สายใยจันท์ V.29

Page 1

สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล

ของขวัญที่พระประทาน

FREE COPY แจกฟรี

Vol.29

ธันวาคม 2019 ปีท่ี 30


ปีที่ 30 ฉบับที่ 29 / ธันวาคม 2019

Contents

สารบัญ

สายใยจันท์

สารพระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี................................. 4 ค�ำอวยพรพระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต................. 6 ทาลิธากุม (Talitha Kum).......................................................... 8 ถ้อยแถลง จากที่ประชุมตัวแทนนักบวชหญิง............................ 10 ร่วมอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก................................................. 14 สรุปภาพรวม 75 ปี มิสซังจันทบุรี.......................................... 18 เข้าใจให้ดี เรื่องพิธีกรรม.............................................................24 เรียนรู้พระคัมภีร์......................................................................... 26 กฎหมายพระศาสนจักรน่ารู้........................................................28 ดาวประจ�ำพระองค์......................................................................30 ประมวลภาพกิจกรรม.................................................................32

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของสังฆมณฑล 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเชื่อ ความศรัทธาและหลักปฏิบัติทางศาสนา 3. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนทัศนคติ และประสบการณ์ชีวิต 2


บรรณาธิการ Editor’s talk

พระเยซูเจ้าเป็นของขวัญที่สมบูรณ์ที่สุด

พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของ พระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง (ปฐก 1:27) ปกครองแผ่นดินและสรรพสิง่ ต่าง ๆ ทีพ่ ระเจ้า ทรงสร้างให้มนุษย์ (ปฐก 1:28-30) แม้จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจากพระเจ้า แต่มนุษย์ใช้อิสรภาพที่พระเจ้าให้ ไม่เป็นไปตามน�้ำพระทัยของพระองค์ (ปฐก 2:5-25) มนุษย์ตั้งตนเป็นผู้ตัดสินว่าสิ่งใดดีสิ่งใดชั่ว จึงช่วงชิง สิทธิพิเศษของพระเจ้ามาเป็นของตน ดังนั้นจึงท�ำให้มนุษย์มนุษย์ตกในบาป (ปฐก 3:1-24) ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าทรงขับไล่เขาออกจากสวนเอเดน ให้ออกไปเพาะปลูกในที่ดินซึ่งเขาถูกปั้นมา พระองค์ทรงขับไล่มนุษย์และทรงตัง้ บรรดาเครูบผูถ้ อื ดาบเพลิงส่องแสงแปลบปลาบไว้ทางตะวันออกของ สวนเอเดน เพื่อเฝ้าทางไปสู่ต้นไม้แห่งชีวิต (ปฐก 3:23-24) แต่เมือ่ ถึงเวลาทีก่ ำ� หนดไว้พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงผูห้ นึง่ เกิดมา อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และท�ำให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม (กท 4:4-5) แม้ว่า พระองค์ทรงมีธรรมชาติพระเจ้าพระองค์กม็ ไิ ด้ทรงถือว่าศักดิศ์ รีเสมอพระเจ้านัน้ เป็นสมบัตทิ จี่ ะต้องหวงแหน แต่ทรงสละพระองค์จนหมดสิน้ ทรงรับสภาพดุจทาส เป็นมนุษย์ดจุ เราทรงแสดงพระองค์ในธรรมชาติมนุษย์ ทรงถ่อมพระองค์จนถึงกับทรงยอมรับแม้ความตาย เป็นความตายบนไม้กางเขน (ฟป 2:6-8) มนุษย์จึงได้รับการไถ่กู้หลุดพ้นจากวิถีชีวิตไร้ค่าที่สืบมาจากบรรพบุรุษ มิใช่ด้วยสิ่งที่เสื่อมสลาย ได้เช่นเงินหรือทอง แต่ด้วยพระโลหิตประเสริฐของพระคริสตเจ้าดังเลือดของลูกแกะไร้มลทินหรือจุดด่าง พร้อย (1ปต 1:19-20) ดังนั้น ท่านจึงไม่เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็นบุตร ถ้าเป็นบุตรก็ย่อมเป็นทายาทตาม พระประสงค์ของพระเจ้า (กท 4:7) ข้อพิสูจน์ว่าท่านทั้งหลายเป็นบุตรก็คือพระเจ้าทรงส่งพระจิตของพระ บุตรลงมาในดวงใจของเรา พระจิตผู้ตรัสด้วยเสียงอันดังว่า “อับบา พ่อจ๋า” (กท 4:6) การที่มนุษย์ได้รับศักดิ์ศรีของความเป็นลูกของพระอีกครั้ง คือของขวัญที่สมบูรณ์ ที่มีคุณค่า ไม่มี อะไรจะมาเปรียบได้ ความล�้ำค่ากับของขวัญชิ้นนี้เป็นความรักอยู่ที่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา และทรงส่งพระ บุตรของพระองค์มาเพื่อชดเชยบาปของเรา มิใช่อยู่ที่เรารักพระเจ้าเราทุกคนต้องชื่นชมยินดีกับของขวัญ ชิ้นนี้ที่พระเจ้าประทาน (1ยน 4:10) เราทุกคนต้องชืน่ ชมยินดีกบั ของขวัญชิน้ นีท้ พี่ ระเจ้าประทานให้กบั เราทุกคน และเพราะของขวัญ ชิน้ นีเ้ อง คริสตชนจันทบุรจี งึ ได้มคี วามชืน่ ชมยินดีได้ฉลอง 75 ปีแห่งความเชือ่ ในมิสซังจันท์ ได้ยนิ ดีกบั พระพรต่าง ๆ ของพระเยซูเจ้าตลอด 75 ปีมิสซังจันท์ที่ผ่านมาและต่อไป ต่อไป ต่อไปไม่มีวันจบสิ้น ขอสุขสันต์คริสต์มาสกับพี่น้องมิสซังจันท์ทุกคน น้อมจิตคารวะ

คุณพ่อเอนก นามวงษ์ บรรณาธิการ

3


สารพระสังฆราช พี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษคริสตชน ที่รักในพระคริสตเจ้า การเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ระหว่างวันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2019 ได้น�ำความชื่นชมยินดีมา สู่คริสตชนชาวไทยและคริสตชนเพื่อนบ้านตลอดจน ประชาชนชาวไทยโดยรวม การได้เห็นองค์พระประมุข ของพระศาสนจักรคาทอลิกผู้มีจริยวัตรที่เรียบง่าย สมถะ ติดดิน กระท�ำภารกิจต่าง ๆ ด้วยกริยาท่าทีที่ เป็นบิดาผู้อภิบาลอย่างแท้จริง เป็นภาพที่ตรึงตาตรึง ใจทุกคน และท�ำให้การเป็นผู้น�ำแห่งสันติภาพและ ภราดรภาพของมวลมนุษยชาติเป็นทีย่ อมรับอย่างสูง เราขอบคุณพระเจ้าส�ำหรับโอกาสทีด่ เี ช่นนีท้ โี่ ปรดให้ ทุกสิง่ ทุกอย่างด�ำเนินไปด้วยดีและเป็นทีป่ ระทับใจซึง่ จะอยูใ่ นความทรงจ�ำของเราตลอดไป เราภาวนาขอ ให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง และปฏิบัติภารกิจน�ำพระศาสนจักรก้าวเดินต่อไป ในการติดตามพระคริสตเจ้าอาศัยแสงสว่างของ พระจิตเจ้าน�ำทาง

4


การฉลอง 75 ปีมิสซังจันทบุรีมาถึงไฮไลท์สุดท้ายในวันฉลองอาสนวิหาร พระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี เราได้มีกิจกรรมต่าง ๆ ของการฉลองที่เรา ร�ำลึกถึงประวัติศาสตร์ส�ำคัญของมิสซังและความเจริญก้าวหน้าของงานอภิบาลและ แพร่ธรรมซึ่งท�ำให้เราเป็นสังฆมณฑลในวันนี้ ดังนั้นเราจะปิดการฉลอง 75 ปีมิสซัง จันทบุรดี ว้ ยการโมทนาคุณพระเจ้า และขอพระพรส�ำหรับการก้าวเดินต่อไปในอนาคต ด้วยความหวังและความวางใจโดยอาศัยความช่วยเหลือของพระมารดาผูท้ รงเป็นองค์ อุปถัมภ์ของสังฆมณฑลของเรา พระศาสนจักรในประเทศไทยประกาศกฤษฎีกาฯ ปี 2015 ใช้หัวข้อว่า “ศิษย์ พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” นั่นหมายถึงว่า คริสตชนทุกคนได้รับเรียก ให้เป็นศิษย์พระคริสต์โดยทางศีลล้างบาป และในเวลาเดียวกันเขาก็ได้กลับกลายเป็น ศิษย์ธรรมทูตด้วย การเป็นศิษย์พระคริสต์เป็นผลจากการเกิดใหม่โดยศีลล้างบาปซึ่ง พระหรรษทานของศีลนี้ท�ำให้เราเจริญชีวิตในความเชื่อ ความหวัง และความรักต่อ พระคริสตเจ้า การได้พบกับความรักของพระเจ้าในองค์พระเยซูคริสต์กอ่ ให้เกิดความ ปรารถนาที่จะเป็นศิษย์ธรรมทูต เราไม่ได้พูดโดยการแยกค�ำว่า “ศิษย์” และ “ธรรม ทูต” ออกจากกัน แต่เราใช้เป็นค�ำเดียวกันว่า “ศิษย์ธรรมทูต” คริสตชนทุกคนไม่ว่า จะอยูใ่ นฐานะไหนก็ตามเป็นศิษย์ธรรมทูต เขามีหน้าทีต่ อ้ งประกาศข่าวดี การประกาศ ข่าวดีใหม่คอื หน้าทีแ่ ละความท้าทายของคริสตชนทุกคนทีเ่ ป็นศิษย์พระคริสต์และเป็น ศิษย์ธรรมทูต เราต้องเดินไปข้างหน้าเพื่อสืบสานต่อพันธกิจศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับมอบหมาย ถ่ายทอดมาด้วยการด�ำเนินชีวิตเป็นศิษย์พระคริสต์ที่แท้จริง เป็นประจักษ์พยานแห่ง ความรักของพระเจ้าในชีวติ ของเราและเป็นศิษย์ธรรมทูตประกาศข่าวดีใหม่แห่งความ รอดแก่เพื่อนมนุษย์ ร่วมกันเสริมสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าทุกวันและในทุกที่ที่ เราอยู่และท�ำงาน โอกาสฉลองพระคริสตสมภพ เทศกาลแห่งความสุขและความยินดี ขอพระเจ้า ประทานพระพรแห่งความรักอย่างเต็มเปีย่ มแก่พนี่ อ้ งทุกท่าน และด�ำรงชีวติ ในสันติสขุ ของพระองค์ตลอดไป สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่ 2020 (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

