ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
๒I มหาวิทยาลัยขอนแก่นในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาหลักของภาคอีสาน ได้สนองนโยบายของรัฐบาลในการเป็นมหาวิทยาลัยเพือ่ การพัฒนาชุมชนภาค อีสานให้เกิดความเข็มแข็ง และยั่งยืน โดยมุ่งเน้นวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนา แต่สิ่งสำ�คัญที่มหาวิทยาลัยไม่เคยมองข้ามคือ การนำ�ทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาใช้เป็นกลไกในการพัฒนาควบคู่นั้นคือ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับวิถีการดำ�เนินชีวิตของ ผู้คนในชุมชนสังคมอีสานได้อย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มิได้มุ่งเน้นเฉพาะ การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ยังให้ความสำ�คัญกับพื้นฐาน ด้านสังคมวัฒนธรรมของพืน้ ทีภ่ าคอีสาน ทีม่ คี วามหลากหลาย โดยมหาวิทยาลัย ดำ�เนินการตามพันธกิจแบบองค์รวม ๔ ด้าน คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม อย่างสอดประสานกัน การทำ�นุบ�ำ รุงศิลปวัฒนธรรมเป็น ๑ ใน ๔ ภารกิจหลัก ทีม่ หาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ความสำ�คัญในลักษณะเป็นบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน การวิจยั และ การบริการวิชาการ โดยร่วมมือกับคณะ และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย อีกทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนทางศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ภายนอก มหาวิทยาลัยรวมถึงต่างประเทศ ในด้านของการทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำ�คัญไม่ น้อยกว่าพันธกิจหลักด้านอื่นๆ เนื่องจากถือเป็นปัจจัยพื้นฐานของการศึกษา (Cultural Based Learning) อีกทั้งตามกรอบและแนวทางในการดำ�เนินงาน ด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมของรัฐบาลยังได้กำ�หนดพันธกิจด้านนี้เอา ไว้อย่างชัดเจน ในวาระ ๔ ปี (๒๕๕๕-๒๕๕๘) มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังได้กำ�หนด ยุทธศาสตร์ที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม อีสานและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอนุภมู ภิ าคลุม่ น�้ำ โขง ผ่านกระบวนการบูรณาการ ด้านการเรียนการสอน การสร้างค่านิยมและเอกลักษณ์ความเป็นไทย พัฒนา เครือข่ายความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมผ่านโครงการและ กิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง ความเข้มแข็งให้คนในสังคมอีกทั้งให้คนไทยได้สัมผัสกับวิถีวัฒนธรรมชุมชน ผ่านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กระตุ้นให้เกิดความรักความภาคภูมิใจ และ สร้างแรงจูงใจที่จะพัฒนาร่วมกันในด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน โดยจัด ให้มกี ารยกย่องเชิดชูเกียรติผทู้ �ำ คุณประโยชน์ดา้ นศิลปวัฒนธรรมภูมปิ ญ ั ญาอีก ด้วย โดยกำ�หนดวันที่ ๒ เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย เป็นวันแห่งเกียรติยศจัดพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน และ ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เพื่อการสร้างขวัญกำ�ลังใจให้กับศิลปินและ นักวัฒนธรรมทีไ่ ด้ทมุ่ เททัง้ ชีวติ จิตใจสร้างสรรค์ผลงานทีม่ คี ณ ุ ค่า อีกทัง้ เป็นการ สร้างแรงบันดาลใจให้ศิลปินรุ่นหลังในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป ซึ่งการจัด กิจกรรมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่ศิลปิน นักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง นักร้อง นักแสดง ที่ทำ�คุณประโยชน์เผยแพร่ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อีสานให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวโลก โดยดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ สำ�หรับการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน และการ ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ ซึ่งผู้ที่ได้รับการ ยกย่องทั้ง ๒ ประเภทล้วนเป็นผู้ที่มีทรงคุณค่าต่อผืนแผ่นดินอีสาน ที่ได้สร้าง คุณประโยชน์ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอย่างอเนกอนันต์ด้วยทั้งสิ้น ตลอดระยะเวลาของการจัดงานเชิดชูเกียรติผทู้ มี่ ผี ลงานดีเด่นด้านศิลปะและ วัฒนธรรม โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแกนกลางและเครือข่ายศิลปวัฒนธรรม ให้ความร่วมมือ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งตัวศิลปิน นักวิชาการและ ประชาชนโดยทั่วไป โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำ�การรวบรวมข้อมูลของ ปราชญ์ท้องถิ่นศิลปินพื้นบ้าน โดยนำ�องค์ความรู้ของแต่ละท่าน ถ่ายทอดใน รูปแบบต่างๆ สั่งสมความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเผยแพร่ และเอื้อต่อการเรียนรู้ สอดรับกับภารกิจด้านการเรียนการสอน การวิจยั และการบริการวิชาการอีกด้วย
ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
ด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้มีความเจริญวัฒนา และสนับสนุนผู้สร้างผลงานศิลปะพื้นบ้าน อีสาน และศิลปะอีสานร่วมสมัย ซึ่งผลงานทุกชิ้นล้วนทรงคุณค่า จึงได้มีการ จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกว่า ๘ ปี การยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน จะผ่านการกลั่นกรอง และ คัดเลือกโดยคณะกรรมการผูท้ รงคุณวุฒิ ซึง่ พิจาณาจากความรูค้ วามเชีย่ วชาญของ ศิลปินแต่ละท่าน รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่นเป็นทีย่ อมรับ พัฒนาศิลปะ ในแขนงนั้นๆ เป็นผู้ผดุงถ่ายทอด หรือเป็นต้นแบบของศิลปินรุ่นหลัง อีกทั้งยัง เป็นผูท้ เี่ ปีย่ มด้วยคุณธรรม ก่อประโยชน์ให้แก่สงั คม ผลงานทุกชิน้ ล้วนสะท้อนให้ เห็นอัตลักษณ์ ลักษณะเฉพาะของศิลปิน มีความประณีต ละเอียด ลึกซึง้ แสดง ให้เห็นถึงคุณค่าของความดี