baibuabook1

Page 1

บนใบบัว

BonBaiBua Magazine

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ปักษ์แรก พฤษภาคม 2552

เมื่อเวลาไม่ได้เดินช้าอย่างใจ(เลย)ที่เชียงคาน ร้านที่จำ�เป็นต้องมอง “ลุค” : ปลากระป๋องของพ่อ 1+(2) นั่งอ่านหนังสือ : Pic&Post การ์ดเขียนคำ� ภาพเล่าเรื่อง โลกของ(น้อง)ภู...จากมุมใต้กะลา อีกมาก ในเล่ม ฯลฯ

ฉบับ เมื่อเวลาไม่ได้เดินช้า บนใบบัว

1


Content Jumper

โดย...กบบันจี้

เที่ยว(เล่น)

Goodtaste โดย...กบบันจี้

กิน(ดูด)ดื่ม

3

สารบัญ

เมื่อเวลาไม่ได้เดินช้าอย่างใจ(เลย) ที่เชียงคาน

10 ร้านที่จำ�เป็นต้องมอง “ลุค” นางนวลกับมวล 13 แมวผู้สอนให้นกบิน

Movie & Books นอนดูหนัง (หรือ)นั่งอ่านหนังสือ โดย...เจ้าชายกบ

Notebooks

โดย...รติ จุลกะเศียน

เรื่องเล่าและบันทึก

Pic & Post

การ์ดเขียนคำ� ภาพเล่าเรื่อง โดย...น้าอ๊บ

Tree of Life เที่ยว(เล่น)

โดย...ข้าวใหม่

Poem

เขียนกลอนเล่นบนใบบัว

โดย...วาดวลี

2

บนใบบัว

22

16

The Nootbooks

โลกของ(น้อง)ภู จากมุมใต้กะลา

25 บัวดิน 30 ใ่ช่ไหม?


Jumper

เที่ยว(เล่น) by : กบบันจี้

เมื่อเวลาไม่ ได้เดินช้าอย่างใจ(เลย)

ที่เชียงคาน

หนทางไม่เคยไกลเกิน(หัวใจจะ)ไป--เลย

ระยะทางไป-กลับ จับระยะทางจาก(บ้าน)บางบัวทองเลย-บางบัวทอง 1,460 กิโลเมตร ผู้ร่วมทาง 6 ชีวิต เป็นคู่แม่-ลูก คู่พี่-น้อง และคู่รัก(กัน) หยิบเงินในกระเป๋าลงขันประเดิมคนละ 2,000 บาท ที่เผื่อ เหลือเผื่อขาดไม่น่าเกินอีกคนละ 1,000 บาท พาหนะคือ รถ อเนกประสงค์ อินโนว่า ขนาด 7 ที่นั่งสบายๆ 3 วัน 2 คืน ในวันหยุดนักขัตฤกษ์ ไม่ได้ทำ�ให้เวลาเดินช้า ได้อย่างใจ(เลย)ที่เชียงคาน!!! 3 บนใบบัว


วันแรก :

นัดสมาชิกพร้อมหน้าพร้อมตา 04.30 น. ออกเดินทางเพื่อหนีการจราจร จาก คลื่นมหาชน เพราะเป็นวันหยุดติดต่อกัน 3 วัน จากถนนวิภาวดีรังสิตฯ สู่ถนน พหลโยธิน มุ่งหน้าจังหวัดสระบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองก่อนถึงสระบุรี มุ่งหน้า ลพบุรี-เพชรบูรณ์ บนทางหลวงหมายเลข 21 ผ่าน อ.ชัยบาดาล อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี ต่อไปอีกประมาณ 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ ประมาณ 8 โมงเช้า ผู้ร่วมทาง ทยอยตืน่ จากความสลึมสะลือ ยกเว้นคนขับ กระจองอแงเลยได้หมูยา่ งน้�ำ ผึง้ กะข้าวเหนียว (อภินันทนาการจากสมาคมแม่บ้านทหารบก) อุดปาก ดับความหิว แวะพักรถ พักคน จิบกาแฟ ชา (ฟรี อร่อยจนต้องยกกาไปขอเบิ้ล) และกินของ ว่างที่ดูแล้วไม่ว่างเท่าไหร่ เพราะกินจนเหลือ ที่ร้านกาแฟริมเขา วิวงามหลาย คอฟฟี่ ฮิลล์ ตั้งอยู่ริมทางหลวง หมายเลข 12 หล่มสัก-พิษณุโลก กิโลเมตรที่ 105 หนทางที่จะเข้าไปถึงร้าน มี 2 ทางให้เลือก คราวนี้เลือกทางหลวงหมายเลข 21 แล้วไปตัดเข้าทางหลวงหมายเลข 12 ครัง้ ต่อไปจะเลีย้ วซ้ายไปทางหลวงหมายเลข 2258 พิสูจน์เนินมหัศจรรย์และเส้นทางท่องเที่ยวเขาค้อ

4

บนใบบัว


วันที่สอง :

ข้อมูลเกี่ยวกับการขึ้น-ลงของพระอาทิตย์ทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดไปบ้าง บริเวณ ที่พักตรงแก่งคุดคู้ไม่สามารถชมพระอาทิตยตกได้ เพราะมีทิวเขาบัง แต่ได้รับคำ�แนะนำ�ให้ไป ชมพระอาทิตย์ขึ้นบน ภูทอก (สรุปว่ามาเชียงคานมีโอกาสเห็นทั้งพระอาทิตย์ขึ้นบนภูทอก และ พระอาทิตย์ตกบริเวณริมถนนชายโขง) นัดแนะกัน(ได้ 3 คนพยายาม)ตื่นตั้งแต่ตี 5 ช่วยกันคลำ� และดูทางอย่างระทึกฝ่าม่านหมอกหนาตึบ้ แทบมองไม่เห็นทาง ในทีส่ ดุ ถึงยอดภูทอก มีโอกาสได้ เห็นทะเลหมอกระหว่างรอพระอาทิตย์ขึ้น สุดยอดประทับใจ นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นทยอยโผล่มา ตะลึงตึงๆ จึงชวนกัน(หนี)ลงมา แวะลั้นลาถ่ายรูประหว่างทางลงภูทอกอีก เพราะวิว ทิวทัศน์ สวยงามเกินห้ามใจ เกือบ 8 โมงเช้าแล้วรู้ว่าไปไม่ทันตักบาตรข้าวเหนียว—ได้อย่างต้องเสียอย่าง เข้าเมืองเพื่อหาอาหารเช้าไปเผื่อคนที่รีสอร์ท มองเห็นคุณยายกำ�ลังแคะขนมครกดูเร้าใจ เลยจอดเพื่อซื้อขนมครก ปรากฏว่าคุณยายเป็นใบ้แต่คนร่วมคณะก็ยังคุยได้ ยิ้มได้ ช่วยคุณยาย แคะขนมครกได้

