Book bed

Page 1

โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิง แบบองค์รวม วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน 2559 เวลา 8.30 - 16.30 น. ณ ศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้ “บวร” วิทยากร

ผศ.ดร.ภครตี ชัยวัฒน์ อ.ศศิธร แสงเรืองรอบ อ.ดร. สุวีณา ค้าเจริญ อ.ธัญวรัตน์ จันทนชัย อ.พิมพ์ปวีณ์ เกิดทรัพย์ ดร.เบญจวรรณ อภินนท์กูล อ.วรินทร์ รักกมล (คณะกายภาพบำาบัด มหาวิทยาลัยมหิดล)



โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

คณะวิทยากร

ผศ.ดร.ภครตี ชัยวัฒน์ อ.พิมพ์ปวีณ์ เกิดทรัพย์ อ.ศศิธร แสงเรืองรอบ ดร.เบญจวรรณ อภินนท์กูล ดร. สุวีณา ค้าเจริญ อ.วรินทร์ รักกมล อ.ธัญวรัตน์ จันทนชัย



โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

สารบัญ • • • • • • •

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การจัดท่าทางที่เหมาะสมสำาหรับผู้ป่วย หลักการเคลื่อนย้าย การยก และการพยุงผู้ป่วย การดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยติดเตียง ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง : แผลกดทับ ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง : ระบบหายใจ ชุดท่าออกกำาลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นสำาหรับป้องกันอาการไม่สบาย ของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ • การปรับบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

1 3 9 20 23 25 27 30



โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ผศ.ดร.ภครตี ชัยวัฒน์

การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เป็นปรัชญาที่มีความสำาคัญต่อสุขภาพโดยภาพรวมของมนุษย์ โดยไม่จำากัด และ ไม่ได้เน้น อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย แต่ให้ความสำาคัญกับความสัมพันธ์ ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีดุลยภาพของทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญาหรือจิตวิญญาณ 1. ร่างกาย คือการไม่มีโรค มีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ดี รวมไปถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพ ทีถ่ กู ต้อง ซึง่ ต้องดูแลด้วยการฟืน้ ฟูและรักษาร่างกายทัง้ ระบบ โดยอาศัยยา กระบวนการบำาบัดทาง กาย ตลอดจนการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมไม่วา่ จะเป็น การทำากิจวัตรประจำาวัน การกิน การนอน การ พักผ่อน การออกกำาลังกาย หรือแม้แต่การทำางาน เป็นต้น 2. จิต ต้องดูแลด้วยการผ่อนคลายจิต ทำาให้เกิดความสงบ แช่มชื่น ผ่องใส มีเมตตา และมี กำาลังใจ ไม่ท้อแท้สิ้นหวัง 3. สังคม คือ สภาพสังคมที่มีความผาสุกทั้งระดับครอบครัว ชุมชนและสังคม ดูแลโดยการ สร้างความสัมพันธ์ทรี่ าบรืน่ กับผูอ้ นื่ ทีพ่ ร้อมเป็นกำาลังใจให้ความช่วยเหลือ และความเอือ้ อาทรต่อกัน 4. ปัญญาหรือจิตวิญญาณ ดูแลด้วยการเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับโรคและชีวิต เพื่อละวาง ความติดยึด และเป็นอิสระจากความผันผวนปรวนแปรของชีวิต หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเป็นผู้ป่วย ญาติ ผู้ใกล้ชิด หรือผู้ดูแลผู้ป่วยในกรณีใดก็ตาม ท่านควร จะมีความรู้พื้นฐานเพื่อประกอบในการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ดังนี้ การจัดท่า เมือ่ ผูป้ ว่ ยมีปญั หาสุขภาพทางกายและ/หรือทางจิต จนไม่สามารถเคลือ่ นไหวได้ตามปกติ การจัดท่า ทีถ่ กู ต้องเหมาะสมจะทำาให้ผปู้ ว่ ยผ่อนคลาย ไม่เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนือ้ กระตุน้ การเคลือ่ นไหว และไม่ทำาให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น ข้อติด แผลกดทับ และปัญหาโรคปอด เป็นต้น 1


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การเคลื่อนย้าย เครือ่ งช่วย การปรับบ้านและสิง่ แวดล้อมให้เหมาะสม เป็นส่วนสำาคัญทีจ่ ะนำาผูป้ ว่ ยให้มดี ลุ ยภาพ อย่างเป็นธรรมชาติทเี่ ชือ่ มโยงกันระหว่างร่ายกาย จิตใจ และสังคม ผูป้ ว่ ยบางรายสามารถนำาไปการมี ปัญญาในการใช้ชีวิตก็มี ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากผู้ป่วยแล้วคนที่สำาคัญอย่างมาก คือผู้ดูแลผู้ป่วย ท่านเหล่านี้มีผลต่อความก้าวหน้า ของร่ายกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วย เพราะนั้นผู้ดูแลผู้ป่วยควรมีความเท่าทันในการชีวิตของ ตนเองแบบองค์รวมเช่นกัน เอกสารอ้างอิง โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ปรากฏการณ์ชีวจิต บอกอะไรแก่สังคมไทย มูลนิธิโกมลคีมทอง,๒๕๔๒ พระไพศาล วิสาโล “สุขภาพองค์รวมกับสุขภาพสังคม” ใน Visalo.org