ความงาม คุณค่าทางอารมณ์ ความเป็นธรรมชาติ วัฒนธรรม จริยธรรม จินตนาการ กระตุ้นและสร้างพัฒนาการทางสติปัญญา แก่ชมุ ชน สังคมท้องถิน่ อีสาน มีการเผยแพร่ตอ่ สาธารณชน ทัง้ ในระดับท้องถิน่ ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น ๓ สาขา ดังนี้ สาขาทัศนศิลป์ ศิลปะทีม่ องเห็นได้ดว้ ยตา ทัง้ ทีเ่ ป็นสองมิตหิ รือสามมิติ แบ่ง เป็น วิจติ รศิลป์ และประยุกต์ศลิ ป์ ได้แก่จติ รกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หัตถกรรม เป็นต้น สาขาวรรณศิลป์ บทประพันธ์ทแี่ ต่งอย่างมีศลิ ปะทัง้ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ใช้ภาษาได้ไพเราะกินใจ อาทิ กลอนลำ� ผญา เรื่องสั้น นวนิยาย เป็นต้น สาขาศิลปะการแสดง เป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดงซึ่งเป็นได้ทั้ง แบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ประกอบด้วย การละคร การดนตรี ภาพยนตร์ การแสดงพื้นบ้านรูปแบบต่างๆ อาทิ หมอลำ� การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น สำ�หรับการยกย่องเชิดชูผทู้ มี่ ผี ลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จะมอบให้ กับผู้ที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม โดยใช้ฐานความรู้ทางศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่า ต่อเติมมูลค่า สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ผู้คน ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งที่เป็น บุคคล หรือองค์กร โดยพิจารณาจาก เป็นผูท้ ตี่ งั้ อยูด่ ว้ ยจริยธรรม และคุณธรรม ตามครรลองคลองธรรม สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมจนเป็นที่ ยอมรับจากสังคม พร้อมกับให้บริการแก่สังคมด้วยจิตอาสาตลอดมา ส่งเสริม ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ก่อประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น แสดง ให้เห็นถึงองค์ความรู้ เท่าทันปรากฏการณ์ในสภาวะปัจจุบนั อีกทัง้ เป็นผูน้ �ำ ทาง ความคิด สามารถนำ�ความรู้ความสามารถไปปรับใช้ให้เข้ายุคสมัยเป็นอย่างดี ประกอบด้วย ๑๐ สาขา ดังนี้ ๑. สาขาเกษตรกรรม เป็นผู้ใช้ความรู้ความสามารถในการผสมผสานองค์ ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบน
I๓
พื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม สามารถพึ่งตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การทำ� เกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปญ ั หาการเกษตร ทัง้ ด้านผลผลิต ด้านการตลาด รู้จักปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการเกษตร ๒. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม การรู้จักใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ใน การแปรรูปผลผลิตเพื่อชะลอการนำ�เข้าตลาด เพื่อแก้ปัญหาด้านการบริโภค อย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นขบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถพึง่ ตนเองได้ ตลอดทัง้ การผลิตและการจำ�หน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม ๓. สาขาการแพทย์แผนไทย ความสามารถในการจัดการ ป้องกัน และ รักษาสุขภาพของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชมุ ชนสามารถพึง่ ตนเองทางสุขภาพ และอนามัยได้ ๔. สาขานิเวศน์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งการอนุรักษ์ พัฒนาและใช้ประโยชน์จากคุณค่าของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ๕. สาขาวิสาหกิจชุมชนและธุรกิจชุมชน ความสามารถในการบริหาร จัดการด้านการสะสมและการบริหารกองทุนและธุรกิจชุมชน ทั้งที่เป็นเงิน ตราและโภคทรัพย์ เพื่อเสริมสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของสมาชิกในชุมชน ๖. สาขาศิลปกรรม ความสามารถในการผลิตผลงานทางศิลปะสาขาต่างๆ ประกอบด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะ การแสดง ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นโดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้คุณค่าสู่การ ต่อยอดเพื่อการพัฒนาในมิติต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ๗. สาขาภาษาและวรรณกรรม ความสามารถสร้างผลงานด้านภาษา ทั้ง ภาษาโบราณ ภาษาไทย และการใช้ภาษา ตลอดทัง้ ด้านวรรณกรรมทุกประเภท รวมถึงการอนุรกั ษ์และเผยแพร่ เพือ่ ให้ภาษาและวรรณกรรมยังดำ�รงอยู่ ก่อให้ เกิดความภาคภูมิใจร่วมกันของคนในสังคม ๘. สาขาศาสนาและประเพณี ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลัก ธรรมคำ�สอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีค่าให้เกิดความ ภาคภูมิใจร่วมกันของคนในสังคม ๙. สาขาอาหารและโภชนาการ ความสามารถในการประกอบการด้าน อาหารและโภชนาการ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประยุกต์ใช้ได้อย่าง เหมาะสม อันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพตามหลักโภชนาการที่ดี ทั้งยังแสดงถึง ภูมิปัญญาบูรณาการตามสมัยนิยมได้ ๑๐. สาขาสือ่ สารวัฒนธรรม ความสามารถในการนำ�เสนอเรือ่ งราว เนือ้ หา หรือกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือ สะท้อนอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นให้มีความเหมาะสม
๔I
เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน ยกย่องปณิธานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลการพิจารณาและคัดเลือกรางวัลศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ รวมทั้งสิ้น ๓๐ รายชื่อ จากการเสนอชื่อศิลปินอีสานและผู้ที่มีผลงานด้านวัฒนธรรมกว่า ๘๐ รายชื่อ เตรียมพร้อมจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ในวันอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งรางวัลนี้เป็นการสร้างกำ�ลังใจให้ศิลปิน และสร้างแรงบันดาลใจให้ ศิลปินและคนรุ่นหลังต่อไป ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และสำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรี ย มจั ด งานมอบรางวั ล ศิ ล ปิ น มรดกอี ส านและผู้ มี ง านดี เ ด่ น ด้ า น วัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำ�ปี ๒๕๕๖ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย โดยกำ�หนดจัดขึน้ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๖ ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.กิตติชยั ไตรรัตนศิรชิ ยั อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผูใ้ ห้เกียรติมอบรางวัลแก่ศลิ ปินผูเ้ ป็นตำ�นานของชาวอีสาน ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรที่คงอยู่เพื่อมวลชน ที่ได้รับคัดเลือก จำ�นวนทั้งสิ้น ๓๐ รายชื่อ โดย แบ่งเป็นรางวัลอมรศิลปินมรดกอีสาน* จำ�นวน ๑ รายชื่อ รางวัลศิลปินมรดก อีสาน จำ�นวน ๑๒ รายชือ่ และผูท้ มี่ ผี ลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำ�นวน ๑๕ รายชื่อ และ ๒ องค์กร ดังนี้
รางวัล “อมรศิลปินมรดกอีสาน”* มอบแด่ศิลปินผู้ที่มีผลงานเป็นอมตะ และยังคงมีชื่อเสียง เป็นที่คุ้นเคยของประชาชนอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย ได้แก่ ตุม้ ทอง โชคชนะ หรือ “เบญจมินทร์” ครูเพลงชาวอุบลราชธานี ผูเ้ ปีย่ มไปด้วย ความสามารถ ทั้งการประพันธ์ การขับร้อง อีกทั้งยังเป็นผู้เขียนบทและกำ�กับ ภาพยนตร์อีกด้วย โดยเพลงที่ยังคงเป็นอมตะ และนำ�มาประยุกต์ให้เข้ากับ สมัยได้ตลอดมาอย่าง “โปรดเถิดดวงใจ” ขับร้องโดยทูล ทองใจ โดยเฉพาะ การประพันธ์เพลงรำ�วง ทำ�ให้ได้รับฉายาว่า “ราชาเพลงรำ�วง” มีผลงานเพลง จากปลายปากกาไม่ต่ำ�กว่า ๘๐๐ เพลง ปัจจุบันได้ล่วงลับไปแล้ว คงไว้แต่ชื่อ และผลงานที่ไม่มีวันตาย
ยกย่องเชิดชูเกียรติ “อมรศิลปินมรดกอีสาน”* จำ�นวน ๑ ท่าน ได้แก่ ๑. ตุ้มทอง โชคชนะ (เบญจมินทร์) สาขา ประพันธ์เพลง เสียชีวิต จ.อุบลราชธานี เป็นผู้ประพันธ์และขับร้องเพลงในแนวรำ�วง-รำ�โทน จนได้รับขนานนามว่าราชาเพลงรำ�วงของไทย ผู้ประพันธ์บทเพลงอมตะ “โปรดเถิดดวงใจ” และเพลงอื่นๆ กว่า ๘๐๐ เพลง โดดเด่นเพลงในจังหวะรำ�วง เป็นนักร้องต้นแบบของราชาเพลงลูกทุ่ง สุรพล สมบัตเิ จริญ และมีผลงานสร้างภาพยนตร์ เช่น เรือ่ งเสือเฒ่า ไม่มสี วรรค์ส�ำ หรับคุณ แม้จะล่วงลับไปแล้วแต่ผลงานยังอยูใ่ นดวงใจผูฟ้ งั เสมอ
ยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน จำ�นวน ๑๒ ท่าน ดังนี้ สาขาวรรณศิลป์ มีผู้ได้รับรางวัล ๒ ท่าน ดังนี้ ๑. ไพวรินทร์ ขาวงาม สาขา วรรณกรรมร่วมสมัย อายุ ๕๒ ปี จ.ร้อยเอ็ด กวี นักประพันธ์ และคอลัมนิสต์ เจ้าของรางวัลซีไรต์ ปี ๒๕๓๘ จากหนังสือรวมบทกวี “ม้าก้านกล้วย” มีผลงานที่หลากหลาย โดดเด่นในด้านการประพันธ์กวี การันตีรางวัลจากหลายสถาบัน อาทิ เกียรติประวัติรางวัล BOOKS AND BEAR, ศิลปินร่วมสมัยดีเด่น รางวัลศิลปาธร และ บทกวี รอยรักรอยรบ จากสำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรมทั้งยังเป็นผู้ประพันธ์คำ�ร้อง ดีเด่นด้านภาษาไทยในเพลง ไหมแท้ที่แม่ทอ รางวัลเพชรในเพลง เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม * อมรศิลปินมรดกอีสาน อ่านว่า อะ-มะ-ระ-สิน-ละ-ปิน-มอ-ระ-ดก-อี-สาน
ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
๒. คำ�แอ ทองจันทร์ (คำ�เกิ่ง ทองจันทร์) สาขา ประพันธ์เพลงลูกทุ่งหมอลำ� อายุ ๖๗ ปี จ.อุบลราชธานี เจ้าของฉายา “อินทรีย์อีสาน” นักแต่งเพลงและผู้ปั้นนักร้องหมอลำ�แนวหน้ามาประดับวงการมากมาย อาทิ จินตหรา พูนลาภ, สาธิต ทองจันทร์, เดือนเพ็ญ อำ�นวยพร, เอ๋ พจนา ฯลฯ เจ้าของผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงดัง อาทิ ปากโกรธใจคิดถึง, ความรักเหมือน ควันบุหรี่, มือสังหาร ซึ่งขับร้องโดย สาธิต ทองจันทร์ ซึ่งเป็นกลอนลำ�ที่ได้รับความนิยมและครองใจแฟนเพลงมาจนถึงปัจจุบัน และมี ผลงานกลอนลำ�อีกมากมาย เช่น กุหลาบแดง ของสมจิตร บ่อทอง ที่โด่งดัง เป็นต้น
สาขาศิลปะการแสดง มีผู้ได้รับรางวัล ๑๐ ท่าน ดังนี้ ๑. ฐิติรัตน์ โคตรหานาม (ไพรินทร์ พรพิบูลย์) สาขา ขับร้องเพลงลูกทุ่งอีสาน อายุ ๖๐ ปี จ.อุบลราชธานี รู้จักกันในนาม “ไพรินทร์ พรพิบูลย์” สร้างชื่อจากการร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “มนต์รักแม่น้ำ�มูล” เพลง “ลำ�กล่อม ทุ่ง” และยังลำ�บันทึกเสียงกลอน “ลำ�เพลินเชิญทอดกฐิน”, “สาวน้อยลำ�เพลิน”, “ควายหาบ่เห็น”, “ลำ�ตังหวายไพรินทร์” “ลำ�ไช สาระวัน” “ลำ�เพลินเหมันต์รัญจวน” ทำ�ให้รางวัลเชิดชูเกียรติมากมายในด้านการขับร้องเพลงลูกทุ่ง โดยเฉพาะ เหรียญ “๕ ธันวา มหาราช” จากมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช
๒. จเร ภักดีพิพัฒน์ (เพชร พนมรุ้ง) สาขา ขับร้องเพลงลูกทุ่ง อายุ ๗๒ ปี จ. บุรีรัมย์ ราชาเพลงโห่ของเมืองไทย มีผลงานเพลงดังอมตะ เช่น เมือ่ ฉันขาดเธอ, อย่ากลัวจน, ใกล้ค�่ำ ลง, อินเดียจ๋า, ธรรมชาติบา้ นนา, จูบลม ห่มเงา เป็นต้น ด้วยเอกลักษณ์ในการผสมผสานจังหวะสากลเข้ากับทำ�นองเพลงลูกทุง่ ส่งผลให้ได้รบั ความนิยมอย่างแพร่หลาย พร้อมกับได้ รับพระราชทานรางวัล จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๓. ดารินทร์ ชุมมุง (พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย) สาขา ขับร้องเพลงลูกทุ่งหมอลำ� อายุ ๕๓ ปี จ. ร้อยเอ็ด เจ้าของฉายา “ราชินีลำ�เพลิน” สร้างสรรค์ผลงานที่คุ้นหู ไม่ว่าจะเป็น สาวติ๋มยิ้มบ่หวาน, ลำ�เพลินยอดฮิตพิมพ์ใจ, ดอกกุกลาบแดง, รักข้ามโขง, ลำ�เพลินรักจริงต้องรอ, อดีตรักบึงแก่นนคร, สาวกาฬสินธุ์คอยแฟน, วอนเจ้าพ่อพลาญชัย จากเด็กน้อยบ้านนาแจ้งเกิดด้วย การประกวดร้องเพลง ครูเพลงหลายท่านเห็นพรสวรรค์ บ่มเพาะ และขัดเกลา จนทำ�ให้เป็นหมอลำ�อมตะจนถึงปัจจุบัน
๔. สำ�รอง สาธุการ สาขา ลำ�กลอน อายุ ๖๕ ปี จ. อุดรธานี ร้องหมอลำ�เผยแพร่ประชาธิปไตยทั่วภาคอีสาน ทั้ง ๑๖ จังหวัด และแต่งกลอนลำ�เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้ได้รับ รางวัลจากหลายสถาบัน อาทิ รางวัลคนดีศรีอุดร รางวัลเล่าเรื่องเมืองอุดร บุคคลตัวอย่าง สืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมดีเด่น และ รางวัลหมอลำ�กลอนดีเด่น ได้รับยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๖