5


ค�ำอวยพรโอกาส สมโภชพระคริสตสมภพและปีใหม่ สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่ แด่คณะสงฆ์ คณะนักบวช และพี่น้องคริสตชน ที่รักในพระคริสตเจ้า ผู้เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระอิมมานูเอล (พระเจ้าสถิตกับเรา) ในครอบครัว เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดของสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ทุกคนในครอบครัวก็ มีความสุขความยินดีจัดฉลองให้กันและกัน พ่อแม่จัดให้ลูก ลูกจัดให้พ่อแม่ ในสังคมประเทศ ชาติ ผูน้ อ้ ยก็จดั ให้ผใู้ หญ่ เพราะถือว่าผูใ้ หญ่เป็นผูม้ พี ระคุณ ท�ำประโยชน์แก่สว่ นรวมมากมาย เช่นเดียวกัน ในองค์กรศาสนา เมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดขององค์พระศาสดา บรรดาศาสนิกชน ก็จัดฉลองให้ ทางคริสตศาสนาเมื่อถึงวันคล้ายวันเกิดของพระเยซูคริสตเจ้าองค์พระศาสดา ซึ่งเป็นพระบุตรพระเจ้าผู้เสด็จจากสวรรค์มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่เราให้พ้นบาป เพื่อสั่ง สอนเรา ชี้ทางสวรรค์ให้แก่เรา และทรงเป็นแบบอย่างแก่เรา ทรงตั้งคริสตศาสนาซึ่งมีคน นับถือมากที่สุดในโลก แต่เราไม่ทราบว่าพระองค์ทรงบังเกิดวันไหน การที่เราฉลองวันคริสต มาสหรือวันคล้ายวันบังเกิดของพระเยซูเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม ก็เนื่องจากว่า ชาวโรมันที่ กรุงโรมฉลองดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าในวันนี้ ไหว้พระอาทิตย์เช่นเดียวกับคนจีนไหว้พระจันทร์ สมเด็จพระสันตะปาปาสมัยนั้นก็ทรงเกรงว่าบรรดาคริสตชนไปไหว้พระอาทิตย์กับเขา จึง ทรงตั้งพระอาทิตย์ดวงใหม่ คือพระเยซูคริสตเจ้า ในพระคัมภีร์มีบันทึกไว้ว่า “ในบริเวณนั้น มีคนเลี้ยงแกะกลุ่มหนึ่งอยู่กลางแจ้ง ก�ำลังเฝ้าฝูงแกะในยามกลางคืน...” (ลูกา 2:8) ค�ำ ว่า “อยู่กลางแจ้ง...ในยามกลางคืน” ก็หมายความว่า “ไม่ใช่หน้าหนาว” เพราะถ้าเป็น หน้าหนาว ทั้งคนและสัตว์ต้องเข้าบ้านเข้าคอกกันหมด อยู่กลางแจ้งไม่ได้ คงเป็นหน้าร้อน มากกว่า พระเจ้าทรงบังเกิดเป็นมนุษย์เมื่อไร ฤดูไหนไม่ส�ำคัญ ที่ส�ำคัญคือบุตรพระเจ้าทรง บังเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อให้บุตรมนุษย์ได้เกิดใหม่เป็นบุตรพระเจ้า ดังที่เทวทูตกล่าวแก่คนเลี้ยง แกะว่า “เราน�ำข่าวดีมาบอกท่านทั้งหลาย เป็นข่าวดีที่ท�ำให้ประชาชนทุกคนยินดีอย่าง ยิ่ง วันนี้ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด พระผู้ไถ่ประสูติเพื่อท่านแล้ว พระองค์คือพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลูกา 2:10-11) RICK WARRANT ศาสนาจารย์คริสเตียนได้เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่ง ชื่อ “What on earth am I here for” (ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่บนโลกนี้เพื่ออะไร) เป็นหนังสือขายดีที่สุด (best sellers) ภายใน 20 ปี จ�ำหน่ายได้ 20 กว่าล้านเล่ม ผู้เขียนพยายามหาค�ำตอบจากพระเจ้า ผู้ทรงสร้างเรามา ก็ได้ค�ำตอบว่า 1) เพื่อเตรียมตัวไปสวรรค์ 2) เพื่อด�ำเนินชีวิตตามแบบพระ 6


คริสตเจ้า บุตรพระเจ้าตัวอย่าง และ 3) เพื่อท�ำ Mission พันธกิจที่พระเจ้าทรงมอบให้ในวัน รับศีลล้างบาป คือ 1) หน้าที่ประกาศก 2) หน้าที่สงฆ์ (หน้าที่ถวายเครื่องบูชาฝ่ายจิต) และ 3) หน้าที่กษัตริย์ (ชุมพาบาล, ผู้น�ำทางจิตวิญญาณ) ปีนี้เราฉลองมิสซังสยาม 350 ปี และฉลองมิสซังจันทบุรี 75 ปี ให้เราสรรเสริญ ขอบพระคุณพระเจ้า ทีท่ รงมีแผนการให้มนุษย์ทกุ คนได้รอด มิใช่ชาวยิวเท่านัน้ มีพญา 3 องค์ ซึ่งเป็นคนต่างชาติต่างศาสนามานมัสการพระองค์ นักบุญเปาโลทีแรกก็เบียดเบียนศาสนา คริสต์ แต่พระเยซูเจ้าก็ได้ทรงต่อว่าที่ท�ำการเบียดเบียนพระองค์ หลังจากนั้นได้กลับใจ เป็น อัครสาวกของคนต่างชาติตา่ งศาสนา บรรดามิชชันนารีได้ขา้ มน�ำ้ ข้ามทะเลไปสัง่ สอนนานาชาติ ทัว่ โลกตามพระบัญชาของพระอาจารย์กอ่ นเสด็จสูส่ วรรค์ เราคนไทยจึงได้รบั ฟังข่าวดีมารูจ้ กั พระเจ้าเที่ยงแท้ แต่ยังน้อยมาก 350 ปีผ่านไปมีคริสตชนเพียง 4 แสนคน มิสซังจันทบุรีแยก จากมิสซังกรุงเทพฯ มา 75 ปี พร้อมกับพระสังฆราชไทยองค์แรก คือ พระสังฆราชยาโกเบ แจง เกิดสว่าง กับพระสงฆ์ไทยรุ่นแรก 17 องค์ ขณะนี้เรามีพระสงฆ์ไทย 92 องค์ เรายัง ท�ำงานอภิบาลกับคริสตชน ยังไม่สนใจท�ำงานธรรมทูตกับคนต่างศาสนาเท่าใดนัก ! ทั้ง ๆ ที่มีโรงเรียนคริสต์อยู่มากมาย มีนักเรียนต่างศาสนามากกว่าครึ่งอยู่กับเรา ในโอกาสฉลอง มิสซังจันทบุรี ให้เราทั้งพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ร่วมมือกันท�ำงานธรรม ทูตอย่างแข็งขัน กระตือรือร้นมากขึ้น ด้วยตัวอย่างชีวิตที่ดี รักและรับใช้ เพื่อพี่น้องชาวไทย จะได้มารู้จักพระเจ้ามากขึ้น ปีนสี้ มเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จเยือนประเทศไทย ต้องถือว่าเป็นพระพรพิเศษ พระองค์เสด็จมาเป็นก�ำลังใจให้พวกเราลูก ๆ ของพระองค์ มาฟื้นฟูความเชื่อความร้อนรนใน การประกาศข่าวดีของพระคริสตเจ้า ให้เราภาวนาเพื่อพระองค์จะได้เป็นชุมพาบาลที่ดีแทน พระคริสตเจ้า ท�ำให้พระศาสนจักรเป็นเครือ่ งหมายและเครือ่ งมือของพระอาณาจักร เป็นชาว ประมงจับมนุษย์ ให้เราทุกคนสมาชิกของพระศาสนจักรร่วมมือกับพระองค์ ปีเก่าก�ำลังผ่านไป เวลาไม่เดินไม่วิ่งแต่บิน ชีวิตของเราผ่านไปอย่างรวดเร็ว ในอดีต และปัจจุบันเรายังบกพร่องในการด�ำเนินชีวิตและหน้าที่การงาน ให้เราขอษมาโทษพระเจ้า ตั้งใจจะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในปีใหม่นี้ “QUOT ISTI ET ISTAE, CUR NON EGO” ท่านนักบุญออกัสตินได้กล่าวไว้ “เขาเหล่านั้นทั้งชายและหญิงเป็นนักบุญกันได้ ท�ำไมฉัน จะเป็นไม่ได้ แล้วท่านพยายามเป็นและก็เป็นได้” สุขสันต์วันพระคริสตสมภพและสวัสดีปีใหม่ (พระสังฆราชลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต) พระสังฆราชกิตติคุณ สังฆมณฑลจันทบุรี

7


ค�ำสอนพระศาสนจักร ด้านสังคม โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล ฝ่ายสังคมสังฆมณฑลจันทบุรี

ทาลิธากุม (Talitha Kum) สวัสดีครับ พี่น้องสายใยจันท์ที่รัก ในฉบับ นี้พ่อขอหยุดการน�ำเสนอประวัติงานสังคม ของ สังฆมณฑลฯ ไว้ก่อนนะครับ เนื่องจากมีเรื่องราวที่ น่าสนใจแทรกเข้ามา คือ คณะกรรมการคาทอลิก เพื่อการพัฒนาสังคม แผนกสตรี (คคส.) ของ สังฆมณฑลฯ ซึ่งรับผิดชอบโดย ซิสเตอร์วรนุช ประนอมมิตร ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับกลุ่ม Talitha Kum สากล ทีก่ รุงโรม ประเทศอิตาลี มีทงั้ ผู้ อุทศิ ตนท�ำงานเพือ่ ยุตกิ ารค้ามนุษย์ในทุกทวีปเข้าร่วม ตั้งแต่วันที่ 21-27 กันยายน 2019 ในหัวข้อว่า “Together Against Human Trafficking Weaving A Web In Love” โดยมีจุดประสงค์ ร่วมกัน คือ • เพือ่ เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี ของ Talitha Kum • เพื่อประเมินเนื้องานที่ได้กระท�ำร่วมกันไว้เมื่อ ปี ค.ศ. 2016 • เพื่อก�ำหนดทิศทางการท�ำงานในเรื่องส�ำคัญ ๆ ของ Talitha Worldwide อันเป็นการสนับสนุน ความพยายามในการยุตกิ ารค้ามนุษย์ในอนาคต (ค.ศ. 2020 – 2025) 8

“เครือข่ายคาทอลิกเพือ่ งานต่อต้านการค้า มนุษย์” มีชอื่ เป็นภาษาอังกฤษว่า Catholic Network Against Trafficking in Thailand หรือ CNATT เกิดขึน้ โดยความร่วมมือจากคณะนักบวชไทยต่อต้าน การค้ามนุษย์ (Talitha Kum Thailand) ฝ่ายสังคม ของสังฆมณฑลต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน กรรมาธิการฝ่ายสังคม (คาริตัสไทยแลนด์) ภายใต้ สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย โดยส�ำนัก เลขาธิการคาริตัสไทยแลนด์ ท�ำหน้าที่ประสานงาน และส่งเสริมการด�ำเนินงานของเครือข่ายฯ ซึง่ ปัจจุบนั มี สมาชิกในเครือข่ายจ�ำนวน 25 องค์กรทั่วประเทศ มีพระสังฆราชฟิลิป บรรจง ไชยรา เป็นประธาน มาเซอร์ ฟรังซัวส์ ชีรานนท์ เป็นทีป่ รึกษาและมีคณะ กรรมการเครือข่ายฯ ที่มาจากองค์กรต่าง ๆ ได้แก่ เครือข่ายนักบวชไทยต่อต้านการค้ามนุษย์ (Talitha Kum Thailand) ศูนย์สังคมพัฒนาสังฆมณฑล สุราษฎร์ธานี คณะภคินศี รีชมุ พาบาล คณะกรรมการ คาทอลิกเพือ่ การอภิบาลสังคม แผนกผูอ้ พยพย้ายถิน่ และผูถ้ กู คุมขัง (NCCM) แผนกผูท้ อ่ งเทีย่ วและผูเ้ ดิน ทางทะเล (NCCS) และ คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ การพัฒนาสังคม แผนกสตรี (คคส.)


