| ก ไก่เดินทาง นิทานระบายสี

Page 1



นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’  1

ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


2


3

ÂÂ  |ก ไก่เดินทาง นิทานระบายสี สโรชา กิตติสิริพันธุ์ เขียนเรื่อง ‘สุกฤตยา’ วาดรูปลายเส้น

ระบายสี


4

ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ แหล่งพิมพ์หนังสือ ในบริษัท ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ จ�ำกัด ผู้ก่อตั้ง และอุปถัมภ์ส�ำนักพิมพ์ ผกาวดี เทพหัสดิน ณ อยุธยา (อุตตโมทย์) บรรณาธิการอาวุโส : สังวรณ์ ไกรฤกษ์ ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (ค.ศ. 1919-2016), ระวี ภาวิไล คณะบรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ : เพ็ญศรี ทองใหญ่ ณ อยุธยา, ผุสดี นาวาวิจิต, พิชชา ถาวรรัตน์, ปณิธิ หุ่นแสวง, กาญจนา บุนนาค, ธนิษฐา แดนศิลป์, วรวัธน์ อุตตโมทย์, เรวัต อุตตโมทย์ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ : อภิชัย วิจิตรปิยะกุล ฝ่ายศิลป์ : อมรรัตน์ กลิ่นหอม, สุกฤตยา สาธิตภิญโญ ธุรการ : รัญจวน ป้องไธสง, ถนอม เชื้อวงษ์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ : วิกรัย จาระนัย บรรณาธิการฝึกหัดผู้ดวงตาพิการ : สโรชา กิตติสิริพันธุ์ พนักงานฝึกหัด : พิรฎา อุตตโมทย์, พารฎี อุตตโมทย์ บรรณาธิการ ผู้จัดการธุรกิจ : กฤษฎา อุตตโมทย์ บรรณาธิการบริหาร : มกุฏ อรฤดี หนังสือนี้ สงวนลิขสิทธิ์ โดย ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ © Butterfly Book House 2016


5

ISBN 978-974-14-0468-1

| ก ไก่เดินทาง นิทานระบายสี ‘พลอย’ สโรชา กิตติสิริพันธุ์ เขียน ‘สุกฤตยา’ วาดรูปลายเส้น พิมพ์ครั้งแรก ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จัดพิมพ์ : ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ แหล่งพิมพ์หนังสือในบริษัท ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ จ�ำกัด ส�ำนักงานชั่วคราว ๒๖๑ ซอยสุขุมวิท ๓๑ (สวัสดี) ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๘๕ ๑๒๖ ๒๔๙๓, ๐๒ ๒๖๑ ๖๓๓๐, ๐๒ ๒๖๑ ๖๓๓๑ โทรสาร ๐๒ ๒๖๑ ๓๘๖๓ จัดจ�ำหน่าย : บริษัทดวงกมลสมัย จ�ำกัด ๑๕/๒๓๔ ซอยเสือใหญ่อุทิศ ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐ โทรศัพท์ ๐๘๖ ๓๔๑ ๘๙๖๑, ๐๒ ๕๔๑ ๗๓๗๕, ๐๒ ๙๓๐ ๖๒๑๕ โทรสาร ๐๒ ๕๔๑ ๗๓๗๗ ออกแบบหนังสือ : มกุฏ อรฤดี ออกแบบปก : อภิชัย วิจิตรปิยะกุล ปกและรูปประกอบ : ‘สุกฤตยา’ จัดรูปเล่ม : วิกรัย จาระนัย ตรวจทาน : มกุฏ อรฤดี, อมรรัตน์ กลิ่นหอม, รวิพร กิตติสิริพันธุ์, กาญจนา บุนนาค, ปณิธิ หุ่นแสวง เพลทสีและขาวด�ำ : รวมศิลป์ฟิล์ม พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สุภา ธนบุรี พ.ศ. ๒๕๕๙

(ปกอ่อน  ๒๐๘  หน้า)  ราคา  ๒๔๔  บาท


6


7

ค�ำน�ำส�ำนักพิมพ์ หนั ง สื อ นี้   อาจกล่ า วได้ ว ่ า  รวมหนั ง สื อ สองเล่ ม หรื อ สามเล่ ม ไว้ในเล่มเดียว คือ หนังสือนิทานกลอน หนังสืออักษรไทย และ หนังสือฝึกระบายสีรูปวาด ‘พลอย’ สโรชา กิตติสิริพัน ธ์ุ ผู้เขี ยนเรื่ อง เคยมี ผลงาน เล่มแรก ในหนังสือชื่อ |จนกว่า|เด็กปิดตา|จะโต ส่วน ‘สุกฤตยา’ ผูว้ าดรูปประกอบ เพิง่ มีผลงานส�ำคัญครัง้ แรก และนับเป็นรูปแบบลายเส้นสร้างสรรค์ยุคใหม่ หนังสือนี้เหมาะแก่เด็กทุกวัย และผู้ใหญ่ที่ร่วมยุคร่วมสมัย กับเด็กด้วย จึงนับเป็นหนังสือส�ำหรับครอบครัว และที่พิเศษคือ การอ่านนิทานสั้นๆ การได้ระบายสีรูปวาด จะช่วยฝึกสมอง ไม่ให้ เกิดอาการสูญเสียความทรงจ�ำ (อัลไซเม่อร์) ได้ ความส�ำเร็จของหนังสือนีจ้ ะปรากฏสมบูรณ์กต็ อ่ เมือ่ เจ้าของ ได้ระบายสีเสร็จเรียบร้อยทุกรูปแล้ว หนังสือนี้พิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ขาวชนิดดี เพื่อเหมาะแก่ การระบายสีรูปวาด ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