บนใบบัว

5


จากการเจรจากับคุณยาย เอ๊ย!! เพื่อน บ้านคุณยายทำ�ให้ได้ที่พักของเราคืนนี้ เฮือน พัดโบก ตั้งอยู่บนถนนชายโขง แม้จะเป็นห้องพัดลมแต่อากาศเวลานั้น ไม่ร้อนมากแถมราคาประหยัดกว่านอนรีสอร์ท แยะ กลับรีสอร์ท หาอาหารเบาๆ กินริมแก่ง คุดคู้ ได้กุ้งฝอยทอดเป็นแพที่เวลานั้นไม่รู้เลยว่า ที่นี่เป็นต้นตำ�รับของเมนูนี้ เก็บสัมภาระ เช็คเอาท์แล้วแวะกินส้มตำ� ริมแม่น�้ำ โขงเป็นมือ้ บ่าย ได้แหนมเนืองอีกชุด ผัก ประกอบเพียบกินกันไม่หมด เดินเล่น ซื้อของ สั่งลาแก่งคุดคู้ จอดรถหน้าที่พัก ขนสัมภาระ, เลือก (หรือแย่ง) ห้องพักกันอีกครั้ง ก่อนแยก ย้ายกันทำ�กิจกรรมตามใจชอบ เดินเล่น ถ่ายรูป ตามตรอก ซอก ซอย พร้อมมีเป้าหมายหามุม ถ่ายพระอาทิตย์ตกดิน แต่ฟ้าปิด พระอาทิตย์ ไปไวมากเลยได้รับประทานแห้วเป็นของว่าง โทรศัพท์นดั แนะกันทีร่ า้ นอาหารตอนเย็น กว่าจะสรุปร้านกันได้เพราะฟังปากต่อปากกัน มาหลายร้าน แต่เลือกกินได้ร้านเดียว ไม่งั้นจะ เจริญอาหารกันเกินไป ปรากฏว่า ร้านที่ตกลง ใจเลือกเป็นร้านที่ไม่ได้อยู่ในโผ อาหารไม่อร่อย ซ้ำ�ราคาแพง บริการช้า(รอเป็นชั่วโมง) แถมไม่ ประทับใจ จนกระทั่งชื่อร้านก็ไม่ได้จำ� 6

บนใบบัว


มีเวลาเดินเล่นไม่มากย่อยอาหารก่อนเข้าที่พักด้วยความเกรงใจ (พี่เจ้าของ ที่พัก) แวะซื้อโดนัทโบราณมาชิมเสีย 6 อัน เดินหาร้านทำ�ผ้าห่ม แต่ไม่ได้ซื้อเพราะ แบกกลับไม่ไหว (อันที่จริงไม่มีที่ว่างวางในรถต่างหาก) แวะร้านโปสการ์ดแต่ซื้อเสื้อ ยืด (ที่ทำ�ให้คิดถึงอำ�เภอปาย—เข้าไปทุกที) บนใบบัว

7


วันที่สาม :

(พยายาม) ตื่นประมาณตี 5 ครึ่ง เพราะตั้งใจตักบาตรข้าวเหนียวและถ่ายรูป เดินจากที่พักไปซื้อข้าวเหนียวในตลาดพร้อมดอกไม้ นักท่องเที่ยวแห่รุม(ถ่ายรูป)พระอย่าง กะแมลงรุมดอมดมดอกไม้ แยกย้ายกันซื้อหมูปิ้งบ้าง น้ำ�เต้าหู้บ้าง กินเป็นอาหารเช้า สลับ กันอาบน้ำ� เก็บสัมภาระเตรียมเดินทางกลับแต่วนกลับไปแก่งคุดคู้อีกรอบ เพื่อซื้อมะพร้าว แก้ว ที่ลงความเห็นกันแล้วว่า อร่อย สมควรเป็นของฝาก(อย่างเดียว)ได้ จากเชียงคาน สู่ตัวเมืองเลย เส้นทางหมายเลข 201 ผ่าน อ.วังสะพุง อ.ภูกระดึง แวะผานกเค้า ท่ารถนักท่องเที่ยวขึ้น-ลงภูกระดึง กินข้าวแกงราดข้าวตอนเที่ยงที่ ร้านเจ๊กิ ม อยากชิมกาแฟสด ร้านภูผากาแฟสด แต่ไม่มีพื้นที่ให้บรรจุ จากเส้นทางหมายเลข 12 อำ�เภอชุมแพ ตัดออกทางหลวงหมายเลข 201 อ.ภูเขียว เป็นทางไม่อ้อม แต่ถนน 2 เลนรถสวนกันได้ ผ่านจังหวัดชัยภูมิ ไปบรรจบ ทางหลวงหมายเลข 2 หลังผ่าน อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา รถประดังสะสมเนื่องจากอุบัติเหตุ บริเวณเขื่อนลำ�ตะคอง เข้า อ.ปากช่อง ตามหา ร้านบ้านไม้ชายน้ำ� บรรยากาศดี อาหาร อร่อยสมราคา มุ่งหน้ากลับ กทม. โดยสวัสดิภาพประมาณเที่ยงคืน

8

บนใบบัว


คิดเงินลงขันแล้วที่เหลือจากค่าเสียหาย อัน ประกอบด้วย ค่าอาหาร, ของว่าง, ผลไม้, และเครือ่ ง ดื่มเกือบ 8 มื้อ ค่าห้องพัก 2 คืน ค่าน้ำ�มันรถ ค่า ทางด่วน ถ้าจำ�ไม่ผดิ เหลือคืนคนละ 200 บาท เป็นค่าล้างรถกะทิปคนขับ ; )

