บนใบบัว
BonBaiBua ปีที่ 3 ฉบับที่ 24 เดือนกรกฎาคม 2554
ฉบับ
พบ(กัน)เพื่อ(ลา)จาก
BonBaiBua.com
บนใบบัว
อ่านฟรี!!
1
ปีที่ 3 ฉบับที่ 24 เดือนกรกฎาคม 2554 ภาพปกโดย กบบันจี้, ม.จิตฏาร์
BonBaiBua ที่ปรึกษา : รศ.นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์, ฤทัย สุภัทรพันธุ์, ดุลย์ จุลกะเศียน, กฤช จุลกะเศียน บรรณาธิการบริหาร : ฤตี จุลกะเศียน บรรณาธิการ : กบบันจี้ ผู้ช่วยบรรณาธิการ : ข้าวใหม่ หัวหน้ากองบรรณาธิการ : วาดวลี กองบรรณาธิการ : i_lllive, แม่จิบ, ม.จิตฏาร์, jii on the road, The Wanderer babyshampoo, ดอกไม้เมรี, Caff n’ Travel, Shabha Shine พิสูจน์อักษร : เจ้าชายกบ โฆษณาและประชาสัมพันธ์ : กรด จุลกะเศียน บรรณาธิการฝ่ายศิลป์และไอที : สิริญาดา ศรีปริญญาศิลป์ ออกแบบ ปก, รูปเล่ม, เว็บไซต์ : Sister Print & Media Group เจ้าของ ผู้เผยแพร่ ผู้โฆษณา : บ้านบนใบบัว 204/381 ซ.2/13 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย ต.พิมลราช อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110 โทรศัพท์/แฟกซ์ : 02 571 4099 อีเมล์ : bonbaibua@hotmail.com ติดต่อโฆษณา : คุณกบ 084 123 0534 อีเมล์ : ruteec@hotmail.com ข้อความในหนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ www.bonbaibua.com แต่เพียงผู้เดียว ห้ามนำ�เผยแพร่หรือตีพิมพ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
บนใบบัว
2
ประกาศ : บนใบบัวบุ๊ค ฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้าย ในลักษณะหนังสือออนไลน์ อ่านฟรี ขอขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องและแบ่งปันเรื่องราวดีๆ ตลอดมาทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิก ขาประจำ�และขาจรทุกท่านที่ได้ติดตามผลงานและเป็นกำ�ลังใจเสมอมา : )
Content Section be Travel Section be Health
14
6
จดหมายจาก (ดอย) ม่อนจอง
ขนมจีนกระเพราหมู เมนูประจำ�บ้าน
42 46
ดอกพระจันทร์บานดึก
วันแห่งสติที่ หมู่บ้านพลัม
20
จากฟินแลนด์ ถึง รัสเซีย.
31
ตามเข้า “ครัวสโมสร”
50
มัลดีฟส์ วันใสๆ
Section สติ๊กเกอร์
โปสการ์ด จากภูเขา
54
56
“ณิชา” ฮา (เฮ) ไม่มี (วัน) หยุด
เรื่องเล่า จากรอยยิ้ม
55
ความงามใน ความฝัน
66
ตามรอย “ติช นัท ฮันห์”
60
“ขนมชั้น” ขนมของฉัน ขนมของเธอ
64
บนใบบัว
58
be Heart
3
Editor’s Talk จากใจบนใบบัว
บนใบบัว
4
สำ�หรับบางคนอาจเป็นเรื่องง่ายดาย แต่กับอีกคนดูจะเป็นเรื่องยากเย็น ในการเอ่ย “คำ�ลา” อาจเพราะการต้องอธิบายเหตุและผล ของการกระทำ� (ทีช่ วนเศร้าสร้อยและค่อนข้าง ซับซ้อน) ด้วย...ก็เป็นได้ หนังสือบนใบบัว Bonbaibua Book เกิดขึน้ จากความฝั น ที่ ส ะสมมานานนั บ ทศวรรษของ นัก (อยาก) เขียนคนหนึ่ง มีพลังรุนแรงมากพอที่ จะถูกทำ�ให้เป็นรูปร่างจริง ส่วนหนึง่ เพือ่ ตอบสนอง ความฝันนัก (อยาก) เขียนคนนัน้ และเพือ่ เปิดเป็น พื้นที่เล็กๆ ส่วนหนึ่งให้ความฝันของคนอื่นๆ...ที่ อาจจะมีฝันใกล้เคียงกันด้วย การไม่อยากให้สิ้นเปลืองทรัพยากรป่าไม้ (คำ�ฮิตคือ ลดโลกร้อน) ไม่อยากเพิ่มภาระ (ขยะ) ให้โลก และเหตุผลหลักคือปัจจัย..ทุนที่มีอยู่น้อย ทางออกในการนำ�เสนอของ Bonbaibua Book จึง ออกมาในรูปแบบของ แมกกาซีนออนไลน์...ที่อ่าน ฟรี (ไม่มีเงื่อนไข) ในระยะเวลาแค่ 2 ปีนี้ ถ้าใครได้ (เผลอ) ติดตามมาตัง้ แต่ฉบับแรก จะพบความเปลีย่ นแปลง เป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปเล่ม หน้าตา เนื้อหา คอลัมนิสต์ ของ Bonbaibua Book ทั้งนี้ ต้อง
ขอหยิบบทเพลงเพือ่ ฝึกการเจริญสติ ตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม ด้วย ความขอบคุณ (In Gratiude) มาบอก กล่าวแทนคำ�อำ�ลาผู้ผ่านมา..และผ่าน ไปทุกคน บนโลกสื่อสารไร้พรมแดน แห่งนี้ ขอบคุณใจเธอ ที่เธอรดน้ำ�ฉัน ปลูกรัก...ให้ฉนั ด้วยความขอบคุณ ขอบคุณใจเธอ ฉันจะรดน้ำ�นั้น มอบความรัก นั้นให้คน..ทุกคน ฉัน...รู้ เธออยู่ตรงนั้น และ...ฉันแสนสุขหัวใจ และ...วันใดเธอเศร้าใจ ฉัน...จะรีบไปหาเธอ ด้วยมิตรภาพที่ดี...เสมอมา
บรรณาธิการบริหาร
บนใบบัว
ขอขอบคุณ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ ที่ทำ�ให้ หน้าตาของ Bonbaibua Book ออกมา สวยงามเป็นอย่างยิ่ง (อนึ่ง เพราะความขัดข้องของอุปกรณ์ เทคโนโลยี ได้ นำ � ความผิ ด พลาดมาสู่ กระบวนการนำ�เสนอไปบ้าง ต้องขออภัย ผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย) แม้จะช่วยกันประหยัดต้นทุนแค่ไหน แต่ การดำ�เนินการทีไ่ ม่มรี ายรับเข้ามาจุนเจือราย จ่ายตลอด 2-3 ปี นับตัง้ แต่การก่อตัง้ เว็บไซต์ ขึ้นมา ก็เป็นเหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ความฝัน สะดุดลงได้ ดังนั้น หนังสือบนใบบัว Bonbaibua Book จึ ง ต้ อ งขอปิ ด ตั ว เอง ด้ ว ยฉบั บ (สุดท้าย) ที่ 24 พบ (กัน) เพื่อ (ลา) จาก ....ไม่แน่ว่า เราอาจจะได้พบกันใหม่ : ) สุดท้ายนี้ ต้องขอขอบคุณคอลัมนิสต์ ทั้ ง ขาประจำ� และขาจรทุ ก ผู้ ทุ ก นามอี ก ครั้ง ไม่ว่าจะเป็น แม่จิบ, Jii on the road, i_lllive, ข้าวใหม่, ม.จิตฏาร์, วาดวลี, The Wanderer, babyshamPoo, ดอกไม้เมรี, บก.ตุ๊ , ดาวชล, ศิ ริ ว รรณ ตั้ ง บุ ญ ธิ น า, AmmY, ต้นไม้-ใบหญ้า, ณ ณิชา , ShabhaShine, อโนชา ปัทมดิลก และ การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ ที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่ง ของความฝัน...บนใบบัว : )
5
Be Travel
เที่ยวใน (ประเทศ)
Jumper in
Text by : กบบันจี้ Photo by : กบบันจี้/ม.จิตฏาร์
จดหมายจาก (ดอย) ม่อน จอ
ง
คนดี..... ฉันมีจดหมายจาก (ดอย) ม่อนจอง ที่อยากเขียนแต่คงไม่ได้ส่งถึงเธอ เพราะ รู้ว่า มันคงใช้เวลาเนิ่นนานจากครั้งนั้นใน การระลึกถึงและบอกเล่าความรู้สึก “ดอยม่อนจอง” อาจจะเคยผ่านหูของ ฉัน แต่ไม่เคยอยู่ในความสนใจ ด้วยว่า ฉันไม่ใช่คนทีช่ อบป่ายปีนภูเขา มากไปกว่า การได้นั่งเฝ้ามองทะเลอย่าง เงียบๆ ก็เป็นสุขใจ (เหมือนๆ กับเธอ)
บนใบบัว
6
แ
ล้ว ดอยม่อนจอง ก็กลายมาเป็น วาระของเรา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ ผ่านมา ฉันใช้เวลานานและดูเรื่องมาก จากปกติที่เป็นคนง่ายๆ กับการตัดสิน ใจไปไหนหรือทำ�อะไรสักเรื่อง ทำ�
...ไปก็คือ (อยาก) ไป ทำ�ก็คือ (อยาก)
เพราะฉันรู้ว่าการไปดอยม่อนจองคง ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ และไม่ คุ้นเคยกับความลำ�บาก สมบุกสมบันในการ “เดิน” ทาง ฉันเคยชินและชืน่ ชอบกับการขับรถท่อง เที่ยวมากกว่า แต่ ด้ ว ยเหตุ ผ ลและองค์ ป ระกอบ หลายๆ ประการ ในที่สุด “เรา” ก็ตัดสินใจ ร่วมทาง .....ไปด้วยกัน
• เส้นทางที่ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
บนใบบัว
เราและเพื่อนร่วมคณะ 16 คนแยก กันนั่งและหลับข้ามคืนมาบนรถตู้ จาก อำ�เภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สมทบ กับรถตู้อีกคันจากอำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ที่จังหวัดอยุธยา ก่อนจะใช้ถนนสายเอเชียมุง่ หน้าขึน้ เหนือ ถึงเถินแล้วตัดออกลี้ ผ่านอำ�เภอฮอดแล้ว ถึงอมก๋อย แวะล้างหน้า ทำ�ธุระส่วนตัวและกิน อาหารเช้าพร้อมเตรียมเสบียงมื้อกลาง วันสำ�หรับคณะที่ร้านป้าบัวผัน ก่อนจะ มุ่งหน้าสู่หน่วยพิทักษ์ป่ามูเซอ เขตรักษา พันธุส์ ตั ว์ปา่ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพือ่ พบกับเจ้าหน้าที่นำ�ทางของเรา
7
นับจากจุดเริ่มต้นของการ “เดิน” (หลัง การนั่งรถขับเคลื่อนสี่ล้อ ซึ่งแม้จะเป็นระยะ ทางแค่ไม่กี่กิโลเมตร แต่ก็ใช้เวลาชั่วโมง กว่าๆ เพราะหนทางขรุขระและค่อนข้างชัน ในบางช่วง) ไปตามป้ายที่มีลูกศรชี้เขียนไว้ ว่า ดอยม่อนจอง 5 ก.ม. • จุดเริ่มต้นของการเดิน ฉันไม่เคยสังหรณ์ใจเลยว่า ป้ายนั้นจะ ด้วยการออกกำ�ลังกายเบาๆ ได้แค่ไม่กี่วัน ตอกย้ำ�ความจริงที่คนเดินทางชอบนำ�มาล้อ มันค่อนข้างจะสาหัส เพราะแค่การเริ่มต้น กัน มันคือ 5 กิโล (เมตร) แม้ว และเป็น ข้ามเขายังไม่ทันพ้นลูกแรก ร่างกายของฉัน นรก (แรก) สำ�หรับฉัน ในการริเดินป่า...แม้ ก็เริ่มประจานตัวของมันเอง ซึ่งนอกจาก จะเป็นการเดินป่าที่ดอยม่อนจอง ซึ่งถูกจัด หนักกาย (ตัวเอง) แล้ว ภาวะหนักใจกลับ ระดับว่าเป็นการเดินป่าแบบง่ายๆ ก็ตาม มากกว่า เมือ่ นึกถึงเพือ่ นร่วมทางอีก 15 คน เธอเคยสงสัยกับบางการกระทำ� (ของ สร้างความกดดันให้ฉันเป็นอย่างมาก ตัวเอง) ไหมว่า มาทำ�ไม-จะไปไหน-ไปทำ�ไมทำ�เพื่ออะไร-ทำ�ไปทำ�ไม ฯลฯ สำ�หรับฉัน ณะที่เขียนจดหมายถึงเธอ ฉันย้อน ความคิดนี้ซ้ำ�ซากอยู่ตลอดระยะ “ทาง” ของ กลับไปดูรูปภาพนับพันจากการเดิน การ “เดิน” บนดอยม่อนจอง ทาง ถ่ายด้วยกล้อง 2 ตัวของเรา และคิด แม้ฉนั จะชอบออกเดินทางด้วยหัวใจ แต่ ไปถึงคำ�สั้นๆ 2 คำ�ที่บันทึกไว้ ในสมุดพก การเดินด้วยเท้าทีด่ อยม่อนจองกับสภาพของ ประจำ�ตัว ระหว่าง เพื่อนร่วมทาง และ คนทีเ่ พิง่ จะมาเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อนแปลกหน้า ในทริปม่อนจองนี่เอง ที่เราได้พบเพื่อน แปลกหน้าและกลายเป็นมากกว่าเพื่อนร่วม ทางสำ�หรับฉัน ทุกๆ ครั้งของการได้ยินคำ�
ข
บนใบบัว
8
ว่า “ม่อนจอง” ภาพใบหน้าของ 3 บุคคล จะลอยเด่นขึ้นมาในห้วงสำ�นึก (บุญคุณ) ของฉัน หนึ่ ง ในนั้ น คื อ เธอ..คนดี อย่ า ง แน่นอน ส่วนอีก 2 คน เป็นชายหนุ่มแปลก หน้าที่เกิดมาไม่เคยพบปะพูดคุยมาตลอด ชีวิต คือ “วิชัย” คนนำ�ทางของคณะเรา กับ “ป๊อปดาวลอย” ชายหนุ่มอัธยาศัยดี มาก น้ำ�ใจ มันทำ�ให้ฉันนึกไปถึงเหล่าจอมยุทธ์ นักเดินทางที่ชอบลุยเดี่ยว...ไปเพื่อพบ
ขณะที่คนอื่นๆ ในคณะทยอยเดิน ห่างเราไปทีละกลุ่ม..ทีละคน แม้กระทั่ง คณะที่ตามหลังเรามาก็เริ่มแซงไปด้วย เพราะเป้าหมายในการเดินทางของแต่ละ คน อาจจะมุ่งมั่นอยู่กับปลายทางของ ค่ำ�คืนนี้ แต่ภาพในความทรงจำ�ของฉัน กลับเป็นเรื่องราวระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นทุกครั้งที่ฉัน “หยุด” ขา แทบไม่มีเรี่ยวแรงจะก้าวต่อ แม้กระทั่งการต้องนอนทอดตัวกับ พื้น ให้หัวทอดต่ำ�ลงไป เพื่อให้เลือดไหล
บนใบบัว
• จุดแยกแวะค้างแรม
9
• ยอดหัวสิงห์ที่ ไกลเกินเอื้อม • คนเดินตัวเปล่าได้อายเลย
• แสงแรงของเรา
• 3 ผ ู้พทิ ักษ์
• คุณเล็กแห่งTREKASEEN บนใบบัว
10
• ขอบคุณผลิตภัณฑ์ดีๆ จาก SCG
• งามจนอยากหยุดเวลา
บนใบบัว
เวียนไปสู่หัว ตามคำ�แนะนำ�ของ ป๊อปดาว ลอย เมื่อเห็นสีหน้าและท่าทางไม่สู้ดีเอา มากๆของฉัน การได้เห็นภาพท้องฟ้าจากสายตา ขนานไปกับพื้นโลก...โอ้วว ฟ้าจ๋าฟ้า ยาดมที่ เ ธอพกติ ด ตั ว มาแบบขำ � ๆ กลายเป็นปัจจัยสำ�คัญสำ�หรับฉัน (แทน) สัมภาระทีแ่ ม้จะมีเพียงกล้องคนละตัว และถุงกันน้�ำ ติดตัวใบเดียว ก็กลายเป็นต้อง สละทิ้งและเพิ่มภาระให้เธอ และเพราะ “เรา” ช้าไปด้วยกัน ใน ขณะที่ ป๊อปดาวลอย มีสัมภาระติดตัว
มากกว่า เขายังต้องคอยหยุดแบกน้�ำ หนัก สัมภาระนานกว่าคนอื่น เพื่อคอยเรา มีหลายครั้ง ที่ฉันคิดว่า ตัวเองไม่ อาจสามารถก้าวขาต่อไปได้แล้ว ใช่!! ส่วนหนึง่ แล้ว ทัง้ ฉันและเธอ (รวม ถึงวิชัยและป๊อป) อาจจะแอบลุ้นกันอยู่ ในใจ (โดยไม่มีใครกล้าพูดอะไรออกมา) ....เราอาจจะต้องกินข้าวลิง 55++ แต่คงเพราะ “เรามีเรา” และเรายังมี “ผู้พิทักษ์”แปลกหน้า 2 คน นอกจากจะ คอยตามหลัง ให้กำ�ลังใจ ยังคอยดูแลเมื่อ เห็นท่าทางที่ไม่สู้ดีของฉัน (บ่อยๆ) ใน ที่สุด ขบวนรั้งท้ายก็ไปถึงที่หมายค้างแรม บนดอยม่อนจองคืนนั้นจนได้ แม้จะเป็นสถิติที่ติดอันดับบ๊วยแบบ สุดๆ ก็ตาม!!
