Bookmoby Review Issue 1 (2015)

Page 1

Travel with Calvino VVG Something & VVG Thinking

2015

Evelin

1


DALE CARNEGIE Box Set 3 เล่ม ราคา 870 บาท เดล คาร์เนกี : เขียน อาษา ขอจิตต์เมตต์ : แปล การสื่อสารจ�ำเป็นยิ่งส�ำหรับการท�ำงานและชีวิตส่วนตัว หากรู้จักใช้ศาสตร์และศิลป์ ที่เหมาะสม การสื่อสารจะกลายเป็นเครื่องมือที่ท�ำให้ชีวิตประสบความส�ำเร็จ เดล คาร์เนกี เจ้าพ่อจิตวิทยาการสื่อสารที่โด่งดังระดับโลก เขาท�ำให้ผู้คนมากมายในหลายสาขาอาชีพ พบกับความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่ ผลงานชิ้นเอกทั้ง 3 เล่มของเขา ถือเป็นสุดยอด ศาสตรวิชาที่ตกผลึกมาจากประสบการณ์การท�ำงานและประสบการณ์ชีวิต ตัวอย่าง สถานการณ์ที่หยิบยกมาประกอบในหนังสือนั้น เป็นเรื่องง่ายที่ผู้อ่านจะน�ำมาประยุกต์ ใช้ในชีวิตจริง...

วิธีชนะมิตรและจูงใจคน จ�ำนวน 360 หน้า ราคา 290 บาท

วิธีชนะทุกข์และสร้างสุข จ�ำนวน 416 หน้า ราคา 290 บาท

การพูดในที่ชุมนุม จ�ำนวน 360 หน้า ราคา 290 บาท

2

Pursuit of excellence เส้นทางพิชิตฝัน ศ.(พิเศษ) เจริญ วรรธนะสิน : เขียน จ�ำนวน 504 หน้า / ราคา 430 บาท

สามก๊ก ฉบับเจน Y เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป : เขียน จ�ำนวน 224 หน้า / ราคา 160 บาท

เส้นทางชีวิตที่ยิ่งกว่านิยายของ อาจารย์เจริญ วรรธนะสิน นักแบดมินตันระดับต�ำนานโลก สู่การ เป็นผู้บริหารกีฬาระดับนานาชาติ จนเป็นหนึ่งใน หอเกียรติยศของนักแบดมินตันโลก ประสบการณ์ ด้านกีฬาและงานบริหารของผู้เขียน เป็นต้นแบบ ของความมุ่งมั่น อุตสาหะ และความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจอย่างดีของคนในทุกอาชีพ

หนังสือเล่มนี้ ยกเรื่องราวตัวละครในวรรณกรรม สามก๊ก คัดเลือกมาเฉพาะที่เป็นลักษณะต้นแบบ มนุษย์ Generation Y ในยุคปัจจุบัน เพื่อถอดรหัส คนกลุ่มนี้ ถึงหนทางที่จะน�ำไปสู่ความรุ่งโรจน์ และ เลี่ยงหนทางสู่ความล้มเหลว

สั่งซื้อโดยตรงท่ี่ส�ำนักพิมพ์แสงดาว

โทรศัพท์ 0-2954-9841-3

•โทรสาร

0-2954-9844

•E-mail

ต�ำราพิชัยสงครามซุนวู : ศิลปะการขาย Gary Gagliardi : เขียน ไพบูลย์ ส�ำราญภูติ : แปล ปกแข็ง / จ�ำนวน 208 หน้า / ราคา 280 บาท Gary Gagliardi ผู้เชี่ยวชาญต�ำราพิชัยสงคราม ซุน วูจนสามารถน�ำมาประยุก ต์ ใช้กับการแข่ง ขัน หลายๆ ด้านในปัจจุบันได้ เขาถอดรหัสความหมาย ที่ซ้อนในต�ำราโบราณนี้และดึงออกมาเพื่อสร้าง เป็นหลักการที่เป็นสากล ไม่ล้าสมัย หนังสือเล่มนี้ ยังคงความเดิมของซุนวูไว้ และน�ำหลักงานขายขึ้น มาเทียบเคียงอ่านคู่กัน เพื่อให้เข้าใจและน�ำมาปรับ ใช้ง่ายขึ้น

: info@saengdao.com

•บริการจัดส่งทางไปรษณีย์โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย


In the Beginning

ตัวหนังสือพลัดถิ่น: เมื่อสังคมเลือกขับไล่และท�ำร้ายความคิด แทนการท�ำความเข้าใจ เหตุใดงานเขียนบางชิ้นจึงมีอิทธิพลถึงขั้นท�ำให้ผู้เขียนถูกหมายหัวเป็นศัตรูอันดับต้นๆ ของผู้มีอ�ำนาจควบคุมสังคม ในยุคสมัย ที่มักมีเสียงเป็นห่วงเป็นใยให้ได้ยินหนาหูว่า ‘วรรณกรรมตายแล้ว’ หรือ ‘คนไม่อ่านหนังสือ’ เหตุใดหนังสือบางเล่ม นักเขียนบางคน ในบางประเทศ จึงยังต้องเผชิญกับการถูกปิดปาก ข่มขู่ ไล่ล่า เอาชีวิต โดยทั้งอ�ำนาจรัฐและโดยกลุ่มคนจิตใจคับแคบที่ไม่อาจ ยอมรับการอยู่ร่วมอย่างสันติกับความหลากหลายทางความคิดและความเชื่อที่แตกต่างไปจากของตน ข่าววันนี้บอกว่าบล็อกเกอร์ชาวบังคลาเทศถูกจ้วงแทงด้วยมีดอย่างโหดเหี้ยมจนถึงแก่ชีวิตในกรุงธากา เพราะเขาเขียน แสดงความเห็นต่อต้านความเชื่อสุดโต่งของชาวลัทธิคลั่งศาสนา บล็อกเกอร์ผู้ตกเป็นเหยื่อของความเชื่อใช้นามปากกาว่า ‘ลูกเป็ด ขี้เหร่’ ซึ่งสะท้อนถึงความรู้สึกแปลกแยกของเขาได้อย่างชัดเจน นักเขียนบางคนหากไม่ถูกบีบบังคับให้หลบหนีจากถิ่นก�ำเนิด ก็มัก สมัครใจโยกย้ายที่อยู่เพราะอึดอัดหรือถูกกดดันจากคนในสังคมจนรู้สึกว่าตนเป็นแกะด�ำ ไม่ว่า ลูกเป็ดขี้เหร่จะขี้เหร่เพราะเขียน ค�ำเสียดแทงคนคิดต่าง หรือขี้เหร่เพราะรู้สึกไม่เข้าพวกกับคนอื่น การต้อง ‘พลัดถิ่น’ ของนักเขียนในทั้งสองกรณีก็เป็นสิ่งยืนยัน ว่างานเขียนยังคงมีบทบาทสร้างความสั่นสะเทือนต่อสังคมได้ไม่น้อย การประกาศจุดยืนหรือแสดงความเห็นย้อนศรต่อขนบธรรมเนียมกระแสหลัก ความกล้าหาญที่จะยืนยันสิ่งที่คิด อย่างซื่อตรงต่อตนเอง แม้จะรู้ว่าอาศัยอยู่ในสังคมที่มีแนวโน้มไม่เป็นมิตรต่อความเห็นนั้นๆ ท�ำให้ผู้เขียนหนังสือต้องเสี่ยงกับ การถูกมองว่าเป็น ‘ลูกเป็ดขี้เหร่’ หรือ ‘แกะด�ำ’ ไปโดยปริยาย ร้ายไปกว่านั้นคืออาจถูกตราหน้าเป็น ‘กบฏ’ ‘ปีศาจ’ ‘อาชญากร’ ปลุกปั่นให้สังคมรุมข่มเหงรังแกด้วยเชื่อว่าก�ำลังช่วยขจัดมารสังคม ประวัติศาสตร์ของปัญญาชนเต็มไปด้วยตัวหนังสือบาดเจ็บ อาบเลือด หรือถูกขูดขีดฆ่าทิ้ง นอกจากนักเขียน ปัญญาชน แขนงอื่นๆ ที่แสดงออกผ่านการเขียน ไม่ว่าจะเป็นนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง นักแสวงหาทางจิตวิญญาณ ล้วนเคยประสบชะตากรรมพลัดถิ่นหรือถูกขับไล่มาแล้วมากมาย ในจ�ำนวนคนเหล่านั้น ไม่น้อยกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่เปลี่ยน สังคมอย่างถึงราก งานเขียนที่ถูกเนรเทศหรือถูกสร้างสรรค์ขึ้นใน ‘ถิ่นอื่น’ หลายเล่มกลายเป็นงานอมตะที่ส่งผลให้เกิดทัศนะ ใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดศิลปวัฒนธรรมขับเคลื่อนผู้คนทั่วโลก ความหวาดกลัวต่อความต่าง ความใหม่ ความซื่อสัตย์ทางความคิด ความไม่เชื่อง ท�ำให้ผู้มีอ�ำนาจและคนกระแสหลักผลักไสมนุษย์ผู้บริสุทธิ์ออกจากสังคมที่ต้องการคนอย่างพวกเขาที่สุด ท�ำไมจึงต้องการคนอย่างพวกเขาที่สุด? เพราะหาก เราเห็นพ้องกันว่าความเข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสังคมเล็งเห็น เรียนรู้ และยอมรับความเป็นจริง ตัวหนังสือสะท้อนความเป็น จริงที่อาจไม่น่ามองแต่ต้องมองของพวกเขาย่อมเป็นปัจจัยส�ำคัญในการสร้างความเข้มแข็งนั้น แต่หากคิดว่าการหลอกตัวเองเป็นสิ่งพึงประสงค์ ก็คงต้องอยู่อย่างเสแสร้งและอ่อนแอในสังคมที่โหดร้ายและไม่เป็น ธรรมกันต่อไป โบกลาตัวหนังสือและนักเขียนผู้หาญกล้า เมื่อพวกเขาจ�ำเป็นต้องพาตัวเองออกพ้นจากกองเพลิง

ปราบดา หยุ่น บรรณาธิการบริหาร

2015

วารสาร Bookmoby Review • บรรณาธิการบริหาร ปราบดา หยุ่น บรรณาธิการ รังสิมา ตันสกุล กองบรรณาธิการ ธนาคาร จันทิมา l ณัฐกานต์ อมาตยกุล l วลาภา จงจารุนันท์ l ธีระศิลป์ ค�ำปัน l สิรินารถ อินทะพันธ์ นักเขียนและนักแปลรับเชิญ อติภพ ภัทรเดชไพศาล l โจ วรรณพิณ l เวีย สุขสันตินันท์ l วิกรานต์ ปอแก้ว l ต้องตา สุธรรมรังษี l ภิเษก สมัยสุข l ปาลิดา พิมพะกร l น�้ำส้ม สุภานันท์ ออกแบบ ปราบดา หยุ่น l มานิตา ส่งเสริม ผู้พิมพ์ บริษัท บุ๊คโมบี้ จ�ำกัด 7/54 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กทม. 10330 โทรศัพท์ 02-106-3671, 08-6374-3464 โทรสาร 02-106-3671 อีเมล teambookmoby@bookmoby.com เว็บไซต์ www.bookmoby.com เฟซบุ๊ก facebook.com/bookmoby ทวิตเตอร์ twitter.com/bookmoby อินสตาแกรม instagram.com/bookmoby พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ภาพพิมพ์ 45/14 หมู่ 4 ถ.บางกรวย-จงถนอม ต�ำบลบางขนุน อ�ำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 l โทรศัพท์ 02-879-9154, 02-433-8586 l โทรสาร 02-879-9153

กรุงเทพฯ ร้าน Bookmoby หอศิลปกรุงเทพฯ ร้าน Gallery กาแฟดริป หอศิลปกรุงเทพฯ ร้านกาแฟสาขาในเครือ Tom N Tom HHOM Cafe ร้านบางหลวง ร้านกาแฟนรสิงห์ ร้านศึกษิตสยาม ร้าน Candide Books&Cafe ร้านหนังสือเดินทาง ร้านสวนเงินมีมา ร้าน Café Little Spoon House Rama RCA ร้านต้นซอย 39 สุขุมวิทซอย 39 ร้านริมขอบฟ้า ร้านมะลิมะลิ ร้าน Hemlock พระอาทิตย์ ร้าน Dialogue Coffee and Gallery ผ่านฟ้า

ร้าน Old Town เฟื่องนคร ร้าน Old Man Café บางขุนนนท์ ร้าน Too Fast To Sleep ร้าน Lamune สยามสแควร์ ร้านประตูสีฟ้า เอกมัย ร้าน Ceresia พร้อมพงษ์

ต่างจังหวัด ร้าน Lonely Pai by Freeform แม่ฮ่องสอน ร้านเล่า เชียงใหม่ ร้าน Book Re:public เชียงใหม่ ร้านฟิลาเดลเฟีย Book&Bar อุบลราชธานี ร้าน Booktopia อุทัยธานี ร้านกาลครั้งหนึ่ง อุทัยธานี ร้านเฟื่องนคร นครราชสีมา ร้าน Buku Books&More ปัตตานี


Words in Exile การเนรเทศเริ่มแรกของมนุษยชาติอาจย้อนไปไกลถึง ต�ำนานอดัมกับอีฟที่ถูกขับไล่จากสวรรค์ ความขบถที่ ฝ่าฝืนประกาศิตของพระเจ้า ส่งผลให้มนุษย์คู่นี้ต้องโทษ เนรเทศจากอีเดนสู่ดินแดนอื่น ตามความเชื่อของชาวคริสต์ เราทุกคนจึงมีสถานภาพไม่ต่างจากผู้ถูกเนรเทศติดตัว มาแต่ก�ำเนิด ในกวีนิพนธ์เรื่อง Paradise Lost บทประพันธ์ของ จอห์น มิลตัน จากศตวรรษที่ 17 ได้สร้าง ลูซิเฟอร์ หรือซาตาน ให้เป็นตัวละครเอกที่ทะเยอทะยาน ตั้งค�ำถามต่ออ�ำนาจ เผด็จการของพระเจ้า และประกาศสงครามกับเหล่า เทวดาบนสวรรค์ แต่สุดท้ายเขาก็ถูกโค่นปราบและขับไล่ สู่ขุมนรก ทั้งนี้ ‘อ�ำนาจ’ สูงสุดอาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบ บุคลาธิษฐานเสมอไป อาจเป็น ‘ชะตากรรม’ ที่ยากจะ หลีกเลี่ยง ดังบทละครโศกนาฏกรรมกรีกของโสโฟคลีส เรื่อง Oedipus ที่แม้ตัวเอกจะถูกเนรเทศตั้งแต่เป็นทารก เพื่อหลีกหนีโชคชะตาสยดสยองจากค�ำพยากรณ์ แต่ สุดท้ายเขาก็เป็นคนสังหารพ่อและสมสู่กับแม่ตัวเองตาม ค�ำท�ำนายอยู่ดี แนวคิดว่าด้วยการเนรเทศกับความขบถต่ออ�ำนาจเหนือ จึงเป็นโครงเรื่องที่ปรากฏซ�้ำ เป็นทางเลือกเชิงวรรณกรรม ส� ำ หรั บ ตั ว ละครและชี วิ ต จริ ง ของนั ก เขี ย นระดั บ โลก มากมาย บางคนต้องเผชิญความเป็นอื่นหรือความแปลกแยกที่เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยว บางคนยินดีและอาศัยการ เนรเทศเป็นจุดยืน กระทั่งสร้างตัวตนใหม่ เราอาจยกไว้ เพียงคนบ้าอย่างโสคราติส เท่านั้นที่เลือกดื่มยาพิษแทนที่ จะหลบหนีลี้ภัย

4

The Fall of Lucifer

จากสายตาเบื้องบนทอดลงมา ปัญญาที่งอกงามท่ามกลาง เสรีภาพถือเป็นเรื่องอันตราย นักเขียนและกวีมากมายถูก ประณามว่าเป็นขบถ ขับออกจากสังคม โดนไล่ล่าคร่าชีวิต และไม่น้อยสมัครใจลี้ภัยไปต่างถิ่น เพียงเพราะ ‘ความคิด’ ที่เห็นต่าง ทว่าการลงทัณฑ์นี้กลับเร่งปฏิกิริยาพวกเขาให้ผลิต งานเขียนยิ่งใหญ่เหนือพรมแดนและกาลเวลาออกมาในที่สุด

ค�ำว่า Exile เป็นได้ทั้งการ ‘เนรเทศ’ ‘ลี้ภัย’ ‘พลัดถิ่น’ หมายรวมถึงการอยู่ห่างบ้านหรือรัฐของตน เพราะถูก ห้ามเข้าประเทศ การที่บุคคลนั้นปฏิเสธจะเดินทางกลับเอง จ� ำ ต้ อ งอพยพออกมาเพื่ อ ความปลอดภั ย ในชี วิ ต และ ทรัพย์สิน(หรือเหตุผลส่วนตัว) ซึ่งการกระท�ำนี้มองได้ว่า เป็นทั้งรูปแบบแห่งการลงทัณฑ์และวิถีอันสันโดษ นักเขียน ส่วนใหญ่อุทิศวันเวลาดังกล่าวเพื่อ บ่มเพาะความคิด จนตกผลึกสู่งานเขียน นักเขียนร่วมสมัยจ�ำนวนไม่น้อยเลือกการเนรเทศตนเอง (self-exile) เป็นทางออก เพื่อโต้กลับหรือประท้วงต่อการ ลงโทษทางกฎหมายที่ไม่ชอบธรรม ข้อหาเหล่านี้ล้วนเป็น เหตุผลทางการเมือง ส่วนใหญ่เกิดในประเทศที่มีแนวคิด รัฐชาติเข้มข้น อนุรักษ์นิยมถึงขีดคลั่ง และปกครองด้วย ระบอบเผด็จการ แง่หนึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายส�ำหรับ นักเขียนที่เกิดท่ามกลางยุคการสื่อสารไร้พรมแดน ความคิด ที่เป็นอาชญากรรม (thoughtcrime) ในนิยาย 1984 ของ จอร์จ ออร์เวล กลับเป็นอาวุธที่ทรงอานุภาพกว่า ครั้งไหนๆ ทว่าตลกร้ายที่ตามมาคือ เหล่าบิ๊กบราเธอร์ ก็มีอ�ำนาจสอดส่อง คุกคาม และเซนเซอร์เพิ่มขึ้นเป็นเงา เช่นกัน


Out of The Cage เรื่อง ธนาคาร จันทิมา, ณัฐกานต์ อมาตยกุล

ไปลานประหาร ก่อนจะได้รับอภัยโทษในวินาทีสุดท้าย เปลี่ยน โทษตายเป็นการเนรเทศไปใช้แรงงานหนักที่สุดโลกไซบีเรีย นานสี่ปี สุขภาพย�่ำแย่ยังไม่เท่าจิตใต้ส�ำนึกที่บอบช�้ำสาหัส ทว่าเขาได้ค้นพบพลังจิตวิญญาณของมนุษย์ที่ต้องตกอยู่ใน สภาวะถูกกระท�ำ ซึ่งพอเพียงส�ำหรับสร้างผลงานอมตะหลายชิ้น ในเวลาต่อมา

DANTE ALIGHIERI - ดังนรกชัง

หรือสวรรค์แกล้ง เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย อิตาลี ดันเตเลือกเข้าข้างจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แทนที่จะเป็น พระสันตะปาปา ปี 1302 เขาจึงถูกขับออกจากเมืองฟลอเรนซ์ บ้านเกิดพร้อมโทษเผาทั้งเป็นติดตัว ตลอด 20 ปี ดันเตรอนแรม ในอิตาลี เขารังสรรค์กวีนิพนธ์สามภาคชื่อ The Divine Comedy ว่าด้วยชีวิตหลังความตายและการเดินทางสู่ขุมนรก นัยหนึง่ เพื่อเย้ยหยันศาสนจักร ส่วนสุดท้ายที่ชื่อ ‘Paradiso’ เขาพรรณนา ความทุกข์ยากจากการถูกเนรเทศเอาไว้อย่างละเอียดลออ งานชิ้นนี้กลายเป็นหมุดหมายที่เบิกทางแก่ศิลปะยุคเรอนาซองส์ ดันเตไม่ได้เหยียบบ้านเกิดอีกเลยกระทั่งเขาเดินทางสู่ปรโลก ปี 2008 ทางการอิตาลีช�ำระประวัติดันเตให้กลับมาบริสุทธิ์อีกครั้ง นี่ถือเป็นโทษเนรเทศที่กินเวลายาวนานถึง 700 ปี VOLTAIRE - หัวเราะกร่อนเซาะอ�ำนาจ

เหตุผล: การเมือง-ศาสนา / ประเทศลี้ภัย: อังกฤษ ก่อนที่มงซิเออร์ ฟร็องซัว มารีย์ อารูเอ จะใช้นามปากกา ว่า วอลแตร์ เขาเคยถูกขังคุกบาสตีย์ถึงสองครั้ง เพราะเขียน งานเสี ย ดสี ช นชั้ น สู ง และคริ ส ตจั ก รแห่ ง ฝรั่ ง เศสในรั ช สมั ย พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เมื่อพ้นโทษในปี 1726 วอลแตร์ลี้ภัยไป อยู่ประเทศอังกฤษเป็นเวลาสามปี ตลอดชีวิตของวอลแตร์ขึ้น ลงระหว่างการเป็น ‘คนคุก’ กับ ‘คนโปรด’ แม้บั้นปลายเขา ต้องเผชิญความสันโดษ แต่ไม่เคยหยุดเขียนแสดงความเห็น งานวิจารณ์ของเขาล้วนเปี่ยมอารมณ์ขันคมคาย ศพของ วอลแตร์ลงหลุมโดยไม่มีพระรูปใดท�ำพิธีศพให้ หลังการปฏิวัติ ฝรั่งเศส ปี 1789 กระดูกของเขาถูกน�ำไปไว้ยังวิหารป็องเตอง ในฐานะปัญญาชนผู้มีอิทธิพลต่อการลุกฮือของประชาชน VICTOR HUGO - เหยื่อเวลา