บนใบบัว

9


Goodtaste by : กบบันจี้

กิน(ดูด)ดื่ม

ร้านที่จำ�เป็น ต้องมอง “ลุค”

10 บนใบบัว


ระหว่ า ง การเดิ น ทางไปอำ � เภอ

เชียงคาน จังหวัดเลย ร้านอาหารไม่ติด ริมแม่น้ำ�โขง ไม่ได้เป็นเป้าหมายและตัว เลือกในสายตาฉันเลย เรามีร้านในดวงใจที่ได้รับฟังแบบปาก ต่อปากเป็นตัวเลือกหลายร้าน แต่กลายเป็นว่า ช่วงวันคืนทีเ่ ราเลือกเดินทางไปอำ�เภอเชียงคาน เป็นวันหยุดยาวติดต่อกัน 3 วัน ทำ�ให้จ�ำ นวนนัก ท่องเทีย่ วกับจำ�นวนโต๊ะ-เก้าอีน้ งั่ ในร้านอาหาร ไปด้วยกันไม่ได้ ทุกคนอาจได้รับรู้ รับฟัง ข้อมูลมาจาก แหล่งใกล้เคียงกัน และบรรยากาศริมแม่น�้ำ โขง นั้นดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้มากเหมือนๆ กัน ใครถึงก่อน ใครจองก่อน ก็ได้สิทธิ นั้นไป!!! อาจเป็นเพราะความเป็นมือใหม่ หรือ ด้วยความคาดไม่ถึง เราจึงไม่ได้คิดจะจองโต๊ะ เป้าหมายร้านอาหารริมแม่น�้ำ โขงทีเ่ ราหมายตา ในวันแรก คืนแรก คือ ร้านต้นโขง เมื่อตัดสิน ใจได้ว่าจะกินกันที่ร้านนี้ เราจึงต้องผิดหวังเมื่อ

พนักงาน (หน้าเป็นมัน) ของร้านบอกว่า “ปิด แล้ว” เรามองฝ่าเข้าไปในความอึกทึกและคึกคัก ของร้าน เมื่อเห็นหน้าที่เหมือนมีคำ�ถามของเรา พนักงานผูน้ นั้ จึงบอกว่า อันทีจ่ ริง ร้านยัง ไม่ได้ปิด แต่ที่ต้องบอกว่าปิดเป็นเพราะว่า โต๊ะ เต็มแล้วและทำ�อาหารบริการลูกค้าไม่ทัน เกรง ว่าเราจะรอนาน หรืออาจไม่มโี อกาสได้กนิ เพราะ ของสดหมด เราเคว้ ง กั น อยู่ ห น้ า ร้ า นไปชั่ ว ขณะ พนักงานใจดีผู้นั้นคงอดสงสารไม่ได้ จึงแนะนำ� ร้านอาหารให้เราร้านหนึ่ง อยู่ในซอยถัดจาก ร้านต้นโขงไป แต่คนละฝั่ง ไม่ได้ติดริมน้ำ� ด้วย ความทีห่ วิ กันมากพอสมควรแล้ว เราจึงพร้อมใจ กันมองหาร้านทีว่ า่ ด้วยความไม่คาดหวังมากมาย นัก ไม่นานพวกเราก็หา ร้านลุค เจอ

บนใบบัว

11


บรรยากาศของร้านลุค เป็นร้านอาหารใน ตึกข้างทาง (ดู)ธรรมดาๆ ยังพอมองหาโต๊ะว่าง ได้บ้าง แต่ไม่มาก เราโชคดีที่ได้โต๊ะจีนขนาด 6 คนนัง่ กันสบายๆ แม้จะอยูช่ ดิ ด้านในเกือบถึงก้น ครัวก็ไม่ท�ำ ให้รสู้ กึ อึดอัด อาหารทีส่ งั่ เป็นอาหาร พื้นๆ ธรรมดาๆ จะมีก็แต่ต้มยำ� ซึ่งฉันไม่แน่ใจ และจำ�ไม่ได้ว่า เป็นต้มยำ�ปลาคังหรือปลาบึก ที่มีแหล่งกำ�เนิดแห่งเดียวในแม่น้ำ�โขง สิ่งที่นึก ประทับใจระหว่างการสั่งและรับคำ�สั่งอาหาร คือ ไม่แน่ใจคนรับว่าเป็นเจ้าของร้านหรือแม่ ครัว “ไข่เจียว ใส่ต้นหอมไหม ใส่พริก ไหม...ผั ด บล็ อ กเคอรี่ กั บ เห็ ด หอม ผั ด น้�ำ มันธรรมดาหรือน้�ำ มันหอย...ต้มยำ�เผ็ด ไหม ใส่พริกไหม...” เกือบทุกเมนูทเี่ ราสัง่ เธอจะถามย้�ำ อ— ย่าง คนใส่ใจใน(รสชาติ) อาหาร อาหารทีเ่ ราสัง่ 5 อย่าง ถูกทำ�และเสร์ฟิ มาร้อนๆ ในเวลาไม่ช้านาน ค่อนข้างไล่เลี่ยกัน ไข่เจียวถูกทอดจนฟู กรอบ ดูน่ากิน ยำ�วุ้นเส้น ไม่เผ็ดมากเกินไป ต้มยำ�รสชาติใช้ได้ รวมถึงผัด ผักอีก 2 อย่างที่ผักสดและอร่อย ข้าวเปล่าอีก 2 หม้อ น้ำ�แข็งกับน้ำ�ดื่มสำ�หรับ 6 คน ไม่นับ ถึงต้มยำ�ที่สั่งเพิ่มอีกถ้วย 12 บนใบบัว

รวมราคาแล้วประมาณ 500 บาท นับ ว่าไม่แพงเลย แม้จะเป็นร้านทีไ่ ม่มบี รรยากาศติดแม่น�้ำ โขง แต่สำ�หรับฉันแล้ว ร้านลุค เป็นร้านที่ จำ �เป็น ต้อ งมองหา ถ้าได้ ไ ปเยื อ นอำ�เภอ เชียงคาน จังหวัดเลย ครั้งต่อไปอย่าง แน่นอน


