บทนำ�
รายงานฉบับที่ 4 รายงานสรุปและประมวลผลการดำ�เนินงานโครงการ ที่เสนอต่อองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ฉบับนี้นำ�เสนอแนวทางกรอบแนวคิด แผนการดำ�เนินงาน และผลการดำ�เนินงานของโครงการขับเคลื่อน เมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ในระยะที่ 4 ปีงบประมาณ 2560 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1) กรอบแนวคิด แผนงานดำ�เนินการ และผลการดำ�เนินการในการจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนางานออกแบบ หัตถกรรม พร้อมกับกิจกรรมโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ร่วมผลักดันสู่งานมรดกโลก (2) กรอบแนวคิดการจัดงาน รูปแบบ และการดำ�เนินการจัดงาน ตลอดจนผลการประเมินงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 เพื่อเป็นกิจกรรมเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ สืบสาน และใช้พัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านมุ่ง เน้นงานที่ทำ�จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุหรือวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้ และ เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ด้วยตนเองตลอดจนสามารถนำ�ไปจัดแสดงนิทรรศการและต่อยอดทางเศรษฐกิจได้ ตลอด จนเพื่อสร้างเครือข่าย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำ�เนินงานของเมืองเชียงใหม่ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเมือง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO (3) กรอบแนวคิดการบริหารเว็บไซด์เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เพื่อประชาสัมพันธ์การดำ�เนิน งานการผลักดันนโยบายเชียงใหม่เมืองหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ ภาคประชาชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิด ขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำ�เนินงาน (4) การศึกษาดูงานเมืองที่มีแนวทางในการทำ�งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านผสมสู้การสร้างสรรค์ใหม่คือ เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน เพื่อเตรียมการสร้างเครือข่าย (5) กรอบแนวทางการดำ�เนินงานภายหลังได้รับคัดเลือกจากองค์การ UNESCO ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านสาขางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Creative Cities Crafts and Folk Art) ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2560 เป็นการดำ�เนินการต่อเนื่องจากการดำ�เนินงานที่ได้ดำ�เนินการในปีที่ผ่านมา โดย มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ครอบคลุมกับแนวทางและ คุณสมบัติการเป็นเมืองสร้างสรรค์ตามหลักเกณฑ์ขององค์การ UNESCO กำ�หนด
3
1
3
P.15
WEBSITE
WORKSHOP
P.147
กรอบแนวคิดการบริหารเว็บไซด์ เชียงใหม่เมืองหัตถกรรม
กรอบแนวคิดแนวทาง แผนงาน และผลการจัดกิจกรรม
งานการประชาสัมพันธ์งานของจังหวัด เชียงใหม่ให้กับผู้เกี่ยวข้อง ในการต่อยอด ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนเพื่อสร้างเครือ ข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การด�ำเนิน งานของเมืองเชียงใหม่ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
การจั ด ฝึ ก อบรมเพื่ อ พั ฒ นางาน ออกแบบหั ต ถกรรมพร้ อ มกั บ กิ จ กรรมโครงการแลกเปลี่ ย น วัฒนธรรมเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ร่วมผลักดันงานมรดกโลก
2
P.89
CRAFTS FAIR
รายงานผลการจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
แนวทางพัฒนาความสามารถของ บุคลากร/ชุมชน เป็นกิจกรรมเชื่อมโยงกับ การเรียนรู้ สืบสาน และพัฒนางาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน จนสามารถ น�ำไปจัดแสดงนิทรรศการและต่อยอดทาง เศรษฐกิจได้ ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่าย และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงาน ของเมืองเชียงใหม่เมืองหัตถกรรม ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 เมื่อวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560
4
4
สารบัญ P.161
NETWORK PROJECT การศึกษาดูงานเมืองสร้างสรรค์และ น�ำเสนอเมืองเชียงใหม่ในเวทีต่างประเทศ
การศึ ก ษาดู ก ารท�ำงานด้ า นการ สร้างสรรค์ของเมืองไทเป ประเทศ ไ ต ้ ห วั น เ พื่ อ เ ต รี ย ม ก า ร ส ร ้ า ง เครือข่ายและน�ำเสนอเมืองเชียงใหม่ ในเวทีต่างประเทศ
5
P.197
CREATIVE CITIES NETWORK เชียงใหม่เมืองหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน กรอบแนวทางการด�ำเนินงานภายหลัง ได้รับคัดเลือกจากองค์การ UNESCO ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมือง สร้างสรรค์ ด้านสาขางานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน
5
กรอบแนวคิด แนวทางและแผนงานในการจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม “Creative Crafts and Folk Art” งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์ เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Networks) ยูเนสโกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (UCCN) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับเมืองต่างๆที่มีความ คิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ปัจจุบันได้มี 180 เมืองที่สร้างเครือข่ายนี้ทำ�งานร่วมกันเพื่อ จุดประสงค์ร่วมกันคือการวางความคิดสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมให้เป็นหัวใจที่สำ�คัญของแผนพัฒนาเมือง ใน ระดับท้องถิ่นและการร่วมมืออย่างแข็งขันในระดับนานาชาติ ความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่ปรากฏการณ์ที่บุคคลสร้างสรรค์ “สิ่งใหม่” อาทิ ผลผลิต การแก้ปัญหา นวัตกรรม หรืองานศิลปะ ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าการจะตีความเกี่ยวกับ “ความใหม่” ขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์หรือสังคม หรือแวดวง ที่สิ่งใหม่นั้นเกิดขึ้นความสามารถในการจินตนาการหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆจากการผสมผสาน (combining หรือ synthesizing) เปลี่ยนแปลง (changing) หรือการนำ�กลับมาใช้ใหม่ (reapplying) กระบวนการคิดของสมองซึ่งสามารถคิดได้หลากหลาย และแปลกใหม่ สามารถนำ�ไป ประยุกต์ทฤษฎีหรือปฏิบัติได้อย่างรอบคอบและถูกต้อง จนนำ�ไปสู่การคิดค้นและนวัตกรรม1 งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์ งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ที่มี “ลักษณะใหม่” มีคุณค่าต่อผู้คิด สังคมและวัฒนธรรม เป็นงานที่สามารถอยู่ในชีวิตประจำ�วันของผู้คนได้อย่างกลมกลืน ไปจนถึงทำ�ให้เกิดการใช้งานแบบใหม่ๆ รูปแบบ การใช้ชีวิตแบบใหม่ๆ ที่ยังคงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และมีการ “แลก รับ ปรับ เปลี่ยน” ไปตามยุคสมัย และวัฒนธรรมที่มีชีวิตและมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา คำ�ว่า “ลักษณะใหม่” ในงาน Creative Crafts and Folk Art สามารถเป็นได้ทั้งรูปธรรม เช่น งานหัตถกรรมที่มี ลักษณะการใช้สอยแบบใหม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนปัจจุบัน งานหัตถกรรมที่มีนวัตกรรมทางเทคนิคการผลิต รวมไปถึง “ลักษณะใหม่” ที่เป็นนามธรรม เช่น ความคิดใหม่ ๆ แนวทางใหม่ ๆ ทัศนคติใหม่ ๆ ความเข้าใจ ความหมายใหม่ๆของงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
1
http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Creative_Thinking.htm#ixzz3b9s0yigL
6
ในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านที่มีลักษณะใหม่ จำ�เป็นต้องอาศัย “ความคิดสร้างสรรค์” และ การ คิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เชื่อมโยงที่พยายามหาทางออก แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ พยายาม ปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ๆ แนวทางในการฝึกอบรมทั้ง 4 ครั้ง เป็น “การฝึกทักษะ” และเพิ่มศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้สามารถการคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่ง ใหม่ ฝึกทักษะการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ หรือปรับจาก ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำ� ตอบที่ดีที่สุด เพื่อสร้างสรรค์งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ที่แตกต่างไปจากเดิม มีลักษณะใหม่ (New Original) ใช้การได้ (Workable) มีความเหมาะสม (Appropriate) โดยยังคงแสดงความรู้สึกของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านออกมาได้2 เป็นที่น่าสังเกตว่าในวัยเด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่เมื่อมีอายุมากขึ้น ความคิดสร้างสรรค์มักจะถูกครอบงำ�ด้วย กระบวนการศึกษา สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง ความคุ้นชิน ความเชื่อ หรือแม้กระทั่งศาสนา อย่างไรก็ตามความสามารถ ในการคิดสร้างสรรค์สามารถถูกกระตุ้นให้เพิ่มขึ้นได้ เพียงแต่ว่าต้องมีความตั้งใจที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ ให้เวลา ยอมที่จะปรับ ทัศนคติ (Attitude) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ ๆ พร้อมที่จะเล่นกับความคิดที่หลากหลายและความเป็นไปได้ (Probability) มีความคิดที่ยืดหยุ่น ชอบเห็นสิ่งที่ดีขึ้นและพร้อมที่จะปรับปรุงอยู่เสมอ พร้อมที่จะทำ�งานหนักเพื่อพัฒนาความคิด และแนวทางแก้ปัญหาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ขึ้น ตามลำ�ดับ ความคิดสร้างสรรค์ที่เยี่ยมยอดไม่เคยปรากฏว่าเกิดจากการคิดเพียงครั้งเดียวหรือจากกิจกรรมสั้น ๆ ผู้ที่มีความคิด สร้างสรรค์รู้ดีว่า การปรับปรุงให้ดีขึ้นสามารถทำ�ได้เสมอ3 ในการจัดฝึกอบรมและพัฒนางานออกแบบงานหัตถกรรม ใน 4 กิจกรรมเพื่อสร้างความพร้อมของเมืองเชียงใหม่สู่การ เป็นเมืองสร้างสรรค์ และ การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม ได้มีการนำ�แนวคิดมาปรับใช้ให้เข้ากับกิจกรรม ครั้งนี้ โดยมีแนวคิดดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนทางวัฒนธรรม 2. แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. แนวคิดด้านวิธีคิดกระบวนระบบ 1. แนวคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากการทำ�งานศิลปหัตถกรรมต้องอาศัยทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ในการสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ ภูมิปัญญา ที่เป็นรูปธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่เป็นนามธรรม เป็นโลกทัศน์เป็นปรัชญาในการดำ�เนินชีวิต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย คุณค่า และความหมายของทุกสิ่งในชีวิตประจำ�วัน และลักษณะที่เป็นรูปธรรม เป็น เรื่องเฉพาะด้านต่างๆ เช่น การทำ�มาหากิน การเกษตร หัตถกรรม ศิลปะดนตรี และ อื่นๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงมีความหมาย ว่า รากฐานความรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์ของชาวบ้านที่ได้สั่งสมสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้หรือทักษะ ที่ชาวบ้านชุมชนนั้นๆ คิดขึ้นได้เอง หรือรับการถ่ายทอดมาจากชุมชนอื่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังรวมความถึงองค์ความรู้ของชาว บ้านที่ได้พัฒนาขึ้นให้เหมาะสมกับวิถีดำ�เนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชาวบ้าน กระบวนการถ่ายทอดความรู้และทักษะการทำ�ภาชนะเครื่องเงินถือเป็นทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และงานศิลปหัตถกรรม ที่สำ�คัญ เพราะช่างที่สร้างผลงานต้องใช้ความรู้ทักษะและประสบการณ์ที่สะสมสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ผลงานที่ได้มี ประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามควบคู่กัน และมุ่งประโยชน์ในการดำ�รงชีพ นอกจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ ความคิด ความสามารถ ความเป็น อัตลักษณ์ของกลุ่มชน ได้จากประสบการณ์ ในสังคมด้วยการปรับตัวและดำ�รงชีพในสภาพแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพ็ญนิดา ไชยสายัณห์. การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking). http://www.pattani.go.th/plan56/doc1.pdf สรุปความจาก http://www.studymode.com/essays/Analyse-The-Differences-Between-Creative-Learning-1235136.html http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Creative_Thinking.htm 2 3
7
เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการดำ�เนินชีวิตถ่ายทอดสืบต่อกันมาช้านานจนกระทั่งถึงปัจจุบัน องค์ความรู้ของภูมิปัญญา คือ ส่วนที่เป็นศาสตร์ ส่วนความรู้ที่มีคุณค่าทั้งดีและงาม คือ ส่วนที่เป็นศิลป์ ผู้ที่คิดค้นขึ้นมาไม่ใช้แค่สมองเพียงอย่างเดียว แต่ ยังมีการใช้อารมณ์ ความรู้สึก จิตวิญญาณ ดังนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่สัมพันธ์กับวิธีคิด วิถีปฏิบัติ และวิธีให้คุณค่าของกลุ่มชน4 ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีคุณค่าและความสำ�คัญไม่เพียงแต่สำ�หรับผู้คนในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ต่อการพัฒนาประเทศโดยรวมให้สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยได้กล่าวถึงความสำ�คัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็น มรดกทางวัฒนธรรมอันเกิดจากพัฒนาการปรับตัว และ ปรับวิถีชีวิตของคน เป็นความรู้ที่เกิดจากการทดลองปฏิบัติจรองใน ห้องทดลองสังคม ความรู้เหล่านี้ถูกค้นพบลองใช้ดัดแปลง ถ่ายทอดกันมาด้วยเวลายาวนาน ผ่านกระบวนการขัดเกลาของกลุ่ม คน จึงมีค่าและมีความสำ�คัญยิ่งนัก นับเป็นมรดกทางปัญญาของมนุษย์ที่ทุกคนควรรู้ รักษา พัฒนา และนำ�มาปรับใช้พัฒนา ชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน5 ทุนทางวัฒนธรรม คือ มรดกภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งมีความหมายหลากหลายประเภท แต่ล้วนแล้วยัง ประโยชน์ให้กับประเทศชาติทั้งนั้น ถ้าเปรียบเทียบว่าภูมิปัญญาเป็นเสมือนต้นทุนในการผลิต ทุนทางวัฒนธรรม อาจจะหมาย ได้ว่าคือ ต้นทุนที่สะสมมาจากกระบวนการคิด กระบวนการประดิษฐ์ กระบวนการสร้างงาน เพื่อนำ�มาใช้ในการพัฒนาผลงาน ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่องและยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อมา การนำ�ทุนทางวัฒนธรรม มาประยุกต์ใช้กับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน โดยการคำ�นึงถึงทักษะทางงานฝีมือ องค์ ความรู้จากรากเหง้าทางวัฒนธรรม และความเข้าใจในการใช้วัสดุจากท้องถิ่น ย่อมที่จะสร้างคุณค่าให้กับผลงานนั้น ๆ ควบคู่ไป ด้วย คุณค่าที่เกิดขึ้นได้แสดงออกมาให้เห็นถึงรูปแบบของการผลิต เทคนิควิธีการสร้างสรรค์ การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคุณค่า เหล่านี้ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะอย่างยาวนาน กว่าดอกและผลทางศิลปวัฒนธรรมจะเจริญงอกงามสู่สายตาให้เราประจักษ์รู้ ถึงความเพียรพยายามให้การอนุรักษ์ รักษา รวมถึงพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของไทยตราบจนทุกวันนี้ งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเชียงใหม่ มีความหลากหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทนั้นได้มีการผสมผสาน ความรู้ในการผลิต ความคิดสร้างสรรค์และการประยุกต์วัสดุท้องถิ่น อันเป็นจุดกำ�เนิดของทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อคุณค่าใน งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ เพื่อให้เราก้าวไปสู่เมืองวัฒนธรรมสร้างสรรค์ขององค์การUNESCO6 2. แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น คือ ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ส่วนร่วมในการปฏิบัติ ส่วนร่วม ในผลประโยชน์ ส่วนร่วมในการประเมินผล ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสอดแทรกความคิดเห็นของประชาชน ในชุมชนเข้าไปได้ อย่างไรก็ตามนอกจากลักษณะของการมีส่วนร่วมแล้วก็ต้องคำ�นึงถึงปัจจัยสำ�คัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แบบชุมชนโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย (ดรรชนี เอมพันธุ์, 2549) ซึ่งได้แก่ (1) ชุมชนต้องมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพด้านพื้นที่และดึงดูดใจ (Attraction) และสามารถเข้าถึง (Access) หรือได้ รับความคิดเห็นชอบให้เข้าไปดำ�เนินการจัดบริการท่องเที่ยวได้ (2) ต้องมีตลาดการท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้วในพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียงหรือมีโอกาสที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือน (3) ชุมชนต้องมีองค์กรรองรับสำ�หรับการจัดการท่องเที่ยวของท้องถิ่น (4) ชุมชนต้องมีทักษะและความรู้ในการจัดการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว หรือการบริการด้านการท่องเที่ยวบ้าง เช่น มัคคุเทศก์ ที่พัก ตลาดประชาสัมพันธ์ การติดต่อประสานงาน เป็นต้น
ชวน เพชรแก้ว, การยกระดับและปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน (กรุงเทพ 2547) หน้า 14-22 กฤตณภัต บุญยัษเฐียร, การออกแบบระบบสารสนเทศแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นสำ�หรับสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต, 2548. 6 รศ.ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ : หนังสือ “ผู้ผลิตกับผู้ใช้งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน” โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน, 4 ตุลาคม 2558 4
5
8
ในตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา การกำ�หนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาในการพัฒนาโดยส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือของ รัฐ ทั้งนี้เนื่องจากการต้องการความรวดเร็วและความสะดวกในกระบวนการทำ�งาน ในแต่ละขั้นตอนของการวางแผน การ ปฏิบัติงาน รวมถึงการประเมินผล แนวทางเช่นนี้อาจเป็นอุปสรรคโดยการปิดช่องทางการเข้ามามีร่วมส่วนของชุมชน ทั้งๆ ที่ ปัญหาชุมชนที่เกิดขึ้นมีมากเกินกว่าขีดความสามารถในการจัดการของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว ตัวอย่างเช่น ประชาชนใน ชุมชนเมืองซึ่งประกอบด้วยชุมชนแออัด ชุมชนชานเมือง เคหะชุมชน และชุมชนหมู่บ้านจัดสรร รวมแล้วประมาณ 1,246 ชุมชน ประสพปัญหาหลักอันได้แก่ การขาดความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ระบบสาธารณูปโภคและบริการขั้นพื้นฐานไม่เพียงพอ สภาพ แวดล้อมในชุมชนเสื่อมโทรม ความยากจน ปัญหานาเสพย์ติด อาชญากรรม ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้มีจำ�นวนมาก แต่ภาระความ รับผิดชอบกลับตกอยู่กับการจัดการของภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ชุมชนไม่ได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐแต่ อย่างใด ส่งผลให้ปัญหาของชุมชนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดอย่างที่สุด จนเป็นเหตุในการบั่นทอนความเป็นชุมชนทีละเล็ก ละน้อย เพราะศักยภาพของคนในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนา อีกทั้งยังเป็นการสร้างค่านิยมที่ไม่ถูกต้องให้กับชุมชน เนื่องจาก ชุมชนจะไม่พึ่งตนเองในการแก้ไขปัญหาของตนเอง แต่เฝ้ารอคอยการแก้ไขปัญหาจากภาครัฐ รัฐจึงกลายเป็นผู้จัดสวัสดิการ สังคมแทนชุมชนแทบทั้งหมด เป็นเหตุให้ความเป็นชุมชนจึงค่อยๆ สูญสลายไป7 อิโคโมสไทยได้กล่าวถึงการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม ไว้ดังนี้ (1)มรดกวัฒนธรรมเป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติ ชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นจึงมีสิทธิและหน้าที่ในการ มีส่วนร่วมอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฝ้าระวังติดตามตรวจสอบ มิให้แหล่งมรดก วัฒนธรรมถูกบุกรุกทำ�ลาย ทำ�ให้เสียหาย ทำ�ให้เสื่อมค่าหรือทำ�ให้ไร้ประโยชน์ (2)หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการกำ�หนดนโยบาย การเฝ้าระวัง การตัดสินใจ การตรวจสอบในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรม เช่น การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความ รู้ การสร้างความเข้าใจ การสร้างจิตสำ�นึกรับผิดชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนเครือข่ายเพื่อการ อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในทุกพื้นที่ (3)กระบวนการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนและจากทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง กลไกสำ�คัญของการมีส่วนร่วมอย่างมี ประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการองค์ความรู้และการสร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างความพร้อมในการมีส่วนร่วม เป็นต้น โดยเคารพ ในภูมิปัญญาและความหลากหลายทางวัฒนธรรมเหล่านั้น (“อิโคโมสไทย”, 2554) 3. แนวคิดด้านวิธีคิดกระบวนระบบ (Systems Thinking) อิคุจิโร่ โนนากะ (Ikujiro Nonaka) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮิโตสุบาชิ ชาวญี่ปุ่น ผู้มีบทบาทสำ�คัญต่อแนวคิดด้าน การสร้างความรู้ ได้อธิบายถึงหลักสำ�คัญของการสร้างความรู้ในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ว่าคือการสังเคราะห์หรือหลอม รวมความรู้ที่ชัดแจ้งกับความรู้ที่ฝังลึก ยกระดับขึ้นไปเป็นความรู้ที่สูงขึ้น ลึกซึ่งขึ้น เป็นองค์รวมยิ่งขึ้น โดยผ่านกระบวนการ 4 ส่วนที่เรียกว่า “เซกิ” ซึ่งได้แก่ 1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) ระหว่างกัน คือ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น ความเชื่อ วิธีการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกในตัวบุคคลระหว่างบุคคลผู้สนใจแบบตัวต่อตัว 2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) คือ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึกในตัวบุคคล ไปเป็นความรู้ที่ผู้ อื่นสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งอาจทำ�ได้โดยการสนทนากลุ่ม จับกลุ่มคุยเพื่อหาความคิดใหม่ ๆ เป็นการแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่ม 3. การผนวกความรู้ (Combination) คือ การนำ�ความรู้ที่ชัดแจ้งอันมากมายหลากหลายมารวบรวมบันทึก จัดกลุ่ม แบ่งหมวดหมู่ได้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้งที่ยกระดับเพิ่มมากขึ้น ความรู้ในชั้นนี้จะอยู่ในรูปแบบที่เผยแพร่ได้กว้างขวาง
4. การผนึกความรู้ในตน (Internalization) คือการนำ�ความรู้ที่ได้อ่านหรือความรู้ที่มีคนสอนไปลองปฏิบัติให้ เกิดความเชี่ยวชาญเป็น “จริง” ประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ วิธีการใหม่ หรือปรับปรุงของเก่าให้เกิดคุณค่า และในกระบวนการนั้นเอง ก็จะเกิดการเรียนรู้เป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระดับขึ้นไปในตัวบุคคล8 7
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, “ลายแทงนักคิด” 2544 : หน้า 5-6 ปิยะนาถ ประยูร, Systems Thinking วิธีคิดกระบวนระบบ, กรุงเทพ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548 หน้า 7.
