CHIANG MAI ZOO VARIETY MAGAZINE | MARCH 2014

Page 1

MAGAZINE

13 มีนาคม “วันช้างไทย” (ภาพ ปู่พลายเอก | สวนสัตว์เชียงใหม่)

วารสารสวนสัตว์เชียงใหม่

ปีที่ 1 ฉบับที่ 4 วันที่ 15 มีนาคม 2557


บรรณาธิการ เวลาช่างผ่านไปรวดเร็ว และแล้วปี พุทธศักราช 2557 ก็ ผ่านเข้าสู่เดือนที่ 3 แล้วนะคะ เดือนนี้อากาศที่เชียงใหม่เริ่มเข้าสู่ หน้าร้อนอย่างชัดเจน สีสันของธรรมชาติก็เปลี่ยนเป็นสีนำ�้ตาลเป็น ส่วนใหญ่ จะเรียกว่าเป็นฤดูใบไม้ร่วงก็ว่าได้ เป็นฤดูกาลที่ให้อารมณ์ ลึกซึ้งได้อีกแบบ แนะนำ�ให้ท่านผู้อ่านนั่งริมหน้าต่าง มองดูใบไม้ที่ ค่อยๆ ร่วงหล่น จากต้น หมุนวนกลางอากาศตามแต่ลักษณะของใบ และร่วงลงสู่พื้นดิน เป็นงานศิลปะชั้นเลิศที่หาดูได้ง่าย รอบๆตัวเรา ในช่วงฤดูนี้

และในเดือนมีนาคมนี้ มีวันสำ�คัญประจำ�ชาติไทย ที่จะรำ�ลึก ถึงสัตว์ผู้ยิ่งใหญ่ มีส่วนร่วมในการสร้างชาติมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และ เป็นสัตว์สัญลักษณ์ของสยามประเทศ คือในวันที่ 13 มีนาคม ของทุก ปี คณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงาน ประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำ�งานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ช้างไทย และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำ�นักเลขาธิการนายก รัฐมนตรี กำ�หนดให้เป็น “วันช้างไทย” ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2541 เป็นต้นมา ในวันที่ 13 มีนาคม ทุกๆปี ทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ เอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลช้างจะจัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงแสง สี เสียง เล่าเรื่องราวตำ�นานของสยาม ประเทศที่มีช้างเป็นส่วนสำ�คัญ, การจัดเลี้ยงขันโตกช้าง เป็นต้น ท่านผู้ อ่านสามารถแวะเวียนไปเที่ยวชม และช่วยอนุรักษ์ช้างไทยกันได้ทั่วทุก จังหวัดในประเทศไทยเลยนะคะ

กรรณิการ์ จันทรังษี

ทีมงานบรรณาธิการ ที่มา http://pirun.ku.ac.th

2


สารบัญ สรรหามาเล่า ปู่เอกงาเดียว สวนสัตว์เชียงใหม่

4

ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ โครงการอนุรักษ์และวิจัยชะมดเช็ด และสัตว์วงศ์ชะมด สวนสัตว์เชียงใหม่

6

เรื่องเด่น เดือนนี้ “สวนสัตว์เชียงใหม่จัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ วันช้างไทย 13 มีนาคม”

8

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ช้าง ช้าง ช้าง

9

ชุมนุมนักเขียน นักเขียนฉบับนี้

10

4 3


สรรหามาเล่า | ปู่เอกงาเดียว สวนสัตว์เชียงใหม่ ด้วยความเคารพและอาลัยรักแด่ ปู่เอกงาเดียว ช้างปู่เอกของคนสวนสัตว์เชียงใหม่

