1
สารจากคณบดี
สวัสดีค่ะ นักศึกษาคณะการบัญชีที่รักทุกคน ขอต้ อ นรั บ นั ก ศึ ก ษาใหม่ ที่ ก ้ า วเข้ า มาเป็ น สมาชิ ก ส่ ว นหนึ่ ง ของ DPU Accounting School ค่ะ หวังว่านักศึกษาทุกคนคงได้มีการสมัคร เข้ามาเป็น Friend กับคณะการบัญชี (คณะฯ) ของเราใน Facebook เรียบร้อยแล้ว ถ้าใครยังไม่เป็น Friend ต้องรีบสมัครด่วนนะคะ เพราะทาง คณะฯเราจะมีการจัดกิจกรรมรับของรางวัลมากมาย เพือ่ ให้นกั ศึกษาได้รว่ ม สนุกผ่าน Facebook นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถติดตามข่าวสารต่างๆ พร้อมทัง้ พบปะ พุดคุยกับคณาจารย์และรุน่ พีผ่ า่ นทาง Facebook ได้ทกุ เวลา ในปีการศึกษา 2556 นี้ นักศึกษาจะพบว่ามหาวิทยาลัยของเรา มีการเปลี่ยนแปลงการเปิดเทอม มาเป็นเดือนสิงหาคม เนื่องจากเรามีการ ปรับเวลาเปิดภาคการศึกษาให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อม รับประชาคมอาเซียน (Asean Community)ในปี 2558 เมื่อเอ่ยถึงประชาคม อาเซี ย น (Asean Community) นั ก ศึ ก ษาอาจเริ่ ม เกิ ด ความกั ง วลว่ า เมื่ อ เรี ย นจบแล้ ว อนาคตของเราจะเป็ น อย่ า งไรหลั ง จากที่ มี ก ารเปิ ด เสรีอาเซียน การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และทักษะที่สามารถสร้างความเจริญ มั่ น คงอยู ่ ใ นวิ ช าชี พ บั ญ ชี เ มื่ อ เปิ ด เสรี อ าเซี ย น ถื อ เป็ น หน้ า ที่ ห ลั ก ของ มหาวิทยาลัยและของคณะการบัญชี ทั้งนี้เราได้มีการเตรียมความพร้อมให้ กับนักศึกษาไม่ว่าจะเป็นในด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาอื่นๆ โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเหล่านี้ โดยให้เป็นวิชาเลือกเสรี ทั้งนี้ ทางคณะฯยังจัดให้มีการอบรม TOEIC ส�ำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจ จะสอบ TOEIC เพื่อน�ำคะแนนไปใช้สมัครงานในบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จ�ำกัด (มหาชน) เป็นต้น
3
ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู คณบดีคณะการบัญชี
นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยและทางคณะฯ ยังได้มีการน�ำนโยบาย มหาวิทยาลัยก้าวหน้า (Progressive university) มาเป็นนโยบายน�ำในการ จัดการเรียนการสอน ซึง่ ส่วนหนึง่ ของนโยบายนี้ ก็คอื การจัดให้มกี ารเรียน ภาษาอังกฤษแบบ Online ผ่านโปรแกรม SPEEXX ซึ่งนักศึกษาสามารถ เลื อ กเรี ย นได้ ต ามเวลาและสถานที่ ที่ ส ะดวก เช่ น เรี ย นที่ บ ้ า นโดย ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว เรียนในห้องแล็บหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ของ มหาวิทยาลัย หรือ ทุกสถานที่ที่มีเ ครือ ข่ าย Internet ทั้งนี้ โปรแกรม SPEEXX จะช่วยฝึกทักษะด้านการพูด การฟัง โดยมีแบบฝึกออกส�ำเนียง ตามเจ้าของภาษา ทัง้ นี้ นักศึกษาทีส่ นใจสามารถติดต่อขอรหัสเข้าใช้งาน ผ่านคณะฯ เพื่อคณะฯจะได้ด�ำเนินการต่อให้ค่ะ อนึ่งในปีการศึกษา 2556 นี้ ทางคณะฯ มีการจัดกิจกรรมมากมาย ไม่ ว ่ า จะเป็ น กิ จ กรรมการแข่ ง ขั น กี ฬ าพิ้ น บ้ า นไทย เพื่ อ สื บ สาน ความสัมพันธ์ศิษย์อาจารย์ กิจกรรรมการประกวดพาทีเชิงสร้างสรรค์ เรือ่ งคุณธรรมของนักศึกษาคณะการบัญชี กิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะ รุ่นพี่รุ่นน้องคณะการบัญชี เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาได้สร้างปฏิสัมพันธ์ ในหมู่เพื่อน และกับคณาจารย์ อันจะท�ำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี ที่จะเป็นพลังต่อไปในอนาคตการท�ำงาน ท้ายนี้ ขอให้นักศึกษาทุกคนจงมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่ง ในการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเรา ภายใต้การสนับสนุนของ มหาวิ ท ยาลั ย และคณะฯ ตามนโยบายมหาวิ ท ยาลั ย ก้ า วหน้ า (Progressive university) และครู ข อให้ นั ก ศึ ก ษาทุ ก คนมี ค วามสุ ข กับการพักผ่อนในช่วงปิดภาคการศึกษา รักษาสุขภาพทุกคนนะคะ
อย่าลืม Facebook ของเรา www.facebook.com/Dpuaccount
พบกันใหม่ในภาคการศึกษาที่ 2/2556 และสวัสดีปีใหม่ 2557 ทุกคนค่ะ
4
DPU Accounting School ก้าวสู่การเรียนการสอนแบบก้าวหน้า (Progressive teaching and learning)
ศึ ก ษาแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2542 แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม 2545 (พรบ.การศึ ก ษาฯ) โดยใจความส� ำ คั ญ ของพรบ. การศึกษาฯ ฉบับนี้ คือ การเรียนการสอนที่ดีนั้นต้องมี กระบวนการที่เอื้อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะ กระบวน การคิด และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและ แก้ ไ ขปั ญ หา โดยต้ อ งมี ก ารจั ด กิ จ กรรมให้ ผู ้ เ รี ย นได้ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง คิดได้ คิดเป็น ท�ำเป็น รวมทัง้ ต้องมีการผสมผสานสาระความรูด้ า้ นต่าง ๆ พร้อม ทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดการเรียนรู้นั้น สามารถจั ด ให้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ทุ ก เวลา ทุ ก สถานที่ มี ก าร ประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อร่วม กันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มีงานวิจยั มากมายระบุวา่ การจัดการเรียนการสอน ตามลั ก ษณะข้ า งต้ น จะท� ำ ให้ ผู ้ เ รี ย นได้ มี ก ารพั ฒ นา ศักยภาพของตนได้ดีกว่าการเรียนการสอนตามวิธีแบบ แนวคิดและเทคนิคในการจัดการเรียนการสอน ดั้งเดิมที่เรียกว่า Traditional teaching and learning ส�ำหรับอุดมศึกษาในประเทศไทยนั้น มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความแตกต่างระหว่าง การจัดการเรียนการสอนแบบ มากมาย ครั้งตั้งแต่เมื่อมีการออกพระราชบัญญัติการ ดั้ งเดิม และ การจั ดการเรียนการสอนแบบก้ า วหน้า สามารถสรุปโดยย่อได้ดังต่อไปนี้ 5
จุลสารคณะการบัญชี 1/56
ตามแนวทางและนโยบายของมหาวิ ท ยาลั ย ธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอน แบบก้าวหน้า หรือ ที่เราเรียกว่า Progressive teaching and learning นั้น นักศึกษาคงจะมีความสนใจและสงสัย ใคร่ รู ้ ว ่ า ที่ เ รี ย กว่ า การเรี ย นการสอนแบบก้ า วหน้ า นั้น มีลักษณะเป็นอย่างไร มีนักศึกษาบางคนจะบ่นว่า การเรี ย นการสอนแบบก้ า วหน้ า นี้ ไ ม่ เ หมาะสมเลย เพราะอาจารย์แต่ละวิชาให้งานเยอะมาก บางคนถึงกับ ท�ำเสร็จไม่ทันส่งเลยทีเดียว หรือไม่ก็ได้ยินเสียงบ่นจาก นักศึกษาบางคนว่า อาจารย์มีแต่มอบหมายให้นักศึกษา ไปศึกษาเองและน�ำเสนอในห้องเรียน ท�ำให้ไม่ชอบการ เรียนการสอนแบบนี้ แต่ทว่า การเรียนการสอนแบบ ก้ า วหน้ า นั้ น ที่ แ ท้ จ ริ ง มี ลั ก ษณะเป็ น อย่ า งไรและ มีประโยชน์อย่างไร เราจะมาเรียนรู้กันในรายละเอียด ต่างๆที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้กันนะคะ
นักบัญชีกับความเชี่ยวชาญด้านภาษีอาการ และIT
การจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional teaching and learning)นั้น ผู้เรียนจะมีลักษณะที่เป็น ผู้ฟัง และผู้ตาม (Passive learners) ไม่ค่อยโต้แย้ง และจะคอยที่ ซึ ม ซั บ จดจ� ำ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ รั บ การถ่ า ยทอด ผู้สอนจะท�ำหน้าที่ให้ข้อมูล และก�ำหนดบทบาท ผู้เรียน จะไม่ มีส ่ ว นร่ วมในการจัด กระบวนการเรีย นการสอน กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ จ ะเน้ น การเรี ย นรู ้ ใ นมิ ติ แ นวราบ จะไม่ขยายขอบเขตไปครอบคลุมสาขาวิชาอืน่ แต่ละสาขา วิ ช าจะมี ก ารเรี ย นรู ้ ท่ี แ ยกจากกั น อย่ า งชั ด เจน และ จะเป็นการเรียนที่ไม่ลึกซึ้งในแนวปฏิบัติ ผู้เรียนจะรับ ความรู้จากการบรรยายหรือจากใบงาน (Worksheet) การวัดความส�ำเร็จในการเรียนรูจ้ ะวัดโดยใช้หลักความจ�ำ การวัดผลจะเน้นการให้เกรด (Bonstigl, 2001) ส่ ว นการจั ด การเรี ย นการสอนแบบก้ า วหน้ า (Progressive teaching and learning)นั้น จะมีลักษณะ ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นคือ ผู้เรียนได้รับการคาด หวั ง ให้ มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น ผู ้ รุ ก และพร้ อ มที่ จ ะโต้ แ ย้ ง (Active learners) เป็นนักแก้ปัญหา เป็นนักวิเคราะห์ เป็นนักวางแผน ผู้สอนจะท�ำหน้าที่เป็นผู้อ�ำนวยความ สะดวกในการเรียนรู้ (Facilitators) นั่นคือ จะเป็นผู้ ที่ก�ำหนดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่ม ผูเ้ รียน โดยจะกระตุน้ ให้กลุม่ ผูเ้ รียนคิดวางแผน วางระบบ การบริหารจัดการ และด�ำเนินการ เพื่อให้กลุ่มประสบ ความส�ำเร็จ โดยจะมีการแบ่งบทบาทของสมาชิกกลุม่ ใน การก�ำกับดูแลพฤติกรรมการมีวินัย และการติดตามขั้น ความส�ำเร็จของกลุ่ม นอกจากนี้ชุมชน (Communities) จะมี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด กระบวนการเรี ย นการสอน กิจกรรมการเรียนรูจ้ ะเน้นการเรียนรูใ้ นมิตแิ นวขยายและ แนวลึก (Depth and breadth) และจะขยายขอบเขต ครอบคลุมสาขาวิชาอืน่ ด้วย แต่ละสาขาวิชาจะมีการเรียน รู้ที่ผสมผสานกัน เช่น บัญชีผสมผสานกับ IT บัญชีผสม ผสานกับเศรษฐศาสตร์ บัญชีผสมผสานกับการจัดการ การเงิน เป็นต้น การเรียนจะลงลึกถึงแนวปฏิบัติจริง ผู้เรียนจะรับความรู้จากการปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม/ในชุมชน จากการมีประสบการณ์โดยตรงกับการท�ำสิ่งนั้น การวัด ความส� ำ เร็ จ ในการเรี ย นรู ้ จ ะการก� ำ หนดใช้ เ กณฑ์ สมรรถนะมาตรฐาน (Benchmarking) และใช้เกณฑ์หลาย แบบ โดยการประเมินจะเน้นขั้นความส�ำเร็จ(Progress) ของงานเป็นหลัก (Bonstigl, 2001)
เราจึงสามารถสรุปได้ว่าในการเรียนการสอนแบบ สอนแบบก้าวหน้าที่มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นนั้น จะเป็นการ เรียนการสอนที่เป็นเชิงสนุกสนาน ท้าทาย ผสมผสาน ความรู้ในบทเรียนข้ามสาขาวิชา อาจารย์จะมีหน้าที่ใน การสร้างเงื่อนไขและบรรยากาศในการเรียนรู้ จะไม่ใช่ เป็นการบรรยายไปทีละ Slide แบบเดิม ในส่วนคณะการบัญชีน้ัน การสร้างเงื่อนไขและ บรรยากาศในการเรียนรู้ที่ทางคณะฯ ได้ส่งเสริมให้มี การน�ำมาใช้ใน แต่ละรายวิชา จะประกอบด้วย
6
1) ส่งเสริมให้นักศึกษาท�ำงานวิจัยกลุ่มเพื่อให้ สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ผ่าน กระบวนการคิดที่เกิดจากประสบการณ์จริงใน ภาคสนามได้
2) มี ก ารน� ำ วี ดี โ อคลิ ป มาใช้ เ ป็ น สื่ อ ในการสอน และเพื่อเป็นการสร้างเงื่อนไขการเรียนรู้ใน ห้องเรียน
3)
น�ำข่าวสารข้อมูลที่มีการน�ำเสนอในสื่อสิ่งพิมพ์ มาสร้ า งเงื่ อ นไขและบรรยากาศการเรี ย นรู ้ ในห้องเรียน โดยอาจเป็นข่าวสารทีเ่ ป็นประเด็น สังคมขณะนั้น เช่น การประยุกต์ใช้มาตรฐาน การบัญชีในวิธีการวัดมูลค่าและรับรู้รายการ เกี่ยวกับการจ�ำน�ำข้าวของรัฐบาล เป็นต้น
4) มีการน�ำนักศึกษาออกไปเรียนรู้ในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน เช่น ในวิชาการบัญชีชุมชน ได้มีการน�ำนักศึกษาออกไปศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเสนอแนวคิดทางการบัญชีบริหารที่สามารถน�ำไป ปรับใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน
5) การใช้กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงทางบัญชี เพื่อสร้างประเด็นปัญหาในการโต้แย้ง (Discussion) อันจะน�ำไป สู่แนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมข้อสรุป
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนแบบก้าวหน้า (Progressive teaching and learning) นั้น แท้จริงแล้วดูสนุกสนานและท้าทาย ซึ่งน่าจะเหมาะสมกับคุณลักษณะเฉพาะของเด็กในยุค Generation Y แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น กลับมีเสียงบ่นของนักศึกษาว่า เรียนแบบนี้แล้วจะท�ำข้อสอบได้หรือ? เสียงเล็กๆแต่ยิ่งใหญ่นี้ ท�ำให้ทางคณะฯได้ตระหนักว่า สิ่งที่ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอาจจะสืบเนื่องมาจาก วิธีการสร้างเงื่อนไขและบรรยากาศในการเรียนรู้อาจจะยังไม่เหมาะสมกับรายวิชา หรืออาจเป็นไปได้ว่าแนวทาง และเกณฑ์การวัดผลยังไม่สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ทัง้ นีก้ ารวัดผลโดยการสอบอาจ จะต้องลดสัดส่วนลง และไปมุ่งเน้นการวัดผลที่สามารถสะท้อนศักยภาพของนักศึกษาในส่วนอื่นแทน ซึ่งทาง คณะฯก�ำลังด�ำเนินการปรับเกณฑ์การวัดผลเหล่านี้ แต่ขอให้นกั ศึกษาเชือ่ เถิดว่า การเรียนการสอนทีเ่ ป็น การเรียนการสอนแบบก้าวหน้า (Progressive teaching and learning) แท้จริงนั้น จะเพิ่มศักยภาพในตัวของนักศึกษาได้จริง ดังเช่นที่ Benjamin Franklin เคยฝากประโยค ชวนคิดไว้ว่า
“Tell me and I forget, teach me and I may remember, involve me and I learn.” 7
จุลสารคณะการบัญชี 1/56
ยินดีต้อนรับ...นักวิชาชีพบัญชี น้องใหม่ สู่คณะการบัญชี
นักบัญชีกับความเชี่ยวชาญด้านภาษีอาการ และIT
อ.วิศิษฏ์ศรี จินตนา