11
• สนสามใบ • ยังเป็นขบวนขากลับ
• หน้าสู้ฟ้าหลังสู้ดิน บนใบบัว
12
ถ้ายอดดอยหัวสิงห์ คือเป้าหมายที่ทุกคนที่ ไปม่อนจองและกล่าวกันว่า “ต้อง” ไปให้ถึง จึงจะ เรียกว่า “ถึงม่อนจองแล้ว” ฉันคงยังไปไม่ถงึ ม่อนจอง และพาลเป็นตัวรัง้ ให้เธอไปไม่ถึงม่อนจองไปด้วย ..ขอโทษ (จริงๆ) นะ
ขอขอบคุณ : สุขากระดาษ สนับสนุนโดย SCG FOUNDATION ใช้งานได้จริงสำ�หรับผู้ป่วยโรครูมาตอยส์ ที่ไม่สะดวกในการ “เข้าป่า” บนดอยม่อนจอง น้ำ�หนักเบา ประกอบใช้ตามขั้นตอนได้ง่าย : )
“บางคนอาจจะมองว่า ดอกหญ้าต่ำ�ต้อย (แค่ไหน) แต่เราก็ยังมีสิทธิ ทอดกายลงไปเสมอได้ เผลอๆ อาจจะต่ำ�กว่าเสียอีก”
บนใบบัว
ข้อมูลค่าใช้จ่ายสำ�หรับ “ดอยม่อนจอง” เดือนกุมภาพันธ์ 2554 1. รถ 4wd คันละ 3,000 บาท 2. ลูกหาบ 500 บาท ต่อคน ต่อวัน 3. เจ้าหน้าที่นำ�ทาง 1,500 บาท (รวมทิป)
13
Be Travel
วันเดียวเที่ยวได้
1 Day Trip
Text & Photo : Kob Bonbaibua
วันแห่งสติ ที่
“หมู่บ้านพลัม” บนใบบัว
14
ประเทศฝรัง่ เศส เป็นชุมชนแห่งการฝึกปฏิบตั ิ เพื่อดำ�เนินชีวิตอย่างมีสติของพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา แต่ปัญหาคือ ชาติไหนฉันจึงจะหา (เงิน และ) โอกาสเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสได้ (เสียที) 55++ • พักผ่อนอริยาบถ ทางเลือกหนึง่ ทีฉ่ นั มองเห็นคือ การทราบ วามสนใจแรกของฉัน เริม่ มาจากการ ว่าชุมชนหมู่บ้านพลัมยังมีกระจัดกระจาย เห็นภาพภิกษุรูปหนึ่งบนปกหนังสือ ในหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส อเมริกา พร้อมกับรอยยิ้มที่เบิกบานและดูอบอุ่น เยอรมัน ฮ่องกง และล่าสุดคือ สถานปฏิบัติ เป็นยิ่งนัก ทราบในเวลาถัดมาว่า ภิกษุ ธรรมชั่วคราว “หมู่บ้านพลัม” ที่ตำ�บลหนอง รูปนั้นชื่อว่า ติช นัท ฮันห์ เป็นพระมหา สาหร่าย อำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา!! เถระในพุทธศาสนามหายานนิกายเซน จากการตามรอยเข้ า ไปที่ เ ว็ บ ไซต์ ชาวเวียดนาม http://www.thaiplumvillage.org/index. ถัดจากนัน้ ก็มาเห็นรูปภาพเตะตาและนึก html ทำ�ให้ได้ทราบว่า หมู่บ้านพลัม อำ�เภอ ปากช่อง มีการจัดกิจกรรม “วันแห่งสติ” ซึ่ง ฉงนกับสถานที่หนึ่ง...”หมู่บ้านพลัม” เมื่ อ ช่ ว งจั ง หวะหนึ่ ง ของชี วิ ต ที่ เ ริ่ ม ไข ปริศนาแห่งใจตัวเองไม่ได้ ฉันจึงเริ่มมองหา ตัวช่วยและคิดว่าแนวทางแห่งพุทธอาจจะปัด เป่าและชี้ทางสว่างให้ฉันได้บ้าง หลังจากการ หาข้อมูลคร่าวๆ ประกอบกับการอ่านหนังสือ ตามประสาคนชอบออกเดินทาง (ด้วยหัวใจ) ฉันจึงกระดีก๊ ระด๊าเป็นยิง่ นัก เมือ่ รูว้ า่ หมูบ่ า้ น พลัม ที่ ติช นัท ฮันห์ พำ�นักอยู่ ตั้งอยู่ที่
ค
บนใบบัว
• ฟังธรรมบรรยาย ติช นัท ฮันห์
15
เป็นแนวทางการเจริญภาวนาแบบหมู่บ้าน พลัม ทุกวันอาทิตย์ ทำ�ให้ฉันตกลงใจที่จะ เดินทางไปสัมผัส
จ
• ภิกษุณีขณะเดินไปวัดภิกษุ
04.00 ตืน่ นอน โดยจะมีระฆังปลุกตอน 03.45 น. สำ�หรับการเชิญและฟังเสียงระฆัง นี้เป็นเสมือนหัวใจของการปฏิบัติตามลม หายใจของหมู่บ้านพลัมก็ว่าได้ โดยทุกครั้ง ที่เราได้ยินเสียงระฆัง (หรืออาจจะเป็นเสียง โทรศัพท์ เสียงนาฬิกาบอกเวลา ฯลฯ) เรา จะหยุดการกระทำ�ต่างๆ เพือ่ ผ่อนคลายและ ตระหนักรู้ถึงลมหายใจเข้าออก และกลับมา อยู่กับปัจจุบันขณะ 04.30 นั่งสมาธิ สวดมนต์ ในวันที่ฉัน ไปนั้น หลังบทสวดนั่งสมาธิยามเช้า ต่อด้วย บทสวดหัวใจแห่งความเข้าใจอันสมบูรณ์ (ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร) และอีกบทสวด
หนึ่งซึ่งต้องขออภัยที่ฉันจำ�ชื่อไม่ได้ ก่อนที่ ภิกษุณีจะแยกย้ายไปเตรียมตัวสำ�หรับการ เดินไปวัดภิกษุ เป็นการกราบสัมผัสพื้นดิน จาก PRACTICE FROM THE HEART คู่มือภาวนาตามแนวทางหมู่บ้านพลัม ระบุ ว่า การฝึกปฏิบัติสัมผัสพื้นดินเป็นการกลับ ไปสู่ผืนแผ่นดิน รากเหง้าและบรรพบุรุษของ เรา และรับรู้ว่าเรามิได้โดดเดี่ยว.... เราหั น หน้ า ต่ อ พระรั ต นตรั ย อั น ประกอบด้วยพระพุทธ พระธรรม และ สังฆะ มือของเราประสานกัน พนมมือกลาง อกดั่งดอกบัว ให้เราก้มตัวกราบลงกับพื้น อย่างช้าๆ ขณะนั้นแขนและขาทั้งสองรวม ทั้งหน้าผากของเราสัมผัสพื้นดินอย่างผ่อน คลาย ในขณะที่เรากำ�ลังสัมผัสพื้นดินอยู่นั้น ให้เราหงายมือขึ้นเพื่อเป็นการเปิดเผยทุกสิ่ง ทุกอย่างต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มี ความลับอันใดที่จะต้องปิดปัง
ากกรุงเทพฯ ใช้ถนนวงแหวนตะวัน ออกตัดออกถนนมิตรภาพบริเวณ วังน้อย มุง่ หน้าสูอ่ �ำ เภอปากช่อง ใช้ระยะ เวลาประมาณ 2 ชัว่ โมง ฉันก็ถงึ หมูบ่ า้ น พลัม ในการไปครัง้ นีเ้ ป็นการเดินทางไป ที่หมู่บ้านพลัมเป็นครั้งที่ 2 โดยตั้งใจไป ค้างคืนทีว่ ดั ภิกษุณี (ในส่วนฆารวาสชาย ค้างคืนที่วัดภิกษุ) เพื่อร่วมกิจกรรมวัน แห่งสติตั้งแต่เช้า (มืด)
บนใบบัว
16
• ภิกษุณีเดินกลับวัด
ที่วัดภิกษุ สังฆะตักอาหารเช้ามารับ ประทานร่วมกัน ล้างจานเพื่อล้างจานแล้ว พักผ่อนอิริยาบถก่อนจะเตรียมตัวเพื่อการ เดินสมาธิ 08.00 น. เป็นการเดินเพื่อที่จะ เดินอย่างอิสระ ไม่มีความเร่งรีบ รื่นรมย์กับ ธรรมชาติรายรอบตัวและอยู่ในปัจจุบันขณะ
• มื้อเที่ยงในวันแห่งสติ เข้าแถวตักอาหารตาม อาวุโส
ทุกย่างก้าว ประมาณ 09.00-11.00 น. เป็นการฟัง และชมธรรมบรรยายผ่านวิดิทัศน์โดย หลวง ปู่ นัท ฮันห์ พักผ่อนตามอัธยาศัยก่อนฝึก ปฏิบัติรับประทานอาหารอย่างมีสติร่วมกัน
บนใบบัว
• ยามเช้าระหว่างทาง
17
• สังฆะรับประทานอาหารร่วมกัน
• อาหารเจอร่อยมาก
• ที่นั่งจัดเตรียมไว้ส�ำหรับอาหารเช้า
• อาหารเช้า ตักแต่พออิ่ม
บนใบบัว
(อีกครั้ง) ในมื้อเที่ยง ซึ่งถือเป็นฝึกสมาธิด้วย โดยวันแห่งสตินกี้ ารไปตักอาหารค่อนข้างเป็น พิธกี าร โดยเริม่ ลำ�ดับแถวจากอาวุโสของภิกษุ และภิกษุณี จากนั้นจึงเป็นอุบาสก-อุบาสิกา ทยอยตักแต่พอ (อิ่ม) ดีมานั่งรวมกันจน ครบแล้วหลังระฆังแห่งสติดังขึ้นจะเป็นการ เบิกบานกับบทพิจารณาอาหาร 5 ประการ ระหว่างกินอาหารที่หมู่บ้านพลัม ฉัน ยอมรับกับตัวเองว่า ในชีวิตประจำ�วันไม่ค่อย มีมอื้ ไหน ทีฉ่ นั ใช้เวลาในการเคีย้ วอาหารให้ได้ 18 อย่างน้อย 30 ครั้งต่อคำ�มากนัก แต่ก็ไม่รู้สึก
• ล้านจานเพื่อล้างจาน
อึดอัดกับการปฏิบตั ิ กลับรูส้ กึ เบิกบาน สงบดี เสียด้วยซ้ำ�ในการกินอาหารเงียบๆ ร่วมกัน ในหมู่กัลยาณมิตร ที่หมูบ่ ้านพลัมมีวิธีฝึกปฏิบัติผอ่ นคลาย อย่างสมบูรณ์ (Totle Relaxation) ในช่วงพัก หลังอาหารกลางวัน คือการนอนสมาธิเป็น เวลา 45 นาที ซึ่งหมายถึงการกลับมาดูแล กายของเรา เมื่อกลับมาดูแลและผ่อนคลาย
• สถานปฏิบัติธรรมชั่วคราว หมู่บ้านพลัม
กิ จ กรรมวั น แห่ ง สติ จ บลงในเวลา 16.00 น. ฉันรู้สึกว่าหัวใจเบิกบาน เป็นสุข และสงบเป็นอย่างยิ่ง รู้สึกได้ใช้เวลากับวัน แห่งสติอย่างมีคุณค่าต่อตนเองและสังฆะ เสียงระฆังดังขึ้น 1 ครั้ง ฉันพร้อมที่จะ “หยุด” แล้ว ....คุณล่ะ???