เหตุผล: การเมือง ประเทศลี้ภัย: เบลเยี่ยม อังกฤษ ชื่อเสียงของ วิกตอร์ อูโก เป็นที่จดจ�ำทุกวันนี้ อานิสงส์ส่วนหนึ่ง ได้จากการเนรเทศตนเองไปต่างแดน อูโก คือนักเขียนคนส�ำคัญ หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ผู้ไม่ลังเลจะแสดงความคิดที่ตนเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องความอยุติธรรม ทันทีที่จักรพรรดิ นโปเลียน โบนาปาร์ต รวบอ�ำนาจเบ็ดเสร็จในปี 1851 อูโก ในวัย 49 ปี ประกาศตัวเป็นกบฏต่อประเทศฝรั่งเศสทันที เขาลี้ภัยไปยัง บรัสเซลส์ ต่อด้วยเกาะเกิร์นซีย์ในอาณานิคมของอังกฤษ ช่วงนี้ เองที่เขาทุ่มเทเวลาเขียนนวนิยายมาสเตอร์พีซอย่าง Les Misérables ออกมาจนจบ (ความยาวกว่า 1,200 หน้า) แม้เขา จะได้รับอภัยโทษในภายหลัง แต่เขาเลือกปฏิเสธเพื่อยืนยันสิทธิ ที่จะวิพากษ์รัฐบาลต่อไป เขารอจนเผด็จการสิ้นอ�ำนาจ ในปี 1870 จึงเดินทางกลับฝรั่งเศสและได้รับเลือกเป็นสมาชิก วุฒิสภาในเวลาต่อมา OSCAR WILDE - นิรนามชื่อไวลด์

เหตุผล: เพศ / ประเทศลี้ภัย: ฝรั่งเศส ในยุคที่โฮโมเซกชวลคืออาชญากรรม ออสการ์ ไวลด์ ถูกจับกุม ข้อหารักร่วมเพศและกระท�ำอนาจารทางทวารหนัก นักเขียน บทละครและกวีชาวไอริชผู้นี้จ�ำต้องเดินทางออกจากสหราชอาณาจักรเพื่อมาหลบเร้นในปารีสในปี 1879 โดยใช้นามแฝง ว่า เซบาสเตียน เมลมอธ ชื่อตัวละครที่ไวลด์ยืมมาจาก นิยายของเขาเองเรื่อง Melmoth the Wanderer ชะตาตกอับ สุขภาพกายร่วงโรยพร้อมหัวใจที่ใกล้แตกสลาย งานเขียนชือ่

ความคิดสร้างสรรค์เกิดได้หลายสภาวะ การเนรเทศมอบอิสรภาพพร้อมกับ ความโดดเดี่ยวและเวลาว่าง เพื่อให้ นักเขียนสร้างผลงานชิ้นเอก ในโมงยาม อันเลวร้าย นี่คือบันไดขั้นส�ำคัญที่พวก เขาใช้ปีนขึ้นไปสู่ชื่อเสียง ซึ่งยังคงส่อง ประกายมาถึงทุกวันนี้

JAMES JOYCE - เมืองทรงจ�ำ

The Importance of Being Earnest ซึ่งเขาไม่ปรารถนาจะ ตีพิมพ์ด้วยชื่อออสการ์ ไวลด์ อีกต่อไป ได้ตั้งข้อสังเกตกับตัวเอง ไว้ว่า “ฉันเขียนได้ แต่สูญเสียความสนุกที่จะเขียนไปแล้วสิ้น” ไวลด์เสียชีวิตในวัยเพียง 46 ปี PABLO NERUDA - นายพลผู้หวาดกลัวบทกวี

เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย: เม็กซิโก ปาโบล เนรูดา เนรเทศตัวเองจากชิลีไปยังเม็กซิโก ใช้เวลา 3 ปี ขณะลี้ภัยเขียนบทกวี Canto General จนเสร็จในปี 1950 มี ความยาว 15,000 บรรทัด ถือเป็นมหากาพย์กวีการเมืองแห่ง ทวีปอเมริกาในบรรดากลุ่มประเทศที่ใช้สเปนเป็นหลัก เนรูดา กลับมาเยือนชิลีอีกครั้งในปี 1971 และได้รับรางวัลโนเบลสาขา วรรณกรรม สองปีต่อมา การยึดอ�ำนาจของเผด็จการทหาร น�ำโดยนายพลออกัสโต ปิโนเช เกือบท�ำให้เนรูดาต้องลี้ภัย อีกครั้ง ก่อนหัวใจล้มเหลวเพียงไม่กี่วัน เขาได้กล่าวประโยค ทรงพลังเหน็บกองก�ำลังติดอาวุธที่เข้ามาบุกค้นบ้านของเขา ว่า “ดูเอาเถิด ที่นี่มีสิ่งเดียวท�ำอันตรายคุณได้ นั่นคือ บทกวี” ปาป้าผู้ไม่อัสดง เหตุผล: ส่วนตัว / ประเทศลี้ภัย: ฝรั่งเศส ล�ำพังชีวิตของ เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ ก็โลดโผนไม่แพ้ตัวละคร ในวรรณกรรมของเขา หลังจากรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหาร ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาเนรเทศตนเองไปต่างประเทศ ด้วยความหลงใหลและใคร่เรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง ปี 1926 เขาพ�ำนักในปารีสท่ามกลางเหล่าศิลปินแนวหน้าแห่งยุคอย่าง ปาโบล ปีกัสโซ ปะทะสังสรรค์กับนักเขียนกลุ่ม ‘Lost Generation’ อาทิ เอฟ. สก็อต ฟิตเจอรัลด์ และ เกอทรูด สไตน์ ช่วงนี้เองที่เขาผลิตนิยายขายดีอย่าง The Sun Also Rises ออกมา ซึ่งกึ่งจะเป็นอัตชีวประวัติของเขากลายๆ และเป็นที่มา ของ ‘Iceberg Theory’ ทฤษฎีการเขียนสไตล์เฮมิ่งเวย์อันโด่งดัง ERNEST HEMINGWAY -

FYODOR DOSTOEVSKY - การลงทัณฑ์ชั่วนิรันดร์

เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย: ไซบีเรีย ไม่มีนักเขียนคนใดจะถูกบดขยี้ตัวตนอย่างรุนแรงได้เท่า ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี้ ปี 1846 เขาโด่งดังจากการตีพิมพ์ The Double กลายเป็นนักเขียนหนุ่มคนส�ำคัญในขบวนการสังคมนิยม Petrashevsky Circle จนเป็นที่ระคายพระเนตรพระกรรณ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ผู้ก�ำลังพารานอยด์การปฏิวัติที่ลุกฮือ เป็นวงกว้างในยุโรปตะวันตก ดอสโตเยฟสกี้ถูกจับกุมและส่งตัว

เหตุผล: ส่วนตัว / ประเทศลี้ภัย: ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์ ผลงานของจอยซ์คือความผูกพันต่อบ้านเกิด หากเมืองดับลิน หายวับไป เราอาจค้นหามันพบได้จากการอ่านรวมเรื่องสั้น Dubliners หรือนวนิยาย Ulysses ความที่จอยซ์ไม่พอใจ องค์กรศาสนาและสังคมที่ล้าหลังของไอร์แลนด์ ปี 1941 เจมส์ จอยซ์ จึงเลือกเป็นคนพเนจร พ�ำนักหลายเมืองในยุโรป ตลอดเวลา 37 ปีที่เหลือของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงที่เขาสร้างนวัตกรรมงานเขียนแห่งศตวรรษที่ 20 อิทธิพลของจอยซ์ทิ้งร่องรอย ให้เห็นจากชื่อถนน ผับบาร์และคาเฟ่ตามเมืองต่างๆ ให้นักอ่าน ยุคหลังสะกดตามรอย หรือหากกล่าวเชิงกวี ‘จอยซ์เนรเทศ ตัวเองเพื่อคงอยู่’ ชีวิตและตัวละครของจอยซ์สะท้อนความแปลก แยกของปัจเจกที่รู้สึกเป็นอื่น การเป็นคนพลัดถิ่นซึ่งไม่ใช่เพียง กายภาพ หากสะเทือนถึงแก่นการด�ำรงอยู่ของมนุษย์เกินกว่า คนที่ไม่เคยผ่านพบจะนึกถึง VLADIMIR NABOKOV - ฟองน�้ำอัจฉริยะ

เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย: ยูเครน, อังกฤษ, เยอรมัน, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, สวิตเซอร์แลนด์ วลาดิมีร์ นาโบคอฟ เกิดในครอบครัวชนชั้นสูงและปัญญาชน ถูกเนรเทศออกจากรัสเซียช่วงการปฏิวัติบอลเชวิก ปี 1917 ความเจ็บปวดที่ต้องพลัดบ้านเกิดและความเกลียดชังระบอบ คอมมิวนิสต์ สัมพันธ์ยิ่งกับอาการโหยหาวันวานของรัสเซียที่ ปรากฏในงานเขียนของเขา นาโบคอฟคือ ‘ฟองน�้ำอัจฉริยะ’ การใช้ชีวิตหลายถิ่นฐานต่างภาษามีผลต่อสไตล์การเขียน ของเขาอย่างลึกซึ้ง นิยายชิ้นเอก Lolita ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ภาษาอังกฤษ โดดเด่นด้วยวิธีเล่าเรื่องและการเล่นภาษา รวม ถึงเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของสังคมยุคนั้น บางคนรู้ดีว่า นาโบคอฟรวยอารมณ์ขัน แต่ยากจะเข้าใจว่าเขาซ่อนความ ทุกข์เศร้ามากมายไว้อย่างไร เขาเคยกล่าวว่า “ชีวิตคือขนมปัง แผ่นบางที่ทาด้วยเนยและท่วมด้วยภูเขาน�้ำผึ้ง” และนั่นเพียง พอแล้วที่จะมีความสุขไปกับมัน SALMAN RUSHDIE - ฝันร้ายที่ไม่อาจตื่น

เหตุผล: ศาสนา / ประเทศลี้ภัย: สหรัฐอเมริกา เมื่อ ซัลมาน รุชดี นักเขียนอินเดียน-อเมริกันตีพิมพ์ The Satanic Verses ในปี 1988 นวนิยายสัจนิยมมหัศจรรย์เรื่องนี้ ถูกโจมตีจากมุสลิมหลายประเทศว่าเป็นการสร้างภาพรับรู้ แง่ลบแก่ศาสดามูฮัมหมัด การต่อต้านขยับไปสู่ความรุนแรง เริ่มจากประท้วง เผาหนังสือ วางระเบิดร้านหนังสือ จนถึงการ ลอบสังหารนักแปลที่ก�ำลังแปลนิยายเล่มนี้เป็นภาษาอื่นๆ แม้รุชดีจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลอังกฤษ ทว่าหลัง รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี อดีตผู้น�ำสูงสุดของอิหร่านออกมาประกาศ ต่อต้านรุชดีว่าเป็นภัยต่อศาสนา เขาจ�ำต้องลี้ภัยจากอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ปัจจุบันรุชดีใช้ชีวิตอยู่ในนิวยอร์ก

5


Exiled to Exist

GABRIEL GARCÍA MÁRQUEZ - โดดเดี่ยวคืนสู่สามัญ

เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย: สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เวเนซูเอล่า สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก กาเบรียล มาร์เกซ เลือกเส้นทางนักเขียนและสื่อมวลชน ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ การเปิดโปงการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมาย ของรัฐบาล จนเป็นเหตุให้เรืออับปางในหนังสือ The Story of a Shipwrecked Sailor ท�ำให้เขาถูกขู่ฆ่าจากทางการ โคลอมเบีย ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศหลายปี การเมืองที่ไร้เสถียรภาพของภูมิภาคนี้มีส่วนท�ำให้มาร์เกซเลือกสนับสนุนเผด็จการ เบ็ดเสร็จฝ่ายซ้าย และประณามการยึดอ�ำนาจของเผด็จการ ฝ่ายขวา นวนิยายอย่าง One Hundred Years of Solitude แสดงให้เห็นถึงขีดจ�ำกัดของเหล่าเผด็จการที่ขึ้นไปสู่ความ โดดเดี่ยวก่อนจะลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ กาลเวลาพิสูจน์ให้ เห็นว่า ธรรมชาติของเผด็จการทั่วโลกคือสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอ ขาดความรัก และรู้สึกแปลกแยกไม่ต่างจากคนเห็นต่างซึ่งถูก พวกเขาเนรเทศออกไป MILAN KUNDERA -

ชีวิตคือที่อื่น เหตุผล: การเมือง / ประเทศลี้ภัย: ฝรั่งเศส เมื่อความเหน็บหนาวแห่งฤดูสงครามเย็นห่มคลุมเชกโกสโลวาเกีย ความหวังของ มิลาน คุนเดอรา ที่จะเห็นการปฏิรูปคอมมิวนิสต์ ในบ้านเกิดก็ล่มสลายลง ทันทีที่กองก�ำลังผสมน�ำโดยโซเวียต บุกยึดกรุงปราก รายชื่อของเขาก็ขึ้นบัญชีด�ำและถูกแบนหนังสือ ทันที ปี 1975 เขาหลบหนีและขอลี้ภัยจนได้สัญชาติฝรั่งเศส Life is Elsewhere คือนิยายเรื่องแรกที่เขียนหลังลี้ภัย อบอวล ด้วยกลิ่นอายการเมือง ชื่อเรื่องบันดาลใจจากค�ำขวัญใน เหตุการณ์ลุกฮือของนักศึกษาฝรั่งเศส ปี 1968 ส�ำหรับคุนเดอรา ประวัติศาสตร์คือการหมุนวนไม่รู้จบ ลายเซ็นในงานของเขา หนีไม่พ้นประเด็นการเนรเทศ อัตลักษณ์ ชีวิตเหนือพรมแดน ความรัก ศิลปะ กระทั่งความจริงจังต่อ ‘ชีวิต’ เอง รวมถึงการ มีความสุขต่อชีวิตที่ไม่สลักส�ำคัญต่อผู้ใด

“Every country is home to one man, and exile to another.” T.S. Eliot

THAI WRITERS IN EXILE

1

6

4

จากหลักฐานที่หลงเหลือ นักเขียนไทยที่ถูกเนรเทศคนแรกคือ ศรีปราชญ์ ชีวประวัติที่คลุมเครือสไตล์มุขปาฐะ ท�ำให้ต�ำนาน กวีอยุธยาผู้นี้จมอยู่ในหมอกควันของ ‘fictional character’ ทิ้งปมขัดแย้งกับกษัตริย์และเจ้าเมืองนครฯ ไว้ให้เหลือเพียง ประเด็นชู้สาว โคลงสี่ ‘ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน’ ที่เขาเขียนด้วยนิ้ว เท้าก่อนถูกประหารจึงเป็นหลักฐานโต้ตอบความไม่เป็นธรรม ชิ้นเดียวที่ไม่มีวันได้รับการช�ำระ

เช่นเดียวกับ สอ เสถบุตร นักโทษการเมืองคดีกบฏบวรเดช เขาถูกเนรเทศพร้อมผู้ร่วมคิดคนอื่นไปยังเกาะตะรุเตา ในปี 2476 ช่วงเวลานี้เองที่เขาลักลอบส่งต้นฉบับออกมาให้มารดา ส่งโรงพิมพ์ กลายเป็น พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ฉบับ สอ เสถบุตร ที่ยกย่องกันว่าเป็นฉบับที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ป. พิบูลสงคราม มีค�ำสั่งไล่ล่านักเขียนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล นายผีเขียนบทกวีสะท้อนแนวคิดการเมืองมากมายระหว่าง เดินทางในประเทศลาวและจีน ทว่าผลงานที่รู้จักในวงกว้าง กลับเป็นบทเพลง เดือนเพ็ญ ที่สะท้อนอารมณ์คิดถึง บ้านเกิดของนักเขียนพลัดถิ่นผู้ ไม่ได้เหยียบเมืองไทยอีกเลย จนเสียชีวิต

2

5

ฝ่ า ยนั ก เขี ย นหั ว ก้ า วหน้ า ไทยหรื อ ที่ ฝ ั ่ ง ผู ้ ต ่ อ ต้ า นเรี ย กว่ า ‘นักเขียนคอมมิวนิสต์’ อย่าง กุหลาบ สายประดิษฐ์ (นามปากกา ศรีบูรพา) ปัญญาชนและนักหนังสือพิมพ์ ที่มี อิทธิพลทางความคิดต่อคนรุ่นใหม่ ผู้ร่วมก่อตั้งคณะสุภาพบุรุษ ถูกจับกุมข้อหากบฏจากเหตุการณ์กบฏสันติภาพ จ�ำต้องเนรเทศตนเองไปอยู่ประเทศจีนตลอดชีวิตแต่ ไม่เคย หยุดเขียนหนังสือถ่ายทอดอุดมการณ์

7

กรณีคลาสสิกของวลี ‘สูงสุดคืนสู่สามัญ’ ต้องยกให้ชะตากรรมของสุนทรภู่ วันเวลารุ่งโรจน์ในฐานะมหากวีแห่งแผ่นดิน พระพุทธเลิศหล้าฯ ท�ำให้อัตตาบดบังค�ำว่าถ่อมตน เหตุการณ์ เล็กๆ ในวันที่เขาถวายค�ำปรึกษากลอนบทละครหักหน้า กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3) หน้าพระที่นั่ง ส่งผลให้เขาต้อง หนีราชภัยไปบวชเป็นพระและเขียนนิราศที่เป็นมาสเตอร์พีซไว้ จ�ำนวนมาก

8

3

หลังปฏิวัติ 2475 คือช่วงเวลาแห่งความสับสน การเมือง ลมเพลมพัดไร้เสถียรภาพ กระทั่งกบฏบวรเดชพ่ายแพ้ต่อ กองทัพของคณะราษฎรหมดรูป ความหวังที่กลุ่มขุนนางจะ กลับมามีอ�ำนาจริบหรี่ลง เชื้อพระวงศ์กับรัฐบาลตกอยู่ใน ภาวะเปราะบางและหวาดระแวง สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรง ราชานุภาพ พระอนุชาในรัชกาลที่ 5 อดีตเสนาบดีกระทรวง มหาดไทย และบิดาประวัติศาสตร์ ไทย (แบบทางการ) เสด็จฯ ลี้ภัย การเมืองไปเกาะปีนัง นาน 9 ปี เป็นที่มาของ สาส์นสมเด็จ พระนิพนธ์ชุดที่ทรงคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ ไทย

น้อยคนที่จะไม่เคยได้ยินชื่อ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชน นอกคอกผู้ตั้งค�ำถามสั่นสะเทือนชนชั้นศักดินาในสังคมไทย สมัยเป็นนิสิตอักษรศาสตร์ เขาโดนตัดสินโทษ ‘โยนบก’ จาก ศาลเตี้ยในมหาวิทยาลัย และถูกคุมขังโดยรัฐไทยเมื่อ 2501 ข้อหาคอมมิวนิสต์ ปี 2509 เขาระหกระเหินร่วมกับพรรค คอมมิวนิสต์ในป่าภูพาน จังหวัดสกลนคร และจบชีวิตจาก การถูกล้อมยิงด้วยกระสุนปืนที่ชายป่า เป็นที่มาของเพลง ท่อนที่ว่า พฤษภา ห้าร้อยเก้า แดดลบเงาจางหาย จิตรสิ้นลม สุดท้ายขณะที่มีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น

6

อัศนี พลจันทร หรือ นายผี คือกวีที่เคยรับราชการ เขาถูก สั่งย้าย 4 ครั้งในช่วง 10 ปี เหตุเพราะเป็นคนตรงไปตรงมาและ ขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา เขาลาออกในปี 2495 หลบหนีเข้าป่า ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพราะจอมพล

ความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างจนร้าวลึกในยุค ‘6 ตุลา 2519’ แบ่งแยกคนไทยจากกันจนถึงขั้นหมายเอาชีวิต ลาว ค�ำหอม หรือ ค�ำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติ ผู้เขียน ฟ้าบ่กั้น วรรณกรรมที่ปลุกเร้าเลือดเสรีชนรุ่นใหม่ให้สูบฉีด เขาตก เป็นเหยื่อกลุ่มลูกเสือชาวบ้านและพวกรักชาติหัวรุนแรงที่ แปะป้ายว่าเขาเป็น ‘นักเขียนฝ่ายซ้าย’ ข้อหาที่คล้ายใบอนุญาต ให้ฆ่าคนได้ ไม่บาป เมื่อรู้สึกไม่ปลอดภัย ลาวค�ำหอมและ ครอบครัวเลือกลี้ภัยไปประเทศสวีเดน พ�ำนักอยู่ 5 ปีและร่วม เป็นสมาชิกสมาคมนักเขียนในกรุงสตอล์กโฮม


คนทั่วไปมองว่า การเนรเทศ คือการถูกบีบขับออกไป ไม่ว่า เขาหรือเธอจะโดนขับไล่เพราะความขัดแย้งทางศาสนาหรือ การเมือง ฯลฯ จ�ำใจหนีการข่มขู่ ท�ำร้าย คุมขัง หรือเต็มใจหนี ออกมาเองเพื่อปลดปล่อยจิตวิญญาณเสรีที่ไม่อาจทนอยู่ใน สังคมที่มีโลกทัศน์คับแคบ แต่อันที่จริง ค�ำค�ำนี้มีอะไรให้ค้นหา มากกว่านั้น Victor Hugo

