จะช่วยชี้แนะ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาความคิดให้ อยู่ในแนวทางที่เหมาะสมมากขึ้น
aw �������������.indd 63
7/17/12 2:21:22 PM
64
aw �������������.indd 64
7/17/12 2:21:23 PM
ART & CULTURE
กองบรรณาธิ การ
65
“ต้องลาย”
ตามหา พบพาน ขานต่อ เช้ามืดของวันหนึ่ง ณ ที่สถานีขนส่ง (อาเขต) จังหวัดลำปาง คือสถานที่ที่เราลืมตามาในเช้าตรู่ของวันนั้น ผู้คนได้ต่างพากันหยิบ
ข้าวของของตนลงจากรถทัวร์หลังจากได้เดินทางมาราว 8 ชั่วโมง เราก็ เช่ น กั น หากแต่ เ ป้ า หมายในการเดิ น ทางครั้ ง นี้ ข องเรามิ ใช่ ก ารมา
พักผ่อนเที่ยวเล่นแต่แต่กลับเป็นการ “ตามหา” ในสิ่งที่เรียกว่าศิลปะ
การต้องลาย ศิลปะการต้องลายนี้คือรูปแบบศิลปะพื้นถิ่นที่คงเอกลักษณ์ เฉพาะตนในเขตพื้นที่วัฒนธรรมล้านนาที่ผูกโยงกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และศาสนา โดยจะใช้เครื่องมือมีคมประเภทสิ่วมาตอกฉลุกระดาษเพื่อ ให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยใช้แรงกดสิ่วให้คมของสิ่วฉลุกระดาษตามลาย ที่ลอกไว้ ข้อมูลที่มีติดตัวเรามานั้นมีเพียงแค่ว่าในเขตจังหวัดลำปางนี้ยัง มีผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะดังกล่าวนี้ในรูปแบบดั้งเดิมหลงเหลืออยู่ แต่ ใคร ที่ไหน อย่างไรนั้น เราไม่มีข้อมูลแม้แต่น้อย บรรยากาศยามเช้าตรู่ ที่หนาวเย็นผนวกกับสำเนียงเสียงผู้คนที่ฟังดูแล้วไพเราะ ใบหน้าและ รอยยิ้มแรกที่พบจากผู้คนดูเหมือนว่าจะส่งสัญญานที่เป็นมิตรกับการ เดินทางครั้งนี้ของเรา
aw �������������.indd 65
7/17/12 2:21:24 PM
66
aw �������������.indd 66
ดังนั้นการเริ่มสืบตามหาจึงต้องตั้งต้นด้วยการ “ใช้สายตา” สืบเสาะไปเรื่อยๆ และ “ใช้ปาก” ถามข้อมูลจากคนรอบข้าง เราตัดสิน ใจถามคุณลุงที่ขับรถโดยสารแถวตลาดจีนว่ารู้จักหรือเคยได้ยินหมู่บ้าน หรือแถวไหนที่ยังทำงานต้องลายกระดาษอยู่บ้างไหม คำตอบว่า “รู้จัก เดี๋ยวพาไป” จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางในวันนั้นของเรา การเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่เคยไปจึงได้เกิดขึ้น ระยะทาง กว่า 10 กิโลพาเราออกนอกตัวเมืองเข้าสู่เขตพื้นที่รอบนอกของจังหวัด ลำปางซึ่งเป็นชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่ง เราพบกลุ่มแม่บ้านที่นั่งจับกลุ่ม
พูดคุยกับอย่างสนุกสนาน คำถามตรงๆ ถูกส่งออกไปว่า “ไม่ทราบว่า
ที่นี่มีใครทำงานต้องลายอยู่หรือเปล่าคะ” “อ้อ เคยมี เคยทำกันเยอะ แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว” และ “หนูต้องกลับไปดูที่แถวบ้านน้ำโท้งเขาทำ กระดาษสา ลองดูนะเผื่อว่าเขาจะรู้ เพราะต้องลายมันใช้กระดาษสา” ลุงคนขับรถหันมา “ได้เลย ก็ที่เราผ่านมาตอนแรกไง” การเดินทางย้อน กลับไปเส้นเดิมจึงได้เกิดขึ้น
7/17/12 2:21:25 PM
67
...สล่ามณฑล ปินตาสี หรือที่ชาวบ้านละแวกนี้ เรียกว่าพ่อครู และพร้อมกันนั้นก็ได้เป็นจุดเริ่มต้น ของการประจักษ์ในความงาม และคุณค่าของศิลปะการต้องลายในคราวเดียวกัน... ชุมชนบ้านน้ำโท้งคือ ชุมชนทำกระดาษสาแห่งใหญ่ที่สุดในจังหวัด ลำปางก็ว่าได้ กระดาษสาที่ผลิตจากที่นี่มีคุณภาพสูงและเป็นที่นิยมเป็นอย่าง มาก กระดาษสาถูกนำมาตากไว้ตามลานบ้านแทบทุกหลัง เรามาถึงเป็นเวลา
ใกล้เที่ยง บรรยากาศที่ชุมชนแห่งนี้จึงดูค่อนข้างที่จะเงียบ รถจอดหน้าร้านค้า กระดาษสาของหมู่บ้าน เราถามคำถามเดิมอีกครั้งและคำตอบก็ชวนให้ท้อใจเป็น ครั้งที่สอง “อ้อ เคยเห็น แต่ที่นี่ไม่มีนะ ที่นี่มีแต่คนที่เอากระดาษสาไปทำงาน ประดิษฐ์อื่นๆ ส่วนงานต้องลายไม่เห็นมานานแล้ว” แต่มองอีกมุม ถ้าเราหาคน ทำเจอก็เท่ากับว่าเราก็จะเจอสิ่งที่กำลังจะเลือนหายไปจากที่นี่ “ก็ลองไปถามดูที่ วัดสิ น่าจะยังมีคนทำอยู่ เพราะมันก็ประดับในวัดไม่ใช่เหรอ” พี่เจ้าของร้าน แนะนำทิ้งท้าย เราจึงเริ่มเปลี่ยนเป้าหมายไปเป็นวัดต่างๆ โดยมุ่งไปที่วัดที่กำลังมีงาน สรงน้ำพระธาตุก่อน เพราะ (ค่อนข้างมั่นใจว่า) ในงานบุญ จะต้องมีผู้คนทำงาน ต้องลายมาประดับประดาภายในวัดแน่นอน รถสองแถวคันเดิมพาเราไปยัง “วัด พระธาตุเสด็จ”, “วัดท่าคราวน้อย” แล้วก็วัดเล็กวัดน้อยในชุมชนต่างๆ ที่ผ่าน ทาง แต่ก็ยังไม่พบจนกำลังใจใกล้จะเหือดหาย และการสิ้นสุดของวันกำลังจะมา ถึง ความทรงจำในสมัยออกทริปวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะกลับเข้ามาอีกครั้ง “วัด คู่บ้านคู่เมืองของลำปาง” ก็วัดพระธาตุลำปางหลวงไง แม้จะเป็นวัดใหญ่และ
น่าจะมีโอกาสเป็นไปได้น้อย ก็ต้องลองดู... เป็นไปตามคาด คำตอบเหมือนที่ ผ่านๆมา... ไม่มี... ความทรงจำยังคงวนเวียนอยู่แถวนั้น “วัดพี่วัดน้อง” ...วัด ไหล่หิน ที่เป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธาตุลำปางหลวง “ลุง ลองไปดูวัดไหล่หินได้ มั้ย อยู่แถวนี้รึเปล่า คุ้นๆ” “ใช่ ไม่ไกลหรอก แต่จะมีเหรอ ก็ลองดูก็ได้นะ”
aw �������������.indd 67
7/17/12 2:21:26 PM
68
...สิ่งที่พ่อครูหรือสล่ามณฑลทำอยู่ทุกวันนี้คือ ความพยายามที่จะสืบสานและรักษา ศิลปะต้องลายนี้ไม่ให้หายไป...
