แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2021-2030 จากแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 และแถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวไปด้วยกัน “ความเป็นหนึ่งเดียวกัน การมีส่วนร่วม และพันธกิจ”
ค�ำประกำศ เรื่อง แผนอภิบำลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักรำช 2021-2030 สังฆมณฑลจันทบุรี มีความตระหนักและให้ความส�าคัญกับการบริหารสังฆมณฑลและการ อภิบาลสัตบุรุษเสมอมา เริ่มต้นจากปี ค.ศ. 1965 หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้มีนโยบายส่งเสริมให้คริสตชน ฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมงานอภิบาลมากยิ่งขึ้น สังฆมณฑลจันทบุรีจึงได้ริเริ่มให้ มีคณะกรรมการ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสภา และสภาอภิบาลดังเช่นปัจจุบันตามล�าดับ จากปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา สังฆมณฑลจันทบุรีได้มีแผนอภิบาลทุก 5 ปี ซึ่งปรับไปตาม นโยบายของพระศาสนจักรสากล สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และความต้องการของพี่น้องสัตบุรุษในช่วง ระยะเวลาต่าง ๆ ล่าสุด ได้มีแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 ซึ่งเมื่อแผนนี้สิ้นสุดลง ได้ เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 ท�าให้การประเมินผลและวางแผนส�าหรับแผนอภิบาล ครั้งต่อไปล่าช้าลง ขณะเดียวกัน ในปี ค.ศ. 2021 พระสันตะปาปาฟรังซิส ได้ประกาศให้มีการสมัชชาบิชอปสากล ครั้งที่ 16 หัวข้อ “เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน ในความเป็นหนึ่งเดียว การมีส่วนร่วม และพันธกิจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสังฆมณฑล ระดับทวีป และระดับโลก สังฆมณฑลจันทบุรีจึงได้ด� า เนินการตามพระด� า ริของพระสันตะปาปา ท่ามกลางการแพร่ ระบาดจึงท�าให้การด�าเนินการไม่สะดวกและมีความจ�ากัดหลายประการ แต่อาศัยการท�างานของคณะ อนุกรรมการฯ คณะสงฆ์ ตัวแทนนักบวชชายหญิง และตัวแทนคริสตชนฆราวาส ท�าให้การท�าสมัชชาใน ระดับสังฆมณฑลส�าเร็จบริบูรณ์ จนได้ออกเอกสารสุดท้ายออกมา นั่นก็คือ “แถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2021” 4
จากแถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ได้ถูกน�ามาเป็นพื้นฐานในการจัดท�า แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 – 2030 เพื่อเป็นการสืบสานแผนอภิบาลฉบับเดิมที่ได้สิ้นสุด ลง และน�าผลที่ได้จากการสมัชชาฯ มาใช้ ขอให้คณะสงฆ์ นักบวชชายหญิง สภาอภิบาล และพี่น้องสัตบุรุษทุกคน ได้น�าแผนอภิบาลนี้ไป ใช้ให้บังเกิดผล ในทุกวัด ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ตลอดจนมีการส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ติดตาม ประเมินผล และพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปเป็นระยะ ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุถึงความดีของส่วนรวม และพระเกียรติ มงคลของพระเจ้าเสมอไป โอกาสสมโภชพระนางมารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ข้าพเจ้า พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี ขอประกาศใช้ “แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 – 2030” จึงขอ ให้พี่น้องคริสตชนได้ทราบโดยทั่วกัน อ�านวยพรมายังพี่น้องทุกคน (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขแห่งสังฆมณฑลจันทบุรี (คุณพ่อยอแซฟ ธรรมรัตน์ เรือนงาม) เลขาธิการสังฆมณฑลจันทบุรี ประกาศ ณ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2022 5
“พี่น้อง จงขอบพระคุณพระบิดาเจ้าด้วยความยินดี พระองค์โปรดให้ท่านเป็นบุคคลที่เหมาะสมจะเข้าอยู่ในแสงสว่าง มีส่วนได้รับมรดกร่วมกับบรรดาผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า” (คส 1:12) ขอขอบคุณคณะกรรมการทุกท่าน ทั้งคณะสงฆ์ สภาอภิบาลทุกวัด กลุ่มองค์กร คาทอลิก และผู้รับผิดชอบทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วม เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแข็งขันในการเดินทาง อันยาวนาน เพื่อตระเตรียมการสมัชชาฯ อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการต่าง ๆ ที่ดีและหลาก หลาย มีการสวดภาวนา ร�าพึงไตร่ตรองพระวาจา และบูชามิสซาร่วมกันในทุกโอกาสที่มีการ ประชุมสัมมนา นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางต่อไปในอนาคต เป็น “การจาริกแสวงบุญ” ตลอดเวลาของสังฆมณฑลจันทบุรี ของคริสตชนทุกคน เป็น “พันธกิจอันงามสง่า” เป็นการ เรียกของพระเจ้า และเราคริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรีได้ยิน และตอบสนองต่อพันธกิจของ เราในพระคริสตเจ้า อาศัยพระหรรษทานแห่งศีลล้างบาป ท�าให้เรามีส่วนร่วมใน “พระกาย ทิพย์” ของพระคริสตเจ้าใน “การประกาศข่าวดี” เป็นการท�าให้ประวัติศาสตร์แห่งความ รอดและความรัก เป็นจริงและเป็นปัจจุบันทุกวัน ในนามของสังฆมณฑลจันทบุรี ในนามของคณะกรรมการ มีความชื่นชมยินดีและ ภูมิใจในพี่น้องทุกท่าน ขอพระอวยพร ด้วยความเคารพรัก คุณพ่อยอด เสนารักษ์ ค�ำกล่ำวของคุณพ่อยอแซฟ ยอด เสนำรักษ์ อุปสังฆรำช สังฆมณฑลจันทบุรี 6
ค�ำกล่ำวของคุณพ่อยอแซฟ ธรรมรัตน์ เรือนงำม เลขำธิกำร สังฆมณฑลจันทบุรี “เราเป็นเถาองุ่น ท่านทั้งหลายเป็นกิ่งก้าน ผู้ที่ด�ารงอยู่ในเรา และเราด�ารงอยู่ในเขา ก็ย่อมเกิดผลมากมาย เพราะถ้าไม่มีเรา ท่านก็ท�าอะไรไม่ได้เลย” (ยน 15:5) จากพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน : ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) การมีส่วนร่วม (participation) และพันธกิจ (Mission) ในรูปแบบและกระบวนการการรับฟัง เสียงของกันและกัน และทุกคนฟังเสียงของพระจิตเจ้า ท�าให้เกิดโอกาส และกระบวนการการ เรียนรู้ กลับใจ และฟื้นฟูชีวิตคริสตชนไทย โดยเฉพาะคริสตชนในเขตศาสนปกครองจันทบุรี ของเราอย่างชัดเจน และพร้อมที่จะแบ่งปันความเชื่อ ความไว้ใจ และความรัก ในรูปแบบของ การปฏิบัติดีแก่กันและกัน อีกทั้งยังเป็นบันไดน�าไปสู่การสร้างความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน ส�านึกในการมีส่วนร่วมในพันธกิจร่วมกันในการประกาศข่าวดี เพื่อร่วมสร้างพระอาณาจักร ของพระเจ้าให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชีวิต และเพื่อนพี่น้อง ทั้งในความเชื่อเดียวกันและต่างความ เชื่อ ท่ามกลางกระแสสังคมโลกในปัจจุบัน เพื่อจะท�าให้เราแต่ละคนจะได้ชื่อว่าเป็นศิษย์พระ คริสต์ สู่ศิษย์ธรรมทูตอย่างแท้จริง ในนามของสังฆมณฑลจันทบุรี และในนามของคณะกรรมการ ขอขอบคุณทุก ท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ท�าให้การด�าเนินการและจัดท�า ทั้งในภาคส่วนของสมัชชาสังฆมณฑล จันทบุรี และแผนอภิบาลสังฆมณฑลฯ ค.ศ. 2021-2030 นี้ ส�าเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยได้รับ ความร่วมมือ ร่วมใจ และร่วมพันธกิจจากพระสังฆราชทั้งสองท่าน คณะสงฆ์ นักบวชชาย-หญิง และที่ส�าคัญคือบรรดาพี่น้องคริสตชนทุกคนในเขตศาสนปกครองจันทบุรี ขอพระเยซูเจ้า และ พระแม่มารี โปรดคุ้มครองและอวยพรทุกท่านเสมอไป ด้วยความเคารพรัก คุณพ่อธรรมรัตน์ เรือนงาม 7
สารบัญ ประวัติการบริหารงานสังฆมณฑลจันทบุรี........................................................................... 7 เอกสารประกอบการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 (See) 10 บทที่ 1 หลักการ เหตุผล วัตถุประสงค์ การเตรียมการ และการด�าเนินการ บทที่ 2 การก้าวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร บทที่ 3 สภาพความเป็นจริงของสังฆมณฑลจันทบุรีในปัจจุบัน บทที่ 4 การก้าวเดินไปด้วยกันในสังฆมณฑลจันทบุรี บทที่ 5 พระนางมารีย์ผู้ก้าวเดินไปด้วยกันในพระศาสนจักร แถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันบุรี ค.ศ. 2021 (Judge) ................................................ 29 ก. กระบวนการจัดสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี
บทสรุป แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ.
วิสัยทัศน์ พันธกิจ หลักการ แผนงานอภิบาลทั้ง 6 ฝ่าย จุดร่วมกันของการท�างานแต่ละฝ่าย 1. ด้านอภิบาล 2. ด้านธรรมทูต 3. ด้านสังคม 4. ด้านศึกษาอบรม 5. ด้านสื่อสารสังคม 6. ด้านบริหารจัดการ อภิธานศัพท์.......................................................................... 50 8
ค.ศ. 2021 ข. สภาพความเป็นจริงของสังฆมณฑลจันทบุรีในปัจจุบัน บทที่ 1 ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) บทที่ 2 การมีส่วนร่วม (Participation) บทที่ 3 พันธกิจ (Mission)
2021-2030 (Act).................................................... 38
สังฆมณฑลจันทบุรีได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการจากพระสันตะปาปาปีโอที่ 12 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 โดยมีพระสังฆราชและคณะสงฆ์พื้นเมืองเป็นผู้บริหารและอภิบาลสัตบุรุษ ในเขต 8 จังหวัด ภาคตะวันออกของประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรีได้พยายามพัฒนาและ ปรับปรุงการบริหารงานสังฆมณฑลและรูปแบบการอภิบาลสัตบุรุษ ให้เป็นไปตามทิศทางของพระศาสนจักรสากล สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และความต้องการของบรรดาสัตบุรุษเสมอมา หลังจากสังคายนาวาติกันที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1965 สังฆมณฑลได้มีนโยบายส่งเสริมให้คริสตชน ฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานและร่วมงานอภิบาลมากยิ่งขึ้น ในรูปแบบของคณะกรรมการวัด สภา วัด และสภาอภิบาลวัดตามล�าดับ ป ระวัติการบริหารงาน สั งฆมณฑลจันทบุร 9
สืบเนื่องมาจาก กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” และการศึกษาผลการด�าเนินงานตาม “แผนอภิบาลสังฆมณฑล ค.ศ. 2011-2015” ซึ่งได้เริ่มท�าจากระดับวัด ระดับแขวง สู่ระดับสังฆมณฑล สังฆมณฑลจันทบุรีได้ประกาศใช้ “แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016–2020” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2016 ณ อาสนวิหารพระนาง มารีอาปฏิสนธินิรมล ระหว่างปี ค.ศ. 2020-2022 การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในขณะเดียวกัน พระ สันตะปาปาฟรังซิสได้ประกาศให้มีการสมัชชาบิชอปสากล ครั้งที่ 16 โดยแบ่งกระบวนการออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับสังฆมณฑล ระดับทวีป และระดับโลก โดยเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (ดูเอกสารประกอบ การสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ.2021 หน้า 10 ) ปี ค.ศ. 1998 ได้มีการจัดท�า “คู่มือการด�าเนินงานสภาอภิบาลวัด” เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้ง และด�าเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน, ปี ค.ศ. 2000 ได้มีการรณรงค์ให้ทุกวัดมีสภาอภิบาลวัด, และใน ปี ค.ศ. 2004 ได้มีการรวมกลุ่มสภาอภิบาลวัดเป็นระดับแขวง ปี ค.ศ. 2000 ได้เริ่มมีการวางทิศทางงานอภิบาลในระดับสังฆมณฑลอย่างเป็นทางการ ประกอบ ไปด้วยวิสัยทัศน์และนโยบายปฏิบัติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ ด้านอภิบาล ด้านธรรมทูต ด้านสังคม ด้านการ ศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม และด้านบริหารจัดการ โดยมีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2001 ใช้ ชื่อว่า “ทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2000-2005” ปี ค.ศ. 2006 ได้มีการประกาศใช้ “ทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006-2010” เมื่อวันพุธศักดิ์สิทธิ์ที่ 12 เมษายน ค.ศ. 2006 ณ วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า ศรีราชา ปี ค.ศ. 2010 เพื่อเป็นการประเมินผลทิศทางงานอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2006-2010 และ เตรียมแผนฉบับต่อไป ได้จัดให้มีการท�าวิจัยด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง จ�าแนกออกเป็นงานแต่ละด้าน และ จัดสัมมนากลุ่มย่อยต่าง ๆ ได้แก่ พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาลระดับแขวง และสมัชชาใหญ่พร้อมกันระหว่าง วันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 หัวข้อ “ชุมชนศิษย์พระคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” ตามกระบวนการ “วิถีเชิงบวก” (Appreciative Inquiry Method) ที่สุด ได้มีการประกาศใช้ “แผนอภิบาล สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2011-2015” เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2011 10
จากแถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 คณะผู้บริหารสังฆมณฑลจันทบุรีจึงได้จัดท�า “แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021-2030” อาศัยการฟังซึ่งกันและกัน การฟังเสียงของพระจิตเจ้า การพิจารณาเครื่องหมายแห่งกาลเวลา การไตร่ตรองคุณค่าพระวรสาร ความต้องการของบรรดาสัตบุรุษในปัจจุบัน พระด�าริของพระสันตะปาปาฟรังซิส ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรสากล การแสวงหาพระประสงค์ของ พระเจ้าในชีวิตประจ�าวันของคริสตชนแต่ละคน ทั้งนี้ เพื่อสืบสานพันธกิจการประกาศข่าวดีจากอดีตที่ได้ด�าเนิน มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อความดีของส่วนรวม และเพื่อพระเกียรติมงคลของพระเจ้าจะได้ปรากฏอยู่ในสังฆมณฑล จันทบุรีสืบไป สังฆมณฑลจันทบุรีได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อจัดเตรียมการท�าสมัชชาดังกล่าว ด้วยการศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้อง และออกแบบสอบถามความคิดเห็นจากตัวแทนประชากรของพระเจ้าในสังฆมณฑล เพื่อเตรียม ข้อมูลส�าหรับการสมัชชาต่อไป และถือโอกาสนี้เป็นการประเมิน แผนอภิบาลสังฆมณฑล ค.ศ. 2016-2020 ไปด้วย 17 ตุลาคม ค.ศ. 2021 ได้มีพิธีเปิดการท�าสมัชชาโดยพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ณ อาสน วิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล ท่ามกลางกฎระเบียบในการควบคุมโรคติดต่ออย่างเคร่งครัด จากนั้นได้มีการ สมัชชาของสมาชิกสมัชชาร่วมกัน 2 ครั้ง ณ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี คือ วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน และวันจันทร์ ที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ที่สุด ได้มีการประกาศ “แถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี” อย่างเป็นทางการ โดยพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล เมื่อวันอาทิตย์ปัสกาที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2022 11
สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 เอกสารประกอบการสมัชชา เอกสารประกอบการสมัชชา (Instrumentum Laboris) เป็นเอกสารที่จัดท�างานระหว่างกระบวนการ สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 แบ่งออกเป็น 5 บทด้วยกัน ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ คือ บทที่ 1. บทน�ำ กล่ำวถึง หลักกำรและเหตุผล วัตถุประสงค์ และกระบวนกำรในกำรท�ำสมัชชำฯ บทที่ 2. กำรก้ำวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศำสนจักร เป็นกำรสรุปใจควำมส�ำคัญ ของแนวควำมคิดในกำรเตรียมสมัชชำบิชอปสำกลครั้งที่ 16 ที่จัดท�ำขึ้นโดยคณะกรรมกำร ธิกำรเทววิทยำนำนำชำติ กรุงโรม ประเทศอิตำลี ซึ่งถือได้ว่ำเป็นวิสัยทัศน์ของกำรจัดสมัชชำ บิชอปในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 4 บทย่อยด้วยกัน คือ 1) การก้าวเดินร่วมกันในพระคัมภีร์ ในธรรมประเพณี และในประวัติศาสต์ของพระศาสนจักร 2) เทววิทยาแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน 3) วิธีการท�างานร่วมกัน 4) การกลับใจสู่การฟื้นฟูการก้าวเดินไปด้วยกัน บทที่ 3. สภำพควำมเป็นจริงของสังฆมณฑลจันทบุรีในปัจจุบันในด้ำนต่ำง ๆ 1) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ 2) ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี 3) ด้านครอบครัว 4) ด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนแห่งความเชื่อ 5) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บทที่ 4. กำรก้ำวเดินไปด้วยกันในสังฆมณฑลจันทบุรี โดยน�ำข้อเสนอแนะจำกเอกสำรกำรก้ำวเดิน ไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศำสนจักร (ในบทที่ 2) มำวิเครำะห์และสังเครำะห์ กับบริบทของสังฆมณฑลจันทบุรี เพื่อให้มำซึ่งเป้ำหมำยของกำรท�ำสมัชชำตำมพระด�ำริ ของพระสันตะปำปำไว้ล่วงหน้ำก่อนกำรท�ำสมัชชำฯ จริง ในด้ำนควำมเป็นหนึ่งเดียว กำร มีส่วนร่วม และพันธกิจ บทที่ 5. พระนำงมำรีย์ผู้ก้ำวเดินไปด้วยกันในพระศำสนจักร และบทภำวนำเพื่อกำรสมัชชำฯ 12
1 ค�าแถลงการณ์ของพระคาร์ดินัลมาริโอ เกรช (Card. Mario Grech) เลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล (the Secretary General
เกี่ยวกับการจัดสมัชชาฯ ตามวัตถุประสงค์ของพระสันตะปาปา เมื่อวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 ก่อนวันสมโภชพระจิตเจ้า 2 ค�าปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสครบรอบ 50 ปี สมัชชาบิชอปสากล (the Synod of Bishops) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2015 3 สาส์นของพระคาร์ดินัลมาริโอ เกรช ถึงอัครสังฆมณฑลลิเวอร์พูล อังกฤษ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2021 1.1 หลักการและเหตุผล 1. เนื่องด้วยพระสันตะปาปาฟรังซิสประกาศให้มีการสมัชชาบิชอปสากลสมัยสามัญครั้งที่ 16 ใน เดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 หัวข้อ “เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน: ความเป็นหนึ่งเดียว, การมีส่วนร่วม, และพันธกิจ” (For A Synodal Church: Communion, Participation and Mission) โดยแบ่งการสมัชชา ออกเป็น 3 ระดับ ดังต่อไปนี้ คือ 1) ระดับสังฆมณฑล เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2021 2) ระดับทวีป เริ่มตั้งแต่ เดือนกันยายน ค.ศ. 2022 3) ระดับโลก ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2023 ณ นครรัฐวาติกัน1 2. การท�าสมัชชาในครั้งนี้ค�านึงถึงกระบวนการของการมีส่วนร่วมที่กว้างขึ้นของประชากรพระเจ้า (People of God) ในสังฆมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประชาสัตบุรุษ ให้เกิดความมีส่วนร่วม, การกลับใจใน การด�าเนินชีวิต, และสร้างพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน โดยมุ่งเน้นไปที่การฟังและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2 และฟังเสียงของพระจิตเจ้า เพื่อแสวงหาขอบฟ้าใหม่ที่พระองค์จะประทานให้กับเรา, เป็นการเห็นพ้องต้องกันใน ความเชื่อของพระศาสนจักร,
