Bookmoby Review Issue 4 (2014)

Page 1

1


2

วารสาร Bookmoby Review • บรรณาธิการบริหาร ปราบดา หยุ่น บรรณาธิการ อนรรฆ พิทักษ์ธานิน กองบรรณาธิการ ธนาคาร จันทิมา นักเขียนและนักแปลรับเชิญ สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ ปาลิดา พิมพะกร จิ ร ศั ก ดิ์ ปานพุ ่ ม อลิ ส า สั น ตสมบั ติ จารุ รั ต น์ เทศล� ำ ใย กฤตภาส ศั ก ดิ ษ ฐานนท์ ปรี ดี หงษ์ ส ตั น เกศณี ไทยสนธิ ที่ปรึกษา วินัย ชาติอนันต์ ทิ​ิชากร ชาติอนันต์ ออกแบบ ปราบดา หยุ่น มานิตา ส่งเสริม ผู้พิมพ์ บริษัท บุ๊คโมบี้ จ�ำกัด 7/54 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทรศัพท์ 02-106-3671, 086-374-3464 โทรสาร 02-106-3671 อีเมล contact@bookmoby.com เว็บไซต์ www.bookmoby.com เฟซบุ๊ค facebook.com/bookmoby ทวิตเตอร์ twitter.com/bookmoby อินสตาแกรม instgram.com/bookmoby พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์ 296 ซอยอรุณอัมรินทร์ 30 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กทม. 10700 โทร. 0-2433-0026 ถึง 7

ภาพถ่ายปก โดย ธวัชชัย พัฒนาภรณ์


เรื่อง กองบรรณาธิการ

ฉบับที่ 4 เล่มนี้ น� ำ เสนอเรื่ อ งราวน่ า รู ้ ว ่ า ด้ ว ย รางวั ล วรรณกรรมส�ำคัญในโลก ประกอบบท แนะน�ำนักเขียนรางวัลโนเบลคนล่าสุด แพทริก โมเดียโน นักเขียนชาวฝรั่งเศส ที่คว้ารางวัลไปครองเหนือความคาด หมายของนักวิจารณ์ และเหนืออื่นใด เราขอแสดงความยิ น ดี กั บ นั ก เขี ย น ซีไรต์ประจ�ำปี 2557 แดนอรัญ แสงทอง กับผลงานรวมเรือ่ งสัน้ ‘อสรพิษและเรือ่ ง อื่นๆ’ พร้อมบทสัมภาษณ์พิเศษในเล่ม นั่ น คื อ ของขวั ญ ที่ บุ ๊ ค โมบี้ ข อมอบแก่ นักอ่านของเราในวารสารฉบับสุดท้าย ของปีนี้ Bookmoby Review

ในงานประกาศผลรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม ประจ�ำปี 1964 บนเวทีวันนั้นว่างเปล่า ไม่มีใคร เดินขึ้นไปปรากฏตัวเพื่อรับรางวัล ฌ็อง ปอล ซาตร์ นั ก ปรั ช ญาและนั ก เขี ย นชาวฝรั่ ง เศส ประกาศปฏิเสธรับรางวัลครั้งนี้โดยให้เหตุผล ไว้ว่า “นักเขียนควรปฏิเสธการปล่อยตัวเองให้ กลายเป็นส่วนหนึ่งกับสถาบัน(รางวัล) แม้ว่าจะ เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่มีเกียรติอย่างที่สุด ดังที่เกิดขึ้นอยู่นี้ก็ตาม”

ขณะทีค่ ำ� ประกาศของคณะกรรมการตัดสินรางวัล โนเบลได้กล่าวถึงชีวติ และผลงานของ ฌ็อง ปอล ซาตร์ ออก มาได้น่าประทับใจว่า “ส�ำหรับงานของซาตร์ที่รุ่มรวยด้วย ความคิด เติมเต็มจิตวิญญาณของเสรีภาพ และเปี่ยมล้น ด้ ว ยการแสวงหาความจริ ง นั้ น ได้ ส ่ ง อิ ท ธิ พ ลไปไกลสุ ด ขอบเขตเท่าทีย่ คุ สมัยของเราจะไปถึง” ซึง่ ทุกวันนีก้ ด็ เู หมือน เขาจะหนีไม่พ้นร่มเงาของรางวัลโนเบลแต่อย่างใด เพราะ ทันทีเมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่ เราก็มักต้องเอ่ย ใคร่ครวญคู่กันว่าเหตุใด ‘ฌ็อง ปอล ซาตร์ จึงกลายเป็น นักเขียนผู้ไม่รับรางวัลโนเบล’ รางวั ล ทางวรรณกรรมกั บ นั ก เขี ย นจึ ง เสมื อ น ไม้เบื่อไม้เมา ที่มีทั้งคุณและโทษ คุณหนึ่งคือผลดีในแง่ การเพิ่มรายได้ยอดขายผลงาน อีกคุณหนึ่งคืออาจเปลี่ยน นักเขียนใหม่ให้กลายเป็นนักเขียนโด่งดัง หรือยกระดับ นักเขียนรุ่นเก๋าไปสู่สภาวะคลาสสิกตลอดไป ส�ำหรับซาตร์ การเอาตัวไปรับรางวัลเท่ากับจ�ำกัดตัวตนไว้ในกรอบที่ กรรมการนิยาม ชีวิตและผลงานที่สั่งสมมาจะถูกผูกโยง เชื่อมร้อยกับชุดค�ำอธิบายและความหมายเชิงคุณค่าที่ สถาบันหนึง่ ๆ สลักไว้เป็นนามสกุลทีส่ อง ไม่วา่ จะปรารถนา มันหรือไม่ก็ตาม งานศิลปะแขนงใดใดก็ตาม กรรมการใหญ่ทคี่ อย ตัดสินและประเมินค่าอย่างแท้จริง ดูเหมือนจะเป็นหน้าที่ ของกาลเวลาเสียมากกว่าภาระของมนุษย์ บทบาทของ รางวัลจึงน่าสนใจและท้าทายให้ตงั้ ค�ำถามไม่นอ้ ยถึงความ จ�ำเป็นทีค่ วรมีอยู่ และในความย้อนแยงนีเ้ อง นักเขียนบางคน เลือกจะสนุกหยอกเอินกับมันแทน “รางวัลมันก็เป็นแค่ อมยิ้มทางวรรณกรรม” แดนอรัญ แสงทอง กล่าวไว้เช่นนั้น

กรุงเทพฯ ร้าน Bookmoby หอศิลปกรุงเทพฯ ร้าน Gallery กาแฟดริป หอศิลปกรุงเทพฯ ร้านกาแฟสาขาในเครือ Tom N Tom HHOM Cafe ร้านบางหลวง ร้านกาแฟนรสิงห์ ร้านศึกษิตสยาม ร้าน Candide Books&Cafe ร้านหนังสือเดินทาง

“การค้าหนังสือประดิษฐ์ สร้างรางวัลวรรณกรรม ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นยอดขาย ไม่ใช่รางวัลการกุศล” ไมเคิล มัวร์ค็อค (ค.ศ.1939-ปัจจุบัน) นักเขียนชาวอังกฤษ

ต่างจังหวัด ร้านสวนเงินมีมา ร้าน Café Little Spoon House Rama RCA ร้านต้น สุขุมวิทซอย 39 ร้านริมขอบฟ้า ร้านมะลิมะลิ ร้าน Hemlock พระอาทิตย์ ร้าน Dialogue Coffee and Gallery ผ่านฟ้า

ร้าน Old Town เฟื่องนคร ร้าน Old Man Café บางขุนนนท์ ร้าน Too Fast to Sleep ร้าน Lamune สยามสแควร์ ร้านประตูสีฟ้า เอกมัย ร้าน Ceresia พร้อมพงศ์

ร้าน Lonely Pai by Freeform แม่ฮ่องสอน ร้านเล่า เชียงใหม่ ร้าน Book Re:public เชียงใหม่ ร้านฟิลาเดลเฟีย Book & Bar อุบลราชธานี ร้าน Booktopia อุทัยธานี ร้านกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี ร้านเฟื่องนคร นครราชสีมา ร้าน Buku Books & More ปัตตานี


รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม (Nobel Prize in Literature)

เล่ากันว่า รางวัลอันเก่าแก่และทรงเกียรติที่สุดส�ำหรับมนุษยชาติรางวัลนี้ ถือก�ำเนิดขึ้น จากความเสียใจของผู้ชายคนหนึ่ง ชื่อ อัลเฟรด โนเบล หนุ่มชาวสวีเดนผู้รำ�่ รวยจาก ไดนาไมท์ที่เขาประดิษฐ์ ซึ่งคร่าชีวิตมนุษยชาติไปมากมายกว่าสงครามที่เคยมีมา เมื่อ หนังสือพิมพ์ในฝรั่งเศสประณามว่าเขาคือ พ่อค้าความตาย อัลเฟรดตัดสินใจแบ่ง ทรัพย์สินกว่า 94% เพื่อตั้งรางวัลยกย่องมนุษย์ผู้ท�ำประโยชน์แก่โลกใบนี้ 5 สาขา ได้แก่ สาขาฟิสิกส์ สาขาเคมี สาขาการแพทย์ สาขาสันติภาพ และสาขาวรรณกรรมก็ติด 1 ใน 5 นั้นด้วย

กว่ า 113 ปี ที่ ร างวั ล โนเบลก่ อ ตั้ ง ขึ้ น มา มี นั ก เขี ย นจากหลาย เชื้อชาติทั่วโลกได้รับรางวัลนี้ น�ำโด่งด้วยชาตินักคิดอย่างฝรั่งเศส (15) คู่คี่ด้วยมหาอ�ำนาจระหว่างอเมริกาและอังกฤษซึ่งมีจ�ำนวน เท่ากัน (11) และเยอรมันเป็นล�ำดับถัดมา (8)

สัดส่วนจ�ำนวนนักเขียนชาย ต่อ นักเขียนหญิง

4

                                            

11.72%

98.28%

ปีที่ไม่ได้มอบรางวัลแก่นักเขียนคนใด ส่วนใหญ่คือช่วงเวลาที่โลก ก�ำลังวุ่นวายท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2

1914, 1918, 1935, 1940, 1941, 1942, 1943

อายุเฉลี่ยของนักเขียนขณะได้รับรางวัลโนเบล

64.3 ปี

อายุเฉลี่ยของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อเทียบกับรางวัล โนเบลสาขาอื่นๆ

$ (สาขาเศรษฐศาสตร์)

(สาขาการแพทย์)

67 ปี /

58 ปี /

(สาขาวรรณกรรม)

(สาขาเคมี)

65 ปี /

58 ปี /

(สาขาสันติภาพ)

(สาขาฟิสิกส์)

61 ปี /

55 ปี /

อายุเฉลี่ยทุกสาขา 59 ปี อายุนักเขียนที่มากที่สุดขณะรับรางวัลโนเบล

ดอริส เลสซิง นักเขียนหญิงชาวอังกฤษ

อายุ 88 ปี (ปี 2007)

อายุนักเขียนที่น้อยที่สุดขณะรับรางวัลโนเบล

รัดยาด คีปลิง นักเขียนชายชาวอังกฤษ

อายุ 42 ปี (ปี 1907)

นักเขียนที่ปฏิเสธการรับรางวัลโนเบล

ใช่ว่าทุกคนจะปรารถนาการการันตีคุณค่าผลงานตลอดชีวิตของตนเองด้วยรางวัลเสมอไป นักปรัชญา ฝรั่งเศส อย่าง ฌ็อง ปอล ซาตร์ ปฏิเสธการยอมรับความหมายและคุณค่าใดๆ จากรางวัลอย่างเป็น ทางการ ขณะที่ บอริส ปาสเตอนาค นักเขียนนวนิยายชาวรัสเซียยุคสงครามเย็น ผู้เขียนวรรณกรรม เรื่อง ดอกเตอร์ชิวาโก ปฏิเสธการรับรางวัลเนื่องจากถูกกดดันจากทางการในประเทศของตน ส่วนนักเขียนที่ได้รับรางวัลแต่ไม่ได้เดินทางมาในวันประกาศผลคือ เอลฟรีเดอ เยลีเนก นักเขียนบทละครชาวออสเตรีย ซึ่งให้เหตุผลส่วนตัวว่า เธอมีอาการกลัวการปรากฏตัวในที่ชุมชน (Agoraphobia) ท�ำให้เธอเลือกที่จะส่งข้อความผ่านวีดิโอมาเปิดในงานแทน


รางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prize)

& Pulitzer Prize ตัวอย่างวรรณกรรมคลาสสิกของนักเขียนชื่อดัง แต่ตกรอบในปีที่ส่งประกวดนั้นอย่างน่าเสียดาย

N ปี 1952 N

ตกรอบ: The Catcher in the Rye* โดย เจ. ดี. ซาลินเจอร์ ชนะเลิศ: The Caine Mutiny by Herman Wouk *จะเป็นผู้คอยรับไว้ไม่ให้ใครร่วงหล่น (ฉบับแปลไทย โดย ส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์)

N ปี 1941 N

ตกรอบ: For Whom the Bell Tolls* โดย เออเนสต์ เฮมิงเวย์ ฉบับแปลภาษาไทย ชนะเลิศ: ไม่มีใครได้รับรางวัลในปีนี้ *ศึกสเปญ (ฉบับแปลไทย โดย ส�ำนักพิมพ์แสงดาว)

N ปี 1930 N

ตกรอบ: A Farewell to Arms ของ เออเนสต์ เฮมิงเวย์ และ The Sound and the Fury* ของ วิลเลียม โฟลคเนอร์ ชนะเลิศ: Laughing Boy by Oliver La Farge *ความเดือดดาลในกระแสเสียง (ฉบับแปลไทย โดย ส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์)

N ปี 1926 N

ตกรอบ: The Great Gatsby* ชนะเลิศ: Arrowsmith by Sinclair Lewis *สุดที่รักผู้มั่งคั่ง (ฉบับแปลไทย โดย ส�ำนักพิมพ์แอโรว์ คลาสสิกบุ๊ค)

รางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prizes) เป็นรางวัลทรงเกียรติสูงสุดระดับชาติในวงการ สิ่งพิมพ์ของสหรัฐอเมริกา มอบแด่ผลงานที่ประสบความส�ำเร็จจากหลากสาขากว่า 21 ประเภท อาทิ งานวรรณกรรม งานประพันธ์เพลง งานถ่ายภาพ งานวิจารณ์ งานสารคดี งานบรรณาธิการ เป็นต้น โดยมีเงินรางวัลแก่ผู้ชนะ 10,000 เหรียญสหรัฐฯ บริหารโดย มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย แห่งนครนิวยอร์ก ก่อตั้งโดย โจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ชื่อดัง เชื้อสายฮังการี-อเมริกัน ผู้มอบเงินจ�ำนวน

2 ล้านเหรียญฯ ไว้ในพินัยกรรมแก่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เงินส่วนหนึ่งของกองมรดกนี้ได้ถูกน�ำไปใช้ ก่อตั้งสถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในปี 1913 และมีการมอบรางวัลพูลิตเซอร์รางวัล แรกในอีก 4 ปีต่อมา จนถึงปัจจุบัน ส�ำหรับประเภทวรรณกรรม มีนักเขียนอเมริกันที่ได้รับรางวัล และมีผลงานแปลเป็นที่คุ้นเคย ของนักอ่านชาวไทยหลายคน อาทิ วิลเลียม โฟลคเนอร์, จอห์น อัพไดก์, จอห์น สไตน์เบ็ค และ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์

รางวัลแมน บุ๊คเกอร์ ไพรซ์ (Man Booker Prize)

นวนิยายที่ได้รับรางวัลจากเวทีแมน บุ๊คเกอร์ ไพรซ์ เหมือนจะมีเอกลักษณ์ไปในทิศทาง เดียวกัน คือ เป็นหนังสือที่ชาญฉลาดพอจะดึงดูดนักอ่านที่มีปัญญาเสมอกัน ความ ทะเยอทะยานนีไ้ ด้พสิ จู น์เป็นทีป่ ระจักษ์ตลอดเวลากว่า 45 ปีแล้วว่ามีอทิ ธิพลต่อนักอ่าน กระทั่ง นักเขียนในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเพียงใด

ในเบื้องต้น รางวัลนี้มอบแก่นวนิยายภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักร โดยตัดสิน จากเกณฑ์ง่ายๆ เพียงประโยคเดียวคือ ‘ต้องเป็นนวนิยายที่ดีที่สุดในความเห็นของผู้ตัดสิน’ นั่นท�ำให้ ในปัจจุบัน กระบวนการตัดสินได้เพิ่มบุคคลจากหลากหลายแวดวงอาชีพเข้ามาร่วมพิจารณาผลงาน อาทิ กวี นักการเมือง นักข่าว นักวิจารณ์ นักวิชาการ กระทั่ง นักแสดง เพื่อให้นวนิยายที่ได้รางวัลเป็น ผลงานทีเ่ หมาะแก่บคุ คลทัว่ ไป รวมถึงส่งผลต่อการเป็นสถาบันทางวรรณกรรมทีน่ า่ เชือ่ ถือ ทัง้ นี้ นอกจาก เงินรางวัลแล้ว สิ่งที่นักเขียนผู้ชนะเลิศ หรือแม้กระทั่งผู้เข้ารอบชอร์ตลิสต์ได้รับคือการออกแบบหนังสือ จากดีไซเนอร์ยอดฝีมือ เพื่อตอบสนองจุดประสงค์หนึ่งของรางวัลนี้ นั่นคือการเผยแพร่ให้ออกไปในวง กว้างที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ปี 2005 กลุ่ม Man Group ได้แตกสาขารางวัล Man Booker International Prize ขึ้นอีก เวทีหนึ่ง เพื่อมอบแก่นักเขียนนานาชาติ ที่ตีพิมพ์/แปลนวนิยายภาษาอังกฤษ โดยจัดมอบรางวัลทุก 2 ปี ต่อมา ปี 2007 ได้เกิดรางวัล Man Asian Literary Prize หรือ Asian Literary Prize เพื่อเปิดพื้นที่ การแข่งขันเฉพาะแก่นักเขียนเอเชียที่ตีพิมพ์/แปลนวนิยายเป็นภาษาอังกฤษ

รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (S.E.A. Write Awards)

ปากกาสิบด้าม ถูกน�ำมาใช้เป็นตัวแทนของนักเขียนและกวีจากสมาชิก 10 ประเทศในกลุม่ อาเซียน โดยคัดสรรและตัดสินมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศในแต่ละประเทศ บางประเทศ ตัดสินรางวัลจากผลงานแต่ละชิ้นของผู้เขียน บางประเทศพิจารณาจากชีวิตและผลงาน ของผู้เขียน หมุนเวียนประเภทรางวัลไปแต่ละปี อาทิ เรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ บท ละคร รวมถึง งานสารคดี งานเขียนเชิงศาสนา และนิทานพื้นบ้าน แตกต่างกันไปตาม เกณฑ์แต่ละประเทศ พิธกี ารมอบรางวัลจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมี พระบรมวงศานุวงศ์เป็นองค์ประธาน

