สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
75 ปี มิสซังจันท์ กับ 3 พระสังฆราชในอดีต
FREE COPY แจกฟรี
Vol.28
สิงหาคม 2019 ปีท่ี 30
ปีที่ 30 ฉบับที่ 28 / สิงหาคม 2019
Contents
สารบัญ
สายใยจันท์
สารพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี.............................. 4 สารพระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต......................... 6 75 ปี มิสซังจันท์ กับ 3 พระสังฆราชในอดีต.......................... 10 พระสงฆ์ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อยอห์น อัครสาวก เอกพงษ์ สุวิชากร................... 12 คุณพ่ออันตน แห่งปาดัว ภัทร์ติยะ อินทวัน.......................14 คุณพ่อมัทธิว วรวุฒิ มาหา............................................... 16 50 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปโตร แสวง สามิภักดิ์............................................ 18 60 ปี ชีวิตสงฆ์ พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต............. 22 อิริยาบถในระหว่างการประกาศพระวาจา....................................24 รูปแบบของการแต่งงาน ตามกฎหมายพระศาสนจักร.............. 26 การท�ำงานด้านสังคมของสังฆมณฑล...................................... 28 ช่วงเวลาของพระคัมภีร์ไบเบิล.................................................... 30 น�้ำครึ่งแก้ว...................................................................................32 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................34
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2
บรรณาธิการ Editor’s talk พระสังฆราช มุขนายก บิชอป
75 ปี มิสซังจันทบุรีที่ผ่านมา สังฆมณฑลจันทบุรีของเรามีนายชุมพาบาล หรือ พระสังฆราช ทั้งหมด 4 องค์ ต�ำแหน่งนายชุมพาบาล หรือผู้น�ำสูงสุดในพระศาสนจักรท้องถิ่น “ศาสนจักรเฉพาะแห่ง” ซึ่งก็คือสังฆมณฑล (หรือ เขตปกครอง) หรือชุมชนสัตบุรุษชาวคริสต์1 หรือพระสังฆราช คือผูท้ สี่ บื ทอดต�ำแหน่งของอัครสาวก หรือผูป้ ฏิบตั งิ านสืบต่อจากอัครสาวก2 พระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า “บรรดาพระสังฆราช อาศัยการแต่งตัง้ จากพระเจ้า ก็ปฏิบตั ิ งานสืบต่อจากอัครสาวก ในฐานะเป็นนายชุมพาบาลของพระศาสนจักร ในลักษณะที่ว่า ผู้ใดเชื่อฟัง พวกเขา ก็เท่ากับได้เชื่อฟังพระคริสต์ ผู้ใดสลัดทิ้งพวกเขา ก็ได้สลัดทิ้งพระคริสต์ และองค์พระผู้ทรง ส่งพระคริสต์ลงมาด้วย” พระศาสนจักรจึงสอนว่า “บรรดาพระสังฆราช อาศัยการแต่งตัง้ จากพระเจ้า ก็ปฏิบัติงานสืบต่อจากอัครสาวก ในฐานะเป็นนายชุมพาบาลของพระศาสนจักร ในลักษณะที่ว่า ผู้ใด เชือ่ ฟังพวกเขา ก็เท่ากับได้เชือ่ ฟังพระคริสต์ ผูใ้ ดสลัดทิง้ พวกเขา ก็ได้สลัดทิง้ พระคริสต์ และองค์พระ ผู้ทรงส่งพระคริสต์ลงมาด้วย”3 ในประเทศไทยต�ำแหน่งนายชุมพาบาลหรือ ผูป้ กครองสูงสุดในแต่ละสังฆมณทล ควรจะใช้ค�ำ อะไรดีในการเรียกต�ำแหน่งนายชุมพาบาล ซึง่ ในเวลานีเ้ รามีการเรียกนายชุมพาบาลอยูส่ ามค�ำนัน่ คือ *พระสังฆราช เป็นค�ำที่คาทอลิกไทยเรียกนายชุมพาบาลของตน จนคุ้นชิน **มุขนายก เป็นค�ำที่ที่ใช้ในการติดต่อราชการ หรือเป็นภาษาราชการ ซึ่งในวิกิพีเดียเขียน ว่า กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก4 ***บิชอป เป็นค�ำศัพท์ที่เรียกต�ำแหน่งนายชุมพาบาล ตามกฎหมาย พรบ. ร.ศ. 128 เป็นค�ำ เรียกทับศัพท์จากภาษาอังกฤษที่เขียนว่า BISHOP ไม่ว่าจะใช้ค�ำอะไรเรียก นายชุมพาบาลของเรา ท่านก็คือผู้สืบทอดต�ำแหน่งจากอัครสาวก คือผู้น�ำของสังฆมณฑลของเรา คริสตชนควรจะภาวนาส�ำหรับท่านให้มาก ๆ กตัญญูกับสังฆราชองค์ ก่อน ๆ และเชื่อฟังสังฆราชในปัจจุบัน ในโอกาสนี้ พระสงฆ์ นักบวชและคริสตชนในสังฆมณฑลขอแสดงความยินดีกบั พระสังฆราช กิตติคณ ุ ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต ในโอกาสฉลองศาสนนามท่านนักบุญลอเรนซ์ ขอให้ทา่ นมีกำ� ลัง ใจในการด�ำเนินชีวิตตามรอยพระบาทของพระเยซูเจ้าอย่างมั่นคง น้อมจิตคารวะ
คุณพ่อเอนก นามวงษ์ 1 ค�ำสอนพระศาสนจักร: 833 2 ค�ำสอนพระศาสนจักร: 861 3 ค�ำสอนพระศาสนจักร: 862 4 ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81
3
4
สารพระสังฆราช พี่น้องที่รักยิ่งในพระคริสตเจ้า เราอยู่ในปีแห่งการเฉลิมฉลอง 350 ปีมิสซังสยาม และ 75 ปีมิสซังจันทบุรี เรามีกจิ กรรมต่าง ๆ หลายอย่างเพือ่ ร�ำลึกถึงเหตุการณ์สำ� คัญทัง้ ในระดับชาติและระดับ สังฆมณฑล การฉลองยังคงด�ำเนินต่อไป มีกิจกรรมต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นอีกเป็นระยะ ๆ อย่างไรก็ดี การฉลองไม่ใช่แต่เพียงร�ำลึกถึงประวัตศิ าสตร์และขอบคุณต่อบุคคลมากมาย ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์เหล่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสส�ำหรับการด�ำเนินชีวิตของพระ ศาสนจักรต่อไปอย่างเข้มแข็งและมีส่วนร่วม ซึ่งส่วนนี้คือพันธกิจที่เราคริสตชนทุกคน จะต้องรับผิดชอบและสานต่อประวัตศิ าสตร์พระศาสนจักรไทยให้ยงั่ ยืนอย่างมัน่ คงต่อไป เดือนตุลาคมนี้จะเป็นเดือนที่ส�ำคัญเดือนหนึ่งของพระศาสนจักรสากล สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงประกาศให้เป็น “เดือนแห่งการแพร่ธรรม” ทั้งนี้เพื่อ เฉลิมฉลองพระสมณลิขติ Maximum Illud ของสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 15 ครบรอบ 100 ปี (ประกาศเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 1919) ซึ่งพระองค์ทรงกระตุ้นให้ ผูร้ บั ผิดชอบทุกระดับหันมาใส่ใจในงานแพร่ธรรมสูป่ วงชน โดยปลุกจิตส�ำนึกคริสตชนให้ ตระหนักถึงความส�ำคัญและความจริงจังในการประกาศข่าวดีแก่เพื่อนพี่น้อง และฟื้นฟู ชีวิตของพระศาสนจักรและกิจกรรมต่าง ๆ ด้านงานแพร่ธรรม ด้วยเหตุนี้จึงขอให้เรา เอาใจใส่เป็นพิเศษต่อบทบาทหน้าที่ของเราตั้งแต่รับศีลล้างบาป เราเป็นศิษย์ของพระ คริสตเจ้า และในเวลาเดียวกันเราเป็นศิษย์ธรรมทูตของพระองค์ การเป็นผู้ประกาศข่าวดีหรือผู้แพร่ธรรม (ธรรมทูต) คือ การท�ำให้ข่าวดีของ พระเยซูมอี ยูใ่ นชีวติ ของเราอย่างเต็มเปีย่ มก่อน และข่าวดีนจี้ ะมีพลังเปลีย่ นแปลงจิตใจ ของผู้ที่เราได้พบและพูดคุยด้วย เราเป็นเครื่องมือของพระเจ้า และเครื่องมือนี้จะมี ประสิทธิภาพต่อเมื่อยอมให้พระพลานุภาพของพระเจ้าท�ำงาน การประกาศข่าวดีที่ดี ที่สุด คือ การเป็นประจักษ์พยานด้วยชีวิตและกิจการต่าง ๆ ที่เรากระท�ำ ขอพระมารดามารีย์ ดวงดาราแห่งการประกาศพระวรสาร ขอให้เราทั้งหลาย ได้ฉายแสงข่าวดีแห่งความรักของพระคริสตเจ้าไปยังทุกคนด้วยเทอญ
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
สารอวยพร
พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้าและพระแม่มารีย์ ในเดือนสิงหาคมของทุกปี เรามีวนั สมโภชพระแม่มารียร์ บั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ทงั้ กาย และวิญญาณ ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 12 ประกาศเป็นข้อความเชื่อในปีศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 1950 ก็อดที่จะกล่าวไม่ได้เกี่ยวกับพระแม่มารีย์ นักบุญเบอร์นาร์ดที่มีความศรัทธาต่อ พระแม่มารีย์มาก กล่าวไว้ว่า “AD JESUM PER MARIAM” (ไปหาพระเยซูเจ้าผ่านทาง พระแม่มารีย์) พระเยซูเจ้าเสด็จมาหามนุษย์ผ่านทางพระแม่มารีย์ มนุษย์ไปหาพระเยซูเจ้าก็ ต้องผ่านทางพระแม่มารีย์ พระแม่มารียไ์ ด้รบั เลือกให้เป็นสตรีทมี่ บี ญ ุ กว่าหญิงใด ๆ เพือ่ จะได้เป็นพระมารดาของ พระเจ้าที่จะเสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระผู้ไถ่กู้โลก ดังสารที่ทูตสวรรค์กาเบรียลกล่าว กับพระนางว่า “จงยินดีเถิด ท่านผู้ที่พระเจ้าโปรดปราน องค์พระผู้เป็นเจ้าสถิตกับท่าน... ท่านจะตัง้ ครรภ์และให้กำ� เนิดบุตรชายคนหนึง่ ท่านจะตัง้ ชือ่ พระองค์วา่ เยซู พระองค์จะ เป็นผูย้ งิ่ ใหญ่ เป็นบุตรของพระเจ้า เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิ.์ ..” พระนางมารียต์ รัสว่า “ข้าพเจ้าเป็น ผู้รับใช้ขององค์พระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลูกา 1:28-38) บัดนั้นพระแม่มารีย์ก็ได้ปฏิสนธิพระเจ้าพระผู้ไถ่กู้โลก นักบุญยอห์นผู้เขียนพระวรสารตั้งใจเน้นบทบาทของพระแม่มารีย์ใน 2 เหตุการณ์ คือ ในงานมงคลสมรสที่หมู่บ้านคานา “พระเยซูเจ้าได้ทรงรับเชิญพร้อมกับบรรดาศิษย์ พระมารดาของพระองค์ก็ทรงอยู่ในงานนั้น เมื่อเหล้าองุ่นหมด พระมารดาของพระเยซู เจ้าจึงทูลพระองค์ว่า ‘เขาไม่มีเหล้าองุ่นแล้ว’ พระเยซูเจ้าตรัสว่า ‘เวลาของเรายังมา ไม่ถึง’ แต่ที่สุดพระองค์ก็ทรงท�ำอัศจรรย์ ท�ำน�้ำให้เป็นเหล้าองุ่นอย่างดี อาศัยค�ำเสนอ ของพระแม่มารีย”์ (ยอห์น 2:1-11) และอีกครัง้ หนึง่ เมือ่ พระแม่มารียท์ รงอยูท่ เี่ ชิงไม้กางเขน “พระเยซูเจ้าทรงเห็นพระมารดาและศิษย์ที่รักอยู่ใกล้ ๆ จึงตรัสกับพระมารดาว่า ‘นี่คือ ลูกของแม่’ แล้วตรัสกับศิษย์ผู้นั้นว่า ‘นี่คือแม่ของท่าน’ ตั้งแต่เวลานั้นศิษย์ผู้นั้นก็รับ พระแม่มารีย์เป็นมารดาของตน” (ยอห์น 19:26-27) ศิษย์ผู้นั้นเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ คือ เรามนุษย์ทุกคน ต่อมาพระศาสนจักรก็ประกาศว่า “พระแม่มารียเ์ ป็นพระมารดาของพระศาสนจักร” พระแม่มารีย์ทรงเป็น “OMNIPOTENTIA SUPPLEX” (เป็นผู้เสนอวิงวอนที่ทรงสรรพานุ ภาพ) เรามีนพวารแม่พระนิจจานุเคราะห์ที่ช่วยเหลือเราเป็นนิจ ขณะนี้ก็มีพระสังฆราชหลาย องค์เสนอให้แม่พระเป็น COREDEMPTRIX เป็นผู้ร่วมไถ่กับพระเยซูเจ้า เราคริสตชนจึงมี 6
ความศรัทธาต่อแม่พระรองจากพระเยซูเจ้า พระศาสนจักรจัดให้มวี นั ฉลองพระแม่มารียต์ ลอด ทั้งปีก็ว่าได้ ให้มีเดือนแม่พระด้วย (พฤษภาคมและตุลาคม) เกี่ยวกับพระแม่มารีย์ มีการถกเถียงกันว่า พระแม่มารีย์ตายหรือไม่ตาย ฝ่ายหนึ่งก็ อ้างว่า ความตายเป็นโทษของบาป ในเมือ่ พระแม่มารียไ์ ม่ทรงมีบาป ฉะนัน้ ไม่สมควรต้องตาย อีกฝ่ายหนึ่งก็ยืนยันว่า พระเยซูเจ้าไม่ทรงมีบาป แต่ก็ยอมสิ้นพระชนม์ ฉะนั้นพระแม่มารีย์ก็ ยอมสิ้นพระชนม์เหมือนกัน ส่วนพระศาสนจักรรอบคอบในการประกาศข้อความเชื่อเกี่ยวกับ พระแม่มารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ไม่ใช้ค�ำว่าตายหรือไม่ตาย แต่ใช้ค�ำ ว่า “พระแม่มารีย์หลังจากจบการด�ำเนินชีวิตในโลกนี้แล้ว ได้รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้ง กายและวิญญาณ...” เมือ่ พระเยซูเจ้าเสด็จสูส่ วรรค์แล้ว พระแม่มารียย์ งั มีชวี ติ อยูก่ บั บรรดาอัครสาวกหรือ พระศาสนจักร เป็นพระมารดา เป็นก�ำลังใจ เป็นที่ปรึกษา อีกนานเท่าไหร่เราไม่ทราบ แต่ พระแม่กโ็ หยหาคิดถึงพระบุตรตลอดเวลา อยากไปอยูก่ บั พระบุตรในสวรรค์ ทีส่ ดุ พระแม่กจ็ บ ชีวิตอย่างสงบ บรรดาอัครสาวกก็น�ำร่างกายพระแม่ไปฝัง แต่ขณะนั้นนักบุญโทมัสไม่อยู่ ไป ประกาศศาสนาในอินเดีย เมื่อกลับไป ขอไปคารวะพระแม่มารีย์ที่หลุมศพ ปรากฏว่าหลุมศพ เปิด ไม่มีร่างกายของพระแม่ มีแต่กลิ่นดอกไม้หอมอบอวล ก็เชื่อกันว่าพระเจ้าทรงให้เกียรติ พระแม่มารีย์รับเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ หลังจากที่พระเยซูเจ้าทรงมอบยอห์นให้เป็นลูกของพระแม่มารีย์ และทรงมอบพระ แม่มารีย์ให้เป็นแม่ของยอห์น ยอห์นก็รับพระแม่มารีย์ไปอยู่ที่บ้านของตน พระแม่มารีย์ก็ได้ ท�ำหน้าที่ “แม่” กับมนุษยชาติ ปรากฏมาให้เห็นทางโน้นทางนี้อยู่ตลอด ราว 10 ครั้ง ครั้งแรก ค.ศ. 1531 พระแม่กวาดาลูปปรากฏมาที่ประเทศเม็กซิโก วันที่ 9, 12 ธันวาคม ให้ ฮวน ดีเอโก ชาวอินเดียนแดงที่กลับใจได้เห็น ขอร้องให้สร้างวัด มีรูปแม่พระ เหมือนหญิงอินเดียนแดง ฮวน ดีเอโกสิ้นชีวิต ค.ศ. 1584 ชาวเม็กซิกันกลับใจ 8 ล้านคน ภายใน 7 ปี สารของพระแม่คือ “เราเป็นพระมารดาผู้รักชาวอินเดียนแดง เราจะแสดง ความเมตตาอย่างลึกซึ้งต่อผู้ที่มาหาเราในวัดนี้ เราจะฟังค�ำภาวนาและบรรเทาความ ทุกข์” กวาดาลูปหมายถึง “ล�ำธารแห่งแสงสว่าง” หรือ “ผู้เหยียบหัวงู” ครั้งที่ 2 ค.ศ. 1664-1718 พระแม่ปรากฏมาที่โลส์ ประเทศฝรั่งเศส ให้เบอนัวต์ รังกือเรล เห็น ต่อเนื่องถึง 54 ปี สารของพระแม่คือ “ขอให้ลูกสวดอย่างต่อเนื่องเพื่อคน บาป” วัดนี้ตั้งอยู่บนภูเขาแอลป์ สักการสถานแห่งนี้ “เป็นที่หลบภัยของคนบาป” เบอนัวต์ มรณะ 28 ธันวาคม 1718 อายุ 71 ปี ครั้งที่ 3 ค.ศ. 1830 พระแม่ปรากฏมาที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ให้ซิสเตอร์คัธริน ลาบูเร แห่งคณะธิดาเมตตาธรรม ซึ่งนักบุญวินเซนต์ เดอ ปอล ตั้ง สารของพระแม่คือ “จง บอกให้เขาท�ำเหรียญตามแบบนี้ ผูท้ มี่ เี หรียญดังกล่าวห้อยคอ จะได้รบั พระหรรษทานใหญ่ 7
หลวง ผูท้ มี่ คี วามเชือ่ มัน่ จะได้รบั พระหรรษทานมากมาย” ฉลองแม่พระเหรียญอัศจรรย์วนั ที่ 27 พฤศจิกายน และฉลองนักบุญคัธริน ลาบูเร วันที่ 28 พฤศจิกายน (ศพไม่เน่า) เหรียญ ด้านหนึง่ เป็นรูปพระแม่ยนื แขนห้อยทัง้ สองข้าง พระหัตถ์แบฉายแสงออก มีคำ� จารึกรอบขอบ เหรียญว่า “ข้าแต่พระแม่มารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล โปรดภาวนาเพื่อเหล่าลูกที่วิ่งเข้ามาพึ่ง พระแม่ด้วยเทอญ” อีกด้านหนึ่งเป็นรูปอักษร M มีกางเขนปักข้างบน มีดาว 12 ดวงล้อม รอบ ข้างล่างเป็นรูปดวงพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า และดวงหทัยของพระแม่มารีย์ ครั้งที่ 4 ค.ศ. 1846 พระแม่ปรากฏที่ลาซาแลต ประเทศฝรั่งเศส สารของพระแม่ คือ “ลูกเอ๋ย ลูกสวดภาวนาดีหรือเปล่า... ฉันไม่อาจยึดพระหัตถ์ของพระบุตร มิให้ทรง ลงอาญาโทษมนุษย์ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะบาปของมนุษย์หนักมากเหลือเกิน” บาป 2 ข้อคือ บาปท�ำงานวันอาทิตย์ และสบถสาบานพระนามพระเจ้า ครั้งที่ 5 ค.ศ. 1858, 11 ก.พ. – 16 ก.ค. (18 ครั้ง) พระแม่มารีย์ปรากฏมาที่ลูร์ด ประเทศฝรั่งเศส ให้แก่แบร์นาแด็ต ซูบิรูส์ แต่ละปีมีผู้ไปแสวงบุญเป็นล้านคน สารของพระ แม่คือ “จงภาวนาให้คนบาปที่น่าสงสาร ให้โลกที่ก�ำลังเดือดร้อน” “ฉันคือการปฏิสนธิ นิรมล” “ฉันไม่รับรองว่าลูกจะมีความสุขในโลกนี้ แต่ในโลกหน้าแน่นอน” “พระแม่ขอ ให้สร้างวัด” “ให้มีการแห่” “จงใช้โทษบาป จงใช้โทษบาป จงใช้โทษบาป” ครั้งที่ 6 ค.ศ. 1871, 17 มกราคม พระแม่ปรากฏมาที่ปองแมงต์ ประเทศฝรั่งเศส สารของพระแม่คือ “ลูกของฉันเอ๋ย จงภาวนาเถิด พระเจ้าจะทรงอภัยโทษลูกในเวลาอัน ใกล้นี้ พระบุตรของฉันได้รับฟังแล้ว” ครั้งที่ 7 ค.