สายใยจันท์ V.38

Page 1

แจกฟรี 2 0 2 2 ปีที่ 33 กันยายน - ธันวาคม เล่มที่.38 สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล สารบัญ Contents เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก | ศุภชัย พรมสาร | พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก บทความประจ�า คุณพ่อเอกภพ ผลมูล คุณพ่อนันทพล สุขส�าราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร กิจกรรม และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�านักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี 6 แผนกคริสตศาสนธรรม แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030 11 ฝ่ายการศึกษา ประจักษ์พยานชีวิตครู: เพื่อนร่วมทางชีวิตกับผู้เรียน 13 กฎหมายพระศาสนจักร การเตรียมจารีตพิธีแต่งงานของคริสตชน 15 แผนกพิธีกรรม เหตุใดการแห่พระวรสาร จึงน�าด้วย เทียนและก�ายานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ? 17 แผนกครอบครัว ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน 20 ฝ่ายสังคม เวชบุคคลสังฆมณฑลจันทบุรี บันทึกไว้ในงาน...เรือนจ�า 23 แผนกเยาวชน แบ่งปันประสบการณ์จากการสัมผัสชีวิต Taize 2
บรรณาธิการ รักในพระคริสตเจ้า คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี ผู้อ�านวยการแผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี Editor’s talk สายใยจันท์ฉบับนี้ น�าเสนอแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030 (10 ปี) ซึ่งเป็นแผนที่เกี่ยวข้องกับทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี หรือประชาชนที่อาศัย อยู่ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย แผนนี้จะส�าเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี บรรลุเป้า หมายเดียวกัน หากทุกคนได้อ่าน รับรู้ และท�าความเข้าใจ ก็จะช่วยท�าให้เกิดความ เป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) การมีส่วนร่วม (Participation) ตามบทบาทหน้าที่ ของตน และพันธกิจ (Mission) คือ หน้าที่และความรับผิดชอบที่สามารถจะกระท�า ได้ อันเกิดมาจากจิตส�านึกแห่งความเชื่อ (Sensus fidei) ที่ได้รับมาจากศีลล้างบาป แผนอภิบาลฉบับปัจจุบันนี้ สืบเนื่องมาจากแผนอภิบาล ค.ศ. 2016-2020 ซึ่งปกติแต่ละแผนมีอายุ 5 ปี แต่เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ท�าให้การ ประเมินผลล่าช้าออกไป ประกอบกับการท�าสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี
ตามพระด�าริของพระสันตะปาปาฟรังซิส ท�าให้เกิดข้อมูลในการจัดท�าแผนอภิบาล ฉบับนี้เพิ่มเติม พี่น้องสามารถติดตามเอกสารที่เกี่ยวข้องของแผนอภิบาลปี ค.ศ. 2021-2030 ก่อนหน้านี้ คือ แถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ในสายใยจันท์ฉบับ ที่ 36 เรื่องการก้าวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร ในสายใยจันท์ ฉบับที่ 34 หรือแผนอภิบาลฯ ฉบับสมบูรณ์ได้ที่วัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑลจันทบุรี หรือ ใน www.chandiocese.org 3
ค.ศ. 2021
เราก้าวเดินไปด้วยกันตลอดปี 2022 ขอขอบคุณพระเจ้าที่พระองค์อยู่ร่วมในการเดินทาง กับเราตลอดเวลา แม้ว่าในหลาย ๆ ครั้งเราอาจไม่ได้ส�านึกถึงการประทับอยู่ของพระองค์ เราได้ เห็นสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้น คือ ผลของการท�าสมัชชาสังฆมณฑลซึ่งท�าให้ชีวิตของสังฆมณฑลได้ปรากฏ ขึ้นให้เห็นถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน การมีส่วนร่วม และพันธกิจที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น และจากการท�าสมัชชา ขั้นตอนที่ด�าเนินการต่อเนื่อง คือ การท�าแผนอภิบาล ซึ่งได้กระท�าส�าเร็จ และประกาศใช้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2022 โอกาสการประชุมสภาอภิบาลสังฆมณฑล สังฆมณฑลไม่ใช่เป็นเพียงแค่องค์กรที่รวมผู้คนเข้ามาอยู่ด้วยกันอย่างมีระบบแบบแผน แต่สังฆมณฑลคือชีวิตของประชากรของพระเจ้าที่ก้าวเดินไปด้วยกันซึ่งจ�าเป็นต้องมีเป้าหมายและ ทิศทางของการเดินทางร่วมกัน การมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนจะท�าให้การเดินทางเป็นไป ด้วยดีและสะดวกราบรื่น เวลานี้สังฆมณฑลได้ประกาศแถลงการณ์สมัชชาฯ และแผนอภิบาลไป แล้ว เชื่อว่าประชากรของพระเจ้าในสังฆมณฑลจันทบุรีจะก้าวไปด้วยกันอย่างมีชีวิตชีวาในความ เป็นหนึ่งเดียวกัน การมีส่วนร่วม และพันธกิจ เราเข้าสู่ปีใหม่ 2023 ชีวิตยังต้องด�าเนินต่อไป ในความเป็นคริสตชนเราฝากทุกสิ่งทุกอย่าง ไว้ในพระญาณเอื้ออาทรของพระเจ้า ขอพระองค์พิทักษ์คุ้มครองเรา ท่านรพินทรานาถ ฐากูร นัก ปรัชญาชาวอินเดีย ผู้นับถือศาสนาฮินดู ได้เขียนค�าอธิษฐานภาวนาต่อพระเจ้าซึ่งเราสามารถน�า มาประยุกต์ใช้กับชีวิตของเราได้ “นี่คือค�ำภำวนำของข้ำพเจ้ำที่ทูลวอนพระองค์ พระเจ้ำข้ำ โปรดเคำะลงที่รำกแห่งควำมอัตคัดขัดสนในหัวใจของข้ำพเจ้ำ โปรดประทำนพลังให้ข้ำพเจ้ำสำมำรถแบกรับทั้งควำมสุขและควำมเศร้ำ โปรดประทำนพลังให้ข้ำพเจ้ำที่จะท�ำให้ควำมรักเกิดผลในกำรรับใช้ โปรดประทำนพลังให้ข้ำพเจ้ำที่จะไม่ปฏิเสธผู้ยำกไร้หรือยอมคุกเข่ำลงต่ออ�ำนำจบำตรใหญ่ โปรดประทำนพลังแก่ข้ำพเจ้ำที่จะยกดวงจิตให้สูงขึ้นเหนือเรื่องไร้สำระในแต่ละวัน และโปรดประทำนพลังแก่ข้ำพเจ้ำที่จะท�ำตำมพระประสงค์ของพระองค์ด้วยควำมรัก” ขอพระเจ้าประทานพระพรแก่ทุกท่านเพื่อชีวิตและกิจการงานทั้งหลายจะได้ด�าเนินไปด้วย ดีตามพระประสงค์ของพระเจ้า พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า สารพระสังฆราช (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี 4
5
แผนกคริสตศาสนธรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ให้ความส�าคัญกับการบริหารสังฆมณฑลและการอภิบาลสัตบุรุษเสมอ มา เริ่มต้นจาก ปี ค.ศ. 1965 หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้มีนโยบายส่งเสริมให้คริสตชนฆราวาส เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมงานอภิบาลมากยิ่งขึ้น จึงได้เริ่มให้มีคณะกรรมการวัด ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสภาวัด และสภาอภิบาลดังเช่นปัจจุบันตามล�าดับ จากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา ได้มีแผนอภิบาลทุก 5 ปี ซึ่งปรับไปตามนโยบายของพระ ศาสนจักรสากล สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และความต้องการของพี่น้องสัตบุรุษในช่วงระยะ เวลาต่าง ๆ แผนอภิบาลในปัจจุบันนี้นับได้ว่าเป็นแผนอภิบาลฉบับที่ 5 แล้ว วิสัยทัศน์ (Vision). “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” พันธกิจ (Mission). 1. คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าในการอธิษฐานภาวนาพิธีบูชาขอบพระคุณ การด�าเนินชีวิตตามพระวาจา และการเติบโตในศีลศักดิ์สิทธิ์ 2. เป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องทุกคนในความเชื่อ เคารพคุณค่า ศักดิ์ศรี ความแตกต่างและเสรีภาพของทุกคน พัฒนาชีวิตทั้งครบ กระแสเรียก และสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง 3. ประกาศพระเยซูคริสต์ ด้วยการด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน เป็นศิษย์พระคริสต์และศิษย์ธรรมทูต อภิบาลและแพร่ธรรม สอนค�าสอนและถ่ายทอดความเชื่อ ประกาศข่าวดีด้วยเทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสมสร้างสรรค์ เสวนากับพี่น้องผู้มีความเชื่ออื่น 4. เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า สร้างความยุติธรรม ความรัก สันติสุข และความชื่นชมยินดีในชุมชน ความรักฉันพี่น้อง ช่วยเหลือ แบ่งปัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข อยู่เคียงข้างผู้ยากจน เด็กและสตรี ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนอภิบำลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030 ประกำศ ณ โรงเรียนดำรำสมุทร ศรีรำชำ วันจันทร์ที่ 5 ธันวำคม ค.ศ. 2022 คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี 6
แผนกคริสตศาสนธรรม จุดร่วมของกำรท�ำงำนทุกฝ่ำย. 1) “ร่วมมือกันท�ำงำน” ตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล และสร้างเครือข่ายใน การท�างานแบบประสานความร่วมมือระหว่างพระศาสนจักร องค์กรภาครัฐ หน่วยงานเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ 2) “สร้ำงผู้น�ำคริสตชนฆรำวำส” ในทุกระดับ ทุกภาคส่วน โดยอาศัยการเลือกสรร อบรมให้ ความรู้อย่างต่อเนื่อง ฝึกปฏิบัติ และมอบหมายงานให้ท�าอย่างเหมาะสม 3) “ใช้เทคโนโลยีกำรสื่อสำร” ในการท�างาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ในช่องทางและวิธี การต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 4) ท�างานเพื่อเห็นแก่ “ควำมดีของส่วนรวม” มุ่งสร้าง “จิตตำรมณ์คริสตชน” และ “กำร พัฒนำบุคคลทั้งครบ” มากกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ 5) ใช้ “ทรัพยำกรธรรมชำติ” อย่างรู้คุณค่าและรักษา “สิ่งแวดล้อม” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 1. ด้ำนอภิบำล 1.1 ฟื้นฟูความเชื่ออันได้รับมาจากศีลล้างบาป หล่อเลี้ยงด้วยพระวาจาของพระเจ้า เติบโต ในศีลศักดิ์สิทธิ์ ลึกซึ้งในชีวิตภาวนา แสดงออกให้เห็นได้ในความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยการรักและรับใช้ซึ่งกันและกัน 1.2 ท�าให้ชุมชนวัดเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ที่มีชีวิตชีวา ด้วยส่งเสริมการด�าเนินชีวิตตาม พระวาจาของพระเจ้า การท�าวิถีชุมชนคริสตชนย่อย (BEC) การอ่านพระวาจาของ พระเจ้า การอธิษฐานภาวนาประจ�าวัน การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ การ เทศน์สอนที่สามารถน�าไปปฏิบัติในชีวิตประจ�าวันได้ 1.3 สนับสนุนการท�าครอบครัวให้เป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน (The Domestic Church) การถ่ายทอดความเชื่อให้กับลูกหลาน การสอนค�าสอนให้กับเด็ก ๆ เพื่อเตรียมตัวรับศีล ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ การสอนค�าสอนผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวเป็นคริสตชนโดยการน� ากระบวนการ รับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) มาปรับใช้ การสอนค�าสอนเพื่อเตรียมตัวสมรส และการอบรมต่อเนื่องส�าหรับคริสตชนทุกคน 1.4 ส่งเสริมการท�างานของกลุ่มองค์กรคาทอลิกต่าง ๆ ในทุกระดับ งานอภิบาลเด็กและ เยาวชน งานอภิบาลครอบครัว ส่งเสริมกระแสเรียกแห่งการเป็นพระสงฆ์และนักบวช 1.5 เน้นอภิบาลและเยี่ยมเยียนสัตบุรุษในชุมชน ผู้ยากจน ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย ผู้ทุพพลภาพ ผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ถูกคุมขัง คริสตชนต่างชาติ คริสตชนที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจ ผู้ที่อยู่ห่าง ไกลจากวัด และผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต่าง ๆ 7
แผนกคริสตศาสนธรรม 2. ด้ำนธรรมทูต 2.1 สร้างจิตตารมณ์ธรรมทูตให้กับคริสตชนในทุกระดับ ให้สามารถประกาศข่าวดีด้วยการ ด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยานส�าหรับทุกคน 2.2 ส่งเสริมการท�าคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อาศัยการเสวนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอธิษฐาน ภาวนา การร่วมกิจกรรมด้วยกัน 2.3 จัดท�าคู่มือธรรมทูต การท�าคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ การแสดงออก ด้านความเชื่อกับวัฒนธรรมท้องถิ่น หลักปฏิบัติในการเข้าร่วมศาสนพิธีของศาสนาอื่น การด�าเนินชีวิตร่วมกับพี่น้องต่างความเชื่ออื่น ตลอดจนการปฏิบัติตนในประเพณีหรือ วัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง 3. ด้ำนสังคม 3.1 เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ไตร่ตรอง ค�าสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร การเป็น พระศาสนจักรของผู้ยากจนให้กับคริสตชนทุกคน 3.2 สนับสนุนให้คริสตชนทุกคนด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ตามจิตตารมณ์รักและรับ ใช้ ช่วยเหลือและแบ่งปัน การท�ากิจเมตตาสงเคราะห์ ต่อผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้ ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในทุกรูปแบบทั้งในชุมชนแห่ง ความเชื่อในสังคม 3.3 ส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปกป้องผู้อ่อนแอ สิทธิเด็กและสตรี ผู้ที่ ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและการค้ามนุษย์ มุ่งพัฒนาสังคมให้เกิดความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน และความเสมอภาคในสังคม 3.4 ศึกษาความดีงามของวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี ภูมิปัญญา ปรัชญาในการด�าเนิน ชีวิต เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณค่าทางด้านจิตใจให้กับผู้คนในชุมชน สร้างความ ผูกพัน ความสามัคคี หวงแหน ปกป้อง อนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม และการ พัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง 4. ด้ำนศึกษำอบรม 4.