5


7 รางวัล วรรณกรรมที่มี มูลค่าสูงสุดในโลก

l เงิน (บาท) 44.4 ล้าน

27.8 ล้าน

l รางวัล

l ประเภท

l เจ้าภาพ

l ภาษา

Nobel Prize for Literature

Sweden

Any

Astrid Lindgren Memorial Award

Sweden

Any

Premio Planeta de Novela

Spain

Spanish

International Ibsen Award

Norway

Any

The Dorothy and Lillian Gish Prize

United States

English

Etisalat Award for Arabic Children's Literature

United Arab Emirates

Arabic

Premio Primavera de Novela

Spain

Spanish

24.8 ล้าน 13.9 ล้าน 9.7 ล้าน

Author Book

6

8.8 ล้าน 8.2 ล้าน

Nobel Prize for Literature

Premio Planeta de Novela

Astrid Lindgren Memorial Award

รางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรมนี้ จัดมอบโดยสภาราชบัณฑิต แห่งสวีเดน คัดเลือกผลงานหลายภาษาจากนักเขียนทั่วโลก โดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์เฉพาะที่ไม่อาจคาดเดาได้ ด้วย เหตุนี้จึงไม่ค่อยเห็นนักเขียนยอดนิยมจากนักอ่านร่วมสมัย ได้รับรางวัล อาทิ เจมส์ จอยซ์, ลีโอ ตอลสตอย, อันตัน เชคอฟ, มาแซล พรุสต์ เฮนริก อิบเซน หรือฮารูกิ มูราคามิ ที่นักอ่าน ชาวไทยจ�ำนวนไม่นอ้ ยชูป้ายไฟรอก็ตอ้ งมอบคิวของปีนใี้ ห้กบั แพทริก โมเดียโน นักเขียนชาวฝรั่งเศส ผู้แม้แต่นักอ่านโลก ภาษาอังกฤษเองก็ยังรู้จักอยู่ในวงจ�ำกัด

แม้จะเป็นรางวัลวรรณกรรมที่มีมูลค่าเป็นรองเพียงรางวัล โนเบลเท่านั้น แต่หากมองว่าเป็นรางวัลวรรณกรรมที่มอบแก่ หนังสือเฉพาะเล่มหนึง่ เล่มใดแล้ว ก็ถอื ว่ารางวัลนีม้ มี ลู ค่าสูงสุด ในโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1952 โดยกลุ่มผู้จัดพิมพ์ในสเปนชื่อว่า Planeta และประกาศรางวัลในวันที่ 15 ตุลาคมของทุกปี โดย ตั้งใจให้ตรงกับวันเฉลิมฉลองแด่แม่ชีเทเรซา

สวี เ ดนนั บ เป็ น ประเทศที่ มี น โยบายน่ า ปรบมื อ ให้ อ ยู ่ เ สมอ รางวัลที่มีมูลค่าอยู่อันดับสามของโลกนี้ ก่อตั้งโดยรัฐบาล สวีเดน เมื่อปี 2002 เพื่อเป็นเกียรติแก่ แอสตริด ลินด์เกรน นั ก เขี ย นวรรณกรรมเยาวชนชื่ อ ดั ง โดยแยกให้ ร างวั ล ทั้ ง ฝั่งนักเขียนเรื่อง นักวาดภาพ นักเล่านิทาน ส�ำหรับผลงานที่ สร้างสรรค์ที่สุดในแต่ละปี เพื่อเป็นหน้าตาของชาวสวีเดนต่อ เยาวชนนักอ่านทั่วโลก

Premio de Novela Ciudad de Torrevieja

International Ibsen Award

The Dorothy and Lillian Gish Prize

รางวัลเกณฑ์แปลกรางวัลนี้จัดกันขึ้นที่เมืองชายทะเลแห่ง หนึ่งในสเปน ด้วยไอเดียของนายกเทศมนตรี Torrevieja ใน ปี 2001 ร่วมกับส�ำนักพิมพ์ Plaza & Janés ที่ต้องการให้ รางวัลแก่ตน้ ฉบับนวนิยายภาษาสเปนทีย่ งั ไม่ได้รบั การตีพมิ พ์ มาก่อน อนึ่งก็เพื่อเหตุผลการท่องเที่ยวท�ำให้วรรณกรรมได้พา ชื่อเมืองเล็กๆ ที่ต่อท้ายรางวัลอย่าง Torrevieja ไปสู่สายตา นักอ่านในวงกว้าง แต่ดว้ ยโจทย์ทเี่ ริม่ ต้นจากความสนุกนีเ่ องที่ ท�ำให้รางวัลนีม้ คี วามเป็นไปได้หลากหลาย ในปี 2009 เป็นครัง้ แรกทีน่ วนิยายซึง่ มีนกั เขียนสองคนร่วมกันเขียนได้รบั อนุญาต ให้ส่งเข้าประกวดได้

รางวัลสัญชาตินอรเวย์นใี้ ห้ความส�ำคัญแก่บรรดานักเขียนบท และนักการละครจากหลากเชื้อชาติทั่วโลกได้มายืนแถวหน้า ในโลกศิลปะการแสดง แม้รางวัลนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับ เฮนริก อิบเซน นักเขียนบทละครชื่อดังแต่อย่างใด รัฐบาลนอรเวย์ก็ เลือกทีจ่ ะมอบรางวัลให้แก่ผชู้ นะเลิศในวันครบรอบวันเกิด เพือ่ ยกย่องนักเขียนคนส�ำคัญของชาติผนู้ อี้ กี ทางหนึง่ ด้วย พิธมี อบ รางวัลครั้งแรกมีขึ้นในปี 2008 ตรงกับวันเกิดของอิบเซนและ เป็นเช่นนั้นเรื่อยมาทุกปี

รางวัลที่มีมูลค่าสูงสุดส�ำหรับคนท�ำงานศิลปะสาขาต่างๆ ใน อเมริกา อาทิ นักแสดง ผู้ก�ำกับ นักเขียน สถาปนิก ฯลฯ เกิดขึ้น ด้วยปณิธานมุง่ หมายว่าจะมอบรางวัลแก่ “ชายหรือหญิงคนใด ที่ยืนหยัดอุทิศตนรังสรรค์ความงดงามแก่โลก เพื่อยังความสุข แด่มนุษยชาติ และความเข้าใจต่อชีวิต” คือรางวัลที่ก่อตั้งโดย สองสาว โดโรธี และลิลเลียน กิช พี่น้องนักแสดงที่ต้องการให้ รางวัลนีเ้ ป็นก�ำลังใจแก่ศลิ ปินผูท้ ำ� งานบนเส้นทางทีต่ นรักและ มีประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

“ฉันพูดไม่ได้เสียทีเดียวว่าฉันรู้สึกประหลาดใจ เพราะฉันอายุ 88 ปีแล้ว และพวกเขาไม่อาจมอบรางวัลโนเบลให้แก่คนที่ตาย ไปแล้วได้ ฉะนั้น ฉันจึงคิดว่าพวกเขาเห็นควรว่าคงจะดีกว่า หากมอบรางวัลแก่ฉันขณะนี้เสียก่อนที่ฉันจะหายไป” ดอริส เลสซิง (ค.ศ.1919-2013) นักเขียนชาวอังกฤษ

Etisalat Award for Arabic Children's Literature รางวัลวรรณกรรมที่มูลค่าสูงสุดในโลกภาษาอารบิกยกให้แก่ วรรณกรรมเยาวชน ด้วยด�ำริรเิ ริม่ และทุนทรัพย์จาก พระชายา ในสุลต่านบิน มูฮัมหมัด อัล กาสิมี แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในปี 2009 เปิ ด รั บ ต้ น ฉบั บ ที่ เ ขี ย นด้ ว ยภาษาอาหรั บ และ เผยแพร่แล้วไม่เกินสามปี ไม่เคยได้รบั รางวัลใดมาก่อน เนือ้ หา ไม่ละเมิดธรรมเนียมและประเพณีในสังคมชาวอาหรับ เหมาะ ส�ำหรับเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี โดยแบ่งรางวัลเป็นหลายประเภท อาทิ เรื่องยอดเยี่ยม, ภาพประกอบยอดเยี่ยม การผลิตยอด เยี่ยม รวมถึงรางวัลชหนังสือส�ำหรับเด็ก/เยาวชนแห่งปี ซึ่งจะ ประกาศผลในเทศกาลหนังสือนานาชาติประจ�ำปี


คุยกับ “แดนอรัญ แสงทอง” ซีไรต์คนล่าสุด ว่าด้วย

‘รางวัลวรรณกรรม’

แดนอรัญ แสงทอง คือนามปากกาของ เสน่ห์ สังข์สุข นักเขียนที่เพิ่งได้รับ 'อมยิ้มทาง วรรณกรรม' อันหนึง่ มาหมาดๆ นัน่ คือรางวัลซีไรต์ประจ�ำปี 2557 จากผลงานรวมเรือ่ งสัน้ อสรพิษและเรือ่ งอืน่ ๆ Bookmoby Review ได้ชวนเขาคุยเกีย่ วกับรางวัลทางวรรณกรรมรวม ถึงผลงานของเขา ในท่าทีจริงจังผสมอารมณ์ขันอันเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของนักเขียนผู้ ถูกขนานนามว่าขบถวรรณกรรม อยากให้พี่เฟิ้มพูดเกี่ยวกับรางวัลทางวรรณกรรม รางวัลวรรณกรรมก็เป็นอมยิ้มทางวรรณกรรมทั้งสิ้น ท�ำให้ฟันผุ ท�ำให้ระบบลมหายใจติดขัด เป็นอันตรายต่อล�ำคอและกระเพาะอาหาร รางวัลทางวรรณกรรมเป็นอันตรายต่อนักเขียนทัง้ สิน้ ก็ถอื ว่า เป็นความก้าวหน้าของมนุษยชาติก็แล้วกัน แต่เป็นเรื่องทางโลกๆ อย่างยิ่ง มันเป็นอันตรายในแง่ไหน มันก็เป็นอันตราย นักเขียนก็เหมือนเด็กนั่นแหละ อยากกินขนม นักเขียนก็เลยท�ำตัวเหมือน เด็ก อยากกินขนมยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี้ ที่ผมพูดนี่ฟังดูจะโหดร้ายไปหน่อย แต่ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ไม่ว่า ผู้เฒ่าผู้แก่ หัวหงอกหัวด�ำทั้งหลาย ทุกชาติทุกภาษาในโลกล้วนแล้วแต่เป็นเด็กแล้วก็อยากได้รับ การพะเน้าพะนอ นีค่ อื ผลเสียของรางวัล ผลดีของรางวัลก็คอื ท�ำให้เด็กทีไ่ ด้รบั รางวัลอมยิม้ นัน้ ยิม้ แต้ไปพักหนึง่ แล้วเอาไปอวดเพื่อน

รางวัลวรรณกรรม ก็เป็นอมยิ้มทาง วรรณกรรมทั้งสิ้น ท�ำให้ฟันผุ ท�ำให้ระบบ ลมหายใจติดขัด เป็นอันตรายต่อล�ำคอ และกระเพาะอาหาร ธนาคาร จันทิมา และอลิสา สันตสมบัติ: สัมภาษณ์ อลิสา สันตสมบัติ: เรียบเรียง ธวัชชัย พัฒนาภรณ์: ภาพ

แต่เหมือนในบ้านเราก็เป็นประโยชน์หรือเปล่า เพราะว่านักเขียนในบ้านเราเวลาได้รางวัลที มันก็ช่วยเรื่องรายได้ อย่างนัน้ มันก็เป็นเรือ่ งดี แต่โดยแก่นสารสาระนักเขียนก็หาทางต่อสูเ้ อาเอง ก็เสือกอยากเป็น นักเขียนนี่หว่า นักเขียนต้องหาทางต่อสู้ด้ินรนเอาเองโดยไม่ต้องขอสตางค์เมียหรือพ่อแม่ อยากเป็น นักเขียนก็ท�ำงานเอาเอง มาพะเน้าพะนอตัวเองมันไม่ดี ตามใจตัวเองหรือให้คนอื่นตามใจมันไม่ดี ถ้า เขียนเล่มโตๆ ไม่ได้กเ็ ขียนเล่มเล็กๆ ทีม่ นั ท�ำได้ แล้วก็ทำ� อย่างอืน่ ไป อยากเขียนก็เขียน ไม่มใี ครห้ามเลย เรียกว่าโหดร้าย นีไ่ ม่ได้หมายความว่าผมไม่ได้ผา่ นความทุกข์ยากขมขืน่ หรือความยากล�ำบากใดๆ มานะ ผ่านมาเยอะมากเลย มีบาดแผลมากมาย ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องรางวี่รางวัลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเด็กๆ น่ะอยากได้มากเลยนะ สมัยเริ่ม เขียนหนังสือใหม่ๆ บางคนอยากได้รางวัลเพราะหวังว่ารางวัลจะเป็นส่วนกระตุ้นเตือนหรือว่าท�ำให้เขา มีแรงใจที่จะเขียน แต่ถ้าจะเขียนเพื่อที่จะหวังรางวัลอย่างนั้นก็อย่าเขียนเลย (หัวเราะ) นักเขียนต้อง เป็นนักอ่านอย่างมาก นักเขียนจะเป็นบรรณาธิการคนแรกของตัวเอง นักเขียนเป็นนักอ่านคนแรกของ ตัวเอง ถ้าเขามีภมู ริ ทู้ างวรรณกรรม มีรสนิยมทางวรรณกรรมทีด่ เี ขาก็ควรจะอ่านงานของเขาอย่างตัง้ ใจ แล้วเขาก็จะรู้ว่าเขาพอใจหรือไม่พอใจแค่ไหน เขาก็ท�ำไป พวกนักเขียนหรือกวีในสมัยโบราณก็ไปคาดหมายให้กษัตริยห์ รือผูด้ เี ลีย้ ง นักเขียนในปัจจุบนั ก็ไปคาดหมายให้ไพร่เลี้ยง เช่นเดียวกัน นักเขียนก็ไปเรียกร้องให้ใครเขาตั้งรางวี่รางวัลอะไรขึ้นมาเพื่อ ให้ใครเขาเอารางวัลมาให้ตนเอง แดนอรัญ แสงทอง ผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะมาเป็นอสรพิษและเรื่องอื่นๆ ไม่ทราบเหมือนกัน ประสบการณ์ต่างๆ ก็คงเยอะ ประสบการณ์ที่ผ่านก็ไม่น่าจะเป็น ประสบการณ์ที่ดีนักด้วย ก็คงจะมีความขมขื่น ความเจ็บปวด ความทุกข์ยากทรมานต่างๆ นานาที่ผ่าน เข้ามา ที่นักเขียนผู้นี้ ที่ไอ้หมอนั่นได้พบได้เจอ คงไม่ได้น่ารื่นรมย์ไปซะทั้งหมด ค่อนข้างจะไปทางมืดๆ ด�ำๆ ปัญหาก็คอื จะต้องรักษาดวงจิตทีแ่ จ่มใสให้จงได้ คนเราทุกคนก็ควรจะท�ำอย่างนัน้ จิตใจทีแ่ จ่มใส ร่าเริงก็จะสร้างอารมณ์ขนั ขึน้ มา อารมณ์ขนั นีไ่ ม่ใช่มกุ ตลกแบบคาเฟ่นะ อารมณ์ขนั มีสองแบบ คือแบบ humor พื้นๆ และแบบที่มี wit คืออารมณ์ขันที่เป็นปฏิภาณซึ่งเป็นอารมณ์ขันในระดับที่สูง เป็นอารมณ์ ขันทีใ่ ช้ปญ ั ญา ไอ้หมอคนทีเ่ ขียนอสรพิษมันเป็นคนมีอารมณ์ขนั นะ แล้วก็เสแสร้งไม่ได้ดว้ ย อารมณ์ขนั ก็ต้องมาจากสุขภาพจิตที่ดี ทุกวันนี้มีเหตุผลในการเขียนหนังสือไหม มีเรื่องที่คิดหรือว่าเขียนเพื่อคลี่คลายไหม เขียนหนังสือต้องมีความพร้อมนะทุกวันนี้ คือมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ต้องกินอิ่มนอน หลับแล้วก็มีสตางค์ใช้ นี่พูดตรงๆ เพราะผมไม่ห้าวพอเหมือนเมื่อยี่สิบสามสิบปีที่แล้ว ผมก็ไม่รู้ว่า ผมห้าวไปท�ำไมในสมัยโน้นน่ะนะ แล้วผมก็ตอ้ งรูเ้ รือ่ งทีผ่ มจะเขียนถึงค่อนข้างมาก คืออ่านหนังสือเกีย่ วกับ เรื่องนั้นๆ เยอะมาก มีลักษณะของการศึกษาค้นคว้า ผมท�ำอย่างจริงจัง แต่ว่าอย่างไรก็ตาม นี่ก็ไม่ได้ ช่วยให้วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นวรรณกรรมที่ดีหรือไม่ดีอย่างไรนะ มันมีองค์ประกอบอย่างอื่นอีก เพียง แต่คนจะมีข้อมูลที่เยอะมากๆ บางทีก็เป็นข้อมูลจากชีวิตจริงธรรมดาที่เราพบเห็นตามริมถนนนี่แหละ บางทีข้อมูลก็อยู่ในหนังสือหนังหาบ้าง มีบางเรื่องราวที่นักเขียนควรจะท�ำให้กระจ่าง ที่มันติดค้างอยู่ในหัวใจเขา บางทีผมอาจจะมี ประเด็นอะไรอย่างนี้อยู่บ้างในใจ เช่น ประเด็นที่ว่ามนุษย์เราจะสูงส่งได้สักแค่ไหน จะมีสติปัญญาได้ สักแค่ไหน จะชาญฉลาดได้สักแค่ไหน (...) ลองดู แล้วก็มีตัวอย่างเยอะแยะของท่านผู้ที่ได้เดินล่วงหน้า ไปก่อน มีผู้บรรลุถึงภูมิจิตภูมิธรรมขั้นสูง ผมเคยเขียนเรื่องหนึ่งคือ มาตานุสติ คือการระลึกถึงแม่ไว้ เสมอ จิตมันตกอยู่กับสิ่งที่เราจดจ่อ มันเป็นค�ำบริกรรมไปโดยไม่รู้ตัว มันเป็นการภาวนาไปโดยไม่รู้ตัว อ่านต่อหน้าถัดไป >

7


แพทริก โมเดียโน ผูป้ ระกาศศักดาให้กบั วรรณกรรม ฝรั่งเศสบนเวทีโนเบลคนที่ 15 “It is bizarre to think that I was born after a catastrophe, born among ruins.”

