เดินทอดน่องท่องย่านจีน ตอนทอดน่อง๒๐๐ปี

Page 1



โครงการ​ย่าน​จีน ถิ่น​บางกอก BANGKOK CHINATOWN WORLD HERITAGE

• ไช​น่า​ทาวน์​กรุงเทพมหานคร​เป็น “ไช​น่า​ทาวน์​ที่​ใหญ่​ ที่สุดแห่งหนึ่งใน​โลก” ​มี​ประวัติศาสตร์​ความ​เป็น​มา ​ตั้งแต่​ เริม่ ก​ รุงร​ตั นโกสินทร์ เป็นร​ากฐาน​ความ​รงุ่ เรืองทาง​เศรษฐกิจ​ แหล่ง​รวม​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม ภาษา อาหาร วิถ​ชี วี ติ มีสถาน​ทสี่ ำ� คัญ​ทาง​ประวัตศิ าสตร์ ศาลเจ้า วัด และ​ แหล่ง​ท่อง​เที่ยว​ที่​คน​ทั่ว​โลก​ต้อง​แวะ​มา​เยี่ยม​เยือน • โครงการย่านจีนถิ่นบางกอกเป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่างส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันอาศรมศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วม ในการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่มีคุณค่าของชุมชนชาวจีนเก่าแก่แห่งนี้ โดย ท�ำงานอย่างใกล้ชดิ กับคณะท�ำงานร่วมย่านจีนถิน่ บางกอก ที่ประกอบด้วยชุมชน นักธุรกิจในพื้นที่ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ระบุ โจทย์ปัญหาและการลงมือท�ำร่วมกัน โดยอิงการพัฒนา อย่างเป็นองค์รวม เพื่อสร้างสรรค์ความเป็นเมืองน่าอยู่ ที่ส่งผ่านไปยังคนรุ่นหลังได้ย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์การจัดงาน คณะท�ำงานโครงการย่านจีนถิ่นบางกอกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมทอดน่อง ท่อง ย่านจีน ถิ่นบางกอก ครั้งที่ ๒ ตอน “ทอดน่อง สองร้อยปี” ขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาประวัติศาสตร์ของย่านไชน่าทาวน์บริเวณริมแม่น�้ำเจ้าพระยา โดยใช้กิจกรรม ทอดน่องเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ผู้คนในพื้นที่หันมาให้ความส�ำคัญกับท้อง ถิ่นของตนเอง รวมถึงเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าขายให้แก่ร้านค้าเล็กๆ ในชุมชนริมน�้ำที่มีศักยภาพในเรื่องการท�ำอาหารและมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่ พร้อมจะบอกกล่าวไปสังคมภายนอก คาดว่าผลจากการเดินทอดน่องท่องย่านจีนในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการ สร้างความเพลิดเพลินในการท่องเที่ยวแล้ว ผู้เข้าร่วมยังท�ำให้เกิดความเข้าใจใน ประวัตศิ าสตร์ของย่านไชน่าทาวน์บริเวณริมแม่นำ�้ เจ้าพระยาอย่างลึกซึง้ ซึง่ จะท�ำให้ เกิดการเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทั้งของคนในพื้นที่และผู้ที่มีความสนใจ เรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์เหล่านีจ้ ะน�ำมาซึง่ การฟืน้ ฟูคณ ุ ค่าของย่านเมืองเก่า ผ่าน ร้านอาหารสูตรโบราณ วัฒนธรรมของคนในพื้นที่ และสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า อันน�ำมาสู่ความเข้าใจและเข้าถึงเรื่องราวความหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ไชน่าทาวน์ โดยใช้การเดิน ศึกษาแลกเปลีย่ น เรียนรูร้ ว่ มกับผูค้ นในพืน้ ที่ เพือ่ ส่งเสริม ให้เกิดแรงขับเคลื่อนแก่ชุมชน รวมถึงสรรค์สร้างความร่วมมือที่จะเกิดประโยชน์ต่อ ย่านไชน่าทาวน์อย่างยั่งยืน

2 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


เลาะเลียบริมฝั่งเจ้าพระยา

ตามหาถิ่นฐานย่านจีนในบางกอก เรียบเรียงโดย อ.เจริญ ตันมหาพราน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นปฐม กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีด�ำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาจิจิตรนาวี เป็น แม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะทีส่ ร้างพระนครใหม่ ซึง่ พระยาราชเศรษฐีและพวกจีนอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่แต่ก่อน โปรดให้ราชาเศรษฐีและพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดส�ำเพ็งแล้ว นับแต่นั้นมาผืนที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งรวมความหลากหลายด้านวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม ภาษา อาหาร ร่องรอยต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏอยู่ตามศาลเจ้า วัดวา อาราม เรือนจีนโบราณ รวมทั้งถนนหนทาง จนได้รับการยกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญ ในกรุงเทพฯ กิจกรรม “ทอดน่อง ๒๐๐ ปี” ในครัง้ นี้ จึงได้นำ� พาไปศึกษาถิน่ ฐานของชาวจีนบริเวณ ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เส้นโลหิตใหญ่ของคนจีน ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้า หลากหลาย ท�ำให้ชมุ ชนชาวจีนส่วนหนึง่ กระจุกตัวอยูแ่ ถวตลาดน้อยไปถึงทรงวาด นับเนือ่ ง ติดต่อกันมากว่า ๒๐๐ ปี นับตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา เส้นทางเดินจะเริม่ ต้นจากศูนย์การค้าริเวอร์ซติ ี้ ชายเขตสัมพันธวงศ์ ทีม่ ปี ลายคลอง ผดุงกรุงเกษมเป็นสักขี ก่อนจะไปสู่ตลาดน้อย ซึ่งเป็นย่านที่สัมพันธ์กับการเติบโตทาง เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ อย่างแนบแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการค้าส�ำเภาเฟื่องฟูขึ้น ในสมัยต้นกรุงเทพฯ เนื่องจากรัฐบาลเปิดโอกาสให้บรรดาพ่อค้า ท�ำการค้าส�ำเภาได้อย่าง เสรี พ่อค้าเอกชนชาวจีนส่วนหนึง่ ทีม่ งั่ คัง่ ขึน้ มาจากการค้าส�ำเภายังได้ผนั ตัวเองเข้าไปอยู่ ในระบบศักดินา ด้วยการเข้าเป็นขุนนางในกรมท่า ซึง่ ลักษณะเช่นนีเ้ กิดขึน้ กับขุนนางชาว จีนในระดับกลางทั่วไป รวมทั้งพระอภัยวานิช (จาค) เจ้าของท่าเรือ “โปเส็ง” ซึ่งชาวจีน ฮกเกี้ยนต้นตระกูลโปษยะจินดา ตระกูลเก่าแก่ในย่านตลาดน้อยด้วย ท่าเรือ “โปเส็ง” ของพระอภัยวานิช (จาค) ได้รุ่งเรืองขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยมีเจ้าสัวจาคได้รบั พระราชทานทีด่ นิ ริมฝัง่ ตอน 3 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


