50 lay without crop

Page 1


จิตแห่งศตวรรษที่ ๒๑



บทนำ�

บัณฑิต ๑๙๑๗ คน? ที่สำ�เร็จการศึกษาจากกายภาพบำ�บัด มหิดล ตลอดช่วงเวลา ๕๐ ปี เป็นหลักฐาน สำ�คัญแห่งความสำ�เร็จของสถาบัน ที่แห่งนี้ทำ�หน้าที่เป็นรากแก้วของวิชาชีพกายภาพบำ�บัดในสังคมไทย สร้างต้นไม้แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา ออกดอกผลกลิ่นรสหอมหวาน บำ�รุงสุขภาพของคนทั่วแผ่นดิน ไม่มีจังหวัดไหน ภาคใด ที่ไม่มีนักกายภาพบำ�บัดจากมหาวิทยาลัยมหิดล ไปทำ�งานรับใช้ประชาชน สุดแดน เหนือจรดใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก นักกายภาพบำ�บัดตัง้ มัน่ ประกอบวิชาชีพอันทรงประโยชน์ ต่อผู้คน บำ�บัดโรคภัย บรรเทาทุกข์โศก บำ�รุงคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างอดทนตั้งใจ


จิตแห่งศตวรรษที่ ๒๑

ครึ่งศตวรรษของวิชาชีพกายภาพบำ�บัดที่ผ่านมา กายภาพบำ�บัด มหิดลได้สั่งสมประสบการณ์ ความ ดีความงาม และความรู้ ก้าวสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยพันธกิจการตระเตรียมคนที่มีจิต ๕ ลักษณะ ที่นำ�สู่วิถีการ เรียนรู้และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพื่อให้ได้ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยสมรรถิยะการดำ�รงอยู่อย่างมีคุณค่า จิต ๕ ลักษณะทีต่ อ้ งปลูกฝังสำ�หรับอนาคต ตามทฤษฎีพหุปญ ั ญา* เป็นจิตเพือ่ การรูค้ ดิ ๓ ลักษณะ และจิตแห่ง ความเป็นมนุษย์ ๒ ลักษณะ ประกอบด้วย

1. จิตชำ�นาญการ The Disciplined Mind 2. จิตสังเคราะห์ The Synthesizing Mind 3. จิตสร้างสรรค์ The Creative Mind 4. จิตเคารพ The Respectful Mind 5. จิตจริยธรรม The Ethical Mind

*ทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligences) เสนอโดย Howard Gardner ปรมาจารย์ด้านการสอนการ คิดแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด



จิตชำ�นาญการ

The Disciplined Mind

กายภาพบำ�บัด มหิดล มุ่งสู่สถาบันต้นแบบความเป็นเลิศ (Model of Excellence) ตลอด ๕๐ปี มหิดลมุ่งเน้นสร้างนักกายภาพบำ�บัดที่มีจิตชำ�นาญการโดยแท้ ผู้ที่มีจิตชำ�นาญการต้องประกอบด้วยความเชี่ยวชาญในสาขาวิชา และความมีวินัย หมั่นเพียรฝึกฝน ด้วยความรู้อันลุ่มลึกนั้นจะเกิดได้ ก็เฉพาะในบุคคลที่มุ่งประกอบการงานเฉพาะด้านด้วยความใส่ใจ สั่งสมความรู้และประสบการณ์แรมปี ก่อนจิตนั้นจะปรากฏให้เห็นเป็นความเชี่ยวชาญชัดเจนโดดเด่น ผูเ้ ชีย่ วชาญไม่เพียงต้องรูส้ าระของวิชานัน้ อย่างถ่องแท้ แต่ยงั คิดแบบผูท้ เี่ ข้าถึงจิตวิญญาณของศาสตร์ นั้น มหิดลสร้างคนที่สามารถคิดแบบนักกายภาพบำ�บัด คนแล้วคนเล่า มหิดลเน้นให้นักศึกษาทุกระดับได้เรียนรู้แก่นแกนแห่งศาสตร์กายภาพบำ�บัดอย่างลุ่มลึก เพื่อสามารถ ประยุกต์เชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้อย่างกว้างขวาง


จิตชำ�นาญการ

ของศิษย์กายภาพบำ�บัด มหิดล มหิดลสร้างคนทีต่ งั้ มัน่ เรียนรูศ้ าสตร์ และฝึกฝนศิลปะแห่งวิชาชีพให้เชีย่ วชาญ รูจ้ ริง รูล้ กึ เข้าใจถ่องแท้ ในหลายๆด้าน ศิษย์เก่ากายภาพบำ�บัด มหิดลจึงอยู่ในแถวหน้าของการเป็นนักวิชาชีพมาตลอด ปรากฏเป็นผู้ ที่สังคมให้การยกย่อง รับรางวัลจากหน่วยงานทั่วทิศที่มอบให้ เพื่อระลึกถึงคนดีและความดีของคนเหล่านี้ ด้วยการเรียนรู้ที่แท้จริง จะเกิดได้ก็เมื่อผู้เรียนกอรปด้วยฉันทะภายในตัวเอง ศิษย์มหิดลจึงเป็น บุคคล ทีใ่ ฝ่รู้ และเป็นคนทำ�งานโดยใช้ความรู้ เพราะมีความศรัทธาเชือ่ มัน่ ในคุณค่าแห่งวิชาชีพและจิตทีเ่ ปีย่ มสุขเมือ่ ปฏิบัติวิชาชีพ ปรารถนาจะติดตามความก้าวหน้าแห่งศาสตร์ของตนเสมอ นอกจากนั้น ด้วยรากฐานที่สร้างในมหิดล มีผู้ที่ออกไปเป็นครูอาจารย์ด้านกายภาพบำ�บัดและสาขาที่ เกี่ยวข้องในสถาบันต่างๆทั่วประเทศ © นักกายภาพบำ�บัดดีเด่น ในงานประชุมวิชาการกายภาพบำ�บัดแห่งชาติ ปี๒๕๕๓ ผศ.ประโยชน์ บุญสินสุข กภ.ปรีชา ปิตานนท์ รศ. สุศักดิ์ ศรีสุข © นักกายภาพบำ�บัดดีเด่น ในงานประชุมวิชาการกายภาพบำ�บัดแห่งชาติ ปี ๒๕๕๔ กภ.สมใจ ลือวิเศษไพบูลย์ รศ. รุ่งทิวา วัจฉละฐิติ กภ. ผกาวลี พุ่มสุทัศน์


