ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการในประเทศเดนมาร์ก

Page 1



ชุดรายงานวิจัยศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ว่าด้วยรัฐสวัสดิการ: บทเรียนจากยุโรปสู่ประเทศไทย”

ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความส�ำเร็จ ของนโยบายรัฐสวัสดิการในประเทศ เดนมาร์ก ติรัส ตฤณเตชะ

ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มกราคม 2563


ชุดรายงานวิจัยศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ว่าด้วยรัฐสวัสดิการ: บทเรียนจากยุโรปสู่ประเทศไทย” (2) ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการใน ประเทศเดนมาร์ก ISBN: 978-616-407-480-4 ผู้ให้ทุนวิจัย/จัดพิมพ์ ผู้วิจัย/ผู้เขียน ที่ปรึกษาการจัดพิมพ์ บรรณาธิการจัดพิมพ์ พิสูจน์อักษร ออกแบบรูปเล่ม พิมพ์ครั้งแรก พิมพ์ที่ ติดต่อ

ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ทุนวิจัยประจ�ำปีงบประมาณ 2558) ติรสั ตฤณเตชะ ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา จุฑารัตน์ วงษ์รัตน์ วรดร เลิศรัตน์ ณัฐนิชา ศุภมิตรพิบูลย์ จุฑารัตน์ วงษ์รัตน์ มกราคม 2563 โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เว็บไซต์: https://issuu.com/ces.chula อีเมล์: ces.publishing@gmail.com


ติรัส ตฤณเตชะ. ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการในประเทศเดนมาร์ก.-กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563. 146 หน้า. -- (ชุดรายงานวิจัยศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ว่าด้วย รัฐสวัสดิการ: บทเรียนจากยุโรปสู่ประเทศไทย”). 1. รัฐสวัสดิการ. 2. เดนมาร์ก -- นโยบายของรัฐ. I. ชื่อเรื่อง. 361.65 ISBN 978-616-407-480-4

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์น้ี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของศูนย์ยุโรปศึกษาแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ห้ามผู้ใดท�ำซ�้ำ คัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ปลอมแปลง และจัดเผยแพร่ โดยมุ่งประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เว้นแต่ จะได้รบั อนุญาตจากศูนย์ยโุ รปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็น ลายลักษณ์อักษร ข้อคิดเห็นในรายงานวิจยั ฉบับสมบูรณ์นเี้ ป็นเพียงข้อคิดเห็นส่วนบุคคล ของผู้วิจัยเท่านั้น ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ กองบรรณาธิการไม่จ�ำเป็นต้องมีข้อคิดเห็นที่สอดคล้องกับข้อคิดเห็น ในรายงานแต่อย่างใด รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์นี้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ศูนย์ ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น ตามระเบียบและ มาตรฐานที่ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก�ำหนด


กระบวนการประยุกต์ ใช้ตัวแบบสวัสดิการแบบนอร์ดิกในประเทศรายได้ต่ำ�โดยสัมพัทธ์: กรณีศึกษาการปรับใช้รัฐสวัสดิการตัวแบบนอร์ดิกในประเทศไทย

ค�ำน�ำ

ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้ ว ยศู น ย์ ยุ โ รปศึ ก ษาแห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มี พันธกิจส�ำคัญในการเสริมสร้าง พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้าน ยุโรปศึกษาให้แก่สาธารณชน เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาด้านยุโรป ศึกษาในประเทศไทยและภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์ฯ จึงได้ ให้การสนับสนุนเงินทุนวิจยั ส�ำหรับโครงการวิจยั ขนาดเล็กทีม่ ปี ระเด็น การศึกษาเกี่ยวข้องกับภูมิภาคยุโรป รวมถึงบทบาทของยุโรปในโลก เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้าง และกระจายองค์ความรู้เชิงลึกใหม่ ๆ ใน แขนงวิชา อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ วงการการศึกษาและสังคมในวงกว้าง เดนมาร์ ก เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ช่ื อ เสี ย งจากความส� ำ เร็ จ ในการพัฒนารัฐสวัสดิการ ที่ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการเสริมสร้างคุณภาพชีวติ ของ ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน ผลของความส�ำเร็จสะท้อนจากรายงานการ จัดอันดับความสุขโลก (World Happiness Report) ซึง่ จัดท�ำโดยเครือ ข่ายทางออกเพือ่ การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน (Sustainable Development Solutions Network - SDSN) ของสหประชาชาติ (United Nations - UN) ในปีค.ศ.2019 ที่จัดอันดับประเดนมาร์กเป็นประเทศที่มีความ สุขอันดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศฟินแลนด์ ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาค นอร์ดิกเช่นเดียวกับเดนมาร์ก อย่างไรก็ดี การศึกษาในเรื่องความส�ำเร็จของรัฐสวัสดิการ มักพิจารณาปัจจัยความส�ำเร็จในเพียงแง่มิติการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ ห ากศึ ก ษาในมิ ติ ป ั จ จั ย ทางวั ฒ นธรรมเพิ่ ม เติ ม จะช่ ว ยท� ำ ให้ เข้าใจปัจจัยความส�ำเร็จของรัฐสวัสดิการได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดั ง นั้ น การศึ ก ษาความส� ำ เร็ จ ประเทศเดนมาร์ ก ซึ่ ง เป็ น ประเทศ ที่ มี วั ฒ นธรรมอั น เป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องตนเอง ดั ง เช่ น แนวคิ ด แบบ


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561

‘ฮุกกะ’ (Hygge) ปรัชญาความสุขฉบับเดนมาร์ก ที่ปัจจุบันก�ำลังเผย แพร่ไปทั่วโลก จึงถือเป็นบทเรียนที่ควรให้ความส�ำคัญในการท�ำความ เข้าใจรัฐสวัสดิการผ่านปัจจัยทางวัฒนธรรม เพื่อน�ำไปปรับใช้ในการ พัฒนารัฐสวัสดิการในภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย ด้ ว ยเหตุ ที่ ศู น ย์ ยุ โ รปศึ ก ษาแห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ตระหนั ก ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของบทเรี ย นดั ง กล่ า วต่ อ ประเทศไทย ใน ปีงบประมาณ 2558 ศูนย์ฯจึงได้ให้ทุนวิจัยกับโครงการวิจัย เรื่อง “ปั จ จั ย ทางวั ฒ นธรรมกั บ ความส� ำ เร็ จ ของนโยบายรั ฐ สวั ส ดิ ก าร ในประเทศเดนมาร์ ก ” ซึ่ ง ด� ำ เนิ น การวิ จั ย โดย พั น ต� ำ รวจโท ติ รั ส ตฤณเตชะ บัดนี้ โครงการวิจัยได้ด�ำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ศู น ย์ ฯ จึ ง เห็ น ควรให้ จั ด พิ ม พ์ ร ายงานวิ จั ย ฉบั บ สมบู ร ณ์ ฉ บั บ นี้ ขึ้ น และถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของชุ ด รายงานวิ จั ย “ว่ า ด้ ว ยรั ฐ สวั ส ดิ ก าร: บทเรี ย นจากยุ โ รปสู ่ ป ระเทศไทย” เพื่ อ เผยแพร่ อ งค์ ค วามรู ้ จ าก โครงการวิ จั ย แก่ ส าธารณชน อั น จะเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การพั ฒ นา นโยบายสาธารณะด้ า นสวั ส ดิ ก ารในประเทศไทย รวมถึ ง การ ต่อยอดการวิจัยในแขนงการศึกษานี้ในอนาคต ศูนย์ยโุ รปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอขอบพระคุณ พันต�ำรวจโท ติรัส ตฤณเตชะ ที่ได้ทุ่มเทและตั้งใจด�ำเนินโครงการวิจัย จนส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี และหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์จาก รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ฉบับนี้ไม่มากก็น้อย หากท่านมีข้อเสนอแนะ ประการใดเกีย่ วกับการด�ำเนินงานส่งเสริมการวิจยั ของศูนย์ฯ โปรดแจ้ง ต่อเจ้าหน้าทีข่ องศูนย์ฯผ่านช่องทางการติดต่อทีป่ รากฏในรายงานวิจยั ฉบับนี้ ศูนย์ฯพร้อมทีจ่ ะน�ำความเห็นของท่านมาพัฒนาการด�ำเนินงาน ให้สามารถยังประโยชน์ต่อวงการยุโรปศึกษาและสังคมได้ดียิ่งขึ้นไป ฝ่ายวิจัยและสิ่งพิมพ์ ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


กระบวนการประยุกต์ ใช้ตัวแบบสวัสดิการแบบนอร์ดิกในประเทศรายได้ต่ำ�โดยสัมพัทธ์: กรณีศึกษาการปรับใช้รัฐสวัสดิการตัวแบบนอร์ดิกในประเทศไทย

สารบัญ บทที่ 1 บทน�ำ

10

บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม

24

บทที่ 3 วิธีด�ำเนินงานวิจัย

56

บทที่ 4 ผลการวิจัย บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย

62 114

บรรณานุกรม

124

ภาคผนวก

128



บทที่ 1

บทน�ำ


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ที่มาและความส�ำคัญของงานวิจัย ในการศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy) ซึ่งเป็น เครื่องมือในการก�ำหนดทิศทางและแนวทางในการด�ำเนินงานของ รัฐบาล ในทางทฤษฎีผู้น�ำหรือรัฐบาลมีอิสระในการก�ำหนดนโยบาย สาธารณะได้อย่างเต็มที่ แต่ในทางปฏิบัติรัฐบาลต้องก�ำหนดนโยบาย สาธารณะ โดยค�ำนึงถึงสภาพแวดล้อมของนโยบาย เพราะสิง่ นีม้ อี ทิ ธิพล ต่อความส�ำเร็จหรือความล้มเหลวในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ ซึง่ สภาพแวดล้อมหรือปัจจัยทีเ่ ป็นข้อจ�ำกัดหรือเงือ่ นไขของการก�ำหนด นโยบายสาธารณะ ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการเมือง สังคมและ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น แต่เมื่อมองย้อนดูงานวิจัยส่วนใหญ่ในการศึกษาความส�ำเร็จ ของการด�ำเนินนโยบายสาธารณะในช่วงทศวรรษที่ 1950-1970 กลับ มุ่งเน้นให้ความส�ำคัญกับสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งในแง่ ของเงื่อนไขในกระบวนการตัดสินใจในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ และตัวชีว้ ดั ทางด้านเศรษฐกิจคือ ตัวชีว้ ดั ทีต่ อบโจทย์นยิ ามความส�ำเร็จ ของนโยบายสาธารณะ อีกทั้งระเบียบวิธีการศึกษามักถูกจ�ำกัดโดยวิธี การแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งครอบง�ำแนวทางการศึกษาทาง ด้านสังคมศาสตร์มาเป็นระยะเวลาช้านาน แทนทีจ่ ะเลือกใช้วธิ กี ารแบบ สหสาขาวิชา (Multi-Disciplinary)1 ท�ำให้งานวิจัยส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับ ความส�ำเร็จ ในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะเป็นงานวิจยั ในเชิงปริมาณ อย่างเข้มข้นและมุง่ เน้นกับปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ โดยเน้น ให้ความส�ำคัญของข้อเท็จจริงแยกออกจากประเด็นทางด้านคุณค่าและ แสวงหาผลที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทั่วไปเพื่อที่จะน�ำไปใช้ได้กับทุกสังคม มายาคติดงั กล่าวถูกท้าทายในกรณีของสังคมประเทศเดนมาร์ก เพราะปรากฏการณ์ความส�ำเร็จของการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ 1 Lasswell, Harold (1951). The policy orientation. In Daniel Lerner & Harold D. Lasswell (Eds.), The Policy Sciences. Palo Alto, CA: Stanford University Press. 3–15.

11


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

โดยเฉพาะในมิติของนโยบายรัฐสวัสดิการ (Welfare State Policy) ไม่สามารถที่จะละเลยหรือแยกเอาประเด็นทางด้านคุณค่าออกไปโดย มิได้น�ำมาพิจารณาประกอบได้ โดยเฉพาะในการประเมินผลนโยบาย สาธารณะแบบการประเมินผลเชิงตัดสินใจ (Decision-Theoretic Evaluation) ซึง่ ต้องดูผลของการด�ำเนินนโยบายว่าสามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของสังคม สนองคุณค่าของสังคม และแก้ไขปัญหา ที่เป็นเป้าหมายของนโยบายได้หรือไม่อย่างไร เป็นต้น เพราะฉะนั้น ความส�ำเร็จของนโยบายสาธารณะจึงสะท้อนผ่านความสัมพันธ์ระหว่าง คุณค่าเชิงซ้อนที่ปรากฏผ่านตัวนโยบายกับชุดคุณค่าหนึ่ง ๆ ที่ผู้คนใน สังคมยึดถือร่วมกัน2 ซึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าอิทธิพลของชุดคุณค่า ในสังคมมีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อความส�ำเร็จหรือล้มเหลวในการด�ำเนิน นโยบายสาธารณะนั่นเอง เดนมาร์กด�ำเนินนโยบายทางด้านสวัสดิการ โดยใช้รูปแบบ รัฐสวัสดิการสแกนดิเนเวีย (Scandinavian Welfare Model) ซึ่ง มี หั ว ใจหลั ก คื อ “ผลประโยชน์ ทั้ ง หลายจะต้ อ งน� ำ สู ่ พ ลเมื อ งเพื่ อ บรรลุ ส ภาวะที่ เ หมาะสม นั่ น หมายถึ ง การมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี โดย ใช้หลักความเท่าเทียมกัน และปราศจากการแบ่งแยกสถานะทาง เศรษฐกิ จ และสั ง คม” 3 โดยรั ฐ จะมี บ ทบาทในการบริ ห ารจั ด การ และจั ด สรรงบประมาณของระบบความมั่นคงปลอดภั ย ของสั งคม บริ ก ารสุ ข ภาพและการศึ ก ษาซึ่ ง ครอบคลุ ม ค่ า ใช้ จ ่ า ยมากกว่ า ประเทศอื่น ๆ ในยุโรป โดยด�ำเนินการควบคู่ไปกับการจัดเก็บภาษี ที่สูง แต่พลเมืองก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเพื่อแลกกับระบบการจัดการ ทางด้ า นสวั ส ดิ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพสู ง ด้ ว ยเช่ น กั น แม้ ว ่ า จะต้ อ งเผชิ ญ กับวิ ก ฤติ เศรษฐกิ จอยู่ห ลายต่อหลายครั้ง แต่เ ดนมาร์ ก ก็ ส ามารถ ที่จะปฏิรูปและหาวิธีฝ่าฟันวิกฤติการณ์ได้ทุกครั้ง โดยไม่กระทบต่อ 2 Dunn, Wiliam. (2011). Public Policy Analysis (5th Edition). Pearson Press. 3 รุง่ ทิพย์ สุขก�ำเนิด. (2556). ส่องความสุขชาวเดนมาร์ก: มองลอดรัฐสวัสดิการเห็นสังคมนิยม โดยวัฒนธรรม. ส�ำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ. หน้า 1.

12


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ความด�ำรงอยูข่ องนโยบายรัฐสวัสดิการแต่อย่างใด จนได้รบั สมญานาม ว่า “ความมหัศจรรย์แห่งเดนมาร์ก” (Danish Miracle)4 ท�ำให้ดนิ แดน แห่งนีท้ า้ ทายและลดทอนพลังอธิบายทีเ่ น้นแต่ขอ้ เท็จจริงของส�ำนักคิด ปฏิฐานนิยมลงอย่างสิ้นเชิง หากดูเพียงผิวเผินรัฐสวัสดิการเดนมาร์กอาจไม่มคี วามแตกต่าง จากรัฐสวัสดิการของประเทศอืน่ ๆ ทัว่ โลกหรือประเทศข้างเคียงในแถบ สแกนดิเนเวีย (Scandinavia)5 และนอร์ดกิ (Nordic)6 แต่ความโดดเด่น และลักษณะเฉพาะของความเป็นเดนมาร์กซึง่ มีอทิ ธิพลต่อปรากฏการณ์ ความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีความน่า สนใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ท�ำให้ดวงตาทุกคู่จากนานาประเทศต่างจับจ้อง และพยายามน�ำต้นแบบ (Model) ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์กไปปรับ ใช้ในประเทศของตน ลักษณะเฉพาะส�ำคัญของนโยบายรัฐสวัสดิการ เดนมาร์ก สามารถจ�ำแนกตามบริบทต่าง ๆ ได้ 3 บริบท ประกอบด้วย หนึ่ง บริบททางด้านประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อพิจารณา ประวัติศาสตร์จะพบว่าพัฒนาการของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก เกิดขึ้นพร้อมกับกระบวนการการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติของ เดนมาร์ก7 ท�ำให้นโยบายรัฐสวัสดิการเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของ 4 บุญรัตน์ รัฐบริรักษ์ และ มรุต วันทนากร. (2547). การวิเคราะห์ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย: การเมือง เศรษฐกิจ สังคม. ศูนย์ศึกษาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 193.  5 ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย (Scandinavia) ประกอบด้วย นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก หรือในบางครัง้ อาจหมายความรวมถึง ประเทศฟินแลนด์ดว้ ย โปรดดู Ostergard, Uffe (1997). “The Geopolitics of Nordic Identity – From Composite States to Nation States”. The Cultural Construction of Norden. Oystein Sorensen and Bo Strath (eds.), Oslo: Scandinavian University Press. pp. 25–71. 6 ประเทศในกลุ่มนอร์ดิก (Nordic) ประกอบด้วย นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์ แลนด์ และหมายความรวมถึง หมู่เกาะแฟโร เกาะกรีนแลนด์ Aland Islands และดินแดน Svalbard โปรดดู Hilson, Mary (2008). The Nordic Model: Scandinavia since 1945. London: Reaktion Books. pp. 7-11. 7 Jonasen, Viggo. (1999). History of Welfare State in Denmark. The National Danish School of Social Work in Aarthus. Denmark. Aarthus: Denmark..

13


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

พลเมื อ งเดนมาร์ ก และเกิ ด สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “คุ ณ ค่ า อั ต ลั ก ษณ์ ท าง วัฒนธรรม”สะท้อนผ่านชุดนโยบายรัฐสวัสดิการในหลากหลายมิติ อาทิ เช่น สภาพสังคมเกษตรกรรมของเดนมาร์กได้ท�ำให้พลเมืองในสังคม เดนมาร์กมีความใกล้ชิดและแนบแน่นกัน มีลักษณะของ “ความเป็น พี่เป็นน้อง” มีลักษณะของวัฒนธรรมกลุ่มนิยม มีความร่วมมือกันเพื่อ การพัฒนาคุณภาพชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เคารพสิทธิและหน้าที่ ไม่พึ่งพา กันแบบระบบอุปถัมภ์ สิง่ เหล่านีไ้ ด้หยัง่ รากเป็นชุดคุณค่าหนึง่ ซึง่ สะท้อน ถึงตัวตนของความเป็นคนเดนมาร์กในปัจจุบัน เป็นต้น สอง บริบททางด้านเศรษฐกิจการเมือง กล่าวคือ สภาพ โครงสร้างทางสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงาน เป็ น จ� ำ นวนมาก จึ ง ท� ำ ให้ เ ดนมาร์ ก ถื อ ก� ำ เนิ ด พรรคการเมื อ งที่ มี นโยบายตอบสนองความต้ อ งการของกลุ ่ ม แรงงานเกิ ด ขึ้ น ในค.ศ. 1871 คือ พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic Party) ซึ่งมีบทบาทส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิรูปสังคมและการก่อร่าง สร้างรัฐสวัสดิการในเดนมาร์ก8 นอกจากนี้ เดนมาร์กมีการรวมกลุ่ม ของพลเมืองในรูปแบบต่าง ๆ ในลักษณะเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ อาทิ สหกรณ์การเกษตร (Cooperative) สหภาพแรงงาน (Labor Union) ชุ ม ชนบริ ห ารกิ จ การไฟฟ้ า ขนาดย่ อ ม ชุ ม ชม ต้ น แบบในการอาศั ย อยู ่ ร ่ ว มกั น (Community Home Town) เป็ น ต้ น ซึ่ ง การรวมกลุ ่ ม ทั้ ง หลายเหล่ า นี้ เ กิ ด ขึ้ น ไล่ เ รี ย งกั น ตาม สภาพแวดล้อมของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป พลวัตการท�ำงานของ การรวมกลุ่มเหล่านี้ จึงประกอบสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมขึ้น โดยเฉพาะกลุม่ สหภาพแรงงาน ซึง่ มีความรูส้ กึ ร่วมกันถึงความต้องการ ให้มนุษย์ทกุ ชีวติ มีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี (Well-Being) มีความเท่าเทียมกันใน สังคม (Equality) จนน�ำมาสูก่ ารรวมตัวกันเคลือ่ นไหวและเรียกร้องเพือ่ 8 เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2553). เศรษฐกิจทางเลือก ว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. ส�ำนักพิมพ์โอเพ่น บุ๊ค. หน้า 36.

14


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเดนมาร์กครั้งยิ่งใหญ่ จนเป็นรากฐาน ของสังคมที่มีคุณภาพเฉกเช่นปัจจุบัน กล่ า วคื อ พลวั ต ของชนชั้ น แรงงานได้ ร ่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ผลักดันจนเกิดกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการ สร้างรัฐสวัสดิการ เช่น กฎหมายคนจน (Poor Law) ในค.ศ. 18039 กฎหมายผู้สูงอายุ และพ.ร.บ.ปฏิรูปการประกันการเจ็บป่วยในค.ศ. 189110 พ.ร.บ.ความช่วยเหลือทางสังคม ในค.ศ.1974 พ.ร.บ.ค่า จ้างที่เท่าเทียมกัน (Equal Pay Act) พ.ร.บ.ว่าด้วยโอกาสที่เท่าเทียม (Equal Opportunity Act) ซึ่งเดนมาร์กเป็นประเทศแรกของยุโรปที่ ใช้กฎหมายนีค้ วบคุมให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแรงงานชายและหญิงให้เท่า กันและครอบคลุมถึงการปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิง11 นอกจากนี้ บทบาทของสหกรณ์และแรงงานยังท�ำให้รัฐบาล ให้ความส�ำคัญกับแรงงาน ในลักษณะของการท�ำให้แรงงานไม่กลาย เป็นสินค้า (Decommodification of Labour) กล่าวคือ การท�ำให้ แรงงานมีเสรีภาพและคุณค่าในการเลือกประกอบวิชาชีพ รวมถึงมี คุณภาพชีวติ ทีด่ ใี นการด�ำรงชีพหลังออกจากงาน หรือที่ Philip Manow เรียกว่า สิทธิของสังคมที่จะผลักดันพรมแดนของอ�ำนาจทุนนิยมให้ ล่าถอยไป12 ซึ่งท่าทีของรัฐดังกล่าวก็เป็นผลมาจากลักษณะความเป็น 9 Lars, Johansen. (1986). Denmark, in: Peter Flora (ed.), Growth to Limits: The Western European Welfare States Since World War II: Sweden, Norway, Finland, Denmark. New York: De Gruyter-Recht. pp. 293-381.  10 Kasperson, L. B. and M. Svaneborg. (2004). The OECD influence on Danish Welfare Policies.The OECD and European Welfare state. Northampton: United Kingdom. 11 ติรสั ตฤณเตชะ. (2555). นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ความท้าทายภายใต้ความผันผวน ในกระแสโลกาภิวัตน์.วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม.-มิถุนายน 2555). หน้า 107-129. 12 Manow, Philip. (2004). The Good, the Bad, and the Ugly: Esping-Andersen’s welfare state typology and the religious roots of the western welfare state. MPIfG working paper 04/3. Max-Planck Institute for the Study of Societies, Cologne.

15


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ปัจเจกนิยม (Individualism) ของคนเดนมาร์กที่เห็นคุณค่าของความ เสมอภาคของมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นตัวของตัวเอง มี อิสระทางความคิดและการสร้างสรรค์ เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ซึ่งก็ น�ำไปสู่ลักษณะวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม (The Participant Political Culture) ของพลเมืองเดนมาร์กด้วยเช่นกัน13 สาม บริบททางด้านการจัดการองค์การทางสังคม กล่าว คือ เดนมาร์กมีแนวโน้มของลักษณะความเป็นองค์การที่มีสมรรถนะ สูง (High Performing Organization: HPO)14 ในการด�ำเนินนโยบาย รัฐสวัสดิการ เพราะถึงแม้ว่างบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดให้มี สวัสดิการจะมีปริมาณสูงมากต่อปี และเดนมาร์กก็ต้องเผชิญกับวิกฤติ เศรษฐกิจโลกหลายครัง้ แต่เดนมาร์กก็ยงั คงเป็นประเทศทีม่ งั่ คัง่ ทางด้าน เศรษฐกิจ อีกทัง้ นโยบายรัฐสวัสดิการทีต่ อ้ งใช้งบประมาณมหาศาลก็ยงั คงด�ำรงอยูไ่ ด้แม้สภาพแวดล้อมจะเปลีย่ นแปลงไป บ่งบอกถึงศักยภาพ ในกาปรับตัวของเดนมาร์กให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและมีความสามารถ ที่จะตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็วโดยให้ความส�ำคัญกับ การด�ำเนินงานระยะยาวในลักษณะการบูรณาการ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่อง มาจากลักษณะทางวัฒนธรรมของสังคมเดนมาร์กที่เป็นตัวก�ำหนด และขับเคลื่อนประเทศ โดยสังคมเดนมาร์กเชื่อในแนวคิดร่วมสมัย และประนีประนอมแนวคิดที่แตกต่างกันของมุมมองฝั่งตะวันตกและ ตะวันออก ออกแบบวิถกี ารด�ำเนินชีวติ และพัฒนาประเทศในแบบฉบับ ของตนเองเพือ่ ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป เช่น เพื่อตอบโจทย์การมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมเดนมาร์กจึงให้ความ ส�ำคัญกับสิง่ แวดล้อมและพลังงานทดแทน ผ่านการสร้างสังคมจักรยาน 13 Ostergard, Uffe. (1992). Peasants and Danes: The Danish National Identity and Political Culture. Comparative Studies in Society and History. Vol.34. Issue 01. January. pp. 3-27. 14 De Waal. (2007). The Characteristics of High Performance Organization. Business Stategy Series. Vol. 8, No 3. Emerald Group Plublishing Limited. pp. 179-185.

16


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

การสนับสนุนการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานไฟฟ้าจากขยะ และดวงอาทิตย์ และเป็นบริเวณแรก ๆ ของโลก ที่มีพรรคการเมือง ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม (Green Party) และมีความตื่นตัวต่อปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก (Climate Change Issue) เป็นต้น ซึง่ แนวคิดทัง้ หลายเหล่านีล้ ว้ นแล้วแต่แทรกซึมอยูใ่ นชุดนโยบาย ทางด้านสวัสดิการของเดนมาร์กแทบทั้งสิ้น15 เมื่อพิจารณาจากความโดดเด่นซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ทั้งในบริบททางด้านประวัติศาสตร์ บริบททางด้านเศรษฐกิจการเมือง และบริบททางด้านการจัดการ องค์การทางสังคม จะแสดงให้เห็นว่า ความส�ำเร็จของการด�ำเนิน นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เห็นได้ใน เชิงประจักษ์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ประเด็นทางด้าน “คุณค่า” ซึ่งฝัง รากลึกอยูใ่ นสังคมเดนมาร์กกลับมีสว่ นส�ำคัญมากกว่าต่อการอธิบายถึง ปรากฏการณ์ความส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการในสังคมเดนมาร์ก เพราะเมื่อพิจารณาจากฐานคิดทั้ง 3 บริบท ดังกล่าวแล้ว ได้แก่ บริบท ทางด้านประวัติศาสตร์ บริบททางด้านเศรษฐกิจการเมือง และบริบท ทางด้านการจัดการองค์การทางสังคม ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลก่อให้ เกิดลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศเดนมาร์กทั้งสิ้น ซึ่ง ผู้ศึกษาจะจ�ำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ เพื่อจะใช้ท�ำการศึกษาในงาน ชิ้นนี้ ประกอบด้วย 1. การให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความเท่ า เที ย มกั น ในสั ง คม (Equality) ใช้กรอบแนวคิดระยะห่างของอ�ำนาจ (Power Distance หรือ PDI) และลักษณะการให้ความส�ำคัญระหว่างหญิงชายในสังคม (Masculinity หรือ MAS) ของ Geert Hofstede16 เพือ่ ศึกษาถึงระดับ 15 Ibid. 16 Hofstede, G. (1984). “The Cultural Relativity of the Quality of Life Concept.” The Academy of Management Review 9 (3). pp. 389-398.

17


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

วัฒนธรรมอ�ำนาจของเดนมาร์ก และความเสมอภาคของหญิงชายใน สังคมเดนมาร์ก ซึ่งจะสะท้อนถึงลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมใน เรื่องของการให้ความส�ำคัญกับความเท่าเทียมกันในสังคม 2. ความรู้สึกร่วมของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-Being) ใช้กรอบแนวคิดระยะห่างของอ�ำนาจ (Power Distance หรือ PDI) และระดับของการควบคุมความต้องการ (Indulgence หรือ IVR) ของ Geert Hofstede17 เพื่อศึกษาถึงลักษณะของความรู้สึกร่วมของ การมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ผูค้ นแสวงหาความสุขความต้องการได้อย่างอิสระ เสรี แต่ทั้งนี้นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก 3. ลักษณะดุลยภาพทางวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมและกลุม่ นิยม (Individualism vs. Collectivism) ใช้ ก รอบแนวคิ ด ความเป็ น ปั จ เจกนิ ย มและกลุ ่ ม นิ ย ม (Individualism หรือ IDV) และวัฒนธรรมที่เน้นความสัมพันธ์ในระยะ ยาว (Long Term Orientation หรือ LTO) ของ Geert Hofstede18 เพื่อศึกษาถึงลักษณะดุลยภาพทางวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมกับกลุ่ม นิยมที่ผสมผสานอยู่ในสังคมเดนมาร์ก จากลั ก ษณะอั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมของเดนมาร์ ก ทั้ ง 3 ประการ ผู้วิจัยจะท�ำการศึกษาผ่านเครื่องมือที่จะท�ำการรื้อค้นสาเหตุ หรือปัจจัยส�ำคัญทีส่ ง่ ผลต่อความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ ของเดนมาร์กในปัจจุบัน นั่นคือการน�ำแนวคิดการศึกษานโยบายแบบ การตีความ (Interpretive Public Policy) มาใช้หาค�ำตอบเพื่อให้ได้ ความจริงที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะวิธีการแบบตีความจะเน้นที่นโยบายใน ฐานะเป็นสัญลักษณ์ทเี่ ป็นรูปธรรมทีแ่ สดงออกถึงคุณค่า ความเชือ่ และ ความรู้สึกที่มีอยู่ในนโยบายและที่มีอยู่ในองค์การ19 หนึ่งในนั้นคือ การ 17 Ibid. 18 Ibid.  19 Fischer, Frank. (2003). Reframing Public Policy: Discursive Politics and

18


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคม (Cultural Identity) โดยการ ศึกษาครั้งนี้เลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาส�ำรวจข้อมูล แบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) ซึ่งเป็นการท�ำความ เข้าใจประสบการณ์การด�ำเนินชีวิตในแต่ละวันของบุคคลว่า แท้จริง แล้วบุคคลนัน้ รับรูแ้ ละให้ความหมายกับประสบการณ์ทกี่ ระท�ำอย่างไร บ้าง มีความคิด ความรู้สึกอย่างไรต่อบุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ต่าง ๆ20 และอาศัยทักษะของการท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับสารสนเทศ ขององค์กรด้วยแนวคิดวัฒนธรรมองค์การของ คาร์ล ไวค์ (Karl Weick, 1995) ได้แก่ แนวคิด “ความเหมาะสมขององค์การ”(Organizational Sense-Making) หรือความสามารถในการท�ำความเข้าใจถึงนัย หรือ ความหมายทีอ่ ยูเ่ บือ้ งลึก (Meaning and Insight)21 มาประกอบเป็นชุด เครื่องมือที่จะท�ำให้สามารถสกัดเอาคุณค่าเชิงซ้อนที่อยู่ในตัวนโยบาย สาธารณะตามแนวคิดของ Dunn22 มาวิเคราะห์ และหาความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกับปัจจัยทางด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เพื่อสะท้อนความ ส� ำ เร็ จ ของการด� ำ เนิ น นโยบายทางด้ า นสวั ส ดิ ก ารของเดนมาร์ ก ให้รอบคอบและครบถ้วนสมบูรณ์

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่ อ ศึ ก ษาถึ ง ลั ก ษณะและปั จ จั ย ทางด้ า นอั ต ลั ก ษณ์ ท าง วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ ในประเทศเดนมาร์กภายใต้บริบท หรือฐานคิดซึ่งเป็นตัวก่อร่างสร้าง อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก Deliberative Practices. New York: Oxford University Press. 20 Moran, D. (2005). Edmund Husserl: Founder of Phenomenology. Cambridge and Malden, Massachusetts: Polity Press. 21 Weick, Karl. (1995). Sensemaking in Organizations. London: SAGE Publications. 22 Dunn, Wiliam. (2011). Public Policy Analysis (5th Edition). Pearson Press.