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาคาทอลิก เป็นสนามงานอภิบาลและแพร่ธรรม เป็นสถานที่บ่ม เพาะและเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสาร สร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ตาม ปรัชญาการศึกษาคาทอลิก ให้กับนักเรียน คุณครู บุคลากรทางด้านการศึกษา และ ผู้บริหารทุกคน 4.2 สนับสนุนให้สถานศึกษาคาทอลิก มีการสอนค�าสอนให้กับนักเรียนคาทอลิก เพื่อเตรียม 8
แผนกคริสตศาสนธรรม ตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมกิจกรรมองค์กรคาทอลิกในโรงเรียน จัดสรร บุคลากรด้านการสอนค�าสอน สื่อการสอน อย่างเพียงพอ เหมาะสม ต่อเนื่อง และ ได้รับสวัสดิการอย่างเหมาะสม 4.3 ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจน ด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนคาทอลิก ให้ได้รับการศึกษาในสถานศึกษาคาทอลิก 4.4 ศึกษา รวบรวม และจัดท�าประวัติชุมชน วัด โรงเรียน วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเป็น แหล่งเรียนรู้ เผยแพร่ สืบสานความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น 5. ด้ำนสื่อสำรสังคม 5.1 ส่งเสริมให้คริสตชนทุกคนใช้เทคโนโลยีการสื่อสารช่องทางต่าง ๆ เพื่อประกาศข่าวดี และเป็นประจักษ์พยานถึงจิตตารมณ์พระวรสาร ตลอดจนข้อค�าสอนต่าง ๆ ของพระ ศาสนจักร ตามบทบาท หน้าที่ และสถานะในชีวิตของตนอย่างเหมาะสม 5.2 จัดท�า รวบรวม ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน องค์กร วัด โรงเรียน ให้เป็นปัจจุบัน และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เผยแพร่ให้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย 5.3 พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล (Data) ในรูปแบบดิจิทัล เช่น ทะเบียนศีลล้างบาป ทะเบียนครอบครัวคริสตชน ประวัติศาสตร์ของชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงาน ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เป็น ปัจจุบัน และเชื่อมโยงถึงกัน 6. ด้ำนบริหำรจัดกำร 6.1 วางแผนการท�างานตามฝ่าย แผนก หรือหน่วยงานของตน ให้บังเกิดผลตามแผน อภิบาลของสังฆมณฑล โดยประยุกต์ให้เข้ากับสนามงานท้องถิ่น ความต้องการเร่ง ด่วน สร้างสรรค์ และความจ�าเป็นเร่งด่วนในการด�าเนินงาน พร้อมทั้งติดตามการ ด�าเนินงานอยู่เสมอ 6.2 เน้นการท� า งานร่วมกันตามโครงสร้างท� า งานของสังฆมณฑล รับผิดชอบงานตาม หน้าที่ของตนเอง สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความรักฉันพี่น้อง เป็นครอบครัว เดียวกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ ผ่อนหนักผ่อน เบา มีที่ว่างส�าหรับทุกความคิดเห็น ตามจิตตารมณ์แห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน โดย ไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง 6.3 ใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอย่างรู้คุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงสุด โปร่งใส และด�าเนินการตามขั้นตอนของสังฆมณฑลที่ได้ก�าหนดไว้ 9
ประกำศแผนอภิบำลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030 ณ โรงเรียนดำรำสมุทร ศรีรำชำ วันจันทร์ที่ 5 ธันวำคม ค.ศ. 2022 10
ประจักษ์พยานชีวิตครู: เพื่อนร่วมทาง ชีวิตกับผู้เรียน แผนงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030 ด้านการศึกษา ข้อที่ 1 ว่า “ส่ง เสริมให้สถำนศึกษำคำทอลิก เป็นสนำมงำนอภิบำลและแพร่ธรรม เป็นสถานที่บ่มเพาะ และเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสาร สร้ำงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ตำมปรัชญำ กำรศึกษำคำทอลิกให้กับนักเรียน คุณครู บุคลำกรทำงด้ำนกำรศึกษำ และผู้บริหำรทุกคน” ขอน�าเสนอแนวทางความเป็นครู 10 ประการ ที่จะช่วยให้ครูให้สามารถเป็นประจักษ์ พยานชีวิตตามคุณค่าพระวรสารแก่ผู้เรียน ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตย่อมมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่คุยโม้โอ้อวด (Great teachers are humble) เป็นครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ ให้นักเรียนพัฒนาตนเองจากภายใน จิตใจ มีส่วนในการพัฒนาพันธกิจอันเด่นชัดของโรงเรียนคาทอลิก ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องมีความอดทนต่อนักเรียน (Great teachers are patient) ไม่ว่านักเรียนจะท�าผิดกี่ครั้ง หรืออีกกี่ครั้งที่ต้องอธิบายบทเรียนซ�้าไปซ�้ามาเพื่อให้ นักเรียนเข้าใจบทเรียนนั้น ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องมีจิตใจดี มีเมตตา และให้เกียรตินักเรียนทุกคน (Great teachers are kind and show respect) ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของนักเรียนแต่ละคน พยายามเข้าใจนักเรียนและมุมมองของเขา มีความเห็นอกเห็นใจ มีจิตใจที่พร้อมรับฟังเสมอ ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องมีความกระตือรือร้นในวิชาที่สอน (Great teachers have enthusiasm for their subject matter) มีความสนใจและเอาใจใส่ในเนื้อหาวิชาที่ ตนสอน สอนอย่างสร้างสรรค์ พยายามท�าให้นักเรียนเกิดทัศนคติและแรงบันดาลใจที่ดี บ่ม เพาะให้เขากลายเป็นคนดี โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�าราญ ฝ่ายการศึกษา 11
ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องแสดงออกไม่ใช่เพียงแต่พูด (Great teachers show not tell) ครูสามารถเป็นแบบอย่างทั้งความคิด ทัศนคติและการปฏิบัติตน เป็นประจักษพยาน ในห้องเรียน เป็นเกลือดองแผ่นดิน เพราะถ้าครูเดินไม่ตรงทาง เราก็ก�าลังสอนให้นักเรียน เดินไม่ตรงทางด้วย ครูผู้เป็นประจักษพยานชีวิตต้องกล้าเรียนรู้จากนักเรียน (Great teachers learn from their student) ครูสามารถเรียนรู้จากนักเรียน ครูไม่ใช่ผู้ที่รู้ทุกอย่าง ทุกคนมีความ รู้และความถนัดไม่เหมือนกัน ครูทุกคนพึงมองเห็นภาพสะท้อนของตัวเองจากนักเรียนและ ห้องเรียนที่เราดูแล เพื่อพัฒนาชีวิตและหน้าที่ของตนเองเสมอ ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องคิดบวก และยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ (Great teachers are positive; great teachers smile) สามารถมองโลกในแง่ดี มีความคิดเชิงบวก เชื่อมั่น ในตนเอง ยิ้มแย้มแจ่มใสกับนักเรียนและกับทุกคนที่พบ ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องรักและเมตตาต่อศิษย์ (Great teachers engage their student) ครูสามารถแสดงให้เห็นถึงความรัก
ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องมีความหวังในผู้เรียนทุกคน (Great teachers have high expectations) ครูเชื่อมั่นว่านักเรียนทุกคนมีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้ พยายาม พัฒนาผู้เรียนทุกคนตามศักยภาพที่เขามี สร้างความหวังให้นักเรียนว่าตนเองสามารถเรียนรู้ และประสบความส�าเร็จมากกว่าที่ตนคิดไว้ได้ ครูผู้เป็นประจักษ์พยานชีวิตต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น ให้นักเรียนเรียนรู้จากข้อ บกพร่อง (Great teachers provide a warm environment and allow their students to make mistake) เปิดโอกาสให้นักเรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง แนะน�าแนวทางนักเรียน เพื่อให้พวกเขาพบสัจธรรมแห่งชีวิต ให้ก�าลังใจ ช่วยเหลือ เรียนรู้และแก้ไขข้อบกพร่อง ฝ่ายการศึกษา 12
ความห่วงใยที่มีต่อศิษย์ ทุ่มเทท�าทุกวิถี ทางให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การเตรียมจารีต พิธีแต่งงานของคริสตชน ทักทายศักราชใหม่แด่ผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ บทความฉบับนี้พ่อขอแบ่งปันเกี่ยวกับจารีต ในพิธีแต่งงานซึ่งพี่น้องสามารถเลือกน�ามาปฏิบัติได้ในพิธีแต่งงานของตน หรือของลูกหลาน หรือของ ญาติพี่น้อง เพื่อกำรประกอบจำรีตพิธีแต่งงำนที่ให้ผลอุดมด้วยพระพรของพระเจ้ำ ให้พิธีกรรม มีคุณค่ำตำมควำมหมำยอันลึกซึ้งอย่ำงแท้จริงครับ เพียงแต่ควรปรึกษาและตกลงกับคุณพ่อเจ้า อาวาส ซึ่งเป็นผู้อภิบาลวิญญาณของพี่น้องหรือศาสนบริกรผู้ประกอบพิธีให้เรียบร้อยก่อนเท่านั้น เองครับ พ่อขอแบ่งจารีตพิธีเป็น 5 ข้อ ดังนี้ครับ 1. การเข้าวัด เป็นขั้นตอนแรกของจารีตพิธีแต่งงานที่กระท�าที่วัด (Can.1115) โดยปกติก่อน เริ่มพิธีการแต่งงาน แขกผู้ได้รับเชิญมักจะพร้อมและรออยู่ในวัดเรียบร้อยแล้ว 1.1 เจ้าบ่าว รออยู่กลางวัดพร้อมกับมารดา 1.2 เจ้าสาว เดินเข้ามาพร้อมบิดา (บิดาอยู่ด้านซ้ายมือ) เมื่อเจ้าสาวเดินเข้าวัด เริ่มบรรเลง ดนตรีพิธีกรรม (ปกติ The Wedding march) 2. การทักทายกัน เป็นขั้นตอนที่เจ้าบ่าว ขอบคุณบิดามารดาเจ้าสาวที่มอบให้เขาดูแลเธอ หลัง จากนั้นเจ้าบ่าวควงเจ้าสาวมาพบศาสนบริกร (พระสงฆ์) ที่บริเวณหน้าพระแท่น เจ้าบ่าวจะ เป็นผู้เปิดผ้าคลุมใบหน้า (Veil) ของเจ้าสาวออก ไม่ใช่บิดาของเธอครับ 3. การประกอบพิธีแต่งงานตามขั้นตอน โดยศาสนบริกรสอบถามตามจารีต, การแสดงความ สมัครใจของคู่บ่าว-สาว, การสวมแหวนและการประกาศความถูกต้องของการแต่งงาน (เท่าที่พ่อมีประสบการณ์ในประเทศอิตาลีต้องมีการอ่านกฎเกณฑ์ของกฎหมายบ้านเมือง -the articles of the law เมื่อจบขั้นตอนนี้ด้วยครับ) 4. The Mass การแต่งงานมีความหมายลึกซึ้งพร้อมกับพระพรของพระเจ้าผ่านทางพิธีมิสซา โดยพระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีเชิญชวนพี่น้องร่วมพิธีด้วยความเชื่อ ศรัทธาและด้วยความสงบ 13
4.1 พระวาจาพระเจ้าในพิธีแต่งงาน เพื่อให้คู่บ่าวสาวและผู้ร่วมพิธีได้ฟังพระวาจา พระเจ้าที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคู่ จึงเป็นโอกาสอันดีไม่น้อยหากคู่บ่าวสาวได้เป็นผู้ เลือกพระวาจาในพิธีแต่งงานของตนครับพี่น้อง หลังจากนั้นพระสงฆ์เทศน์และ ตามด้วยบทภาวนาของมวลชน 4.2 บทเพลง ดนตรีและคณะนักขับร้อง เป็นองค์ประกอบส�าคัญที่ช่วยส่งเสริม ความศรัทธาในพิธีกรรมอย่างมากและเนื่องจากเป็นจารีตพิธีแต่งงาน จึงต้องใช้ บทเพลงศักดิ์สิทธิ์ พ่อขอท�าความเข้าใจและแนะน�าส�าหรับการเลือกบทเพลง เพื่อขับร้องในพิธีกรรมอย่างกว้าง ๆ ดังนี้ 1.ต้องเป็นบทเพลงในพิธีกรรม (sacred or liturgical music) หรือ 2.ควรเป็นบทเพลงส่งเสริมความศรัทธา คริสตชน (religious music) ส่วนบทเพลงรักทางโลกและเพลงที่ท่านชื่นชอบ เพลงอื่น ๆ ขอให้น�าไปร้องนอกวัดในงานเลี้ยงฉลองการแต่งงานได้ครับพี่น้อง 4.3 ภาคบูชาขอบพระคุณ การสวดบทข้าแต่พระบิดา, บทอวยพรคู่บ่าว-สาว , การมอบสันติสุข และการรับศีลมหาสนิท 5. การออกจากวัด -Leaving the church เมื่อจารีตการแต่งงานหรือพิธีมิสซาจบ และ ท�าการลงทะเบียนในเอกสาร (Can.1121§1) เรียบร้อยแล้ว ผู้รับเชิญตั้งแถวในวัด จนถึงประตูทางเข้าเพื่อเตรียมพร้อมโปรยดอกไม้แสดงความยินดีแด่เจ้าบ่าว-เจ้าสาว เนื่องด้วยวิถีชีวิตคริสตชนเกี่ยวข้องกับ วัด อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อถวาย คารวกิจแด่พระเจ้า (Can.1205) พ่อหวังว่าบทความอันเรียบง่ายสั้น ๆ และยังให้แนวปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมนี้ คงจะช่วยขจัดข้อสงสัยและความกังวลในใจของพี่น้อง และโดยเฉพาะผู้ ที่เตรียมเข้าสู่การแต่งงานและผู้เกี่ยวข้องทุกท่านได้ไม่น้อย การเตรียมการส�าหรับทุก ขั้นตอนจะช่วยให้พิธีแต่งงานมีความสง่างามตามความหมายและความศักดิ์สิทธิ์ แต่ พี่น้องอย่าลืมสิ่งที่ส�าคัญที่สุดคือการเตรียมจิตใจให้พร้อมรับพรพระเจ้า พ่อหมายถึงการ แก้บาปอย่างดี (Can.1065§§2) ก่อนเข้าพิธีแต่งงานด้วยครับ “ผู้อภิบาลวิญญาณ มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่... การประกอบจารีตพิธีแต่งงานที่ให้ผลอุดม” (มาตรา 1063 ข้อ 3) ขอพระเจ้าผู้ทรงความรักประทานสันติสุขแด่พี่น้องทุกคนทุกครอบครัวครับ หมายเหตุ ท่านใดมีข้อสงสัยเรื่องกฎหมายพระศาสนจักร เชิญปรึกษาฝ่ายกฎหมายพระศาสนจักร สังฆมณฑลจันทบุรี โทร 038-323632 ฝ่ายกฎหมายฯ 14