Movie & Books by : เจ้าชายกบ

นอนดูหนัง(หรือ)นั่งอ่านหนังสือ

“นางนวลกับมวล” แมวผู้สอนให้นกบิน นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน หลุยส์ เซปุล์เบดา : เขียน สถาพร ทิพยศักดิ์ : แปล พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2551, สำ�นักพิมพ์ผีเสื้อ จำ�นวน 176 หน้า ราคาปก 98.50 บาท

บนใบบัว

13


นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน

ถูกนำ�มาทิ้งไว้ให้ข้าพเจ้าอ่านโดยคนข้างใจ ระหว่างการนอนพักรักษาตัวหลังการผ่าตัดในโรงพยาบาล ถ้าจำ�ไม่ผิดประมาณวันที่ 30 มีนาคม 2552 ถูกหยิบมาพลิกอ่านหน้าแรก เมื่ออ่านหนังสือที่ติดมาอีกเล่มจบ อันที่จริงแล้ว นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน ถูกข้าพเจ้าหยิบ จับ และพลิก ตั้งท่าเพื่อจะอ่านมาหลายหนแล้ว นับตั้งแต่วันที่พลิกไปพลิกมาและซื้อกลับมาจากร้านหนังสือ ในเวลานั้น ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าหนังสืออะไรจะดีปานนั้น หรือสำ�นักพิมพ์ผีเสื้อมีแนวคิดอย่างไร ในการทำ�หนังสือเล่มเดียวให้มีขนาด รูปแบบและราคาต่างกันได้มากกว่า 3 ขนาด ประกอบกับข้าพเจ้าคิดว่าไม่เคยอ่านหนังสือแปลของ หลุยส์ เซปุล์เบดา มาก่อน ทำ�ให้ไม่แน่ใจว่า หนังสือเล่มนี้จะสนุกตรงไหน อย่างไร จึงทำ�ให้ตัดสินใจซื้อฉบับปกอ่อน ราคาถูกสุด กลับมา นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน เป็นเรื่องของ นกนางนวล กับ (มวล)แมว ผู้(พยายาม)สอนให้นกบิน ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอสารภาพในความอ่อน เขลา เบา ปัญญาเป็นอย่างยิ่งว่า ไม่แน่ใจว่าผู้เขียนจะผูกให้เรื่องนี้อ่านสนุก น่าสนใจตรงไหน

14 บนใบบัว


ในเมื่อเกือบทุกคนล้วนทราบดีว่า นางนวลนั้นเป็นนกบินได้ แต่แมวผู้(บังอาจ) สอนให้นกบิน --มันบินไม่ได้ อย่างมากก็จะเห็นแมวโดด กระโจน ตะครุบ วิ่ง แล้วเรื่องอะไร มุมไหนกัน ที่จะทำ�ให้หนังสือเล่มนี้อ่านสนุกขึ้นมาได้ หลังพ้นช่วงยากที่จะทำ�ความเข้าใจของบทแรก ถ้าข้าพเจ้าไม่เปิดใจ(ให้กว้าง)--เสียก่อน ช่วงเวลาแค่ไม่ถึง 24 ชั่วโมง สำ�หรับหนังสือเล่มขนาดไม่หนาหนัก นางนวลกับมวลแมว ผู้สอนให้นกบิน หลุยส์ เซปุล์เบดา รู้สึกทำ�ให้ข้าพเจ้ารื่นรมย์นัก รื่นรมย์ต่อโลกและมิตรภาพ เรื่องราวง่ายๆ ที่ดูไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนจนเกินไป อาจจะดูเหลือเชื่อไปบ้างสำ�หรับสิ่งที่เราเคยรับรู้ แต่ถ้าลองคิดอีกมุม มองอีกด้าน เรื่องราวในหนังสืออาจจะเป็นไปได้--ใครจะรู้ และทำ�ให้เข้าใจถ่องแท้กับประโยคที่ว่า ทำ�ไมวรรณกรรมเยาวชนเรื่องนี้จึงเหมาะสำ�หรับผู้อ่านอายุตั้งแต่ 8 ขวบยัน 88 ปี รู้สึกไม่เป็นการกล่าวอ้างที่เกินเลยไปจริงๆ เมื่ออ่านเกี่ยวกับผู้เขียนที่ว่า หลุยส์ เซปุล์เบดา คือนักเขียนแห่งศตวรรษที่ 20 ผู้มีเสน่ห์อย่างยิ่งคนหนึ่ง บนใบบัว

15


Notebooks

เรื่องเล่าและบันทึก by : รติ จุลกะเศียน

16 บนใบบัว


The Notebook คงเป็นเรื่องของความบังเอิญเป็นเบื้องต้น ต้นเดือนเมษายน ปีนี้เอง ที่น้องชายยื่นหนังแผ่นมาให้ 2-3 เรื่อง “เรื่องนี้พี่คงดูแล้วมั้ง” เขาพูดพร้อมกับชูหนังแผ่นเรื่องที่ว่าให้เห็นปก THE NOTEBOOK อืมม....

ฉันคิดถึงเวบไซต์บนใบบัวดอทคอมของตัวเอง นึกถึงห้อง NOTEBOOKS ที่ฉันคิดและบังเอิญนึกอยากใช้ชื่อนี้ โดยไม่ได้นึกถึงอะไรมากไปกว่าไม่อยากใช้คำ�ว่า DIARY ฉันแค่อยากให้ NOTEBOOKS เป็นสมุดบันทึก ที่ไม่จำ�เป็นต้องเป็นเรื่องประจำ�วัน