แม่นำ�้ เจ้าพระยาในบริเวณตลาดน้อย และได้สร้างอาคารสถาปัตยกรรม แบบจีนขึ้น ส�ำหรับอาคารที่ใช้เป็น ที่พักนั้นได้ชื่อว่าบ้าน “โซวเฮงไถ่” ซึ่งยังคงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาที่ท่าเรือโปเส็งยังคง รุ่งเรืองอยู่ ส่งผลให้ย่านตลาดน้อย กลายเป็นชุมชนทีห่ นาแน่นขึน้ เช่นเดียวกันกับชุมชนจีนทีส่ ำ� เพ็ง โดยย่าน “ตลาดน้อย” เป็น ชุมชนจีนที่เกิดขึ้นมาจากการขยายตัวของส�ำเพ็ง จึงพากันเรียกตลาดที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ ของส�ำเพ็งว่า “ตะลัคเกียะ” อันหมายถึง “ตลาดน้อย” ตลาดนี้ได้กลายเป็นแหล่งจ้างงานที่ ใหญ่ที่สุดของบางกอก ความหลากหลายของบรรดาชาวจีนเห็นได้จากศาลเจ้ากลุ่มภาษา ซึ่งมีทั้งจีนแต้จิ๋ว จีนฮกเกี้ยน จีนไหหล�ำ และจีนแคะ ที่สร้างขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนีย้ งั มีชาวจีนคริสต์นกิ ายโรมันคาธอลิกบางส่วนทีม่ าอาศัย โดยมีศนู ย์ศรัทธารวม กันอยู่ที่วัดแม่พระลูกประค�ำหรือวัดกาลหว่าร์ ภายหลังสนธิสัญญาเบาริ่งได้น�ำความรุ่งเรืองมาให้กับเศรษฐกิจของบางกอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ต้องทรงมีรับสั่งให้ขุดคลองผดุง กรุงเกษม รวมทั้งตัดถนนเจริญกรุง บ�ำรุงเมืองและเฟื่องนครขึ้น เพื่อรองรับความ เปลีย่ นแปลงดังกล่าว ท�ำให้พนื้ ทีต่ ลาดน้อยสามารถขนถ่ายสินค้าทัง้ ทางน�ำ้ และทางบกไป ยังจุดต่างๆ ได้รวดเร็วขึน้ อีกทัง้ ท�ำให้พนื้ ทีช่ มุ ชนทีเ่ คยเกาะกลุม่ กันอยูบ่ ริเวณริมแม่นำ�้ ได้ ขยายออกมายังพืน้ ทีต่ อนใน ขณะเดียวกันก็นำ� ความซบเซามาให้กบั ท่าเรือโปเส็งฝัง่ ริมน�ำ้ ในขณะที่ชุมชนด้านริมแม่น�้ำเริ่มซบเซาไปพร้อมกับท่าเรือโปเส็ง ชุมชนแห่งใหม่ ก็ได้ก่อตัวขึ้นมา พร้อมกับคลองผดุงกรุงเกษม ถนนเจริญกรุง และบรรดาชาวจีนไหหล�ำ ที่เคลื่อนย้ายจากชุมชนเดิมที่บริเวณศาลเจ้าเล่งบ้วยเอี้ยมายังบริเวณตลาดน้อย หนึ่งใน นัน้ คือต้นตระกูลจันตระกูล ซึง่ เข้ามาเปิดตลาดแห่งใหม่ในย่านตลาดน้อยริมถนนเจริญกรุง และได้ขยายกิจการต่อมาในรุน่ ลูก ด้วยการเปิดร้านขายยาฮุนซุยโห โรงงานน�ำ้ แข็ง ห้องเย็น โรงงานน�้ำมะเน็ดโซดา และยังมีโรงเลื่อยของมิสเตอร์หลุยส์ซาเวียร์ โรงสีข้าวมากัวร์ของ เยอรมัน และบรรดาโรงงานเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายในช่วงที่เศรษฐกิจกรุงเทพฯ ก�ำลัง 4 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ขยายตัว ย่านตลาดน้อยจึงได้กลายเป็นแหล่งโรงงานอีกแห่งหนึ่งของบรรดากุลีจีนที่เข้า มาขายแรงงานนอกเหนือจากย่านส�ำเพ็ง ส่วนหนึ่งของกุลีจีนทั้งหลายที่พอจะเก็บหอมรอมริบได้ก็เริ่มขยับฐานะขึ้นมาเช่าตึก ท�ำการค้าเล็กๆ น้อยๆ ซึง่ ต่อมาพ่อค้ารายย่อยและบรรดาแรงงานเล็กๆ เหล่านีก้ ค็ อื ผูส้ าน ต่อพัฒนาการของย่านตลาดน้อย จากกุลกี ลายเป็นเถ้าแก่ผสู้ ร้างชือ่ ให้ตลาดน้อยปัจจุบนั ใน ฐานะแหล่งรับซือ้ อะไหล่เครือ่ งยนต์เก่าที่โด่งดังทีส่ ดุ ในกรุงเทพฯ นาม “เซียนกง” พร้อมกับ ทิ้งร่องรอยอีกมุมหนึ่งของประวัติศาสตร์กรุงเทพฯ ที่เกิดขึ้นมาได้ด้วยส่วนหนึ่งจากหยาด เหยื่อแรงงานของบรรพบุรุษชาวจีนเอาไว้ ถัดจากตลาดน้อยก็จะเข้าสู่เข้าสู่ทรงวาด ซึ่งเคยเป็นเขตการค้าที่รุ่งเรือง และเป็น หัวใจของการค้าระหว่างประเทศของไทยกับโลกภายนอกมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน พืชผลทางการเกษตรจากแหล่งผลิตในประเทศไทยถูกล�ำเลียงมาที่นี่ เพื่อรอคอยการขน ถ่ายไปยังเรือสินค้าขนาดใหญ่ ภูมิทัศน์บริเวณสองฟากฝั่งของถนนทรงวาด ซึ่งแม้วันนี้ จะดูคับแคบไปบ้าง แต่ยังเต็มไปด้วยกลุ่มอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมหลากหลาย และร่องรอยของทางวัฒนธรรมจากตะวันตกที่ผสานกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวจีน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งในอดีต ก่อนที่ขอบเขตของเมืองจะขยายลงไปทางใต้ของ ล�ำน�้ำยิ่งขึ้นในเวลาต่อมา ถนนทรงวาดสายนี้เอง ที่ต�ำนาน ของบริษัทน้อยใหญ่ในประเทศไทยเริ่ม ต้นขึ้น และที่น่ากล่าวถึงที่สุดคงไม่พ้น ต�ำนานของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เริ่มขึ้นจากการด�ำเนินกิจการค้าเมล็ด พันธุ์ในนาม “เจียไต๋จึง” ก่อนที่จะขยาย กิจการ และกลายเป็นหนึง่ ในต�ำนานเครือ ข่ายธุรกิจการค้า ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของ ประเทศไทยในปัจจุบัน ภาพประกอบจากหนังสือ เสน่ห์เมืองจิ๋ว ท�ำเลมังกรทอง ของประวิทย์ พันธุ์วิโรจน์ ตอน 5 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