ช้าง เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นสัตว์ ที่มีอายุขัยใกล้เคียงกับมนุษย์ หากกล่าวว่าคนที่มีอายุยืนนาน ย่อมมีเรื่องเล่าและประสบการณ์ชีวิตมากมาย คำ�กล่าวนี้ก็คง ปู่พลายเอก | สวนสัตว์เชียงใหม่ ใช้ได้กับช้างเช่นกัน ต่างเพียงแต่ช้างไม่สามารถเล่าเรื่องราว ชีวิตที่ผ่านได้ด้วยตัวเองเท่านั้น บทความนี้ได้เขียนขึ้นเพื่อบอก เล่าเรื่องราวชีวิตของช้างเชือกหนึ่งที่มีความผูกพันในความทรง จำ�ของคนเชียงใหม่ หลายต่อหลายรุ่น โดยเฉพาะความทรงจำ� วัยเด็กกับครั้งแรกที่ได้มาเที่ยวสวนสัตว์ กับช้างพลายงาเดียว หรือ ปู่เอกงาเดียว ของ สวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์เชียงใหม่ เริ่มต้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2493 โดยมิสเตอร์ฮาร์โรล เม สัน ยังก์ หรือชาวเมืองเชียงใหม่ทั่วไปมัก เรียกว่า มิสเตอร์ยังก์ หรือ พ่อนายยังก์ ของคนสวนสัตว์รุ่นบุกเบิก เป็นชาวฝรั่ง เชื้อสายอเมริกัน ได้มีความชอบส่วนตัวใน การเลี้ ย งสะสมสั ต ว์ ที่ บ้ า นจนมี สั ต ว์ ม าก ขึ้น และได้เปิดให้คนเชียงใหม่เข้าชมกลาย เป็น “ สวนสัตว์ฝรั่ง “ หรือ “สวนสัตว์ นายยังก์” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบ้านสวนเวฬุวัน ถนนสุเทพ ด้านหลัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาชาวเชียงใหม่ให้ความสนใจเข้าชม มากขึ้น จนต้องมีการขยับขยายพื้นที่ให้เหมาะสม โดยย้ายมา อยู่บริเวณที่ตั้งในปัจจุบันและเริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าชมเมื่อ วันที่ 6 เมษายน 2498 และให้ชื่อว่า “สวนสัตว์เชียงใหม่“ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้เข้าร่วมเป็นพี่น้องกับสวนสัตว์ดุสิต ภายใต้ครอบครัว องค์การสวนสัตว์ในพระบรม ราชูปถัมภ์ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2522 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่ เป็นช้างเอเชีย 2 เชือก ซึ่งได้รับมอบมาจาก สวนป่า ห้วยทาก จังหวัดลำ�ปาง โดยได้รับช้างเพศผู้ ในขณะนั้นมีอายุประมาณ 50 ปี เป็นช้างที่มีลักษณะพิเศษกว่าช้างปกติทั่วไปคือ มีงาเพียงข้างเดียวแต่กำ�เนิด หรือที่เรียกว่า “ช้างเอก” แต่พนักงาน สวนสัตว์เชียงใหม่มักให้ฉายาว่า “ พลายเอกงาขาว “ และช้างที่ได้ รับอีกเชือก เป็นช้างพังชื่อ “ แม่น้อย “ ขณะนั้นมีอายุประมาณ 52 ปี ซึ่งใช้ชีวิตร่วมกันในสวนสัตว์กว่าสิบปี โดยไม่มีลูกช้างด้วยกัน ต่อ มา พ.ศ.2534 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้รับช้างพังเชือกใหม่อายุประมาณ 5 เดือนจากจังหวัดนครราชสีมา ชื่อ “ น้องใหม่ “ และได้อาศัยอยู่ ร่วมกันอย่างมีความสุขเรื่อยมา จนเมื่อ พ.ศ. 2538 “แม่น้อย” ได้ล้ม ลงและจากไป ยังความเศร้าโศกให้แก่ช้างและคนที่อยู่เบื้องหลัง และ ใช้เวลากว่าสัปดาห์ กว่าที่ พลายเอก จะกลับมาเป็นปกติและใช้ชีวิต ต่อไป ปู่พลายเอก | สวนสัตว์เชียงใหม่