3. สังฆมณฑลจันทบุรีจึงขานรับต่อค�าเชื้อเชิญของพระสันตะปาปาฟรังซิส และพร้อมที่จะก้าวเดินไป ด้วยกันกับสังฆมณฑลอื่น ๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จึงได้จัดให้มีการท�าสมัชชาระดับสังฆมณฑลขึ้น เพื่อ ใช้โอกาสนี้ไตร่ตรองและวิเคราะห์สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายในสังฆมณฑลในยุคปัจจุบัน (See) พร้อมกับมอง สัญญาณแห่งกาลเวลาด้วยสายตาแห่งความเชื่อ ในการแสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้า กับพันธกิจที่ได้รับจาก พระเยซูคริสตเจ้าในการประกาศข่าวดีแห่งคุณค่าพระวรสาร (Judge) ที่สุด เพื่อจะได้วางแผนการท�างานด้าน อภิบาลและด้านการแพร่ธรรมให้บังเกิดประสิทธิผล และสอดคล้องกับความต้องการของประชากรของพระเจ้า ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป (Act) 1.2 วัตถุประสงค์ 4. วัตถุประสงค์ของสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี มีดังต่อไปนี้ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ ไตร่ตรอง สภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและ พันธกิจของสังฆมณฑลในมิติต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกพระศาสนจักร 2) เพื่อแสวงหาความต้องการที่แท้จริงและเป็นปัจจุบันของประชากรพระเจ้าในสังฆมณฑล 3) เพื่อกระตุ้นท�าให้เกิดการก้าวเดินไปด้วยกันในระดับสังฆมณฑล: ความเป็นหนึ่งเดียวกัน, การมีส่วนร่วม, และพันธกิจ 4) เพื่อก�าหนดทิศทางงานอภิบาลและแพร่ธรรมของสังฆมณฑล บทที่ 1 บทนำา 13
of Synod of Bishops)
และปรับโฉมหน้าของพระศาสนจักรท้องถิ่นในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้3
1.3 การด�าเนินงานระดับสังฆมณฑล การเตรียมการสมัชชา 5. การเตรียมการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี เดือนสิงหาคม 2021 วางแผนการสมัชชา, จัดตั้งคณะท�างาน, แต่งตั้งสมาชิกสมัชชา, น�าเสนอสภาบาทหลวง (สภาสงฆ์) จัดท�าแนวทางในการท�าสมัชชา (Lineamenta/Guideline of the Synod) จากเอกสารส�าคัญ 3 ชุด คือ 1) คู่มือการท�าสมัชชา (Vademecum / Handbook) และเอกสารเตรียมสมัชชา (Preparatory Document) ที่ได้รับจากส�านักเลขาธิการบิชอปสากล 2) การประเมินผลกฤษฎีกาใหญ่ ปี ค.ศ. 2015 ในระดับสังฆมณฑล และการประเมินผล แนวทางอภิบาลของสังฆมณฑล ปี ค.ศ. 2015 – 2020 3) แนวค�าถามที่ได้รับจากเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล จ�านวน 10 ค�าถาม เดือนกันยายน 2021 ส่งเอกสารการเริ่มท�าสมัชชาและค�าถาม (Lineamenta) ไปให้สมาชิกสมัชชา คณะบาทหลวงร่วมกันแสดงความคิดเห็นในระดับแขวง น�าค�าตอบที่ได้รับมาจัดท�าคู่มือในการท�าสมัชชา
ท�าการสมัชชา 6. การท�าสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี เดือนตุลาคม 2021 17 ตุลาคม บิชอปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ท� า การเปิดการท� า สมัชชาฯ อย่างเป็นทางการ ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จ.จันทบุรี เวลา 10.00 น. ส่งคู่มือในการท�าสมัชชา (Instrumentum Laboris) กลับไปให้สมาชิกเพื่อเตรียมการท�าสมัชชา แต่ละแขวงจัดสมัชชาเพื่อระดมความคิดเห็น คณะกรรมการเตรียมสมัชชาฯ รวบรวมความคิดเห็นที่ได้เพื่อจัดท�า “ร่างกฤษฎีกาหลังสมัชชา” (Draft of Decree) จัดส่งร่างกฤษฎีกาฯ กลับไปยังสมาชิกสมัชชาเพื่อตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เดือนธันวาคม 2021 6 ธันวาคม ประชุมสมาชิกสมัชชาเพื่อลงมติกฤษฎีกา (Decree) สภาบาทหลวง (สภาสงฆ์) พิจารณากฤษฎีกา บิชอปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประกาศใช้กฤษฎีกาอย่างเป็นทางการ ส่งกฤษฎีกาหลังสมัชชาไปยังเลขาธิการสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย สิ้นสุดกระบวนการสมัชชาฯ 14
(Instrumentum Laboris)
4 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 102 2.1 การก้าวเดินร่วมกันในพระคัมภีร์, ธรรมประเพณี และในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร 7. พระเจ้าทรงสร้างอุทยานเอเดนที่มีความสมบูรณ์และสวยงามให้มนุษย์ได้อยู่อาศัย และพระองค์ ได้ทรงพระด�าเนินอยู่ในสวนนั้นพร้อมกับพวกเขา (เทียบ ปฐก 2:8) แต่มนุษย์หลงเชื่องูมากกว่าการเชื่อฟังพระเจ้า จึงถูกงูล่อลวง ผลของบาปนั้นได้ท�าลายแผนการของพระเจ้าด้วยความไม่ซื่อสัตย์ และความมืดบอด (ดู พระ คริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 102)4 ต่อกระแสเรียก กระนั้นก็ดี พระเป็นเจ้ายังคงเดินเคียงข้างกับมนุษย์เสมอตลอด ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เพื่อชี้น�าทาง สั่งสอน และเปิดเผยความจริงต่าง ๆ ให้กับมนุษย์ได้รับรู้ โดยแผนการนั้น ส�าเร็จสมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า 8. พระเยซูเจ้าผู้ทรงสอนให้เราก้าวเดินไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลา พระองค์คือหนทาง (เทียบ ยน 14:6) และเราเดินบนหนทางนั้น เรากับพระองค์หรือพระองค์กับเราก็เดินทางไปด้วยกันตลอดประวัติศาสตร์ของพระ ศาสนจักร เฉกเช่นเดียวกับศิษย์สองคนที่ก�าลังเดินทางไปเอมมาอูส โดยได้สนทนากับพระเยซูเจ้าตลอดเส้นทาง ซึ่งพระองค์ได้ให้แสงสว่างกับเขาด้วยพระวาจา และหล่อเลี้ยงพวกเขาด้วยศีลมหาสนิท (ลก 24:13-35) พระองค์ ทรงมอบอ�านาจและหน้าที่นี้ให้กับบรรดาอัครสาวกด้วยพระพรของพระจิตเจ้าในการเลียนแบบพระองค์ และเมื่อ มีปัญหาหรือความขัดแย้งพวกเขาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยรับฟังกันและกันในสมัชชาแห่งกรุงเยรูซาเล็ม (เทียบ กจ 15 และ กท 2:1-10) เพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปด้วยกัน 9. จากนั้นเป็นต้นมา การสมัชชาจึงถือเป็นเครื่องมือในการเดินทางของพระศาสนจักร เพื่อที่จะท�าให้ บรรดาศิษย์ก้าวเดินไปบนหนทางเดียวกัน เช่น ที่เมืองนิเชอา (325), กรุงคอนสแตนติโนเปิล
เมืองชาลซี ดอน
นอกจากนั้น ในศตวรรษที่ 4 มีการประชุมกันอย่างสม�่าเสมอที่เมืองอเล็กซานเดรียและอันทิโอก ใน เรื่องพิธีกรรม, กฎหมาย, และเรื่องส�าคัญเร่งด่วนต่าง ๆ, เมืองเตร็นท์ (1512), วาติกันที่ 1 (1869) และ วาติกัน ที่ 2 (1962) 2.2 วัตถุประสงค์ 10. พื้นฐานทางด้านเทววิทยาของการก้าวเดินไปด้วยกันอยู่ที่ความสัมพันธ์ของพระตรีเอกภาพ เป็น 1) ต้นก�าเนิด 2) รูปแบบ และ 3) เป้าหมายของการก้าวเดินไปด้วยกัน 11. พระศาสนจักรจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบเนื่องมาจากอัครสาวก อันเป็นผลงานของพระ ตรีเอกภาพ อาศัยพระจิตเจ้าและพระพรของพระจิตเจ้าที่พระเยซูคริสตเจ้าประทานให้ในวันเปนเตกอสเต (เทียบ กจ 2:1-36) ในความสัมพันธ์นี้ท�าให้สหพันธ์นักบุญ (สวรรค์ แผ่นดิน และแดนช�าระ) กลายเป็นจริงทั้งในความ หมายของความเป็นหนึ่งเดียวกันและความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีกระแสเรียกในการก้าวเดินไปสู่ความสมบูรณ์ในองค์ พระเยซูคริสตเจ้า บทที่ 2 การก้าวเดินไปด้วยกันในชีวิตและพันธกิจของพระศาสนจักร 15
(381),
(451)
5 “Sensus fidei” (sense of the faith หรือ sense of the Faithful หรือ ความส�านึกในความเชื่อ) ในความหมายตามค�าสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก (CCC) หมายถึง 1) ความส�านึก (กตัญญู) เหนือธรรมชาติในฐานะที่เป็นผู้ที่มีความเชื่อคนหนึ่ง ต่อการมีส่วนร่วม หรือความเป็นเจ้าของในพระศาสนจักรสากล 2) ด้วยการยึดมั่นในความเชื่อ, กฎศีลธรรม และค�าสั่งสอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร อันอยู่บนรากฐานขององค์พระจิตเจ้าแห่งความจริง 3) พวกเขาจะยึดติดกับความเชื่ออย่างไม่ปล่อยวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในมโนธรรมส่วนลึกของพวกเขาในการเลือกท�าสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตปัจจุบัน ดังที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงตรัสว่า “ประตูนรกจะไม่มีวันเอาชนะพระศาสนจักรได้” (มธ 16:18) 4) พระศาสนจักรในที่นี้หมายถึง หน้าที่ในการดูแลของบรรดาพระสังฆราชที่จะไม่ให้บรรดาสัตบุรุษผิดหลงไปจากความเชื่อ 12. หนทางแห่งการก้าวเดินของพระศาสนจักร 1) ถูกหล่อหลอมและได้รับการท�านุบ�ารุงด้วยศีลมหาสนิท ที่ท�าให้เราได้เป็นร่างกายเดียวกัน โดยมีองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็นศีรษะ (1 คร 12:12-30) 2) พระศาสนจักรจึงมีธรรมชาติเป็น “ผู้เดินทาง” และ “ธรรมทูต” ไปพร้อม ๆ กัน โดยมี จุดมุ่งหมายไปที่การสิ้นพิภพ หรือการเสด็จกลับมาครั้งที่สองขององค์พระเยซูคริสตเจ้า (เทียบ กจ 1:8) 3) ในความสัมพันธ์กันระหว่างพระศาสนจักรแห่งกรุงโรม, พระศาสนจักรสากล, พระศาสนจักร ระดับภูมิภาค (ทวีป), และพระศาสนจักรท้องถิ่น ที่เป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วยกัน, สัมพันธ์ กัน, พึ่งพากัน, และขึ้นต่อกันและกัน 4) พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงเปลี่ยนพีรามิดของประชากรพระเจ้าในพระศาสนจักรให้เป็น “พีรามิดที่กลับหัว” โดยพระองค์ท่านเป็นผู้ที่อยู่ส่วนล่างสุดของฐานพีรามิดนั้น ที่จะต้อง ให้การบริการและรับใช้ทุกคนที่อยู่ในพระศาสนจักร 13. วิสัยทัศน์เชิงเทววิทยาเรื่องพระศาสนจักร สามารถให้ค�าจ�ากัดความของประชากรออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ 1) “ทุกคน” (All) หมายถึง การส�านึกในความเชื่อ (Sensus Fidei)5 ของบรรดาสัตบุรุษทุกคน 2) “บางคน” (Some) หมายถึง บรรดาบิชอปพร้อมกับคณะบาทหลวงของพวกท่าน
พระสันตะปาปา 14. การฟื้นฟูการก้าวเดินไปด้วยกันของพระศาสนจักร เรียกร้องให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ และจ�าเป็นต้องปรึกษาหารือกับประชากรทั้งปวงเพราะเป็นเรื่องของทุกคน และอะไร ก็ตามที่มีผลกระทบต่อทุกคน ควรมีการอภิปรายและได้รับความเห็นชอบจากทุกคน ในมิติ 3 ประการ ของพระ ศาสนจักร คือ 1) ความเชื่อ 2) ศีลศักดิ์สิทธิ์ 3) การปกครอง เพื่อท�าให้เกิดการมีส่วนร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน โดยทุกความคิดเห็นไม่ควรที่จะละทิ้งไป ให้ความ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง การรับฟังด้วยความตั้งใจ 16
3) “คนเดียว” (One) หมายถึง บิชอปแห่งกรุงโรม หรือ
2.3 วิธีการท�างานร่วมกัน 1. การเรียกทุกคนให้ก้าวเดินทางไปด้วยกัน 15. ด้วยความส�านึกในความเชื่อ (Sensus Fidei) สัตบุรุษทุกคนควรถูกเรียกให้มารับผิดชอบร่วม กัน โดยท�าให้พระพรจากพระจิตเจ้าที่ได้รับปรากฏออกมาให้เห็นในชุมชนแห่งความเชื่อ และเป็นส่วนหนึ่งในการ ฟื้นฟูพระศาสนจักรทั้งครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประสบการณ์แห่งความเชื่อ ความศรัทธาประชานิยม การอภิบาล วัฒนธรรม สังคม และความสามารถส่วนตัว 16. กระแสเรียกแห่งการก้าวเดินไปด้วยกัน ยังหมายถึง การฟังพระวาจาของพระเจ้า การเข้าใจ ในข้อความเชื่ออย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเชื่อและวิทยาศาสตร์ ความสุขุมรอบคอบในการไตร่ตรอง เครื่องหมายของกาลเวลาตามแสงสว่างแห่งพระวรสาร การเสวนากับสังคมและวัฒนธรรม 2. การก้าวเดินไปด้วยกันในระดับพระศาสนจักรท้องถิ่น (ระดับวัดและระดับสังฆมณฑล) 17. พระศาสนจักรท้องถิ่นจะต้องแข็งขันในการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท การสวดภาวนา การร่วม พิธีกรรมอย่างเป็นทางการของสังฆมณฑลที่มีบิชอปเป็นประธานล้อมรอบด้วยคณะบาทหลวงและสังฆานุกรของ ท่าน ในบริบทของประวัติศาสตร์ของสังฆมณฑล ภาษาท้องถิ่น และวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง อันจะท�าให้ภาพของ การเป็นประจักษ์พยานได้ปรากฏในชุมชน และก่อให้เกิดงานธรรมทูตที่ท� าให้ผู้คนได้กลับใจ โดยน� าหลักการ “ทุก คน”, “บางคน” และ “คนเดียว” มาใช้ในสังฆมณฑล 18. หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่ท�าให้พันธกิจของบิชอปได้ปรากฏขึ้นในสังฆมณฑล
ที่ท�าหน้าที่ส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวและการก้าวเดินไปด้วยกัน ที่บิชอปจะต้องฟังเสียง, ปรึกษาหารือ,
ประชุมและประเมินผลร่วมกับพวกเขา เพื่อความดีงามและคุณประโยชน์ของสังฆมณฑลส่วนรวม ภายใต้อ�านาจ ในการตัดสินใจของบิชอป 3. การก้าวเดินไปด้วยกันในพระศาสนจักรระดับภูมิภาค (ทวีป) 19. จากประสบการณ์ในการจัดตั้งพระศาสนจักรในระดับภูมิภาค โดยอาศัยความคล้ายคลึงกันของ ประวัติศาสตร์การก่อตั้งพระศาสนจักร วัฒนธรรม สังคม ปัญหา และอุปสรรค ท�าให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน การ ช่วยเหลือแบ่งปันท�าให้พระศาสนจักรเข้มแข็ง ความท้าทายที่เหมือนกันท�าให้เกิดเป้าหมายในการพัฒนาร่วม กัน การแลกเปลี่ยนวิธีในการท�างานท�าให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วขึ้น ซึ่งหมายถึง การก่อให้เกิดกระบวนการน�า ข่าวดีเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) นั้น ๆ ดังนั้น เครื่องมือที่จะท�าให้เกิดการก้าวเดินไปด้วยกันในระดับพระ ศาสนจักรภูมิภาคนี้ก็คือ การสมัชชาในระดับภูมิภาคและการประชุมของสภาบิชอป เพื่อที่จะท�าให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวกันในเรื่องเทววิทยา, พิธีกรรม, ชีวิตภายใน และด้านกฎหมาย และด้วยแนวความคิดนี้เอง ก็จะผลักดัน ท�าให้เกิดการก้าวเดินไปด้วยกันในระดับพระศาสนจักรสากลต่อไปเช่นเดียวกัน 17
เช่น คณะที่ ปรึกษา, สภาสงฆ์, กรรมการบริหารฯ, ฝ่าย, แผนก, ส�านักงาน, องค์กร, สภาอภิบาล ฯลฯ ถือเป็นหน่วยงานถาวร
เสวนา,
2.4 การกลับใจสู่การฟื้นฟูการก้าวเดินไปด้วยกัน 20. การก้าวเดินไปด้วยกันเรียกร้องให้เกิดการกลับใจของกระแสเรียกแห่งการเป็นคริสตชน การ มีชีวิตจิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน การฝึกการฟังการเสวนาและการไตร่ตรองร่วมกันกับทุกคน อันอยู่บนพื้น ฐานของความเป็นพี่น้องกัน ความเอื้ออาทร และการไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง นั่นหมายถึง การกลับใจด้านการ อภิบาลและธรรมทูตใน 4 มิติ คือ 1) จิตตารมณ์ 2) ทัศนคติ 3) วิธีการท�างาน และ 4) โครงสร้างการด�าเนินงาน ที่เน้นทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและรับผิดชอบด้วยกันตามหลักการ ของ “ทุกคน”, “บางคน” และ “คนเดียว” 21. การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพระศาสนจักรท้องถิ่นและพระศาสนจักรสากล, การก้าว เดินไปด้วยกันกับผู้น�าพระศาสนจักรสากลหรือพระสันตะปาปาตามนโยบายในการท�างานของท่าน, การเป็นหนึ่ง เดียวกันกับคริสตจักรต่าง ๆ (คริสตสัมพันธ์) และผู้มีความเชื่ออื่น (ศาสนสัมพันธ์) 22. พระศาสนจักรในฐานะที่เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นเครื่องหมายและเป็นเครื่องมือแห่งความรอด ของพระคริสตเจ้า เรียกร้องให้ทุกคนกลับใจ โดยแสดงออกมาให้เห็นทาง 1) การยอมรับผู้อื่น 2) การรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน 3) ความมีใจโอบอ้อมอารี และ 4) การไม่เสแสร้งหรือใส่หน้ากากเข้าหากัน และเป็นหนึ่งเดียวกันในศีลมหาสนิท ดังนั้น พระศาสนจักรจึงเป็นทั้ง “บ้านและโรงเรียนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน” ที่จะน�าทุกคนไป สู่ความสมบูรณ์ในพระคริสตเจ้า โดยการน�าความส�านึกในความเชื่อ (Sensus fidei) มาใช้ 23. พิธีบูชาขอบพระคุณ คือต้นก�าเนิดแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน กล่าวคือ 1) ในพิธีบูชาขอบพระคุณ เราได้สรรเสริญพระตรีเอกภาพ ต้นแบบ, รูปแบบ, และเป้าหมาย แห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน 2) ในศีลมหาสนิทเกี่ยวข้องกับศีลแห่งการคืนดี ระหว่างกันและกัน และระหว่างตัวเรากับพระเจ้า 3) ในพิธีบูชาขอบพระคุณเราได้ฟังพระวาจาของพระเจ้า แล้วน�าไปปฏิบัติตาม ดุจดังตะเกียงที่ ส่องสว่างและช่วยให้เราเห็นหนทางที่พึงเดินในองค์พระคริสตเจ้า เห็นเพื่อนพี่น้อง เห็นคน ยากจน เช่นเดียวกับการหักปังซึ่งเราจะมอบชีวิตของเราให้กับคนอื่น 4) ศีลมหาสนิทท�าให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน 5) พิธีบูชาขอบพระคุณเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตธรรมทูต “พิธีบูชาขอบพระคุณจบแล้ว จงไป ประกาศพระวาจาที่ได้รับฟังในวันนี้เถิด” 18
ยาเสพติด, ขณะเดียวกันก็เกิดความยากจน, ชุมชนแออัด,
บทที่ 3 สภาพความเป็นจริงของสังฆมณฑลจันทบุรีในปัจจุบัน 3.1 ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ 24. จากการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) การ เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการค้า อุตสาหกรรม การขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ท�าให้ สภาพสังคมในภาคตะวันออกของประเทศไทยเกิดการพัฒนาก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมา ท�าให้เกิดผลดีและผลเสียต่อสังคมในหลายมิติ ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ การเกิดนิคมอุตสาหกรรม ในภาคตะวันออกหลายแห่ง ท�าให้เกิดการหลั่งไหลของผู้ใช้แรงงาน พนักงาน ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามา ในพื้นที่จ�านวนมาก (ในจ�านวนนี้มีพี่น้องคริสตชนคาทอลิกหลายคนหรือหลายครอบครัวได้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้า มาประกอบอาชีพและตั้งรกราก บางคนอยู่ห่างไกลจากวัดท�าให้ไม่สะดวกในการมาร่วมพิธีกรรมโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์), การขยายตัวทางด้านคมนาคม ถนนหนทาง สนามบิน ท่าเรือ โกดังเก็บ สินค้า, ท�าให้สังคมเมืองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สังคมมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา, สิ่งแวดล้อมถูกท�าลาย,
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจนี้
า ผู้คนไปสู่กระแสการบริโภคนิยม วัตถุนิยม ทุนนิยม การท�าให้ทันสมัย (Modernization) ไม่สนใจเรื่องจริยธรรมและคุณธรรม การให้ความส�าคัญกับคุณค่า ทางศาสนาลดลง การล่วงละเมิด (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 98)8 สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน การท�าธุรกิจการ ค้าที่ขาดศีลธรรม การวัดคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเงินหรือผลประโยชน์ทางวัตถุที่ได้รับกลับคืนมา ความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย การให้ความส�าคัญกับตัวเองมากเกินไป (Individualism) การปรนเปรอตนเอง (Self-Absorption) การใช้ความคิดเห็นส่วนตัวเป็นเกณฑ์ตัดสินด้านศีลธรรม9 ติดการพนัน ใช้สารเสพติด การท�าแท้งเสรี การมุ่งแต่ พัฒนาความเจริญก้าวหน้าที่รวดเร็วแต่ขาดการควบคุมและไตร่ตรองถึงผลกระทบต่อโลกแบบองค์รวม ความรัก ฉันพี่น้อง การช่วยเหลือกัน การเกิดช่องว่างระหว่างคนยากจนและคนรวย (นายทุน) ความเอื้ออาทรในสังคมลด น้อยลง (ดู Laudato Sì ข้อ 203-208)10 6 พระสมณสาส์นเกี่ยวกับการดูแลรักษาโลก บ้านที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน ชื่อ “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Laudato Sì) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 ข้อ 20-22 7 Ibid, ข้อ 43-52 8 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.2019 ข้อ 98 9 “ลัทธิสัมพันธนิยม” (Relativism) หมายถึง เกณฑ์ตัดสินดีชั่วไม่มีอยู่จริง (ไม่มีมาตรฐานเดียวกันส�าหรับทุกคน) เป็นทัศนะที่เห็นว่า “ดี” ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว การกระท�าอันใดอันหนึ่งจะดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายอย่าง ในบางสถานการณ์สิ่งนั้นอาจจะถูก แต่ในอีกสถานการณ์หนึ่งอาจจะผิดก็ได้ 10 พระสมณสาส์นเกี่ยวกับการดูแลรักษาโลก บ้านที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน ชื่อ “ขอสรรเสริญองค์พระผู้เป็นเจ้า” (Laudato Sì) เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2015 ข้อ 203-208 19
เกิดมลพิษ (ดู Laudato Sì ข้อ 20-22)6, อาชญากรรม, การค้ามนุษย์, ความอยุติธรรม, เป็นแหล่งการท�าธุรกิจที่ผิดกฎหมาย,
การท�าลายคุณภาพชีวิตมนุษย์และความเสื่อมถอยของสังคม (ดู Laudato Sì ข้อ 43-52)7 25.
