ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
สาขา
ทัศนศิลป์
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายพีระพงษ์ ดวงแก้ว ( ประติมากรรมร่วมสมัย )
นายพีระพงษ์ ดวงแก้วอายุ 61 ปี เกิดเมื่อวันที่ 2ต มกราคม พุทธศักราช 2493 ที่อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำ�เร็จการ ศึกษาศิลปะมหาบัณฑิต สาขาประติมากรรม จากมหาวิทยาลัย ศิลปากร ในปี พุทธศักราช 2531 นายพีระพงษ์ ดวงแก้ว หรืออาจารย์นายพีระพงษ์ ดวง แก้ว แห่งสาขาประติมากรรม คณะวิจิตรศิลป์ หมาวิทยาลัย เชียงใหม่ เป็นศิลปินที่สร้างผลงานประติมากรรมเป็นจำ�นวนมาก และได้ รั บ การยอมรั บ ในวงการประติมากรรมว่ามีผลงานที่ยอด เยี่ยมน่าชื่นชม เคยร่วมแสดงศิลปกรรมของ 12 ศิลปินไทยร่วม สมัยที่รัฐแคลิฟอร์เนียและการแสดงผลงานศิลปะที่นครลอสแอง เจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังได้ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ ภาพเขียนทิวทัศน์ เมืองหลวงพระบาง ที่ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว นอกจากนี้ยังได้เป็นศิลปินรับเชิญจาก สถาบันต่างๆ ทั้งในและต่างหลายครั้ง นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการ ส่งเสริมความรู้ความสามารถในทางประติมากรรมให้แก่นักศึกษา โดยได้ร่วมมือกับสำ�นักคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงาน เยาวชนแห่งชาติ เพื่อผลักดันให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างสรรค์ผล
งานทางด้านประติมากรรม นายพีระพงษ์ ดวงแก้ว เป็นผู้ที่มีความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน ในศาสตร์ต่างๆ อยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นมานุษวิทยา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สังคมวิทยา และศิลปะพื้นบ้าน โดยได้ ใช้ประสบการณ์จากการได้ไปศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมใน ประเทศต่างๆทั้งเอเชีย ยุโรป ลาติน และอเมริกา มาผนวกกับพื้นฐาน ที่มีอยู่เพื่อสร้างแรงบัลดาลใจและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ งานศิลปะ ความโดดเด่นของผลงาน คือ การนำ�เอาความเป็นพื้น บ้านมาประยุกต์ให้ออกมาเป็นศิลปะร่วมสมัยได้อย่างลงตัว โดยมีแรง บันดาลใจตากความอุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นภาคเหนือ ทั้งวัฒนธรรม เก่าแก่อันทรงคุณค่าและทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม ผสานกันเป็น งานศิลปะร่วมสมัยมี่กลิ่นอายวัฒนธรรมแห่งความมั่งคั่งสมบูรณ์ นายพีระพงษ์ ดวงแก้วจึงได้รับได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรมร่วมสมัย) ประจำ� ปีพุทธศักราช 2554 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายทวี รัชนีกร
( ทัศนศิลป์ร่วมสมัย )
นายทวี รัชนีกรเกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พุทธศักราช 2477 ที่ อำ�เภอเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปะบัณฑิต คณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพุทธศักราช 2503 นายทวี รัชนีกรเป็นศิลปินที่ทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงานศิลป กรรมมาตลอดระยะเวลา 30 ปี การสร้างผลงานด้านจิตรกรรมของ นายทวี รัชนีกร ได้แสดงออกโดยการทำ�ให้เห็นความงดงามของ ธรรมชาติที่ผสมผสานความคิดที่ลุ่มลึกเกิดเป็นรูปแบบทางจิตกรรท ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จนได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นมา ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยรับรางวัล ระดับชาติทางด้านจิตรกรรมและภาพพิมพ์ต่อกันถึง 4 ครั้ง จาก การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 9-12 หลังจากนั้นได้รับเลือกให้ เป็นศิลปินดีเด่น ของจังหวัดนครราชสีมา เคยได้รับรางวัลศิลปิน ยอดเยี่ยม “ทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี” ประจำ�ปี 2544 และได้รับ รางวัลเชิดชูเกียรติ รางวัลมนัส เศียรสิงห์ “แดง” สขาทัศนศิลป์ดี เด่น ด้านสันติภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมความโดดเด่น