2


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การจัดท่าทางที่เหมาะสมสำาหรับผู้ป่วย อ.ศศิธร แสงเรืองรอบ การจัดท่าทางที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยสำาคัญอย่างไร การจัดท่าทางทีเ่ หมาะสมมีความสำาคัญอย่างยิง่ ต่อผูป้ ว่ ยทีเ่ คลือ่ นไหวเองไม่ได้ หรือเคลือ่ นไหวได้ ยากลำาบาก เช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางไขสันหลัง (อัมพาตครึ่งท่อน) ผู้ ป่วยทีม่ ภี าวะไม่รบั รูส้ ติ ผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้ประสบอุบตั เิ หตุ (ขาหัก แขนหัก) ฯลฯ บางรายอาจจะขยับร่างกาย ไม่ได้เพียงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ภาวะขาหัก หรือบางรายอาจจะขยับร่างกายไม่ได้เป็นเวลานาน เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะไม่รับรู้สติ ดังนั้นการไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ทำาให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตาม มา ได้แก่ กล้ามเนื้อหดรั้ง ข้อต่อติดแข็ง แผลกดทับ การติดเชื้อในปอด ฯลฯ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการ ดูแลภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ การจัดท่าทางที่เหมาะสมจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างไร • ทำาให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทางที่สบาย (รู้สึกสบาย) • ลดหรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การยึดรัง้ ของกล้ามเนือ้ /ข้อต่อ, การเกิดแผลกดทับ • รักษาระดับความสามารถการใช้ชีวิตประจำาวันของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัว เป็นเวลานาน • ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำากิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น หรือสามารถทำากิจกรรมต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง • ทำาให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมต่อการรักษาที่ได้รับ เช่น ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก เราสามารถจัดท่าทางที่เหมาะสมได้อย่างไร ก่อนเริ่มการจัดท่าทางที่เหมาะสม ควรสังเกต และให้ความระมัดระวังแก่ผู้ป่วยดังนี้ • การรับรู้สติของผู้ป่วย » สามารถตอบโต้พูดคุยสื่อสารได้หรือไม่ • การรับรู้ความรู้สึกของผู้ป่วย » สามารถรับรู้ความรู้สึกเจ็บ, สัมผัสต่าง ๆ ได้หรือไม่ • สังเกตผิวหนัง,ปุ่มกระดูกบริเวณที่จะทำาการเคลื่อนไหว » ลักษณะผิวหนังปกติหรือไม่ (ผิวหนังมีสีอย่างไร, มีอาการบวมหรือไม่, มีแผลหรือไม่) » บริเวณปุ่มกระดูกต่าง ๆ มีแผลหรือไม่ 3


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

• ความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย » เช็คร่างกายส่วนต่าง ๆ ว่าขยับได้มากน้อยแค่ไหน (ยกแขน, ยกขา, ขยับตัว) • โรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของผู้ป่วย ท่าทางที่ใช้ในชีวิตประจำาวันมีมากมาย ซึ่งท่าที่สำาคัญและเป็นท่าทางที่เหมาะสมในการนำา ไปใช้กับผู้ป่วยมี 5 ท่าทางดังต่อไปนี้ 1. ท่านอนหงาย ถือเป็นท่าทางพื้นฐานที่มีความสำาคัญต่อผู้ป่วย

วิธีการจัดท่านอนหงายมีดังนี้ 1) บริเวณศีรษะ: ใช้หมอนรองรับส่วนของต้นคอและศีรษะของผู้ป่วย โดยจัดให้หมอนมีความนิ่มและความสูงที่เหมาะสม สามารถรักษาตำาแหน่งของคอไว้ได้ ไม่ทำาให้เกิดการก้มคอหรือเงยคอมากเกินไป 2) บริเวณปุ่มกระดูกส่วนสะบักและไหล่: ใช้ผ้านุ่ม ๆ หรือถุงมือใส่น้ำามารองรับ เพื่อลด แรงกดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ 3) บริเวณแขนและมือ: จัดให้แขนกางออกเล็กน้อย อาจวางมือผสานไว้ที่หน้าท้อง หรือ วางมือไว้ด้านข้างลำาตัว (ดังภาพ) พร้อมใช้ถุงมือใส่น้ำาวางรองตามปุ่มกระดูกที่ข้อศอกและข้อ มือ พร้อมจัดให้ข้อมือกระดกขึ้นเล็กน้อย เพื่อส่งเสริมให้อยู่ในตำาแหน่งที่ง่ายต่อการใช้งานใน ชีวิตประจำาวัน 4) บริเวณหลังและขาส่วนล่าง: 4.1) สังเกตความแอ่นของหลัง • มองจากด้านข้างลำาตัวของผู้ป่วย อาจพบว่าหลังส่วนล่างไม่แนบชิดไปกับเตียง (เส้น ทึบ แสดงหลังส่วนล่างที่ยกขึ้น) 4


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

• มีชอ่ งบริเวณหลังส่วนล่าง (หลังไม่แนบชิดกับเตียง) สามารถสอดมือเข้าไปทีบ่ ริเวณหลังได้

4.2) จัดให้เข่าทั้งสองข้างงอเล็กน้อย โดยใช้ผ้าขนหนูม้วนให้แน่นรองด้านหลังเข่า หนุนให้ขนาดพอดีจนบริเวณหลังแนบไปกับเตียง

4.3) จัดให้สะโพกทั้งสอง ข้างอยูใ่ นแนวตรง ไม่หมุนเข้าด้าน ในหรือบิดออกด้านนอก โดยใช้ผา้ ขนหนูม้วนให้แน่นรองด้านนอก ของสะโพกทั้งสองข้าง

5


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

4.4) กรณีทมี่ ไี ม้กระดานกันข้อเท้าตก: ให้หอ่ ไม้กระดานกันข้อเท้าตกด้วยผ้าขนหนู แล้ว จัดให้ปลายเท้าวางแนบกับไม้กระดาน และตัง้ อยูใ่ นแนวตรงตัง้ ฉากกับเตียง (แสดงด้วยเส้นรูป L) เมื่อสังเกตจะพบช่องว่างบริเวณด้านหลังข้อเท้า แสดงว่าบริเวณข้อเท้ายังวางไม่แนบสนิท กับเตียง (แสดงด้วยเส้นทึบ)

