สายใยจันท์ V.37

Page 1

คณะรักกางเขน ในประเทศไทย ๓๕๐ ปี แจก ฟรี 2 0 2 2 ปีที่ 33พฤษภาคม - สิงหาคม เล่มที่.37สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล สารบัญ Contents เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก | ศุภชัย พรมสาร | พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก บทความประจ�า คุณพ่อเอกภพ ผลมูล คุณพ่อนันทพล สุขส�าราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร กิจกรรม และความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�านักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี 6 แผนกคริสตศาสนธรรม 350 ปี คณะรักกางเขนในประเทศไทย 10 ฝ่ายการศึกษา อบรมการปกป้องคุ้มครองนักเรียน (Child Protection) 12 กฎหมายพระศาสนจักร การเอาใจใส่ของผู้อภิบาลเพื่อเตรียมคริสตชน เข้าสู่การแต่งงาน ตามมาตรา ๑๐๖๓ 14 แผนกพิธีกรรม ท่าทางการอธิษฐานภาวนาของคริสตชนสมัยแรก 16 แผนกครอบครัว 10 ความลับของการแต่งงาน 20 ฝ่ายสังคม Stella Maris ในวันนี้ 23 แผนกเยาวชน ชมรมคาทอลิก ไม่ใช่คริสต์ ก็เข้าได้ 26 แผนกสื่อมวลชน ยินดีกับพระสงฆ์ใหม่ คุณพ่ออันโตนีโอ รติ พรหมเด่น คุณพ่อเปาโล วรายุทธ เจริญภูมิ 40 ปี โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา พัทยา 2

ให้กับกองทัพพม่า และได้ถือก�าเนิดขึ้นมาใหม่พร้อม ๆ กับพระศาสนจักรเมื่อ สภาพบ้านเมืองได้กลับมาสู่สภาวะปกติ มีการเปลี่ยนชื่อคณะไปบ้างในบางสมัย และกลับมาใช้ชื่อ “รักกางเขน” ตามเดิม อีกทั้งมีการรวมตัวกันเป็นสหพันธ์

บรรณาธิการ คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี บรรณาธิการ Editor’s talk เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2022 ณ วัดนักบุญยอแซฟ อยุธยา ได้มี การเปิดปีศักดิ์สิทธิ์ โอกาสเฉลิมฉลอง 350 ปี คณะรักกางเขนในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพระสังฆราชปีแอร์ ลัมแบรต์ เดอ ลาม็อต ในวันนั้นได้มีพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช ซิสเตอร์ และคริสตชนฆราวาส มาร่วมพิธีจ�านวนมาก ทั้งที่ อยู่ในประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และประเทศเวียดนาม การร่วมงานในวันนั้นท�าให้ทราบถึงต้นก�าเนิดของพระศาสนจักรใน ประเทศไทย ที่เกิดขึ้นมาจากคณะมิชชันนารีชุดแรก ท�าให้พระศาสนจักรใน แคว้นอินโดจีนนี้เติบโตขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ท่ามกลางความยากล�าบากของ สงคราม ปัญหาเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม คณะรักกางเขนที่ได้ถือ ก�าเนิดขึ้น ได้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์หลังจากที่สยามได้เสียกรุงศรีอยุธยา
ซึ่งแสดงความเป็นพี่น้องในครอบครัวหนึ่งเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง “ค�าสอนเรื่องไม้กางเขน” จึงเป็นชีวิตจิตอันส�าคัญของพระศาสนจักร ในประเทศไทย ที่ได้ถูกก� า หนดไว้ให้เป็นเรื่องส� า คัญตั้งแต่วันก� า เนิดมิสซัง สยาม ที่ซึมลึกอยู่ในจิตวิญญาณของคริสตชนตั้งแต่อดีตมาจนกระทั่งปัจจุบัน สายใยจันท์ฉบับนี้จึงขอน�าเสนอประวัติความเป็นมาของคณะรักกางเขนใน ประเทศไทย และขอร่วมยินดีกับสมาชิกรักกางเขนทุกคน 3
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงประกาศให้มีการประชุมสมัชชาพระสังฆราช สมัยสามัญครั้งที่ 16 โดยเน้นย�้าถึง “หนทางที่ต้องก้าวเดินไปด้วยกัน (Synodality)” ของ พระศาสนจักรตามพระประสงค์ของพระเจ้าในสหัสวรรษที่ 3 ใช้หัวข้อส�าหรับการประชุม สมัชชาครั้งนี้ว่า “เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน : ความเป็นหนึ่งเดียวกัน การ มีส่วนร่วม และพันธกิจ” (For a Synodal Church: Communion, Participation and Mission) สมัชชาครั้งนี้มีความพิเศษกว่าครั้งอื่น ๆ คือ ใช้เวลา 3 ปี โดยเริ่มกระบวนการ จัดท�าในระดับสังฆมณฑลก่อนซึ่งได้เริ่มกันมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ต่อจากนั้นท�าการรวบรวม สรุปผลในระดับสภาพระสังฆราชของแต่ละประเทศ บัดนี้การท�างานในกระบวนการทั้ง 2 ระดับนี้ได้เสร็จสิ้นแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การจัดท�าสมัชชาในระดับทวีปและจะสิ้นสุด กระบวนการในเดือนตุลาคม 2023 ที่กรุงโรมด้วยการประชุมใหญ่ของผู้แทนพระสังฆราช ทั่วโลกร่วมกับพระสันตะปาปา พ่อเชื่อว่าการท�าสมัชชาในสังฆมณฑลของเราจะเกิดผลที่ดี ต่อชีวิตและพันธกิจของสังฆมณฑล และมั่นใจในการก้าวเดินไปด้วยกันของประชากรของ พระเจ้าตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปาและภายใต้การน�าขององค์พระจิตเจ้า เมื่อวันที่ 22-26 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการจัดประชุมครอบครัวระดับโลกที่กรุงโรม มีผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมหลายท่าน คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�านวยการแผนก ครอบครัวระดับชาติและระดับสังฆมณฑล และคุณพ่อนุพันธ์ุ ทัศมาลี ผู้อ�านวยการแผนก ค�าสอนและแผนกสื่อมวลชนเป็นผู้น�ากลุ่มเข้าร่วมประชุม พระสันตะปาปาฟรังซิสเองทรง ให้เวลากับการประชุมครั้งนี้ด้วยการเสด็จมาเปิดการประชุม ติดตาม และอยู่ร่วมในพิธี มิสซาปิดพร้อมบทเทศน์เตือนใจและพบปะกับผู้ร่วมในพิธีอย่างใกล้ชิด พระองค์เห็นความ ส�าคัญของครอบครัวมาโดยตลอดและถือเป็นเรื่องส�าคัญอันดับแรก ๆ ของงานอภิบาลของ พระศาสนจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2014 ทรงเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราชสมัย วิสามัญ และปี 2015 ทรงเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราชสมัยสามัญครั้งที่ 14 ในเรื่อง งานอภิบาลครอบครัว และที่สุดมีเอกสารหลังการประชุมออกมาชื่อว่า “ความปีติยินดี แห่งความรัก” (Amoris Laetitia) พระศาสนจักรในประเทศไทยและสังฆมณฑลจันทบุรี ต้องถือเป็นพันธกิจที่ส�าคัญเพื่อท�าให้แผนการของพระเจ้าด�าเนินไปตามพระประสงค์และ เพื่อความดีของมนุษยชาติ ขอให้ทุกฝ่ายร่วมใจกันเพื่อให้งานอภิบาลครอบครัวได้เกิดผลดี เพื่อความสุขของครอบครัวทั้งหลายและความมั่นคงเข้มแข็งของสังคมโดยรวม พี่น้องคริสตชนที่รักในพระคริสตเจ้า สารพระสังฆราช 4
(พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี ในครอบครัวสงฆ์ นักบวชหญิงชาย และฆราวาสคาทอลิกในพระศาสนจักร ไทยในช่วงเวลาเหล่านี้ต้องประสบการสูญเสียสมาชิกไปหลายท่านด้วยโรคติดเชื้อ COVID-19 บ้าง โรคภัยไข้เจ็บบ้าง หรือด้วยความชราภาพ และเรายังขอให้ก�าลัง ใจหลายท่านที่เจ็บป่วยและก�าลังรักษาตัวหนักบ้างเบาบ้าง และยังมีอีกหลาย ๆ ท่านมีปัญหาความยากล� าบากในการด� าเนินชีวิตประจ� าวันหรือประสบกับวิกฤตใน ชีวิต จึงขอภาวนาต่อพระนางมารีย์พรหมจารีผู้ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและ วิญญาณ องค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรในประเทศไทยปกป้องคุ้มครองและเป็นผู้ เสนอวิงวอนเพื่อเราด้วยเทอญ 5

