สายใยจันท์ สารสังฆมณฑล
Vol.31
FREE COPY แจกฟรี
พฤษภาคม - สิงหาคม 2 0 2 0 ปีที่ 31
• แบ่งรัก ปันสุข สู้ภัย COVID-19 • บทข้าพเจ้าเชื่อ • การศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย • ของวิเศษ • BEC กับการเสริมสร้างชุมชนและศิษย์ธรรมทูต
สายใยจันท์ สารสั ง ฆมณฑล
เจ้าของ สังฆมณฑลจันทบุรี
ผู้รับผิดชอบ แผนกสื่อมวลชน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่ปรึกษา พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี พระสังฆราชกิตติคุณ ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต บรรณาธิการบริหาร คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี กองบรรณาธิการ สุรชัย รุธิรกนก ศุภชัย พรมสาร พีรภรณ์ ศรีโชค ศิลปกรรม สุรชัย รุธิรกนก พิสูจน์อักษร ศันสนีย์ สิริชัยเจริญกล บทความประจ�ำ คุณพ่อนรเทพ ภานุพันธ์ คุณพ่อนันทพล สุขส�ำราญ คุณพ่อประธาน ตันเจริญ คุณพ่อภูวนารถ แน่นหนา คุณพ่อเศกสม กิจมงคล คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ คุณพ่อสุทธิพงษ์ สุขส�ำราญ คุณพ่อสมชาย เกษี คุณพ่ออภิชิต ชินวงค์ คุณพ่อเอกภพ ผลมูล เป้าหมาย ครอบครัวคริสตชนในเขตสังฆมณฑลจันทบุรี วัตถุประสงค์ ประชาสัมพันธ์ขา่ วสาร กิจกรรม และความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ ให้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตคริสตชนในมิติต่าง ๆ เป็นสื่อสร้างสรรค์ในครอบครัวคริสตชน ส�ำนักงาน 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทรศัพท์: 08-9245-2611 E-mail: chandiocese@gmail.com Website: www.chandiocese.org Facebook: สื่อมวลชนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี 2
สารบั ญ Contents 4 สารพระสังฆราช พระสังฆราช ซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี
6 แผนกคริสตศาสนธรรม บทข้าพเจ้าเชื่อ 9 แผนกวิถีชุมชนวัด BEC กับการเสริมสร้างชุมชนและศิษย์ธรรมทูต 12 ฝ่ายการศึกษา การศึกษาคาทอลิกในประเทศไทย 14 ของวิเศษ ในดินแดนวิเศษมีของวิเศษและมนุษย์วิเศษ 16 New Normal วิถีชีวิตแบบใหม่ 18 กฎหมายพระศาสนจักร ข้อสันนิษฐาน ความถูกต้องของการแต่งงาน
20 แผนกพิธีกรรม บทบาทของพระสงฆ์ ผู้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ
22 แผนกครอบครัว ชีวิตและความรักในครอบครัว 26 แผนกเยาวชน แนะนำ� ผู้อำ�นวยการ แนะนำ� ค่าย
28 ฝ่ายสังคม งานเมตตาสงเคราะห์
กิจกรรม “แบ่งรัก ปันสุข สู้ภัย COVID-19”
Editor’s talk
บรรณาธิการ ช่วงการระบาดของโรคไข้หวัดโควิด-19 ค�ำประกาศงด มิสซาและการฉลองวัด ค่อย ๆ ปรากฏขึน้ ในสือ่ ต่าง ๆ ... วัดต่าง ๆ ทยอยปิดตัวลง มิสซาออนไลน์เข้ามาแทนทีม่ สิ ซาตามปกติ โทรศัพท์ มือถือที่ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นสาเหตุที่ท�ำให้เกิดสังคมก้มหน้า เป็นเครื่องมือสื่อสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นของต้องห้าม ส�ำหรับเด็ก ๆ แต่โอกาสนี้ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือที่จะน�ำพระหรรษ ทานไปสู่ทุกครอบครัว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ติดบ้านและผู้เจ็บ ป่วยที่นอนติดเตียง แต่ไม่ใช่ทกุ คนทีส่ ามารถเข้าสูร่ ะบบการสือ่ สารไร้พรมแดน นี้ได้ ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ห่างหายไปจากวิถีชีวิตคริสตชนแบบ เดิม ๆ บางคนไม่สามารถจ�ำได้วา่ วันนีเ้ ป็นวันอะไร เพราะปกติแล้ว จะไปวัดทุกวันอาทิตย์ ยิ่งนานวันเข้า...คริสตชนผู้ศรัทธากระหาย หาอาหารทรงชีวิต เสียงเพลงที่ไพเราะ และการรวมตัวกันเพื่อ สรรเสริญพระเป็นเจ้า ณ เวลานี้เองที่หลายคนได้เข้าใจว่า “บูชา มิสซา...ส�ำคัญส�ำหรับชีวิตพวกเขาอย่างไร?” เกือบ 6 เดือนแล้ว ที่พวกเราไม่สามารถมาร่วมมิสซา ตามแบบปกติได้ เหตุการณ์แบบนีไ้ ม่เคยมีมาก่อนในประวัตศิ าสตร์ แต่ก็เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของเรา และจะถูกเล่าขานกันอีกต่อไป ว่าการแพร่ระบาดของไข้หวัดโควิด-19 ได้เกิดผลกระทบกับสังคม ของเราในทุกระดับ ไม่เลือกชั้นวรรณะ คนร�่ำรวยหรือคนยากจน คนผิวขาวหรือผิวด�ำ ในความเป็นมนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน สถานการณ์ตอนนีส้ �ำหรับประเทศไทยถือได้วา่ อยูใ่ นระดับ ที่ดีมาก ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ผู้ติดเชื้อลดน้อยถอยลง จนหมดไป วัดต่าง ๆ ค่อย ๆ ทยอยกันเปิด เหมือนกับเทียนแต่ละ เล่มที่ค่อย ๆ ถูกจุดขึ้น แต่วิถีชีวิตเดิมได้แปรเปลี่ยนไป เราเรียก สภาพของการด�ำเนินชีวิตใหม่นี้ว่า “ความปรกติใหม่ หรือ ฐาน วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)”
ความปรกติใหม่ในพระศาสนจักร เห็นได้จากการจ�ำกัดผูม้ าร่วมพิธมี สิ ซา การ งดน�ำ้ เสก การใส่หน้ากากอนามัย การใช้ เจลล้างมือ การเว้นระยะห่าง การวัดไข้ การลงทะเบียนผูม้ าร่วมพิธกี รรม งดการ ชุมนุมส�ำหรับผูค้ นจ�ำนวนมาก ฯลฯ โดย จะเป็นเช่นนี้จนกว่าเราจะค้นพบวัคซีน ป้องกัน หรือเรามั่นใจว่าการระบาดได้ หมดไปจากประเทศของเรา ความปรกติ ใหม่นี้ท้าทายชีวิตของพระศาสนจักรใน การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่แปร เปลี่ยนไป การรักษาและการถ่ายทอด ความเชื่อไปยังลูกหลาน การประกาศ ข่าวดีไปยังเพือ่ นพีน่ อ้ ง และจะท�ำอย่างไร ให้พระเยซูคริสตเจ้ายังคงอยู่ในวิถีชีวิต และในวัฒนธรรมที่ก�ำลังเปลี่ยนไปอยู่ ตลอดเวลา
คุณพ่อนุพันธุ์ ทัศมาลี บรรณาธิการ 3
4
สารพระสังฆราช พี่น้องที่รักยิ่งในพระคริสตเจ้า โลกของเราประสบกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็วและรุนแรง กระทบกับประเทศ ต่าง ๆ ทัว่ โลกเป็นวงกว้าง มีผเู้ จ็บป่วยจ�ำนวน มากกว่าสิบล้านคนและเสียชีวติ หลายแสนคน เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่งที่จะ ต้องถูกบันทึกไว้ในประวัตศิ าสตร์ของมนุษยชาติ
พระศาสนจักรก็ได้รับผลกระทบจาก “โควิด-19” เช่นกัน และมีการปรับรูปแบบ วิถกี ารด�ำเนินชีวติ แบบใหม่ เช่น การจัดมิสซา on-line ในช่วงทีม่ กี ารระบาดอย่างหนักซึง่ ห้าม การชุมนุมอันเป็นเหตุของการติดต่อได้ หรือ การปฏิบตั ติ วั อย่างเคร่งครัดในการร่วมมิสซา เมือ่ วัดของเราได้รับอนุญาตให้จัดพิธกี รรมได้ เช่น การคัดกรองผู้มาร่วมพิธี การให้ทุกคน สวมหน้ากากอนามัย การใช้เจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ การเว้นระยะห่าง เป็นต้น เราคงต้อง ปรับตัวกันอย่างมากในช่วงนี้จนเกิดความคุ้น ชินและเมื่อเวลาผ่านไปก็จะกลับกลายเป็น ส่วนหนึ่งของวิถีปกติของเรา หวังว่ารูปแบบ วิถชี วี ติ แบบใหม่นอกจากจะท�ำให้เราปลอดภัย จากโรคระบาดแล้ว ยังจะท�ำให้เรามีชีวิตที่ ดีขึ้น มีจิตใจใหม่ จิตวิญญาณที่สดชื่นและมี ความหวังอยู่เสมอ
การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ก่อให้เกิดรูปแบบการใช้ชีวิตแบบใหม่ของเรา มนุษย์เพือ่ ป้องกันการติดโรคระบาดร้ายแรงนี้ เรามักได้ยินค�ำภาษาอังกฤษค�ำนี้บ่อย ๆ คือ ค�ำว่า “New Normal” ซึ่งได้มีการให้ความ หมายในภาษาไทย หมายถึง “รูปแบบการ ด�ำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต อันเนือ่ งจากมีบางสิง่ มากระทบจนแบบแผน และแนวทางปฏิบตั ทิ คี่ นในสังคมคุน้ เคยอย่าง เป็นปกติและเคยคาดหมายล่วงหน้าได้ ต้อง เปลีย่ นแปลงไปสูว่ ถิ ใี หม่ภายใต้หลักมาตรฐาน “จงมอบความหวังไว้ในพระเจ้าเถิด ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย” (อ้างจากการบัญญัติศัพท์ ข้าพเจ้าจะยังสรรเสริญพระองค์อีก ของราชบัณฑิตยสภา) รูปแบบวิถีชีวิตใหม่นี้ พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้ช่วยข้าพเจ้าให้รอดพ้น ประกอบด้วยวิธีคิด วิธีเรียนรู้ วิธีสื่อสาร วิธี และทรงเป็นพระเจ้าของข้าพเจ้า” ปฏิบตั แิ ละการจัดการ อันเป็นการปรับตัวเพือ่ รับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (เพลงสดุดีที่ 42 ข้อ 11) ขอพระนางพรหมจารีมารีย์ผู้ได้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ องค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรในประเทศไทย เป็นผู้เสนอวิงวอนเพื่อเราด้วยเทอญ (พระสังฆราชซิลวีโอ สิริพงษ์ จรัสศรี) ประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี
5