8
9
การสร้างความพร้อมของเมืองเชียงใหม่สู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมืองเชียงใหม่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเมืองหนึ่งของประเทศไทย มีความท้าทายอย่างมากที่องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดมีแนวคิดในการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ ให้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts and Folk Art) ขององค์การ UNESCO และเพื่อให้เข้ากับเกณฑ์ขององค์การ UNESCO จำ�เป็นต้องอาศัยกรอบ คิดเรื่องแนวทางในการขับเคลื่อนเมือง ที่แสดงถึงความพร้อมใน 7 ด้าน ดังนี้ 1. การสร้างความเข้าใจในทุกภาคส่วนเสริมทัศนคติที่เปิดกว้างยอมรับสิ่งใหม่ๆ ของประชาชน 2. มีการส่งเสริม วิจัย การเรียนรู้สืบทอด หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านทั้งในเชิงอุตสาหกรรมงานนวัตกรรม และการ พัฒนาอย่างยั่งยืน 3. การสร้างยุทธศาสตร์ของท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 4. การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ขององค์ประกอบของเมืองที่เอื้อต่อการรักษาและสืบทอดงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน 5. การประชาสัมพันธ์ชูจุดเด่นของเมือง สร้างพิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านหัตถกรรมศิลปะพื้นบ้านและการ สร้างสรรค์เป็นเจ้าภาพจัดงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติและนานาชาติ 6. การมีความพร้อมด้านแรงงานบุคลากร สำ�หรับงานเชิงความรู้ความพร้อมด้านวัสดุ เทคโนโลยี ที่สร้างสรรค์ 7. มีความร่วมมือที่ดีทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานราชการ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และ ภาคเอกชน
พัฒนามาจากรากเหง้า ทางวัฒนธรรม
มิติแห่งการสร้างสรรค์เมืองหัตถศิลป์ ของเมืองเชียงใหม่ งานอุตสาหกรรมหัตถศิลป์
งานหัตถศิลป์ร่วมสมัย
10
เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (THE SUSTANIANABLE DEVELOPMENT GOALS (SDGS): 1. ขจัดปัญหาความขาดแคลนในทุกรูปแบบ ทุกพื้นที่ 2. ขจัดปัญหาความอดอยาก เกิดความปลอดภัยด้านอาหาร พัฒนาด้านโภชนาการ ส่งเสริมการเกษตรที่ยั่งยืน 3. สร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่คนทุกวัย 4. ระบบการศึกษามีคุณภาพและครอบคลุม ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5. มีความเสมอภาคทางเพศส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง 6. การจัดการที่ยั่งยืนเกี่ยวกับระบบน้ำ�และสุขอนามัยในทุกพื้นที่ 7. มีความสามารถในการเข้าถึงระบบพลังงานในรูปแบบต่างๆ 8. ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมในทุกพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน 9. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค ระบบอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน รวมถึงนวัตกรรม 10. ส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมกันของทุกประเทศ 11. สร้างความปลอดภัย ความเท่าเทียมกัน และความยั่งยืนให้แก่เมืองต่างๆ รวมถึงประชากร 12. มีระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน 13. มีมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการกับภาวะทางอากาศและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 14. อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างรู้คุณค่า 15. ป้องกัน ปรับปรุง และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในระบบนิเวศน์อย่างยั่งยืน จัดการกับปัญหาความแห้งแล้ง 16. ส่งเสริมให้เกิดความสงบสุข ความยุติธรรม การพัฒนาที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ 17. สร้างพันธมิตรและความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยธรรมชาติของงานสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์เชียงใหม่ จะมีคุณลักษณะ 3 ประการที่ยังยึดโยงกันอยู่ ซึ่งเกิดจากการ พัฒนาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน ที่เชื่อมโยงจากระดับหมู่บ้านสู่เมือง และเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การสร้างสรรค์ ให้เชียงใหม่นั้นบานสะพรั่งด้วยงานหัตถศิลป์พร้อมการเคลื่อนตัวของเมืองอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และความร่วมสมัยของ งานหัตถศิลป์ การพัฒนางานหัตถศิลป์สร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของงานหัตถกรรมของชุมชน เปรียบดัง สายเลือดที่หล่อเลี้ยงชีวิตและสร้างความงดงามให้กับสังคมอันเกิดจากตัวตนของเราที่สร้างสรรค์ผลงานหัตถศิลป์ออกมาเป็น ผลงานที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของเชียงใหม่ ความมีชีวิตชีวาจากงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจาก รากเหง้าสู่สังคมร่วมสมัยในหลากหลายมิติ จะเป็นแสงสว่างแห่งเทียนศิลป์ ที่จุดสืบต่อกันไปอย่างไม่หยุดยั้งมรรคผลของการ สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์จะกลับมาสู่การพัฒนาคุณภาพของชีวิตและการศึกษาให้แก่ผู้คนในท้องถิ่น มีการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนและการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เชียงใหม่กับงานหัตถศิลป์สร้างสรรค์ก็เปรียบเหมือนดังการปลูกต้นไม้แห่งการสร้างสรรค์มีราก เหง้าที่หยั่งลึก ลำ�ต้นแข็งแกร่งและมั่นคง กิ่งใบที่แผ่ไพศาลออกดอกผลที่เบ่งบานและเจริญงอกงามสืบต่อไป
11
โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้น บ้าน ได้มีการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรมแบ่งออกเป็น 4 กิจกรรม แต่ด้วยการสร้าง ความพร้อมของเมือง เชียงใหม่สู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ได้มีเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals (SDGS) ของ UN ที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของทั้งโลกซึ่งทางโครงการฯ จึงได้เห็นถึงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของคนบน พื้นที่สูง หรือ กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่จากรากเหง้าสู่สังคมร่วมสมัยในหลากหลายมิติ เสริมสร้างทุนทาง วัฒนธรรมเดิม เพื่อเป็นการเตรียมการของการเป็นเมืองสร้างสรรค์ จึงขอเปลี่ยนแปลงสถานที่การจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนางาน ออกแบบหัตถกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ ลายด้วยหัวใจ” ซึ่งได้ดำ�เนินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ชุมชนหัตถกรรมสร้างสรรค์ผลงานจากชุมชน : “คลองแม่ข่ากำ�แพงงาม” ได้เปลี่ยนเป็น กิจกรรม “เส้น-สาย-ลาย-เทียน” ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของชาวเขาเผ่าม้ง ดอยสุเทพปุย เรียนรู้ ถึงเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน และ ถ่ายทอดความรู้จากชาวเขาเผ่าม้งสู่นักออกแบบรุ่นใหม่เพื่อ รังสรรค์ผลงานร่วมกัน กิจกรรมที่ 3 สร้างสรรค์ผลงานจากธรรมชาติ “สร้างสรรค์สิ่งใหม่ จากสิ่งเก่า” ได้เปลี่ยนเป็น กิจกรรม “เชือกถักลีซอ : ถักรักจากลีซอ” ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นงานหัตถกรรมของชาวเขาเผ่าลีซอ ที่มี เอกลักษณ์ในเรื่องงานหัตถกรรมของการทำ�เชือกถัก โดยกิจกรรมนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถ เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา เทคนิค การนำ�ไปใช้ เพื่อพัฒนาสู่การผลิตผลงานที่มีความคิด สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน กิจกรรมที่ 4 เรียนรู้ชุมชนหัตถกรรม สร้างสรรค์ผลงานจากชุมชน “พวกแต้ม คัวตอง” ได้เปลี่ยนเป็น กิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” กิจกรรมนี้เป็นการรวบรวมงาน Workshop ที่ผ่านมาของโครงการฯ เพื่อพัฒนาการออกแบบงานหัตถกรรม ความคิดสร้างสรรค์จากทุนทาง วัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่
12
กระบวนการทำ�งาน ในการจัดฝึกอบรม เพื่อพัฒนางานออกแบบหัตถกรรม กระบวนการทำ�งานของคณะทำ�งานแบ่งเป็นกระบวนการทำ�งานเป็นขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม (Pre-Production) ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม คือการประชุมคณะทำ�งานเพื่อระดมความคิดเพื่อศึกษาปัญหาของงานหัตถกรรม ในแต่ละพื้นที่ และวางแผนลงพื้นที่สำ�รวจข้อมูลที่ต้องนำ�งานหัตถกรรมมาจัดกิจกรรม เพื่อเก็บข้อมูลงานหัตถกรรม สำ�หรับจัดทำ�สูจิบัตรเพื่อใช้เป็นฐานความรู้สำ�หรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำ�งานและ ชุมชนหัตถกรรมในพื้นที่ กำ�หนดกลุ่มเป้าหมายของผู้เข้ารับการอบรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของทางโครงการฯ การเตรียมจัดกิจกรรมจะมีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมในด้านสถานที่ในการจัดกิจกรรม จัดทำ�ข้อมูลสูจิบัตร การเชิญวิทยากร ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ออกแบบโปสเตอร์กิจกรรม รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ตรงตาม กรอบ แนวคิด และเป้าหมายของทางโครงการฯมากที่สุด 2. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (Production) เป็นขั้นตอนหลังจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล สร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำ�งานและชุมชนหัตถกรรมในพื้นที่ และเตรียมความพร้อมเสร็จ จึงมีการจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อส่งเสริมงานหัตถกรรมตามเป้าหมายของโครงการฯ 3. ขั้นตอนหลังการจัดจัดกิจกรรม (Post-Production) ขั้นตอนสุดท้ายในการจัดกิจกรรม คือการประเมินผล และสรุปผลเพื่อจัดทำ�รายงาน ประชุมคณะทำ�งานเพื่อ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อผิดพลาด ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับการกิจกรรม และรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำ�ไป ปรับปรุงใช้ในกิจกรรมครั้งถัดไป
13
14
กิจกรรมที่ 1 “ปักสะดึงกึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” วันที่ 17 มิถุนายน และ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. แนวคิดในการจัดกิจกรรม กิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก การปักผ้าฝ้ายบ้านสันก้างปลา อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเทคนิคการปักผ้าฝ้าย เลียนแบบความสวยงามจากธรรมชาติ ทั้งลายดอกไม้ และนกยูง มาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันเมื่อประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา เมืองเชียงใหม่นิยมสวมใส่ผ้าฝ้ายปักลายเป็นอย่างมาก แต่ในปัจจุบันการปักลายด้วย มือมักไม่ค่อยได้รับความนิยม ผ้าปักลายมักแทนที่ด้วยการปักเครื่องจักร ทำ�ให้มีผู้ที่ทำ�งานปักผ้าด้วยมือลดน้อยลงไป ทางโครง การฯเล็งเห็นถึงความงดงามของการปักผ้าด้วยมือ เป็นงานหัตถกรรมที่มีเสน่ห์ มีแค่ชิ้นเดียวในโลก และสามารถสร้างมูลค่าได้ เป็นอย่างดี 2. จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม 2.1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรื้อพื้นเทคนิคการปักผ้าด้วยมือให้มีความนิยมมากยิ่งขึ้น 2.2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย 2.3. เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals : SDGs) 3. การดำ�เนินงาน 3.1. ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม จากการสำ�รวจพื้นที่งานหัตถกรรมเกี่ยวกับการปักผ้าฝ้ายด้วยมือ ไม่ค่อยได้รับความนิยม ซึ่งปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย การปักด้วยเครื่องจักร ทำ�ให้มีผู้ที่ทำ�งานปักผ้าด้วยมือลดน้อยลง คณะทำ�งานจึงประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นก่อนการจัด กิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” เป็นการรื้อฟื้นเทคนิคการปักผ้าฝ้าย เพื่อสามารถสร้างงานที่มีมูลค่า ทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีและกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง จึงได้วางแผนการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 วัน สำ�หรับกลุ่มสตรีและกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง โดยมีขั้นตอนการรับสมัครดังนี้ ครั้งที่ 1 วันเสาร์ ที่ 17 มิถุนายน 2560 ทางคณะทำ�งานได้มีการประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม“ปักสะดึงกลึง ไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” ผ่านการประชาสัมพันธ์บน facebook เพจของทางโครงการฯ โดยมีเกณฑ์การรับสมัครจาก การลงชื่อบน facebook เพจ มีการจำ�กัดผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 30 ท่านแรก รับสมัครผู้สนใจที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบของ เชียงใหม่ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการปักผ้าฝ้ายด้วยมือ เพื่อสามารถสร้างงานหัตถกรมที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และต่อยอดเป็นอาชีพได้ ครั้งที่ 2 วันเสาร์ ที่ 1 กรกฎาคม 2560 ทางคณะทำ�งานได้ติดต่อ โรงเรียนแม่โถวิทยา อำ�เภออมก๋อย และโรงเรียนปาง ห้วยตาด อำ�เภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ล่าหู่ ซึ่งทางโรงเรียนมีโครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการสอนที่ มุ่งเน้นทักษะอาชีพโรงเรียนในเขตพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร ชายแดน ชายฝั่งทะเล และเกาะแก่ง โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ให้เข้าร่วมกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนจากพื้นที่ราบสูง ที่ต้องการสร้างความ สามารถและสร้างแนวทางอาชีพให้แก่นักเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้เทคนิคการปักผ้าฝ้าย และสามารถผลิตสร้างสรรค์ลวดลาย ในรูปแบบใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง วิทยากร ทางคณะทำ�งานได้ติดต่อวิทยากรจาก “หมอนเข็มสตูดิโอ” ที่มีความสามารถในการปักผ้าด้วยมือและสามารถ ถ่ายทอดวิชาความรู้ได้เป็นอย่างดี และยังใช้ไหมที่ผลิตจากฝ้ายของจังหวัดเชียงใหม่ 19
สถานที่ในการจัดกิจกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20
ขั้นตอนการจัดทำ�คู่มือ “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ”
สามารถดาวน์โหลดเล่ม Booklet ออนไลน์ ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค์ https://goo.gl/f3d4iB
21
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ”
22
3.2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม การจัดกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 60 ท่าน แบ่งเป็น ผู้สนใจที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ราบของเชียงใหม่ 30 ท่าน และนักเรียนโรงเรียนแม่โถวิทยา อำ�เภออมก๋อย และโรงเรียนปางห้วยตาด อำ�เภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ล่าหู่ 30 ท่าน ครั้งที่ 1 วันเสาร์ ที่ 17 มิถุนายน 2560 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 30 ท่านแรก ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมผ่านทาง facebook โดยมีผู้ที่สนใจเป็นกลุ่มสตรีในจังหวัดเชียงใหม่อายุระหว่าง 20- 60 ปี และส่วนใหญ่ไม่มีพื้นฐานทางด้านงานปักผ้า มาก่อน
ภาพบรรยากาศการทำ�กิจกรรม Work Shop “ปักสะดึงกลึงไหม” ในครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 วันเสาร์ ที่ 1 กรกฎาคม 2560 นักเรียนโรงเรียนแม่โถวิทยา อำ�เภออมก๋อย และโรงเรียนปางห้วยตาด อำ�เภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ล่าหู่ จำ�นวน 30 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลาย ด้วยหัวใจ” ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนจากพื้นที่ราบสูง ที่ต้องการสร้างความสามารถและสร้างแนวทางอาชีพให้แก่นักเรียน ได้เรียนรู้ เทคนิคการปักผ้าฝ้าย
ภาพบรรยากาศการทำ�กิจกรรม Work Shop “ปักสะดึงกลึงไหม” ในครั้งที่ 2 โดยกลุ่มนักเรียนจากโรงเรียนแม่โถวิทยา อำ�เภออมก๋อย และโรงเรียนปางห้วยตาด อำ�เภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่
23
3.3 ขั้นตอนหลังการจัดกิจกรรม ผลที่ได้รับ จากการจัดกิจกรรมทั้งสองครั้งทำ�ให้พบว่าผู้สนใจกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 20 - 60 ปี ไม่มีพื้นฐานงานปักผ้ามาก่อน แต่มีความสนใจในงานประเภทนี้ และ นักเรียน โรงเรียนแม่โถวิทยา อำ�เภออมก๋อย และโรงเรียนปางห้วยตาด อำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกลุ่มชาติพันธ์ล่าหู่ อายุ ระหว่าง13- 18 ปี จากการคาดการณ์ของคณะทำ�งานกลุ่มชาติพันธ์ล่าหู่ น่าจะมีพื้นฐานในการปักผ้า แต่กลับพบว่านักเรียน ในช่วงอายุดังกล่าวไม่มีพื้นฐานด้านงานปักผ้ามาก่อน การจัดกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” จึงเป็น แนวทางเลือกในการประกอบอาชีพให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม เพื่อหลีกเลี่ยงการประกอบอาชีพไม่สุจริต เช่น การขาย บริการทางเพศ การค้ายาเสพติดเป็นต้น ตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบ เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง ทั้งนี้ทางโครงการยังได้มีการติดตามผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในลำ�ดับถัดมา และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะถูก นำ�ไปจัดแสดงในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็นการแสดงผลงานและส่งเสริมอาชีพ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ การจัดกิจกรรม “ปักสะดึงกลึงไหม สร้างสรรค์ลายด้วยหัวใจ” มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน แต่ทางโครงการฯ สามารถรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เพียง 60 คน เท่านั้น 24
25
กิจกรรมที่ 2 “เส้น สาย ลาย เทียน” ม้ง ดอยปุย
วันที่ 12 - 13 สิงหาคม 2560 หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหมู่บ้านม้ง ดอยปุย 1. แนวคิดในการจัดกิจกรรม ผ้าเขียนเทียน ใยกัญชง ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง ดอยปุย นั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ม้งเป็นอย่าง มาก คือมีการใช้ผ้าเขียนเทียนใยกัญชงเป็นเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง อาทิ กระเป๋า รองเท้า เป็นต้น เนื่องด้วยกลุ่มชาติพันธ์ม้งมีการปลูกพืชใยกัญชงเป็นจำ�นวนมาก และในอดีตไม่มีการนำ�เส้นใยชนิดอื่นเข้ามาใช้ ในแถบหมู่บ้าน จึงนิยมใช้ใยกัญชงทำ�เป็นเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการใช้ผ้าใยกัญชงนี้อยู่ ผ้า เขียนเทียน ใยกัญชงนี้มีความสำ�คัญและเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง เป็นอย่างมากรวมทั้งในพิธีกรรม หรือประเพณี ต่าง ๆ ของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง ยังมีปรากฏให้เห็น ผู้ที่เตรียมหรือทำ�ผ้าเขียนเทียนส่วนใหญ่จะเป็นลูกสาว หรือ ลูกสะใภ้ของบ้าน เป็นคนรับหน้าที่เตรียมการเครื่องแต่งกาย โดยจะต้องทอผ้าชนิดนี้ไว้ล่วงหน้า ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการดำ�เนินการ ตามความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และประเพณีนี้อยู่สืบไป ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ทำ�ให้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของงานศิลปหัตถกรรม พื้นบ้าน ซึ่งควรค่าแก่การรักษาไว้ให้คนรุ่นต่อๆไปได้ทำ�การศึกษา เรียนรู้ และอนุรักษ์คงสืบไว้ต่อไป ผ้าเขียนเทียน ซึ่งเป็นงาน หัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธ์ม้ง ดอยสุเทพปุย สู่การจัดกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน” เรียนรู้ถึงเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน และ ถ่ายทอดความรู้จากกลุ่มชาติพันธ์ม้งสู่นักออกแบบรุ่นใหม่เพื่อรังสรรค์ผลงานร่วมกัน โดยคณะทำ�งานได้เล็งเห็นความ สำ�คัญของงานหัตถกรรมในกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง เนื่องจากในปัจจุบันงานออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ของท้องตลาด โดย ส่วนมากมักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากรากฐานของงานหัตถกรรมกลุ่มนี้ 2. จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม 2.1. เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรื้อพื้นเทคนิคการเขียนเทียนให้ความนิยมมากยิ่งขึ้น 2.2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัยโดยนักออกแบบรุ่นใหม่ 2.3. เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่บ้านม้งดอยปุย มีสินค้าที่เกิดจากงานหัตถกรรมในชุมชนที่มีการออกแบบ โดยนักออกแบบรุ่นใหม่ 2.4. เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals : SDGs) 3. การดำ�เนินงาน 3.1. ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม จากเดิมกิจกรรมในครั้งที่ 2 คือกิจกรรม “สร้างสรรค์ผลงานจากคลองแม่ข่ากำ�แพงงาม” เนื่องจากคณะทำ�งานลงพื้น ที่สำ�รวจชุมชนมีความจำ�เป็นต้องเปลี่ยนกิจกรรม เป็น “เส้น สาย ลาย เทียน” โดยทำ�การลงพื้นที่ก่อนการจัดกิจกรรมทั้งหมด 5 ครั้งดังนี้