เมื่ อ เริ่ ม ปี ก ารศึ ก ษาก็ จ ะมี โ อกาสได้ พู ด คุ ย กั บ นักศึกษาใหม่ผา่ นวารสารนีท้ กุ ปี ปีนกี้ เ็ ช่นกัน ขอต้อนรับ นักศึกษาใหม่สู่คณะการบัญชีด้วยความยินดีที่นักศึกษา ได้เลือกสาขาวิชาที่เป็นหนึ่งในไม่กี่อาชีพที่ก�ำหนดไว้ว่า ผู้ปฏิบัติงานในอาชีพเหล่านี้ จะต้องใช้นักวิชาชีพเท่านั้น ไม่ใช่ใครก็ท�ำได้ อาชีพที่ว่านี้คือ ทนายความ แพทย์ พยาบาล สถาปนิก วิศวกร และนักบัญชี
คุณค่าของนักวิชาชีพ (Professional Value) คือ - มีความสามารถท�ำงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ (Competence)
- ท�ำงานอย่างมีเป้าหมาย (Objective)
- มีความซือ่ สัตย์ในการปฏิบตั งิ าน (Integrity)
ธุรกิจต่าง ๆ ไม่วา่ จะมีขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือ ขนาดเล็ ก จะต้ อ งใช้ บ ริ ก ารของนั ก วิ ช าชี พ บั ญ ชี ทุกธุรกิจ นักวิชาชีพบัญชี คือ ผู้รวบรวม ผู้บันทึก ผู้จัด ท�ำรายงาน ผู้วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูล ทางการเงินของการด�ำเนินงานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเป็ น ที่ ย อมรั บ ของผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งทั้ ง ภายใน และ ภายนอกองค์กร
- มีความน่าเชื่อถือได้ (Accountability)
- มีวินัยไม่ละทิ้งหน้าที่ (Discipline)
นักวิชาชีพบัญชี (Professional Accountant) คือ ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้วยความรู้ ความช�ำนาญ ในวิชาชีพ บัญชีอย่างมีคุณค่าของนักวิชาชีพบัญชี
จากค�ำจ�ำกัดความ เราจะเห็นว่ามีคำ� แสดงถึงความ เพื่อความเข้าใจต่อความส�ำคัญของการเป็นนัก เป็นนักวิชาชีพ คือ ความช�ำนาญ ความรู้ และคุณค่า วิชาชีพบัญชี จึงขอพูดถึงค�ำว่า “นักวิชาชีพ” กับ “นัก ผู ้ ที่ จ ะเป็ น นั ก วิ ช าชี พ ในด้ า นใด ก็ จ ะต้ อ งมี ค วามรู ้ ความช�ำนาญ และมีคุณค่าในด้านนั้น วิชาชีพบัญชี” และค�ำที่เกี่ยวข้องสักเล็กน้อยดังนี้ สีป่ ตี อ่ จากนีค้ อื ช่วงเวลาของการเรียนรู้ และสะสม นักวิชาชีพ (Professional) หมายถึง ผู้ปฏิบัติงาน ด้วยความช�ำนาญ และมีความรู้อย่างดีในสาขาที่ตน ซึ่ ง ความรู ้ และประสบการณ์ ท างวิ ช าชี พ บั ญ ชี เพื่ อ ที่จะท�ำให้เราได้เป็นนักวิชาชีพบัญชีอย่างสมบูรณ์ต่อไป ปฏิบัติอย่างมีคุณค่า ขอเป็นก�ำลังใจให้ทุกคนผ่านช่วง 4 ปีนี้ไปด้วยดี และประสบความส�ำเร็จในการศึกษาสมตามความตัง้ ใจไว้ 18 มิ.ย. 56 8
การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 (Progressive Teaching and Learning) อ.ศิริเดช ค�ำสุพรหม
จากค�ำที่ว่า “วิทยากรกระบวนการ” นั้น เปรียบ เสมือนเป็นคนกลางทีช่ ว่ ยกระตุน้ ให้ผเู้ รียนได้มอี สิ ระทาง ความคิดและสามารถสื่อสารท�ำความเข้าใจกันอย่างตรง ไปตรงมาอย่างเป็นระบบ โดยมีเทคนิคที่ส�ำคัญคือ การ เรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม นอกจากนีว้ ทิ ยากรกระบวนการยัง เป็นผู้ที่ช่วยส่งเสริมให้บรรยากาศภายในห้องเรียนเป็น มิตรภาพ และกันเอง เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาเกิด ความรู้สึกที่มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง วิทยากรกระบวนการช่วยให้นกั ศึกษาในห้องเรียน สามารถสะท้อนความคิดเห็น เพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อน นักศึกษาในชั้นเรียนได้ดี แล้วยังช่วยกระตุ้นให้นักศึกษา ในกลุ่มเรียนได้รับฟังซึ่งกันและกัน และช่วยตั้งประเด็น ค�ำถามให้นกั ศึกษาในกลุม่ เรียนนัน้ ๆ ได้คดิ เป็นระบบอีก ด้วย ทั้งนี้ วิทยากรกระบวนยังช่วยเพิ่มเติมหลักการ แนวคิด รวมถึง แลกเปลีย่ นประสบการณ์ ให้กบั นักศึกษา ได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริงอย่างถ่องแท้ ร่วมกันวางแผน และด�ำเนินงานตามแผนบนพื้นฐานประโยชน์ร่วมกัน
9
จุลสารคณะการบัญชี 1/56
การเรียนการสอนแบบก้าวหน้านัน้ มีการพัฒนาจากการเรียนการสอนดัง้ เดิมในอดีต ซึง่ เป็นการเรียนการสอน ในศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ การเรียนการสอนจะเน้นการเรียนรูท้ เี่ กิดขึน้ โดยให้นกั ศึกษาเป็นผูแ้ สดงความคิดเห็น แสดง การคิดวิเคราะห์โดยให้อาจารย์ผู้สอน เป็นวิทยากรกระบวนการ ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 19 ทีม่ งุ่ เน้นการนัง่ ฟังการบรรยายแล้วผูส้ อนท�ำการสรุปบทเรียน ดังนัน้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จงึ ได้นำ� กระบวนการ เรียนการสอนแบบใหม่มาใช้สำ� หรับปีการศึกษา 2556 นี้ โดยมุง่ เน้นให้อาจารย์ทกุ ท่านของมหาวิทยาลัยปรับเปลีย่ น บทบาทตนเองจากผู้สอนให้เป็น “วิทยากรกระบวนการ” มากขึ้น
ดั ง นั้ น การเรี ย นการสอนแบบก้ า วหน้ า นี้ ที่ มี วิทยากรกระบวนการเป็นผู้ก�ำกับ โดยมีนักศึกษาเป็น ผูแ้ สดงน�ำ ซึง่ เปิดโอกาศให้ผแู้ สดงน�ำได้สะท้อนความคิด เห็น หรือแลกเปลี่ยนกันอีกด้วย แต่อย่างไรแนวทาง การเรียนการสอนสมัยใหม่ นอกจากให้ความส�ำคัญกับ วิทยากรกระบวนการแล้ว ยังให้ความส�ำคัญเกี่ยวกับ วิธีการสอน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เน้ น การเรี ย นรู ้ จ ากการปฏิ บั ติ ง านจริ ง คณะ การบัญชีได้ให้ความส�ำคัญกับการเรียนการสอนแนว ทางนี้ โดยมุง่ เน้นการน�ำทฤษฎีสกู่ ารปฏิบตั ิ โดยได้มกี าร ก�ำหนดในรายวิชา AC 411 การฝึกปฏิบัติงานทางบัญชี ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปทางการบัญชี ได้อย่างคล่องแคล่ว ยิ่งไปกว่านั้น คณะการบัญชียังให้ ความส�ำคัญกับโปรแกรมส�ำเร็จรูปอื่นที่เกี่ยวข้องกับงาน บัญชี เช่น Excel ส�ำหรับงานบัญชี เป็นต้น พร้อมทั้ง ยังมีรายวิชาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถลงพื้นที่ ปฏิ บั ติ ง านในภาคสนามส� ำ หรั บ วิ ช าการบั ญ ชี ต ้ น ทุ น และการบัญชีบริหาร เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนของคณะการบัญชี ที่ได้ปรับเปลี่ยนตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ นั้น ยังมีอีกมากมายที่ยังสามารถน�ำมาเล่า ให้นักศึกษาได้ฟังเพิ่มเติมอีก แต่ผมขอเล่าส่วนที่เหลือ ในฉบับถัดไป ขอบคุณครับ
เน้ น การรวมแนวทางการประกอบวิ ช าชี พ กั บ การศึกษาทางบัญชี คณะการบัญชีให้ความส�ำคัญกับ แนวทางนี้โดยมีการก�ำหนดรายวิชาในหลักสูตรบัญชี บัณฑิต ให้สอดคล้องกับแนวทางการประกอบวิชาชีพ บัญชีสำ� หรับผูส้ ำ� เร็จบัญชีบณ ั ฑิตในอนาคต เช่น รายวิชา AC 311 การตรวจสอบและควบคุมภายใน มุ่งเน้นให้ นักศึกษาเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานในอาชีพผู้ตรวจ สอบภายใน รายวิชา AC 231 และ AC 386 การภาษี อากร 1 และ 1 มุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจแนวทางการ ปฏิ บั ติ ง านในอาชี พ ผู ้ ส อบบั ญ ชี ภ าษี อ ากร รายวิ ช า AC 312 การสอบบัญชี มุง่ เน้นให้นกั ศึกษาเข้าใจแนวทาง การปฏิบัติงานในอาชีพผู้สอบบัญชี และที่ส�ำคัญจุดเด่น ของคณะการบั ญ ชี มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ นั้ น เรามุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจแนวทางการปฏิบัติงานใน อาชีพผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศทางการบัญชีอีกด้วย ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ รายวิ ช า รายวิ ช า AC 391 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี AC 393 การวางแผนก พัฒนาระบบสารสนเทศทางด้านการบัญชี AC 396 การ บัญชีเชิงบูรณาการ AC 397 โปรแกรมส�ำเร็จรูปและระบบ งานอิเล็คทรอนิคส์เพื่องานบัญชี AC 441 สัมมนาระบบ สารสนเทษงทางด้านการบัญชี และ AC 320 เป็นต้น 10
ใครมีความเกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง อ.นงนิภา ตุลยานนท์
ค�ำถามแรกทีน่ ยิ มถามกันคือ “ใครเป็นผูร้ บั ผิดชอบ ในการบริหารความเสี่ยง” คนในองค์กรทุกคนควรรับรู้ ว่าการบริหารความเสี่ยงมีไปเพื่ออะไร ซึ่งสิ่งที่ถือเป็น หัวใจของการบริหารความเสีย่ ง คือ การทีท่ กุ คนในองค์กร รับรูว้ า่ เป็นสิง่ ทีท่ กุ คนต้องท�ำ และมีสว่ นร่วมทุกครัง้ และ เป็ น หน้ า ที่ ที่ ต ้ อ งมี ส ่ ว นร่ ว ม และจ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งท� ำ ต้องร่วมมือ
• เรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่น
• เรียนรู้จากกระบวนการท�ำงาน
• รายงานอุบัติการณ์ (เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นนอกเหนือจากความคาดหมายจากการ ท�ำงานปกติ)
กระบวนการการบริหารความเสีย่ งในองค์กรยุคใหม่ • การสร้ า งการมี ส ่ ว นร่ ว ม เพราะทุ ก คนเป็ น ส่วนหนึ่งขององค์กร โดยการออกเป็นนโยบาย อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ปรัชญาการ บริหารความเสี่ยง โดยระบุว่า องค์กรมีแนวคิด การบริหารความเสี่ยงอย่างไร • ระบุความเสี่ยง โดยคนในองค์กรช่วยกันระบุ ความเสี่ยงว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้างในองค์กร โดยมีการประชุมแลกเปลีย่ นความคิดเห็น มีการ ศึกษาร่วมกัน โดยผูบ้ ริหารทุก ๆ ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง หรื อ มี ผู ้ แ ทนเข้ า มาร่ ว มประชุ ม มี มุ ม มองที่ แตกต่ า งกั น และล� ำ ดั บ ความส� ำ คั ญ เพื่ อ จะ จัดการความเสี่ยงที่มีความส�ำคัญในล�ำดับสูง • การค้นหาความเสี่ยง ถือเป็นกิจกรรมเชิงรุก
• การคัดกรองเหตุการณ์ ว่าเหตุการณ์ใดควร มี ก ารแก้ ไ ขอย่ า งเร่ ง ด่ ว น และมี ผ ลเสี ย หาย ต่อองค์กร
เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดย • เรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต จากข้อมูลของ องค์ ก รที่ ไ ด้ บั น ทึ ก ไว้ ใ นรายงานขององค์ ก ร หรือประสบการณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
11
• การรายงานเหตุการณ์ ว่าองค์กรได้มกี ารจัดการ แก้ไขอย่างไร • การประเมินความเสี่ยง โดยการส�ำรวจความ เสี่ยงที่จัดล�ำดับไว้ มองใน 2 มิติ คือโอกาสเกิด และผลกระทบ เช่น อาคารส�ำนักงานมีระบบ ไฟฟ้าทีไ่ ม่ปลอดภัย ท�ำให้การท�ำงานหยุดชะงัก บ่อยครัง้ เช่น ไฟดับ 15 นาทีตอ่ เดือน ท�ำให้เกิด ผลเสี ย หายที่ วั ด เป็ น ตั ว เงิ น หรื อ ชื่ อ เสี ย ง ขององค์กร เช่นท�ำให้เกิดผลเสียหายตีค่าเป็น ตัวเงินได้ นาทีละ กี่บาท ถ้าเดือนหนึ่งคิดเป็น กีบ่ าท ปีละเท่าไร นอกจากนัน้ สิง่ ทีย่ งั มองไม่เห็น อาจเป็นชื่อเสียงขององค์กร • เลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง ซึ่งต้องเลือกวิธี การทีค่ มุ้ ค่า กับต้นทุนทีอ่ งค์กรเสียประโยชน์ไป สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร และความ เป็นจริงในโลกยุคปัจจุบัน
• การประเมิ น ผลการติ ด ตาม เมื่ อ ได้ จั ด การ ความเสี่ ย งแล้ ว ต้ อ งมี ก ารประเมิ น ผลและ การติดตาม เพราะการบริหารความเสี่ยงจะ ไม่เกิดประโยชน์ถ้าทุกคนไม่ปฏิบัติหรือแก้ไข ตามข้ อ ก� ำ หนด ในขั้ น ตอนนี้ ต ้ อ งมี ก าร เปรียบเทียบระหว่างก่อนการจัดการความเสีย่ ง และหลังการจัดการความเสี่ยงว่ามีผลแตกต่าง กันอย่างไร และให้จดั การความเสีย่ งตามก�ำหนด เวลาที่วางไว้
คนหาความเสี่ยง -
ประเมินความเสีย่ ง
ขอมูลในอดีต ขอมูลในปจจุบัน ขอมูลที่อาจเกิดในอนาคต
จัดการความเสี่ยง -
หลีกเลี่ยง ลด ยอมรับ ถายโอน
ประเมินผล จะเห็นไดวาการบริหารความเสี่ยงเปนกระบวนการทิ่เกิดจากความรวมมือของทุกคนในองคกร โดยเฉพาะผูบริหารตองเห็นความสําคัญเปนลําดับแรก ดังคํากลาวที่วา หัวไมสาย หางไมกระดิก
12
Cloud Computing กับงานบัญชี เดิมเราใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปท�ำงานบัญชีอย่างไร? อ.ธีรเดช อังธีระปัญญา
ในแต่ละกิจการก็จะมีระบบ LAN (Local Area Network) เราก็มี Server เป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและ เชือ่ มต่อเครือ่ งลูกข่ายหลายตัว แล้วเราก็หาซือ้ โปรแกรม ส�ำเร็จรูปบัญชีมาติดตั้งและRun บน Server เพื่อบุคคลา กรได้ใช้งานนเชื่อมต่อกับระบบเพื่อใช้งานของโปรแกรม ผ่านช่องสัญญาณ แรก ๆ ก็ใช้สาย แต่เดี๋ยวนี้ใช้สัญญาณ ไวเลส จนพัฒนามาถึงสัญญาณไวไฟเชือ่ มต่อเข้า Server ส�ำหรับโปรแกรมส�ำเร็จรูปบางตัวที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้ใช้ก็จะสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อกับ Server เพื่อ เข้าระบบและใช้โปรแกรม แต่ยงั มีขอ้ จ�ำกัดบางอย่าง เช่น สัญญาณไม่เสถียร และความไม่รวดเร็วของการใช้งาน ท�ำให้ตอ้ งรอนาน ฯลฯ จนปัจจุบนั ได้มกี ารพัฒนากันอย่าง ต่อเนื่องในเรื่องของ Applicationต่าง ๆ เพื่อให้สามารถ ใช้งานได้รวดเร็วขึ้น