© นักกายภาพบำ�บัดดีเด่น ในงานประชุมวิชาการกายภาพบำ�บัดแห่งชาติ ปี ๒๕๕๕ ผศ. ปฐมรัตน์ ศักดิ์ศรี กภ. วิยะดา ศักดิ์ศรี กภ. กฤษณา พิชิตพร © รางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดิน ภาคกลางประจำ�ปี 2557 กภ.พชรวรรธน์ คงสัมฤทธิ์ © รางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติและรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ กพร. ประเภทรางวัลบูรณาการ การบริการทีเ่ ป็นเลิศ ระดับดีเด่น ผลงาน การพัฒนาระบบส่งกลับรับคีน และฟื้นฟูผู้ป่วยและคนพิการ วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๖ กภ.สมใจ ลือวิเศษไพบูลย์ © ข้าราชการดีเด่น สาขานักวิชาการประจำ�ปี ๒๕๔๒ จากชมรมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปมูลนิธินายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร กภ.ประไพศรี วัฒนาศรมศิริ


จิตชำ�นาญการ

ของศิษย์กายภาพบำ�บัด มหิดล © ข้าราชการดีเด่น จังหวัดนราธิวาส ประจำ�ปี ๒๕๔๕ กภ. อุษณีย์ ช่วยธรรมรัตน์ © ผู้ประกอบอาชีพดีเด่นสาขาอาชีพ นักกายภาพบำ�บัด ประจำ�ปี ๒๕๔๖ จาก สโมสรโรตารี สมุทรปราการ กภ.ประไพศรี วัฒนาศรมศิริ © รางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ บุคลากรด้านสาธารณสุขดีเด่น ด้านการสนับสนุนบริการ งานประชุมวิชาการประจำ� ปี ๒๕๕๔ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส กภ. สายใจ นกหนู © รางวัลดีเด่นกิตติมศักดิ์ ประเภท Oral Presentation กลุ่ม CQI ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดย สำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล กภ. พรชุลี จันทร์แก้ว © รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภท Oral Presentation กลุม่ Innovation ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดย สำ�นักงาน สาธารณสุข จังหวัดสตูล กภ. พรชุลี จันทร์แก้ว © รองชนะเลิศอันดับหนึง่ คนดีศรีสาธารณสุข ประเภทลูกจ้าง ประจำ�เขตตรวจราชการเขต ๑๐วันที่ ๓๐ มิถนุ ายน ๒๕๕๕ กภ. สุวิชชา วัฒนศรีมงคล © รางวัลชนะเลิศ ประเภทเรื่องเล่า กลุ่มโรงพยาบาลชุมชน ในการประชุมวิชาการ สำ�นักงานสาธารณสุขเขต ๘ ปี ๒๕๕๕ กภ. พรชุลี จันทร์แก้ว



จิตชำ�นาญการ

ของคณาจารย์กายภาพบำ�บัด มหิดล

คณาจารย์ของกายภาพบำ�บัด มหิดลนั้น กล่าวได้ว่า มีผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะทางในศาสตร์ กายภาพบำ�บัดครบทุกด้าน จากขอมูลถูกที่สะสม ถ่ายทอดต่อกัน จนสามารถร่วมกันสรุปเป็นทฤษฎีหรือองค์ ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ อาจารย์ของมหิดลถูกเน้นด้วยวัตรปฏิบตั ขิ องการเรียนรูศ้ าสตร์ของวิชาชีพในเชิงลึก ทุกคนต้องมีแนวทาง การพัฒนาให้มีความชำ�นาญเฉพาะด้านทั้งในเชิงองค์ความรู้ การวิจัย และความเชี่ยวชาญทางคลินิก ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์กายภาพบำ�บัด มหิดลอาจกล่าวได้เป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 1. ด้านกายภาพบำ�บัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในผู้ป่วยระยางค์บน ระยางค์ล่าง กระดูกสันหลัง และเชิงกราน 2. ด้านกายภาพบำ�บัดระบบประสาท ในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง การบาดเจ็บสมอง ไขสันหลังและ ระบบประสาทส่วนปลาย ผู้ป่วยพาร์กินสันและการการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจากสาเหตุอื่นทางระบบประสาท 3. ด้านกายภาพบำ�บัดทรวงอก ในผู้ป่วยระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ระบบหายใจและปอด ด้านกายภาพบำ�บัดเด็ก


4. ด้านกายภาพบำ�บัดผู้สูงอายุ 5. ด้านกายภาพบำ�บัดชุมชน 6. ด้านกายภาพบำ�บัดทางการกีฬา 7. ด้านกายภาพบำ�บัดในสุขภาพสตรี 8. ด้านการรักษาด้วยการจัด ดัด ดึง 9. ด้านการรักษาด้วยไฟฟ้าและเครื่องมือทางกายภาพบำ�บัด 10. ด้านการรักษาด้วยการออกกำ�ลังกาย 11. ด้านการยศาสตร์ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูคนพิการ



จิตชำ�นาญการ ของนักกายภาพบำ�บัด ศูนย์กายภาพบำ�บัด มหิดล

การปลูกฝังจิตชำ�นาญการเป็นปณิธานหลักแห่งกายภาพบำ�บัด มหิดล

นักกายภาพบำ�บัดของศูนย์กายภาพบำ�บัดทุกคนมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เรียนจากการลงมือ ฝึกฝนจริงเพือ่ ให้รกู้ ระจ่าง ไม่ยดึ ถือเพียงเนือ้ หาแตส ามารถเขาใจถึงบริบท วิเคราะหแ ละสังเคราะห์งานอันเป็น ที่รักของตนอย่างสม่ำ�เสมอวันแล้ววันเล่า เพื่อพัฒนาทักษะและความเข้าใจ มุ่งเป็นต้นแบบแห่งแนวปฏิบัติที่ เป็นเลิศทางคลินิกกายภาพบำ�บัด โดยนักกายภาพบำ�บัดทุกคนมุ่งฝึกฝนเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จากผู้รับบริการในวันแรกเพียงสามคน กลายเป็นผู้รับบริการเฉลี่ยวันละมากกว่า ๕๐๐ คนในปัจจุบัน เป็นสิ่งพิสูจน์คุณภาพของบุคลากรศูนย์กายภาพบำ�บัด มหิดล และด้วยการให้บริการที่มุ่งความเป็นเลิศ ศูนย์ กายภาพบำ�บัดจึงได้รบั การรับรองกระบวนการคุณภาพ ตามมาตรฐานกายภาพบำ�บัด จากสภากายภาพบำ�บัด ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖



จิตชำ�นาญการ ของนักกายภาพบำ�บัด ศูนย์กายภาพบำ�บัด มหิดล คณะกายภาพบำ�บัด มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำ�คัญกับการออกแบบการเรียนรูใ้ ห้นกั ศึกษาได้เรียน ในสภาพที่ใกล้เคียงการปฏิบัติงานจริงที่สุด นักกายภาพบำ�บัดทุกคนของศูนย์จึงได้รับการฝึกฝนให้กลายเป็น ครูทางคลินกิ กายภาพบำ�บัดร่วมกับคณาจารย์ของคณะฯ มุง่ สร้างนักศึกษาให้กลายเป็นนักกายภาพบำ�บัดรุน่ ใหม่ที่มีคุณภาพ



จิตชำ�นาญการ ของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะกายภาพบำ�บัด คณะกายภาพบำ�บัด มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำ�คัญกับการออกแบบการเรียนรูใ้ ห้นกั ศึกษาได้เรียน ในสภาพที่ใกล้เคียงการปฏิบัติงานจริงที่สุด นักกายภาพบำ�บัดทุกคนของศูนย์จึงได้รับการฝึกฝนให้กลายเป็น ครูทางคลินกิ กายภาพบำ�บัดร่วมกับคณาจารย์ของคณะฯ มุง่ สร้างนักศึกษาให้กลายเป็นนักกายภาพบำ�บัดรุน่ ใหม่ที่มีคุณภาพ



จิตชำ�นาญการ ของนักศึกษาคณะกายภาพบำ�บัด นักศึกษาของกายภาพบำ�บัด มหิดลถูกปลูกฝังอย่างยิ่งยวดในเรื่องการเรียนรู้ นักศึกษาต้องรู้วิธีการ เรียนรู้ สามารถหาข้อมูลหลากด้านหลายมุมมอง สามารถเรียนรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างลึกซึ้ง สามารถเชื่อม โยงความรู้กับประสบการณ์ทางคลินิกและปรากฏการณ์ในสังคม มีวินัยในตนเอง มีความมั่นใจ มุ่งมั่น รักที่จะ เรียนรูต้ ลอดชีวติ ด้วยความอดทนในการฝึกฝน สร้างตนให้เป็นผูช้ �ำ นาญและเชีย่ วชาญได้ โดยเชือ่ ว่ามนุษย์เรา มีพหุปัญญา และแต่ละบุคคลมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำ�เนิดต่างกัน และมีวิธีการเรียนรู้ต่างกัน ดังนั้นคณะกายภาพบำ�บัดจึง จัดการเรียนรู้โดยคำ�นึงถึงความแตกต่างของบุคคล และจัดให้การเรียนรู้ส่วน หนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว โดยไม่มีอคติ ต่อคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ



จิตชำ�นาญการ ของนักศึกษาคณะกายภาพบำ�บัด

การสร้างนักศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพต้องใช้หลักสูตรทีด่ ี คณะกายภาพบำ�บัดมีกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ทีเ่ ป็นระบบ ปรับปรุงหลักสูตรเพือ่ ให้น�ำ สมัยอยูเ่ สมอ และพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การประเมินผล ให้สอดคล้องกับหลักการการศึกษาทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นศูนย์กลางในทุกรายวิชา จุดเน้นของทุกหลักสูตรคือ การ เรียนรู้จากการปฏิบัติและประสบการณ์จริงผ่านกระบวนการเรียนการสอนหลายรูปแบบทั้งทฤษฏี ปฏิบัติ สัมมนา การวิจัย การออกภาคสนามและการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกที่มีความสำ�คัญจำ�เป็นสำ�หรับวิชาชีพ กายภาพบำ�บัดและวิชาชีพกิจกรรมบำ�บัด ปัจจุบันคณะกายภาพบำ�บัด มีการจัดการเรียนการสอนจำ�นวน 5 หลักสูตร เป็นระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร



จิตชำ�นาญการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบำ�บัด

หลักสูตรปริญญาตรี สาขากายภาพบำ�บัดของมหิดล สร้างบัณฑิตกายภาพบำ�บัดที่มีคุณภาพมา ๔๗ รุ่น --- คน นักศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขากายภาพบำ�บัดได้อยู่ในบรรยากาศการเรียนรู้เพื่อสร้างนัก กายภาพบำ�บัดและพลเมืองที่มีคุณภาพของโลก หลักสูตรเน้นการเรียนอย่างบูรณาการ มีความครบถ้วนของ เนื้อหาสาระในศาสตร์กายภาพบำ�บัดและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องสำ�คัญแก่การเป็นนักวิชาชีพที่ดี ผู้เรียนยังถูก ฝึกทักษะด้วยกิจกรรมทั้งในห้องเรียน คลินิก ชุมชน รวมทั้งมีกิจกรรมนักศึกษานอกห้องเรียนที่หลากหลาย เน้นการเรียนเพื่อสร้างกระบวนการตัดสินใจทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพโดยอ้างอิงหลักฐาน เพื่อสร้างนัก กายภาพบำ�บัดที่มีความรู้ ความสามารถ ประสิทธิภาพ จิตบริการ คุณธรรมและจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความ เป็นมนุษย์ที่จะสามารถดำ�รงอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้