ให้นำาผ้าขนหนูผืนเล็ก ๆ หนุนบริเวณช่องว่างด้านหลังข้อเท้า เพื่อช่วยในการกระ จายแรงกดต่อส้นเท้า

4.5) กรณีที่ไม่มีไม้กระดานกันข้อเท้าตก: ให้จัดเตียงผู้ป่วยให้ฝ่าเท้าชนกับฝาผนัง ข้อ เท้าอยูใ่ นแนวตัง้ ฉากกับเตียง แล้วจึงใช้ผา้ ขนหนูผนื เล็ก ๆ หนุนบริเวณช่องว่างด้านหลังข้อเท้า เพื่อช่วยในการกระจายแรงกดต่อส้นเท้า

6


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

2. ท่านอนตะแคง สามารถจัดได้ 2 ท่า คือท่านอนตะแคงกึ่งหงาย และนอนตะแคงกึ่งคว่ำา ทัง้ นีข้ นึ้ กับความสามารถในการเคลือ่ นไหวของลำาตัวและแขนของผูป้ ว่ ย รวมถึงภาวะโรคและปัญหา แทรกซ้อนต่าง ๆ ด้วย วิธีการจัดท่านอนตะแคงมีดังนี้ 1) ท่านอนตะแคงกึ่งหงาย

1.1) บริเวณศีรษะ รวมถึงปุ่มกระดูกด้านข้างใบหน้าและหู: ใช้หมอนรองรับส่วน ของต้นคอและศีรษะของผู้ป่วย โดยจัดให้หมอนมีความนิ่มและความสูงที่เหมาะสม สามารถ รักษาตำาแหน่งของคอไว้ให้อยูใ่ นแนวตรงปกติ ไม่ทาำ ให้เกิดการเอียงคอไปทางซ้ายหรือขวามาก เกินไป รวมถึงจัดท่าให้มีการหมุนศีรษะขึ้นเล็กน้อย เพื่อลดการกดทับด้านข้างใบหน้าและหู 1.2) บริเวณปุ่มกระดูกส่วนสะบักและไหล่: ใช้ผ้านุ่ม ๆ หรือถุงมือใส่น้ำามารองรับ เพื่อลดแรงกดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ 1.3) บริเวณแขนและมือ: แขนข้างทีว่ างบนเตียงต้องระวังปุม่ กระดูกบริเวณข้อศอก และหลังมือไม่ให้ถูกกดทับโดยใช้ถุงมือใส่น้ำารองบริเวณนั้น จัดให้สะบักเลื่อนออกมาด้าน หน้าเล็กน้อย และหมุนหัวไหล่ออกด้านนอกไว้ข้างหมอน ดังภาพ ส่วนแขนข้างบนให้วางบน หมอนข้างซึ่งอยู่ด้านหลัง 1.4) บริเวณหลังและขาส่วนล่าง: ขาข้างที่วางบนเตียงจัดให้เข่าเหยียดตรง วาง ถุงมือน้าำ รองบนปุม่ กระดูกทีต่ าตุม่ ด้านนอก ส่วนขาทีอ่ ยูด่ า้ นบน จัดให้งอเข่างอสะโพกเล็กน้อย แล้ววางรองบนหมอน ให้ระดับความสูงของหมอนทำาให้สะโพกไม่บิดหมุนเข้าด้านใน 7


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

2) ท่านอนตะแคงกึ่งควำ่า 2.1) บริเวณศีรษะ รวมถึงปุ่มกระดูกด้านข้างใบหน้าและหู: เหมือนข้อ 1.1) 2.2) บริเวณปุ่มกระดูกส่วนสะบักและไหล่: เหมือนข้อ 1.2) 2.3) บริเวณแขนและมือ: แขนข้างทีว่ างบนเตียงต้องระวังปุม่ กระดูกบริเวณข้อศอก และหลังมือไม่ให้ถูกกดทับโดยใช้ถุงมือใส่น้ำารองบริเวณนั้น จัดให้สะบักเลื่อนออกมาด้านหน้า เล็กน้อย และหมุนหัวไหล่ออกด้านนอกไว้ข้างหมอน ดังภาพ ส่วนแขนข้างบนให้กอดหมอนซึ่ง อยู่วางอยู่ด้านหน้า ลำาตัวโน้มไปด้านหน้าเล็กน้อย 2.4) บริเวณหลังและขาส่วนล่าง: เหมือนข้อ 1.4)

8


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

หลักการเคลื่อนย้าย การยก และการพยุงผู้ป่วย อ.ดร. สุวีณา ค้าเจริญ ขั้นตอน 1. ประเมินผู้ป่วยถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง, ข้อห้ามหรือข้อควรระวังในตัวผู้ ป่วยแต่ละคน, ส่วนใดที่อ่อนแรงหรือจำาเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ 2. การเตรียมผู้ป่วยโดยการจัดท่าทางให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สบาย และมีผ้ารองตัวบนเตียง

ขั้นตอนการช่วยเลื่อนตัวผู้ป่วยไปทางหัวเตียง กรณีผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้

1. ปูผา้ รองตัวให้กบั ผูป้ ว่ ย โดยควรมีขอบผ้าเหลือให้เพียง พอต่อการจับของผู้ดูแล

2. จัดท่าแขนและขาของผู้ป่วยให้อยู่ภายในผ้ารองตัว ไม่ให้ตกหล่นไปภายนอกผ้า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการ เคลื่อนย้าย