สังฆมณฑลเราจะมีความเกีย่ วข้องและเข้าร่วม กับกลุม่ Talitha Kum โดยมีคณะกรรมการคาทอลิก เพื่อการพัฒนาสังคมแผนกสตรี (คคส.) แผนกผู้ท่อง เที่ยวและผู้เดินทางทะเล (NCCS) เรามารู้จักกลุ่ม Talitha Kum กันก่อนนะครับ Talitha Kum Thailand คือ คณะนักบวช ในประเทศไทยทีร่ วมตัวกันเพือ่ ต่อต้านการค้ามนุษย์ : มุ่งส่งเสริมเครือข่ายให้มีโครงสร้างให้ชัดเจน ขยาย เครือข่ายสร้างความสัมพันธ์ ร่วมมือกันท�ำงานด้าน การต่อต้านการค้ามนุษย์ในระดับประเทศ และระดับ ภูมิภาค วัตถุประสงค์/แผนงาน 1. ถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการประชุมกลับไป สู่คณะนักบวช 2. เพิม่ ความตระหนักระหว่างพระสังฆราชและ พระสงฆ์ในสังฆมณฑล 3. พัฒนาเครือข่าย นักกฎหมาย นักสื่อสาร มวลชน 4. มอบหมายให้เขตวัดและสถาบันทีด่ ำ� เนินการ โดยคณะนักบวช 5. สร้างความตระหนักในโรงเรียน และเยาวชน 6. ส่งเสริมการศึกษา 7. ส่งเสริมให้คณะนักบวชเข้ามามีสว่ นร่วมมากขึน้ 8. เสริมสร้างการอบรมนักบวชให้เข้มแข็งใน เรื่องสิทธิมนุษยชน 9. ร่วมมือกับองค์กร GOs, NGOs รวมถึงผู้ นับถือความเชื่ออื่น 10. หาที่พักพิงส�ำหรับเหยื่อการค้ามนุษย์

พันธกิจ (Mission) 1. ถ่ายทอดความรู้และสถานการณ์ปัญหาการ ค้ามนุษย์ไปสู่ชุมชนทุกระดับ 2. เพิ่มความตระหนักและเสริมสร้างแนวร่วม ให้มีความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานด้านการ ป้องกัน การเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการ ค้ามนุษย์ 3. พัฒนาระบบบริการแบบครบวงจรในการ ช่วยเหลือเด็ก สตรีและผู้ถูกกระท�ำจากการ ค้ามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ 4. พัฒนาเครือข่ายและสร้างความสัมพันธ์ รวม ทัง้ รวมมือกับองค์กรทีท่ ำ� งานด้านการต่อต้าน การค้ามนุษย์ทุกระดับ 5. พยายามให้มีการบรรจุประเด็นปัญหาการ ค้ามนุษย์ไว้ในแผนอภิบาล ค.ศ.2015-2020

9


ถ้อยแถลง..จากที่ประชุมตัวแทนนักบวชหญิงและเครือข่าย ในนามองค์กร “ทาลิธากุม” ที่กรุงโรม อิตาลี ระหว่างวันที่ 21 – 27 กันยายน 2019 >๙

โดย ซิสเตอร์มารีย์ วรนุช ประนอมมิตร

กลุม่ ผูเ้ ข้าร่วมประชุมตัวแทนนักบวชหญิงและเครือข่ายทัว่ โลก ในนามองค์ Talitha Kum มีจ�ำนวน 86 คน จากประเทศต่างๆ 48 ประเทศ (5 ทวีป) โดยประเทศไทย มีนักบวชหญิง 4 ท่าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการ Talitha Kum Thailand นักบวชหญิงต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นตัวแทน ไปร่วมประชุม o ซิสเตอร์อักแนส กัลยา ตรีโสภา คณะภคินพี ระหฤทัยของพระเยซูเจ้าแห่งกรุงเทพฯ o ซิสเตอร์มารีย์ วรนุช ประนอมมิตร คณะภคินีรักกางเขน แห่ง จันทบุรี o เซอร์มารีอักแนส สุวรรณา บัวทรัพย์ คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร o ซิสเตอร์มารีย์ ชลธิชา ฤทธิ์เนติกุล คณะภคินีพระราชินีมาเรีย การประชุมนี้ มีหัวข้อว่า Together Against Human Trafficking Weaving A Web In Love ทั้ง นักบวชหญิงและเครือข่าย Talitha Kum Worldwide ที่อุทิศตนท�ำงานเพื่อยุติการค้ามนุษย์ในทุกๆ ทวีป พวกเขามาชุมนุมกันที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในนาม ของ สหพันธ์อธิการเจ้าคณะระดับโลก ท่ามกลาง บรรยากาศของการขอบพระคุณพระเป็นเจ้าและการ ไตร่ตรองการท�ำงาน ตั้งแต่วันที่ 21 – 27 กันยายน 2019 โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน คือ • เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี ของ Talitha Kum • เพื่อประเมินเนื้องานที่ได้กระท�ำร่วมกันไว้เมื่อปี ค.ศ. 2016 • เพือ่ ก�ำหนดทิศทางการท�ำงานในเรือ่ งส�ำคัญๆ ของ Talitha Worldwide อันเป็นการ สนับสนุนความพยายามในการยุติการค้ามนุษย์ในอนาคต (ค.ศ. 2020 – 2025) การค้ามนุษย์ทวั่ ทุกมุมโลกนัน้ มีมากมายหลายรูปแบบด้วยกัน ในฐานะทีเ่ ป็นสมาชิกเครือ ข่ายระดับโลก และเป็นสานุศิษย์ติดตามพระเยซูคริสต์ แต่ละคนได้ยินเสียงเรียกให้แก้ไขปัญหาที่ ต้นเหตุของกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งอยู่เหนือขอบเขตเพียงระดับประเทศ เพื่อที่เราจะสามารถ ท�ำให้พันธกิจและวิสัยทัศน์ของเรามีชีวิตชีวาและเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เราจัดล�ำดับความส�ำคัญ ในงานทีอ่ ยูใ่ ต้โครงสร้างทีอ่ ยุตธิ รรม เพือ่ ให้การรณรงค์ตอ่ ต้านให้มกี ารยุตกิ ารค้ามนุษย์ทกุ รูปแบบ 10


ล�ำดับแรก สถานการณ์ที่มีความแตกต่างในค่าจ้าง แรงงานระหว่างชายและหญิง ในทุกภาคส่วน ไม่ว่า จะเป็นด้านการเศรษฐกิจการเงิน สังคม ครอบครัว การเมือง วัฒนธรรม และศาสนา เราจึงไม่เห็นด้วย กับการคัดค้านและการดูหมิ่นสตรีที่เป็นผล ให้เกิดวัฒนธรรมโลกในรูปแบบของการแสวงหาผล ประโยชน์และความรุนแรงต่อสตรี ส�ำนักงานยูเอ็น (UN) เกี่ยวกับด้านยาเสพติดและอาชญากรรม ชี้ให้ เห็นว่า ร้อยละ 72 ของผู้คนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ผ่านทางการค้ามนุษย์ เป็นสตรีและเด็กหญิง การค้า มนุษย์มีหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการค้าทางเพศ เอารัดเอาเปรียบด้านแรงงาน และการค้าอวัยวะ มนุษย์ที่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อหันมามองดูด้านการค้า มนุษย์ทางด้านเพศแล้ว จ�ำนวนร้อยละของผูท้ ตี่ กเป็น เหยื่อจะเป็นสตรีเพศมากกว่า เราวิงวอน ขอให้พระศาสนจักรทีเ่ ปรียบประดุจพระกาย ของพระคริสต์และเป็นแบบอย่างของสังคม ได้เป็น ประจักษ์พยานถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของสตรีและ เด็กหญิง ด้วยการส่งเสริมบทบาทที่เหมาะสมของ

บุคคลเหล่านีใ้ นทุกภาคส่วน ขอให้ความมุง่ มัน่ นีไ้ ด้รบั การสะท้อนให้เห็นในพระศาสนจักร ด้วยการให้สตรี มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในหัวข้อต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อพวกเขา พวกเราวิงวอนขอให้สภาพระสังฆราชทั้ง หลาย บรรดาพี่น้องนักบวชทั้งชายและหญิง และ บรรดาพระสงฆ์พนื้ เมืองและประชาสัตบุรษุ ให้ความ ร่วมมือกับบรรดาสตรีในฐานะทีเ่ ท่าเทียมกัน เพือ่ จะได้ เปลีย่ นแปลงวัฒนธรรมแห่งการครอบง�ำ และให้การ สนับสนุนเครือข่ายการท�ำงานของ ทาลิธากุม ในทุก สังฆมณฑลและทุกเขตวัด เราวิงวอนขอให้รัฐบาลผู้ ปกครองประเทศทัว่ โลกรับรองกฎหมายและนโยบาย ที่ส่งเสริมและให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีและสิทธิของ บรรดาสตรีและเด็กหญิง เราขอสนับสนุน • ที่จะเสริมพลังให้แก่กันและกันในฐานะผู้น�ำใน การต่อสู้เพื่อยุติการค้ามนุษย์ • ที่จะเสริมแรงในรูปแบบเครือข่ายที่จะท�ำงาน ร่วมกัน • ทีจ่ ะยืนหยัดร่วมเป็นหนึง่ เดียวกับทุกคนทีไ่ ด้รบั การกดขี่ โดยเฉพาะบรรดาสตรีและเด็กผูห้ ญิง • เพือ่ ส่งเสริมศักดิศ์ รีและความเท่าเทียมกันของ มนุษย์ทุกคน

11


ล�ำดับที่สอง รูปแบบทีโ่ ดดเด่นของการพัฒนาแบบเสรีนยิ ม ใหม่และทุนนิยมอิสระ ก่อให้เกิดสภาพความเปราะ บางทีจ่ ะถูกแสวงหาผลประโยชน์ ถูกเอารัดเอาเปรียบ โดยผู้จัดหา ผู้ค้ามนุษย์ บรรดานายจ้างและบรรดา ผู้จัดหาซื้อทั้งหลาย เราไม่เห็นด้วย กับรูปแบบทางเศรษฐกิจทีอ่ ยุตธิ รรมนี้ ซึง่ ให้ ความส�ำคัญเป็นอันดับแรกกับการค้าก�ำไรมากกว่า สิทธิมนุษยชน ก่อให้เกิดวัฒนธรรมความรุนแรงและ การท�ำให้ทกุ อย่างเป็นสินค้า อีกทัง้ ลดจ�ำนวนกองทุน ส�ำหรับการบริการที่จ�ำเป็นในสังคม ท�ำให้ผู้คนอยู่ใน ความเสีย่ งทีจ่ ะเป็นเหยือ่ ของการค้ามนุษย์มากขึน้ รูป แบบนีย้ งั มีผลกระทบต่อโครงการด้านการป้องกัน การ ปกป้องคุม้ ครอง การสนับสนุนและการฟืน้ ฟูเยียวยา ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์มาแล้ว เราขอ ปรักปร�ำการทุจริตที่แพร่หลาย ที่ท�ำให้ความชั่วร้าย นี้ยังด�ำเนินอยู่ต่อไป เราวิงวอน ขอให้พระศาสนจักรด�ำเนินการต่อไปในการ ใช้คำ� สอนคาทอลิกด้านสังคมมาต�ำหนิโครงสร้างทาง

12

สังคมเหล่านี้ และขอให้พระศาสนจักรช่วยส่งเสริม ความยุติธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม เราวิงวอน ขอให้รัฐบาล ผู้ปกครองประเทศทั้งหลาย ได้จัดหา ทางเลือกที่ยุติธรรมส�ำหรับการพัฒนาแบบเสรีนิยม ใหม่และทุนนิยมอิสระ ขอให้รัฐบาลจัดท�ำกฎหมาย ต่อต้านการค้ามนุษย์ และจัดสรรให้มีกองทุนเพื่อ สนับสนุนโครงการระยะยาวที่จะป้องกันการค้า มนุษย์ และเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้รอดพ้นจากการ ถูกกระท�ำเหล่านั้น ในกระบวนการเยียวยาที่จะช่วย ให้พวกเขาปรับตัวใหม่ให้กลับคืนเข้าไปอยู่ในสังคม ได้ โครงการเหล่านี้ควรได้รับการจัดให้มีเนื้อหาที่ได้ มาโดยตรงจากผู้รอดพ้นจากการกระท�ำ และจาก บรรดาเจ้าหน้าที่ที่ท�ำงานกับพวกเขา เช่น จากกลุ่ม เครือข่ายของทาลิธากุม เราขอสนับสนุน ให้มวี ธิ กี ารปฏิบตั ทิ างเศรษฐกิจแบบยุตธิ รรม และยั่งยืนในเครือข่ายของพวกเรา เรายังขอผูกมัด ตนที่จะก่อให้เกิดการสหวิทยาการในการไตร่ตรอง ตามคุณค่าของพระวรสารและตามค�ำสอนด้าน สังคมของคาทอลิก ในการร่วมมือท�ำงาน และการ พูดสนับสนุน โฆษณา ในแวดวงขององค์กรศาสนา และผู้มีน�้ำใจดีทั้งหลาย