บนใบบัว
กายของเราได้ ใจของเราก็ผ่อนคลายไปด้วย เช่นกัน หลังการนอนผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์ ฉันตื่นขึ้นอย่างมีพลัง สดชื่นและเบิกบาน พร้อมสำ�หรับกิจกรรมสนทนาธรรมในลำ�ดับ สุดท้าย เป็นการนั่งหันหน้าเข้าหากันเป็น วงกลม โดยเปิดโอกาสให้สังฆะพูดคุยหรือ สอบถามปัญหาต่างๆ โดยถ้าเป็นปัญหาใน ทางธรรม หลวงพีท่ รี่ ว่ มสนทนาธรรมด้วยจะ เป็นผู้ตอบและชี้แนะ
19
Be Travel
เที่ยวนอก (ประเทศ)
Jumper out
Text & Photo : Jii on the road
จาก
“ฟินแลนด์”
บนใบบัว
20
ถึง “รัสเซีย”... เ
บนใบบัว
มือ่ เพือ่ นทีแ่ สนดีคนหนึง่ ได้แต่งงานกับชาว ฟินแลนด์และไปตัง้ รกรากอยูน่ นั่ แผนการ เดินทางท่องเที่ยวฟินแลนด์ของเราก็เริ่ม ผุดขึ้นมาในหัว แต่ก็ต้องกับเจอโรคเลื่อน เรือ่ ยมาเพราะอุปสรรคเรือ่ งเวลาเป็นสำ�คัญ จนในที่สุดเราก็สามารถเข็นโครงการนี้ให้ เป็นจริงเมื่อมีน้องในกลุ่มเดียวกันมาร่วม อุดมการณ์ด้วยอีกหนึ่งคน และสามารถหา วันหยุดยาวๆ ได้พร้อมกัน แต่ไหนๆ จะเดิน ทางมาไกลถึงครึ่งโลกเราก็เลยควบเมือง “เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก” ของรัสเซีย เข้ามาใน โปรแกรมครั้งนี้ด้วย
21
• ฟินแลนด์... เมืองคนไม่ยิ้ม เราเดินทางลุยเดี่ยวไปรอน้องที่เป็น เพื่อนร่วมทางที่เมือง “เราม่า” (Rauma) ก่ อ นหนึ่ ง วั น เพราะหาตั๋ ว เครื่ อ งบิ นวั น เดียวกันไม่ได้ การเดินทางจาก “เฮลซิงกิ” (Helsinki) เมืองหลวงของฟินแลนด์ไปยัง เมืองเล็กๆ อย่าง เราม่า นัน้ ทุลกั ทุเลพอควร โดยเฉพาะในประเทศทีไ่ ม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ เราเคยคิดว่าฝรั่งทุกชาติคงจะพูดภาษา อังกฤษได้หมด แต่จากประสบการณ์การเดิน ทางมายุโรปหลายครัง้ ทำ�ให้เรารูว้ า่ มันไม่ได้ เป็นอย่างที่เราคิด ไม่พูดภาษาอังกฤษไม่ว่า กัน แต่ปา้ ยถนนหนทางไม่มภี าษาอังกฤษเลย นี่เล่นเอาเราปวดหัว
บนใบบัว
22 • รูปประติมากรรมในน�้ำที่เราม่า
ฟิ น แลนด์ ใ ช้ ภ าษา “ฟิ น นิ ช ” เป็ น ภาษาประจำ�ชาติ และเรียกชาวฟินแลนด์ว่า “ฟินนิช” เช่นกัน ทุกหนทางที่ผ่านไป ช่าง หารอยยิ้มจากผู้คนที่นี่ได้ยากเย็นเหลือเกิน แต่เพื่อนเราที่อาศัยอยู่ที่นี่บอกว่า ถึงแม้เขา ไม่ยมิ้ แต่ชาวฟินนิชเขาจิตใจดีไม่มปี ญ ั หา แค่ หน้าเขานิง่ ๆ เท่านัน้ เอง ไม่รวู้ า่ จะเกีย่ วกับที่ สภาพภูมิประเทศที่หนาวเย็นหรือเปล่านะ เราต้องต่อรถบัสถึงสองรอบกว่าจะถึง เมือง “เราม่า” เมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของ ฟินแลนด์ที่เพื่อนเราข้ามน้ำ�ข้ามทะเลมาตั้ง รกรากอยูท่ นี่ ี่ เมืองนีถ้ งึ แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่ส่วนที่เป็นตัวเมืองเก่านั้นได้รับการจด
ทะเบียนให้เป็นหนึ่งในเมืองมรดกโลกโดยยู เนสโก เพราะบ้านเรือนได้รับการอนุรักษ์รูป แบบเก่าๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี ไม่มีอาคารสูง พื้นถนนปูด้วยอิฐหรือหิน บ้านแต่ละหลังทา ด้วยสีสันสดใสและตัดขอบสีประตู-หน้าต่าง ด้วยสีที่แตกต่างกันออกไป เราม่ามีชื่อเสียง ในเรือ่ งการผลิตผ้าลูกไม้ และสถาปัตยกรรม ไม้ต่างๆ จากเมืองเราม่า เพือ่ นเราได้ขบั รถพาเรา ไปยังเมือง “ตูรกู” (Turku) ระหว่างทางราว 95 กิโลเมตรจาก เราม่า ถึง ตูรกู เราจะเห็น ป้ายให้ระวัง “กวางมูส” (Moose) เป็นระยะๆ กวางมูสเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีเขา
เหมือนใบไม้ใบโตๆ ที่ฟินแลนด์มีอุบัติเหตุ อั น เนื่ อ งมาจากการขั บ รถชนกวางมู ส อยู่บ่อยๆ ถึงแม้เราจะไม่ได้เห็นเจ้ากวางมูส ตัวเป็นๆ ที่นี่ แต่เราก็ได้เห็นตุ๊กตากวางมูส ตามร้านขายของที่ระลึกมากมาย ฟาร์มและ โรงนาที่เห็นระหว่างทางไปตูรกูเป็นภาพที่ดู โล่งสบายตาดีจัง
• ปราสาทตูรกู
บนใบบัว
• อาคาร Old Town Hall ในเมืองเก่าเราม่า
• ท้องทุ่งระหว่างทางจากเราม่าไปเมืองตูรกู
23
บนใบบัว
24
ตูรกูเป็นเมืองสำ�คัญและเป็นเมืองที่เก่า แก่ที่สุดของฟินแลนด์ โดยมีประวัติศาสตร์ ยาวนานมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 13 ถึง แม้นจะเป็นเมืองหลักของประเทศ แต่ตูรกู ก็ไม่ได้พลุกพล่านและไม่ค่อยมีตึกสูงๆ ให้ เห็นมากนัก ในปีนี้ตูรกูได้รับการยกย่อง ให้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป (European Capital of Culture) คู่กับเมือง “ทอลลิน” ของประเทศเอสโตเนีย ในตัวเมืองตูรกูมอี าคารและโบสถ์-วิหาร เก่าแก่จ�ำ นวนมากรวมทัง้ วิหารตูรกู (Turku Cathedral) ที่มีอายุยาวนานหลายศตวรรษ ภายในวิหารตูรกู เป็นทีต่ งั้ ของพิพธิ ภัณฑ์แห่ง วิหาร (Cathedral Museum) นอกจากนัน้ ยัง มี ปราสาทตูรกู (Turku Castle) และโบสถ์ ออโธดอกซ์ตรู กู (Turku Orthodox Church) ซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองบริเวณมาร์เก็ต-สแควร์ นอกจากนั้นตูรกูเป็นยังเป็นเมืองท่าที่ส�ำ คัญ ของฟินแลนด์ สำ�หรับคนที่ต้องการเดินทางไปเมือง “สต๊อกโฮล์ม” ของประเทศสวีเดนก็สามารถ นั่งเรือโดยสารขนาดใหญ่จากเมืองตูรกูไปได้ โดยจะใช้เวลาในการเดินทางหนึ่งคืน หลังจากหมดภารกิจเยี่ยมเพื่อนเก่าเรา ก็เดินทางเข้าสู่เมือง “เฮลซิงกิ” (Helsinki)
เมืองหลวงของฟินแลนด์ เฮลซิงกิตั้งอยู่ ปากอ่าวฟินแลนด์บริเวณทะเลบอลติก ที่นี่ จึงมีชื่อเรื่องอาหารทะเล การเที่ยวในเมือง เฮลซิงกิทำ�ได้ง่าย ไม่ว่าจะโดยการนั่งรถราง รถเมล์ หรือรถบริการนักท่องเที่ยวแบบแวะ จอดตามจุดสำ�คัญต่างๆ เช่น วิหารเฮลซิงกิ (Helsinki Cathedral) วิหารอูสเพนซกี้ (Uspenski Orthodox Cathedral) ตลาด เก่า และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ กิจกรรมทีไ่ ม่ควรพลาดระหว่างมาเยือน ฟินแลนด์คือ การซาวน่า และการชมตลาด
• วิหารเซนต์ไอแซค
• ภายในวิหารตูรกู
• Uspenski Orthodox Cathedral ในเฮลซิงกิ
• เรือโดยสารข้ามไปยังสต๊อกโฮล์ม
บนใบบัว
ที่มีทั้งกลางแจ้ง ซึ่งโดยมากเป็นตลาดขาย ผัก-ผลไม้ และตลาดในร่ม ที่จะขายทั้ง อาหารสดและแห้ง ชาวฟินนิชนิยมซาว น่าเป็นอย่างมาก ทุกบ้านจะมีห้องซาวน่า เป็นของตัวเอง ส่วนของฝากจากที่นี่ก็มีทั้ง อาหารอย่างปลาแซลมอนรมควัน ผ้าลาย ดอกไม้และของตกแต่งบ้านของยี่ห้อ “มา ริเมกโกะ” (Marimekko) และผ้าลูกไม้
• วิหารเฮลซิงกิ
25
• เสาไอแซค และบริเวณโดยรอบ
• แง้มม่านเหล็กที่ “เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก” บนใบบัว
26
ไหนๆ ก็มาถึงปากประตูบา้ นของรัสเซีย แล้ว เราจึงไม่พลาดที่จะไปเยือน “เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก” ที่อยู่ห่างจากเฮลซิงกิไป ทางตะวันออกเฉียงใต้เพียงประมาณ 300 กิโลเมตร
จริงๆ แล้วคนฟินแลนด์กับคนรัสเซีย เป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ค่อยรักกันนัก เหมือน คนไทยกับคนเขมร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ประวัติศาสตร์ที่ในอดีตมีการทำ�สงคราม กันตลอด ฟินแลนด์เคยตกเป็นของรัสเซีย กว่าร้อยปี ตอนที่เราบอกสามีเพื่อนว่าจะไป เทีย่ วรัสเซียเขาดูไม่คอ่ ยจะสนับสนุนนัก และ
• วิหารปีเตอร์ แอนด์ พอล
บนใบบัว
เตือนเราสารพัดอย่างบอกว่าระวังแท็กซี่จะ โกง หรือไม่ไปส่งถูกที่ อย่าเดินทางกลาง คืน (ตอนแรกเรากะว่าจะนั่งรถไฟเที่ยว กลางคืนเพื่อประหยัดค่าที่พัก) และอื่นๆ อีกมากมาย เราเดินทางจากเฮลซิงกิโดยรถไฟของ VR Group ซึ่งเป็นบริษัทรถไฟแห่งชาติ ฟินแลนด์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เราใช้เวลา เดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง ราคาตั๋วรถไฟ ไป-กลับอยู่ที่ประมาณ 5,500 บาท แพง เอาการอยู่เหมือนกันแต่สะดวกสบายมาก ถ้าหากมีเวลามากหน่อย อยากแนะนำ�ให้ เลยไปเที่ยว “กรุงมอสโค” ซึ่งอยู่ห่างจาก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กออกไปประมาณ 800 กิโลเมตร เมื่อถึงเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก เรารู้สึก วิตกจริตเล็กน้อยเนื่องจากโดนขู่ไว้มาก จะ เรียกแท็กซี่ก็เล็งแล้วเล็งอีก แท็กซี่ที่นี่ส่วน ใหญ่แล้วเก่ามาก แต่เราเล็งหาคันใหม่ๆ จน ได้ แท็กซี่ที่นี่ไม่มีมิเตอร์ เราจึงสืบราคากับ ทางโรงแรมมาแล้วว่าเราควรจะจ่ายเท่าไหร่ การมาเซนปีเตอร์เบิร์กของเราในครั้ง นี้ เรามีเวลาเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งน้อยเกินไป เพราะที่นี่มีอะไรน่าสนใจมากมาย เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเป็นเมืองที่รุ่งเรืองอย่างมาก ในอดีต เพราะเคยเป็นเมืองหลวงของรัสเซีย ชือ่ เซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ นัน้ เป็นชือ่ ดัง้ เดิม ของเมืองนี้ แต่ได้เปลี่ยนชื่อไปถึงสองครั้ง
• โบสถ์หยดเลือด
27
บนใบบัว
28
เป็นเมือง “ปิ โตกราด” และ “เลนินกราด” ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมในปี 1991 ตัวเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กตั้งอยู่ริมแม่น้ำ� “เนวา” และอ่าวฟินแลนด์ หลักฐานที่ยืนยันถึงความรุ่งเรืองใน อตีดของที่นี่จะเห็นได้จากพระราชวัง โบสถ์ วิหารต่างๆ ที่ดูช่างวิจิตรตระการตาเป็น อย่างมาก พิพธิ ภัณฑ์ดๆี ก็มใี ห้ชมหลายแห่ง รวมถึงพิพธิ ภัณฑ์ “สัตว์วทิ ยา” (Museumof Zoology) ที่มีซากช้างแมมมอส และสัตว์ ดึกดำ�บรรพ์ต่างๆ จัดแสดงอยู่ด้วย ด้วยเวลาอันน้อยนิด เราพยายามเที่ยว แบบทัวร์ชะโงก คือแวะให้ได้หลายที่ แต่ไม่ สามารถใช้เวลาแต่ละที่ได้มากนัก เรียกว่า แค่ชะโงกดูแล้วก็ต้องไปต่อ รถบัสชมเมือง (City Tour) เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และคุ้ม ราคามาก เพราะจะแล่น ผ่านจุดน่าสนใจ สำ�คัญต่างๆ ในเมือง เราตีตั๋วแบบรายวัน ซึง่ จะสามารถใช้ขนึ้ -ลงรถทีม่ สี ญ ั ลักษณ์ City Tour ได้ตลอดวัน ทีแ่ รกทีม่ อี ยูใ่ นความคิดว่า ต้องไปให้ได้คอื “โบสถ์หยดเลือด” (Church of the Saviour on Spilled Blood หรือ Church of Resurrection) ที่สร้างขึ้นเพื่อ รำ�ลึกเหตุการณ์ที่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ ส่วนที่อื่นๆ ที่ได้ ไปชมก็มี วิหารปีเตอร์แอนด์พอล (Perter
& Paul Cathedral), วิหารเซนต์ไอแซค (St. Isaac’s Cathedral), เสาอเล็กซาน เดอร์ (Alexander Column) ซึ่งเป็น จุดศูนย์กลางของสถานที่สำ�คัญหลายๆ แห่งรวมถึงพระราชวังฤดูหนาว แต่ชว่ งทีเ่ รา ไปหลายๆ แห่งกำ�ลังปิดซ่อมพอดีจงึ พลาด ที่จะได้ดูของดีๆ อาหารการกินทีน่ คี่ อ่ นข้างแพง เพราะ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจัดเป็นเมืองที่ค่าครอง ชีพสูงที่สุดเมืองหนึ่งของโลก แต่ผู้คนที่นี่ เขาช่างไม่ค่อยกระตือลือล้น เวลาไปรอซื้อ อาหารโดยเฉพาะพวกฟาสต์ฟู้ดต่างๆ คิว จะยาวมาก แต่พนักงานขายก็จะค่อยๆ ทำ� ไป ไม่ได้รู้สึกว่าต้องบริการให้เร็วขึ้น เป็น อย่างนี้ทั่วไป เห็นแล้วก็ขำ� หากจะซื้อของฝากที่นี่จะมีชื่อเรื่อง ตุก๊ ตาออกลูก (เราตัง้ ชือ่ เอง) คือเป็นตุก๊ ตา ไม้ทมี่ ตี วั เล็กๆ อยูใ่ นตัวหลายๆ ตัว ถ้าแกะ ออกมาก็เหมือนมีลกู เป็นแถวยาว นอกจาก นั้นก็เป็นพวกผ้าทอ และงานฝีมืออื่นๆ ขากลับจากรัสเซียเข้าฟินแลนด์ ด่าน ตรวจคนเข้าเมืองดูพาสปอร์ตเราหลาย ตลบกว่าจะแน่ใจว่าเราไม่ได้เข้าเมืองโดย ผิดกฎหมาย ซึ่งผิดกับขาเข้ามายังประเทศ รัสเซียทีเ่ จ้าหน้าทีป่ ระทับตราขาเข้าให้ทนั ที คนไทยไม่ตอ้ งใช้วซี า่ เข้าประเทศรัสเซียหาก
