สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
Vol.33
FREE COPY แจกฟรี
มกราคม - เมษายน 2 0 2 1 ปีที่ 32
• ปีนักบุญโยเซฟ • การแต่งงานที่ถูกต้อง • เปิดปีเยาวชน สังฆมณฑลจันทบุรี • ธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา • Clubhouse
สารสั ง ฆมณฑล
สายใยจันท์ เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก | ศุภชัย พรมสาร | พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก บทความประจ�ำ คุณพ่อนรเทพ ภานุพันธ์ คุณพ่อนันทพล สุขส�ำราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่อเศกสม กิจมงคล คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ คุณพ่อเอกภพ ผลมูล เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ขา่ วสาร กิจกรรม และความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�ำนักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี
สารบั ญ Contents 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
6 แผนกคริสตศาสนธรรม ปีนักบุญโยเซฟ
11 เรื่องเด่น
โยเซฟที่ถูกขายไปอียิปต์ โยเซฟชาวอาริมาเธีย นักบุญโยเซฟบรรทม บทภาวนาต่อนักบุญโยเซฟบรรทม การรับพระคุณการุณย์ครบบริบูรณ์พิเศษโอกาสปีนักบุญโยเซฟ
17 ฝ่ายการศึกษา
เมื่ออัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกเข้าสู่ชีวิต
20 แผนกสื่อมวลชน
Clubhouse เทคโนโลยีที่มาเพื่อ Disrupt เทคโนโลยี
24 กฎหมายพระศาสนจักร การแต่งงานที่ถูกต้อง
26 ้ แผนกพิธีกรรม ธรรมลำ�ลึกแห่งปัสกา
28 แผนกครอบครัว
ผลการประเมินความพึงพอใจต่อชีวิตและความรักในครอบครัว
32 ฝ่ายสังคม
งานออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยน
36 แผนกเยาวชน
กิจกรรมเปิดปีเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี
38 บทภาวนา โอกาสปีนักบุญโยเซฟ
2
บรรณาธิการ Editor’s talk
พี่น้องที่เคารพรัก สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดโควิด-19 รอบสองในประเทศไทย ส่งผลกระทบโดยตรงกับสังฆมณฑลจันทบุรีของเราในหลายจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน เขตจังหวัดชลบุรีซึ่งยังต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สภาพภูมิอากาศที่ แปรปรวน การเมืองที่ยังไม่เงียบสงบ สภาพสังคมที่ยิ่งวันยิ่งมีความแตกต่างหลากหลายมากยิ่ง ขึ้น เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็คงไม่แตกต่างไปจากสภาพสังคมที่พระเยซูคริสตเจ้าบังเกิดและ ด�ำเนินชีวิตอยู่ตลอดพระชนมชีพของพระองค์จนกระทั่งสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนและเสด็จสู่ สวรรค์ (เทียบ ยน 17:33) ท่ามกลางสังคมทีว่ นุ่ วายสับสน ก็เป็นการเดินทางฝ่ายจิตรูปแบบหนึง่ ของชีวติ คริสตชน ซึ่งเราจะสามารถพบความสงบสุขทางด้านจิตใจได้หากเราเข้ามาพึ่งพาและพบพระองค์ในชีวิต ของเรา (มธ 11:28-30) พร้อมกับการร�ำพึงและเลียนแบบชีวิตของพระเยซูคริสตเจ้าบนมรรคา ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ ซึ่งถึงแม้ว่าหนทางนั้นจะสั้น แต่ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความหมาย ของการไถ่บาปแทนมนุษย์ทุกคน อาศัยความทุกข์ทรมาน ความอับอาย บาดแผล พระโลหิต และชีวิต (1 ปต 2:24) ทั้งนี้ เพราะพระเยซูเจ้าทรงนอบน้อมต่อพระบิดาเจ้า ในการท�ำให้พระ ประสงค์ของพระองค์ส�ำเร็จไป (มก 14:36) หากเราได้รำ� พึงพระมหาทรมานของพระเยซูคริสตเจ้าตลอดทางกางเขน 14 ภาค ท�ำให้ เราได้เห็นว่า แม้พระเยซูคริสตเจ้าทีท่ รงเป็นพระเจ้าก็ยงั ทรงยอมรับประสบการณ์อนั ขมขืน่ เหล่า นั้น เช่น การหกล้มครั้งแล้วครั้งเล่า, การพลัดพรากจากพระมารดาที่ทรงรัก, การถูกทรยศ, การ ใส่ร้าย, การสบประมาท, ความสับสน ฯลฯ (ฟป 2:5-8) เราก็เช่นเดียวกัน ได้ถูกเชื้อเชิญให้เข้า มาร่วมในมรรคาศักดิ์สิทธิ์พร้อมกับพระองค์ในชีวิตประจ�ำวันของเรา หากเรายึดพระประสงค์ ขององค์พระผู้เป็นเจ้าเป็นที่ตั้ง เราก็จะสามารถฟันฝ่าปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านั้นไปได้ เพราะพระองค์จะคอยช่วยเหลือเรา (รม 8:28) ในโอกาสที่ปีนี้เป็นปีนักบุญโยเซฟตามค�ำประกาศของพระสันตะปาปาฟรังซิส สายใย จันท์ฉบับนี้ได้น�ำเสนอบทความเกี่ยวกับนักบุญโยเซฟ เพื่อให้พี่น้องได้ศึกษา ท�ำความเข้าใจ อีก ทัง้ ยังมีบทภาวนาเกีย่ วกับบุญโยเซฟในโอกาสต่าง ๆ เพือ่ ให้พนี่ อ้ งทุกคนได้ เลียนแบบชีวิตของท่านนักบุญโยเซฟในด้านความเชื่อ ความไว้วางใจ การ ฟังเสียงของพระเจ้า การปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ของพระองค์ทนั ที แม้บาง อย่างอาจดูยากล�ำบากและเป็นไปไม่ได้ แต่ส�ำหรับพระเป็นเจ้าแล้ว ทุกสิ่ง เป็นไปได้ถ้ามีความเชื่อในพระองค์ (มธ 19:26) นักบุญโยเซฟ ช่วยวิงวอนเทอญ
คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี บรรณาธิการ
3
สารพระสังฆราช สุขสันต์ปัสกาแด่พี่น้องคริสตชนทุกท่าน เทศกาลมหาพรตอันเป็นช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูความเชื่อ ความหวังและความรักได้ผ่าน พ้นไปแล้ว และเราได้ฉลองจุดยอดสุดแห่งความเชื่อ ความหวังและความรักในการรับทรมาน การ สิ้นพระชนม์และการเสด็จกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า อันเป็นพระธรรมล�้ำลึกปัสกา เราได้ เกิดใหม่และมีชวี ติ ใหม่ในพระคริสตเจ้าผูท้ รงรักเรามนุษย์และทรงมอบพระองค์เพือ่ เรา นักบุญเปาโล จึงย�ำ้ เตือนเราถึงพระคุณยิง่ ใหญ่นี้ “ท่านได้ฟงั เรือ่ งราวและรูจ้ กั องค์พระคริสตเจ้าตามความจริง ที่ปรากฏอยู่ในพระเยซูเจ้าแล้ว ท่านจงถอดสภาพมนุษย์เก่า เลิกประพฤติเลวทรามตามราคะ ตัณหาทีห่ ลอกให้หลงไป จงมีจติ ใจและความรูส้ กึ นึกคิดอย่างใหม่ จงสวมใส่สภาพมนุษย์ใหม่ซงึ่ พระเจ้าทรงเนรมิตให้เหมือนพระองค์” (อฟ 4: 21-24) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2020 โอกาสสมโภชพระนางมารีย์พรหมจารีผู้ปฏิสนธินิรมล สมเด็จ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงประกาศ “ปีนักบุญโยเซฟ” โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2020 – วัน ที่ 8 ธันวาคม 2021 และทรงออกสมณลิขิตชื่อ “ด้วยหัวใจของบิดา – Patris Corde” ในโอกาส ครบรอบ 150 ปีที่สมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 ทรงออกกฤษฎีกา “Quemadmodum Deus” เมือ่ วันที่ 8 ธันวาคม 1870 โดยทรงประกาศให้นกั บุญโยเซฟเป็นองค์อปุ ถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล ด้วยว่าในช่วงเวลานั้น พระศาสนจักรก�ำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากภัยอันตรายรอบด้าน เช่นเดียวกัน พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมีความปรารถนาที่จะแบ่งปันการไตร่ตรองเกี่ยว กับชีวิตและบทบาทของนักบุญโยเซฟในขณะที่โลกของเราก�ำลังเผชิญกับโรคระบาด Covid-19 ซึ่ง มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์และสังคม และยังเกี่ยวพันไปถึงมิติของศีลธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง พระองค์ทรงเขียนไว้ในบทน�ำของสมณลิขิต “ด้วยหัวใจของบิดา” ว่า “พวกเราทุกคนสามารถ ค้นพบค�ำตอบได้ในนักบุญโยเซฟ บุรุษผู้ด�ำเนินชีวิตอย่างเงียบ ๆ ไม่มีผู้ใดรู้จัก ขอให้ท่านเป็น ผู้เสนอวิงวอนให้การสนับสนุนพวกเรา และชี้น�ำพวกเราในยามที่เกิดความทุกข์ยุ่งยากล�ำบาก นักบุญโยเซฟเตือนใจพวกเราว่า ผูท้ ดี่ เู หมือนเป็นบุคคลซ่อนเร้นผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลังสามารถมีบทบาท ที่ส�ำคัญในประวัติศาสตร์แห่งการไถ่กู้ได้ พวกเราทุกคนควรรับทราบและกตัญญูต่อท่าน” ให้เราตอบสนองต่อพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาที่เชิญชวนเราให้มีความ รักและความศรัทธาต่อท่านนักบุญโยเซฟด้วยการภาวนาและวิงวอนต่อท่าน เรียนรู้และเลียนแบบ คุณธรรมอันสูงส่งและความร้อนรนของท่าน ข้าแต่นักบุญโยเซฟ โปรดแสดงตนเป็นบิดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และโปรดน�ำทางชีวิตของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย โปรดวอนขอพระหรรษทาน พระเมตตากรุณา และความกล้าหาญแก่ข้าพเจ้าทั้ง หลาย อีกทั้งโปรดป้องกันข้าพเจ้าทั้งหลายให้พ้นจากภยันตรายทุกประการด้วยเทอญ 4
ข้าแต่ท่านนักบุญโยเซฟ ช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้งหลายเทอญ (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
แผนกคริสตศาสนธรรม
ปีนักบุญโยเซฟ
พระสันตะปาปาฟรังซิสประกาศปีแห่งนักบุญโยเซฟระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2020 – 8 ธันวาคม 2021 โอกาสครบรอบ 150 ปี แห่งการประกาศให้ “นักบุญโยเซฟเป็นองค์อปุ ถัมภ์ของพระศาสนจักรสากล” โดยบุญราศีพระสันตะปาปาปีโอที่ 9 ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 1870 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้ทรงมีสมณลิขิต เรื่อง “ด้วยหัวใจของบิดา (Patris Corde)” เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2020 ดังมีใจความส�ำคัญดังต่อไปนี้ คือ 6
แผนกคริสตศาสนธรรม