ขบวนแห่พระวรสารอย่างสง่ามีสัญลักษณ์มากมายที่มีรากฐานมาจากการแสดงความ เคารพต่อพระวาจาของพระเจ้า ในพิธีกรรมของพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก มีขบวนแห่พระวาจา ของพระเจ้า (พระวรสาร) ที่เกิดขึ้นในงานเฉลิมฉลองที่สง่างาม หากมีการจัดพิธีกรรมที่ดีและเหมาะ สม พระวรสารจะแห่มาพร้อมกับเทียนสองเล่มที่ถูกจุดและมีเต้าก�ายานที่ถือไว้ ประเพณีการแห่พระ วาจาของพระเจ้านี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เริ่มมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 เหตุใด การแห่พระวรสาร จึงน�าด้วย เทียนและก�ายานในพิธีบูชาขอบพระคุณ ? แผนกพิธีกรรม คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี 15
เทียน (candle) นักบุญเยโรมได้อธิบายความหมายธรรมประเพณีโบราณของการจุด เทียนแห่พระวรสาร ท่านอธิบายว่า “ด้วยเหตุนี้เรำควรแสดงควำมชื่นชม ยินดีและคว ำ มปีติยินดีในใจเร ำ ต่อข่ ำ วดีแห่งคว ำ มรอด เหนือสิ่งอื่นใด แสงสว่ำงจำกควำมเจิดจ้ำและควำมสว่ำงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซู คริสต์ ดวงอำทิตย์ที่ไม่มีวันตกดิน และแสงสว่ำงแห่งนครของพระเจ้ำ ทั้ง บนโลกและในสวรรค์ โดยทำงข่ำวดี พระคริสต์ทรงเป็นควำมสว่ำงของโลก โดยข่ำวดี พระเจ้ำได้ทรงเรียกเรำสู่ควำมสว่ำงแห่งควำมจริงและพระพร ส�ำหรับชีวิตของเรำ” ในหนังสือเพลงสดุดียังเป็นเครื่องยืนยันว่า “พระวำจำของพระองค์ เป็นโคมส่องทำงของข้ำพเจ้ำ และเป็นแสงสว่ำงส่องทำงเดินให้ข้ำพเจ้ำ” (สดด. 119 : 105) แสดงให้เห็นว่าพระวาจาของพระเจ้าเป็นแสงที่มั่นคงน�าทาง เราท่ามกลางทิศทางต่าง ๆ และช่วยเหลือเรา ท่ามกลางความขัดสน อุปสรรค และภยันตรายต่าง ๆ ที่เราพบเจอ แผนกพิธีกรรม ก�ายาน (incense) ก�ายานหรือเครื่องหอม เป็นสัญลักษณ์ที่มีความสมบูรณ์และชี้ให้เห็น ถึงความเป็นจริงทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้ง ประการแรก ก�ายานที่ถูกจุดเพื่อถวายแก่หนังสือพระวรสารถือเป็นการ แสดงความเคารพอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศทางศาสนาที่มอบ ให้กับ “ถ้อยค�ำแห่งชีวิตนิรันดร์” ซึ่งพระเจ้าตรัสกับเรา ณ ที่นี้ เมฆหอมที่ห่อ หุ้มหนังสือพระวาจาท�าให้นึกถึงการประกาศข่าวดีที่แพร่กระจายไปทั่วโลกและยัง หมายถึงกลิ่นหอมของพระปรีชาญาณอันทรงพระเกียรติของพระเยซูคริสตเจ้า ก�ายานที่ถูกจุดยังตักเตือนเราด้วยถ้อยค�าที่เร่าร้อนแห่งการอุทิศตน จากสวรรค์ พระวาจาของพระเจ้าควรได้รับการประกาศโดยศาสนบริกรคือ สังฆานุกรหรือพระสงฆ์ ฯลฯ และสัตบุรุษควรตั้งใจฟังและให้พระวาจาฝังลึก อยู่ในใจของพวกเขา เมื่อเราร่วมพิธีกรรมทุกครั้ง ขบวนแห่พระวรสารน่าจะเตือนเราว่าทุก อิริยาบถในพิธีบูชาขอบพระคุณพระเจ้าเต็มไปด้วยความมุ่งหมาย เพื่อมุ่งไปสู่ ความจริงทางจิตวิญญาณอันลึกซึ้งที่พระเจ้าทรงมีต่อเรา พระองค์ทรงเป็นแสง สว่าง ปรีชาญาณ เราควรร่วมพิธีกรรมด้วยความตั้งใจและแสดงความเคารพ พระวาจาของพระเจ้าเสมอ ในขณะที่เราร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ 16
โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�านวยการแผนกครอบครัว สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยและสังฆมณฑลจันทบุรี แผนกครอบครัว เมื่อกล่าวถึง “ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน” เราอาจจะคิดถึง การไปวัดร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ การสวดสายประค�า สวดภาวนาพระเมตตาตอนเวลา บ่ายสามโมง ฯลฯ ความเป็นจริงแล้วความหมาย ของค�าว่า “ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน” ในชีวิต ประจ�าวัน หมายถึงอะไรกันแน่ เราลองมาท�าความ เข้าใจไปร่วมกัน ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน หมายถึงอะไร ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน คือ ชีิวิตจิตแห่ง สายสัมพันธ์ ซึ่งความรักของพระเจ้าด�ารงอยู่ในสาย สัมพันธ์นั้น ซึ่งเป็นการประทับอยู่ขององค์พระผู้เป็น เจ้าในครอบครัวอย่างแท้จริงและสัมผัสได้ พร้อมกับ ปัญหาและการดิ้นรนฝ่าฟัน ความสุขและความหวัง ในแต่ละวันของชีวิต และเป็นประสบการณ์ด้านบวก ของความสนิทสัมพันธ์ของครอบครัว ซึ่งเป็นหนทาง มุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์และการเจริญเติบโตทางความ เชื่อในชีวิตประจ�าวัน ซึ่งเป็นวิถีทางไปสู่ความสนิท สัมพันธ์กับพระเจ้าอย่างใกล้ชิด (Amoris Laetitia, AL ข้อ 315-316) ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นและเจริญงอกงาม ระหว่างสามีภรรยา โดยอาศัยพันธสัญญาว่าจะรักกัน ฉันสามีภรรยา “จึงไม่เป็นสองอีกต่อไป แต่จะเป็น เนื้อเดียวกัน” (ปฐก 2:24) และได้รับการเรียกร้อง ให้พัฒนาจิตใจในความสัมพันธ์นั้นเป็นอย่างดีและต่อ เนื่องกันไป โดยอาศัยความซื่อสัตย์ที่สม�่าเสมอทุกวัน ต่อค�าสัญญาซึ่งสามีภรรยาได้มีต่อกันในพิธีสมรสที่ว่า จะอุทิศตัวให้แก่กันและกันอย่างสิ้นเชิง (Familiaris Consortio, FC ข้อ 19) ชีวิตจิต ครอบครัวคริสตชน 17
ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชนแสดงออกผ่านทาง... 1. ครอบครัวที่มีองค์พระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง พระองค์ทรงรวมพวกเขาให้เป็นหนึ่งเดียวและ ส่องสว่างครอบครัวนั้นตลอดไป (AL,317) 2. การสวดภาวนาร่วมกันในครอบครัวเป็นหนทาง พิเศษของการแสดงออกและเสริมสร้างความ เชื่อปัสกาให้เข้มแข็ง การมารวมตัวกันต่อพระ พักตร์พระเจ้าผู้ทรงชีวิตเพียงไม่กี่นาทีในแต่ละ วัน เพื่อบอกพระองค์ถึงความวิตกกังวล เพื่อ ขอสิ่งที่จ�าเป็นส�าหรับครอบครัว เพื่อภาวนา ส�าหรับผู้ที่ประสบความยากล�าบาก เพื่อโมทนา พระคุณส�าหรับพระพรที่ทรงมอบให้ ฯลฯ ช่วง เวลาแห่งการภาวนาด้วยค�าพูดง่าย ๆ จะสร้าง สิ่งดี ๆ มากมายให้กับครอบครัว (AL,318) 3. จุดสุงสุดของการภาวนาในครอบครัวคือ การ รับศีลมหาสนิทร่วมกันในมิสซาบูชาขอบพระคุณ ในวันอาทิตย์ ซึ่งพันธะผูกพันใกล้ชิดระหว่างศีล สมรสและศีลมหาสนิทจึงชัดเจนขึ้น ด้วยอาหาร แห่งศีลมหาสนิทนี้ สามีภรรยาและลูก ๆ ได้รับ ความเข้มแข็งและก�าลังใจ ซึ่งจ�าเป็นส�าหรับการ ด�าเนินชีวิตตามพันธสัญญาแห่งการสมรสใน แต่ละวันในฐานะของ “พระศำสนจักรระดับ บ้ำน” (AL,318) 4. เมื่อตื่นขึ้นในทุก ๆ วัน สามีภรรยายืนยันต่อ พระเจ้าถึงการตัดสินใจว่าจะถือซื่อสัตย์ ไม่ว่า จะเกิดสิ่งใดขึ้นในวันนั้น ๆ ก็ตาม และก่อนที่ จะเข้านอน สามีภรรยาต่างก็หวังว่าจะตื่นขึ้น มาและได้ผจญภัยของชีวิตต่อไปด้วยความ วางใจในความช่วยเหลือของพระเจ้า (AL,319) 5. ความรักของคู่สมรสจะบรรลุถึงจุดสูงสุดแห่ง อิสรภาพและกลายเป็นพื้นฐานของความเป็น อิสระอันดีงาม สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสามีภรรยา แต่ละคนตระหนักว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ใช่สมบัติของ ตัวเขาหรือเธออีกต่อไป แต่มีนายที่เหนือกว่านั้น คือองค์พระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงผู้เดียว พระองค์ ทรงเป็นศูนย์กลางสูงสุดแห่งชีวิตของพวกเขา และในแต่ละวันเราต้องวอนขอความช่วยเหลือ จากพระจิตเจ้า เพื่อสร้างอิสรภาพภายในจิตใจ ของเรา (AL,320) 6. สามีภรรยาและลูก ๆ เป็นผู้ร่วมมือในพระพร และพยานแห่งความเชื่อที่พระเจ้าทรงเรียก พวกเขาให้มอบชีวิตและดูแลชีวิต ดังนั้น ขอให้ พวกเขาดูแลเอาใจใส่ซึ่งกัันและกัน น�าทางและ ให้ก�าลังใจแก่กันและกัน เรียนรู้ประสบการณ์ ต่าง ๆ ไปร่วมกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจิต แห่งครอบครัวของเรา (AL,321) 7. ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชนคือ การเฝ้าดูแลด้วย ความเมตตา ด้วยความรักและความห่วงใยของ เราแต่ละคนต่อชีวิตของผู้อื่น เพราะการปิดตา ของเราต่อเพื่อนบ้าน ก็ท� า ให้เรามองไม่เห็น พระเจ้าด้วย ซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงเป็นแบบ อย่างให้แก่เราในเรื่องนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีผู้คนเข้า มาหาเพื่อพูดจากับพระองค์ พระองค์จะทรงมอง สบตาพวกเขาตรง ๆ ด้วยความรักใคร่ (เทียบ มก 10:21) ไม่มีใครที่รู้สึกว่าถูกเพิกเฉยเมื่ออยู่ ต่อหน้าพระองค์ เพราะค�าพูดและท่าทางของ พระองค์สื่อถึงค�าถามที่ว่า “ท่ำนอยำกให้เรำ ท�ำอะไรให้” (เทียบ มก 10:51) นี่คือสิ่งที่เรา ประสบทุกวันในชีวิตครอบครัว เราควรระลึก เสมอว่า ทุกคนที่ใช้ชีวิตอยู่กับเรา สมควรได้ รับความเอาใจใส่อย่างเต็มที่ เพราะพวกเขามี ศักดิ์ศรีที่ไม่สิ้นสุดในฐานะตัวแทนแห่งความรัก อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า (AL,323) แผนกครอบครัว 18
แผนกครอบครัว 8. ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน คือการประกาศ พระคริสตเจ้าด้วยชีวิตและพันธกิจที่เป็นประจักษ์ พยานท่ามกลางโลก ด้วยการด�ารงชีวิตและบอก เล่าเรื่องพระเยซูคริสตเจ้าในครอบครัว ในสังคม และในงานอาชีพ โดยมุ่งน�าความรักและความ เมตตาของพระเจ้าไปสู่สังคม (กฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 ข้อ 20) 9. ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน มุ่งไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัย “หนทำงเฉพำะของแต่ละครอบครัว” ไม่จ�าเป็นต้องเลียนแบบใคร เพราะผู้ที่มีความ เชื่อได้มองเห็นถึงหนทางของพวกเขาเอง ซึ่งจะ ท�าให้พวกเขาน�าสิ่งที่ดีที่สุดออกมาจากตนเอง ที่ เป็นพระพรพิเศษส่วนตัวของพวกเขาที่พระเจ้า ทรงประทานให้ลงในจิตใจของพวกเขา (เทียบ 1คร 12:7) (Gaudete Et Exsultate, GX 11) 10. ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน แสดงออกผ่าน ทางการกระท�าเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วยความรักใน ชีวิตประจ�าวัน ตัวอย่างเช่น ผู้หญิงคนหนึ่งไป ซื้อของ เธอพบเพื่อนบ้านของเธอและทั้งสอง เริ่มสนทนากันและการนินทาก็เริ่มขึ้น เธอได้ พูดในใจว่า “ไม่เด็ดขำด ฉันจะไม่พูดเรื่องไม่ ดีของคนอื่น” หรือเป็นเหตุการณ์ที่แม่นั่งฟังลูก ของเธอด้วยความตั้งใจและด้วยความรักถึงแม้ เธอจะเหนื่อยอย่างมากก็ตาม ฯลฯ นี่คืออีกก้าว หนึ่งของชีวิตจิตครอบครัวคริสตชน (GX 16) สรุป ชีวิตจิตครอบครัวคริสตชนก็คือ ชีวิตที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพต่อ... 1. ความสัมพันธ์ที่มีต่อพระเจ้า ที่มีพระองค์เป็น ศูนย์กลางของชีวิตครอบครัว 2. ความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา และต่อลูก ๆ หรือแม้ญาติพี่น้องในครอบครัวด้วยความดูแล เอาใจใส่ เป็นห่วงเป็นใยและด้วยความรักในรูป แบบของสภาพของแต่ละครอบครัว 3. ความสัมพันธ์ที่มีต่อเพื่อนพี่น้องบุคคลอื่นด้วย ความเมตตา เคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีของกัน และกัน ด้วยการกระท�าสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ด้วย ความรัก 19
ฝ่ายสังคม เวชบุคคลคาทอลิก คือ คาทอลิกทุกคนที่เป็นแพทย์ พยาบาล กลุ่มวิชาชีพด้านสุขภาพ อสม. หรือ อาสาสมัคร เป็นต้น เวชบุคคลคาทอลิก เป็นหน่วยงานหนึ่งของพระศาสนจักรคาทอลิกที่ตั้งขึ้นและอยู่ภายใต้หน่วยงานด้านสังคม ของพระศาสนจักร เช่นเดียวกับ แผนกสตรี แผนกยุติธรรมและสันติ แผนกกลุ่มชาติพันธ์ุ แผนกผู้อพยพย้าย ถิ่นและถูกคุมขัง แผนกผู้ท่องเที่ยวและเดินทางทะเล แผนกสุขภาพอนามัย แผนกผู้สูงอายุ ฯลฯ เป็นต้น พันธกิจ ของชมรมเวชบุคคลคาทอลิก มุ่งเน้นรับใช้บุคลากรวิชาชีพ ที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ ทางการ พยาบาลทั้งหลาย และผู้ที่ท�างานในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษาพยาบาล อสม. และอาสาสมัคร โดย 1. มุ่งรับใช้ในเรื่องส่งเสริมความรู้และความเข้าใจทางด้านความเชื่อ และหลักการทางศีลธรรมตามที่ พระศาสนจักรสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันแก่ บรรดาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้ ปฏิบัติภารกิจในวิชาชีพของตนอย่างถูกต้อง 2. มุ่งรับใช้ในเรื่องจัดการรวมพลังบรรดาแพทย์และบุคลากร ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เห็นว่าควรได้รับความช่วยเหลือด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ทุก เพศทุกวัย โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ดังที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้มีใจเมตตำ ย่อมเป็นสุข เพรำะเขำจะได้ รับพระเมตตำ” (มธ.5:7) เวชบุคคล สังฆมณฑลจันทบุรี เวชบุคคลคาทอลิก คือ ? ที่นี่มีค�าตอบ ! ก้าวไปด้วยกัน. 20
