บุญพระธาตุหลวงกับความศรัทธา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถือเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกับประเทศไทย เป็น บ้านพี่เมืองน้องที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกันหลายอย่าง ทั้งภาษาพูด อาหารการกิน การแต่งกายตลอดจนคติความเชื่อบางอย่าง ในสายตาชาวโลก ลาวยังเป็นเมืองลี้ลับที่รอคอยการ ค้นหา เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ทางวัฒนธรรมดั้งเดิม ที่รักษาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น (วิทย์ บัณฑิตกุล,2555.)
ภาพที่ 1 ท่าอากาศยานนานาชาติวัต ไต เวียงจันทน์ ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki
นครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาว ลักษณะการปกครองคล้ายกรุงเทพมหานคร เป็นเขต การปกครองพิเศษอยู่ภาคกลางของประเทศ มีเขตติดต่อชายแดนกับจังหวัดหนองคายของประเทศ ไทย ทางสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 1 แขวงเวียงจันทน์เป็นแขวงที่เจริญที่สุดใน 18 แขวง ของประเทศลาว พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักร ล้านช้างเมื่อปี ค.ศ. 1560 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอานาจลงปี ค.ศ. 1707 เวียงจันทน์ กลายเป็ น อาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1778 เจ้าพระยาจักรี ของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์จึงตกเป็น ประเทศราชของไทยนั บ แต่ นั้ น มา ปี ค.ศ. 1893 ดิ น แดนลาวตกอยู่ ภ ายใต้ ก ารปกครองของ ฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกาหนดให้ เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองลาวในอาณัติของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1899 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจึงได้กาหนดให้นครเวียงจันทน์เป็นเมือง หลวงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน (วิทย์ บัณฑิตกุล,2555.)
พระธาตุหลวงเป็นพระธาตุที่ใหญ่และสวยงามที่สุดใน สปป.ลาว สร้างโดยช่างโบราณของลาวที่ ต้องการจะฝากงานศิลป์ สถาปั ตย์ศิลปะแบบลาวล้านช้างในยุคสมัยที่ศิปะกาลังรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระธาตุนี้ยังเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ใต้ฐานในพระธาตุน้อยเมื่อแรกสร้างตั้งแต่สมัย อาณาจั ก รเจนละ ราวศตวรรษที่ 6 – 7 และได้ มี ก ารก่ อ สร้า งอี ก ครั้ง ในสมั ย ของพระเจ้ า ไชย เชษฐาธิ ราช ค.ศ.1566 ซึ่ งตามศิ ล าจารึก ของพระองค์ ได้ มี ก ารบั น ทึ ก ไว้ ว่ า พระองค์ ได้ น าพา ประชาชนสร้างพระธาตุ นี้ที่ชานเมืองเวียงจันทน์ด้านตะวันออก โดยก่อสร้างพระธาตุหลวงครอบ พระธาตุน้อยองค์หนึ่งที่มีมาแต่ก่อนแล้ว และให้ชื่อว่า “เจดีย์โลกะจุฬามณี ” แต่คนทั้งหมดต่าง พร้อมใจเรียกพระธาตุนี้ว่า พระธาตุหลวง พระธาตุหลวงจึงเป็นจุดรวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธา และดึงดูดความสมัคคีของคนลาว ทั้งประเทศไว้อย่างเหนียวแน่น ในแต่ละปีจะมีงานนมัสการพระธาตุหลวงที่ยิ่งใหญ่ในคืนเพ็ญเดือน สิบสอง ประชาชนทั่วประเทศจะพากันหลั่งไหลเข้ามาเวียงจันทน์ และร่วมบุญเดือนสิบสองนี้อย่าง พร้อมเพรียง (อรุณี ตันศิริ,2555)
ภาพที่ 2 พระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์ ที่มา https://www.google.co.th/search?q=เวียงจันทน์&es_sm
วัดสีเมืองเป็นเมืองเก่าแก่อีกวัดหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อของชาวนคร เวียงจันทน์ทั้งยุคโบราณสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ ทุกๆปีเมื่อจะเปิดงานบุญนมัสการพระธาตุหลวง จะต้องมีการทาพิธีอยู่วัดสีเมืองก่อนทุกครั้ง โดยการแห่ปราสาทผึ้งไปถวายบูชาที่ วัดสีเมืองก่อนที่ จะแห่ปราสาทผึ้งไปบูชาที่พระธาตุหลวงในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่า เดือน 12 จึงจะถือว่างานบุญปีนั้น สมบูรณ์ โดยมีเครื่องสักการะทั้งพวงดอกไม้ธูปเทียนและเครื่องบนบานต่างๆ
ภาพที่ 3 ถนนล้านช้าง คนรหลวงเวียงจันทน์ มุ่งหน้าสู่ประตัย ที่มา https://www.google.co.th/search?q= เวียงจันทน์&es_sm
อ้างอิง วิทย์ บัณฑิตกุล . สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.สานักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์, 2555. อรุณี ตันศิริ . แบกเป้ตะลอนลาว . สานักพิมพ์เพาเวอร์ เบสท์,2555.