สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
FREE COPY จกฟรี แ Vol.34
พฤษภาคม - สิงหาคม 2 0 2 1 ปีที่ 32
• กางเขนเพื่อนคู่คริสต์ • งานชุมนุมครอบครัวโลก • งานเกษตรกรรมยั่งยืน • เพศสัมพันธ์ก่อน การแต่งงาน
สารสั ง ฆมณฑล
สายใยจันท์ เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก | ศุภชัย พรมสาร | พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก บทความประจ�ำ คุณพ่อนรเทพ ภานุพันธ์ คุณพ่อนันทพล สุขส�ำราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่อเศกสม กิจมงคล คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ คุณพ่อเอกภพ ผลมูล เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ขา่ วสาร กิจกรรม และความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�ำนักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี
2
สารบั ญ Contents 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
6 แผนกคริสตศาสนธรรม วิเคราะห์ สังเคราะห์ ไตร่ตรอง และทำ�ความเข้าใจ เอกสารเตรียมการสมัชชาบิชอบสากล
10 ฝ่ายการศึกษา เจตจำ�นงการปกป้องคุ้มครองนักเรียน
12 กฎหมายพระศาสนจักร เพศสัมพันธ์ ก่อน การแต่งงาน
14 แผนกพิธีกรรม นี่คือสิ่งที่คริสตชนยุคแรกเชื่อ เกี่ยวกับศีลมหาสนิท
16 แผนกสื่อมวลชน ตารางเวลามิสซาออนไลน์ วัดในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี
18 แผนกครอบครัว ทำ�ความรู้จักกับงานชุมนุมครอบครัวโลก
22 ฝ่ายสังคม งานเกษตรกรรมยั่งยืน
26 แผนกเยาวชน กางเขนเพื่อนคู่คริสต์
30 แผนกสื่อมวลชน รอบรั้ว สังฆมณฑลจันทบุรี
บรรณาธิ ก าร Editor’s talk “ทุกคนในพระศาสนจักรก้าวเดินไปด้วยกัน” ระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2021 พระสันตะปาปาฟรังซิสจะทรงเปิดการ ท�ำสมัชชาบิชอปสากลครั้งที่ 16 ณ นครรัฐวาติกัน ประเทศอิตาลี จากนั้น วันที่ 17 ตุลาคม ทุกสังฆมณฑลทั่วโลก ภายใต้การน�ำของประมุขท้องถิ่นร่วมกับตัวแทน ของบรรดาสัตบุรุษในทุกภาคส่วน จะท�ำการระดมความคิดเห็นจากหัวข้อค�ำถามที่ เลขาธิการสมัชชาก�ำหนดมาให้ เพื่อส่งไปให้สภาบิชอปคาทอลิกของประเทศนั้น ๆ รวบรวมส่งไปให้เลขาธิการสมัชชาภายในเดือนเมษายน 2022 ประมาณเดือน กันยายน 2022 จะมีการประชุมระดับทวีป และสุดท้ายจะมีการสมัชชาบิชอประดับ โลกในเดือนตุลาคม 2023 ณ นครรัฐวาติกัน เมื่อการสมัชชาสิ้นสุดจะมีพระสมณ ลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาออกมา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอภิบาลและแพร่ธรรม ของพระศาสนจักรต่อไป นีเ่ ป็นครัง้ แรกทีค่ ริสตชนทัว่ ทัง้ โลกจะก้าวเดินไปด้วยกัน ฟังเสียงของกันและ กัน และทุกคนต่างก็ฟังเสียงของพระจิตเจ้า เพื่อที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง ตามความมุ่งมั่นตั้งใจของพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่ต้องการฟื้นฟูพระศาสนจักรทั้ง ครบ ตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏ โดยเริ่มต้นจากรากฐานของพระศาสนจักร ไปสูร่ ะดับบนของพีรามิด เพือ่ ให้พระศาสนจักรตอบสนองความต้องการของสมาชิก ทุกคนอย่างแท้จริง ขอส่งความรัก ความปรารถนาดี และความเป็นหนึ่งเดียวไปยังสัตบุรุษทุก คนในสังฆมณฑลจันทบุรี ขอเป็นก�ำลังใจให้กับทุก คนที่ก�ำลังเผชิญความยากล�ำบากต่าง ๆ ที่ผ่านเข้า มาในชีวติ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผลกระทบจากการแพร่ ระบาดของโควิด-19 ขอพระเป็นเจ้าอวยพรพีน่ อ้ งทุก คน ให้ความเชือ่ มาแทนความหวาดกลัว ความหวังมา แทนความท้อแท้ และความรักมาแทนความเกลียดชัง
คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี บรรณาธิการ
3
4
สารพระสังฆราช พี่น้องที่รักยิ่งในพระคริสตเจ้า ผ่านมา 1 ปีครึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ก็ยังคงหนักหนาเอาการอยู่ ประเทศไทยของเราป้องกันได้ดีในช่วงแรก แต่เวลาผ่านไปอาจจะชะล่าใจปล่อยการ์ดตกเลยต้อง พบกับการระบาดระลอก 2 และ 3 ซึ่งแพร่อย่างรวดเร็วและรุนแรง มีผู้เจ็บป่วยจ�ำนวนมากขึ้นทุก วันและเสียชีวิตวันละหลายสิบคน น�ำความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงที่มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในทุก ด้าน หน้าที่ที่เราจะต้องท�ำในเวลานี้คือการรับผิดชอบต่อส่วนรวม ต่อสังคมและต่อตนเองเพื่อจะ ปกป้องเพื่อนพี่น้องของเราและปกป้องตนเอง เชื่อว่าเมื่อผ่านช่วงเวลายากล�ำบากไปแล้วเราคงจะ กลับสูว่ ถิ ชี วี ติ แบบปกติเสียที ขอให้เราร่วมใจกันภาวนาและเป็นก�ำลังใจให้แก่กนั และกัน และเป็นต้น ส�ำหรับผู้ที่ประสบความยากล�ำบาก แม้จะมีการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ที่ก่อให้เกิดการชะงักงันของการด�ำเนินชีวิตและ การงานไปทั่วทั้งโลก แต่พระศาสนจักรก็ยังคงด�ำเนินชีวิตและภารกิจของตนอย่างต่อเนื่อง พระสัน ตะปาปาฟรังซิสยังคงปฏิบัติภารกิจอย่างปกติ เพียงแต่ปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ยังคงพบปะกับสัตบุรุษทางมิสซา on-line ทุกวัน สอนค�ำสอนทุกวันพุธและสวดพรหมถือสารทุก เที่ยงวันอาทิตย์ ทรงภาวนาและอยู่ใกล้ชิดกับลูก ๆ ของพระองค์ เป็นต้นผู้มีทุกข์ทั้งหลายด้วยความ ระลึกถึงและก�ำลังใจที่มอบให้ เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม ทรงเข้ารับการรักษาและการผ่าตัดล�ำไส้ใหญ่ ให้เราภาวนาเพื่อสุขภาพของพระองค์และภารกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงกระท�ำเพื่อพระศาสนจักร เพื่อโลกและเพื่อมวลมนุษยชาติ ส�ำนักข่าววาติกันรายงานข่าววันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2021 ว่า สมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิสทรงมีพระด�ำริที่จะมีการประชุมสมัชชาพระสังฆราชทั่วโลกครั้งที่ 16 ในเดือนตุลาคม 2023 ในหัวข้อ “เพือ่ ทีพ่ ระศาสนจักรจะก้าวเดินไปด้วยกันในการเป็นหนึง่ เดียวกัน การมีสว่ นร่วมและ การท�ำพันธกิจ (For a synodal Church: Communion, Participation and Mission)” แต่ ครัง้ นีพ้ เิ ศษเพราะพระองค์ปรารถนาให้ทกุ สังฆมณฑลทัว่ โลกได้ท�ำสมัชชาระดับสังฆมณฑลก่อนในปี 2021 และให้มีสมัชชาระดับทวีปในปี 2022 ซึ่งเป็นความรีบเร่งที่พระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่งต้อง ปฏิบัติเหมือนกัน สังฆมณฑลของเราต้องเตรียมการด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณพ่อนุพันธ์จะน�ำเสนอหลัก การและขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเราจะได้เข้าใจร่วมกันและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเกิดผลที่ ดีตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา (โปรดติดตามรายละเอียดในฉบับ) ขอพระนางมารียพ์ รหมจารีผไู้ ด้รบั เกียรติยกขึน้ สวรรค์ทงั้ กายและวิญญาณ องค์อปุ ถัมภ์ของ พระศาสนจักรในประเทศไทยปกป้องคุ้มครองและเป็นผู้เสนอวิงวอนเพื่อเราด้วยเทอญ