นักบุญโยเซฟในพระคัมภีร์ นักบุญโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้ (เทียบ มธ 13: 55) เป็นคู่หมั้นของพระนางมารีย์ (เทียบ มธ 1: 18; ลก 1: 27) เป็นผู้ชอบธรรม1 (มธ 1: 19) เป็นผู้ที่ พร้อมเสมอที่จะปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยอาศัยการฝัน 4 ครั้ง2 (เทียบ มธ 1: 20; 2: 13, 19, 22) ท่านเดินทางทีย่ าวไกลและเหน็ดเหนือ่ ยจาก เมืองนาซาเร็ธไปยังเมืองเบธเลเฮ็มเพือ่ ไปจดทะเบียน ส�ำมะโนประชากร ท่านได้เห็นการประสูตขิ องพระผูไ้ ถ่ ในรางหญ้าเพราะไม่มสี ถานที่ (โรงแรม) ส�ำหรับพวก เขา (เทียบ ลก 2: 7) พร้อมกับการเข้ามานมัสการ พระกุมารของคนเลี้ยงแกะและนักปราชญ์สามท่าน ซึ่งเป็นตัวแทนของประชากรอิสราเอล คนต่างชาติ และต่างความเชื่อ (เทียบ มธ 2: 1-12) นักบุญโยเซฟกล้าหาญที่จะเป็นบิดาตาม กฎหมายของพระเยซูคริสตเจ้า ท่านได้ตงั้ ชือ่ พระองค์ ว่า “เยซู” 3 (มธ 1: 21) ตามที่ทูตสวรรค์ได้แจ้ง ให้ทา่ นทราบ หลังจากทีพ่ ระเยซูเจ้าบังเกิดได้ 40 วัน ท่านและพระนางมารียไ์ ด้ถวายพระกุมารในพระวิหาร
และได้ฟงั ค�ำท�ำนายจากผูเ้ ฒ่าสิเมโอนด้วยความตกใจ4 (เทียบ ลก 2: 22-35) หลังจากการมานมัสการพระ กุมารเยซูเจ้าของพวกโหราจารย์แล้ว นักบุญโยเซฟ ได้พาพระนางมารีย์และพระกุมารเยซูเจ้าอพยพไป ที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งท่านต้องเดินทางไกลด้วยระยะ ทางกว่า 900 กิโลเมตร (เทียบ ลก 2: 13-18) เมื่อ เหตุการณ์บา้ นเมืองทางอิสราเอลสงบเรียบร้อยแล้ว (การสวรรคตของกษัตริยเ์ ฮโรด) ท่านได้พาครอบครัว ศักดิส์ ทิ ธิก์ ลับมาอาศัยอยูท่ เี่ มืองนาซาเร็ธอีกครัง้ หนึง่ ตามค�ำแนะน�ำที่ท่านได้รับจากอัครทูตคาเบรียลใน ความฝัน (เทียบ ยน 1: 46) ทีเ่ มืองนาซาเร็ธพวกเขาได้ใช้ชวี ติ อย่างซ่อน เร้น เงียบ ๆ ไม่มีความส�ำคัญใด ๆ เมื่อพระเยซูเจ้า อายุ 12 ปี พวกเขาเดินทางไปนมัสการพระเจ้าที่ กรุงเยรูซาเล็มและพลัดหลงกับพระเยซูเจ้า ท่านทั้ง สองตามหาพระองค์ด้วยความร้อนอกร้อนใจ ที่สุด ได้พบพระองค์ก�ำลังสนทนากับบรรดานักกฎหมาย อยู่ (เทียบ ลก 2: 41-50) ส่วนการสิ้นใจของนักบุญ โยเซฟ ในพระคัมภีร์ไม่ได้มีบันทึกไว้
“ผู้ชอบธรรม” (Righteous Person) แปลว่า การเป็นผู้ที่เลือกท�ำในสิ่งที่ถูกต้องเสมอ (Right = ถูกต้อง) นักบุญโยเซฟได้รับการฝัน 4 ครั้งด้วยกัน คือ 1) ขณะที่ก�ำลังคิดจะถอนหมั้นกับพระนางมารีย์อย่างเงียบ ๆ (มธ 1:19-25) 2) ทูตสวรรค์มาแจ้งให้หนีไปประเทศอียิปต์ (มธ 2:13-15) 3) ทูตสวรรค์มาแจ้งให้เดินทางกลับไปยังอิสราเอล (มธ 2:19-21) 4) พระเจ้าแนะน�ำให้ไปอาศัยอยู่ที่เมืองนาซาเร็ธ (มธ 2:22-23) 3 “เยซู” (Jesus) แปลว่า พระผู้ไถ่, “คริสต์” (Christ) แปลว่า ผู้ได้รับการเจิมหรือแต่งตั้ง “พระเยซูคริสตเจ้า” (Jesus Christ) คือ ผู้ที่พระเจ้า ทรงส่งมาเพื่อเป็นพระผู้ไถ่หรือพระผู้ช่วยให้รอด (Savior) 4 สิเมโอนอวยพรท่านทั้งสอง (นักบุญโยเซฟและพระนางมารีย์) และกล่าวแก่พระนางมารีย์ พระมารดาว่า “พระเจ้าทรงก�ำหนดให้กุมารนี้เป็น เหตุให้คนจ�ำนวนมากในอิสราเอลต้องล้มลงหรือลุกขึ้น และเป็นเครื่องหมายแห่งการต่อต้าน เพื่อความในใจของคนจ�ำนวนมากจะถูกเปิดเผย ส่วนท่าน ดาบจะแทงทะลุจิตใจของท่าน” (ลก 2:34-35) 1 2
7
แผนกคริสตศาสนธรรม
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัด โควิด-19 พระสันตะปาปาฟรังซิสได้เชิญชวนพวกเรา ได้มองเห็นชีวติ ของผูค้ นต่าง ๆ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังของการ ท�ำงาน เช่น บุคลากรทางการแพทย์และอาสาสมัคร พร้อมกับการปรับตัวให้เข้ากับการด�ำเนินชีวติ ในวิถชี วี ติ แบบใหม่ (New Normal) ร่วมกับการอธิษฐานภาวนา การพลีกรรม และการวิงวอนเพือ่ การยุตสิ ถานการณ์ ดังกล่าว บทบาทเช่นนีส้ ะท้อนให้เห็นชีวติ ของนักบุญ โยเซฟผูม้ คี วามส�ำคัญต่อประวัตศิ าสตร์แห่งความรอด แม้ว่าท่านจะเป็นคนเงียบ ๆ และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ได้รับการดลใจจากพระเป็นเจ้าเท่านั้น
นักบุญโยเซฟในเทววิทยาและพระศาสนจักร ในค�ำสอนด้านเทววิทยา นักบุญโยเซฟได้รบั ความส�ำคัญรองลงมาจากพระนางมารีย์พรหมจารี พระมารดาของพระเจ้า เป็น “พระภัสดาอันบริสทุ ธิ์ ยิง่ ของพระนางมารีย”์ บุญราศีพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 ประกาศให้ท่านเป็น “องค์อุปถัมภ์ของพระ ศาสนจักรคาทอลิก” 5 ผู้น่าเคารพ พระสันตะปาปา ปีโอที่ 12 เสนอให้ทา่ นเป็น “ผูอ้ ปุ ถัมภ์ของคนงาน” นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 เรียกท่าน ว่า “ผูป้ กป้องดูแลพระผูไ้ ถ่” 6 และนักบุญโยเซฟได้ ชื่อว่าเป็น “องค์อุปถัมภ์ของผู้ที่ก�ำลังสิ้นใจอย่างมี ความสุข” 7 5
ในสมณลิขิตด้วยหัวใจของบิดา พระสันตะ ปาปาฟรังซิส ได้ให้แบบอย่างของนักบุญโยเซฟไว้ 7 ประการด้วยกัน กล่าวคือ 1. นักบุญโยเซฟ: บิดาผู้น่ารัก นักบุญพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ชีใ้ ห้เห็นว่า นักบุญโยเซฟทุ่มเทในการท�ำหน้าที่ของการเป็นบิดา ในการดูแลครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิต์ ลอดชีวติ ของท่าน ใน การท�ำงานเพือ่ หาเลีย้ งครอบครัว และยกระดับความ ศักดิ์สิทธิ์ในการเป็นครอบครัวที่อยู่เหนือธรรมชาติ (จนกลายเป็นครอบครัวศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง) ใน พันธสัญญาเดิม เมือ่ มีความกันดารอาหารในประเทศ อียปิ ต์ กษัตริยฟ์ าโรห์ได้ตรัสกับชาวอียปิ ต์ทมี่ าขอข้าว กินว่า “จงไปหาโยเซฟ เขาว่าอย่างไร พวกท่านก็ ท�ำไปตามนั้น” (ปฐก 41:41-55)
S. Rituum Congregatio, Quemadmodum Deus, 8 December 1870, n. 194. John Paul II, Apostolic Exhortation Redemptoris Custos, 15 August 1989. 3 Cf. CCC, n. 1014. 6
8
แผนกคริสตศาสนธรรม
2. นักบุญโยเซฟ: บิดาที่อ่อนโยนและน่ารัก แม้ว่านักบุญโยเซฟจะมีความกลัวหรือลังเล ใจ ทีจ่ ะรับพระนางมารียม์ าเป็นภรรยาตามกฎหมาย แต่เพราะความเชื่อที่ท่านมีต่อพระเป็นเจ้า และยอม นอบน้อมปล่อยให้ชวี ติ เป็นไปตามแผนการของพระองค์ ความเชือ่ ได้เอาชนะความหวาดกลัวและความอ่อนแอ ฝ่ายร่างกาย ท่ามกลางมรสุมแห่งชีวติ เราไม่ตอ้ งกลัว และปล่อยให้พระเยซูเจ้าถือหางเสือเรือให้กบั เรา บาง ครัง้ เราต้องการควบคุมทุกสิง่ แต่พระเจ้ามองเห็นภาพ รวมที่ยิ่งใหญ่กว่าเสมอ 3. นักบุญโยเซฟ: บิดาที่นบนอบ แผนการแห่งความรอดมาถึงนักบุญโยเซฟ ด้วยการฝันเช่นเดียวกับพระนางมารีย์ ซึ่งในธรรม ประเพณีในพันธสัญญาเดิมถือว่าเป็นวิธีการที่พระ เป็นเจ้าใช้เพื่อเปิดเผยแผนการณ์ของพระองค์ให้กับ บุคคลทีไ่ ด้รบั การเลือกสรรทราบ แม้วา่ จะมีความกลัว แต่ทว่านักบุญโยเซฟปฏิบัติตามทันทีหลังจากที่ท่าน ได้ตนื่ ขึน้ ความนอบน้อมท�ำให้ทกุ สิง่ เป็นไปได้สำ� หรับ ท่านทีจ่ ะยินยอมรับความทุกข์ยากล�ำบากต่าง ๆ เช่น เดียวกับแม่พระที่ตอบรับพระประสงค์ของพระเจ้า “ฟีอัต”8 ทันทีเช่นเดียวกัน 4. นักบุญโยเซฟ: บิดาที่ยอมรับ นักบุญโยเซฟปฏิบัติตามสิ่งที่ทูตสวรรค์แจ้ง ให้กับท่านทราบโดยปราศจากเงื่อนไข แม้ว่าท่านจะ ไม่เข้าใจภาพที่ใหญ่กว่า ในขณะที่ท่านไม่รู้ว่าจะต้อง ท�ำอย่างไร พระเจ้าทรงช่วยท่านด้วยแสงสว่างแห่ง การตัดสินใจ แม้วา่ ค�ำตอบดูจะลึกลับและไม่เข้าใจแต่ ท่านก็ยอมรับ พร้อมเผชิญกับความขัดแย้ง อ้างว้าง และผิดหวัง
5. นักบุญโยเซฟ: บิดาผูก้ ล้าหาญและสร้างสรรค์ ปัญหาและอุปสรรค อาจท�ำให้หลายคนย่อท้อ และล้มเลิก แต่หากเราต่อสู้กับปัญหา อาจท�ำให้เรา ค้นพบพลังอันยิ่งใหญ่ และศักยภาพที่ซ่อนอยู่ ที่ เหนือกว่านั้น “แผนการของพระเจ้า” ที่ปรากฏใน สถานการณ์และบุคคลต่าง ๆ เช่นเดียวกับนักบุญโย เซฟที่เปลี่ยนคอกเลี้ยงสัตว์เป็นสถานที่ต้อนรับองค์ พระบุตร การหนีไปประเทศอียิปต์จากพลังอ�ำนาจ และความอิจฉาของกษัตริย์เฮโรด ท�ำให้เราได้เห็น วิธกี ารทีพ่ ระเป็นเจ้าจะทรงช่วยเหลือพวกเราให้รอด เสมอแม้ในสถานการณ์ทยี่ งุ่ ยากทีส่ ดุ ขอเพียงแต่เราใช้ ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาซึง่ เปิดโอกาส ให้พระเจ้าได้เข้ามาในชีวิตของเรา
“ฟีอัต” (Fiat เป็นภาษาลาติน) แปลว่า ขอให้เป็นไปตามวาจาของท่านเถิด , ขอให้เป็นเช่นนั้น, let it be, may your word to me be fulfilled, (พระนางมารีย์จึงตรัสว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” แล้วทูตสวรรค์ก็จาก พระนางไป, ลก 1:38-39)
8
9
แผนกคริสตศาสนธรรม
7. นักบุญโยเซฟ: บิดาที่อยู่ในร่มเงา นักบุญโยเซฟ9 ดูแลพระกุมารอยูต่ ลอดเวลา เปรียบเสมือนร่มเงาให้พระกุมารได้ร่มเย็น การท�ำ หน้าที่ของการเป็นพ่อ มีเป้าหมายอยู่ที่การพาเด็ก ๆ ไปพบความจริงและชีวิต ไม่ทะนุถนอมจนเกินไปแต่ ปล่อยให้เขาตัดสินใจด้วยตนเอง เปิดโอกาสและให้ เสรีภาพ เป็นความรักบริสุทธิ์ที่ให้เสรีภาพมิใช่ครอบ ครองหรือครอบง�ำทุกบริบทแห่งชีวิต เช่นเดียวกับ ความรักของพระเจ้าที่บริสุทธิ์ และให้อิสระเสรีภาพ แด่มนุษย์ในการเลือกท�ำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเสรี เช่น เดียวกับนักบุญโยเซฟ ทีไ่ ม่ได้เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง แต่คิดถึงพระแม่มารีย์ และพระเยซูคริสตเจ้าเสมอ โดยระลึกอยู่เสมอว่า พระบุตรไม่ใช่บุตรของตนเอง แต่เป็นพระบุตรของพระเป็นเจ้าที่ฝากไห้ตนดูแล
