ปณิธาน ๓ ข้อ พุทธทาสภิกขุ
๑. ทุกคนพยายามเข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาของตน ๒. ทุกคนทำความเข้าใจหลักสำคัญระหว่างศาสนา ๓. ทุกคนเปลื้องต้นจากอำนาจของวัตถุนิยม
THREE RESOLUTION OF BUDDHADASA 1.That all people strive to realize the heart of their own religions. 2.That all people make mutual good understanding of essential principles among the religions. 3.That all people liberate themselves from the power of materialism.
คำนำ ผมเดินทางก้าวออกมาจากวิธีวิทยาที่โดนจำกัดกรอบให้เขียนให้เดินตามอย่างเด็ดขาดแล้ว จึงอาจเห็น รูปแบบของแผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์นี้ ไม่อยู่ในบรรทัดฐานของวิธีวิทยาและหลักการ แห่งสมัยนิยม เพราะหากเป็นเช่นนั้น ผมก็เป็นผู้อยู่ใต้อาณัติของระบบทุนนิยมประชาธิปไตยไปด้วย จึงใช้การจัดการปัญหาสร้างปัญญาแบบพุทธวิธีโดยสั่งสมจากการ ได้ยิน ได้เห็น จากการฟัง อ่าน มอง เป็น “สุตมยปัญญา” เอามาขบคิดวิเคราะห์ ตัดต่อ เคี่ยว เคี้ยว ย่อย กลืน และสำรอกออกมาเป็นสิ่งใหม่ ด้วยจินตนาการตนเอง เป็น “จินตามยปัญญา” ทัง้ มุง่ พุง่ ลงสูป่ ระเด็นการคำนึงอย่างลึกซึง้ ขจัดความหวาดขลาดกลัว ในการนึกคิดซึ่งผลประโยชน์ ซึ่งความพึงใจส่วนตน ซึ่งภยันตรายทั้งปวง จนพบเห็นด้วย “ภาวนามยปัญญา” ได้ความอันเป็น ความรู้ ความคิดทระนง ซึง่ เสมือนการปัน้ ของเดิมด้วยวิธใี หม่ เพือ่ ความรูใ้ หม่ หลุดจากความรูเ้ ดิม เพื่อให้พ้นจากกรอบกร่างในทฤษฎีทั้งหลายของวัตถุนิยม และด้วยการไตร่ตรองด้วยตนอย่างแยบคายแล้ว ด้วยการ “โยนิโสมนสิการ” พิมพ์เขียวปฏิรูปฉบับพระศรีอารย์นี้ จึงเป็นแบบแผนของเสรีชนที่หลุดพ้นภาวะพวก พรรค ภาค สี กลุม่ การเมือง อำนาจ ผลประโยชน์ และวิธวี ทิ ยาของวัตถุนยิ มแล้ว จึงว่างจากอวิชชา และเครือ่ งรบกวนทัง้ หลาย เป็นเครือ่ งมืออันประเสริฐทีจ่ ะใช้พฒ ั นาสังคมมนุษย์สยู่ คุ ปลายทางทีม่ นุษย์ควรจะไปถึงซึง่ ปรารถนาพระศรีอารย์ โดยไม่พักต้องสงสัยวกวนบนความเกรงอก เกรงใจ หรือหลงใหลในศาสตร์ลวงๆ ของทุนนิยมตะวันตก ที่สมคบคิดมาใส่ ด้วยการสมประโยชน์เป็นอามิสอีกต่อไป พิมพ์เขียวฉบับนี้ คงเป็นแผนปฏิรูปฉบับแรก ที่ปรากฏในบรรณพิภพของโลกใบนี้ เหมือนการเฉลย ลายแทงทีก่ ำหนดรายละเอียดวิถเี ดินทางไปสูส่ งั คมสงบงาม ณ ปลายทางสังคมพระศรีอารย์ ด้วยความมุง่ หมาย ให้มนุษย์รักกันเสมอเพื่อน มีต้นไม้และธรรมชาติเป็นทรัพย์อันประเสริฐห้อมล้อม และเกื้อกูลความผาสุก ให้มนุษย์อย่างยั่งยืน คณะผูจ้ ดั ทำไม่สงวนลิขสิทธิใ์ ดๆ ทีใ่ ครและใครจะขยายต่อ เพือ่ ให้ผมู้ อี ำนาจและมีปญ ั ญา ใช้ปฏิรปู ประเทศ เพื่อให้เพื่อนมนุษย์ เห็นภาพเป้าหมายสันติสุขในยุคที่น่าปรารถนา ต้องขอบคุณทุกคนในกลุม่ นวชีวนั กลุม่ นวกะ ชาวธนาคารต้นไม้ และมวลมิตรผูช้ ว่ ยเหลือเกือ้ กูล ค่าจัดทำ และขอบคุณทุกคนที่นำแนวทางอันประเสริฐนี้ไปบอกต่อ และใช้สร้างสันติสุขแก่สังคมมนุษย์ ด้วยจิตคารวะ พงศา ชูแนม ประธานกลุ่มนวชีวัน และประธานมูลนิธิธนาคารต้นไม้
กรกฎาคม ๒๕๕๗
สารบัญ คำนำ
๒
บทย่อเพื่อสร้างความเข้าใจ
๕
บทที่ ๑
๑๑
บทที่ ๒
๑๗
การกำหนดกรอบ กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอน และเป้าหมาย การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
แนวคิดการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามหลักศาสนาพระศรีอารย์
บทที่ ๓
๓๑
บทที่ ๔
๘๕
แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
บทสรุป แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก คณะผู้จัดทำกลุ่มนวชีวัน และคณะทำงานกลุ่มนวกะ
๙๓ ๙๕ ๙๘
“...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้น ก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนผืนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตัวเอง...”