ของผลงานที่ผ่านมาทำ�ให้นายทวี รัชนีกร ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติให้ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์(ประติมากรรม) ในปีพุทธศักราช 2548 นายทวี รัชนีกร ได้ทุ่มเทให้กับการทำ�งานอย่างเต็มที่และ ยังอุทิศเพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ลักษณะพิเศษของผลงาน คือ การปะสานกันระหว่างรูปแบบทางศิลปะกับความเป็นท้องถิ่น นั่นคือการสะท้อนให้เห็นภาวะของสังคม วิถีชีวิต และความเชื่อของ ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวัสดุพื้นบ้านอีสานมาพัฒนาสู่การ สร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นจิตรกรรมร่วมสมัยได้อย่างโดดเด่น และ ยังมีส่วนร่วมเป็นผู้บุกเบิกการสร้างงานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ให้ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการศิลปะสาขาต่างๆอันก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง นายทวี รัชนีกร จึงได้รับได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (ทัศนศิลป์ร่วมสมัย) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2554 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายสนาม จันทร์เกาะ (สนามจันทร์) ( จิตรกรรมร่วมสมัย )
นายสนาม จันทร์เกาะ หรือ สนามจันทร์ เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2491 ที่จังหวัดหนองคาย สำ�เร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และได้รับปริญญาศิลปบัณฑิต กิตติมศักดิ์ (จิตรกรรม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นายสนาม จันทร์เกาะ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน ศิลปะและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า มีบทบาทในการสร้างสรรค์ จิ ต รกรรมที่ ส ะท้ อ นและสื่ อ อารมณ์ ค วามรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ของศิ ล ปิ น และความเป็นสังคมร่วมยุคสมัยได้อย่างโดดเด่น ดังเช่น ผลงาน ประติมากรรมชื่อ “รำ�ลึก 16 สิงหาคม” ที่แสดงความสามารถใน การเลือกสรรวัสดุหลากหลายชนิดมาประกอบกันได้อย่างเหมาะ สม เป็นผลงานที่มีเสน่ห์ มีพลังแงเร้นมากกว่าการแสดงออกอย่าง ตรงไปตรงมาและได้มีโอกาสในการแสดงผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ แก่ผู้ชมหลายครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ริเริ่มและเป็นประธานจัด นิทรรศการศิลปกรรมเด็กแห่งประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เป็นที่ ปรึกษาโครงการจิตรกรรมเพื่อสุขภาพจิตรของโรงพยาบาลบุรีรัมย์
เป็นผู้ริเริ่มโครงการ “ศิลปกรรมกลางแจ้ง” เพื่อให้ประชาชนได้มีโอ กาสสมผัสงานศิลปะและเห็นคุณค่าของเยาวชนกับการเรียนรู้ศิลปะ นายสนาม จันทร์เกาะ ได้อุทิศตนเพื่อกิจกรรมทางสังคมอยู่ เสมอ ทั้งเป็นครูสอนศิลปะในยามที่นักเรียนต้องการเรียนรู้ ทำ�หน้าที่ เป็นครูแนะนำ�แนวทางให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่6 ที่สนใจเข้า ศึกษาต่อด้านศิลปะในระดับอุดมศึกษา อีกทั้งในปัจจุบัน นายสนาม จันทร์เกาะ ได้เปิดบ้านเป็นหอศิลป์เพื่อแสดงงานศิลปะของตนเอง และศิลปินอีสานที่จังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวได้ว่า ด้วยความโดดเด่นด้าน ผลงาน การอุทิศตนเพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะให้แก่คนรุ่นหลัง และการทำ�ประโยชน์เพื่อสังคม ทำ�ให้นายสนาม จันทร์เกาะเป็น ศิลปินในภูมิภาคอีสานที่สมควรได้รับคำ�ยกย่องชื่นชม นายสนาม จันทร์เกาะ จึงได้รับได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน2554 สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำ�ปี พุทธศักราช 2554จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร
( ประติมากรรมเทียนพรรษา )