จิตชำ�นาญการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากิจกรรมบำ�บัด วิชาชีพกิจกรรมบำ�บัดในประเทศไทยพัฒนามาจากวิชาชีพเฉพาะชื่อเดิมคือ อาชีวบำ�บัด กลายเป็น “วิชาชีพที่เพิ่มสุขภาวะขณะทำ�กิจกรรมการดำ�เนินชีวิต (Professional Art of Doing) ด้วยการไม่อยู่ว่าง และการใส่ใจในงานจนถึงอาชีพที่มีคุณค่าและความหมายในชีวิต


มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันการศึกษาแห่งที่สอง ที่เปิดสอนหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตร บัณฑิต สาขากิจกรรมบำ�บัดในประเทศไทย บัณฑิตกิจกรรมบำ�บัด ๓ รุ่นของมหิดล ทำ�ให้ได้นักกิจกรรม บำ�บัดรุน่ ใหม่ ทีป่ ระกอบด้วยความรูแ้ ละทักษะอันมีอตั ลักษณ์ จากหลักสูตรทีม่ ฐี านคิดและกระบวนการ เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาผ่านการบูรณาการรายวิชาต่างๆ ในชั้นปีที่ 1 และ 2 ให้เกิดความตื่นรู้ ตื่นตัว หัวใจ งาม นักศึกษาได้ฝกึ การแสดงบทบาทจิตอาสาแก่ผดู้ อ้ ยโอกาสและผูพ้ กิ ารทุกช่วงวัย สร้างทักษะการแสดง ความเมตตา และทักษะการสังเกตความสามารถและความสุขของตัวเองและผู้อื่นที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นักศึกษามีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์นักกิจกรรมบำ�บัดและสหวิชาชีพทั้งในและนอก คณะฯ เกี่ยวกับกรอบอ้างอิงสากลทางกิจกรรมบำ�บัด การพัฒนาทักษะชีวิตของมนุษย์ตลอดทุกช่วง วัย และการให้เหตุผลของการออกแบบสื่อกิจกรรมบำ�บัด ได้แก่ การใช้ตัวเราเป็นต้นแบบ การสร้าง สัมพันธภาพ การวิเคราะห์กจิ กรรม การสร้างกระบวนการสอนกับการเรียนรู้ และการดัดแปรสิง่ แวดล้อม (รายบุคคล กายภาพ สังคม เวลา วัฒนธรรม เสมือนจริง และธรรมชาติ)



จิตชำ�นาญการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากิจกรรมบำ�บัด

ในชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรเน้นการสร้างความตระหนักรู้และเรียนรู้ ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัติงาน ทางคลินิกและบริบทจริงแก่ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตสังคม การเรียนรู้ และการพัฒนา ศักยภาพทุกช่วงวัย (ความสุขความสามารถ) ในการทำ�กิจกรรมการดำ�เนินชีวติ ได้แก่ การดูแลตนเอง การพัก ผ่อน การนอนหลับ การทำ�งาน การศึกษา การใช้เวลาว่าง และการเข้าสังคม ภายใต้คำ�แนะนำ�จากอาจารย์ ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานและสหวิชาชีพเพื่อสร้างเสริมปัญญาปฏิบัติ เช่น มีปฏิสัมพันธ์ต่อตนเองและผู้อื่น เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ สื่อสารภาษากาย-พูด-ใจ จัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัติ ทำ�งานเป็นทีมสร้างภาวะ ผู้นำ�ในตัวตน เป็นต้น นอกจากนั้น นักศึกษายังได้รับการฝึกทักษะการจัดการความรู้ผ่านการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ และการเขียนเอกสารวิชาการกิจกรรมบำ�บัดชีวิต และทักษะการแปลความรู้ด้วยกระบวนการคิดเป็นระบบ ผ่านการสัมมนาวารสารและการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการสะท้อนความรู้ความเข้าใจในตนเองและผู้ อื่นโดยการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำ�บัดในกรณีศึกษาที่ได้ฝึกปฏิบัติงานและในงานวิจัยทางการแพทย์และ สาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศเพื่อสังเคราะห์ความรู้ความเข้าใจเชิงสร้างสรรค์ตามบริบทการให้บริการ ทางกิจกรรมบำ�บัดสำ�หรับคนไทย


จิตชำ�นาญการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากิจกรรมบำ�บัด

ด้วยความสร้างสรรค์และดำ�เนินการที่เน้นคุณภาพ หลักสูตรกิจกรรมบำ�บัด ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รบั การรับรองสถาบันการศึกษาและหลักสูตรจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำ�บัด และสมาพันธ์ นักกิจกรรมบำ�บัดโลก ในรัว้ มหิดลแห่งนี้ สาขากิจกรรมบำ�บัดเติบโตเป็นระบบอย่างรวดเร็ว มีผลงานเผยแพร่สสู่ าธารณะเชิง ประจักษ์ เช่น การได้รับทุนจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ GotoKnow. Org สองปีซ้อน ทำ�ให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้กิจกรรมบำ�บัดสุขภาวะ การออกสื่อโทรทัศน์ เนื่องในวันกิจกรรมบำ�บัดสากล การได้รับคัดเลือกเป็น Ignite Thailand หนึ่งในห้าโครงการอาสาบวกบวก ของประเทศไทย การได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 20 ทีมสุดท้ายของประเทศไทยในโครงการกล้าใหม่...ใฝ่รู้ของ SCB ฯลฯ ที่ทำ�ให้คนไทยรู้จักนักกิจกรรมบำ�บัดมากขึ้น ในชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรเน้นการสร้างความตระหนักรู้และเรียนรู้ ด้วยการลงมือฝึกปฏิบัติงาน ทางคลินิกและบริบทจริงแก่ผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตสังคม การเรียนรู้ และการพัฒนา ศักยภาพทุกช่วงวัย (ความสุขความสามารถ) ในการทำ�กิจกรรมการดำ�เนินชีวติ ได้แก่ การดูแลตนเอง การพัก ผ่อน การนอนหลับ การทำ�งาน การศึกษา การใช้เวลาว่าง และการเข้าสังคม ภายใต้คำ�แนะนำ�จากอาจารย์


ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานและสหวิชาชีพเพื่อสร้างเสริมปัญญาปฏิบัติ เช่น มีปฏิสัมพันธ์ต่อตนเองและผู้ อื่น เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ สื่อสารภาษากาย-พูด-ใจ จัดกลุ่มกิจกรรมแบบพลวัติ ทำ�งานเป็นทีมสร้าง ภาวะผู้นำ�ในตัวตน เป็นต้น นอกจากนัน้ นักศึกษายังได้รบั การฝึกทักษะการจัดการความรูผ้ า่ นการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ และการเขียนเอกสารวิชาการกิจกรรมบำ�บัดชีวิต และทักษะการแปลความรู้ด้วยกระบวนการคิดเป็น ระบบผ่านการสัมมนาวารสารและการวิเคราะห์ การวิจารณ์ และการสะท้อนความรูค้ วามเข้าใจในตนเอง และผู้อื่นโดยการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำ�บัดในกรณีศึกษาที่ได้ฝึกปฏิบัติงานและในงานวิจัยทางการ แพทย์และสาธารณสุขทั้งในและต่างประเทศเพื่อสังเคราะห์ความรู้ความเข้าใจเชิงสร้างสรรค์ตามบริบท การให้บริการทางกิจกรรมบำ�บัดสำ�หรับคนไทย ด้วยความสร้างสรรค์และดำ�เนินการที่เน้นคุณภาพ หลักสูตรกิจกรรมบำ�บัด ของมหาวิทยาลัย มหิดลได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาและหลักสูตรจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำ�บัด และสมาพันธ์นักกิจกรรมบำ�บัดโลก ในรัว้ มหิดลแห่งนี้ สาขากิจกรรมบำ�บัดเติบโตเป็นระบบอย่างรวดเร็ว มีผลงานเผยแพร่สสู่ าธารณะ เชิงประจักษ์ เช่น การได้รับทุนจากสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ GotoKnow.Org สองปีซ้อน ทำ�ให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้กิจกรรมบำ�บัดสุขภาวะ การออกสื่อ โทรทัศน์เนื่องในวันกิจกรรมบำ�บัดสากล การได้รับคัดเลือกเป็น Ignite Thailand หนึ่งในห้าโครงการ อาสาบวกบวกของประเทศไทย การได้รับคัดเลือกเป็น 1 ใน 20 ทีมสุดท้ายของประเทศไทยในโครงการ กล้าใหม่...ใฝ่รู้ของ SCB ฯลฯ ที่ทำ�ให้คนไทยรู้จักนักกิจกรรมบำ�บัดมากขึ้น



จิตชำ�นาญการ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขากายภาพบำ�บัด

คณะกายภาพบำ�บัดได้ผลิตนักกายภาพบำ�บัดผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางกายภาพบำ�บัดด้วยการ จัด ดัด ดึง จากหลักสูตร ๑ ปีหลังปริญญาตรี ที่ทำ�ให้ได้นักวิชาชีพผู้มีทักษะเฉพาะทางที่มีการตัดสินใจทาง คลินิกขั้นสูง ประสบการณ์ทางคลินิกที่ถ่ายทอดโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และความรู้เชิงลึกในการรักษาผู้ ป่วยโดยเฉพาะระบบกระดูกกล้ามเนื้อ รวม --- คนตลอดระยะเวลา – ปีของการดำ�เนินการหลักสูตร หลักสูตรประกาศนียบัตรคลินิกนี้ได้รับความสนใจจากนักกายภาพบำ�บัดจำ�นวนมาก โดยมีอัตราผู้สมัครเพื่อ เข้าศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนัน้ คณะฯยังเปิดหลักสูตรเฉพาะทางด้านกายภาพบำ�บัดในผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมอง และ มีแผนจะเปิดหลักสูตรเฉพาะทางด้านกายภาพบำ�บัดในเด็ก และกายภาพบำ�บัดชุมชนด้วย



จิตชำ�นาญการ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขากายภาพบำ�บัด ตลอด--- ปีของการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาโท สาขากายภาพบำ�บัด ของมหิดลได้สร้าง ครู นักวิจัย และนักกายภาพบำ�บัดที่มีความสามารถในการเรียนรู้และวิจัยจำ�นวน --- คน หลักสูตรได้รับการ พัฒนาอย่างสม่�ำ เสมอเพือ่ ให้นกั ศึกษาของหลักสูตรเป็นผูท้ พี่ ร้อมออกไปเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาวิชาชีพ และวิชาการด้านกายภาพบำ�บัด ด้วยเนือ้ หาทีท่ นั สมัยทัง้ องค์ความรูด้ า้ นกายภาพบำ�บัดและศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้อง ทีส่ �ำ คัญ รวมทัง้ ความรูแ้ ละทักษะการวิจยั ตลอดกระบวนการ เพือ่ สร้างนักกายภาพบำ�บัดทีม่ สี มรรถนะในการ ประเมินคุณค่าและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง



จิตชำ�นาญการ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขากายภาพบำ�บัด (หลักสูตรนานาชาติ)

ด้วยปรัชญาของหลักสูตรที่มุ่งเน้นที่จะสร้างนักวิชาการ ที่มีความสามารถในการพัฒนาความรู้ทาง กายภาพบำ�บัด ให้เกิดองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง และประยุกต์งานวิจัยที่ทำ�อย่างกว้างขวางครอบคลุม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำ�ทางวิชาการให้กับสถาบันที่มีหลักสูตรกายภาพบำ�บัด หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง และดูแลสุขภาพประชาชน ด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่กับการมีคุณธรรม และจรรยาบรรณ บัณฑิตระดับปริญญาเอก สาขากายภาพบำ�บัดของมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผูท้ มี่ คี วามรูค้ วามชำ�นาญ พร้อมในการเป็นครูอาจารย์ และนักวิจยั ทางกายภาพบำ�บัด ดุษฎีบณ ั ฑิตจำ�นวน --- คน ส่วนใหญ่ก�ำ ลังทำ�งาน เป็นครูอาจารย์ดา้ นกายภาพบำ�บัดในสถาบันต่างๆทัว่ ประเทศ และยังมีนกั ศึกษาชาวต่างประเทศอีกหลายคน ที่กำ�ลังจะจบการศึกษาและกลับไปเป็นอาจารย์และนักวิจัยในประเทศของตน