(x)เสรีภาพหรือการกีดกัน เมื่อเราพูดถึงการเนรเทศหรือการลี้ภัยก็หนีไม่พ้นต้องนึกถึง ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ภาวะถูกเนรเทศที่ว่านี้ ท้ายสุดจะน�ำมาสู่อิสรภาพหรือกลับยิ่งลิดรอนเสรีภาพของตัว นักเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล ในด้านหนึ่ง การลี้ภัยคือประตูสู่เสรี แม้จะยังไม่ได้ย้ายถิ่นทาง กายภาพ แต่เมื่อพบว่าประเทศที่อาศัยอยู่ไม่ให้การต้อนรับ การถูกเนรเทศก็เกิดขึ้นภายในจิตใจแล้ว สภาวะเช่นนี้ไม่อาจ เรียกได้ว่ามีเสรีภาพมาตั้งแต่ต้น จิตวิญญาณสร้างสรรค์และ รักอิสระที่บรรจุในตัวนักเขียนหรือศิลปิน ย่อมไม่สามารถจ�ำนน อยู่ในภาวะนั้นได้ การลี้ภัยมาอยู่ต่างแดน ท�ำให้นักเขียนมีโอกาสสร้างงาน อย่างเต็มที่โดยไม่ถูกรบกวนจิตใจและไม่ต้องเซนเซอร์ตัวเอง สิ่งที่เคยหมือนก�ำแพงกลับกลายเป็นเกราะป้องกัน กวีชาวจีน อย่าง ฮวงเสียง เกิดก่อนการปฏิวัติวัฒนธรรมเพียงไม่กี่ปี บทกวี เพื่อเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนท�ำให้เขาถูกทางการจีนจ�ำคุก และตรากตร�ำในค่ายแรงงานหลายครั้งรวมเวลาถึง 12 ปี ในที่สุดเขาต้องหนีไปอยู่ใน เมืองคุ้มภัย (City of Asylum) ใน พิตต์สเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วใช้เวลาที่เหลือเขียน บทกวีโดยไม่ถูกคุกคามชีวิต แต่ส�ำหรับนักเขียนบางคน การผละจากบ้านเกิดเป็นเรื่อง น่าปวดใจ ไม่ว่าพวกเขาจะย้ายไปอยู่ที่ใดบนโลก บทกวีของ อาเธอร์ นอร์ทเกีย กวีชาวแอฟริกาใต้ สะท้อนความเจ็บช�้ำ เนื่องจากประเทศไม่ให้การยอมรับตนในฐานะกวี เพราะนโยบาย กีดกันคนผิวสี อย่างไรเสีย การถูกเนรเทศคือภาวะจ�ำยอมและ แสนแปลกแยก ในที่สุดเขาจบชีวิตลงเพราะใช้ยาเกินขนาด นี่คือตัวอย่างที่การลี้ภัยไม่อาจเยียวยาบาดแผลและความ อาวรณ์ที่มีต่อเชื้อชาติตนเองได้ ส�ำหรับ โวเล โซยินกา กวีชาวไนจีเรีย มองว่า ภาวะพลัดถิ่น เหมือนภาวะลอยตัวกลางอากาศหลังกระโดดร่มชูชีพ ก�ำลัง เดินทางแต่ก็ยังไม่ถึง อาจเรียกได้ว่านี่เป็น ‘ภาวะถาวรของ นักเขียน’ ผู้มีภาระหน้าที่หลักในการท�ำลายพรมแดนแห่ง ความจริงใดๆ ให้สิ้นลง

(x)เปล่งเสียงส�ำเนียงอื่น การย้ายถิ่นสู่อีกประเทศเปิดโอกาสให้นักเขียนแสดงผลงาน ผ่านภาษาอื่น บางครั้งภาษาใหม่ก็พาพวกเขากระโดดข้ามขีด จ�ำกัดไปไกลกว่าที่คิด ภาษาฝรั่งเศสซึ่งกล่าวขานกันว่าเป็น ‘ภาษาแห่งวัฒนธรรม’ ได้ท�ำให้ อาทีค ราหิมี นักเขียนชาวอัฟกัน สามารถเล่ า เรื่ อ งราวสงครามบนแผ่ น ดิ น แม่ อ อกมาเป็ น หนังสือชื่อ The Patience Stone “ผมพยายามเขียนเป็นภาษาเปอร์เซีย แต่แล้วไปๆ มาๆ โดย ไม่ได้ตั้งใจ งานเขียนก็ออกมาเป็นภาษาฝรั่งเศส เนื้อหาของ

ผมฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมอัฟกัน ท�ำให้ไม่สามารถเขียน ออกมาด้วยภาษาแม่ได้ ภาษาฝรั่งเศสจึงนับเป็นภาษาแห่ง เสรีภาพ” มาร์จอเน่ ซาทราพิ นักเขียนและจิตรกรชาวอิหร่าน เติบโต ในกรุงเตหะราน เผชิญหน้ากับรัฐที่ปกครองอย่างเข้มงวด เขาพบเห็นการเข่นฆ่าและท�ำร้ายกันเพียงเพราะความคิดเห็น ทางการเมืองตั้งแต่เด็ก เมื่อย้ายมาอยู่ฝรั่งเศสท�ำให้เธอมีระยะ ห่างจากบ้านเกิดมากพอจะระบายความโกรธแค้นจากประสบการณ์ของครอบครัวออกมาเป็นนิยายภาพภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Persepolis ซึ่งช่วยเปิดมุมมองใหม่แก่สังคมตะวันตกที่มักมี อคติต่อคนอิหร่าน ภาษาอาจเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร กระนั้นนักเขียนพลัดถิ่น หลายคนยังมองว่าบ้านเกิดคือแรงบันดาลใจส�ำคัญและเป็น แหล่งวัตถุดิบในการเล่าเรื่องชั้นยอด บางคนถึงกับต้องย้อน กลับไปเยี่ยมเยียนเพื่อเติมพลังความสร้างสรรค์อีกครั้งหนึ่ง

(x)อิสระในความระแวง หนีออกไปแล้วปลอดภัยจริงหรือ? แม้จะพ้นเงื้อมมือกฎหมายจากรัฐของตัวเองมาได้ แต่ในโลกที่บีบ แคบลงด้วยเทคโนโลยีสื่อสาร อาวุธของรัฐอาจไม่ได้มาในรูปแบบ ที่มองเห็น การข้ามเส้นพรมแดนรัฐไม่ได้แปลว่ารอดเสมอไป สมัยสงครามเย็น อุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างท�ำให้ แต่ละประเทศวางตัวชัดว่าจะปฏิบัติต่อนักเขียนที่หนีมาพึ่ง อย่างไร อย่างน้อยงานเขียนคนเหล่านั้นก็ช่วยเผยแพร่ความเชื่อ ของประเทศเจ้าบ้านให้ขยายออกไป พวกเขาจึงรักษาความ ปลอดภัยให้แก่นักคิดนักเขียนเต็มที่ แต่ปัจจุบันที่ประเทศประชาธิปไตยคล้องแขนสามัคคีกับรัฐ เผด็จการอย่างหน้าตาเฉย (ที่เห็นได้ชัดคือผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ) นักเขียนซึ่งเป็นเพียงประชาชนไม่อาจมั่นใจได้ อีกต่อไป เพราะในวันนี้ อุดมการณ์ไม่ได้เป็นเรื่องคอขาด บาดตายอีกต่อไปแล้ว บทความใน Literary Review of Canada เปิดเผยว่านักเขียน คนหนึ่งซึ่งลี้ภัยจากประเทศเอริเทรีย ประเทศยากจนทางตอน เหนือของทวีปแอฟริกา ได้มาอยู่ในเขตคุ้มกันประเทศแคนาดา แต่หนีไม่พ้นเงื้อมมือเจ้าหน้าที่รัฐที่ปลอมแปลงแฝงตัวมากับ เหล่าผู้อพยพ พวกเขาใช้การข่มขู่ทุบท�ำลายรถ โดยที่นักเขียน ก็ไม่อาจร้องเรียนใครได้ หน�ำซ�้ำผู้อพยพยังต้องเสียภาษีให้ ตัวแทนรัฐเอริเทรีย ทั้งที่ชัดเจนว่าผิดกฎหมายแคนาดา แต่ ทางการก็ไม่ได้ออกมาควบคุมเท่าที่ควรจนชวนให้สงสัย เมื่อการข้ามแดนไม่ใช่ค�ำตอบที่เพียงพอ องค์กรอิสระอันเกิด จากการรวมกลุ่มวิชาชีพเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของปัจเจกจึงมี ความจ�ำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกแห่งการจับจ้องและขู่เข็ญนี้

บ้านของกวีที่ฮวงเสียงเคยอาศัยอยู่

CITY OF ASYLUM •Asylum คือพื้นที่จัดตั้งพิเศษเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ของนักเขียนลี้ภัย ส่วนใหญ่มีสถาบันอย่างมหาวิทยาลัย สนับสนุน แต่ City of Asylum ในพิตต์สเบิร์กเกิด จากการระดมทุนสนับสนุนจากประชาชนด้วยกันเอง •เฮนรี รีส และ ไดแอน ซามูเอลส์ ได้ยินเรื่อง City of Asylum จากการบรรยายของซัลมาน รุชดี นับแต่นั้น พวกเขาก็เริ่มรวมตัวกับเครือข่าย สร้างเมืองคุ้มกัน แห่งนี้ขึ้น ระดมทุนมาใช้จ่ายเพื่อจัดหาที่อยู่ ค่ารักษา พยาบาล และค่าด�ำรงชีพแก่นักเขียน (Exiled Writers -in-Residence) เมืองจัดตั้งนี้อยู่บนถนนสายเล็กๆ ชื่อ ‘แซมโซเนียเวย์’ ใกล้เม็กซิกันวอร์สตรีทส์ซึ่งเป็น ชุมชนที่มีศิลปินอาศัยอยู่จ�ำนวนมาก •นับแต่เริ่มต้นโครงการในปี 2004 มีนักเขียนเคยมา อาศัยแล้วเป็นจ�ำนวน 6 คน ทั้งจากจีน เอลซัลวาดอร์ เมียนมาร์ เวเนซูเอลา และอิหร่าน •City of Asylum ไม่ได้เพียงแต่ให้แหล่งพักพิงแก่ นักเขียน แต่ยังสร้างบรรยากาศใหม่ให้ชุมชนรอบข้าง ฮวงเสียง กวีชาวจีนใช้พู่กันขีดเขียนบทกวีบนผนัง ด้านนอกของบ้าน ปลุกกระแสให้อาคารหลังอื่นเริ่ม ท�ำตาม ที่นี่ยังมีคอนเสิร์ตและกิจกรรมการอ่านทั้งใน อาคาร บนถนน และลานสันทนาการ ประชาชนทั่วไป เข้าร่วมฟรี และมีโครงการจะจัดตั้งร้านหนังสือ คาเฟ่ และสวนนั่งอ่านหนังสือ •ชุมชนนี้ยังออกนิตยสารออนไลน์ชื่อ Sampsonia Way ไว้ตีพิมพ์งานของนักเขียนที่ถูกขับไล่ทั้งหลาย รวมทั้ ง งานที่ โ ดนแบนและไร้ เ สรี ภ าพในการแสดง ความคิดเห็นจากประเทศต่างๆ ด้วย

7


Words Without Borders

“Exile is courage. True exile is the true measure of each writer.” Roberto Bolaño

ในบทความชื่อ Exiles ของ โรเบร์โต โบลันโญ่ (Roberto Bolaño) กวีและนักเขียนชาวชิลี ท้าทายให้เราคิดว่า การเนรเทศได้สร้างความรู้สึกแปลกแยกแก่นักเขียน จริงหรือ? เขาเสนอว่า เหล่านักเขียนไม่เคยตัดขาดจาก ดินแดนที่พวกเขาจากมา พวกเขายังคงกลับไปตักตวง ความรุนแรง ความอยุติธรรม ความยากไร้ ความคุคลั่ง จากดินแดนที่เคยหนีหัวซุกหัวซุนออกมาเสมอ เมื่อเทียบกับอาชีพอย่างหมอ ต�ำรวจ หรือครู อาชีพ นักเขียนได้เปรียบและเหมาะกับการเนรเทศมากกว่าใคร เพราะพวกเขาท�ำงานตลอดเวลาในความคิด แม้ยาม หลับฝัน ขณะที่นักการเมืองหาเสียงต่างถิ่นไม่ได้ ทนายความก็ว่าความในคุกไม่ได้เช่นกัน การถูกเนรเทศ มี แ นวโน้ ม จะยิ่ ง ช่ ว ยกดดั น ให้ เ กิ ด งานเขี ย นที่ เ ข้ ม ข้ น หากเป็นไปได้ นักเขียนส่วนใหญ่เลือกเดินทางออกนอก ประเทศแทนที่จะอยู่ เจมส์ จอยซ์ ในวันนี้อาจเป็นเพียง ชายธรรมดาไร้คนไอริชเหลียวแล หากเขาไม่ลี้ภัยยังต่างแดน เขาอาจบวชเป็นพระหรือเลือกจะฆ่าตัวตายไปแล้ว แทนที่จะเขียนหนังสือ

8

ไม่ใช่นักเขียนทุกคนที่เนรเทศตนเองเพราะเดือดเนื้อ ร้อนใจ การเนรเทศอาจเป็นการทดลองเชิงความคิด เพื่อสร้างงานชิ้นเอกโดยตรง เช่นที่ เฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนอเมริกันคนส�ำคัญในศตวรรษที่ 19 เลือกหลบ เร้นความวุ่นวายจากสังคมเมืองไปใช้ชีวิตเรียบง่ายที่ กระท่อมริมบึงในป่า จนได้งานเขียน Walden อันโด่งดัง หรือกรณีนักเขียนเบสต์เซลเลอร์ ฮารูกิ มูราคามิ ที่ ตัดขาดตนเองจากโลกวรรณกรรมญี่ปุ่นซึ่งไม่ต้อนรับ งานของเขาด้วยการหลบไปใช้ชีวิตอย่างสงบเพื่อเขียน หนังสือในต่างแดนแทนที่จะเป็นบ้านเกิด ส�ำหรับโบลันโญ่ การเนรเทศเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเชื่อวัน เช่นเดียวกับ เกรเกอร์ แซมซา ที่รู้สึกว่าตัวเองแปลก แยกจากครอบครัวตลอดเวลาในนิยาย Metamorphosis ของ ฟรันซ์ คาฟคา เพราะทันทีที่เราเปิดหนังสือ ออกอ่าน ในความหมายนี้ เราทุกคนล้วนถูกเนรเทศ เรียบร้อยแล้ว เราหนีจากสิ่งที่ตัวเราเองเป็นชั่วขณะ หลบภัยจากความเบื่อหน่าย หรือย้ายไปสู่พื้นที่ที่ความคิด ไม่ถูกไล่ล่า จึงกล่าวได้ว่า หนังสือคือบ้านที่แท้จริง ของนักเขียนและนักอ่าน ไม่ว่างานชิ้นนั้นจะอยู่แห่งใด สถิตในรูปแบบไหน หรือถูกจดจ�ำอย่างไร เพียงเปิด หนังสือ การเนรเทศก็เริ่มต้นขึ้นแล้ว

Roberto Bolaño ที่มา: http://diario.latercera.com/

โลกที่สัญญาณอินเตอร์เนตครอบคลุมเกือบทุกเสาไฟฟ้า การเนรเทศนักเขียนที่มีอิทธิพลทางความคิดสักคนกลายเป็นเรื่อง น่าขัน ตัวตนทางกายภาพอาจถูกจ�ำกัดบริเวณ แต่นักเขียนไม่เคย ถูกตัดขาดจาก ‘บ้านเกิด’ และ ‘บ้านที่แท้’ ของพวกเขาจริงๆ


เรื่องและภาพ ภิเษก สมัยสุข

Book Binding

ตรอกสั้นๆ ตรอกหนึ่ง ย่านถนนจงเสี้ยวตงหลู่ เขตต้าอัน กรุงไทเป มีประตูเหล็ก สีแดงแอบอยู่หลังพุ่มไม้กระถาง ความส�ำรวมนิ่งเงียบของมันอาจท�ำให้หลายคน เดินผ่านไปโดยไม่สังเกตเห็น แม้แต่ป้ายชื่อข้างประตูนั่นก็ดูเหนียมอายราว ไม่อยากประกาศตัวให้โลกรู้ว่าร้านขนาดกะทัดรัดในตรอกสงบเสงี่ยมแห่งนี้เคย เป็นที่หนึ่งใน ‘ร้านหนังสืองดงามที่สุดในโลก’ จากการจัดอันดับของสื่อตะวันตกมาแล้ว VVG Something เป็นชื่อที่ปรากฏบนป้ายเล็กเหนือประตูร้าน ถ้าคุณเป็นหนอนหนังสือที่ ดั้นด้นมาพร้อมความคาดหวังว่าจะได้เยือนร้านหนังสือดีๆ สักร้านหนึ่ง คุณอาจรู้สึกผิดหวัง เมื่อก้าวเข้าไปในห้องสลัวของ VVG Something แล้วพบว่าหนังสือส่วนใหญ่ที่วางอยู่ในนั้น เป็นหนังสือภาพในหมวด ‘หนังสือศิลปะ’ และหนังสือประเภท ‘ไลฟ์สไตล์’ มากกว่าจะเป็น หนังสือวรรณกรรมหรือหนังสือส�ำหรับอ่านในความหมายของคนที่เป็นหนอน และเมื่อเทียบ ปริมาณหนังสือกับสินค้าอื่นๆ ในร้าน (เครื่องเขียน ของใช้และของแต่งบ้านกระจุกกระจิก โปสต์การ์ด งานฝีมือ ของเก่า ฯลฯ) ก็อาจมีค�ำถามว่านิยามของ ‘ร้านหนังสือ’ ใช้ได้กับที่นี่ มากน้อยแค่ไหน แต่ก็ยากจะปฏิเสธว่า VVG Something มีเสน่ห์บางอย่างที่ดึงดูดให้คุณต้องใช้เวลาอยู่กับมัน เสน่ห์ที่ว่านั้นคือความพิถีพิถันและรสนิยมในการคัดสรรทั้งหนังสือและสิ่งของ การจัดวาง ผสมผสานอย่างมีอัตลักษณ์โดดเด่น ความ ‘งดงาม’ ของร้านหนังสือแห่งนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ ความเป็นร้านหนังสือเสียทีเดียว แต่อยู่ที่บรรยากาศและรายละเอียดที่บ่งบอกถึงความ เอาใจใส่ต่อการใช้ชีวิตอย่างมีวัฒนธรรมและศิลปะในรูปแบบเฉพาะตัวอย่างชวนหลงใหล อัตลักษณ์ของ VVG Something เป็นภาพสะท้อนความ สนใจอีกด้านหนึ่งของ เกรซ หวัง (Grace Wang) หุ้นส่วน คนส�ำคัญของบริษัท VVG Group (VVG ย่อมาจาก Very Very Good) ที่มีจุดก�ำเนิดจากการท�ำธุรกิจโรงแรมบูทีค ขนาดเล็กในปี ค.ศ.1999 ประสบความส�ำเร็จอย่างรวดเร็ว ขยายกิจการไปเป็นร้านอาหารที่ยิ่งรุ่งเรืองกว่า ถึงจุดหนึ่ง เมื่อเกรซถามเพื่อนร่วมงานว่า “เธออยากท�ำอะไรในวัยชรา” และค�ำตอบที่ได้คือ “อยากเปิดร้านหนังสือ” ท�ำให้เกรซตั้งข้อ สงสัยว่าเหตุใดคนเราจึงต้องรอจนแก่เฒ่าเพื่อท�ำสิ่งที่ตน ต้องการ ไม่นานเธอก็ท�ำร้านสนองความสนใจที่หลากหลาย ของเธอ ผนวกนิสัยรักการอ่าน รักการเดินทาง เข้ากับ รสนิยมด้านการออกแบบและความสนใจศิลปะทุกแขนง รวมถึงความชื่นชอบในร้านหนังสืออิสระที่เธอได้สัมผัส ตามเมืองต่างๆ ระหว่างการเดินทางทั่วโลก และนั่นก็คือ VVG Something ร้านที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกรซ ได้ ‘ปล่อยของ’ เธอคัดเลือกหรือกระทั่งหอบหิ้วหนังสือ เกือบทุกเล่มข้ามน�้ำข้ามทะเลมาเอง ไกด์บุ๊กที่จัดท�ำขึ้นอย่าง ประณีตสวยงาม หนังสือภาพถ่ายปกแข็งเล่มหนาใหญ่ หนังสืองานศิลปะของศิลปินระดับสากล หนังสือและ นิตยสารไลฟ์สไตล์จากประเทศญี่ปุ่น วางกองเรียงกันบน โต๊ะกลางร้าน ให้รู้สึกเหมือนการมาเยือนบ้านเพื่อนคลั่ง หนังสือผู้อยู่ในวิกฤตของการมีหนังสือมากเกินจะหาที่เก็บ ได้หมด แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นลาภตาของผู้ได้มาเยือน เพราะเพื่ อ นผู ้ นี้ มี ร สนิ ย มทางศิ ล ปวั ฒ นธรรมเป็ น เลิ ศ หนังสือแต่ละเล่มที่วางอยู่บนโต๊ะและตามชั้นตามตู้ใน VVG Something ล้วนน่าเปิดดูอย่างละเมียด ใช้เวลา ซึมซับนานๆ ทั้งยังท�ำให้เกิดอาการอยากหยิบติดมือกลับ ไปด้วยอย่างช่วยไม่ได้ จากนั้นในปี 2012 เมื่อ VVG Group ได้พื้นที่ท�ำร้านใหม่ในคอมเพล็กซ์ Huashan 1914 Creative Park - กลุ่มอาคารอิฐแดงอดีตโรงกลั่นไวน์และโรงเพาะพันธุ์กล้วยไม้ ก่อสร้างขึ้น ตั้งแต่ปี 1916 ที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมแห่งใหม่ใน ไทเป - เกรซก็ถือโอกาสนั้นให้ก�ำเนิด VVG Thinking โปรเจกต์ปล่อยของแห่งใหม่ในรูปแบบ ใกล้เคียงกับ VVG Something แต่ใหญ่โตโอ่อ่ากว่าหลายเท่าตัว ชั้นล่างของ VVG Thinking เป็นร้านอาหาร ซึ่งเกรซยอมรับว่าคือตัวท�ำเงินหลักให้กับบริษัท ในขณะที่การท�ำงานสนองความหลงใหลและรสนิยมส่วนตัวของเธอรอคอยอยู่ชั้นสอง แฟนๆ ของ VVG Something จะต้องตื่นตาตื่นใจกับภาพที่ได้เห็น เพราะพื้นที่กว้างขวาง เหนือร้านอาหารที่ดูค่อนข้างธรรมดานั้น คือการน�ำเสน่ห์ของ VVG Something ในตรอกเล็กๆ มาขยายให้อลังการครอบคลุมพื้นที่แทบทุกกระเบียดนิ้ว ความกะทัดรัดที่เกือบข้ามเส้น สู่ความอึดอัดของ VVG Something กลายเป็นความโปร่งกว้างด้วยเพดานสูงของอาคาร จ�ำนวนหนังสือ เครื่องเขียน ของตกแต่ง ของสะสม ของเล่น และสิ่งละอันพันละน้อยที่เกรซ ชื่นชอบ มีให้เลือกเฟ้นเลือกฟุ้งมากกว่าที่ VVG Something หลายสิบเท่า

Something Is Thinking, Thinking Is Something ไทเปก็ไม่ต่างจากเมืองใหญ่หลายแห่งในโลก ที่ร้านหนังสือ อิสระประสบปัญหาเรื่องการอยู่รอดและต้องปิดตัวลง ฮวบฮาบจนน่าใจหายในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเพราะไม่มี ก�ำลังแบกรับรายจ่ายเท่ากับบริษัทใหญ่ๆ เกรซเห็นว่า ปัจจัยที่จะท�ำให้ร้านหนังสืออิสระด�ำรงอยู่ได้ไม่ใช่การ พยายามแข่งขันกับร้านเชนสโตร์ แต่ต้องหาทางเฉพาะที่ มีความชัดเจนในตัวเองที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้น ยังต้องมีความเคลื่อนไหวอย่างสม�่ำเสมอ VVG Something และ VVG Thinking ของเธอจึงมีทั้งการจัดนิทรรศการ ศิลปะและเวิร์กชอปต่างๆ ในร้าน ซึ่งก็ถือว่าเป็นความสนใจ ของเกรซอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการน�ำคนในแวดวงงาน สร้างสรรค์มาพบเจอและแบ่งปันความคิดระหว่างกันเพื่อ สร้างความแข็งแรงให้กับชุมชนคนศิลปะ เมื่อถูกถามว่าเธอยังสนใจจะเปิดร้านอะไรอีกบ้างไหม เกรซตอบทันทีด้วยน�้ำเสียงตื่นเต้นว่าอยากเปิดร้านเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา ครั้งหนึ่งขณะเดินทางใน กรุงโตเกียว เธอพบร้านเล็กๆ ที่น�ำมโนทัศน์ของงานศึกษา วิจัยธรรมชาติแบบชาร์ลส์ ดาร์วิน มาเป็นแนวคิดสรรหา สิ่งของจัดแต่งและวางขาย เป็นแรงกระตุ้นให้เธอนึกถึง ความสนใจวิทยาศาสตร์ของตัวเธอเองและต้องการหา วิธีน�ำเสนอมันออกมาในรูปแบบเฉพาะตัว ตามปรัชญา ธุรกิจของ VVG หลายคนเคยตั้งข้อสงสัยว่าท�ำไมเมื่อ VVG เปิดร้านใหม่ จึงเป็นร้านที่มีรูปแบบต่างไปแทบทุกครั้ง แทนที่จะเป็นการเปิดสาขาขยายกิจการ กลับดู เหมือนต้องสร้างสิ่งใหม่จากศูนย์อยู่เรื่อยๆ เกรซบอกว่า นั่นคือคุณสมบัติที่เป็นตัวตนของเธอ เธอรักความพิเศษและการท�ำงานร่วมกับคนที่จะให้ใจกับแต่ละโปรเจกต์อย่างแท้จริงท�ำงาน เหมือนครอบครัว ท�ำงานไปพร้อมกับใช้ชีวิต ในขณะที่มีคนจ�ำนวนมากเฝ้ารอจะท�ำตามความฝันของตนเมื่อวัยชรามาเยือน เกรซและ ‘ครอบครัว’ ของเธอก�ำลังเติบโตไปกับการท�ำฝันให้เป็นจริงในแต่ละวัน VVG Something No. 13, Alley 40, Lane 181, Section 4 Zhōngxiào East Road, Dà'ān District, Taipei VVG Thinking Huashan 1914 Cultural Creative Park No. 1, Bade Road Sec. 1, Taipei

9


Around the World in 2 Pages

ราอูล เลเมซอฟ ดัดแปลงรถ Ford ให้กลายเป็นห้อง สมุดรถถังเคลื่อนที่ เนื่องในวันหนังสือโลกเมื่อ 5 มีนาคมที่ผ่านมา ศิลปิน ชาวอาร์เจนตินาชื่อว่า ราอูล เลเมซอฟ สร้างผลงานศิลปะ โดยตั้งชื่อว่า ‘Weapon of Mass Instruction’ นั่นคือ ห้องสมุดเคลื่อนที่ไปทั่วกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โดยใช้รูปลักษณ์ของรถถังเป็นตัวแพร่กระจายความรู้ มีแนวคิดว่าต้องการน�ำเสนอความสันติสุขผ่านวรรณกรรม เลเมซอฟเริ่มคิดโปรเจ็กต์นี้เมื่อหลายปีก่อน เขาจัดการดัดแปลงรถ Ford Falcon ปี 1979 มาตกแต่ง ให้เหมือนยานพาหนะของกองทัพด้วยการสร้างห้องด้านบน ที่มองได้รอบทิศ และท�ำปืนปลอมที่ยื่นออกนอกตัวถังให้ ดูเหมือนรถถังทหาร เป็นการล้อว่ามนุษย์ทุกวันนี้นับวัน ยิ่งหาสันติได้ยาก สาเหตุส�ำคัญที่คนเราทะเลาะ (หรือ สู้รบ) กันก็เพราะความไม่รู้ รถถังคันนี้บรรทุกหนังสือไว้กว่า 900 เล่ม ไม่ว่า จะเป็นบทกวี บทความ ชีวประวัติ และนิยาย โดยเลเมซอฟ จะขับรถถังของเขาเดินทางไปทั่วชานเมืองและแหล่งชุมชน ต่างๆ มอบหนังสือให้กับคนที่สนใจ ภารกิจนี้จึงมาพร้อม อาวุธที่ทรงพลานุภาพที่สุด นั่นคือ ยุทโธปกรณ์ทาง ความรู้ และเลเมซอฟเข้ายึดพื้นที่ไว้หมดแล้ว!

ขุดพบหลุมฝังศพของผู้เขียน Don Quixote ที่สเปน อายุกว่า 400 ปี

นักวิทยาศาสตร์สเปนพบหลุมฝังศพ มิเกล เด เซร์บันเตส ผู้ประพันธ์ ‘ดอนกิโฆเต้แห่งลามันช่า’ พร้อมด้วยภรรยา และคนอื่นๆ ถูกฝังในห้องใต้ดินของโบสถ์ ที่ส�ำนักแม่ชีใน กรุงมาดริด แม้ว่านักนิติเวชยังไม่ยืนยันผลตรวจดีเอ็นเอ แต่สันนิษฐานจากหลักฐานประวัติศาสตร์บริเวณโดยรอบ เชื่อมั่นว่าสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นหลุมศพของเซร์บันเตส แน่นอน เพราะซากปรักหักพังที่หลงเหลือตรงกับบันทึกระบุ ว่า ศพของเซร์บันเตสถูกฝังไว้ที่ส�ำนักแม่ชีในกรุงมาดริด 1 วันหลังจากที่เขาเสียชีวิต เมื่อปี ค.ศ.1616

ที่มา: designboom.com 10

ISIS

ล้างบางวัฒนธรรม เผาหนังสือทิ้งกว่า 8,000 เล่ม ที่มา: shortlist.com

ทว่าในปี ค.ศ.1673 ส�ำนักแม่ชีแห่งนี้ผ่านการบูรณะ ท�ำให้ต�ำแหน่งหลุมฝังศพของ มิเกล เด เซร์บัน-เตส หาย สาบสูญไปนานนับศตวรรษ กระทั่งนักส�ำรวจกว่า 30 คน ใช้ความพยายามส�ำรวจซากปรักหักพังของห้องใต้ดินที่ ถูกเผาด้วยเครื่องมือต่างๆ ทั้งกล้องอินฟาเรด สัญญาณ เรดาห์หยั่งความลึกใต้ดิน รวมถึงเทคโนโลยีสแกนสามมิติ มีการกล่าวในการประชุมว่า เมื่อหลุมฝังศพใหม่สร้างเสร็จ รัฐบาลสเปนเตรียมจัดพิธีฝังศพนักประพันธ์เอกของโลก คนนี้ใหม่อย่างสมเกียรติแน่นอน ที่มา: time.com

กลุ่มติดอาวุธ ISIS ยังคงปฏิบัติการล้างบางวัฒนธรรม ในอิรักอย่างต่อเนื่อง ว่ากันว่าภายในสัปดาห์เดียว กลุ่ม ISIS ระเบิดท�ำลายหอสมุดสาธารณะโมซุลและเผา หนังสือแล้วกว่า 8,000 เล่ม นอกจากหอสมุดสาธารณะโมซุล ก่อนหน้านี้ ได้มีการโจมตีทั้งห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดของ ศูนย์ชุมชม ห้องสมุดของพิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดแห่งอิสลาม ห้องสมุดของโบสถ์เเละมัสยิดส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ในเมืองโมซุล นอกจากเผาหนังสือ ยังใช้ระเบิดแสวงเครือ่ ง ท�ำลายศิลปะวัตถุต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติ ตามพระคัมภีร์ศาสนาอิสลามไปมากมาย การเผาท�ำลาย สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและสถาบันทาง

วัฒนธรรมถือเป็นความโหดเหี้ยมอย่างมาก องค์การ สหประชาชาติ (UN) ประณามการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็น ‘การล้างบางรากเหง้าทางวัฒนธรรม’ ตามที่ ควอซี อัล ฟาราจ อดีตผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ หอสมุดกล่าวว่า “หอสมุดสาธารณะโมซุลเป็นอาคาร ยุคเก่าแก่ ก่อตั้งเมื่อปี 1921 เป็นสถานที่เก็บสะสม ทั้งหนังสือภาษาซีเรียโบราณที่ถูกพิมพ์ครั้งแรกในอิรัก หนังสือเก่าจากยุคอาณาจักรออตโตมัน คัมภีร์โบราณ เขียนด้วยลายมือในศตวรรษที่ 18 หนังสือพิมพ์ย้อนไป เมื่อหลายสิบปี และวัตถุโบราณส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ มากมาย" ผู้อ�ำนวยการทั่วไปขององค์การยูเนสโก ไอรินา โบโควา ได้แถลงเกี่ยวกัยเหตุการณ์ที่กลุ่มไอซิสท�ำลาย หนังสือและวรรณกรรมล�้ำค่าครั้งนี้ว่า กองก�ำลังหัวรุนแรง ในอิรักได้สร้างแนวทางการท�ำลายล้างรูปแบบใหม่ เพื่อ ลบล้างวัฒนธรรมที่กระท�ำผิดต่อบัญญัติศาสนาในแบบ ของตน ซึ่งการท�ำลายมรดกทางวัฒนธรรมเช่นนี้นับ เป็นการข่มเหงจิตวิญญาณของประชาชนชาวอิรัก เพราะ การเผาหนังสือคือการท�ำลายวัฒนธรรม ความรู้ และ ความทรงจ�ำ


Around the World in 2 Pages

เรื่อง วลาภา จงจารุนันท์

Mein Kampf

นิยายภาคต่อของ To Kill a Mockingbird ก�ำลังจะวางแผง

Mein Kampf (อ่านว่า ไมน์คัมพฟ์) หรือ ‘การต่อสู้ของ ข้าพเจ้า’ เขียนโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ จะกลับมาตีพิมพ์ ใหม่อีกครั้งนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่ง ก่อให้เกิดการโต้แย้งอย่างหนัก ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศ เยอรมนีสั่งห้ามตีพิม พ์หนังสืออัตชีวประวัติเล่ม นี้ของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้น�ำกองทัพสูงสุดของพรรคเผด็จการ นาซีเยอรมันอย่างเด็ดขาด แต่ในปี 2016 Mein Kampf จะถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในประเทศเยอรมันอีกครั้ง เพราะ ลิขสิทธิ์ที่ดูแลโดย เดอะ บาวาเรียนส์ จะสิ้นสุดในเดือน ธันวาคมปีนี้ และจะกลายเป็นสมบัติสาธารณะทันที รัฐเองไม่มีสิทธิระงับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่อีกต่อไป เนื่ อ งจากหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ผยแพร่ อุ ด มการณ์ ท างสั ง คม และการเมืองของฮิตเลอร์ ชาวเยอรมันและผู้คนทั่วโลก เป็นห่วงว่าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือส�ำหรับพวกหัวรุนแรง และพวกต่อต้านชาวยิว เช่นที่เคยเกิดโศกนาฏกรรม มาแล้วในอดีต ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างนักประวัติศาสตร์ของ ห้องสมุดรัฐบาวาเรียนส์ให้เหตุผลว่า “หนังสือเล่มนี้ อันตรายเกินกว่าที่จะเป็นสิ่งพิมพ์สาธารณะ” เช่นเดียวกับ หัวหน้ากลุ่มชุมชนชาวยิวในเมืองมิวนิคที่บอกว่า “หนังสือ เล่มนี้คือปีศาจอย่างแท้จริง มันเป็นเหมือนแผ่นพับหรือ หนังสือคู่มือที่เลวร้ายที่สุดส�ำหรับหายนะทั้งปวง มัน เหมือนกันกล่องแพนโดร่าที่เมื่อเปิดแล้วครั้งหนึ่งก็จะ ไม่มีทางปิดมันได้อีกเลย” ขณะที่ ท างสถาบั น ประวั ติ ศ าสตร์ ร ่ ว มสมั ย แห่งประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ตีพิมพ์จะใส่เชิงอรรถกว่า 2,000 ค�ำ ประกอบด้วยบทวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับฮิตเลอร์ และพรรคนาซีเยอรมันทั้งหมดเข้าไปด้วย พร้อมเชื่อว่า การตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้อีกครั้งจะเป็นผลดีต่ออนาคต ของประเทศชาติ หากคนในชาติกล้าเผชิญหน้ากับอดีต มันมีประโยชน์อย่างมากที่จะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ อย่างถ่องแท้ และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่ เจ็บปวดขึ้นอีก

ยืนยันแล้วว่า ฮาร์เปอร์ ลี นักเขียนรางวัลพูลิตเซอร์ ในปี 1961 จากนิยายเล่มแรกและเล่มเดียวเรื่อง To Kill A Mockingbird มีก�ำหนดการจะคลอดนิยายเรื่องที่สอง ในกรกฎาคมปีนี้ หลังจากนักอ่านรอคอยกันมาอย่าง ยาวนานกว่า 50 ปี To Kill a Mockingbird ว่าด้วยเรื่องราว ของ สเกาต์ ฟินช์ เด็กหญิงหัวขบถ และ แอตติคัส ฟินช์ ทนายความผู้เปี่ยมคุณธรรม กับเรื่องราวการต่อสู้เพื่อ ปกป้องความยุติธรรมในสังคม ส่วนนิยายเล่มใหม่ชื่อ Go Set a Watchman เล่มนี้ด�ำเนินเรื่องโดยใช้ตัวละคร

ของท่านผู้น�ำ ก�ำลังจะกลับมา

ที่มา: bustle.com

เดิมจาก To Kill ฟ Mockingbird แต่เป็นเหตุการณ์ใน อีก 20 ปีถัดมา เมื่อ สเกาต์ ฟินช์ เติบโตขึ้นเป็นหญิงสาว ผู้ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์ก กลับมาเยี่ยมพ่อที่ บ้านเกิด เมืองอะลาบามาอีกครั้ง และต้องเผชิญหน้ากับ ประเด็นเรื่องทัศนคติที่ขัดแย้งกับตัวละครพ่อและผู้คนที่ อยู่ในสภาพสังคมที่แตกต่างกัน ฮาร์เปอร์ ลี ในวัย 88 ปี เผยว่า เธอคิดว่า ต้นฉบับเรื่องนี้หายสาบสูญไปแล้ว และเป็นที่น่าประหลาดใจ และน่ายินดีมากที่เพื่อนและทนายของเธอไปค้นพบ มันเข้า เมื่อพิจารณาแล้วว่าเรื่องราวนิยายเป็นงานเขียน มีคุณค่าพอที่จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน ฮาร์เปอร์ ลี จึง ตัดสินใจน�ำผลงานออกมีตีพิมพ์ ซึ่งฮาร์เปอร์ยืนยันว่า Go Set a Watchman จะถูกตีพิมพ์ตามต้นฉบับเดิมที่ ถูกเขียนเมื่อ 60 ปีที่แล้ว โดยไม่มีการดัดแปลงเนื้อหาแต่ อย่างใด ตลอดชีวิตเธอก็หลีกเลี่ยงการพบปะสื่อมวลชน มาโดยตลอด และแน่นอนว่าไม่เคยคิดเรื่องการกลับมา สร้างงานเขียนชิ้นใหม่จนกระทั่งตอนนี้ ที่มา: buzzfeed.com

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ตั้งเป้าให้ปี 2015 เป็น ‘ปีแห่งหนังสือ’ พบเรื่องสั้น

Sherlock Homes

ที่สาบสูญ ของ

Conan Doyle คนส่วนใหญ่มักจะเจอฝุ่น หรือถ้าคุณโชคดีมากหน่อย ก็อาจเจอคอลเลกชั่นตุ๊กตาเซรามิกเก่าๆ พังๆ ในห้อง ใต้หลังคา แต่ วอลเตอร์ อิลเลียต นักประวัติศาสตร์ชาว สก็อตแลนด์รื้อค้นห้องใต้หลังคาเพื่อหาบางสิ่ง แต่แล้ว ก็พบกับบางอย่างน่าเหลือเชื่อ เขาพบต้นฉบับเรื่องสั้น Sherlock Holmes: Discovering the Border Burghs and, by Deduction, the Brig Bazaar ที่ เซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ ประพันธ์เอาไว้เมื่อปี 1904 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ในชุ ด เรื่ อ งสั้ น ที่ ถู ก เขี ย นขึ้ น เพื่ อ ระดมทุ น ไปปรั บ ปรุ ง สะพานแบนเนอร์ฟิลด์ในเมืองเซลเคิร์ก ประเทศสก็อตแลนด์ หลังจากที่สะพานแห่งนี้ถูกรื้อถอนไปในปี 1902 ต้ น ฉบั บ ที่ พ บเป็ น เรื่ อ งราวช่ ว งที่ ห มอวั ต สั น (ตัวละครคู่หูไขคดีของโฮล์มส) ก�ำลังเดินทางไปที่เมือง เซลเบิร์กเพื่อน�ำสืบคดีที่น่าตื่นเต้น เชื่อกันว่าเรื่องสั้นชิ้นนี้ ถือเป็นเรื่องล่าสุดของเซอร์ อาเธอร์ ดอยล์ หลังจากเรื่อง สุดท้ายถูกตีพิมพ์ไปตั้งแต่ 80 ปีก่อน ที่มา: shortlist.com

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง Facebook ตั้งเป้าหมายให้ปี 2015 เป็น ‘ปีแห่งหนังสือ’ ซึ่งเขาเชิญ ชวนผู้ใช้เฟซบุ๊กร่วมกันอ่านหนังสือ โดยมีเป้าหมายว่าจะ อ่านหนังสือเล่มใหม่ทุกสองสัปดาห์ และจะน�ำมาแนะน�ำ ผ่านแฟนเพจชื่อ A Year of Books เขาหวังจะให้เป็น ชุมชนคนรักหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก จุดมุ่งหมายใน การอ่านหนังสือนั้นเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ แตกต่าง, ความเชื่อ, ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยี หนั ง สื อ เล่ ม แรกที่ ซั ก เคอเบิ ร ์ ก เลื อ กอ่ า นชื่ อ ว่า The End of Power เขียนโดย Moisés Naím อดีต ผู้อ�ำนวยการธนาคารโลก ชาวเวเนซุเอลา สาเหตุที่เลือก เล่มนี้ เขาให้เหตุผลว่า “เพราะมันตรงกับแนวคิดเรื่องอ�ำนาจ กับบุคคล ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นการค้นพบวิธีเปลี่ยนถ่าย อ�ำนาจจากเดิมที่ขึ้นอยู่แต่กับหน่วยงานใหญ่ๆ ไม่ว่าจะ เป็นรัฐบาล กองทัพ หรือองค์กรต่างๆ ให้มาสู่ประชาชน คนทั่วไปมากขึ้น” ที่มา: theguardian.com

11


Translated Literature

Eveline เอเวลี น

เจมส์ จอยซ์ เขียน l ต้องตา สุธรรมรังษี แปล แปลจาก Eveline เรื่องสั้นในชุด Dubliners