ศ. 1876, 14 ก.พ. – 15 ธ.ค. (15 ครั้ง) พระแม่ปรากฏมาที่เป็ลเลอวัว แซง ประเทศฝรั่งเศส สารของพระแม่คือ “ฉันเปี่ยมด้วยความเมตตาปราณี... ฉันมาช่วย คนบาปให้กลับใจ... จงเป็นคนซื่อ ๆ ให้กิจการของลูกสอดคล้องกับค�ำพูดของลูกเถิด... สิ่งที่ท�ำให้พระแม่ชอกช�้ำใจมากคือ การขาดความเคารพต่อพระบุตรในศีลมหาสนิท” ครั้งที่ 8 ค.ศ. 1917, 13 พ.ค. – 13 ต.ค. (6 ครั้ง) พระแม่ปรากฏมาที่ฟาติมา ในประ เทศปอร์ตุเกสให้แก่เด็ก 3 คนคือ ยาชินทา มาร์โต, ฟรังซิสโก มาร์โต และลูชีอา โดส ซังโตส ซึง่ สิน้ ชีวติ กันหมดแล้ว เราเพิง่ ฉลอง 100 ปี สารของพระแม่คอื “ฉันคือพระมารดาแห่งสาย ประค�ำศักดิ์สิทธิ์” พระแม่ขอร้องให้ท�ำการชดเชยบาป เพื่อให้คนบาปกลับใจ ชดเชยบาป ผรุสวาทต่อดวงหทัยนิรมลของพระแม่... จงสวดสายประค�ำบ่อย ๆ เพื่อสันติภาพของโลก... ฉันมาขอให้มนุษยชาติท�ำพลีกรรมใช้โทษบาปและขออภัยบาป... อย่าเพิ่มการสบประมาท ซึ่งท�ำให้พระเจ้าขัดเคืองพระทัยมากมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะบาปผิดต่อความบริสุทธิ์... ใน การสวดลูกประค�ำ 10 เม็ด หลังสวดบท “พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระบิดา พระบุตรและพระ จิต” ให้สวดว่า “พระเยซูเจ้าของข้าพเจ้า โปรดอภัยบาปของข้าพเจ้าทัง้ หลาย โปรดช่วย ข้าพเจ้าทัง้ หลายให้พน้ จากเปลวไฟนรก โปรดน�ำวิญญาณทัง้ หลายไปสวรรค์ โดยเฉพาะ 8
เหล่าวิญญาณที่ต้องการพระเมตตาของพระองค์มากที่สุด” ครั้งที่ 9 ค.ศ. 1932 พระแม่ปรากฏมาที่โบแรง ประเทศเบลเยี่ยม สังฆมณฑลนามูร์ ให้แก่เด็ก 5 คน สารของพระแม่คือ “ฉันจะท�ำให้คนบาปกลับใจ ฉันคือมารดาพระเจ้า ราชินีสวรรค์ จงภาวนาเสมอ” ครั้งที่ 10 ค.ศ. 1933 พระแม่ปรากฏมาที่บันเนอ ประเทศเบลเยี่ยม ให้แก่มารีแอ๊ต เบโก สารของพระแม่คือ “ฉันคือพระนางพรหมจารีย์ของคนยากจน ฉันมาเพื่อปัดเป่า ความทุกข์ยาก” หลังจากนัน้ กล่าวกันว่า พระแม่ปรากฏมาที่ MEDJUGORJE ประเทศ บอสเนียและ เฮอร์เซโกวีนา แก่วัยรุ่น 6 คน เป็นราชินีแห่งสันติภาพ เป็นเวลาหลายปีแล้ว มีผู้ไปแสวงบุญ มากมาย มีหลายคนกลับใจ แต่พระศาสนจักรท้องถิน่ และสากลยังไม่รบั รอง นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า “พระแม่จะมีทางออกของพระแม่” ในอดีตพระแม่ปรากฏมาที่เม็กซิโก (อเมริกากลาง) และในยุโรปส่วนใหญ่ (ฝรั่งเศส และเบลเยี่ยม) ในเอเชีย อาฟริกาและออสเตรเลียยังไม่มี ให้เราดูกันต่อไป สารต่าง ๆ ของ พระแม่สรุปแล้วคือให้เราภาวนาดี ๆ ให้คนบาปกลับใจ ให้มีสันติภาพในโลก... พระแม่มีพระ ประสงค์ให้เราลูก ๆ ของพระแม่ไปสวรรค์ เราท�ำตามที่พระแม่เรียกร้องหรือยัง? หนังสือขายดีทสี่ ดุ ของ RICK WARREN “ฉันอยูท่ นี่ บี่ นโลกนีเ้ พือ่ อะไร?” ค�ำตอบก็ คือ 1) เพือ่ เตรียมตัวไปสวรรค์ 2) เพือ่ เอาอย่างบุตรพระเจ้าทีม่ าเจริญชีวติ ท่ามกลางเรา และ 3) เพื่อท�ำพันธกิจที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้ นั่นคือ ท�ำให้คนอื่นรู้จักพระเจ้า รักพระเจ้าและ รับใช้พระเจ้า เพื่อวันหนึ่งทุกคนจะได้ไปอยู่ในสวรรค์พร้อมกับเรา ภราดาฮีแลร์ คณะภราดาเซนต์คาเบรียล ชาวฝรั่งเศส เก่งภาษาไทย ท่านได้แต่ง กลอนเตือนใจเราว่า “จงตื่นเถิดเปิดตาหาความรู้ เรียนค�ำครูค�ำพระเจ้าเฝ้าขยัน จะอุดม สมบัติปัจจุบัน แต่สวรรค์ดีกว่าเราอย่าลืม” “สันตะมารีย์มารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้ และเมื่อจะตาย อาแมน” ขอพระแม่ช่วยเราลูก ๆ ของพระแม่ให้ได้ไปสวรรค์กันทุกคน เรา มนุษย์เกิดมาแล้ว ถ้าไม่ได้ไปสวรรค์ก็เสียทีที่เกิดมา
อวยพรมาด้วยความรัก (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี
9
75
ปี มิสซังจันท์ กับ 3 พระสังฆราชในอดีต โดย แผนกสื่อมวลชน
“พระสังฆราช” มาจากค�ำภาษากรีกว่า episkopos ซึ่งหมายความว่า “ผู้ควบคุม” หรือ “ผู้ดูแล” ศัพท์ค�ำนี้ได้เคยใช้หลาย ๆ ครั้งในพระธรรมใหม่ เพื่อหมายถึงผู้น�ำของพระศาสนจักร ต�ำแหน่งหน้าที่นี้มี บทบาทส�ำคัญมากคือ เป็นศูนย์กลางของพระศาสนจักรท้องถิ่น และได้รับการยอมรับนับถือว่า พระเป็นเจ้า เป็นผู้ทรงแต่งตั้งต�ำแหน่งนี้ขึ้นมา หลังจากมีการประกาศแยกมิสซังใหม่ออกจากมิสซังกรุงเทพ เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ประกาศแต่งตั้ง คุณพ่อยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นพระสังฆราชแห่งบาร์คูโซ และประมุขแห่งมิสซังใหม่นี้ ที่มีชื่อเรียกว่า “มิสซัง จันทบุรี” ได้รับอภิเษกเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ที่วัดนักบุญฟิลิปและ ยากอบ หัวไผ่ เป็นพระสังฆราชไทยองค์แรกของประเทศไทย และเป็นพระสังฆราช องค์แรกที่ปกครองดูแล “มิสซังจันทบุรี” ที่มีพื้นที่กว่า 34,000 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตครอบคลุม 7 จังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างที่ด�ำรง ต�ำแหน่งประมุข พระคุณเจ้าได้จับจองและซื้อที่ดินตามจังหวัดต่าง ๆ มากมาย มี การสร้างอาคารเรือนไม้ 2 ชั้นที่ศรีราชา ชั้นล่างเป็น โรงเรียนดาราสมุทร ชั้นบนเป็น วัดพระหฤทัยแห่งพระ เยซูเจ้า ศรีราชา สร้างส�ำนักพระสังฆราช ที่ศรีราชา เพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองมิสซัง สร้างอาราม คาร์แมล ที่จันทบุรี และเริ่มด�ำเนินการก่อสร้างอารามแม่พระฟาติมา ของคณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี ใน ด้านอภิบาล พระคุณเจ้าวางรากฐานแห่งความเชื่อให้แก่บรรดาคริสตชน ด้วยการสอนค�ำสอนและการปฏิบัติ ศาสนกิจที่เคร่งครัด ตลอดระยะเวลา 7 ปี ในการด�ำรงต�ำแห่นง ในปี ค.ศ. 1953 สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ประกาศแต่งตั้ง คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี เป็นพระสังฆราชแห่งเอโนอันดา และ ประมุขแห่ง “มิสซังจันทบุรี” เป็นองค์ที่สอง ได้รับอภิเษกเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1953 ที่อาสนวิหารอัสสัมชัญ กรุงเทพ พระคุณเจ้าได้จัดตั้งคณะกรรมการและ กลุ่มกิจการคาทอลิกตามวัดต่าง ๆ ขึ้น อาทิ คณะพลมารีย์ คณะวินเซนต์ เดอปอล มีการสร้างวัดและโรงเรียนขึ้นใหม่หลายแห่ง นอกจากนี้ ยังได้เชิญคณะนักบวชชาย หญิง เข้ามาท�ำงานด้านอภิบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วยในมิสซัง โดยเปิดโรงพยาบาลภายใน โรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา เปิดสถานรักษาพยาบาลคนโรคเรื้อน ที่โคกวัด สร้างความเจริญทั้งทางด้านวัตถุ และจิตใจกับคริสตชนอย่างมากมาย 10