สถาบั น มาตรฐานและเทคโนโลยี แ ห่ ง ชาติ ข อง สหรัฐอเมริกาให้ค�ำจ�ำกัดความ “cloud” ว่า มันเป็น อุปลักษณ์ จากค�ำในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เมฆ กล่าว ถึ ง อิ น เทอร์ เ น็ ต โดยรวมในรู ป ของโครงสร้ า งพื้ น ฐาน (เหมื อ นระบบไฟฟ้ า ประปา) ที่ พ ร้ อ มให้ บ ริ ก ารกั บ ผู้ใช้งานเมื่อมีความต้องการใช้ ผู้ให้บริการการประมวล ผลแบบกลุม่ เมฆส่วนใหญ่ จะให้บริการในลักษณะของเว็บ แอปพลิเคชันโดยให้ผใู้ ช้ทำ� งานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะ เดี ย วกั น ซอฟต์ แ วร์ แ ละข้ อ มู ล ทั้ ง หมดจะถู ก เก็ บ ไว้ บนเซิ ร ์ ฟ เวอร์ ข องผู ้ ใ ห้ บ ริ ก าร การประมวลผลแบบ กลุ ่ ม เมฆนั้ น ถู ก อธิ บ ายถึ ง โมเดลรู ป แบบใหม่ ข อง เทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตทีเ่ น้น การขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาด ได้ตามความต้องการของผูใ้ ช้ และมีการจัดสรรทรัพยากร โดยเน้นการท�ำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ตัวอย่างของการประมวลผลแบบ กลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บ วิดีโอออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบ วิดีโอออนไลน์ หรือ ในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่างๆ เป็นต้น (ที่มา : ข้อมูล Website กระทรวง ICT)
Cloud Computing เกี่ยวข้องอะไรกับงานบัญชี
13
โดยสรุปแล้วทางผูเ้ ขียนเห็นว่า Cloud Computing เป็นระบบการท�ำงานอย่างหนึ่งที่ให้บริการโปรแกรม จัดเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ในส่วนที่ เกีย่ วข้องกับงานบัญชีนนั้ ผูใ้ ห้บริการ Cloud Computing จะให้บริการตั้งแต่การใช้โปรแกรมส�ำเร็จรูปบัญชี โดยที่ กิจการไม่ต้องลงทุนซื้อโปรแกรมแต่เปลี่ยนรูปแบบมา เป็นการเช่าใช้บริการแทนโดยผู้ให้บริการจะมีพื้นที่ใช้จัด เก็บข้อมูลให้กับผู้เช่า โดยมีการคิดเป็นอัตราค่าบริการ หรือจะให้บริการแค่เช่าพืน้ ทีจ่ ดั เก็บข้อมูลเพียงอย่างเดียว (ดูแล้วไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไหร่) ถ้าพิจารณาถึงลักษณะ ข้างต้นแล้วการใช้ Cloud Computing น่าจะเหมาะ กับกิจการที่ก�ำลังคิดจะเปลี่ยน หรือก�ำลังหา Software ทางบัญชีใหม่อยู่ เพราะถ้าเป็นกิจการที่มีการลงทุนใน เรื่อง Server และ Software ไปแล้ว ซึ่งใช้เงินลงทุนค่อน ข้างมากก็คงไม่คอ่ ยน่าสนใจเท่าไหร่นกั แต่สำ� หรับกิจการ ที่ก�ำลังมองหา Software ใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ มากเพราะจุดเด่นของ Cloud Computing จะใช้เงินลงทุน ค่อนบ้างน้อย
14
สภาพปัญหาของสมรรถนะผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตในประเทศไทย
(AUDIT COMPETENCY OF CPAS IN THAILAND) อ.ดารณี เอื้อชนะจิต
มาตรฐานการศึกษาสากล (International Education Standards for Professional Accountants: IESs) ก�ำหนด องค์ประกอบทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการพัฒนาผูเ้ รียนให้สำ� เร็จการศึกษาอย่างมีความพร้อมในทุกด้านเพือ่ ประกอบวิชาชีพ บั ญ ชี อ ย่ า งนั ก บั ญ ชี มื อ อาชี พ ตามภาระกิ จ หลั ก ที่ ส� ำ คั ญ ของสมาพั น ธ์ นั ก บั ญ ชี ส ากลอั น ได้ แ ก่ การรั ก ษา ผลประโยชน์ของสาธารณชน (IFAC, 2003) การเปิดการค้าเสรีของประเทศไทย โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อ รองรับข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ 1) ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน Asian Economic Community: AEC 2) ประชาคมสั ง คมและวั ฒ นธรรมอาเซี ย น SocioCultural Pillar และ 3) ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar) ได้มีการจัดท�ำข้อตกลง ร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ในด้านคุณสมบัตขิ องสาขาวิชาชีพหลัก เพือ่ อ�ำนวยความ สะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรี ซึ่งข้อตกลงที่ ก�ำหนดไว้ ครอบคลุมวิชาชีพอิสระ 7 สาขาอาชีพ ได้แก่ 1) วิศวกร (Engineering Services) 2) พยาบาล (Nursing S e r v i c e s ) 3 ) ส ถ า ป นิ ก ( A r c h i t e c t u r a l Services) 4) นั ก วิ ช าชี พ การส� ำ รวจ (Surveying Qualifications) 5) นักวิชาชีพบัญชี (Accountancy Services) 6) ทันตแพทย์ (Dental Practitioners) และ 7) แพทย์ (Medical Practitioners) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ เปลี่ ย นแปลงของวิ ช าชี พ บั ญ ชี โ ดยรวมอย่ า งมาก เนื่องจากวิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพอิสระหนึ่งในเจ็ดสาขา วิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรีซึ่งจะ เริม่ ในปี 2015 ดังนัน้ ผูส้ อบบัญชีรบั อนุญาตในประเทศไทย จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกับการที่จะมีผู้สอบ
บัญชีต่างชาติ เคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาในประเทศไทย รวมถึ ง การเตรี ย มตั ว ของผู ้ ส อบบั ญ ชี รั บ อนุ ญ าตใน ประเทศไทยที่จะเคลื่อนย้ายแรงงานไปยังนานาประเทศ มาตรฐานการศึกษาสากล (IESs) ได้กล่าวถึง สมรรถนะและความซื่อสัตย์ ว่าเป็นลักษณะที่ส�ำคัญสอง ประการส�ำหรับความสามารถของนักบัญชีมืออาชีพใน การปกป้องผลประโยชน์ของสาธารณชนและความรับผิด ชอบต่อสังคม (IFAC, 2003) สมรรถนะของผู้สอบบัญชี ถูกพิจารณาในด้านต่างๆ 4 มิติ ประกอบด้วย มิติด้าน ความรู้ทางการสอบบัญชี มิติด้านทักษะทางการสอบ บัญชี มิติด้านการปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องทางการ สอบบัญชี และมิติด้านความน่าเชื่อถือทางการสอบบัญชี (Uachanachit and other, 2012) สภาพปัญหาของสมรรถนะผู้สอบบัญชี เชื่อมโยง กันในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบหลักใน กระบวนการสอบบัญชี ซึ่งแต่ละองค์ประกอบจะต้อง สอดคล้องเกือ้ กูลกัน เพือ่ ให้เกิดประโยชน์แก่สว่ นรวมมาก ที่สุด 4 ประการ ได้แก่ 1) ผู้สอบบัญชี จะต้องสร้างให้เกิด สมรรถนะทางการสอบบัญชีทั้งสี่มิติ คือมิติด้านความรู้ ทางการสอบบัญชี มิติด้านทักษะทางการสอบบัญชี มิติ ด้านการปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องทางการสอบบัญชี และมิ ติ ด ้ า นความน่ า เชื่ อ ถื อ ทางการสอบบั ญ ชี (Uachanachit and other, 2012) 15
2) ลูกค้าจ�ำนวนมากยังไม่เห็นความส�ำคัญของ ระบบการจัดท�ำบัญชีทดี่ แี ละมีคณ ุ ภาพได้มาตรฐาน ท�ำให้ เกิดโจทย์คำ� ถามให้คดิ วิเคราะห์เพือ่ ตอบค�ำถามว่า จะท�ำ อย่างไรให้ลกู ค้าทัง้ หมด เห็นความส�ำคัญและมีระบบการ จั ด ท� ำ บั ญ ชี ที่ ไ ด้ ม าตรฐาน ดั ง นั้ น ผู ้ ส อบบั ญ ชี มี ค วาม จ�ำเป็นจะต้องเรียนรู้จากอดีต ทั้งความส�ำเร็จในอดีตและ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อให้เกิดมีการพัฒนา ศักยภาพของผู้สอบบัญชี (Wong and Cheung, 2008) อันจะน�ำไปสู่ความน่าเชื่อถือทางการสอบบัญชี จนท�ำให้ ลูกค้าเกิดการยอมรับและเห็นความส�ำคัญของระบบการ จัดท�ำบัญชีที่ได้มาตรฐาน
4) หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การควบคุ ม ดู แ ล กระบวนการสอบบัญชี ถูกเรียกร้องให้มีการเพิ่มบทบาท หน้าที่ให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น (ดารณี เอื้อชนะจิต, 2555)
นอกจากนี้สิ่งส�ำคัญอย่างมากที่ต้องค�ำนึงถึงและ เตรียมความพร้อมในการรองรับเหตุการณ์ทจี่ ะต้องเผชิญ ก็คือ เมื่อมีการร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่ง ส่ ง ผลกระทบต่ อ การเปลี่ ย นแปลงของวิ ช าชี พ บั ญ ชี เนื่องจากเป็นวิชาชีพอิสระหนึ่งที่สามารถเคลื่อนย้าย แรงงานฝีมืออย่างเสรี ดังนั้นทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรทีจ่ ะตระหนักอย่างยิง่ และควรมีการเตรียมการในส่วน ต่างๆ อย่างแข็งขัน โดยใช้สมรรถนะของผูส้ อบบัญชี เพือ่ 3) มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี ให้เกิดความพร้อมทุกด้าน รวมถึงความรับผิดชอบต่อ ยังพบว่าในกระบวนการจัดท�ำบัญชีและการสอบบัญชี สังคม เพื่อเตรียมพร้อมส�ำหรับการก้าวเข้าสู่เวทีโลก จ�ำนวนมากยังไม่ได้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการสอบบัญชี สอดคล้องกับงานวิจยั ในอดีต ซึง่ พบว่าผูส้ อบบัญชีจะได้รบั ความน่าเชือ่ ถือจากผูม้ สี ว่ น ได้เสียก็เป็นผลมาจากผลการปฏิบัติงานทางการสอบ บัญชีของผู้สอบบัญชีที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี และมาตรฐานการสอบบัญชี (Velayutham, 2003) ท�ำให้ เกิ ด โจทย์ ค� ำ ถามอี ก ประการหนึ่ ง ว่ า จะท� ำ อย่ า งไรให้ มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชี ง่ายและ สอดคล้องกับสภาพธุรกิจของไทย เพื่อทุกฝ่ายจะได้ ป ฏิ บั ติ ต า ม ม า ต ร ฐ า น ก า ร บั ญ ชี ทั้ ง ห ม ด (ดารณี เอื้อชนะจิต, 2555)
16
สิ่งที่หลีกหนีไม่ได้? อ.รัชดาภรณ์ เสมาขันธ์
คนส่ ว นใหญ่ ตื่ น เช้ า มาต้ อ งช� ำ ระล้ า งร่ า งกาย แต่งตัว ทานอาหาร ออกจากบ้าน ไปท�ำงาน ไปเรียน หรือ ไปท�ำธุระส่วนตัว บางคนเดินทางไปทีท่ ำ� งานด้วยรถยนต์ ส่วนตัว บางคนใช้บริการรถสาธารณะหรือบางคนใช้วิธี เดินไปท�ำงาน แค่ชว่ งเวลาประมาณชัว่ โมงกว่า ๆ ทุกคน ก็ต้องข้องเกี่ยวกับภาษีที่ต้องจ่ายช�ำระจากการบริโภค สินค้าหรือบริการ ตามประมวลรัษฎากรเรียกว่าภาษี มูลค่าเพิ่ม เช่น ต้องจ่ายภาษีซื้อจากการใช้น�้ำประปา ไฟฟ้า หรือ กรณีขับรถยนต์ส่วนตัวไปท�ำงาน เจ้าของ รถยนต์ต้องจ่ายภาษีซื้อ จากการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์ และต้องจ่ายภาษีซอื้ จากค่าน�ำ้ มัน หรือค่าก๊าซจากการใช้ รถยนต์ ส่วนคนที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะไม่ต้องจ่าย ภาษีซอื้ จากค่าโดยสารรถสาธารณะ เพราะค่าขนส่งจะได้ รับยกเว้นภาษีซื้อ คนส่วนใหญ่เมือ่ ท�ำงานจะได้รบั ค่าแรงงานอาจเป็น รายวัน หรือเป็นค่าแรงรายเดือน (เงินเดือน) เงินเดือนที่ ได้รับก็มีภาระภาษีตามประมวลรัษฎากร เรียกว่า ภาษี เงินได้บคุ คลธรรมดา เพือ่ ไม่ให้บคุ คลธรรมดามีภาระภาษี มากเกินไปในช่วงสิน้ ปีทตี่ อ้ งยืน่ แบบช�ำระภาษี และเพือ่ กระจายรายได้ เข้า คลังของรัฐ บาลอย่า งต่อ เนื่ อ งและ สม�่ำเสมอท�ำให้บริษัทหรือผู้จ่ายเงินได้ มีหน้าที่ต้องหัก ภาษีจากเงินเดือนก่อนจ่ายเงินได้ให้กับพนักงาน ตาม ประมวลรัษฎากรเรียกการหักภาษีจากเงินได้ล่วงหน้านี้ ว่ า ภาษี เ งิ น ได้ หั ก ณ ที่ จ ่ า ย ส่ ว นพนั ก งานที่ ไ ด้ รั บ 17
ค่ า แรงงานเป็ น รายวั น ส่ ว นใหญ่ จ ะไม่ ถู ก หั ก ภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากเงินได้เมื่อค�ำนวณรวมโดยประมาณ ทั้งปีแล้ว จะไม่ถึงเกณฑ์ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีบุคคล ธรรมดา จึงไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย องค์กรทีพ่ วกเราท�ำงานให้ (บริษทั หรือห้างหุน้ ส่วน นิติบุคคล) เมื่อประกอบกิจการมีรายได้หรือมีก�ำไรก็มี ภาระภาษีตามประมวลรัษฎากร เรียกว่า ภาษีเงินได้ นิติบุคคล นิติบุคคลบางประเภท เช่น กิจการที่ขาย อสังหาริมทรัพย์ บริษทั ทีร่ บั ประกันภัย แม้ไม่มหี น้าทีเ่ สีย ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และมี ภาระต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ถ้าท่านไม่อยากเสียภาษีทกุ ประเภทควรท�ำอย่างไร ไปบวชเป็นพระภิกษุแล้วจะได้ไม่ต้องเสียภาษีใช่หรือไม่ กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อพระภิกษุจ่ายเงินค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ยังคงต้องจ่ายภาษีซื้อจากค่าบริการดังกล่าว กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่ได้รับจากการ ท�ำบุญของญาติโยมเป็นเงินได้ทไี่ ด้รบั ยกเว้นไม่ตอ้ งน�ำมา เสียภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดา แต่ถา้ พระภิกษุรปู นัน้ มีเงิน ได้อนื่ ๆเช่น ได้รบั เงินเดือนระหว่างบวช หรือมีเงินได้จาก ค่าเช่า เงินได้นนั้ ไม่ได้รบั ยกเว้น ยังคงต้องน�ำมาเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาเหมือนคนทั่วไป เพราะค�ำว่าบุคคล ธรรมดาหมายถึงบุคคลที่มีชีวิต ดังนั้นคนทุกคนไม่ว่าจะ เป็นใคร หรืออายุเท่าใด ต่างมีหน้าทีเ่ สียภาษีเงินได้บคุ คล
ธรรมดาถ้าเป็นผู้มีเงินได้ (ถ้าเงินได้นั้นไม่ได้รับยกเว้น และถึงเกณฑ์ขั้นต�่ำ) บางคนอาจตอบว่าคนที่จะไม่ต้อง เสียภาษีคือ คนที่ตายไปแล้ว ค�ำตอบนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง เพราะผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีซึ่งก่อนตายได้รับ เงินได้ ถึงเกณฑ์ขั้นต�่ำที่ประมวลรัษฎากรก�ำหนดไว้ ก็เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โดย ก�ำหนดให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทเป็นผู้มีหน้าที่ยื่น รายการแทนผูถ้ งึ แก่ความตาย (แม้จะตายไปแล้วก็ยงั ไม่ หมดภาระภาษี) สรุปแล้วบุคคลธรรมดาทุกคนต้องเสีย ภาษีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ค�ำถามส่งท้าย สินค้าที่ใช้หรือบริโภคระหว่างวัน เช่น น�ำ้ ประปา ไฟฟ้า ยาสีฟนั แชมพู สบู่ ผ้าเช็ดตัว เครือ่ ง ส�ำอาง ข้าวสาร ขนมปัง ไข่จากตลาดสด ผักจากสวน เนื้อหมูจากห้างสรรพสินค้า เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ค่า รถโดยสาร สินค้าชนิดใดบ้างทีใ่ ช้หรือบริโภคแล้วไม่ตอ้ ง จ่ายภาษีซื้อ ใครตอบได้ช่วยตอบที....