• Market Square
• ชายแดนระหว่างรัสเซีย และฟินแลนด์
จะพำ�นักอยูไ่ ม่เกิน 30 วัน แต่ถา้ จะอยูย่ าว กว่านั้นต้องขอวีซ่า การเข้าประเทศรัสเซียจากชายแดน ด้ า นประเทศฟิ น แลนด์ ตอนขอวี ซ่ า ฟินแลนด์ควรจะขอแบบเข้าออกได้หลาย ครัง้ (Multiple Entries) เพราะรัสเซียไม่ได้ อยู่ในกลุ่มเชงเก้น เรากลับเข้ามาที่เฮลซิงกิ เพื่อมาค้าง อีกคืนหนึ่งก่อนจะบินกลับกรุงเทพฯ บนใบบัว
29
รักโค้ก ต้องมาบ้านโค้ก
baancokethailand.com
ºŒÒ¹â¤Œ¡
เลขที่ 46 ซอย 2 หมู่ 2 สามชุก สุพรรณบุรี 72130 โทรศัพท์ 035-544-277
SUN MOON STAR HAADYAO KOHPHANGAN, THAILAND CONTACT MR.TOUAN TEL : 66-077-349139, 66-086-2790166 บนใบบัว
30
Be Travel
บันทึกรัก(ษ์)ใต้ทะเล
Underwater Log Book
Text : Jii on the road Photo Jii on the road & ประภาส แสงสว่าง
มัลดีฟส์... วันใสๆ
บนใบบัว
• Manta Ray
31
เ
อ่ยถึง “มัลดีฟส์” สิ่งแรกที่ทุกคนต้อง คิดถึงคือ ความใส...ทั้งน้ำ�ใส ฟ้าใส ที่ ฝรั่งเขาเรียกกันว่า crystal clear เรียก ว่าสวยใสไร้มลพิษประมาณนัน้ นอกจาก นั้นภาพหาดทรายขาวกิ๊กคงเป็นภาพที่ ทุกคนมีอยู่ในความคิด มัลดีฟส์เป็นอย่างที่ทุกคนคิดแต่ไม่ใช่ ร้อยเปอร์เซ็นต์ การด�ำน�้ำที่มัลดีฟส์ในบาง จุด บางเวลาก็น�้ำขุ่นได้เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ ก็เรียกได้ว่าใสมาก จนระยะการมองเห็น (visibility) ค่อนข้างไกล บางไดฟ์ที่ด�ำดูเรือ จม น�้ำใสจนสามารถเห็นเรือได้ทั้งล�ำ มัลดีฟส์เหมาะกับการดูปลาใหญ่และ ปลากลางน�้ำ แต่ส�ำหรับคนที่หวังจะมาดู ปะการังอ่อนสีสันสวยๆ หรือปลาตามแนว ปะการัง ที่นี่คงท�ำให้คุณผิดหวัง
บนใบบัว
32 • Male’
การไปด�ำน�ำ้ ทีม่ ลั ดีฟส์ของเราครัง้ นีเ้ ป็น แบบ Liveaboard คือนอนบนเรือตลอด 7 วันของการด�ำน�้ำ สมาชิกผู้ร่วมเดินทางมี ทัง้ หมด 12 คน ส�ำหรับการเดินทางครัง้ นีเ้ รา เลือกช่วงต้นเดือนธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่ มีวันหยุดถึงสองวัน เป็นช่วงที่อากาศดีไม่มี ฝน และน�้ำใส ทันทีที่ลงจากเครื่องบินที่เมืองมาเล่ย์ (Male’) ผูจ้ ดั การของเรือ MV Sea Spirit ได้ รอรับพวกเราอยู่เพื่อพาไปขึ้นเรือ สนามบิน Male’ International Airport ตั้งอยู่บนเกาะ เล็กๆ ชื่อ Hulhule ห่างจากตัวเมืองมาเล่ย์ ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวัน ออกเฉี ย งเหนื อ มี ค วามยาวของรั น เวย์ 3,200 เมตร รองรับผูโ้ ดยสารราว 850,000 คนต่อปี
• แผนที่ด�ำน�้ำ
นอกจากนัน้ อาหารการกินและน�ำ้ ดืม่ ก็คอ่ น ข้างจ�ำกัด จึงเป็นบทเรียนส�ำหรับพวกเรา ว่า พยายามหลีกเลีย่ งเรือทีบ่ ริหารงานโดย ฝรั่งในทริปต่อๆ ไป มั ล ดี ฟ ส์ ป ระกอบไปด้ ว ยวงแหวน หินปะการัง (atoll) หลายๆ วง ส�ำหรับ แผนการด�ำน�้ำของเราในครั้งนี้จะเริ่มจาก หมายด�ำน�้ำต่างๆ ที่ North Male’ Atoll แล้วข้ามไปยังหมายด�ำน�้ำของ North Ali
บนใบบัว
การเดินทางจากสนามบินไปยังตัวเมือง มาเล่ยแ์ ละรีสอร์ทต่างๆ ไม่สามารถไปทาง รถยนต์ ต้องเดินทางด้วยเรือหรือเครือ่ งบิน เท่านัน้ เพราะไม่มถี นนเชือ่ มระหว่างสนาม บินและเกาะต่างๆ ของประเทศ การเดินทางจากประเทศไทยไปยัง มัลดีฟส์โดยเครื่องบิน มีหลายสายการบิน ที่เปิดให้บริการรวมทั้ง บางกอกแอร์เวย์ สิงคโปร์แอร์ไลน์ มาเลเซียแอร์ไลน์ และ ศรีลังกาแอร์ไลน์ เป็นต้น แต่ที่บินตรงก็มี สายการบินบางกอกแอร์เวย์ และล่าสุดสาย การบินไทยก็เริม่ มีการเปิดเส้นทางบินไปยัง มัลดีฟส์เช่นกัน เรานั่งเรือเล็กออกจากสนามบินเพื่อ ไปขึน้ เรือ MV Sea Spirit ซึง่ จอดอยูด่ า้ น นอกของอ่าว เมื่อฟังการบรรยายเกี่ยวกับ เรือและแผนการด�ำน�้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็แยกย้ายกันเข้าห้องนอนเพือ่ เตรียม ออกเรือในตอนเช้า เรือล�ำนีม้ เี จ้าของและผูจ้ ดั การเรือเป็น ฝรั่ง จึงมีกฎระเบียบปลีกย่อยมากมายที่ พวกกระเหรี่ยงไทยแบบเราไม่ค่อยปลื้ม นัก รวมถึงข้อบังคับทีท่ กุ คนต้องท�ำประกัน การด�ำน�้ำ มิฉะนั้นจะไม่ยอมให้เราลงด�ำ น�้ำ พวกเราที่ยังไม่ได้ท�ำประกันมาจึงต้อง สมัครท�ำประกันออนไลน์กันเป็นที่วุ่นวาย
33
มี ฉลามวาฬ ว่ายเข้ามา กัปตันเรือจะวนเรือ ไป-มา แล้วไดฟ์มาสเตอร์จะใช้กล้องส่องทาง ไกลมองหาฉลามวาฬ โดยนักด�ำน�้ำต้องแต่ง ชุดพร้อมอุปกรณ์สนอร์กเกิลรอฟังสัญญาณ ผิวน�้ำค่อนข้างจะมีคลื่นสูง หลังจากแล่นเรือ วนอยู่พักใหญ่ไดฟ์มาสเตอร์ก็สั่งให้ทุกคน โดดเพื่อว่ายตามฉลามวาฬ หลายๆ คนใน กลุ่มพวกเราเคยเป็นนักว่ายน�้ำมาก่อน จึง ติดสปีดตีฟินกันไม่คิดชีวิต
• ฉลาม
• ฉลาม
บนใบบัว
Atoll และ South Ali Atoll ซึง่ จริงๆ แล้ว อยู่ไม่ไกลจากเมืองมาเล่ย์นัก ในขณะที่เรือ แล่นออกไปในตอนเช้าเราก็เห็นฝูงโลมาฝูง ใหญ่ว่ายอยู่ไม่ไกลจากเรือนัก ก็ถือเป็นการ เรียกน�้ำย่อยได้ดีทีเดียว เราเริ่มไดฟ์แรกเพื่อเป็นการตรวจสอบ ความพร้อม (check dive) กันที่ Club Faru น�้ำใสสมค�ำล�่ำลือจริงๆ ปลาเยอะ ที่นี่ปลา ไหลมอร์เล่ย์มีให้เห็นสารพัดชนิดทั้ง Honeycomb Moray, White Mouth Moray และ Giant Moray นอกจากนั้นไดฟ์นี้ก็มี เต่าโฉบมาให้เห็นอยู่หลายตัว เราต่อไดฟ์สองกันที่เรือจมล�ำเล็กๆ ชื่อ Hembaohoo Wreck น�ำ้ ใสมากจนเราเห็น เรือชัดเจนได้ทั้งล�ำตั้งอยู่บนพื้นทรายขาว เหมือนแป้ง เป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าด�ำเรือจม แล้วไม่อึดอัด เพราะความใสของน�้ำท�ำให้ ไม่รู้สึกว่าอยู่ในที่แคบเหมือนกับการด�ำเรือ จมล�ำอื่นๆ ภายในตัวเรือก็มี พวกทาก เปลือย (Nudibranch), Pipefish และ Stone Fish ซึ่งเป็นสัตว์ยืนพื้นส�ำหรับเรือ จมทั่วๆ ไป ตลอดการด�ำน�้ ำ ในทริ ป นี้ เ ราด�ำน�้ ำ ทั้งหมด 17 ไดฟ์ ซึ่งรวมถึงไดฟ์ที่ด�ำผิวน�้ำ แบบสนอร์กเกิล เพื่อดูฉลามวาฬที่ South 34 Ali Atoll ซึ่งเป็นอ่าวที่น�้ำไม่ลึกนักและมัก
• ตีฟินตาม ฉลามวาฬ
• Soneva Giri
ว่ายน�ำ้ ไกล ก็เลยสมใจอยากได้เห็นฉลาม วาฬเป็นที่ประทับใจกับเขาบ้าง ส�ำหรับไดฟ์ที่ท�ำให้ความคิดเราเกี่ยว กั บมั ล ดี ฟ ส์ ที่ ว ่ า น�้ ำ ต้ อ งใสเปลี่ ย นไปก็ เห็นจะเป็นที่ Malhoss Thila เพราะ นอกจากน�ำ้ ขุน่ แล้ว กระแสน�ำ้ ก็แรงจัดจ้าน ชนิดที่เราต้องค่อยๆ ใช้มือตะกายโขดหิน กันทีเดียว ลงไปได้ไม่นานก็ต้องยกธงขาว กันทั้งหมด
บนใบบัว
ส่วนเราว่ายน�ำ้ ก็ไม่คอ่ ยเก่ง แถมตอนจะ ลงก็มเี พือ่ นคนหนึง่ ขวางทางอยูเ่ พราะไม่กล้า ลงเนือ่ งจากสภาพผิวน�ำ้ ทีค่ อ่ นข้างจะไม่ราบ เรียบ เลยท�ำให้ควบฟินไม่ทันคนอื่น แถมยัง ต้องลอยเคว้งอยูก่ ลางน�ำ้ กว่าเรือจะย้อนกลับ มารับก็เหนื่อยมาก เมื่อกลับขึ้นไปบนเรือ มองลงมาเห็นเพื่อนๆ ว่ายตามดูฉลามวาฬ แล้วเราตาละห้อยเลย เสียดายมาก แต่ไดฟ์ มาสเตอร์เห็นเราแล้วคงสงสารจึงให้กัปตัน เรือพาเราไปปล่อยลงอีกครั้งชนิดที่ไม่ต้อง
35
• นโปเลียน (Npolean Wrasse)
อี
กไดฟ์นึงที่มีสภาพแบบนี้คือที่หมาย ดำ� Fish Head แต่ในขณะที่เรา ตะเกียกตะกายสู้กระแสอยู่นั้นก็มีปลา นโปเลียน (Napoleon Wrasse) ที่ตัว โตกว่าเราว่ายเข้ามากลางวงพวกเราแล้ว ก็มาจอดนิ่งแบบไม่สะทกสะท้าน แถม มาอ้าปากกว้างโชว์ให้พวกเราได้ถ่ายรูป • ปลาใบไม้ (Leaf Fish) ท่ามกลางกระแสน้ำ�กันเต็มที่ มีคนบอก อีกหนึ่งไฮไลท์ของการด�ำน�้ำที่นี่เห็นจะ ว่าเจ้านโปเลียนตัวนีเ้ ขาอยูป่ ระจำ�ทีน่ จี่ น เป็นการได้เห็นโลมาใต้น�้ำ ปกติเราเคยแต่ คุ้นกับคน เลยมีคนตั้งชื่อเขาว่า “อีริก” เห็นพวกเขาว่ายเล่นอยู่บนผิวน�้ำ แต่หนนี้
บนใบบัว
36
ส�ำหรับคนที่ชอบดูฉลามต้องที่ Maaya Thila ซึ่งเป็นหมายด�ำน�้ำที่เป็นไฮไลท์ของ มัลดีฟส์เพราะฉลามเยอะ มีทั้งฉลามหูขาว (White Tip Shark) และ Nurse Shark ตัวอ้วนๆ มาว่ายโฉบล่าเหยื่อ
ในขณะที่เราพักน�้ำเตรียมขึ้นเรือที่หมายด�ำ Hathi Kolhu เราก็ได้ยนิ เสียงอะไรบางอย่าง สักครู่เดียวเจ้าโลมาแม่ลูกก็ว่ายผ่านหน้าเรา ไปอย่างรวดเร็ว ชนิดทีม่ นุษย์อย่างเราๆ ไม่มี ทางว่ายตามทัน
เพื่อให้การด�ำน�้ำที่มัลดีฟส์ครั้งนี้ครบ รส เราจึงไปปิดท้ายการด�ำน�้ำครั้งนี้กันที่ Lankan ซึ่งเป็นจุดที่ แมนต้าเรย์ (Manta Ray) มาว่ายวนให้พวกปลาเล็กๆ ท�ำความ สะอาด ซึ่งเรียกว่าเป็น cleaning station ที่ นี่เราต้องด�ำลงไปแล้วเกาะหินอยู่ตรงขอบ หน้าผารอจังหวะให้แมนต้าเรย์ว่ายเข้ามา โดยเราต้องพยายามปล่อยฟองอากาศน้อยๆ เพือ่ แมนตาเรย์จะได้ไม่กลัวหนีไปซะก่อน รอ อยู่ร่วม 30 นาทีก็มีแมนต้าเรย์โฉบเข้ามา หนึ่งตัว ยังไงมาตัวเดียวก็ดีกว่าไม่มา หลัง จากได้เห็นทุกสิง่ ทีอ่ ยากเห็นเราก็ไปรวมกลุม่ กันถ่ายภาพหมู่ใต้น�้ำกันอย่างสนุกสนาน เราต้องขึ้นจากเรือในตอนเช้าตรู่ของวัน รุง่ ขึน้ แต่เทีย่ วบินเราเป็นเทีย่ วบินดึก มีเพือ่ น บางคนเสนอให้ไปหารีสอร์ทสวยๆ เพื่อ
• ปลา Dragonet
• ปลาไหลริบบิ้น
บนใบบัว
• ฝูงโลมา
37
• เพื่อนร่วมด�ำน�้ำ
• เรือจม
บนใบบัว
38
• เต่า
• nudibranch แบบต่างๆ
พักผ่อนแบบ day use เป็นการรอเวลา ก่อนเครื่องบินออก สุดท้ายเราตกลงที่ จะไป Soneva Giri รีสอร์ทในเครือ Six Senses ซึง่ เป็นหนึง่ ในรีสอร์ทสุดหรูของมัล ดีฟส์ เพราะเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มสามารถ ติดต่อขอข้อเสนอพิเศษได้ แต่ถงึ กระนัน้ เรา ก็จ่ายไปคนละประมาณหมื่นบาทส�ำหรับ การใช้ห้อง 1 วันและอาหาร 2 มื้อ แลก กับความหรู เก๋ ของที่นี่ บรรยากาศความสวยงามแสนโรแมน ติกของ Soneva Giri ท�ำให้เราคิดว่าน่าจะ
มากันแค่ 2 คนกับคนรักมากกว่า แต่การมา กันเป็นกลุม่ ก้อนแบบนีก้ ส็ นุกไปอีกแบบหนึง่ เราเพลิดเพลินกับการสนอร์กเกิลดูปะการัง และปลาตัวเล็กตัวน้อยหน้าที่พักและเล่นน�้ำ ทะเลกัน จนถึงเวลาเดินทางกลับ ทางรีสอร์ท ก็จัดเรือไปส่งพวกเราที่สนามบิน ตลอดการเดินทางร่วม 10 วันที่ต้องอยู่ ด้วยกันตลอด ได้สร้างความสนิทสนม และ ท�ำให้เรามีเพื่อนใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง กลุ่มซึ่งถือเป็นก�ำไรของการเดินทางในครั้งนี้ บนใบบัว
39
Co.,Ltd
Event , Seminar , Booth,, PR , Media, light & sound ect.. Event , Seminar , Booth , PR , Media light & sound etc...