6. นักบุญโยเซฟ: บิดาที่ท�ำงาน นักบุญโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้ เป็นงานที่ ใช้แรงงาน ท่านคุ้นชินกับการท�ำงานหนักเพื่อเลี้ยง ดูครอบครัว ท�ำให้ท่านตระหนักถึงคุณค่า ศักดิ์ศรี และความชื่นชมยินดีจากการท�ำงาน งานทุกงานมี ส่วนร่วมในแผนการไถ่กู้ เป็นการเร่งการมาถึงของ พระอาณาจักรสวรรค์ เป็นการรับใช้สังคมและเป็น หนึง่ เดียวกับเพือ่ นพีน่ อ้ ง การท�ำงานหนักของนักบุญ โยเซฟเตือนใจพวกเราว่า การบังเกิดมาของพระเยซู คริสตเจ้าไม่ทรงรังเกียจการท�ำงานหนัก (ในฐานะ ที่เป็นลูกของช่างไม้ต้องช่วยเหลือบิดาในบางครั้ง)
ให้ไว้ ณ กรุงโรมที่มหาวิหารยอห์นแห่ง ลาเตรัน วันที่ 8 ธันวาคม วันสมโภชพระแม่มารีย์ ผู้ปฏิสนธินิรมล ปี ค.ศ. 2020 เป็นปีที่ 8 แห่งสมณ สมัยของข้าพเจ้า ฟรังซิส
“ยอแซฟ” เป็นค�ำที่เราคุ้นเคย มาจากภาษาลาตินว่า “Ioseph” แปลว่า เขาจะเพิ่มขึ้น (He will add.) “โจเซฟ” เป็นค�ำอ่านตามภาษาอังกฤษ (Joseph) ֵ ) “โยเซฟ” เป็นค�ำอ่านตามภาษาฮีบรู (יֹוסף ดังนั้น ทั้ง “ยอแซฟ” “โจเซฟ” และ “โยเซฟ” จึงหมายถึงคน ๆ เดียวกันแต่แตกต่างกันในเรื่องของภาษา 9
10
โยเซฟ
ที่ถูกขายไปอียิปต์ โยเซฟเป็นบุตรชายคนที่ 11 ของยาโคบ1 กับนางราเชล ยาโคบรักโยเซฟมากกว่าบุตรคนอืน่ ๆ เพราะเมื่อโยเซฟเกิดมายาโคบก็ชรามากแล้ว โย เซฟเติบโตขึน้ เป็นเด็กทีม่ คี วามเฉลียวฉลาดมากกว่า บรรดาพี่ ๆ ของพวกเขา โยเซฟมีความสามารถใน การท�ำนายความฝันได้อย่างแม่นย�ำ ครัง้ หนึง่ โยเซฟได้ ฝันเห็นฟ่อนข้าว 11 ฟ่อนก�ำลังก้มกราบมาทีฟ่ อ่ นข้าว ที่เป็นตัวแทนของโยเซฟ และยังฝันเห็นดวงดาว 11 ดวง มากราบไหว้ดวงดาวที่เป็นของโยเซฟด้วย เขา ได้ท�ำนายความฝันว่า ทั้งฟ่อนข้าวทั้ง 11 ฟ่อน และ ดวงดาวทั้ง 11 ดวง ก็คือตัวแทนของบรรดาพี่ชาย ของโยเซฟแต่ละคน ที่เข้ามากราบไหว้โยเซฟนั่นเอง นอกจากนัน้ แล้ว ยาโคบได้ท�ำเสือ้ คลุมพิเศษ ให้เขาหนึ่งตัว ท�ำให้บรรดาพี่ ๆ อิจฉาโยเซฟ และ วางแผนฆ่าโยเซฟและอาไปทิง้ ไว้ในบ่อน�ำ้ แต่ไม่สำ� เร็จ จึงได้ขายโยเซฟให้กบั ชาวอิชมาเอลซึง่ ก�ำลังขนสินค้า ผ่านมาด้วยราคา 20 เชเขล โยเซฟถูกขายต่อให้เป็น ทาสของชาวอียิปต์
แต่ด้วยความสามารถในการท�ำนายฝันของ โยเซฟ ท�ำให้เขาประสบความส�ำเร็จและได้รบั ต�ำแหน่ง สูงสุดในแผ่นดินอียปิ ต์จากฟาโรห์ มีหน้าทีส่ ะสมเสบียง อาหารไว้สำ� หรับความแห้งแล้งทีก่ ำ� ลังจะมาถึง โยเซฟ สะสมเสบียงอาหารไว้อย่างมากมายเกินกว่าจะคณา นับได้ และเมือ่ ได้เกิดการกันดารอาหารขึน้ จริง ๆ ชาว อียิปต์ได้ร้องขออาหารจากฟาโรห์ ฟาโรห์จึงตรัสกับ ชาวอียปิ ต์วา่ “จงไปหาโยเซฟเถิดและท�ำตามทีเ่ ขา สั่ง” (ปฐก 41:55)
ความแห้งแล้งได้แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นดิน คานาอัน อันเป็นที่อยู่ของยาโคบบ้านเกิดเมืองนอน ของโยเซฟในวัยเด็ก ยาโคบได้ให้ลูก ๆ (คือบรรดา พี่ ๆ ของโยเซฟ) เดินทางไปอียิปต์เพื่อขอซื้ออาหาร ท�ำให้โยเซฟได้พบกับยาโคบและพี่น้องของเขาอีก ครั้งหนึ่ง และเพื่อเป็นการตอบแทนกับโยเซฟที่ได้ ช่วยเหลือชาวอียิปต์ให้รอดพ้นจากความอดอยาก อีกทัง้ ร�ำ่ รวยจากการขายเสบียงอาหารให้กบั คนต่าง ชาติ ชาวอียิปต์ได้เชิญครอบครัวของโยเซฟทั้งหมด ให้เข้าไปอาศัยอยู่ในอียิปต์ (ปฐก 37-50)
1
อับราฮัมมีบุตรชายชื่ออิสอัค อิสอัคมีบุตรชายฝาแฝดชื่อเอซาวและยาโคบ ยาโคบมีภรรยา 4 คน และบุตรชายรวมทั้งหมด 12 คน คือ รูเบน, สิเมโอน, เลวี, ยูดาห์, ดาน, นัฟทาลี, กาด, อาเชอร์, อิสสาคาร์, เศบูลูน, โยเซฟ, และ เบนยามิน, ยาโคบยังมีบุตรสาวอีก 1 คน คือ ดีนาห์
11
โยเซฟ
ชาวอาริมาเธีย “โยเซฟชาวอาริมาเธีย” ท่านเป็นสมาชิก วุฒิสภา (สภาซันเฮดริน)2 ของชาวยิวในสมัยพระ เยซูเจ้า มีฐานะร�่ำรวย และเป็นที่ยอมรับนับถือของ ชาวยิวโดยทั่วไป (มธ 27:57) ท่านเป็นคนศรัทธาต่อ พระเจ้าและรอคอยการเสด็จมาของพระผู้ไถ่ ท่าน เป็นศิษย์ลบั ๆ ของพระเยซูเจ้าและไม่ได้มสี ว่ นในการ กล่าวโทษพระเยซูเจ้า จนถึงการตรึงบนไม้กางเขน ในฐานะนักโทษอุกฉกรรจ์ (มก 15:43) เช่นเดียว กับ “นิโคเดมัส” ที่เป็นชาวฟาริส3ี เป็นสมาชิกของ ศาลสูงสุด เขาแอบมาหาพระเยซูคริสตเจ้าตอนกลาง คืนเพือ่ สนทนากับพระองค์เรือ่ งการเกิดใหม่ (ศีลล้าง บาป) (ยน 3)
โยเซฟชาวอาริมาเธียเป็นผู้น�ำหรือผู้จัดการ ฝังศพพระเยซูเจ้าอย่างสมพระเกียรติในความเป็น กษัตริยแ์ ละเป็นพระเจ้าของพระองค์ โดยมีนโิ คเดมัส เป็นผู้ช่วยเหลือ โดยใช้เครื่องหอม คือ ก�ำยานผสม มดยอบและสมุนไพรรักษาบาดแผลอื่น ๆ หนัก 100 ปอนด์ (ซึ่งเป็นน�้ำหนักของเครื่องหอมที่ใช้ชโลมพระ ศพของกษัตริย์หรือคนชั้นสูงในขณะนั้น โยเซฟชาว อาริมาเธียได้ไปซือ้ ผ้าลินนิ เนือ้ ดีจากตลาดมาท�ำเป็น ผ้าห่อพระศพ และได้วางพระศพพระเยซูเจ้าในหลุม ศพใหม่ที่ยังไม่ถูกฝังผู้ใดเลย (มก 15:46) สุดท้ายห่อ หุม้ พระศพด้วยขีผ้ งึ้ และน�ำ้ หอม (ทีน่ โิ คเดมัสได้นำ� มา) เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับพระศพ
ทัง้ โยเซฟชาวอาริมาเธียและนิโคเดมัส ได้ขอ อนุญาตปีลาโต ผู้ว่าราชการอาณาจักรโรมันประจ�ำ กรุงเยรูซาเล็มในขณะนัน้ ให้เป็นผูจ้ ดั การเชิญพระศพ ของพระเยซูเจ้าลงมาจากไม้กางเขนในฐานะนักโทษ ฉกรรจ์และน�ำพระศพของพระเยซูเจ้าไปฝังไว้ในอุโมงค์ ฝังศพใหม่ที่ยังไม่ได้ถูกฝังใครเลยในครอบครัวของ โยเซฟชาวอาริมาเธีย การกระท�ำเช่นนี้ถือเป็นการ กระท�ำทีก่ ล้าหาญเป็นอย่างมากในสถานการณ์ทเี่ ลว ร้ายเช่นนั้น ทั้ง ๆ ที่ทั้งสองคนไม่กล้าเปิดเผยตัวเอง ว่าเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าเพราะมีความหวาดกลัว “สภาซันเฮดริน” เป็นสภาและเป็นศาลสูงสุดของชาวยิว มีอ�ำนาจในการตัดสินทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับพลเรือนและศาสนา ประกอบไปด้วย สมาชิก 70 คน ที่ได้มาจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ได้แก่ ตัวแทนของปุโรหิต ธรรมาจารย์ และผู้อาวุโส ในพระคัมภีร์จะใช้ค�ำเรียกว่า “สภา” (เช่น มธ 26:59, มก 14:55, กจ 5:34) 3 “พวกฟาริสี” เป็นขบวนการทางสังคมและการเมืองกลุ่มหนึ่งในชนชาติอิสราเอล ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมและธรรมประเพณีของชาวยิว อย่างเคร่งครัด และต่อต้านวัฒนธรรมของชนชาติอื่น โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชนชาติกรีก ชาวฟาริสีเชื่อในเรื่องทูตสวรรค์ วันสิ้นโลก เมสสิยาห์เชือ้ สายดาวิด และเชือ่ ว่าผูช้ อบธรรมจะมีชวี ติ นิรนั ดร์ในสวรรค์หรือในโลกหน้า ส่วนคนบาปจะถูกลงโทษนิรนั ดร์ในนรก พวกฟาริสใี น สมัยพระเยซูเจ้าคาดว่าน่าจะมีประมาณ 6,000 คน ตรงกันข้ามกับชาวฟาริสคี อื พวก “สะดูส”ี พวกสะดูสเี ป็นพวกชนชัน้ สูงในสังคม นิยมชมชอบ วัฒนธรรมของชนชาติกรีกว่าเป็นอารยธรรม ชาวฟาริสบี างคนเป็นศิษย์ลบั ๆ ของพระเยซูเจ้า เช่น โยเซฟชาวอาริมาเธียและนิโคเดมัส (ยน 3) 2
12
. ข้อสังเกต ในวันที่พระเยซูเจ้าบังเกิดและสิ้นพระชนม์มีคนชื่อ “โยเซฟ” เข้ามา เกี่ยวข้องทั้งสองวัน ก็คือ “โยเซฟผู้ชอบธรรม” (พระภัสดาของพระนางมารีย์) และ “โยเซฟชาวอาริมาเธีย” 1. โยเซฟผู้ชอบธรรมได้มีโอกาสอุ้มพระกุมารในอ้อมอกในคืนที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด ส่วนโยเซฟชาวอาริมาเธียได้มโี อกาสอุม้ พระศพพระเยซูเจ้าในวันทีพ่ ระองค์สนิ้ พระชนม์ บนไม้กางเขน 2. โยเซฟผูช้ อบธรรมได้มสี ว่ นช่วยน�ำผ้าพันพระกายพระกุมารในรางหญ้า ส่วนโยเซฟชาว อาริมาเธียได้ช่วยน�ำผ้าลินินเนื้อดีมาห่อพระศพพระเยซูเจ้า 3. โยเซฟผู้ชอบธรรมได้มีส่วนวางพระกุมารไว้ในรางหญ้า ส่วนโยเซฟชาวอาริมาเธียได้ มีส่วนในการวางพระเยซูเจ้าบนที่วางพระศพในพระคูหา 4. โยเซฟผูช้ อบธรรมได้รบั มารียแ์ ละพระกุมารมาเป็นครอบครัวของตนเองตามกฎหมาย ส่วนโยเซฟชาวอาริมาเธียได้ยอมให้พระเยซูเจ้าใช้พระคูหาเดียวกับครอบครัวของ ตนเอง (การรับพระเยซูเจ้าเข้ามาเป็นสมาชิกในครอบครัว)
13
นักบุญโยเซฟบรรทม
(Saint Joseph Sleeping) (นักบุญในดวงใจของพระสันตะปาปาฟรังซิส) ความศรัทธาต่อพระรูปนักบุญโยเซฟบรรทมมี อยูท่ วั่ ไปในประเทศกลุม่ ลาตินอเมริกา1 ความศรัทธา นีส้ ง่ ผลให้พระสันตะปาปาฟรังซิส ซึง่ ก�ำเนิดทีป่ ระเทศ อาร์เจนตินา มีความศรัทธาต่อท่านนักบุญโยเซฟ บรรทมเป็นพิเศษ เมือ่ ท่านต้องมาท�ำงานทีโ่ รมันคูเรีย กรุงโรม ประเทศอิตาลี ท่านได้นำ� รูปแกะสลักนักบุญ โยเซฟบรรทมด้วยไม้มากับท่านด้วย นักบุญโยเซฟได้รบั ข่าวจากพระเจ้าผ่านทาง ทูตสวรรค์กาเบรียลขณะที่ท่านหลับไปด้วยความ กังวลเรื่องการรับพระนางมารีย์มาเป็นภรรยา และ การปกป้องครอบครัวศักดิ์สิทธิ์จากกษัตริย์เฮโรด2 จากความฝันนี้ท�ำให้ท่านนักบุญโยเซฟได้รับบทบาท ส�ำคัญในการเป็นบิดาเลี้ยงของพระกุมารเยซูและ ประชากรทั้งหลาย ได้แก่ การเป็นผู้ปกป้อง (Protector) ผู้ป้องกัน (Defender) และผู้อ�ำนวยความ สะดวก (Comforter) นักบุญโยเซฟยังเป็นผูเ้ ฝ้าระวัง และทะนุถนอม (careful and tender guardian) ของทุกครอบครัวและของทุกคนทีเ่ ปิดใจยอมรับพระ ธรรมล�้ำลึกต่าง ๆ เกี่ยวกับพระเจ้า ดังที่ท่านได้ทรง เต็มใจยอมรับและปกป้องพระนางมารีย์ สตรีทพี่ ระเจ้า