6 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


แผนที่เลาะเลียบริมฝั่งเจ้าพระยา

ตอน 7 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


8 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


โบสถ์แม่พระลูกประคำ� (กาลหว่าร์) โบสถ์รมิ น�ำ้ แห่งนีถ้ อื เป็น งานสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ซึง่ มี จุดเด่นอยู่ที่กระจกสีช่องแสง อั น ทรงคุ ณ ค่ า และหาดู ไ ด้ ยากแห่งหนึ่งในประเทศไทย อี ก ทั้ ง ยั ง มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ยาวนานนั บ ตั้ ง แต่ ส มั ย กรุ ง รัตนโกสินทร์ โดยเมื่อคราว เสียกรุงครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ชุมชนคริสตังชาวโปรตุเกสได้อพยพหนีภัย สงครามลงมารวมตัวกันอยูท่ รี่ มิ น�ำ้ เจ้าพระยา การอพยพมาครัง้ นัน้ ได้นำ� ของศักดิส์ ทิ ธิ์ มาด้วยสองอย่างคือ รูปแม่พระลูกประค�ำ เป็นรูปแกะสลักไม้พระแม่อุ้มพระกุมาร เยซูในกรข้างซ้าย อีกสิ่งหนึ่งคือพระตาย หรือรูปสลักไม้พระเยซูสิ้นพระชนม์ ท�ำให้ สถานทีแ่ ห่งนีถ้ กู เรียกว่า “ค่ายแม่พระลูกประค�ำ” ส�ำหรับรูปพระศพของพระเยซูจะน�ำ ออกมาแห่รอบวัดทุกวันศุกร์ ด้วยเหตุนี้เองวัดแม่พระลูกประค�ำมีอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกาลหว่าร์” อันหมายถึงวัดของพระตาย ซึ่งน่าจะมาจากรูปพระเยซูเจ้าถูกตรึง กางเขนสิ้นพระชนม์นั่นเอง ต่อมาชาวโปรตุเกส ได้ค่อยๆ ทยอยย้ายออกและมีชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่เพิ่ม มากขึน้ ตามริมน�ำ้ ตัง้ แต่ชมุ ชนทรงวาดลงมา วัดกาลหว่าร์จงึ เป็นสถานทีช่ าวคาธอลิค เชื้อสายจีนในเขตสัมพันธวงศ์เข้ามาประกอบศาสนกิจมาจนถึงทุกวันนี้ ตอน 9 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

ธนาคารไทยพาณิชย์สาขาแรกแห่งนี้ มีที่มาจากเมื่อครั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่ นมหิ ศ รราชหฤทั ย ทรงน� ำ ความขึ้ น กราบทู ล พระบรมเชษฐา เพื่ อ ขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาตทดลองด�ำเนินงานธนาคารเป็นครั้งแรก และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณให้ตั้ง “บุคคลัภย์”๑ โดยใช้ที่ท�ำการของกรมพระคลังข้างที่ ต�ำบล บ้านหม้อ เนื่องจากบุคคลัภย์ ได้รับการสนับสนุนเชือ่ ถือจากบุคคลทัว่ ไปเป็นอย่างดี จึงทรงขยายงานบุคคลัภย์ให้มีลักษณะเหมือนธนาคารทั่วไป 10 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมืน่ มหิ ศ รราชหฤทั ย ได้ น� ำ ความขึ้ น กราบ บังคมทูลพระมหากรุณาขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตพิ เ ศษ เพื่ อ จั ด ตั้ ง “บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจ�ำกัด” ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ย้ายที่ท�ำการ จากต�ำบลบ้านหม้อมาอยู่อาคารใหม่ริม ฝั่งแม่น�้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นสาขาตลาด น้อยในปัจจุบัน แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจ�ำกัด เปิด บริการรับฝากเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไป แต่มีการเสนอให้ดอกเบี้ยเงินฝาก ร้อยละ ๒ แก่ผทู้ มี่ เี งินเหลือในบัญชีเดินสะพัด ท�ำให้สร้างความสนใจแก่บรรดาลูกค้า เป็นจ�ำนวนมาก นอกจากนี้ยังให้สินเชื่อแก่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการค้า ตลอด จนกิจการโรงสีข้าวที่เป็นผลิตผลหลักของไทย กลิ่นไอสงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้คุกรุ่นขึน้ ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ รัฐบาลไทยมีความเห็น ว่า สมควรที่จะเปลีย่ นชือ่ ประเทศสยาม มาเป็นประเทศไทยตามชื่อของชนชาติ เพือ่ สนองนโยบายของรัฐบาลไทย แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจ�ำกัด จึงได้เปลีย่ นชือ่ มาเป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์จ�ำกัด” มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ๑

บุคคลัภย์ (Book Club) : ต้นแบบเริ่มแรกธนาคารไทย เปิดด�ำเนินการในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๔๗ โดยมีพระสรรพการหิรัญกิจเป็นผู้จัดการ ส่วนการด�ำเนินงานนั้น แม้ว่าจะก�ำหนดไว้ใน หนังสือบริคณห์สนธิว่าเป็นกิจการห้องสมุด แต่การด�ำเนินธุรกิจที่แท้จริง เป็นการด�ำเนินธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaibankmuseum.or.th/museum302.php ตอน 11 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ศาลเจ้าโรงเกือก (ศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง)

จากข้ อ มู ล บนป้ า ยศิ ล าภายในศาลเจ้ า พ่ อ ฮ้ อ นหว่ อ งกุ ง ซึ่ ง บั น ทึ ก เมื่ อ รั ช สมั ย จั กรพรรดิ กวางสู ปี ที่ ๑๕ ตรงกั บ ปี พ.ศ.๒๔๓๒ กล่ า วว่ า พ่ อ ค้ า ชาวจี น ฮากกา (จี น แคะ) ได้ เ ชิ ญ องค์ เ จ้ า พ่ อ ฮ้ อ นหว่ อ งกุ ง จากเมื อ งจี นมา ประดิษฐานบูชาในประเทศไทยเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างศาล เจ้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว โดยศาลเจ้าหลังเดิมตั้งอยู่บริเวณด้านขวามือ ต่อมา มีการจัดงานแห่เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงขึ้น ผู้ที่มาร่วมพิธีแห่เจ้าเห็นว่าสถานที่ของ ศาลเจ้าหลังเดิมคับแคบไม่เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรม คณะกรรมการ 12 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ศาลเจ้าซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าชาว จีนฮากกา จึงได้เชิญชวนผู้มีจิต ศรัทธาร่วมบริจาคเงินซื้อที่ดิน ด้านซ้ายของศาลเจ้าหลังเดิม ติดริมแม่น�้ำเจ้าพระยามาสร้าง ศาลเจ้าหลังใหม่ และใช้ประกอบ พิธีกรรมจนถึงปัจจุบัน ตอน 13 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


