อ่าน ศึกครั้งใหม่ระหว่าง Amazon นักเขียน และส�ำนักพิมพ์ Hachette เก็บตก สัจนิยมมหัศจรรย์: การเมือง การปลดปล่อย วรรณกรรม รู้จัก ‘afterword’ ปรากฏการณ์ ‘ระดมทุน หนุนหนังสือดี’
1
2
วารสาร Bookmoby Review • บรรณาธิการบริหาร ปราบดา หยุ่น บรรณาธิการ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน กองบรรณาธิการ ธนาคาร จันทิมา นักเขียนและนักแปลรับเชิญ สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ ปาลิดา พิมพะกร จิรศักดิ์ ปานพุ่ม อลิสา สันตสมบัติ จารุรัตน์ เทศล�ำใย ขวัญชาย ด�ำรงค์ขวัญ ที่ปรึกษา วินัย ชาติอนันต์ ทิิชากร ชาติอนันต์ ออกแบบ ปราบดา หยุ่น มานิตา ส่งเสริม ผู้พิมพ์ บริษัท บุ๊คโมบี้ จ�ำกัด 7/54 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทรศัพท์ 02-106-3671, 086-374-3464 โทรสาร 02-106-3671 อีเมล contact@bookmoby.com เว็บไซต์ www.bookmoby.com เฟซบุ๊ค facebook.com/ bookmoby ทวิตเตอร์ twitter.com/bookmoby อินสตาแกรม instagram.com/bookmoby พิมพ์ที่ บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จ�ำกัด 36 ซ.บรมราชชนนี 6 แขวงบางบ�ำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 089-070-7744 โทรสาร: 02-117-1570
โลกก่อน ในบรรดาค�ำอธิบายการก�ำเนิดภาษาตระกูลต่างๆ มากมาย ของมนุษย์บนโลก การพังทลายของหอคอยบาเบลในคัมภีร์ ไบเบิลดูจะเป็นต�ำนานปรัมปราที่ตรึงตราที่สุด “พระยะโฮวาจึงทรงบันดาลให้เขาพลัดพรากจาก ที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก; คนทั้งหลายก็เลิกการสร้างเมือง นั้นเสีย. เหตุฉะนี้จึงเรียกชื่อหอนั้นว่าบาเบล; เพราะว่าที่นั่น พระยะโฮวาทรงบันดาลภาษาของเขาให้วุ่นวายไป.” (เยเนซิส 11:8, 9) ภายหลั ง เหตุ ก ารณ์ น�้ ำ ท่ ว มโลก ลู ก หลานของ โนอาห์ได้ขยายพงศ์พนั ธุอ์ อกไป ทัง้ โลกล้วนพูดภาษาส�ำเนียง เดียวกัน คนเหล่านั้นจึงได้ร่วมกันสร้างหอคอยบาเบลเพื่อ มุ่งให้เป็นแหล่งรวมอารยธรรมและหมายให้กลายเป็น หอเทียมฟ้า แต่ความสามัคคีเช่นนั้นมอบความหยิ่งผยอง มาพร้อมด้วย พระเจ้าท�ำลายหอคอยแห่งความภาคภูมิใจ และลงโทษมนุษย์ให้ไม่อาจสื่อสารเข้าใจกัน จากนั้น ต่างกลุ่มจึงแยกย้ายออกไปสร้างภาษาของตนในดินแดน ต่างๆ ของโลก สิ่งที่น่าสนใจไม่ใช่เพียงเรื่องแฟนตาซีตามพระคัมภีร์ แต่เป็นการให้ความส�ำคัญแก่ภาษา ในฐานะสิ่งที่ ท�ำให้มนุษย์เป็นหนึ่งและขัดแย้งกันแต่บรรพกาล สอดพ้อง หลักฐานทางธรณีวิทยาที่พบว่าหนึ่งร้อยล้านปีก่อน ทุกทวีป ในโลกเชือ่ มติดเป็นดินผืนเดียว (Pangea) ก่อนจะเคลือ่ นออก จากกัน เมื่อมนุษย์ไม่ได้ตั้งรกรากอยู่ด้วยกันแล้ว ต่างกลุ่ม ก็ประดิษฐ์ภาษาใช้สื่อสารเฉพาะชาติพันธุ์ตนขึ้นมา ภาษา จึงเป็นเครื่องมือระบุอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม นั่นท�ำให้นัก ภาษาศาสตร์ยคุ หลังเชือ่ ว่ามนุษย์ใช้ความคิดและเหตุผลทุก อย่างผ่านระบบภาษา
เรื่อง กองบรรณาธิการ
การแปล คงไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งบั ง เอิ ญ ที่ ม นุ ษ ยอี ก ฟากโลกจะมี ความทรงจ�ำร่วม (Collective Memory) คล้ายคลึงกัน ชาว อุษาคเนย์มีปรัมปราเล่าสืบมา ถึงต้นก�ำเนิดมนุษย์และ ภาษาต่างๆ ในดินแดนแถบนี้ หลังจากวันสิ้นโลก (น�้ำท่วม/ ไฟบรรลัยกัลป์) ชาวสุวรรณภูมิเกิดขึ้นใหม่จากน�้ำเต้ายักษ์ นับถือกันเป็นพี่น้องตามล�ำดับคลานต่อกันมา ทั้ง ไทย ลาว มอญ เขมร ฯลฯ คือเครือญาติชาติพันธุ์ กลุ่มวัฒนธรรม เดียวกันจะอยูร่ วมกันตามภาษา ก่อนความคิดแบบตะวันตก จะเข้ า มาแยกมนุ ษ ย์ อ อกจากกั น ด้ ว ยเส้ น พรมแดน บนแผนที่ สุจติ ต์ วงษ์เทศ เรียกว่า “ประวัตศิ าสตร์อาณานิคม” ส่วนเบเนดิก แอนเดอร์สัน นิยามว่า “ชุมชนจินตกรรม” (Imagined communities) ซึง่ แทนความหมายของประเทศ/ รัฐชาติในปัจจุบัน อย่างไรเสีย เมื่อกล่าวถึงอารยธรรมหลากภาษา ของมนุษย์ บุคคลที่มีชีวิตเป็นดั่งเงาหลังม่านแต่ละยุคสมัย ตลอดมา นั่นคือ นักแปล (Translator) พวกเขาท�ำงานอยู่ ในทุกเวทีที่มนุษย์ต่างภาษายังต้องการสื่อสารกัน เราอาจ ไม่เห็นพวกเขาอยู่ในห้องเจรจาสงบศึก แฝงตัวอยู่ในวรรค กฎหมาย พนมมืออยู่ในบทสวดมนต์ ไขว่ห้างอยู่บนบรรทัด ของวรรณกรรมคลาสสิ ค ขบคิ ด ไปพร้ อ มกั บ นั ก ปรั ช ญา อยู่ทั้งในค�ำว่าประชาธิปไตย หลังสมัยใหม่ อัตถิภาวะนิยม หรือโลกาภิวัตน์ ฯลฯ และนั่นถึงกับมีผู้กล่าวว่า “รอยต่อทุก ยุคสมัยทีเ่ กิดการเปลีย่ นแปลงล้วนเกิดจากกระบวนการแปล วิทยาการจากภาษาหนึ่งสู่อีกภาษาเสมอ การเกิดขึ้นของยุค ฟืน้ ฟูศลิ ปวิทยาการ (Renaissance) ซึง่ เชือ่ ว่าเป็นการถือก�ำเนิด ใหม่ของศาสตร์ทั้งปวงล้วนเกิดมาจากการแปล” แต่จนแล้ว จนรอด นักแปลก็ยังเป็นตัวกลางที่(ถูก)มองไม่เห็นเสมอมา
กรุงเทพฯ ร้าน Bookmoby หอศิลปกรุงเทพฯ ร้าน Gallery กาแฟดริป หอศิลปกรุงเทพฯ ร้านกาแฟสาขาในเครือ Tom N Tom HHOM Cafe ร้านบางหลวง ร้านกาแฟนรสิงห์ ร้านศึกษิตสยาม ร้าน Candide Books&Cafe ร้านหนังสือเดินทาง
ฉบับนี้ ขอเสนอ เรื่ อ งราวของการแปล ตั้ ง แต่ แ นวคิ ด ส� ำ คั ญ เกี่ ย วกั บ การแปลพอสั ง เขป ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารแปลในสั ง คมไทย และสอดส่ อ งมองความเป็ น ไปได้ ใ น อนาคตจากพลังของการแปล ไม่ว่าจะ ลงเอยอย่างไร กว่าวันนั้นจะมาถึง เรา ไม่ อ าจลื ม คนที่ มี บ ทบาทต่ อ โลกหลั ง การพังทลายของบาเบลได้ พวกเขาคือ นักแปล นั่นเอง Bookmoby Review
ต่างจังหวัด ร้านสวนเงินมีมา ร้าน Café Little Spoon House Rama RCA ร้านต้น สุขุมวิทซอย 39 ร้านริมขอบฟ้า ร้านมะลิมะลิ ร้าน Hemlock พระอาทิตย์ ร้าน Dialogue Coffee and Gallery ผ่านฟ้า
ร้าน Farm to Table Organic Café ร้าน Old Town เฟื่องนคร ร้าน Old Man Café บางขุนนนท์ ร้าน Too Fast to Sleep ร้าน Lamune สยามสแควร์ ร้านประตูสีฟ้า เอกมัย ร้าน Ceresia พร้อมพงศ์
ร้าน Lonely Pai by Freeform แม่ฮ่องสอน ร้านเล่า เชียงใหม่ ร้าน Book Re:public เชียงใหม่ ร้านฟิลาเดลเฟีย Book & Bar อุบลราชธานี ร้าน Booktopia อุทัยธานี ร้านกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี ร้านเฟื่องนคร นครราชสีมา ร้าน Buku Books & More ปัตตานี
โลกการแปล หลายทฤษฎี
4
คุณปู การในภาคทฤษฎีการแปลนีไ้ ด้รบั ความอนุเคราะห์ยงิ่ จากคุณภัควดี วีระภาสพงษ์ อนุญาตให้เรียบเรียงบทความ “ประวัติศาสตรสังเขป ของทฤษฎีการแปล” ตีพิมพ์ในวารสาร “อ่าน” ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (เมษายน – มิถุนายน 2555) เพื่อน�ำเสนอยุคของการแปลที่แบ่งตาม แนวคิดตะวันตกอย่างคร่าวไว้ 4 ยุค รวมถึงค�ำถามส�ำคัญที่ถกเถียงกัน มาเนิ่นนานต่อกิจกรรมการแปล
(ทฤษฎีการแปล 4 ยุค)
(การแปลเป็นไปได้หรือไม่)
ยุคที่หนึ่ง นับเป็นช่วงที่กินช่วงเวลายาวนานในประวัติศาสตร์ตั้งแต่มนุษย์ รู้จักการแปล แบ่งย่อยได้เป็น 3 แนวทาง หนึ่งคือ การถอดค�ำ (metaphrase) การแปล ตรงค�ำต่อค�ำ วรรคต่อวรรค นักแปลปัจจุบันมองว่าคือความล้มเหลวเหมือน การเต้ น ร� ำ บนเส้ น เชื อ กโดยมั ด ขาทั้ ง สองไว้ หากไม่ ร ่ ว งหล่ น ลงมา ท่ ว งท่ า ก็ ไ ม่ สง่างาม สองคือ การแปลเลียนแบบ (imitation) นักแปลถือเอาอิสระของตนเป็นใหญ่ ไม่ต้องยึดค�ำและความหมายมากเท่าแบบแรก ถือเป็นการทรยศต่อชื่อเสียงและ ความทรงจ�ำต่อนักเขียนที่สุด เกอเธ่ ประพันธกรชาวเยอรมันกล่าวว่า การกระท�ำ เช่นนี้ไม่ต่างกับการจับคนต่าวด้าวมาใส่ชุดพื้นเมือง และสามคือ การส�ำแดงความ (paraphrase) คื อ การแปลอย่ า งอิ ส ระในขอบเขตจ� ำ กั ด แปลตามความหมาย มากกว่าถ้อยค�ำที่ตายตัว อาจขยายความ แต่ไม่พยายามเปลี่ยนแปลง การแปล แบบนี้แน่วแน่ด้วยคติท่ีต้องการแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับจะเป็นอย่างไรหากถูกเขียน ใหม่ ใ นภาษาปลายทาง ถือเป็น การเข้า ใกล้สิ่ง ที่นัก เขีย นเป็นมากที่สุดในทุกแบบ
ความหมายของค� ำ ว่ า translation หรื อ การแปล แท้ จ ริ ง เกิ ด จากการ แปลผิด อ่านผิด ความเข้าใจผิดเกิดจากการแปลค�ำว่า traducere ในภาษาละติน หมายถึง -ได้รับจาก (to derive from), -น�ำไปสู่ (to lead into) ไม่ได้หมายถึง การแปล ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยแต่กลับมอบชีวิตใหม่ให้ถ้อยค�ำ และเกิดการวิวัฒนาการ กลายพันธุ์ต่อไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ การแปลจึงเป็นงานท้าทายที่สามารถตั้งค�ำถามได้ ตลอดประวัติศาสตร์การอ่านของมนุษย์ ค�ำถามคลาสสิคตลอดกาลที่ไม่มีนักแปล คนไหนหนีพ้นคือ การแปลเป็นสิ่งเป็นไปได้หรือไม่
ยุ ค ที่ ส อง การแปลย้ า ยฐานความสนใจจากตั ว นั ก แปลโดยตรงมาสู ่ การอ้างอิงทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ (hermeneutics) หรือศาสตร์แห่งการตีความ ยุคนี้ถกเถียงการแปลในแง่ปรัชญามากว่าอะไรคือ “การเข้าใจ” งานประพันธ์ ทัง้ ลายลักษณ์และมุขปาฐะ ขยายความไปสูร่ ะดับชีวติ ประจ�ำวันว่าการแปล ไม่จำ� เป็น ต้องข้ามแต่ภาษาเท่านั้น การแปลเกิดขึ้นเสมอเพียงมนุษย์อยู่ต่างยุคต่างชนชั้น หรือ สภาพแวดล้อมใกล้เคียงก็ต่างความรู้สึกนึกคิดได้ ยุคนี้ยังแบ่งโลกการล่ามและโลก การแปลจากกันอย่างเด่นชัด เพราะการล่ามคือการท�ำงานในโลกธุรกิจเน้นทีถ่ า่ ยทอดผ่าน ภาษาปาก ขณะที่การแปลคืองานวิชาการและศิลปะที่ถ่ายทอดผ่านลายลักษณ์อักษร แนวคิดยุคนีส้ ะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อย่างคลุมเครือระหว่างมนุษย์กบั ภาษา เราต่าง ตกอยู่ภายใต้อ�ำนาจของภาษา ปัญญาและจินตนาการของมนุษย์ถูกมัดไว้ด้วยเงื่อนไข และขีดจ�ำกัดของความคิดที่ผลิตโดยภาษา การแปลที่แท้จริงจึงต้องเชื่อมความคิด นักอ่านกับนักเขียนให้มาบรรจบกัน ไม่วา่ นักแปลจะถนัดดึงนักอ่านเข้าหาผูเ้ ขียนหรือดึง นักเขียนมาหาผู้อ่านก็ตาม ยุคที่สาม การแปลในยุคโมเดิร์นด�ำรงอยู่เพียงช่วงสั้นๆ ในทศวรรษ 1960 ได้ รับอิทธิพลจากลัทธิรปู แบบนิยม (Formalism) และกระแสตืน่ ตัวจากการแปลด้วยสมอง กลในปลายทศวรรษ 1940 การแปลยุคนี้ใช้วิชาตรรกศาสตร์แบบคณิตศาสตร์และโครง สร้างสัญญะในวิชาภาษาศาสตร์มาอธิบายการแปลข้ามภาษาว่าเหมือนการเข้ารหัสชุด หนึ่ง (code-unit) กับอีกชุดหน่วยรหัสหนึ่งที่ไม่มีวันสมบูรณ์แบบ ด้วยเหตุนี้ การแปลกวี นิพนธ์จงึ นับเป็นตัวอย่างทีย่ ากทีส่ ดุ ของการแปลทัง้ มวล อาจถึงขัน้ ทีเ่ รียกว่า “แปลไม่ได้” และท�ำได้ดีที่สุดเพียง “การถ่ายโอนอย่างสร้างสรรค์” (creative transposition) นิยาม การแปลยุคนี้จึงเป็นเรื่องการตีความสัญญะที่กินความตั้งแต่ระบบถ้อยค�ำไปถึงสัญญะ อื่นๆ ทั้งในท่วงท่า รูปภาพ และเสียงดนตรี ยุคที่สี่ คือการกลับมารื้อฟื้นทฤษฎีจากยุคที่สาม แต่เน้นการตีความการ แปลและให้ความส�ำคัญกับค�ำถามอภิปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้ภาษาที่ก้าว กระโดดของมนุษย์ ประเด็นนีช้ วนให้เกิดการถกเถียงระหว่างกลุม่ ทีเ่ ชือ่ ในหลักสากลนิยม (universalist) กับ สัมพัทธนิยม (relativist)
•ค�ำถามว่าการแปลเป็นไปได้หรือไม่ มีมาแต่โบราณ เริ่มต้นจากศาสนา ที่มองว่าภาษาเป็นรหัสนัยของสัจธรรมที่ศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าจะเปลี่ยนแปลง การแปล จึ ง กลายเป็ น บาปในยุ ค แรก ขณะที่ ยุ ค ต่ อ มา การแปลคั ม ภี ร ์ ไ บเบิ้ ล กลั บ เสมื อ น การไถ่บาป หลังจากพระเจ้าลงโทษแล้วส่งพระเยซูมาไถ่บาป การแปลจึงเปรียบเหมือน การกอบกู้สถานะบริสุทธิ์ของบุตรพระเจ้ากลับคืนมา พร้อมไปกับการปฏิรูปศาสนาให้ ร่วมสมัย จากแนวคิดว่า “ภาษาบริสทุ ธิ”์ ต้องจารึกในรูปภาษาละตินเท่านัน้ ได้เปลีย่ นมา สู่ความเชื่อว่าการแปลจะน�ำผู้คนทั่วโลกให้เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน •สมณโคดมแห่ ง พุ ท ธศาสนาก็ เ ลื อ กใช้ ส ภาวะหลากภาษาบาเบล ในอินเดียโบราณเพือ่ ต่อรองกับศาสนาดัง้ เดิม พระพุทธเจ้าเลือกใช้ภาษาบาลีหรือภาษา ท้องถิน่ อันหลากหลายเพือ่ เผยแผ่คำ� สอนและลดช่องว่างระหว่างวรรณะด้วยการอนุญาต ให้คนบวชเป็นสงฆ์ได้โดยไม่ตอ้ งเกิดในวรรณะพราหมณ์ การแปลจึงเป็นหัวข้อส�ำคัญใน พื้นที่การเมืองเรื่องศาสนา •บรรดานักคิดในศตวรรษที่15 เชื่อว่าเราไม่มีทางสร้างความสมมาตร ระหว่างความหมาย (semantics) ของต้นฉบับกับงานแปลได้อย่างแท้จริงในภาษา มนุษย์ เนื่องจากความหมายกับการแสดงออกสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ค�ำแต่ละ ค�ำฝังตัวลึกอยู่ในรากของภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ของชนชาตินั้นๆ มีการหดและขยายตัวของความหมายตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงไม่มี ทางแปลสิง่ ใดโดยไม่เกิดการตกหล่นสูญหาย ดังตัวอย่างคลาสสิคในภาษาอังกฤษ ค�ำว่า borther หรือ sister ทีก่ ารแปลไม่สามารถน�ำเข้ามาสูภ่ าษาไทยได้สมบูรณ์ ทัง้ ความหมาย ในแง่ของเพศ (ชาย/หญิง) และวัย (พี่/น้อง) •งานกวีนิพนธ์และปรัชญา คือภารกิจการแปลสุดหิน เพราะค�ำหนึ่งค�ำถูก สร้างความหมายขึ้นมาอย่างซับซ้อน เช่นค�ำว่า Being ของเพลโต, อิมมานูเอล คานท์ หรือมาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ล้วนแตกต่างกันไปตามความหมายที่ผูกร้อยกับตัวแนวคิดของ นักปรัชญา ที่ส�ำคัญ ลักษณะเฉพาะของค�ำทั้งในปรัชญานิพนธ์และกวีนิพนธ์ล้วนมี ลักษณะร่วมของการต้องการทลายกรอบกรงทางภาษา •ภาษาเปลีย่ นแปลงตลอดทัง้ ต้นทางและปลายทาง ความหมายมีบริบทของ ประวัตศิ าสตร์ มีสว่ นทีห่ ายและมีสงิ่ ทีเ่ พิม่ มา ในบทความของภัควดีให้ขอ้ สรุปได้นา่ สนใจ หากเรายอมรับว่าไม่มีงานแปลใดทีแ่ ปลได้อย่างสมบูรณ์ ค�ำถามที่ว่าการแปลเป็นไปได้ หรือไม่จะหมดไป เหลือเพียงเรายอมให้เกิดการเบีย่ งเบนจากการแปลได้มากน้อยเพียงใด
การแปล ยุคแรกของไทย คุยกับ อาจารย์ ดร.ธนาพล ลิม่ อภิชาต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(พระยาสุรินทราชา)
“การแปลเป็นสวนหนึ่งของวัฒนธรรมการถ่ายเทความรู้ซึ่งเกิดขึ้น ตลอดเวลา หากย้อนเวลากลับไป จุดเริม่ ต้นการแปลยุคแรกของไทย น่าจะเป็นการแปลงานเชิงศาสนา” อาจารย์ธนาพล ลิม่ อภิชาต เริม่ ต้น ประโยคแรกเพื่อปะติดปะต่อร่อง รอยการแปลยุคแรกของไทย