เลือกสรรให้เป็นผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ละมารดาผูป้ ฏิสนธินริ มล ส�ำหรับพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ นักบุญโยเซฟ ยังเป็นต้นแบบของพระสังฆราชส�ำหรับบรรดาคริสต ชน บิดา พ่อบ้าน ผู้ปกป้องพระศาสนจักร ตลอดจน ชายหญิงทุกคนที่มีความศรัทธาต่อท่าน นีค่ อื สาเหตุทบี่ อ่ ยครัง้ พระสันตะปาปาได้เขียน ค�ำอธิษฐานภาวนา ปัญหา และความต้องการของท่าน ไว้ใต้พระรูปนักบุญโยเซฟบรรทม ซึ่งเป็นเหมือนกับ การฝากให้ท่านนักบุญโยเซฟได้ช่วยอธิษฐานวิงวอน ขอต่อพระเจ้าขณะที่ท่านหลับและฝันเห็นพระเจ้า พระสันตะปาปาตรัสว่า “ข้าพเจ้าต้องการ บอกกับท่านเป็นการส่วนตัวว่า ข้าพเจ้าชอบนักบุญ โยเซฟมาก ๆ เพราะท่านเป็นคนที่เข้มแข็งและ เงียบ บนโต๊ะท�ำงานของข้าพเจ้ามีรูปปั้นนักบุญ โยเซฟบรรทม เมื่อในขณะที่ท่านหลับ ท่านยังได้ ช่วยเฝ้าระวังพระศาสนจักร และเมื่อข้าพเจ้ามี ปัญหาหรือความยุง่ ยาก ข้าพเจ้าจะเขียนสิง่ ต่าง ๆ เหล่านัน้ ลงบนแผ่นกระดาษเล็ก ๆ แล้ววางไว้ใต้รปู นักบุญโยเซฟ ข้าพเจ้าขอให้ท่านฝันและช่วยสวด ภาวนาส�ำหรับปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้น”3
“ลาตินอเมริกา” คือกลุ่มของประเทศและดินแดนในซีกโลกตะวันตกที่ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนที่มีรากฐานมาจากภาษาลาติน เช่น ภาษา สเปน, ภาษาฝรั่งเศส, และภาษาโปรตุเกส ภูมิภาคละตินอเมริกาสามารถแบ่งตามเขตภูมิศาสตร์วัฒนธรรมย่อยได้ 6 เขต (รวม 26 ประเทศ) คือ 1) เม็กซิโก 2) บราซิล 3) กลุ่มอเมริกากลาง ได้แก่ กัวเตมาลา เบลีส เอลซัลวาดอร์ ฮอนดูรัส นิคารากัว คอสตาริกา และปานามา 4) กลุ่ม อินเดียตะวันตก ได้แก่ บาฮามาส คิวบา จาไมกา เฮติ สาธารณรัฐโดมินิกัน กายอานา ซูรินาเม และเฟรนซ์เกียนา 5) กลุ่มเทือกเขาแอนดีสทาง เหนือ ได้แก่ เวเนซุเอลา โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู 6) เขตทางใต้ของทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ โบลิเวีย ชิลี อาร์เจนตินา ปารากวัยและอุรกุ วัย 2 13 เมื่อบรรดาโหราจารย์กลับไปแล้ว ทูตสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาเข้าฝันโยเซฟ กล่าวว่า “จงลุกขึ้น พาพระกุมารและพระมารดาหนีไป ประเทศอียิปต์ และจงอยู่ที่นั่นจนกว่าเราจะบอกท่าน เพราะกษัตริย์เฮโรดก�ำลังสืบหาพระกุมารเพื่อจะประหารชีวิต” 14โยเซฟจึงลุกขึ้นพาพระ กุมารและพระมารดาออกเดินทางไปประเทศอียิปต์ในคืนนั้น 15และอยู่ที่นั่น จนกระทั่งกษัตริย์เฮโรดสิ้นพระชนม์ ทั้งนี้เพื่อให้พระด�ำรัสขององค์ พระผู้เป็นเจ้าที่ตรัสทางประกาศกเป็นความจริงว่า “เราเรียกบุตรของเรามาจากประเทศอียิปต์” (มธ 2:13-15) 3 พระด�ำรัสของพระสันตะปาปาฟรังซิสเมือ่ วันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2015 ในงานชุมนุมครอบครัว ณ The Mall of Asia Arena, Manila, Philippines 1
14
บทภาวนาต่อนักบุญโยเซฟบรรทม ข้าแต่ท่านนักบุญโยเซฟ ผู้โปรดปรานของพระเจ้า ทูตสวรรค์ ของพระเจ้าปรากฏแก่ท่านในความฝันขณะที่ท่านหลับ เพื่อเตือนและ น�ำทางท่านส�ำหรับการพิทักษ์รักษาครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ท่านผู้ทรงเงียบ และเข้มแข็ง ผู้พิทักษ์ที่ซื่อสัตย์และกล้าหาญ นักบุญโยเซฟที่เคารพ เมื่อท่านพักผ่อนในความเชื่อมั่น พระ อานุภาพ และความดีงามของพระเจ้า โปรดทรงระลึกถึงข้าพเจ้าทั้ง หลายในความฝันของท่าน และช่วยทูลวิงวอนขอต่อพระบุตรของท่าน ส�ำหรับความต้องการของข้าพเจ้าทัง้ หลาย (ทูลขอสิง่ ทีต่ อ้ งการสักครูห่ นึง่ ...) โอ้ท่านนักบุญโยเซฟ ผู้ทรงน่ารักยิ่ง ผู้ทรงได้ยินเสียงของ พระเจ้าขณะหลับไป และเมื่อท่านตื่นขึ้น ท่านได้น�ำไปปฏิบัติตามด้วย ความสุภาพและด้วยความรัก ข้าพเจ้าขอสรรเสริญพระเจ้าด้วยความรัก และขอบพระคุณ โอ้ท่านนักบุญโยเซฟ โปรดช่วยวิงวอนเพื่อข้าพเจ้าทั้ง หลายด้วยเทอญ อาแมน
15
การรับพระคุณการุณย์ ครบบริบูรณ์พิเศษ โอกาสปีนักบุญโยเซฟ ศาลพระศาสนจั ก รเพื่ อ ชี วิ ต จิ ต ภายใน (A postolic Penitentiary) ประทานพระคุณการุณย์ ครบบริบรู ณ์พเิ ศษโอกาสปีนกั บุญโยเซฟ ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ถึงวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ตามค�ำประกาศของพระสันตะปาปาฟรังซิส ส�ำหรับผู้ ทีส่ วดภาวนาอาศัยค�ำเสนอวิงวอนของนักบุญโยเซฟ และ/หรือท�ำกิจเมตตาในกรณีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ 1. ผูท้ รี่ ำ� พึงบท “ข้าแต่พระบิดา” อย่างน้อย ครึ่งชั่วโมง 2. ผูท้ เี่ ข้าเงียบหรือฟืน้ ฟูจติ ใจอย่างน้อย 1 วัน โดยมีการเทศน์บทร�ำพึงเกี่ยวกับชีวิตของ นักบุญโยเซฟ 3. ผู้ที่ประกอบกิจเมตตากรุณาทั้งฝ่ายกาย และฝ่ายจิต กิจเมตตาฝ่ายกาย 7 ประการ ได้แก่ 1) ให้อาหารแก่ผหู้ วิ โหย 2) ให้นำ�้ แก่ผกู้ ระหาย 3) ให้เสื้อผ้าแก่ผู้ไม่มีนุ่งห่ม 4) ให้ที่พักแก่ ผู้ไร้ที่อยู่ 5) เยี่ยมผู้ป่วย 6) เยี่ยมผู้ต้องขัง และ 7) ร่วมงานฝังศพ เมตตาฝ่ายจิต 7 ประการ ได้แก่ 1) ให้ ค�ำแนะน�ำแก่ผู้สงสัย 2) สอนคนที่ไม่รู้ 3) ตักเตือนคนบาป 4) บรรเทาใจผู้ทุกข์ยาก 5) ให้อภัยผูท้ �ำความผิด 6) อดทนต่อความ ผิดของผู้อื่น และ 7) ภาวนาส�ำหรับผู้เป็น และผู้ตาย 4. สวดสายประค�ำพร้อมกันภายในครอบครัว หรือระหว่างคู่หมั้นที่จะแต่งงาน 16
5. ถวายกิจการงานของตนเองในแต่ละวันไว้ ในความอุปถัมภ์ของนักบุญโยเซฟกรรมกร แห่งนาซาเร็ธ ภาวนาให้กบั ผูท้ กี่ ำ� ลังตกงาน และยอมรับในคุณค่าตลอดจนศักดิ์ศรีของ ผู้ที่ท�ำงานด้านต่าง ๆ 6. สวดบทภาวนาของนักบุญโยเซฟในรูป แบบต่าง ๆ สวดบทร�่ำวิงวอน เพื่ออุทิศให้ กับการเบียดเบียนทั้งภายในและภายนอก พระศาสนจักร 7. การระลึกถึงนักบุญโยเซฟในโอกาสสมโภช นักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์ พรหมจารี ในวันที่ 19 มีนาคม ระลึกถึง นักบุญโยเซฟกรรมกร ในวันที่ 1 พฤษภาคม วันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม (2021) และทุกวันพุธตลอดทั้งปี ทัง้ นี้ การรับพระคุณการุณย์สำ� หรับผูท้ ที่ ำ� กิจ ศรัทธาและกิจสงเคราะห์ดงั ทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถรับได้วนั ละ 1 ครัง้ ด้วยความตัง้ ใจและความ ศรัทธา จากนัน้ ต้องสวดบทข้าพเจ้าเชือ่ และภาวนา ส�ำหรับพระประสงค์ของพระสันตะปาปาด้วย บทข้า แต่พระบิดาและบทวันทามารีย์ (อย่างน้อยอย่างละ 1 บท) และจะต้องรับศีลอภัยบาปและศีลมหาสนิท ทันทีเมื่อมีโอกาส
ฝ่ายการศึกษา
เมื่ออัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก เข้าสู่ชีวิต
โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�ำราญ
เมือ่ ไม่นานมานี้ สภาการศึกษา คาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดท�ำ รายงานการประเมินตนเองของผูบ้ ริหาร โรงเรียนคาทอลิก (ในประเทศไทย) ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก มีผู้ บริหารโรงเรียนส่งแบบประเมินตนเอง จ�ำนวน 100 ท่าน จาก 92 โรงเรียน คิด เป็นร้อยละ 26 ของโรงเรียนคาทอลิก ทัง้ หมดในประเทศไทย ผลการประเมิน ตนเองสะท้อนความเป็นจริงทีน่ า่ สนใจ ยิง่ จึงขออนุญาตหยิบยกบางประเด็น มาแบ่งปัน
17
ฝ่ายการศึกษา
ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนคาทอลิกควรยกเลิกการด�ำเนินการต่อไปนี้ 1. โรงเรียนต้องเลิกการปล่อยให้มกี ารใช้ความรุนแรงและการละเมิดด้วยประการใด ๆ ทัง้ ทางร่างกายและจิตใจต่อนักเรียน แต่ตอ้ งเริม่ จัดท�ำนโยบายและแนวปฏิบตั ใิ นการ ปกป้องคุ้มครองนักเรียนที่น�ำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. โรงเรียนต้องเลิกการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลคะแนนทางวิชาการที่มุ่งการ แข่งขันจนสร้างความเห็นแก่ตัว แต่ต้องเริ่มให้นักเรียนเคารพศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของกันและกัน 3. โรงเรียนต้องเลิกการสอนทีม่ คี รูเป็นศูนย์กลาง และการสอนทีน่ กั เรียนไม่สามารถได้ ความรู้ ความหมายและข้อคิดเชื่อมโยงกับชีวิตและกลไกของธรรมชาติได้ 4. โรงเรียนต้องเลิกบังคับให้นักเรียนร่วมกิจกรรม พิธีกรรมโดยมีเงื่อนไขคะแนนเป็น ข้อก�ำหนด เพื่อสานต่อพันธกิจตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก จึงน�ำเสนอแนวทางพัฒนาต่อไปนี้ 1. โรงเรียนทุกแห่งจัดท�ำนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองนักเรียน ที่น�ำสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม มีมาตรการแก้ปัญหาและเยียวยาทันที เป็น ระบบและเป็นความลับ 2. โรงเรียนทุกแห่งส่งเสริมให้นักเรียนเคารพคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ กันและกัน ให้โอกาสทุกคนเท่าเทียมกัน โดยค�ำนึงถึงความแตกต่างและความพร้อม ตลอดจนศักยภาพของนักเรียนทุกคน 3. โรงเรียนทุกแห่งมุง่ มัน่ ทุม่ เท เอาใจใส่ในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม หล่อหลอม ให้นักเรียนมีประสบการณ์การด�ำเนินชีวิตบนพื้นฐานคุณค่าพระวรสาร โดยเฉพาะ ด้านความรัก เมตตา ซื่อสัตย์และพอเพียง และการจัดการเรียนการสอนที่บูรณา การต่อค�ำสอนคาทอลิก จัดให้นักเรียนมีโอกาสไตร่ตรองประสบการณ์การเรียนรู้ จนสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ 4. โรงเรียนทุกแห่งสอนให้นักเรียนทุกคนรักษ์สิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน ด้วยความสมัครใจและส�ำนึกรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ 18
ฝ่ายการศึกษา