และได้รับการแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังโคชินไช

(ทางภาคเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบันติดกับประเทศจีน) อีกทั้งเป็นผู้ดูแลมณฑล

เชเกียง โฟเกียง กวางตุ้ง กวางสี

22 สิงหาคม 1662 คณะของท่านได้เดินทางมาถึงอยุธยา

แผนกคริสตศาสนธรรม พระสังฆราชปีแอร์ ลัมแบรต์ เดอ ลา ม็อตต์. ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม 1624 ที่เมืองลีซี เออร์ ประเศสฝรั่งเศส ในครอบครัวขุนนางชั้นสูง บวช เป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 1655 ท่านเป็นผู้ร่วม ก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (M.E.P.) ซึ่งมีพันธกิจในการส่งธรรมทูตออกไปประกาศข่าวดีทั่ว โลก ท่านเป็นธรรมทูตองค์แรกที่ได้รับมอบหมายให้มา ท�างานในบริเวณที่เรียกว่าภูมิภาคตะวันออกไกล หรือ บริเวณประเทศเวียดนามในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 1660 สมัยพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ท่านได้รับการ อภิเษกเป็นพระสังฆราชผู้แทนพระสันตะปาปา
น่า
และเกาะไหหน�า ในประเทศจีนอีกด้วย วันที่
ในสมัยแผ่นดินสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช รวมระยะเวลาเดินทาง 2 ปี 2 เดือน กับอีก 2 วัน ในเวลานั้นที่ประเทศ เวียดนามมีการท�าศึกสงครามอย่างรุนแรง ท�าให้ท่านไม่สามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลาย ทางที่ต้องการได้ จึงตัดสินใจอยู่ที่อยุธยาเป็นการชั่วคราว โดยเริ่มต้นพันธกิจแรกด้วยการ เข้าเงียบเป็นเวลา 40 วัน เพื่อแสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้า และพักผ่อนจากการเดิน ทางอันยาวไกล วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 1664 ได้มีการท�าสมัชชาที่อยุธยา เพื่อวางแผนการท�างานแพร่ ธรรมอย่างเป็นทางการ คือ การก่อตั้งคณะนักบวชพื้นเมืองขึ้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยนักบวช ชายหญิง และคริสตชนฆราวาสทั่วไป แต่สิ่งที่ท�าได้ในขณะนั้นก็คือ การก่อตั้งคณะนักบวช หญิงพื้นเมืองชื่อ “คณะรักไม้กางเขน” ซึ่งถือว่าเป็นคณะนักบวชหญิงพื้นเมืองคณะแรกของ โลกด้วย นอกจากนั้นแล้วยังมีการก่อตั้งบ้านเณรและโรงพยาบาลขึ้นอีกด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กันยายน 1669 สันตะส�านักโดยพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 ได้รับรองมิสซังสยามอย่าง เป็นทางการ และได้แต่งตั้งพระสังฆราชหลุยส์ ลาโน เป็นประมุของค์แรก ส่วนท่านลัมแบรต์ ได้เสียชีวิตในวันที่ 1 มิถุนายน 1676 อายุ 55 ปี ท่านท�างานในดินแดนมิสซังแห่งนี้ 17 ปี 350 ปี คณะรักกางเขนในประเทศไทย (7 กันยายน 1772 – 7 กันยายน 2022) คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี 6
แผนกคริสตศาสนธรรม ภารกิจของคณะรักกางเขน. ค.ศ. 1670 ท่านลัมแบรต์ได้ก่อตั้งคณะภคินี รักไม้กางเขนแห่งแรกที่ตังเกี๋ย, ค.ศ. 1671 ที่โหยอาน และ ค.ศ.1672 ที่อยุธยา ตามล�าดับ ตามจิตตารมณ์ ของพระวรสารที่ว่า “ใครอยากติดตามเรา จงเลิก นึกถึงตัวเอง แบกไม้กางเขนของตนทุกวัน แล้ว ตามเรามา” (ลก 9:23) สืบสานการไถ่กู้ของพระ เยซูเจ้าผ่านทางการพลีกรรมอดอาหาร เพื่อการกลับ ใจของคนบาป ซื่อสัตย์ในความเชื่อการไถ่กู้ผ่านพระ มหาทรมานของพระเยซูเจ้า ร�าพึงพระมหาทรมาน ของพระองค์ทุกวัน สวดบทภาวนาเป็นทุกข์ถึงบาป (สดุดีที่ 51) ด้านการอภิบาลและแพร่ธรรม ท�าหน้าที่สอน ค�าสอน สอนอาชีพ สอนเรียนแก่บรรดาเด็ก ๆ และ สตรี ดูแลวัด ช่วยงานบ้านเณร โรงพยาบาล บ้าน เด็กก�าพร้า น�าหญิงสาวที่หลงทางชีวิตให้กลับมาอยู่ ในหนทางที่ถูกต้อง คณะรักกางเขนในประเทศไทย. คณะภคินีที่มีต้นก�าเนิดมาจากคณะรักไม้กางเขน ตามจิตตารมณ์ของท่านลัมแบรต์ในประเทศไทย มี 6 คณะ เรียงล�าดับตามการฟื้นฟูคณะขึ้นมาใหม่ มี ดังต่อไปนี้ คือ 1. คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี (1803) 2. คณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ (1871) 3. คณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี (1889) 4. คณะรักกางเขนแห่งท่าแร่ (1922) 5. คณะรักกางเขนแห่งเชียงหวาง ประเทศลาว (1900) 6. คณะรักกางเขนแห่งกัมปงจาม (2002) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1965 มีการประกาศ ใช้พระสมณกฤษฎีกาแห่งสังคายนาวาติกันที่ 2 ว่า ด้วยการปรับปรุงและฟื้นฟูชีวิตนักบวช ได้สนับสนุน ให้นักบวชที่มีต้นก�าเนิดเดียวกัน มีจิตตารมณ์คล้าย กัน หรือมีขนบธรรมเนียมเดียวกัน รวมตัวกันเป็น สหพันธ์ คณะรักกางเขนในประเทศไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จึงได้รวมตัวกันเป็นสหพันธ์ โดยได้รับ การอนุมัติจากสมณกระทรวงเพื่อการประกาศข่าวดี แห่งปวงชน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2022 350 ปี คณะรักกางเขนในประเทศไทย. คณะรักกางเขนในประเทศไทย จึงได้จัดให้ มีการเฉลิมฉลอง 350 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 1672 ที่มีสมาชิกรุ่นแรกจ�านวน 5 คน ได้ปฏิญาณตน ต่อหน้าท่านลัมแบรต์ ณ ค่ายนักบุญยอแซฟ อยุธยา ซึ่งทั้ง 5 คน เป็นชาวเวียดนามที่อาศัยอยู่ในอยุธยา ขณะนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ มองดูอดีตด้วยความกตัญญู มุ่งสู่อนาคตด้วยความหวัง ก้าวไปด้วยกันในความเชื่อและความรัก สร้างนักบวชศิษย์พระคริสต์ ที่มีความร่าเริงยินดี การติดตามพระคริสตเจ้า เป็นชีวิตที่มีความสุข ความกล้าหาญเหมือนผู้ตั้งคณะ ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า และกับเพื่อนมนุษย์... 7
แผนกคริสตศาสนธรรม 1. วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2022 วันเปิดการฉลองที่อยุธยา 2. วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2022 วันครบรอบวันก่อตั้งคณะรักกางเขนในประเทศไทย 3. วันพุธที่ 14 กันยายน 2022 วันฉลองเทิดทูนกางเขน (วันฉลองคณะ) 4. วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2022 วันระลึกถึงบุญราศีมรณสักขีแห่งสองคอน 5. วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม 2022 สมโภชแม่พระปฏิสนธินิรมล 6. วันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2023 วันครบรอบวันรับศีลล้างบาปของพระคุณเจ้าลัมแบรต์ 7. วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2023 วันครบรอบวันก่อตั้งคณะรักกางเขนแรกในเอเชีย 8. วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2023 สมโภชนักบุญยอแซฟ (องค์อุปถัมภ์ของคณะ) 9. วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2023 