29
ครั้งที่ 1 ชุมชนกำ�แพงงามคณะทำ�งานพบว่ามีการทำ�งานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธ์ อ่าข่า ลีซอ ล่าหู่ และม้ง เพื่อนำ� จัดจำ�หน่ายบริเวณ ไนท์บาซ่า และถนนคนเดินเชียงใหม่ แต่กลับพบว่าในชุมชนกำ�แพงงามมีการใช้วัสดุทดแทนสำ�เร็จรูปที่หา ซื้อจากแหล่งอื่น เช่นการทำ�กระเป๋าผ้าเขียนเทียน ผู้ที่ผลิตชิ้นงานจะใช้ผ้าเขียนเทียนที่เป็นลายสกรีน หรือเป็นผ้าปั๊มลายเทียน และเมื่อสอบถามคนในชุมชนกำ�แพงงามจึงพบว่าผ้าเขียนเทียนนั้นยังสามารถผลิตได้ แต่จะผลิตในชุมชนบ้านม้งดอยปุย ตำ�บล สุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กอปรกับพื้นที่บ้านม้งดอยปุยเป็นขอบเขตพื้นที่ในการผลักดันเมืองเชียงใหม่สู่เมืองมรดก โลก ทางคณะทำ�งานจึงระดมความคิดเห็นลงพื้นที่สำ�รวจงานหัตถกรรมชุมชนบ้านม้งดอยปุย
ครั้งที่ 2 คณะทำ�งานลงพื้นที่สำ�รวจพื้นที่งานหัตถกรรมผ้าเขียนเทียนม้ง บ้านม้งดอยปุย พบว่ามีผู้ที่สามารถทำ�งาน หัตถกรรมผ้าเขียนเทียนอยู่ 3 ท่าน ทั้ง 3 ท่านเป็นผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และไม่มีผู้สืบทอดที่สามารถทำ�งานหัตถกรรมนี้
30
ครั้งที่ 3 คณะทำ�งานลงพื้นที่หัตถกรรมผ้าเขียนเทียนม้ง บ้านม้งดอยปุย เก็บข้อมูลงานหัตถกรรมเพื่อจัดทำ�สูจิบัตรงาน ทำ�คลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม
31
หลังจากการลงพื้นที่หมู่บ้านม้งดอยปุยพบว่าในปัจจุบันสินค้าที่จัดจำ�หน่ายอยู่เป็นสินค้าที่หาได้ทั่วไปในเชียงใหม่ ขาด ความเป็นเอกลักษณ์และขาดการเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และขาดการนำ�เสนออัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมชาวม้งไม่ ถูกเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว คณะทำ�งานจึงประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นก่อนการจัดกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน” เป็นการรื้อฟื้นเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน เพื่อสามารถสร้างงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ที่ สนใจ กลุ่มชาติพันธ์บนพื้นที่สูง และนักออกแบบรุ่นใหม่ จึงได้วางแผนการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 วัน ดังนี้ วันที่ 1 วันเสาร์ ที่ 12 สิงหาคม 2560 เป็นกิจกรรมแบบเปิดจัดขึ้นที่หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ สำ�หรับผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการรื้อพื้นเทคนิคการเขียนเทียนให้ความนิยมมาก ยิ่งขึ้น ใน ช่วงเช้า จัดการเสวนาหัวข้อ 1.ผ้าและคุณค่าของงานหัตถกรรมกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศไทย 2. เศรษฐกิจ ความเป็น มาและความสำ�คัญของผ้าเขียนเทียนในชุมชนบ้านม้งดอยปุย 3.เทคนิค วัสดุ และการสืบทอดการทำ�ผ้าเขียนเทียนบ้านม้งดอย ปุย 4.การต่อยอด งานหัตถกรรมสู่การรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยนักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นถึงที่มาของงานหัตถกรรม ความสำ�คัญ และแนวทางในการนำ�งานหัตถกรรมมาสร้างมูลค่า ช่วงบ่าย เชิญวิทยากรจากบ้านม้งดอยปุยเพื่อสาธิตเทคนิคการ ทำ�ผ้าเขียนเทียน เชิญวิทยากรผู้ชำ�นาญการย้อมผ้าด้วยครามเพื่อสาธิตเทคนิคการย้อมผ้าซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคการทำ�ผ้าเขียน เทียน และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิคระหว่างผู้ทำ�งานหัตถกรรมผ้าเขียนเทียนกับผู้ทำ�งานหัตถกรรมย้อมผ้าด้วยคราม เพื่อ ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุม ทุกพื้นที่ และสร้างพันธมิตรและความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 2 วันอาทิตย์ ที่ 13 สิงหาคม 2560 คณะทำ�งานติดต่อนักศึกษาจากสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่จะสามารถ พัฒนางานหัตถกรรมได้ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ช่วงเช้า นักออกแบบรุ่นใหม่จะแบ่งกลุ่มไปเรียนรู้เทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน ของชาติพันธ์ม้งดอยปุย เพื่อให้นักออกแบบรุ่นใหม่มีความสามารถในการผลิตงานหัตถกรรมในเบื้องต้นและเข้าถึงและเข้าใจ วิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างถ่องแท้ ช่วงบ่าย นักออกแบบรุ่นใหม่จะได้เดินชมชุมชนบ้านม้งดอยปุยให้เข้าใจถึงสถานที่ สภาพ เศรษฐกิจ การจำ�หน่ายของที่ระลึกและงานหัตถกรรมในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบงานหัตถกรรมที่สามารถ นำ�ไปใช้ในการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น เป็นการฝึกความสามารถของนักออกแบบรุ่น ใหม่ และเป็นการสร้างความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการทำ�งานของนักออกแบบรุ่นใหม่ให้หันกลับมามองงานหัตถกรรมที่ เป็นรากเหง้าของเมืองเชียงใหม่ สร้างสรรค์เป็นผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ สถานที่ในการจัดกิจกรรม หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหมู่บ้านม้งดอยปุย
วิทยากร 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เธียรชาย อักษรดิษฐ์ อาจารย์ประจำ�ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ เสวนาเรื่องผ้าและคุณค่าของงานหัตถกรรมกลุ่มชาติ พันธ์ในประเทศไทย
32
2. พ่อหลวงไตรภพ แซ่ย่าง เสวนาเรื่อง เศรษฐกิจ ความเป็นมาและความสำ�คัญของผ้าเขียนเทียนในชุมชนบ้านม้ง ดอยปุย
3. เทคนิค วัสดุ และการสืบทอดการทำ�ผ้าเขียนเทียนบ้านม้งดอยปุย สาธิตเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียนในวันเสาร์ ที่ 12 สิงหาคม 2560 และ วัน อาทิตย์ ที่ 13 สิงหาคม 2560
4. ธนากร สุธีรศักดิ์ นักออกแบบรุ่นใหม่ เสวนาเรื่อง การต่อยอด งานหัตถกรรมสู่การรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่โดยนัก ออกแบบรุ่นใหม่
5. ธีรพงษ์ พวงดอกไม้ ผู้ทำ�งานหัตถกรรมย้อมผ้าด้วย คราม
33
ขั้นตอนการจัดทำ�คู่มือ “เส้น สาย ลาย เทียน”
สามารถดาวน์โหลดเล่ม Booklet ออนไลน์ ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค์ https://goo.gl/w9ghFA
34
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม “เส้น สาย ลายเทียน”
35
คลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม “เส้น สาย ลายเทียน”
รับชมคลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน” ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค https://goo.gl/iYmRM7
36
3.2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
ภาพบรรยากาศการทำ�กิจกรรม Work Shop “เส้น สาย ลายเทียน” โดยได้รับการบรรยายจาก ผศ.เธียร ชาย อักษรดิษฐ์ ในหัวข้อความรู้และประวัติศาสตร์ผ้าบาติก และได้รับเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาติพันธ์ุม้งจากพ่ อ หลวงไตรภพ แซ่ย่าง อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านม้งดอยปุย และ แนวคิดในการสร้างสรรค์งานจากนักออกแบบรุ่นใหม่
37
ภาพบรรยากาศการทำ�กิจกรรม Work Shop “เส้น สาย ลายเทียน” ในวันที่ 1
ภาพบรรยากาศการทำ�กิจกรรม Work Shop “เส้น สาย ลายเทียน” ในวันที่ 2 ณ หมู่บ้านม้งดอยปุย 38
การจัดกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน” ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 97 ท่านแบ่งเป็นผู้สนใจทั่วไปเข้าอบรมวัน เสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2560 79 ท่าน และนักออกแบบรุ่นใหม่ วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2560 18 ท่าน วันที่ 1 วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2560 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 79 ท่าน ที่เป็นผู้สนใจทั่วไปที่ได้รับข่าวประชาสัมพันธ์ และมาเข้าร่วมกิจกรรม ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 2 วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม 2560 กลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ 18 ท่าน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเรียนรู้และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ณ บ้านม้งดอยปุย ตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
39
วิดีโอภาพรวมกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน”
รับชมคลิปวิดีโอภาพบรรยากาศกิจกรรม “เส้น สาย ลาย เทียน” ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค https://goo.gl/RGN28u
40
กิจกรรม เส้น สาย ลาย เทียน สู่แนวทางการพัฒนา เพื่อส่งเสริมงานหัตถกรรมผ้าเขียนเทียนกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ดอยปุย ผ้าเขียนเทียนของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ดอยปุย ถือเป็นสิ่ง ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งเป็นอย่าง มาก โดยในอดีตมีการผลิตเพื่อเป็นสิ่งใช้สอยภายในครัวเรือน ในทุกครัวเรือน แต่ในปัจจุบันนี้บนพื้นที่ดอยปุยนั้นคงเหลือผู้ สร้างสรรค์งานหัตถกรรมการเขียนลวดลายบนผ้าด้วยเทียนนี้ เพียงแค่ 4 คน และในปัจจุบันได้มีการผลิตเพื่อจำ�หน่ายเป็น สินค้าที่ระลึกให้แก่ผู้ที่สนใจ แต่เนื่องด้วยผ้าเขียนเทียนของ กลุ่มชาติพันธุ์ม้งนั้น ถือเป็นงานหัตถกรรมที่มีความประณีตใน กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนใช้ระยะเวลาในการผลิตยาวนานพอ สมควร จึงทำ�ให้ราคาในการจำ�หน่ายนั้น มีราคาที่ค่อนข้างสูง ประกอบกับรูปแบบในการผลิต ที่ยังคงมีการผลิตในรูปแบบ ดั้งเดิม โดยการเขียนลวดลายด้วยเทียนลงบนผ้าที่มีความยาว ตลอดผืนผ้าในความยาว 4 เมตร เพื่อนำ�มาตัดเย็บเป็นกระโปรง ของสตรีชาวม้ง จึงทำ�ให้ผลตอบรับของการตลาดในด้านนี้ไม่ เป็นที่นิยมมากนัก แต่ปัจจุบันได้มีการผลิตผ้าเขียนเทียนขึ้นมา ใหม่โดยมีการใช้กรรมวิธีในรูปแบบของการพิมพ์ลวดลายเข้ามา เป็นตัวสร้างลวดลาย และการสกรีนลวดลาย ซึ่งล้วนได้รับความ นิยมเป็นอย่างมาก แต่ก็ส่งผลให้ผ้าเขียนลวดลายด้วยเทียน โดยใช้กรรมวิธีในการเขียนแบบอดีตนั้นถูกลืมและจางหายไปไม่ เป็นที่รู้จัก ซึ่งถือเป็นการลดทอนความเป็นเอกลักษณ์และอัต ลักษณ์ของงานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งให้หายสาบสูญ ไปได้ในภายภาคหน้า ซึ่งทางโครงการขับเคลื่อน เมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านโครงการ ได้เล็งเห็นถึงจุดเด่นที่มี ความเป็นเอกลักษณ์อันสวยงามและประณีตของงานหัตถกรรม ชนิดนี้ จึงได้มีการทำ�การลงพื้นที่ศึกษา การจัดกิจกรรมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนางานหัตถกรรมชนิดนี้ให้คงอยู่ สืบไป โดยได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นใน กิจกรรมครั้งที่ 2 โดยใช้ชื่อ กิจกรรมว่า “เส้น สาย ลาย เทียน” ม้ง ดอยปุย ซึ่งจัดกิจกรรม ขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2560 ณ หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหมู่บ้านม้งดอยปุย
41
โดยในวันที่ 1 ได้มีการจัดกิจกรรมแบบเปิดให้ สำ�หรับ ผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้าร่วมกิจกรรมั่วไป เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ เกิดการรื้อพื้นและเผยแพร่เทคนิคการเขียนเทียนให้เป็นที่รู้จัก มากยิ่งขึ้น โดยในช่วงเช้ามีการจัดการเสวนาให้ความรู้และ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ 1.ผ้าและคุณค่าของงาน หัตถกรรมกลุ่มชาติพันธ์ในประเทศไทย 2.เศรษฐกิจ ความ เป็นมาและความสำ�คัญของผ้าเขียนเทียนในชุมชนบ้านม้งดอย ปุย 3.เทคนิค วัสดุ และการสืบทอดการทำ�ผ้าเขียนเทียนบ้านม้ งดอยปุย 4.การต่อยอด งานหัตถกรรมสู่การรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ ใหม่โดยนักออกแบบรุ่นใหม่ เพื่อให้เห็นถึงที่มาของงาน หัตถกรรม ความสำ�คัญ และแนวทางในการนำ�งานหัตถกรรม มาสร้างมูลค่า และในช่วงบ่ายได้รับเชิญวิทยากรจากบ้านม้ง ดอยปุย เพื่อสาธิตเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน เชิญวิทยากร ผู้ชำ�นาญการย้อมผ้าด้วยครามเพื่อสาธิตเทคนิคการย้อมผ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียน และเพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนเทคนิคระหว่างผู้ทำ�งานหัตถกรรมผ้าเขียนเทียน กับผู้ทำ�งานหัตถกรรมย้อมผ้า ด้วยคราม เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิด อาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และ สร้างพันธมิตรและความร่วมมือในการพัฒนาที่ยั่งยืน และในวันที่ 2 คณะทำ�งานได้นำ�นักศึกษาจาก สาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ซึ่งเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่จะสามารถพัฒนางาน หัตถกรรมได้ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โดยในช่วงเช้านักออกแบบ รุ่นใหม่จะแบ่งกลุ่มไปเรียนรู้เทคนิคการทำ�ผ้าเขียนเทียนของชา ติพันธุ์ม้ง ดอยปุย เพื่อให้นักออกแบบรุ่นใหม่มีความสามารถ ในการผลิตงานหัตถกรรมในเบื้องต้นและเข้าถึงและเข้าใจวิถี ชีวิตของคนในชุมชนอย่างถ่องแท้ และในช่วงบ่ายนักออกแบบ รุ่นใหม่จะได้เดินชมชุมชนบ้านม้งดอยปุยให้เข้าใจถึงสถานที่ สภาพเศรษฐกิจ การจำ�หน่ายของที่ระลึกและงานหัตถกรรมใน พื้นที่ เพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบงานหัตถกรรม ที่สามารถนำ�ไปใช้ในการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ความเป็น อยู่ของคนในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น เป็นการฝึกความสามารถของนัก ออกแบบรุ่นใหม่ และเป็นการสร้างความเข้าใจ และแรงบันดาล ใจในการทำ�งานของนักออกแบบรุ่นใหม่ให้หันกลับมามองงาน หัตถกรรมที่เป็นรากเหง้าของเมืองเชียงใหม่ สร้างสรรค์เป็นผล งานที่เป็นเอกลักษณ์ 42
จากผลของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากชุนชนชาติพันธุ์ม้ง หมู่บ้านม้ง ดอยปุย, กลุ่มนักศึกษา จากสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้าน นา ตลอดจนโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้าน ประสานความร่วมมือกันทั้งทางด้านแนวคิด การผลิต และรูปแบบการนำ�เสนอ โดยหลังจากได้มีการจัดกิจกรรมขึ้น แล้วนั้น ทางกลุ่มนักศึกษาจากสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ทำ�การร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นแนวทางที่สามารถนำ�มาต่อยอดและสามารถผลิตได้ จริงโดยใช้รากฐานจากการผลิตด้วยผ้าเขียนเทียนของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ดอยปุย และได้มีการนำ�กลับขึ้นไปให้กลุ่มชุมชนบนหมู่ บ้านม้ง ดอยปุย เป็นผู้ผลิต โดยมีการจัดทำ�ตัวอย่างชิ้นงานออกมาเป็น กระเป๋า หมวก สายสะพายกล้องถ่ายรูป สายคล้องแว่น กันแดด เข็มกลัด และพวงกุญแจ ซึ่งจัดทำ�ขึ้นมาเป็นตัวอย่างของชิ้นงานเพื่อเป็นแบบอย่างในการผลิตต่อไป โดยทางโครงการ ขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ได้ทำ�การเป็น คนประสานงานและสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ�ชิ้นงาน และได้มีการนำ�ชิ้นงานมาจัดแสดง Showcase ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ณ ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เป็นระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 โดยตลอด ระยะเวลาที่จัดแสดงผลงานนั้นได้รับการตอบรับและความสนใจจากเหล่านักท่องเที่ยวและผู้เข้าร่วมงานเป็นจำ�นวนมาก ซึ่ง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำ�เร็จในการต่อยอดของผลิตภัณฑ์จากรากฐานของงานหัตถกรรมที่เมื่อมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน รูปแบบเพื่อให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ต่อกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ รูปแบบงานหัตถกรรมชนิดนี้ก็สามารถเข้าถึงและ เป็นที่ยอมรับได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ จาก นักศึกษาสาขาวิชาสิ่งทอและเครื่องประดับ คณะ ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
43
ตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์จากงานหัตถกรรม ผ้าเขียนเทียน กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ดอยปุย
44
45
47
กิจกรรมที่ 3 ถักรักจากลีซอ
วันที่ 23 - 24 กันยายน 2560 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1. แนวคิดในการจัดกิจกรรม ลีซอ ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แต่งกายมีสีสันสดใสและหลากสีมากที่สุดในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด ความกล้า ในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระจนสะท้อนออกมาให้เห็นจากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงของเครื่องแต่งกาย ปัจจุบันคน ภายนอกมักเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่า “ลีซอ” แต่คนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันกลับมักเรียกตนเองว่า “ลีซู” คำ�ว่า “ลี” มาจาก “อิ๊ หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน” มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง โดยกิจกรรมนี้ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา เทคนิค การนำ�เชือกลีซอไปใช้ เพื่อพัฒนาสู่การผลิตผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ทรงส่งเสริมให้ราษฎรที่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ด้วยการทำ�งานหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ซึ่งพระองค์ท่านทรงรับซื้อและนำ�มาจัดจำ�หน่ายผ่านมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ หนึ่งในนั้นคือ “เชือก ลีซอ” ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ ที่ใช้ประดับบนเครื่องแต่งกายประจำ� ชนเผ่านั่นเอง และด้วยสายพระเนตร อันยาวไกลที่ทอดพระเนตรเห็นถึงคุณค่า และความสวยงามของงานเชือกลีซอที่สีสดใส จึงมีพระราชดำ�ริให้ชาวไทยภูเขาผลิต เชือกลีซอนี้ เพื่อเป็นรายได้เสริมในยามว่างเว้นหลังทำ�การเกษตรกรรม เริ่มแรกทรงนำ�เชือกลีซอมาประดับตกแต่งของขวัญ พระราชทาน เพื่อพระราชทานให้เป็นที่ระลึกแก่พระราชอาคันตุกะ ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปเริ่มรู้จักเชือกลีซอมากยิ่งขึ้น และ ด้วยสีสันที่สดใสและฉูดฉาดของเชือกลีซอ จึงทำ�ให้เชือกลีซอได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน ฉะนั้น ทางคณะทำ�งานได้เล็งเห็น ถึงความสำ�คัญงานหัตถกรรมของชาวเขาเผ่าลีซอที่เป็นจุดเด่น คือ “เชือกถัก” จึงได้จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องของการ ทำ�เชือกถักลีซอ เพื่อสามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย เรียนรู้ถึงวิถีชีวิต ชาติพันธุ์กับงานหัตถกรรมของ ลีซอ เพื่อรักษาทุนทางวัฒนธรรมที่ยังอยู่ 2. จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม 2.1. เพื่อให้สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของงานหัตถกรรมในท้องถิ่นของตนเอง 2.2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย 2.3. เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals : SDGs) 3. การดำ�เนินงาน 3.1. ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม หลังจากการประชุมระดมความคิดและวางแผนขั้นตอนการทำ�งานของคณะทำ�งาน ทางคณะทำ�งานได้ติดต่อประสาน งานกับทางพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ราษฎรบนพื้นที่สูง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ เพื่อสืบค้นข้อมูลงานหัตถกรรมกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่าในเขตอำ�เภอแม่แตง มีกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอเข้าไปตั้งถิ่นฐานและทำ�มา หากินอยู่เป็นจำ�นวนมาก อีกทั้งยังมีงานหัตถกรรมที่พบอยู่หลากหลายประเภท เช่น ถุงย่าม กระเป๋าผ้า เชือกลีซอ เป็นต้น การ ลงพื้นที่ของคณะทำ�งานแบ่งเป็น 2 ครั้ง ได้แก่
49
ครั้งที่ 1 คณะทำ�งานลงพื้นที่ บ้านศรีดงเย็น อำ�เภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสำ�รวจข้อมูลเชิงลึกและนำ�ข้อมูลมาจัด ทำ�คู่มือ และการทำ�คลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม พร้อมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างคณะทำ�งานกับ ชุมชนหัตถกรรมนำ�ไปสู่การเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับบุคคลทั่วไป
50