- ๔ -
พระราชดำรัส ณ หน่วยพัฒนาต้นน้ำ ทุ่งจ๊อ จ.เชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๑๙
บทย่อเพื่อสร้างความเข้าใจ
กลุ่มนวชีวัน โดยพงศา ชูแนม และคณะจัดทำแผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ด้วยการ สร้างคำถามและค้นหาคำตอบที่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะไปถึง กล่าวคือ ตั้งคำถามว่าโลกปัจจุบัน พั ฒ นาสั ง คมมนุ ษ ย์ ด ้ ว ยความเชื ่ อ ทฤษฎี ใ คร มี เ ป้ า หมายอั น ใด และปลายทางจะไปที ่ ไ หน มี ต ั ว แบบ ณ จุดหมายปลายทาง หรือไม่อย่างไร ได้คำตอบชัดว่า โลกวันนี้พัฒนาสังคมมนุษย์ ด้วยทฤษฎีความเชื่อจากสำนักตะวันตก ด้วยอุปาทานหมู่ ใหม่ของโลก รวยคือถูก จนคือผิด หลงวัตถุนิยม หลงความเห็นแก่ตัว ทำให้สุดขั้วไปทางสุขสบายตนจนเกินเหตุ (กามสุขขัลลิกานุโยค) ด้วยการสะสมวัตถุทรัพย์เพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง แล้วขยายลัทธิวัตถุนิยม เป็นทุนนิยม สังคมนิยม ตลาดเสรี ฯลฯ ปลายทางจะพาสังคมมนุษย์เคลื่อนจากชนบท ทิ้งความล่มสลายของวิถีชีวิต ทักษะ ความเรียบง่ายสามัญ การพึง่ พิงกันและกันกับธรรมชาติไว้เบือ้ งหลัง ไปอยูต่ กึ สูงในเมืองใหญ่ ภายใต้การควบคุม จัดการของระบบทุนนิยมและอำนาจ โดยมีเส้นทางลำเลียงอาหาร พลังงานที่ดูดกลืนทรัพยากรจากท้องถิ่น ห่างไกล เข้ามาหล่อเลีย้ งอย่างฟุง้ เฟ้อ วุน่ วาย สัญชาตญาณความเห็นแก่ตวั ของมนุษย์ถกู ปลดปล่อยให้ผแู้ ข็งแรง เอาเปรียบผู้อ่อนแอโดยชอบ ประดุจเดรัจฉาน พร้อมกับการค้นคิดวิธีการอันใหม่หลากหลายพิสดารแยบยล เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างแย่งชิง ต่อสู้ เบียดเบียน เชื่อว่าเป็นเส้นทางการจัดการและพัฒนาสังคมมนุษย์ที่ผิด และขัดแย้งกับหลักการสำคัญของทุกศาสนา ที่กล่าวว่า ความเลวร้ายที่สุดของสังคมมนุษย์ คือ ความเห็นแก่ตัว และสิ่งที่ดีที่สุด คือ ความรักกันเสมอเพื่อน เมือ่ เห็นว่าเป็นความเชือ่ วิธกี าร เส้นทาง และเป้าหมายทีผ่ ดิ จึงสืบค้นหาความเชือ่ วิถเี ส้นทาง และเป้าหมาย ปลายทางใหม่ ที่มีตัวแบบ ณ ปลายทางแห่งสันติสุขตามหลักศาสนา พบว่า ทุกศาสนามีบริบทของแผนการ พัฒนาสังคมมนุษย์สู่จุดหมายปลายทางที่สมบูรณ์ มีตัวแบบไว้ให้มนุษย์เห็น กล่าวคือ พุทธศาสนา มีตัวแบบ ในสั ง คมศาสนาพระศรี อ ารยเมตไตรย หรื อ พระศรี อ ารย์ คริ สต์ ศ าสนา มี ตั ว แบบยุ คเมสิอ าร์ อิ ส ลาม มี ต ั ว แบบยุ ค ดารุสสลาม ซึ่งแปลความได้ตรงกันว่า หากมนุษย์เชื่อ ศรัทธา หลักการแห่งคำสอนด้วย - ๕ -
ปัญญาแล้ว ผลแห่งปลายทางพบกับยุคที่สังคมมนุษย์รักกันเสมอเพื่อน มีธรรมชาติเกื้อกูลความผาสุก ให้มวลมนุษย์ได้อย่างยั่งยืนเป็นหมื่นปี จึงจัดทำแผนปฏิรปู บนฐานความเชือ่ แผนการจัดการสังคมมนุษย์ของหลักศาสนาทัง้ หลาย เพือ่ ปลายทาง ให้สังคมมนุษย์หลุดจากความเห็นแก่ตัว สู่ความรักกันเสมอเพื่อน มีต้นไม้และธรรมชาติเป็นทรัพย์ เกื้อกูล ความผาสุกให้สังคมมนุษย์อย่างยั่งยืน โดยใช้พระศรีอารย์เป็นตัวแบบ กลุ่มนวชีวัน ใช้กรอบพุทธวิทยาเป็นวิธีวิทยาที่หลุดจากกรอบคิดตะวันตก มาใช้การจัดกรอบปัญหาที่มี การแยกแยะ (ภควา) เรื่องหลักบนโลกได้ ๓ ภาค ได้แก่ ภาคของมนุษย์ เรียกว่า ภาคสังคม ภาคของสภาพ สิ่งนอกเหนือจากมนุษย์ คือ ภาคสิ่งแวดล้อม และภาคของเครื่องมือสร้างความเป็นอยู่ระหว่างมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อมอย่างประเสริฐ เรียกว่า ภาคเศรษฐกิจ โดยใช้ภาคเศรษฐกิจหรือเครื่องมืออันประเสริฐ ดึงมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มาผสานกันอย่างลงตัวกลมกลืน ไม่เบียดเบียน คารวะกันเสมอเพื่อน กำหนดประเด็นปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมให้ได้ ประเด็นได้แก่ การเมืองการปกครอง ความเหลือ่ มล้ำทางสังคม ราชการ การศึกษา พลังงาน การเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปลูกต้นไม้ในที่ทำกินเพื่อให้เป็นทรัพย์ตามแนวคิดธนาคารต้นไม้ นำแต่ละประเด็นมาจัดการความรู้ตามกรอบอริยสัจสี่ ให้เห็นว่าแต่ละประเด็นปัญหา มีที่สิ่งที่ทนได้ยาก เป็น ทุกข์ เป็นปัญหาอย่างไร เหตุแห่งทุกข์ สมุทยั จากไหน เป้าหมายปลายทาง ภาวะพึงประสงค์ หรือความหลุดพ้น จากทุกข์ นิ โ รธ เป็นเช่นไร ด้วย มรรควิ ธี ใด มีแบบปฏิบัติอย่างไร ในแผนปฏิรูปจึงพบและนำเสนอ ประดุจพิมพ์เขียวย่อๆ ดังนี้
