The 61st National Exhibition of Art

Page 1

1


การแสดงผลงาน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 5 - 25 ตุลาคม 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี ณ หอศิลปจำ�ปาศรี สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี EXHIBITION Ratchadamnoen Contemporary Art Center (RCAC) 5 - 25 October 2015 -The Chiangmai University Art Center, Chiangmai University, Chiangmai Province -The Princess Galyani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkhla University, Pattani Province -Jampasri Art Gallery (The Research Institute of North-Eastern Art and Culture), Mahasarakham University, Mahasarakham Province -The Art and Cultural University Exhibition Hall, KhonKaen University, KhonKaen Province -The Naresuan University Art Gallery, Naresuan University, Phitsanulok Province -The Eastern Center of Art and Culture, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi Province

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 The 61st National Exhibition of Art เจ้าของและผู้จัดพิมพ์ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02 221 3841, 02 623 6155 ต่อ 11418,1149 Website : www.art-centre.su.ac.th Email : su.artcentre@gmail.com ออกแบบและคอมพิวเตอร์กราฟิก ศรุดา สวนสะอาด เรียบเรียงเนื้อหาและภาพประกอบ ศรายุทธ ภูจริต แปลภาษา ภณิพล อภิชิตสกุล เมธาวี กิตติอาภรณ์พล ถ่ายภาพ ชัยวัช เวียนสันเทียะ พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2558 จำ�นวนที่พิมพ์ 2,500 เล่ม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ภาพพิมพ์ 45/14 หมู่4 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำ�บลบางขนุน อำ�เภอบางกรวย นนทบุรี 11130 โทรศัพท์ 02 879 9154 2


สารบัญ List of Content

004

พิธีเปดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 61 ประจําป พ.ศ. 2558 The Opening Ceremony of the 61st National Exhibition of Art, 2015

010

สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร Message from the President of Silpakorn University

012

สารจากธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน) Message from Krungthai Bank Public Company Limited

014

สารจากผูอํานวยการสํานักงานศิลปวัฒนธรรมรวมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม Message from the Director of the Office of Contemporary Art and Culture

016

สารจากประธานกรรมการและกรรมการผูจัดการ บริษัทเอสโซ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) Message from the Chairman and Managing Director,Esso (Thailand) Public Company Limited

018

คํานํา Preface

020

ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่องการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 61 ประจําป 2558 Announcement of Silpakorn University on the 61st National Exhibition of Art, 2015

026

ภาพจิตรกรรมฝพระหัตถพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชฯ His Majesty the King’s Painting

034

บทความพิเศษ “ระลึกถึงสามดวงดาวผู้จากไปสู่แดนไกล” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร Special article “In Fond Remembrance of the Three Stars” by Professor Emeritus Pishnu Supanimit

040

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award-Winning Entries จิตรกรรม Painting ประติมากรรม Sculpture ภาพพิมพ Print สื่อประสม Mixed Media

072

รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank

094

ผลงานที่ไดรับคัดเลือกเขารวมแสดง Selected Entries for Exhibition จิตรกรรม Painting ประติมากรรม Sculpture ภาพพิมพ Printmaking สือ ่ ประสม Mixed Media

116

ประวัติศิลปน Artists’ Profiles

132

ภาคผนวก Appendix

3


พิธีเปดนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งท่ี 61 ประจําป พ.ศ.2558  The Opening Ceremony of the 61st National Exhibition of Art, 2015 

4


กำ�หนดการ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ เปิดงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร ในวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ...................................................... เวลา 14.30 น.

-

พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์เดินทางโดยรถยนต์ประเทียบถึงหอศิลป์ร่วม

สมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ

- ผู้แทนพระองค์ลงจากรถยนต์ประเทียบ - ผู้แทนพระองค์ยืนที่ข้างรถยนต์ประเทียบ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี/จบแล้ว)

-

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รองอธิการบดี ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน

ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยฯ ผู้สนับสนุน กรรมการคัดเลือกและตัดสิน คณาจารย์ ศิลปิน และคณะกรรมการ

ดำ�เนินงานฯ รอรับผู้แทนพระองค์

-

ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มอบพวงมาลัย

- ผู้แทนพระองค์เข้าภายใน หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน - ผู้แทนพระองค์ยืนที่หน้าเก้าอี้ที่จัดไว้ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี/จบแล้ว) - ผู้แทนพระองค์นั่งเก้าอี้ - อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร มอบผลงานศิลปกรรมแด่ผู้แทนพระองค์ (จะได้นำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป) - ผู้แทนสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยฯ มอบสูจิบัตรแด่ผู้แทนพระองค์ (จะได้นำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในโอกาสต่อไป)

-

ผู้แทน บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) มอบผลงานศิลปกรรมแด่ผู้แทนพระองค์

-

ผู้แทน บมจ. ธนาคารกรุงไทย มอบสูจิบัตรแด่ผู้แทนพระองค์

-

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวรายงานการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

-

รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เบิก ผู้แทนสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

ผู้แทนบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด มหาชน ผู้แทนบมจ. ธนาคารกรุงไทย ศิลปินผู้ได้รับรางวัล และ

คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน เข้ารับของที่ระลึก เกียรติบัตร ประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และ

โล่รางวัล ตามลำ�ดับ

-

ผู้แทนพระองค์กล่าวเปิดงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

- ผู้แทนพระองค์กล่าวเปิดงานการแสดงฯ จบแล้ว (ดนตรีบรรแลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) - ผู้แทนพระองค์ลงนามในสมุดเยี่ยม

-

ผู้แทนพระองค์ชมนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

- ผู้แทนพระองค์ออกจากหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน - ผู้แทนพระองค์ยืนที่ข้างรถยนต์ประเทียบ (ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี) - ผู้แทนพระองค์กลับ การแต่งกาย แต่งเครื่องแบบปกติขาว

5


คำ�กล่าวเปิดงาน โดยพลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในโอกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ในวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น. ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน ...........................................................

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห ่ วั ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขา้ พเจ้าเป็นผูแ ้ ทนพระองค์ มาเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 61 และในโอกาสนี้ ข้าพเจ้า

ขอแสดงความชืน ่ ชมมายังมหาวิทยาลัยศิลปากร ผูส ้ นับสนุน คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ศิลปินผูไ้ ด้รบ ั รางวัล และศิลปินผูไ้ ด้รบ ั การคัดเลือกให้น�ำ ผลงานเข้าร่วมแสดง รวมถึงคณะ ทำ�งานทุกท่านที่ได้ร่วมดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในครั้งนี้

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติได้ถูกริเริ่มขึ้นปีพุทธศักราช 2492 โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ต่อมามหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำ�เนินการจัดการแสดงตามเจตนารมณ์

ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน นับเป็นการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 และเป็นความยินดีอย่างยิ่งที่ภาคเอกชนยังคงให้ความสนับสนุนในการ จัดประกวด และการจัดแสดงเสมอมาตั้งแต่ครั้งที่ 28 สืบเนื่องมาจนถึงปีปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปีพุทธศักราช 2558 ถือเป็นความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้เจตนารมณ์ในการอนุรักษ์สืบสานงานศิลปวัฒนธรรมของชาติและการส่งเสริม และเปิดโอกาส ให้ศิลปินไทยได้แสดงออกถึงศักยภาพในการพัฒนางานสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยแขนงต่างๆของไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากลต่อไป

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของศิลปินไทยทีส ่ ง่ เข้าประกวดในแต่ละปน ี น ั้ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแรงบันดาลใจ มุมมองทางความคิดในประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรม

รวมถึงการแสดงออกซึ่งทักษะ ประสบการณ์ เทคนิคการสร้างผลงานที่หลากหลายของศิลปินแขนงต่างๆ เพื่อถ่ายทอดให้สาธารณชนสามารถประจักษ์และเข้าใจถึงคุณค่า ความงดงาม ทางด้านศิลปะ

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ข้าพเจ้าขอเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ณ บัดนี้ ขอให้การแสดงศิลปกรรมในครั้งนี้ ดำ�เนินการสู่ความสำ�เร็จ

ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย ดังวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ และขออวยพรให้ทุกท่านในที่นี้มีความสุขสิริสวัสดิ์ มีความเจริญก้าวหน้า ทุกเมื่อทั่วกัน

6


คำ�กล่าวรายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ในวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น. ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร ...........................................................

กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์

คณะกรรมการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 คณาจารย์ ศิลปินและแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ล้วนต่างมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม

ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พลอากาศเอก ชวลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

นับตั้งแต่การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2505 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณา เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานภาพผลงานฝพ ี ระหัตถ์เข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบน ั ข้าพุทธเจ้าและศิลปินมีความปลาบปลืม ้ ในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

ในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกันจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ด้วยวัตถุประสงค์

เพือ ่ กระตุน ้ ให้ประชาชนไทยเกิดความรู้ ความเข้าใจในศิลปะสมัยใหม่ และเพือ ่ สนับสนุนให้ศล ิ ปินแสดงออกถึงทักษะ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม และส่งผลให้เกิดการ พัฒนาวงการศิลปกรรมร่วมสมัยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล

ปัจจุบันการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติกำ�หนดแบ่งประเภทของผลงานที่ส่งประกวดออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทจิตรกรรม ประเภทประติมากรรม ประเภทภาพพิมพ์

และประเภทสื่อประสม ซึ่งผู้ชนะการประกวดจะได้รับเงินรางวัล และเหรียญรางวัล

พร้อมประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง อันดับ 2 เหรียญเงิน และ อันดับ 3 เหรียญทองแดงตามลำ�ดับ โดยได้รับความสนับสนุนการประกวด และการจัด

แสดงฯจาก สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด มหาชน และบมจ. ธนาคารกรุงไทย

บัดนี้ ได้เวลาอันควรแล้ว รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จักได้เบิกผู้สนับสนุน ศิลปินผู้ได้รับรางวัล คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน เข้ารับของ

ที่ระลึก เกียรติบัตร ประกาศนียบัตร เหรียญรางวัล และโล่รางวัลตามลำ�ดับ ในโอกาสนี้ กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี เป็นผู้มอบรางวัล และเปิดการแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นเกียรติแก่มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินและวงการศิลปะสืบไป

7


คำ�กล่าวเบิกผู้สนับสนุน ศิลปินผู้ได้รับรางวัล และคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน โดยศาสตราจารย์ ถาวร โกอุดมวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในพิธีเปิดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ในวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เวลา 14.30 น. ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร ........................................................... กราบเรียน พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ผู้แทนพระองค์

กระผมศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากรขออนุญาตเบิกผู้สนับสนุน ศิลปินผู้ได้รับรางวัล การแสดงศิลปกรรมแห่ง

ชาติ ครั้งที่ 61 และศิลปินผู้ได้รับรางวัลสนับสนุนของ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 และ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินเข้ารับของที่ระลึก ประกาศนียบัตร เกียรติบัตร เหรียญรางวัล และโล่รางวัล ดังรายนามตามลำ�ดับต่อไปนี้ ผู้สนับสนุน

สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน)

บมจ. ธนาคารกรุงไทย

ศิลปินผู้ได้รับรางวัลและเหรียญรางวัล การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประเภทจิตรกรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

อันดับ 2 เหรียญเงิน

นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม

ผลงานชื่อ “บรรพบุรุษรำ�ลึก”

อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นายเนติกร ชินโย

นายสันติ หวังชื่น

นายสุวัฒน์ บุญธรรม

ผลงานชื่อ “The Truth No.7” ผลงานชื่อ “อีสาน งานถักทอ หมายเลข 2”

ผลงานชื่อ “สัญลักษณ์และร่องรอยแห่งอารยธรรม”

ประเภทประติมากรรม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายพรสวรรค์ นนทะภา

ผลงานชื่อ “ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน”

อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นายบุญเกิด ศรีสุขา

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์

ประเภทภาพพิมพ์ รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม

อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

8

ผลงานชื่อ “กลมเกลียว หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “แตกหน่อต่อรวง”


อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายประวีณ เปียงชมภู

ผลงานชื่อ “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2”

อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย

ผลงานชื่อ “Suffering No.2”

นายญาณวิทย์ กุญแจทอง

ผลงานชื่อ “เสียงร้องจากธรรมชาติ”

นายบุญมี แสงขำ�

ผลงานชื่อ “ดอกหญ้า หมายเลข 2”

ประเภทสื่อประสม รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม

อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร

ผลงานชื่อ “แก่นมนุษย์”

อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นางสาวจิรนันท์ จุลบท

ผลงานชื่อ “กลายพันธุ์”

นางเมตตา สุวรรณศร

ผลงานชื่อ “เส้นใยความรักของแม่ต่อลูกน้อยออทิสติก”

นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์

ผลงานชื่อ “The State of the Suffering”

ศิลปินผู้ได้รับรางวัลสนับสนุนโดย บมจ.ธนาคารกรุงไทย

รางวัลที่ 1

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลที่ 2

นายจอมพล พัวทวี

ผลงานชื่อ “สมบัติ หมายเลข 8”

นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ

ผลงานชื่อ “บึงบัวในตัวคน”

นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง

ผลงานชื่อ “ยุ้งข้าว หมายเลข 1”

นายธีรยุทธ ม่วงทอง

ผลงานชื่อ “เจ้ามะลิ”

นายตะวัน วิชญภักดี

ผลงานชื่อ “ระนาบแสงริมน้ำ�”

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์

ผลงานชื่อ “กำ�หนดพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์”

นายรวีพล ประดิษฐ

ผลงานชื่อ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 6”

นายวัชรินทร์ รังกระโทก

ผลงานชื่อ “พื้นที่แห่งความฝัน”

นางสาวสุกัญญา สอนบุญ

ผลงานชื่อ “รูปทรงลูกชิด (ฉัน) ที่บิดเบี้ยว”

นางสาวอิสรีย์ บารมี

ผลงานชื่อ “เปี่ยมสุข”

คณะกรรมการคัดเลือก และตัดสิน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม

ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก

ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณเข็มรัตน์ กองสุข

ศาสตราจารย์ถาวร โกอุดมวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม

9


สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยศิลปากรเริ่มมีการจัดการประกวด และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในปี พ.ศ. 2492 และดำ�เนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนับเป็นครั้งที่ 61 ภายใต้

วัตถุประสงค์ในการส่งเสริม และเปิดโอกาสให้ศิลปินไทยสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม และเผยแพร่สู่ประชาคมในระดับชาติ และระดับนานาชาติให้ประจักษ์ถึงแนวคิด และศักยภาพในการ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆ อันก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์แห่งศิลป์ อีกทัง้ ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์แก่ศล ิ ปินนำ�ไปสูก ่ ารพัฒนา ศิลปะร่วมสมัยของประเทศให้เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล

ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 มหาวิทยาลัยศิลปากร รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็น

เจ้าภาพในการจัดแสดงนิทรรศการ และขอขอบคุณบริษท ั เอสโซ่ (ประเทศไทย)จำ�กัด (มหาชน) บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทีไ่ ด้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการพัฒนางานศิลปกรรมร่วมสมัย โดยให้การสนับสนุนงบประมาณการดำ�เนินงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่อง อันส่งผลให้เกิดพัฒนาการทางรูปแบบ เทคนิคในการสร้างสรรค์ที่หลากหลายมากขึ้น แต่ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ศิลปินไทยยังคงสามารถสร้างสรรค์ผลงานสะท้อนให้เห็นถึงดุลยภาพของการผสมผสานความร่วมสมัย และความเป็นไทยได้ อย่างงดงาม

มหาวิทยาลัยศิลปากร และสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าการจัดการประกวด และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติสามารถเป็นพลัง

ผลักดัน และเชือ ่ มโยงศิลปินไทยได้รบ ั โอกาสในการพัฒนาศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์กา้ วไปสูก ่ ารยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นองค์ความรูแ ้ ก่วงวิชาการด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย สืบไป

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช)

10

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


Message from the President of Silpakorn University

Silpakorn University has continuously organized the National Exhibition of Art since 1949 until present, which has come to its 61st exhibition.

It is with the purpose to encourage and inspire Thai artists to create art works and promote them to the national and international level. This will create the understanding of art, as well as enhance the development of Thai contemporary art to international stage.

Silpakorn University is honored and thankful to the Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture, Esso (Thailand) Public

Company Limited and Krung Thai Bank Public Company, who appreciate the importance of contemporary art development by giving constant support to the National Exhibition of Art. All of these supports have encouraged the artists to develop techniques, forms and concepts of art that can harmoniously show the combination of contemporary characteristic and Thai identity.

We hope that this continuous collaboration will be a great supporting force to encourage Thai artists to develop their creativity skills towards

the international level and be a crucial academic foundation of Thai contemporary art.

(Assistant Professor Chaicharn Thavaravej)

President of Silpakorn University

11


สารจาก บมจ. ธนาคารกรุงไทย

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ นับเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์การประกวดผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยของประเทศไทย เป็นกิจกรรมทางด้านศิลปะที่สำ�คัญระดับชาติที่นำ�

ผลงานทีไ่ ด้รบ ั รางวัลประเภทต่างๆมาจัดแสดงเผยแพร่สส ู่ าธารณชนอย่างต่อเนือ ่ งมาตัง้ แต่ปี 2492 ในครัง้ นี้ นับว่าเป็นปีที่ 13 แล้วทีธ ่ นาคารได้มส ี ว่ นร่วมสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการดำ�เนินงานด้านต่างๆ รวมถึงการมอบรางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย เพื่อเป็นกำ�ลังใจให้ศิลปินเกิดความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพต่อไป ซึ่งผลงานที่ธนาคารได้ รับจากการสนับสนุนรางวัล จะถูกนำ�มาประดับที่อาคารต่างๆของธนาคาร หมุนเวียนจัดแสดง ณ หอศิลป์กรุงไทย และประติมากรรมขนาดใหญ่จะถูกติดตั้งถาวร ณ สวนประติมากรรม กรุงไทย ศูนย์ฝึกอบรม บมจ. ธนาคารกรุงไทย เขาใหญ่ เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงศิลปะอย่างกว้างขวางสู่สาธารณชน ตามวิสัยทัศน์ Growing Together กรุงไทย ก้าวไกล ไปกับ คุณ ของธนาคาร ที่มีพันธกิจหลักคือการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทุนทางปัญญาซึ่งเป็นทุนที่ไม่มีวันหมดยิ่งใช้ยิ่งคุ้มค่า ทั้งในด้าน ศิลปวัฒนธรรม การศึกษา สังคมและสิ่งแวดล้อม และกีฬา

ธนาคารภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นสื่อกลางสะท้อนแนวคิดและแรงบันดาลใจของศิลปินสู่สาธารณชนผ่านผลงานสร้างสรรค์อัน

ประณีต แยบยล และลึกซึ้งของศิลปินไทย นำ�ไปสู่การเปิดโลกทัศน์ในมุมมองต่างๆที่สะท้อนชีวิต สังคม วัฒนธรรม ปรัชญา และสิ่งแวดล้อมต่างๆ ก่อให้เกิดสุนทรียะและความซาบซึ้ง ในคุณค่าความงามที่จักถูกจรรโลงไว้สืบไป

(นายสุพันธุ์ มงคลสุธี) กรรมการธนาคาร

12

ประธานกรรมการ Fine Arts Screening Committee บมจ. ธนาคารกรุงไทย


Message from Krungthai Bank Public Company Limited

The National Exhibition of Art is the notable initial mark of Thailand’s contemporary art competition. This national stage is such an important

art activity that has continuously exhibit awards-winning art works in public since 1949. In supporting the National Exhibition of Art, our company has collaborated with Silpakorn University by giving special awards by Krungthai Bank as an encouragement in creating art for the artists. Moreover, Krungthai Bank has exhibited awarded Krungthai Bank artworks at KTB Art Gallery, KTB Sculpture Park at Khao Yai Training Center and Krungthai Bank branches, in order to widely extend art appreciation among people. As our mission, “Growing Together”, which focuses on developing economy, society and environment, we realize that wisdom capital is sustainable.

Krungthai Bank Public Company Limited is proud to be a part of this National Exhibition of Art which portrays idea and inspiration of the

artists through their skillful artworks. These artworks also publicly create aesthetically pleasure and broaden vision in various aspects.

Mr.Supant Mongkolsuthree

Director

Chairman of the Fine Arts Screening Committee

Krungthai Bank Public Company Limited

13


สารจากผู้อำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม มีเป้าหมายในการดำ�เนินงานให้สอดคล้องตามพันธกิจในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านศิลปะ และ

เปิดโอกาสให้ศล ิ ปินได้แสดงออกถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทัง้ ยังเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของประเทศไทยให้เป็นทีร่ จ ู้ ก ั อย่างกว้างขวาง ซึง่ สามารถนำ�ไป สู่การยกระดับผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยของไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมในระดับสากล

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการดำ�เนินการจัดการประกวด และการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาอย่างต่อเนือ ่ งเป็นระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบน ั นับเป็นโครงการทำ�นุบ�ำ รุงศิลป

วัฒนธรรมซึ่งสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติจึงได้เข้าร่วมดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ ครั้งที่61 ประจำ�ปี 2558 ในฐานะเจ้าภาพร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อส่งเสริมให้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเป็นเวทีการประกวดและการแสดงผลงานศิลปกรรมระดับชาติ ซึ่ง สนับสนุนและให้โอกาสศิลปินไทยในการพัฒนาทักษะ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมแขนงต่างๆให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและถือเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ ศิลปะร่วมสมัย

ในโอกาสนีส ้ �ำ นักงานศิลปวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ขอแสดงความยินดีกบ ั ศิลปินผูไ้ ด้รบ ั รางวัลและศิลปินทีไ่ ด้รบ ั คัดเลือกเข้าร่วมแสดงทุกท่าน อีกทัง้ ขอขอบคุณคณะ

กรรมการคัดเลือกและตัดสินที่ได้ร่วมกันพิจารณาผลงานศิลปกรรมประเภทต่างๆจนสำ�เร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ด้วยความเรียบร้อย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติจะสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปะแก่สาธารณชน และก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่หลากหลายภายใต้แนวคิดที่เชื่อมโยงรากฐาน ทางวัฒนธรรมไทยให้กลมกลืนกับรูปแบบศิลปะร่วมสมัยอันแสดงถึงความงดงามแห่งการผสมผสานความเป็นไทยและความเป็นสากล

(นายชาย นครชัย) ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย

14

กระทรวงวัฒนธรรม


Message from the Director of the Office of Contemporary Art and Culture

The Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture, is a governmental division with role and mission to support and promote

Thai contemporary art to be publicly known, as well as to improve the knowledge in contemporary art, to create an international art space for Thai artists and to encourage them to perform their full ability.

Silpakorn University has constantly organized the National Art Exhibition as a stage for promoting and supporting Thai artists to reach inter-

national standards until present. The Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture concerns the importance of this competition well and has collaborate with Silpakorn University to organize the 61st National Exhibition of Art and exhibits the medal awarded works and selected artworks from the national competitions. Furthermore, it offers an opportunity to the artists in creating the high quality of works to enhance art professionals. As a consequence, there will be more widely known Thai artists with diverse potentialities in many art fields.

The Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture congratulates all winning and participating artists, as well as extends the appreciation to the Selection and Judge Committee who did the vital task and make the 61st National Exhibition of Art successful. Finally, we hope that this event will have a significant role in encouraging Thai people to have broad understanding in the art even more.

Mr. Chai Nakhonchai

Director-General

The Office of Contemporary Art and Culture, Ministry of Culture

15


สารจากบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน)

ศิลปินไทยได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะทีด ่ เี ลิศอันเกิดจากแรงบันดาลใจในการแสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และสังคมไทยมาอย่างต่อเนือ ่ งเป็นเวลายาวนาน

ในนามบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้สนับสนุนพันธกิจสำ�คัญในการสืบสาน และอนุรักษ์ผลงานศิลปกรรมล้ำ�ค่าอันเป็นมรดก

ทางวัฒนธรรมไทยภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปากรในโครงการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติมาอย่างต่อเนื่องยาวนานถึง 33 ปีแล้ว นับเป็นความภูมใิ จอย่างมากทีอ ่ งค์กรได้ มีสว่ นร่วมในการพัฒนาศิลปะไทย เพือ ่ ทีจ ่ ะส่งเสริมศิลปินไทย ให้มท ี ก ั ษะการสร้างสรรค์ทางศิลปะก้าวสูม ่ าตรฐานในระดับสูงขึน ้

เป็นที่ประจักษ์ว่าการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 นับเป็นความสำ�เร็จที่น่ายกย่อง ได้รับการยอมรับจากสาธารณชน และสามารถสร้างแรงบันดาลใจ

ในการสร้างสรรค์แก่ศิลปินรุ่นใหม่ อันนำ�ไปสู่การพัฒนาวงการศิลปะ ร่วมสมัยของไทยในทศวรรษต่อไป

16

(มร. นีล เอ. แฮนเซ็น)

ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน)


Message from the Chairman and Managing Director Esso (Thailand) Public Company Limited

Thai artists have created splendid and inspiring artwork portraying the unique Thai culture and society for many years.

On behalf of Esso (Thailand) Public Company Limited, I am honored to support this important effort to preserve and recognize the tremendous

artistic value of Thai cultural heritage in collaboration with Silpakorn University and the National Exhibition of Art. It is a partnership that has existed for 33 years. As an organization that takes great pride in participating in the development of Thai art, Esso seeks to motivate Thai artists to further advance their artistic skills, which will help bring the standard of artwork to an even higher level.

st

I know the 61

National Exhibition of Art will be a remarkable success, receive enthusiastic support from the public, and serve as an

inspiration for a new generation of artists that will develop Thai contemporary art for decades to come.

(Mr. Neil A. Hansen)

Chairman and Managing Director

Esso (Thailand) Public Company Limited

17


คำ�นำ�

การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 ด้วยเจตนารมณ์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เพื่อกระตุ้นให้สาธารณชนเกิดความรู้ ความเข้าใจใน

ศิลปะสมัยใหม่ และยังเป็นแรงผลักดันให้ศิลปินไทยมีกำ�ลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแขนงต่างๆส่งเข้าร่วมการประกวดอันนำ�ไปสู่การพัฒนาวงการศิลปะของไทยให้เป็นที่ยอมรับ อย่างแพร่หลาย

การประกวด และการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 มีการจำ�แนกออกเป็น 4 ประเภท คือประเภทจิตรกรรม ประเภทประติมากรรม ประเภทภาพพิมพ์

และประเภทสื่อประสม โดยศิลปินสามารถเลือกใช้สื่อในการถ่ายทอดแนวคิด รูปแบบ และวิธีการสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ทั้งนี้ ปรากฏว่ามีในปีนี้ศิลปินไทยส่งผลงานเข้าประกวดจำ�นวน 174 ราย รวมผลงานทั้งสิ้น 243 ชิ้น และจากผลการคัดเลือกและตัดสินของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางศิลปะ สรุปว่ามีศิลปินได้รับรางวัลประเภทต่างๆจำ�นวน 15 ราย รวมผลงาน ทั้งสิ้น 15 ชิ้น และศิลปินได้รับการคัดเลือกผลงานเข้าร่วมแสดงจำ�นวน 63 ราย รวมผลงานทั้งสิ้น 82 ชิ้น ผลงานที่ได้รับรางวัลประเภทต่างๆ และผลงานร่วมแสดง มีการจัดแสดง ณ ชั้น 1 และชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 5 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558 หลังจากนั้นจะนำ�ไปจัดแสดงสัญจร ณ สถาบันศิลปะต่างๆในส่วน ภูมิภาค ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ในโอกาสนี้ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรขอขอบคุณผู้สนับสนุนการประกวด และการจัดแสดงฯ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน ศิลปิน และคณะกรรมการดำ�เนินงาน

ทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติในครั้งนี้จนประสบความสำ�เร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ

(อาจารย์ ดร. ปรมพร ศิริกุลชยานนท์)

18

ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


Preface

The National Exhibition of Art has been established firstly in 1949 with the initiation of Professor Silpa Bhirasri to encourage Thai people to

learn and understand modern art and submit works for competition, as it will help enhancing the quality of art creativity and also make Thai artists become publicly known.

The competition and exhibition of 61st National Exhibition of Art 2015 has divided works into four categories, which are painting, sculpture,

printmaking and mixed media as a way to encourage artists of each field to develop their works. The artists have freedom to choose their specialized media to portray concepts and inspirations that well reflect their personal competence and characteristic.

This year, 174 artists submitted 243 pieces of works. There are 15 pieces of work selected for award-winning entries, while 82 pieces from 63 artists are selected to showcase together on the exhibition. All award-winning and selected entries will be exhibited at 1st and 2nd floor of the Ratchadamnoen Contemporary Art Center (RCAC) in Bangkok from 5-25 October 2015. Then, they will be exhibited in provincial institutes, which are Chiang Mai University, Naresuan University, Khonkaen University, Mahasarakham University, Thaksin University, Prince of Songkhla University in Pattani and Burapha University.

Lastly, Art Centre Silpakorn University would like to express our hearty gratitude to all supporting organizations, the jury committee, par-

ticipated artists, and all committees, who make this year National Exhibition of Art, successfully complete.

(Dr.Paramaporn Sirikulchayanont) Director of Art Centre Silpakorn Univeristy

19


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 ....................................

ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร จะจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 โดยมีระเบียบการดังต่อไปนี้

1. ประเภทศิลปกรรม มี 4 ประเภท คือ

1.1 ประเภทจิตรกรรม ( Painting ) ได้แก่ ภาพเขียน สีน้ำ� สีฝุ่น สีน้ำ�มัน ฯลฯ

1.2 ประเภทประติมากรรม ( Sculpture ) ได้แก่ รูปปั้น สลัก ฯลฯ

1.3 ประเภทภาพพิมพ์ ( Print making) ได้แก่ ภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ แม่พิมพ์หิน แม่พิมพ์โลหะ ภาพพิมพ์

ประเภท (monoprint) ภาพพิมพ์จากกระบวนการพิมพ์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

1.4 ประเภทสื่อประสม ( Mixed Media ) ได้แก่ ผลงานศิลปกรรมที่ใช้สื่อและวัสดุต่างชนิดกัน 2 อย่างขึ้นไป มีการใช้สื่อทางเทคโนโลยี

และงานประเภทจัดวาง ฯลฯ

2. ขนาดของผลงานศิลปกรรม

ผลงานศิลปกรรมทุกประเภทต้องมีขนาด กว้าง ยาว สูง แต่ละด้านไม่เกิน 2.80 เมตร รวมกรอบและฐาน

3. ผู้มีสิทธิ์ส่งผลงานเข้าประกวด

ศิลปินสัญชาติไทย ที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมด้วยความคิดของตนเอง และผลงานที่ส่งเข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติต้องไม่เคยแสดงที่ไหนมาก่อน ยกเว้น

การนำ�ไปแสดงในรูปแบบศิลปนิพนธ์ ซึ่งเป็นข้อกำ�หนดการสำ�เร็จการศึกษาทุกระดับ รวมถึงไม่เคยได้รับรางวัลหรือร่วมแสดงจากการประกวดใดๆ มาก่อน ศิลปิน 1 ท่าน มีสิทธิ์ส่งผล งานได้ ประเภทละไม่เกิน 2 ชิ้น โดยคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน จะเป็นผู้พิจารณาผลงานเข้าแสดงและพิจารณาให้รางวัลแก่ผลงานที่มีคุณค่าเหมาะสมตามแต่ละประเภทศิลปกรรม ที่กำ�หนดไว้ใน ข้อ 1 4.การส่งผลงาน

ศิลปินจะต้องส่งผลงานด้วยตนเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำ�มาส่งต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ตามกำ�หนดเวลาในข้อ 11 โดยศิลปินจะต้องดำ�เนินการดังนี้

4.1 ต้องกรอกรายละเอียดในแบบพิมพ์ของมหาวิทยาลัย โดยศิลปินจะต้องกรอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และรายละเอียดอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในแบบพิมพ์ด้วย

ตัวบรรจงตามข้อกำ�หนดของมหาวิทยาลัยศิลปากร

4.2. แนบสำ�เนาบัตรประชาชนของศิลปินผู้ส่งผลงาน พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำ�เนาถูกต้อง

4.3. กรณีเป็นผลงาน 3 มิติ หรือผลงานที่มีการติดตั้ง ศิลปินต้องเตรียมอุปกรณ์สำ�หรับติดตั้งและติดตั้งผลงานให้เป็นที่เรียบร้อย พร้อมแนบหรือเขียนอธิบายรายละเอียด

วิธก ี ารติดตัง้ ผลงานให้ชด ั เจนโดยแนบมาพร้อมกับใบสมัครด้วย ยกเว้นผลงานทีไ่ ด้รบ ั การคัดเลือกและมีเทคนิคเฉพาะทางซึง่ ศิลปินต้องมาติดตัง้ ผลงานด้วยตนเอง ทางคณะดำ�เนินงานฯ จะดำ�เนินการติดต่อนัดหมายเป็นกรณีๆไป

4.4 ผู้ส่งผลงานจะต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรงก่อนที่จะมีการติดตั้งผลงาน โดยเจ้าหน้าที่จะเป็นผู้แจ้งพื้นที่ในการติดตั้งผลงานให้ทราบและจะต้องติดตั้งในบริเวณที่

กำ�หนดเท่านั้น

4.5

ในการติดตั้งผลงาน ศิลปินไม่มีสิทธิที่จะนำ�ปูน หรือวัสดุถาวร มาติดตั้งในบริเวณรับผลงานไม่ว่าจะเป็นตัวอาคารหรือพื้นถนน พื้นอาคาร หากศิลปินขัดขืนและทำ�ให้

บริเวณดังกล่าวไม่อยู่ในสภาพเดิม เจ้าหน้าที่รับผลงานสามารถพิจารณาคัดงานดังกล่าว “ออก” ได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการคัดเลือกและตัดสิน

4.6 ผลงานที่จะส่งเข้าร่วมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ จะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรงเหมาะสมกับการติดตั้ง การเคลื่อนย้าย การจัดแสดงนิทรรศการและการจัดเก็บ

มิฉะนั้นมหาวิทยาลัยฯขอสงวนสิทธิ์ ในการนำ�ผลงานไปแสดง ณ ที่ต่างๆ และจัดเก็บ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผลงาน

ผลงานประเภทที่มีการติดตั้งเพื่อการคัดเลือกและตัดสิน ศิลปินต้องดำ�เนินการติดตั้งผลงานเองตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในประกาศ ส่วนผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในการ

แสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ศิลปินจะไม่สามารถขอรับผลงานคืนได้จนกว่าการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 จะลุล่วงตามข้อ 11 โดยมหาวิทยาลัย

ศิลปากรจะระวังรักษาผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวดอย่างดีที่สุด ยกเว้น ความเสียหายอันเกิดจากอุปัทวเหตุ ความเสียหายอันเกิดจากโครงสร้างผลงานที่ไม่แข็ง

แรง หรือ เหตุอันสุดวิสัย 5. คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน มหาวิทยาลัยศิลปากรโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอำ�นวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศิลปะจากสาขาต่างๆมาเป็นคณะกรรมการ คัดเลือกและตัดสิน ดังนี้ 20


1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ

กรรมการ

2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม

กรรมการ

3. ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน

กรรมการ

4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก

กรรมการ

5. ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน

กรรมการ

6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง

กรรมการ

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร รอดบุญ

กรรมการ

8. รองศาสตราจารย์เข็มรัตน์ กองสุข

กรรมการ

9. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือผู้แทน

กรรมการ

10.ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เลขานุการ

6. การตัดสิน

การตัดสินของคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินให้ถือว่าเป็นที่สุด จะอุทธรณ์มิได้ รางวัล คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินจะตัดสินให้รางวัลแต่ละประเภท โดยกำ�หนด

รางวัลดังนี้

6.1

กลุ่มที่ 1 : รางวัลของการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ แบ่งเป็น 3 ประเภทรางวัล

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง เงินรางวัล 150,000 บาท

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน เงินรางวัล 100,000 บาท

ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง เงินรางวัล 80,000 บาท คณะกรรมการอาจตัดสินให้รางวัลในแต่ละประเภท ให้ได้อันดับหนึ่ง อันดับสอง อันดับสามเกินกว่าหนึ่งรางวัล หรืองดรางวัลใดก็ได้ หากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็น

ว่ายังไม่มผ ี ลงานใดสมควรทีจ ่ ะได้รบ ั รางวัล นอกจากนีค ้ ณะกรรมการฯ จะคัดเลือกผลงานศิลปกรรมทีม ่ ค ี ณ ุ ค่าแต่ไม่ได้รบ ั รางวัลเข้าร่วมแสดงอีกจำ�นวนหนึง่ ได้ โดยศิลปินจะได้รบ ั เกียรติ บัตรในการเข้าร่วมแสดงในครั้งนี้

6.2

กลุ่มที่ 2 : รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย ( เงินรางวัล 1,000,000 บาท ) แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล

- รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 1

รางวัลละ 120,000.- บาท พร้อมโล่รางวัล

- รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2

รางวัลละ

80,000.- บาท พร้อมโล่รางวัล

คณะกรรมการอาจตัดสินให้รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย ให้ได้อันดับหนึ่ง อันดับสอง เกินกว่าหนึ่งรางวัลก็ได้ หรือจะงดรางวัลใดก็ได้หากพิจารณาเห็นว่าไม่มีผล

งานใดสมควรที่จะได้รับรางวัล 7. กรรมสิทธิ์

7.1

งานศิลปกรรมที่ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน และประกาศนียบัตรเกียรตินิยม

อันดับ 3 เหรียญทองแดง จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมีสิทธิ์ในการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ

7.2

ผลงานศิลปกรรมรางวัลสนับสนุน จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน และไม่อยู่ในเงื่อนไข ในข้อ 8.1

7.3

ผลงานศิลปกรรมทุกชิ้นที่ส่งเข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้สนับสนุนรางวัล มีสิทธิ์ในการจัดพิมพ์เผยแพร่ผลงานในสูจิบัตร เอกสารสิ่ง

พิมพ์ และสารสนเทศสมัยใหม่ทุกประเภท 8. ศิลปินชั้นเยี่ยม

เพื่อเป็นการส่งเสริมประชาชนให้เกิดความสนใจในงานศิลปกรรมร่วมสมัย และกระตุ้นให้ศิลปินไทยมุ่งมั่นสร้างสรรค์งานศิลปะอันมีคุณค่าและให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น

มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงกำ�หนดคุณสมบัติของศิลปินผู้ที่สมควรจะได้รับเกียรติยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม ดังนี้

8.1 ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ครบ 3 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน 8.2 ศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง 2 ครั้ง กับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน 2 ครั้ง ในประเภทเดียวกัน

9. ศิลปินรับเชิญ

มหาวิทยาลัยศิลปากร จะเชิญศิลปินส่งผลงานหรือบทความเข้าร่วมหรือลงสูจิบัตรในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 61 โดยมอบหมายให้คณะกรรมการอำ�นวยการเป็น

ผู้คัดสรรและพิจารณาศิลปิน ซึ่งศิลปินผู้ที่จะถูกรับเชิญจะต้องมีคุณสมบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

9.1 เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม

21


9.2 เป็นคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ

9.3 เป็นศิลปินผู้ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง ไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง หรือ ได้รับประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงินไม่น้อยกว่า 2

ครั้ง และทำ�งานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

9.4 ศิลปินผู้สร้างชื่อเสียงในประเทศ หรือต่างประเทศ และทำ�งาน สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

10. กำ�หนดเวลา

10.1 การส่งงานทุกประเภท

วันพุธที่ 27 ถึง วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 2558

เวลา 10.00 น. – 16.00 น. ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

10.2 การคัดเลือกและตัดสินผลงาน

วันเสาร์ที่ 6 ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2558

ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

10.3 ประกาศผลการตัดสิน : วันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2558

10.4 การแสดงนิทรรศการในกรุงเทพมหานคร

- ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม 2558

10.5 การแสดงนิทรรศการในส่วนภูมิภาค

-

พฤศจิกายน 2558 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

-

ธันวาคม 2558 ณ หอศิลป์มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

-

กุมภาพันธ์ 2559 ณ หอศิลปจำ�ปาศรี สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

-

มีนาคม 2559 ณ สำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

-

เมษายน 2559 ณ หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี -

พฤษภาคม 2559

ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จังหวัดปัตตานี

หมายเหตุ :- มหาวิทยาลัยศิลปากรขอสงวนสิทธิ์ ในการคัดเลือกผลงานเพื่อไปแสดงทั้งในกรุงเทพฯ และในส่วนภูมิภาค ในส่วนของผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือกให้

ไปแสดงฯ เจ้าหน้าที่จะดำ�เนินการติดต่อเพื่อให้มารับผลงานคืนทันที

10.6

การรับงานคืน -

ผลงานที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดง รับคืนได้ในระหว่างวันอังคารที่ 23 ถึง วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2558 เวลา 10.00 น. ถึง เวลา 16.00 น. เว้นวันหยุด

ราชการ ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษาฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกและผลงานที่ได้และไม่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมแสดงในส่วนภูมิภาค คณะทำ�งานฯจะแจ้งให้

ทราบทันทีที่ผลงานได้ส่งคืน ณ หอศิลป์สนามจันทร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

โดยสามารถมารับผลงานคืนได้ในเวลาราชการหลังจากวันที่ได้แจ้งให้ทราบ ภายใน 5 วันทำ�การ

การส่งและการรับคืนผลงาน ให้ดำ�เนินการในวันและเวลาที่กำ�หนดในข้อ 10.1 และข้อ 10.6 หากผลงานศิลปกรรมชิ้นใดศิลปินผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่มารับคืนภายใน

วัน และเวลาที่กำ�หนดไว้

มหาวิทยาลัยฯ ถือว่าศิลปินเจ้าของผลงานชิ้นนั้นยินยอมให้มหาวิทยาลัยศิลปากรมีกรรมสิทธิ์ในผลงานดังกล่าวโดยปริยาย โดยมหาวิทยาลัยศิลปากรมี

สิทธิ์ดำ�เนินการตามที่เห็นสมควร อาทิเช่น อาจนำ�ผลงานศิลปกรรมทั้งหมด หรือบางส่วน ไปประมูลเพื่อนำ�เงินมาใช้ในราชการ หรืออาจมอบผลงานให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์กร สาธารณกุศล เป็นต้น โดยไม่ต้องแจ้งให้ศิลปินทราบ

ประกาศ ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช)

22

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


Silpakorn University is holding the 61th National Exhibition of Art this year, with details and guidelines as follow. Types of Works Painting, with techniques such as watercolor, tempera, and oil. Sculpture, with techniques such as molding, and casting. Print, with techniques such as woodcut, lithograph, etching, monoprint, and digital print. Mixed Media, includes work that uses two/ or more types of medias and materials, combines with technological media, and as installation work. Dimensions All works must not exceed 2.8m. (width/length/height) including mounts, frames, and bases. Installation of work must not exceed the size limit. 3. Eligibility Thai citizens with no age limitation are eligible to participate. Works submitted must never been awarded and chosen to exhibit in other art competitions. Each artist can submit 2 pieces of work within each category. 4. Artworks

1. Artist may submit work by himself or transfer the right to other people. Work must be submitted at The Art and Cultural Center

Commemorating the 6th Cycle Birthday Anniversary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace

Campus) with these requirements.

2. Artist must fill in the application form with full name, contact details, and other information in Thai and English.

3. Artist must attach identification copy with certified signature.

For sculptures and works that need to install, artists must indicate clearly the installation method and install work by themselves. 4.Artist must contact the art centre’s officer prior to the installation of work and install work at the indicated space only.

All works must have strong and suitable structure to transport, move, install, and store during and after exhibition, otherwise it may not exhibit. Selected works cannot be withdrawn from the exhibition unless the whole exhibition period is over. The university shall bear no responsibility to the damages of work from accidents, unpredicted incidents, and poor structures. 5 Jurors Ten expert jurors in various fields of fine arts are appointed for the 61th National Exhibition of Art.

Professor Emeritus Chalood Nimsamer

Juror

Professor Emeritus Santi Leksukhum

Juror

Distinguished Scholar Nontiwat Chantanapalin

Juror

Professor Emeritus Ittipol Tangchalok

Juror

Professor Decha Warachun Juror

Professor Emeritus Preecha Thaothong

Juror

Assistant Professor Somporn Rodboon

Juror

Associate Professor Khemrat Kongsook

Juror

President of Silpakorn University or Representative Juror

Director, Art Centre Silpakorn University

Secretary

6. Rules Selected entries and awards-winning selection by jurors are absolute. 7. Awards

1. Medal prizes of the National Exhibition of Art in each type of work are divided into : st 1 Prize, Gold Medal and 150,000 Baht

23


nd 2 Prize, Silver Medal and 100,000 Baht rd 3 Prize, Bronze Medal and 80,000 Baht

The jurors may grant more than one award or none for each medal prize in each type of work, depending

on the quality. Works that are not selected for award-winning entries may be selected for participating in the exhibition. Certificate for

selected entries will be given to selected artists.

2. Special awards from Krungthai Bank (1,000,000 Baht worth) are divided into : st 1 Prize, Special Award from Krungthai Bank with 120,000 Baht and the Award Plaque nd 2 Prize, Special Award from Krungthai Bank with 80,000 Baht and the Award Plaque

The jurors may grant more than one award or none for each prize, depending on the quality.

8. Copyright and Property Rights

1. Gold medal, silver medal and bronze medal award-winning works will become the property of Silpakorn University, who reserves the right

to promote works in all channels and methods without further approval from the artists.

2. Special award-winning works will become the property of the patrons and not include in rights condition no.1).

All works selected for the awards and exhibition may be used for exhibitions, catalogues, publications, and

other promotional purposes.

9. Artist of Distinction

To support and motivate Thai artists gain more interest in Thai contemporary art and develop their artistic creativity, Silpakorn University has indicated the qualification of Artist of Distinction as follow : st 1. Artist who has been awarded with 1 prize, gold medal for 3 times (under the same type of work). st nd 2. Artist who has been awarded with 1 prize, gold medal for 2 times and 2 prize, silver medal for 2

times (under the same type of work).

10. Guest Artist Silpakorn University invites guest artist to participate in the 61

th

National Exhibition of Art, in which participation can be in the form of art works for

exhibition or article for art catalogue. The managing committees have rights to select the guest artist, who must have any of these qualifications :

1. Be the Artist of Distinction

2. Be the juror of the National Exhibition of Art st nd 3. Be the artist who has been awarded with 1 prize, gold medal not less than once, or 2 prize, silver medal

not less than twice, and still active in art creativity. 4. Be famous artist either in the country or abroad, and still active in art creativity.

11. Period of Time

1. Submission

th 27 - 31 May 2015 at The Art and Cultural Center Commemorating the 6 Cycle Birthday Anniversary of His

Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus)

2. Selection Date

th 6 - 7 June 2015 at The Art and Cultural Center Commemorating the 6 Cycle Birthday Anniversary of His

Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus)

3) Results Announced

24

22 June 2015

4) Exhibition Period in Bangkok September - October 2015


12. Travel Exhibition

The North and the North-eastern

- The Chiangmai University Art Center, Chiangmai University, Chiangmai Province

- The Naresuan University Art Gallery, Naresuan University, Phitsanulok Province

- The Art and Cultural University Exhibition Hall, Khonkaen University, Khonkaen Province

- Jampasri Art Gallery (The Research Institute of North-Eastern Art and Culture), Mahasarakham University,

Mahasarakham

The South and the East

- The Princess Galayani Vadhana Institute of Cultural Studies, Prince of Songkhla University, Pattani Province

- The Art Gallery, Faculty of Fine Arts, Thaksin University, Songkhla Province

- The Eastern Center of Art and Culture, Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University, Chonburi Province

13. Collection of Works

- Works not selected

th 23 - 26 June 2015, 10am to 4pm at The Art and Cultural Center Commemorating the 6 Cycle Birthday Anniver

sary of His Majesty The King Bhumibol Adulyadej, Silpakorn University (Sanamchandra Palace Campus)

- Works selected

The organizers will contact the artists once works have been returned to Sanamchandra Art Gallery. All returned

works must be collected within 5 working days.

Collection of works later than period indicated is subject to the property rights of Silpakorn University.

25


26


ภาพจิตรกรรมฝพระหัตถ 

พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชฯ  His Majesty the King’s Painting

27


จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ไม่ปรากฏชื่อ” เทคนิคสีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 61 x 46 ซม. His Majesty the King’s Painting “Untitled” Oil on canvas, 61 x 46 cm. 28


29


จิตรกรรมฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ไม่ปรากฏชื่อ” เทคนิคสีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 27 x 38 ซม. His Majesty the King’s Painting “Untitled” Oil on canvas, 27 x 38 cm. 30


31


32


บทความพิเศษ “ระลึกถึงสามดวงดาวผู้จากไปสู่แดนไกล” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร Special Article “In Fond Remembrance of the Three Stars” by Professor Emeritus Pishnu Supanimit

33


ระลึกถึงสามดวงดาวผู้จากไปสู่แดนไกล โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร

ช่วงเวลาทีผ ่ า่ นมานี้ มีค�ำ กล่าวทีน ่ า่ ใจหายอยูบ ่ อ ่ ยๆว่า มีดวงดาวหล่นจากฟากฟ้าหลายดวง โดยเฉพาะดวงดาวแห่งศิลปะ ดาวดวงใหญ่หล่นจากฟากฟ้าถึงสามดวงในรอบปีทเี่ พิง่ ผ่านมา เริม ่ จาก ถวัลย์ ดัชนี ประหยัด พงษ์ดำ� และชลูด นิ่มเสมอ การเอ่ยนามสามผูย ้ งิ่ ใหญ่แห่งวงการศิลปะ โดยไม่มค ี �ำ นำ�หน้าดูจะไม่สภ ุ าพและไม่บงั ควร แต่ที่ผมเอ่ยเช่นนี้ ก็เพราะนึกถึง ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งปกติผมจะเรียกว่าพี่หวัน แต่ครั้งหนึ่งที่ผมเป็นพิธีกร แนะนำ�พี่หวันว่าเป็น “ศิลปินชื่อดัง” ก็โดนสวนกลับทันทีว่า “ผมไม่ได้ชื่อดัง และผมก็ไม่ได้เป็นนัก ร้อง” (นักร้อง ดัง พันกร) นี่เป็นมุกของศิลปินใหญ่นาม ถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทำ�ให้ผมไม่กล้าแนะนำ�ศิลปิน ด้วยคำ�นำ�หน้าใดๆเพราะไม่ว่าจะเอ่ยนามใด ก็จะโดนพี่หวันสวนกลับทุกครั้งไป ถวัลย์ ดัชนี ดาวดวงใหญ่ที่ร่วงจากฟากฟ้าเป็นดวงแรกในช่วงรอบปีน้ี คือ วันที่ 3 กันยายน 2557 สิริอายุ 74 ปี หลายคนได้ทราบข่าวตั้งแต่เช้าจากโลกของโซเชียล มีเดีย และตกใจ ไม่แน่ใจกับข่าวการจากไปอย่างกระทันหันครั้งนี้ ถวัลย์ ดัชนี ต้องทวนคำ�ที่พี่หวันไม่ชอบจริงๆว่า พี่เป็นศิลปินดังคับฟ้าจริงๆ ไม่เฉพาะ เขตเชียงราย ภาคเหนือ และทั้งประเทศ แต่ดังไปในระดับโลก ดังทั้งผลงาน ดังทั้งลักษณะของงาน ดังทั้งเสียง และดังทั้งสำ�นวนโวหาร พี่หวันเป็นทั้งพหูสูตรจดจำ�พระคัมภีร์ ท่องบทกลอนได้เป็นเล่มๆอย่างที่ไม่มีศิลปินคน ไหนเทียบเท่าได้ มีนิยายนิทานที่ผู้คนต่างพากันรุมล้อมเมื่อเจอถวัลย์ ดัชนี ไม่ว่าพี่จะไปปรากฏตัวอยู่ ที่แห่งใด ก็จะเป็นคนที่เด่นเป็นพระเอกอยู่เสมอ เรื่องสำ�นวนโวหารนั้นเป็นเลิศกว่าใคร มีทั้งโวหารที่เป็นปรัชญาล้ำ�ลึกและสำ�นวนที่ห้ำ�หั่น เชือดเฉือน แต่ไม่มีเจตนาที่จะทำ�ร้ายใคร ผมมีตัวอย่างที่จะเล่าให้ฟัง ถึงครั้งหนึ่งที่อยู่ในบรรยากาศเมื่อคราวที่พี่หวันกำ�ลังให้ สัมภาษณ์กับรายการโทรทัศน์โดยพิธีกรชื่อดัง (ดังอีกแล้ว) พี่หวันกำ�ลังอรรถาธิบายถึงความหมาย ของศิลปะตามสำ�นวนที่ล้ำ�ลึกของท่าน เป็นเวลานานพอสมควรพิธีกรก็เลยถามขัดขึ้นมาว่า “อาจารย์ช่วยอธิบายให้ง่ายๆอีกครั้งได้ไหมครับ” พี่หวันหยุดอยู่ชั่วพริบตา เหมือนได้ทีที่จะปล่อยมุกเด็ด “ถ้าคุณจะให้ผมพูดอีกทีนะ ผมว่าให้ผมไปเห่าเอาจะดีกว่า” พิธก ี รชือ ่ ดังหน้าซีดไม่ถามต่ออะไรอีก และผมคาดว่าเทปสัมภาษณ์ชว่ งเด็ดนัน ้ ไม่ได้ออก อากาศแน่นอน พีห ่ วันสัง่ สมสรรพวุธโวหารจนเป็นทีย ่ อมรับในความแหลมคมทางสติปญ ั ญาจนท่านกลาย เป็นปรมาจารย์โดยไม่ตอ ้ งเป็นอาจารย์สอนทีส ่ �ำ นักไหน อาณาจักรของท่านไปรุง่ เรืองทีเ่ ชียงราย เป็น สำ�นักศิลปะที่มีเส้นทางไปสู่ที่นั่น และท่านได้จากไปด้วยถ้อยคำ�สรรเสริญของผู้คนในวงการศิลปะ 34

ประหยัด พงษ์ด�ำ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ประหยัด พงษ์ด�ำ ผมเรียกท่านว่า อาจารย์ ประหยัด เพราะท่านเป็นอาจารย์สอนวิชาภาพพิมพ์แก่ผม ดาวดวงที่สองจากไปถัดจาก ถวัลย์ ดัชนี เพียงไม่กี่วัน คือในวันที่ 19 กันยายน 2557 สิริอายุ 79 ปี นี่ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่จากไปอย่างรวดเร็ว ว่ากันว่าท่านสนิทสนมกับพี่หวันมาก การจากไปของพี่หวันมีส่วนทำ�ให้อาจารย์รู้สึกเสียใจมากๆ อาจารย์ประหยัดท่านเป็นครูตลอดชีวต ิ สอนตลอดเวลา สอนไปขีดเขียนรูปไป พูดอธิบาย ไป ท่านมีเมตตากับลูกศิษย์ทก ุ คน เป็นคนอารมณ์ดี มีเรือ ่ งเล่าเป็นนิทานบรรจุอยูใ่ นคลังสมองมากมาย คราใดที่เจอะเจอกับถวัลย์ ดัชนี เป็นต้องเอานิทานออกมาดวลกัน และอาจารย์ก็มักจะยอมพี่หวันให้ ใช้ชื่อ ประหยัด เป็นตัวละครนั้นๆอย่างไม่ถือตัว นิยายของอาจารย์ในระยะหลังนี้ ต้องจดไว้ในสมุดพกเล่มเล็กๆที่เอาติดใส่กระเป๋าเสื้อไว้ เสมอ เพราะเหตุทว่ี า่ นิทานของอาจารย์มเี ยอะเหลือเกิน และเมมโมรีค ่ วามจำ�ก็เริม ่ มีจ�ำ กัดเมือ ่ ช่วงวัยชรา มีครัง้ หนึง่ ทีอ ่ าจารย์เริม ่ จะเล่านิทานให้ลก ู ศิษย์ฟงั แต่เผอิญมีศษ ิ ย์ทรี่ ก ั คนหนึง่ แกล้งท่าน โดยไม่รับฟังและเดินหนีออกไป ท่านโกรธมากเดินตามไป เรียกให้มาฟังให้ได้ เป็นเรื่องที่ทุกคนพากัน หัวเราะ อาจารย์มีเรื่องราวเกี่ยวกับท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี มากมายเพราะเหตุที่ท่านสนิทกับ อาจารย์ศิลป์ และมีความรักอาจารย์มาก เคยไปพบกับอาจารย์ศิลป์ที่โรม อาจารย์พาขึ้นรถเมล์ไปซื้อ อุปกรณ์เครื่องเขียน บนรถเมล์อากาศร้อนผู้คนแออัด อาจารย์ศิลป์หันมาบ่นกับอาจารย์ประหยัดว่า “ฉันเหม็นกลิ่นฝรั่งนะนาย กลับบ้านเราดีกว่า” (บ้านเรา คือ เมืองไทย) ชีวิตของอาจารย์ในช่วงสุดท้าย นอกจากการอุทิศตนให้กับวงการศิลปะของเราแล้ว สิ่ง ที่เห็นได้ชัดแจ้งก็คือ ความรักที่มอบให้กับครอบครัว ภรรยา และลูกๆของท่าน ชลูด นิม ่ เสมอ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ ชลูด นิม ่ เสมอ ผมเรียกท่านว่า อาจารย์ชลูด ท่านเป็นอาจารย์ที่สอนศิลปะทุกอย่าง สอนความเป็นครู และสอนการดำ�เนินชีวิต อย่างที่ไม่ได้มาจ้ำ�จี้ จ้ำ�ไช หรือมาสอนกันตรงๆ แต่เป็นการสอนที่ทำ�ให้ดู ทำ�ให้เห็น แล้วเราก็จดจำ�มาใช้ในชีวิตประจำ�วัน อาจารย์ชลูดจากเราไปเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2558 เกือบครบรอบปีของการเสียพี่ถวัลย์ และอาจารย์ประหยัด สิริอายุ 86 ปี อาจารย์ชลูด ท่านเป็นดาวดวงใหญ่อยูใ่ นดาวทัง้ สามดวง ท่านเป็นศิษย์รก ั ของท่านอาจารย์ ศิลป์ พีระศรี ทีร่ บ ั มอบมรดกทางศิลปะทัง้ สถานภาพความเป็นศิลปินและในด้านวิชาการศึกษาศิลปะ ท่าน สืบทอดและทำ�ให้เกิดสิ่งใหม่มากมายทั้งในมหาวิทยาลัยศิลปากรและในวงการศิลปะไทยร่วมสมัย อาจารย์ชลูดทำ�งานโดยไม่ตอ ้ งพูด (มาก) ปล่อยให้ศล ิ ปะทำ�แทนท่าน เป็นตัวอย่างของงาน สอนศิลปะ สิง่ เหล่านีบ ้ อกเล่าด้วยตัวเอง ท่านทดลองทำ�งานศิลปะทุกประเภทไม่วา่ จะเป็นประติมากรรม


งานปั้น งานหล่อ แกะไม้สลักหิน งานจิตรกรรมทั้งในแบบเอ็กซ์เพรสชั่น แบบแนวศิลปะไทย และใน แนวคอนเซ็ปต์ งานภาพพิมพ์ ทำ�ให้ได้ก่อตั้งภาควิชาภาพพิมพ์ และงานสมัยใหม่ในแนวความคิดใหม่ งานทั้งหมดไปสู่แบบอย่างของงานสอนศิลปะทั้งสิ้น อาจารย์เป็นคนพูดน้อย สุขม ุ คัมภีรภาพ จนดูเหมือนเป็นคนดุ เป็นคนถือตัว แต่ทเี่ ป็นเช่น นั้นมาจากบุคลิกเดิมเป็นคนมุ่งมั่นในการทำ�งาน และอยู่ในช่วงของการค้นหาตัวตน แต่เมื่ออาจารย์ หลุดพ้นจากช่วงยุคของการแสวงหา เหมือนกับได้สู่ช่วงของการค้นพบแล้ว อาจารย์กลับเป็นผู้มี เมตตา ถ่ายทอดวิชาความรู้อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ลูกศิษย์ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจากอาจารย์ในช่วง หลังจึงนับเป็นบุญที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยายุทธอย่างเต็มที่ ท่านอาจารย์ทำ�งานศิลปะทุกวันอย่าง ไม่หยุดยั้ง สอนนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ตราบจนวาระสุดท้ายก็ ยังมีลูกศิษย์ตามไปให้ท่านสอนถึงบ้าน อาจารย์ชลูดท่านเป็นศิลปากรรุ่นที่ 7 พ.ศ.2493 แต่เป็นบัณฑิตศิลปากรคนที่ 1 โดยได้ รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับ 1 เป็นรุ่นพี่อาจารย์ประหยัด 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 9 พ.ศ. 2495 และเป็นรุ่น อาจารย์ของพี่ถวัลย์ รุ่นที่ 15 พ.ศ.2501 ดวงดาวทั้งสามดวงต่างเดินทางไปตามทางของตนเอง สั่งสมประสบการณ์จนเป็นดาว ดวงใหญ่ที่โคจรมาพบกันในเวทีศิลปกรรมระดับชาติ โดยเฉพาะในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ซึ่ง เป็นเวทีที่ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ริเริ่มก่อตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2492 เพื่อให้เป็นเวที ของศิลปินไทยได้ฝึกฝน แข่งขัน พัฒนาให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาชาติ เวทีนี้ค่อยๆเติบโตเรื่อยมา จนบัดนีเ้ ป็นครัง้ ที่ 61 แล้ว นอกจากความริเริม ่ ของท่านอาจารย์ศล ิ ป์ ทีเ่ ป็นคุณป ู การเป็นอย่างยิง่ แล้ว บรรดาลูกศิษย์ของท่านที่ได้ช่วยกันสืบสาน สืบต่อ ต่างก็มีส่วนทำ�ให้การแสดงศิลปกรรมแห่งชาตินี้ กลายเป็นฐานที่มั่นคงของประเทศชาติ ดาวทั้งสามดวง ศาสตราจารย์ชลูด นิ่มเสมอ ศาสตราจารย์ ประหยัด พงษ์ด�ำ และ ถวัลย์ ดัชนี เป็นดวงดาวทีโ่ คจรมาพบกัน และมีสว่ นทีส ่ บ ื ทอดแนวทางทีอ ่ าจารย์ ศิลป์วางไว้ ตราบจนสิ้นวาระแห่งสังขาร น่าแปลกที่ลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ทั้งสาม มีความขยันในการสร้างสรรค์ งานศิลปะอย่างชนิดที่ไม่เคยหยุดนิ่งเลยแม้แต่นาทีเดียว ทุกคนเป็นคนซน ซนด้วยการใช้มือขีดเขียน อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะนั่งคุยหรือพูดโทรศัพท์ ท่านก็ยังทำ�งานศิลปะได้ เมล็ดพืชแห่งความขยัน ความ มุ่งมั่นที่อาจารย์ศิลป์ได้เพาะปลูกไว้ จึงเป็นความสำ�เร็จที่ตกทอดมาสู่ศิลปะในปัจจุบันได้ ท่านทั้งสามได้รับเกียรติยกย่องให้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” เท่าเทียมกัน อาจารย์ชลูดใน สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พ.ศ.2541 อาจารย์ประหยัด ในสาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ.2541 และพี่ถวัลย์ ในสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พ.ศ.2544 เหล่านี้เป็นการประกาศคำ�ยกย่องอย่างเป็น

ทางการ หากแต่โดยทั่วไปทั้งสามท่านต่างก็ได้รับความรัก การยกย่องบูชา จากคนทั่วไปทั้งประเทศ โดยความยินยอมพร้อมใจอย่างไม่มีข้อกังขา ทัง้ สามท่านกล่าวอยูเ่ สมอในระยะหลังนีว้ า่ อยากจะปลดระวางจากการเป็นคณะกรรมการ ตัดสินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นๆอยู่ทุกปี ทั้งเรื่องของสังขารที่อ่อนแอ ลงมากแล้ว และท่านก็มีความประสงค์ที่จะให้มีคนรุ่นใหม่ๆก้าวเข้ามาทดแทนบ้าง แต่ก็ไม่เคยทำ�ได้ เนื่องจากไม่ได้รับการอนุญาตจากประชาชน ทั้งสามท่านจึงเข้าสภาวะของโลกที่กล่าวไว้ว่า เมื่อผลไม้ ที่สุกงอมแล้ว ก็จะต้องถึงเวลาที่จะต้องร่วงหล่นไป มีนักคิดนักเขียนกล่าวถึงความตายไว้ในทำ�นองว่า ความตายไม่ใช่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดในชีวิต แต่ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ การตายทั้งๆที่เรายังมีชีวิตอยู่ (นอร์แมน คัสซึ่นส์ จาก “พลังแห่งชีวิต” ซึ่งไม่ใช่ดวงดาวทั้งสามอย่างแน่นอน ตามแนวคิดของชาวพุทธนั้น การเกิดและการตายคือสิ่งเดียวกัน เหมือนเช่นการยกเท้า ขึน ้ และลง ดังนัน ้ ชีวต ิ จึงคล้ายกับการตามหาศิลปินผูส ้ ร้างสรรค์เรือนกายให้กบ ั เรา เมือ ่ ยังไม่พบเรือน กายที่ดีและเหมาะสม เราจึงต้องเดินทางท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏนับภพชาติไม่ถ้วนต่อไป “วันแห่งการจากไป ควรจะเป็นวันเก็บเกีย ่ วด้วยหรือไม่ และในอนาคตกาลนัน ้ ควรจะเป็น ที่กล่าวกันหรือไม่ว่า สันธยากาลแห่งเรานั้น แท้จริงก็เป็นรุ่งอรุณด้วย” (คาลิล ยิบราน จาก“ปรัชญา ชีวิต”) ดวงดาวทัง้ สามผูย ้ งิ่ ใหญ่ นับว่าท่านเป็นผูท ้ ส ี่ งั่ สมเสบียงของการเดินทางไว้แล้วเป็นอย่าง ดี ท่านคงได้พบที่พักระหว่างทางที่ดีได้ การที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นว่า มีดวงดาวสามดวงหล่นจากฟาก ฟ้า แท้จริงคือ ดวงดาวทั้งสามนั่นเอง ที่กลับมาประดับอยู่บนฟากฟ้า ขอคารวะ ท่านอาจารย์ชลูด นิม ่ เสมอ ท่านอาจารย์ประหยัด พงษ์ด�ำ และ ท่านถวัลย์ ดัชนี เป็นดังในคัมภีร์พระธรรมบท กล่าวไว้ว่า “บุรุษผู้จากไปสู่แดนไกลเสียนาน เมื่อกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ ญาติมิตรและผู้ปรารถนาดีทั้งหลาย ย่อมต้อนรับด้วยความยินดี”

35


In Fond Remembrance of the Three Stars Professor Emeritus Pishnu Supanimit

In this recent time, a saying constantly vibrates in my mind: “The great stars have fallen down from the sky, especially the artist stars who fell off the sky in these passing years, from Thawan Duchanee to Prayad Pongdam and Chalood Nimsamer respectively. Saying the names of “the great three” in our art society without a proper title might sound impolite and highly inappropriate. But there is a reason to this when I think of Thawan Duchanee, whom I usually called “Pi Wan.” However, there was an incident. When I was the host for a show and introduced him with “the famous artist” title, he put the words back into my mouth saying, “my name is not Fame and I am not a singer too” (he made a pun with the word Fame in Thai, “Dunk”, which is punned to the name of Dunk Pankorn, a famous Thai singer). This is an example of many puns manifested by the great Thawan Duchanee, a truly big-named artist. This incident made me think twice before introducing him as a celebrity of some sort; he always had his way of striking back. Thawan Duchanee, the first mega star who fell down from the sky. He passed away on 3 September 2014 at the age of 74. Many had heard the sad news from the social media in the morning of the day and were shocked and perplexed, for it was so sudden and unexpected. Thawan Duchanee, Pi Wan, despite your disapproval, insist that you truly a famous star that sheds light throughout the sky and not just that of Chiang Rai or in the Northern part of Thailand but throughout Thailand and beyond. You are the famous artist, famed for your art, famed for your outspokenness and famed for your eloquent vocabulary. Thawan Duchanee was also a scholar who could recite verse and verse from the Buddhist manuscript, as well as other books of poems so adroitly to a degree no other artist can match. He had endless tales and stories to share with the people who would somehow manage to flock up around him every time he made an appearance. Thawan was a man only equal to be the leading man and nothing less. He was known to have a way with his words – better than anyone I know. He was equipped with such a verbal skill that could produce line after line containing profound meanings and sharp, vivacious and dramatic verbal expression but without intention to abuse anyone. My fond memory about the artist has taken me to yet another one of those episodes that I must share with you. Pi Wan was giving an interview to a famous host of TV programme (yes, another “famed” person). During the length of the interview, he had been going on and on entertaining in great details pertaining to art with his large vocabulary until suddenly, the host interrupted with a question: “Would you please put that to a simpler terms?” Pi Wan stopped talking immediately as if he knew time to drop yet one of his famous puns was imminent. “If you want me to repeat that, I would rather go barking it out.” The face of the host went pale; I assumed that this part was cut out and never actually went to air.

36


He had enhanced his verbal skill and weaponry until he became widely accepted as an eminent figure in the art world without having to profess his greatness to anyone or at any art school. He has formed his own region, which until this day continues to thrive in Chiang Rai, with an art school of his own. He left us, with words of praise by people in our art circles. Prayad Pongdam or Professor Emeritus Prayad Pongdam whom I was used to calling him Ajarn Prayad (Professor Prayad) was also my Printmaking teacher. The death of Ajarn Prayad was only a few days after apart the great loss of Thawan Duchanee, precisely on 19 September 2014. At the age of 79 years old, he was yet another great artist who abruptly passed away. I was told that he and Pi Wan were close friends and the unexpected departure of Pi Wan must have caused him a great sadness. Ajarn Prayad had been a teacher throughout his life. In the classroom he would be drawing while going into great length about art: this was his lifetime dedication. He had an immense loving kindness for his students. Always in a good mood, he liked telling stories that were carefully picked out from a stockpile of stories. Anytime he ran into Thawan Duchanee, need not to say, there would be a contest of tale and story telling. He had a big heart to always let Pi Wan use the name Prayad as a character in the story without hard feelings. His anecdotes later were recorded in a form of small notebook kept in his pocket due to an exceeding number of tales in correlation with memory space limited by his age. One time, when he was about to start on one of his great tales to his students, one of his dear students pretended to walk away. He was so angry that he called that student back to listen to his story. This story in itself made us laugh. Another story involved our revered Professor Silpa Bhirasri to whom Ajarn Prayad was close and whom he very much adored. He went to meet Ajarn Silpa in Rome, and Ajarn Silpa took him on a bus ride to buy stationary. It was a hot day in the bus fully packed with passengers. Ajarn Silpa turned to his student to whine a complaint: “I am sick of the smelly “farangs (foreigners).” Let us go home (Home is Thailand)” Later in his life, besides his dedication to the art society in Thailand, he will be also vividly remembered for his love he fondly gave to his family, his wife and children. Last but never the least is Chalood Nimsamer or Professor Emeritus Chalood Nimsamer whom I called him Ajarn Chalood. If there were an art teacher who could teach all fields of arts, he would be one of the best. Not only were his lessons equipped with a fine artistry in teaching but also filled with know-hows about leading one’s life. He did not explain in great length of how art works or forced the students to take on lessons. He showed it to them, let them see how he did it, and students would take lessons from him naturally into their life. Ajarn Chalood left us at the age of 86, on 4 June 2015, which nearly marked a year since Pi Thawan and Ajarn Prayad’s departures.

37


Ajarn Chalood was the great star among the three. He was a beloved student of Professor Silpa Bhirasri, who inherited to him as an artist and the academy for art education. He passed on this legacy and born new creations and ideas to the benefits of Silpakorn University and Thai Contemporary Art. Man of few words, Ajarn Chalood primarily let his art speak for him. This is a finest example of what a great art teacher should be. A work of art in itself will tell best. He experimented with art in and across many genres from sculpture and statuary to casting and stone carving. In paintings, he had gone to an astonishing length in terms of variety and versatility. His collection encompasses different genres of painting ranging from Expressionism to Traditional Thai and Conceptual. His work in Printmaking alone had been credited for the founding of the department of Printmaking, and his modern and more contemporary range of work extends itself to the New Conceptual. All of the aforementioned were all turned into materials for his art classes, for his students. He was rather always quiet and had this calm air about him so much so that he might be regarded as strict and reserved. But this personality of his only reflected a strong determination and his work ethics that he was holding on to during his self-discovery years. But after the passage of discovery completed its course, his generosity shone through by means of passing on the knowledge to the students relentlessly. The later generations of students were truly blessed to have an opportunity to learn from the experienced artist whose mastery reached a state of maturity, as did the artist himself. He had dedicated himself to art incessantly; he gave classes to both bachelor and postgraduate levels till the very last days of his life where students were still allowed in his home for lessons. Ajarn Chalood was in Class 7 of the year 1950 at Silpakorn and was the first gradate to receive a first-degree honor. He was 2 years senior to Ajarn Prayad who was in Class 9 of the year 1952. He became teacher for the class 15 in which Pi Wan enrolled as a student in the year of 1958. The three stars had finally come across in the course of their orbits. They all had gathered experience and honed their skills until they came to meet each other at the National Exhibition of Art founded in 1949 by Professor Silpa Bhirasri with an objective to give Thai artists space to sharpen, compete and flourish in order to keep up with the world. This competition has continued to flourish to this day throughout a course of over 60 years, with this year marking its 61st anniversary. His students also helped to continue this legacy once initiated by Professor Silpa for whose benevolence we will be thankful. The three stars ; Professor Chalood Nimsamer, Professor Prayad Pongdam, Thawan Duchnee, met and helped to cement the foundation of art in the country. They had done their part in continuing this establishment of art enrooted by Ajarn Silpa to their last breath. Interestingly, what these three artists all shared was unrivalled passion for art and prolificacy in creating art that were inherited to their students. All three were gifted with the creative hands that could not be withdrawn from drawing, even when they were talking on the phone or chatting; art being were instantly being produced. This seed of their dedication and determination continues to plant the root for artists of my generation and the next. All three were officially awarded the title of “National Artist�: Ajarn Chalood in Visual Art (Sculpture) in 1998; Ajarn Prayad in Visual Art

38


(Printmaking) in 1998; and Pi Thawan in Visual Art (Painting) in 2001. But the highest compliment to them of all, I believe is the continual love and great praise from the public audience in Thailand that are still widely expressed. Of later times in their life, all three kept insisting on retiring from the Committees of National Exhibition of Art partly due to their advanced age that entailed an aging body. They wished the new generation of artists would step up to resume their duty; however, that had not happened during their tenure; the public would have not allowed it. But the nature always has its way. And so came the moment when the nature took to its own course just like in a saying that goes: “When the fruit is ripe, it will then drop to the ground.” To a matter of life and death, a writer once said: “Death is not the greatest loss in life. The great loss is what dies inside us while we live.” (Norman Cousins, “The Celebration of Life”) Though this saying resonates truth about life, it cannot be applied to the lives of our three stars whose lives were fully lived. In accordance with Buddhist philosophy, death and birth are alike just as an act of lifting one’s leg up is to that of lowering it down. So, life is a quest in itself of finding a true artist to create and adorn our body. If a naturally perfect body is not yet to be met, we need to carry on this long journey in the Wheel of Life until we meet the one. “Shall the day of parting be the day of gathering? And shall it be said that my eve was in truth my dawn?” (Kahlil Gibran, “The Prophet”) The three great stars had been well prepared with all necessary provision for their journey. They should have found peace at a resting place over the course of the journey. And finally, contrary to the comparison I made throughout my writing, I believe the three stars have not at all fallen down; instead, they went back to the sky now brightly adorned with the three shining stars for us to see from afar. I would like to end this with a quote from a chapter in the Dhammapada to express my homage to the Great Three: Ajarn Chalood Nimsamer, Ajarn Prayad Pongdam, and Ajarn Thawan Duchanee. “A man who journeyed long and far Once returned home safe and sound, Relatives, friends and well wishers Will greet him with the joy for all.”

ผู้แปล ภณิพล อภิช ิต สกุล English text by Panipol Apichitsakul เอื้อเฟื้อภาพประกอบโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร photos courtesy of Professor Emeritus Pishnu Supanimit

39


40


ผลงานที่ไดรับรางวัล Award-Winning Entries

41


จิตรกรรม Painting ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม Painting 2nd Prize, Silver Medal Award in Painting นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม “บรรพบุรุษรำ�ลึก” เย็บปัก, 280 x 205 ซม. Miss Thitiprom Onpium “The Commemoration of Ancestors” Sewing, 280 x 205 cm. ความเชือ ่ เกีย ่ วกับการนับถือผีบรรพบุรษ ุ และชีวต ิ หลังความตาย การสือ ่ สารระหว่างบุคคลทีม ่ ช ี วี ต ิ และไม่มช ี วี ต ิ โดย สอดคล้องกับความเชื่อของชาวล้านนา ซึ่งมีมาแต่เดิม ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการเกิดพิธีกรรม และประเพณี การเลี้ยงผีปู่ย่า ภายในครอบครัวของข้าพเจ้า แสดงออกถึงความผูกพันระหว่างโลกต่างสถานะ ด้วยกลวิธีทาง ศิลปะอย่างเรียบง่าย คือการเย็บปักผืนผ้าด้วยมือ หัตถกรรมสัญลักษณ์ของความเป็นสตรีเพศ กับการนำ�มาห่อหุม ้ ภาพถ่ายแง่มม ุ ทีเ่ ชือ ่ ว่าเป็นทีส ่ ถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรษ ุ และเป็นทีต ่ งั้ ของเครือ ่ งประกอบพิธก ี รรมการเซ่นไหว้ There are beliefs about ancestor ghost and afterlife among my family. We believe in communicating between human and spirits, which is also a beliefs of Lan-na people. Therefore, this beliefs lead to ancestor ghost worship in my family that shows a deep relationship of people in two different worlds. I used a simple method, hand sewing that represents femininity. The photos of ancestors that believed to be a place for the soul are covered by fabric and display as a shrine.

42

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : จิตรกรรม Painting


43


จิตรกรรม Painting ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Silver Medal Award in Painting นายสันติ หวังชื่น “อีสานงานถักทอ หมายเลข 2” ผูก มัด ถัก รัดร้อย, 280 x 280 ซม. Mr. Santi Wangchuen “E-san Weaving Work No. 2” Fabric binding, knitting, weaving, 280 x 280 cm. ในวิถีชีวิตที่ข้าพเจ้าเติบโตมาในสังคมชนบทพื้นถิ่นอีสาน ความใกล้ชิดความผูกพันใน “งานถักทอ” เป็นการ แสดงออกถึงรูปทรงอิสระที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากเทคนิคช่างพื้นบ้าน คือ การถักทอ ซึ่งมีคุณค่าในด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและสังคม ในท้องถิ่นของไทย นำ�มาสร้างสรรค์ผลงานผ่านเทคนิควิธีการผูกมัด ถัก รัดร้อยด้วยผ้าทีต ่ ด ั เป็นเส้น และเชือกชนิดต่าง ๆ มาสร้างสรรค์เป็นรูปทรงนามธรรม นำ�เสนอด้วยวิธก ี ารห้อย แขวน เพื่อสร้างอารมณ์ความรู้สึก และเกิดความงามทางอุดมคติ I have grown up in northeastern part of Thailand (E-san). “E-san Weaving Work” presents free forms inspired by local weaving craft , which is precious tradition and culture of Thailand. This work of art is made by binding, knitting and weaving cut fabric and rope in abstract form, installed by hanging to raise ideal aesthetics.

44

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : จิตรกรรม Painting


45


จิตรกรรม Painting ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Silver Medal Award in Painting นายสุวัฒน์ บุญธรรม “สัญลักษณ์และร่องรอยแห่งอารยธรรม” แกะดินสอพองผสมวาดเส้น, 190 x 275 ซม. Mr. Suwat Boontam “Symbol and Trace of Civilization” Carving on white clay and drawing, 190 x 275 cm. ข้าพเจ้าต้องการนำ�เสนอ ร่องรอยของการดำ�เนินชีวต ิ มนุษย์ ทีม ่ ล ี ก ั ษณะความเป็นอยูแ ่ บบผสมผสานระหว่างระบบ เกษตรกรรม และการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ไปสู่ระบบวัตถุนิยมสมัยใหม่ I want to portray the trace of human’s lifestyle that consist of agriculture style and changes that lead to materialism nowadays.

46

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : จิตรกรรม Painting


47


จิตรกรรม Painting ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 3rd Prize, Silver Medal Award in Painting นายเนติกร ชินโย “The Truth No.7“ เกรยองบนกระดาษ, 241 x 131 ซม. Mr.Netikorn Chinyo “The Truth No.7” Crayon on paper, 241 x 131 cm. สรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลง Everything is impermanent.

48

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : จิตรกรรม Painting


49


ประติมากรรม Sculpture ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม 2nd Prize, Silver Medal Award in Sculpture นายพรสวรรค์ นนทะภา “ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน” ดินเผาบ้านหม้อ, บ้านโก, 200 x 200 x 209 ซม. Mr. Pornsawan Nonthapha “Memory of Northeastern Way of Life” Terracotta , 200 x 200 x 209 cm. วิถีที่พอเพียง เรียบง่ายในสังคมเกษตรกรรม มีพืชพันธุ์ธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์แบบอินทรีย์ ไม่มีสารเคมี สังคมมีอยู่มีกิน ร่างกายปลอดสาร สุขภาพแข็งแรง จิตใจก็เป็นสุข เมื่อกายสุข จิตใจสุข สังคมก็เป็นสุข A sufficient and simple life in agriculture society is consisted of fruitful organic plant and corps. Therefore, people are perfectly healthy both physically and mentally.

50

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ประติมากรรม Sculpture


51


ประติมากรรม Sculpture ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม 3rd Prize, Silver Medal Award in Sculpture นายบุญเกิด ศรีสุขา “กลมเกลียว หมายเลข 1” เชื่อมโลหะ, 200 x 220 x 229 ซม. Mr. Boonkerd Srisukha “Harmony No. 1” Welding, 200 x 220 x 229 cm. ทุกชีวต ิ ย่อมเกีย ่ วโยงสัมพันธ์กบ ั ชีวต ิ อืน ่ โดยหลีกเลีย ่ งไม่ได้ ไม่วา่ จะเป็นความสัมพันธ์ในเผ่าพันธุห ์ รือต่างเผ่าพันธุ์ ธรรมชาติ คือ สือ ่ กลางในการประสาน เชือ ่ มโยง สรรพชีวต ิ เหล่านัน ้ ให้เกิดความสัมพันธ์สอดประสานอย่างกลมกลืน และสมดุล ความสัมพันธ์ท่ีกลมเกลียวในธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์เพื่อสะท้อนถึงคุณค่าของ ชีวิตและคุณค่าของธรรมชาติ ที่กำ�ลังจะสูญสิ้นไป Every life is connected unavoidably, either in a different or same species. Nature is a perfect link of harmonizing those creatures. I was inspired by a unity of nature. This work of art is to point out the importance of nature that is decreasing in present.

52

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ประติมากรรม Sculpture


53


ประติมากรรม Sculpture ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทประติมากรรม 3rd Prize, Silver Medal Award in Sculpture นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ “แตกหน่อต่อรวง” สแตนเลส, ไททาเนียม, 180 x 245 x 175 ซม. Mr. Ariya Kitticharoenwiwat “Bloom and Sprout” Stainless steel, titanium 180 x 245 x 175 cm. สิง่ เร้นลับทีเ่ กิดขึน ้ ในธรรมชาติ ต่างเฝ้ารอการดูแล บ่มเพาะและเสาะหา ให้มองเห็นคุณค่าทีถ ่ ก ู เก็บไว้ในตัวเอง เพือ ่ สืบสานความงดงามให้ปรากฏอยู่ในธรรมชาติตลอดไป Undiscovered and mysterious plant in nature is waiting to be nurtured, cultivated and discovered its value, to keep the beauty in nature forever.

54

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ประติมากรรม Sculpture


55


ภาพพิมพ์ Printmaking ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ 2nd Prize, Silver Medal Award in Printmaking นายประวีณ เปี่ยงชมภู “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2” ภาพพิมพ์แกะไม้, 77 x 120 ซม. Mr. Praween Paingshoompoo “Sanctuary Inside the Soul No. 2” Woodcut, 77 x 120 cm. “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต” เป็นการสร้างเอกภาพทางสุนทรีย์แห่งความสุขสงบ ด้วยเทคนิคการ สร้างสรรค์เป็นงานศิลปะภาพพิมพ์ทส ี่ อ ื่ ความหมาย ความรูส ้ ก ึ สภาวะนามธรรมของจิต โดยนำ�ลักษณะพืน ้ ทีภ ่ ายใน ห้องส่วนตัวแสดงออกร่วมกับการจัดวางโดยใช้สื่อเป็นวัตถุสิ่งของร่วมกับบรรยากาศ สี แสง เงา ที่ผสานกันเป็น สัญลักษณ์ความหมาย เนือ ้ หา ด้วยรูปแบบทีแ ่ สดงผ่านกระบวนการเทคนิคแม่พม ิ พ์แกะไม้ ในลักษณะทีเ่ บาบางทาง สายตา ที่ผสานกันอย่างประณีต สอดคล้องกับการขัดเกลาจิตใจที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักการดำ�เนินชีวิต ส่วนตัวที่ สุขสงบ เปรียบเป็นแสงแห่งปัญญา ชี้นำ�ไปสู่การก้าวย่างการดำ�เนินชีวิตได้อย่างปกติสุข “Sanctuary Inside the Soul” is a united aesthetics of peacefulness, created by printmaking that imply a meaning, feelings and abstract form of mind. The image reveals one’s private room and his objects in different shades of meaningful color and light. The woodcut printmaking bears visually softness that implies refining mind and peaceful way of life.

56

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ภาพพิมพ์ Printmaking


57


ภาพพิมพ์ Printmaking ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ 3rd Prize, Silver Medal Award in Printmaking นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย “Suffering No.2” ภาพพิมพ์ C-print type และตัดกระดาษด้วยมือ, 142 x 87 ซม.

Miss Kamolpan Chotvichai “Suffering No.2” C-print type and hand cut paper, 142 x 87 cm. ความคิดทีย ่ ด ึ ติดกับตัวตนก่อให้เกิดความทุกข์ แม้ในความเป็นจริงแล้วความคิดทีเ่ กีย ่ วกับตนเองนี้ เป็นสิง่ สมมติ ขึน ้ ทีท ่ �ำ ให้เกิดสภาวะอารมณ์ตา่ งๆ ความคิด รวมไปถึงร่างกายทีย ่ ด ึ ติดว่าเป็นของตนเอง และคิดว่ามีอยูน ่ น ้ั แท้จริง แล้วคือความว่างเปล่าตามหลักคำ�สอนพุทธ ข้าพเจ้าจดจ่อจิตขณะสร้างสรรค์ด้วยการกรีดตัดภาพร่างกายของ ตนเองเพือ ่ เป็นการสำ�รวจตนเองให้อยูก ่ บ ั ปัจจุบน ั ขณะและเข้าใจถึงความไม่มอ ี ยูข่ องตนเอง ในผลงานชิน ้ นีข้ า้ พเจ้า สือ ่ ถึงการสำ�รวจตนเองในขณะสภาวะแห่งตัวตนถูกสัน ่ คลอนด้วยความคิดและอารมณ์ตา่ ง ๆ ด้วยการแสดงภาพ ร่างกายตนเองที่ส่วนศีรษะถูกกรีดตัด กลายเป็นริ้วเส้นอิสระเคลื่อนไหวรุนแรงคล้ายถูกพัดปลิดปลิวจนกระจุย กระจาย เปรียบกับผู้ประสบด้วยสภาวะทางอารมณ์ The attachment to objects is a cause of suffering in human. Even the idea of one self’s body is flavored by the mind. Emotion, feelings and also thoughts that attached to the body is actually emptiness, according to Buddhism. I was focusing my mind by cutting the image of my body while created this work of art, to realize that my body is also empty or selfless. In this work, I want to express my consciousness when I am affected by any thought or emotion. Having the image of my body cut in numerous stripes that can be moved when the wind blow, portrays a human who emotionally shaken.