จิตสังเคราะห์

The Synthesizing Mind

ในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบัน ผู้ที่มีจิตสังเคราะห์จะสามารถทำ�ความเข้าใจข้อมูลหลากหลาย ประเมิน ข้อมูลโดยปราศจากอคติ และผสมผสานให้กลายเป็นข้อมูลใหม่ที่มีความหมายต่อตัวผู้สังเคราะห์และบุคคล อื่น จิตสังเคราะห์ต้องมีทักษะสำ�คัญสองแบบ คือตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในการกลั่นกรองและ ตัดสินใจว่าข้อมูลใดจะตัดทิง้ ไปได้ และข้อมูลใดทีต่ อ้ งมุง่ เน้นสนใจ สิง่ ใดคือประเด็นสำ�คัญในข้อมูลอันท่วมท้น ในโลกยุคนี้ การสังเคราะห์จงึ ต้องอาศัยทักษะการคิดทีร่ อบด้าน ประเมินคุณค่าสิง่ ต่างๆได้ และสามารถหลอม รวมข้อมูลเข้าด้วยกัน จัดระบบนำ�เสนอใหม่อย่างมีความหมายและทรงประโยชน์ จนบุคคลนั้นกลายเป็นผู้ รอบรู้เรื่องต่างๆที่สัมพันธ์กับสาขาของตน เพราะงานที่แท้ของนักวิชาชีพกายภาพบำ�บัดและกิจกรรมบำ�บัด คือต้องเป็นนักสื่อสาร ผู้สอน และ ผู้นำ�ซึ่งต้องใช้จิตสังเคราะห์ทั้งสิ้น



จิตสังเคราะห์

เอกสารตำ�ราทางกายภาพบำ�บัด

เอกสารตำ�ราทางกายภาพบำ�บัด ทีเ่ ป็นผลผลิตจากคณาจารย์และบุคลากร คือสิง่ แสดงจิตสังเคราะห์ ของกายภาพบำ�บัด มหิดล งานวิชาการเหล่านี้เป็นส่วนสำ�คัญในการสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรด้าน กายภาพบำ�บัดทั่วประเทศ คณะกายภาพบำ�บัดรวบรวมหนังสือตำ�ราและเอกสารประกอบทางวิชาการเหล่า นี้ไว้ที่ห้องศึกษาด้วยตนเองจำ�นวนมากกว่า --- ชิ้น นอกจากนั้นรายงานการศึกษาและวิทยานิพนธ์ของนักศึกษากายภาพบำ�บัดในระดับปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต โท และเอกจำ�นวนมากกว่า ---- เรือ่ งก็เป็นแหล่งของข้อมูลทางกายภาพบำ�บัดทีผ่ า่ น การสังเคราะห์มาแล้วอย่างดีอีกด้วย


จิตสังเคราะห์

ของนักศึกษาคณะกายภาพบำ�บัด

กายภาพบำ�บัด มหิดลเน้นการสร้างให้นักศึกษาทุกระดับเป็นผู้มีจิตสังเคราะห์ นักศึกษาของคณะกายภาพบำ�บัดต้องสามารถหาความรู้ด้วยตนเองจนกลายเป็นผู้ที่สามารถเรียน รู้ได้เองตลอดชีวิต การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร จับประเด็นที่สำ�คัญและสัมพันธ์ ประเมินคุณค่าและความ จริงของข้อมูล ตลอดจนนำ�ข้อมูลมาบูรณาการกับการประกอบวิชาชีพ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักการสำ�คัญที่คณะ กายภาพบำ�บัดใช้ในการฝึกเพื่อสร้างนักกายภาพบำ�บัด ครูกายภาพบำ�บัด และนักวิจัยทางกายภาพบำ�บัดที่ มีจิตสังเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ



จิตสร้างสรรค์

The Creative Mind

จิตสร้างสรรค์ คือจิตที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้นนับเป็นที่สุดแล้ว หากแต่ คิดเสมอว่ายังมีวิธีการที่ดีกว่าอยู่อีก สิ่งใหม่จะเกิดได้ก็เมื่อผู้ปฏิบัติต้องละจากกรอบวิธีคิดหรือวิธีดำ�เนินการ แบบเดิม การสร้างสรรค์ด้วยจิตพิเศษนี้อาศัยความรอบรู้และการหยั่งเห็นเป็นสำ�คัญ การเปลี่ยนแปลงอันเกิด จากจิตสร้างสรรค์ทแ่ี ท้จะไม่ฉาบฉวย ไร้คา่ หากแต่เป็นการค้นหาความสัมพันธ์ใหม่ๆระหว่างสิง่ ต่างๆ ใช้เนือ้ หา ที่รู้ชัดเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในแง่มุมใหม่ ทำ�ให้สามารถแก้ปัญหา คิดหาวิธีการใหม่ๆ หรือคิดประดิษฐ์ เครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ผูท้ มี่ จี ติ สร้างสรรค์ จะสามารถประดิษฐ์นวตกรรม ผลิตความคิดใหม่ และมีนสิ ยั ชอบตัง้ คำ�ถามทีแ่ ตก ต่างไปจากเดิม เพือ่ ก่อกำ�เนิดวิธกี ารคิดทีไ่ ม่มมี าก่อน หน้าทีข่ องสถาบันการศึกษาด้านกายภาพบำ�บัดจึงต้อง สร้างนักกายภาพบำ�บัดทีส่ ามารถสร้างสรรค์นวตกรรมการบริการใหม่ๆ เพือ่ สนองความต้องการและแก้ปญ ั หา ด้านสุขภาพ