อาจน�
3.2 ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี 26. ช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตและ สังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์ ท�าให้ คนใช้เวลาในด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ในการติดต่อสื่อสาร การแสวงหาความรู้ การศึกษา การท�างาน การค้า การ ประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านได้ ยิ่ง ท�าให้บทบาทของเทคโนโลยีมีความจ�าเป็นมากยิ่งขึ้นส�าหรับการซื้อสินค้า อาหาร การท�างาน การประชุม การ เรียนการสอน และแม้กระทั่งเป็นเครื่องมือส�าหรับพระศาสนจักรในการท�าพิธีบูชาขอบพระคุณออนไลน์ ถ่ายทอด สดพิธีกรรม จัดท�ารายการถ่ายทอดสด ผลิตสื่อออนไลน์มากขึ้น การประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสาร การอบรม การ ประชุม เป็นต้น 27. ขณะเดียวกัน ผลกระทบของการใช้สื่อออนไลน์ก็มีขึ้นได้หากใช้อย่างไม่ระวังและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงทางด้านการค้า ข่าวปลอม (Fake News) การชักน�าไปสู่อาชญากรรม หรือการล่วงละเมิดทางเพศ การท�าผิดศีลธรรมอันดีงามของสังคมและศาสนา ขาดการควบคุมอารมณ์หรือการ แสดงออกในโลกออนไลน์ ใช้ค�าพูดที่ไม่สุภาพ สร้างความแตกแยก การอยู่ในโลกอีกใบหนึ่งที่ไม่ใช่โลกแห่งความ เป็นจริง การรุกรานในโลกออนไลน์ (Cyber Bullying) เป็นต้น 28. การใช้เทคโนโลยีของกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ตามความชอบ หรือความถนัดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ) ความสนใจพิเศษทั้งส่วนบุคคลและช่วงวัยต่าง ๆ อาจน�ามาสู่ความแตกต่างหลากหลาย ทางความคิด พื้นฐานความเข้าใจ การรับรู้ข้อมูล ความรวดเร็วในการแสวงหาข้อมูลด้านต่าง ๆ การน�าเสนอ
เช่นการแสดงความคิดเห็นทางด้านการเมือง ศาสนา ความเชื่อ ทัศนคติในเรื่องทั่ว ๆ ไป 3.3. ด้านครอบครัว 29. จากความจ�าเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางด้าน เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ได้ท�าให้สภาพครอบครัวในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม สามีและภรรยา หรือพ่อและ แม่ ต้องท�างานมากยิ่งขึ้นทั้งสองฝ่าย หรือต้องย้ายไปท�างานที่อื่น ท�าให้การใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างพ่อ แม่ และลูก ลดน้อยลง ผู้สูงอายุต้องอยู่ตามล�าพัง แนวโน้มการแต่งงานลดน้อยลง อัตราการเกิดลดลง คนต้องการเป็นโสดมาก ยิ่งขึ้น เพราะมีอิสระและยังไม่พร้อมที่จะต้องรับผิดชอบครอบครัว อัตราการหย่าร้างมากขึ้น ขาดการถ่ายทอดความ เชื่อ การสอนค�าสอนในครอบครัว การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เด็ก ๆ และเยาวชน มีความคิดและพฤติกรรมที่แตกต่าง หลากหลาย (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 72-85)11 เกิดช่องว่างระหว่างวัยและบุคคลต่าง ๆ ความไม่เข้าใจกัน 11 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 72-85 20
การ รับและส่งข้อมูลหรือข้อความหรือรูปภาพอาจน�ามาซึ่งความเข้าใจไม่ตรงกันได้ในระหว่างบุคคล ครอบครัว สังคม และแม้กระทั่งในชุมชนวัด
3.4 ด้านสภาพแวดล้อมของชุมชนแห่งความเชื่อ 30. ชุมชนคริสตชนดั้งเดิมส่วนใหญ่ เป็นครอบครัวคริสตชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ วัด (หรือบนที่ดินของวัด) โดยมีวัดและโรงเรียนของวัด บ้านนักบวช เป็นศูนย์กลางของชุมชนทั้งทางด้านผังเมืองและจิตใจ แต่เนื่องจาก สภาพแวดล้อมทางสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป คนหนุ่มสาวได้ออกไปท�างานนอกชุมชน เด็กวัยรุ่นเข้าไปศึกษา ต่อในเมืองใหญ่ การขยายครอบครัวใหม่หลังการแต่งงานกระจายออกไปยังที่ต่าง ๆ คงเหลือไว้เพียงแค่ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในชุมชน และมาร่วมพิธีกรรมกับทางวัด ในขณะเดียวกัน ชุมชนวัดบางแห่งถูกแวดล้อมไปด้วยครอบครัวของ พี่น้องต่างความเชื่อ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาแทนที่ เยาวชนส่วนมากมีแนวโน้มห่างเหิน จากการปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมร่วมกับทางวัด ให้ความส� าคัญกับเรื่องศาสนาและศีลธรรมลดลง (ดู ความปีติ ยินดีแห่งความรัก 263-267)12 ใช้เวลาส่วนมากอยู่ในโลกออนไลน์ ส่งผลท�าให้กระแสเรียกแห่งการเป็นบาทหลวง และนักบวชชาย-หญิงลดน้อยลง 31. “โรงเรียนคาทอลิก” ในชุมชนถูกท้าทายในการเป็นสนามงานแห่งการประกาศข่าวดี การสอน ค�าสอน การถ่ายทอดความเชื่อ ท่ามกลางกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงทุกมิติอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ทั้งตัว เด็ก ๆ และเยาวชน, กระแสสังคม, การเมือง, การเรียกร้องสิทธิและหน้าที่ของคนรุ่นใหม่, ความแตกต่างหลาก หลายทางด้านทัศนคติและมุมมองในการด�าเนินชีวิต, รูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle), การให้คุณค่าทางด้านศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และความหลากหลายทางเพศ 12 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับความรักในครอบครัว ชื่อ “ความปีติยินดีแห่งความรัก” (Amoris Laetitia) โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2016 ข้อ 263-267 21
3.5 ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 32. จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020 จนกระทั่งปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อ สังคมโลกในวงกว้างในทุกมิติ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ คือ 1) ผลกระทบภายในพระศาสนจักร วัดต้องปิด ไม่สามารถประกอบพิธีกรรมได้ตามปกติเป็นระยะเวลายาวนาน ท�าให้การร่วม พิธีกรรมในรูปแบบออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้น สัตบุรุษมีความรู้สึกว่าห่างไกลวัด โหยหาชีวิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน การพบปะกัน เหมือนเดิม ส่วนหนึ่งสามารถร่วมพิธีกรรมแบบออนไลน์ได้ แต่อีกหลายคนรอคอยการ เปิดวัดอีกครั้งหนึ่ง โรงเรียนต้องปิด นักเรียนและครู ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ ต้องหันไป สอนแบบออนไลน์แทน ซึ่งทั้งครู นักเรียน และผู้ปกครอง ต้องปรับตัวในเรื่องการจัดการ เรียนการสอนในลักษณะนี้ ผลที่ตามมาก็คือ นักเรียนมีความกดดัน เครียด เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจเรียน ฯลฯ หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ของพระศาสนจักรไม่สามารถด�าเนินงานได้ตามปกติ งดการเดิน ทาง งดการออกเยี่ยม ต้องหันมาจัดกิจกรรมในรูปแบบของออนไลน์แทน 2) ผลกระทบภายนอกพระศาสนจักร ด้านสังคม ผู้คนไม่สามารถด�าเนินชีวิตได้ตามปกติ ต้องปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal Life) ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง การท�างานที่บ้าน (Work from Home) การก�าหนดเวลาเปิด-ปิดของสถานบริการต่าง ๆ, การเดินทาง, การเข้า-ออกบ้าน (Curfews) ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจมีการชะลอตัวลงอย่างมาก รายได้ลดน้อยลง เกิดภาวะเงินฝืด (คน ไม่ใช้เงิน) กิจการห้างร้านหลายแห่งต้องปิดตัวลง ขายกิจการ ไม่มีนักท่องเที่ยวเป็นระยะ เวลานาน ต้องเดินทางกลับไปยังถิ่นฐานเดิม เปลี่ยนอาชีพ 22
13 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับความรักในครอบครัว ชื่อ “ความปีติยินดีแห่งความรัก” (Amoris Laetitia) โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2016 ข้อ 263-267 14 Ibid, ข้อ 191-193 15 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 148-149 16 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 27 และ สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับความรักในครอบครัว ชื่อ “ความปีติยินดีแห่งพระ วรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 218-221 17 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ข้อ 9 บทที่ 4 การก้าวเดินไปด้วยกันในสังฆมณฑลจันทบุรี 33. จากวัตถุประสงค์และจิตตารมณ์ของการท�าสมัชชาบิชอปสากล ครั้งที่ 16 ค.ศ. 2021-2023 ดังที่ปรากฏในเอกสารประกอบการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรีนี้ในบทที่ 2 และสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นใน บริบทของสังฆมณฑลจันทบุรีในบทที่ 3 ประกอบกับเสียงเรียกร้องจากตัวแทนประชากรของพระเจ้าในการท�า แบบสอบถามเตรียมการท�าสมัชชาฯ 34. สังฆมณฑลจันทบุรีขอร่วมสานฝันของพระสันตะปาปาฟรังซิส ร่วมกับทุกสังฆมณฑลทั่วโลก และ คริสตชนทุกคน ในการก้าวเดินไปด้วยกันในพันปีที่สาม ด้วยการฟังเสียงของกันและกันและเสียงของพระจิตเจ้า เพื่อให้พระศาสนจักรมีชีวิตชีวา ให้ความหวังกับผู้คนทุกคนโดยไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง น�าความชื่นชมยินดีไป สู่การประกาศข่าวดีใหม่ด้วยวิธีการใหม่และสร้างสรรค์ ตามหัวข้อของการสมัชชาในครั้งนี้ คือ “การก้าวเดินไป ด้วยกัน” ใน 3 มิติ คือ ความเป็นหนึ่งเดียว, การมีส่วนร่วม และพันธกิจ ซึ่งมีแนวทางดังต่อไปนี้ คือ 4.1 ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) 35. ประชากรของพระเจ้า คือ ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรีร่วมเป็นหนึ่ง เดียวกัน ในการปลุก “จิตส�านึกในความเชื่อ” (Sensus Fidei / Sense of Faith) ให้เกิดขึ้นในจิตใจ โดยการมี ส่วนร่วมและเป็นเจ้าของพระศาสนจักร (Sense of Belonging) ด�าเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้าและค�าสั่ง สอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักรอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้ชื่อว่าเป็น “ศิษย์พระคริสต์” และเป็น “ประจักษ์พยาน” ถึงจิตตารมณ์พระวรสารในการด�าเนินชีวิตประจ�าวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรักและการรับใช้ (ดู ความปีติยินดี แห่งความรัก ข้อ 93-94 และ 259-261)13 36. ความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้แสดงออกมาให้เห็นใน “กิจการแห่งความรักและความเมตตา” (Charity) ต่อผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับเพื่อนพี่น้องที่มีความต้องการ เจ็บ ป่วย ยากจน ผู้สูงอายุ (ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก ข้อ 191-193)14 ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ถูกจองจ�า (ดู พระ คริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 148-149)15 ผู้ที่เดือดร้อน ผู้ที่ถูกทอดทิ้ง ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ผู้ที่อ่อนแอใน สังคม ผู้ที่มีความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม โดยการให้เกียรติ ปกป้องสิทธิ เคารพในเสรีภาพ16 (ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 27 และ ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 218-221) และการตัดสินใจ ส่วนบุคคล ส่งเสริมความยุติธรรม ความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม (เทียบ แอมะซอนที่รัก ข้อที่ 9 และ กฤษฎีกาสมัชชา ใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 28)17 และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด 23
37. พิธีบูชาขอบพระคุณ คือหัวใจของความเป็นหนึ่งเดียวกันในชุมชนแห่งความเชื่อ ที่แสดงออกมา ให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งเดียวกัน ความรัก การให้อภัย การคืนดี การเฉลิมฉลองพระวาจาและศีลมหาสนิท (เทียบ แอมะซอนที่รัก ข้อ 91)18 และพลังแห่งการเป็น “ศิษย์ธรรมทูต” (Missionary Disciple)19 ชุมชนแห่งความเชื่อจึง ควรส่งเสริมให้การเฉลิมฉลองพิธีบูชาขอบพระคุณมีชีวิตชีวา การมีส่วนร่วมของสัตบุรุษทุกคน การอธิบายพระวาจา ของพระเจ้าและการเทศน์สอนที่สอดคล้องกับการด�าเนินชีวิตประจ�าวันของสัตบุรุษ ในภาษาที่เข้าใจง่าย ประทับ ใจ ให้ก�าลังใจ ความหวัง และความชื่นชมยินดี (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 135-136 และ 145)20 38. ชุมชนแห่งความเชื่อ21 ควรเสริมสร้างกิจกรรมที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในชุมชน ได้แก่ การ สวดภาวนาร่วมกัน, การส่งเสริมให้คริสตชนมาวัดในวันอาทิตย์, การให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ อย่างสม�่าเสมอ โดยอธิบายให้เห็นถึงความส� าคัญและความหมายของการกระท� าต่าง ๆ, การอ่านพระคัมภีร์ การแบ่งปันพระวาจา (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 174-175)22 และประสบการณ์ความเชื่อ, การท�าวิถีชุมชนวัด (Basic Ecclesial Community หรือ BEC)23, การอภิบาลคู่สมรสที่ก�าลังจะสร้างครอบครัวคริสตชนใหม่ (ดู ความปีติยินดี แห่งความรัก ข้อ 120-122 และ 205-231)24 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งงานแบบต่างฝ่ายต่างถือ (ดู ความปีติ ยินดีแห่งความรัก ข้อ 247-252)25 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตครอบครัว (ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก ข้อ 136-141)26, การอภิบาลครอบครัวอย่างต่อเนื่อง
ๆ (ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก ข้อ
กับพวกเขา (ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก ข้อ
เพื่อสร้างพระศาสนจักรระดับครอบครัว
การสอนค�าสอนเด็ก ๆ, การสอนค�าสอนผู้ใหญ่โดยการน�ากระบวนการพิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน
มาปรับใช้เพื่อสร้างกลุ่มคริสตชนใหม่ให้ก้าวเดินไปด้วยกัน 32 และต้อนรับเข้าสู่บรรยากาศชุมชนแห่ง 18 Ibid, ข้อ 91 19 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 13 20 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ.