Event , Seminar , Booth , PR , Media , light & sound etc... บนใบบัว
40
Flow work Co.,Ltd (บริษัท โฟลว์เวิร์ค จำ�กัด) 62/41 หมู่ 8 ถนนรัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000 ติดต่อ จิรกิตติ์ สุวรรณภาพ 086-3123651
คนรักสุขภาพ อย่าพลาด เมนูนี้
ร้านข้าวต้มอนามัย
ชั้น 5 เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
ก๋วยเตี๋ยวโบราณ
FOOD COURT ชั้น G สยามพารากอน
ข้าวหมูกรอบ-หมูแดง ราคา 45–50 บาท
กับข้าววันละ 25 อย่าง
มีทั้งข้าวต้มธัญญพืช ข้าวสวย และกับข้าวสุดอรอ่ย
ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ราคา 45 – 60 บาท
อาหารแนะนำ� ไม่ควรพลาด
ไข่เจียวมะระ ผัดผักบุ้งไฟแดง ผัดยอดฟักแม้ว ไชโป้วผัดไข่ บร้อคเคอรี่ราดน้ำ�มันหอย ผัดหนำ�เลี้ยบหมูสับ ผัดขิงไก่ปลากะพง 3 รส และอื่นๆ มากมาย ราคาไม่แพง
บะหมี่เกี๊ยว ราดซ้อส +หมูแดง+ หมูกรอบ 45 -50 บาท
ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ�ปลา – ทะเล 50 - 60 บาท
ร้านข้าวแกงรสทิพย์ ธงฟ้า
ร้านข้าวมันไก่สาทร ศูนย์ราชการ ถ. แจ้งวัฒนะ FOOD COURT ชั้น 1
ศูนย์ราชการ ถ. แจ้งวัฒนะ FOOD COURT ชั้น 1
บนใบบัว
กับข้าววันละ 18 อย่าง อาหารสุขภาพ อาหารราคาเริ่มต้นเพียง 15 บาท
ข้าวมันไก่ตอนไก่ทอด รสเด็ด
41
Be Health
ข้าว (ใหม่) ห่อใบบัว
Mai’s Kitchen
Text & Photo : KaowMai
“ขนมจีนกระเพราหมู“ เมนูประจำ�บ้าน บนใบบัว
42
ห่างหายกันไปนาน กลับมาอีกครัง้ เมือ่ บอกอของเราเร่งต้นฉบับ พร้อมกับสำ�ทับมาว่า “ฉบับสุดท้ายแล้วนะ” ค่ะ บนใบบัวเดินทาง มาถึงฉบับสุดท้ายแล้ว คิดแล้วก็ใจหาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้แอบอู้หน้าที่ เขียนคอลัมน์อยู่บ่อยๆ
คือทุกอย่างที่เป็นเส้นได้หมดเลย หลักใหญ่ ก็คือก๋วยเตี๋ยวนั่นเอง ช่วงหนึ่งท่านแม่มาอยู่กับพวกเรา ท่าน แม่ผู้พิถีพิถัน และมองว่าการบริโภคเป็นสิ่ง สำ�คัญเหนืออื่นใด ประมาณว่า “กองทัพ เดินด้วยท้อง”...ลักษณะนั้น เมื่อต้องทน เห็นพฤติกรรมการกินของพวกเราเป็นแบบ นี้ หลังจากพยามเอาใจทุกคนจนหมดหนทาง ท่านแม่กค็ ว้าไม้เด็ด สวมรอยเป็นร้านตามสัง่ ทำ�กระเพราราดข้าวให้พวกเรา (ซึง่ ถูกใจพวก เราเป็นอย่างมาก) จากจุดนี้เอง กระเพรา เหลือ บวกกับขนมจีนทีเ่ หลือจากมือ้ ก่อน แม่ เอากระเพราราดบนขนมจีน คนรักกระเพรา กับคนรักเส้นอย่างพวกเราเห็นแล้วจึงเกิด พฤติกรรมเลียนแบบถึงขนาดร้องขอให้เป็น มื้อถัดไป (ที่ไม่ใช่แค่แอบชิมอย่างนี้)
บนใบบัว
ฉบับนีว้ า่ กันด้วยเรือ่ งของกินง่ายๆ หรือ ทีใ่ ครหลายคนชอบพูดเสมอว่า “เมนูสนิ้ คิด” หรือ “ผัดกระเพรา” นั่นเอง แต่ทำ�ไมถึง มี “ขนมจีน” ด้วย เจ้าขนมจีนเกี่ยวข้องกับ กระเพราได้อย่างไร ตามมาเลยค่ะ ข้าวใหม่ จะเล่าให้ฟัง สืบเนือ่ งมาจากบ้านของเราอยูก่ นั 3 คน แต่ละคนนั้นกินง่าย อยู่ง่าย แทบไม่พิถีพิถัน เรื่องกินเลยในวันธรรมดาที่งานรัดตัว ร้าน อาหารตามสัง่ หน้าบ้านจึงเปรียบเสมือนครัว หลักของพวกเรา ซึ่งมีเพียง 3 เมนูเท่านั้น ที่เราสั่งวนไปวนมาในการราดข้าวก็คือ กระเพราหมูสับ กระเพราหมูกรอบ และ กระเพราเยีย่ วมา (ไข่เยีย่ วม้า) นอกจากนี้ เวลาทีเ่ ราเบือ่ อาหารเม็ด เอ๊ย. ข้าวเป็นเม็ดๆ เนี่ย เมนูของพวกเราจะเปลี่ยนเป็นเมนูเส้น
43
และหลังจากนั้น ทุกครั้งที่ท่านแม่ถาม ว่า “ใครอยากกินอะไรบ้าง” พวกเรามักจะ มองหน้ากันแล้วลงความเห็นว่า ขอเป็น “ขนมจีนกระเพรา” ก็แล้วกัน แม้ว่าแม่จะไม่ ชอบผัดกระเพราซักเท่าไหร่ แต่รสผัดกระ เพราน้ำ�มือท่านแม่นั้นเด็ด ถึงขนาดท่านแม่ กลับไปเหล่าจอมยุทธ์อย่างพวกเราก็เลือก เป็นเมนูพิเศษที่หมายถึงการลงความเห็น เป็นเอกฉันท์เลยทีเดียว
บนใบบัว
44
ส่วนประกอบ :
1. ขนมจีน 2. หมูสับ 3. ลูกชิ้นเนื้อ (อาจไม่ใส่ก็ได้ หรือ อาจปรั บ ปรุ ง เป็ น กากหมู แคบหมู หมูยอ ฯลฯ ตามถนัดค่ะ) 4. ใบกระเพรา 5. กระเทียม 6. พริกขี้หนูสด 7. น้ำ�มันพืช 8. น้ำ�ปลา 9. น้ำ�ตาล 10. ซอสปรุงรสฝาเขียว 11. ซีอิ๊วขาว 12. ซีอิ๊วดำ� 13. น้ำ�ตาล 14. น้ำ�มันหอย (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้) 15. แป้งมัน (ถ้าอยากให้น้ำ�ข้น เหมือนราดหน้าก็ละลายแป้งมันใส่นิด หน่อยค่ะ)
วิธีทำ� :
1. ล้างกระเพรา แล้วเด็ดเป็นใบ 2. เตรียมหมูสับ/หมูบด และเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่จะใส่ 3. ตำ�พริกขี้หนู ชอบละเอียดก็ตำ�ละเอียด ชอบไม่ละเอียดก็บุพอแหลก จากนั้น ใส่กระเทียมไปในครกบุกระเทียมพอแหลก อย่าให้ละเอียด 4. เอากระทะตั้งไฟ พอกระทะร้อน ใส่น้ำ�มันประมาณ 3-5 ช้อนโต๊ะ (แล้ว แต่ความรักสุขภาพของแต่ละคนค่ะ) 5. เอาเครื่องพริกลงเจียวพอหอมและฉุน จากนั้นใส่หมูและเนื้อสัตว์อื่นๆ ลงไปผัด 6. ปรุงรสเอาตามชอบ ระวังเรื่องเค็มหน่อยค่ะ เพราะพวกซอส + น้ำ�ปลา หลายขนาน เหยาะไปชิมไปดีกว่า เอาให้เข้มข้นกว่าปกติหน่อย เพราะเราต้อง เติมน้ำ�เพิ่มกินกับขนมจีน 7. ได้รสที่ชอบแล้ว เติมน้ำ�ตามความเหมาะสม ชอบขลุกขลิกก็ไม่ต้องเติม เยอะ ชอบแบบท่วมๆ ก็เติมเยอะหน่อย (ขั้นตอนนี้ลองชิมอีกครั้งก็ได้ค่ะ) 8. จากนั้นหากต้องการความข้น ก็เติมน้ำ�ละลายแป้งมัน หากไม่ต้องการก็ จบเสียแต่ขั้นตอนที่ 7 ค่ะ 9. หยิบขนมจีนสัก 2 จับ ราดผัดกระเพรา แค่นี้อร่อยเหาะแล้วค่า. ;) บนใบบัว
45
Be Health
ต้นไม้ใบหญ้า
Tree of life
Text & Photo : ข้าวใหม่
“ดอกพระจันทร์” บานดึก
บนใบบัว
46
อ่
โอ๊ยย... อยากละลาย อะไรจะแหววปานนั้น ดอกไม้ ความรัก หัวใจ พระจันทร์ เถาวัลย์ พันเกี่ยว... ว่ากันว่าแม่บานดึกดอกขาวเจ้านี้นั้น เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมบานปีละครั้ง บาน เมือ่ ต้องแสงจันทร์ และเหีย่ วในตอนเช้า และ จะเฉาหากโดนแสงแฟลช จนท�ำให้เธอมีฉายา ว่า “ดอกไม้บอบบาง” อีกด้วย ฉะนั้น... ตากล้องทัง้ หลายจงโปรดระวังไว้คะ่ อุปกรณ์ ช่วยถ่ายภาพอาจท�ำแม่บานดึกงอนเฉาเอาได้ นะคะ ถ้ า หากใครอยากท้ า ทายกั บ ความ บอบบางและชื่อเสียงเรียงนามอันโรแมนติก จะลุกขึ้นแวะไปหาซื้อเมล็ดหรือต้นกล้ามา เพาะปลูกดูก็ได้นะคะ โดยเฉพาะคนที่ชอบ พันธุ์ไม้เลื้อยจะเลื้อยเป็นซุ้มสูงเตี้ย หรือ เลื้อยบนดินก็ตามนอกจากจะเป็นไม้ประดับ แล้ว บางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะ
บนใบบัว
านโน่น อ่านนี่ ในอินเทอร์เน็ตอย่าง เพลิ ด เพลิ น จนจำ � ไม่ ไ ด้ ว่ า ไปอ่ า น Moon Flower มาจากหนใด (แต่ ค่อนข้างมั่นใจว่ามาจากโลกไซเบอร์นี่แล...) ทำ�เอาคนที่หลงรักพระจันทร์หลายคนอดจะ หยุดความสนใจไว้กับชื่ออันแสนโรแมนติก นี้ไม่ได้เลยทีเดียวค่ะ ว่าแล้วจึงสืบเสาะผ่านอากู๋ (เกิ้ล) ว่า หน้าตาเจ้าดอก Moon Flower ที่ว่านี่เป็น อย่างไร แล้วจึงพบว่าคล้ายกับดอกผักบุ้ง และคล้ายมากกว่ากับดอกผักบุง้ ทะเล แต่คณ ุ มูนฟลาวเวอร์เนี่ย เธอจะดอกขาวค่ะ และ แอบมีรอยพับรอยบากไว้เป็นสัญลักษณ์สว่ น ตัวเอาไว้ตอนที่คุณเธอหุบกลีบดอกเข้า จาก ดอกที่บานแฉ่งก็จะกลายเป็นดาวดวงน้อย ใหญ่นั่นเอง ยิ่งเสาะหา ยิ่งอ่าน ยิ่งเห็น ก็ยิ่งจะเจอ กับความน่ารักของคุณมูนฟลาวเวอร์ค่ะ คุณมูนฟลาวเวอร์ ในภาคภาษาไทยนั้น เธอมีชื่อเสียงเรียกนามว่า “บานดึก” ค่ะ เข้าพวกกับบานเช้า บานเย็น และคุณนาย ตื่นสายดีทีเดียว (เอ๊ะ..เกี่ยวกันมั้ย) แม่บาน ดึกมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อค่ะ ถ้าหากได้ยิน ว่า ดอกพระจันทร์ แสงนวลจันทร์ หรือ ดอกชมจันทร์ แล้ว ขอให้รู้เลยว่า นี่ล้วน แต่เป็นชือ่ เสียงเรียงนามของแม่บานดึกทัง้ สิน้ นอกจากชือ่ ทีโ่ รแมนติกแล้ว ลองสังเกต ดีๆ ว่าใบของแม่บานดึกนั้นเป็นรูปหัวใจค่ะ
47