นอกจากนี้ เพื่อให้การประกาศข่าวดีใน โรงเรียนคาทอลิกเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม กฤษฎีกา สมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 ได้ก�ำหนดเป้าหมายและพันธกิจของการ จัดการศึกษาคาทอลิกไว้ในข้อที่ 25 สรุปได้ว่า “เป้า หมายแท้ของสถานศึกษาคาทอลิกก็คือ เพื่อให้ผู้ เรียนทุกคนได้รู้จักพระเจ้า สัมผัสความรักเมตตา ของพระองค์” จึงท�ำให้โรงเรียนคาทอลิกมีพันธกิจ ต่อไปนี้ คือ
ศึกษาตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิกจ�ำเป็นต้อง เรียนรู้และพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่มีวันสิ้นสุด นี่จึง เป็นวิสัยทัศน์ร่วมที่จ�ำเป็นจะต้องได้รับการน�ำสู่การ ปฏิบัติให้เกิดผลในโรงเรียนของพระศาสนจักรใน สังฆมณฑลของเรา
1. การท�ำให้เอกลักษณ์และอัตลักษณ์การศึกษา คาทอลิกปรากฏอย่างชัดเจนเสมอ สร้างความ เข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับ 2. บริหารจัดการเรียนการสอนโดยยืดคุณค่าพระ วรสารเป็นศูนย์กลางอย่างมั่นคง 3. พัฒนาและเสริมสร้างผูบ้ ริหาร ครู และบุคลากร ทุกระดับให้เจริญชีวิตเป็นแบบอย่าง 4. สอนและอบรมความดีงาม ความจริง และความ งดงามซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญของมนุษย์ 5. ต้องช่วยเหลือครอบครัวของผู้เรียนให้รู้จักวิธี แนะน�ำความเชื่อให้กับลูก ๆ ผู้เขียนเห็นว่าการสังเคราะห์การประเมิน ตนเองนี้จะเป็นประโยชน์ส�ำหรับการบริหารและ จัดการโรงเรียนคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนคาทอลิก ในสังฆมณฑลจันทบุรีของเรา ที่ต้องการการมีส่วน ร่วมจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นบรรดาคุณครู สภา อภิบาล พี่น้องสัตบุรุษ ผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในการเปิดใจกว้างมอง สภาพความเป็นจริง พร้อมเรียนรู้และพัฒนาด้วย ความจริงใจอยูต่ ลอดเวลา เพราะพันธกิจการจัดการ
เรียบเรียงจาก รายงานการประเมินผลและการสังเคราะห์ การประเมินตนเองของผู้บริหารโรงเรียนคาทอลิก ตามอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก 19
แผนกสื่อมวลชน
Clubhouse เทคโนโลยีที่มาเพื่อ Disrupt เทคโนโลยี Clubhouse แพลตฟอร์มสนทนาในรูปแบบ “เสียง” ที่ต่อให้มีแอปฯ ก็ไม่ได้แปลว่า “เล่นได้ทุกคน” Clubhouse แสดงให้เห็นในวิธีการใช้งานซึ่งใช้ได้เฉพาะ “เสียง” เท่านั้น ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ดั้งเดิม ที่สุดของมนุษย์ และสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือ “การฟัง” กันและกัน “ไวในการฟังและช้าในการพูด” (ยากอบ 1:19) Clubhouse คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทีม่ รี ปู แบบการสนทนา และการสร้างปฏิสมั พันธ์ของผูใ้ ช้งานในชุมชนผ่าน “เสียง” เป็นหลัก ด้วย คอนเซปต์ง่าย ๆ ที่ทีมผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง โรฮาน เซธ (Rohan Seth) และพอล เดวิสัน (Paul Davison) ตั้งใจจะให้โลกที่พวกเขาสร้างขึ้น มานั้นเป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนได้พบปะกับเพื่อนใหม่ ผู้คนจากรอบโลก พร้อมแบ่งปันเรือ่ งราวทีต่ วั เองสนใจ เรือ่ งซึง่ เป็นทีส่ นใจของคน จ�ำนวนมาก หรือความสนใจเฉพาะทาง สามารถตั้งค�ำถาม เปิดประเด็น ถกเถียง ดีเบต เก็บข้อมูลความรูเ้ ข้าคลังสมอง และพูดคุยในประเด็นร้อน ซึ่งก�ำลังเป็นที่สนใจจากสังคม โดยตัวผูใ้ ช้งานสามารถเข้า-ออก ห้องสนทนาห้องต่าง ๆ ได้อย่าง อิสระ ประหนึ่งว่า “เราก�ำลังเข้าอีเวนต์งานสัมมนาเวทีใหญ่ ๆ” แล้ว มีเวทีย่อย ๆ ที่มีประเด็นดีเบต ให้ความรู้น่าสนใจหมุนเวียนกันไปตาม แต่ละช่วงเวลาให้เราเลือกเข้าไปนั่งฟังได้ตามต้องการ 20
แผนกสื่อมวลชน
การสร้างประสบการณ์ทางสังคม ที่ให้ความรู้สึกถึง “ความเป็นมนุษย์” มากขึ้น (Felt more human) สาเหตุที่ต้องเป็นการสนทนาผ่านรูปแบบเสียงเพียงอย่างเดียว ก็เพราะว่า ทั้งเซธและเดวิสันมองว่า เสียงเปรียบเสมือน “สื่อกลางที่ดี” และพิเศษที่สุดในแง่ ของการสร้างบทสนทนา โดยทีไ่ ม่จ�ำเป็นต้องเปิดกล้อง หรือมานัง่ กังวลกับการ Eye Contact และประเด็นความเป็นส่วนตัวของเราที่ไม่ได้อยากจะแชร์ให้คนอื่นรู้ว่าเรา ท�ำอะไรที่ไหน แต่งหน้าแต่งตัวอย่างไร นอกจากนี้ การพูดผ่านไมค์ของสมาร์ทโฟนก็ยงั ง่ายกว่าการพิมพ์ขอ้ ความบน แป้นคีย์บอร์ดสมาร์ทโฟนอีกด้วย ซึ่งท�ำให้บทสนทนาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มากกว่า ทีส่ ำ� คัญ น�ำ้ เสียงทีค่ ณ ุ ใช้ในการสนทนากับผูอ้ นื่ ก็ยงั เป็นอีกหนึง่ ความได้เปรียบ ทีท่ ำ� ให้ขอ้ ความทีเ่ ราต้องการจะสือ่ สารนัน้ เก็บรายละเอียดในแง่ของ “อารมณ์” หรือ รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ปลีกย่อยได้ดีกว่าข้อความตัวอักษรอีกด้วย เรียกง่าย ๆ ว่านี่คือการ Disrupt โลกเทคโนโลยีที่ล�้ำหน้าทันสมัยจนเกินไป และท�ำให้เส้นแบ่ง “ความเป็นส่วนตัว” ของเราเริ่มบางลงเรื่อย ๆ เพราะในบาง ครั้ง ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียก็อยากจะแค่เข้าร่วมบทสนทนาโดยที่พวก เขาไม่ได้ต้องการจะเปิดเผยตัวตน หรือให้ใครรู้ว่าตัวเองเป็นใคร ท�ำอะไรที่ไหน กับ ใคร มีสภาพบริบทแวดล้อมอย่างไร “เป้าหมายของเราคือการสร้างประสบการณ์ทางสังคมที่ให้ความรู้สึก ถึง ‘ความเป็นมนุษย์’ ที่มากขึ้น (Felt more human) แทนที่จะใช้การโพสต์ ข้อความ ความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิด แต่คุณสามารถเข้าร่วมกับผู้ใช้งานคน อื่น ๆ ด้วยการพูดคุยกับพวกเขา ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของ Clubhouse ก็คือการ สร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างที่ท�ำให้คุณรู้สึกว่า ตอนที่กดออกจากแอปฯ ในช่วง สิน้ สุดการสนทนา เป็นความรูส้ กึ ทีด่ กี ว่าตอนทีเ่ ปิดแอปฯ ขึน้ มา เนือ่ งจากมันได้ ช่วยให้คุณได้สร้างสรรค์มิตรภาพและพบเจอผู้คนใหม่ ๆ เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากพวกเขา” ซึ่งเป็นค�ำกล่าวของผู้ก่อตั้ง Clubhouse โดยในช่วงวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยกันว่า ผู้ใช้งาน Clubhouse มีจ�ำนวนมากกว่า 2 ล้านรายทั่วโลกแล้ว นับตั้งแต่ที่แพลตฟอร์มเริ่ม เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย 21
แผนกสื่อมวลชน
แพลตฟอร์มที่ไม่ได้แค่ “ดาวน์โหลด” ก็จะเข้าเล่นได้เลยทันที อันดับแรกคือ เราต้องดาวน์โหลดแอปฯ Clubhouse มาก่อน ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังมีให้โหลดแค่บนแพลตฟอร์ม iOS เท่านั้น (Play Store ยังต้อง รอต่อไป) แต่ก็ใช่ว่าเราโหลด Clubhouse มาแล้วจะสามารถเข้าใช้งาน เล่นได้ทันที เพราะถ้าเราไม่ได้รับค�ำเชิญจากผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ให้ดาวน์โหลด แอปฯ ก็จะต้องรอในห้อง Waitlist เพื่อให้ผู้ใช้งาน Clubhouse คนก่อน ๆ ที่เป็นเพื่อนของเรา (เชื่อมโยงจาก Contact) ตอบตกลงที่จะให้เราเข้าร่วม แพลตฟอร์มนี้นั่นเอง ในแง่หนึ่งอาจมองได้ว่า Clubhouse ยังอยู่ในช่วงของการให้ใช้ แพลตฟอร์มแบบ Beta หรือยังไม่ได้เปิดให้ใช้งานแบบเต็มอัตรา พวกเขาจึง เลือกใช้วิธีนี้ในการคัดกรองผู้ใช้งานในระดับเบื้องต้น แต่ในอีกด้านหนึง่ เราก็อาจจะมองได้ดว้ ยว่า วิธกี ารเพิม่ ผูใ้ ช้งานในแบบ นี้เป็นไปตามความตั้งใจของ Clubhouse ที่เน้นการสานปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผูค้ นล้วน ๆ เพราะฉะนัน้ การเพิม่ ระบบทีจ่ ะให้เข้ามาใช้งาน Clubhouse ได้ก็ ต่อเมือ่ มี “เพือ่ นแนะน�ำเพือ่ น” จึงเป็นการเพิม่ ความหมายของค�ำว่า “ชุมชน ผู้ใช้งาน” ให้ลุ่มลึกมากขึ้น ทั้งยังตอบโจทย์ของการเป็น Clubhouse ตาม ชื่อของตัวแพลตฟอร์มอีกด้วย ซึ่งในอนาคต หาก Clubhouse เปิดให้ดาวน์โหลดผ่านแพลตฟอร์ม Play Store ได้ ก็น่าจะมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มของพวกเขาเพิ่มขึ้นอย่างมี นัยส�ำคัญแน่นอน
22
แผนกสื่อมวลชน
คาทอลิกได้รับอะไรจาก Clubhouse • Clubhouse ท�ำให้เรารูว้ า่ ความรูข้ องเรานัน้ ยังน้อยนัก ซึง่ แอปนีต้ อ้ งการให้เราเข้าไปฟัง ความรูห้ ลาย ๆ กลุม่ ไม่เพียงแต่กลุม่ ทีส่ นใจ เช่นเดียวกับทีพ่ ระคัมภีรย์ �้ำกับเราว่า “เพราะ ความเขลาของพระเจ้ายังมีปญ ั ญายิง่ กว่า ปัญญาของมนุษย์ และความอ่อนแอของ พระเจ้าก็ยังมีก�ำลังมากยิ่งกว่าก�ำลังของ มนุษย์” (1คร 18:25) เราจึงไม่ควรคิดว่าเรา รู้มากกว่าคนอื่นเสมอ
• Clubhouse ท�ำให้เรารูว้ า่ ต่อให้เทคโนโลยีจะ ก้าวหน้าเพียงใด แต่สงิ่ ทีม่ นุษย์ตอ้ งการมาก ที่สุดคือ “ความสัมพันธ์” ซึ่ง Clubhouse แสดงให้เห็นในวิธีการใช้งานซึ่งใช้ได้เฉพาะ “เสียง” เท่านัน้ ซึง่ เป็นการสือ่ สารทีด่ งั้ เดิม ทีส่ ดุ ของมนุษย์ และสิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ “การ ฟัง” กันและกัน “ไวในการฟังและช้าใน การพูด” (ยากอบ 1:19)
โดย คุณพ่อเปโตร นรเทพ ภานุพันธ์ (สืบค้นจาก https://thestandard.co/what-is-clubhouse/ : เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2021) 23
ฝ่ายกฎหมายฯ
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ “การแต่งงานที่ถูกต้อง” สวัสดีผู้อ่านที่น่ารักทุกท่านครับ วันนี้พ่อขอเสนอบทความสั้นๆ เพื่อช่วยให้พี่น้องเกิด ความชัดเจนในประเด็น “การแต่งงานที่ถูกต้อง” นะครับ #รักไม่มีพรมแดน
A.การแต่งงานที่ถูกต้องของผู้ไม่เป็นคริสตชน ได้แก่ .....