นายอุส่าห์ จันทรวิจิตรเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2476 ที่บ้านจานตะโนน ตำ�บลหนองบ่อ อำ�เภอ เมือง จังหวัดอุบลราชธานี จบการการศึกษาปีที่4 ที่โรงเรียนจาน ตะโนน หลังจากสำ�เร็จการศึกษาได้บวชเรียนนักธรรมตรี สำ�นักวัด บ้านดงบัง และสอบได้ครูวาดเขียนชั้นตรี และชั้นโท หลังจากนั้น ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันราชภัฏ อุบลราชธานี นายอุส่าห์จันทรวิจิตร เกิดในครอบครัวที่รักงานทาง ด้านศิลปะแลเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ โดยมีบิดาเป็นผู้ถ่ายทอดทั้งดาน ฝีมือ วิธีการออกแบบ และก่อสร้างงานศิลปะสถาปัตยกรรม เมื่อ มีทักษะเพียงพอแล้ว ได้เริ่มต้นจากงานก่อสร้างลวดลายโบสถ์และ ประตูหน้าต่าง จนไปถึงงานที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าผล งานแต่ละชิ้นได้สร้างสรรค์ด้วยความประณีต พิถีพิถัน มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือรูปแบบค่อนข้าง คม ชัด ลึก เรียมแหลม และมีลีลาอ่อนช้อย งานที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ การแกะสลัก
ต้นเทียนพรรษาของนายอุส่าห์ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำ�คัญของการ แกะสลักต้นเทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี จนทำ�ให้งาน แห่เทียนพรรษาของจังหวัดมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศและต่าง ประเทศ ตลอดเวลาการทำ�งาน นายอุส่าห์จันทรวิจิตร ได้สร้างสรรค์ ผลงานไว้เป็นจำ�นวนมาก ทั้งประเภทศิลปะและสถาปัตยกรรม ไทย เป็นทั้งสถาปนิกที่อาศัยความชำ�นาญและประสบการณ์ในการ ออกแบบวางรากฐานและงานโครงสร้าง มีฝีมือที่โดดเด่นมีลีลาอ่อน ช้อยงดงาม กล่าวได้ว่า ผลงานของท่านได้มีคุณูปการต่อชาวอีสาน และเป็นมรดกต่ออนุชนรุ่นหลังสืบไป นายอุส่าห์จันทรวิจิตร จึงได้รับได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินมรดกอีสาน 2554 สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรมเทียน พรรษา) ประจำ�ปีพุทธศักราช 2554 จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายบุญศรี พลตรี
( ดนตรีพื้นบ้าน แคน )
สาขา
วรรณศิลป์
ภูมิลำ�เนาเดิมบ้านเลขที่ 169 หมู่ที่ 3 ตำ�บลเขื่อนอุบลรัตน์ อำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 15 เดือนตุลาคม พุทธศักราช 2492 ปัจจุบัน 60 ปี ประวัติด้านการศึกษา ปี พุทธศักราช 2502 สำ�เร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านโนนจิก ตำ�บลเขื่อน อุบลรัตน์ อำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และสำ�เร็จการศึกษาชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นในระบบการศึกษานอกโรงเรียนเป็นลำ�ดับต่อมา อาชีพนายบุญศรี พลตรี เป็นศิลปินอิสระด้านการดนตรี พื้นบ้านอีสานด้านเป่าแคนและพัฒนามาสู่การเป่าแคนในรูปแบบ ประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในการทำ�หน้าที่ในด้านการ ปกครองท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2545 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นสารวัตร กำ�นันต่อเนื่อง 4 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ได้รับเลือกให้เป็น กรรมการ ก.ท.ม. ในระดับหมู่บ้าน และในปี พ.ศ.2550 ถึงปัจจุบัน
ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมสภาวัฒนธรรมของอำ�เภออุบลรัตน์ จังหวัด ขอนแก่น แม้ว่าจะมีบทบาทด้านอื่นแต่นายบุญศรี พลตรี ยังรับหน้าที่ เป็นวิทยากรเผยแพร่วัฒนธรรมอีสานการเป่าแคนให้กับโรงเรียนและ หน่วยงานภาครัฐมาโดยตลอด รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2517 เริ่มพัฒนาด้านแสดงดนตรี พื้นบ้านอีสานด้านการเป่าแคน ปี พ.ศ. 2524 เป็นศิลปินอิสระด้าน การแสดงการเป่าแคนและประยุกต์สู่การนำ�กลอนลำ�มาใส่ในการ เป่าแคน ปี พ.ศ. 2533 ได้รับรางวัลชมเชย จากการประกวดหมอลำ� กลอนระดับภูมิภาค จากสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขอนแก่น ปี พ.ศ. 2550 ถึงปัจจุบัน มีบทบาทด้านการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านด้านดนตรี อีสาน โดยเฉพาะการเป่าแคน จนได้รับเชิญเป็นวิทยากรเผยแพร่ ความรู้ให้กับโรงเรียน สถาบันการศึกษา และร่วมเข้าแสดงเป่าแคน ในงานประเพณีที่สำ�คัญของท้องถิ่นและในระดับภูมิภาคมาโดยตลอด
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายวินัย เตียวตระกูล (วินัย แก้วเหนือ) ( ประพันธ์เพลงลูกทุ่งต้นแบบ )