“ก็ แ ปลกดี ท่ี ม าคิ ด ว่ า ผมเกิ ด หลั ง ช่ ว งหายนะ เกิดมาท่ามกลางซากปรักหักพังทั้งหลาย”

8

แพทริ ก โมเดี ย โน เจ้ า ของรางวั ล โนเบลสาขาวรรณกรรม คนล่าสุดกล่าวกับทีมงานของ nobelprize.org หลังจากที่ผลการตัดสิน รางวัลประกาศอย่างเป็นทางการ แม้ขอ้ ความดังกล่าวจะถูกถ่ายทอดออก มาพร้อมกับอิรยิ าบถสบายๆ ของชายวัย 69 ปี แต่กแ็ สดงให้เห็นถึงแนวคิด และอิทธิพลที่เป็นต้นธารของการได้รับรางวัลอันทรงเกียรติซึ่งนักเขียน ชาวฝรั่งเศสผู้นี้เพิ่งครอบครองมาใหม่หมาด โมเดียโนเกิดที่กรุงปารีสในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1945 มารดา เป็นชาวเบลเยียม บิดาเป็นชาวอิตาลีเชื้อสายยิว การที่ครอบครัวของเขา ต้องใช้ชีวิตอยู่กับผลกระทบแสนเลวร้ายและความเจ็บช�้ำของสงคราม ผ่านช่วงเวลาของการหลบซ่อนขณะที่กองทัพนาซีบุกยึดครองประเทศ ฝรั่งเศส ท�ำให้งานเขียนของเขาแทบทุกชิ้นสะท้อนความรู้สึกของผู้คนที่มี ความหวัง หากแต่ท้ายที่สุดกลับต้องเผชิญหน้ากับหวาดกลัว ความอัตคัต แร้นแค้น มีข้อจ�ำกัดด้านความเป็นอยู่และตกอยู่ในสภาพจิตใจที่หดหู่สิ้น หวัง มีกล่าวถึงการสูญหาย ตีแผ่ตัวตนของมนุษย์ผู้สั่นคลอน ไม่แน่นอน และพร้อมจะแหลกสลาย รวมทั้งตั้งค�ำถามถึงความทรงจ�ำและกาลเวลา ทีผ่ า่ นไปแล้วไม่อาจหวนคืน ซึง่ ด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ท�ำให้นกั วิจารณ์ หลายส�ำนักเปรียบเปรยงานเขียนของโมเดียโนนัน้ เสมือนเป็นหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ชิ้นส�ำคัญในรูปแบบของงานวรรณกรรม ในเวที ร ะดั บ ชาติ แพทริ ก โมเดี ย โนคื อ นั ก เขี ย นร่ ว มสมั ย ชื่อดังผู้มีผลงานมาแล้วมากมายและตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ นวนิยายเรื่องแรก La Place de l’Etoile (1968) จนถึง Pour que tu ne te perdes pas dans le quartier (2014) ซึ่งตีพิมพ์ในฝรั่งเศสก่อน การประกาศรางวัลโนเบลเพียงสัปดาห์เดียว นับจ�ำนวนแล้วเขาเขียนนวนิยาย มาไม่ต�่ำกว่าสี่สิบเรื่อง รวมทั้งบทภาพยนตร์ Lacombe, Lucien ซึ่งได้รับ รางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศยอดเยีย่ มในปี ค.ศ. 1975 ตามทัศนะของโมเดียโน หน้าที่ของนักเขียนคือการบอกเล่า ความจริงและบันทึกเหตุการณ์สู่รูปแบบการเขียน และสิ่งที่เขาทุ่มเท มาตลอดเกือบครึ่งศตวรรษ ก็ท�ำให้ในเวทีระดับนานาชาติวันนี้ เขาคือ ‘Frenchman’ อีกคนหนึ่งที่ได้แสดงให้ชาวโลกได้ตระหนักถึงคุณค่า และความหมายที่แท้จริงของค�ำว่า ‘เพื่อนมนุษย์’ ผ่านความงดงามของ วรรณกรรมฝรั่งเศสในฐานะนักเขียนรางวัลโนเบลประจ�ำปี 2014

ครั้งหนึ่งจิตผมมันไปจดจ่ออยู่กับเงาสีขาว เงาสีขาว เงาสีขาว เงาสีขาว จนเป็นสมาธิมากเลย มันคือ การปฏิบตั ธิ รรมโดยไม่รตู้ วั สมัยผมเป็นหนุม่ ไปจีบผูห้ ญิง เข้าใจว่าหล่อด้วย เข้าใจว่าตัวเองเท่ (ท�ำเสียง เข้ม) แล้วไปจีบน้องคนนั้นน้องคนนี้ ผมก็ไปดื่ม ไปนั่งร้านนั้นร้านนี้ คิดหลงว่าเท่ หรือเผื่อไปเจอผู้หลักผู้ใหญ่ที่เขาว่าเท่ๆ ผมก็ไปตามประสาหนุ่ม ผมก็ไปท�ำงานอย่างอื่นบ้างด้วย เช่น รับจ้างท�ำหนังสือเสีย บ้าง ไปเป็นล่ามเสียบ้าง ไปท�ำโฆษณาเสียบ้าง แต่ตลอดเวลาเหล่านั้นผมไม่เคยลืมเงาสีขาว ผมก็จะ กลับมาเขียนเงาสีขาวแล้วมันก็เริ่มจากหนึ่งประโยค สองประโยค สามประโยค ไปเรื่อยๆ จนเป็นพัน ประโยค หมื่นประโยค แสนประโยคได้มั้ง จิตผมก็ไประลึกอยู่แต่ค�ำว่าเงาสีขาว เงาสีขาว มันเป็นค�ำ บริกรรมส�ำหรับผม กลายเป็นการปฏิบัติธรรมไปโดยไม่รู้ตัว ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าผมมีฉันทะ คือผมมีความรักในงานที่ผมท�ำ คนเถื่อนอย่างผมถึงได้เริ่ม สนใจศาสนา ผมโชคดีทมี่ ฉี นั ทะ มีความรัก ถ้าไม่รกั ผมเลิกมันไปนานแล้ว ผมก็ไปท�ำอย่างอืน่ สิ ผมเขียน เงาสีขาวอยู่เป็นสิบปี และผมก็มีความพากเพียรด้วย มีวิริยะ ผมเอาใจใส่กับมันด้วย มีจิตตะ เอาใจใส่ ดูแลมันว่าได้ท�ำให้มันคืบหน้าไปบ้างหรือยัง หรือได้ปล่อยให้มันค้างไว้จนขึ้นราแล้ว ผมมีวิมังสาด้วย ผมตรวจสอบเปรียบเทียบมันกับงานของคนอืน่ ๆ ว่าทีค่ นเขาท�ำงานอย่างเดียวกับเรานีเ่ ขาท�ำไปถึงไหนแล้ว ว่าของผมมันอยู่ในระดับไหน ผมมีทั้งฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ด้วยเหตุนี้เองมันก็เลยเป็นอิทธิบาทสี่ พูดง่ายๆ เลย ผมนี่เป็นตัวกบฏศาสนาเลยนะ ผมก็เลยมีอิทธิบาทสี่ เท่ไหมละ รักอะไรในเงาสีขาวถึงได้จดจ่อกับมันขนาดนั้น ไม่รู้แหละ ผมรักการเขียน ผมรักภาษาไทย ผมรักการแสดงออกของปัจเจกภาพซึ่งนิรนาม ตัวเอกของเรือ่ งไม่มชี อื่ ผมรัก ผมอยากจะลองดูวา่ ผมจะส�ำรวจศึกษาปัจเจกภาพนัน้ ปัจเจกบุคคลผูน้ นั้ ในภาวะต่างๆ กัน ในยามที่เขารัก เขาเกลียด เขาเหงา เขาว้าเหว่ เขาเป็นใครก็ไม่รู้แหละแต่ผมมาเกิด ความสนใจเขาขึ้นมาโดยยิ่งยวดในแง่มุมต่างๆ กัน ว่าคนๆ นี้ในภาวะอย่างนี้เขาจะท�ำอะไร เขาจะพูด อะไร ผมเสือกไปสนใจไอ้ตัวละครตัวนี้ ไอ้ปัจเจกภาพผู้นี้ขึ้นมาอย่างมาก ผมก็รักมันในแบบของผม ผมเป็นคนไม่พะเน้าพะนอ ผมรักงานของผมก็รักแบบไม่พะเน้าพะนอ ทีนถี้ า้ ให้ลองตอบแทนกรรมการซีไรต์วา่ เขาเห็นอะไรในอสรพิษและเรือ่ งอืน่ ๆ เขาถึงให้อมยิม้ คุณแดนอรัญ ผมก็ไม่ทราบได้ ผมคาดไม่ถูกหรอกว่าเขาต้องการอะไร ผมยังมั่นใจอย่างยิ่งว่าเงาสีขาวนั้น มีขอ้ บกพร่องมากมายเลย แต่แม้กระนัน้ ก็เป็นนวนิยายไทยทีด่ ที สี่ ดุ เรือ่ งหนึง่ เป็นลักษณะมีการปฏิวตั ิ มีการเริ่มต้นใหม่เลยละ เป็นหมุดหมายใหม่ทางวรรณกรรม และมีคุณค่าทางวรรณกรรม ผมยังเชื่อมั่น อยู่โดยไม่คลอนแคลนเลย ก็ไม่เห็นได้รางวัลอมยิ้มเลย ผมเขียนนิยายเรื่องเจ้าการะเกดแล้วผมมั่นใจ มากและมีความสุขมาก จะไปชวนยมบาลดืม่ กาแฟอีกก็ได้แล้วก็พดู กับท่านตรงๆ เพราะว่าผมยังเชือ่ มัน่ ว่าเจ้าการะเกดมีคณ ุ ภาพทางวรรณกรรมอย่างยิง่ และผมไม่แปลกใจเลย ก่อนหน้าทีฝ่ รัง่ จะแปลเสียอีก และผมมั่นใจว่าเดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง เป็นนวนิยายที่ดี เร็ว แรง ไม่รบกวนผู้อ่านโดยไม่จ�ำเป็น ไม่มี รายละเอียดอันอ้อมค้อมเยิน่ เย้อใดๆ ทัง้ สิน้ เกรงใจมนุษย์คนอืน่ ๆ เขาบ้าง เขามีเวลาน้อย นักเขียนต้อง ระวังตนเอง อย่าไปเยิ่นเย้อโดยไม่จ�ำเป็น แน่นอนว่างานของผมมีอะไรที่หยาบมาก แต่มันก็คานกับสิ่งที่สุนทรีย์มากด้วย ผมพูดถึง ความหยาบคาย ความต�ำ่ ช้าด้วยน�ำ้ เสียงอย่างเดียวกันกับสิง่ สุนทรียห์ รือสิง่ ละเอียดอ่อน ผมก็พดู ถึงมัน เพราะมันคือความจริงที่ปรากฏขึ้นในโลก คณะกรรมการเขาอาจจะไม่ชอบก็ได้เมื่อไอ้โจรของผมมัน นอนเกาไข่อยู่ตัวหนึ่งในเดียวดายใต้ฟ้าคลั่ง เขาอาจไม่เคยเห็น คุณเปรมหรือขุนแผนก็ไม่เคยเกา ไข่ (หัวเราะ) ก็ไอ้ตัวละครนี้มันเป็นคนถ่อยๆ ไม่รู้สิ มันก็มีขนบทางวรรณกรรมอยู่แล้วผมก็ไปละเมิด ไอ้ขนบทางวรรณกรรมนัน้ วรรณกรรมก็เช่นเดียวกับกอล์ฟหรือฟุตบอล มันมีกฎกติกามารยาทของมันอยู่ ซีเรียสที่สุดนะ งานเขียนของผมมันยังมีข้อบกพร่องอยู่เยอะมาก อย่าเข้าใจผิดไป แล้วก็คุณก็ไม่ควร ท�ำให้ผมเข้าใจผิด หรือสังคมก็ไม่ควรท�ำให้ผมเข้าใจผิด เราก็พูดกันตามความเป็นจริง งานเขียนของ ผมยังต้องปรับปรุงแก้ไข แต่ละเรื่องมันสามารถที่จะดียิ่งกว่านั้นได้อีก อย่างเมถุนสังโยคเป็นต้น หรือ นฤมิตมายาเป็นต้น เรื่องที่ผมพอใจมากดูจะเป็นเรื่องเสาไห้ งานแปลของผมก็มีเรื่องบกพร่องที่ต้อง ปรับปรุงแก้ไข ผมท�ำมันในวัยหนุ่ม นีก่ ค็ อื ความเป็นจริงและก็ตอ้ งพากเพียรท�ำมันต่อไป ผมเชือ่ ในการแก้ไขครัง้ แล้วครัง้ เล่า (...) ผมพยายามเขียนร้อยแก้วภาษาไทยให้ได้ดี ก็เป็นเกมของผม เป็นงานของผม ท�ำไม่ได้ง่ายๆ หรอก เมื่อชวนคุยถึงรางวัลโนเบล แดนอรัญกล่าวว่า นักเขียนบางคนก็เป็นคนลึกล�ำ้ มาก เป็นคนสงบ สุขมุ แล้วก็มบี คุ ลิกภาพน่าเกรงขาม แล้วเป็น คนสุนทรียด์ ว้ ย อย่างคาวาบาตะ ผมว่าเขายุง่ กับคนอืน่ น้อยมากเลยนะ เขายุง่ กับผูค้ น กับสังคมน้อยมาก และเขามีอะไรที่ทะลุปรุโปร่ง แจ่มใส มีความสุนทรีย์ เป็นภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง น่าเกรงขามมาก และ โลกท�ำให้เราได้รู้จักเขาเพราะอมยิ้มทางวรรณกรรม เอาเป็นว่าอมยิ้มทางวรรณกรรมก็มีประโยชน์

แดนอรัญ แสงทอง ได้คุยหลายเรื่องกับ Bookmoby Review แต่ด้วยพื้นที่อันบีบรัดท�ำให้เราต้องคงไว้แต่เรื่อง “อมยิ้ม ทางวรรณกรรม” สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ที่


เอเชีย แปซิฟิก ไรท์เตอร์ เกศณี ไทยสนธิ : เรื่อง

Asia Pacific Writers and Translators Association น�ำโดย Jane Carmen และ Nury Vitachi ประธาน สมาคม ร่วมกับ สมาคมพัฒนาหนังสือแห่งชาติของ สิงคโปร์, นักเขียน, นักแปล, ล่ามในภูมิภาคเอเชีย ร่วมประชุมประจ�ำปีเป็นครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ ประเทศสิงคโปร์ ทุก ๆ ปีจะ มีเหล่านักเขียน, นักแปลและบรรณาธิการ รวมไปถึง ตัวแทนส�ำนักพิมพ์ตา่ ง ๆ มาพบปะในงานนีอ้ ย่างคับคัง่ แต่ทเี ด็ดของสิงคโปร์นนั้ ไม่เหมือนทีไ่ หน เพราะสถานที่ ในการประชุมของบรรดาเหล่านักเขียนนักแปลในครัง้ นี้ ก็คือ The Art House (หรือจะเรียกว่าเป็นหอศิลป์แห่ง ชาติของสิงคโปร์ก็คงจะไม่ผิดนัก) หลายคนอาจจะคิด ว่าแล้วมันมีทีเด็ดตรงไหน? ก็ตรงที่ The Art House ที่ว่านี้ไม่ใช่หอศิลป์ฯ ธรรมดาแต่พิเศษตรงที่เคยเป็น อาคารรัฐสภา ที่ใช้ในการประชุมคณะรัฐมนตรีของ สิงคโปร์มาก่อนนั่นเอง ที่นั่งในรัฐสภาอันเก่าแก่แห่งนี้ จึงยังมีความขลังมลังเมลืองเกาะอยูท่ กุ อณูของห้อง ไม่วา่ จะเป็นพื้นไม้อันเก่าแก่ เก้าอี้นั่งที่มีแผ่นป้ายชื่อทอง เหลืองตอกไว้ว่ามันเคยเป็นที่นั่งของใคร เช่น ที่นั่งของ ลีกวนยู ที่นั่งของโก๊ะจ๊กตง ฯลฯ และอาคารใกล้เคียง ในบริเวณรอบๆ นั้นยังเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของ สิงคโปร์ที่ท�ำให้สิงคโปร์มีเรื่องราวและประวัติศาสตร์ ที่ไม่เล็กอย่างที่เราๆ เข้าใจ ในวันแรกนัน้ นักเขียนกิตติมศักดิข์ องสิงคโปร์ Christian Lim ได้ขึ้นมากล่าวเปิดงานการประชุมอย่าง น่าประทับใจ แต่เราจะสังเกตเห็นว่า นักเขียนสิงคโปร์ และเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ในวันนั้นจะใส่เสื้อเขียนว่า Free my Library แล้วก็มีรูปนกเพนกวินสามตัว พ่อ แม่ลูก เรื่องของเรื่องก็คือเป็นช่วงที่คณะกรรมการห้อง สมุดแห่งชาติของสิงคโปร์ได้ต่อต้านหนังสือเด็กเล่ม หนึ่งจนถึงกับเก็บออกจากห้องสมุดแห่งชาติและห้อง สมุดของทุกโรงเรียนรวมไปถึงในร้านหนังสือทั้งหมด

เนือ่ งจากไม่ตอ้ งการให้เด็กเอาเป็นตัวอย่าง หนังสือเล่ม นั้นชื่อว่า And Tango made three ซึ่งท�ำให้นักเขียน ส่วนหนึ่งของสิงคโปร์ไม่พอใจ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Justin Richardson และ Peter Parnell ซึ่งมีเนื้อหาอิง มาจากเรื่องจริงเกี่ยวกับนกเพนกวินเกย์คู่หนึ่งในสวน สัตว์ที่อเมริกา เพนกวินสองตัวนี้รักกันและพยายามที่ จะมีลกู โดยทีพ่ ยายามเอาหินมาฟักเป็นไข่ แต่ไม่สำ� เร็จ สุดท้ายคนดูแลสวนสัตว์จึงเอาไข่ของเพนกวินที่พ่อแม่ นกเสียชีวิตมาให้ฟัก และก็ฟักไข่ส�ำเร็จกลายเป็นลูก นกเพนกวินที่มีทั้งพ่อและแม่เป็นเพศเดียวกัน (อย่า ถามว่าคนแต่งหนังสือเรื่องนี้เป็นเกย์หรือไม่) เรื่องของ เรื่องที่พวกเขาไม่เข้าใจก็คือหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์และ วางจ�ำหน่ายอย่างไม่มีปัญหาใดๆ ในสิงคโปร์ตั้งแต่ ปี 2005 แต่เพิ่งจะมาเป็นปัญหาตอนปี 2014 สุดท้าย หลังจากการประชุมและเสวนาในครั้งนี้ได้ไม่นาน ทาง สิงคโปร์กย็ อมให้หนังสือเล่มนีก้ ลับคืนสูห่ อ้ งสมุดแต่ไม่ ยอมให้อยูใ่ นชัน้ หนังสือเด็กอีกต่อไป กลายเป็นได้จดั อยู่ ในหมวดหมู่ของหนังสือผู้ใหญ่ไปเรียบร้อย นอกจากนี้ยังมีการถกเถียงถึงหนังสือต้อง ห้าม และการเมืองที่มีส่วนแทรกแซงในงานเขียนของ ประเทศต่างๆ ในหลายๆ ประเทศ ดูเหมือนว่านักข่าว และนักเขียนจากพม่า Han Zaw แทบจะกลั้นน�้ำตา ไว้ไม่อยู่ จนเราสามารถรับรู้ได้ถึงความในใจบางอย่าง ที่เขาไม่สามารถเรียบเรียงออกมาเป็นค�ำพูดได้ อีกทั้ง ยังมีเวิร์คชอปให้หลายๆ คนได้โชว์ฝีมือ การเขียนที่ดู เหมือนจะเหนือชั้น อาจเรียกว่าเป็นที่ปล่อยของก็คงจะ ได้ เพราะทุกคนก็จะงัดศิลปะการจัดเรียงค�ำ มุมมอง การเขียนบรรยายและการ Pitch งานของแต่ละคนออก มาได้อย่างเต็มที่ เช่น Merlinda Bobis นักเขียนชื่อดัง ของฟิลิปปินส์ที่เล่าให้ฟังว่าถ้าเธอไม่ได้เป็นนักเขียน เธอคงจะตายไปแล้ว เพราะมีห้วงเวลาในชีวิตที่อยาก ฆ่าตัวตาย แต่เป็นเพราะเธอได้เริ่มเขียนนิยาย ท�ำให้