บ้านจีนโบราณ “โซวเฮงไถ่” เนื่องจากการค้าส�ำเภาไปเมืองจีนสมัยต้นกรุง รัตนโกสินทร์ ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เพื่อสะดวกในการควบคุมขนถ่ายสินค้า และสร้างบ้าน พักให้คนงานอยู่อาศัย ด้วยเหตุนี้ส�ำเพ็งได้กลายเป็น ชุมชนจีนใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น ต่อมาพระอภัยวานิช (จาค) นายอากรรับผูกขาด รังนกจนร�่ำรวยเป็นเจ้าสัวอีกคนหนึ่ง ได้มาสร้างบ้าน จีนโบราณแบบวังอยูแ่ ถววัดปทุมคงคา ชาวจีนเรียกย่าน นั้นว่า “ตั๊กลักเกี้ย” แปลว่า “ตลาดน้อย” ตรงริมแม่น�้ำ เจ้าพระยา บ้านดังกล่าวประกอบด้วยตัวตึกเป็นเก๋ง จีนหลายหลังติดต่อกัน มีรั้วรอบขอบชิด ที่ประตูใหญ่ หน้าบ้านมีตวั หนังสือจีนเขียนบอกยีห่ อ้ หรือติดชือ่ ไว้วา่ “โซว เฮง ไถ่” เนื่องจากบ้านหลังนี้สร้างมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ ซึง่ เป็นช่วงต้นรัตนโกสินทร์ เจ้าหน้าทีก่ รมศิลปากรจึงได้ ขอร้องให้เจ้าของบ้านท�ำการอนุรกั ษ์บา้ นหลังนี้ไว้ให้คน รุ่นหลังได้ศึกษา

14 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ตอน 15 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


16 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ศาลเจ้าโจวซือกง จากการเปลีย่ นทางการเมืองในอดีต จึงได้มกี ารเปลีย่ นแปลงวัดซุน่ เฮงยีม่ าเป็น ศาลเจ้า แต่เนื่องจากชาวจีนฮกเกี้ยนมีความเคารพศรัทธาต่อองค์เทพเจ้าโจวซือกง (พระหมอ) จึงได้อัญเชิญจากกุฎีจีนมาเป็นเทพคุ้มครองชาวชุมชนตลาดน้อย ชาวจีนฮกเกี้ยนได้ช่วยกันซ่อมแซมเปลี่ยนวัดให้เป็นศาลเจ้าแห่งใหม่ โดย นิยมใช้สีเหลืองเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังได้คงสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสมัย ราชวงศ์ชิง (พ.ศ.๒๑๒๖ - ๒๔๕๔) ไว้อย่างเด่นชัด แล้วขนานนามว่า “ศาลเจ้า​ โจวซือกง” แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง “ปรมาจารย์ปู่” ภายในศาลเจ้าตั้งตามหลักลัทธิเต๋า จึงมีโจวซือกงเป็นองค์ประธาน และมี เทพเจ้ามากมายให้กราบไหว้บูชา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทพเจ้าที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ที่ท�ำหน้าที่ขับไล่สิ่งอัปมงคล และคุม้ ครองชุมชนให้อยูเ่ ย็น เป็นสุข

ตอน 17 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


18 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร วัดปทุมคงคาราชวรวิหารสร้าง ในปลายกรุงศรีอยุธยา เป็นพระอาราม หลวงชั้ น โท ชนิ ดวรวิ ห าร ตั้ ง อยู ่ ริ ม แม่น�้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนทรงวาดต่อ กับถนนส�ำเพ็ง อยู่ในแขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เดิมมีชื่อว่า วัดส�ำเพ็งตามชื่อท้องที่ที่ตั้ง ในปี พ.ศ.๒๓๔๒ สมั ย ต้ น กรุงรัตนโกสินทร์ เกิดเพลิงไหม้ครัง้ ใหญ่ ขึ้น พระเพลิงได้ไหม้ตั้งแต่วัดสามปลื้ม กินเรื่ อยไปจนถึ งตลาดน้อ ยวัดส�ำเพ็ง ก็ได้ถกู ไฟไหม้ดว้ ย สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรง ท�ำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดส�ำเพ็งจนแล้วเสร็จ จึงทรงอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้พระราชทานนามวัดใหม่วา่ “วัดปทุมคงคา”

ตอน 19 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก มั ส ยิ ด แห่ ง เดี ย วในย่ า นเยาวราชที่ มี รู ป แบบ สถาปัตยกรรมแบบตะวันตก แต่ไม่มีโดมเหมือนมัสยิด อื่นๆ มัสยิดแห่งนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยหลวง โกชาอิศหาก ขุนนางกรมท่าขวาผู้รับราชการอยู่ถึง ๔ แผ่นดิน นับตัง้ แต่รชั กาลที่ ๕ โดยท�ำหน้าทีเ่ ป็นล่ามและ รับเครือ่ งราชบรรณาการ ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง ดังนัน้ เวลาชาวต่างชาตินำ� เครือ่ งราชบรรณาการมาถวายก็มกั จะมาพักกันในบริเวณนี้ หลวงโกชาอิศหากจึงได้เกณฑ์ ลูกหลานช่วยกันสร้างสุเหร่าไว้เป็นที่ละหมาดรวมกัน และเพื่อพ่อค้ามุสลิมที่มาติดต่อค้าขายใช้เป็นสถานที่ ในการประกอบพิธีกรรม สุ เ หร่ า นี้ ไ ม่ ไ ด้ จ ดทะเบี ย นอย่ า งเป็ น ทางการ ชาวบ้านจึงเรียกกันติดปากว่า สุเหร่าวัดเกาะ ปัจจุบัน ลูกหลานของหลวงโกชาอิศหากได้สืบสานดูแลกันมา โดยใช้เงินรายได้จากการให้เช่าที่และอาคารรอบมัสยิด เป็นทุน ในทุกวันศุกร์จะมีชาวมุสลิมเข้ามาละหมาด ประมาณ ๑๐๐ คน ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่ท�ำงานหรือมี บ้านเรือนอยู่ในบริเวณนั้น

20 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ตอน 21 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชุมชนตรอกมิตรชัยภูมิ และตึกผลไม้ ช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงวาดถนนแนวใหม่ ตัดถนนส�ำเพ็งเพื่อลดการแออัดของชุมชนและสะดวก ต่อการดับไฟเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นอีกทั้งเป็นถนนที่เชื่อม ต่อกับถนนซอยตรงสูท่ า่ เรือซึง่ เป็นท่าเรือในการขนถ่าย สินค้าทั้งอาหารทะเล และพืชผลทางการเกษตร บนถนนทรงวาดสายนี้มีชุมชนที่สันนิษฐานว่าใน อดีตเป็นชุมชนชาวจีนที่ย้ายมาตั้งรกรากรุ่นแรกสุด บริเวณปากทางเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าเชี้ยอึ้งกงหรือศาล เจ้าพ่อหลักเมือง มีซอยเล็กๆ คนจีนเรียกว่า “ฮวงโล่ว โกย” แปลเป็นไทยว่า “ตรอกเตา” แต่ภาษาทางราชการ ตั้งชื่อว่า “ซอยมิตรชัยภูมิ” โดยมีเจ้าสัวปกผู้น�ำชุมชน ในละแวกนั้นได้เป็นผู้ชักชวนชาวจีนช่วยกันสร้างศาล เจ้าพ่อหลักเมืองขึ้น เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาขอความ เป็นสวัสดิมงคล ปัจจุบนั ถูกรวมเป็นสายเดียวกันกับถนน เยาวพานิช ซึ่งต่อมาสามารถทะลุเชื่อมต่อออกสู่ถนน เยาวราช ลักษณะที่โดดเด่นอีกประการของถนนสายนี้ คือ อาคารที่มีลักษณะแบบตะวันตก ทั้ง ๒ ข้างถนนมี ตึกแถวโบราณด้วยรูปทรงแบบอาร์ตเดโค กรอบหน้าต่าง ทีร่ บั กับซุม้ โค้งหลังคา มีลายปูนปัน้ ทีป่ ระดับประดาอย่าง สวยงามหลายรูปแบบไม่ซำ�้ กัน เช่น ลายปูนปัน้ รูปผลไม้ และพืชผัก 22 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ตอน 23 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