ข้อ 135-136 และ 145 21 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 22 22 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 174-175 23 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ.2015 ข้อ 23 24 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับความรักในครอบครัว ชื่อ “ความปีติยินดีแห่งความรัก” (Amoris Laetitia) โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2016 ข้อ 120-122 และ
25
26
27
28
29
(Rite of Christian Initiation of Adults หรือ RCIA) โดยสมณกระทรวงเพื่อการนมัสการพระเจ้า (พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์) และกฎเกณฑ์เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ (Congregation for Divine Worship and the Discipline of the Sacraments) เป็นกระบวนการเตรียมตัวผู้ ใหญ่ที่สนใจเข้าเป็นคริสตชนอย่างเป็นขั้นตอน มีความหมาย และส่งเสริมให้ปรับเข้าสู่บริบทของชุมชนวัดต่าง ๆ อย่างเหมาะสม 32 “ค�าสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” (Catechism of the Catholic Church) ออกเมื่อ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1992 ข้อ 1232 24
(ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก ข้อ 199-204)27 ครอบครัว ที่ก�าลังประสบปัญหาต่าง
232-240 และ 253-258)28 และการเป็นผู้ร่วมทาง
241-246)29
(Domestic Church)30,
(RCIA)31
2013
205-231
Ibid, ข้อ 247-252
Ibid, ข้อ 136-141
Ibid, ข้อ 199-204
Ibid, ข้อ ข้อ 232-240 และ 253-258
Ibid, ข้อ 241-246 30 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 24 31 “พิธีรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน”
33 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับความรักในครอบครัว ชื่อ “ความปีติยินดีแห่งความรัก”
โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2016 ข้อ 287-290 34 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน
37
242-243 38 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชื่อ “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ข้อ 27 39 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 163 40 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 30 และ สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 244-246 41 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 27 และ สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปา ฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 247-254 42 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชื่อ “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ข้อ 106-108 43 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 29 44 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ชื่อ “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ข้อ 70-73 45 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 150-156 46 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 32-35 ความเชื่ออย่างมีความหมาย, การถ่ายทอดความเชื่อจากรุ่นสู่รุ่น (ดู ความปีติยินดีแห่งความรัก
(On-going Formation)35 ของคริสตชนในงานด้านต่าง ๆ 39. การเสวนา (Dialogue) และการออกเยี่ยม เปิดโอกาสให้ได้สัมผัสกับสภาพความเป็นจริงทาง สังคม (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 238-241)36 ได้ฟังเสียงของผู้อื่น เพื่อแสวงหาวิธีการที่เหมาะสม สร้างสรรค์ มีเหตุผลสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์37 และตอบสนองต่อความต้องการของผู้คนทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจ (เทียบ แอมะซอนที่รัก ข้อที่ 27)38, ความเป็นหนึ่งเดียวกับพี่น้อง (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 163)39 คริสตชนนิกายอื่น (คริสตสัมพันธ์)40, พี่น้องต่างความเชื่อ (ศาสนสัมพันธ์)41 (ดู แอมะซอนที่รัก ข้อ 106-108)42 กระบวนการในการปลูกฝังความเชื่อให้หยั่งรากลึกลงในวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ (การปรับเข้าสู่วัฒนธรรม)43 (เทียบ แอมะซอนที่รัก ข้อ 70-73)44 รวมถึงผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า ผู้ที่ไม่ยอมรับและผู้ที่ปฏิเสธพระองค์ 40. ทั้งนี้ เพื่อท�าให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างประชากรของพระเจ้า มิตรภาพ (ดู พระคริสต์ ทรงพระชนม์ ข้อ 150-156)45 ระหว่างเพื่อนพี่น้องต่างความเชื่อและวัฒนธรรม ความเป็นครอบครัวเดียวกันใน ชุมชนแห่งความเชื่อ การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างชุมชนแห่งความเชื่ออื่น ความร่วมมือกันในสังฆมณฑล ความ สัมพันธ์ระหว่างสังฆมณฑลอื่น และความสอดคล้องกับนโยบายของพระศาสนจักรสากล หรือพระสันตะปาปา46 25
(Amoris Laetitia)
ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 39-40 35 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 36-37 36 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 238-241
Ibid, ข้อ
ข้อ 287-290)33, งานอภิบาลเด็ก ๆ และเยาวชน (ดู พระคริสตทรงพระชนม์ ข้อ 39-40)34, การสร้างผู้น�าและการอบรมต่อเนื่อง
4.2 การมีส่วนร่วม (Participation) 41. ประชากรของพระเจ้าในสังฆมณฑลจันทบุรี เลียนแบบความสัมพันธ์อันเป็นหนึ่งเดียวของพระ ตรีเอกภาพแสดงออกถึงความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกันและความรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนด้วยจิตส�านึก ในความเชื่อ (Sensus Fidei / Sense of Faith) เพื่อที่จะก้าวเดินไปด้วยกัน จ�าเป็นต้องฟังเสียงของกันและกัน ด้วยความตั้งใจ (Empathy) แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในความชื่นชมยินดีและในความหวังของแต่ละคน โดยอยู่ บนพื้นฐานของความเป็นพี่น้อง (Fraternity) และความเป็นครอบครัวเดียวกัน, และฟังเสียงของพระจิตเจ้าที่อยู่ ในจิตใจของตนเองและในจิตใจของเพื่อนพี่น้อง เพื่อแสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าในการด�าเนินชีวิตประจ�า วัน การท�างานร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อความดีส่วนรวม (Common Good) จะได้ปรากฏในสังฆมณฑลทุกภาคส่วน (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 111)47 42. ความรักฉันน้องพี่ แสดงออกมาให้เห็นได้ด้วยการรับฟังกันและกันด้วยความสุภาพ ความเอื้ออาทร ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความเป็นตัวตน (Identity) การเคารพในความแตกต่างของบุคคล อื่น ลดความเป็นตัวตนของตนเองลง ร่วมทุกข์ร่วมสุข ให้อภัย ส่งเสริมและให้ก�าลังใจซึ่งกันและกัน การต้อนรับ ทุกคนในชุมชน ไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง (no one left behind) ใช้พระพรที่ตนเองได้รับเพื่อส่งเสริมกันและกัน สร้างความเสมอภาค ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกันกับทุกคน ไม่แบ่งแยก ปรับทัศนคติให้สอดคล้องต้อง กันเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมร่วมกัน มีความไวต่อการรับรู้ถึงความต้องการของทุกคนในชุมชน (ดู ความ ชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 52)48 43. ความเป็นหนึ่งเดียวที่แสดงออกมาให้เห็นนี้
สัมผัสแตะต้องได้ และท�าให้ภาพขององค์พระ ผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงเป็นองค์แห่งความรัก (1 ยน 4:20) เป็นจริงท่ามกลางเรา ด้วยการเยี่ยมเยียนและสัมผัสความเป็น จริงในสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีและกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ในการท�างานอยู่ตลอดเวลา (ดู ความชื่นชม ยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 115)49 44. เพื่อที่จะท�าให้เกิดการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียว ประชากรของพระเจ้าทุกคนจะต้อง ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างจริงจัง สามารถท�างานร่วมกับคนอื่นได้ในทุกระดับทุกองค์กร ให้ความ ร่วมมือ ยืดหยุ่นในวิธีการท�างาน การปรับกระบวนการท�างานให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชุมชนและ ความต้องการพื้นฐานของแต่ละคน โปร่งใส สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พึ่งพาอาศัย กัน และขึ้นต่อกันและกัน50 47 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 111 48 Ibid, ข้อ 52 49 Ibid, ข้อ 115 50 Ibid, ข้อ 119 26
จะเป็น “ประจักษ์พยาน” (Testimony) ถึงจิตส�านึก แห่งความเชื่อที่มีอยู่ภายในให้ปรากฏออกมาในชุมชนแห่งความเชื่ออย่างเป็นรูปธรรม ท่ามกลางเพื่อนพี่น้องที่มี ความแตกต่างหลากหลายที่ต้องการเห็นความเชื่อคริสตชนที่มีชีวิต
45. การท�างานในยุคปัจจุบัน ต้องปรับกระบวนการ วิธีการ เครื่องมือ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยี การสื่อสารให้เหมาะสมกับคนวัยต่าง ๆ ให้มีช่องทางอันหลากหลาย51 ในการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ตอบข้อ สงสัย ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ เชิงรุก เข้าถึงและเข้าใจง่าย ชัดเจน (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 86-90)52 โดยไม่ ละทิ้งสื่อดั้งเดิมที่ยังคงมีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และยังคงอยู่ในความต้องการของคนบางกลุ่มอยู่ ทั้งนี้ องค์กร ทุกภาคส่วนในทุกระดับจะต้องก้าวเดินไปในทิศทางเดียวกัน หรือด�าเนินการให้เป้าหมายของส่วนรวมที่ได้ตั้งเอา ไว้บรรลุวัตถุประสงค์ อาศัยความร่วมมือ การวางแผน ประสานงาน การท�างานร่วมกันอย่างจริงจัง การติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ 46. โรงเรียนคาทอลิกยังเป็นสถานที่แห่งการอภิบาล การแพร่ธรรม และการประกาศข่าวดีที่ส�าคัญ ให้ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 221-223)53 คุณครู ผู้ปกครอง บาทหลวง นักบวชชาย-หญิง พี่น้องต่างความเชื่อและต่างวัฒนธรรม ต่างเชื้อชาติ เจ้าหน้าที่ และบุคลากรด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การพัฒนาคนทั้งครบไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 47. ชุมชนแห่งความเชื่อจะต้องส่งเสริมบทบาท หน้าที่ การมีส่วนร่วมของสัตบุรุษทุกคนตามความ สามารถ และความเป็นจริงของชีวิต สร้างผู้น�า ฆราวาส 54 ผู้น�าเยาวชน (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 158-162) 55 ส�าหรับการท�างานในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานอภิบาลเยาวชน สตรี (ดู ความชื่นชม ยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 103-104)56 อภิบาลครอบครัว ผู้สูงอายุ การส่งเสริมกิจศรัทธาต่าง ๆ การดูแลผู้อ่อนแอ ในสังคม (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ
คนยากจน
(ดู พระ คริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 91-94)58 ผู้พิการ การส่งเสริมกระแสเรียก การดูแลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความต้องการ เร่งด่วนของชุมชนที่เกิดจากเสียงเรียกร้องของชุมชน และการฟังเสียงของผู้ที่ไม่มีโอกาสได้ออกเสียง (the voice of the voiceless) ในสังคมด้วย (เทียบ แอมะซอนที่รัก ข้อ 63)59 51 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 39 52 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 86-90 53 Ibid, ข้อ 221-223 54 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 36-38 และ สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปา ปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 130 55 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 158-162 56 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 103-104 57 Ibid, ข้อ 209-216 58 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 91-94 59 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมชื่อ “แอมะซอนที่รัก” (Querida Amazonia) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ข้อ 63 27
209-216)57
ผู้อพยพหรือแรงงานย้ายถิ่น
4.3 พันธกิจ (Mission) 48. ประชากรของพระเจ้าทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี มีความส�านึกในความเชื่อ (Sensus Fidei) ซึ่ง ได้รับมาจากศีลล้างบาป ท�าให้มีส่วนร่วมในชีวิตพระตรีเอกภาพ (ดู CCC ข้อ 1266)60 ในการท�าหน้าที่ 3 ประการ ตามบทบาทหน้าที่ของตนในชีวิตประจ�าวันด้วยความรับผิดชอบ ได้แก่ 1) การเป็นประกาศก คือ หน้าที่ในการ ประกาศและในการเป็นประจักษ์พยาน 2) การเป็นพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสวดภาวนาและสร้างความศักดิ์สิทธิ์ ให้กับโลก และ 3) กษัตริย์ คือ หน้าที่ในการปกครองดูแล และการรับใช้ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจน61 49. ด้วยความส�านึกนี้ เรียกร้องให้คริสตชนทุกคนมีภารกิจในการเป็นผู้ประกาศข่าวดีตามกระแส เรียกที่ตนเองได้รับ เพื่อท�าให้ค�าสั่งของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นจริงที่ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศ ข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก 16:15) การออกไปประกาศนี้ก็เท่ากับความพยายามที่จะท�าให้โลกได้เป็นหนึ่งเดียว และมีส่วนร่วมต่อกัน เฉกเช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในพระตรีเอกภาพ การประกาศข่าวดีนี้ท�าให้ค�าสั่งของพระเยซู คริสตเจ้าเป็นจริง และเป็นการใช้พระพรของพระจิตเจ้าให้บังเกิดผลในชีวิตประจ�าวันของเรา62 50. เมื่อบรรดาคริสตชนได้เป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกันอย่างแท้จริง จะท�าให้ภาพของพระกายทิพย์ของ พระคริสตเจ้า (เทียบ คส 1:18 และ อฟ 4:25)63 ปรากฏขึ้นท่ามกลางเพื่อนพี่น้องทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พิธีกรรมต่าง ๆ ของพระศาสนจักร การประกอบและการให้บริการศีลศักดิ์สิทธิ์64 ซึ่งมีองค์พระเยซูคริสตเจ้าเป็น ศูนย์กลางระหว่างพระเป็นเจ้าและมนุษย์ชาติ ได้ท�าให้ธรรมชาติของพระศาสนจักรที่เป็น “ศีลศักดิ์สิทธิ์” เพื่อน�า พระพรและความรอดพ้นมาสู่โลกได้เป็นจริง (เทียบ CCC 774-776)65 51. ภารกิจแห่งการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันนี้ เรียกร้องให้เกิดการกลับใจอย่างแท้จริง 66 ที่ แสดงออกถึงการรับฟังกันและกันด้วยความเข้าใจ การยอมรับผู้อื่น ความเอื้ออาทร ความจริงใจ และการรับใช้ ซึ่งกันและกัน เฉกเช่นเดียวกับความเป็นหนึ่งเดียวกันในศีลมหาสนิท ภารกิจนี้จึงมุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันใน ทุกระดับ ทั้งภายในพระศาสนจักรและภายนอกพระศาสนจักร อย่างไม่มีขอบเขตและเงื่อนไข (เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เพศ ความคิดเห็นอันหลากหลายทางด้านความเชื่อ การเมือง ปรัชญา รูปแบบการด�าเนินชีวิต ฯลฯ) แต่ด้วยความเคารพในสิทธิ เสรีภาพ อิสรภาพ เกียรติ ศักดิ์ศรี ในการไตร่ตรองเครื่องหมายแห่งกาลเวลา รวมถึง สิ่งสร้างทั้งหลายของพระเจ้าด้วย67 60 “ค�าสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” (Catechism of the Catholic Church) ออกเมื่อ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1992 ข้อ 1266 61 Ibid, ข้อ 783-786 62 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 9-10 63 “ค�าสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” (Catechism of the Catholic Church) ออกเมื่อ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1992 ข้อ 1267 64 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 35 65 “ค�าสอนพระศาสนจักรคาทอลิก” (Catechism of the Catholic Church) ออกเมื่อ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1992 ข้อ 774-776 66 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 25 67 Ibid, ข้อ 27-33 28
68 “วิธีการท�างานที่สร้างสรรค์” คือ การใช้วิธีการที่ใหม่ หรือ วิธีการที่ไม่เคยใช้มาก่อน ที่ได้ผลดีกว่าเดิม 69 สมณลิขิตเตือนใจชื่อ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Guadium) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 ข้อ 234-237 70 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 34 52. พันธกิจแห่งการมีส่วนร่วม เรียกร้องให้ ทุกฝ่าย แผนก หน่วยงาน องค์กร วัด โรงเรียน สาม เณราลัย ตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล ตลอดจนสถาบันนักบวชชาย-หญิง ครอบครัว จนกระทั่ง คริสตชนแต่ละคน ร่วมมือกันท�างานอย่างจริงจัง สร้างสรรค์68ต่อเนื่อง โดย ก) มีการวางแผนการท�างานที่ดี มี การปรับกระบวนการ (Process) และวิธีการท�างาน (Methodology) ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือสภาพ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาท�างานร่วมกัน การฟังข้อเสนอแนะของทุก ๆ คน ทบทวน ประเมินผล และพัฒนาให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา (ดู ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร ข้อ 234-237)69 ข) ด�าเนินชีวิต ประจ�าวันเป็นประจักษ์พยาน (Testimony) ถึงจิตตารมณ์พระวรสาร และยึดมั่นในค�าสั่งสอนของพระศาสนจักร เพื่อก้าวเดินไปสู่ความสมบูรณ์ในองค์พระเยซูคริสตเจ้า (เทียบ ยน 10:10) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความรัก ความ เมตตา การรับใช้เพื่อนพี่น้องทุกคนในสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุถึงความเป็นหนึ่งเดียวและการมีส่วนร่วมด้วยกัน โดยมีตัวบ่งชี้ถึงความส�าเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน70 29