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
แผนกคริสตศาสนธรรม
วิเคราะห์ สังเคราะห์ ไตร่ตรอง และท�ำความเข้าใจ เอกสารเตรียมการสมัชชาบิชอบสากลในเดือนตุลาคม 2023 หัวข้อ
“การก้าวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร” (Synodality in the Life and Mission of the Church)1 คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี
“สมัชชาบิชอปสากล” (Episcopal Communion) ถูกก่อตั้งโดยนักบุญพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 1965 จากอดีตถึงปัจจุบันมีการสมัชชาสมัยสามัญขึ้น 15 ครั้ง, ครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2018 หัวข้อ “เยาวชน, ความเชื่อและการไตร่ตรองกระแสเรียก (Young People, Faith, and Vocational Discernment) โดยได้ออกสมณลิขิตเตือนใจชื่อว่า “พระ คริสตเจ้าทรงพระชนม์” (Christus Vivit) อันเป็นข้อสรุปของการสมัชชาในครั้งนั้น, สมัยวิสามัญ 3 ครั้ง, และการสมัชชาพิเศษอีก 11 ครั้ง (ครั้งสุดท้ายเมื่อ 2018 โดยได้ออกสมณลิขิตเตือนใจเกี่ยว กับสิ่งแวดล้อมชื่อว่า “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) เดิมพระสันตะปาปาฟรังซิสประกาศให้มีการสมัชชาบิชอปสากลครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2022 และได้ออกเอกสารเพือ่ เตรียมการสมัชชาชือ่ ว่า “การก้าวเดินไปด้วยกันในชีวติ และพันธกิจ ของพระศาสนจักร” (Synodality in the Life and Mission of the Church)2 แต่เมื่อวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม 2021 ก่อนวันสมโภชพระจิตเจ้า พระคาร์ดินัล มาริโอ เกรช (Card. Mario Grech) เลขาธิการสมัชชาบิชอปสากลได้แถลงการณ์เกี่ยวกับการจัดสมัชชาในครั้งนี้ตามพระประสงค์ของ พระสันตะปาปา โดยแบ่งการสมัชชาออกเป็น 3 ระดับคือ 1) ระดับสังฆมณฑล 2) ระดับทวีป และ 3) ระดับโลก เนื้อหาของเอกสารเพื่อเตรียมการสมัชชาแบ่งออกเป็น 4 บท ซึ่งสามารถสรุปได้ดัง ต่อไปนี้ คือ 1
International Theological Commission, announced on 7 March 2020 by Lorenzo Baldisseri, Secretary General of the Synod of Bishops, http://www.vatican.va/roman_curia/congregations/cfaith/cti_documents/rc_cti_20180302_sinodalita_en.html (สืบค้น 5 เมษายน 2021) 2 ดูรายละเอียดในมิตรสงฆ์เดือนเมษายน 2021
6
แผนกคริสตศาสนธรรม
บทที่ 1 การก้าวเดินร่วมกันในพระคัมภีร์ ธรรมประเพณี และในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร พระเจ้าทรงสร้างสวนเอเดนทีม่ คี วามสมบูรณ์และสวยงามให้มนุษย์ได้อยูอ่ าศัย และพระองค์ ได้พระด�ำเนินอยูใ่ นสวนนัน้ พร้อมกับพวกเขา (เทียบ ปฐก 2:8) แต่มนุษย์หลงเชือ่ งูมากกว่าการเชือ่ ฟัง พระเจ้า จึงถูกงูลอ่ ลวง ผลของบาปนัน้ ได้ท�ำลายแผนการของพระเจ้าด้วยความไม่ซอื่ สัตย์และความ มืดบอดต่อกระแสเรียก กระนัน้ ก็ดี พระเป็นเจ้ายังคงเดินเคียงข้างกับมนุษย์เสมอตลอดประวัตศิ าสตร์ ที่ผ่านมา เพื่อชี้น�ำทาง สั่งสอน และเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ได้รับรู้ โดยแผนการนั้น ส�ำเร็จสมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า พระเยซูเจ้าผู้ทรงสอนให้เราก้าวเดินไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา พระองค์คือหนทาง (เทียบ ยน 14:6) และเราเดินบนหนทางนั้น เรากับพระองค์หรือพระองค์กับเราก็เดินทางไปด้วยกันตลอด ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร พระองค์ทรงมอบอ�ำนาจและหน้าที่นี้ให้กับบรรดาอัครสาวกด้วย พระพรของพระจิตเจ้าในการเลียนแบบพระองค์ และเมื่อมีปัญหาหรือความขัดแย้งพวกเขาได้แลก เปลีย่ นความคิดเห็น โดยรับฟังกันและกันในการท�ำสมัชชาครัง้ แรกทีก่ รุงเยรูซาเล็ม (เทียบ กจ 15 และ กท 2:1-10) และอีกหลายครั้งตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปด้วยกัน
บทที่ 2 เทววิทยาแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน พืน้ ฐานทางด้านเทววิทยาของการก้าวไปด้วยกันอยูท่ คี่ วามสัมพันธ์ของพระตรีเอกภาพ พระ ศาสนจักรจึงมีความศักดิส์ ทิ ธิ์ สากล และสืบเนือ่ งมาจากอัครสาวก อันเป็นผลงานของพระตรีเอกภาพ อาศัยพระจิตเจ้าและพระพรของพระจิตเจ้าทีพ่ ระเยซูคริสตเจ้าประทานให้ในวันเปนเตกอสเต (เทียบ กจ 2:1-36) ในความสัมพันธ์นี้ท�ำให้สหพันธ์นักบุญ (สวรรค์ แผ่นดิน และแดนช�ำระ) กลายเป็นจริง ทั้งในความหมายของความเป็นหนึ่งเดียวกันและความศักดิ์สิทธิ์ ซึง่ มีกระแสเรียกในการก้าวเดินไปสู่ ความสมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า 7
แผนกคริสตศาสนธรรม
วิสัยทัศน์เชิงเทววิทยาเรื่องพระศาสนจักรสามารถให้ค�ำจ�ำกัดความของประชากรออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ 1) “ทุกคน” (All) หมายถึง การส�ำนึกในความเชือ่ (Sensus Fidei)3 ของบรรดาสัตบุรษุ ทุกคน 2) “บางคน” (Some) หมายถึง บรรดาบิชอบพร้อมกับคณะบาทหลวงของพวกท่าน 3) “คนเดียว” (One) หมายถึง บิชอบแห่งกรุงโรม หรือ พระสันตะปาปา การฟืน้ ฟูการก้าวเดินไปด้วยกันของพระศาสนจักร เรียกร้องให้เกิดกระบวนการแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ และจ�ำเป็นต้องปรึกษาหารือกับประชากรทัง้ ปวงเพราะเป็นเรือ่ งของ ทุกคน และอะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่อทุกคน ควรมีการอภิปรายและได้รับความเห็นชอบจากทุกคน ในมิติ 3 ประการ ของพระศาสนจักร คือ ความเชื่อ ศีลศักดิ์สิทธิ์ และการปกครอง บทที่ 3 วิธีการท�ำงานร่วมกัน ผู้ที่ท�ำงานร่วมกัน โครงสร้าง กระบวนการ และเหตุการณ์ ด้วยความส�ำนึกในความเชือ่ (Sensus Fidei) สัตบุรษุ ทุกคนควรถูกเรียกให้มารับผิดชอบร่วม กัน โดยท�ำให้พระพรจากพระจิตเจ้าทีไ่ ด้รบั ปรากฏออกมาให้เห็นในชุมชนแห่งความเชือ่ และเป็นส่วน หนึง่ ในการฟื้นฟูพระศาสนจักรทั้งครบ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประสบการณ์แห่งความเชื่อ ความศรัทธา ประชานิยม การอภิบาล วัฒนธรรม สังคม และความสามารถส่วนตัว กระแสเรียกแห่งการก้าวเดิน ไปด้วยกัน ยังหมายถึง การฟังพระวาจาของพระเจ้า การเข้าใจในข้อความเชื่ออย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเชื่อและวิทยาศาสตร์ ความสุขุมรอบคอบในการไตร่ตรองเครื่องหมายของกาล เวลาตามแสงสว่างแห่งพระวรสาร การเสวนากับสังคมและวัฒนธรรม พระศาสนจักรท้องถิ่นจะต้องแข็งขันในการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท การสวดภาวนา การ ร่วมพิธีกรรมอย่างเป็นทางการของสังฆมณฑลที่มีบิชอบเป็นประธานล้อมรอบด้วยคณะบาทหลวง และสังฆานุกรของท่าน ในบริบทของประวัติศาสตร์ของสังฆมณฑล วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง หน่วย งานและองค์กรต่าง ๆ ที่บิชอบจะต้องฟังเสียง, ปรึกษาหารือ, เสวนา, ประชุมและประเมินผลร่วม กับพวกเขา เพือ่ ความดีงามและคุณประโยชน์ของสังฆมณฑลส่วนรวม ภายใต้อ�ำนาจในการตัดสินใจ ของบิชอบ จากนั้นจึงก้าวไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันในระดับทวีปและระดับโลกต่อไป 3
Sensus fidei” (sense of the faith หรือ sense of the Faithful หรือ ความส�ำนึกในความเชื่อ) ในความหมายตามค�ำสอนของพระศาสนจักร คาทอลิก (CCC ข้อ 94) หมายถึง 1) ความส�ำนึก (กตัญญู) เหนือธรรมชาติในฐานะที่เป็นผู้ที่มีความเชื่อคนหนึ่ง ต่อการมีส่วนร่วม หรือความเป็นเจ้าของในพระศาสนจักรสากล 2) ด้วยการยึดมั่นในความเชื่อ, กฎศีลธรรม, และค�ำสั่งสอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร อันอยู่บนรากฐานขององค์พระจิตเจ้าแห่งความจริง 3) พวกเขาจะยึดติดกับความเชื่ออย่างไม่ปล่อยวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมโนธรรมส่วนลึกของพวกเขาในการเลือกท�ำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต ปัจจุบัน ดังที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงตรัสว่า “ประตูนรกจะไม่มีวันเอาชนะพระศาสนจักรได้ (มธ 16:18) 4) พระศาสนจักรในที่นี้หมายถึง หน้าที่ในการดูแลของบรรดาพระสังฆราชที่จะไม่ให้บรรดาสัตบุรุษผิดหลงไปจากความเชื่อ
8
แผนกคริสตศาสนธรรม
บทที่ 4 การกลับใจสู่การฟื้นฟูการก้าวเดินไปด้วยกัน การก้าวเดินไปด้วยกันเรียกร้องให้เกิดการกลับใจของกระแสเรียกแห่งการเป็นคริสตชน การ มีชวี ติ จิตแห่งความเป็นหนึง่ เดียวกัน การฝึกการฟังการเสวนาและการไตร่ตรองร่วมกันกับทุกคน อัน อยูบ่ นพืน้ ฐานของความเป็นพีน่ อ้ งกัน ความเอือ้ อาทร และการไม่ทอดทิง้ ผูใ้ ดไว้ขา้ งหลัง นัน่ หมายถึง การกลับใจด้านการอภิบาลและธรรมทูตใน 4 มิติ คือ 1) จิตตารมณ์, 2) ทัศนคติ, 3) วิธีการท�ำงาน และ 4) โครงสร้างการด�ำเนินงาน ที่เน้นทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบด้วยกันตามหลักการ ของ “ทุกคน”, “บางคน”, และ “คนเดียว” พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นเครื่องหมายและเป็นเครื่องมือแห่งความ รอดของพระคริสตเจ้า เรียกร้องให้ทุกคนกลับใจ โดยแสดงออกมาให้เห็นทาง 1) การยอมรับผู้อื่น, 2) การรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน, 3) ความมีใจโอบอ้อมอารี และ 4) การไม่เสแสร้งหรือใส่ หน้ากากเข้าหากัน และเป็นหนึ่งเดียวกันในศีลมหาสนิท ดังนั้น พระศาสนจักรจึงเป็นทั้ง “บ้านและโรงเรียนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ที่จะน�ำ ทุกคนไปสู่ความสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า โดยการน�ำความส�ำนึกในความเชื่อ (Sensus fidei) มาใช้
9
ฝ่ายการศึกษา
เจตจ�ำนง การปกป้องคุ้มครอง นักเรียน
โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�ำราญ พระศาสนจักรสากลให้ความส�ำคัญกับการ ปกป้องคุ้มครองดูแลเด็กและเยาวชนมาโดยตลอด ในค�ำปราศรัยปิดการประชุมเรือ่ งการปกป้องคุม้ ครอง เด็กและเยาวชน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2019 พระสันตะปาปาฟรังซิสเตือนใจสมาชิกทุกคนในพระ ศาสนจักรว่า “เราต้องให้ใบหน้าของเด็ก ๆ ติดตา เราเสมอ ดังพระวาจาที่ว่า ผู้ใดต้อนรับเด็กเล็กๆ เช่นนี้ในนามของเรา ผู้นั้นต้อนรับเรา” (มธ. 18:5) พระศาสนจักรในประเทศไทยเรียกร้องให้ทกุ คนใส่ใจในการดูแลปกป้องคุม้ ครองเด็กและผูเ้ ยาว์ โดย เฉพาะในโรงเรียนคาทอลิก ที่ซึ่งเปรียบเสมือนบ้าน หลังทีส่ องของบรรดาเด็กๆ และเยาวชนจ�ำนวนมาก โรงเรียนคาทอลิกจึงมีหน้าที่ส�ำคัญในการยืนหยัดถึง คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิทางการ ศึกษาของทุกคนให้เด่นชัด เป็นการท�ำให้พระวาจาดัง กล่าวข้างต้นเกิดผลเป็นรูปธรรม 10
ดังนั้นเมื่อปี 2019 สภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย จึงได้จดั ท�ำและเผยแพร่คมู่ อื ปฏิบตั ิ ของโรงเรียนในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน โดยได้ ประกาศเจตจ�ำนงส�ำคัญไว้ 4 ประการคือ 1. โรงเรียนคาทอลิกทุกโรงเรียนพึงก�ำหนด นโยบายและแนวปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรในการ ส่งเสริมศักดิ์ศรี ปกป้องสิทธิ และคุ้มครองนักเรียน จากการล่วงละเมิดต่างๆ อย่างชัดเจนตรงตามจิต ตารมณ์พระวรสาร ข้อเรียกร้องของพระศาสนจักร ปฏิญญาและกฎบัตรสหประชาชาติ กฎหมายบ้าน เมืองและจรรยาบรรณวิชาชีพตามก�ำหนดของคุรสุ ภา 2. นโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ก�ำหนดขึ้น พึงได้รบั การศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยคณะครู บุคลากรโรงเรียน ผูป้ กครองนักเรียน และทุกคนทีเ่ ข้า มามีสว่ นในกิจกรรมของโรงเรียน รวมถึงนักเรียนเอง อย่างเหมาะสมกับวุฒิภาวะแต่ละวัย
ฝ่ายการศึกษา