3. ผู้ดูแลสองคนช่วยกันจับมุมผ้ารองตัว หันหน้าไปทาง หัวเตียง และให้จังหวะในการเคลื่อนย้ายตัว พร้อมๆกัน โดย ยกตัวให้ลำาตัวของผู้ป่วยลอยขึ้นจากพื้นเตียง ไม่ให้ลากไปกับ เตียง ยกเลื่อนตัวไปทางหัวเตียงจนกว่าจะศีรษะผู้ป่วยจะพอดี กับขอบบนของเตียง 9


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

กรณีผู้ป่วยสามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง

1. ให้ ผู้ ป่ ว ยชั น เข่ า ทั้ ง สองข้ า ง หากไม่ สามารถตั้งขาอยู่ได้นาน ให้ผู้ดูแลช่วยจับที่หลังเท้า 2. ให้ผู้ป่วยออกแรงกดศอกทั้งสองข้างเพื่อ ยกลำาตัวให้ลอย พร้อมกับออกแรงเหยียบทีเ่ ท้าเพือ่ ยกสะโพกให้ลอย แล้วถีบตัวขึน้ ไปทางหัวเตียง หาก ยังไม่สามารถเลื่อนตัวได้ ให้ผู้ดูแลช่วยยกสะโพก หรือยกสะบักให้ลอยก่อนผู้ป่วยออกแรงถีบ

ขั้นตอนการช่วยเลื่อนตัวผู้ป่วยไปริมเตียง กรณีผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้

1. ให้ ผู้ ป่ ว ยชั น เข่ า ทั้ ง สองข้ า ง หากไม่ สามารถตั้งขาอยู่ได้นาน ให้ผู้ดูแลช่วยจับที่หลังเท้า 2. จัดท่าแขนและขาของผูป้ ว่ ยให้อยูภ่ ายใน ผ้ารองตัว ไม่ให้ตกหล่นไปภายนอกผ้า เพื่อป้องกัน การบาดเจ็บจากการเคลื่อนย้าย

10


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

3. ผู้ดูแลสองคนช่วยกันจับมุมผ้ารองตัว และให้จังหวะในการเคลื่อนย้ายตัว พร้อมๆกัน โดยยกตัวให้ลำาตัวของผู้ป่วยลอยขึ้นจากพื้นเตียง ไม่ให้ลากไปกับเตียง เลื่อนตัวผู้ป่วยไปทางซ้าย หรือขวาโดยให้เหลือที่ว่างริมเตียงเล็กน้อยเพื่อ วางแขนของผู้ป่วย

กรณีผู้ป่วยสามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง

1. ให้ผู้ป่วยชันเข่าทั้งสองข้าง หากไม่สามารถตั้งขาอยู่ได้นาน ให้ผู้ดูแลช่วยจับที่ หลังเท้า 2. กางขาไปริมเตียงด้านที่ต้องการขยับไป 3. ให้ผปู้ ว่ ยออกแรงกดศอกทัง้ สองข้างเพือ่ ยกลำาตัวให้ลอย พร้อมกับออกแรงเหยียบ ที่เท้าเพื่อยกสะโพกให้ลอย แล้วถีบตัวขึ้นไปทางด้านข้าง หากยังไม่สามารถเลื่อนตัวได้ ให้ ผู้ดูแลช่วยยกสะโพกหรือยกสะบักให้ลอยก่อนผู้ป่วยออกแรงถีบ 11


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ขั้นตอนการช่วยเลื่อนตัวผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว กรณีผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้

1. ผู้ดูแลยืนอยู่ด้านข้างผู้ป่วยด้านที่กาำ ลังจะพลิกตัวไป 2. จับแขนและมือข้างที่ตรงข้ามกับด้านที่จะพลิกตัวไปเอามาวางบนหน้าท้อง (เช่น ต้องการพลิกตะแคงไปด้านซ้าย ให้จับแขนขวามาวางบนหน้าท้อง) 3. ผู้ดูแลช่วยชันเข่าข้างที่ตรงข้ามกับด้านที่จะพลิกตัวไป แล้วจับไว้ให้อยู่นิ่ง 4. จากนั้นผู้ดูแลเอามือสอดใต้สะโพกและหัวไหล่ของผู้ป่วยด้านตรงข้ามกับด้านที่จะ พลิกตัวไป แล้วพลิกตัวมาหาผู้ดูแลเอง กรณีผู้ป่วยสามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง 1. ผู้ดูแลยืนอยู่ด้านข้างผู้ป่วยด้านที่กำาลังจะพลิก ตัวไป 2. ผูป้ ว่ ยยกแขนและมือข้างทีต่ รงข้ามกับด้านทีจ่ ะ พลิกตัวไปเอามาวางบนหน้าท้อง หากแขนข้างนัน้ ไม่มแี รง ให้เอามืออีกข้างมาช่วยจับยก (เช่น ต้องการพลิกตะแคง ไปด้านซ้าย ให้เอาแขนขวามาวางบนหน้าท้อง) 3. ผูป้ ว่ ยชันเข่าข้างทีต่ รงข้ามกับด้านทีจ่ ะพลิกตัว ไป หากไม่สามารถชันเข่าค้างไว้ได้ให้ผดู้ แู ลช่วยจับเข่าและ ข้อเท้าไว้ให้อยู่นิ่ง ดังภาพ 4. จากนัน้ ให้ผปู้ ว่ ยหันศีรษะพร้อมออกแรงถีบเท้า ข้างที่ชันขึ้นเพื่อพลิกไปอีกด้านหนึ่ง 12


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ป่วยลุกนั่งห้อยเท้าข้างเตียง กรณีผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้