แผนกคริสตศาสนธรรม
บท ข้ า พ เ จ้ า เ ชื่ อ ข้อความเชื่อส�ำหรับ ผู้ที่ต้องการจะเป็นคริสตชน ใช้ประกาศก่อนการรับศีลล้าง บาป ว่าเขามีความเชือ่ ถูกต้อง เทีย่ งตรง ตามหลักค�ำสอนใน คริสตศาสนา โดย คุณพ่อยอห์น บัปติสตา นุพันธุ์ ทัศมาลี
“บทข้าพเจ้าเชื่อ” ในภาษาลาตินใช้ค�ำว่า “CREDO” แปลว่า “ข้าพเจ้าเชื่อ” ซึ่งเป็นบทสรุป ข้อความเชื่อของคริสตศาสนาในรูปแบบสั้น ๆ ง่าย ต่อการเข้าใจ จดจ�ำ ถ่ายทอดสู่บุคคลอื่น ๆ และ สามารถน�ำไปเป็นบทภาวนาในโอกาสต่าง ๆ ได้อีก ด้วย ในอดีตที่ผ่านมาบทข้าพเจ้าเชื่อนี้มีอยู่หลาย ส�ำนวนตามจารีตพิธีกรรมและพระศาสนจักรในที่ ต่าง ๆ ปัจจุบันเราสามารถเห็นบทข้าพเจ้าเชื่อนี้ใน 3 รูปแบบด้วยกัน กล่าวคือ 1. บทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้ส�ำหรับพิธีศีลล้างบาป บทข้าพเจ้าเชือ่ นี้ เป็นข้อความเชือ่ ส�ำหรับผู้ ที่ต้องการจะเป็นคริสตชนใช้ประกาศก่อนการรับศีล ล้างบาป ว่าเขามีความเชื่อถูกต้อง เที่ยงตรง ตาม หลักค�ำสอนในคริสตศาสนา ในพิธกี รรมโปรดศีลล้าง บาป ผูร้ บั ศีลล้างบาปต้องประกาศออกมาว่าตนเองมี ความเชื่อตามที่พระศาสนจักรสั่งสอน พวกเขาจึงได้ รับอนุญาตให้รบั ศีลล้างบาปต่อไป ส�ำหรับเด็กเล็ก ๆ เมื่อรับศีลล้างบาป พ่อหรือแม่ทูนหัวเป็นผู้ท�ำหน้าที่ 6
ประกาศยืนยันความเชื่อนี้แทนพวกเขา บทยืนยัน ความเชื่อนี้ เราคริสตชนทุกคนยังได้รับการรื้อฟื้น อย่างเป็นทางการในทุก ๆ ปีในพิธีกรรมวันเสาร์ ศักดิ์สิทธิ์ นั่นก็คือ พระสงฆ์ : ท่านเชือ่ ในพระเจ้า พระบิดาผูท้ รง สรรพานุภาพ ทรงเนรมิตฟ้าดินหรือ สัตบุรุษ : ข้าพเจ้าเชื่อ พระสงฆ์ : ท่านเชือ่ ในพระเยซูคริสตเจ้า พระ บุตรหนึ่งเดียวของพระเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า ทรงบังเกิดจากพระนางมารียพ์ รหมจารี ทรงรับ ทรมาน สิน้ พระชนม์ และทรงถูกฝังไว้ ทรงกลับ คืนพระชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย และประทับ เบื้องขวาพระบิดาหรือ สัตบุรุษ : ข้าพเจ้าเชื่อ พระสงฆ์ : ท่านเชือ่ ในพระจิตเจ้า พระศาสนจักร ศักดิ์สิทธิ์ สากล ความสัมพันธ์ เป็นหนึ่งเดียว ของผู้ศักดิ์สิทธิ์ การอภัยบาป การกลับคืนชีพ ของร่างกายและชีวิตนิรันดรหรือ สัตบุรุษ : ข้าพเจ้าเชื่อ
แผนกคริสตศาสนธรรม
2. บทความเชื่อที่ใช้ในการสวดภาวนาทั่วไป บทข้ า พเจ้ า เชื่ อ นี้ เ รี ย กอี ก อย่ า งหนึ่ ง ว่ า “สัญลักษณ์ของอัครสาวก” (Apostles’ Creed) ตามธรรมประเพณีที่เล่าสืบทอดต่อกันมา ว่าบรรดา อัครสาวกทีช่ มุ นุมกันอยูใ่ นวันทีพ่ ระจิตเจ้าเสด็จลงมา (เปนเตกอสเต) ได้ชว่ ยกันแต่งบทข้าพเจ้าเชือ่ นีค้ นละ หนึ่งข้อ ปัจจุบันเราใช้ในการสวดภาวนาทั่วไป เช่น การสวดสายประค�ำ พิธีปลงศพ การสวดภาวนาใน สุสาน เพือ่ อุทศิ ให้ผลู้ ว่ งลับในเดือนพฤศจิกายน หรือ ในโอกาสเสกสุสาน เป็นต้น บทภาวนานี้แบ่งออกเป็น 12 ข้อได้ดังนี้ คือ 1. ข้าพเจ้าเชือ่ ในพระเจ้า พระบิดาผูท้ รงสรรพา นุภาพ ทรงเนรมิตฟ้าดิน 2. ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า พระบุตร หนึง่ เดียวของพระเจ้า องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย 3. ทรงปฏิสนธิเดชะพระจิตเจ้า ทรงบังเกิดจาก พระนางมารีย์พรหมจารี 4. ทรงรับทรมานสมัยปอนทิอัส ปิลาต ทรงถูก ตรึงกางเขน สิ้นพระชนม์ และทรงถูกฝังไว้ 5. เสด็จสู่แดนมรณะ วันที่สามทรงกลับคืนพระ ชนมชีพจากบรรดาผู้ตาย 6. เสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระเจ้า พระ บิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ 7. แล้วจะเสด็จมา พิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย 8. ข้าพเจ้าเชื่อในพระจิตเจ้า 9. พระศาสนจักรศักดิ์สิทธิ์สากล ความสัมพันธ์ เป็นหนึ่งเดียวของผู้ศักดิ์สิทธิ์ 10. การอภัยบาป 11. การกลับคืนชีพของร่างกาย 12. และชีวิตนิรันดร
“สัญลักษณ์ของอัครสาวก” (Apostles’ Creed) 7
แผนกคริสตศาสนธรรม
3. บทข้าพเจ้าเชื่อที่ใช้ในพิธีมิสซา บทข้าพเจ้าเชือ่ นีเ้ กิดขึน้ จากการท�ำสังคายนา ทีเ่ มืองนิเชอา (Nicea) ในปี ค.ศ. 325 อันเนือ่ งมาจาก เกิดการตีความอันหลากหลายเกี่ยวกับสภาวะความ เป็นพระเจ้าและความเป็นมนุษย์ของพระเยซูเจ้าใน พระศาสนจักรต่าง ๆ ทีแ่ ตกต่างกันในขณะนัน้ ในบท ข้าพเจ้าเชื่อนี้จึงอธิบายข้อความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยว กับพระเยซูเจ้าเป็นพิเศษ ปัจจุบันเราใช้บทข้าพเจ้า เชื่อนี้ในพิธีมิสซาในวันอาทิตย์และวันฉลองต่าง ๆ - ข้าพเจ้าเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียว + พระบิดาผู้ทรงสรรพานุภาพ เนรมิตฟ้าดิน ทั้งสิ่งที่เห็นได้และเห็นไม่ได้ - ข้าพเจ้าเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้าพระบุตร หนึ่งเดียวของพระเจ้า + ทรงบังเกิดจากพระบิดาก่อนกาลเวลา - ทรงเป็นพระเจ้าจากพระเจ้า + ทรงเป็นองค์ความสว่าง จากองค์ความสว่าง - ทรงเป็นพระเจ้าแท้ จากพระเจ้าแท้ + มิได้ทรงถูกสร้าง แต่ทรงบังเกิดร่วมพระ ธรรมชาติเดียวกับพระบิดา - อาศัยพระบุตรนี้ ทุกสิง่ ได้รบั การเนรมิตขึน้ มา + เพราะเห็นแก่เรามนุษย์ เพื่อทรงช่วยเราให้ รอด พระองค์จึงเสด็จจากสวรรค์ - พระองค์ทรงรับสภาพมนุษย์จากพระนางมารีย์ พรหมจารี ด้วยพระอานุภาพของพระจิตเจ้า + และทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ - สมัยปอนทิอัส ปิลาต พระองค์ทรงถูกตรึง กางเขนเพื่อเรา + พระองค์สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ - ทรงกลับคืนพระชนมชีพในวันที่สาม ตาม ความในพระคัมภีร์ 8
+ เสด็จสู่สวรรค์ ประทับเบื้องขวาพระบิดา - พระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริรุ่งโรจน์ เพื่อทรงพิพากษาผู้เป็นและผู้ตาย + รัชสมัยของพระองค์จะไม่สิ้นสุด - ข้าพเจ้าเชือ่ ในพระจิต พระเจ้าผูท้ รงบันดาล ชีวิต + ทรงเนื่องมาจากพระบิดาและพระบุตร - ทรงรับการถวายสักการะและพระสิรริ งุ่ โรจน์ ร่วมกับพระบิดาและพระบุตร + พระองค์ด�ำรัสทางประกาศก - ข้าพเจ้าเชื่อว่า มีพระศาสนจักร หนึ่งเดียว ศักดิส์ ทิ ธิ์ สากล และสืบเนือ่ งจากอัครสาวก + ข้าพเจ้าประกาศยืนยันว่า มีศลี ล้างบาปหนึง่ เดียวเพื่ออภัยบาป - ข้าพเจ้ารอวันที่ผู้ตายจะกลับคืนชีพ + และคอยชีวิตในโลกหน้า อาแมน บทข้าพเจ้าเชือ่ จึงเป็นบทสรุปข้อความเชือ่ ของ คริสตชนที่มีความส�ำคัญ ถูกต้องตามหลักเทววิทยา และมีความครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวเอง ทุกครั้งที่เรา สวดบทข้าพเจ้าเชื่อนี้เราก็ก�ำลังประกาศความเชื่อที่ เรามีต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า กล่าวคือ พระบิดา พระ บุตร พระจิต ตลอดจนข้อค�ำสอนส�ำคัญ ๆ ของพระ ศาสนจักรทีค่ ริสตชนต้องเชือ่ และต้องรู้ และทีส่ ำ� คัญ ที่สุดต้องด�ำเนินชีวิตตามค�ำแนะของข้อความเชื่อ นั้น ๆ ดังที่คริสตชนในอดีตยึดถือมาและยอมสละ ชีวิตจ�ำนวนมากเพื่อยืนยันถึงความเชื่อนั้น
แผนกวิถีชุมชนวัด
BกับการเสริEมสร้างชุมCชน Q
และศิษย์ธรรมทูต
BEC คืออะไร
?
BEC หรือ BECs ย่อมาจาก Basic Ecclesial Communities ในภาษาไทยเราใช้คำ� ว่า “วิถชี วี ติ คริสตชน ขั้นพื้นฐาน” หรือ “ชุมชนคริสตชนย่อย” แต่จาก การด�ำเนินการร่วม 20 ปี สังฆมณฑลจันทบุรี ใช้ค�ำ ว่า “วิถีชุมชนวัด”
Q
วิถีชุมชนย่อย คืออะไร
?
คือการรวมตัวกันของคริสตชนบ้านใกล้เรือนเคียงใน บรรยากาศแห่งความรัก ด�ำเนินชีวติ คริสตชนร่วมกัน เช่น แบ่งปันพระวาจา ภาวนา เฉลิมฉลองโอกาสวัน ส�ำคัญของชุมชน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือต่อ เพื่อนพี่น้องต่างความเชื่อ
Q
?
ท�ำไม ต้องมีวิถีชุมชนย่อย
สืบเนือ่ งจาก สภาพแวดล้อมทางสังคมได้เปลีย่ นแปลง ไป สังคมชนบทกลายเป็นสังคมเมือง ครอบครัว คริสตชนทีเ่ คยอยูร่ ว่ มกันปัจจุบนั กระจายแยกย้ายกัน ออกไป บางครอบครัวหรือสมาชิกในครอบครัวบาง คนไปท�ำงานยังสถานที่อื่น ท�ำให้บรรยากาศชุมชน คริสตชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การด�ำเนินชีวิต วิถชี มุ ชนย่อยท�ำให้ภาพชุมชนคริสตชนได้กลับคืนมา ใหม่แม้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
บทสัมภาษณ์ คุณพ่อซีมอน เศกสม กิจมงคล ผู้อ�ำนวยการแผนกวิถีชุมชนวัด สังฆมณฑลจันทบุรี
Q
ประเทศไทยมีวิถีชุมชนวัดแบบนี้ตั้งแต่ เมื่อไหร่
Q
ท�ำไม ต้องมีวิถีชุมชนวัด
?