๕. อิศม์เดช ฤาชา (จำ�นง ฤาชา) สาขา ลำ�กลอน อายุ ๖๐ ปี จ.ขอนแก่น เริม่ ฝึกหมอลำ�ตัง้ แต่เป็นวัยรุน่ ด้วยพรสวรรค์จงึ มีโวหารในการต่อกลอนลำ�ทีเ่ ก่งกาจ มีจติ อาสาช่วยเหลือสังคม อาทิ ลำ�กลอนย้อนยุค การอนุรกั ษ์พนั ธุพ์ ชื ถวายสมเด็จพระเทพฯ เป็นศิลปินผูส้ บื สานมรดกภูมปิ ญ ั ญาทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหมอลำ�กตัญญู การันตีจากชมรมประชานุกูล และผู้ทำ�คุณต่องานสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย พร้อมขับลำ�เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาอีก ด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งศิลปินที่ร่วมเชิดชูศิลปะพื้นบ้านให้คงอยู่ และประยุกต์ให้เข้ากับสมัยได้เป็นอย่างดี
๖. จำ�ปี อินอุ่นโชติ (หมอลำ�สมชายเงินล้าน) สาขา ลำ�กลอน อายุ ๖๖ ปี จ.ร้อยเอ็ด เป็นที่รู้จักกันดีในวงการหมอลำ� คือ หมอลำ�สมชายเงินล้าน บิดาของนักร้องลูกทุ่งแอนนา อริสา เป็นศิลปินพื้นบ้านอีสานที่มี ความรู้ความสามารถด้านการแสดงหมอลำ� ชั้นเป็นบรมครู มีศิลป์แสดงที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น กิริยาท่าทางในการแสดงต่างๆ จนกลาย เป็นต้นฉบับสำ�คัญของภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน ด้านดนตรีและศิลปะหมอลำ�เคยเป็นพระเอกคณะ ยอดมงกุฎเพชร คณะขวัญจักรวาล ลำ�กับหมอลำ�สมาน หงสา สร้างชื่อเสียงทั้งในประเทศและภูมิภาคลุ่มน้ำ�โขง
I๕
๖I ๗. สมร พลีศักดิ์ (หมอนหนังตะลุง) สาขา ประโมทัย อายุ ๗๒ ปี จ. ร้อยเอ็ด เป็นครูภูมิปัญญาด้านหนังประโมทัย ผนวกเข้ากับการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขจนได้รับรางวัลระดับจังหวัดร้อยเอ็ด จากนั้นได้รับ เลือกเป็นคณะกรรมการบริหารและที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมอำ�เภอธวัชบุรี รับเกียรติเป็นวิทยากรพิเศษ กลุ่มสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงผู้ซึ่งได้สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นในด้านศิลปวัฒนธรรมจนปรากฏชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับใน สังคมและ ประเทศชาติ ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาด้านหนังประโมทัยตลอดมา
๘. กมลโรจน์ นิวัฒน์บรรหาร (ครูจุก) สาขา นาฏศิลป์พื้นบ้านอีสานใต้ อายุ ๖๔ ปี จ.สุรินทร์ เป็นที่รู้จักกันในนาม “ครูจุก” เชี่ยวชาญในการแสดงพื้นบ้านของอีสานใต้หลายแขนง โดยเฉพาะ “เรือมอันเร” เผยแพร่ศิลปะและ วัฒนธรรมอีสานใต้ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ทำ�ให้ได้รับการยกย่อง เชิดชูในหลายสถาบัน อาทิ คนดีศรีเมืองช้าง, รางวัลพระราชทานเสมาทองคำ�, ครูภูมิปัญญารุ่นที่ ๖ ด้านศิลปกรรม เรือมอันเร อุทิศ ตนรับใช้สังคมโดยการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการส่งเสริมด้านศิลปะและวัฒนธรรมอีกด้วย
๙. ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์ สาขา ดนตรีพื้นบ้านอีสาน อายุ ๗๐ ปี จ.ร้อยเอ็ด ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านและแกนนำ�กลุ่มคีตศิลป์ผู้มีบทบาทในการก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มี ตำ�ราและบทความด้านดนตรีนาฏศิลป์มากมาย อาทิ วรรณคดีอีสาน,สำ�เนียงอีสาน, กลอนลำ�คอนสวรรค์, ชีวิตและผลงานของคีตกวี เอกของไทย, ดนตรีพื้นบ้านอีสาน เป็นต้น เป็นวิทยากรให้ความรู้ทั้งในและต่างประเทศ เช่น อังกฤษ โปรตุเกส ญี่ปุ่น
๑๐. บุญมา เขาวง (ส.บุญมา) สาขา ดนตรีพื้นบ้านอีสาน “พิณ” อายุ ๖๒ ปี จ.กาฬสินธุ์ ศิลปินพื้นบ้านอีสาน ผู้พิการทางสายตา มีความเชี่ยวชาญด้านการบรรเลงเดี่ยวพิณ เป็นบรมครูที่น่ายกย่อง และยังเป็นครูมาเป็น อาจารย์พิเศษในหลายสถาบันถ่ายทอดความรู้เทคนิคการบรรเลง เดี่ยวพิณ ให้กับนิสิต นักศึกษา ศึกษาการดีดพิณด้วยตนเอง จากที่ มีความชื่นชอบและพรสวรรค์ที่เป็นเลิศ กวาดรางวัลชนะเลิศจากการร่วมประกวดหลายเวที มีลายพิณที่เป็นเอกลักษณ์สะกดผู้ฟังให้ เคลิบเคลิ้มตามอารมณ์เสียงพิณได้
ยกย่องเชิดชูผู้ที่มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำ�นวน ๑๕ ท่าน ๒ องค์กร ดังนี้ สาขาศาสนาและประเพณี ๑. พระราชปริยัติวิมล สาขา ทำ�นุบำ�รุงพุทธศาสนา อายุ ๖๐ ปี จ. ร้อยเอ็ด เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านพระพุทธศาสนาทั้งด้านการเผยแพร่และการบริหารจัดการ เป็นพระผู้มีบทบาททั้งในจังหวัด ร้อยเอ็ด และพื้นที่ใกล้เคียง และทำ�หน้าที่รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จากนั้น เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด และเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี ๒๕๕๒ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนาม “พระราชปริยัติวิมล”
๒. ถาวร เชื้อบุญมี (เจ้าพ่อกวน) สาขา พิธีกรรม อายุ ๖๔ ปี จ. เลย มีบทบาทในการเผยแพร่ความรู้ด้านศาสนาและพิธีกรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำ�ให้ได้รับรางวัลครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๗ ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี รวมถึงรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านส่งเสริมอนุรักษ์ วัฒนธรรมมรดกไทยทางพระพุทธศาสนา จากกระทรวงวัฒนธรรม มีส่วนช่วยเหลือสังคมและถือเป็นผู้นำ�ทางจิตวิญญาณและพิธีกรรม อันศักดิ์สิทธิ์ในงานพระธาตุศรีสองรักษ์ จ.เลย
สาขาภาษาและวรรณกรรม ๑. พระมหาประมวล ฐานทตฺโต สาขา ประพันธ์วรรณกรรมพุทธศาสนา อายุ ๔๓ ปี จ. ขอนแก่น เป็นพระทีป่ ระพันธ์หนังสือเกีย่ วกับพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี และหลากหลาย ทำ�ให้ได้รบั เกียรติบตั รในฐานะผูท้ �ำ คุณประโยชน์ ต่อพระพุทธศาสนา ด้านการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนาจากสำ�นักงานเจ้า คณะจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อ พระพุทธศาสนา ด้านการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากสถาบันพิมลธรรม รวมไปถึงรางวัลพระราชทาน เสาเสมาธรรมจักร ทองคำ� อีกด้วย
ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
สาขาสื่อสารวัฒนธรรม ๑. ธีระพงษ์ โสดาศรี สาขา ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน อายุ ๕๘ ปี จ. ขอนแก่น เป็นผูร้ เิ ริม่ ก่อตัง้ สมาคมสือ่ มวลชน จ.ขอนแก่น พร้อมจัดทำ�คูม่ อื กรรมการตัดสินสือ่ พืน้ บ้าน และคูม่ อื ให้ความรูม้ ากมาย อาทิ เทคนิค การฝึกอบรม คู่มือผู้ดำ�เนินรายการ ผู้ควบคุมหอกระจายข่าว ได้รับเกียรติกรรมการตัดสินการประกวดศิลปวัฒนธรรมหลายเวที ได้รับ รางวัลข้าราชการดีเด่นกรมประชาสัมพันธ์ รวมทัง้ ได้รบั รางวัล เทพทอง บุคคลดีเด่นด้าน”การบริหารองค์กรดีเด่น” จากสมาคมนักวิทยุ และโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เข็มเชิดชูเกียรติรางวัล โนมาไพรซ์ ขององค์การยูเนสโก
๒. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ สาขา บริหารจัดการวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสาน ที่ตั้ง อ.เมือง จ. สุรินทร์ เป็นองค์กรที่มีบทบาทในการส่งเสริม และร่วมฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีจังหวัดในแถบอีสานใต้ โครงการทางด้านวัฒนธรรม โครงการจัดงานประเพณีขนึ้ เขาสวายเคาะระฆังพันใบ, โครงการมหกรรมตักบาตรบนหลังช้าง, โครงการจัดกิจกรรมลานศิลปวัฒนธรรม ชุมชน เป็นต้น ส่งผลให้ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลเสมาธรรมจักร ประเภท ผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา, รางวัลองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
สาขาเกษตรกรรม ๑. เฉลิมศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ (เกษตรเหลิม) สาขา เกษตรทฤษฎีใหม่ อายุ ๔๗ ปี จ.กาฬสินธุ์ แกนนำ�ก่อตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรผสมผสานประจำ�ตำ�บลกมลาไสย รวมถึงศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ได้รับคัดเลือกเป็นปราชญ์ชาวบ้าน จ.กาฬสินธุ์ และเกษตรกรดีเด่น ปัจจุบันเป็น วิทยากรศูนย์ฝึกอบรม (ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกาฬสินธุ์) จากมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง
๒. สนิท ทิพย์นางรอง สาขา การจัดการน้ำ�เพื่อการเกษตร อายุ ๔๘ ปี จ.บุรีรัมย์ ผูน้ �ำ ในการรณรงค์ชาวบ้านในชุมชนช่วยกันอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมและทำ�ความสะอาดในชุมชนให้นา่ อยู่ เป็นแกนนำ�คิดแก้ไขปัญหาการ ขาดแคลนน้ำ�ในชุมชน จึงจัดทำ�โครงการขุดคลองส่งน้ำ�ขึ้น และได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ�ชุมชน ส่งผลให้ได้รับปริญญา วิทยาศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ และรางวัลหมู่บ้านได้นำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปใช้ประโยชน์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขานิเวศน์วัฒนธรรมและส่งแวดล้อม ๑. สมพงษ์ ชิณสีดา สาขา บูรณาการสิ่งแวดล้อมกับการเกษตร อายุ ๗๕ ปี จ. อำ�นาจเจริญ มีส่วนร่วมก่อตั้งโครงการพัฒนาระบบนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมสวนสมุนไพร ภายใต้ชื่อ “สวนสมุนไพรเพื่อเทิดพระเกียรติ ๗๒ พรรษา มหาราชินี” โดยความร่วมมือระหว่างผู้แทน บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) กับเครือข่ายวุฒิอาสาจังหวัดอำ�นาจเจริญ ส่งให้ได้รับ รางวัลต้นแบบคนดีศรีอำ�นาจเจริญ และสวนสมุนไพรเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน
สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ๑. กลุ่มทอเสื่อบ้านแพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม สาขา ออกแบบและประยุกต์ ที่ตั้ง ต.บ้านแพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ชุมชนบ้านแพงเป็นชุมชนที่เน้นการทอเสื่อกกมาตั้งแต่อดีต เป็นการรวมชาวบ้านในท้องถิ่นให้ได้มีงานทำ� ผลิตภัณฑ์ของบ้านแพง นั้น ได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัยทั้งในเรื่องรูปแบบ และลวดลาย ทำ�ให้บ้านแพง กลายเป็นหมู่บ้านโอทอปที่มีชื่อเสียงและเป็น ที่รู้จักกันดีในด้านผลิตภัณฑ์เสื่อกกทั้งจากในและต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้ชุมชนกลายเป็นแหล่งศึกษาดูงานในด้านการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกด้วย
สาขาศิลปกรรม ๑. อำ�นวย วรพงศธร สาขา ออกแบบลวดลายอีสานประยุกต์พื้นบ้าน อายุ ๕๕ ปี จ. อุบลราชธานี มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมทั้งในระดับจังหวัด และระดับประเทศ เช่น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ด้านทัศนศิลป์ จาก สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีผลงานออกแบบลวดลายและสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ โดยเฉพาะการออกแบบ หอศิลปวัฒนธรรม ในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อีกทัง้ มีสว่ นในการเผยแพร่ความรูแ้ ละร่วมอภิปรายความเข้าใจพระพุทธศาสนา ผ่านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
I๗
๘I ๒. ผศ.ดร.สุกิจ พลประถม สาขา ดนตรีพื้นบ้านอีสานศึกษา อายุ ๖๐ ปี จ. อุดรธานี ผู้อุทิศตนศึกษาและค้นคว้าด้านดนตรีและนาฏศิลป์มาทั้งชีวิต มีบทความวิชาการด้านดนตรีอีสาน รวมไปถึงหนังสือ ตำ�รา และ เอกสารประกอบการเรียนการสอน อาทิ “ดนตรีพื้นบ้านอีสาน(ฉบับปรับปรุง)”, “การประพันธ์เพลง”, ”ดนตรีพื้นบ้านไทย” และ “การพัฒนาอย่างยิ่งยืน” เป็นต้น ได้รับเกียรติให้เป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดดนตรีพื้นบ้านหลายเวที อุทิศตนให้สังคมจนได้ รับรางวัล“คนดีศรีอุดรธานี” สาขาการให้บริการสังคม