58

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ภาพพิมพ์ Printmaking


59


ภาพพิมพ์ Printmaking ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ 3rd Prize, Silver Medal Award in Printmaking นายญาณวิทย์ กุญแจทอง “เสียงร้องจากธรรมชาติ” แม่พิมพ์สีธรรมชาติจากครามและน้ำ�ผึ้ง, 98 x 108 ซม. Mr. Yanawit Kunchaethong “Voice from the Nature” Organic print from indigo and honey, 98 x 108 cm. ปัจจุบันธรรมชาติกำ�ลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพอย่างรวดเร็ว จากการลักลอบบุกรุก ตัดไม้ทำ�ลายป่า การก่อมลพิษ ทำ�ร้ายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทุกรูปแบบ เป็นผลต่อปัจจัยทางชีวภาพมีผลกระทบต่อสภาพดิน น้�ำ อากาศสัตว์ปา่ สิง่ แวดล้อมอืน ่ ๆ ทำ�ให้ชนิดของพืชพันธุส ์ ญ ู หาย สัตว์ปา่ มีจ�ำ นวนและชนิดลดลง เกิดปัญหาโลก ร้อนขึน ้ เกิดน้�ำ ท่วมอย่างรุนแรง ธรรมชาติก�ำ ลังเจ็บป่วยอย่างหนักหนาสาหัส ภาพพิมพ์สธ ี รรมชาติจากครามและ น้�ำ ผึง้ ชุดนีต ้ อ ้ งการสะท้อนและกระตุน ้ เตือนสติให้ทก ุ คนได้ตระหนักถึงการอยูร่ ว่ มกันระหว่างมนุษย์กบ ั ธรรมชาติและ การนำ�ธรรมชาติมาใช้อย่างยั่งยืน มนุษย์ควรให้ความสำ�คัญในการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาจากการใช้ธรรมชาติ อย่างระมัดระวัง เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศวิทยา และความงดงามของวิถีชีวิต ที่มีอยู่บนโลกใบนี้มิให้สูญสลาย Nature is now physical changing rapidly by encroachment of forest and polluting the environment. Consequently, every life is affected. Some plant and animal are extinct. Global warming and flooding occurs. Nature is now deadly sick. This organic print from indigo and honey portrays and warns people to realize the importance and carefully using all kind of nature.

60

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ภาพพิมพ์ Printmaking


61


ภาพพิมพ์ Printmaking ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ 3rd Prize, Silver Medal Award in Printmaking นายบุญมี แสงขำ� “ดอกหญ้า หมายเลข 2” เมซโซทินท์, 174 x 126 ซม. Mr. Boonmee Sangkhum “Dipsacus No.2” Mezzotint, 174 x 126 cm. การสร้างสรรค์งานศิลปะของข้าพเจ้า ได้แนวความคิดมาจากพุทธปรัชญา ได้แก่ หลักคำ�สัง่ สอนเกีย ่ วกับความจริง (สัจธรรม) ซึ่งเป็นกฎแห่งเหตุและผล สาระในทางพุทธศาสนาถือว่าทุกสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ ย่อมเกิดขึ้นเป็นไป ตามอำ�นาจของกฎแห่งเหตุและปัจจุบัน มุ่งเน้นหลักเข้าใจในภาวะธรรมชาติ เป็นหลักในการดำ�รงชีวิตอย่างสงบ สุข สันโดษ โดยการฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้นห้วงแห่งวัฏฏะสงสารไปสู่ความสงบ ความสว่าง ความว่างในนิพพาน เพราะฉะนัน ้ ธรรมะกับธรรมชาติคอ ื สิง่ เดียวกัน ข้าพเจ้าจึงได้น�ำ ความคิดดังกล่าวมาสร้างสรรค์งานศิลปะโดยอาศัย รูปทรงของพืชพันธุ์ที่สมบูรณ์ พร้อมจะผลิดอก ออกผล แล้วร่วงหล่น จนกระทั่งไปสู่เมล็ดพันธุ์ที่จะเติบใหญ่ หมุนเวียนสืบต่อไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด มาเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงออกผ่านผลงานศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเมซโซ ทินท์ (Mezzotint) เพื่อให้เกิดรูปความคิดแบบจินตนาการถึงความรู้สึกสุข สงบ และมีสมาธิ ซึ่งเป็นสาระ สัจจะ ความจริง ในการดำ�เนินชีวิตอันเป็นต้นแบบของชาวพุทธเป็นสำ�คัญ My artwork is inspired by the belief in Buddhism. I create printmaking works that transport the idea of life cycle such as the origin, the existence, the truth and the ending of many things in nature. Nature and Buddhism is, therefore, the same thing. I use the fruitful form of seeds in this mezzotint, portraying and implying the change in life cycle of plant and human.

62

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : ภาพพิมพ์ Printmaking


63


สื่อประสม Mixed Media ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทสื่อประสม 2nd Prize, Silver Medal Award in Mixed Media นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร “แก่นมนุษย์” สื่อประสม, 100 x 200 x 110 ซม. Mr. Wuttin Chansataboot “Chameleon’s Core” Mixed media, 100 x 200 x 110 cm. ในยุคสมัยทีก ่ ารแสดงตัวตนของปัจเจกชนบนโลกออนไลน์มค ี วามสำ�คัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าตัวตนทีป ่ รากฎในโลก แห่งความเป็นจริง การปรุงแต่งอัตลักษณ์ของตัวบุคคลในโซเชียลเน็ตเวิรค ์ ได้กลายเป็นสิง่ ทีก ่ ระทำ�กันอย่างแพร่ หลาย การกระทำ�ดังกล่าวส่งผลให้อัตลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นมีความไม่มั่นคง เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา เปรียบเสมือนกิ้งก่าที่ปรับเปลี่ยนสีสันของผิวหนังไปตามสภาวะแวดล้อม ด้วยพื้นฐานของแนวความคิดดัง กล่าว ผลงาน “แก่นมนุษย์” (Chameleon’s Core) ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นการตั้งคำ�ถามกับสังคมว่า ”ความสำ�คัญและแก่นกลางที่แท้ของความเป็นมนุษย์นั้นอยู่ที่ใดกันแน่?” Today, people express their individual identities on social network and take it seriously as their reality. Fantasizing a new identity is widely spreading. By doing so, causes effects on unstable and changeable identity, just like a chameleon that always adjusts their skin in different situation. “Chameleon’s Core” was created by this idea, to question the society about an actual core of human being.

64

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : สื่อประสม Mixed Media


65


สื่อประสม Mixed Media ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทสื่อประสม 3rd Prize, Silver Medal Award in Mixed Media นางสาวจิรนันท์ จุลบท “กลายพันธุ์” สื่อประสม (แสตมป์,รับบิ้ง,ภาพพิมพ์นูน), 280 x 280 x 134 ซม. Miss Jiranan Julrabot “Mutation” Mixed media (stamping, rubbing and relief printing), 280 x 280 x 134 cm. ปัจจุบน ั ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกา้ วล้�ำ พัฒนาปรับเปลีย ่ นโครงสร้างการผลิตและรูปแบบให้สอดคล้องเข้ากับ สภาวะกระแสนิยมบริโภค วัฒนธรรมและสังคมปัจจุบัน เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคของมนุษย์ จึงเป็นแรงบันดาลใจผ่านจินตนาการ การประยุกต์ คิดค้นดัดแปลงพันธุกรรมพืชผักและผลไม้ ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงธรรมชาติและแทรกซึมความประหลาดในพืชผักและผลไม้ ซึ่งก่อให้เกิดความงาม ความรู้สึกและมุม มองใหม่ในผลงานภาพพิมพ์สามมิติของข้าพเจ้า Technology is now developing and adjusting itself to consumerism, contemporary culture and society to meet the demand of people. I am inspired by genetically modified fruit and vegetable which generate changes in nature and add some strangeness yet beauty in those edible plants.

66

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : สื่อประสม Mixed Media


67


สื่อประสม Mixed Media ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทสื่อประสม 3rd Prize, Silver Medal Award in Mixed Media นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์ “The State of the Suffering” สื่อประสม ถักสานวัสดุ, สูง 280 ซม. Miss Sunanta Phasomwong “The State of the Suffering” Mixed media and weaving, high 280 cm. ผลงานสร้างสรรค์สะท้อน ความทุกข์ ที่เกิดจากความจำ�ที่เลวร้ายเมื่อครั้งวัยเด็ก การผลัดพรากจากบุคคลอัน เป็นที่รัก ครอบครัวแตกร้าว สิ่งเหล่านี้ยังคงซ่อนอยู่ภายในจิตใจตลอดเวลา เปรียบดั่งเส้นที่หมุนวนทับซ้อน และ ไม่มีวันสิ้นสุด This work of art represents sadness that linked to unpleasant memory in childhood. Being separated from beloved ones and having troubled family issues are hidden in our heart for all the time, like an endless circle.

68

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : สื่อประสม Mixed Media


69


สื่อประสม Mixed Media ประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทสื่อประสม 3rd Prize, Silver Medal Award in Mixed Media นางเมตตา สุวรรณศร “เส้นใยความรักของแม่ต่อลูกน้อยออทิสติก” ถักโครเชต์และโลหะ, แปรผันตามพื้นที่ Mrs. Metta Suwanasorn “The Thread of Love from Mother to her Child Autistic” Crochet and steel, dimension variable คงไม่มีความรักใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าความรักของแม่ที่มีต่อลูก แม้ลูกนั้นจะป่วยด้วยภาวะเด็กออทิสซึม ที่ไม่ สามารถสือ ่ สารด้วยภาษาพูดจึงทำ�ให้ลก ู ต้องสือ ่ สารด้วยการวาดเส้น ทีแ ่ ฝงไว้ดว้ ยความหมายอันเต็มเปย ี่ มไปด้วย จินตนาการ ทีบ ่ ริสท ุ ธิส ์ ะอาด ไม่มท ี ก ั ษะหรือการฝึกฝนใดมาเคลือบแฝง เป็นเรือ ่ งราวแห่งจินตนาการคิดฝันบิดเบีย ้ ว ขาด ๆ เกิน ๆ โย้เย้ไปมา ในแบบพิเศษแตกต่างจากเด็กปกติ ในวัยเดียวกัน จากการเฝ้าสังเกต ทำ�ให้ข้าพเจ้าเห็น ถึง ความงามจากความไม่สมบูรณ์ ที่เกิดจากผลงานวาดเส้นของลูก นำ�มาผสมผสานกับงานถักโครเชต์ที่ข้าพเจ้า รัก ที่ต้องใช้เวลารวมถึงสมาธิและความอดทน ในการถัก ควักเข็มขึ้นลงนับล้าน ๆ ครั้ง เพื่อก่อรูปเส้นด้าย ทีอ ่ อ ่ น นุม ่ ห่มคลุมลายเส้นของลูก เป็นการหลอมรวมศาสตร์สองแขนงคือ ผลงานวาดภาพของลูกออทิสติกกับเทคนิค งาน หัตถกรรมถักโครเชต์ท่ีประณีต อ่อนหวาน ก่อเกิดเป็นผลงานที่แสดงออกให้เห็นถึง ความรักสายสัมพันธ์ของ แม่กับลูก ที่โยงใยตั้งแต่ในครรภ์จนลูกเติบใหญ่ แม้ลูกจะมีความผิดปกติในหลายด้าน หรือบททดสอบจากคน บนฟ้า นั้นแสนยากเข็ญ แต่แม่เชื่อเสมอว่า เราสองคนแม่ลูกจะต้องผ่าน ทุก ๆ อุปสรรคไปด้วยกัน เติบโตและ เรียนรู้ไปด้วยกัน ด้วยพลังใจอันยิ่งใหญ่ ในหัวใจของคนเป็นแม่ เราทุกคนเวียนว่าย ในกระแสแห่งโชคชะตา ฟ้า ได้ส่งบททดสอบที่ยากนี้ให้กับ แม่ เพื่อจะทดสอบว่า แม่ ควรค่าแก่คำ�ที่ยิ่งใหญ่และมีความหมายนี้หรือไม่ เสียง เล็ก ๆ ประโยคแรกที่แม่ได้ยินและทำ�ให้น้ำ�ตาไหล ลูกเรียกข้าพเจ้าว่า “แม่” นี่คือแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจที่ ยิ่งใหญ่ให้แม่ ก้าวเดินผ่านทุกปัญหาต่อไป และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองเพื่อพร้อมจะมาดูแลลูก อันเป็นที่สุดของ ทุกสิ่งในลมหายใจของ “แม่” One of the greatest loves of all is maternal love. Even my child is an autistic who cannot communicate through speaking but drawing. In his point of view, everything is distorted. He draws by using only his pure imagination, without practicing art skills. Therefore, I observed the beauty in his drawings that different from the other normal children. I use that beauty with my crocheting, covering the lines in his drawings. This is our work that implies the bond between my child and me. Even there are many troubles, I belief that we will solve them together, with this unbreakable bond.

70

ผลงานที่ไดรับรางวัล Award - Winning Entries : สื่อประสม Mixed Media


71


72


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank

73


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายจอมพล พัวทวี “สมบัติ หมายเลข 8” เกรยองและชาร์โคล บนผ้าใบ, 180 x 270 ซม. Mr. Jompol Puatawee “Treasure No.8” Crayon and charcoal on canvas, 180 x 270 cm. วัตถุสงิ่ ของบางอย่างให้ความหมาย และมีคณ ุ ค่าต่อความรูส ้ ก ึ ต่อใครบางคน วัตถุยงั แสดงให้เห็นถึงลักษณะ และ เป็นสัญลักษณ์แทนตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น จากการพิจารณาสภาพชีวิตของคนเร่ร่อน คนไร้ บ้านในเมืองหลวง ทำ�ให้ได้เห็นความเป็นจริงของชีวต ิ ทีผ ่ สานสัมพันธ์เชือ ่ มโยงกับสังคมไทย โดยอาศัยสุนทรียภาพ จากความงามด้านความขัดแย้งที่กลมกลืน สะท้อนผ่านรูปทรงของวัตถุสิ่งของและสมบัติส่วนตัว Some objects are always valuable and meaningful for someone. They also imply identity of their owners. As I observed homeless people in the capital city, I realized the relationship of life and Thai society and expressed it through their private objects.

74

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


75


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ “บึงบัวในตัวคน” ศิลปะจัดวาง (อะลูมิเนียมเส้นดัด, ใบบัว, หลอดไฟ LED), 280 x 280 x 280 ซม. Mr. Narat Klinsudjai “Lotus Swamp Underneath the Man” Installation (aluminum, lotus leaves, LED), 280 x 280 x280 cm. มนุษย์ผุดเกิดกลางบึงบัวใหญ่แห่งสังคมโลกตามที่พระพุทธองค์ทรงแบ่งมนุษย์ไว้ดั่งบัวทั้ง สี่เหล่า ที่จะแยกแบ่ง ได้ด้วยปัญญาสติที่มิเท่ากันหากแต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์เพียรเรียนรู้ กระทำ�ได้ คือการพัฒนาตนเองให้เจริญปัญญา สติ และจิตใจนำ�ตนให้พ้นผิวน้ำ�แห่งความมืดบอดจากความไม่รู้ของชีวิต ให้ได้รับแสงธรรมแห่งปัญญาได้โดย หลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นแสงส่อง ชี้ช่องหนทางรอดให้กับชีวิต หลักธรรมสำ�คัญหนึ่งที่เป็นแก่นแห่ง พุทธคือ การรู้จัก “วางให้ลง ปลงให้ได้” การรู้จักปล่อยวางตัวตนอัตตาอันก่อให้เกิดทุกข์นี้ เป็นปัจจัยในการยก ระดับจิตของเราให้โปร่งบางเบาลงได้ ข้าพเจ้าเชื่อในใจตนเองอยู่เสมอว่าศิลปะและคำ�สอนของพระพุทธศาสนามี สิง่ หนึง่ ทีเ่ หมือนกันคือ “การยกระดับพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้เจริญขึน ้ ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง” ข้าพเจ้าจึงนำ� หลักธรรมเรื่องบัวทั้งสี่เหล่านี้มานำ�เสนอในผลงานศิลปะจัดวาง ที่ตนกำ�ลังยื่นอยู่ท่ามกลางบึงบัวที่มีฉัตรดอกบัว ทั้งสี่ชั้นตั้งอยู่ในตัวของเรา ภาพของระลอกเงาคลื่นของน้ำ�ที่ผุดเกิดเหมือนจิตที่ไม่นิ่งรอบตัวที่เราต้องพยายาม หลุดพ้นผิวน้ำ�ด้วยบัวแห่งปัญญาให้จงได้ The Buddhism saw people as lotus buds at different stages of maturity. Some were at the very bottom of the pond as small immature buds. Some were at the middle of the pond with medium maturity. Others were right at the top of the surface of the water about to bloom with the morning sun. The sun was compared to Dharma in this metaphor. Another essential lesson in Dharma is letting go. Practicing these lessons could be beneficial to human mind. I’ve always believed that art and Dharma lesson share a similarity which is betterment of mind. Thus, I used the lotus lesson in this artwork to imply having consciousness and being mindful, like the lotus at the surface of water.

76

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


77


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายธีรยุทธ ม่วงทอง “เจ้ามะลิ” ภาพพิมพ์แกะไม้, 131 x 121 ซม. Mr. Teerayut Moungtong “The Jasmine” Woodcut, 131 x 121 cm. ข้าพเจ้าสร้างสรรค์ผลงานโดยแสดงออกด้วย เนือ ้ หาทีถ ่ า่ ยทอดเป็นรูปแบบทีส ่ อ ื่ ให้เห็นถึงความรูส ้ ก ึ ของความขัด แย้งของสังคมบริโภคแบบฟุม ่ เฟือย ทีค ่ วามฟุม ่ เฟือยเกินกว่าความจำ�เป็นและการถูกทอดทิง้ ของอีกส่วนหนึง่ โดย ใช้เรื่องราวของสุนัขมาถ่ายทอด เพื่อแสดงออกในเรื่องของความมีคุณค่าของสุนัขลำ�บากที่ถูกทอดทิ้ง ความมี ศักดิ์ศรีบอกผ่านอารมณ์ ความรู้สึกส่วนตัวที่มีต่อสังคมบริโภคที่หรูหราฟุ่มเฟือย ในขณะที่บางส่วนอ่อนแอ ถูก ทอดทิ้ง แต่เป็นการมองโลกในแง่ดี ล้อเลียนสังคมด้วยอารมณ์ขัน I created the work of art to convey the confliction of an extravagant consumerism by using a dog, since there are many stray and abandoned dogs nowadays. While some life has to face the difficulty in surviving, some enjoys a luxurious life.

78

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


79


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายบุญศรี เจริญยิ่ง “ระนาบแสงริมน้ำ�” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 280 x 190 ซม. Mr. Bunsri Charoenying “Light Plane along the River” Acrylic on canvas, 280 x 190 cm. สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติถูกกำ�หนดขึ้นอย่างเป็นระบบกฎเกณฑ์ มีความสมบูรณ์และความเป็นเอกภาพในตัวเอง ธรรมชาติได้สร้างสรรค์ความสมดุล ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของปรากฏการณ์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ของ แสงและเงาในพื้นที่ต่าง ๆ ก่อให้เกิดกลางวัน กลางคืน มีขาว มีดำ� มีมืด มีสว่าง ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นและมี อิทธิพลต่อการรับรู้ และมักสอดคล้องกับความรู้สึกของมนุษย์ ข้าพเจ้าจึงต้องการนำ�เสนอแนวคิดดังกล่าวผ่าน ระนาบของแสงและเงา โดยมุ่งเน้นบรรยากาศ เพื่อนำ�เสนอสาระบางรูปทรงที่ก่อเกิดสุนทรียภาพและความงามอัน เป็นผลมาจากการประสานสัมพันธ์กันอย่างกลมกลืนของระนาบแสงและเงา Nature has provided everything a united and perfect system. Day and night play a vital role in human sense since they are the reason of light and shadow. I want to express the aesthetics of that natural phenomenon in this work of art.

80

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


81


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “กำ�หนดพิจารณา ลงสู่ไตรลักษณ์ หมายเลข1” จิตรกรรมสีน้ำ�มันผสม, 243 x 192 x 27 ซม. Mr. Pradit Tungprasartwong “Meditate No.1“ Mixed techniques (oil color), 243 x 192 x 27 cm. การกำ�หนดพิจารณาด้วยปัญญาลงสูไ่ ตรลักษณ์ เห็นคนแก่พจ ิ ารณาในความแก่ในรูปสังขาร ว่าไม่มใี คร ๆ ในโลก จะต้านทานไว้ได้ ความแก่นี้ไม่อยู่ในอำ�นาจใครทั้งสิ้น ความแก่ในนี้จะไปตามสายทางของความแก่อยู่ตลอดไป ไป ตามหน้าที่ตามกฎธรรมชาติ เมื่อรูปกายแก่มากลงไปเท่าใด ทุกขังอนิจจังก็เด่นขึ้นมา อย่างมองเห็นได้ชัด นี้ก็ เพราะความไม่เที่ยงของร่างกาย เป็นสัจธรรม เป็นความจริง “Meditate No.1“ conveys the impermanence of life and body. The old lady in the image is a symbol of this truth. Being old can be controlled by only nature.

82

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


83


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายรวีพล ประดิษฐ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 6” เทคนิคผสม, 250 x 280 ซม. Mr. Raweepon Pradit “ Color in Pattern No.6 “ Mixed techniques, 250 x 280 cm ข้าพเจ้ามีความประทับใจในประกายสีสันต่าง ๆ ที่อยู่ในลวดลายที่นำ�มาประกอบตกแต่ง ตัวลำ�เรือพระภาคใต้ เกิดเป็นความวิจิตรงดงามตระการตาแสดงถึงคุณค่างานช่างพื้นถิ่น ที่มีสุนทรียภาพและความละเมียดละไม ใน การประกอบแปะติดตกแต่งในตัวงานศิลปกรรมนั้น ๆ ข้าพเจ้าแสดงออกในรูปทรงลวดลายสีสันที่ประทับใจจาก ความรู้สึกส่วนตัว I am impressed in color shades found in decorative pattern of Southern traditional boat. The beauty of the boat also portrays the precious craft skills of local art and crafts.

84

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


85


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายวัชรินทร์ รังกระโทก “พื้นที่แห่งความฝัน” ไฟเบอร์กลาส, 92 x 240 x 167 ซม. Mr. Vatcharin Rangkratok “ Land of Dream “ Fiberglass, 92 x 240 x 167 cm. ข้าพเจ้าได้กำ�หนดโครงการสร้างให้มีลักษณะของความขัดแย้งและใช้รูปทรงอินทรีย์ที่มีมาจากมนุษย์ โดยรูปทรง มีลักษณะการดึง การรั้ง การต้าน ประกอบให้เป็นรูปทรงที่ไม่คำ�นึงถึงความเหมือนจริงเป็นรูปทรงนามธรรมที่ กลมกลืนด้วยเส้นปริมาตร มวล และพื้นที่ว่าง เพื่อสื่อถึงความตึงเครียด ความสับสนและความขัดแย้งในตนเอง อันเกิดจากความคิดของมนุษย์ I designed the structure that portrays confliction by using organic form of human. The form featured look of dragging, resistance and restraint in order to represents tension, confusion and contradiction in human mind.

86

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


87


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นางสาวสุกัญญา สอนบุญ “รูปทรงลูกชิด (ฉัน) ที่บิดเบี้ยว” ประกอบไม้, 280 x 280 x 195 ซม. Miss Sukanya Sornbun “Form of my Distorted” Wood assembling, 280 x 280 x 195 cm. ข้าพเจ้าเพียงต้องการนำ�เอาเทคนิคในงานช่างไม้ ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนจากบิดาโดยเลือกใช้วิธีประกอบไม้ด้วย เดือยกลม ถ่ายทอดจากมุมมองเด็กไร้เดียงสา สู่ความเป็นธรรมชาติของอารมณ์หญิงสาว ที่ต้องการแสดงให้ เห็นถึงจิตภายใน ที่มีทั้งความแข็งแรงเข้มแข็งและมั่นคง แต่แอบแฝงไว้ด้วยความนุ่มนวล และความหรรษาอย่าง สนุกสนาน ที่มีทั้งความโค้ง บิดเบี้ยว เคลื่อนไหว ตามแบบฉบับงานไม้ของผู้หญิงและนำ�มาติดตั้งจัดวางใหม่ ให้ เป็นศิลปะร่วมสมัยตามทัศนคติของข้าพเจ้า I want to show the techniques of woodcraft that I experienced and learned from my father by wood assembling and my imagination. I express my work in an unpredictable dimension, similarly to distort childish painting, in order to change the character of wood to something soft, bendable, gentle, and moving and install it in the form of Thai contemporary art.

88

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


89


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 nd 2 Prize, Special Awards by Krungthai Bank นางสาวอิสรีย์ บารมี “เปี่ยมสุข” ไฟเบอร์กลาส, 70 x 65 x198 ซม. Miss Isaree Baramee “Full of Happiness” Fiberglass, 70 x 65 x 198 cm. วิถแ ี ห่งสังคมปัจจุบน ั มีสงิ่ เร้าทีท ่ �ำ ให้มนุษย์ตอ ่ สูด ้ น ิ้ รน เพือ ่ ไขว่คว้าโลกทางวัตถุ จนหลงลืมวิถแ ี ห่งธรรมชาติทแ ี่ ท้ จริงของชีวิต นั่นคือ ธรรมชาติที่อยู่ภายในจิตใจที่สงบ ที่เป็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตมนุษย์ The current way of life stimulate human to obsess and possess objects. Consequently, they forget the real nature of life, which is the nature in their peaceful heart, the absolute value of life.

90

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


91


รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 2nd Prize, Special Awards by Krungthai Bank นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง “ยุ้งข้าว หมายเลข 1” ภาพพิมพ์แกะไม้, 214 x 265 ซม. Mr. Teppong Hongsrimuang “ The Barn No.1 “ Woodcut, 214 x 265 cm. ความผู กพั น กั บ วิ ถีชี วิ ต ชนบทความสงบสุ ข ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการดำ � รงชี วิ ต อั น เรี ย บง่ า ยของชุ มชน และสะท้ อ น บรรยากาศความงามของทัศนียภาพ และสถาปัตยกรรมในวิถีชนบทที่ข้าพเจ้าผูกพัน ผ่านการแสดงออกด้วยวิธี การทางภาพพิมพ์แกะไม้ I am impressed by simple and peaceful way of life in my community. Thus, I want to portray the scenery and architecture that I related to, through this woodcut.

92

รางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย Special Awards by Krungthai Bank


93


94


 ผลงานที่ไดรับคัดเลือกเขารวมแสดง Selected Entries for Exhibition

95


จิตรกรรม - Painting

96

นายจิรโรจน์ ศรียะพันธุ์ “บรรยากาศและสีสันของลวดลาย หมายเลข 2” สีอะครีลิคบนผ้าใบ, 151 x 181 ซม.

นายชุมพล พรหมจรรย์ “ทวารบาล หมายเลข 1” สีอะครีลิค, 180 x 250 ซม.

นายณัฐกิตติ์ แก้วกิตติ “พันธะสังคมเมือง หมายเลข 4” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 191 x 249 ซม.

นายณัฐกิตติ์ แก้วกิตติ “พันธะสังคมเมือง หมายเลข 2” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 180 x 280 ซม.

Mr. Jirarot Sriyaphan “Atmosphere of Color and Pattern No.2” Acrylic on canvas, 151 x 181 cm.

Mr. Chumpon Promjan “Porter No.1” Acrylic, 180 x 250 cm.

Mr. Nattakit Kaewkitti “Obligatory Urban City No.4” Oil on canvas, 191 x 249 cm.

Mr. Nattakit Kaewkitti “Obligatory Urban City No.2” Oil on canvas, 180 x 280 cm.


จิตรกรรม - Painting

นายตนุพล เอนอ่อน “บ้านและการบันทึก (เดือนเมษายน)” ชาร์โคล, เกรยอง, สีอะครีลิคบนกระดาษ, 270 x 275 ซม. Mr. Tanupon En-on “Home and Memorandum (April)” Charcoal, crayon and acrylic on paper, 270 x 275 cm. นายธรา ภานุศิริ “โลก หมายเลข 1” ปากกาดำ�บนกระดาษ, 131 x 131 ซม. Mr. Thara Panusiri “Earth No.1” Pen on paper, 131 x 131 cm.

นางสาวกนกพรรณ ธราสุวรรณ “บทสนทนาผ่านเปลือก” จิตรกรรมผสม, 188 x 243 ซม. Miss Kanokpan Tharasuwan “The Conversation Through Appearance” Mixed techniques, 188 x 243 cm. 97


จิตรกรรม - Painting

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ “ความจริง หมายเลข 2” จิตรกรรมสีน้ำ�มันผสม, 243 x 192 x 27 ซม. Mr. Pradit Tungprasartwong “Meditate No.2” Mixed techniques, Oil color, 243 x 192 x 27 cm.

98

นางสาวครองปีย์คเณศ สิริบารมีธรรม “ภาพลักษณ์มนุษย์กับสภาวะธรรมชาติของจิต ในผลงานจิตรกรรม หมายเลข 2” วาดเส้น, 280 x 130 ซม. Miss Krongpeekanet Siribarameetum “Portrait with the Nature State of Mind Paintings No. 2” Drawing, 280 x 130 cm.

ว่าที่ ร.ต. กิรติ บุญไกร “บาดแผลภายในใจ” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 267 x 202 ซม. Acting Sub,Lt. Kirati Boonkrai “Wound of the Mind” Oil on canvas, 267 x 202 cm.


จิตรกรรม - Painting

นายสรศักดิ์ รักเพ็ชร์ “นิ่งสงบ ระหว่างกาลเวลา หมายเลข 2” ปากกาหมึกดำ�บนผ้าใบ, 170 x 250 ซม.

นายณัฐิวุฒิ พวงพี “มองผ่าน” สีน้ำ�มันบนผ้าใบ, 174 x 264 ซม.

นายฝนธรรม บัวภุชพงศ์ “บรรยากาศแห่งวิถีชีวิตชาวใต้ หมายเลข 6” สีน้ำ�มัน, 155 x 206 ซม.

นายมาตรา บูรณสิน “ขอพระเจ้าสดับ คำ�ร้องวิงวอนของข้า” สีอะครีลิคและกาแฟ, 199 x 280 ซม.

Mr. Sorasak Ruckpet “During Calm Times No. 2” Pen on canvas, 170 x 250 cm.

Mr. Natthiwut Phuangphi “See Through” Oil on canvas, 174 x 264 cm.

Mr. Fontham Buaphuchphong “The Atmosphere of Thai’s Southern Life No.6” Oil color, 155 x 206 cm.

Mr. Martra Buranasin “O’ Lord, Hear My Voice. When l Call to You” Acrylic and coffee, 199 x 280 cm.

99


จิตรกรรม - Painting

100

นางสาวยามีล๊ะ หะยี “โลกของสตรีมุสลิม” เย็บปัก, 210 x 280 ซม.