ภาคใต้ และภาคอีสาน เริ่มมีการน�ำดอกมา รับประทานเป็นอาหาร โดยน�ำดอกตูมมาผัด กับน�ำ้ มันหอย หรือ น�ำมาลวกเพือ่ จิม้ น�ำ้ พริก รับประทาน อย่างนี้ต้องลองหามาชิมแล้วค่ะ เท่าทีค่ น้ คว้ามายังไม่พบว่าสามารถน�ำมาทอด ได้หรือไม่ อันนี้น่า(ทด)ลองเป็นที่สุด จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ของแม่บานดึกเขาแล้วก็ได้พบว่า เป็นดอกไม้ ทีม่ ไี ขมันต�ำ่ มากและมีสรรพคุณทางยาเป็นยา ระบายอ่อนๆ เหมาะแก่ผทู้ ตี่ อ้ งการคุมน�ำ้ หนัก นอกจากนี้ ยังมีธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส รวมถึง วิตามินต่างๆ ได้แก่ วิตามิน เอ บี เป็นต้น ส�ำหรับแม่บานดึกนัน้ สามารถขึน้ ได้ดใี น ดินเกือบทุกชนิดที่มีความร่วนซุย พื้นที่ปลูก ต้องระบายน�้ำดีเจริญเติบโตได้ดีในสภาพ กลางแจ้ง
บนใบบัว
48
วิธีปลูก ให้ขุดหลุมลึก 20-30 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 200-500 กรัม/ หลุม จากนั้น จึงน�ำต้นกล้าลงปลูก และ ช่วง 1 เดือนแรกหลังปลูกควรให้น�้ำวันละ 2 ครั้งคือ ตอนเช้าและตอนเย็น เมื่อต้น สามารถตั้งตัวได้แล้ว จึงให้น�้ำวันละครั้ง เมื่อต้นเริ่มแตกยอดอ่อนควรท�ำค้าง ให้ต้นเลื้อยขึ้นไปค่ะ แต่ถ้าหากหาพิกัด ดีๆ อาจจะชักจูงยอดอ่อนมาพันกับซุ้มที่ เราวางไว้ก็ได้ แม่บานดึกจะออกดอกมา ให้เชยชมและ “ชิม” ได้หลังปลูกประมาณ 2-3 เดือนเท่านั้นเองค่ะ
ดอกพระจันทร์ (Moonflower) ชื่อวิทยาศาสตร์:
Pisonia grandis R.Br. ชื่อวงศ์: NYCTAGINACEAE ชื่อสามัญ: Lettuce Tree ชื่อท้องถิ่น: บานดึ ก ดอกพระจั น ทร์ แสง นวลจันทร์ ชมจันทร์ ลักษณะทั่วไป: เป็นไม้เลื้อย ลักษณะของใบ: คล้ายใบยาสูบ สีเหลืองอ่อนอม เขียว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ริม Credit ภาพ ขอบใบหยัก 1. http://www.myshutterspace.com/ ph...t%3Duser moonflower_full_bloom. การขยายพันธุ์: การปักชำ�และเพาะเมล็ด
บนใบบัว
Added by randy epperson on November 29, c2.api.ning.com/files/qmsUgHzH5l... loom.jpg 2. http://10000birds.com/the-moonfl... alba.htm 3. http://www-personal.umich. edu/~s...rden.htm 4. http://www.toptropicals.com/cgi-... only%3D1 5. http://science.howstuffworks.com... info.htm (ภาพวาด)
49
Be Health บนใบบัว
50
กิน (ไร) ดี
Goodtaste
Text & Photo : กบบันจี้
ตามเข้า “ครัวสโมสร”
บ
นทางหลวงทีม่ งุ่ หน้าจาก กรุงเทพฯอยุธยา-นครสวรรค์-กำ�แพงเพชรตาก-ลำ�ปาง-ลำ�พูน ปลายทางดอยม่อน จอง อำ�เภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางขาเดี ย วประมาณ 700 กิโลเมตร++ ขับแบบสบายๆ ความเร็ว ตามกฎหมายกำ�หนดจะใช้เวลาประมาณ 7-8 ชัว่ โมง ในช่วงเวลาระหว่างการเดิน ทางนั้น จำ�เป็นอยู่เองที่จะต้องหาที่แวะ เพื่อกินอาหารอย่างน้อย 1 มื้อ
พัดลมหลายขนาดไว้บริการขับไล่ความร้อนและ ความอบอ้าวในตอนกลางวัน ด้านหนึ่งจะเป็นโต๊ะเก้าอี้นั่ง อีกด้านจะเป็นมุมของครัวที่ถูกกั้นด้วยมุม ของฝากสารพัน มีห้องน้ำ�แยกชาย-หญิงไว้บริการ หลายห้องด้านหลัง ส่วนหน้าตาของอาหารฉบับ (สุดท้าย) นี้ คงไม่สามารถยั่วต่อมน้ำ�ลายกันได้สักเท่าไหร่ เรื่อง นี้คงต้องโทษฝีมือคนถ่าย มากกว่าจะคิดประเมิน รสชาติอาหารว่าคงจะแย่หรือไม่อร่อยตาม (ภาพ) ไปด้วย
“ครัวสโมสร” กลายเป็นตัวเลือกประจำ� เมื่อฉันใช้ถนนสายรัก หลังจากได้รับการแนะนำ� และถูกพาไปชิมครั้งแรกโดย i_lllive เมื่อหลายปี มาแล้ว ฉันเคยแวะกินที่ ครัวสโมสร หลายเวลา ต่อมา บางครั้งก็กลางวัน บางทีก็ตอนเย็น หรือ ตอนค่ำ� เคยมาแม้กระทั่งไม่ทันร้านใกล้ปิด แต่ ส่วนใหญ่ที่มา พบว่าจะมีผู้คนสลับสับเปลี่ยน • แกงคั่ว หมุนเวียนกันมากินอาหารที่นี่แม้ไม่มากแต่ก็ไม่ น้อยแน่นอน และเมื่อพิจารณาจากเมนูอาหาร ส่วนหนึง่ น่าจะเป็นคอเหล้าแบบครอบครัวหรือคน ทำ�งาน ลักษณะของ ครัวสโมสร จะเป็นร้านใน บ้าน-บ้านในร้าน ที่ไม่มีห้องปรับอากาศ แต่มี บนใบบัว
• เฉาก๊วย
51
• ห่อหมก
บนใบบัว
52
• แกงส้ม
เมนูง่ายๆ ของคณะจากดอยม่อนจองจำ�นวน 16 คนทีไ่ ม่เน้นสุรา แยกนัง่ กันได้ 2 โต๊ะเท่าทีจ่ ำ�ได้ คือ ปลาทอดราดน้�ำ ปลา, ไข่เจียวหมูสบั , แกงส้ม ชะอมกุ้ง, แกงคั่วหอยขม, ยอดฟักแม้วไฟแดง แถมด้วยห่อหมก (ซึ่งถ้าไปช้า..เป็นหมด และอด กิน) ส่วนทอดมันนั้นมาเป็นจานแรกๆ ลืมหยิบ กล้องมาถ่าย...หมดเสียก่อนจะรู้สึกตัว สุ ด ท้ า ย ล้ า งปากด้ ว ยของหวานเป็ น เฉาก๊วยชากังราว ที่เนื้อเหนียวหนุบหนับ ........... การจะอธิบายทางไปร้าน “ครัวสโมสร” ให้นึกภาพได้ค่อนข้างลำ�บากเล็กน้อย ฉันขอลอก มาจาก FW ร้านอร่อยริมทางสายเหนือทีใ่ ครสักคน แนะนำ�และบอกลายแทงไว้พอเข้าใจได้ดังนี้ “ร้านครัวสโมสร อยูท่ างไปกำ�แพงเพชร ถ้า มาจาก กทม.ถึงสามแยกทีจ่ ะเลีย้ วซ้ายไปลำ�ปาง ให้ เลี้ยวขวามาทางไปกำ�แพงเพชร จะเห็นโรงกลึงทาง ซ้ายให้เลี้ยวเข้าไปนิดหนึ่ง” ครั้งนี้ฉันถือโอกาสขอนามบัตรติดมือกลับ มา ได้ความว่าร้านนี้ตั้งอยู่หลังสวนสินการ์เด้นท์ ตำ�บลน้ำ�รึม อำ�เภอเมืองตาก จังหวัดตาก เพราะ
• ไข่เจียว
• ปลาทอด ไม่ได้ตั้งอยู่ริมถนนให้สังเกตกันได้ง่ายๆ จาก ทางหลวงสายเอเชียจึงต้องคอยมองหาป้ายชื่อ ร้านแล้วเลี้ยวเข้าซอย จากนั้นขับตามทางและ ตามป้ายไปเป็นระยะๆ ถ้าจะให้ดีโทรศัพท์ไปสอบถาม สั่ง อาหารและสำ�รองที่นั่งได้ที่ 055-540230
YOU ARE WHAT YOU EAT ชะอม : ชะอม (มีชื่อเรียกแตกต่าง กันไปแต่ละภาค) เป็นพืชยืนต้น ลำ�ต้นมี หนาม โดยมากนิยมปลูกตามรัว้ บ้าน ใบมี ขนาดเล็กและมีกลิน่ ฉุน ใบอ่อนหรือส่วน ยอดสามารถนำ�มาเป็นอาหารได้ เป็นผัก สมุนไพรที่กินได้ตลอดทั้งปี
E-mail : watercress_namm@hotmail.com
ฟักแม้ว : ฟักแม้ว, มะระแม้ว,
มะระหวาน, มะเขือเครือ หรือ ชาโย เต้ (อังกฤษ: Chayote; ชื่อวิทยาศาสตร์ Sechium edule) เป็นไม้เถาวงศ์แตง (Cucurbitaceae)ใช้ ผล ใบ และราก ประกอบอาหาร แต่ก็สามารถรับประทาน ลำ�ต้นและเมล็ดได้
บนใบบัว
ทีม่ าข้อมูล : http://th.wikipedia.org/wiki/%E 0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B 8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B 1%E0%B8%81
พ บ กั น เร็วๆ นี้ กับ ตลาดนัด บนใบบัว
53
Be Heart
(โปส)การ์ดเขียนคำ�
Post & Pic
Text : ม.จิตฏาร์ Photo : lek@TREKASEEN
โ ป ส ก า ร์ ด จ า ก ภู เ ข า โดยใครบางคนซึง่ ก็คอื หนึง่ ใน “เรา” ทีร่ ว่ มทาง ไปด้วยกันแอบวางไว้ให้บนโต๊ะในตอนเช้า
บนดอยม่อนจองไม่มีตู้ ไปรษณีย์.. แล้วโปสการ์ดใบนี้เดินทางมาจาก ที่ ไหน ?
บนใบบัว
54
….. โปสการ์ ด ใบนี้ เ ป็ น ของขวั ญ จากมิตรภาพ จากคนแปลกหน้าที่ “เรา” พบเจอด้วยกันบนดอยม่อนจอง จ.เชียงใหม่ จำ�ได้วา่ นอกจากเรือ่ งราวเล็กๆ น้อยๆ และรอยยิ้ม ที่ “เรา” ได้เล่าสู่ กันฟังกับเธอคนนั้นแล้ว “เรา” ก็ได้ โปสการ์ดใบนี้กลับมา และฉันได้รับโปสการ์ดใบนี้อีก ครั้งเมื่อกลับมาจากดอยม่อนจองแล้ว
นานมาแล้วฉันเคยรู้สึกว่าเสน่ห์อย่างหนึ่ง ของโปสการ์ด อยู่ที่ตราประทับที่ประทับลงไปบน แสตมป์ ที่เปรียบดั่งคำ�มั่นสัญญาอันแน่นหนัก (อันนี้แล้วแต่น้ำ�หนักมือที่ประทับจากพนักงาน ไปรษณีย์) ว่าโปสการ์ดใบนั้นๆ ได้มาจากสถานที่ ที่ว่านั้นจริงๆ แต่ในยามที่ได้รับโปสการ์ดกล้วยไม้ป่าจาก ดอยม่อนจอง และเมือ่ ได้อา่ นข้อความด้านหลัง ฉัน รู้สึกได้ทันทีว่าเสน่ห์ของโปสการ์ด ไม่ได้มีอยู่แค่สิ่ง เหล่านั้น แต่อาจอยู่ที่แสตมป์ทำ�มือ ที่เป็นรูปช่อง สี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ตรงมุมขวาของโปสการ์ด ที่ผู้ ส่งตัง้ ใจวาดเป็นรูปภูเขาหลายๆ ลูกซ้อนกันดูคล้าย ที่ที่เราได้ไปด้วยกันมา และข้อความเจ็ดบรรทัดจากลายมือคุ้นตา นั่นก็ทำ�ให้ผู้รับอย่างฉันหลงรักโปสการ์ดใบนี้อย่าง จับใจ “สัญญาว่าจะพยายามดูแลตัวเองและหมั่น ออกกำ�ลังกาย...” หนึ่งในเจ็ดบรรทัดนั้นผู้ส่งเขียน ไว้แบบนี้ และผู้รับอย่างฉันก็อดไม่ได้ที่จะวงกลม ประโยคนี้ไว้ด้วยปากกาสีฟ้า พร้อมทั้งเขียนกำ�กับ ด้วยตัวเล็กๆ ไว้ข้างๆ ว่า “อย่าลืมสัญญานะ”
Be Heart
ภาพ(ถ่าย)เล่าเรื่อง
Pic & Post
Text & Photo : ม.จิตฏาร์
เ รื่ อ ง เ ล่ า จ า ก ร อ ย ยิ้ ม
ใ
หากเธอเดิน นชีวิตเราอาจมีรอยยิ้ม มากมาย ที่เราได้รับ ทั้ง ต่อ - - ฉันก็จะ ยิ้มเพียงริมฝีปาก ยิ้มจาก เดินด้วย เพราะเราเดินไปด้วยกัน ดวงตา กระทั่งจากดวงใจ
จ
........