ล�ำดับที่สาม

เราขอสนับสนุน

การท�ำงานทีก่ า้ วข้ามเขตแดนและขอบเขตต่างๆ กฎเกณฑ์และนโยบายของการตรวจคนเข้าเมือง ที่ไม่ยุติธรรมและไม่เพียงพอ ควบคู่ไปกับการบังคับให้ ผ่านทางเครือข่ายของเรา เพือ่ เป็นประกันให้มกี ารอพยพ ผูค้ นต้องโยกย้ายและการพลัดถิน่ ท�ำให้คนเหล่านีม้ คี วาม ทีป่ ลอดภัย และป้องกันการเสาะสรรหาผูอ้ พยพเพือ่ การ ค้ามนุษย์ ระหว่างการเดินทางของพวกเขา และเป็นเพือ่ น เสี่ยงมากขึ้นที่จะตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ร่วมทางของพวกเขาในการเดินทางกลับ เราขอสนับสนุน ความร่วมมือกับข้าราชการ เพือ่ ส่งเสริมและท�ำให้มกี าร เราไม่ยอมรับ บังคับใช้กฎหมายและนโยบายทีย่ ตุ ธิ รรมด้านการอพยพ กฎหมายและนโยบายทีไ่ ม่ยตุ ธิ รรมในการตรวจ ย้ายถิ่น ทาลิธากุม ทราบดีว่า ด้วยการท�ำงานร่วมกัน คนเข้าเมือง ซึง่ มียดึ หลักในวัฒนธรรมของการเหยียดสีผวิ และการเป็นปึกแผ่นที่ถักทอด้วยสายใยแห่งความรัก และความเกลียดกลัวชาวต่างชาติ ซึง่ ปฏิเสธสิทธิมนุษย เท่านั้น ที่จะท�ำให้เราจะสามารถเผชิญหน้ากับประเด็น ชนขั้นพื้นฐานของผู้เดินทาง เราไม่ยอมรับวาทศาสตร์ เชิงโครงสร้างต่างๆ ทีเ่ ป็นสาเหตุและท�ำให้การค้ามนุษย์ การลดทอนความเป็นมนุษย์ทางการเมืองที่หล่อเลี้ยง ยังด�ำเนินอยู่ได้ไม่หมดสิ้นไป ในฐานะที่เป็นสมาชิกของ ความเกลียดชัง การแตกแยกและความรุนแรง เราไม่ พระศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลก เราขอยืนยันท่าทีในงาน ยอมรับนโยบายด้านคนเข้าเมืองทีร่ นุ แรง ซึง่ ขับไล่ไสส่ง อภิบาลด้านการค้ามนุษย์ และจะท�ำให้มจี ดุ หมายมุง่ ไปใน ผูท้ ตี่ กเป็นเหยือ่ ของการค้ามนุษย์ไปสูเ่ งาแห่งความมืดมน ทิศทางเดียวกันในงานของเรา เราขอเชิญชวนทุกคนให้ ท�ำให้การชีต้ วั ของผูท้ ตี่ กเป็นเหยือ่ และการด�ำเนินคดีของ ร่วมมือกับพวกเราในการภาวนาเพือ่ ความส�ำเร็จของการ ผู้กระท�ำความผิดมีความยากล�ำบากมากขึ้น ด�ำเนินงานชิ้นส�ำคัญในการยุติการค้ามนุษย์ เราจะก้าว ไปด้วยกัน เพือ่ ก่อให้เกิดอนาคตทีเ่ ต็มเปีย่ มไปด้วยความ คาดหวัง ด้วยการท�ำงานร่วมกันเพือ่ สร้างเครือข่ายของ เราขอร้อง ความเห็นอกเห็นใจและพระหรรษทานของพระเจ้า ให้บรรดาคาทอลิกและบุคคลที่มีน�้ำใจดี เข้า Talitha Kum Worldwide ให้ความส�ำคัญ มาร่วมในงานเยี่ยงประกาศกเพื่อให้สอดคล้องกับการ ขอร้องของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ให้มีการ เกี่ยวกับอนาคต ค.ศ.2020-2025 ที่ประชุมได้วาง ต้อนรับ การปกป้อง การส่งเสริมสนับสนุน และการ อันดับความส�ำคัญภายในเพื่อการเติบโตและการผนึก ยอมรับบรรดาผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ลี้ภัย ผู้ที่ต้องโยกย้าย ก�ำลังเครือข่ายของเรา และการท�ำให้ความรู้สึกต่อผล ภายในประเทศ เพือ่ ป้องกันพวกเขาจากการตกในเงือ้ มมือ กระทบของการค้ามนุษย์ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทาลิธากุม ในช่วง ของบรรดาผูค้ า้ มนุษย์ทงั้ หลาย เราเรียกร้องให้รฐั บาลทัง้ ปี 2020-2025 จะมุง่ ไปยังการปรับปรุงเครือข่ายของเรา หลายจัดท�ำนโยบายส�ำหรับคนเข้าเมืองและการควบคุม การติดต่อกัน แหล่งข่าวสารข้อมูล และโอกาสต่างๆ ให้ ดูแลเขตชายแดนของประเทศ เพือ่ ป้องกันการค้ามนุษย์ ดีขึ้น เราจะให้ความส�ำคัญงานด้านการศึกษา และการ ปกป้องความปลอดภัย ให้ศกั ดิศ์ รี ให้สทิ ธิมนุษยชน และ ป้องกัน การบริการผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากการตก อิสรภาพขัน้ พืน้ ฐานแก่ผอู้ พยพย้ายถิน่ ทุกคน โดยไม่ค�ำนึง เป็นเหยื่อ การโฆษณาและท�ำให้เครือข่ายเติบโตขึ้นโดย เฉพาะในทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย ถึงสถานการณ์ย้ายถิ่นของพวกเขา 13


ร่วมฉลอง 75 ปีมิสซังจันทบุรี ร่วมอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก สืบสานพันธกิจสังฆมณฑลจันทบุรี

โดย คุณพ่อฟรังซิสเซเวียร์ กฤษฎา สุขพัฒน์ อธิการสามเณราลัยพระหฤทัย ศรีราชา/ฝ่ายส่งเสริมกระแสเรียก สังฆมณฑลจันทบุรี

ปีแห่งการเฉลิมฉลอง 75 ปีของการสถาปนามิสซังจันทบุรกี ำ� ลังจะจบลงในอีกไม่ชา้ ซึง่ หัวใจส�ำคัญของการฉลองคือ การฟืน้ ฟูชวี ติ ความเชือ่ และสืบสานพันธกิจงานอภิบาลประกาศ ข่าวดีในเขตสังฆมณฑลจันทบุรีของเราให้เจริญก้าวหน้าในปีที่ 76 และอนาคตต่อ ๆ ไป ค�ำถามคือ ใครคือผู้สืบสานพันธกิจอันส�ำคัญยิ่งนี้ ? ค�ำตอบคือ พวกเราคริสตชนทุกคน โดยมีพระสังฆราช พระสงฆ์ นักบวชทั้งชายหญิง เป็นเสาหลัก เป็นผู้หนุน ผู้น�ำงานอภิบาลประกาศข่าวดีแก่มวลประชากร ด้วยความกตัญญูรคู้ ณ ุ เมือ่ เราย้อนกลับไปดูประวัตศิ าสตร์มสิ ซังจันทบุรี เมือ่ มีการแบ่ง เขตมิสซังจันทบุรอี อกจากมิสซังกรุงเทพฯ ในปีค.ศ. 1944 ผูเ้ ป็นเสาหลักบุกเบิกและสร้างมิสซัง ใหม่คือ พระคุณเจ้ายาโกเบ แจง เกิดสว่าง พระสังฆราชไทยองค์แรกพร้อมกับพระสงฆ์ไทย ทัง้ หมด พวกท่านได้รบั ช่วงงานจากบรรดาพระสงฆ์มชิ ชันนารี ได้วางรากฐานมิสซังจันทบุรดี ว้ ย ความเสียสละพากเพียร และสืบสานส่งต่องานอภิบาลแพร่ธรรมมาจวบจนในสมัยปัจจุบนั ขณะ นี้เรามีพระสงฆ์สังฆมณฑล 92 องค์ ซิสเตอร์ 161 รูป (ส่วนหนึ่งได้พักเกษียณแล้ว) ค�ำถามต่อมาคือ ในอนาคตต่อไป ใครจะเป็นเสาหลัก ผู้น�ำสังฆมณฑลของเราสืบไป ? ทุกภาคส่วนองค์กรล้วนต้องมีผู้น�ำ ดังนั้น พระศาสนจักรสังฆมณฑลจันทบุรีจึงไม่ อาจขาดนายชุมพาบาลที่ดี ผู้เป็นเสาหลักผู้ช่วยหนุนน�ำมวลคริสตชนให้ร่วมกันสืบสานพันธกิจ ของพระเยซูคริสตเจ้า โดยเฉพาะสังคมยุคปัจจุบันและอนาคตที่เจริญด้านวัตถุ โลกยิ่งต้องการ พระสงฆ์ผู้น�ำฝ่ายจิตและนักบวชผู้เป็นพยานชีวิตความเชื่อที่เด่นชัด ด้วยเหตุนี้ การอภิบาล และส่งเสริมกระแสเรียกจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพื่อในอนาคตเราจะได้มีบุคลากรผู้น�ำ พระศาสนจักรสืบไป สอดคล้องกับพระด�ำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ที่ ตรัสย�้ำในพระสมณสาร Pastores Dabo Vobis ว่า “พระศาสนจักรถือว่า การอบรมเสริม สร้างพระสงฆ์ในอนาคตเป็นภารกิจที่ส�ำคัญ และเรียกร้องการทุ่มเทอย่างจริงจัง เพื่อการ ประกาศข่าวดีต่อไปในอนาคตแก่มนุษยชาติ” (ข้อ 25) 14


พีน่ อ้ งทีร่ กั ในโอกาสเข้าเงียบพระสงฆ์สงั ฆมณฑลจันทบุรใี นเดือนสิงหาคม คณะสงฆ์ได้ ร่วมกันไตร่ตรองในหัวข้อ “75 ปีมสิ ซัง...รวมพลังอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก” โดยตระหนัก ถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็นเร่งด่วนในการอภิบาลกระแสเรียก รวมถึงเห็นถึงสภาพความ จริงที่มีอุปสรรคความท้าทายส�ำคัญในการอภิบาลกระแสเรียกในยุคปัจจุบัน นั่นคือ • • • •

สังคมเต็มไปด้วยกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ปัจเจกนิยม ศีลธรรม ความเชื่อ ความศรัทธาของคริสตชนลดน้อยถอยลง ขนาดครอบครัวที่เล็กลง มีลูกน้อย เลี้ยงลูกแบบตามใจ หลาย ๆ ครอบครัวไม่ได้เป็นตัวอย่างชีวิตความเชื่อ ไม่เข้มแข็งในการถ่ายทอดส่ง ต่อความเชื่อแก่ลูกหลาน • สื่อเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อเด็กเยาวชน บางคนหันหลังให้แก่คุณค่าการรักษาความ บริสุทธิ์ • การศึกษามุ่งเน้นศึกษาหาความรู้เพื่อสร้างรายได้สูง กอบโกยอย่างเห็นแก่ตัว ไม่ มุ่งสร้างจิตส�ำนึกที่เสียสละและรับใช้ • คริสตชน/พระศาสนจักรมีความตระหนักในปัญหา แต่ขาดความร่วมมือ ขาดแผน งานเชิงรุกที่เป็นรูปธรรมในการอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก พี่น้องที่รัก ท่ามกลางสภาพการณ์ปัจจุบันอันท้าทายเหล่านี้ เพื่อพัฒนาการอภิบาลส่ง เสริมกระแสเรียก เพื่อเตรียมสู่การอบรมสร้างพระสงฆ์ นักบวช ทุกวันนี้ เราคงไม่ต้องถามกัน อีกว่า “ท�ำไมจึงต้องสนใจ ต้องส่งเสริมกระแสเรียก?” แต่เราควรจะเดินหน้ารุกและช่วยกัน พิจารณาค�ำถามที่ส�ำคัญยิ่งกว่าคือ “ในฐานะคริสตชนคนหนึ่ง หรือในชุมชนคริสตชน เรา มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบต่อกระแสเรียกอย่างไร?” “ท�ำอย่างไรวัดของเราจะมีกระแสเรียกเพิม่ มากขึ้น?” “เราจะปลูกฝัง อภิบาล ส่งเสริมความเชื่อ กระแสเรียกในท่ามกลางกระแส วัตถุนิยม บริโภคนิยมเช่นนี้อย่างไร?”