๓. หัสดี ทินราช สาขา กลองยาวอีสานประยุกต์ อายุ ๗๕ ปี จ.ขอนแก่น ก่อตั้ง ฝึกสอน และสร้างสรรค์การแสดงด้านโปงลางและกลองยาว พร้อมกำ�กับการแสดง คณะเสียงศิลป์อีสาน ร่วมการประกวด งานเทศกาลไหม, กำ�กับการแสดง คณะสาวน้อยเพชรภูพานคำ� ร่วมเข้าการประกวดกลองยาวหลายเวที พร้อมคว้ารางวัลขนะเลิศใน แทบทุกสนามที่ลงประชัน เป็นตัวแทนจังหวัดขอนแก่นเข้าร่วมประกวด ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ อีกด้วย
๔. รัญจวน ดวงไข่ษร (หมอลำ�รัญจวญ ดวงเด่น) สาขา ลำ�กลอน อายุ ๖๖ ปี จ. ร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม รัญจวน ดวงเด่น เป็นหมอลำ�ที่มีผลงานและช่วยเหลือสังคม ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยการสอน การลำ�ให้กับเยาวชน และแต่งกลอนลำ�เพื่อส่งเสริมสุขภาวะของคนในชุมชน ส่งผลให้ได้รับโล่เกียรติเชิดชูเกียรติลำ�อนุรักษ์ป่า จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และโล่เชิดชูเกียรติบุคคลต้นแบบด้านศิลปิน หมอลำ�พื้นบ้านอีสาน จากการประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม
๕. พิณเพชร ทิพย์ประเสริฐ (คำ�เม้า เปิดถนน) สาขา ดนตรีพื้นบ้านอีสาน พิณ อายุ ๔๖ ปี จ.ร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม คำ�เม้า เปิดถนน ศิลปินดีดพิณที่มีผลงานร่วมกับศิลปินในหลายค่ายเพลง ได้รับเกียรติถวายดีดพิณหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเข้ารับพระราชทาน ถ้วยรางวัล จากองคมนตรี รับเชิญเป็นอาจารย์พิเศษ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ดุริยางคศิลป์ และนำ�ศิลปวัฒนธรรมการดีดพิณไปเผย แพร่ยังต่างประเทศ
๖. อรอุมา จันทรวงษา (หมอลำ�ทองศรี ศรีรักษ์) สาขา ลำ�กลอน อายุ ๕๘ ปี จ. หนองบัวลำ�ภู รู้จักกันในนาม หมอลำ�ทองศรี ศรีรักษ์ ปัจจุบัน ศิลปินหมอลำ�กลอน รับจ้างทั่วไป รับงานแสดงในงานประเพณี สนับสนุนกิจกรรม โครงการต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พร้อมเปิดศูนย์สืบสาน อนุรักษ์ เผยแพร่ศิลปะการแสดงและดนตรีพื้นบ้าน จ.หนองบัวลำ�ภู มี จิตอาสาในการเปิดสอนหมอลำ�ให้แก่เยาวชนโดยคิดค่าครูเพียง ๑ บาท
๗. จีรพล เพชรสม สาขา บริหารจัดการศิลปะพื้นบ้าน อายุ ๖๓ ปี จ.ชุมพร หนึ่งในสามทหารเสือศิษย์ครูหลวง ถือเป็นหัวจักรสำ�คัญในการพัฒนาการแสดงวงโปงลางไม่ว่าจะเป็นด้านดนตรีและการฟ้อนรำ� พัฒนาให้เป็นวงโปงลางแนวใหม่ โดยใช้เครื่องดนตรี เช่น โปงลาง แคน พิณ โหวด กลอง ในด้านการแสดงฟ้อนรำ�ประกอบวงโปงลาง ได้ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาตามลำ�ดับ ลงพื้นที่เพื่อนำ�ข้อมูลมาใช้ในการสร้างชุดการแสดงและมีชุดการแสดงเกิดขึ้นมากมาย เช่น ชุด มโนราห์เล่นน้ำ� ชุดฟ้อนภูไทเรณู ฟ้อนภูไท ๓ เผ่า เซิ้งบั้งไฟ ลำ�บายศรี เป็นต้น
๘. ประคอง เหรวรรณ (เอ๋ ศุภนาถ) สาขา ลำ�ประยุกต์ อายุ ๕๓ ปี จ. อุดรธานี เป็นผู้ที่มีผลงานด้านการแต่งกลอนลำ�และหมอลำ�หลายอัลบั้ม อาทิ สานฝันโรงเรียนดีใกล้บ้าน, ตำ�นานม้าคำ�ไหล, มหาลัยในฝัน (มข.), ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ทำ�เพื่อชุมชน ทำ�ให้ได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน เช่น ผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อสังคม จาก อบจ.อุดรธานี, รางวัล พญานาคทองคำ� ด้านศิลปวัฒนธรรม (การแสดง) จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รางวัลผูท้ �ำ คุณประโยชน์ตอ่ กระทรวงวัฒนธรรม จากกระทรวงวัฒนธรรม
ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
I๙
๘ ปี แห่งการเฟ้นหาศิลปินต้นแบบ สร้างกำ�ลังใจ เชิดชูผอู้ ทุ ศิ เพือ่ สังคม ตลอดระยะเวลา ๘ ปีทผี่ า่ นมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และสำ�นักวัฒนธรรม และเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรม ได้พิจารณาตัดสิน โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา และมอบโล่เพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้ที่มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ให้ กับศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรที่สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริม เผยแพร่ สร้างองค์ความรู้ท้องถิ่น และทำ�นุบำ�รุงศิลปวัฒนธรรมอีสาน พร้อมกับ เป็นผู้สร้างคุณูปการให้กับถิ่นฐาน และชุมชน จนเป็นที่ประจักษ์และได้รับ การยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การมอบรางวัลเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และจัดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีศิลปินปราชญ์ชาวบ้าน และ องค์กร ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติฯ รวมแล้ว ๑๓๗ ท่าน ๘ องค์กร โดยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้มีการเพิ่มรางวัลผู้ที่ผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำ�ลังใจให้กับผู้ที่อุทิศแรงกายแรงใจขับเคลื่อน ศิลปวัฒนธรรมเพื่อท้องถิ่นและชุมชนด้วยจิตสาธารณะ
ทำ�เนียบศิลปินมรดกอีสาน ๒๕๔๘ –๒๕๕๕
ปี ๒๕๔๘ ที่
ชื่อ - สกุล
สาขา
สาขาย่อย
๑
นายหนูมอญ ประทุมวัน
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมตัดกระดาษ
๒
นายบุญหมั่น คำ�สะอาด
ทัศนศิลป์
จิตกรรมร่วมสมัย
๓
นางประสงค์ เหลาทา
ศิลปะการแสดง
ลำ�พื้น
๔
นางนิ่มนวล สุวรรณกูฎ
ศิลปะการแสดง
การละเล่นพื้นบ้านลำ�เต้ย
๕
นางทองหล่อ คำ�ภู
ศิลปะการแสดง
ลำ�สินไซ
๖
นายอังคาน คำ�ภู
ศิลปะการแสดง
ลำ�เรื่อง
๗
นายอภิชาตพงษ์ วีระเศรษฐกุล
ศิลปะการแสดง
กำ�กับภาพยนตร์
สาขา
สาขาย่อย
ปี ๒๕๕๐ ที่
ชื่อ - สกุล
๑
พระเทพวรคุณ
ทัศนศิลป์
-
๒
นายโชคชัย ตักโพธิ์
ทัศนศิลป์
จินตทัศน์
๓
นายสมบูรณ์ หอมเทียนทอง
ทัศนศิลป์
จินตทัศน์
๔
นายธีรวัฒน์ คะนะมะ
ทัศนศิลป์
จิตรกรรมร่วมสมัย
๕
รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร
ทัศนศิลป์
สถาปัตยกรรมร่วมสมัย
๖
นายทอง ล้อมวงษ์
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมหล่อทองเหลือง
๗
นายอุทัยทอง จันทกรณ์
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมแกะสลักไม้
๘