19


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ขอบเขตของโครงการวิจัย 1. ด้านเนื้อหา เป็นการศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งส่ง ผลต่อปรากฏการณ์ความส�ำเร็จของการด�ำเนินนโยบายสาธารณะของ เดนมาร์ก โดยเฉพาะนโยบายสวัสดิการของเดนมาร์ก ผ่านบริบทการ ศึกษาพัฒนาการของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กกับกระบวนการ การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติ นอกจากนั้นยังท�ำการศึกษาผ่าน แนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความและหลังสมัยใหม่ โดยพิจารณาถึงชุดคุณค่าต่าง ๆ ที่พลเมืองเดนมาร์กยึดถือร่วมกันจน กลายเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมผ่านการสัมภาษณ์ และศึกษาเอกสาร อื่น ๆ ประกอบ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ จากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือ งาน วิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ บทความ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายทางด้าน สวัสดิการของเดนมาร์ก ความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายทางด้าน สวัสดิการ การสร้างอัตลักษณ์ความเป็นเดนมาร์ก และมิติของลักษณะ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก อันได้แก่ ความรู้สึกร่วมความ ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดีภราดรภาพ หรือความเป็นพี่เป็นน้อง ความ เท่าเทียมกัน ความร่วมมือ และปัจเจกนิยม 2. ด้านเวลา มุ่งเน้นที่จะศึกษาความส�ำเร็จของการด�ำเนิน นโยบายรัฐสวัสดิการของเดนมาร์กตั้งแต่ค.ศ. 2011 เป็นต้นมาจน กระทั่งถึงปัจจุบัน อันสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของอัตลักษณ์ความเป็น เดนมาร์ก อย่างไรก็ตามเพื่อความสมบูรณ์ของงานวิจัยและสามารถ อธิ บ ายความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งนโยบายรั ฐ สวั ส ดิ ก ารเดนมาร์ ก และ อัตลักษณ์เดนมาร์กได้ชดั เจนมากยิง่ ขึน้ จึงมีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องย้อน ศึกษาองค์ความรูป้ ระวัตศิ าสตร์ในยุคก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เป็นต้น มาประกอบด้วยโดยใช้ระยะเวลาในการด�ำเนินการศึกษา 6 เดือน 3. ด้านพืน้ ทีก่ ารศึกษา แบ่งออกเป็น 2 เมืองทีล่ งพืน้ ทีท่ ำ� การ ศึกษาประกอบด้วย โคเปนเฮเกน (Copenhagen) เพื่อให้ได้ข้อมูลใน เขตเมืองและฮอร์เซน (Horsen) เพือ่ ได้ขอ้ มูลในเขตชนบทรวมถึงชุมชน 20


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

พิเศษที่พลเมืองมาอาศัยอยู่ด้วยกันแบบหลวม ๆ หรือชุมชนทางเลือก (Community Home Town)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ด้านวิชาการ งานทางด้านวิชาการในประเทศไทยที่เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายสาธารณะ มีงานด้านนี้ค่อนข้างจ�ำกัด และมีเขตเขตการศึกษาแต่ในพื้นที่ของ ประเทศไทย งานชิ้นนี้เป็นงานทางด้านวิชาการชิ้นแรก ๆ ที่ท�ำการ ศึกษาในพื้นที่ภายนอกประเทศ โดยเฉพาะในการท�ำการศึกษาใน ประเทศเดนมาร์กที่ได้ชื่อว่าประสบความส�ำเร็จอย่างดีเยี่ยมในการ ด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการ โดยการศึกษาครัง้ นีเ้ ป็นการเน้น “คุณค่า” ที่สร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและส่งผลในการที่รัฐสามารถจัดสรร “คุณค่า” เหล่านั้นไปสู่การก�ำหนดนโยบายสาธารณะได้ ด้านการปฏิบัติ งานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถใช้เป็นตัวแบบในการด�ำเนินนโยบาย สาธารณะของประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในการตระหนักถึงการ พิจารณาประเด็นทางด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความ ส�ำเร็จ หรือความล้มเหลวของการด�ำเนินนโยบายสาธารณะในขั้นตอน การประเมินผลนโยบาย

นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ อั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรม หมายถึ ง ลั ก ษณะเฉพาะทาง วัฒนธรรมทีเ่ ป็นตัวบ่งชีใ้ ห้เราเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละวัฒนธรรม 21


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ในการวิเคราะห์ทางด้านวัฒนธรรม ซึง่ ในการศึกษาครัง้ นีป้ ระกอบด้วย 3 ลักษณะคือ หนึ่ง ความรู้สึกร่วมต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง ความ รู้สึกตระหนักถึงความเท่าเทียมกันในสังคม หรือสังคมที่มีลักษณะ วัฒนธรรมอ�ำนาจที่ต�่ำ พลเมืองมีโลกทัศน์ที่ต้องการให้สังคมมีความ เท่าเทียมกันทั้งในแง่ของสิทธิและโอกาส และสาม ลักษณะดุลยภาพ ทางวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมกับกลุ่มนิยมที่หมายถึง การที่ลักษณะ วัฒนธรรมสังคมเดนมาร์กสะท้อนทั้งความเป็นปัจเจกนิยมและกลุ่ม นิยมผสมผสานกันในลักษณะของมิติในด้านที่ดี กล่าวคือ พลเมืองมี ความเป็นปัจเจก เคารพสิทธิและหน้าที่ผู้อื่น เคารพสิทธิมนุษยชน มี ลักษณะวัฒนธรรมการเมืองแบบมีสว่ นร่วม มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล ในขณะทีค่ วามเป็นกลุม่ นิยมของเดนมาร์ก ก็สะท้อนผ่าน ลักษณะความเป็นพีเ่ ป็นน้อง มีความร่วมมือ ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจกัน แต่ ไม่นำ� ไปสูล่ กั ษณะสังคมแบบวัฒนธรรมระบบอุปถัมภ์ ซึง่ ลักษณะของอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมทีโ่ ดดเด่นทัง้ 3 ของเดนมาร์กนัน้ เกิดขึน้ จากฐาน คิด 3 บริบทอันได้แก่ บริบททางสังคมวิทยาประวัติศาสตร์ บริบททาง เศรษฐกิจการเมือง และบริบททางด้านการจัดการองค์การทางสังคม นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม ที่กระท�ำโดยรัฐบาล การตัดสินใจเลือกที่จะกระท�ำของรัฐบาลต้องค�ำนึงถึงคุณค่าของสังคม เป็นเกณฑ์โดยเฉพาะในกรณีของเดนมาร์ก นโยบายรัฐสวัสดิการ คือ การค�ำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นส�ำคัญ เพื่อเสริมสร้างให้ ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขผ่านการจัดระบบสวัสดิการแบบ ครบวงจรอันประกอบด้วยการประกันสังคม (Social Insurance) การ สงเคราะห์ประชาชน (Public Assistance) และการบริการสังคม (Social Services) โดยมุ่งลดความเหลื่อมล�้ำในสังคม โดยการจัด สวัสดิการให้ทวั่ ถึง เท่าเทียมกัน แก่บคุ คลทุกระดับ ทุกเชือ้ ชาติทอี่ าศัย อยูใ่ นเดนมาร์ก และค�ำนึงถึงการมีสว่ นร่วมของประชาชน ตามแนวทาง ประชาธิปไตย ทั้งในแง่ของกระบวนการก�ำหนดนโยบายและความรับ ผิดชอบต่อการจัดสวัสดิการผ่านระบบภาษี 22



บทที่ 2

ทบทวนวรรณกรรม


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ทบทวนวรรณกรรม ผลจากการทบทวนวรรณกรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งงานวิ จั ย เรื่ อ ง “ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการใน ประเทศเดนมาร์ก” สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อได้ 4 หัวข้อ ดังนี้ 1. งานที่ว่าด้วย “รัฐสวัสดิการประเทศเดนมาร์ก” 2. งานที่ว่าด้วย “พัฒนาการของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก” 3. งานที่ว่าด้วย “อัตลักษณะทางวัฒนธรรมและฐานคิดที่ก่อ ร่างสร้างลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก 4. งานที่ว่าด้วย “แนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะแบบ ตีความ”

2.1 งานทีว่ า่ ด้วย “รัฐสวัสดิการประเทศเดนมาร์ก” งานที่ เ กี่ ย วกั บ รั ฐ สวั ส ดิ ก ารเดนมาร์ ก ที่ ป รากฏส่ ว นใหญ่ สามารถจ�ำแนกออกได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ หนึ่ง การศึกษาเปรียบเทียบจ�ำแนกรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก กับประเทศในกลุม่ สแกนดิเนเวีย นอร์ดกิ หรือประเทศอืน่ ๆ ในยุโรป อาทิ งานของคลาสสิคของ Esping Andersen เรื่อง “The Three Worlds of Welfare Capitalism”23 ที่จ�ำแนกลักษณะรัฐสวัสดิออก เป็น 3 รูปแบบ โดยอาศัยลักษณะตามรูปแบบการปกครองของรัฐบาล อันประกอบด้วยรัฐสวัสดิการแบบรัฐบาลอนุรักษ์นิยม รัฐสวัสดิการ แบบรัฐบาลเสรีนิยม และรัฐการแบบรัฐบาลสังคมนิยมประชาธิปไตย ซึ่งเดนมาร์กและกลุ่มประเทศในสแกนดิเนเวียจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ในขณะ 23 Esping-Andersen, Gøsta. (1990). The three worlds of welfare capitalism. Princeton, New Jersey: Princeton University Press

25


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ที่งานของ Korpi Walter และ Joakim Palme เรื่อง The Paradox of Redistribution and Strategies of Equality: Welfare State Institutions, Inequality and Poverty in the Western Countries 24 ได้จำ� แนกรัฐสวัสดิการว่ามีลกั ษณะของรัฐสวัสดิการออกเป็น 4 แบบ คือ รัฐสวัสสดิการแบบทัว่ ไป รัฐสวัสดิการแบบให้ความมัน่ คงปลอดภัย ในชีวิตขั้นพื้นฐาน กลุ่มรัฐสวัสดิการแบบที่รับความช่วยเหลือจากการ ประกันสังคมต้องได้รบั การตรวจสอบพิสจู น์กอ่ นว่าต้องการจริง ๆ และ รัฐสวัสดิการแบบรวมหมู่ ซึ่งในการจัดแบ่งดังกล่าว เดนมาร์กถูกจัดให้ อยูใ่ นกลุม่ ทัว่ ไป มิใช่รฐั สวัสดิการแบบให้ความมัน่ คงปลอดภัยในชีวติ ขัน้ พื้นฐาน เพราะ ณ ขณะนั้น เดนมาร์กไม่มีระบบการจัดการเงินบ�ำนาญ ของรัฐ นอกจากนี้ยังปรากฏงานที่ศึกษาเปรียบเทียบรัฐสวัสดิการอีก มากมาย อาทิ Comparing Welfare States ของ Paul Spicker25 The Welfare State and Equality ของ Wilensky26 The Development of Welfare States in Europe and America ของ Peter Flora และ Arnold Heidenheimer27 เป็นต้น สอง งานทีว่ า่ ด้วยรัฐสวัสดิการเดนมาร์กกับโลกาภิวตั น์ ซึง่ งาน ประเภทนีจ้ ะกล่าวถึง อิทธิพลของโลกาภิวตั น์ทจี่ ะส่งผลต่อการด�ำรงอยู่ ของรัฐสวัสดิการในเดนมาร์ก อาทิ Denmark: Globalization and the Welfare State ของ Arthur Daemmrich และ Benjamin Kramar 28 ซึ่งต้องการอธิบายความพยายามในการรักษาสมดุลของเดนมาร์กต่อ 24 Korpi Walter and Joakim Palme. (1998). The Paradox of redistribution and strategies of equality: Welfare state institutions, inequality and poverty in the Western Countries. American Sociological Review 63 (5). pp. 661-687.  25 Spicker, Paul. (2014). Social Policy: Theory and Practice. Policy Press. 26 Wilensky, Harold. (1974). The welfare state and equality. University of California Press. 27 Flora, Peter and Heidenheimer, Arnold. (2009). The development of welfare states in Europe and America. transaction publishers.  28 Arthur A. Daemmrich and Benjamin Kramarz. (2009). Denmark: Globalization and the Welfare State. Havard Business Review.

26


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ และพลวัตของภาคแรงงานและพลเมือง ในประเทศที่มีต่อการด�ำรงอยู่ของรัฐสวัสดิการ ซึ่งสอดคล้องกับงาน ของ Paul Hirst เรื่อง Can the European Welfare State Survive Globalization? Sweden, Denmark, and the Netherlands in Comparative Perspective29 นอกจากนี้ งานของ Fritz W. Scharpf เรื่อง Globalization and the Welfare State30 ได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณในการอธิบาย โดยจ�ำแนกความท้าทายที่จะเกิดขึ้นต่อรัฐ สวัสดิการเมือ่ อิทธิพลของโลกาภิวตั น์รกุ คืบเข้ามา ผ่านการเปรียบเทียบ กับเชิงสถิติและตัวชี้วัดเชิงประจักษ์ทางเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ เมือ่ มองย้อนดูงานทางด้านวัฒนธรรมกับนโยบายรัฐสวัสดิการ เดนมาร์ก จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นงานเกี่ยวกับการจัดการรัฐสวัสดิการ ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม อาทิ งานของ Birte Siim และ Anette Borchorst เรื่อง The Multicultural Challenge to the Danish Welfare State31 และงานของ Peter Kivisto และ Osten Wahlbeck เรือ่ ง Debating Multiculturalism in the Nordic Welfare States32 มี ง านเพี ย งไม่ กี่ เ รื่ อ งที่ พู ด ถึ ง อิ ท ธิ พ ลของอั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรม เดนมาร์กกับรัฐสวัสดิการ อันได้แก่ Being Danish ของ Rechard Jenkins33 และ The Danish Welfare State: A Sociological Investigation ของ Jorgen Elm Larsen, Tea Torbenfeldt 29 Hirst Paul. (1998). Can the European welfare state survive globalization? Sweden, Denmark, and the Netherlands in comparative perspective. CES Working Paper Series in European Studies, Vol. 2, No. 1, 1998. 30 Fritz W. Scharpf. (2000). Globalization and the welfare state. The Year 2000 International Research Conference on Social Security Helsinki, 25-27 September 2000.   31 Birte Siim & Anette Borchorst. (2008). The multicultural challenge to the Danish Welfare state. Aalborg University. 32 Peter Kivisto and Osten Wahlbeck. (2013). Debating Multiculturalism in the Nordic Welfare States. Palgrave Macmillan.  33 Jenkins, Richard. (2012). Being Danish: Paradoxes of identity in everyday life. Copenhagen: MuseumTusculanum Press, University of Copenhagen.

27


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

Bengtsson และ Morten Frederiksen34 ที่พูดถึงลักษณะอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก อาทิ ความแนบแน่นไว้เนื้อเชื่อใจกันใน สังคม รวมถึงความรู้สึกเหมือนพี่น้อง เครือญาติ จึงท�ำให้เกิดความ ร่วมมือกันของคนในสังคม เห็นคุณค่าและหวงแหนการด�ำรงอยู่ของ รัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก จนกลาย สภาพเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองของเดนมาร์ก ภาพสะท้อนที่ชัดเจน ก็คอื ด้วยความทีร่ ฐั สวัสดิการต้องใช้งบประมาณเป็นจ�ำนวนมากในการ จัดการให้ เพือ่ รักษาคุณภาพของรัฐสวัสดิการ ท�ำให้ผนู้ ำ� ประเทศหลาย สมัย มีแนวคิดตัดงบประมาณหรือลดขนาดรัฐสวัสดิการลง ซึ่งผลลัพธ์ จากการด�ำเนินการดังกล่าวก็คือ ความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปใน เวลาต่อมา สะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์กที่เข็มแข็ง แม้สภาพแวดล้อมของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ทั้งนี้ลักษณะของ ความหวงแหนในรัฐสวัสดิการ ยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นทางด้านความ แตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม (Multi-Culturalism) ซึ่งนับวัน กระแสของฝ่ายขวาในสังคมเดนมาร์ก จะต่อต้านการหลั่งไหลเข้ามา ของชาวต่างชาติในประเทศ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งบประมาณจ�ำนวนมาก ในการดูแลสวัสดิการให้แก่ผู้อพยพเหล่านี้ ซึ่งงานทั้งสองชิ้นนี้ได้กล่าว ถึงประเด็นทั้งหลายเหล่านี้แบบแยกส่วนและผสมผสานอยู่ในงาน โดย ยังไม่มีการวิเคราะห์ให้ได้ข้อสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นทาง ด้านวัฒนธรรมกับนโยบายรัฐสวัสดิการแต่อย่างใด เพราะฉะนั้น จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับรัฐ สวัสดิการเดนมาร์ก จึงท�ำให้เห็นถึงมิติทางด้านวัฒนธรรมซึ่งคาบ เกี่ยวและปรากฏอยู่ภายใต้การศึกษาเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก โดยส่วนใหญ่ แต่ยังไม่ปรากฏงานที่ท�ำการศึกษาถึงอิทธิพลของอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์กกับรัฐสวัสดิการแบบชี้ชัด หรือลง ลึกถึงมิติทางด้านวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้ฐานคิดในการก่อร่างสร้างรัฐ 34 Jorgen Elm Larsen, Tea Torbenfeldt Bengtsson and Morten Frederiksen. (2015). The Danish Welfare State: A Sociological Investigation. Palgrave Macmillan.

28


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

สวัสดิการในเดนมาร์ก ในการศึกษาครั้งนี้ จึงถือเป็นงานชิ้นแรก ๆ ที่ท�ำการศึกษาถึงอิทธิพลของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก ซึง่ มีความสัมพันธ์กบั นโยบายรัฐสวัสดิการ ดังนัน้ เพือ่ สะท้อนถึงฐานคิด ทีท่ างด้านวัฒนธรรมซึง่ อยูภ่ ายใต้รฐั สั วสดิการเดนมาร์ก จึงน�ำมาสูก่ าร ศึกษาบริบททางด้านประวัติศาสตร์ผ่านการศึกษา “พัฒนาการของรัฐ สวัสดิการเดนมาร์ก” ต่อไป

2.2 งานที่ว่าด้วย “พัฒนาการของรัฐสวัสดิการ ประเทศเดนมาร์ก” แนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการได้แทรกซึมและฝังรากอยู่ในสังคม

ของชาติตะวันตกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 1635 เพียงแต่มันเป็นแนวคิดที่ ถูกกดทับให้เจียมตัว เพราะมีความย้อนแย้งต่อแนวคิดหลักที่ใช้พัฒนา ประเทศของชาติตะวันตก จนกระทั่งภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กระแสการตื่นตัวของแนวคิดรัฐสวัสดิการก็แพร่หลายไปทั่วโลก โดย เฉพาะในยุโรปที่ต�ำแหน่งแห่งที่ส่วนใหญ่อยู่ในขอบข่ายของการเป็น ตะวันตก และมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่ในหลาย ประเทศนัน้ เสาหลักของรัฐสวัสดิการได้หยัง่ รากลึกลงในสังคมมาก่อนที่ ดอกไม้แห่งประชาธิปไตยจะเบ่งบานภายในประเทศเสียอีกด้วย แนวคิด รัฐสวัสดิการในรูปแบบสังคมประชาธิปไตย (Social Democratic Welfare State)”36 จึงอุบัติขึ้นและกลายเป็นต้นแบบของรัฐสวัสดิการ หนึ่ ง ในทวี ป ยุ โ รป ซึ่ ง มี ส ถานะความลั ก หลั่ น ทางอุ ด มการณ์ แ ต่ ก็ หลอมรวมกันได้อย่างลงตัว สืบเนื่องมาจากการตั้งค�ำถามส�ำคัญของ ทหารผ่านศึกที่กลับจากสนามรบ ถามถึงคุณภาพชีวิตของพวกเขานับ จากนี้ไปจะเป็นเช่นไร เพื่อตอบแทนความเสียสละของพวกเขาที่มีต่อ 35 สุรพล ปานวนิช. (2547). นโยบายสังคม: เส้นทางสู่รัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.   36 Andersen, Esping. (1990). Three worlds of welfare capitalism. Princeton: Princeton University Press.

29


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ประเทศชาติ นักการเมือง พรรคการเมืองจึงหยิบฉวยโอกาสนีใ้ นการน�ำ เสนอนโยบายสวัสดิการสังคม และวิพากษ์การท�ำงานของการด�ำเนิน นโยบายแบบเสรีนยิ มซึง่ ไม่เปิดโอกาสให้รฐั เข้าไปแทรกแซงการท�ำงาน ของกลไกตลาด ดังนั้นในหมู่นักการเมืองพรรคต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศในทวีป ยุโรปจึงสนใจแนวคิดแบบทางสายกลางของ John Maynard Keyne บิดาแห่งแนวคิดแบบเคนส์เซียน (Keynesian) ซึ่งยังคงเชื่อว่ารัฐควร มีสถานะของการเป็นมือที่มองไม่เห็น (Invisible Hands) ในการ เข้าไปช่วยเหลือ ประคับประคอง ความล้มเหลว ความบกพร่องของ กลไกตลาด เกิดเป็นฉันทามติของพรรคการเมืองในทวีปยุโรปร่วมกัน มีชื่อว่า “ฉันทามติสังคมนิยมประชาธิปไตย” (Social Democratic Consensus)37 ถือได้ว่าภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ยุค ทองของรัฐสวัสดิการ เพราะเมล็ดพันธุ์ของรัฐสวัสดิการได้ถูกหว่าน ไถไปทั่วทุกมุมโลก เพียงแต่ว่าในเวลาต่อมาได้เกิดสภาวะของการ เสื่อมคลายของแนวคิดรัฐสวัสดิการสืบเนื่องมาจากพลังการอธิบายใน ขอบข่ายของชาติตะวันตกที่สร้างเครื่องมือในการครอบง�ำชนิดใหม่ที่ ชือ่ ว่า “ฉันทามติวอชิงตัน” (Washington Consensus) ขึน้ มาตอบโต้ และสะกิดบาดแผลของรัฐสวัสดิการซึ่งสะบักสะบอมมาจากพายุแห่ง วิกฤติเศรษฐกิจโลกที่พัดเข้าโจมตีหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งภายหลังจาก ที่คลื่นลมแห่งพายุสงบลง ประเทศต่าง ๆ ที่เคยใช้ตัวแบบรัฐสวัสดิการ แบบสังคมนิยมประชาธิปไตย อาทิ ประเทศในกลุ่มบอลติค (ลัตเวีย ลิทวั เนีย และเอสโทเนีย) เริม่ เปลีย่ นผ่านวิธคี ดิ ไปสูห่ นทางแบบใหม่ เช่น การบูรณะให้สวัสดิการมีสภาพเป็นสินค้าเพือ่ ประนีประนอม สยบยอม ต่ออ�ำนาจการครอบง�ำของลัทธิทุนนิยม เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือจาก องค์กรโลกบาลในการฟื้นฟูประเทศชาติ 37 ใจ อึ๊งภากรณ์ และ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2550). รัฐสวัสดิการ ทางเลือกที่ดีกว่าประชา นิยมของไทยรักไทย. คู่มือปฏิรูปสังคมไทย สู่การเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: พรรคแนว ร่วมภาคประชาชน.

30


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

แต่สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือ แนวคิดรัฐสวัสดิการก็มิได้จางหาย ไปอย่างแท้จริง รัฐเสรีนิยมมีความจ�ำเป็นที่จะต้องสอดแทรกนโยบาย ดังกล่าวด�ำรงคงไว้ในสังคม เพื่อยับยั้งการลุกฮือขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล ของพลเมืองส่วนใหญ่ หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อรักษาฐานเสียงของ ตนในการเป็ น สิ่ ง การั น ตี โ อกาสในการกลั บ เข้ า มาเป็ น รั ฐ บาลของ พรรคการเมืองตน ในขณะเดียวกันปรากฏการณ์ที่ลอยเด่นขึ้นมาภาย หลังจากเมฆหมอกแห่งพายุวกิ ฤติเศรษฐกิจสลายไป ทีส่ ร้างความแปลก ประหลาดใจให้ประชาคมโลกยิ่งนัก ก็คือการด�ำรงอยู่ของรัฐสวัสดิการ รูปแบบสังคมนิยมประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ที่ยังคง มีความมัน่ คง มีชอื่ เสียง และประสบความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบาย มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในกรณีของเดนมาร์ก ซึ่งมีขนาด ของประเทศเล็กทีส่ ดุ ในกลุม่ ประเทศสแกนดิเนเวีย ซึง่ หากเราใช้กรอบ แนวคิดความเชื่อเรื่องขนาดทางภูมิศาสตร์มาเป็นตัวชี้วัดความส�ำเร็จ ของเดนมาร์ก คงเป็นไปไม่ได้เลยทีป่ ระเทศทีม่ ขี นาดเล็กทัง้ ทางมิตขิ อง ภูมิศาสตร์และมิติของจ�ำนวนประชากรจะสามารถน�ำพาประเทศมาสู่ ความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการซึง่ เป็นขบถต่อมโนทัศน์ ของฝัง่ ตะวันตก ปรากฏการณ์ความส�ำเร็จของเดนมาร์กจึงเป็นบริเวณที่ น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะแม้จะมิใช่ปรากฏการณ์ทหี่ วือหวาสุดโต่ง อีกทั้งความเล็กด้วยขนาดของประเทศและจ�ำนวนประชากร ละติจูด ลองจิจูด ที่ก้าวไม่พ้นความเป็นตะวันตก จนท�ำให้บางครั้งหลายคน หลงลืมถึง แก่นแกน คุณค่าที่มีมากกว่า “ขนาดและการเป็นชาติตะวัน ตก” ของเดนมาร์ก แต่เดนมาร์กเป็นประเทศทีเ่ ข้าท�ำนอง “เล็กนัน้ งาม (Small is Beautiful)”38 ซึง่ ผูศ้ กึ ษาขอหยิบยืมสัญญะจากหนังสือชือ่ ดัง ของ อี เอฟชูมคั เกอร์ มาใช้สอื่ ความหมายถึง “ความเป็นเดนมาร์ก” ได้ อย่างกะทัดรัด เข้าใจง่ายและได้ใจความมากที่สุด 38 กษิร ชีพเป็นสุข. (2549). เล็กนั้นงาม การศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยให้ความส�ำคัญกับผู้คน. กรุงเทพฯ: ส�ำนักมูลนิธิเด็ก.

31


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

บนพื้นฐานแรกของการที่เดนมาร์กต้องการให้คนจนภายใน ประเทศหมดไป โดยเฉพาะพวกขอทานและพวกที่ไม่สามารถเข้าถึง ปัจจัยในการด�ำรงชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานได้ เช่น อาหาร เสือ้ ผ้า ทีอ่ ยูอ่ าศัย และ การรักษาพยายาบาล ในค.ศ. 1803 เดนมาร์กจึงออกกฎหมายที่ชื่อว่า กฎหมายส�ำหรับคนจน (The Poor Laws)39 เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว โดยมีความมุ่งหวังในการก่อตั้งองค์กรกลางเพื่อให้ ความช่วยเหลือโดยเฉพาะอีกด้วย40 โดยเริม่ ต้นจากการกระจายอ�ำนาจ สูช่ มุ ชนในการกลัน่ กรองกลุม่ ของคนจนออกเป็นกลุม่ คนจนทีส่ มควรแก่ การช่วยเหลือ (Deserving Poor) และกลุ่มคนจนที่ไม่สมควรให้การ ช่วยเหลือ (Undeserving Poor)41 และมีการหาเงินกองทุนมารวมไว้ ที่ส่วนกลางเพื่อช่วยเหลือคนจนที่สมควรได้รับการช่วยเหลือจากกลุ่ม คนที่พอมีในชุมชน เป็นแนวคิดที่มาจากความเชื่อทางศาสนาที่เชื่อว่า พระเจ้าย่อมมองเห็นความยากจนและจะเป็นคนลงมาช่วยเหลือเอง เปรียบเสมือนคณะกรรมการชุมชนที่คัดเลือกว่าใครสมควรได้รับความ ช่วยเหลือหรือไม่สมควร อีกทั้งเป็นรัฐสวัสดิการแบบยูโทเปีย ที่เชื่อว่า ทุกคนเป็นคนดียอ่ มอยากช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ แบ่งปันสิง่ ทีต่ นมีให้แก่ ผูด้ อ้ ยโอกาสกว่า ไม่มกี ารเอารัดเอาเปรียบกันในสังคม ทุกคนพร้อมช่วย เหลือคนที่อ่อนแอ42 ต่อมาแนวคิดแบบกฎหมายคนจนก็ถูกโจมตี โดยมองว่าการ ที่รัฐเข้าไปแทรกแซงการท�ำงานของสังคมเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะ 39 Lars, Johansen. (1986). Denmark, in: Peter Flora (ed.), Growth to Limits: The Western European Welfare States Since World War II: Sweden, Norway, Finland, Denmark. New York: De Gruyter-Recht. pp. 293-381.  40 เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2553). เศรษฐกิจทางเลือกว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: Open book. 41 Lars, Johansen. (1986). Denmark, in: Peter Flora (ed.), Growth to Limits: The Western European Welfare States Since World War II: Sweden, Norway, Finland, Denmark. New York: De Gruyter-Recht. pp. 293-381. 42 Kasperson, L. B. and M. Svaneborg. (2004). The OECD influence on Danish Welfare Policies.The OECD and European Welfare state. Northampton.

32


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

จะท�ำให้คนจนรอคอยแต่ความช่วยเหลือจากรัฐ โดยไม่ยอมท�ำงาน เพือ่ สร้างรายได้ให้กับตนเอง จึงมีการเสนอให้มีการแยกสิทธิของคนจนที่ ได้รับความช่วยเหลือออกจากผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือ เพื่อกระตุ้นให้ คนจนรู้จักท�ำมาหากิน43 และมีความพยายามที่จะลดค่าใช้จ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะต่อนโยบายกฎหมายส�ำหรับคนจนทีต่ อ้ งใช้งบประมาณมาก ในการพยุงนโยบายเอาไว้ ซึ่งสภาพเช่นนี้เหมือนราวกับการพยายาม ลดขนาดรัฐสวัสดิการให้เล็กลง และลดบทบาทของรัฐในการเข้ามา แทรกแซงสังคม44 ซึ่งเหตุที่กระแสโจมตีดังกล่าว ซึ่งต่อมาภายหลัง เรียกกันว่า กระแสเสรีนิยมใหม่ มีเข้มข้นในช่วงนี้อาจจะเป็นสาเหตุมา จากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในค.ศ.1804 ซึ่งส่งผลกระทบกับระบบ เศรษฐกิจของเดนมาร์กเป็นอย่างมาก สาเหตุนั้นสืบเนื่องมาจากการ ด�ำเนินแนวคิดที่รอมชอมระหว่างแนวคิดที่ต้องการให้ทุกคนเสมอภาค และแนวคิดทีต่ อ้ งการให้เกิดความยุตธิ รรมในเชิงใครเป็นผูล้ งแรงมีสทิ ธิ ได้รบั ประโยชน์กว่าผูไ้ ม่ได้ทำ� อะไร ต่อมาภายหลังแนวคิดนีก้ ค็ อื แนวคิด แบบเคนส์ ซึ่งอยู่ในรูปของการใช้กฎหมายส�ำหรับคนจน กฎหมายนี้ที่ ยังมีความเปราะบางในเชิงโครงสร้างเพราะไม่สามารถท�ำให้ทุกคนเท่า เที่ยมกันอย่างยุติธรรมอย่างแท้จริง ท�ำให้ไม่สามารถสร้างเสถียรภาพ ให้แก่ระบบเศรษฐกิจได้เช่นกัน อีกทั้งในช่วงค.ศ.1850 เป็นต้นมา เดนมาร์กเริ่มเปลี่ยนผ่าน สังคมจากระบบเศรษฐกิจที่เป็นสังคมเกษตรกรรม (Agriculture) เข้า สู่สังคมแบบอุตสาหกรรม (Industrialization)45 เนื่องด้วยเดนมาร์ก ประสบปัญหาผลผลิตการเกษตรประเภทธัญพืชมีปริมาณมากและล้น ตลาด และไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ จึงตกอยู่ในสภาพที่เหมือน 43 ติรสั ตฤณเตชะ. (2555). นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ความท้าทายภายใต้ความผันผวน ในกระแสโลกาภิวัตน์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์  44 Lars, Johansen. (1986). Denmark, in: Peter Flora (ed.), Growth to Limits: The Western European Welfare States Since World War II: Sweden, Norway, Finland, Denmark. New York: De Gruyter-Recht. pp. 293-381. 45 Kergard, Niels. (2006). The foundation for the Danish welfare state: Ethnic, Religious and Linguistic Harmony. International Economic History congress.

33


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ครั้งที่ผลผลิตทางการเกษตรในยุโรปล้นตลาด หรือที่เรียกว่า Wine Lake, Butter Mountain, Grain Hill46 ยุคนี้เองที่สังคมของเดนมาร์ก จึงเปลี่ยนจากปลูกพืชหันมาท�ำปศุสัตว์ จนท�ำให้สินค้าประเภทเนื้อวัว และนมวัวมีชอ่ื เสียงไปทัว่ โลก47 และเนือ่ งด้วยสังคมทีก่ า้ วสูอ่ ตุ สาหกรรม เช่นนีเ้ องท�ำให้เกิดความต้องการแรงงานเป็นจ�ำนวนมาก และสิง่ ส�ำคัญ ทีเ่ กิดขึน้ สองประการในการเปลีย่ นแปลงของสภาพสังคมเดนมาร์กก็คอื หนึ่ง การเริ่มต้นของผู้อพยพที่หลั่งไหลเข้ามาแสวงหาอาชีพในโรงงาน อุตสาหกรรมในเดนมาร์ก และสอง ความต้องการแรงงานน�ำมาซึ่งการ ก�ำเนิดของพรรคการเมืองที่ต่อสู้และรักษาผลประโยชน์ให้แก่ชนชั้น แรงงานอย่าง พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (Socialdemokraterne) 48 ซึ่งท�ำให้เกิดสหภาพแรงงานในเดนมาร์ก ท�ำให้ช่วงนี้มีการปะทะกัน ของแนวคิดแบบเสรีนยิ มทีเ่ ป็นฝ่ายรัฐบาล และแนวคิดแบบสังคมนิยมที่ เป็นฝ่ายของแรงงานและพรรคการเมืองเกิดใหม่ ในบริบทของการแก้ไข กฎหมายส�ำหรับคนจนเดิม ทีท่ ำ� ให้ไม่เกิดความเสมอภาคเหมือนแต่กอ่ น กล่าวคือ แนวคิดของพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยและแรง สนับสนุนจากสหภาพแรงงาน ต้องการกฎหมายที่บังคับใช้อย่างเสมอ ภาคกับคนทุกคน การจ�ำกัดสิทธิของคนจนเพียงเพราะคนจนไม่ยอม ท�ำงาน จึงเป็นสิง่ ทีไ่ ม่ยตุ ธิ รรม จากเหตุการณ์นนี้ ำ� มาซึง่ การรอมชอมต่อ กัน รัฐบาลทีเ่ ป็นฝ่ายของพรรคเสรีนยิ มและอนุรกั ษ์นยิ มในขณะนัน้ จึง แก้ไขกฎหมายและออกกฎหมายส�ำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ หนึ่ง กฎหมาย ช่วยบรรเทาคนจน (แก้ไขกฎหมายส�ำหรับคนจนเดิม) โดยไม่แบ่งคนจน ออกเป็นสองประเภทเหมือนแต่กอ่ น พยายามให้คนจนมีเพียงประเภท เดียว แต่ในทางปฏิบตั กิ ารหาได้ทำ� ได้สำ� เร็จแต่อย่างใด สอง กฎหมายผู้ 46 Leslie J. Reinhorn. (2007). Butter mountains and wine lakes. Economics letters. 94 (2). Durham Research Online. pp. 197-201.  47 Kergard, Niels. (2006). The foundation for the Danish welfare state: Ethnic, Religious and linguistic harmony. International Economic History congress. 48 Lijphart, Arend. (1977). Democracy in Plural Societies: A Comparative Exploration. Yale University Press.

34


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

สูงอายุ (The Old Age Relief Act) และสุดท้าย กฎหมายการปฏิรูป การประกันการเจ็บป่วย (The Sickness Insurance Reform)49 จะ เห็นได้ว่าจากกฎหมายทั้งสามฉบับครอบคลุมให้ความช่วยเหลือบุคคล ที่สมควรแก่การให้ความช่วยเหลือในสังคมเดนมาร์ก แต่ก็ยังจ�ำกัดอยู่ ในมิติที่แคบอยู่ จนกระทัง่ ในช่วงราวค.ศ. 1891-1930 มิตขิ องการให้ความช่วย เหลือได้กว้างขึน้ ครอบคลุมทัง้ เด็ก เยาวชน และคนพิการ ออกมาในรูป แบบของกฎหมายต่าง ๆ รากฐานของรัฐสวัสดิการในเดนมาร์กจึงเปิด กว้างอย่างทั่วถึงและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดความท้าทาย ขึน้ อีกครัง้ ในสังคมรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก จากวิกฤติเศรษฐกิจโลก (The Great Depression) ในค.ศ. 1930 ผลที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าประหลาด ใจอย่างยิง่ กล่าวคือวิกฤติเศรษฐกิจไม่สามารถสร้างความสัน่ คลอนใดๆ กับเดนมาร์กเลย แต่เสียงเรียกร้องในมิตขิ องรัฐสวัสดิการทีก่ ว้างมากยิง่ ขึ้นกับเกิดขึ้นกับประชาชนทั่วประเทศ จนพรรคการเมืองต่าง ๆ ต้อง ออกมาชูนโยบายรัฐสวัสดิการกันอย่างครึกโครม แม้พรรคการเมืองนัน้ ๆ จะไม่เคยมีแนวคิดเช่นนี้มาก่อนก็ตาม50 นโยบายและกฎหมายที่เกิดขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.ความช่วยเหลือ ทางสังคม ประกอบไปด้วยนโยบายด้านสวัสดิการสังคมซึ่งครอบคลุม เรื่องบ�ำนาญ ค่าชดเชยการเจ็บป่วย การประกันทุพพลภาพและผล ประโยชน์จากการตกงาน มีการปฏิรูปการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และ น�ำเสนอกฎหมายเรือ่ งการประกันสุขภาพ พร้อมกับยกเลิกกองทุนช่วย เหลือเรื่องการเจ็บป่วย (The Contributory Sickness Funds) และ เสนอให้ใช้กองทุนภาษีประกันสุขภาพแห่งชาติแทน (Tax-Funded 49 เอือ้ มพร พิชยั สนิธ. (2553). เศรษฐกิจทางเลือกว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุค๊ .  50 ติรสั ตฤณเตชะ. (2555). นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ความท้าทายภายใต้ความผันผวน ในกระแสโลกาภิวัตน์.วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555). หน้า 107-129.