วันครบรอบการมรณภาพของพระคุณเจ้าลัมแบรต์ 10. วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2023 วันครบรอบที่พระคุณเจ้าลัมแบรต์มาถึงอยุธยา 11. วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2023 วันครบรอบวันก่อตั้งคณะรักกางเขนในประเทศไทย 12. วันเสาร์ที่ 9 กันยายน 2023 วันปิดการฉลอง (ที่สองคอน) ก�าหนดการรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ (Plenary Indulgence) โอกาสฉลองครบ 350 ปี คณะรักกางเขนในประเทศไทย (1672-2022) สถานที่ส�าหรับรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์. วัดนักบุญยอแซฟ จ. อยุธยา, วัดสองคอน, วัดน้อยของคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี, วัดน้อย ของคณะรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี, วัดน้อยของคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ, วัดน้อยของคณะรักกางเขนแห่งเชียงหวาง, วัดน้อยของคณะรักกางเขนแห่งท่าแร่, และวัดน้อย ของคณะรักกางเขนแห่งกัมปงจาม เงื่อนไขปกติของการรับพระคุณการุณย์. มีเจตนาที่จะรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์ และเป็นทุกข์ถึงบาปจากใจจริง รับศีลอภัยบาป รับศีลมหาสนิท สวดภาวนาตามพระประสงค์ของสมเด็จพระสันตะปาปา โดยสวดบท “ข้าพเจ้า เชื่อ” “ข้าแต่พระบิดา” และ “วันทามารีย์” อย่างน้อยอย่างละ 1 บท 8
แผนกคริสตศาสนธรรม 9
ฝ่ายการศึกษา อบรมการปกป้องคุ้มครองนักเรียน (Child Protection) โรงเรียนคาทอลิกสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี โดยงาน ปกป้องคุ้มครองนักเรียน ร่วมกับศูนย์สังคมพัฒนา หน่วย งานค�าสอน และหน่วยงานเยาวชน สังฆมณฑลจันทบุรี จัดอบรมออนไลน์หัวข้อ “การปกป้องคุ้มครองนักเรียน” (Child Protection) เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ตั้งแต่เวลา 08.00–12.30 น. โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการ อบรมในครั้งนี้คือ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและการรับ รู้หน้าที่ในการร่วมกันปกป้องคุ้มครองนักเรียน ให้ปลอดภัย จากการล่วงละเมิดทุกรูปแบบแก่ครูแกนน�า สามารถเป็น ผู้น�าระดับโรงเรียนในการเสริมสร้างบรรยากาศความรัก ความเมตตา ความไว้เนื้อเชื่อใจ ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุก ภาคส่วนของโรงเรียน การอบรมมีเนื้อหาที่น่าสนใจดังนี้คือ พระคัมภีร์และ ค�าสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร: คุณค่าและศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ กล่าวถึง การที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้น ตามพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ (Image of God) มนุษย์ ทุกคนจึงมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เป็นคุณค่าที่มนุษย์ทุกคนมี ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและไม่มีใครสามารถละเมิดหรือพรากไป ได้ แนวคิดพื้นฐานนี้ก้าวข้ามความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ เพศ สีผิว ภาษา ศาสนา ฐานะทางสังคมและวัฒนธรรม ฯลฯ โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�าราญ 10
ฝ่ายการศึกษา รณรงค์การหยุดกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (Stop Cyber bulling) สาระส� า คัญกล่าวถึง สถานการณ์การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ โดยมีสาเหตุ หลักของการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ผู้เชี่ยวชาญ ได้วิเคราะห์คือ การที่เด็กไทยขาด “ความฉลาด ทางดิจิตอล” (Digital Intelligence Quotient: DQ) ซึ่งต้องการการส่งเสริมและสนับสนุนจากทุก ภาคส่วนในการเสริมสร้างทักษะและความสามารถ ในการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและ ปลอดภัยให้กับทุกคน รู้เท่าทันดิจิตอล (Digital Literacy) ซึ่ง หมายถึง ความฉลาดรู้ในการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล ในชีวิตประจ�าวัน ทั้งต่อตัวเองและการท�างานร่วม กับผู้อื่น โดยมุ่งเน้นให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ จน สามารถปฏิบัติตนและดูแลคนรอบข้างได้อย่างเหมาะ สมในยุคดิจิตอล แนวทางการป้องกันการล่วงละเมิดใน โรงเรียน: มุมมองนักจิตวิทยา แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ เพื่อการสร้างความปลอดภัยทุกรูปแบบในโรงเรียน มีสาระส� า คัญกล่าวถึง เครื่องหมายและสัญญาณ ของการถูกล่วงละเมิด การล่วงละเมิดในมุมมองทาง จิตวิทยา แนวทางการให้ค�าปรึกษา แนวปฏิบัติที่เป็น เลิศในการสร้างบรรยากาศความปลอดภัยทุกรูปแบบ และตัวอย่างกิจกรรมเพื่อการหยุดการล่วงละเมิด การอบรมครั้งนี้มีผู้สนใจเข้ารับการอบรมเป็น จ�านวนกว่า 700 ท่าน ประกอบไปด้วย บรรดาพระสงฆ์ นักบวช ผู้บริหาร คณะครูจากโรงเรียนคาทอลิกและ รัฐบาลทั่วประเทศ ผู้ท�างานปกป้องคุ้มครองนักเรียน และผู้สนใจทั่วไป วิทยากรในการอบรม ได้แก่ คุณพ่อ อภิชิต ชินวงค์ คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี คุณพ่อกฤษณ พงษ์ อติชาติธานินทร์ คุณพ่อนรเทพ ภานุพันธ์ และ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ หวังว่าการอบรมออนไลน์เรื่องการปกป้อง คุ้มครองนักเรียนนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการท� า ให้ เจตจ�านงของพระศาสนจักรในประเทศไทย ที่เรียก ร้องให้ทุกคนใส่ใจในการดูแลปกป้องคุ้มครองเด็กและ ผู้เยาว์ เกิดผลอย่างยั่งยืนอยู่ในโรงเรียนคาทอลิก ของสังฆมณฑล กับนักเรียน เด็กและผู้เยาว์ทุกคน 11
พันธกิจของผู้อภิบาล เพื่อเตรียมคริสตชน เข้าสู่การแต่งงาน ตามมาตรา ๑๐๖๓ สวัสดีครับพี่น้องคริสตชนทุกท่าน บทความฉบับนี้พ่อขอน�าเสนอหน้าที่การอภิบาล โดยพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้อภิบาลวิญญาณ -Pastors of souls ส�าหรับการเตรียมคริสตชน เข้าสู่การแต่งงานครับ ในประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพที่ 4 มาตรา 1063 ระบุว่า “ผู้อภิบาลวิญญาณ มีหน้าที่ต้องเอาใจใส่ให้ชุมชนวัด จัดให้ความช่วยเหลือแก่ บรรดาคริสตชน เพื่อรักษาสถานภาพการแต่งงานให้มีจิตตารมณ์คริสตชน และ พัฒนาไปสู่ความครบครัน” 12

เพื่อว่าเขาจะได้ยิ่งวันยิ่งบรรลุ ถึงความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น และมีชีวิตครอบครัวที่เต็มเปี่ยมมากขึ้น ด้วยการรักษาและ ป้องกันพันธสัญญาการแต่งงานอย่างซื่อสัตย์ พี่น้องครับ ดูเหมือนบทบาทหน้าที่คุณพ่อเจ้าวัดและบรรดาพระสงฆ์ เพื่อ เตรียมเข้าสู่การแต่งงานส�

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายกฎหมายฯ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 ความช่วยเหลือดังกล่าว กฎหมายได้ก�าหนดเป็นล�าดับไว้ดังนี้ : ๑. ด้วยการเทศน์สอน การสอนค�าสอนที่ปรับให้เหมาะกับผู้เยาว์ คนหนุ่ม สาวและผู้ใหญ่ ยิ่งกว่านั้น โดยใช้สื่อสารทางสังคม เพื่อว่าโดยอาศัยสื่อสารเหล่านี้ คริสตชนจะได้รับการสอนเกี่ยวกับความหมายของการแต่งงานคริสตชน และหน้าที่ ของสามีภรรยา และหน้าที่ในฐานะที่เป็นบิดามารดา ๒. ด้วยการเตรียมส่วนบุคคล เพื่อเข้าสู่พิธีแต่งงาน เพื่อว่า คู่สมรสจะได้ มีความพร้อมที่จะรับความศักดิ์สิทธิ์ และหน้าที่แห่งสถานภาพใหม่ของตน ๓. ด้วยการประกอบจารีตการแต่งงานที่ให้ผลอุดม จารีตนี้ช่วยให้มอง เห็นชัดแจ้งว่า สามีภรรยามีความหมาย และมีส่วนในธรรมล�้าลึกเรื่องความเป็นหนึ่ง เดียว และความรักอันมีผลอุดมระหว่างพระคริสตเจ้า และพระศาสนจักร ๔. ด้วยการให้ความช่วยเหลือแก่คู่สมรส
า หรับพี่น้องคริสตชนนั้น เข้าลักษณะที่เตรียมกันตั้งแต่ ต้นน�้ำ กลำงน�้ำ และปลำยน�้ำ ทีเดียวครับ ทั้งนี้เพราะเป้าประสงค์ตามกฎหมาย พระศาสนจักรก็คือ ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของครอบครัวคริสตชนครับ พ่อไม่ ได้กล่าวเล่นค�าเอาฮาสนุกสนานนะครับ พี่น้อง และเนีื่องจากพระพรมาจากพระเจ้า เพราะฉะนั้นทุกท่านอย่าลังเล ที่ จะเข้าหาผู้อภิบาลของท่านเพื่อเตรียมตัวเอง หรือผู้เกี่ยวข้อง หรือเพื่อปรึกษาในเรื่อง ที่ส�าคัญตามขั้นตอน พ่อขอฝากมาตรานี้ไว้กับทุกท่านด้วยครับ ขอพระเจ้าคุ้มครองและอวยพรพี่น้องทุกท่านทุกครอบครัว ให้มีความสุขความเจริญครับ ฝ่ายกฎหมายฯ 13
สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่เคารพรัก ฉบับ นี้พ่ออยากให้พวกเราเข้าใจถึงความหมายของการ กางมือขึ้นภาวนา เพื่อให้พี่น้องได้น�าไปใช้ด้วยความ เข้าใจ ตามแบบอย่างของคริสตชนสมัยแรก ท่าทางในการสวดภาวนานี้ เป็นรูปแบบที่ ส�าคัญของการแสดงความศรัทธาของคริสตชน เรา พบหลักฐานของท่าทีเหล่านี้อยู่ในสุสานโรมันโบราณ (the ancient Roman catacombs) เมื่อศึกษาศิลปะและสัญลักษณ์ของคริสตชน ในสมัยแรก ท่าทางทั่วไปถูกพบในการแสดงออกของ บรรดาคริสตชน หรือแม้แต่เชื่อมโยงโดยตรงกับ พระแม่มารีผู้ศักดิ์สิทธิ์ ภาพที่ปรากฏมักเหยียดแขน โดยให้ฝ่ามือหงายขึ้น ท่านี้มักเรียกกันว่าท่า orans ซึ่ง เป็นภาษาละติน แปลว่า “ผู้ที่ก�าลังอธิษฐาน” นี่เป็น วิธีการอธิษฐานทั่วไป ในโลกยุคโบราณ ไม่ได้ สงวนไว้ส�าหรับศาสนา คริสต์เท่านั้น อันที่จริง คนนอกศาสนาส่วนใหญ่ สวดอ้อนวอนในลักษณะ เดียวกัน และเทพเจ้าของ คนต่างศาสนาก็แสดงให้ เห็นด้วยว่ายืนหรือนั่งอยู่ ในท่าโอรันนี้ ท่าทางการอธิษฐานภาวนา ของคริสตชนสมัยแรก แผนกพิธีกรรม คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ท่าทางการอธิษฐานที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาคริสต์กระท�าโดยการยื่นมือขึ้น ซึ่งหมายถึง “ ผู้ที่ก�าลังอธิษฐาน “ 14

ส่วนลึกในตัวเรา

นี่เป็นท่าทางดั้งเดิมของมนุษย์ที่วิงวอนพระเจ้า เหนือสิ่งอื่นใดคือการแสดงออกถึงการไม่ใช้ความ รุนแรง เป็นการแสดงท่าทางแห่งสันติภาพ : มนุษย์ เปิดมือของเขาและเปิดตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่ง นอกจาก นี้ยังเป็นท่าทางของการค้นหาและความหวัง มนุษย์ พยายามแสวงหาพระเจ้าที่ก�าบังพระองค์อยู่ เอื้อม มือไปหาพระองค์ มือที่ยื่นออกไปนั้นเปรียบเสมือน รูปปีก : มนุษย์แสวงหาพระเจ้า ณ ที่สูงสุด ด้วยปีก แห่งการอธิษฐาน Colin B. Donovan (อาจารย์และนัก เทววิทยา) ในคริสตศาสนาให้ค�าอธิบายที่ยอดเยี่ยม ว่าท่านี้เกี่ยวข้องกับการอธิษฐานอย่างไร? พิจารณาสิ่งที่เราท�าเมื่อเราวิงวอนใครสักคน เราอาจกางแขนออกไปข้างหน้าราวกับเอื้อมมือไปหา คน ๆ นั้นแล้วพูดว่า “ฉันขอร้อง ช่วยฉันด้วย” นี่ดู เหมือนจะเป็นท่าทางตามธรรมชาติของมนุษย์ที่มาจาก
เช่น การคุกเข่าเพื่อแสดงความรัก หรือแสดงความเสียใจ การหมุนหรือหันไปถึงสวรรค์ โดยการใช้รูปแบบการอ้อนวอน orans ด้วยการถือก�าเนิดของศาสนาคริสต์ ต�าแหน่ง orans ได้รับสัญลักษณ์เพิ่มเติมซึ่งเชื่อมโยงกับการ ตรึงบนไม้กางเขน ดังนั้นเมื่อคริสตชนอธิษฐานภาวนา พวกเขาก็ยื่นค� า วิงวอนต่อพระเจ้า โดยเลียนแบบ พระหัตถ์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน การเตือนให้เราเข้าถึงพระหัตถ์ของพระคริสต์ ที่กางออกบนไม้กางเขน ไม้กางเขนให้ความหมายอัน ลึกซึ้งใหม่แก่ท่าทางการอธิษฐานของมนุษย์ในสมัย แรกเริ่ม เมื่อเรากางแขนออก เราปรารถนาร่วมการ อธิษฐานพร้อมกับพระองค์บนไม้กางเขน เป็นการร่วม “ความรู้สึก” ของพระเยซูคริสต์ (ฟป 2 : 5) ในอ้อม แขนที่เปิดกว้างของพระองค์บนไม้กางเขน คริสตชน เห็นถึงความหมายสองประการ : 1. บรรดาคริสตชนจะแสดงออกในตัวเขาอย่าง ชัดเจนในรูปแบบของถวายตนเป็นบูชา ด้วย เจตจ�านงของมนุษย์กับพระประสงค์ของพระบิดา 2. ในขณะเดียวกัน อ้อมแขนนี้ก็เปิดรับเรา เป็น อ้อมแขนที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพระคริสต์ต้องการดึงเรา เข้าหาพระองค์เอง (ยน 12:32) การนมัสการพระเจ้าและความรักต่อเพื่อน มนุษย์ เป็นเนื้อหาของบัญญัติหลักซึ่งถูกสรุปไว้ใน กฎหมายและในถ้อยค�าของบรรดาประกาศก เช่นกัน ในท่าทางนี้ การเปิดกว้างต่อพระเจ้า การมอบตนเพื่อ พระองค์โดยสิ้นเชิง ในเวลาเดียวกันก็เป็นการอุทิศตน เพื่อเพื่อนมนุษย์อย่างแยกออกจากกันไม่ได้ การรวม กันของสองสิ่งนี้ พบได้ในท่าทีของพระคริสต์บนไม้ กางเขน บ่งบอกถึงความลึกซึ้งใหม่ของการอธิษฐาน ของคริสตชน ในรูปแบบที่มองเห็นได้ทางกายภาพ และด้วยเหตุนี้จึงเป็นการแสดงออกเช่นเดียวกันใน มุมมองภายในของการอธิษฐานของเรา แผนกพิธีกรรม 15
สมณลิขิตเตือนใจ “ความปีติยินดีแห่งความรักในครอบครัว” (Amoris Laetitia) ได้กล่าวถึงการแต่งงานไว้ว่า “การแต่งงาน คือ การสร้างหุ้นส่วนชีวิต ที่เขาทั้งสองร่วม แบ่งปันทุกสิ่งในชีวิตให้แก่กันและกัน เขาทั้งสองเป็นเพื่อนร่วมทางบนเส้นทางแห่งชีวิต ร่วมเผชิญความยากล�าบาก ร่วมเพลิดเพลินกับความรื่นรมย์ไปด้วยกัน ความรักที่เขาทั้ง สองท�าพันธสัญญากัน ยิ่งใหญ่กว่าอารมณ์ ความรู้สึก เป็นการตัดสินใจด้วยหัวใจที่มีผล ยืนยาวไปจนตลอดชีวิตและเขาทั้งสองกระท�าร่วมกันในทุก ๆ วันแห่งชีวิต คือ พวกเขา ทั้งสองรื้อฟื้นค�าปฏิญาณที่จะรัก เป็นของกันและกัน ร่วมแบ่งปันชีวิตและยังคงรักและ ให้อภัยกันต่อไป” (Amoris Laetitia ข้อ 163) ดังนั้น การแต่งงานที่ก�าลังจะเริ่มขึ้นของอีกหลาย ๆ คู่ หรือแต่งงานมาแล้วเป็นปี ๆ หรือหลาย ๆ สิบปี สิ่งที่ส�าคัญที่จะท�าให้สมณลิขิตเตือนใจ “ความปีติยินดีแห่งความรักใน ครอบครัว” ข้อที่ 163 ขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเป็นความจริงในชีวิตครอบครัว ของเรา เราต้องท�าความเข้าใจความลับ 10 ประการของการแต่งงานนี้ให้ชัดเจน เมื่อเข้าใจ แล้ว ต้องพาไปสู่การยอมรับและร่วมกันขัดเกลาและพัฒนาไปร่วมกัน บนเส้นทางแห่งชีวิต แห่งความเสียสละและการอุทิศตนทั้งครบที่มอบให้แก่กันและกันในชีวิตครอบครัวหรือในชีวิต การแต่งงาน โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�านวยการแผนกครอบครัว สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทยและสังฆมณฑลจันทบุรี แผนกครอบครัว (10 BIG SECRETS IN MARRIAGE!) ความลับ ของการแต่งงาน 10 16