1. การแต่งงานทางศาสนาที่ตนนับถือ เช่น การแต่งงานของชาวพุทธ, การแต่งงานของ มุสลิม, การแต่งงานของศาสนาฮินดู, ฯลฯ 2. การแต่งงานตามประเพณีท้องถิ่น เช่น การผูกข้อไม้ข้อมือ, การขอขมา, การสู่ขอโดย ผู้ใหญ่, ฯลฯ 3. การแต่งงานทางกฎหมายบ้านเมือง คือ การจดทะเบียนสมรส
การแต่งงาน 3 รูปแบบนี้ หากเคยเกิดขึ้นกับผู้ใดผู้หนึ่ง, คู่ใดคู่หนึ่ง จะนับถือศาสนา หรือไม่ก็ตาม ...ซึ่งมิใช่คริสตชน...นะครับ พ่อขอย�้ำว่า “พระศาสนจักรคาทอลิก ยอมรับว่านี่ คือการแต่งงานที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้ว” เรียกว่าเกิดพันธะการแต่งงานที่ไม่อาจลบล้างด้วย อ�ำนาจของมนุษย์ครับ
คนต่างศาสนา
แต่งงาน
คนต่างศาสนา
โดยพระศาสนจักรจะไม่เข้าไปมีส่วนในการแต่งงานของผู้ไม่เป็นคริสตชนเหล่านั้น เว้นแต่ว่า ผู้ไม่เป็นคริสตชนมีพันธะการแต่งงาน และมาเกี่ยวข้องกับฝ่ายคริสตชนคาทอลิก 24
ฝ่ายกฎหมายฯ
B.การแต่งงานที่ถูกต้องของคริสตชนคาทอลิก ได้แก่ การแต่งงานตามรูปแบบ
ของพระศาสนจักร กล่าวคือ การแต่งงานที่วัดหรือสถานที่อื่น ๆ ที่ผู้มีอ�ำนาจท้องถิ่น อนุญาต โดยคริสตชนคาทอลิก อาจแต่งงานกับคริสตชนด้วยกัน หรือ แต่งงานกับคริสต ชนต่างนิกาย หรือ คริสตชนคาทอลิกอาจแต่งงานกับผูท้ นี่ บั ถือต่างศาสนากันก็ได้นะครับ
คริสตชนคาทอลิก
แต่งงานที่วัด
คริสตชนคาทอลิก
คริสตชนคาทอลิก
แต่งงานที่วัด
คริสตชนต่างนิกาย
คริสตชนคาทอลิก
แต่งงานที่วัด
คนต่างศาสนา
สรุป การแต่งงานของคริสตชนคาทอลิก จะต้องแต่งงานที่วัด หรือสถาน
ที่ที่ได้รับอนุญาต โดยจะต้องปฎิบัติตามรูปแบบการแต่งงานแบบคาทอลิกที่ถูกต้อง หากไม่มีการกระท�ำดังกล่าวนี้ พระศาสนจักรพิจารณาว่า การแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ พีน่ อ้ งทุกท่านทีเ่ คารพรักครับ พ่อทราบว่าแต่ละท่านอาจจะเคยอ่าน และเข้าใจ เรือ่ งนีพ้ อสมควรแล้ว อย่างไรก็ตามพ่อเห็นว่า “หลายท่านยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจนซะ ทีเดียว” จึงน�ำความเดิมมาย้อนฟิล์มให้พี่น้องร่วมกันเป็นเครือข่ายข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจนและน�ำไปบอกต่อกันด้วยครับ สุขสันต์ปัสกา อัลเลลูยา แด่ท่านผู้อ่านครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายกฎหมายฯ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 25
แผนกพิธีกรรม
“ธรรมล�้ำลึกแห่งปัสกา” (Paschal Mystery)
“การสมโภชปัสกา” เป็นธรรมล�ำ้ ลึกทีส่ ำ� คัญ ทีส่ ดุ ของพระศาสนจักร เป็นธรรมล�ำ้ ลึกแห่งการช่วย ให้รอดพ้นหนึ่งเดียวทีพ่ ระเจ้าทรงประทานให้แก่โลก เพื่อมนุษย์จะได้ผ่านพ้นจากความตายตลอดนิรันดร อันเป็นผลของบาปและความไม่เชือ่ ฟัง โดยให้มนุษย์ มีความหวังในชีวิตนิรันดรอีกครั้งหนึ่ง อาศัยการ สิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนมชีพของพระ เยซูคริสตเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์ อาศัยความ ตายและการกลับคืนพระชนมชีพของพระองค์เราจึง ได้รับชีวิตนิรันดร “ดังนั้น เราถูกฝังไว้ในความตายพร้อม กับพระองค์ อาศัยศีลล้างบาป... ถ้าเรารวมเป็น หนึ่งเดียวกับพระองค์ในการสิ้นพระชนม์ เราก็ จะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในการกลับคืน พระชนมชีพด้วยเช่นกัน” (รม 6:4-5, อฟ 6:2, คส 3:1, ทธ 2:11) หากเราคริสตชน มุ่งมั่นที่จะด�ำเนินชีวิตให้ สอดคล้องกับพันธกิจแห่งการไถ่ให้รอด ของพระ คริสตเจ้า เราก็ต้องเตรียมตัวให้เหมาะสม กับการ เฉลิมฉลองปัสกาให้ดที สี่ ดุ ซึง่ พระศาสนจักรได้มอบค�ำ 26
แนะน�ำ เรือ่ งเทศกาลมหาพรต และการเตรียมสมโภช ปัสกา จากสมณกระทรวงจารีตพิธกี รรม (CIRCULAR LETTER CONCERNING THE PREPARATION AND CELEBRETION OF THE ESTER FEASTS) ซึ่งเขียนไว้ส�ำหรับบรรดาคริสตชน เมื่อ วันที่ 16 มกราคม 1988 มีเนื้อหาเพื่อช่วยให้เรา เตรียมจิตใจในการเดินทางตลอดเทศกาลมหาพรต มุ่งสู่การสมโภชปัสกา ได้อย่างมีความหมาย เพิ่ม ความศักดิ์สิทธิ์ ความมั่นคงในความเชื่อ และความ หวังถึงชีวิตนิรันดร ค�ำแนะน�ำเรื่อง เทศกาลมหาพรตและการเตรียมสมโภชปัสกา สวัสดีพี่น้องสายใยจันท์ที่เคารพ ในระหว่าง ช่วงเวลาแห่งเทศกาลมหาพรตและเทศกาลปัสกา เป็นช่วงเวลาที่มีการจัดพิธีกรรมเฉลิมฉลองหลาย เหตุการณ์ ในสายใยจันท์ฉบับนี้พ่อคงไม่ลงไปในราย ละเอียด แต่อยากจะสรุปความคิดและค�ำแนะน�ำทีเ่ ป็น ภาพรวมใหญ่ๆ ให้พี่น้องได้เข้าใจพอสังเขป
แผนกพิธีกรรม
1. ส�ำหรับคณะสงฆ์ ขอให้ท่านศึกษาค�ำแนะน�ำที่พระศาสนจักร ในการเฉลิมฉลองนี้อย่างเคร่งครัด โดยซื่อสัตย์ต่อ ความหมายยิง่ ใหญ่แห่งพระธรรมล�ำ้ ลึกปัสกา ซึง่ พระ สงฆ์ทกุ องค์ได้รบั มาเป็นหน้าทีใ่ นฐานะ ศาสนบริกรผู้ ประกอบพิธกี รรมต่างๆ ในพระบุคคลของพระเยซูเจ้า (In Persona Christi) เพือ่ ว่าอาศัยพิธกี รรมศักดิส์ ทิ ธิ์ ต่างๆ ตลอดเทศกาลมหาพรตและปัสกานี้ พระสงฆ์ พร้อมกับคริสตชนจะรับความศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละสัมผัสกับ พระธรรมล�้ำลึกปัสกาได้อย่างแท้จริง พระสงฆ์ศาสนบริกรพึงใช้โอกาสนี้ อธิบาย สัง่ สอนและถ่ายทอดค�ำแนะน�ำในพิธกี รรมการเฉลิม ฉลอง เพือ่ ให้สตั บุรษุ ได้เติบโตในความเข้าใจและร่วม สมโภชปัสกาได้อย่างถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น พระสงฆ์ศาสนบริกร พึงเอาใจใส่ต่อการจัด เตรียมพิธีกรรมและการประกอบพิธีกรรมเป็นพิเศษ เพื่อท�ำให้การสมโภชปัสกาแสดงถึงพระสิริรุ่งโรจน์ แห่งการไถ่มนุษย์ได้รอดพ้นอย่างชัดเจนและสง่างาม 2. นักบวชชายหญิงและผู้ถวายตน ทุกท่านพึงไตร่ตรองว่า ธรรมล�้ำลึกแห่งปัส กานี้ท�ำให้เกิดกระแสเรียกของตน กระแสเรียกแห่ง การถวายตนเพือ่ ร่วมงานกับพระศาสนจักร โดยอาศัย การถวายตนของท่านเฉกเช่นพระคริสตเจ้าที่ทรง ถวายพระองค์เองเพื่อความรอดพ้นของมวลมนุษย์ ทุกท่านมีบทบาทส�ำคัญที่จะเอาใจใส่และรับผิดชอบ การจัดเตรียมพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นบทบาทส�ำคัญ อย่างยิ่งร่วมกับพระสงฆ์ศาสนบริกร การมีส่วนร่วม ในพระธรรมล�้ำลึกปัสกาของพระเยซูเจ้าในพิธีกรรม ด้วยความเอาใจใส่ตลอดเทศกาลมหาพรตและปัส กา จะท�ำให้ชีวิตนักบวชเจริญก้าวหน้าเติบโตยิ่งขึ้น อย่างแน่นอน
3. พี่น้องคริสตชนทุกคน คริสตชนทุกคนมีความซื่อสัตย์และความ ศรัทธาภักดีในการเข้าร่วมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์แห่ง การสมโภชปัสกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมตัว สมโภชด้วยการคืนดีกับพระเจ้าในศีลอภัยบาป การ ฟังและปฏิบตั ติ ามพระวาจา โดยเฉพาะด้วยการสวด ภาวนา การกระท�ำกิจเมตตาปรานี รวมทั้งการพลี กรรมใช้โทษบาป ฯลฯ หากเราคริสตชนร่วมสมโภช ปัสการด้วยความรักและความศรัทธาอย่างมีคุณค่า และมีความหมายจะท�ำให้เข้ามีเป็นหนึง่ เดียวกับธรรม ล�้ำลึกแห่งการไถ่ของพระคริสตเจ้ามากยิ่งขึ้น เป็นพิเศษส�ำหรับบรรดาผู้จะเข้าเป็นคริสต ชน ช่วงเวลาแห่งเทศกาลมหาพรต เป็นเวลาของ การช�ำระจิตใจและการส่องสว่างสติปญ ั ญาอย่างเต็ม ทีโ่ ดยเฉพาะใน “พิธพี จิ ารณาความตัง้ ใจ” เพือ่ พวก เขาจะพร้อมรับความเชือ่ ในพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริง เป็นเวลาทีบ่ รรดาคริสตชนจะต้องภาวนาเป็น พิเศษเพือ่ พีน่ อ้ งทีจ่ ะเข้าเป็นคริสตชนเหล่านีด้ ว้ ย เพือ่ พวกเขาจะได้รับการน�ำจากองค์พระจิตเจ้า ในการ เข้ามาร่วมในธรรมล�้ำลึกแห่งการไถ่ของพระคริสต เจ้าอย่างสมบูรณ์ที่สุด จึงขอให้พี่น้องทุกคนเฉลิมฉลองธรรมล�้ำ ลึกแห่งปัสกาต่อไปอย่างมีความสุข และชื่นชมยินดี ในชีวิต นะครับ
สุขสันต์วันปัสกา คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี
27
แผนกครอบครัว
ผลการประเมิน
ความพึงพอใจต่อชีวต ิ และ ความรักในครอบครัวปัจจุบน ั สังฆมณฑลจันทบุร ี ค.ศ. 2020
โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี
อัลเลลูยา...สุข สันต์ปัสกาแด่พี่น้องทุกท่าน...อัลเลลูยา เนือ่ งด้วยแผนกครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรี ได้ด�ำเนินการประเมินผลโครงการสัมมนาฟื้นฟูชีวิต ครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) และประเมินผลชีวิตและ ความรักในครอบครัวปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี เพือ่ น�ำผลทีไ่ ด้ไปปรับปรุงและพัฒนางานอภิบาลด้าน ครอบครัว และด�ำเนินการจัดท�ำแผนงานอภิบาล ครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรีปี ค.ศ. 2021-2025 ต่อไป ดังนั้น พ่อในฐานะผู้รับผิดชอบงานอภิบาล ครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี และทีมงาน จึงขอน�ำ เสนอผลของการประเมินเกี่ยวกับ “ชีวิตและความ รักในครอบครัวปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี” ที่ ทีมงานแผนกครอบครัวร่วมด้วยช่วยกันจัดท�ำเครือ่ ง มือแบบสอบถามการประเมิน และรวบรวมข้อมูลส่ง กลับมาที่แผนกครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรีและ ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูล จ�ำนวนทั้งสิ้น 500 ท่าน โดย ใช้ระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม - 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 28
ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว ส่วนที่ 2 แบบสอบถามประเมินผลโครงการสัมมนา ฟื้นฟูชีวิตครอบครัว ขั้นที่ 1 (ฟฟ.1) ส่วนที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลความพึงพอใจ ต่อชีวติ และความรักในครอบครัวปัจจุบนั (ด้านความรัก ความผูกพัน บทบาท การ สื่อสาร การแก้ปัญหา กฎระเบียบ การ ใช้เวลาร่วมกัน จิตวิญญาณ ความสุข ในครอบครัว) ส่วนที่ 4 แบบสอบถามแสดงความคาดหวังและ ความต้องการของครอบครัวต่อแผนก ครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี ซึง่ ในบทความนี้ พ่อขอน�ำเสนอผลการประเมิน ในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 3 จุดประสงค์เพื่อพี่น้องจะได้ ทราบถึงสถานภาพของชีวติ และความรักในครอบครัว ปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี ว่าเป็นอย่างไร