4


สรรหามาเล่า | ปู่เอกงาเดียว สวนสัตว์เชียงใหม่ กระทั่งวันหนึ่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2540 พนักงาน เลี้ยงพบว่า ลุงพลายเอกซึ่งมีอายุเกือบ 70 ปีได้ขึ้นผสม น้องพัง ใหม่ ซึ่งมีอายุแค่ 8 ปี ท่ามกลางความคลางแคลงใจของพนักงาน เลี้ยงต่อสมรรถภาพของพลายเอก แต่ต่อมาหลักฐานได้ปรากฏ ชัดเจนขึ้น เมื่อน้องใหม่อ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้น และตกลูกช้างเพศ เมีย 1 เชือกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2541 ชื่อ น้องไชโย และ อีกครั้งหนึ่งที่ พลายเอก ได้ตอกยำ�้ความสามารถของตัวเองให้ ปรากฏชัดเจน โดยความร่วมมือของน้องใหม่อีกครั้ง ในการให้ กำ�เนิดลูกช้างเพศเมียเชือกที่ 2 เมื่อวันที่ 14 พย 2546 คือน้อง ทองกวาว จากนั้นครอบครัวช้างของสวนสัตว์เชียงใหม่ก็อยู่ร่วม กันอย่างมีความสุข และคอยสร้างความสุขปนความทึ่งให้แก่ผู้ที่ เข้าชมสวนสัตว์เรื่อยมา จนเมื่อ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ลุงพลายเอกซึ่งกลายมาเป็น ปู่พลายเอก ที่เริ่มป่วยกระเสาะกระแสะมานาน ด้วยโรคชรา ทั้งนัยน์ตา ฝ้าฟาง มองอะไรก็ไม่ค่อยเห็น เดินเหินไม่ค่อยสะดวก จนปู่ได้สะดุดล้มนอนครั้งหนึ่งแต่ลุกไม่ได้เนื่องจากงายาวเกิน ไป แต่ตามประสาคน (ช้าง) แก่แต่ยังไฟแรง (ที่ยังเตะปี๊บดัง) และด้วยความร่วมแรงร่วมใจของพนักงานเลี้ยงทั้งแผนกบำ�รุงรักษา สัตว์และรถยก จึงช่วยสามารถพยุงปู่เอกให้ลุกยืนได้ด้วยตัวเองอีกครั้ง หลังจากรอดมาได้ครั้งนั้นอีกนานกว่าปู่จะยอมนอนอีก ครั้ง หลังจากยืนหลับมานาน ท่ามกลางการดูแลและความห่วงใยในสุขภาพของปู่จากคนใกล้ชิด จากนั้นปู่ก็เริ่มป่วยมาเรื่อยๆตาม ประสาช้างชรา ท้องอืดบ้าง ท้องผูกบ้าง มีเคล็ดขัดยอกบ้าง แต่ปู่ก็ยังแข็งแรง เจริญอาหาร และ แอบมีนำ�้มันไหลจากต่อมนำ�้มัน บ้างในบางครั้ง ให้ลูกหลานได้อุ่นใจว่าปู่ยังอยู่เป็นขวัญกำ�ลังใจได้อีกนาน มีคนกล่าวว่าช้างเป็นสัตว์ที่มีสัมผัสพิเศษ ปู่เอกกลับมายืนหลับอีก ครั้งร่วมเดือนและไม่ยอมนอนหลับเลยเหมือนจะกลัวว่าถ้าลงนอนแล้วจะไม่ สามารถลุกขึ้นได้อีกครั้ง จนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2551 ตอนเช้าปู่ได้ล้ม นอนแต่ไม่สามารถลุกยืนเองได้แม้จะใช้รถยกและคนช่วยพยุงเหมือนครั้งก่อน แต่ครั้งนี้ต่างไปที่ปู่ไม่สามารถยืนด้วยตัวเองได้ หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงปู่ก็ จากไปอย่างสงบ ด้วยวัยร่วม 80 ปี ท่ามกลางความอาลัยของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง สำ�หรับคนหลายคนเหตุการณ์ครั้งนี้อาจเป็นเพียงสัตว์ตัวหนึ่งที่ ตายไป แต่สำ�หรับคนสวนสัตว์เชียงใหม่ ปู่เอกไม่ใช่แค่ช้าง เกือบ 30 ปีที่ปู่อยู่ ในสวนสัตว์ ถ้าปู่เป็นพนักงานก็เป็นพนักงานที่มีอายุการทำ�งานมากที่สุด ปู่เอก เป็นเหมือนเพื่อนที่อยู่คู่สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นญาติผู้ใหญ่ เป็นผู้อาวุโส เป็น ขวัญและกำ�ลังใจของคนทำ�งาน และเป็นอาจารย์ของผู้ที่เขียนบทความนี้ใน ฐานะสัตวแพทย์ที่ได้มีโอกาสปรนนิบัติดูแลสุขภาพปู่เอกช่วงสุดท้ายของชีวิต ปัจจุบันสวนสัตว์เชียงใหม่ยังคงเก็บรักษางาของปู่พลายเอกไว้ เพื่อ เป็นอนุสรณ์ถึงช้างที่อยู่คู่สวนสัตว์มาถึง 31 ปี และเป็นประโยชน์ด้านการ ศึกษาแก่คนรุ่นหลังสืบไป ที่มา - พลเมืองเหนือรายสัปดาห์ ฉบับเดือนธันวาคม 2548 - นายสนั่น ยอมใจอยู่ นายสมศักดิ์ ปันนา และนายกิตติ ยอมใจอยู่ พนักงานเลี้ยงสัตว์ที่คอยดูแลปู่เอกมาตลอด เรียบเรียง - สพญ.ขวัญเรือน ดวงสอาด

5


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | โครงการอนุรักษ์และวิจัย ชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมด สวนสัตว์เชียงใหม่

ชะมดเช็ดเป็นสัตว์ที่มีความสำ�คัญในด้านการอนุรักษ์และ เศรษฐกิจ เป็นสัตว์ที่นิยมนำ�ไขหรือนำ�้มันมาเป็นส่วนผสมของยาแผน โบราณและนำ�้หอม ซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก จึงเป็นเหตุจูงใจให้ เกิดการล่าชะมดเช็ดจากป่าธรรมชาติมาเลี้ยงเพื่อทำ�การเก็บไขหรือนำ�้ มันดังกล่าว และเกษตรกรผู้เลี้ยงชะมดเช็ดยังไม่สามารถเพาะขยาย พันธุ์เพื่อเพิ่มจำ�นวนชะมดได้ เป็นผลทำ�ให้จำ�นวนประชากรชะมด เช็ดที่อาศัยอยู่ในป่าธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงและใกล้สูญพันธุ์ สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยในปัญหาดังกล่าว จึงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ดำ�เนินการเลี้ยงชะมดเช็ด ในโครงการฟาร์ม ตัวอย่างตามพระราชดำ�ริบ้านดงเย็น จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการ อนุรักษ์ชะมดเช็ด และใช้ประโยชน์จากนำ�้มันชะมดเช็ด

องค์การสวนสัตว์จึงอัญเชิญกระแสรับสั่งดังกล่าว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาแก้ไขปัญหาจึงมอบหมายให้ สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นผู้รับผิดชอบในการศึกษาวิจัยเกี่ยว กับการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด ซึ่งได้รับทุนสนับสนุน จากสำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเมื่อ ปี 2551 เป็นต้นมา และปัจจุบันสามารถศึกษาการเพาะขยายพันธุ์ ได้สำ�เร็จและสามารถนำ�รุ่นลูก(F1)มาจับคู่ผสมพันธุ์ได้ รุ่นหลาน(F2)แล้ว จากความสำ�เร็จในการศึกษาค้นคว้า วิจัยการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด ผ่านมาเป็นระยะเวลา มากกว่า 5 ปีทำ�ให้สามารถรวบรวมองค์ความรู้และปัจจัย ต่างๆด้านการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดสามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการจัดการและการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด จึงดำ�เนิน โครงการวิจัยเรื่อง การเลี้ยงชะมดเช็ดจากโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำ�ริสู่ภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นโครงการเพื่อเพิ่ม คุณค่าและมูลค่าผลผลิตจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์(เชิงชุมชน)ซึ่งได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีความต้องการและมีความพร้อมใน การเริ่มเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด

6


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | โครงการอนุรักษ์และวิจัย ชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมด สวนสัตว์เชียงใหม่ จากการประเมินฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 25 ราย พบว่ า เกษตรกรมี ก ารพั ฒ นาการจั ด การฟาร์ ม และการป้ อ งกั น โรคที่ดีขึ้น ในกลุ่มที่ต้องการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด ได้ดำ�เนิน การเริ่มต้นเพาะขยายพันธุ์โดยใช้องค์ความรู้จากโครงการอบรม ของโครงการวิจัยและมีเกษตรกร 3 ราย ประสบความสำ�เร็จ สามารถผลิ ต ลู ก ชะมดเช็ ด ที่ มี สุ ข ภาพสมบู ร ณ์ แข็ ง แรงสามารถ เป็นต้นแบบให้แก่เกษตรกรรายอื่นๆได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของเกษตรกรที่มีต่อความเชื่อที่ว่าการ เพาะขยายพันธุ์สัตว์ชนิดนี้ไม่สามารถทำ�ได้ รวมไปถึงผลในแง่ ของการอนุรักษ์สัตว์ป่า จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและ หันมาสนใจให้ความสำ�คัญต่อการอนุรักษ์พันธุ์ชะมดเช็ดและลด การจับจากธรรมชาติ เพิ่มต้นพันธุ์ในสภาพการเพาะเลี้ยงมีการใช้ ประโยชน์จากชะมดเช็ดอย่างยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสามารถนำ�ไปปรับใช้กับการอนุรักษ์วิจัยสัตว์ป่าอื่นๆ ได้ จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ทำ�ให้ในปัจจุบัน องค์ ก ารสวนสั ต ว์ ไ ด้ รั บ ความเชื่ อ มั่ น ในการอนุ รั ก ษ์ แ ละ วิจัยสัตว์ป่า ดังจะเห็นได้จากรางวัลที่ได้รับ เช่น จากงาน มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำ�ปี 2556 (Thailand Research Expo 2013) ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา โครงการอนุรักษ์และวิจัยชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ ชะมด สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ รวม ไปองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับรางวัล สูงสุดในงาน คือ ถ้วยพระราชทาน Platinum Award จาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัคร ราชกุมารี และเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา คณะ กรรมการโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศได้พิจารณาประเมินผลงานวิจัยการเลี้ยงชะมดเช็ดจากโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามพระราชดำ�ริสู่ภาคเกษตรกรรมและได้มอบใบประกาศเกียรติคุณโครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศพ.ศ.2556 ให้แก่ โครงการวิจัยอีกด้วย นับเป็นความภาคภูมิใจขององค์การสวนสัตว์ที่ได้นำ�ความรู้เผยแพร่ และปลุกจิตสำ�นึกด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์ป่าสู่ชุนชนโดยแท้จริง ในปัจจุบัน สวนสัตว์เชียงใหม่ยังคงดำ�เนินการอนุรักษ์ และศึกษาวิจัยหาความรู้ใหม่ของชะมดเช็ดและเพิ่มเติมในสัตว์ วงศ์ชะมดชนิดอื่น ภายใต้โครงการ โครงการศูนย์อนุรักษ์วิจัย และแหล่งเรียนรู้ชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมดในสวนสัตว์เชียงใหม่ ที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และวิจัยชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมดที่สมบูรณ์ได้ ผู้เขียน นายธีรพงศ์ ณะกาศ นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์ 3 ฝ่ายอนุรักษ์ วิจัยและสุขภาพสัตว์

7


เรื่องเด่น เดือนนี้ | “สวนสัตว์เชียงใหม่จัดกิจกรรมยิ่ง ใหญ่ วันช้างไทย 13 มีนาคม” “ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง ช้าง..น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆเรียกว่า งวง มีเขี้ยวใต้งวงเรียกว่า งา มี หูมีตาหางยาว...” ไม่ว่าจะเป็นลูกเล็กเด็กแดง ผู้เฒ่าผู้แก่ ก็ร้องได้จนติดปากกันแทบทุกคน เพราะว่า “ช้าง” เป็นสัตว์สำ�คัญของ แผ่นดินไทย และยังเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยเราอีกด้วย ความสำ�คัญของช้างไทยนั้น เชื่อแน่ว่าหลายท่านก็มีคงความรู้สึก นึกคิดไม่ต่างกันเท่าใดหรอก เพราะนับตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันช้างมีความสำ�คัญต่อวิถีชีวิตของคนไทยมาช้านาน พระมหา กษัตริย์หลายพระองค์ในอดีตก็เคยใช้ช้างออกศึกต่อสู้กับอริศัตรูราช ได้รับเอกราชความไทย มาจนถึงวันนี้ กระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรง มีพระราชโองการสั่งให้มีการนำ�รูปช้างมาปรากฏโดดเด่นปลิวไสวไว้บนผืนธงชาติไตรรงค์ ด้วย เหตุนี้ทุกๆ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกๆ ปี ได้ถูกกำ�หนดให้เป็น “วันช้างไทย” ซึ่งได้มีประกาศ จากสำ�นักนายกรัฐมนตรีลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 มาแล้วนั้น สวนสั ต ว์ เชี ย งใหม่ เ องก็ เ ป็ น อี ก หน่ ว ยงานหนึ่ ง ที่ มี บทบาทสำ�คัญในการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งในปีน ที่สวนสัตว์ เชียงใหม่ได้จัดกิจกรรมวันช้างไทยอย่างยิ่งใหญ่ขึ้น ระหว่างวัน ที่ 13-16 มีนาคม 2557 โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการบอก เล่าประวัติความเป็นมาของวันช้างไทยพร้อมทั้งมีการจัดแสดง โครงกระดูกช้างไทย เพื่อการศึกษาเรียนรู้ ไว้ ณ บริเวณโถง แรกรับ อาคารโสภณ ดำ�นุ้ย และในวันที่ 15-16 จะมีการแสดง ความสามารถพิเศษของช้างอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น..การสาธิตการ ขึ้นลงช้าง ช้างเต้นรำ�ตามจังหวะเพลง ช้างนวดให้นักท่องเที่ยว ช้างเดินข้ามคน ช้างตีกลอง ช้างนอนหลับพักผ่อน ช้างจับหาง เดินขบวน คนลอดท้องช้าง และอื่นๆ อีกมากมาย ...สำ�หรับวัน ที่ 13 มีนาคม วันช้างไทย ณ บริเวณหมู่บ้านช้าง หรือแคมป์ช้าง ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่ ได้มีการประกอบพิธีบูชา “ศาลปะกำ� ช้าง”โดยมีหัวหน้าควาญช้างเป็นผู้นำ�ประกอบพิธี ซึ่งพิธีนี้ถือ เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ตามประเพณีของคนเลี้ยงช้างที่ต้องทำ�เป็น ประจำ�ทุกๆ ปี ในวันช้างไทยเท่านั้น จึงได้มีการนำ�เอาเครื่อง สังเวยพิเศษประกอบด้วย หัวหมู ไก่ เครื่องคาวและของหวาน ทำ�พิธีเซ่นไหว้และขอขมา พร้อมทั้งจัดสะโตกผลไม้ขนาดใหญ่ ของโปรดของช้าง อาทิ กล้วย อ้อย มอบเป็นของขวัญให้ช้าง ทุกเชือก เพื่อเป็นรางวัลในวันช้างไทยด้วย บรรยากาศในการ จัดกรรมในครั้งนี้ ได้มีทั้ง นักเรียนนักศึกษา ประชาชนทั่วไป และสื่อมวลชน ให้ความสนใจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว “หากทุกๆองค์กร ให้ความร่วมมือและให้สำ�คัญกับช้างไทย มีกิจกรรม ดีๆ เกี่ยวกับช้างให้ปรากฏต่อมวลชนมากเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้ประชาชนคน ไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำ�คัญต่อการให้ ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น”

เรื่องโดย : ไพรรินทร์ ยานะ นักประชาสัมพันธ์ 5 ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์

8


เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย | ช้าง ช้าง ช้าง ช้างพลาย หมายถึง ช้างเพศผู้มีงาทั้งสองข้าง ช้างเอก หมายถึง ช้างเพศผู้ มีงาข้างเดียวแต่กำ�เนิด ช้างสีดอ หรือช้างงวง หมายถึง ช้างเพศผู้ไม่มีงา ช้างพัง หมายถึง ช้างเพศเมีย ช้างต่อ หมายถึง ช้างบ้าน ที่พ่อเฒ่าใช้ขี่เพื่อล่อช้างป่า ช้างทรง หมายถึง ช้างที่ได้รับ แต่งตั้งให้เป็นพาหนะประทับ ของพระมหากษัตริย์ ช้างชำ�นิ หมายถึง ช้างสำ�หรับขี่ ช้างนำ�้ หมายถึง ฮิปโปโปเตมัส ที่มา http://dict.longdo.com/search

9


ชุมนุมนักเขียน | นักเขียนฉบับนี้

บรรณาธิการ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : เล็กๆ น้อยๆ กับความรัก สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

เรื่องเด่น เดือนนี้ : “สวนสัตว์เชียงใหม่จัดกิจกรรม ยิ่งใหญ่ วันช้างไทย 13 มีนาคม” นางสาวไพรรินทร์ ยานะ | นักประชาสัมพันธ์ 5

สรรหามาเล่า : ปู่เอกงาเดียว สวนสัตว์เชียงใหม่ สพญ.ขวัญเรือน ดวงสอาด | หัวหน้างานสุขภาพสัตว์

ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ : โครงการอนุรักษ์และวิจัย ชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมด สวนสัตว์เชียงใหม่ นายธีรพงศ์ ณะกาศ | นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์ 3 ออกแบบวารสาร นายภูดิศ เนตาสิทธิ์ | เจ้าหน้าที่สิทธิประโยชน์ ( สารสนเทศ-ไอที )

4 10


MAGAZINE

ผสมเทียมเสีอลายเมฆ ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ วันที่ 8 มีนาคม 2557

www.chiangmaizoo.com

4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.