3. โรงเรียนพึงก�ำหนดเงือ่ นไขทีช่ ดั เจนให้เป็น ที่รับทราบ และรับรองของผู้สมัครเข้าร่วมงานใหม่ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการ ศึกษาและบุคลากรทัว่ ไปในการปฏิบตั ติ ามนโยบายนี้ 4. โรงเรียนพึงก�ำหนดมาตรการและบุคลากร ผูร้ บั ผิดชอบอย่างชัดเจนในการเฝ้าระวังและรับเรือ่ ง ราวร้องทุกข์หากมีขนึ้ และมีแนวทางปฏิบตั เิ พือ่ แก้ไข และเยียวยาในกรณีเกิดการล่วงละเมิด บนพื้นฐาน ของการเคารพสิทธิและให้ความเป็นธรรมแก่ทกุ ฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง โดยค�ำนึงถึงนักเรียนเป็นส�ำคัญ จะเห็นว่าเจตจ�ำนงทั้ง 4 ประการดังกล่าว ให้ความส�ำคัญกับทัง้ มาตรการเฝ้าระวังและแนวทาง การแก้ปญ ั หาเมือ่ เกิดเหตุการณ์ แต่สงิ่ ทีจ่ ะละเลยไม่ ได้เลยก็คือ การสร้างความตระหนักรู้ (awareness) ถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็นในการร่วมมือปกป้อง คุ้มครองนักเรียนให้แก่ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ บริหาร ครูและบุคลากรทุกภาคส่วน ให้เกิดความ ตระหนักในหน้าทีใ่ นการปกป้องคุม้ ครองนักเรียนจาก การล่วงละเมิดทุกรูปแบบ พยายามทุกวิถีทางที่จะ ท�ำให้โรงเรียนเป็นสถานทีป่ ลอดภัยส�ำหรับเด็กๆ และ เยาวชนทุกคนที่เข้ามา ให้เกิดบรรยากาศแห่งความ รัก ความเมตตาตามคุณค่าพระวรสาร เป็นสถานทีท่ ี่ เด็กๆ และเยาวชนไว้วางใจให้เป็นแปลงบ่มเพาะชีวติ เพื่อพัฒนาตนเองทั้งครบให้เติบโตอย่างสมศักดิ์ศรี ของการเป็นบุตรพระเจ้า
11
ฝ่ายกฎหมายฯ
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้
โดย คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ
เพศสัมพันธ์ ก่อน การแต่งงาน
สวัสดีครับพี่น้องที่รักทุกท่าน พ่อได้พบ บทความทีน่ า่ สนใจ จึงแปลบางส่วนน�ำมาแบ่งปัน กันครับ แต่ขอพี่น้องเปิดใจอ่านด้วยความเข้าใจ ตามแบบวัฒนธรรมอันดีงามของประเทศไทย ของเรานะครับ ท�ำไมพระศาสนจักรคาทอลิกสอนว่า การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานเป็น เรื่องที่ไม่ถูกต้อง? ก่อนอื่นหากพี่น้องได้ยินใครก็ตามที่ พูดประโยคนี้ ไม่ว่าจะเป็น “พระสงฆ์, คริสตชน ฆราวาส, หรือ จะเป็นคนอื่น ๆ ” พูดว่า “เพศ สัมพันธ์เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ด”ี ให้เราตระหนักว่าคน ที่กล่าวเช่นนั้น กล่าวไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน เพราะที่จริงแล้วพระศาสนจักรคาทอลิกเชื่อ เสมอว่า “เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องมหัศจรรย์ -sex is a wonderful thing” จงขอบพระคุณ พระเจ้าครับพี่น้อง พระคัมภีรพ ์ นั ธสัญญาเดิม ในหนังสือ บทเพลงซาโลมอน -the book Song of Songs กล่าวบทประพันธ์ทนี่ า่ ทึง่ เกีย่ วกับศักดิศ์ รีความ งดงามของความรักและการแต่งงานของ มนุษย์ ความรักตามธรรมชาติไม่เป็นสิ่งเลวร้าย แต่กม็ อิ าจปล่อยตัวได้ตามใจไร้ขอบเขต ยิง่ กว่านัน้ นักบุญพระสันตะปาปาจอห์น พอล ที่ 2 ได้ให้ ข้อคิดเกีย่ วกับความสวยงามของเพศสัมพันธ์ 12
ตามมุมมองจากพระคัมภีร์ในการสอนเรื่อง เทววิทยาด้านร่างกาย อย่างไรก็ตาม “เพศ” ก็เป็นดังเช่นของขวัญอื่นๆ จากพระเจ้า ซึ่งจะ ต้องถูกใช้อย่างถูกต้องให้เหมาะสม ตามความเชือ่ คริสตชนนัน้ พระเจ้าทรง สร้าง “เพศ” ให้เกิด “ความสัมพันธ์” ขึน้ “ใน การแต่งงาน” ครับพีน่ อ้ ง ในพระคัมภีรร์ ะบุไว้วา่ การแต่งงานเกิดขึน้ เมือ่ ชายหนึง่ และ หญิงหนึง่ ร่วมชีวิต เขาทั้งสองจึงกลายเป็นเนื้อเดียวกัน -become one flesh. ดังนัน้ การมีเพศสัมพันธ์ จากการแต่งงาน - the consummation of a marriage ก่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกัน - a sexual union ของคู่สามีภรรยานั้น ๆ ขึ้นนั่นเอง เมื่อใดก็ตามที่คนสองคน (ชายและ หญิง) ไม่ยอมมีขอ้ ผูกมัดทีจ่ ะใช้ชวี ติ ร่วมกัน ไปจนกว่าชีวติ จะหาไม่ (โดยไม่ยอมแต่งงานกัน) แต่ “ใช้เพศสัมพันธ์” เป็น “การทดลองความ สัมพันธ์ด้านเพศ” ซึ่งความสัมพันธ์ในลักษณะ ดังกล่าวจึงไม่เป็นการมอบชีวติ แก่กนั และกัน ตามความหมายของการแต่งงาน และเป็น ความเห็นแก่ตัว โดยความสัมพันธ์นั้น ๆ อาจ จะจบลงอย่างน่าเศร้าใจเมื่อใดก็ได้ และนี่เองคือ เหตุที่พระศาสนจักรสอนว่า การมีเพศสัมพันธ์ ก่อนการแต่งงานเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง หรือ เป็นบาป
ฝ่ายกฎหมายฯ
เพราะอันที่จริง เพศสัมพันธ์จะต้อง เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึง่ เดียวกัน ตลอดชีวิต -sexuality should be an expression of unity for life ในโลกนี้ความตายเพียง สิง่ เดียวเท่านัน้ ทีจ่ ะพรากความรักทีช่ ายและ หญิงมอบให้กันผ่านทางการแต่งงาน, การ ใช้ชีวิตคู่และการมีเพศสัมพันธ์ เพราะฉะนั้น บทความนีจ้ งึ ขอยืนยันว่า พระศาสนจักรยืนยัน ความถูกต้องของ “การมีเพศสัมพันธ์ดว้ ยความ รักที่แท้จริงว่าเป็น truly making love” ผ่าน ทางการแต่งงาน ซึ่งเป็นประสบการณ์กับคน พิเศษเพียงคนเดียวตลอดไป แล้ว วัยรุน่ ทัง้ หลายจะแสดงออกด้าน ความรัก กับ คนรัก boyfriend/girlfriend ที่ คบหากันได้อย่างไรบ้างล่ะครับ ค�ำถามแบบนีค้ งเกิดขึน้ ได้ เพราะความรูส้ กึ รัก หรือ ชอบ ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกับที่คน ๆ หนึ่งเติบโตขึ้นตามวัย สิ่งที่พอจะกล่าวได้คือ การแสดงความรักต่อคนรัก -to express your affection for a boyfriend/girlfriend เป็นเรือ่ งที่ ไม่ผดิ อะไร ตราบเท่าทีไ่ ม่เป็นความสัมพันธ์ ทางเพศ เช่น การจูบ, การกอด, การหอมหรือ การจับมือกัน (เพียงแต่ในบ้านเราอาจต้องระวัง สายตาคนรอบข้างสักหน่อย) การแสดงออกทาง อารมณ์ด้านความรักเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่ใน การคบหากันต้องมีการหักห้ามใจ และระมัดระวัง การปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ (Sexual Arousal) เช่น หน้าอก บั้นท้าย อวัยวะเพศ หรือวิธีการจูบ -french kiss เป็นต้น การแสดงออกใด ๆ ใน
ลักษณะทีเ่ ป็นการล่วงล�ำ้ ส่วนบุคคลของฝ่าย ตรงข้ามที่มากเกินไป เป็นสิ่งไม่ดีเพราะเป็น เพียงการเอาผลประโยชน์จากฝ่ายตรงข้าม เพื่อท�ำให้ตนเองพึงพอใจเท่านั้น พี่น้องครับการแสดงออกของความรัก แบบดี ๆ เช่น แสดงความห่วงใย, การมี น�้ำใจ, การเข้าใจกัน, การสื่อสารกัน, การ ยอมรับกัน, การปรับตัวเข้าหากัน และการ ให้เกียรติกนั ซึง่ การแสดงออกของความรักเหล่า นี้ ยิ่งแสดงถึงการเห็นคุณค่าของความรักแท้ การให้เวลาแก่ความสัมพันธ์ทคี่ อ่ ย ๆ เติบโต ความชอบพออย่างแท้จริงจะค่อย ๆ เป็นไปอย่าง ช้า ๆ และจะถนอมความรักของคูร่ กั ไปจนกว่า จะถึงวันแต่งงาน ซึ่งจะเป็นวันที่มีความพร้อม และเหมาะสมต่อไป ในประเทศไทยของเรามีวิถีชีวิตการสั่ง สอนเรื่องเพศที่ดี โดยเฉพาะจากครอบครัว เรื่อง การรักนวลสงวนตัวของฝ่ายหญิง หรือเรื่อง การให้เกียรติเพศแม่จากฝ่ายชาย ดังนัน้ หาก จะวิเคราะห์ผ่านวัฒนธรรมที่ดีงามของบ้านเรา แล้ว สิ่งที่เหลืออยู่ก็เพียงการกระตุ้นให้เกิดความ ตระหนักรู้เพื่อปฏิบัติสิ่งดีงามด้าน “เพศ” ด้วย ความเข้าใจที่แท้จริง และจากบทความที่น�ำเสนอ นี้ ขอย�ำ้ อีกครัง้ ว่า “เพศและเพศสัมพันธ์” เป็น ดังเช่นของขวัญจากพระเจ้า ซึ่งจะต้องถูกใช้ อย่างถูกต้องให้เหมาะสมครับ ขอบรรดานักบุญพรหมจารีทั้งหลาย ช่วยวิงวอนพระเจ้าเพื่อลูกหลานของเราครับ