1. ให้เริ่มจากท่านอนตะแคงก่อน และผู้ดูแลอยู่ด้านที่ผู้ป่วยหันหน้าไป 2. จากนั้นผู้ดูแลเลื่อนขาผู้ป่วยทั้งสองข้างออกมานอกเตียงถึงระดับหัวเข่า 3. ผูด้ แู ลสอดแขนข้างหนึง่ ทีบ่ ริเวณคอด้านทีต่ ดิ กับเตียง แขนอีกข้างจับทีส่ ะโพกด้าน ที่ไม่ได้สัมผัสเตียง 4. ผู้ดูแลช่วยออกแรงยกศรีษะ พร้อมทั้งกดสะโพกผู้ป่วยเพื่อยกลำาตัวขึ้น 5. จัดท่าและดูแลความเรียบร้อยหลังลุกขึ้นนั่งเสร็จแล้ว กรณีผู้ป่วยสามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง 1. ให้เริ่มจากท่านอนตะแคงก่อน และผู้ดูแลอยู่ด้านที่ผู้ป่วยหันหน้าไป 2. ผู้ป่วยเลื่อนขาทั้งสองข้างออกมานอกเตียงถึงระดับหัวเข่า หรือหากมีแรงของขา เพียงข้างเดียวให้ใช้เท้าข้างที่มีแรงสอดไปใต้เข่าข้างที่อ่อนแรงแล้วเกี่ยวพร้อมกับลากขาทั้ง สองข้างออกมานอกเตียง 3. ผู้ดูแลจับที่สะโพกผู้ป่วยด้านที่ไม่ได้สัมผัสเตียง 4. ผู้ป่วยช่วยออกแรงยกศรีษะ พร้อมทั้งใช้ศอกข้างที่ติดกับเตียงยันตัว และใช้มืออีก ข้างช่วยยันเตียง เพื่อดันตัวให้ลุกนั่งได้ 5. จัดท่าและดูแลความเรียบร้อยหลังลุกขึ้นนั่งเสร็จแล้ว 13


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปเก้าอี้หรือรถเข็น กรณีผู้ป่วยไม่สามารถออกแรงช่วยเหลือตัวเองได้ 1. นำารถเข็นมาวางทำามุม 45 องศากับขอบเตียง (หากผู้ป่วยมีแรงเพียงด้านเดียว ควรให้รถเข็นอยู่ตรงกับ ด้านที่มีแรงของผู้ป่วย) และล็อครถเข็นให้อยู่กับที่

2. ใส่เข็มขัดหรือสายคาดเอวให้กับผู้ป่วย

3. ผูป้ ว่ ยเลือ่ นตัวมาทีข่ อบเตียง และเอือ้ มมือด้าน ที่ใกล้รถเข็นไปจับที่วางแขนของรถเข็นด้านที่อยู่ไกลตัว แล้วลุกขึ้นยืน

4. ผู้ป่วยหมุนตัวช้าๆ เพื่อหย่อนสะโพกลงนั่งบน รถเข็น จากนั้นดันที่วางเท้าลงแล้วให้ผู้ป่วยช่วยยกเท้า วางบนที่วางเท้า

ขั้นตอนการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากท่านั่งไปยืน กรณีผู้ป่วยมีแรงแขนทั้งสองข้าง หรือ ผู้สูงอายุ 1. เลือกใช้โครงช่วยเดิน 4 ขา หรือ Walker โดยวางทางด้านหน้าของผู้ป่วย 2. ใส่เข็มขัดหรือสายคาดเอวให้กับผู้ป่วย 3. ผู้ป่วยเลื่อนตัวมานั่งที่ขอบเตียง และเอื้อมมือทั้งสองข้างจับบริเวณที่จับของโครง ช่วยเดิน 4 ขา 14


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

4. เท้าผู้ป่วยทั้งสองข้างวางราบกับพื้น แล้วลากเข้าหาเตียง 5. ผู้ป่วยโน้มตัวไปข้างหน้า จนกระทั่งระดับไหล่อยู่ตรงกับเข่า กดมือจับโครงช่วยเดิน 4 ขา พร้อมกับเหยียดขาทั้งสองข้างลุกขึ้นยืน

กรณีผู้ป่วยมีแรงแขนและขาข้างเดียว 1. เลือกใช้ไม้เท้า หรือ Cane โดยวางไม้เท้าทางด้านหน้าเยื้องไปทางด้านข้างของข้างที่ผู้ ป่วยมีแรง 2. ใส่เข็มขัดหรือสายคาดเอวให้กับผู้ป่วย 3. ผู้ป่วยเลื่อนตัวมานั่งที่ขอบเตียง และเอื้อมมือข้างมีแรงจับไม้เท้า (ผู้ดูแลยืนอยู่ด้านที่ผู้ ป่วยไม่มีแรง) 4. เท้าผู้ป่วยทั้งสองข้างวางราบกับพื้น แล้วลากเข้าหาเตียง (ผู้ดูแลช่วยลากเท้าข้างที่ผู้ ป่วยไม่มีแรง) 5. ผู้ป่วยโน้มตัวไปข้างหน้า จนกระทั่งไหล่อยู่ตรงกับเข่า กดมือจับไม

15


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ขั้นตอนการฝึกเดิน กรณีผู้ป่วยมีแรงแขนทั้งสองข้าง หรือ ผู้สูงอายุ 1. หลังจากผู้ป่วยลุกขึ้นยืน มือทั้งสองข้างจับ บริเวณที่จับของโครงช่วยเดิน 4 ขา หรือ Walker 2. ยกโครงช่วยเดิน 4 ขาไปด้านหน้า ประมาณ 1 ช่วงศอก 3. กดมือลงบนที่จับ แล้วถ่ายน้ำาหนักไปด้านซ้ายเพื่อก้าวขาขวา ตามด้วยถ่ายน้ำาหนักไป ด้านขวาเพื่อก้าวขาซ้าย (ให้ก้าวขาข้างถนัดไปก่อน) ข้อควรคำานึง กรณีผู้ป่วยมีถุงปัสสาวะ ไม่ยกถุงปัสสาวะสูงกว่าระดับสะเอว และ ระวังการดึงรั้งของ

