CHIANG MAI ZOO VARIETY MAGAZINE | OCTOBER 2014

Page 1

MAGAZINE

วารสารสวนสัตว์เชียงใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 วันที่ 15 ตุลาคม 2557


บรรณาธิการ หนาวแล้วจ้า ตอนนี้ที่เชียงใหม่ อากาศเริ่มหนาว มีลมแล้งพัดผ่านเป็นระยะๆ ต้อนรับเทศกาลแห่งการท่องเที่ยว อากาศ ดี ดอกไม้สวย วันหยุดยาว ได้หมุนเวียนมาอีกครั้งในปีนี้ ผ่านไปอีก 1 หนึ่งปี เคยมีคนกล่าวไว้ว่า มีเพียงสามสิ่งในชีวิตที่เราไม่มี วันเรียกคืนได้ ก็คือ คำ�พูดที่พูดไปแล้ว วันเวลา และโอกาส ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องจริง มีหลายครั้งที่เราได้ปล่อยให้ทั้งสามสิ่ง หลุดลอยไป เมื่อมานึกย้อนก็อยากกลับไปคว้าไว้ หรือหยุดมันไว้ แม้กระทั่งอยากย้อนกลับไปแก้ไขใหม่ แต่ก็ไม่สามารถทำ�ได้ ทีม งาน Chiangmai Zoo Variety ก็ขอให้ทุกท่านได้มีโอกาสทำ�วันเวลาในแต่ละวันให้มีคุณค่าและมีสติในทุกๆอย่างที่ดำ�เนินไป เสมอนะคะ “อะไรดีงาม ให้รีบทำ�เสีย อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เมื่อโอกาสที่ทำ�ได้ผ่านพ้นไป จะไม่มีโอกาสเช่นนั้นอีก”

สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

สำ�หรับเรื่องราวในฉบับเดือนตุลาคมนี้ เป็นเรื่องราวดีดี ที่ทีมงานสรรหามาฝากได้ทั้งความรู้เพิ่ม กิจกรรมสนุกสนาน และอย่าลืม หนาวนี้มาเที่ยวเชียงใหม่ มาเจอกันที่สวนสัตว์เชียงใหม่นะคะ

กรรณิการ์ จันทรังษี ทีมงานบรรณาธิการ

2


สารบัญ สรรหามาเล่า นกกระเรียน

4

ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ ศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่งเรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมด 8 เรื่องเด่น เดือนนี้ งานวันเกิด อายุครบ 13 ปี หมีแพนด้าหลินฮุ่ย ชุมนุมนักเขียน นักเขียนฉบับนี้

10 11

4 3


สรรหามาเล่า | นกกระเรียน นกกระเรียนกระจายในทุกเขตทั่วโลกทั้งสิ้น 15 ชนิด สามารถพบได้ทั้งในทะเลทราย ภูเขา เขตหนาวเย็น และตาม ชายแดนประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศ นกกระเรียนเป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อสันติ และความสงบสุขระหว่างมนุษยชาติ นกกระเรียน 15 ชนิด ใน 4 สกุล ประกอบด้วย

1

1.นกกระเรียนมงกุฎดำ� / Black Crowned Crane

2

2.นกกระเรียนคอดำ� / Black-necked Crane

3

3.นกกระเรียนฟ้า / Blue Crane

4

4.นกกระเรียนออสเตรเลีย / Brolga

5

5.นกกระเรียนเล็ก / Demoisella Crane

6

6.นกกระเรียนยุโรป / Eurasian Crane

7

7.นกกระเรียนมงกุฎเทา / Grey Crowned Crane

8

8.นกกระเรียนหมวกขาว / Hooded Crane

4


สรรหามาเล่า | นกกระเรียน 9

9.นกกระเรียนมงกุฎแดง / Red-Crowned Crane

10

10.นกกระเรียนเนินทราย / Sandhill Crane

11

11.นกกระเรียนไทย / Sarus Crane

12

12.นกกระเรียนไซบีเรีย / Siberian Crane

13

13. นกกระเรียนเหนียงคอยาว / Wattled Crane

14

14.นกกระเรียนคอขาว / White-naped Crane

15

15.นกกระเรียนอเมริกา / Whooping Crane

5


สรรหามาเล่า | นกกระเรียน การเกี้ยวพาราสีของนกกระเรียนน่าชม และน่าฟังมาก นกกระเรียนทุกชนิดจะขับร้องเพลงเป็นเสียงประสานอย่าง พร้อมเพรียง ทั้งคู่จะทำ�ท่าทางเหมือนเต้นรำ�โดยแอ่นคอโค้งไปด้านหลังจนปากชี้ฟ้า ขณะเต้นรำ� เพศผู้จะเหยียดปีกลู่ไปด้านหลัง ส่วนตัวเมียจะเก็บปีกไว้เสมอ นกกระเรียนจัดเป็นสัตว์มงคลที่มีชื่อเสียงมากของคนจีน เป็นเทพพาหนะของเทพแห่งความยั่งยืน เมื่อจะอวยพรให้ มีอายุมั่นขวัญยืน จึงมักมีการมอบภาพสิริมงคลหรือแพรพรรณล้ำ�ค่าที่ปักเป็นรูปนกกระเรียน ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่า การพับนกกระเรียนกระดาษ เป็นการอธิษฐานเพื่อให้ผู้คนหายจากอาการเจ็บป่วย รวมทั้งเป็น สัญลักษณ์แห่งการเรียกร้องหาสันติภาพอีกนัยหนึ่งด้วย จากความเชื่อโบราณของชาวญี่ปุ่น จึงเกิดเรื่องราว” ซาดาโกะกับนกกระเรียนพันตัว” (Sadako and the Thousand paper cranes) เด็กหญิง ซาดาโกะ ซาซากิ เกิดวันที่ 7 มกราคม 2486 ที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ขณะที่ซาดาโกะอายุได้ 2 ขวบ วันที่ 6 สิงหาคม 2488 เครื่องบินรบของสหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมานูลูกแรกของโลกลงที่เมืองฮิโรชิมา และอีก 10 ปีให้หลัง ซาดาโกะก็กลายเป็นเหยื่อจากระเบิดปรมานู ที่เจ็บป่วยด้วยอาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ซาดาโกะเสียชีวิตในวันที่ 25 ตุลาคม 2496 ขณะอายุได้ 12 ปี ภายหลังจากต่อสู้กับโรคร้ายอยู่นาน 8 เดือน ในระหว่างที่ต่อสู้กับโรคลูคีเมียอยู่นั้น ซาดาโกะ ได้เริ่มพับนกกระเรียนกระดาษตามความเชื่อโบราณของชาวญี่ปุ่นว่า หากพับนกกระเรียนกระดาษเพื่ออธิษฐานต่อเทพเจ้าครบ 1000 ตัว เทพเจ้าจะบันดาลให้คนคนนั้นหายจากอาการเจ็บป่วย เด็กหญิงซาดาโกะเสียชีวิตขณะพับนกกระเรียนได้ 544 ตัว ในวันประกอบพิธีศพ เพื่อนๆของเธอร่วมกันพับจนครบหนึ่ง พันตัวฝังไปพร้อมกับร่างของซาดาโกะ ปี 2501 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ก่อสร้างอนุสาวรีย์ซาดาโกะขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ชาวโลกตระหนักถึงพิษภัยของสงคราม

6


สรรหามาเล่า | นกกระเรียน นกกระเรียนไทย จัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 สถานภาพปัจจุบันจัดเป็น สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ สวนสัตว์โคราช จัดเป็นสถานที่เพาะขยายพันธุ์นกกระเรียนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นกกระเรียนไทย ชื่อสามัญ : EASTERN SARUS CRANE ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus antigone sharpii ถิ่นกำ�เนิด : อินเดีย พม่า ไทย ตอนใต้ของลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ลักษณะเฉพาะ -เป็นนกบินได้ ที่มีความสูงมากที่สุดในโลก สูงเฉลี่ย 1.5-1.8 เมตร -ขนสีเทาทั้งตัว หัวและคอด้านบนมีสีเทา ชอบอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ�เปิดโล่ง การสืบพันธุ์ -จับคู่ผัวเดียวเมียเดียวตลอดชีวิต -ทำ�รังวางไข่ในช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม -วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 34 วัน วัฎจักรชีวิต -โตเต็มที่อายุ 2-3 ปี -อายุขัยเฉลี่ย 18 ปี อาหาร : กินได้ทั้งพืชน้ำ� สัตว์ขนาดเล็ก และแมลง บทบาทในระบบนิเวศน์ -ควบคุมประชากรแมลง และสัตว์ขนาดเล็ก สถานภาพ สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในประเทศไทย สามารถพบได้ในธรรมชาติของเพื่อนบ้าน จำ�นวนประมาณ 500 -1,500 ตัว

แหล่งที่มา http://www.savingcranes.org/ www.verdantplanet.org/ www.jvkk.go.th http://th.wikipedia.org/wiki/นกกระเรียนไทย

เรียบเรียงโดย สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

7


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | ศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่ง เรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมด ชะมดเช็ด เป็นสัตว์ที่มีความสำ�คัญในด้านการอนุรักษ์และเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ มี สาเหตุจากความเสื่อมโทรมของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังถูกล่าและนำ�มาเลี้ยงเพื่อทำ�การเช็ดไข ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในด้านธุรกิจเครื่องหอม ยาแผนโบราณทำ�ให้เกิดการเลี้ยงที่แพร่หลายมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แต่จากการ เลี้ยงชะมดเช็ดที่ผ่านมายังประสบปัญหาที่ไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดได้ ทำ�ให้ต้องจับชะมดเช็ดจากป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีความห่วงใยในปัญหาดังกล่าวจึงมีพระราชดำ�ริให้ดำ�เนินการศึกษา เพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดเพื่ออนุรักษ์ ในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามราชดำ�ริบ้านดงเย็น โดยสวนสัตว์เชียงใหม่ได้ทำ�การศึกษา วิจัยเกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดอย่างต่อเนื่อง จนได้องค์ความรู้ในการจัดการดูแล และการเพาะขยายพันธุ์ สามารถ เผยแพร่แก่เกษตรกร ส่งเสริมการเพาะขยายพันธุ์เพื่อกระตุ้นการอนุรักษ์ชะมดเช็ด ประกอบกับในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงสัตว์ กลุ่มชะมดอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตร เช่น การเลี้ยงอีเห็นธรรมดา อีเห็นเครือ เพื่อกินเมล็ดกาแฟในการผลิต กาแฟขี้ชะมด ทำ�ให้มีการจับสัตว์กลุ่มชะมดจากป่ามากและยังไม่มีการศึกษาวิจัย เพื่อการอนุรักษ์ จนมีแนวโน้มจะสูญพันธุ์ ในปัจจุบันสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีการเพาะเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ดและสัตว์วงศ์ชะมดเพิ่มเติมในพื้นที่ของสวน สัตว์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเพาะขยายพันธุ์สัตว์วงศ์ชะมดของภาคเหนือ โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ อนุรักษ์ วิจัย และแหล่งเรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมด โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนเพาะเลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ และส่วนนิทรรศการ ซึ่งพร้อมสำ�หรับการเปิดเผยแพร่แก่เกษตรกรและผู้สนใจในอาคารนิทรรศการดังกล่าวมีการจัดแสดงนิทรรศการความรู้ ซึ่ง ประกอบด้วย ป้ายความรู้ แบบจำ�ลองต่างๆ และสื่ออื่นๆเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์และวิจัย ชะมดเช็ด และสัตว์วงศ์ชะมด รวมไปถึงพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ทำ�การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์ชะมดเช็ด ในโครงการฟาร์มตัวอย่างตามราชดำ�ริบ้านดงเย็น อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ผู้เขียน ธีรพงศ์ ณะกาศ นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์

8


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | ศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่ง เรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมด

จัดตั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่งเรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมดในพื้นที่ของสวนสัตว์เชียงใหม่

เผยแพร่องค์ความรู้สู่เกษตรกร ส่งเสริมการเพาะขยายพันธุ์เพื่อกระตุ้นการอนุรักษ์ชะมดเช็ดและ สัตว์วงศ์ชะมด

ชะมด

อีเห็นธรรมดา

วันที่ 10 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา สวนสัตว์เชียงใหม่ได้เปิดดำ�เนินงาน ศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่งเรียนรู้สัตว์วงศ์ ชะมด ให้กับประชาชน นักเรียน นักศึกษา และเกษตรกรผู้สนใจเข้าชม และเรียนรู้การ ดำ�เนินงานของโครงการฯ ท่านผู้อ่านที่ สนใจ สามารถติดต่อนัดหมายวัน –เวลา เข้าชมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-5322-2479 หรือ 0-5322-1179 ต่อ งานธุรการ

ผู้เขียน ธีรพงศ์ ณะกาศ นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์

9


เรื่องเด่น เดือนนี้ | งานวันเกิด อายุครบ 13 ปี หมี แพนด้าหลินฮุ่ยโบลา ทางคณะทำ�งานได้จัดงานวันคล้ายวันเกิด ครบรอบ 13 ปี ให้หมีสุดสวย หลินฮุ่ย ผู้คนพามาให้กำ�ลังใจและอวยพรกัน อย่างมากมาย นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้แฟนคลับได้ร่วมปลูกต้นไผ่บงหวานของโปรดแพนด้า ด้านบริเวณฝายชะลอน้ำ� ด้านหลัง แพนด้าอีกด้วย

เค้กน้ำ�แข็งสูง 150 ซม. ตกแต่งด้วยเทียนทำ� จากน้ำ�แครอท แอ๊ปเปิ้ล และดอกอัญชัญ นอกจาก นั้นยังมี อ้อย แอ๊ปเปิ้ล องุ่นนอก แครอท หน่อไม้ แต่ง หน้าเค้กอีกด้วย

กินอะไรก่อนดีน้า เยอะแยะไปหมด

ผอ.สวนสัตว์เชียงใหม่ ร่วมปลูกต้นไผ่ให้

กินเพลินไม่สนใจบ้านข้างๆเลยน้า

บรรยากาศผู้มาร่วมอวยพรมี๊ฮุ่ย

10


ชุมนุมนักเขียน | นักเขียนฉบับนี้

บรรณาธิการ สรรหามาเล่า : นกกระเรียน สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ : ศูนย์อนุรักษ์ วิจัย และแหล่งเรียนรู้สัตว์วงศ์ชะมดนาย ธีรพงศ์ ณะกาศ | นักวิทยาศาสตร์สวนสัตว์

เรื่องเด่น เดือนนี้ : งานวันเกิด อายุครบ 13 ปี หมีแพนด้าหลินฮุ่ย งานประชาสัมพันธ์ | ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและประชาสัมพันธ์

ออกแบบวารสาร นายภูดิศ เนตาสิทธิ์ | เจ้าหน้าที่สิทธิประโยชน์ ( สารสนเทศ-ไอที )

4 11


MAGAZINE

สมาชิกตัวน้อยของสวนสัตว์เชียงใหม่ www.chiangmaizoo.com

4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.