“หากถกเถียงกันก็ยังกล่าวได้อีกว่าในความเข้าใจของแต่ละคนนั้น การแปลกับการแปลง ต่างกันอย่างไร ผมเข้าใจว่าไม่มงี านชิน้ ไหนแปลตรงอย่างสิน้ เชิง การแปลทีต่ อ้ งพยายามให้ ตรงกับต้นฉบับให้ได้มากทีส่ ดุ น่าจะเป็นการแปลสนธิสญ ั ญาระหว่างประเทศช่วงศตวรรษที่ 19 คือในสมัยรัชกาลที่ 2 หรือ 3 เมื่อสยามต้องท�ำสนธิสัญญากับเจ้าอาณานิคมตะวันตก” ช่วงต้นรัตนโกสินทร์มกี ลุม่ งานแปลวรรณกรรมจีนจ�ำนวนมาก ตัง้ แต่สมัยรัชกาล ที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ต่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสรุ ยิ วงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สนับสนุนส�ำคัญให้เกิดการแปลอย่างเป็นล�่ำเป็นสัน แม้ยังไม่มี นักประวัตศิ าสตร์ลงไปศึกษาวรรณกรรมแปลเหล่านีอ้ ย่างจริงจังว่าเป็นการแปลลักษณะใด แต่มีลูกศิษย์ผมคนหนึ่งเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่า วรรณกรรมจีนที่ช่วง บุนนาค คัดสรรและ ผลักดันให้แปล ส่วนหนึ่งมีตัวละครกลุ่มขุนนางที่มีบทบาทโดดเด่นมากในเรื่อง” ในหนังสือ ปากไก่และใบเรือ ของ อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้แสดงให้เห็นภาพ สังคมช่วงนีไ้ ว้ชดั เจน น่าเสียดายทีป่ ระวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ไทยพยายามลบความเป็นจีนออกไป [หรือตั้งใจจ�ำกัดไว้แต่เพียงในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งอาจารย์ธนาพลคิดว่านี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของ การเมืองของประวัติศาสตร์นิพนธ์อีกเช่นกัน] ทั้งที่บรรดาสินค้า เครื่องใช้จากจีนสมัยก่อน คือความทันสมัยของชนชั้นสูงไทย ไม่แปลกใจหากเราจะเห็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ 4 ฉลองพระองค์อย่างจีน นัน่ คือช่วงเวลาก่อนทีต่ ะวันตกจะกลายมาเป็นศูนย์กลาง ของโลก จีนคือศูนย์กลางอ�ำนาจของดินแดนแถบนี้ วัฒนธรรมจีนอยู่ในสังคมไทยอย่าง เข้มข้นเรื่อยมา แม้มีหลายช่วงเวลาที่หายไปไม่ถูกบันทึกไว้ “โดยทั่วไปแล้ว เราอาจเข้าใจว่านักแปลมีสถานะอยู่อย่างไร้ตัวตน เป็นเพียง สื่อกลางที่ถ่ายเทผลงานจากภาษาหนึ่งมาสู่อีกภาษาหนึ่งเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยเฉพาะในยุคแรกของการแปลวรรณกรรมตะวันตก ยกตัวอย่างเช่น นวนิยาย ที่นักประวัติศาสตร์และนักวรรณคดีถือกันว่าเป็นเรื่องแปลสมัยใหม่เรื่องแรกของ ไทย คือ ความพยาบาท (Vendetta) ของมารี คอเรลลี ส�ำนวนแปล แม่วัน (พระยาสุรินทราชา) เรือ่ งนีผ้ แู้ ปลไม่ได้แปลตรงตามต้นฉบับ ทว่าตัดทอนและเปลีย่ นเนือ้ หาหลายส่วนให้ สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยและผูอ้ า่ นทีเ่ ป็นคนไทย (Localized) ด้วยการ “การแปล”
ในลักษณะนี้ เราจะนับ ความพยาบาท เป็นนวนิยายแปลเล่มแรกได้หรือไม่ หรือเราควร จะพิจารณาว่าการ “แปล” เรื่อง ความพยาบาท ยังมีลักษณะตามขนบการแปลของไทย ในอดีตอยูม่ าก นัน่ คือ ไม่จริงจังกับการแปลทุกค�ำตามตัวบท แต่แปลอย่างเอาความเพือ่ ให้ ผู้อ่านในสังคมขณะนั้นเข้าใจง่าย” แต่อีกมุมหนึ่ง งานแปลหลายชิ้นก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผ่านการประพันธ์อย่าง ประณีต วรรณกรรมอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊ก วรรณคดีสโมสรจัดประเภทอยู่ในหมวด ความเรียง ซึง่ ยกย่องราวกับว่าผูแ้ ปลเป็นผูเ้ ขียนเอง กระทัง่ นิยายอิงพุทธประวัตเิ รือ่ งกามนิตวาสิฏฐี ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลลิรูป นักเขียนชาวเดนมาร์ก ส�ำนวนแปลของเสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป นั้นก็ประพันธ์ด้วยภาษาวิจิตรงดงามราวกับเขียนขึ้นจากภาษาไทย อาจารย์ธนาพล เน้นย�ำ้ ให้มองงานแปลจากมุมมองนักประวัตศิ าสตร์วา่ การแปล และงานแปลนั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องจักรวรรดิ (Empire) และอ�ำนาจ (Power) อย่าง มาก พูดอีกอย่างหนึ่งคือ การที่เราจะเข้าใจกระบวนการแปล โดยเฉพาะในกรณีของสังคม ไทย เช่น งานชิน้ ใดควรถูกแปล นักเขียนคนไหนควรได้รบั การส่งเสริม เราควรเข้าใจการแปล ว่าเป็นส่วนหนึง่ ของการแสดงออก (หรือยอมรับ) ซึง่ อ�ำนาจ รสนิยม และความเหนือกว่าทาง วัฒนธรรม ไม่วา่ จะระหว่าง (ชน)ชัน้ หรือระหว่างชาติ ทีส่ ำ� คัญอีกประการหนึง่ คือ บริบทของ สังคมไทยในแต่ละช่วงเวลา เช่น เราไม่อาจไม่ค�ำนึงถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอังกฤษ ในช่วงครึง่ หลังของศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 หรือของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงคราม เย็นได้เลย น่าสังเกตว่างานแปลจ�ำนวนมากของชนชัน้ สูง (อาทิ น.ม.ส.) และข้าราชการบาง กลุ่มที่ต้องการยกระดับสถานะของตน (อาทิ พระยาอนุมานราชธน) มักจะเป็นงานที่กลุ่ม นักบูรพคดีศกึ ษาชาวตะวันตก (Orientalist) ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 แปลมาจากวรรณคดี ภาษาสันสกฤตหรือเปอร์เซีย เช่น นิทานเวตาล นิทานเบงคลี อาหรับราตรี เหตุผลส่วนหนึ่ง ก็เพื่อแบ่งแยกตัวเองออกจากกลุ่มนักแปลเรื่องแนวตลาด (popular fiction) ซึ่งเป็นที่นิยม อยู่ในขณะนั้น ได้แก่ นิยายรหัสคดี (เชอร์ล็อค โฮล์มส), นิยายผจญภัย (เซอร์เฮนรี ไรเดอร์ แฮกการ์ด) และนิยายโรมานซ์ของนักเขียนสมัยวิคตอเรียน” ข้อสังเกตหนึง่ ทีน่ า่ สนใจของ อาจารย์ธนาพล คือบทบาทของวรรณกรรมแปลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พงศาวดารจีนที่ถูกตีพิมพ์เป็นตอนต่อเนื่อง (Serial) ลงหนังสือพิมพ์ ทัง้ หลายในช่วงทศวรรษ 2470 พงศาวดารจีน เหล่านีช้ ว่ ยท�ำให้หนังสือพิมพ์ขายดีเพราะคน อ่านติดกันงอมแงมและที่ส�ำคัญคือท�ำให้หนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับในสมัยนั้น ซึ่งก�ำลังท�ำ หน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเข้มข้น สามารถด�ำรงอยู่ได้ ถ้า มองจากในแง่นี้ อาจกล่าวได้วา่ เรือ่ งแปลพงศาวดารจีนมีสว่ นไม่มากก็นอ้ ยต่อการล่มสลาย ของระบอบการปกครองในอดีต ด้วยเหตุนี้ งานแปลหลายเล่มจึงไม่ได้ถกู แปลและตีพมิ พ์ขน้ึ อย่างลอยๆ โดยไม่มี บริบทการเมืองรองรับ ในยุคหนึ่งหนังสือเล่มเดียวกันก็อาจมีความหมายซ่อนอยู่นอกเสีย จากการแปลเพื่อจ�ำหน่ายเท่านั้น ช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ได้ส่งเสริมการน�ำเข้าและการแปล งานของนักเขียนคนส�ำคัญ อาทิ เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ จอห์น สไตน์เบ็ค และจอร์จ ออร์เวล ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะนิยายเรื่อง 1984 ของจอร์จ ออร์เวล เป็นเล่มที่ถูกส่งออกและ ผลักดันโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้เป็นที่รู้จัก การแปลกลายเป็นส่วนหนึ่งในสนามต่อสู้ เชิงอุดมการณ์ และเป็นอาวุธทางการเมืองชนิดหนึ่ง ในกรณีของ 1984 คือการวิพากษ์ การกดขีข่ องระบอบสตาลิน สหภาพโซเวียต และระบอบคอมมิวนิสต์โดยรวม แต่นยิ ายฉบับ
5
ภาษาไทยเป็นกรณีทนี่ า่ สนใจ เพราะถูกแปลครัง้ แรกในพ.ศ. 2525 นัน่ คือช่วงเวลาทีส่ งคราม เย็นใกล้สิ้นสุดแล้ว ดังที่อาจารย์ธนาพล ตั้งค�ำถามทิ้งไว้ว่า “นิยาย 1984 ฉบับภาษาไทย เป็นหนังสือที่น่าตั้งค�ำถามมากว่าถูกแปลในบริบท ไหน นักแปลต้องการวิจารณ์รฐั บาลสมัยนัน้ หรือเปล่า และทีส่ ำ� คัญ หลังจากนัน้ กลับมาพิมพ์ ใหม่ในปี 2555 ดูเหมือนหนังสือแปลเล่มนี้ จะได้กลับมามีพลังในการวิพากษ์วิจารณ์ทาง การเมืองอีกครั้ง แม้จะในอีกบริบทหนึ่ง คือการต่อต้านรัฐประหารและการกดขี่เสรีภาพ ในการคิดต่างในสังคมไทย” นอกจากนี้ อาจารย์ธนาพล ยังเสริมประเด็นส่งท้ายที่ส�ำคัญแต่คนส่วนใหญ่ อาจจะไม่ได้นึกถึง นั่นคือ การแปลแนวคิด (concept) โดยเฉพาะการแปลเพื่อบัญญัติ ค�ำศัพท์ อาทิ ค�ำว่า democracy - ประชาธิปไตย, absolute monarchy- สมบูรณาญาสิทธิราชย์, culture-วั ฒ นธรรม ชุ ด ค� ำ เหล่ า นี้ ล ้ ว นถู ก แปล พร้ อ มแนวคิ ด ในตั ว เองที่ ไ ม่ ต รงตั ว กั บ ความหมายดั้งเดิม เป็นการแปลอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเป็นกระบวนการของการเลือก แปลที่มีพลังความหมายในตัวเอง การแปลเชิงความคิดข้ามภาษาจึงนับเป็นประเด็น ที่ส�ำคัญมาก กล่าวโดยสรุป การแปล/แปลงงานต่างชาติมาสู่ภาษาไทย เกิดขึ้นเป็นปกติในขั้น ตอนการรับวัฒนธรรมภายนอก แม้แต่งานก�ำลังภายในจีนของโกวเล้ง เช่นเรื่อง “ดาวตก ผีเสือ้ กระบี”่ ผูเ้ ขียนก็ยอมรับว่าเขียนโดยได้เค้าโครงจากนิยายเดอะ ก็อดฟาเธอร์ ของ มาริโอ พูโซ นักเขียนอเมริกันเชื้อสายอิตาเลียน ไม่น่าแปลกใจที่งานแปลผสมแปลงในยุคแรก ของวัฒนธรรมการแปล การเขียนเลียนแบบอย่างนวนิยายเรื่อง ไผ่แดง ของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงมีสว่ นช่วยให้คนไทยซึมซับมโนทัศน์ใหม่เพือ่ เตรียมตัวให้เท่าทันกระแสตะวันตก อีกทัง้ ยังกระตุน้ ภาษาไทยให้ “ตืน่ ขึน้ ” ในแต่ละยุค เราอาจไม่ทนั สังเกตว่าภาษาของสามก๊ก สมัยรัชกาลที่ 1 เรื่อยมาถึงนิยายก�ำลังภายในส�ำนวน ว. ณ เมืองลุง และ น. นพรัตน์ นิยาย พาฝันยุควิคตอเรียน รวมถึงวัฒนธรรมการ์ตูนมังงะของญี่ปุ่นได้เข้ามามีอิทธิพลต่อนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ คนมีการศึกษาและชาวบ้านทีอ่ า่ นออกเขียนได้ จนแทรกซึมอยูใ่ นภาษาและ ชีวิตประจ�ำวันในปัจจุบันของพวกเราอย่างไร
(1984)
(นิทานเวตาล)
(กามนิต-วาสิฏฐี) ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปลอาชีพ 6
รางวัลส�ำคัญเกี่ยวกับการแปลในเมืองไทย
ปัจจุบันมีรางวัลที่ให้ความส�ำคัญกับนักแปลและงานแปลในเมืองไทยเพียง 2 รางวัล โดยรางวัลหนึ่งประกวดหนังสือแปล ส่วนอีกรางวัลมอบแก่นักแปลผู้สร้าง ผลงานแปลส�ำคัญไว้แก่บรรณพิภพ
รางวัลพระยาอนุมานราชธน ประเภท: รางวัลหนังสือแปลดีเด่น, รางวัลแปลเรื่องสั้นดีเด่น หน่วยงาน: ทายาทพระยาอนุมานราชธน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร
รางวัลสุรินทราชา ประเภท: รางวัลเกียรติคุณแก่นักแปลและล่ามที่มีผลงานดีเด่นอย่างต่อเนื่อง และสร้างคุณูปการแก่วงวรรณกรรม สังคม และประเทศชาติ หน่วยงาน: สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย
•นักแปลคือใคร นักแปลเปรียบเสมือนสะพานข้ามระหว่างวัฒนธรรม หากสะพานนีร้ าบเรียบ ใช้งานสะดวก ผู้ใช้ก็จะไม่สังเกตเห็นสะพาน แต่หากสะพานขรุขระ ใช้งาน ไม่สะดวก ผู้ใช้ก็จะสังเกตเห็นทันที อย่างไรก็ตาม สะพานเรียบหรือไม่เรียบ ข้อส�ำคัญคือช่วยให้ข้ามไปถึงอีกฟากได้หรือไม่ หากสะพานนั้นขาด ข้าม ไม่ถึงอีกฟาก สิ่งนั้นก็ไม่นับเป็นสะพาน เพราะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของ การเชื่อมต่อ บางคนก็เปรียบนักแปลเสมือนนักแสดงไร้เวที เป็นผู้สื่อสารที่ คนเห็นแต่สาร แต่ไม่เห็นผู้สื่อ เป็นศิลปินที่ไม่มีแสงไฟส่องจับหรืออยู่หลัง ม่านตลอดกาล •งานแปลที่ดีต้องยึดหลักการอะไร งานแปลที่เทียบเท่าหรือเป็นกระดาษลอกลายต้นฉบับเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ ได้และไม่เคยมีอยู่จริงในโลก งานแปลที่ดีคือการสร้างผลงานที่สะท้อน ต้นฉบับหรือคล้ายต้นฉบับเท่าที่ท�ำได้ หลักการของการสร้างงานแปลที่ดี ไม่มกี ฎทองตายตัว เพราะงานแปลเป็นภาคปฏิบตั ทิ ตี่ อ้ งอาศัยความยืดหยุน่ การต่อรอง ไหวพริบปฏิภาณ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องซื่อสัตย์ต่อโลกทัศน์ และจุดมุ่งหมายของต้นฉบับ •ประสบการณ์การแปลที่ไม่อาจแปลได้ ประสบการณ์การแปลที่แปลไม่ได้มีเยอะค่ะ เช่น บทกวี ปรัชญานิพนธ์ ทั้งนี้ ขึน้ อยูก่ บั ความถนัดของผูแ้ ปลด้วย บางอย่างทีเ่ ราแปลไม่ได้ คนอืน่ อาจแปล ได้ก็เป็นไปได้ค่ะ
คนกลางแห่งโลก หนังสือแปล พิมลพร ยุติศรี หรือชื่อที่คนในวงการหนังสือเรียกเธอว่า ฝน ทัทเทิล-โมริ คือเอเจนซี่ ท�ำหน้าที่ซื้อ-ขายลิขสิทธิ์หนังสืออันดับต้นของประเทศไทย และหากพูดถึงบรรยากาศ หนังสือแปลในโลกร่วมสมัย เธอคือผู้ยืนอยู่บนยอดเขาในวงการหนังสือนานาชาติ ท�ำ หน้าที่เป็นตัวกลางคนส�ำคัญที่กุมชะตาหนังสือแปลภาษาไทยไว้มากมายในมือ ไม่ว่า จะเป็นสุดยอดวรรณกรรมพ่อมด Harry Potter หรือ Inferno หนังสือเล่มล่าสุดของแดน บราวน์ นักเขียนเบสต์เซลเลอร์ระดับโลก ก็ล้วนผ่านมือเธอมาแล้วทั้งสิ้น เอเจนซี่คือใคร... “เราเรียกตัวเองว่า "คนกลาง" ของคนสองฝั่ง ฝ่ายแรกเรียกตัวเองว่า "เจ้าของ ลิขสิทธิ์" (Proprietor) จะเป็นเอเจนซี่หรือเป็นนักเขียนได้ทั้งสิ้น อีกฝ่ายคือ “ส�ำนักพิมพ์" (Publisher) ผู้ซึ่งสนใจงานต้นฉบับภาษาต่างประเทศ เมื่อสองฝ่ายไม่รู้จักกัน ห่างไกล ด้วยระยะทาง ภาษาและวัฒนธรรม คนกลางอย่างเราจึงมีบทบทส�ำคัญที่จะเชื่อมให้ คนสองฝั่งให้เริ่มต้นรู้จักและเรียนรู้กัน” “ฉันเรียกงานเอเจนซี่ว่าเป็นงานเสน่หา ใช้ใจ ใช้เวลา ใช้ความสัมพันธ์อันดี รวมถึงความเชื่อใจและความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่เรื่องง่าย เอเจนซี่ไม่ใช่อาชีพของ ทุกคน รายได้เราน้อยนิดเมื่อเทียบกับธุรกิจอีกหลายประเภท คอมมิชชั่นเพียง 10% ของ ค่าลิขสิทธิ์ นั่นยังไม่รวมค่าส่งหนังสือตัวอย่างและสัญญาไปกลับอย่างน้อยสองรอบ เงินเดือนพนักงานและอื่นๆ อีกมากมาย เอเจนซี่อย่างเราแทบไม่เหลืออะไร แต่ท�ำไม เราจึงยังอยู่ได้...อย่างที่บอกไว้ตอนต้น งานนี้เป็นงานเสน่หา เข้าแล้วออกยากส�ำหรับ คนที่จริตต้องกับงาน” “การท�ำงานของเราไม่ใช่งานตอกบัตร ไม่มีรูปแบบตายตัว คนท�ำหน้าที่นี้ ต้องพร้อมยืดหยุ่นและปรับมุมมองในแต่ละปัญหา หลายคนยอมแพ้ หลายคนแบกไม่ ยอมวาง ถ้าคุณเข้าใจธรรมชาติของงาน คุณจะรู้ว่าเอเจนซี่เป็นงานที่วิเศษมาก เพราะ เป็นหนึ่งในงานที่ท�ำให้คุณได้อ่านหนังสือมากมายก่อนใคร ได้พูดคุยกับผู้คนหลายชาติ ได้มิตรหลายภาษาและได้เดินทาง ฉันเชื่อมั่นเสมอว่าเอเจนซี่เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เรา มีหน้าที่เลือกงานที่ดีท่ีสุดให้กับส�ำนักพิมพ์ที่มืออาชีพที่สุด คัดเลือกเพชรเม็ดงามให้ เหมาะกับโครงแหวนชั้นดี ถ้าโครงและเพชรเข้ากันได้ยอดเยี่ยม แหวนจะเป็นที่หมาย ปองของทุกคน เอเจนซีต่ อ้ งอ่านมาก รูม้ าก เปิดกว้าง ไวและคม จรรยาบรรณของเอเจนซี่ ไม่มีพักร้อน ไม่มีเว้นวรรค และสูญเสียไม่ได้แม้แต่ครั้งเดียว ง่ายๆ แค่นี้...คุณก็อยู่ใน อาชีพนี้ได้สบายและยาวนาน“ เทรนด์หนังสือในโลกเป็นอย่างไร... “เทรนด์หนังสือเปลีย่ นแปลงเร็วมาก งานประเภทหนึง่ จะอยูไ่ ด้เพียง 2-3 ปี หรือ สั้นกว่านั้น เราจะพบประเภทหนังสือวนซ�้ำไปมาไม่ต่างจากเสื้อผ้าแฟชั่น จากแนว Men Thriller เปลีย่ นมาเป็น Business ก่อนวิง่ ไป Fantasy แนวหลังนีม้ คี นอ่านวงกว้างและอยู่ ยาวนานกว่าใคร Harry Potter อยู่ยาว 5-6 ปี เพราะเป็นความฝันของหลายคนที่ได้เฝ้า รอพ่อมดวิเศษปีแล้วปีเล่า หลังจากนัน้ แนว ChicLit เริม่ เข้ามา พลอตตัวละครสาวเปรีย้ ว
คุยกับ พิมลพร ยุติศรี ทัทเทิล-โมริ เอเจนซี่ (Tuttle-Mori Agency)
“ฉันเชื่อมั่นเสมอว่าเอเจนซี่เป็นอาชีพที่มีเกียรติ เรามีหน้าที่เลือกงานที่ดีที่สุด ให้กับส�ำนักพิมพ์ที่มืออาชีพที่สุด คัดเลือกเพชรเม็ดงามให้เหมาะกับโครงแหวน ชั้นดี ถ้าโครงและเพชรเข้ากันได้ยอดเยี่ยม แหวนจะเป็นที่หมายปองของทุกคน”