ในปี ค.ศ. 1965 สมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 โปรดให้ “มิสซังจันทบุรี” สถาปนาพระฐานานุกรม เป็น “สังฆมณฑลจันทบุรี” กล่าวคือ ได้รับการยกระดับการปกครองของพระศาสนจักร ซึ่งมีอ�ำนาจบริหาร ปกครองมากขึ้น สามารถบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น ดังนั้น การวางรากฐานในการปกครองจึงเป็น ระบบตามยุคสมัย การบริหาร การจัดการในเรื่องต่าง ๆ เป็นรูปแบบมากขึ้น มีคณะกรรมการสวัสดิการพระ สงฆ์เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย(ส.ส.จ.) มีการตั้งกองทุนมิสซา โดยเอาดอกเบี้ยไปท�ำมิสซาให้สมาชิกกองทุน จัดสรร ให้โรงเรียนยอแซฟวิทยา ท่าใหม่ โรงเรียนมารีวิทยา ปราจีนบุรี และ โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ อยู่ในการ ดูแลของซิสเตอร์คณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี เพื่อจะได้มีรายได้ส�ำหรับคณะต่อไป พระคุณเจ้าปกครองดูแล “มิสซังจันทบุรี” ถึงปี ค.ศ. 1970 เป็นระยะเวลา 17 ปีเศษ จึงได้ลาออกจากหน้าที่ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ และมีคุณพ่อสนิท วรศิลป์ เป็นผู้รักษาการแทน ในปี ค.ศ. 1971 สมเด็จพระสันตะปาปา ปอลที่ 6 ได้ประกาศแต่งตั้ง คุณพ่อลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต เป็นพระสังฆราช และประมุขแห่ง “สังฆมณฑล จันทบุรี” เป็นองค์ที่สาม ได้รับอภิเษกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1971 ที่วัดนักบุญ ฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ พระคุณเจ้าได้ปรับปรุงและจัดตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพิ่ม ขึน้ จากเดิม ก�ำหนดให้มพี ระสงฆ์ทำ� งานเต็มเวลาส�ำหรับ งานค�ำสอน-แพร่ธรรม งาน เยาวชน งานสังคมพัฒนา งานส่งเสริมชีวิตครอบครัว และงานสื่อสารมวลชน สร้าง ศูนย์สังฆมณฑล ที่ศรีราชา เพื่อใช้เป็นที่ประชุมสัมมนา และศูนย์ประสานงานต่าง ๆ ของสังฆมณฑล ก่อตั้งศูนย์สังคมพัฒนา ที่จังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนาสมาชิกให้พึ่งตนเองได้อย่างเป็นระบบ เปิดด�ำเนินกิจการสถานสงเคราะห์เด็กก�ำพร้า พัทยา นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างวัดและโรงเรียนขึ้นใหม่ หลายแห่ง ท�ำให้ต้องใช้บุคลากรจ�ำนวนมาก แม้จ�ำนวนพระสงฆ์จะเพิ่มขึ้นก็ยังไม่พอส�ำหรับดูแลกิจการต่าง ๆ ของสังฆมณฑล พระคุณเจ้าที่ให้ความส�ำคัญในเรื่องของการมีส่วนร่วมในงานของสังฆมณฑล คาดหวังให้ทุก คนในสังฆมณฑล ไม่ว่าพระสงฆ์ นักบวชและฆราวาส แสดงบทบาทหน้าที่ของตน ใช้ความรู้ความสามารถ และพระพรพิเศษที่ตนมี เอื้ออ�ำนวยให้การปฏิบัติงานและประสานงาน ทั้งด้านบริหารและด้านอภิบาลของ สังฆมณฑล ได้ด�ำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจัดตั้งสภาพิเศษสภาหนึ่ง เรียกว่า สภาอภิบาลวัด ซึ่งพัฒนา ต่อเนื่องมาเป็น สภาอภิบาล ทั้งในระดับแขวงและระดับสังฆมณฑล ด้วยเหตุนี้ ท�ำให้เกิดส�ำนึกว่าสังฆมณฑล เป็นเสมือนครอบครัว ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างท�ำ แต่ทุกคนรับผิดชอบร่วมกัน ดุจอวัยวะต่าง ๆ ใน ร่างกายเดียวกัน ดังเช่นคติพจน์ของพระคุณเจ้าที่ว่า “เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน” พระคุณเจ้าได้ด�ำรง ต�ำแหน่งประมุขแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นเวลา 38 ปีเศษ “มิสซังจันทบุรี” ได้มีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้นในทุก ๆ ด้าน ดังที่เห็นเป็นรูปธรรมได้ในปัจจุบัน ให้เราระลึกถึงอดีตด้วยความกตัญญูรู้คุณ ร่วมใจกันสรรเสริญขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับนายชุมพาบาลที่ พระองค์ประทานแก่ “มิสซังจันทบุรี” บัดนี้ครบ 75 ปี แห่งการสถาปนา เป็นช่วงเวลาของเราที่จะสืบสาน พันธกิจศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับมอบหมายถ่ายทอดมา ด้วยการด�ำเนินชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์ที่แท้จริง 11
พระสงฆ์ ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อยอห์น อัครสาวก เอกพงษ์ สุวิชากร
12
เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง การศึกษา คติพจน์
29 เมษายน พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) พระผู้ไถ่ เสาวภา ยอห์น บัปติสต์ สุรพล สุวิชากร อักแนส อรุณี สุวิชากร 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน ตรัสมาเถิด ผู้รับใช้ของพระองค์ก�ำลังฟังอยู่ (1ซมอ 3:10)
เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร กระแสเรียกของผมเกิดจากครอบครัว ผมได้รับการชักชวนจากครอบครัวให้ไป เป็นสามเณร จึงได้สมัครไปเข้าค่ายกระแสเรียกสัมผัสชีวิตสามเณร เมื่อกลับมาจากเข้า ค่ายกระแสเรียก ก็มีความรู้สึกว่าตนเองมีความประทับใจและชื่นชอบ ประกอบกับชีวิตใน วัยเด็กได้คลุกคลีกับพระสงฆ์หลาย ๆ ท่าน จึงได้รับการสนับสนุน และส่งเสริมให้ไปเป็น สามเณร จึงได้ตัดสินใจสมัครเข้ารับการอบรมที่บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อเปโตร บุญยง วรศิลป์ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2014 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นสังฆานุกร วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นพระสงฆ์ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา โดย พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาส อาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี
ตรัสมาเถิด ผู้รับใช้ของพระองค์ก�ำลังฟังอยู่ (1 ซมอ 3:10)
13
พระสงฆ์ ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่ออันตน แห่งปาดัว ภัทร์ติยะ อินทวัน
14
เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง การศึกษา คติพจน์
9 กันยายน พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เปาโล สุบิน อินทวัน มารีอา ปานทิพย์ อินทวัน 2 คน เป็นบุตรคนที่ 1 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จันทบุรี ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่ โปรดส่งข้าพเจ้าไปเถิด (อสย 6:8)
เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร ตัวผมเองเป็นเด็กทีเ่ ติบโตมาอยูต่ ดิ กับวัดมาตลอด ตอนอยูช่ นั้ ประถมก็เป็นเด็กช่วย มิสซา และก็ได้สนใจทีจ่ ะเข้าบ้านเณรทัง้ ๆ ทีไ่ ม่รวู้ า่ บ้านเณรเป็นอย่างไร แต่เมือ่ ได้มโี อกาส ไปเข้าค่ายกระแสเรียกสัมผัสชีวติ เณร ก็รสู้ กึ ประทับใจและต้องการทีจ่ ะสมัครเข้าเป็นเณร เพื่อที่จะเป็นพระสงฆ์ จากวันนั้นจนวันนี้ผมยังคงมีกระแสเรียกที่มั่นคงในหนทางนี้และได้ ไตร่ตรองตนเองอยู่เสมอถึงการเป็นสงฆ์ผู้รับใช้ที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าต่อไป ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อยอแซฟ สุดเจน ฝ่นเรือง ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นสังฆานุกร วันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชหลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นพระสงฆ์ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา โดย พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา
ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่ โปรดส่งข้าพเจ้าไปเถิด (อสย 6:8)
15
พระสงฆ์ ใหม่ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อมัทธิว วรวุฒิ มาหา
16
เกิดเมื่อ สัตบุรุษวัด บิดา มารดา จ�ำนวนพี่น้อง การศึกษา คติพจน์
23 มกราคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) พระผู้ไถ่ เสาวภา ฟรังซิสโก วันชัย มาหา คลารา กฤตติกา มาหา 4 คน เป็นบุตรคนที่ 2 ระดับประถมศึกษา โรงเรียนคริสตสงเคราะห์ ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี/ปริญญาโท วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน จงชื่นชมในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาเถิด (ฟป 4:4)