บนใบบัว

17


เป็นสมุดโน้ตที่ใช้จด--เพื่อเตือนความทรงจำ� เรื่องใดๆ ก็ได้ไม่เฉพาะเจาะจง ขณะที่กำ�ลังพยายามปรับปรุงเวบไซต์ เพื่อหวังว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นแมคกาซีนออนไลน์ (ตามความฝัน) โดยปรับห้อง NOTEBOOKS เดิมให้เป็น BAIBUABOOK และแบ่งเป็น 7 คอลัมน์โดยยังคงมี NOTEBOOKS ไว้ เพื่อให้เป็นหน้าสำ�หรับเรื่องเล่าและบันทึก--อะไรก็ได้ และขณะที่กำ�ลังคิดเรื่องราวสำ�หรับเรื่องเล่าและบันทึกตอนแรก ฉันนึกสะดุดใจถึงความบังเอิญ ฉันหยิบหนังแผ่นเรื่องนี้ขึ้นมาดู(อีกครั้ง) อืมมม.... THE NOTEBOOK นับ 10 ปีมาแล้ว ที่ฉันได้รู้จัก นิโคลัส สปาร์ค น่าจะมีเหตุมาจากการได้ดูภาพยนตร์ MASSAGE IN THE BOTTLE ที่มี พระเอก นิโคลัส เคจ นำ�แสดง จะเป็นเรื่องจงใจหรือความบังเอิญ เกี่ ย วกั บ ชื่ อ เจ้ า ของบทประพั น ธ์ ที่ ต รงกั น กั บ ดารา นำ�แสดง--ฉันไม่แน่ใจ ดูภาพยนตร์แล้วรู้สึกซาบซึ้ง ตรึงใจ เรียกต่อมน้ำ�ตาให้แตกได้ ทำ�ให้อยากรู้ว่าใครเป็นคนแต่งเรื่องนี้ แต่ไม่ได้อ่านหนังสือเรื่องเดียวกับหนังในทันใด เพราะหลังจากนั้น น่าจะบังเอิญให้งานของ นิโคลัส สปาร์ค ดังมาก จนมีหนังสือออกมาหลายเล่ม หลายปก

18 บนใบบัว


ฉันเองก็เป็นหนึ่งที่ซื้อหนังสือของ สปาร์ค มาอ่าน--แต่ไม่ใช่ทุกเล่ม จนถึงช่วงเวลาหนึ่ง ฉันอิ่มตัวกับงานของ นิโคลัส สปาร์ก อย่างยิ่ง ถึงกับไม่นึกอยากจะติดตามผลงานของเขาสักพัก ฉันไม่แน่ใจว่า ระหว่างภาพยตร์เรื่อง THE NOTEBOOK รักเธอหมดใจ ขีดไว้ให้โลกจารึก กับหนังสือแปล THE NOTEBOOK ปาฏิหาริย์บันทึกรัก ฉันได้ดูภาพยนตร์ หรือได้อ่านหนังสือแปล-- เรื่องไหนก่อนกัน รู้แต่ว่า วันนี้ฉันเพิ่งรู้และสังเกตเห็นถึงชื่อภาษาไทยฉบับภาพยนตร์ ฮ่า....ไม่แน่ใจว่า คนตั้ง(ชื่อภาษาไทย) คิดไปได้ไง หนั ง เปิ ด เรื่ อ งด้ ว ยฉากและบรรยากาศสวยงามของ ทะเลสาบ ที่มีเรือพายลำ�หนึ่งนำ�สายตาเราไป พร้อมกับฝูงนกที่โบยบินสู่บ้านริมทะเลสาบหลังหนึ่ง บนหน้าต่างชั้นบนของบ้านหลังนั้น มีหญิงสูงอายุคนหนึ่งยืนมองทิวทัศน์งดงามตรงหน้าอยู่ หนังลำ�ดับเรื่องต่อไปให้รู้ว่า หญิงสูงอายุผู้นี้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ โดยมีชายชราอีกผู้หนึ่งคอยดูแลและเป็นกำ�ลังใจ โดยขณะที่มาพบ เขามีหนังสือเล่มหนึ่งติดตัวมาเพื่อนำ�มาอ่านให้ เธอฟัง โดยเขารูแ้ ละมีความหวังในปาฏิหาริยว—์ ธิ นี จี้ ะช่วยฟืน้ ความ ทรงจำ�ของเธอ แม้จะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่นาที หนังค่อยๆ เฉลยให้คนดูเดาไม่ยาก บนใบบัว

19


ด้วยการใช้วิธีการอ่านหนังสือ ตัดกลับไปมาระหว่างเรื่องอดีตและปัจจุบัน ความรักที่มั่นคงและไม่เคยจางหายของทั้งคู่ นำ�มาซึ่งฉากสุดท้าย ความรักสามารถก่อให้เกิดปาฏิหาริย์ได้(อีกครั้ง)!! THE NOTEBOOK หมายถึงเรื่องราวความรักของทั้งคู่ ที่นางเอกเป็นคนเขียนบันทึก เพื่อมอบให้พระเอก สำ�หรับอ่านให้เธอฟัง --เพื่อจะได้นำ�เธอกลับมาหาเขา ไม่มีเรื่องราวซับซ้อนใดมากกว่าเป็นหนัง(สือ)รัก สิ่งที่น่าทึ่งคือเรื่องราวความรักที่ตรึงใจของทั้งคู่ยาวนานกว่า 7 ปี เรื่องอัลไซเมอร์ ทำ�ให้ฉันนึกถึงภาพยนตร์ไทยที่เพิ่งไปดูในโรงเร็วๆ นี้ไม่ได้ ความจำ�สั้นแต่รักฉันยาว ทำ�ให้สะท้อนว่า ระหว่างคนรักกัน ฝ่ายไหนจะเจ็บปวดกว่ากัน คนที่ถูกลืม หรือ คนที่ถูกจำ� สิ่งที่ทำ�ให้ฉันไม่เข้าใจ รู้สึกถึงความไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย กลับเป็นภาพพระเอกและนางเอกบนปกหนังแผ่น!!! มันทำ�ให้ฉันรู้สึกประหลาดและนึกหงุดหงิดใจไปได้ นี่ฉันกลายเป็นคนชอบจับผิดไปจริงๆ แล้ว--หรือไร เป็นความบังเอิญโดยแท้ ที่ฉันมองปกหนังแผ่นในมือ และรู้สึกถึงความผิดปกติบางอย่าง พลิกปกหลังของดีวีดีดู เป็นฉากพระเอก นางเอกพายเรือหลัง 7 ปีผ่านไป 20 บนใบบัว