ภูมิลำ�เนาเดิม ตำ�บลวัดแก้ว อำ�เภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เกิด เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช 24788 ปัจจุบันอายุ 66 ปี ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2499 สำ�เร็จการศึกษาระดับประถม ศึกษา จากโรงเรียนวัดแก้ว ตำ�บลวัดแก้ว อำ�เภอบางแพ จังหวัด ราชบุรี และสำ�เร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนบางแพปฐมวิทยาลัย ตำ�บล บางแพ อำ�เภอบางแพ จังหวัดราชบุรีในปี 2503 และปี 2506 ตาม ลำ�ดับ อาชีพ ปี พ.ศ.2507 ดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าหน้าที่การเงิน ของกอง บังคับการตำ�รวจนครบาลพระนครเหนือกรุงเทพมหานคร
ปี พ.ศ.2512 เป็นนักประพันธ์เพลง ปี พ.ศ.2520 ประกอบอาชีพ ค้าขาย ปี พ.ศ.2537 ประกอบอาชีพค้าขายที่ร้าน สมตระกูลกลการ รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ.2537 ได้รับรางวัล คนดีศรีเมือง มุกสาขาพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมรม จังหวัดมุกดาหาร ปี พ.ศ.2551 ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดร้องเพลง ประจำ� สถานี (ระดับภาค) จากหน่วยงานตำ�รวจภูธรภาค 4 และ รางวัลพ่อ ตัวอย่างแห่งชาติ ประจำ�ปี พ.ศ.2551 ปี พ.ศ.2553 ได้รับโล่ยกย่อง เชิดชูเกียรติครูผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงไว้ในแผ่นดิน จากกระทรวง วัฒนธรรม และสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายสมคิด สิงสง
( วรรณกรรมร่วมสมัย )
ภูมลำ�เนาเดิม บ้านซับแดง ตำ�บลโพธิ์ไชย อำ�เภอมัญจาคีรี (ขณะนี้คือตำ�บลซับสมบรูณ์ อำ�เภอโคกโพธิ์ไชย) จังหวัดขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช 2493 ปัจจุบันอายุ 60 ปี ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ.2503 ศึกษาระดับประถมศึกษา ตอนต้น จากโรงเรียนประชาบาลบ้านซับแดง อำ�เภอมัญจาคีรี) จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ.2506 ศึกษาระดับประถมศึกษาตอน ปลาย จากโรงเรียนวัดน้อย ตำ�บลตลิ่งชัน จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ. 25109 ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนวัดน้อยใน อำ�เภอตลิ่งชัน(ขณะนั้น) จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ.2512 ศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสุวรรณารารมวิทยาคม ตำ�บล บางกอกน้อย (ขณะนั้น) อำ�เภอบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี ปี พ.ศ.2512-2516 ศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรภาคค่ำ� 6 ปี สา ขาวรสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ได้ยุติ การศึกษาในระบบเนื่องจากเหตุการณ์ทางการเมือง อาชีพ นายสมคิด สิงสง ทำ�งานดานวรรณกรรมศิลป์มาโดย ตลอด และปัจจุบันได้ทำ�งานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2514 เป็นคณะกรมการประสาน งานนิสิตนักศึกษาอาสาพัฒนาแห่งประเทศไทย (กปอท) ปี พ.ศ. 2516 เป็น 1 ใน 100 รายชื่อแรกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เพื่อเคลื่อนไหวจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองใน
เหตุการณ์ 14 กุมภาพันธ์ 2516 ปี พ.ศ. 2532 ร่วมก่อตั้งสโมสร นักเขียนภาคอีสาน และเป็นประธานสโมสรฯ คนแรก 2 สมัย ปี พ.ศ. 2544 ร่วมก่อตั้งมูลนิธิน้ำ�และคุณภาพชีวิต ดำ�รงตำ�แหน่งรอง ประธานคนที่ 1 ปี พ.ศ. 2548 ได้รับคัดเลือกเป็นประธานเครือ ข่ายจัดการลุ่มน้ำ�ห้วยสามหมอ กระทั่งปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้ง เป็นประธานคณะทำ�งานลุ่มน้ำ�สาขาห้วยสามหมอ และเคยเป็นคณะ ทำ�งานในพื้นที่ (ลุ่มน้ำ�ชีและมูล) ของ MRC ด้วย ปี พ.ศ. 2550 เป็น ประธานมูลนิธิน้ำ�และคุณภาพชีวิต ปี พ.ศ. 2549 ตีพิมพ์เผยแพร่ วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “พ่อนายกฯ สายไหม บ้านหนองฮี” ซึ่งต่อ มาได้รับรางวัลขากหลายสถาบัน คือ รางวัลชมเชยในการประกวด หนังสือดีเด่นในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ จาก ปี พ.