ปรูด๊ ปร๊าดออกมาจนนับเล่มไม่ทนั สุดท้ายเกลือ่ นตลาดอย่างรวดเร็ว หวือหวากันได้ไม่นาน เริ่มถึงขาลงของภาพรวมโลก แนว Inspiration กับ Spiritual จึงกลับมาเพื่อปลอบโยน ปั้นความเชื่อ งานแนวที่ใช้จิตเป็นตัวควบคุมทุกอย่างจึงบูมขึ้นในพริบตา ทั้งนักเขียน ต่างชาติและนักเขียนไทยมุ่งตามกันไปในแนวเดียว พอความแข็งแกร่งและศรัทธาเริ่ม กลับมาก็เริม่ เฝือ แนว Historical Thriller กลับมาดังระเบิดจากเล่มทีท่ ำ� ให้ภาพโมนาลิซา ติดตาผู้อ่านทั่วโลก ฉันคิดเสมอว่า Thriller เป็นเหมือนแมวเก้าชีวิต เพราะบิดมุมและ กลิ่นให้เหมาะกับยุคสมัยได้เสมอ สมัยก่อน Thriller แนวผู้ชายมีอาวุธและกลยุทธ์โจมตี เฉียบคมนิยมมาก สมัยต่อมา Thriller ของฝั่งญี่ปุ่นได้กลายเป็นรสนิยมของผู้อ่านรุ่นใหม่ อยู่หลายปีและยังมีกลิ่นอ่อนๆ นี้อบอวลจนทุกวันนี้” “แล้วงานแนว Paranormal Romance ที่ผสมปนความโรแมนติกกับเซ็กซ์ ก็ได้สร้างแวมไพร์ มนุษย์หมาป่า หนุ่มสาวหล่อสวยออกมาไล่ล่ากันให้ว่อนโลกจนเบียด หนังสือหมวดอืน่ ๆ ตกแผงไป หมวดนีท้ ำ� ให้ฉนั ยอมแพ้ ไม่เคยถูกจริตแม้เล่มเดียว ไม่นานนี้ มีหนังสืออีโรติคทีท่ ำ� ให้วงการคุณแม่บา้ นอเมริกนั สัน่ ไหวและส่งแรงสัน่ สะเทือนไปทัว่ โลก เกิดเสียงวิพากษ์สนัน่ แต่ยงิ่ วิพากษ์คนยิง่ อยากอ่าน อย่างไรก็ดี ฉันยังรูส้ กึ ว่าผูอ้ า่ นของเรา จริตไม่ตรงกับความวาบหวิวเช่นนี้” “มูราคามิกลายเป็นเสียงของคนอ่านในวงกว้าง หลายคนชอบ หลายคน เบื่ออยากหนี Mass ไปหา Niche แต่ฉันแอบนิยมลุงมูอยู่ตั้งแต่ต้น ฉันว่ามูราคามิเป็น นักเขียนมืออาชีพและเป็นศิลปินอย่างแท้จริง งานนี้ฉันยอมเป็น mass ก็ได้” “งานหมวดที่ก�ำลังมาแรงช่วงนี้คืองานที่เรียกตัวเองว่า Big Ideas มาแรง เหลือเกิน อาจไม่เปรี้ยงปร้างแต่ฐานของงานกลุ่มนี้กว้างและลึกลงไปเรื่อยๆ อาจเป็น เพราะผู้อ่านจากทั่วทุกมุมบนโลกรอแนวคิดใหม่ๆ ที่จะมาเปลี่ยนโลกน่าเบื่อและชีวิต จ�ำเจของพวกเขาก็เป็นได้” “ฉันได้กลิน่ ของวรรณกรรมคลาสสิค...ทีเ่ คยเห็นละเมิดกันดาษดืน่ วันนีห้ ลายคน น�ำงานเหล่านี้กลับมาปัดฝุ่น มาเป็นคลัง มาเป็นรสนิยมของผู้อ่านยุคนี้ เป็นเรื่องน่ายินดี ที่สุดเรื่องหนึ่งในรอบสิบปีที่ผ่านมา” “งานหมวดหนึง่ ทีฉ่ นั อยากร้องขอเป็นการส่วนตัว คือหมวดวรรณกรรมเด็กกลุม่ Middle Grade (อายุ 9-11 ปี หรือ ป.3-ป.6) วัยที่เด็กเริ่มอ่านหนังสือแตกฉาน ยังเป็นวัย ที่ปลูกฝังได้ไม่ยากเกินไป ถึงแม้วัยนี้จะเริ่มมีความคิดเป็นของตัวเองแต่ยังสามารถบรรจุ อะไรลงไปได้อีกมากมาย ฉันเห็นช่องว่างช่องโตๆ ของงานกลุ่มนี้ มานานสิบปีเห็นจะได้ เชือ่ ว่าหลายคนอยากท�ำ แต่ทกุ คนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นงานหินทีส่ ดุ เชิงยอดขาย แต่ ฉันยังคงยืนยันเช่นเดิมว่างานกลุม่ นีส้ ำ� คัญทีส่ ดุ และจ�ำเป็นต้องมี ฉันเรียนรูว้ า่ วรรณกรรม เด็กที่ดีจะสร้างผู้ใหญ่ตัวโต มีวินัย จินตนาการบรรเจิด EQ ล�้ำ คุณธรรมสูง และสิ่งดีๆ อีกมากมาย ช่วงที่ผ่านมาจะพบแต่ภาพของการ์ตูนความรู้เข้ามาแทนที่ ฉันเห็นความ ตัง้ ใจว่าการ์ตนู ดึงดูดให้เด็กมาสนุกกับความรูใ้ นหนังสือมากขึน้ แต่ตอ้ งยอมรับความจริง ว่ามันเป็นความส�ำเร็จแบบเบ็ดเสร็จ ฉันสังเกตว่าฐานของเด็กไม่แน่น ไม่หยั่งรากฝังลึก
ทัทเทิล-โมริ เอเจนซี่ (Tuttle-Mori Agency) เริ่มก่อตั้งขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ปี
(พิมลพร ยุติศรี)
1978 โดยคุณทอม โมริ (Tom Mori) การถือก�ำเนิดขึน้ ของ ทัทเทิล-โมริ ในเมืองไทย เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เล็กๆ ในปี 1991เมื่อคุณทอมมาเมืองไทยเพียงเพื่อตีกอล์ฟ ถึง 6 ครั้งในปีเดียว ด้วยความเชื่อมั่นของชายผู้มีพรสวรรค์และเสียงหัวเราะไม่ เหมือนใครคนนัน้ ว่าตนเองจะท�ำให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึน้ การละเมิดลิขสิทธิ์ จะลดน้อยลงได้ภายในเวลา 10 ปี จากนั้น ทัทเทิล-โมริ ประจ�ำประเทศไทยก็ได้ถือ ก�ำเนิดในปี 1992
7
ไม่อดไม่ทน จินตนาการน้อยแต่ฝันเยอะ ฉันปรารถนาให้วรรณกรรมกลุ่ม Middle Grade จะไม่หายไปจากชั้นหนังสือบ้านเรา แนวโน้มหนังสือไทยในตลาดหนังสือแปล... “แนวโน้มของหนังสือไทยที่ต่างชาติซื้อลิขสิทธิ์ไปแปล ต้องเริ่มจากถามตัวเอง ก่อนว่า หากเราจะซื้อหนังสือจากประเทศที่เราไม่สามารถอ่านภาษาเขาออก อะไรคือตัวชี้ วัดให้เราตัดสินใจซือ้ ง่ายๆ ก็คอื เราต้องเข้าใจเรือ่ งราว ต้องเห็นความสนุกหรือคุณค่า ฉะนัน้ หนังสือทุกเล่มที่ตั้งใจจะขายลิขสิทธิ์จ�ำเป็นต้องมีเรื่องย่อเป็นภาษาอังกฤษหรือเป็นภาษา ของชาตินนั้ ๆ และบทแปลนัน้ ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาปลายทางชัน้ เลิศทีด่ งึ อารมณ์ กลิ่น และความรู้สึกของเรื่องออกมาได้เทียบเท่าต้นแบบ จึงไม่แปลกที่หนังสือภาพส�ำหรับ เด็ก (Picture Book) จะเป็นหมวดหนังสือที่ขายรวดเร็วและง่ายที่สุดในปีที่ผ่านมา เพราะ เด็กมีความเป็นสากล ภาพจึงเป็นตัวแทนของภาษาและเรื่องราว” “ปลายปีก่อนจนถึงปัจจุบัน Tuttle-Mori Agency ขายงานให้ประเทศเพื่อนบ้าน แถบเอเชียไปได้กว่า 100 เล่ม 90% เป็นหมวดหนังสือภาพส�ำหรับเด็ก แต่งานวรรณกรรม และงานเขียนของนักเขียนรุ่นใหม่ยังเป็นความหวัง เราตั้งใจจะผลักดันกันเต็มที่นับจากนี้ และมัน่ ใจว่าช่วงนีเ้ ป็นเวลาทีเ่ หมาะทีส่ ดุ ต้นปีทผี่ า่ นมาเราขายนิยายคลาสสิคของนักเขียน ต้นแบบอย่าง "ทมยันตี" ไปให้เวียดนามได้ จีนและไต้หวันก�ำลังพิจารณาอีกหลายเล่ม เราพยายามเป็นเจ๊ดันให้งานเขียนรุ่นใหม่ เราเตรียมตัวและเตรียมงานมาไม่น้อย หวังว่า ภายในต้นปีหน้างานที่เราพยายามกันอย่างหนักนั้นจะตีพิมพ์ในต่างประเทศที่ไกลกว่า เอเชีย” “ฉันอยากย�ำ้ ค�ำเดิม...เอเจนซีเ่ ป็นงานเสน่หา เป็นงานเฉพาะของใครบางคน มิใช่ ทุกคน อย่าดูถกู การท�ำเอเจนซีว่ า่ เป็นเรือ่ งง่าย เอเจนซีม่ ใิ ช่งานทีล่ อกเลียนแบบหรืองานโหล ไม่ใช่เครื่องจักรที่กดปุ่มได้เพียงเพราะมีเงิน...ใจและจรรยาบรรณคือค�ำตอบทั้งหมดค่ะ”
อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักแปลอิสระ
•การแปลค�ำสอนทางศาสนาท�ำลายความศักดิส์ ทิ ธิข์ องตัวบทหรือไม่ ในศาสนาพุทธ การแปลคือการขยายเพือ่ วงกว้าง เช่นเดียวกับศาสนาคริสต์ ใช้ภาษาละติน ศาสนาต้องการมวลชนไม่ได้ตอ้ งการความศักดิส์ ทิ ธิใ์ นตัวบท ความศักดิ์สิทธิ์จะอยู่ที่พิธีกรรมมากกว่า •หากโลกพูดภาษาเดียวกัน มนุษย์จะพบสันติภาพมากกว่าความขัด แย้งหรือไม่ ผมไม่คิดว่าการพูดภาษาเดียวกันจะช่วยให้มีสันติในทันที ยังมีปัจจัยอื่นอีก คือความเข้าใจ ชาย หญิง ที่ใช้ภาษาเดียวกันยังทะเลาะกันจะเป็นจะตาย หรือดูคนไทยที่พูดภาษาเดียวกันในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ •ประสบการณ์การแปลที่ไม่อาจแปลได้ ประสบการณ์การแปลของผมเริ่มเมื่ออายุสิบแปด ตอนนั้นผมแปลผู้สัญจร แห่งชีวติ ของรพินทรนาถ ฐากูร การแปลครั้งนั้นท�ำให้ผมชินกับการใช้ภาษา กวีนับแต่นั้นมา แน่ละ ผมด�ำเนินตาม อาจารณ์กรุณา กุศลาสัย ผู้แปล งานชื่อคีตาญชลี ของรพินทรนาถ ฐากูร เลยอดกล่าวไม่ได้ว่า หนังสือเล่ม แรกของนักแปลนั้นมีผลต่อชีวิตมากนะ มันท�ำให้คุณได้เรียนรู้สิ่งที่อยู่ใน ฐานะแรงบันดาลใจ เพราะประสบการณ์ต่อจากนั้นมันจะเป็นการเคี่ยวกร�ำ ความช�ำนาญล้วนๆ เลย
ซะการีย์ยา อมตยา กวีและนักแปล
•ในฐานะกวีและผู้แปลกวีนิพนธ์ การแปลบทกวีนั้นเป็นไปได้หรือไม่ ฉันเขียน ให้ตัวฉันเอง I wrote to myself. เสียงของฉันในบทกวี my voice in poetry ไม่ใช่เสียงของฉันอีก not my voice anymore.
โตมร ศุขปรีชา
นักเขียนและนักแปล •ท�ำไมพระเจ้าเลือกท�ำลายความสามัคคีของมนุษย์ด้วยภาษา เรื่องนี้เป็นปริศนาส�ำหรับตัวเองมาตั้งแต่เรียนค�ำสอนแล้วครับ ว่าท�ำไม พระเจ้าต้องท�ำอะไรที่ดูไร้เหตุผลอย่างนั้น มีคนวิเคราะห์ว่า มนุษย์ที่สร้าง หอคอยบาเบลนั้น เป็นมนุษย์ที่อยากอยู่รวมกัน และมากระจุกตัวอยู่ที่เดียว เพือ่ สร้างหอคอยขึน้ ในขณะทีพ่ ระเจ้าคิดว่ามนุษย์จะสร้างหอคอยขึน้ สวรรค์ จึงต้องท�ำลาย แต่การทีม่ นุษย์มากระจุกอยูท่ เี่ ดียว น่าจะเป็นเพราะมนุษย์ไม่ อยากไปอยู่ที่ไหน แล้วจะอยากไปอยู่บนสวรรค์ท�ำไม เพราะฉะนั้น พระเจ้า จึงท�ำลายหอคอยเพื่อให้มนุษย์กระจัดกระจายไป 8
1 แอนิมอล ฟาร์ม สงคราม กบฏของสรรพสัตว์ | ไต้ฝุ่น
6 | ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง
2 เมตามอร์โฟซิส | สามัญชน
7 | กรีนบลิส
3 Writer ปีที่3 ฉบับที่25 Graphic Novel | ไรท์เตอร์
8 ผจญยุทธจักร | ไรท์เตอร์
กลับมาแล้วครับ 4 | เลเจนด์บุ๊คส์
9 จะเป็นผู้คอยรับไว้ ไม่ให้ใคร ร่วงหล่น | ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง
หยามเหยียด 5 | ไลต์เฮาส์พับลิชชิ่ง
กว่าจะสิ้นลมหายใจ
Simply Living #1
Writer ปีที่ 2 ฉบับที่ 24
10 ก็องดิด | มติชน
แต่สำ� หรับตัวเองแล้วคิดว่าการทีพ่ ระเจ้าท�ำอย่างนัน้ ก็เพือ่ สร้าง 'ความหลาก หลาย' ขึ้นมา (เป็นการมองพระเจ้าในพระคัมภีร์เก่าในแง่ดี) เพราะภาษาที่ หลากหลายจะช่วยให้มนุษย์มีวิธีคิดที่หลากหลาย เนื่องจากมนุษย์คิดด้วย ภาษา เพราะฉะนั้นการท�ำลายหอคอยบาเบล จึงเป็นการท�ำลายความเป็น เนื้อนาเดียวกันของมนุษย์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ถ้าอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ แต่ เพือ่ จะขยายกระจายตัวไปทัว่ โลกตามทีพ่ ระเจ้าต้องการ มนุษย์ตอ้ งใช้ความ หลากหลายครับ •หากโลกกลับมาพูดภาษาเดียวกัน ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ จะเบาบางลงหรือไม่ ไม่คิดว่าความขัดแย้งจะเบาบางลงครับ เพราะถึงอย่างไรมนุษย์ก็ยังแตก ต่างกันอยู่ดี ในยุคแรกเริ่ม มนุษย์คิดด้วยภาษา แต่ในปัจจุบัน การคิดของ มนุษย์ซบั ซ้อนกว่านัน้ มีไวยากรณ์ใหม่ๆ ในแต่ละกลุม่ (ทีไ่ ม่ใช่แค่ไวยากรณ์ เรือ่ งภาษา) ทีท่ ำ� ให้ความคิดไม่เหมือนกัน ดังนัน้ ยิง่ พูดภาษาเดียวกันได้อย่าง ทัดเทียมกัน ก็อาจก่อให้เกิดการถกเถียงแบบหยิบยกเหตุผลของตัวเองขึน้ มา เอาชนะคะคานกันไม่รู้จบได้มากขึ้นด้วยซ�้ำไปครับ •ประสบการณ์การแปลที่ไม่อาจแปลได้ ไม่ค่อยมีนะครับ เพราะว่าถ้าแปลไม่ได้ ก็จะไม่แปล แต่ถ้าที่เห็นว่าไม่น่าจะ แปลได้และไม่ได้แปล ก็มอี ย่างเช่นงานทีใ่ ช้ภาษาเฉพาะอย่างงานของเจมส์ จอยซ์ หรือแจ็ค เครูแว็ค กับงานที่แฝงอารมณ์ขันลึกๆ ประมาณงานของ เดวิด เซดาริส (เคยมีคนแปลออกมาแล้วไม่ข�ำ) เป็นต้น
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักเขียนละตินอเมริกา ผู้เป็นหมุดหมายแก่วรรณกรรมแนว “สัจนิยมมหัศจรรย์” (Magical Realism) จากไปอย่างไม่มีวันกลับ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ทิ้งให้เราคิดถึงตัวละครในนิยาย หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว (One Hundred Years of Solitude) ของเขาเท่านั้นที่คนตายยังอาจฟื้นกลับมาใช้ ชีวติ กับคนเป็นได้อย่างปกติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนา สัจนิยมมหัศจรรย์: การเมือง การปลดปล่อย วรรณกรรม เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ล่วงลับ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2557 ผศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธุ์ แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลัย ผู้ศึก ษาวรรณกรรมละติน อเมริกา เล่าพื้นฐานวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ ว่าเริ่ม ในศตวรรษที่ 20 มีพฒ ั นาการจากงานเขียนแนวแฟนตาซี สืบสวนสอบสวน และสยองขวัญ เน้นเล่นกับความลังเล ของผู้อ่าน และต่อต้านแนวสัจนิยมอันเป็นผลจากภาวะ หลังสงครามโลกที่มนุษย์เริ่มตั้งค�ำถามกับวิธีคิดแบบ วิทยาศาสตร์ ระบบเหตุผล จิตวิเคราะห์ เทคโนโลยี ว่า สามารถอธิ บ ายสิ่ ง ต่ า งๆ ได้ จ ริ ง หรื อ ชี วิ ต คนมี ค วาม ซับซ้อนกว่านัน้ ตามนิยามของ Wendy B.Faris สัจนิยมมหัศจรรย์มีองค์ประกอบของความมหัศจรรย์เหนือจริง แต่ตอ้ งอยูใ่ นบริบทโลกสามัญ (เช่น โตเกียวของมูราคามิ ไม่ใช่ฮอว์กวอร์ต หรือตู้เสื้อผ้านาร์เนีย) มีการพรรณนา ละเอียดจนจับต้องมองเห็นได้ (อธิบายลักษณะปีกและ ขนของเทวดาที่ลงมาหมู่บ้านเล็กๆ แบบสัจนิยม) และมี เรื่องเล่าเชื่อมพรมแดนต่างๆ (เวลา สถานที่ อัตลักษณ์) ที่ท�ำให้ผู้อ่านคลางแคลงสงสัย มาร์เกซเป็นนักเขียน ที่ท�ำให้งานแนวนี้เป็นที่นิยมกว่าบอรเฆส หรือคาฟคา เพราะเขียนไม่เคร่งเครียด อ่านแล้วได้อรรถรส แต่กน็ ำ� ไป สู่การตั้งค�ำถามที่ท�ำให้เราไม่ด่วนสรุปอะไรง่ายๆ
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ กล่าวถึงบรรยากาศ วรรณกรรมและการเมืองก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ 16 ปัญญาชนนักเขียนกลุ่มซ้ายจัดซึ่งมีบทบาทสูงใน สังคมเวลานั้น และวิจารณ์งานที่ไม่ใช่เพื่อชีวิตว่าเป็น โรคประจ�ำศตวรรษ (the melady of century) คือแนวเบือ่ เหงา เศร้า และมองไม่เห็นชัยชนะของประชาชน งานเขียน ยุคนั้นขาดความสร้างสรรค์ สุชาติเห็นว่างานเขียน
แนวสัจสังคมนิยม หากท�ำได้ ‘ไม่ถงึ ’ ก็จะกลายเป็นงาน โฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ 19 ขณะหลบหนีรัฐบาล เขามีโอกาสได้อ่านนิยาย หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยวจนจบ จึงพบว่าพลังของ สัจนิยมมหัศจรรย์แบบมาร์เกซเป็นงานศิลปะปลายเปิด ที่เล่าเรื่องได้ซับซ้อนและท�ำให้คิดต่อ สุชาติมองว่างาน แนวนี้ผสมผสานความจริง ความเหนือจริงและต�ำนาน ซึ่งจะช่วยเป็นส่วนต่อขยายให้วรรณกรรมเพื่อชีวิตหลุด จากหล่มที่หยุดนิ่งและก�ำลังจะกลายเป็น ‘น�้ำเน่า’
ข้อสังเกตที่ว่าเหตุใดสัจนิยมมหัศจรรย์จึงแตกต่างจาก ต�ำนานพื้นบ้าน ชูศักดิ์สรุปว่า สัจนิยมมหัศจรรย์เอา อุปลักษณ์มาท�ำเป็นเรือ่ งจริง (literalization of a metaphor) เป็นความหมายตามตัวอักษรและอธิบายมันทุกด้าน จึงแตกต่างจากต�ำนานพื้นบ้านไทย หรืองานนักเขียน ไทยจ�ำนวนมากที่ท�ำให้ความมหัศจรรย์กลายเป็นเพียง อุปลักษณ์ (metaphorazation of a magic) นั่นเป็น ปัญหาว่างานจึงไม่เข้มข้นและแหลมคมเท่าทีม่ าร์เกซท�ำ
รศ.ชู ศั ก ดิ์ ภั ท รกุ ล วณิ ช ย์ แห่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ กล่ า วว่ า ค� ำ น� ำ ของสุ ช าติ สวัสดิ์ศรี ในหนังสือหนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว ที่ ได้ รั บ การแปลเป็ น ไทยครั้ ง แรกนั บ เป็ น เอกสารทาง ประวัติศาสตร์ที่ท�ำให้เรารู้ว่างานชิ้นนี้เข้ามาในบริบท สังคมไทยช่วงไหน และมีความส�ำคัญเชื่อมกับการเมือง มากเป็นพิเศษ
ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร แห่งคณะสังคมวิทยาและ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่างาน แนวมานุษยวิทยาเองก็มีลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์ ใน หนังสือ HMONG/MIAO in Asia ของ Nicholas Tapp ได้เก็บประวัตศิ าสตร์บอกเล่าร่วมสมัยว่าด้วยผูน้ ำ� ชาวม้ง คนหนึง่ ในต้นศตวรรษที่ 20 ซึง่ ก่อกบฏจนฝรัง่ เศสแทบจะ ปราบไม่ ไ ด้ สุ ด ท้ า ยไม่ มี ใ ครรู ้ ว ่ า โดนจั บ หรื อ โดนฆ่ า มีเพียงค�ำบอกเล่าว่าผูน้ ำ� หนีการไล่ลา่ จนถึงน�ำ้ ตก จากนัน้ แยกเป็น 2 คน คนหนึง่ ถูกฆ่า ส่วนอีกคนหายตัวไป เรือ่ งเล่า ที่ มี ส ่ ว นผสมของความจริ ง กั บ เหนื อ จริ ง เช่ น นี้ ท� ำ ให้ นักมานุษยวิทยาต้องจัดการ 2 แบบ คือ ท�ำความเข้าใจด้วย การตีความอย่างเบ็ดเสร็จกับการมองว่าเป็นเรื่องที่ทาง สังคมเข้าใจความหมายของความมหัศจรรย์นนั้ ร่วมกันได้