พลิกกลับมาดูปกหน้า เป็นฉากต่อเนื่องเมื่อฝนตกพายเรือกลับขึ้นฝั่ง ใครนะ ช่างเหลาหนวดและเคราของพระเอกจนเกลีย้ ง!!! มันเป็นสิ่งที่ทำ�ให้ฉันงุนงงและไม่เข้าใจ ลองเปิดเวบไซต์ต่างๆ เพื่อค้นหาปกหนังเรื่องนี้จากพี่กรู(เกิ้ล) แล้วลองเลือกเซฟภาพพระเอกและนางเอกฉากที่ว่านี้ มีทั้งภาพพระเอกมีเคราและไม่มีเครา ฉันไม่เข้าใจและไม่เห็นถึงความจำ�เป็น ที่ต้องตัดแต่งเคราพระเอกออก หรือต้องการทำ�ให้พระเอกหน้าเด็กตลอดกาล เพราะลองดูโปสเตอร์อีกฉาก หน้าตาพระเอกใสกิก๊ ขณะทีห่ น้านางเอก--หรือเปล่า?? น่าจะเป็นวัยกลางคนเข้าไปแล้ว เฮ้อ...สุดท้าย ไม่วา่ เหตุผลจะเป็นอย่างไร ฉันต้อง ย้ำ�ตัวเองอีกครั้ง “ดูหนังเพื่อความบันเทิง—น่า!!!”

บนใบบัว

21


Pic & Post by : น้าอ๊บ

การ์ดเขียนคำ� ภาพเล่าเรื่อง

โลกของ(น้อง)ภู... จากมุมใต้กะลา “น้องภูเป็นเด็กพิเศษ”

นั่นคือสิ่งที่ฉันรับรู้เมื่อหลายปีผ่านมาแล้ว น้องภูคือลูกชายคนแรกและคนเดียวของอดีตเพื่อนร่วมงานรุ่นพี่ ฉันไม่ค่อยมีโอกาสได้พบเจอน้องภูมากเท่าไหร่ รับรู้ รับฟังเรื่องน้องภูจากแม่ของเขา และรู้ว่า น้องภูชอบวาดรูป แม่ของน้องภู เก็บและรวบรวมภาพที่น้องภูวาดไว้ ฉันยังเคยได้รับ ส.ค.ส. ฝีมือน้องภูที่โรงเรียนจัดพิมพ์ร่วมกับเพื่อนคนอื่นๆ เสียดายว่า ในวันนี้ฉันค้นหาจากกล่องโปสการ์ด--กลับหาไม่เจอ : (

22 บนใบบัว


ฉันมีโอกาสรู้จักและใกล้ชิดกับน้องภูอย่างจริงจังเป็นครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกเป็นการเดินทางสั้นๆ ไป อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ครั้งนี้เรามีแผนเดินทางไป อ.เชียงคาน จ.เลย 3 วัน 2 คืน “ค้างหลายคืน เจ๊เอาน้องภูไปด้วยนะ” “เย้ยยยยย...ลูกใครลูกมัน ดูแลกันเองนะ” อันที่จริง ฉันไม่จำ�เป็นต้องออกตัวไปอย่างนั้นเลย ถ้าน้องภูเป็นเด็กพิเศษ แม่ของน้องภูก็เป็นแม่พิเศษ ตลอดการเดินทางฉันได้เห็นมุมมองที่ไม่ค่อยได้สัมผัสจากอดีตเพื่อนรุ่นพี่คนนี้ ความห่วงหา อาทร ห่วงใย ที่เธอดูแลน้องภู--ดั่งแม่นกที่ปกป้องลูกน้อย สัมภาระที่เธอขนมา ส่วนใหญ่จะเป็นของน้องภู หนึ่งในจำ�นวนนั้นมีอุปกรณ์วาดรูปมาด้วย ฉันได้เห็นฝีมือและความตั้งใจของน้องภูครั้งแรก บนเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในร้านกาแฟข้างทางวิวงามหลาย เขามุ่งมั่นกับการวาดรูป เล่นของเล่นที่ติดมาโดยเฉพาะพัดลม สลับกับการเพลิดเพลินกับอาหารและเครื่องดื่ม อันที่จริง ฉันซึ่งเป็นคนหยาบอาจจะไม่มีโอกาสเห็นเลย ถ้าคนข้างใจซึ่งเป็นคนละเอียดอ่อนกว่าไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้ รูปถ้วยเครื่องดื่มร้อนและของว่าง ลายมือตัวหนาหนักและสวยงาม สะท้อนถึงวัยเยาว์อันแสนหวาน ไม่เคยหวนกลับมาอีกแล้ว--สำ�หรับฉัน พยายามจะเสแสร้งขีดเขียน แกล้งวาดให้เหมือนเด็ก ....ไม่ได้อีกเลย

บนใบบัว

23


พัฒนาการของน้องภู--เด็กพิเศษ จะแตกต่างจากเด็ก 14 ปีวัยเดียวกันอย่างไร มากแค่ไหน...ฉันไม่อาจรู้ได้เลย ฉันรู้สึกชอบรูปที่น้องภูวาด ลายมือที่น้องภูเขียน มันทำ�ให้จิตใจหยาบกระด้างอ่อนโยนลงได้--ไม่น่าเชื่อ คงเหมือนเวลาที่ฉันดูรูปของหลานสาวคนเล็กสุดของครอบครัวเรา จินตนาการของเด็ก ฉันว่ากว้างไกลเกินกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างฉันจะก้าวไปถึง(แล้ว) “เจ๊...ไว้ขอยืมรูปที่น้องภูวาดไว้มาสแกนหน่อยนะ” ฉันขออนุญาตแม่น้องภูด้วยความที่อยากเห็นรูปอื่นๆ และอยากลงรูปของน้องภูให้คนอื่นๆ ได้เห็น --โลกของ Pooh

24 บนใบบัว


Tree of life

by : ข้าวใหม่

ต้นไม้ใบหญ้า(อ่อน)

บัวดิน

บัวดิน กับข้าพเจ้านัน้ รูจ้ กั

คุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็ก เท่าที่จำ� ได้ เ มื่ อ ตอนที่ อ ยู่ บ้ า นยาย-บ้ า น นอก ที่ว่าบ้านนอกนี้ก็เพราะว่าไม่ได้ อยู่ในอำ�เภอเมือง นอกจากต่างอำ�เภอ แล้ว ยังแยกไปอีกตำ�บลที่ห่างจากตัว อำ�เภอไปอีกเป็นสิบๆ กิโล(เมตร) แน่นอนที่สุด ลักษณะบ้านยาย– บ้านนอกที่ว่านี้ก็คือ การพบเห็นต้นไม้ ใบหญ้ากับธรรมชาติรายล้อมรอบตัว บ้านยายเองก็มีพื้นที่หน้าบ้านพอให้ ปลูกผักกินเองได้หลายชนิด