เหตุจูงใจในการเข้าบ้านเณร เริม่ ต้นจากความประทับใจในตัวของพีส่ ามเณรตอนทีเ่ ขากลับมาเข้าวัดทีบ่ า้ น เพราะ เขาดูเรียบร้อยและตามความรู้สึกของเราเด็ก ๆ ก็คิดว่าเขาเท่ห์ดี รวมถึงความประทับใจ ในตัวพระสงฆ์ที่ใจดี เมื่อได้เข้าบ้านเณรผ่านการอบรมฝึกฝนก็ได้ท�ำให้เข้าใจมากขึ้น เกี่ยว กับชีวิตบนเส้นทางกระแสเรียกที่จะเป็นพระสงฆ์ การได้ออกไปท�ำงานอภิบาลตามวัดใน แต่ละปี ได้เรียนรู้ชีวิตพระสงฆ์รุ่นพี่ สอนค�ำสอน พบเจอกับสัตบุรุษ ท�ำให้ผมมั่นใจที่จะใช้ ชีวิตแบบพระสงฆ์และปรารถนาที่จะมีชีวิตแบบพระสงฆ์ไปจนถึงวันสุดท้าย ผู้ส่งเข้าบ้านเณร คุณพ่อยอแซฟ ชาติชาย พงษ์ศิริ ได้รับการแต่งตั้ง เป็นผู้อ่านพระคัมภีร์ วันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ เป็นผู้ช่วยพิธีกรรม วันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 2017 ณ สามเณราลัยยอแซฟ สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชยอแซฟ พิบูลย์ วิสิฐนนทชัย เป็นสังฆานุกร วันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ณ สามเณราลัยแสงธรรม สามพราน นครปฐม โดย พระสังฆราชหลุยส์ จ�ำเนียร สันติสุขนิรันดร์ เป็นพระสงฆ์ วันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา โดย พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี เป็นผู้ช่วยอธิการบ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา
จงชื่นชมในองค์พระผู้เป็นเจ้าทุกเวลาเถิด (ฟป 4:4)
17
50
ปีชีวิตสงฆ์ คุณพ่อเปโตร แสวง สามิภักดิ์ (1969-2019)
ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 1938 • สัตบุรษุ วัด อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินริ มล • บิดาชื่อ ฟรังซิสโก สวัสดิ์ สามิภักดิ์ (เสียชีวิต) • มารดาชื่อ อันนา จ�ำรัส สามิภักดิ์ (เสียชีวิต) • จ�ำนวนพี่น้อง 11 คนเป็นบุตรคนที่ 3 • รับศีลบวชวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1969
ประวัติการท�ำงาน
“ทั้งกายทั้งใจ มอบแด่พระองค์” 18
• 1969 - 1969 ท�ำงานกับคุณพ่อซีมอน อรุณ ธรรมธาดา ที่เขาฉกรรจ์ บ้านทัพ • 1969 - 1972 ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • 1972 - 1977 เจ้าอาวาส วัดพระผู้ไถ่ เสาวภา • 1977 - 1980 เจ้าอาวาส วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง • 1979 - 1980 ท�ำงานบริเวณชายแดน อรัญประเทศ สระแก้ว • 1980 - 1983 เจ้าอาวาส วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • 1983 - 1985 ผู้อ�ำนวยการสนามโคเออร์ ช่วยมิสซาที่ วัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญฯ วัดนักบุญวินเซนต์เดอปอล เขาขาด • 1985 - 1989 เจ้าอาวาส วัดนักบุญวินเซนต์เดอปอล เขาขาด วัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญฯ • 1989 พักรักษาสุขภาพ • 2000 - 2003 เจ้าอาวาส วัดนักบุญวินเซนต์เดอปอล เขาขาด วัดราชินีแห่งสันติภาพ อรัญฯ • 2003 - ปัจจุบัน เกษียณอายุ
19
ขอร่วมแสดงความ 60 ปี ชีวิตสงฆ์ พระสังฆราช 50 ปี ชีวิตสงฆ์ คุณพ่อ
TU ES SACERDO
20
มยินดี โอกาสครบ ชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต อเปโตร แสวง สามิภักดิ์
OS IN AETERNUM
21
60 ปี ชีวิตสงฆ์
พ
ระสังฆราชกิตติคุณ ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต (1959-2019) ประวัติส่วนตัว • เกิดวันที่ 28 พฤศจิกายน 1931 • สัตบุรุษวัด นักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ • บิดาชื่อ ยอแซฟ ธง สมานจิต (เสียชีวิต) • มารดาชื่อ มาร์ธา แก้ว สมานจิต (เสียชีวิต) • จ�ำนวนพี่น้อง 5 คน เป็นบุตรคนที่ 1 • รับศีลบวชวันที่ 29 มกราคม 1959
“อุทิศตนเพื่อภาวนาและบริการพระวาจา” 22
ประวัติการท�ำงาน 1959-1963
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสอาสนวิหารพระนางมารีอาฯ จันทบุรี วิญญาณารักษ์ซิสเตอร์อารามแม่พระฟาติมา
1956-1966
ศึกษาพิธีกรรมและวิชาอภิบาล ที่ประเทศเบลเยี่ยม
1967-1970
เลขานุการพระสังฆราช ฟรังซิสเซเวียร์ สงวน สุวรรณศรี
1971-1975
เลขาธิการสภาพระสังฆราช สมัยที่ 1 ประธานคณะกรรมการพิธีกรรม
1982-1988
เลขาธิการสภาพระสังฆราช สมัยที่ 2
1988-1994
ประธานคณะกรรมการค�ำสอน ประธานศูนย์อบรมคริสตศาสนธรรม
1994-1999
ประธานคณะกรรมการเพื่อการท่องเที่ยว ประธานคณะกรรมการผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ถูกคุมขัง
2000-2001
รองประธานสภาพระสังฆราช สมัยที่ 1
2001-2006
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อสตรี ประธานคณะกรรมาธิการฝ่ายศาสนาและวัฒนธรรม ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อศาสนสัมพันธ์ และคริสตศาสนสัมพันธ์ไทยและเอเชีย
2006-2009
รองประธานสภาพระสังฆราช สมัยที่ 2
2007-2009
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม
1963-1965
เจ้าอาวาสวัดอารักขเทวดา แหลมประดู่ วัดธรรมาสน์นักบุญเปโตร ท่าแฉลบ
1966-1967
เรียนหลักสูตรการสอนค�ำสอนที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
1971
วันที่ 17 กรกฎาคม ได้รับประกาศแต่งตั้ง เป็นพระสังฆราชสังฆมณฑลจันทบุรี วันที่ 3 ตุลาคม ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราช
1974-1988
ประธานคณะกรรมการเยาวชน
1988-1990
ประธานคณะกรรมการพระสัจธรรม
1991-2000
ผู้ประสานงานชมรมนักบวชชายหญิง
1994-2000
เลขาธิการสภาพระสังฆราช สมัยที่ 3 ประธานคณะกรรมการอภิบาลผู้เดินทางทะเล
2000-2006
เหรัญญิกสภาพระสังฆราช
2003-2005
ผู้บริหารสืบเนื่องจากอัครสาวกสังฆมณฑลราชบุรี
2003-2006
ประธานคณะกรรมการคาทอลิกเพื่อผู้เดินทะเล
2003-2007
ประธานองค์กรคาริตัสเอเชีย รองประธานองค์กรคาริตัสสากล
2009-ปัจจุบัน เกษียณอายุ
23
เข้าใจให้ดีเรื่อง
พิธีกรรม
โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
อิริยาบถในระหว่างการประกาศพระวาจา “การประกาศพระวาจาในพิธีกรรม เป็นการประกาศพระราชกิจน่าพิศวงของพระเจ้า ในประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้น คือ พระธรรมล�้ำลึกของพระคริสตเจ้า ซึ่งยังเป็นปัจจุบัน และท�ำงานในตัวเราอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประกอบพิธีกรรม” (SC 35, 2) สวัสดีครับพี่น้องที่รัก เมื่อเราร่วมพิธีกรรม โดยเฉพาะในพิธบี ชู าขอบพระคุณ เราให้ความส�ำคัญ กับพระวาจาของพระเจ้าอันเป็นธรรมล�ำ้ ลึกแห่งความ รอดของเรา พระศาสนจักรได้ก�ำหนดแนวการปฏิบตั ิ อย่างสมพระเกียรติในระหว่างพิธีกรรมนี้ พ่ออยาก น�ำมาเสนอและเน้นย�ำ้ เพือ่ ความเข้าใจของพีน่ อ้ ง จะ ได้รว่ มพิธกี รรมอย่างเหมาะสมและซาบซึง้ ไปกับพระ วาจาของพระเจ้า 1. การยืน ขณะขับร้องเพลงอัลเลลูยา (การยืนคือ การให้เกียรติและให้ความเคารพ) เมื่อเริ่มขับร้องเพลงอัลเลลูยา ทุกคนยืนขึ้น ยกเว้น แต่พระสังฆราช (หากเห็นเหมาะสม พระสงฆ์ที่สวม กาสุลาอยู่ข้างประธานซ้ายขวา อาจจะยังคงนั่งอยู่ และลุกขึ้นยืนพร้อมกับประธาน) พระสังฆราชจะยืนหลังจากได้ใส่ผงก�ำยาน อวยพรสังฆานุกรและถอดหมวกสูงแล้ว ส�ำหรับไม้เท้า อาจจะถือตามทีห่ นังสือ Ceremonial of bishops ระบุไว้ 24