ส�ำหรับประเทศไทยมีการท�ำวิถชี มุ ชนวัดมานานแล้วใน อัครสังฆมณฑลท่าแร่ และได้รบั ความส�ำเร็จในระดับ ที่น่าพอใจ จนกระทั่งกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระ ศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย ค.ศ. 2015 โอกาส เตรียมฉลอง 350 ปี พระศาสนจักรไทย ได้ประกาศ ให้วิถีชุมชนวัด เป็นกระบวนการฟื้นฟูพระศาสนจักร อย่างเป็นทางการจนกระทั่งปัจจุบันนี้
?
โดยสภาพทั่วไปของพระศาสนจักรประเทศไทย บท บาทของคริสตชนฆราวาสในชีวติ ของพระศาสนจักร ยังมีน้อย ในเรื่องของความเป็นเจ้าของ การมีส่วน ร่วม การสอนค�ำสอน การแพร่ธรรม พิธีกรรมใน วันอาทิตย์ ยังเป็นเรื่องของพระสงฆ์ นักบวช หรือ คนเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น และโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งหัวใจของพระวรสาร ยังไม่ได้หยั่งรากลึกลงไปใน วัฒนธรรมของพวกเขา การเป็นคริสตชนเพียงแค่ วันอาทิตย์อย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไปส�ำหรับ สภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา 9
แผนกวิถีชุมชนวัด
Q
วิถชี มุ ชนวัดเริม่ ต้นในสังฆมณฑลจันทบุรี ตั้งแต่เมื่อใด
?
เมื่อปี ค.ศ. 2010 ได้มีการท�ำสมัชชาของสังฆมณฑล จันทบุรเี พือ่ เตรียมท�ำแผนอภิบาลปี ค.ศ. 2011-2015 ท�ำให้ได้ข้อสรุปว่า “ให้คริสตชนทุกฐานันดรใน สังฆมณฑล ร่วมกันสร้างชุมชนศิษย์พระคริสต์ดว้ ย กระบวนการวิถีชุมชนวัด” ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้อง กับแผนงานและทิศทางงานอภิบาลของสภาบิชอบ คาทอลิกแห่งประเทศไทยในขณะนั้น
Q
กระบวนการวิถีชุมชนวัด เริ่มต้น ณ ที่ใดในสังฆมณฑลจันทบุรี
?
ค.ศ. 2011 คุณพ่อเศกสม กิจมงคล ขณะนั้นด�ำรง ต�ำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวไผ่ ได้สนใจกระบวนการ ฟื้นฟูชีวิตคริสตชนด้วยกระบวนการวิถีชุมชนวัด ได้ ไปศึกษาดูงานที่อัครสังฆมณฑลท่าแร่และประเทศ อินเดีย หลังจากนัน้ จึงเริม่ ต้นกระบวนการดังกล่าวใน เขตวัดและแขวงหัวไผ่ ส่วนทางวัดและแขวงจันทบุรี ซิสเตอร์ขวัญเรียม เพียรรักษา ได้อาศัยความรู้ทาง ด้านพระคัมภีร์และมีใจรักในงานแพร่ธรรม ก็ได้เริ่ม กระบวนการวิถชี มุ ชนวัด ณ วัดจันทบุรดี ว้ ยเช่นเดียวกัน
Q
เริ่มต้นหน่วยงาน วิถีชุมชนวัด
Q
งานหลัก ๆ ของหน่วยงานวิถีชุมชนวัด มีอะไรบ้าง
Q
การเป็นผู้น�ำในการท�ำวิถีชุมชนวัดต้อง มีคุณสมบัติอะไรบ้าง
?
ค.ศ. 2015 เมื่อมีการโยกย้ายพระสงฆ์ตามวาระ 5 ปี สังฆมณฑลจันทบุรีได้ก่อตั้งหน่วยงานวิถีชุมชน วัด โดยมี คพ.เศกสม กิจมงคล เป็นผู้อ�ำนวยการ มี ส�ำนักงานอยู่ที่วัดศรีราชา มีงบประมาณสนับสนุน และมีเจ้าหน้าที่ที่ท�ำงานเต็มเวลา
?
หัวใจส�ำคัญในการท�ำวิถชี มุ ชนวัดคือการอ่านพระวาจาการแบ่งปันประสบการณ์ความเชือ่ จากการไตร่ตรอง พระวาจาและการน�ำพระวาจาไปใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน อีกส่วนหนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้กระบวนการขับเคลือ่ นคือต้อง มีผู้น�ำและทีมงานอภิบาล เพราะผู้น�ำและทีมงานจะ เป็นหนึง่ เดียวกับพระสงฆ์และนักบวช ในการเตรียม และออกไปท�ำวิถชี มุ ชน และในกรณีไม่มพี ระสงฆ์ พวก เขาก็สามารถท�ำได้ ผู้น�ำและทีมงานที่ได้รับการหล่อ เลีย้ งด้วยพระวาจาและน�ำพระวาจาไปปฏิบตั ิ จะช่วย ส่งเสริมให้ชุมชนเจริญชีวิตอย่างมีชีวิตชีวามากขึ้น
?
สิง่ ทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ ความพร้อมทางด้านจิตใจ มีทศั นคติ ทีด่ ี และเข้าใจจุดมุง่ หมายของงานวิถชี มุ ชนวัดอย่าง ถูกต้อง พร้อมที่จะมาท�ำหน้าที่นี้ ส่วนความสามารถ เราสามารถฝึกฝนอบรมได้ คุณลักษณะทีส่ �ำคัญก็คือ 1. เป็นหนึง่ เดียวกันกับพระสงฆ์หรือซิสเตอร์ทวี่ ดั 2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเข้ากับคนอื่นได้ เพราะต้อง ไปสร้างกลุ่มสร้างทีมงาน 3. เสียสละในการท�ำงาน มีความเพียรทนจนกว่า งานจะประสบความส�ำเร็จ
10
แผนกวิถีชุมชนวัด
Q
กระบวนการในการท�ำวิถีชุมชนวัด มีอะไรบ้าง
?
วิถีชุมชนวัดคือ วิถีใหม่ของการด�ำเนินชีวิตคริสตชน วิถเี ก่าคือการเป็นคริสตชนเพียงแค่สวดภาวนา ไปวัด รับศีล ก็สามารถไปสวรรค์ได้ แต่วถิ ใี หม่คอื การมีสว่ น ร่วมในงานแพร่ธรรมของพระศาสนา การมีสว่ นร่วม ในชีวติ ของพระศาสนจักรมากยิง่ ขึน้ ดังนัน้ วิถชี มุ ชน วัดสามารถแสดงออกได้ดังต่อไปนี้ 1. การรวมกลุ่มกันของคริสตชนละแวกใกล้เคียง 2. การอ่านพระวาจา 3. การแบ่งปันประสบการณ์ความเชื่อ 4. การน�ำพระวาจาไปปฏิบัติในการด�ำเนินชีวิต 5. การออกไปเยี่ยมเยียนผู้อื่น เช่น คนยากจน
Q
ตัวบ่งชี้ของความส�ำเร็จ ในการท�ำวิถีชุมชนวัดคืออะไร
?
เช่นเดียวกับบรรดาอัครสาวกทีม่ ชี วี ติ สนิทสัมพันธ์กบั พระเยซูเจ้า เมื่อพระเยซูเจ้าเสด็จขึ้นสวรรค์ไปแล้ว และเราก็เป็นศิษย์ของพระองค์ในยุคปัจจุบันนี้ ท�ำ อย่างไรเราถึงจะมีชีวิตที่สนิทสัมพันธ์กับพระองค์ใน ยุคสมัยของเรา และดึงดูดคนอื่นให้มาเป็นศิษย์พระ คริสต์เช่นเดียวกันกับเรา ผู้ที่ท�ำวิถีชุมชนวัดบ่อย ๆ จะมีความเติบโตเป็นผูใ้ หญ่ทางความเชือ่ เป็นประจักษ์ พยานในชีวิตของพวกเขา และออกไปสู่สังคมในวง กว้าง ไปเยี่ยมเยียนผู้อื่น คนยากจน คนด้อยโอกาส ในชุมชนใกล้เคียง ท�ำให้ภาพของพระเยซูเจ้าบังเกิด ขึ้นท่ามกลางพระศาสนจักรของเรา
Q
ในอนาคตงานวิถีชุมวัดของ สังฆมณฑลจันทบุรีจะไปในทิศทางใด
Q
เป้าหมายสูงสุด ของการท�ำวิถีชุมชนวัดคืออะไร
?
ปัจจัยที่จะท�ำให้กระบวนการวิถีชุมวัดก้าวหน้าต่อไป ได้ก็คือ 1. ท�ำความเข้าใจกระบวนการวิถีชุมชนวัดให้กับ พระสงฆ์ นักบวช สภาอภิบาล และกลุม่ องค์กร ต่าง ๆ ทีจ่ ะต้องร่วมมือกันเพือ่ เสริมสร้างจิตตา รมณ์ของวิถีชุมชนวัดเข้าไปยังกิจกรรมต่าง ๆ ของพระศาสนจักร 2. การสร้างผู้น�ำในการท�ำวิถีชุมชนวัดให้มากขึ้น 3. เชิญชวนฆราวาสให้เข้ามาร่วมท�ำวิถีชุมชนวัด มากขึ้น
?