บนใบบัว

25


รั้วบ้านเป็นเพียงรั้วที่เป็นต้นไม้ เรียกต้น ชา (ไม่ใช่ชาที่ใช้กิน แต่เป็นชาที่ตอนหลังเข้ามา อยู่เมืองกรุงแล้วเขานำ�มาทำ�เป็นไม้ดัด) ว่ากันต่อ ยังไม่ถึงบัวดิน นางเอกของเรา เสียที ทีนี้ ตรงส่วนระเบียงบ้านด้านนอก เป็น ลานหินขัดเล็กๆ แล้วมีบ่อปลาต่อออกไปด้าน หน้า มีบันไดขึ้นตัวบ้าน 3–4 ขั้น 2 ด้าน คือด้าน หน้าและด้านข้างบ้าน ตรงข้างบันไดเป็นบ่อน้ำ� สำ�หรับล้างเท้าเล็กๆ อยู่ตรงบันไดส่วนข้างบ้าน ถัดมาเป็นต้นมณฑาแขก ยายเรียกแบบนี้ แต่ใน ทางวิชาการเรียกว่า จำ�ปีแขก ต้นใหญ่สูงเกือบ เท่าหลังคา ตรงนี้นี่เอง ที่เราเริ่มปลูกบัวดินยาว เป็นแปลงขนาดเล็ก ปนกับว่านสี่ทิศ ว่าน พระอาทิตย์ และว่านมหาลาภ ปลูกชิด และขนานกับบ่อปลามาจนเกือบถึงบันได หน้าบ้าน ไม่ได้จดั เป็นสวนหย่อม แถวบ้านนอก ไม่มีการจัดสวนใดๆ ทั้งสิ้น มาแอบคิดตอนนี้ว่า เป็นเคล็ดอะไรหรือเปล่า ถึงต้องปลูกประดาว่าน ทั้งหมดเรียงกันที่หน้าบ้าน บัวดินแปลงนั้น เป็นบัวดินสีชมพูเข้ม อืม สีบานเย็นนั่นแหละ ดอกเล็กๆ มีแค่สีเดียว เวลาเขาออกดอกพร้อมกันนี่ ทำ�เอาคนปลูกดีใจ ไม่ใช่เล่น ใบบัวดินเหมือนใบกุยช่าย ตอนที่ไม่มี ดอกก็เหมือนแปลงกุยช่ายเขียวๆ ธรรมดาๆ น่า กิ26 นผัดไทบนใบบัว

หลังจากยายย้ายบ้าน ทีด่ นิ ของบ้านหลังปัจจุบนั เหลือน้อยเพียงแค่ปลูกต้นไม้ขำ�ๆ แก้เบื่อไปตาม ประสาตายาย ดอกไม้ที่บ้านเก่าหลังนั้นจึงสูญ สลายไปตามวาระและกาลเวลา เมื่อเวลาที่ต้องเป็นคนเมือง ยิ่งความเป็น เมืองมาก ทีด่ นิ ในการปลูกต้นไม้กห็ ดหายตามไป ด้วย วันหนึง่ เมือ่ ไปเดินสวนจตุจกั ร แล้วเห็นร้าน หนึ่งขายหน่อบัวดิน ปรี่เข้าไปถึงกับผงะ บ้าน นอกเข้ากรุงแท้ๆ บัวดินของข้าพเจ้ามีชื่อเสียง เรียงนามกลางตลาดนัดทีโ่ ด่งดังทีส่ ดุ ของประเทศ ว่า “บัวสวรรค์” แม่เจ้า... นีม่ นั ต้นเดียวกันชัดๆ เดินต่อไปเรื่อยๆ ความภูมิใจว่าตัวเองรู้จักชื่อ


มาบัดนี้ จึงได้รวู้ า่ นอกจาก สี ช มพู เ ข้ ม ที่ เ คยคุ้ น ตา กั บ สี เหลื อ งที่ ผ่ า นตามาบ้ า ง บั ว ดิ น ยังมีสีชมพูอ่อน มีสีขาว และสี เหลืองเข้ม ที่ไม่ใช่เหลืองอ่อน อย่างที่เคยเข้าใจผิดว่าคือสีขาว แต่ขาวแบบดอกไม้สีขาวจริงๆ

ต้นไม้หลายอย่างก็ถูกบั่นทอนลงหมดสิ้น ดอกไม้ ต้นไม้จากบ้านนอกนั้น ชุบตัวเสียใหม่ ชื่อใหม่ ไฉไลและเน้นความเป็น “มงคล” และ “มั่งคั่ง” มากขึ้นอย่างน่าใจหาย ตอนหลัง ข้าพเจ้าเป็นสมาชิกเว็บขา ประจำ�อย่าง bookcyber.com ได้มีโอกาส เสวนาเรือ่ งบัวดินกันอีกครัง้ ทำ�ให้ความรูส้ กึ เก่าๆ หมุนเวียนกลับมา และเกิดบ้าจี้หลงเสน่ห์เจ้า ดอกไม้ดอกเล็กๆ ติดดินชนิดนี้เข้า ถึงกับเสาะ หาบัวดินมาปลูกกันจ้าละหวั่น ทั้งที่คุ้นเคยกัน มาตัง้ แต่เด็ก แต่กลับไม่ได้สนใจและสังเกตสังกา อะไรเป็นพิเศษ 27 บนใบบัว


