บทความ : สถานบันเทิงกับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน

Page 1

บทความวิชาการ เรื่อง “สถานบันเทิงกับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน”

จัดทาโดย ชื่อ นายปิติพงศ์ พิมพ์พิเศษ นักศึกษาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสนอ รศ. ดร. นิยม วงศ์พงษ์คา รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา การวิจัยข้ามวัฒนธรรมขัน้ สูง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557


สารบัญ หัวข้อ

หน้า

บทนา

1

สถานบันเทิงคืออะไร

2

ผลกระทบของสถานบันเทิงที่ส่งผลต่อวัยรุ่นในอนาคต

4

เอกสารอ้างอิง

6


บทนา ในยุคที่กระแสโลกาภิวัตน์กาลังเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดนิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางด้าน ทุน แรงงาน การคมนาคม และ แม้แต่เรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาททางสังคมและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมาย เช่น เรื่องของ การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย (Social Network) ร้านขายของชารูปแบบใหม่ที่ให้ความสะดวกสบายในการจับจ่ายสินค้าที่ เน้นความรวดเร็วและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่สาเร็จรูป การเข้าสังคมรูปแบบใหม่ที่ผู้คนต่างแห่เข้าไปในห้างสรรพสินค้าเพื่อ แสดงออกถึงรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทันสมัย (Modern life style) และใช้จ่ายเพื่อความผ่อนคลายเนื่องจากความเคร่งเครียดต่างๆที่ เกิดมาจากการบีบคั้นของบริบทรอบตัว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจว่า ปัจจุบันธุรกิจเพื่อความบันเทิงจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่กาลัง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและมีแนวโน้มว่าจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต ไม่ว่าจะห้างสรรพสินค้าตามที่กล่าวไปแล้ว โรงภาพยนต์ ภัตราคารหรู ร้านกาแฟ หรือแม้แต่สถานบันเทิงยามค่าคืน ที่แข่งกันเปิดตัวพร้อมทั้งนาเสนอโปรโมชันพิเศษต่างๆ ให้กับลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการอย่างสม่าเสมอ หนึง่ ในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซึ่งสถานบันเทิงเหล่านั้นให้ความสนใจ ย่อมหลีกหนีไม่พ้นกลุ่มคนทั่วไปและวัยรุ่นยุคใหม่ เพศชายและหญิงที่ต้องการจะรวมกลุ่มทางสังคม แสดงออกถึงความมีอิสระ และฐานะในการจับจ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของ รูปแบบการใช้ชีวิตท่ามกลางระบบทุนนิยมที่ถาโถม จึงไม่น่าแปลกใจนักที่สถานบันเทิงหลากหลายรูปแบบมักจะปรากฏพบให้ เห็นค่อนข้างมากในบริเวณสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่างๆ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเป็นช่วงวัยที่กาลังให้ความสนใจ กับการใช้บริการสถานบันเทิงเหล่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วยความตื่นเต้น อิสรภาพและแสดงออกถึงการก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่อย่าง เต็มตัว อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผู้วิจัยได้ผ่านประสบการณ์ลักษณะดังกล่าวมาบ้างในช่วงวัยรุ่น และได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่ น่าสนใจเกี่ยวกับสถานบันเทิงหลายแห่งหลังจากที่เมื่อไม่นานมานี้ ผู้วิจัยเองได้มีโอกาสเข้าไปสังเกตุการณ์ในบริเวณพื้นที่หาด บางแสนและบริเวณใกล้เคียง ทาให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานบันเทิงหลายแห่งที่เกิดขึ้นใหม่และมีการขยายตัวอย่าง รวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2557 ซึ่งผู้วิจัยได้มีโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัยบูรพาและมีโอกาสลง สารวจพื้นที่ลักษณะดังกล่าว จึงทาให้เห็นถึงความแตกต่างที่ชวนให้ฉุกคิดว่า ความเหมาะสมของสถานบันเทิงเหล่านั้น แท้จริง แล้วเป็นการมอมเมามั่วสุมและเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมหรือไม่ เหตุใดสถานศึกษาในต่างประเทศหลายแห่งจึง สามารถนาสถานบันเทิงลักษณะดังกล่าวที่มีการจาหน่ายแอลกอฮอร์ให้กับนักศึกษาได้อย่างเสรี? และด้วยข้อคาถามดังกล่าวจึง เป็นเหตุให้ผู้วิจัยมีความต้องการที่จะเขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับสถานบันเทิงเล่มนี้ขึ้นมา โดยวัตถุประสงค์ของบทความนี้มี ความต้องการที่จะอธิบายให้เห็นถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นและสังคมของเด็กรุ่นใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ ด้วยวีธีการศึกษาจากการ สังเกตุและเอกสารวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพือ่ นามาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างของอดีตและสภาพปัจจุบัน ที่มีผลต่อการดาเนินชีวิตของเด็กวัยรุ่นสมัยใหม่ รวมถึงมีข้อเสนอแนะที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาต่อไปในอนาคต