1. การเสริมสร้างชุมชนคริสตชนในสภาพแวดล้อม ต่าง ๆ การรวมกลุ่มกันสวดภาวนา อ่านพระ คัมภีร์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในบรรยากาศแบบ คริสตชน 2. เสริมสร้างจิตตารมณ์ธรรมทูตในการออกไป ประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้า และด�ำเนิน ชีวิตเป็นประจักษ์พยานถึงความเชื่อคริสตชน
11
ฝ่ายการศึกษา
การศึกษา คาทอลิก ในประเทศไทย
โดย คุณพ่อเปโตร นันทพล สุขส�ำราญ การจัดการศึกษาคาทอลิก เป็นส่วนหนึง่ ของ การอภิบาลและประกาศข่าวดีของพระศาสนจักร คาทอลิกต่อมวลมนุษย์ ถือเป็นการรับใช้อย่างพิเศษ และส�ำคัญทีส่ ดุ (การอบรมหลักพระคริสตธรรม ข้อ 1) ภารกิจรับใช้พระศาสนจักรของโรงเรียน คาทอลิกไทยเป็นมาอย่างยาวนานตัง้ แต่สมัยอยุธยา เมือ่ ครัง้ ทีส่ มเด็จพระนารายณ์ทรงพระราชทานทีด่ นิ ให้มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1665 (พ.ศ. 2208) ตั้งบ้านเรือนเพื่อสอนวิชาการให้กับชาวบ้าน โรงเรียนคาทอลิกแห่งแรกในประเทศไทยจึงถูกตัง้ ขึน้ ทีบ่ า้ นปลาเห็ด ลักษณะเป็นอาคารสองชัน้ ชัน้ บนเป็น วัดน้อย ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียน ใช้ชื่อว่า วิทยาลัย (Collegium / General College) จุดมุ่งหมายเพื่อ ให้อบรมเด็กชาย เพื่อให้เป็นสามเณรและได้รับศีล บวชเป็นพระสงฆ์ แต่ก็รับเด็กชายอื่น ๆ ตั้งแต่อายุ 10 ขวบขึ้นไปที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงส่งเข้าเรียน มาเรียนร่วมอยู่ด้วย 12
วิทยาลัยทีไ่ ด้ดำ� เนินกิจการมาอย่างยาวนาน ถึง 104 ปี (ค.ศ. 1665 – 1769) ในกรุงศรีอยุธยา ท่ามกลางปัญหาทางการเมือง การสงครามและอืน่ ๆ ต้องปิดลง บรรดามิชชันนารีในสมัยนัน้ จึงได้ออกไป เปิดสถานศึกษาในลักษณะเดียวกันทีจ่ งั หวัดอืน่ ๆ เช่น จันทบุรี ใน ค.ศ. 1786 (พ.ศ. 2329) และที่กรุงเทพฯ ใน ค.ศ. 1788 (พ.ศ. 2331) มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยบรรดา มิชชันนารีที่เดินทางมาประกาศข่าวดีในประเทศ สยาม เกีย่ วกับการจัดการศึกษาเอกชนคาทอลิกครัง้ แรก ในดินแดนภาคตะวันออก คือ ที่จันทบุรี เมื่อปี ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) มีการจัดตั้งโรงเรียนส�ำหรับ นักเรียนชายหญิง โรงเรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียน วัด นักเรียนได้ร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณ มีการสอน ค�ำสอน และสอนวิทยาการอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย จึง สามารถบอกได้ว่า การจัดการศึกษาคาทอลิกครั้ง แรกที่จันทบุรี จัดขึ้นเมื่อ 313 ปีมาแล้ว
ฝ่ายการศึกษา
เป็นภารกิจส�ำคัญ ที่บรรดามิชชันนารีจะต้องปฏิบัติในการ ให้การศึกษาคนไทยควบคู่กับการประกาศข่าวดี การศึกษาคาทอลิกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมาก ขึน้ ในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึง่ นับว่าเป็นช่วง เวลาของการฟื้นฟู บรรดามิชชันนารีได้รับอิสระใน การประกาศข่าวดีมากขึ้น จึงได้ด�ำเนินกิจการด้าน การศึกษา อบรมคริสตชนทั้งชาวต่างประเทศและ ชาวสยาม ด้วยความวิริยะอุตสาหะ โดยเฉพาะใน สมัยของพระสังฆราช คูร์เวอซี (Courvezy) ค.ศ. 1834–1841 (พ.ศ. 2377–2384) ผู้ประกาศนโยบาย จัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา ให้เป็นภารกิจส�ำคัญ ที่ บรรดามิชชันนารีจะต้องปฏิบัติในการให้การศึกษา คนไทยควบคูก่ บั การประกาศข่าวดี บรรดามิชชันนารี และพระสงฆ์ไทยในขณะนัน้ จึงพยายามเปิดโรงเรียน ระดับประถมศึกษาขึน้ ทีว่ ดั ทุก ๆ แห่งทัว่ ประเทศ เป็น โรงเรียนส�ำหรับเด็กชายหญิง จัดการศึกษาแบบให้ เปล่า โดยได้รับความช่วยเหลือด้านครูอย่างดียิ่ง จากภคินีคณะรักกางเขนมาสอนนักเรียนหญิง และ ครูฆราวาสชายที่เคยผ่านการอบรมในบ้านเณรมา สอนนักเรียนชาย เมื่อพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ (Pallegoix) รับต�ำแหน่งต่อจากพระสังฆราชคูร์เวอซี ในปี ค.ศ. 1841 (พ.ศ. 2384) ได้ให้รายละเอียดเพื่อให้บรรดา มิชชันนารีนำ� ไปใช้ในโรงเรียนคาทอลิก หรือโรงเรียน ประจ�ำวัด โดยออกกฎไว้ดังนี้ คือ 1. สอนให้รู้ทั้งตัวอักษรโรมันและตัวอักษรสยาม 2. สอนค�ำสอน 3. สอนหนังสืออื่น ๆ ที่พิมพ์โดยมิสซัง 4. ต้องสอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ 5. ครูต้องสอนขับร้องภาษาลาตินให้เด็ก ๆ อย่าง น้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 6. ให้มีการสอนเย็บปักถักร้อย และงานอื่น ๆ ที่ เหมาะสมกับผู้หญิง
ต่อมาในสมัยพระสังฆราชเวย์ (Vey) ในปี ค.ศ. 1875–1909 (พ.ศ. 2418–2452) ตรงกับสมัย รัชกาลที่ 5 และที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เน้นความ ส�ำคัญของการจัดการศึกษาคาทอลิกที่มีคุณภาพ อบรมสัง่ สอนให้ลกู หลานชาวไทยเป็นคนดีมคี ณ ุ ธรรม มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบยุโรป เพื่อสอนลูก หลานของชาวต่างชาติที่เข้ามาพ�ำนัก จึงท�ำให้มีการ สอนเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาฝรัง่ เศสด้วย สถาบัน การศึกษาดังกล่าว เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียน สตรีโดยภคินีคณะพระกุมารเยซู และโรงเรียนของ ภคินีคณะอุร์สุลิน เป็นต้น และนับตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1925 (พ.ศ. 2468) จนถึง ปัจจุบนั การจัดการศึกษาคาทอลิกได้พฒ ั นาและเติบโต ขึน้ มาก ควบคูก่ บั การแพร่ขยายตัวของ กลุม่ คริสตชน กระจายไปตามพืน้ ทีแ่ ทบทุกภูมภิ าคของประเทศไทย พีน่ อ้ งคริสตชนคาทอลิกเพิม่ ขึน้ ประชาชนทัว่ ไปสนใจ การศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพ ดังจะเห็นได้วา่ มีโรงเรียนของ ทัง้ สังฆมณฑลและคณะนักบวชเพิม่ ขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก เพราะเมื่อกล่าวถึงการศึกษาคาทอลิก ผู้ปกครองจะ คิดถึงคุณภาพการศึกษา เน้นการปลูกฝังอบรมให้ ผู้เรียนมีวินัย มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะ การเรียนภาษาต่างประเทศที่มีคุณภาพสูง เน้นการ อบรมคุณธรรม จริยธรรม จึงกล่าวได้ว่า ปรัชญา การศึกษาคาทอลิกเน้นการพัฒนาคนให้เป็นคนดี มี ความรับผิดชอบต่อสังคม หลักสูตรการสอนมีความ เป็นสากล และที่ส�ำคัญที่สุดคือ เชื่อว่าครูเป็นหัวใจ ของการจัดการศึกษา จึงให้ความส�ำคัญกับการผลิต และพัฒนาครู ให้มีความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ ที่ ท�ำหน้าที่ด้วยความเสียสละ เป็นเพื่อนร่วมทางชีวิต กับผู้เรียน ฉะนั้น พระศาสนจักรคาทอลิกไทยยังคง อภิบาลและประกาศข่าวดี รับใช้พนี่ อ้ งชาวไทยอย่าง สุดก�ำลังความสามารถ ด้วยการจัดการศึกษาคาทอลิก ที่มีคุณภาพ
(ฉบับต่อไปจะกล่าวถึงประวัติโดยย่อของโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑลจันทบุรี)
13
โดย คุณพ่อเปโตร นรเทพ ภานุพันธ์