ภาคสังคม : ประเด็นปัญหาการเมือง การปกครอง ความทุกข์ ของประชาชน คือ ถูกเอาเปรียบด้วยระบบการเมือง และอำนาจการปกครองทีไ่ ม่เป็นธรรม เกิดความแตกแยกไร้ทางเลือก คอรัปชัน่ ฯลฯ มี เหตุแห่งทุกข์ สมุทยั จากระบบ การเลือกตั้งนักการเมืองที่เห็นแก่ตัว แก่พวกพ้อง รวบอำนาจสร้างนโยบาย สนองวัตถุนิยม ภาวะพึงประสงค์ หรือ นิโรธ คือ ความสามัคคีปรองดองให้สงั คมรักกัน มีการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนไม่ถกู เอาเปรียบ มี ร ะบบประชาธิ ป ไตยที ่ ม ี ศ ี ล ธรรมกำกั บ ด้ ว ย มรรควิ ธ ี สร้ า งกฎหมายเลื อ กตั ้ ง ที ่ เ ท่ า ทั น นั ก การเมื อ ง ขจัดระบบการเมือง ๒ ฝ่าย ควบคุมทุกระดับ ให้ประชาชนมีทางเลือกในการลงมติไม่เลือกผู้ใดในช่อง No Vote ถ้าความประสงค์ไม่เลือกผู้ใดมีชยั ชนะมีผลต้องให้ชอ่ งอื่นแพ้ และหมดสิทธิล์ งสมัคร ๕ ปี ตลอดจนสร้างค่านิยม ด้านศีลธรรมแก่ประชาชน และนักการเมือง ให้มีสภาคู่ คือ สภาจากการเลือกตั้ง และสภาแห่งศีลธรรม เรียกว่า สภาประชาธรรม กำกับทุกระดับสภา ขยายเขตการเลือกตั้ง ให้ใหญ่ขึ้นทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โดย ส.ว. ให้เป็นเขตกลุ่มจังหวัด ๑๐ เขตๆ ละ ๑๐ คน รวมถึงยกเลิกองค์การปกครองท้องถิ่นที่ไม่มีพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และนำไปสู่การใช้ศีลธรรมในการเมือง การปกครอง ตามแนวทางธรรมิกสังคมนิยม
- ๖ -
ประเด็นปัญหาราชการ ความทุกข์ ของประชาชนและราชการ คือ จำนวนข้าราชการมากเกิน ต้องเป็น ภาระการเก็บภาษีจากประชาชน ประชาชนถูกเอาเปรียบ และได้รบั การบริการไม่เท่าเทียม ฯลฯ เหตุแห่งปัญหา สมุทัย มาจากการขาดอุดมการณ์รับใช้ประชาชน ขาดหลักธรรมาภิบาลในราชการ การทุจริต การเอื้อ ประโยชน์พวกพ้อง และสนองนักการเมือง รวมศูนย์อำนาจ ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ คือ ข้าราชการมีอดุ มคติ สำนึกรับใช้ประชาชน จัดการองค์กรอย่างมีหลักธรรมาภิบาล แนวทางปฏิรูป มรรค ให้มีสภาศีลธรรมกำกับ การบริหารองค์กรเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน และราชการ สร้างระบบการตรวจสอบราชการที่มี มาตรฐาน ประชาชนมีส่วนร่วม ลดจำนวนข้าราชการให้น้อยลง สร้างอุดมการณ์รับใช้ประเทศชาติ ประชาชน ด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สร้างสภากำกับศีลธรรมไปทุกองค์กรราชการ สอดคล้องกับตัวอย่างในอดีต มีผู้ใหญ่บ้านบริหาร มีเจ้าอาวาสกำกับศีลธรรม มีกษัตริย์ มีสังฆราชกำกับศีลธรรม ประเด็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความทุกข์ คือ ภาวะแตกต่างรวย จน มีอำนาจ ไร้อำนาจ ความขาดแคลนคุณภาพชีวิตต่ำ และต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพิง ฯลฯ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย เกิดจากความ ไม่เท่าเทียมในการสะสมทรัพย์ ด้อยโอกาส และกฎทางสังคม สังคมขาดศีลธรรม หมกมุ่นในความเชื่อใหม่ รวยคือถูก จนคือผิด ประชาชนอยูใ่ นอบายมุข ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ สังคมมีความเท่าเทียมในการสะสม ทรัพย์ มีคุณภาพชีวิต พึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีสัมมาชีพ เป็นสังคมแห่งเมตตาธรรม ปราศจากอบายมุข ฯลฯ ด้วย มรรควิธี สร้างหลักประกันในรายได้ สัมมาชีพ คุณภาพชีวติ สร้างทางเลือกในการ สะสมทรัพย์จากคาร์บอนในต้นไม้ มีมาตรการปกป้อง คุ้มครอง และให้โอกาสคนอย่างเท่าเทียม ส่งเสริม และสร้างมาตรการสู่ภาวะเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มแข็ง ประเด็นปัญหาการศึกษา ความทุกข์ คือ โอกาสของการศึกษาไม่เท่าเทียม ค่าใช้จ่ายสูง การเรียนรู้ ที่ขาดหลักศีลธรรม สร้างภาวะเห็นแก่ตัว ด้อยคุณภาพทางปัญญา ฯลฯ เหตุแห่งปัญหา สมุทัย เกิดจาก