จิตสร้างสรรค์

ผลงานสร้างสรรค์ทางวิชาการ

การส่งเสริมให้สมาชิกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ในวิชาชีพเท่านั้นที่จะทำ�ให้สาขาวิชานั้นก้าวไปข้างหน้าได้ คณะกายภาพบำ�บัด ฟูมฟักจิตสร้างสรรค์ของบุคลากรและนักศึกษาของคณะฯด้วยวิธกี ารต่างๆทัง้ ในห้องเรียน ในห้องทำ�งาน และนอกห้องเรียนหรือห้องทำ�งาน ผลงานสร้างสรรค์ทางวิชาการของศิษย์เก่า คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาทุกระดับตลอด ๕๐ ปี เป็นส่วนสำ�คัญของความก้าวหน้าในวิชาชีพกายภาพบำ�บัด กิจกรรมบำ�บัด การศึกษาและงานบริการสุขภาพ




จิตสร้างสรรค์

การส่งเสริมงานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดล เน้นนโยบายและกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมาก คณะกายภาพบำ�บัดส่งเสริมการสร้างสรรค์งานวิจยั ด้วยการสร้างระบบและกลไกเพือ่ ส่งเสริมนักวิจยั ในแบบ ต่างๆ ตั้งแต่การนำ�งานประจำ�สู่งานวิจัย การสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ รุ่นกลาง และงานวิจัยที่มุ่งเป้าเพื่อแสวงหา มาตรการที่จะควบคุมและป้องกันโรค/ภาวะที่เป็นปัญหาสุขภาพหรือสาธารณสุขที่สำ�คัญของประเทศไทย ในปัจจุบันและอนาคต การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของคณะฯกับองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐ เอกชนและอุตสาหกรรม ทำ�ความร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ รวมทั้งมีกลไกในการ ควบคุมคุณภาพงานวิจัย สร้างขวัญกำ�ลังใจให้นักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น สิ่งเหล่านี้เป็น พื้นฐานที่สำ�คัญในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่ได้มาตรฐานสากลสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการของชุมชน สังคม และประเทศชาติ ปัจจุบันคณาจารย์และบุคลากรของคณะฯมีความตื่นตัวในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยกันอย่างมาก มี ความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งภายในและภายนอกคณะฯ จากองค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน ทำ�ให้เกิดโครงการ วิจัยขนาดใหญ่ที่เป็นการบูรณาการความรู้ของบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางสาขาต่างๆ


จิตสร้างสรรค์

การเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยี และเครื่องมืออำ�นวยความสะดวก

การศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ จำ�เป็นต้องเตรียมคนไปเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผัน และคาดไม่ถงึ คนยุคใหม่จงึ ต้องมีทกั ษะสูงในการเรียนรูแ้ ละปรับตัว คณะกายภาพบำ�บัด เน้นให้นกั ศึกษาและ บุคลากรฝึกและพัฒนาตนเองด้วยความรู้โดยต้องสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออำ�นวยความสะดวกใน การเรียนรู้ตลอดชีวิต คณะกายภาพบำ�บัดตระเตรียมเครื่องมือพร้อมมูลสำ�หรับการเรียน การวิจัยเพื่อสร้าง องค์ความรูใ้ หม่แก่วชิ าชีพ ห้องปฏิบตั กิ ารสำ�หรับศาสตร์ดา้ นการเคลือ่ นไหว การทำ�งาน และการทำ�กิจกรรม ของคณะฯเป็นแหล่งเรียนรูช้ นั้ เยีย่ มของนักศึกษาและคณาจารย์ นอกจากนัน้ คณะฯยังถือว่าคลินกิ และชุมชน ที่ลงฝึกปฏิบัติเป็นแหล่งเพาะจิตสร้างสรรค์จากการลงมือจริง จึงสนับสนุนให้พัฒนาสถานปฏิบัติการเหล่านี้ อย่างเข้มข้น




จิตสร้างสรรค์

การเตรียมพร้อมด้านเทคโนโลยี และเครื่องมืออำ�นวยความสะดวก นอกจากนั้นคณะกายภาพบำ�บัดส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ศาสตร์อื่นๆ และประยุกต์ใช้หลักวิชานั้น ข้ามสาขา เพือ่ สร้างสรรค์ความรูใ้ หม่และนวัตกรรมทีเ่ ป็นการบูรณาการความรูแ้ ละเทคนิคทีต่ อบสนองความ ท้าทายด้ายสุขภาพของโลกยุคปัจจุบัน


จิตเคารพ

The Respectful Mind

จิตเคารพจะพบได้ในผูท้ สี่ ามารถเคารพ รวมมือกับคนอืน่ ถึงแม้จะมีความคิดเห็นและควานิยมที่ หลาก หลาย ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคลระหว่างกลุม่ พยายามเข้าใจผูอ้ นื่ และหาวิธที �ำ งานกับผูอ้ นื่ อย่าง มีประสิทธิผล รู้ เข้าใจและมีทัศนคติเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมโยงตัวเองกับผู้อื่นเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี รู้เขารู้ เรา มองความแตกต่างในแง่บวก เห็นคุณค่าของความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรม หลีกเลี่ยงความ คิดแบบกลุ่ม หรือคิดแบบตามๆ กัน



จิตเคารพ

เคารพต่อครูและผู้ให้กำ�เนิด --- ศิริราช

ด้วยกายภาพบำ�บัด มหิดลเป็นสถาบันการศึกษาทางกายภาพบำ�บัดแห่งแรกของประเทศ ทำ�ให้มกี าร สืบทอดธรรมเนียมปฏิบตั ติ า่ งๆมาอย่างยาวนาน จึงเป็นสิง่ สำ�คัญทีส่ ร้างจิตเคารพให้เกิดในผูค้ นของสถาบันนี้ คนของกายภาพบำ�บัด มหิดล สำ�นึก รู้คุณ และมีความผูกพันกับคณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล เสมอมา โดยถือศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน แห่งภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และ กายภาพบำ�บัด เป็นผูใ้ ห้ก�ำ เนิดและครูใหญ่ของกายภาพบำ�บัด มหิดล อีกทัง้ คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล ยังคงมีความเอื้อเฟื้อร่วมมือกับคณะฯในทุกด้าน ทำ�ให้สายสัมพันธ์ของพี่น้องกายภาพบำ�บัดในทั้งสองหน่วย งานยังคงแน่นแฟ้น บุคลากรทุกคนของคณะฯจึงเคารพรักพี่น้องของเราที่ศิริราชอย่างยิ่ง