เมือ่ ถึงเวลาเปิดร้าน พ่อครัวอร่อยมหัศจรรย์ ก�ำลังเดินมาเปิดประตูร้าน พ่อครัวอร่อยมหัศจรรย์ ผู้นมี้ ผี งวิเศษที่เมือ่ โรยลงไปในอาหารจานใดอาหาร จานนั้นก็จะเอร็ดอร่อยโดยไม่ต้องปรุงใด ๆ เลย ไม่ทันที่ประตูจะเปิด มนุษย์ฟ้าแลบก็ปรากฏ กายขึ้นทันทีที่โต๊ะอาหาร “ไม่ต้องเปิดประตูหรอก ฉันสามารถหายตัวเข้ามานั่งได้ทันที ที่ไหนก็ได้ ฉันไม่ตอ้ งเสียเวลาเดินไปไหนมาไหนเลย เพราะ ฉันมีผ้าคลุมวิเศษ” พ่อครัวอร่อยมหัศจรรย์ยงั คงเปิดประตูตอ่ ไป “ฉันต้องเปิดให้คนอื่นเข้ามา เอ...แล้ววันนี้ คนไปไหนกันหมดนะ” พ่อครัวอร่อยมหัศจรรย์บน่ “ท่านคงลืมไป” เสียงดังขึ้นมาจากเด็ก เสิรฟ์ ตาทิพย์ “วันนีม้ งี านเลีย้ งฉลองประจ�ำปีของ ดินแดนวิเศษไง” เด็กเสิร์ฟตาทิพย์ขยับแว่นวิเศษ ที่ใส่อยู่ เขามองเห็นไปไกลถึงกลางเมือง “ถ้าอย่างนัน้ เราไปร่วมงานกันเถิด” มนุษย์ แขนวิเศษทีเ่ พิง่ เดินเข้ามา โดยไม่ฟงั ความเห็นใครเขา เอาถุงมือวิเศษมาใส่ แล้วก็อา้ แขนยืดออกไปรวบทัง้ ร้านทั้งคนให้อันตรธานหายไปพร้อมกับเขา กลางเมืองท่ามกลางเสียงโห่ร้องดีใจ ชาย อ้วนผู้เป็นเจ้าเมืองยืนอยู่บนปะร�ำพิธี เขายืนถือไม้ เท้าวิเศษที่สามารถสั่งให้ฝนตกแดดออกได้ตลอด เวลา เขาโบกไม้เท้าให้เมฆเคลือ่ นมาบังจนเกิดร่มเงา นักร้องกายสิทธิ์เดินขึ้นมาบนเวที เขาล้วง เข้าไปกระเป๋าเสื้อเอาลูกอมวิเศษมาใส่ปาก แล้วก็ เปล่งเสียงที่ไพเราะราวกับเสียงนกไนติงเกลออกมา เป็นเพลงขับกล่อมผู้คน 14
ชาวบ้านกลุ่มใหญ่ที่มาจากหมู่บ้านจานวิเศษ หยิบจานวิเศษขึน้ มาหงาย ทันใดนัน้ ข้าวสุกและอาหาร ชนิดต่าง ๆ ร่วงหล่นลงมาจากฟ้าลงบนจาน ส่วนชาวบ้านจากหมู่บ้านขนนกวิเศษก็ยก ขนนกขึ้นมาโบกขึ้นโบกลงเป็นจังหวะ ท�ำให้ความเย็น กระจายตัวไปทั่วทั้งลานเมือง ใคร ๆ ก็มีแต่ของวิเศษ แม้แต่เด็กน้อยที่ วิ่งเล่นอยู่ข้าง ๆ ปะร�ำพิธีก็มีผ้าอ้อมวิเศษที่ไม่ต้อง เปลี่ยนเลยตลอดกาล มันซับฉี่และอึของเด็กให้ ละลายหายไปกับผ้าอ้อมไม่มีเหลือ ไม่ต้องซัก ไม่ ต้องถอดเปลี่ยน งานเลี้ยงคราวนี้ก็เหมือนทุก ๆ คราว ที่ ทุกคนในดินแดนแห่งนี้หยิบของวิเศษขึ้นมาใช้ดล บันดาลสิ่งที่ตัวเองต้องการให้เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น และ ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นก็ไม่เคยแพ้ปีก่อน ๆ เพราะสิ่ง ที่ของวิเศษดลบันดาลมันมักจะตีกันเอง ขนนกวิเศษโบกความเย็น แต่คนที่แบกเตา วิเศษมาด้วยก็มาท�ำให้บริเวณนัน้ อุน่ จนร้อนรุม่ มีดโกน หนวดวิเศษท�ำให้คนมีหนวดในงานหน้าตาเกลีย้ งเกลา แต่ยาปลูกผมวิเศษท�ำให้หนวดงอกขึน้ มาเหมือนเดิม หลอดไฟวิเศษท�ำให้ลานจัดงานสว่างไสว แต่ผงถ่าน วิเศษก็มาท�ำให้แสงทั้งลานเมืองสลัวลง ฯลฯ เป็นที่รู้กันว่าในดินแดนวิเศษแห่งนี้ ไม่ ว่าใครจะมีของวิเศษพิสดารเพียงใด และไม่ว่าใคร จะข่มขู่หรือแข่งขันกันเป็นใหญ่เพียงใด แต่กลับมี บุคคลคนหนึ่งกลายเป็นที่ย�ำเกรงของทุกคน เขาคือ ชายชราที่อาศัยอยู่หลังเขา
สิง่ ทีเ่ ขาแตกต่างจากคนอืน่ ก็คอื เขาเป็นคน ธรรมดาที่ไม่มีความวิเศษใด ๆ นั่นคือเขาไม่มีของ วิเศษใด ๆ เลยแม้แต่ชนิ้ เดียว เขากินข้าวจากนาทีเ่ ขา ปลูกเอง เขารอคอยให้ต้นข้าวค่อย ๆ งอก ค่อย ๆ เติบโตเอง ไม่มีของวิเศษใด ๆ มาช่วย เขาดื่มน�้ำ จากบ่อที่ถังน�้ำถูกชักรอกขึ้นมาช้า ๆ เขาใส่เสื้อผ้าที่ ทอจากดอกฝ้ายที่เขาเก็บมาจากไร่ เขาเขียนหนังสือ ด้วยหมึกที่เขาผสมผงหินสีด้วยตัวเอง ผูว้ เิ ศษในดินแดนวิเศษรุน่ เก่า ๆ เล่าขานกัน ว่า แม้นเมื่อครั้งชายชรายังเป็นเด็ก ถึงเขาจะร้องไห้ เสียใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากมายเพียงใด เขาก็ ไม่เคยใช้ผ้าเช็ดหน้าวิเศษที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ มาท�ำให้ตัวเองหยุดร้องไห้ เขาใช้เพียงเวลา เวลา ตัวเดียวเท่านั้น ดวงตาของเขาจึงเป็นดวงตาของคนที่เต็ม ไปด้วยประสบการณ์ เป็นดวงตาที่ไม่เหมือนใครใน ดินแดนนี้ สิ่งธรรมดาสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครในดิน แดนนีท้ ำ� ได้ สิง่ ธรรมดานัน้ คือ “การรอคอย” ใคร จะไปกล้าคิดว่าการทีท่ กุ คนมีของวิเศษ ท�ำให้ทกุ คนรอ คอยไม่เป็น ดวงตาทีผ่ า่ นการรอคอยจึงเป็นดวงตา ที่ทรงอ�ำนาจมากที่สุด มีมนุษย์วเิ ศษบางคนกล่าวว่า อันทีจ่ ริงแล้ว ชายชราผูอ้ ยูห่ ลังเขาคนนีม้ ขี องวิเศษทีว่ เิ ศษกว่าของ วิเศษใด ๆ กิริยาที่เขารอคอยนั่นอย่างไร กิริยาที่เขา รอคอยการตักน�้ำ รอคอยการงอกของเมล็ด รอ คอยการเดือดของน�้ำในกา การรอคอยท�ำให้บารมีของชายชราสูงส่งขึน้ อย่างไม่นา่ เชือ่ มันสูงส่งจนไม่มมี นุษย์วเิ ศษคนไหน กล้าไปตอแยด้วย แค่เขาเอ่ยเพียงค�ำว่า “ฉันจะรอ” เหล่า มนุษย์วิเศษก็กลัวจนข้ีข้ึนสมองแล้ว ............................................ จากหนังสือนิทานล้านบรรทัด ประภาส ชลศรานนท์
ของ “วิเศษ” ในวันนี้ก็คือ Internet, Big Data และ เทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งใครได้ครอบครอง มาก ผู้นั้นก็สามารถเนรมิตสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ แต่พวกเขาหารู้ไม่ว่า สิ่งที่ “วิเศษ” ที่สุด ยิ่งกว่านั้น คือ “การรอคอย” โดยมาพร้อมกับ “ความอดทน” ซึ่งหาได้ยากในยุคปัจจุบัน ยุคแห่ง ความรวดเร็ว ในช่วงเวลาที่เราอยู่ใน “ยุคความปกติ ใหม่” (New Normal) ซึ่งทุกอย่างดูเหมือนต้อง เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลายคนรู้สึกอึดอัดกับ หลายสิง่ ทีเ่ ปลีย่ นแปลง โดยมีสถานการณ์โรคระบาด เป็นเสมือนตัวเร่งให้เกิดปฏิริยาดังกล่าวเร็วขึ้น แต่เมื่อมองดี ๆ แล้วความเปลี่ยนแปลงดัง กล่าวไม่ได้ท�ำให้คนทีม่ ี “ความอดทน” หวัน่ ไหวได้เลย เพราะพวกเขารู้ดีว่า “ความปกติใหม่” แท้จริงแล้ว มันคือ “ความปกติเดิม” ส�ำหรับพวกเขา การท�ำงานที่บ้าน ซึ่งแต่ก่อนพวกเขาก็ท�ำ การทานข้าวที่บ้าน ซึ่งแต่ก่อนพวกเขาก็ท�ำ การดูแลสุขอนามัย ซึ่งแต่ก่อนพวกเขาก็ท�ำ ฯลฯ และนีเ่ องทีท่ ำ� ให้ “ความปกติใหม่” ไม่สามารถ ท�ำลายความมั่นคง ของผู้ที่มีของ “วิเศษ” อยู่กับ ตัวเองได้เลย ซึ่งของวิเศษนี้ ก็คือ “ความอดทน” จงรอคอยพระเจ้า จงเข้มแข็ง และให้จิตใจของท่านกล้าหาญเถิด สดุดี 27:14 ข้าพเจ้าคอยพระเจ้า จิตใจของข้าพเจ้าคอยอยู่ และข้าพเจ้าหวังในพระวจนะของพระองค์ สดุดี 130:5 แต่ถ้าเราหวังว่าจะได้สิ่งที่ยังไม่เห็น เราจึงมีความอดทนคอยสิ่งนั้น โรม 8:25 15
วิ ถี ชี วิ ต
16
แบบใหม่
ลงทะเบียน วัดไข้ ล้างมือ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง 17
ฝ่ายกฎหมายฯ
กฎหมาย พระศาสนจักรน่ารู้ ข้อสันนิษฐาน เรื่องความถูกต้องของการแต่งงาน ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักร
การแต่งงานได้รบั การเห็นชอบจากกฎหมาย (The favor of the law) ด้วยเหตุนี้ ในกรณีมขี อ้ สงสัย ให้ยนื ยันความถูกต้องของการแต่งงานไว้กอ่ น จนกว่าจะได้รบั การพิสจู น์วา่ เป็นตรงกันข้าม (มาตรา 1060) สวัสดีครับพีน่ อ้ งคริสตชนทีน่ า่ รักทุกท่าน ความ เห็นชอบตามกฎหมายพระศาสนจักร ประการนี้ คือ ข้อสันนิษฐานเรื่องความถูกต้องของการแต่งงาน (Presumption of validity of marriage) ในทาง กฎหมายหาก คู่ใด หรือ ผู้ใดก็ตาม เกิดความสงสัย เรื่องความถูกต้องของการแต่งงานของตน หรือ ของผู้อื่น จะต้องท�ำการพิสูจน์ตามหลักกฎหมาย เสียก่อน จะมโนไปโดยทันทีว่า “การแต่งงานใดๆ ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ย่อมมิได้เป็นอันขาด” ทั้งนี้ เป็นการดีทจี่ ะท�ำให้การใช้ชวี ติ คูข่ องพีน่ อ้ งเติบโตจน บรรลุเป้าหมายของการแต่งงานและความรอดพ้น ของวิญญาณ นั่นเอง 18
พ่อได้เขียนอยูบ่ อ่ ยๆ ว่า “การแต่งงานมีเป้า หมายตามกฎธรรมชาติ ในเรือ่ งความดีของชีวติ คู,่ การมีเพศสัมพันธ์ตามธรรมชาติแบบมนุษย์, การให้ ก�ำเนิดลูก และให้การศึกษาอบรมเลี้ยงดูอย่างดี” นี่คือ พันธกิจอันยิ่งใหญ่ของครอบครัวคริสตชน ซึ่งส่งผลให้เราช่วยชาติบ้านเมืองให้มีประชากรที่มี คุณภาพ และเข้าใจคุณค่าชีวิตได้ลึกซึ้ง บางครั้งเกิน กว่าที่เราจะคาดเดาด้วยซ�้ำนะครับพี่น้อง “การให้ความสมัครใจ ของคูบ่ า่ วสาว ท�ำให้ เกิดการแต่งงาน- เทียบมาตรา 1057 § s 2” (มีพนั ธะ หน้าที่แห่งความรักต่อกันไปตลอดชีวิต- เทียบ มาตรา 1056) ซึ่งเมื่อพี่น้องลองพิจารณาอย่างดี
ฝ่ายกฎหมายฯ
ก็จะทราบได้ว่า.......