ทุกคู่สมรสต้องผ่านการทดสอบด้วยไฟ

พิสูจน์ในช่วงเวลาความท้าทายในชีวิตครอบครัว จงสู้กับมันเพื่อครอบครัว อยู่กับคู่สมรสของ คุณในทุกช่วงเวลาของชีวิต ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ จงจ�าค�าสัญญาเวลาเข้าพิธีสมรสว่า “สัญญา ว่าจะซื่อสัตย์ต่อคุณ ทั้งในยามสุขและยามทุกข์ ทั้งในเวลาป่วยและเวลาสบาย เพื่อรักและ ยกย่องให้เกียรติคุณ จนกว่าชีวิตจะหาไม่” ความลับที่ 4 ความส�าเร็จของแต่ละคู่แต่งงานต่างกันและไม่เหมือนกัน

แผนกครอบครัว ความลับที่ 1 เราทุกคนมีความอ่อนแอ เราทุกคนมีความอ่อนแอ มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ไม่อ่อนแอ ดังนั้นถ้าเราโฟกัสความ อ่อนแอของคู่สมรสของเราเท่านั้น เราก็จะไม่สามารถดึงเอาพลังจากความเข้มแข็งของเขา ออกมาได้ ความลับที่ 2 เราทุกคนมีจุดด�าในประวัติศาสตร์แห่งชีวิต (Everyone has a dark history) ไม่มีใครดีไปหมดเหมือนเทวดา เมื่อเราแต่งงานแล้วหรือก�าลังจะแต่งงาน ให้เราหยุดที่ จะขุดสิ่งไม่ดีในอดีตของคู่รักของเรา ไม่ว่าคู่สมรสเราจะดีขนาดไหนในปัจจุบัน อดีตผ่านไปแล้ว จงให้อภัยและลืมมันซะ (Forgive and Forget) โฟกัสกับปัจจุบันและอนาคต ความลับที่ 3 ทุก ๆ คู่ที่แต่งงานล้วนมีแต่ความท้าทายของตนเอง (Every marriage has its own challenges) การแต่งงานไม่ใช่โรยด้วยดอกกุหลาบ
รักแท้จะ
(Every marriage has different levels of success) อย่าเปรียบเทียบครอบครัวเรากับครอบครัวอื่น เราแต่ละคนยังไม่เท่ากันเลย บางคน มีมากกว่าเรา บางคนมีน้อยกว่าเรา จงพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด จงอดทน ท�างานของ เราเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและความส�าเร็จของเราจะได้เป็นจริง ความลับที่ 5 การแต่งงานคือการประกาศสงคราม (To get married is declaring war) เมื่อเราแต่งงาน เราต้องประกาศสงครามกับศัตรูที่มาท�าลายครอบครัวของเรา ศัตรู นั้นก็คือ ความเมินเฉย การไม่สวดภาวนาในครอบครัวกันเลย การไม่ให้อภัยกัน การมีหญิงอื่น หรือชายอื่น ความขี้เหนียว การถือทิฐิของตนเองสูง ขาดความรัก ไม่สุภาพ ขี้เกียจ ไม่เคารพ ซึ่งกันและกัน การโกหกหลอกลวงกัน ฯลฯ เราต้องประกาศสงครามกับสิ่งเหล่านี้เพื่อรักษา ครอบครัวของเรา 17

ความลับที่ 8

เมื่อแต่งงานเรามีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น (Getting married is taking a huge risk) เราไม่สามารถท�านายอนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นในครอบครัวของเรา ทุกอย่างสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ เช่น สามีอาจตกงาน คนรักอาจจะประสบอุบัติเหตุ ฯลฯ ดังนั้น จงภาวนา ฝากครอบครัวของเราไว้ในพระญาณสอดส่องและความคุ้มครองของพระเจ้าของเราเสมอ ๆ ความลับที่ 9 การแต่งงานไม่ใช่การท�าสัญญา