12

นั่งอยู่ริมหน้าต่างขณะเฝ้ามองยามเย็นรุกไล่เข้ามาตามถนนเส้นนั้น พิงศีรษะกับผ้าม่านขณะได้กลิ่นฝุ่นจากผ้าฝ้ายผืนหนา เธอเหนื่อยนัก มีคนเดินผ่านไปมาเพียงไม่กี่คน ชายที่อยู่บ้านหลังสุดท้ายเดินผ่านไประหว่างกลับบ้าน ของเขา; เธอได้ยินเสียงฝีเท้าของเขากระทบไปตามพื้นทางเดินคอนกรีต หลังจากนั้น ก็บดย�่ำลงบนพื้นกรวดหน้าบ้านเรือนแดงซึ่งสร้างขึ้นใหม่ สมัยก่อนที่นั่นเคยเป็นทุ่งหญ้า ซึ่งพวกเธอเคยเข้าไปวิ่งเล่นกับเด็กบ้านอื่นทุกเย็น แต่ต่อมาชายคนหนึ่งจากเมือง เบลฟาสต์ก็ซื้อทุ่งนั้นไปและสร้างบ้านขึ้นมาหลายหลัง – บ้านเหล่านั้นไม่เหมือน บ้านหลังเล็กสีน�้ำตาลของพวกเธอ แต่เป็นบ้านอิฐสีสันสดใสที่มีหลังคาส่องประกาย แวววาว พวกเด็กๆ ย่านนั้นเคยเล่นด้วยกันในท้องทุ่งดังกล่าว – ไม่ว่าจะเป็นลูกบ้าน ดีไวนส์ ลูกบ้านวอเทอร์ส ลูกบ้านดันนส์ เจ้าเด็กพิการที่ชื่อคีโอ รวมทั้งเธอและพวก พี่น้องชายหญิงทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม เออร์เนสต์ไม่เคยมาเล่นด้วย: เขาโตเป็นหนุ่ม แล้ว พ่อของเธอเคยถือไม้เท้าสีด�ำด้ามขรุขระไล่ตามพวกเธอที่ทุ่งหญ้านั้นอยู่บ่อยๆ; โดยมีเจ้าหนูคีโอคอยดูต้นทางให้และตะโกนบอกทุกคนเมื่อเขาเห็นพ่อของเธอมา อย่างไรก็ตาม มันเป็นช่วงเวลาที่พวกเธอก็ดูมีความสุขดี พ่อของเธอไม่แย่มากนักใน สมัยนั้น แม่ก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่นั่นก็นานมาแล้ว; เธอกับพวกพี่น้องชายหญิงโตกัน หมดหลังจากแม่ตาย ทิซซี ดันน์ ก็ตายไปแล้วเช่นกัน ส่วนครอบครัววอเทอร์สก็กลับ ประเทศอังกฤษ ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไป ตอนนี้เธอจะไปจากที่นี่เหมือนเช่นคนอื่นๆ ไปจากบ้านหลังนี้ บ้าน! เธอมองทั่วห้อง ส�ำรวจตรวจตราสิ่งของที่คุ้นตาทั้งหมดภายในนั้น ซึ่งเธอปัดฝุ่นสัปดาห์ละหนตลอดหลายปีที่ผ่านมา แล้วก็นึกสงสัยว่าฝุ่นผงพวกนี้ มาจากไหน บางทีเธออาจจะไม่ได้เห็นสิ่งของคุ้นตาเหล่านี้อีก ทั้งที่เธอไม่เคยนึกว่า จะมีวันจากพวกมันไป แต่ในช่วงหลายปีมานี้ เธอก็ไม่เคยได้รู้ชื่อของบาทหลวงใน รูปถ่ายสีเหลืองซีดซึ่งแขวนบนผนัง อยู่เหนือออร์แกนขนาดเล็กที่ใช้ไม่ได้แล้ว มันอยู่ ข้างกระดาษพิมพ์สีระบุค�ำสัญญาที่มีต่อมาร์กาเร็ต แมรี่ อลาค็อก เขาเคยเป็นเพื่อน สมัยเรียนของพ่อเธอ เมื่อใดก็ตามที่เขาเอารูปถ่ายนี้ให้ผู้มาเยี่ยมเยือนดู พ่อของเธอก็ มักจะยื่นให้พร้อมกับพูดอย่างเรียบง่ายว่า: “ตอนนี้เขาอยู่ที่เมลเบิร์น” เธอได้ตัดใจแล้วว่าจะไปให้ไกล ไปจากบ้านของเธอ เป็นความคิดที่ฉลาด หรือเปล่านะ เธอพยายามชั่งน�้ำหนักระหว่างสองด้านของค�ำถามนั้น อย่างไรเสียถ้า อยู่บ้าน เธอก็มีที่คุ้มศีรษะและมีอาหาร; เธอมีผู้คนที่รู้จักคุ้นเคยมาทั้งชีวิต แน่นอน เธอต้องท�ำงานหนักทั้งในบ้านและที่ท�ำงาน พวกในร้านจะพูดถึงเธอว่าอย่างไร เมื่อ รู้ว่าเธอหนีไปกับผู้ชายคนหนึ่ง คงจะบอกว่าเธอโง่; และจะประกาศรับสมัครคนมา ท�ำงานแทนเธอ มิสเกแวนคงจะดีใจ หล่อนเป็นคนช่างติ โดยเฉพาะเวลาที่มีคนฟัง

“มิสฮิลล์ ไม่เห็นหรือว่าสุภาพสตรีเหล่านี้ก�ำลังรออยู่” “ท�ำหน้าให้สดใสหน่อยสิ มิสฮิลล์” เธอคงไม่เสียน�้ำตามากนักหากต้องไปจากร้านนี้ แต่ในบ้านหลังใหม่ของเธอ ไกลแสนไกลในประเทศที่ไม่มีใครรู้จัก มันจะ ไม่เป็นเช่นนั้น แล้วเธอก็จะแต่งงาน – เธอ เอเวลีน ถึงตอนนั้นผู้คนจะปฏิบัติต่อเธอ ด้วยความเคารพ เธอจะไม่ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นที่มารดาของเธอเคยเจอ แม้กระทั่ง ตอนนี้ แม้ว่าเธอจะอายุเกินสิบเก้าปีแล้ว บางครั้งเธอก็รู้สึกว่าตนเองตกอยู่ในเงื้อมเงา อันตรายแห่งความร้ายกาจของพ่อ เธอรู้ว่าเรื่องนั้นแหละที่ท�ำให้เธอตัวสั่นเทาด้วย ความกลัว สมัยที่เธอกับพวกพี่น้องยังเด็ก เขาไม่เคยเล่นงานเธอเหมือนอย่างที่เขา เคยเล่นงานแฮร์รี่กับเออร์เนสต์ เพราะว่าเธอเป็นเด็กผู้หญิง แต่หลังๆ มานี้เขาเริ่ม ข่มขู่เธอ และกล่าวว่าเขาจะท�ำอะไรกับเธอ เหมือนที่ท�ำกับแม่ที่ตายไปแล้วบ้าง และ ไม่มีใครที่จะปกป้องเธอได้ เออร์เนสต์ตายไปแล้ว ส่วนแฮร์รี่ก็ยุ่งกับธุรกิจตกแต่ง โบสถ์อยู่ที่ไหนสักแห่งในชนบทแทบตลอดเวลา นอกจากนี้ การทะเลาะเรื่องเงินๆ ทองๆ อยู่เนืองนิตย์ทุกคืนวันเสาร์เริ่มท�ำให้เธอทดท้ออย่างบอกไม่ถูก เธอมักจะมอบ ค่าแรงให้เขาทั้งหมด – จ�ำนวนเจ็ดชิลลิง – และแฮร์รี่มักจะส่งเงินเท่าที่จะส่งให้ได้มา แต่ที่ยากก็คือการขอเงินคืนจากพ่อของเธอ เขาบอกว่าเธอใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย บอกว่า เธอไม่มีหัวคิด บอกว่าเขาจะไม่ให้เธอเอาเงินที่เขาหามาได้อย่างยากล�ำบากไปถลุงเล่น และอีกสารพัดจะกล่าว เพราะปกติเขาจะอารมณ์เสียมากในคืนวันเสาร์ ท้ายที่สุด แล้วเขาก็จะให้เงินเธอและถามว่าเธอตั้งใจจะซื้ออาหารค�่ำส�ำหรับวันอาทิตย์บ้าง หรือไม่ จากนั้นเธอก็ต้องกุลีกุจอออกไปให้เร็วที่สุดเพื่อจ่ายตลาด ถือกระเป๋าหนัง สีด�ำในมือไว้แน่นขณะเบียดเสียดฝ่าผู้คนและกลับมาบ้านในเวลาค�่ำมืดพร้อมกับ เสบียงจ�ำนวนมาก เธอท�ำงานหนักเพื่อประคับประคองบ้านนี้เอาไว้ และดูแลเด็ก สองคนที่ถูกทิ้งให้เป็นภาระของเธอได้ไปโรงเรียนเป็นประจ�ำ มีอาหารอิ่มท้องทุกมื้อ ช่างเป็นงานที่หนักหนา – เป็นชีวิตที่ยากล�ำบาก – แต่พอเธอคิดจะทิ้งชีวิตนี้ไป เธอกลับ รู้สึกว่ามันก็ไม่ได้เลวร้ายไปเสียทั้งหมด เธอก�ำลังจะไปส�ำรวจชีวิตใหม่กับแฟรงก์ แฟรงก์ใจดีมาก เป็นสุภาพบุรุษ และมีเมตตา เธอจะหนีไปกับเขาด้วยเรือเที่ยวกลางคืนเพื่อไปเป็นภรรยาของเขา และอยู่ กับเขาที่บัวโนสไอเรส เพราะเขามีบ้านรอคอยเธออยู่ที่นั่น เธอจ�ำครั้งแรกที่เห็นเขา ได้อย่างแม่นย�ำ; เขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังหนึ่งบนถนนหลักซึ่งเธอเคยแวะไปเยี่ยม เหมือนมันเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์นี้เอง เขายืนอยู่ที่ประตูรั้ว หมวกทรงสูงถูกผลักไป ด้านหลังศีรษะ และเส้นผมก็ปรกลงมาระใบหน้าสีทองแดง จากนั้นทั้งคู่ก็ได้รู้จักกัน เขาเคยมาพบเธอนอกร้านทุกๆ เย็น และพาเธอมาส่งที่บ้าน เขาพาเธอไปดูละคร เวทีเรื่อง เดอะโบฮีเมียน เกิร์ล เธอรู้สึกมีความสุขมากขณะนั่งอยู่กับเขาในต�ำแหน่ง


Translated Literature

Dubliners by James Joyce

ของโรงละครที่เธอไม่เคยได้นั่งมาก่อน เขารักดนตรียิ่งนักและร้องเพลงบ้างเล็กน้อย ผู้คนรู้ว่าทั้งคู่ก�ำลังคบหาดูใจกันอยู่ และเมื่อเขาร้องเพลงเกี่ยวกับหญิงสาวที่หลงรัก หนุ่มกะลาสี เธอก็มักจะรู้สึกชื่นชอบแบบไม่เข้าใจเท่าไรนัก เขาเคยเรียกเธอเล่นๆ ว่า พ็อพเพนส์ ก่อนอื่นมันเป็นความตื่นเต้นส�ำหรับเธอที่ได้เพื่อนมาอีกคน และจากนั้น เธอก็เริ่มชอบเขา เขามีเรื่องเล่ามากมายจากแดนไกล เขาเริ่มต้นเป็นด้วยการเป็น เด็กเฝ้าดาดฟ้าเรือ ได้เงินเดือนละหนึ่งปอนด์บนเรือของบริษัทอัลลันไลน์ซึ่งล่องไปยัง ประเทศแคนาดา เขาบอกชื่อเรือต่างๆ ที่เขาเคยขึ้นและชื่อของต�ำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ให้ เธอฟัง เขาเคยล่องผ่านช่องแคบแมกเจลแลน และเขาเคยเล่าเรื่องราวของชาวปาตาโกเนียผู้น่ากลัว เขาบอกว่าเขาลงหลักปักฐานอยู่ที่บัวโนสไอเรส และกลับมายังประเทศ บ้านเกิดเพื่อพักผ่อนในวันหยุดเท่านั้น แน่นอนที่สุด พ่อของเธอล่วงรู้ความสัมพันธ์ ของเธอเข้า และสั่งห้ามไม่ให้เธอติดต่อกับเขาอีก “พ่อรู้จักสันดานกะลาสีพวกนี้” เขากล่าว วันหนึ่งเขาทะเลาะกับแฟรงก์และหลังจากนั้นเธอก็ต้องคอยลอบพบชาย คนรักอย่างลับๆ เวลาเย็นกินลึกเข้ามายังถนนสายนั้น สีขาวของจดหมายสองฉบับซึ่งวางอยู่ บนตักของเธอดูเด่นชัดมากขึ้น ฉบับหนึ่งส�ำหรับแฮร์รี่; ส่วนอีกฉบับให้พ่อ เออร์เนสต์ เคยเป็นคนโปรดของเธอ แต่เธอก็ชอบแฮร์รี่ด้วยเหมือนกัน ช่วงหลังมานี้พ่อของเธอ แก่ลงไปมาก เธอสังเกตเห็นเช่นนั้น; เขาจะต้องคิดถึงเธอแน่ บางครั้งเขาก็ใจดีมาก เหมือนกัน ก่อนหน้านี้ไม่นาน ตอนที่เธอนอนแซ่วอยู่บนเตียงทั้งวัน เขาอ่านเรื่องผีให้ เธอฟังและปิ้งขนมปังให้เธอกิน อีกวันหนึ่งตอนที่แม่ยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาทั้งหมดไป พักผ่อนกันที่ฮิลล์ออฟฮาวธ์ เธอจ�ำได้ว่าพ่อสวมหมวกสตรีแบบผูกใต้คางของแม่เพื่อ ให้ลูกๆ หัวเราะ เวลาของเธอลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่เธอก็ยังนั่งอยู่ข้างหน้าต่าง ขณะพิงศีรษะ กับผ้าม่านและสูดกลิ่นผ้าซึ่งเต็มไปด้วยฝุ่น ไกลออกไปบนถนนเส้นนี้ เธอได้ยินเสียง เครื่องดนตรีออร์แกนแบบมือหมุนก�ำลังเล่นอยู่ เธอรู้จักบรรยากาศแบบนี้ แปลกดีที่ มันต้องบังเกิดในค�่ำคืนนั้นเพื่อเตือนให้เธอนึกถึงค�ำสัญญาที่เธอมีต่อแม่ ค�ำสัญญา ของเธอที่จะประคับประคองบ้านหลังนี้ไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะสามารถ เธอจ�ำคืนสุดท้าย ที่แม่ป่วยได้; เธออยู่ในห้องมืดๆ ปิดทึบซึ่งอยู่อีกฝั่งของทางเดินในบ้านอีกครั้ง และ เธอได้ยินบรรยากาศเศร้าสร้อยของประเทศอิตาลีแว่วมาจากข้างนอก คนเล่นออร์แกน ถูกสั่งให้ไปไกลๆ โดยได้รับเงินหกเพนนีตอบแทน เธอจ�ำได้ว่าพ่อของเธอเดินวางมาด กลับเข้ามาในห้องคนป่วยพร้อมกับพูดว่า; “พวกอิตาเลียนเฮงซวย! มากันถึงที่นี่!” ขณะที่ครุ่นคิดถึงภาพน่าสังเวชของชีวิตผู้เป็นแม่ซึ่งมีผลกระทบต่อแก่นแท้

แห่งตัวตนของเธอ - ชีวิตแห่งการเสียสละที่เห็นอยู่บ่อยครั้งและก�ำลังจะเข้าสู่ความบ้าคลั่งครั้งสุดท้าย ร่างเธอสั่นเทาเมื่อได้ยินเสียงของแม่อีกครั้งซึ่งพูดซ�้ำต่อเนื่องอย่างไร้สติ: “เดเรวอน เซรอน! เดเรวอน เซรอน!” เธอผุดลุกด้วยความตระหนก หนีไป! เธอต้องหนีไป! แฟรงก์จะช่วยเธอ เขาจะมอบชีวิตให้แก่เธอ และอาจมอบความรักให้เธอด้วย แต่เธออยากมีชีวิต ท�ำไม เธอจะต้องอยู่อย่างไม่มีความสุข เธอมีสิทธิ์ที่จะมีความสุข แฟรงก์จะโอบกอดเธอไว้ ในอ้อมแขน ปกป้องเธอไว้ในอ้อมแขน เขาจะช่วยชีวิตเธอ เธอยืนอยู่ท่ามกลางฝูงชนคลาคล�่ำในสถานีรถไฟที่นอร์ธวอลล์ เขาจับมือ เธอไว้และเธอรู้ว่าเขาก�ำลังพูดกับเธออยู่ พูดบางอย่างเกี่ยวกับการโดยสารทางเรือ ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า สถานีนี้มีทหารพร้อมกระเป๋าเดินทางสีน�้ำตาลยืนอยู่เต็มไปหมด เธอมอง ทะลุประตูบานกว้างของตัวอาคาร และแอบเห็นเสากระโดงสีด�ำของเรือล�ำที่จอด เทียบอยู่ข้างๆ ผนังท่าเรือ มันมีช่องหน้าต่างตรงท้องเรือซึ่งมีแสงไฟส่องสว่าง เธอไม่ ตอบเขาสักค�ำ เธอรู้สึกว่าแก้มของเธอซีดขาวและเย็นเฉียบอันเป็นผลจากความเครียด เธอภาวนาขอให้พระเจ้าช่วยชี้ทางให้แก่เธอ แสดงให้เธอเห็นว่าหน้าที่ของเธอคืออะไร เรือส่งเสียงหวูดยาวครวญคร�่ำท่ามกลางสายหมอก ถ้าเธอไป วันพรุ่งนี้เธอก็จะอยู่ใน ท้องทะเลกับแฟรงก์ โดยสารเรือกลไฟไปสู่บัวโนสไอเรส ทั้งคู่จับจองที่นั่งไว้แล้ว เธอยัง ถอนตัวได้ไหมในเมื่อเขาได้จัดเตรียมทุกอย่างนี้ให้เธอหมดแล้ว แต่ความเครียดก็ ปลุกอาการคลื่นไส้ขึ้นมาในร่างกาย เธอขยับริมฝีปากขมุบขมิบ สวดภาวนาเงียบๆ ด้วยแรงศรัทธา เสียงระฆังดังกึกก้องในหัวใจของเธอ เธอรู้สึกว่าเขาจับมือเธอไว้: “มาเถอะ!” มหาสมุทรทั้งมวลบนโลกใบนี้ปั่นป่วนอยู่ในใจ เขาก�ำลังจะดึงเธอไปหา พวกมัน: เขาจะท�ำให้เธอจมน�้ำตาย เธอจึงใช้มือทั้งสองข้างยึดจับราวเหล็กไว้แน่น “มาเถอะ!” ไม่นะ! ไม่! ไม่! มันเป็นไปไม่ได้ มือของเธอจับเหล็กไว้อย่างลนลาน ขณะ อยู่ท่ามกลางท้องทะเลทั้งปวง เธอเปล่งเสียงร้องออกมาด้วยความทุกข์ทรมาน “เอเวลีน! เอฟวี่!” เขาเร่งฝีเท้าไปอยู่อีกฝั่งของรั้วกั้นพร้อมกับส่งเสียงเรียกให้เธอตามมา ผู้คนพากันตะโกนเร่งให้เขาเดินต่อ แต่เขาก็ร้องเรียกเธออยู่เช่นเดิม เธอจ้องมองเขา ด้วยใบหน้าขาวซีดและไร้ความรู้สึกราวกับสัตว์ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ดวงตาของเธอ ไม่มีวี่แววของความรักหรือการจากลาหรือว่าจดจ�ำเขาได้เลย

13


Screen Reader

เรื่อง โจ วรรณพิณ

Manuscripts Donʼt Burn ต้นฉบับไม่มีวันมอดไหม้

14

anuscripts Don't Burn เป็นหนังที่มีหลายสิ่งให้ความรู้สึกแปลกประหลาด เช่น ตอนจบไม่มีรายชื่อคนท�ำงาน เพราะเกรงว่าทีมงานจะเป็นอันตราย แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังต้องห้ามที่คนอิหร่านไม่ได้ดู แต่เสรีนิยมทั่วโลกก�ำลัง จับตามอง มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณพ่อลูกป่วยที่รับจ้างฆ่าคน แล้วจัดฉากให้เหมือนเหยื่อ ฆ่าตัวตาย โดยมีผู้ว่าจ้างเป็นหน่วยงานข่าวกรองของรัฐบาลอิหร่านและเหยื่อของเขา คือ นักเขียน ปัญญาชนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับรัฐ หนังเปิดเรื่องด้วยการให้ผู้ชมปะติดปะต่อเอง จากบทสนทนาของคู่หูนักฆ่า คอสโร กับ มอร์เทซา ขณะที่คอสโรหมกมุ่นกับความคิดที่ว่าบาปของเขาจะไปตก กับลูกที่ป่วยหรือไม่ แต่มอร์เทซากลับท�ำตัวตามสบายกว่า เขาเชื่อว่าตนเองท�ำสิ่งที่ ถูกต้องแล้วในสายตาพระเจ้า เขาบอกว่าใครก็ตามที่ก�ำลังฝ่าฝืนกฎหมายชะรีอะฮ์ และเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ผู้นั้นย่อมสมควรโดนพระเจ้าลงโทษ บางทีคนเราก็อ้าง ศาสนาเพื่อเข้าข้างความคิดตัวเอง โดยที่ไม่รู้เลยว่าสิ่งที่เขาท�ำนั้นจะท�ำให้ผู้อื่นเข้าใจ ศาสนาผิด แล้วหนังก็ตัดสลับกลับมาเล่าเรื่องของเหยื่อ ซึ่งเป็นเรื่องของฝั่งนักคิด นักเขียนที่ก�ำลังรอลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศและมีชีวิตอยู่กับความกลัวว่าจะโดนฆ่า ปิดปากเมื่อไหร่ก็ได้ มิอาจท�ำนายโชคชะตา พวกเขาก�ำลังหาทางตีพิมพ์บันทึกจาก ประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับตนเองเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน ตอนที่กลุ่มนักเขียนโดน รัฐบาลสั่งฆ่า โดยสร้างสถานการณ์ว่ารถโดยสารที่พวกเขานั่งมาเกิดอุบัติเหตุตกเขา ขณะเดินทางไปสัมมนาวรรณกรรม ผู้ก�ำกับ โมฮัมหมัด ราซูลอฟ เขียนบทเรื่องนี้จากเรื่องจริงที่เกิดขึ้น ในอิหร่านช่วงปลายยุค 80s ถึง 90s ยุคที่มีนักคิด นักเขียน ปัญญาชนซึ่งคอยวิพากษ์ วิจารณ์รัฐบาลในสมัยนั้นกว่า 80 คนถูกรัฐบาลสั่งฆ่า เป็นยุคที่อิหร่านมีการฝัง บัณฑิต เผาต�ำราอย่างต่อเนื่อง ชีวิตจริงของผู้ก�ำกับราซูลอฟเองก็น่าสนใจไม่แพ้ พล็อตหนัง หลังจากถูกกดดันกลั่นแกล้งจากรัฐบาล และศาลตัดสินให้จ�ำคุกอย่าง อยุติธรรม ถูกห้ามแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อสังคม ถูกแบนโดยห้ามท�ำหนังเป็นเวลา 20 ปี แต่ Manuscripts Don't Burn เป็นหนังเรื่องที่ 5 ของเขานับตั้งแต่โดนค�ำสั่งศาล ดูเหมือนการสร้างหนังจะเป็นวิธีการตอบโต้รัฐบาลอันเจ็บแสบที่ราซูลอฟและผองเพื่อน เลือกใช้ หนังทุกเรื่องของเขาโกยรางวัลจากเทศกาลหนังนานาชาติ และตอนที่ Manuscripts Don't Burn มีชื่อได้เข้าร่วมฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ในปี 2013 นั้น เขายังต้องปกปิดชื่อ ราซูลอฟ โดยใช้ชื่อว่า ‘ทีมงานนิรนาม’ มาบัดนี้ ดูเหมือน สถานการณ์ของ ราซูลอฟจะคล้ายๆ กับศิลปินจีน อ้ายเว่ยเว่ย นั่นคือพวกเขาเจิดจรัส และเป็นคนจริงเกินกว่าที่รัฐบาลจะก�ำจัดพวกเขาได้โดยง่าย "นี่เป็นยุคมืดของปัญญาชน ในอิหร่าน เสรีภาพสื่อไม่เพียงถูกจ�ำกัด แต่เอากันถึงตาย" ราซูลอฟกล่าว หนังแอบ ถ่ายฉากภายนอกกันในประเทศอิหร่านโดยไม่ได้รับอนุญาต (แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างนั้น)