สมาคมฮากกา

อาคารสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย เป็นมรดกประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งใน ย่านถิ่นไชน่าทาวน์ ซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักของคนฮากกาที่มีเครือข่ายกระจายอยู่ ทุกภาคของประเทศไทย รวม ๓๔ แห่ง สมาคมฮากกา เดิมชื่อว่า “สมาคมจีนแคะ” ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ ตั้งอยู่ที่ศาลเจ้าหลีตีเบี้ยว (ลีตี๊เมี้ยว) พลับพลาไชย ต่อมา ได้ย้ายมาอยู่ ณ ถนนพาดสาย-เยาวราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๖ เมื่อกว่าร้อยปีก่อนกลุ่มคนในสมาคมได้เป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งในเบื้องหลัง ความส�ำเร็จในการกอบกู้ชาติจีนของ ดร.ซุนยัดเซ็น ซึ่งสามารถชมภาพถ่ายภายใน ห้องประชุมของสมาคม และภาพบรรพชนฮากกาอื่นๆ 24 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ร้านอร่อยย่านจีน

ชื่อร้าน บะจ่างเจ๊วัชรี เจ้าของร้าน เจ๊วัชรี แซ่หลี่ ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านบะจ่างเก่าแก่ของเจ๊วชั รี แซ่หลีเ่ ปิดขายอยู่ในตลาดน้อยมา นานกว่า ๓๐ ปี มีสตู รเด็ดตรงทีร่ สชาติซงึ่ ความเข้มข้นไม่เหมือนใคร หอมพริกไทยด�ำซึง่ สัง่ บดเป็นพิเศษ ใช้ขา้ วเหนียวเขีย้ วงูอย่างดีมาหุง ให้หอม หมูกบั ไก่กอ็ บให้สกุ ก่อนน�ำมาใช้เพือ่ ไม่ให้มกี ลิน่ คาว กุง้ แห้ง ต้องลวกน�้ำร้อนให้นิ่ม ซึ่งสูตรบะจ่างที่ท�ำขายอยู่นี้เป็นสูตรดั้งเดิมที่ แม่ของสามีทำ� เลีย้ งลูกหลานตัง้ แต่มาจากเมืองจีน โดยร้านนีจ้ ะเป็น อุตสาหกรรมครอบครัวที่ช่วยกันท�ำเพียงแค่ ๓ คน พ่อแม่ลูก ท�ำให้ บะจ่างที่น�ำออกมาตั้งขายนั้นปริมาณน้อย แต่อัดแน่นด้วยคุณภาพ ตอน 25 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน เป็ดตุ๋นเจ้าท่า เจ้าของร้าน อาม่าน้อย ฟังค�ำดี ที่ตั้ง ตรงข้ามท่าเรือกรมเจ้าท่า เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๙.๓๐-๑๕.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านเป็ดตุน๋ แห่งนีเ้ ปิดขายอยูบ่ ริเวณกรมเจ้าท่าเป็นระยะเวลากว่า ๓๙ ปี โดยอาม่าน้อย ฟังค�ำดี เจ้าของร้านบอกว่าเป็ดที่นี่ไม่ใช่เป็ดธรรมดา แต่เป็นเป็ดโป๊ยฉ่ายตัวโต เนื้อนุ่ม ตุ๋นจนหอมอร่อย ซึ่งเป็นสูตรลับเฉพาะที่อาม่าน้อยเจ้าของ ร้านเป็นผู้คิดค้นขึ้น จากช่วงแรกที่เปิด ใหม่ๆ อาม่าน้อยเล่าว่ายังมีลูกค้ามากิน ไม่มาก จนเปิดได้หนึ่งเดือนก็มีลูกค้าเพิ่ม ขึ้นเรื่อยๆ จนขายดิบขายดีเช่นปัจจุบัน โดยมีเมนูเด็ดที่พลาดไม่ได้คือ ก๋วยเตี๋ยว เป็ด เนื้อเป็ดตุ๋น ข้าวหน้าเป็ด ผัดซีอิ๊ว กระเฉด และปลาเจี๋ยน