จิตเคารพ

การสร้างพลเมืองของโลก

เมื่อคณะกายภาพบำ�บัดเติบโตขึ้น มีคนมาก มีประสบการณ์มาก การปลูกฝังให้คนมีจิตเคารพความ แตกต่างหลากหลายจึงเป็นเรื่องสำ�คัญ เพื่อคนขององค์กรจะพยายามแสวงหาวิธีการทำ�งานร่วมกับผู้อื่นโดย ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล เชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ เคารพจารีตและวัฒนธรรมอื่น จัด กิจกรรมข้ามวัฒนธรรมเพื่อผสมผสานจารีตที่แตกต่างหลากหลาย สร้างสำ�นึกความเป็นพลเมืองโลก และ สืบทอดสู่คนรุ่นต่อๆ ไป


จิตเคารพ

การสร้างพลเมืองของโลก

คณะกายภาพบำ�บัดมีนกั ศึกษาต่างชาติในหลักสูตรปริญญาเอก และมีนกั กายภาพบำ�บัด นักกิจกรรม บำ�บัด จากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การวิจัย และเยี่ยมชมงานของคณะฯอยู่เสมอ นอกจากนั้นคณะยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาโดยเฉพาะการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกับประเทศต่างๆ มากมาย กิจกรรมเหล่านี้ฝึกให้คนของคณะฯสร้างจิตเคารพ โดนต้องพร้อมเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวาง และ ฝึกทักษะการเป็นพลเมืองของโลกอย่างแท้จริง



จิตจริยธรรม

The Ethical Mind

จิตที่มีจริยธรรมเป็นพื้นฐาน จะทำ�ให้บุคคลนั้นถูกรู้ผิด มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และ ปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมที่ดี รวมทั้งช่วยเหลือผู้อื่นเป็นผู้มีความเป็นมนุษย์ผู้เป็นประโยชน์ทั้ง ในบทบาทหน้าที่การงานแห่งตน และการเป็นพลเมืองของประเทศและโลก การสร้างจิตจริยธรรมเป็นการปลูกฝังทักษะเชิงนามธรรม ให้ผเู้ รียนได้ซมึ ซับชีวทัศน์ของการดำ�รงตน เพื่อจรรโลงให้สังคมอยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข




จิตจริยธรรม

กิจกรรมเพื่อสังคม คณะกายภาพบำ�บัดมุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพ ตาม ยุทธศาสตร์ทางด้านการบริการวิชาการของคณะฯ โดยคณะจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ความก้าวหน้าทาง วิชาการและงานวิจัยแก่ประชาชนและบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อมุ่งสร้างงาน พัฒนาระบบบริการสุขภาพและเผยแพร่ความรู้สู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ศูนย์กายภาพบำ�บัด จัดกิจกรรมอบรมความรู้สู่ประชาชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม กลุ่มต่างๆมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลตัวเองเบื้องต้นทางด้านกายภาพบำ�บัดและกิจกรรมบำ�บัด คณาจารย์ด้านกายภาพบำ�บัดชุมชนและนักศึกษาของคณะฯร่วมกับหน่วยบริการปฐมภูมิ และผู้นำ�ชุมชนใน อำ�เภอพุทธมณฑลมีกิจกรรมในพื้นที่เพื่อดูแลสุขภาพองค์รวม และร่วมแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนใน พื้นที่รอบเขตมหาวิทยาลัยมหิดลอย่างสม่ำ�เสมอ นักกายภาพบำ�บัดชุมชนโดยการสนับสนุนงบประมาณของสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต พืน้ ทีก่ รุงเทพมหานคร ให้การรักษาทางกายภาพบำ�บัดแก่ผปู้ ว่ ยทีบ่ า้ น โดยเฉพาะผูป้ ว่ ยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครซึ่งเข้าร่วมโครงการกายภาพบำ�บัดเยี่ยมบ้านเป็นเวลา ๖ เดือนหรือจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่



จิตจริยธรรม

กิจกรรมนักศึกษา การปลูกฝังจิตจริยธรรมเป็นบทบาทสำ�คัญของสถาบันการศึกษา นักศึกษาของคณะกายภาพบำ�บัด มีกิจกรรมที่เสริมสร้างจิตจริยธรรมมากมาย โดยทุกปีนักศึกษาจะร่วมกันสร้างกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และบำ�เพ็ญประโยชน์ เพื่อสร้างจิตสำ�นึกให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำ�นึกสาธารณะ มีจิตใจรักที่จะเสียสละ และเป็นผู้ทำ�ประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนัน้ คณะฯยังมีกจิ กรรมเสริมสร้างวินยั และทักษะทางสังคม วิชาชีพ วิชาการ และจิตตปัญญา ศึกษา ได้แก่ กิจกรรมที่เน้นการให้ความรู้ ทักษะ เสริมสร้างความมีวินัยทางสังคม ฝึกให้นักศึกษาสามารถ บริหารจัดการ แก้ไขปัญหาและทำ�งานเป็นทีม สร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่างนักศึกษา และ ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์



บทสรุป

เชื่อมโยงสู่อนาคต

วิชาชีพกายภาพบำ�บัดถูกคาดหวังว่าจะเป็นส่วนสำ�คัญในการดูแลสุขภาพประชากรในช่วงเวลาต่อจากนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทำ�ให้นักกายภาพบำ�บัดต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับความ ท้าทายด้านสุขภาพแบบใหม่ สังคมผูส้ งู อายุ สภาพการทำ�งาน โภชนาการ อัตราความเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ตดิ ต่อ เรื้อรัง ระบบและนโยบายสุขภาพที่เปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ จากประสบการณ์ครึ่งศตวรรษ กายภาพบำ�บัด มหิดล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.