Manuscripts Don't Burn (Iran,2013)

"นี่เป็นยุคมืดของปัญญาชนในอิหร่าน เสรีภาพสื่อไม่เพียงถูกจ�ำกัด แต่เอากันถึงตาย" และถ่ายฉากภายในตามประเทศต่างๆ ที่ผู้ก�ำกับได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศได้ ซึ่ง เดากันว่าเป็นเยอรมนี ไม่มีใครรู้ว่าทีมงานเป็นใครบ้าง นั่นก็เพื่อความปลอดภัยต่อ ชีวิตและครอบครัวของคนท�ำงานทุกคน หากใครเป็นแฟนหนังอิหร่าน คงสังเกตได้ว่า หนังอิหร่านจะไม่มีผู้ร้าย เช่น The White Balloon (1995), Children of Heaven (1997), The Circle (2000) แต่ใน Manuscripts Don't Burn กลับมี ถึงเวลาแล้ว ที่ศิลปินจะเอาคืนจากการถูกกดขี่ข่มเหงที่มีมาตลอดหลายสิบปี และดูเหมือนการ เอาคืนครั้งนี้จะท�ำให้โลกเสรีนิยมหันกลับมามองการเซ็นเซอร์สื่อและการฆาตกรรม ศิลปินในประเทศอิหร่านอย่างจริงจังอีกครั้ง ศิลปะไม่มีวันตายฉันใด ต้นฉบับก็ไม่มีวันมอดไหม้ฉันนั้น *ชื่อหนัง Manuscripts Don't Burn หรือ ‘ต้นฉบับไม่มีวันมอดไหม้’ หยิบยืมมาจาก วรรณกรรมวิพากษ์การเมืองรัสเซียชื่อ The Master & Margarita เขียนโดย มิคาอิล บูลกาคอฟ แปลเป็นภาษาไทยโดย นพดล เวชสวัสดิ์ จัดพิมพ์โดย ส�ำนักพิมพ์เอิร์นเนสต์


เรื่อง อติภพ ภัทรเดชไพศาล

Re-Sound

Edward Bellamy มองกลับ (Looking Backward) เอ็ดเวิร์ด เบลลามี เขียน l พันทิพา บูรณมาตร์ แปล วัติศาสตร์ของดนตรีตะวันตก หรือที่เรามักเรียกกันว่า ‘ดนตรี คลาสสิก’ มีจุดเริ่มต้นจากดนตรีเพื่อพิธีกรรมในศาสนาคริสต์ แล้ว จึงเคลื่อนสถานะมาเป็นดนตรีส�ำหรับชนชั้นสูงในราชส�ำนักราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ด้วยอุปกรณ์เครื่องดนตรีและการอุปถัมภ์นักดนตรีที่ต้องใช้เงินจ�ำนวนมาก ดนตรีคลาสสิกจึงไม่ใช่ของสาธารณชนทั่วไป แม้กระทั่งเมื่อเกิดการจัดคอนเสิร์ต เก็บเงินในช่วงปลายคริสต์ศศตวรรษที่ 17 ก็จ�ำกัดผู้ชมอยู่เฉพาะชนชั้นสูงเท่านั้น จนในช่วงราวๆ ปี 1800 ชนชั้นกลางระดับสูงในยุโรปจึงก้าวเข้ามามีส่วน ก�ำกับควบคุมดนตรีด้วย ช่วงเวลานี้เองที่เกิดนักดนตรีอาชีพ (ไม่ขึ้นอยู่กับชนชั้นสูง เป็นผู้อุปถัมภ์อย่างแต่ก่อน) การจัดการแสดงดนตรีเริ่มกลายสภาพเป็นธุรกิจเต็มตัว และเกิดการจัดแสดงคอนเสิร์ตที่หลากหลายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิกยังมีลักษณะค่อนข้างทางการ เต็ม ไปด้วยขนบธรรมเนียม และมารยาทแบบชนชั้นสูง-ชนชั้นกลางระดับสูง ทั้งเรื่องการ แต่งกาย มารยาทการฟังดนตรีอย่างต้ังใจ ไม่พูดคุยกัน ไปจนถึงการปรบมือ นอกจากนั้น ผู้ฟังชนชั้นสูงเหล่านี้ยังนิยมใช้ช่วงเวลาระหว่างการพักครึ่ง (intermission) เพื่อพบปะ พูดจาสังสันทน์กันด้วย จนอาจพูดได้ว่า นอกจากการรับฟังดนตรีที่ไพเราะมีคุณภาพแล้ว การชม คอนเสิร์ตยังเป็นรูปแบบหนึ่งของการ ‘สังสันทน์’ ในหมู่บุคคลชั้นสูง และเป็นสถานที่ ใช้แสดงอ�ำนาจและความเป็นผู้น�ำรสนิยมทางดนตรี จูเลียน เวสต์ (ตัวละครเอกในนวนิยายเรื่อง Looking Backward ของ เอ็ดเวิร์ด เบลลามี) ผู้นอนหลับไปในปี 1887 และตื่นขึ้นอีกครั้งในปี 2000 จึงต้อง ประหลาดใจเป็นอันมาก เมื่อพบว่าในโลกคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ผู้คนไม่จ�ำเป็น ต้องไปสังสันทน์และฟังดนตรีในคอนเสิร์ตอีกต่อไปแล้ว แต่สามารถรับฟังผ่านสาย โทรศัพท์ในสถานที่พักอาศัยส่วนบุคคลได้อย่างง่ายดาย เธอบอกให้ข้าพเจ้านั่งลงและท�ำตัวให้สบาย ส่วนตัวเธอเองเดินข้ามไป อีกฟากหนึ่งของห้อง เธอเพียงแต่แตะปุ่มหนึ่งหรือสองปุ่ม ทันใดนั้น ห้องทั้งห้องก็ กระหึ่มไปด้วยเสียงเพลงจากออร์แกนใหญ่... ข้าพเจ้าไม่เคยนึกฝันมาก่อนเลยว่าจะได้ยินได้ฟังเสียงเพลงที่แสนจะ ไพเราะอย่างสมบูรณ์แบบเช่นนี้ (หน้า 149) อีดิธ ตัวละครหญิงในปี 2000 อธิบายให้เวสต์ฟังว่า ประชาชนทุกคนใน บอสตันสามารถฟังคอนเสิร์ตได้ ณ บ้านพักอาศัยส่วนตัว ผ่านเสียงตามสายโดยเสีย ค่าบริการในอัตราที่ต�่ำมาก อีกทั้งโปรแกรมเพลงที่น�ำออกแสดงก็มีมากและหลากหลาย ซึ่งผู้ฟังสามารถเลือกฟังได้ตามใจชอบจากแผ่นแสดงรายการประจ�ำวัน แนวคิดเรื่องเสียงตามสายไม่ใช่เรื่องใหม่ในสมัยของเบลลามี เนื่องจากได้มีการทดลอง ส่งเสียงดนตรีโดยใช้สายโทรศัพท์ในงาน Paris Exposition internationale d'électricité ตั้งแต่ปี 1881 แล้ว โดย Tivadar Puskás (1844-1893) วิศวกรชาวฮังกาเรียน ผู้เคยร่วมงานกับ Thomas Alva Edison โดยครั้งนั้นเป็นการพยายามถ่ายทอดเสียง ดนตรีจาก Paris Opera House มายังสถานที่จัดงานนิทรรศการ อย่างไรก็ตาม การ ทดลองนั้นประสบความล้มเหลว เนื่องจากเทคโนโลยีการขยายเสียงยังไม่ได้รับการพัฒนา ส่งผลให้เสียงที่ถ่ายทอดมายังนิทรรศการมีคุณภาพที่ใช้ ไม่ได้

ส�ำนักพิมพ์สมมติ, 2555

เสียงดนตรีในโลกยูโทเปียของ เอ็ดเวิร์ด เบลลามี

ส่วนการพบปะสังสันทน์ของชนชั้นสูงในคอนเสิร์ตก็ไม่ใช่เรื่องจ�ำเป็นอีก ต่อไปใน ปี. 2000 เนื่องจาก “ในสมัยปัจจุบัน เรามีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน และให้โอกาส ทางการศึกษาอบรมอย่างเท่าเทียมกัน เราจึงกลายเป็นสังคมที่มีชนชั้นเดียว ประชาชน ทุกคนเป็นสมาชิกของชนชั้นนี้” (ค�ำอธิบายของ ดร. ลีท ต่อ จูเลียน เวสต์; หน้า 197) และการพบปะสังสันทน์ของ ‘ชนชั้นเดียวกัน’ ทั้งสังคมนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นใน คอนเสิร์ต และไม่เกิดขึ้นกระทั่งในโบสถ์ (การเทศน์สามารถรับฟังได้ที่บ้านเช่นเดียว กับการแสดงดนตรี) แต่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอาหารเย็น ในห้องอาหารรวม ซึ่ง - เป็นที่ ชุมนุมสังสรรค์ และที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาคมในละแวกนั้น และเป็นอัครมหา สถานให้ความบันเทิงที่เพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอ�ำนวยความสะดวกสบายทุกประการ (หน้า 199) นอกเหนือจากนั้น จินตนาการถึงเสียงดนตรีตามสายของเบลลามียังมี ประเด็นส�ำคัญคือ ‘คุณภาพ’ ของเสียงดนตรีด้วย เพราะในปลายศตวรรษที่ 19 ขณะที่ เบลลามีเขียนนวนิยายเรื่องนี้ การฟังคอนเสิร์ตยังเป็นเรื่องจ�ำเป็นเนื่องจากการ บรรเลงดนตรีเพื่อรับฟังกันเองในบ้านโดยมือสมัครเล่นนั้น ถือเป็นการฟังดนตรีที่ไม่มี คุณภาพนัก ดังที่อีดิธกล่าวกับเวสต์ว่า “ในสมัยของคุณ พวกคุณไม่ค่อยมีโอกาสได้ฟังเพลงที่ดีจริงๆ พวกคุณ จึงต้องเล่นดนตรีและร้องเพลงกันเองที่บ้าน ทั้งๆ ที่มีความรู้ทางศิลปะกันในระดับ อนุบาลเท่านั้น” (น. 151) ดังนั้น ดนตรีที่ทั้ง ‘คุณภาพดี’ และ ‘ราคาถูก’ ส�ำหรับให้สาธารณชนทั่วไป ฟังได้อย่างอิสระตามใจชอบ จึงเป็นดนตรีในอุดมคติของโลกยูโทเปียใน Looking Backward แต่ถ้าพิจารณาดูดีๆ จะพบว่า แท้จริงแล้วการฟังดนตรีตามสายโดยที่มี โปรแกรมก�ำหนดมาให้เลือกอย่างในเรื่องก็หาได้เป็นอิสระโดยแท้จริงจากทางเลือก ไม่กี่ทางนั้นไม่ และของ ‘ดี’ ราคา ‘ถูก’ ที่ให้ ‘อิสระ’ มากกว่าเสียงตามสายที่เบลลามี ฝันถึง ก็เกิดขึ้นแล้วในโลกสมัยใหม่ โดยเริ่มขึ้นในรูปแบบของเทคโนโลยีการบันทึก เสียง จากแผ่นครั่ง แผ่นไวนิล เทปคาสเส็ท ซีดี จนกลายมาเป็น YouTube ในปัจจุบัน ของดีราคาถูกในโลกปัจจุบันนี่แหละ สุดท้ายแล้วได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่บ่อนท�ำลายการจัดการดนตรีแบบขนบนิยมของชนชั้นสูง ดังปรากฎว่าวงออร์เคสตรา ทั่วโลกขณะนี้ต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตอย่างหนักหน่วงนั่นเอง

15


Big Review

เรื่อง เวีย สุขสันตินันท์

หากค�่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง

16

ค�่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทาง คนหนึ่ง ของ อิตาโล คัลวีโน เป็น นวนิยายที่มีโครงสร้างแบบ ‘เรื่องเล่าซ้อนเรื่องเล่า’ Embedded Narrative เหมือนพันหนึ่งราตรี ซึ่งเรื่องเล่า ซ้อนแต่ละเรื่องมีเส้นเรื่อง รูปแบบ บรรยากาศ และผู้เล่า ที่แตกต่างกัน การอ่านงานลักษณะนี้จะไม่สามารถ ด�ำเนินไปถึงจุดสิ้นสุดที่แท้จริง เพราะจะมีเรื่องเล่าอื่นมา ซ้อนแทรก แต่มันก็กระตุ้นเร้าให้ผู้อ่านรู้สึกอยากติดตาม เรื่องใหม่ๆ ต่อไปได้เสมอ เรื่องเล่าหลักของหนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องของ ‘คุณ’ นักอ่านผู้ซื้อหนังสือที่มีชื่อว่า ‘หากค�่ำคืนหนึ่งใน ฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง’ ของ อิตาโล คัลวีโน มาอ่าน แต่เมื่ออ่านไปได้ถึงตอนที่ก�ำลังตื่นเต้น ‘คุณ’ กลับต้อง ผิดหวังเมื่อพบว่าหนังสือช�ำรุด ไม่มีบทอื่นๆ ให้อ่านต่อ ‘คุณ’ จึงเดินทางกลับไปที่ร้านหนังสือเพื่อขอเปลี่ยนเล่มใหม่ และพบว่าสิ่งที่ ‘คุณ’ อ่านไปไม่ใช่ ‘หากค�่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง’ แต่เป็นนวนิยายของนักเขียน ชาวโปลิช ด้วยความร้อนรนอยากอ่านต่อ ‘คุณ’ ยอม เปลี่ยนเอานวนิยายเล่มนั้นมาอ่านแทน แต่ก็ต้องผิดหวัง อีกครั้ง เพราะนวนิยายเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเดิมที่อ่านค้างไว้ มิหน�ำซ�้ำมันยังไม่มีตอนจบ การเดินทางออกตามหาตอน จบของหนังสือทั้งสองเล่มนั้นก็เริ่มขึ้น ท�ำให้ ‘คุณ’ ได้พบ หนังสือใหม่ๆ ที่น�ำมาเล่าเป็นเรื่องเล่าซ้อนๆ กันร่วมสิบเรื่อง ถ้าไม่นับความตื่นเต้นที่จะได้อ่านเรื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา และความท้าทายปัญญาในการหาความหมาย และความสัมพันธ์ของเรื่องต่างๆ ความน่าสนใจของ หนังสือเล่มนี้เห็นจะอยู่ที่การเล่นกับประเด็นและสมมติฐานเกี่ยวกับโลกวรรณกรรม ไม่ว่านักเขียน นักอ่าน นักแปล หรือแม้แต่ตัวภาษาเอง ก็ล้วนถูกคัลวีโนน�ำมา ช�ำแหละแกะล่อนให้เราได้วิเคราะห์ใหม่ทั้งสิ้น ทั ศ นะของคั ล วี โ นที่ แ สดงผ่ า นตั ว อั ก ษรที่ ร้อยเรียงกันเป็นนวนิยายชื่อแปลกนี้สอดคล้องกับทัศนะ แบบหลังสมัยใหม่ของนักภาษาศาสตร์และนักปรัชญา อย่าง โรลองด์ บาร์ตส์ เป็นอย่างยิ่ง การเรียกหนังสือ ว่า ‘ตัวบท’ (text) แทน ‘ผลงาน’ (work) ตลอดเรื่องเล่า ได้ลดทอน ‘ความเป็นเจ้าของ’ ของผู้เขียน และเผยให้เห็น การยกย่องสถานะของผู้อ่านซึ่งมีบทบาทส�ำคัญที่สุดต่อ ตัวบท เพราะมีหน้าที่เป็นผู้ก�ำหนดความหมายของมัน เห็นได้จากการที่คัลวีโนก�ำหนดให้ผู้อ่านหรือ ‘คุณ’ เป็น ตัวละครหลักของเรื่อง และการเขียนเรื่องเล่าซ้อนใน ลักษณะที่สนองรสนิยมของตัวละครหญิงลุดมิลลา ผู้ที่อาจ กล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนนักอ่านในอุดมคติของเขา ขณะเดียวกัน การที่คัลวีโนเลือกให้ตัวละคร มีรสนิยมและมีวิธีการตีความหนังสือที่แตกต่างกัน ก็สะท้อน ให้เห็นความไม่คงที่ของความหมาย (สมมติฐานส�ำคัญ ข้อหนึ่งของทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์แบบหลังสมัยใหม่ของ ส�ำนักรื้อสร้าง – Deconstruction Theory) พี่น้องนักอ่าน

หากค�่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง If on a Winter’s Night a Traveler

ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้เห็นจะอยู่ที่ การเล่นกับประเด็นและสมมติฐาน เกี่ยวกับโลกวรรณกรรม ไม่ว่าจะนักเขียน นักอ่าน นักแปล หรือแม้แต่ตัวภาษาเอง ก็ล้วนถูกคัลวีโนน�ำมาช�ำแหละแกะล่อน ให้เราได้วิเคราะห์ ใหม่ทั้งสิ้น

อิตาโล คัลวีโน เขียน l นันธวรรณ์ ชาญประเสริฐ แปล ส�ำนักพิมพ์บทจร, 2558 ลุดมิลลา กับ โลตาเรีย มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ลุดมิลลาผู้น้องอ่านเพื่อความบันเทิง มุ่งให้ความส�ำคัญ เฉพาะตัวบท และมองว่าความหมายไม่ใช่สิ่งที่นักเขียน หรือสภาวะที่โอบล้อมงานเขียนก�ำหนด แต่เป็นสิ่งที่นักอ่าน สร้างขึ้นเอง ในตอนหนึ่ง เธอบอกว่าการอ่านคือการไป พบกับสิ่งที่ก�ำลังจะมี และยังไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นอะไร ซึ่งสิ่งนั้นอาจตีความได้ว่าคือความหมายนั่นเอง ส่วน โลตาเรียเป็นนักอ่านที่ให้ความส�ำคัญกับการอ่านและ การตีความตัวบทผ่านกรอบของทฤษฎี ความหมายของ ตัวบทส�ำหรับเธอจึงเป็นเพียงการอนุมานจากข้อสรุปของ สมมติฐานตายตัว และไม่ได้เป็นสิ่งที่ผู้อ่านสร้างขึ้นด้วย ตัวเองอย่างอิสระ นอกจากความไม่ ค งที่ ข องความหมายแล้ ว ความไม่ แ น่ ชั ด ของตั ว ตนยั ง เป็ น ประเด็ น ส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นซ�้ำๆ ในเรื่องหลักและเรื่องเล่า ซ้อน เช่น การที่สรรพนาม ‘คุณ’ ถูกถ่ายโอนจากนักอ่าน ชายเพื่อไปใช้แทนนักอ่านหญิงในตอนหนึ่ง และภาวะ ความสับสนต่อภาพสะท้อนในกระจก ดังที่ปรากฏในเรื่อง ในร่างแหของสายที่ตัดกัน ซึ่งเล่าถึงเศรษฐีผู้สร้างห้อง ของเขาด้วยกระจกสะท้อนนับสิบเพื่อทวีตัวตนของตัวเอง จนท้ายที่สุด ก็เกิดความสับสนว่าภาพสะท้อนที่ตัวเห็น ในกระจกนั้น ภาพไหนคือตัวจริง ภาพไหนคือตัวปลอม ซึ่งแนวคิดนี้ช่วยสนับสนุนการมองนักเขียนในมิติใหม่ที่ ไม่ใช่เจ้าของผลงาน ไม่ใช่ผู้ก�ำหนดความหมาย และ ไม่ใช่ผู้สร้างสรรค์ ทว่าเป็นเพียง ชื่อบนหน้าปก เป็นค�ำหนึ่ง เหมือนชื่อเรื่อง…มีสภาพความเป็นจริงแบบเดียวกับตัว ละครของพวกเขา และแบบเดียวกับสถานที่ที่เอ่ยถึงใน หนังสือ ไม่ต่างอะไรไปจากสิ่งสมมติ เมื่อแสดงให้เห็นว่า ค�ำเรียก บทบาท และภาพที่มองเห็นไม่ใช่สิ่งที่ก�ำหนด ตัวตนอีกต่อไป คัลวีโนจึงท�ำให้เราต้องทบทวนสิ่งที่เรารู้ เกี่ยวกับโลกวรรณกรรมและทุกอย่างรอบตัวใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ดี แม้แนวคิดและเทคนิคการเขียน ของหนังสือเล่มนี้จะมีจิตวิญญาณของวรรณกรรมและ

ศิลปะหลังสมัยใหม่อย่างเต็มเปี่ยม แต่ทั้งเรื่องหลักและ เรื่ อ งเล่ า ซ้ อ นกลั บ มี โ ครงเรื่ อ งตามขนบดั้ ง เดิ ม เหมื อ น นวนิยายหลายเรื่องในอดีต เช่น การเดินทางฝ่าอุปสรรค เพื่อตามหาของที่หายไป การจากบ้านเป็นครั้งแรกของ เด็กหนุ่ม การฆาตกรรมอ�ำพราง หรือความสัมพันธ์ต้อง ห้ามระหว่างหญิงผู้มีสามีแล้วกับชายอื่น ซึ่งการผสมผสาน ความขัดแย้งไว้ได้อย่างลงตัวนี้ รวมถึงการแฝงแนวคิด ทางภาษาศาสตร์และปรัชญาไว้ได้จนเป็นเนื้อเดียวกับ ตัวบท และการปลอมตัวสวมบทบาทเป็นนักเขียนคนอื่น อีกนับสิบอย่างแนบเนียน นับเป็นเครื่องพิสูจน์ฝีมือการ รังสรรค์งานเขียนของคัลวีโน และความเหนือชั้นของ หนังสือได้เป็นอย่างดี ถ้าวรรณกรรมชั้นดี คือวรรณกรรมที่พาคุณ ไปยังสถานที่แปลกใหม่ได้ และช่วยให้คุณเข้าใจความหมาย ของชีวิต หากค�่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง ก็นับเป็นวรรณกรรมชั้นดีเล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้สามารถ พาคุณไปยังสถานที่ไม่คุ้นตา แล้วยังบังคับให้คุณหลงทาง อยู่ในบรรยากาศชวนอึดอัดและอบอวลไปด้วยหมอกควัน เพราะรู้ว่าจะมีก็แต่ในเวลาแบบนั้นที่คุณจะได้ย้อนกลับ ไปทบทวนความหมายของสิ่งต่างๆ ในชีวิต การเข้าใจความหมายของหนังสือเล่มนี้ไม่ต่าง อะไรกับการฟังนานาทัศนะต่อการเยือนสถานที่ส�ำคัญ อันโด่งดัง หลายคนเคยไปเยือนแต่ก็อธิบายความรู้สึก ออกมาได้ต่างกัน แต่ทั้งหมดนั้นไม่มีค่าเทียบเท่ากับค�ำ อธิบายที่คุณจะได้จากการเดินทางของตัวคุณเอง

บุ๊คโมบี้รีวิว ขอขอบคุณ ส�ำนักพิมพ์บทจร ส�ำหรับหนังสือ อภินันทนาการ มา ณ ที่นี้


เรื่อง วิกรานต์ ปอแก้ว

Big Review

ความรักของวัลยา: เมื่อเราหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน

ข้าพเจ้ารักปารีส...