ครั้งที่ 2 คณะทำ�งานลงพื้นที่เพื่อประสานงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องจากทางพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมีความสามารถในการ ประยุกต์งานหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มมูลค่าได้เป็นอย่างดีเช่น กระเป๋าผ้าไหมมัดหมี่ เครื่องประดับจากเชือกลีซอเป็นต้น เพื่อ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัยตามวัตถุประสงค์ทางคณะทำ�งานจึงได้เชิญ วิทยากรจากพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมาให้ความรู้เรื่องการพประยุกต์ใช้เชือกลีซอในการทำ� เครื่องประดับตามวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมงาน ตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิด อาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศ หญิง
51
เพื่อให้กิจกรรมสามารถสร้างงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรีและกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่ สูง จึงได้วางแผนการจัดกิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 วัน สำ�หรับกลุ่มผู้สนใจและกลุ่มนักเรียนบนพื้นที่สูง โดยมีขั้นตอนการรับสมัคร ดังนี้ วันที่ 1 วันเสาร์ ที่ 23 กันยายน 2560 ทางคณะทำ�งานได้มีการประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม“ถักรักจากลีซอ” ผ่านการประชาสัมพันธ์บน facebook เพจของทางโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 จึงใช้ใบสมัครเล็ก ทรอนิคทาง Google Form โดยมีการกรอกใบสมัครแล้วผู้ที่จะได้รับการเข้าร่วมกิจกรรม 30 ม่านต้องผ่านการคัดเลือกโดย ต้องกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน และทางคณะทำ�งานได้เล็งเห็นว่าผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต้องมีความต้องการและมีการนำ�ไป ใช้ประโยชน์จริงจึงให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเขียนรายละเอียดความสนใจในการต้องการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อเป็นข้อมูลและการ คัดเลือกบุคคลที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วย และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ทางคณะทำ�งานได้เปิดช่องทางติดต่อ ประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มอีก 1 ช่องทางได้แก่ Line@ จึงนำ�มาใช้ในการรับคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมตามกติกาข้างต้นด้วย
วันที่ 2 วันอาทิตย์ ที่ 24 กันยายน 2560 ทางคณะทำ�งานได้รับความอนุเคราะห์จากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ในการติดต่อนักเรียนจากการศึกษานอกโรงเรียนในเขตพื้นที่ดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์ลีซอจากอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครง การฯที่ต้องการสร้างความสามารถและสร้างแนวทางอาชีพให้แก่นักเรียนได้เข้าร่วมเรียนรู้เทคนิคการเย็บเชือกลีซอ และการนำ� มาสร้างสรรค์เป็นงานหัตถกรรมร่มสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง สถานที่ในการจัดกิจกรรม หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
52
ขั้นตอนการจัดทำ�คู่มือ “ถักรักจากลีซอ”
สามารถดาวน์โหลดเล่ม Booklet ออนไลน์ ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค์ https://goo.gl/4puQaw
53
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม “ถักรักจากลีซอ”
54
วิทยากร
1. คุณ ศรีบุญ ศรีสาโด เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาราษฎร บนพื้นที่ราบสูงจังหวัดเชียงใหม่ เขตห้วยตาด อำ�เภอแม่แตง
2. คุณอะเลมา เลายีปา ตัวแทนชุมชนลีซอบ้านศรีดงเย็น
3. คุณป้าอาหมีมะ แซ่ย่าง ตัวแทนชุมชนลีซอบ้านศรีดงเย็น
55
4. คุณพลอยไพลิน เทพพงษ์ เจ้าหน้าที่ทะเบียน พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
5. คุณศาสตรัตน์ มัดดิน เจ้าหน้าที่ภัณฑรักษ์ พ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
6. คุณอาจรีย์ จุลาสัย เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรม พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
56
คลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ”
รับชมคลิปวิดีโอโปรโมทกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ” ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค https://goo.gl/vHN4id
57
3.2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (Production) การจัดกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ” ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 60 ท่าน แบ่งเป็นผู้สนใจทั่วไปในจังหวัดเชียงใหม่ 30 ท่าน และชาวบ้านชาติพันธุ์ลีซอ จากอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 30 ท่าน วันที่ 1 วันเสาร์ ที่ 23 กันยายน 2560 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 30 ท่านแรก ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการคัด เลือกจากการเขียนบทความโดยมีผู้ที่สนใจเป็นกลุ่มสตรีในจังหวัดเชียงใหม่อายุระหว่าง 24 - 53 ปี และไม่มีใครที่มีพื้นฐานใน การเย็บเชือกลีซอ และการประยุกต์ใช้เชือกลีซอมาก่อน
58
วันที่ 2 วันเสาร์ ที่ 24 กันยายน 2560 นักเรียนจากการศึกษานอกโรงเรียนในเขตพื้นที่ดูแลขององค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอจากอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 30 ท่าน ช่วงอายุตั้งแต่ อายุ 13 ปี จนถึง 50 ปี
59
วิดีโอภาพรวมกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ”
รับชมคลิปวิดีโอภาพบรรยากาศกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ”” ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค https://goo.gl/M3Fd2q
60
3.3 ขั้นตอนหลังการจัดกิจกรรม (Post-Production) ผลที่ได้รับ จากการจัดกิจกรรม“ถักรักจากลีซอ” วันที่ 1 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน 30 ท่าน ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ที่ผ่านการคัดเลือกจากการเขียนบทความโดยมีผู้ที่สนใจเป็นกลุ่มสตรีในจังหวัดเชียงใหม่อายุระหว่าง 24 - 53 ปี และไม่มีใครที่ มีพื้นฐานในการเย็บเชือกลีซอ และการประยุกต์ใช้เชือกลีซอมาก่อนแต่มีความสนใจในการทำ�งานหัตถกรรมประเภทนี้ ซึ่งมีทั้ง เจ้าของกิจการที่ทำ�งานหัตถกรรมเพื่อที่ต้องการนำ�ไปประยุกต์ใช้กับงานของตนเอง ครูผู้สอนงานคหกรรม ปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่ง ทำ�ให้เห็นได้ว่าการจัดงานในครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมหลากหลายอาชีพซึ่งแต่ละท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ตระหนักถึงคุณค่าของ งานหัตถกรรม และจะสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้จริง ตัวอย่างความสนใจในการต้องการเข้าร่วมกิจกรรม
“อยากได้ความรู้ทักษะการถักแบบลีซอ เพื่อนำ�ไปพัฒนาฝีมือหรือ นำ�ไปต่อยอดไอเดียประดิษฐ์ของใช้ให้เหมาะกับยุคสมัยมากขึ้น” “มีความสนใจในงานแฮนเมคโดยเฉพาะงานปักและงานถัก จึงมีความสนใจและคิดว่าจะสามารถ นำ�ไปใช้ประโยชน์ในงานได้ และสืบทอดงานพื้นบ้านแก่เด็กๆด้วยค่ะ อีกเหตุผลหนึ่งคือ ดิฉันเป็นปราชญ์ชุมชนด้วย จึงอยากหาความรู้เพิ่มเติม เพราะมักจะมีโครงการที่เป็นวิทยากร ให้แก่ชุมชนเป็นประจำ�ค่ะเป็นโครงการที่ดีค่ะ คิดว่าจะสามารถนำ�ไปถ่ายทอดได้ค่ะ”
“ชอบงานถักซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ต้องใช้สติและสมาธิในการทำ�
ในส่วนตัวเป็นคนที่ชอบงานแบบนี้อยู่แล้วและทุกวันก็ยังถักเชือกเทียนอยู่ค่ะ อยากได้รับการต่อยอดและนำ�ไปแบ่งปันความรู้ให้กับชุมชนและคนที่สนใจงานแบบนี้ค่ะ”
“อยากนำ�ความรู้เรื่องการถักเชือกของชนเผ่าลีซอไปใช้ร่วมกับงานฝีมือในแบบอื่นๆ เพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ และเกิดการผสมผสานในมิติใหม่ๆด้วยค่ะ” จากการจัดกิจกรรม“ถักรักจากลีซอ” ในวันที่ 2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักเรียนจากการศึกษานอกโรงเรียนในเขตพื้นที่ ดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอจากอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลากหลายช่วง อายุตั้งแต่ อายุ 13 ปี ไปจนถึง 50 ปี ซึ่งจำ�นวนครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี ไม่เคยทำ�งานหัตถกรรมเชือกลีซอมา ก่อน แต่พบว่า ผู้ที่มีอายุ 30-50 ปี เคยทำ�เชือกลีซอ ทั้งทำ�ใช้เอง และทำ�ส่งตลาดทำ�ให้กลุ่มที่ 2 มีความชำ�นาญในการเย็บเป็น อย่างมาก และจากการสอบถามกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอจากอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไม่เคยประยุกต์ใช้งานหัตถกรรมชนิด นี้ในการผลิตชิ้นงานอื่นเลย จึงเป็นความแปลกใหม่ที่ ทุกคนจากจากการศึกษานอกโรงเรียน อำ�เภอเชียงดาว ในเขตพื้นที่ดูแล ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้เรียนรู้และจะสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้เนื่องจากพื้นที่อำ�เภอเชียงดาว เป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม แต่ไม่ได้มีการทำ�งานหัตถกรรมออกมาจำ�หน่ายเป็นของที่ระลึก จึงเป็นการตอบโจทย์แนวคิดการ พัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอ ภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง ได้เป็นอย่างดี
61
ความประทับใจหลังจากการจัดกิจกรรม “เป็นกิจกรรมที่ดีค่ะ ชาวบ้าน เด็ก รู้สึกสนุกสนานในการทำ�กิจกรรมในวันนี้ ซึ่งกิจกรรมวันนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ นะคะเพราะชุมชนของครูเป็นแหล่งท่องเที่ยว และนี่ก็เป็นงานหัตถกรรมรูปแบบใหม่ที่ชุมชนยังไม่ได้ทำ�ค่ะ คิดว่าน่าจะจำ�หน่าย ในชุมชนเราได้ค่ะ” ครูประจำ�การศึกษานอกโรงเรียนอำ�เภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ทางโครงการยังได้มีการติดตามผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในลำ�ดับถัดมา และผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจะถูก นำ�ไปจัดแสดงในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็นการแสดงผลงานและส่งเสริมอาชีพ ให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
62
กิจกรรม ถักรักจากลีซอ สู่แนวทางการพัฒนา เพื่อส่งเสริมงานหัตถกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซู หางลีซอ ถือเป็นส่วนหนึ่งประกอบเครื่องแต่งกาย ของชนเผ่าลีซอ ใช้เป็นสิ่งแสดงเอกลักษณ์ประกอบชุดการ แต่งกายประจำ�เผ่าที่โดดเด่น ซึ่งจะสวมใส่กันเฉพาะในโอกาส พิเศษ หรือพิธีกรรมที่สำ�คัญๆ โดยหญิงชาวลีซอจะนำ�หาง ลีซอนับเป็นร้อยๆ เส้นนี้ ห้อยประดับไว้ที่เอวบริเวณด้านหลัง ของกางเกง ส่วนผู้ชายชาวลีซอจะนำ�หางลีซอมาห้อยเอวติด ไว้ด้านหน้าของกางเกง เชือกลีซอจึงสะท้อนถึงเอกลักษณ์การ แต่งกายประจำ�เผ่าของชาวลีซอที่โดดเด่นและมีความชัดเจน เชือกลีซอ จึงเป็นสิ่งจำ�เป็นและผูกพันในวัฒนธรรมการแต่ง กายประจำ�เผ่าลีซอที่มีมาช้านาน ผู้หญิงชาวลีซอเมื่ออายุ ประมาณ 7-8 ปี จะต้องเริ่มเรียนรู้และฝึกฝนการเย็บเชือก ลีซอจากผู้เป็นแม่ซึ่งเป็นผู้สอนหรือถ่ายทอด การเย็บเชือกลีซอ เป็นการเย็บด้วยมือ ใช้เทคนิคการเย็บหุ้มชายผ้าสีที่ตัดเป็น ริ้วเล็กๆ ทั้งสองด้านให้ปิดเส้นด้ายสีขาวที่เย็บเป็นไส้ไก่ขนาด เล็กๆ อยู่ด้านในให้มิดจนสนิทแน่นจนมองไม่เห็นเส้นด้ายสี ขาวด้านในนั้น และมองไม่เห็นรอยฝีเข็มที่ใช้ในการเย็บด้วย ฝี เข็มในการเย็บตลอดเส้นต้องถี่และละเอียดที่สุดจึงจะได้เชือก ลีซอที่สมบูรณ์และสวยงาม เทคนิคการเย็บเชือกลีซอจึงถือได้ ว่าผู้เย็บต้องใช้ทักษะฝีมือมาก เพราะกว่าจะเย็บได้แต่ละเส้น ต้องใช้ทั้งทักษะ ความชำ�นาญ และสายตาของผู้เย็บ และนี่ก็ คือความสามารถของหญิงชาวเผ่าลีซอที่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า เส้นยาวๆ ที่เรียกกันว่าเชือกลีซอ หลากหลายสีสันที่สวยงาม นี้ เป็นงานที่ใช้เย็บด้วยฝีมือโดยปราศจากการใช้เครื่องมืออุ ปกรณ์ใดๆ ช่วยทั้งสิ้น ซึ่งในครั้งนี้ทางโครงการขับเคลื่อนเมือง เชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านโครงการ ร่วมกับทาง พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (QUEEN SIRIKIT MUSEUM OF TEXTILES) ได้จัดกิจกรรม ครั้งที่ 3 นี้ขึ้นภายใต้ชื่อ “ถักรักจากลีซอ” โดยกิจกรรมนี้ เป็นการให้ผู้เข้าร่วมอบรมเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมา เทคนิค ของการเย็บเชือกลีซอที่เปรียบเป็นงานหัตถกรรมฝีมือของกลุ่ม ชาติพันธุ์ลีซู และการนำ�เชือกลีซอไปต่อยอดเพื่อพัฒนาสู่การ ผลิตผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน โดยมีการแบ่ง การจัดกิจกรรมออกเป็น 2 วัน คือในวันที่ 23-24 กันยายน 2560 ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 63
โดยในวันแรกของการจัดกิจกรรม วันเสาร์ ที่ 23 กันยายน 2560 ทางคณะทำ�งานได้มีการประชาสัมพันธ์ผู้ เข้าร่วมกิจกรรม “ถักรักจากลีซอ” ผ่านการประชาสัมพันธ์ บน facebook เพจของทางโครงการฯ เพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย Thailand 4.0 จึงใช้ใบสมัครเล็กทรอนิคทาง Google Form โดยมีการกรอกใบสมัครแล้วผู้ที่จะได้รับการเข้า ร่วมกิจกรรม 30 ม่านต้องผ่านการคัดเลือกโดยต้องกรอกราย ละเอียดให้ครบถ้วน และทางคณะทำ�งานได้เล็งเห็นว่าผู้ที่จะเข้า ร่วมกิจกรรมต้องมีความต้องการและมีการนำ�ไปใช้ประโยชน์ จริ ง จึ ง ให้ ผู้ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมเขี ย นรายละเอี ย ดความสนใจใน การต้องการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อเป็นข้อมูลและการคัด เลือกบุคคลที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วย และเพื่อให้สอดคล้องกับ นโยบาย Thailand 4.0 ทางคณะทำ�งานได้เปิดช่องทางติดต่อ ประชาสัมพันธ์โครงการเพิ่มอีก 1 ช่องทางได้แก่ Line@ จึง นำ�มาใช้ในการรับคัดเลือกบุคคลเข้าร่วมตามกติกาข้างต้นด้วย
และในวันที่ 2 ของการจัดกิจกรรมวันอาทิตย์ ที่ 24 กันยายน 2560 ทางคณะทำ�งานได้รับความอนุเคราะห์จาก ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการติดต่อนักเรียน จากการศึกษานอกโรงเรียนในเขตพื้นที่ดูแลขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ จากอำ�เภอ เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เข้ารับการอบรมในครั้งนี้ โดย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯที่ต้องการสร้าง ความสามารถและสร้างแนวทางอาชีพให้แก่นักเรียนได้เข้าร่วม เรียนรู้เทคนิคการเย็บเชือกลีซอ และการนำ� มาสร้างสรรค์เป็น งานหัตถกรรมร่มสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDG) โดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบ เศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างความเสมอ ภาคทางเพศและส่งเสริมความสามารถของเพศหญิง โดยใน การจัดกิจกรรมในวันที่ 2 ได้เน้นถึงการให้คุณค่า และการผลัก ดันเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ โดยจากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 คนในครั้งนี้ ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีเชื้อชาติเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ลีซอโดยแท้ แต่กลับไม่ทราบถึงจุดเด่น และละเลยความเป็น เอกลักษณ์ของตนไป โดยจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีหลากหลาย ในกลุ่มช่วงอายุตั้งแต่ 15-40 ปี ซึ่งมีจำ�นวนเพียงน้อยคนที่ สามารถเย็บเชือกลีซอได้ และเข้าใจในหัตถกรรมของตนเอง 64
โดยหลังจากหารจัดกิจกรรมในครั้งนี้แล้วนั้น ผลตอบรับที่ได้กลับมาสามารถสังเกตให้เห็นถึงความตระหนักที่หันกลับ มาเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของงานหัตถกรรมในกลุ่มชาติพันธุ์ของตน และจากการได้เรียนรู้และทำ�กิจกรรมในส่วนของการนำ� เชือกลีซอมาถักทอเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น ต่างหู สร้อยข้อมือ พวงกุญแจ ก็ทำ�ให้กลุ่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เกิดความสนใจที่จะนำ�ไปพัฒนาต่อเป็นอาชีพในอนาคตเพื่อผลิตเป็นสินค้ารองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในหมู่บ้านของตน
ตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์จากงานหัตถกรรม เชือกลีซอ ของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซอ
65
67
69
กิจกรรมที่ 4 เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ เดือนพฤศจิกายน 2560 ณ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. แนวคิดในการจัดกิจกรรม กิจกรรมนี้เป็นการรวบรวมงาน Workshop ที่ผ่านมาของโครงการฯ เพื่อพัฒนาการออกแบบงานหัตถกรรม ความ คิดสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ จะมีคุณลักษณะ 3 ประการที่ยังยึดโยงกันอยู่ ซึ่งเกิดจากการพัฒนา ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน ที่เชื่อมโยงจากระดับหมู่บ้านสู่เมือง และเป็นแรงขับเคลื่อนสู่การสร้างสรรค์ ให้ เชียงใหม่นั้นบานสะพรั่งด้วยงานหัตถศิลป์พร้อมการเคลื่อนตัวของเมืองอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และความร่วมสมัยของงาน หัตถศิลป์ การพัฒนางานหัตถศิลป์สร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของงานหัตถกรรมของชุมชน เพื่อนำ�ผลงาน จากกิจกรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” คัดเลือกไปจัดแสดงผลงานใน กิจกรรม “Chiang Mai Crafts Fair 2017” 2. จุดประสงค์ในการจัดกิจกรรม 2.1. พื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่ 2.2. เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมสร้างสรรค์ของเมืองเชียงใหม่ 2.3. เพื่อส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals : SDGs 3. การดำ�เนินงาน 3.1. ขั้นตอนก่อนการจัดกิจกรรม คณะทำ�งานประชุมระดมความคิดเห็นในการจัดกิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์”เพื่อนำ�ผลงานจากผู้ที่ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมของทางโครงการ และผู้ที่สนใจในการสร้างงานหัตถกรรมที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมมาจัดแสดง ให้เห็นถึงผลที่ดีรับของทางโครงการ และยังเป็นการส่งเสริมงานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่สู่สายตาของคนทั่วไป ให้เชียงใหม่ นั้นบานสะพรั่งด้วยงานหัตถศิลป์พร้อมการเคลื่อนตัวของเมืองอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และความร่วมสมัยของงานหัตถศิลป์ การจัดกิจกรรมจะมีการรับสมัครบุคคลที่สนใจโดยทางโครงการจะเป็นผู้ที่ส่งเสริมผู้สร้างผลงานทั้งด้านการออกแบบการนำ� เสนอ การนำ�ผลงานออกแสดงผลงาน ในกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 โดยมีวิธีการสมัครให้ผู้ที่สนใจในการพัฒนา งานหัตถกรรมโดยตัวชิ้นงานยังเป็นแค่แบบสเก็ต หรือผลงานนั้นได้รับการผลิตออกมาแล้วก็ตามที่มีแนวคิดที่ตรงกับโจทย์ การนำ�เสนองาน วิธีการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม แบ่งออกเป็น 3 วิธีได้แก่ 1. กรอกใบสมัครได้ที่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. กรอกใบสมัครและส่งอีเมลกลับมาให้ทางโครงการ และ 3. การกรอกใบสมัครผ่าน Google Form โดยกำ�หนดวันกรอกใบ สมัครได้ตั้งแต่ วันที่ 10 ตุลาคม - 15 ตุลาคม 2560 ประกาศรายชื่อผลงานที่ผ่านการคัดเลือก วันที่ 18 ตุลาคม 2560 และให้ ผู้ส่งผลงานเข้าพบคณะทำ�งานในวันเสาร์ ที่ 21 ตุลาคม 2560 หลังจากพบคณะทำ�งานในครั้งแรกแล้ว ทางคณะทำ�งานจะมีการ ติดตามผลงานต่อเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผลงานของผู้เข้าร่วมสามารถนำ�ออกจัดแสดงได้ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 สถานที่ในการจัดกิจกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
71
ขั้นตอนการจัดทำ�สไลด์นำ�เสนอ “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” สู่งาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
สามารถดาวน์โหลดเล่ม Booklet ออนไลน์ ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค์ https://goo.gl/8GUJyX
72
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์”
73
การรับสมัครกิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” ตัวอย่าง Google Form
สามารถดาวน์โหลดเล่ม Booklet ออนไลน์ ได้ที่ QR Code หรือลิ้งค์ https://goo.gl/forms/d1Ijx4CyXw9XnT2e2
74
3.2 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม (Production) การจัดกิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมส่งผลงานที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะทำ�งาน แล้วทั้งสิ้น 11 ชิ้นงาน ซึ่งแต่ละชิ้นงานจะได้รับการผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการจัดแสดงในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 จัด ขึ้นในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 ซึ่งผลงานหนึ่งชิ้นจะมีที่มาที่ไป และแนวคามคิดของแต่ละชิ้นงานไปจัดแสดงด้วยเพื่อเป็นการ เพิ่มมูลค่าของชิ้นงาน ทางคณะทำ�งานได้ให้เครดิตกับเจ้าของผลงานเพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้ที่สนใจชิ้นงานกับผู้ ออกแบบ สร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ต่อไป