สถาบันการศึกษาชั้นนำถูกจำกัดเฉพาะกลุ่ม การตั้งเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนองวัตถุนิยม มุ่งเน้นการแข่งขัน และส่งเสริมความเห็นแก่ตวั และอวิชชา ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ มีความเท่าเทียมในโอกาสของการศึกษา มีสวัสดิการตลอดชีวิต เรียนรู้ตัวอย่างที่มีจุดมุ่งหมายสู่สังคมศีลธรรม มีอุดมการณ์เพื่อผู้อื่น ผู้เรียนผู้สอน หลุดพ้นจากวัตถุนยิ ม โดย แนวทางมรรควิธี สร้างกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ให้ใช้รากเหง้า วิถวี ฒ ั นธรรม และสร้างอุดมการณ์ เพื่อความสงบสันติสุขด้วยปัญญา มีความมุ่งหมายการศึกษาที่ขจัดความเห็นแก่ตัว สร้างโอกาสอันเท่าเทียมเสมอภาคในการศึกษาของคนในชาติ
ภาคเศรษฐกิจ : ประเด็นปัญหาพลังงาน ความทุกข์ คือ ประชาชนรู้สึกได้ถึงการจัดการของรัฐ ที่ไม่เป็นธรรม ราคาแพง ไม่ ม ี พ ลั ง งานทางเลื อ กอื ่ น ที ่ ห ลากหลาย และมลพิ ษ จากใช้ พ ลั ง งาน ฯลฯ มี เหตุ แ ห่ ง ทุ ก ข์ สมุ ท ั ย จากการจัดการพลังงานทีเ่ ป็นการผูกขาด สร้างต้นทุนให้ราคาสูง ทัง้ การผลิต การนำเข้า ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ ประเทศต้ อ งมี พ ลั ง งานเพิ ่ ม อย่ า งหลากหลาย ราคาที ่ เ ป็ น ธรรม เมื ่ อ เที ย บกั บ รายได้ มี พ ลั ง งานพึ ่ ง ตน
- ๗ -
ด้วย มรรควิธี ลดการผูกขาดระบบบริหารจัดการพลังงาน สร้างมาตรการให้เกิดการสมดุล ระหว่างราคากับรายได้ จัดการสร้างความหลากหลายในการพึ่งตนด้านพลังงาน เช่น พลังงานจากชีวมวล จากวัสดุทางการเกษตร ต้นไม้ จัดการมลพิษ และการกักเก็บคาร์บอนจากต้นไม้ และพัฒนาระบบการจัดการสร้างระบบพลังงาน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ประเด็นปัญหาการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทุกข์ ของประชาชน คือ เกษตรกรถูกเอาเปรียบ มีหนี้สิน งานหนัก ค่าตอบแทนต่ำ ภาวะเจ็บป่วย ที่ดินถูกยึด ฯลฯ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย เกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ต้นทุนสูง ราคาผลผลิตไม่คุ้มทุน ขาดสมดุลนิเวศ เกิดภัยพิบัติ การจัดการแรงงานไม่เป็นธรรม รัฐไม่มีมาตรการ ปกป้องที่ดิน และอาชีพเกษตรกร ฯลฯ ภาวะพึงปรารถนา นิโรธ มีเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ เกิดสมดุล ในพื ้ น ที ่ เ กษตร ถื อ ครองที ่ ด ิ น ชอบด้ ว ยกฎหมาย มี ค วามเท่ า เที ย มในทรั พ ย์ ด ้ ว ยต้ น ไม้ เ ป็ น หลั ก ทรั พ ย์ มีคา่ ตอบแทนทีส่ มดุล พึง่ ตนเองได้ และสุขภาวะทีป่ ลอดภัย มรรควิธี สร้างสมดุลในพืน้ ทีเ่ กษตรด้วยป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ตามแนวพระราชดำริ สร้างหลักทรัพย์ให้เกษตรกรด้วยต้นไม้ สร้างมาตรการสูเ่ กษตรอินทรีย์ สร้างมาตรการรับรองพืน้ ทีท่ ำกินให้ได้รบั การคุม้ ครอง ขจัดระบบผูกขาดด้วยสหกรณ์ จัดการแรงงานอย่างสมดุล บนฐานวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ภาคสิ่งแวดล้อม : ประเด็นปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทุกข์ ของประชาชน คือ ภาวะภัยพิบัติ มีมลพิษรอบด้าน ขาดสมดุลนิเวศ ขาดแคลน และไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากร เหตุแห่งทุกข์ ขาดสมดุลนิเวศ ทุกระดับพื้นที่ และขาดการเข้าถึงทรัพยากร เนื่องจากจำนวนต้นไม้น้อย กฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการจัดการ และเข้าถึงทรัพยากรของประชาชน ขาดการมีส่วนร่วม ประชาชนสูญเสียที่ดินทำกิน จึงรุกทรัพย์ส่วนรวม และขาดจิตสำนึก รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทไ่ี ม่เหมาะสม เปลีย่ นแปลงธรรมชาติเกินขอบเขต ภาวะพึงปรารถนา นิโรธ มีความสมดุลนิเวศทุกพื้นที่ทั่วประเทศด้วยปริมาณต้นไม้ที่มากและยั่งยืน มีโอกาสทางกฎหมายในการ จัดการทรัพยากร ประชาชนมีจิตสำนึก และมีทรัพย์เกื้อกูลความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างพอดี มีการใช้ เทคโนโลยีทเ่ี คารพธรรมชาติตลอดจนภาวะทีป่ ราศจากมลพิษ มรรควิธี สร้างมาตรการเพือ่ สมดุลนิเวศทัง้ พืน้ ที่ เกษตรและพื้นที่อื่นๆ สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ โดยการรับรองต้นไม้ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์ และให้ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เกิดการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการ จัดการทรัพยากร สร้างมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ไม่ล่วงเกินธรรมชาติ ประเด็นปัญหาการปลูกต้นไม้ในที่ดินทำกินตามแนวทางธนาคารต้นไม้ ทุกข์ ของประชาชน คือ ประชาชนสูญเสียทีด่ นิ ทักษะชีวติ เกิดภาวะภัยพิบตั ิ ไม่มไี ม้ใช้สนองตามความต้องการ ถูกจำกัดสิทธิในการปลูก และจัดการผลผลิตไม้ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย การใช้ที่ดิน เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ ทำให้สูญเสียที่ดินไป การเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวทำให้ขาดสมดุลนิเวศ สู่ภาวะภัยพิบัติ มีอุปสรรคและข้อจำกัดในการปลูกและจัดการ - ๘ -
ปริศนาธรรมยุคพระศรีอารยเมตไตรย หมายถึง เมื่อเราพัฒนามนุษย์ด้วยการสอน ให้ต่อสู้ทางจริยธรรม ไม่สยบยอมต่อ ความไม่ถูกต้องเป็นธรรม มีความเพียร อย่างบริสุทธิ์และมีการให้โดยไม่หวังผล เราจะพบความรู้แจ้ง และสังคมมนุษย์จะพบ กับสังคมอุดมคติ บ้านเมืองจะมีต้นไม้ ห้อมล้อมทุกทิศทาง และต้นไม้เป็นทรัพย์จะ เกื้อกูลปัจจัยต่างๆ ให้มนุษย์อยู่ท่ามกลาง ต้นไม้อย่างศานติสุข
- 10 -
บทที่ ๑
การกำหนดกรอบ กระบวนการ วิธีการ ขั้นตอน และเป้าหมาย การจัดทำแผนการปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
แนวคิดทฤษฎี ความเชื่อ และวิธีการวางแผนจัดการสังคมในวันวานของอดีต เป็นการทำมนุษย์ให้เจริญ ขึ้น สูงขึ้นทางจิตใจ เกิดจากความเชื่อตามหลักศาสนา เสมือนอุปาทานหมู่ว่า การทำความดีเป็นเรื่องถูกต้อง การทำความชัว่ เป็นเรือ่ งผิด บาป อุปาทานหมูเ่ ช่นนีม้ ผี ลทำให้มนุษย์ไม่เบียดเบียนกันอย่างหยาบ เช่น การเข่นฆ่า ยิงฟัน และไม่เบียดเบียนอย่างละเอียด เช่น เอาเปรียบจากการสะสมส่วนเกิน จากการค้ากำไร ทำให้สงั คมมนุษย์ มีสุขสงบมายาวนาน เพราะความเชื่อและกฎเกณฑ์ได้บีบกดทำสัญชาตญาณ ความเห็นแก่ตัว ของมนุษย์ ให้น้อยลง แต่แล้วเมื่อสังคมมนุษย์เริ่มไม่แน่ใจในอุปาทานหมู่ว่า การทำความดีถูกจริงไหม ทำชั่วผิดจริงไหม ได้ปลดปล่อยสัญชาตญาณมนุษย์ให้เกิดความคิด ความเชือ่ ใหม่ บนอุปาทานหมูค่ รัง้ ใหม่ คือ รวยคือถูก จนคือผิด เปลีย่ นจากเดิม ดีคอื ถูก ชัว่ คือผิด มนุษย์แห่งยุคสมัยจึงแสวงหาและใช้ความชาญฉลาด ความแข็งแรง เอาเปรียบ เบียดเบียนเพือ่ การได้มาซึง่ วัตถุ และสะสมเพือ่ ความร่ำรวย เพราะความร่ำรวย คือ ถูกต้อง หลีกหนีความยากจน ซึ่งเสมือนความผิด บาป แต่ทว่าในสัจธรรมความจริง ทรัพยากรในโลกนี้มีเท่าเดิมอย่างจำกัด เมื่อผู้ฉลาดแข็งแรงเอาไปมาก ก็จะทำให้ผอู้ อ่ นแอ อ่อนด้อยกว่า เหลือน้อยจนขาดแคลนเป็นธรรมดา และนำไปสูภ่ าวะคับแค้น ลุกขึน้ สู้ แย่งชิง ทำลาย เข่นฆ่า
- ๑๑ -
มนุษย์จึงคิดค้นแบบแผน การจัดการสังคมมนุษย์ที่วุ่นวายจากความคับแค้น โกรธขึ้ง แย่งชิง ขาดแคลน เอาเปรียบ เข่นฆ่า ทำลาย ด้วยการสร้างลัทธิการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย สังคมนิยม ให้ความหวังว่ามนุษย์ จะเสรี และสงบสุข แต่ทุกลัทธิการปกครองล้วนเป็นการตอบสนองการสะสมซึ่งวัตถุ เป็นวัตถุนิยม ทุนนิยม ด้วยความเชื่อในอุปาทานหมู่ครั้งใหม่จากซีกโลกทางตะวันตก คือ รวยคือถูก จนคือผิด หากสังคมมนุษย์ยังตั้งเป้าหมายการจัดการสังคมมนุษย์สู่ปลายทางที่ผิด เหตุปัจจัยนั้นจะส่งผลให้ผิด อย่างต่อเนื่อง และไม่สิ้นสุด เพราะไม่ใช่ทางแห่งปัญญาแท้จริง กลุม่ นวชีวนั และธนาคารต้นไม้ จึงย้อนแย้งอุปาทานใหม่ ให้เห็นอันตราย และหันกลับไปหาอุปาทานหมูเ่ ก่า ดีคอื ถูก ชัว่ คือผิด โดยใช้กรอบแนวทางการค้นหาว่า ทุกข์ มาจากไหน แก้ดว้ ยมรรควิธสี ายกลางอันใด จึงหลุดพ้น ได้ ตามประเด็นความทุกข์ของสังคมมนุษย์ โดยจัดกรอบให้เป็นไปตามหลักอริยสัจสี่ ให้แก้ปัญหาได้ทั้ง ๓ ภาคความจริงของมนุษย์ และโลก ได้แก่