กรณีผู้ป่วยมีแรงแขนและขาข้างเดียว 1. หลังจากผู้ป่วยลุกขึ้นยืน มือข้างมีแรงจับไม้เท้า หรือ Cane 2. ยกไม้เท้าไปด้านหน้า ประมาณ 1 ช่วงศอก พร้อมก้าวขาข้างตรงข้ามกับไม้เท้า ไปด้าน หน้า 3. กดมือลงบนไม้เท้า แล้วถ่ายน้ำาหนักไปยังขาข้างหน้าเพื่อก้าวขาอีกข้าง ตาม ข้อควรคำานึง กรณีผู้ป่วยมีถุงปัสสาวะ ไม่ยกถุงปัสสาวะสูงกว่าระดับสะเอว และระวังการดึงรั้งของสาย ปัสสาวะ

16


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การสวมใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงไหล่ (Shoulder support) กรณีผู้ป่วยไม่มีแรงแขนและมีการเคลื่อนของข้อไหล่ 1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ ให้เหมาะสมกับขนาดแขนของผู้ป่วย (ขนาด S, M, L, XL) 2. จัดให้ผู้ป่วยนั่ง หมอนวางบนตัก และนำาแขนข้างไม่มีแรงวางบนหมอน 3. สวมอุปกรณ์บริเวณไหล่ติดให้กระชับ แล้วคล้องสายรัดผ่านรักแร้ และอ้อมกลับมาติด กับตัวพยุงทางด้านหน้า 4. ปรับความยาวของสายรัดให้เหมาะสม ไม่หย่อนหรือตึงเกินไป ข้อควรคำานึง 1. ขณะสวมใส่ห้ามดึงแขน หรือกระชากแขนของผู้ป่วยแรงๆ 2. ตรวจสอบการกดทับของสายคล้องบริเวณรักแร้ของผู้ป่วย 3. ให้สวมใส่ตลอดเวลาทำากิจกรรม ยกเว้น ตอนนอน

17


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การสวมใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงไหล่ (Arm sling) โดยใช้ผ้าสามเหลี่ยม กรณีผู้ป่วยไม่มีแรงแขนและมีการเคลื่อนของข้อไหล่ 1. เตรียมผ้าสี่เหลี่ยมจตุรัตผืนใหญ่ 1 ผืน 2. จัดให้ผู้ป่วยนั่ง หมอนวางบนตัก และนำาแขนข้างไม่มีแรงวางบนหมอน 3. วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดของสามเหลี่ยมอยู่ใต้ข้อศอกของแขนข้างที่ไม่มีแรง และ ชายผ้าด้านบนพาดไปที่ไหล่อีกข้างหนึ่ง 4. จับชายผ้าด้านล่างตลบกลับขึ้นข้างบน ให้ชายผ้าพาดไปที่ไหล่ข้างเดียวกับแขนข้างที่ ไม่มีแรง 5. ผูกชายผ้าทั้งสองให้ปมอยู่ตรงบริเวณท้ายทอย

18


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

กรณีผู้ป่วยข้อเท้าตกขณะเดิน 1. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้สวมใส่ ให้เหมาะสมกับขนาดขาและเท้าของผู้ป่วย 2. จัดให้ผู้ป่วยนั่งเหยียดขาบนเตียง 3. สวมอุปกรณ์บริเวณขาและเท้า แล้วรัดบริเวณขาและเท้าให้กระชับ 4. ปรับความยาวของสายรัดให้เหมาะสม ไม่หย่อนหรือตึงเกินไป ข้อควรคำานึง 1. ก่อนสวมใส่จัดปลายเท้ากระดกขึ้นตั้งตรง 2. ตรวจสอบการกดทับของสายรัดบริเวณหน้าแข้งและเท้า 3. สวมรองเท้าได้ตามปกติ

19


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วย ติดเตียง อ.พิมพ์ปวีณ์ เกิดทรัพย์ ผู้ป่วยที่นอนติดเตียงส่วนมากจะมีภาวะภูมิคุ้มกันตำ่า นั่นหมายถึงโอกาสในการติดเชื้อของผู้ป่วย จะเพิ่มสูงมากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดและการป้องกันการติดเชื้อจึงมี ความสำาคัญ โดยหลักการการป้องกันการติดเชื้อนี้เรียกว่า standard precautions (การป้องกันการ ติดเชื้อมาตรฐานในผู้ป่วยทุกราย) มีรายละเอียด ดังนี้ การทำาความความสะอาดมือ มีข้อบ่งชี้ ดังนี้ 1. ก่อนสัมผัสผู้ป่วย 2. ก่อนทำาหัตถการสะอาดหรือปราศจากเชื้อ 3. หลังสัมผัสสารนำ้าหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วย 4. หลังสัมผัสผู้ป่วย 5. หลังสัมผัสสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย โดยการทำาความสะอาดมือสามารถแบ่งออกได้คร่าวๆ เป็น 2 วิธี » การล้างมือ โดยขั้นตอนการล้างมือจะใช้เวลาประมาณ 20-30 วินาที » การทำาความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล เป็นการทำาความสะอาดมือในกรณีทไี่ ม่มคี ราบ สกปรกปนเปื้อนบน โดยกดแอลกอฮอล์เจลลงบนฝ่ามือประมาณ 10 มิลลิลิตร แล้วถูให้ทั่วทั้งฝ่ามือ แล้วปล่อยให้แห้ง แต่ควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เจลในผู้ที่แพ้ ทั้ง 2 วิธีมีขั้นตอนการถูมือ ดังนี้

ที่มา : หน่วยงานโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลศิริราช 20