18
ค่ารับรอง(Entertain)….มองทางภาษี อ.พรรณิภา แจ้งสุวรรณ
สวั ส ดี ค ่ ะ ......ขอต้ อ นรั บ สู ่ ภ าคเรี ย นที่ 1/2556 นะคะ ... หัวข้อที่ครูน�ำเสนอครั้งนี้คือ ค่ารับรองมองทาง ภาษี ค่ารับรองเป็นค่าใช้จา่ ยของกิจการนะคะ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ทีเ่ ป็นกิจการทีเ่ ป็นนิตบิ คุ คลทีป่ ระกอบกิจการใน ประเทศไทย ได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้ง ขึน้ ตามกฎหมายไทยและเสียภาษีจากฐานก�ำไรสุทธิ ต้อง ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตอน กลางปีและสิน้ ปี ก่อนทีท่ ำ� การยืน่ แบบฯกิจการต้องท�ำการ ส�ำรวจค่าใช้จา่ ยแต่ละตัวว่าเป็นไปตามประมวลกฎหมาย ภาษีอากรหรือไม่นนั่ คือประมวลรัษฎากร(The Revenue Code) กิจการหลายแห่งส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าใช้จ่าย ประเภทนี้คือ ค่ารับรอง เพราะเนื่องจากธุรกิจต่างๆต้อง อาศัยลูกค้า เจ้าหนี้ บุคคลต่างๆ ทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการ ด�ำเนินงาน ที่ต้องอ�ำนวยประโยชน์แก่กันและต้องมีการ พบปะสังสรรค์กนั อยูเ่ ป็นประจ�ำ ดังนัน้ นักศึกษาจะน�ำค่า รับรองมาเป็นค่าใช้จา่ ยได้นนั้ ต้องสอดคล้องตามนโยบาย ของกิจการและยังต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ทกี่ ำ� หนด โดยกฎกระทรวง(ศึกษาจากประมวลรัษฎากรมาตรา 65ตรี ( 4) กฎกระทรวง(ฉบั บ ที่ 143) และค� ำ สั่ ง กรม สรรพากรที่ ป.61/2539)
แบบ ภ.ง.ด.50 แต่อย่างไรก็ดปี ระมวลรัษฎากรได้กำ� หนด ข้อยกเว้นไว้ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไร สุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(4)แห่งประมวล รัษฎากร จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดในกฎ กระทรวง ฉบับที่ 143 หลักเกณฑ์ของค่ารับรองหรือค่า Entertain ที่ถือเป็นรายจ่ายได้ 1. ค่ า รั บ รองหรื อ ค่ า บริ ก ารอั น จ� ำ เป็ น ตาม ธรรมเนียมประเพณีธรุ กิจทัว่ ไป กิจการโดยทัว่ ไปมักมีคา่ ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติเมื่อมีบุคคลภายนอก เช่น ลูกค้า เจ้าหนี้ ผู้เข้าเยี่ยมชมกิจการ ได้เข้ามาติดต่อกับ กิจการจะมีการเลีย้ งรับรองเพือ่ ประโยชน์ทกี่ จิ การอาจจะ ได้รบั ผลตอบแทนทางธุรกิจได้ในอนาคตหรือเป็นการเผย แพร่ประชาสัมพันธ์การด�ำเนินงานของกิจการเป็นการ ทั่วไป อันเป็นการเอื้ออ�ำนวยประโยชน์ต่อธุรกิจทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต 2. บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้อง มิใช่ลูกจ้างของกิจการ ยกเว้นมีหน้าที่เข้าร่วมในการ รับรองหรือบริการนั้นด้วย การรับรองหรือบริการนั้นจะ ต้ อ งเป็ นการรั บรองหรื อ บริ การบุ ค คลภายนอกที่ มิใ ช่ ลูกจ้าง พนักงาน กรรมการ หรือผูจ้ ดั การ ยกเว้นจะมีหน้า ที่เข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย ซึ่งกิจการจะ ต้องมีการพิสจู น์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชือ่ ได้วา่ เป็นการ รับรองบุคคลภายนอกจริง โดยอาจจะระบุชื่อและหน่วย งานของบุคคลภายนอกไว้ในเอกสาร “ใบเบิก” ที่มีหลัก ฐานการอนุมตั จิ ากผูม้ อี ำ� นาจให้ไปรับรองได้ เพือ่ เป็นการ
ตามมาตรา 65 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรนัน้ ก�ำหนด ว่า ค่ารับรองหรือค่าบริการเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม ประมวลรัษฎากร ห้ามน�ำไปค�ำนวณก�ำไรสุทธิ ซึ่งทาง บัญชีจะถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิหากราย จ่ายนั้นมีหลักฐานการจ่ายเงินครบถ้วนถูกต้อง แต่เมื่อ ค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพือ่ เสียภาษีเงินได้นติ บิ คุ คล ต้องน�ำค่า รับรองหรือค่าบริการดังกล่าวไปปรับปรุงกับก�ำไรสุทธิใน 19
ลดข้อโต้แย้งของเจ้าพนักงานประเมินและจะต้องมีการ กับกิจการไปดูมหรสพ เช่น ดูละคร การแสดงดนตรี ก�ำหนดระเบียบในการเบิกจ่ายค่ารับรองหรือค่า Enter- กายกรรม มายากล tain ด้วย จ. ค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับกีฬา พาบุคคลภายนอก ข้อสังเกต หากกิ จ การไปเลี้ ย งรั บ รองเฉพาะ ที่ติดต่อกับกิจการไปเล่นกีฬา เช่น เล่นกอล์ฟ ออกก�ำลัง พนักงานโดยไม่มีบุคคลภายนอกไปร่วมรับรองด้วย ไม่ กาย เทนนิส ถือเป็นรายจ่ายค่ารับรองตามประมวลรัษฎากร และอาจ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิเป็นราย ข้อสังเกต ในการรับรองบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับ จ่ายส่วนตัวตามมาตรา 65 ตรี(3) ซึง่ กิจการควรวางระบบ การประกอบธุรกิจ โดยการรับรองหรือบริการทีเ่ ป็นค่าใช้ การเบิกจ่ายค่ารับรอง หรือค่า Entertain เช่น ก�ำหนดให้ จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงดังกล่าวข้างต้น กฎหมายไม่ได้ ระดับ หัวหน้าพนักงานเบิกค่ารับรองเดือนละหรือครั้งละ ก�ำหนดจ�ำนวนเงินว่า การรับรองหรือค่าบริการแต่ละครัง้ ไม่เกินจ�ำนวนเงินเท่าใด ระดับผู้จัดการ ระดับรองผู้ ต้องไม่เกินจ�ำนวนเงินเท่าใด หน้าที่ของผุ้ประกอบการ จัดการ ผูจ้ ดั การทัว่ ไป กรรมการ กรรมการผูจ้ ดั การ แต่ละ ต้องพิสจู น์ให้เจ้าพนักงานประเมินเชือ่ ได้วา่ มีการรับรอง ระดับมีอำ� นาจเบิกจ่ายค่ารับรองครัง้ ละหรือเดือนละกีบ่ าท หรือบริการจริง(มีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น บิลเงินสด ใบ พร้อมทั้งก�ำหนดให้มีหลักฐานการจ่ายเงินค่ารับรองดัง เสร็จรับเงิน หรือใบก�ำกับภาษี) และจ�ำนวนเงินที่จ่ายพอ กล่าวด้วย เช่น ต้องมีใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด หรือใบ สมควรแก่การรับรองหรือค่าบริการดังกล่าวในแต่ละคราว ก�ำกับภาษีที่ได้จ่ายไปเพื่อการรับรองมาแนบเป็นหลัก 4.2 ค่าสิง่ ของ การให้สงิ่ ของแก่บคุ คลภายนอก ฐานการเบิกจ่ายทุกครั้ง ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ เช่น ให้นาฬิกา วิทยุ 3. ต้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการ ปากกา แก้วน�้ำ กระเช้าผลไม้ กระเช้าอาหารเครื่องดื่ม รับรองหรือการบริการทีจ่ ะเป็นการอ�ำนวยประโยชน์ให้แก่ เป็ น ต้ น การให้ เ ป็ น สิ่ ง ของตามประมวลรั ษ ฎากรได้ กิจการที่อาจจะมีผลตอบแทนเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะ ก�ำหนดให้ไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวทีม่ กี าร ต้องพิสจู น์ให้เห็นว่าเป็นประโยชน์ตอ่ กิจการ อันเป็นราย รับรองหรือการบริการ จ่ายเพื่อหาก�ำไรหรือก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต
ค่ารับรองหรือค่าบริการบุคคลภายนอกทีเ่ กีย่ วข้อง กับการประกอบธุรกิจตามกฎกระทรวงฉบับที่ 143 ไม่ได้ ก�ำหนดจ�ำนวนเงินส�ำหรับค่าใช้จา่ ยในการรับรอง(ข้อ 2.1) ต้ อ งไม่ เ กิ น ครั้ ง ละเท่ า ไร ในทางปฏิ บั ติ ค วรจะมี ก าร ก�ำหนดเพือ่ สะดวกต่อการควบคุมภายในของกิจการ และ ต้องพิสูจน์ให้สรรพากรเชื่อว่ามีการรับรองจ่ายและก่อให้ เกิดประโยชน์ตอ่ กิจการ แต่ถา้ การรับรองหรือบริการนัน้ เป็นการให้เป็น “สิง่ ของ” กฎหมายจ�ำกัดจ�ำนวนเงินไม่เกิน คนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการ บริการ ดังนั้นหากกิจการให้ “สิ่งของ”แก่บุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจจะต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทต่อครั้ง ซึ่งจะต้องระบุสิ่งของแต่ละชิ้นที่ กิจการน�ำไปให้แก่ใคร อยู่หน่วยงานใดเพื่อลดข้อโต้แย้ง ของเจ้าพนักงานประเมิน หากค่ารับรองหรือค่าบริการ ดังกล่าวไม่ถึง 2,000 บาท จะถือเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จ่าย จริง และหากจ่ายเกิน 2,000 บาท จะต้องถือเป็นรายจ่าย ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับรอง แบ่งออกเป็น
4.1 ค่าใช้จา่ ยทีเ่ กีย่ วเนือ่ งโดยตรง ได้แก่คา่ รับรองหรื อบริ ก ารบุคคลภายนอกที่เกี่ย วข้อ งกั บการ ประกอบธุรกิจที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายค่ารับรองในการ ค�ำนวณก�ำไรสุทธิ เช่น ก. ค่าทีพ่ กั บางกิจการได้มกี ารออกค่าทีพ่ กั โรงแรม อพาร์ตเมนต์ หรือห้องชุดให้แก่ลูกค้า ข. ค่าพาหนะ บางกิจการได้มีการออกค่า พาหนะ เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถให้แก่ลูกค้าเพื่อ เป็นการอ�ำนวยความสะดวกในการติดต่อธุรกิจให้เร็วขึ้น ค. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นการรับรอง ทีเ่ กิดขึน้ กับทุกกิจการทีต่ อ้ งมีการเลีย้ งอาหารและเครือ่ ง ดื่มแก่บุคคลภายนอกที่ติดต่อกับกิจการ
ง. ค่าดูมหรสพ พาบุคคลภายนอกที่ติดต่อ 20
5. มูลค่าของค่ารับรองหรือค่าบริการ
ข้อสังเกต การให้กระเช้าของขวัญปีใหม่ ประมวลรัษฎากรถือเป็นการให้สิ่งของ ซึ่งต้องไม่เกินรายละ 2,000 บาท ด้วย 6. ค่ารับรองและบริการรวมกันต่อปีตอ้ งไม่เกิน 0.3% (น�ำรายได้หรือทุนทีจ่ ดทะเบียนช�ำระแล้วอย่างใดสูงกว่า ให้น�ำไปคูณ 0.3%) แต่รวมกันต้องไม่เกิน 10,000,000 บาท ค่ารับรองและค่าบริการของกิจการไม่ได้จ�ำกัดจ�ำนวนเงินในการรับรองหรือบริการต่อครั้ง ยกเว้นการให้เป็น “สิ่งของ” จ�ำกัดจ�ำนวนเงินต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคนและต่อครั้งแห่งการรับรองหรือค่าบริการ และเมื่อค่ารับรอง และค่าบริการตลอดทั้งปีหรือตลอดระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของ ยอดรายได้หรือยอดขายหรือ เงิน ทุนที่ช�ำระแล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า ดังนัน้ ณ วันสิน้ รอบระยะเวลาบัญชีจะต้องมีการเปรียบเทียบจ�ำนวนเงินทัง้ 3 กรณีดงั กล่าวให้นำ� จ�ำนวนเงินทีส่ งู กว่า มาคูณกับ 0.3% ตัวอย่าง เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 กิจการมีรายการค้า ดังนี้ ก. ยอดรายได้รวม(ยอดขาย+ค่าบริการ+รายได้อื่น)
10,000,000 บาท
ข. ยอดขาย 8,000,000 บาท ค. เงินทุนช�ำระแล้ว
1,000,000 บาท
จากโจทย์เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2556 กิจการจะค�ำนวณ 0.3%จากยอดรายได้รวม 10,000,000บาท เป็นเงิน 30,000 บาท ดังนั้นค่ารับรองที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ต้องไม่เกิน 30,000 บาท ข้อสังเกต รายได้อื่นอาจเป็นรายได้ที่เกิดเนื่องจากการประกอบธุรกิจอันเป็นผลพลอยได้จากการประกอบ กิจการ เช่น ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ ก�ำไรจากการจ�ำหน่ายทรัพย์สิน หากกิจการค�ำนวณค่ารับรองหรือค่าบริการ จากยอดรวมรายได้ สิง่ ทีต่ อ้ งระมัดระวังคือ รายได้ทจี่ ะน�ำมาค�ำนวณค่ารับรองหรือค่าบริการได้นนั้ จะต้องหักรายได้ที่ ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีออกไปก่อน แล้วจึงจะน�ำมาค�ำนวณ 0.3%
21
ตัวอย่าง บริษัท ภาษีอากร จ�ำกัด งบก�ำไรขาดทุน ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รายได้
รายได้จากการขาย 100,000,000
รายได้ค่าบริการ 40,000,000
รายได้ค่าดอกเบี้ย 800,000
เงินปันผลรับ 1,200,000
รวมรายได้
142,000,000
สมมติว่า “เงินปันผลรับ” เป็นเงินปันผลที่กิจการได้รับยกเว้นภาษี “กึ่งหนึ่ง” ในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิตามหลัก เกณฑ์มาตรา 65 ทวิ(10)แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นการค�ำนวณเงินปันผลจากยอดรวมรายได้จะค�ำนวณ ดังต่อไปนี้
รายได้
รายได้จากการขาย
รายได้ค่าบริการ
รายได้ค่าดอกเบี้ย
เงินปันผลรับ
100,000,000 40,000,000 800,000 1,200,000
รวมรายได้
142,000,000
หักเงินปันผลที่ได้รับยกเว้นกึ่งหนึ่ง(ม.65ทวิ(10)) (1,200,000/2) 600,000 รายได้คงเหลือ(หรือรายได้ทางภาษี)
141,000,000
ค่ารับรองหรือค่าบริการต้องไม่เกิน 0.3% จะค�ำนวณจากรายได้คงเหลือเป็นเงิน 141,400,000 บาท จะถือเป็น รายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิได้ไม่เกิน 424,200 บาท หากกิจการจ่ายไม่เกินจ�ำนวนเงินดังกล่าวให้ถือเป็นราย จ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง หากจ่ายเงินค่ารับรองหรือค่าบริการเกิน 424,200 บาท ส่วนที่เกินจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ในการค�ำนวรก�ำไรสุทธิ
7. รายจ่ายที่น�ำมาหักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
ค่ารับรองหรือค่าบริการที่กิจการได้จ่ายไปในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีรวมกันต้องไม่เกิน 0.3%ของยอดขาย หรือยอดรายได้ หรือทุนที่จดทะเบียนและช�ำระแล้ว แล้วแต่จ�ำนวนเงินใดจะมากกว่า และเมื่อค�ำนวณ 0.3%แล้วค่า รับรองหรือค่าบริการนัน้ จะต้องมีจำ� นวนเงินสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท หากจ่ายไม่เกินจะถือเป็นรายจ่ายได้เท่าทีจ่ า่ ย จริง หากจ่ายเงิน 10 ล้านบาท ส่วนที่เกินถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร 22