ภาคของคน หรือมนุษย์ เรียกว่า ภาคสังคม ภาคของสิ่งของนอกเหนือจากคน เรียกว่า ภาคสิ่งแวดล้อม และภาคที่สามเป็นเรื่อง เครื่องมืออันประเสริฐ ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ภาคเศรษฐกิจ
โดยได้ ก ำหนดวิ ธ ี ก ารให้ ห ยิ บ ประเด็ น ปั ญ หาของทุ ก ข์ ที ่ ห มายถึ ง ทนยาก สภาพที ่ ท นได้ ย าก รูส้ กึ ว่าต้องแบก ต้องหนัก ต้องทน และต้องทนความเสียดแทง ทนความเผาผลาญ ทนความหุม้ ห่อ ร้อยรัด พัวพัน ครอบงำ (ทุกข์ในอริยสัจ ; อ.พุทธทาส) มาจัดกรอบเข้ากับภาคใหญ่ สังคม เศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม แล้วแยกแยะ (ภควา) ให้เห็นประเด็นทุกข์ ว่ามีสาเหตุ (สมุทยั ) มาจากไหน เพือ่ ค้นหาว่าทำให้หลุดพ้นจากทุกข์ (นิโรธ) จะต้องใช้วธิ กี ารใด (มรรค) ในการแยกแยะ ได้ทำการศึกษา รับฟัง จากการประชุม เสวนา การรับฟังทางสื่อสังคมออนไลน์ และวิธกี ารอันหลากหลาย จนได้คำตอบจำนวนมากเพือ่ มาจัดเข้ากรอบ แล้วสังเคราะห์ดว้ ยการโยนิโสมนสิการ เพือ่ จัดทำเป็นบทสรุปในมรรควิธี ทีส่ ามารถนำไปปฏิบตั ิ เพือ่ ปฏิรปู ประเทศ โดยต้องตอบโจทย์ของพระศรีอารย์ว่า “มนุษย์ตอ้ งรักกันเสมอเพือ่ น มีตน้ กัลปพฤกษ์ ๔ มุมเมือง” แผนปฏิรปู นีไ้ ด้กำหนดกรอบ และส่วนประกอบอืน่ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการปฏิบัติ ความหวังผล กรอบเวลา และคณะผู้จัดทำ คณะผู้จัดทำ กลุ่มนวชีวัน ประกอบด้วยภาคประชาชนจากหลายจังหวัด และหลายอาชีพที่สนใจปัญหา บ้านเมือง และมูลนิธิธนาคารต้นไม้ มีนายพงศา ชูแนม เป็นประธานกลุ่ม
- ๑๒ -
วัตถุประสงค์ ของแผนปฏิรูปประเทศ พิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ๑. ให้มีแผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ที่เป็นไปตามหลักธรรมแห่งศาสนาในสภาปฏิรูป ที่ คสช. ตั้งขึ้น ๒. สร้างคนเท่าเทียมเป็นธรรม และความรักกันเสมอเพื่อนแก่สังคมมนุษย์ ๓. ให้สังคมสาธารณชนรับรู้ตัวแบบพัฒนาสังคมมนุษย์ตามหลักศาสนาพระศรีอารยเมตไตรย ๔. สร้างตัวแบบการนำพามนุษย์ให้หลุดพ้นจากวัตถุนิยม ๕. เสนอแผนปฏิรูปประเทศสู่สภาปฏิรูปแห่งชาติยุค คสช. เป้าหมาย ๑. เพื่อรวบรวมความคิดเห็นข้อเสนอ เรื่องราวปัญหาที่ปรากฏในสังคม จัดทำเป็นแผนปฏิรูป โดยใช้ กระบวนการจัดกรอบความรู้ตามหลักศาสนา คือ หลักอริยสัจสี่ ๒. การเดินหลุดออกจากวัตถุนิยม ตามตัวแบบทฤษฎีการพัฒนาของวัตถุนิยมแบบตะวันตก ๓. ทำตามปณิ ธ าน ๓ ข้ อ ของ อ.พุ ท ธทาส และสร้ า งตั ว แบบการพั ฒ นาสั ง คมมนุ ษ ย์ ต ามหลั ก ของศาสดาเอกของโลกทั้งหลาย คือ Model พระศรีอารยเมตไตรย หรือ เมสิอาร์ หรือ ดารุสสลาม เรียกว่า “แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์” วิธีการ ๑. กำหนดประเด็นสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ๒. รวบรวมความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มมอบหมายภาระหน้าที่ และกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ ๓. ออกแบบ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากสังคมทางสื่อออนไลน์ และศึกษาค้นคว้าแนวทาง การจัดการสังคมมนุษย์ตามหลักศาสนา ๔. จัดทำร่างแผนปฏิรูปโดยต้องอยู่ในกรอบหลักการแห่งอริยสัจสี่ เพื่อสู่ตัวแบบสังคมพระศรีอารย์ ให้ครอบคลุมประเด็นสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ๕. ตรวจสอบ และลงนามเห็นชอบ แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ๖. จัดพิมพ์จำนวน ๕,๐๐๐ -๑๐,๐๐๐ ชุด ๗. เสนอ คสช. ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณชนผู้สนใจ ๘. เสนอและรั บ ฟั ง ในสั ง คมออนไลน์ ตั ้ ง แต่ เ ริ ่ ม แนวคิ ด การรั บ ฟั ง ข้ อ เสนอจากเวที ช ุ ม นุ ม และทุกช่วงเวลาจัดทำแผน งบประมาณ ค่าจัดพิมพ์ และค่าดำเนินการประชุมจัดทำแผน ; บริจาคโดย กลุม่ นวชีวนั และบุคคลทัว่ ไป ๒๐๐,๐๐๐ บาท - ๑๓ -