ศ. 2550 รางวัลชมเชยประเภทงานเขียนในการประกาศรางวัลลูกโลกสีเขียว ครั้งที่ 9 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เซเว่นบุ๊คอวอร์ด ครั้งที่ 4 และรางวัลการประกาศเป็น Honor List 1 ใน 69 เล่ม ของผลงาน วรรณกรรมเยาวชนทั่วโลก จาก International Board Book for Young people ปี พ.ศ. 2551 ประธานคณะผู้เริ่มการก่อตั้งมูลนิธิ คนกับควาย ปี พ.ศ. 2552 ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ นักเขียนศรีสโมสร นักเขียนภาคอีสาน และ “นักเขียนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมดีเด่น” ประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ� ในวันสิ่งแวดล้อม ไทย
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายสลา คุณวุฒิ
( ประพันธ์เพลงลูกทุ่งร่วมสมัย )
ภูมิลำ�เนาเดิมเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2505 ณ บ้านนาหมอม้า อำ�เภออำ�นาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็นจังหวัดอาจเจริญ) เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำ�นวน 5 คน ของพ่อบุญหลายและแม่ก้าน คุณวุฒิ สมรสกับนางสาวลัดลาวัณย์ ก้องทอง มีบุตรี 2 คน คือ ขวัญข้าว และแพรวา คุณวุฒิ ประวัติการศึกษา สำ�เร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตร วิชาการศึกษาขั้นสูง (ป.กศ.สูง) เอกวิทยาศาสตร์ วิทยาลัยครู อุบลราชธานี และศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ) สาขาบริหารการ ศึกษา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีพุทธศักราช 2545 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี อาชีพ รับราชการครูควบคู่กับการเป็นนักประพันธ์เพลง จน กระทั่งปี พ.ศ. 2543 ได้อำ�ลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพ อิสระ เป็นนักประพันธ์เพลง รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2542 ยอดศิลปินแห่งอีสาน จากสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2543 ศิลปินดี เด่น จังหวัดอุบลราชธานี สาขาวรรณศิลป์ (การแต่งเพลง) จาก สำ�นักวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2544 รางวัลเพชรสยาม สาภาษาและ วรรณกรรมทางการประพันธ์เพลงไทยลูกทุ่ง จากมหาวิทยาลัย ราชภัฏจันทรเกษม ปี พ.ศ. 2546 รางวัลดีเด่น ในการผลิตงาน สื่อมวลชนดีเด่นเพื่อเยาวชน จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความ
มั่นคงของมนุษย์ ปี พ.ศ. 2546 ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 3 ด้าน ศิลปกรรม (การประพันธ์เพลง) จากสำ�นักงานเลขาธิการสภาการ ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2549 รางวัลเพชรในเพลง จากกรมศิลปากร จัดขึ้นเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ เพื่อยกย่อง บุคคลในวงการเพลงที่ให้ความสำ�คัญและมีผลงานดีเด่นด้านภาษา ไทย โดยการประพันธ์เพลงดีเด่นประเภท เพลงลูกทุ่งจากเพลง หอมกลิ่นข้าวจี่ และรางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ� จากมหาวิทยาลัย มหาสารคาม ผลงานเพลงแรกในชีวิตคือ เพลงอดีตรักทุ่งนาแล้ง และ เพลงที่ได้รับการบันทึกเสียงครั้งแรกคือ เพลงชาวหอ ขับร้องโดยรุ่ง เพชร แหลมสิงห์ ผลงานเพลงแนวเพื่อชีวิต ได้รับการบันทึกเสียง ประมาณ 30 เพลง เพลงลูกทุ่งประมาณ 500 เพลง กลอนลำ� สำ�หรับนักร้องหมอลำ� ประมาณ 200 กลอน รวมทั้งเพลงประเภท อื่นๆอีกมากมาย ผลงานเพลงลูกทุ่งที่ครูสลาประพันธ์ขึ้น ล้วนเป็นเพลง ที่ได้รับความนิยม เช่น กระทงหลงทาง จดหมายผิดซอง ยาใจ คนจน ขายแรงแต่งนาง พี่เมาวันเขาหมั้น น้ำ�ตาผ่าเหล่า ติด ร.หัวใจ รองเท้าหน้าห้อง เหนื่อยไหมคนดี ขอคนรู้ใจ ปริญญา ใจ หัวใจคิดฮอด กระเป๋าแบนแฟนทิ้ง แรงใจรายวัน ทำ�บาปบ่ ลง นักสู้ ม.3 ต้องมีสักวัน สัญญากับใจ เพื่อรักเพื่อเรา เป็นต้น แล้วส่งผลให้ศิลปินเหล่านั้นประสบความสำ�เร็จ เช่น ไมค์ ภิรมย์พร สายัณห์ นิรันดร ศิริพร อำ�ไพพงษ์ ปอยฝ้าย มาลัยพร ลูกแพรไหมไทย เอกราช สุวรรณภูมิ ชัยยา มิตรชัย มนต์สิทธิ์ คำ�สร้อย จักรพรรณ์ อาบครบุรี ต่าย อรทัย เป็นต้น
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
สาขา
ศิลปะการแสดง