นายสงคราม งามยิ่ง
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมผ้าทอ
๙
นายพงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๑๐
นายนุ่ม เย็นใจ
วรรณศิลป์
ประพันธ์กลอนลำ�
๑๑
นายดวง วังสาลุน
วรรณศิลป์
ประพันธ์กลอนลำ�
๑๒
นายทรงศักดิ์ ประทุมศิลป์
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้าน โหวด
๑๓
นายสมบัติ สิมเหล้า
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้าน แคน
๑๔
นายเรวัฒน์ สายันต์เกณะ (หนุ่มภูไท)
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้าน พิณ
๑๕
นายบุญตา ภูวงษ์นาม
ศิลปะการแสดง
ลำ�สินไซ
๑๖
นายทองคำ� เพ็งดี
ศิลปะการแสดง
ลำ�เรื่อง
๑๗
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๑๘
นางคำ�ภา ฤทธิทิศ นายระเบียบ พลล้ำ�
ศิลปะการแสดง
ลำ�เรื่อง
๑๙
นางมลฤดี พรมจักร
ศิลปะการแสดง
ขับลำ�ท้องถิ่น
๑๐ I ปี ๒๕๕๐ (ต่อ) ที่
ชื่อ - สกุล
สาขา
สาขาย่อย
๒๐
นายสงกราน นามวงษา
ศิลปะการแสดง
การละเล่นพื้นบ้าน กั๊บแก้บ
๒๑
นายทองสา ปากสี (ยายสำ�)
ศิลปะการแสดง
ตลกอีสาน
๒๒
ศิลปะการแสดง
ตลกอีสาน
๒๓
นายสุดใจ เที่ยงตรงจิต (หนิงหน่อง) นายเพ็ชรทาย วงษ์คำ�เหลา (หม่ำ� จ๊กมก)
ศิลปะการแสดง
แสดงภาพยนตร์
๒๔
นายเทียม เศิกศิริ (ดาว บ้านดอน)
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
๒๕
นายสนธิ สมมาตร
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
๒๖
นางสุภาพ ดาวดวงเด่น
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
สาขา
สาขาย่อย
ปี ๒๕๕๑ ที่
ชื่อ - สกุล
๑
นายอิสระ หลาวทอง
ทัศนศิลป์
จิตรกรรมร่วมสมัย
๒
นายแสง จันทร์งาม (ธรรมโฆษ)
วรรณศิลป์
ประพันธ์นวนิยาย
๓
นายชานนท์ ภาคศิริ (สุรินทร์ ภาคศิริ)
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๔
นายสวัสดิ์ สิงห์ประสิทธิ์ (สัญญา จุฬาพร)
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๕
นายเจริญ กุลสุวรรณ
วรรณศิลป์
กวีวรรณรูป
๖
นายคำ�ปัน ผิวคำ� (ปอง ปรีดา)
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
๗
นายสุรสีห์ ผาธรรม
ศิลปะการแสดง
กำ�กับการแสดง
๘
พ่อทองฮวด ฝ่ายเทศ
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้านซอ
สาขา
สาขาย่อย
ปี ๒๕๕๒ ที่
ชื่อ - สกุล
๑
นายปรีชา พิณทอง
เกียรติยศ
-
๒
นายสมยศ ไตรเสนีย์
ทัศนศิลป์
จิตกรรมร่วมสมัย
๓
นายป่วน เจียวทอง
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมพื้นบ้านเครื่องเงิน
๔
นายสมพงษ์ พละสูรย์ (คำ�หมาน คนไค)
วรรณศิลป์
วรรณกรรมร่วมสมัย
๕
นายจันดี หลักคำ�พัน
วรรณศิลป์
ประพันธ์กลอนลำ�
๖
นายสุพรรณ ชื่นชม
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๗
นายเสมอ จันดา (สรเพชร ภิญโญ)
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๘
นายสุรชัย จันทิมาธร
ศิลปะการแสดง
เพลงเพื่อชีวิต
๙
นายณรงค์ พงษ์ภาพ (นภดล ดวงพร)
ศิลปะการแสดง
ตลกอีสาน
๑๐
นายบุญชื่น เสนาลาด (ศักดิ์สยาม เพชรชมพู)
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
๑๑
นายสำ�ราญ บุบผาวาสน์
ศิลปะการแสดง
ดนตรีร่วมสมัย แซกโซโพน
สาขา
สาขาย่อย
วรรณศิลป์
วรรณกรรมพื้นบ้าน
ปี ๒๕๕๓ ที่
ชื่อ - สกุล
๑
พระอธิการอินตา กวีวงศ์
๒
นางสุนีย์ บุตรทา
ศิลปะการแสดง
ลำ�เรื่อง
๓
นายสมาน หงษา
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๔
นายสังวาล ผ่องแผ้ว
ศิลปะการแสดง
หุ่นกระบอกอีสาน
๕
นายบุญศรี พลตรี
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้าน แคน
ฉบับพิเศษ เชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสานและผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๖
ปี ๒๕๕๔ ที่
ชื่อ - สกุล
สาขา
สาขาย่อย
๑
นายพีระพงษ์ ดวงแก้ว
ทัศนศิลป์
ประติมากรรมร่วมสมัย
๒
นายทวี รัชนีกร
ทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์ร่วมสมัย
๓
นายสนาม จันทร์เกาะ (สนามจันทร์)
ทัศนศิลป์
ประติมากรรมร่วมสมัย
๔
นายอุส่าห์ จันทรวิจิตร
ทัศนศิลป์
ประติมากรรมเทียนพรรษา
๕
นายวินัย เตียวตระกูล (วินัย แก้วเหนือ)
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่งต้นแบบ
๖
นายสมคิด สิงสง
วรรณศิลป์
วรรณกรรมร่วมสมัย
๗
นายสลา คุณวุฒิ
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่งร่วมสมัย
๘
นางแก่นจันทร์ นามวัฒน์
ศิลปะการแสดง
การแสดงพื้นบ้านอีสานใต้
๙
นางเทวี บุตรตั้ว
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๑๐
นายเทพพร บุญสุข (เทพพร เพชรอุบล)
ศิลปะการแสดง
ขับร้องเพลงลูกทุ่ง
๑๑
นางราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอนประยุกต์
๑๒
นางผมหอม สกุลไทย (หมอลำ�ผมหอม)
ศิลปะการแสดง
ผญาย่อย
สาขา
สาขาย่อย
ปี ๒๕๕๕ ที่
ชื่อ - สกุล
๑
นายคำ�นวณ ชานันโท
ทัศนศิลป์
จิตรกรรมแนวประเพณี
๒
รศ.สุวิช สถิตวิทยานันท์
ทัศนศิลป์
ประติมากรรมร่วมสมัย
๓
นายสุขสันต์ เหมือนนิรุธ (สันติภาพ นาโค)
ทัศนศิลป์
จิตรกรรมสื่อผสม
๔
นางเอือม แยบดี
ทัศนศิลป์
หัตถกรรมผ้าทอมือ
๕
นายสมภพ บุตราช
ทัศนศิลป์
จิตรกรรมร่วมสมัย
๖
นายทองเจริญ ดาเหลา
วรรณศิลป์
ประพันธ์ลำ�กลอน
๗
นายประสงค์ มูลสาร (ยงค์ ยโสธร)
วรรณศิลป์
วรรณกรรมร่วมสมัย
๘
นายปราโมทย์ ในจิต (จินตรัย)
วรรณศิลป์
วรรณกรรมแปล
๙
นายสัญญาลักษณ์ ดอนศรีฐิติโชติ
วรรณศิลป์
ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง
๑๐
นายทองเยี่ยม ประสมพืช
ศิลปะการแสดง
ลำ�พื้น
๑๑
นายสมบัติ เมทะนี
ศิลปะการแสดง
แสดงภาพยนตร์
๑๒
นางบุญช่วง เด่นดวง
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๑๓
นายทองใส ทับถนน
ศิลปะการแสดง
ดนตรีพื้นบ้านพิณ
๑๔
นายชุมพร นนทลือชา
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๑๕
นายกำ�ปั่น ข่อยนอก (กำ�ปั่น บ้านแท่น)
ศิลปะการแสดง
เพลงโคราช
๑๖
นางบัวผัน จักรพิมพ์ (บัวผัน ดาวคะนอง)
ศิลปะการแสดง
ลำ�กลอน
๑๗
นางทองนาง คุณไชย (อังคนางค์ คุณไชย)
ศิลปะการแสดง
ลำ�เรื่องต่อกลอน
๑๘
นายกฤติยา ลาดพันนา (พันนา ฤทธิไกร)