35


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

National Health Insurance) มีนโยบายสร้างระบบการให้เงินช่วย เหลือเพื่อเป็นการประกันว่าพลเมืองเดนมาร์กทุกคนจะมีเงินเพียงพอ ต่อการซือ้ สิง่ ของเพือ่ ใช้ในการด�ำรงชีวติ และมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ในระดับ ทีร่ ฐั บาลก�ำหนดไว้ ออกนโยบายสร้างระบบการประกันการว่างงานโดย การก�ำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุนในปริมาณทีไ่ ม่สงู มาก ในส่วนทีเ่ หลือรัฐบาลจะให้การสนับสนุน และนอกจากนีเ้ ดนมาร์ก ยังสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งการ ดูแลเรือ่ งทีพ่ กั อาศัยในการจัดหาบ้านพักให้ตามทีต่ อ้ งการซึง่ อยูภ่ ายใต้ เงื่อนไข หรือเลือกที่จะอยู่อาศัยในบ้านพักคนชราที่รัฐบาลเป็นผู้จัดให้ นอกจากนี้ยังดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ต่าง ๆ ภายใต้บทบาทของ รัฐบาลท้องถิน่ ซึง่ กระท�ำผ่านกฎหมายการให้บริการทางสังคม (Social Service Act 1998)51 นโยบายรัฐสวัสดิการในการดูแลพลเมืองตั้งแต่ เกิด เข้าท�ำการศึกษา ท�ำงาน จนกระทั่งสูงวัยของเดนมาร์ก จึงเป็น นโยบายที่มีความโดดเด่นและประสบความส�ำเร็จแห่งหนึ่งของโลก ซึ่ง นโยบายต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ผ่านความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศผ่าน การท�ำประชามติของรัฐบาล ร่างนโยบายผ่านการรับ ฟังและการมีสว่ นร่วมของพลเมือง โดยเฉพาะพลเมืองทีร่ วมตัวกันเป็นก ลุ่มชมชนและรูปแบบของสหกรณ์ สะท้อนให้เห็นชุดคุณค่าของ ความ ต้องการเห็นทุกคนให้สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้เดนมาร์กยังเป็นประเทศแรกที่ให้ความส�ำคัญกับ ความเท่าเทียมกันทางด้านแรงงาน สะท้อนผ่าน พ.ร.บ.ค่าจ้างที่เท่า เทียมกัน (Equal Pay Act) เป็นประเทศแรก โดยนายจ้างคนไหนจ่าย ค่าแรงให้ผชู้ ายมากกว่าผูห้ ญิงในการท�ำงานประเภทเดียวกันจะมีความ ผิดตามกฎหมายทันที เพราะในอดีตในภูมิภาคยุโรปแรงงานหญิงและ ชายมีอัตราค่าจ้างที่แตกต่างกัน และเป็นการตอกย�้ำถึงการเห็นความ 51 Mouritsen, Per & Olsen Vincents. (2011). Denmark between liberalism and nationalism. in Ethnic and Racial Studies. London: Routledge Taylor and Francis Group.

36


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ส�ำคัญของความเท่าเทียมกันในสังคม เดนมาร์กได้ออก พ.ร.บ.ว่าด้วย โอกาสที่เท่าเทียมกัน (Equal Opportunity Act) ก�ำหนดให้นายจ้าง ปฏิบัติต่อลูกจ้างหญิงและชายเท่าเทียมกัน โดยไม่ค�ำนึงถึงความแตก ต่างทางเพศ กฎหมายฉบับนี้จึงน�ำมาซึ่งการให้สิทธิแก่เกาะกรีนแลนด์ ในการปกครองตัวเอง ท�ำให้กรีนแลนด์กลายเป็นเขตปกครองพิเศษที่ มีสทิ ธิและเสรีภาพและได้รบั เงินสนับสนุนจากเดนมาร์ก และได้รบั การ สนับสนุนในการด�ำเนินนโยบายทางด้านการค้า การเมือง และนโยบาย ทางด้านสังคมไปพร้อม ๆ กัน52 กฎหมายว่าด้วยโอกาสที่เท่าเทียมกัน ยังน�ำมาสูก่ ฎหมายทีเ่ กีย่ วกับสิทธิของคนพิการ ซึง่ ประเทศเดนมาร์กให้ ความส�ำคัญเป็นอย่างยิง่ โดยมีความละเอียดในการใส่ใจต่อประเด็นของ สิทธิของคนพิการ โอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ เช่น ใน สถานที่ท่องเที่ยวหรือระบบขนส่งมวลชนต้องมีอุปกรณ์ที่อ�ำนวยความ สะดวกให้คนพิการ มีจุดบริการรถเข็นคนพิการฟรีตามสถานที่ส�ำคัญ ต่างๆ ครอบครัวที่มีเด็กพิการหรือเป็นคนพิการที่มีเด็ก จะได้รับเงิน สนับสนุนจากทางรัฐบาลตกประมาณเดือนละ 7,000 บาท ต่อเด็ก 1 คน เป็นต้น53 ความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน จึงเป็นชุดคุณค่าส�ำคัญ ทีส่ ะท้อนผ่านนโยบายรัฐสวัสดิการของเดนมาร์กอย่างเป็นรูปธรรมและ โดดเด่นมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเช่นกัน ในปัจจุบนั การด�ำเนินนโยบายสาธารณะในประเทศเดนมาร์ก โดยเฉพาะนโยบายทางด้านสวัสดิการ ประกอบไปด้วย 3 รูปแบบใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ 1. การประกันสังคม (Social Insurance) เดนมาร์กประสบ ความส�ำเร็จในการใช้นโยบายเกี่ยวกับการประกันสังคม อาทิ นโยบาย 52 Richard Jenkins. (2012). Being Danish: Paradoxes of identity in everyday life. Copenhagen: MuseumTusculanum Press, University of Copenhagen.  53 Mouritsen, Per & Olsen Vincents. (2011). Denmark between liberalism and nationalism. in Ethnic and Racial Studies. London: Routledge Taylor and Francis Group.

37


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

การให้เงินช่วยเหลือแก่พลเมืองเดนมาร์กทุกคน เพือ่ เป็นการประกันว่า ทุกคนจะมีเงินเพียงพอต่อการด�ำรงชีพให้ตนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี นโยบาย การประกันการว่างงาน นโยบายประกันการเจ็บป่วยจนไม่สามารถ ท�ำงานได้ นโยบายประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึง่ นโยบายทัง้ หลายเหล่านี้ เดนมาร์กเป็นประเทศกลุม่ แรกทีใ่ ช้นโยบายดังกล่าวในการจัดสวัสดิการ ให้แก่พลเมืองของตน และด�ำรงมาจนกระทัง่ ถึงปัจจุบนั มีการจัดระบบ การใช้จา่ ยงบประมาณเพือ่ น�ำมาใช้ในการจัดสวัสดิการทีด่ ี ท�ำให้วกิ ฤติ เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลกในระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่กระทบต่อคุณภาพ ของสวัสดิการในเดนมาร์กแต่อย่างใด 2. การสงเคราะห์ประชาชน (Public Assistance) เดนมาร์ก ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างยิง่ ในการจัดการดูแลผูส้ งู อายุ (Assistance for the Aged) ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นตามกระแส โลกที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย โดยเป็นการสงเคราะห์แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งใน แง่ของทางเลือกในการอยู่อาศัย ว่าจะอาศัยอยู่กับรัฐ ตามบ้านพักคน ชรา หรือจะให้รฐั จัดหาทีอ่ ยูอ่ าศัยให้ มีการจัดการด้านสุขภาพให้ มีเบีย้ ผูส้ งู อายุ และสนับสนุนการประกอบอาชีพส�ำหรับผูส้ งู อายุทปี่ ระสงค์จะ ท�ำงาน ซึง่ เดนมาร์กถือเป็นตัวแบบของการจัดสวัสดิการส�ำหรับผูส้ งู อายุ 3. การบริการสังคม (Social Services) เดนมาร์กมีความพร้อม ในการให้บริการสังคมทุกด้านเพือ่ ตอบสนองนโยบายทางด้านสวัสดิการ อาทิ โรงพยาบาล สถานศึกษา โบสถ์ กองทุน มีระบบการจัดการผ่าน ส่วนการปกครองท้องถิ่นของเดนมาร์ก มีการกระจายอ�ำนาจไปทั่วทุก พื้นที่ของเดนมาร์ก ไม่เว้นแม้แต่เขตปกครองพิเศษ เช่น หมู่เกาะแฟโร และกรีนแลนด์ เป็นต้น โดยเฉพาะการให้บริการทางด้านการศึกษา เป็น ความส�ำเร็จที่โดดเด่นและมีชื่อเสียงของเดนมาร์ก เพราะเดนมาร์กให้ ความส�ำคัญแก่การศึกษาโดยพลเมืองของเดนมาร์กจะได้รับการศึกษา ฟรีตงั้ แต่อนุบาลจนกระทัง่ จบชัน้ ปริญญาตรีหรือสายอาชีพ โดยในส่วน ของการเรียนต่อก็จะมีทุนการศึกษาให้เรียน หรือการเรียนฟรีแบบมี เงื่อนไข ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการใช้นโยบายการศึกษาบูรณาการ 38


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภาค และระดับชาติ54 เพราะฉะนั้ น จากการศึ ก ษาพั ฒ นาการของรั ฐ สวั ส ดิ ก าร ประเทศเดนมาร์กสะท้อนให้เห็นฐานรากแห่งความคิด ชุดคุณค่าต่าง ๆ ที่ประกอบร่างเป็นชุดนโยบายทางด้านสวัสดิการในเดนมาร์ก ซึ่งอยู่ ภายใต้บริบทต่าง ๆ ประกอบด้วย บริบทประวัตศิ าสตร์ บริบทเศรษฐกิจ การเมือง และบริบทการจัดการองค์การทางสังคม ซึ่งสะท้อนลักษณะ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมหรือชุดคุณค่าของประเทศเดนมาร์ก ดังนัน้ เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจความหมาย รายละเอียดและองค์ประกอบย่อยของ ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก จึงน�ำมาสู่การทบทวน สาระของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและฐานคิดที่ก่อร่างสร้างลักษณะ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก เพื่อสร้างขอบเขตตัวแปรหลัก และตัวแปรย่อยในการท�ำการศึกษาในครั้งนี้

2.3 งานที่ว่าด้วย “อัตลักษณะทางวัฒนธรรม และฐานคิดที่ก่อร่างสร้างลักษณะอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของเดนมาร์ก” อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง คุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็น

ตัวบ่งชี้ลักษณะเฉพาะของบุคคล ชุมชน สังคม หรือประเทศนั้น ๆ อาทิ เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือศาสนา เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะไม่ เป็นทั่วไปหรือมีความเป็นสากลต่อสังคมอื่น ๆ55 โดยหากกล่าวในภาพ กว้างอัตลักษณ์ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ อัตลักษณ์สว่ นบุคคล (Personal Identity) ซึง่ จะมีลกั ษณะเป็นรูปธรรม สามารถจับต้องได้ และอัตลักษณ์กลุ่ม (Collective Identity) ซึ่งจะมี ลักษณะที่เป็นนามธรรมแต่สามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมได้ผ่าน

54 เอือ้ มพร พิชยั สนิธ. (2553). เศรษฐกิจทางเลือก ว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. ส�ำนักพิมพ์โอเพ่นบุค๊ . 55 ธงชัย สมบูรณ์. (2549). อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา. งานวิจัยคณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง.

39


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

พฤติกรรมหรือการกระท�ำ ซึง่ ทัง้ สองลักษณะนีไ้ ด้กระจายตัวอยูใ่ นสังคม และประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงที่แตกต่างกัน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Identity) คือ ลักษณะ เฉพาะทางวัฒนธรรมทีเ่ ป็นตัวบ่งชีใ้ ห้เราเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละ วัฒนธรรมในการวิเคราะห์ทางด้านวัฒนธรรมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เปรี ย บเสมื อ นโลกทั ศ น์ (Worldview) ซึ่ ง เป็ น ความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ เป้าหมายชีวิตตามธรรมชาติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง คน โลก หรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว56 โลกทัศน์หรือมุมมองเป็นสิ่งพื้นฐานส�ำคัญยิ่ง ต่อการตัดสินใจกระท�ำพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ทั้งในด้านบวกและ ลบ ระบบมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ และมนุษย์แต่ละคนมีโลกทัศน์ แตกต่างกัน ซึ่งอยู่พื้นฐานของปัจจัย 2 สิ่งดังต่อไปนี้ 1.สิ่งแวดล้อมทางสังคม สังคมแต่ละสังคมมีลักษณะเฉพาะ ของตนเอง มีกฎระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ รวมทั้ง กระบวนการคิด ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ดังนั้นคนที่เติบโตมาในสังคม หนึ่งจะซึมซับเอามาเป็นลักษณะของตนเองโดยไม่รู้ตัว เช่น ความ ซื่อตรง การเคารพซึ่งกันและกัน การเคารพสิทธิของผู้อื่น การเคารพ ตัวเอง การนับถือชีวิต ความมีจิตใจโอบอ้อมอารี เป็นต้น 2.ประสบการณ์ เป็นสิง่ ทีม่ นุษย์แต่ละคนได้รบั มาตัง้ แต่เกิด เริม่ จากครอบครัว การเลีย้ งดู ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสะสมเพิม่ ขึน้ เมื่อเติบโตขึ้นตามวัยทั้งจากเพื่อนวัยรุ่น วัยท�ำงาน ดังนั้นผู้คนในสังคม เดียวกันจะมีความแตกต่างกันออกไปได้ ประสบการณ์การเรียนรู้และ รับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ประมวลเข้าด้วยกันจะสร้างขึ้นเป็นอัตลักษณ์ของ แต่ละคน และเป็นเหตุเบือ้ งต้นทีส่ ำ� คัญท�ำให้มนุษย์มมี มุ มองในเรือ่ งต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป ดังนัน้ ในเรือ่ งเดียวกันแต่ละคนมีความรูส้ กึ ต่างกัน หรือคล้อยตามก็ได้ตามทัศนะของตนเอง 56 เรื่องเดียวกัน.

40


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ผลจากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ฐานคิดที่ก่อร่างสร้าง ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก เกิดขึ้นจากบริบททาง วัฒนธรรม 3 ประการคือ บริบททางประวัตศิ าสตร์ บริบททางเศรษฐกิจ การเมือง และบริบททางด้านการจัดการองค์การทางสังคม ซึง่ ก่อให้เกิด ลักษณะของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดนมาร์ก 3 ลักษณะดังนี้ 1. การให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ความเท่ า เที ย มกั น ในสั ง คม (Equality) ลักษณะของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นนี้ ตามแนวคิดของ Hofstede57 คือสังคมที่มีลักษณะของวัฒนธรรมอ�ำนาจที่ต�่ำ กล่าวคือ เป็นองค์การที่มีลักษณะความเหลื่อมล�้ำของอ�ำนาจต�่ำ ผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชาจะอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมกัน ระบบการจัดล�ำดับ ขั้นการบังคับบัญชาเป็นความไม่เท่าเทียมกันทางบทบาท เพื่อความ สะดวกในการท�ำงานเท่านั้น และบทบาทเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลง ได้ การจัดการเป็นแบบกระจายอ�ำนาจ โครงสร้างองค์การเป็นแบบ ประมิ ด แนวราบและมี ก ารจ� ำ กั ด จ� ำ นวนบุ ค ลากรระดั บ หั ว หน้ า อัตราส่วนของความแตกต่างระหว่างเงินเดือนของผู้บริหารระดับสูง กับพนักงานระดับล่างมีน้อย งานที่ต้องใช้ทักษะสูงจะมีสถานะสูง กว่างานที่ใช้ทักษะน้อย ผู้บริหารระดับสูงไม่มีสิทธิพิเศษไม่ว่าจะเป็น ที่จอดรถ ห้องน�้ำ โรงอาหาร โดยพนักงานจะเคลือบแคลงสงสัยใน สัญลักษณ์แสดงสถานะและมีความรูส้ กึ ไม่ดกี บั สิง่ เหล่านีผ้ บู้ งั คับบัญชา สามารถเข้าถึงผูใ้ ต้บงั คับบัญชาได้ และผูบ้ ริหารในอุดมคติของพนักงาน จะมีลักษณะเป็นแบบประชาธิปไตย พนักงานคาดหวังส่าจะมีการ ปรึกษาหารือร่วมกันก่อนที่หัวหน้าจะตัดสินใจ แต่ก็ยอมรับว่าหัวหน้า จะเป็นผู้ตัดสินใจในล�ำดับสุดท้าย ผู้บังคับบัญชาที่มีอายุน้อยจะเป็น ที่ชื่นชมมากกว่าผู้บังคับบัญชาที่มีอายุมาก และองค์การจะจัดการข้อ ร้องเรียนต่าง ๆ ของพนักงานเกี่ยวกับความเหลื่อมล�้ำของอ�ำนาจใน 57 Hofstede, G. (1987). Culture’s consequences: international differences in work-related values (Abridged ed.), Beverly Hills, CA: Sage Publications.

41


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ทางทีผ่ ดิ หรือกล่าวโดยสรุปลักษณะของความเหลือ่ มล�ำ้ ทางอ�ำนาจต�ำ่ คือ สังคมทีม่ คี วามต้องการจะลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างบุคคลให้ เหลือน้อยทีส่ ดุ ควรจะมีการพึง่ พาอาศัยกันและกันระหว่างผูท้ มี่ อี ำ� นาจ น้อยกว่ากับผูท้ มี่ อี ำ� นาจสูงกว่านิยมการกระจายอ�ำนาจไปยังส่วนต่าง ๆ ล�ำดับชั้นในองค์การหมายถึง การแบ่งแยกบทบาทเพื่อความสะดวกใน การบริหารพนักงานคาดหวังทีจ่ ะมีสว่ นรวมในการตัดสินใจมีระยะห่าง ของฐานเงินเดือนระหว่างพนักงานในระดับบนและระดับล่างทีแ่ คบและ ชนชั้นกลางมีจ�ำนวนมาก 2. ความรู้สึกร่วมของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-Being) ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นนี้ คือ ลักษณะสังคม ที่ผู้คนต่างมีความต้องการความสุขในการด�ำรงชีวิตทั้งความสุขของ ตนเองและอยากเห็นทุกคนในสังคมมีความสุข นักคิดในอดีตให้ความ ส�ำคัญกับความสุขโดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ความสุขในระดับ สากล และความสุขของประชาชนในสังคม นักปรัชญาคนส�ำคัญของ แนวคิดดังกล่าวคือ เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham)58 แนวคิด หลักของเบนแธมที่เรียกว่า ประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ได้ถูก พัฒนามาจนในท้ายที่สุดกลายเป็นทฤษฏีเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ ใน เรือ่ ง อรรถประโยชน์ (Utility) ทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั กันดีในปัจจุบนั เนือ้ หาสาระ แนวคิดของเบนแธม มีทสี่ ำ� คัญ 2 ประเด็น คือ หนึง่ ธรรมชาติของมนุษย์ เบนแธมเชือ่ ว่ามนุษย์ตา่ งพยายามทีจ่ ะแสวงหาความพึงพอใจและหลีก เลีย่ งการกระท�ำทีก่ อ่ ให้เกิดความเจ็บปวด สอง หลักอรรถประโยชน์คอื หลักการทีย่ อมรับกิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดความสุขและปฏิเสธกิจกรรมทีไ่ ม่ ก่อให้เกิดความสุข ดังนั้นกิจกรรมที่สอดคล้องกับหลักอรรถประโยชน์ คือ กิจกรรมที่มีแนวโน้มก่อให้เกิดความสุขมากกว่าที่จะเกิดความทุกข์ จึงท�ำให้น�ำมาสู่การเสนอนโยบายต่อรัฐให้ดาเนินนโยบายที่จะน�ำไปสู่ 58 Kittiprapas, S., O. Sawangfa, C.M. Fisher, N. Powdthavee, and K. Nitnitiphrut. (2009). Happiness: New Paradigm, Measurement, and Policy Implications, Happy Society Associates.

42


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

การเพิม่ ขึน้ ของความสุขของสังคมและผูค้ นมากกว่าทีจ่ ะก่อให้เกิดความ ทุกข์ขึ้น ต่อมาได้มีนักปรัชญาคนส�ำคัญอีกคนหนึ่งคือ จอห์น สจ๊วร์ต มิลล์ (John Stuart Mill)59 ได้หลักการดังกล่าวมาปรับเพิ่มเติม กล่าว คือ หลักอรรถประโยชน์ตามความคิดของมิลล์ได้น�ำเอาจริยธรรมกับ นิตศิ าสตร์ผนวกเข้าไว้ดว้ ยกัน โดยมิลล์ถอื ว่าหลักอรรถประโยชน์ถอื เป็น หลักการแรกทางจริยศาสตร์ ซึ่งจะไม่มีหลักการใดส�ำคัญหรือเป็นหลัก การพื้นฐานไปยิ่งกว่า โดยมิลล์ได้ขยายมิติทางด้านคุณภาพของความ รู้สึกสุข (Quality) เข้าไปประกอบกับแนวคิดเชิงปริมาณ (Quantity) ซึ่งในทรรศนะของมิลล์นั้นความสุขมีความแตกต่างในคุณภาพและ ความสุขมีลักษณะระดับที่ไม่เท่ากัน เช่น ความสุขระดับสูงกว่าและต�่ำ กว่า เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นมิลล์ยังได้ขยายกรอบการอธิบายเพิ่มเติมไป อีกหลายส่วน เช่น เรื่องความสอดคล้องระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์สว่ นรวม เรือ่ งความเท่าเทียมกัน เรือ่ งเสรีภาพ และข้อ เสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐ ซึง่ โดยรวมแล้วมิลล์สรุปว่า จุดมุง่ หมายของ การกระท�ำเพื่อสร้างความสุขอยู่ที่การให้เสรีภาพ (Freedom) ให้แก่ ประชาชน ท�ำให้ประชาชนสามารถมีสิทธิที่จะเลือกเส้นทางหรือการก ระท�ำของตนได้ งานศึกษาของมิลล์ได้เปิดมิติและความลึกของแนวคิด เรื่องอรรถประโยชน์ให้มากขึ้น มีความละเอียดมากขึ้น กล่าวคือ ท�ำให้ หลักอรรถประโยชน์ให้นำ�้ หนักกับความรูส้ กึ สุขของประชาชนมีสว่ นร่วม ในการก�ำหนดนโยบายด้วยซึ่งเป็นการเติมเต็มแนวคิดของเบนแธม ซึ่ง ได้ละทิ้งสาระส�ำคัญดั้งเดิมในเรื่องความสุขของประชาชนไป60 59 Diener, E. and R. E. Lucas. (1999). “Personality and Subjective Well-Being.” in Kahneman, D., E. Diener and N. Schwarz (eds.), Well-Being: The Foundations of Hedonic Psychology, New York: Russell Sage Foundation. 60 Easterlin, R. A. and O. Sawangfa. (2010). “Happiness and Economic Growth: Does the Cross Section Predict Time Trends? Evidence from Developing Countries.” in E. Diener, John F. Helliwell, and D. Kahneman (eds.), International Differences in Well-Being, New York: Oxford University Press.

43


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ในการศึกษาเรือ่ งลักษณะของการมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ยังปรากฏ กรอบแนวคิดแผนทีโ่ ลกแห่งความสุข หรือ World Map of Happiness ของ เอเดรียน ไวท์ (Adrian White) โดยไวท์ได้หาความสัมพันธ์ระหว่าง ความมั่งคั่ง สุขภาพ และการศึกษา กับตัวแปรด้านความสุข (ความ พึงพอใจในชีวิต) ซึ่งหนึ่งในข้อสรุปที่ได้พบว่าตัวแปรด้านสุขภาพนั้นมี ความสัมพันธ์สูงกับตัวแปรความสุข รองลงมาคือ ความมั่งคั่ง และการ ศึกษาตามล�ำดับ หรือกล่าวได้ว่าความพึงพอใจในชีวิตหรือการมีความ สุขของคนทัว่ ไปนัน้ มาจากการมีสขุ ภาพดี มากกว่าความร�ำ่ รวยและการ มีการศึกษาสูง61 จากงานวิจยั ชิน้ นีน้ ำ� มาสูม่ าตรวัดความสุขขององค์การ สหประชาชาติ ประกอบด้วย รายได้ประชาชาติต่อหัว อายุขัยหรือ จ�ำนวนปีทคี่ าดหวังทีจ่ ะมีชวี ิตอยูอ่ ย่างสุขภาพดี การมีบคุ คลที่สามารถ พึ่งพิงกันได้ การมีอิสระในการเลือกวิถีด�ำเนินชีวิต ชีวิตที่ด�ำเนินไป ปราศจากภาวะการทุจริตฉ้อโกง และความเอือ้ อารีตอ่ กันของประชากร ภายในประเทศ ซึง่ ใช้เป็นเกณฑ์ในการวัดค่าความสุขของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนท�ำให้ชื่อของเดนมาร์กปรากฏเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุด ของโลกในค.ศ. 2012 และค.ศ. 2013 จนโด่งดังไปทั่วโลก จนท�ำให้ ประเทศต่าง ๆ หันมาให้ความสนใจกับเดนมาร์กว่า เหตุใดประเทศ นี้จึงได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความสุขสูงที่สุดในโลกต่อเนื่องกันเช่นนี้ นอกจากนีส้ ถาบันส�ำรวจความสุขของเดนมาร์กเอง ยังได้ทำ� การส�ำรวจ ความสุขของคนเดนมาร์กจากการท�ำแบบสอบถามจ�ำนวน 10,000 คน พบว่า สาเหตุที่ท�ำให้คนเดนมาร์กมีความสุขประกอบไปด้วยเหตุผล ส�ำคัญ 8 ประการอันประกอบไปด้วย 1. ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจ ชาวเดนมาร์กเป็นประเทศเดียวทีพ่ ลเมืองเชือ่ ว่าสามารถทิง้ รถเข็นเด็กเอาไว้หน้าร้านค้าต่างๆ แล้วก็ไปท�ำธุระ ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะหาย หรือเป็นอันตราย 61 Ardrian White. (2006). The World Map of Happiness. The University of Leicester.

44


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

2. ความปลอดภัยในสังคม ท�ำให้คนเดนมาร์กปราศจากความวิตก กังวล 3. ความร�่ำรวยทางด้านเศรษฐกิจ 4. อิสรภาพเหนืออื่นใด คนเดนมาร์กมีสิทธิที่จะเลือกเรียนใน มหาวิทยาลัยไหนก็ได้ฟรี นอกจากนี้เพศที่สามยังเป็นที่ยอมรับ มากกว่าที่ไหนในโลก 5. เลือกท�ำงานได้ตามชอบใจ ไม่ว่าอาชีพไหนค่าตอบแทนก็ไม่แตก ต่างกัน คนเดนมาร์กเลือกงานทีต่ วั เองชอบ โดยไม่มกี รอบมายา คติมาเป็นตัวก�ำหนดว่างานใดดีกว่างานใด 6. สมดุลชีวิตและงาน เวลาในการท�ำงานของคนเดนมาร์กมีความ ยืดหยุน่ ไม่วา่ อาชีพใด ๆ ทุกคนมีเวลาพอส�ำหรับเพือ่ นสนิทมิตร สหายและครอบครัว 7. ไร้ปัญหาการเมือง เดนมาร์กพัฒนาประชาธิปไตยและการมีส่วน ร่วมของภาคประชาชน นักปกครองอยู่ในศีลธรรม และระดับ การคอร์รัปชั่นต�่ำมาก 8. ศีลธรรมของคนสูง ท�ำให้เกิดการยกระดับทางสังคม ความ สัมพันธ์ที่ดีท�ำให้ชุมชนมีคุณภาพดีตามไปด้วย62 3. ลักษณะดุลยภาพทางวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมกับ กลุ่มนิยม (Individualism vs. Collectivism) ลักษณะของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเช่นนี้ โดยปกติจะไม่ ปรากฏในสังคมพร้อม ๆ กัน แต่ในสภาพสังคมของเดนมาร์กเฉดสีของ วัฒนธรรมทั้งสองต่างมีอยู่ควบคู่กันอย่างมีดุลยภาพ โดยพลเมืองชาว 62 Richard Jenkins. (2012). Being Danish: Paradoxes of identity in everyday life. Copenhagen: MuseumTusculanum Press, University of Copenhagen.

45


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

เดนมาร์กต่างเลือกยึดถือข้อดีของลักษณะวัฒนธรรมทัง้ สองผสมผสาน อยู่ในสังคมเดนมาร์กอย่างลงตัว ดังนี้ วัฒนธรรมกลุม่ นิยม ตามแนวคิดของ Hofstede มีลกั ษณะของ ภราดรภาพหรือความเป็นพี่เป็นน้อง คือ สังคมที่มีลักษณะวัฒนธรรม แบบกลุ ่ ม นิ ย ม กล่ า วคื อ คนในสั ง คมจะมี ค วามผู ก พั น ธ์ กั น อย่ า ง เหนียวแน่น ให้ความส�ำคัญกับกลุ่มมากกว่าตัวบุคคล มีความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อกัน ให้การดูแลคุ้มครองซึ่งกันและกัน กลุ่มนิยมให้ ความส�ำคัญกับการตัดสินใจแบบกลุ่ม ไม่มีใครที่ต้องการจะได้รับความ สนใจเป็นพิเศษ ไม่ว่างานของคนผู้นั้นจะดีเพียงใด นั่นคือความส�ำเร็จ เป็นของกลุ่ม การที่บุคคลใด ๆ ได้รับการยกย่องเพียงผู้เดียวเป็นสิ่งที่ น่าละอาย เพราะมันหมายความว่า มีสมาชิกเพียงคนเดียวในกลุ่มที่ดี กว่าสมาชิกคนอื่น ๆ องค์การที่มีลักษณะของกลุ่มนิยมสูงจึงมีลักษณะ คล้ายครอบครัว มีความจงรักภักดีซึ่งกันและกันในองค์การ ความ สัมพันธ์ระหว่างความเป็นปัจเจกนิยมกับเป้าหมายการท�ำงานในด้าน เวลาส่วนตัว (Personal Time) ความเป็นอิสระ (Freedom) และความ ท้าทาย (Challenge) ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระจากองค์การ ในขณะ ที่พบความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นกลุ่มนิยมกับเป้าหมายการท�ำงาน ในด้านการฝึกอบรม (Training) สถานภาพการท�ำงานทางกายภาพ (Physical Condition) และการใช้ทักษะ (Use of Skills) ซึ่งแสดงถึง การพึ่งพาองค์การ นอกจากนี้ลักษณะของภราดรภาพหรือความเป็นพี่เป็นน้อง เกิดขึ้นจากลักษณะพื้นฐานดั้งเดิมตามแนวคิดของ คลิฟฟอร์ดเกียร์ตซ กล่าวคือ เกียร์ตซบอกว่า รัฐที่เกิดใหม่จ�ำนวนมากมีความผูกพันธ์พื้น ฐานดั้งเดิม (Primary Attachments) ที่กลุ่มชนมีต่อคนอื่น ซึ่งมีเชื้อ ชาติเดียวกัน เป็นญาติพนี่ อ้ งทีพ่ ดู ภาษาเดียวกัน มีความรูส้ กึ ในอดีตและ อนาคตร่วมกันบนพื้นฐานของประสบการณ์ในภูมิภาค พื้นที่ ศาสนา ประชาคมทางวัฒนธรรม และจารีตประเพณีเดียวกัน ถือเป็นพื้นฐาน ของความรู้สึกเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของกลุ่มคนหรือประชาคมดังกล่าว 46


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

วัฒนธรรมปัจเจกนิยม ลักษณะของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่นนี้ ตามแนวคิดของ Hofstede63 ได้ให้คำ� จ�ำกัดความของสังคมแบบ ปัจเจกนิยมว่า หมายถึงสังคมที่ความผูกพันระหว่างบุคคลเป็นไปอย่าง หลวม ๆ ทุกคนจะให้ความส�ำคัญกับตนเองหรือครอบครัวเป็นอันดับ แรก ให้ความส�ำคัญกับความเป็นตัวของตัวเองในทางความคิดและการก ระท�ำมากกว่าความสนใจต่อกลุม่ ผลประโยชน์ของแต่ละคนจะอยูเ่ หนือ ผลประโยชน์ของกลุ่มองค์กรที่มีลักษณะความเป็นปัจเจกนิยมสูง คาด หวังให้บคุ คลนัน้ สามารถท�ำสิง่ ต่าง ๆ ได้ดว้ ยตนเอง เน้นเรือ่ งของความ คิดสร้างสรรค์และความส�ำเร็จ ความมีอิสระและสถานะทางการเงิน เป็นสิ่งที่มีค่าและมีความส�ำคัญในสังคมปัจเจกนิยม สมาชิกในองค์กร ได้รับการสนับสนุนให้ตัดสินใจได้ด้วยตนเองไม่จ�ำเป็นต้องอาศัยการ สนับสนุนจากกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นปัจเจกนิยมกับเป้า หมายการท�ำงานในด้านเวลาส่วนตัว ความเป็นอิสระ และความท้าทาย ซึ่งแสดงถึงความเป็นอิสระจากองค์การ ในองค์การที่มีวัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยม พนักงานจะแสดง พฤติกรรมตามความสนใจของตน เชือ่ ว่าคนงานท�ำงานเพือ่ ผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และด้านจิตใจ ระบบการจ้างงานจะไม่ตอ้ งการจ้างคนตามความสัมพันธ์ เนื่องจากไม่ต้องการให้มีปัญหาเส้นสายหรือท�ำให้เกิดความสนใจที่ขัด แย้งกันขึ้น บางองค์การมีการก�ำหนดให้พนักงานคนใดคนหนึ่งต้องลา ออกในกรณีที่พนักงานแต่งงานกันเอง ส�ำหรับความสัมพันธ์จะเป็น ไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนทางธุรกิจ เป็นไปตามตลาดแรงงาน หากพนักงานมีการปฏิบัติงานไม่ดี หรือมีองค์การอื่นให้ข้อเสนอที่ดี กว่าก็สามารถสิน้ สุดความสัมพันธ์ระหว่างกันลงได้ หรืออาจกล่าวได้วา่ วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมจะให้ความส�ำคัญกับงานมาก 63 Hofstede, G. (1987). Culture’s consequences: international differences in work-related values (Abridged ed.), Beverly Hills, CA: Sage Publications.