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ( การแสดงพื้นบ้านอีสานใต้ )
ภูมิลำ�นำ�เดิม เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พุทธศักราช 2477 ที่ อำ�เภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันอายุ 77 ปี สมรถกับ นายบัญญัติ นามวัฒน์ มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ นางณกมล นามวัฒน์ และนายธานิกนามวัฒน์ ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ. 2493 สำ�เร็จการศึกษาระดับครุ ประกาศนียบัตร(ครู) จากโรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดอุบลราชธานีต่อ มาในปี พ.ศ. 2500 ศึกษาด้วยตนเองเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ โดยสอบ เทียบวิชาชุดครู พ.ป. (ประโยคครูพิเศษประถม) อาชีพ ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำ�นาญ สังกัดกระทรวง ศึกษาธิการ รางวังและผลงาน ปี พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทาน เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยาม
มกุฎราชกุมาร ปี พ.ศ. 2541 ได้รับปริญญาพระราชทานครุศาสตร์ บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรมแกรมวิชานาฏศิลป์จากสถาบันราชภัฎ สุรินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้รับคัดเลือกเป็นผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ (สาขาศิลปะการแสดง) และปี พ.ศ. 2544ได้รับคัดเลือกเป็น “คนดีศรีเมืองช้าง” จังหวัดสุรินทร์ ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในการแสดงพื้นบ้า นอีสานใต้ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้คัดเลือกให้รับรางวัง “ศิลปินพื้นบ้านอีสาน” ในปี พ.ศ. 2548 และโล่เชิดชูเกียรติ “ศิลปินเพชรสยาม” สาขาศิลปะการแสดง ด้าน การสงเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย จากมหาวิทยาลัยราชภัฎ จันทรเกษม ในปีพ.ศ. 2549
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นางเทวี บุตรตั้ว ( ลำ�กลอน )
ภูมิลำ�เนาเดิม อำ�เภอฝาง จังหวัดขอนแก่นเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2491 ปัจจุบันอายุ 63 ปี ประวัติการศึกษา นางเทวี บุตรตั้ว สำ�เร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านโสกม่วง ตำ�บลหนองบัว อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และระดับอุดมศึกษา ปริญญาศิลปะศาสตร์มหา บัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานาฏศิลป์และการละคร จากมหาวิทยาลัย ราชภัฎอุดรธานี เมื่อ พุทธศักราช 2550 อาชีพ ปี พ.ศ. 2505- ปัจจุบัน เป็นศิลปินหมอลำ� ปี พ.ศ. 2512 – ปัจจุบัน ประพันธ์คำ�กลอนและเป็นครูสอน ลำ�กลอนพื้นบ้านให้แก่บุคคลทั่วไป ปี พ.ศ. 2545 –ปัจจุบัน เป็นวิทยากรอบรมตามโครงการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม “ ศิลปินพื้นบ้านสาขาหมอลำ�กลอนพื้น บ้าน” โดยอบรมให้แก่นักเรียนนักศึกษาของสถาบันภายในจังหวัด อุดรธานี มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการ 50 แห่ง ปี พ.ศ.2545-2549 เป็นรองประธารกรรมการสภาวัฒนธรรม
จังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ.2549-ปัจจุบัน เป็นประธานชมรมศิลปินพื้นบ้านอีสาน จังหวัด รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2507 แสดงหมอลำ�ครั้งที่บ้าน ถ่อน ตำ�บลเชียงพิณ (บ้านเลื่อมในปัจจุบัน) อำ�เภอเมือง จังหวัด อุดรธานี คู่กับนางอ่อนสี เหลาผา ซึ่งได้รบความชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง จึงได้รับเชิญให้ไปแสดงต่อที่ อำ�เภอท่าบ่อจังหวัดหนองคายและที่ เวียงจัน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตรประชาชนลา ปี พ.ศ.2545 แสดงหมอลำ�ที่วัดธาตุปุ่น ประเทศสารณรัฐประชาธิปไตรประชาชน ลาว แสดงคู่กับหมอลำ�สมบัติ ศรีทะบาน ในงานทอดผ้าป่าสามัคคี ของกองทัพบก จากนั้นจัดหมอลำ�รวมแสดเพื่ออนุรักษ์ เผยแพร่ศิลป วัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานทางโทรทัศน์ช่อง 11 รายการวาสนาบันเทิง ร่วมกับคุณยงฤดี พูนทรัพย์ ทุกวันพุธที่ 3 ของทกเดือน ช่วงเวลา 16.00-17.00 น.