แผนกครอบครัว ความลับที่ 6 ไม่มีครอบครัวใดสมบูรณ์แบบ (There is no perfect marriage) การแต่งงานเป็นงานหนัก เพราะแต่งกับ “งาน” แล้วมันหนักเสียด้วย จงสมัครใจ ท�างานหนักนี้ด้วยตัวของเราเองในชีวิตประจ�าวันของเรา การแต่งงานเปรียบเหมือนกับรถยนต์ ที่ต้องการการดูแลรักษาด้วยการบริการที่ดี ถ้าเบรกเสียแล้วไม่ซ่อม อันตรายก็จะเกิดกับเจ้าของ รถแน่นอน จงดูแลรักษารถแห่งชีวิตครอบครัวให้ดี ความลับที่ 7 พระเจ้าไม่สามารถมอบบุคคลที่สมบูรณ์ตามที่เราปรารถนาให้เราได้ (God cannot give you a complete person you desire) พระองค์ประทานบุคคลที่เหมาะสมให้กับเรา ดังในพระคัมภีร์ ปฐก 2:18 “พระยาเวห์ พระเจ้าตรัสว่า มนุษย์อยู่เพียงคนเดียวนั้นไม่มีดีเลย เราจะสร้างผู้ช่วยที่เหมาะสมให้เขา” พระเจ้ามิได้ประทานบุคคลที่เป็นเทวดา ดีและเก่งเลิศประเสริฐศรีให้กับเรา แต่พระองค์ประทาน ผู้ที่เหมาะสมให้กับเรา ดังนั้นทุกอย่างจะส�าเร็จผ่านไปด้วยการภาวนา รักและอดทนกันและกัน
(Contract) แต่เป็นการท�าพันธสัญญา (Covenant) ที่มั่นคง ตลอดนิรันดร์ เพราะการแต่งงานต้องเป็นการมอบตนเองทั้งครบแก่กันและกัน มิใช่เผื่อเลือก หรือ แต่งงานแบบชั่วคราว หรือแต่งงานแบบ 50/50 โดยมีความรักเป็นกาวสมานใจของคู่สมรส การหย่าร้างเป็นพลังของปีศาจ พระเจ้าเกลียดชังการหย่าร้าง ความลับที่ 10 ทุกคู่ที่แต่งงานมีราคาที่ต้องจ่าย (Every marriage has a price to pay) การแต่งงานเปรียบเสมือนกับธนาคาร ที่ต้องฝากเงินเข้าในบัญชีธนาคารก่อนถึงจะ เบิกเงินออกมาได้ ถ้าคุณไม่ฝากความรัก สันติสุขและการดูแลเอาใจใส่ในครอบครัว ครอบครัว ของคุณก็จะไม่มีสิ่งเหล่านี้ที่มีความสุขแน่นอน 18
แผนกครอบครัว • โปรดอย่าลืม | การแต่งงานคือการยอมเสียสละมอบตนเองทั้งครบแก่กันและกัน | ถ้าไม่อยากจะยอมเสียสละหรือมอบตนเองทั้งครบให้แก่ใคร ก็ไม่สมควรแต่งงาน | คิด ตัดสินใจและเลือกให้ดีในชีวิตแต่งงาน | การแต่งงานคือความวางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้า 19
สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่รัก ถ้าพี่น้องได้ติดตามสายใยจันท์อย่างต่อ เนื่องคงจะได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์คร่าว ๆ ของ Stella Maris (ศูนย์อภิบาลทาง ทะเลของพระศาสนจักร) มาแล้ว ในปี ค.ศ. 2020 พระศาสนจักรประกาศให้เป็นปีแห่งการครบรอบการท�างาน อภิบาลทางทะเล 100 ปี ซึ่งเริ่มครั้งแรกที่เมืองกลาสโกว์เมื่อปี ค.ศ. 1920 แต่ เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงไม่ได้มีการฉลองอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 2022 นี้ สันตะส�านักมีโครงการจะฉลอง และจัดงาน World Congress Stella Maris ที่ กลาสโกว์ ในวันที่ 2-5 ตุลาคม ซี่งส�านักงานศรีราชาได้รับเชิญไปร่วมเฉลิมฉลอง และร่วมยินดีกับการประกาศรางวัล TIP Hero ด้วย ในประเทศไทยงานอภิบาลทางทะเล Stella Maris ก่อตั้งขึ้นมาประมาณ 30 ปี โดยแยกตัวมาจากแผนกผู้อพยพย้ายถิ่น ของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่ง ประเทศไทย (NCCM) Stella Maris เป็น Global Network (เครือข่ายทั่วโลก) มี 360 สาขาใน 53 ประเทศ ส�านักงานใหญ่ขึ้นอยู่กับส�านักวาติกัน โรม ในแผนก Dicastery For Promoting Integral Human Development และในประเทศไทย มี 3 ส�านักงาน คือ ศรีราชา กรุงเทพฯ และสงขลา ฝ่ายสังคม คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล ผู้อ�านวยการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทะเล สังฆมณฑลจันทบุรี ในวันนี้ 20

ๆ จึงต้องสร้างความตระหนัก และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องการ อภิบาลอย่างพิเศษและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

Stella Maris เป็นหน่วยงานในฝ่ายสังคมของสังฆมณฑลจันทบุรี ท�าหน้าที่ อภิบาลในการดูแลคนประจ�าเรือ ทั้งเรือสินค้าและเรือประมง ส�านักงานศรีราชาเป็น ศูนย์ประสานงานผู้ท่องเที่ยวและผู้เดินทางทะเลเป็นตัวแทนของประเทศไทย เป็น หน่วยงานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

ฝ่ายสังคม Stella Maris ศรีราชา วิสัยทัศน์ พันธกิจรักรับใช้และเป็นมโนธรรมของสังคม เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า พันธกิจ ประกาศข่าวดีด้วยรักรับใช้บนคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ เป็นหนึ่งเดียวกันร่วมทุกข์ร่วมสุขและแบ่งปัน มีแผนงานในการอภิบาล สนองตอบกับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ที่ส่ง ผลกระทบต่อชีวิตคริสตชนและต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง
ใช้เป็นที่ติดต่อประสานงานและรับเรื่อง ร้องเรียน ส่งผ่าน ขอความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่อยู่ในภาวะล�าบากไปยังกลุ่มประเทศ ต้นทางและปลายทางของผู้ที่รอคอยความช่วยเหลือ มีการขยายงานในมิติที่ลึกและ กว้างมากขึ้น ในปัจจุบันงานอภิบาลยังขยายไปสู่งานครอบครัว สิทธิมนุษยชน สตรีและเด็ก การปกป้องสิทธิแรงงาน การต่อต้านการค้ามนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ ตามอนุสัญญา ระหว่างประเทศ เป็นเครือข่ายระดับที่สากลยอมรับ และให้ความเชื่อมั่นในศักยภาพ เป็นการประกาศข่าวดีใหม่และแพร่ธรรมกับพี่น้องต่างความเชื่อที่ได้ผลดีที่สุดโดย ผ่านการด�าเนินงานด้านสังคม การประกาศข่าวดีด้วยการเข้าช่วยเหลืออภิบาลพี่ น้องผู้อพยพย้ายถิ่น การช่วยเหลือผู้เดินทางทางทะเล แรงงานประมงไทยและต่าง ชาติที่ตกทุกข์ได้ยากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเจริญชีวิตเป็นประจักษ์ พยานและการฟื้นฟูการประกาศข่าวดีใหม่ในภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน 21