วัดไหล่หินเป็นหนึ่งในวัดที่ประทับใจที่สุดตอนครั้งมาออกทริป และก็ยัง คงเป็นวัดที่สวยงามไม่ต่างจากที่เคยพบ แน่นอนว่าไม่มีงานต้องลายประดับอยู่ใน วัดนี้ตามเคย แต่ความคิดหนึ่งกลับเข้าแทนที่ความสิ้นหวัง การตามหานี้มิใช่การ ตามหาสิ่งที่มันสูญไปแล้ว หากแต่คือการตามหาในสิ่งที่มันกำลังหายใจ มีชีวิต และมีคนผู้ซึ่งมีความรู้ในงานศิลปะประเภทนี้ที่ยังคงสร้างสรรค์อยู่ และเราหวังว่า รูปแบบศิลปะดังกล่าวนี้จะสามารถบ่งบอกวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่และ รวมถึงจิตวิญญาณที่ผู้คนในชุมชนผู้โยงกับวิถีชีวิตแห่งพุทธศาสนา แต่แล้วเราก็ได้ พบกับพระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ที่นี่ และได้สนทนากันครู่หนึ่งถึงเรื่องราวต่างๆ จนเข้ามา สู่ เรื่ อ งต้ อ งลาย “โยมต้ อ งไปถามที่ โรงเรี ย นไหล่ หิ น วิ ท ยา ฝั่ ง ตรงข้ า มนี่ แ หละ เพราะโรงเรียนนี้เขาสืบสานเรื่องพวกนี้อยู่” ครูแหม่มแห่งโรงเรียนไหล่หินวิทยาคือผู้ที่ไขกุญแจแห่งการเดินทางตาม หาผู้สร้างสรรค์ศิลปะต้องลายในครั้งนี้ ว่าเราต้องไปที่ชุมชนบ้านวังหม้อ มีสล่า
ผู้หนึ่งเป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับการสืบสาน/สร้างสรรค์ศิลปะการต้องลายด้วยหัวใจ และจิตวิญญาณ ชุมชนบ้านวังหม้อเป็นชุมชนเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ วัดวังหม้อ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นวัดที่อยู่คู่ชุมชนและเป็นศูนย์กลางจิตใจของผู้คนในชุมชน วัดวังหม้อจึงเป็นสถานที่เป็นปลายทางการตามหาศิลปะการต้องลายที่หยุดอยู่ที่ บุคคลที่ชื่อ สล่ามณฑล ปินตาสี หรือที่ชาวบ้านละแวกนี้เรียกว่าพ่อครู และพร้อม กันนั้นก็ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการประจักษ์ในความงามและคุณค่าของศิลปะการ ต้องลายในคราวเดียวกัน
aw �������������.indd 68
7/17/12 2:21:26 PM
69
พ่อครูคือผู้ที่ยังสร้างสรรค์ศิลปะการต้องลายโดยยังคงรูปแบบ และวิธีการของโบราณไม่ว่าจะเป็นกระบวนการ เทคนิค หรือแม้การทั้ง คติความเชื่อต่างๆ ที่ยังคงสอดแทรกไปกับการทำศิลปะการต้องลาย สิ่ง ที่พ่อครูหรือสล่ามณฑลทำอยู่ทุกวันนี้คือ ความพยายามที่จะสืบสาน และรักษาศิลปะต้องลายนี้ไม่ให้หายไป ผ่าน “กลุ่มสืบสานภูมิปัญญา การทำโคม บ้านวังหม้อ” ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดวังหม้อ ซึ่งพ่อครูได้ ถ่ า ยทอดความรู้ ใ นการทำตุ ง ทำโคมที่ ต้ อ งใช้ ทั ก ษะการต้ อ งลาย กระดาษเป็นส่วนประกอบที่สำคัญให้แก่เด็กๆ ประชาชนทั่วไป รวมถึง พระสงฆ์ที่สนใจ การเรียนทำโคม/ทำตุงหรือการต้องลายนั้นไม่ใช่แค่ฝึก ไม่กี่ชั่วโมงก็จบสิ้น แต่พ่อครูจะถ่ายทอดรายละเอียดตั้งแต่การเหลาไม้ ทำโครงโคม การรู้จักหน้าสิ่วสำหรับใช้ตอกแต่ละหน้า การหัดร่างลาย การตอกลาย จนประกอบเสร็จเป็นโคมหรือตุง ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องใช้ ความมานะอุตสาหะอย่างสูงจนเกิดทักษะที่มาจากความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่รู้เผินๆ ไปจนถึงเรื่องราวภายใต้โคมแต่ละแบบ ตุงแต่ละ ผื น ลวดลายแต่ ล ะลาย “โคมทุ ก ลู ก มี เรื่ อ งราวของประวั ติ ศ าสตร์ ที่
aw �������������.indd 69
7/17/12 2:21:27 PM
ถ่ายทอดกันมาปากต่อปาก” ไม่ใช่แค่ปลายทางที่เป็นวัตถุทางศิลปะที่มี ความงามทางสายตา แต่คุณค่าที่อยู่ภายใต้งานประเภทนี้คือคุณค่าทาง สังคมที่พันผูกผู้คน ความเชื่อทางศาสนา และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้า ด้ ว ยกั น เมื่ อ เราได้ พู ด คุ ย ถึ ง รู ป แบบศิ ล ปะการต้ อ งลายนั้ น ว่ า มั น ได้ สู ญ หายไปจากที่ แ ห่ ง นี้ แ ล้ ว ไม่ คำตอบที่ ไ ด้ ม านั้ น มั น กลั บ ทำให้ เรา
ประหวั่นใจยิ่งนัก ศิลปะการต้องลายนี้ปัจจุบันก็ยังคงพบเห็นอยู่ทั่วๆ ไป หาก แต่มักจะออกมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่มีการผลิต ออกมากันทีละมากๆ และขั้นตอนโบราณที่แฝงไว้ด้วยคติความเชื่อ ต่างๆ รวมทั้งเรื่องราวภายใต้ลายต้องนั้นถูกลบทิ้งหายไปเกือบหมดสิ้น ที่ยังคงเหลือก็มีเพียงแต่ความงามจำนวนมากๆ เพื่อจุดประสงค์เพียงแค่ กำลังในการซื้อของนักท่องเที่ยว เมื่อมายืนตรงหน้าผู้ที่ยังคงสร้างสรรค์ ศิลปะการต้องลายที่ยังอิงแอบอยู่กับคติความเชื่อโบราณด้วยแล้วยิ่ง ทำให้เราเห็นถึงความหวังของลมหายใจของศิลปะการต้องลายที่ยังคง หายใจต่อไป และเมื่อเราเห็นและประจักษ์กับความงามและความเป็นมา และเป็นไปของศิลปะการต้องลายดังกล่าวมันทำให้เรานึกคิดย้อนกลับ ไปถึงคุณค่าที่แท้จริงของคำว่าวัฒนธรรมที่มิใช่เป็นเพียงชื่อหรือสิ่งที่ เรียกว่าความงามทางวัฒนธรรมที่สามารถนำมาเป็นจุดขายหรือเป็น
70
...คุณค่าของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่นั้น สมควรอย่างยิ่งที่ผู้คนในพื้นที่หรือชุมชนนั้นๆ จะต้องเห็นคุณค่าและความงามด้วยตนเอง...