เธอรู้สึกว่าจะยังตายไม่ได้เพราะยังเขียนนิยายไม่เสร็จ จึงเป็นการเขียนที่เหมือนเป็น Writing Therapy ที่กว่า นิยายของเธอจะจบ อารมณ์ดา้ นมืดของเธอก็เปลีย่ นไป เสียแล้ว มันกลายเป็นสิ่งที่เธอต้องการทะนุถนอมและ เห็นมันเป็นงานที่ท�ำให้เธอประสบความส�ำเร็จ และยัง มีห้อง Poet ห้องนี้ก็จะอ่านบทกวีกันทั้งวันทั้งคืน เรียก ว่าเป็น Poetry Slam ส�ำหรับสิงคโปร์แล้ว กวีที่ขึ้นเวที เมื่อไหร่แล้วคนจะปรบมือโห่ร้องกึกก้องมากที่สุดใน ชั่วโมงนี้ก็คือ Joshua Ip ไม่ใช่เพราะไพเราะกินใจ มากมาย แต่เป็นเพราะการเล่นค�ำและชัน้ เชิงทีเ่ ขามักจะ หยิบยกเหตุการณ์บา้ นการเมือง ตลอดจนการเสียดสีใน แบบฮาๆ จนทุกคนยอมยกนิว้ ให้วา่ อนาคตไกลแน่นอน ส่วนการประชุมของกลุม่ เอเจนซีแ่ ละส�ำนักพิมพ์ ต่างๆ ทีม่ าถกเถียงกันในครัง้ นีห้ ลักๆ ก็จะเป็นการตามหา ต้นฉบับที่มีพล็อตเรื่องที่แตกต่าง เช่น เอเจนซี่บางเจ้าก็ จะเริ่มอิ่มตัวกับพล็อตที่ซ�้ำซากของเอเชีย อาทิ การถูก บังคับให้แต่งงาน พระเอกนางเอกหมั้นกันแต่เด็กอะไร แบบนี้ อยากแสวงหาพล๊อตแปลกใหม่ การเรียงเรื่อง ที่ดีและต้นฉบับที่ดี หลายคนคิดว่างานแบบนี้ไม่เกิดประโยชน์ มากนัก แต่จริงๆ แล้วมันเกิดประโยชน์หลายอย่าง มาก มันมีพลังงานบวกบางอย่างที่จะลดสิ่งที่เกิน เพิ่ม สิ่งที่ขาด สมมติว่าเราคิดว่าเราเจ๋งแล้ว แต่เหนือฟ้า ก็ยงั มีฟา้ ในโลกนีม้ คี นทีม่ องในมุมทีเ่ ราอาจไม่เคยมอง มีความสามารถในการผลิตงานที่มีพลังมากๆ ด้วยค�ำ ไม่กี่ค�ำ หรือเวลาเราไม่มั่นใจ เราคิดว่าเราห่วยมากเลย แต่มันก็จะท�ำให้เราใจนักเลงพอที่จะกล้าประกาศงาน ที่คิดว่าห่วยๆ ออกมา เพื่อรับฟังค�ำวิพากษ์วิจารณ์จาก คนทั่วทุกมุมโลก ด้วยใจที่เปิดกว้าง และปรับปรุงให้ มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ส�ำหรับการประชุมเอเชียแปซิฟคิ ไรท์เตอร์ ครัง้ ที่ 8 ในปีหน้านีจ้ ะจัดขึน้ ทีป่ ระเทศ ฟิลิปปินส์ ส�ำหรับผู้ที่สนใจก็อย่าพลาดเชียวนะคะ

9


นิทานของพี่น้องตระกูลกริมม์ อย่าง "หนูน้อยหมวกแดง" รวมทั้งหนังสือเล่มใหม่ "Elsa and the Night" เรื่องราวของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนกับตอนกลางคืนและช้างชื่อ Olaf ของ Jöns Mellgren นักเขียนและนักวาดภาพ ประกอบชาวสวีเดน ล้วนได้รบั การน�ำเสนอผ่านภาพประกอบสุดสร้างสรรค์ ตีพมิ พ์ภายใต้ชอื่ Little Gestalten ในเครือ Gestalten ส�ำนักพิมพ์หนังสือศิลปะ สถาปัตย์ การออกแบบ และภาพถ่าย ซึ่งมีส�ำนักงานตั้งอยู่ ณ กรุงเบอร์ลิน นอกจากนีย้ งั มีหนังสือส�ำหรับเด็กสีสนั สวยงาม เรือ่ ง "Alphabetics: An Aesthetically Awesome Alliterated Alphabet Anthology" ที่ช่วยขยายคลังค�ำและขอบข่ายด้านภาษาของเด็กๆ โดยศิลปิน Dawid Ryski และนิทานพื้นบ้าน ของญี่ปุ่น "Issum Bôshi: The One-Inch Boy" โดยสองศิลปินจากฝรั่งเศส Mayumi Otero และ Raphaël Urwiller หนังสือเหล่านี้คงไม่ได้ผูกมิตรไว้แต่กับเด็กๆ ที่มักหัวใจพองโตเมื่อมีนิทานเล่มใหม่ๆ ในมือ แต่ยังรวมไป ถึงผู้ใหญ่หัวใจกุ๊กกิ๊กที่ชื่นชอบงานออกแบบโดนใจ http://tmagazine.blogs.nytimes.com/2014/08/13/gestalten-kids-imprint-berlin-art-book-publisher/ http://news.artnet.com/in-brief/art-book-publisher-gestalten-launches-kids-line-79122 http://shop.gestalten.com/little-gestalten.html

ส�ำนักพิมพ์ HarperCollins และบริษัท HarperCollins Christian Publishing จะให้บริการขนส่งด่วนส�ำหรับร้านหนังสืออิสระ ซึ่งส่วนมากจะ ถึงปลายทางภายในสองวันท�ำการ ส�ำหรับช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน - 16 มกราคม ที่จะถึง เพื่อช่วยให้รา้ นหนังสืออิสระมีหนังสือ ของส�ำนักพิมพ์ฯ ไว้คอยบริการลูกค้าในช่วงเวลาที่ยุ่งวุ่นวายที่สุดในรอบปี ก่อนหน้านี้ส�ำนักพิมพ์ Penguin Random House เคยให้บริการคล้ายกันนี้ มาก่อน เพียงแต่สำ� นักพิมพ์ฯ ยังไม่ได้เผยแผนงานส�ำหรับวันหยุดยาวประจ�ำปีนี้

10

http://www.publishersweekly.com/pw/by-topic/industry-news/bookselling/article/64029-harper-to-provideexpress-shipping-for-indies.html

งานประชุมสัมมนาด้านการสื่อสารวัฒนธรรมจีนระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 ณ เมืองชิงเต่า ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 24 - 25 สิงหาคม 2557 จัดโดย China Publishing Group Corporation (CPG) เป็นงานที่รวบรวมนักแปลและนักวิจัยด้านจีน ศึกษาจากทัว่ โลก ทัง้ จากอังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย ตุรกี กลุม่ ประเทศอาหรับ ญีป่ นุ่ และ เกาหลี หัวข้อในการประชุมได้แก่การการแปลและการเผยแผ่วฒ ั นธรรมจีนไปทัว่ โลก โดยเฉพาะในยุคดิจิตอล ซึ่งผู้ประชุมต่างร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อุปสรรค ที่พบระหว่างการแปลงานวรรณกรรมจีน และหนทางแก้ไขปัญหา ในงานยังมีการ เปิดตัวการค้นคว้าเรือ่ งแนวโน้มอุตสาหกรรมการให้บริการด้าน ภาษาในจีนอีกด้วย​ http://publishersweekly.com/pw/by-topic/industry-news/ trade-shows-events/article/64005-chinese-publisher-bringstogether-translators-at-new-event.html


“One never comes into embarrassment, if one is ready to balance. To ask oneself never in embarrassment, what have you in these decades made.”

ซีกฟรีด เลนซ์ Siegfried Lenz

17 มีนาคม 1926 - 7 ตุลาคม 2014

จากงานแปลวรรณกรรมต่างชาติชั้นครูเป็นภาษาอังกฤษ อย่าง "The King James Bible" "Doctor Zhivago" และ "The Arabian Nights" นักอ่าน ชาวอังกฤษหันมาอ่านวรรณกรรมแปลกันมากขึน้ เห็นได้จากยอดขายถล่มทลาย เริม่ จากชุดหนังสือ "Millennium Books" ของ Stieg Larsson นักเขียนชาวสวีเดน ทีส่ ามารถขายได้กว่า 75 ล้านเล่มใน 50 ประเทศ หรือหนังสือเรือ่ ง "The HundredYear-Old Man Who Climbed Out of the Window and Disappeared" ของ Jonas Jonasson ซึ่งเคยถูกปฏิเสธจากส�ำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ แต่กลับจ�ำหน่าย ได้มากกว่าห้าแสนเล่มโดยส�ำนักพิมพ์เล็กๆ ในอังกฤษ ปรากฏการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่างานแปลที่เคย "อ่านยากย่อยยาก" แท้จริงแล้วกลับ "อ่านสนุก" การแปลกลายเป็นสิ่งที่อยู่ในกระแส มาพร้อมกับการแข่งขันซื้อลิขสิทธิ์อย่าง ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อีกทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการอ่านที่ขับเคลื่อนไป พร้อมกันทั่วโลก โดยมีเครื่องมืออย่าง Facebook หรือ Twitter เป็นสื่อกลาง แต่ กระนั้นก็มีผู้เชี่ยวชาญออกมากล่าวว่าส�ำนักพิมพ์ในอังกฤษยังประเมินตลาด วรรณกรรมแปลต�่ำเกินไป ไม่สนใจตัวเลขการเติบโตของวรรณกรรมประเภทนี้ ที่สูงเกือบถึงร้อยละ 20 อย่างน้อยครั้งต่อไปที่คุณเปิดวรรณกรรมแปลสักเล่ม คุณก็คงพอเดา ได้ว่าในเวลาเดียวกันอาจมีนักอ่านอีกคนในอังกฤษก�ำลังอ่านเล่มเดียวกัน หน้า เดียวกันกับคุณอยู่ก็เป็นได้ http://www.theguardian.com/books/2014/aug/24/britishreaders-translations-foreign-literature-sales-boom-stieglarsson-jo-nesbo

นักเขียนผู้โดดเด่นในโลกภาษาเยอรมัน แต่เป็นที่รู้จักน้อยในโลกภาษา อังกฤษ เริ่มชีวิตงานเขียนในปี ค.ศ.1951 ด้วยผลงานชื่อ Habichte in der Luft หลังจากนั้นก็ได้ใช้ชีวิตในฐานะนักเขียนอิสระที่ Hamburg เข้าร่วมกลุ่ม Gruppe 47 อันเป็นกลุ่มนักเขียนเยอรมันที่เคลื่อนไหวทาง ประชาธิปไตยและเสรีภาพ ในปี ค.ศ.1988 เลนซ์ได้รับรางวัล Peace Prize of the German Book Trade ก่อนจะได้รับรางวัล The Goethe Prize ในปี ค.ศ. 2000 เลนซ์จากไปในวัย 88 ปี

The Colombo International Book Exhibition เป็น งานมหกรรมหนังสือครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ ศรี ลั ง กา จั ด โดยสมาคมผู ้ จั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ แห่ ง ศรีลังกา (SLBPA) ในปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 16 ณ ศูนย์แสดงนิทรรศการ Sirimavo Bandaranaike ระหว่างวันที่ 9 - 16 กันยายนที่ผ่านมา โดย ฯพณฯ มหินทะ ราชปักษา ประธานาธิบดี ศรีลังกา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน งานมหกรรมหนังสือฯ ได้รวบรวมบูทส�ำนักพิมพ์ทั้งในและนอกประเทศไว้ มากที่สุดถึง 375 บูท ทั้งจากอินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะจีนที่มี นิทรรศการแยกออกมาอีกหนึ่งห้องพร้อมตัวแทนจากจีนกว่า 100 แห่ง เปิด โอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และหนอนหนังสือศรีลังกาได้หยิบอ่านและเลือก ซื้อหนังสือที่มาร่วมประชันกันลดราคาถึงร้อยละ 70 http://www.sriexpress.com/news/sri-lanka/1236sri-lankas-largest-book-exhibition-kicks-off.html

ประเด็นถกเถียงหนึง่ ทีก่ ำ� ลังเข้าทีป่ ระชุมคณะกรรมการรางวัล World Fantasy Awards ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึง ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. คือเรื่อง ถ้วยรางวัลรูปปั้นครึ่งตัวนักเขียน H.P. Lovecraft เจ้าของต�ำนานและนวนิยาย แปลกประหลาด ผนวกทั้งเรื่องสยองขวัญ แฟนตาซี และวิทยาศาสตร์ ผู้เป็น แรงบันดาลใจให้นักเขียนรุ่นหลัง อาทิ Michael Moorcock, Gene Wolfe และ นักเขียนคุ้นเคยอย่าง Haruki Murakami ข้อถกเถียงนัน้ เริม่ จาก Nnedi Okorafor นักเขียนชาวไนจีเรียอเมริกนั ผูท้ เี่ คยได้รบั รางวัลนีเ้ มือ่ ปี 2011 เขารูส้ กึ ผิดหวังสุดขีด เมือ่ พบว่า H.P. Lovecraft ทีต่ นเคารพ เป็นเจ้าของบทกวีบทหนึง่ บรรยายถึงคนผิวด�ำไว้วา่ "อสูรในร่างครึง่ มนุษย์...เต็ม...ไปด้วยสิ่งชั่วร้าย" ต่อมามีการระดมรายชื่อเรียกร้องให้เปลี่ยน ถ้วยรางวัลให้เป็นรูปปั้นเหมือนนักเขียนคนอื่นแทน อย่างไรก็ดี S.T. Joshi ผูเ้ ชีย่ วชาญงานของ H.P. Lovecraft ออกมาแสดงความคิดเห็นแย้งว่า เป็นเรือ่ ง ที่ไม่มีเหตุผลที่จะยอมให้การเป็นคนเหยียดผิวของ H.P. Lovecraft มาลบล้าง สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นความสามารถอันยิ่งใหญ่ในฐานะ นักเขียน และคุณความดีด้านอื่นๆ ทั้งความเฉลียวฉลาด สุนทรียะ และ ความเป็นปัจเจก ไม่แน่ว่าในปีหน้า เราอาจได้ยินข่าวพิลึกพิลั่นท่ามกลางข่าวอื่นๆ ที่ว่าถ้วยรางวัล World Fantasy Awards กลายเป็นรูปปั้นครึ่งตัวเด็กหนุ่ม ใส่แว่นคล้าย Harry Porter ผู้ถือไม้คทา http://artsbeat.blogs.nytimes.com/2014/06/19/neruda-poems-found/?_php=true&_type=blogs&_r=0

11


12

"ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้าน นอนขดบนเตียง ช่วงก่อนฤดูหนาวมาถึง ผมแอบหนี ไปนอนในป่าบ้างบางครั้ง ผมชอบชีวิตแบบเก่าที่สุด แต่ชีวิตแบบใหม่ก็ ไม่ ได้เลวร้ายอะไรนัก"


จากสีเ่ ดือนผ่านไปฤดูหนาวก็มาถึง ผมต้องไปโรงเรียนเกือบทุกวัน และต้องเรียนสะกดค�ำ ผมอ่านออกเขียนได้นดิ หน่อย ผมท่องสูตรคูณได้ถึงแม่เจ็ด ผมท่องได้ถึงเจ็ดหกสามสิบห้า ผมว่าผมท่องไป ไกลกว่านั้นไม่ได้แล้วนอกเสียจากผมจะมีชีวิตเป็นอมตะ แต่ช่างมันเถอะ ผมก็ไม่ ได้สนใจอะไรกับวิชาเลขอยู่แล้ว ตอนแรกผมเกลียดโรงเรียนมาก แต่ผมค่อยๆ ชินกับมันแล้วล่ะ ถ้าผม ขี้เกียจเมื่อไหร่ผมก็โดดเรียน ผมชอบที่ซ่อนใหม่ของผมมาก ผมเลยชินกับการไป โรงเรียนมากขึน้ ผมเริม่ ชินกับม่ายดักลาสด้วยเหมือนกัน ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้าน นอนขดบนเตียง ช่วงก่อนฤดูหนาวมาถึงผมแอบหนีไปนอนในป่าบ้างบางครัง้ ผมชอบ ชีวติ แบบเก่าทีส่ ดุ แต่ชวี ติ แบบใหม่กไ็ ม่ได้เลวร้ายอะไรนัก ผมค่อยๆ ชอบชีวติ ตอน นี้มากขึ้น ม่ายดักลาสเองก็บอกว่าผมค่อยๆ ประพฤติตัวอยู่กับร่องกับรอยมากขึ้น เช้าวันหนึง่ ผมปัดกระปุกเกลือหกเต็มโต๊ะ ผมรีบเอือ้ มมือไปหยิบเศษเกลือ ทีห่ กเพือ่ จะโยนข้ามไหล่กนั โชคร้าย แต่คณ ุ วัตสันห้ามผมไว้ เธอพูดว่า “เอามือออก ไปเดี๋ยวนี้นะฮัคเคิลเบอร์รี่ เธอจะก่อเรื่องอะไรอีก” ม่ายดักลาสพยายามปลอบผม แต่ผมรู้ว่าค�ำพูดของม่ายดักลาสไม่สามารถล้างโชคร้ายที่ตามติดผมมาได้ หลัง จากมือ้ เช้าผมรูส้ กึ กังวลและไม่ปลอดภัย ผมนัง่ คิดตลอดว่าจะมีเรือ่ งซวยอะไรเกิด ขึ้นกับผม อันที่จริงก็มีวิธีล้างซวยหลายแบบ แต่ผมรู้ว่าความซวยที่จะมาเยือนผม ครัง้ นีม้ นั ไม่ใช่โชคร้ายแบบทัว่ ไปแน่ๆ ผมเลยไม่ทำ� อะไรนอกจากเดินไปเดินมาด้วย จิตใจห่อเหี่ยวและคอยเฝ้าระวังว่าเรื่องซวยจะมาเมื่อไหร่ ผมเดินไปยังสวนหน้าบ้านก่อนปีนรั้วออกไปข้างนอก หิมะตกใหม่หนา ประมาณหนึ่งนิ้วปกคลุมทั่วพื้นถนน ท�ำให้ผมเห็นรอยเท้าปริศนา รอยเท้านั้นเดิน มาจากเหมืองหินก่อนทีจ่ ะมาหยุดอยูห่ น้าบ้านผมชัว่ ขณะหนึง่ ก่อนทีจ่ ะเดินวนไป วนมาแต่ไม่ยอมเข้าไปข้างใน ผมนึกไม่ออกว่านี่เป็นรอยเท้าของใคร ผมก�ำลังจะ เดินตามรอยเท้านั้นก่อนที่ผมจะสังเกตว่าตรงส้นเท้าของรอยเท้าฝั่งขวามีลายไม้ กางเขนท�ำจากตะปูเพื่อกันวิญญาณชั่วร้ายอยู่ ผมสะดุ้งแล้วรีบวิ่งลงจากเนินเขา