บทที่ 5 พระนางมารีย์ผู้ก้าวเดินไปด้วยกันในพระศาสนจักร71 53. พระนางมารีย์เป็น “แบบอย่างของผู้ที่มีความเชื่อ” และติดตามพระเยซูคริสตเจ้าในหนทาง ของพระองค์ตั้งแต่ทรงปฏิสนธิด้วยพระจิตเจ้าจนกระทั่งถึงภูเขากัลวารีโอ (ดู พระคริสต์ทรงพระชนม์ ข้อ 43)72 พระนางจึงเป็น “นักเดินทาง” ตั้งแต่ได้รับสารจากอัครทูตกาเบรียล พระนางได้เดินทางด้วยความกระตือรือร้น ไปรับใช้นางเอลิซาเบธญาติของเธอซึ่งตั้งครรภ์ด้วยพระจิตเจ้าเช่นเดียวกัน 54. ตลอดชีวิตของพระนางได้เดินทางอันยาวไกลหลายครั้ง เช่นเดียวกับบรรดา “ประกาศก” ที่เดิน ทางออกไปประกาศข่าวดี จากเมืองเบธเลเฮมไปประเทศอียิปต์เพราะหนีการเบียดเบียนจากกษัตริย์เฮโรด จาก ประเทศอียิปต์กลับมาประเทศอิสราเอล จากเมืองนาซาเร็ธไปกรุงเยรูซาเล็ม นั่นแสดงให้เราเห็นว่า พระนางได้ ทุ่มเท เสียสละ อุทิศตน เพื่อด�าเนินชีวิตตามแผนการของพระเจ้า และปกป้องดูแลพระเยซูคริสตเจ้าในวัยเยาว์ ชีวิตที่เรียบง่ายและเปราะบางของพระนางได้ประกาศความยิ่งใหญ่และการประทับอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ของพระเจ้า เพื่อบันดาลความศักดิ์สิทธิ์ให้แด่มนุษย์ทุกคน 55. พระนางมารีย์ได้มีส่วนร่วมท�าให้แผนการไถ่กู้ของพระเป็นเจ้าส�าเร็จไปในพระบุตรของพระองค์ ดังเช่นงานเลี้ยงสมรสที่เมืองคานา (ยน 2) เมื่อพระนางมารีย์มั่นใจว่าจะมีเหล้าองุ่นเพียงพอส�าหรับแขกทุกคน จน กระทั่งแทบเชิงไม้กางเขนด้วยความระทมทุกข์ เมื่อ “พระมารดาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา” ต้อง พลัดพรากจากบุตรสุดที่รัก 56. คริสตชนจึงควรเลียนแบบพระนางมารีย์ ในการเดินทางติดตามองค์พระเยซูคริสตเจ้า ในหนทาง ที่พระองค์ได้เตรียมไว้ให้กับเราในชีวิตประจ�าวัน การเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อ และการเป็นบุคคลที่เต็ม เปี่ยมไปด้วยความรักเมตตา และการยอมรับว่า “ตนเองเป็นผู้ที่ขัดสน บาดเจ็บ ทุกข์ทรมาน” เพื่อเปิดช่องว่าง ให้พระเป็นเจ้าได้เข้ามาท�างานในชีวิตของเรา เพื่อเราจะได้เป็นหนึ่งเดียวในแผนการของพระองค์ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง การก้าวเดินไปในพันปีที่สามพร้อมกับผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วทุกคนในโลกใบนี้ 57. บทภาวนาเพื่อการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ พระองค์ทรงเดินเคียงข้างมนุษยชาติตลอดประวัติศาสตร์แห่งความ รอด ทรงส่งพระเยซูคริสตเจ้าพระบุตรของพระองค์ มาเป็นหนทางให้ข้าพเจ้าทั้งหลายเดินทางไปพร้อมกับพระองค์ ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร อีกทั้งยังหล่อเลี้ยงข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธิ์ ขอพระองค์ประทานพระพรให้กับการท�าสมัชชาของสังฆมณฑลจันทบุรี ให้เป็นไปตามพระประสงค์ของ พระองค์ และการดลใจของพระจิตเจ้า ให้ข้าพเจ้าทั้งหลายฟังเสียงของกันและกัน และเสียงของพระจิตเจ้า เพื่อ ปรับปรุงตนเอง และเปลี่ยนแปลงพระศาสนจักรให้ก้าวหน้า เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งความรอดของพระองค์ใน โลกยุคปัจจุบัน โปรดให้ข้าพเจ้าทั้งหลายก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยกัน ในความเป็นหนึ่งเดียว การมีส่วนร่วม และพันธ กิจ จนกว่าจะบรรลุถึงความสมบูรณ์ในพระบุตรของพระองค์ ลูกวอนขอทั้งนี้ อาศัยพระบารมีพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย อาแมน พระนางมารีย์ปฏิสนธินิรมล องค์อุปถัมภ์ของสังฆมณฑลจันทบุรี ช่วยวิงวอนเทอญ 71 จากบทเทศน์ของพระสันตะปาปาฟรังซิส ณ แสวงบุญสถานแห่งชาติ เมืองซาสติน ประเทศสโลวาเกีย เมื่อวันพุธที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2021 72 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเกี่ยวกับเยาวชน ชื่อ “พระคริสต์ทรงพระชนม์” (Christus Vivit) โดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2019 ข้อ 43 30
แถลงการณ์สมัชชา สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ตามกระบวนการสมัชชาบิชอปสากล สมัยสามัญครั้งที่ 16 ค.ศ. 2021-2023 หัวข้อ “เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน: ความเป็นหนึ่งเดียว การมีส่วนร่วม และพันธกิจ” 31
1. สังฆมณฑลจันทบุรี ได้ด�าเนินการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ตามพระด�าริของ พระสันตะปาปาฟรังซิส เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกันในพันปีที่สาม ได้เรียกให้ประชากรของ พระเจ้าทุกคนปลุกจิตส�านึกในความเชื่อ (Sensus fidei) โดยให้แต่ละคนฟังเสียงของกันและกัน และให้ ทุกคนฟังเสียงของพระจิตเจ้า เพื่อแสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าส�าหรับชีวิตประจ�าวันของตนเองตาม กระแสเรียกที่ได้รับ ประชากรของพระเจ้าทุกคนได้กลับใจโดยเฉพาะด้านชีวิตจิต ด้านอภิบาลและด้าน ธรรมทูต โดยด�าเนินชีวิตตามกระแสเรียกและปฏิบัติพันธกิจอย่างซื่อสัตย์ตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยความรับผิดชอบ ส� าหรับพันธกิจการประกาศข่าวดีเรื่องพระคริสตเจ้า การไตร่ตรองวินิจฉัยร่วมกัน ถึงเครื่องหมายแห่งกาลเวลาตามแสงสว่างแห่งคุณค่าพระวรสาร และมองไปยังขอบฟ้าใหม่ที่พระองค์ ประทานให้กับเรา ก. กระบวนการจัดสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 2. คณะกรรมการเตรียมการสมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ได้ด�าเนินการสมัชชาตามกระบวนการ ที่ส�านักเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล (The Secretariat of the Synod of Bishops) ให้ค�าแนะน�า คือ ได้จัดท�าแนวทางการสมัชชา (Lineamenta) และการออกแบบสอบถามเพื่อเตรียมการสมัชชา (Questionnaire) จ�านวน 541 ชุด โดยส่งไปยังบิชอป บาทหลวง นักบวชชาย-หญิง ผู้ที่ท�างานตามโครงสร้างการ ท�างานของสังฆมณฑล ตัวแทนสัตบุรุษตามแขวงและวัดต่าง ๆ เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ พี่น้องคริสตชน ต่างนิกาย และพี่น้องต่างความเชื่อ โดยได้รับแบบสอบถามกลับมาจ�านวน 512 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.64 ของแบบสอบถามทั้งหมดที่ส่งไป 3. คณะกรรมการเตรียมการสมัชชาฯ ได้น�าข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ร่วมกับข้อเสนอแนะของบาทหลวง นักบวชชาย-หญิง และคริสตชนฆราวาสตามแขวงต่างๆ (ซึ่งมีจ�านวน 5 แขวง คือ แขวงจันทบุรี แขวงศรีราชา แขวงหัวไผ่ แขวงปราจีนบุรี และแขวงสระแก้ว) เอกสารอื่นๆ ที่ออกโดยส�านักเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล เช่น คู่มือการท�าสมัชชา (Vademecum) เอกสารเพื่อการเตรียมสมัชชา (Preparatory Document) และเอกสารทางการต่างๆ ของพระศาสนจักร ที่ออกโดยพระสันตะปาปาฟรังซิส เป็นเอกสารประกอบการสมัชชา (Instrumentum Laboris) เพื่อใช้ ในการประชุมใหญ่ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 ซึ่งสมาชิกสมัชชาแสดงความคิดเห็น กันในกลุ่มย่อย และน�าเสนอในที่ประชุมใหญ่ 4. คณะกรรมการจัดเตรียมสมัชชาฯ ได้รวบรวมข้อเสนอต่าง ๆ จัดท�าร่างแถลงการณ์สมัชชา สังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ส่งให้สมาชิกสมัชชาเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและน�าเสนอในการประชุม ใหญ่ครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2021 โดยมีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อทบทวน อภิปราย แสดง ความคิดเห็น และที่สุดมีการลงมติข้อเสนอแต่ละข้อในที่ประชุมใหญ่เพื่อจัดท�าแถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑล จันทบุรี ค.ศ. 2021 ฉบับสมบูรณ์ บทนำา 32
ข. สภาพความเป็นจริงของสังฆมณฑลจันทบุรีในปัจจุบัน 5. การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้ส่งผลกระทบท�าให้พื้นที่ในภาคตะวันออกของ ประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี ได้มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวของ สังคมเมือง เขตอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การค้า การขนส่ง การพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์ การเกษตร เชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก การพัฒนาด้านการขนส่งมวลชนทั้งทางบก ทางน�้า และทางอากาศ 6. ความเจริญก้าวหน้าเหล่านี้ ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีการด�าเนินชีวิตของผู้คน การอพยพ ย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้ามาประกอบอาชีพทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ความแตกต่างหลากหลายทางด้าน เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป มลภาวะเป็นพิษ ความ แออัด คุณค่าและศักดิ์ศรีรวมถึงสิทธิและเสรีภาพของความเป็นมนุษย์ถูกลดทอน เกิดช่องว่างระหว่าง คนที่ร�่ารวยและคนยากจน การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย ธุรกิจที่ผิดกฎหมายและการ ไม่สนใจต่อจริยธรรมและศีลธรรม 7. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้เปลี่ยนรูปแบบการด�าเนินชีวิตของ ผู้คนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก และกลายเป็นส่วนส�าคัญของการด�าเนินชีวิต การสื่อสารที่รวดเร็วได้ท�าให้ พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารระหว่างกันและกัน การด�าเนินธุรกิจการค้า ในโลกออนไลน์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วและหลากหลาย การแบ่งกลุ่มของบุคคล ที่ใช้ช่องทางการ สื่อสาร (Communication Channel) ที่แตกต่างกัน ท�าให้เกิดช่องว่างในการติดต่อสื่อสารระหว่างวัย ระหว่างกลุ่มบุคคล เช่น การเมือง ศาสนา หรือทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ 8. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ท�าให้เกิดผลกระทบต่อผู้คน ในทุกระดับ ทั้งภายในและภายนอกพระศาสนจักร เช่น มาตรการห้ามการเดินทาง ห้ามการชุมนุมกันเป็น จ�านวนมาก ท�าให้บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารมีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดกิจกรรมต่าง ๆ แบบออนไลน์ ได้แก่ การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ พิธีกรรม การประชุม การท�างาน การเรียน ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนวัด โรงเรียน ธุรกิจการค้า การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร การปิด ตัวลงของกิจการหลายแห่ง เศรษฐกิจตกต�่า ส่งผลกระทบให้ผู้คนตกงาน หรือเดินทางกลับภูมิล�าเนาเดิม 33
บทที่ 1 ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) 9. คริสตชนทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี มีจิตส� านึกในความเชื่อ (Sensus fidei) อันได้รับมาจาก ศีลล้างบาป จิตส�านึกนี้เรียกร้องให้แต่ละคนด�าเนินชีวิตเลียนแบบพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นหนทาง ความจริง และชีวิต (ยน 14:6) เป็นศิษย์พระคริสต์ที่แท้จริงด้วยการด�าเนินชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า (The Word of God) ไม่ผิดหลงไปจากธรรมประเพณีของพระศาสนจักร (Tradition) และปฏิบัติตามค�าสั่งสอนของพระศาสนจักร (Magisterium) ที่สืบทอดมาจากบรรดาอัครสาวก โดยปรับให้เข้ากับกระแสเรียก และการด�าเนินชีวิตประจ�าวัน ของแต่ละคน 10. ชุมชนศิษย์พระคริสต์หรือชุมชนวัด (Parish Church) ต้องได้รับการหล่อหลอมและเสริมสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวกันให้ปรากฏขึ้นทั้งในระหว่างคริสตชนและกับเพื่อนพี่น้องทุกคนที่อยู่โดยรอบ พิธีบูชา ขอบพระคุณในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันพระเจ้าต้องเป็นหัวใจของความเป็นหนึ่งเดียวกันของชีวิตและพันธกิจของ ชุมชนวัด นอกจากนี้ ควรส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนแห่งความเชื่อใกล้เคียง หรือในระดับ แขวงและระดับสังฆมณฑล ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ พิธีบวชบาทหลวง เป็นต้น 11. การรวมตัวกันของกลุ่มคริสตชนนี้ ควรเลียนแบบการด� าเนินชีวิตของกลุ่มคริสตชนแรกเริ่ม กล่าว คือ การมีความสนิทสัมพันธ์กับพระเจ้าและเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องอย่างแท้จริง ซึ่งสามารถแสดงออกมาให้ เห็นได้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ความเชื่อซึ่งมาจากการไตร่ตรองและเจริญชีวิตตามพระวาจาของพระเจ้า ความลุ่มลึกในการสวดภาวนา และนมัสการพระเจ้าร่วมกันในพิธีกรรมต่าง ๆ การด�าเนินชีวิตด้วยความชื่นชมยินดี กับพี่น้องทุกคน ร่วมวินิจฉัยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน และการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ขัดสน (เทียบ กจ 2:42-47) 12. หน่วยงานตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล ได้แก่ ส�านักงานสังฆมณฑล (The Diocesan Curia) สภาบาทหลวง คณะที่ปรึกษา กรรมการบริหารสังฆมณฑล วัด โรงเรียน สามเณราลัย องค์กร คาทอลิก ฯลฯ ต้องร่วมกันสร้างความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน (Communion) ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นด้วยการมี ส่วนร่วมระหว่างกัน (Participation) และปฏิบัติตามหน้าที่หรือพันธกิจ (Mission) ของตนเองด้วยความรับผิด ชอบเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนอภิบาลของสังฆมณฑลทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านอภิบาล 2) ด้านธรรมทูต 3) ด้านสังคม 4) ด้านการศึกษาอบรม 5) ด้านสื่อสารสังคม และ 6) ด้านบริหารจัดการ 13. คริสตชนทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี มีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างจริงจังใน ทุกภาคส่วนและทุกระดับ เช่น ครอบครัว ชุมชน วัด โรงเรียน แขวง สังฆมณฑล ด้วยการฟังเสียงของกันและกัน ด้วยความสุภาพและอดทน ผ่อนหนักผ่อนเบา ยืดหยุ่น มีที่ว่างส�าหรับทุกความคิดเห็น ความเป็นหนึ่งเดียวกัน นี้รวมความถึง ความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกับคริสตชนต่างนิกาย (Ecumenism) พี่น้องต่างความเชื่อ (Interfaith Dialogue) องค์กรรัฐหรือเอกชนที่อยู่ในชุมชน ความร่วมมือกันระหว่างสังฆมณฑลอื่น ๆ ความเกี่ยวข้องกับพระ ศาสนจักรระดับทวีป ความสัมพันธ์กับพระศาสนจักรสากล และพระสันตะปาปา 34
บทที่ 2 การมีส่วนร่วม (Participation) 14. คริสตชนทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี มีส่วนร่วมตามบทบาทและหน้าที่ของตนด้วยความรับผิด ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธกิจที่ได้รับมาจากศีลล้างบาป (The Three Offices of Christ) นั่นคือ 1) การเป็น ประกาศก คือ หน้าที่ในการประกาศข่าวดี การถ่ายทอดความเชื่อและเป็นพยานยืนยันถึงองค์พระเยซูคริสตเจ้า 2) การเป็นสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสวดภาวนา การเฉลิมฉลองพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ และ 3) การเป็นกษัตริย์ คือ หน้าที่ในการรับใช้ซึ่งกันและกันตามแบบอย่างของพระเยซูคริสตเจ้า 15. หน่วยงานตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ จริงจัง เน้นการท�างานเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านจิตตารมณ์มากกว่าความเจริญทางด้านวัตถุสิ่งของ การ มีทัศนคติที่ดีในการท�างานร่วมกัน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การท�างานด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ การปรับ เปลี่ยนโครงสร้างการท�างานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การยอมรับและฟังความคิดเห็นของกันและ กัน การมีใจโอบอ้อมอารี ความจริงใจ ความซื่อสัตย์ ความโปร่งใส การเห็นต่อความดีของส่วนรวม (Common Good) การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือกฎระเบียบของการท� า งานอย่างจริงจัง ยุติธรรม การยืดหยุ่นในวิธีการ ท�างาน การเตรียมบุคลากรให้พร้อมและเหมาะสมกับเป้าหมายของการท�างาน การส่งเสริมการอบรมต่อเนื่อง (On-going Formation) ในทุกระดับ ทั้งนี้ โดยมีส�านักงานสังฆมณฑล (Diocesan Curia) และคณะกรรมการ บริหารสังฆมณฑล เป็นผู้ประสานงานการท�างานในแต่ละระดับร่วมกัน มีการวางแผนร่วมกัน การด�าเนินตามแผน และมีการประเมินผลอย่างเป็นระบบ 16. ส่งเสริมบทบาท หน้าที่ และพัฒนาคริสตชนฆราวาส ให้มีส่วนร่วมในพันธกิจต่าง ๆ ของพระ ศาสนจักรตามความสามารถในทุกระดับ ตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล และสภาพความเป็นจริง ในชีวิตของพวกเขา โดยอบรมให้ความรู้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านจิตตารมณ์ต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างวุฒิภาวะทางด้านความเชื่อ (Maturity of Faith) และการตอบรับการท�าหน้าที่ตามกระแสเรียก 17. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ที่เหมาะสม เข้าใจง่าย ชัดเจน และน่าสนใจ เพื่อการท�างานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสรรค์ ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และตรงต่อความ ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อศึกษา (Media Study) ต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ อย่างถูก ต้องและเหมาะสม 18. เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างแท้จริง และความส�าเร็จของพันธกิจ ในแต่ละระดับ หน่วย งานและองค์กรต่าง ๆ ของสังฆมณฑลจ�าเป็นต้องท�างานแบบบูรณาการ โดยประสานความร่วมมือระหว่างหน่วย งาน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเหลือกันท�างานตามบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และพระพร พิเศษที่แต่ละคนได้รับ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ทั้งครบ และเพื่อความดีของสังคมส่วนรวมร่วมกัน 35
บทที่ 3 พันธกิจ (Mission) 19. คริสตชนทุกคนมีหน้าที่ในการประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงรับทนทุกข์ทรมาน สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนพระชนมชีพ (Kerygma) ตามค�าสั่งของพระเยซูคริสตเจ้าที่ว่า “ท่านทั้งหลายจง ออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก 16:15) พันธกิจนี้อยู่บนพื้นฐานของการเคารพต่อสิทธิและ เสรีภาพ การให้เกียรติต่อวัฒนธรรมอันหลากหลาย ภูมิปัญญาท้องถิ่น และปรัชญาในการด�าเนินชีวิต ซึ่งแสดงให้ เห็นถึงความงดงามที่มีอยู่ในวัฒนธรรมต่าง ๆ (ดู NA ข้อ 1-5) 20. “ชุมชนวัด” (Parish Church) ต้องเป็นศูนย์กลางของประชากรของพระเจ้าที่แสดงออกร่วมกัน ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของทุกคนในชุมชน การมีส่วนร่วม และพันธกิจให้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่าง ยิ่ง ในพิธีบูชาขอบพระคุณวันอาทิตย์ พิธีกรรมต่าง ๆ การส่งเสริมการอ่านและการอธิบายพระวาจาของพระเจ้า การเทศน์สอนที่เข้าใจง่าย กระชับ และสามารถน�าไปใช้ในชีวิตประจ�าวันได้ การสนับสนุนงานองค์กร การสอน ค�าสอนและการถ่ายทอดความเชื่อโดยน�ากระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน หรือ RCIA มาปรับใช้ เน้นการ ออกเยี่ยมเด็ก เยาวชน ครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย ผู้ถูกทอดทิ้ง คนยากจน ผู้พิการ ผู้ที่ทิ้งวัด ผู้อยู่ห่างไกลวัด รวมทั้งผู้ถือต่างความเชื่อในชุมชน 21. “วิถีชุมชนวัด” (Basic Ecclesial Community หรือ BEC) เป็นจิตตารมณ์หรือกระบวนการ ฟื้นฟูความเชื่อของคริสตชน ที่จะท�าให้คริสตชนที่อาศัยอยู่รอบ ๆ เขตวัดและที่ห่างไกล ได้มีโอกาสรวมตัวกันตามรูป แบบของคริสตชนสมัยแรกเริ่ม ในการอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ การสวดภาวนาร่วมกัน การแบ่งปันประสบการณ์ ความเชื่อ การด�าเนินชีวิตร่วมกันฉันพี่น้อง การเป็นประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสารท่ามกลางเพื่อนพี่น้องต่าง ความเชื่อและวัฒนธรรม การวินิจฉัยและแก้ปัญหาร่วมกัน การให้ความช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องที่ขัดสน เพื่อที่จะ ท�าให้อาณาจักรพระเจ้าปรากฏท่ามกลางพวกเขา (เทียบ กจ 2:42-47) ดังนั้น เพื่อที่จะท�าให้ภาพต่าง ๆ เหล่านี้ ปรากฏขึ้นอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ชุมชนวัดต้องสนับสนุนและส่งเสริมจิตตารมณ์แห่งการเป็นคริสตชนขั้นพื้นฐาน สร้างผู้น�าคริสตชนฆราวาสและเครือข่ายในการท�างานทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ทั้งในระดับวัดและในระดับสังฆมณฑล อย่างต่อเนื่อง ส�าหรับการน�าจิตตารมณ์นี้ไปปรับใช้ในมิติต่าง ๆ ของชุมชนแห่งความเชื่อ 22. “สถานศึกษาคาทอลิก” เป็นสนามงานอภิบาลและการประกาศข่าวดีส�าหรับทุกคน ดังนั้น สถาน ศึกษาคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษาเพื่อบ่มเพาะทุกคนด้วย คุณค่าพระวรสาร ตามเอกลักษณ์และอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก เน้นการปฏิบัติตามค�าสัญญาของโลกเพื่อการ ศึกษา (Global Compact on Education) โดยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและประสานความร่วมมือของทุก ๆ ฝ่ายในการจัดการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาความเป็นบุคคลในทุกมิติของชีวิต การวินิจฉัยและ แก้ปัญหาร่วมกันอีกทั้งให้ความส�าคัญในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเหมาะสม 36