aw �������������.indd 70
7/17/12 2:21:27 PM
สินค้าระหว่างประเทศตามนโยบายของรัฐที่ผ่านๆ มาเท่านั้น หากแต่ 71 คำว่าวัฒนธรรมนี้มันยังเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกคุณค่าของความงดงามทาง สังคมที่มีอัตลักษณ์อยู่ในตัวตนไม่ว่าจะเป็นที่ไหน ชุมชนเล็ก ชุมชนใหญ่ คนกรุง หรือคนชายขอบ ในทุกพื้นที่ ทุกสังคมล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรม ที่มีความงดงามและมีคุณค่าที่สมควรจะสืบต่อไป การสืบต่อนี้อาจจะ มิใช่การสืบต่อเพียงการสืบสานในสิ่งที่เรามองว่ามันกำลังจะสูญหายไป หากแต่มันเป็นการสืบต่อโดยเป็นไปในรูปแบบของการดำเนินต่อไป โดยที่ไม่ได้มีใครมาบอกว่าสิ่งนี้มีคุณค่าและสมควรจะส่งเสริม สืบสาน ต่อไป คุณค่าของวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่นั้นสมควรอย่างยิ่งที่ผู้คนใน พื้นที่หรือชุมชนนั้นๆ จะต้องเห็นคุณค่าและความงามด้วยตนเองโดย
ปราศจากการชี้ น ำจากคนนอก เพราะถ้ า คนนอกมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การ
เล็งเห็นคุณค่าแล้วอาจทำให้คุณค่าที่ได้นั้นเป็นคุณค่าแค่เพียงชั่วคราว มีความสำคัญเพียงแค่เป็นฉากทางวัฒนธรรมของแต่ละสังคมที่อาจมี ตอนจบอยู่ที่การเป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม สล่ า มณฑล ปิ น ตาสี ผู้ ซึ่ ง ยั ง คงสร้ า งสรรค์ ผ ลงานศิ ล ปะ ต้องลายให้คงอยู่คู่สังคมและวัฒนธรรมล้านนาสืบต่อไปอาจจะเป็น หนึ่งในแสงเล็กๆ ที่ส่องทางให้งานศิลปะพื้นถิ่นนี้ยังคงดำเนินใน จังหวะของลมหายใจที่สม่ำเสมอต่อไป p
aw �������������.indd 71
7/17/12 2:21:28 PM
72
aw �������������.indd 72
7/17/12 2:21:30 PM
ART & COMMUNITY
กองบรรณาธิ การ
73
ศิลปะชุมชน กับ คนอาสา ศิลปะชุมชน เป็นอีกแนวทางการสร้างสรรค์หนึ่งที่หลายๆ คนเลือก ใช้ในยุคนี้ เพราะนอกจากที่เราจะได้รับความสุขจากการทำงานศิลปะแล้ว การทำงานร่วมกับชุมชนเป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนาสังคมได้ จากกิจกรรมเล็กๆ ของกลุ่มคนเล็กๆ ที่มุ่งสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้น เมื่อ ศิลปะเป็นภาษาสากล การนำศิลปะเป็นแนวทางในการเข้าสู่หัวใจชุมชนจึง ไม่ใช่เรื่องยาก แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะเราไม่ได้สร้างงานศิลปะใน ฐานะวัตถุเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่การทำงานศิลปะชุมชนคือการทำงานร่วม กับคนและสังคม ความสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ คงมีเสน่ห์ไม่น้อยเลย ที เ ดี ย ว เราลองมาคุ ย กั บ กลุ่ ม คนที่ เ คยทำงานศิ ล ปะชุ ม ชนกั น ดู บ้ า ง ว่ า
พวกเขาพบเห็นและได้ประสบการณ์อะไรมาแลกเปลี่ยนกับเราบ้าง ก่อนหน้าที่จะมารู้จักกันนี้ แต่ละคนเคยทำงานศิลปะกับชุมชนกันมาก่อนไหม ออ : ทำงานชุมชนมาบ้างก่อนที่จะมาเรียน ป.โท ที่นี่ เช่น โครงการละครเพื่อการ ศึกษา และที่ทำล่าสุดก็คือโครงการเตร่ตรอกลัดรั้วบ้านครั้งที่ 2 เป็นโครงงานร่วม กับหอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยการนำกระบวนการทางศิลปะเข้าไปใช้ใน ชุมชน มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาการเด็กและเสริมทักษะการวาดรูปตามวัย มีการใช้ กระบวนการละครสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เพื่อดึงศักยภาพเด็กออกมา และนำไป พัฒนาในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด มิ้ม : ไม่เคยทำงานชุมชนมาก่อนเลยค่ะ แต่พอได้มาเรียนในรายวิชา Curatorship ของ ป.โท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์แล้ว ก็มีความรู้สึกว่าการทำงานศิลปะชุมชนมีความ น่าสนใจ และคิดว่าเป็นจุดเล็กๆ ที่ช่วยพัฒนาสังคมได้ พอดีมีเพื่อนชาวญี่ปุ่นที่รู้จัก กันสมัยเรียนที่เกียวโต เขาเดินทางมาทำวิจัยเกี่ยวกับศิลปะชุมชน โดยร่วมมือกับ
aw �������������.indd 73
7/17/12 2:21:31 PM
74
ตั ว แทนกลุ่ ม ศิ ล ปิ น ชาวญี่ ปุ่ น ที่ มี ชื่ อ ว่ า Fai Fai สิ่ ง ที่ ศิ ล ปิ น ชาวญี่ ปุ่ น กลุ่ ม นี้ จั ด ขึ้ น คื อ กิจกรรม Workshop แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ที่ชุมชนนางเลิ้ง มิ้มเลยได้มีส่วนเข้าไปช่วย และร่วมทำกิจกรรมกับคนในชุมชนด้วย โดยมีพี่แดงเป็นผู้นำชุมชน สำหรับพี่แดงเองก็เคย ได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรพิเศษให้กับมิ้มและเพื่อนๆ ในวิชา Curatorship นั่นยิ่งทำให้รู้สึก อยากเข้าไปมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น สำหรับแนวคิดของศิลปินกลุ่มนี้ไม่เน้นในเรื่องของความ สำเร็จเชิงรูปธรรม แต่เน้นกระบวนการมากกว่า สิ่งสำคัญคือ การจุดประกายความคิด ใหม่ๆ ให้กับเด็กๆ ในชุมชน และส่งผลเป็นระลอกคลื่น ขยายผลไปยังผู้ใหญ่ในชุมชน อ้อย : เริ่มทำศิลปะชุมชนครั้งแรกเลย ก็ตอนที่มาเรียน ป.โท ที่ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ ช่วงปี ที่แล้วมีโครงการจัดทำวารสารฯ ของคณะ ได้รับมอบหมายให้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะ ชุมชน ก็เลยต้องไปสังเกตการณ์ ศึกษา ดูงาน รวมทั้งพูดคุยกับพี่แดง (ผู้นำชุมชนนางเลิ้ง) และก็ น ำข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ม าเขี ย นบทความ โดยในช่ ว งที่ เข้ า ไปในชุ ม ชน ทางชุ ม ชนกำลั ง มี กิจกรรมที่ชื่อ “ถนนเด็กเดิน” ก็เลยรวมกลุ่มกับพวกมิ้ม ออ และเพื่อนๆ ไปจัดกิจกรรม สอนศิลปะประดิษฐ์ให้กับเด็กๆ ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาก งานถนนเด็กเดินนี้ จัดขึ้นโดย ผู้นำชุมชนอย่างพี่แดงที่มีประสบการณ์มานาน สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง โดยได้รับการ สนับสนุนเรื่องทุนจาก สสส. กิจกรรมคราวนั้นทำให้ตัวเองได้มาเรียนรู้การทำงานศิลปะ ชุมชน
aw �������������.indd 74
7/17/12 2:21:34 PM
พอได้มาทำงานศิลปะกับชุมชนแล้ว ประทับใจอะไรกันบ้าง อ้อย : โดยส่วนตัวชอบศิลปะเด็กอยู่แล้ว คิดว่าศิลปะช่วยทำให้เด็กมีสมาธิ และสามารถพัฒนาจิตใจได้ด้วย สนใจศิลปะชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กมากที่สุด คือเราฝากความหวังไว้ที่เด็กๆ ว่า เขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ ดีขึ้นได้ อย่างพี่แดงก็เป็นตัวอย่างที่ทำไปแล้วประสบความสำเร็จและเป็นที่ ยอมรับ เราคิดว่าต้องมีคนอย่างนี้เยอะๆ สิ บ้านเมืองเราถึงจะพัฒนา ต้องเป็น คนในชุมชนเองนั่นแหละ ที่ต้องลุกขึ้นมาสร้างอะไรใหม่ๆ เพื่อที่ที่ตนเองอาศัย อยู่ มิ้ม : มิ้มคิดว่า เราไม่สามารถปฏิเสธสิ่งรอบข้างและสังคมได้อยู่แล้ว เราจึงต้อง อยู่ร่วมกันและสร้างสรรค์ให้มันดี เด็กเป็นจุดเริ่มของหลายๆ อย่าง เราต้อง ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์ดีๆ ให้กับพวกเขา แล้วก็คนที่จะดำเนินกิจกรรมได้ดีที่สุด ก็ คือคนในชุมชนเอง เขาต้องทำเอง รู้สึกเอง โดยไม่ต้องอาศัยมือของคนอื่นอยู่ ตลอดเวลา ตอนที่มิ้มได้ไปทำกิจกรรมในชุมชนนางเลิ้งนั้น มิ้มได้เห็นมุมน่ารัก ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นความร่าเริงสดใส ความมีน้ำใจ เด็กที่ชุมชนนั้น ส่วนใหญ่ ก็จะมีปัญหาครอบครัว การจัดกิจกรรมเหล่านี้ทำให้เด็กๆ ได้เปิดโลก ได้เห็น ได้คิดอะไรใหม่ ที่แตกต่างไปจากสภาพแวดล้อมเดิมๆ ที่ไม่ค่อยดีนัก เวลาเห็น เด็กๆ มีความสุข เราก็รู้สึกดี
aw �������������.indd 75
75
7/17/12 2:21:35 PM
76
ออ : เรื่องประทับใจที่สุด คือ เคยไปทำกิจกรรมที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในห้องมี เด็ ก ผู้ ห ญิ ง ที่ ดู จ ะเป็ น ปั ญ หาในห้ อ ง โดยเราสั ง เกตจากพฤติ ก รรมของเพื่ อ น
รอบข้าง เช่น เพื่อนไม่คุยด้วย โดนแบ่งแยก ซึ่งเราเองก็ไม่รู้หรอกว่ามันเกิดขึ้น เพราะอะไร เราก็ตามดูเขาไปเรื่อยๆ และจากกิจกรรมที่เราทำนั้น เราค้นพบว่า เด็กผู้หญิงคนนี้มีความคิดสร้างสรรค์ เขาจะคิดอะไรที่แปลกกว่าเพื่อน และ สำหรับเด็กๆ การที่ไม่เหมือนกับเพื่อนมันก็ดูจะไม่เข้าพวก มันก็เหมือนในสังคม ที่เวลาใครคิดอะไรแปลกๆ ไม่เหมือนคนส่วนใหญ่ ก็จะถูกหาว่าประหลาด และ โดนกีดกันออกไป พอทำกิจกรรมไปสักพัก เด็กผู้หญิงคนนั้นก็เริ่มได้รับการ ยอมรับในกลุ่ม มีการพูดคุยกับเพื่อนมากขึ้น ทำให้เรารู้ได้ว่าเขาเริ่มได้รับการ ยอมรับจากเพื่อนๆ แล้ว เรื่องเล็กๆ แบบนี้ เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของใครหลายคน ได้เลย นอกจากความประทับใจแล้ว โดยส่วนตัวได้เรียนรู้อะไรกันบ้าง ออ : ที่ชัดเจนที่สุดคือ ได้รับความสุข การทำกิจกรรมกับชุมชนเป็นการเปิด
โลกกว้างให้กับตัวเอง เราได้เห็นสิ่งที่คนอื่นคิด ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ซึ่ง บางอย่างเป็นสิ่งที่เราเหมือนจะรู้ แต่จริงๆ เราอาจจะไม่รู้เลยก็ได้ เช่น ตามข่าว ในสื่อต่างๆ ที่เผยแพร่เรื่องเด็กไม่ดี เป็นปัญหาของสังคม นั่นคือข้อมูลหยาบๆ ที่เราได้รับรู้ แต่ถ้าเราได้ไปสัมผัสจริงๆ แล้วล่ะก็ จะรู้ได้เลยว่าเรื่องเหล่านี้ มันมี ปัจจัยหลายอย่าง เวลาเรามองเห็นปัญหา เราจะไม่ได้พยายามเข้าไปเพื่อแก้ไข ว่าต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ แต่เป็นการไปรู้จักชีวิตของพวกเขา ว่ามันเป็น ไปอย่างไร สื่อสารกับเขาไปเรื่อยๆ เรียนรู้ซึ่งกันและกันมากกว่า
aw �������������.indd 76
7/17/12 2:21:36 PM
77
...การทำกิจกรรมกับชุมชนเป็นการเปิดโลกกว้างให้กับตัวเอง เราได้เห็นสิ่งที่คนอื่นคิด ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่...