75
3.3 ขั้นตอนหลังการจัดกิจกรรม (Post-Production) ผลที่ได้รับ ในการจัดกิจกรรมผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมาของทางโครงการ นำ�งานเคยได้รับการสอนไปพัฒนาเป็น ชิ้นงานใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และสร้างมูลค่าให้กับชิ้นงานเป็นการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของงานหัตถกรรมในท้องถิ่นของ ตนเองและยังเป็นการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ที่มาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรม สู่งานหัตถกรรมร่วมสมัย ผลงานทุกชิ้นจากกิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์” จะถูกนำ�ไปจัดแสดงในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 เพื่อเป็นการแสดงผลงานและส่งเสริมอาชีพให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืน (The Sustainable Development Goals : SDGs)การส่งเสริมให้เกิดอาชีพ และระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ให้ ครอบคลุมทุกพื้นที่ และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับคนทุกวัย
76
ภาพผลงานจากกิจกรรม “เชียงใหม่เมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์”
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
89
91
กรอบแนวคิดการจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในปี 2017 จึงได้มีการจัดกิจกรรม “Chiang Mai Crafts Fair 2017” เพื่อเป็นการสร้างงาน “สร้างสรรค์จากชุมชน สู่ งานหัตถกรรมร่วมสมัย” เป็นการน�ำเสนอแนวคิด ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ โดยกลุ่มชุมชนต่าง ๆ ภายในเมือง เชียงใหม่ อันมีอัตลักษณ์เฉพาะตัว และการน�ำเสนอรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อันเกิดจากการต่อยอด ทาง ด้านแนวคิดและเทคนิค จากทุนทางวัฒนธรรมจากงานหัตถกรรมดั้งเดิมสู่การออกแบบเป็นงานหัตถกรรมร่วมสมัย โดยกลุ่ม เป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้จากกลุ่มที่เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการกับโครงการในปีที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมให้ผู้ ที่ด้อยโอกาส และ สร้างอาชีพ แล้วยังสามารถพัฒนารากฐานของตนเองต่อยอดคุณค่า เพิ่มมูลค่า ของผลิตภัณฑ์ที่มาจากทุน ทางวัฒนธรรมเดิมท�ำให้เกิดเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วงเวลาการจัดกิจกรรม “Chiang Mai Crafts Fair 2017” จะจัดขึ้นในวันที่ 6 - 10 ธันวาคม 2560 เป็นกิจกรรม เชื่อมโยงกับการเรียนรู้ สืบสาน และพัฒนางานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน มุ่งเน้นงานที่ท�ำจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงการเกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีวัสดุและวัตถุดิบที่สามารถทดแทนกันได้ และเกิดขึ้นจากการท�ำงานด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถ น�ำไปจัดแสดงนิทรรศการและต่อยอดทางเศรษฐกิจได้ เพื่อสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานของเมือง เชียงใหม่ ในการเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO แนวคิดและกิจกรรมภายใต้โครงการขับเคลื่อนเมือง เชียงใหม่ สู่เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ภายในปีนี้มีแนวคิดเพื่อที่จะสร้างสรรค์ กิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017อันเป็นกิจกรรมที่ถูกสนับสนุน โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการ 1. สรรหาผู้ประกอบการที่สนใจในงานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านหน้าใหม่ มีพื้นที่ในการจัดแสดงและจัดจ�ำหน่ายสินค้า 2. ต้องการความร่วมมือจากกลุ่มผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่ผลิตงานหัตถกรรม เข้าร่วมจัดแสดงและจัดจ�ำหน่ายด้วย เช่นกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายและมีพื้นที่ในการแสดงตัวตน สร้างความภาคภูมิใจในตนเอง และเกิดแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ผลงานเพื่อเมืองเชียงใหม่ ภายในงาน Crafts Fair ครั้งนี้ ยังมีกิจกรรมที่จะเสริมสร้างความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ โดยจัดให้มีการบรรยาย การพูดคุย พบปะ ร่วมถึงการสร้างสรรค์เครือข่ายทางงานหัตถกรรม ซึ่งจะน�ำพาไปสู่การต่อยอดแนว ความคิดในการผลิตงาน เกิดความเข้าใจ และเล็งเห็นความส�ำคัญของการที่เมืองเชียงใหม่ได้พยายามขับเคลื่อนตนเอง สู่เมือง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เป็นการสร้างคุณค่าและก่อเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลด ความเหลื่อมล�้ำทางสังคม และผลักดันเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้หันมารักษา อนุรักษ์ เรียนรู้ภูมิปัญญา สืบสานลมหายใจของบรรพ ชน จากการท�ำงานร่วมกันกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่ (TCDC) ในปี 2016 มีการจัดงาน Chiang Mai Design Week 2016 ทางโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้น บ้าน ได้จัดเสวนาเกี่ยวกับเสวนาเมืองสร้างสรรค์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากเมืองไทเป สาธารณรัฐเกาหลี จากภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคปฏิบัติ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์การอนุรักษ์ พร้อมการต่อยอดพัฒนาเมืองให้เติบโตโดยใช้พื้นฐาน อัตลักษณ์พื้นถิ่นของเมือง
92
ขั้นตอนการด�ำเนินงาน การประชุมและวางแผนการด�ำเนินงาน เป็นการประชุมร่วมกันของคณะท�ำงาน และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อวางแผนการจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 การเลือกสถานที่และติดต่อในแต่ละสถานที่, การจัดท�ำ โครงสร้างนิทรรศการ, ก�ำหนดกิจกรรมสัมมนา, กิจกรรม Workshop เพื่อให้รูปแบบงานสอดคล้องกันกับกิจกรรมเชียงใหม่ ดีไซน์วีค (Chiang Mai Design Weeks 2017) โดยการประชุมในแต่ละครั้งจะเป็นการให้ข้อมูลความคืบหน้าของแต่ละส่วน ประชุมหารือเพื่อให้งานออกมาในรูปแบบเดียวกัน
93
สถานที่จัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 จากการประชุมร่วมกับคณะท�ำงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละ พื้นที่ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560 ซึ่งทางคณะท�ำงานได้ตระหนักถึง ความส�ำคัญกับ การใช้พื้นที่ในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ที่จะมีความเชื่อมโยงกับประเภทงานและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ เป็น สามเหลี่ยมวัฒนธรรม และเป็นหัวใจของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ไว้ดังนี้ พื้นที่ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ทางโครงการให้ความส�ำคัญกับการใช้พื้นที่ในเขตเมืองเก่า ซึ่งมีความเชื่อมโยงใน ประเภทงานที่จัดแสดง จึงแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ 2. พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา 3. ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์
94
หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ พื้นที่ส�ำหรับงานหัตถกรรมดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบจัดวางสาธิตวิธีการท�ำและสอนผู้ที่สนใจประกอบไป ด้วยตัวแทนงานหัตถกรรมจาก 11 ชุมชน 1. ชุมชนพวกแต้ม อ�ำเภอเมือง ประเภทงานคัวตอง 2. ชุมชนศรีปันครัว อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเขิน 3. ชุมชนศรีสุพรรณ อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเงิน 4. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานผ้าซิ่นสันก�ำแพง 5. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานไม้แกะสลัก 6. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานวาดจ้อง 7. บ้านป่าบง อ�ำเภอสารภี ประเภทงานเครื่องจักสาน 8. บ้านช้างค�้ำ อ�ำเภอสารภี ประเภทงานผ้าต้องลาย 9. บ้านกาด อ�ำเภอแม่วาง ประเภทงานเครื่องปั้นดินเผา 10. บ้านแม่แจ่ม อ�ำเภอแม่แจ่ม ประเภทงานผ้าทอแม่แจ่ม 11. บ้านดอยเต่า อ�ำเภอดอยเต่า ประเภทงานผ้าทอดอยเต่า รูปแบบแผนผังการจัดงาน
95
รูปแบบแนวคิดการจัดงานพื้นที่หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ ได้รับแนวคิดมากจากรูปแบบของกาด (ตลาด) ของชาวเชียงใหม่ในสมัยอดีต
รูปแบบการจัดงาน
96
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา พื้นที่สาหรับงานหัตถกรรมกลุ่มชาติพันธ์ในเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับงานหัตถกรรม ทั้งหมด 6 กลุ่มชาติพันธ์ที่มีความสาคัญและโดดเด่นในการสร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและสิ่งถักทอ รูปแบบแผนผังการจัดงาน
97
รูปแบบการจัดงาน
98
ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ พื้นที่สาหรับงานหัตถกรรมร่วมสมัย ที่พัฒนาจากงานหัตถกรรมเมืองเชียงใหม่ ในรูปแบบจัดนิทรรศการ และจัดแสดง ผลงานจากการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา โครงสร้างนิทรรศการ ออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกี่ทอผ้า เสมือนกระบวนการทางาน ของโครงการที่มีขั้นตอนและความเป็นมาอย่างไร รูปแบบแผนผังการจัดงาน
99
รูปแบบการจัดงาน
100
กระบวนการออกแบบ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรม Logo “กาด”พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนสินค้าและวิถีชีวิตคนเมืองจึงได้นามาเป็นสัญญาลักษณ์ของเทศการเชียงใหม่เมือง หัตถกรรมสร้างสรรค์ในครั้งนี้
Inspiration
101
102
Poster โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ อักษรตัวเมืองค�ำว่า เชียงใหม่ ที่ถูกน�ำมาร้อยเรียงให้เป็นเหมือนกับเส้นที่พุ่งพันกันไปมา สร้างความสนุกสนาน เกิดเป็น ค�ำ ข้อความ และรูปภาพแล้วแต่จินตนาการ ที่จะสัมผัสได้ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 โดยออกมาจาก “แม่ก๊าไป กาด” สื่อถึงการเดินทางจากอดีตก้าวข้ามสู่ปัจจุบันที่ยังคงรูปแบบและแนวคิดดั้งเดิมเอาไว้ เพียงแต่เพิ่มเติมไปตามสมัย ไม่ได้ เปลี่ยนไปเสียทีเดียว ในโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานจะประกอบไปด้วย วันเวลา จัดงาน การถ่ายความเป็นเชียงใหม่ผ่านตัวอักษรล้านนา อ่านว่า “เชียงใหม่” รวมถึงรูปของผู้หญิงก�ำลังหาบของที่มีลักษณะคล้ายกับ แม่ค้าในอดีตที่มีการหาบของแสดงในตลาด แต่ยัง สื่อให้เห็นถึงความร่วมสมัยในปัจจุบัน เพื่อถ่ายทอดถึงอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ และเลือกโทนสีเย็น เป็น สีชมพูจากดอก พญาเสือโคร่ง คณะท�ำงานได้จัดท�ำโปสเตอร์ ออกมาจ�ำนวน 8 ชุดเพื่อให้เข้าถึงผู้คนที่สนใจได้ง่ายและทราบถึงรายละเอียดของ การจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
103
104
รูปแบบโปสเตอร์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และแผ่นพับของงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
โปสเตอร์โปรโมทในสื่อออนไลน์
105
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ Chiang Mai Crafts Fair 2017
106
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์สถานที่จัดกิจกรรม
107
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมสัมมนา
108
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์กิจกรรม Workshop
109
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์และบัตรเชิญร่วมงานพิธีเปิดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 และ งานแถลงข่าวเมืองเชียงใหม่ได้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
110
แผนที่การจัดแสดงงานกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 โดยแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่จัดแสดงงานหัตถกรรมในแต่ละลักษณะ ภายในแผนที่จะประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ตัวอาคาร และ QR Code ส�ำหรับการหาพื้นที่จัดแสดงบนมือถือ เพื่อให้สามารถเดินทางได้ง่ายขึ้นและสะดวกแก่ผู้ที่สนใจมาเที่ยวชมงาน การจัดท�ำคู่มือการชมงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 คณะท�ำงานสื่อสารโดยโทนสีเย็น ที่เป็นสีของงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ภายในคู่มือ มีรายละเอียดของโครงการเพื่อให้บุคคลทั่วไปและชาวต่างชาติได้ทราบถึง ที่มาและความ ส�ำคัญ ของโครงการ และมีรายละเอียดการจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 แผนที่พร้อมทั้งรายละเอียดของงาน ณ จุด ต่างๆ ก�ำหนดการสัมมนา และก�ำหนดการ Workshop และเพื่อให้ข้อมูลสามารถเข้าถึงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติทางคณะ ท�ำงานได้จัดท�ำข้อมูลเป็น 2 ภาษาได้แก่ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
111
คู่มือการเข้าชมงาน (แผ่นพับ) ฉบับภาษาไทย 112
คู่มือการเข้าชมงาน (แผ่นพับ) ฉบับภาษาอังกฤษ 113
114
การจัดแสดงกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
(Chiang Mai Historical Centre) หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ให้ความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ จึงเหมาะ แก่การสื่อสารถึงงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของแต่ละชุมชนได้แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน ที่ ได้รับการถ่ายทอดงานหัตถกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงรากเหง้าความเป็นมาที่สามารถสร้างอาชีพแก่ชุมชน จากรุ่นสู่รุ่น บริเวณหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่จึงเป็นพื้นที่ส�ำหรับ “สล่างานหัตถกรรมพื้นถิ่นเมืองเชียงใหม่” (Community Crafts) รวมถึงเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานหัตถกรรมและประสบการณ์ต่างๆ ในการท�ำงานหัตถกรรม โดยเปิด พื้นที่สร้างสรรค์เรียนรู้แลกเปลี่ยน กับงานหัตถกรรมในการขับเคลื่อนเมืองจากต่างประเทศ (Talk) และ การถ่ายทอดองค์ความ รู้การน�ำงานหัตถกรรมเป็นพื้นที่ของงานหัตถกรรมภูมิปัญญาให้ผู้สนใจได้ ทดลองท�ำ เรียนรู้ และจับต้องงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ของเมืองเชียงใหม่ รวมถึงจัดแสดงสินค้างานหัตถกรรมพื้นถิ่นอีกด้วย ซึ่งบริเวณหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ได้มีการจัด กิจกรรมดังนี้
[TRADE] แลกเปลี่ยน ความคิด ความรู้ และ สร้างเครือข่าย โดยทางโครงการได้จัดพื้นที่บริเวณสนามหญ้า หอ
ประวัติศาสตร์ เป็นพื้นที่ส�ำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดการท�ำงานหัตถกรมของแต่ละชุมชนถ่ายทอดสู่ผู้ที่สนใจสร้างความรู้ และ สร้างเครือข่ายซึ่งกันและกัน เนื่องจากพื้นที่จัดมีบริเวณจ�ำกัดอาจจะไม่เพียงพอต่อครูภูมิปัญญาในจังหวัดเชียงใหม่ที่มี มากมายและพร้อมมอบความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ ทางโครงการจึงได้มีการประชุมและคัดเลือกกลุ่มงานหัตถกรรมแต่ละชุมชนใน จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งอาจจะไม่สามารถจัดให้ครบทุกอ�ำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทางโครงการได้จัดพื้นที่ส�ำหรับชุมชนหัตถกรรม โดยมี 10 ประเภทงานหัตถกรรม เข้าร่วมจัดพื้นที่แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้ 1. ชุมชนพวกแต้ม อ�ำเภอเมือง ประเภทงานคัวตอง 2. ชุมชนศรีปันครัว อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเขิน 3. ชุมชนศรีสุพรรณ อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเงิน 4. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานผ้าซิ่นสันก�ำแพง 5. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานไม้แกะสลัก 6. ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานวาดจ้อง 7. บ้านป่าบง อ�ำเภอสารภี ประเภทงานเครื่องจักสาน 8. บ้านช้างค�้ำ อ�ำเภอสารภี ประเภทงานผ้าต้องลาย 9. บ้านกาด อ�ำเภอแม่วาง ประเภทงานเครื่องปั้นดินเผา 10. บ้านแม่แจ่ม อ�ำเภอแม่แจ่ม ประเภทงานผ้าทอแม่แจ่ม 11. บ้านดอยเต่า อ�ำเภอดอยเต่า ประเภทงานผ้าทอดอยเต่า
115
ชุมชนพวกแต้ม อ�ำเภอเมือง ประเภทงานคัวตอง
ชุมชนศรีปันครัว อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเขิน
116
ชุมชนศรีสุพรรณ อ�ำเภอเมือง ประเภทงานเครื่องเงิน
ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานผ้าซิ่นสันก�ำแพง
117
ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานไม้แกะสลัก
ชุมชนต�ำบลสันก�ำแพง อ�ำเภอสันก�ำแพง ประเภทงานวาดจ้อง
118
บ้านป่าบง อ�ำเภอสารภี ประเภทงานเครื่องจักสาน
บ้านช้างค�้ำ อ�ำเภอสารภี ประเภทงานผ้าต้องลาย
119
บ้านกาด อ�ำเภอแม่วาง ประเภทงานเครื่องปั้นดินเผา
บ้านแม่แจ่ม อ�ำเภอแม่แจ่ม ประเภทงานผ้าทอแม่แจ่ม
120
บ้านดอยเต่า อ�ำเภอดอยเต่า ประเภทงานผ้าทอดอยเต่า
121
ภาพบรรยากาศงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
122
ได้รับเกียรติจาก นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมต.กระทรวงวัฒนธรรมและคณะ ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมภายในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ 123
[TOUCH] สัมผัสประสบการณ์ ทดลองท�ำงานหัตถกรรม ต่อยอดงานหัตถกรรมสร้างสรรค์ โดยเป็นกิจกรรมเชิง
ปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมเรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์งานหัตถกรรมเมืองเชียงใหม่ ซึ่งในกิจกรรมนี้จัดขึ้นเวลา 13.00 น. – 17.00 น. และได้มีผู้ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ ตามวันเวลาดังนี้
วันที่ 6 ธันวาคม 2560 “ถักฮักจากลีซู” โดยพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ต่อยอด งานหัตถกรรมจากกลุ่มงานชาติพันธุ์เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย จากกิจกรรม “ถักรักจากลีซู” ที่ทางโครงการจัดขึ้น เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2560 คณะท�ำงานได้เล็งเห็นว่าการสร้างสรรค์ผลงานหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ชาติพันธุ์ ที่มีเอกลักษณ์และมี คุณค่าสร้างสรรค์ออกมาเป็นงานร่วมสมัยแต่ยังคงอัตลักษณ์งานหัตถกรรมของชาติพันธุ์ลีซู และเป็นการสร้างเครือข่ายร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เชิญบุคลากรมาแบ่งปันถ่ายทอดความรู้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
124
วันที่ 7 ธันวาคม 2560 “เฮียนฮักษ์ จักสาน” โดย นายพุทธวงค์ เอกพจน์ (น้องยุ้งข้าว) เยาวชนรุ่นใหม่ ของชาว เชียงใหม่ ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการจักสานเป็นรูปสัตว์ต่างๆ และสามารถน�ำมาเป็นของประดับตกแต่ง และสร้างสรรค์งาน หัตถกรรม
125
วันที่ 9 ธันวาคม 2560 “ธี เครื่องสักการะ” โดย นายธวัชชัย หินเดช (มงมัน) งานหัตถกรรมประเภทการพับ กระดาษ เรียกว่า “ธี” เปรียบเป็นฉัตรที่เป็นของสูง ซึ่งใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาในพระพุทธศาสนา และ เพื่อถ่ายทอดให้เห็น ถึงคุณค่างานหัตถกรรมประเภทกระดาษ
126
วันที่ 10 ธันวาคม 2560 “ก๋างจ้อง วาดลาย” โดย บ้านล้านเพื่อนสันก�ำแพง เป็นการเรียนรู้การวาดลายบนร่ม สันก�ำแพง เป็นงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อของอ�ำเภอสันก�ำแพง ที่มีลวดลายและสีสันเป็นเอกลักษณ์จนเป็นงานหัตถกรรมของเมือง เชียงใหม่
127
[TALK] เสวนา พูดคุย บอกเล่าเรื่องราว “เมืองเชียงใหม่กับการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านงานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านสร้างสรรค์” จัดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม 2560 โดยมีการแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ด้านงานหัตถกรรมใน การขับเคลื่อนเมือง ได้รับเกียรติจากวิทยากรชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่มาแบ่งปันและสร้างเครือข่ายความร่วมมือเมือง หัตถกรรมร่วมกัน Jerry Yen, Pop Up Asia ,Taiwan การสร้างแรงบันดาลใจจากงานหัตถกรรมในชุมชนจากประเทศไต้หวัน Mr. Jerry Yen เป็นนักธุรกิจที่เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ส�ำหรับงานหัตถกรรมในชุมชน โดยมีการส่งผ่านงานหัตถกรรมจากครูภูมิปัญญา กับ เด็กรุ่นใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ท�ำให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์งานหัตถกรรมเป็นการแลกเปลี่ยนงานหัตถกรรม “หากเราน�ำของมาขาย เพียงอย่างเดียว สักวันหนึ่งก็จะหายไป แต่ถ้าเราเปิดพื้นที่สร้างสรรค์แลกเปลี่ยนจะกลายเป็นการสร้างความยั่งยืนหัตถกรรม และสร้างเครือข่ายต่อไปอย่างยั่งยืน” หากเรามองเพียงมูลค่างานหัตถกรรมที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมก็จะเป็นการลด มูลค่าของงานหัตถกรรมของพื้นที่นั้นๆ ในงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