8

ค�ำน�ำ เพื่อนๆ และพี่ๆ ผู้เรียนต่างคณะมักชวนคุยว่า อยากอ่านหนังสือ ร้อยกรองที่อ่านง่าย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอ่านเล่มไหนดี ให้ช่วยแนะนำ�  ทำ�ให้ได้ข้อสรุปในใจ ที่กล่าวกันว่าคนสมัยนี้ไม่ชอบอ่านร้อยกรอง  กวีนพิ นธ์ คงไม่จริง และอาจผิดจากความเป็นจริงไปมาก หลายคน สนใจร้ อ ยกรอง บทกวี   แต่ อ าจจะหาหนั ง สื อ เพื่ อ เริ่ ม ต้ น อ่ า น ยังไม่พบ เมื่อครูมกุฏหารือเรื่องท�ำหนังสือบทร้อยกรองส�ำหรับเด็ก ท�ำให้รู้สึกกระตือรือร้นเป็นพิเศษ ครูบอกว่า น่าจะใช้ล�ำดับของ อั ก ษรไทยร้ อ ยเรี ย งเรื่ อ งราว จึ ง ลองเขี ย นนิ ท านสั้ น ๆ จ� ำ นวน ๔๔ เรื่ อ ง มี เ นื้ อ หาสะท้ อ นอุ ป นิ สั ย  ความคิ ด และพฤติ ก รรม ของมนุ ษ ย์  ผ่ า นตั ว ละครตั ว อั ก ษร แล้ ว ตั ว อั ก ษรธรรมดาๆ ที่ ผู ้ เ ขี ย นเคยท� ำ ได้ เ พี ย งท่ อ งจ� ำ ก็ ก ลั บ มี ชี วิ ต กระโดดออกมาจาก บรรทัด วิง่ ไปตามป่าเขา ทุง่ หญ้า ทะเล แสดงความหวัง ความฝัน ความกล้าหาญ กระทั่งความผิดชอบชั่วดี ความรัก ความเกลียด โกรธ จนผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะตกหลุมรัก จึงหวังว่าจะเป็นหนังสือ อีกเล่มที่ช่วยให้เด็กๆ รู้จักพยัญชนะไทยด้วยวิธีที่สนุกขึ้น และ เป็นหนังสือที่ทุกคนในครอบครัวหยิบมาอ่านร่วมกันได้ทุกเมื่อ ผู ้ เ ขี ย นพยายามเลื อ กใช้ ค� ำ ศั พ ท์ ง ่ า ยๆ ให้ เ หมาะแก่ เ ด็ ก


9

และผู้เพิ่งเริ่มสนใจอ่านบทร้อยกรอง ทั้งค�ำนึงถึงความถูกต้องของ ฉันทลักษณ์ เสียงของถ้อยค�ำ จ�ำนวนบทกลอนแต่ละตอน เมื่อ อ่านจะสังเกตว่า เรือ่ งของอักษรแต่ละตัวประกอบด้วยกลอนจ�ำนวน ๔ บท ฉันทลักษณ์ที่เลือกใช้คือกลอน ๘ และกลอน ๖ ด้วยกลอน ๘ นั้น เป็นฉันทลักษณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นหู และกลอน ๖ ก็มี ฉันทลักษณ์ใกล้เคียงกับกลอน ๘ ทว่า มีผู้น�ำมาเขียนไม่มากนัก จึงหวังว่าจะมีสว่ นจุดประกายให้ผอู้ า่ นสนใจร้อยกรองประเภทอืน่ ๆ เพิ่มเติมต่อไป ขณะเขียนต้นฉบับหนังสือนี้ ผู้เขียนมีความรู้สึกหลายอย่าง ผสานผสมปนเปกัน  ทั้งความมุ่งหวังแรงกล้าที่จะให้หนังสือนี ้ ยังประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกกลุ่ม ความตื่นเต้นกระตือรือร้นผสมกับ ความกังวล ด้วยการเขียนนิทานนับเป็นสิ่งใหม่ของผู้เขียน และ การเขียนกลอนซึ่งมีสัมผัสร้อยเรียงต่อเนื่องกันกว่าร้อยบท ก็ ถือเป็นเรื่องท้าทายมาก ตลอดเวลาที่ร้อยเรียงถ้อยค�ำแต่ละบท แต่ละตอน ผู้เขียนระลึกคุณของครูภาษาไทยทุกท่านผู้มีส่วนช่วย ชี้แนะ กล่อมเกลา วางรากฐานภาษาไทยให้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึง เมื่อเรียนมหาวิทยาลัย บุคคลส�ำคัญที่ขอกล่าวถึงคือ ครู ธ นาพั น ธ์  เค้ า สิ ม  ผู ้ ส อนฉั น ทลั ก ษณ์ ร ้ อ ยกรองต่ า งๆ


10

ครูปรียานุช แสงมหาชัย ผู้ท�ำให้ตัดสินใจเรียนต่อวิชาภาษาไทย ในมหาวิทยาลัย พี่หทัยรัตน์ จตุรวัฒนา รุ่นพี่ผู้ดวงตาพิการที่สละ เวลาช่วยฝึกฝนทักษะเขียนร้อยกรองให้ผู้เขียนนานนับหลายเดือน ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง คุณครูอาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ ทีป่ รึกษา และขอบพระคุณอาจารย์ทกุ ท่าน เพือ่ น และพีๆ่  น้องๆ ที่ ได้ชว่ ยเหลือเกือ้ หนุนตลอด ๔ ปี ในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ถ้าหนังสือเล่มนี้จะบันดาลให้ผู้อ่านยิ้ม หัวเราะ หรือฉุกคิด สิ่งอันเป็นคุณประโยชน์ใด ก็ด้วยพระคุณของครูมีส่วนเกื้อหนุน แต่หากมีข้อความใดที่ท�ำให้ผู้อ่านนึกต�ำหนิติเตียนแล้ว นั่นย่อมถือ เป็นความเลินเล่อ และความอ่อนประสบการณ์ของผู้เขียนทั้งสิ้น ผู้เขียนคิดว่า เด็กๆ จะตื่นเต้นยินดีเมื่อเห็นรูปประกอบที่ พี่ ‘สุกฤตยา’ เป็นผู้วาด หวังว่าทุกคนจะช่วยกันท�ำให้หนังสือนี้ สมบูรณ์สวยงามยิ่งขึ้นด้วยการแต่งแต้มสีสรรพ์ให้เหล่าอักษร ทั้งหลาย ลองนึกดูแล้วก็อดยิ้มไม่ได้ กระดาษทุกหน้าคงอบอวล ด้วยความสุข และอบอุ่นด้วยความรักที่เราทุกคนช่วยกันเนรมิต ชีวิตให้เหล่าอักษรของเรา


11

ผู้เขียนดีใจมากที่ได้เขียนหนังสือนี้ เพราะท�ำให้หวนนึกถึง วัยเยาว์ของตนเองอีกครัง้ หนึง่  คิดถึงความสุข ความฝัน จินตนาการ และผองเพื่อน ขอบพระคุ ณ ครู ม กุ ฏ ที่ แ นะน� ำ และดู แ ลต้ น ฉบั บ ตั้ ง แต่ ยั ง ไม่เป็นรูปร่าง จนกลายเป็นเล่ม ขอบพระคุณครูปณิธิ หุ่นแสวง ครูกาญจนา บุนนาค และทุกท่านผู้มีส่วนเกื้อหนุนให้หนังสือนี้ ส�ำเร็จเสร็จสมบูรณ์ ความใส่ใจของทุกคนจะประทับอยูใ่ นใจผูเ้ ขียน ในหนังสือ และหวังว่าจะประทับอยูใ่ นใจผูอ้ า่ นทุกคนด้วย ตราบนาน เท่านาน ด้วยความส�ำนึกคุณ

๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙


12 


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’  13

วันทาองค์เอกไท้ สรรค์สืบปัญญาทวี หนังสือต่างมาลี แด่เอกองค์ล้นเกล้า

ศิลปี ค�่ำเช้า ก้มกราบ ถวายแฮ จิตน้อมสนองคุณ

ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวสโรชา กิตติสิริพันธุ์


14 


ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ    15

(กลอน ๖) ก ไก่ ก่อนเก่าเล่าขาน  ต�ำนานแต่หลังครั้งหนึ่ง  ไก่เคยอวดถือดื้อดึง  อื้ออึงไม่ยั้งฟังใคร


16    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ขันเล่นเห็นสนุกทุกเมื่อ  เพราะเชื่อเสียงเพราะเสนาะใส  เพื่อนเบื่อเสียงขานร�ำคาญใจ  เตือนซ�้ำเท่าใดไม่ฟัง เพื่อนพ้องหลบหนีตีจาก  เห็นยากห้ามไก่ ไม่หวัง  เหลือไก่ขานร�่ำล�ำพัง  จึงยั้งนิ่งหยุดฉุกคิด เสียงเพราะ ขานร�่ำพร�่ำเพรื่อ  ไม่เหลือประโยชน์ โทษติด  รู้กาลขานเสียงเพียงนิด  เพื่อนก็คืนชิดสนิทนาน


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    17


18    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    19

(กลอน ๖) ข ไข่ ขวนขวายหมายรู้  สิ่งอยู่นอกเปลือก รีป้าน  ดุกดิกพลิกหงายหลายวาร  ต้องการออกไปใคร่ชม


20    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

แม่เตือนให้ยั้งฟังก่อน  “ใจร้อนพาซวน ควรข่ม  ข้างนอกล้วนขวากหนามคม พลาดล้ม อาจต�ำท�ำร้าย ยังไร้ปีกหางอย่างนี้  เสียทีจะซ�้ำเสียหาย  หลบหนีไม่ทันอันตราย  จงหมายมุ่งงดอดใจ” ไข่เชื่อค�ำแม่แน่นัก  จวบฟักตัวเห็นเป็นไก่  ปีกหางงามสง่ากว่าใคร  จึงได้เที่ยวชมสมปอง


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    21


22    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    23

(กลอน ๖) ฃ เฃตร เรืองนามงามนัก เสาหลักเฃตรใหญ่ไว้ป้อง แบ่งแนวแผ่นดินถิ่นครอง ล้วนเตือนตาจ้องมองดู


24    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

วันหนึ่งผู้ทรงศีลศักดิ์ เดินทางถึงหลัก พักอยู่ ลืมขวดทิ้งไว้ไม่รู้ เพียงครู่ผ่านเพลินเดินไป  ผู้อื่นเห็นขวดอวดวาง เอาอย่างว่าสิ่งทิ้งได้ ชวนกันทิ้งขวดอวดไว้ กองขวดยิ่งใหญ่ยิ่งดี  ไก่บินเที่ยวเล่นเห็นขวด วางอวดกองสุมคลุมที่ หาหลักเฃตรใดไม่มี  บัดนี้ เขต ขวดอวดครอง


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    25


26    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    27

(กลอน ๖) ค ควาย งามสง่าอาศัย  กับชาวนาใหญ่ใจผยอง  นาข้าวพันธุ์ดีสีทอง ล้วนของชาวนาช้านาน


28    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ควายเห็นชาวนาเช่นเพื่อน  ไม่เชือนเต็มใจไถหว่าน  ชาวนาได้ใจใช้งาน  ว่าขาน “ควายโตโง่จัง” ควายแสนละเหี่ยเสียใจ  หนีไปเพราะพิษผิดหวัง  ชาวนาโกรธขึ้งปึงปัง  บ้าคลั่งตามล่าหาควาย ตามหาอย่างไรไม่เห็น  ว่างเว้นหว่านไถใจหาย  หลงหมิ่นคุณค่าว่าร้าย  นึกรู้ละอาย สายไป


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    29


30    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    31

(กลอน ๘) ฅ ล�ำฅอ ตั้งตรงทรงสง่า  แลท่วงท่าช้อยชดดูสดใส  ประดับสร้อยวาววับงามจับใจ  จนใครใครต่างชมนิยมมอง


32    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

คอเห็นฅอ ชมว่า “แหม! น่ารัก  สวมสร้อยศักดิ์สูงค่าน่ายกย่อง  ขอสวมสร้อยบ้างนะ อยากจะลอง”  ฅอจึงถอดสร้อยคล้องให้ลองดู พลันล�ำคอตั้งตรงทรงสง่า  คอเชิดหน้าชูเด่นเห็นงามหรู  ฅอแลเห็น ฅอต้องร้อง “อู้ฮู”  ผลัดเชิดชู สวมใส่กันไปมา แล้ววันหนึ่งสองเกลอเผลอลืมสร้อย  จนเด็กน้อยเก็บได้ “ของใครหนา  ให้ ‘ฅอ’ สวม หรือ ‘คอ’ ใส่ก็คุ้นตา  จะควรค่ามอบไว้ผู้ใดดี”


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    33


34    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    35

(กลอน ๘) ฆ ระฆัง เสียงหวานกังวานใส  แสนภูมิใจคุณค่ารักหน้าที่  คอยเตือนบอกเวลามานานปี  หมู่น้องพี่ใกล้ไกลตั้งใจฟัง


36    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ครั้นเวลาคล้อยเคลื่อนค่อยเลื่อนผ่าน  ระฆังราน แลไปให้สิ้นหวัง  เกินบ�ำรุงกลับช่วยสวยอีกครั้ง  คนชิงชังทั้งหมดจึงปลดทิ้ง แว่วพร�ำพร�ำส�ำเนียงเสียงฝนตก  สะท้านอกระฆังวังเวงยิ่ง  สนิมจับจนใจมิไหวติง  ทุกทุกสิ่งดับหวังระฆังไป งูเที่ยวเร่เหน็ดเหนื่อยเลื้อยมาถึง  ฝนตกจึงขอหลบพักอาศัย  ระฆังแสนเปรมปรีดิ์นึกดีใจ  งูช่วยฟื้นค่าให้ได้ยินดี