มิ้ม : เราได้เรียนรู้สภาพชีวิตจากการแสดงออกหรือคำพูดของเด็ก เด็กส่วนใหญ่ใน ชุมชนมีปัญหาครอบครัวแตกต่างกันไป บางคนผู้ปกครองไม่มีเวลาเลี้ยงดูและอบรม สั่งสอน เวลาทะเลาะกัน มีปากเสียงกันก็ใช้คำหยาบคาย การทำอะไรที่ผู้ใหญ่ไม่ได้ ตั้งใจ บางทีก็กลายเป็นตัวอย่างแก่เด็ก เด็กๆ บางคนมีการใช้คำหยาบคาย เราก็ได้มี โอกาสบอกเขาว่ า มั น ไม่ ใช่ สิ่ ง ที่ เ หมาะสมนะ ในมุ ม มองของมิ้ ม คิ ด ว่ า เด็ ก ๆ ก็ ต้องการการชี้ทางถูกผิดด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้โตเอง มันทำให้เราได้เรียนรู้ว่าสังคมเรา ยังมีปัญหาอยู่มาก ถ้าเราได้เข้าไปมีส่วนร่วม หรือเข้าไปช่วย อย่างน้อยเราก็ได้ปลูก ฝังสิ่งดีๆ แม้เป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ถ้ามันงอกงามก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แล้วมีปัญหาอะไรที่เราพบตรงๆ บ้างไหม มิ้ม : สำหรับมิ้มแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องการทำงาน แม้ว่าจะเป็นการทำงานกับศิลปิน ต่างชาติต่างภาษา แต่ปัญหาน่าจะเป็นเรื่องของกระบวนการที่เขาเตรียมมามากกว่า การทำงานครั้ ง นี้ เ ป็ น การทำวิ จั ย มี เรื่ อ งของเงิ น สนั บ สนุ น และค่ า ใช้ จ่ า ยเข้ า มา เกี่ ย วข้ อ ง ก็ มี ก ารรบกวนให้ เจ้ า ของบ้ า นออกใบเสร็ จ ให้ ซึ่ ง ความเป็ น จริ ง แล้ ว เจ้าของบ้านไม่ได้คิดค่าอะไรทั้งสิ้น ก็ทำให้เจ้าของบ้านรู้สึกไม่ดี อีกเรื่องคือความ แตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมสอนทำข้าวปั้น ให้เด็กทำแล้วเอาไปแจกคนใน ชุมชน โดยให้ตอบคำถามเด็กๆ ก่อนแล้วก็ค่อยให้ข้าวปั้นเป็นการแลกเปลี่ยน ด้วย ความที่เด็กๆ ดูมอมแมม และเป็นมือใหม่ในการปั้นข้าว ข้าวปั้นก็เลยไม่น่ากินสัก เท่าไร มันจึงเกิดสายตาลังเลจากคนอื่นว่าจะกินได้ไหม สกปรกหรือเปล่า ซึ่งควรคิด ให้รอบคอบกว่านี้ว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นได้ และส่งผลกระทบอะไรบ้าง อย่าง เรื่องวัฒนธรรมการกินมันเป็นเรื่องสำคัญนะ มันมีความแตกต่างกัน เด็กบางคน
ไม่ยอมทำต่อ เด็กๆ ก็มีความรู้สึกเหมือนกัน
aw �������������.indd 77
7/17/12 2:21:36 PM
78
“การให้” ใช่หรือไม่ กับงานศิลปะชุมชน ออ : ในฐานะคนทำงานชุมชน ก่อนที่เราจะเข้าไป มันตัดเรื่องความคิดที่จะไปเอาอะไรจาก เขาไม่ได้หรอก จริงๆ ใจคนเรามันก็มุ่งหวังที่จะไปเอาอะไรจากเขาอยู่แล้วละ เวลาเราเข้าไป เราก็เริ่มอยากให้เขาทำอย่างนู้น อยากให้เขาเป็นอย่างนี้ มันก็เป็นเรื่องของการไปได้อะไร แล้วละ แต่ที่นี้เราก็ต้องรู้จักคิดก่อนว่าสิ่งที่จะไปได้ หรือไปเอามาจากเขามันจะเป็นการ แลกเปลี่ยนหรือจะไปส่งผลกระทบอะไรต่อเขากันแน่ ดังนั้นเลยคิดว่าพื้นฐานแล้วมันคือ การไปรับจากเขานะ ไม่ใช่การให้ มิ้ม : น่าจะเรื่องการแบ่งปันมากกว่า คนที่จะเข้าไป จะไปเอาในแง่ไหนกัน ถ้าไปเอาในแง่ ประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนก็ถือว่าโอเค แต่ถ้าเอาในแง่ประโยชน์ด้านทุนนิยมหรือ
ผลประโยชน์ขององค์กร แบบนั้นคงจะไม่ดี ออ : เราไปเอาเพื่อแลกเปลี่ยนกัน หรือว่าเราเข้าไปเอาแล้วไปส่งผลอะไรกับเขาหรือเปล่า งานชุมชนเป็นการทำงานที่มีปฏิสัมพันธ์กัน แต่จะทำอย่างไรให้ชุมชนไม่ได้รู้สึกถูกจัดการ กับการเข้าไปทำกิจกรรม มิ้ ม : เราอยากเข้ า ไปสั ม ผั ส เราก็ ไ ม่ ไ ด้ อ ยากเข้ า ไปเป็ น แกนนำ แต่ เ ป็ น การเข้ า ไป สังเกตการณ์มากกว่า สิ่งที่อยากให้เป็นคือ ไม่ได้ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างสูง แต่เป็น เหมือนพี่ดูแลน้อง แม่สอนลูก เปิดโลกหรือทัศนคติให้กว้างมากขึ้น
aw �������������.indd 78
7/17/12 2:21:38 PM
79 แล้วมีเรื่องที่ควรเล่าสู่กันฟังไหมคะ ออ : บางครั้งมันก็จะมีกรณีของ บุคคลที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นสื่อ
นำเสนอภาพกิจกรรมหรือข้อมูลของชุมชน ที่ไม่ตรงไปตรงมาแต่มีการเสริม แต่ง ดัดแปลง ให้ตรงตามแนวคิดของรายการ จนส่งผลกระทบต่อคนในชุมชน เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลที่ถูกนำเสนอออกไปก็มักเป็นมุมมองของคนภายนอกที่ มองเข้ามา โดยไม่ได้ทำความรู้จักกับชุมชนอย่างแท้จริง จนวันหนึ่งที่คนใน ชุมชนเริ่มรู้สึกแล้วว่า ทำอะไรกับฉัน และต้องการอะไรจากฉันกันแน่ อ้อย : มันอาจจะมีผลดีในเรื่องของการประชาสัมพันธ์สิ่งดีๆ ในชุมชนให้คน
ข้างนอกได้รับรู้ แต่มันก็เป็นดาบสองคมได้เหมือนกันถ้าเกิดสิ่งที่นำเสนอออกไป ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง หลายๆ อย่าง อาจเป็นข้อมูลที่เบี้ยวและฉาบฉวย เพราะเป้าหมาย คือ การได้ขายภาพที่สวยงาม งานชุมชนค่อนข้างละเอียดอ่อน และใช้เวลา มันดีไม่ดีเราไม่มีทางรู้ เช่น การทำงานกับเด็ก เราก็ไม่เคยคาดหวัง เลยว่าเด็กจะกลายเป็นเด็กที่ดีหรือไม่ เมื่อเราไปปลูกต้นไม้เราก็ไม่รู้ว่ามันจะโต หรือไม่โตได้อย่างไร เราก็ทำได้แค่ใส่ปุ๋ย อยากเห็นอะไรในการทำงานศิลปะชุมชนบ้าง ออ : เราอยากให้มีเด็กโตหรือวัยรุ่นในชุมชน มาร่วมทำกิจกรรมด้วย เขาจะได้ ทำต่อได้ด้วยตัวเอง ให้เป็นพลังคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนชุมชนต่อไป ซึ่งเราคาดหวัง แต่ตอนนี้ยังไม่มี อ้อย : แต่เราก็ประทับใจที่มีผู้ใหญ่เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมด้วย เช่น มีคุณลุงใน ชุมชนทำโต๊ะให้เด็กๆ ใช้ บางบ้านให้พื้นที่ในการทำกิจกรรม (ชุมชนตรอก
เซี่ยงไฮ้ มีปัญหาเรื่องพื้นที่ที่ใช้ในการทำกิจกรรมมาก เริ่มต้นด้วยการใช้บ้านร้าง ที่หลังคารั่ว แต่ด้วยความที่โครงสร้างมีปัญหาจากอัคคีภัยที่เคยเกิดขึ้น ทาง สำนักทรัพย์สินฯ จึงไม่อนุญาตให้ใช้ สุดท้ายได้ผู้ใหญ่ใจดีแบ่งพื้นที่ในโรงงาน เชื่อมเหล็กแถวชุมชน ให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรม รวมทั้งช่วยหาอุปกรณ์มาให้ ไม่ว่า จะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ เสื่อ พัดลม เป็นต้น) มีความหวังว่าในอนาคต เด็กๆ จะมี พื้นที่ในการทำกิจกรรมดีๆ พวกนี้ แม้จะไม่มีพวกเราแล้วก็ตาม