128
Prof. Jeonsook Chung ,Representative Director, Jeonju Korea มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของ เมืองชยอนจู สาธารณรัฐเกาหลี เมืองชยอนจูเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมสูง เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมคงอยู่ ใน ค.ศ. 2003 ได้มีการประชาสัมพันธ์สาธารณรัฐเกาหลี ผ่านการผลิตหนังภาพยนตร์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักในนานาชาติซึ่งเป็นนโยบายที่ เกิดขึ้นจากรัฐบาลของสาธารณรัฐเกาหลี และเมืองชยอนจู ได้มีการสร้างมรดกทางวัฒนธรรมมีทั้งการที่จับต้องได้และจับต้อง ไม่ได้ ทางเมืองชยอนจูจึงได้เลือกมรดกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหาร “บิมบิมบัม” ซึ่งเป็นอาหารที่มี 5 สี จากธัญพืชและผัก ที่ มีคุณค่าต่อผู้ที่ได้ทาน เมืองชยอนจูได้สร้างความภาคภูมิใจในรากเหง้า ซึ่งมี การสร้างความส�ำคัญในการรักษามรดกทาง วัฒนธรรม คือ การสร้างความภูมิใจในสิ่งที่มีแต่ไม่รักษาเพียงแค่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยทางเมืองชยอนจู ที่ได้มีความร่วมมือและ สนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้มีการส่งผ่านมรดกทางวัฒนธรรมด้านอาหาร จนได้รับเลือกเป็นเมืองสมาชิกเมือง สร้างสรรค์ทางด้านอาหาร ขององค์การ UNESCO เพื่อสร้างความเข้าใจทางมรดกทางวัฒนธรรม และได้บอกความส�ำคัญใน การขับเคลื่อนเมือง ว่า “ผู้สูงอายุบางทีมักมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มีความมีส่วนร่วม จึงควรสร้างกิจกรรมร่วมกับเยาวชน ท�ำงานร่วมกัน”
129
Dr.Alexandra Denes, อาจารย์ประจ�ำสาขาสื่อศิลปะ และ การออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ในเรื่อง “พลังของเมือง : สถานที่กับงานหัตถกรรมในพิธีกรรมที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณและความเชื่อ” การเป็นเมือง มรดกโลกซึ่งมีเป้าหมายเพื่อ อนุรักษ์ รักษา กายภาพแต่การรักษาทางกายภาพเป็นรักษาเพียงภายนอก ท�ำให้ ICH (Intangible Cultural Heritage) ได้มีการรักษาชีวิตโดยรอบของเมืองมรดกโลก เช่น เมืองหลวงพระบางได้รับมรดกโลก แต่ไม่ได้สื่อถึงวิถี ชีวิตวัฒนธรรมของคนหลวงพระบาง มีการเปลี่ยนแปลงทางท้องถิ่น เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต หากเรากลับมามองที่เชียงใหม่ เชียงใหม่พยายามท�ำให้เป็นมรดกโลกกับงานหัตถกรรม ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นสิ่งที่ควรท�ำร่วมกันเพราะมีความเกี่ยวข้องกันกล่าว ได้ว่า ไม่ว่าเมืองมีความเปลี่ยนแปลงของเมืองมีผลกระทบกับงานหัตถกรรมและคุณค่าของมรดกโลก จึงเปรียบเป็นความ ท้าทายของเมืองเชียงใหม่ ที่จะต้องปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมและงานหัตถกรรมความเชื่อเป็นสิ่งส�ำคัญ สิ่งหนึ่งที่ขับเคลื่อน เมืองเชียงใหม่
130
อาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมและผ้าไทย ในเรื่อง “ก้าวต่อไปของงานหัตถกรรมและ ศิลปะพื้นบ้านอัตลักษณ์เมืองเชียงใหม่สู่สากล” ศิลปะพื้นบ้านเป็นสิ่งที่คลอบคลุมจากนามธรรม และ รูปธรรม เช่น วรรณคดี วรรณกรรม อาหาร งานหัตถกรรม เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีหลากหลายกลุ่มชาติพันธ์สืบสายบรรพบุรุษหลากหลายเชื้อชาติ ท�ำให้เชียงใหม่ไม่แตกต่างกับจังหวัดในภูมิภาคเดียวกันซึ่งแต่ละที่มีเอกลักษณ์ที่สอดคล้องกัน เช่น อาหาร การแต่งกาย ที่ กลมกลืนกันไป เนื่องจากเชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านงานหัตถกรรม และ มีประวัติศาสตร์หลากหลาย แต่ โดยทรัพยากรของภาคเหนือที่เป็นปัจจัยที่ถูกน�ำมาใช้เป็นสิ่งถักทอ ที่สร้างคุณค่าและอัตลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ สร้างคุณค่าและมูลค่าของงานหัตถกรรม จะเห็นได้ว่า “หากศิลปะพื้นบ้านไม่มีการใช้ในชีวิตประจ�ำวันก็คงจะหายไป ส่วน หัตถกรรมที่จะคงอยู่ เป็นงานหัตถกรรมที่มีการปรับใช้ในชีวิตประจ�ำวัน”
131
คุณสุทธิพันธ์ เหรา และ คุณวสิน อุ่นจะน�ำ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายในละครเรื่อง “รากนครา” ปัจจัยส�ำคัญทางภูมิศาสตร์ภาคพื้นแผ่นดินตอนบน (upper-mainland) มีภูเขาหนาแน่น ภูเขาสูงเหมือนก�ำแพง ธรรมชาติ ที่กั้นวัฒนธรรมต่างๆ ออกจากกัน เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายถูกออกมาแบบมาอย่างจงใจต่างจากเผ่าอื่น เพื่อแสดงอัต ลักษณ์ของตน เช่นเดียวกับภาษามีความหลากหลายมากกว่าพื้นที่ราบ เพราะการติดต่อสื่อสารยาก แต่ละเมืองจึงสร้าง วัฒนธรรมเฉพาะของตนเอง นอกจากนี้การที่ไม่มีทางออกทะเล จึงจ�ำกัดความรู้และวิทยาการ มีความล้าหลังและเจริญช้าวกว่า ภาคพื้นทวีปตอนล่าง รัฐบริเวณนี้ จึงมีขนาดเล็กถึงกลาง มีความเป็นอิสระต่อกันสูง รวมอ�ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางยาก เนื่องจาก ขาดทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางวัฒนธรรม จากปัจจัยดังกล่าวจึงท�ำให้เห็นถึงความส�ำคัญของงานหัตถกรรมในเรื่อง ของเสื้อผ้าทีมีเอกลักษณ์ที่หลากหลายของชาติพันธุ์ในภาคเหนือและน�ำมาผลิตและใช้จริงกับการน�ำเสนอสู่ละคร โดยอ้างอิง จากการออกแบบเสื้อผ้าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สู่การแสดงเพื่อสร้างคุณค่าและให้เห็นถึงอัตลักษณ์ในแต่ละสถานที่
132
งานแถลงข่าวโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน การแถลงข่าวโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านนั้นตั้งแต่ปี .2557 ซึ่งเมืองเชียงใหม่ได้รับการประกาศเข้าร่วมเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ นับตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2560 เพื่อสนับสนุนงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านงานสร้างสรรค์ร่วมกับเครือข่ายองค์การ UNESCO และ สนับสนุนชุมชนช่างและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เพื่อการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ อย่างยั่งยืน ที่ได้ความร่วมมือจากเครือข่าย ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณและเครือ ข่ายความร่วมมือ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เครือข่ายชุมเมืองเชียงใหม่ กลุ่มพี่น้องราษฎร บนพื้นที่สูงทุกกลุ่ม ได้ก�ำหนดจัดกิจกรรม CRAFTS FAIR ร่วมกับ ศูนย์กลางความรู้ด้านการออกแบบ และบ่มเพาะความคิด สร้างสรรค์ (TCDC) โดยได้จัดงาน Chiang Mai Design ได้จัดพื้นที่สร้างสรรค์ส�ำหรับงานหัตถกรรมของชุมชนในจังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กลุ่มสล่าในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แสดงให้เห็นถึงความส�ำคัญของงานหัตถกรรม และส่งเสริม คุณค่า ความโดดเด่น รวมถึงการสาธิตท�ำงานหัตถกรรมของกลุ่ม สล่าให้กับผู้ที่สนใจ และ การจัดเสวนาพื้นที่แลกเปลี่ยนความ คิดร่วมกับเมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ในแต่ละพื้นที่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนางานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ให้ยั่งยืน
133
134
รายละเอียดและภาพบรรยากาศงานแถลงข่าวจากตัวแทน
“เชียงใหม่ได้เป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน” รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวแทนจากคณะท�ำงานได้สรุปถึง กระบวนการท�ำงานหัตถกรรมร่วมกันกับชุมชนหัตถกรรมเมืองเชียงใหม่ที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สถาบันการศึกษา ต่างๆ กลุ่มช่างสล่าหัตถกรรม และ หน่วยงานเอกชน ซึ่งการขับเคลื่อนที่ผ่านมากับงานหัตถกรรมดั้งเดิมและการก้าวต่อไปใน อนาคต รวมถึงการท�ำงานระหว่างประเทศเพื่อเป็นการสร้างพันธมิตรแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นส่วนหนึ่งของการขับ เคลื่อนเมืองเชียงใหม่ และมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นงานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ที่มีความหลากหลายจึงมีความแตกต่าง กับที่อื่น คุณอภิรดี หนองสิมมา ผู้อ�ำนวยการส่วนบริหารการศึกษารักษาราชการแทน ผู้อ�ำนวยการส�ำนักการศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ที่ให้กับสนับสนุนกับโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ จาก การได้รับเลือกเป็นเมืองสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ในฐานะองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ส�ำนักการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมจะมีการปลูกฝังจิตวิญญาณให้กับคนรุ่นใหม่ สร้างรากฐานที่มั่นคงในแต่ละพื้นที่เพื่อ เชื่อมโยงและสร้างพันธมิตรต่อเมืองเครือข่ายอื่นๆ สิ่งแรกที่จะต้องขับเคลื่อนเมือง คือ การปลูกฝักให้คนรุ่นใหม่เข้าใจรากเหง้า ของตนเอง การสร้างสรรค์งานบนรากฐานเดิมเพื่อสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนร่วมกันกับการศึกษา และภูมิปัญญาของเชียงใหม่ จะต้องมีการร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีต่างๆ มาประชุมร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนเมือง นายกฤษณ์ ธนาวณิช (รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) ตัวแทนของเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองที่มี ความหลากหลายทางลักษณ์ของเชียงใหม่ ด้านงานหัตถกรรมยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณค่าของเชียงใหม่ จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจใน การส่งเสริม เรื่องการอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดกับผลิตภัณฑ์ เพื่อขับเคลื่อนเมืองซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วย ฝ่ายเพื่อสร้างความบูรณาการอย่างยั่งยืน สร้างความเจริญเติบโตและเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่
135
136
ภาพบรรยากาศพิธีเปิดงาน “Chiang Mai Crafts Fair 2017” ในวันที่ 8 ธันวาคม 2560 ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่
รศ.ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คุณอภิรดี หนองสิมมา ผู้อ�ำนวยการ ส่วนบริหารการศึกษารักษาราชการแทน และนายกฤษณ์ ธนาวณิช (รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่) และเครือข่ายของ ทางโ๕รงการฯร่วมกันปักดอกไม้ทิพย์จากงานหัตถกรรมลงบนสัญลักษณ์นกกินน�้ำร่วมต้นที่แสดงให้เห็นถึงความสามัคคี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทางโครงการฯ ในพิธีเปิดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
137
พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
(Lanna Folklife Museum) พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา (Lanna Folklife Museum) ด้วยพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เป็นสถานที่ส�ำหรับวิถี ชีวิตของชาวเชียงใหม่ ในการจัดกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fairs 2017 จึงเลือกพื้นที่บริเวณนี้จัดเกี่ยวกับนิทรรศการและ งานหัตถกรรมของชาติพันธุ์ในเชียงใหม่ (Ethnic Group & Exhibition) บริเวณสวนหินร้าน Café’ De Museum มีการจัด แสดงนิทรรศการเรื่องเล่าความเป็นมา การจัดแสดงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และงานหัตถกรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์ในเมืองเชียงใหม่ 6 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง, เมี่ยน (เย้า), ลาหู่ (มูเซอ), อาข่า, ลีซู (ลีซอ) และ กะเหรี่ยง นอกจากนี้ได้มีการจัดแสดงนิทรรศการจากทางพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (QUEEN SIRIKIT MUSEUM OF TEXTILES) โดยจัดแสดงในเรื่องราวพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่มีต่อประชาชนชาวเขาบนพื้นที่สูงของประเทศไทย และนอกจากนี้ภายในส่วนจัดแสดงงานแห่งนี้ได้ มีการจัดกิจกรรม Work Shop ร้อยลูกปัดจากกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า (ลัวะ), ผ้าปักลูกเดือยจากกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และ จักสานจากใบลานจากกลุ่มจักสานอ�ำเภอสันก�ำแพง โดยจัดขึ้นจากทางพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ซึ่งในการท�ำกิจกรรม work shop เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ท�ำให้ได้รับผลตอบรับจากทางนักท่องเที่ยวและผู้เข้าชมงาน Chiang Mai Crafts 2017 ในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
138
139
ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) (Lanna Architecture Center)
ศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) (Lanna Architecture Center) เป็นพื้นที่จัดแสดงงาน หัตถกรรมร่วมสมัยที่มีการต่อยอดจากงานหัตถกรรมดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่( Contemporary Crafts) ได้มีการจัดแสดง งานหัตถกรรมร่วมสมัยที่มีการต่อยอดจากงานหัตถกรรมดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ และ งานหัตถกรรมที่เกิดขึ้นจากการจัด กิจกรรมของโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้าน ตั้งแต่ปี 2557 – 2560 ได้น�ำผลงานของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจัดแสดง เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานของผู้เข้าร่วม กิจกรรมและประชาสัมพันธ์ ถึงการสร้างผลงานร่วมสมัยที่ยังคงอัติลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้ทางคณะท�ำงานได้มีพื้นที่ให้มี การสาธิตงานหัตถกรรมการเขียนลายบนเครื่องเขิน และ จัดแสดงขั้นตอนการท�ำเครื่องเขินตั้งแต่กระบวนการแรก จนถึงขั้น ตอนสุดท้ายเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องเขินลายทองที่สมบูรณ์ โดยส�ำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
140
141
142
143
การประเมินผลตอบรับ Chiang Mai Crafts Fair 2017 ในระหว่างวันที่ 6-10 ธันวาคม 2560
การประเมินผลตอบรับหลังการจัดกิจกรรม จากการประชาสัมพันธ์กิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 ผ่านทางเฟสบุ๊ค โดยมีการสร้างเพจ งานกิจกรรมขึ้น พบว่ามีผู้เข้าดูเพจ จ�ำนวน 57,401 คน และมีการกดตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม จ�ำนวน 1,368 คน หากแบ่งตามเพศ เพศหญิงมี จ�ำนวนที่มากกว่าเพศชายทุกช่วงอายุ ส�ำหรับช่วงอายุที่มีความสนใจมากที่สุดได้แก่ ช่วงอายุระหว่าง 25 ถึง 34 ปี ซึ่งเป็นตัวบ่ง ชี้ได้ว่าว่ามีผู้ที่สนใจในกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 เป็นจ�ำนวนมากในสังคมออนไลน์
ภาพจากการตั้งกิจกรรมงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017
144
ภาพแสดงการเข้าถึงกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 จ�ำนวน 57,401 คน และจะเข้าร่วมกิจกรรมจ�ำนวน 1,368 คน
ภาพแสดงค่าสถิติการเข้าถึงกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 แบ่งตามเพศ และช่วงอายุ
145
จากการส�ำรวจการลงทะเบียนในวันที่จัดกิจกรรมพบว่าทั้ง 3 จุดกิจกรรม มีผู้ที่เข้าร่วมงาน ลงทะเบียนบ้างเป็นบาง ส่วน ไม่ทั้งหมดทุกท่านเนื่องจากช่วงเวลาที่มีผู้เข้าชมงานจ�ำนวนมากจะมีการเดินเข้าไปโดยไม่ได้ลงทะเบียนเลย และจากการ นับจากจ�ำนวนคู่มือ ที่จัดพิมพ์จ�ำนวน 4,000 แผ่น มีแผ่นพับคงเหลือ 354 แผ่น แจกไปทั้งหมด 3,646 แผ่นเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าว่า มีผู้ที่ข้าร่วมกิจกรรม Chiang Mai Crafts Fair 2017 เป็นจ�ำนวนมากตามเป้าหมายที่ทางคณะท�ำงานคาดหวังไว้
ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป การใช้สถานที่เนื่องจากบริเวณจัดงาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 มีพื้นที่แยกออกไปตามจุดต่างๆ และ ค่อนข้าง สับสนกับผู้ที่มารับชม หากครั้งต่อไปใช้พื้นที่จัดแสดงเพียงพื้นที่เดียวอาจจะท�ำให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานและเข้าใจเนื้อหา งานได้มากขึ้น จากการจัดงานที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีมาก เพราะผู้ที่เข้ามาเทศกาลนอกจากเดินชม ยังสามารถ ทดลอง ผลิต และเห็นถึงคุณค่าของงาน ตลอดจนเรื่องราวความเป็นมาของงานหัตถกรรมที่ถ่ายทอดจากครูภูมิปัญญาในแต่ พื้นที่เอง ในการจัดเทศกาลร่วมกันกับพันธมิตร แต่ยังมีเรื่องพื้นที่ที่อาจจะต้องท�ำให้เข้าใจ และ เข้าถึงมากขึ้นส�ำหรับผู้ที่สนใจ
146
147
กรอบแนวคิดการบริหารเว็บไซด์ และสื่อสังคมออนไลน์เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ในปัจจุบันนับได้ว่าอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทที่สำ�คัญอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในด้านการติดต่อสื่อสาร, การ ประชาสัมพันธ์ข่าว, การโฆษณา, สื่อต่างๆ เป็นต้นเนื่องจากอินเตอร์เน็ตจัดได้ว่าเป็นประเภทของการติดต่อสื่อสารที่สามารถ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ข่าวสารในรูปของภาพเคลื่อนไหว หรือ แม้กระทั่งการกระจายข่าวสาร ผ่าน Social network ชื่อดังอย่าง facebook, Line, Instagram, Twitter เป็นต้น ทำ�ให้เว็บไซต์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถตอบโจทย์การติดต่อสื่อสารได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เว็บไซต์จึงมีบทบาทสำ�คัญเป็นอย่างมาก ทุกองค์กรทั้งภาครัฐและ เอกชน ได้ให้ความสำ�คัญของการมีเว็บไซต์เพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ และหากมีการนำ�เสนอ เว็บไซต์ในรูปแบบสวยงาม ค้นหาข้อมูลง่าย มีความน่าเชื่อถือ ก็จะได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว
149
จากการสำ�รวจข้อมูลโดย We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ในประเทศสิงคโปร์และ Hootsuite ตัวเลขผู้ใช้อินเตอร์เน็ต และ Social Media ประจำ�ปี 2017 พบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเมื่อแบ่งตามอุปกรณ์การใช้งานแล็บท็อป และเดสก์ทอป 45% ลดลงจากปีที่ผ่านมา 20% สมาร์ทโฟน 50% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 30% แท็บเล็ต 5% ลดลงจากปีที่ผ่านมา 5% อุปก รณ์อื่นๆ 0.12% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 33%
จำ�นวนผู้ใช้ Social Media ทั่วโลก (Global Social Media Usage) มากกว่า 2.7 พันล้านคน คิดเป็น 37%ของจำ�นวน ประชากรทั่วโลก และมากกว่า 91% ของผู้ใช้ Social Media ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ
150
เว็บไซต์ Chiang Mai City of Crafts and Folk Art ในปัจจุบันได้มีการอัพเดทเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนภาษาอังกฤษ ครบทั้งหมดเว็บไซต์แล้ว สามารถดูเว็บไซต์ได้ 2 ภาษาในเนื้อหาที่ครบถ้วน แต่ลักษณะและโครงสร้างของเว็บไซต์ยังเป็นแบบ ดั้งเดิมตั้งแต่มีการก่อตั้งโครงการมีข้อเสียหลายอย่าง เช่น การเปิดเว็บไซต์ด้วยสมาร์ทโฟน มีความไม่ลื่นไหลเพราะเว็บไซต์ ไม่สามารถรองรับการใช้งานด้วยสมาร์ทโฟนได้ หรือการแชร์เนื้อหาต่างๆในเว็บไซต์ในปัจจุบันยังไม่สามารถทำ�ได้โดยง่าย ซึ่ง ขัดกับสภาวการณ์ในปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่รวดเร็วทำ�ให้เว็บไซต์ของโครงการมีความล้าหลังไม่ทันสมัยเทียบ เท่ากับเว็บไซต์อื่นในปัจจุบัน ทำ�ให้คณะทำ�งานจำ�เป็นต้องปรับปรุงเว็บไซต์เนื่องจากโครงการได้มีการส่งใบสมัครเข้าร่วมเครือ ข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกแล้ว เพื่อแสดงให้องค์การยูเนสโกเห็นถึงความทันสมัยของโครงการและยังตอบโจทย์ ความทันสมัยขององค์กรสู่นโยบาย Thailand 4.0 ที่ต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ ทาง คณะทำ�งานได้เห็นถึงความสำ�คัญของการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จึงได้ตกลงในการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเว็บไซต์ ของโครงการให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นให้สอดคล้องกับการใช้อินเตอร์เน็ตในยุคปัจจุบัน เว็บไซต์ใหม่ขณะนี้ได้มีการปรับปรุง และทดสอบระบบเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการใช้งานเมื่อสมบูรณ์แล้วจึงจะอัพขึ้นเซิฟเวอร์แทนเว็บไซต์ที่ใช้งานในปัจจุบัน
ภาพแสดงตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ที่ท�ำการปรับปรุงอยู่ในปัจจุบัน
151
ภาพแสดงตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ที่ท�ำการปรับปรุงอยู่ในปัจจุบัน
152
ภาพแสดงตัวอย่างหน้าเว็บไซต์ที่ท�ำการปรับปรุงอยู่ในปัจจุบัน
153
สังคมออนไลน์อื่นๆ ทางคณะทำ�งานได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความนิยมใช้กันมากในปัจจุบันจากผลการ สำ�รวจของ สำ�นักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ETDA (ปี 2017) พบว่าพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทย การใช้งานสังคมออนไลน์มากถึง 86.9 %
จากการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เรียงตามลำ�ดับแอพพลิเคชั่นดังนี้ YouTube, Facebook, LINE, Instragram, Pantip, Twitter, WeChat ตามลำ�ดับ
154
ทั้ ง นี้ ท างที ม งานได้ เ ล็ ง เห็ น ว่ า คนไทยใช้ สื่ อ สั ง คมออนไลน์ เ ป็ น จำ � นวนมากและเพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบาย Thailand 4.0 ที่ต้องมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น จากความสำ�คัญดังกล่าวจึงมีการเพิ่มช่องทางการ ประชาสัมพันธ์โครงการ อีก 4 ช่องทางดังนี้ 1. Facebook 2. Line 3. Instragram 4. Twitter Facebook การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ผ่าน Facebook สามารถเข้าถึงผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย หลายช่วงอายุ จึงได้ประชาสัมพัน์ ข่าวสารของทางโครงการและเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์แก่ผู้คนและเมือง ผ่าน Facebook มากขึ้น และได้รับการตอบรับจากผู้คนเป็นอย่างดี ทำ�ให้มีจำ�นวน ยอดการกดถูกใจเพจเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการแชร์โพสและมีส่วนร่วมในการคอม เม้นโพสมากขึ้น จากรายงานฉบับล่าสุดสำ�รวจไว้ว่าในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560 มียอดไลค์เพจโครงการ 5,161 คน ติดตาม 5,188 คน และในวันที่ 18 ธันวาคม 2560 ยอดไลค์เพจโครงการ 5,493 คน ติดตาม 5,542 คน ซึ่งระยะเวลา 42 วันยอดไลค์เพิ่มขึ้น 332 ไลค์ ติดตาม 354 คนซึ่งเป็นช่วงของการโปรโมท งาน Chiang Mai Crafts Fair 2017 นับได้ว่าเป็นการตอบรับจากการประชาสัมพันธ์ ที่ดี
ภาพแสดงการกดถูกใจเพจ และการกดติดตาม ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2560
155
ภาพแสดงการเข้าถึงโพสบนเพจเฟสบุ๊ค ChiangmaiCCFA แสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงการประชาสัมพันธ์เป็นจ�ำนวนมาก
156
LINE ไลน์เป็นรูปแบบของโปรแกรมสนทนาบนสมาร์ทโฟนที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อ เป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร ความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์ที่ทำ�ให้ไลน์โดด เด่น คือ “รูปแบบของสติกเกอร์” รวมทั้งคุณลักษณะเฉพาะในด้านต่างๆ ได้แก่ การสนทนาด้วย เสียง การสื่อสารแบบกลุ่ม การสร้างไทม์ไลน์ และการเล่น เกม เป็นต้น ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวนั้นจึงทำ�ให้ไลน์ได้รับความนิยม เป็นอย่าง มาก ทั้งกับผู้ใช้ทั่วไป และเจ้าของสินค้าและบริการที่นำ�มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็น ช่องทางในการเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำ�ให้คณะทำ�งานเล็งเห็น ประสิทธิภาพในการนำ�มาใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการได้เป็นอย่างดี จึงมี การจัดทำ�แอคเคาท์ขึ้นมาได้แก่ @chiangmaiccfa เพื่อใช้เป็นอีกหนึงช่องทางใน การประชาสัมพันธ์โครงการ และการติดต่อพูดคุยกับผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดีและ ง่ายดาย ปัจจุบันในวันที่ 18 ธันวาคม 2560 มีผู้ติดตามแล้วจำ�นวน 108 คน
ภาพแสดงตัวอย่างแอพพลิเคชั่น LINE@ เมื่อมีการกดติดตาม และเมื่อมีการประชาสัมพันธ์ผ่านไปยังผู้ติดตาม
ภาพตัวอย่างสื่อประชาสัมพันธ์แอพพลิเคชั่น LINE@ ผ่านทางเฟสบุ๊ค
157
Instagram Instagram คือ โปรแกรมที่สามารถนำ�รูปถ่ายมาตกแต่งให้สวยงามใน สไตล์ที่เราต้องการด้วยฟิลเตอร์ (Filter) และเครื่องมือที่มีอยู่ใน Instagram ซึ่งมี อยู่หลายรูปแบบให้เลือก แล้วนำ�รูปภาพที่ตกแต่งนั้นไปแชร์ให้เพื่อนๆ ใน Social Network ได้ดู เช่น Twitter, Facebook, เป็นต้น ซึ่งทำ�ให้ทุกคนสามารถเปิดดู แสดงความชื่นชอบ (Likes) และแสดงความคิดเห็น (Comments) ในรูปที่ทาง โครการอัพโหลดและแชร์ไว้ได้ จุดเด่นที่ทำ�ให้ Instagram ได้รับความนิยมอย่าง สูงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือ ใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็ว มีผู้ใช้งานร่วมกัน เป็นจำ�นวนมาก มีอินเทอร์เฟสที่สวยงาม มีความสนุกอยู่ในตัว และยิ่งมีดาราดัง ชอบใช้กันอีกก็ยิ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กระแสของ Instagram แรงขึ้นตามลำ�ดับ ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำ�ให้คณะทำ�งานเล็งเห็นประสิทธิภาพในการนำ�มาใช้ใน การประชาสัมพันธ์โครงการได้เป็นอย่างดี จึงมีการจัดทำ�แอคเคาท์ขึ้นมาได้แก่ @Chiangmai_Creativecity เพื่อใช้เป็นอีกหนึงช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โครงการ
ภาพแสดงตัวอย่างแอพลิเคชั่น Instagram ของทางโครงการ
158
Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคม (Social Networking) และบล็อกขนาดเล็ก (Micro Blog) ที่ผู้ใช้สามารถที่จะส่งและอ่านข้อความที่เรียกกันว่า Tweet ซึ่ง จะต้องเป็นข้อความที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษร โดยจะแสดงในหน้าของประวัติของ ผู้เขียน (Author’s Profile) สามารถส่งต่อไปยังผู้ที่สมัครรับข้อความดังกล่าว หรือที่เรียกว่า ผู้ติดตาม (Follower) ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นทำ�ให้คณะทำ�งานเล็ง เห็นประสิทธิภาพในการนำ�มาใช้ในการประชาสัมพันธ์โครงการได้เป็นอย่างดี จึง มีการจัดทำ�แอคเคาท์ขึ้นมาได้แก่ @ChiangMaiCrafts เพื่อใช้เป็นอีกหนึงช่อง ทางในการประชาสัมพันธ์โครงการ
ภาพแสดงตัวอย่างหน้าเพจ แอพพลิเคชั่น twitter ของทางโครงการ
159
161
163
การศึกษาดูงานในกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ ณ ประเทศไต้หวัน เมืองไทเป โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ ขององค์การยูเนสโก(UNESCO)สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
เนื่องจากในปี 2559 โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ได้มีการจัดประชุมร่วมกับ TCDC ในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 เวลา 13.00 น. – 17.00 น. ณ วิทยาลัยอาชีวะศึกษา จังหวัดเชียงใหม่ ในเรื่อง “การพัฒนาเมืองสู่เมืองสร้างสรรค์งานฝีมือและชุมชนเมืองยูเนสโก” โดย การประชุมเกี่ยวกับเป็นการพัฒนาเมืองเชิงสร้างสรรค์ จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันให้ เชียงใหม่สู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโกใน สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน งานประชุมครั้งนี้ได้มีผู้ เชี่ยวชาญจากกรุงไทเป ประเทศไต้หวัน และ เมืองชัยปุระ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นตัวแทนจากภาครัฐและภาคการศึกษาได้แบ่ง แบ่งปันมุมมองและประสบการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองขึ้นอยู่กับเอกลักษณ์ของท้องถิ่น โดยมีวิทยากรบรรยาย ดังนี้ 1. Ms. Alice RuHwa Chiu เป็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการจัดการทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ (ไต้หวัน) และ เป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีในกรุงไทเปตั้งแต่ปี พ. ศ. 2539 ซึ่งมีบทบาทสำ�คัญในการบริหารนโยบายเมืองทั้งในด้าน วัฒนธรรมและการศึกษา และได้มีการวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนกฎหมายเพื่อปกป้องมรดกและการออกแบบของเมืองตลอด จนการจัดประชุมนานาชาติและการฝึกอบรมต่างๆ 2. Dr. Shikha Jain เป็นสมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกโดยมีบทบาทในการวางแผนอนุรักษ์มรดก และการจัดการพิพิธภัณฑ์มากกว่า 40 แห่งทั่วประเทศอินเดีย 3. Dr. Min-Chin Kay Chiang เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์จากสถาบันบัณฑิตสถาปัตยกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม และผู้อำ�นวยการศูนย์การเรียนการสอนมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเปประเทศไต้หวัน และเป็นสมาชิกของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาในกองวัฒนธรรมหัตถกรรมสำ�นักงานวัฒนธรรมมรดกกระทรวงวัฒนธรรมไต้หวัน (2016 - ปัจจุบัน) และกรรมการผู้ จัดการพิพิธภัณฑ์ทองแห่งไทเป 4. Mr. Cho, Tzu-Lo ศิลปินรุ่นใหม่ที่ประสบความสำ�เร็จในการผสมผสานเทคนิคการทำ�ผ้าย้อมคราม 165
จากการประชุมที่ผ่านมา Ms. Alice Ruhwa Chiu วิทยากรจากประเทศไต้หวัน จึงได้เชิญทางโครงการขับเคลื่อนเมือง เชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ร่วมกันถ่ายทอด ประสบการณ์ในการพัฒนาเมืองหัตถกรรมสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำ�งานกับองค์กรซึ่งทำ�งาน ด้านการสร้างพื้นที่เพื่อการสร้างสรรค์ในเมือง ทั้งนี้ เนื่องด้วยไต้หวันเป็นประเทศที่มีหน่วยงานในการทำ�งาน และมีการพัฒนา งานด้านพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องและประสบความสำ�เร็จในการพัฒนาเมืองในเวลาอันรวดเร็ว จึงจะเป็นประโยชน์แก่เมือง เชียงใหม่ เรียนรู้ถึงวิธีการดำ�เนินงาน การทำ�กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และ สังเกตการณ์ รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ ใน พื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรม ,การจัดนิทรรศการ เพื่อนำ�ความรู้มาประยุกต์ใช้กับเมืองเชียงใหม่ต่อไป ระยะเวลา : 25 – 30 เมษายน 2560 ผู้เข้าร่วม : ภาคีเครือข่ายที่ทำ�งานด้านหัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน และพื้นที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งองค์กรที่มีภารกิจหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เครือข่ายหอศิลปวัฒนธรรมกลาง เวียงเชียงใหม่ , TCDC เชียงใหม่ , เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ , เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน เมืองไทเป ประเทศไต้หวัน นอกจากการต้อนรับจากคณะทำ�งานเมืองไทเป ประเทศไต้หวัน นำ�ทีมโดย Ms. Alice Ruhwa Chiu จากการศึกษา ดูงานครั้งนี้ได้เห็นถึงความพยายามของเมืองในการอนุรักษ์สถานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับการ พัฒนาเมืองไปสู่สากล ในไทเปมีการจัดตั้งหน่วยงานสำ�หรับการอนุรักษ์เพื่อให้สามารถติดต่อและยังเปรียบเสมือนเป็นหน่วย งานสำ�หรับการเก็บข้อมูลรวมถึงการจัดแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงจะเห็นได้ว่าการขับ เคลื่อนเพื่อให้เป็นสถานที่สร้างสรรค์ยังมีการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลกลางที่เข้ามามีส่วนร่วมในการออกกฎระเบียบที่ เอื้อต่อการอนุรักษ์อาคารในย่านเก่าแก่รวมถึงการจัดการแผนที่ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจน (Cultural Mapping) จึงจะเห็นได้ว่า พื้นที่สร้างสรรค์เป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับการแสดงออก เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการสร้างพื้นที่สำ�หรับคน รุ่นใหม่และชุมชน เพื่อเปิดโอกาสสำ�หรับจัดแสดงออกพื้นที่สร้างสรรค์ เพิ่มมูลค่า คุณค่าของชุมชน เห็นถึงความสำ�คัญในการ พัฒนาตัวอาคารเก่า จนถึงงานหัตถกรรมที่ถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง อัติลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ และในวันที่ 21 กรกฎาคม 2560 ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมของไต้หวัน ได้เดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ ได้รับเกียรติต้อนรับผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม และคณะศึกษาดูงานจากไทเป โดยรองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ หัวหน้าโครงการฯ ได้นำ�ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและทีมงาน เข้า ชมแหล่งหัตถกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ เรียนรู้ถึงวิถีชีวิต และ อัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมเมืองเชียงใหม่
166
ในวันที่ 26 เม.ย. ช่วงเช้า เยือนหน่วยงาน IHRM (Institute for Historical Resources Management) ผู้ประสานงานของเราในไต้หวัน ฟั ง บรรยายเกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ทั่ ว ไปและพั ฒ นาการทาง ประวัติศาสตร์ของเมือง เพื่อให้เข้าใจถึงพื้นฐานที่จะน�ำไปต่อย อดในการศึกษาดูงานจุดต่อไป ที่น่าสนใจมี 3 ประเด็น 1. ตัวตึกของ IHRM รีโนเวทมาจากตึกเก่าที่มีความ ส�ำคัญในประวัติศาสตร์ที่ชื่อว่า Futai Mansion 2.โครงการที่ IHRM ได้ด�ำเนินการ คือการเป็น ตัวกลางของประชาชนในท้องถิ่นในการเรียกร้องให้มีการย้าย ทางด่วนที่ครอบทับ ประตูเหนือ (ประตูทางเข้าเมืองโบราณ มี ความส�ำคัญทางประวัติศาสตร์) โดยที่สามารถเรียกร้องได้ ส�ำเร็จและสามารถเอาทางด่วนออกจากบริเวณนั้นได้ภายใน 8 วัน 3.เราเห็นถึงความพยายามของเมืองในการบาลานซ์ ค ว า ม เ ป ็ น เ มื อ ง กั บ ก า ร อ นุ รั ก ษ ์ ส ถ า น ที่ ส�ำ คั ญ ท า ง ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาให้ไปพร้อมๆกัน เพื่อเป็นฐานใน การพัฒนา
ช่วงบ่าย ไปยังย่านเก่าแก่ Dadaocheng พบกับหน่วยงาน the Taipei Urban Regeneration Office, URO ที่เป็น หน่วยงานรับผิดชอบด้านการอนุรักษ์ตึกเก่าแก่
ประเด็นที่น่าในใจ 2 ประเด็น 1. รัฐบาลกลางมีการเข้ามา Take action อย่างเป็นรูปธรรม ในการออกกฎระเบียบที่ดึงดูดเอื้อต่อการอนุรักษ์อาคารและ ย่านเก่าแก่ 2. การจัดการมีระเบียบสูงและมีความชัดเจน มีการท�ำ mapping ทั้งหมด
“วันนี้ถือเป็นไฮไลท์ของทีม คือการไต้เข้าพบ ผู้ช่วย รัฐมนตรีวัฒนธรรมของไต้หวัน เราได้แนะน�ำโครงการและ ได้พูดคุยเรื่องความเป็นไปได้ในความร่วมมือทางด้านศิลป วัฒนธรรมระหว่างเชียงใหม่กับไทเป”
167
ช่วงเย็น เดินทางต่อไปที่ Taipei Artist Village/ Treasure Hills ที่คนไทยจะรู้จักกันในนามหมู่บ้านศิลปินที่อยู่บน เนินเขา พวกเขาปรับปรุงมาจากหมู่บ้านที่มีคนอยู่จริงๆ และ ไม่ได้ไล่ไปไหนอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนกับศิลปินตรงนั้นเลย โดย ได้จัดสรรพื้นที่ Creative Space เข้าไปด้วย มีพื้นที่แสดงงาน ทั้ง In door คือแกลลอรี่ และพื้นที่ Out Door ส�ำหรับงาน Installation Art นอกจากนั้นยังมี Taipei Media School ที่เปิดรับ สมัคร นักเรียนที่จบชั้น ม.3 และสนใจท�ำงานด้านมีเดียมา เรียนกันอย่างจริงจังด้วย
วันที่ 27 เม.ย. ช่วงเช้า เดินทางไป National Taiwan Craft Research and Development Institute (NTCRI) Taipei Branch ได้ เห็นการจัดพื้นที่ของอาคารหลังเก่ารีโนเวทให้กลายเป็นพื้นที่ ที่นักออกแบบรุ่นใหม่สามารถเข้ามาเช่าที่ในราคาถูกเพื่อขาย งานและจัด Workshop ได้ รวมถึงห้องแสดงผลงานที่มีทั้ง นิทรรศการงาน Craft ท้องถิ่นและงาน Craft ระดับนานาชาติ
ช่วงบ่าย ไปยังย่าน Wanhau ย่านเก่าอีกย่านหนึ่งที่เรามองว่า เป็นกาดหลวงผสมกับส�ำเพ็ง เป็นอีก Heritage Site ที่น่าใน สนใจ มีย่านที่ยังคงขายสมุนไพร ที่เชื่อว่าสามารถเอาไปรักษา โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งขนมาสด ๆ จากภูเขาทุกวัน มีวัด Long shan ที่นอกจากจะมีชื่อด้านขอพรความรักแล้ว ก็ยังพื้นที่ที่มี การเคลื่อนไหวทางการเมืองของภาคประชาชนด้วย
คณะท�ำงานได้ เ ดิ น ทางไปดู โรงงานน�้ ำ ตาลเก่ า ที่ ชุมชนบริเวณนั้น เขาได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่น�ำเสนอ ประวัติศาสตร์ของย่านได้อย่างน่าสนใจ ท้ายสุดของย่าน เรา ได้เดินทางไปที่ตึก U mkt ซึ่งเป็นอาคาร Loft สมัยใหม่กลาง ย่านตลาดสด ท�ำหน้าที่เป็น Creative Space และเป็นพื้นที่ ท�ำงานของเด็กนักศึกษาอีกด้วย
168
ช่วงเย็น ไปยัง Huashan 1914 Creative Space ขนาดใหญ่ ใจกลางเมือง ที่นี่เป็นโรงงานไวน์เก่าในยุคที่ไต้หวันถูก ปกครองโดยญี่ปุ่น ในภายหลังได้ถูกปรับปรุงให้เป็น Creative Space มีทั้ง Live House ส�ำหรับจัดแสดงดนตรีของศิลปิน รุ่นใหม่ไปจนถึงเพลงคลาสสิค พื้นที่แสดงนิทรรศการขนาด ใหญ่ พื้นที่ให้เช่าขายราคาไม่แพงของส�ำหรับ designer ที่ ก�ำลัง Start up ธุรกิจของตัวเอง หลังจากได้เดินชมสถานที่แล้ว พวกเราก็ได้แลก เปลี่ยนและน�ำเสนอข้อมูลของเชียงใหม่ให้เหล่าแขกผู้มีเกียรติ กว่า 40 คนฟัง ในตอนท้ายพวกเราได้เตรียมการแสดงและ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้วย
169
วันที่ 28 เม.ย. ช่วงเช้า เดินทางไปยัง Guandu Natural Park ซึ่งอยู่ที่ปาก แม่น�้ำตอนเหนือของไทเป เป็นพื้นที่ชุ่มน�้ำที่มีความส�ำคัญทาง ด้านนิเวศวิทยา ในแต่ละปีจะมีนกที่อพยพย้ายถิ่นมากว่า 280 ชนิด นอกจากนั้นยังมีโครงการจัด Installation Art ในพื้นที่ ของอุทยานเป็นประจ�ำทุกปีด้วย เพื่อดึงดูดและสร้างแรง บันดาลในให้คนสนใจและให้ความส�ำคัญกับสิ่งแวดล้อมและ ระบบนิเวศฯ ของพวกเขา ส�ำหรับศิลปินที่สนใจเข้าร่วมแสดง ผลงานศิลปะสามารถ ติดตามรายละเอียดและก�ำหนดการรับ สมัครได้ที่ http://www.guandu-natureart.tw/
ช่วงเย็น เดินทางไป Sungshan Creative Park ซึ่งรัฐบาลได้ ปรับปรุงมาจากโรงงานยาสูบ เป็นที่ตั้งของ Taiwan Design Center และส�ำนักงานของ red dot มี Museum ที่เอาไว้ แสดงงาน design โดยเฉพาะ มีห้องขนาดใหญ่เพื่อจัด Event ใหญ่ๆ และพวกเราโชคดี ที่ได้เจอกับ Event การแสดงผลงาน ตัวจบของนักศึกษาสาขาการออกแบบทั่วไทเปที่มาจัดงาน ร่วมกันที่นี่ มีทั้งการเดินแบบแฟชั่น application game online และงานออกแบบแขนงอื่นๆ ถือเป็น Graduation Event ที่น่าสนใจสุดๆ
ช่วงบ่าย เยี่ยมชม Beitou Public Library เป็นห้องสมุด ประชาชนทีมีการจัดการให้เป็น Green Library ตั้งอยู่บนเนิน เขาในสวนสาธารณะเป๋ยโถว ที่นี่เราจะเป็นตั้งแต่เด็กๆประถม ที่มาทัศนศึกษากับโรงเรียน และเด็กๆที่มานั่งอ่านนิทานจนถึง วัยเกษียณที่มานั่งอ่านหนังสือต่างๆในมุมของตนเอง ไฮไลท์ของที่นี่น่าจะเป็น Creative Lab ที่ทาง รัฐบาลได้ท�ำพื้นที่ให้กับเหล่า Start up ทางด้านงานดีไซน์ให้ สามารถ apply เข้ามาท�ำงาน ให้ Lab ให้อุปกรณ์ เชิญผู้มี ประสบการณ์มาให้ความรู้และ work shop ตลอดปี รวมถึง การจัดหาโอกาสและตลาดให้กับ Brand Start up ทั้งหลาย ด้วย เรียกว่าสนับสนุนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการเลย
170
วันที่ 29 เม.ย. ช่วงเช้า ชมพิพิธภัณฑ์ National Palace Museum ที่ว่ากัน ว่ามีของในวังเก็บไว้เยอะกว่าที่แผ่นดินใหญ่เสียอีก ทีมที่สนใจ ทางด้านประวัติศาสตร์จีนตื่นตาตื่นใจไปหมด ที่นี่มีทั้งของใช้ ในราชวัง และงานศิลปหัตถกรรมของราชวงศ์ต่างๆอยู่เต็มไป หมด คนที่มาชมงานก็เยอะมาก เรียกได้ว่าล้นมิวเซียมทีเดียว
ช่วงบ่าย – เย็น หลังจากประชุมสรุปการดูงานทั้งหมด ก็ไปที่ตึก Taipei 101 สถานที่สุดท้ายของการเดินทาง นอกจากความทันสมัย ทิวทัศน์สวยงามของเมืองไทเป 360 องศา และความเร็วของ ลิฟท์แล้ว อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ “ฮวงจุ้ย” เพราะทุกสิ่งทุก อย่างออกแบบมาจากพื้นฐานฮวงจุ้ย
171
173
โครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ร่วมผลักดันสู่มรดกโลก ระหว่างวันที่ 5 - 10 กรกฎาคม 2560 ณ จังหวัดสงขลา และ เมืองจอร์จทาวน์ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย กิ จ กรรมนี้ ไ ด้ แ นวคิ ด และกิ จ กรรมสื บ เนื่ อ งจากที่ เมืองเชียงใหม่ มีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองจอร์จทาวน์ ปีนัง และมีมรดกทางวัฒนธรรม ที่หลากหลาย ซึ่งคล้ายคลึงกันอยู่ มาก กอรปในช่วงเดือนกรกฎาคมของปีนี้ เมืองจอร์จทาวน์ได้ จัดกิจกรรม “9th Anniversary Celebrations of George Town as a UNESCO World Heritage Site” ในธีมงานว่า “Walk the Talk: Oral Traditions and Expressions” ใน ปีนี้ได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จึงมีแนวความคิด และกิจกรรมในการที่จะน�ำเสนอ การแสดงพื้นบ้านล้านนา เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งส�ำคัญ ที่สุด ฝีมือทางด้านงานหัตถกรรม ฝีมือทางด้านงานหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน อันแสดงออกมาทางเครื่องแต่งกายและ เครื่องดนตรี
การนี้ทางโครงการต้องการให้เกิดความร่วมมือและ การแสดงออกถึงความสัมพันธ์ อันจะส่งผลประโยชน์ต่อ ทางการร่วมมือในระดับนานาชาติ เพิ่มและค้นหาเครือข่าย ของเมืองสร้างสรรค์ เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และงาน หัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่สืบไปนอกจากนี้คณะท�ำงาน George Town Heritage Celebrations 2017 น�ำโดย George Town World Heritage Incorporated เมืองจอร์จ ทาวน์ ปีนัง ยังได้ให้เกียรติกับทางคณะท�ำงานน�ำโลโก้ของทาง โครงการขึ้นสู่หน้าเว็บไซต์ และยังมีการโพสเพจเฟสบุ๊คของ ทางงาน George Town Heritage Celebrations 2017 แสดงการต้อนรับในการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย
175
176