มาบัดนี้ จึงได้รู้ว่า นอกจากสีชมพูเข้ม ที่เคยคุ้นตา กับสีเหลืองที่ผ่านตามาบ้าง บัว ดินยังมีสีชมพูอ่อน (แต่เป็นพันธุ์ดอกใหญ่ - หมายถึงใหญ่กว่าเดิมแบบพอสังเกตเห็นเอง ได้) มีสีขาว และสีเหลืองเข้ม ที่ไม่ใช่เหลือง อ่อน อย่างที่เคยเข้าใจผิดว่าคือสีขาว แต่ขาว แบบดอกไม้สีขาวจริงๆ นั่นทำ�ให้รู้สึกว่า ตัวเอง โง่ไปถนัดตา แล้วยังบกพร่องในเรื่องการสังเกต สิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วย ถึงวันนี้ บ้านหลังปัจจุบันที่ข้าพเจ้าอยู่ นั้นไม่มีพื้นดินให้ปลูกต้นไม้เลยแม้แต่นิดเดียว ต้นไม้ทพี่ อมีเพียงไม่กตี่ น้ ปลูกจากความอยากเป็น เกณฑ์ที่ตั้ง จึงอยู่ในกระถางรวมถึงบัวดินด้วย ข้าพเจ้าเลือกกระถางพลาสติกทรงยาวทีท่ �ำ เลียน แบบกระบะไม้เป็นกระถางสำ�หรับปลูกบัวดิน สงสัยอยู่เหมือนกันตอนที่กลับมาเขียนคอลัมน์นี้ ว่าทำ�ไมต้องเป็นกระบะยาวที่ว่า อาจจะคุ้นเคย กับแปลงปลูกจากบ้านยายครั้งกระโน้นกระมัง บัวดินทีบ่ า้ นข้าพเจ้า แต่กอ่ นนีเ้ ข้าใจ เองว่ามีอยู่ 3 สายพันธุ์ อย่างแรกเป็นแบบ พันธุ์ที่ปลูกบ้านยาย อีกพันธุ์ต่อมาเป็น ดอกสีชมพูอ่อนที่ว่าใหญ่มานิดหนึ่ง ตาม ด้วยพันธุ์สีเหลือง และเมื่อเร็วๆ นี้ ความจริง อีกข้อเริ่มปรากฏ นั่นคือ บัวดินสีขาว และหมั่น ออกอย่างสม่ำ�เสมอในระยะนี้ด้วย จึงเกิดเป็นข้อ สันนิษฐานอันมั่วนิ่มว่า ช่วงเดือนมีนาคม อาจ 28 บนใบบัว

บัวดินที่บ้านข้าพเจ้า แต่ก่อนนี้ เข้าใจเองว่ามีอยู่ 3 สายพันธุ์ อย่ า งแรกเป็ น แบบพั น ธุ์ ที่ ป ลู ก บ้านยาย อีกพันธุ์ต่อมาเป็นดอก สี ช มพู อ่ อ นที่ ว่ าใหญ่ ม านิ ด หนึ่ ง ตามด้วยพันธุ์สีเหลือง


เป็นช่วงที่ดอกสีขาวจะออกดอกมาอวด คงต้อง รอดูอีกซักปี จึงจะได้ข้อสรุปที่แน่ชัดอีกครั้ง ยังมีบวั ดินสีเหลืองเข้มอีกสีหนึง่ ทีข่ า้ พเจ้า ยังไม่ได้ปลูกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ –อ้อ มีข้อสังเกต อย่างหนึ่งคือบัวดินสีเหลืองจะมีลักษณะใบกลม เรียว และผอมกว่าบัวดินสีชมพู ส่วนบัวดินดอก ใหญ่ ลักษณะใบก็ใหญ่ด้วยเช่นกัน

ว่ากันว่า บัวดินจะให้ดอกชุดใหม่ได้เร็ว และปริมาณเยอะด้วย ใครลองแล้วได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง ส่งข่าวกันมาบ้างก็ดี

จากประสบการณ์ที่ปลูกมา ปัจจัยหนึ่งที่ ข้าพเจ้าคิดว่ามีผลมากต่อการออกดอกและเจริญ เติบโตคือพืน้ ทีใ่ นการปลูก ควรปลูกเป็นแปลงลง ดินเล็กๆ แทนการปลูกจำ�กัดพืน้ ทีใ่ นกระถาง บัว ดินชอบน้ำ� ฉะนั้นหลังฝนตกมักมีดอกออกมาให้ ได้เชยชมเสมอ มี เ คล็ ด ลั บ ที่ บ อกต่ อ กั น มาว่ า ถ้ า หาก ต้องการให้บัวดินออกดอกดกและไวขึ้น คือหลัง จากที่ดอกเหี่ยวจนหมดแล้ว ให้ตัดใบทิ้ง (เหลือ ลำ�ต้นสูงจากดินประมาณ 1 นิ้ว) แล้วให้บัวดิน อดน้ำ�ซัก 2-3 วัน จากนั้นให้รดน้ำ�ตามปกติ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Zephyranthes spp. วงศ์ : Amarylieaceae ชื่อสามัญ : Zephyranthes ชื่ออื่น ๆ : Zephyranthes Lily, Rain Lily ,Fairy Lily, Little Witches, บัวสวรรค์, บัวดิน, บัวฝรั่ง

บนใบบัว

29


Poem

เขียนกลอนเล่นบนใบบัว by : วาดวลี

30 บนใบบัว


ใช่ ไหม? วาดวลี

ใช่ไหม ? ที่ใจเรายังไม่เคยลืมกัน แม้แยกย้ายผ่านเวลา-คืนวัน ผ่านการค้นหาตนเอง ฟ้าที่ว่ากว้าง-กว่ากว้าง ที่เราเคยเดินทาง โปรยความฝันเล่น สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อย่างที่มันเป็น บ้างแอบซ่อนหลบเร้น ร้องไห้ ลำ�พัง

อย่าเสียใจเลยมวลมิตร บางครั้งชีวิต ก็มีช่องว่าง เรียนรู้จัก รัก ปล่อยวาง ยิ้มสู้กับความอ้างว้าง แล้วบางอย่าง จะมาให้เราเห็น ... ให้เราเห็น

ใช่ไหม? เราเคยหวังจะมีใครสักคน ปลอบประโลม ชีวิต ยามผิดหวัง และบางคราวก็เผลอ จริงจัง กับความสัมพันธ์ แสนเปราะบาง

บนใบบัว

31


บนใบบัว BonBaiBua Magazine

พบกันเดือนละ 2 เล่ม

BonBaiBua.com

32 บนใบบัว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.