aw �������������.indd 79
7/17/12 2:21:38 PM
80
aw �������������.indd 80
7/17/12 2:21:42 PM
81 สุดท้ายแล้วมองว่าศิลปะชุมชนมีบทบาทอย่างไรกับสังคมหรือชุมชนนั้นๆ อ้อย : ศิลปะก็เป็นหนทางหนึ่งที่พัฒนาสังคมได้ เวลาเราทำงานกับชุมชนเราก็ จะเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างเด็กที่เคยก้าวร้าวมาก แต่พอเวลาเขียนรูปเขาจะ นิ่งและเขียนได้ดีมาก มีความคิดสร้างสรรค์ พอให้มารวมกันคิดเรื่องราวอะไร เขาก็ดูคิดได้อย่างสนุกสนาน และมีความสุขเวลาที่ทำงานศิลปะ เราก็เห็นความ ร่วมมือของเด็กๆ และคิดว่าน่าจะพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ อีก เขาน่าจะพร้อมรับ อะไรดีๆ ใหม่ๆ ได้ มิ้ม : การทำงานศิลปะชุมชนหรืองานชุมชน กิจกรรมหรืออะไรก็แล้วแต่ที่เข้าไป ในชุมชนเป็นเหมือนตัวเร่ง แต่จริงๆ แล้ว การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วย ตัวของคนในชุมชนเอง และคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดก็คือชุมชนเอง ด้วยข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ โครงการมีวันเสร็จสิ้นกิจกรรมจบ ลงไป แต่หัวใจสำคัญของงานชุมชนคือการที่ชุมชนสามารถนำประสบการณ์ ดีๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกันไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากที่เราได้คุยกันมาจะ เห็นว่าการทำงานศิลปะกับชุมชนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากทั้งในแง่ของ ความรู้สึกและรายละเอียดในการทำงาน เพราะเป็นการทำงานร่วมกับสังคม และกับคนซึ่งมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน มากคนมากความอย่างที่ใคร หลายๆ คนพูด แต่ทุกสิ่งไม่ใช่เรื่องยากถ้าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ว่าเราคิดที่ จะไปรับหรือไปให้อะไรแก่ชุมชนในฐานะคนทำงานศิลปะเราคือแขนงงานที่ สร้างสรรค์ สิ่งที่ทำไม่ใช่แค่การสร้างรูปธรรมที่ยิ่งใหญ่แต่ต้องเต็มไปด้วย นามธรรมที่มีคุณค่าเช่นกัน ต่างคนต่างความคิดและต่างประสบการณ์การ ทำงานร่วมกันแม้ว่าจะมีปัญหามากมาย แต่สุดท้ายแล้วสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ได้ดีที่สุดก็คือจุดประสงค์ที่จะสร้างสรรค์สังคมไปในแนวทางที่ดี ยิ่งความคิด บริสุทธิ์เท่าไรคุณค่าก็แปรผันมากขึ้นตามความคิดดีๆ เสมอ p
aw �������������.indd 81
7/17/12 2:21:42 PM
ART & ACTIVITIES
82
กองบรรณาธิการ
เก็บข่าวมาฝาก
วารสารหอศิลป์โฉมใหม่ฉบับนี้เราจะขอแนะนำ SAL : Silpakorn University Art Laboratory Project เรียกกันสั้นๆว่า Art Lab หรือ “ห้องทดลองทางศิลปะ ของหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” ซึ่งหน่วยงานนี้ไม่ใช่หน่วยงานใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงการดำเนินงานของ หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากรให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ตั้งมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่การใช้พื้นที่ ของหอศิลป์สนามจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมเป็นหลัก ซึ่งพื้นที่ของ Art Lab นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ นั่นคือ 1. พื้นที่ชั้นล่างของศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ซึ่งตั้งอยู่ ติดกับหอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ได้จัดเป็น ส่วนของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะนำผลงานศิลปกรรมสะสมร่วม 1,000 ชิ้น ออกมาจัดแสดงหมุนเวียนกันไป ทุกๆ 6 เดือน ซึ่งผลงานสะสมดังกล่าว นับได้ว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเป็นอย่างยิ่ง โดยเริ่มกันกับนิทรรศการภายใต้โครงการ “ศิลปกรรมสะสมมหาวิทยาลัยศิลปากร” ครั้งที่ 1 ใน นิทรรศการที่มีชื่อว่า “สรรพนามธรรม” ที่รวบรวมผลงานศิลปกรรมแบบนามธรรมที่เกิดขึ้นในหน้า ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยในช่วงสมัยหนึ่ง โดยภัณฑารักษ์ผู้สร้างสรรค์นิทรรศการในครั้งนี้คือ
ปรมพร ศิริกุลชยานนท์ และกฤษฎา ดุษฎีวนิช 2. พื้ น ที่ ก ลางแจ้ ง บริ เ วณโดยรอบศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมเฉลิ ม พระเกี ย รติ 6 รอบ พระชนมพรรษา อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำ เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งสวนประติมากรรม 3. หอศิลป์สนามจันทร์ ใช้เป็นพื้นที่ทางเลือกสำหรับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้เพื่อ การสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น โครงการศิลปะเชิงปฏิบัติการ โครงการวิชาการทางศิลปะ โครงการ นิทรรศการต่างๆ รวมถึงยังมีโครงการเปิดพื้นที่เพื่อให้ศิลปินมาพำนักและสร้างสรรค์งาน (Artist in Residence) โดยในปีที่ผ่านมา Art Lab ได้ทำหน้าที่เป็นพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนการสร้างสรรค์ ผลงานทางศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินกลุ่มประเทศนอร์ดิก ภายใต้โครงการ Thai - Nordic 2011 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ชมทั่วไป นอกจากการใช้พื้นที่ของ Art Lab ทั้งสามส่วนแล้ว Art Lab ยังเป็นเสมือนพื้นที่ตัวแทน ของ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในการสร้างเครือข่ายและผูกสัมพันธ์กับท้องถิ่นทั้งเพื่อแลก เปลี่ยนและเรียนรู้วัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างสรรค์ทางศิลปะระหว่างหอศิลป์กับชุมชน ซึ่งเราจะได้ เห็นงานดีๆ และน่าสนใจภายใต้โครงการของ Art Lab ออกมาให้ได้ชมกันต่อไป p สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ e-mail: pr.artcentre@gmail.com aw �������������.indd 82 7/17/12
2:21:43 PM
ART & SOUND
นุ วุ ฒิวิชัย