เรียบเรียงจากข้อมูล https://www.catholicscomehome.org/cohabitation-and-church-teaching และเทียบประมวลกฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 1055-1057 13
แผนกพิธีกรรม
นี่คือสิ่งที่คริสตชนยุคแรกเชื่อเกี่ยวกับ
ศีลมหาสนิท
คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่รัก ความเชื่อ ของเราคริสตชนทุกคน มีพนื้ ฐานมาจากประสบการณ์ ความเชือ่ และธรรมประเพณีทไี่ ด้รบั มาจากบรรพบุรษุ โดยเฉพาะจาก คริสตชนสมัยแรกเริ่ม สายใยจันท์ ฉบับนีพ้ อ่ อยากจะน�ำเราเข้าสูค่ วามเชือ่ ความศรัทธา ต่อศีลมหาสนิทของพี่น้องคริสตชนสมัยแรกเริ่ม มา ติดตามกันเลยครับ ความเชื่อของบรรดาคริสตชนยุคแรก มี รากฐานมาจากพระวาจาของพระเยซูเจ้าและธรรม ประเพณี ที่สืบทอดมาจากอัครสาวก หลังจากเกือบ 2,000 ปีของการสอนคาทอลิก พระศาสนจักรได้ประกาศอย่างกล้าหาญในค�ำสอน ว่า “ศีลมหาสนิทเป็นแหล่งก�ำเนิดและจุดสูงสุด ของชีวิตคริสตชน” (Lumen Gentium 11) “ศีล ศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เช่นเดียวกับศาสนบริการในพระ ศาสนจักรและกิจการประกาศข่าวดี ทุกอย่างล้วน มีความสัมพันธ์กบั ศีลมหาสนิทและมุง่ ไปหาศีลฯนี้ ด้วย” (CCC 1324) 14
จากถ้อยค�ำเบื้องต้นเป็นค�ำกล่าวที่โดดเด่น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระศาสนจักรเห็นคุณค่าของศีล มหาสนิทในยุคปัจจุบนั มากเพียงใด แต่วา่ ความเชือ่ นี้ เป็นสิง่ ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ในช่วงสองสามศตวรรษทีผ่ า่ นมา หรือไม่? หรือเป็นส่วนหนึง่ ของค�ำสอนของศาสนจักร ตั้งแต่เริ่มแรก? เช่นเดียวกับค�ำสอนที่เป็นแก่นแท้ทั้งหมด ของพระศาสนจักรคาทอลิก มันเป็นเพียงการสะท้อน ความเชือ่ ของพระศาสนจักรตลอดหลายศตวรรษ สิง่ นี้เปิดเผยอย่างชัดเจนเมื่อเราเจาะลึกถึงงานเขียน ของบรรดาคริสตชนยุคแรกซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงสอง สามศตวรรษแรกหลังจากการสิ้นพระชนม์และการ ฟื้นคืนพระชนม์ของพระคริสตเจ้า เพือ่ ช่วยอธิบายให้เราเข้าใจยิง่ ขึน้ ข้อความ บางส่วนจากคริสตชนเหล่านั้น มีความเชื่อเกี่ยวกับ ศีลมหาสนิท หลังจากอ่านข้อความเหล่านี้แล้ว เป็น ทีช่ ดั เจนว่า พระศาสนจักรได้ถา่ ยทอดค�ำสอนนีต้ ลอด ระยะเวลาที่ผ่านมาโดยแทบไม่เปลี่ยนแปลง
แผนกพิธีกรรม
ในวันขององค์พระผูเ้ ป็นเจ้า จงชุมนุมกันเพือ่ ท�ำการหักปังและถวายบทขอบพระคุณ แต่ก่อนอื่น ขอให้ท่านสารภาพความบกพร่องต่าง ๆ ก่อน เพื่อ ว่าการบูชาของท่านจะเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ ใครก็ตาม ที่มีเรื่องขัดใจกับเพื่อน ไม่ควรจะมีส่วนร่วมในพิธีนี้ จนกว่าเขาจะคืนดีกันก่อน ที่ท�ำเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการ หลีกเลี่ยงไม่ให้การบูชาเป็นมลทิน เพราะว่านี่คือ ของถวายซึง่ องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าเคยตรัสไว้วา่ “ในทุก ที่และทุกแห่ง เขาถวายเครื่องบูชาบริสุทธิ์แด่เรา เสมอ เพราะเราคือ กษัตริยผ์ ยู้ งิ่ ใหญ่และนามของ เราเป็นที่เกรงขาม ท่ามกลางประชาชาติทั้งมวล พระเจ้าตรัสดังนี้” (Didache’, c. 90) เพราะเราไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้เป็นอาหารหรือ เครือ่ งดืม่ ทัว่ ไป แต่ในขณะทีพ่ ระเยซูคริสต์ พระผูช้ ว่ ย ให้รอดพ้นของเราทรงลงมาบังเกิด โดยพระองค์(พระ วจนารถของพระเจ้า)ได้น�ำเนื้อและโลหิตมาใช้เพื่อ ความรอดของเรา ดังนั้นเราจึงได้รับการสอนด้วย ว่าอาหารที่ถวายและอธิษฐานโดยพระวจนารถ ซึ่ง มาจากพระองค์และซึ่งร่างกายและโลหิตของเราได้ รับการหล่อเลี้ยงโดยการเปลี่ยนแปลง คือเนื้อและ โลหิตของพระเยซูคริสต์ผู้มาบังเกิด (น.จัสติน มรณ สักขี ค.ศ. 100) พวกเขา(พวกนอกศาสนา)ละเว้นจากศีลมหา สนิทและจากการอธิษฐานภาวนา เพราะพวกเขาไม่ ยอมรับว่าศีลมหาสนิทเป็นเนือ้ หนังของพระเยซูคริสต์ พระผูช้ ว่ ยให้รอดพ้นของเรา เนือ้ หนังทีท่ นทุกข์เพราะ บาปของเรา และที่พระบิดา ในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ ทรงเป็นขึน้ มาจากความตาย (น.อิกญา ซีโอแห่งอันทิโอก ค.ศ. 100-167)
พระคริสต์ทรงประกาศให้ถ้วยซึ่งเป็นส่วน หนึง่ ของการทรงสร้างเป็นพระโลหิตของพระองค์เอง ซึ่งพระองค์ทรงท�ำให้โลหิตของเราไหลเวียน และปัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทรงสร้างนั้น พระองค์ทรง สถาปนาเป็นพระกายของพระองค์เอง ซึ่งพระองค์ ทรงเพิ่มพูนให้ในร่างกายของเรา (น.อีเรเนอุส ค.ศ. 130-200) พระวจนารถคือทุกสิง่ ส�ำหรับลูก ทัง้ พ่อและ แม่ ทัง้ ผูส้ อนและพยาบาล พระองค์ตรัส “จงกินเนือ้ ของเราและดื่มโลหิตของเรา” พระเจ้าประทาน การหล่อเลี้ยงเหล่านี้แก่เรา พระองค์ทรงมอบเนื้อ หนังของพระองค์ และเทพระโลหิตของพระองค์ ออก และไม่มสี งิ่ ใดขาดหายไปส�ำหรับการเติบโตของ บรรดาบุตรของพระองค์ โอ้ความลึกลับที่เหลือเชื่อ! (น.เคลเมนต์ แห่งอเล็กซานเดรีย ค.ศ. 150-215) จากตัวอย่าง ข้อเขียนเบื้องต้นของบรรดา คริสตชนยุคแรก ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นนักบุญและปิตาจารย์ ของพระศาสนจักร ได้เน้นย�ำ้ และยืนยันกับเราถึงความ เชือ่ ทีเ่ ข้มข้นต่อศีลมหาสนิท จึงเป็นเครือ่ งยืนยันและ เน้นย�้ำว่า “ศีลมหาสนิทเป็นแหล่งก�ำเนิดและจุด สูงสุดของชีวิตคริสตชน” (Lumen Gentium 11) เราจงกลับมาให้ความส�ำคัญและเอาใจใส่ ต่อชีวิตแห่งความศรัทธาต่อศีลมหาสนิทให้เข้มข้น มากยิ่งขึ้นนะครับ พบกันใหม่ฉบับหน้า
15
ตารางเวลา มิสซาออนไลน์
วัดในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี แขวง
วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น. วันพุธ เวลา 19.00 น. (นพวารแม่พระนิจจานุเคราะห์)
จันทบุรี
วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา
วัดนักบุญยาโกเบ บ่อวิน
แขวง
วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น.
วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น.
ศรีราชา
วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา วันอาทิตย์ เวลา 08.30 น. (อังกฤษ) วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น. (ไทย) วันพุธ-วันเสาร์ เวลา 17.00 น. 16
วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ วันอาทิตย์ เวลา 09.00 น.
แขวง
ปราจีนบุรี
แขวง
หัวไผ่
วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น.
วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์
แขวง
วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น.
สระแก้ว
17
แผนกครอบครัว
ท�ำความรูจ้ ก ั กับ งานชุมนุมครอบครัวโลก ของพระศาสนจักรคาทอลิก โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี และสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศอย่างเป็นทางการว่า พระองค์ท่านทรงเน้น “การมีส่วนร่วมและ ความรู้สึกร่วมของความเป็นหนึ่งเดียวกัน” พระองค์ท่านทรงประกาศให้ทุก ๆ สังฆมณฑล และทุก ๆ วัด ทั่วโลก จัดงานชุมนุมครอบครัวโลกไปพร้อม ๆ กัน โดยมีพระศาสนจักรแม่ คือ กรุงโรม สายใยจันท์ฉบับนี้ แผนกครอบครัวสังฆมณฑล จันทบุรี ขอน�ำเสนอเรื่องเกี่ยวกับ “งานชุมนุม ครอบครัวโลก” (World Meeting of Families) ใน วันที่ 22-26 มิถนุ ายน ค.ศ.2022 งานชุมนุมครอบครัว โลกครัง้ ที่ 10 ก็จะเกิดขึน้ โดยเจ้าภาพการจัดงาน คือ กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยมีหัวข้อของการจัดงาน ว่า “ความรักในครอบครัว คือ กระแสเรียกและวิถี ทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์” (Family Love: a vocation and a path to holiness) ประวัติความเป็นมาของงานชุมนุมครอบครัวโลก (World Meeting of Families: WMFs) ในปี ค.ศ.1994 (พ.ศ.2537) องค์การ สหประชาชาติ ได้ประกาศให้เป็นปี “ครอบครัว สากล” (International Year of the Family) และ นักบุญยอห์นปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา มีความ ปรารถนาให้พระศาสนจักรคาทอลิกได้เฉลิมฉลอง ปีแห่งครอบครัวเช่นเดียวกันกับการประกาศของ องค์การสหประชาติ “งานชุมนุมครอบครัวโลก 18
หรือ งานชุมนุมครอบครัวสากล” จึงถือก�ำเนิดขึ้น เป็นครั้งที่ 1 โดยเจ้าภาพคือ กรุงโรม เป็นเจ้าภาพ ในการจัดงาน ในวันที่ 8-9 ตุลาคม ค.ศ.1994/พ.ศ. 2537 ผ่านทางสภาสันตะส�ำนักเพื่อครอบครัว (The Pontifical Council for the Family) เป็นผู้ประสาน งานส่วนกลาง หลังจากนั้น ในทุก ๆ 3 ปี งานชุมนุม ครอบครัวโลกได้ถูกจัดขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ร่วมกับการประชุมเทววิทยางานอภิบาลนานาชาติ (International Pastoral Theological Congress) พร้อมกับการเฉลิมฉลองครอบครัวทั้งหลายร่วมกับ องค์สมเด็จพระสันตะปาปาที่จะมาเป็นประธานพิธี มิสซาบูชาขอบพระคุณในวันสุดท้ายของงานชุมนุม ครอบครัวโลกด้วย งานชุมนุมครอบครัวโลกทีจ่ ะเกิดขึน้ ในปี ค.ศ. 2022 (พ.ศ.2565) เป็นครัง้ ที่ 10 ซึง่ มีประวัตขิ องการ จัดงานชุมนุมครอบครัวโลก ตามล�ำดับดังนี้
แผนกครอบครัว
งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 1 โดย นักบุญ ยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา ในวันที่ 8-9 ตุลาคม ค.ศ.1994/2537 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในหัวข้อ “ครอบครัว คือหัวใจแห่งอารยธรรม แห่งความรัก” (The Fmaily, the Heart of the Civilization of Love) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 2 โดย นักบุญ ยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา ในวันที่ 4-5 ตุลาคม ค.ศ.1997/2540 ณ เรโอ เด จาเนร โร ประเทศบราซิล ในหัวข้อ “ครอบครัว คือของ ขวัญและการอุทิศตนเองทั้งครบ ความหวังของ มนุษยชาติ” (The Family: Gift and Commitment, the hope of Huminty) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 3 โดย นักบุญ ยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา ในวันที่ 14-15 ตุลาคม ค.ศ.2020/2543 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในบรรยากาศของการเฉลิมฉลองจูบีลีปี 2000 ใน หัวข้อ “บรรดาเด็ก คือ ฤดูใบไม้ผลิของครอบครัว และของพระศาสนจักร” (Children: Springtime of the Family and of the Church) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 4 โดย นักบุญ ยอห์นปอลที่ 2 พระสันตะปาปา ในวันที่ 25-26 มกราคม ค.ศ.2003/2546 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในหัวข้อ “ครอบครัวคริสตชน คือ ข่าวดีส�ำหรับสหัสวรรษที่ 3” (The Christian Family: Good News for the Third Millennium) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครัง้ ที่ 5 โดยพระ สันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ในวันที่ 8-9 กรกฎาคม ค.ศ.2006/2549 ณ วาเลนเซีย ประเทศสเปน ใน หัวข้อ “ส่งผ่านความเชือ่ ในครอบครัว” (Handing on the Faith in the Family) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครัง้ ที่ 6 โดยพระ สันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ในวันที่ 17-18 มกราคม
ค.ศ.2009/2552 ณ กรุงแม็กซิโก ประเทศแม็กซิโก ใน หัวข้อ “ครอบครัว คือคุณครูสอนความเป็นมนุษย์ และคุณค่าแห่งการเป็นคริสตชน” (The Family: Teacher of Human and Christian Values) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 7 โดย พระสันตะปาปา เบเนดิกต์ ที่ 16 ในวันที่ 2-3 มิถนุ ายน ค.ศ.2012 ณ มิลาน ประเทศอิตาลี ในหัวข้อ “ครอบครัว งานและการเฉลิมฉลอง” (Family, Work & Celebration) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครัง้ ที่ 8 โดยพระ สันตะปาปาฟรังซิส ในวันที่ 26-27 กันยายน ค.ศ. 2015/2558 ณ ฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ “ความรักคือพันธกิจ ครอบครัวเต็มเปีย่ ม ด้วยชีวิตชีวา” (Love is our mission: The Family fully alive) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 9 ในวัน ที่ 22-26 สิงหาคม ค.ศ.2018/2561 ณ กรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในหัวข้อทีถ่ กู เลือกโดยองค์สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิส คือ “พระวรสารแห่ง ครอบครัว คือความปีติยินดีส�ำหรับโลก” (The Gospel of the Family: Joy for the World) เพื่อ ให้ล้อไปกับบริบทของสมณลิขิตเตือนใจความปีติยิน แห่งความรักในชีวิตครอบครัว (Amoris Laetitia) โดยสมณกระทรวงใหม่ คือ สมณกระทรวงฆราวาส ครอบครัวและชีวิต ประธานสมณกระทรวงคือ พระ คาร์ดินัล เค ฟาเรล (Cardinal K. Farrell) งานชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 10 โดย พระสันตะปาปาฟรังซิส ในวันที่ 22-26 มิถุนายน ค.ศ.2022/2565 ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นเจ้า ภาพ ร่วมกับทุกๆ สังฆมณฑลและวัดต่างๆ ทั่วโลก ในหัวข้อ “ความรักในครอบครัว คือกระแสเรียก และวิถีทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์” (Family Love: a vocation and a path to holiness) 19