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    37


38    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    39

(กลอน ๘) ง งู เรื่องเล่าขานมานานนัก  งูเคยรักเพื่อนพ้องรักน้องพี่  ทั้งม้า ไก่ ลิงกล้า ช้างอารี ล้วนเป็นที่ผูกพันร่วมกันมา


40    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

วันหนึ่งลิงล้องูดูน่าขัน  “ดูสินั่นตัวอะไรไม่มีขา”  ไก่สมทบ “จริงสินะ ประหลาดตา  ตัวยาวอย่างกับฟ้ามาสาปไว้” บ้างล่องูเข้าใกล้แล้วไล่แกล้ง  บ้างเสแสร้งสงสารแล้วพาลไล่  บ้างเย้ยเยาะจิกทึ้งดึงตามใจ  หมู่สัตว์น้อยสัตว์ใหญ่ไม่ทันคิด ความเสียใจล�้ำลึกนึกอาฆาต  งูไม่อาจวางใจใครสนิท  เปลี่ยนขึ้งแค้นเคียดเค้นเป็นเขี้ยวพิษ  ส�ำแดงฤทธิ์ไล่ล่ามาแต่นั้น


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    41


42    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    43

(กลอน ๘) จ จาน นึกทะนงหลงว่าสวย  ใครต่าง‘อวย’เอ่ยชมนิยมฉัน  จัดอาหารวางเด่นเห็นส�ำคัญ  อวดประชันลวดลายแก่สายตา


44    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

จานได้ฟังคนชมนิยมขวด  จึงเจ็บปวดลึกลึกนึกอิจฉา  ทรงไม่สวยลายซ�้ำธรรมดา  ท�ำเป็นมาแข่งขันประชันลาย จานกลัดกลุ้มว่ามีวิธีไหน  จะแกล้งให้ขวดแตกแหลกเสียหาย จึงเรียกหนูปรึกษาหาอุบาย  “ขวดต้องอายร่วงล้มจึงสมใจ” หนูจึงท�ำจานหล่นไปชนขวด  หวังให้ลวดลายแตกแหลกให้ได้  ครั้นขวดล้มกลับชิงกลิ้งหลบไป  เหลือจานแตกแหลกไว้ให้คนชม


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    45


46    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    47

(กลอน ๘) ฉ ฉิ่ง แสนยกย่องฆ้องวงใหญ่  เสียงขลุ่ยไผ่ครวญเพราะช่างเหมาะสม  ระนาดเอกเข้มขลังกังวานลม  นึกนิยมท�ำนองของเพลงซอ


48    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ฉิ่งละอายคิดว่าฉิ่งค่าด้อย  เป็นดนตรีเครื่องจ้อยน้อยใจหนอ  ไร้ส�ำเนียงเสียงท�ำนองร่วมร้องคลอ  ฉิ่งทดท้อ เร้นหาย ด้วยอายใจ ไก่แว่วเสียงขลุ่ยแผกฟังแปลกแปร่ง ซอเพี้ยนแกว่งเคยไพเราะเสนาะใส ระนาดเขวสิ้นขลังจังหวะไร้ ไม่มีใครเกณฑ์กะจังหวะเพลง ขลุ่ย ระนาด ฆ้อง ซอ ร้องขอฉิ่ง  อย่าละทิ้งเร้นหายคล้ายข่มเหง  ฉิ่งจึงเลิกขลาดอายหายหวั่นเกรง  ยินดีร่วมบรรเลงเพลงอีกครา


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    49


50    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    51

(กลอน ๘) ช ช้าง ใหญ่ใจดีเป็นที่รัก  เป็นดั่งหลักความหวังสัตว์ทั้งป่า  ใครเดือดร้อนทุกข์ยากล�ำบากมา  ช้างอาสาช่วยเหลือเอื้ออารี


52    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

วันหนึ่งช้างติดหล่มระทมใจ  ขยับก้าวเท่าใดไม่อาจหนี  งูเห็นช้าง ร�ำลึกนึกทันที  ช้างตัวนี้ก่อนเก่าช่วยเราไว้ จึงเลื้อยพันตีนช้างช่วยชักฉุด  แม้จนสุดแรงงูสู้ไม่ไหว  หนูจึงตามลิงกล้า และม้าไว  ควายกับไก่ก็มาด้วยเพื่อช่วยช้าง หลายแรงร่วมใจดึงจึงขยับ  สัญญาณนับดังไปทั่วไพรกว้าง  ช้างพ้นหล่มกลับคืนยืนตรงทาง  รวมน�้ำใจไม่จาง ช้างปลอดภัย


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    53


54    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    55

(กลอน ๘) ซ โซ่ ภูมิใจนัก รักศักดิ์ศรี  อ�ำนาจมีมากยิ่งเหนือสิ่งไหน  ปิดประตูล่ามคล้องป้องกันไว้  ก็ยากใครรานระพลการ


56    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

แล้วคนน�ำลิงกล้ามาล่ามโซ่  เจ้าลิงโตงวยงงน่าสงสาร  คนบังคับลิงใหญ่มาใช้งาน  ยิ่งต่อต้านยิ่งลดหมดเสรี ลิงนั่งเศร้าร�ำพึงคิดถึงป่า  ไก่ ช้าง ม้า เพื่อนพ้องและน้องพี่  เคยเที่ยวเล่นปีนป่ายสบายดี  หวังเคยมีก็เลือนดับ ยากกลับไป โซ่สละขาดสายหมายปล่อยลิง  “อ�ำนาจเรามากยิ่งเหนือสิ่งไหน  ก็มีเพื่อคุ้มครองป้องกันภัย  มิหมายใช้รอนศักดิ์กักขังกัน”


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    57


58    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    59


60    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    61

(กลอน ๖) ฌ เฌอ ต้นไม้ใบหนา  งามสง่ายืนยงคงมั่น  ผลไม้ทั้งมวลล้วนปัน  ทุกวันเพื่อทุกชีวิต