า ก วั น แ ล ะ คื น ที่ รอนแรมอยู่ บ นดอย วิตเราอาจได้พบเจอ กับการต่อสู้หลายสิ่งหลาย รอยยิในชี ้มมากมาย ที่เราได้รับ อย่าง ทั้งยิ้มเพียงริมฝีปาก ยิ้มจาก ทั้ ง ระยะทางและความ รู้สึกในใจที่มีต่อร่างกาย ที่บาง ครั้งเราก็ไม่สามารถบังคับให้ เป็นไปตามหัวใจได้ จวบจนตอนที่ เ รากำ� ลั ง เดินลงและใกล้ถงึ ตีนดอยเต็มที แล้ว... ตอนนั้ น เธอเดิ น อยู่ ข้ า ง หน้าฉันไม่กี่ก้าว ฉันมองเธอกลับมามีพลัง และรีบรุดไปข้างหน้าอย่างน่า เอ็นดูนัก เมื่อเห็นว่าการเดิน ทางอันอ่อนล้าใกล้สิ้นสุดลง แล้ว
ดวงตา กระทั่งจากดวงใจ.. แต่อาจมีเพียงไม่กี่รอย ยิ้มที่ทุกครั้งที่นึกถึง.. กระจ่าง ชั ด เหมื อ นเพิ่ ง เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ วานนี้ และทุกครัง้ ทีม่ องรอยยิม้ นัน้ ไม่วา่ จะมีความขุน่ มัวใดใน หัวใจ รู้ไหม.. มันสามารถหาย ไปได้เพียงรอยยิ้มเธอ
บนใบบัว
แต่อาจมีเพียงไม่กี่รอยยิ้ม ที่ทุกครั้งที่นึกถึง.. กระจ่างชัด เสมอในความทรงจำ�.. ฉันถ่ายภาพนี้เมื่อตอนที่ ไปดอยม่อนจอง.. กับการเดินทางที่เพื่อเดิน ทางจริงๆ ไม่ใช่เพื่อจุดหมาย ด้วยระยะทางที่ยาวไกล และ ไม่ได้ราบเรียบไปเสียทีเดียวนัก ฉั น มองหน้ า คนในภาพ หลายต่อหลายครั้ง ในดวงตา คู่นั้นบ่งบอกว่าเหนื่อยล้าเหลือ เกินแล้ว แต่ฉันรู้..ว่าเธอเดินทาง ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง ฉันเองทำ�อะไรไม่ได้มาก ไปกว่าเดินอยู่ข้างๆ ให้เธอได้รวู้ า่ หากเธอหยุด - - ฉันหยุด
และฉันก็อดดีใจไปกับ เธอด้วยไม่ได้ จึงเรียกให้เธอ หันมา...
55
Be Heart
หยดน้ำ�บนใบบัว
Good Think
ด้
์ ร อ ก เ ิ๊ ก
สต
วยว่าซอยที่ฉันทำ�งานอยู่ลึกเข้าไป ประมาณ 700 เมตร ดังนั้นหน้า ปากซอยจึ ง มี ร ถสองแถวไว้ บ ริ ก าร คนในซอยโดยคิดราคากันเอง มี ทั้งหมดด้วยกัน 3 คัน
บนใบบัว
56
Text : อนัตตา Photo : ม.จิตฏาร์
.....และ “ลุง” เป็นหนึ่งในโชเฟอร์รถ สองแถวของซอยนี้ และเป็นที่รู้กันว่าถ้าหากจะพูดกันถึง เรื่องของ “การเมือง” แล้ว ลุงค่อนข้างจะ ชัดเจนในเรื่องของ “สี”
หลายต่อหลายครั้งนักในชีวิตที่เรามักติด สติ๊กเกอร์ให้กับคนที่เรารู้จักเพียงผิวเผิน แค่ สัมผัสเพียงเปลือกนอกเราก็ติดสติ๊กเกอร์ตัดสิน ไปแล้วว่าเขาเป็นอย่างไร หรือแม้เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เป็นความรู้สึก นึกคิด - - ก็เพียงบางด้านเท่านั้น ใช่ทุกด้านไป และใช่หรือไม่ที่สิ่งที่เขาเลือกที่จะคิด ที่จะ เป็นนั้น แม้ไม่ใช่ทิศทางเดียวกันกับเราก็ไม่ได้ หมายความว่า เขาผิด - - เราถูก เสมอไป
เช่นเดียวกับที่ฉันและลุง แม้อาจไม่ได้มี มุมมองไปในทิศทางเดียวกันในเรือ่ งการเมือง เพราะนั่นอาจเป็นอีกบทบาทหนึ่งของชีวิตที่ ต่างเลือกที่จะเดิน หากสำ � หรั บ เรื่ อ งภายในซอยแล้ ว บทบาทที่ลุงเป็นในมุมมองของฉัน คือ ลุง เป็นโชเฟอร์ใจดีที่ละเอียดอ่อนเอาการ เช่น ในตอนเย็นของบางวันระหว่างทีร่ อ – - แล้วรถยังไม่มา ฉันก็เดินเล่นไปเรื่อยๆ จนลุงออกมาจากในซอยและแวะจอดรับ เมื่อถึงหน้าปากซอย ฉันจึงควักเงินเพื่อ จ่ายเป็นค่าโดยสาร ปรากฏว่าลุงไม่รบั พร้อม ยิ้มอย่างใจดีบอก “ไม่เป็นไรช่วยเหลือกัน”
อยู่มาวันหนึ่งเมื่อถึงออฟฟิศนั้นและจุด ที่จอดเป็นประจำ�ลุงก็ขับเลยมาเล็กน้อย จน โดนพนักงานของออฟฟิศนั้นเย้าแหย่ว่าลุง คงลืมไปแล้ว ลุงยิ้มใจดีอย่างเคยมองมาทางฉันแล้ว บอกว่า “จะได้คนละครึ่งทางไง” ฉั น ไม่ ไ ด้ พู ด อะไรมากไปกว่ า “คำ � ขอบคุณ”
ไม่ใช่ขอบคุณที่ลุงขับเลยมาให้เพื่อย่น ระยะทางในการเดิน.. ไม่ใช่ขอบคุณที่ลุงไม่ เอาค่าโดยสารในบางครั้ง แต่ขอบคุณที่ลุงมาย้ำ�เตือนในทุกๆ วัน ว่าให้มองอะไรในทุกๆ ด้าน และที่สำ�คัญ ละในตอนเช้าอีกเล่าที่ตามปกติรถ อย่าด่วนตัดสินโดยเอาตัวเองเป็นมาตรฐาน สองแถวจะจอดเมือ่ เรากดออด และ เสมอไป. ด้วยความที่ฉันอยู่ไม่ไกลกันเท่าไหร่นัก เพราะสติ๊กเกอร์บางชนิด โดยเฉพาะ กับอีกออฟฟิศหนึ่ง สติ๊กเกอร์ที่มีสี เมื่อติดไปแล้วอาจทำ�ให้เรา ดังนัน้ ทุกครัง้ ทีพ่ นักงานของออฟฟิศนัน้ ไม่สามารถมองเห็นความเป็นจริงของหัวจิต ลงจากรถ ฉันก็เลยลงด้วยและเดินต่อไปอีก หัวใจใครคนนั้นได้อีก นิดหน่อย เพราะคิดว่าคงจะดีกว่าการทีจ่ ะให้ เพราะทุกครั้งที่มอง เราก็จะมองเห็น ลุงขับต่อไปอีกนิดแล้วต้องหยุด เพียงสติกเกอร์ที่ติดไว้เท่านั้น หลายๆ ครัง้ เข้า แม้ไม่เคยบอกกล่าว แต่ ดูเหมือนลุงจะรับรู้ในพฤติกรรมนั้นของฉัน
แ
บนใบบัว
57
Be Heart
เรื่องเล่าและบันทึก
Notebooks
Text & Photo : รติ จุลกะเศียน
“ณิชา” ฮา (เฮ) ไม่มี (วัน) หยุด แม่ปลา :
บนใบบัว
เรื่องของเรื่องน่าจะเริ่ม มาจากตอนที่ลูกๆ เลือกรูป เพื่อจะทำ�หนังสือ “เล่าเรื่อง พ่อ” กัน เลือกไปเลือกมา ดู ไปดูมา ในอัลบั้มเก่าของพ่อ และแม่ แล้วคุยกันว่า พ่อ ชอบถ่ายรูปลูกๆ ทุกคนตัง้ แต่ ยังแบเบาะจนโตเก็บไว้ แถม อัดและแยกเป็นอัลบั้มตอน เด็กๆ แจกให้ลูกๆ ไว้อย่าง น้อยคนละเล่มด้วย สิ่ ง นั้ น สร้ า งนิ สั ย รั ก การถ่ า ยภาพ และความ เป็นระเบียบเรียบร้อยให้ลูก กบพอสมควร แถมเป็นตัว จุ ด ประกายให้ อั ด และเก็ บ รูปภาพไว้มากมายตามไป ด้วย จนเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น 58 สามารถถ่ายและดูภาพได้
จากจอคอมพิวเตอร์ เก็บภาพ และความทรงจำ�ไว้ในแผ่นซีดี ได้ ไม่ต้องอัดออกมาให้เปลือง สตางค์ (ที่ไม่ค่อยจะมี) แล้ว “รู้แล้วว่า ณิชาตอนเด็กๆ หน้าเหมือนใคร” ป้ากบเปรยขึน้ ป้ า ปลาแหง่ ะ หน้ า จาก อัลบั้มรูปของพ่อแล้วถาม “เหมือนใคร ก็เหมือนพ่อ จ๋าแม่จ๋าสิ” “เหมือนเจ๊นี่เอง” ป้ากบว่า “หมวยตั้งแต่เด็กๆ อย่าง นี้ โตขึน้ ต้องสวยเหมือนป้าปลา แน่ๆ” ป้าปลาหัวเราะคิกคักแล้ว เก็บเป็นมุกไว้อำ�หลานสาวคน เล็ก “ณิชา หนูรู้ไหมว่า จริงๆ แล้วณิชาเป็นลูกป้าปลานะ”
ณิชาทำ�หน้างงอย่างแรง ป้าๆ พวกนี้จะมาไหมไหนอีก “ป้าฝากพ่อจ๋าแม่จา๋ เลีย้ ง ณิชาไว้” ป้าปลาขู่ต่อ “ถ้าณิ ชาไม่ขยันทำ�การบ้าน ระวัง พ่อจ๋าแม่จ๋าเขาจะเอามาคืน ป้านะ” ....... ถั ด จากวั น นั้ น มาได้ หลายวัน จนป้าๆ แทบจะ ลืมเรือ่ งทีอ่ �ำ หลานสาวคนเล็ก กันไปแล้ว บังเอิญได้เจอพ่อ จ๋า เลยได้เล่าสู่กันขำ�ๆ “มินา่ ..วันนัน้ กลับมาบ้าน ถามแม่จา๋ ว่า หนูเป็นลูกจริงๆ คุณแม่ใช่ไหมคะ” พ่อจ๋าเล่า โถ.....หลานป้า ฮาาา
“เจ๊ ไหน” : ต้นปีทกี่ ระแสห้างดังย่านลาดพร้าวดีเดย์ ประกาศจะปิด (จริงๆ) แม่จ๋าของ ด.ญ.ณิ ชา อยากจะไปเดินดูสินค้าที่ว่าลดราคากัน นักหนา แต่อยากหาเพื่อนไปเดินด้วย “ชวนเจ๊สิ” พ่อจ๋าว่า “ป่านนี้เจ๊ไปเดินแล้วมั้ง” แม่จ๋าว่า “ไม่แน่นะ ลองโทร.ไปชวนเจ๊ดูก่อน” อา กวางว่า “เจ๊ไหนอ่ะ” ด.ญ.ณิชานั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ โพล่งขึ้นมา “เจ๊ไหน..ก็แม่หนูไง แม่ปลาอ่ะ” พ่อจ๋า ตอบแบบยิ้มๆ ตอกย้ำ�มุกวันก่อนที่เคยอำ� กันไว้ ด.ญ.ณิชาไม่รับมุกด้วย ตอบกลับมา หน้าตาเฉย “อ๋อ ป้าปลา..นึกว่าเจ๊ป๊อก”
ป้ากบล่ะ??? : “วันก่อนพี่แกะแวะมาที่บ้าน” อา กวางเล่า “ณิชาวิ่งดุ๊กๆ มาหลังบ้าน หันซ้าย หันขวา แล้วก็ถามว่า ป้ากบล่ะ” ป้ากบพยักหน้าหงึกหงัก นึกภาพ หลานรักตามไปด้วย “พอบอกว่าป้ากบไม่อยู่ ณิชาวิ่งจู๊ด กลับออกไปเลย ไม่สนใจกวางเลยอ่ะ” โถๆๆๆ....น้องชาย
บนใบบัว
59
Be Heart
บี คาเฟ่
B Cafe’
Text & Photo : Caff n’ Travel
ตามรอย “ติช นัท ฮันห์”
อันทีจ่ ริงแล้ว ตัง้ ใจจะเขียนถึง “เพชรพระอุมา” เพือ่ ให้เข้ากับตีมโดยรวมของฉบับที่ 24 นีแ้ ต่โดยภาพพจน์ของหนังสือบนใบบัว ทีบ่ อกอย�้ำเตือนว่า นอกจากนโยบายไม่รบั จ้างเขียน แล้ว สิ่งที่จะเขียนควรเป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้สัมผัสและ (นิยมชม) ชอบจริงๆ บังเอิญเหลือเกิน 2 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงจังหวะของ “จิต” ที่ตกไปอยู่ที่ไหนสักแห่ง กับการเดินหาหนังสือจากหมวดท่องเที่ยวสักเล่ม สายตาก็เหลือบไปพบ 21 คืนที่ฉันหายใจ ในหมู่บ้านพลัม เขียนโดย สหรัฐ เจตมโนรมย์
บนใบบัว
60
เ
พราะสะดุดใจกับคำ�ว่า หมู่บ้านพลัม พร้อมๆ กับภาพและคำ�ว่า ติช นัท ฮันห์ ก็ผุดขึ้นมาให้ระลึกได้ว่าเคยหยิบ หนังสือของภิกษุรูปนี้ขึ้นมาพลิกดู เมื่อ มีโอกาสได้ไปเยือนสวนโมกข์ กรุงเทพฯ หลายครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา
บนใบบัว
คนที่ไม่ชอบ (อ่าน) หนังสือธรรมะ จึงซื้อ 21 คืนที่ฉันหายใจในหมู่บ้านพลัม กลับมาเพราะความทีค่ ดิ ว่าเป็นสารคดีทอ่ ง เที่ยวมากกว่า แต่หนังสือเล่มนี้กลับ “ให้” อะไร (มาก) เกินกว่าจะเรียกว่า “คาดคิด” เสียด้วยซ�้ำ หนึ่ง คือ การได้รู้จักและสัมผัส บางมุมของ ติช นัท ฮันห์ ภิกษุ (ชื่อดัง) ชาวเวียดนาม หนึง่ คือ การได้รจู้ กั หมูบ่ า้ นพลัม ในประเทศฝรั่งเศส..แม้จะไม่ลึกเท่าไหร่ หนึ่ง คือ การได้หยุดไปกับเสียง ระฆัง แม้จะเป็นเพียงจากตัวหนังสือ!! สิ่ ง ที่ ต ามมาหลั ง จากอ่ า นหนั ง สื อ เล่มนี้จบลง คือการเปิดสายตาให้หนังสือ ธรรมะที่ไม่หนัก และเต็มไปด้วยค�ำบาลี ไปโดยไม่รู้ตัว พร้อมๆ กับการเปิดหัวใจ รับแนวทางปฏิบตั แิ ละค�ำสอนของ หลวงปู่ นัท ฮันห์ อย่างไม่ได้ตั้งใจ ..........