ตัวอย่าง บริษัท ภาษีอากร จ�ำกัด งบก�ำไรขาดทุน ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 รายได้จากการขาย
4,000ล้านบาท
รายได้ค่าบริการ
4,000ล้านบาท
รายได้อื่น
200ล้านบาท
รวม
8,200ล้านบาท
ค่ารับรองหรือค่าบริการต้องไม่เกิน 0.3% โดยค�ำนวณจากยอดรวมรายได้ 8,200,000,000 บาทจะเป็นจ�ำนวน เงิน(8,200,000,000x0.3%) = 24,600,000 บาท แต่ทางกฎหมายให้คา่ รับรองหรือค่าบริการถือเป็นรายจ่ายได้สงู สุด ไม่เกิน 10ล้านบาท ดังนั้นกิจการต้องน�ำส่งส่วนที่จ่ายเกิน (24,600,000 – 10,000,000) = 14,600,000 บาทไป ปรับปรุงบวกกลับถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร เงื่อนไขของค่ารับรอง
ค่ารับรองหรือค่าบริการจะถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิได้นั้น จะต้องประกอบด้วย
1. ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง ตามหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติของแต่ละกิจการมักจะมีการก�ำหนดเงื่อนไขในการเซ็นอนุมัติหรือสั่งจ่ายรายจ่ายต่างๆ อยูแ่ ล้ว ซึง่ มักจะมอบหมายให้ผจู้ ดั การแต่ละฝ่ายหรือแผนกเป็นผูม้ อี ำ� นาจอนุมตั ริ ายจ่ายตามวงเงินทีไ่ ด้กำ� หนดไว้ใน ใบเบิกเงินหรือใบส�ำคัญจ่ายเงิน 2. ต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับเงิน เมื่อกิจการได้มีการจ่ายเงินค่ารับรองหรือค่าบริการเพื่อการรับรอง บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจหรือค่าบริการดังกล่าว ไม่ว่ากิจการจะจ่ายเป็นเงินสด หรือบัตร เครดิตก็ตาม หากผู้รับเงินไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ กิจการอาจท�ำหลักฐานการจ่ายเงินเป็นใบเสร็จรับเงินให้เซ็นรับ ซึ่งใบรับเงินจะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจ�ำตัวผู้เสียภาษีหรือเลขบัตรประชาชน ของผู้รับเงิน วันเดือนปีที่จ่าย พร้อมรายละเอียดของรายจ่ายดังกล่าวและจ�ำนวนเงินที่จ่ายไป ก็จะถือเป็นรายจ่ายได้ หรือกิจการอาจเลือกเป็น เช็คขีดคร่อม A/C Payee Only หรือโอนเงินเข้าบัญชีมีหลักฐานใบ Pay-in เป็นหลักฐานว่ามีการจ่ายจริงผู้รับเงินมี ตัวตนจริงก็ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร ดังนั้นหากค่ารับรอง ดังกล่าวไม่มหี ลักฐานเอกสารการจ่ายเงิน กิจการต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิ เพราะกิจการ พิสูจน์ไม่ได้ว่าผู้รับเงินมีตัวตนจริงและได้รับเงินจริงจากกิจการ ภาษีซื้อของค่ารับรองหรือค่าบริการ เมื่อกิจการมีรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการและมีภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภาษีซื้อ)เกิดขึ้นจากรายจ่ายดังกล่าว ภาษี ซื้อของรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(เนื้อหาดูได้จากประมวลรัษฎากร)
23
สรุปได้ว่า เมื่อผู้ประกอบการได้มีการจ่ายเงินเพื่อการรับรองหรือค่าบริการออกไปแล้ว ถูกผู้ประกอบการราย อื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งก็คือ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่ารับรองหรือบริการภาษีซื้อดังกล่าว ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ห้ามน�ำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ แต่ผู้ประกอบการมีสิทธิน�ำมาถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวรก�ำไร สุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี(6ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าสมาชิกเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ การรับรองหรือบริการที่กิจการส่วนมากนิยมรับรองหรือบริการให้บุคคลภายนอกนั้นจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายอัน เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอ�ำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่อง ดืม่ ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับการกีฬา เป็นต้น หรือให้เป็นสิง่ ของก็ถอื เป็นค่ารับรองหรือค่าบริการ หลายกิจการ จึงรับรองหรือบริการบุคคลภายนอกโดยกิจการเข้าไปสมัครเป็นสมาชิกกอล์ฟ สโมสร สปอร์ตคลับเพื่อการพักผ่อน หรือสันทนาการ แล้วน�ำสมาชิกดังกล่าวไปใช้เพื่อการรับรองหรือบริการให้กับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการ ประกอบธุรกิจ เช่น รับรองลูกค้า รับรองเจ้าหนี้ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของกิจการ บางครั้งการรับรองรวมถึงค่าสันทนาการซึ่งพจนานุกรมได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
ค่าสันทนาการ(Recreation) หมายถึง การพักผ่อนหย่อนใจ การเล่นสนุกสนานเพื่อความเพลิด เพลิน
การน�ำเงินของกิจการไปจ่ายค่าสมาชิกเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ กรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ ตามค�ำสัง่ กรมสรรพากรที ่ ป.56/2538 เรือ่ ง การก�ำหนดรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิของบริษทั หรือห้างหุน้ ส่วน นิติบุคคล เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิจารณารายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายใน การค�ำนวณก�ำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 65 ตรี(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงออกค�ำสั่งดังต่อไปนี้
1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายเงินดังต่อไปนี้
(1) เงินค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจ�ำ เงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินอื่นที่จ่ายในลักษณะ ท�ำนองเดียวกัน เพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ (2) เงินค่าเล่นกอล์ฟ ค่าเล่นกีฬา ค่าตอบแทนเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการในการใช้สิทธิตาม(1) หาก การจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เป็นการจ่ายตามข้อก�ำหนดในลักษณะเป็นการจ�ำกัดเฉพาะตัวบุคคลบางคนซึ่งเป็น กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลให้เข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าจะมีการน�ำบุคคลอื่นที่มิใช่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในต�ำแหน่งในลักษณะ ท�ำนองเดียวกันของบริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลเข้าไปใช้บริการด้วยหรือไม่กต็ าม ให้ถอื ว่ารายจ่ายดังกล่าวเข้า ลักษณะเป็นการรายจ่ายส่วนตัว ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิ ตามมาตรา 65 ตรี(3) แห่งประมวล รัษฎากร หากการจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการจ่ายตามข้อก�ำหนดเพื่อให้การรับรองลูกค้าหรือบุคคลตามที่ก�ำหนดในกฎ กระทรวง ฉบับที่ 143(พ.ศ.2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ตามมาตรา 65 ตรี(4) แห่ง ประมวลรัษฎากร และในการรับรองดังกล่าวเปิดโอกาสให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นใน ต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คลเข้าใช้บริการได้เป็นการทัว่ ไป ให้ถอื ว่าราย จ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่ารับรองทีถ่ อื เป็นรายจ่ายในการค�ำนวณก�ำไรสุทธิได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 143(พ.ศ. 2522) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ตามมาตรา 65 ตรี(4)แห่งประมวลรัษฎากร 24
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินดังกล่าว ให้ถือว่า เงินดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือ บุคคลอืน่ ในต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนองเดียวกันของบริษทั หรือห้างหุน้ ส่วน นิติบุคคลได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1)หรือ(2)แห่งประมวล รัษฎากร ของ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นใน ต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนองเดียวกันนั้น 3. กรณี บ ริ ษั ท หรื อ ห้ า งหุ ้ น ส่ ว นนิ ติ บุ ค คลมอบสิ ท ธิ นั้ น ให้ แ ก่ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ทีป่ รึกษา หรือบุคคลอืน่ ในต�ำแหน่งในลักษณะ ท�ำนองเดียวกันโดยเด็ดขาด ไม่วา่ กรณีใดหรือในกรณีการออกจากบริษทั หรือห้างหุน้ ส่วนนิตบิ คุ คล ให้ถอื ว่าเงินดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่ กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือบุคคลอื่นในต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนอง เดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือว่าเป็นเงินได้ ตามมาตรา 40(1)หรือ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือบุคคลอื่นในต�ำแหน่งในลักษณะท�ำนองเดียวกัน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่าเมื่อมีค่ารับรองหรือค่าใช้จ่ายที่เข้า เกณฑ์เป็นค่ารับรอง นักศึกษาต้องศึกษาและปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ประมวลรัษฎากร จะเห็นว่าสิ่งที่ต้องระมัดระวังในการก�ำหนดวงเงินเบิก จ่ายในแต่ละเดือน ไม่ควรให้เงินไปทั้งก้อน ควรให้มีการเบิกจ่ายแต่ละ ครั้งตามหลักฐานการจ่ายจริง แต่หากเบิกไปทั้งจ�ำนวนโดยให้เงินไปเลย โดยไม่มีหลักฐานการเบิกจ่าย อาจถูกเจ้าพนักงานประเมินพิจารณาเป็น ประโยชน์เพิ่มของพนักงานเป็นเงินได้ของพนักงานคนนั้น...... ดังนั้นค่ารับรองดังกล่าวน�ำมาเพื่อให้นักศึกษาเห็นความแตกต่าง ว่าในการค�ำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานก�ำไรสุทธิ นักศึกษาต้อง สังเกตและศึกษาว่ามีค่าใช้จ่ายใดที่ไม่สอดคล้องกับทางบัญชีเพื่อจะได้ ค�ำนวณภาษีอย่างถูกต้องและประหยัดสุด
25
อะไรจะเกิดขึ้นกับระบบภาษีอากรไทย ในยุค AEC อ.สงกรานต์ ไกยวงษ์
ข้อตกลงของAEC อีกข้อหนึง่ ก็คอื การเป็นตลาด ร่ ว มซึ่ ง ประเทศในกลุ ่ ม ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น ได้ เปิดเสรีสินค้า บริการ เงินทุนและแรงงาน อุปสรรค ทีป่ ระเทศสมาชิกจ�ำเป็นต้องร่วมมือกันเพือ่ ผลักดันให้การ เคลือ่ นย้ายสินค้า บริการ เงินทุนและแรงงานเป็นไปอย่าง ราบรื่ น กลุ ่ ม ประเทศในประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น (AEC) จะมีการลดภาษีน�ำเข้าและโควต้าลงเหลือศูนย์ เพื่อสนับสนุนสินค้าที่มีแหล่งก�ำเนิดในอาเซียน แต่การที่ สินค้าจะเลื่อนไหลได้ดีต้องมีการแก้ไขอุปสรรคที่ส�ำคัญ ประการหนึง่ แล้ว คือ อุปสรรคทีม่ าจากความแตกต่างของ ภาษี อื่ น นอกเหนื อ จากภาษี น� ำ เข้ า (Tariff Barrier) ซึ่งเหลือศูนย์แล้วก็ตาม แต่ยังมีอุปสรรคทางภาษีที่เกิด จากความแตกต่างของระดับภาษีทเี่ ก็บในประเทศสมาชิก เช่น ภาษีมลู คาเพิม่ และภาษีสรรพสามิตทีต่ อ้ งมีการตกลง ร่วมมือกันอีกมาก ดังนั้นทิศทางการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อรองรับเสรี อาเซียน ซึ่งดร. สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรม สรรพากร ได้กล่าวไว้ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐว่า กรม สรรพากรในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัด เก็บภาษีของประเทศจึงต้องมีการปรับปรุงระบบภาษี อากรให้ เ อื้ อ อ่ า นวยต่ อ การค้ า และการลงทุ น ระหว่ า ง ประเทศ รวมถึงต้องสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นใน ภูมิภาคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีความพร้อมที่จะรองรับ ผู้เสียภาษีที่เป็นชาวต่างชาติและกิจการข้ามชาติ จึงได้ มีการด�ำเนินการดังนี้
1. การปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบเพื่อเพิ่ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของประเทศ ได้ แ ก่ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และ ร้อยละ 20 ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไปและการเตรียมการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงิน ได้บคุ คลธรรมดา โดยเน้นเรือ่ งการกระจายภาระภาษีเพือ่ ลดความเหลื่อมล�้ำ และขณะเดียวกันการปรับอัตราภาษี ให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ 2. การเชื่อมโยงตลาดทุนไทยกับตลาดทุนอื่นใน ภูมิภาคอาเซียน เพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่าง เสรี โดยออกมาตรการภาษีดังนี้ ข้อหนึ่ง การยกเว้นภาษี เงิ น ได้ บุ ค คลธรรมดาให้ แ ก่ ก ารขายหลั ก ทรั พ ย์ ใ น ตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการซื้อขายผ่านระบบ ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดให้มีขึ้น ทั้งนี้เพื่อ เชื่อมโยงการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนและ ข้อสอง การก�ำหนดให้ ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินปันผลจาก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ต่างประเทศ ซึ่งได้น�ำหลักทรัพย์เข้ามาจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และยอมให้หักภาษี ณ ทีจ่ า่ ยร้อยละ 10 เมือ่ ถึงก�ำหนดยืน่ รายการได้รบั ยกเว้น ไม่ตอ้ งน�ำเงินปันผลดังกล่าวมารวมค�ำนวณเพือ่ เสียภาษี เงินได้