สุชาติอ่านนิยายเรื่องนี้ในบริบทความขัดแย้งการเมือง ไทยและเป็นช่วงสุญญากาศของวรรณกรรมไทยด้วย หลัง นโยบาย 66/23 ปัญญาชนโละทิ้งอุดมการณ์สังคมนิยม กระแสงานเพื่อชีวิตถูกวิจารณ์ และเกิดการตรวจสอบ ครั้งใหญ่ หลังจากนั้นเกิดพื้นที่ให้วรรณกรรมแนวอื่น ได้เกิดขึ้นตามมา เช่น แนวสัญลักษณ์นิยม แนวอัตวิสัยนิยมแนวธรรมชาตินิยม แนวกระแสส�ำนึก แนวทดลอง แนวอภิเรื่องเล่า เหตุผลทีง่ านแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ตดิ ตลาดมาก เกิดจาก ช่วงทศวรรษ 2520 เกิดกระแสวัฒนธรรมชุมชน จากที่ เคยดูถูกชาวบ้านว่างมงายก็กลับนิยามสถานะความเชื่อ ชาวบ้านใหม่วา่ เป็นภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ผลท�ำให้การเขียน แนวนี้ได้รับความนิยมไปด้วย ชูศักดิ์แสดงความเห็นว่า วิธีการน�ำเสนอแบบสัจนิยมมหั ศ จรรย์ มี ค วามหลากหลายและเปลี่ ย นแปลงตาม ภูมิภาค การพยายามจ�ำกัดความท�ำให้เกิดการตีกรอบ ที่กลายเป็นสูตรมากเกินไป นอกจากนี้ยังกล่าวว่า สิ่งที่ ท� ำ ให้ สั จ นิ ย มมหั ศ จรรย์ ไ ทยแตกต่ า งจากของละติ น อเมริกา คือการมุ่งเน้นมิติทางการเมืองมากเกินไป
หนึง่ ร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว One Hundred Years of Solitude กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ เขียน ปณิธาน-ร.จันเสน แปล ราคา 590 บาท สั่งซื้อหนังสือ www.bookmoby.com
9
ความขัดแย้งระหว่าง Amazon กับส�ำนักพิมพ์ครั้งใหม่ เริ่มเป็นข่าวหนาหูแพร่สะพัดออกไป เมื่อ นักเขียนทัง้ ในและนอกส�ำนักพิมพ์ Hachette ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึก น�ำทีมโดยนักเขียน Douglas Preston เจ้าของนวนิยายขายดีติดอับดับ เรียกร้องให้นักอ่าน "อีเมลไปหา Jeff Bezos ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Amazon และบอกสิ่งที่คุณคิด" เกี่ยวกับการกระท�ำของเว็บไซต์ Amazon ที่ส่งหนังสือของส�ำนักพิมพ์ Hachette ถึงมือผู้อ่านล่าช้า บังคับให้ส�ำนักพิมพ์ยอมรับเงื่อนไขของเว็บไซต์ ในจดหมายมีใจความต่อว่า Amazon ทีเ่ ลือกปฏิบตั กิ บั นักเขียนบางกลุม่ ใช้พวกเขาในฐานะตัวประกันในการต่อรอง ด้วยราคาทีไ่ ม่เป็น ธรรม ไม่ยอมให้สั่งซื้อหนังสือ และการส่งที่ล่าช้า Amazon ขัดแย้งกับสิ่งที่เคยสัญญาไว้ว่าจะเป็น “บริษัท ที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากที่สุดในโลก” Amazon ปิดปากเงียบไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนกระทั่ง Russ Grandinetti รองประธาน อาวุโส ฝ่ายเนื้อหา Kindle เพิ่งปริปากกล่าวถึงความขัดแย้งครั้งนี้เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมว่า “มันเป็นเรื่อง เกีย่ วกับราคา e-book เงือ่ นไขขึน้ อยูก่ บั สิง่ ทีเ่ ราขาย ซึง่ เป็นเครือ่ งตัดสินว่าจะขายลูกค้าให้ในราคาเท่าไหร่” Grandinetti ยังเสริมอีกว่า Amazon ต่อสู้กับสิ่งที่คิดว่าถูกต้องส�ำหรับลูกค้า อาจมีค�ำพูดที่ว่า Amazon เหมือนยักษ์ใหญ่ต่อสู้กับนักกีฬาตัวเล็กในสนามแข่ง หากสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นว่า บรรดาส�ำนักพิมพ์ หลักเกือบทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของการรวมตัวกันของกลุ่มบริษัทสื่อในเครือที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างไรก็ดี Amazon เผยกับหนังสือพิมพ์ Wall Street ว่า ในไตรมาสนี้ บริษัทอาจจะขาดทุนไปถึง 800 ล้านเหรียญ สหรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในการผลิตเนื้อหาสื่อวีดีโอ ความตึงเครียดด้านการเงินนี้อาจจะส่งผลให้ Amazon ออกข้อบังคับใหม่กับส�ำนักพิมพ์ต่าง ๆ อย่าง Hachette ล่าสุดนักเขียน Douglas Preson ได้รับเชิญให้เข้าไปในส�ำนักงาน Amazon ถึงสองครั้ง เพื่อไกล่เกลี่ยเจรจายุติความขัดแย้ง Amazon จะกลับมาขายหนังสือของส�ำนักพิมพ์ Hachette อีกครั้ง ภายใต้เงือ่ นไขทีว่ า่ จะยกค่าด�ำเนินการของทัง้ สองฝ่ายให้การกุศล ซึง่ Preson ก็ปฏิเสธโดยสิน้ เชิง พร้อมกัน นีเ้ พือ่ ยกระดับการเคลือ่ นไหวจากฝัง่ นักเขียนอีกหนึง่ ขัน้ มีกำ� หนดตีพมิ พ์จดหมายเปิดผนึกฉบับดังกล่าว ทีม่ ี นักเขียนมากหน้าหลายชื่อลงชื่อร่วม 909 คน รวมทั้งนักเขียนที่มีชื่อเสียงอย่าง John Grisham และ Stephen King ลงในหนังสือพิมพ์ New York Times หน้าโฆษณา 1 หน้ากระดาษเต็ม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา http://www.theguardian.com/books/2014/jul/03/amazon-delivery-delays-hachettebooks-readers-consumer และ http://www.nytimes.com/2014/08/08/business/media/ plot-thickens-as-900-writers-battle-amazon.html?_r=0
10
นักเขียนชาวอังกฤษหลายคน รวมทัง้ Philip Pullman, Francesca Simon, Lauren Child และ Patrick Ness ลงชือ่ ในจดหมายสนับสนุนการรณรงค์ทรี่ เิ ริม่ โดย มูลนิธิ Kids Company ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน เรียกร้องให้มีการปรับปรุงระบบ การให้บริการด้านสุขภาพจิตและคุม้ ครองแก่เยาวชน รวมทัง้ ย�ำ้ เตือนว่าระบบทีม่ อี ยู่ ในทุกวันนี้ล้มเหลวในการดูแลเด็ก ๆ ที่ป้องกันตัวเองไม่ได้และถูกทอดทิ้ง ในจดหมายนัน้ มีเนือ้ ความว่า "ในฐานะนักเขียนหนังสือส�ำหรับเด็ก หน้าที่ ของเราก็คือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักอ่าน สนับสนุนให้พวกเขาเข้าใจถึง อ�ำนาจของจินตนาการและความคิด ด้วยหวังว่าเมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น เขาจะช่วย พัฒนาโลกในความเป็นจริงให้ดีขึ้น ในขณะที่บรรดาผู้ใหญ่และผู้เสียภาษีจ่าย สวัสดิการให้แก่เด็กๆ พวกเรารู้สึกสะเทือนใจเพราะนักการเมืองผู้ขาดจินตนาการ ปล่อยให้เด็กๆ นับล้านคนในประเทศ ต้องถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง และ/หรือ ก�ำลังทรมานกับปัญหาด้านสุขภาพจิต แต่กลับถูกปฏิเสธการให้บริการทีเ่ หมาะสม" http://www.theguardian.com/society/2014/jul/04/ authors-children-mental-health-services-campaign
เป็นระยะเวลาสองปีแล้ว นับตั้งแต่มีการเปิดตัว ช่องทางเผยแพร่หนังสือดิจิตัลหรือ e-book บน อินเตอร์เน็ตโดยเว็บไซต์ Kobo ในชื่อ “Kobo Writing Life” หรือ KWL ปัจจุบนั มีนกั เขียนจาก 157 ประเทศ 69 ภาษา ลงทะเบียน ไว้กับระบบถึง 30,000 คน ลงผลงานของตัวเองอย่างสม�่ำเสมอใน KWL จนยอด หนังสือ e-book มีถึง 250,000 เรื่อง หลากหลายประเภท ตั้งแต่โรมานซ์ประโลม โลก อิโรติค แฟนตาซี และทริลเลอร์เขย่าขวัญ ราคา e-book หนึ่งเล่มตกอยู่ที่ เล่มละประมาณ 6.46 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ e-book ทั่วไปที่จะมีราคา ประมาณ8 - 9 เหรียญสหรัฐฯ นักอ่านของ KWL ส่วนใหญ่มาจากประเทศแคนาดา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ และฝรั่งเศส http://www.publishersweekly.com/pw/by-topic/digital/retailing/art icle/63128-kobo-writing- life-now-carries-250-000-titles-by-30-000-authors.html
นักเขียนแอฟริกาใต้ ผู้ยืนหยัดต่อต้านการเหยียดสีผิว เริ่มชีวิตการเขียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ด้วยผลงานชื่อ The Lying Days ที่ว่าด้วยเรื่องราว ของหญิงสาวคนหนึ่งที่ตระหนักถึงส�ำนักการเมืองที่ต่อต้านการเหยียด ผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งผลงานส่วนใหญ่ของกอร์ดิเมอร์จะเดินตามรอย แนวประเด็นดังกล่าว ผลงานของเธอเป็นที่ประจักษ์จากการได้รับรางวัล จ�ำนวนมาก อาทิ The Booker Prize (1974), Modern Language Association Award (1982) และรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1991 เธอจากไปในวัย 90 ปี
ในช่วงเวลาทีร่ า้ นหนังสือทีต่ งั้ อยูต่ ามตึกรามอาคารค่อยๆ ทยอยปิดตัว ลง จาก 5,000 ร้านทัว่ ประเทศในปี 1999 เหลือเพียง 1,500 ร้านในปัจจุบนั YE24 ร้านหนังสือออน์ไลน์ทใี่ หญ่ทสี่ ดุ ของเกาหลีเข้ามาแทนที่ กลายเป็นปรากฏการณ์ ในธุรกิจสิ่งพิมพ์ ในแต่ละปี YE24 สามารถขายหนังสือ อุปกรณ์เครื่องเขียน และ สือ่ บันเทิงได้กว่า 10 ล้านรายการ ซึง่ นัน่ ก็หมายถึงในบรรดาลูกค้า จ�ำนวน 9 ล้าน คน ทีล่ งทะเบียนกับ YE24 ซือ้ หนังสือและสินค้าอืน่ ๆ ราว 100,000 รายการต่อวัน ความได้เปรียบของร้านหนังสือออน์ไลน์อย่าง YE24 อยูท่ รี่ าคาหนังสือ ที่ถูกกว่าร้านหนังสือทั่วไป ร้อยละ 20 มีการแถมของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่ ลูกค้าที่มียอดสั่งซื้อเกิน 50 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีระบบจัดส่งที่รวดเร็ว ส่งสินค้าให้ลูกค้าทันทีในวันที่ได้รับค�ำสั่งซื้อ เครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็ว สูงของเกาหลีท�ำให้ YE24 สามารถแนะน�ำหนังสือและนักเขียนผ่านคลิปวีดีโอ บนเว็บไซต์ และระบบสั่งซื้อ Paypin ที่ช่วยให้ลูกค้าสั่งซื้อของได้ง่ายขึ้น และเพือ่ ตอกย�้ำความเป็นผู้น�ำในตลาดร้านสื่อออน์ไลน์ YE24 ขายอุปกรณ์อ่านหนังสือ ดิจิตัลหรือ e-book ของตัวเองภายใต้ชื่อ "Crema" มีผู้สั่งซื้อไปแล้วถึง 50,000 เครื่อง นับตั้งแต่วางจ�ำหน่ายครั้งแรกในปี 2012 ในสมรภูมิเดียวกัน ยังมีร้านหนังสืออย่าง Kyobo, Aladdin, Youngpoong และ Bandi & Luni ซึ่งให้บริการขายหนังสือทั้งออน์ไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งขายอุปกรณ์อ่าน e-book เป็นตัวเอง อย่าง Kyobo ที่ขายอุปกรณ์อ่าน e-book ในชื่อ “Sam” ราคาเครื่องละ 90 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว หนังสือ แบบรูปเล่มจะมีราคาราว 14 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ e-book สนนราคาอยู่ที่ 7.50 - 8.50 เหรียญสหรัฐฯ จุดเด่นของร้านหนังสือเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งก็คือการ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับหนังสื อ นับตั้งแต่จับกลุ่มพูดคุยกับนักเขียน แจกลายเซ็น นักเขียน กิจกรรมการอ่าน ประกวดหนังสือ และจัดอันดับหนังสือประจ�ำปี ซึ่ง ไม่เพียงแต่จะเป็นการสนับสนุนการอ่านในสังคมเกาหลีเท่านั้น แต่ยังช่วยผลิต แนวคิดหนังสือเล่มใหม่ ๆ เป็นช่องทางถ่ายทอดความคิดไปสูส่ ำ� นักพิมพ์ ทีส่ ำ� คัญ มันคือการช่วยขยายคุณค่าและย�้ำบทบาทของร้านหนังสือในสังคม http://www.publishersweekly.com/pw/by-topic/international/ international-book-news/article/61656-the-changing-koreanbook-retail-industry-digital-publishing-in-korea-2014.html
Seix Barral ส�ำนักพิมพ์ที่ตั้งอยู่ในกรุงบาร์เซโลน่าของกวีเอกผู้ล่วงลับ ปาโบล เนรูด้า (Pablo Neruda) ออกมาเปิดเผยเมื่อมิถุนายนว่านักวิจัยของมูลนิธิ ปาโบล เนรูด้า ณ เมืองหลวงซานเตียโก สาธารณรัฐชิลี ได้ค้นพบบทกวีของเนรูด้า ที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน จ�ำนวน 20 บท ระหว่างที่ก�ำลังจัดเรียงต้นฉบับของเนรูด้า ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในกล่องที่ห้องสมุดของมูลนิธิ บทกวีจ�ำนวน 6 บท จาก 20 บท เป็น บทกวีรกั ส่วนทีเ่ หลือเป็นเรือ่ งอืน่ ๆ ต่างกันออกไป ซึง่ สืบจากหลักฐานว่าเขียนตัง้ แต่ ปี 1956 เป็นต้นมา ผู้อ�ำนวยการบทบรรณาธิการของ Seix Barral กล่าวถึงบทกวีเหล่านี้ ว่า เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ในวงการวรรณกรรมสเปนในไม่กี่ปีที่ผ่านมา และ บทกวีหลายบทมีความเป็นวรรณศิลป์สูง เทียบเคียงได้กับผลงานสมัยที่มีวุฒิ ภาวะ รุ่มรวยไปด้วยพลังจินตภาพและการแสดงออก เช่นในเรื่อง “Elemental Odes”, “La Barcalora”, “The Memorial of Isla Negra” และ “Estravagario” บทกวีทั้ง 20 บท มีก�ำหนดตีพิมพ์ในชื่อบทกวีรวมเล่ม “Poemas Inéditos: Pablo Neruda” ปลายปีนี้ในแถบละตินอเมริกา และต้นปีหน้าในสเปน ยกเว้นบทกวีไร้ชื่อเขียนขึ้นในปี 1964 ซึ่งตีพิมพ์ไปแล้วลงในหนังสือพิมพ์ El País เนรูด้าได้รับรางวัลโนเบิลสาขาวรรณกรรมในปี 1971 ก่อนเสียชีวิตในปี 1973 เมื่ออายุ 69 ปี http://artsbeat.blogs.nyt imes.com/2014/ 06/19/neruda-poems-found/?_php=true&_type=blogs&_r=0
11
12
เช้าผมโดนคุณวัตสัน ตีเสียอ่วมเรื่องเสื้อผ้าที่ผมท�ำเละเทะหมด เมื่อคืน แต่ม่ายดักลาสไม่ได้ดุผมสักค�ำ เธอแค่เอาเสื้อผ้าของผม ไปซักด้วยสีหน้าเศร้าสร้อยจนผมคิดว่าผมน่าจะลองท�ำตัวดีๆ บ้าง ถ้าผมท�ำได้ หลังจากนัน้ คุณวัตสันจับผมขังไว้ในตูแ้ ละเริม่ สวดมนต์ แต่ไม่ยกั กะได้ อะไรขึ้นมา เธอบอกผมให้สวดมนต์ทุกวันแล้วสิ่งที่ผมอยากได้จะเป็นจริง ผมลอง มาแล้ว ผมว่าไม่เป็นจะเป็นอย่างนั้นสักนิด มีคนเคยให้คันเบ็ดตกปลาผมแต่ไม่ ได้ให้เบ็ดมาด้วย ถ้าคันเบ็ดไม่มีเบ็ดแล้วผมจะเอาไปท�ำอะไรได้ ผมเลยสวดมนต์ ขอเบ็ดกับพระเจ้าตั้งสามสี่ครั้ง แต่ไม่เห็นจะได้อะไรเลย วันหนึ่งผมเลยไปหา คุณวัตสันให้ลองสวดมนต์ขอเบ็ดให้ผมหน่อย แต่เธอก็กลับว่าผมว่าผมโง่เง่าเสียนี่ แถมเธอก็ไม่ยอมบอกผมอีกว่าผมโง่เพราะอะไร ผมเองก็ยังนึกไม่ออก ผมเคยไปนั่งคิดในป่าคนเดียวเงียบๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมสงสัยว่าถ้าใคร ที่สวดมนต์จะได้สิ่งที่ตัวเองต้องการเสมอ ท�ำไมดีคอน วินน์ ไม่เห็นได้เงินที่เขาเสีย ไป ท�ำไมม่ายดักลาสไม่เห็นได้กล่องเงินใส่ยานัตถุ์ที่ถูกขโมยไปกลับมาเลย ท�ำไม คุณวัตสันไม่เห็นมีเนือ้ มีหนังขึน้ ผมบอกกับตัวเองว่าไม่หรอก สวดมนต์ไม่ทำ� ให้ได้ อะไรขึน้ มา ผมเลยกลับไปบอกม่ายดักลาสว่าผมคิดอย่างไรเกีย่ วกับเรือ่ งสวดมนต์ ม่ายดักลาสตอบผมมาว่า สิ่งที่เราจะได้จากการสวดมนต์เป็น “รางวัลทางจิต วิญญาณ” ผมฟังแล้วไม่เห็นจะเข้าใจ เธอเลยอธิบายให้ผมฟังว่า ผมจะต้องช่วย เหลือคนอืน่ ด้วย ผมจะต้องพยายามท�ำทุกอย่างทีพ่ อท�ำได้เพือ่ คนอืน่ จะต้องนึกถึง ผู้อื่นตลอดเวลาโดยไม่คิดถึงตัวเองเลย จริงๆ ผมว่าค�ำสอนนี้ก็น่าจะเอาไว้สอน คุณวัตสันเองด้วยนะ ผมเลยกลับเข้าไปนั่งคิดเรื่องนี้คนเดียวเงียบๆ ในป่าอีกครั้ง ผมได้ค�ำตอบว่าการท�ำเพื่อผู้อื่นไม่เห็นจะได้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากได้ ประโยชน์ให้ผอู้ นื่ สุดท้ายผมเลยตัดสินใจเลิกคิดถึงเรือ่ งนีแ้ ล้วก็ปล่อยวาง บางครัง้ ม่ายดักลาสชอบเล่าให้ผมฟังเกี่ยวกับแผนการของพระเจ้าที่ใครๆ ฟังแล้วต้อง น�้ำลายสอ แต่ไม่แน่วันต่อมาคุณวัตสันอาจจะเล่าเรื่องแผนการของพระเจ้า อีกแผนที่ฟังแล้วหมดอยากกันเลยทีเดียว ผมเลยคิดว่าจริงๆ แล้วแผนการของ พระเจ้ามีสองแผน ใครๆ ก็อยากจะอยู่ในแผนการของพระเจ้าตามแบบของม่าย ดักลาส แต่ถ้าหากใครซวยไปตกอยู่ในแผนการของพระเจ้าแบบคุณวัตสัน ผมว่า คงไม่มใี ครช่วยเขาคนนัน้ ได้แล้วล่ะ ผมว่าผมอยากอยูใ่ นแผนการของพระเจ้าตาม แบบม่ายดักลาสนะ ถ้าพระเจ้ายังคงต้องการผมแม้ว่าจะเอาผมไปก็คงจะไม่ได้ ท�ำให้อะไรดีขึ้น เพราะผมเป็นคนโง่เง่าไม่ใส่ใจ เป็นคนหยาบช้าดื้อด้าน