ฝ่ายสังคม เวชบุคคลคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี ภายใต้การน�าของพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ส่งเสริม ให้เวชบุคคลคาทอลิก ได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน ในฐานะเป็นคริสตชน ได้รับใช้ ช่วยเหลือ เพื่อนพี่น้องตามวิชาชีพและความสามารถของตน ตามแบบพระคริสตเจ้าได้ทรงสอนและท� าเป็นแบบอย่าง ให้กับพวกเราทุก ๆ คน เวชบุคคลคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี ปัจจุบันแพทย์หญิงมาลินี บุญยรัตพันธุ์ (สัตบุรุษวัดแม่ พระเมืองลูร์ด บางแสน) ได้เป็นประธานและมีคณะกรรมการตามเขตวัดต่าง ๆ อีก 10 ท่าน และสมาชิกที่ ปรากฏตัว 110 ท่าน และอีกหลายท่านที่ยังไม่ปรากฏตัว ยังสังเกตุการณ์ เวชบุคคลคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี จึงขอเชิญชวนคาทอลิกทุกท่าน ที่ท�างาน ด้านสุขภาพอนามัย ได้ร่วมและเป็นหนึ่งเดียวกันกับเวชบุคคลคาทอลิกในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี ให้ทุกท่าน ได้ใช้วิชาชีพของตน หรือ ความเป็นจิตอาสาที่ทุกคนมี ได้ท�างานช่วยเหลือบุคคลอื่น โดยเฉพาะผู้เจ็บป่วย ผู้ ยากไร้ ผู้สูงอายุ ตามวันเวลา ตามโอกาสของตนที่มี สามารถสอบถาม หรือติดต่อคุณพ่อเกรียงไกร สุขจิต (0884333141) จิตตาธิการ หรือติดต่อสมาชิกท่านอื่น ๆ ได้เลย พระเยซูเจ้าบอกว่า “งำนมำมำก คนงำนมี น้อย” ขอให้ทุกคนร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันและก้าวไปด้วยกัน ขอบคุณครับ 21
ซิสเตอร์มารีอา ขวัญเรียม เพียรรักษา พระจิตขององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า พระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ให้ประกาศข่าวดีแก่คน ยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อย แก่ผู้ถูกจองจ�า คืนสายตาให้กับคนตาบอด ปลดปล่อยผู้ ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ ประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากองค์พระผู้เป็นเจ้า (ลก 4:18) งานประกาศข่าวดีกับผู้ต้องขังในสังฆมณฑลจันทบุรีของเรา ได้ท�างานเยี่ยมเยียนผู้ต้องขังต่อเนื่อง กันเป็นเวลายาวนานมาก ดิฉันยังจ�าได้ในช่วงที่เป็นเด็กฝึกหัดได้ติดตามซิสเตอร์อาภา รุ่งเรืองผล ไปที่เรือน จ�าจันทบุรีแดนหญิง ซึ่งเป็นเรือนจ�าหลังเก่า ซิสเตอร์อาภา เข้าไปเยี่ยมพูดคุยกับนักโทษหญิง และมีของไป ให้ ดิฉันยังจ�าได้ถึงความชื่นชมยินดีที่นักโทษผู้นั้นได้พบกับซิสเตอร์อาภา ส่วนตัวดิฉันเองยังไม่มีความคิดอะไร เลยเกี่ยวกับงานนี้ ดูเหมือนว่าพระเจ้าค่อย ๆ ท�าให้ดิฉันมองเห็นถึงสิ่งที่พระต้องการจะให้ฉันท�า โดยให้ฉันได้มี โอกาสเข้าไปเยี่ยมผู้ต้องขังที่ในเรือนจ� าคลองเปรม ซึ่งเป็นเรือนจ� าที่เจ้าหน้าที่ของคุณพ่ออาเดรียอาโน เข้าไป เยี่ยมเป็นประจ�าถึงแม้ว่าเขาจะไม่ใช่ญาติของผู้ต้องขังก็ตาม ที่เรือนจ�าคลองเปรมนี้เป็นภาพที่หดหู่ใจ เศร้า ใจ กับความแออัดคับแคบและเสียงร้องไห้เมื่อญาติพบกัน ฉันรู้สึกว่าลูกของพระที่พลาดพลั้งไป เราไม่ควร ทอดทิ้งเขา คุณพ่ออาเดรียอาโน เป็นมิชชันนารีต่างชาติ ท่านยังติดตามและช่วยเหลือ แล้วเราที่เป็นคนชาติ เดียวกัน เราจะไม่ช่วยพี่น้องของเราหรือ นี่คือค�าถามที่ติดตัวฉันมา หลังจากนั้นฉันก็ไม่มีโอกาสได้ท�างานเรือน จ�าอีกเลย จนกระทั่งปี 2007 ดิฉันได้ย้ายกลับมาอยู่ที่อารามศูนย์กลางอีกครั้ง ขณะนั้นอาสนวิหารฯจันทบุรี มีการเยี่ยมเยียน ท�ามิสซา และน�าอาหารไปให้คริสตชนที่อยู่ในเรือนจ�าช่วงปัสกา โดยมีคุณพ่อ ซิสเตอร์ บรา เดอร์ และสภาอภิบาล เข้าไปให้ก�าลังใจคริสตชน ครั้งหนึ่งที่ฉันรู้สึกเศร้าที่สุดเมื่อมีคริสตชนคนหนึ่งมาร่วม กิจกรรมพร้อมกับโซ่ตรวนที่ข้อเท้า มันเป็นภาพที่สะเทือนใจมากที่พี่น้องของเราต้องอยู่ในสภาพเช่นนี้ บาง คนร้องไห้ บางคนหน้าเศร้ามาก ในปีค.ศ 2014 ดิฉันได้รับจดหมายจากผู้ต้องขัง ซึ่งส่งมาจากเครือข่ายผู้ต้องขัง (NCCM) ในฝ่ายงาน คาริตัสไทยแลนด์ ซึ่งผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจ�ากลางชลบุรี ในจดหมายได้บอกว่าอยากจะเรียนรู้จักค�าสอนของพระ เยซูคริสตเจ้าและแนวทางด�าเนินชีวิตแบบพระเยซูเจ้า ดิฉันได้ตอบจดหมายพวกเขา และมีจดหมายฉบับหนึ่ง ได้ขอให้ตามหาลูกชายซึ่งเมื่อเขาถูกจับและไม่รู้ว่าลูกอยู่ที่ไหน จากความร่วมมือกันท�าให้พวกเขาได้ตามหาลูก ผู้ต้องขังจนเจอและได้เยี่ยมเยียนเรื่อยมา แรงบันดาลใจจากนักบุญเปาโลที่ถูกจับและเขียนจดหมายสอนคน มากมาย ท�าให้ดิฉันเขียนจดหมายติดต่อกับพวกเขา นับจดหมายจากเรือนจ�าได้ 125 ฉบับ ในปีค.ศ 2015 ดิฉันเริ่มท�าจดหมายและโครงการเข้าไปสอนคริสต์ศาสนาในเรือนจ�ากลางชลบุรีเป็น เรือนจ�าแรก โดยให้ชื่อว่า โครงการค�าสอนคริสต์ศาสนา 10 ชั่วโมง จ�านวนผู้เรียนไม่เกิน 50 คน โดยรับ คริสตชน และผู้สนใจอยากเรียนรู้จักค�าสอนของพระเยซูเจ้า โครงการได้รับการตอบรับจากทางเรือนจ�าและ ให้เข้าไปสอนตามตารางที่น�าเสนอไป บันทึกไว้ในงาน... เรือนจ�า ฝ่ายสังคม 22
ประสบการณ์ครั้งแรกที่เข้าไปเรือนจ�ากลางชลบุรีแดนชาย รู้สึกตื่นเต้น หวาดกลัว เหมือนหัวใจจะ หยุดเต้นตั้งแต่ก้าวแรกที่ผ่านประตูเข้าไป การตรวจค้นที่เคร่งครัด ความตึงเครียด ที่จะก้าวผ่านแต่ละประตู ซึ่งเกือบจะ 10 ประตูได้ พวกเราซึ่งมีดิฉันและน้องโนวิส 6 คน ไปถึงพวกเราได้พบกับผู้ต้องขังชายทั้งหมด หวาดกลัวจนตัวชา ขาแข็ง ลิ้นแข็ง เหมือนต้องเผชิญหน้ากับโจรถึง 50 คน พวกเขาไม่มีผม มีรอยสักเต็มตัว ทั้งศีรษะจรดเท้า ความจริงดิฉันได้พอรู้บ้างว่าพวกเขาท�าผิดอะไร เพราะจดหมายที่ส่งออกมาจะถูกเขียนเล็ก ๆ จากผู้ตรวจว่า ฆ่าข่มขืน ฉ้อโกง ลักทรัพย์ ข่มขืน นิสัยแย่ จ�าคุก 15 ปี 20 ปี 25 ปี ท�านองนี้ มีน้อยมากที่ เขียนว่านิสัยดี โชคดีที่น้อง ๆ โนวิสได้เตรียมบทเรียนขึ้นจอมาอย่างดี ท�าให้การเรียนวันแรกผ่านไปได้ด้วยดี ขอบคุณพระจิตเจ้าที่ทรงน�า ท�าให้ผู้คุมและผู้ต้องขังรู้จักพวกเรามากขึ้น การติดต่อเข้าในเรือนจ�าครั้งต่อ ๆ มา ก็ง่ายขึ้น มีผู้ตรวจท่านหนึ่งนับถือศาสนาพุทธ แต่เชื่อในแม่พระได้ขอรูปแม่พระเพื่อที่จะไปไว้ที่บ้าน จากการ สอนในเรือนจ�ากลางชลบุรี