62    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ยักษ์มาอาศัยใต้ต้น  หวังผลแย่งยื้อถือสิทธิ์  ไล่สัตว์นานาชนิด  เพราะคิดครองต้นตนเดียว นกเคยเกาะกิ่งชิงหนี  ผึ้งหวี่นึกขลาดหวาดเสียว  ลิงไก่ผอมรูปซูบเซียว  หลีกเลี้ยวเร้นร่างห่างไม้ ต้นไม้เสียใจไร้เพื่อน  เยี่ยมเยือนโอภาปราศรัย  ต้นโกร๋นแหว่งวิ่นสิ้นใบ  หมดดอกผลใดให้ยักษ์


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    63


64    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    65

(กลอน ๖) ญ หญิง สวยสาวชาวบ้าน  กร�ำงานล้าเหนื่อยเมื่อยหนัก  พบนางฟ้าเพริศเลิศลักษณ์  เร่งทักเอ่ยข้อขอวอน


66    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

เพาะปลูกนานช้านาไร่  ยังไร้เงินกองทองก้อน  ขอแหวนเงินตราอาภรณ์  พอผ่อนสบายหายล้า ครั้นได้ของชมสมหวัง  กลับนั่งวิตกนักหนา  ลืมสิ้นท�ำไร่ไถนา  รักษาค�่ำเช้าเฝ้ามอง อวดโอ่สวมตัวกลัวหาย  เกรงโจรผู้ร้ายหมายจ้อง  วอนนางฟ้าใหม่ใฝ่ปอง  เงินทองเปลี่ยนเป็นพันธุ์ไม้


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    67


68    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    69

(กลอน ๘) ฎ ชฎา เล่าไว้ให้ไก่ฟัง  ชฎาครั้งเคยอยู่กับผู้ใหญ่  งามตรึงตาคราฟ้อนละครใน  ใครต่อใครต่างมองจ้องตะลึง


70    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

วันหนึ่งเด็กชมฟ้อนแล้ววอนว่า  อยากจะสวมชฎาสักคราหนึ่ง  ชฎาฟังหวาดหวั่นนึกพรั่นพรึง  ก็ผู้ซึ่งขอกันนั้นคือใคร ชฎาสวมพอดีศีรษะเก่า  หรือจะเข้าพอดีศีรษะใหม่  ชฎาเคยคนออมถนอมไว้  เปลี่ยนคนไปหรือจะออมถนอมกัน เด็กน้อยแสนดีใจได้ชฎา  ยิ้มเริงร่าวิ่งไปใจสุขสันต์  ชฎาได้เล่นลมชมตะวัน  เลิกวิตกหวาดหวั่นแต่นั้นมา


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    71


72    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    73

(กลอน ๘) ฏ ปฏัก เรี่ยวแรงล้วนแข็งกร้าว  ทุกคราคราวปักหาญช�ำนาญกล้า  เหล่าวัวควายเกลียดแค้นแสนระอา  ที่เชื่อฟังต่อหน้าเพราะว่ากลัว


74    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ปฏักเข้าใจอยู่ความรู้สึก  วัวควายนึกแช่งชักปฏักชั่ว  แต่หน้าที่จริงจังยังพันพัว  แม้ส่วนตัวร�ำลึกนึกเห็นใจ ลึกลึกปฏักเศร้าเฝ้าครุ่นคิด  จะผูกมิตรวัวควายได้ไฉน  วอนลมส่งสัญญาณการเตือนภัย  เพื่อวัวควายรู้ได้ไม่ถูกแทง ค่อยผ่อนเพลาเรี่ยวแรงเคยแข็งกร้าว  ค่อยบอกกล่าววัวควายอย่าหน่ายแหนง  จนควายวัวยินยอมพร้อมร่วมแรง  เลิกด่าแช่งกลับเป็นมิตรสนิทกัน


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    75


76    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    77

(กลอน ๖) ฐ ฐาน จริงจังตั้งรอง  สิ่งของยืนยงคงมั่น  น�้ำหนักมากมายหลายตัน  ไม่พรั่นเพราะแข็งแรงดี


78    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ช้างวานลิงกล้ามาช่วย  สร้างฐานให้ด้วยเร็วรี่ หวังปลูกบ้านพักสักที  เสรีเที่ยวป่ามานาน ไก่เห็นลิงเพลินเดินเล่น  โผนเผ่นปีนต้นผลหวาน  จวบใกล้ก�ำหนดส่งงาน  สร้างฐานพอเสร็จเสร็จไป ครั้นช้างส�ำรวจตรวจชม  เหยียบขย่มฐานพลันสั่นไหว  ช้างหล่น ตระหนกร้องก้องไพร  ทันใดสุดต้าน ฐานพัง


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    79


80    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    81

(กลอน ๘) ฑ มณโฑ หญิงงามนามไพเราะ  เที่ยวสืบเสาะหาผลต้นความหวัง  พลันปะยักษ์ขวางทางเข้าอย่างจัง  เพียงล�ำพังยากเลี่ยงเบี่ยงหลบไป


82    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ยักษ์ท�ำท่าขึงขังตั้งค�ำถาม  ค่าความงามของหญิงคือสิ่งไหน  หากค�ำตอบเข้าท่าข้าถูกใจ จะเว้นชีวิตไว้ไม่จับกิน   “คือรูปสวยโสภาหน้าผุดผ่อง”  “พอรูปเหี่ยวแลมองก็หมองสิ้น”  “คือเท้าหลังตามไปในแผ่นดิน”  “เท้าหน้าพาพลัดถิ่นก็สิ้นตาม” มณโฑคิดค้นหาค่าแห่งหญิง  ค่าแท้จริงข้อหนึ่งซึ่งมองข้าม  “หญิงสร้างคนคือค่าสง่างาม”  ยักษ์ฟังความน้อมนบรีบหลบไป


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    83


84    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    85

(กลอน ๘) ฒ ผู้เฒ่าเชี่ยวชาญการทำ�ขนม เด็กนิยมล้อมดูอยากอยู่ใกล้ ชวนกันแวะเวียนรอบนึกชอบใจ หวังจะได้ชิมชมขนมดี


86    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ผู้เฒ่าเผย “ขนมดีมีเคล็ดลับ” เด็กขยับล้อมนั่งฟังเต็มที่ “หวังอร่อยแท้จริงยิ่งกว่านี้ ต่างต้องมีส่วนด้วยช่วยกันทำ�” เด็กเด็กจึงแบ่งถั่วปันปั้นเป็นไส้ บ้างใส่ใจนวดแป้งออกแรงขย�ำ บ้างห่อแป้งให้ดีทีละค�ำ บ้างตวงน�้ำตาลใส่ตั้งใจเติม ต่างจัดแจงแบ่งสรรปันกันชิม ต่างแย้มยิ้ม ‘ขนมดี’ มีรสเพิ่ม เคยอร่อย “อร่อยจริงยิ่งกว่าเดิม” เมื่อปรุงเสริมแรงรวมร่วมเกลียวกลม