“พระสังฆราชจะรับมาถือ หลังจากได้ทำ� เครือ่ งหมาย กางเขนแสดงความเคารพพระวรสารแล้ว” ด้วยเหตุนี้ เมื่อเริ่มขับร้องอัลเลลูยา พระ สงฆ์ทุกองค์ควรจะยืนขึ้นทันทีเสมอ ไม่ต้องรอให้ พระสังฆราชยืน รวมทั้งเมื่อมีการแห่พระวรสาร เพลงอัลเลลูยาไม่ควรจบก่อน ควรขับร้องตลอดการ แห่ ไม่แห่ในความเงียบ 2. การจูบหรือกราบพระวรสารหลังการประกาศพระวาจา ในหนังสือ Institutio Generalis Missalis Romani (IGMR 134) ระบุไว้ชัดเจนว่า “เมื่อประ กาศพระวรสารจบแล้ว ผู้อ่าน (สังฆานุกร) จะน�ำ พระวรสารไปให้พระสังฆราชจูบหรือจะจูบเองก็ได้” (จูบหรือกราบ โดยเปิดหน้าที่อ่าน) การตัดสินใจว่า ใครจะเป็นผู้แสดงความ เคารพพระวรสาร ด้วยการจูบหรือไหว้นี้ มีค�ำแนะน�ำ เพิม่ เติมในเอกสารอืน่ ว่า พระสังฆราชผูเ้ ป็นประธาน เป็นผู้ตัดสินใจ ในทางปฏิบัติก่อนพิธีเริ่ม นายจารีต
จะสอบถามพระสังฆราชและสือ่ สารกับผูท้ เี่ กีย่ วข้อง : ผู้อ่านพระวรสาร พิธีกร เว้นเสียแต่ว่าได้ถือปฏิบัติ เป็นธรรมเนียมและรับทราบอยู่แล้ว บางโอกาส พระสังฆราชผู้เป็นประธานจะ เลือกให้ผู้อ่านพระวรสารจูบหรือไหว้พระวรสารเอง เช่น เมื่อเป็นมิสซาในกลุ่มเล็ก มิสซาธรรมดา มิสซา ที่ท่านไม่ได้สวมหมวกสูง ไม่ถือไม้เท้า ฯลฯ ธรรมเนียมการจูบพระวรสารหลังการประกาศ เป็นธรรมเนียมดั้งเดิม ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่ใช่ประธาน ผู้เดียวที่จูบพระวรสาร แต่ยังรวมถึงผู้ร่วมถวาย สหบูชามิสซาด้วย ปัจจุบันคงเหลือเพียงประธาน ผู้เป็นพระสังฆราชผู้เดียว และยังคงกล่าวถ้อยค�ำ เบา ๆ ว่า “ขอพระวรสารที่อ่านแล้ว บันดาลให้ เราแคล้วจากมลทิน” อย่างไรก็ตาม เมื่อพระสังฆราชเป็นผู้จูบ ใน กรณีนี้ ทีช่ มุ นุมยังคงยืนอยู่ เพือ่ ให้เกียรติแก่พระวรสาร และรับพร จึงควรมีการสือ่ สารกับพิธกี รและสัตบุรษุ ทุกคน ให้ยืนอยู่อย่างพร้อมเพรียง 3. การอวยพรด้วยพระวรสาร เมือ่ ประกาศพระวรสารจบแล้ว การอวยพร ด้วยการยกพระวรสาร ท�ำเครือ่ งหมายกางเขน อวยพร ทีช่ มุ นุม ไม่ได้เป็นอิรยิ าบถปกติ หรืออิรยิ าบถประจ�ำ ไม่มรี ะบุไว้ในหนังสือ Ceremonial of bishops อย่างไร ก็ตาม ในหนังสือ Instituo Generalis Missalis Romani ได้ระบุเพิ่มเติมว่า “ในพิธีกรรมอย่างสง่า อาจใช้หนังสือพระวรสารอวยพรสัตบุรุษได้ด้วย ตามความเหมาะสม” (IGMR 175) ส�ำนวนพิธีกรรม เมื่อมีค�ำว่า อาจใช้ อาจ กล่าว อาจละเว้น ฯลฯ ท�ำให้เข้าใจได้ทันทีว่า เป็น “การเลือกได้” (optional) และโดยทั่วไปจะ พยายามไม่ทำ� จนกลายเป็นเรือ่ งปกติ หรือกลายเป็น Obligatory ครับ
มีค�ำแนะน�ำเพิ่มเติมที่น่าค�ำนึงถึงก็คือ การ อวยพรดังกล่าว เป็นการอวยพรด้วยหนังสือพระวรสาร (Book of the Gospels) ซึ่งเรายังไม่มีจัดพิมพ์เป็น ทางการในประเทศของเรา เมื่อจูบ กราบหรือไหว้แล้ว จะอัญเชิญ พระวรสารไปเก็บในทีท่ เี่ หมาะสม (ไม่ได้ใช้อกี ) ยกเว้น ว่าจะมีพิธีกรรมอื่นที่ต้องใช้พระวรสารแทรกในพิธี มิสซา เช่น พิธีบวชพระสังฆราช การอวยพรด้วยพระวรสารนี้ เป็นการอวยพร ด้วยหนังสือทั้งเล่ม (ปิดหนังสือ) ดังนั้น หากเรายัง ไม่มีหนังสือพระวรสาร หรือเป็นเพียงการแทรกบท พระวรสารในแฟ้มที่ใช้ร่วมกับบทมิสซา ซึ่งยังต้อง ใช้ต่อไปในภาคบูชาขอบพระคุณ มีการเสนอว่า ไม่ น่าจะมีการอวยพรด้วยพระวรสาร สิ่งที่เราเคยปฏิบัติกัน คือ ใช้หนังสือพระ คัมภีร์เล่มใหญ่ และแทรกบทพระวรสารไว้ แม้จะยัง ไม่ถกู ต้องนัก แต่ยงั เหมาะสมกว่าทีจ่ ะใช้แฟ้มมิสซาที่ มีปกสวยงามในการแห่แทนหนังสือพระวรสารหรือ วางบนพระแท่นบูชา แต่ถา้ เป็นหนังสือทีใ่ ช้เป็นบทมิสซาด้วย ควร เลือกที่จะละเว้นการอวยพรด้วยพระวรสารด้วย เนือ่ งจากการอวยพรดังกล่าวนี้ ไม่ใช่อริ ยิ าบถ ปกติ หรืออิริยาบถที่ต้องเกิดขึ้นประจ�ำสม�่ำเสมอ ดังนั้น หากพระสังฆราชปรารถนาจะอวยพรด้วย พระวรสารก่อนพิธจี ะเริม่ นายจารีต ควร/ต้อง สือ่ สาร กับพระสังฆราชและสื่อสารกับพิธีกร เพื่อให้ที่ชุมนุม ทุกคน ยืนรับพรจากพระวรสารด้วยความพร้อมเพรียง ขอให้พี่น้องร่วมพิธีกรรม โดยเฉพาะในภาค พระวาจาอย่างเคารพ ศรัทธาต่อพระด�ำรัสของพระเจ้า ตลอดไปนะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ 25
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี
รูปแบบของการแต่งงานตามกฎหมายพระศาสนจักร (Canonical Form)
พี่น้องคริสตชนที่รักทุกๆ ท่านครับ หากทุกท่านอ่านบทความฉบับนี้แล้ว พ่อหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าเราคงจะช่วยให้ค�ำตอบกับผู้มาสอบถามได้ว่า “รูปแบบของการแต่งงาน ตามกฎหมายพระศาสนจักรคาทอลิกเป็นอย่างไร?” เรามาพิจารณากันเลยดีกว่าครับ องค์ประกอบหลักของการแต่งงาน มี 3 ประการ คือ... 1. คู่บ่าว – สาว ต้องเป็น ชาย-หญิง ซึ่งปรากฏตัวเพื่อให้และรับ ความสมัครใจ ต่อ หน้าประธานในพิธี 2. ประธานในพิธี ผูใ้ หญ่ทอ้ งถิน่ หรือพระสงฆ์เจ้าอาวาส หรือพระสงฆ์อนื่ หรือสังฆานุกร หรือฆราวาส ที่ได้รับมอบอ�ำนาจ 3. พยาน การแสดงความสมัครใจ ต่อหน้าพยาน 2 คน หรือ มากกว่านั้นก็ย่อมได้ ลักษณะของรูปแบบของการแต่งงาน สามารถจ�ำแนกได้ดังต่อไปนี้... 1. รูปแบบปกติ (Ordinary Form) 1.1 ระหว่างคาทอลิก กับ คาทอลิก 1.2 ระหว่างคาทอลิก กับ ผู้ที่ไม่ได้รับศีลล้างบาป 1.3 ระหว่างคาทอลิก กับ ผู้รับศีลล้างบาป (เช่น คริสตชนจากนิกายอื่นๆ ซึ่งไม่เป็น คาทอลิก) ฝ่ายคาทอลิก ต้องกระท�ำตามรูปแบบที่พระศาสนจักรก�ำหนด (Canonical Form) 26
2. รูปแบบพิเศษ (Extraordinary Form) เมื่อประธานในพิธีไม่สามารถมาปรากฏตัวได้ หรือจะเข้าถึงได้ก็ต้องพบกับความ ไม่สะดวกอย่างยิ่ง การแต่งงานที่แท้จริงสามารถเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง และชอบ ด้วยกฎหมาย โดยกระท�ำต่อหน้าพยานเท่านั้นได้ ในกรณีต่อไปนี้ 2.1 ในกรณีเสี่ยงตาย (in danger of death) 2.2 นอกกรณีเสี่ยงตาย หากคาดการณ์ได้ว่า เหตุการณ์นี้จะยืนยาวต่อเนื่องไป อีก 1 เดือน การแต่งงานด้วยรูปแบบพิเศษ ต้องการ 1. การแสดงออกซึ่งการให้และรับความสมัครใจ 2. ต่อหน้าพยาน 2 คน (หากมีพระสงฆ์ หรือ สังฆานุกร ท่านอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ให้เรียกมาปรากฏตัวด้วย) ประธานในพิธีแต่งงาน โดยต�ำแหน่งหน้าที่ ได้แก่... 1. ผู้มีอ�ำนาจท้องถิ่น (Ordinary) 2. คุณพ่อเจ้าอาวาส หรือ ผู้อื่นที่ได้รับมอบอ�ำนาจ ได้แก่... 1. พระสงฆ์ 2. สังฆานุกร 3. ฆราวาส (ในสังฆมณฑลจันทบุรี ไม่เคยอนุญาตให้ฆราวาสประกอบพิธแี ต่งงานครับ) • การมอบอ�ำนาจให้ฆราวาสประกอบพิธีแต่งงาน ต้องได้รับการอนุญาตจาก สภาพระสังฆราช โดยต้องได้รับการอนุมัติจากสันตะส�ำนักก่อน • มีความสามารถในการอบรมคู่แต่งงาน • มีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติตามจารีตพิธีกรรมการแต่งงานได้อย่างถูกต้อง ศาสนบริกร ต้องประกอบพิธีแต่งงาน ให้ถูกต้องตามข้อก�ำหนดของพิธีกรรม กระนั้นแม้บางครั้งมีข้อผิดพลาดด้านพิธีกรรม ไม่ท�ำให้การแต่งงานเป็นโมฆะ เพราะการ ให้ความสมัครใจของคู่บ่าว-สาว เป็นพันธะที่คงอยู่ตลอดไป ขอพระเจ้าคุ้มครองและอวยพรทุกท่านทุกประการครับ แล้วพบกันฉบับต่อไปครับพี่น้อง เรียบเรียงจากบทความของ คุณพ่ออดิศักดิ์ สมแสงสรวง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 27
ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี
การทำ�งานด้านสังคมของสังฆมณฑลจันทบุรี จากฉบับที่แล้ว เราเริ่มด้วยการที่สังฆมณฑลได้แต่งตั้ง คุณพ่อสีลม ไชยเผือก ให้เป็นบุคคลแรกดูแลงานสังคมอย่างเป็นทางการ และเพื่อให้เกิด ความก้าวหน้าในการอภิบาลด้านสังคมอย่างเข้มข้นมากขึ้น ทางสังฆมณฑล จึงส่ง คุณพ่อสีลมไปศึกษาต่อด้านสังคมที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ระหว่างปี ค.ศ. 1979 – 1982 (พ.ศ. 2522 – 2525) เพื่อสังฆมณฑลจะได้มีบุคลากรที่ มีความเชี่ยวชาญในงานนี้ และช่วงเวลานั้นเอง สังฆมณฑลได้แต่งตั้ง คุณพ่อ วัชรินทร์ สมานจิต รักษาการแทน ส�ำนักงาน : โรงเรียนชุมชนพัฒนา จังหวัดสระแก้ว • • • • • • • • • 28
สถานการณ์ทางสังคม/พระศาสนจักร การอพยพย้ายถิ่นจากภาคอีสานมีจ�ำนวนมากขึ้น คนไทยเขตชายแดนไทย-กัมพูชาได้รับผลกระทบจากภัยสงคราม ทุนนิยมและการสร้างสาธารณูปโภค เกิดการปฏิวัติและการเมือง การเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน มีการประชุมกลุ่มพระสังฆราช BISA 7 และ กลุ่ม SAT (Social Action Theology Study Group) สังฆมณฑลสร้างโรงเรียนชุมชนพัฒนา เกิดงานสงเคราะห์ของหน่วยงานโคเออร์ มีการร่วมมือการท�ำงานกับคณะนักบวชในงานสังคม : ซิสเตอร์น้อมจิต อารีพรรค และซิสเตอร์ เลโอนาริด กิจประเสริฐ มาช่วยงานอภิบาลและงานพัฒนาเขตสระแก้ว ฯลฯ
• • • • • • •
นโยบายหลักในงานพัฒนา มีกระบวนการการปลุกจิตส�ำนึก พลังสร้างสรรค์ของประชาชน ในการพึ่งตนเอง การฝังตัวของผู้ปฏิบัติงานในหมู่บ้าน กระบวนการร่วมชีวิต การศึกษาชุมชน การพัฒนาชุมชนแบบเบ็ดเสร็จ การส่งเสริมเผยแพร่พระวรสาร ความรู้ทางวิชาการและอาชีพ การสรุปบทเรียนจากสถานการณ์และ งานต่าง ๆ ในด้านสังคม
• • • •
กลุ่มเป้าหมาย พระสงฆ์ นักบวชและคณะกรรมการวัด คริสตชนที่ยากจนตามวัด โดยเฉพาะเขตจังหวัดสระแก้ว ประชาชนในชุมชนที่ยากจน (คนพุทธ) ประชาชนในชุมชนที่ยากจนในเขตชายแดน
• • • • • •
กิจกรรม ตั้งคณะกรรมการบริหารระดับสังฆมณฑล โดยมีพระสงฆ์ ซิสเตอร์ ฆราวาส เข้ามามีบทบาทในงานพัฒนา งานโครงการธนาคารควาย/ข้าว ในหมู่บ้านคริสตชน เขตจังหวัดสระแก้ว งานโครงการพัฒนาน�้ำในเขตอ�ำเภอ โป่งน�้ำร้อนและจังหวัดสระแก้ว งานพัฒนาอาชีพทางการประมง เลี้ยงหอย เขตขลุง แหลมประดู่ จังหวัดตราด งานโครงการพัฒนาชุมชนแบบเบ็ดเสร็จ ในหมู่บ้านคริสตชน เขตจังหวัดสระแก้ว การฝึกอบรมบุคลากร ผู้น�ำ สมาชิกต่าง ๆ
• • •
งานรณรงค์จิตตารมณ์มหาพรต กระบวนการสัมผัสชีวิต การฝังตัว การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังฆมณฑล งานออมทรัพย์และเครดิตยูเนียนในวัด
งบประมาณ • เงินทุนจากต่างประเทศ • วัดและสังฆมณฑล เราจะเห็นได้ว่า สังฆมณฑลพยายามสร้าง บุคคลากร เพื่อให้มีความสามารถที่จะท�ำงานและ สืบทอดงานด้านสังคมได้อย่างต่อเนือ่ งและมีคณ ุ ภาพ ซึ่งท�ำให้การท�ำงานด้านสังคมที่ต้องสนองกับสภาพ สังคม และตามหลักค�ำสอนของพระศาสนจักร ก่อ ให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องในสังคมมากที่สุด ตามค�ำ สั่งของพระคริสตเจ้าพระอาจารย์ของเรา นี่คือ จิต ตารมณ์ที่แท้จริงของพระศาสนจักร พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับ
29
เรียนรู้พระคัมภีร์ เจริญชีวิตตามพระวาจา โดย คุณพ่อสมชาย เกษี
ช่วงเวลาของพระคัมภีร์ไบเบิล สวัสดีครับ พีน่ อ้ งทีร่ กั ทุกท่าน วันนีพ้ อ่ ขอน�ำ เกร็ดความรูพ้ นื้ ฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับพระ คัมภีรม์ าแบ่งปันกับพีน่ อ้ งอีกเช่นเคยนะครับ ส�ำหรับ วันนีจ้ ะกล่าวถึง “ช่วงเวลาของพระคัมภีรไ์ บเบิล”. เพื่อที่จะพูดถึงเรื่องนี้ เราต้องเข้าใจก่อน ว่า สิ่งที่มีผลต่อพระคัมภีร์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ก็คือ ช่วงเวลาที่ส�ำคัญของพระคัมภีร์ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงด้วยกัน โดยช่วงเวลาแรก คือ “ช่วงเวลาที่ เหตุการณ์เกิดขึ้น” ตามที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับอับราฮัมและนางซาราห์นั้น หนังสือปฐมกาลได้เล่าว่าช่วงเวลาทีพ่ วกเขามีชวี ติ อยู่ คือยุคสัมฤทธิ์ตอนกลาง (Middle Bronze period) หรือประมาณ 2000-1550 ปี ก.ค.ศ. ช่วงเวลาทีส่ อง คือ “ช่วงเวลาทีเ่ หตุการณ์ เหล่านี้ถูกเล่าสืบต่อกันมา” เช่น เรื่องราวเกี่ยว กับอับราฮัมและนางซาราห์ได้ถูกเล่าสืบต่อกันมาใน
30
ยุคเหล็ก ประมาณปี 1000-925 ก.ค.ศ. โดยที่เรื่อง เหล่านีอ้ าจจะถูกเรียบเรียงขึน้ มาตัง้ แต่กอ่ นยุคเหล็ก แล้วก็ได้ แต่น�ำมาเล่าสืบต่อกันมาในภายหลัง ไม่ใช่ ในยุคส�ำริดตอนกลางหรือตอนปลาย (1550-1200 ก.ค.ศ.) ดังนั้น เวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นกับเวลาที่ เรือ่ งราวเหล่านีถ้ กู เล่าสืบต่อกันมา จึงอาจจะห่าง กันพอสมควร ส่วนช่วงเวลาทีส่ าม คือ “เวลาทีเ่ หตุการณ์ เหล่านีถ้ กู บันทึกเป็นลายลักษณ์อกั ษร” เช่น เรือ่ ง ราวเกี่ยวกับอับราอัมและนางซาห์ กว่าจะถูกบันทึก ไว้เป็นตัวอักษรก็นา่ จะอยูใ่ นช่วงเวลาทีช่ าวยิวกลับมา จากการถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยทีก่ รุงบาบิโลนแล้ว ดังนั้น หลาย ๆ เรื่องในพระคัมภีร์ (โดยเฉพาะใน พันธสัญญาเดิม) จึงอาจจะมีช่วงระยะเวลาที่ห่าง กันมาก ระหว่างเวลาที่เหตุการณ์เกิดขึ้นกับการ บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
ยิ่งไปกว่านั้น ล�ำดับของหนังสือพระคัมภีร์ ตามสารบบ หรือเนือ้ หาสาระของพระคัมภีรแ์ ต่ละ เล่มก็ไม่ใช่สิ่งที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของพระ คัมภีรเ์ ล่มนัน้ ได้ เช่น หนังสือปฐมกาล ซึง่ เป็นหนังสือ เล่มแรกในสารบบพระคัมภีร์ และเนื้อหาก็เล่าถึงต้น ก�ำเนิดของโลกและจักรวาล แต่กลับไม่ใช่หนังสือทีเ่ ก่า แก่ที่สุด เพราะนักพระคัมภีร์พบว่า เพลงสรรเสริญ ของมีเรียม (อพย 15,20-21) ค�ำอวยพรของบาลาอัม (กดว 22,1 – 24,25) เรื่องราวของเดโบราห์ (วนฉ 4,1-16) เรือ่ งราวของยาเอล (วนฉ 4, 17-24) นัน้ เก่า แก่กว่า เช่นเดียวกันกับค�ำอวยพรของยาโคบ (ปฐก 49,1-27) ค�ำอวยพรของอิสราเอล (ฉธบ 33,1-29) ค�ำคร�ำ่ ครวญถึงซาอูลและโยนาธาน (2ซมอ 1,19-27) บทเพลงทีย่ กย่องพระยาเวห์วา่ ทรงเป็นนักรบ (2ซมอ 22,2-51; สดด 18,1-51; สดด 29,1-11; สดด 68; ค�ำสอนของดาวิด (2ซมอ 23,1-7) ก็มีค�ำศัพท์และ ไวยากรณ์ภาษาฮีบรู รวมถึงการบรรยายถึงสภาพ สังคมโลกในช่วงเวลาที่เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ว่า น่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นของยุคเหล็ก
อย่างไรก็ตาม นักโบราณคดีมีวีธีการแบ่ง ช่วงเวลาที่แตกต่างออกไป โดยพวกเขาแบ่งและ เรียกแต่ละช่วงเวลาตาม “วัสดุที่มนุษย์น�ำมาใช้ เป็นเครือ่ งมือในการด�ำรงชีวติ และเป็นอาวุธ” เริม่ จาก “ยุคหิน” ซึ่งมนุษย์ใช้หินเป็นเครื่องมือและเป็น อาวุธ จนถึงประมาณปี 3300 ก.ค.ศ. “ยุคส�ำริด” ก็ได้เริ่มต้นขึ้น และหลังจากนั้นก็เข้าสู่ “ยุคเหล็ก” เมื่อประมาณปี 1200 ก.ค.ศ.