จะว่าไป ไม่มีใครเห็นแพ๊พมานานเป็นปีแล้ว นั่นท�ำให้ผมดีใจมาก ผมไม่อยากเห็นแพ๊พอีกต่อไป เขาชอบทุบตีผมทุกครั้งเวลาเขาสร่างเมาและเห็น ผมอยู่ใกล้มือ ถึงแม้ว่าผมจะใช้เวลาหลบอยู่ในป่าเวลาเขาอยู่แถวนี้ก็ตาม ล่าสุด มีคนพบศพเขาจมน�้ำประมาณสิบสองไมล์จากเมือง ใครๆ ต่างพากันลงความเห็น ว่าศพนั่นเป็นแพ๊พ เพราะขนาดตัวเท่ากัน แต่งตัวซอมซ่อเหมือนกัน และมีผมยาว ผิดปกติเหมือนกัน พวกเขาตัดสินจากใบหน้าไม่ได้เพราะศพจมน�้ำนานจนหน้า ขึ้นอืดดูไม่เป็นหน้าของคนเสียด้วยซ�้ำ พวกเขาบอกว่าเห็นศพลอยคว�่ำหน้าอยู่ใน แม่นำ�้ จึงจัดการน�ำศพมาฝังแถวริมฝัง่ แต่ผมรูส้ กึ ไม่คอ่ ยสบายใจเพราะรูส้ กึ เอะใจ บางอย่าง ผมรู้ว่าศพผู้ชายจมน�้ำไม่ลอยคว�่ำหน้า แต่ลอยหงายหน้า ผมรู้ว่านี่ไม่ ใช้แพ๊พ แต่เป็นผู้หญิงแต่งตัวเหมือนแพ๊พต่างหาก ผมเลยรู้สึกกังวลใจ ผมคิดว่า แพ๊พจะโผล่มาเมื่อไหร่ก็ได้ ถึงแม้ผมจะไม่อยากให้เขาโผล่มาแถวนี้อีกเลยก็ตาม ผมกับกลุ่มทอมซอว์เยอร์เล่นเป็นโจรมาประมาณเดือนหนึ่งก่อนที่ผม จะขอลาออกจากกลุ่ม อันที่จริงทุกๆ คนนั่นแหละที่ขอลาออกจากกลุ่ม เราไม่เห็น ได้ปล้นฆ่าใครจริงๆ เลย วันๆ เอาแต่เล่นติ๊ต่าง พวกเราเคยซ่อนอยู่ตามพุ่มไม้แล้ว กระโดดออกมาไล่คนขับรถขนหมูและบรรดาผู้หญิงในรถเข็นที่ก�ำลังหิ้วผักไปขาย ที่ตลาด แต่พวกเราก็ไม่เคยปล้นพวกเขากันจริงๆ จังๆ สักที ทอมซอว์เยอร์ติ๊ต่าง ว่าหมูเป็นแท่งทอง และผักทั้งหลายเป็น “อันยะมะนี” หลังจากนั้นพวกเราก็จะ กลับไปที่ท�ำเพื่อสรุปวีรกรรมของเราว่าเราได้ฆ่าคนไปกี่คนและหมายหัวไว้กี่คน แต่ผมไม่เห็นว่าท�ำไปแล้วมันจะได้อะไรขึ้นมา มีครั้งหนึ่งทอมให้เด็กในแก๊งโจร ของพวกเราถือไม้จุดไฟวิ่งไปทั่วเมือง (ทอมบอกว่านี่เป็นสัญญาณเรียกพวกเราให้ มารวมตัวกัน) ทอมบอกทุกคนในแก๊งว่าเขาได้ข้อมูลลับมาจากสายลับของเขาว่า วันรุง่ ขึน้ ขบวนขนพัสดุสนิ ค้าจากพ่อค้าสเปนและอาหรับจะหยุดพักทีเ่ คฟ ฮอลโลว์ ทอมบอกว่าขบวนขนพัสดุมีช้างสองร้อยตัว อูฐหกร้อยตัว ล่อขนเพชรกว่าพันตัว มีทหารเฝ้าคุ้มกันกว่าสี่ร้อยนาย ทอมบอกว่ารุ่งขึ้นพวกเราจะหลบเตรียมซุ่มโจมตี ฆ่าผู้คุ้มกันและเอาของไปให้หมด เขาบอกว่าพวกเราจะต้องมีมีดและปืน และ ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ทอมผู้ไม่เคยแม้กระทั่งจะไล่รถเข็นผักได้แต่บอกทุกคนให้ เตรียมมีดกับปืนให้พร้อม แม้วา่ อันทีจ่ ริงแล้วมีดกับปืนจะเป็นแค่เศษไม้กบั ไม้กวาด เท่านัน้ และพวกเราคงจะได้นงั่ ขัดอาวุธพวกนีจ้ นกว่าเราจะเน่าตายกว่าจะได้เอาไป ใช้จริง อีกอย่าง พอขัดเสร็จอาวุธพวกนี้ก็ไม่เห็นจะมีราคาค่างวดมากกว่าเศษฝุ่น ผงราคาเดิมของมัน ผมไม่คิดว่าพวกเราจะเอาชนะพวกสเปนและอาหรับได้หรอก
ผมแค่อยากเห็นอูฐกับช้างเท่านัน้ เอง รุง่ ขึน้ วันเสาร์ผมจึงเข้าร่วมกับขบวนการลอบ ปล้น พวกเราซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้จนกระทั่งได้รับสัญญาณ พวกเราจึงออกมาจาก ป่าและปรี่ลงไปตามเนินเขา แต่เมื่อไปถึง พวกเราไม่พบพวกสเปนหรืออาหรับ สักคน ไม่มีอูฐหรือช้างสักตัว มีแต่โรงเรียนสอนศาสนาพาเด็กประถมมาปิคนิค พวกเราเลยไล่พวกเด็กเหล่านี้ไป แต่พวกเราไม่ได้อะไรกลับมามากไปกว่าโดนัท กับแยม แม้ว่าเบน โรเจอรส์จะได้ตุ๊กตาเก่าๆ และโจ ฮาร์เปอร์ได้หนังสือสวดมนต์ ก็ตาม หลังจากนั้นครูของพวกเด็กก็มาและสั่งให้เราคืนของทั้งหมดเสีย ผมไม่เห็น เพชรสักเม็ด แต่ทอมบอกผมว่าจริงๆ แล้วตรงนี้มีเพชรเยอะแยะ เขาบอกว่าตรงนี้ มีทงั้ พวกอาหรับ ช้าง และสมบัตมิ ากมายด้วย ผมเลยถามเขาว่าแล้วท�ำไมพวกเรา ไม่ยักกะเห็นของพวกนั้นบ้าง ทอมตอบว่าก็เพราะผมมันช่างโง่เง่า ถ้าผมได้อ่าน หนังสือเรื่อง ดอน กิโฆเต้ ผมจะเข้าใจที่ทอมพูดแน่นอน เขาบอกผมว่าทั้งหมดนี้ เป็นเพราะเวทย์มนต์อาคม อันที่จริงแล้วตรงนี้มีทหารหลายร้อยนาย รวมถึงช้าง และทรัพย์สมบัติต่างๆ แต่พวกเรามีศัตรูเป็นนักเวทย์ที่เสกทั้งหมดให้กลายเป็น เพียงกลุ่มโรงเรียนสอนศาสนาพาเด็กๆ มาปิกนิกเท่านั้น ผมจึงบอกเขาไปว่า ถ้า อย่างนั้นสิ่งที่พวกเราต้องท�ำก็คือก�ำจัดนักเวทย์สินะ ทอมกลับมาบอกว่าผมมัน เป็นไอ้งั่งเสียอย่างนั้น ทอมบอกว่า “ท�ำไมจะต้องท�ำอย่างนั้น นักเวทย์สามารถร่ายมนต์เรียก ยักษ์ในตะเกียงออกมาบี้พวกเราให้เละก่อนที่พวกเราจะพูดอะไรออกมาด้วยซ�้ำ พวกมันตัวสูงเท่าต้นไม้ ตัวใหญ่ยักษ์อย่างกับโบสถ์” ผมจึงตอบไปว่า “ถ้าเราจับยักษ์ในตะเกียงสักสองสามตัวมาช่วยเรา เราก็จะสามารถจับตัวอื่นๆ มาช่วยเราด้วยได้ใช่ไหม” ทอม ซอว์เยอร์ถามผมว่า “แล้วแกจะไปจับมันมายังไง” ผมตอบไปว่า “ฉันไม่รู้ แล้วคนอื่นๆ เขาจับกันยังไงล่ะ” “พวกเขาถูตะเกียงหรือแหวนน่ะ ยักษ์เหล่านี้เป็นทาสของใครก็ตามที่ ถูตะเกียงหรือแหวน และจะยอมท�ำทุกๆ อย่างที่นายของมันสั่ง ถ้าเขาสั่งให้ยักษ์ ในตะเกียงสร้างปราสาทเพชรยาวสี่สิบไมล์ ปูถนนด้วยหมากฝรั่งหรืออะไรก็ตาม ที่อยากได้ พร้อมกับน�ำธิดาของจักรพรรดิจีนมอบให้เขาแต่งงานด้วย ยักษ์ใน ตะเกียงก็จะท�ำตามที่เจ้านายสั่งก่อนรุ่งสางของอีกวัน พวกยักษ์เหล่านี้ก็จะสร้าง ปราสาทให้เขาตามค�ำขอก่อนร่อนปราสาทไปมาทัว่ ประเทศจนกว่าเจ้านายจะเจอ ที่ที่ถูกใจ แกเข้าใจไหม” “ฉันว่าพวกนีน้ โี่ ง่จริงๆ ท�ำไมไม่เก็บปราสาททีส่ ร้างไว้แล้วเป็นของตัวเอง อีกอย่างนะ ถ้าฉันเป็นยักษ์พวกนัน้ ฉันคงเห็นคนตัง้ แต่ไกลก่อนทีฉ่ นั จะมาหยุดเขา ไม่ให้ถูตะเกียงน่ะ” “พูดอะไรของแกน่ะ ฮัคค์ ฟินน์ แกไม่มสี ทิ ธิเ์ ลือกว่าจะท�ำอะไร ถ้าเขาขัด ตะเกียงได้ แกก็ต้องไปหาเขา ไม่ว่าแกจะอยากหรือไม่ก็ตาม” “อะไรกัน แม้วา่ ฉันจะตัวสูงเท่าต้นไม้และใหญ่ยกั ษ์เท่าโบสถ์นะหรือ ก็ได้ ฉันก็จะไปหานายของฉัน แต่ฉันจะให้เขาปีนต้นไม้ที่สูงที่สุดในอเมริกาเสียก่อน” “โอ๊ย พูดอะไรไปกับแกก็ไม่เห็นจะได้อะไรขึ้นมาเลย ฮัคค์ ฟินน์ แกนี่ไม่ เห็นจะรู้เรื่องอะไรกับเขาสักอย่าง แกนี่มันเจ้างั่งของแท้ทีเดียว” ผมกลับมานั่งคิดทบทวนเรื่องนี้คนเดียวสองสามวัน ผมตัดสินใจว่าผม จะลองดูว่ามันมีอะไรในตะเกียงไหม ผมไปได้ตะเกียงสังกะสีเก่าๆ และแหวนเล็ก มา ผมเข้าไปในป่าและนั่งขัดมันอยู่อย่างนั้นจนเหงื่อตกราวกับพวกอินเดียนสร้าง ปราสาท แต่ไม่เห็นมีอะไรออกมา ไม่มียักษ์ในตะเกียงสักตัว ผมเลยสรุปว่าเรื่องนี้ ก็เป็นแค่เรื่องโม้ของทอม ซอว์เยอร์อีกเรื่องหนึ่งเท่านั้น ผมคิดว่าทอมคงเชื่อเรื่อง พวกอาหรับและช้างจริงๆ แต่ผมไม่เชื่อหรอก นั่นมันก็แค่โรงเรียนสอนศาสนา มาปิคนิคจริงๆ (อ่านต่อฉบับหน้า)
13
[ เติมให้เต็ม_ใช้ให้พร่อง ] : จิรศักดิ์ ปานพุ่ม
ผมยังฝึกซ้อมกีตาร์อย่างสม�่ำเสมอ ยังซ้อมร้องเพลงอยู่ทุกวัน เพราะตระหนักดีว่าการร้องเพลงและการเล่นกีตาร์นั้นยังต้อง ได้รบั การพัฒนาอีกมาก เหมือนเติมอย่างไรก็ยงั ไม่เต็มเสียที แต่ทน่ี า่ แปลกใจคือ ผม กลับไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการกระท�ำซ�้ำแล้วซ�้ำอีกเหล่านี้เลย คงเป็นเพราะผมชอบที่ จะเรียนรู้สิ่งใหม่ในเรื่องเก่ากระมัง เพลงเดิมทีเ่ คยเล่นเมือ่ คราวทีแ่ ล้ว คราวนีผ้ มเล่นต่างไปจากเดิม และคราว หน้าผมก็ยงั อยากเล่นแบบใหม่อกี เป็นการค้นหาสิง่ ใหม่ไปเรือ่ ยๆ สิง่ ทีผ่ มก�ำลังเขียน อยูใ่ นขณะนีก้ เ็ ช่นกัน แม้ใน ตัวคิด (Concept) อาจมีหลายคนเคยเขียนไปแล้ว แต่เชือ่ ว่าในรายละเอียดบางอย่างท่านคงยังไม่เคยอ่านจากที่ไหนมาก่อนแน่นอน เหมือน การเดินทางไปหัวหินในแต่ละครั้ง แม้เป็นเส้นทางเดิม แต่สิ่งที่ได้พบเห็นบนสองข้าง ทางนัน้ ไม่เคยเหมือนเดิม คราวทีแ่ ล้วมีปา้ ยขายหนูนาแถวนาเกลือใกล้แยกวังมะนาว คราวนี้กลายเป็นป้ายขายงูเห่า ร้านเมย์-มินท์ที่ขายเสื้อผ้าเก๋ๆ แต่ก่อนเล็กนิดเดียว แต่เดี๋ยวนี้ใหญ่โตราวห้างสรรพสินค้า ไม่รู้ขายอะไรบ้าง แต่คงไม่มีงูเห่า
14
ผมสนุกกับกิจกรรมการเติมความว่างในชีวิตให้เต็ม และพึงพอใจกับการ ใช้สิ่งที่เต็มแล้วให้พร่อง คุณตาข้างบ้านเคยบอกว่า "อะไรทีไ่ ม่คอ่ ยได้ถกู ใช้งานมันก็จะเสือ่ มสภาพ เร็วขึน้ นีเ่ ป็นเหตุผลทีต่ าต้องเดินไปกินข้าวหน้าปากซอยทุกวัน กินแล้วก็เดินกลับ เอา ก�ำลังเข้าแล้วก็เอาก�ำลังออก ถ้าเข้าแล้วไม่ออกสุขภาพจะไม่ดี" คุณตาเล่าให้ฟังว่าตื่นตั้งแต่ตีสาม กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน อ่าน หนังสือพิมพ์ แล้วก็เดินออกไปหาของกิน คุณตาไม่เคยปล่อยตัวเองให้ไหลไปตาม เข็มนาฬิกาโดยเปล่าประโยชน์ ผมมีคุณตาข้างบ้านเป็นไอดอล ผมพยายามเติมพื้นที่ว่างในสมองให้เต็มด้วยการอ่านหนังสือ ดูการแสดง ของศิลปินที่ชื่นชอบ การฟังเพลง การฝึกซ้อม และการเล่นดนตรีที่ตนรัก วันๆ หนึ่ง ชีวิตผมพัวพันอยู่กับกิจกรรมการเติมเต็มและการใช้ให้พร่อง ซึ่งทั้งสองอย่างเกิดขึ้น ในเวลาพร้อมเพรียงกัน
พวกเขาพูดถูกแล้ว เพราะไม่เช่นนัน้ ผมคงไม่มวี นั นี้ วันทีม่ านัง่ ชีแ้ นะ แบ่งปัน ความรู้ให้ผู้อื่น การหมั่นเติมความรู้ให้ตัวเองอยู่ตลอดเวลามอบของก�ำนัลที่มีค่ายิ่ง ใหญ่ให้ชีวิตเสมอ ไม่รู้ตัว
ผมไม่เคยท�ำตัวว่าง ความว่างเป็นอันตรายต่อชีวิตไม่แพ้ควันบุหรี่ ทันทีที่ว่าง ความขี้เกียจจะเข้ามาครอบครองพื้นที่ในสมองและจิตใจโดย
ค�ำว่า ‘ว่าง’ กับ ‘ไม่ว่าง’ ในทัศนะของผมให้ความรู้สึกที่ไม่แตกต่างกัน ความว่าง คือสภาพที่พร้อมจะถูกเติมให้เต็ม ความไม่ว่าง คือสภาพที่พร้อมจะถูกน�ำ ไปใช้ให้พร่อง แต่สิ่งส�ำคัญคือกระบวนการของการเติมให้เต็มกับการใช้ให้พร่องนั่น ต่างหากทีผ่ มโปรดปราน รายละเอียดของกิจกรรมทัง้ สองอย่างนีท้ ำ� ให้ผมสนุกกับการ ได้หายใจ และยินดีที่ตนยังมีประโยชน์ ไม่วา่ จะเติมให้เต็ม หรือใช้ให้พร่อง ล้วนเป็นเรือ่ งทีท่ ำ� ให้ชวี ติ ต้องขับเคลือ่ น ไปข้างหน้า
นีก่ ใ็ กล้เทศกาลประชันขันแข่งกันอีกแล้ว บรรดาผูร้ กั การไขว่คว้าโอกาสทัง้ หลายเริม่ มารวมตัวกัน ณ ทีแ่ ห่งหนึง่ ทีท่ จี่ ะบอกว่าหลายเดือนทีผ่ า่ นมา “คุณว่างเกิน ไป” หรือเปล่า เวทีประกวดร้องเพลง หรือประกวดดนตรี ต่างเป็นเสมือนสนามสอบคอย วัดผลว่า “คุณใช้เวลาว่างได้เป็นประโยชน์หรือไม่” คุณรู้จักตัวเองดีพอหรือยัง โกดัง ความรู้ในสมองของคุณมันโล่งเตียนหรืออัดแน่นไปด้วยข้อมูลนับไม่ถ้วน ที่ส�ำคัญ การฝึกฝนได้ด�ำเนินมาอย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอหรือไม่ ค�ำถามเหล่านี้คุณต้องเป็นผู้ตอบตัวเอง เราเป็นผู้แสวงหาความส�ำเร็จก็จริง แต่ความส�ำเร็จต่างหากที่เป็นผู้เลือก เรา หากเรามีความพร้อมมากพอส�ำหรับมัน วันนี้ผมยังฝึกซ้อมเพลงเดิม ร้องเพลงเดิม แต่พยายามเสาะหาสิ่งใหม่ๆ ใน ตัวมันให้เจอ บางทีสิ่งอัศจรรย์หรือความส�ำเร็จทั้งหลายก็ไม่ได้แปลว่าต้องอยู่ที่อื่นที่ ไกลเสมอไป มันอาจอยู่ในมือเราแล้วก็ได้ เพียงแต่ต้องการเวลาเคี่ยวกร�ำให้เห็นเป็น ค�ำว่าเติมเต็มนัน้ คงไม่ตอ้ งอธิบายอะไรมาก เพราะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่คำ� ว่า รูปเป็นร่างขึ้นมาเท่านั้น ใช้ให้พร่องนัน้ คงต้องท�ำความเข้าใจกันสักหน่อยว่าไม่ได้หมายถึงการใช้แล้วหมดไป หรือ รู้แล้วก็ลืม แต่หมายถึงการที่เมื่อรับรู้แล้วเกิดเป็นความเข้าใจอย่างถ่องแท้ สามารถ ผมรูส้ กึ ดีทกุ ครัง้ ทีเ่ ห็นคุณตาเดินกระย่องกระแย่งออกไปทานข้าวนอกบ้าน น�ำไปปฏิบตั ใิ ช้ได้อย่างถูกต้อง เรียกว่าเป็นความครบถ้วนสมบูรณ์แล้วในองค์ความรู้ ทุกวัน มันสะท้อนให้เห็นว่าชีวติ ไม่ได้สำ� คัญทีเ่ ราเดินไปข้างหน้าได้ชา้ แค่ไหน ตราบใด คลายความสงสัย พร้อมเป็นพืน้ ทีว่ า่ งให้องค์ความรูใ้ หม่เข้ามาแทนที่ นัน่ คือการพร่อง ที่เราไม่หยุดเดิน เพื่อให้เติมเต็มที่ผมหมายถึง เช่นเดียวกับทีผ่ มพยายามเติมโกดังความรูใ้ นสมองของตัวเองให้เต็ม ไม่วา่ เพื่อนๆ มักพูดว่าผมเป็นคนอยู่ไม่สุข ชอบไปโน่นมานี่ ท�ำโน่นท�ำนี่ ชอบ ความรู้จะมีน้อยนิดแค่ไหน และไม่ว่ามันจะเติมให้เต็มได้ช้าเพียงใด สิ่งส�ำคัญคือ ท�ำตัวไม่ว่างเหมือนคุณตาไม่มีผิด ผมต้องไม่หยุดเติม
: แดดาลัส บลูม เรื่อง
เคยสงสัยไหมว่าท�ำไมเวลาพูดถึงรสของอาหาร ต้องพูดว่า “รสชาติ” เช่น อาหารจานนี้รสชาติ เป็นอย่างไร ถ้าพูดว่า “รส” เฉยๆ ก็ดูจะห้วนสั้น ไปหน่อย แล้วค�ำว่า “ชาติ” มาเกี่ยวอะไรด้วยกับ อาหาร แต่ถึงกระนั้น “รส” กับ “ชาติ” ก็ด�ำรงอยู่ คู่กันจนเป็นค�ำติดปากที่เราใช้กันเสมอเมื่อพูดถึง อาหารจนเป็นเรื่องสามัญ
สามัญเช่นเดียวกับไส้กรอกกะหรี่ ซึ่งส�ำหรับชาวไทยแล้วอาจไม่เป็นที่รู้จัก คุ้นเคย แต่ส�ำหรับชาวเยอรมัน ไส้กรอกกะหรี่เป็นอาหารจานด่วนใกล้ตัวที่หากิน ได้แทบทุกหัวมุมถนน แต่กลับไม่มีใครรู้แน่ชัดถึงต้นก�ำเนิดของมัน ใน สูทไส้กรอก ตัวละคร “ผม” ได้พยายามถ่ายทอดเรื่องราวการประดิษฐ์คิดค้นไส้กรอกกะหรี่ โดยคุณบรึคเคอร์ เจ้าของร้านอาหารแผงลอยเล็กๆ บริเวณถนนบรือเดอร์ชะตราเซอ
ทีเ่ มืองฮัมบูรก์ ซึง่ “ผม” เคยกินเป็นประจ�ำสมัยเป็นเด็ก และเมือ่ โตแล้วก็ยงั แวะเวียน ไปอยู่เนืองๆ สูทไส้กรอก เป็น Novelle ทีก่ ำ�้ กึง่ ระหว่างนวนิยายขนาดสัน้ กับเรือ่ งสัน้ ขนาด ยาว ชื่อภาษาเยอรมันของเรื่องนี้คือ Die Entdeckung der Currywurst แปลตรงตัว ได้ว่า การค้นพบไส้กรอกกะหรี่ ท�ำไมจึงเป็น “การค้นพบ” ไม่ใช่ “การคิดค้น” ราวกับ ว่าไส้กรอกกะหรี่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่คุณบรึคเคอร์เป็นเพียงผู้พบมันอย่างนั้นหรือ และเป็นไปได้หรือที่คนๆ หนึ่งจะเป็นผู้คิดค้นสูตรอาหารจานหนึ่งขึ้นมาเพียงล�ำพัง ดังที่ “ผม” ตัง้ ข้อสังเกตว่า “คนส่วนใหญ่ไม่เชือ่ ว่าไส้กรอกกะหรีจ่ ะเป็นของทีใ่ ครสักคน คิดค้นขึ้นมาได้ และแถมยังเป็นคนที่ยืนยันว่ามีตัวตนได้อีก น่าจะเป็นเหมือนนิยาย เทพนิยาย ต�ำนาน ซึ่งเป็นผลผลิตที่มีคนมากมายร่วมกันสร้างขึ้นมากกว่าไม่ใช่หรือ” แต่ “ผม” เชื่อว่า “เป็นไปได้” ด้วยเหตุนี้เขาจึงตามหาตัวคุณบรึคเคอร์และ ฟังเธอเล่าเรื่องราวที่มาของไส้กรอกกะหรี่อันยืดยาวซับซ้อนวกวน ไม่ต่างกับชื่อของ อาหารชนิดนี้ที่ผสมผสานเครื่องเทศอันเผ็ดร้อนจากแดนไกลคือผงกะหรี่เข้ากับของ ใกล้ตัวอย่างไส้กรอก มันเริ่มจากเหตุบังเอิญวันหนึ่งในช่วงปลายสงครามโลกครั้ง ที่สอง ที่คุณบรึคเคอร์ได้พบเบรเมอร์และได้ให้ที่หลบซ่อนตัวแก่เขาซึ่งเป็นทหารเรือ หนีทพั จนกระทัง่ สงครามสิน้ สุด ในช่วงสงครามทีอ่ าหารขาดแคลน วัตถุดบิ ต่างๆ ล้วนหามาได้อย่างยากล�ำบากจากการปันส่วนอันเข้มงวดและต้องอาศัยการแลกเปลีย่ น ต่อรอง เพื่อให้ได้อาหารมาประทังชีวิตในแต่ละวัน “ผม” ฟังคุณบรึคเคอร์ในวัยชรา เล่าพลางถักเสื้อไหมพรมไปพลาง ถึงการมีชีวิตอยู่อย่างหลบซ่อนและหวาดกลัว ว่าเบรเมอร์จะถูกจับได้ ความสิ้นหวังของผู้คนเมื่อประเทศแพ้สงคราม แต่ในขณะ เดียวกันก็มีความหวังที่จะเริ่มต้นใหม่ ไส้กรอกกะหรี่ของคุณบรึคเคอร์ถือก�ำเนิดขึ้น ในช่วงนีเ้ องท่ามกลาง “กองซากปรักหักพังและการตัง้ ต้นใหม่ ภาวะไร้ขอื่ แปอันหอม หวานเผ็ดร้อน” ผู้เขียนคือ Uwe Timm ได้ผูกเรื่องเล่าอันยืดเยื้อ วกวน ไม่ปะติดปะต่อ จาก ปากค�ำของผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกน�ำมาเรียบเรียงใหม่โดย “ผม” เกี่ยวกับการถือก�ำเนิด ของไส้กรอกกะหรี่ที่แพร่หลายไปทั่วอย่างรวดเร็วในเยอรมัน เข้ากับการเริ่มต้นใหม่ ของชาติที่พลิกฟื้นตนเองจากการเป็นผู้แพ้สงคราม ภายหลังความสูญเสียคือการ เกิดใหม่ รสชาติอันเผ็ดร้อนของไส้กรอกกะหรี่คืออาหารที่ให้ความหวังแก่ผู้คนได้ ก้าวผ่านความโหดร้ายและเจ็บปวดของความสูญเสียนั้นมา