26 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ชื่อร้าน กะหรี่ปั๊บคุณปุ๊ เจ้าของร้าน คุณรัชนี แซ่เตีย ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๗.๐๐-๑๔.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านกะหรีป่ บ๊ั ของคุณรัชนี แซ่เตีย หรือที่ ชาวตลาดน้อยเรียกกันว่าคุณปุ๊ เป็นกะหรี่ปั๊บ สูตรพิเศษที่แป้งบาง ไม่อมน�้ำมัน และยังกรอบอร่อยไปทั้งวัน โดยมีเคล็ดลับอยู่ที่การใช้เนื้อไก่ ส่วนอกผัดกับผงกะหรี่ บดกับมันฝรั่งให้นุ่ม ปรุงรสด้วยพริกไทยป่น จนเป็นไส้ไก่ที่หอมอร่อย เมือ่ ขายดิบขายดีจงึ ได้พฒ ั นามาเป็นกะหรีป่ บ๊ั ไส้หวาน ไส้เผือกกวน ไส้ถวั่ หวาน ไส้มะพร้าว ไส้สบั ปะรด และถั่วเค็ม โดยชาวบ้านที่เดินผ่านไปมาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ากลิ่นทอดกะหรี่ปั๊บของร้านนี้ หอมฟุ้งไปทั้งซอยจนต้องแวะมาซื้ออยู่เป็นประจ�ำ ตอน 27 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ข้าวหมูแดงสุรีย์ เจ้าของร้าน เจ๊สุรีย์ อิ่นแก้ว ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์เสาร์ ๗.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ชื่อร้าน ชิจูย่า เจ้าของร้าน ชลรัตน์ เอื้อก่อการ ที่ตั้ง บริเวณถนนทรงวาด ตรอกมิตรชัยภูมิ เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ใน ๒ ช่วง คือ ๑๑.๐๐-๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐-๒๑.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้ า นชิ จู ย ่ า เป็ น ร้ า นขาย อาหารเจร่วมสมัย สไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งมีที่มาจากการที่เจ้าของร้าน ได้ไปกินซูชิเจที่ทองหล่อแล้วเกิดความประทับใจ จึงไปเรียนวิธีการท�ำอาหารญี่ปุ่นเพื่อน�ำมาเปิดร้าน ของตนเองที่เยาวราช แม้ชื่อร้านชิจูย่า จะถูกตั้งเป็นภาษาญี่ปุ่น ตามสไตล์อาหารที่ขาย แต่ร้านชิจูย่า ยังมีชอื่ ในภาษาจีนว่า เซียนโซ้วอู่ หมายถึงอายุยนื ยาวเป็นพันปี ตามภาพลักษณ์ของร้านทีข่ ายอาหาร เพื่อสุขภาพ แม้จะเป็นร้านซึ่งเพิ่งเปิดมาได้เพียงแค่ ๓-๔ ปี แต่ด้วยความประณีตและรสชาติท�ำให้ ชิจูย่าเป็นร้านประจ�ำส�ำหรับคนรักสุขภาพและผู้กินเจในย่านนี้ ซึ่งเมนูที่และน�ำ คือ ซูชิเผือก ปลาไหล เห็ดหอม ข้าวปั้นทุกชนิด และย�ำสาหร่าย 28 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ประวัติร้าน สุรยี เ์ ป็นแผงขายข้าวหมูแดงและเป็ดย่าง ทีม่ รี สชาติ อร่อยและมีฝีมือไม่เป็นรองใคร ด้วยวิธีการท�ำอาหารที่ ประณีตมาตลอด ๓๐ ปี โดยสมัยก่อนตอนเริ่มขายใหม่ๆ เป็นเพียงรถเข็นเล็กๆ ที่เข็นเร่ไปมาจนทั่วตลาดน้อย จน ได้ที่ประจ�ำและขายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน พี่สุรีย์เล่าให้ ฟังว่าต้องตื่นแต่เช้ามาจุดเตาถ่านย่างหมูและเป็ดเองทุก วัน เพื่อให้หมูและเป็ดมีกลิ่นหอมนุ่มไม่เหมือนใคร จุด เด่นอีกอย่างคือจะมีน�้ำพริกเผาส�ำหรับปรุงรสข้าวหมูแดง ด้วย โดยสูตรที่ท�ำขายเป็นสูตรแต้จิ๋วซึ่งน�ำมาประยุกต์ให้ ถูกปากผู้รับประทานมากยิ่งขึ้น ชื่อร้าน ตาหวาน เจ้าของร้าน ฉอเง็ก ไอยโรจนพลกุล ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน (ยกเว้นวันเสาร์) ๑๑.๐๐-๑๘.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้ า นอาหารตามสั่ ง ที่ อ ยู ่ คู ่ ต ลาดน้ อ ย มากว่า ๓๐ ปี ผูค้ นทีอ่ ยูอ่ าศัยในพืน้ ทีก่ จ็ ะแวะ เวียนมาฝากท้องกับร้านนี้อยู่เสมอ เนื่องจาก เมนู อาหารที่ ห ลากหลายและราคาที่ ส บาย กระเป๋า เมนูที่พลาดไม่ได้ส�ำหรับร้านนี้คือ ข้าวผัด ซึ่งมีสูตรเด็ดตรงที่จะไม่น�ำหมูดิบลง ไปผัดกับข้าว แต่จะผัดข้าวกับไข่จนหอมน่า รับประทาน จากนั้นจึงน�ำหมูหวาน หมูทอด หรือหมูกรอบมาโป๊ะหน้า โดยข้าวผัดยอดนิยม ที่ใครมาเป็นต้องสั่ง ได้แก่ ข้าวผัดหมูหวาน ข้าวผัดหมูทอด รวมไปถึงอาหารจานเดียว อย่าง ผัดหมี่ซั่ว ผัดซีอิ้ว ก็ขายดีไม่แพ้กัน ตอน 29 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ร้านโจ๊กเด็ก เจ้าของร้าน เจ๊มะลิ ผิวจันดา ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๕.๐๐-๑๒.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านโจ๊กประจ�ำชุมชนตลาด น้อยซึ่งมีลูกค้าประจ�ำเป็นเด็กๆ ในชุมชน โดยเจ๊มะลิ ผิวจันดา เจ้าของร้านบอกว่า โจ๊กของทาง ร้านจะใส่ข้าวเยอะเพื่อให้ข้าวต้มข้น เด็กๆ มากินจะได้อิ่มท้องก่อนไปโรงเรียน ข้าวต้ม ร้านนีเ้ ปิดบริการมานานกว่า ๑๐ ปี ข้าวต้มถ้วยเล็กส�ำหรับเด็กราคา ๑๐ บาท ใส่ไข่ราคา ๑๕ บาท ส่วนข้าวต้มผู้ใหญ่ราคา ๒๐ บาท ใส่ไข่ราคา ๒๕ บาท นอกจากนี้เจ๊มะลิยังท�ำ ขนมหวานตามฤดูกาลและสภาพอากาศออกมาขาย เช่น หน้าร้อนอาจจะมีเฉาก๊วยเย็นๆ หรือหน้าหนาวอาจจะมีบัวลอยไข่หวานร้อนๆ ออกมาวางขายคู่กับโจ๊ก 30 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ชื่อร้าน คงประเสริฐ เจ้าของร้าน รัชดา คงรัตนประเสริฐ ที่ตั้ง เจริญกรุง ๒๗ เวลาท�ำการ ๑๐.๐๐-๑๘.๓๐ น. หยุดทุกวันจันทร์

