การผลิตซ้าทางวัฒนธรรม เมืองหลวงพระบางภายใต้กระแสเมืองมรดกโลก
โดย
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ พ.ต. ดร. กิตติกรณ์ บ้ารุงบุญ
บทน้า บทความนี้ผู้เขียนมีเป้าหมายเพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงการทาความเข้าใจเมืองหลวงพระบางใน ฐานะของเมืองมรดกโลกที่ปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่แห่งการปะทะสังสรรค์ระหว่างความเป็นอดีตและกระแส การเปลี่ยนแปลงของเมืองหลวงพระบาง ที่ดารงอยู่ในสถานภาพของการเป็น ‘เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม’ ของ UNESCO และดารงตนอยู่ในกระแสของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อบริโภค ‘อดีต’ ในความหมายของ วัฒนธรรมระดับโลก ที่ได้หวนกลับคืนไปหา ‘อดีต’ ของหลวงพระบาง มาใช้ในการธารงรักษาสถานภาพของ เมืองมรดกโลกและเมืองท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของโลก ซึ่งได้กลายเป็นบริบทสาคัญของพื้นที่ทางสังคมใหม่ (NewSocial Space) ที่ส่งผลต่อการประดิษฐ์สร้าง ‘ความทรงจาใหม่’ และการผลิตซ้าทางวัฒนธรรม เพื่อใช้ ในการต่อรอง ระหว่าง ‘ท้องถิ่น’ กับ ‘โลกาภิวัตน์’ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะอธิบายพัฒนาการของ ‘หลวงพระบาง’ แห่งราชอาณาจักรลาวล้านช้าง ผ่านมุมมองพื้นที่ทางสังคมศาสตร์ โดยใช้แนวคิด “พื้นที่” (Place / Space) ของอังรี เลอแฟบว์1 (Lefebrve) เป็นโครงสร้างความคิดในการพรรณนาวิเคราะห์ ซึ่งเลอแฟบว์ ได้ศึกษา ‘พื้นที่’ ในมิติของการผลิตสร้างและ ผลิตซ้าความสัมพันธ์ทางสังคม ไว้ในหนังสือ The Production of Space เขาอธิบายว่า “พื้นที่” คือ ผลผลิต จากการให้ความหมายของผู้คนในสังคม ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ‘พื้นที่’ เป็น‘ผลิตผล’ (Product) ของสังคม อันเป็นผลจากจินตนาการและปฏิบัติการทางสังคม นอกจากนี้การผลิตพื้นที่ยังรวมถึงการ ‘กากับควบคุม ’ พื้นที่ ด้วยอานาจต่าง ๆ รวมทั้งการปกครอง นอกจากนี้เลอแฟบว์ยังได้เปิดมุมมองต่อพื้นที่ในมิติ ‘เทคนิค วิทยาของการสร้างพื้นที่’ หรือ Technologies ofnSpaces อาทิ การทาให้พื้นที่กลายเป็น ‘พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์’ ที่ เลอแฟบว์เรียกว่า “การทาพื้นที่ให้บริสุทธิ์ผุดผ่องน่ายกย่องบู ชา” (The Purification of Space) ซึ่ง ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร2 ได้กล่าวถึงกรณีการสร้าง ‘ความศักดิ์สิทธิ์’ ให้กับพื้นที่ว่า มีความหมายรวมไปถึงการสร้าง พื้นที่ส่วนตัว พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทางาน พื้นที่พักผ่อน พื้นที่เมือง ชนบท รัฐชาติ ฯลฯ ซึ่งถูกประดิษฐ์สร้างขึ้น ด้ ว ยการก าหนดบทบาท และหน้ า ที่ ที่ เฉพาะเจาะจงของพื้ น ที่ นั้ น ๆ เพื่ อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ มี ก ารล่ ว งละเมิ ด ขณะเดียวกันก็มีการกาหนดกติกา และผู้พิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ หรือ ‘กติกา’ ของพื้นที่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในแต่ ละยุคสมัยnในประเด็นเรื่อง ‘การเปลี่ยนแปลง’ ในพื้นที่ หรือ ‘พื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนแปลง’ เป็นอีกประเด็นสาคัญ หนึ่งที่ ชยันต์ วรรธนะภูติ3 ได้เชื่อมโยงมาสู่การเป็นบริบทในการทาความเข้าใจ ‘พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป’ อัน เป็นผลมาจากเมื่อ ‘คน’ ได้เข้าใช้ไปประโยชน์ และดัดแปลงพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง ทาให้เรามองเห็น วิธีการที่คนผูกโยง ‘พื้นที่’ กับความคิดและปฏิบัติการทางสังคมด้านต่างๆ ประการสาคัญ ด้วย ‘คน’ มีความ ทรงจาและผูกพันกับพื้นที่ จึงให้ความหมายต่อพื้นที่ด้วยการสร้างตานาน เรื่องราว รวมถึงความหมายทางจิต วิญญาณ และภูมิปัญญา ที่คนในพื้นที่สร้างขึ้นและสืบทอดให้กับคนรุ่นหลัง ในความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน ชยันต์ วรรธนะภูติ 4 ได้อธิบายว่า เราสามารถพิจารณา ‘อัตลักษณ์’ ของกลุ่มคน ผ่านพื้นที่ในรูปของพิธีกรรม หรือ 1 Lefebrve
Henri. The Production of Space. 1991. เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา: อานาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. 2542. หน้า 184. 3 ชยันต์ วรรธนะภูติ. “ ‘คนเมือง’ : ตัวตน การผลิตซ้าสร้างใหม่ และพื้นที่ทางสังคม ของคนเมือง,” ศึกษาศาสตร์สาร. 30(2) : 19, 2546. 2 ไชยรัตน์
4 ชยันต์
วรรธนะภูติ. “ ‘คนเมือง’ : ตัวตน การผลิตซ้าสร้างใหม่ และพื้นที่ทางสังคมของ คนเมือง,” ศึกษาศาสตร์สาร. 30(2) : 20-21, 2546.
“พื้นที่พิธีกรรม” (Ritual Space) ได้โดยตรง ทั้งนี้เพราะว่าพิธีกรรมต่างๆ อาทิ ราชพิธี ศาสนพิธี แม้กระทั่ง งานศพ ได้สะท้อนอัตลั กษณ์ ของผู้ คนกลุ่ มนั้นๆ ในบริบทของ ‘พื้นที่’ และ ‘เวลา’ นอกจากนี้ ยังสามารถ พิจารณาพื้นที่พิธีกรรมได้หลายมิติ กล่าวคือ 1) พิธีกรรมในมิติการแสดง หรือความเป็น Drama ซึ่งเมื่อมอง พิธีกรรมในมิตินี้จะสามารถวิเคราะห์พิธีกรรมว่า เป็นการแสดงเพื่ออะไร ใครเป็นผู้แสดง ใครเป็นผู้ชมการแสดง คนในสังคมหรือนักท่องเที่ยว หรือเป็นการแสดงเพื่อคงความเป็นกลุ่มชนนั้นๆ ให้ดารงอยู่ 2) พิธีกรรมในมิติ สานึกของกลุ่มคนที่ประกอบพิธีกรรม 3) พิธีกรรมในมิติของตัวบท (Text) และบริบท (Context) เพื่อ“อ่าน” ความเป็ น คนกลุ่ ม นั้ น ผ่ านประเพณี พิ ธีก รรม 4) พิ ธีก รรมในมิ ติ ความทรงจ าทางสั งคม (Social Memory) พิธีกรรมจะเป็นการร่อนหรือกรองสัญญะที่สืบทอดมาจากบรรพชน การประกอบพิธีกรรมจึงเป็นการตอกย้า และบอกเล่าเรื่องราวที่เคยเชื่อเคยทาของคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง รวมทั้งเครื่องแต่งกายในพิธีกรรม ที่สามารถ บ่ งบอกว่า พวกเขามี ค วามเป็ น มาอย่ างไร กระนั้ น พิ ธี ก รรมก็ มิ ได้ ด ารงอยู่ อ ย่ างตายตั ว แต่ พิ ธีก รรมต้ อ ง ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทสังคมการศึกษา “พื้นที่พิธีกรรม” จึงต้องมองให้เห็นการ “เปลี่ยนแปลง” ซึ่งสามารถ พิ จ ารณาในส่ ว นประกอบที่ ป รั บ เปลี่ ย นไป อาทิ เครื่ อ งแต่ ง กาย เครื่ อ งประกอบพิ ธี ก รรม ศิ ล ปกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม แต่ถึงอย่างไรก็ตามในบทความชิ้นนี้ผู้เขียนต้องการจะมอง “การผลิตซ้าทางวัฒนธรรม” ใน ฐานะสิ่งประดิษฐ์ของพื้นที่ทางความคิด พื้นที่พิธีกรรม และการต่อรองภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรมที่ถูกประจุไว้ด้วยความหมาย (Coded Space) ตามมุมมองในมิติทางสังคมศาสตร์ หลวงพระบาง มรดกโลก ประเทศสาธารณประชาธิป ไตยประชาชนลาว มี ป ระชากรประมาณห้ าล้ านคน ครอบคลุ มพื้ น ที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร หลวงพระบางหรืออาณาจักรล้านช้าง ในอดีตหลวงพระบางเคยเป็นเมืองหลวงเก่า ของลาวมาก่อน เมื่อองค์การ UNESCOยกให้หลวงพระบางเป็นเมืองมรดกโลก ชื่อของหลวงพระบางจึงเป็นที่รู้ จัดในการท่องเที่ยวทีม่ ีชื่อเสียงมากที่สุดของลาว ตัวเมืองหลวงพระบางนั้นตั้งอยู่ริมแม่น้าคานไหลมาบรรจบกับแม่น้าโขงตามประวัติศาสตร์ของเมือง หลวงพระบางนั้นพระเจ้าฟ้างุ้มได้รวบรวมแว่นแคว้นต่างๆของชนเผ่าไท-ลาวในเขตลุ่มน้าโขง แม่น้าคาน แม่น้า อู ก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง ณ ดินแดนริมน้าโขงซึ่งคือหลวงพระบาง ในอีกมิติของเมืองหลวงพระบางนอกจาก จะมี วัด วัง หรื อบ้ านเรื อ นยุ ค อาณานิ ค มแล้ ว หลวงพระบางยั งเป็ น เมื องส าคั ญ ที่ สุ ด โดยเฉพาะในมิ ติ ท าง วัฒนธรรม
การผลิตซ้าทางวัฒนธรรม ภายใต้กระแสมรดกโลก หลวงพระบาง การผลิตซ้าทางวัฒนธรรมในมิติของการต่อสู้ระหว่างความเป็นท้องถิ่นและกระแสมรดกโลก เป็นการเรียกร้องวัฒนธรรมโดยมุ่งเน้นไปที่ทฤษฎีกลุ่มกระบวนการการผลิตซ้าทางวัฒนธรรม โดยการผลิตซ้า ทางวัฒ นธรรมจะต้องมี กระบวนการของการผลิ ตซ้าเพื่อสื บทอดวัฒ นธรรม (Reproduction for Culture Transmission) ของวอลเตอร์ เบนจามิน (Walter Benjamin)5 เห็ นว่าข้อเสนอเรื่องการสร้างอุตสาหกรรม วัฒนธรรมเป็นมุมมองของวัฒนธรรมชนชั้นที่เรียกตัวเองว่า ผู้ดีหรือกลุ่มชนชั้นสูงที่ประสงค์จะเห็นความเป็น เอกลั กษณ์ เฉพาะของงานศิล ปะที่ ไม่มีการลอกเลียนแบบเบนจามินเชื่อว่าถ้ามองจากจุดยืนประชาธิปไตย วัฒนธรรมจะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่ศิลปะพิเศษหายากของชนชั้นสูงจะได้ถูกแพร่กระจายไปในราคาถูกให้ ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้าถึงการผลิตซ้าและการที่ประชาชนนาไปสู่ชีวิตประจาวันของพวกเขาจึงเป็นเรื่อง ดีและก่อให้เกิดการตีความหมายใหม่ๆ จากมวลชนอันหลากหลายไม่จาเป็นต้องผูกขาดการตีความศิลปะโดย ผู้เชี่ยวชาญศิลปะขั้นสูงอีกต่อไปเบนจามินเห็นว่าการเสพงานศิลปะแบบ อุตสาหกรรมวัฒนธรรมไม่จาเป็นต้อง ทาให้ ลื มปั ญ หาทางโลกในชีวิตประจาวัน ตรงกันข้ามเนื้ อหา สาระของสื่ อมวลชน หลายเรื่อง กลั บช่วยให้ ประชาชนเข้าร่วมในการปฏิบัติการทางสังคมและมีความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้นเนื่องจากการผลิตซ้าและการ แพร่กระจายของวัฒนธรรมไปสู่มวลชนเป็นสิ่งที่ดีเบนจามินจึงเห็นประโยชน์และสนับสนุนความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีในการผลิต วัฒ นธรรม สินค้าให้มวลชนนอกจากนั้นเขาเห็นว่าในระบบการผลิตแบบทุนนิยมการ สร้างวัฒนธรรมเป็นสินค้ามวลชนเป็นไปเพื่อรับใช้การเมืองการเมืองในที่นี้ไ ม่ใช่โลกอันสมบูรณ์แบบแต่เป็น การเมืองในวิถีประจาวันของประชาชนซึ่งหมายถึง ศิลปวัฒนธรรมกลายเป็นพื้นที่ของการ ต่อสู้ในการสร้าง นิยามความหมายหรือการตีความหมายใหม่ๆของประชาชนนั่นเอง ดังนั้น กระบวนทัศน์ของการมองวัฒนธรรม ที่หลากหลาย ในแนวความหมายเดิมและความหมายใหม่จึ งแตกต่างไปขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกและ แนวคิดการตีความทางวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากเดิม
5 กาญจนา
แก้วเทพ,แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา.กรุงเทพมหานครฯ.ภาพพิมพ์. 2553
ในอีกมุมมองของแนวคิดและทฤษฎีอุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry) ของธี โอดอร์อดอร์โน (Theodor Adorno)6 มองวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมและวิถีการผลิตที่เน้นขาย ได้ในปริมาณมากมนุษย์เราจะไม่ได้รู้สึกถึงคุณค่าของวัฒนธรรมที่เสพอยู่และจะไม่รู้สึกสูญเสียหากว่าวัฒนธรรม นั้นได้สูญสลายไป กาญจนา แก้วเทพ 7 กล่าวว่า ในสังคมก่อนหน้ายุคปัจจุบันนั้นการสร้างสรรค์วัฒ นธรรม (Cultural production) นั้นจะมีการดาเนินการโดยปัจเจกบุคคล(ศิลปิน) หรือเป็นกลุ่มบุคคล (กลุ่มช่าง) ที่มี ลักษณะเป็ นงานหัตถกรรม ศิลปกรรม /นาฏกรรม ฯลฯ เป็นงานที่ทาอย่างมีแรงบันดาลใจของบุคคล เป็น จุดเริ่มต้น เน้นคุณค่าเชิงสุนทรียะ ความงดงาม/แสดงถึงความเป็นจริงของโลก/ชีวิต ไม่มีระยะเวลากาหนดที่ ตายตัว และมักจะอยู่เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือมิติเศรษฐกิจ ฯลฯ นักทฤษฎีในเชิงวิพากษ์นั้นได้มีมุมมองของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันซึ่งมุมมองที่แตกต่างนี้อยู่ ภายใต้ วัฒ นธรรมที่ ก าลั งจะเป็ น วั ฒ นธรรมเดี ย วกั น อั น เรีย ก ว่าวั ฒ นธรรมโลก (global culture) ซึ่ งเป็ น ประเด็นเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ที่การกระจายของสื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสรับรู้เรื่องราวภาพและเหตุการณ์ ในเวลาเดียวกันทั่วโลกปรากฏการณ์เช่นนี้ทาให้โลกที่หลากหลายแตกต่างกัน กลายสภาพเป็น “หมู่บ้านโลก” ซึ่งนักวิชาการ บางคนเห็นว่าโลกาภิวัตน์เป็น กระบวนการที่จะทาให้เกิดการกลืนกลายความหลากหลายทาง วัฒนธรรมขณะที่นักทฤษฎีวิพากษ์มองว่า การทาให้เป็นทั้งหมดของลัทธิบริโภคนิยมและการทาให้เป็นสินค้า มันลงรอยสอดคล้องไปกับความหลากหลายแบบหลากชาติ ( multinational diversification ) ซึ่งได้ไปกัด กร่อนความรับรู้เกี่ยวกับความจริงโดยสนับสนุนการเลียนแบบและการทาสาเนาจากสาเนาอีกทีหนึ่ง ( pastiche and copies of copies) ผลิต “ความสาบสูญหรือความไม่มีตัวตนของปัจเจกชนขึ้นมา”ซึ่งนั่น หมายถึงกระบวนการของโลกาภิวัตน์ ที่จะทาให้ทุกที่เป็นวัฒนธรรมโลกเป็นลัทธิบริโภคนิยมนั้นได้ก่อให้เกิด ความแตกต่างบนความหลากหลายเพราะความแตกต่างของแต่ละเชื้อชาติชาติพันธุ์เช่น ถึงแม้วัยรุ่นไทยจะรับ เอาวัฒนธรรมหรือสินค้าสากลจากอเมริกาหรือญี่ปุ่นมาก็คงมีกระบวนการใช้สัญญะในความหมายที่แตกต่างไป
6 สมสุข