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    87


88    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    89

(กลอน ๘) ณ เณรน้อย ยังเยาว์เพิ่งเข้าวัด  มาฝึกหัดธรรมะขั้นประถม  แต่ต�ำราใดใดไม่ปรารมภ์  ใจนิยมคล้อยตามความเกียจคร้าน


90    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

เณรง่วงงุนประจ�ำท�ำวัตรเช้า  ทุกวันเฝ้าเบี่ยงบ่ายหลายสถาน  ไก่ขันแกล้งหลับอยู่ไม่รู้กาล  คนเรียกนานเท่าใดท�ำไม่รู้ เพื่อนเณรจึงปล่อยไว้มิได้ปลุก  เณรเป็นสุขแอบยิ้มกระหยิ่มอยู่  ค่อยพลิกตัวซุกหมอนนอนคุดคู้  เพียงชั่วครู่ก็กลับหลับต่อไป สะดุ้งตื่น เณรนึกรู้สึกหิว  รีบวิ่งลิ่วเพื่อมาศาลาใหญ่  รู้เวลาพ้นเพลเณรตกใจ  หวังจะฉันสิ่งใดก็ไม่ทัน


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    91


92    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    93

(กลอน ๘) ด เด็ก ใฝ่ครองสวนมวลหมู่ไม้  วันหนึ่งไก่มอบกล่องใส่ของขวัญ  มีเมล็ดพันธุ์ใหม่อยู่ในนั้น  เคยใฝ่ฝันกลับหนักใจปลูกไม่เป็น


94    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

หากปลูกแล้วต้นตายเสียดายแน่  เก็บไว้แต่เมล็ดไซร้ใครจะเห็น จึงเพียรถามชาวสวนเฒ่าทุกเช้าเย็น  แม้ยากเข็ญก็จะต้องลองปลูกดู ให้ได้แดดรดน�้ำตามค�ำแนะ  ดินกลับแฉะใบเรียวก็เหี่ยวลู่  เด็กน้อยเจียนสิ้นหวังสังเกตรู้  สิ่งใดขาดพลาดอยู่ดูอีกที ลองงดน�้ำเปลี่ยนปรับรับแดดอ่อน  ต้นค่อยแตกกิ่งซ้อนใบอ่อนคลี่  เด็กน้อยแสนปลื้มใจในวันนี้  ต้นไม้มีดอกเด่นเห็นงามตา


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    95


96    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    97

(กลอน ๘) ต เต่า คราวิ่งชนะกระต่ายนั้น  ผู้คนนึกอัศจรรย์กันถ้วนหน้า  แท้เต่ารู้คุณงามความเชื่องช้า  เรื่องเล่าไก่ฟังมาแต่ตายาย


98    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

ครั้งหนึ่งม้าย่างเหยาะเย้ยเยาะเต่า  ติว่าเจ้าตัวจ้อยด้อยความหมาย  มัวต้วมเตี้ยมชักช้าช่างน่าอาย  ม้าย่างกรายงามสง่าขอลาที เต่าฟังแสนน้อยใจให้อายม้า  เคยคลานช้าฝึกใหม่ให้เร็วรี่  วันละนิดวันละน้อยค่อยทวี  ไม่กี่ปีคลานคล่องแสนว่องไว เร็ว แต่ไม่เห็นไอฝนบนยอดหญ้า ไม่ทันชมต้นกล้าคราเกิดใหม่  เต่าเสียดายรายละเอียดละเมียดละไม  จึงจงใจคลานช้ามาแต่นั้น


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    99


100    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    101

(กลอน ๘) ถ ถุง เปล่าใบหนึ่งซึ่งอ้างว้าง  ลอยเคว้งคว้างปลิวไปไร้ความฝัน  รู้สึกไร้สิ่งเอื้อเพื่อแบ่งปัน  เหมือนทุกวันชีวีไร้ชีวิต


102    ก ไก่เดินทาง : สโรชา กิตติสิริพันธ์ุ

จนวันหนึ่งเสื้อผ้ามาขออยู่  ตามด้วยหมู่เงินทองของสนิท  ของเล่นรวมในถุงนี้ทีละนิด  ต่างขอติดตามถุงหนักตุงล้น ถุงแบ่งของเล่นไปให้เด็กน้อย  เสื้อผ้าคอยแจกหมู่ผู้ขัดสน  ยกเงินทองยื่นฝากผู้ยากจน  ทุกทุกคนสุขอิ่มปริ่มปรีดา ถุงเล่นลมลอยปลิวลิ่วอีกหน  คุณค่าแห่งตัวตนที่ค้นหา  มิใช่ในสิ่งของซึ่งต้องตา  ถุงรู้ว่าอยู่ไหนเข้าใจแล้ว


นิทานระบายสี : ‘สุกฤตยา’    103



197

เกี่ยวกับผู้เขียน พลอย เกิดวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ ในกรุงเทพ มหานครฯ เป็นบุตรีของนายนพดล กับนางจารุกร กิ ต ติ สิ ริ พั น ธุ ์   มี พี่ ส าว ๑ คน คื อ  นางสาวรวิ พ ร กิตติสิริพันธุ์ หลังจากคลอดไม่นาน แม่สังเกตเห็นความ- ผิ ด ปกติ ที่ ด วงตาข้ า งซ้ า ยของพลอย จึ ง ไปตรวจ หมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งที่จอประสาทตา และต้อง รักษาด้วยการผ่าตัดน�ำลูกตาออก อาจเพราะตัดสินใจ ผ่าตัดช้าเกินไป ท�ำให้เชื้อมะเร็งลุกลาม พลอยจึงต้อง ผ่ า ตั ด ตาทั้ ง  ๒ ข้ า ง กลายเป็ น ผู ้ ที่ ต าบอดสนิ ท นับแต่นั้น เมื่ออายุราว ๓ ขวบ พลอยเข้าเรียนที่ศูนย์ การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จากนั้น