เป็นระยะเวลากว่า 7 ปี และท�างานอย่างอุตสาหะเพื่อช่วยเหลือ

ฝ่ายสังคม สถานการณ์ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 12.00 น. ตามเวลา ท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตัน กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจ� าปี 2565 หรือ TIP Report (Trafficking in Persons Report 2022) โดยยกระดับประเทศไทยจาก “เทียร์ 2 ที่ต้องจับตามอง” (Tier 2 Watch List) เป็น Tier 2 ซึ่งอยู่ในระดับที่ดีขึ้นจากปีที่ผ่าน มา ในปีนี้ สหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัล “TIP Report Heroes” หรือ นักสู้ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจ�าปี 2022 ให้บุคคลที่มีผล งานด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยได้ยกย่องการอุทิศตนเพื่อ ต่อสู้กับปัญหาการค้ามนุษย์ จ�านวน 6 คน จาก 6 ประเทศ มี หญิงไทยที่ได้รับรางวัลดังกล่าว ได้แก่ นางอภิญญา ทาจิตต์ รอง ผู้อ�านวยการศูนย์อภิบาลผู้เดินทางทางทะเล (Stella Maris) จาก สังฆมณฑลจันทบุรี เป็นองค์กรศาสนาคาทอลิกในประเทศไทยที่ ให้บริการและช่วยเหลือแรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมง โดย นางอภิญญา ได้อุทิศตนเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศไทย
แรงงานจ�านวนมากที่ถูกแสวงหาผลประโยชน์ ในรูปแบบการบังคับ ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมประมงจากหลากหลายประเทศ เช่น ประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมา และบังกลาเทศ นอกจากนี้ ยังมีบทบาทส�าคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยว กับการค้ามนุษย์ในเด็ก โดยได้เดินทางไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ใน ประเทศไทยเพื่อสอนให้ความรู้แก่เด็กมากกว่า 10,000 คนต่อปี โฆษกรัฐบาลฯ เผย นายกฯ ยินดีและชื่นชม คุณอภิญญา ทาจิตต์ จากองค์กร Stella Maris ผู้อุทิศตนเพื่อต่อสู้ปัญหาการค้ามนุษย์ จนได้รับรางวัล TIP Heroes ปี 2022 จากสหรัฐฯ ทางสังฆมณฑลจึงร่วมชื่นชมยินดีที่ คุณอภิญญา ทาจิตต์ ได้ร่วมมือในงานอภิบาลของสังฆมณฑล ท�าให้จิตตารมณ์แห่งความ รักของพระคริสตเจ้าปรากฏท่ามกลางเพื่อนพี่น้องในสังคม ขอองค์ พระคริสตเจ้าทรงประทานพระพรอันอุดมมายังคุณอภิญญา ทาจิตต์ ให้มีก�าลังในชีวิตและมุ่งมั่นจะเป็นศิษย์ที่ดีของพระองค์ตลอดไป 22
สวัสดีท่านผู้อ่านสายใยจันท์ทุกท่านครับ ในฉบับนี้แผนกเยาวชนสังฆมณฑลขอแบ่ง ปันเรื่องราวเกี่ยวกับงานอภิบาลเยาวชนในมหาวิทยาลัย ที่ทางสังฆมณฑลได้รับมอบหมายให้ แผนกเยาวชนได้รับผิดชอบ ซึ่งในปัจจุบันได้มีชมรมคาทอลิกด้วยกันทั้งหมด 2 มหาวิทยาลัย คือ ชมรมคาทอลิก (กลุ่มเทิดมารีย์) สังกัดมหาวิทยาลัยบูรพา และ ชมรมคมทอลิก สังกัด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา โดย เจ จันท์ แผนกเยาวชน 23
แผนกเยาวชน โดยมีหลักการ และแนวความคิดที่ว่า ให้ ศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตทาง ด้านจิตใจ ช่วยท�าให้มีหลักยึดเหนี่ยวในการด�าเนิน ชีวิตเป็นคนดีของสังคม ตามหลักค�าสอนของศาสนา ที่แต่ละคนได้นับถือ รวมถึงแบ่งปันหลักค�าสอนทาง ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ได้มุ่งเน้นให้รู้จัก รักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง แบ่งปันให้กับคนรอบข้าง และมองเห็นความทุกข์ของผู้อื่น ช่วยเหลือสังคมตาม ก�าลังความสามารถ โดยอาศัยกิจกรรมที่จะท�าขึ้นใน ชมรมตลอดปีการศึกษา ร่วมกับงานอภิบาลของพระ ศาสนจักรท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2565 ทางแผนกเยาวชน ได้ ประสานงานกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏร�าไพพรรณี จันทบุรี ได้ท�างานเปิดชมรมคาทอลิกขึ้นโดยมีนักศึกษา ที่เป็นคาทอลิก และมีผู้สนใจมาสมัครเข้าชมรมอย่าง ดี โดยในปีการศึกษานี้ ขอแนะน�าประธานชมรม คาทอลิก คนแรก คือ น้องออย ชนาธิป ลือดัง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะคุรุศาสตร์ เยาวชนจาก วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ และมีอาจารย์ที่ ปรึกษาชมรม คือ อาจารย์อิสรีย์ ขมสนิท (อ.เจน) เยาวชนจากวัดนักบุญยอแซฟ กรรมกร ท่าใหม่ เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมต่าง ๆ ในชมรม กิจกรรมประจ�าปีการศึกษา 2565 จะเริ่มต้น ด้วยกิจกรรมมิสซาเปิดปีการศึกษา เพื่อขอพระพรให้ กับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะท�าร่วมกันในชมรมตลอดปี การศึกษา และกิจกรรมอื่นจะเน้นไปที่การสร้างความ สัมพันธ์กันในชมรม เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดย อาศัยกิจกรรมต่าง ๆ ส�าหรับน้อง ๆ เยาวชนที่สนใจร่วมกิจกรรม ในชมรมคาทอลิกตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถ เข้าร่วมกิจกรรมได้ทุกคน ทุกศาสนา สามารถติดตาม กิจกรรมที่จะท�าร่วมกันได้ใน Facebook : youth chandiocese และสุดท้ายขอฝากกิจกรรมต่าง ๆ ของเยาวชนในค�าภาวนาของทุกท่านด้วยครับ ชนาธิป ลือดง ประธานชมรม อ.อิสรย์ ขมสนิท อ.ที่ปรึกษาชมรม 24
แผนกเยาวชน 25
ประวัติส่วนตัว • เกิดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1989/พ.ศ. 2532 สัตบุรุษวัดพระคริสตราชา ปะตง • บุตรของ ยอแซฟ เรียง พรหมเด่น กับ อักแนส กัลยาณี พรหมเด่น (เสียชีวิต) เป็นบุตรคนที่ 3 ในจ�านวนพี่น้อง 4 คน • ส�าเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านปะตง จ.จันทบุรี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดบวรนิเวศ กรุงเทพฯ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทวจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม • รับศีลบรรพชา 4 มิถุนายน ค.ศ. 2022/พ.ศ. 2565 ณ วัดแม่พระแห่งมวลชนนานาชาติ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ขอแสดงความยินดีกับพระสงฆ์ใหม่ คุณพ่ออันโตนีโอ รติ พรหมเด่น “ถ้าเรารักกัน พระเจ้าย่อมด�ารงอยู่ในเรา” (1ยน 4:12) 26
ประวัติส่วนตัว • เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 1989/พ.ศ. 2532 สัตบุรุษวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ขลุง • บุตรของ เปาโล สมนึก เจริญภูมิ กับ มารีอา บุญเลี้ยง เกตุแก้ว (เสียชีวิต) เป็นบุตรชายคนโต ในจ�านวนพี่น้อง 2 คน (น้องชายเสียชีวิตแล้ว) • ส�าเร็จการศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนศรีหฤทัย ขลุง จันทบุรีี ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย บ้านโป่ง ราชบุรี ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา วิทยาลัยแสงธรรม ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทววิทยา มหาวิทยาลัยสันตะส�านัก ซาเลเซียน กรุงเยรูซาเล็ม ประเทศอิสราเอล • รับศีลบรรพชา 13 สิงหาคม ค.ศ. 2022/พ.ศ. 2565 ณ วัดนักบุญยอห์นบอสโก กรุงเทพฯ ขอแสดงความยินดีกับพระสงฆ์ใหม่ คุณพ่อเปาโล วรายุทธ เจริญภูมิ “ทรงสละพระองค์จนหมดสิ้น” (ฟป 2:7) 27
โดย คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ กฤษฎา สุขพัฒน์ โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา พัทยา โรงเรียนการกุศล เพื่อเด็กหนวกใบ้ของสังฆมณฑลจันทบุรี พี่น้องคงรู้จักกับ “บ้านเด็กก�าพร้า พัทยา” หรือ “มูลนิธิ สงเคราะห์เด็ก พัทยา” ซึ่งเป็นงานสงเคราะห์ส�าคัญแห่งหนึ่งของ สังฆมณฑลจันทบุรี ซึ่งด�าเนินงานมาเกือบ 50 ปีแล้ว แต่หลาย ท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าภารกิจของมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา นั้น นอกจากให้การดูแลเด็กก�าพร้ากว่าร้อยชีวิตแล้ว มูลนิธิฯ ยัง ให้การดูแลเด็กหนวกใบ้โดยจัดตั้งเป็นโรงเรียนการกุศลเล็ก ๆ แห่งหนึ่งคือ โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา ซึ่งปีนี้ได้ด�าเนินงานมา ยาวนาน 40 ปี จึงถือเป็นวาระการฉลอง 40 ปีของโรงเรียนการ กุศล เพื่อเด็กหนวกใบ้ของสังฆมณฑลจันทบุรี ที่มุ่งมั่นด�าเนินงาน ด้วยจิตตารมณ์ของพระเยซูเจ้า ในการรับใช้สังคมผ่านการช่วย เหลือและให้การศึกษาแก่เด็กหนวกใบ้และเด็กพิเศษด้วยความ รักและความเอาใจใส่ จ�านวนมากกว่า 700 คน โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาแห่งนี้ถือก�าเนิดมาได้อย่างไร? สืบเนื่องจากการด�าเนินงานของบ้านเด็กก�าพร้า พัทยา ในระยะ แรกซึ่งเริ่มพบว่ามีเด็กที่พิการหนวกใบ้อยู่ด้วย คุณพ่อเรย์มอนด์ เอ เบรนนัน ซึ่งดูแลบ้านเด็กก�าพร้าในขณะนั้นจึงเห็นว่าควรจะ มีโรงเรียนส�าหรับเด็กพิการทางการได้ยิน ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเด็ก ก�าพร้าที่เป็นหนวกใบ้และเพื่อจะให้บริการช่วยเหลือเด็กหนวกใบ้ที่ ยากจนจากภายนอกได้ด้วย ท่านจึงริเริ่มเปิดโรงเรียนอนุบาลโสต พัฒนาขึ้น ในปีพ.ศ. 2525 โดยได้รับการอนุมัติจากพระคุณเจ้า เทียนชัย สมานจิต ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรีในขณะนั้น เมื่อ เริ่มด�าเนินงานมีซิสเตอร์คณะรักกางเขน แห่งจันทบุรี ซิสเตอร์ น้อมจิต อารีพรรค เป็นผู้รับใบอนุญาตและครูใหญ่คนแรก โดย เป็นโรงเรียนเอกชนการกุศล ไม่เก็บค่าธรรมเนียมการเรียน ส�าหรับเด็กในระดับอนุบาล อายุตั้งแต่ 3-12 ปี มีทั้งนักเรียน ไป-กลับและอยู่ประจ�า ซึ่งเด็ก ๆ จะได้มีโอกาสฝึกฝนกิจวัตร และได้รับการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามมาตรฐานของเด็กพิการ ทางการได้ยิน โดยการดูแลของบุคลากรครูซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ในด้านการศึกษาพิเศษ ปี 28