15


โอกาสฉลอง 75 ปีของการสถาปนามิสซังจันทบุรี จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านได้ร่วม ตระหนักในพันธกิจด้านการส่งเสริมกระแสเรียก อยากย�้ำว่า “กระแสเรียกคือ เส้นเลือดใหญ่ คือหัวใจ คืออนาคตของสังฆมณฑลและพระศาสนจักร” การส่งเสริมกระแสเรียกจึงเป็น หน้าที่ของพวกเราคริสตชนทุกคนที่จะต้องร่วมมือกัน โอกาสนี้ ขอน�ำเสนอแนวทางส�ำคัญ 5 ประการในการอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียกดังนี้ 1. เรื่องที่ส�ำคัญกว่าอื่นใดก็คือ “การสวดภาวนา” เราทุกคน กลุ่มคริสตชนต้องช่วยกัน ภาวนาเพื่อพระกระแสเรียกอย่างสม�่ำเสมอ “ข้าวที่จะเก็บเกี่ยวมีมาก แต่คนงานมี น้อย จงวอนขอเจ้าของนาให้ส่งคนงานมาเก็บเกี่ยวข้าวของพระองค์เถิด” (มธ 9.38) 2. เป็นความรับผิดชอบของ “ครอบครัว” ที่จะต้องด�ำเนินชีวิตคริสตชนอย่างดี เพราะ ครอบครัวเป็นพื้นฐานและเป็นบ่อเกิดของกระแสเรียก ครอบครัวต้องเอาใจใส่ปลูกฝัง ความเชื่อความศรัทธา มีเวลาสวดภาวนา ไปร่วมบูชามิสซาทุกอาทิตย์ ท�ำให้สมาชิกใกล้ ชิดพระวาจาและศีลมหาสนิท 3. สนับสนุนกระแสเรียก โดยเปิดโอกาสให้บุตรหลานของตนไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด ได้รู้จักได้ ร่วมกิจกรรม “ได้สัมผัสใกล้ชิดกับคุณพ่อ ซิสเตอร์ บราเดอร์” มีโอกาสสัมผัสกับค่าย กระแสเรียก ชีน้ ำ� ให้บตุ รหลานเห็นคุณค่าและพระพรแห่งกระแสเรียกชีวติ พระสงฆ์ นักบวช 4. เอาใจใส่งาน “อภิบาลเด็กและเยาวชน” เพื่อช่วยให้พวกเขาเติบโตในชีวิตความเชื่อ สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของวัด โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ให้ มีบทบาทในพิธกี รรม ท�ำกิจกรรมจิตอาสารับใช้ ความผูกพันใกล้ชดิ กับวัด/กลุม่ คริสตชนเป็น หนทางที่พระจิตเจ้าทรงหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งกระแสเรียก 5. โดยเฉพาะอย่างยิง่ แต่ละวัดหรือกลุม่ คริสตชนควรมี “สภาอภิบาลหรือทีมท�ำงานเชิงรุก” เพื่อส่งเสริมด้านกระแสเรียกในเขตวัดของตน ในสมณสาร Evangelii Gaudium ได้เคย กล่าวเตือนใจว่า “ในหลาย ๆ แห่งกระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์และนักบวชหายาก มากขึน้ บ่อยครัง้ เกิดจากการขาดความร้อนรนในงานแพร่ธรรมของชุมชน” (ข้อ 107)

16


พีน่ อ้ งทีร่ กั นอกจากแนวทางส�ำคัญ 5 ประการข้างต้นแล้ว สุดท้ายนีข้ อน�ำเสนอสรุปข้อ เสนอแนะบางประการที่ได้จากการแบ่งปันความคิดของคณะสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี (5 แขวง) ในโอกาสเข้าเงียบหัวข้อ “75 ปีมิสซัง...รวมพลังอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก” มีแนวคิดและ ข้อเสนอแนะที่เราสามารถน�ำไปไตร่ตรอง ประยุกต์และน�ำสู่ภาคปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการ อภิบาลส่งเสริมกระแสเรียกได้ต่อไป 1. ควรจัดวาระการส่งเสริมกระแสเรียก ระดับสังฆมณฑล ระดับแขวง และระดับวัด 2. ส่งเสริมและจัดท�ำแนวทางส�ำหรับผู้สนใจกระแสเรียกผู้ใหญ่ (Late Vocations)/ สังฆานุกรถาวร 3. อภิบาลเสริมสร้างครอบครัวคริสตชนให้เข้มแข็ง ให้สมาชิกมีความเชื่อศรัทธาที่ดี คือรากฐานส�ำคัญ 4. การเป็นพยานชีวิตของพระสงฆ์ ซิสเตอร์ที่เด่นชัด และสัมผัสใกล้ชิดกับเด็ก ๆ 5. ควรส่งเสริมให้เด็กเยาวชนมีบทบาทในวัด ในพิธกี รรม มีความใกล้ชดิ ร่วมกิจกรรม ของวัด 6. ให้ความส�ำคัญกับวันกระแสเรียก และการจัดรณรงค์กระแสเรียกในวัดของตน 7. เอาใจใส่ในการส่งเด็กเข้าร่วมค่ายกระแสเรียก และสนับสนุนให้เข้าบ้านเณร/อาราม 8. ควรส่งเสริมกลุ่มเซอร์ร่าเพื่อส่งเสริมด้านกระแสเรียกในเขตวัด/แขวง 9. พัฒนารูปแบบการรณรงค์กระแสเรียกให้เหมาะสมในหลากหลายรูปแบบ เช่น กระแสเรียกสัญจร ค่ายกระแสเรียกตามแขวง การจัดท�ำสือ่ ประชาสัมพันธ์ทที่ นั สมัย 10. จัดกิจกรรมหรือการรณรงค์กระแสเรียกในโรงเรียนคาทอลิก 11. ควรแทรกเนือ้ หากระแสเรียกในการสอนค�ำสอน และในการอบรมของกลุม่ องค์กร คาทอลิกต่าง ๆ ซึ่งมีเด็กเยาวชนอยู่แล้ว 12. สภาอภิบาลควรมีนโยบาย/โครงการด้านอภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก หรือส่งเสริม ให้มีทีมท�ำงานด้านกระแสเรียกในเขตวัด 13. บ้านเณรและบ้านอบรมต่าง ๆ ควรออกพื้นที่เพื่อรณรงค์ ติดตาม แสวงหากระแส เรียกตามวัด/แขวง 14. มีการติดตามและส่งเสริมเด็กและเยาวชนทีม่ แี วว หรือมีความสนใจด้านกระแสเรียก 15. ปลูกฝังให้เด็กเยาวชนได้เห็นความส�ำคัญ คุณค่าและพระพรในชีวติ พระสงฆ์ นักบวช ขอพี่น้องได้ร่วมเฉลิมฉลอง 75 ปีมิสซังจันทบุรีอย่างยั่งยืน ด้วยการร่วมพลังเป็นหนึ่ง เดียว..เพื่ออภิบาลส่งเสริมกระแสเรียก สร้างพระสงฆ์ นักบวช เพื่อเป็นผู้น�ำมวลคริสตชน..มุ่ง สืบสานพันธกิจสังฆมณฑลจันทบุรีให้ก้าวหน้าสืบไป….

17


สรุป ภาพ รวม

โดย แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี

ปี

มิสซังจันทบุรี

เพื่อให้การฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี เกิดคุณค่า และมีความหมายกับบุคลากรทุกระดับในสังฆมณฑล จึงขอประกาศให้มีการฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ขอพระมารดามารีย์ผู้ปฏิสนธินิรมล ปกป้อง คุ้มครอง และน�ำทางเราด้วยเทอญ ค�ำประกาศฉลอง 75 ปี การสถาปนามิสซังจันทบุรี ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2018 วันแพร่ธรรมสากล

นับเป็นพระพรอันยิง่ ใหญ่ของพระเป็นเจ้าอีก วาระหนึง่ ทีส่ งั ฆมณฑลจันทบุรี ได้ประกาศให้ปี 2019 เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองครบ 75 ปี การสถาปนา มิสซังจันทบุรี (ค.ศ. 1944-2019) บัดนี้ การเฉลิม ฉลองได้เดินทางมาถึงช่วงสุดท้าย และจะปิดลงใน วันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 2019 โอกาสฉลองชุมชนแห่ง ความเชื่อ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล จันทบุรี ในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง สังฆมณฑล เราได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เพื่อแสดงความ กตัญญูรู้คุณ และระลึกถึงบรรดามิชชันนารี พระ สังฆราช พระสงฆ์ นักบวช คริสตชนฆราวาสในอดีต ฟืน้ ฟูชวี ติ ศิษย์พระคริสต์สกู่ ารเป็นศิษย์ธรรมทูต และ การประกาศข่าวดีใหม่ สืบสานพันธกิจการเสริมสร้าง อาณาจักรของพระเจ้าในสังฆมณฑลจันทบุรี 18

พระสังฆราชซิลวีโอ สิรพิ งษ์ จรัสศรี ประกาศ เริ่มฉลอง 75 ปีมิสซังจันทบุรีอย่างเป็นทางการ เมื่อ วันที่ 21 ตุลาคม 2018 วันแพร่ธรรมสากล ภายใน งานชุมนุนคริสตชนฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นโดยฝ่ายอภิบาลแผนกคริสตชน ฆราวาส ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา


หลังการประกาศฉลองอย่างเป็นทางการ คณะ กรรมการบริหารสังฆมณฑล ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการ ด�ำเนินงานฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) คณะกรรมการอ�ำนวยการ 2) คณะ กรรมการด�ำเนินการ และ 3) คณะกรรมการฝ่าย ต่าง ๆ ซึง่ ทัง้ สามส่วนท�ำงานร่วมกัน โดยได้ออกแบบ สัญลักษณ์(โลโก้) และจัดท�ำธง 75 ปี มอบให้กับวัด ต่าง ๆ ไว้เป็นเครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแสดง ถึงช่วงเวลาพิเศษของการเฉลิมฉลองในครัง้ นี้ แผนก พิธีกรรม ได้ออกบทภาวนาโอกาสฉลอง 75 ปี แจก จ่ายไปตามวัดต่าง ๆ ในสังฆมณฑล เพื่อร่วมเป็น หนึ่งเดียวกันในค�ำภาวนา ให้การเฉลิมฉลองความ เชือ่ ครัง้ นีเ้ ป็นเครือ่ งหมายศักดิส์ ทิ ธิ์ แห่งการประทับ อยู่ขององค์พระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งบทเพลง “อัญมณี แห่งบูรพา” ได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ส�ำหรับปีแห่งการ ฉลองนี้ด้วย

แผนกเลขานุการ ได้ชี้แจงถึงหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ในการจัดเฉลิมฉลอง รวม ถึงแนวทางปฏิบัติตลอดปี ผ่านทางสารสังฆมณฑล สายใยจันท์ ฉบับที่ 26 ประจ�ำเดือนธันวาคม 2018 และฉบับที่ 27 ประจ�ำเดือนเมษายน 2019 ทั้งนี้ เพื่อให้การเฉลิมฉลองครั้งนี้เป็นรูปธรรมและไปใน ทิศทางเดียวกัน แผนกสื่อมวลชน ได้จัดพิมพ์บทความเรื่อง “75 ปี มิสซังจันทบุรี กับ 3 พระสังฆราชในอดีต” ลงในสารสังฆมณฑล สายใยจันท์ ฉบับที่ 28 ประจ�ำ เดือนสิงหาคม 2019 และท�ำเป็นรูปแบบวีดทิ ศั น์ เผย แพร่ผา่ นทางช่องยูทปู ของสังฆมณฑล เพือ่ กระตุน้ ให้ ทุกคนในสังฆมณฑล ระลึกถึงอดีตด้วยความกตัญญู รู้คุณ และขอบพระคุณพระเจ้า ส�ำหรับนายชุมพา บาลที่พระองค์ประทานแก่มิสซังจันทบุรี

19


กิจกรรมตลอดปี 2018-2019 โอกาสฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี แผนกพระสงฆ์

“75 ปีมิสซังจันทบุรี เสริมสร้างความเป็นพี่น้อง เดินหน้าสังฆมณฑลจันทบุรี” 4-8 กันยายน 2018 สัมมนาพระสงฆ์สังฆมณฑล ประจ�ำปี 2018 แผนกคริสตชนฆราวาส

“งานชุมนุมคริสตชนฆราวาส สังฆมณฑลจันทบุรี” 21 ตุลาคม 2018 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา แผนกสามเณราลัยและกระแสเรียก

20

“งานชุมนุมวันกระแสเรียก สังฆมณฑลจันทบุรี” 16 กุมภาพันธ์ 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา


ฝ่ายอภิบาลคริสตชน

“สืบสานการประกาศข่าวดี 75 ปี ปีแห่งพระพร” 28 เมษายน 2019 สัมมนาสภาภิบาล แขวงสระแก้ว ณ วัดนักบุญเบเนดิกต์ เขาฉกรรจ์ แผนก ร.ส.จ.

“งานชุมนุมครูโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี” 30 เมษายน 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา กรรมการบริหาร

“ฉลอง 75 ปี มิสซังจันทบุรี 60 ปี และ 50 ปี ชีวิตสงฆ์” 11 พฤษภาคม 2019 ณ วัดนักบุญฟิลิปและยากอบ หัวไผ่ แผนกสามเณราลัยและกระแสเรียก

“ฉลองบ้านเณร พระหฤทัย และ บวชพระสงฆ์ใหม่” 8 มิถุนายน 2019 ณ โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา

21


แผนกเยาวชน

“ฟื้นฟูจิตใจครูองค์กร ประจ�ำปี 2019 หัวข้อ 350 ปีมิสซังสยาม สู่ 75 ปีมิสซังจันทบุรี” 5-7 กรกฎาคม 2019 ณ ธารารีสอร์ท พัทยา แผนกธรรมทูตและศาสนสัมพันธ์

“ชุมนุมยุวธรรมฑูต สังฆมณฑลจันทบุรี” 19 ตุลาคม 2019 ณ ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายปกครองวัด

“เปิดเสกวัดนักบุญยาโกเบ บ่อวิน” 20 ตุลาคม 2019 ณ โรงเรียนมารีวิทย์ บ่อวิน 22


แผนกคริสตศาสนธรรม

“กตัญญูครูค�ำสอน 75 ปี มิสซังจันทบุรี” 26 ตุลาคม 2019 ณ วัดเซนต์ปอล แปดริ้ว แผนกครอบครัว

“วันครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี” 15-17 พฤศจิกายน 2019 ณ อาคารสุวรรณศรี ศูนย์สังฆมณฑลจันทบุรี ฝ่ายสังคม

โครงการ “ลดขยะ สร้างสุข” ตลอดปี 2018-2019 ยังมีกจิ กรรมอืน่ ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในปีแห่งการเฉลิมฉลองนีอ้ กี มากมาย ซึง่ จัดขึน้ จากหลายฝ่าย หลายแผนก ทั้งในระดับสังฆมณฑล ระดับแขวง และระดับวัด รวมทั้งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ล้วนแต่มุ่งเน้นให้ปีแห่งการเฉลิม ฉลองนี้มีความหมาย ได้ร�ำลึกถึงอดีตด้วยความกตัญญูรู้คุณ ฟื้นฟูชีวิตศิษย์พระคริสต์สู่การเป็นศิษย์ธรรมทูต ในปัจจุบันด้วยความกระตือรือร้น และการประกาศข่าวดีใหม่ แม้การฉลอง 75 ปีมิสซังจันทบุรีจะสิ้นสุดลง แต่พันธกิจสานต่อประวัติศาสตร์พระศาสนจักรไทยใน เขตสังฆมณฑลจันทบยังไม่สิ้นสุด จึงเป็นหน้าที่ของเราคริสตชนที่จะร่วมกันเดินหน้า ฟื้นฟู และพัฒนาให้พันธ กิจตามแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี ค.ศ. 2016-2020 เจริญก้าวหน้าบรรลุเป้าหมายต่อไป 23


เข้าใจให้ดีเรื่อง

พิธีกรรม

โดย คุณพ่อเอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ในทุกวันของชีวิต เรามีรูปแบบของการอวยพร “ลาก่อน! โชคดี! ดูแลตัวเองนะ!” ถ้อยค�ำเหล่านี้เป็นค�ำอวยพรที่ปรารถนาให้มีความสุขและมีชีวิตที่ดี แก่บุคคลที่เรารัก สวัสดีครับพี่น้องสายใยจันท์ที่รัก พบกันอีก เช่นเคย พ่อมีโอกาสได้คุยกับคุณพ่อหลายท่านว่า “ในพิธีบูชาขอบพระคุณ หลังรับศีลมหาสนิทแล้ว สัตบุรษุ หลายคนชอบออกจากวัดก่อนทีพ่ ธิ กี รรมจะ จบ” พ่อจึงอยากแนะน�ำให้พี่น้องเข้าใจความหมาย ของการร่วมพิธีกรรมในช่วงเวลาดังกล่าว การทักทายสุดท้าย หลังจากบทภาวนาหลังรับศีลฯ การตอบรับ สุดท้ายระหว่างพระสงฆ์กบั ผูร้ ว่ มพิธี เป็นการตอบรับ ที่สั้นแต่เต็มไปด้วยความหมาย “พระเจ้าสถิตกับท่าน” (พระสงฆ์) “และ สถิตกับท่านด้วย” (ทีช่ มุ นุม) ตอบกลับ ซึง่ เป็นรูปแบบ การทักทายเหมือนเมือ่ เราเริม่ พิธฯี เป็นการเน้นย�ำ้ ถึง การประทับอยูข่ องพระเจ้าผูท้ รงกลับคืนชีพท่ามกลาง บรรดาผูท้ มี่ ารวมตัวกันในนามของพระองค์ และถูกน�ำ กลับมาทักทายอีกครัง้ ในช่วงสิน้ สุดพิธฯี การทักทาย นี้เป็นการยืนยันอย่างเข้มแข็งอีกครั้งถึงการประทับ ของพระเยซูเจ้าผูท้ รงประทับอยูท่ า่ มกลางประชากร ของพระองค์ บุคคลที่มาร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ 24

พวกเขาได้ใกล้ชิดองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างศักดิ์สิทธิ์ พวกเขาได้กินปังและดื่มโลหิต พระสงฆ์แนะน�ำให้ พวกเขาได้ด�ำเนินชีวิตอย่างต่อเนื่องในการประทับ อยู่ขององค์พระผู้ไถ่ การอวยพรปิดพิธี หลังจากนั้นตามด้วยการอวยพรสุดท้าย “ขอพระเจ้าผู้ทรงสรรพานุภาพ พระบิดา และ พระบุตร และพระจิต...” ซึ่งค�ำพูดนี้มาพร้อมกับ การท�ำเครื่องหมายส�ำคัญมหากางเขน ก่อนที่จะทรงกลับไปหาพระบิดา พระเยซู เจ้าทรงอวยพรบรรดาศิษย์ของพระองค์ ผู้ที่จะทรง จากพวกเขาไป“พระองค์ทรงน�ำบรรดาศิษย์ออก ไปใกล้หมูบ่ า้ นเบธานี ทรงยกพระหัตถ์ขนึ้ อวยพร” (ลก 24 : 50) ในทุกวันของชีวิต เรามีรูปแบบของการ อวยพร “ลาก่อน! โชคดี! ดูแลตัวเองนะ! ถ้อยค�ำ เหล่านี้เป็นค�ำอวยพรที่ปรารถนาให้มีความสุขและมี ชีวิตที่ดี แก่บุคคลที่เรารัก


การอวยพรช่วงสุดท้ายของพิธบี ชู าขอบพระคุณ วิงวอนขอการปกป้องจากองค์พระบิดา จากองค์ พระบุตรและองค์พระจิต ส�ำหรับผูท้ จี่ ะออกไป เป็นการ วอนขอให้พระพรซึง่ เขาได้รบั ระหว่างการเฉลิมฉลอง พิธกี รรมคงอยูก่ บั พวกเขา และพวกเขาจะด�ำเนินชีวติ ในองค์พระจิตเจ้าจากศีลแห่งการบูชา

สวยงามของโลกและช่วยพวกเขาให้เห็นถึงความหมาย ในชีวิต ท่านเฉลิมฉลองศีลแห่งการขอบพระคุณ จง ใช้ชีวิตในปัจจุบันด้วยความยินดี

พระสงฆ์ท�ำเครื่องหมายส�ำคัญมหากางเขน เพื่ออวยพรอย่างสง่า ท่านจะวอนขอต่อองค์พระตรี เอกภาพให้ทรงปกป้องบรรดาบุตรของพระองค์

ท่านได้รับปังแห่งการขอบพระคุณ ท่านได้ รับความเป็นหนึ่งเดียวกับพระกายและพระโลหิต ของพระคริสตเจ้าและท่านรูด้ วี า่ ท่านไม่สามารถเป็น หนึง่ เดียวกับพระกายและพระโลหิตของพระองค์โดย ปราศจากการเป็นหนึ่งเดียวกับพันธกิจของพระองค์

ส�ำหรับผู้ที่เชื่อในพระคริสต์ กางเขนเป็น เครือ่ งหมายทีห่ ลัง่ ความยินดี สันติ การให้อภัย ความ รัก ความเป็นหนึ่งเดียวและความหวัง “จงไปในสันติ” “จงไปในสันติ” ค�ำพูดสุดท้ายของพระสงฆ์ ในช่วงท้ายมิสซา ซึง่ ถูกเน้นย�ำ้ ค�ำพูดนีม้ จี ดุ ประสงค์ ไม่ใช่เป็นค�ำพูดง่าย ๆ ทีจ่ ะใส่เข้ามาในช่วงสุดท้ายของ พิธกี รรมหรือแค่เป็นการส่งสัตบุรษุ กลับบ้าน ค�ำเหล่า นี้เป็นค�ำที่มีการมอบหมายพันธกิจต่อไป พระสงฆ์พูดอย่างมีนัยว่า ท่านผู้ซึ่งได้รับฟัง พระวาจาของพระเจ้า ท่านเพิง่ ได้รำ� พึงและได้รบั การ เทศน์สอนของพระคริสต์ บัดนี้จงไปและปฏิบัติสิ่ง เหล่านั้น ไปและเป็นพยานในสิ่งที่ท่านได้ยินและเชื่อ ท่านมาขอบพระคุณพระเจ้าพระบิดา ท่าน ยอมรับว่าผูส้ ร้างสวรรค์และโลกยังคงอยูแ่ ละกระท�ำ กิจการที่ศักดิ์สิทธิ์ในโลกและในหัวใจมนุษย์ ไป! จงกลับไปบ้าน ไปในทีท่ ที่ า่ นท�ำงาน เปิดตาของ ท่านและค้นพบพระเจ้าผู้ซึ่งเปลี่ยนโลกและบุคคลผู้ ซึ่งอยู่ในโลก ไป! และขอบพระคุณพระองค์ดว้ ยชีวติ ทัง้ หมดของ ท่าน น�ำสิ่งดีไปสู่บุคคลที่สิ้นหวัง ประกาศถึงความ

ในพิธีบูชาขอบพระคุณ ท่านระลึกว่า พระ คริสตเจ้าทรงสละชีวิต ให้ความรักและท่านยอมรับ ว่าการให้นี้เป็นสิ่งที่ต้องเลียนแบบ