สูทไส้กรอก Uwe Timm เขียน l ชลิต ดุรงค์พันธ์ุ แปล ส�ำนักพิมพ์ไรท์เตอร์
ส่วนกว่าจะมาเป็นไส้กรอกกะหรี่ได้อย่างไรนั้น ผู้อ่านจะได้ค้นพบไปพร้อม กับ “ผม” ในเรื่องราวรสแปลกอันคาดไม่ถึงและชวนค้นหาของนวนิยายขนาดไม่สั้น ไม่ยาวเล่มนี้ซึ่งรสชาติไม่ธรรมดา อาจไม่คุ้นลิ้น แต่ก็น่าลิ้มลอง
15
The Girl in the Flammable Skirt เอมี เบ็นเดอร์ เขียน นพดล เวชสวัสดิ์ แปล
สาวน้อยกระโปรงเพลิง ในวันแห่งความรัก แบ๊งค์ งามอรุณโชติ : เรือ่ ง
16
เมือ่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา ห้องสมุด The Reading Room ซึ่งตั้งอยู่ที่สีลมซอย 19 ได้จัด งาน “นัดบอดหนังสือ” (Blind Date with a Book) ขึน้ มาเป็นปีท่ีสองแล้ว โดยทางห้องสมุดจะห่อปกทึบ ให้แก่หนังสือ และคัดลอกข้อความจากหนังสือเล่ม นั้นสั้นๆ ลงไปที่หน้าปก แล้วเปิดโอกาสให้บรรดา คนที่มาร่วมงานได้เลือกหนังสือเล่มใดก็ได้กลับ บ้านไป 1 เล่มเพื่อที่จะท�ำความรู้จักกันเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นก็ให้เขียนบรรยายความรู้สึกของ ตนเองกับคู่เดท การเลือกคูเ่ ดทโดยมีเบาะแสส�ำคัญคือข้อ ความสั้นๆ เท่านั้นนับเป็นความเสี่ยง หากไม่สนุก คงจะแย่ ผมเลยเน้นเลือกหนังสือที่ “เอวบางร่าง น้อย” สักหน่อยหากไม่พอใจจะได้อา่ นจบและน�ำมา คืนได้เร็ว เกณฑ์ข้อที่สอง ซึ่งผมใช้ในการเลือก หนั ง สื อ ก็ คือ ข้ อ ความหน้าปกควรมีส�ำนวนของ ตัวละครแบบผูห้ ญิงสาว (แน่นอนครับ ในเมือ่ มันคือ การเดท ผมก็คงขอเลือกไปกับสาวๆ มากกว่ายายแก่ หรือชายหนุ่ม) ข้อความที่ผมเลือกนั้นเขียนว่า “สตรีนางนั้นเป็นบรรณารักษ์ วันนี้พ่อของเธอเสีย ชีวิต เธอได้รับโทรศัพท์จากมารดาผู้ร�่ำไห้ในตอน เช้า เธออาเจียนออกมาจนหมดท้อง แต่งตัวออก มาท�ำงาน เธอนั่งประจ�ำที่โต๊ะท�ำงาน... ชายหนุ่ม เจ้าประจ�ำที่มาสอบถามเรื่องนิยายขายดีติดอันดับ เธอถามไปว่าเขาอึ๊บหญิงครั้งสุดท้ายเมื่อใด เขา อุทานเสียงหลง เธอบอกว่าเงียบหน่อยได้ไหมคะ ที่นี่คือห้องสมุด” ฟั ง แค่ นี้ ก็ รู ้ สึ ก อยากพาเธอกลั บ บ้ า น ขึ้นมาทันใด จ�ำได้ว่าคืนวันนั้นอ่านเธอพร้อมกับ ไวน์แดง Libertas ของชิลี, ก่อนอ่านผมดมลงไปที่ เนื้อเนียนของเธอ คนอ่านหนังสือมีหลายประเภท หนึ่งในประเภทที่มีอยู่มากมายเหล่านั้นคือคนที่ ชอบดมหนังสือ สันจมูกผมค่อยๆ ดันไปตามร่องตรง กลาง พรมแดนทีห่ น้าซ้ายและหน้าขวามาบรรจบกัน
พร้อมกับค่อยๆ รับลมหายใจเข้าไป ท�ำเพียง 1 รอบไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น นี่คือกฎในวงการนักดมหนังสือเพื่อที่จะไม่ ให้เสพติด ผมใช้ เ วลากั บ เธอจนถึ ง ตี ส าม รอบแรกแสนสุ ข ส�ำหรับครั้งแรกของเราสองคน ถือว่าไม่แย่เลยทีเดียว แม้จะ จับต้นชนปลายไม่ถูกนัก ผมเพลียเหลือเกินและแทบจะหลับ ไปทั้งๆ ที่ตัวอักษรสุดท้ายผ่านสายตา ในความมืด ไร้ฝัน, เนื้อหาของสาวกระโปรงเพลิง ถูกตัดและจัดเรียงขึ้นมาใหม่โดยที่ผมไม่ได้สั่งการ มันท�ำงาน อย่างเงียบเชียบและโดยพลการ เมื่อตื่นมายามเช้า อันที่จริง คือสายมาก ผมก็พบว่าเริ่มเข้าใจเธอได้มากขึ้น เธอเป็นสาวที่ปรารถนาจะหลุดจากกรอบคิดแบบ ชายเป็นใหญ่ (Phallo-Centrism) และเมือ่ หลุดจากมันได้แล้ว ก็จะเปิดเผยให้เห็นถึงตัวตนทีแ่ ท้จริงของเธอเอง ตัวตนทีเ่ ป็นไป ได้ทั้งด้านหื่นกระหาย สัตว์ป่า ตัวตนที่มีทั้งด้านซาดิสม์ และ หมัน่ รักษา สิง่ เหล่านีป้ รากฏอย่างกระจัดกระจายและดูเหมือน จะไร้รปู ลักษณ์ทแี่ น่นอนในตัวบทแต่ละเรือ่ ง แต่เมือ่ อ่านจนจบ เราก็จะพบว่า ทุกอย่างล้วนเชือ่ มโยงกันจนกลายเป็นเธอขึน้ มา หากจะเลือกเล่าถึงความเป็นเธอ ผมคงไม่เล่าจาก เรื่องแรงไปจนถึงเรื่องสุดท้าย แต่ล�ำดับที่ถูกต้องน่าจะเริ่ม จากบทที่ชื่อ “หนึ่งวันกับรอยยิ้มในห้องสมุดหรรษา” (Quiet please), ผมคิดว่าเป็นเช่นนั้น Quiet please เป็นเรื่องสั้นที่กล่าวถึงบรรณารักษ์ หญิงผู้ได้ทราบข่าวว่าพ่อของเธอตายแล้ว และเธอก็ตัดสินใจ ร่วมรักกับผู้ชายที่ผ่านเข้ามาในห้องสมุด โอ้! นั่นหละ ชัดเจน เหมือนตะโกนออกมาดังๆ เสียด้วยซ�้ำ พลอตเรื่องสั้นเรื่องนี้ ก�ำลังเล่าอะไรกันแน่ในเชิงสัญลักษณ์ ? บรรณารั ก ษ์ พ ่ อ ตาย... พ่ อ ของเธอที่ ต ายไปเป็ น ตัวแทนของ “นามแห่งพ่อ” (in the name of the father) หรือ ก็คือสิ่งอื่นคนอื่น (Other) ที่เข้ามาก�ำหนดควบคุม โดยเฉพาะ การควบคุมเพศหญิงให้ต้องอยู่ในบรรทัดฐานทางสังคมที่ เคร่งครัด การตายของพ่อไม่ว่าจะในแง่พ่อทางศาสนา (พระ) หรือพ่อทางโลกย์ (รัฐหรือสถาบันความรู้) จึงเป็นการประกาศ ว่า บัดนีก้ ฎเกณฑ์ตา่ งๆ ทีผ่ กู มัดให้เพศหญิงต้องท�ำเช่นนัน้ เช่น นีไ้ ด้ตายไปแล้ว และเมือ่ ไม่มใี ครมากะเกณฑ์อะไรกับพวกเธอ ได้อีก เธอก็สามารถแสดงความปรารถนาของเธอออกมาได้ อย่างเสรี โดยเฉพาะความปรารถนาทางเพศ เธอร่วมรักกับชายหลายคนที่แวะเวียนมาถามหา
หนังสือ การถามหาหนังสือก็ไม่ได้ต่างอะไรกับการถามหา ผู้ประพันธ์หนังสือ (Author) ซึ่งมีรากศัพท์เดียวกันกับอ�ำนาจ แบบเบ็ดเสร็จ (Authority / Authoritarian) การร่วมรักของ สาวบรรณารักษ์ต่อผู้ที่ถามหาหนังสือ จึงเป็นการแสดงออก ถึงอ�ำนาจของเธอ อ�ำนาจของผู้หญิงที่พ้นไปจากพันธนาการ ของพ่อไปในเวลาเดียวกัน ในระหว่างร่วมรัก เธอมักต้องดุบรรดาผู้ชายที่ร้อง ครวญครางให้โปรดเงียบ (Quiet please) การให้ผู้ชายต้อง ร่วมรักกับเธออย่างเงียบๆ นั้นก็สะท้อนว่า ความสุขของผู้ชาย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเธอ เธอไม่ได้ร่วมเพศเพื่อให้ผู้ชายเหล่านี้ พอใจ หรือถ้ามันจะพอใจก็เป็นผลพลอยได้มากกว่าเป้าหมาย เป้าหมายของเธออยู่ที่ความสุขทางเพศของเธอเองเท่านั้น ในอีกแง่หนึ่งการที่เธอห้ามปรามผู้ชายเหล่านั้นก็ สะท้อนถึงอ�ำนาจ Authority ของเธอในฐานะผู้หญิง ในฐานะ บรรณารักษ์ของห้องสมุด มันท�ำให้เธอมีอำ� นาจและซ่อนเงือ่ น ส�ำหรับผูช้ ายพวกนัน้ แต่ถงึ ทีส่ ดุ แล้วเธอก็ไม่ได้ซบั ซ้อนมากไป กว่าทีเ่ ธอเป็น เพียงแต่ ในพรมแดนความคิดของผูช้ ายและใน ขีดจ�ำกัดของภาษาไม่อาจจะอธิบายพวกเธอได้เลย กลับกัน, พวกผู้ชายต่างหากที่ไม่มีอะไรเอาเสียเลย ผู้ชายล้วน “แบนๆ” ขาดมิติ ตลอดทุกบท ผู้ชายที่สาวน้อย กระโปงเพลิงน�ำเสนอออกมานัน้ ก็มแี ค่ ขีเ้ กียจ (ฮักกี)้ , ถดถอย (เบน), ไร้ความรับผิดชอบ (จอร์แดน) และที่ส�ำคัญไม่เข้าใจผู้ หญิง (มนุษย์จอมพลัง) เป็นต้น การท�ำเช่นนี้นั้นก็ส่งผลให้เธอ, ซึ่งเคยเป็นเสมือน “เทพธิ ด าใบ้ ” ไม่ ส ามารถจะพู ด หรื อ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ ป รารถนา ได้, กลับสามารถมีปากขึ้นมาใหม่ เธอจึงยืนขึ้นและเขียน “ริมฝีปาก” ให้แก่ภาพเทวดาฝาผนัง แต่ปากดังกล่าวก็กลับ กลายเป็นเรื่องสาหัสส�ำหรับเทพธิดาด้วยกัน มันท�ำให้ผู้หญิง คนอื่นตื่นกลัว แต่ถึงที่สุดแล้วพวกเธอตื่นกลัวอะไรกันแน่? พวกเธอน่าจะตื่นกลัวความปรารถนาของตนเอง สิ่งที่ผมรับรู้ได้อีกอย่างคือ สาวน้อยกระโปงเพลิง หลงใหลใน “ริมฝีปาก”, ผมอ่านบท “ขอริมฝีปากนั้นคืนให้ฉัน” (What you left in the ditch) แล้วพลางประทับริมฝีปากลงบน หลังมือตัวเองแผ่วเบา ลมหายใจและสัมผัสนัน้ ชวนให้ระลึกถึง ริมฝีปากใครบางคน ว่ะ ท�ำไมผมถึงไม่เคยนึกเรือ่ งนีม้ าก่อนนะ ริมฝีปากแสนส�ำคัญ ริมฝีปากยังกลายเป็นจุดน�ำสายตาของคนอ่าน, ผมเอง, อีกหลายตอนด้วยกันไม่วา่ จะเรือ่ ง “อ่างเขียว ของขวัญ” (The bowl) ซึ่งสาวเจ้าใฝ่ฝันถึงจูบนักดับเพลิง, หรือเรื่อง “ล�ำน�ำหลากแนว ท�ำนองสอดประสาน (Fugue)” ซึ่ง “ฉัน” ในเรือ่ งบรรยายถึงริมฝีปากทีป่ ดิ สนิท ปล่อยให้ฟนั ขบขยีม้ นั ฝรัง่ , โอ้ จะมีอะไรเซ็กซี่ไปกว่าริมฝีปากที่บดบี้มันฝรั่งอีกเล่า? แต่จะวิเคราะห์เรื่องสั้นทุกเรื่อง ก็คงจะท�ำให้ผู้อ่าน รู้จักเธอจนหมดเปลือก ไม่เหลือความตื่นเต้นใดๆ อีก ดังนั้น ผมคิดว่า ผู้อ่านทุกท่านไปรู้จักกับเธอเองดีกว่า, สาวน้อย กระโปรงเพลิง สาวที่ไม่ธรรมดาน่ารู้จัก
นั่งคุยกับจิ๋ม The Vagina Monologues อีฟ เอนส์เลอร์ เขียน l ภัทรารัตน์ สุวรรณวัฒนา แปล มูลนิธิหยดธรรม
ร้านหนังสือ 24/7 ของคุณเพนุมบรา Mr. Penumbra’s 24-Hour Bookstore โรบิน สโลแกน เขียน l ศรรวริศา แปล ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่
ผู้เขียนใช้ “จิ๋ม” เป็นผู้เล่าเรื่องในฐานะตัวแทนเสียงของผู้หญิงที่ไม่ได้ มีโอกาสส่งสารออกมาตลอดประวัติศาสตร์ที่ผู้ชายเป็นผู้เขียน ปฏิบัติการ ในหนังสือเล่มนี้คือการท�ำลายความเงียบที่มีมาอย่างยาวนาน ด้วยการรับฟัง สิ่งที่จิ๋มพูด หลังจากถูกซ่อนเร้นและไม่ถูกเอ่ยนาม ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหลาย ได้เปิดโปงสถานภาพที่ถูกกดทับทางเพศจากปากค�ำนับร้อยของผู้หญิง หลายกลุ่มทั่วโลก บทละครนี้ถูกน�ำไปแสดงในประเทศต่างๆ รวมทั้ง ประเทศไทย เพื่อหวังให้เกิดกระบวนการเคลื่อนไหวและยุติความรุนแรงต่อ ผู้หญิงที่ขยายตัวในทุกวัฒนธรรมจนจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
เรื่องแฟนตาซีผสมความลึกลับ ความสัมพันธ์และการผจญภัยที่เริ่มต้นขึ้น ในร้ า นหนั ง สื อ 24/7 ของคุ ณ เพนุ ม บรา พนั ก งานร้ า นหนั ง สื อ หน้ า ใหม่ ท่ามกลางกองหนังสือมหึมาฟุง้ ฝุน่ กับกลุม่ ลูกค้านักอ่านประหลาดร้าย ความลับ ของหนังสือเก่าและเรื่องราวชีวิตอันน่าค้นหาของคุณเพนุมบราผู้เป็นเจ้าของ ร้านหนังสือแห่งนี้จะน�ำพาผู้อ่านไปสู่การเปิดเผยเรื่องราวที่ปกปิดไว้ของเมือง แห่งนี้ตลอดระยะเวลา 500 ปี นวนิยายขายดีจาก New York Times และติด อันดับ 100 หนังสือยอดเยี่ยม ประจ�ำปี 2012 โดย San Francisco Chronicle
เสือกินคน สาคร พูลสุข เขียน ส�ำนักพิมพ์ไรท์เตอร์
คิวชู อิน เลิฟ KYUSHU IN LOVE สู่ขวัญ อรรถจารุสิทธิ์ เขียน ส�ำนักพิมพ์เป็ดเต่าควาย
รวมเรื่องสั้น 8 เรื่องของ สาคร พูลสุข เรื่องราวความหลากหลายของวิถีชีวิต และเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบท อิทธิพลของพิธีกรรม ต่อความเชื่อในชุมชน สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อจิตใจและการเติบโตของ ตัวละครวัยเยาว์ ความรักของหนุ่มสาว รวมถึงเรื่องคาวโลกีย์ต่างๆ ค�ำว่า "เสือกินคน” ในเรื่องนี้จึงไม่ได้หมายถึงเสือดุร้ายในป่า หากคือเสือในร่างคน เป็นความละโมบหิวกระหายและหยาบโลนที่ซุ่มซ่อนอยู่ในใจมนุษย์นั่นเอง
คู่มือท่องเที่ยวเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่นด้วยตัวคุณเอง คิวชู อิน เลิฟ เล่มนี้ บรรยายไทยและน�ำทัวร์ ด้วยความกระตือรือร้น โดย สู่ขวัญ อรรถจารุสิทธิ์ พร้อมภาพสีสวยตลอดเล่ม เธอจะพาคุณไปชมความงดงามของฟุคุโอกะ เพลิดเพลินในดาไซฟุ ล่องไหลที่ยูฟุอิน หย่อนใจที่เบปปุ อยากกลับไปเยือน คุมะโมโต้ ลืมหายใจที่ภูเขาไฟอะโซะ นางาซากิ และอมยิ้มที่สวนสนุก Huis Ten Bosch พิเศษท้ายเล่ม!! พาไปเที่ยวเกาะแมว ด้วยนะ 17
เดียวดายฤดู กลุ่มวรรณกรรมภูเก็จ เขียน ส�ำนักพิมพ์ Phuket Literature Club
จักรพรรดิโรคร้าย ชีวประวัติโรคมะเร็ง The Emperor of All Maladies: A Biography of Cancer สิทธัตถะ มุกเคอร์จี เขียน สุนันทา วรรณสินธ์ เบล แปล ส�ำนักพิมพ์มติชน
ยังคงเป็นที่สงสัยส�ำหรับเราเสมอมา ส�ำหรับค�ำถามที่ว่าเพราะอะไรนักเขียน ภาคใต้จึงเขียนวรรณกรรมได้เข้มข้นนัก อากาศ (มรสุม) อาหาร (ข้นเผ็ด) หรือ อารมณ์บ่มเพาะส่วนตัว และหากจะมองแบบภูมิภาคนิยม นักเขียนภาคใต้ ก็น่าจะได้รางวัลซีไรต์มากที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ บุ๊คโมบี้ชวนคุณมา หาค�ำตอบในหนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มใหม่ของกลุ่มวรรณกรรมภูเก็จ 11 เรื่องสั้น ฝัง ใจ ไฟ ฝัน เล่มที่ 5 ในชื่อหนังสือว่า เดียวดายฤดู พบการรวมตัวของ นักเขียนภาคใต้รุ่นใหม่ในแถวหน้า อาทิ นฆ ปักษนาวิน, ขวัญยืน ลูกจันทร์, ชิด ชยากร, วันเสาร์ เชิงศรี, วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา, รัตนชัย มานะบุตร ฯลฯ
หากไม่ เ คยตระหนั ก ถึ ง โรคก็ ย ่ อ มจะเพิ ก เฉยกั บ มั น อยู ่ อ ย่ า งนั้ น หนั ง สื อ “จักรพรรดิแห่งโรคร้าย ชีวประวัติมะเร็ง” จะพาคุณไปรู้จักกับโรคมะเร็งตั้งแต่ ยุคโบราณตราบปัจจุบัน เล่าถึงการท�ำงานของเหล่าแพทย์ผู้ทุ่มเทและ เชื่อมั่นว่าจะรักษามะเร็งให้หายขาดได้สักวัน ความน่ากลัวของมะเร็งคือเป็น โรคที่ชาญฉลาดและรู้จักซ่อนตัว หลอกผู้ป่วยและหน่วยแพทย์ให้เชื่อว่าหาย แล้วกลับมาท�ำร้ายร่างกายตามใจชอบ เช่นเดียวกับสิ่งอันตรายอื่น คุณอาจ ไม่รู้ว่าจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้อย่างไร แต่ย่อมดีกว่าแน่หากคุณจะได้ ท�ำความรู้จักมันไว้บ้าง
18
กาฬวิบัติ La Peste อัลแบร์ กามู เขียน l ประหยัด นิชลานนท์ แปล ส�ำนักพิมพ์สามัญชน
ไส้เดือนตาบอด วีรพร นิติประภา เขียน ส�ำนักพิมพ์มติชน
อัลแบร์ กามู เผยให้เห็นความโดดเดี่ยวแปลกแยกของเมืองโอร็อง เมื่อถูก กาฬโรคคุกคามไปทั่วเมือง ทั้งที่ผู้คนต่างเชื่อว่าโรคร้ายนี้จะไม่มีวันกลับมาแล้ว ชาวเมืองอยู่ในสภาพตัดขาดจากโลกภายนอก ประชาชนทั้งหลายค่อยๆ ตระหนักถึงอันตรายอย่างช้าๆ และมีอีกหลายกลุ่มที่เชื่อว่าโรคระบาดนี้ไม่ได้ น่ากลัวแต่อย่างใด ผู้เขียนเชื่อมโยงเหตุการณ์ในเรื่องกับประวัติศาสตร์ เมื่อครั้ง เยอรมันบุกยึดฝรั่งเศสอย่างราบคาบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีใครคิดว่า ชาติ เ ยอรมั น ที่ เ พิ่ ง พ่ า ยแพ้ ไ ปเมื่ อ 20 ปี ก ่ อ นจากสงครามโลกครั้ ง ที่ 1 จะ กลับมาสร้างหายนะแก่บ้านเมืองของพวกเขาอย่างย่อยยับโดยใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น
นี่คือเรื่องราวรักสามเส้าอันซับซ้อนและสับสนของสองหญิงและหนึ่งชายที่เติบโต มาในครอบครัวที่มีปัญหา สะท้อนความขัดแย้งของปัจเจก ความเปราะบางและ ความโดดเดี่ยวของคนร่วมสมัยที่น�ำไปสู่การสร้างสายสัมพันธ์ที่บอบบางและ ฉาบฉวยจนพร้อมจะร้าวขาดได้ทุกขณะ ซ้อนทับภาพสังคมไทยที่เต็มไปด้วย ความขัดแย้งทางการเมือง การใช้ลีลาเล่าเรื่องมหัศจรรย์ท่ามกลางชีวิตประจ�ำวัน ที่แสนธรรมดาอย่างคนร่วมสมัย เหมือนจะชี้ให้เห็นผลข้างเคียงเมื่อจิตใจตกอยู่ ใต้อิทธิพลของความรัก ความลังเล ความเกลียด และความเหงา ดังนักวิจารณ์ บางคนกล่าวไว้ว่านี่คือการพรรณนาความละเมียดละไมสลับกับการบรรยาย ความรุนแรงของความรู้สึกได้อย่างมีพลัง จนหมดตัว
เสน่ห์ของร้านหนังสือที่ซีกโลกใต้ Bookstore Style หนุ่ม หนังสือเดินทาง เขียน ส�ำนักพิมพ์สุขภาพใจ