198

เข้าศึกษาต่อระดับประถมที่โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพ และชั้นมัธยมที่โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ พลอยสนใจเขียนบทร้อยกรองตั้งแต่เรียน ชัน้ ประถม มักรบเร้าให้พอ่  และพีอ่ า่ นหนังสือเรือ่ งต่างๆ ให้ฟงั  ทัง้ นิทาน วรรณกรรมเยาวชน หรือแม้แต่หนังสือ การ์ตูน เมื่อเรียนชั้นมัธยมปลาย พลอยสนใจงาน วรรณคดี และบทกวีนิพนธ์เพิ่มขึ้น จึงตัดสินใจศึกษา ต่อคณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย พลอยได้รับทุนโครงการสู่ความเป็นเลิศด้าน ภาษาและวรรณคดี ไ ทย ซึ่ ง เป็ น ทุ น การศึ ก ษาของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบแก่นักเรียนที่สนใจ สอบเข้าคณะอักษรศาสตร์เพือ่ เรียนต่อสาขาวิชาภาษา ไทยโดยเฉพาะ กระทั่งวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ พลอยเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร อักษรศาสตร์ บั ณ ฑิ ต ระดั บ เกี ย รติ นิ ย มอั น ดั บ  ๑ จากพระหั ต ถ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเรียนคณะอักษรศาสตร์ พลอยได้ทดลอง และพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยค�ำนึงถึงข้อจ�ำกัด เรื่องการมองไม่เห็นให้น้อยที่สุด นอกจากเล่นดนตรี ร่วมกับเพื่อนๆ เดินทางไปเรียนวิชาต่างคณะแล้ว เมื่ อ พลอยอยู ่ ชั้ น ปี ที่   ๓ ยั ง เลื อ กเรี ย นวิ ช าเสวนา บรรณาธิการ ซึ่งพลอยคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับงาน


199

ท�ำหนังสือที่พลอยสนใจ การเรียนวิชาเสวนาบรรณาธิการท�ำให้พลอย ได้มีโอกาสรู้จักครูมกุฏ และเริ่มเขียนบันทึกประจ�ำวัน ซึ่งถือเป็นการบ้านส�ำคัญของวิชา นอกจากนี้ เมื่อ เรี ย นอยู ่ ชั้ น ปี ที่  ๔ พลอยยั ง ได้ มี โ อกาสริ เ ริ่ ม ท� ำ โครงการ ‘ฝึ ก ฝนผู ้ ด วงตาพิ ก ารให้ เ ขี ย นหนั ง สื อ ’ กับครูมกุฏ ส�ำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวง วัฒนธรรม และมูลนิธวิ ชิ าหนังสือ ช่วยให้พลอยฝึกฝน ทักษะการเขียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อพลอยส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บันทึกซึง่ เขียนขณะเรียนได้รวบรวมตีพมิ พ์เป็นหนังสือ เล่มแรกของพลอยชื่อ ‘|จนกว่า |เด็กปิดตา|จะโต’ ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่นประจ�ำปี ๒๕๕๙ ซึง่ จัดโดยคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันพลอยฝึกฝนเรียนรู้งานหนังสืออยู่ที่ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ ผี เ สื้ อ  พยายามคิ ด วิ ธีพั ฒ นาศั ก ยภาพ มุ่งหวังว่าจะมีส่วนช่วยขยายโอกาสให้ผู้ดวงตาพิการ คนอื่นๆ ได้ประกอบอาชีพเกี่ยวข้องกับวงวรรณกรรม เพิ่มขึ้น และยังคงเขียนบันทึกอยู่เป็นประจ�ำทุกวัน


200

เกี่ยวกับผู้วาดรูป สุกฤตยา สาธิตภิญโญ ‘เยลลี’่  เกิดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๔ บ้านอยู่ฝั่งธนบุรี ครอบครัวท�ำธุรกิจ ร้านอาหารละแวกนั้น เรียนอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาล แสงเรืองศึกษาแถวสาทร ที่มีตึกหุ่นยนต์อยู่หน้าซอย เป็นจุดเด่น เรียนอนุบาล ๓ ซ�ำ้  ๒ ปี เพราะอายุยงั น้อย เกินกว่าจะเข้าเรียนประถม จากนั้นชีวิตอีก ๑๒ ปี ต่ อ มาก็ อ ยู ่ แ ต่ ใ นโรงเรี ย นเซนต์ โ ยเซฟคอนแวนต์ โรงเรียนหญิงล้วน หลังจากนั้นสอบเข้าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ภาคนานาชาติ ในคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี สาขาการเงิน   เมื่ อ เรี ย นปี  ๓ มี โ อกาสไปเป็ น นั ก เรี ย น แลกเปลี่ ย นที่ ป ระเทศแคนาดา ๑ เทอม โชคดี ที่ มี เพื่อนไปด้วย ท�ำให้รู้สึกว่าไปท่องเที่ยวเสียมากกว่า


201

พอกลับมาก็ได้วาดภาพประกอบที่ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ต้องขอบคุณน้องชายที่ได้น�ำภาพวาดส่งส�ำนักพิมพ์ จึงมีโอกาสได้ร่วมงาน เมือ่ เรียนจบปริญญาตรี ก็ใจร้อนรีบเข้าเรียนต่อ ด้านแฟชั่น ที่ Bunka Fashion Academy แถวสีลม ๒ ปี ระหว่างเรียนก็ประกวดโน่นนี่นั่น ทั้งด้านแฟชั่น ภาพวาดและด้านออกแบบคาแร็คเต้อร์ ได้รางวัลบ้าง ไม่ได้บ้างแต่เ ป็นประสบการณ์ ที่ดี ได้ รู ้ ว ่ า  ใช้ เ วลา ที่ผ่านมาตลอด ๒๔ ปี กับสิ่งที่ชอบทั้งด้านวาดภาพ เสื้อผ้า แฟชั่น การบริหารจัดการ ได้ใช้เวลาอยู่กับ สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ และรอเวลาเติ บ โต


202


203

เ ป็ น ก า ร ย า ก ที่ จ ะ บ อ ก ว่ า หนังสือของส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ดี อ ย่ า ง ไ ร ดี ม า ก แ ค่ ไ ห น สมควรซื้ออ่านและซื้อเก็บไว้เพียงใด แต่ถ้าท่านมีลูก หลาน เหลน ในภายหน้า ลูกหลาน เหลนลื่อของท่าน จะระลึกถึงท่านด้วยส�ำนึกขอบพระคุณ หากพวกเขาได้อ่านหนังสือของส�ำนักพิมพ์นี้ ที่ท่านซื้อเก็บไว้เป็นสมบัติ เป็นมรดก เรามิได้ท�ำหนังสือให้ท่านอ่านเพียงวันนี้ เดือนนี้ หรือปีนี้ แต่หวังจะให้อยู่เนิ่นนาน มิใช่ในชั่วเวลาสิบปี ยี่สิบปี หรือห้าสิบปี ทว่า อยากให้อยู่ถึงร้อยปีหรือกว่านั้น เหมือนวรรณกรรมและหนังสือดีๆ ทั้งหลาย ที่มักจะอยู่ในความทรงจ�ำของผู้อ่าน สืบทอดต่อกันรุ่นแล้วรุ่นเล่า จดจ�ำกันสืบไปมิรู้เลือน แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม หนังสือทุกเล่มของส�ำนักพิมพ์นี้ก็เช่นกัน ด้วยเราเชื่อมั่นประการหนึ่งว่า การท�ำหนังสือดีก็เสมือนสร้างโบสถ์วิหาร