83
นัยยะแห่งองค์ราชัน เนื่ อ งในวโรกาสมหามงคลที่ อ งค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ทรงเจริ ญ
พระชนมายุครบ 84 พรรษา ในปี พ.ศ.2554 โดยทางหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัด โครงการ “งาน 84 ปีในหลวง” ในหัวข้อ “นัยยะแห่งองค์ราชัน” และทางหอศิลป์ได้ให้ เกียรติผมร่วมเป็นหนึ่งในศิลปินแสดงงานในครั้งนี้ โดยการที่ให้โอกาสงานศิลปะแขนง ดนตรีได้มีที่ยืนเคียงข้างศิลปะแขนงอื่นในเวทีเดียวกัน สำหรับผมนี่นับเป็นนิมิตหมายที่ งดงาม ของการพัฒนาและสนับสนุนศิลปะแขนงต่างๆ ของเมืองไทยอย่างแท้จริง และนี่คือ ถ้อยคำเกริ่นนำสำหรับผมที่ขอฝากไปยัง หอศิลป์ (ด้วยจิตคาระวะครับ) สำหรั บ เหตุ ผ ลหลั ก ที่ ผ มได้ เข้ า ร่ ว มแสดงผลงานในครั้ ง นี้ คื อ ความรั ก และ
จิตศรัทธา ที่ผมมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “พ่อ” ของเราชาวไทย ผม ศรัทธาอย่างแรงกล้าในความรู้สึกนี้ ศรัทธาในความเป็นพระองค์ที่ทรงทุ่มเท เสียสละทั้ง แรงกายแรงใจทำสิ่งต่างๆ มากมายเพื่อชาวไทยของพระองค์ ไม่ว่าที่ปรากฎต่อสายตา สาธารณะหรือเป็นการปิดทองหลังองค์พระปฎิมาก็ตามที พระองค์ไม่เคยหยุดรัก ไม่เคย หยุดห่วง “ลูกๆ” ของพระองค์เลย.... และ พระองค์ยังทรงเป็น “พ่อ” ที่สอนข้อคิดการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ที่เป็น เรื่องทั้งศาสตร์และศิลป์ในทีเดียวกันให้แก่ลูกๆ เสมอ เป็นข้อคิดเตือนสติให้เราที่ต่างตั้ง หน้าตั้งตาต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต่างๆ มากมายในยุคปัจจุบัน “ได้หยุด หันมามอง ทบทวน ไตร่ตรอง และค้นหาความสุขที่อาจหายไปนั้น ...จากข้างในของตัวเราเอง” พระองค์ท่านให้เรามากมายขนาดนี้ แล้วเราจะไม่รัก “พ่อ” กันได้อย่างไร ทั้งหมดนี้เป็น เหตุผลมากมายเพียงพอที่ทำให้ผมมอบใจให้กับการสร้างสรรค์งานประพันธ์เพลงเพื่อ พระองค์ ผมรักในหลวงครับ ลูกของพ่อ นุ วุฒิวิชัย
aw �������������.indd 83
7/17/12 2:21:43 PM
84
aw �������������.indd 84
7/17/12 2:21:44 PM
85
aw �������������.indd 85
7/17/12 2:21:45 PM
86
มิวเซียมสยาม
aw �������������.indd 86
7/17/12 2:21:46 PM
ART & MUSEUM
ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์
87
พิพิธภัณฑ์เพลินๆ หากย้อนหลังไปซักราวๆ 10-20 ปีก่อน เมื่อพูดถึงการไป พิพิธภัณฑ์ในวันหยุด คนส่วนใหญ่มักจะร้องยี้ และนึกไปถึงอากาศทึมๆ กลิ่นอับๆ แสงน้อยๆ และความน่าเบื่อ โอกาสที่จะเดินเข้าไปน่าจะมีแต่ เวลาที่โรงเรียนจัดทัศนศึกษานอกสถานที่หรือจำเป็นจริงๆ ที่ต้องเข้าไป ดูเพื่อทำรายงานส่งครู จนกลายเป็นว่าผู้ใหญ่รุ่นนั้นมองเด็กรุ่นหลังว่า ไม่ใส่ใจการเรียนรู้นอกห้องเรียน สาเหตุที่เด็ก (หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ด้วยซ้ำ) ไม่เดินเข้าพิพิธภัณฑ์อยู่ที่ใคร อยู่ที่เด็กไม่รักการเรียนรู้ อยู่ที่สังคมบีบให้ คนไม่สนใจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ อยู่ที่จำนวนห้างสรรพสินค้าที่ มากมายจนดึงดูดความสนใจไปทางนั้นหมด หรือว่าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่ อยากจะให้คนเดินเข้าไปนั้นกลับเหมือนจะปิดประตูใส่อยู่ร่ำไป แต่แล้วเมื่อราวๆ 7-8 ปีที่แล้ว มีข่าวใหญ่ที่เรียกได้ว่าสะเทือน วงการวิชาการของนักประวัติศาสตร์ โบราณคดี สังคมวิทยา มนุษยวิทยา และผู้ที่รักและหวังจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของพิพิธภัณฑ์ใน ประเทศเรา นั่นคือโครงการก่อตั้งสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) หรือ National Discovery Museum Institute (NDMI) ภาย ใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ที่สนับสนุนงบประมาณจาก รัฐบาลโดยตรง และการเกิดขึ้นของ “มิวเซียมสยาม” ที่กว่าจะคลอด ออกมาได้ก็ทำเอาใจหายใจคว่ำ ว่าความหวังและความฝันจะสลายลง ต่ อ หน้ า เสี ย แล้ ว มิ ว เซี ย มสยามเปิ ด ตั ว อย่ า งเป็ น ทางการในวั น ที่ 2 เมษายน 2551 กับการเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการเรียนรู้และความบันเทิง สนุกสนานได้สาระไปพร้อมๆ กันตามคอนเซปต์ Play (เล่น) + Learn (เรียน) = เพลิน มิวเซียมสยามลบภาพพิพิธภัณฑ์เก่าๆ ที่มีวัตถุโบราณ
aw �������������.indd 87
7/17/12 2:21:46 PM
88
มิวเซียมสยาม วาง แล้วเอาไฟส่อง พร้อมติดป้ายบอกชื่อและปีที่มาที่ดูเก่าๆ จางๆ ออกเสียสิ้น ด้วยการร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆ เข้าด้วยกันผ่านการจัดแสดงแบบไม่เน้นการ แสดงวัตถุจริง แต่เน้นการสื่อสารเล่าเรื่องด้วยตัวละคร ภาพเคลื่อนไหว และการ ออกแบบจำลองสิ่งต่างๆ ที่ผสานเข้ากับเรื่องราวได้อย่างดี ทำให้เรื่องที่เก่าเป็น พันๆ ปีอย่าง “ดินแดนสุวรรณภูมิ” และภาพของดินแดนที่เป็นหนึ่งเดียวกันมีคน อาศัยอยู่มานานแล้วและไม่ได้อพยพมาจากไหนนั้นกลับกลายเป็นเรื่องใหม่และ ทันสมัยสำหรับคนรุ่นนี้ได้เลยทีเดียว แน่นอนว่าการเกิดขึ้นของมิวเซียมสยาม หรือ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้
ไม่ได้เป็นแค่สายรุ้งที่พาดผ่านบริเวณกระทรวงพาณิชย์เดิม (ท่าเตียน) แค่จุดเดียว เท่านั้น แต่รุ้งตัวนี้กลับกระจายตัวออกไปทุกทิศทาง สร้างปรากฎการณ์และ กระแสการตื่นตัวของการเกิดพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในย่าน บ้้านเรือนถิ่นฐานเก่าแก่ พิพิธภัณฑ์ในชุมชนของวัด พิพิธภัณฑ์ในระดับหมู่บ้าน หรือจังหวัด หรือ พิพิธภัณฑ์เฉพาะทาง ซึ่งทั้งหมดอาจสามารถสะท้อนความ ต้องการในการเกิดแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนที่เพิ่มมากขึ้นและยังสะท้อนการ ตระหนักรู้ถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป aw �������������.indd 88
7/17/12 2:21:48 PM
89
...ถ้าพิพิธภัณฑ์ไม่มีเงิน เราจะทำนิทรรศการดีๆ ที่ให้ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีแก่ผู้ชมได้อย่างไร...