23. “การสอนค�าสอนและการถ่ายทอดความเชื่อ” (Catechesis and Transmission of Faith) ต้องสร้างความตระหนักว่าการสอนค�าสอนเป็นหน้าที่ของคริสตชนทุกคน ที่จะต้องร่วมกันท�าให้เกิดบรรยากาศแห่ง การถ่ายทอดความเชื่อให้เกิดขึ้นในทุกระดับ และบริบทชีวิตอันหลากหลาย เช่น ในครอบครัว โรงเรียนคาทอลิก ชุมชนวัด การเสวนาร่วมกันในการด�าเนินชีวิต และในโอกาสต่าง ๆ ชุมชนวัดและโรงเรียนคาทอลิก ควรสร้างและ ส่งเสริมจ�านวนครูค�าสอนให้เพียงพอ อีกทั้งพัฒนาวิธีการสอนค�าสอนและสร้างสื่อการสอนให้ถูกต้อง เหมาะสม กับผู้เรียนในแต่ละวัย และวิถีชีวิตอันหลากหลาย ส่งเสริมงานอภิบาลเด็กและเยาวชนให้เกิดขึ้นในชุมชนเพื่อมุ่ง ไปสู่การสร้างกลุ่มต่าง ๆ เช่น กลุ่มเด็กช่วยมิสซา นักขับร้อง เยาวชน ฯลฯ 24. “พระศาสนจักรของผู้ยากจน” (The Church of the Poor) เน้นการท�างานตามโครงสร้าง การท�างานพัฒนา และอภิบาลด้านสังคมของสังฆมณฑล ด้วยการสร้างจิตตารมณ์แห่งความรักและรับใช้ผู้ที่มีความ ทุกข์ยากและปรารถนาให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกมิติของชีวิต ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวัตถุสิ่งของ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การท�ากิจเมตตาสงเคราะห์ (Works of Charity) ต่อผู้ที่เดือดร้อนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ผู้ยากจน ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วย ผู้ถูกจองจ�า ผู้อพยพ ผู้ใช้แรงงานต่างชาติ ผู้เดินทางทะเล การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ การ ปกป้องและให้ความช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงและการค้ามนุษย์ การ สร้างความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค ให้กับผู้ด้อยโอกาส การดูแลรักษาโลก บ้านที่เราอาศัยอยู่ ร่วมกัน และการให้ความรู้แก่บรรดาสัตบุรุษในเรื่องค�าสอนพระศาสนจักรด้านสังคม 25. “งานอภิบาลเยาวชน” (Youth Ministry) มุ่งเน้นการปลูกฝัง และการถ่ายทอดความเชื่อไปสู่ บรรดาเยาวชน การฟังเสียงความต้องการของพวกเขา และส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของเยาวชนในการมีส่วนร่วม ในด้านต่าง ๆ ของชุมชนวัด การสร้างผู้น�าเยาวชนเพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต ด้วยการอบรมให้ ความรู้ การรู้จักแยกแยะและเลือกหนทางการด�าเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และ หลักค�าสอนของศาสนา การให้ความช่วยเหลือเยาวชนที่ประสบปัญหาด้านต่าง ๆ การท�ากิจกรรมสร้างสรรค์ร่วม กัน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในระดับวัด โรงเรียน ระดับแขวง และระดับสังฆมณฑล การ ส่งเสริมงานองค์กรคาทอลิกในโรงเรียน การสร้างกลุ่มนิสิตคาทอลิกในระดับอุดมศึกษา การส่งเสริมกระแสเรียก การเป็นบาทหลวงและนักบวชชาย-หญิงมากยิ่งขึ้น 26. “งานอภิบาลครอบครัว” (Family Ministry) สนับสนุนให้ครอบครัวเป็นพระศาสนจักรระดับ บ้าน (The Domestic Church) โดยมีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นผู้ถ่ายทอดความเชื่อให้กับลูกหลาน การสอนค�าสอน คู่สมรสส�าหรับการสร้างครอบครัวใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่สมรสที่แต่งงานแบบต่างฝ่ายต่างถือศาสนา (Disparity of Cult) ส่งเสริมการอภิบาลครอบครัวคริสตชนทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคู่สมรสใหม่ในช่วง 5 ปี แรกของการสมรส รวมถึงครอบครัวที่ล้มเหลว การสร้างทีมงานผู้เชี่ยวชาญ เพิ่มช่องทางการให้ค� าปรึกษาเรื่อง ครอบครัวอย่างถูกต้องและเพียงพอ 37
27. “การประกาศข่าวดี” (Evangelization) ส่งเสริมการอบรม ปลุกจิตส�านึก และสร้างจิต ตารมณ์การประกาศข่าวดีให้กับคริสตชนทุกคน โดยการสร้างสื่อเทคโนโลยีทุกรูปแบบ สนับสนุนและส่งเสริมให้ เกิดงานการประกาศข่าวดี ได้แก่ ศาสนสัมพันธ์ (Interfaith Dialogue) คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ (Ecumenism) งานยุวธรรมทูต (Holy Childhood) โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ยังไม่รู้จักพระคริสตเจ้า หรือผู้ที่ไม่เชื่อสู่ความ เชื่อ (Missio ad gentes) ผู้ที่เชื่อแล้วให้มีความเชื่อที่ลึกซึ้งขึ้น (Missio ecclesiae) ผู้ที่รับศีลล้างบาปแล้วแต่ไม่ ได้ด�าเนินชีวิตตามความเชื่อ (Re-evangelization) โดยการเสวนา (Dialogue) และการปรับความเชื่อให้เข้าสู่ วัฒนธรรม (Inculturation) 28. “การบริหารจัดการ” (Administration) ทุกฝ่าย หน่วยงาน องค์กร ฯลฯ มีการปฏิบัติให้ สอดคล้องกับแผนอภิบาลสังมณฑลจันทบุรี และของพระศาสนจักรในระดับต่าง ๆ มีการติดตาม วิจิจฉัย ประเมิน ผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สร้างเครือข่ายในการท�างานในทุกระดับ ทุกองค์กร รวมทั้งพัฒนากระบวนการ ท�างานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างชัดเจนในทุกระดับ มุ่งเน้นการใช้ ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าเพื่อความดีส่วนรวม การอนุรักษ์ธรรมชาติ และการดูแลสิ่งแวดล้อม 38
บทสรุป 29. ขอให้คริสตชนทุกคนในสังฆมณฑลจันทบุรี มีจิตส�านึกในความเชื่อ (Sensus fidei) จากศีลล้าง บาปที่ตนเองได้รับ ด้วยการด�าเนินชีวิตเป็น “ศิษย์พระคริสต์” (Christ’s Disciple) คือ การติดตามและเลียนแบบ พระคริสตเจ้า การเป็นประจักษ์พยาน (Witness) ถึงค�าสั่งสอนของพระองค์ตามจิตตารมณ์แห่งพระวรสาร และ การเป็น “ศิษย์ธรรมทูต” (Missionary Disciple) คือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสตเจ้าไปยังผู้อื่น ตาม บริบทของชีวิตและกระแสเรียกที่ตนเองได้รับ 30. ด้วยจิตส�านึกในความเชื่อนี้ เรียกร้องให้ประชากรของพระเจ้าทุกคนได้กลับใจ (The Conversion of Heart) โดยเฉพาะด้านชีวิตจิต ด้านอภิบาล และด้านธรรมทูต โดยปฏิบัติพันธกิจ (Mission) อย่างซื่อสัตย์ตาม บทบาทหน้าที่ของตนเองด้วยความรับผิดชอบ ตามกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 และแผนอภิบาลของสังฆมณฑลจันทบุรี ที่มุ่งเน้นให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม (Participation) ในการรับ ฟังความคิดเห็นของกันและกัน การประสานความร่วมมือ ช่วยเหลือ แบ่งปัน เอื้ออาทร และการแสดงออกถึงความ รักฉันพี่น้องที่มีต่อกัน ทั้งนี้ เพื่อให้ภาพแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Communion) ได้ปรากฏขึ้นในสังฆมณฑล อย่างแท้จริง คือ พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกัน (Synodal Church) เป็นการเดินทางของประชากรของ พระเจ้าร่วมกันในพันปีที่สาม ไปสู่ขอบฟ้าใหม่ที่พระเจ้าได้ประทานให้กับเรา ด้วยการน�าทางของพระจิตเจ้า โดย ไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง (No one left behind) แต่เป็นหนึ่งเดียวกันในชีวิตพระตรีเอกภาพ โดยมีพระวาจา ของพระเจ้าและศีลมหาสนิทเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้ เพื่อน�าทุกคนไปสู่ความสมบูรณ์อย่างแท้จริงในองค์พระเยซู คริสตเจ้า (เทียบ ยน 10:10) 31. ขอพระนางมารีย์ แบบอย่างแห่งการติดตามองค์พระเยซูคริสตเจ้าด้วยความเชื่อและความไว้ วางใจ บนหนทางที่พระเจ้าได้ทรงเตรียมไว้ ตั้งแต่การยอมรับองค์พระบุตรในพระครรภ์ จนกระทั่งวาระสุดท้าย ของชีวิต ได้เป็นผู้เสนอวิงวอนต่อพระบิดาเจ้า เพื่อเราทุกคนจะได้เดินบนหนทางของพระเยซูคริสตเจ้าด้วยความ ชื่นชมยินดี เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังของพระจิตเจ้า เพื่อน�าความรอดและความหวังไปสู่ทุกคน แถลงการณ์สมัชชาสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2021 ได้จัดท�าขึ้นตามกระบวนการ และค�าแนะน�า ของส�านักเลขาธิการสมัชชาบิชอปสากล ด้วยการฟังเสียงของประชากรของพระเจ้าในสังฆมณฑลจันทบุรี การ ไตร่ตรองทางด้านพระคัมภีร์และเทววิทยาที่เกี่ยวข้อง การวอนขอการน�าทางขององค์พระจิตเจ้าแห่งความจริง ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน การท�างานร่วมกันระหว่างสมาชิกสมัชชาและบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ข้าพเจ้า บิชอปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี จึงรับรองข้อความทั้งหมดในแถลงการณ์ฉบับนี้ และ ประกาศใช้เพื่อพระเกียรติมงคลของพระเจ้า และความดีของสังฆมณฑลจันทบุรี ประกาศ ณ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี วันอาทิตย์ปัสกา 17 เมษายน ค.ศ. 2022 สมโภชพระเยซูคริสตเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ (บิชอปซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี 39
แผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2021-2030 วิสัยทัศน์ (Vision) “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและเพื่อนพี่น้อง ประกาศพระเยซูคริสต์ เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า” พันธกิจ (Mission) คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี 1. เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าในการอธิษฐานภาวนา พิธีบูชาขอบพระคุณ การด�าเนินชีวิตตามพระวาจา และการเติบโตในศีลศักดิ์สิทธิ์ 2. เป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องทุกคน ในความเชื่อ เคารพคุณค่า ศักดิ์ศรี ความแตกต่าง และเสรีภาพของทุกคน พัฒนาชีวิตทั้งครบ กระแสเรียก และสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง 3. ประกาศพระเยซูคริสต์ ด้วยการด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน เป็นศิษย์พระคริสต์และศิษย์ธรรมทูต อภิบาลและแพร่ธรรม สอนค�าสอนและถ่ายทอดความเชื่อ ประกาศข่าวดีด้วยเทคโนโลยีและวิธีการที่เหมาะสม สร้างสรรค์ เสวนากับพี่น้องผู้มีความเชื่ออื่น 4. เสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้า สร้างความยุติธรรม ความรัก สันติสุข และความชื่นชมยินดีในชุมชน ความรักฉันพี่น้อง ช่วยเหลือ แบ่งปัน ร่วมทุกข์ร่วมสุข อยู่เคียงข้างผู้ยากจน เด็กและสตรี ส่งเสริมประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 40
หลักการ สังฆมณฑลจันทบุรี ภายใต้การน�าทางขององค์พระจิตเจ้า ความเป็นหนึ่งเดียวกับพระ ศาสนจักรสากล ตอบรับพระด�าริของพระสันตะปาปาฟรังซิสในกระบวนการสมัชชาบิชอปสากลครั้ง ที่ 16 (2021-2023) เพื่อพระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกันในพันปีที่สาม ในความเป็นหนึ่งเดียว การ มีส่วนร่วม และพันธกิจ โดยปลุกจิตส�านึกในความเชื่อของคริสตชนทุกคน ให้ฟังเสียงของกันและกัน และฟังเสียงของพระจิตเจ้า แสวงหาพระประสงค์ของพระเป็นเจ้าในชีวิตประจ�าวันตามกระแสเรียกที่ แต่ละคนได้รับ อาศัยการไตร่ตรองเครื่องหมายแห่งกาลเวลา แสงสว่างแห่งคุณค่าพระวรสาร เพื่อมอง ไปยังขอบฟ้าใหม่ที่พระองค์ประทานให้กับเรา เพื่อฟื้นฟูและพันธกิจของพระศาสนจักร ดังต่อไปนี้ คือ ก. ความเป็นหนึ่งเดียว (Communion) ในการด�าเนินชีวิตเลียนแบบพระเยซูเจ้า เป็น ศิษย์พระคริสต์และศิษย์ธรรมทูต ปฏิบัติตามธรรมประเพณีและค�าสั่งสอนของพระศาสนจักร เป็นหนึ่ง เดียวกับพระเจ้าในพิธีบูชาขอบพระคุณและการอธิษฐานภาวนา และเป็นหนึ่งเดียวกับเพื่อนพี่น้องทุก คนด้วยการรักและรับใช้ การเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน การแบ่งปันประสบการณ์ความเชื่อ และการ ช่วยเหลือผู้ที่ขัดสน ข. การมีส่วนร่วม (Participation) ตามบทบาทและหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบ จริงจัง มีทัศนคติที่ดีต่อกัน ท�างานด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ บูรณาการ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน การเห็นต่อความดีของส่วนรวมร่วมกัน ยืดหยุ่นในวิธีการท�างาน สร้างบุคลากรให้พร้อมและเหมาะสม ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารให้หลากหลาย ส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ทั้งครบ และใช้พระพรที่แต่ละคนได้ รับให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ค. พันธกิจ (Mission) ของคริสตชนทุกคน คือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าผู้ทรง รับทนทุกข์ทรมาน สิ้นพระชนม์ และกลับคืนพระชนมชีพ ด้วยการเคารพต่อวัฒนธรรมและรูปแบบการ ด�าเนินชีวิตอันหลากหลายของแต่ละบุคคล ในชุมชนวัด การด�าเนินชีวิตตามวิถีชุมชนวัด สถานศึกษา คาทอลิก การสอนค�าสอน การอยู่เคียงข้างคนยากจน การอภิบาลเยาวชนและครอบครัว การแพร่ธรรม การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ คริสตชนทุกคนจะต้องเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกันเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริง อาศัยจิตส�านึก ของการมีส่วนร่วมในหน้าที่และความรับผิดชอบ และกระท�าพันธกิจที่ได้รับมอบหมาย ตามฝ่ายงาน อภิบาลทั้ง 6 ด้าน คือ 1) ด้านอภิบาล 2) ด้านแพร่ธรรม 3) ด้านสังคม 4) ด้านศึกษาอบรม 5) ด้าน สื่อสารสังคม และ 6) ด้านบริหารจัดการ 41
แผนงานอภิบาลทั้ง 6 ฝ่าย จุดร่วมกันของการท�างานแต่ละฝ่าย 1. ความเป็นหนึ่งเดียว “ร่วมมือกันท�างาน” ตามโครงสร้างการบริหารงานของสังฆมณฑล “การ สร้างเครือข่ายในการท�างาน” แบบประสานความร่วมมือระหว่างพระศาสนจักร หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 12, 15, 18, 28) 2. การมีส่วนร่วม มุ่งเน้นการท�างานเพื่อเห็นแก่ “ความดีของส่วนรวม” สร้าง “จิตตารมณ์คริสตชน” และ “การพัฒนาบุคคลทั้งครบ” มากกว่าความเจริญทางด้านวัตถุ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 15, 18, 28) 3. พันธกิจ “สร้างผู้น�าคริสตชนฆราวาส” ในทุกระดับ ทุกหน่วยงาน โดยอาศัยการเลือกสรร อบรม ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ฝึกปฏิบัติ และมอบหมายงานให้ท�าอย่างเหมาะสม “ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร” ในการ ท�างาน เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ ในช่องทางและวิธีการต่าง ๆ อนุรักษ์ “ทรัพยากรธรรมชาติ” และรักษา “สิ่งแวดล้อม” เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 16, 17, 24, 25, 27, 28) ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างผู้น�าฆราวาส ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ส่งเสริมให้ฆราวาสให้เข้ารับการอบรมต่าง ๆ 2. เปิดโอกาสให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ หรือบุคคลที่ไม่เคยเข้ามาปฏิบัติงาน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการท�างาน ด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Application เช่น Facebook, YouTube, Line, Instagram, Twitter) มากยิ่งขึ้น 2. จัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในระบบดิจิทัล เช่น ทะเบียนศีลล้างบาป ทะเบียนครอบครัวคริสตชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ท�าความสะอาดบริเวณวัด อาคาร สถานที่ต่าง ๆ ปลูกต้นไม้ 2. น�าสิ่งของมาใช้อีกครั้งหนึ่ง (Reuse) หรือการคัดแยกขยะ (Recycle) 3. พัฒนา ท�าความสะอาด เก็บขยะ พื้นที่ส่วนรวมหรือสาธารณะ เช่น คู คลอง หนอง บึง ท่อระบายน�้า ถนน แหล่งเสื่อมโทรม บริเวณที่ทิ้งขยะ ข้อคิดเชิงสรุป ร่วมมือกันท�างาน สร้างผู้น�า ใช้เทคโนโลยี อนุรักษ์ทรัพยากร รักษาสิ่งแวดล้อม 42
1. 1.1. ฟื้นฟูความเชื่ออันได้รับมาจากศีลล้างบาป หล่อเลี้ยงด้วยพระวาจาของพระเจ้า เติบโตในศีลศักดิ์สิทธิ์ ลึกซึ้งในชีวิตภาวนา แสดงออกให้เห็นได้ในความเป็นน�้าหนึ่งใจเดียวกัน ด้วยการรักและรับใช้ซึ่งกัน และกัน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 9, 10, 11, 14, 20, 27, 29) 1.2. ท�าให้ชุมชนวัดเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ที่มีชีวิตชีวา ด้วยส่งเสริมการด�าเนินชีวิตตามพระวาจาของ พระเจ้า การท�าวิถีชุมชนคริสตชนย่อย (BEC) การอ่านพระวาจาของพระเจ้า การอธิษฐานภาวนา ประจ�าวัน การร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณในวันอาทิตย์ การเทศน์สอนที่สามารถน�าไปปฏิบัติในชีวิต ประจ�าวันได้ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 9, 10, 11, 20, 21, 27, 29) 1.3. สนับสนุนการท�าครอบครัวให้เป็นพระศาสนจักรระดับบ้าน (The Domestic Church) การถ่ายทอด ความเชื่อให้กับลูกหลาน การสอนค�าสอนให้กับเด็ก ๆ เพื่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ การสอนค�า สอนผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวเป็นคริสตชนโดยการน�ากระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA) มาปรับ ใช้ การสอนค�าสอนเพื่อเตรียมตัวสมรส และการอบรมต่อเนื่องส�าหรับคริสตชนทุกคน (แถลงการณ์ สมัชชาข้อ 20, 21, 23, 25, 26, 27, 29) 1.4. ส่งเสริมการท�างานของกลุ่มองค์กรคาทอลิกต่าง ๆ ในทุกระดับ งานอภิบาลเด็กและเยาวชน
ครอบครัว ส่งเสริมกระแสเรียกแห่งการเป็นพระสงฆ์และนักบวช (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 14, 15, 16, 18, 20, 21, 23, 25, 26, 27, 29) 1.5. เน้นอภิบาลและเยี่ยมเยียนสัตบุรุษในชุมชน ผู้ยากจน ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วย ผู้ทุพพลภาพ ผู้อพยพย้าย ถิ่น ผู้ถูกคุมขัง คริสตชนต่างชาติ คริสตชนที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจ ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากวัด และผู้ที่ได้รับ ความเดือดร้อนต่าง ๆ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 20, 21, 24, 25, 26, 27, 29) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ฟื้นฟูความเชื่อคริสตชน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. จัดอบรม สัมมนา หรือส่งคริสตชนฆราวาสไปอบรมด้านความเชื่อ ข้อค�าสอน 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมส่งเสริมความศรัทธา พระคัมภีร์ พิธีกรรม จิตภาวนาอย่างเพียงพอ ถูกต้องและต่อเนื่อง 3. ส่งเสริมและสอนค�าสอนคริสตชนในระดับหรือวัยต่าง ๆ เพื่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์อย่างเหมาะสม 4. ส่งเสริมกิจกรรมด้านกระแสเรียก / ฝ่ายส่งเสริมกระแสเรียกของวัด ยุทธศาสตร์ที่ 5 วิถีชุมชนวัด ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ส่งเสริมกิจกรรมวิถีชุมชนวัด 2. จัดอบรม และส่งเสริมคริสตชนฆราวาสเข้าอบรมจิตตารมณ์วิถีชุมชนวัด ทั้งระดับแกนน�า และคริสตชน ทั่วไปอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และน�าสู่ชีวิตอย่างเหมาะสม ด้านอภิบาล 43
งานอภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พระศาสนจักรระดับบ้าน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. อบรม ให้ความรู้กับคริสตชนในเรื่องคริสตชนระดับบ้าน 2. สอนค�าสอน หรืออบรมคริสตชนที่จะรับศีลสมรส 3. อบรม หรือส่งเสริมให้คริสตชนที่แต่งงานแล้วเข้ารับการอบรมด้านครอบครัวอย่างต่อเนื่อง 4. ติดตามและอภิบาลครอบครัวคริสตชน โดยเฉพาะคู่สมรสในระยะแรกเริ่ม 5 ปี ครอบครัวที่ ต้องการความช่วยเหลือ ยุทธศาสตร์ที่ 7 ส่งเสริมองค์กรคาทอลิก ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ส่งเสริมกิจกรรมองค์กรคาทอลิกทุกระดับในเขตวัด ทั้งเด็ก เยาวชน ชีวิตครอบครัว และองค์กรคาทอลิก อื่น ๆ 2. ส่งเสริมให้คริสตชนฆราวาสเข้ารับการอบรมหรือเป็นสมาชิกในองค์กรคาทอลิกต่าง ๆ 3. จัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูจิตใจสมาชิกองค์กรคาทอลิกต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 8 อภิบาลและเยี่ยมเยียน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ออกเยี่ยมเยียมคริสตชนที่อยู่ในเขตวัด รวมถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ในข้อ 1.5 ข้อคิดเชิงสรุป ฟื้นฟูความเชื่อ วิถีชุมชนวัด พระศาสนจักรระดับบ้าน ส่งเสริมองค์กรคาทอลิก อภิบาลและเยี่ยมเยียน 44
2. 2.1. สร้างจิตตารมณ์ธรรมทูตให้กับคริสตชนในทุกระดับ ให้สามารถประกาศข่าวดีด้วยการด�าเนินชิวิตเป็น ประจักษ์พยานส�าหรับทุกคน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 14, 16, 19, 20, 21, 25, 27, 29) 2.2. ส่งเสริมการท�าคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ ที่ดีต่อกัน อาศัยการเสวนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การอธิษฐานภาวนา การร่วมกิจกรรมด้วย กัน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 10, 14, 19, 20, 21, 27, 29) 2.3. จัดท�าคู่มือธรรมทูต การท� าคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ศาสนสัมพันธ์ การแสดงออกด้านความเชื่อกับ วัฒนธรรมท้องถิ่น หลักปฏิบัติในการเข้าร่วมศาสนพิธีของศาสนาอื่น การด�าเนินชีวิตร่วมกับพี่น้อง ต่างความเชื่ออื่น ตลอดจนการปฏิบัติตนในประเพณีหรือวัฒนธรรมท้องถิ่นต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 17, 19) ยุทธศาสตร์ที่ 9 ส่งเสริมจิตตารมณ์ธรรมทูต ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องจิตตารมณ์ธรรมทูตให้กับสัตบุรุษ 2.ส่งเสริมกิจกรรมธรรมทูตระดับวัด ทั้งในกลุ่มสภาอภิบาล เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไป ยุทธศาสตร์ที่ 10 ท�าคริสตศาสนจักรสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ส่งเสริมให้สัตบุรุษมีความรู้ ความเข้าใจ หลักปฏัติในเรื่องคริสตศาสนจักรสัมพันธ์และศาสนสัมพันธ์ 2. เยี่ยมเยียน สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคริสตจักร และผู้น�าศาสนาต่าง ๆ ในชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 11 คู่มือจิตตารมณ์ธรรมทูต ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. จัดท�าคู่มือจิตตารมณ์ธรรมทูต ข้อคิดเชิงสรุป ส่งเสิรมจิตตารมณ์ธรรมทูต สร้างคริสตศาสนจักรสัมพันธ์ ท�าศาสนสัมพันธ์ คู่มือธรรมทูต ด้านธรรมทูต 45
3. 3.1. เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ ไตร่ตรอง ค�าสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร การเป็นพระศาสนจักร ของผู้ยากจนให้กับคริสตชนทุกคน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 17, 23, 24, 27, 29) 3.2. สนับสนุนให้คริสตชนทุกคนด�าเนินชีวิตเป็นประจักษ์พยาน ตามจิตตารมณ์รักและรับใช้ ช่วยเหลือและ แบ่งปัน การท�ากิจเมตตาสงเคราะห์ ต่อผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนผู้ที่ต้องการ ความช่วยเหลือในทุกรูปแบบทั้งในชุมชนแห่งความเชื่อในสังคม (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 14, 16, 20, 21, 24, 27, 29) 3.3. ส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปกป้องผู้อ่อนแอ สิทธิเด็กและสตรี ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ ความรุนแรงและการค้ามนุษย์ มุ่งพัฒนาสังคมให้เกิดความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน และความเสมอ ภาคในสังคม (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 24, 25, 26, 27) 3.4. ศึกษาความดีงามของวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณี ภูมิปัญญา ปรัชญาในการด�าเนินชีวิต เพื่อส่งเสริม และยกระดับคุณค่าทางด้านจิตใจให้กับผู้คนในชุมชน สร้างความผูกพัน ความสามัคคี หวงแหน ปกป้อง อนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง (แถลงการณ์ สมัชชาข้อ 17, 24, 27) ยุทธศาสตร์ที่ 12 ให้ความรู้ด้านสังคมของพระศาสนจักร ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. จัดอบรม ให้ความรู้ กับบรรดาสัตบุรุษในเรื่องค�าสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร 2. จัดท�าหนังสือ คู่มือ ค�าแนะน�าเรื่องค�าสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเพื่อเผยแพร่ให้กับสัตบุรุษ 3. ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เกี่ยวกับงานด้านสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 13 ส่งเสริมกิจกรรมเมตตาสงเคราะห์ ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ออกเยี่ยมผู้ยากไร้ ผู้อ่อนแอ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่มีความต้องการในชุมชน 2. เยี่ยมเยียน ช่วยเหลือ สถานสงเคราะห์ต่าง ๆ 3. ส่งเสริมคริสตชนทุกระดับให้มีจิตสาธารณะ เห็นต่อความดีส่วนรวม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ที่ 14 ส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ปกป้องผู้อ่อนแอ ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและการค้ามนุษย์ 2. อบรม ให้ความรู้ เรื่องคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์กับบุคคลทั่วไป นักเรียน ด้านสังคม 46
ยุทธศาสตร์ที่ 15 ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับคุณค่าพระวรสาร 2. จัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. สร้างเครือข่าย ประสานงาน ให้ความร่วมมือทั้งภายในสถาบันของพระศาสนจักร และกับหน่วยงาน รัฐ และเอกชน ข้อคิดเชิงสรุป ให้ความรู้ด้านสังคม ส่งเสริมกิจเมตตาสงเคราะห์ ส่งเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ วัฒนธรรมท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 47
4. 4.1. ส่งเสริมให้สถานศึกษาคาทอลิก เป็นสนามงานอภิบาลและแพร่ธรรม เป็นสถานที่บ่มเพาะและเป็น ประจักษ์พยานถึงคุณค่าพระวรสาร สร้างอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ตามปรัชญาการศึกษาคาทอลิก ให้ กับนักเรียน คุณครู บุคลากรทางด้านการศึกษา และผู้บริหารทุกคน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 22, 25, 27) 4.2. สนับสนุนให้สถานศึกษาคาทอลิก มีการสอนค�าสอนให้กับนักเรียนคาทอลิก เพื่อเตรียมตัวรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมกิจกรรมองค์กรคาทอลิกในโรงเรียน จัดสรรบุคลากรด้านการสอนค�าสอน สื่อการ สอน อย่างเพียงพอ เหมาะสม ต่อเนื่อง และได้รับสวัสดิการอย่างเหมาะสม (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 22, 23, 25, 27) 4.3. ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ยากจน ด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนคาทอลิก ให้ได้รับการ ศึกษาในสถานศึกษาคาทอลิก (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 22, 24, 25) 4.4. ศึกษา รวบรวม และจัดท�าประวัติชุมชน วัด โรงเรียน วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เผยแพร่ สืบสานความเชื่อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 17, 19) ยุทธศาสตร์ที่ 16 สนามงานอภิบาลและแพร่ธรรม ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ให้ความรู้และส่งเสริมทุกคนในสถาบันการศึกษามีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ตามปรัชญาการศึกษาคาทอลิก 2. จัดกิจกรรมเพื่อส่งความส�าคัญของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในวันส�าคัญต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 17 สอนค�าสอน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. จัดให้มีการสอนค�าสอนนักเรียนคาทอลิกในทุกระดับชั้น 2. ส่งเสริมให้นักเรียนคาทอลิกได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ตามระดับชั้นต่าง ๆ 3. ส่งเสริมกิจศรัทธา พิธีบูชาขอบพระคุณ การอบรมด้านคริสตจริยศาสตร์ ให้กับทุกคนเป็นประจ�าและ ต่อเนื่อง 4. ส่งเสริมให้มีจ�านวนครูค�าสอนอย่างเพียงพอ และได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ที่ 18 ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ให้ทุนการศึกษาและช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาส 2. ให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น พิการ มีพัฒนาการช้า ด้านศึกษาอบรม 48
ยุทธศาสตร์ที่ 19 รวบรวมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. รวบรวมประวัติศาสตร์ของหน่วยงานอย่างเป็นระบบ ชัดเจน ถูกต้อง โดยเฉพาะให้เป็นดิจิทัลให้ง่าย ต่อการค้นหา 2. ศึกษา รวบรวม น�าเสนอคุณค่า ความงดงามของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. ประชาสัมพันธ์ อธิบาย ให้ความหมาย ของวันส�าคัญทางประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นในโอกาสต่าง ๆ ข้อคิดเชิงสรุป สนามงานอภิบาลและแพร่ธรรม สอนค�าสอน ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส รวบรวมประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมท้องถิ่น 49
5. 5.1. ส่งเสริมให้คริสตชนทุกคนใช้เทคโนโลยีการสื่อสารช่องทางต่าง ๆ เพื่อประกาศข่าวดี และเป็นประจักษ์ พยานถึงจิตตารมณ์พระวรสาร ตลอดจนข้อค�าสอนต่าง ๆ ของพระศาสนจักร ตามบทบาท หน้าที่ และ สถานะในชีวิตของตนอย่างเหมาะสม (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 14, 17, 19, 20, 27, 29) 5.2. จัดท�า รวบรวม ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน องค์กร วัด โรงเรียน ให้เป็นปัจจุบัน และใช้เทคโนโลยี การสื่อสารผ่านทางช่องทางต่าง ๆ เผยแพร่ให้กับกลุ่มบุคคลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมและครอบคลุมทุก กลุ่มเป้าหมาย (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 17, 27, 28) 5.3. พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล (Data) ในรูปแบบดิจิทัล เช่น ทะเบียนศีลล้างบาป ทะเบียนครอบครัว คริสตชน ประวัติศาสตร์ของชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และเชื่อมโยงถึงกัน (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 17, 28) ยุทธศาสตร์ที่ 20 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ส่งเสริมให้คริสตชนในระดับต่าง ๆ ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่ออภิบาล แพร่ธรรม ประชาสัมพันธ์ ประกาศข่าวดี เป็นประจักษ์ ถึงชีวิตคริสตชนและคุณค่าพระวรสารทางช่องทางต่าง ๆ 2. เผยแพร่พระวาจาของพระเจ้าและข้อค�าสอนผ่านทางช่องทางต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ยุทธศาสตร์ที่ 21 ท�าข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ท�าข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน เช่น นโยบายในการปฏิบัติการ แนวทางในการปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สถิติต่าง ๆ 2. เผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางช่องทางที่เหมาะสมและเพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ยุทธศาสตร์ที่ 22 จัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. จัดเก็บฐานข้อมูลต่าง ๆ ในระบบดิจิทัล ข้อคิดเชิงสรุป ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร ท�าข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จัดเก็บแบบดิจิทัล ด้านสื่อสารสังคม 50
6. 6.1. วางแผนการท�างานตามฝ่าย แผนก หรือหน่วยงานของตน ให้บังเกิดผลตามแผนอภิบาลของสังฆมณฑล โดยประยุกต์ให้เข้ากับสนามงานท้องถิ่น ความต้องการเร่งด่วน สร้างสรรค์ และความจ�าเป็นเร่งด่วน ในการด�าเนินงาน พร้อมทั้งติดตามการด�าเนินงานอยู่เสมอ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 12, 13, 14, 15, 18, 28) 6.2. เน้นการท�างานร่วมกันตามโครงสร้างการท�างานของสังฆมณฑล รับผิดชอบงานตามหน้าที่ของตนเอง สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน มีความรักฉันพี่น้อง เป็นครอบครัวเดียวกัน รับฟังความคิดเห็นของกัน และกัน เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ ผ่อนหนักผ่อนเบา มีที่ว่างส�าหรับทุกความคิดเห็น ตามจิตตารมณ์แห่ง การก้าวเดินไปด้วยกัน โดยไม่ทอดทิ้งผู้ใดไว้ข้างหลัง (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 12, 13, 14, 15, 18, 28) 6.3. ใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอย่างรู้คุณค่า ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมสูงสุด โปร่งใส และ ด�าเนินการตามขั้นตอนของสังฆมณฑลที่ได้ก�าหนดไว้ (แถลงการณ์สมัชชาข้อ 24, 28) ยุทธศาสตร์ที่ 23 สร้างเครือข่ายในการท�างาน ตัวอย่าง กิจกรรม/โครงการ 1. ประชุม สัมมนา ผู้ที่ท�างานด้านต่าง ๆ ให้รู้จักกัน รับทราบบทบาทและหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น สามารถ ท�างานร่วมกันได้อย่างดี ตามเป้าหมายและนโยบายของส่วนรวม 2. ประชุม ปรึกษาหารือ วางแผน ก�าหนดนโยบาย วิธีการด�าเนินงาน การติดตามประเมินผลการท�างาน ในระดับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและจริงจัง 3. ศึกษา ดูงาน เพื่อพัฒนาการท�างานให้สร้างสรรค์และดีขึ้นเสมอ 4. ส่งเสริม สนับสนุนการท�างานร่วมกันแบบเชิงบูรณาการ และแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน ข้อคิดเชิงสรุป วางแผนการท�างาน สร้างสรรค์ รับผิดชอบ ท�างานร่วมกัน ใช้งบประมาณอย่างรู้คุณค่า ด้านบริหารจัดการ 51
73 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 15 74 ดู กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015, เชิงอรรถท้าย ข้อที่ 1 75 สมณสาส์น “พันธกิจพระผู้ไถ่” (Redemptoris missio หรือ Mission of the Redeemer) โดยนักบุญพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ออกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1990 ข้อ 2 76 สมณลิขิตเตือนใจหลังสมัชชาบิชอปสากลเรื่อง “การสอนค�าสอนในยุคปัจจุบัน” (Catechesi tradendae หรือ Catechesis in Our Time) โดยนักบุญ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ข้อ 53 อภิธานศัพท์ 1. การประกาศข่าวดี (Evangelization) การประกาศข่าวดี ถือเป็นพันธกิจของพระศาสนจักรและประชากรของพระเจ้าทุกคน อันอยู่บน พื้นฐานของค� า สั่งของพระเยซูคริสตเจ้าก่อนที่พระองค์จะทรงเสด็จสู่สวรรค์ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปสั่งสอน นานาชาติให้มาเป็นศิษย์ของเรา ท�าพิธีล้างบาปให้เขา เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอน เขาให้ปฏิบัติตามค�าสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:19-20) โดยเนื้อหาของการประกาศข่าวดีคือการประกาศข้อค�าสอนของบรรดาอัครสาวกเรื่องพระเยซูเจ้า (Kerygma) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่พระธรรมล�้าลึกปัสกา คือ พระมหาทรมาน การสิ้นพระชนม์ และการกลับคืนพระ ชนมชีพ73 ซึ่งแสดงออกได้ในงานอภิบาลและงานแพร่ธรรมเพื่อการน�าข่าวดีไปสู่ผู้ที่ยังไม่รู้จักพระเยซูคริสตเจ้า หรือแม้แต่ผู้ที่เคยได้รับข่าวดีแล้วก็ยังต้องได้รับการประกาศข่าวดีอยู่เสมอ (Re-evangelization) เพื่อมารู้จักและ เจริญชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์มากยิ่งขึ้น74 2. การปรับเข้าสู่วัฒนธรรม (Inculturation) “การปรับเข้าสู่วัฒนธรรม” หรือ “การน�าเข้าสู่วัฒนธรรม” คือ กระบวนการของพระศาสนจักรที่ จะพยายามปรับข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า หรือคุณค่าของพระวรสารเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมและ วัฒนธรรมแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ (A Specific Socio-Cultural Environment) พระศาสนจักรยอมรับทุกความ ดีงามและทุกคุณค่าที่มีอยู่ในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลกที่ซึ่งสอดคล้องกับจิตตารมณ์ของพระวรสาร กระบวนการ
ๆ ในขณะเดียวกัน พระ ศาสนจักรก็รับคุณค่าและความดีงามของวัฒนธรรมต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตของพระศาสนจักรด้วย (เทียบ พันธกิจ พระผู้ไถ่75 ข้อ 2, การสอนค�าสอนในโลกยุคปัจจุบัน76 ข้อ 53, และกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 27) 52
ปรับความเชื่อเข้าสู่วัฒนธรรมจึงเป็นการสื่อสารสองทางระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น ๆ กับค�าสั่งสอนของพระ ศาสนจักรสากล นั่นก็คือ การท�าให้คุณค่าของพระวรสารไปบังเกิดในวัฒนธรรมต่าง