ประวัติร้าน ร้านขายข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ และข้าวหน้าเป็ด ซึง่ เปิดมานานกว่า ๕๐ ปี โดยเจ้าของร้าน คนแรกคือเฮียเปงกุ่ยเป็นผู้น�ำต้นต�ำหรับการท�ำข้าวหมูแดงมาจากเมืองจีน จนกระทั่งตกทอดมายัง รุน่ ลูก ข้าวหมูแดงร้านนีจ้ ะแตกต่างกับร้านอืน่ ตรงทีน่ ำ�้ ราดหมูแดงนัน้ เป็นน�ำ้ ราดสูตรแกงกะหรีห่ อมมัน ไม่ซำ�้ ใคร นอกจากนีย้ งั มีเมนูสกุ ยี้ ากีเ้ นือ้ วัว หมู และไก่ ให้กนิ คูก่ บั ข้าวหมูแดง ซึง่ สิง่ ส�ำคัญของสุกยี้ ากี้ สูตรนีอ้ ยูต่ รงทีน่ ำ�้ ซุปกระดูกหมูสตู รพิเศษ และน�ำ้ จิม้ ซึง่ ใช้เต้าหูแ้ ดงอย่างดี บดละเอียดกับกระเทียมดอง และพริกขี้หนูสับละเอียด ซึ่งเป็นน�้ำจิ้มรสชาติดั้งเดิมที่หารับประทานได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ตอน 31 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ก๋วยจั๊บน�้ำใสตลาดน้อย เจ้าของร้าน ละออง เป็นพิมาย ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๑๑.๐๐-๑๕.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านก๋วยจั๊บของพี่ละอองนั้น เปิดขายอยู่ในตลาดน้อย มากว่า ๒๐ ปี จนใครๆ ที่ผ่านไปมาพากันเรียกว่าร้านก๋วยจั๊บ น�ำ้ ใสตลาดน้อย ด้วยกลิน่ หอมของน�ำ้ ซุป วัตถุดบิ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ และไม่เหม็นคาวเนื้อสัตว์ท�ำให้ก๊วยจั๊บร้านนี้มีลูกค้าแน่นอยู่ เสมอ พี่ละอองบอกว่าสูตรเด็ดของร้านอยู่ที่ความหวานหอม ของน�้ำซุปซึ่งต้องลองมาชิมด้วยตนเองแล้วจะติดใจจนต้อง ฝากตัวเป็นลูกค้าประจ�ำ โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าเก่า แก่ บางคนเคยอาศัยอยู่ในตลาดน้อยแต่ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น เมือ่ มีโอกาสแวะเวียนมาก็ตอ้ งกลับมากินก๋วยจับ๊ ร้านนีท้ กุ ครัง้ 32 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ชื่อร้าน ภัตตาคารกว้านสิ่วกี่ ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๙.๐๐-๑๘.๐๐ น. ประวัติร้าน หากกล่าวถึงบะหมี่เป็ดอร่อยๆ สัก ชามหนึง่ หลายคนในย่านตลาดน้อยคงต้อง นึกถึงภัตตาคารกว้านสิ่วกี่ ภัตตาคารจีน เก่าแก่ซึ่งมีเมนูที่ห้ามพลาดคือบะหมี่เป็ด กวางตุ้งซึ่งทางร้านท�ำเส้นบะหมี่เอง ราดกับน�้ำซอสรสกลมกล่อม อาจทานคู่กับขนมจีบซึ่งเป็นเมนู เด็ดของทางร้านเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ด้านหน้าร้านยังมีขนมเปี๊ยโบราณวางขายอยู่หน้าร้าน ไม่ว่า จะเป็นขนมเปี๊ยไส้เม็ดบัวไข่เค็ม หรือไส้โหงวยิ้งก็อร่อยไม่แพ้กัน ชื่อร้าน เฉาก๊วยตลาดน้อย เจ้าของร้าน ส�ำลี แลบรรเลง ที่ตั้ง ปากทางเข้าตลาดน้อย ฝั่งถนนเจริญกรุง เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๑๐.๐๐-๑๕.๐๐ น. (หยุดทุกวันอาทิตย์ต้นเดือน) ประวัติร้าน แผงขายเฉาก๊วยสูตรโบราณ ซึง่ เปิดขายมาได้ ๑๐ กว่าปี เฉาก๊วยสดหอมนุ่มราดน�้ำตาลอ้อยสูตรโบราณ ของร้านนี้เป็นที่เล่าขานกันในย่านตลาดน้อยว่าหวาน อร่อย ชื่นใจ และที่ส�ำคัญคือชามใหญ่ ในราคาเพียงแค่ ๑๐ บาท ซึง่ หากใครทานไม่หมดสามารถขอซือ้ ชามเล็ก ได้ในราคา ๕ บาท นอกจากนีย้ งั มีเต้าฮวยน�ำ้ ขิง บัวลอย น�้ำขิง นมน�้ำขิง และแปะก๊วย ที่หอมอร่อยไม่แพ้กัน ตอน 33 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเจ๊นี เจ้าของร้าน ปราณี ทีปบุญรัตน์ ที่ตั้ง ตรอกมิตรชัยภูมิ เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๖.๓๐-๑๔.๐๐ น. ประวัติร้าน ร้านเจ๊นี เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาท�ำเองที่จ�ำหน่าย มากว่า ๕๐ ปี บนตรอกมิตรชัยภูมิ แต่เดิมเป็นร้านที่ไม่มีสาขา คือร้านซ่วยตี๋ ซึ่งเป็นแผงขายอยู่ทั่วไปในเยาวราช ไม่ได้มีหน้า ร้านที่ถาวร ความพิเศษของก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาที่นี่คือ เป็น ลูกชิ้นปลาที่ทางร้านได้ท�ำเอง แต่เดิมคุณพ่อของเจ๊นีจะเป็น ผู้คัดสรรปลา น�ำมาแล่เนื้อ น�ำมาบด ผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้ ลูกชิน้ ปลาน�ำมาประกอบเป็นก๋วยเตีย๋ วจ�ำหน่าย มีลกู ค้าประจ�ำที่ รู้จักชื่อเสียงของความอร่อยของทางร้านแวะเวียนมาทานกันอยู่ ไม่ขาดสาย เมื่อร้านเป็นที่รู้จัก จึงมีการขยายกิจการ โดยเจ๊นีมา เปิดร้านใหม่เป็นสาขาที่ ๒ อยู่ที่ตรอกมิตรชัยภูมิ

34 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ชื่อร้าน เตียท่งเซ้ง เจ้าของร้าน คุณวิเชียร สุขกมลสันติพร ที่ตั้ง บริเวณถนนทรงวาด ตรอกมิตรชัยภูมิ เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๗.๐๐-๒๔.๐๐ น. ประวัติร้าน เตียท่งเซ้ง เป็นร้านท�ำซาลาเปาทีอ่ ยูค่ เู่ ยาวราชมาตัง้ แต่ ปี ๑๙๒๐ โดยสืบทอดกันมาถึง ๓ ชัว่ รุน่ เดิมไม่ได้ทำ� แต่เพียง ซาลาเปาขายอย่างในปัจจุบัน แต่ท�ำขนมทุกชนิดที่มีคนสั่ง ทั้ ง ขนมมงคลหรื อ ขนมที่ ใ ช้ ใ นงานศพ เช่ น ขนมเปี ๊ ย ะ ซาลาเปา บ๊ะจ่าง อั่งก๊วย มาปัจจุบันประเพณีวัฒนธรรมจีน ที่สะท้อนผ่านทางอาหารการกินดังเช่นในอดีตก็ได้ลดเลือน ไป ขนมที่เคยมีความหลากหลายและซับซ้อนก็ลดลงไปด้วย ลูกค้าส่วนใหญ่จะมาสัง่ ท�ำซาลาเปาเป็นหลัก โดยคัดเลือกสีสนั ของวัตถุดบิ บางประเภทที่ให้ความหมายไปในทางทีเ่ ป็นมงคล

ตอน 35 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ร้านก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง เจ้าของร้าน พี่สุ อุทิศใจ ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดทุกวัน ๑๐.๓๐-๑๖.๓๐ น. ประวัติร้าน หลายคนที่ ผ ่ า นไปมาคงสงสั ย ว่ า ท� ำ ไมร้ า น ก๋วยเตี๋ยวหลอดเล็กๆ แห่งนี้ถึงได้มีผู้คนมารับประทาน กันอย่างหนาแน่น ซึ่งพี่สุเจ้าของร้านได้ไขข้อสงสัย ว่าก๋วยเตี๋ยวหลอดร้านนี้เน้นความสดใหม่ของวัตถุดิบ ราคาเพียง ๒๕ บาท ในปริมาณเกินคุ้ม โดยสูตรที่ท�ำ ขายอยู่นี้เป็นสูตรที่สืบทอดมาจากอาม่าของสามีซึ่งเป็น ชาวตลาดน้อยดั้งเดิม ด้วยระยะเวลาที่เปิดขายมานาน กว่า ๓๐ ปี ท�ำให้มีลูกค้าในชุมชนถือถ้วยชามจากบ้าน ของตนเองมารอซื้อก๋วยเตี๋ยวหลอดร้านนี้กันเป็นประจ�ำ 36 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ชื่อร้าน ข้าวมันไก่ตลาดน้อย เจ้าของร้าน วุฒิชัย อริยมงคลเลิศ ที่ตั้ง ตลาดน้อย เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๕.๒๐-๑๒.๐๐ น. (วันเสาร์เปิดขายถึง ๑๐.๓๐ น.) ประวัติร้าน ร้านข้าวมันไก่แห่งนี้เปิดขายมานานกว่า ๒๐ ปี เป็นสูตรเด็ดที่ตกทอดกันมาในครอบครัว โดย สมัยก่อนร้านตั้งอยู่ที่ตลาดน้อยเก่า เมื่อตลาดถูกรื้อจึงย้ายมาขายที่ปัจจุบัน ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก นักเรียนและคนในชุมชนที่แวะมากินในช่วงเช้าก่อนออกไปท�ำงานหรือไปเรียนหนังสือ จุดเด่นของ ข้าวมันไก่ร้านนี้อยู่ที่น�้ำซุปผักเปรี้ยว หรือที่เรียกกันว่าซึงฉ่ายที่จะน�ำมาเสริฟพร้อมข้าวมันไก่ร้อนๆ นอกจากนี้ทางร้านยังท�ำกานาฉ่ายสูตรดั้งเดิมที่ตกทอดมาจากรุ่นอาม่ามาวางขายตลอดทั้งปี ซึ่งโดย ปกติหากินได้เฉพาะเทศกาลกินเจเท่านั้น