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นายเทพพร บุญสุข (เทพพร เพชรอุบล) ( ขับร้องเพลงลูกทุ่ง )
ภูมิลำ�เนาเดิม บ้านเลขที่ 23/4 บ้านโนนใหญ่ ตำ�บลก่อเอ้ อำ�เภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน พุทธศักราช 2396 ปัจจุบันอายุ 63 ปี สมรสกับ คุณพกุล บุญสุข มี บุตร รวม 2 คน ประวัติการศึกษา ปี พ.ศ. 2496 จบการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนโอภาสวิทยาคาร บ้านโนนใหญ่ อำ�เภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ.2504 จบระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จากโรงเรียนสิทธิธรรมศาสตร์ ศิลป์ อำ�เภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ.2509 จบการ ศึกษาชั้นสูงสุด ปีที่ 3 แผนช่างกลโรงงาน จากโรงเรียนองค์การสนธิ สัญญาป้องกันเอเชียอาคเนย์ หรือ ร.ร.ส.ป.อ. ปัจจุบันคือโรงเรียน เทคนิคอุบลราชธานี วิชาที่ร่ำ�เรียนไม่เคยได้ไปประกอบอาชีพด้านใดเลย แต่กลับ ใช่เสียงดนตรี เสียงเพลง และการต่างเพลงแต่งกลอนเป็นอาชีพ หลักเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการแตงเพลงและสร้างนักร้องมากมาย นอกจากนั้น เทพพร เพชรอุบลยังประพันเองร้องเองจนมีชื่อเสียง โด่งดังไปทั้งประเทศ เป็นนักร้องประพันธ์ขวัญใจ-อีสานอย่างแท้ จริงมีผลงานการร้องและการประพันธ์ไม่น้อยกว่า 300 เพลง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน เทพพร ยังประกอบอาชีพซึ่งเป็น อาชีพที่เข้ารู้จักและทำ�อยู่เป็นอาชีพเดียวคือการร้องและประพันธ์ เพลง ลมหายใจและความอยู่รอดของครอบครัวจึงได้ด้วยเพลงโดย แท้ รางวัลและผลงานผลงานยอกนิยม เช่น อีสานบ้านของเฮา อาลัยพระธาตุพนม ขอหอมก่อนแต่ง คิดฮอดอ้ายแหน่เด้อนัดวัน
ให้น้องรอ สั่งฟ้าไปหาน้อง เสียงแคนแทนใจ ฝังใจเวียงจันทน์ สาม เกลอเที่ยวกรุง รำ�วงหาคู่ ครวญหาอังคนางค์ จนแท้น้อ ร้องไห้ทำ�ไม บ่ลืมบ้านนอก สัมภาษณ์เทพี ป๋ากันเถาะ ไก่จ๋าไก่ กลับมาเถิดน้อง นับหมอรถไฟ คำ�มั่นสัญญาฯลฯ นอกจากนี้ยังประพันธ์และร้องเพลงแนวอนุรักษ์และส่งเสริม ทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมอีสานไว้มากมาย เช่น ผลงาน ชุด บายศรีสู่ขวัญ ชุดแหล่ใจพ่อใจแม่ ชุดทัวร์อีสาน เป็นต้น ปี พ.ศ. 2535 รางวัลศิลปินดีเด่น สาขาศิลปะการแสดง จาก ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2518 แต่งเพลงและร้องเพลงในเหตุการณ์พระ ธาตุพนมถล่มทำ�ให้คนไทยรำ�ลึกถึงเหตุการณ์สะเทือนใจครั้งนั้นมิรู้ ลืม ปี พ.ศ. 2535 ร่วมแต่งเพลงและร้องเพลง จำ�หน่ายเพื่อการ กุศลในวาระ 200 ปี จังหวัดอุบลราชธานี และวาระสมโภชน์100 ปี จังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2535 สนับสนุนรณรงค์คนอีสานไม่กินปลาดิบร่วม กับสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่นและคณะเพชรพิณทอง ปี พ.ศ. 2536 สนับสนุนรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับสารารณ สุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับเกียรติจากสมาคมนักแต่งเพลงให้เป็นตัน แทนนักร้องของภาคอีสานแต่งเพลงและร้องเพลงเนื่องในงานส่ง พระวิญญาณสมเด็จย่า และได้เดินทางไปเผยแพร่ศิลปะพื้นบ้านที่ วัดพระศรีนรินทร์ ประเทศสวิตเชอร์แลนด์
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ( ลำ�กลอนประยุกต์ )
ภูมิลำ�เนาเดิม อำ�เภอโกสุมพิสัย จังหวัดสารคาม เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2495 ปัจจุบัน 59 ปี ประวัติด้านการศึกษา สำ�เร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ปีที่ 6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดสารคาม ในปีพุทธศักราช 2523 สำ�เร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน จากสถาบันราชภัฎเลย ปัจจุบันศึกษาระดับปริญญาโท สาขา ดุริยางคศิลป์ วิชาเอกหมอลำ� มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นางราตรีศรีวิไว บงสิทธิพร เป็นศิลปินหมอลำ�กลอนได้รับ การฝึกฝนการแสดงหมอลำ�กลอนจากบุพการีและเรียนการแสดง หมอลำ�จากครูหมอลำ�สง่าจิตซึ่งเป็นพี่ชาย ที่จังหวัดหนองคาย เมื่อ ปีพุทธศักราช 2527 ได้พัฒนาหมอลำ�กลอนให้เป็นที่รู้จักในสังคม ในรูปการแสดงหมอลำ�กลอนประยุกต์ หรือหมอลำ�ซิ่ง ซึ่งเป็นอาชีพ จนถึงปัจจุบัน รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานรางวัล พวงมาลัยดอกไม้สด จากสาเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี โดยการ แสดงหมอลำ�ในงานจัดช่อดอกไม้ ณ หอศิลป์พีระศรี ปี พ.ศ. 2522 ก่อตั้งสำ�นักงานราตรี ศรีวิไล ปี พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทาน
รางวัล “ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์”(แต่ง กลอนลำ � )จากสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯสยามราชกุ ม ารี จั ด โดยสำ�นักงานคณะกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2541 ได้ รับพระราชทานให้เป็น “ผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขา สื่อมวลชน”จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร จัด ทำ�โดยสำ�นักงานคณะกรรมเยาวชนแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2552 ได้รับเข็ม เชิดเกียรติจากนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้เป็น “ ผู้ใช้ ภาษาไทยดีเด่น” จัดทำ�โดยสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่ง ชาติ กระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนั้นยังได้รับรางวัลการประกวดหมอลำ� และบทกลอน ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปัจจุบันรวมกว่า 400 รางวัล อาทิ ปี พ.ศ. 2536 ได้รับรางวัลโล่รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 สำ�นักงานคณะกรรม วัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรค จังหวัด มหาสารคาม ในการประกวดการแสดงพื้นบ้านประเภทหมอลำ�กลอน และลำ�กลอนประยุกต์ เนื่องในงานอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม อีสาน ปี พ.ศ.2546 ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จาก ททท. ใน การแต่งกลอนประเภทหมอลำ�กลอนและลำ�กลอนประยุกต์ให้ศิษย์ ประกวด เนื่องในงานรณรงค์ท่องเที่ยวอีสาน
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
นางผมหอม สกุลไทย ( ผญาย่อย )
ภูมิลำ�เนาเดิม บ้านนาสะโน ตำ�บลนาสะเม็ง อำ�เภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร เกิดเมื่อที่ 1 กุมพันธ์ พุทธศักราช 2501 ปัจจุบัน อายุ 53 ปี ประวัติการศึกษานางผมหอม สกุลไทย สำ�เร็จการศึกษาใน ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านนาสะโน ตำ�บลนาสะ เม็ง อำ�เภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จาก ศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน อำ�เภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร และมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากศูนย์บริการศึกษานอกโรงเรียน อำ�เภอ ดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร นอกจากจะยึดอาชีการแสดงหลอลำ�ผญาย่อยหัวดอนตาล เป็นอาชีพหลักแล้วในช่วงเวลาว่างจากการแสดงหมอลำ� ยังได้
ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอีกด้วย รางวัลและผลงาน ปี พ.ศ. 2528 ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทน ประเทศไทยร่วมแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมเอเชีย ครั้งที่ 11 ณ ประเทศฮ่องกง ปี พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลผู้มีผลดีเด่นทางด้าน วัฒนธรรม ( สาขาศิลปะการแสดง ) จากนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 10 ปี พ.ศ.2550 เผลแพร่ศิลปะการ แสดงหมอลำ�ผญาย่อยหัวดอนตาล ผ่านรายการโทรทัศน์ “ รายการ มองอีสาน” ศิลปินพื้นบ้านสานสังคม เทิดไท้องค์ราชัน “ลำ�ผญาพื้น บ้าน” สถานีโทรทัศน์แห่งประไทย NBT ปี พ.ศ.2552 ได้รับประกาศ ยกย่อง “ หมอลำ�ผญา” ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำ�ปี พ.ศ.2552
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554
ฐานข้อมูลศิลปินมรดกอีสาน 2554