1


สถานบันเทิงคืออะไร? คาว่าสถานบันเทิงนั้น ฟังดูเป็นคาติดหูแลดูมีความหมายที่น่ากลัวและอาจถูกมองไปในแง่ลบ แต่อย่างไรก็ตามหาก เราลองพิจารณาถึงความหมายที่แม้จริงแล้วเราจะพบว่า “สถานบันเทิง” อาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเสียทีเดียว จากงานวิจัย เกี่ยวกับรูปแบบและกลยุทธ์การดาเนินธุรกิจสถานบันเทิงของ กัญญกานต์ ทวีทิพย์รัตน์ (2553) ได้อธิบายถึงความหมายของ “สถานบันเทิง” ว่า หมายถึง “สถานบริการ” ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 โดยได้ระบุเอาไว้ตามมาตรา 3 ว่า สถานบริการ หมายถึงสถานที่ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อการให้บริการโดยหวังผลประโยชน์ทางการค้า ซึ่ง สามารถจาแนกได้หลายแบบ ประกอบด้วย 1. สถานเต้นรา ราวง หรือรองเง็ง ทั้งที่มีหรือไม่มีหญิงพาตเนอร์ให้บริการ เช่น สถานที่ที่จัดเป็นบาร์ราวง บอลลูม หรือสถานที่เต้นราอื่นๆ เช่น ดิสโก้เธค เป็นต้น 2. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้าชา เครื่องดื่มอย่างอื่นจาหน่ายและบริการโดยมีหญิงบาเรอาหรับปรนนิบัติลูกค้า หรือ อาจมีที่สาหรับพักผ่อนหลับนอน หรือบริการนวดให้แก่ลูกค้า ประกอบด้วย สถานบริการที่เป็นโรงน้าชาต่างๆ นวดแผนโบราณ โรงแรมระดับเล็ก ม่านรูดที่มีหญิงบริการ ค็อกเทลเล้าน์ 3. สถานอาบน้า นวด หรือ อบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้ลูกค้า ประกอบด้วย อาบอบนวดแผนปัจจุบัน หรือสถานอบซาว น่า สถานที่ออกกาลังกายต่างๆ 4. สถานที่มุรา น้าชา หรือเครื่องดื่มอื่นๆจาหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นเพื่อการบันเทิง ประกอบด้วย คาเฟ่ หรือค็อฟฟี่ช็อพ ผับ คาราโอเกะ ห้องอาหารที่มีเครื่องดื่ม จากข้อมูลที่อ้างถึงพระราชบัญญัติสถานบริการในข้างต้น และจากการรวบรวมข้อกฏหมายของ เสถียร และ สืบวงศ์ (2514) ได้ทาการจาแนกถึงประเภทของ “สถานบริการ” ที่อ้างมาจากพระราชบัญญัติสัญ ชาติ พ.ศ. 2508 (เนื้อความจาก พระราชบัญญัติ สถานบริการ พ.ศ. 2509) ออกได้ดังนี้ 1. คาเฟ่ เป็นสถานที่ที่ผู้ใช้บริการระดับครอบครัว (พ่อ แม่ ลูก) สามารถเข้ามาใช้บริการได้ เน้นในเรื่องการแสดง โชว์ต่างๆบนเวทีเช่น โชว์ตลก นักร้องที่แต่งตัวอวดทรวดทรง แต่กลุ่มเป้าหมายส่วนมากของสถานบันเทิง ประเภทนี้มักจะเป็นผู้ชายวัยทางานหรือค่อนข้างมีฐานะดี สถานบริการประเภทนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมใน อดีตเรื่องจากเป็นสถานที่มิดชิด แสงไฟสวัว ไม่สามารถมองจากภายนอกเข้าไปได้ชัดเจน แต่มีแสงสีหรือป้ายไฟ ที่แสดงออกถึงความหรูหรา มีรูปของนักร้องนักแสดงที่เชิญเชวนให้เข้าไปใช้บริการ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณา จากความหมายจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษ (ซึ่งนามาจากฝรั่งเศส) แท้จริงแล้วคาว่าคาเฟ่ (Café) นั้น หมายถึง ร้านกาแฟ หรือร้านของเครื่องดื่มและอาหารมื้อย่อย (oxforddictionaries.com, 2558) แต่ประเทศไทยนามา ประยุกต์เป็นสถานบันเทิงยามราตรีที่มีการบรรจุการแสดงและเครื่องดื่มแอลกอฮอร์เข้า ไป ซึ่งได้รับความนิยม อย่างมากในอดีต แต่ปัจจุบัน คาเฟ่ในประเทศไทยมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิมมาก 2. อาบอบนวด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ อาบอบนวดแผนธรรมดาและแผนโบราณ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายส่วนมากมี ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงผู้สูงอายุที่มีฐานะทางการเงินค่อนข้างดี ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมในกลุ่มคนที่รักความ บันเทิง แต่ก็ไม่ใช่สถานที่ที่เปิดเผยและประชาสัมพันธ์ให้คนหมู่มากด้วยเช่นกัน 2


3. บาร์ราวง เป็นสถานที่ให้ความบันเทิงกับบุคคลทั่วไป มีลานกว้าง มีเวทีอยาส่วนใดส่วนหนึ่งของลานนั้น พร้อม ทั้งมีการเปิดเพลงหรือแสดงดนตรีสด และแสงสีที่เร้าใจ มีการจาหน่ายตั๋วเพื่อใช้บริการในบริเวณดังกล่าว 4. โรงน้าชา เป็นรูปแบบของสถานบริการเพื่อเพศชายโดยเฉพาะ มีราคาถูก เหมาะสาหรับผู้มีรายได้น้อย เป็น สถานที่ที่มีหญิงสาวไว้คอยบริการกับผู้ที่มาเที่ยว 5. คาราโอเกะ เป็นสถานบันเทิงทางด้านการร้องเพลง อาจมีการแบ่งเป็นห้องรวมหรือห้องพิเศษสาหรับการ บริการเป็นหมู่คณะ มีจอทีวีและเครื่องเสียงระบบสเตริโอ และมีไมโครโฟนสาหรับร้องเพลง เพื่อให้ผู้ใช้บริการ ร้องเพลงประกอบเสียงดนตรีตามจังหวะที่ไม่มีเสียงร้องของนักร้อง สามารถเลือกและเปลี่ยนเพลงเองได้ เป็น รูปแบบของสถานบันเทิงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ทั้งเด็ก วัยรุ่น วัยทางาน จนถึงวัยสูงอายุ และปัจจุบันมี รูปแบบที่หลากหลาย 6. ดิสโก้เธค เป็นสถานที่ให้บริการอาหาร เครื่องดื่ม และสามารถเต้นราได้แบบอิสระ ไม่มีแบบแผนในการเต้น ภายนอกตกแต่งด้วยแสงสีเร้าใจเพื่อสร้างแรงดึงดูด ปัจจุบันเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของสถานบันเทิงอันเป็นที่นิยม ของหมู่วัยรุ่น เน้นการจาหน่ายเครื่องดื่มมึนเมา และอาจมีการแฝงยาเสพติด 7. ไนท์คลับ เป็นสถานบริการที่ไม่เป็นที่นิยมของวัยรุ่นเท่าใดนัก เนื่องจากเน้นการเปิดเพลงเก่า อาหารเครื่องดื่มมี ราคาค่อนข้างสูง 8. ค๊อกเทลเล้าท์ หรือ คอฟฟี่ชอพ ส่วนมากเป็นสถานที่สาหรับคนที่มีรสนิยมสูง มักอยู่ตามโรงแรมใหญ่ๆ ผู้เที่ยว ต้องแต่งตัวสุภาพ ห้ามสวมรองเท้าแตะ แต่สามารถให้บริการได้ทุกเพศทุกวัย ที่ตั้งของสถานบริการลักษณะนี้ อาจมีความหรูหราและสถานที่ที่เป็นเอกเทศ 9. ผับ เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของสถานบริ การที่ได้รับความนิยมจากหมู่วันรุ่น เพราะสามารถดื่มเครื่องดื่ม ฟังเพลง เต้นราได้ตรงบริเวณที่ของตนเอง ไม่มีฟลอร์เต้นรา เปิดรับคนตลอดเวลาแม้จะไม่มีโต๊ะหรือเก้าอี้ มีระบบแสงสี เสียงที่ทันสมัย เร้าใจ สามารถเข้าสังคมกับผู้คนรอบข้างได้ 10. บาร์ โดยส่วนมากจะเรียกว่า บาร์อะโกโก้ ซึ่งมีการโชว์ประเภทนุ่งน้อยห่มน้อย หรือเปลือยกาย แต่อย่างไรก็ ตามในปัจจุบันนั้น บาร์ ก็มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและไม่จาเป็นต้องจาหน่าย เครื่องดื่มแอลกอฮอร์เสมอไป เช่น บาร์กาแฟ (Espresso Bar), บาร์จาหน่ายนมและเครื่องดื่มสุขภาพ (Milk Bar), เบเกอรี่, ไอศกรีม เป็นต้น (cocktailthai.com, 2537)

3


ตัวอย่างของสถานบันเทิงในแบบต่างๆในยุคสมัยใหม่ จากข้อมูลข้างต้น ถ้าเราพิจารณาพัฒนาการของสถานบันเทิงในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม ยุคสมัยและกลุ่มเป้าหมาย และมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยไม่จาเป็นจะต้องจาหน่ายเครื่องดื่มมึนเมาหรือสาวบริการก็ ได้ อีกทั้งเวลาในการเปิดบริการก็ไม่จาเป็นจะต้องมีเฉพาะตอนกลางคืนเสมอไปดังเช่นในอดีต แต่ในยุคปัจจุบันนั้นเห็นได้ชัดว่า สถานบันเทิงส่วนมากนั้นมุ่งเน้นในการบริการกลุ่มคนรุ่ นใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มบริโภคนิยมและชอบการเข้าสังคม และเห็นการ ขยายตัวได้ชัดตามสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ตาม ตามที่ได้กล่าวในบทนามาแล้วว่า การที่สถานบันเทิงมีจานวนเพิ่มมากขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยนั้นมีความเหมาะสม แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ของนักศึกษาหรือไม่? หรือแท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรปิดกั้นและเปิดใจกับการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้ว่ามา?

ผลกระทบของสถานบันเทิงที่ส่งผลต่อวัยรุ่นในอนาคต จากการศึกษางานวิจัยของ วัลภา แซ่อึ้ง (2548) ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษา ในเขตจังหวัดชลบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจานวน 300 คน พบว่านักศึกษา (ที่จัดอยู่กลุ่มอายุช่วงวัยรุ่น) ชอบไปเที่ยว “ผับ” ซึ่งเป็นรูปแบบของสถานบันเทิงที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากในปัจจุบันราคาการใช้ยริการต่อครั้งเมื่ อหารเฉลี่ยแล้วจะตก อยู่ที่ประมาณ 300-400 บาท ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มากเกินไปนัก โดยสาเหตุที่ทาให้ผับได้รับความนิยมคือ “ดนตรีและ เข้าสังคมในกลุ่มเพื่อน” ยิ่งไปกว่านั้น วัลภา ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจเอาไว้ว่า สาเหตุอันดับหนึ่งของการไปใช้บริการสถาน บันเทิงดังกล่าวนั้นมาจากปัจจัยส่วนบุคคลที่สงผลต่อพฤติกรรม อันดับที่สองคือปัจจัยด้านสังคมและสภาพแวดล้อม และปัจจัย สุดท้ายคือปัจจัยทางครอบครัว ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสัมพันธ์กับและเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทาให้การใช้บริการสถานบันเทิงยามค่า คืนในปัจจุบันเป็นที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตุว่า การศึกษาผลกระทบของสถานบันเทิงดูจะมุ่งเน้นไปที่การศึกษาสถานบันเทิงยามค่าคืนและ เรื่องราวของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอร์ฮอล์เสียเป็นส่วนมาก แม้แต่กระทั่งในต่างประเทศที่มีการวิจัยเรื่องของสถานบันเทิงและ 4


แอลกอฮอร์ที่ทาให้เกิดผลกระทบต่างๆตามมา ซึ่งการวิจัยเหล่านั้นเอง ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทาไมในต่างประเทศหลายแห่ง จะต้องมีสถานบันเทิงรูปแบบต่างๆครบถ้วนภายในมหาวิทยาลัย (ผับ, บาร์, ร้านกาแฟ เป็นต้น) สาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิด ปรากฏการณ์แบบนั้นขึ้นก็เนื่องมาจาก ผลของการวิจัยพบว่ า การดื่มและสังสรรค์นั้นนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนักศึกษา วัยรุ่นยุคใหม่ไปเสียแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหยุดได้ แต่จะทาอย่างไรเพื่อให้กลุ่มนักวิจัยสามารถทาวิจัยเก็บข้อมูลเพื่อหา แนวทางหรือแผนการในการควบคุมปัญหาของสถานบันเทิงและการดื่มได้ ด้วยเหตุนั้นเอง จึงเป็นที่มาของการตั้งสถานบันเทิง ในสถานศึกษาในต่างประเทศ (Stewart K., 2013. & Shavin N. 2014) ซึ่งตรงจุดนี้ ถ้าไม่ศึกษาให้เข้าใจก็อาจจะสร้างความ เข้าใจผิดให้เกิดขึ้นกับผู้ปกครองได้เช่นกัน ผู้วิจัยเห็นว่า ถ้าพิจารณาจากความหมายของสถานบันเทิงและปริมาณของงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการสถาน บันเทิง ยังขาดในเรื่องของการศึกษาผลกระทบของสถานบันเทิงในรูปแบบอื่นๆอีกมากมายที่เปิดบริการในตอนกลางวันและ กลางคืนที่เป็นที่นิยมของวัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่าหากมีการศึกษาสถานบันเทิงรูปแบบอื่นๆเพิ่มเติมจะทาให้สามารถเห็นภาพรวม และหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบของสถานบันเทิงหรือควบคุมพฤติกรรมการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อย่างที่ได้กล่าวไปในบทนามาแล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานบริการหรือสถานบันเทิงนั้นถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เข้ามา มีบทบาทกับวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นอีกหนึ่งรูปแบบในการใช้ชีวิต ที่เด็กรุ่นใหม่ต่างมีความต้องการที่จะแสดงออกถึง ความเป็นอิสระในการเข้าสังคม และการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีแนวโน้มไปทางบริโภคนิยม มากกว่าการ อนุรักษ์นิยมดังที่เคยเป็นในอดีต ซึ่งถ้าหากจะตัดสินว่าสถานบันเทิงเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาของสังคมก็อาจจะไม่ใช่ เรื่องที่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด เพราะอย่างที่ผู้วิจัยได้อธิบายความไปแล้วในข้างต้นว่า เราควรจะเข้าใจถึงความหมายของสถาน บันเทิงเหล่านั้นให้ชัดเจนเสียก่อน เพราะปัจจุบันสถานที่เหล่านั้ นก็มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปมากและมีรูปแบบที่หลากล หลายทั้งที่เปิดให้บริการในช่วงกลางวันและกลางคืน ไม่ได้จากัดกลุ่มเป้ามายดังเช่นในอดีตที่ดูจะเป็นสถานที่สาหรับผู้ใหญ่เพียง เท่านั้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความคิดเห็นว่า ในการจะพิจารณาถึงผลกระทบและความเหมาะสมของสถานบันเทิงก็ควรจะให้ ความส าคั ญ กั ล สถานบั น เทิ ง ทุ ก รู ป แบบ และไม่ ค วรเน้ น ศึ ก ษาแค่ ผ ลกระทบที่ เ กิ ด จากพฤติ ก รรมด้ า นใดด้ า นหนึ่ งโดย เฉพาะเจาะจงจนเกินไปด้วยเช่นกัน เพราะท้ายที่สุดแล้วปรากฏการณ์การขยายตัวและใช้บริการของเหล่าสถานบันเทิงดังกล่าว เป็นสิ่งที่เป็นไปตามกระบวนการทางสังคมที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ถึงกระนั้น เราควรใช้โอกาสที่จะได้เรียนรู้ เข้าใจและ หาทางควบคุมให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีความเหมาะสมพอดีกับบริบททางสังคมของเรา น่าจะดีที่สุดแล้ว...

5


เอกสารอ้างอิง กัญญกานต์ ทวีทิพย์รัตน์ (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การดาเนินธุรกิจสถานบันเทิง กรณีศึกษาผับ เจ อาร์ มิวสิค ฮอล์ . มหาวิทยาลัยศิลปากร. เสถียร วิชัยลักษณ์ และ สืบวงศ์ วิชัยลักษณ์ (2514). พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 พร้อมด้วย กฎ และ ประกาศ กระทรวง มหาดไทย ฉบับที่ 337. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ นีติเวชช์. Oxforddictionaries. Café ความหมายของคาว่า Café. http://www.oxforddictionaries.com. เข้าเยี่ยมชมเมื่อ 06/05/2558 Cocktailthai, ประเภทของบาร์ [สื่อออนไลน์]. http://www.cocktailthai.com. เข้าเยี่ยมชมเมื่อ 06/05/2558 วัลภา แซ่อึ้ง (2548). พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา. Stewart K. (2013). Facts and Myths about College Drinking: A Serious Problem with Serious Solutions. Prevention Research Center Berkeley, California Shavin, N. (2014). How to Curb Binge Drinking at U.S. Colleges: Sell Alcohol on Campus: The case for the college bar [สื่อออนไลน์]. http://bit.ly/1RiMSR4.เข้าเยี่ยมชมเมื่อ 06/05/2558

6


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.