เป็นไปได้ด้วยดี มีหลายท่านอยากจะล้างบาป แม้แต่คริสตชนของเราเอง อยาก เริ่มต้นการเป็นผู้ติดตามพระเยซูใหม่ พวกเขาส่วนใหญ่ล้างบาปอย่างเดียว บางคนได้รับศีลมหาสนิท ส่วนเรื่อง ค�าสอนนั้นไม่มีอะไรเหลือในความทรงจ�าของพวกเขาเลย สิ่งหนึ่งที่ดีมากในการสอนเรือนจ�าคือการอ่านพระ วาจาและมีการแบ่งปัน ถ้าการสอนไม่มีแบ่งปันพระวาจาเหมือนจะขาดสิ่งที่ทรงคุณค่าไป ทุกครั้งที่เข้าไปสอน พวกเราก็จะถือโอกาส น�าอาหาร และสิ่งของที่จ�าเป็นส�าหรับเขา เช่นแว่นตา ของใช้ประจ�าวัน แป้งเย็น ฯลฯ การสอนค�าสอนในเรือนจ�าได้ขยายออกไปเรื่อย ๆ และมีทีมงานที่ชัดเจน จนปัจจุบันเรือนจ�าที่เข้าไป สอนมี เรือนจ�าจันทบุรีแดนชาย เรือนจ�าจันทบุรีแดนหญิง เรือนจ�าตราดแดนหญิง เรือนจ�ากบินทร์บุรีแดนชาย (สอนผ่านซูมเนื่องจากโรคระบาดโควิด) นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมในเรือนจ�าหลาย ๆ ประเภท เช่น สถานพินิจ จันทบุรี เรือนจ�าชั่วคราวเขาระก�า ตราด เรือนจ�าเปิดทุ่งเบญจา จากการสอนในเรือนจ�าโดยเฉพาะแดนหญิงท�าให้พวกเรารับรู้ความทุกข์และความกังวลของแม่ที่อยู่ ในเรือนจ�าท�าให้พวกเราหลังจากที่สอนในเรือนจ�า เราจะออกไปเยี่ยมครอบครัวของผู้ต้องขังที่มีลูก เมื่อดูว่า พวกเขาได้เรียนหนังสือหรือไม่ และอยู่ในครอบครัวที่ปลอดภัยไหม หลายๆคนถูกทิ้งให้อยู่กับเพื่อนบ้าน งาน ช่วยเหลือผู้ต้องขังไร้ญาติก็ยังเป็นงานที่ท้าทาย เพราะหลาย ๆ คนเมื่อเขาท�าผิด พ่อแม่ญาติพี่น้องทิ้งเขาหมด หรือไม่สามารถมาเยี่ยมได้ มีชาวต่างชาติ ชนเผ่า ที่ล�าบากมากเมื่อไม่มีญาติมาเยี่ยม การให้ความช่วยเหลือเมื่อผู้ต้องขังถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว มีบ้างแต่ไม่มากนัก บางคนขอเงินเพื่อไป ท�าทุน บางคนหางานให้ บางคนรับมาท�างาน บางสังฆมณฑล ได้ให้ที่ดินเพื่อผู้ต้องขังที่ออกมาแล้วไม่มีอาชีพ ได้ไปใช้เพื่อจะได้มีทุนในระยะแรก ๆ มีเสียงมากมายที่เข้ามา : เข้าไปช่วยพวกเขาท�าไม เขาสมควรได้รับโทษของเขา ไม่มีประโยชน์หรอก เขาเปลี่ยนไม่ได้ ท�าไม และท�าไม ค�าถามเหล่านี้ก็ไม่ผิดหรอกแต่สิ่งดีมากมายที่เกิดขึ้นกับหลายคนที่พวกเรา เข้าไปพบท�าให้พวกเรามุ่งมั่นต่อไป และที่ส�าคัญพระวาจาของพระที่ยังดังก้องเสมอว่า “ให้ประกำศข่ำวดีแก่ คนยำกจน... ทรงส่งข้ำพเจ้ำไปประกำศกำรปลดปล่อย แก่ผู้ถูกจองจ�ำ... ปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ” ฝ่ายสังคม 23
แผนกเยาวชน สวัสดีพี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคนนะคะ ดิฉันนางสาวจารวี มูลโพธิ์ ชื่อเล่น เนย อายุ 23 ปี เป็นสัตบุรุษวัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ค่ะ เนยได้มีโอกาสไปเป็นจิตอาสาที่หมู่บ้านเทเซ่ ประเทศฝรั่งเศสเป็นระยะเวลา 3 เดือนค่ะ ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย ที่ได้ไปสัมผัสชีวิต ของการเป็นจิตอาสาที่นั่นค่ะ เนยมีเวลาเตรียมตัวสักพักใหญ่นับวันรอว่าจะได้ไปเมื่อไร และ เเล้ววันนี้ที่รอคอยก็มาถึง แน่นอนว่าหลาย ๆ คนต้องสงสัยแน่ ๆ ว่าเนยไปท�าอะไร ใช้ชีวิต อยู่ต่างบ้านต่างเมืองอย่างไร หมู่บ้านที่เนยอยู่ คือ หมู่บ้าน Taizeè เป็นหมู่บ้านชนบทเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในฝรั่งเศสซึ่ง ก่อตั้งโดยบราเดอร์โรเจอร์ จุดประสงค์แรกที่บราเดอร์ก่อตั้ง คือ การคอยช่วยเหลือ และ ให้การต้อนรับผู้ลี้ภัยสงครามทั้งหลายด้วยความเป็นมิตร ด้วยความรัก ในบรรดาพวกผู้ลี้ภัย มีคนยิวรวมอยู่ด้วย ส่วนใหญ่เยาวชนจากทั่วโลกมาที่นี่ ในปัจจุบันเป็นสถานที่คนทุกเพศทุก วัยมาแสวงบุญ จะมีคนราว ๆ 2,000 คน หมุนเวียนมาแบบนี้ทุกอาทิตย์ค่ะ ซึ่งที่เทเซ่จะเน้น การใช้ชีวิตเรียบง่าย และการภาวนา 3 เวลา และทุกคนที่มาที่นี่จะมีจิตวิญญาณที่เป็นหนึ่ง เดียวกันพร้อมที่จะร่วมกิจกรรม ช่วยเหลืองานที่เทเซ่ โดย เนย เยาว์จันท์ แบ่งปันประสบการณ์จากการสัมผัสชีวิต 24
แผนกเยาวชน ที่เนยไปคือ การไปเป็นจิตอาสา ไม่ใช่มีเเค่ เนยคนเดียวนะคะ มีเพื่อน ๆ จากทั่วโลกอีกด้วย ซึ่ง หน้าที่หลัก ๆ ของการเป็นจิตอาสา คือ การอ�านวย ความสะดวกให้กับเทเซ่ ตัวอย่างเช่น การจัดห้อง พัก การท�าอาหาร การท�าความสะอาด การปลูกผัก และดูแลอ�านวยความสะดวกให้กับทุกคนที่มาเทเซ่ พออ่านแบบนี้แล้วต้องคิดว่างานหนัก และเหนื่อย มากแน่ ๆ จริง ๆ ก็หนัก และเหนื่อยค่ะ แต่เราไม่ได้ ท�าคนเดียวนะคะ ยังมีเพื่อน ๆ จิตอาสาคนอื่น ๆ มา ช่วย รวมถึงคนที่เข้ามาแสวงบุญที่เทเซ่ด้วยค่ะ ทุก คนจะมีหน้าที่ทุกคนค่ะ ท�าให้งานที่ท�ามันสนุกมาก ๆ ค่ะ หายเหนื่อยเลย เมื่อพูดถึงความประทับใจ ในการใช้ชีวิตที่ เทเซ่บอกเลยว่า ประทับใจทุกช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ที่ นั้นมันเป็นช่วงเวลาที่แสนพิเศษมาก ๆ ค่ะ ถ้าให้ เลือกว่าประทับใจสิ่งไหนมากที่สุดก็คงเป็น “ก ำ ร ภำวนำ” เพราะ การภาวนาของที่เทเซ่จะสวดวันละ 3 เวลา เช้า เที่ยง เย็น ซึ่งแต่ละช่วงวันจะใช้เวลา สวดประมาณ 30 นาทีค่ะ เนยชอบการภาวนาที่นั้น มาก ๆ เป็นการสวดที่ไม่น่าเบื่อ เป็นการภาวนากับ บทเพลง และความเงียบสงบ เป็นการภาวนาเงียบ ๆ ภายในตัวเรา ฟังเสียงของพระว่าพระเจ้าตรัสอะไรกับ เรา และการภาวนาอีกอย่างหนึ่ง คือ การร้องเพลง เพื่อน ๆ ลองจินตนาการดูนะคะว่า เพื่อน ๆ อยู่ใน โบสถ์หลังหนึ่งซึ่งในโบสถ์มีคนราว ๆ สองพันคนได้ เปล่งเสียงร้องเพลงพร้อมกัน มันช่างกังวาน และ ไพเราะมาก ๆ ค่ะ มันท�าให้เนยได้สัมผัสถึงพลังของ การภาวนา และความศรัทธาของทุกคนที่เปล่งเสียง ออกมาผ่านทางบทเพลง ทีนี้เพื่อน ๆ พอเห็นภาพไหมคะ ว่าเนยไปท� า อะไรที่นั้น และนี่คือบทบาทส�าหรับการเป็นจิตอาสา ของเนย พวกเราทุกคนต่างมาจากสถานที่ที่แตกต่าง กัน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างภาษา แต่มาที่นี่ เพื่อจุด ประสงค์เดียวกัน คือ การภาวนา และการเป็นจิต อาสา ซึ่งฉันได้ทั้งเพื่อน ทั้งประสบการณ์การใช้ชีวิต อยู่ต่างเมือง และรวมถึงการภาวนาท�าให้ฉันได้ใกล้ ชิดกับพระเจ้ามากขึ้น และรู้จักที่จะภาวนา สุดท้ายนี้ เนยขอขอบพระคุณผู้มีพระคุณทุก ท่าน ที่ได้มอบโอกาสนี้ให้กับเนยได้สัมผัสสิ่งใหม่ ๆ ที่ ไม่เคยได้ท�าหรือได้ไปมาก่อน ขอบพระคุณค่ะ 25

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.