บัดนี้จงไป ไปเพื่อให้ชีวิตดังที่พระองค์ทรง ให้ ไปด�ำเนินชีวติ เพือ่ ผูอ้ นื่ ดังทีพ่ ระองค์ให้แบบอย่าง แก่ท่าน ไปและรัก ไปและให้อภัย ไปและปลูกความ หวังในทุกแห่ง มิสซาทีเ่ พิง่ ร่วม ท่านได้ภาวนาเพือ่ สันติภาพ ท่านวิงวอนขอพระเจ้าให้ประทานพระพรของพระองค์ แก่ทุกคนที่เจ็บป่วยหรือทรมาน การภาวนาเป็นสิ่งที่ ขาดไม่ได้และมีประสิทธิผล บัดนี้ ค�ำวิงวอนของท่าน ช่วยให้พระเจ้าบรรลุสงิ่ ทีท่ า่ นวิงวอนจากพระองค์ ไป! ไปและน�ำความบรรเทาต่อบุคคลผู้ซึ่งก�ำลังเป็นทุกข์ ไปและปลอบประโลมคนโศกเศร้า ไปและสร้างสันติ

ใช่ ไป มิสซาจบแล้ว บัดนี้ มิสซาในท่ามกลางโลกก�ำลังจะเริ่มขึ้น เมื่อเราได้รู้ความหมายแล้ว จะเป็นการดีที่ เราร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณจนจบนะครับ 25


เรียนรู้พระคัมภีร์ เจริญชีวิตตามพระวาจา โดย คุณพ่อสมชาย เกษี

“เครื่องหมายยิ่งใหญ่ปรากฏในสวรรค์ คือสตรีผู้หนึ่งมีดวงอาทิตย์เป็นอาภรณ์ มีดวงจันทร์อยู่ใต้เท้า มีมงกุฎดาวสิบสองดวงประดับศีรษะ” (วว 12:1) พีน่ อ้ งทีร่ กั ตามปกติเมือ่ เราคริสตชนคาทอลิก ได้อ่านข้อความจากหนังสือวิวรณ์ บทที่ 12 นี้แล้ว เราก็มักจะเข้าใจว่าข้อความนี้กล่าวถึงแม่พระอย่าง แน่นอน และหมายถึงแม่พระเท่านั้น ไม่ได้หมายถึง บุคคลอืน่ หรือสิง่ อืน่ ใดอีกเลย แต่อนั ทีจ่ ริงแล้ว หนังสือ วิวรณ์ มักจะมีความหมายที่ลึกซึ้งซ่อนอยู่เสมอ ดัง นั้น “สตรี” นี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงบุคคลเพียงคน เดียว แต่อาจมีความหมายที่ซับซ้อนมากกว่านี้ก็ได้ พี่น้องครับ มีหลายแนวความคิดที่นักพระ คัมภีร์ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจ อันดับแรก “สตรี” นี้ น่าจะหมายถึง “พระศาสนจักร” ในขณะนั้น ซึ่ง ก�ำลังจะให้ก�ำเนิด “คริสตชนใหม่” คือผู้ที่กลับใจมา รับความเชื่อ แต่ก็ถูกเบียดเบียนอย่างหนักเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้พระศาสนจักรจะมีความทุกข์ แต่ ก็มีความชื่นชมยินดีอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน เปรียบ เสมือนกับสตรีที่ก�ำลังเจ็บครรภ์จะคลอดบุตร เป็น ความเจ็บปวดที่มีความชื่นชมยินดีรอคอยอยู่ปลาย ทาง สิ่งที่นักพระคัมภีร์กลุ่มนี้อ้างเหตุผลขึ้นมาสนับ 26

สนุนก็คอื เรือ่ งความฝันของโยเซฟทีว่ า่ มีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว 11 ดวง มากราบไหว้เขา (ดู ปฐก 37:9-11) ดังนั้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว จึงเป็นสัญลักษณ์หมายถึงอิสราเอล ในพันธสัญญาเดิม และแทน “พระศาสนจักร” ซึ่ง เป็น “อิสราเอลใหม่” ในพันธสัญญาใหม่ นอกจากนี้ ข้อความในหนังสือวิวรณ์ตอนต่อมาทีก่ ล่าวว่า “สตรี นัน้ หลบหนีไปในถิน่ ทุรกันดาร ทีน่ นั่ นางมีทพี่ �ำนัก ซึง่ พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้ให้” (วว 12:6) ก็ทำ� ให้เรา นึกถึงพระศาสนจักรทีถ่ กู เบียดเบียนจนกระจัดกระจาย ไป ส่วนบุตรของนางที่คลอดเป็นชาย “ซึ่งจะต้อง ปกครองชาติทั้งหลายด้วยคทาเหล็ก” (วว 12:5) ก็คือบรรดาคริสตชนที่ได้รับศีลล้างบาป และได้มี ส่วนในความเป็น “ประกาศก สงฆ์ และกษัตริย์” ของพระคริสตเจ้า สุดท้าย ข้อความที่กล่าวถึงการ ท�ำสงครามระหว่างมังกรกับเผ่าพันธุท์ เี่ หลือของสตรี ในตอนปลายของบทที่ 12 (วว 12:17) ก็คือ การที่ คริสตชนยังต้องเผชิญกับการเบียดเบียน และการ ประจญล่อลวงของปิศาจต่อไปนั่นเอง


อย่างไรก็ตาม ยังมีนักพระคัมภีร์อีกกลุ่ม หนึ่งที่เชื่อว่า ผู้เขียนหนังสือวิวรณ์ ซึ่งเรียกตนเอง ว่า “ยอห์น” อาจจะก�ำลังคิดถึงและบรรยายถึง “แม่พระ” ก็เป็นไปได้ เพราะในตอนท้ายสุดของ บทที่ 11 ก่อนจะกล่าวถึง “สตรี” ในบทที่ 12 นั้น ผู้เขียนได้เห็น “พระวิหารของพระเจ้าในสวรรค์ เปิดออก มองเห็นหีบพันธสัญญาในพระวิหาร...” (วว 11:19) ซึง่ “หีบพันธสัญญา” นัน้ มีความส�ำคัญ ส�ำหรับชาวยิวมากที่สุด เพราะในหีบพันธสัญญานั้น บรรจุ 1) พระวาจาของพระเจ้า คือพระบัญญัติ สิบประการที่จารึกไว้บนศิลาสองแผ่น 2) ปังจาก สวรรค์ คือ มานนา และ 3) ไม้เท้าของอาโรน มหา สมณะ ซึง่ ผูท้ มี่ มี ลทินจะแตะต้องหีบพันธสัญญาไม่ได้ มิฉะนั้นเขาจะต้องตาย (ดู 2ซมอ 6:6-7) เพราะหีบ พันธสัญญาเป็นการประทับอยูข่ องพระเจ้าท่ามกลาง อิสราเอล และเป็นหีบพันธสัญญานีเ้ องทีน่ ำ� ประชากร อิสราเอลเดินทางผ่านถิน่ ทุรกันดารเข้าสูแ่ ผ่นดินแห่ง พระสัญญา (ดู กดว 10:33-35) แต่หลังจากการ เข้ามารุกรานของชาวบาบิโลน หีบพันธสัญญาก็ได้ หายสาบสูญไป และไม่มีใครเคยพบเห็นอีกเลย จน กระทั่งผู้เขียนหนังสือวิวรณ์ได้เห็นหีบพันธสัญญา อีกครั้งในพระวิหารกรุงเยรูซาเล็มแห่งสวรรค์ ดัง นั้น “สตรี” นี้จึงอาจจะหมายถึง “แม่พระ” ก็เป็น ได้ เพราะแม่พระเป็นดัง “หีบพันธสัญญาใหม่” ซึ่ง ในครรภ์ของพระนางได้บรรจุ 1) พระวจนาตถ์ของ พระเจ้าที่ทรงรับสภาพมนุษย์ 2) ปังทรงชีวิต จากสวรรค์ และ 3) มหาสมณะแห่งสวรรค์ ทั้งนี้ บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรหลาย ๆ ท่าน เช่น นักบุญเมโทดิอุส นักบุญเอเฟรม นักบุญยอห์น แห่งดามัสกัส ฯลฯ ก็ได้เปรียบเทียบแม่พระว่า ทรง เป็นประดุจหีบพันธสัญญาเช่นกัน

พีน่ อ้ งทีร่ กั แม่พระ เป็นมนุษย์แท้ทไี่ ด้รบั เลือก จากพระเจ้าให้เป็นมารดาของพระผูไ้ ถ่ และแม่พระก็ได้ ตอบรับ ปฏิบตั ติ ามพระประสงค์ของพระเป็นเจ้า ดัง ที่เราได้อ่านจากพระวรสารนักบุญลูกา บทที่ 1 เมื่อ ทูตสวรรค์กาเบรียลได้ปรากฏมาหาแม่พระ และได้ กล่าวกับพระนางว่า “พระจิตเจ้าจะเสด็จลงมา เหนือท่านและพระอานุภาพของพระผู้สูงสุดจะ แผ่เงาปกคลุมท่าน...” (ลก 1:35) ซึ่งค�ำว่า “แผ่ เงา” นีเ้ ป็นค�ำศัพท์ภาษากรีกค�ำเดียวกันกับทีเ่ ราพบ ในหนังสืออพยพทีก่ ล่าวถึงพระอานุภาพของพระเจ้า ที่ “แผ่เงา” ลงมา “เหนือหีบพันธสัญญา” (ดู อพย 40:34-38) นอกจากนี้ การที่แม่พระเสด็จเยี่ยมนาง เอลิซาเบ็ธ ก็ยังสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่กษัตริย์ดาวิด ได้อัญเชิญหีบพันธสัญญาเข้าสู่กรุงเยรูซาเล็มด้วย (ดู 1พศด 15:1-29) ดังนัน้ “สตรี” ในหนังสือวิวรณ์บทที่ 12 นีจ้ งึ หมายถึง “พระศาสนจักร” และหมายถึง “แม่พระ” ผู้เป็น “มารดาพระศาสนจักร” และ “มารดาใน ด้านจิตใจของทุกคนทีม่ คี วามเชือ่ ซึง่ ศิษย์ทที่ รงรัก เป็นรูปแบบและตัวแทน” (ดู ยน 19:25) นอกจาก นี้ การที่พระเยซูเจ้าได้เรียกแม่พระว่า “หญิงเอ๋ย” หรือ “สตรีเอ๋ย” (ใน ยน 2:3 และ ยน 19:25) ยัง เป็นการสะท้อนถึงการที่แม่พระเป็น “เอวาใหม่” ที่ ตรงข้ามกับเอวาเดิมที่ท�ำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า แต่ แม่พระท�ำตามน�้ำพระทัยของพระเจ้าเสมอและเป็น แบบฉบับส�ำหรับเราคริสตชนทุกคนด้วย

27


กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ โดย ส�ำนักงานวินิจฉัยคดี สังฆมณฑลจันทบุรี สวัสดีฤดูหนาว (วันที่เริ่มเขียนบทความ หวังว่าถึงวันนี้ยังคงเย็นสบาย) แด่พี่ น้องคาทอลิกไทยทุกท่านครับ โลกแห่งการสื่อสารอันรวดเร็วในปัจจุบันนี้ ท�ำให้พี่น้อง ทราบข่าวสารต่างๆ นานา ได้อย่างทันท่วงที ทั้งข่าวดี ข่าวร้าย การวิเคราะห์ วิพากษ์ ความคิดเห็นอันมากมายหลากหลาย ทั้งเห็นตรงและเห็นต่าง รวมถึงปฏิกิริยาท่าทีตอบ สนองต่อสิ่งซึ่งรับเข้ามาของแต่ละคน ข่าวที่เรายินดีมากในช่วงนี้ คือ การเสด็จเยือน ประเทศไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เตรียมการต้อนรับเสด็จ-แล้วเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์นั้นก็มาถึง...และผ่านไป..... เรื่องต่อมา... สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ก�ำลังประกาศ “เรื่อง จารีต ศีลสมรส และ พิธีสมรส ตามธรรมเนียมคริสตชนคาทอลิก” เพื่อความเข้าใจ และการปฏิบัติตรงกัน ตั้งแต่วันอาทิตย์ ที่ 1 ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ปีนี้ตรงกับวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.2019 ซึ่งก็ได้มาถึง...และด�ำเนินต่อไปเช่นกัน ฉบับนี้ พ่อขอน�ำเสนอ บทความสั้นๆ ของกวี ชาวอเมริกัน ชื่อ Robin Beth Schaer เกีย่ วกับ “จารีตพิธแี ต่งงานของคาทอลิก (Catholic Wedding Ceremony Rituals)” แบบง่ายๆ ดังต่อไปนี้นะครับ พี่น้อง... “จารีตพิธีแต่งงานของคาทอลิก” เป็น 1 ในศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ ของพระศาสนจักรคาทอลิก, เป็นช่องทางแห่งพระหรรษทานจากพระเจ้า การแต่งงาน เป็นเรื่องส�ำคัญมากของชีวิตในพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งขั้นตอนของจารีตพิธีแต่งงาน ก็เต็มไปด้วยความหมายและสัญลักษณ์ที่ลึกซึ้งอยู่ภายในพิธีกรรมนั้น เราลองพิจารณา กันดูครับ... 28