ความรักของวัลยา นวนิยายขนาด 197 หน้า ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ เล่มนี้เปิดเรื่องด้วยประโยคแสนสั้น ทว่าเก็บความหมายของนิยายทั้งเล่มเอาไว้ก่อนจะตาม ด้วยเรื่องราวต่างๆ ที่ค่อยๆ พาเราเข้าไปท�ำความรู้จัก และเข้าใจเหตุผลแห่งความรักต่อสถานที่แห่งนั้น ความรักของวัลยา เล่าผ่านน�้ำเสียงและมุมมอง ของเสนีย์ นักเขียนนักหนังสือพิมพ์ผู้ใช้ชีวิตโลดแล่นอยู่ใน ต่างแดนมากมายหลายประเทศ และลงเอยอยู่ที่มหานคร ปารีส เรื่องราวด�ำเนินไปโดยมีปารีสในช่วงหลังสงคราม โลกครั้งที่สองเป็นฉากหลัง พร้อมกับการปรากฏตัวของกลุ่ม ‘คนพลัดถิ่น’ ที่ผ่านเข้ามาให้เสนีย์ท�ำความรู้จัก และ น�ำเรื่องราวต่างๆ มาสู่เขา ตลอดช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ใน เมืองแห่งนี้ วัลยา เป็นนักเรียนทุนด้านดนตรี หนึ่งใน จ�ำนวนคนที่ผ่านมาพบเสนีย์ เธอคือหญิงสาวผู้มุ่งมั่น และ มีอุดมการณ์อันสูงส่งอยู่เต็มเปี่ยม เสนีย์เริ่มเล่าเรื่องของ วัลยาตั้งแต่วันที่เธอปฏิเสธความสุขสบายที่จะได้รับจาก คนรักผู้สืบเชื้อสายจากตระกูลผู้ดีและเป็นนักเรียนนอก ผู้เพียบพร้อมด้วยอ�ำนาจเงินตรา ชีวิตและความคิดของวัลยา ท�ำให้เสนีย์พบว่าความรักของเธอแตกต่างจากความรัก ของหนุ่มสาวทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ไม่เฉพาะมุมมองเรื่อง ความรักของเธอเท่านั้นที่แตกต่าง การใคร่ครวญถึงชีวิต หลังจบการศึกษาของเธอก็เช่นกัน หลายคนที่ได้ชื่อว่า เป็นนักเรียนนอก เมื่อกลับสู่บ้านเกิดก็มักมุ่งหาโอกาส แห่งความเจริญแก่ตนเอง แสวงหาค�ำยกย่องเชิดชูจาก สังคมให้กลายเป็นบุคคลอีกชนชั้น จนหลงลืมการน�ำเอา ความรู้ที่ได้กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศของตน แต่วัลยากลับมีปณิธานแน่วแน่ เป้าหมายชีวิตของเธอยิ่งใหญ่ เธอจะกลับไปท�ำงานเพื่อสังคมมากกว่าจะท�ำงานเพื่อ ประโยชน์ของตัวเอง ขณะที่แผนการชีวิตของวัลยาเป็นไปในรูปแบบ ข้างต้น ชีวิตของเตือนตา หญิงสาวอีกคนที่เสนีย์รู้จักกลับ ไม่เฉียดใกล้ชีวิตของวัลยาเลยเพียงนิด เตือนตาเป็นภาพแทน ผู้หญิงส่วนใหญ่ในสังคมไทยสมัยนั้นที่มักมองไม่ เห็น ความสามารถของตัวเอง การแต่งงานหรือการมีครอบครัว ถือเป็นปลายทางของชีวิต เตือนตาถูกเลี้ยงดูมาในครอบครัว ที่เพียบพร้อม เป็นผู้หญิงอ่อนต่อโลก เธอมองความรัก เป็นสิ่งสวยงามบริสุทธิ์ แต่เมื่อได้เผชิญความจริงแห่งชีวิต เธอจึงพบว่าความรักนั้นเป็นสิ่งที่มีเงื่อนไขและมีความซับซ้อน มากมาย ความรักของวัลยา คือเรื่องราวของคนพลัดถิ่น ที่ต่างคนต่างมีเหตุผลที่ต้องลาจากบ้านเกิดเมืองนอนมา ผจญภัยเสี่ยงชีวิตในต่างแดน แต่ละคนมีความมุ่งหวังใน ชีวิตแตกต่างกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ฝังนิ่งอยู่ในใจไม่ต่างกัน คือการระลึกถึงบ้าน ถึงดินแดนที่จากมา ซึ่งก�ำลังมีการ เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมแห่งนั้นก�ำลังเคลื่อนตัว

ความรักของวัลยา เสนีย์ เสาวพงศ์ เขียน ส�ำนักพิมพ์มติชน, 2548

คนเหล่านั้นไม่อาจปรับตัวให้กลืนกลายเป็น พลเมืองแท้จริงของเมืองนั้นได้ ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ นานเท่าใด และวันหนึ่งในตอนท้าย พวกเขา ก็ต้องกลับคืนสู่มาตุภูมิ เข้าสู่อ�ำนาจบางอย่างที่จะครอบง�ำทุกสิ่งทุกอย่างไปอีก หลายทศวรรษ เรื่องราวของคนพลัดถิ่นในนวนิยายเล่มนี้ชวน ให้นึกถึง จนกว่าเราจะพบกันอีก ของ ศรีบูรพา บท สนทนาระหว่างตัวละครหลักสองตัว โกเมศและโดโรธี ท�ำให้ผู้อ่านได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคมไทยในช่วง เวลานั้น ซึ่งเมื่อกลับมาเปิดอ่านในปัจจุบันกลับให้ภาพที่ แทบจะไม่ต่างกัน ความรักของวัลยา ยังชวนให้นึกถึงรวมเรื่องสั้น ร่วมสมัยอีกสองเล่มคือ ข้อความต่างด้าว ของบุญชิต ฟักมี และ สสารไม่มีวันสูญหาย ของ ศรีนิติ สุวรรณศักดิ์ ซึ่งมีฉากหลังอยู่ในประเทศฝรั่งเศสและตัวละครต่างก็เป็น คนพลัดถิ่นเหมือนกัน คนเหล่านั้นไม่อาจปรับตัวให้กลืน กลายเป็นพลเมืองแท้จริงของเมืองนั้นได้ไม่ว่าจะอาศัย อยู่นานเท่าใด และวันหนึ่งในตอนท้าย พวกเขาก็ต้อง กลับคืนสู่มาตุภูมิ วรรณกรรมที่ปรากฏในยุค 2490 ไปจนถึง ต้นยุค 2500 ล้วนถูกท�ำให้สูญหายตกหล่นไปจากประวัติศาสตร์ชั่วระยะเวลาหนึ่ง กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย ที่จะมาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเคลื่อนไหวทางการเมืองและ การเปลี่ ย นแปลงสั ง คมก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ วรรณกรรมเหล่านี้เท่าใดนัก ยุคสมัยนี้ถูกเรียกว่า ‘ยุค

สายลมแสงแดด’เป็นวลีเหน็บสังคมให้ทกุ คนร่วมกันเจ็บช�ำ้ เพราะมีนักเขียนหลายคนถูกจองจ�ำ ถูกส�ำรวจตรวจตรา หลายคนต้องระเห็จหนีออกนอกบ้านเกิด กลายเป็นคน เนรเทศตนเอง ตัวตนถูกท�ำลาย และบางคนต้องใช้ชีวิต อย่างหลบซ่อน วรรณกรรมเพื่อชีวิตเหล่านี้กลับมาอยู่ในความ สนใจได้อีกครั้งใน ‘ยุคแสวงหา’ นักเขียนที่เคยถูกลืม มีโอกาสกลับมา กลุ่มนักศึกษาหัวก้าวหน้าและนักเคลื่อนไหวซึ่งเริ่มไม่พอใจอ�ำนาจเผด็จการที่ครอบง�ำประเทศ มานานยกย่องวรรณกรรมเพื่อชีวิตเหล่านี้ เพราะพวกเขา ต้ อ งการเปลี่ ย นแปลงประเทศไปสู ่ ค วามมี เ สรี ภ าพ ไร้การเอารัดเอาเปรียบ และวรรรณกรรมเพื่อชีวิตเหล่านี้ เองที่เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญ และเป็นแรงผลักดันอัน ยิ่งใหญ่ที่ท�ำให้ความเคลื่อนไหวได้ปรากฏ เสนีย์ เสาวพงศ์ เปิดนวนิยายเรื่องนี้ด้วยประโยค เรียบง่ายว่า ‘ข้าพเจ้ารักปารีส’ สื่อนัยถึงคนพลัดถิ่นผู้หลงรัก สังคมและชื่นชมเมืองที่ตนไปอาศัยอยู่ ก่อนที่เขาจะจบ นวนิยายด้วยประโยคที่เรียบง่ายเช่นกัน ประโยคนั้นสื่อนัยว่า ท้ายที่สุด เหล่าคนพลัดถิ่นล้วนอยากคืนกลับสู่อ้อมกอดของ บ้านเกิดเมืองนอนตัวเองทั้งนั้น ​

ลาก่อนปารีส!

17


Little Review

ความรักและปีศาจตัวอื่นๆ

ตัวตน

Of Love and Other Demons

LʼIdentité

กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ เขียน ชัยณรงค์ สมิงชัยโรจน์ แปล ส�ำนักพิมพ์บทจร

มิลาน คุนเดอรา เขียน อธิชา มัญชุนากร กาบูล็อง แปล ส�ำนักพิมพ์ก�ำมะหยี่

หา กคิดมีรัก ต้องเตรียมรับมือกับความเจ็บปวด ไม่ว่ารักนั้นจะมาในรูปแบบใด แม้ว่า มั นจะเป็นดั่งปีศาจก็จงอย่าให้มันมีชัยเหนือเรา เรื่องราวความรักของเซียร์วา มาเรีย กั บบาทหลวงคาเยตาโน เดลาอูรานั้นก็หนีไม่พ้นประโยคข้างต้น ความรักเป็นเหมือน โรคที่ไม่มีทางรักษาหาย มันท�ำให้เราคลั่งกว่าทะเล บ้ากว่าสุนัข และทรมานยิ่งกว่าพิษ ไข้เซียร์วา มาเรียอาจไม่ต้องมีจุดจบที่น่าใจหาย บาทหลวงคาเยตาโน เดลาอูราอาจยัง ท�ำ หน้าที่บาทหลวงที่ดีต่อไป ถ้าทั้งคู่ไม่รู้จักรัก แต่นั่นก็เป็นความคิดที่บ้าเหลือเกินหาก ชีวิตหนึ่งจะอยู่ไปโดยปราศจากสิ่งที่เรียกว่า ความรัก

เป็นไปได้หรือที่คนรักจะกลายเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน เรามักรู้สึกว่าเรารู้จักคนรักของ เราดี แต่บ่อยครั้งก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าเราไม่รู้จักเขาเลย งานของมิลาน คุนเดอรามักตั้ง ต�ำถามย้อนกลับมาที่ตัวเราเสมอ ตั้งแง่คิดถึงสิ่งที่เรามองข้าม ‘ตัวตน’ ในที่นี้อาจไม่ได้ หมายถึงเพียงแค่คู่รัก ชองตาล กับ ฌอง-มารฺค แต่กล่าวถึงตัวตนของเราทุกคน เกิด ค�ำถามขึ้นว่าหากมนุษย์จะอยู่ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ท�ำอย่างไรเราจะไม่สูญเสีย ตัวตนที่เราเป็นอยู่ แล้วตัวตนของเราประกอบสร้างจากอะไรบ้าง เรามีตัวตนจริงหรือไม่ ค้นหาค�ำตอบส่วนหนึ่งได้ในนิยายเล่มนี้

สิทธารถะ

โลกียชน

Siddhartha

Tortilla Flat

แฮร์มัน เฮสเซ เขียน สีมน แปล ส�ำนักพิมพ์สุริวงศ์เซ็นเตอร์

จอห์น สไตน์เบ็ค เขียน ประมูล อุณหธูป แปล ส�ำนักพิมพ์สามัญชน

อาจมีหลายคนสับสนว่า ‘สิทธารถะ’ กับ ‘สิทธัตถะ’ เป็นคนเดียวกันใช่หรือไม่ ค�ำตอบ คือไม่ แม้ว่าทั้งคู่จะแสวงหาสัจธรรม แต่ก็มีวิถีทางที่ต่างกัน สิทธารถะเลือกมุ่งสู่ทาง โลกียะ ผิดกับสิทธัตถะที่มุ่งหน้าสู่โลกุตระ แต่ทั้งสองก็มีจุดหมายเดียวกัน สิทธารถะถือ เป็นวรรณกรรมร่วมสมัย เหมาะแก่การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญถึงสิ่งที่อยู่รอบ ตัวเรา เพราะแท้จริงแล้วเราทุกคนต่างมองหาเส้นทางแห่งความส�ำเร็จกันทุกคน อาจ ไม่ถึงขั้นต้องนิพพาน แค่ไม่ต้องทุกข์ทนกับชีวิตที่เป็นอยู่ก็เพียงพอ แต่กว่าจะถึงวันนั้น เราคงต้องเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากมาย เช่นเดียวกับสิทธารถะและสิทธัตถะ

โลกนี้คงอ้างว้างหากไร้เพื่อนแท้ร่วมวงเหล้า มิตรภาพแสนยุ่งเหยิงของแดนนี่เต็มไป ด้วยเสียงหัวเราะและเสียงทะเลาะ เขาใช้ชีวิตอยู่หลังแก้วไวน์เป็นนิจที่อาจมีเรื่องผิด ศีลธรรมบ้าง แต่ชีวิตก็ด�ำเนินไปได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง หากนักอ่านได้สัมผัสชีวิต ของพวกเขา คงอดหลงรักแดนนี่กับเหล่าเพื่อนเกลอไม่ได้ พวกเขาเป็นคนยากจนผู้ใช้ ชีวิตรื่นเริงอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง ยึดมั่นกับความสุขขณะปัจจุบัน มิตรภาพที่มี ให้กันนับวันยิ่งเหนียวแน่นมากขึ้น ทั้งคู่ประคับประคองกันยามความทุกข์แวะเวียนเข้า มา ชีวิตที่แสนวิเศษเกิดขึ้นได้ในกระท่อมซ่อมซ่อแต่สุขสันต์

18

เทพนิยายออสการ์ ไวลด์

เรื่องประหลาดของเบนจามิน บัตทอน

Oscar Wilde’s Fairy Tales

The Curious Case of Benjamin Button

ออสการ์ ไวลด์ เขียน วลัยภรณ์ นาคพันธุ์ แปล ส�ำนักพิมพ์ฟรีฟอร์ม

เอฟ. สกอตต์ ฟิตซ์เจอรัลด์ เขียน ชปาทิพย์ แปล ส�ำนักพิมพ์ผจญภัย

หากความมหัศจรรย์สดใสสวยงามและตอนจบแบบแฮปปี้เอนดิ้งคือนิยามของเทพนิยาย เทพนิยายออสการ์ ไวลด์ คงไม่ตรงกับนิยามนี้เท่าใดนัก เพราะถึงเนื้อเรื่องจะงดงาม แต่ก็เป็นความงามที่มืดมนและเต็มไปด้วยความจริงบนโลกที่แสนโหดร้าย ออสการ์ ไวลด์ เป็นนักเขียนที่มีพรสวรรค์ ผลงานของเขาปรากฏอยู่ในรูปแบบ ทั้งบทกวี บทละคร นวนิยายที่เขียนไว้เพียงเล่มเดียว และเรื่องสั้น เช่น เทพนิยายออสการ์ ไวลด์เล่มนี้ ประกอบด้วยเรื่องสั้นหลายเรื่องที่พร้อมจะพาเราโลดแล่นไปกับพรสวรรค์ของเขา

ชีวิตที่เดินสวนทางกับเรื่องปกติสามัญของผู้อื่นมักสร้างความร้าวลึกในหัวใจแห่งตน เหมือนกับเบนจามิน บัตทอน ผู้มีชีวิตย้อนทวนวิถีอันปกติ จากวัยชราในวันถือ ก�ำเนิด เข้าสู่วัยทารกในวันที่สิ้นลมหายใจ ร่างกายที่ผิดแปลกของเขาได้สร้างความ อับอายให้กับครอบครัว สร้างความแปลกใจให้กับผู้คนในเมือง สร้างความอิจฉาให้ กับผู้ใกล้ชิด สร้างช่องว่างแห่งชีวิตให้กับตนเอง เมื่อสิ่งที่เขาต้องการนั้นมักสวนทาง กับสภาพร่างกายเสมอ อดีตอันเจ็บปวด ปัจจุบันที่โหยหา และอนาคตที่ไม่ต้องการ


เรื่อง สิรินารถ อินทะพันธ์, ธีระศิลป์ ค�ำปัน

Little Review

ความเดือดดาลในกระแสเสียง

ลมหายใจที่ขาดห้วง

The Sound and The Fury

Atemschaukel

วิลเลียม โฟลคเนอร์ เขียน สุนันทา วรรณสินธ์ เบล แปล ส�ำนักพิมพ์ ไลต์เฮาส์

แฮร์ทา มึลเลอร์ เขียน อัญชลี โตพึ่งพงศ์ แปล ส�ำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์

โศกนาฏกรรมชีวิตของครอบครัวคอมป์สัน พวกเขากู่ร้องแสดงความเดือดดาลที่โชค ชะตาไม่เป็นใจ เรื่องเล่าผ่านมุมมองอันแตกต่างของคนสี่คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านเดียวกัน ท�ำให้เห็นความต่าง ทั้งความคิด วิถีแห่งชีวิต สติปัญญา และมุมมองต่อโลก เมื่อพวกเขา ต่างมีเงื่อนไขแห่งชีวิตอันจ�ำกัด จึงต้องพยายามหลีกหนีความโหดร้าย ดิ้นรนไขว่คว้า หาทางออกห่างจากความทุกข์ทรมานนั้น นวนิยายเรื่องนี้คือภาพสะท้อนเสียงแห่งชีวิต ที่เดือดดาล แต่ไร้ผู้คนสดับและรับขาน

เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้แพ้อย่างเยอรมันไม่มีสิทธิ์ด�ำรงชีวิตได้อย่างเป็นสุข พวกเขาถูกเกณฑ์ไปใช้แรงงานเพื่อชดเชยความผิดที่ประเทศตนกระท�ำต่อโลก แม้หลายคน ได้กลับบ้าน แต่อีกหลายคนก็ไม่รอด ความเจ็บปวดอัปยศเหล่านี้ถูกฝังซ่อนอยู่ใต้ส่วน ลึกของจิตใจ และด้วยความหวังที่ว่าวันหนึ่งบาดแผลนี้จะจางหาย นิยายเล่มนี้สะท้อน ภาพชีวิตอันโหดร้ายของผู้แพ้สงคราม เรื่องราวเล่าผ่าน เลโอพอลด์ เอาแบร์ก เด็กหนุ่ม วัยสิบเจ็ดปีที่ถูกส่งตัวไปยังค่ายแรงงานของสหภาพโซเวียตและต้องใช้ชีวิตในฐานะ เชลย เขาต้องท�ำงาน ต้องเอาชีวิตให้รอดต่อความหิวโหยอันไร้ที่สิ้นสุดซึ่งปกครองทุกคน ในค่ายด้วยคติที่ว่า “ยกพลั่วขึ้นหนึ่งครั้งมีค่าเท่ากับขนมปังหนึ่งกรัม”

ศึกสเปญ

ออล เดอะ เนมส์

For Whom the Bell Tolls

All the Names

เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ เขียน อาษา ขอจิตต์เมตต์ แปล ส�ำนักพิมพ์แสงดาว

โฮเซ่ ซารามากู เขียน ศิริรัฐ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แปล ส�ำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม

สงครามไม่เคยให้สิ่งใดนอกจากความสูญเสีย แม้แต่ผู้ชนะก็ไม่ได้สิ่งวิเศษใดไปกว่า ชีวิตที่ต้องดิ้นรนต่อไปกับจิตใจที่ปวดร้าว นิยายอิงประวัติศาสตร์พูดถึงสงครามกลาง เมืองในสเปนโดยเออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์ นักเขียนอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ที่กระหายและใฝ่หา การต่อสู้อยู่ตลอด เขาตามหน่วยจรยุทธ์ฝ่ายต่อต้านฟาสซิสต์ไปในที่ต่างๆ เพื่อท�ำข่าว ท�ำให้เขาได้เห็นโฉมหน้าและเบื้องหลังสงคราม แล้วจึงกลั่นกรองออกมาเป็นนวนิยาย เรื่องเยี่ยมที่ท�ำให้เรารู้สึกราวกับได้อยู่ร่วมเหตุการณ์วิปโยคครั้งนั้นเลยทีเดียว