หลังจากจบ 21 คืนที่ฉันหายใจใน หมู่บ้านพลัม กับการตั้งตารอที่จะไปหา ซื้อหนังสือที่เกี่ยวกับหลวงปู่ที่สวนโมกข์ กรุงเทพฯ และก็ไม่ผิดหวังเมื่อเลือกซื้อ หนั ง สื อ กลั บ มาได้ อี ก 3 เล่ ม ในคราว เดียวกัน คือ ห้าวันที่ฉันตื่น กับติช นัท ฮันห์ โดย สหรัฐ เจตมโนรมย์, แผ่นดิน หอม Fragrant Palm Leaves บันทึก ส่วนตัวของ ติช นัท ฮันห์ แปลและเรียบ เรียงโดย นุชจรีย์ ชลคุป, เรียกฉันด้วยนาม อันแท้จริง Call Me by My True Names รวมบทกวี ของ ติช นัท ฮันห์ ร.จันเสน แปล กับการอ่าน แผ่นดินหอม ซึ่งเป็น บันทึกส่วนตัวระหว่างปี ค.ศ.1962-1966 ของหลวงปู่ ต่อด้วย ห้าวันที่ฉันตื่นฯ ขณะ การเดินทางไปเชียงใหม่อีกครั้ง (ซึ่งเนื้อหา ในเล่มหลังนีเ้ ป็นตอนทีเ่ กีย่ วกับงานภาวนา ตามแนวทางของหมู่บ้านพลัมที่จังหวัด เชียงใหม่พอดี) ได้พบความคล้ายคลึงกัน ของเรื่องราว แนวทางการปฏิบัติและค�ำ สอนของหลวงปู่ที่แม้จะดูเหมือนเป็นการ ย�้ำและซ�้ำ แต่ก็ไม่ท�ำให้คนที่ไม่คุ้นชินกับ การอ่านหนังสือธรรมะเบือ่ เลย กลับรูส้ กึ ว่า เป็นการดีที่เราได้อ่านหนังสือหลายๆ เล่ม มากกว่าการอ่านซ�้ำไปซ�้ำมาอยู่เล่มเดียว
61
ท่าน ติช นัท ฮันห์
บนใบบัว
62
และจากการไปเยือน ร้านเล่า ได้พบ กับมุมหนังสือผลงานที่เกี่ยวกับ ติช นัท ฮันห์ อีกหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นภาษา อังกฤษหรือการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว นอกจากนั้นยังมีบทบรรยายธรรม ท�ำให้ ต้องตั้งหลักกับตัวเองว่า การจะตามรอย ติช นัท ฮันห์ เพื่อไม่ให้เกิดความรู้สึกซ�้ำ ซ้อน (เกินไป) ควรเริ่มจากผลงานแปลที่มา จากการเขียนของหลวงปู่โดยตรงก่อน แม้หนังสือเล่มที่ตั้งใจหา ปาฏิหาริย์ แห่งการตื่นอยู่เสมอ The Miracle of Being Awake จะไม่มจี �ำหน่ายทีน่ ี่ แต่กไ็ ด้ ผลงานเขียนโดยหลวงปู่ ปัจจุบันเป็นเวลา ประเสริฐสุด Present Moment Wonderful Moment แปลโดย ส.ศิวรักษ์, สันติภาพ ทุกก้าวย่าง Peace is every step แปล โดย ประชา หุตานุวัตร และ สุภาพร พงศ์ พฤกษ์, ดวงตะวันดวงใจฉัน The Sun My Heart แปลโดย วิศิษฐ์ วังวิญญู กลับมา อ่านอีก 3 เล่ม ถึงตอนนี้คุณได้ยินเสียงอะไรไหม?? เสียงระฆังดังครึ่งเสียงอย่างแผ่วเบา เพื่อเตือนก่อน และชั่วอึดใจถัดมาเสียง ระฆังเต็มเสียงก็ดังขึ้น เพื่อให้เราได้หยุด และกลับมาตามลมหายใจเข้าและออกกัน ...ในปัจจุบันขณะ
ShabhaShine
บนใบบัว
ShabhaShine.com
63
วาดกลอนเล่นบนใบบัว
Poety
Text : อโนชา ปัทมดิลก Photo : KaowMai
“ขนมชั น ้ ” ขนมของฉัน ขนมของเธอ
เด็กหญิง ได้รับขนมยามบ่าย พร้อมน้องสาว และน้องชาย ขนมชั้น ค่ะ นี่ขนมฉัน นั่นขนมเธอ ไม่อยากนั่งทาน ไม่สนุก น้องก็คงไม่สนุก มานี่เถอะเรา มายืนใกล้ๆ พี่ มาเล่นด้วยกัน รักน้อง รักน้องจริงๆ นะ เอาขนมของเธอมา ขนมชั้น ลอกออกทีละชัน้ สีแดง สีขาว สีชมพู นุ่มนิ่ม หยุ่นมือ มานะ มา พี่จะท�ำให้ดู บนใบบัว
64
กระจกหน้าต่าง ตรงหน้า เห็นไหมคนดี
ขนมชั้น ของพวกเรา จับให้พอดี แล้วปา ปา ไปที่กระจก ใครท�ำตก แพ้
เสียงแปะ เสียงปุ ดังสลับกัน เสียงหัวเราะก็ลั่น สามคนแยกเขี้ยวยิงฟัน สนุก สนาน ส�ำเริง ส�ำราญ กระจก ประดับด้วยขนมชั้น ขนมของฉัน ขนมของเธอ แสนงาม เด็กหญิงยิ้ม ด้วยสุขส�ำเริง น้องสาวน้องชาย เริ่มเสียดายขนม ขนมชั้น นุ่มหยุ่น อุ่นอร่อย เธอเขา เริ่มร้องไห้ เสียดายขนม เด็กหญิงยังยิ้ม บอกน้องว่า เดี๋ยวขนมตกลงมาจากหน้าต่าง
เสียแปะ ดังขึ้นอีกสอง สาม ครั้ง น่องอ่อน เนื้อนวล เป็นรอยนิ้วมือแม่ เสียงแปะ เสียงปุ ที่ดังสลับกันเมื่อครู่ ยังก้องอยู่ในหู น้องยังร้องไห้ เด็กหญิงยิ้มทั้งน�้ำตา กระจก ประดับด้วยขนมชั้น ของของฉัน ขนมของเธอ แสนงาม
น้องยังร้องโยเย แม่มองผ่านหน้าต่าง หน้าต่างสีแดง ขาว ชมพู บนใบบัว
65
Be Heart
ซ่อนไว้บนใบบัว
Some Diary
Text & Photo : วาดวลี
ความงามในความฝัน
บนใบบัว
66
ฉั แดด
นยังจำ�ได้ว่าวันนั้นเป็นฤดูร้อน ใบไม้ ครั้งแรกในฤดูร้อนวันนั้น เมื่อฉันได้ ในสวนพลัดร่วงลงพื้น จมอยู่ในเปลว ซึมซับรับฟังถึง “ความฝัน” ของนัก(อยาก)
ดอกหญ้ากระจิดริดเศร้าหมองเหมือน ร้องเรียกหาน้ำ�ฝน เจ้าแมวน้อย นอนแผ่ใต้ต้นไม้ เหมือน นอนตาย หรือไม่...มันอาจกำ�ลังครุ่นคิดว่า เมื่อ ไหร่ฤดูร้อนจะผ่อนผันลงไปบ้าง ทุกอย่างจะได้สดชื่นกว่านี้ โลกที่เร่าร้อน จะได้ชุ่มเย็นกว่านี้ เปล่าหรอก...ฉันพูดกับแมวไม่ได้ เช่นเดียวกับทีพ่ ดู กับต้นไม้ใบหญ้าไม่ได้ แม้จะพูดได้ ก็เป็นการพูดอยู่ฝ่ายเดียว สิ่งที่บันทึกลงไปในบางวัน ก็คลับคล้ายสิ่งที่ คิดเอาเอง ทึกทักเอาเอง และสรุปโดยจินตนาการ ของตัวตนแห่งเรา
จำ�ได้ว่าแรกเริ่ม เขาฝันเอาไว้เท่านั้น จริงๆ เขาบอกเล่าอย่างถ่อมตัวอยู่เสมอ ว่า เขาไม่ใช่นักเขียน ทั้งที่จริงๆ เกือบ 10 ปีที่เรา รู้จักกันมา เขาเขียนบันทึกทุกวัน ทั้งโดยวัยซึ่งเป็น รุ่นพี่ ฉันเชื่อว่าเขาเขียนหนังสือมามากกว่าที่ ฉันเขียน อีกทั้งยังเคยทำ�งานอยู่ในเครือสำ�นัก พิมพ์ในฐานะบรรณาธิกรมาก่อน เขามักซ่อนความประหม่าไว้ในดวงตา และออกตัวเสมอว่าโลกของเขาใบเล็กเท่า กะลา
บนใบบัว
การทำ�งาน “ร่วมกับความฝัน” บางครั้งก็เป็นเช่นนั้น ความฝันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ยาก มัน อาศัยอยู่ในหัวใจของเรา ความคิดของเรา การเดินทาง อุดมคติ และเติบโตในหัวใจของใครของมัน
เขียนคนหนึ่ง ...ซึ่งในวันนี้เขาคือ บก.ของ หนังสือเล่มนี้ เขาบอกฉั นว่ า อยากมี พื้ น ที่ เ ล็ ก ๆ สำ�หรับการถ่ายทอดสิ่งที่เขียน เขาอยากมี สื่อในมือเล็กๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางให้เพื่อนๆ ได้ ม าพบกั น ทางตั ว หนั ง สื อ ...เขาอยากมี กลุ่มคนเล็กๆ ไว้ร่วมพูดคุยถึงการเดินทาง หนังสือ โปสการ์ด อาหารการกิน แลกเปลี่ยน ประสบการณ์
67
บนใบบัว
68
ทั้ ง ที่ เ ขาเอง เป็ น คนที่ เ ดิ น ทางอยู่ เสมอ จากเหนือจรดใต้ เบือ่ เมืองไทยก็ไปต่าง ประเทศ จากคนที่ออกตัวว่ากลัวภาษาอังกฤษ แต่เขาอยู่ประเทศอังกฤษได้นานนับเดือน เขาเคยออกตัวเป็นคนง่ายๆ และนิยาม ตัวเองว่า “ไร้สาระ” ทั้งที่จริง เขามีเวลาว่าง สำ�หรับการปลูกพืชน้�ำ ปลอดสารพิษ สนใจ อาหารชีวจิต สนใจธรรมะ และศึกษาแนวคิด ของธรรมะกับการรักษาสังคม ตามแนวของ ท่านติช นัท ฮันท์ เขามีอะไรอีกมาก ที่เขาเองก็ไม่รู้ โดยเฉพาะพลังในความฝัน ยามเขาฝัน ดวงตาเขาจะเป็นประกาย ฉันชอบเวลานั้นที่สุด เวลาที่ได้แลกเปลี่ยน ความฝันกับเพื่อน บางอย่างเราทำ�ได้ บางอย่างเราก็ทำ� ไม่ได้ ฉันบอกเขาเสมอว่า ฉันเองก็มคี วามฝัน ท่วมตัว และออกจะละอายหน่อยๆ เวลาทีท่ �ำ ไม่สำ�เร็จ หรือไม่ได้ลงมือทำ�เสียด้วยซ้ำ� แต่
ความฝันเหล่านีน้ แี่ หละ หล่อเลีย้ งจิตวิญญาณ ของเรา เราไม่ได้ทำ�ความฝันหล่นหาย แต่ บางครั้งเราเก็บไว้ที่ในส่วนตัว และพอใจที่จะ ปล่อยเอาไว้อย่างนัน้ เพราะประสบการณ์ชวี ติ จะสอนเราเองในเรื่องของการตัดสินใจ “บนใบบัว” ทำ�ขึน้ มาจากความฝันของ เขาเป็นส่วนใหญ่ เขาดูงานทุกชิ้นอย่างตั้งใจ อ่านคำ�ผิดซ้�ำ ไปมา เลือกภาพประกอบ และ จำ�รายละเอียดของทุกเรื่องได้เกือบหมด ในขณะเดียวกัน เขาก็ให้ส่วนร่วมกับ ทุกๆ คนที่มาร่วมทำ�อะไรด้วยกันสนุกๆ เขาจุดประกายคนอยากเขียนให้มา รวมกัน เขาผลักดันให้คนเป็นแม่เขียนถึงลูก ลูกเขียนถึงพ่อ นักออกแบบเขียนถึงต้นไม้ นักการตลาดและไอที และคนทำ�งานด้าน การทูต และวิศวกร เขียนถึงอาหารและการ เดินทาง ทั้งหมดนี้ไม่ได้อาจอยู่ในความตั้งใจ ของเขา แต่แน่นอน...มันเกิดขึ้นไปแล้ว
ถึงตอนนี้ ผ่านฤดูร้อนไป 3 ครั้ง แล้ว ก่อนที่เขาจะเดินทางมาเจอฉันอย่าง เงียบๆ เพือ่ บอกถึงการตัดสินใจว่า “นิตยสาร บนใบบัว” เดินทางมาถึงฉบับสุดท้ายแล้ว
บนใบบัว
“ไม่เป็นไร” ฉันบอกเขา และบอกตัวเอง ทุกอย่างในโลกเป็นแบบนี้ ไม่มอี ะไรจะ คงอยูไ่ ด้เหมือนเดิม บางทีการหยุดครัง้ นี้ อาจ จะหมายถึงการเริ่มทำ�อะไรในแบบใหม่ และ ฉันนั่งนิ่ง ก่อนจะชวนเขาคุยเรื่องนั้น แน่นอน ไม่มีใครคาดเดากันและกันได้ เรื่องนี้ ขอสารภาพว่าในใจของฉันมีคำ�ถาม มากมาย เกี่ยวกับความฝันของเขา สิ่งที่ฉันหวัง...ก็ไม่ใช่การที่พวกเราจะ ความกระวนกระวายใจของฉันทำ�ให้ กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง ตระหนักได้ว่า เราได้แชร์ความฝันกันไว้แล้ว แต่ฉันหวังว่าผู้อ่านจะมองเห็น หลาย โดยสมบูรณ์แบบ และเขาเองก็รู้ดีว่า ถึงตอน สิง่ ทีเ่ ราร่วมกันทำ� และฉันยกให้คอลัมน์ “ต้นไม้ นี้ ความฝันของเขาไม่ได้เป็นเพียงเรือ่ งส่วนตัว ใบหญ้า” ในฉบับหน้า ให้อยู่ในจินตนาการ อีกต่อไปแล้ว ของทุ ก ๆ คน คื อ การปลู ก เมล็ ด พั น ธุ์ เรามีผู้อ่านเกิน 100 ฉบับต่อเดือน ความฝันให้งอกงามในจิตนาการ ไม่ว่าเราจะ เรามีสมาชิกเกือบ 200 คนที่รอดาวน์โหลด ฝันอะไร แล้วลองลงมือทำ�ดู เพื่อที่เราจะได้ หนังสือ เรามีคนถามไถ่ มีคนทีถ่ กู จุดประกาย ไม่ต้องถามตัวเองซ้ำ�ๆ ในอนาคต ว่าทำ�ไม ในหัวใจว่าสักวันจะทำ�หนังสือออนไลน์เล่นๆ เราไม่ลงมือทำ� บ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ในบางนาที ฉันก็อยากให้ เขาได้หยุดทบทวนอีกครัง้ ก่อนจะต้องจากกัน เพราะเมือ่ ลงมือแล้ว สิง่ ทีส่ วยงามทีส่ ดุ ก็คือ ความสุขของการได้ทำ� แต่สุดท้าย...เหมือนที่เกริ่นเอาไว้ข้าง แม้จะเป็นแค่ชว่ งระยะเวลาหนึง่ ก็ตาม บน เราทุกคนล้วนมีฝันและจินตนาการ เป็นของตัวเอง มีการตัดสินใจของตัวเอง และ เราต่างต้องยอมรับ และฉันเชื่อว่า ทุกคนใน หนังสือบนใบบัวก็เสียดายไม่นอ้ ยทีจ่ ะต้องปิด ตัวลง
69
บนใบบัว
70