หินวิมาน, ทฤษฎีสานักวัฒนธรรมศึกษา:ประมวลสาระและแนวการศึกษาชุดวิชาปรัชญานิเทศ ศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://202.28.25.135/~539932108com55/independent.html 7 กาญจนา
แก้วเทพ,แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา.กรุงเทพมหานครฯ.ภาพพิมพ์. 2553
เมืองหลวงพระบางในกระแสโลกาภิวัตน์ทาให้วัฒนธรรมท้องถิ่นเปลี่ยนไปเกิดการผสมผสาน ระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมโลก จุดยืนวัฒนธรรมโลกเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นในเมืองหลวงพระบาง วัฒนธรรมภายนอกนาพาสิ่ งต่างๆเข้าสู่ชุมชนหลวงพระบาง ดังนั้นปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ หรือปฏิสัมพันธ์ ระหว่างความเป็นโลกและความเป็นท้องถิ่นของพลวงพระบางจึงเป็นการผลิตซ้าทางวัฒนธรรมตามแนวคิดของ มาร์แวน ไครดี้ และแพทริกเมอร์ฟี่ (Kraidy and Murphy) ที่เชื่อว่า การปะทะสังสรรค์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็น การข้ ามสายพั น ธุ์ ท างวั ฒ นธรรม (cultural hybridity) ที่ มิ ได้ มี เพี ย งหนึ่ งเดี ย ว ในบางครั้ง กระบวนการ ผสมผสานอาจเป็นไปแบบลงตัว (articulation) อาทิ การผสมระหว่างประติมากรรมไม้โบราณกับลวดลาย เทคนิคการลงสีที่ทันสมัย ได้กลายเป็นสินค้ายอดนิยมของเมืองหลวงพระบาง หรืออีกมุมมองก็คือ กระบวนการ ที่วัฒนธรรมโลกและท้องถิ่นเดินไปอย่างคู่ขนาน (running in a parallel line) บางครั้งก็อาจเป็นส่วนผสมที่ เข้ากันได้ไม่สนิท (unplugging) หรือเป็น การผสมผสานทางวัฒ นธรรมที่นาไปสู่ความขัดแย้ง (conflict) ได้ เช่นกัน ด้วยเหตุนี้การอธิบายปฏิสัมพันธ์ของความเป็นโลกและท้องถิ่น จึงมองว่าวัฒนธรรมมีความหลากหลาย และมิใช่จะมีแต่ด้านครอบงาหรือลักษณะที่สาเร็จรูปแต่เพียงหนึ่งเดียว แต่เป็นการผสมผสานความเป็นโลกและ ความเป็นท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมลูกผสม(hybrid cultures)8 อยู่อย่างต่อเนื่อง หรืออีกนัยหนึ่ง ความเป็นโลกที่ ถูกสื่อสารข้ามชาติออกไปนั้นจะกลายมาเป็นวัตถุดิบที่นาเข้ามาผนวกกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น แต่ละ แห่งเสมอ
8 กาญจนา
แก้วเทพ,แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา.กรุงเทพมหานครฯ.ภาพพิมพ์. 2553
เอกสารอ้างอิง กาญจนา แก้วเทพ,แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา.กรุงเทพมหานครฯ.ภาพพิมพ์. 2553 ชยันต์ วรรธนะภูต.ิ “ ‘คนเมือง’ : ตัวตน การผลิตซ้าสร้างใหม่ และพื้นที่ทางสังคมของคนเมือง,” ศึกษาศาสตร์สาร. 30(2) : 19, 2546. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. วาทกรรมการพัฒนา: อานาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. 2542. หน้า 184. สมสุข หินวิมาน, ทฤษฎีสานักวัฒนธรรมศึกษา:ประมวลสาระและแนวการศึกษาชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์ และทฤษฎีการสื่อสาร.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช http://202.28.25.135/~539932108com55/independent.html Lefebrve Henri. The Production of Space. 1991.