©การแต่งงานของคริสตชนคาทอลิก คือ การให้ความสมัครใจ ของคู่บ่าวสาว เพื่อแต่งงานกันต่อหน้าศาสนบริกร (แต่งงานในวัดนั่นเอง)
©ส่วนการแต่งงานของศาสนิกอื่นๆ ซึ่งมิใช่คริสตชน คือ... การแต่งงานตามหลักศาสนา (ความเชื่อ) ของตน การแต่งงานตามธรรมประเพณีท้องถิ่น (ของเชื้อชาติ, กลุ่ม,เหล่า) และการแต่งงานตามที่กฎหมายบ้านเมืองก�ำหนด (ประเทศไทย=จดทะเบียนสมรส) พระเจ้าทรงเป็นความรัก (Deus caritas est) เพราะฉะนัน้ คริสต์ศาสนาจึงได้ชอื่ ว่าเป็นศาสนา แห่งความรัก ในขณะเดียวกันค�ำสอนพระศาสนจักร กล่าวไว้ว่า “ความรักเป็นรากฐานและกระแสเรียก โดยก�ำเนิดของมนุษย์ทุกคน” (CCC.2392) อันมีที่มาจากเอกสารเรื่องบทบาทครอบครัวคริสตชนในโลก ปัจจุบัน (Familiaris Consortio11) โดยนักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ด้วยความรักและความห่วงใย พ่อขอบอกกับพี่น้องทุกท่านว่า คริสตชน เป็นประชากรของ พระเจ้า ไม่ว่าสถานภาพชีวิตครอบครัวของพี่น้องจะเป็นเช่นไร (จน, รวย, อยู่กันอย่างดี หรือ แยกกันอยู่ เรียบร้อยแล้ว) เราจะต้อง ...ไม่ลืมพระ และ ไม่ละเลย...ต่อ... การสวดภาวนา, การใช้โทษบาป และ การปฎิบัติกิจการแห่งความรัก ตลอดไป ขอพระเจ้าแห่งความรัก ทรงสถิตอยู่และประทานพระพรแด่พี่น้องทุกครอบครัวครับ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ฝ่ายกฎหมายฯ สังฆมณฑลจันทบุรี คุณพ่ออังคาร เจริญสัตย์สิริ 21/3 ม.1 ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 20110 โทร. 038-323632 19
แผนกพิธีกรรม
บทบาทของ พระสงฆ์ผู้ร่วม
พิธีบูชาขอบพระคุณ (concelebration)
สวัสดีครับพี่น้อง พบกันอีกเช่นเคย ช่วง เวลานี้ (โควิด-19) ท�ำให้เราคริสตชนมีโอกาสได้อยู่ กับตัวเองและครอบครัวมากขึน้ พ่อก็มโี อกาสได้กลับ มาทบทวนค�ำสอนของพระศาสนจักร ได้พบสิ่งที่น่า สนใจในการร่วมพิธีบูชาขอบพระคุณซึ่งเราคริสต ชนถือว่าเป็น “จุดสุดยอดและแก่นแท้” ของชีวิต (Lumen gentium 11) สายใยจันท์ฉบับนี้ อยากเสนอบทบาทของ พระสงฆ์ผรู้ ว่ มพิธบี ชู าขอบพระคุณ (concelebration) ซึง่ ในแต่ละอาทิตย์หรือการเฉลิมฉลองใหญ่ ๆ เราจะ เห็นพระสงฆ์หลายองค์ที่มาร่วมกับประธาน ซึ่งอาจ เป็นพระสังฆราชหรือพระสงฆ์ด้วยกันเอง ก่อนอื่น ต้องมาท�ำความเข้าใจก่อน ถึงความคิดที่ถูกต้องใน เรื่องบทบาทการร่วมพิธีกรรมครับ 20
โดย คุณพ่อยอแซฟ เอกภพ ผลมูล แผนกพิธีกรรม สังฆมณฑลจันทบุรี ในค�ำสอนของพระศาสนจักร ข้อที่ 1140 กล่าว ว่า “ผู้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์” คือ “ชุมชนทั้งหมด ซึง่ รวมกับศีรษะเป็นพระวรกายของพระคริสตเจ้า เป็นผู้ประกอบพิธี ‘พิธีกรรม’ ไม่ใช่กิจการของ แต่ละคนเป็นส่วนตัว แต่เป็นการเฉลิมฉลองของ พระศาสนจักร ซึง่ เป็นเครือ่ งหมายแสดงเอกภาพ กล่าวคือ ประชากรศักดิส์ ทิ ธิท์ รี่ ว่ มกันเป็นหนึง่ เดียว และอยู่ใต้การปกครองของบรรดาพระสังฆราช ดังนั้นจึงเป็นกิจกรรมของพระศาสนจักรทั้งหมด ที่รวมกันเป็นพระกายทิพย์ แสดงให้เห็นและก่อ ให้เกิดพระกายนี้ ซึ่งสมาชิกแต่ละคนเกี่ยวข้อง กับกิจกรรมนี้โดยวิธีการ สถานภาพ หน้าที่และ การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในรูปแบบต่าง ๆ...” (CCC 1140)
แผนกพิธีกรรม
พระสงฆ์ทมี่ าเข้าร่วมถวายบูชาขอบพระคุณกับพระสังฆราชหรือพระสงฆ์ผเู้ ป็นประธาน เราจะเข้าใจการมาร่วมของท่านมีความหมายอย่างไรในพิธีกรรม ดังนี้ 1. การร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นสงฆ์แห่งพันธสัญญาใหม่ของพระคริสตเจ้า : ในการร่วมเฉลิมฉลองศีลแห่งการบูชา แสดงออกถึงการเป็นหนึ่งเดียวกับความเป็นสงฆ์ในพันธ สัญญาใหม่ เพราะพระสงฆ์ผู้ร่วมทุกคนเป็นคนกลางที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นสงฆ์ของ พระคริสตเจ้า ทุกคนท�ำหน้าที่ในนามของพระคริสตเจ้า (in persona Christi) ทุกคนเป็นหนึ่ง เดียวในพระคริสตเจ้า พวกท่านเสกศีลฯ ร่วมกันและท�ำให้พันธกิจแห่งการไถ่กู้เราปรากฏขึ้น การเป็นผูร้ ว่ มในพิธบี ชู ายังเป็นการแสดงออกถึงความเข้มแข็งในหมูพ่ ระสงฆ์ โดยเฉพาะ ความเป็นหนึ่งเดียวของการผูกมัดในความรักแห่งการเป็นสาวกของพระคริสต์ การผูกมัดแห่ง การเป็นศาสนบริกรและการผูกมัดแห่งการเป็นพี่น้องกันในพระคริสตเจ้า 2. การร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันกับการพลีบูชาของพระคริสตเจ้า : คณะสงฆ์ทุกองค์ เป็นหนึ่งเดียวกันรอบพระแท่น ทุกคนร่วมกิจการการพลีบูชาของพระคริสตเจ้าพระผู้ไถ่ ซึ่งทุก ท่านเป็นผู้แทนและท�ำให้ความเป็นหนึ่งเดียวในการถวายบูชาของพระคริสตเจ้าพระผู้ไถ่ปรากฏ ขึ้นอีก ดังนั้น การร่วมในบูชาของพระคริสตเจ้า จึงเป็นบูชาเดียวไม่ได้ถูกนับอย่างทวีคูณด้วย จ�ำนวนของพระสงฆ์ผู้เข้าร่วม ไม่ใช่ด้วยหลายเสียงที่กล่าวออกมา ไม่ใช่ด้วยหลายความตั้งใจ ของพระสงฆ์ทมี่ าเข้าร่วม แต่เป็นการถวายบูชาร่วมกับพระสังฆราชหรือพระสงฆ์ผเู้ ป็นประธาน ในพิธี ซึ่งเป็นผู้แทนของพระคริสตเจ้า ผู้พลีบูชาพระองค์เพื่อกอบกู้เราจากบาป และความตาย เราสามารถยืนยันได้วา่ พระสงฆ์ทุกท่านทีเ่ ข้าร่วมการถวายบูชาแห่งศีลมหาสนิทนั้นเป็นกิจการ แห่งธรรมล�้ำลึกของพระคริสตเจ้าและเป็นกิจการแห่งธรรมล�้ำลึกของพระศาสนจักร 3. การร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับหมู่คณะในพระศาสนจักร : เมื่อบรรดาพระสงฆ์ร่วม เฉลิมฉลองการบูชากับประชากรของพระเจ้า โดยมีพระสังฆราชเป็นประธานในการปฏิบตั หิ น้าที่ สงฆ์ของพระคริสตเจ้า เราเรียกว่า “สหบูชามิสซา” ในความเป็นจริง พิธีสหบูชามิสซาเป็นการ ถวายบูชาร่วมกันในทุกฐานันดรของพระศาสนจักร จะขาดซึ่งการปฏิบัติพันธกิจอันพิเศษของ ศาสนบริกร หรือการร่วมกับบุคคลที่ได้รับศีลล้างบาปไม่ได้ ซึ่งทั้งสองมิตินี้จะต้องถูกท�ำให้เป็น หนึ่งเดียวกันตามสภาพ และบทบาทในการถวายบูชาของพระคริสตเจ้า จากสิ่งที่พ่อได้น�ำเสนอมานี้ คงจะท�ำให้พี่น้องทุกท่านเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของความ เป็นคริสตชนในทุกฐานันดร ที่ต้องร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันในพิธีกรรมพระศาสนจักร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งบทบาทของพระสงฆ์ผู้เข้าร่วมในพิธีบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพระคริสตเจ้า เพื่อจะท�ำให้ธรรม ล�ำ้ ลึกแห่งการไถ่กขู้ องพระคริสตเจ้าปรากฏอย่างชัดเจนในชีวติ ของพระศาสนจักร และในโลกนี้ พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับ 21
แผนกครอบครัว
ชีวิตและความรัก ในครอบครัว... โดย คุณพ่อยอแซฟ ภูวนารถ แน่นหนา ผู้อ�ำนวยการแผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี ก่อนอื่นใดต้องขอขอบคุณ คุณพ่อนุพันธ์ุ ทัศมาลี ผู้อ�ำนวยการแผนกสื่อมวลชนและค�ำสอน สังฆมณฑลจันทบุรี ที่เปิดโอกาสให้แผนกครอบครัว สังฆมณฑลจันทบุรี ได้มีโอกาสสื่อสารงานอภิบาล ด้านครอบครัวกับคริสตชนทุกท่าน ผ่านทางวรสาร “สายใยจันท์” ของสังฆมณฑลจันทบุรี
ชีวิตและความรักในครอบครัวของพี่น้อง เป็นอย่างไรในปัจจุบัน? ขอพี่น้องเงียบสักครู่ ลองตอบค�ำถามนี้ดู...
“ชีวิตและความรักในครอบครัว” เป็น ตัวตัดสินอนาคตของโลกและของพระศาสนจักร คาทอลิก ดังในพระสมณลิขิตเตือนใจ “ความปีติ ยินดีแห่งความรักในครอบครัว” (Amoris Laetitia, AL) ข้อที่ 31 กล่าวว่า “ความผาสุกของครอบครัว เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ตัดสินอนาคตของโลกและของ พระศาสนจักร” แต่เกิดอะไรขึน้ ในสภาพความเป็นจริงของชีวติ และความรักในครอบครัวปัจจุบัน จากการศึกษาพบ ว่า ครอบครัวมีแนวคิดปัจเจกนิยม (Individualism) แบบสุดโต่งเพิม่ มากขึน้ ท�ำให้สายสัมพันธ์ของสมาชิก ในครอบครัวอ่อนแอลง สมาชิกในครอบครัวแต่ละคน 22
อยูแ่ ยกเป็นเอกเทศ เล่นแต่โทรศัพท์มอื ถือ ชอบอยูใ่ น โลกของตนเองโดยไม่สนใจความสัมพันธ์กบั บุคคลใน ครอบครัว การหมกมุ่นอยู่กับทรัพย์สินเงินทองและ ความพึงพอใจของตนเอง น�ำไปสู่การขาดความอด กลัน้ อดทนและความมุง่ ร้ายเกลียดชังกันในครอบครัว ชีวิตของการรีบเร่ง ความเครียดจากโครงสร้างของ สังคมและหน้าที่การงาน ความไม่แน่นอนและความ คลุมเครือทีแ่ ผ่กระจายไปอย่างกว้างขวางในชีวติ และ ความรักในครอบครัว สามีภรรยามีความเคลือบแคลง สงสัยอยู่ตลอดเวลา ความกลัวท่ี่จะต้องรับผิดชอบ ต่อบุตรธิดา ความเห็นแก่ตวั การเอาตัวเองเป็นทีต่ งั้ ความหยิง่ ยโส ไม่สนใจกันในครอบครัว ครอบครัวใช้ เวลาร่วมกันโดยไม่ได้ใช้ชวี ติ อยูด่ ว้ ยกัน เยาวชนชาย หญิงเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เลือกที่จะไม่แต่งงาน และสร้างครอบครัว แต่เลือกที่จะอยู่ด้วยกันโดยไม่ แต่งงาน หรืออยู่แบบข้ามคืนแล้วก็จบกันไป (One night stand) หรือคนหนุ่มสาวมากมายเลื่อนเวลา ที่จะแต่งงานออกไป ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ด้านการงานและด้านการเรียน รวมถึงอัตราการหย่า ร้างของสามีภรรยาเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี ครอบครัวมี สภาพซับซ้อน มีเล็กมีน้อยนอกบ้าน และอื่น ๆ อีก มากมายหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับครอบครัวปัจจุบัน
แผนกครอบครัว
พี่น้อง ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันกลับ มามองและให้ความส�ำคัญกับชีวิตและความรักใน ครอบครัวเพิ่มมากขึ้น หรือเรายังปรารถนาให้ชีวิต และความรักในครอบครัวของเราเป็นไปตามยถากรรม (the haphazard family life)
โดยแสงสว่างแห่งพระวาจาของพระเจ้า “พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ ของพระเจ้า พระองค์ทรงสร้างให้เป็นชายและ หญิง และพระเจ้าทรงอวยพรเขาทั้งสองว่า จง มีลูกมาก และทวีจ�ำนวนขึ้นจนเต็มแผ่นดิน จง ปกครองแผ่นดิน จงเป็นนายเหนือปลาในทะเล นกในอากาศ และสัตว์ทุกชนิดที่เคลื่อนไหวอยู่บน แผ่นดิน” (ปฐก 1:27-28) ค�ำว่า “ภาพลักษณ์ของ พระเจ้า” ในที่นี้หมายถึง คู่ชีวิต ชายและหญิง เป็น ชีวิตคู่ของมนุษย์ เป็นภาพลักษณ์ที่มีชีวิตและบังเกิด ผล (AL,10) ดังค�ำของนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระ สันตะปาปา ได้กล่าวว่า “พระตรีเอกภาพเป็นความ เป็นหนึ่งเดียวกันในความรัก และครอบครัวเป็น ภาพสะท้อนที่มีชีวิตของพระตรีเอกภาพ ดังนั้น พระเจ้าของเราในธรรมล�ำ้ลึกที่สุด ไม่ได้ด�ำรงอยู่ เพียงล�ำพัง แต่ด�ำรงอยู่เป็นครอบครัว” (AL,11) องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตรัสอีกว่า “มนุษย์อยูเ่ พียง คนเดียวนัน้ ไม่ดเี ลย เราจะสร้างผูช้ ว่ ยทีเ่ หมาะสม ให้เขา” (ปฐก 2:18) หมายความว่า ความโดดเดี่ยว ของชายได้รบั ความบรรเทาจากผูช้ ว่ ยทีเ่ หมาะสมนัน่ ก็คอื ผูห้ ญิงทีไ่ ด้ชอื่ ว่าเป็นภรรยานัน่ เอง “ชายจะละ บิดามารดาไปสนิทอยู่กับภรรยาของตนและชาย หญิงจะเป็นเนื้อเดียวกัน เขาจึงไม่เป็นสองอีกต่อ ไป แต่เป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่พระเจ้าทรง รวมกันไว้ มนุษย์อย่าได้แยกเลย” (ปฐก 2:24 เทียบ
มธ 19:5) ค�ำว่า “สนิทอยู่กับ” หรือ “มั่นคงต่อ” ใน ต้นฉบับภาษาฮีบรูแสดงให้เห็นถึงความสมัครสมาน กลมเกลียวอย่างลึกซึ้ง ความใกล้ชิดทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ดังนัน้ “การชิดสนิทกันทางการแต่งงาน” มิได้ทำ� ให้เกิดมิตทิ างเพศและทางร่างกายเพียงเท่านัน้ แต่ทำ� ให้เกิดการเสียสละตนเองโดยสมัครใจเพือ่ ความ รักอีกด้วย และผลลัพธ์ของการชิดสนิทกันคือ ทัง้ สอง “จะเป็นเนือ้ เดียวกัน” ทัง้ ทางร่างกายและความชิด ใกล้ทางจิตใจและชีวิต (AL,13) ดังนัน้ ชีวติ และความรักในครอบครัวคาทอลิก สรุปในค�ำสอนทางเทววิทยาของนักบุญเปาโล ซึง่ เชือ่ ม โยงชีวิตและความรักของสามีภรรยากับ “ธรรมล�้ำ ลึกแห่งการสมรส” ระหว่างพระคริสตเจ้ากับพระ ศาสนจักร “สามีจงรักภรรยาดังทีพ่ ระคริสตเจ้าทรง รักพระศาสนจักร และทรงพลีพระชนม์พระองค์ เพือ่ พระศาสนจักร และภรรยาก็จงเคารพย�ำเกรง สามี” (เทียบ อฟ 5:21-33) และหย่าร้างไม่ได้
23
แผนกครอบครัว
ชีวิตและความรักในครอบครัว ที่ประสบความส�ำเร็จ มีงานวิจยั ของ ผกามาศ นันทจีวรวัฒน์ ทีไ่ ด้ทำ� วิจยั เรือ่ ง “การศึกษาและพัฒนาการปฏิบตั หิ น้าทีข่ อง ครอบครัวอย่างประสบความส�ำเร็จด้วยการให้คำ� ปรึกษาครอบครัวโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน” มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2554 ได้กล่าวถึงชีวิต และความรักในครอบครัวที่ประสบความส�ำเร็จนั้น มีองค์ประกอบอยู่ 8 องค์ประกอบด้วยกัน คือ การแสดงออกถึงความรักและความผูกพัน ซึง่ หมายถึง การกระท�ำของพ่อแม่และลูก ที่ แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองทางด้านอารมณ์ ความ รู้สึกที่มีต่อกัน ด้วยวิธีการที่เหมาะสม มีการเรียนรู้ นิสัยใจคอและอารมณ์ระหว่างกัน ท�ำให้เกิดความ เข้าใจกัน มีการให้ความใกล้ชิดสนิทสนมกัน และให้ ความสนใจต่อกันและกัน การท�ำหน้าที่ตามบทบาท หมายถึง การ ที่พ่อแม่และลูก มีความรับผิดชอบและท�ำ หน้าทีต่ ามบทบาทหน้าทีข่ องตนอย่างสมบูรณ์ ไม่วา่ จะ เป็นบทบาทหน้าทีด่ า้ นความเป็นอยูแ่ ละจิตใจ รวมถึง การมีการมอบหมายหน้าทีอ่ ย่างเฉพาะเจาะจงว่าใคร มีหน้าทีอ่ ะไรบ้าง มีความเสมอภาคในการปฏิสมั พันธ์ ต่อกันและมีความยืดหยุ่นในครอบครัว การสื่อสาร หมายถึง การที่พ่อแม่และลูก มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วยการสื่อสาร ทางบวก ทั้งภาษาพูดและภาษากาย มีการสื่อสาร อย่างตรงไปตรงมา สื่อสารด้วยความใส่ใจ มีการ สนับสนุนและชื่นชมและให้อิสระทางการสื่อสารต่อ ทุกคนในครอบครัว การแก้ปญ ั หา หมายถึง การทีพ่ อ่ แม่และลูก สามารถก้าวผ่านปัญหาร่วมกันได้ สามารถ บริหารจัดการความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ มีการ ร่วมกันแก้ปญ ั หา ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละ คนได้
1.
2.
3.
4.
24
5.
การปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบของครอบครัว หมายถึง การที่พ่อแม่และลูก รับรู้ว่าสิ่งใด ท�ำได้ สิ่งใดท�ำไม่ได้ในครอบครัว รับรู้ถึงขอบเขต ของครอบครัว มีการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม ไม่ก้าวร้าว รวมถึงเปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมออกกฎ ระเบียบในครอบครัว การใช้เวลาร่วมกัน หมายถึง การที่พ่อแม่ และลูกปฏิบัติกิจกรรมหรือการกระท�ำร่วม กันด้วยความเต็มใจ เกิดความพึงพอใจร่วมกัน มี เวลาได้เรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้นิสัยใจคอและอารมณ์ ร่วมกัน มีการปรึกษาหารือซึง่ กันและกันในครอบครัว การด�ำรงชีวิตทางจิตวิญญาณ หมายถึง การที่พ่อแม่และลูกแสดงออกถึงความเชื่อ หรือความยึดมั่นในศาสนา หลักศีลธรรม จริยธรรม และระบบค่านิยมที่มีเหตุผล มีคุณค่า น่าเชื่อถือ มี มาตรฐานทางจริยธรรมทีด่ งี าม มีการไปร่วมพิธกี รรม ทางศาสนาร่วมกันอย่างสม�่ำเสมอ มีการถ่ายทอด หลักศาสนา ศีลธรรมจรรยาและค่านิยมที่ดีงามใน ครอบครัว ความสุขในครอบครัว หมายถึง ครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ยอมรับและเคารพ ในความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถเชื่อม โยงหรือบริหารจัดการความแตกต่างของสมาชิกใน ครอบครัวได้อย่างสมดุล ครอบครัวสามารถพึ่งพา ตนเองในด้านเศรษฐกิจ มีสุขภาพกายและสุขภาพ ทางด้านจิตใจดี สมาชิกสามารถควบคุมอารมณ์ของ ตนเองได้ จัดการกับความเครียดและความโกรธได้
6.
7.
8.
ในธรรมนูญด้านการประกาศข่าวดี “ความ ชืน่ ชมยินดีและความหวัง” (Gaudium et Spes) ได้ พยายามส่งเสริมศักดิศ์ รีของการสมรสและครอบครัว ดังค�ำนิยาม “การสมรส” ว่า “เป็นความเป็นหนึ่ง เดียวกันของชีวิตและความรัก” (เทียบ Gaudium et Spes, 48) ที่ได้ก�ำหนดวาง “ความรัก” ไว้ที่ ใจกลางของครอบครัว
แผนกครอบครัว
ดังนั้น พี่น้องต้องการให้ “ชีวิตและความรักในครอบครัวของพี่น้องเป็นอย่างไร” นั้นขึ้นอยู่กับการ เลือกและการตัดสินใจของพี่น้องแต่ละครอบครัว ครอบครัวเปรียบเสมือน “กล่องแห่งความรัก” ที่กล่องนี้ สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนจะใส่อะไรลงไปก็ได้ จะใส่ความรัก ความซือ่ สัตย์ ความเป็นหนึง่ เดียว ความเอาใจ ใส่ห่วงใย ฯลฯ หรือจะใส่ความเกลียดชัง การทะเลาะเบาะแว้ง ความอาฆาตพยาบาท ความเห็นแก่ตัว ฯลฯ ก็ขึ้นอยู่กับสมาชิกในครอบครัวว่า แต่ละคนต้องการจะใส่อะไรลงไปใน “กล่องแห่งความรัก” นี้ ซึ่งผู้อื่นจะ มาใส่แทนสมาชิกในครอบครัวของเราไม่ได้ ขอองค์พระผู้เป็นเจ้าและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โปรดทรงคุ้มครอง และอวยพรครอบครัวของพีน่ อ้ งเสมอไป และอยากเชิญชวนพีน่ อ้ ง ภาวนาต่อครอบครัวศักดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งนาซาเร็ธ ขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ซึ่งแปลโดยมุขนายกฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เพื่อฝาก ชีวิตและความรักในครอบครัวไว้กับครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้ เยซู มารีย์ โยเซฟ ข้าพเจ้าทั้งหลายไตร่ตรองความงดงามแห่งความรักแท้ ข้าพเจ้าทั้งหลายหันมาหาท่านด้วยความไว้วางใจ ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แห่งนาซาเร็ธ โปรดให้ครอบครัวของข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นสถานที่แห่งความสนิทสัมพันธ์ของการอธิษฐานภาวนา โรงเรียนแท้แห่งพระวรสาร และพระศาสนจักรเล็ก ๆ ระดับบ้าน ครอบครัวศักดิ์สิทธ์แห่งนาซาเร็ธ ขอครอบครัวอย่าประสบความรุนแรง การปฏิเสธและการแบ่งแยกอีก ขอให้ทุกคนที่ได้รับความบอบช�้ำหรือถูกท�ำให้สะดุด ได้พบการปลอบประโลมและการเยียวยารักษา ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์แห่งนาซาเร็ธ ขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายใส่ใจยิ่งขึ้นอีกครั้งถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความส�ำคัญและความงดงามของครอบครัวในแผนการของพระเจ้า เยซู มารีย์ โยเซฟ โปรดสดับฟังค�ำภาวนาของข้าพเจ้าทั้งหลายด้วยเทอญ อาแมน