จำได้ ว่ า เมื่ อ 12 ปี ก่ อ น คุ ย กั น กั บ รุ่ น พี่ เ กี่ ย วกั บ สาขาการเรี ย นที่ จ ะ พิจารณาเลือกเรียนต่อ “พิพิธภัณฑ์ศึกษา” หรือ Museology เป็นศาสตร์ที่สนใจ และตั้ ง ใจว่ า จะเลื อ กเรี ย น แต่ เ มื่ อ พู ด ออกไป รุ่ น พี่ ก ลั บ ส่ า ยหน้ า แล้ ว พู ด ว่ า “พิพิธภัณฑ์จะเรียนไปทำอะไร จบมาไม่มีงานทำหรอก ดูพิพิธภัณฑ์ในบ้านเรา แต่ละที่สิ” ...ใครจะรู้ว่าหลังจากวันนั้นไม่กี่ปี งานพิพิธภัณฑ์จะกลับเปลี่ยน แปลง ไปแม้อาจจะไม่ถึงกับ “สดใส” แต่อย่างน้อยกระแสการตื่นตัวและสังคมชุมชนคน ทำและรักพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้น่าจะทำให้เราพูดได้ว่า แม้จะไม่ดีที่สุดแต่ก็มี แนวร่วมที่พร้อมจะขับเคลื่อนให้วันหนึ่งมันจะกลายเป็นคำว่า “สดใส” จริงๆ และเมื่อเราพูดถึงพิพิธภัณฑ์แนวใหม่ที่เน้นการสร้างประสบการณ์ของ
ผู้ชมด้วยการมีส่วนร่วมหรือเกิดการผสมผสานระหว่างความบันเทิงและความรู้ หลายๆ คนอาจจะคิดไปถึงการนำเอาเทคโนโลยีราคาสูงมาใช้ประกอบการจัด แสดงหรือเล่าเรื่องราว ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้น พิพิธภัณฑ์ลักษณะที่นำเอาเทคโนโลยี ระบบแสง เสียง จับ แตะ ต่างๆ ก็มีให้เห็นก่อนหน้าการเปิดตัวของมิวเซียมสยาม มานานระยะหนึ่งแล้ว (เช่น ศูนย์ประวัติศาสตร์อยุธยา) ดังนั้น คำว่าแนวใหม่ใน
ที่นี้จึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่การนำสื่อแบบใหม่ๆ (ทันสมัย) มาใช้เล่าเรื่องหรือถ่ายทอด ความรู้ ใ ห้ ค นที่ ม าเยี่ ย มชมเพลิ ด เพลิ น แต่ หั ว ใจอยู่ ที่ เ นื้ อ หาการ “เล่ า เรื่ อ ง”
สื่อความหมายคุณค่านั้นๆ ออกมาผ่านการจัดแสดงที่ไม่ได้เน้นที่วัตถุจริงที่ตั้งอยู่ ตรงนั้ น แต่ ผ่ า นกระบวนการคิ ด ที่ เ น้ น ไปที่ เ นื้ อ หาที่ จ ะส่ ง ให้ ผู้ ช มพร้ อ มกั บ ประสบการณ์ที่น่าจดจำ ส่วนของการนำสื่อมัลติมีเดียนานาประเภทมาใช้เป็นเพียง วิธีนำเสนอที่ควรจะมาที่สองรองจากเนื้อหา และผู้จัดพิพิธภัณฑ์สามารถเลือกใช้ได้ ตามความเหมาะสมและงบประมาณ เราอาจจะได้ยินคำบ่นกันบ่อยๆ ว่า ถ้า พิพิธภัณฑ์เราไม่มีเงิน เราจะทำนิทรรศการดีๆ ที่ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีแก่ ผู้ชมได้อย่างไร หรือจะทำนิทรรศการดีๆ ก็ต้องมีตังค์ คำถามและความคิดแบบนี้
aw �������������.indd 89
7/17/12 2:21:48 PM
90
...เนื้อหาต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึง ว่าเราจะเลือกเนื้อหาอะไรและสื่อออกมาอย่างไร ให้สามารถ “เข้าถึง”... เป็นสิ่งที่คนทั่วไปรู้สึก เพราะตัวอย่างที่ดีที่เห็นกันง่ายที่สุดก็คือพิพิธภัณฑ์ขนาด ใหญ่ไม่เอกชนก็ต้องได้เงินสนับสนุนมหาศาลจากภาครัฐ เลยเหมือนกับว่าใครๆ เลยมัวแต่ไปเน้นที่เทคนิคมากกว่าเนื้อหา มากกว่าจะคิดว่า “เราจะเล่าอะไรใน พิพิธภัณฑ์ของเรา” ในชั่วโมงเรียนวิชาพิพิธภัณฑ์ศึกษาฯ การจัดการพิพิธภัณฑ์ฯ หรือ ชั่วโมงการบรรยายเกี่ยวกับการทำนิทรรศการ ความคิดและคำถามแบบนี้เกิด ขึ้นอยู่เสมอและคำตอบที่มักจะบอกออกไปก็คือ การจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่ ทำให้ ค นได้ ทั้ ง เรี ย นรู้ แ ละสร้ า งประสบการณ์ ก ารรั บ รู้ ไ ด้ ดี นั้ น ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ ง “แพง” เสมอไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ถูกๆ เข้าไว้จึงเป็นสิ่งดี เพราะเนื้อหา ต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงว่าเราจะเลือกเนื้อหาอะไรและสื่อออกมา อย่างไรให้สามารถ “เข้าถึง” ทั้งเนื้อหานั้นและผู้ชมได้จริงจนทำให้ผู้ชมได้ทั้ง การ เรียนรู้ และ ประสบการณ์ ดีๆ กลับไป พิพิธภัณฑ์เล็กๆ บางแห่ง ไม่ได้มี เงินพอจะมีจอคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส หรือเครื่องเซนเซอร์ด้วยแสงหรือเสียง มาติดตั้งเพื่อเพิ่มความเร้าใจแก่ผู้ชม แต่กลับสามารถเล่าเรื่องบางเรื่องที่เป็น แก่นของท้องถิ่นนั้นๆ ได้จริงและเล่าออกมาได้อย่างจริงใจ จนทำให้เมื่อเราเดิน ออกจากพิพิธภัณฑ์แห่งนั้น เราเดินออกมาพร้อมรอยยิ้ม และเพิ่มความเข้าใจที่ มีต่อถิ่นวัฒนธรรมนั้นได้ ณ วัดไหล่หินหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เรือนไม้สองชั้นด้าน ในที่ตั้งอยู่ติดกับโรงธรรม เป็นที่ตั้งของหอนิทรรศการวิถีชีวิตคนไหล่หิน ซึ่งเกิด ขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างชาวบ้านจากชุมชนไหล่หินและนักวิชาการจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) โดยเด็กๆ ในชุมชนรวบรวมข้อมูล ทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ผ่ า นการบอกเล่ า ด้ ว ยปากจากผู้ เ ฒ่ า ผู้ แ ก่ ใ นชุ ม ชนและ
aw �������������.indd 90
7/17/12 2:21:49 PM
91
หอนิทรรศการวิถีชีวิตคนไหล่หิน วิถีชีวิตความเป็นอยู่เรื่องราวทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ร่วมกันกับทีมนักวิชาการ ถ่ายทอดผ่านนิทรรศการขนาดเล็กที่ไม่มีตัวช่วยทางเทคโนโลยีใดๆ - เฮือนของ ชาวไหล่หิน, กาดกับอาหารการกินและการค้าขายแลกเปลี่ยน, วัฒนธรรมข้าววัฒนธรรมประจำถิ่น, และงานบุญงานประเพณีทั้งตานก๋วยสลาก ปี๋ใหม่เมือง และยี่เป็ง ทั้งหมดถูกสื่อผ่านวัตถุสัญลักษณ์ที่เล่าเรื่องได้มากมายกว่าตัวหนังสือ ถ่ายทอดแบบง่ายๆ ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้ดูทันสมัยแต่กลับสามารถดึงแก่นทาง วัฒนธรรมและความเป็นท้องถิ่นของคนไหล่หินออกมาได้ชัดเจน ตรงไปตรงมา และเต็มไปด้วยเสน่ห์อย่างน่าประหลาดใจ เมื่อใดที่เทคโนโลยีหรือตัวช่วยราคาแพงนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่หนึ่ง สำหรับคุณอีกต่อไป เมื่อใดที่คุณให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่เป็นแก่นแท้ได้มาก กว่าวิธีการ เมื่อใดที่คุณสามารถทำให้ผู้ชมเข้าถึง “หัวใจ” ของสิ่งที่คุณนำ เสนอได้ และเมื่อใดที่ผู้ชมเกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ดีกลับไปได้นั้น เมื่อนั้น น่าจะเป็นคำตอบของพิพิธภัณฑ์เพลินๆ ได้จริง p