ผมพยายามมองลอดไหล่ผมเป็นระยะแต่ผมไม่เห็นใครสักคน ผมไปถึงบ้านของ ผู้พิพากษาแททเชอร์เร็วที่สุดเท่าที่ผมจะเร็วได้ ท่านผู้พิพากษาพูดกับผมว่า “เจ้า หนู ท�ำไมวิ่งกระหืดกระหอบมาแบบนี้ มีอะไรให้ช่วยไหม” ผมตอบเขาไปว่า “ไม่ ครับท่าน ผมอยากถามว่าเงินของผมที่อยู่กับท่านตอนนี้มีกี่ดอลลาร์ครับ” “อ้อใช่ เมื่อคืนฉันได้ดอกเบี้ยจากธนาคารส่งมาพอดี ตอนนี้เงินของหนูมี ทัง้ หมดกว่าหนึง่ ร้อยห้าสิบห้าดอลลาร์ เยอะมากเลยนะ ฉันว่าหนูควรจะให้ฉนั เก็บ ดอกเบีย้ ส่วนนีไ้ ว้ลงทุนกับเงินหกพันดอลลาร์ของเธอทีฉ่ นั เอาไปลงทุนให้นะ เพราะ ว่าถ้าฉันให้เธอ เธอจะเอาไปใช้หมดแน่ๆ” “ไม่ครับท่าน ผมไม่อยากใช้มันแล้วครับ ผมไม่อยากได้เงินแล้วสักแดง เดียว ผมอยากให้ท่านเอาไปให้หมดทุกเซนต์เลยครับ” ท่านผู้พิพากษามีสีหน้าประหลาดใจ ท่านดูเหมือนจะพูดอะไรไม่ออก อยู่สักพักก่อนจะถามผมว่า “ท�ำไมละหนู นี่หมายความว่าอย่างไร” ผมตอบไปว่า “ได้โปรดอย่าถามค�ำถามผมเลยครับท่าน ท่านจะรับเงินไป ใช่ไหมครับ ใช่ไหมครับท่าน” ท่านผู้พิพากษาตอบว่า “ฉันตกใจมากเลยนะ นี่มีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า” “ได้โปรดรับไปเถอะครับ” ผมตอบ “และได้โปรดอย่าถามอะไรผมเลย เพราะผมไม่อยากโกหกท่าน” ท่านผู้พิพากษาพิจารณาผมอยู่สักพักก่อนจะตอบว่า “เอาอย่างนี้ ฉันจะ ถือว่าเธอขายสินทรัพย์ทั้งหมดของเธอให้ฉัน ไม่ได้ยกให้ฉันเปล่าๆ อย่างนั้นน่าจะ ดีกว่านะ” ท่านผูพ้ พิ ากษาหยิบกระดาษออกมาเขียนอะไรบางอย่าง ท่านตรวจทาน สิ่งที่ท่านเขียน ก่อนจะพูดกับผมว่า “เห็นไหม นีถ่ อื ว่าเราเซ็นสัญญาตกลงกันนะ หมายความว่าฉันได้จา่ ยเงิน ซื้อทรัพย์สินขอหนูแล้ว นี่เงินหนึ่งดอลลาร์ให้หนูแล้วหนูก็เซ็นตรงนี้” ผมรีบเซ็นชื่อและรีบวิ่งออกไป จิม ทาสคนด�ำของคุณวัตสัน มีกอ้ นขนขนาดเท่าก�ำปัน้ ทีม่ นั ไปเอามาจาก กระเพาะวัว จิมร่ายคาถาใส่กอ้ นขนนัน้ ไว้ มันบอกว่ามีวญ ิ ญาณสิงอยูข่ า้ งในทีล่ ว่ ง รู้ทุกๆ อย่าง ผมเลยไปหามันคืนนั้น ผมเล่าให้มันฟังว่าแพ๊พกลับมาแล้วเพราะผม เห็นรอยเท้าของแพ๊พบนหิมะ ผมอยากจะรู้ว่าแพ๊พจะท�ำอะไรต่อ จิมหยิบก้อนขน มาพึมพ�ำใส่ก่อนโยนลงบนพื้น มันลงลงกับพืน้ แล้วกลิ้งไปประมาณหนึ่งนิว้ เท่านัน้ จิมลองอีกครั้งและอีกครั้ง ก้อนขนก็ยังตกลงมาแบบเดิม จิมลงไปคุกเข่ากับพื้น มันแนบหูกับก้อนขนแต่ไม่มีประโยชน์อะไร จิมบอกว่าก้อนขนไม่ยอมพูดกับมัน จิมบอกว่าวิญญาณในก้อนขนจะไม่พดู ด้วยถ้าไม่ได้เงิน ผมบอกไปว่าผมมีเหรียญ ยี่สิบห้าเซนต์เก๊อยู่หนึ่งเหรียญแต่เงินที่เคลือบมันเริ่มลอกแล้ว (ผมตัดสินใจไม่พูด เรื่องเงินหนึ่งดอลลาร์ที่ผมได้รับจากท่านผู้พิพากษา) ผมบอกว่ามันเป็นเงินปลอม แต่บางทีก้อนขนคงจะไม่ว่าอะไรเพราะว่ามันอาจจะแยกเหรียญจริงกับเหรียญ ปลอมไม่ออก จิมเอาเหรียญไปดมกับกัดก่อนที่จะบอกผมว่าเขาจะท�ำให้ก้อนขน คิดว่าเหรียญนี้เป็นเหรียญจริง จิมจะเอาเหรียญนี้ยัดเข้าไปในมันฝรั่งไอริชหนึ่งคืน มันบอกว่าเช้าวันรุ่งขึ้นคราบทองเหลืองจะหายไปและทุกคนที่เห็นเหรียญนี้จะคิด ว่าเป็นเหรียญจริงแน่นอน จริงๆ ผมเองก็รวู้ า่ มันฝรัง่ ท�ำแบบนัน้ ได้ ผมแค่นกึ ไม่ออก จิมเอาเหรียญใส่ในก้อนขน โยนลงพืน้ และฟังเสียงอีกครัง้ คราวนีเ้ ขาบอก ว่าวิญญาณในก้อนขนตกลงทีจ่ ะท�ำนายอนาคตให้ วิญญาณพูดกับจิมก่อนทีจ่ มิ จะ บอกผมว่า “ตาแก่คนนั้นของเอ็งยังไม่รู้หรอกว่าเขาจะท�ำอะไรต่อไป เขาอาจจะไป ให้พ้นจากที่นี่ บางทีเขาอาจจะอยู่ ทางที่ดีที่สุดคือท�ำใจให้สบายและปล่อยให้ ตาแก่ไปตามทางของแก มีผสี องตัวร่อนอยูบ่ นหัวแก ตัวหนึง่ สีขาวเป็นประกาย อีกตัว สีด�ำ ตัวขาวบอกตาแก่ให้ท�ำดี ตัวด�ำบอกแกให้ท�ำชั่ว ตัวแกเองก็ตัดสินใจไม่ได้ว่า จะฟังตัวดีหรือตัวชั่วดี ส่วนตัวของเอ็งไม่เป็นอะไรหรอก เอ็งจะมีปัญหาบ้างและมี ความสุขบ้าง เอ็งจะเสียใจบ้างป่วยบ้าง แต่เดี๋ยวเองก็หาย จะมีสาวสองคนเข้ามา ในชีวิตเอ็ง คนหนึ่งรวย อีกคนจน เอ็งจะได้แต่งกับสาวบ้านจน เอ็งอยู่ให้ห่างจาก น�้ำเข้าไว้และอย่าหาเรื่องใส่ตัวมาก เพราะแกอาจจะตายได้” หลังจากนั้นผมกลับไปที่บ้าน เมื่อผมขึ้นไปยังห้องนอนและจุดเทียนหัว เตียง ผมเห็นแพ๊พ แพ๊พตัวเป็นๆ เลย! (อ่านต่อฉบับหน้า)

13


องศาแห่งความอิสระ / จิรศักดิ์ ปานพุ่ม : เรื่อง ป่านนี้ยังคิดอะไรไม่ออก ต้องรีบส่งต้นฉบับแล้ว ! เท้าแตะคันเร่งไว้เฉยๆ ยังไม่มีโอกาสได้เหยียบมันให้หน�ำใจ ท้องถนนกลายเป็นลานจอดรถขนาดหลายเอเคอร์ไปเสียแล้ว แต่สักพักบางอย่างซึ่งคล้ายความคิดก็ผุดขึ้นในหัว

14

สังคม ทุกคนไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสวัสดิการของสังคมโดยรวม ไม่น่าเชื่อว่าอิทธิพลระบบ คิดแบบกลไกของเดการ์ตและนิวตันยังรุนแรงไม่เปลี่ยนแปลง

ผมมองอวัยวะทางสังคมทีก่ ำ� ลังแย่งชิงโอกาสกันอยูต่ อ่ หน้าด้วยความกังวล ปนทุเรศ แปลว่าผมต้องท�ำอย่างนัน้ ด้วยหรือจึงจะไปท�ำงานได้ทนั เวลา หรือเพือ่ ไม่ให้ ผมคิดไปเรื่อยๆ ว่าความคิดคือการกระท�ำอันเกิดจากภายในที่เป็นอิสระจากทุกสิ่ง ไปสายจนน่าเกลียด คิดอะไรก็ได้ ไม่มใี ครมองเห็น ไม่มใี ครสามารถล่วงรูห้ รือห้ามปรามได้ ใครจะรูว้ า่ ตอนนีผ้ มก�ำลัง มั น ท� ำ ให้ ผ มนึ ก ถึ ง หนั ง สื อ เล่ ม หนึ่ ง ของฟริ ต จ๊ อ ฟ คาปรา “จุ ด เปลี่ ย นแห่ ง สัมผัสมือกับหญิงสาวสวยอุไรคนนัน้ อยูใ่ นม่านความคิด ใครจะขัดขวางหากผมมีแรงปรารถนา ที่จะเป็นแฟนเธอแทนหนุ่มหน้าตี๋คนนั้น ผมสามารถมีความสุขกับความคิดของตัวเองได้โดย ศตวรรษ” ที่ พู ด ถึ ง ทั ศ นะแม่ บ ทแบบใหม่ เปลี่ ย นจากการมองสั ง คมแบบอย่ า งกลไก ที่แยกส่วนออกจากกัน มาเป็นการมองแบบองค์รวมแม้ระบบสังคมจะด�ำเนินไปคล้าย ไม่ผิดกฎหมาย ในบรรดากิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ที่ส�ำคัญและทรงพลังที่สุดคือ 'ความคิด' ระบบชีววิทยาที่พัฒนาจากลักษณะง่ายๆ สู่ลักษณะสลับซับซ้อน มีการพึ่งพาอาศัยซึ่ง ทีว่ า่ ทรงพลังก็เพราะความคิดสามารถเปลีย่ นแปลงทุกอย่างได้ ท�ำให้เรือ่ งทีค่ ดิ ว่าไม่นา่ เป็นจริง กันและกัน มีศูนย์กลางการควบคุม มีความส�ำคัญของทุกส่วนพอๆ กัน แต่สิ่งที่ไม่เหมือน กลับกลายเป็นสิง่ อัศจรรย์ของโลก ท�ำให้นามธรรมกลายเป็นรูปธรรม ท�ำให้โลกหมุนรอบตัวเอง กันอย่างเห็นได้ชัดคือ อวัยวะต่างๆ ของสังคมไม่ ได้ติดกัน แยกออกไปต่างหาก เป็น อิสระจากกัน ต่างคนต่างคิด ไม่มีจุดศูนย์รวมส�ำหรับจิตส�ำนึก เซลล์ต่างๆ ของสังคม ท�ำให้มองเห็นกันและกัน ท�ำให้ท้องฟ้ากลายเป็นผ้าห่มคลุมกายยามเหน็บหนาว และเมื่อยิ่งใช้ความคิดมากขึ้นเท่าไรก็ยิ่งพบว่า ความคิดนั้นผลิดอกเป็นการกระท�ำ จึงต้องห�้ำหั่นกันโดยอาศัยอิสรภาพของตนเป็นอาวุธในการระรานเสรีภาพของผู้อื่น... และออกผลเป็นความรูส้ กึ อยูท่ วี่ า่ เป็นความรูส้ กึ ยินดีหรือเศร้าสลด อยูท่ คี่ ดิ เรือ่ งอะไร อย่างไร นี่คนไทยเข้าใจแนวคิดแบบเดการ์ตขนาดนั้นเชียวหรือ ความคิดและการกระท�ำที่ดีย่อมไม่ก่อให้เกิดผลร้าย ความคิดและการกระท�ำที่ชั่วร้ายก็ไม่เคย ไฟแดงอีกแล้ว บ้านนี้เมืองนี้ไม่มีไฟสีอื่นบ้างหรือไง ก่อให้เกิดผลดี “แล้วตกลงจะเขียนเรื่องอะไรล่ะเนี่ย" การพูดกับตัวเองไม่ใช่เรือ่ งน่าอาย ผมคงต้องถามค�ำถามนีไ้ ปเรือ่ ยๆ จนกว่า ไฟแดงแยกนี้นานเป็นบ้า "แล้วจะเขียนอะไรดีวะเนี่ย" ผมถอนหายใจราวกับว่ามันเป็นครั้งสุดท้าย จะได้ค�ำตอบ การเดินทางไปท�ำงานในวันนั้น แม้ต้องท�ำสงครามกับความเมื่อย ต้อง ทนนัง่ อยูใ่ นรถเป็นเวลานานจนหลังงอเป็นรูปทรงเรขาคณิต แต่กไ็ ม่ได้ทำ� ให้หงุดหงิด ที่ลมหายใจจะไหลผ่านหลอดคอออกสู่ชั้นบรรยากาศ หัวเสียแต่อย่างใด ผมกลับชอบใจเสียด้วยซ�ำ้ ทีไ่ ด้ใช้เวลาในรถอย่างเป็นประโยชน์ ได้ อิสรภาพที่แท้จริงคือการเชื่อมโยงความคิดกับการกระท�ำเข้าด้วยกันอย่าง วิเคราะห์ความเป็นไปของชีวติ บนท้องถนน ได้ขบคิดปรัชญา มันท�ำให้ผมเข้าใจอะไร สอดคล้องและมีศิลปะ ในวันหนึ่งฝนตกแบบไม่ให้ตั้งตัว ความแปรปรวนทางอากาศกดดัน มากขึ้นกว่าเดิม ที่ส�ำคัญ ผมได้สัมผัสองศาแห่งความอิสระของตนในมิติที่ลุ่มลึกขึ้น การจราจรในเมืองหลวงให้ขยับตัวได้อย่างเชื่องช้า ท้องถนนกลายเป็นลานจอดรถขนาด เพราะแม้ตอ้ งถูกจองจ�ำอยูใ่ นการคมนาคมทีล่ ม้ เหลว แต่ความคิดค�ำนึงของผมก็ไม่มี ใหญ่ยาวไกลสุดลูกหูลูกตา ชะเง้อมองจนคอยืดก็ยังไม่เห็นหัวแถว เพียงเพราะฝนที่ชโลม อะไรมากักขังไว้ได้ เรามักใช้ความคิดมากที่สุดในเวลาที่เป็นอิสระน้อยที่สุด ลงมาจากฟ้าแค่หนึ่งห่าย่อม ผมรู้สึกโล่งใจที่ไม่ตกเป็นทาสอารมณ์ของตัวเองในเวลาต้อง คิดเพลินไปหน่อย ขับเลยไปลงพระราม 4 เผชิญกับปัญหารถติดเช่นนี้ ผมไม่สะทกสะท้านกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเลยสักนิด “ถ้าวันนี้คิดไม่ออก ฉันจะไม่กินข้าว" ผมปฏิญาณกับตัวเองอย่างพล่อยๆ ทัง้ ทีร่ วู้ า่ คงไม่ดแี น่หากต้องใช้ชวี ติ อยูบ่ นถนนโดยไม่รชู้ ะตากรรม แต่จะท�ำอย่างไรได้ ให้เปลีย่ น ไปนั่งมอเตอร์ ไซค์ก็คงไม่เข้าท่า สิ่งเดียวที่ท�ำได้ดีสุดคือ ควบคุมจิตใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่เป็น พลางคิดต่อ กังวล ไม่ปล่อยให้ตกอยูภ่ ายใต้ความกดดันทัง้ ปวง เป็นการใช้แนวคิดแบบกลุม่ สโตอิก [Stoic] ยอมรับว่าองศาแห่งความอิสระของผมบางครั้งก็กวัดแกว่งไปมา ในบางเรื่อง นักคิดสมัยกรีกยุคแรกเริ่มที่มีความคิดว่าเราไม่ควรกังวลกับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ชัน 90 องศา แต่กับบางเรื่องก็ชันแค่ 45 องศา หรือบางทีก็ราบเรียบไปกับพื้น แปลว่าหมด คล้ายกลุ่มวิมุตินิยม [Scepticism] ที่ยึดถือสภาวะความสงบทางจิตเป็นหลัก อิสรภาพโดยสิ้นเชิงในเรื่องนั้น เหมือนตอนนี้ที่อ�ำเภอใจของผมก�ำลังลดขนาดลงตามแสง ทันทีทฝี่ นหยุดตก ฟ้าเริม่ เปิดให้แสงแดดสาดประกายลงมากระทบกระจก ตะวันที่ก�ำลังคล้อยตัวต�่ำลงเรื่อยๆ อีกไม่นานคงซบบนขอบฟ้า ทันทีที่ราตรีได้ถือก�ำเนิดขึ้น ข้างของรถ ท�ำให้บรรยากาศทีเ่ คยขมุกขมัวกลายเป็นความคึกครืน้ ของแสงแวววับไป ในแสงสลัวแกมเศร้า นัน่ คือการจากไปของตะวัน ไม่นา่ เชือ่ ว่าความคิดของคนจะปรับตัวเข้ากับ แสงเดือนแสงตะวันได้อย่างแยบยล กลางวันก็คิดถึง กลางคืนก็ฝันถึง ปฏิบัติการในกระบาล มาเมื่อรถบางคันเริ่มเคลื่อนตัว น้อยๆ ไม่เคยพักผ่อนเลยให้ตายสิ มันช่างซื่อสัตย์ต่อการด�ำรงอยู่ของลมหายใจเสียจริง ผมมองรถที่ขวักไขว่อยู่เบื้องหน้าอย่างพินิจ และรู้สึกเหมือนก�ำลังมองอวัยวะ รถติดแบบนี้เห็นทีคงไปไหนได้ไม่ไกล ผมคงต้องรีบกลับไปท�ำหน้าที่พ่อ ภายในของมนุษย์ที่ไขว้กันไปมา ดูไม่เป็นระเบียบระคนความน่าเกลียดอยู่กลายๆ รถคันนั้น เริ่ ม ปาดหน้ า คั น นี้ อี ก คั น พยายามแทรกตั ว ไปอยู ่ อี ก ด้ า นหนึ่ ง ซึ่ ง ไม่ รู ้ จ ะไปท� ำ ไมทั้ ง ที่ บ้านอันทรงเกียรติแล้วล่ะ จะมัวขับรถอีเรื่อยเฉื่อยแฉะอยู่อย่างนี้ไม่ได้ ผมปล่อยให้ความคิดไถลเถลือกเข้าไปในแสงไฟแห่งเมืองหลวง แม้ยังคิด เป็ น ทางตรง ไม่ ส ามารถเลี้ย วไปไหนได้ ก็เลยต้องขวางกัน อยู ่ อย่ า งนั้ น เสี ย งแตรดั ง ระงมบนถนนในป่าคอนกรีต สลับกับภาพมอร์เตอร์ ไซค์ก�ำลังวิ่งยั้วเยี้ยคล้ายแบคทีเรีย ไม่ออกว่าจะเขียนเรื่องอะไร ที่แตกตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างรถแต่ละคัน นี่เป็นภาพความวุ่นวายบนอิสรภาพของ “เขียนเรื่องอะไรดีวะ !” หน่วยย่อยทางสังคมที่เรียกว่ามนุษย์ ทุกคนมีศูนย์กลางทางจิตส�ำนึกอยู่ที่ตัวเอง ไม่ได้อยู่ที่


Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage “You can hide memories, but you can’t delete history.” / อลิสา สันตสมบัติ : เรื่อง Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage (ฉบับภาษาไทย ใช้ชื่อว่า ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ) นวนิยายเล่มล่าสุดของมูราคามิ ฮารูกิ เป็นหนังสือ ทีน่ กั อ่านทัว่ โลกรอคอยมากทีส่ ดุ เล่มหนึง่ ของปีนนี้ บั ตัง้ แต่ทมี่ ขี า่ วการตีพมิ พ์นวนิยาย เล่มนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น ณ เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 12 เมษายน 2013 ซึ่งเป็นวันแรกที่ นวนิยายเล่มนี้วางจ�ำหน่าย นักอ่านจ�ำนวนมากเข้าแถวยาวเหยียดรอบริเวณหน้า ร้านหนังสือเพือ่ รอซือ้ ผ่านไปเพียงหนึง่ สัปดาห์นวนิยายเล่มนีก้ ต็ พี มิ พ์ซำ�้ ถึงแปดครัง้ รวมแล้วมากกว่าหนึ่งล้านเล่ม สื่อและวงการวรรณกรรมต่างประเทศเฝ้าจับตามองความเคลื่อนไหว การแปลนวนิยายเล่มนี้อย่างใกล้ชิดและรายงานความคืบหน้าเป็นระยะตั้งแต่ที่มี การเซ็นสัญญาลิขสิทธิแ์ ปล ทัง้ ก�ำหนดวางแผง การออกแบบหน้าปก ฯลฯ ท่ามกลาง กระแสฮือฮาทุกปีว่ามูราคามิจะได้เป็นนักเขียนรางวัลโนเบลหรือไม่ และในที่สุด Colorless Tsukuru Tasaki and His Years of Pilgrimage ฉบับภาษาอังกฤษส�ำนวน แปลของ Philip Gabriel ก็วางแผงเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2014 ให้นักอ่านทั่วโลกได้ เสพย์ (ฉบับภาษาสเปน เยอรมัน ฯลฯ วางขายก่อนหน้านั้นแล้ว) Tsukuru Tasaki ตัวละครเอกของเรือ่ งมีเพือ่ นสนิทสมัยเรียนอยูม่ ธั ยมปลาย สี่คน ทุกคนล้วนมีสีในนามสกุล สองคนเป็นผู้ชายชื่อ Akamatsu แปลว่า สนแดง Oumi แปลว่า ทะเลน�้ำเงิน อีกสองคนเป็นผู้หญิงชื่อ Shirane รากขาว และ Kurono ทุง่ ด�ำ ยกเว้น Tsukuru คนเดียวทีไ่ ม่มสี ใี นนามสกุล เขาจึงรูส้ กึ ว่าตนเองแตกต่างและ แปลกแยกจากคนอื่นๆ เสมอ เขาเป็นคนเดียวที่ “ว่างเปล่า” เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ และแล้ววันหนึ่งหลังจากที่จากนาโกย่าบ้านเกิดมาเรียนหนังสือที่โตเกียวได้สองปี Tsukuru ถูกเพือ่ นๆ ตัดขาดและบอกว่าไม่ตอ้ งการพบหรือพูดคุยกับเขาอีกต่อไป เขา ถูกความตายครอบง�ำแต่ก็รอดชีวิตมาได้ เขาได้รู้จักกับ Haida นาสีเทา เพื่อนที่ช่วย ให้เขาค่อยๆ กลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง แต่แล้ว Haida ก็หายไปจากชีวิตเขาอีกเช่นกัน ทว่าหลังจากนัน้ Tsukuru รูส้ กึ ว่าเขาใช้ชวี ติ อย่างล่องลอยและไม่สามารถสานความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับเพื่อนมนุษย์อื่นใดได้ จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่ออายุ 36 ปี Tsukuru ได้รจู้ กั และเริม่ คบหากับ Sara ผูค้ ะยัน้ คะยอให้เขาสืบหาสาเหตุทที่ ำ� ให้เพือ่ นๆ เลิกคบ เขาซึง่ ยังเป็นบาดแผลกัดกินใจเขาตลอดมาโดยไม่อาจเยียวยา เหตุการณ์ในอดีตเมือ่ ครัง้ เป็นวัยรุน่ ส่งผลต่อตัวตนของเขาอย่างลึกซึง้ และท�ำให้เขาเติบโตมาเป็นชายผูว้ า่ ง เปล่า ไร้ทั้งสีและอัตลักษณ์ “as an empty person, lacking in color and identity.”