26
3. การเร่ ง รั ด ให้ มี อ นุ สั ญ ญาภาษี ซ ้ อ นระหว่ า ง ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือใน การขจัดภาระภาษีซำ�้ ซ้อนและการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยเร่งรัดการจัดท�ำอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศที่ยัง ไม่มอี นุสญ ั ญาภาษีซอ้ นกับประเทศไทย และให้ความช่วย เหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดท�ำอนุสัญญาภาษีซ้อน แก่ประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้ทุกประเทศ มีอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างกันครบถ้วน 4. การป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของบริษัทข้าม ชาติ โดยเตรียมการออกมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการ ก�ำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) มาตรการป้องกัน การตัง้ ทุนต�ำ ่ (Thin Capitalization) มาตรการป้องกันการ กักเก็บก�ำไรไว้ในประเทศที่มีอัตราภาษีต�่ำ (Controlled Foreign Company) รวมทั้งมาตรการป้องกันการหลบ เลีย่ งภาษีเป็นการทัว่ ไป (General AntiAvoidance Rule) โดยที่มาตรการเหล่านั้นจะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ลงทุนระหว่างประเทศ 5. การพัฒนาสมรรถนะทางภาษาอังกฤษของ บุคลากรกรมสรรพากร เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษ ในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ โดยมีโครงการฝึก อบรมภาษาอังกฤษแก่บุคลากรทุกระดับ 6. การอ�ำนวยความสะดวกแก่ผเู้ สียภาษีทเี่ ป็นชาว ต่างชาติ โดยการแปลเอกสารภาษีและข้อมูลต่างๆ เป็น ภาษาอังกฤษ เช่น แบบแสดงรายการภาษี คู่มือการเสีย ภาษี รวมทั้งเว็บไซต์ของกรมสรรพากร จากค�ำหล่าวข้างต้นนี้นักบัญชีนอกจากจะปรับตัว ด้านมาตรฐานและการตรวจสอบบัยชีแล้วยังต้องปรับตัว กับการเปลีย่ นแปลงทีจ่ ะเกิดขึน้ ใหม่ของกรมสรรพากรใน อีกเร็วนี้
27
เล่าสู่กันฟังเรื่องสิทธิการดูแลภาษี การซื้อ-ขายบ้าน อ.อัมพร เที่ยงตระกูล
“ทุกวันนีผ้ เู้ ก็บภาษีกด็ ี ผูเ้ สียภาษีกด็ ี มีความเห็น ตรงกั น อยู ่ เ รื่ อ งหนึ่ ง คื อ ภาษี ไ ม่ ค วรเก็ บ ซ�้ ำ ซ้ อ น กระทรวงการคลังได้พยายามขจัดภาษีซ�้ำซ้อน เช่นใน สมัยก่อนธุรกิจต้องเสียภาษีการค้าซึ่งเก็บทุกขั้นตอน ตั้งแต่ผู้น�ำเข้า ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก รวมทั้งผู้ค้าราย ย่อย ดังนั้น ในปี 2535 รัฐบาลจึงได้ยกเลิกภาษีการค้า และใช้ภาษีมลู ค่าเพิม่ แทน เพือ่ เก็บภาษีเฉพาะจากมูลค่า ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน” ( สุวรรณ วลัยเสถียร,2546)
กฎหมายยังก�ำหนดอีกว่าการหักลดภาษีต้อง เป็นการจ่ายดอกเบี้ยแก่สถาบันการเงินหรือนายจ้าง แสดงว่าผูใ้ ห้กตู้ อ้ งแสดงค่าดอกเบีย้ รับเป็นเงินได้เสียภาษี ธุรกิจเฉพาะ 3.3%แต่กฎหมายไม่อนุญาตให้ประชาชน จ่ายหักดอกเบี้ยที่ซื้อบ้านเกิน 100,000 บาทและต่อมา เพิ่มวงเงินเป็น 500,000 บาท รัฐเก็บภาษีของดอกเบี้ย ส่วนทีเ่ กิน 500,000 บาทได้ซำ�้ สองครัง้ คือเก็บจากผูจ้ า่ ย และผู้รับดอกเบี้ยอีกด้วย
ถ้าเราติดตามในเรือ่ งการจัดเก็บภาษีซำ�้ ซ้อนของ รัฐ เราจะเห็นว่าในปัจจุบนั ยังมีการเก็บภาษีซำ�้ ซ้อนอยูอ่ กี หลายเรือ่ ง ในฐานะทีเ่ ราเป็นประชาชนทีต่ อ้ งเสียภาษีเรา ก็ต้องให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแลสิทธิของตนเอง
หลั ง จากที่ เ ราวิ เ คราะหื ภ าษี ใ นการซื้ อ บ้ า น เรามาวิเคราะห์ภาษีจากการขายบ้านบ้าง กฎหมายบังคับ ว่าบุคคลที่ขายบ้าน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย ห้องชุด จะต้องเสีย ภาษีและค่าธรรมเนียมดังนี้
ใครทีก่ ำ� ลังจะซือ้ บ้าน มาดูการใช้สทิ ธิของตนเอง ตามกฎหมายในกรณีในเรือ่ งของดอกเบีย้ เงินกูท้ ซี่ อื้ บ้าน กฏหมายเขียนไว้ว่าอนุญาติให้ผู้เสียภาษีน�ำดอกเบี้ยเงิน กู้ซึ่งจ่ายซื้อบ้านที่อยู่อาศัยมาหักเพื่อบรรเทาภาระภาษี ออกมาใช้ นั บ 10ปี อ นุ ญ าตให้ หั ก ค่ า ดอกเบี้ ย ได้ ป ี ล ะ 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อ ท�ำให้มลู ค่าของเงิน 100,000 บาทลดไปถึง 50% นัน่ แปล ว่ารัฐหักค่าดอกเบี้ย 100,000 บาท ซึ่งมูลค่าปัจจุบันมี ค่าไม่ถงึ 50,000 บาท แสดงว่ารัฐตัดทอนค่าลดหย่อนของ ดอกเบี้ยลงไปกว่าครึ่ง
28
1.ค่าธรรมเนียมการโอน 2% ของราคาประเมิน
2.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ซึ่งอาจได้รับการ ยกเว้นในบางกรณี 3.หักภาษี ณ ที่จ่าย 1% ของราคาขายจริง หรือ ราคาประเมินแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าให้ใช้ราคานัส้ น ถ้า ผู้ขายเป็นนิติบุคคล หรือค�ำนวณจากภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาคูณปีที่ถือครองถ้าผู้ขายเป็นบุคคลธรรมดา 4.อากรแสตมป์ อัตรา 1 บาทต่อทุกจ�ำนวน 200 บาท(ราคาประเมินทุนทรัพย์) ในกรณีมีเศษไม่ถึง 200 บาทให้คิด 200 บาท
ตามกฏหมายภาษีข้างต้นเราจะเห็นว่า อย่างไงก็ ต้องเสียภาษีไม่วา่ ผูข้ ายจะมีกำ� ไรหรือไม่กต็ าม ซึง่ ขัดกับ หลักการจัดเก็บภาษีทวี่ า่ ภาษีเงินได้ควรจัดเก็บจากก�ำไร ทั้งนี้เพราะให้ถือราคาขายอย่างต�่ำคือราคาประเมินของ ทางราชการซึ่งมีการปรับขึ้นเสียส่วนใหญ่ แม้ว่าราคา ตลาดจะต�ำ่ กว่า ดังนัน้ ทุกครัง้ ทีม่ กี ารซือ้ ขาย ถือว่าต้องมี ผลก�ำไรเสมอ ในหนั ง สื อ ถนนนั ก ลงทุ น ของ คุ ณ อมรศั ก ดิ์ พงศ์พศุมตม์ ได้เล่าว่า “ ก๋วยเจ๋ง เซียนที่ดินชื่อดังได้ตุน ที่ดินดิบไว้ในตู้เซฟ โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2540เป็นต้นมา เขาคว้าดาวไว้หลายดวง(ที่ดินสวย ราคาถูก) ด้วยความ เชื่อมั่นว่าเศรษฐีฟื้นแล้วจ้า แต่ 3 ปีก็แล้ว ดอกก็ตก การค้าหด ราคาที่ดินก็มีแต่ทรงทรุด เงินหมุนก็เลยสดุด” ดังนัน้ ถ้าก๋วยเจ๋งขายในยามนัน้ ก๋วยเจ๋งต้องขาดทุนแน่ๆ และก๋ ว ยเจ๋ ง ต้ อ งเสี ย ภาษี เ พราะถื อ ว่ า ก่ ว ยเจ๋ ง ก� ำ ไร เนื่องจากต้องใช้ราคาประเมินของทางราชการ โดยสรุปแม้บ้านของเราเองที่อาศัยอยู่ ถ้าซื้อขายเรา ก็ ต ้ อ งเสี ย ภาษี ทั้ ง ๆที่ เ ราไม่ ไ ด้ มุ ่ ง หาก� ำ ไร ลั ก ษณะ ดังกล่าวหนี้ไม่พ้นกับภาษีถ้าขายหรือซื้อบ้าน อย่างไร ก็ตามเราก็ต้องยึดกฎหมายหลัก
29
ร้านหรือห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดหรือบริษัทออนไลน์ จะมีภาษีมาเกี่ยวข้อง อย่างไร อ.สุปราณี หรรษาจักรตรี
ในปัจจุบนั จะเห็นว่าจะมีบคุ คลจ�ำนวนมากทีห่ นั มา ใช้บริการซื้อของทาง web site โดยใช้ธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce ) เป็นการสะดวกทั้งผู้ขาย และผู้ซื้อที่ไม่ต้องเดินทางออกจากบ้าน ยิ่งปัจจุบันมี อุปกรณ์การสื่อสารที่สะดวกไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและอุปกรณ์สอื่ สารอืน่ ๆ อีกทีม่ รี าคาถูกลงท�ำให้ คนส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ง่าย บวกกับการเปิดเสรี ด้านเทคโนโลยี 3G ท�ำให้ปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ต ภายในประเทศพุ่งสูงขึ้น เป็นโอกาสที่ดีส�ำหรับธุรกิจ พาณิชย์เล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ทีจ่ ะเติบโตได้อย่าง แน่ น อน ค� ำ ว่ า ธุ ร กิ จ พาณิ ช ย์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-commerce) หมายถึง การซื้อขายบนระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตโดย ผูซ้ อื้ สามารถเลือกซือ้ สินค้า ค�ำนวณเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้าและช�ำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือ โอนเงินผ่านธนาคารให้กับผู้ขายสินค้า เมื่อผู้ขายตรวจ สอบวงเงินที่ได้รับช�ำระค่าสินค้า ก็จะตัดสินค้าจากคลัง สิ น ค้ า และจั ด ส่ ง สิ น ค้ า ให้ ถึ ง มื อ ผู ้ ซื้ อ ตามข้ อ ตกลง ตามระบบโลจิสติกส์ (logistice) แต่กอ่ นอืน่ ผูซ้ อ้ื และผูข้ าย จ�ำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยว ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบรั ก ษาความปลอดภั ย และกฎหมายที่ เ ข้ า มา เกี่ยวข้องด้วย เป็นต้น
30
การประกอบธุ ร กิ จ พาณิ ช ย์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (e-commerce) มีภาษีอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง ในมุ ม มองของกรมสรรพากร ธุ ร กิ จ พาณิ ช ย์ อิเล็กทรอนิกส์ ก็คือ การขายสินค้าหรือบริการซึ่งก็เป็น เหมือนการประกอบธุรกิจทั่วๆไป เพียงแต่เป็นการเพิ่ม ช่องทางซือ้ ขายระหว่างผูซ้ อื้ กับผูข้ ายอีกช่องทางหนึง่ คือ ทางอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากร ตีความค�ำว่า สินค้าและบริการ ไว้ดงั นี้
- สินค้าที่จับต้องได้ และขนส่งผ่านผู้ให้บริการ ตีความว่าเป็นสินค้า
- สินค้าที่จับต้องไม่ได้ ลูกค้าใช้วิธีดาวน์โหลด ตีความว่าเป็นบริการ
ภาษีเงินได้
-
ผู ้ ป ระกอบการพาณิ ช ย์ อี เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ไ ทย มีสองลักษณะ คือ เป็นบุคคลธรรมดา กับเป็น นิติบุคคล การเสียภาษีเงินได้จึงอาศัยหลักการ ค�ำนวณภาษีเงินได้ตามปกติ และยืน่ แบบแสดง รายการตามประมวลรัษฎากร ที่ก�ำหนดดังนี้
- ภาษีเงินได้บคุ คลธรรมดาเสียภาษีจากฐานเงิน ได้สุทธิ ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภายใน 31 มี.ค. ของปีถัดไป
- ภาษีเงินได้นติ บิ คุ คลเสียภาษีจากฐานก�ำไรสุทธิ ยื่ น แบบ ภ.ง.ด. 50 ภายใน 31 พ.ค. ของปีถดั ไป
ภาษีมลู ค่าเพิม่ ผูป้ ระกอบการทีม่ รี ายรับจากการขาย สินค้าหรือบริการ เกิน1,800,000 บาท ต่อปี ต้องจด ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าดิจิตอลถือเป็นบริการ ผู้ซื้อบริการ - ขายสินค้าหรือให้บริการในประเทศไทยให้คิด จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมาย VAT 7% + ราคาสินค้า ก�ำหนด ไม่ว่าในประเทศ หรือต่างประเทศ ถ้าผู้ประกอบ กรณีขายสินค้าในประเทศไทย ภาษีมูลค่าเพิ่ม การมีการจ่ายค่าบริการที่เข้าข่ายต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตราภาษีเท่ากับ 7% ก็ ต ้ อ งปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายด้ ว ย เช่ น จ่ า ยเงิ น เดื อ น พนักงาน เป็นต้น - ขายสิ น ค้ า หรื อ ให้ บ ริ ก าร โดยส่ ง ออกไป ต่างประเทศให้คิด VAT 0% ภาษีศุลกากร กรณีขายสินค้าไปต่างประเทศ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ประเทศไทยสนับสนุนการส่งออก จะไม่มกี ารเก็บ อัตราภาษีเท่ากับ 0% ภาษีศุลกากรขาออก ยกเว้นหนังดิบ แต่เมื่อสินค้าเข้าสู่ ประเทศลูกค้าแล้ว ลูกค้าจะเป็นผูร้ บั ผิดชอบภาษีศลุ กากร (กรณีการซื้อบริการต้องมีการยืนยัน) ขาเข้า ซึง่ แตกต่างไปแต่ละประเทศ ดังนัน้ การค้าพาณิชย์ - กรณี ซื้ อ สิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารจากต่ า งประเทศ อีเล็กทรอนิกส์ตอ้ งแจ้งลูกค้าเสมอเกีย่ วกับภาษีขาเข้าว่า มีภาษีทเี่ กีย่ วข้อง คือภาษีมลู ค่าเพิม่ (อัตรา 7%) ใครรับผิดชอบ
ภาษีศลุ กากร และภาษีหกั ณ ทีจ่ า่ ย (บริการ) เช่น
-
-
สินค้าดิจิตอลส่งมอบผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนต จะได้รบั การยกเว้นภาษีศลุ กากรทุกประเภทตามข้อตกลง การน�ำเข้าต�ำราจากต่างประเทศมีการยกเว้น WTO 2541 ที่ เจนีวา และสหรัฐอเมริกาพยายามผลักดัน ภาษีน�ำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เป็นข้อตกลงถาวรต่อไป ถ้าเป็นการน�ำเข้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ จะต้อง รับผิดชอบภาษีทั้งสองนี้คือภาษีน�ำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมศุลกากรจะเป็นผู้เรียก เก็บแทนกรมสรรพากร
-
การ Download สินค้าดิจิตอล ไม่ต้องเสีย ภาษีน�ำเข้าตามข้อตกลง WTO แต่ผู้ซื้อยังต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ซึ่งต่างประเทศมักไม่ เรียกเก็บ
31
ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ต่อนักวิชาชีพบัญชีไทย อ.ชุตินุช อินทรประสิทธิ์