ศิลปะการแสดง
กำ�กับและแสดงภาพยนตร์
I ๑๑
๑๒ I ทำ�เนียบวัฒนธรรมสัมพันธ์ ๒๕๕๑ –๒๕๕๕ ที่
ชื่อ - สกุล
สาขา
ปีที่ได้รับ
ที่
ชื่อ - สกุล
สาขา
ปีที่ได้รับ
๑
พระครูบุญชยากร
พัฒนาชุมชน (ศาสนาและประเพณี)
๒๕๕๑
๓๓
นายกิตติ วรรณวงษ์
ศิลปกรรม (สะไน)
๒๕๕๔
๒
เทศบาลนครขอนแก่น
พัฒนาชุมชน (ภูมิทัศน์วัฒนธรรม)
๒๕๕๑
๓๔
นายคำ�ตา หมื่นบุญมี
ศิลปกรรม (มโหรีอีสาน)
๒๕๕๔
๓
นายบุญเลิศ อนุศรี
พัฒนาชุมชน (จิตรกรรมพื้นบ้าน)
๒๕๕๑
๓๕
นางจินตนา เย็นสวัสดิ์
ศิลปกรรม (หมอลำ�กลอน)
๒๕๕๔
๔
นายอลงกต คำ�โสภา
พัฒนาชุมชน (ดนตรีพื้นบ้าน โปงลาง)
๒๕๕๑
๓๖
นายบุญช่วย จิวิสาย (รักชาติ ศิริชัย)
ศิลปกรรม (นักร้องลูกทุ่ง)
๒๕๕๔
๓๗
นายสายรุ้ง ภูมิสุข (เจรียงสายรุ้ง)
ศิลปกรรม (เจรียงเบริน)
๒๕๕๔
๒๕๕๑
๓๘
นายนิตยา เชิดชู (นิยา ราชินีไหซอง)
ศิลปกรรม (ไหซอง)
๒๕๕๔
๓๙
ผศ.ดร.ทรงยศ วีระทวีมาศ
ศิลปกรรม (สถาปัตยกรรมท้องถิ่น)
๒๕๕๔
๔๐
นายบุญชื่น บุญเกิดรัมย์ (แดน บุรีรัมย์)
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๔
๔๑
นางวริศราลี แก้วปลั่ง
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๔
๔๒
นายเทพบุตร สติรอดชมพู
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๔
๔๓
สถานีโทรทัศน์อีสานทีวี
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๔
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๔
๕
นางฑีตา จันทร์เพ็งเพ็ญ
พัฒนาชุมชน (หัตถกรรมพื้นบ้านผ้าทอย้อมคราม)
๖
นายธงชัย ประสงค์สันติ
สื่อสารมวลชน (พิธีกรรายการโทรทัศน์)
๒๕๕๑
๗
นางดวงพร (เฉลิมศรี) ชินสีดา
สื่อพื้นบ้าน (ลำ�ชิงชู้)
๒๕๕๑
๘
นางสุมาลี วงศ์บุญ
สื่อพื้นบ้าน (ลำ�เพลิน)
๒๕๕๑
๙
นางน้อย ไกรอ่อน
สื่อพื้นบ้าน (ลำ�เรื่องต่อกลอน)
๒๕๕๑
๑๐
นางนวลปรางค์ อุทัยทิพย์
สื่อพื้นบ้าน (ลำ�กลอน)
๒๕๕๑
๑๑
นางบุญมี นามตะ (จันเพ็ญ ศิริเทพ)
สื่อพื้นบ้าน (ลำ�เรื่องต่อกลอน)
๒๕๕๑
๔๔
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สาธารณะแห่งประเทศไทย
๑๒
นายโยธิน กิจใบ (ซุปเปอร์ยาว)
สื่อพื้นบ้าน (ตลกอีสาน)
๒๕๕๑
๔๕
นายสวิง บุญเจิม
ภาษาและวรรณกรรม
๒๕๕๔
๑๓
นายถือ ป้องศรี
สื่อพื้นบ้าน (ดนตรีพื้นบ้าน แคน)
๒๕๕๑
๔๖
๒๕๕๔
นายวสุ ห้าวหาญ
๒๕๕๑
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขา วิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ภาษาและวรรณกรรม
๑๔
ศิลป์ศรีอีสานร่วมสมัย (ประพันธ์เพลงลูกทุ่ง)
๔๗
ศูนย์คชศึกษา อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์
ศาสนาและประเพณี
๒๕๕๔
๑๕
สำ�นักประชาสัมพันธ์ เขต ๑ ขอนแก่น
สื่อสารมวลชน (ส่งเสริมวัฒนธรรม)
๒๕๕๒
๔๘
ศาสนาและวัฒนธรรม
๒๕๕๕
๒๕๕๒
พระธรรมฐิติญาณ (ศรีจันทร์ ปุญญรโต)
๔๙
นายวรชัย ศิลวัตรพงศกุล
เกษตรกรรม
๒๕๕๕
เกษตรกรรม
๒๕๕๕
แพทย์แผนไทย
๒๕๕๕
๑๖
นายบุญเรือง ถาวรสวัสดิ์
สื่อสารมวลชน (นักจัดรายการวิทยุ/หนังสือ)
๑๗
คณะหมอลำ�เสียงอีสาน
สื่อพื้นบ้าน (หมอลำ�)
๒๕๕๒
๕๐
นายบุญส่วน แก้วไพฑูรย์
๑๘
นายทัชชกร ยีรัมย์ (จา พนม)
ศิลป์ศรีอีสานร่วมสมัย (นักแสดง)
๒๕๕๒
๕๑
นายใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)
๑๙
นายคำ�ป่วน สุธงษา
เกษตรกรรม
๒๕๕๓
๕๒
นายโจน จันได
นิเวศน์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
๒๕๕๕
๒๐
นายสุวรรณ เหล่าลือชา
หัตถกรรมพิณ
๒๕๕๓
๕๓
นางอภิญญา กลมเกลียว
วิสาหกิจชุมชนและธุรกิจชุมชน
๒๕๕๕
๒๑
นายคำ�เดื่อง ภาษี
นิเวศน์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม (เกษตรนิเวศน์)
๒๕๕๓
๕๔
นางสายทิพย์ ลามา
วิสาหกิจชุมชนและธุรกิจชุมชน
๒๕๕๕
๕๕
นางกฤษณา วรรณสุทธิ์ (บุญแสน)
ศิลปกรรม (ลำ�กลอน)
๒๕๕๕
วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน (เกษตรแปรรูป)
๒๕๕๓
๕๖
นางนิตยา รากแก่น (บานเย็น ราก แก่น)
ศิลปกรรม (ลูกทุ่งอีสาน)
๒๕๕๕
ศิลปกรรม สื่อพื้นบ้านหมอลำ�ประยุกต์
๒๕๕๓
๕๗
นายธรรมรงค์ แก้วโบราณ
ศิลปกรรม (จิตรกรรมแนวประเพณี)
๒๕๕๕
๕๘
นายโสพิศ พุทธรักษ์
ศิลปกรรม (ประติมากรรม)
๒๕๕๕
ศิลปกรรม (สื่อพื้นบ้าน เจรียงเบริน)
๒๕๕๓
๕๙
รศ.วีณา วีสเพ็ญ
ภาษาและวรรณกรรม
๒๕๕๕
๖๐
นางแสงจันทร์ พิรุณ
อาหารและโภชนาการ
๒๕๕๕
ภาษาและวรรณกรรม (ภูมิปัญญากลอนลำ�)
๒๕๕๓
๖๑
นายประสาสน์ รัตนปัญญา
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๕
๖๒
จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๕
๒๕๕๓
๖๓
โฮมสเตย์บ้านโคกโก่ง จ.กาฬสินธุ์
สื่อสารวัฒนธรรม
๒๕๕๕
๒๒
นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว
๒๓
นายแพทย์สุชาติ ทองแป้น (หมอแป้น)
๒๔
นายบุญคง นนทสอน (เจรียงไทยรุ้ง)
๒๕
พระพุทธิสารมุนี
๒๖
นายบุญเรือง คัชมาย์
ภาษาและวรรณกรรม (ตำ�ราวิชาการท้องถิ่นศึกษา)
๒๗
นางกัญญา อ่อนศรี
เกษตรกรรม
๒๕๕๔
๒๘
นายสุด กัณหารัตน์
อุตสาหกรรมและหัตถกรรม
๒๕๕๔
๒๙
นายทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์
แพทย์แผนไทย
๒๕๕๔
๓๐
นายสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
นิเวศน์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
๒๕๕๔
๓๑
นางบุญเกิด ภานนท์
วิสาหกิจและธุรกิจชุมชน
๒๕๕๔
๓๒
นายโสโชค สู้โนนตาด
ศิลปกรรม (พิณ)
๒๕๕๔
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมได้ที่
cackku2516@gmail.com http://cac.kku.ac.th
เครือข่ายศิลปวัฒนธรรม สำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำ�นักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๑๒๓ ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น โทรศัพท์ ๐ ๔๓๓๓ ๒๐๓๕ โทรสาร ๐ ๔๓๓๓ ๒๗๖๐ ภายใน ๑๑๙๑๐ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ผศ.วิชัย ณีรัตนพันธุ์ บรรณาธิการอำ�นวยการ ผศ.ดร.รักพงษ์ เพชรคำ� รองบรรณาธิการอำ�นวยการ ดร.สุรพล เนสุสินธุ์ กองบรรณาธิการ ณัฐวุฒิ จารุวงศ์, วิทยา วุฒิไธสง, ชาญวิทย์ แซ่โค้ว, ศตพร สิริวัฒนกูล, คณิตตา คลังทอง, พิธัญญา พิรุณสุนทร การเงิน ตุลยา คำ�สวาท, ศิริมุกดา โพธิ ประสานงานทั่วไป ไกรฤก แพงมา