หากจะสรุปเป็นปี “ก.ค.ศ.” และ “ค.ศ.” แบบทีเ่ ราคุน้ เคยนัน้ ดาวิดและซาโลมอนได้ปกครอง อิสราเอลประมาณปี 1,000 – 932 ก.ค.ศ. และเฮโรด เป็นกษัตริย์แห่งยูเดียตั้งแต่ปี 37 – 4 ก.ค.ศ. และ ปิลาตได้ปกครองยูเดียตั้งแต่ ค.ศ. 27 – 37 อักษร ย่อ “ก.ค.ศ.” นั้นมาจาก “ก่อนคริสตศักราช” และ “ค.ศ.” ย่อมาจาก “คริสตศักราช” ซึง่ พระสันตะปาปา เกรโกรี่ที่ 13 ได้ริเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1582 โดยเริ่มนับ ปีที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดเป็น ค.ศ.1
ต่อมาในปี 538 ก.ค.ศ. กษัตริย์ไซรัส แห่ง เปอร์เซียได้ปลดปล่อยชาวยิวกลับกรุงเยรูซาเล็ม พวกเขาได้รอื้ ฟืน้ สร้างพระวิหารใหม่อกี ครัง้ และพระ คัมภีร์ของพวกเขา (พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม) ก็ได้ถกู รวบรวมและบันทึกเป็นลายลักษณ์อกั ษรอย่าง จริงจัง รวมถึงมีการปฏิรูปศาสนาในด้านอื่น ๆ ด้วย
ชาวฮีบรูในพระคัมภีร์ เป็นกลุ่มชนที่อยู่ ในยุคส�ำริดตอนปลาย และคาบเกี่ยวกับยุคเหล็ก ตอนต้น หมู่บ้านของพวกเขาเริ่มปรากฏในดินแดน ซีเรีย-ปาเลสไตน์ประมาณปี 1200 ก.ค.ศ. จนถึง ประมาณปี 1000 ก.ค.ศ. หมู่บ้านเหล่านี้ได้รวมตัว กันเป็นอาณาจักรอิสราเอล หรืออาณาจักรเหนือ ซึง่ ต่อมาได้ถกู โจมตี และพ่ายแพ้แก่กองทัพอัสซีเรียเมือ่ ประมาณปี 721 ก.ค.ศ. และอาณาจักรยูดาห์ หรือ อาณาจักรใต้ ซึง่ ต่อมาก็ได้ถกู อาณาจักรบาบิโลนเข้า มายืดครองและกวาดต้อนประชาชนไปเป็นเชลยเมือ่ ประมาณปี 587 ก.ค.ศ.
31
น�้ำครึ่งแก้ว
โดย น�้ำผึ้งหวาน
จงระวังบรรดาธรรมาจารย์ที่ชอบสวมเสื้อยาวเดินไปมา พอใจให้คนทั้งหลายค�ำนับตามลานสาธารณะ พอใจนั่งแถวหน้าในศาลาธรรม พอใจนั่งที่หัวโต๊ะในงานเลี้ยง... คนเหล่านี้จะรับโทษหนักกว่าผู้อื่น (มาระโก 12:38-40)
มนุษย์ เจริญเติบโตทางด้านร่างกายอยู่เสมอ มีพัฒนาการทางความคิด จิตใจอยู่ตลอดเวลา แต่น่าแปลก คุณลักษณะหนึ่งของมนุษย์ ไม่ได้เจริญงอกงามตามสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นเลย กลับค่อย ๆ ลดลงตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการทั้งหลาย นั่นก็คือ ความสุภาพถ่อมตน ยิ่งมากด้วยวัยวุฒิ ยิ่งสูงล�้ำด้วยคุณวุฒิ ความนบนอบกลับลดลงไปตามล�ำดับ เคยไหม ที่ถูกสายตาและค�ำพูดสะท้อนกลับมา แสดงให้เราเห็นว่า เขามีในสิ่งต่าง ๆ ที่คุณก�ำลังจะพูด จะบอกเขาแล้ว และอาจจะมีมากกว่าคุณด้วยซ�้ำไป สะท้อนมุมมองกลับมามองตนเองบ้าง เคยไหม ที่มีบุคคลที่แลดูจะต้อยต�่ำกว่าเรา บังอาจมาตักเตือน หรือสั่งสอนเรา
ข้าพเจ้าบันทึกข้อคิดเหล่านี้เก็บไว้เพื่อเตือนใจตนเอง และส่งต่อให้ลูก ๆ ของข้าพเจ้าได้อ่าน เพื่อไตร่ตรองตนเองด้วย 32
....ข้อคิดถึงลูกรัก..... ลูกรัก....จงเป็นน�้ำเพียงครึ่งแก้วเมื่อต้องการความรู้จากผู้อื่น แม้ลูกอาจจะ รู้สึกว่าคน ๆ นั้นด้อยด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิกว่าลูกก็ตามแค่สุภาพให้พอเพื่อจะฟัง แล้วลูกจะได้ก�ำไรชีวิต ลูกรัก....จงเป็นน�้ำเต็มแก้ว เมื่อต้องรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย นั่น คือ จงท�ำงานนั้นด้วยความสามารถทั้งหมด และพระพร อีกทั้งความรู้ที่ลูกมี เพื่อให้ งานที่ลูกรับผิดชอบนั้นมีคุณค่าต่อคนรอบข้าง ลูกรัก....จงหมัน่ ถ่ายเทน�ำ้ ทีเ่ น่าเสียออกบ้าง นัน่ คือ ใจทีค่ ดิ ร้าย พูดร้าย และ ท�ำร้ายผูอ้ นื่ จงหมัน่ เติมน�ำ้ ดีอยูเ่ สมอ นัน่ คือ พระวาจาของพระเจ้าทีจ่ ะคอยช�ำระล้าง วิญญาณของลูกให้สะอาดบริสุทธิ์ เหมือนดังดวงใจของพระองค์ บรรดาธรรมาจารย์มกั คิดว่าตนเองเป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละสะอาดบริสทุ ธิอ์ ยูเ่ สมอ เขาปฏิบตั ศิ าสนพิธเี พือ่ แสดงให้สาธารณชนได้เห็น พระเยซูเจ้าตรัสสอนเตือนใจเรา ไว้ว่า หากเราท�ำดีเพื่ออวดคนรอบข้างเราก็ได้รับรางวัลจากโลกนี้แล้ว หมั่นเรียนรู้จากบรรดาผู้ต�่ำต้อยที่มักคิดว่า ตนเองไม่คู่ควรกับสิ่งนั้นสิ่งนี้ เขาปฏิบัติตนเพียงเพื่อเป็นผู้รับใช้ที่ดี ด้วยความสุภาพเท่านั้น องค์พระผู้เป็นเจ้า ประทานความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกดขี่ ประทานอาหารแก่ผู้หิวโหย องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงปล่อยบรรดาผู้ถูกจองจ�ำให้เป็นอิสระ (สดุดี 146 : 7)
จงเป็นน�้ำ เพียงครึ่งแก้ว รับฟังแล้ว ทบทวนแก้ สุภาพพอ เป็นผู้แพ้ เพือ่ สุขแท้ ของวิญญาณ จงเป็นน�้ำ เปี่ยมธรรมล้น แบ่งปันชน คนสืบสาน ใช้พระพร พระประทาน เพื่อเป็นทาน แก่ผองชน 33
ป
จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ เสกน�้ำมันศักดิ์สิทธิ์ สังฆมณฑลจันทบุรี
ณ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา 17 เม.ย. 2019
34
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับสาร ตราด 23 มี.ค. 2019 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญยอแซฟกรรมกร ท่าใหม่ 27 เม.ย. 2019
35
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ 11 พ.ค. 2019 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระจิตเจ้า บ้านทัพ 18 พ.ค. 2019
36
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระที่พึ่งแห่งปวงชน แหลมโขด 25 พ.ค. 2019 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยฯ ขลุง 1 มิ.ย. 2019
37
ฉลอง 84 ปี บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา 8 มิ.ย. 2019 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา 15 มิ.ย. 2019
38
ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว 29 มิ.ย. 2019 ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ 13 ก.ค. 2019
39
15 สิงหาคม
สมโภชพระนางมารีย์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