ลาเลือนลิงลวง Beatrice&Virgil ยานน์ มาร์เทล เขียน l จักรพันธุ์ ขวัญมงคล แปล ส�ำนักพิมพ์แซลมอน
รวมบทความร้านหนังสือที่น่าสนใจหลากหลายร้าน จากการเดินทางส�ำรวจ ร้านหนังสืออิสระในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ของเจ้าของร้านหนังสือ เดินทาง (Passport Bookshop) ประกอบกับประสบการณ์กว่า 10 ปี ของเขา ได้ส่งแรงบันดาลใจแก่คนมีฝันอยากมีร้านหนังสือเป็นของตัวเองจ�ำนวนมาก หนังสือเล่มนี้พาเราไปส�ำรวจว่า ผู้คนในดินแดนอื่น กลุ่มคนเล็กๆ ที่รักหนังสือ ไอเดียและบรรยากาศของร้านหนังสือเฉพาะทาง และใส่ใจทุกรายละเอียด เหมาะส�ำหรับทั้งคนรักหนังสือและคนที่อยากเป็นเจ้าของร้านหนังสือ น่าสนใจว่า พวกเขาประนีประนอมความฝันกับความจริงเชิงธุรกิจให้อยู่รอดท่ามกลางยุคที่ เต็มไปด้วยร้านหนังสือเครือข่ายขนาดใหญ่และการซื้อหนังสือออนไลน์ที่ส่งสินค้า ข้ามโลกง่ายดายเพียงปลายนิ้วได้อย่างไร
นิยายเล่มนี้อาจไม่สนุกไปกว่า การเดินทางของพาย พาเทล (Life of Pi) เพราะ เข้าใจว่า ยานน์ มาร์เทล ผู้เขียนไม่ได้เอาแต่ความบันเทิงพิสุทธิ์ แต่ ลาเลือนลิงลวง (Beatrice&Virgil) เล่มนี้ใช้เทคนิคเล่าเรื่องเหนือชั้นกว่า การใช้สัตว์สองตัวเป็น อาวุธเชิงสัญลักษณ์เพื่อพูดถึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว น�ำเสนอผ่าน ความลึกลับของนักสตัฟท์สัตว์ อาชีพหนึ่งที่ก�ำลังสูญพันธุ์ และเป็นตัวละครที่มี สถานะน่าสนใจในห่วงโซ่แห่งการอุปมานี้ ยานน์ มาร์เทล ฮุกท้องน้อยด้วย ตอนจบท้ายเรื่องอย่างรุนแรง ทิ้งความเงียบไว้ในความเศร้าที่คงต้องปล่อยให้ ระเหยออกไปในอีกหลายวัน นิยายเล่มนี้ท�ำงานกับหัวใจคนอ่านอย่างโหดเหี้ยม ด้วยอุปมาในแววหน้านิ่งตายอย่างคนที่เลือดไหลออกไปแล้วจนหมดตัว
ขวัญชาย ด�ำรงค์ขวัญ : เรื่อง
-1 บนชั้นแนะน�ำของร้านหนังสือชื่อดัง หนังสือบาง ประเภทมักตั้งเด่นเป็นสง่า ไม่ว่าจะ ‘เคล็ดลับสู่ความร�่ำรวย’ ‘ช่วยชีวิตด้วยการแก้กรรม’ ไปจนถึง ‘ค�ำแนะน�ำเร่งรัดความ ส�ำเร็จ’ เมื่อหนังสือแบบเดิมๆ (เปลี่ยนเพียงหัวข้อและผู้เขียน) อยู่ในจุดแนะน�ำ ผู้อ่านบางคนก็เริ่มคล้อยตามว่านี่คือสิ่งที่ คนในสั ง คมอ่ า นกั น และบ้ า งอาจถึ ง ขั้ น คิ ด ว่ า นี่ ค งเป็ น ‘หนังสือดี’ ส่งผลให้หนังสือบางประเภทเหลือที่ทางน้อยลง เกิดเป็นปัญหาหนึ่งที่ใครต่อใครมักพูดกันว่า สังคมไทย ก�ำลังเผชิญกับความไม่หลากหลายของการเขียน-การอ่าน เราอาจหาตัวการของปัญหาได้ตั้งแต่ร้านหนังสือ ส�ำนักพิมพ์ นักเขียน หรือแม้แต่การจับจ่ายของนักอ่าน (ซึ่งแน่นอนว่าชี้ไปตรงไหนก็ถูกทั้งนั้น) แต่จริงหรือไม่ว่า.. การเอาแต่กล่าวโทษกันไปมาย่อมไม่สามารถท�ำให้บรรยากาศ ติดขัดคลี่คลายได้ แพรว-พราวพรรณราย มัลลิกะมาลย์ และ หวังกิตติศักดิ์ ปัญญาจิรกุล ไม่เพียงเห็นถึงปัญหา แต่พวกเขา ยังเห็นโอกาสที่จะคลี่ความติดขัดนั้นออก ทั้งคู่จึงร่วมกัน คิดค้นโมเดลธุรกิจแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ในชื่อ ‘afterword’ ขึ้นมา เพื่อขยายความเป็นไปได้ ให้กับผู้เขียนหนังสือที่ความตั้งใจยังไม่ผ่านกลไกการตลาด และสร้ า งทางเลื อ กใหม่ ๆ ให้ ผู ้ ส นใจหนั ง สื อ ที่ ห าได้ ย าก บนชั้นแนะน�ำ โดยผู้สร้างสรรค์เนื้อหา (ทั้งส�ำนักพิมพ์และ นักเขียน) สามารถลดความเสี่ยงด้วยการโยนหินถามทาง ผ่านรูปแบบ ‘การระดมทุน’ -2-
กาลครั้งหนึ่ง เพื่อนที่เป็นหมอเด็ก เล่าให้ฟังว่า “..เวลาที่ต้องอธิบายเด็ก ว่าอาการที่หนูเป็นคืออะไร หนูต้อง ท�ำตัวยังไง หรือบอกพ่อแม่ว่าน้องไม่ได้เป็นอะไรอย่างที่พ่อ แม่กลัว ก็นึกอยากจะให้มีหนังสือที่ดีๆ ส�ำหรับเด็กที่เป็นโรค ต่างๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน หัวใจ สมาธิสั้น อธิบายเด็กเรื่อง ตัวโรค และการดูแลตัวเอง แบบสนุกๆ แนวความคิดนี้เคย ไปเสนอส�ำนักพิมพ์แล้วเขาบอกว่าไม่มีตลาด ส�ำนักพิมพ์ จะท�ำหนังสือต้องค�ำนึงถึงความคุ้มทุน ก็เลยแป่ว..” ที่มา ส่วนหนึ่งของ afterword จากความสนใจร่วมของ ‘แพรว’ (อดีตอาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และ ‘หวัง’ (อดีตวิศวกร และอาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในการริเริ่ม ‘กิจการเพื่อสังคม’ สักอย่างขึ้นมา ค�ำพูดของหมอเด็กคนนั้นได้กลายเป็นต้นทาง ของแรงบันดาลใจ จนเกิดเป็นค�ำถามว่าจริงเหรอ..? ที่หนังสือ บางประเภทจะไม่มีผู้อ่านรอเป็นเจ้าของ ทั้งสองจึงออกหา ค�ำตอบโดยการตระเวนพูดคุยกับคนในแวดวงหนังสือ ทั้งเจ้าของ ส�ำนักพิมพ์ บรรณาธิการ นักเขียน นักอ่าน ฯลฯ จนได้รับรู้ขั้นตอน การท�ำหนังสือตั้งแต่ความคิดยังลอยอยู่ในอากาศจนออกมา เป็นรูปเล่ม รวมไปถึงบางแง่มุมของปัญหาที่ไม่เคยคิดมาก่อน “เราเคยมองว่าส�ำนักพิมพ์โหดจังเลย พิมพ์หนังสือ ออกมานักเขียนได้เปอร์เซ็นต์นิดเดียว เพื่อนบางคนที่เขียน หนังสือก็บอกว่าท�ำให้เป็นอาชีพมันยาก แต่พอเข้ามาคุยจริงๆ
พบว่าเขาก็ไม่ได้โหด มันก็มีเหตุผลของมันอยู่ แล้วคืออะไรนะ ที่ติดกับอยู่อย่างนี้ไปไหนไม่ได้” แพรวนึกย้อนถึงความสงสัย ด้วยความที่สนใจการท�ำธุรกิจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หวังพยายามท�ำความเข้าใจทุกๆ ตัวละคร ทั้งความจ�ำเป็น ทางธุรกิจของร้านใหญ่ ไปจนถึงพฤติกรรมการบริโภคสื่อ ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในเมื่อเค้กก็มีขนาดเท่านี้ คนก็แย่ง กันกิน พูดไปก็ไม่มีใครผิดใครถูก ค�ำถามคือจะมีทางท�ำให้ เค้กชิ้นโตขึ้น หรือแต่ละคนกินน้อยลงได้อย่างไร เขาได้ข้อสรุป เบื้องต้นว่า ส่วนหนึ่งของปัญหา (ซึ่งนับว่าเป็นส่วนส�ำคัญ) คือเรื่อง ‘เงินทุน’ ที่ส�ำนักพิมพ์ต้องแบกรับความเสี่ยงจาก การพิมพ์หนังสือออกมาครั้งละมากๆ หากสามารถลดความเสี่ยง นี้ได้ การปลดล็อคหนังสือดีๆ ก็อาจเกิดขึ้น สุดท้ายโมเดล ธุรกิจจึงมาลงเอยที่ ‘การระดมทุน’ ไม่ ว ่ า คุ ณ จะเป็ น นั ก เขี ย นหน้ า เก่ า หรื อ หน้ า ใหม่ อยากเขียนหนังสือเนื้อหาแบบไหน การร่วมงานกับ afterword คุณต้องเริ่มจากการตอบค�ำถามเหล่านี้เสียก่อน คือ ‘หนังสือ มีคุณค่าอย่างไร’ ‘หนังสือมีคุณค่ากับผู้อ่านกลุ่มใด’ และ ‘จะ สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้อ่านได้อย่างไร’ เมื่อพูดคุยจนเห็นความ เป็นไปได้ จึงเข้าสู่ขั้นตอนแปลงความคิดให้จับต้องได้ ทั้งจ�ำนวน เล่มพิมพ์ มูลค่าของการด�ำเนินงาน และรูปแบบผลตอบแทน ในแต่ละการระดมทุน หากก�ำหนดเวลาแล้วตัวเลขไม่ถึงเส้นชัย จะโอนเงินกลับคืนเต็มจ�ำนวน ส่วนหนังสือเล่มใดส�ำเร็จตาม เป้าหมาย ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนด�ำเนินงานอย่างจริงจัง ขณะเขียนต้นฉบับ มีหนังสือที่เข้าสู่ขั้นตอนระดมทุน แล้วทั้งสิ้น 3 เล่ม ได้แก่ Creativity Hunter เนื้อหาเล่าถึง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดย ผศ.ดร.การดี เลียวไพโรจน์, หลับตาดูหนัง โดย วิภว์ บูรพาเดชะ ที่เขียนถึง เบื้องหลังดนตรีในภาพยนตร์ และ เรื่องเล่าจากเงาฝัน โดย คิ้วต�่ำ และแป้งเขียว ที่เขียนและวาดภาพประกอบถึงตัวอย่างกิจการ เพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่น่าสนใจหลากหลายประเภท โดยสองเล่มแรกได้รับการตอบรับเกิดเป้าที่ตั้งไว้และก�ำลังเข้าสู่ ขั้นตอนการผลิต ขณะที่อีกเล่มหลังอยู่ในระหว่างการระดมทุน และอีกเล่มที่ก�ำลังจะเริ่มต้นระดมทุนคือ เด็กชายกะปิ ซึ่งเป็นหนังสือจากแนวคิดของหมอเด็กคนนั้น - คนที่เป็นหนึ่ง ในแรงบันดาลใจให้ทั้งคู่ได้ก่อร่างสร้าง afterword ขึ้นมา -3 หากพูดถึงการระดมทุนพิมพ์หนังสือ หลายคนคง นึกถึงการพิมพ์หนังสือธรรมะเป็น ‘ธรรมทาน’ ที่ผู้ให้มอบเงิน ไปแบบไม่หวังผลใดๆ กลับมา (ลึกๆ จะหวังบุญหรือเปล่า เรา ไม่แน่ใจ) หรือถ้ากับหนังสือทั่วไป วิธีการแบบ ‘พรีออเดอร์’ ที่ เปิดโอกาสให้ผู้อ่านสั่งจองหนังสือล่วงหน้า โดยมอบส่วนลดหรือ ของแถมเป็นการตอบแทน ก็เป็นสิ่งที่เห็นอยู่ทั่วไปในยุคการค้า ออนไลน์เฟื่องฟู ขณะที่โมเดลในแบบ afterword คือ ‘ระดมทุน แบบลงทุน’ ผู้อ่านจะเข้ามามีส่วนกับหนังสือมากกว่าแค่ผู้ซื้อ เพราะเขาจะเป็นหนึ่งในคนที่ท�ำให้หนังสือเล่มนั้นเกิดขึ้นจริง “มันเป็นผลประโยชน์ทางจิตใจในระดับหนึ่ง เพราะ อย่าง ‘พรีออเดอร์’ คือการซื้อหนังสือโดยไม่เห็นตัว ยังไงเราก็ได้ หนังสือแน่ๆ ขณะทีก่ ารระดมทุนแบบนี้ ถ้าไม่มคี ณ ุ และเพือ่ นมาช่วย หนังสือเล่มนัน้ ก็จะไม่เกิดขึน้ ” หวังพูดถึงความแตกต่างของวิธกี าร
จากความส�ำเร็จของสองเล่มแรก แม้จะไม่ได้พิมพ์ หนังสือเป็นจ�ำนวนมากมาย แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ได้อย่างดีว่า ท่ามกลางความกล้าๆ กลัวๆ (และมักลงท้ายด้วยการตัดสินใจ ไม่เสี่ยง) ของส�ำนักพิมพ์ หนังสือที่มีเนื้อหาเฉพาะกลุ่มยังมีผู้อ่าน ที่รอคอยหนังสืออยู่จ�ำนวนไม่น้อย ซึ่งแน่นอนว่ามันมากพอ จนท�ำให้เกิดเป็นรูปเล่มได้จริง ตัวแปรที่ส�ำคัญก็คือ เราจะหา กลุ่มคนเหล่านั้นเจอหรือไม่ “เราก็ตอ้ งดูวา่ คนทีน่ า่ จะได้รบั ประโยชน์จากหนังสือ ประเภทนี้อยู่ที่ไหน แทนที่จะใช้สปริงเกอร์ฉีดน�้ำไปทั่วๆ เราก็ใช้ สายยางพุ่งไปที่จุดเดียว นั่นเป็นจุดที่เราคิดว่า จะท�ำให้นักเขียน หน้าใหม่ประสบความส�ำเร็จได้” แพรวพูดถึงวิธีการพาหนังสือ ที่ชอบไปเจอคนอ่านที่ใช่ โดยอธิบายประกอบว่า ชื่อเสียงของ นักเขียนเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะถ้าการบรรจบกันของนักเขียน และนักอ่านเกิดขึ้น ความเป็นไปได้ก็ย่อมเปิดกว้าง -4 ควบคู่ไปกับการรอการติดต่อมาของนักเขียนมีฝีมือ afterword ยังท�ำงานเชิงรุก โดยออกไปผูกไมตรีกับส�ำนักพิมพ์ ต่างๆ เพื่อให้การพิมพ์หนังสือเนื้อหาเฉพาะกลุ่มมีความเป็นไปได้ ใหม่ๆ และขั้นต่อไปก็อาจมีรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่า จะอีบุ๊ค เวิร์คชอป หรืออะไรก็ตามที่อิงอยู่กับวิธีการ ‘ระดมทุน’ “afterword เป็นความพยายามที่จะท�ำให้หลายคน มีความสุขมากขึ้น ซึ่งวิธีคืนความสุขก็มีหลายแบบ ตอนนี้ เราคิดว่าเป็นการระดมทุน เรามองว่า เงินเป็นตัวจ�ำกัดอะไร หลายๆ อย่าง ถ้าเราสามารถเชื่อมต่อคนเขียนคนอ่านเข้าด้วยกัน ก็อาจมีทางปลดปล่อยหนังสือบางชนิดที่ไม่สามารถผ่านระบบ ปกติ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาทดสอบสมมุติฐานนี้ต่อไป” เสียงของเขา ดูมีหวังสมชื่อ จากยอดที่เกินเป้าของสองเล่มแรก การเปิดตัวของ afterword นับว่าสวยงามทีเดียว หลายคนรู้สึกตื่นเต้นไปกับ 19 การซื้อหนังสือรูปแบบใหม่ที่ร่วมลุ้นว่าจะถึงตามเป้าหรือไม่ และเขายังได้รับผลตอบแทนต่างจากร้านทั่วไป แต่หากมอง แบบกว้างๆ แล้ว การระดมทุนแบบนี้ยังนับเป็นเรื่องใหม่ใน สังคมไทย มีอีกหลายคนที่ไม่เข้าใจ ไม่กล้าเสี่ยง แม้กระทั่ง รู้สึกว่าขั้นตอนกรอกข้อมูลซับซ้อนจนลงเอยด้วยการถอดใจ การสร้างความต่อเนือ่ งเพือ่ ให้เป็นความปกติใหม่จงึ ยังต้องใช้เวลา เราปิดท้ายบทสนทนาด้วยค�ำถามว่า ในอีกห้าปี ข้างหน้า คนท�ำงานอย่างพวกเขาอยากเห็น afterword เติบโต ไปในทางไหน หวังเงียบอยู่ครู่หนึ่ง ก่อนจะตอบกลับว่า “มีเพื่อน ของน้องมาถามว่า ระดมทุนเล่มนี้กับ afterword หรือยัง” “เราอยากให้กลายเป็นพฤติกรรมการซื้อหนังสือ แบบหนึ่ง เขาสามารถมาซื้อแบบปกติก็ได้ หรือซื้อแบบระดมทุน ก็ได้ คือกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปเลย” แพรววาดฝัน ไปในทิศทางเดียวกัน
ส�ำนักพิมพ์ นักเขียน และนักอ่าน สามารถเป็นส่วนหนึ่งกับปรากฏการณ์ afterword ได้ที่.. afterword.co www.facebook.com/afterword.co
พื้นที่นี้เปิดรับงานเขียนสร้างสรรค์ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (พิมพ์เป็นไฟล์ Word ขนาดตัวหนังสือ 14 พอยท์) ส่งมาให้ทีมงานพิจารณาที่ contact@bookmoby.com
ในนาม ของความเงียบ จาบคา
กว่าที่เราจะรู้ตัวว่าคุยกันเสียงดังมากเกินไป ก็เมื่อแปรงลบกระดานปลิวลงมา ตกดัง “โครม” กลางวงนั่นแหละ เพือ่ นสองคนทีน่ งั่ อยูโ่ ต๊ะข้างหน้ารีบหันข้างกลับไป ทางหน้าห้องทันที เจอสีหน้าโกรธของคุณครูที่ปาชอล์กน�ำร่องมาก่อนตอนแรก แต่เรากลับยังไม่รู้ตัว สงสัยจะคุยกันเพลิน ส่วนแปรงลบกระดานได้ผลชะงัด เพราะ หลังจากนั้นก็ไม่มีนักเรียนคนไหนคุยกันอีกจนกระทั่งเสียงออดหมดคาบเรียน
20
วิทยาศาสตร์สขุ ภาพได้ การพูดคุยกับญาติพนี่ อ้ งก็จะออกรสออกชาติได้เต็มที่ ต่างจากคณะ สายวิทยาศาสตร์บริสทุ ธิใ์ นประเทศก�ำลังพัฒนา สุดท้ายก็จนใจต้องพักแถวไปอย่างเงียบๆ
แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งล่าสุดที่ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ที่เขย่าศิลปกรรมลอยตัว ในวัดของศิลปินแห่งชาติเอียงหักกระเท่เร่กเ็ กิดขึน้ อย่างเงียบๆ เช่นกัน ไม่มใี ครท�ำนาย ล่วงหน้าว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึน้ ในวันนัน้ และคาดการณ์วา่ จะเกิดอีกครัง้ เมือ่ ไร เพราะ เราโตมาพร้อมกับความเงียบ เราพูดถึงเรื่องหนึ่งได้ แต่ในขณะเดียวกัน รอยเลือ่ นค่อยๆ สะสมความกดดันระหว่างแผ่นเปลือกโลกไว้โดยไม่บอกใคร จนกระทัง่ ก็พูดถึงอีกเรื่องหนึ่งไม่ได้ในระดับเดซิเบลที่เท่ากัน เพราะเมื่อเราพูดถึงเรื่องหนึ่ง วันหนึ่งมันก็โพล่งความเสียหายออกมาเป็นบริเวณกว้างให้ทุกคนได้รับรู้ ในร้านก๋วยเตี๋ยว พอจะเปลี่ยนไปพูดถึงอีกเรื่องหนึ่ง เราก็ต้องเหลียวซ้ายแลขวา หูตาเป็นสับปะรดว่ามีคนอื่นนั่งอยู่ตรงนั้นไหม ถ้ามีคนอื่นนั่งอยู่เราก็จะไม่พูดถึง ไม่เหมือนฝน อย่างมากเราก็รจู้ ากข่าวพยากรณ์อากาศของกรมอุตนุ ยิ มวิทยา เรื่องนั้น คือเปลี่ยนเรื่องคุยไปเสีย ซึ่งมีเครื่องมือชั่งตวงวัดร่องความกดอากาศต�่ำที่พาดผ่านประเทศพม่าและลาว อย่างน้อยเราก็รู้ว่ามันจะมาในช่วงเปลี่ยนฤดูหรือตลอดฤดูฝน จะได้เตรียมร่มไว้ หรือ แต่ถ้าหากเรายังคะนองปากพูดถึงเรื่องนั้น เป็นไปได้ว่าจะมีคนจากโต๊ะ อย่างน้อยทีส่ ดุ มันก็เราก็รบี เก็บผ้าจากราวตาก พอเห็นเมฆครึม้ ทีต่ งั้ เค้ามาแต่ไกลและ ข้างๆ ลุกขึ้นมากดดันให้เราเงียบเสียงเรื่องราวเหล่านั้นไปเสียพับผ่า เลยกลายเป็น ส่งเสียง “ครืนๆ” โนติฟายก่อนพายุฝนจะกระหน�่ำลง ว่าเราต้องหลบมานั่งคุยกันถึงเรื่องบางเรื่องในนิวาสสถานของเราเองด้วยความ เกรงใจ หรือจับกลุม่ ซุบซิบกันในวงแคบๆ อาจเป็นสองต่อสองระหว่างนัง่ รอลูกเรียน อย่าว่าแต่จะมีโนติฟายรอยเลื่อนเคลื่อนตัวเมื่อไหร่เลย แม้แต่ความรู้ที่ว่า พิเศษแทน มี ‘รอยเลื่อนพะเยา’ อยู่ตรงพื้นที่นั้น เรายังไม่เคยพูดถึงมาก่อนเลย ไม่มีการสอนใน วิชาภูมิศาสตร์ หรือวิชาท้องถิ่นของเรา ท�ำให้ไม่มีการออกแบบบ้านเรือนให้รองรับ แม่ๆ สองคนจะคุยเรื่องอะไรกันได้อีก นอกจากผลการเรียนของลูกๆ ที่ ผลกระทบจากแผ่นดินไหว โรงเรียนเป็นอย่างไร สอบได้ทเี่ ท่าไร สอบแข่งขันสมาคมฯ หรือโอลิมปิกวิชาการหรือไม่ วิชานี้ต้องเรียนพิเศษที่สถาบันไหน เรียนทุกเย็นวันจันทร์ถึงศุกร์หรือเปล่า หรือเรียน เราต่างมาล่วงรูแ้ ละกล่าวถึงเรือ่ งราวเหล่านัน้ ในภายหลังจากการปะทะของ เฉพาะวันเสาร์อาทิตย์ วิชาม.ต้นย้ายลงมาเรียนตัง้ แต่ชนั้ ป.6 เลยดีไหม พอขึน้ ม.ต้น พลังงานที่อัดอั้นขึ้นมาแล้ว ก็จะได้เรียนซ�้ำอีกทีเป็นการเน้นย�้ำไปในตัว ในนามของความเงียบ เราไม่อาจเดาใจได้เลยว่าภายใต้ความเงียบนัน้ ซุกซ่อน แม่ไม่เป็นอันต้องท�ำอะไรในวันหนึ่งๆ แค่คอยท�ำกับข้าว ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้ อะไรไว้ในบ้านเมืองที่เติบโตมา ซึ่งในความจริงอาจไม่ได้ซุกซ่อนอะไรไว้เลยก็ได้ อะไร ลงมือจับจวักด้วยตัวเอง เรามีร้านขายอาหารส�ำเร็จรูปตักขายเป็นถุงๆ อยู่ เช้ามา ในที่นี้ก็อาจไม่ใช่ไม่มีสิ่งใดเลย แต่อะไรนั้นอาจเป็นแค่ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ก็แกะอุ่นบนเตาแก๊สหรือไม่ก็เข้าเตาไมโครเวฟ แล้วกดปุ่ม วันธรรมดาไปท�ำงาน และความไม่มีตัวตนที่เพียงแต่คนนั่งกินก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ไม่ใส่ถั่วงอกโต๊ะข้างๆ ส่วนวันหยุดคอยขับรถไปรับไปส่งลูกทีโ่ รงเรียนกวดวิชา ระหว่างนัน้ ก็จบั กลุม่ นัง่ วาง รับไม่ได้กับความธรรมดาๆ เท่านั้นเอง โร้ดแม็ปชีวิตลูกปีต่อๆ ไป เท่านี้ก็หมดเวลาท�ำการแล้ว ที่เหลือเป็นเวลานอน กว่าทีจ่ ะรูต้ วั ว่าเราเงียบกันเกินไป ก็เมือ่ คุณครูยนื นิง่ ค้างอยูห่ น้าห้องไปพักหนึง่ เมือ่ จบ ม.6 ก็ถงึ เวลาวัดผลประเมินผลพ่อแม่วา่ เลีย้ งลูกได้มาตรฐานตามตัว นั่นแหละ ไม่มีใครค�ำถามน�ำไปสู่บทเรียนที่แกเพิ่งถามไปเลย “ท�ำไมถึงไม่กล้าแสดง ชีว้ ดั ของสังคมหรือไม่ ลูกๆ เข้าเรียนคณะอย่างทีต่ อ้ งการหรือเปล่า ใครต้องการ พ่อแม่ ออกกันห๊ะ” แต่ก็ยังไม่มีใครตอบสนอง อย่างนั้นแกเลยแจกกระดาษให้เราคนละ หรือลูกเอง เราคุยกันถึงเรือ่ งราวเหล่านัน้ ไม่ได้ ใครว่า เราคุยกันได้ แต่พอคุยกันไปได้ แผ่นไว้เขียนข้อสงสัยระหว่างเรียน บังคับให้เขียนอย่างน้อยคนละหนึ่งค�ำถามส่งท้าย สักพัก แม่กส็ งั่ “ตามระเบียบ... (ลากเสียงยาว) พัก” ถ้าสามารถเข้าเรียนในคณะสาย คาบเรียน “เธอควรจะสงสัยอะไรบ้างล่ะ”