บทเริม่ ต้นเข้าสูจ่ ารีตพิธี (Introductory Rites)

มิสซา หรือ ไม่มีมิสซา (Mass or No Mass)

การแต่งงานของคาทอลิก เริม่ ต้นด้วยคุณพ่อ สวด “บทภาวนา” โดยออกชือ่ ของ คูบ่ า่ ว-สาว และ วอนขอพระเจ้าทรงอวยพรการแต่งงานของเขาทัง้ สอง

หากประกอบพิธแี ต่งงาน โดยไม่มกี ารถวาย บูชามิสซา พิธจี ะจบลงเมือ่ พระสงฆ์สวดบทอวยพรคู่ แต่งงานและบทภาวนาปิดท้าย แล้วพระสงฆ์จะกล่าว ต่อทีช่ มุ นุมว่า “จงไปในสันติสขุ กับพระคริสตเจ้าเถิด” ผู้ร่วมพิธีตอบรับว่า “ขอขอบพระคุณพระเจ้า”

ภาคพระวาจาพระเจ้า (Liturgy of the Word) มีผู้อ่านพระคัมภีร์ (โดยปกติเป็นสมาชิก ของครอบครัวผู้เข้าพิธีแต่งงาน) คู่บ่าว-สาว เป็นผู้ เลือกพระวาจา และพระสงฆ์เป็นผู้ตรวจรับรองให้ เมื่ออ่านจบแล้วคุณพ่อจะให้บทเทศน์สอนสั้นๆ เรื่อง การแต่งงาน จารีตพิธีแต่งงาน (Rite of Marriage) ผู้เข้าร่วมพิธียืนขึ้น ระหว่างที่คู่บ่าว-สาว กล่าวแสดงความสมัครใจต่อกัน โดยประกาศว่า “ผม/ดิฉัน ... ขอรับคุณ... เป็น สามี/ภรรยา และจะ ถือซื่อสัตย์ต่อคุณ ทั้งในยามสุข และยามทุกข์ ทั้ง เวลาเจ็บป่วย และเวลาสบาย เพือ่ รักและยกย่อง ให้ เกียรติต่อคุณ จนกว่าชีวิตจะหาไม่” ค�ำสัญญานี้เป็น ไปตามรูปแบบที่พระศาสนจักรก�ำหนดไว้ การสวมแหวน (Exchange of Rings) หลังจาก คู่บ่าว-สาว กล่าวค�ำสัญญาแสดง ความสมัครใจต่อกันแล้ว เพื่อนเจ้าบ่าว ส่งแหวนให้ พระสงฆ์เสกอวยพร และส่งต่อให้เจ้าบ่าว เพื่อสวม ใส่ให้เจ้าสาว เพื่อนเจ้าสาว ส่งแหวนให้พระสงฆ์เสก อวยพร และส่งต่อให้เจ้าสาว เพื่อสวมใส่ให้เจ้าบ่าว เมื่อสวมแหวนให้แก่กัน จะกล่าวถ้อยค�ำว่า “คุณ... ขอให้รับแหวนวงนี้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์แสดงความ รักและความซื่อสัตย์ของ ...ผม/ดิฉัน ในพระนาม ของพระบิดา, พระบุตร และพระจิต”

หากประกอบพิธแี ต่งงาน โดยมีการถวายบูชา มิสซา (ซึง่ จะใช้เวลาเพิม่ อีกสัก 15 นาที) พระสงฆ์จะ กล่าวเชิญชวนให้ผู้ร่วมพิธีมอบสันติสุขแก่กัน ซึ่งจะ กระท�ำโดยแต่ละคนจับมือกับคนใกล้เคียง, ตามด้วย การรับศีลมหาสนิท และสุดท้าย พระสงฆ์ สวดบท ภาวนาปิดท้าย พร้อมวอนขอพระพรพระเจ้าปกป้อง คุ้มครองคู่บ่าวสาว การถวายดอกไม้ (Offertory) การแต่งงานของคริสตชนคาทอลิกบางแห่ง มีธรรมเนียมให้เจ้าสาวน�ำดอกไม้ไปถวายพระแม่มารี ในขณะทีน่ กั ดนตรีบรรเลง บทเพลง “Ave Maria” จารีตนี้สามารถกระท�ำได้ทั้งก่อนการแห่ออก หรือ หลังจากพิธีกรรมจบลงแล้วก็ได้ บทความนีแ้ ปลโดยเคารพต้นฉบับอย่างทีส่ ดุ แม้จะเป็นธรรมเนียมท้องถิ่นของอเมริกา แต่ก็มิได้ ขัดแย้งกับธรรมประเพณีของพระศาสนจักรสากลแต่ อย่างใด นอกจากนัน้ ยังเป็นตัวอย่างทีเ่ ราสามารถน�ำ มาประยุกต์ใช้กบั การแต่งงานของพระศาสนจักรไทย ได้ด้วยครับ หากพี่น้องสนใจก็ลองมาพูดคุยปรึกษา กับคุณพ่อเจ้าวัดได้ และหากพบข้อสงสัยสามารถ สอบถามผมก็ได้นะครับ ขอพระคุ้มครองความรักของพี่น้องทุกท่านครับ คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ 29


ดาวประจ�ำพระองค์ “พวกเราได้เห็นดาวประจ�ำพระองค์ขึ้น จึงพร้อมใจกันมาเพื่อนมัสการพระองค์” (มัทธิว 2:2) เมื่อกล่าวถึงดวงดาวทีไรข้าพเจ้านึกถึงการพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆ ของผู้พยากรณ์ ผ่านทางการมองการเคลื่อนที่ของดวงดาว ลักษณะของดวงดาว และการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และข้าพเจ้าก็ยังนึกไปถึงค�ำกล่าวของท่านนักบุญเทเรซาแห่งพระกุมารเยซู ซึ่งท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของข้าพเจ้าที่ข้าพเจ้ารักมากองค์หนึ่ง ในขณะที่ท่านเดินกับบิดาของท่านเมื่อท่านยังเล็ก ท่านชี้ให้บิดาของท่านมองไปที่ดวงดาวรูปตัว T บนท้องฟ้า และบอกกับบิดาของท่านว่า ชื่อของท่านถูกจารึกไว้ในสวรรค์แล้ว ดีจริง ชื่อของข้าพเจ้าก็ขึ้นต้นด้วยตัว T เช่นกัน หากชื่อของข้าพเจ้าได้ถูกจารึกไว้ในสวรรค์ด้วยก็คงดียิ่งนัก ดวงดาวพิเศษที่เปล่งแสงสว่างกว่าดวงดาวทั้งปวง มีบทบาทในช่วงที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิด เพราะถูกแสดงให้เห็นถึงเครื่องหมายของเหตุการณ์ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ แสงสว่างแห่งดวงดาวดวงนี้ น�ำทางนักปราชญ์ น�ำทางมนุษยชาติให้พบหนทาง ความจริงและชีวิตอย่างแท้จริง เมื่อกล่าวถึงดวงดาวน�ำทาง ข้าพเจ้าก็คิดถึงเทศกาลแห่ดาวของทางภาคอีสาน ที่มีจัดขึ้นในทุกปีของวันพระคริสตสมภพ ข้าพเจ้าได้อ่านประวัติการแห่ดาว ซึ่งมีบทความสรุปไว้อย่างน่ารักว่า “ดาว” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545 ได้ให้ค�ำจ�ำกัดความไว้ว่า “สิ่งที่เห็นเป็นดวง มีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์” 30


และมีการเปรียบเทียบบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่น มีชื่อเสียง หน้าตาสะสวย ว่าเป็นดาว หรือดารา อีกด้วย ทั้งยังมีการบันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ ถึงการดูดาว การพยากรณ์จากดวงดาว ของบรรดานักปราชญ์ และผู้พยากรณ์ทั้งหลาย ว่าหากมีบุคคลส�ำคัญ หรือมีเหตุการณ์ส�ำคัญๆเกิดขึ้นบนโลก จะมีดวงดาวที่มีลักษณะพิเศษเกิดขึ้นด้วย และยังกล่าวถึงดาวประจ�ำตัวของคนแต่ละคนซึ่งมีลักษณะต่างๆกันไป แต่ส�ำหรับดวงดาวประจ�ำองค์พระกุมารน้อยเยซูเจ้านั้น ส่องสว่างเหนือฟากฟ้า เพื่อน�ำทางนักปราชญ์ ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของมนุษยชาติ ให้เดินทางไปพบกับจุดหมายปลายทางที่แท้จริง นักปราชญ์ทั้งสามถวายของขวัญอันเป็นเครื่องหมาย แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระเยซูเจ้า ในฐานะพระเจ้า กษัตริย์ และพระผู้ไถ่ของเราทุกคน ส�ำหรับข้าพเจ้าหากจะถวายของขวัญสักชิ้นหนึ่งให้กับผู้มีพระคุณสักท่านหนึ่ง ข้าพเจ้าก็คงเดินวนเวียนในร้านของฝาก และคิดถึงสิ่งที่ผู้มีพระคุณปรารถนา แต่องค์พระเยซูเจ้าปรารถนาเพียงดวงวิญญาณที่สุกสว่างของมวลมนุษย์ ที่จะเดินทางไปสู่จุดหมายบ้านพระบิดาที่พระองค์ทรงเสด็จลงมาน�ำทางให้

เห็นดวงดาว ประจ�ำ องค์พระเจ้า ทั้งทองค�ำ ก�ำยาน เป็นอาจิณ มีดวงดาว สุกสว่าง กระจ่างฟ้า พระบังเกิด สู่โลกหล้า จากฟ้าไกล

นักปราชญ์เฝ้า ทูลเกล้า ถวายสิ้น อีกมดยอบ อบอวลกลิ่น สู่ถิ่นไกล น�ำทางข้าฯ ด้วยเมตตา อันยิ่งใหญ่ เป็นหนึ่งใน ใจปวงข้าฯ สาธุการ

โดย น�้ำผึ้งหวาน 31


จ ก ิ ก ร พ ร า ม ภ ล ว ม ระ

32

เปิดเสก วัดนักบุญยาโกเบ บ่อวิน 20 ตุลาคม 2019


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญอันนา สระไม้แดง

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญลอเรนซ์ นางาม

33


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ สระแก้ว

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระนิจจานุเคราะห์ ระยอง

34


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารีสมภพ กบินทร์บุรี

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดนักบุญนิโคลัส พัทยา

35


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอารักขเทวดา แหลมประดู่

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดอัครเทวดามีคาแอล ปราจีนบุรี

36


ฉลองอารามคาร์แมล จันทบุรี

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระลูกประคำ� สัตหีบ

37


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดมารดาพระศาสนจักร นครนายก

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระราชินีสายประคำ�ศักดิ์สิทธิ์ บ้านสร้าง

38


ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดพระคริสตราชา ปะตง

ฉลองชุมชนแห่งความเชื่อ วัดแม่พระราชินีแห่งสันติภาพ อรัญประเทศ

39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.