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การใส่ถุงมือ การใส่ถุงมือ (gloves) ควรสวมถุงมือเมื่อจะสัมผัสหรือว่าคาดว่าจะสัมผัสผู้ป่วย เพื่อป้องกันมือ สัมผัสกับสารคัดหลัง่ ต่าง ๆ รวมไปถึงป้องกันการนำาเชือ้ โรคจากมือไปสัมผัสผูป้ ว่ ย โดยมีวธิ กี ารใส่ดงั นี้

ที่มา : http://www.who.int/csr/resources/publications/EPR_AM2_E7.pdf การใส่อุปกรณ์ป้องกันบริเวณหน้า การใส่อุปกรณ์ป้องกันบริเวณหน้า คือการใส่อุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ เช่น หน้ากาก ควรใส่เมื่อ ปฏิบัติงานที่มีลักษณะงานเสี่ยงต่อการกระเด็นหรือแพร่กระจายของสารคัดหลั่งของผู้ป่วย วิธีการใส่และถอดหน้ากาก มีดังนี้ 1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง 2. หันหน้ากากด้านสีขาวเข้าใบหน้า ให้ขอบที่มีลวดอยู่ด้านบน 3. นำาสายคล้องหูให้กระชับ ในกรณีที่เป็นหน้ากากแบบผูกให้ผูกเงื่อนกระตุก 4. กดขอบลวดให้แนบกระชับกับดั้งจมูกและดึงหน้ากากให้คลุมทั้งปากและจมูก 5. หลังจากใช้หน้ากากเสร็จแล้ว หากเป็นหน้ากากแบบผูกให้กระตุกเชือกด้านล่างก่อน 6. นำาหน้ากากออกจากใบหน้าโดยมือไม่สัมผัสบริเวณด้านนอกของหน้ากาก 7. พับหน้ากากให้ส่วนด้านนอกอยู่ด้านในและทิ้งหน้ากากลงถังขยะติดเชื้อ 21


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การปิดปากและจมูกขณะไอหรือจาม ควรใช้วธิ ปี อ้ งกันโดยปิดปากและจมูกเมือ่ จะไอหรือจามด้วยทิชชูห่ รือหน้ากาก ในกรณีทไี่ ม่มที ชิ ชู่ หรือหน้ากาก ให้ใช้ต้นแขนปิดปากขณะไอหรือจาม

22


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง : แผลกดทับ อ.พิมพ์ปวีณ์ เกิดทรัพย์ แผลกดทับ คือ การบาดเจ็บเฉพาะทีข่ องผิวหนังซึง่ ส่วนใหญ่เป็นผิวหนังตามปุม่ กระดูกต่าง ๆ มีสาเหตุจากภาวะนอนนานเกิดแรงกดทำาให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดเลือดและออกซิเจน ส่งผล ให้เนื้อเยื่อตายในที่สุด

ที่มา : http://goo.gl/tKCLL0 บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ

1. ท่านอนหงาย : ท้ายทอย หัวไหล่ หลังส่วน บน ข้อศอก ก้นกบ ส้นเท้า 2. ท่านอนตะแคง : หู หัวไหล่ ข้อศอก กระดูก เชิงกราน ปุ่มกระดูกต้นขา ตาตุ่ม ส้นเท้า 3. ท่านั่ง : ก้นกบ ปุ่มกระดูกก้น หัว กระดูก สะบัก ส้นเท้า

ที่มา : http://goo.gl/9TsJyo 23


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การดูแลและป้องกันแผลกดทับ 1. ดูแลพลิกตะแคงตัวเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง ไม่ได้ โดยจัดท่าสลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่ม ๆ รองบริเวณที่กดทับหรือ ปุ่มกระดูก 2. ดูแลที่นอน ให้สะอาด แห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอ 3. ควรใช้ที่นอนที่ช่วยลดโอกาสเกิดแผลกดทับ เช่น ที่นอนลม 4. การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรมีผ้ารองยกเพื่อป้องกันการเสียดสี 5. ดูแลผิวหนังผูป้ ว่ ยให้แห้งสะอาดไม่อบั ชืน้ เพราะถ้าผิวหนังเปียกชืน้ หรือร้อนจะทำาให้เกิดแผล เปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำาความ สะอาดและซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผูป้ ว่ ยมีผวิ หนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชัน่ 6. ดูแลให้ผู้ป่วยมีการเคลื่นไหวร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มี การไหลเวียนของโลหิตที่ดี 7. ดูแลอาหารให้มีคุณค่าทางโภชนาการครบ อาจเน้นในส่วนของโปรตีน 8. ดูแลทำาความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ

24


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง : ระบบหายใจ อ.พิมพ์ปวีณ์ เกิดทรัพย์ ปัญหาทางระบบหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยนอนนาน ยิ่งระยะเวลา ที่นอนนานมากขึ้น ปัญหาทางระบบหายใจก็จะยิ่งเพิ่มตามมามากขึ้น โดยปัญหาทางระบบหายใจที่ มักเกิดขึ้น มีดังนี้ 1. ปริมาตรความจุปอดและสมรรถภาพทางการทำางานของปอดลดลง 2. มีเสมหะคั่งค้าง 3. ทางเดินอากาศและถุงลมสูญเสียความยืดหยุน่ จากการทีป่ อดมีการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างไป 4. มีความเสี่ยงต่อภาวะปอดแฟบ การป้องกันและแก้ไข 1. การจัดท่าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนอากาศ ให้เน้นการปรับหัวสูง ดังรูป

ที่มา : http://brooksidepress.org/nursing_fundamentals_1/?page_id=394 2. ออกกำาลังกายเพิ่มการขยายตัวของทรวงอก