25
แผนกเยาวชน
แนะน�ำ
ผู้อ�ำนวยการ แผนกเยาวชน คุณพ่อยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ
ก่อนอืน่ พ่อขอ say hello บรรดาเด็ก ๆ และเยาวชน ทุกคน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 เป็นต้นมา พ่อ ได้รับแต่งตั้งจากสังฆมณฑลจันทบุรี ให้ดูแลเยาวชนในระดับ สังฆมณฑลรวมถึงนิสิตนักศึกษาด้วย ซึ่งเป็นภารกิจที่ส�ำคัญ และเป็นงานที่สังฆมณฑลให้ความส�ำคัญอย่างมาก ในหน่วย งานเยาวชนของเรานั้น พ่อมีผู้ร่วมงาน 2 ท่าน คือ พี่เจ และ พี่ฟิวส์ ที่คอยช่วยประสานงานและร่วมงานกับเยาวชนตาม แขวง และตามวัดต่าง ๆ ซึ่งเป้าหมายในการท�ำงาน 5 ปีนี้ คือ การปลูกฝังเยาวชนให้เป็นเยาวชนคาทอลิกที่เข้มแข็ง เพราะเยาวชน คือ ปัจจุบัน และอนาคตของพระศาสนจักร (สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส และนักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 พระสันตะปาปา ได้เคยตรัสไว้) ดังนั้น พ่อหวังว่าเราจะร่วมมือ และเดินไปด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างพระศาสนจักร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ ศาสนจักรท้องถิ่นนั่น คือ วัดของเราแต่ละคน ให้เป็นพระ ศาสนจักรที่เข้มแข็งผ่านทางพลังของบรรดาเยาวชนทุกคน (สู้ ๆ ครับลูก เราท�ำได้) พ่อและผู้ร่วมงานจะออกไปตามวัด ซึ่งวัดในสังฆมณฑลจันทบุรีมีทั้งหมด 41 วัด เราจะพยายาม ไปทุกวัด หรือเท่าที่เราจะสามารถไปได้ พ่อจะไปถวายมิสซา และหลังมิสซาพ่อจะพบกับพวกเราทุกคน เพื่อแจ้งถึงเป้า หมายของงานเยาวชนในสังฆมณฑลของเรา กิจกรรมตาม แขวงต่าง ๆ กิจกรรมตามวัดต่าง ๆ และกิจกรรมส่วนกลาง ต่าง ๆ ทีจ่ ะมีในอนาคตนี้ และทีส่ ำ� คัญ พ่อและผูร้ ว่ มงานจะได้ ท�ำความรูจ้ กั และคุ้นเคยกับพวกเราเยาวชนในแต่ละวัดด้วย สุดท้ายนี้ ขอพระเจ้าทรงน�ำทางชีวิตเยาวชนทุกคน ให้อยู่ในหนทางของพระเจ้า ปลอดภัยจากความชั่วร้าย และ เสริมพลังในการสร้างความดี เพือ่ สังคมของเรา (แล้วเจอกัน ครับ) Say Goodbye คุณพ่อยอแซฟ ประธาน ตันเจริญ 26
แผนกเยาวชน
แนะน�ำ
ค่าย แผนกเยาวชน i Lead / ต้นน�้ำ-ปลายน�้ำ
i Lead
ต้นน�้ำ-ปลายน�้ำ
เป็นค่ายส�ำหรับคณะกรรมการเยาวชน สังฆมณฑลจันทบุรี ทั้ง 5 แขวง ประกอบด้วย คุณพ่อจิตตาภิบาลแขวง ประธานเยาวชนแขวง และ คณะกรรมการเยาวชนแขวง โดยจุดประสงค์ของค่าย นี้จัดเพื่อให้คุณพ่อจิตตาภิบาล และประธานเยาวชน แขวงได้มีการพบปะและรับทราบนโยบายในการ ท�ำงานประจ�ำปีของแผนกเยาวชน โดยการด�ำเนิน งานผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ท�ำร่วมกันภายในแขวง และน�ำแนวทางของแผนกเยาวชนไปสูก่ ารท�ำงานใน ระบบแขวงต่อไป โดยรูปแบบการจัดค่ายเป็นลักษณะ 2 วัน 1 คืน มีกิจกรรมพบปะ สร้างความสัมพันธ์กัน ภายในสังฆมณฑล การแบ่งปันการท�ำงานของแต่ละ แขวง โดยค่ายนีจ้ ะจัดขึน้ เป็นประจ�ำทุกปี ในช่วงเดือน พฤษภาคม เป็นต้นไป ตามเวลาที่เหมาะสม
เป็นค่ายเยาวชนทีท่ างแผนกเยาวชนสังฆมณฑล จันทบุรี ได้จดั ร่วมกับแผนกเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการท�ำค่ายร่วมกันของทั้ง 2 สังฆมณฑล โดยค่ายนี้จะแบ่งการจัดเป็น 2 ครั้ง คือ 1. ค่ายต้นน�้ำ คือ กลุ่มที่อยู่ปลายน�้ำ (สังฆมณฑล จันทบุร)ี จะเดินทางขึน้ ไปร่วมค่ายทีส่ งั ฆมณฑล เชียงใหม่ ร่วมกับเยาวชนสังฆมณฑลเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน�้ำ 2. ค่ายปลายน�้ำ คือ กลุ่มที่อยู่ต้นน�้ำ (สังฆมณฑล เชียงใหม่) จะเดินทางลงมาร่วมค่ายทีส่ งั ฆมณฑล จันทบุรี ร่วมกับเยาวชนสังฆมณฑลจันทบุรี ซึง่ เป็นพื้นที่ปลายน�้ำ ในการจัดค่ายต้นน�ำ้ -ปลายน�ำ้ มีจดุ ประสงค์ เพือ่ ให้เยาวชนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีต่ น้ น�ำ้ และปลายน�ำ้ ได้เกิด การตระหนักถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ และปัญหาสิง่ แวดล้อม โดยยึดแนวทางค�ำสอนของพระศาสนจักร (Lau da to si) เป็นแนวทางในการสร้างจิตส�ำนึก ให้กับเยาวชนที่มาร่วมค่าย และน�ำไปประยุกต์ใช้กับ เยาวชนในเขตของตนเอง
27
ฝ่ายสังคม
งานเมตตาสงเคราะห์
กิจกรรม
แบ่งรัก ปันสุข สูภ้ ยั COVID-19 โดย คุณพ่อโทมัส อภิชิต ชินวงค์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์สังคมพัฒนา สังฆมณฑลจันทบุรี
ตามทีป่ ระเทศไทยก�ำลังเผชิญกับสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 ซึง่ เป็นวิกฤตการณ์รา้ ยแรงของ โลก ส่งผลกระทบท�ำลายชีวิต เศรษฐกิจ สังคม รวม ไปถึงวิถชี วี ติ ของผูค้ นในทุกประเทศ อย่างทีไ่ ม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน เป็นช่วงเวลาที่คนไทยและประเทศไทย ต้องการความร่วมมืออย่างมากทีจ่ ะเยียวยาช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันจากทุกภาคส่วน ผ่านทางการท�ำงานของพระศาสนจักร คาทอลิกภาคท้องถิ่นในประเทศไทย ได้ท�ำงานกัน อย่างรวดเร็ว มุง่ ให้คริสตชนได้เสียสละ แบ่งปัน ด้วย ใจทีเ่ ปีย่ มด้วยความรักเมตตา ซึง่ เกิดจากค�ำสอนเรือ่ ง การให้เกียรติและความเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุก คน“เรารู้จักความรักจากการที่พระองค์ทรงสละ ชีวติ ของเราเพือ่ พีน่ อ้ งเช่นเดียวกัน ถ้าผูใ้ ดมีทรัพย์ สมบัติของโลกนี้และยังมีใจคับแคบต่อเขา ความ รักของพระเจ้าจะด�ำรงอยู่ในผู้นั้นได้อย่างไร ลูก ที่รักทั้งหลาย เราอย่ารักกันแต่ปาก เพียงด้วยค�ำ พูดเท่านัน้ แต่เราจงรักกันด้วยการกระท�ำและด้วย ความจริง” (1ยน 3:16-18) ให้คริสตชนมีความส�ำนึก ในความรับผิดชอบต่อสังคม ร่วมกันค้นหา ส่งเสริม รื้อฟื้น ป้องกัน รักษา เสริมสร้าง อันเป็นคุณค่าแห่ง อาณาจักรของพระเจ้า 28
ผ่านทางการท�ำงานของสังฆมณฑลจันทบุรี ในการด�ำเนินงานของฝ่ายสังคม มอบหมายให้ศูนย์ สังคมพัฒนาฯ น�ำโดย คุณพ่อโทมัส อภิชิต ชินวงค์ (ผูช้ ว่ ยพระสังฆราชฝ่ายสังคม และผูอ้ ำ� นวยการศูนย์ สังคมพัฒนาฯ) เป็นศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือ พี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาด ของโควิด-19 โดยใช้กิจกรรมที่ชื่อว่า
แบ่งรัก ปันสุข สู้ภัย COVID-19 กิจกรรม “แบ่งรัก ปันสุข สูภ้ ยั Covid – 19” เป็นกิจกรรมหนึ่งในงานเมตตาสงเคราะห์ มุ่งเน้นผู้ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดครั้งนี้ ภายในสังฆมณฑลจันทบุรี โดยเริม่ ด�ำเนินการในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา ขณะนี้มีเงินทุน อาหาร เสือ้ ผ้า แอลกอฮอล์ หน้ากากผ้า-อนามัย ฯลฯ หลัง่ ไหลเข้ามา เพือ่ ช่วยเหลือพีน่ อ้ งคริสตชน และ พี่ น้องทีไ่ ด้รบั ผลกระทบอย่างต่อเนือ่ ง ผ่านการประสาน การท�ำงานของคริสตชนในสังฆมณฑลจันทบุรี คณะ สงฆ์ คณะนักบวช กลุ่มองค์กร หน่วยงาน โรงเรียน สภาอภิบาล และกลุ่มองค์กรคาทอลิก
ศูนย์สังคมพัฒนาฯ ได้ด�ำเนินการจัดสรรปัจจัย อาหาร และสิ่งของที่จ�ำเป็นมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ไปยังงานอภิบาลของแต่ละแขวง และองค์กรต่าง ๆ ใน สังฆมณฑล ดังนี้ จัดถุงยังชีพมอบให้ • แขวงจันทบุรี จ�ำนวน 50 ชุด วันที่ 2 มิ.ย. 2020 • แขวงศรีราชา จ�ำนวน 50 ชุด วันที่ 4 มิ.ย. 2020 • แขวงสระแก้ว จ�ำนวน 50 ชุด วันที่ 17 มิ.ย. 2020 • แขวงหัวไผ่ จ�ำนวน 35 ชุด วันที่ 1 ก.ค. 2020 • แขวงปราจีนฯ จ�ำนวน 80 ชุด วันที่ 14 ก.ค. 2020 • แผนกผูอ้ พยพย้ายถิน่ /ผูเ้ ดินทางทะเล จ�ำนวน 10 ชุด มอบของยังชีพและของใช้จ�ำเป็น • คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี ผ่านทางซิสเตอร์ ขวัญเรียม เพียรรักษา ไปยัง บ้านเกาะแมว อ.แหลม สิงห์ จ.จันทบุรี : ข้าวสาร อาหารแห้ง หน้ากากผ้า แอลกอฮอล์ล้างมือ ฯลฯ • และผูย้ ากไร้ในเครือข่ายการท�ำงานของศูนย์สงั คมฯ
29
ฝ่ายสังคม
ด้วยความรักในพระคริสตเจ้า ต้องขอขอบคุณ ทุกท่านทีม่ สี ว่ นร่วมในการด�ำเนินกิจกรรม เพือ่ ช่วยเหลือ พีน่ อ้ งทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ ขอบคุณผูท้ เี่ สียสละเวลามาช่วย แพคถุงยังชีพ ขอบคุณส�ำหรับพี่น้องหลายท่านที่ได้เสีย สละเวลาในการเย็บหน้ากากผ้า ขอบคุณที่ได้เสียสละ เวลาในการท�ำเจลล้างมือ แบ่งปันปัจจัย อาหารแห้ง ของใช้จ�ำเป็น ผ่านทางการท�ำงานของศูนย์สังคมพัฒนา
สุดท้ายนี้ กิจกรรมนีก้ ย็ งั คงด�ำเนินอย่างต่อเนือ่ ง ยังคงต้องอาศัยพลังรักเมตตา และการช่วยเหลือแบ่ง ปันจากพี่น้องทุกท่านดังพระวาจาของพระเจ้าที่บอกว่า “ในแผ่นดินจะยังคงมีคนยากจนอยู่เสมอ ข้าพเจ้าจึง สั่งให้ท่านมีใจเอื้อเฟื้อต่อพี่น้องที่ยากจนและขัดสน ในแผ่นดินของท่าน” (ฉธบ 15:11) ยิ่งไปกว่านั้นงาน เมตตาสงเคราะห์จะต้องด�ำรงอยู่และไม่หยุดนิ่งเพื่อพี่ น้อง ทุกคนตลอดไป ขอพระเจ้าทรงอวยพระพร 30
31