47


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ภายหลังจากการท�ำความเข้าใจความหมาย คุณค่า และสกัด เอาลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก 3 ประการ ซึ่งเป็น ตัวแปรหลักในการท�ำการศึกษาครั้งนี้แล้ว ดังนั้น ในการหาความเชื่อม โยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเดนมาร์กกับ ความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก จึงมีความ จ�ำเป็นที่ต้องใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการท�ำการศึกษาอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมในการรับรู้ของพลเมือง ซึ่งสามารถรื้อค้นความหมายที่แท้ จริงที่ซ่อนอยู่ในสังคมเดนมาร์กที่มีลักษณะเป็นบริบทเฉพาะที่ได้อย่าง ชัดเจนและมีรายละเอียดครบถ้วน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงเลือกใช้เครื่องมือ ที่มีชื่อว่า “แนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะแบบตีความ”

2.4 งานที่ว่าด้วย “แนวคิด การศึก ษานโยบาย สาธารณะแบบตีความ” จากการศึกษาวรรณกรรมทีเ่ กีย่ วกับแนวคิดทฤษฎีการตีความ

พบว่าเรื่องของการตีความนั้นมีแนวคิดทฤษฎีที่เป็นจุดก�ำเนิดและเป็น รากฐานของแนวคิดอยูห่ ลายกลุม่ ซึง่ ในแต่ละกลุม่ จะมีจดุ เน้นทีต่ า่ งกัน ไป โดยกลุ่มของแนวคิดทฤษฎีที่ส�ำคัญ สามกลุ่ม คือ หนึ่ ง กลุ ่ ม ของการตี ค วามเชิ ง บรรยาย (Descriptive Interpretation) สาระส�ำคัญของแนวคิดกลุ่มนี้คือ มีความเชื่อที่ ว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์ที่ตกอยู่ในตาข่ายใยแมงมุมของความหมายที่ พวกเขาถักทอขึ้นมาเอง วัฒนธรรมคือ ตาข่ายเหล่านั้น ดังนั้นการที่ จะศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับมนุษย์และสังคมจึงไม่ใช่การทดลองแบบ วิทยาศาสตร์เพื่อแสวงหากฎเกณฑ์ที่เป็นสากล แต่เป็นเรื่องของการ ตีความ (Interpretive) เพื่อหาความหมาย โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า “ชาติพันธุ์วรรณนา” (Ethnography) และ “ปรากฏการณ์วิทยา” ซึ่ง เน้นการค้นหาความหมายจากความรู้สึกนึกคิดของ “คนใน” (Emic 48


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

View) โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการ “จุ่มตัว” ลงไปใน เหตุการณ์หรือชุมชนที่ต้องการศึกษา64 สอง กลุม่ ของการตีความเชิงวิพากษ์ (Critical Interpretation) สาระหลัก ของแนวคิดในกลุ่มนี้ก็คือ การรวบรวมขอบเขตของผล ประโยชน์ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม และพัฒนาความเห็นพ้อง ต้องกันทีแ่ ท้จริงให้เกิดขึน้ โดยผ่านกระบวนการของการสร้างเจตจ�ำนง ร่วมในประเด็นการเมืองและนโยบายที่ส�ำคัญ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะด�ำเนินการโดยผ่านกฎของการโต้แย้งแบบ “การปฏิสัมพันธ์เชิงการ สื่อสาร” (Communicative Interaction) ซึ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุก กลุ่มมีโอกาสแสดงออกถึงความคิดเห็นและความต้องการของตนได้ อย่างอิสระ65 สาม กลุ่มของการตีความแบบหลังสมัยใหม่ (Postmodern Interpretation) สาระหลักของแนวคิดในกลุ่มนี้ก็คือ การหาความ หมายของนโยบายโดยการวิ เ คราะห์ ภ าษา วิ เ คราะห์ เ นื้ อ หาและ โครงสร้างของเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับนโยบาย การหาความหมายของนโยบาย ที่ซ่อนอยู่ในประดิษฐกรรม และการวิเคราะห์นโยบายในบริบทของ โลกยุคหลังสมัยใหม่ที่มีตัวแสดงหลากหลายภายใต้โครงสร้างสังคม ที่ มีก ารเชื่อมโยงแบบเครือข่ายใยแมงมุ ม แนวคิ ด ทฤษฎี ในกลุ ่ ม นี้ ประกอบด้วยแนวคิดย่อย 5 ประการ คือ เรื่องเล่าและอภิต�ำนาน (Narrative and Metanarrative) วาทกรรม (Discourse) การรือ้ สร้าง (Deconstruction) การวิเคราะห์ภาษา (Language Analysis) และ การบริหารจัดการชีวิต (Governmentality)66 64 ประโยชน์ ส่งกลิน่ . (2557). นโยบายสาธารณะแนวการตีความ. วาสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม–สิงหาคม 2557. 65 ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2544). รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 66 Drolet, Michael. (2004). The Postmodernism Reader: Foundation Texts. London: Routledge.

49


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จากแนวคิดทั้งสามกลุ่ม ได้มีความพยายามในการน�ำแนวคิด ทัง้ สามดังกล่าวมาเพือ่ ใช้ทำ� การอธิบายในการศึกษานโยบายสาธารณะ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุม่ ซึง่ สอดคล้องกับการศึกษานโยบายสาธารณะ ยุคหลังสมัยใหม่ คือ หนึ่ง การศึกษานโยบายสาธารณะเชิงวาทกรรม (Discursive Public Policy) สอง การศึกษานโยบายสาธารณะแนว การตีความ (Interpretive Public Policy) สาม การศึกษานโยบาย สาธารณะแบบเรื่องเล่า (Narrative Public Policy) และ สี่ การศึกษา นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participatory Public Policy) โดนงานชิ้นนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้การศึกษานโยบายสาธารณะแนวการ ตีความ โดยการใช้วธิ วี จิ ยั เชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วทิ ยา ประกอบ กับแนวคิดความสามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับสารสนเทศขององค์กร (Organizational Sence Making) ของ Karl Weick67 มีรายละเอียด ดังนี้ นโยบายสาธารณะแนวการตี ค วาม ตามแนวคิ ด ของนั ก วิเคราะห์นโยบายสาธารณะแนวการตีความ การกระท�ำ เจตนารมณ์ จารีตปฏิบัติในองค์การ และธรรมเนียมปฏิบัติ ในสังคมต่างก็มีส่วน ส�ำคัญในการสร้างและก�ำหนดความหมายให้กับสิ่งที่เรียกว่านโยบาย สาธารณะด้วยกันทัง้ สิน้ ดังนัน้ นโยบายสาธารณะจึงได้รบั การพิจารณา ในฐานะที่เป็น “ตัวบท” (Text) ประเภทหนึ่งที่นักวิเคราะห์นโยบาย สาธารณะต้องเข้าไป “อ่าน” หรือ “ตีความ” เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึง ความหมายที่ ซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งจะนาไปสู่การเข้าใจถึงเอกลักษณ์หรือตัว ตนและค่านิยมต่าง ๆ ในสังคมที่แฝงเร้นอยู่ในนโยบายสาธารณะนั้น ๆ และด้วยเหตุนี้การศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความจึงเป็นการ ขยายแนวคิดและขอบเขตของการศึกษานโยบายสาธารณะให้กว้าง ขวางออกไปสูส่ งิ่ ทีเ่ รียกว่า “การศึกษานโยบายเชิงวัฒนธรรม” (Policy Culture Approach) หรือ “การศึกษานโยบายภายใต้บริบทเฉพาะ” (Contextual Policy Inquiry) ซึ่งไม่เฉพาะผู้ที่ก�ำหนดนโยบาย ผู้ที่น�ำ 67 Weick, Karl. (1995). Sensemaking in Organizations. London: SAGE Publications.

50


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

นโยบายไปปฏิบัติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายเท่านั้น ที่ จะสามารถให้ความหมายหรือตีความนโยบายสาธารณะได้ แต่คนอืน่ ๆ ก็สามารถให้ความหมายและตีความนโยบายสาธารณะได้เช่นเดียวกัน เนือ่ งจากการทีน่ โยบายสาธารณะเป็นเรือ่ งของการตีความ การหาความ หมาย การสร้างความหมาย ซึ่งท�ำให้นโยบายหนึ่ง ๆ มีได้หลายความ หมาย ขึน้ อยูก่ บั ว่าใครเป็นคนมองและมองจากจุดยืนใด ดังนัน้ การต่อสู้ ในกระบวนการนโยบายจึงเป็นเรื่องของการต่อสู้ระหว่างการพยายาม ท�ำให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในนโยบายนั้น ๆ กับการพยายามสร้าง ความหมายอืน่ ๆ ให้กบั นโยบายเดียวกัน ถ้าหากผูก้ ำ� หนดนโยบายหรือ ผู้นานโยบายไปปฏิบัติ พยายามท�ำให้นโยบายใดนโยบายหนึ่งมีความ หมายเดียวเพื่อให้เกิดความเห็นร่วมกัน ประชาชน ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนั้น ก็สามารถ “อ่าน” หรือ “ตีความ” นโยบายดังกล่าวในแบบที่ตัวเองต้องการได้เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ นโยบายสาธารณะก็คือ “ตัวบท” แบบหนึ่งที่เปิดให้อ่านและตีความ ได้หลากหลายจากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง ลักษณะส�ำคัญประการหนึ่งของการศึกษานโยบายสาธารณะ แนวการตีความคือ การที่นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องประกาศจุดยืน คุณค่า และความเชือ่ ของตัวเองให้ชดั เจนก่อน มิใช่การปิดบังอ�ำพรางไว้ ภายใต้ขอ้ อ้างของความเป็นวิทยาศาสตร์ หรือการสังเคราะห์อย่างเป็น วัตถุวิสัย อย่างที่มักปฏิบัติกันในแวดวงนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ แนวปฏิฐานนิยม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์นโยบายแนว การตีความเสนอให้มีการวิเคราะห์ตัวนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ ด้วย ไม่ใช่มองว่านักวิเคราะห์เป็นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางอย่างการ วิเคราะห์แนวปฏิฐานนิยม ซึง่ การทีน่ กั วิเคราะห์นโยบายแนวการตีความ มีทศั นะดังกล่าวตัง้ อยูบ่ นสมมุตฐิ านหรือความเชือ่ ทีว่ า่ ความหมายเป็น เรื่องของการตีความ และการตีความเป็นเรื่องของคุณค่า ไม่ใช่ปลอด จากคุณค่า เนื่องจากการตีความเป็นการท�ำความเข้าใจโดยผ่านบริบท และสภาพแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ดังนั้นตามแนวคิดของการ 51


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตีความจึงไม่มสี งิ่ ทีเ่ รียกว่าข้อเท็จจริงหรือข้อมูลทีม่ คี วามหมายในตัวเอง สรรพสิ่งจะมีความหมายก็ต่อเมื่อมนุษย์เข้าไปให้ความหมายกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นในรูปของการ ตีความ การท�ำความเข้าใจที่ต่อเนื่องไม่รู้จบ ซึ่งการที่จะตีความอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับจินตนาการ ประสบการณ์ และ ความสามารถของแต่ละคนซึ่งมีไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เป้าหมาย ของการศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความไม่ได้อยู่ที่การสร้าง ค�ำอธิบายเชิงเหตุผล (Causal Explanation) หรือการท�ำนายอนาคต ล่วงหน้าอย่างวิธกี ารศึกษานโยบายสาธารณะแนวปฏิฐานนิยม แต่อยูท่ ี่ การพยายามท�ำความเข้าใจ (Understanding) การกระท�ำและความ รู้สึกนึกคิดของคนที่มีต่อนโยบายนั้น ๆ มากกว่า นอกจากนี้ เป้าหมาย ของการศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความยังมิได้อยูท่ กี่ ารค้นหา ค�ำตอบให้กับปัญหาสังคม อย่างแนวการศึกษานโยบายของนัก ปฏิ ฐานนิยม แต่อยูท่ กี่ ารท�ำความเข้าใจมนุษย์ โดยเน้นการให้ความรูค้ วาม เข้าใจแก่ประชาชนในปัญหานโยบายต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถ ตัดสินใจเลือกได้ด้วยตนเอง68 การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพแบบปรากฏการณ์ วิ ท ยา เป็ น การ วิจัยเชิงคุณภาพรูปแบบหนึ่งที่อาศัยแนวความคิดและโลกทัศน์จาก ปรัชญาปรากฏการณ์วทิ ยาเป็นเครือ่ งมือในการศึกษาปรากฏการณ์และ ประสบการณ์ของมนุษย์ ปรากฏการณ์วทิ ยาเป็นปรัชญาหรือทัศนะต่อ ภาวการณ์มีอยู่ ด�ำรงอยู่ของมนุษย์ ไม่ใช่วิธีการวิจัย แต่ถูกนักวิจัยน�ำ มาใช้เสมือนว่าเป็น “วิธีการ”เพื่อศึกษาปรากกฏการณ์ที่ชีวิตที่บุคคล ได้ประสบมา (Lived Experience) การวิจัยแบบนี้มุ่งท�ำความเข้าใจ ความหมายประสบการณ์ชีวิตที่บุคคลได้ประสบมาเป็นหลัก69 การวิ จั ย นี้ ใ ห้ ค วามสนใจความหมายในทั ศ นะของผู ้ ที่ ไ ด้ ประสบการณ์นั้น เป้าหมายส�ำคัญของการวิจัยแบบนี้คือ การหาค�ำ 68 ประโยชน์ ส่งกลิน่ . (2557). นโยบายสาธารณะแนวการตีความ. วาสารการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม–สิงหาคม 2557. 69 สุภางค์ จันทรวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ส�ำนัก พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

52


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตอบส�ำหรับค�ำถามว่า “การได้ประสบกับเหตุการณ์นั้น มีความหมาย อย่างไรส�ำหรับผู้ที่ได้ประสบมันหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้นมีความ หมายอย่างไรส�ำหรับผูท้ ไี่ ด้ประสบมันมาแล้วหรือก�ำลังประสบมันอยู”่ 70 การวิจัยแนวปรากฏการณ์วิทยาอาศัยแนวคิดและทัศนะจาก ปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา โดยการศึกษาว่าคนเราบอกหรือบรรยาย เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ตนประสบได้ด้วยการวิเคราะห์ การรับ รู้ และความหมายของสิง่ ทีเ่ ราประสบ ซึง่ เป็นตัวกระตุน้ ความตระหนัก รู้ของเรา ประสบการณ์ที่เราได้สัมผัสนั้นต้องถูกบรรยาย หรือบอกราย ละเอียดอธิบายและตีความ จึงจะเกิดความเข้าใจ ประสบการณ์ชนิด เดียวกันย่อมมีแก่นแท้ อันเดียวกัน แก่นแท้เหล่านี้ก็คือ ความหมายที่ คนเข้าใจร่วมกันหรือเข้าใจตรงกัน ในการวิเคราะห์นักวิจัยจะเปรียบ เทียบประสบการณ์ของคนหลาย ๆ คน เพื่อหาลักษณะร่วมกันของ ประสบการณ์ แนวคิ ด ว่ า ด้ ว ยความสามารถที่ จ ะเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ สารสนเทศขององค์กร ตามแนวคิด “ความเหมาะสมขององค์การ” (Organizational Sensemaking) แนวคิด “ความเหมาะสมของ องค์การ” หรือความสามารถในการท�ำความเข้าใจถึงนัย หรือความ หมายที่อยู่เบื้องลึก เป็นแนวคิดของ Karl Weick ซึ่งได้จัดท�ำรายการที่ เกี่ยวกับความสามารถที่จะเข้าใจสารสนเทศโดยก�ำหนดจากส่วนหนึ่ง ของค�ำอธิบายขัน้ ตอนต่าง ๆ ทีจ่ ะท�ำให้ผคู้ นเข้าใจได้มากขึน้ ใช้การแปล ความและการอ้างอิงมาจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ 7 ประการ คือ หนึง่ ข้อมูลพืน้ ฐานของสิง่ ทีเ่ หมือนกันทุกประการ สอง การมองย้อนกลับไปในอดีต สาม การแสดงหรือก�ำหนดถึงความรู้สึกที่ จะเป็นไปได้ที่สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง สี่ สภาพสังคม ห้า สถานการณ์ 70 Moustakas, Clark. (1994). Phenomenological Research Methods. London: SAGE Publications.

53


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

หรือสิ่งที่ก�ำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน หก การมุ่งเน้นเฉพาะส่วนและค�ำ แนะน�ำว่าควรประพฤติหรือไม่ที่ได้จากการกลั่นกรองในสถานการณ์ ต่าง ๆ แล้ว และเจ็ด การผลักดันให้เกิดขึน้ โดยยึดถือความคิดทีว่ า่ น่าจะ ถูกต้องหรือมีเหตุผลมากกว่าสิ่งที่เคยท�ำมาก่อนแม้ว่าสิ่งนั้นจะมีความ แม่นย�ำสักเพียงไร71 Karl Weick ได้ เ ปรี ย บเที ย บแนวคิ ด ความเหมาะสมของ องค์การกับการท�ำแผนที่ โดยมองว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ใช่เพียงลักษณะ ของการสะท้อนแสดงสิ่งหนึ่งสิ่งใดแต่เพียงสิ่งเดียว เหมือนการวาด แผนทีบ่ นแผ่นกระดาษด้านเดียวซึง่ ดูราบเรียบ แต่แนวคิดความเหมาะ สมขององค์การคือ ทักษะที่ท�ำให้เห็นมิติและสิ่งอื่น ๆ อีกหลากหลาย ด้าน ผ่านการลงพืน้ ทีจ่ ริง ประสบการณ์จริง เพือ่ ท�ำความเข้าใจนัยหรือ ข้อเท็จจริงในเชิงลึก ที่อยู่นอกเหนือการมองเห็น เปรียบเสมือนการท�ำ แผนที่ให้ได้รายละเอียดที่ครบถ้วน จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ออกไปพบและส�ำรวจภูมปิ ระเทศจริง จึงจะท�ำให้ขอ้ มูลในการท�ำแผนที่ ให้สมบูรณ์และแสดงรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน72 แนวคิ ด ความเหมาะสมขององค์ ก าร ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ท�ำความเข้าใจ บุคลากรและความเป็นจริงรวมถึงการสร้างสรรค์สิ่ง แวดล้อมต่าง ๆ โดยพบว่า บุคลากรทีม่ คี วามแตกต่างในแต่ละกลุม่ นัน้ มี ประสบการณ์แตกต่างกัน ท�ำให้มกี ารรับทราบข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่ มีลกั ษณะหรือแนวปฏิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ จากสิง่ แวดล้อมขององค์กรทีแ่ ตกต่าง กัน เกิดเป็นค�ำอธิบายหรือรายละเอียดเฉพาะของแต่ละกลุม่ มากยิง่ ขึน้ เกิดเป็นบริบทเฉพาะพืน้ ที่ ดังนัน้ การจะท�ำความเข้าใจแต่ละกลุม่ บุคคล หรือแต่ละพืน้ ที่ นอกจากการท�ำความเข้าใจสิง่ ทีม่ องเห็นซึง่ แม้สามารถ ช่วยอธิบายความหมายหรือสิง่ ทีส่ มั ผัสได้แต่มนั อาจจะไม่ใช่สงิ่ ทีถ่ กู ต้อง ทั้งหมด สิ่งที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งคือการท�ำความเข้าใจสิ่งที่อยู่เบื้องลึกซึ่งมิ 71 Weick, Karl. (1995). Sensemaking in Organizations. London: SAGE Publications. pp. 7.  72 Ibid., pp. 9.

54


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยการเข้าไปพูดคุย ซักถาม ลงสถานที่จริง เพื่อเก็บเกี่ยวรายละเอียดเต็มรูปแบบจากปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ได้พบ จริง ๆ จากพื้นที่จริง73 ดังนั้นในการศึกษาวัฒนธรรมองค์การผ่านแนวคิด “ความ เหมาะสมขององค์การ” (Organizational Sensemaking) ในที่นี้คือ การศึกษาวัฒนธรรมขององค์การระดับรัฐที่ชื่อเดนมาร์กว่า ผู้คนมีการ ให้ความหมายอย่างไร และวัฒนธรรมนั้นเหมาะสมกับบริบทจนท�ำให้ เกิดความเหมาะสมลงตัวกันในวิถชี วี ติ คุณค่า พฤติกรรมต่าง ๆ อย่างไร จากการรับรู้ของสมาชิกองค์การหรือคนในรัฐนั้น เพราะฉะนั้นแล้ว จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเกี่ยว กับเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมในการศึกษาอิทธิพลอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ มีตอ่ ความส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายทางด้านสวัสดิการของเดนมาร์ก พบว่า แนวคิดการศึกษานโยบายสาธารณะแบบตีความ ผ่านการการ วิจยั เชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วทิ ยา ประกอบการใช้วธิ กี ารท�ำความ เข้าใจความหมายในส่วนที่อยู่เบื้องลึกตามแนวคิดความเหมาะสมของ องค์การ เป็นเครือ่ งมือทีเ่ หมาะสมในการใช้แสวงหาความหมายและค�ำ ตอบในการท�ำการศึกษาครั้งนี้ 73 Ibid., pp. 107.

55


บทที่ 3

วิธีด�ำเนินงานวิจัย


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ระเบียบวิธีวิจัย งานวิ จั ย ชิ้ น นี้ เ ป็ น การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (Qualitative Research) โดยจะท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะเป็น รูปแบบข้อมูลทางสถิติ ประวัติศาสตร์ ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะได้มาจาก หนังสือ บทความ จากต่างประเทศ เว็บไซต์ รายงานผลการวิจัยจาก สถาบันการศึกษา แบบรายงานผลจากองค์กรระหว่างประเทศ บริษัท ต่าง ๆ เป็นต้น โดยเน้นที่ข้อมูลผลส�ำเร็จของการด�ำเนินนโยบายรัฐ สวัสดิการตัง้ แต่ปี 2011 เป็นต้นมา ในส่วนของข้อมูลพัฒนาการของรัฐ สวัสดิการและการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นชาติเลือกใช้ขอ้ มูลตัง้ แต่ยคุ ก่อนสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เป็นต้นมา นอกจากนีใ้ นประเด็นของอัตลักษณ์ เดนมาร์ก เลือกใช้การลงหาข้อมูลภาคสนาม (Field Study) โดยใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และแบบกับกลุ่มประชากร ตัวอย่าง จ�ำนวนทั้งสิ้น 48 คน จากเมืองโคเปนเฮเกน (พื้นที่เมืองหลวง ชัน้ ใน) และเมืองฮอร์เซนส์ (เมืองรอบนอก) ประเทศเดนมาร์ก เมืองละ 24 คน 2. ข้อมูลทุตยิ ภูมิ (Secondary Data) เป็นการค้นคว้าข้อมูลที่ ได้มผี วู้ เิ คราะห์ไว้แล้วซึง่ จะได้จากสิง่ พิมพ์ จากแหล่งต่าง ๆ เช่น หนังสือ งานวิจยั วารสาร หนังสือพิมพ์ บทความ และเอกสารต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก การสร้างอัต ลักษณ์ความเป็นเดนมาร์ก และมิติของชุดคุณค่าต่าง ๆ ที่รวมกันเป็น อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมถึงการสัมภาษณ์บุคคลที่เคยอาศัยอยู่ที่ เดนมาร์กมาเป็นระยะเวลานาน หรือผูท้ มี่ คี วามสนใจและได้เคยเดินทาง ไปศึกษาหาข้อมูลในฐานะสื่อมวลชน และพลเมืองเดนมาร์กที่ปัจจุบัน ได้มาพักอาศัยหรือท�ำงานอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อได้มุมมองและข้อมูล ที่รอบด้านมากยิ่งขึ้น 57


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

3. การวิเคราะห์ข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลและการน�ำเสนอผล การศึกษา เมื่อท�ำการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิแล้ว จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์ส่วนประกอบ (Component Analysis) ทั้งนี้ในส่วนของการ ตรวจสอบข้อมูล เลือกการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านวิธีการรวบรวม ข้อมูล (Methodological Triangulation) ซึง่ เป็นการใช้วธิ เี ก็บรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ กันเพือ่ รวบรวมข้อมูลเรือ่ งเดียวกันเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลตรงตาม วัตถุประสงค์ของการวิจยั ในส่วนของการน�ำเสนอผลการศึกษาใช้วธิ กี าร พรรณนา (Descriptive Method)

วิธีด�ำเนินการวิจัย ในการศึกษานีเ้ ป็นการศึกษาเชิงส�ำรวจแบบปรากฏการณ์วทิ ยา และใช้วิธีการแบบ Sense-Making หรือความสามารถในการท�ำความ เข้าใจถึงนัย หรือความหมายทีอ่ ยูเ่ บือ้ งลึก โดยศึกษาจากประชากรของ เดนมาร์กในเมืองโคเปนเฮเกนและเมืองฮอร์เซนส์ เกี่ยวกับทัศนคติที่ สะท้อนถึงลักษณะของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ใน 3 มิติ คือ หนึ่ง ความรู้สึกตระหนักถึงความเท่าเทียมกันในสังคม สอง ความรู้สึกร่วม ต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และ สาม ลักษณะดุลยภาพทางวัฒนธรรม แบบปัจเจกนิยมและกลุ่ม โดยเป็นการศึกษาในระดับปัจเจกบุคคล ดังนั้น Unit of Analysis คือ หน่วยระดับปัจเจกบุคคลในฐานะผู้ให้ ข้อมูล (Respondent) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (SemiStructured Interview) และการสัมภาษณ์เชิงลึก

58


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการศึกษานี้คือ พลเมืองของเดนมาร์กในเมือง โคเปนเฮเกน เพื่อให้ได้ข้อมูลในเขตเมืองและเมืองฮอร์เซนส์ เพื่อได้ ข้อมูลในเขตชนบทรวมถึงชุมชนพิเศษที่พลเมืองมาอาศัยอยู่ด้วยกัน แบบหลวม ๆ หรือชุมชนทางเลือก โดยประชากรที่จะท�ำการศึกษา ในครั้งนี้คือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการก�ำหนดนโยบาย ทางด้านสวัสดิการของเดนมาร์กที่ส�ำคัญจ�ำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ข้าราชการซึง่ มีสว่ นในกระบวนการก�ำหนดนโยบายสวัสดิการเดนมาร์ก กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นสมาชิกอยู่ในกลุ่มสหกรณ์ การเกษตรท้องถิน่ กลุม่ ผูป้ ระกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ซึง่ เป็นสมาชิกในสหภาพแรงงาน และกลุม่ นักศึกษา โดยอยูบ่ นพืน้ ฐาน ของหลักเกณฑ์คือ เป็นบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์กเป็นอย่างดี กล่าวคือ เป็นพลเมือง ชาวเดนมาร์ก สัญชาติหรือเชือ้ ชาติเดนมาร์ก ทีอ่ ยูอ่ าศัยอยูบ่ นพืน้ แผ่น ดินเดนมาร์กตัง้ แต่เกิดหรือเป็นระยะเวลายาวนาน ซึง่ ท�ำให้ทศั นคติหรือ โลกทัศน์ทแี่ สดงออกผ่านการถูกสัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นตัวตนหรืออัต ลักษณ์ของความเป็นคนเดนมาร์กได้อย่างชัดเจน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สุ่มด้วยวิธีการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) ประกอบด้วย -กลุ่มข้าราชการ 10 คน (โคเปนเฮเกน 5 คน ฮอร์เซน 5 คน) -กลุ่มเกษตรกร 10 คน (โคเปนเฮเกน 5 คน ฮอร์เซน 5 คน) -กลุ่มภาคอุตสาหกรรม 10 คน (โคเปนเฮเกน 5 คน ฮอร์เซน 5 คน) 59


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

-กลุ่มนักศึกษา 10 คน (โคเปนเฮเกน 5 คน ฮอร์เซน 5 คน) รวมกลุม่ ประชากรทีใ่ ช้การสัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้างจ�ำนวน ทั้งสิ้น 40 คน แบ่งออกเป็นเมืองโคเปนเฮเกน 20 คน ฮอร์เซน 20 คน 2.การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สุม่ ด้วยวิธกี ารเลือกกลุม่ ตัวอย่าง แบบเจาะจง ประกอบด้วย -กลุ่มข้าราชการ 2 คน (โคเปนเฮเกน 1 คน ฮอร์เซน 1 คน) -กลุ่มเกษตรกร 2 คน (โคเปนเฮเกน 1 คน ฮอร์เซน1 คน) -กลุ่มภาคอุตสาหกรรม 2 คน (โคเปนเฮเกน 1 คน ฮอร์เซน 1 คน) -กลุ่มนักศึกษา 2 คน (โคเปนเฮเกน 1 คน ฮอร์เซน 1 คน) รวมกลุ่มประชากรที่ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจ�ำนวนทั้ง สิ้น 8 คน แบ่งออกเป็นเมืองโคเปนเฮเกน 4 คน ฮอร์เซน 4 คน ดังนั้นประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จ�ำนวนทั้งสิ้น 48 คน เป็นพลเมืองในพื้นที่เมืองโคเปนเฮเกน 24 คน และเมืองฮอร์เซน 24 คน โดยอยูใ่ นกลุม่ ของข้าราชการจ�ำนวน 12 คน กลุม่ เกษตรกร 12 คน กลุ่มภาคอุตสาหกรรม 12 คน และกลุ่มนักศึกษา 12 คน

60


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

61


บทที่ 4

ผลการวิจัย


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ผลการวิจัย ผลจากการวิจัย “ปัจจัยทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อความส�ำเร็จ ในการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการในประเทศเดนมาร์ก” ซึง่ ได้จากการ สัมภาษณ์บคุ คล 4 กลุม่ ได้แก่ กลุม่ ที่ 1 ข้าราชการ กลุม่ ที่ 2 ผูป้ ระกอบ อาชีพเกษตรกรรม กลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและ บริการ และกลุม่ ที่ 4 นักศึกษา ซึง่ การน�ำเสนอผลจากกาวิจยั แบ่งออก เป็น 5 ส่วน ดังนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ให้สัมภาษณ์ 2. ความคิดเห็นต่อเรื่อง “ความรู้สึกร่วมต่อการมีคุณภาพชีวิต ที่ดี” 3. ความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ “ความเท่ า เที ย มกั น ในสั ง คม เดนมาร์ก” 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “ความเป็นปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยม ในสังคมเดนมาร์ก” 5. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ “นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก” โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์ประกอบไปด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่ ศึกษา/ท�ำงาน ณ สถานศึกษา/สถานที่ท�ำงาน ในปัจจุบัน ซึ่งสามารถ จ�ำแนกข้อมูลปรากฏตามตาราง 4-1

63


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตารางที่ 4-1 จ�ำนวนและร้อยละของผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ จ�ำแนกตามข้อมูล ลักษณะประชากรศาสตร์

64

เพศ ชาย หญิง LGBT รวม

จ�ำนวน (คน) 24 22 2 48

อายุ อายุต�่ำกว่า 30 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50-59 ปี 60 ปี ขึ้นไป รวม

จ�ำนวน (คน) 20 13 9 2 4 48

สถานภาพสมรส โสด สมรส หย่า/ร้าง รวม

จ�ำนวน (คน) 19 29 48


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

อาชีพ ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ เกษตรกร ท�ำงานเกี่ยวกับปศุสัตว์ ท�ำงานในภาคอุตสาหกรรม พนักงงานบริษัทเอกชน นักเรียน/นักศึกษา รวม

จ�ำนวน (คน) 12 10 2 8 4 12 48

รายได้ ต�่ำกว่า 25,000 DKK/เดือน 25,000-35,000 DKK/เดือน 35,000-45,000 DKK/เดือน 45,000-55,000 DKK/เดือน 55,000 DKK ขึ้นไป/เดือน รวม

จ�ำนวน (คน) 5 7 11 19 6 48

ประสบการณ์การท�ำงาน อยู่ในระหว่างศึกษา ท�ำงาน 1-5 ปี ท�ำงาน 5-10 ปี ท�ำงาน 10 ปีขึ้นไป รวม

จ�ำนวน (คน) 12 5 11 20 48 65


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จากตารางที่ 4-1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้ สัมภาษณ์ จ�ำนวน 48 คน จากพื้นที่เมืองโคเปนเฮเกน 24 คน และ เมืองฮอร์เซนส์ 24 คน โดยทั้งนี้ได้เลือกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ข้าราชการ กลุ่มที่ 2 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่ม ที่ 3 ผู้ประกอบอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและบริการ และกลุ่มที่ 4 นักศึกษา ทัง้ นีไ้ ด้เลือกกลุม่ ตัวอย่างเป็นผูช้ ายและผูห้ ญิงในสัดส่วนทีใ่ กล้ เคียงกัน (24: 22) และเลือกกลุ่มตัวอย่างเพศ LGBT ด้วย 2 คน (เมือง ละ 1 คน) เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้านมากยิ่งขึ้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุตำ�่ กว่า 40 ปี กลุม่ ตัวอย่างสมรสแล้วและโสดในสัดส่วนทีใ่ กล้เคียง กัน ส่วนใหญ่มีการศึกษาขั้นต�่ำในระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการท�ำงานเป็นเวลานาน มีรายได้สูง โดย อยู่ในระหว่างศึกษา 12 คน ซึ่งทั้ง 12 คนมีประสบการณ์การท�ำอาชีพ เสริมระหว่างเรียน และมีรายได้ระหว่างเรียนแล้วทุกคน ส่วนที่ 2–5 ในส่วนนี้เป็นค�ำถามจากการสัมภาษณ์แบบกึ่ง โครงสร้าง และใช้ชดุ ค�ำถามเดียวกันในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดย ใช้เป็นค�ำถามปลายเปิด แล้วจัดกลุ่มค�ำตอบสอดคล้องกับประเด็นค�ำ ตอบจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นต่อเรื่อง “ความรู้สึกร่วมต่อการมี คุณภาพชีวิตที่ดี” ในส่วนนี้ มีชุดคาถามด้วยกัน 7 ข้อ โดยมีประเด็นคาถาม เกี่ยวกับทัศนคติที่เกี่ยวกับนิยามคาว่า ความสุข ในสังคมของเดนมาร์ก จ�ำนวน 3 ข้อ ความรู้สึกหวงแหนการดารงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการ และ ความยั่งยืน (Sustainable) 1 ข้อ ความรู้ต่อความเชื่อมั่น ความไว้เนื้อ เชื่อใจ (Trust) 1 ข้อ ความรู้สึกต่อการมีสภาพแวดล้อมที่ดี 1 ข้อ และ ทัศคติทมี่ ตี อ่ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสวัสดิการกับการมีคณ ุ ภาพชีวติ ที่ ดี 1 ข้อ ซึ่งผลจากการเก็บข้อมูลปรากฎดังนี้ 66


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตารางที่ 4-2 ค�ำถามที่ 1 ความสุขในนิยามความคิดของท่านเป็นเช่น ไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ 1. การมีสังคมที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรัฐเข้า มาช่วยเหลือดูแล ผู้คนมีความเคารพซึ่งกันและกัน 2. การมีสงั คมทีด่ ี ผูค้ นเอือ้ เฟือ้ ช่วยเหลือกัน ทุกคน เห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวม มากกว่าประโยชน์สว่ นตัว 3. การมีอิสระทางความคิด การตัดสินใจ การเลือก ที่จะเรียน เลือกที่จะท�ำงาน ได้ตามความต้องการ หรือความฝันของตน โดยไม่มีอุปสรรคซึ่งเป็นข้อ จ�ำกัดทางสังคม หรือเศรษฐกิจ 4. ความรูส้ กึ ปลอดภัยในการใช้ชวี ติ ในสังคม ผูค้ นมี ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 5. การได้ใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเอง มีความ สะดวกสบายในการใช้ชีวิต โดยไม่จ�ำเป็นที่จะต้อง มีฐานะที่ร�่ำรวย 6. การมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ร�่ำรวยที่จะน�ำมาซึ่ง การตอบสนองความต้องการได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด 7. ค�ำตอบอื่น ๆ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 48 คน 48 คน 42 คน 46 คน 21 คน ไม่มีผู้ตอบ ไม่มีผู้ตอบ