ตอน 37 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


ชื่อร้าน ก๋วยเตี๋ยวผัดงี่เง่า เจ้าของร้าน แม่ค้าสุดฮาไม่ประสงค์ออกนาม ที่ตั้ง ปากซอยเยาวราช ๑ ใกล้กับวงเวียนโอเดียน เวลาท�ำการ เปิดวันจันทร์-เสาร์ ๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น. ประวัติร้าน ชื่อร้านที่ฟังดูแปลกหูร้านนี้ เจ้าของร้านเล่าว่ามาจากแนวคิดข�ำขันที่ว่าคนผัดก๋วยเตี๋ยวนั้นมัก จะงี่เง่าอยู่เป็นประจ�ำ ร้านก๋วยเตี๋ยวงี่เง่าแห่งนี้เปิดขายมานานกว่า ๔๐ ปี โดยขายมานานตั้งแต่ราคา ชามละ ๕ บาท จนถึง ๘๐ บาทแล้วในปัจจุบนั จากสมัยก่อนทีข่ ายเฉพาะช่วงกลางคืนหน้าโรงหนังเก่า ก็เปลี่ยนมาเป็นขายช่วงกลางวัน เพื่อคนผัดจะได้มีเวลาไปพักผ่อนและออกก�ำลังกาย เมนูอร่อย ของร้านนี้คือ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ ผัดหมี่ฮ่องกงกะทะเหล็ก โกยซีหมี่หม้อไฟ และราดหน้าทะเลหม้อไฟ ซึ่งแม่ค้ามั่นใจว่าอร่อยทุกอย่าง หากลูกค้าไม่อร่อยด้วยนั้น ทางร้านยินดีคืนเงิน 38 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน


ขอขอบคุณ

วิทยากรผู้ร่วมให้ความรู้ อ.เจริญ ตันมหาพราน คุณณพัดยศ เอมะสิทธิ์ อ.นภดล ชวาลกร คุณดวงตะวัน โปษยะจินดา อ.ชัยรัตน์ สมันตรัฐ คุณพ่อไพฑูรย์ หอมจินดา คุณวิเชียร สุขกมลสันติพร

ศาลเจ้าโรงเกือก บ้านโซวเฮงไถ่ ศาลเจ้าโจวซือกง วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร มัสยิดหลวงโกชา สมาคมฮากกา ชุมชนมิตรชัยภูมิ ชุมชนตลาดน้อย ชุมชนวานิชสัมพันธ์ ชุมชนผู้ค้าอะไหล่เก่า

เอื้อเฟื้อสถานที่ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ วัดแม่พระลูกประค�ำ (กาลหว่าร์) ร้านอาหาร ร้านบะจ่างเจ๊วัชรี ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้านเป็ดตุ๋นเจ้าท่า

ร้านกะหรี่ปั๊บคุณปุ๊ ร้านตาหวาน ร้านก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่อง ร้านโจ๊กเด็ก ร้านข้าวหมูแดงสุรีย์ ร้านข้าวมันไก่ตลาดน้อย ร้านคงประเสริฐ ร้านก๋วยจั๊บน�้ำใสตลาดน้อย ภัตตาคารกว้านสิ่วกี่ ร้านเฉาก๊วยตลาดน้อย ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาเจ๊นี ร้านเตียท่งเซ้ง ร้านชิจูย่า

ตอน 39 ทอดน่อง

๒๐๐ ปี


คณะท�ำงานร่วมโครงการย่านจีนถิ่นบางกอก พระเทพภาวนาวิกรม (เจ้าคุณธงชัย ) คุณจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี คุณยรรยง ปฐมศักดิ์ คุณอ�ำนาจ อมรมณีกุล คุณสมศักดิ์ ศรีสุภรพาณิย์ คุณวิศิษฐ์ ลิ้มประนะ คุณชาญศักดิ์ สินธพเรืองชัย คุณประสิทธิ์ องค์วัฒนา คุณสมชัย กวางทองพาณิชย์ อ.นิธวิ ฒ ุ ิ ศรีบญุ ชัยชูสกุล คุณศักดา สัจจมิตร อ.ศุเรนทร์ ฐปนางกูร คุณสุคนธา อรุณภู่ คุณนิศานาถ โยธาสมุทร คุณสรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ คุณนภดล ชวาลกร อ.เจริญ ตันมหาพราน คุณประวิทย์ พันธุ์วิโรจน์ อ.ชูศักดิ์ สุวิมลเสถียร อ.อภิญญา บัวสรวง อ.วีระนันท์ ด�ำรงสกุล คุณระพีพัฒน์ เกษโกศล คุณชัชกูล รัตนวิบูลย์ คุณเฉลิมพล ชาญศิลป์ คุณ ณัฐพงษ์ จารุวรรณพงศ์ อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ ์ คุณปนัดดา เลิศล�้ำอ�ำไพ 40 เดินทอดน่อง ท่องย่านจีน

ที่ปรึกษาโครงการ, รองเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร นายกสมาคมค้าทองค�ำ, ประธานกรรมการห้างทองจินฮั้วเฮง ประธานกรรมการบริหาร รร.แกรนด์ไชน่าปริ้นเซส, ประธานกรรมการ มูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลเทียนฟ้า นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย, เจ้าของร้านง่วนสูน ห้างขายทอง ทองใบเยาวราช ประธานสภาวัฒนธรรมเขตสัมพันธวงศ์ นักวิชาการท้องถิ่น เจ้าของธุรกิจค้าเชือกย่านส�ำเพ็ง ผูเ้ ชีย่ วชาญการเขียนอักษรจีน, อาจารย์พเิ ศษภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยรังสิต รองประธานชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์, กรรมการชุมชนเลื่อนฤทธิ์ ผอ.โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย ผู้อ�ำนวยการฝ่ายอาวุโส ผู้บริหารฝ่ายธนาคารชุมชน, บมจ.ธนาคารกรุงไทย มูลนิธิโลกสีเขียว ผู้อ�ำนวยการศูนย์ฮากกาศึกษา นักเขียน-นักวิชาการท้องถิ่น อดีตผอ.เขตสัมพันธวงศ์ อาจารย์พิเศษ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย ม.มหิดล สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล นักพัฒนาการท่องเที่ยวระดับ ๖ กองการท่องเที่ยว ส�ำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร ผอ.เขตสัมพันธวงศ์ ผอ.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เจ้าหน้าที่ สสส. ผูอ้ ำ� นวยการสถาบันการเรียนรูแ้ ละพัฒนาประชาสังคม (civic net) นักเขียนและนักวิชาการอิสระ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.