แผนกครอบครัว
ผลที่ได้รับจากส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว คือ ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น • เพศชาย (41.8%) • เพศหญิง (58.2%) • อายุอยู่ระหว่าง 31-59 ปี (58.6%) • มีสถานะภาพการสมรส (86.2%) • ที่ยังอยู่ด้วยกัน (86.2%) • หย่าร้างแล้ว (5.4%) • คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว (8.4%) • จ�ำนวนปีของการสมรสตั้งแต่ 16-46 ปี ขึ้นไป (80%) • จ�ำนวนบุตร 2 คน (40%) • นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (80.4%) • มีอาชีพประกอบธุรกิจส่วนตัว (35.6%) • วุฒกิ ารศึกษาปริญญาตรีหรือต�ำ่ กว่า (97.4%)
ผลที่ได้รับจากส่วนที่ 3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อชีวิต และความรักในครอบครัวปัจจุบัน ในส่วนที่ 3 นี้ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น 8 ด้าน คือ 1. ด้านความรักความผูกพัน 2. ด้านบทบาทหน้าที่ในครอบครัว 3. ด้านการสื่อสารในครอบครัว 4. ด้านการแก้ปัญหา 5. ด้านกฎระเบียบในครอบครัว 6. ด้านการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว 7. ด้านจิตวิญญาณ (ศาสนา) 8. ด้านความสุขทั่วไปในครอบครัว โดยมีเกณฑ์ดังนี้ ระดับ 5 (มากที่สุดหรือดีมาก) ระดับ 4 (มากหรือดี) ระดับ 3 (ปานกลางหรือพอใช้) ระดับ 2 (น้อยหรือต�่ำกว่ามาตรฐาน) ระดับ 1 (น้อยที่สุดหรือต้องปรับปรุงแก้ไข)
29
แผนกครอบครัว ผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ ระดับความพึงพอใจต่อชีวิตและความรักในครอบครัว 5 4 3 2 1 เฉลี่ย ด้านการแสดงออกถึงความรักและความผูกพันในครอบครัว
ประเด็นค�ำถาม
1.ความใกล้ชิดสนิทสนมในครอบครัว 34.4% 49.2% 13.2% 2.4% 2.การให้ความสนใจใส่ใจซึ่งกันและกันในครอบครัว 33.6% 49.8% 13.2% 2% ด้านการท�ำหน้าที่ตามบทบาทในครอบครัว
4.14 4.12
3.การท�ำหน้าที่ตามบทบาทของผู้เป็นพ่อแม่และลูก 32% 4.ความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงในหน้าที่ของแต่ละคน 26.8% 5.การยอมรับและเคารพในความแตกต่างของแต่ละคน 29.6% 6.ความยืดหยุ่น อะลุ้มอล่วยซึ่งกันและกัน 30.4% ด้านการสื่อสารภายในครอบครัว
51% 52.6% 50.8% 52.4%
15.2% 1% 19.2% 1% 17.8% 1.4% 15.8% 1%
0.8% 0.4% 0.4% 0.4%
4.12 4.04 4.08 4.11
7.สื่อสารตรงประเด็นบอกความต้องการอย่างตรงไปตรงมา 24% 8.ใส่ใจรับฟังทั้งเนื้อหาและอารมณ์ เข้าใจและเห็นอกเห็นใจ 22% 9.สนับสนุนชื่นชมทั้งด้วยค�ำพูดและท่าทางเมื่อท�ำสิ่งดี 25.2% 10.มีอิสระในการสื่อสาร เปิดเผยและยอมรับและเคารพ 29.8% ด้านการแก้ปัญหาในครอบครัว
46.2% 47.8% 45.6% 46%
27.4% 1.6% 28.2% 1% 27.4% 1% 18.6% 5%
0.8% 1% 0.8% 0.6%
3.91 3.89 3.93 3.99
11.รับรู้ปัญหาและร่วมมือในการวางแผนแก้ปัญหาร่วมกัน 25.6% 51.4% 19% 2.8% 12.ยอมรับความแตกต่างและสามารถปรับตัวเข้าหากันได้ 26.4% 51.6% 17.4% 3.8% ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบของครอบครัว
1.2% 0.8%
3.97 3.99
13.สมาชิกมีโอกาสร่วมออกกฎระเบียบในครอบครัว 23.8% 43.4% 28% 14.สามารถควบคุมและจัดการพฤติกรรมไม่ท�ำให้เดือดร้อน 26% 46.4% 23% ด้านการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว
4% 3.6%
0.8% 1%
3.85 3.93
15.การพูดคุยกันเรื่องทั่วๆไปและสร้างความผ่อนคลาย 26.2% 44.8% 23.6% 4% 16.เล่าเรื่องทุกข์ใจและรับฟังกันและให้ค�ำปรึกษา 22.2% 47.6% 24% 4.4% 17.มีการท�ำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม�่ำเสมอ 22.2% 41.4% 28.6% 5.2% ด้านการด�ำรงชีวิตทางจิตวิญญาณ (ศาสนา)
1.4% 1.8% 2.6%
3.90 3.84 3.75
18.การร่วมพิธีกรรมทางศาสนาที่ตนนับถืออย่างสม�่ำเสมอ 33.4% 40.6% 19% 5.6% 19.การถ่ายทอดหลักศีลธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม 26.8% 46.2% 19.6% 6.8% ด้านความสุขทั่ว ๆ ไปของครอบครัว
1.4% 0.6%
3.99 3.92
29.4% 46.4% 20.6% 2.8% 27.6% 41.6% 25.2% 3.8% 29% 48.6% 17.8% 3.6%
0.8% 1.8% 1%
4.01 3.89 4.01
20.สัมพันธภาพเชิงบวก มีบรรยากาศที่ดีไม่ทะเลาะกัน 21.ทุกคนมีสุชภาพทางกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย 22.ทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดี ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ 30
0.8% 1.4%
แผนกครอบครัว
จากสถิติการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อชีวิตและความรักในครอบครัวปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2020 แสดงให้เห็นว่า ในทุกๆ ด้านของชีวติ และความ รักในครอบครัวปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี คริสตศักราช 2020 นั้น อยู่ในเกณฑ์ “ดี” แต่ถา้ ดูจากสถิตจิ ากค่าเฉลีย่ นัน้ ด้านการแสดงออกถึงความรักและความผูกพัน ในครอบครัว และด้านการท�ำหน้าทีต่ ามบทบาทในครอบครัว และด้านความสุขทัว่ ๆ ไป ของครอบครัวนั้น อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ส่วนด้านการสือ่ สารภายในครอบครัว ด้านการแก้ปญ ั หาในครอบครัว ด้านการ ปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของครอบครัว ด้านการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว และด้านการ ด�ำรงชีวิตทางจิตวิญญาณ (ศาสนา) นั้น อยู่ในเกณฑ์ “พอใช้” ดังนั้น เมื่อเราพอเห็นภาพกว้าง ๆ ของชีวิตและความรักในครอบครัวปัจจุบัน สังฆมณฑลจันทบุรี ปีคริสตศักราช 2020 แล้ว สิ่งที่ครอบครัวทั้งหลาย รวมทั้งแผนก ครอบครัวสังฆมณฑลจันทบุรี บรรดาพระสงฆ์ นักบวชชายหญิง บรรดาโรงเรียนต่าง ๆ บรรดาองค์กรคาทอลิกทุก ๆ องค์กร เราต้องร่วมมือกันในการพัฒนาชีวติ และความรักใน ครอบครัวในด้านของการสือ่ สารภายในครอบครัว ด้านการแก้ปญ ั หาในครอบครัว ด้าน การปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของครอบครัว ด้านการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว และด้าน การด�ำรงชีวติ ทางจิตวิญญาณ (ศาสนา) ในครอบครัว ให้มากยิง่ ขึน้ เพือ่ ท�ำให้ครอบครัว สามารถฝ่าวิกฤตไปด้วยกันและอยู่ด้วยกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่ และท้ายที่สุดนี้ ให้เราวอนขอองค์พระผู้เป็นเจ้า ผ่านทางครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ แห่งนาซาเร็ธ โปรดทรงอวยพระพรครอบครัวของเรา ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว ของเราทุก ๆ วันและตลอดไปเทอญ อาแมน
31
ฝ่ายสังคม
การพัฒนาคุณภาพชีวิต
งานออมทรัพย์ และเครดิตยูเนี่ยน
โดย นายโยธิน เยียงแก้ว เจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี
ในสมณสาน์สความรักในความจริง (CARITAS IN VERITATE) ได้กล่าวถึง การพัฒนาคนทั้งครบไว้น่าสนใจว่า “เศรษฐกิจ การเงิน ที่หนุนส่งให้คนได้เติบโต จะต้องมีจริยธรรม มีความโปร่งใส การไม่เก็งก�ำไรอย่างน่าอัปยศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ควรได้รับการปกป้องให้พ้นจากความเสี่ยงของการจ่ายดอกเบี้ยที่สูง และช่วย เหลือสมาชิกที่อ่อนแออย่างเป็นรูปธรรม” (เทียบสมณสาน์น ความรักในความจริง บทที่ 5 ข้อ 65) ในงานของศูนย์สังคม พัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ได้มกี าร ส่งเสริม สนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหา ความยากจน หรือการปลดหนี้สิน ที่ต้องใช้กระบวนการความร่วมมือ กันระหว่างคนในชุมชน หรือผู้ที่มีใจ เดียวกัน น�ำไปสู่ผลส�ำเร็จได้โดยง่าย จากการร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจที่ดีก็จะเป็น สัมพันธภาพความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล และความไว้วางใจ ซึ่ง เป็นสิ่งส�ำคัญในงานพัฒนาสังคมจึงเกิดเป็นกลุ่มออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนขึ้นมา 32
ฝ่ายสังคม
กระบวนการทีเ่ กิดขึน้ จากอดีต ศูนย์สงั คมพัฒนาฯ จันทบุรี ได้ลงพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ านหลายโครงการและหนึง่ ในนั้นคือ กลุ่มออมทรัพย์ ที่ส่งเสริมท�ำความเข้าใจถึงประโยชน์ของตน และคนในชุมชน ได้พัฒนาขึ้นเป็นกลุ่ม เครดิตยูเนีย่ น อาทิเช่น กลุม่ เครดิตยูเนีย่ นสังคมพัฒนาบ้านนางาม กลุม่ เครดิตยูเนีย่ นวัดนักบุญเบเนดิกต์ เขา ฉกรรจ์ กลุม่ เครดิตยูเนีย่ นวัดนักบุญเปโตร ท่าแฉลบ และยังมีอกี 8 กลุม่ ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ ตามล�ำดับ โดยศูนย์สงั คม พัฒนาฯ จันทบุรี ได้นำ� สมณสาน์นมาเป็นทิศทางหลักในการด�ำเนินงาน เพือ่ ให้เห็นถึงคุณธรรมขัน้ สูงสุดของมนุษย์ ในการจะกล่อมเกลาจิตใจผ่านทาง กิจกรรมเพือ่ การพัฒนาคนทัง้ ครบ โดยมีคณ ุ ธรรม 5 ประการ ซึง่ เป็น หัวใจของการรวมกลุม่ เป็นเครือ่ ง มือเพือ่ การประสาน ให้เกิดชีวติ ที่ มีคุณภาพของ “กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน” ไม่ใช่ การเติบโตของกองทุนที่ไร้ลม หายใจเท่านั้น
33
ฝ่ายสังคม