นายยุทธนา นิ่มเกตุ “ความทรงจำ�ในสายน้ำ� หมายเลข 2” ดินสอสี, สีอะครีลิค, 191 x 153 ซม.

นายสมศักดิ์ ลีเดร์ “สัญลักษณ์แห่งศรัทธา หมายเลข 1” เทคนิคผสม, 206 x 176.5 ซม.

นางสาวนูรียา วาจิ “เหตุการณ์นั้น.. ฉันรู้สึก” สีบาติก, วาดเส้นบนผ้า, 196 x 183 ซม.

Miss Yamilah Hayee “The World of Muslim Women” Sewing, 210 x 280 cm.

Mr. Yutthana Nimgate “Memory of Water No.2” Color pencil and acrylic, 191 x 153 cm.

Mr. Somsak Leeday “Symbol of Fate No.1” Mixed techniques , 206 x 176.5 cm.

Miss Nuriya Waji “I Can Feel That” Batik, drawing on fabric, 196 x 183 cm.


จิตรกรรม - Painting

นายรวีพล ประดิษฐ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 7” เทคนิคผสม, 200 x 280 ซม. Mr. Raweepon Pradit “Color Sparkle in Pattern No.7” Mixed techniques, 200 x 280 cm. นายวนัด อ่างสุวรรณ “สาระร่องรอยแห่งความสุข-ทุกข์ของแม่” จิตรกรรม, 180 x 227 ซม. Mr. Wanad Angsuwan “The Trace of Mother’s Happiness and Sadness” Painting, 180 x 227 cm. นายสกล มาลี “ฮีต 12” สีอะครีลิคบนพื้นดินสอพอง ทองคำ�เปลว, 194 x 261 ซม. Mr. Sakon Malee “ Heet 12” Acrylic on white clay, gold leave, 194 x 261 cm. 101


จิตรกรรม - Painting

102

นายสิทธิศักดิ์ ทองดีนอก “สภาวะ วัตถุ ชีวิต หมายเลข 2” จิตรกรรมผสม, 240 x 200 ซม.

นายสุทธิรักษ์ ประสิทธิ์ศาสตร์ “จิตวิตก” เกรยองบนผ้าใบ, 240 x 130 ซม.

นายเนติกร ชินโย “The Truth No.8” เกรยองบนกระดาษ, 245 x 135 ซม.

Mr. Sittisak Tongdeenok “State, Object and Life No.2” Mixed techniques, 240 x 200 cm.

Mr. Sutthirak Prasitsart “Condition of Fear” Crayon on canvas, 240 x 130 cm.

Mr. Netikorn Chinyo “The Truth No.8” Crayon on paper, 245 x 135 cm.


จิตรกรรม - Painting

นายวิมล เขียวมาก “ภาพจับ 2015” วาดเส้นอะครีลิค, 170 x 175 ซม. Mr. Wimon Keawmark “Fighting 2015” Drawing, Acrylic, 170 x 175 cm.

นางสาวสุจิตรา พาหุการณ์ “อารมณ์ ความเคลื่อนไหว ความสงบสุขของอาชีพประมง” ลายรดน้ำ�, 180 x 250 ซม. Miss Sujittra Pahukan “Emotions, Movement and Peacefulness of Fisherman” Gold applique, 180 x 250 cm.

สิริทัต เตชะพะโลกุล “ศิลปวัฒนธรรมไทย” ดินสอ, สีพาสเทล, 141 x 202 ซม. Siritat Techaphalokul “Thai Art and Culture” Pencil, Pastel 141 x 202 cm.

103


จิตรกรรม - Painting

104

นายสุพร แก้วดา “ตามรู้ ตามดู หมายเลข 1” ดินสอไขบนผ้าใบ, 180 x 275.5 ซม.

นายสุพร แก้วดา “ตามรู้ ตามดู หมายเลข 2” ดินสอไขบนผ้าใบ, 168 x 272 ซม.

นางสาวสุภาภรณ์ จุลกะ “ดอกไม้ของแม่ หมายเลข 17” สีอะครีลิค, 145 x 195 ซม.

นายสุวรรณ ละม่อม “ภาพจับ” สีอะครีลิค, ทองคำ�เปลวบนผ้าใบ, 171 x 272 ซม.

Mr. Suporn Kaewda “Meditating and Following No.1” Wax pencil on canvas, 180 x 275.5 cm.

Mr. Suporn Kaewda “Meditating and Following No.2” Wax pencil on canvas, 168 x 272 cm.

Miss Supaporn Chulaka “Mom’s Flower No.17” Acrylic , 145 x 195 cm.

Mr. Suwan Lamom “Fighting” Acrylic, gold leave on canvas, 171 x 272 cm.


จิตรกรรม - Painting

นายไกรพล กิตติสิโรตม์ “ภาพเหมือนบุคคล หมายเลข 2” สีอะครีลิค และ การตัดเย็บ, 275 x 150 ซม. Mr. Kripol Kittirot “Portrait No.2” Acrylic and sewing, 275 x 150 cm.

นายเดโช โกมาลา “โหนด นา เล” เทคนิคผสม, 280 x 280 ซม. Mr. Dacho Komala “Node Na Lae (Southern Way of Life)” Mixed techniques, 280 x 280 cm. นายเกษมสันต์ ยอดสง่า “ภาพประกอบของเมืองหลวง” แผ่นซีดี,สีเคลือบเงาพิเศษและอีพ๊อกซี่บนไม้, 140 x 210 ซม. Mr. Kasemsun Yodsanga “Painting of Capital” CD-Rom, Synthetic glass enamel and epoxy on wood, 140 x 210 cm.

105


จิตรกรรม - Painting

106

นายสุวรรณ ชุมพล “เบื้องหน้า หมายเลข 2” สีอะคริลิค, 250 x 180 ซม.

นายสุวรรณ ชุมพล “เบื้องหน้า หมายเลข 1” สีอะครีลิค, 250 x 180 ซม.

นายอิมรอน ยูนุ “ร่องรอยชีวิต” เทคนิคผสม, 198 x 117 ซม.

Mr. Suwan Chumphone “Me – Mine No.2” Acrylic, 250 x 180 cm.

Mr. Suwan Chumphon “Me – Mine No. 1” Acrylic, 250 x 180 cm.

Mr. Aimron Yunu “Traces of Life” Mixed techniques, 198 x 117 cm.


จิตรกรรม - Painting

ว่าที่ร.ต.อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี “ไตรลักษณ์ หมายเลข 1” เทคนิคผสม, 150 x 223 ซม.

นายสุเมธ จันทร์ฤาชาชัย “พลังงานนิวเคลียร์ สร้างโรค หมายเลข 2” เทคนิคผสม, 188 x 265 ซม.

นายเจนธรรม วัฒนศิลป์ “สุนทรียภาพแห่งซากอุตสาหกรรม หมายเลข 2” สีอะครีลิคและสีโป้ว บนผ้าใบ, 170 x 280 ซม.

Acting Sub,Lt. Anurot Chanphosri “Three Characteristcs of Existence No.1” Mixed techniques, 150 x 223 cm.

Mr. Sumet Chanruechachai “Power of Nuclear and Illness No.2” Mixed techniques, 188 x 265 cm.

Mr. Janethum Wattanasin “Aesthetics of the Industrial No.2” Acrylic and putty on canvas, 170 x 280 cm. 107


ประติมากรรม - Sculpture

108

นายกิตติพงษ์ ประจันตะเสน “ชีวิตใหม่” แกะไม้, ประกอบไม้, 160 x 120 x 120 ซม.

นายจักรพรรดิ์ ภูแช่มโชติ “พัก” เหล็ก, ไฟเบอร์กลาส, 80 x 120 x 162 ซม.

นายปูรณ์ ครบุรี “สภาวะของห้วงอารมณ์ความรู้สึก” ปั้นหล่อปูนซีเมนต์, เชื่อมเหล็ก 60 x 14 x 90 ซม.

นายพลวัฒน์ แกล้ววิกิจ “กลึงกลม หมายเลข 1” ประกอบไม้, เหล็ก 147 x 190 ซม.

Mr. Kittipong Prajuntasen “New Life” Wood carving and assembling 160 x 120 x 120 cm.

Mr. Chakkaphat Phuchaemchot “Take a Rest” Metal and fiberglass 80 x 120 x 162 cm.

Mr. Poon Kornburee “Moment of Emotion” Cement molding and welding 60 x 14 x 90 cm.

Mr. Phonlawat Klaewvikit “Turning Round No. 1” Wood assembling and metal 147 x 190 cm.


ประติมากรรม - Sculpture

นายมงคล ฉัตรพัชรภิญโญ “จังหวะการเคลื่อนไหวแห่งความขัดแย้ง” ปั้นหล่อไฟเบอร์กลาส, ประกอบไม้, เชื่อมโลหะ 100 x 190 x 220 ซม.

นายวรวุฒิ ขันติยาวิยะกุล “เฝ้าฝัน” ดินเผารมควัน อุณหภูมิที่เผา 100°C 30 x 50 x 120 ซม.

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ “ประคบ-ประหงม” สแตนเลส, ไททาเนียม 251 x 190 x 171 ซม.

นายเทอดทูน คำ�มงคุณ “กิเลสกินใจ” ประกอบไม้แปรรูปกับรากไม้ 220 x 133 x 122 ซม.

Mr. Mongkhon Chatpatcharapinyo “The Rhythm of Confliction” Fiberglass, wood assembling and welding 100 x 190 x 220 cm.

Mr. Worawut Kantiyawiyakul “Dreamer” Smoked terracotta (100 °C) 30 x 50 x 120 cm.

Mr. Ariya Kitticharoenwiwat “Cherish” Stainless steel and titanium 251 x 190 x 171 cm.

Mr. Therdtoon Khummongkhun “The Deepest Sin” Wood assembling and root 220 x 133 x 122 cm. 109


ภาพพิมพ์ - Printmaking

นางสาวพัดชา แก้วทองตาล “Before the Rain No.4” แม่พิมพ์โลหะ, 110 x 210 ซม. Miss Patcha Kaewtongtal “Before the Rain No.4” Etching, 110 x 210 cm. นายชัชวาลย์ วรรณโพธิ์ “ความประทับใจจากศรีสัชนาลัย หมายเลข 1” Collograph ภาพพิมพ์แกะไม้และstamping, 127 x 202 ซม. Mr. Chutchawan Wannapo “Impression from Sri Satchanalai No.1” Collograph, woodcut, stamping, 127 x 202 cm. นายประวีณ เปียงชมภู “พื้นสภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 1” แม่พิมพ์แกะไม้, 72 x 120 ซม. Mr. Praween Paingchompoo “Sanctuary Inside the Soul No.1” Woodcut, 72 x 120 cm.

110


ภาพพิมพ์ - Printmaking

นายชยันต์ พลอาสา “The Little Hunter” แม่พิมพ์หิน, 168.5 x 126 ซม.

นายไชยยา วรรณเลิศ “ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 3” แม่พิมพ์แกะไม้ , 149 x 269 ซม.

นายสุรพงษ์ สมสุข “Life 2015 No. 3” แม่พิมพ์โลหะ, 125 x 105 ซม.

นายพิชญุตม์ สิรสุนทร “ตัวตน จิตไร้สำ�นึก หมายเลข 10” Photopolymer Intaglio, 114.5 x 95.5 ซม.

Mr. Chayan Pol-asa “The Little Hunter” Lithograph, 168.5 x 126 cm.

Mr. Chaiya Wannalert “Traces, Ways, Ricefields No.3” Woodcut, 149 x 269 cm.

Mr. Surapong Somsuk “Life 2015 No.3” Etching, 125 x 105 cm.

Mr. Pichayut Sirasoontorn “Unconscious Mind Figure No.10” Photopolymer Intaglio, 114.5 x 95.5 cm.

111


ภาพพิมพ์ - Printmaking

นายญาณวิทย์ กุญแจทอง “ต้นน้ำ�จากป่า” แม่พิมพ์สีธรรมชาติจากครามและน้ำ�ผึ้ง, 100 x 140 ซม. Mr. Yanawit Kunchaethong “Water from the Forest” Organic print from indigo and honey, 100 x 140 cm. นางสาวธนธร สรรพกิจจำ�นง “จดหมายรัก” พิมพ์ดีด, 200 x 200 ซม. Miss Thanathorn Suppakijjumnong “The Love Letters” Typing, 200 x 200 cm. นายยุทธ พฤฒาสัจธรรม “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 5” ภาพพิมพ์แกะไม้และchine colle, 220 x 220 ซม. Mr. Yutt Puektasajatam “Trails and Wounds No.5” Woodcut chine colle , 220 x 220 cm.

112


ภาพพิมพ์ - Printmaking

นายสุรศักดิ์ สอนเสนา “ทางนกขมิ้น” ภาพพิมพ์แกะไม้, 100 x 249 ซม. Mr. Surasak Sornsena “Oriole Way” Woodcut, 100 x 249 cm. นายอมร ทองพยงค์ “สถาน กาล” เมซโซทินท์, 104 x 131 ซม. Mr. Amorn Thongpayong “Place in Period Time” Mezzotint, 104 x 131 cm. นายไชยยา วรรณเลิศ “ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 3” แม่พิมพ์แกะไม้ , 149 x 269 ซม. Mr. Chaiya Wannalert “Traces, Ways, Ricefields No.3” Woodcut, 149 x 269 cm. นางสาวอรสา ชาลีจังหาญ “ร่องรอย:สภาวะแห่งทุกข์ หมายเลข 1” Transfer บนผ้าผสมกับวิธีการเย็บปักทอ, 168.2 x 260 ซม. Miss Orasa Chaleejanghan “Traces : States of Sorrow No. 1” Transfer on fabric and sewing, 168.2 x 260 cm.

113


สื่อประสม - Mixed Media

นายวรัญญู ช่างประดิษฐ์ “สุนทรียมณฑล” จิตรกรรมผสมบนเปเปอร์มาเช่, ศิลปะจัดวาง 280 x 280 ซม. (แปรผันตามพื้นที่) Mr.Waranyou Changpradit “Aesthetic Mandala” Mixed techniques on paper mache,installation 280 x 280 cm. (dimension variable)

นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ “แสงธรรมนำ�จิตใจ” อลูมิเนียมตัดเป็นเส้นและดัดเพื่อให้ได้รูปร่าง, หลอดไฟ LED 280 x 280 x 280 ซม. Mr. Narat Klinsudjai “Enlightenment” Installation, cut and bend aluminium and LED 280 x 280 x 280 cm.

114


สื่อประสม - Mixed Media

นางสาววันวิสาข์ ภูวงศ์ “ห้วงความทรงจำ�สีดำ�” ถักโครเชต์, ยาง, เชือก และเศษผ้า 260 x 270 x 250 ซม. Miss Wanwisa Puwong “Remembrance of the Dark” Crochet knitting, rubber, rope and fabric 260 x 270 x 250 cm.

นายนวัต เลิศแสวงกิจ “วัตถุบันทึกหมายเลข 3 : ปัญหา 98 ประการ” สื่อประสม, 250 x 280 ซม. Mr. Nawat Lertsawaengkit “Memento No.3 : 98 Problems” Mixed media, 250 x 280 cm.

115


116


 ประวัติศิลปิน Artists’ Profiles

117


ชื่อ เกิด การศึกษา ปัจจุบัน

เมตตา สุวรรณศร 10 กันยายน 2514 , กรุงเทพฯ - ศิลปบัณฑิต ภาพพิมพ์ ( เกียรตินิยมอันดับ 2 ) คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต ภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ประจำ� สาขาวิชาภาพพิมพ์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

เกียรติประวัติ 2539 2540 2541 2545 2547 2553 2554 2555 2553-2558 2557 2557 2557 2557 2557 2557 2557 2557

-

ได้รับพระราชทานทุนภูมิพล ( ประเภทเรียนดี ) รางวัลชนะเลิศ ศิลปกรรมโตชิบา “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ครั้งที่ 9 รางวัลชนะเลิศ ศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย รางวัลชนะเลิศ ศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย HONORABLE MENTION AWARD , 10th ASIAN ART BIENNALE BANGLADESH ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมแสดงศิลปะนานาชาติ ณ. ประเทศญี่ปุ่นTHE 10th ANNIVERSARY OF POST- EARTHQUAK RESTORATION HYOGO INTERNATIONAL COMPETITION OF PAINTING จาก 81 ประเทศทั่วโลก - ศิลปินรับเชิญ รายการสอนศิลป์ ทางสถานี itv เรื่องการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสมจาก ฟอยล์ ร่วมกับงานบีบสี ครั้งที่1 - ศิลปินรับเชิญ รายการสอนศิลป์ ทางสถานี itv เรื่องการสร้างสรรค์ผลงานสื่อผสมจากภาพพิมพ์ แกะไม้ร่วมกับการใชฟอยล์และเพ้นสีน้ำ�มัน ครั้งที่2 - รับคัดเลือกให้เขียนฉากบังเพลิงที่ติดไว้กับพระ เมรุ”สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์”ในงานพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ 21 มีนาคม 2555 - รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ - เขียนบทความในหนังสือ Art Thesis 14th Pon-Chang Academy of Art ในหัวข้อ หรือจะเป็นเพียงกระแสเสียงหนึง่ ..ทีเ่ หยียบย่าง ลงบนเส้นทางศิลปะ นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง - รางวัลศิลป์ พีระศรี ทุนสร้างสรรค์ศล ิ ปกรรมศิลป์พรี ะศรี โครงการเชิดชูเกียรติศล ิ ปินยอดเยีย ่ มแห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ 14 ประจำ�ปี 2557 - รางวัลเหรียญเงิน ประเภทสือ ่ ผสม ( Mixed Media) จากการประกวด ศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 60 - รับเชิญเป็นศิลปินออกรายการ What’s up spring ทางช่อง Spring New ในหัว ข้อ การใช้งาน ศิลปะในการบำ�บัดเด็กออทิสติก และการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ ของเมตตา สุวรรณศร วันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ออกอากาศสดเวลา10.30น - สัมภาษณ์ในรายการข่าวบันเทิง ช่วงข่าวบันเทิง ทางสถานีโทรทัศน์ Thai Pbs เนือ ่ งในงานแถลงข่าว ศิลปินผูร้ บ ั รางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 60 ในหัวข้อ “การติดตัง้ งานศิลปะจัดวาง และปัญหาใน การเคลื่อนย้ายติดตั้ง”ออกอากาศวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.30 น - รับเชิญสัมภาษณ์ในรายการข่าวบันเทิง ทางสถานีโทรทัศน์ Thai Pbs ในหัวข้อ การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะสื่อผสมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลายเส้นเด็กออทิส ติก ผสานกับงานหัตถกรรม ถักโครเชต์ ถ่ายทอดวันเสาร์ที่13 กันยายน 2557 เวลา 12.30 น - รับเชิญสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในโครงการ”cubic museum” project was planned as an international exchange exhibition between silpakorn university and aichi university of fine art (Two institutes has concluded the exchange agreement in 2011) “cubic museum” exhibition in Bangkok, December,2014 and also in Aichi in 2015 - รับเชิญเป็นกรรมการตัดสิน การประกวดออกแบบหน้าเค็กของบริษัท S&P ในหัวข้อ “ดอกไม้” ประจำ�ปี2557 ณ. บริษัท S&P ( 29 ตุลาคม 2557 )

ประวัติการแสดงงาน 2532 2535 2536 2537 2538 2539 2540

118

-

การแสดงผลงานนักศึกษา วิทยาลัยช่างศิลป สาธิตการเขียนภาพคนเหมือน ในการแสดงงานศิลปหัตถกรรมของกรมอาชีวศึกษา การแสดงผลงานนักศึกษาคณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงงานศิลปะทิวทัศน์ คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่10 การแสดงงานศิลปะทิวทัศน์ คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 2 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 11 การแสดงผลงานศิลปะของนักศึกษาคณะจิตรกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงผลงานจิตรกรรมทิวทัศน์ ณ. ประเทศเดนมาร์ก การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของการปิโตเรียมแห่งประเทศไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 40 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย การแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย ศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 12 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 41 การแสดงนิทรรศการศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” โตชิบา ครั้งที่ 7 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย การแสดงศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 10 หัวข้อ “ป่าเขาลำ�เนาไพร” การแสดงผลงานนักศึกษาคณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงผลงานศิลปะนิพนธ์ของนักศึกษาปีสุดท้าย คณะจิตรกรรม ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 42 การแสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรม “ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” โตชิบา ครั้งที่ 8 การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย การแสดงผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์วิทยาลัยช่างศิลป การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปีของคณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัย ศิลปากร - การแสดงศิลปกรรม “ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของบริษัทโตชิบา ครั้งที่ 9 - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย

- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 43 2541 - การแสดงศิลปกรรม “ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต “ ของบริษัทโตชิบา ครั้งที่ 10 - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของธนาคารกสิกรไทย - การแสดงผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์วิทยาลัยช่างศิลป ครั้งที่ 5 2542 - การแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ ของ อาจารย์วิทยาลัยช่างศิลป 2543 - การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน กลุ่มเหลี่ยม 2544 - การแสดงศิลปกรรมภาพเหมือนศิลปิน ของมหาวิทยาลัยศิลปากร 2545 - การแสดงศิลปกรรมของศิลปินอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ. ประเทศบังคลาเทศ 10th ASIAN ART BIENNALE BANGLADESH 2001 - การแสดงศิลปกรรมคณาจารย์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ณ. สีลมแกลลอเลีย 2546 - การแสดงนิทรรศการศิลปกรรมของกลุ่ม 5 ศิลปิน ณ. สีลมแกลลอเลีย 2547 - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีหลังเกิดแผ่นดินไหว - “การประกวดศิลปะนานาชาติ THE 10th ANNIVERSARY OF POST- EARTHQUAK RESTORATION HYOGO INTERNATIONAL COMPETITION OF PAINTING ณ. ประเทศญี่ปุ่น 2549 - การแสดงนิทรรศการศิลปกรรม กลุม ่ 3 ศิลปินหญิง กลุม ่ In My Mind ณ.พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถ. เจ้าฟ้า พระนคร กรุงเทพฯ 11-29 มกราคม 2549 2550 - แสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย black and white หอศิลป ซีคอนสแคว์ 2550 - แสดงผลงานศิลปกรรม ณ ประเทศญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยโทยาม่า 2551 - การแสดงนิทรรศการศิลปกรรม กลุ่ม 3 ศิลปินหญิง กลุ่ม In My Mind ณ.พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ หอศิลป์ ถ. เจ้าฟ้า พระนคร กรุงเทพฯ 2552 - แสดงผลงานนิทรรศการศิลปกรรม ในหัวข้อ ดอกไม้ให้คุณ ณ สยามพารากอน 2553 - รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ 2553 - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์วิทยาลัยเพาะช่าง ดินเปื้อนหมึก 2554 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมคณาจารย์วิทยาลัยช่างฺ สถาบันบัณทิตพัฒนศิลป ซีคอนสแควร์ 2554 - รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ 2555 - ร่วมแสดงงาน สีน้ำ�ของมูลนิธิแสงสว่าง ณ. สยามพารากอน 2555 - รับเชิญเป็นวิทยากร ให้กับมหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง ในหัวข้อ บรรยายงานศิลปะ ร่วมสมัยในประเทศไทย 2555 - ร่วมแสดงงานศิลปกรรมเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยวิทยา ลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป 2555 - รับคัดเลือกให้เขียนฉากบังเพลิงที่ติดไว้กับพระ เมรุ”สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน์” ในงานพระราชพิธี พระราชทานเพลิงพระศพ 21 มีนาคม 2555 2556 - ร่วมแสดงผลงานมิตรสัมพันธ์ไทย-ลาว 2556 - รับเชิญแสดงผลงานสื่อผสมโครงการณ์ดินเปื้อนหมึก 2556 - ร่วมแสดงงานภาพพิมพ์ชิ้นเล็ก สาขาภาพพิมพ์คณะจิตรกรรมฯ มหาลิทยาลัย ศิลปากร 2557 - ร่วมโครงการณ์ศก ึ ษาประวัตศ ิ าสตร์โบราณสถานและสภาพแวดล้อม เพือ ่ การสร้างสรรค์ศล ิ ปะภาพพิมพ์ ณ ประเทศกัมพูชา 2557 - ได้รับคัดเลือกเข้ารับทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรมศิลป์พีระศรี รางวัลศิลป์ พีระศรี โครงการเชิดชูเกียรติ ศิลปินยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 14 ประจำ�ปี 2557 ในโครงการ ความคิดคำ�นึงถึงห้วงเวลา ที่ผ่านเลยในจิตใจฉัน : Nostagia of mind 2557 - เขียนบทความในหนังสือ Art Thesis 14th Pon-Chang Academy of Art ในหัวข้อ หรือจะเป็นเพียงกระแสเสียงหนึง่ ..ทีเ่ หยียบย่าง ลงบนเส้นทางศิลปะ นิทรรศการศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง 2557 - ร่วมแสดงงาน ประเภทสื่อผสม ( Mixed Media) ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 2557 - รับเชิญเป็นศิลปินออกรายการ What’s up spring ทางช่อง Spring New ในหัวข้อ การใช้งาน ศิลปะในการบำ�บัดเด็กออทิสติก และการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะของเมตตา สุวรรณศร วันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ออกอากาศสดเวลา10.30น 2557 - สัมภาษณ์ในรายการข่าวบันเทิง ช่วงข่าวบันเทิง ทางสถานีโทรทัศน์ Thai Pbs เนื่องในงานแถลง ข่าวศิลปินผู้รับรางวัลศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 ในหัวข้อ “การติดตั้งงานศิลปะจัดวาง และ ปัญหาในการเคลื่อนย้ายติดตั้ง”ออกอากาศวันที่ 25 กรกฎาคม 2557 เวลา 15.30 น 2557 - รับเชิญสัมภาษณ์ในรายการข่าวบันเทิง ทางสถานีโทรทัศน์ Thai Pbs ในหัวข้อ การสร้างสรรค์ผล งานศิลปะสื่อผสมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากลายเส้นเด็ก ออทิสติก ผสานกับงานหัตถกรรม ถัก โครเชต์ ถ่ายทอดวันเสาร์ที่13 กันยายน 2557 เวลา 12.30 น 2557 - รับเชิญสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในโครงการ”cubic museum” project was planned as an international exchange exhibition between silpakorn university and aichi university of fine art (Two institutes has concluded the exchange agreement in 2011) “cubic museum” exhibition in Bangkok, December,2014 and also in Aichi in 2015 2557 - ศิลปินรับเชิญ ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมนักศึกษา สาขาวิชาภาพพิมพ์ และสาขา วิชา ประติมากรรม มหาวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่างโครงการ ดิน เปื้อนหมึก 2555-2558 - รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลรัตนโกสินทร์ 2558 - รับเชิญสร้างสรรค์ผลงานการแสดงงาน 10 interna tional 2015 ศิลปะกรรมนานาชาติ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ - เขียนบทความในหนัง สือ Art Thesis 15th Major of Painting Sculture and Graphic Arts Pon-Chang Academy of Art Rajamangala University of Technology Rattanakosin ในหัวข้อ Installation Art: ศิลปะจัดวาง นิทรรศการ ศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง - แสดงงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลอง พระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 สถายันบันฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยช่างศิลป์


ชื่อ กมลพันธุ์ โชติวิชัย เกิด 1986,กรุงเทพฯ ที่อยู่ 15 ถนนรามคำ�แหง เขตมีนบุรี แขวงมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 การติดต่อ contact@kamolpan.com , www.kamolpan.com การศึกษา - วิทยาลัยช่างศิลป กรุงเทพฯ - ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์(ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ชื่อ จิรนันท์ จุลบท เกิด 6 มกราคม 2534 ที่อยู่ 112 หมู่ 3 ต.เกาะหวาย อ.ปากพลี จ.นครนายก โทร 0868683503 อีเมล jiji_kadae@hotmail.com การศึกษา - ศิลปบัณฑิต ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร - ศึกษาระดับมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์(ภาพพิมพ์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ

การแสดงงาน

2015 2014 2013 2012 2011

th

2555 - ‘Frontiers Reimagined’,Palazzo Grimani Museum,56 Venice Biennale, Venice ,Italy“18°” โดยศิลปินกลุ่มโป๊ยเซียน ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทองแดง สาขาภาพพิมพ์ นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 - “Anthropos NY” Sundaram Tagore gallery, New york, NY - “Anthropos” ณ นำ�ทอง แกลลอรี่ กรุงเทพฯ - Solo exhibition ‘Emptiness’ ณ อาร์เดล แกลลอรี่ กรุงเทพฯ 2556 - “Anthropos SG” Sundaram Tagore gallery, Singapore - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง สาขาภาพพิมพ์ นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 เกียรติประวัติ - รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย ประจำ�ปี 2555 - รางวัล Originality of Creative conception prize, International Triennial of 2554 Contemporary Graphic Arts in Novosibirsk, Russia - “2012 International Women Arts Exhibition Lights of women”, Gwangju Museum 2556 of arts, Metro Gallery, Korea - “ไทยเท่ : Thai Trends from Localism to Internationalism” ณ หอศิลปวัฒนธรรมร่วม สมัยแห่งกรุงเทพมหานคร กรุงเทพฯ - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน สาขาภาพพิมพ์ นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่57 2557 - ทุนศึกษาดูงาน ดร.ชุมพล พรประภา ณ ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี - ทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปะคุณาวงศ์ 2557 2557 2558

-

นิทรรศการ “Tamusil Print Exhibition Represent of Lithography” นิทรรศการ “Landing” ณ Brown Sugar The Jazz Boutique นิทรรศการกลุ่ม “ภาพพิมพ์ริมน่าน Rim-Nan” ณ DOB Hualamphong Gallery กรุงเทพฯ นิทรรศการกลุ่ม “กองแสง” ณ ARTERY Post Modern Gallery นิทรรศการ “Represent of Lithography by Tama Art University” ณ Musasino Art University - นิทรรศการ “Little Big Print” หอศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์