เป็ น ที่ ท ราบกั น ดี ว ่ า การเกิ ด ขึ้ น ของประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ .ศ.2558 จะน� ำ มาซึ่ ง ข้ อ ตกลงในการ เคลื่อนย้ายของสินค้าและบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรีในกลุ่มภูมิภาค วิชาชีพบัญชี เป็ น หนึ่ ง ในเจ็ ด วิ ช าชี พ บั ญ ชี ที่ อ ยู ่ ใ นข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งการเคลื่ อ นย้ า ยแรงงานฝี มื อ เสรี ซึง่ หมายความว่าเมือ่ ประเทศไทยก้าวสูก่ ารเป็นประชาคม เศรษฐกิ จ อาเซี ย น นั ก วิ ช าชี พ บั ญ ชี จ ากประเทศใด ประเทศหนึ่งในกลุ่มอาเซียนจะสามารถเข้ามาประกอบ วิชาชีพบัญชีในประเทศไทยได้อย่างเสรี ในทางกลับกัน นักวิชาชีพบัญชีไทยก็สามารถไปประกอบวิชาชีพบัญชี ในประเทศกลุ ่ มอาเซีย นได้เช่น กัน ภายใต้ข้อ ผู กพั น บริการวิชาชีพบัญชีที่ก�ำหนดร่วมกัน ดังนั้นประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนจึงมีผลกระทบต่อนักวิชาชีพบัญชีใน ประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. อั ต ราการจ้ า งแรงงานจะสู ง ขึ้ น โดยเฉพาะ ด้านการท�ำบัญชีและการสอบบัญชีเพราะตลาด มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยตลาดหลักคือ ประเทศ กั ม พู ช า ลาว เมี ย นมาร์ และ เวี ย ตนาม (กลุ่มประเทศ CLMV)
2. มาตรฐานการประกอบวิชาชีพบัญชีไทยทั้งใน ด้านมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบ บัญชีและจรรยาบรรณวิชาชีพ จะได้รับการ พัฒนาสู่ความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น
3. วิชาชีพบัญชีจะเป็นวิชาชีพที่ได้รับความนิยม เพิ่มขึ้น
จากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบการเปิดเสรีการค้า บริการวิชาชีพบัญชีพบว่ามีทั้งผลกระทบเชิงบวกและ เชิงลบต่อนักวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย ซึ่งผลกระทบ เชิงบวกที่ส�ำคัญได้แก่
1. จ�ำนวนผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้น ท�ำให้การแข่งขัน เ พิ่ ม ขึ้ น แ ล ะ ส ่ ง ผ ล ต ่ อ ก า ร ล ด ล ง ข อ ง ค่าธรรมเนียมวิชาชีพในทีส่ ดุ โดยคูแ่ ข่งทีส่ ำ� คัญ ของนักวิชาชีพบัญชีไทย คือนักวิชาชีพบัญชี ของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
2. นั ก วิ ช าชี พ บั ญ ชี จ ะมี ค วามเสี่ ย งในการ ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นเนื่องจากต้องปฏิบัติงานใน สภาพแวดล้ อ มที่ มี ค วามแตกต่ า งกั น เช่ น ความแตกต่ า งทางด้ า นระบบเศรษฐกิ จ ระบบกฎหมาย สังคม และวัฒนธรรม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการเปิดเสรีการค้าบริการวิชาชีพ บัญชีก็ส่งผลกระทบเชิงลบต่อนักวิชาชีพด้วยเช่นกัน ซึ่งผลกระทบเชิงลบที่ส�ำคัญได้แก่
32
3. การใช้ภาษาอังฤษเป็นภาษากลางของอาเซียน ท�ำให้นักวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยสูญเสีย ความสามารถในการแข่งขันไป
ณ จุดนี้ หลายท่านคงจะเริ่มมีค�ำถามเกี่ยวกับ การเตรียมตัวของนักวิชาชีพบัญชีเพือ่ แสวงหาโอกาสจาก การเปิ ด เสรี ก ารค้ า บริ ก ารวิ ช าชี พ บั ญ ชี กั น มากขึ้ น ข้อแนะน�ำทีส่ ำ� คัญประการแรกคือการเพิม่ ทักษะทางด้าน ภาษาอังกฤษซึ่งถือเป็นภาษากลางของอาเซียน เพราะ ในปัจจุบนั นักวิชาชีพบัญชีในประเทศไทยจ�ำนวนไม่นอ้ ย ที่ ยั ง มี ทั ก ษะทางด้ า นภาษาอั ง กฤษต�่ ำกว่ า มาตรฐาน ประการที่สองนักบัญชีวิชาชีพในประเทศไทยควรศึกษา หาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีระหว่าง ประเทศซึ่งมีแนวโน้มว่าจะน�ำมาใช้เป็นมาตรฐานการ บัญชีในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อให้ข้อมูลทางการเงิน ของแต่ละประเทศสามารถเปรียบเทียบกันได้ ประการ สุ ด ท้ า ยที่ ไ ม่ ค วรมองข้ า มคื อ การเรี ย นรู ้ เ กี่ ย วกั บ ขนบธรรมเนี ย มประเพณี สั ง คม ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ วัฒนธรรม ของประเทศในกลุม่ อาเซียนทีน่ กั วิชาชีพบัญชี จะเข้าไปติดต่อธุรกิจ นอกจากการเตรียมตัวของนัก วิชาชีพบัญชีเองแล้ว ภาครัฐและสภาวิชาชีพบัญชีของ ไทยก็ควรจะมีบทบาทเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ ของนักวิชาชีพบัญชีไทยให้สามารถแข่งขันได้เช่นกัน เช่น การเพิ่มบทบาทของสภาวิชาชีพบัญชีไทยในเวทีองค์กร วิชาชีพบัญชีระหว่างประเทศในการผลักดันสิ่งที่จะเป็น ประโยชน์ กั บ นั ก วิ ช าชี พ บั ญ ชี ไ ทย หรื อ การรั ก ษาผล ประโยชน์ให้กับนักวิชาชีพบัญชีไทย การจัดตั้งสถาบัน การฝึกอบรมวิชาชีพบัญชีทเี่ ป็นมาตรฐานสากล และการ จั ด ท� ำ ฐานข้ อ มู ล ด้ า นวิ ช าการและการเผยแพร่ ข ้ อ มู ล ข่าวสารให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปทราบ เป็นต้น จากค�ำพูดที่กล่าวไว้ว่า “เริม่ ต้นดี มีชัยไปกว่าครึง่ ” คงจะเป็นข้อคิดที่ดีส�ำหรับนักวิชาชีพบัญชีไทยในยุคนี้ เพราะการก้าวสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนัน้ เราจะพบ ว่ามีทั้งกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ การเตรียมตัวที่ดี ของผู ้ ประกอบวิ ช าชีพ และผู้มีส่วนเกี่ย วข้อ งจะท� ำ ให้ อนาคตของผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ บั ญ ชี ต ลอดจนวงการ วิชาชีพมีแนวโน้มสดใสในอนาคต
33
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – based Learning : PBL) อ.สุพิชา ศรีสุคนธ์
สวัสดีคะ่ นักศึกษาทุกคน ยินดีตอ้ นรับสูภ่ าคการเรียนใหม่ 1/2556 นะคะ ในภาคการเรียนนี้ นักศึกษา คงได้สมั ผัสการเรียนรูปแบบใหม่ คือใช้ปญ ั หาการเรียนเป็นฐานในการเรียนรูก้ นั มากขึน้ โดยนักศึกษาต้อง คิด วิเคราะห์รว่ มกัน ช่วยกันคิดวิธแี ก้ปญ ั หาร่วมกัน ซึง่ อาจแตกต่างจากระบบการเรียนทีผ่ า่ นมานะคะ เรา ลองมาดูสิคะว่า การเรียนดังกล่าว คืออะไร การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – เฉลิ ม วราวิ ท ย์ (2531 อ้ า งใน อุ ด ม based Learning : PBL) รั ต นอั ม พรโสภณ, 2544 : 35) ให้ ค วามหมายว่ า การเรียนแบบการใช้ปญ ั หาเป็นหลัก เป็นวิธกี ารสอนทีใ่ ช้ การเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นหลัก (PBL) ได้พฒ ั นา ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น ให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะใฝ่ มาจากความคิดของ John Dewey นักการศึกษาของ หาความรูเ้ พือ่ แก้ปญ ั หา โดยเน้นให้ผเู้ รียนเป็นผูต้ ดั สินใจ อเมริกัน John Dewey ให้ค�ำแนะน�ำว่านักศึกษาควรจะ ในสิ่งที่ต้องการแสวงหาและรู้จักการทางานร่วมกันเป็น น�ำเสนอปัญหาในชีวิตจริงและช่วยในการค้นหาค�ำตอบ ทีมภายในกลุม่ ผูเ้ รียน โดยผูส้ อนมีสว่ นร่วมเกีย่ วข้องน้อย โดยการค้นพบข้อมูลในการแก้ปัญหาของนักศึกษาเอง ที่สุด และเริม่ มีการใช้ใหม่อกี ครัง้ ในปี ค.ศ.1960 ในรูปแบบของ การสอนแบบใฝ่รใู้ นวิทยาศาสตร์ ซึง่ ได้รบั อิทธิพลมาจาก ไพลิน นุกูลกิจ (2539 อ้างใน วิภาภรณ์ บุญทา, ผลงานของ Bruner และ Piaget วิธีการเรียนรู้ที่ใช้ปัญหา 2541 : 32) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนทีใ่ ช้ปญ ั หา เป็นหลักเป็นการเรียนทีใ่ ห้ผเู้ รียนเป็นศูนย์กลางการเรียน เป็นหลัก เป็นวิธีการที่ใช้ปัญหา/สถานการณ์ เป็นจุดเริ่ม ใช้เทคนิคกระบวนการแก้ปัญหาแบบกลุ่มและการเรียน ต้นในการระบุความต้องการ (need) การเรียนรู้ ผลจาก เป็นรายบุคคล และในปี ค.ศ.1971 Haward Barrow เป็น การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก จะมาจากกระบวนการ ผู้น�ำการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักมาใช้กับนักศึกษา ท� ำ งานเป็ น กลุ ่ ม ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ผู ้ เ รี ย นมี ค วามเข้ า ใจใน แพทย์เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย Mc Master ประเทศ สถานการณ์และสามารถแก้ปัญหาได้ Barrow (1980) แคนาดา เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้รับความรู้แบบบูรณา ให้ความหมายว่า การเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นหลัก การสามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ทักษะการแก้ปัญหา เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ใช้คาถามกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด เกี่ยวกับผู้ป่วย วิเคราะห์ แสววงหาและบูรณาการความรู้ใหม่ให้เหมาะ กับสภาพจริง โดยไม่จาเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่อง ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก นั้นมาก่อน การเรี ย นรู ้ โ ดยใช้ ป ั ญ หาเป็ น หลั ก นั้ น ได้ มี ผู ้ ใ ห้ ความหมายไว้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ Allen and Duch (1998 อ้ า งใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบใช้ 34
ปัญหาเป็นหลัก คือ การเรียนที่เริ่มต้นด้วยปัญหาการ สอบถาม หรื อ ปริ ศ นาที่ ผู ้ เ รี ย นต้ อ งการแก้ ป ั ญ หา เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนระบุและค้นคว้ามโนทัศน์และหลัก การทีพ่ วกเขาต้องการรูเ้ พือ่ ความก้าวหน้าโดยผ่านปัญหา ผู้เรียนทางานเป็นทีม การเรียนเล็กๆ ซึ่งเป็นการเรียน ทีไ่ ด้ทกั ษะต่างๆ เช่น การติดต่อสือ่ สารและการบูรณาการ ความรู้ และเป็นกระบวนการที่คล้ายกับการสืบเสาะ หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ทักษะการเรียนรู้
Howard (1999 อ้างใน อาภรณ์ แสงรัศมี, 2543 : 14) ให้ความหมายว่า การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการทางการศึกษาที่นาเสนอผู้เรียนด้วยปัญหา ที่มีรูปแบบของโครงสร้างที่ซับซ้อนในระยะเริ่มแรกของ ประสบการณ์การเรียน ข้อมูลทีไ่ ด้ในระยะเริม่ แรกไม่เพียง พอให้ แ ก้ ป ั ญ หา คาถามต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วกั บ ปั ญ หาจะ ผลักดันให้ไปทาการสืบเสาะหาความรู้
1. ประเมินตนเองและบ่งชี้ความต้องการได้
2. จัดระบบประเด็นการเรียนรู้ได้อย่างเที่ยงตรง
3. รู้จักเลือกและใช้แหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสม
4. เลื อ กกิ จ กรรมการศึ ก ษาที่ ต รงประเด็ น ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
5. บ่งชี้ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องได้ และคัดทิ้งได้อย่าง รวดเร็ว
6. ประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เชิงวิเคราะห์ได้
7. รู้จักขั้นตอนการประเมิน
ลักษณะโจทย์ปัญหาที่ดี
1. เรือ่ งจริงเกีย่ วข้องกับการท�ำงาน/ชีวติ ประจ�ำวัน
จากค�ำจ�ำกัดความดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การเรียน รู้ที่ใช้ปัญหาเป็นหลัก คือ การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ ผูเ้ รียนใฝ่หาความรูเ้ พือ่ แก้ไขปัญหา ได้คดิ เป็น ท�ำเป็น มี การตัดสินใจที่ดี และสามารถเรียนรู้การทางานเป็นทีม โดยเน้ น ให้ ผู ้ เรี ยนได้เกิด การเรีย นรู้ด ้วยตนเอง และ สามารถนาทักษะจากการเรียนมาช่วยแก้ปัญหาในชีวิต ประจาวันได้
2. ท้าทาย กระตุ้นความสนใจ อาจตื่นเต้นบ้าง
3. ได้ฝึกทักษะการตัดสินใจโดยข้อเท็จจริง ข้อมูลข่าวสาร ตรรกะ เหตุผล และตัง้ สมมติฐาน
ดังนัน้ จึงสรุปได้วา่ การเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นหลัก คือ วิธีการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาหรือสถานการณ์เป็น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการแสวงหาความรู ้ ซึ่ ง เป็ น การเรี ย น ที่พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทางานร่วมกันเป็นทีม
4. เชื่อมโยงความรู้เดิมกับข้อมูลใหม่ สอดคล้อง กับเนื้อหา/แนวคิดของหลักสูตร มีการสร้าง ความรู้ใหม่ บูรณาการระหว่างบทเรียน/สาขา น�ำไปประยุกต์ใช้ในการทางานได้
5. ปัญหาใหญ่ ซับซ้อนที่ก่อให้เกิดการท�ำงาน กลุ่มร่วมกัน มีการแบ่งงานกันทา โดย เชื่อมโยง กันไม่แยกส่วน ความซับซ้อน
ต้องเหมาะสม – กับเวลาที่ให้
ลักษณะเด่นของการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หาเป็นหลัก 1. ใช้ปัญหาแท้จริงเป็นตัวกระตุ้นการแก้ปัญหา และเป็นจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ 2. ยืดถือนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ 3. เน้นทักษะการคิด 4. เรียนโดยแบ่งเป็นกลุ่มย่อย 5. มีบูรณาการของเนื้อหาความรู้
ถ้าง่ายเกินไป – ไม่เกิดแรงจูงใจในการแสวงหา ความรู้ใหม่ แต่ถ้ายากไป – จะรู้สึกท้อแท้และเบื่อหน่าย 6. ชักจูงให้เกิดการอภิปรายได้กว้างขวาง 7. มีข้อความส�ำคัญ และให้ผู้เรียนสามารถไป ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ 8. ใช้สื่อหลากหลายรูปแบบในการเขียนปัญหา
แหล่งข้อมูล : http://www.afaps.ac.th/~edbsci/ 6. การเรียนโดยตนเอง (Self – directed learning) pdf/km/pys1_pbl001.pdf 35
การวางแผนภาษีอากรจ�ำเป็นจริงหรือ? อ.สุพิชา ศรีสุคนธ์