ค่ายเขียนงานสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3 คุณอาจเคยได้ยินค�ำกล่าวว่า “นักเขียนสอนกันไม่ได้” มาก่อน บ้างว่าอาชีพ นักเขียนเป็นเส้นทางที่ต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง บ้างว่าเกิดจากพรสวรรค์ บ้างว่าเกิดมาพร้อม การเคีย่ วกร�ำอย่างหนัก แต่นนั่ เป็นความจริงส่วนเดียว เราเชือ่ ว่าการได้แลกเปลีย่ นประสบการณ์ อันหลากหลายจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและนักเขียนอาชีพย่อมสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ได้ เสมอ แม้เพียงเวลาช่วงสัน้ ๆ การรวมตัวของคนรุน่ เดียวกันทีม่ บี รรยากาศของการปะทะความคิด และรับฟังความเห็นคนอืน่ อย่างสร้างสรรค์ยอ่ มน�ำไปสูว่ ฒ ั นธรรมการวิจารณ์ทแี่ ข็งแรง ไม่จำ� กัด แต่เพียงกลุ่มคนในแวดวงศิลปะ หากแต่เป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่จ�ำเป็นยิ่งต่อสังคมทุกวันนี้ โครงการ ค่ายเขียนงานสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร ครัง้ ที่ 3 ได้รบั การสนับสนุนจาก หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ร่วมกับ บริษทั บุค๊ โมบี้ จ�ำกัด จัดอบรมงาน ด้านวรรณกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากวิทยากรที่น่าสนใจ โดยใช้รูปแบบค่าย (workshop) เป็นกระบวนการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนทดลองจนเกิดประสบการณ์เชิงปฏิบัติการ อย่างแท้จริง การอบรมจัดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่ 3 พฤษภาคม - 14 มิถุนายน 2557 ณ หอศิลปกรุงเทพฯ การอบรมที่ผ่านมามีผู้ผ่านการคัดเลือกจ�ำนวน 15 คนจากจ�ำนวนผู้ส่งผลงานเข้าร่วม พิจารณากว่า 200 คน ดร.รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน นักวิชาการด้านวรรณกรรมสมัยใหม่ และผู้ศึกษาชีวิต และผลงานของกุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) บรรยายความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของค�ำว่า นวนิยาย หรือ Novel และการน�ำเข้านวนิยายจากต่างประเทศผ่านการแปล ก่อนจะ เกิดนวนิยายสร้างสรรค์จากนักเขียนปัญญาชน ซึง่ สอดคลองกับบริบทสังคมไทยและสถานการณ์ การเมืองโลก สภาวะสังคมภายใต้ผนู้ ำ� เผด็จการทหาร กระแสลัทธิคอมมิวนิสต์ และการเรียกร้อง สิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมในสังคม คุณปราบดา หยุน่ วิทยากรหลักประจ�ำค่าย อบรมในหัวข้อ “เรือ่ งสัน้ อเมริกนั ศึกษา” โดยคัดเลือกเรื่องสั้นร่วมสมัยโดดเด่นจากนักเขียนอเมริกันจ�ำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ หัวใจมันฟ้อง ของ เอ็ดการ์ อัลเลน โป, สองมือ ของ เชอร์วูด แอนเดอร์สัน, ใบสุดท้าย ของ โอ เฮนรี่ และ เนินเขา เสมือนช้างเผือก ของ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป็นต้นแบบส�ำหรับผู้เข้า อบรมได้ค้นหาแนวทางการเขียนของตนต่อไป คุณสุชาติ สวัสดิศ์ รี บรรณาธิการอาวุโสและศิลปินแห่งชาติ บรรยายถึงประวัตศิ าสตร์ วรรณกรรมสร้างสรรค์ในสังคมไทย ที่มาของการวิจารณ์งานเขียนแนวเพื่อชีวิตและงานเขียน น�้ำเน่า รวมถึงสถานะของงานแนวสัจนิยม (Realism) และกระแสงานเขียนสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical Realism) ซึ่งสัมพันธ์กับชีวประวัติและบทบาทการท�ำหน้าที่เป็นบรรณาธิการหนังสือ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ และวารสารช่อการะเกด รวมถึงหลักเกณฑ์การคัดสรรเรื่องสั้น และการ ท�ำงานเบือ้ งหลังทีผ่ ลักดันให้นกั เขียนจ�ำนวนมากแจ้งเกิดซึง่ หลายคนกลายเป็นทีร่ จู้ กั ในปัจจุบนั นอกจากนี้ คุณสุชาติยงั เล่าประสบการณ์การท�ำงานศิลปะแขนงอืน่ ๆ ซึง่ เชือ่ มโยงกับตัวตนตัง้ แต่ อดีตถึงปัจจุบันของคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรีอีกด้วย คุณโตมร ศุขปรีชา คอลัมนิสต์, นักแปล และพิธกี รรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดชีวติ การท�ำงานในกองบรรณาธิการนิตยสารหลายฉบับให้ฟงั พร้อมทัง้ ยกตัวอย่างวิธคี ดิ และวิธเี ขียน บทความสร้างสรรค์ ซึ่งได้แก่ การตั้งค�ำถามกับสิ่งที่จะเขียนเสมอ การเขียนแบบเชื่อมโยงหลาย เรื่องเข้าด้วยกัน การเขียนแบบ Active และ การเขียนแบบ Passive รวมถึงมุมมองการเขียน กับความจริงและความเป็นกลางในการเขียนงานแนวสารคดีซึ่งแตกต่างจากวิธีการเขียนแบบ วรรณกรรม ทั้งนี้ หากรู้จักน�ำวิธีเล่าเรื่องแบบวรรณกรรมมาปรับใช้ก็จะสามารถท�ำให้บทความ มีความสร้างสรรค์ แตกต่าง และน่าอ่านกว่างานเขียนที่มุ่งน�ำเสนอแต่ข้อเท็จจริง คุณศักดิส์ ริ ิ มีสมสืบ กวีรางวัลซีไรต์ นักดนตรี และจิตรกร เล่าประสบการณ์วยั เด็ก ที่มีความผูกพันกับบทกวีมาตั้งแต่การท่องบทอาขยาน บอกเล่าความเป็นมาก่อนจะกลายเป็น กวี มุมมองต่อบทกวีฉันทลักษณ์และไร้ฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงเบื้องหลังความคิด และแรงบันดาลใจในการเขียนบทกวีและการวาดภาพเพื่อบันทึกอารมณ์ความรู้สึก การเขียน บทกวีอย่างสร้างสรรค์ที่เกิดจากนิสัยดื้อรั้นและความขี้เล่นกับขนบของกวีนิพนธ์ รวมถึงสอน ปรัชญาการมองชีวติ ทีเ่ น้นการใช้ความรูส้ กึ และไม่ไว้ใจความคิด เชือ่ ประสบการณ์มากกว่าความรู้ คุณเมย์ ไวกิตติพงษ์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการผลิตงานภาพพิมพ์แห่ง Pianissimo Press Shop ให้ความรูเ้ บือ้ งต้นว่าด้วยงานภาพพิมพ์ตง้ั แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั รวมทัง้ แนะน�ำเทคนิคและ สาธิตให้ผเู้ ข้าอบรมได้ลองปัม๊ ภาพพิมพ์ดว้ ยตนเอง เพือ่ ให้เกิดความรูแ้ ละทักษะเบือ้ งต้นก่อนจะ น�ำไปปฏิบัติการสร้างสรรค์ภาพประกอบเรื่องสั้นของตนเอง ตลอดระยะเวลาการอบรม ผู้เข้าอบรมจะต้องเขียนเรื่องสั้น 1 เรื่อง โดยส่งงาน ตามระยะเวลาที่ก�ำหนด เพื่อให้วิทยากรประจ�ำค่ายได้วิจารณ์งานเขียนและน�ำไปแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้เข้าอบรมคนอื่นเพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ประเด็นร่วมของเรื่องสั้นทั้ง 15 เรื่องของผู้เข้าอบรมได้สะท้อนสภาวะของคน ร่วมสมัยที่ตั้งค�ำถามต่อวิถีปฏิบัติของคนในสังคม การให้คุณค่าและความหมายต่อความเชื่อ ชุดหนึ่งชุดใด ผลกระทบต่อปัจเจกชนที่ถูกกระท�ำจากโครงสร้างสังคมอันบิดเบี้ยว ผู้เขียนแต่ละ คนขับเน้นเรือ่ งเล่าของตนเองด้วยวิธกี ารทีห่ ลากหลาย ทัง้ การพรรณนาเรียบนิง่ แต่ให้ผลหยัง่ ลึก การถ่ายทอดระบบสัญลักษณ์ซอ้ นหลายนัยยะ การบรรยายความสับสนด้วยเรือ่ งเล่าเหนือจริง รวมถึง การหลีกหนีประสบการณ์แสนจริงสู่การช�ำระล้างในโลกแฟนตาซี เรื่องสั้นทั้ง 15 เรื่องจึงเป็น ความพยายามทีจ่ ะท้าทายกรอบการเล่าเรือ่ งตามสูตรไปสูค่ วามเป็นไปได้ของการสร้างสรรค์อนื่ ๆ บทบรรยายองค์ความรู้ของวิทยากรและผลงานเรื่องสั้นของผู้เข้าอบรมทั้ง 15 เรื่อง จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในหนังสือ สะกด3 (Sakod3) ซึ่งผู้สนใจสามารถซื้อได้จากหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และร้านหนังสือบุ๊คโมบี้ รีดเดอร์ส คาเฟ่
21
เรื่องและภาพ ปาลิดา พิมพะกร (instagram.com/foneko)
พูดถึงคาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่น Spoonful Zakka Café น่าจะเป็น ชื่อแรกๆ ที่หลายคนนึกออก การปรับรูปโฉมใหม่ของพื้นที่คาเฟ่ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา ยิง่ ท�ำให้ทนี่ เี่ หมาะส�ำหรับการพักผ่อน นัง่ อ่าน หนังสือ แถมยังให้แรงบันดาลใจส�ำหรับคนที่ชอบงานศิลปะด้วย คุณจิบ๊ -สิตานัน วุตติเวช เจ้าของร้านผูห้ ลงรักการท�ำขนมเล่า ให้ฟังว่า ออกแบบและปรับปรุงพื้นที่บางส่วนใหม่ในคอนเซ็ปต์ Atelier Living “เป็นคอนเซ็ปต์ทจ่ี ะพัฒนาหลังจากเปิดร้านมาแล้วสามปี Atelier หมายถึงสตูดิโอหรือบ้านที่มีการท�ำงานศิลปะ เราคิดว่าการท�ำขนม เป็นการท�ำงานศิลปะแบบหนึ่ง ส่วนสินค้าที่เลือกมา ส่วนใหญ่เป็นของ ผู้ผลิตรายย่อย เป็นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ นานา อยากให้คนที่มาได้ รับความรู้สึกที่ว่า ‘Create what you love in a place you like’ อย่าง เราเองก็ได้ลองท�ำในสิ่งที่ชอบ ในสถานที่ที่ชื่นชอบ ก็เลยอยากให้คน ที่กินขนมโฮมเมดหรือได้เห็นของใช้ต่างๆ แล้วเกิดแรงบันดาลใจ ซึ่งเขา สามารถไปท�ำสิ่งที่ตัวเองชอบในสถานที่ไหนก็ได้ ในแบบของเขาเอง” Spoonful Zakka Café แบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน คือคาเฟ่ ครัว 22
Spoonful Zakka Café 31 The Portico ชั้น 2 ซอยหลังสวน โทร. 026522278 (รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออก 4 เดิน 5 นาที) เปิดทุกวัน เวลา 11.00 - 19.00 น. เว็บไซต์: www.spoonfulzakka.com | อินสตาแกรม: instagram.com/spoonful zakkaCafe | เฟซบุ๊ค: facebook.com/pages/Spoonful/139628206064700
และมุมสินค้าจิปาถะ พืน้ ทีค่ าเฟ่ให้ความรูส้ กึ เป็นสตูดโิ อท�ำงาน เป็นห้อง ในสวนเหมือน Glass house มีกระจกบานใหญ่ที่มองออกไปเห็นต้นไม้ มีแสงส่องลอดเข้ามาเต็มทีท่ ำ� ให้อา่ นหนังสือได้อย่างสบายตา ส่วนเมนู ขนมแนะน�ำของร้านคือ “สโคน” มีหลายรสตามฤดูกาล เครื่องดื่มที่ขาย ดีที่สุดคือ “Matcha Chocolate Shake” พอหันไปเห็นกล่องชาที่มีภาพประกอบน่ารักกุ๊กกิ๊ก คุณจิ๊บ เล่าให้ฟงั เพิม่ เติมว่าน�ำชา Karel Capek ของนักวาดภาพประกอบญีป่ นุ่ Yamada Utako เข้ามาขายในเมืองไทยด้วย “เป็นชาที่ค่อนข้างดื่มง่าย ดื่มแล้วรู้สึกน่ารักเหมือนอยู่ในการ์ตูน คุณยามาดะวาดภาพประกอบ แพ็กเกจชาเพื่อสื่อถึงรสชาติกับอิมเมจของชาแต่ละตัวที่โดดเด่น แตกต่างกัน นอกจากชา ยังมีแก้วชา กาชา วางขายด้วย” ถ้าอยากได้ของทีร่ ะลึกกลับบ้าน สปูนฟูลฯ มีสนิ ค้าทีท่ ำ� ขึน้ เป็น พิเศษ อย่างของใช้ในครัวทีท่ ำ� จากไม้เนือ้ แข็งในเมืองไทย เป็นไม้จากการ ปลูกป่าทดแทน นอกจากนี้ มี MT Cutter กับเสื้อผ้า และอุปกรณ์เครื่อง เขียนให้เลือกดูเพลินๆ ด้วย
เหรียญยังมี 2 ด้าน... มนุษย์จึงมีหลายมุมให้เลือกมอง แต่ถ้าอยากศึกษามนุษย์คนหนึ่ง ก่อนที่จะตัดสินว่าเขาดีหรือเลว จึงต้องมองให้ครบทุกด้านอย่างลึกซึ้ง เหมาเจ๋อตุง ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ชายผู้มีภาพลักษณ์ดุจเทพเจ้าในสายตาของคนที่ยกย่องบูชาเขา แต่อีกภาพพจน์ ในสายตาผู้ต่อต้าน เขาเป็นผู้น�ำบ้าอ�ำนาจที่โหดร้ายทารุณ แม้เป็นเนื้อหารวมกันเพียงไม่กี่พันหน้าของหนังสือสองเล่มที่เขียนถึงชายผู้นี้ แต่คือสองมุมมองส�ำคัญที่จะท�ำให้ประวัติศาสตร์จีนต้องเปลี่ยนไป
เหมาเจ๋อตุง : MAO TSE-TUNG รอเบิร์ต เพน เขียน / อาษา ขอจิตต์เมตต์ แปล จ�ำนวน 520 หน้า / ราคา 420 บาท เส้นทางชีวิตของเหมามีสีสัน และเข้มข้นเกินกว่านิยาย โดยผู้เขียนกล่าวว่าน�ำเสนอเนื้อหาด้วยสายตาที่เป็นกลาง สุดแต่ว่าผู้อ่านจะตัดสินให้เขาเป็นสีอะไรก็เท่านั้น 'เหมา' เรื่องที่คุณไม่รู้ : MAO THE UNKNOWN STORY จุง ชาง, จอน ฮัลลิเดย์ เขียน / อายุรี ชีวรุโณทัย แปล จ�ำนวน 1,168 หน้า / ราคา 600 บาท เผยเบื้องลึกของเหมาเจ๋อตุง ภายใต้ภาพลักษณ์ผู้น�ำที่ยิ่งใหญ่ ครบถ้วนทุกช่วงชีวิต และหลากหลายเหตุการณ์ส�ำคัญที่ท�ำให้เห็นว่า เขายังมีรัก โลภ โกรธ หลง เฉกเช่นปุถุชนธรรมดาทั่วไป
มีจ�ำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป หรือสั่งซื้อในราคาพิเศษได้ที่ส�ำนักพิมพ์แสงดาว โทรศัพท์ 0-2954-9841-3 www.saengdao.com info@saengdao.com www.facebook.com/SaengdaoBook instagram:saengdaobook
...ถางไท่จงฮ่องเต้ตรัสแก่เว่ยเจิงว่า “...ข้าฯ แม้มิใช่หยกเนื้อดีส�ำหรับให้ท่านเจียระไน แต่ก็รบกวนท่าน ช่วยเตือนสติและควบคุมให้ข้าฯมีเมตตาคลองธรรม และหมั่นบ�ำเพ็ญขัตติยธรรม ท�ำให้ข้าฯ สามารถสร้างคุณูปการแก่บ้านเมือง ดังประจักษ์แก่สายตาท่านทั้งหลายในทุกวันนี้ ท่านเองก็นับได้ว่าคือ ช่างเจียระไนหยกฝีมือยอดเยี่ยมที่สุดแห่งยุคแล้ว !”... ...ถางไท่จงฮ่องเต้ตรัสว่า “ใช้ทองเหลืองเป็นคันฉ่อง ส่องเห็นใบหน้าแลอาภรณ์ ใช้ประวัติศาสตร์เป็นคันฉ่อง ส่องเห็นความรุ่งเรืองแลเสื่อมโทรม ใช้คนเป็นคันฉ่อง ส่องเห็นความส�ำเร็จแลล้มเหลว ข้าฯพยายามรักษาคันฉ่องสามบานนี้ไว้เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าฯกระท�ำความผิดพลาด บัดนี้ เว่ยเจิงถึงแก่กรรม ข้าฯ สูญเสียคันฉ่องไปหนึ่งบานเสียแล้ว” พระองค์ทรงกรรแสงกับเรื่องนี้อยู่นาน...
เจินกวน เจิ้งเย่า
ยอดกุศโลบายจีน (ปกแข็งสันโค้ง ๔๖๔ หน้า ราคา ๓๘๐ บาท) อธิคม สวัสดิญาณ เรียบเรียง ส�ำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์ ๒๐๑๑ สั่งซื้อโดยตรงได้ที่ สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐๒-๒๒๕๙๕๓๖-๔๐ โทรสาร ๐๒-๒๒๒-๕๑๘๘