แผนกครอบครัว
พิเศษส�ำหรับงานชุมนุมครอบครัวโลก ครัง้ ที่ 10 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศอย่างเป็น ทางการว่า พระองค์ทา่ นทรงเน้น “การมีสว่ นร่วมและ ความรูส้ กึ ร่วมของความเป็นหนึง่ เดียวกัน” พระองค์ ท่านทรงประกาศให้ทุก ๆ สังฆมณฑลและทุก ๆ วัด ทัว่ โลก จัดงานชุมนุมครอบครัวโลกไปพร้อม ๆ กัน โดย มีพระศาสนจักรแม่ คือ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็น แม่งานหลัก ในวันที่ 22-26 มิถนุ ายน ค.ศ.2022/2565 โดยมีหัวข้อ คือ “ความรักในครอบครัว คือกระแส เรียกและวิถีทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์” เพื่อให้ทุก ๆ สังฆมณฑล และทุก ๆ วัดทั่วโลกได้จัดเตรียมงาน เพือ่ ให้ความส�ำคัญกับครอบครัวทีส่ ามารถไปสูค่ วาม ศักดิิ์สิทธิ์ได้โดยอาศัยกระแสเรียกที่ตนเองเป็น และ การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน ดังนัน้ ครอบครัวของพีน่ อ้ งทุกๆ ท่าน สามารถ ติดตามข้อมูลข่าวสารการจัดงานชุมนุมครอบครัว โลกได้ผา่ นทาง Facebook ทางแผนกครอบครัวสภา ประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย และ
20
Facebook ทางแผนกครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรี ในการเฉลิมฉลองครอบครัวของเราเอง ร่วมกับ บรรดาครอบครัวทั่วโลก เพื่อครอบครัวเราจะก้าว เดินไปด้วยกัน ครอบครัวอภิบาลครอบครัว จะได้ เป็นจริงในชีวิตครอบครัวประจ�ำวัน และเชิญชวนพี่ น้องทุก ๆ ครอบครัว ได้ภาวนา บทภาวนาเพื่อการ ชุมนุมครอบครัวโลก ครั้งที่ 10 และร�ำพึงไตร่ตรอง ชีวิตครอบครัวของเราไปพร้อมกับสมณลิขิตเตือน ใจความปีติยนิ ดีแห่งความรักในชีวติ ครอบครัวทีท่ าง แผนกครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรีร่วมกับแผนก ครอบครัวสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกฯ ได้ จัดท�ำขึ้นวันละข้อ ตลอดปีครอบครัว (19 มีนาคม 2021 - 26 มิถุนายน 2022) สุดท้ายนี้ ขอองค์พระผูเ้ ป็นเจ้าและครอบครัว ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งนาซาเร็ธ โปรดทรงคุม้ ครองครอบครัว ของพี่น้องทุก ๆ ครอบครัว ได้ปลอดภัยจากโควิด 19 และความสุขและสันติจงบังเกิดกับพี่น้องทุก ๆ ครอบครัวเสมอไปเทอญ
แผนกครอบครัว
21
ฝ่ายสังคม
การพัฒนาคุณภาพชีวิต งานเกษตรกรรมยั่งยืน โดย นายสุเทพ กิจเต่ง เจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ประชาคมโลก : เรียกร้องและมีขอ้ ตกลงทีจ่ ะร่วมกันพัฒนาประเทศชาติ โดยยึดเป้าหมาย ของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) หรือตัวย่อว่า SDGs เป็นเป้าหมาย และทิศทางการพัฒนาในด้านต่าง ๆ จ�ำนวน 17 เป้าหมาย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 – ค.ศ. 2030 ภาค การเกษตรจึงมีบทบาทส�ำคัญและเป็นเป้าหมายหลัก ๆ ที่ประเทศต่าง ๆ ในประชาคมโลกให้ความ ส�ำคัญ เพราะภาคการเกษตรเป็นภาคการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรโลก โดยเฉพาะเพื่อขจัด ความยากจน (ข้อที่ 1) เพื่อยุติความหิวโหย บรรลุความมัน่ คงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ ส�ำหรับคนทุกวัย (ข้อที่ 2) เพือ่ สร้างหลักประกันให้มรี ปู แบบการผลิตและการบริโภคทีย่ งั่ ยืน (ข้อที่ 12) เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบภาคการเกษตร (ข้อที่ 13) และ เพื่อการปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศน์การหยุดท�ำลายดินและความหลากหลายทางชีวภาพ (ข้อที่ 15)
22
ฝ่ายสังคม
ประเทศไทย : ภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) ตาม แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 12 ต้องสร้างความมั่นคง ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ก็ได้ให้ความส�ำคัญของภาค เกษตร เน้นการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคทีป่ ลอดภัย เป็นมิตรกับธรรมชาติสงิ่ แวดล้อม... ปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อการเปลีย่ นแปลง และเป็นกระแสหลัก การท�ำเกษตรแบบยัง่ ยืนมาจากหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ได้พระราชทานแนวคิดทฤษฎีใหม่ปี พ.ศ. 2542 เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการท�ำเกษตร ทางเลือกและการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคมระดับกว้าง
23
ฝ่ายสังคม
เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตามแนวทางของพระ ศาสนจักรไทย เป็นแนวทางการท�ำการเกษตรที่อิงอยู่บน แนวคิดแบบองค์รวม (Holistic Approach) อยู่บนพื้นฐาน คุณค่าทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้อง ถิน่ มองความสมดุล ให้ความส�ำคัญกับความสัมพันธ์ของมนุษย์ กับพระผูส้ ร้าง ความสัมพันธ์มนุษย์กบั มนุษย์และความสัมพันธ์ มนุษย์กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
การด�ำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน ต้องมีคุณภาพคน ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น�้ำ อากาศ ... ต้องได้รับการปกป้อง ดูแล รักษา มีความยุติธรรม มีส่วนร่วมการใช้สิ่งสร้างของพระเจ้าอย่าง เท่าเทียม สามารถสร้างรายได้พอเพียงสมเกียรติศักดิ์ศรีการเป็น มนุษย์ตามอัตภาพ ตามสภาพสิ่งแวดล้อม การประสานกลมกลืน มีความปลอดภัย มีความมั่นคงทางอาหารเพื่อการบริโภคเพียงพอ ในระดับครัวเรือน ชุมชน ประเทศ และสังคมโลก
24
ฝ่ายสังคม
รูปแบบและวิธกี าร ท�ำการเกษตรยัง่ ยืนเป็นการมุน่ เน้นการสร้างความสัมพันธ์แบบ สมดุล การผสมผสาน การเกื้อกูลกัน ระหว่างคนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และอาชีพของ เกษตรกร มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร ความปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค สามารถลด รายจ่าย สร้างรายได้ และสร้างความสัมพันธ์แบบองค์รวมบูรณาการสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รูปแบบการท�ำการเกษตรกรรมแบบยั่งยืน 1. การเกษตรแบบผสมผสาน (Integrated Farming) 2. การเกษตรอินทรีย์ (Organic Farming) 3. การเกษตรธรรมชาติ (Natural Farming) 4. การเกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture) 5. วนเกษตร (Agroforestry Farming)
งานเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นกิจกรรมหนึ่งในฝ่ายงานด้านพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี : มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานการขับเคลื่อน องค์ความรูต้ า่ ง ๆ ทีเ่ ป็นทางออก น�ำเสนอทางเลือกทีจ่ ะยกระดับคุณภาพชีวติ ให้กบั ประชาชน ผ่านทางศูนย์การเรียนรูช้ มุ ชน (Sub Disacc) ปราชญ์ชมุ ชน อาสาสมัคร และเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ 1. พัฒนาความมั่นคงทางอาหารและรายได้ในระดับครัวเรือนและชุมชน 2. พัฒนาศักยภาพเกษตรกร กลุ่ม เครือข่าย และสามารถเข้าถึงทรัพยากรภาครัฐ และเอกชน 3. ส่งเสริม สนับสนุน การประสานเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนทุกระดับ
25
26
กางเขนเพือ่ นคูค่ ริสต์
โดย เจ จันท์
ตลอดเดือนมิถนุ ายนทีผ่ า่ น ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชือ้ ไวรัส โควิด 19 แผนกเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรีได้จัดกิจกรรมจาริกกางเขนเพื่อนคู่คริสต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของปีเยาวชน ที่เดินทางไปยังสังฆมณฑลต่าง ๆ ในประเทศไทย โดย สังฆมณฑลจันทบุรีได้รับไม้กางเขนนี้ต่อจากสังฆมณฑลเชียงใหม่ เพื่อน�ำมาจาริกใน แขวงต่าง ๆ และท�ำกิจกรรมร่วมกับบรรดาเยาวชน ดังนี้ • วันที่ 6 มิถุนายน แขวงปราจีนบุรี วัดอารักขเทวดา โคกวัด • วันที่ 13 มิถุนายน แขวงสระแก้ว วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ • วันที่ 20 มิถุนายน แขวงศรีราชา วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา • วันที่ 27 มิถุนายน แขวงหัวไผ่ วัดแม่พระประจักษ์ที่ลูร์ด บางคล้า • วันที่ 4 กรกฎาคม แขวงจันทบุรี อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินริ มล จันทบุรี กางเขนเพื่อนคู่คริสต์นี้เป็นเครื่องหมายถึงการประทับอยู่ของพระเป็นเจ้า ที่ จะมาหาเยาวชนตามวัดต่าง ๆ โดยแผนกเยาวชนได้ก�ำหนดการจาริกกางเขนเพื่อนคู่ คริสต์ และจัดกิจกรรมเป็นในระดับแขวง เช่น การจัดพิธีบูชาขอบพระคุณในรูปแบบ ของเยาวชน การรับศีลอภัยบาปแบบเยาวชน และการภาวนารอบไม้กางเขน โดย มีวัตถุประสงค์ให้เยาวชนได้กลับมาใกล้ชิดกับพระเจ้าผ่านทางศีลอภัยบาป ที่เปรียบ เสมือนให้เยาวชนได้มาพูดแบ่งปันในสิ่งที่ตนเองไม่กล้าบอก หรือไม่กล้าปรึกษากับใคร เช่น เรื่องเพื่อน เรื่องครอบครัว ความคาดหวังต่าง ๆ เรื่องแฟน และอีกหลาย ๆ เรื่อง ที่ท�ำให้พวกเขาไม่สบายใจในขณะนั้น ถือว่าเป็นโอกาสให้เยาวชนได้ระบายสิ่งต่าง ๆ ที่ อยู่ในใจของตนเองออกมา ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น คือ “ กางเขนที่เยาวชนต้องแบก ในชีวิตประจ�ำวัน ” กางเขนที่เยาวชนต้องแบกแต่ละคนล้วนแตกต่าง และต้องอาศัยความอดทน ความเข้าใจจากคนรอบข้าง ก�ำลังจากคนในครอบครัว เพื่อให้กางเขนที่เยาวชนต้อง แบกช่วยท�ำให้พวกเขาเติบโตขึ้นเป็นเยาวชนที่มีความเชื่อที่แข็งแรง เป็นคริสตชนที่ดี ในอนาคตต่อไป และเป็นความหวังของพระศาสนจักร หนึง่ เดือนทีผ่ า่ นมาขอขอบคุณ น้อง ๆ เยาวชนทุกคนทีท่ ำ� ให้ปเี ยาวชนและการ จาริกกางเขนเพื่อนคู่คริสต์นี้มีความหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ท�ำให้เยาวชนได้หันกลับ มาดูแลความเชื่อของตนเอง ได้คืนดีกับพระเป็นเจ้าผ่านทางศีลอภัยบาปในรูปแบบที่ ง่าย ๆ และฟื้นฟูความเชื่อของตนเองให้เดินอยู่ในหนทางที่พระเป็นเจ้าทรงดูแลผ่าน ทางการดูแลของพระศาสนจักร 27
แผนกเยาวชน
ประมวลภาพกิจกรรม จาริกกางเขนเพื่อนคู่คริสต์ แขวงปราจีนบุรี
แขวงสระแก้ว
28
แขวงศรีราชา
แผนกเยาวชน
แขวงหัวไผ่
แขวงจันทบุรี
29
รอบรั้ว
สังฆมณฑลจันทบุรี
โดย แผนกสื่อมวลชน
ร่วมยินดี ขอแสดงความยินดีกับ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว ระดับ ชาติ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา
แบ่งปันพระวาจาออนไลน์ คุณพ่ออันเด ไชยเผือก เจ้าอาวาสวัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก และ วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า ได้เชิญชวนบรรดาสัตบุรษุ จากวัดต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล เข้าร่วมแบ่งปันพระวาจาออนไลน์ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้แอปพิเคชั่นไลน์ (Line) มีสัตบุรุษสนใจร่วมประมาณ 20 คน
หน่วยงานวิถีชุมชนวัดประชุมวางแผนแผนอภิบาลแบบบูรณาการ หน่วยงานวิถีชุมชนวัด สังฆมณฑลจันทบุรี โดย คุณพ่อเศกสม กิจมงคล ผู้อ�ำนวยการแผนกวิถีชุมชนวัด จัดการประชุมพิจารณาแผนอภิบาลแบบบูรณาการ ผ่านทางโปรแกรม zoom เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2021 ตามเอกสารเตรียมการสมัชชาครั้งที่ 16 “การก้าวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร” มีตัวแทนจากแผนกครอบครัวและแผนกเยาวชนเข้าร่วมการประชุม 30
อบรมพระคัมภีร์ออนไลน์ แผนกพระคัมภีร์ สังฆมณฑลจันทบุรี จัดอบรมพระคัมภีร์ หลักสูตรที่ 1 ในหัวขอ้ “ความรูพ้ นื้ ฐานพระคัมภีร”์ โดยคุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม ผ่านทางโปรแกรม zoom ทุก ๆ วันเสาร์ เป็นเวลา 4 ครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม - วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2021 มีผู้สนใจเข้าร่วม 31 คน
วีดีโอ
ปันกันอิ่ม โครงการ “ปันกันอิ่ม” ได้รับความสนับสนุนจาก วัดพระหฤทัยฯ ศรีราชา โดย คุณพ่อยอด เสนารักษ์ ศูนย์ สังฆมณฑลฯ โดย คุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม ฝ่ายสังคม (Seafarers) โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกวิถีชุมชนวัด โดย คุณพ่อเศกสม กิจมงคล ร้านเสริมสวย “บ้านคิ้วสวย” และ ร้านอาหารไทย “กินอิ่ม” ได้ร่วมกันท�ำอาหารกล่องเพื่อแจกจ่ายให้กับพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในซอยวังหิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ประมาณวันละ 500 ชุด ในวันอาทิตย์ที่ 11 และวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา 31
“ให้แต่ละคนฟังซึ่งกันและกัน และให้ทุกคนฟังเสียงของพระจิตเจ้า” เปิดสมัชชาบิชอปสากล (ภาวนาและไตร่ตรอง) 9-10 ตุลาคม 2021 - การเปิดสมัชชา โดย พระสันตะปาปาฟรังซิส ณ นครรัฐวาติกัน
ประชุมระดับสังฆมณฑล (เน้นการมีส่วนร่วม) 17 ตุลาคม 2021 เมษายน 2022 กันยายน 2022
- เริ่มประชุมระดับสังฆมณฑล - สภาบิชอปของแต่ละประเทศสรุปเอกสาร - ส่งเอกสารไปยังสภาสมัชชาเพื่อจัดท�ำร่างคู่มือการสมัชชาฉบับที่ 1 (The First Draft of Instrumentum Laboris) - ส่งร่างคู่มือการสมัชชาฉบับที่ 1 กลับไปยังสังฆมณฑล
การประชุมระดับทวีป (พิจารณาและคัดแยก) กันยายน 2022 มีนาคม 2023 มิถุนายน 2023
- ศึกษาและประชุมตามคู่มือการสมัชชาฉบับที่ 1 (The First Draft of Instrumentum Laboris) - ส่งสรุปการท�ำงานให้เลขาธิการสมัชชา - เลขาธิการสมัชชาออกร่างคู่มือสมัชชาฉบับที่ 2 (The Second Draft of Instrumentum Laboris)
การประชุมระดับโลก ตุลาคม 2023
- สภาสมั ช ชาบิ ช อบสากลท� ำ งานตามคู ่ มื อ สมั ช ชาฉบั บ ที่ 2 โดยใช้กระบวนการสมัชชาตามสังฆธรรมนูญสมัชชาบิชอปสากล (ConstitutionEpiscopalis Communion) ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่สมัย พระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2018 - ออกสมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากล