CHIANG MAI ZOO VARIETY MAGAZINE | JUNE 2014

Page 1

มิสเตอร์ ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr. Harold Mason Young) ผู้ก่อตั้งสวนสัตว์เชียงใหม่

MAGAZINE วารสารสวนสัตว์เชียงใหม่

ปีที่ 1 ฉบับที่ 7 วันที่ 15 มิถุนายน 2557


บรรณาธิการ 37 ปี ถ้าเทียบเป็นอายุคน ก็อยู่ในวัยกลางคน กำ�ลังขยันขันแข็ง สร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัว เช่นเดียวกับสวนสัตว์ เชียงใหม่ ที่ได้ผ่านระยะเริ่มต้น คลาน เดิน และสะสมกำ�ลังวังชา ที่จะก้าวกระโดดไปจนสามารถทัดเทียมสวนสัตว์นานาประเทศ ได้ จะสังเกตได้จากที่ผ่านมา สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ตระเตรียมสถานที่อำ�นวยความสะดวกต่างๆ ให้สามารถรองรับรูปแบบการท่อง เที่ยวที่หลากหลายมากขึ้น รวมไปถึงการวางรากฐานด้านงานอนุรักษ์ วิจัย และการให้การศึกษากับกำ�ลังของชาติ ควบคู่ไปกับ การท่องเที่ยวอย่างสนุกสนาน ซึ่งมีความจำ�เป็นที่จะทำ�ให้การท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีความยั่งยืนมากที่สุด การท่องเที่ยวในสวน สัตว์เชียงใหม่ จึงมิใช่การท่องเที่ยวเพื่อความรื่นรมย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการท่องเที่ยวที่สามารถปลูกฝังจิตสำ�นึกรักษา ธรรมชาตินานาสัตว์ไว้ได้ด้วย และจะส่งผลเป็นอนาคตที่สดใสของประเทศไทย และของโลกสืบไป

“สุขสันต์วันเกิด สวนสัตว์เชียงใหม่”

กรรณิการ์ จันทรังษี ทีมงานบรรณาธิการ

2


สารบัญ สรรหามาเล่า มหัศจรรย์สัตว์โลก ซาวลา.....ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย

4

ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ เยี่ยมบ้านน้องเต่า ในวันเต่าโลก

6

เรื่องเด่น เดือนนี้ เปิดบันทึกกำ�เนิดสวนสัตว์เชียงใหม่ ชุมนุมนักเขียน นักเขียนฉบับนี้

8 9

4 3


สรรหามาเล่า | มหัศจรรย์สัตว์โลก ซาวลา.....ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับวงการอนุรักษ์ สัตว์ป่าโลก นั่นก็คือ การที่ซาวลาซึ่งเป็นสัตว์ที่หายากที่สุดและมีสถานะ ถูกคุกคามมากที่สุดในโลกขณะนี้ ได้ถูกบันทึกภาพด้วยกล้องดักถ่าย ภาพสัตว์ที่บริเวณเทือกเขาอันนัม ประเทศเวียดนาม โดยกองทุนสัตว์ป่า โลก หรือ World Wild Fund (WWF) และถือเป็นภาพซาวลาภาพแรก ของศตวรรษที่ 21 และเป็นความหวังใหม่ของการฟื้นคืนสายพันธุ์นี้เลยที เดียว ซาวลาคืออะไร มีหน้าตายังไง และอยู่แห่งหนไหนบนโลกใบนี้ ทำ�ไมจึงเป็นสัตว์ที่นักอนุรักษ์แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกให้เป็นสัตว์ เทพเจ้า ......ขอเชิญติดตาม....... พ.ศ. 2535 ซาวลา หรือ วัวหวู่กวาง ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกระหว่าง การลาดตระเวนสำ�รวจป่าหวู่กวาง ระหว่างกระทรวงป่าไม้เวียดนามและ WWF โดยพบกะโหลกสัตว์ป่าที่มีเขายาวในบ้านนายพราน นับเป็นการ ค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่และเป็นชนิดใหม่ในรอบ 50 ปี และนับเป็นการค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มหัศจรรย์แห่งศตวรรษที่ 20 , พ.ศ. 2541 มีรายงานพบซาวลาในป่าเวียดนาม และ พ.ศ. 2542 พบภาพซาวลาจากกล้องดักถ่ายภาพที่ประเทศลาว เป็นครั้งสุดท้ายที่มีรายงานการพบซาวลาในป่า 14 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 WWF และทีมป่าไม้ของเวียดนาม พบภาพของซาวลาจากกล้องดักถ่าย ภาพ ที่เทือกเขาอันนัม ประเทศเวียดนาม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษที่ 21 เป็นการจุดประกายความหวังในการอนุรักษ์ สายพันธุ์ที่เกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้วจากโลกนี้

ภาพของซาวลาจากกล้องดักถ่ายภาพ ที่เทือกเขาอันนัม ประเทศเวียดนาม

4


สรรหามาเล่า | มหัศจรรย์สัตว์โลก ซาวลา.....ยูนิคอร์นแห่งเอเชีย Saola ( sow-la ) หรือวัวหวู่กวาง เป็นสัตว์ที่อยู่ในตระกูล เดียวกับวัว ( Family Bovidae) และเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวของ Genus Pseudoryx มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pseusoryx nghetinhensis แปลว่า ออริกซ์ปลอมแห่งป่าเหง่ติน มีลักษณะเด่นคือ เขาเกลียวคู่ ขนานกัน มีปลายแหลม ซึ่งสามารถมีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย มีต่อมใต้ตาขนาดใหญ่ มีหนังคลุมเปิด-ปิดได้ นำ�้หนักประมาณ 80 - 100 kg สูง 80 – 90 cm เขายาว 35-50 cm นิสัย ชอบอยู่ตามลำ�พัง บางครั้ง พบเป็นคู่ หากินเวลากลางวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าตรู่ ตั้งท้องนานประมาณ 33 สัปดาห์ (เทียบกับสัตว์ใกล้เคียงพวก antelope) ตกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุขัยประมาณ 8-9 ปี อาหารได้แก่ ใบไม้ พืชสมุนไพร พบกระจายพันธุ์ เป็นบริเวณเล็กๆ ในแถบเทือกเขา อันนัม พรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวและเวียดนาม มีถิ่นอาศัยอยู่ในบริเวณป่าดิบชื้น ที่ความสูง 400-1000 เมตรจาก ระดับนำ�้ทะเล เหมือนกับสัตว์ชนิดอื่นๆในโลก การดำ�รงชีวิตของซาวลา ถูกคุกคามทั้งจาก การลักลอบล่าสัตว์อย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะ การติดบ่วงกับดักนายพรานที่ตั้งใจจะดักสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึง การ สูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจากการบุกรุกทำ�ลายป่า เพื่อการสร้างถนน สร้างเขื่อน การขยายพื้นที่เกษตรกรรม การทำ�เหมือง การทำ�ป่าไม้ ปัจจุบันสถานภาพทางการอนุรักษ์ของซาวลาถูกจัดไว้ ดังนี้ • IUCN red list : Critically Endangered ( CR )(2008) มีความ เสี่ยงสูงที่จะสูญพันธุ์จากธรรมชาติ • CITES : Appendix I (2009) • Population : The IUCN Saola Working Group คาดคะเน จำ�นวนประชากรซาวลา ว่าน่าจะมีประมาณ 200-300 ตัว หรือ อาจเป็นเพียงหลักสิบเท่านั้น ข้อเท็จจริง • ข้อมูลชีววิทยาเกี่ยวกับซาวลายังมีน้อยเนื่องจากจำ�นวนสัตว์มีอยู่น้อย และความยากในการเข้าถึงแหล่งอาศัยที่อยู่ในป่าลึก • ข้อมูลที่มีอยู่ได้มาจาก การศึกษาในซาวลาที่มีชีวิต 2-3 ตัว ส่วนมากมาจากโครงกระดูก และคำ�บอกเล่าจากคนพื้นถิ่น • ซาวลาไม่สามารถรอดชีวิตในสภาพการเพาะเลี้ยงได้ • ซาวลา เป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงความหลากหลายทางชีวพันธุ์ของเทือกเขาอันนัม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของ สายพันธุ์หายากที่น่าพิศวง มีการค้นพบสัตว์ป่าหายากที่พบที่นี่เพียงที่เดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบซาวลา เก้งอีกสอง สายพันธุ์ คือ เก้งยักษ์ (large-antlered muntjac) และ เก้งเจื่องเซินหรือเก้งอันนัม (the Truong Son muntjac) ที่ถูกค้น พบในป่าบริเวณเทือกเขาอันนัม ในปี 1994 และ 1997 ตามลำ�ดับ ที่มาของข้อมูล กองทุนสัตว์ป่าโลก ( WWF ), Saola Working Group (www.savethesaola.org) www.ultimateungulate.com , www.arkive.org , www.iucn.org เรื่องโดย สพญ.ขวัญเรือน ดวงสอาด | หัวหน้างานสุขภาพสัตว์

5


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | เยี่ยมบ้านน้องเต่า ในวันเต่าโลก “เต่า เต่า เต่า เต่ามันมีสี่ขา สี่ตีนเดินมา มันทำ�หัวผลุบ ผลุบ โผล่” ได้ยินน้อง น้อง เด็ก น้อยอนุบาลร้องเพลงตอนมาร่วมงาน “วันเต่าโลก” ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ก็ให้นึกถึงว่า เต่า เป็นสัตว์ที่อยู่ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตคนไทยมาช้านาน ทำ�บุญได้บุญมาก อายุยืน ต้องปล่อยเต่า แต่ ต้องระวังหน่อย ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเต่าด้วย ถึงจะปล่อยเต่าถูกวิธี ถ้าไม่มีความรู้จากได้บุญ จะกลายเป็นทำ�บาปฆ่าเต่าได้ เต่าแต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่อาศัยเฉพาะที่ เช่น พวกที่อยู่ในบริเวณปากแม่ นำ�้ จะไม่พบว่ามีอยู่ในบริเวณนำ�้จืดที่ลึกเข้ามาในแผ่นดินมาก หรือพบในทะเลลึก เลย นอกจากนี้ เต่าแต่ละชนิดยังกินอาหารแตกต่างกัน ดังนั้น ประเพณีการปล่อย เต่าเพื่อเอาบุญของคนไทยจึงมักเป็นการทำ�บาปเสียมากกว่า เนื่องจากนำ�เต่าไป ปล่อยผิดที่ผิดทาง ทำ�ให้เต่าส่วนใหญ่ต้องตายเพราะไม่ใช่แหล่งที่อยู่อาศัยของมัน และขาดอาหาร เพื่อให้การทำ�บุญไม่สูญเปล่า เรามารู้จักชนิดของเต่าในประเทศไทยกัน หน่อยนะคะ เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานในชั้น (Class) Reptilia ถูกจัดอยู่ในอันดับ (Order) Chelonia (หรืออันดับ Testudines) ปัจจุบันทั่วโลกมีทั้งหมด 12 วงศ์ (Families) สำ�หรับเต่าในประเทศไทยพบจำ�นวน 6 วงศ์ คือ 1.วงศ์เต่าบก หรือเทอร์ทอยส์ หรือเทสทูดินิดี (Family: Testudinidae or Tertoises) ได้แก่ เต่าเหลือง, เต่าเดือย, เต่าหกเหลือง, เต่าหกดำ� เป็นเต่าที่อาศัยบนบนเท่านั้น กระดองด้านบนโค้ง ขาหลังหนา มีรูปร่างคล้ายขาช้าง ขาหน้าแบน มีเกล็ดปกคลุมขนาดใหญ่ ไม่มีพังผืดระหว่างนิ้วเท้า เป็นเต่ากินพืช หญ้า ดอกไม้ ผลไม้

เต่าเหลือง 2.วงศ์เต่าหัวโต หรือวงศ์เพลททีสเทอรีดี (Family: Platysternidae or Big head turtle) ได้แก่ เต่าปูลู เป็นเต่ากระดองค่อนข้างแบน มีหัวขนาดใหญ่จนไม่สามารถ หดหัวเข้ากระดองได้ พบอาศัยตามลำ�ธารนำ�้ในภูเขาสูงเท่านั้น อยู่ในสถานภาพเสื่ ยงต่อการสูญพันธุ์

เต่าปูลู

3.วงศ์เต่านำ�้จืด หรือเบตากูริดี (Family:Bataguridae or Turtles) ได้แก่ เต่ากะอาน, เต่าลายตีนเป็ด หรือเต่าหัวแดง, เต่าหับ, เต่าแดง หรือ เต่าใบไม้, เต่าหวาย, เต่าจักร, เต่าบัว, เต่านาไทย, เต่าปากเหลือง, เต่าทับทิม, เต่า จัน, เต่าดำ�, เต่าแก้มแดง เป็นเต่านำ�้จืด มีพังผืดที่เท้า พบตามลำ�ธาร

เต่าแก้มแดง

4.วงศ์เต่ากระดองอ่อน หรือตะพาบ (Family:Trionychidae or Softshell turtles) ด้านบนปกคลุมด้วยกระดองอ่อน ชอบซ่อนตัวใต้นำ�้ในโคลน ได้แก่ ตะพาบนำ�้, ตะพาบม่านลายไทย, ตะพาบแก้มแดง,ตะพาบหับ,ตะพาบหัวกบ, ตะพาบไต้หวัน ตะพาบหัวกบ

6


ของดีในสวนสัตว์เชียงใหม่ | เยี่ยมบ้านน้องเต่า ในวันเต่าโลก

เต่าตะนุ

5.วงศ์เต่าทะเล หรือชีโลนิดี้ (Family:Cheloniidae or Sea Turtles) ขาหน้าเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้คล้ายกับครีบปลาให้เหมาะสำ�หรับการว่าย นำ�้ เป็นเต่าที่ไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองได้ ได้แก่เต่าตะนุ. เต่ากระ, เต่าหญ้า, เต่าหัวโต