204

หนังสือนี้พิมพ์ด้วยกระดาษปอนด์ผสมสี มีคุณสมบัติดูดซับแสง ปริมาณการสะท้อนแสงน้อย เพื่อมิให้เกิดผลร้ายต่อสายตาของผู้อ่าน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรอ่านหนังสือกลางแสงจ้า ไม่ควรอ่านหนังสือใต้แสงแดดจัด และในสถานที่ซึ่งมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ไม่อ่านหนังสือขณะลมพัดแรง เพื่อป้องกันดวงตาและถนอมสายตา หนังสือนี้เข้าเล่มด้วยระบบเย็บกี่ ทั้งปกอ่อนและปกแข็ง เพื่อให้รูปเล่มแข็งแรงมั่นคง ไม่หลุดเป็นแผ่นๆ ตลอดระยะเวลายาวนาน ไม่ต�่ำกว่า ๕๐ ปี หากหนังสือเล่มนี้มีหน้ากระดาษหลุดจากเล่มเป็นแผ่นเดี่ยวๆ เนื่องจากมิได้เย็บกี่ (ร้อยเส้นด้าย) โปรดส่งไปยังส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ นอกจากจะได้รับเล่มใหม่โดยไม่ต้องเสียค่าส่งแล้ว ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อยินดีมอบหนังสือเล่มอื่นๆ ให้อีก ๑๐ เล่ม ในกรณีที่หนังสือเล่มใดไม่ได้มาตรฐานของส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน เลขหน้าสับสน หน้าขาดหาย ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อยินดีรับผิดชอบ เปลี่ยนใหม่ให้ ขอให้ส่งไปเปลี่ยนที่ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ส�ำนักพิมพ์จะมอบของตอบแทนให้พร้อมกับหนังสือใหม่ด้วย เพื่อขออภัย และขอบคุณ


205

ส�ำนักพิมพ์ในครอบครัว แหล่งรวมของส�ำนักพิมพ์ที่ผลิตหนังสือ ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ ส�ำนักพิมพ์ภารตะ ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อญี่ปุ่น ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อลาว ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้ออังกฤษ ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อฝรั่งเศส ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้ออิตาลี ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อสเปน ส�ำนักพิมพ์หนังสือดีของผีเสื้อ และส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อเด็กๆ ส�ำนักพิมพ์เหล่านี้เป็นเครื่องหมายการพิมพ์ ของบริษัท ส�ำนักพิมพ์ผีเสื้อ จ�ำกัด จัดพิมพ์หนังสืออย่างประณีต ทั้งรูปแบบและเนื้อหา งานบรรณาธิการ และวิธีการผลิตทุกขั้นตอน คุณภาพทัดเทียมหนังสือที่พิมพ์จากต่างประเทศ หรืออาจจะดีกว่าในบางกรณี แต่จ�ำหน่ายในราคาถูกที่สุดส�ำหรับคุณภาพระดับนี้ หนังสือแต่ละเล่มจะมีอายุทนนานหลายสิบปี หรืออาจจะอยู่ได้ถึงร้อยปีโดยไม่หลุดเป็นแผ่นๆ ถ้าเก็บรักษาในสภาพอากาศดี เรามิได้ปรารถนาความร�่ำรวยจากการท�ำหนังสือขาย นอกจากหวังฝากผลงานไว้ให้นักอ่านที่รักหนังสือ และมี‘รสนิยม’ ในหนังสือท�ำนองเดียวกัน เราจึงผลิตหนังสือทุกเล่มอย่างทุ่มเท ด้วยชีวิต จิตใจ และวิญญาณ เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับส�ำนักพิมพ์ สนทนาวิสาสะ อ่านบทความ หรือส่งข่าวสารได้ที่ www.facebook.com/butterflybook www.bflybook.com


206

มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ด�ำเนินงานเพื่อโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพฯ และศูนย์ต่างๆ อันเป็นหน่วยงานเพื่อคนตาบอด สอบถามรายละเอียดได้ที่ ส�ำนักงานมูลนิธิฯ 420 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02 354 8356-8, 02 354 8370-71

ศิริราชมูลนิธิ ด�ำเนินงานเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ และการศึกษา ค้นคว้า วิจัยด้านการแพทย์ สอบถามรายละเอียด หรือบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ 02 412 2009, 02 411 2787


207

มูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก ด�ำเนินงานเพื่อผ่าตัดช่วยชีวิตเด็กยากจน ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่ก�ำเนิด สอบถามรายละเอียดเพื่อบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่ ส�ำนักงานมูลนิธิฯ สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02 354 8149 email <heartsaver@saveblueheart.org> www.pcsf.org

สภากาชาดไทย ด�ำเนินงานด้านบริการโลหิต และการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยทั่วประเทศ บริจาคเงินเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ และตัวคุณเอง ติดต่อได้ที่ ส�ำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย โทรศัพท์ 02 255 9911, 02 256 4440-3 โทรสาร 02 250 0312


208

ด�ำเนินงานเพื่อสนับสนุนวิชาหนังสือ ระบบหนังสือ และศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิชาการด้านหนังสือ ทั้งรูปแบบและเนื้อหา รวมทั้งเพื่อสนับสนุน การอ่าน ระบบหนังสือสาธารณะ และระบบหนังสือหมุนเวียน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ส�ำนักงาน (ชั่วคราว) มูลนิธิวิชาหนังสือ ๒๖๑ ซอยสุขุมวิท ๓๑ (สวัสดี) ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ ๐๒ ๒๖๑ ๖๓๓๐-๑ โทรสาร ๐๒ ๒๖๑ ๓๘๖๓ www.facebook.com/thaibooks.studies bookstudy.found@yahoo.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.