ภาษีเป็นเรื่องที่น้อยคนไม่รู้จัก ประชาชนอย่าง เราทุกคน คงรู้จักภาษีบุคคลธรรมดา และตราบใดที่ยัง มีการซื้อขายของกินของใช้ เครื่องอุปโภคบริโภค ภาษี มูลค่าเพิ่มแทรกแซงอยู่ในการซื้อขายภายในประเทศ นั้น ๆ ไม่ว่าผู้นั้นจะรู้จักภาษีหรือไม่ และไม่ว่าจะเป็น คนไทยหรือคนต่างชาติก็ตาม แล้วการวางแผนภาษี หมายถึงอะไร อีกทั้งวางแผนไปเพื่ออะไร เป็นการหลีก เลี่ยงภาษีหรือไม่ การศึกษาให้เข้าใจเรื่องภาษีเป็นเรื่อง ยากอยูแ่ ล้ว แต่การวางแผนภาษียงิ่ ยากกว่า แล้วยังเป็น สิ่งจ�ำเป็นที่สุดก่อนประกอบธุรกิจใด ๆ เสียด้วย เช่น การน�ำเข้ารถยนต์มาจ�ำหน่าย การเช่าร้านขายเสื้อผ้า การเข้ า มาถ่ า ยท� ำ ภาพยนตร์ การท� ำ อพารต์ เ ม้ น ต์ การประกอบกิ จ การศู น ย์ ส รรพสิ น ค้ า การรั บ เหมา ก่อสร้าง การซือ้ ขายภายในประเทศและระหว่างประเทศ เป็นต้น โดยการวางแผนภาษีทดี่ เี ป็นปัจจัยส�ำคัญในการ ประกอบธุรกิจ เนือ่ งจากมีผลเป็นการลดต้นทุนและเพิม่ กระแสเงินสด (Cash Flow) ให้แก่กิจการได้ ขณะที่ การวางแผนภาษีมิได้หมายความถึงการหนีภาษี หรือ การจัดท�ำบัญชีสองชุดเช่นแต่ก่อน แต่มุ่งถึงการวาง โครงสร้างทางธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษีอากร ซึ่งก่อให้เกิดปัจจัยที่เอื้ออ�ำนวยต่อการลงทุนโดยชอบ ด้วยกฎหมาย เช่น มีผลเป็นการยกเว้นหรือลดหย่อน ภาษีอากรหรือ หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า เป็นต้น
การวางแผนภาษีจำ� เป็นต้องพิจารณาผลกระทบและ ปัจจัยต่าง ๆ ในเรื่องของค�ำนิยาม เช่น เงินได้ ข้อยกเว้น ภาระภาษี การลดอัตราภาษี การหักค่าใช้จา่ ย การหักภาษี ณ ที่จ่าย อ�ำนาจการประเมิน การกระจายฐานภาษี การใช้ อนุสัญญาภาษีซ้อน และเกณฑ์การช�ำระภาษี ซึ่งรวมถึง เงิ น ได้ อั น พึ ง เสี ย ภาษี แ ละประโยชน์ อ ย่ า งอื่ น ที่ ได้ รั บ การวางแผนภาษีทสี่ ำ� คัญ คือ เงินได้ทเี่ กีย่ วข้องนัน้ คืออะไร ต้องเสียภาษีจริงหรือไม่ แม้เงินได้ที่ได้รับจะเป็นเงินได้ที่ ต้องเสียภาษีแต่ประมวลรัษฎากรและกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง อาจบัญญัติข้อยกเว้นเงินได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีอากรก็ได้ เกณฑ์การช�ำระภาษี กรณีบุคคลธรรมดา ผู้มีเงินได้มีหน้า ที่ช�ำระภาษีก็ต่อเมื่อได้รับเงินได้จริง มิใช่เพียงแค่มีสิทธิ ทีจ่ ะได้รบั เท่านัน้ เว้นแต่กฎหมายมีบทบัญญัตไิ ว้ ประเด็น ส�ำคัญของการวางแผนภาษีอีก ประการหนึ่ง คือ จุดที่ต้อง เสียภาษี (Taxing Point) หากสามารถชะลอให้ถงึ จุดทีต่ อ้ ง เสียภาษีชา้ ลงเท่าไร ก็จะชะลอการไหลออกของเงินได้มาก เท่านั้น ท�ำให้เงินทุนหมุนเวียนมีมากขึ้น กระแสเงินสด ก็มากสร้างความคล่องตัวในการด�ำเนินธุรกิจ โดยจุดของ การเสีย ภาษีประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ที่การ ยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ส่งมอบ ออกใบก�ำกับภาษี หรือ รับเงิน ขณะที่ภาษีธุรกิจเฉพาะ อยู่ที่วันลงบัญชีรายรับ ยกเว้ น ธุ ร กิ จ บางประเภท เช่ น ส� ำ นั ก งานกฎหมาย ส�ำนักงานบัญชี ธุรกิจรับจ้างบางชนิด ยอมให้ใช้เกณฑ์ เงินสด (Cash Basis) ส่วนภาษีสรรพสามิต เมื่อขนสินค้า ออก เช่น เคลือ่ นย้ายออกจากสถานทีผ่ ลิต ออกจากท่าเรือ เป็นต้น 36
การวางแผนภาษีมีผลต่อการประกอบธุรกิจ ยิ่งใน การประมู ล โครงการต่ า ง ๆ ยิ่ ง จ� ำ เป็ น อย่ า งมาก หากวางแผนภาษีได้ดีและรัดกุม ก็จะสามารถเสนอราคา ในการเข้ า ประมู ล โครงการได้ ใ นราคาต�่ ำ แต่ มี ก� ำ ไร และสามารถได้รับการคัดเลือกให้ด�ำเนินโครงการนั้นๆ และจะยิง่ ส�ำคัญกว่านัน้ คือ การวางแผนภาษีตอ้ งถูกต้อง แม่นย�ำด้วย ป้องกันผลเสียหายทีอ่ าจเกิดขึน้ การวางแผน ภาษีจึงหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่งในธุรกิจที่ประสบความส�ำเร็จ และ รุ่งเรือง
37
บทความจุลสารของคณะกรรมการนักศึกษาประจ�ำปี 2556 ประธาน นายสิงหา แก้วไซนาม ชื่อเล่นชื่อ เจ ชื่อจริง ชื่อ นายสิงหา แก้วไซนาม ปี 4 ประธานคณะการบัญชี คติประจ�ำใจ ไม่เก่งต้องขยัน ก็ยินดีต้อนรับน้องๆ นักศึกษาใหม่ คณะ การบัญชีทุกๆ คน ใน อีก 1 ปีการศึกษานี้ ผม ก็จะก�ำลังจะจบการ ศึกษาจาก คณะของเรา ผมก็อยากท�ำอะไรเพื่อคณะของ เรา เพื่อ น้อง ๆ ของ เรา ถึง แม้ว่า เราจะยังไม่เคยได้รู้จัก กัน แต่ผม ก็อยากบอกว่า ยินดีต้อนรับทุกๆคน ตลอดระยะเวลาที่ผมได้ศึกษาเล่าเรียนที่ นี่ มันท�ำให้ผมรู้สึก ประทับ ใจมาก ในปีการศึกษานี้ ก็จะมีนักศึกษาใหม่ เข้ามา พวกผม ก็ อยากบอก ว่า พวกเรารุ่นพี่ทุกๆคน อยากรู้จักน้อง มีอะไรให้ช่วยเหลือก็ บอกกันได้ เราคณะเดียวกัน มีกันแค่นี้ รักกันเข้าไว้นะครับ เรียนไม่รู้เรื่องอยากให้ติววิชาไหน ก็มาบอกกันได้ นะ ทาง facebook.com/jaykuhamak ส่งข้อความมาบอกได้เลยพี่ๆยินดีจะติวให้ สุดท้ายก็อยากจะ บอกว่า เรามารู้จักกันให้มากๆ นะ รองประธาน 4 ปี นายภัทธิยะ วันธงชัย ยินดีต้อนรับน้องๆทุกคนเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยนะครับ ด้วยประสบการณ์พี่แล้วปีหนึ่งเป็นจุดเปลี่ยนจุุดนึงของชีวิต เลยทีเดียว ถ้าเรายังคิดว่าเลื่อยๆไปวันๆพอน้องอยู่สักปีสามน้องๆจะรู้สึกเลยว่าเสียดายเวลาที่ผ่านไปมาก เพราะ ฉะนัน้ พีอ่ ยากให้นอ้ งๆตืน่ ตัวทีจ่ ะพัฒนาตัวเองอยูต่ ลอดเวลา ในคณะการบัญชีของพวกเรานัน้ อยูก่ นั ด้วยใจรักเหมือน ครอบครัวน้องมีปัญหาพี่ช่วยได้พี่ช่วย เราไม่ได้มีระบบโซตัสมาบังคับเพื่อให้ได้ซึ่งระบบ ระเบียบ แต่พวกเราจะอยู่ กันด้วยความจริงใจซึ่งกันและกันหากใครว่ามีที่ไหนความจริงใจ ไม่มีกฏไม่มีโซตัสไม่มีอะไรมาควบคุมใครจะมาฟัง ก็เพราะพวกพี่เชื่อในน้องๆ ความเชื่อใจในหมู่คณะที่ดีย่อมน�ำในสิ่งที่ดีกลับมาสู่กันและกัน จะปราศจากความสงสัย ความกังขา โดยไม่ต้องใช้ข้อบังคับใดแค่ใจเราถึงกันก็พอ เหรัญญิก นางสาว นภมณี สุขศรีงาม ขอต้อนรับน้องๆเข้าสู่คณะการบัญชี ณ ที่แห่งนี้ น้องๆจะได้รับความอบอุ่นจากความเป็นพี่น้องของเราชาว เลือดสีฟ้า แล้วพบกันนะคะ
38
เลขานุการ นางสาว สุภาพร บุตรพรม สวัสดีคะน้องๆปี 1 คณะการบัญชีทุกคนนะคะ ยินดีต้อนรับน้องๆเข้าสู่รั้วของเราชาวมธบ.แห่งนี้คะ พี่ก็ขอให้ น้องๆมีความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจกับการเรียนในคณะสาขาทีต่ นเองได้เลือกแล้ว จงใช้ระยะเวลาในรัว้ มหาวิทยาลัยแห่งนีอ้ ย่าง คุ้มค่า เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทั้งการเรียน การคบเพื่อนและกิจกรรมต่างๆที่ทางคณะได้จัดท�ำขึ้น เพราะจะเป็นสิ่งที่ ท�ำให้น้องๆได้เรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากต�ำราเรียนเพียงอย่างเดียว… แล้วเจอกันนะคะ ฝ่ายศิลปวัฒนธรรม นางสาว ทรรศมล โชคบุญเจริญ สวัสดีคะน้องๆปี1 ที่น่ารักทุกคน พี่ก็จะมาแนะน�ำการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของเรานะคะ ส�ำหรับน้องๆก็ เหมือนกับการเปิดโลกกว้างใบใหม่ ซึง่ ก็อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวกันอีกสักหน่อยทีส่ ำ� คัญน้องๆจะต้องมีความรับผิด ชอบเพิ่มมากขึ้นอีกด้วยเพราะการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยจะไม่เหมือนกับโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่น้องๆได้ ผ่านมา ทีม่ คี ณ ุ ครูคอยดูแล คอยจีอ้ ยูต่ ลอดเวลา เพราะเมือ่ เราก้าวเข้าสูร่ วั้ มหาวิทยาลัยแล้วก็ถอื ว่าเราโตขึน้ ในระดับ หนึ่ง ซึ่งจะเป็นประตูสู่โลกของการท�ำงานแล้ว น้องๆจึงจะต้องเรียนรู้ในการควบคุมตนเอง ฝึกให้มีความรับผิดชอบ มากขึ้น ซึ่งในการเรียนแต่ละวิชาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับจะไม่มีการประนีประนอม เราต้องเรียนใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้น เลย ช่วงที่ส�ำคัญที่สุดก็คือช่วงปี 1 ซึ่งเป็นปีที่น้องๆจะต้องปรับตัวกับอะไรหลายๆอย่าง ทั้งการใช้ชีวิต การเดินทาง เพือ่ นและทีส่ ำ� คัญ คือการเรียนทีแ่ ตกต่างกันออกไปตามสายของการท�ำงานทีเ่ ราเลือกในอนาคต สุดท้ายนี้ พีข่ อเป็น ก�ำลังใจให้นอ้ งๆมีความสุขกับการใช้ชวี ติ ในมหาวิทยาลัยมธบ. ของเราแห่งนีน้ ะคะ เราจะอยูก่ นั เหมือนพีเ่ หมือนน้อง คอยอยู่ข้างๆและให้ค�ำปรึกษาน้องๆเสมอคะ .. สู้ๆน้า ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 4 ปี นางสาว ชนากานต์ จันทร์น้อย ความส�ำเร็จย่อมเป็นของคนที่ใช้ความพยายาม.ถ้าไม่มอี ะไรเสียหาย แต่ได้ประโยชน์ทกุ ทางด้วยการใช้ความ พยายาม...ก็จงพยายามให้ถึงที่สุด
39
กิจกรรมคณะการบัญชี ในปีการศึกษา 2556 นี้ คณะการบัญชี ได้จัดกิจกรรมมากมาย และส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันระดับประเทศด้วย MOU การวางแผนภาษีอากรอย่างมืออาชีพ
คณะการบัญชีได้ร่วมมือกับสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรและส�ำนักงานบัญชีไทย ในการเซ็นสัญญาร่วมกัน ในการจัดโครงการอบรม “การวางแผนภาษีอากรอย่างมืออาชีพ” ในการร่วมมือพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทางวิชาการและทางวิชาชีพ ให้แก่ ผู้ที่ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการวางแผนภาษีธุรกิจ ความรู้ด้านบัญชี แม่บทการบัญชี มาตรฐานบัญชีและการวิเคราะห์รายการบัญชีทเี่ กีย่ วข้องกับธุรกิจเฉพาะประเภท และการวางระบบ โครงสร้างทางภาษีให้แก่ธุรกิจ วิธีการศึกษาประมวลรัษฎากรในมิติการเชื่อมโยงเพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาสู่ความรู้ ด้านบัญชีและด้านภาษีอากรทุกประเภท
40
การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการของ สสอท. ที่มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะการบัญชีได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันตอบปัญหา โดยมีมหาวิทยาลัยเอกชนได้ส่งนักศึกษาเข้าร่วม มากมาย หลายสถาบัน ผลการแข่งขัน คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้ที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งสร้างความ ภาคภูมิใจให้กับคณะการบัญชีและสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก กิจกรรมงานไหว้ครู
นักศึกษาเข้าร่วมพิธีงานวันไหว้ครูเป็นจ�ำนวนมาก
41
กิจกรรมงานแม่ดีเด่น
กิจกรรมงานวันวิสาสะ
คณะการบัญชีได้รับน้องใหม่โดยจัดกิจกรรมงานวิสาสะ เพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง และ ให้เกิดความผูกพันกันในกลุ่มเพื่อน
42
Word-Gorgeous อ.อรัญญา นาคหล่อ
AC News ฉบับนี้ขอน�ำเสนอศัพท์เทคนิคทางด้านภาษีที่นักบัญชีและบุคคลทั่วไปจ�ำเป็นต้องรู้ เนื่องด้วย ภาษีอากรเป็นเรื่องที่ผูกติดกับการด�ำเนินชีวิตของทุกคนอย่างแนบแน่นแยกกันแทบไม่ออกเลยทีเดียว ผู้เขียนจึง ขอน�ำเสนอ 10 ศัพท์ภาษีเด่นที่ไม่ควรพลาด พร้อมแล้วลุยกันเลย!!! 1. ภาษีศุลกากร R
S
2. รายได้ R
E
S
3. ภาษีทางตรง I
T
A
4. การหลบหนีภาษี X
E
S
O
5. การผลักภาระภาษี T
S
I
G
6. การวางแผนภาษี A
P
A
I
7. การหลบหลีกภาษี X
V
I
N
8. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย T
L
G
X
9. ภาษีมูลค่าเพิ่ม V
U
D
D
A
10. ภาษีเงินได้นิติบุคคล R
N 43
E
A
บทบรรณาธิการ สวัสดีนกั ศึกษาทุกคนค่ะ ฉบับนีเ้ รามีหวั ข้อเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ คือ “นักบัญชีกบั ความเชีย่ วชาญด้านภาษีอากรและIT” นักศึกษาของคณะการบัญชี ยุคนี้ต้องเตรียมพร้อมต่อ ASEAN มีทักษะหลายด้าน คือ ด้านภาษา ด้านวิชาการ และด้านเทคโนโลยี มนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย เพื่อที่อนาคตเราจะได้ไม่ตกงาน ปัจจุบนั ทางคณะการบัญชีเรามีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยัง้ ในการพัฒนาวิชาชีพต่อตลาดแรงงาน โดยเราสร้าง นักบัญชีที่ดีพร้อม ทั้งด้านคุณธรรม ความมีวินัย ความเข็มแข็งในวิชาชีพ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โปรแกรม ส�ำเร็จรูปทางการบัญชี และความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และเมื่อจะก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง เราต้องมีความเข้มแข็ง และมีศกั ยภาพ จะท�ำให้เราได้เปรียบและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงาน นักบัญชีตอ้ งมีความเชีย่ วชาญด้านภาษี อากรไม่ใช่แค่รู้ทฤษฎีในประมวลรัษฎากร แต่ต้องสามารถวางแผนภาษีอากรให้กับธุรกิจได้ และท�ำงานได้รวดเร็ว โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในระบบการท�ำงานให้มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ในเนื้อหาของ AC NEWS ฉบับที่ 1 ปี 56 จะน�ำเสนอหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชีกับความเชี่ยวชาญ ด้านภาษีอากรและ IT และสาระน่ารู้อื่นๆมากมายค่ะ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ
อาจารย์สุพิชา ศรีสุคนธ์
บรรณาธิการ
44
กองบรรณาธิการ อาจารย์สุพิชา
ศรีสุคนธ์
บรรณาธิการ
อาจารย์ธีระเดช
อังธีระปัญญา
ประชาสัมพันธ์
อาจารย์พรรณิภา
แจ้งสุวรรณ
กองบรรณาธิการ
อาจารย์เพ็ญธิดา
พงษ์ธานี
กองบรรณาธิการ
ดร.พัทธ์นันท์
เพชรเชิดชู
คณบดีคณะการบัญชี
อาจารย์วิศิษฎ์ศรี
จินตนา
ที่ปรึกษาคณะการบัญชี
ดร.ศิริเดช
ค�ำสุพรหม
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
อาจารย์นงนิภา
ตุลยานนท์
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
อาจารย์ธีระเดช
อังธีระปัญญา
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ดร.เอกพล
คงมา
ผู้อ�ำนวยการสถาบันพัฒนานักวิชาชีพบัญชี
คณะที่ปรึกษา
45