3. การศึกษาคาทอลิก (Catholic Education) “สถานศึกษาคาทอลิก” เป็นสนามและฐานแห่งการประกาศข่าวดี เป็นแปลงเพาะบ่มคุณค่าชีวิต ตามแนวทางพระวรสาร เป็นขอบฟ้าแห่งความหวังที่เปิดออก เป็นสถานที่ที่ท�าให้เอกลักษณ์ (ดูอภิธานศัพท์ ข้อ 9) และอัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก (ดูอภิธานศัพท์ ข้อ 10) ปรากฏอย่างชัดเจนเสมอ การสร้างความเข้าใจ ให้บุคลากรทุกระดับให้เห็นความส�าคัญของเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาคาทอลิกเป็นภารกิจที่เร่ง ด่วน สถานศึกษาคาทอลิกต้องบริหารและจัดการเรียนการสอนโดยบุคลากรที่ยึดถืออย่างมั่นคงในคุณค่าแห่งพระ วรสาร ได้รับการหล่อหลอมอบรมด้วยคุณค่าของพระวรสาร และวัฒนธรรมแบบคาทอลิกอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทุกคนทุกระดับควรเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่ทุกคน การศึกษาคาทอลิกต้องสอนและอบรมใน ทุกสิ่งที่เป็นความจริง ความดีงามและความงดงามซึ่งเป็นส่วนส�าคัญของมนุษย์ สถานศึกษาคาทอลิกยังต้องช่วย เหลือครอบครัวของผู้เรียนให้รู้จักวิธีการแนะน�าความเชื่อแก่ลูก ๆ พวกเขาต้องท�างานด้วยความมั่นคงในเป้าหมาย แท้ เพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รู้จักพระเจ้า สัมผัสความรัก และความเมตตาของพระองค์ ก. เอกลักษณ์การศึกษาคาทอลิก (The Uniqueness of Catholic Education) โรงเรียนคาทอลิกจะต้องด� าเนินการจัดการศึกษาอบรมตามหลักปรัชญาการศึกษาคาทอลิก โดย มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณลักษณะนิสัยโดดเด่นตามอัตลักษณ์ผู้เรียน ข. อัตลักษณ์ของการศึกษาคาทอลิก (The Identity of Catholic Education) การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการให้เข้ากับคุณค่าพระวรสาร 21 ประการ ดังนี้ คือ คุณค่าที่
เคารพ/ศักดิ์ศรี ความสุภาพถ่อมตน ความซื่อตรง และความเรียบง่าย คุณค่าที่ 11 “ความรัก” (Love) อันเป็นจุดหมายสูงสุดของทุกคุณค่า คุณค่าที่ 12-20 คุณค่าที่เป็นหน้าที่ต่อผู้อื่นและสิ่งสร้าง ได้แก่ เมตตา ความกตัญญูรู้คุณ การ งาน/หน้าที่ การรับใช้ ความยุติธรรม สันติ/การคืนดี การให้อภัย ความเป็นหนึ่งเดียวกัน/ ความเป็นชุมชน และการดูแลรักษาสิ่งสร้าง/ธรรมชาติ คุณค่าที่ 21 “ความหวัง” (Hope) เป็นความมั่นคงของทุกคุณค่า 4. ขอบฟ้าใหม่ของการประกาศข่าวดี (New Horizon of Evangelization) “ขอบฟ้าใหม่” หากเราไปยืนอยู่ที่ริมทะเลแล้วมองออกไปยังเส้นขอบฟ้าที่น�้าทะเลกับท้องฟ้ามา บรรจบกัน เราเรียกว่า “เส้นขอบฟ้า” แต่เมื่อเรานั่งเรือออกไปเรื่อย ๆ เราจะรู้ว่าเส้นขอบฟ้านั้นก็ถอยออกไป เรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสนจักรได้แล่นเรือออกไปจากจุดเดิมก็จะท� าให้เห็นขอบฟ้าใหม่ หรือเป้าหมายใหม่ของพระศาสนจักรที่จะต้องแล่นเรือไปในทิศทางนั้น เพื่อน� าความรอดพ้นไปสู่มวลมนุษย์ใน สถานการณ์โลกปัจจุบัน ณ เวลานั้น ดังนั้น พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปข้างหน้า จึงจ�าเป็นที่จะต้องมองไปยังขอบ ฟ้าใหม่อยู่ตลอดเวลา77 77 กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015, เชิงอรรถท้าย ข้อที่ 1 53
1 “ความเชื่อ” (Faith) อันเป็นพื้นฐานของทุกคุณค่า คุณค่าที่ 2-10 คุณค่าที่เป็นหน้าที่ต่อพระเจ้าและต่อตนเอง ได้แก่ ความจริง การไตร่ตรอง/ การภาวนา มโนธรรม/วิจารณญาณ/ความกล้าหาญเชิงศีลธรรม อิสรภาพ ความยินดี ความ
5. ความดีส่วนรวม (Common Good)78 ค�าว่า “ดี” ในทางนิรุกติศาสตร์ (วิชาว่าด้วยที่มาและความหมายของค�า) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 1) “ความดี” ที่เป็นค�านาม (Noun) หมายถึง “การกระท�าที่ดี” ตามกฎศีลธรรมหรือกฎของ ศาสนา และ 2) “ดี” ที่เป็นค�าคุณศัพท์ (Adjective) หมายถึง “การกระท�าสิ่งต่าง ๆ ให้ดี” ให้ถูกต้อง ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ก�าหนดไว้ จากแนวความคิดนี้ท�าให้เห็น ก) ความดีที่เป็นเครื่องมือ วิธีการ การท�างาน กระบวนการ เพื่อมุ่งไปสู่ ข) ความดีที่แท้จริงตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป็นเป้าหมายสูงสุด ส�าหรับพลาโต้ (Plato) แล้ว “ความดีสูงสุด” คือ “พระเจ้า” สิ่งสร้างทั้งหลายรวมถึงมนุษย์ เป็น ภาพสะท้อนความดีงามของพระองค์ ความคิดที่ดีที่สุดคือการคิดดี ส่วนอริสโตเติ้ล (Aristotle) ได้อธิบายความไม่ดี ความบกพร่อง ความเลวร้าย ที่เกิดขึ้นในโลกว่าเป็น “ความเลวร้ายที่มีรากฐานอยู่ในความดี” (malum in bono fundatur) สรรพสิ่งในโลกล้วนสัมพันธ์กันตามกฎของพระผู้สร้างหรือกฎธรรมชาติ ทั้งความดีและความบกพร่อง ต่างด�าเนินไปด้วยกัน แต่ละสรรพสิ่งส่งผลดีให้แก่กันและกัน (omne ens est bonum alteri) สะท้อนความเป็น หนึ่งเดียวและความกลมกลืนระหว่างพระเจ้าและความดีงาม ท�าให้เกิดความพยายาม (conatus) และการพัฒนา ตนเอง เพื่อมุ่งไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุดในพระองค์ (เช่น การเติบโตของต้นไม้ ต้องอาศัยการร่วงหล่นของใบไม้และ กิ่งก้าน, เมล็ดพืชที่ตกลงดินกลับงอกขึ้นใหม่และเกิดผลมากมาย เทียบ ยน 12:24) พระเจ้าจึงเป็นอัลฟาและโอ เมกาแห่งความดี ดังนั้น ความปรารถนาหรือความต้องการที่จะมุ่งไปสู่ความดี จึงถือว่าเป็นความดีประการหนึ่ง โดยธรรมชาติแท้ของมนุษย์ การตีความสิ่งต่าง ๆ ว่าดี ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของตนเอง หรือความ สุขส่วนตัวอันเกิดจากการครอบครอง เพลิดเพลิน และปรารถนาสืบทอดความรู้สึกนี้ต่อไป ความดีจึงมีหลาย ประเภท ได้แก่ ความดีทางร่างกาย ความดีทางจิตวิญญาณ ความดีที่มีประโยชน์ ความดีทางศีลธรรม โดยมนุษย์ ใช้มโนธรรม (conscientia) ส่วนตัวในการตัดสินสิ่งต่าง ๆ ว่าดีหรือไม่ดี ดังนั้น ความดีในประเภทนี้จึงเป็นความ ดีในระดับส่วนบุคคลหรือปัจเจกบุคคล นักบุญโทมัสอไควนัสกล่าวว่า “มนุษย์มีเหตุผล (reason) ที่มาจากมโนธรรมของเขา เพื่อใช้ใน การตัดสินใจเลือกอย่างเสรีภาพ (เจตจ�านงเสรี) กระท�าหรือละเว้นการกระท�า ในสิ่งที่เห็นว่าเกิดประโยชน์ หรือมีคุณค่าในระดับที่สูงขึ้น อยู่เหนือความต้องการในระดับธรรมชาติหรือเนื้อหนัง เป็นแรงจูงใจที่ผลักดัน ให้แสวงหาความดีทางศีลธรรม หรือท�าให้การกระท�าธรรมดาในชีวิตประจ�าวันมีความหมายมากยิ่งขึ้น เช่น การอดเนื้อในวันบังคับ” เมื่อการท�าความดีสอดคล้องกับเป้าหมายดีที่วางเอาไว้ (bonum ex objecto) ย่อม ท�าให้เกิดความสุขทางจิตใจหรือในมโนธรรมของเขา ตรงกันข้ามหากเขาท� าสิ่งที่ไม่ดีและไม่สอดคล้องกับความดี ที่ตั้งเอาไว้ มโนธรรมก็จะติเตียน เรียกร้องการลงโทษ และการชดเชยความผิดของตนที่ได้กระท�า “ความดีส่วนรวม” จึงแตกต่างจาก “ความดีส่วนบุคคล” เป็นการกระท�าที่ดีและท�าความดี ที่ เริ่มจากระดับบุคคลเพื่อมุ่งไปยังความส�าเร็จหรือเป้าหมายของส่วนรวมที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน แต่ละบุคคลจะต้องใช้ เจตจ�านงเสรีของตน เลือกกระท�าเพื่อความดีส่วนรวมมากกว่าความพึงพอใจในระดับส่วนบุคคลหรือเฉพาะกลุ่ม ความดีส่วนรวมจึงมีหลายระดับ สอดคล้อง กลมกลืน และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับวัด องค์กร หน่วยงาน ระดับแขวง ระดับสังฆมณฑล ระดับทวีป และระดับสากล 78 ที่มา: https://www.newadvent.org/cathen/06636b.htm 54
6. คริสตสัมพันธ์ (Ecumenism) คือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่น้องคริสตชนนิกายต่าง ๆ เพราะว่าคริสตชนทั้งหลายไม่ว่า นิกายใดนอกจากจะเป็นพี่น้องกันในพระเจ้า พระบิดาองค์เดียวกันแล้ว ยังมีสายสัมพันธ์กันในความเชื่อและศีลล้าง บาปหนึ่งเดียวกันด้วย ดังนั้น ในงานคริสตสัมพันธ์ จงอย่ารีรอที่จะสนใจเอาใจใส่ต่อพี่น้องคริสตชนนิกายอื่น สวด ภาวนาให้แก่เขา พูดกับเขาถึงเรื่องพระศาสนจักรและก้าวไปหาเขาก่อน พร้อมร่วมกันภาวนาเพื่อเอกภาพ และ ร่วมมือร่วมใจในการกระท�ากิจการต่าง ๆ เพื่อความดีส่วนรวมร่วมกัน (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 28) 7. พระศาสนจักรระดับบ้าน (Domestic Church) “พระศาสนจักรระดับบ้าน” ต้องเป็นจุดเริ่มต้นส�าคัญที่สุดในการประกาศข่าวดีใหม่ ครอบครัวมิใช่ เป็นเพียงหน่วยย่อย ๆ ที่พระศาสนจักรจะให้การอภิบาลเท่านั้น แต่ต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ที่จะด�าเนินชีวิตในความ เชื่อด้วยกันในความแตกต่างที่หลากหลาย และเป็นที่ซึ่งบิดามารดาและผู้อาวุโสถ่ายทอดความเชื่อ วัฒนธรรม เป็นแบบอย่าง เพาะบ่ม และอบรมกระแสเรียกแก่บุตรหลาน พระศาสนจักรต้องให้ความส�าคัญกับการเตรียมสู่ ชีวิตครอบครัวอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันซึ่งคู่สมรสที่มีความเชื่อต่างกันมีจ�านวนมากขึ้น ส�าหรับ ครอบครัวที่มีข้อขัดขวางด้านศีลศักดิ์สิทธิ์และความถูกต้อง พระศาสนจักรต้องด�าเนินการตามกฎเกณฑ์ของพระ ศาสนจักรอย่างรวดเร็ว เพื่อน�าพาบุคคลเหล่านี้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวัด และเป็นพลังแห่งการประกาศ ข่าวดีใหม่ (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 24) 8. วิถีชุมชนวัด (Basic Ecclesial Community หรือ B.E.C.) เป็นการรวมตัวกันของคริสตชนบ้านใกล้เรือนเคียง ในบรรยากาศของอารยธรรมแห่งความรัก การ เป็นประจักษ์พยานถึงพระเยซูคริสตเจ้า และความรักของพระเจ้า เป็นกลุ่ม (Group) หรือชุมชน (Community) เพื่อการมีชีวิตชุมชนหรือหมู่คณะอย่างเป็นรูปธรรม การมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในชุมชนคริสตชนย่อย ๆ อาทิ การพบปะกันเพื่อการแบ่งปันพระวาจาร่วมกัน การภาวนา การเฉลิมฉลองโอกาสส�า คัญของสมาชิกในชุมชน ช่วย เหลือกัน ทั้งต่อพี่น้องต่างความเชื่อด้วย (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 23) 9. ศาสนสัมพันธ์ (Interreligious Dialogue) คือการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพี่น้องต่างความเชื่อ ต่างศาสนา เพราะคริสตชนคาทอลิกทุก คนในประเทศไทยด�าเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางพี่น้องที่นับถือศาสนาอื่น ทั้งในระดับครอบครัว และสังคมส่วนรวม ศาสน สัมพันธ์จึงเป็นเรื่องส�าคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นเราต้องเป็นเครื่องหมาย และเครื่องมือประกาศข่าวดีใหม่ ด้วยการด�าเนิน ชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงความรักและความเมตตาของพระเยซูเจ้า และปฏิบัติพันธกิจการเสวนาด้วยความเคารพ และให้เกียรติด้วยใจจริงตามสภาพสังคมและวัฒนธรรม อันจะน�าไปสู่เอกภาพ ความรัก ความจริง และการอยู่ ร่วมกันอย่างสันติ เป็นหนทางหนึ่งที่น�าไปสู่พระอาณาจักรของพระเจ้า (กฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ ค.ศ. 2015 ข้อ 29) 55
แผนผังการบริหารงานบุคลากร “สภาอภิบาล” สังฆมณฑลจันทบุรี จำ า แนกตามโครงสร้างการบริหารงาน ฝ่าย แผนก กลุ่ม วัด โรงเรียน และหน่วยงานต่าง ๆ 1. “พระสงฆ์” ผู้รับผิดชอบหน่วยงานตามโครงสร้างของสังฆมณฑล ด้านอภิบาล ด้านธรรมทูต ด้านสังคม ด้านศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม ด้านบริหารจัดการ 1.1 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายอภิบาล 1.2 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกพิธีกรรม 1.3 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกดนตรีศักดิ์สิทธิ์ 1.4 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกพระคัมภีร์ 1.5 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกคริสตศาสนธรรม 1.6 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกพระสงฆ์ 1.7 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกสามเณราลัย และกระแสเรียก 1.8 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกสามเณรกลาง/ใหญ่ ปีฝึกงานอภิบาล/ไตร่ตรองกระแสเรียก 1.9 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกครอบครัว 1.10 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกส่งเสริมวิถีชุมชนวัด 1.11 ตัวแทนคณะนักบวชแผนกผู้ถวายตน 1.12 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มโฟโคลาเร 1.13 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุ 1.14 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มคูร์ซิลโล 1.15 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มวินเซนเดอปอล 1.16 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มเซอร์ร่า 1.17 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มพลมารีย์ 1.18 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มพระเมตตา 1.19 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มเยาวชนใน/นอกโรงเรียน 1.20 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มกองหน้าร่าเริง 1.21 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มพลศีลฯ 1.22 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่ม Y.C.S. 1.23 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มนิสิตนักศึกษาคาทอลิก 1.24 พระสงฆ์ผู้ดูแลกลุ่มองค์กรฆราวาส (งานโภชนาการ คริสตชนฆราวาส) 1.1 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่าย ธรรมทูตและศึกษาอบรม 1.2 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก ธรรมทูต/ยุวธรรมทูต 1.3 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก คริสตชนสัมพันธ์ 1.4 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก เสวนาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ 1.5 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก มรดกและวัฒนธรรม 1.1 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศ 1.1 อุปสังฆราช 1.2 เลขาธิการสังฆมณฑล 1.3 เลขานุการพระสังฆราช 1.4 เหรัญญิกสังฆมณฑล 1.5 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายปกครองวัด 1.6 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน 1.7 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายส� า นักสังฆมณฑล 1.8 พระสงฆ์หัวหน้าแขวง 1.9 พระสงฆ์หัวหน้า School Cluster 1.10 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกอภิบาลดูแลแขวง 1.11 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกสภาอภิบาล สังฆมณฑล 1.12 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกการเงิน 1.13 พระสงฆ์หัวหน้าแผนกบัญชี 1.14 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก ทรัยพ์สินและสิทธิประโยชน์ 1.15 พระสงฆ์ผู้รับผิดชอบส� า นักงานวินิจฉัยคดี 56
1.2 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก พัฒนาสังคม 1.3 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก ยุติธรรมและสันติ 1.4 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก ผู้อพยพย้ายถิ่น 1.5 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก เพื่อการท่องเที่ยวและผู้เดินทะเล 1.6 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก ผู้ถูกคุมขัง 1.7 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก สุขภาพอนามัย 1.8 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก สิทธิสตรี 1.1 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่าย ธรรมทูตและศึกษาอบรม 1.2 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก โรงเรียนคาทอลิกสังกัด สังฆมณฑลจันทบุรี (ร.ส.จ.) 1.1 ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่าย สื่อสารสังคม 1.2 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก สื่อมวลชน 1.3 พระสงฆ์หัวหน้าแผนก
ๆ 3.1 ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูล ข่าวสาร
3.1 ให้สถานศึกษาคาทอลิกเป็นสนาม งานอภิบาลและประกาศข่าวดี 3.2 ส่งเสริมคุณลักษณะและเอกลักษณ์ ตามปรัชญการศึกษาคาทอลิก 3.3 ส่งเสริมงานสอนค� า สอนในโรงเรียน ให้นักเรียนคาทอลิกได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ ตามวัยที่เหมาะสม 3.4 ช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจน และด้อยโอกาส 3.5 จัดท� า ประวัติชุมชน วัด และหน่วยงานต่าง
2. “คริสตชนฆราวาส” ที่มาจากการเลือกตั้งของชุมชนแห่งความเชื่อ และจากการแต่งตั้งของ คุณพ่อเจ้าอาวาส ด้านอภิบาล ด้านธรรมทูต ด้านสังคม ด้านศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม ด้านบริหารจัดการ 2.1. คุณครูค� า สอน 2.2. คุณครูองค์กรคาทอลิก (กองหน้า พลศีลฯ Y.C.S. นิสิตนักศึกษา) 2.3. คณะเซอร์ร่า 2.4. วิถีชุมชนวัด 2.5. คณะโฟโคลาเร 2.6. คูร์ซิลโล
วินเซนเดอปอล
พระเมตตา
ครอบครัว 2.1 กลุ่มศาสนสัมพันธ์ ยุวธรรมทูต 2.2 ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ท้องถิ่น 2.1
สื่อสาร
ช่างภาพ นักประชาสัมพันธ์
ผู้อ� า นวยการสภาอภิบาล 2.2 รองผู้อ� า นวยการสภาอภิบาล 2.3 เลขานุการสภาอภิบาล 2.4 เหรัญญิก 2.5 ผู้น� า ชุมชน 2.6 ผู้อาวุโส 2.7 นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงิน นักวิเคราะห์ 2.8 ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านต่าง ๆ 2.6 ที่ปรึกษาด้านอื่น ๆ (ประธานสภาอภิบาลระดับสังฆมณฑล 1. เป็นตัวแทนของสังฆมณฑลในการประชุม แผนกคริสตชนฆราวาสระดับชาติ และ 2. เป็นประธานองค์กรฆราวาสต่าง ๆ ในระดับสังฆมณฑล) 3. “หน้าที่ความรับผิดชอบ” เชิงประจักษ์ หรืองานหลัก ๆ จุดเน้นก ำ รท�ำง ำ นของทุกฝ่ ำ ย 1) ทุกฝ่ ำ ย “ร่วมมือกันท�ำง ำ น” 2) “สร้ ำ งผู้น�ำคริสตชนฆร ำ ว ำ ส” ในทุกระดับ ทุกภ ำ คส่วน 3) “ใช้เทคโนโลยีก ำ รสื่อส ำ ร” ในก ำ รท�ำง ำ น เผยแพร่ และประช ำ สัมพันธ์ ในช่องท ำ งและวิธีก ำ รต่ ำ ง ๆ ม ำ กขึ้น 4) ท�ำง ำ นเพื่อเห็นแก่ “คว ำ มดีของส่วนรวม” 5) เน้นก ำ รเสริมสร้ ำ ง “จิตต ำ รมณ์คริสตชน” ม ำ กกว่ ำ คว ำ มเจริญท ำ งด้ ำ นวัตถุ 6) ใช้ “ทรัพย ำ กรธรรมช ำ ติ” อย่ ำ งรู้คุณค่ ำ และรักษ ำ “สิ่งแวดล้อม” ด้านอภิบาล ด้านธรรมทูต ด้านสังคม ด้านศึกษาอบรม ด้านสื่อสารสังคม ด้านบริหารจัดการ 3.1 จัดเตรียมพิธีบูชาขอบพระคุณ พิธีกรรมต่าง ๆ พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ การก่อสวด 3.2 การสอนค� า สอน 3.3 งานองค์กรคาทอลิก 3.4 งานอภิบาลเด็ก เยาวชน ส่งเสริมกระแสเรียก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ทุพพลภาพ ผู้อพยพ ผู้ถูกคุมขัง คริสตชนต่างชาติ 3.5 งานอภิบาลครอบครัว 3.6 เยี่ยมเยียนสัตบุรุษที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจ ผู้ต่างความเชื่อ 3.1 ประกาศข่าวดี แพร่ธรรมกับ ผู้ต่างความเชื่อ 3.2 คริสตศาสนจักรสัมพันธ์ 3.3 ศาสนสัมพันธ์ 3.4 การประยุกต์ความเชื่อ เข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่น
ในช่องทางต่าง ๆ
2.7. ๆ ในระบบดิจิทัล 3.1 ท� า งานสอดคล้องกับนโยบาย และแผนงานอภิบาลของสังฆมณฑล 3.2 ท� า งานประสานความร่วมมือระหว่าง ส่วนกลางของสังฆมณฑล ระดับแขวง ระดับวัด และหน่วยงานตามโครงสร้าง การบริหารงานของสังฆมณฑล 3.3 ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด 3.4 บริหารจัดการงบประมาณ ด้วยความโปร่งใส ชัดเจน เป็นไปตามหลักการของสังฆมณฑล 57
2.8. พลมารีย์ 2.9.
2.10. เยาวชน 2.11.
บุคลากรทางการแพทย์ 2.2 นักสังคมสงเคราะห์ 2.3 นักสังคมพัฒนา 2.1 คุณพ่อ ซิสเตอร์ ที่ท� า งานในสถาบันการศึกษา 2.2 คุณครูคาทอลิก 2.3 ผู้มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ของวัด ชุมชน และวัฒนธรรม ท้องถิ่น 2.1 ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการ
2.2
2.1
3.1 ช่วยเหลือคนยากจน ผู้พิการ ผู้ป่วย ผู้ด้อยโอกาส 3.2 ปกป้องสิทธิเด็กและสตรี 3.3 ส่งเสริมความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาคในสังคม
3.2 จัดเก็บข้อมูลศีลศักดิ์สิทธิ์ ทะเบียนวัดเรื่องต่าง
58