สูญสลายไปขึน้ ใหม่ ยิง่ ไปกว่านัน้ การกลับไปสืบหาความจริงท�ำให้ Tsukuru ได้รอื้ ฟืน้ ความสัมพันธ์กบั เพือ่ นเก่าและตระหนักเป็นครัง้ แรกถึงสิง่ ทีเ่ ขาต้องการจริงๆ ในชีวติ และเหตุผลของการด�ำรงอยู่ของเขา นวนิยายเล่มนี้รวมทุกอย่างที่เป็นลายเซ็นของมูราคามิไว้อย่างครบถ้วน ทั้งเรื่องเล่าประสบการณ์แปลกประหลาดลึกลับที่ไร้ค�ำอธิบาย ชีวิตในช่วงวัยรุ่น ตัวละครแปลกๆ ทีป่ รากฏตัวขึน้ และหายไปอย่างไม่มปี ม่ี ขี ลุย่ ความฝันเกีย่ วกับเซ็กส์ อดีตและความทรงจ�ำ ประโยคเท่ๆ ให้เลือกไปอ้างอิง และที่ขาดไม่ได้คือเพลง ประกอบซึ่งในเล่มนี้คือ “Le Mal du Pays” ในชุด Years of Pilgrimage ของฟรานซ์ ลิสต์ (Franz Liszt) ที่มูราคามิน�ำมาใช้เป็นชื่อเรื่อง (หาฟังได้ในเว็บไซต์ YouTube ถ้าคุณไม่สะดวกจะฟังจากแผ่นเสียงเหมือนตัวละครในเรือ่ ง) อย่างไรก็ตาม Colorless Tsukuru Tasaki and His Years of Pilgrimage ไม่มเี รือ่ งราวมหัศจรรย์อย่างพระจันทร์ สองดวง สัตว์พูดได้ ผู้หญิงที่หูมีพลังพิเศษ หรือกองทัพมนุษย์จิ๋ว ตรงข้าม ผู้อ่านจะ ได้พบเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตมัธยมปลายของวัยรุ่นด้วยการเล่าเรื่องที่ไม่หวือหวาซึ่งมี กลิ่นอายค่อนข้างใกล้เคียงกับ Norwegian Wood หรือ Sputnik Sweetheart แฟนพันธุ์แท้ของมูราคามิอาจพบว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่ต่างจากงาน ที่ผ่านมาของเขาจนดูเหมือนไม่มีอะไรใหม่และรู้สึกเหมือนเคยอ่านมาหมดแล้ว นักวิจารณ์หลายคนพูดถึงลีลาการเขียนและโครงเรือ่ งของ Colorless Tsukuru Tasaki and His Years of Pilgrimage ว่า ‘ซ�้ำซาก (cliché)’ ‘ไม่พัฒนา (lack [of progress])’ ‘เก่า (stale)’ ‘เป็นสูตรส�ำเร็จ (formulaic)’ ฯลฯ กระนั้น การเล่าเรื่องของมุราคามิ ยังคงมีเสน่ห์ดึงดูดและสะกดความสนใจของผู้อ่าน Colorless Tsukuru Tasaki and His Years of Pilgrimage เปิดเรือ่ งด้วยความลึกลับเช่นเดียวกับงานส่วนใหญ่ของเขา และค่อยๆ เปิดเผยเรือ่ งราวทีละน้อย ชวนให้ผอู้ า่ นติดตามอ่านจนจบเพราะต้องการรู้ เฉลยว่าเรือ่ งราวจะคลีค่ ลายไปอย่างไร แต่ในทีส่ ดุ แล้วงานของมูราคามิกม็ กั จบแบบ ไร้คำ� อธิบาย และนัน่ อาจเป็นเหตุผลทีน่ กั อ่านจ�ำนวนมากผูช้ นื่ ชอบงานของมูราคามิ ยังคงติดตามผลงานของเขาอย่างเหนียวแน่นต่อไปเรือ่ ยๆ ทุกครัง้ ทีม่ ผี ลงานใหม่ออกมา ราวกับว่าความกระหายที่จะได้รับค�ำอธิบายนั้นยังไม่ได้รับการเติมเต็ม แต่ถา้ ไม่มอี ะไรใหม่จริงๆ แล้วท�ำไมเราจึงยังควรอ่านนวนิยายเล่มนี้ ส�ำหรับ มูราคามิ ชีวิตในช่วงวัยรุ่นคือช่วงเวลาส�ำคัญที่มีส่วนสร้างตัวตนซึ่งใครคนหนึ่งจะ พัฒนาไปเป็นคนทีเ่ ขาจะเป็นไปชัว่ ชีวติ เหตุการณ์เจ็บปวดทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงเวลานีอ้ าจ สร้างบาดแผลถาวรทีห่ ลอกหลอนเขาไปตลอดชีวติ นอกเสียจากจะได้รบั การเยียวยา นีเ่ ป็นประเด็นทีม่ รู าคามิสนใจและเน้นตลอดในงานส่วนใหญ่ของเขา ตัวละคร Sara กล่าวว่า “คุณเก็บซ่อนความทรงจ�ำได้ แต่คุณลบประวัติศาสตร์ไม่ได้” บาดแผลทาง จิตใจจะไม่มีวันหาย คุณท�ำได้เพียงเรียนรู้ที่จะเข้าใจและอยู่กับมัน Tsukuru ได้ ค้นพบในการเดินทางแสวงบุญของเขาว่า บาดแผลและความเจ็บปวดคือสิง่ ทีเ่ ชือ่ มโยงปัจเจกเข้าด้วยกันได้เช่นเดียวกับความสอดประสานกลมกลืน ความเจ็บปวดและ การสูญเสียเป็นสิง่ ทีข่ าดไม่ได้ในการเข้าใจตนเองและคนอืน่ ๆ และจ�ำเป็นส�ำหรับการ เติบโต ปัจเจกจะก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยการเรียนรู้อดีต จึงไม่น่าแปลกใจที่มูราคามิ จะหวนกลับมาส�ำรวจประเด็นนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า

Colorless Tsukuru Tasaki and His Years of Pilgrimage ยังคงน�ำเสนอประเด็นเดิมที่ปรากฏเสมอ มาในงานของมูราคามิ นั่นคือ การแสวงหาตัวตน ของตัวละครเอก ชื่อ Tsukuru แปลว่า “สร้าง” (to build/to make) เขาชื่นชอบรถไฟตั้งแต่เด็กและ เติบโตมาเป็นวิศวกรผู้ออกแบบการก่อสร้างและ ซ่อมแซมสถานีรถไฟดังที่ฝันไว้ งานอดิเรกของเขา คือการนัง่ นิง่ ๆ ทีส่ ถานีรถไฟและเฝ้ามองผูค้ นสัญจร ไปมาจากที่หนึ่งมุ่งหน้าไปสู่อีกที่หนึ่ง ทว่าเขาต่าง จากผูค้ นเหล่านัน้ เนือ่ งจากเขาไม่รวู้ า่ ตนเองต้องการ มุง่ หน้าไปทีไ่ หน จนกระทัง่ วันหนึง่ เมือ่ เขาออกตาม บางทีนี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเปิดไปสู่ประเด็นใหม่ท่ีจะเป็นพัฒนาการ หาเพื่อนเก่าทีละคนเพื่อหาความจริงเบื้องหลังเหตุการณ์ในอดีตที่มีผลครั้งใหญ่ ทีเ่ ราหวังว่าจะได้เห็นในงานของมูราคามิต่อไป ต่อตัวเขา ซึ่งน�ำเขาไปไกลถึงฟินแลนด์ เรื่องราวของ Tsukuru มีลักษณะเป็น การเดินทางแสวงบุญ (pilgrimage) ไปสูก่ ารค้นพบเกีย่ วกับตนเองแล้ว “สร้าง” ตัวตนที่ ***Spoiler alert: เรื่องนี้ไม่มีแมว

15


สูตรสุคติ

The Catalogue of Death บุนเป โยริฟุจิ เขียน ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล แปล กฤตภาส ศักดิษฐานนท์ : เรื่อง

16

สู ต รสุ ค ติ หรื อ ในชื่ อ ภาษาอั ง กฤษคื อ The Catalogue of Death เขียนโดย บุนเป โยริฟุจิ (Bunpei Yorifuji) นักเขียน นักวาดภาพ และ กราฟิกดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่นที่มีแฟนติดตามผลงาน อย่างเหนียวแน่น เป็นหนังสือทีว่ า่ ด้วยเรือ่ งราวทัง้ หลาย เกี่ ยวกั บ ความตาย ฉบั บภาษาไทยจัด พิม พ์โดย ส�ำนักพิมพ์แซลมอน พิมพ์สองสี (ขาวกับเหลือง) ความหนาประมาณ 170 หน้า ได้รับการแปลจาก ภาษาญีป่ นุ่ โดย ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล แฟนพันธุ์ แท้ประเทศญี่ปุ่นประจ�ำปี 2557 นอกเหนือไปจาก รางวัลนีแ้ ล้วผูแ้ ปลยังผ่านการศึกษาระดับปริญญาโท จากญีป่ นุ่ ท�ำงานกับคนญีป่ นุ่ เขียนหนังสือเกีย่ วกับ ญีป่ นุ่ (เอ๊ะ! เจแปน และ JAPAN DID) รวมทัง้ ยัง มีภรรยาเป็นชาวญีป่ นุ่ ด้วย จากคุณสมบัตดิ ังกล่าว ท�ำให้พออนุมานได้วา่ ตัวนักแปลน่าจะมีความเข้าใจ ภาษาและวัฒนธรรมญีป่ นุ่ เป็นอย่างดี ในเล่มแบ่งออกเป็น 8 บท ได้แก่ บทน�ำ, ประตูสคู่ วามตาย, รูปแบบของความตาย, จังหวะ ของความตาย, สถานทีต่ าย, สาเหตุของความ ตาย, ต�ำนานของความตาย, วิถีแห่งความตาย แต่ละบทประกอบด้วยภาพเป็นส่วนใหญ่ เนือ้ หาเป็น ส่วนรอง คือ มีรปู ภาพอยูม่ ากกว่าตัวหนังสือ ดังนัน้ แม้ ตัวเล่มจะมีความหนาประมาณ 170 หน้า แต่กอ็ า่ นจบ ได้อย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถงึ หนึง่ ชัว่ โมง อย่ า งไรก็ ต าม ประเด็ น ที่ ห นั ง สื อ ทิ้ ง ไว้ หาได้จบเร็วตามระยะเวลาในการอ่านไม่ ค�ำถาม ส�ำคัญหลายค�ำถามในเล่มนอกจากไม่อาจหาค�ำตอบ ได้อย่างง่ายดายแล้วยังสะกิดให้ผอู้ า่ นน�ำไปขบคิดต่อ ได้อกี ยาวนานไม่รจู้ บ จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ภาพวาดอัน สวยงาม ดูงา่ ย และเต็มไปด้วยอารมณ์ขนั ทว่าจุด เด่นนีก้ ท็ ำ� ให้เนือ้ หาในเล่มถูกทอนลงไม่ให้มมี ากและ หนักเกินไป การทีห่ นังสือเล่มนีเ้ ต็มไปด้วยภาพเป็น จุดเด่นซึง่ อาจถูกใจผูอ้ า่ นในวงกว้างโดยเฉพาะวัยรุน่ คนทีไ่ ม่มเี วลามากนัก หรือคนทีไ่ ม่ชอบอ่านหนังสือ ยาวๆ แต่ท�ำให้มองอีกมุมหนึ่งได้ว่ามีเนื้อหาเบา เกินไปส�ำหรับกลุ่มผู้อ่านที่โตมากแล้วที่ต้องการ ครุน่ คิดถึงชีวติ และความตายอย่างลงลึก เช่น กลุม่ วัยท�ำงาน นักวิชาการ นักการศาสนา หรือนักบวช

บุนเป โยริฟจุ ิ พาเราไปสืบค้นเรือ่ งราวการตายจากแง่มมุ ต่างๆ ซึง่ ข้อมูลทีร่ วบรวมท�ำให้เห็นความซับซ้อนของความตาย อันน่าพิศวง ไม่วา่ จะเป็นอายุขยั ของมนุษย์ในแต่ละสังคม/แต่ละ ยุคสมัยทีม่ คี วามแตกต่างกันมาก จนท�ำให้การมีชวี ติ อยูแ่ ตกต่าง กันไปจนสุดขั้ว หรือคติความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายของ แต่ละสังคมหรือแต่ละบุคคล ซึง่ ท้ายทีส่ ดุ คติความเชือ่ เหล่านี้ ได้กลายเป็นตัวก�ำหนดวิถีในการมีชีวิตอยู่ของเขาเหล่านั้นให้ ด�ำเนินไปในทิศทางอันหลากหลายได้อย่างไม่นา่ เชือ่ ไม่วา่ จะเป็น พระเยซูทถี่ กู ประหารในวัย 34 แต่คำ� สอนยังคงอยูต่ ลอดกาลสมัย พระพุทธเจ้าทีป่ ระกาศการค้นพบสัจธรรมในวัยใกล้เคียงกับพระเยซู คือ 35 และอุทศิ ช่วงชีวติ ทีเ่ หลืออยูใ่ ห้กบั การเผยแผ่คำ� สอน จนกระทัง่ ดับขันธ์ปรินพิ พานในวัย 80, พาโบล ปีกสั โซผูใ้ ช้ชวี ติ แสนส�ำราญจนวันสุดท้ายในวัย 90, พระนางมารี อังตัวเนตต์ผู้ ใช้ชวี ติ หรูหราฟูฟ่ า่ มาแต่กำ� เนิดทว่าประสบทุกข์เข็ญในช่วงท้าย จนกระทัง่ ถูกประหารด้วยกิโยตินในวัย 37, โจน ออฟ อาร์ค ผูเ้ ป็น ฮีโร่ของชาวฝรัง่ เศสแต่ถกู จับกุมและเผาทัง้ เป็นในวัยเพียงแค่ 19 เท่านัน้ มิยาโมโตะ มุซาชิตำ� นานยอดซามูไรทีจ่ ากโลกนีไ้ ปในวัย 61 โดยปราศจากความพ่ายแพ้ หรือนักเขียนนามอุโฆษอย่าง ยูกโิ อะ มิชมิ าทีเ่ ลือกวัย 45 เป็นวันตายอย่างแน่วแน่ดว้ ยการ คว้านท้องตัวเองทีค่ า่ ยอิชกิ ายะในกองก�ำลังป้องกันประเทศญีป่ นุ่

เต็มอกว่ามีอยูจ่ ริงและสักวันย่อมมาถึงในทีส่ ดุ ก็อาจมองได้วา่ เป็นการหลีกหนีความจริงแบบหนึง่ หรือขลาดกลัวทีจ่ ะเผชิญ หน้ากับสัจธรรมพืน้ ฐานของชีวติ หรือแม้กระทัง่ ชักพาให้ใช้ชวี ติ ทีเ่ หลืออยูใ่ ห้เดินไปด้วยความประมาท จะว่าไปความตายกับการมีชีวิตอยู่ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่ กัน เนือ่ งเพราะมีชวี ติ อยูจ่ งึ มีสงิ่ ทีเ่ รียกว่าความตาย ด้วยเพราะ มีความตายจึงมีสงิ่ ทีเ่ รียกว่าการมีชวี ติ อยู่ กล่าวคือ มโนทัศน์ หรือความคิดถึงสิ่งหนึ่งมีอยู่ได้ก็ด้วยการมีอยู่ของอีกสิ่งหนึ่ง เท่านัน้ มิอาจเลือกทีจ่ ะคิดถึงสิง่ ใดสิง่ หนึง่ แต่เพียงอย่างเดียวได้ ดังนัน้ การตอบค�ำถามทีว่ า่ ชีวติ คืออะไรและเรามีชวี ติ อยูไ่ ปเพือ่ อะไรจะเป็นไปได้กต็ อ่ เมือ่ เราสามารถตอบค�ำถามว่าความตาย คืออะไรได้ด้วย (ไม่วา่ ค�ำตอบนั้นจะถูกหรือผิดก็ตาม) เพราะ ฉะนัน้ “ความตาย” จึงไม่ใช่เรือ่ งไกลตัว แต่เป็นเรือ่ งทีอ่ ยูก่ บั เรา ตลอดเวลา ความตายอาจไม่ใช่เรื่องอัปมงคลที่พึงหลีกเลี่ยงจะ กล่าวถึง แต่อาจจ�ำเป็นต้องครุ่นคิดใคร่ครวญและมีสติสังวร กับมันเท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ ด้ ว ยเหตุ ผ ลทั้ ง หลายเหล่ า นี้ จึ ง ท� ำ ให้ สู ต รสุ ค ติ “ไม่ตาย” ไปหลังจากที่อ่านจบ ทั้งๆ ที่มันกล่าวถึงความตาย อยู่ตลอดเวลา