บนพื้นฐานคุณธรรม 5 ประการ ของเครดิตยูเนี่ยน ที่กล่าวถึงนี้ ได้แก่ 1. ความซื่อสัตย์ หมายถึงการด�ำเนินชีวิตอยู่ด้วยคุณค่าสูงสุดของมนุษย์ เกี่ยวโยง สัมพันธ์กับความจริงใจ ช่วยให้เราฟังเสียงแห่งมโนธรรมของตนเอง ท�ำในสิ่งที่ถูก ต้อง บอกเล่าถึงความจริง ค�ำพูดและการ กระท�ำต้องสอดคล้องกัน ความซื่อสัตย์ ท�ำให้เราเคารพตนเอง และมีสันติสุขในใจ 2. ความเสียสละ หมายถึงการให้และการแบ่งปัน อย่างอิสระไม่หวังสิง่ ตอบแทน เป็น วิถที างทีท่ ำ� ให้คนอืน่ ได้รบั ความสุข ซึง่ เป็นแนวทางหนึง่ ทีด่ ที สี่ ดุ ในการแสดงความ รัก และมิตรภาพต่อทุกคน 3. ความรับผิดชอบ หมายถึงคนอื่นสามารถวางใจในตัวเรา ในการ กระท�ำบางอย่าง ที่ดีที่สุด การยอมรับผิด และรับชอบในการกระท�ำนั้น เมื่อท�ำผิดพลาดก็พร้อมที่ จะแก้ไขโดยไม่แก้ตัว และตอบสนองศักยภาพของบุคคลได้อย่างดีที่สุด 4. ความเห็นอกเห็นใจ หมายถึงการมอบความรักและความสนใจไปยังคนอืน่ และสิง่ อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับตนเอง เมื่อเราเห็นอกเห็นใจคนอื่น เราได้ช่วยเขาแล้ว เราปฏิบัติ ต่อคนอื่น และสิ่งอื่น อย่างรู้คุณค่า การให้เกียรติท�ำให้โลกและสังคมน่าอยู่ 5. ความไว้วางใจ หมายถึงการมีความเชื่อถือต่อบางคน หรือบางสิ่งบางอย่าง เป็น เรื่องของทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับชีวิต โดยที่การเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ถูกต้องจะเกิดขึ้น โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือถูกท�ำให้มีขึ้น แม้ว่าเมื่อมีสิ่งที่ยุ่งยากเกิดขึ้น ความ ไว้วางใจนี้ช่วยเราได้พบกับของขวัญหรือบทเรียนในชีวิต
34
ฝ่ายสังคม
พลวัต จตุจิตตารมณ์ และเบญจคุณธรรม สล เสีย
จ
ซื่อสัตย์
ใจ สน
รับ ใช้
วา งใ
ะ
ประหยัด
สะสม
ผ
เห
รับ
กู้ยืม
บ
ิดช อ
น็ ใจ
แ
งใย
ป บ่ง
ห่ว
ัน
ส่งคืน
ภาพวงกลมนี้ จึงเป็นแบบอย่างที่น�ำไปสู่การอบรมสมาชิกทุกคน เพื่อมองให้เห็นถึง ความรัก การมีจิตใจเดียวกัน ของจิตตารมณ์ 4 ข้อ ......... ใจที่ สนใจ ชีวิตของกันและกัน ......... ใจที่ ห่วงใย ในความเป็นอยู่ของกันและกัน ......... ใจที่พร้อมจะ แบ่งปัน ให้กันด้วยปัจจัยที่จ�ำเป็น ......... ใจที่พร้อมจะ รับใช้ ช่วยเหลือกันในฐานะเป็นมนุษย์ด้วยกัน ศูนย์สงั คมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี ได้เล็งเห็นถึงความจ�ำเป็นและความต้องการของ ผู้คนในสังคมปัจจุบัน จึงได้ด�ำเนินงานสร้างกลุ่มออมทรัพย์และเครดิตยูเนี่ยนที่ยั่งยืน โดยการ ส่งเสริม สนับสนุนและด�ำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่ออยู่เคียงข้าง ผู้ยากไร้และพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 35
แผนกเยาวชน
กิจกรรมเปิดปีเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี
โดย เจ จันท์
สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา แผนกเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดให้มีกิจกรรมเปิดปีเยาวชนในระดับ สังฆมณฑลขึน้ เพือ่ ส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนในสังฆมณฑลให้เติบโตมากยิง่ ขึน้ โดยทีท่ างสภาพระสังฆราช และพระศาสนจักรในประเทศไทย ได้ตระหนักถึง บทบาทหน้าทีข่ องเยาวชนตามค�ำสอนของพระสันตะปาปาฟรังซิส ทีท่ รงเห็น ความส�ำคัญของเยาวชนในทุก ๆ โอกาส และทุกประเทศที่พระองค์เสด็จไป ทางสังฆมณฑลจันทบุรี โดยผ่านทางการท�ำงานของแผนกเยาวชน สังฆมณฑลจันทบุรี จึงได้มีการจัดกิจกรรมเปิดปีเยาวชนในสังฆมณฑลขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม 2020 โดยมีพระสังฆราช สิริพงษ์ จรัสศรี เป็น ประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยพระสงฆ์ ซิสเตอร์ ที่ท�ำงานเยาวชน อีกทั้งยัง มีเยาวชนทั้ง 5 แขวง ผู้ฝึกหัด สามเณร และผู้สนใจในงานอภิบาลเยาวชน มาร่วมกว่า 500 คน โดยกิจกรรมได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงเช้า เป็นเวลาทีใ่ ห้เยาวชนได้มาทานอาหารเช้า ทีศ่ าลาเอนกประสงค์ วัดพระหฤทัยพระเยซูเจ้า ศรีราชา และลงทะเบียนผ่านระบบ QR CODE ซึ่งเป็นการลงทะเบียนในรูปแบบใหม่ โดยน้องเยาวชนที่ลงทะเบียนจะได้มี โอกาสลุ้นรับของที่ระลึกตลอดปีเยาวชนผ่านทางการลงทะเบียนกิจกรรมปี เยาวชนในครัง้ นี้ ร่วมกับเพือ่ น ๆ เยาวชนทัว่ ประเทศ และยังสามารถติดตาม ข่าวสารเกี่ยวกับ ปีเยาวชนผ่านทางการลงทะเบียนได้ด้วย หลังจากนั้นมี มิสซาเปิดปีเยาวชน 36
แผนกเยาวชน
มิสซาเปิดปีเยาวชน ระดับสังฆมณฑล พวกเราเริม่ ต้นด้วย การภาวนาต่อหน้าไม้กางเขนเยาวชน ที่ถูกสั่งท�ำเป็นพิเศษเพื่อใช้ เป็นสัญลักษณ์ในการจาริกแสวงบุญไปในสังฆมณฑลต่าง ๆ ทั่ว ประเทศ และแห่ไม้กางเขนเยาวชนนี้เข้าไปในวัดด้วยการแบกไม้ กางเขนร่วมกันของพระสังฆราช พระสงฆ์ จิตตาภิบาลเยาวชนทัง้ 5 แขวง และเยาวชนทั้งสังฆมณฑล โดยค่อย ๆ ส่งไม้กางเขนปี เยาวชนนี้ผ่านเหนือศีรษะของเยาวชน ผ่านมือของทุกคน และไป ประทับอยู่ที่หน้าพระแท่น จากนั้นก็เป็นการต้อนรับขบวนแห่ของ พระสงฆ์ ความพิเศษของมิสซาเปิดปีเยาวชนในครัง้ นี้ นอกจากจะ ให้เยาวชนมีสว่ นร่วมกับพิธกี รรม และมีการเชิญไม้กางเขนเยาวชน ที่เป็นสัญลักษณ์ แล้วบทเพลงในพิธีกรรมยังเล่นด้วยดนตรีสดวง ใหญ่แบบคอนเสิร์ตอีกด้วย ภายหลังมิสซาเปิดปีเยาวชนเสร็จเรียบร้อย ทางผูจ้ ดั งานได้ เชิญคุณพ่อเปโตร นรเทพ ภานุพนั ธ์ มาแบ่งปันในหัวข้อ “เยาวชน พยานแห่งการประกาศข่าวดี” ให้กับบรรดาเยาวชนได้รับฟัง เพื่อเป็นการสร้างจิตส�ำนึกให้เยาวชนถึงเรื่องการประกาศข่าวดี ของพระเยซูเจ้า การด�ำเนินชีวิตที่เป็นพยานถึงค�ำสอน ท่ามกลาง ความท้าทาย และกระแสของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ช่วงบ่ายหลังจากทีไ่ ด้ทานอาหารเทีย่ งเรียบร้อยแล้ว พวก เราเยาวชนได้มารวมกันที่สนามหญ้าเทียม บ้านเณรพระหฤทัย ศรีราชา เพื่อท�ำกิจกรรมแข่งกีฬาเยาวชนสัมพันธ์ด้วยกัน โดยมี ทั้งการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน การแข่งขันแชร์บอลประเภททีม โดย แบ่งเป็นแขวง 5 แขวง ซึ่งทุกแขวงก็แข่งขันกันอย่างเต็มที่ และ บรรยากาศก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน สุดท้ายกิจกรรมในปีเยาวชนระดับสังฆมณฑลยังไม่หมด เท่านี้ ทางแผนกเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่อจิตตาภิบาล ทีมงานเยาวชนระดับแขวง ยังตัง้ ใจจะปลูกฝังให้เยาวชนรูจ้ กั หน้าที่ ของตนเอง โดยการเป็นเยาวชนคาทอลิกที่ดี ช่วยเหลืองานของ พระศาสนจักร และเป็นก�ำลังทีส่ ำ� คัญของชุมชนแห่งความเชือ่ ของ ตนเองในอนาคตที่ก�ำลังจะมาถึง 37
บทภาวนานักบุญโยเซฟ ข้าแต่ท่านนักบุญโยเซฟ องค์อุปถัมภ์และบิดาของ ผูถ้ อื พรหมจรรย์ทงั้ หลาย พระเป็นเจ้าทรงมอบหมายให้ทา่ น เป็นผู้พิทักษ์พระเยซูเจ้า องค์ความศักดิ์สิทธิ์และพระแม่ มารีย์พรหมจารีย์แห่งพรหมจารีย์ทั้งหลาย เดชะของฝากอันเป็นทีร่ กั หวงแหนของท่าน คือองค์ พระเยซูและพระแม่มารีย์ ข้าพเจ้าวิงวอนรบเร้า ขอท่าน ช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากความโสมมชั่วช้า ให้ข้าพเจ้าวิมลใน ความคิด บริสุทธิ์ในดวงใจ หมดจดในร่างกาย เพื่อสามารถ ปรนนิบัติพระเยซูเจ้าและพระแม่มารีย์ด้วยใจผ่องใสตลอด ไปด้วยเถิด อาแมน บทเร้าวิงวอนนักบุญโยเซฟ 38
ข้าแต่พระเจ้า ทรงพระเมตตาเทอญ ข้าแต่พระคริสตเจ้า ทรงพระเมตตาเทอญ ข้าแต่พระเจ้า ทรงพระเมตตาเทอญ พระคริสตเจ้า โปรดสดับฟังเทอญ พระบิดาเจ้าสวรรค์ พระเจ้าข้า พระบุตรผู้ไถ่โลก พระเจ้าข้า พระจิตศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าข้า พระตรีเอกภาพ พระเจ้าเดียวเจ้าข้า หน่อแห่งความรุ่งโรจน์ของดาวิด ประทีปแห่งคณะอัยกา ภัสดาแห่งพระชนนี วิสุทธิบริบาลแห่งพระนางพรหมจารี บิดาเลี้ยงแห่งพระบุตรพระเจ้า อุปถัมภกแห่งพระคริสตเจ้า ประมุขแห่งพระวิสุทธิวงศ์ โยเซฟ ยุติธรรมอย่างยิ่ง โยเซฟ บริสุทธิ์อย่างยิ่ง
ข้าแต่พระเจ้าทรงพระเมตตาเทอญ ข้าแต่พระคริสตเจ้าทรงพระเมตตาเทอญ ข้าแต่พระเจ้า ทรงพระเมตตาเทอญ พระคริสตเจ้า โปรดสดับฟังเทอญ ทรงพระเมตตาเทอญ ทรงพระเมตตาเทอญ ทรงพระเมตตาเทอญ ทรงพระเมตตาเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ
โยเซฟ รอบคอบอย่างยิ่ง โยเซฟ เข้มแข็งอย่างยิ่ง โยเซฟ อ่อนน้อมอย่างยิ่ง โยเซฟ ซื่อสัตย์อย่างยิ่ง กระจกเงาความเพียร ผู้รักความยากจน แบบอย่างของคนงาน เกียรติแห่งชีวิตครอบครัว องค์บริบาลคณะส(ะ)พรหมจรรย์ องค์อุปถัมภ์ชีวิตครอบครัว ที่บรรเทาคนอาภัพ ที่วางใจของคนไข้ ที่พึ่งของผู้ก�ำลังจะตาย ที่เกรงกลัวของปีศาจ องค์พิทักษ์พระศาสนจักร ชุมพาน้อยของพระเจ้าผู้ยกบาปของโลก ชุมพาน้อยของพระเจ้าผู้ยกบาปของโลก ชุมพาน้อยของพระเจ้าผู้ยกบาปของโลก
ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ ช่วยวิงวอนเทอญ อภัยโทษเราเถิดพระเจ้าข้า อภัยโทษเราเถิดพระเจ้าข้า อภัยโทษเราเถิดพระเจ้าข้า
(ให้เรานั้นได้เสนอความต้องการส่วนตัวแด่ท่านนักบุญโยเซฟสักครู่หนึ่ง...)
ให้เราภาวนา ข้าแต่ทา่ นนักบุญโยเซฟ ท่านเต็มเปีย่ มไปด้วยพระหรรษทาน เราหนี ร้อนมาพึ่งเย็น หลังแต่ได้ขอความคุ้มครองจากวิสุทธิภรรยาของท่านแล้ว เราวางใจพากันมา พึง่ ท่านด้วย เดชะความรักเสน่หาฐานะบิดาของท่านต่อพระเยซูกมุ าร โปรดทอดพระเนตรอัน เมตตา เหลียวดูกองมรดกที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงหามาได้ ด้วยพระโลหิตของพระองค์ ขอท่านโปรดใช้ฤทธิค์ �้ำจุน และปกป้องเราทุกคราวทีต่ อ้ งการด้วยเถิด โอ้องค์อภิบาล พระวิสทุ ธิวงศ์ ผูป้ รีชารอบคอบ โปรดป้องกันเรา ผูม้ เี กียรติเป็นน้องของพระเยซูคริสตเจ้า โอ้ บิดาผู้รักลูก โปรดให้เราแคล้วคลาด จากเชื้อโรค ความลุ่มหลง และความประพฤติเหลวไหล โอ้ผู้แกล้วกล้าในการกอบกู้ โปรดแผลงฤทธิ์จากสวรรค์ คอยพยุงเราในการต่อสู้กับ อ�ำนาจความมืดบนแผ่นดินนี้ ครั้งก่อนท่านได้ฉุดพระเยซูกุมาร ออกจากมหันตรายอันอาจ ถึงแก่ชวี ติ ก็ในบัดนี้ ขอท่านช่วยพระศาสนจักร ให้พน้ กลอุบายปัจจามิตร และปกป้องอันตราย ทั้งปวงด้วยเถิด โปรดปกปักรักษาเราแต่ละคนเสมอไป อาศัยอุปการะคุณของท่าน เราจะได้ ประพฤติตามแบบอย่างท่านและจะได้ครองชีพอย่างศักดิส์ ทิ ธิ์ สิน้ ชีพในความศรัทธาภักดีและ รับความบรมสุขนิรันดร ในสวรรค์ด้วยเถิด อาแมน 39