วันที่ 1 (5 กรกฎาคม 2560) เดินทางสู่จังหวัดสงขลา คณะท�ำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้าน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และคณะท�ำงานขับเคลื่อน เชียงใหม่สู่มรดกโลก เดินทางถึงจังหวัดสงขลาเข้าฟังบรรยาย กระบวนการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนเมืองสงขลาสู่ มรดกโลกโดยกลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลา ณ โรงสีหับโห้หิ้น (โรงสีแดง) ในย่านเมืองเก่าของจังหวัดสงขลา ในการนี้ นาย สมศักดิ์ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา และนายรังษี รัตนปราการ ประธานภาคีคนรักเมืองสงขลาและเจ้าของโรงสี หับโห้หิ้น กล่าวต้อนรับ
พร้อมการบรรยายกระบวนการท�ำงานแนวคิดริเริ่ม อุปสรรค และความคืบหน้าของการพัฒนาเมือง โดยอาจารย์อรทัย สัตยสัณห์สกุล ดร.จเร สุวรรณชาต สมาชิกภาคีฯ อาวุโส และ ปตท. สผ. ผู้สนับสนุนภาคีฯ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการบอกเล่า ถึงคุณค่าในประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลาโดยอาจารย์สืบ สกุล ศรีสุข ผู้อ�ำนวยการภาคีฯ หลังจากเสร็จกิจกรรมคณะ ท�ำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมือง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้านหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้าน และคณะท�ำงานขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่มรดกโลก ได้ แสดงดนตรีพื้นเมืองเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแสดง ให้ชาวสงขลาได้รับชม และร่วมร�ำวงฟ้อนร�ำด้วยกัน หลังจาก การแสดงเสร็จแล้วอาจารย์สืบสกุล ศรีสุข ผู้อ�ำนวยการภาคีฯ ได้ อ าสาพาคณะท�ำงานของเราน�ำชมเมื อ งด้ ว ยรถรางของ เทศบาลนครสงขลาเพื่อให้เห็นถึงคุณค่าในประวัติศาสตร์ของ เมืองสงขลามากยิ่งขึ้น
177
วันที่ 2 (6 กรกฎาคม 2560) เดินทางสู่ จอร์จทาวน์ ปีนัง ประเทศมาเลเซีย คณะท�ำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้าน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และคณะท�ำงานขับเคลื่อน เชียงใหม่สู่มรดกโลก พบกับคณะท�ำงาน George Town World Heritage Incorporated และรับฟังการบรรยาย สรุปเตรียมความพร้อม การร่วมงาน George Town Heritage Celebration 2017 กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่จัดขึ้นทุก ปี (ปีที่ 9) งานในปีนี้จัดในธีม Walk the Talk เป็นการน�ำเอา มรดกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพูด การเล่า และการร้อง (oral traditions and expressions) ผ่านภาษาอันหลาก หลาย จาก 14 ชุมชนที่มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา และภาษา
โดยคณะท�ำงานได้ น�ำการแสดงดนตรี พื้ น เมื อ งและ นิทรรศการว่าด้วยการขับเคลื่อนเชียงใหม่เมืองแห่งหัตถศิลป์ และศิลปะพื้นบ้าน และโครงการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่มรดก โลกเข้าร่วมจัดแสดงด้วย เพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลกของเมืองจอร์จทาวน์ และเพื่อสื่อสารต่อสาธารณะ ถึงความรุ่มรวยของวัฒนธรรมอันหลากหลายในปีนัง และ เพื่อรักษาส่งต่อให้มรดกทางวัฒนธรรมเล่านี้ยังคงมีชีวิต
178
วันที่ 3 (7 กรกฎาคม 2560) แสดงบรรเลงดนตรีพื้นเมืองประกอบการฟ้อน ในพิธีเปิดงาน George Town Heritage Celebration 2017 คณะท�ำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้าน หั ต ถกรรมและศิ ล ปะพื้ น บ้ า นและคณะท�ำงานเชี ย งใหม่ สู ่ มรดกโลก น�ำการแสดงบรรเลงดนตรีพื้นเมืองประกอบการ ฟ้อน เข้าร่วมพิธีเปิด George Town Heritage Celebration 2017 ที่ Majestic Theatre Penang ซึ่งเป็นการแสดง ที่เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดเชียงใหม่ สร้าง ความสนใจต่อชาวปีนัง เป็นอย่างมาก
179
วันที่ 4 (8 กรกฎาคม 2560) แสดงบรรเลงดนตรีพื้นเมือง ประกอบการฟ้อน ณ เวทีชั่วคราว Armenian Stage และ Kampung Kolum Stage คณะท�ำงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็น เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้าน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และคณะท�ำงานเชียงใหม่สู่ มรดกโลกน�ำการแสดงบรรเลงดนตรีพื้นเมืองประกอบการ ฟ้อนขึ้นแสดง ณ เวทีชั่วคราว Armenian Stage และ Kampung Kolum Stage ซึ่งเมืองจอร์จทาวน์จะปิดโซนถนนเพื่อ จัดให้มีกิจกรรมในงาน ทั้งนี้ทางคณะท�ำงานได้จัดแสดง นิ ท รรศการแนะน�ำโครงการและแนวคิ ด การท�ำงานของ โครงการขั บ เคลื่ อ นเมื อ งเชี ย งใหม่ เ ป็ น เครื อ ข่ า ยเมื อ ง สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ด้านหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้าน และคณะท�ำงานเชียงใหม่สู่มรดกโลกไปจัดแสดง ภายในงานด้วย เพื่อเป็นประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรู้จักเชียงใหม่ มากยิ่งขึ้น และคณะท�ำงานได้จัดท�ำของที่ระลึกที่เป็นความ เชื่อของชาว ล้านนา คือ พระธาตุประจ�ำปีเกิด น�ำเสนอใน รูปแบบปั๊บสา ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
180
เนื่องจากจังหวัดเชียงใหม่เป็นพันธมิตรที่ดีต่อเมืองปีนัง ประเทศมาเลเชีย และในปี 2560 นี้เมืองอร์จทาวน์ ปีนัง ประเทศมาเลเชียได้จัดกิจกรรม “9th Anniversary Celebrations of George Town as a UNESCO World Heritage Site” โดยใช้ชื่อกิจกรรม “Walk the Talk : Oral Traditions and Expressions” ในการแลกเปลี่ยนเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ครั้ง นี้ ทางโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) และ โครงการเชียงใหม่ เมืองมรดกโลก รวมถึงตัวแทนภาคีเมืองเชียงใหม่ได้นำ�เสนอการแสดงพื้นบ้านล้านนา การฟ้อนรำ� และ การแสดงดนตรีพื้น เมือง ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ วิถีชีวิต รวมถึงการใส่ชุดพื้นเมืองที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของล้านนา บอกถึงความสวยงาม ของงานหัตถกรรมที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเสื้อผ้า และ เครื่องประดับ เพื่อเป็นการเผยแพร่ถึงการนำ�งานหัตถกรรมมาให้กับพื้นที่ สร้างสรรค์และรังสรรค์ผลงานออกเป็นการฟ้อนรำ�และการแสดงดนตรีพื้นบ้าน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่อัตลักษณ์ ที่สวยงามของเมืองเชียงใหม่ จึงได้รับเกียรติเป็นการแสดงสำ�หรับพิธีเปิดงานและการแสดงโชว์ตลอดการแลกเปลี่ยนเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่าภายในงานเมืองเชียงใหม่เป็นที่สนใจสร้างความประทับใจต่อชาวปีนัง และ ผู้ร่วมงาน ทั้งนี้ทาง คณะทำ�งานได้จัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ ยูเนสโก (UNESCO) สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และ โครงการเชียงใหม่สู่เมืองมรดกโลกได้จัดแสดงนิทรรศการ ทำ�ให้ ผู้คนรู้จักเมืองเชียงใหม่มากยิ่งขึ้น
181
183
แผยแพร่-แลกเปลี่ยนทางด้านงานหัตถกรรม และวัฒนธรรม ณ เมืองชยอนจู สาธารณรัฐเกาหลี 27-29 ตุลาคม 2560
โซลเป็นเมืองหลวงของเกาหลีและเป็นศูนย์กลางทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ ด้วยประมาณ 73 เปอร์เซ็นต์ของนักออกแบบชาวเกาหลีที่จดจ่ออยู่ในกรุงโซลเมืองนี้เป็นหัวใจสำ�คัญของฉากการออกแบบแห่งชาติ ภาคการ ออกแบบของกรุงโซลมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์ต่างๆเกี่ยวกับไอทีเครื่องใช้ไฟฟ้าระบบดิจิตอลอุตสาหกรรมยานยนต์ตลอดจน กิจกรรมทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจต่างๆเพื่อให้บริการแก่ชาวเมืองกว่า 10 ล้านคน เกาหลีใต้ได้รับการประกาศเป็นเมืองสร้างสรรค์โดยองค์การยูเนสโก UNESCO ในแต่ละประเภท จำ�นวน 3 เมือง ดังนี้ 1. Creative City of Design, Seoul : member since 2010 เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในด้านการออกแบบ Dongdaemun Design Plaza (DDP) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 2. Creative City of Crafts and Folk Art, Incheon : member since 2010 เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในด้านงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ใน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 3. Creative City for Gastronomy, Jeonju : member since 2012 เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ในด้านนวัตกรรม อาหาร ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 Creative City of Design, Seoul : member since 2010 การออกแบบเชื่อมโยงอุตสาหกรรมและผู้สร้างมูลค่าใหม่ ๆ รัฐบาลกรุงโซลจึงสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีโดยการ เชื่อมโยง บริษัท ออกแบบเข้ากับอุตสาหกรรมชั้นนำ�ของเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Dongdaemun Design Plaza (DDP) ซึ่ง ออกแบบโดย Zaha Hadid สร้างขึ้นเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่เป็นศูนย์กลางของย่านที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และ มีชีวิตชีวาที่สุดของกรุงโซล โครงสร้างพื้นฐานอันยิ่งใหญ่นี้ซึ่งอุทิศให้กับการออกแบบและอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ได้ทำ�ให้ เศรษฐกิจของเมืองดีขึ้น Dongdaemun Design Plaza (DDP) ที่มีขนาด 86,574 ตารางเมตรประกอบด้วย Design Museum หอศิลป์ และ ห้องปฏิบัติการการออกแบบรวมถึงห้องสมุดออกแบบและสิ่งอำ�นวยความสะดวกด้านการออกแบบการศึกษา ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการสร้างงานกว่า 170,000 ตำ�แหน่งในอุตสาหกรรมการออกแบบของกรุงโซลเพียงอย่างเดียว เกือบหนึ่งในสามของงานเหล่านี้อยู่ในภาคการผลิตและการออกแบบที่ปรึกษา; ส่วนอีกสามคนกำ�ลังอยู่ในการออกแบบแฟชั่น นอกจากนี้โซลยังเป็นที่ตั้งของผู้เชี่ยวชาญด้านการโฆษณา, สถาปนิก, นักออกแบบเกมและนักพัฒนาเนื้อหาดิจิทัลหลายพันคน
185
ผลงานสร้างสรรค์ของเมืองขึ้นอยู่กับเอกลักษณ์ของตน ความแรงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงโซลคือความสามารถในการ เฉลิมฉลองความหลากหลาย การเติบโตที่โดดเด่นภายในระยะเวลาสั้น ๆ เกิดขึ้นได้จากความสามารถของผู้คนในการรับค่า นิยมที่หลากหลายและจัดการกับความขัดแย้งและการประนีประนอมที่เกิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าว Creative City of Crafts and Folk Art, Incheon : member since 2010 เมืองอินชอน (Incheon) เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียงกว่า 200,000 คนถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเมืองที่มีฝีมือด้าน การทำ�เครื่องปั้นดินเผา ที่มีความประณีตระดับภูมิภาค เมืองแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานประเพณีอันโดดเด่นและการแสดงตน ที่แข็งแกร่งของศิลปินท้องถิ่นและงานฝีมือในงานเซรามิก ประติมากรรม ซึ่งช่วยในการกำ�หนดตำ�แหน่งตัวเองว่าเป็นศูนย์กลาง ศิลปะและงานฝีมือที่ไม่มีข้อโต้แย้งในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ได้มีการแต่งตั้งเป็นเมืองทางด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ของ องค์การยูเนสโก (UNESCO) เมืองอินชอน Icheon ได้ มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาเซรามิคที่ทันสมัยและในการมอบเครื่อง เซรามิคแบบดั้งเดิมของเกาหลีซึ่งเป็นงานศิลปะโบราณที่ย้อนกลับไปกว่า 1,000 ปีจากรุ่นหนึ่งไปสู่ยุคถัดไป ซึ่งพื้นที่ในการ รังสรรค์งานเครื่องปั้นดินเผานั้น ได้มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำ�เป็น เช่น สถานประกอบการอุตสาหกรรมสถาบันการศึกษา และ สถานที่สนับสนุนงานฝีมือที่เกี่ยวข้องของเมืองอินซอน ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นเขตเฉพาะฝีมือเฉพาะแห่งในเกาหลี เมืองอินซอน (Icheon) ได้เชื่อมโยงอย่างชาญฉลาดกับความงามของงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมกับอุตสาหกรรมในยุค ปัจจุบันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำ�นวยต่อการอนุรักษ์มรดกอันโดดเด่น หมู่บ้านได้จัดงาน Icheon Ceramics Festival ที่มีชื่อเสียงเป็นประจำ�ทุกปีหลายทศวรรษ เมืองแห่งงานฝีมือยังเป็นเจ้าภาพจัดงานอื่น ๆ อีก เช่น Gyeonggi International CeraMIX Biennale และ Icheon International Sculpture Symposium Exhibition ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมือง อย่างยั่งยืน ความพยายามของเมืองในการส่งเสริมงานฝีมือเป็นที่ประจักษ์ในการสนับสนุนสถาบันอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริม การศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องต่อไป แสดงให้เห็นถึงสถานะของเมืองเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและ กันและกิจกรรมสร้างสรรค์ วันนี้เมืองอินซอน (Icheon) มีการพัฒนานโยบายและโครงการที่สร้างสรรค์ซึ่งมุ่งหมายที่จะทำ�ให้ ประชาชนของตนเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูปเมืองในฐานะ UNESCO Creative City Icheon มุ่งมั่นที่จะรักษาทรัพยากร วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าเหล่านี้กับเมืองอื่น ๆ ทั่วโลก
186
Creative City for Gastronomy, Jeonju : member since 2012 เมืองชยอนจู (Jeonju) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกใหม่ของเครือข่ายสร้างสรรค์เมืองของยูเนสโกในเดือน พฤษภาคมนี้และเข้าร่วมในเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกที่รุ่งเรืองในการวางแผนและพัฒนาเมืองด้วยความคิดสร้างสรรค์และการดำ�เนิน งานที่สร้างสรรค์
ข้าวยำ�เกาหลี “Bibimbap”
สัญลักษณ์เมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหารโดยแทน เป็นรูปผู้หญิงและสีสันจากข้าวยำ�เกาหลี “Bibimbap”
เมืองสร้างสรรค์สำ�หรับการทำ�อาหารเพื่อนำ�ไปสู่ยุคโลกาภิวัตน์อาหารเกาหลี เมืองที่โด่งดังในชื่อ ข้าวยำ�เกาหลี (Bibimbap) กลายเป็นเมืองแรกของเกาหลีที่ได้รับการจัดให้เป็นเมืองศาสตร์ทางด้านอาหารแห่งองค์การยูเนสโกและเป็นเมือง ท่าที่สี่ของ Popayan (2005), เมืองเฉิงตูของประเทศจีน (2010) และ สวีเดนของ Ostersund (2010) ก่อนหน้านี้ในปี พ. ศ. 2553 เมืองชยอนจู (Jeonju) ได้รับรางวัลว่าเป็นสมาชิกของ Cittaslow International ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับโลกที่เกี่ยวกับ วิถีชีวิตที่มีการใช้ชีวิตแบบค่อยๆ ไม่เร่งรีบ เป็นเมืองที่มีความเงียบสงบ และยังมีหมู่บ้านโบราณเกาหลี (Hanok Village) ซึ่งเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่แท้จริง
สัญลักษณ์รางวัลสมาชิกของ Cittaslow International
187
เมืองชยอนจู (Jeonju) เป็นเมืองแห่งประเพณีการทำ�อาหารมากมายซึ่งนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดแห่ง หนึ่งของเกาหลีใต้แล้วตอนนี้ได้ให้คำ�มั่นสัญญาว่าจะรวมความเป็นผู้นำ�ในโลกาภิวัฒน์อาหารเกาหลีผ่านทางการแต่งตั้งจาก นายกเทศมนตรีที่มีเป้าหมายที่จะสร้างเครือข่ายที่มั่นคงพร้อมกับกลุ่มวัฒนธรรมทั่วโลกและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ผ่านการแลก เปลี่ยนความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เมืองชยอนจู (Jeonju) จึงเป็นเมืองได้รับคะแนนสูงสำ�หรับความโดดเด่นของอาหาร ท้องถิ่นส่งลงมาจากรุ่นสู่รุ่นควบคู่ไปกับการสนับสนุนอย่างเข้มงวดของตนในการรักษาชุมชนครัวที่มีชีวิตชีวาโดยการริเริ่ม จากการวิจัยที่กระตือรือร้นทั้งในภาครัฐและเอกชน เมืองนี้ยังได้รับการประเมินผลเชิงบวกสำ�หรับการจัดงานด้านอาหารเช่น งานเทศกาลกินยองจุนจูและงาน International Fermented Food Expo เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม สองสัปดาห์หลังจากได้รับการแต่งตั้งผู้แทนของ เมืองชยอนจู (Jeonju) เข้าร่วมการประชุม สามัญประจำ�ปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโกในเมืองมอนทรีอัล ซึ่งพวกเขาได้เข้าร่วมกันหารือเกี่ยวกับโครงการ ความร่วมมือกับผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในด้านความคิดสร้างสรรค์ เมืองนี้มีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อปกป้องวัฒนธรรม ดั้งเดิมของอาหารและพัฒนาภาคการทำ�อาหาร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญของ การทำ�ให้อาหารเกาหลีแบบดั้งเดิมเป็นสากลและยังเป็นการสร้างแบบจำ�ลองสำ�หรับการพัฒนาที่ย่ังยืนสำ�หรับอุตสาหกรรม อาหารในศตวรรษที่ 21 .ในฐานะที่เป็นเมืองทางด้านการศาสตร์ทางด้านอาหารของเมืองยูเนสโกเมืองชยอนจู (Jeonju) จะ พัฒนาอุตสาหกรรมอาหารร่วมกับเมืองอื่น ๆ ของศาสตร์ด้านการทำ�อาหารจากทั่วโลกผ่านการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ อันยั่งยืนบนฐานมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายในอาหารแบบดั้งเดิม
188
ก�ำหนดการ การประชุมวันที่ 27 – 28 ตุลาคม 2560 การน�ำเสนองานโดย Dr. Alexandra Denes อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาสื่อศิลปะ และการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
189
วันที่ 28 ตุลาคม 2560 ได้รับการต้อนรับจาก Mr. Kim Swung-Su Mayor of Jeonju ที่มากล่าวและ พูดถึงเรื่องราวของเมืองชยอนจู ที่ เป็นเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหาร (Creative City of Gastronomy) และก�ำลังขับเคลื่อนเมืองชยอนจูให้เป็นเมืองมรดกโลก ซึ่งเป็นเมืองที่มี หมู่บ้านเก่าที่ยังคงความสวยงาม (Honok, Korean Traditional Houses)
190
ทางโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและ ศิลปะพื้นบ้านได้ จัดเตรียมของที่ระลึกที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่ขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่รวมถึง “น้องฟาน” ที่เป็น สัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลก และทางโครงการได้จัดนิทรรศการ เกี่ยวกับ “ความเชื่อกับงานหัตถกรรมที่ขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่” โดยเนื้อหาที่น�ำเสนอเป็นการน�ำเสนอในเรื่อง ความเชื่อในพื้นที่ของเมือง ความเชื่อในพื้นที่ชุมชน ความเชื่อในพื้นที่ บ้าน (บ้านเก๊า) งานหัตถกรรมผ่านความเชื่อ เช่น ห�ำยนต์ ท้าวทั้งสี่ ตาแหลว ตุง รวมถึงงานหัตถกรรมที่ใช้ในพิธีกรรม
191
การสาธิตการท�ำ “ตาแหลว” โดย นายอาณัฐพล ชัยศรี ซึ่งมีผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้การท�ำตะแหลว และสอบถามถึง ความหมาย “ตาแหลว” เครื่องรางที่ก�ำลังจะหายไปกับกาลเวลา ตาแหลว คื อเครื่องรางชนิดหนึ่งของล้านนา ใช้ตอก (ไม้ไผ่ ผ่าซีกบาง ๆ ใช้รัดสิ่งของ) สาน และหญ้าคาฟั่นเวลามีงานส�ำคัญ อาทิ สืบชะตา ท�ำบุญเมือง เป็นต้น มัดติดหน้าบ้าน ปักบน หม้อยาเพื่อรักษาสรรพคุณ ปักไว้ในที่ไม่ใช่ผีผ่าน เป็นเครื่องหมายที่ช่วยปกป้องคุ้มภัยจากอันตรายต่างๆ ตาแหลว 7 ชั้น ใช้ใน พิธีสืบชาตา หรือประดับไว้ตรงบนประตู หรือทางเข้าบ้าน หรือหน้าบ้าน เพื่อดักความชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคล หากผู้ใดได้ลอด ตาแหลว ก็สามารถขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายนั้นออกไปจากตัวได้ ชาวล้านนาในอดีตใช้ตาแหลวเป็นเครื่องหมายถือพิธีกรรมตาม ความเชื่อ โดยเฉพาะการแสดงอาณาเขตหวงห้าม แสดงเขตที่มีเจ้าของ เป็นเครื่องช่วยให้ที่นั้น คลาดแคล้วจากภัยพิบัติ ดังที่ ได้มักพบตาแหลวเสียบไม้ปักไว้ในนาข้าวก็มีเพื่อเป็นเครื่องเสริมก�ำลังมิให้ข้าวถูกรบกวนจากศัตรูพืชต่างๆ และมักแขวนร่วม กับด้ายสายสิญจน์ โดยการน�ำเสนอและสาธิตการจักสานที่ได้รับความสนใจ ซึ่งได้ประมวลภาพงานและการสาธิตจักสาน ดัง ภาพต่อไปนี้ 192
สาธิตการท�ำตาแหลว ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นอย่างมาก
193
การพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเมืองโดยผู้เข้าร่วมเสวนาจากนานาชาติ พร้อมกับการถ่ายภาพรวมร่วมกับผู้เข้าร่วมงานประชุมในครั้งนี้
194
จากการได้รับเกียรติร่วมจัดนิทรรศการและน�ำเสนอ “2017 World Forum For Intangible Cultural Heritage” ที่ เมืองชยอนจู ประเทศเกาหลี ในหัวข้อ “ความเชื่อกับการขับเคลื่อนเมือง” และเป็นที่น่ายินดีที่เมืองชยอนจู ได้ให้ความส�ำคัญ ในการเป็นพันธมิตรเครือข่ายเมืองระหว่าง เมืองชยอนจู และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ส่งหนังสือ ให้ทีมงานโครงการฯ ได้รับเกรี ยติเป็นฑูตสันถวไมตรีระหว่างเมืองชยอนจู เป็นเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 – 31 ธันวาคม 2561 นับว่าเป็นเรื่อง ราวที่ดีระหว่างเมืองเชียงใหม่ และ เมืองชยอนจู
195
197
องค์การ UNESCO ประกาศให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560
199
ที่มา : https://en.unesco.org/creative-cities/events/64-cities-join-unesco-creative-cities-network 200
รายนามประเทศที่ได้รับการคัดเลือกเป็น Creative Cities 2017 “Crafts and Folk Art”
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221