aw �������������.indd 91
7/17/12 2:21:51 PM
92
aw �������������.indd 92
7/17/12 2:21:52 PM
ART & SIGHTS
วิชนัญ กลั่นรอด
93
เก้าอี้นั่ง(ศิลป์)สาธารณะ @ Västerås,Sweden
สวี เ ดนเป็ น ประเทศที่ ตั้ ง อยู่ ใ นดิ น แดนยุ โรปเหนื อ บนคาบสมุ ท ร
สแกนดิเนเวีย ด้วยตำแหน่งที่ตั้งระยะทางไกลกันกว่าครึ่งโลก ไม่ต้องบอกก็รู้ ว่าต่างกับบ้านเราตั้งแต่สภาพภูมิอากาศ อาหารการกิน วิถีชีวิต ตลอดจนถึง งานศิลปะ การมาสวีเดนครั้งนี้มีที่พักอยู่ที่เมืองเวสเทอโรส (Västerås) ติดกับ
เมืองหลวงสตอคโฮล์ม เวสเทอโรสเป็นเมืองเล็กๆ สงบเงียบ แลดูไม่มีอะไร หวือหวา แต่ความปกติในดินแดนที่แตกต่างไปเช่นนี้กลับมีความน่าสนใจมาก พอๆ กับการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เลยทีเดียว ทุกครั้งที่ได้เดินเที่ยวจะสนุกกับการ มองสิ่ ง ต่ า งๆ ระหว่ า งทาง แล้ ว ก็ เริ่ ม สะดุ ด ตาที่ เ ก้ า อี้ ส าธารณะที่ มี รู ป ร่ า ง
แปลกตาตัวหนึ่งซึ่งต่างจากที่เคยเห็นทั่วไป เก้าอี้สาธารณะเป็นที่ที่ใครก็แวะ มาด้วยเหตุผลต่างๆ นานา บางคนมาเพื่อรอ บางคนมาเพื่อสนทนา บางคนนั่ง บางคนนอน อย่างไรก็ดีที่นั่งนี้เป็นที่ซึ่งทุกคนจะมาหยุดลงและมีจุดมุ่งหมาย เดียวกันคือ “พัก” แล้วปล่อยให้โลกรอบตัวเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กับการเวลา ราวกับเป็นห้องส่วนตัวเล็กๆ ใจกลางพื้นที่สาธารณะที่โอบล้อม ใครเลยจะรู้ ได้ว่าเก้าอี้สาธารณะตัวหนึ่งๆ นั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวของคนได้กี่ร้อยพัน คน ยามเมื่อผู้คนเหล่านั้นได้มาหยุดอยู่ที่นี่ นับตั้งแต่วันที่มันถูกเอามาตั้งวาง เก้ า อี้ ส าธารณะรู ป ทรงสวยแปลกตาที่ ว่ า นั้ น ถู ก สร้ า งขึ้ น เมื่ อ ปี ค.ศ.2009 โดยมีการจัดประกวดออกแบบเก้าอี้นั่งสาธารณะจากบริษัทต่างๆ 158 แห่ ง และนั ก ออกแบบทั่ ว ประเทศรวมตั ว กั น 10 กลุ่ ม สร้ า งเก้ า อี้ สาธารณะที่ผสมผสานแนวคิดออกมาเป็นรูปทรงที่ต่างไป (unique) และเป็น อะไรที่มากกว่าเก้าอี้สาธารณะธรรมดา เมื่อสร้างเสร็จเก้าอี้นั่งทั้งหมดถูกเอา มาจัดวางไว้ที่สวนสาธารณะกลางเมืองเวสเทอโรส หลังจากนั้นก็ให้คนทั่วไปได้
aw �������������.indd 93
7/17/12 2:21:53 PM
94
มาลองสั ม ผั ส บรรยากาศและประสบการณ์ ใ หม่ ๆ ยามที่ ไ ด้ อ ยู่ บ นเก้ า อี้
แต่ละตัว แล้วร่วมกันให้คะแนนเก้าอี้ตัวที่ชอบมากที่สุด ภายใต้แนวคิดที่ว่า ทุกคนในฐานะพลเมืองนั้นสามารถเปลี่ยนหรือสร้างข้อตกลงร่วมกันได้ เก้ า อี้ ตั ว ที่ ช นะใจคนเมื อ งนี้ คื อ เก้ า อี้ ที่ มี ชื่ อ ว่ า Var god dröj
(Please wait) ออกแบบโดย Fredick Andersson ร่วมกับบริษัทรถแท็กซี่ Taxi ästerås ซึ่งตอนนี้เก้าอี้ตัวนี้ได้ถูกนำไปตั้งบริเวณที่ผู้คนมักจะไป รอแท็กซี่บ่อยๆ แม้จะมีรูปทรงเรียบง่ายแต่ที่ได้ใจจนชนะเลิศน่าจะเป็น ข้อความเดียวกับชื่องานอยู่ที่เขียนเอาไว้ด้านหลังว่า “กรุณารอ”/อีกผลงาน ที่น่าสนใจคือเก้าอี้ชื่อ IN THE EYES OF THE BEHOLDER ผลงานการ ออกแบบของ Marcel Granfelt Saavedra และ Jenny Ekdahl หลัง จากที่ได้รับโจทย์ไม่นาน คืนหนึ่งขณะที่พวกเขาเดินกลับบ้านและคุยกันถึง สถานที่จะตั้งวางผลงาน ระหว่างทางพวกเขาพบว่ามีเก้าอี้สาธารณะบางตัว ที่ตกอยู่ในเงามืดจึงเกิดความคิดว่าทำไมเราไม่รวมเก้าอี้และไฟส่องทางรวม กันไปเลยเล่า น่าเสียดายที่อากาศฤดูใบไม้ร่วงที่นั่นเย็นเกินกว่าที่จะอยาก ออกมาเดินเล่นท้าความหนาวท่ามกลางธรรมชาติที่ถูกแช่แข็งยามค่ำคืน
มิฉะนั้นคงได้มีเรื่องเล่าให้ฟังว่าความรู้สึกขณะที่นั่งตรงนั้นตอนกลางคืนเป็น อย่างไร/ห่างออกไปไม่ไกลกันมากนักมีผลงานอีกชิ้นที่ดึงดูดสายตาผู้คนได้ดี ด้วยสีส้มสดใสภายใต้ชื่องานอันแสนธรรมดาว่า THE PARK BENCH ขณะ
aw �������������.indd 94
7/17/12 2:21:54 PM
ที่ เ ดิ น ไปพบที่ นั่ ง ตั ว นี้ เห็ น เด็ ก หญิ ง วั ย รุ่ น นั ย น์ ต าสี เขี ย วอมเทากั บ 95 เด็กสาวผมหยิกผิวสีกำลังนั่งคุยกันอย่างออกรสและเต็มไปด้วยเสียง หัวเราะ แม้จะไม่รู้ภาษาสวีดิชแต่ก็พอจะรู้ได้ว่าพวกเธอสนุกกันแค่ไหน รูปร่างเก้าอี้ตัวนี้เป็นลักษณะคล้ายกับชิ้นส่วนกลไกซี่ๆ รูปตัววี ชิ้นส่วน ทุ ก ซี่ ถู ก ประกอบเข้ า ด้ ว ยกั น โดยมี แ กนกลางหลั ก เป็ น ตั ว ยึ ด รู ป ทรง
ดังกล่าวทำให้รู้สึกว่าเก้าอี้ตัวนี้พร้อมจะหมุนเคลื่อนไหวตัวเองได้ตลอด เวลา สร้างความรู้สึกแปลกใหม่ให้กับผู้ที่มาหยุดพักได้ไม่น้อย เพราะโดย ปกติแล้วเมื่อเรานึกถึงที่นั่งสาธารณะ เราจะนึกถึงสิ่งที่วางตั้งอยู่นิ่งๆ ท่ามกลางสิ่งรายล้อมที่เคลื่อนไหว เก้าอี้รูปทรงแปลกๆในสวนสาธารณะที่เวสเทอโรส เป็นอีก หนึ่งสีสันงานศิลปะสาธารณะ (Public Art) ของคนบ้านเมืองนี้ ที่ทำให้ ผู้ไปเยือนทุกคนได้สัมผัสถึงประสบการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางความ รู้สึกที่ถูกเปลี่ยนได้โดยบริบทเล็กๆ ใกล้ตัวเรา ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็น เพียงตัวอย่างน้อยนิดเท่านั้น ยังมีงานศิลปะ (นอกหอศิลป์) อีกมากมาย ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามถนนหนทางในเมืองต่างๆ ของสวีเดน
aw �������������.indd 95
7/17/12 2:21:54 PM
96
จนดู เ หมื อ นความใกล้ ชิ ด สนิ ท สนมคุ้ น เคยกั บ สิ่ ง ที่ เรี ย กว่ า งานศิ ล ปะ
ไม่ว่าจะเป็นการได้เห็น ได้สัมผัส หรือบางครั้งแทบจะเดินชนเช่นนี้ ทำให้ ผู้ ค นที่ นั่ น ไม่ ไ ด้ รู้ สึ ก ว่ า ชี วิ ต กั บ ศิ ล ปะเป็ น เรื่ อ งที่ ไ กลเกิ น เข้ า ถึ ง
ซึ่งสิ่งนี้เป็นพื้นฐานอันดีที่จะทำให้งานศิลปะเติบโตและพัฒนาขึ้นไป พร้อมๆ กับคนและสังคมได้อย่างผสมกลมกลืน p
aw �������������.indd 96
7/17/12 2:21:55 PM