โฮเซ่ ชายวัยกลางคนที่มีชีวิตสุดแสนธรรมดาเรียบง่ายไม่ต่างไปใครอื่นบนโลก เขาท�ำ หน้าที่เป็นเสมียนของส�ำนักงานทะเบียนราษฎร์ ในวันธรรมดา เขาจะหมกมุ่นกับงาน ของตนที่ต้องกรอกข้อมูลสูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า และใบมรณบัตร ในวัน พักผ่อน เขาหมกมุ่นกับงานอดิเรกคือการสะสมข่าวของคนดัง แต่แล้ววันหนึ่งเมื่อเขา ได้พบสูติบัตรปริศนาของหญิงสาวคนหนึ่งโดยบังเอิญ ความอยากรู้อยากเห็นจึงได้ชักจูง เขาเข้าสู่การผจญภัยที่ล่อแหลมต่อการก่ออาชญากรรม และท�ำให้เขาได้ค้นพบตัวตน ของตัวเองที่ไม่เคยอยากรู้มาก่อน

19

1. โจนาทาน ลิฟวิงสตัน นางนวล ................. l จินด์ 2. Writer ฉบับที่ 31 ในความทรงจ�ำ .......... I ไรท์เตอร์ 3. อ่านย้อนยุค ........................................ I อ่าน 4. ชายชราและทะเล ................................. I ไต้ฝุ่น

เดือนมกราคม-มีนาคม 2558

5. WRITER ฉบับที่ 32 นิยมวิทยา ฉบับพี่น้อง.I ไรท์เตอร์ 6. จดหมายถึงพ่อ ............................... I ไลต์เฮาส์ 7. 1984 .............................................. I สมมติ 8. แอนิมอล ฟาร์ม ................................... I ไต้ฝุ่น 9. สานแสงอรุณ ฉบับที่ 106 ....... I มูลนิธิสานแสงอรุณ 10. Rationa l Choice Theory ........................ I เวย์


Author’s Lounge

สัมภาษณ์ สิรินาถ อินทะพันธ์

‘กระดาด’ ที่ถูกเนรเทศ และการเดินทางของ ภู กระดาษ สิ่งที่เราเขียน ท้ายที่สุดก็ ไม่จ�ำเป็นต้องมีชื่อเราก�ำกับก็ ได้ มันจะบอกใครต่อใครโดยตัวมันเอง เมื่อถูกอ่าน จะคงอยู่ ถูกต่อเติม ตีความ หรือล้มหายตายจากไปด้วยตัวของมันเอง กระดาษ เคยเลิกเขียนงานไปพักหนึ่งเพราะคิดว่าตัวเองยังมี ความคิดความอ่านไม่ลึกซึ้งเพียงพอ ต้องเรียนรู้อีกมาก แต่ หลังจากเหตุการณ์ 19 กันยายน ปี 2549 เขากลับมาเขียน หนังสืออีกครั้ง และยังเขียนเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ผลงานของเขาไม่เป็น รองใครทั้งกวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และนวนิยาย ดูเหมือนเขาจะสนุกเป็นพิเศษกับการเปลี่ยนนามปากกาไปเรื่อยๆ ชื่อไหนจะ ใช้นาน ใช้สั้น ก็สุดแล้วแต่ความพึงพอใจ แต่ท�ำไมคนถึงจดจ�ำเขาด้วยชื่อ ภู กระดาษ มากกว่าชื่ออื่นๆ BMR: นามปากกา ภู กระดาษ มีที่มาอย่างไร แต่ก่อนมันมีที่มาอยู่นะ เป็นชื่อภูเขาลูกหนึ่งคือ ‘ภูกระดาด’ ภูเขาที่มีต้นกระดาด เยอะมาก อยู่ในภูบรรทัดที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก เมื่อก่อนคนรุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ในหมู่บ้านของผมจะขึ้นไปท�ำไร่ท�ำสวนอยู่ที่นั่น หลังเกิดเหตุการณ์ โรคห่าระบาด มีห่าก้อม ผีปอบที่มีฤทธิ์ร้ายแรงที่สุดในบรรดาปอบ ออกอาละวาด รวมทั้งที่นาที่ไร่รอบ หมู่บ้านก็ไม่อุดมสมบูรณ์อีกต่อไป จึงได้ทยอยอพยพพากันขึ้นไปท�ำมาหากินบนนั้น และ ยังได้ลงไปค้าขาย หาปลาร้าจากเมืองเขมรมากินด้วย ตรงหมู่บ้านอันลอง เวง ปัจจุบัน คืออ�ำเภออันลอง เวง อยู่ในจังหวัดอุดรมีชัย แต่หลังจากมีการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ชาวบ้านก็ถูกไล่กลับลงมายังหมู่บ้านอีกครั้ง มาพูดกันทีหลังว่า “ไม่รู้จะดั้นด้นขึ้นไปท�ำไม ไกลปานนั้น เดินทางด้วยเท้าสามสี่วันกว่าจะไปถึง ทั้งๆ ที่อยู่รอบๆ ใกล้ๆ หมู่บ้านก็ยังมีที่ให้ บุกเบิกท�ำกินอีกตั้งมากมาย” จ�ำไม่ได้ว่าเริ่มใช้นามปากกานี้ตั้งแต่เมื่อไหร่ ผมก็เปลี่ยนค�ำเล็กน้อยมาเป็น ‘กระดาษ’ เพื่อให้เข้ากับการเขียนหนังสือ ระยะหลังมานี้ ผมไม่ค่อยพูดถึงที่มาที่ไปของมันแล้ว ขี้เกียจและไม่รู้จะอธิบายท�ำไม นามปากกาหรือชื่อไม่จ�ำเป็นต้องมีความหมายก็ได้ อีกอย่าง สิ่งที่เราเขียน ท้ายที่สุดก็ไม่จ�ำเป็นต้องมีชื่อเราก�ำกับก็ได้ มันจะบอกใครต่อใครโดยตัวมัน เองเมื่อถูกอ่าน จะคงอยู่ ถูกต่อเติม ตีความ หรือล้มหายตายจากไปด้วยตัวของมันเอง BMR: นอกจากเป็นนักเขียน คุณท�ำอาชีพอื่นไหม ผมท�ำงานประจ�ำเป็นหลักครับ เป็นลูกจ้างบริษัทแห่งหนึ่ง

20

BMR: เกิดเป็นคนอีสาน เคยคิดอยากอยู่ที่อื่นบ้างไหม เกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา ไม่ได้อยู่ภาคอีสานตลอดนะครับ ผมอยู่ภาคตะวันออกเป็น หลักเลย กลับภาคอีสานเหมือนไปท่องเที่ยว ไปเยี่ยมหาใครๆ มากกว่า ส่วนอยากไปอยู่ที่อื่นไหม อยากไปอยู่ต่างประเทศครับ ในทวีปเอเชียหรือ ออสเตรเลียแถวๆ นี้ หนีจากความน่าสลดหดหู่ของสภาพสังคมไทยในยุคคณะรัฐบาลทหาร ไปสักพัก ไปหางานท�ำนะ ไม่ใช่ไปอยู่แบบถาวร ส�ำหรับในประเทศ ขออยู่ภาคอีสานกับ ภาคตะวันออกนี้ไปพลางๆ ก่อน BMR: หลายคนอยากเป็นนักเขียนจากการอ่านหนังสือบางเล่ม ส�ำหรับ ภู กระดาษ หนังสือเล่มไหนที่อ่านแล้วท�ำให้อยากเขียนหนังสือ หนังสือแถวบ้านที่พอหาอ่านได้สมัยก่อนมีไม่มากครับ คือหนังสือนิยายรักโรแมนติก เล่มละสิบบาท เรื่องแต่งในหนังสือโป๊ และหนังสือในห้องสมุดของโรงเรียน เช่น ลูกอีสาน กับ ฟ้าบ่กั้น พวกนี้ล้วนเป็นเล่มแรกๆ ที่ได้อ่านแล้วอยากเขียนหนังสือ รวมทั้งเรื่องเล่าต่างๆ ที่มีคนเล่าให้ฟัง ต�ำนาน ค�ำพื้นปรัมปรา การผจญภัย การไป ตกระก�ำล�ำบากในกรุงเทพฯ หรือภาคตะวันออก และยังมีพวกเพลงลูกทุ่ง ภาพยนตร์เรื่อง ต่างๆ ที่มาฉายในงานบุญ งานเทศกาล หนังกลางแปลง เหล่านี้ก็มีส่วนอยู่ไม่น้อยทีเดียว BMR: นิยายเรื่อง เนรเทศ มีจุดก�ำเนิดมาจากอะไร ความคับแค้นใจจนเป็นเรื่องตลกในการรอรถประจ�ำทางเพื่อจะไปท�ำธุระต่างๆ ในตัวเมืองครับ กว่าสิบปีที่ผมพึ่งพาการขนส่งบริการสาธารณะในการเดินทาง โดยเฉพาะ บริการขนส่งมวลชนตามต่างจังหวัดด้วยยิ่งเป็นเรื่องน่าตลกขบขัน ผมมักสูญเสียเวลา เป็นวันๆ เสมอ เพื่อไปท�ำธุระแค่สักยี่สิบนาทีในตัวเมือง รวมถึงวิกฤตการเมืองไทยตลอด

ทศวรรษที่ผ่านมา ที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น ที่ไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นก็ได้เห็น ในฐานะคน พลัดถิ่นมาหางานท�ำ กลับไม่ได้ ไปไม่ถึง แต่ก็ยังมุ่งหน้าไปด้วย จึงท�ำให้เตลิดตะเลอ คิดฟุ้งซ่านไปจนได้นิยายเล่มนี้ออกมาครับ BMR: ในนิยายเล่มนี้เห็นว่ามีวิญญาณในเรื่องด้วย ท�ำไมถึงเลือกให้ตัวละครตัวหนึ่ง เป็นวิญญาณ ผมเชื่อเรื่องผี นับถือผี นับถือวิญญาณ แต่ไม่ชอบดูหนังหรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับ ผีหรือวิญญาณนะ แถวบ้านเล่าว่า เมื่อรู้ว่าตัวเองตายคือล่วงผ่านไปเจ็ดวันแล้ว วิญญาณ จะกลับมาบ้าน มาหาข้าวกิน มายืนร้องไห้ มาอาลัยอาวรณ์ ปรากฏตัวให้คนอื่นๆ เห็น และ วิญญาณคนที่ตายไปแล้วก็จะไม่ไปไหน จะวนเวียนอยู่แถวนั้น ในครอบครัวผมและคนใน หมู่บ้านมีความเชื่อกันว่า ถ้าวิญญาณจะหายไปก็คือไปเกิดกับลูกกับหลาน โดยจากการ บอกเล่าของหมอธรรม หมอจ�้ำ หมอทรง หรือสังเกตตามต�ำหนิที่มีติดตัวมาแต่ก�ำเนิด ทุกคน ล้วนเกิดจากปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้ว หรือบางคนพ่อแม่ยังไม่ตายก็มาเกิดกับลูกก่อนแล้ว ด้วยซ�้ำ สังเกตจากหน้าตาที่คล้ายกัน ถ้าลูกชายหน้าตาคล้ายพ่อ ก็ว่าพ่อมาเกิดด้วย ทั้งๆ ที่ พ่อยังไม่ตาย และพ่อก็จะอายุสั้น ในกรณีของลูกสาวที่หน้าตาคล้ายแม่ก็เช่นกัน วนเวียนกันอยู่ เช่นนี้ไม่มีที่สิ้นสุด อย่างผมนี่ก็ว่ากันว่า ยายทวดที่ชื่อแม่ใหญ่กาด�ำมาเกิดด้วย แม้ไม่เคยเห็นด้วยตา แต่เรื่องผี-วิญญาณนั้นมักไหลวนอ้อมข้างอ้อมเอวมาตั้งแต่ เด็ก มาในรูปเรื่องเล่าต่างๆ ของหมู่บ้าน จึงท�ำให้รู้สึกใกล้ชิดผูกพัน ผี-วิญญาณมันไม่เรื่อง มากดีครับ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นความเชื่อส่วนตัวนะครับ เหมือนกับความเชื่อต่างๆ ทั่วไป ที่ทุกคนมีต่อศาสนาหรือลัทธิต่างๆ เป็นเรื่องส่วนบุคคลโดยแท้ เชื่อใครเชื่อมัน นิยมใครนิยมมัน ส่วนวิญญาณที่ปรากฏในเรื่อง เนรเทศ แล้วแต่ผู้อ่านจะว่ากันไปล่ะครับ ส�ำหรับผมก็มีจุดประสงค์บางอย่างอยู่ เช่นที่อธิบายมาข้างต้น และความล�ำบากล�ำบนใน โขงเขตประเทศนี้ หากได้อาศัยอยู่แล้ว แม้ตายไปแล้วก็ยังไม่มีข้อยกเว้นใดๆ จะวนเวียนอยู่ เช่นนี้เอง BMR: เคยรู้สึกว่าตัวเองโดนเนรเทศจากอะไรไหม น่าจะมีเยอะอยู่ครับ จากบ้านเกิดเมืองนอน ที่ภาคอีสาน จากระบบการเมือง เศรษฐกิจอะไรแบบนี้ บางครั้งผมก็สมัครใจเนรเทศตนเองออกมา แต่โดยส่วนใหญ่จะถูก บังคับไม่ทางใดก็ทางหนึ่งโดยไม่ต้องมีการป่าวประกาศให้ต้องเนรเทศตนเองไป BMR: สถานการณ์การเมืองที่เปลี่ยนไปส่งผลกับงานเขียนอย่างไรบ้าง ถ้าหมายถึงการรัฐประหารครั้งล่าสุดและความเปลี่ยนแปลงหลังจากนั้นภายใต้ การปกครองของคณะรัฐบาลทหาร สิ่งที่ส่งผลต่อผมคือ แทบไม่ได้เขียนอะไรเลย รู้สึกหดหู่ และสังเวชไปพร้อมกัน แต่ปัจจุบันเริ่มสร่างๆ ลงบ้างแล้วครับ แล้วแต่มันจะเป็นไป งานเขียน ก็รู้สึกเริ่มอยากเขียนอีกครั้ง BMR: เขียนหนังสือเพื่ออะไร เพื่อความสนุกสนานส่วนตนครับ ถ้าหมดสนุกหรือท�ำแล้วติดๆ ขัดๆ หายใจไม่โล่ง ไม่ปลอดโปร่ง ผมก็คงจะเลิกเขียน

•ภู กระดาษ นามปากกาของนักเขียนเลือดอีสาน ผู้มีถิ่นฐานจากที่ราบสูงศรีสะเกษ •เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์ของเขาคว้ารางวัลมาแล้วหลายเวที ไม่ว่าจะเป็นรางวัลนายอินทร์อะ วอร์ด รางวัลสุภาว์ เทวกุล รวมถึง รางวัลพานแว่นฟ้า •งานเขียนสะท้อนชีวิตจริง เน้นหนักทางสังคม การเมืองและประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์โดดเด่น คือการใช้ ‘ภาษาไทย’ ปะปนกับ ‘ภาษาลาวฝั่งขวา’ เพื่อเล่นล้อกับความไม่ซื่อสัตย์ ความยอก ย้อน และความโอ่อ่าเขื่องข่มต่อผู้คนที่ปรากฏในความสัมพันธ์ระหว่างสองภาษานี้ •ลาวฝั่งขวา คือกลุ่มคนที่พูดภาษาลาว มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตคล้ายคนลาวฝั่งซ้าย แต่อยู่ ในภาคอีสานของประเทศไทย เป็นประชาชนสัญชาติไทยที่คนลาวฝั่งซ้ายเรียก ‘คนไทย’ แต่คน ไทยมักเรียกเหมารวมว่า ‘คนลาว’


เรื่อง กองบรรณาธิการ

Write Lines

Self-Portrait of the Poet in New York

ภาพเหมือน ของกวี ในนิวยอร์ก 21

ปี 1929 กวีและนักประพันธ์บทละครชาวสเปน เฟเดริโก การ์เซีย ลอร์คา (Federico Garcia Lorca) เดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ในมหานคร นิวยอร์กเป็นเวลาเก้าเดือน เพื่อเปิดโลกทัศน์และถอยห่างออกจาก ปัญหาส่วนตัวหลายเรื่อง ลอร์คาลงเรียนภาษาอังกฤษที่แผนกหนึ่งของมหาวิทยาลัยโคลอมเบีย แต่เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเดินเล่น สังเกต บันทึกชีวิต ผู้คน สังสันทน์กับชุมชนชาวสเปนในนิวยอร์ก และศึกษา วัฒนธรรมอเมริกัน ในขณะนั้นนิวยอร์กถือเป็นเมืองที่เจริญ ก้าวหน้ากว่าเมืองอื่นใดในโลก และความน่าตื่นตาตื่นใจของ ตึกระฟ้าและดนตรีแจ๊สก็สะกดลอร์คาได้พอๆ กับที่ความอู้ฟู่ของมัน ท�ำให้เขาคลางแคลงใจ ลอร์คาเป็นนักเขียนที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงแล้วในสเปน (กวีนิพนธ์เล่มที่ โด่งดังที่สุดของเขา Romancero Gitano หรือ Gypsy Ballads ตีพิมพ์ออกมาในปี 1928) ระหว่างใช้ชีวิตในนิวยอร์ก เขาได้ประพันธ์บทกวีสะท้อนความรู้สึกเปลี่ยวเหงา

แปลกแยก และวิพากษ์สังคมทุนนิยม ความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ความตลบตะแลง แก่งแย่งของชาวเมือง ผ่านการใช้สัญลักษณ์และการอุปมาอุปไมยแบบงานเขียน เซอร์เรียลิสต์ ซึ่งได้รับการรวมเล่มตีพิมพ์หลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ภายใต้ชื่อ Poeta en Nueva York หรือ A Poet in New York ในปี 1942 เพียงไม่กี่เดือนหลังการอุบัติขึ้นของสงครามกลางเมืองสเปนในปี 1936 ลอร์คาถูกกองก�ำลังขวาจัดจับกุมและเชื่อกันว่าเขาถูกคนกลุ่มเดียวกันนี้ยิง ตาย เพราะเขาฝักใฝ่สังคมนิยมและมีหลักการโน้มเอียงไปในทางมาร์กซิสต์ บ้างก็ คิดว่าความเกลียดชังที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมมีต่อชาวรักร่วมเพศคือเหตุผลหนึ่งที่ท�ำให้ เขาถูกฆ่า ภาพลายเส้นเป็นสิ่งที่ลอร์คามักวาดเล่นอยู่เสมอ นอกจากบทกวีใน A Poet in New York จะแสดงสภาวะแปลกแยกและน�ำเสนอบรรยากาศแบบที่เขารู้สึก ขณะใช้ชีวิตในนิวยอร์ก ภาพวาดกึ่งเซอร์เรียลของเขาจากช่วงเวลาเดียวกันก็ สะท้อนสภาวะทางจิตใจได้ใกล้เคียงกับบทกวี จนอาจเรียกได้ว่ามันคือการเขียนกวี ด้วยภาพวาด


A Good Place To Read

FARMILY by 103+ Factory บ้ า นสี ข าวสองชั้ น หลั ง เล็ ก ในซอยเงี ย บสงบหลั ง นี้ คื อ คาเฟ่สไตล์คันทรี่ ตั้งชื่อผสมผสานให้เกิดความรู้สึก อบอุ่นตามลักษณะการแต่งร้านว่า FARMILY by 103+ Factory ค�ำว่า ‘Farm’ กับ ‘Family’ สามารถสื่อถึง บรรยากาศของร้านที่ตกแต่งด้วยสิ่งของและเฟอร์นิเจอร์ ด้วยคอนเซ็ปต์ฟาร์มสไตล์ตะวันตก และความเป็นกันเอง แบบครอบครัวได้ลงตัว เราหยุดยืนส�ำรวจด้านนอกก่อนเข้าร้านภายใต้ ความร่มรื่นของบรรยากาศ... FARMILY by 103+ Factory จัดสรรพื้นที่เล็กๆ ข้างร้านเป็นสวนกระถางในร่ม มีที่นั่งส�ำหรับคนชอบ outdoor เหล่าไม้แขวนที่ห้อยรายรอบนั้นสร้างความรื่นรมย์ไม่น้อย พื้นที่ภายในค่อนข้างโล่งโปร่ง มีที่นั่งแบบ เคาน์เตอร์บาร์และโซฟา ตุ๊กตาสัตว์กับสีสันของใบไม้ ต้ น ไม้ แ ละดอกไม้ ที่ เ สริ ม แต่ ง เพื่ อ จ� ำ ลองบรรยากาศ ฟาร์มก็ท�ำให้รู้สึกผ่อนคลาย ถ้ามานั่งพร้อมหนังสือดีๆ สักเล่มก็คงใช้เวลาอ่านได้อย่างผ่อนคลายจนลืมความ วุ่นวายของโลกภายนอกไปชั่วขณะ เมนูแนะน�ำคือสปาเก็ตตี้เบคอนไข่กุ้ง สโคน เร้ดเวลเว็ทชีสเค้ก ช็อกโกแลตลาวา กาแฟ และโซดา นานารส ผักที่ใช้ปรุงอาหารเป็นผักออร์แกนิกปลูกเอง ที่ส�ำคัญ ทั้งอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม มีคอนเซ็ปต์ใน การจัดเสิร์ฟอย่างเอาใจใส่ ด้วยตุ๊กตาและป้ายค�ำคมที่ อ่านแล้วท�ำให้อมยิ้มได้ :)

22

FARMILY by 103+ Factory ซอยช�ำนาญอัปสร พหลโยธินซอย 9 เปิดทุกวัน เวลา 11.00 - 23.00 น. โทร. 08 1495 1555 เฟสบุ๊ค farmily103 อินสตาแกรม farmily103

เรื่องและภาพ ปาลิดา พิมพะกร อินสตาแกรม foneko


สัมผัสสีน�้ำ PWC, สีน�้ำเนื้อละเอียดพิเศษจากชินฮันทั้ง 84 สี ใช้เม็ดสีและกัมอารบิกคุณภาพสูงสุด / สีทั้งหมดมีเม็ดสีเข้มข้นเพื่อให้สีที่เจิดจ้าและ มีชิีวิตชีวา ทั้งยังยึดเกาะได้ดีและมีน�้ำหนักเบา / สีน�้ำ PWC ยังคงทนต่อการเลือกของสี ชุดของสีที่มีอยู่อย่างหลากหลายยังรวมถึงสีอ่อนทึบ แสงซึ่งท�ำให้มีอิสระที่มากกว่าทั้งด้านการออกแบบและเทคนิกการวาดรูป



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.