ที่มา : http://campaign99.tripod.com/beyondsci/sciguide/chapter5.html 25


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

เอกสารอ้างอิง 1. World Health Organization. Standard precautions in health care. 2007. Available at: http://www.who.int/csr/resources/publications/EPR_AM2_E7.pdf 2. World Health Organization. WHO Guidelines on Hand Hygiene in Health Care. 2009. Available at: http://whqlibdoc.who.int/publications/2009/9789241597906_eng. pdf?ua=1 3. Centers for Disease Control and Prevention. Guidance for the Selection and Use of Personal Protective Equipment (PPE) in Healthcare Settings. 2004. Available at: http://www.cdc.gov/hai/pdfs/ppe/ppeslides6-29-04.pdf 4. Centers for Disease Control and Prevention. Guideline for Isolation Precautions. 2007. available at: http://www.cdc.gov/hicpac/pdf/isolation/Isolation2007.pdf)

26


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ชุดท่าออกกำาลังกายเพือ ่ เพิม ่ ความยืดหยุน ่ สำาหรับป้องกันอาการ ไม่สบายของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ดร.เบญจวรรณ อภินนท์กูล คำาชี้แจง ชุดการออกกำาลังกายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและยืดหย่นของร่างกาย เหมาะสำาหรับผ้ที่ไม่มีโรคประจำาตัวหรืออาการผิดปกตอื่นๆเช่น รูมาตอยด์ เก๊าท์ อาการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ของข้อต่อ กล้ามเนื้อ หรือเอ็น เป็นต้น หากมีโรคประจำาตัวหรืออาการ ผิดปกติอื่นๆดังกล่าว ควรออกกำาลังกายภายใต้คำาแนะนำา หรือการดูแลของนักกายภาพบำาบัด หรือแพทย์เท่านั้น ชุดท่าที่ 1

ชุดท่าที่ 2

27


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ชุดท่าที่ 3

ชุดท่าที่ 4

28


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

ชุดท่าที่ 5

29


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

การปรับบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม อ.วรินทร์ รักกมล บ้าน คือสถานที่ที่ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยใช้เวลาอยู่มากที่สุด การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ที่จะ เกิดขึ้นที่บ้านจึงเป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก » ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีกระดูกเปราะบาง » ความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย » ความสามารถที่จะทรงตัวลดลง เป็นต้น ............................ เพียงการหกล้มเล็กน้อย อาจกลายเป็นปัญหาทีร่ นุ แรงได้ ................................... ดังนั้น การปรับปรุงบ้าน และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งที่สาำ คัญในการดูแล สุขภาพของผู้สูงอายุ โดยมีหลักการดังต่อไปนี้ 1. การปรับห้องนอน หรือทีน่ อนสำาหรับผูส้ งู อายุ ซึง่ ระดับความสูงของเตียงนอนควรอยูใ่ นระดับ ที่สามารถวางเท้าราบกับพื้นได้ (ดังรูปที่ 1) มีความทนทานและมีความปลอดภัย ไม่ต่ำาเกินไป เพื่อ ป้องกันการหกล้มขณะลุก และสะดวกสบายต่อการลุกขึ้นยืนแล้วเดิน

(รูปที่ 1) 2. ควรเอาธรณีประตูออก หรือปรับให้อยูใ่ นระดับเดียวกับพืน้ ทางเดิน (ดังรูปที่ 2) และควรมีทาง ต่างระดับในบ้านให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้มของผู้สูงอายุ 30


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

(รูปที่ 2) 3. บริวณทางเดินควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ (ดังรูปที่ 3) เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้มของผู้สูงอายุ

(รูปที่ 3) 4. ห้องนำ้าควรเลือกใช้วัสดุกันลื่นในห้องน้าำ ติดตั้งราวจับข้างอ่างอาบน้ำาหรือทางเดินเข้าห้องน้ำา (ดังรูปที่ 4) เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้มของผู้สูงอายุ

(รูปที่ 4) 31


โครงการอบรมผู้ป่วยภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม

5. แนะนำาเป็นโถส้วมชักโครกทีพ่ อเหมาะสำาหรับผูส้ งู อายุ ไม่เตีย้ หรือสูงเกินไปติดตัง้ ราวจับตาม ทางเดินภายในห้องน้ำา (ดังรูปที่ 5) และมั่นตรวจสอบความแข็งแรงของราวจับอย่างสม่ำาเสมอ เพื่อ ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

(รูปที่ 5) 6. บันไดบ้านควรมีราวจับ (ดังรูปที่ 6.1) เพื่อป้องกันการหกล้มตกบันได หากมีผู้ป่วยอัมพาต ครึ่ง-ซีก อาศัยอยู่ในบ้านด้วยขณะขึ้นและลงบันได ควรมีราวจับอยู่ด้านที่ไม่มีการอ่อนแรงของกล้าม เนื้อ (ดังรูปที่ 6.2 ด้านที่ไม่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ คือด้านซ้ายผู้ป่วย)

(รูปที่ 6.1)

(รูปที่ 6.2)

7. ไม่ควรวางของเกะกะทั่วบ้าน ป้องกันการสะดุดล้มชองผู้สูงอายุ 8. หากมีการปูพรมที่พื้นบ้าน พรมจะต้องไม่เก่าจนขาด เพื่อป้องกันการสะดุดล้มชองผู้สูงอายุ 9. จัดการสายไฟให้อยู่ตามแนวผนัง ไม่ควรอยู่ใต้พรมหรือพื้นที่ทางเดิน 10. จัดบริเวณให้โล่ง เช่น หน้าบ้าน ข้างๆ บ้าน ควรมีพื้นที่เท่ากันไม่เป็นหลุม หรือมีก้อนหิน เพื่อป้องกันการสะล้ม เป็นต้น 32




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.