พัทยา โดยมีคุณพ่อวีระ ผังรักษ์ เป็นผู้แทนผู้รับใบอนุญาตและผู้

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโรงเรียนโสตพัฒนา 1. เพื่อช่วยเด็กบกพร่องทางการได้ยินและเด็กพิเศษที่ยากจนให้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนอนุบาลเฉพาะทาง 2. เพื่อฝึกความพร้อม และปูพื้นฐานทางภาษาเบื้องต้นให้กับเด็กตามสภาพของเด็กแต่ละคน 3. เพื่อฝึกความพร้อมทางด้านการฟัง การพูด การใช้ภาษา ในการติดต่อกับผู้อื่น ในชีวิตประจ�าวัน 4. เพื่อฝึกกิจนิสัย สุขนิสัย และการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเหมาะสมกับวัย 5. เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานหนวกใบ้และเด็กพิเศษ 6. เพื่อสนองนโยบายของภาครัฐ ในการจัดการศึกษาระดับอนุบาลที่พิการและมีความต้องการเฉพาะทาง ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ทางโรงเรียนยังได้เพิ่มการจัดการเรียน การสอนส�าหรับเด็กออทิสติกและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเพิ่มเข้ามา ด้วย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมในการให้ความช่วย เหลือดูแลเด็กที่มีลักษณะดังกล่าวที่เพิ่มมากขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจ�าเป็น ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยความรัก จากบุคลากรและครูที่มีความ เชี่ยวชาญเฉพาะในการดูแลเด็กพิเศษเหล่านี้ ในปัจจุบันโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาสังกัดกับส�านักงานคณะ กรรมการการศึกษาเอกชน และอยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิสงเคราะห์ เด็ก
จัดการ มีนักเรียนจ�านวน 40 คน และมีครูผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา พิเศษ จ�านวน 10 คน เฮเลน เคลเลอร์ นักเขียนและนักมนุษยธรรมชาว อเมริกัน สตรีตาบอดและหูหนวกชื่อดังของโลกได้เคยบันทึก ในชีวประวัติของเธอว่า “ฉันหูหนวกเท่า ๆ กับตาบอด แต่ ปัญหาหูหนวกของฉันนั้นหนักหนาสาหัสกว่าการที่ต้องตา บอดมากมายนัก การที่คนเราหูหนวกนั้นนับเป็นโชคร้าย อย่างยิ่ง เพราะนั่นหมายถึง การสูญเสียตัวกระตุ้นการ เรียนรู้ที่ส� า คัญ เพราะเสียงพูดน� า มาซึ่งภาษาอันเป็น ตัวการส�าคัญที่ส่งผลให้เกิดสติปัญญาของเราทั้งหลาย” ดังนั้น การอุปถัมภ์และช่วยเหลือให้การศึกษาแก่ เด็กพิการทางการได้ยิน รวมถึงเด็กพิเศษให้พวกเขารู้สึกว่าความพิการไม่อาจเป็นอุปสรรคในการด�าเนินชีวิต อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงเป็นการให้ชีวิตที่มีคุณค่าอันยิ่งใหญ่ และเป็นภารกิจตามแบบฉบับของ องค์พระเยซูเจ้าเองที่ทรงมอบความรักเมตตาต่อเด็ก ๆ และผู้เจ็บป่วยพิการให้มีความหวังในชีวิต ดังที่เราได้ พบในพระวรสารว่าพระองค์ทรงสัมผัสและอยู่เคียงข้างชีวิตของพวกเขา 29
พี่น้องที่รัก โอกาสฉลอง 40 ปีของโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาจึงเป็นโอกาสแห่งการขอบพระคุณ พระเจ้า ส�าหรับภารกิจแห่งเมตตารักผ่านโรงเรียนการกุศลเล็ก ๆ ที่พัทยาแห่งนี้ และวิงวอนขอพระเป็นเจ้า โปรดอ�านวยพระพรให้พระศาสนจักรเป็นพยานความรักและอยู่เคียงข้างน�าพระพรแก่เด็ก ๆ ที่ทุกข์ยากสืบ ต่อไป (ท่านสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาเพิ่มเติมได้ที่ www.sotpattana.ac.th หรือ หากต้องการปรึกษา/ขอค�าแนะน�าเกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการได้ยินและเด็กพิเศษ โปรดติดต่อได้ที่ คุณครู อังคณา ก�าเหนิดโทน ผู้อ�านวยการ 082-1084871) 30
คพ.วีระผัง ผังรักษ์ ผู้อ�านวยการมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก พัทยา ผู้แทนผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา “โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนาเป็นโรงเรียนการ กุศล รับเลี้ยงดู และสอนเด็กพิการทางหู อายุไม่เกิน 12 ปี ซึ่งมาจากทั่วประเทศ ทั้งประเภทอยู่ประจ�าและไปกลับ เด็กเหล่านี้เรียนรู้โดยใช้ภาษามือ และการสังเกตริมฝีปาก พวกเขาร่าเริง สนุกสนาน สุขภาพดีและเรียนเก่ง หลาย ๆ คนไปท�าชื่อเสียงให้โรงเรียนอนุบาลโสตพัฒนา เมื่อเขา ไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้น แต่ปัจจุบันเด็กที่มีความพิการ ซ�้าซ้อนด้านต่าง ๆ ผสมอยู่ด้วย มีจ�านวนมากขึ้นทุก ๆ วัน ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการเลี้ยงดูและการศึกษา เล่าเรียนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี สังฆมณฑลจันทบุรี ก็ยังทุ่มเทและสนับสนุนลูก ๆ ของพระเหล่านี้ ให้เติบโต มีอนาคตที่ดีขึ้นอย่างเต็มความสามารถ ทางโรงเรียนมีก� าหนดฉลองครบรอบ 40 ปีใน วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 นี้ และเรายังเปิดรับน�้าจิต น�้าใจที่จะร่วมกันสร้างอนาคตให้เด็ก ๆ เหล่านี้จากทุก ท่านอยู่เสมอครับ” 31

Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.