จากตาราง 4-2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้สัมภาษณในทุก ๆ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ มีนิยามความสุขที่สอดคล้องกับ ค�ำตอบข้อที่ 1 และ 2 คือ เชื่อว่าความสุขที่แท้จริงคือการมีสังคมที่ทุกคนมีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีรัฐเข้ามาช่วยเหลือดูแล ผู้คนมีความเคารพซึ่งกันและกัน 67


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ผู้คนเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตัว ความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม ผู้คนมี ความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การมีอิสระทางความคิด การตัดสินใจ การเลือก ที่จะเรียน เลือกที่จะท�ำงาน ได้ตามความต้องการ หรือความฝันของ ตน โดยไม่มีอุปสรรคซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดทางสังคมหรือเศรษฐกิจ ทั้งนี้ใน กลุ่มของนักศึกษาและกลุ่มที่ท�ำงานในบริษัทเอกชน ทั้งในพื้นที่เมือง โคเปนเฮเกนและฮอร์เซนส์ ส่วนใหญ่มที ศั นคติเพิม่ เติมว่า ความสุขการ ได้ใช้ชวี ติ ในแบบฉบับของตนเอง มีความสะดวกสบายในการใช้ชวี ติ โดย ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องมีฐานะที่ร�่ำรวย ตารางที่ 4-3 ค�ำถามที่ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่ประเทศเดนมาร์ก ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พลเมืองมีความสุขที่สุดในโลก เพราะเหตุใด ประเด็นค�ำตอบ 1. เห็นด้วย 2. ไม่เห็นด้วย

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 48 คน ไม่มีผู้ตอบ

จากตารางที่ 4-3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้ง 48 คน เห็นด้วยกับผลการจัดอันดับ UN World Happiness Report ที่ ประเทศเดนมาร์กถูกจัดให้เป็นประเทศที่พลเมืองมีความสุขมากที่สุด ในโลก หรืออยู่ในกลุ่มประเทศล�ำดับต้น ๆ มาโดยตลอด เหตุผลส่วน ใหญ่ทที่ กุ คนเห็นด้วยเพราะว่า เดนมาร์กเป็นประเทศของสังคมแห่งรัฐ สวัสดิการ ทีค่ อยช่วยท�ำให้พลเมืองทุกคนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ชีวติ มีความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนเป็นมิตรและมีความเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่ให้แก่กัน สังคมมีความเสมอภาคกัน เป็นประเทศที่มีอิสระทางด้าน ความคิด ผูค้ นไม่ทจุ ริต ระบบราชการหรือเอกชนโปร่งใส สามารถตรวจ 68


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

สอบได้ และเป็นประเทศทีม่ ผี ลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงหรือ GDP สูง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในเดนมาร์ก ตารางที่ 4-4 ค�ำถามที่ 3 ปัจจัยใดบ้างที่ก่อให้เกิดความสุขในการใช้ ชีวิตของท่าน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ ) จ�ำนวนผู้ เลือกค�ำตอบ ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. เศรษฐกิจของประเทศที่ดี 48 คน 2. มีฐานะที่ร�่ำรวย ไม่มีผู้ตอบ 3. มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย 48 คน 4. ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 42 คน 5. ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต 7 คน 6. อยู่ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตาม 48 คน ธรรมชาติที่ดี 7. รัฐดูแลและให้ความส�ำคัญกับความเป็นอยู่ของ 42 คน พลเมืองในประเทศเป็นอย่างดี 8. การมีอิสระทางความคิดและจินตนาการ 36 คน 9. การประสบความส�ำเร็จในชีวิต 25 คน 10. อื่น ๆ - การได้ใช้ชีวิตแบบ Hygge 32 คน - การได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว 39 คน - การได้ท�ำการกุศล การได้ช่วยเหลือผู้อื่น 46 คน 69


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จากตารางที่ 4-4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วน ใหญ่เชื่อว่า ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุข คือ การที่เดนมาร์กมีเศรษฐกิจ ที่ดี พลเมืองอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย รองลงมาคือ มีความรู้สึก ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รัฐเข้าดูแลและให้ความส�ำคัญกับความ เป็นอยูข่ องพลเมืองในประเทศเป็นอย่างดี การมีอสิ ระทางความคิดและ จินตนาการ และการประสบความส�ำเร็จในชีวิต ในขณะเดียวกันกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจะให้ค�ำตอบเพิ่มเติมถึงความสะดวกสบายใน การใช้ชวี ติ ทัง้ นีป้ จั จัยทางด้านฐานะทีร่ ำ�่ รวย ไม่มผี ใู้ ดเชือ่ ว่าเป็นปัจจัย ทีส่ ำ� คัญทีก่ อ่ ให้เกิดความสุข โดยจากทัง้ การสัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้าง และเชิงลึกปรากฏว่า ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ยงั ได้ให้เหตุผลเพิม่ เติมว่า ปัจจัยอืน่ ๆ ทีก่ อ่ ให้เกิดความสุขในการใช้ชวี ติ ยังประกอบด้วย หนึง่ การได้ใช้ชวี ติ แบบ Hygge ซึ่งเป็นลักษณะคุณค่าการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายอย่างมีความ สุขในแบบฉบับของคนเดนมาร์ก โดยมีผู้กล่าวถึง Hygge จ�ำนวน 23 คน ส่วนใหญ่อยูใ่ นกลุม่ นักศึกษาและท�ำงานเอกชน และอยูใ่ นพืน้ ทีข่ อง เมืองโคเปนเฮเกนกับฮอร์เซนส์ ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน สอง ปัจจัยทาง ด้านการใช้เวลากับครอบครัว Work Life Balance เป็นปัจจัยที่กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ (39 คน) เชื่อว่า น�ำมาซึ่งความสุขของตนเอง เช่น เดียวกันกับการท�ำการกุศลหรือช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่า เป็นปัจจัยที่น�ำมาซึ่งความสุขของตน จ�ำนวน 46 คน

70


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตารางที่ 4-5 ค�ำถามที่ 4 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ต่อการด�ำรง คงอยู่ของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 48 คน 1. รัฐสวัสดิการมีความส�ำคัญเปรียบเสมือนส่วน หนึ่งในชีวิตของพลเมืองเดนมาร์ก 2. รัฐสวัสดิการมีความส�ำคัญต่อการสร้างคุณภาพ 48 คน ชีวิตที่ดีของประชากรทุกคนบนแผ่นดินเดนมาร์ก 35 คน 3. รัฐสวัสดิการมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของพลเมือง เดนมาร์ก ในการสร้างความรูส้ กึ ร่วม ความหวงแหน และความเป็นเนื้อเดียวกันของพลเมืองเดนมาร์ก 33 คน 4. พลเมืองเดนมาร์กส่วนใหญ่ยนิ ยอมทีจ่ ะจ่ายภาษี แพง เพื่อการด�ำรงรักษาคุณภาพของนโยบายรัฐ สวัสดิการ มากกว่าการยกเลิกนโยบายรัฐสวัสดิการ 17 คน 5. การด�ำรงคงอยูข่ องรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ส่งผล ต่อประเด็นปัญหาความไม่เป็นมิตรต่อผูอ้ พยพทีเ่ พิม่ มากขึ้นในสังคมเดนมาร์ก 6. การด�ำรงคงอยูข่ องรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีอทิ ธิพล 41 คน ต่อประเด็นทางด้านการเมือง ซึง่ ส่งผลต่อการด�ำรงคง อยู่ของรัฐบาลในแต่ละสมัยอย่างเห็นได้ชัด 37 คน 7. รั ฐ สวั ส ดิ ก ารควรปรั บ เปลี่ ย นไปตามสภาพ เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการแก้ไข กฎเกณฑ์บางประการ เพื่อให้รัฐสวัสดิการด�ำรงคง อยู่ได้ 8. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ 71


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จากตาราง 4-5 ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลปรากฏว่า กลุม่ ตัวอย่าง ส่วนใหญ่มที ศั นคติตอ่ การด�ำรงคงอยูข่ องรัฐสวัสดิการว่า มีความส�ำคัญ เปรียบเสมือนส่วนหนึ่งในชีวิตของพลเมืองเดนมาร์กและความส�ำคัญ ต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรทุกคนบนแผ่นดินเดนมาร์ก อีกทั้งยังมองว่า การด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีอิทธิพล ต่อประเด็นทางด้านการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการด�ำรงคงอยู่ของรัฐบาล ในแต่ละสมัยอย่างเห็นได้ชัด ดังเช่น กรณีของการตัดงบประมาณทาง ด้านสวัสดิการ ที่ท�ำให้รัฐบาลที่ด�ำเนินการเช่นนั้นพบกับความพ่ายแพ้ ในการเลือกตั้งครั้งต่อมา นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังมองว่า รัฐสวัสดิการมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของพลเมืองเดนมาร์กในการสร้าง ความรู้สึกร่วม ความหวงแหน และความเป็นเนื้อเดียวกันของพลเมือง เดนมาร์ก ประชาชนเดนมาร์กส่วนใหญ่ยินยอมที่จะจ่ายภาษีแพง เพื่อ การด�ำรงรักษาคุณภาพของนโยบายรัฐสวัสดิการ มากกว่าการยกเลิก นโยบายรัฐสวัสดิการ พร้อมกันนี้ยังมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า รัฐสวัสดิการควรปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง ไป รวมถึงการแก้ไขกฎเกณฑ์บางประการ เพื่อให้รัฐสวัสดิการด�ำรง คงอยู่ได้ ในขณะที่ประเด็นการด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ส่งผลต่อประเด็นปัญหาความไม่เป็นมิตรต่อผู้อพยพที่เพิ่มมากขึ้นใน สังคมเดนมาร์กนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และยังเชื่อว่า คนเดนมาร์กส่วนใหญ่ยังคงเป็นมิตรต่อชาวต่างชาติอยู่ เพียงแต่ชาว ต่างชาติหรือผู้อพยพควรจะปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมวัฒนธรรมที่ เปลี่ยนแปลงไปด้วย ในกลุ่มของคนที่เห็นด้วยว่าการด�ำรงคงอยู่ของรัฐ สวัสดิการเดนมาร์ก ส่งผลต่อประเด็นปัญหาความไม่เป็นมิตรต่อผูอ้ พยพ ทีเ่ พิม่ มากขึน้ ในสังคมเดนมาร์ก ส่วนใหญ่เป็นกลุม่ ผูใ้ หญ่และวัยท�ำงาน โดยมองว่า เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการก้าวเข้าสู่สังคม สูงวัยของเดนมาร์ก งบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายในการรักษาคุณภาพ สวัสดิการในสังคมย่อมเพิ่มสูงขึ้น เดิมทีเดนมาร์กเป็นประเทศที่ดูแล เรือ่ งสวัสดิการสังคมให้แก่พลเมืองทุกคนทีอ่ ยูบ่ นแผ่นดินของเดนมาร์ก 72


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ซึง่ หมายความรวมถึงผูอ้ พยพ การทีผ่ อู้ พยพหลัง่ ไหลเข้ามายังเดนมาร์ก มากขึน้ ท�ำให้การใช้งบประมาณในการดูแลสวัสดิการเพิม่ ขึน้ อาจท�ำให้ รัฐบาลตัดสินใจในการตัดงบประมาณมากยิง่ ขึน้ จึงท�ำให้กระแสต่อต้าน ชาวต่างชาติจึงก่อตัวขึ้นในสังคมเดนมาร์กอยู่พอสมควร ตารางที่ 4-6 ค�ำถามที่ 5 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับ ลักษณะความรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจของพลเมืองเดนมาร์ก (ตอบได้ มากกว่า 1 ข้อ) จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมที่มีความใกล้ชิดกัน 46 คน ความรู้สึกแตกต่างในสังคมมีน้อย ผู้คนเคารพใน สิทธิของกันและกัน 2. มี ค วามรู ้ สึ ก ปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น 40 คน อาชญากรรมในสังคมเกิดขึ้นน้อยมาก ผู้คนมีศีล ธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 3. มีความรู้สึกร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ มากมาย 43 คน ยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง และโต้แย้งกัน โดยเหตุและผลมากกว่าการใช้อารมณ์ 4. คนในสังคมเดนมาร์ก มีความน่าเชื่อถือ เป็นมือ 47 คน อาชีพ พึง่ พาอาศัยกันได้ ไม่คอ่ ยมีความอิจฉาริษยา และยินดีในความส�ำเร็จของผู้อื่นเสมือนเป็นความ ส�ำเร็จของตัวเอง

73


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 5. คนเดนมาร์กยึดประโยชน์ส่วนรวมของสังคม 48 คน เป็นที่ตั้ง ท�ำให้ผู้คนส่วนใหญ่มีจิตสาธารณะ ไม่ เห็นแก่ตัว 6. การเข้าโบสถ์วันอาทิตย์ หรือการท�ำสาธารณะ 28 คน ประโยชน์ร่วมกัน มีผลส�ำคัญต่อความแน่นแฟ้น ของคนในสังคมเดนมาร์ก 7. คนเดนมาร์กมีมนุษยสัมพันธ์ทดี่ ี มีนำ�้ ใจ เป็นคน 47 คน ใจดี มีมิตรภาพกับคนทั่วไป 8. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตาราง 4-6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ กลุ่มตัวอย่างส่วน ใหญ่มคี วามคิดเห็นว่า คนเดนมาร์กยึดประโยชน์สว่ นรวมของสังคมเป็น ทีต่ งั้ ท�ำให้ผคู้ นส่วนใหญ่มจี ติ สาธารณะ ไม่เห็นแก่ตวั มีความน่าเชือ่ ถือ เป็นมืออาชีพ พึง่ พาอาศัยกันได้ ไม่คอ่ ยมีความอิจฉาริษยา ยินดีในความ ส�ำเร็จของผู้อื่นเสมือนเป็นความส�ำเร็จของตัวเอง มนุษยสัมพันธ์ที่ดี มี น�้ำใจ เป็นคนใจดี มีมิตรภาพกับคนทั่วไป เป็นสังคมที่มีความใกล้ชิด กัน ความรูส้ กึ แตกต่างในสังคมมีนอ้ ย ผูค้ นเคารพในสิทธิของกันและกัน ยอมรับในความคิดเห็นทีแ่ ตกต่าง และโต้แย้งกันโดยเหตุและผลมากกว่า การใช้อารมณ์ เป็นสังคมที่มีความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาชญากรรมในสังคมเกิดขึ้นน้อยมาก ผู้คนมีศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ ต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งนอกจากนี้ในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ ในฮอร์เซนส์ยังมีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า การเข้าโบสถ์วันอาทิตย์ หรือ การท�ำสาธารณะประโยชน์ร่วมกัน มีผลส�ำคัญต่อความแน่นแฟ้นของ คนในสังคมเดนมาร์ก 74


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตารางที่ 4-7 ค�ำถามที่ 6 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสภาพสิ่ง แวดล้อมในประเทศเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ 1. ยังคงมีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ยังคงรอรับ การแก้ไขอยู่ 2. พลเมืองเดนมาร์กมีจิตส�ำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม 3. ระบบการเมืองของเดนมาร์กให้ความส�ำคัญกับ สิ่งแวดล้อมมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเป็น ประเทศแรก ๆ ของโลก ที่มีพรรคการเมืองแบบ Green Party 4. พลเมืองเดนมาร์กให้ความส�ำคัญและสนับสนุน การใช้พลังงานทดแทน แทนที่พลังงานซึ่งส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม 5. เดนมาร์กมีระบบการจัดการขนส่งสาธารณะที่ ดี และพลเมืองเน้นการเดินทางด้วยจักรยาน ท�ำให้ สามารถลดมลภาวะในเขตเมืองได้เป็นอย่างดี 6. เดนมาร์กให้ความส�ำคัญกับการจัดการปัญหา การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก โดย สามารถด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ ในระดับแนวหน้าของโลก

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 5 คน 44 คน 40 คน

46 คน 48 คน

39 คน

75


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

7. พลเมืองเดนมาร์กมีการปลูกฝังค่านิยมที่มีต่อ การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมต่อเยาวชนภายในประเทศ 47 คน โดยทั้ ง นี้ เ ริ่ ม ต้ น จากสถาบั น ครอบครั ว มาจนถึ ง สถาบันการเมืองระดับประเทศ 8. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ พลเมืองเดนมาร์กมีจิตส�ำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลเมืองเดนมาร์กให้ความส�ำคัญและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน แทนที่พลังงานซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พลเมืองเดนมาร์กให้ ความส�ำคัญกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิโลก การ ปลูกฝังค่านิยมทีม่ ตี อ่ การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมต่อเยาวชนภายในประเทศ โดยทั้งนี้เริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวมาจนถึงสถาบันการเมืองระดับ ประเทศ โดยสามารถด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ใน ระดับแนวหน้าของโลก และประเด็นที่ทุกคนเชื่อร่วมกันมากที่สุดคือ เดนมาร์กมีระบบการจัดการขนส่งสาธารณะที่ดี และพลเมืองเน้นการ เดินทางด้วยจักรยาน ท�ำให้สามารถลดมลภาวะในเขตเมืองได้เป็นอย่าง ดี แต่อย่างไรก็ตามมีความคิดเห็นส่วนน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มของภาค การเกษตร ยังคงมองว่ามีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ยังคงรอรับการ แก้ไขอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในชุมชนที่มีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่เป็น จ�ำนวนมาก ทีย่ งั ขาดจิตส�ำนึกในการดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม หรือท�ำเพือ่ ประโยชน์ส่วนรวม

76


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตารางที่ 4-8 ค�ำถามที่ 7 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับความ สัมพันธ์ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์กที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ของพลเมืองเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. การด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการส่งผลต่อความ 47 คน ยั่งยืนของคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองเดนมาร์ก 2. คุณภาพของรัฐสวัสดิการของเดนมาร์กส่งผลต่อ 48 คน คุณภาพชีวิตของพลเมืองเดนมาร์ก 3. รัฐสวัสดิการทีด่ ี ส่งผลต่อประเด็นทางด้านความ สุขของพลเมือง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 46 คน รวมถึงประสิทธิภาพในการด�ำเนินการด้านต่าง ๆ ภายในสังคม 4. คุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมือง สามารถสร้างให้ ไม่มีคนตอบ เกิดขึ้นได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับ รัฐสวัสดิการ 5. อื่น ๆ - สังคมรัฐสวัสดิการ เป็นหนึ่งในคุณค่าที่สะท้อน 48 คน ความเป็นเดนมาร์กในปัจจุบัน และมีความสัมพันธ์ โดยตรงกั บ การมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี ข องสั ง คม เดนมาร์ก จากตารางที่ 4-8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่ากลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มคี วามคิดเห็นเกีย่ วกับ ความสัมพันธ์ของรัฐสวัสดิการ เดนมาร์กที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองเดนมาร์ก คือ เชื่อว่าการด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการ และคุณภาพของรัฐสวัสดิการ 77


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ส่งผลต่อความยั่งยืนของคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองเดนมาร์ก และ ส่งผลต่อประเด็นทางด้าน ความสุขของพลเมือง การบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อม รวมถึงประสิทธิภาพในการด�ำเนินการด้านต่าง ๆ ภายใน สังคม โดยในให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมอื่น ๆ คือ สังคมรัฐสวัสดิการ เป็นหนึ่งในคุณค่าที่สะท้อนความเป็นเดนมาร์กในปัจจุบัน และมีความ สัมพันธ์โดยตรงกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของสังคมเดนมาร์ก

ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในสังคม เดนมาร์ก ในส่วนนี้ มีชดุ ค�ำถามด้วยกัน 11 ข้อ โดยมีประเด็นค�ำถามเกีย่ ว กับทัศนคติ และความคิดเห็น ที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในสังคมมิติ ต่าง ๆ ซึ่งผลจากการเก็บข้อมูลปรากฏดังนี้ ตารางที่ 4-9 ค�ำถามที่ 8 ท่านรับรูแ้ ละเชือ่ อยูเ่ สมอว่าสังคมเดนมาร์ก เป็นสังคมซึ่งมีความเท่าเทียมกันในสังคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ 1. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึง่ เชือ่ ว่ามนุษย์ทกุ คน มีความเท่าเทียมกัน 2. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึง่ มีความเท่าเทียมกัน แต่ในปัจจุบันพลเมืองเริ่มทบทวนและมีทัศนคติ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะทัศนคติต่อผู้อพยพ หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพาประโยชน์จากรัฐ สวัสดิการ และการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของ เดนมาร์ก 78

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 44 คน

21 คน


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประเด็นค�ำตอบ 3. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีใ่ ห้ความยอมรับเรือ่ ง “ความหลากหลายทางวัฒนธรรม” 4. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีใ่ ห้ความยอมรับเรือ่ ง “ความหลากหลายทางเพศ” 5. สังคมเดนมาร์กให้ความส�ำคัญกับประเด็นด้าน สิทธิมนุษยชน สิทธิของคนพิการ สิทธิสตรี และ สิทธิของผู้อพยพ 6. การสร้างความยุติธรรมในสังคม ไม่จ�ำเป็นต้อง ใช้ความรุนแรง จึงเป็นเหตุให้เดนมาร์กไม่มีโทษ ประหารชีวติ และไม่มกี ารเคลือ่ นไหวทางการเมือง ในเชิงรุนแรง 7. สังคมเดนมาร์กมากแท้จริงมีความไม่เท่าเทียม กันอยูบ่ า้ งซึง่ เป็นเรือ่ งปกติของทุกสังคม เพราะคน เราเกิดมาไม่เท่ากัน 8. อื่น ๆ - ความเท่าเทียมกันทางด้านโอกาส

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 42 คน 48 คน 48 คน

48 คน

4 คน 48 คน

จากตารางที่ 4-9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเชื่อว่า สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความเท่าเทียมกัน ทัง้ ในแง่ของการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางเพศ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิของคนพิการ สิทธิสตรี และสิทธิของผู้อพยพ รวมถึงความเท่า เทียมกันทางด้านโอกาส ในขณะเดียวกันกลุม่ ตัวอย่างโดยเฉพาะในกลุม่ 79


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ผูใ้ หญ่และประกอบอาชีพรับราชการและท�ำการเกษตร ก็มที ศั นคติทวี่ า่ สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึง่ มีความเท่าเทียมกัน แต่ในปัจจุบนั พลเมือง เริ่มทบทวนและมีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะทัศนคติต่อผู้ อพยพ หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพาประโยชน์จากรัฐสวัสดิการ และ การเป็นสังคมพหุวฒ ั นธรรมของเดนมาร์ก และมีจำ� นวนน้อยโดยเฉพาะ ในกลุม่ นักศึกษาทีม่ องว่า สังคมเดนมาร์กมากแท้จริงมีความไม่เท่าเทียม กันอยู่บ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติของทุกสังคม เพราะคนเราเกิดมาไม่เท่ากัน ตารางที่ 4-10 ค�ำถามที่ 9 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับ ประเด็นความแตกต่างของรายได้ในสังคมเดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. ไม่มคี วามแตกต่างทางด้านรายได้มากจนเกินไป ทุกอาชีพมีรายได้ใกล้เคียงกัน และทุกคนมีหน้าทีท่ ี่ 40 คน จะต้องเสียภาษีเหมือนกัน 2. การมีรัฐสวัสดิการที่คอยดูแลความต้องการพื้น ฐานของพลเมืองตัง้ แต่เกิดจนตาย ส่งผลให้ประเด็น 45 คน ทางด้านความแตกต่างของรายได้ ไม่มคี วามส�ำคัญ ในสังคมเดนมาร์ก 3. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-9 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า ความ คิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างทางด้านรายได้ในสังคมเดนมาร์ก กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าการมีรัฐสวัสดิการที่คอยดูแลความต้องการ พื้นฐานของพลเมืองตั้งแต่เกิดจนตาย ส่งผลให้ประเด็นทางด้านความ แตกต่างของรายได้ ไม่มีความส�ำคัญในสังคมเดนมาร์ก และในความ 80


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

เป็นจริงแล้ว ไม่ได้รสู้ กึ ถึงความแตกต่างทางด้านรายได้ เพราะทุกอาชีพ มีรายได้ใกล้เคียงกัน และทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเหมือนกัน ตารางที่ 4-11 ค�ำถามที่ 10 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ในระบบ ราชการ หรือระบบการท�ำงานในสังคมเดนมาร์ก ในมิติของความ เท่าเทียมกัน5.4 ความบันเทิง ประเด็นค�ำตอบ 1. สังคมเดนมาร์ก ไม่ว่าจะในระบบราชการหรือ ระบบการท�ำงานของเอกชน ไม่เน้นทีต่ วั บุคคลและ สายการบังคับบัญชาจนมากเกินไป ความส�ำเร็จของ องค์กรคือการร่วมกันท�ำงานเป็นทีม 2. คนเดนมาร์ก มีความเป็นมืออาชีพ และมุ่งเน้น การท�ำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ว่าหัวหน้าหรือลูกน้อง ต่างช่วยกันท�ำงานเพื่อความส�ำเร็จของส่วนรวม สามารถโต้แย้ง เสนอแนะ การท�ำงานได้ ไม่ค�ำนึง ถึงเรื่องอาวุโส 3. อื่น ๆ - สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมการท�ำงานแบบ Flat Organization - ในสังคมการท�ำงานของเดนมาร์กให้ความส�ำคัญ เกี่ยวกับ ความเท่าเทียมกันทางเพศ - สังคมเดนมาร์ก ในการท�ำงานทุกคนมีความเท่า เทียมกันทางด้านโอกาส

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 48 คน

48 คน

19 คน 34 คน 33 คน

81


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

จากตารางที่ 4-11 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า ในความ คิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นไปในแนวทางเดียวกันว่า สังคม เดนมาร์ก ไม่ว่าจะในระบบราชการหรือระบบการท�ำงานของเอกชน ไม่เน้นที่ตัวบุคคลและสายการบังคับบัญชาจนมากเกินไป ความส�ำเร็จ ขององค์กรคือ การร่วมกันท�ำงานเป็นทีม และคนเดนมาร์กมีความเป็น มืออาชีพ และมุง่ เน้นการท�ำงานเพือ่ ส่วนรวม ไม่วา่ หัวหน้าหรือลูกน้อง ต่างช่วยกันท�ำงานเพื่อความส�ำเร็จของส่วนรวม สามารถโต้แย้ง เสนอ แนะ การท�ำงานได้ ไม่คำ� นึงถึงเรือ่ งอาวุโส นอกจากนีแ้ ล้ว กลุม่ ตัวอย่าง ส่วนใหญ่ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ในระบบราชการ หรือระบบ การท�ำงานในสังคมเดนมาร์กยังให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับความเท่าเทียม กันทางเพศ และมีความเท่าเทียมกันทางด้านโอกาสอีกด้วย และมีกลุม่ ตัวอย่างส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มของข้าราชการและภาคเอกชนที่ ระบุว่า สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมการท�ำงานแบบ Flat Organization ไม่มีสายการบังคับบัญชา ไม่มีหัวโขน ท�ำงานกันเป็นทีมเป็นพี่เป็นน้อง ทั้งในเวลางานและเลิกงาน ตารางที่ 4-12 ค�ำถามที่ 11 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ การยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของพลเมือง เดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วย เพราะ - ลักษณะของสังคมเดนมาร์กเป็นสังคมแบบพหุ วัฒนธรรม ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทาง วัฒนธรรม

27

82


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

- เดนมาร์กยอมรับในความแตกต่างหลายหลาย ทางวัฒนธรรม แต่ความรู้สึกร่วมในการด�ำรงคงอยู่ 15 ของรัฐสวัสดิการ อาจส่งผลต่อความรู้สึกที่มีต่อผู้ อพยพอยู่บ้างในปัจจุบัน - การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน ปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อพยพหรือชาวต่างชาติ 6 ต้องยอมรับที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมของ เดนมาร์กด้วยเช่นกัน 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-12 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยเกีย่ วกับการยอมรับความแตกต่างหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์ก โดยให้เหตุผลส่วนใหญ่วา่ ลักษณะ ของสังคมเดนมาร์กเป็นสังคมแบบพหุวฒ ั นธรรม ยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรม รองลงมาคือ เดนมาร์กยอมรับในความแตก ต่างหลายหลายทางวัฒนธรรม แต่ความรูส้ กึ ร่วมในการด�ำรงคงอยูข่ อง รัฐสวัสดิการ อาจส่งผลต่อความรู้สึกที่มีต่อผู้อพยพอยู่บ้างในปัจจุบัน และนอกจากนั้นแล้วยังมีกลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่งมีความคิดเห็นว่า การ ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในปัจจุบันขึ้นอยู่กับการที่ผู้ อพยพหรือชาวต่างชาติ ต้องยอมรับที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคม ของเดนมาร์กด้วยเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ และท�ำงานในหน่วยงานราชการ

83


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตารางที่ 4-13 ค�ำถามที่ 12 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ การยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางเพศของพลเมืองเดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วย เพราะ - สังคมเดนมาร์กให้ความส�ำคัญ และยอมรับ ในความแตกต่างหลากหลายทางเพศ มายาวนาน 48 ดังปรากฏตัวอย่างเช่น กฎหมายการแต่งงานของ คนเพศเดียวกัน สังคมเดนมาร์กให้อิสระในการ แสดงออกทางเพศอย่างเสรี 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 14-13 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยว่า สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมที่ยอมรับความ แตกต่างหลากหลายทางเพศ โดยให้เหตุผลเพิม่ เติมทีน่ า่ สนใจว่า คุณค่า หรือความรู้สึกดังกล่าวฝังแน่นอยู่ในสังคมเดนมาร์กมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน โดยจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่เป็น LGBT กล่าว ว่า ประเทศเดนมาร์กเป็นสังคมทีเ่ ปิดกว้าง ยอมรับและเคารพสิทธิกลุม่ LGBT เป็นอย่างมาก ปรากฏในกฎหมายตั้งแต่ค.ศ.1933 ให้กิจกรรม ทางเพศของคนเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย การมีการ รับรองการอยู่กินของเพศเดียวกัน โดยสามารถท�ำการจดทะเบียนคู่ ชีวิตของคนเพศเดียวกัน ได้ตั้งแต่ค.ศ.1989 คู่รัก LGBT สามารถรับ บุตรบุญธรรมมาเลี้ยงได้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปี 1999 จนกระทั่ง ค.ศ.2012 การสมรสของคนเพศเดียวกันในเดนมาร์ก ถือเป็นสิ่งที่ชอบ ด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ในการรับราชการทหาร การท�ำงานในหน่วย 84


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

งานต่าง ๆ LGBT ได้รับอนุญาตและมีสิทธิเช่นเดียวกับทั้งผู้ชายและ ผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ต่อต้านการเลือกปฏิบัติกับ LGBT และกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับอัตลักษณ์/การ แสดงออกทางเพศ LGBT ในเดนมาร์ก สามารถเปลี่ยนเพศได้ตาม กฎหมายและรับรองโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือบ�ำบัดด้วยฮอร์โมน เป็นต้น ในส่วนของการใช้ชวี ติ ประจ�ำวันปกติของกลุม่ LGBT ส่วนใหญ่เป็นปกติ พลเมืองเดนมาร์กไม่ได้มองว่ากลุ่ม LGBT แปลกแยกหรือแตกต่าง ทุก คนยอมรับในความแตกต่างหลากหลายทางเพศ และมองเรือ่ งความรัก ว่าเป็นสิ่งสวยงาม อาจจะมีคนที่มีปฏิกริยาในเชิงลบต่อกลุ่ม LGBT อยู่ บ้าง แต่เป็นส่วนน้อยมาก ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากวัฒนธรรมอื่น ๆ ที่ แตกต่าง หรือยึดมัน่ ในอุดมการณ์แบบนีโอนาซี แต่กไ็ ม่กระทบต่อความ รู้สึกแต่อย่างใด ตารางที่ 4-14 ค�ำถามที่ 13 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ การยอมรับความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชายของพลเมือง เดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือกค�ำ ตอบจากทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วย เพราะ - สังคมเดนมาร์กให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับ การยอมรับความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและ 48 ผู้ชายเป็นอย่างมาก ทั้งปรากฏอยู่ในกฎหมาย และถูกปลูกฝังอยู่ในค่านิยมของคนเดนมาร์ก 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-14 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยว่าพลเมืองเดนมาร์กยอมรับในความเท่าเทียม กันของผูห้ ญิงและผูช้ าย เพราะสังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีช่ ายและหญิง 85


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกัน ไม่มีการปิดกั้นทางโอกาส หรือการเลือก ปฏิบัติ ทั้งในแง่ของการศึกษา การเข้ารับราชการทหาร หรือการรับ เข้าท�ำงาน ความเท่าเทียมกันถูกบรรจุไว้เป็นหลักกฎหมาย เช่น ในการ ประกาศหางานหรือเกณฑ์ในการรับคนเข้าสมัครงาน บริษัทสามารถ ระบุความรูค้ วามสามารถประสบการณ์ทเี่ หมาะกับงานได้ แต่ไม่สามารถ ที่จะแบ่งแยก เลือกรับเฉพาะเพศชายหรือหญิงไม่ได้ ตลอดจนค่านิยม เกี่ยวกับการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นสิ่งที่ปลูกฝังอยู่ใน สังคมเดนมาร์กมาเป็นระยะเวลายาวนัน้ สิทธิในการท�ำงานของสตรีใน ประเทศแถบยุโรป เดนมาร์กเป็นประเทศกลุ่มแรก ๆ ที่ให้ความส�ำคัญ กับสิ่งนี้ ประเทศเดนมาร์กได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ตื่นตัวและให้ความ ส�ำคัญกับสิทธิสตรีมากและมีกระบวนการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกัน มาอย่างช้านาน กล่าวคือ เมื่อต้นศตวรรษที่ 18 ในสมัยที่กษัตริย์แห่ง เดนมาร์กในยุคนั้นเป็นผู้มีอ�ำนาจอย่างสมบูรณ์ สตรีในขณะนั้นเป็นแค่ ชนชั้นสอง ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย จนกระทั้งเข้าศตวรรษที่ 20 ที่ สตรีเดนมาร์กได้รับสิทธิขึ้นพื้นฐานแห่งประชาธิปไตยในการออกเสียง เลือกตั้ง สิทธิสาธารณชนในการออกเสียงเลือกตั้ง (1906) และสิทธิ์ สามัญในการออกเสียง (1915) เดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ ให้โอกาสสตรีมีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้ง การมีโอกาสที่เท่าเทียม กันในสังคมเป็นประเด็นส�ำคัญทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ ครัง้ เหล่าสตรีได้เข้าสู่แรงงานการตลาดในยุค 1960 ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวิถี แห่งชีวติ ของทุกๆ วัน นอกจากนีอ้ กี ปัจจัยส�ำคัญอืน่ ๆ ซึง่ ได้แก่เสรีภาพ ในการท�ำแท้ง (1973) และการประชาสัมพันธ์เรื่องการใช้ยาคุมก�ำเนิด (1966) หรือไม่เพียงแต่เรื่องการต่อสู้เพื่ออัตราการจ้างที่เท่าเทียมกัน เท่านั้น ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนน�ำไปสู่การโต้เถียงที่ เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่องจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่น ประเด็นของความ เคลื่อนไหวของ นางชีริน คานข่าน (Sherin Khankan) อิหม่ามหญิง คนแรกของเดนมาร์ก ทีไ่ ด้สร้าง Mariam Mosque ซึง่ เป็นศาสนสถาน ที่จัดขึ้นเพื่อให้สตรีที่เป็นมุสลิมในเดนมาร์ก ได้เข้าร่วมรับฟังค�ำสอน เพราะโดยปกติจะมีเพียงมุสลิมเพศชายเท่านั้น ที่สามารถเข้าประกอบ ศาสนพิธที กุ วันศุกร์ การเคลือ่ นไหวของนางซิรนิ นี้ นอกจากจะเป็นการ 86


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

เคลือ่ นไหวเพือ่ สิทธิสตรีแล้ว ยังเป็นการช่วยบบรรเทาความเกลียดกลัว ชาวอิสลามที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอีกทางหนึ่ง กล่าวคือ การรณรงค์เรื่อง สิทธิสตรีในผู้นับถือศาสนาอิสลาม ที่โดยปกติเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ นั้น เป็นเหมือนการยอมรับที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ของสังคมวัฒนธรรม ของเดนมาร์ก ซึ่งปรากฏคุณค่าของการยอมรับความเท่าเทียมกันของ ชายและหญิง เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นเด่นชัดว่า การยอมรับ ความเท่าเทียมกันในสังคมในประเด็นเรื่องเพศของพลเมืองเมืองของ เดนมาร์ก เป็นคุณค่าที่ฝังแน่นในสังคมวัฒนธรรมเดนมาร์กอย่างแนบ แน่น และเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของเดนมาร์ก ตารางที่ 4-15 ค�ำถามที่ 14 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ การให้ความส�ำคัญกับสิทธิของคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ในพลเมืองเดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ 1. เห็นด้วย เพราะ - สังคมเดนมาร์กให้ความส�ำคัญเกีย่ วกับสิทธิ ของคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมใน พลเมืองเดนมาร์กเป็นอย่างยิง่ ทัง้ ก�ำหนดใน กฎหมาย และนโยบายทางด้านสังคมต่าง ๆ ที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของคนพิการและผู้ ด้อยโอกาสโดยเฉพาะ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ

จ�ำนวนผู้เลือกค�ำ ตอบจากทั้งหมด 48 คน 48

ไม่มีคนตอบ

จากตารางที่ 4-15 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยว่า พลเมืองเดนมาร์กเป็นพลเมืองที่ให้ความ ส�ำคัญกับสิทธิของคนพิการหรือผูด้ อ้ ยโอกาสในสังคมเป็นอย่างยิง่ ดังจะ ปรากฏอยู่ในนโยบายทางด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งได้วางกรอบแนวทาง 87


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ในการปฏิบตั หิ รือการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ไม่วา่ จะ เป็น คนพิการ ผู้มีปัญหาด้านร่างกาย สติสัมปัญญา ผู้มีอากาป่วยทาง สุขภาพร่างกาย หรือจิตใจ ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการบ�ำบัดรักษา เช่น อาการติดสุราเรื้อรัง ติดยาเสพติด โรคซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้ใน มิติที่ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกของพลเมืองที่มีต่อคนพิการก็ไม่ได้มีความ แตกต่างจากความรู้สึกที่มีต่อคนทั่วไป คนพิการมีสิทธิเสรีภาพได้ตาม ปกติ ไม่มกี ารเลือกปฏิบตั ิ มีความเท่าเทียมกันในเรือ่ งต่าง ๆ แต่ในส่วน ที่คนพิการไม่สามารถจะกระท�ำได้ตามปกติหรือเท่าเทียมกับคนปกติ สังคมเดนมาร์ก โดยรัฐก็ได้จัดสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไว้เพื่อการ ใช้ชวี ติ ทีป่ กติ ของผูพ้ กิ าร ซึง่ ทัง้ นีค้ นพิการในเดนมาร์กส่วนใหญ่กไ็ ม่ได้ รูส้ กึ ถึงความไม่เท่าเทียม สามารถใช้ชวี ติ ได้อย่างมีความสุข รัฐได้เข้ามา ดูแล ชดเชย เติมเต็มให้คนพิการ ได้อย่างสมบูรณ์และรอบด้าน ในรูป แบบของสวัสดิการสังคม ตารางที่ 4-16 ค�ำถามที่ 15 ท่านรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันที่เกิด ขึ้นในชีวิตของท่านหรือไม่ อย่างไร ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. ไม่รู้สึกเลย ทุกคนในสังคมเดนมาร์กมีความเท่า 17 เทียมกัน 2. ถึงแม้วา่ ในสังคมจะมีสถานะทางสังคมทีแ่ ตกต่าง กันไป แต่ทุกคนมีความเสมอภาค เท่าเทียมกันใน 31 ทุกมิติทางสังคม 3. รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันในบางเรื่อง แต่ ไม่มีคนตอบ ยอมรับได้ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม 88


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

4. รูส้ กึ ถึงความไม่เท่าเทียมกันในบางเรือ่ ง และเป็น ไม่มีคนตอบ เรื่องที่ยอมรับไม่ได้ 5. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-16 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มของพลเมืองในโคเปนเฮเกน และ กลุ่มที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป เชื่อว่า ในทุก ๆ สังคม รวมถึงสังคมเดนมาร์ก พลเมืองมีสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันออกไป แต่ทุกคนก็มีความ เสมอภาคกัน มีความเท่าเทียมกันในทุก ๆ มิติ ในขณะเดียวกันในกลุ่ม ของคนอายุต�่ำกว่า 30 ปี ยังคงเชื่อมันว่าพวกเขาไม่รู้สึกถึงความไม่เท่า เทียมกันในสังคมเลย เพราะนโยบายรัฐสวัสดิการที่มีอยู่ได้ดูแลทุกคน เหมือนกัน การเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ หรือสวัสดิการต่าง ๆ ก็เท่าเทียม กัน ความจนหรือความรวย ไมได้ถือว่าเป็นตัวชี้วัดว่า คนเราไม่เท่ากัน เพราะการมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ความสุขทีส่ ะท้อนออกมาจากการได้ใช้ชวี ติ ทีอ่ สิ ระ และตามความต้องการของตัวเอง สิง่ เหล่านีเ้ กิดขึน้ กับพลเมือง แทบทุกคนในเดนมาร์ก จนไม่ได้รู้สึกถึงความแตกต่างหรือแปลกแยก ลักษณะแบบวัตถุนิยมไม่เกิดขึ้นในสังคมเดนมาร์ก การเลือกใช้สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน หรือเพราะเกิดจากรายได้หรือฐานะทางเศรษฐกิจที่ แตกต่างกัน คนเดนมาร์กมองไปที่เรื่องรสนิยมมากกว่าจะมองเห้นถึง ความแตกต่าง เรื่องการอิจฉาริษยากันจึงแทบไม่มี เพราะวิถีชีวิตของ แต่ละคนมีได้หลากหลายไม่ซ�้ำกัน ไม่จ�ำเป็นต้องตามกันเสมอไป ซึ่ง มันอาจจะมาจากแนวคิดเรื่อง กฎของยานเต้ (Jante Law) ที่ปลูกฝัง ในสังคมเดนมาร์กมาอย่างยาวนาน ท�ำให้ทกุ คนในสังคมมีความถ่อมตัว และปรารถนาดีต่อผู้อื่นมากกว่าที่จะแข่งขันหรือชิงดีชิงเด่น 89


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตารางที่ 4-17 ค�ำถามที่ 16 ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร เกีย่ วกับการ เป็นสังคมทีม่ คี วามยุตธิ รรมทางสังคมและมีความโปร่งใสทีส่ ดุ ในโลก แห่งหนึ่งของเดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ 1. เห็นด้วย เพราะ - สังคมเดนมาร์ก พลเมืองมีทัศนคติที่ เป็นด้านลบต่อระบบอุปถัมภ์ และกฎหมาย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การทุ จ ริ ต ค่ อ นข้ า งรุ น แรง พลเมืองสามารถตรวจสอบความโปร่งใสของ การท�ำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่ง ในบริษัทเอกชน - พลเมืองมีความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรม รวมถึงกระบวนการทางการเมือง กระบวนการเลือกตั้ง และกลไกต่าง ๆ ซึ่ง เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยโดยเชื่อมั่น ว่าสามารถที่จะตรวจสอบได้ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ

จ�ำนวนผู้เลือกค�ำ ตอบจากทั้งหมด 48 คน

48

ไม่มีคนตอบ

จากตารางที่ 4-17 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยว่า สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมที่มีความยุติธรรม ทางสังคมและมีความโปร่งใสที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยส่วนใหญ่ให้ เหตุผลว่า ทัศนคติของคนเดนมาร์กต่อเรื่องทุจริตและระบบอุปถัมภ์ เป็นเรื่องที่ร้ายแรงและยอมรับไม่ได้ ด้วยทัศนคติหรือค่านิยมดังกล่าว ส่งผลท�ำให้กฎหมายที่เกี่ยวกับการทุจริตมีบทลงโทษที่รุนแรงมากใน สังคมเดนมาร์ก ระบบการตรวจสอบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพ ท�ำให้ระบบ 90


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ราชการหรือเอกชนมีความโปร่งใสและสามารถท�ำการตรวจสอบได้ จน ท�ำให้ประเทศเดนมาร์กได้รับยกย่องให้เป็นประเทศที่มีความโปร่งใส ที่สุดในโลก (Transparency) จากการจัดอันดับขององค์กรเพื่อความ โปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) นอกจากนี้พลเมืองเดนมาร์กยังมีความเชื่อมั่นในกระบวนการ ยุติธรรมในประเทศเป็นอย่างมาก โดยเชื่อมันว่ากระบวนการยุติธรรม เป็นกระบวนการที่ดีที่สุดที่จะน�ำผู้กระท�ำความผิดมาลงโทษได้อย่าง เป็นธรรม นอกจากนีพ้ ลเมืองเดนมาร์กยังเชือ่ มัน่ ในระบอบการปกครอง แบประชาธิปไตย เชื่อมั่นว่ากระบวนการเลือกตั้งเป็นกลไกที่จะน�ำไป สู่ความต้องการที่แท้จริงของสังคม เนื่องด้วยสังคมเป็นสังคมที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ ท�ำให้กระบวนการเลือกตั้งบริสุทธิ์และยุติธรรม และ การที่ประชาชนเชื่อมั่นในกระบวนการการเลือกตั้ง ท�ำให้การชุมนุม ทางการเมืองเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่เกิดขึ้นมากนัก เว้นแต่ใน เชิงสัญลักษณ์ แต่ก็เป็นเพียงเพื่อสะท้อนความคิดไปยังรัฐบาลเท่านั้น และพลเมืองก็จะใช้กระบวนการการเลือกตั้งในการสะท้อนความ ต้องการที่แท้จริงที่มีต่อความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลหรือชุดนโยบายต่าง ๆ ตัวอย่างที่เด่นชัดก็คือ พลเมืองเดนมาร์กมีความรู้สึกยึดมั่นในระบบรัฐ สวัสดิการของประเทศเป็นอย่างมาก ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและ กระทบต่อการด�ำรงคงอยู่หรือคุณภาพของรัฐสวัสดิการ ส่งผลต่อการ ตัดสินใจในการเลือกตั้งในครั้งต่อ ๆ ไปของพลเมือง โดยปราศจากการ ชุมนุมต่อต้าน แต่ประชาชนเลือกที่จะใช้กระบวนการการเลือกตั้งใน การตัดสินใจเลือกรัฐบาลที่มีแนวนโยบายที่ดีกว่าเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการ เป็นต้น

91


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตารางที่ 4-18 ค�ำถามที่ 17 พลเมืองเดนมาร์กมีสว่ นร่วมในการตัดสิน ใจในการบริหารบ้านเมืองมากน้อยเพียงใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. มีสว่ นร่วมในการตัดสินใจมาก จากความเข้มแข็ง 36 ของภาคประชาชน 2. มีสว่ นร่วมในการตัดสินใจมาก เนือ่ งจากอิทธิพล 48 ของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก ซึ่งส่ง ผลต่อการมีส่วนร่วมหรือก�ำหนดทิศทางนโยบาย ของรัฐบาล 3. มีสว่ นร่วมต่อเมือ่ เกิดปัญหาหรือมีผลกระทบผล ไม่มีคนตอบ ประโยชน์ของกลุ่มตนโดยตรง 4. ไม่มีส่วนร่วมเลย สิทธิเด็ดขาดอยู่ที่การตัดสิน ไม่มีคนตอบ ใจของรัฐบาล 5. มีสว่ นร่วมเฉพาะเมือ่ ไปใช้สทิ ธิออกเสียงเลือกตัง้ ไม่มีคนตอบ แต่ไม่มีส่วนก�ำหนดนโยบาย 6. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-18 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า พลเมือง เดนมาร์กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมาก ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับ ประเทศ เพราะลักษณะอัตลักษณ์ของพลเมืองเดนมาร์กประการหนึ่ง คือ การเห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวมของสังคม ท�ำให้พลเมืองต่างต้องการ การมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบายต่าง ๆ เพื่อตอบสนองคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ขี องผูค้ นในสังคม และนอกจากนีพ้ ลังของการรวมกลุม่ ของภาค 92


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประชาชนในสังคมเดนมาร์ก ยังมีบทบาทส�ำคัญมากในการขับเคลื่อน เพื่อให้ได้มาซึ่งชุดนโยบายที่เหมาะสมและตอบสนองความต้องการ ของประชาชนมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของ ประชาชนไม่ได้มีแต่เพียงมิติของการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง แต่ยังมี บทบาทในส่วนของการก�ำหนดนโยบายอย่างชัดเจน สะท้อนได้เด่นชัด คือ ใน ส่วนการปกครองส่วนท้องถิน่ ทีพ่ ลเมืองมีสว่ นร่วมในการก�ำหนด นโยบายและวางแนวทางต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ และมติเสียงข้างมาก ก็ จะปรากฏเป็นนโยบายและแนวทางที่คนในท้องถิ่นใช้ร่วมกัน ระบอบ การปกครองของเดนมาร์กมีความเปิดกว้างสูง ฝ่ายการเมืองและฝ่าย ประชาชนมีความเท่าเทียมกันในการก�ำหนดนนโยบายต่าง ๆ ตารางที่ 4-19 ค�ำถามที่ 18 ท่านอยากเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง มากน้อยเพียงใด จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. ไม่อยากเข้าไปยุง่ เกีย่ ว เนือ่ งจากมีแต่ความขัดแย้ง ไม่มีคนตอบ 2. อยากมีสว่ นร่วม แต่คดิ ว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหา ไม่มีคนตอบ ได้ เพราะส่วนใหญ่ประชาชนไม่มีอ�ำนาจในการต่อ รองหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ 3. อยากมีส่วนร่วม เพื่อร่วมก�ำหนดนโยบายใน 48 การน�ำมาใช้กับพลเมืองในประเทศ 4. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-19 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนล้วนอยากมีส่วนร่วมทางการเมือง เพื่อร่วมก�ำหนด นโยบายเพื่อน�ำมาใช้กับพลเมืองในประเทศ ถึงแม้ในปัจจุบันพลเมือง 93


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

เดนมาร์กจะมุ่งเน้นไปมีส่วนร่วมกันในภาคสังคมอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับการเมืองโดยตรง แต่วถิ ที างทางการเมืองก็ยงั มีบทบาทส�ำคัญทีก่ ลุม่ ตัวอย่างเชือ่ ว่าจะสามารถก�ำหนดนโยบายภาพรวมของประเทศได้ โดย กลุ่มตัวอย่างมองว่า การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่ถือเป็นการ เข้าไปก้าวก่ายการท�ำงานของรัฐบาล หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งแต่ อย่างใด เพราะสังคมเดนมาร์กเป็นสังคมที่ยอมรับความคิดเห็นของกัน และกัน และเห็นแก่ประโยชน์สว่ นรวมเป็นส�ำคัญ การมีสว่ นร่วมทางการ เมืองในระดับต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งปกติธรรมดาของสังคมเดนมาร์ก

ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกีย่ วกับความเป็นปัจเจกนิยมและกลุม่ นิยมในสังคมเดนมาร์ก ตารางที่ 4-20 ค�ำถามที่ 19 ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับบุคคล ภายในครอบครัว เป็นเช่นไร ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. บุคคลในครอบครัวมีความใกล้ชิดกัน สนิทสนม 41 ให้อิสระทางความคิด ไม่เน้นครอบง�ำ 2. บุคคลในครอบครัวอยูก่ นั แบบต่างคนต่างอยู่ รับ ไม่มีคนตอบ ผิดชอบตามหน้าที่ และสถานะทางสังคม 3. บุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์อนั ดีตอ่ กันใน 7 ลักษณะของความสัมพันธ์ทางสายเลือด 4. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-20 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มองเรือ่ งความสัมพันธ์ภายในครอบครัวของตนเองว่า 94


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เพราะการสร้างสมดุลระหว่าง งานกับครอบครัว ท�ำให้ครอบครัวมีเวลาที่จะท�ำกิจกรรมร่วมกันในทุก ๆ วัน โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวชาว เดนมาร์ก จะได้ใช้ชีวิตแบบปรัชญาฮุกกะ ที่เป็นการซึมซับจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านบทบาทของครอบครัว เป็นเข็มทิศแห่งความสุขในแบบเฉพาะของ ชาวเดนมาร์ก ที่กลายเป็นลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ของเดนมาร์ก ความใกล้ชิดมีทั้งลักษณะของความเป็นคอบครัวทาง สายเลือดและครอบครัวในแง่อื่น ๆ เช่น เพื่อนบ้าน เพื่อนที่สนิทสนม กันจากการรวมกลุม่ ทางสังคมในมิตติ า่ ง ๆ โดยครอบครัวมีลกั ษณะของ การให้อิสระแก่กัน ในการคิด ในการใช้ชีวิต ผู้ใหญ่ไม่เน้นการครอบง�ำ ลูก ทุกคนต่างรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้บทบาท ไม่ใช้ความสัมพันธ์ที่ สนิทสนม หรือความสัมพันธ์ทางครอบครัว ในการแสวงหาประโยชน์ หรือกระท�ำการใด ๆ ในแง่ของระบบอุปถัมภ์ ตารางที่ 4-21 ค�ำถามที่ 20 ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้าน เป็นเช่นไร จ�ำนวนผู้เลือกค�ำ ประเด็นค�ำตอบ ตอบจากทั้งหมด 48 คน 1. มีความสนิมสนมแน่นแฟ้นกันดี เปรียบเสมือน 37 พี่น้องสายเลือดเดียวกัน 2. มี ทั้ ง ที่ ส นิ ท สนมและไม่ ไ ด้ ส นิ ท สนม แต่ 11 สามารถอยู่ร่วมกันได้ 3. ไม่ชอบคบหากับใคร ชอบอยู่คนเดียว ไม่มีคนตอบ 4. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-21 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฎว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่ มีทศั นคติเกีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุม่ ตัวอย่าง 95


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

กับ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน และเพื่อนบ้าน โดยมองว่าความสัมพันธ์นั้นมี ความสนิทสนมแน่นแฟ้นกันดีมาก มีการพึง่ พากัน ช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน มีความจริงใจต่อการ ทาให้ความสัมพันธ์นั้นเปรียบเสมือนญาติพี่น้อง ที่มีสายเลือดเดียวกัน มีเพียงกลุ่มตัวอย่างบางส่วน โดยเฉพาะในกลุ่ม นักศึกษา มองว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเพือ่ นในมิตติ า่ ง ๆ นัน้ ย่อมมีทงั้ ทีส่ นิทสนม และไม่ได้สนิทสนม แต่อย่างไรก็ตามก็สามารถอยูร่ ว่ มกันได้ เพราะในสังคมเดนมาร์ก ทุก ๆ คน ก็เปรียบเสมือนพี่น้องกัน ทุกคนก็ ปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข มีชีวิตที่ดี แม้จะไม่ได้สนิทสนมกัน หรือ ไม่ได้รู้จักเลยก็ตาม ตารางที่ 4-22 ค�ำถามที่ 21 ความสัมพันธ์ส่วนตัวมีส่วนส�ำคัญหรือ ไม่อย่างไร ต่อการท�ำงาน หรือการตัดสินใจอะไรบ้างอย่างในสังคม อาทิ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. ความสัมพันธ์สว่ นตัวไม่มผี ล โอกาสต่าง ๆ ทุกคน ต้องเท่าเทียมกัน และมีความเป็นมืออาชีพในการ 44 ท�ำงาน ไม่มีผลต่อการตัดสินใจอะไร 2. สังคมเดนมาร์ก ไม่มีระบบอุปถัมภ์ 36 3. ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่มีผลต่อการตัดสินใจทุก 48 อย่างอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล 4. ความสัมพันธ์ส่วนตัวมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อ ไม่มีคนตอบ การท�ำงานและการตัดสินใจอะไรบางอย่างในสังคม 5. ประโยชน์ส่วนรวมมีความส�ำคัญมากกว่าความ 48 สัมพันธ์ส่วนตัว 96


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประเด็นค�ำตอบ 6. อื่น ๆ - สังคมเดนมาร์กยึดหลัก Christian Cultural Heritage ให้ความส�ำคัญกับงาน มาก่อนความ สัมพันธ์ส่วนตัว - ในการเลือกตั้ง ดูที่นโยบายกับผลงานมากกว่า ความชอบส่วนตัว

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 43 31

จากตารางที่ 4-22 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ว่า การท�ำงานต้องมีความเป็นมืออาชีพ ความสั ม พั น ธ์ ส ่ ว นตั ว ไม่ มี ผ ลใด ๆ ต่ อ การท� ำ งาน ทุ ก คนมี ค วาม เท่าเทียมกัน ทั้งทางด้านโอกาสในการเข้าท�ำงาน หรือลักษณะการ ท�ำงานร่วมกัน ดังนั้นอิทธิพลของความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่มีต่อการ ท�ำงาน หรือการตัดสินใจอะไรบางอย่างในสังคม หรือระบบอุปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างจึงเชื่อว่าไม่มีเกิดขึ้นในสังคมเดนมาร์ก นอกจากนี้แล้ว กลุ่มตัวอย่างทุกคนยังเห็นด้วยว่า ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่มีผลต่อการ ตัดสินใจใด ๆ ทุกอย่างอยูบ่ นพืน้ ฐานของเหตุและผล พลเมืองเดนมาร์ก ค�ำนึงถึงความส�ำคัญของประโยชน์สว่ นรวม มากกว่าความสัมพันธ์สว่ น ตัว นอกจากนี้แล้วกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังแสดงทัศนคติเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน คือ กลุ่มตัวอย่างกล่างถึงสภาพสังคมเดนมาร์กที่ยึด หลัก Christian Cultural Heritage ซึ่งให้ความส�ำคัญกับงาน มาก่อน ความสัมพันธ์ส่วนตัว อันเป็นคุณค่าที่ส�ำคัญที่แสดงออกถึงตัวตนความ เป็นคนเดนมาร์ก นอกจากนี้เมื่อพูดถึงในมิติของการเมือง การเลือกตั้ง ประชาชนจะดูทนี่ โยบายของพรรคการเมืองมากกว่าความนิยมชมชอบ หรือศรัทธาในตัวหัวหน้าพรรคการเมือง ตัวพรรคการเมือง หรือความ 97


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ชอบส่วนตัว ความสัมพันธ์ส่วนตัว การเลือกตั้งไม่ใช่เรื่องของรสนิยม แต่เป็นเรื่องของการเลือกสิ่งทีดีที่สุด มีแนวนโยบายและผลงานที่ตอบ สนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง อันจะน�ำมาซึ่งชัยชนะ ในการเลือกตั้งในที่สุด ตารางที่ 4-23 ค�ำถามที่ 22 ในสังคมเดนมาร์ก ท่านมีอิสระมาก น้อยเพียงใดในการคิดและการแสดงออกถึงทัศนคติหรือความเห็น ของท่าน จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. มีอิสระมาก 48 2. มีอิสระอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อจ�ำกัดในการแสดงออก ไม่มีคนตอบ เพราะ 3. ไม่มีอิสระ ไม่มีคนตอบ 4. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-23 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทัง้ หมดรูส้ กึ ถึงความมีอสิ ระในการแสดงความคิด แสดงทัศนคติ ในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากลักษณะนิสัยของคน เดนมาร์ก ที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ให้ความส�ำคัญกับสังคมมาก่อนเรื่อง ส่วนตัว ดังนั้นสังคมเดนมาร์กจึงเปิดกว้าง ให้ประชาชนได้แสดงความ คิดเห็น ได้แสดงทัศนคติ มีการถกเถียงด้วยเหตุและผลการได้อย่างเสรี มีการวิพากษ์วิจารณ์กันได้อย่างมืออาชีพ ไม่ถือโทษโกรธ หรือมีพลัง อ�ำนาจค่อยกดดันท�ำให้โอกาสในการแสดงความคิดเห็นหรือทัศนคติ เกิดขึ้นได้อย่างล�ำบาก หรือส่งผลในด้านลบตามมา การท�ำงานที่ไม่มี สายการบังคับบัญชา แต่เป็นการท�ำงานเป็นทีมทัง้ ในองค์กรภาครัฐ หรือ 98


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ภาคเอกชนของ ซึง่ การท�ำงานเป็นทีมน�ำมาซึง่ การแลกเปลีย่ นความคิด เห็นกันได้อย่างเต็มที่ ทุกคนในองค์กรพร้อมที่จะเสนอแนวคิด วิพากษ์ วิจารณ์ ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม และความ ส�ำเร็จของการท�ำงาน ตารางที่ 4-24 ค�ำถามที่ 23 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ ค�ำกล่าวที่ว่า “สังคมเดนมาร์ก เป็นสังคมที่เปิดกว้างและเสรี” ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วยอย่างยิ่ง - สังคมเดนมาร์ก เป็นสังคมที่เปิดกว้าง พลเมือง มีอิสระเสรีอย่างไม่มีขอบเขต โดยไม่จ�ำเป็นที่รัฐจะ ต้องเข้ามาบังคับ มีพื้นที่ไว้ส�ำหรับการสร้างสรรค์ 48 ศิลปะต่าง ๆ มีพื้นที่ที่ให้พลเมืองที่มีความชอบ เหมือนกัน ได้รวมกลุ่ม ไม่ปิดกั้นจินตนาการต่าง ๆ ของเด็ก ๆ มีพื้นที่ส�ำหรับกลุ่มคนที่เสพกัญชาได้ อย่างเสรี เป็นสังคมที่สามารถแสดงออกเรื่องเพศ ได้อย่างเสรี 2. ไม่เห็นด้วย ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-24 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทั้งหมดเห็นด้วยอย่างยิ่งกับค�ำกล่าวที่ว่าสังคมเดนมาร์ก เป็น สังคมที่เปิดกว้างและพลเมืองมีอิสระเสรี โดยต่างให้เหตุผลไปใน แนวทางเดียวกันว่า สังคมทีเ่ ปิดกว้างของเดนมาร์กคือ การทีพ่ ลเมืองมี อิสระเสรีอย่างไม่มีขอบเขต แต่ก็อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย มีความ เป็นอิสระโดยไม่จ�ำเป็นที่รัฐจะต้องเข้ามาบังคับ มีพื้นที่ไว้ส�ำหรับการ 99


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

สร้างสรรค์ศิลปะต่าง ๆ มีพื้นที่ที่ให้พลเมืองที่มีความชอบเหมือนกันได้ รวมกลุ่ม ไม่มีปิดกั้นจินตนาการต่าง ๆ ของเด็ก ๆ มีพื้นที่ส�ำหรับกลุ่ม คนที่เสพกัญชาได้อย่างเสรี เป็นสังคมที่สามารถแสดงออกเรื่องเพศได้ อย่างเสรี ตารางที่ 4-25 ค�ำถามที่ 24 ท่านคิดว่าลักษณะนิสัยของท่านเป็น เช่นไร ประเด็นค�ำตอบ 1. เป็นคนง่าย ๆ ไม่มีพิธีรีตอง 2. เป็นตัวของตัวเอง 3. มีน�้ำใจ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น 4. จริงใจ 5. ใจกว้าง 6. ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น 7. รักความยุติธรรม 8. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 9. รักครอบครัว

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 46 45 44 43 41 39 23 21 13

จากตารางที่ 4-25 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มองลักษณะนิสยั ของตนเองว่า มีความเป็นตัวของตัว เอง เป็นคนง่าย ๆ ไม่มพี ธิ รี ตี อง มีนำ�้ ใจช่วยเหลือผูอ้ นื่ มีความจริงใจต่อ ทุกคน มีความใจกว้างชอบช่วยเหลือผู้อื่น เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รักความ 100


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ยุติธรรมถูกต้อง รักความเท่าเทียมกัน รักครอบครัว ตารางที่ 4-26 ค�ำถามที่ 25 ในทัศนคติของท่าน ท่านเห็นด้วยหรือ ไม่ อย่างไร เกีย่ วกับค�ำกล่าวทีว่ า่ “พลเมืองเดนมาร์กมีความสัมพันธ์ กันแน่นแฟ้นเหมือนพี่น้อง” ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วยอย่างยิ่ง - เพราะสังคมเดนมาร์ก เป็นสังคมทีเ่ ชือ่ มัน่ ในกัน และกัน ช่วยเหลือกัน งานอาสาสมัครคือ งานที่ทุก 48 คน ยินดีและพร้อมใจที่จะท�ำ พลเมืองเดนมาร์กจึง ใกล้ชดิ แน่นแฟ้นกัน ไม่ใช่แต่เพียงภายในครอบครัว แต่หมายความรวมถึง เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หรือพลเมืองทั่วไปที่อยู่ในสังคมเดียวกัน แม้จะไม่ ได้รู้จักกันมาก่อนก็ตาม 2. ไม่เห็นด้วย ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-26 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยกับค�ำกล่าวที่ว่า “พลเมืองเดนมาร์กมีความ สัมพันธ์กันแน่นแฟ้นเหมือนพี่น้อง” โดยให้เหตุผลที่สอดคล้องตรงกัน ว่า เพราะสังคมเดนมาร์ก เป็นสังคมที่เชื่อมั่นในกันและกัน ช่วยเหลือ กัน งานอาสาสมัครคือ งานที่ทุกคนยินดีและพร้อมใจที่จะท�ำ พลเมือง เดนมาร์กจึงใกล้ชิดแน่นแฟ้นกัน ไม่ใช่แต่เพียงภายในครอบครัว แต่ หมายความรวมถึง เพือ่ นบ้าน เพือ่ นร่วมงาน หรือพลเมืองทัว่ ไปทีอ่ ยูใ่ น สังคมเดียวกัน แม้จะไม่ได้รจู้ กั กันมาก่อนก็ตาม แม้ในปัจจุบนั เดนมาร์ก จะถูกมองว่า ไม่เป็นมิตรต่อชาวต่างชาติ สืบเนื่องมาจากชัยชนะของ 101


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

พรรคการเมืองฝ่ายขวา แต่ความเป็นจริงในสังคม พลเมืองเดนมาร์ก็ ไม่ได้มีความรู้สึกในแง่ลบกับชาวต่างชาติมากเหมือนกับที่สื่อต่างชาติ น�ำเสนอ ตารางที่ 4-27 ค�ำถามที่ 26 ในทัศนคติของท่าน ท่านเห็นด้วยหรือ ไม่ อย่างไร เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าสังคมเดนมาร์กมีลักษณะของการ ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันและการเคารพเสียงใหญ่ ซึ่งเป็น สิ่งที่พลเมืองเดนมาร์กยึดถือร่วมกัน ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 48

1. เห็นด้วยอย่างยิ่ง - เพราะสังคมเดนมาร์ก ไม่เชื่อว่าความคิดของ ใครจะเป็นความคิดที่ดีที่สุด จนกว่าจะผ่านการคิด วิเคราะห์ ถกเถียง อธิบายเหตุและผล จนน�ำมาสู่ การยอมรับ ทุกคนในสังคมจะเคารพความคิดซึ่ง กันและกัน แม้จะเชื่อมั่นในเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ ละเลยที่จะฟังเสียงส่วนน้อย การวิพากษ์วิจารณ์ กันด้วยเหตุและผล เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในสังคม เดนมาร์กทุก ๆ ระดับ 2. ไม่เห็นด้วย ไม่มีคนตอบ

จากตารางที่ 4-27 ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า กลุม่ ตัวอย่างทุก คนเห็นด้วยกับประเด็นที่ว่าสังคมเดนมาร์ก มีลักษณะของการยอมรับ ความคิดเห็นซึง่ กันและกันและการเคารพเสียงใหญ่ ซึง่ เป็นสิง่ ทีพ่ ลเมือง เดนมาร์กยึดถือร่วมกัน โดยให้เหตุผลสอดคล้องและตรงกันเป็นส่วน ใหญ่ว่า สังคมเดนมาร์กไม่เชื่อว่าความคิดของใครจะเป็นความคิดที่ดี 102


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ที่สุด จนกว่าจะผ่านการคิด วิเคราะห์ ถกเถียง อธิบายเหตุและผล จน น�ำมาสู่การยอมรับ ทุกคนในสังคมจะเคารพความคิดซึ่งกันและกัน แม้ จะเชื่อมั่นในเสียงส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ละเลยที่จะฟังเสียงส่วนน้อย การ วิพากษ์วจิ ารณ์กนั ด้วยเหตุและผล เป็นสิง่ ทีย่ อมรับได้ในสังคมเดนมาร์ก ทุก ๆ ระดับ

ส่วนที่ 5 ความคิดเห็นเกีย่ วกับ นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ตารางที่ 4-28 ค�ำถามที่ 27 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการที่ ประเทศเดนมาร์กได้ชอื่ ว่าเป็นประเทศทีม่ รี ะบบรัฐสวัสดิการทีด่ ที สี่ ดุ แห่งหนึ่งของโลก ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. เห็นด้วย - เชื่อว่า รัฐสวัสดิการของประเทศในกลุ่มสแกน 48 ดิเนเวียหรือนอร์ดิก เป็นรูปแบบโครงสร้างของรัฐ สวัสดิการที่ดีที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ได้ สมบูรณ์แบบทุกอย่าง มีจดุ อ่อนอยูบ่ า้ ง แต่กเ็ ป็นรัฐ สวัสดิการในแบบของเดนมาร์กที่เราภูมิใจ 2. ไม่เห็นด้วย ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-28 ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่าง ทุกคนเห็นด้วยว่า เดนมาร์กได้ชอื่ ว่าเป็นประเทศทีม่ รี ะบบรัฐสวัสดิการ ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยให้เหตุผลสอดคล้องและตรงกันเป็นส่วน ใหญ่ว่า รัฐสวัสดิการของเดนมาร์กและหมายความรวมถึงรัฐสวัสดิการ ในแถบสแกนดิเนเวียและนอร์ดิก 103


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

มีรูปแบบโครงสร้างของรัฐสวัสดิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ท�ำให้ สังคมของเดนมาร์กพลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่พลเมืองไม่มาก และมีภูมประเทศขนาดเล็กท�ำให้เดนมาร์กสามารถที่จะบริหารจัดการ รูปแบบของรัฐสวัสดิการในแบบฉบับของตัวเองได้ มีความยืดหยุ่น แต่ ในความรู้สึกแล้ว แม้รัฐสวัสดิการเดนมาร์กก็อาจจะดูมีจุดอ่อนอยู่บ้าง แต่ก็อยู่ที่การปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ตารางที่ 4-29 ค�ำถามที่ 28 ในทัศนคติของท่าน ท่านคิดว่าปัจจัย อะไร ที่ส่งผลต่อความส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ประเด็นค�ำตอบ 1. รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและรักษา คุณภาพของรัฐสวัสดิการอยู่โดยตลอด 2. มีระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ท�ำให้ มีงบประมาณเพียงพอต่อการด�ำเนินนโยบายรัฐ สวัสดิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เดนมาร์กมีลกั ษณะโครงสร้างของรัฐสวัสดิการที่ มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงท�ำให้มีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพในการด�ำเนินงาน และได้รับ ความร่วมมือจากประชาชนส่วนใหญ่

104

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 40 38

45


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ประเด็นค�ำตอบ 4. รั ฐ สวั ส ดิ ก ารเป็ น พื้ น ฐานในการใช้ ชี วิ ต ของ พลเมืองเดนมาร์กมาเป็นระยะเวลายาวนาน และ มี ส ่ ว นต่ อ กระบวนการสร้ า งชาติ ใ นอดี ต ท� ำ ให้ พลเมืองรู้สึกหวงแหน และร่วมกันต่อสู้ ผลักดันให้ รัฐสวัสดิการด�ำรงคงอยู่ ยอมสละประโยชน์สว่ นตัว เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม 5. พลเมื อ งเดนมาร์ ก มี ส ่ ว นร่ ว มในการก� ำ หนด นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก และนโยบายบาย ส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นฐาน ซึ่ง สอดคล้ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต และลั ก ษณะนิ สั ย ของคน เดนมาร์ก 6. อื่น ๆ - ขนาดของประเทศที่เล็ก ประชากรไม่มาก ง่าย ต่อการบริหารจัดการ - มีระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

46

42

40 34

จากตารางที่ 4-29 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า ผลส�ำเร็จของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก เกิดขึ้น เพราะรัฐสวัสดิการเดนมาร์กเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตของพลเมือง เดนมาร์กมาเป็นระยะเวลายาวนาน และมีส่วนต่อกระบวนการสร้าง ชาติในอดีต ท�ำให้พลเมืองรูส้ กึ หวงแหน และร่วมกันต่อสู้ ผลักดันให้รฐั สวัสดิการด�ำรงคงอยู่ ยอมสละประโยชน์สว่ นตัวเพือ่ รักษาผลประโยชน์ ส่วนรวม นอกจากนี้ เดนมาร์กมีลกั ษณะโครงสร้างของรัฐสวัสดิการทีม่ ี 105


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงท�ำให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพใน การด�ำเนินงาน และได้รบั ความร่วมมือจากประชาชนส่วนใหญ่ พลเมือง เดนมาร์กมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก และ นโยบายบายส่วนใหญ่กเ็ กิดขึน้ จากความต้องการพืน้ ฐาน ซึง่ สอดคล้อง กับวิถีชีวิต และลักษณะนิสัยของคนเดนมาร์ก นอกจากนี้การที่รัฐบาล ให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและรักษาคุณภาพของรัฐสวัสดิการอยู่ โดยตลอด รวมถึงมีระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ท�ำให้มี งบประมาณเพียงพอต่อการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ส่งผลต่อความส�ำเร็จ ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก นอกจากนี้ในทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังให้ค�ำตอบ ที่นอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น โดยมองว่า ขนาดภูมิประเทศที่ เล็กของเดนมาร์ก และการมีพลเมืองที่ไม่มากจนเกินไป ท�ำให้ง่ายต่อ การบริหารจัดการ ประกอบกับมีระบบเศรษฐกิจที่ร�่ำรวยและเข้มแข็ง ก็เป็นปัจจัยส�ำคัญที่กลุ่มตัวอย่างกล่าวถึง ตารางที่ 4-30 ค�ำถามที่ 29 ในทัศนคติของท่านคิดว่า ข้อดีของการ มีรัฐสวัสดิการในประเทศเดนมาร์กคืออะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. ท�ำให้ผู้คนในสังคมทุกคน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้ง 48 ในแง่ของการด�ำเนินชีวิตและสภาพแวดล้อม 2. ลดช่องว่างความเหลื่อมล�้ำในสังคม 39 106


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 3. ท�ำให้สถาบันครอบครัวมีความแน่นแฟ้น ผู้คนมี 38 เวลาให้กัน มีเวลาท�ำกิจกรรมร่วมกัน 4. ท� ำ ให้ พ ลเมื อ งมี สุ ข ภาพพลานามั ย ที่ แ ข็ ง แรง 32 สุขภาพจิตดี 5. ท� ำ ให้ ชี วิ ต มี อิ ส ระในการคิ ด เลื อ ก ตั ด สิ น ใจ 41 โดยไม่ติดอยู่กับกรอบทางสังคม เศรษฐกิจ หรือ การเมือง 6. เป็นศูนย์รวมจิตใจของพลเมือง ก่อให้เกิดความ 46 สามัคคีและความแน่นแฟ้นของคนในสังคม 7. อื่น ๆ ไม่มีคนตอบ จากตารางที่ 4-30 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า ข้อดีของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก คือ ท�ำให้ผคู้ น ในสังคมทุกคน มีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ทัง้ ในแง่ของการด�ำเนินชีวติ และสภาพ แวดล้อม เป็นศูนย์รวมจิตใจของพลเมือง ก่อให้เกิดความสามัคคีและ ความแน่นแฟ้นของคนในสังคม ท�ำให้ชวี ติ มีอสิ ระในการคิด เลือก ตัดสิน ใจ โดยไม่ติดอยู่กับกรอบทางสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง ลดช่อง ว่างความเหลือ่ มล�ำ้ ในสังคม ท�ำให้สถานบันครอบครัวมีความแน่นแฟ้น ผูค้ นมีเวลาให้กนั มีเวลาท�ำกิจกรรมร่วมกัน และท�ำให้พลเมืองมีสขุ ภาพ พลานามัยที่แข็งแรง สุขภาพจิตดี

107


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ตารางที่ 4-31 ค�ำถามที่ 30 ท่านมีสว่ นร่วมในการสนับสนุนนโยบาย รัฐสวัสดิการในเรื่องใด หรือในแง่ใดบ้าง จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ประเด็นค�ำตอบ ทั้งหมด 48 คน 1. การเลือกตั้ง 48 2. ปลูกฝังคนรุน่ ใหม่ ให้เข้าใจถึงประโยชน์และการ 43 ด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการ 3. การเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการก�ำหนด 32 นโยบายของรัฐในระดับต่าง ๆ 4. การจั ด กิ จ กรรมหรื อ การแสดงออกในเชิ ง 9 สัญลักษณ์ จากตารางที่ 4-31 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบายรัฐสวัสดิการ โดย การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองที่มีนโย บายรักษาคุณภาพของรัฐสวัสดิการ หรือมีแนวโน้มในการบริหารจัดการ ให้รฐั สวัสดิการยังด�ำรงคงอยู่ และมีความเหมาะสมกับสถานการณ์โลก ที่เปลี่ยนแปลงไป ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่ปลูกฝังคนรุ่น ใหม่ให้เข้าใจถึงประโยชน์และการด�ำรงคงอยูข่ องรัฐสวัสดิการ นอกจาก นี้กลุ่มตัวอย่างยังเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการก�ำหนดนโยบายของ รัฐ ในระดับต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษายังเคยมี ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมหรือการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อ ต่อต้านรัฐบาลอย่างสันติ เมื่อครั้งรัฐบาลของ นายรัสมุสเซิน และนาง ชมิดท์ จะตัดงบประมาณในส่วนของนโยบายรัฐสวัสดิการ เป็นต้น 108


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ตารางที่ 4-32 ค�ำถามที่ 31 ท่านคิดว่าวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐ สวัสดิการเดนมาร์กในเรือ่ งต่าง ๆ สอดคล้องกับแนวคิดหรือทัศนคติ ของท่านหรือไม่ อย่างไร ประเด็นค�ำตอบ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน

1. สอดคล้องเป็นส่วนใหญ่ - นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก มุ่งเน้นให้ พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี 48 - ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม - ท�ำให้เราสามารถสร้างสมดุลระหว่างการท�ำงาน กับการใช้ชีวิตกับครอบครัวได้ 2. ไม่สอดคล้องเลย ไม่มีคนตอบ 3. ไม่สอดคล้องเป็นบางส่วน - นโยบายรัฐสวัสดิการกับผู้อพยพ รัฐบาลเข้ม 13 งวดเกินไป จากตารางที่ 4-32 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตั ว อย่ า งส่ ว นใหญ่ ต อบว่ า วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องนโยบายรั ฐ สวั ส ดิ ก าร เดนมาร์กในเรื่องต่าง ๆ สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขา ซึ่ง ค�ำตอบส่วนใหญ่สอดคล้องในแง่ทวี่ า่ นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมุง่ เน้นให้พลเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี ก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม รัฐสวัสดิการท�ำให้เราสามารถบริหารจัดการชีวติ ได้อย่างสมดุลระหว่าง การท�ำงานกับการใช้ชีวิตกับครอบครัวได้ นอกจากนี้แล้วกลุ่มตัวอย่าง บางส่วนโดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษามองว่า นโยบายรัฐสวัสดิการ 109


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

เดนมาร์กไม่สอดคล้องบางส่วน โดยเฉพาะนโยบายรัฐสวัสดิการกับผู้ อพยพ รัฐบาลเข้มงวดเกินไป ตารางที่ 4-33 ค�ำถามที่ 32 ท่านคิดว่าประโยชน์ และคุณค่าในแง่ ใดของนโยบายรัฐสวัสดิการคือ เหตุผลทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทีท่ ำ� ให้ทา่ นเชือ่ ว่า รัฐสวัสดิการยังคงมีความจ�ำเป็นต่อสังคมเดนมาร์ก ประเด็นค�ำตอบ 1. นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก มุ่งเน้นให้ทุกคน ทีอ่ าศัยอยูบ่ นพืน้ แผ่นดินเดนมาร์กมีความสุขในการ ใช้ชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนกันทุกคน 2. พื้ น ฐานของนโยบายรั ฐ สวั ส ดิ ก ารเดนมาร์ ก ต้องการเห็นความเทียมเท่ากันในสังคม ซึ่งมีความ ส�ำคัญที่ท�ำให้สังคมเดนมาร์กมีความสงบสุข 3. นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กเกิดขึ้นจากการ มีส่วนร่วมของประชาชน ท�ำให้ลักษณะ คุณค่า ที่ ปรากฏในนโยบายจึงมีพื้นฐานมาจากลักษณะทาง วัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์ก 4. ลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรมเดนมาร์ก ส่งผลให้นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีลักษณะ เฉพาะพิเศษ ซึ่งสะท้อนตัวตน และอธิบาย ความ เป็นคนเดนมาร์กได้เป็นอย่างดี 5. อื่น ๆ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 48 48

48

48

จากตารางที่ 4-33 ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างทุกคนเห็นว่า ประโยชน์และคุณค่าของรัฐสวัสดิการ คือ 110


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก มุ่งเน้นให้ทุกคนที่อาศัยอยู่บนพื้น แผ่นดินเดนมาร์กมีความสุขในการใช้ชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือน กันทุกคน ต้องการเห็นความเทียมเท่ากันในสังคม ซึ่งมีความส�ำคัญที่ ท�ำให้สังคมเดนมาร์กมีความสงบสุข และมองว่านโยบายรัฐสวัสดิการ เดนมาร์กเกิดขึน้ จากการมีสว่ นร่วมของประชาชน ท�ำให้ลกั ษณะ คุณค่า ที่ปรากฏในนโยบายจึงมีพื้นฐานมาจากลักษณะทางวัฒนธรรมของ พลเมืองเดนมาร์ก และนอกจากนี้ลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรม เดนมาร์ก ส่งผลให้นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีลกั ษณะเฉพาะพิเศษ ซึง่ สะท้อนตัวตนและอธิบายความเป็นคนเดนมาร์กได้เป็นอย่างดี ซึง่ สิง่ เหล่านี้ คือความคิดเห็นร่วมของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีต่อประโยชน์ และคุณค่าที่รัฐสวัสดิการต้องด�ำรงคงอยู่ในสังคมเดนมาร์ก ตารางที่ 4-34 ค�ำถามที่ 33 นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กเรื่องใด ทีท่ า่ นคิดว่าคือจุดเด่นของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก และเป็นนโยบายที่ ตอบสนองความต้องการของท่านที่สุด เพราะเหตุใด ประเด็นค�ำตอบ 1. นโยบายที่เกี่ยวกับแรงงาน 2. นโยบายทางด้านการศึกษา 3. นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ 4. นโยบายเกี่ยวกับสุขภาพ

จ�ำนวนผู้เลือก ค�ำตอบจาก ทั้งหมด 48 คน 38 37 22 21

จากตารางที่ 4-34 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏว่า กลุ่ม ตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่า นโยบายสวัสดิการที่เกี่ยวกับการแรงงานและ ทางด้านการศึกษา คือจุดเด่นของรูปแบบรัฐสวัสดิการของเดนมาร์ก กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างมองว่า นโยบายสวัสดิการที่เกี่ยวกับแรงงาน 111


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

การจ้างแรงงาน มีความยืดหยุ่นและสมเหตุสมผล ท�ำให้พลเมืองในวัย ท�ำงานรู้สึกถึงความมั่นคงในชีวิต และสามารถสร้างสมดุลระหว่างการ ท�ำงานกับการใช้ชีวิตครอบครัวได้เป็นอย่างดี นายจ้างมีความยืดหยุ่น ที่จะจ้างหรือไม่จ้างแรงงาน รัฐเข้ามาช่วยดูแลผู้ว่างงาน ในระหว่าง รอที่จะเปลี่ยนงานใหม่ โดยคนเดนมาร์กเองก็ไมได้ยึดติดกับต�ำแหน่ง หน้าที่ หรือต้องท�ำงานที่เดิมไปตลอดชีวิต คนเดนมาร์กยอมรับความ เปลี่ยนแปลงได้ และมองว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นถือเป็นการเปิด ประสบการณ์ใหม่ๆ ของชีวิต ความยืดหยุ่นของนโยบายก็เป็นผลมา จากลักษณะนิสัยของคนเดนมาร์กที่มีความยืดหยุ่น ไม่ยึดติด ด้วยเช่น กัน นอกจากนีก้ ลุม่ ตัวอย่างบางส่วน โดยเฉพาะกลุม่ ตัวอย่างต่างจังหวัด ยังมองว่า นโยบายในการดูแลผุ้สูงอายุและนโยบายทางด้านสุขภาพ ก็ เป็นจุดเด่นส�ำคัญเช่นกันของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ซึง่ จากข้อ สรุปของกลุ่มตัวอย่างทุก ๆ กลุ่มแล้ว นโยบายสวัสดิการสังคมในภาพ รวมทุก ๆ ด้านของเดนมาร์กในทัศนคติของพวกเขา ถือเป็นจุดแข็งและ จุดเด่นของรัฐสวัสดิการที่พวกเขาภูมิใจ

112


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

113


บทที่ 5

สรุปผลการวิจัย


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

สรุปผลการวิจัย ในการศึกษาเรื่อง “ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม ที่มีผลต่อความ ส�ำเร็จในการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก” โดยท�ำการศึกษา กลุ่มตัวอย่างพลเมืองในประเทศเดนมาร์ก จ�ำนวน 48 คน โดยใช้ เกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่ของกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 พื้นที่ เพื่อให้ได้ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวง (เมืองโคเปนเฮเกน) จ�ำนวน 24 คน และเพือ่ ให้ได้ขอ้ มุลจากกลุม่ ตัวอย่างทีอ่ าศัยอยูใ่ นชนบท (เมืองฮอร์เซนส์) จ�ำนวน 24 คน ทั้งนี้ในแต่ละพื้นที่ผู้วิจัยได้เลือก กลุ่มตัวอย่าง จากกลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ข้าราชการ กลุ่ม ที่ 2 ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม กลุ่มที่ 3 ผู้ประกอบอาชีพในภาค อุตสาหกรรมและบริการ และกลุ่มที่ 4 นักศึกษา โดยใช้การสัมภาษณ์ แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มอาชีพละ 5 คนต่อพื้นที่ และใช้การสัมภาษณ์ เชิงลึก กลุม่ อาชีพละ 1 คนต่อพืน้ ที่ จากข้อมูลส่วนตัวของกลุม่ ตัวอย่าง ทั้งหมด 48 คน เป็นผู้ชายทั้งหมด 24 คน ผู้หญิง 22 คน และมีกลุ่ม ตัวอย่างทีเ่ ป็น LGBT จ�ำนวน 2 คน ซึง่ ผูว้ จิ ยั เลือกกลุม่ ดังกล่าวมาเพือ่ ใช้ ในการสัมภาษณ์เชิงลึก เพราะเป็นกลุ่มที่จะให้ข้อมูลที่ส�ำคัญที่สะท้อน ถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสังคมเดนมาร์กได้ชัดเจนในหลายมิติ ระดับอายุของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุตำ�่ กว่า 40 ปี โดยมีสัดส่วน ของกลุ่มคนที่เป็นโสดและแต่งงานแล้วใกล้เคียงกัน นอกจากนี้กลุ่ม ตัวอย่างทุกคนมีระดับการศึกษาขั้นต�่ำในระดับปริญญาตรีขึ้นไป โดย อยู่ในระหว่างท�ำการศึกษาจ�ำนวน 12 คน แต่ทั้งนี้กลุ่มที่ยังศึกษาอยู่ก็ ผ่านการท�ำอาชีพเสริมหรือการท�ำงานระหว่างเรียนแล้วทุกคน ผลจาก การเก็บรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปผลได้ ดังนี้

1.ความรู้สึกร่วมของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากค�ำถามสัมภาษณ์ทั้งหมด 7 ข้อ ที่จะวิเคราะห์ถึงลักษณะ คุณค่า อันประกอบไปด้วย ระดับของความสุขในสังคม (Happiness) ความหวงแหนต่อการด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการ (Welfare Society) 115


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ความรู ้ สึ ก ไว้ เ นื้ อ เชื่ อ ใจของคนในสั ง คม การให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิ่ ง แวดล้อม (Green) และความรู้สึกต่อความยั่งยืน ซึ่งคุณค่าทั้งหลาย เหล่านีจ้ ะหลอมรวมเป็นคุณลักษณะเด่นทีส่ ำ� คัญของพลเมืองเดนมาร์ก ในประเด็น ความรูส้ กึ ร่วมของการมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี โดยจากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดให้ข้อมูลสอดคล้องและเป็นไปในแนวทาง เดียวกันในทุกระดับของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการด�ำรง คงอยู่ของคุณค่าแรกเริ่มที่ผู้วิจัยได้ตั้งต้นไว้ และบ่งชี้ถึงลักษณะอัต ลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แท้จริงของพลเมืองเดนมาร์ก นอกจากนี้จาก การลงพื้นที่ยังพบว่า ยังมีคุณค่าอื่น ๆ ที่สะท้อนถึงความรู้สึกร่วมของ การมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี องพลเมืองเดนมาร์ก อันได้แก่ ประเด็นของการ ใช้ชีวิตแบบ Hygge กลุ่มตัวอย่างทั้ง 48 คนเอ่ยถึงลักษณะของการใช้ ชีวติ แบบ Hygge ทีแ่ ปลว่า การอยูด่ มี สี ขุ ซึง่ กลุม่ ตัวอย่างกล่าวถึงความ สัมพันธ์ระหว่างการใช้ชีวิตแบบ Hygge กับรัฐสวัสดิการเดนมาร์กได้ อย่างน่าสนใจมาก กล่าวคือ การใช้ชวี ติ แบบ Hygge ทีพ่ ลเมืองเดนมาร์ก สามารถใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเองได้อย่างมีความสุขในสังคม เป็น ความสุขที่พอเพียงและเหมาะสมกับชีวิตของตนเอง มีสมดุลระหว่าง การท�ำงาน การเรียน การเข้าสังคมและการใช้ชีวิตกับครอบครัว โดย ปราศจากแรงกดดันจากสิง่ แวดล้อมหรือสภาพสังคม หรือแรงขับทีเ่ กิด จากภายในใจของตนเอง ซึง่ ชาวเดนมาร์กอาจจะไม่สามารถใช้ชวี ติ แบบ นี้ได้เลย ถ้าไม่มีรัฐสวัสดิการที่ดี และรัฐสวัสดิการที่ดีของเดนมาร์กจะ ไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าพลเมืองของเดนมาร์กไม่มีลักษณะอัตลักษณ์ อุปนิสัย ทัศนคติเช่นนี้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังกล่าวถึง ลักษณะคุณค่าที่อยู่ ในสังคมเดนมาร์กอีกแง่หนึ่ง คือ มรดกทางวัฒนธรรมแบบคริสเตียน (Christian Cultural Heritage) ซึ่งประกอบด้วย ความรู้สึกที่เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ต่อผู้อื่น มีจิตใจสาธารณะชอบท�ำการกุศล มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและผู้อื่น และจริยธรรมในการท�ำงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปรากฏ อยู่ในสังคมเดนมาร์ก โดยสามารถน�ำมาวิเคราะห์กับตัวแบบมิติทาง วัฒนธรรมของ Hofstede ได้ดังนี้ 116


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

1.1 มิติทางด้านวัฒนธรรมอ�ำนาจ (Power Distance: PDI) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า PDI ของเดนมาร์กอยู่ในระดับที่ ต�่ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 48 คน ของผูว้ จิ ยั ซึง่ สะท้อนถึงลักษณะสังคมทีไ่ ม่มคี วามอิจฉาริษยาต่อกัน ทุก คนปรารถนาที่จะเห็นทุก ๆ ชีวิตในสังคมมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเชื่อว่าความสุขที่แท้จริงคือ การมีสังคมที่ทุกคน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรัฐเข้ามาช่วยเหลือดูแล ผู้คนมีความเคารพซึ่งกัน และกัน ผู้คนเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม ผู้คนมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน การมีอิสระทางความคิด การตัดสินใจ การเลือกที่จะเรียน เลือกที่จะท�ำงาน ได้ตามความต้องการ หรือความ ฝันของตน โดยไม่มีอุปสรรคซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดทางสังคมหรือเศรษฐกิจ ทัง้ นีใ้ นกลุม่ ของนักศึกษาและกลุม่ ทีท่ ำ� งานในบริษทั เอกชน ทัง้ ในพืน้ ที่ เมืองโคเปนเฮเกนและฮอร์เซนส์ ส่วนใหญ่ มีทัศนคติเพิ่มเติมว่า ความ สุขการได้ใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเอง มีความสะดวกสบายในการใช้ ชีวิต โดยไม่จ�ำเป็นที่จะต้องมีฐานะที่ร�่ำรวย 1.2 มิ ติ ท างด้ า นระดั บ ในการควบคุ ม ความต้ อ งการ (Indulgence: IVR) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า IVR ของ เดนมาร์กอยูใ่ นระดับทีส่ งู เป็นสังคมทีค่ นจะหาความสุขหรือตอบสนอง ความต้องการได้อย่างเปิดกว้าง เป็นสังคมที่ค่อนข้างอิสระเสรี มีความ เป็นปัจเจกสูง สอดคล้องกับทัศนคติและข้อเท็จจริงจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มีต่อประเด็นเรื่องความสุขของพลเมืองเดนมาร์ก โดยทัศนคติของ กลุ่มตัวอย่างมองว่า ความสุขคือการที่ประเทศเดนมาร์กมีเศรษฐกิจที่ ดี พลเมืองอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมทางสังคมและสิง่ แวดล้อมตามธรรมชาติทดี่ ี มีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย มีความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน รัฐเข้าดูแลและให้ความส�ำคัญกับความเป็นอยู่ของพลเมือง ในประเทศเป็นอย่างดี การมีอิสระทางความคิดและจินตนาการ และ การประสบความส�ำเร็จในชีวิต ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างที่เป็น 117


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

นักศึกษา จะให้ค�ำตอบเพิ่มเติมถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต ทั้งนี้ ปัจจัยทางด้านฐานะที่ร�่ำรวย ไม่มีผู้ใดเชื่อว่าเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญที่ ก่อให้เกิดความสุข เมื่อพิจารณาถึงมิติทางด้านวัฒนธรรมด้าน ความรู้สึกร่วม ของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีพบว่า นโยบายรัฐสวัสดิการของเดนมาร์ก ในทุกมิติที่ประสบความส�ำเร็จในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลมาจากลักษณะ วัฒนธรรมด้านนี้ของพลเมืองเดนมาร์ก ความรู้สึกปรารถนาดีต่อผู้อ่ืน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ความสุขที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดจากการใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเองของพลเมืองเดนมาร์กที่มี ลักษณะร่วมกันที่เรียกว่า Hygge คือ วิถีชีวิตหรือทัศนคติที่มีจุดหมาย ปลายทางคือ ต้องการให้ทุกคนมีความสุขเช่นเดียวกัน ซึ่งนโยบาย ทางด้านสวัสดิการสังคมในมิติต่าง ๆ จะส�ำเร็จไม่ได้เลย ถ้าปราศจาก พลเมืองที่ยึดมั่นในคุณค่าข้อนี้ร่วมกัน

2. การให้ความส�ำคัญกับความเท่าเทียมกันในสังคม จากค�ำถามสัมภาษณ์ทงั้ หมด 11 ข้อ ทีจ่ ะวิเคราะห์ถงึ ลักษณะ ของคุณค่า อันประกอบด้วย ความแตกต่างหลายหลายทางวัฒนธรรม ความแตกต่างหลากหลายทางเพศ การยอมรับความเท่าเทียมกันของ ผู้หญิงและผู้ชาย ความเท่าเทียมกันทางด้านโอกาส ความโปร่งใสและ ตรวจสอบได้ การกระจายอ�ำนาจ ลักษณะสังคมที่ให้ความส�ำคัญกับ ความเท่าเทียมกัน การยอมรับและเคารพความคิดกันในการท�ำงาน (Flat Organization) ซึ่งคุณค่าทั้งหลายเหล่านี้จะหลอมรวมเป็น คุณลักษณะเด่นทีส่ ำ� คัญของพลเมืองเดนมาร์กในประเด็น การให้ความ ส�ำคัญกับความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในสังคม เดนมาร์ก โดยสามารถน�ำมาวิเคราะห์กบั ตัวแบบมิตทิ างวัฒนธรรมของ Hofstede ได้ดังนี้ 2.1 มิติทางด้านวัฒนธรรมอ�ำนาจ (Power Distance: PDI) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า PDI ของเดนมาร์กอยู่ในระดับ 118


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ที่ต�่ำ ซึ่งสอดคล้องกับผลจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 48 คนของผู้วิจัยซึ่งสะท้อนถึงลักษณะสังคมที่ให้ความส�ำคัญกับความเท่า เทียมกันในสังคม สนใจเรื่องล�ำดับชั้นบังคับบัญชาน้อยการตัดสินใจใน การท�ำงานจะเป็นการรวบรวมความคิดของทุกคนในทีม หรือทุกคนใน สังคม มากกว่าที่จะมอบอ�ำนาจการตัดสินใจไว้ให้ผู้ที่อยู่ในสถานะที่ สูงกว่า ในความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นไปในแนวทาง เดียวกันว่า สังคมเดนมาร์ก ไม่ว่าจะในระบบราชการหรือระบบการ ท�ำงานของเอกชน ไม่เน้นที่ตัวบุคคลและสายการบังคับบัญชาจนมาก เกินไป ความส�ำเร็จขององค์กรคือ การร่วมกันท�ำงานเป็นทีม และคน เดนมาร์กมีความเป็นมืออาชีพ และมุ่งเน้นการท�ำงานเพื่อส่วนรวม ไม่ว่าหัวหน้าหรือลูกน้อง ต่างช่วยกันท�ำงานเพื่อความส�ำเร็จของส่วน รวม สามารถโต้แย้ง เสนอแนะ การท�ำงานได้ ไม่ค�ำนึงถึงเรื่องอาวุโส นอกจากนี้แล้ว กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยังให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ในระบบราชการหรือระบบการท�ำงานในสังคมเดนมาร์กยังให้ความ ส�ำคัญเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางเพศ และมีความเท่าเทียมกัน ทางด้านโอกาสอีกด้วย และมีกลุ่มตัวอย่างส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะในกลุ่ม ของข้าราชการและภาคเอกชนที่ระบุว่า สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมการ ท�ำงานแบบ Flat Organization ไม่มีสายการบังคับบัญชา ไม่มีหัวโขน ท�ำงานกันเป็นทีม เป็นพี่เป็นน้องทั้งในเวลางานและเลิกงาน 2.2 มิติทางด้านลักษณะการให้ความส�ำคัญระหว่างหญิงชาย ในสังคม (Masculinity: MAS) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า MAS ของเดนมาร์กอยู่ในระดับที่ต�่ำ เป็นสังคมที่เน้นคนมากกว่างาน เน้นคุณภาพชีวิตมากกว่าที่จะมุ่งแสวงหาความส�ำเร็จแต่เพียงอย่าง เดียว มีความเสมอภาคกันระหว่างชายหญิง มีความเสมอภาคทางด้าน โอกาส มีการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางเพศ เมื่อวิเคราะห์ จากข้อเท็จจริงที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่าสอดคล้องตรงกันเป็นส่วน ใหญ่ กล่าวคือ กลุม่ ตัวอย่างทุกคนเห็นด้วยว่าพลเมืองเดนมาร์กยอมรับ ในความเท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย เพราะสังคมเดนมาร์กเป็น 119


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

สังคมที่ชายและหญิงมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกัน ไม่มีการปิดกั้นทาง โอกาสหรือการเลือกปฏิบัติ ทั้งในแง่ของการศึกษา การเข้ารับราชการ ทหาร หรือการรับเข้าท�ำงาน ความเท่าเทียมกันถูกบรรจุไว้เป็นหลัก กฎหมาย เช่น ในการประกาศหางานหรือเกณฑ์ในการรับคนเข้าสมัคร งาน บริษทั สามารถระบุความรูค้ วามสามารถประสบการณ์ทเี่ หมาะกับ งานได้ แต่ไม่สามารถทีจ่ ะแบ่งแยก เลือกรับเฉพาะเพศชายหรือหญิงไม่ ได้ ตลอดจนค่านิยมเกีย่ วกับการเคารพและให้เกียรติซงึ่ กันและกัน เป็น สิ่งที่ปลูกฝังอยู่ในสังคมเดนมาร์กมาเป็นระยะเวลายาวนั้น สิทธิในการ ท�ำงานของสตรีในประเทศแถบยุโรป เดนมาร์กเป็นประเทศกลุ่มแรก ๆ ที่ให้ความส�ำคัญกับสิ่งนี้ เมื่อพิจารณาถึงมิติทางด้านวัฒนธรรมด้านการให้ความส�ำคัญ กับความเท่าเทียมกันในสังคม พบว่า นโยบายรัฐสวัสดิการของเดนมาร์ก ในปัจจุบัน มุ่งเน้นก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมอย่างสมบูรณ์ คุณค่าด้านนี้ที่พลเมืองเดนมาร์กยึดมั่น จึงปรากฏอยู่ในชุดนโยบาย ทั้งหมด ประเด็นเรื่องเพศ เรื่องโอกาส ได้ถูกก�ำหนดไว้ในกฎหมาย หรือชุดนโยบายอย่างเสมอภาค เพียงแต่ในปัจจุบันประเด็นความ เท่าเทียมกันในสังคมเดนมาร์ก ถูกท้าทายด้วยประเด็นเรื่องผู้อพยพ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ถึงแม้เดนมาร์กจะถูกระบุว่า เริม่ มีนโยบายทีไ่ ม่เป็นมิตรต่อผูอ้ พยพและมีการตัดสวัสดิการต่าง ๆ แต่ ความเป็นจริงในสังคม ทัศนคติของพลเมืองในสังคมก็ยังไม่ได้รุนแรง หรือมีการต่อต้าน เพียงแต่อยากให้การอยูร่ ว่ มกันของพลเมืองทีม่ คี วาม แตกต่างทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม ยอมสละ อัตลักษณ์บางอย่างบ้าง เพื่อการอยู่ร่วมกันและการได้รับสวัสดิการที่มี คุณภาพเช่นเดียวกันกับพลเมืองเดนมาร์ก

120


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

3. ลั ก ษณะดุ ล ยภาพทางวั ฒ นธรรมแบบปั จ เจกนิ ย มกั บ กลุ่มนิยม จากค� ำ ถามสั ม ภาษณ์ ทั้ ง หมด 8 ข้ อ ที่ จ ะวิ เ คราะห์ ถึ ง ลักษณ์ของคุณค่า อันประกอบด้วย ความมีอิสระเสรี ความร่วมมือ (Cooperation) ความเป็นพี่เป็นน้อง (Brotherhood) ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ (Indulgence) ความมีรสนิยม (Taste) ความเป็นตัวของตัวเอง (Independent) ซึง่ คุณค่าทัง้ หลายเหล่านีจ้ ะหลอมรวมเป็นคุณลักษณะ เด่นที่ส�ำคัญของพลเมืองเดนมาร์กในประเด็นลักษณะดุลยภาพทาง วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมกับกลุ่มนิยม สิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในสังคม เดนมาร์ก โดยสามารถน�ำมาวิเคราะห์กบั ตัวแบบมิตทิ างวัฒนธรรมของ Hofstede ได้ ดังนี้ 3.1 ความเป็นปัจเจกนิยมและกลุม่ นิยม (Individualism: IDV) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า IDV ของเดนมาร์กอยู่ในระดับ ที่สูง ซึ่งแสดงว่าสังคมเดนมาร์กพลเมืองมีความเป็นปัจเจกสูงและมี ลักษณะความเป็นกลุ่มนิยมที่ต�่ำ ในขณะที่ผลจากการเก็บข้อมูลจาก กลุม่ ตัวอย่างพบว่า ในสังคมเดนมาร์กมีทงั้ ลักษณะของความเป็นปัจเจก นิมและกลุม่ นิยมอย่างสมดุลกัน โดยลักษณะทีแ่ สดงถึงความเป็นปัจเจก นิยมนั้น กลุ่มตัวอย่างได้ให้ข้อเท็จจริงว่า พลเมืองเดนมาร์กมีอิสระเสรี ทางความคิด ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระเสรี ตามความชอบตามความฝัน ของตนเอง แต่ก็ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบโดดเดี่ยวตัวเองออกจากสังคม หรือ ชอบท�ำงานคนเดียว ตัดสินใจคนเดียว พลเมืองเดนมาร์กยังคงมีความ ใกล้ชิดกันทางสังคม ทั้งในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายใน ครอบครัว ทีเ่ รียน หรือทีท่ ำ� งาน แต่กไ็ ม่ได้นำ� ความสัมพันธ์สว่ นตัวมาใช้ ในการตัดสินหรือก้าวก่ายการท�ำงาน ซึง่ บ่งชัดถึงลักษณะพิเศษทีส่ งั คม มีความสมดุลของลักษณะความเป็นปัจเจกนิยมและกลุม่ นิยม และสิง่ ที่ ปรากฏก็เป็นแง่งามที่ดีของลักษณะคุณค่าดังกล่าว