"จะว่าไปความตายกับการมีชีวิตอยู่ ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน เนื่องเพราะมีชีวิตอยู่ จึงมีสิ่งที่เรียกว่าความตาย ด้วยเพราะมีความตายจึงมีสิ่งที่ เรียกว่าการมีชีวิตอยู่" ทีส่ ดุ ของทีส่ ดุ แล้ว สูตรสุคติ พาผูอ้ า่ นให้ใคร่ครวญต่อ ค�ำถามต่างๆ ทีผ่ เู้ ขียนไม่ได้ระบุออกมาตรงๆ อย่างเช่น ความตายคืออะไร ตายแล้วไปไหน ตายเมือ่ ไหร่ ตายอย่างไร ตายเพือ่ อะไร ฯลฯ ซึง่ โดยทัว่ ไปแล้วผูค้ นมักหวาดกลัวต่อความตายและ พยายามหลีกเลีย่ งทีจ่ ะพูดถึงเรือ่ งพวกนี้ ในสังคมไทยการพูดถึงความตายในหลายโอกาสเป็น เรือ่ งไม่สมควรและขัดต่อธรรมเนียมมารยาทเป็นอย่างยิง่ ด้วยถือ กันว่าการกล่าวถึงเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งอัปมงคล กระนัน้ ก็ตาม หากมอง บุนเป โยริฟุจิ อีกแง่หนึง่ ความพยายามหลีกเลีย่ งการคิดหรือพูดในสิง่ ทีร่ อู้ ยู่ Bunpei Yorifuji


"Life is a great sunrise. I do not see why death should not be an even greater one." Vladimir Nabokov

ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage

ฮารูกิ มูราคามิ เขียน l มุทิตา พานิช แปล ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่

รัตติกาลของพรุ่งนี้ นิวัต พุทธประสาท เขียน ส�ำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรม

เมษายน ปี 2556 นวนิยายเล่มนี้ขายดีตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่น ยอด จ�ำหน่ายรุนแรง 1 ล้านเล่มภายใน 1 เดือน สิงหาคม ปีต่อมา หนังสือแปล เป็นภาษาอังกฤษในชื่อ Colorless Tsukuru Tazaki and His Years of Pilgrimage และขึ้นท�ำเนียบขายดีทันทีใน The New York Times สหรัฐอเมริกา กันยายน ปีนี้ นักอ่านชาวไทยมีโอกาสได้อ่านฉบับแปลในชื่อ ว่า 'ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ' แล้วในที่สุด จงบอกเหตุผลสักข้อว่าเพราะอะไร นั ก อ่ า นตั ว ยงอย่ า งคุ ณ ถึ ง จะยอมพลาดหนั ง สื อ ระดั บ ปรากฏการณ์ เ ล่ ม นี้

งานเขียนของนิวัตให้ความรู้สึกอย่างนั้น จากมุมมองของพลซุ่มยิงสังหารอารมณ์ ที่เฝ้ารอเวลาอันเหมาะสม สังเกตทุกรายละเอียดแม้เล็กน้อย คอยอย่างใจเย็น แล้วทันทีที่ฝูงนกโผขึ้นฟ้าด้วยตกใจเสียงปืนลั่นนั่นก็ได้แปลว่ามีบางสิ่งถูกเด็ด ปลิวไปแล้ว ซึ่งนิวัตก็ไม่เคยพลาดเป้าเสียด้วย รัตติกาลของพรุ่งนี้ ตั้งค�ำถาม กับสิ่งที่เราเชื่อและความจริงที่ลวงตา นวนิยายบางเฉียบพุ่งเสียบขั้วหัวใจของ เผด็จการ อีกผลงานน่าประทับใจจากส�ำนักพิมพ์เม่นวรรณกรรมที่นักอ่าน อินดี้ไว้วางใจยาวนาน

ความสุขแห่งชีวิต The Human Comedy วิลเลียม ซาโรยัน เขียน l วิภาดา กิตติโกวิท แปล มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม

การเฝ้ารออันเงียบงัน The Crying of Lot ทอมัส พินชอน เขียน l จุฑามาศ แอนเนียน แปล ส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์

สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งโลกขาดแคลน หิวโหย และหมองหม่น จนความตาย หายใจรดอยู่ทุกขณะ โฮเมอร์และยูลิสซิส เด็กสองคนจากครอบครัวยากจน ท�ำให้คนในหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีรอยยิ้ม และกลับมาศรัทธาต่อการมองโลกใน แง่ดีอีกครั้ง หนังสือเล่มนี้พาเราไปพบความสงบประหลาดที่มาพร้อมการครุ่นคิด ต่อชีวิต เมื่ออ่านจบจะพบว่าความสุขที่ไม่ได้มอบความสนุกเสมอไปนั้นเป็น อย่างไร วรรณกรรมเยาวชนเล่มนี้ท�ำหน้าที่เช่นนั้น มันไม่บีบคั้นให้เรารู้สึกแต่ จะอยู่ในส่วนลึกของเราไปอีกแสนนาน

หนังสือเล่มใหม่จากส�ำนักพิมพ์ไลต์เฮาส์ ผู้เบิกถางทางใหม่ให้นักเขียนร่วมสมัยฝั่งอเมริกาได้เข้ามาท�ำความรู้จักกับนักอ่านไทย นวนิยายเรื่อง การเฝ้ารอ อันเงียบงัน เล่มนี้คือวรรณกรรมแนวเรื่องเล่าแสวงหา (Quest Narrative) ที่ กระตุ้นความใคร่รู้ สงสัย และมอบประสบการณ์เคลือบแคลงใจตลอดการอ่าน ไปจรดหน้าสุดท้าย เหมาะแก่ผู้ชอบแหวกขนบการตีความใหม่เชิงศาสนา ประวัติศาสตร์ และบูรณาการจิตวิทยา ชีววิทยา กระทั่งคณิตศาสตร์เข้าไว้ ด้วยวิธีเล่าที่เราคิดว่าไม่ธรรมดาเลย

หิมะ พระจันทร์ ดอกไม้: สวนญี่ปุ่น ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์ เขียน ส�ำนักพิมพ์สารคดี

00.00 น. 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เขียน ส�ำนักพิมพ์สมมติ

คนญี่ปุ่นกับสวนขาดกันไม่ได้ ค�ำว่า หิมะ พระจันทร์ และดอกไม้ คือตัวแทน การออกแบบเชิงสุนทรียะที่ลงตัวระหว่าง เวลา อารมณ์ และฤดูกาล สะท้อน ความเป็นอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเข้าใจ ปรัชญาอันเรียบง่ายแต่ลึกซึ้งของ การจัดสวนได้สร้างจักรวาลขนาดย่อมขึ้นมาใหม่ กิจกรรมนี้ไม่เพียงสอดคล้อง กับวิถีชีวิต ความเชื่อ และประวัติศาสตร์ยาวนาน หากผู้เขียนยังเปรียบศิลปะ การจ�ำลองธรรมชาติแขนงนี้ว่าคือลมหายใจของคนญี่ปุ่นอีกด้วย

หนังสือที่ตั้งชื่อด้วยเวลาเล่มนี้ ตั้งขึ้นจากหมุดหมายนาฬิกาของการเริ่มต้น ท�ำงานที่ผู้ชายชื่อ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ใช้เคี่ยวกร�ำต่องานเขียนของเขา ถ่ายทอด ออกมาเป็นมหากาพย์ต่อกรกับความหิว ความจน และความรักในทุกโค้งเว้า ชีวิต ภายใต้ฉากเมืองกรุงเทพฯ ในอดีตวันนั้นที่ยังสวยและบัดซบได้น่ารักน่าใคร่ เหมือนวันนี้ หนังสือฉบับพิมพ์ใหม่ปกสวยงาม แนะน�ำให้ซื้อคู่กับ 'ดอกไม้ใน ถังขยะ’ เหมาะแก่การอ่านและสะสมไว้เคียงคู่กัน

17


จนกว่าเราจะพบกันอีก ศรีบูรพา เขียน ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น

คนหลังฉาก ในประวัติศาสตร์รางเลือน อนุสรณ์ ติปยานนท์ เขียน ส�ำนักพิมพ์มติชน

แม้จะเป็นนวนิยายรัก แต่สิ่งที่เขียนออกมาจากปากกาและความคิดของศรีบูรพา นักเขียนที่มีอุดมการณ์ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของมนุษย์ก็ย่อมไม่เคยทอดทิ้ง การวิพากษ์สังคม หนังสือเล่มนี้ให้สะท้อนภาพการเมืองไทยได้อย่างทรงพลัง ทั้งยังกระตุ้นคนหนุ่มสาวทุกยุคสมัยให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม กล่าวกันว่านี้เป็นวรรณกรรมสร้างสรรค์ยุคแรกของไทย เพราะชวนให้คนอ่านพา ฝันไปถึงภาพสังคมอุดมคติที่ดีกว่าเดิม

ท�ำไมเราถึงหลงลืมเรื่องราวคนเล็กๆ เหล่านี้ไม่ได้ อนุสรณ์ ติปยานนท์ ใช้ความเรียง ทั้ง 5 เรื่องของเขาเป็นค�ำตอบ เพื่อบอกผู้อ่านว่าเบื้องหลังเหตุการณ์อันเลวร้าย ต่อมนุษยชาติ หลังฉากประวัติศาสตร์แบบที่มันเป็น ยังมีชะตากรรมคนเล็ก คนน้อยที่ถูกบดบี้ และยังมีการเคลื่อนไหวของใครบางคนที่ไม่เคยถูกพูดถึง ทว่า คือพลังขับเคลื่อนกงล้อประวัติศาสตร์ไปข้างหน้า การเรียนรู้อดีตผ่านเรื่องเล่า ที่มีเลือดเนื้อเช่นนี้อาจเป็นหนทางเดียวที่เยียวยาเราไม่ให้หันกลับไปเดินผิดซ�้ำ ย�่ำรอยเดิมอีกครั้ง

ชายชราและทะเล The Old Man and The Sea เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ เขียน l วาด รวี แปล ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่น นี่ อ าจจะเป็ น นิ ย ายขนาดสั้ น ที่ แ นะน� ำ เราให้ รู ้ จั ก กั บ นั ก เขี ย นบิ๊ ก เนมอย่ า ง เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ได้ภายในเล่มเดียว เรื่องราวเรียบง่ายแต่ยิ่งใหญ่ระหว่างชาย ชราโดดเดี่ยวผู้ต่อสู้กับปลามาร์ลีนยักษ์กลางทะเล หนังสือเล่มนี้รวบรวมสารัตถะ ของจิตวิญญาณมนุษย์ที่ต่อสู้โดยไม่ยอมจ�ำนนไว้อย่างครบถ้วน หากเลาะกระดูก ของเรื่องออกมาได้ก็คล้ายจะแสดงแก่นสารดังเช่นวลีอมตะที่ผู้เขียนเคยกล่าว แก่เราว่า ‘มนุษย์นั้นถูกท�ำลายได้แต่ต้องไม่ยอมแพ้พ่ายอย่างเด็ดขาด'

18

ปรัชยาไส้ ฉบับสมบูรณ์ อาจินต์ ปัญจพรรค์ เขียน ส�ำนักพิมพ์มติชน ปราชญ์บางคนอาจประกาศสัจธรรมไว้ว่า ภายใต้ดวงตะวันเดียวกันนั้นไม่มีอะไร ใหม่อีกต่อไป แต่ใน ‘ปรัชยาไส้’ ของอาจินต์ ปัญจพรรค์ ผู้เขียนได้ร�ำพึงร�ำพัน เรื่องเล่าแสบคันของคนหาเช้ากินค�่ำซ�้ำซากพร้อมศิลปะแห่งการมองโลกไม่ให้ น่าเบื่อ นี่คือปรัชญาส�ำหรับสามัญชน ตัวหนังสือของชายผู้ดิ้นรนและตื่นรู้อยู่ บนถนนชีวิตสีจัดจ้าน ถ่ายทอดด้วยชั้นเชิงภาษาอย่างนักเขียนและบรรณาธิการ ผู้จัดเจน

1 จนกว่าเราจะพบกันอีก | ไต้ฝุ่น

6 | สมมติ

ชายชราและทะเล 2 | ไต้ฝุ่น

7 | เม่นกวรรณกรรม

3 ชายไร้สีกับปีแสวงบุญ | ก�ำมะหยี่

8 Writer ปีที่ 3 ฉบับที่ 28 | ไรท์เตอร์

อีกวันแสนสุขในปี 2527 4 | เม่นกวรรณกรรม

9 ต่อญี่ปุ่น 2.0

ดอกไม้ในถังขยะ 5 | สมมติ

00.00 น. 'รงค์ วงษ์สวรรค์

รัตติกาลของพรุ่งนี้

ความเรียบและภาพเรียง

เวียนนาลาทีโด

10 | อันยาบุ๊คส์


ปรากฏการณ์ “อ่านใหม่ไทยคลาสสิก” Rereading Classic Thai Writers

ธนาคาร จันทิมา : เรื่อง

อิ ต าโล คั ล วิ โ น นั ก เขี ย นและนัก วิจารณ์ว รรณกรรมชาว อิตาลี เคยกล่าวไว้ในหนังสือ Why Read the Classics? ถึงเหตุผลหนึ่งที่เป็นข้อพิสูจน์ว่าหนังสือเล่มใดควรจัดไว้ ประเภทคลาสสิก นั่นคือหนังสือเล่มที่ทุกคนมักพูดว่า ‘ฉัน ก�ำลังอ่านใหม่’ ไม่ใช่เล่มที่ ‘ฉันก�ำลังอ่านอยู’่ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์ในแวดวงการพิมพ์ หนังสือวรรณกรรมที่น่าจับตา เราหมายถึงการกลับมาตีพิมพ์ งานของนักเขียนไทยยุคอีกครั้งโดยมิได้นัดหมาย ทั้งจาก ส�ำนักพิมพ์ใหญ่และส�ำนักพิมพ์เล็ก ทั้งที่ไม่ใช่วาระแห่งชาติ หรือเป็นรายชื่อหนังสือที่มีศักยภาพไต่ท�ำเนียบเบสเซลเลอร์ ของร้านหนังสือต่างๆ ในปัจจุบันแต่อย่างใด

ศรีบูรพา ’จนกว่าเราจะพบกันอีก'

พนมเทียน ’ลึกจากลิ้นชัก'

อินไซด์พญาไพร: พนมเทียน

‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ’00.00น.' และ ‘ดอกไม้ในถังขยะ’

กระแสที่หวนกลับมาเช่นนี้มีความหมายอย่างไร

การกลับมาพบกันอีก: ศรีบูรพา

เนื่องในวาระครบรอบการจากไป 40 ปี ของ ศรีบูรพา หรือ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้มี อุดมการณ์ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเสมอภาค ระหว่างมนุษย์ แม้ตนต้องสูญเสียอิสรภาพในชีวิตไปก็ตาม ส�ำหรับนิยายเล่มนี้ ส�ำนักพิมพ์ไต้ฝุ่นหยิบมาปัดฝุ่น อีดิต รูปค�ำและเปลี่ยนรูปโฉมใหม่ด้วยหน้าปกก้านกุหลาบผสม ดอกไม้สไตล์เรขาคณิต ศิลปะสกุลมินิมัลแบบที่นักอ่าน จดจ�ำได้ดี ดีไซน์โดยเจ้าส�ำนัก ปราบดา หยุ่น นักเขียน นักแปล และกราฟิกดีไซน์ที่มีซิกเนเจอร์ชัดเจน

เหมืองน�้ำหมึกไม่แล้ง: อาจินต์ ปัญจพรรค์

ส�ำนักพิมพ์มติชนชุบฟื้นสีสันของงานสุดขลังด้วยกระบวน การดีไซน์ปกใหม่ยกชุด หนังสือ 3 เล่มคลาสสิกผลงาน

ทิ้งท้ายปรากฏการณ์ด้วยหนังสือชุดของพญาไพรอย่าง พนมเทียน (ผู้เขียน เพชรพระอุมา) ที่ทยอยออกบทความมา ตั้งแต่ต้นปีจนบัดนี้เป็นเล่มที่ 4 แล้ว ล่าสุด ‘ก่อนเทียนจะถึงไฟ’ คือเรื่องเล่าโชกโชนชีวิตของหนุ่มน้อยก่อนกลายมาเป็น นักเขียนในนาม พนมเทียน นี่คือ 1 ใน 4 ผลงานต่อจาก ‘อินไซด์ พนมเทียน ภาค1’, ‘อินไซด์ พนมเทียน ภาค2’ และ ‘ลึกจากลิ้นชัก’ กระบวนการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตที่เชื่อมโยง กับผลงานของราชาแห่งนิยายผจญไพรคนนี้

อ่านใหม่ไทยคลาสสิก

อาจินต์ ปัญจพรรค์ ’ปรัชญาไส้' และ ‘เหมืองแร่ฉบับสมบูรณ์’

อินทรีผงาด: ’รงค์ วงษ์สวรรค์

อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่กลับมาตีพิมพ์เมื่อไหร่ก็เป็นกระแส ทุกครั้ง นั่นคือหนังสือของพญาอินทรีสวนอักษร ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ เมื่อส�ำนักพิมพ์ไรท์เตอร์ ปลุกปกเก่าในต�ำนานและ ราคาสูงทะยานในตลาดมืดอย่าง ‘หลงกลิ่นกัญชา’ ขึ้นมา พร้อมด้วย ‘หอมดอกประดวน’ แต่แล้วก็ต้องรถไฟชนกัน กับส�ำนักพิมพ์สมมติที่ออกความเรียงร�ำพึงร�ำพันชีวิตของ มนุษย์กรุงเทพฯ ควบสองปกเช่นกัน นั่นคือ ’00.00น.' กับ ‘ดอกไม้ในถังขยะ’ หวือหวาด้วยปกไฉไลในธีมเมือง เล่นสี เข้าคู่กันจนเบียดความสนใจไปจากเล่มอื่นบนชั้น เป็นอันว่า คนที่ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ ไม่ใช่ใครที่ไหนแต่คือแฟนานุ แฟนของอาว์ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ นั่นเอง

ของบรมครู ด ้ า นงานเขี ย นเรื่ อ งสั้ น และยอดบรรณาธิ ก าร แห่ ง นิ ต ยสารฟ้ า เมื อ งไทย อาจิ น ต์ ปั ญ จพรรค์ ผู ้ เ ขี ย น ต�ำนานจากชีวิตในรวมเรื่องสั้น ‘เหมืองแร่’ ฉบับสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังมี ‘เรื่องสั้นนอกเหมืองแร่’ และ ‘ปรัชยาไส้’ ฉบับสมบูรณ์ ที่ออกปกใหม่มาในคอลเลกชั่นสนุกสดใส

พนมเทียน ’อินไซด์ พนมเทียน ภาค1' และ ‘อินไซด์ พนมเทียน ภาค2’