- รางวัลชมเชย โครงการ “RPST YOURS” ครั้งที่ 1 สมาคมภาพถ่ายแห่งประเทศไทยใน พระราชานูปถัมภ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง “ศิลป์ พีระศรี” การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 30 - รางวัลยอดเยี่ยมศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสูชีวิต” ครั้งที่ 25 - ทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” - โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและเยาวชนประเทศญี่ปุ่นกับเอเชียตะวันออก JENESYS 2.0 ณ ประเทศญี่ปุ่น - ร่วมแสดงการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - ร่วมแสดงการประกวดศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 “Krungthai Art Awards” - รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 โครงการตกแต่งตุ๊กตาก๊อดจิแฟมิลี่ “Happy Family”

119


ชื่อ เกิด การศึกษา

ธิติพรหม อ่อนเปี่ยม 21 กันยายน พ.ศ. 2534 คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาควิชา ศิลปไทย

เกียรติประวัติ 2558 2557 2556

120

- ทุนส่งเสริมการศึกษาศิลปะ เมทินี ธารวณิชกุล - รางวัลช้างเผือก การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 4 - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน “ศิลป์พีระศรี” การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 32 - รางวัลประกาศนียบัตร เกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 - ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมคณะศิลปินสาขา ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รุ่นที่ 3 (ยุวศิลปิน) เยือนประเทศญี่ปุ่นตามโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน JENESYS 2.0 ของกระทรวงวัฒนธรรม - รางวัลชมเชย การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 3 - รางวัลศิลปกรรมเหรียญทอง ระดับอายุ 21-25 ศิลปกรรมเด็กและเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 9 - รางวัลดีเด่น การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 29 หัวข้อ “ก้าวไปด้วยกัน…สู่วันพรุ่งนี้” - รางวัลเหรียญทอง จิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 36 ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัย - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน “ศิลป์พีระศรี” การประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 31 - รางวัลชมเชย นิทรรศการศิลปกรรมเด็ก และเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 8 ระดับอายุ 21-25 - รางวัลดีเด่น การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ครั้งที่ 25 ระดับอุดมศึกษาและ ประชาชนทั่วไป - รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง การประกวดผลงานศิลปะ “มองสิงห์ ผ่านศิลป์”ระดับอุดมศึกษา - รางวัล Most Promising Artist of the Year (Emerging Artist)โครงการประกวดภาพวาด UOB Painting of the Year ครั้งที่ 4 - รางวัลชนะเลิศ วิถีพุทธล้านนา ครั้งที่ 2

ชื่อ สุกัญญา สอนบุญ เกิด 12 สิงหาคม 2532 ที่อยู่ 76/97 หมู่10 ถ.สุวินทวงศ์ เขตหนองจอง แขวงลำ�ผักชี กทม. 10350 โทร 087-5627276 E-mail onbun.wood@gmail.com การศึกษา - โรงเรียนบางกะปิสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์(ร.ร สุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์) - วิทยาลัยช่างศิลป ประวัติการแสดงงาน 2549 - ร่วมแสดงผลงานนักเรียนวิทยาลัยช่างศิลป ณ ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ กรุงเทพฯ 2555 - นิทรรศการกลุ่ม “กรองแสง” ณ Artery Post Modm Gallery กรุงเทพฯ - นิทรรศการ ครบรอบ101 ปี วันสตรีสากล ณ หอศิลป์กรุงเทพมหานคร - แสดงผลงานนักศึกษาในวันอาจารย์ศิลป พีระศรี - นิทรรศการ “พระพิฆเนศ” ณ หอศิลป์มหาวิยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ - นิทรรศการ “ครบรอบ36ปีศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต พระบรมราชินีนาถ The Queen’s Gallery กรุงเทพฯ 2556 - นิทรรศการ “นวัตกรรมศิลปะไทย” ณ พิพิธภัณฑ์ไทย ธนาคารไทยพานิชย์สำ�นักงานใหญ่ กรุงเทพฯ - ร่วมแสดง ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 30 ณ หอศิลป์สนามจันทร์นครปฐม - ร่วมแสดง ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 31 ณ หอศิลป์สนามจันทร์นครปฐม - ร่วมแสดง “มองสิงห์ ผ่านศิลป์” ณ ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัพเวอรี่ กรุงเทพฯ 2557 - ร่วมแสดงผลงาน ในโครงการ “ Asian Art Biennale exhibition” ณ ประเทศบังคลาเทศ เกียรติประวัติ 2552 2557 2557

- ทุนการศึกษาเมทิณี ธารวนิชกุล - ทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์ศิลปะมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ - เข้ารอบ 12 คนสุดท้ายเพื่อไปศึกษาดูงานศิลปะ ณ Los Angeles, USA จากโครงการค่าย เยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ณ บ้านดำ�นางแล จ.เชียงราย - รางวัลเหรียญเงินศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่60 ประเภท สื่อประสม - รางวัลที่3 ศิลปกรรมกรุงไทย Krungthai Art Awards ครั้งที่1


ชื่อ สุนันทา ผาสมวงศ์ เกิด 21 กุมภาพันธ์ 2530 การศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เกียรติประวัติ 2549 2552 2553 2554 2555

-

จินตนาการ สานศิลปกรรม ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี นิทรรศการ ตุ้มเส้น โฮมลาย ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี นิทรรศการ Nude Drawing Exhibition ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี ผลงานเยาวชนดาวเด่นบัวหลวงครั้งที่ 3 ณ หอศิลป์พระนางเจ้าฯ นิทรรศการสร้างสรรค์พื้นฐาน 5 วิชาเอก ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี ผลงานเยาวชนสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ณ บ้านดำ�นางแล จ. เชียงราย ผลงานเยาวชนสร้างสรรค์ศิลปินร่วมสมัย ณ บ้านดำ�นางแล จ. เชียงราย นิทรรศการศิลป์นิพพนธ์ประจำ�ปี 2555 ณ หอศิลป์จำ�ปาศรี ได้รับทุนเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ จากกองทุนส่งเสริมการศึกษาฯ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์

ชื่อ เกิด การศึกษา

อิสรีย์ บารมี 23 มกราคม 2523 - วิทยาลัยช่างศิลป์ สุพรรณบุรี - คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ 2544 2545 2546 2549 2552 2554 2555 2257 2558

- ร่วมแสดงนิทรรศการ ประติมากรรมครั้งที่ 5 รำ�ลึกผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน ยิ้มศิริ - ร่วมแสดงประติมากรรมสัญจรระหว่างภาคประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และสาขา ประติมากรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ร่วมแสดงผลงานนักศึกษาภาควิชาจิตรกรรม ปีที่ 4 นิทรรศการเปิดบ้านจิตรกรรม ร่วมแสดงนิทรรศการมหกรรมประติมากรรมขนาดเล็ก 20 ปี สมาคมประติมากรไทย - ร่วมแสดงศิลปกรรม ART THESIS EXHIBTION 33RD - ร่วมแสดงศิลปกรรม THE 8TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION ,Oita , Japan - ร่วมแสดงศิลปกรรม Artitude : Art Exhibiion by Fifty Six Degree Artist Group - ร่วมแสดงศิลปกรรม THE 11TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION ,Oita , Japan - แสดงนิทรรศการเดี่ยว “Me Myself & I” ,Maya’s Secret Gallery , Bangkok - ร่วมแสดงนิทรรศการโชว์ผลงานประติมากรรม บริษัท ศุภาลัย จำ�กัด กรุงเทพฯ - ได้รับรางวัลที่ 3 การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ 6 - ได้รับรางวัลสนับสนุนของธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

121


ชื่อ เกิด ที่อย โทร E-mail การศึกษา

จอมพล พัวทวี 18 มิถุนายน 2526 6/65 หมู่ 5 พระเจ้างามซอย 4 ต.ต้นเปา อ.สันกำ�แพง จ.เชียงใหม่ 50130 089-838-0468 Jompolpuatawee@gmail.com - โรงเรียนบ้านทรายมูล จ.เชียงใหม่ - โรงเรียนหางดงรัฐราชอุปถัมภ์ จ.เชียงใหม่ - สำ�เร็จการศึกษาสถาบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คณะศิลปกรรม สาขาจิตรกรรม (วิทยาเขตภาคพายัพ) - สำ�เร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ 2547 2555 2556

- รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ประเภทจิตรกรรมจากการประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 1/2547 - รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 1 ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 1 - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทยประจำ�ปี 2555 - รางวัลชนะเลิศอันดับ 3 จากการประกวดจิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 15 - เข้าร่วม โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ประจำ�ปี 2556 ณ บ้านดำ�นางแล จังหวัดเชียงราย - ร่วมแสดงการประกวด เอเซียพลัส ในหัวข้อ “โลกาภิวัตน์” - ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 2 - นิทรรศการ “วิถีชีวิต วิถีไทย” ณ เฮือนศิลปินนาชา เชียงใหม่ - นิทรรศการจิตรกรรม “อัตลักษณ์ 8” ณ ศุภโชค ดิ อาร์ต เซนเตอร์ - นิทรรศการกลุ่มล้านนา47 ครั้งที่ 2 ณ แกลลอลี่ บ้านตึก เชียงใหม่

ชื่อ เกิด การศึกษา

รองศาตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง 3 มีนาคม 2500 - ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ2) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ประกาศนียบัตรภาษาญี่ปุ่น Nagoya University ประเทศญี่ปุ่น - ศิลปมหาบัณฑิต (Visual Design) Aichi University of the Arts ประเทศญี่ปุ่น - ประกาศนียบัตรภาพพิมพ์ (Incisione) Accademia di Belle Arti di Firenze ประเทศอิตาลี

ทุน 2523 2524

- ทุนมิเซียม ยิบอินซอย - เข้ารับพระราชทานทุนภูมิพล (เรียนดี) จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว - ทุนมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ 2525 - เข้ารับพระราชทานทุนภูมิพล (เรียนดี) จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี 2527-2531 - ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อศึกษาภาพพิมพ์ที่ Aichi University of The Arts 2534-2535 - ทุนรัฐบาลอิตาลี เพื่อศึกษาภาพพิมพ์ที่ Accademia di Belle Arti di Firenze 2542 - ทุนศิลปินสร้างสรรค์และวิจัยโดยกองทุนมิเซียม ยิบอินซอย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ 2548 - ทุนสร้างสรรค์ ศิลป์ พีระศรี หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร 2556 - ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม (พิมพ์จากป่าสงวน) สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) 2558 - ทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม (Taiwan Tea . Thai Trees) สนับสนุนโดยกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศไต้หวัน การแสดงนิทรรศการผลงานเดี่ยว (ช่วงปี 2548-2558) 2548 2550 2552 2553 2555 2557 2558

-

“ป่าสงวน” แกลเลอรี Syun นาโงะยะ ประเทศญี่ปุ่น “ต้นไม้ใบหญ้า” แกลเลอรี 100 ต้นสน กรุงเทพฯ “ฤดูกาลบันทึก...เกียวโต” แกลเลอรี Artzone-kaguraoka เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น “ฤดูกาลบันทึก...ไอจิ” หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปะไอจิ ประเทศญี่ปุ่น “Organic print” แกลเลอรี Irohani โอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น “Organic print” แกลเลอรี Orie โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น “Organic print” แกลเลอรี Art-de-Art โอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น “พิมพ์จากป่า” แกลเลอรีอาร์เดล เธิร์ดเพลส กรุงเทพฯ “พิมพ์จากป่าสงวน” หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ “Taiwan Tea . Thai Trees” CAM 193 + ไทเป ประเทศไต้หวัน

รางวัล (บางส่วน) 2525

2526 2529

2530 2531 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2554 2557 2558

122

- รางวัลที่ 1 การแสดงศิลปกรรมของสำ�นักกลางนักเรียนคริสเตียน กรุงเทพฯ - รางวัลThe Citation Prize การแสดงการ์ตูนนานาชาติโยมิอูริ ครั้งที่ 4 โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น - รางวัลชนะเลิศ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยโดยการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทย ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ - รางวัลชนะเลิศ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยโดยการสนับสนุนของธนาคารกสิกรไทย ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง การแสดงจิตรกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 7 กรุงเทพฯ - รางวัลเกียรติยศ การแสดงศิลปกรรมบาจา หอศิลป์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ - รางวัลชนะเลิศการแสดงศิลปภาพพิมพ์ขนาดเล็ก ครั้งที่ 6 คาดาเกส ประเทศสเปน - รางวัล Purchase Prize การแสดงภาพพิมพ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11 พิพิธภัณฑ์ภาพพิมพ์แห่ง เมืองมะจิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น - รางวัล Purchase Prize การแสดงภาพพิมพ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 12 พิพิธภัณฑ์ภาพพิมพ์แห่ง เมืองมะจิดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น - รางวัลที่ 1 เหรียญทอง(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 34 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 2 เหรียญเงิน(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง(ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 51 กรุงเทพฯ - รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น “กระบวนการสร้างภาพพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติ” (Organic Print Process) จากสภาวิจัยแห่งชาติ - รางวัล “Prize of International Exhibition” 1st NBC Tokyo International Screen Print Biennale, ประเทศญี่ปุ่น - รางวัลที่ 4 The 8th Kochi International Triennial Exhibition of Print, ประเทศญี่ปุ่น - รางวัลกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 กรุงเทพฯ - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 กรุงเทพฯ


ชื่อ ณรัชต์ กลิ่นสุดใจ เกิด 2522 ที่อยู่ 19/11 ม.ไพรเวทเนอวานา ซ.นาคนิวาส48แยก14 ถ.นาคนิวาส ลาดพร้าว71 ลาดพร้าว กทม 10230 โทร 02-1960054, 088-8766796 E-mail klinsudjai@Gmail.com การศึกษา - สำ�เร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร - สำ�เร็จการศึกษาปริญญาศิลปกรรมศาสตร์บณ ั ฑิต วิชาเอกทัศนศิลป์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - สำ�เร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร เกียรติประวัติ 2588 2557 2550 2547 2546 2545

- รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 ณ หอศิลป์ราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร - รางวัลพิเศษ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 26” ณ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - รางวัลพิเศษ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 19” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - รางวัลดีเด่น นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 6 ณ หอศิลปะแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - รางวัลสนับสนุนศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20 ณ เดอะสีลมแกลลอเรีย ถนนสีลม กรุงเทพฯ - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร ประเภทสื่อผสม - รางวัลดีเด่น “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 14” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร

2541 2540 2539 2538

- นิทรรศการ “ศิลปกับสัตว์ป่า” ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า สาขาลาดพร้าว และปิ่นเกล้า - นิทรรศการ “Project Future in Mind” ของศิลปินเยอรมัน Jarg Geisman ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 10” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 44” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ “Book” ณ คลังสินค้าคุรุสภา ท่าพระอาทิตย์ กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ การแสดงออกแนวใหม่ ในงานศิลปะร่วมสมัยของไทย : ความคิดริเริ่มและการสร้างสรรค์ ณ หอศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “จิตรกรรมสีน้ำ�และสีน้ำ�มัน” ณ บ้านเจ้าพระยา ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร - นิทรรศการ “Project Natural Born Consumer” ของ มนตรี เติมสมบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วังสวนผักกาด, มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ”การประกันภัยกับสังคมไทย”ณ สามัคคีประกันภัย ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 9” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ “Drawing 1” ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย - นิทรรศการ สีน้ำ�,วาดเส้น,องค์ประกอบศิลป์ ณ คณะศิลปกรรมศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 6” ณ หอศิลปมหาวิทยลัยศิลปากร วังท่าพระ

การแสดงงานเดี่ยว 2544 2544

- “Rest for Cure” ณ Si-Am Space คลองเตย กรุงเทพมหานคร - “Cure” ณ ห้องโถงชั้น 1 สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร การแสดงงานกลุ่ม 2558 2557 2556 2554 2552 2551 2550 2549 2548 2545 2544 2542

- นิทรรศการจิตกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 17 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ณ หอศิลป์ราชดำ�เนิน ถนนราชดำ�เนิน กรุงเทพมหานคร - โครงการครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่นที่ 6 ณ หออัครศิลปิน ปทุมธานี - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 26 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า - โครงการครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่นที่ 5 ณ หออัครศิลปิน ปทุมธานี - งานแสดงศิลปกรรมของนักศึกษาเก่า คณะจิตรกรรมฯ พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติหอศิลป์ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 13 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป์ - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 21 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 20 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 19 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ ศริราชร่วมใจศิลปินถวายพระพร ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ ลานอเนกประสงค์ อาคาร100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ โรงพายบาลศริราช กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 17 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 7 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้ากรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ ศิลปกรรมกับสิ่งแวดล้อม ณหอศิลปจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาลัย - นิทรรศการ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 16 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า กรุงเทพฯ - นิทรรศการจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 6 ณ หอศิลปะแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ “ก้าวใหม่ : 50 ศิลปินจากตลาดนัดศิลปะ” ณ หอศิลป์สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “Living Art : Regional Artists Respond to HIV / AIDS” (ศิลปินอาเซียนเพื่อเอดส์) ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ - นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50” ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม - นิทรรศการ “ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 21” ณ เดอะสีลมแกลอรี่ ถนนสีลม กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “เส้นทางสู่ศิลปะ”ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร - นิทรรศการ”ASYLUM”ณ หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ สถาบันวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาลัย - นิทรรศการ “ศิลปะร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20” ณ เดอะสีลมแกลลอเรีย ถนนสีลม - นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า กรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 15” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ “ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้ากรุงเทพมหานคร - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 14” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนเจ้าฟ้า - เป็นนักแสดงในนิทรรศการ “แดกมึงแดกกู” ของศิลปินชาวดัชต์ MELLA JAARSMA ณ หอ ศิลป์วิทยนิทรรศน์ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - นิทรรศการ “First Come First Serve” ณ โปรเจค 304 กรุงเทพมหานคร - Model in Biennale International Design 2000 at Saint-Etienne, France - นิทรรศการ “Senior Project in Visual Arts Exhibition” ณ หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ สถาบัน วิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - นิทรรศการ “All Thai Alternative Contemporary Art Exhibition” ณSpace Gallery - นิทรรศการ “ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 11” ณ หอศิลปแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า - นิทรรศการ”วาดเส้น123”ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาลัย - นิทรรศการ “Shadow Play” Curated โดยนาโอมิ อูราเบ ณ About Studio / About Café ถนนไมตรีจิต กรุงเทพมหานคร

123


ชื่อ เทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง เกิด 3 ตุลาคม 2534 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 148 หมู่ 14 ต.ขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด 45230 โทร 088-8038871 E-mail maximun2534@hotmail.com การศึกษา - ร.ร. เมืองโพธิ์ชัย - ร.ร.สระบุรีวิทยาคม - กำ�ลังศึกษา ชั้นปีที่5 สาขาภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประวัติการแสดงงาน 2558 2557 2556 2555 2554

-

ร่วมแสดงศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 การแสดงศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 3 การแสดงงานของเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ณ หอศิลป์ราชดำ�เนิน การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิลรุ่นเราว์ครั้งที่ 31 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 60 การการแสดงศิลปกรรมจิตรกรรมหรือศิลปภาพพิมพ์BAM สืบสานศิลปะล้านนานำ�คุณค่า วัฒนธรรมท้องถิ่นสังคมไทยครั้งที่ 2 - การแสดงศิลปกรรมโตชิบาครั้งที่ 26 - Tokyo screen print biennale - ร่วมแสดงศิลปกรรมรุ่นเยาว์ครั้งที่ 30 ณ หอศิลปะมหาวิยาลัยศิลปกร - ร่วมแสดงศิลปกรรมโตชิบานำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่25 ณ หอศิลป์เจ้าฟ้า - การแสดงศิลปกรรมจิตรกรรมหรือศิลปภาพพิมพ์BAM สืบสานศิลปะล้านนานำ�คุณค่า สังคมไทย ครั้งที่ 1 - การแสดงนิทรรศการกลุ่ม Print as Print ครั้งที่ 6 - เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ณ บ้านดำ�นางแล จังหวัด เชียงราย - ชนะเลิศการคัดเลือกในโครงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ นครลอสแองเจอลิส ประเทศ สหรัฐอเมริกา - ร่วมแสดงนิทรรศการครบรอบ 30 ปี คณะวิจิตรศิลป์ ณ หอศิลปวัฒนธรรมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ - ร่วมแสดงนิทรรศการM&C ณ.หอศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เกียรติประวัติ 2557 2556

124

- ชนะเลิศการคัดเลือกในโครงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ นครลอสแองเจอลิส ประเทศ สหรัฐอเมริกา - รางวัลเรียนดี ของสาขาภาพพิมพ์ ประจำ�ปี 2557 - รางวัลเหรียญเงินศิลป์พีระศรี ศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิลรุ่นเยาว์ครั้งที่ 31 - รางวัลสนับสนุนศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - รางวัลยอดเยี่ยมศิลปกรรมจิตรกรรมหรือภาพพิมพ์สืบสานวัฒรธรรมท้องถิ่น ครั้งที่ 2 - รับทุนส่งเสริมการศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลนนท์ - รางวัลดีเด่นศิลปกรรมโตชิบา นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 26 - รับเหรียญศิลป พีระศรี เนื่องในวันศิลป พีระศรี - รางวัลสนับสนุนของศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิลรุ่นเยาว์ครั้งที่ 30 - รางวัลเรียนดี ของสาขาภาพพิมพ์ ประจำ�ปี 2556 - รางวัลยอดเยี่ยมศิลปกรรมจิตรกรรมหรือภาพพิมพ์สืบสานวัฒรธรรม ล้านนา ครั้งที่ 1 - รางวัลดีเด่น การประกวดวาดรูปเกาะลอย จังหวัดชลบุรี

ชื่อ เกิด ที่อยู่ โทร E-mail การศึกษา

ธีรยุทธ ม่วงทอง 13 สิงหาคม 2529 101/2 หมู่ 3 ตำ�บลน้ำ�น้อย อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110 0873582378 , 074583064 bird_art1@hotmail.com - โรงเรียนเสนพงศ์ อ.สะเดา จ.สงขลา - โรงเรียนบุญเลิศอนุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา - โรงเรียนหาดใหญ่พิทยาคม จ.สงขลา - ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ วิชาเอกภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (วิทยาเขตสงขลา) - ระดับปริญญาโท ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ 2553 2554 2555 2556 2558

-

รางวัลสนับสนุนศิลปินรุ่นเยาว์ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27 รางวัลสนับสนุนศิลปินรุ่นเยาว์ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปิน รุน ่ เยาว์ ครัง้ ที่ 28 รางวัลพิเศษ การแสดงศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 23 รางวัลดีเด่น ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิตโตชิบา ครั้งที่ 24 รางวัลที่ 2 สนับสนุนธนาคารกรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 รางวัลดีเด่น ศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิตโตชิบา ครั้งที่ 25 รางวัลที่ 2 สนับสนุนธนาคารกรุงไทย ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

ประวัติการแสดงผลงาน 2552 - นิทรรศการศิลปกรรมเยาวชนทักษิณ ครั้งที่ 7 2553 - นิทรรศการศิลปกรรมเยาวชนทักษิณ ครั้งที่ 8 - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 27 2554 - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 28 555 - นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 - นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย กสิกรไทย ปี 2555 - The 15th International Biennial Print Exhibition R.O.C Taiwan 2556 - นิทรรศการ มองสิงห์ สร้างศิลป์ - Little Big Print by 196 Thai and Foreign Artists Exhibition 2557 - นิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - The 16th International Biennial Print Exhibition R.O.C Taiwan - “CUBIC MUSEUM” International Exchange Exhibition between Aichi University of the Arts, Japan and Silpakorn University, Thailand - นิทรรศการศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 2558 - The 4nd Bangkok Triennial International Print and Drawing Exhibition Tokyo International Mini-Print Triennial 2015


ชื่อ เกิด ที่อยู่ โทร E-mail การศึกษา การทำ�งาน

เนติกร ชินโย 8 ธันวาคม 2509 300/165 หมู่3 หมู่บ้านบุศรินทร์ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 02-9207548, 089-4326988 netikornchinyo @ yahoo.com - ร.ร.อนุบาลวัดปรินายก - ร.ร.วัดนวลนรดิศ - วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร - ศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร - อาจารย์ประจำ� คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

เกียรติประวัติ 2534 2537 2540 2550 2556 2557 2558

ชื่อ บุญเกิด ศรีสุขา เกิด 24 สิงหาคม 2521 ที่อยู่ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม 744 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ถ.สุรนารายณ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 โทร 089-8633518 E-mail olay.boon@gmail.com ตำ�แหน่ง อาจารย์สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา การศึกษา

- ศิลปบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) - คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 37 - รางวัลเกียรตินิยมเหรียญเงิน “ศิลป์ พีระศรี” การแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัยของ ศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 8 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงประเภทศิลปะร่วมสมัย จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 15 - รางวัลชนะเลิศ ศิลปกรรมการประกวดจิตรกรรมแบบเหมือนจริง ของธนาคารกสิกรไทย - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 40 - รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงประเภทศิลปะร่วมสมัย จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 18 - รางวัลเกียรติบัตรการประกวดศิลปกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย โดยบริษัทฟิลลิปมอร์ริส ประเทศไทย จำ�กัด - ร่วมเขียนภาพประกอบในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช - เขียนภาพประกอบหนังสือ “พระพุทธประวัติเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา” เนื่องใน มหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก - รางวัลผู้มีผลงานดีเด่น จากโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติครั้งที่ 4 - รางวัลชมเชยการประกวดศิลปกรรมช้างเผือก หัวข้อ “น้ำ�แห่งชีวิต” - รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดงจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61

2546 2547 2551 2553 2553 2554 2556

-

รางวัลสนับสนุนการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19 รางวัลชมเชยการประกวดประติมากรรมติดตั้ง ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รางวัลชมเชยการประกวดประติมากรรมขนาดเล็ก เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี นิตยสาร ดิฉัน รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 1 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิตครั้งที่ 22” ของกลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย - รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิตครั้งที่ 23” ของกลุ่มบริษัทโตชิบา ประเทศไทย - รางวัลดีเด่น ประเภทประติมากรรมต้นแบบการประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ท อวอร์ด ครั้งที่ 5/2556

ประวัติการแสดงผลงาน 2543 2545 2546 2547 2551 2554 2555 2556 2557 2558

-

การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 17 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 19 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 20 การแสดงประติมากรรมขนาดเล็ก โดยสมาคมประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัย ไทย-เวียดนาม โดยคณาจารย์ 6 มหาวิทยาลัย การแสดงงานประกวดประติมากรรมติดตั้ง ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 การแสดงศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 27 การแสดงศิลปกรรมธนาคารกสิกรไทย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 การแสดงผลงานร่วมกับศิลปินเกาหลีใต้ Ulsan Bukgu Art Residency ณ เมืองอุลซัล สาธารณรัฐเกาหลีใต้ การประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ท อวอร์ด ครั้งที่ 6/2557

ผลงานวิจัย 2557

- โครงการวิจย ั เรือ ่ ง “วิวฒ ั นาการแห่งรูปทรง” “ได้รบ ั ทุนอุดหนุนจากสำ�นักงานคณะกรรมการการ วิจัยแห่งชาติ (วช.)และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)” “ความเห็นในรายงานผลการวิจัยเป็นของผู้วิจัย สำ�นักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ไม่จำ�เป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป”

125


ชื่อ บุญมี แสงขำ� เกิด 13 เมษายน 2518 ที่อยู่ 1/12 หมู่ 11 ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำ�แพง จ.เชียงใหม่ 50130 E-mail b_sangkhum@yahoo.com การศึกษา - ศิลปบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาภาพพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรติประวัติ 2558 2557 2556 2555 2554 2553 2551 2550 2549

126

- Purchase Prize The4 Bangkok Triennale International Print&Drawing Exhibition - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 60 - รางวัลรองชนะเลิศ การประกวดศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 2 โดยบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน) - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทภาพพิมพ์ การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 59 - Grand Prix International Mezzotint Festiival,Russia - The Second prize in the Catagory of PRINTMAKING The 7th Novosibirsk International Biennial of Contemporary Graphic Art, Russia - รางวัลชนะเลิศการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 - Grand Prize at the 3rd Bangkok Triennale International Print & Drawing Exhibition - Honorary Mention Prize “Our Beloved King” The First White Elephant Art Award By Thai Beverage Public Company Limite - First Prize The 8th Kochi International Triennial Exhibition of Prints, Japan - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทภาพพิมพ์ การ แสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 - Honourable Mentions XI Biennial International De Grabado “Caixanova” Spain - Purchase Prize The2 Bangkok Triennale International Print&Drawing Exhibition - Purchase Prize The2 Bangkok Triennale International Print&Drawing Exhibition - รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 53 - รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 52

ชื่อ ตะวัน วิชญภักดี เกิด 14 มีนาคม 2533 ที่อยู่ 106 หมู่6 ตำ�บลห้วยไคร้ อำ�เภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 57220 ที่อยู่ปัจจุบัน 184 ถนนนาสร้าง ตำ�บลนครปฐม อำ�เภอเมือง จังหวัดนครปฐม 73000 โทร 0830381595 Emai lb_charoenying@hotmail.com การศึกษา - โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี - วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย - ศิลปะบัณฑิต (ศิลปไทย) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรติประวัติ 2556 2557 2558

- รางวัลชมเชย การประกวด”ศิลปกรรมช้างเผือก” ครั้งที่2 - รางวัลประกาศณียบัตรเกียรตินิยมอันดับ2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่59 ประจำ�ปี 2556 - รางวัลเหรียญทองแดงUOB Painting of the Year 2013 - รางวัลดีเด่น โครงการแข่งขันศิลปินดาวเด่นบัวหลวง ประจำ�ปี 2556 - ได้รับคัดเลือกเพื่อเดินทางไปต่อยอดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการขั้นสูง ณ ประเทศ สหรัฐอเมริกา,โครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัย ปี57,The 5th Young Artists Talent - รางวัลชมเชย การประกวด”ศิลปกรรมช้างเผือก” ครั้งที่3 - รางวัลเหรียญทอง ประเภทศิลปินอาชีพ UOB Painting of the Year 2014 - รางวัลสนับสนุนที่2 โดยธนาคารกรุงไทยศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่61

การแสดงงาน 2555 2556

- นิทรรศการศิลปกรรม”ต้นโพธิ์ “โดยคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์และศูนย์ วัฒนธรรมอินเดียประจำ�ประเทศไทย - นิทรรศการ36ปี แห่งการเรียนรู้สู่การสร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะไทย


ชื่อ เกิด การศึกษา การทำ�งาน

ประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์ 23 กันยายน 2511 - วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ลาดกระบัง - ศิลปะบัณฑิต (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ศิลปะมหาบัณฑิต (จิตรกรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - รับราชการ อาจารย์ประจำ�วิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ลาดกระบัง

การแสดงงานเดี่ยว 2557 2555 2551

- เผชิญหน้าสามภวังค์ (The Three Elements of life) - สนทนากับเธอ (Talking to her) ณ 789 แกเลอรี่ - ภาพเหมือนชีวิต ณ สุรพลแกเลอรี่ (Portrait of life)

การแสดงผลงาน 2547 2546 2545 2541-2545 2530-2536

-

การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 6 การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50 การแสดงผลงานจิตรกรรมเทิดพระเกียรติในหลวงครองราชย์ครบ 60 ปี การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 49 การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 4 การแสดงศิลปกรรมเยาวชนแห่งชาติ การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทยของบริษัทฟิลลิปมอร์ริส การแสดงสีน้ำ�ชุด Bangkok Relax ณ ห้องสมุดเนลสันเฮย์ ถนนสีลม การแสดงศิลปกรรมเยาวชนแห่งชาติ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 3 การแสดงศิลปกรรมหัวข้อยาเสพติด ณ สถาบัน AUA การแสดงศิลปกรรมโตชิบานำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต การแสดงศิลปกรรม ค.ร.ป. หัวข้อพฤษภาทมิฬ การแสดงศิลปกรรม ปตท. หัวข้อทะเล การแสดงงานจิตรกรรมเหมือนจริงของธนาคารกสิกรไทย การแสดงจิตรกรรมบัวหลวง การแสดงงานศิลปกรรมร่วมสมัย การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทยของบริษัทฟิลลิปมอร์ริส การแสดงศิลปกรรมศิลปกร 1 การแสดงศิลปกรรมคณาจารย์ วิทยาลัยช่างศิลป ครั้งที่ 2, 3 และ 4 การแสดง 100 ประติมากรรม 100 ปี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีรศรี การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58

ชื่อ ประวีณ เปียงชมภู เกิด 13 ธันวาคม 2532 ที่อยู่ 28 หมู่ 7 ตำ�บล ชมพู อำ�เภอ เมือง จังหวัด ลำ�ปาง 52100 โทร 086-533-4792 Email winkingdom01@gmail.com การศึกษา - ศิลปบัณฑิต ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ เชียงใหม่ - ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ภาควิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรติประวัติ 2557 2558

- ได้รับคัดเลือกไปทัศนศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและร่วมแสดง นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยศิลปินรุ่นเยาว์ ณ สถานกงสุลใหญ่ประเทศไทยประจำ� สหรัฐอเมริกา LA - รางวัลเหรียญเงิน ศิลปกรรมรุ่นเยาว์ นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่30 - รางวัลดีเด่นนิทรรศการศิลปะ Young Thai Artist Aword 10th โดยมูลนิธิSCG - ร่วมแสดง Cubic Museum นิทรรศการศิลปะในกล่อง มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัย ทามะ ประเทศญี่ปุ่น - ร่วมแสดงThe International Biennial Print Exhibition Taiwan นิทรรศการภาพพิมพ์ นานาชาติ ประเทศใต้หวัน - ร่วมแสดง Kruangthai Art Awardsนิทรรศการศิลปกรรม ธนาคารกรุงไทย ครั้งที่ 1 - ได้รับรางวัล Print Prize 2015 Guanlan International Print Biennial นิทรรศการภาพ พิมพ์นานาชาติ ประเทศจีน - ร่วมแสดงThe 4th Bangkok Triennale International Print and Drawing Exhibition การแสดงภาพพิมพ์และวาดเส้นนานาชาติ ครั้งที่ 4 - ร่วมแสดงนิทรรศการThe 2nd International Creative Art Disseminating at หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ - รางวัลดีเด่น นิทรรศการศิลปกรรม ป ต ท. ครั้งที่ 30 “อนาคตออกแบบได้” - ได้รับรางวัล Prize Winners Semi Grand-Prix , Tokyo International Mini- Print Triennial 2015 มหาวิทยาลัยทามะ ประเทศญี่ปุ่น

การแสดงงานกลุ่ม 2543 2541 2550

- การแสดงผลงาน Square Group ณ สีลม แกลอเรีย - การแสดงผลงาน Square Group ณ โรงแรม สยามซิตี้ - การแสดงผลงาน Two-Man Exhibition สีน้ำ� ชุด Bangkok Relax ณ ห้องสมุดเนลสันเฮย์ ถนน สีลม - การแสดงงานชุด เงาสะท้อนแห่งโชคชะตา ณ หอศิลปะแห่งชาติ ถนนเจ้าฟ้า

เกียรติประวัติ 2557 2556 2554 2550 2547 2546 2545 2544 2542 2537

- รางวัลสนับสนุน ธนาคารกรุงไทย งานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 - รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 57 - รางวัลศิลปินยอดเยี่ยมประเทศไทย ทุนศิลป์ พีรศรี ครั้งที่ 7 - รางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 3 จิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 6 - รางวัลเกียรตินย ิ ม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 50 - รางวัลเกียรตินย ิ ม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 49 - รางวัลเกียรตินย ิ ม อันดับ 1 เหรียญทอง ประเภทจิตรกรรมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 48 - รางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิค ครั้งที่ 4 ของบริษัทชิวเนชั่นแนล จำ�กัด - รางวัลที่ 2 เทคนิคงานจิตรกรรม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดย บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด (มหาชน) - รางวัลยอดเยี่ยมประเภทจิตรกรรมสีน้ำ� ศรีราชา จังหวัด ชลบุรี - รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมประเทศไทย ของบริษัทฟิลลิปมอร์ริส - รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมประเทศไทย ของบริษัทฟิลลิปมอร์ริส - รางวัลพิเศษ การแสดงศิลปกรรมโตชิบา ครั้งที่ 5 - รางวัลชนะเลิศภาพเขียนองค์กรนี้ ( สันนิบาตสหกรณ์ ) - รางวัลที่ 3 ภาพเขียน หัวข้อวาดหวังสิ่งแวดล้อมของบริษัท Turbora - รางวัลชมเชย การประกวดฉลากออมสินพิเศษ - รางวัลชนะเลิศ การออกแบบโปสเตอร์ของการไฟฟ้านครหลวง - รางวัลเกียรติบัตร การแสดงศิลปกรรมแห่งประเทศไทย ของบริษัทฟิลลิปมอร์ริส

127


ชื่อ เกิด ที่อยู่ การศึกษา การทำ�งาน

พรสวรรค์ นนทะภา 6 ตุลาคม 2518 5/5 ต.โนนสูง อ. ยางตลาด จ. กาฬสินธุ์ 46120 - วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม - ศิลปกรรมบัณฑิต (ภาพพิมพ์) คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ศิลปกรรมมหาบัณฑิต(ทัศนศิลป์)คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสาคาม - อาจารย์พิเศษ ภาควิชาทันศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - อาจารย์พิเศษ โปรแกรมศิลปกรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม - ครูอัตราพิเศษ โรงเรียนศรีสะเกษวิทาลัย

เกียรติประวัติ 2558 2557 2557

-

รางวัลเกียรตินิยม เหรียญเงิน ประเภทประติมากรรม ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 รางวัลดีเด่น ศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 30 “อนาคตออกแบบได้” รางวัลเหรียญทองคุรุศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่นที่ 6 พร้อมศึกษาดูงานที่ สหรัฐอเมริกา รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 รางวัลดีเด่น ศิลปกรรมดินเผาแห่งชาติ ครั้งที่ 17

2556 2541 2542 2539-2541 2537 2535

- รางวัลที่ 1 ด้านจิตรกรรมและสื่อผสม ระดับอุดมศึกษาและศิลปินอิสระ โครงการ ศิลปินแห่งชาติสัญจร ค่ายวัฒนธรรมเยาวชน รู้รักษ์แผ่นดินไทย ภูมิใจถิ่นกำ�เนิด - ร่วมศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 3 เดือน ในโครงการ “ON THE ROAD ACROSS 1998 By Rirkrit Tiavanija - ทุนการศึกษาจากบริษัท TOHIBA Thiland - ทุนการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดศิลปกรรมหัวข้อ(สมบัติอีสาน) วิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์ - รางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง (บาติก)การแข่งขันทักษะวิชาชีพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอาชีวศึกษา

ประวัติการแสดงผลงาน 2558 2558 2557 2557 2557 2556 2556 2555 2555 2550 2545 2543 2542 2542 2542 2541 2540 2540

128

- ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมกลุ่ม ฮักส์-โฮม-เฮา ณ ฮักส์มอลล์ จังหวัดขอนแก่น - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมภาพถ่าย โรงการถ่ายภาพเชิงคุณธรรม “วิถีชีวิตและวัฒนธรรมประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง” ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ร่วมแดงผลงานat the ‘9 international art Workshop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี - ร่วมแสดงผลงาน 2 HUE Printmaking Workshop ณ เมืองถือเทียนเว้ ประเทศเวียดนาม - ร่วมแสดงศิลปกรรมภาพถ่าย ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ วิจิตรศิลป์ แขวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - ร่วมแสดงผลงาน ศิลปกรรมร่วมสมัย พานาโซนิก - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยลุ่มน้ำ�โขง ครั้งที่ 2 - ร่วมแสดงงาน at the ‘7 international art Workshop ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคารกสิกรไทย - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม self portrait400 ศิลปิน ณ สีลมแกลเลอรี กรุงเทพ - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมกลุ่ม นา ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ร่วมแสดงผลงานภาพพิมพ์ The’1 Chju international print art festival ณ ประเทศเกาหลี - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ธนาคาร กสิกรไทย - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมนำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต บริษัท TOSHIBA - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมสีน้ำ� ณ หอศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ - ร่วมแสดงผลงานภาพพิมพ์ กลุ่ม Mini Print ณ มหาวิยาลัยเชียงใหม่ - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม กลุ่ม ไท-อีสาน ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรมรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 14

ชื่อ รวีพล ประดิษฐ เกิด 5 ตุลาคม 2526 ที่อยู่ 101 หมู่ที่ 3 ต. พะวง อ.เมือง จ.สงขลา โทร 082-2321580 Email raweeponpradit@gmail.com การศึกษา - ศิลปบัณฑิต(ภาควิชาศิลปไทย)คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กำ�ลังศึกษาต่อปริญญาโท( ภาควิชาศิลปไทย) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกียรติประวัติ 2553 2555 2551 2552 2553 2554 2558

- ร่วมแสดงผลงาน “การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 54,55,60 - ร่วมแสดงผลงาน “อมตะอาร์ตอวอร์คครั้งที่ 4,5,6 ร่วมแสดงผลงาน “จิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค” ครั้งที่ 11,14,15 - นิทรรศการศิลปะไทยร่วมสมัย “จินตนาการในศิลปะไทย” ณ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย์ - ร่วมแสดงผลงาน “Contemporary Art Thai Youth Exhibition” ณ นครลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา - ร่วมแสดงผลงาน “จิตรกรรมบัวหลวง” ครั้งที่ 32,34,35,36,37,38 - แสดงผลงาน “นิทรรศการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย (ทัศนศิลป์)” ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถปี 2553 - ร่วมแสดงงานศิลปจากศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 3 ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถปี 2554 - ร่วมแสดงผลงาน 36 ปี ศิลปไทย ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถปี - ร่วมแสดงผลงาน Siam App ณ หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานครปี 2555 - ร่วมแสดงผลงานมองสิงห์สร้างศิลป์ - ร่วมแสดงผลงานศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่29,30 - รางวัลชมเชย โครงการประกวด “จินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทย ครั้งที่ 2” ปี 2551 - ร่วมทำ�ปฏิทินชุด “ภาพวิถีชีวิตไทย” 2552 บริษัท กนกสิน เอ็กซปอร์ตอิมพอร์ต จำ�กัด - ได้รับคัดเลือกในโครงการ “ค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ทัศนศิลป์ รุ่น 5 ไป แสดงผลงานและทัศนศึกษา ณ ประเทศสหรัฐอเมริกาปี 2553 - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 56 ประจำ�ปี 2553 - รางวัลสนับสนุนธนาคารกรุงไทยรางวัลที2่ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 57 ประจำ�ปี 2554 - รางวัลดีเด่น “จิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่16 - รางวัลชยเชย “สมเด็จพระเทพฯของชาวไทย”ศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 4 โดย บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัดมาหาชน ประจำ�ปี 2558 - ทุนการศึกษา อ.ถวัลย์ ดัชนี ปีการศึกษา 2558 - รางวัลชมเชยจิตรกรรมเอเชียพลัส ครั้งที่ 5 2558 - รางวัลสนับสนุนธนาคารกรุงไทยรางวัลที2่ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 61 ประจำ�ปี 2558


ชื่อ เกิด ที่อยู่ การศึกษา

วัชรินทร์ รังกระโทก 15 พฤษภาคม 2526 40/1 หมู่ 8 ต.สระตะเคียน อ. เสิงสาง จ.นครราชสีมา 30330 - โรงเรียน บ้านสระตะเคียน - โรงเรียน เสิงสาง - ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กำ�ลังศึกษาศึกษาปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

เกียรติประวัติ 2539 2541 2543 2544 2546 2549

2550 2553 2556 2557 2558

-

รางวัลชนะเลิศประกวดวาดภาพโครงการอีซูซุ พาน้องๆท่องญี่ปุ่น นักเรียนรางวัลพระราชทาน กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ระดับมัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา รางวัลยอดเยี่ยมการประกวดศิลปกรรม ป.ต.ท. ระดับอายุ 15-17 ปี รางวัลชนะเลิศการประกวดวาดภาพโดยเยาวชนไทยเกี่ยวกับสหประชาชาติ ทัศนศึกษา สำ�นักงานใหญ่ องค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ - ได้รับคัดเลือกในโครงการ “Fly Thai with Thai Artist” โดยมหาวิทยาลัยศิลปากร และ บริษัทการบินไทย จำ�กัด (มหาชน) - ทุนการศึกษามูลนิธิเครือซีเมนต์ไทย ในโครงการ ”Young Artist Award” - ทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ“มูลนิธิ รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” - รางวัลรองชนะเลิศการประกวดแบบประติมากรรมเพื่อติตั้ง ณ สวนลุมพินี กรุงเทพฯ เนื่องใน โอกาสครบรอบ 30ปี นิตยสาร “ดิฉัน” - รางวัลชนะเลิศ การประกวดแบบประติมากรรมเพื่อติดตั้ง ณ อาคารสำ�นักงานใหญ่ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรุงเทพฯ - รางวัลชะเลิศ การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครัง้ ที่ 5( ประเภทประติมากรรมต้นแบบ ) - รางวัลชมเชย การประกวดประติมากรรม 2557 ในวาระครบรอบ 25 ปี บริษท ั ศุภาลัย จำ�กัด(มหาชน) - ทุนส่งเสริมการศึกษาการสร้างสรรค์ศิลปะ “มูลนิธิ รัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” - ทุนอุดหนุนการวิจัยสร้างสรรค์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร - รางวัลที่1 การประกวดศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่ 6( ประเภทประติมากรรม)

ชื่อ วุฒินท์ ชาญสตบุตร เกิด 07 พฤศจิกายน 2522 โทรศัพท์ +66(0)81-667-2884 Email i_created_adamn@yahoo.com www.wuttinchansataboot.com ที่อยู่ 380/237 ศุภาลัย วิลล์, ถ.รัชดาภิเษก, จตุจักร กทม. 10900 การศึกษา - กำ�ลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขา ทัศนศิลป์ (Ph.D. in Visual Art), มหาวิทยาลัยศิลปากร - Master of Fine Art (Fine Art Media : Film/Video), Slade School of Fine Art, UCL, ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ - ศิลปบัณฑิต สาขา ภาพพิมพ์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เกียรติประวัติ 2558 255 2555 2552

- รางวัลเกียรตินย ิ มอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทสือ ่ ประสม การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ท่ี 61 - ทุนสนับสนุนการศึกษาจากเงินทุนเชิดชูเกียรติอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี - ชนะเลิศรางวัลรัตน์ เปสตันยี(ภาพยนตร์สั้นยอดเย่ียมในประเภทบุคคลท่ัวไป) เทศกาลภาพยนตร์ สัน ้ คร้งั ที่ 16 โดย มูลนิธห ิ นังไทย ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ - ติดอันดับ 1 ใน 10 ผลงานยอดเยี่ยมในการประกวด “Ed Ruscha film Challenge” จัดโดย Southbank Centre, ลอนดอน, ประเทศอังกฤษ

การแสดงผลงาน 2558 2557 2556 2555 2554 2553 2552 2550 2549 2548 2547

-

ARKIPELInternationalDocumentary&ExperimentalFilmFestival,จาการ์ตา,อินโดนีเซีย การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้ง ท่ี 61, ประเทศไทย ”Impermanence“, KLEX screening programme, เกนต์, เบลเยี่ยม “Tropical Seasonings” KLEX Screening at DocLab, ฮานอย, เวียดนาม Welcome to the New Age, screening programme curated by Michael Brynntrup, ชตุทท์การ์ท, เยอรมนี - Kuala Lumpur Experimental film&Video Festival 2014, มาเลเซีย - “Asia – Vacuumed Cityscape“, Sakaiki (Yotsuya sanchome / Tokyo), ญี่ปุ่น - HBK Film Forum Screening Programme at The Braunschweig University of Art (HB- K),Braunschweig, เยอรมนี - “Tropical Seasonings”, KLEX Screening Programme at The Athena Cinema in Athens, โอไฮโอ, สหรัฐอเมริกา - KOSMA International Film Festival (KLEX Screening Programme), โซล, เกาหลีใต้ - Filmvirus WILDTYPE, ประเทศไทย •”HomePortrait”,KLEXScreeningProgram meatSchoolofMediaArts&Design,LintonUniversityCollege,มาเลเซีย - “ Tropical Seasonings ”, Hallwalls Contemporary Arts Center, Buffalo, นิวยอร์ค, สหรัฐอเมริกา - Directors Lounge at the contemporary art ruhr (C.A.R.), at Zollverein World Heritage Site, เอสเซน, เยอรมนี - “Different Wall/ Different Way/ Different Work” , ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - “Media/Art Kitchen“, จาการ์ตา, กัวลาลัมเปอร์, มะนิลา, กรุงเทพ (โครงการร่วมกับ นิธิภัค สามเสน) th - The 11 International Festival Signesde Nuit,ปารีส,ฝรั่งเศส - WNDX Festival 2013,วินนิเพก,แคนาดา - EVA10 : Experimental Video Art Exhibition, ประเทศไทย - เทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ 17 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย - The 29th Hamburg International Short Film Festival, ฮัมบูร์ก, เยอรมนี - “Money after Money” exhibition at Eye of Gyre, โตเกียว, ญี่ปุ่น (โครงการร่วม กับนิธิภัคสามเสน) th - The 9 Berlin International Directors Lounge 2013,เบอร์ลิน,เยอรมนี - ColimaenCortoshortfilm contest 2012, โคลิมา, เม็กซิโก - Kuala Lumpur Experimental film&Video Festival 2012, กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย - EVA9 : Ex- perimental Video Art Exhibition, ประเทศไทย - เทศกาลภาพยนตร์สั้น ครั้งท่ี 16 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย - The 23rd Biennale of Design, เมือง Ljubljana, สโลเวเนีย (โครงการร่วมกับ นิธิภัค สามเสน) - “GlitchFiction”, Paris Design Week, Cité de la Mode et du Design, ปารีส, ฝร่ังเศส (โครงการร่วมกับ นิธิภัค สามเสน) - “MA/MFA Degree Show”, Slade School of Fine Art, UCL, ลอนดอน, อังกฤษ - “Off The Shelf”, Slade School of Fine Art, UCL, ลอนดอน, อังกฤษ - “Ed Ruscha film Chal- lenge” จัดโดย Southbank Centre, ลอนดอน, อังกฤษ - “Noufaux Riche”, Sheung Wan, ฮ่องกง - วิดีโออาร์ต “Reflection” ซึ่งทำ�ร่วมกับศิลปิน นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ร่วมแสดงเป็นส่วนหน่ึงของ นิทรรศการ “Lost in the City” จัดแสดงที่ Jim Thompson Art Center, ประเทศไทย - The 34th International Film Festival Rotterdam, เนเธอร์แลนด์ - เทศกาลภาพยนตร์สั้น คร้ังที่ 8 จัดโดย มูลนิธิหนังไทย

129


ชื่อ สันติ หวังชื่น เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2531 ที่อยู่ 12 ซอย 13 ถ. อุบล-ตระการ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000 โทร 083-7473330 Eื​ืmail boontom00086@gmail.com การศึกษา - โรงเรียนอุบลวิทยาคม - โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช - วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ปริญญาศิลปบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) ภาควิชาศิลปไทย - คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร - กำ�ลังศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประวัติการแสดงงาน 2553 2554 2555 2556 2557 2558

-

ร่วมแสดงนิทรรศการงานศิลปวัฒนธรรม โดยศูนย์วัฒนธรรม ที่ห้างสรรพสินค้าซิติ้มอล เข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชนสร้างผลงานศิลปะร่วมสมัย ปี 2554 ณ บ้านดำ� นางแล จ.เชียงราย ร่วมแสดงการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 28 ร่วมแสดงการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 29 ร่วมแสดงนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 34 ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 29 แสดงงานนิทรรศการ 36 ปี ศิลปไทย ร่วมแสดงนิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 35 ร่วมแสดงนิทรรศการศิลปกรรม “อมตะ อาร์ต อวอร์ด” ครั้งที่5 แสดงงานกลุ่มนิทรรศการศิลปกรรม SENSE OF LOCAL Thai Art Exhibition แสดงงานกลุ่มนิทรรศการศิลปกรรม “ Same : Different ” ณ YEO Workshop ประเทศสิงคโปร์

เกียรติประวัติ 2548 2555

130

- รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 การแข่งขันทักษะวิชาชีพ ประติมากรรม เทคนิคปั้นดินเหนียว ขนาด ครึ่งตัว ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม การแสดง ศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 58 , 61

ชื่อ สุวัฒน์ บุญธรรม เกิด 4 กันยายน 2525 จ.สุรินทร์ ที่อยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สาขาวิชาศิลปกรรม 680 หมู่ 11 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 080-4158145 Email suwat.b_1982@hotmail.com การศึกษา - โรงเรียนสุรวิทยาคาร จ.สุรินทร์ - ศป.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) สาขาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น - ศม.(ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน - อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาศิลปกรรม(วิชาเอกจิตรกรรม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร นิทรรศการเดี่ยว

นิทรรศการศิลปกรรมเดี่ยว “ สีสัน...อุดมสมบูรณ์...เก็บเกี่ยว ” จ.ขอนแก่น (ปี 2547)

ประวัติการแสดงงาน 2547-2558

- การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 50/2547 ,51/2548,56/2553,57/2554, 58/2555 , 60/2557 และ 61/2558 - การแสดงศิลปกรรมบัวหลวง ครั้งที่ 27/2549 , 28/2550และ 32/2553 - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่7/2548 ,10/2551 ,11/2552และ 12/2553 - การแสดงศิลปกรรม อมตะอาร์ต จีเนียส อวอร์ด ครั้งที่ 1/2548,2/2549 4/2551และ 5/2557 - การแสดงศิลปกรรมปตท. ครั้งที่ 24 / 2553, 25/2554และ 29/2557 - ศิลปกรรมโตชิบา” นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต “ ครั้งที่ 22 (ปี 2553) - การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 21/2547และ23/2549 - นิทรรศการศิลปะ CONVEY TO…สัญญาณแห่งการถ่ายทอด ณ หอศิลป์ริมน่าน จ.น่าน - โครงการแสดงผลงานศิลปกรรมสัญจรและเสวนาทางศิลปะ “ศิลป์สญ ั จร ศิลปากรสูอ ่ ส ี าน”(ปี 2554) ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ หอศิลป์จำ�ปาศรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม - นิทรรศการทศวรรษที่ 3 จิตรกรรมบัวหลวง ณ หอศิลป์พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (ปี 2555) - นิทรรศการต่างจินตนาการต่างความคิดDIVERSITY OF IMMAGINATION ณ หอศิลป์สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

เกียรติประวัติ 2547 2548 2553 2554 2556 2557 2558

-

รางวัลที่ 3 อมตะอาร์ต จีเนียส อวอร์ต ครั้งที่1 ทุนส่งเสริมศิลปะมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รางวัลที่ 3 เหรียญทองแดงการประกวดจิตรกรรมบัวหลวง ครัง้ ที่ 27 (ประเภทจิตรกรรมร่วมสมัย) รางวัลสนับสนุนรางวัลที่ 2 ของธนาคารกรุงไทย ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 51 รางวัลดีเด่นศิลปกรรมปตท. ครั้งที่25(ความฝันอันสูงสุด) รางวัลดีเด่นศิลปกรรมร่วมสมัยพานาโซนิค ครั้งที่ 12 รางวัลสนับสนุนรางวัลที่ 2 ของธนาคารกรุงไทย ในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 56 รางวัลดีเด่นการประกวดศิลปกรรม “ นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต “ ครั้งที่ 22 ทุนส่งเสริมศิลปะมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รางวัลชมเชยการประกวดศิลปกรรมลุ่มน้ำ�โขง ครั้งที่ 2 รางวัลที่ 1(จิตรกรรม) อมตะอาร์ตอวอร์ด ครั้งที่ 5 ทุนศึกษาดูงาน และโครงการเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมของศิลปินไทย ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา รุ่นที่ 5 โดย หออัครศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม - รางวัลที่ 3 การประกวดศิลปกรรมกรุงไทย ครั้งที่ 1 - รางวัลเกียรตินย ิ มอันดับ3 เหรียญทองแดง(จิตรกรรม) การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 61


ชื่อ เกิด ที่อยู่ โทร การศึกษา ที่ทำ�งาน โทร/โทรสาร

อริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์ 25 กรกฏาคม 2511 239 ม.เมืองทอง 2/2 ซ.15 พัฒนาการ 61 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 0-2722-4149, 08-6396-8631 - ศิลปบัณฑิต (สาขาประติมากรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ปี 2534 - ศิลปมหาบัณฑิต (สาขาประติมากรรม) คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ปี 2536 - รองศาสตราจารย์ประจำ�ภาควิชาวิจิตรศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 - 0-2739-2151

เกียรติประวัติ 2533 2534 2535 2536 2537 2539 2540 2541 2542 2543- 2545 2547 2548 2549 2550 2552 2554 2555 2556 2557

- ได้รับทุนเข้าร่วมโครงการมิตรภาพศตวรรษที่ 21 กลุ่มผู้นำ�เยาวชน ณ ประเทศญี่ปุ่น - ชนะเลิศออกแบบประติมากรรมเพือ ่ ติดตัง้ สวนลุมพินี หัวข้อ “อนุรก ั ษ์สง่ิ แวดล้อมและธรรมชาติ” - ได้รับคัดเลือกให้เป็นเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ (สาขาศิลปวัฒนธรรม) ของคณะกรรมการส่งเสริม และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) - รางวัลชมเชย การประกวดประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - รางวัลพิเศษ การประกวดประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จประนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ - รางวัลยอดเยี่ยม การประกวดประติมากรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อติดตั้ง ณ สวนหลวงเฉลิมพระเกียรติเบญจสิร - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 1 (เหรียญทอง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติครั้งที่ 42 ผลงานชื่อ “ช้างให้ – ไห้ หมายเลข 1” - รางวัลยอดเยีย ่ ม ศิลปกรรมร่วมสมัยธนาคารกสิกรไทย ปี พ.ศ. 2539 ผลงานชือ ่ “ไห้ – งาหาย 3” - รางวัลดีเด่นอันดับ 2 สาขาประติมากรรม ศิลปกรรมร่วมสมัยของบริษัท สหวิริยา โอเอ ครั้งที่ 2 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ ครั้งที่ 43 ปี พ.ศ. 2540 ผลงานชื่อ “แสนสาหัส 3” - รางวัลพิเศษ การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำ�กัด ครั้งที่ 9 ชื่อผลงาน “แสนสาหัส” - ได้รับทุนการศึกษาและดูงานด้านศิลปะที่รอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 1 เดือน ของธนาคารกสิกรไทย - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 44 ผลงานชื่อ “ไม้ประดับ หมายเลข 2” - รางวัลเกียรตินย ิ มอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 45 พ.ศ. 2542 ผลงานชื่อ “บัว 2000 หมายเลข 2” - รางวัลดีเด่น การประกวดศิลปกรรม “นำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ของ บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำ�กัด ครั้งที่ 11 ประจำ�ปี พ.ศ. 2542 ผลงานชื่อ “บัว – ลอยฟ้า” - รางวัลดีเด่น ระดับประชาชนทั่วไป การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 14 หัวข้อ “ตามแนวพระราชดำ�ริ เศรษฐกิจพอเพียง” ผลงานชื่อ “วิถีไทยในไซ – ข้อง” - รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 การประกวดประติมากรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สำ�นักสวัสดิการสังคม กรุงเทพมหานคร ประจำ�ปี พ.ศ. 2543 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 46 พ.ศ. 2543 ผลงานชื่อ “มนุษย์พันธุกรรมใหม่ หมายเลข 2” - รางวัลยอดเยี่ยม (ระดับประชาชนทั่วไป) การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 15 หัวข้อ “พลังงาน ชีวิต สิ่งแวดล้อม” ผลงานชื่อ “พลังความสมดุลแห่งการสร้างสรรค์” - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ปี พ.ศ. 2545 ผลงานชื่อ “ม้าเร็ว ม้าแรง ม้ารวย” - รางวัลยอดเยี่ยม (ระดับประชาชนทั่วไป) การประกวดศิลปกรรม ปตท. ครั้งที่ 17 หัวข้อ “ปลูกป่าได้มากกว่าต้นไม้” ผลงานชื่อ “สืบผืนป่า สืบคุณค่าชีวิต” - รางวัลทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรมศิลป์ พีระศรี ประจำ�ปี 2547 โครงการเชิดชูเกียรติยอดเยี่ยมแห่ง ประเทศไทย รางวัลศิลป์ พีระศรี - SOLO EXHIBITION 2004 “THE STORIES OF HUMAN WITH ANIMALS”, SURAPON GALLERY, BANGKOK. - AWARDS OF EXCELLENCE THE 7TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION OPEN COMPETITION, FUKUOKA, JAPAN. 2004 - PECIAL PRIZE, TOYAMURA INTERMATIONAL SCUCPTURE BIENNALE 2005, JAPAN. - WARDS OF EXCELLENCE THE 8TH OITA ASIAN SCULPTURE EXHIBITION OPEN COMPETITION, FUKUOKA, JAPAN. 2006 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 52พ.ศ. 2549 ผลงานชื่อ “DARK WATER NO.2” - SEMI GRANDPRIZE, TOYAMURA INTERMATIONAL SCUCPTURE BIENNALE 2007,JAPAN. - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 53 พ.ศ. 2550 ผลงานชื่อ “RETURN OF THE WATER NO.2” - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 55 พ.ศ. 2552 ผลงานชื่อ “การเผชิญหน้าบนความท้าทาย” - รางวัล Shimonoseki City Art Museum Prize จากนิทรรศการ 24th Ube Biennale S culpture Competition 2011, Tokiwa Museum Ube City, Japan - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 58 พ.ศ. 2555 ผลงานชื่อ “ Unity of Life” - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 59 พ.ศ. 2556 ผลงานชื่อ “ขยอก” - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 (เหรียญเงิน) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 60 พ.ศ. 2557 - รางวัลที่ 2 การประกวดศิลปกรรม อมตะ อาร์ต อวอร์ด ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2558 ผลงานชื่อ “ SECRET NATURAL NO.1” - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 (เหรียญทองแดง) ประเภทประติมากรรม การแสดงศิลปกรรม แห่งชาติ ครั้งที่ 61 พ.ศ. 2558 ผลงานชื่อ “แตกหน่อต่อรวง”

131


ภาคผนวก Appendix 

132


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 2132 / 2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำ�นวยการ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ......................................................

ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ.2558 ฉะนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะ

กรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ.2558 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีนามดังต่อไปนี้ 1. ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม

ที่ปรึกษา

2. ผู้แทนบริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) ที่ปรึกษา 3. ผู้แทน บมจ.ธนาคารกรุงไทย ที่ปรึกษา 4. ศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ โปษยานนท์

ที่ปรึกษา

5. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานกรรมการ 6. รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

รองประธานกรรมการ

7. คณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรรมการ

8. คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรรมการ

9. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กรรมการ

10. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

กรรมการ

11. คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

กรรมการ

12. ผู้อำ�นวยการสำ�นักวัฒนธรรม หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กรรมการ

13. ผู้อำ�นวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา

กรรมการ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 14. ผู้อำ�นวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขงสาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

กรรมการ

15. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรรมการและเลขานุการ 16. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้ช่วยเลขานุการ

17. นางนันทาวดี

เกาะแก้ว

ผู้ช่วยเลขานุการ

18. นายสำ�ราญ

กิจโมกข์ ผู้ช่วยเลขานุการ

19. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง

ผู้ช่วยเลขานุการ

20. นายกฤษฎา

ดุษฎีวนิช

ผู้ช่วยเลขานุการ

21. นายวรรณพล

แสนคำ� ผู้ช่วยเลขานุการ

ทั้งนี้ให้คณะกรรมการอำ�นวยการมีหน้าที่กำ�หนดระเบียบต่างๆในการจัดแสดงงาน และการสรรหาบุคคลร่วมในคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมประเภท

ต่างๆที่ศิลปินส่งเข้าร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

สั่ง ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

133


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 2133 / 2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ......................................................

ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ.2558 ฉะนั้น เพื่อให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะ

กรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีนามดังต่อไปนี้ 1.

รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม

ที่ปรึกษา

2.

ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

3.

ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กรรมการ

ประธานกรรมการ

4.

อาจารย์ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์

กรรมการ

กรรมการ

ประธานอนุกรรมการฝ่ายสูจิบัตร โปสเตอร์ บัตรเชิญ และสิ่งพิมพ์อื่นๆ 5.

ผู้อำ�นวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประธานอนุกรรมการฝ่ายพิธีการ บริการสถานที่ และรักษาความปลอดภัย 6.

ผู้อำ�นวยการกองคลัง มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรรมการ

ประธานอนุกรรมการฝ่ายการเงิน เงินรางวัล และเหรียญรางวัล 7.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวัฒน์

สิริเวสมาศ

กรรมการ

ประธานอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ 8.

นายยุทธศักดิ์

รัตนปัญญา

กรรมการ

หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรรมการ

ประธานอนุกรรมการฝ่ายรับ-คืนผลงานศิลปกรรมและติดตั้งนิทรรศการ 9.

ประธานอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 10. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ กรรมการ ประธานอนุกรรมการฝ่ายประเมินผล 11. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรรมการและเลขานุการ

ประธานอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ 12. นางนันทาวดี

เกาะแก้ว

13. นายสำ�ราญ

กิจโมกข์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

14. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

15. นายกฤษฎา

ดุษฎีวนิช

กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

16. นายวรรณพล

แสนคำ� กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทัง้ นี้ ให้คณะกรรมการมีหน้าทีใ่ นการดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครัง้ ที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆทีเ่ กีย ่ วข้องของมหาวิทยาลัย

ศิลปากร และหน่วยงานภายนอกให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สั่ง ณ วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2557

134

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 251 / 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 …………………………….

ด้วยมหาวิทยาลัยศิลปากร กำ�หนดจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำ�เนิน ถนน

ราชดำ�เนิน กรุงเทพฯ ฉะนัน ้ เพือ ่ ให้การดำ�เนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวต ั ถุประสงค์ของโครงการฯ จึงแต่งตัง้ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสิน การแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วยผู้ดำ�รงตำ�แหน่งและผู้มีรายนามดังต่อไปนี้

1. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ชลูด นิ่มเสมอ

กรรมการ

2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สันติ เล็กสุขุม

กรรมการ

3. ศาสตรเมธี นนทิวรรธน์

จันทนะผะลิน

กรรมการ

4. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ อิทธิพล ตั้งโฉลก

กรรมการ

5. ศาสตราจารย์ เดชา วราชุน

กรรมการ

6. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ปรีชา เถาทอง

กรรมการ

7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร

รอดบุญ

กรรมการ

8. รองศาสตราจารย์เข็มรัตน์ กองสุข

กรรมการ

9. อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากรหรือผู้แทน

กรรมการ

10. ผู้อำ�นวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เลขานุการ

สั่ง ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

135


คำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 813 / 2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่าง ๆ การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 -------------------------------------

ตามคำ�สั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ 2133/2557 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินงาน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี

2558 แล้วนั้น

เพื่อให้การดำ�เนินการจัดแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่างๆ ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้ง

ที่ 61 ประจำ�ปี 2558 ประกอบด้วยผู้มีรายนาม ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

1. อาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ

ประธานอนุกรรมการ

2. อาจารย์โอชนา

พูลทองดีวัฒนา

อนุกรรมการ

3. นางสาวดาราพร

ครุฑคำ�รพ อนุกรรมการ

4. นายกฤษฎา

ดุษฎีวนิช

อนุกรรมการ

5. นายชัยวัช

เวียนสันเทียะ

อนุกรรมการ

6. นายวรรณพล

แสนคำ� อนุกรรมการ

7. นายศรายุทธ

ภูจริต

อนุกรรมการ

8. นายเอกพงษ์

สกุลพันธุ์

อนุกรรมการ

9. นางสาวสมฤดี

เพ็ชรทอง

อนุกรรมการและเลขานุการ

2. คณะอนุกรรมการฝ่ายรับ-คืนผลงานศิลปกรรม และติดตั้งนิทรรศการ

1. นายยุทธศักดิ์

2. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ อนุกรรมการ

รัตนปัญญา

ประธานอนุกรรมการ

3. นางสาวมินตา

วงษ์โสภา

4. นางสาวสมฤดี

เพ็ชรทอง

อนุกรรมการ

5. นางสาวจิราภรณ ทองแกมแก้ว

อนุกรรมการ

6. นายเอกพงษ์

สกุลพันธุ์

อนุกรรมการ

7. นายกฤษฎา

ดุษฎีวนิช

อนุกรรมการ

8. นายวรรณพล

แสนคำ� อนุกรรมการ

อนุกรรมการ

9. นายศรายุทธ

ภูจริต

อนุกรรมการ

10. นายชัยวัช

เวียนสันเทียะ

อนุกรรมการ

11. นายรุจฬสวัตต์

ครองภูมินทร์

อนุกรรมการ

12. นายวัยวัฒน์

งามสิงห์

อนุกรรมการ

13. นายเฉลิม

กลิ่นธูป

อนุกรรมการ

14. นางสาวจุฑารัตน์ เนียมวิรัตน์

อนุกรรมการ

15. นายสิทธิพร

กล่ำ�ศรี อนุกรรมการ

16. นางนันทาวดี

เกาะแก้ว

อนุกรรมการและเลขานุการ

17. นางสาวจันจิรา

จันทร์ผดุง

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

3. คณะอนุกรรมการฝ่ายสูจิบัตร โปสเตอร์ บัตรเชิญ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

1. อาจารย์ ดร.ปรมพร ศิริกุลชยานนท์

ประธานอนุกรรมการ

2. นายยุทธศักดิ์ รัตนปัญญา อนุกรรมการ 3. นางนันทาวดี เกาะแก้ว อนุกรรมการ 4. นายกฤษฎา ดุษฎีวนิช อนุกรรมการ

5. นายวรรณพล

แสนคำ� อนุกรรมการ

6. นายศรายุทธ ภูจริต อนุกรรมการ 136

7. นายชัยวัช

เวียนสันเทียะ

อนุกรรมการ

8. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง อนุกรรมการและเลขานุการ


4.

คณะอนุกรรมการฝ่ายพิธีการ สถานที่ และรักษาความปลอดภัย

1. ผู้อำ�นวยการกองกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประธานอนุกรรมการ

2. นางสาวสุวรรณา

เอี่ยมเจริญ

อนุกรรมการ

3. นางศศิวิมล

สันติราษฎร์ภักดี

อนุกรรมการ

4. นางลภัสรดา

ทองผาสุก

อนุกรรมการ

5. นางสาวสมฤดี

เพ็ชรทอง

อนุกรรมการ

6. นายเอกพงษ์

สกุลพันธุ์

อนุกรรมการ

7. นางสาวจิราภรณ์

ทองแกมแก้ว

อนุกรรมการ

8. นางสาวจันจิรา

จันทน์ผดุง

อนุกรรมการ

9. นายรุจฬสวัตต

ครองภูมินทร์

อนุกรรมการ

10. นายณัฐพงศ์ กองกาไว อนุกรรมการ 11. นายพนม พุ่มดารา อนุกรรมการและเลขานุการ 12. นางสาวสายฝน รัตนยัง อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 5. คณะอนุกรรมการฝ่ายการเงิน เงินรางวัล และเหรียญรางวัล

1. ผู้อำ�นวยการกองคลัง มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประธานอนุกรรมการ

2. นางดุษณ

คล้ายปาน

อนุกรรมการ

3. นางสาวเกษณีย์

วันศรี

อนุกรรมการ

4. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ อนุกรรมการและเลขานุการ

5. นางสาวจิราภรณ ทองแกมแก้ว

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

6. คณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์

1. หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประธานอนุกรรมการ

2. นางสาวอารยา

เลปนานนท์

อนุกรรมการ

3. นางกัญจราภา

แจ่มสวัสดิ์

อนุกรรมการ

รัตนปัญญา

อนุกรรมการ

4. นายยุทธศักดิ์

5. นางสาวดาราพร ครุฑคำ�รพ อนุกรรมการ

6. นางนันทาวดี

เกาะแก้ว

อนุกรรมการ

7. นางสาวพรผกา

คงกระพันธ์

อนุกรรมการ

8. นายศรายุทธ

ภูจริต

อนุกรรมการ

9. นายชัยวัช

เวียนสันเทียะ

อนุกรรมการ

10. นายเอกพงษ์ สกุลพันธุ์ อนุกรรมการ 11. นายรุจฬสวัตต์ ครองภูมินทร์ อนุกรรมการ 12. นางศรีวรรณ ฤกษ์ชัยรัศมี อนุกรรมการ 13. นางสาวพรพิบูลย์ ขจรบุญ อนุกรรมการ

14. นางสาวกาญจนา จุลโพธิ์

อนุกรรมการ อนุกรรมการและเลขานุการ

15. นางสาวขจี

ชิดเชื้อ

16. นางสาวดลนภา

พัวพันธ์งาม

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

17. นายธนตุลย์

เบ็งสงวน

อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

7. คณะอนุกรรมการฝ่ายประเมินผล

1. นางสาวดาราพร

ครุฑคำ�รพ ประธานอนุกรรมการ

2. นางสาวพรผกา คงกระพันธ์ อนุกรรมการ

3. นายพรเพิ่ม

เกิดหนุนวงศ์

อนุกรรมการ

4. นายเอกพงษ์ สกุลพันธุ์ อนุกรรมการ

5. นายรุจฬสวัตต์

ครองภูมินทร์

อนุกรรมการ

6. นางสาวจันทร์จิรา จันทร์ผดุง อนุกรรมการ 7. นางสาวจุฑารัตน์ เนียมวิรัตน์ อนุกรรมการและเลขานุการ 8. คณะอนุกรรมการฝ่ายเลขานุการ

1. เลขานุการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประธานอนุกรรมการ

137


2. นางลภัสรดา

ทองผาสุก

อนุกรรมการ

3. นางนันทาวดี

เกาะแก้ว

อนุกรรมการ

4. นายสำ�ราญ กิจโมกข์ อนุกรรมการ 5. นายเอกพงษ์

สกุลพันธุ์

อนุกรรมการ

6. นางสาวจิราภรณ์

ทองแกมแก้ว

อนุกรรมการ

7. นางสาวจันจิรา

จันทน์ผดุง

อนุกรรมการ

8. นางเอื้อมพร

แผนสมบูรณ์

อนุกรรมการ

9. นางสาวจุฑารัตน์

เนียมวิรัตน์

อนุกรรมการ

10. นางประคิ่น สุกเทพ อนุกรรมการ 11. นางสาวสมฤดี เพ็ชรทอง อนุกรรมการและเลขานุการ 12. นางสาวมินตา วงษ์โสภา อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

ทั้งนี้ ให้คณะอนุกรรมการดำ�เนินงานฝ่ายต่างๆ มีหน้าที่ในการดำ�เนินการจัดการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี 2558 โดยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆที่มีส่วน

เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และหน่วยงานภายนอกให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

138

สั่ง

ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ผลการตัดสินผลงานศิลปกรรม การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558 ได้เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้า

ร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ไปแล้วนั้น

บัดนีค ้ ณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้พจ ิ ารณาคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมทีส ่ ง่ เข้าประกวดในครัง้ นีเ้ ป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว และสามารถสรุปผลรางวัลประเภทต่างๆ

ได้ ดังนี้ ประเภทจิตรกรรม

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน

นางสาวธิติพรหม อ่อนเปี่ยม

ผลงานชื่อ “บรรพบุรุษรำ�ลึก”

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นายเนติกร ชินโย

นายสันติ หวังชื่น

นายสุวัฒน์ บุญธรรม

ผลงานชื่อ “The Truth No.7” ผลงานชื่อ “อีสาน งานถักทอ หมายเลข 2”

ผลงานชื่อ “สัญลักษณ์และร่องรอยแห่งอารยธรรม”

ประเภทประติมากรรม

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายพรสวรรค์ นนทะภา

ผลงานชื่อ “ความทรงจำ�ในวิถีชีวิตชนบทอีสาน”

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นายบุญเกิด ศรีสุขา

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์

ผลงานชื่อ “กลมเกลียว หมายเลข 1” ผลงานชื่อ “แตกหน่อต่อรวง”

ประเภทภาพพิมพ์

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายประวีณ เปียงชมภู

ผลงานชื่อ “พื้นที่สภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 2”

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นางสาวกมลพันธุ์ โชติวิชัย

นายญาณวิทย์ กุญแจทอง

นายบุญมี แสงขำ�

ผลงานชื่อ “Suffering No.2”

ผลงานชื่อ “เสียงร้องจากธรรมชาติ”

ผลงานชื่อ “ดอกหญ้า หมายเลข 2”

ประเภทสื่อประสม

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 1 เหรียญทอง

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน

นายวุฒินท์ ชาญสตบุตร

ผลงานชื่อ “แก่นมนุษย์”

รางวัลประกาศนียบัตรเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง

นางสาวจิรนันท์ จุลบท

ผลงานชื่อ “กลายพันธุ์”

นางเมตตา สุวรรณศร

ผลงานชื่อ “เส้นใยความรักของแม่ต่อลูกน้อยออทิสติก”

นางสาวสุนันทา ผาสมวงค์

ผลงานชื่อ “The State of the Suffering”

ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช)

อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร 139


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ผลการคัดเลือกผลงานศิลปกรรมเข้าร่วมแสดง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากรลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ.2558 ได้เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้า

ร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ไปแล้วนั้น

บัดนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้พจ ิ ารณาคัดเลือกผลงานศิลปกรรมทีส ่ ง่ เข้าประกวดในครัง้ นีเ้ ป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว และสามารถสรุปผลการคัดเลือกผลงานให้เข้าร่วม

แสดงประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภทจิตรกรรม นางสาวกนกพรรณ ธราสุวรรณ

ผลงานชื่อ “บทสนทนาผ่านเปลือก”

ว่าที่ ร.ต.กิรติ บุญไกร

ผลงานชื่อ “บาดแผลภายในใจ”

นายเกษมสันต์ ยอดสง่า

ผลงานชื่อ “ภาพประกอบของเมืองหลวง”

นายไกรพล กิตติสิโรตม์

ผลงานชื่อ “ภาพเหมือนบุคคล หมายเลข 2”

นางสาวครองปีย์คเณศ สิริบารมีธรรม

ผลงานชื่อ “ภาพลักษณ์มนุษย์กับสภาวะธรรมชาติของจิตในผลงานจิตรกรรม หมายเลข 1”

นายจิรโรจน์ ศรียะพันธุ์

ผลงานชื่อ “บรรยากาศและสีสันของลวดลาย หมายเลข 2”

นายเจนธรรม วัฒนศิลป์

ผลงานชื่อ “สุนทรียภาพแห่งซากอุตสาหกรรม หมายเลข 2”

นายชุมพล พรหมจรรย์

ผลงานชื่อ “ทวารบาล หมายเลข 1”

นายณัฐกิตติ์ แก้วกิตติ นายณัฐิวุฒิ พวงพี

ผลงานชื่อ “มองผ่าน”

นายเดโช โกมาลา

ผลงานชื่อ “โหนด นา เล”

นายตนุพล เอนอ่อน

ผลงานชื่อ “บ้านและการบันทึก (เดือนเมษายน)”

นายธรา ภานุศิริ

ผลงานชื่อ “โลก หมายเลข 1”

นางสาวนูรียา วาจิ

ผลงานชื่อ “เหตุการณ์นั้น.. ฉันรู้สึก”

นายเนติกร ชินโย

ผลงานชื่อ “The Truth No.8”

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์

ผลงานชื่อ “ความจริง หมายเลข 2”

นายฝนธรรม บัวภุชพงศ์

ผลงานชื่อ “บรรยากาศแห่งวิถีชีวิตชาวใต้ หมายเลข 6”

นายมาตรา บูรณสิน

ผลงานชื่อ “ขอพระเจ้าสดับ คำ�ร้องวิงวอนของข้า”

นางสาวยามีล๊ะ หะยี

ผลงานชื่อ “โลกของสตรีมุสลิม”

นายยุทธนา นิ่มเกตุ

ผลงานชื่อ “ความทรงจำ�ในสายน้ำ� หมายเลข 2”

นายรวีพล ประดิษฐ

ผลงานชื่อ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 7”

นายวนัด อ่างสุวรรณ

ผลงานชื่อ “สาระร่องรอยแห่งความสุข-ทุกข์ของแม่”

นายวิมล เขียวมาก

ผลงานชื่อ “ภาพจับ 2015”

นายสกล มาลี

ผลงานชื่อ “ฮีต หมายเลข 12”

นายสมศักดิ์ ลีเดร์

ผลงานชื่อ “สัญลักษณ์แห่งศรัทธา หมายเลข 1”

นายสรศักดิ์ รักเพ็ชร์

ผลงานชื่อ “นิ่งสงบ ระหว่างกาลเวลา หมายเลข 2”

นายสิทธิศักดิ์ ทองดีนอก

ผลงานชื่อ “สภาวะ วัตถุ ชีวิต หมายเลข 2”

นายสิริทัต เตชะพะโลกุล

ผลงานชื่อ “ศิลปวัฒนธรรมไทย”

นางสาวสุจิตรา พาหุการณ์

ผลงานชื่อ “อารมณ์ ความเคลื่อนไหว ความสงบสุขของอาชีพประมง”

นายสุทธิรักษ์ ประสิทธิ์ศาสตร์

ผลงานชื่อ “จิตวิตก”

นายสุพร แก้วดา

ผลงานชื่อ “ตามรู้ ตามดู หมายเลข 1”

และผลงานชื่อ “ตามรู้ ตามดู หมายเลข 2”

นางสาวสุภาภรณ์ จุลกะ

ผลงานชื่อ “ดอกไม้ของแม่ หมายเลข 17”

นายสุวรรณ ชุมพล

ผลงานชื่อ “เบื้องหน้า หมายเลข 1”

140

ผลงานชื่อ “พันธะสังคมเมือง หมายเลข 4” และผลงานชื่อ “พันธะสังคมเมือง หมายเลข 4”

และผลงานชื่อ “เบื้องหน้า หมายเลข 2”

นายสุวรรณ ละม่อม

ผลงานชื่อ “ภาพจับ”

นายสุเมธ จันทร์ฤาชาชัย

ผลงานชื่อ “พลังงานนิวเคลียร์ สร้างโรค หมายเลข 2”

ว่าที่ ร.ต.อนุโรจน์ จันทร์โพธิ์ศรี

ผลงานชื่อ “ไตรลักษณ์ หมายเลข 1”

นายอิมรอน ยูนุ

ผลงานชื่อ “ร่องรอยชีวิต”


ประเภทประติมากรรม นายกิตติพงษ์ ประจันตะเสน

ผลงานชื่อ “ชีวิตใหม่”

นายจักรพรรดิ์ ภูแช่มโชติ

ผลงานชื่อ “พัก”

นายเทอดทูน คำ�มงคุณ ผลงานชื่อ “กิเลสกินใจ” นายปูรณ์ ครบุรี

ผลงานชื่อ “สภาวะของห้วงอารมณ์ความรู้สึก”

นายพลวัฒน์ แกล้ววิกิจ

ผลงานชื่อ “กลึงกลม หมายเลข 1”

นายมงคล ฉัตรพัชรภิญโญ

ผลงานชื่อ “จังหวะการเคลื่อนไหวแห่งความขัดแย้ง”

นายวรวุฒิ ขันติยาวิยะกุล

ผลงานชื่อ “เฝ้าฝัน”

นายอริยะ กิตติเจริญวิวัฒน์

ผลงานชื่อ “ประคบ-ประหงม”

ประเภทภาพพิมพ์ นายชยันต์ พลอาสา

ผลงานชื่อ “The Little Hunter”

นายชัชวาลย์ วรรณโพธิ์

ผลงานชื่อ “ความประทับใจจากศรีสัชนาลัย หมายเลข 1”

นายไชยยา วรรณเลิศ

ผลงานชื่อ “ร่องรอย วิถี ท้องนา หมายเลข 3”

นายญาณวิทย์ กุญแจทอง

ผลงานชื่อ “ต้นน้ำ�จากป่า”

นางสาวธนธร สรรพกิจจำ�นง นายประวีณ เปียงชมภู นายพงศ์ศิริ คิดดี

ผลงานชื่อ “จดหมายรัก”

ผลงานชื่อ “พื้นสภาวะแห่งความสุขสงบของจิต หมายเลข 1”

นางสาวพัดชา แก้วทองตาล นายพิชญุตม์ สิรสุนทร นายสุรพงษ์ สมสุข

นายยุทธ พุฤฒาสัจธรรม

ผลงานชื่อ “บรรยากาศของสีแห่งความศรัทธาและสงบสุข หมายเลข 2” ผลงานชื่อ “Before the Rain No.4”

ผลงานชื่อ “ตัวตน จิตไร้สำ�นึก หมายเลข 10” ผลงานชื่อ “บาดแผลของยุคสมัย หมายเลข 4” ผลงานชื่อ “Life 2015 No. 3”

นายสุรศักดิ์ สอนเสนา

ผลงานชื่อ “ทางนกขมิ้น”

นายอมร ทองพยงค์

ผลงานชื่อ “สถาน กาล”

นางสาวอรสา ชาลีจังหาญ

ผลงานชื่อ “ร่องรอย:สภาวะแห่งทุกข์ หมายเลข 1”

ประเภทสื่อประสม นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ

นายนวัต เลิศแสวงกิจ

นายวรัญญู ช่างประดิษฐ์ นางสาววันวิสาข์ ภูวงศ์

ผลงานชื่อ “แสงธรรมนำ�จิตใจ” ผลงานชื่อ “วัตถุบันทึกหมายเลข 3 : ปัญหา 98 ประการ” ผลงานชื่อ “สุนทรียมณฑล” ผลงานชื่อ “ห้วงความทรงจำ�สีดำ�”

ประกาศ ณ วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

141


ประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง ผลการคัดเลือกผลงานศิลปะในการสนับสนุน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ของธนาคารกรุงไทย ประจำ�ปี พ.ศ. 2558

ตามประกาศมหาวิทยาลัยศิลปากร ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เรื่อง การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ประจำ�ปี พ.ศ.2558 ได้เชิญชวนศิลปินส่งผลงานเข้า

ร่วมประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 61 ไปแล้วนั้น

บัดนีค ้ ณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินได้พจ ิ ารณาคัดเลือกและตัดสินผลงานศิลปกรรมทีส ่ ง่ เข้าประกวดในครัง้ นีเ้ ป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว และสามารถสรุปผลรางวัลสนับสนุนของ

ธนาคารกรุงไทย ดังนี้

รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 1

ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

รางวัลสนับสนุนโดยธนาคารกรุงไทย รางวัลที่ 2

นายจอมพล พัวทวี

ผลงานชื่อ “สมบัติ หมายเลข 8”

นายณรัชต์ กลิ่นสุดใจ

ผลงานชื่อ “บึงบัวในตัวคน”

นายเทพพงษ์ หงษ์ศรีเมือง

ผลงานชื่อ “ยุ้งข้าว หมายเลข 1”

นายธีรยุทธ ม่วงทอง

ผลงานชื่อ “เจ้ามะลิ”

นายตะวัน วิชญภักดี

ผลงานชื่อ “ระนาบแสงริมน้ำ�”

นายประดิษฐ์ ตั้งประสาทวงศ์

ผลงานชื่อ “กำ�หนดพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์”

นายรวีพล ประดิษฐ

ผลงานชื่อ “ประกายสีในลวดลาย หมายเลข 6”

นายวัชรินทร์ รังกระโทก

ผลงานชื่อ “พื้นที่แห่งความฝัน”

นางสาวสุกัญญา สอนบุญ

ผลงานชื่อ “รูปทรงลูกชิด (ฉัน) ที่บิดเบี้ยว”

นางสาวอิสรีย์ บารมี

ผลงานชื่อ “เปี่ยมสุข”

ประกาศ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

142

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช) อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร


143


144


145


146


147


148


149


150


151


152


153


154


155


156


157


158


159


160


161


162


163


164


165


รายนามศิลปินชั้นเยี่ยมจากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 – 59 : พ.ศ. 2492 – 2556 List of Artists of Distinction from the 1st to 59th National Exhibition of Art : 1949 – 2013

Category of Artists of Distinction

166


ตารางการส่งผลงานการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 44 – 61 ( พ.ศ. 2541 – 2558 ) จำ�แนกตามประเภทผลงาน จำ�นวนผลงานที่ส่ง ได้ร่วมแสดง และได้รับรางวัล Table showing the classification of the exhibits, the numbers of the exhibits and the award-winning works from the 44th to the 61st National Exhibition of Art

ครั้งที่ No.

จำ�นวนศิลปิน

จำ�นวนงานที่ส่ง

จิตรกรรม

ประติมากรรม

ภาพพิมพ์

สื่อประสม

งานที่ได้ร่วมแสดง

งานที่ได้รับรางวัล

พ.ศ. Year

Participants

Entry

Painting

Sculpture

Printmaking

Mixed Media

No. of exhibits

Award-Winning works

167


168


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.