121


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

3.2 วัฒนธรรมที่เน้นความสัมพันธ์ในระยะยาว (Long Term Orientation: LTO) จากผลการศึกษาของ Hofstede ค่า LTO ของ เดนมาร์กอยูใ่ นระดับทีต่ ำ�่ กว่า แต่ไม่ตำ�่ มาก แสดงว่าสังคมเดนมาร์กเป็น วัฒนธรรมที่ไม่เน้นสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว มักจะเป็นวัฒนธรรม ที่มีความเป็น Individualism สูง ไม่สนใจเรื่องการช่วยเหลือจากผู้อื่น เท่าไหร่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับผลจากการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของ ผู้วิจัย ที่เก็บข้อมูลตัวอย่างจากกลุ่มอาชีพที่หลากหลายกว่างานของ Hofstede เพราะจากการเก็บข้อมูลกลุม่ ตัวอย่างปรากฏว่า เรือ่ งความ ร่วมมือ จิตอาสา การท�ำการกุศล งานอาสาสมัคร เป็นสิ่งที่พลเมือง เดนมาร์กทุกคนยึดถือปฏิบัติจนถือได้ว่าเป็นลักษณะอัตลักษณ์อย่าง หนึ่งของคนเดนมาร์ก คนเดนมาร์กชอบช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งสอดคล้อง โดยชัดเจนกับลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมข้ออื่น ๆ ที่ท�ำมาศึกษา ในครั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงมิติทางด้านวัฒนธรรมลักษณะดุลยภาพทาง วัฒนธรรมแบบปัจเจกนิยมกับกลุ่มนิยม พบว่า นโยบายรัฐสวัสดิการ ของเดนมาร์กทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั นัน้ เป็นผลมาจากระบบการเมืองแบบ มีส่วนร่วม การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนในสังคมเดนมาร์ก ในการก�ำหนดนโยบาย เสนอแนะความคิดเห็น รัฐมีการรับฟังความคิด เห็นของประชาชน เพราะด้วยลักษณะนิสยั ของพลเมืองเดนมาร์กทีเ่ ป็น ปัจเจกนิยม จึงท�ำให้กล้าที่จะแสดงออก แสดงความคิดเห็น ในขณะ เดียวกันดุลยภาพของความเป็นกลุม่ นิยม ซึง่ พลเมืองมีความใกล้ชดิ กัน ท�ำให้ประชาชนมีความปรารถนาดีตอ่ กัน การมีสว่ นร่วมทางการเมืองใน การก�ำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ท�ำให้ประชาชนนึกถึง ประโยชน์สูงสุดของพลเมืองทุกคน ชุดนโยบายที่อออกมาจึงสะท้อน ความต้องการที่แท้จริงของบุคคลในสังคมได้เป็นอย่างดี

122


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

4. ลักษณะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอื่น ๆ ผลจากการเก็ บ ข้ อ มู ล จากกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งพบว่ า ลั ก ษณะ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์กทีน่ อกเหนือจากลักษณะ วัฒนธรรมทั้ง 3 มิติดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่ปรากฏจากการสัมภาษณ์กลุ่ม ตัวอย่างคือ ลักษณะความเป็นคนยืดหยุน่ (Flexible) ของคนเดนมาร์ก ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดมิตทิ างวัฒนธรรมของ Hofstede เรือ่ งลักษณะ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของสังคม (Uncertainty Avoidance: UAI) จากการศึกษาของ Hofstede พบว่าคนเดนมาร์กมีค่า UAI ต�่ำ เป็น สังคมที่รับความเสี่ยงได้ ไม่ค่อยจริงจังกับความเสี่ยง ท�ำให้คนในสังคม แบบนี้ค่อนข้างจะยืดหยุ่น สามารถรับสถาณการณ์ที่ไม่ปกติได้ดีกว่า สังคมที่พยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยง จุดเด่นทางวัฒนธรรมด้านนี้ ของเดนมาร์ก ปรากฏเด่นชัดในจุดเด่นของรัฐสวัสดิการของเดนมาร์ก ทางด้านแรงงาน โดยสะท้อนผ่านนโยบายประกันสังคมแบบยืดหยุ่น (Flexicurity) ซึ่งเป็นการปรับให้ระบบรัฐสวัสดิการด�ำรงคงอยู่แต่มี ความยืดหยุ่นเพียงพอรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงของโลกในบริบทต่าง ๆ ท�ำให้สภาวะของตลาด แรงงานของเดนมาร์กไม่ตรึงเครียดจนเกินไป เมื่อเกิดภาวะผกผันทาง ด้านเศรษฐกิจ ก็สามารถที่จะเลิกจ้างได้ โดยรัฐจะยื่นมือเข้ามาดูแล แรงงานที่ว่างงานหรือตกงานอย่างเป็นระบบ จนกว่าแรงงานจะได้งาน ใหม่ ซึ่งตัวแรงงานซึ่งเป็นชาวเดนมาร์กเองก็ก็มีลักษณะนิสัยที่ไม่ยึด ติด และยอมรับความเสี่ยงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต อีกทั้ง ยังมุง่ ทีจ่ ะแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ อยูต่ ลอดเวลา ยอมรับกฎกติกา มารยาทในสังคมและองค์กรเป็นอย่างดี จุดเด่นดังกล่าวของนโยบาย สวัสดิการของเดนมาร์ก ถือได้ว่าเป็นความส�ำเร็จที่ส�ำคัญของนโยบาย รัฐสวัสดิการที่ต่างประเทศยอมรับ และเป็นนนโยบายที่เกิดขึ้นมาจาก พื้นฐานลักษณะทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์กที่เด่นชัดอีกแง่ หนึ่งของเดนมาร์ก 123


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

บรรณานุกรม

ภาษาไทย กษิร ชีพเป็นสุข. (2549). เล็กนั้นงาม การศึกษาเศรษฐศาสตร์โดยให้ ความส�ำคัญกับผู้คน. กรุงเทพฯ: ส�ำนักมูลนิธิเด็ก. ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2544). รัฐศาสตร์แนววิพากษ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ใจ อึ๊งภากรณ์ และ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ. (2550). รัฐสวัสดิการ ทาง เลื อ กที่ ดี ก ว่ า ประชานิ ย มของไทยรั ก ไทย.คู ่ มื อ ปฏิ รู ป สั ง คม ไทย สู่การเมืองภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: พรรคแนวร่วมภาค ประชาชน. ติรัส ตฤณเตชะ. (2555). นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ความท้าทาย ภายใต้ความผันผวนในกระแสโลกาภิวตั น์. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีท่ี 42 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555). หน้า 107-129. ธงชัย สมบูรณ์. (2549). อัตลักษณ์ของชาติตามนโยบายการศึกษา. งาน วิจัยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. บุญรัตน์ รัฐบริรกั ษ์ และ มรุต วันทนากร. (2547). การวิเคราะห์ประเทศ กลุ ่ มสแกนดิเ นเวีย: การเมืองเศรษฐกิจ สั ง คม. กรุ ง เทพฯ: ศูนย์ศึกษาการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ประโยชน์ ส่งกลิน่ . (2557). นโยบายสาธารณะแนวการตีความ. วาสาร การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 มีนาคม–สิงหาคม 2557.

124


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

รุ่งทิพย์ สุขก�ำเนิด. (2556). ส่องความสุขชาวเดนมาร์ก: มองลอดรัฐ สวัสดิการเห็นสังคมนิยมโดยวัฒนธรรม.ส�ำนักงานปฏิรูประบบ สุขภาพแห่งชาติ. สุภางค์ จันทรวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอื้อมพร พิชัยสนิธ. (2553). เศรษฐกิจทางเลือก ว่าด้วยรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์โอเพ่นบุ๊ค. ภาษาต่างประเทศ Andersen, E. (1990). Three worlds of welfare capitalism. Princeton: Princeton University Press. Ardichvili, A. & Kuchinke, P. K. (2002). Leadership styles and cultural values among managers and subordinates: a comparative study of four countries of the former Soviet Union, Germany, and US. Human Resource Development International, 5 (1), pp. 99-117. Ardrian White. (2006). The World Map of Happiness. The University of Leicester. Arthur A. Daemmrich and Benjamin Kramarz. (2009). Denmark: Globalization and the Welfare State. Havard Business Review. Birte Siim & Anette Borchorst. (2008). The multicultural challenge to the Danish Welfare state. Aalborg University. Bogason, Peter. (2008). “Public Administration Under Postmodern Conditions.” Administrative Theory & Praxis. 125


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

Broom, L., & Selznick, P. (1968). Sociology: A Text with Adapted Readings (4th ed.). New York: Harper and Row. Den Hartog, D. N., House, R. J., Hanges, P. & 159 co-authors. (1999). Culture specificand cross-culturally endorsed implicit leadership theories: are attributes of charismatic/transformational leadership universally endorsed? Leadership Quarterly, 10 (2), pp. 219-256. Dobbins, James, Seth Jones, Keith Crane, and Beth Cole Degrasse. 2007. The beginner’s guide to nationbuilding. Santa Monica, CA: RAND National Security Research Division. Donaldson, Lex. (2001). The Contingency Theory of Organizations. Thousand Oaks, CA: SAGE. Drolet, Michael, ed. (2004). The Postmodernism Reader: Foundation Texts. London: Routledge. Dunn, Wiliam. (2011). Public Policy Analysis (5th ed.). Pearson Press. Durning, D. (1993). “Participatory Policy Analysis in Georgia State Agency.” in Journal of Policy Analysis and Management. Vol. 12, pp. 297-322. Edward B. Barbie. (1987). The Concept of Sustainable Economic Development. Environmental Conservation Vol. 4 Issue 02/Summer. pp. 101-110. Eeten, Michel J. G. (2007). “Narrative Policy Analysis.” in 126


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561

Fischer, Frank; Miller, G. J.; and Sidney, M.S., eds. Handbook of Public Policy Analysis: Theory, Politics, and Methods. London: CRC Press. Fischer, Frank. (2003). Reframing Public Policy: Discursive Politics and Deliberative Practices. New York: Oxford University Press. Flora, Peter and Heidenheimer, Arnold. (2009). The development of welfare states in Europe and America. Transaction Publishers. Fritz W. Scharpf. (2000). Globalization and the welfare state. The Year 2000 International Research Conference on Social Security Helsinki, 25-27 September 2000. Geertz Cliffort. (1973). The interpretation of cultures: selected essays. New York: Basic book Hajer, Maarten A. (2010). “Setting the Stage: A Dramaturgy of Policy Deliberation.” in Bevir, Mark, ed. Interpretive Political Science. Vol. 4. London: SAGE Publication Ltd. Hilson, Mary (2008). The Nordic Model: Scandinavia since 1945. London: Reaktion Books. pp. 7-11. Hirst Paul. (1998). Can the European welfare state survive globalization? Sweden, Denmark, and the Netherlands in comparative perspective. CES Working Paper Series in European Studies, Vol. 2, No. 1, 1998. Hofstede, G. (1984). “The Cultural Relativity of the Quality of Life Concept.” The Academy of Management Review, 127


ภาคผนวก


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ค�ำถามสัมภาษณ์

ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความส�ำเร็จของนโยบาย รัฐสวัสดิการในประเทศเดนมาร์ก ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ให้สัมภาษณ์

1. เพศ 2. อายุ 3. สถานภาพสมรส 4. วุฒิการศึกษา 5. อาชีพ 6. รายได้ต่อเดือน 7. ระยะเวลาที่ศึกษา/ท�ำงาน ณ สถานศึกษา/สถานที่ท�ำงาน ในปัจจุบัน

ส่ ว นที่ 2 ความคิ ด เห็ น ต่ อ เรื่ อ ง ความรู ้ สึ ก ร่ ว มต่ อ การมี คุณภาพชีวิตที่ดี ข้อ 1 ความสุขในนิยามความคิดของท่านเป็นเช่นไร (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. การมีสังคมที่ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรัฐเข้ามาช่วย เหลือดูแล ผู้คนมีความเคารพซึ่งกันและกัน □ 2. การมีสงั คมทีด่ ี ผูค้ นเอือ้ เฟือ้ ช่วยเหลือกัน ทุกคนเห็นแก่ ประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว

129


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

□ 3. การมีอิสระทางความคิด การตัดสินใจ การเลือกที่จะ เรียน เลือกทีจ่ ะท�ำงาน ได้ตามความต้องการ หรือความฝันของตน โดย ไม่มีอุปสรรคซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดทางสังคม หรือเศรษฐกิจ □ 4. ความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสังคม ผู้คนมีความ ไว้เนื้อเชื่อใจกัน □ 5. การได้ใช้ชีวิตในแบบฉบับของตนเอง มีความสะดวก สบายในการใช้ชีวิต โดยไม่จ�ำเป็นที่จะต้องมีฐานะที่ร�่ำรวย □ 6 การมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ร�่ำรวยที่จะน�ำมาซึ่งการตอบ สนองความต้องการได้อย่างไม่มีข้อจ�ำกัด □ 7 อื่น ๆ โปรดระบุ ........................................................... ข้อ 2 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่ประเทศเดนมาร์กได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ พลเมืองมีความสุขที่สุดในโลก เพราะเหตุใด □ 1 เห็นด้วย เพราะ......................................................... □ 2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 3 ปัจจัยใดบ้างที่ก่อให้เกิดความสุขในการใช้ชีวิตของท่าน (ตอบได้ มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. เศรษฐกิจของประเทศที่ดี □ 2. มีฐานะที่ร�่ำรวย □ 3. มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย □ 4. ความรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน □ 5. ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต □ 6.อยูใ่ นสิง่ แวดล้อมทางสังคมและสิง่ แวดล้อมตามธรรมชาติทดี่ ี 130


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

□ 7. รัฐดูแลและให้ความส�ำคัญกับความเป็นอยู่ของพลเมือง ในประเทศเป็นอย่างดี □ 8. การมีอิสระทางความคิดและจินตนาการ □ 9. ประสบความส�ำเร็จในชีวิต □ 10. อื่น ๆ โปรดระบุ......................................................... ข้อ 4 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ต่อการด�ำรงคงอยู่ของนโยบายรัฐ สวัสดิการเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. รัฐสวัสดิการมีความส�ำคัญเปรียบเสมือนส่วนหนึง่ ในชีวติ ของพลเมืองเดนมาร์ก □ 2. รัฐสวัสดิการมีความส�ำคัญต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ของประชากรทุกคนบนแผ่นดินเดนมาร์ก □ 3. รั ฐ สวั ส ดิ ก ารมี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ความรู ้ สึ ก ของพลเมื อ ง เดนมาร์ก ในการสร้างความรูส้ กึ ร่วม ความหวงแหน และความเป็นเนือ้ เดียวกันของพลเมืองเดนมาร์ก □ 4. พลเมืองเดนมาร์กส่วนใหญ่ยินยอมที่จะจ่ายภาษีแพง เพื่อการด�ำรงรักษาคุณภาพของนโยบายรัฐสวัสดิการ มากกว่าการ ยกเลิกนโยบายรัฐสวัสดิการ □ 5. การด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ส่งผลต่อ ประเด็นปัญหา ความไม่เป็นมิตรต่อผู้อพยพที่เพิ่มมากขึ้นในสังคม เดนมาร์ก □ 6. การด�ำรงคงอยู่ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีอิทธิพลต่อ ประเด็นทางด้านการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการด�ำรงคงอยู่ของรัฐบาลใน แต่ละสมัยอย่างเห็นได้ชัด 131


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

□ 7. รัฐสวัสดิการควรปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจ โลกที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการแก้ไขกฎเกณฑ์บางประการ เพื่อให้ รัฐสวัสดิการด�ำรงคงอยู่ได้ □ 8. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................ ข้อ 5 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เกี่ยวกับ ลักษณะความรู้สึกไว้เนื้อ เชื่อใจของพลเมืองเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีม่ คี วามใกล้ชดิ กัน ความรูส้ กึ แตกต่างในสังคมมีน้อย ผู้คนเคารพในสิทธิของกันและกัน □ 2. มีความรูส้ กึ ปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ อาชญากรรม ในสังคมเกิดขึ้นน้อยมาก ผู้คนมีศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและ ผู้อื่น □ 3. มีความรู้สึกร่วมกันในประเด็นต่างๆ มากมาย ยอมรับ ในความคิดเห็นที่แตกต่าง และโต้แย้งกันโดยเหตุและผลมากกว่าการ ใช้อารมณ์ □ 4. คนในสังคมเดนมาร์ก มีความน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ พึ่งพาอาศัยกันได้ ไม่ค่อยมีความอิจฉาริษยา และยินดีในความส�ำเร็จ ของผู้อื่นเสมือนเป็นความส�ำเร็จของตัวเอง □ 5. คนเดนมาร์กยึดประโยชน์ส่วนรวมของสังคมเป็นที่ตั้ง ท�ำให้ผู้คนส่วนใหญ่มีจิตสาธารณะ ไม่เห็นแก่ตัว □ 6. การเข้าโบสถ์วนั อาทิตย์ หรือการท�ำสาธารณะประโยชน์ ร่วมกัน มีผลส�ำคัญต่อความแน่นแฟ้นของคนในสังคมเดนมาร์ก □ 7. คนเดนมาร์กมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีน�้ำใจ เป็นคนใจดี มี มิตรภาพกับคนทั่วไป □ 8. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. 132


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ข้อ 6 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศ เดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. ยังคงมีปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ยังคงรอรับการแก้ไข □ 2. พลเมื อ งเดนมาร์ ก มี จิ ต ส� ำ นึ ก ที่ ดี ต ่ อ การอนุ รั ก ษ์ สิ่งแวดล้อม □ 3. ระบบการเมื อ งของเดนมาร์ ก ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ สิง่ แวดล้อมมาเป็นระยะเวลายาวนาน และเป็นประเทศแรก ๆ ของโลก ที่มีพรรคการเมืองแบบ Green Party □ 4. พลเมืองเดนมาร์กให้ความส�ำคัญและสนับสนุนการใช้ พลังงานทดแทน แทนที่พลังงานซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม □ 5. เดนมาร์กมีระบบการจัดการขนส่งสาธารณะที่ดี และ พลเมืองเน้นการเดินทางด้วยจักรยาน ท�ำให้สามารถลดมลภาวะในเขต เมืองได้เป็นอย่างดี □ 6. เดนมาร์ก ให้ความส�ำคั ญ กั บการจั ดการปั ญ หาการ เปลีย่ นแปลงของสภาพภูมอิ ากาศโลก (Climate Change) โดยสามารถ ด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก □ 7. พลเมืองเดนมาร์กมีการปลูกฝังค่านิยมทีม่ ตี อ่ การอนุรกั ษ์ สิ่งแวดล้อมต่อเยาวชนภายในประเทศ โดยทั้งนี้เริ่มต้นจากสถาบัน ครอบครัว มาจนถึงสถาบันการเมืองระดับประเทศ □ 8. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 7 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร เกีย่ วกับความสัมพันธ์ของรัฐสวัสดิการ เดนมาร์กที่ส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองเดนมาร์ก (ตอบ ได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. การด�ำรงคงอยูข่ องรัฐสวัสดิการส่งผลต่อความยัง่ ยืนของ 133


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

คุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองเดนมาร์ก □ 2. คุณภาพของรัฐสวัสดิการของเดนมาร์กส่งผลต่อคุณภาพ ชีวิตของพลเมืองเดนมาร์ก □ 3. รัฐสวัสดิการที่ดี ส่งผลต่อ ประเด็นทางด้าน ความสุข ของพลเมือง การบริหารจัดการสิง่ แวดล้อม รวมถึงประสิทธิภาพในการ ด�ำเนินการด้านต่างๆ ภายในสังคม □ 4. คุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมือง สามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ โดยไม่ขึ้นอยู่กับรัฐสวัสดิการ □ 5. อื่น ๆ โปรดระบุ.............................................................

ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับ ความเท่าเทียมกันในสังคม เดนมาร์ก ข้อ 8 ท่านรับรู้และเชื่ออยู่เสมอว่าสังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึ่งมีความ เท่าเทียมกันในสังคม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึ่งเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีความ เท่าเทียมกัน □ 2. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมซึ่งมีทั้งความเท่าเทียมกัน แต่ ในปัจจุบันพลเมืองเริ่มทบทวน และมีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป โดย เฉพาะทัศนคติต่อผู้อพยพ หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพาประโยชน์ จากรัฐสวัสดิการ และการเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของเดนมาร์ก □ 3. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีใ่ ห้ความยอมรับเรือ่ ง “ความ หลากหลายทางวัฒนธรรม” □ 4. สังคมเดนมาร์กเป็นสังคมทีใ่ ห้ความยอมรับเรือ่ ง “ความ หลากหลายทางเพศ” 134


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

□ 5. สังคมเดนมาร์กให้ความส�ำคัญกับประเด็นด้านสิทธิ มนุษยชน สิทธิของคนพิการ สิทธิสตรี และสิทธิของผู้อพยพ □ 6. การสร้างความยุติธรรมในสังคม ไม่จ�ำเป็นต้องใช้ความ รุนแรง จึงเป็นเหตุให้เดนมาร์ก ไม่มีโทษประหารชีวิต และไม่มีการ เคลื่อนไหวทางการเมืองในเชิงรุนแรง □ 7. สังคมเดนมาร์กมากแท้จริงมีความไม่เท่าเทียมกันอยู่ซึ่ง เป็นเรื่องปกติของทุกสังคม เพราะคนเราเกิดมาไม่เท่ากัน □ 8. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 9 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นความแตกต่างของ รายได้ในสังคมเดนมาร์ก □ 1. ไม่มีความแตกต่างทางด้านรายได้มากจนเกินไป ทุก อาชีพมีรายได้ใกล้เคียงกัน และทุกคนมีหน้าทีท่ จี่ ะต้องเสียภาษีเหมือน กัน □ 2. การมีรฐั สวัสดิการ ทีค่ อยดูแลความต้องการพืน้ ฐานของ พลเมือง ตัง้ แต่เกิดจนตาย ส่งผลให้ประเด็นทางด้านความแตกต่างของ รายได้ ไม่มีความส�ำคัญในสังคมเดนมาร์ก □ 3. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 10 ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ในระบบราชการ หรือระบบการ ท�ำงานในสังคมเดนมาร์ก ในมิติของความเท่าเทียมกัน □ 1. สังคมเดนมาร์ก ไม่วา่ จะในระบบราชการหรือระบบการ ท�ำงานของเอกชน ไม่เน้นที่ตัวบุคคลและสายการบังคับบัญชาจนมาก เกินไป ความส�ำเร็จขององค์กรคือการร่วมกันท�ำงานเป็นทีม □ 2 คนเดนมาร์ก มีความเป็นมืออาชีพ และมุง่ เน้นการท�ำงาน เพื่อส่วนรวม ไม่ว่าหัวหน้าหรือลูกน้อง ต่างช่วยกันท�ำงานเพื่อความ 135


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ส�ำเร็จของส่วนรวม สามารถโต้แย้ง เสนอแนะ การท�ำงานได้ ไม่ค�ำนึง ถึงเรื่องอาวุโส □ 3 อื่น ๆ โปรดระบุ.............................................................. ข้อ 11 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกีย่ วกับการยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์ก □ 1. เห็นด้วย เพราะ......................................................... □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ........................................................ ข้อ 12 ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร เกีย่ วกับการยอมรับความแตกต่าง หลากหลายทางเพศ ของพลเมืองเดนมาร์ก □ 1. เห็นด้วย เพราะ.......................................................... □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 13 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกีย่ วกับการยอมรับความเท่าเทียม กันของผู้หญิงและผู้ชาย ของพลเมืองเดนมาร์ก □ 1 เห็นด้วย เพราะ.............................................................. □ 2 ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 14 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกีย่ วกับการให้ความส�ำคัญกับสิทธิ ของคนพิการหรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในพลเมืองเดนมาร์ก □ 1. เห็นด้วย เพราะ............................................................. □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 15 ท่านรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้นในชีวิตของท่านหรือ ไม่ อย่างไร □ 1. ไม่รสู้ กึ เลย ทุกคนในสังคมเดนมาร์กมีความเท่าเทียมกัน 136


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

□ 2. ถึงแม้ว่าในสังคมจะมีสถานะทางสังคมที่แตกต่างกันไป แต่ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทุกมิติทางสังคม □ 3. รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันในบางเรื่อง แต่ยอมรับได้ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม □ 4. รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันในบางเรื่อง และเป็นเรื่องที่ ยอมรับไม่ได้ □ 5. อื่นๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 16 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับการเป็นสังคมที่มีความ ยุตธิ รรมทางสังคมและมีความโปร่งใสทีส่ ดุ ในโลกแห่งหนึง่ ของเดนมาร์ก □ 1. เห็นด้วย เพราะ............................................................. □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 17 พลเมืองเดนมาร์กมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารบ้าน เมืองมากน้อยเพียงใด □ 1. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมาก จากความเข้มแข็งของ ภาคประชาชน □ 2. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมาก เนื่องจากอิทธิพลของ อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเดนมาร์ก ซึ่งส่งผลต่อการมีส่วนร่วมหรือ ก�ำหนดทิศทางนโยบายของรัฐบาล □ 3. มี ส ่ ว นร่ ว มต่ อ เมื่ อ เกิ ด ปั ญ หาหรื อ มี ผ ลกระทบผล ประโยชน์ของกลุ่มตนโดยตรง □ 4. ไม่มสี ว่ นร่วมเลย สิทธิเด็ดขาดอยูท่ กี่ ารตัดสินใจของรัฐบาล □ 5. มีสว่ นร่วมเฉพาะเมือ่ ไปใช้สทิ ธิออกเสียงเลือกตัง้ แต่ไม่มี ส่วนก�ำหนดนโยบาย 137


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

□ 6. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 18 ท่านอยากเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากน้อยเพียงใด □ 1. ไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยว เนื่องจากมีแต่ความขัดแย้ง □ 2. อยากมีส่วนร่วม แต่คิดว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะส่วนใหญ่ประชาชนไม่มีอ�ำนาจในการต่อรองหรือเปลี่ยนแปลง นโยบายใด ๆ □ 3. อยากมีส่วนร่วม เพื่อร่วมก�ำหนดนโยบายในการน�ำมา ใช้กับพลเมืองในประเทศ □ 4. อื่น ๆ โปรดระบุ.............................................................

ส่วนที่ 4 ความคิดเห็นเกีย่ วกับความเป็นปัจเจกนิยมและกลุม่ นิยมในสังคมเดนมาร์ก ข้อ 19 ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับบุคคลภายในครอบครัวเป็นเช่นไร □ 1. บุคคลในครอบครัวมีความใกล้ชดิ กัน สนิทสนม ให้อสิ ระ ทางความคิด ไม่เน้นครอบง�ำ □ 2. บุคคลในครอบครัวอยูก่ นั แบบต่างคนต่างอยู่ รับผิดชอบ ตามหน้าที่ และสถานะทางสังคม □ 3. บุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์อนั ดีตอ่ กัน ในลักษณะ ของความสัมพันธ์ทางสายเลือด □ 4. อื่น ๆ โปรดระบุ.............................................................

138


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ข้อ 20 ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับ เพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อน บ้าน เป็นเช่นไร □ 1. มีความสนิมสนมแน่นแฟ้นกันดี เปรียบเสมือนพีน่ อ้ งสาย เลือดเดียวกัน □ 2. มีทั้งที่สนิทสนมและไม่ได้สนิทสนม แต่สามารถอยู่ร่วม กันได้ เพราะต่างก็เป็นคนเดนมาร์กเหมือนกัน □ 3. ไม่ชอบคบหากับใคร ชอบอยู่คนเดียว □ 4. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 21 ความสัมพันธ์สว่ นตัวมีสว่ นส�ำคัญหรือไม่ อย่างไร ต่อการท�ำงาน หรือการตัดสินใจอะไรบ้างอย่างในสังคม อาทิ เช่น การลงคะแนนเสียง เลือกตั้ง □ 1. ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่มีผล โอกาสต่าง ๆ ทุกคนต้องเท่า เทียมกัน และมีความเป็นมืออาชีพในการท�ำงาน ไม่มีผลต่อการตัดสินใจ อะไร □ 2. สังคมเดนมาร์ก ไม่มีระบบอุปถัมภ์ □ 3. ความสัมพันธ์ส่วนตัวไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ทุกอย่าง อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล □ 4. ความสัมพันธ์สว่ นตัวมีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อการท�ำงาน และการตัดสินใจอะไรบางอย่างในสังคม □ 5. ประโยชน์สว่ นรวม มีความส�ำคัญมากกว่าความส�ำพันธ์สว่ นตัว □ 6. อื่นๆ โประระบุ.............................................................

139


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ข้อ 22 ในสังคมเดนมาร์ก ท่านมีอิสระมากน้อยเพียงใดในการคิดและ การแสดงออกถึงทัศนคติหรือความเห็นของท่าน □ 1. มีอิสระมาก เพราะ ...................................................... □ 2. มีอิสระอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อจ�ำกัดในการแสดงออก เพราะ ............................................... □ 3. ไม่มีอิสระเท่าที่ควร เพราะ........................................... □ 4. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 23 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยกับค�ำกล่าวที่ว่า “สังคม เดนมาร์ก เป็นสังคมที่เปิดกว้างและเสรี” □ 1. เห็นด้วย เพราะ............................................................. □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ.......................................................... ข้อ 24 ท่านคิดว่าลักษณะนิสัยของท่าน เป็นเช่นไร ……………………………………………………………………………………………… …………………........................................................................................ .............................................................................................................. ข้อ 25 ในทัศนคติของท่าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับค�ำ กล่าวที่ว่า “พลเมืองเดนมาร์กมีความสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นเหมือนพี่ น้อง” □ 1. เห็นด้วย เพราะ.......................................................... □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ ........................................................ ข้อ 26 ในทัศนคติของท่าน ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร เกี่ยวกับ ประเด็นที่ว่าสังคมเดนมาร์ก มีลักษณะของการยอมรับความคิดเห็น ซึ่งกันและกันและการเคารพเสียงใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่พลเมืองเดนมาร์ก 140


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

ยึดถือร่วมกัน □ 1. เห็นด้วย เพราะ.......................................................... □ 2. ไม่เห็นด้วย เพราะ ........................................................

ส่วนที่ 5 ความคิดเห็นเกีย่ วกับ นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ข้อ 27 ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร กับการที่ประเทศเดนมาร์กได้ชื่อ ว่าเป็นประเทศที่มีระบบรัฐสวัสดิการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก □ 1. เห็นด้วย เพราะ ........................................................... □ 2. เห็นด้วย เพราะ ........................................................... ข้อ 28 ในทัศนคติของท่าน ท่านคิดว่าปัจจัยอะไร ที่ส่งผลต่อความ ส�ำเร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อม เรียงล�ำดับ) □ 1. รัฐบาลให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาและรักษาคุณภาพ ของรัฐสวัสดิการอยู่โดยตลอด □ 2. มี ร ะบบการจั ด เก็ บ ภาษี ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ท� ำ ให้ มี งบประมาณเพียงพอต่อการด�ำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ □ 3. เดนมาร์กมีลักษณะโครงสร้างของรัฐสวัสดิการที่มี ลักษณะพิเศษเฉพาะตัว จึงท�ำให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพใน การด�ำเนินงาน และได้รับความร่วมมือจากประชาชนส่วนใหญ่ □ 4. รัฐสวัสดิการเป็นพื้นฐานในการใช้ชีวิตของพลเมือง เดนมาร์กมาเป็นระยะเวลายาวนาน และมีส่วนต่อกระบวนการสร้าง ชาติในอดีต ท�ำให้พลเมืองรูส้ กึ หวงแหน และร่วมกันต่อสู้ ผลักดันให้รฐั 141


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

สวัสดิการ ด�ำรงคงอยู่ ยอมสละประโยชน์สว่ นตัวเพือ่ รักษาผลประโยชน์ ส่วนรวม □ 5. พลเมืองเดนมาร์กมีส่วนร่วมในการก�ำหนดนโยบาย รัฐสวัสดิการเดนมาร์ก และนโยบายบายส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นจากความ ต้องการพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตและลักษณะนิสัยของคน เดนมาร์ก □ 6. อื่นๆ โปรดระบุ ............................................................ ข้อ 29 ในทัศนคติของท่านคิดว่า ข้อดีของการมีรฐั สวัสดิการในประเทศ เดนมาร์ก คืออะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ พร้อมเรียงล�ำดับ) □ 1. ท�ำให้ผคู้ นในสังคมทุกคนมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ี ทัง้ ในแง่ของ การด�ำเนินชีวิตและสภาพแวดล้อม □ 2. ลดช่องว่างความเหลื่อมล�้ำในสังคม □ 3. ท�ำให้สถานบันครอบครัวมีความแน่นแฟ้น ผู้คนมีเวลา ให้กัน มีเวลาท�ำกิจกรรมร่วมกัน □ 4. ท�ำให้พลเมืองมีสขุ ภาพพลานามัยทีแ่ ข็งแรง สุขภาพจิตดี □ 5. ท�ำให้ชีวิตมีอิสระในการคิด เลือก ตัดสินใจ โดยไม่ติด อยู่กับกรอบทางสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง □ 6. เป็นศูนย์รวมจิตใจของพลเมือง ก่อให้เกิดความสามัคคี และความแน่นแฟ้นของคนในสังคม □ 7. อื่น ๆ โปรดระบุ............................................................. ข้อ 30 ท่านมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบายรัฐสวัสดิการในเรื่องใด หรือในแง่ใดบ้าง ……………………………………………………………………………………………… 142


ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ทุนวิจัยปีงบประมาณ 2558

……………………..………………………………………………………………………… ………………………................................................................................... ข้อ 31 ท่านคิดว่าวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กใน เรื่องต่างๆ สอดคล้องกับ แนวคิดหรือทัศนคติของท่านหรือไม่ อย่างไร □ 1. สอดคล้อง เพราะ.......................................................... □ 2. ไม่สอดคล้อง เพราะ...................................................... ข้ อ 32 ท่ า นคิ ด ว่ า ประโยชน์ และคุ ณ ค่ า ในแง่ ใ ดของนโยบายรั ฐ สวัสดิการ คือเหตุผลที่ส�ำคัญที่สุด ที่ท�ำให้ท่านเชื่อว่าสวัสดิการยังคงมี ความจ�ำเป็นต่อสังคมเดนมาร์ก □ 1. นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก มุง่ เน้นให้ทกุ คน ทีอ่ าศัย อยู่บนพื้นแผ่นดินเดนมาร์ก มีความสุขในการใช้ชีวิต มีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมือนกันทุกคน □ 2. พืน้ ฐานของนโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก ต้องการเห็น ความเทียมเท่ากันในสังคม ซึ่งมีความส�ำคัญที่ท�ำให้สังคมเดนมาร์กมี ความสงบสุข □ 3. นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กเกิดขึน้ จากการมีสว่ นร่วม ของประชาชน ท�ำให้ลักษณะ คุณค่า ที่ปรากฏในนโยบายจึงมีพื้นฐาน มาจากลักษณะทางวัฒนธรรมของพลเมืองเดนมาร์ก □ 4. ลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรมเดนมาร์ก ส่งผลให้ นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์กมีลกั ษณะเฉพาะพิเศษ ซึง่ สะท้อนตัวตน และอธิบาย ความเป็นคนเดนมาร์กได้เป็นอย่างดี □ 5. อื่นๆ โปรดระบุ.............................................................

143


ปัจจัยทางวัฒนธรรมกับความสำ�เร็จของนโยบายรัฐสวัสดิการ ในประเทศเดนมาร์ก

ข้อ 33 นโยบายรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก เรื่องใด ที่ท่านคิดว่าคือจุดเด่น ของรัฐสวัสดิการเดนมาร์ก และเป็นนโยบายทีต่ อบสนองความต้องการ ของท่านที่สุด เพราะเหตุใด ............................................................................................................. ............................................................................................................. ..............................................................................................................

144




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.