6.วงศ์เดอโมชีลิอิดี หรือเต่ากระดองหนัง (Family: Dermochelyidae or Letherback Turtles) เต่าทะเลที่มีหนังปกคลุมกระดองด้านบน มีเพียง 1 ชนิด คือ เต่า มะเฟือง ลักษณะภายนอกสังเกตได้ง่าย จะมีกระดองหนังเป็นเหลี่ยมคล้ายผล มะเฟือง จัดเป็นชนิดเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก

เต่ามะเฟือง

นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมน้องเต่าหลากหลายสายพันธุ์ ถึง 27 ชนิด มากกว่า 300 ตัว ทั้งสายพันธุ์หายากใกล้สูญ พันธุ์ในประเทศไทย อย่างเช่น เต่าหกดำ� เต่าหกเหลือง และสายพันธุ์หายากจากต่างประเทศ เช่น เต่าอัลดาบรา ได้ที่โซนสัตว์ เลื้อยคลาน สวนสัตว์เชียงใหม่ทุกวัน แล้วเจอกันนะคะ

นิทรรศการวันเต่าโลก สวนสัตว์เชียงใหม่ 23 พฤษภาคม 2557

ที่มาข้อมูล http://animals.jrank.org/pages/3605/Tortoises-Testudinidae-PHYSICAL-CHARACTERISTICS.html http://museum.stkc.go.th/cu/turtle_main.php เรียบเรียง สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

7


เรื่องเด่น เดือนนี้ | เปิดบันทึกกำ�เนิดสวนสัตว์เชียงใหม่

นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) ปี พ.ศ. 2495 นายฮาโรลด์ เมสัน ยัง มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้กับทหาร และตำ�รวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี ได้รวบรวมสัตว์ป่า และเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชน ณ บริเวณ บ้านเวฬุวัน เชิง ดอยสุเทพ บ้านเช่าของนายกี และนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ 6 เมษายน พ.ศ.2500 สวนสัตว์ของ นายฮาโรลด์ เมสัน ยัง มิชชั่นนารีชาว อเมริกัน เปิดให้บริการเข้าชมอย่างเป็นทางการ โดยย้ายจากบริเวณบ้านเวฬุวันเข้าใช้ พื้นที่ในป่าสงวน เชิงดอยสุเทพ ได้รับการสนับสนุนจากผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ใน ขณะนั้น ซึ่งได้รับพื้นที่เพิ่มเติมเป็นจำ�นวน 60 ไร่ เปิดให้บริการจนกระทั่งนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง ถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. 2518 พ.ศ.2518 – 2520 องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาเห็น คุณค่าของสวนสัตว์ของนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง ในฐานะเป็นแหล่งพักผ่อนศึกษาสัตว์ ของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งหนึ่งตาม นายกี และนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินทร์ โครงการปรับปรุงดอยสุเทพให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ จึงรับกิจการสวนสัตว์ของ นาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ไว้ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2520 ได้โอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่ง ประเทศไทย สำ�นักนายกรัฐมนตรี เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่า และเป็น แหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้รับพื้นที่เพิ่ม จาก เดิม 60 ไร่ เป็น 130 ไร่ พ.ศ. 2526 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรี ให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุ เทพเพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ไร่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ปัจจุบันสวนสัตว์เชียงใหม่จะมีอายุครบ 37 ปี บริบูรณ์ เข้าสู่วัยกลางคน ที่ผ่านประสบการณ์มามากมาย และสวนสัตว์เชียงใหม่ ในวัยกลางคนนี้ยังเปิดดำ�เนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ธรรมชาติ นานาสัตว์ใกล้บ้าน และเป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากของ ไทย และของโลก ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้พบเห็น สืบไป เรียบเรียง สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

8


ชุมนุมนักเขียน | นักเขียนฉบับนี้

บรรณาธิการ สพญ.กรรณิการ์ จันทรังษี | หัวหน้างานอนุรักษ์

สรรหามาเล่า : แกะในบทบาทของศาสนาและตำ�นาน & แกะในนิทาน สพญ.ขวัญเรือน ดวงสอาด | หัวหน้างานสุขภาพสัตว์

ออกแบบวารสาร นายภูดิศ เนตาสิทธิ์ | เจ้าหน้าที่สิทธิประโยชน์ ( สารสนเทศ-ไอที )

4 9


MAGAZINE

ทำ�บุญครบรอบ 37 ปี สวนสัตว์เชียงใหม่ 16 มิถุนายน 2557

www.chiangmaizoo.com

4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.