ปรากฏการณ์ “อ่านใหม่” และพิมพ์ซ�้ำของบรมครูนักเขียน ทั้ง 4 คนที่เกิดขึ้นในปีนี้ นอกจากการออกแบบรูปเล่มที่ สร้างสีสันให้การกลับมาใหม่ของหนังสือเหล่านี้แล้ว สิ่งที่ น่าพูดถึงอีกประเด็นคือการก้าวไปสู่สถานะ ‘คลาสสิก’ ของ นั ก เขี ย นแต่ ล ะคน ซึ่ ง เป็ น รางวั ล ที่ ห นั ก แน่ น เสี ย ยิ่ ง กว่ า การได้รับมอบจากสถาบันทางวรรณกรรมใดๆ น่าสังเกตว่า ไม่ใช่นักเขียนยอดนิยมในอดีตทุกคนจะฝ่า กาลเวลามาพิมพ์ใหม่ถึงปัจจุบันได้ กระแสการตีพิมพ์งาน นักเขียนไทยคลาสสิกกลุ่มนี้ได้ช่วยพาเรากลับไปอ่านงาน เก่าด้วยสายตาใหม่อีกครั้งในบริบทร่วมสมัยที่ต่างออกไป การอ่านด้วยสายตาคนรุ่นใหม่ย่อมท�ำให้เกิดการตั้งค�ำถาม ต่ออุดมคติ-ปรัชญา ส�ำนวนภาษา การด�ำเนินชีวิต และ พันธกิจของนักเขียน ซึ่งทิ้งความท้าทายไว้ให้นักเขียนรุ่น ใหม่ ส�ำหรับแนวทางการเขียนเพื่อจะมีตัวหนังสือด�ำรงอยู่ แค่ปัจจุบัน หรือเขียนเพื่อกลายเป็นหนังสือเล่มส�ำคัญของ นักอ่านวันพรุ่งนี้ด้วย หากค�ำกล่าวของ อิตาโล คัลวิโน จะเป็นจริงบ้างในบริบท สังคมไทย การอ่าน(งานเก่า)ใหม่ ไม่ใช่เพียงตอกย�้ำว่า ‘อะไร’ คือ คลาสสิก แต่เป็นการส�ำรวจว่า ‘คลาสสิก’ นั้น ‘อย่างไร’ ไปพร้อมกันด้วย เพราะในพื้นที่และเวลาของการ อ่านใหม่นั้น เราจะพบบางสิ่งที่ด�ำรงอยู่เสมอมา บางสิ่งที่ เรายังคงโหยหา และบางความปรารถนาที่ไม่เคยปรากฏ จากพวกเขา เหล่านักเขียนจ�ำนวนมากท่ามกลางยุคสมัยที่ โอบล้อมตัวเรา

19


พื้นที่นี้เปิดรับงานเขียนสร้างสรรค์ ความยาวไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (พิมพ์เป็นไฟล์ Word ขนาดตัวหนังสือ 14 พอยท์) ส่งมาให้ทีมงานพิจารณาที่ contact@bookmoby.com

(ข้อเขียนศึกษาการเปิดเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งอันเกี่ยวกับสภาวะภายในของมนุษย์)

ปรี ดี หงษ์ ส ต้ น

20

มีคนบอกผมว่าเวลาค�่ำเป็นเวลาของสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน ช่วงที่พระอาทิตย์ก�ำลังค่อยๆ ลับฟ้าไปนั่นละ สีท้องฟ้าจะค่อยๆ เปลี่ยน ท้องฟ้าจะคายสีอื่นออกมา เป็นสีที่หลายครั้งผมไม่คุ้นชิน เหมือนสีสังเคราะห์ ของอะไรสักอย่าง หรือคงเป็นสีของธรรมชาติในที่อื่นๆ คือมันมีความแปลก ต่าง ความไม่คุ้นเคยอยู่บนท้องฟ้าเสมอเมื่อเวลาก�ำลังเปลี่ยนไปสู่กลางคืน เราจะไม่ค่อยได้สังเกตเห็นมันชัดนัก ในกรุงเทพมหานคร มลภาวะหนาแน่น น�ำเอาสีท้องฟ้าช่วงเปลี่ยนผ่านนี้เข้าไปผสมจนแทบจะท�ำให้เราเห็นท้องฟ้า เป็นสีเดียวกันเสมอเวลาเราเผลอมองขึ้นไป อาจจะเป็นเวลารถติด หรือ รถเมล์ รถไฟฟ้าที่เราก�ำลังโดยสารหยุด แล้วเราต้องจัดระดับสายตาไม่ให้ไป สบกับคนที่เราไม่พึงสบด้วย ขณะนั้นเอง ที่เรามองออกไปที่ฟ้าที่ครอบคลุม มหานครนี้เอาไว้ เราจะเห็นมันทอดตัวยาว กว้างใหญ่ไพศาล แต่เราคงจะ เหนื่อยเกินกว่าจะคิดอะไรเกี่ยวกับมันได้มากกว่าข้อสังเกต เราต้องการไปถึง บ้านให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่ เราขับรถฝ่ากฎจราจร เราแซงคิวเข้าเพื่อเข้าประตู รถไฟฟ้าก่อน หรือเรามีข้อตกลงแลกเปลี่ยนกับสัมปชัญญะของตัวเองว่าการ กระท�ำครั้งนั้นๆ ไม่ได้เปลี่ยนให้เรากลายเป็นคนเลวร้ายหรอก เป็นเพียงเพราะ สภาพแวดล้อมที่บีบให้เราท�ำแบบนั้น ซึ่งก็จะเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น เรารู้ ว่าในสันดานของเราไม่ใช่คนเลวร้าย นั่นเพราะเราเกิดความรู้สึกสงสาร เรา น�้ำตาซึมเวลาได้ยินเรื่องราวของยายตาบอด เป็นอัมพฤกษ์ แต่ก็ต้องไปเข็น ผักขายเพื่อหาเงินมาเลี้ยงหลานที่ไม่เต็มบาท เราน�้ำตาไหลพรากลงมาด้วย ความกึ่งโกรธแค้นพ่อแม่เด็กที่ทิ้งให้เด็กและคนแก่ผจญความเลวร้ายโดย ตามล�ำพัง อีกกึ่งหนึ่งเรารู้สึกถึงความโล่งใจที่เราไม่ต้องประสบชะตากรรม แบบนั้น ใช้เวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งก่อนกดรีโมทโทรทัศน์เปลี่ยนช่องไปสู่รายการ อื่นที่ท�ำให้เราหัวเราะ หรือใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับการเมืองในระบบรัฐสภา และใบหน้าของนักการเมืองเวลาถูกสัมภาษณ์ที่เรารู้สึกว่าน่าขยะแขยง แต่ เ ราจะรู ้ สึ ก มวนท้ อ งมากขึ้ น ไปอี ก เวลามองไปที่ ใ บหน้ า ที่ อ ยู ่ ข ้ า งหลั ง นักการเมืองเหล่านั้น

อีกในขณะหนึ่งผมก็รู้สึกคล้ายกับว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นนานมาแล้ว ทั้งๆ ที่ถ้าเอาปฏิทินมากางดูก็จะรู้ว่าเรื่องราวเหล่านั้นผ่านมาไม่กี่ปีเท่านั้นเอง คงเป็น ความทรงจ�ำที่แฝงฝังอยู่ตามสิ่งต่างๆ โดยที่ผมเองก็นึกไม่ถึงอยู่เหมือนกันว่ามันจะ กลับมาปรากฏชัดเจนได้อย่างง่ายดาย อาศัยเพียงแค่การเตือนความจ�ำ อาจจะ ด้วยความตั้งใจ หรือจะด้วยความบังเอิญก็ได้ อย่างเพลงบางเพลงก็รื้อฟื้นความทรง จ�ำได้เก่งจนเราหงุดหงิดถ้าหากว่าเป็นความทรงจ�ำที่เลวร้าย หรือทิวทัศน์บางอย่าง หรือจะเป็นรอยพับคั่นหน้าหนังสือที่ชอบอ่าน หรือกลิ่นของส่วนประกอบบางอย่าง ของอาหารก็จะเข้าไปรื้อฟื้นอะไรต่ออะไรในความคิดของเราให้เปิดเผยออกมา ในขณะหนึ่งที่ผมหวนค�ำนึงถึงเธอ ในขณะที่ภาพเธอก�ำลังจะชัดเจน ขึ้นมานั่นเอง กระบวนการบางอย่างก็เริ่มท�ำงานขึ้นมาในเวลาเดียวกัน เป็นการเริ่ม ลืม ความพร่าเลือนไม่ชัดเจน ในหะแรกผมเข้าใจว่ามันจะเข้าไปยับยั้งภาพของเธอ ที่ก�ำลังเป็นรูปเป็นร่างนั้น แต่พอล่วงไปแล้วผมก็รู้ว่าไม่ใช่เลย ทั้งสองอย่างนี้มัน ท�ำงานพร้อมกัน อย่างไม่หยุดยั้ง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อย่างไม่มีจุดจบจนกว่าผมจะไม่ สามารถใช้สมองได้อีก มันเดินเครื่องท�ำงานไปอย่างนั้นโดยผมไม่สามารถหยุดมัน เอาไว้ได้ มีวิธีเดียวที่ผมจะเริ่มเข้าใจชั่วขณะที่ผมหวนค�ำนึงนั้น ก็คือการเริ่มลืม เริ่ม คัดแยกส่วนประกอบทางความคิดบางอย่างออกไปต่างหาก ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่เธอ จะปรากฏขึ้นในห้วงมโนส�ำนึกของผมด้วยรูปร่างลักษณะอันแปลกแปร่ง ส่วนสูงของ เธอไม่แน่ชัด รองเท้าส้นสูงที่เธอสวมอยู่จะว่าเป็นสีใดสีหนึ่งก็คงยากระบุได้แน่ กิ๊ฟท์ ติดผมของเธอก็มีลักษณะใหญ่โตเกินกว่าที่ศีรษะของเธอจะเทินเอาไว้ได้ไหว ชุดเสื้อ เชิ้ตและกระโปรงผ้าดิบบางของเธอก็ไหวปลิวสยายสวนกับแรงดึงดูดของโลก คล้าย มีลมจากใต้พื้นดินที่เธอยืนอยู่ ในขณะที่ผมหวนค�ำนึงถึงเธออยู่นั้น ข้อมือและข้อเท้าของผมก็เริ่มปวด ขึ้นมาอย่างควบคุมไม่ได้ มันเริ่มที่ข้อเท้าด้านขวาก่อน เป็นลักษณะอาการปวด ตุบๆ คล้ายกับว่ามีอะไรอยู่ข้างใน มันค่อยโถมเข้ามาเป็นระลอกๆ ด้วยระดับความ ตึงเหนี่ยวที่ต่างกันออกไป หลายครั้งอาการปวดคล้ายกับเข็มแทง ความเจ็บปวดไล่ เรียงไปเริ่มตั้งแต่อาการเสียวแปลบ อาการสะดุ้งจากการไม่สามารถควบคุมกล้าม เนื้อของตัวเองได้ หรืออาการปวดร้าวเข้าไปในกระดูกจนเขาต้องนั่งตัวงอ แล้วต้อง อาเจียนออกมาเป็นน�้ำใส พร้อมกับอาการไอจนตัวโก่ง ในขณะที่ผมหวนค�ำนึงถึงเธออยู่นั้น ผมคล้ายจะได้ยินเสียงอะไรบางอย่าง ดังมาจากที่ไกลแสนไกล อาจจะเป็นเสียงฮัมเพลงก็ได้ หรืออาจจะเป็นเสียงลมพัด แผ่วๆ ลู่กับใบไม้บางประเภท ข้อนั้นผมก็ไม่แน่ใจนัก แต่มันเสียงที่ไพเราะ ยาวนาน ดังขึ้นมาตัดกับความเงียบงันอันครอบคลุมอาณาบริเวณโสตประสาทของผมจะ ได้ยิน เสียงนั้นจะว่าไปแล้วคล้ายกับเสียงสวดมนต์ เป็นเสียงสวดมนต์ที่ถูกสวดใน งานศพ เป็นเสียงที่ไล้ไปกับอาการโทมนัส เสียงสะอึกสะอื้นร�่ำไห้ เสียงร้องเพรียก หาความเข้าใจต่อการจากไปของคนที่ตนรัก หรืออาการทุรนทุรายที่มักจะถาโถมมา หาอย่างมิระย่นย่อ ในขณะหนึ่งที่ผมหวนค�ำนึงถึงเธอ ผมเห็นภูมิประเทศของความเศร้าโศก ในดินแดนแห่งนี้ ผมขึ้นไปตั้งนั่งร้านเพื่อสังเกตการณ์ทัศนียภาพของความสูญเสีย หยิบกล้องขึ้นบันทึกภาพระยะทั้งไกลและใกล้ ภาพที่ได้คงเป็นความเสียใจ การเสีย น�้ำตา การเก็บความบอบช�้ำภายในเอาไว้ การกลั้นมิให้ร้องไห้ออกมา ในขณะนั้นผมนึกเธอ—เธอชื่ออะไรกันนะ ผมยังจ�ำครั้งแรกที่เราพบกัน วันนั้นได้อย่างแม่นย�ำ แต่ผมกลับจ�ำชื่อเธอไม่ได้ง่ายนัก เธอมากับกลิ่นฝนในเดือน มิถุนายน ใช่ “จูน” ผมจ�ำได้แล้ว เธอผู้มากับความชื้นของอากาศ เรื่องราวของเธอเป็นดังต่อไปนี้...


21


เรื่องและภาพ ปาลิดา พิมพะกร (instagram.com/foneko)

คาเฟ่แห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และได้รับการ ตอบรับจากผูท้ ชี่ นื่ ชอบบรรยากาศสบายๆ สไตล์คาเฟ่ญปี่ นุ่ อย่างล้นหลาม คุณน�้ำซึ่งเป็นหนึ่งในเจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า ร้านแห่งนี้เกิด จากความทีเ่ ธอและหุน้ ส่วน (คุณยุย้ ) ชอบท�ำขนมเหมือนกัน นอกจากนี้ เธอยังท�ำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง คือการคัดของใช้นา่ รักกระจุกกระจิก เช่น ของใช้ในครัว ของแต่งบ้าน และเทป mt จ�ำหน่ายทางเฟซบุค๊ ชือ่ แบรนด์ Everyday Polkadot จึงเริ่มมีความคิดที่อยากจะเปิดคาเฟ่ เพื่อที่จะได้ ท�ำขนมเป็นหลักและได้มีหน้าร้านส�ำหรับขายสินค้าด้วย ส่วนคอนเซ็ปต์ของร้าน คุณน�ำ้ และคุณยุย้ มีความตัง้ ใจอยาก จะให้เป็น everyday cafe คาเฟ่ทที่ กุ คนมานัง่ ได้ทกุ วัน จึงตกแต่งร้านให้ ดูเรียบๆ ขาวๆ และเล่นกับไม้ นอกจากนี้ ยังมีพนื้ ทีส่ เี ขียวเป็นสวนเล็กๆ ด้านนอก เพียงแค่มองผ่านกระจกออกไป ในร้านนอกจากจะมีมุมเล็กๆ ส�ำหรับขายสินค้ากุ๊กกิ๊ก ยังมี พื้ น ที่ ส� ำ หรั บ คนชอบเล่ น กับ mt สามารถเขีย นหรือประดับตกแต่ง ในโปสการ์ดตามใจชอบและฝากผลงานของตัวเองทิ้งไว้ที่ร้านได้ ส�ำหรับคนทีช่ อบอ่านหนังสือ ก็มมี มุ แมกกาซีนและพ็อกเก็ตบุ๊ค คุณน�้ำบอกว่าหนังสือเหล่านี้เป็นของสะสมของเธอ เพราะเป็นคน ชอบอ่าน ก็เลยน�ำหนังสือจากที่บ้านมาปันกันอ่าน คุณน�้ำแนะน�ำว่า ช่วงบ่ายวันธรรมดาเป็นช่วงที่เหมาะกับการมานั่งชิล กินขนม และ อ่านหนังสือที่สุด มาถึงคาเฟ่ทั้งที ก็ต้องลิ้มลองฝีมือการท�ำขนมของพวกเธอ อย่างเช่นแพนเค้กที่เป็นสูตรเฉพาะของพอใจ ขนมอื่นๆ ก็จะท�ำสไตล์ ญีป่ นุ่ เนือ้ เบาและหวานน้อย ส่วนเครือ่ งดืม่ ก็มหี ลากหลาย เช่น Matcha Float หรือ Italian Soda ในอนาคตสองสาวพอใจมีแพลนจะท�ำที่นั่ง ด้านนอก และเตรียมคิดเมนูอาหารใหม่ๆ เป็นเมนูพิเศษที่ไม่ซ�้ำในแต่ ละวัน หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นสัปดาห์พิเศษ หรือเดือนพิเศษ …เพื่อให้ทุกคนที่แวะมาได้พอใจในทุกวัน :)

พอใจ | Porjai Home Cafe ซอยวิภาวดีรังสิต 16 / ซอยรัชดาภิเษก 19 กรุงเทพฯ โทร. 0819101726 22 เปิดวันอังคาร - วันศุกร์ เวลา 9.00 - 20.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 20.00 น. เฟซบุ๊ค: facebook.com/porjaicafe อินสตาแกรม: instagram.com/porjaihomecafe


วิมานลอย - GONE WITH THE WIND วรรณกรรมอมตะระดับโลก Gone With The Wind หรือในชื่อภาษาไทย วิมานลอย เรื่องราวของอเมริกันชน ในยุคสงครามกลางเมืองที่ชะตาชีวิตต้องผกผันไปตาม ผลกระทบของสงครามจากคนชาติเดียวกัน วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นผลงานเขียนเพียงหนึ่งเดียวใน ชีวิตของ มาร์กาเร็ท มิทเชลล์ แต่ได้รับความนิยมสูงสุด จากคนทั่วโลกจนท�ำให้ผู้เขียนได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ซึ่ ง มอบแด่ ผู ้ ไ ด้ รั บ เกี ย รติ สู ง สุ ด ระดั บ ชาติ ใ นวงการ สิ่งพิมพ์ และถูกดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ได้รับ การยกย่องว่า เป็น 1 ใน 10 ภาพยนตร์แนวอเมริกัน ที่ ดี ที่ สุ ด จากความเห็ น ของกลุ ่ ม นั ก คิ ด สร้ า งสรรค์ จนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ยังคงมีผู้นิยมอ่านกันอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในหนังสืออมตะระดับโลกที่ต้องอ่าน ให้ได้สักครั้งในชีวต ิ วิมานลอย มาร์กาเร็ท มิทเชลล์ เขียน รอย โรจนานนท์ แปล จ�ำนวนหน้า 1,208 หน้า (หนังสือปกแข็ง) ราคา 800 บาท

ซุนวูกล่าวว่า

“...ผู้สามารถหยั่งรู้ชัยชนะที่ใคร ๆ ก็รู้อยู่แล้ว มิใช่สุดยอดผู้สันทัดในการด�ำเนินสงคราม ผู้ชนะสงครามที่ชาวโลกต่างยกย่องสรรเสริญ ก็มิใช่สุดยอดผู้สันทัดในการด�ำเนินสงครามเช่นกัน เพราะผู้สามารถยกขนสัตว์เพียงเส้นเดียว มิใช่จอมพลังเสมอไป ผู้สามารถมองเห็นเดือนและตะวัน มิใช่ผู้มีดวงตาแจ่มกระจ่างเสมอไป ผู้ได้ยินเสียงฟ้าค�ำรณค�ำราม ก็มิใช่ผู้มีโสตประสาทปราดเปรียวเสมอไป... ผู้ได้ชื่อว่าสันทัดในการด�ำเนินสงครามอย่างแท้จริง มักรบชนะข้าศึกที่เอาชนะได้ง่ายเสมอ... ผู้สันทัดในการด�ำเนินสงคราม จึงชนะศึกอย่างธรรมดาที่สุด ไม่มีชื่อเสียงในด้านสติปัญญา และไม่มีความชอบในด้านวีรกรรม และดังนั้น...จึงรบชนะแน่นอน ไม่พลิกผันเด็ดขาด”

*หนังสือพิมพ์จ�ำนวนจ�ำกัด ไม่วางจ�ำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป

สั่งซื้อโดยตรงที่ ส�ำนักพิมพ์แสงดาว โทรศัพท์ 0-2954-9841-3 โทรสาร 0-2954-9844 E-mail : info@saengdao.com บริการจัดส่งทางไปรษณีย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

พิชัยสงคราม

ซุนวู ฉบับ ประสานทฤษฎี เข้ากับการปฏิบัติ

(ปกแข็งสันเตรง ๑๖๐ หน้า ราคา ๒๐๐ บาท) อธิคม สวัสดิญาณ เรียบเรียง ส�ำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์ ๒๐๑๑ สั่งซื้อโดยตรงได้ที่ สายส่งศึกษิต บริษัทเคล็ดไทย จ�ำกัด โทรศัพท์ ๐๒-๒๒๕๙๕๓๖-๔๐ โทรสาร ๐๒-๒๒๒-๕๑๘๘



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.