ผลที่คาดหวัง ๑. ได้ส่งมอบให้ คสช. ๒. แกนนำกลุ่มได้เข้าร่วมในการปฏิรูปประเทศ ๓. แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ได้รับการนำไปผนวกกับแผนของสภาปฏิรูป ๔. เกิดตัวแบบการพัฒนาสังคมมนุษย์ ตามแนวพระศรีอารย์ ๕. ประชาชนทั่วไป และสาธารณชนได้ทราบแนวทาง ๖. ใช้ในการนำเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้; แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ๗. ปฏิทินการดำเนินงาน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม ๒๕๕๗
- ๑๔ -
- ๑๕ -
บทที่ ๒
แนวคิดการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามหลักศาสนาพระศรีอารย์
๑. ทำไม ต้องฉบับ พระศรีอารย์
ท่านพุทธทาสเคยกล่าวว่า ศาสนาพระศรีอารย์อยู่แค่ปลายจมูก คือ เห็นรำไร แต่เอามือคว้าถึงได้ ทั้งท่าน ได้ส่งมอบนัยแห่งพระศรีอารย์ไว้ในปณิธาน ๓ ข้อ ของพุทธทาสภิกขุ คือ หนึ่ง ทำความเข้าใจในศาสนาแห่งตน สอง ทำความเข้าใจในระหว่างศาสนา ซึ่งต่อไปจะกลายเป็นศาสนาเดียวกัน คือ ศาสนาพระศรีอารย์ และสาม จงหลุดพ้นเสียจากวัตถุนยิ ม; พระศรีอารย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย หมายถึง ยุคทีม่ นุษย์มคี วามรักกันเสมอเพือ่ น ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน หมายถึง รักผู้อื่นที่เป็นทั้งมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย การทำให้มนุษย์มีความรักกันเสมอเพื่อน สามารถทำได้เหมือนอยู่แค่ปลายจมูก เพียงแต่จะเริ่มลงมือทำ หรือไม่ในปณิธาน ๓ ข้อ โดยความหมายข้อ ๑ และข้อ ๒ หมายถึง ทำความเข้าใจ และเห็นคุณค่ารักกันเสมอเพือ่ น ความสามารถทำให้มนุษย์ไม่เบียดเบียนกัน ทุกศาสนาไม่ใช่ศัตรูกัน แต่ศัตรูร่วมของทุกศาสนา คือ วัตถุนิยม อันเป็นร่มใหญ่คลุมทั้งทุนนิยมและสังคมนิยม เพราะเป็นเรื่องการสอนให้เอาเปรียบ ใช้เสรีภาพของผู้แข็งแรง เอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อ่อนแอ เพื่อผู้แข็งแรงจะได้มาและสะสมไว้ซึ่งวัตถุทั้งหลาย จะทำให้มนุษย์ไร้ความรัก ความเมตตาต่อกัน ในปลายทางพระศรีอารย์ มีตน้ กัลปพฤกษ์ ๔ ต้น ทีม่ มุ บ้านเมือง ประชาชนไปสอยเอาทรัพย์จากต้นกัลปพฤกษ์ อย่างมีความผาสุก หมายถึง มนุษย์ต้องมีความรักผู้อื่น และสร้างต้นไม้อายุยืน ธรรมชาติยั่งยืน ห้อมล้อม ทุกทิศทาง และทำให้เป็นทรัพย์ หรือให้เป็นเครื่องมือในการเป็นอยู่กับมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม อย่างเกื้อกูล และผาสุก - ๑๗
หากถามว่ า โลกปั จ จุ บ ั น พั ฒ นาสั ง คมมนุ ษ ย์ ด้ ว ยทฤษฎี ข องใคร ไปสู ่ จ ุ ด หมายปลายทางที ่ ไ หน เราแทบหาคำตอบตรงๆ ไม่ได้ แต่อาจจับความพร่ามัวเอาไว้ได้ว่า เราพัฒนาสังคมมนุษย์ด้วยทฤษฎีตะวันตก เป็นทฤษฎีทุนนิยมและสังคมนิยม ซึ่งคือ วัตถุนิยมนั่นเอง เป้าหมายปลายทาง คือ แข่งแย่งกันสะสมวัตถุ สังคม การพึง่ ตนในสังคมชนบทล่มสลาย กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่ กระจายไปทัว่ โลกอยูต่ กึ สูง มีเส้นสายลำเลียง อาหาร พลังงาน ดูดกลืน จากชนบทมาหล่อเลี้ยง หากจะสร้างคำถามว่า วัตถุนยิ มนัน้ ถูกต้องหรือไม่ ในคำตอบนัน้ ถ้าเอาอิสรภาพพืน้ ฐาน เอาความเสรีภาพ ความเท่าเทียม สิทธิมนุษย์ การไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติมาวัด คำตอบวัตถุนิยม เป็นการจัดการ สังคมมนุษย์ที่ผิด เพราะระบบนี้มนุษย์จะถูกกระทำให้อยู่ภายใต้อำนาจ การพึ่งพา และถูกลิดรอนสิทธิ และอิสระพื้นฐาน คือ อาหาร และที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย และความเป็นอิสระของมนุษย์ ถ้าทฤษฎีการพัฒนาสังคมมนุษย์ สูว่ ตั ถุนยิ มผิด เรามีทฤษฎีหรือความเชือ่ หรือตัวแบบใด ในการจัดสังคม มนุษย์ที่ดีกว่านี้หรือ พบว่า ทุกศาสนาสอนตรงข้ามกับวัตถุนิยม และทุกศาสนามีแผนพัฒนาสังคมมนุษย์ เป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น พุทธศาสนา พัฒนาสู่ยุคพระศรีอารยเมตไตรย ศาสนาคริสต์ พัฒนาสู่ยุคเมสิอาร์ ศาสนาอิสลาม พัฒนาสู่ยุคดารุสสลาม คือ ทำให้มนุษย์รักกันเสมอเพื่อน ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และกับ สิ่งแวดล้อม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะวกวนไปใยกับทฤษฎีการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามวัตถุนิยม ที่ขยายลัทธิ เป็นประชาธิปไตย การค้าเสรี ทุนนิยมประชาชน สังคมนิยม ฯลฯ การตัดสินใจเลือกที่จะปฏิรูปประเทศ และสังคมมนุษย์โดยใช้พิมพ์เขียวปฏิรูปฉบับพระศรีอารย์ เป็นทางเลือกที่เดินตามหลักของทุกศาสนา และมีเป้าหมายสู่สังคม สงบ สันติสุขตามตัวแบบที่ทุกศาสนาล้วนกำหนดและออกแบบไว้ จึงมิต้องลังเลสงสัย หวาดหวั่น เพราะมันคือ ความถูกต้องที่เป็นสัจจะทฤษฎี แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ จึงเป็น คำตอบสุดท้ายคำตอบเดียวที่จะพามนุษยชาติรอดพ้นวัตถุนิยม สู่ภาวะสงบ สันติสุข และเป็นความเชื่อ บนความศรัทธาอันไตร่ตรองด้วยปัญญาแล้ว
เราขาดคำถามว่า...เราได้มาก ใครเหลือน้อย เราได้เปรียบ ใครเสียเปรียบ เรากำไร ใครขาดทุน
- ๑๘ -
๒. การดำรงอยู่ของปัญหา และเหตุปัจจัย แห่งมัน
เมือ่ ความหมกมุน่ ตามสัญชาตญาณเสรีของมนุษย์เป็นเหตุปจั จัยในการลงมือ ลงแรง และการคิดค้นสารพัด วิธีอันเฉลียวฉลาด เพื่อเพิ่มซึ่งวัตถุให้ได้มาเป็นของตนมากขึ้นจนไร้ปลายทางที่สิ้นสุด จุดความพอถูกขยาย ต่อไปไม่จำกัด เสรีภาพแห่งสัญชาตญาณ การสะสม คือ ความโลภคงโถมเข้ามาเกาะกุมชีวิตจิตใจจนเป็น ความเชื่อ เป็นอุดมการณ์ร่วมสมัยของพวกโลภ ทำให้มนุษย์ทั้งโลก เชื่อตรงข้ามกับที่ศาสนาสอนให้สันโดษ จากทรัพย์ คือ การไม่สะสมทรัพย์ กลายเป็นเชื่อว่าการสะสมทรัพย์ไว้มากจะมั่นคง ใครสะสมมากมั่นคงมาก ขยายเป็นลัทธิวัตถุนิยมอย่างถ้วนหน้า โดยขาดการตั้งคำถามว่า เราสะสมไว้มากแล้ว ผู้อื่นจะไม่เหลือน้อยหรือ แต่ความเชื่อที่ถูกกระแสสมคบคิด ทำให้คนมืดบอดบางประการ ได้บีบคั้น ทำลายความเชื่อในคำสอนที่สร้าง อุปาทานหมู่ของทุกศาสนา ที่เคยสร้างว่า ความดี คือ ความถูกต้อง ความชั่วร้าย คือ ความผิด เปลี่ยนมาเป็น ความรวย คือ ความถูกต้อง ความยากจน คือ ความผิด ไม่สนใจว่าความร่ำรวยมาจากความชั่วปานใด หากมนุษย์ขาดการตัง้ คำถาม และไม่ใส่ใจว่าเราได้มาก แล้วใครจะเหลือน้อย เรากำไร แล้วใครจะขาดทุน พาลพาให้คดิ และเชือ่ ว่ามันเป็นสัจจะทฤษฎี สนับสนุนแนวคิด การเติบโตการพัฒนาการทางสังคมมนุษย์ เหมือนทฤษฎีววิ ฒ ั นาการของสัตว์ทว่ั ไปที่ ชาร์ล ดารวิน กล่าวว่า สัตว์ตวั ทีอ่ อ่ นแอจะต้องตายและสูญพันธุไ์ ป เหลือแต่ตวั แข็งแรงทีถ่ กู คัดเลือกแล้ว คนแข็งแรงสะสมมาก จึงถูกต้อง ควรดำรงอยู่ คนอ่อนแอไร้ทรัพย์ ยากจน จึงผิด ควรจะสูญพันธุ์ไป เมือ่ มนุษย์มดื บอดอีกด้าน ก็จะเห็นชัดและเชือ่ อีกด้าน จนเป็นกระสวนพฤติกรรมของคนทัง้ โลกทีข่ บั เคลือ่ น ไปทั้งองคาพยพ คนที่เฉลียวฉลาดกว่า ก็คัดค้นวิธีการอันพิสดารขึ้นไปอีกให้ทุกคนผูกชีวิต และเสพติดกับลัทธิ วัตถุนยิ ม ซึง่ จะต้องอยูภ่ ายใต้การพึง่ พิงของทุน และระบบทุน จนกลายเป็นระบบทุนนิยม; “ทุนนิยมได้เอาชนะ ระบบคอมมิวนิสต์ (๑๙๘๐) และอีกทศวรรษต่อมาก็เอาชนะประชาธิปไตย และระบบเศรษฐกิจแบบตลาด จนตื่นขึ้นมาเห็นว่า ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้น ประชาธิปไตยมีไว้ขายให้ผู้ประมูลที่เสนอราคาสูงสุด และตลาดถู ก วางแผนมาอย่ า งรวมศู น ย์ โดยบรรดาบรรษั ท ใหญ่ ร ะดั บ โลกที ่ ใ หญ่ ก ว่ า รัฐทั้งหลายโดยส่วนมาก” ระบบการเมืองผูกขาด วิธีตัวเองเอาแบบบรรษัททั้งหลาย การดำรงอยู่ของทุนนิยม จึงผสานอย่างเข้มข้นไปในระบบการปกครองรูปแบบประชาธิปไตยเสรีจนเป็นเนือ้ เดียว เป็นวาทกรรมของ เดวิด ซี คอร์เท็น ในหนังสือ เรื่อง ชีวิตหลังทุนนิยม โลกหลังยุคบรรษัท (The Post-Corporate World By David C. Korten) ทั้งโลกจึงดำรงอยู่ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยทุนนิยม หรือสังคมวัตถุนิยม ที่อำนาจ การปกครองประมูลซื้อขายแก่ผู้ที่ให้ราคาน่าพอใจแก่ผู้ใต้การปกครอง เป็นทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกฝังลงใน กระบวนการเรียน การศึกษา ทำให้ผู้ศึกษา ผู้ให้การศึกษา รวมถึงบริบทสังคมคล้อยเชื่อ ทำตาม ราวสะกดจิต ให้อยู่ในภวังค์นั้น ปลายทางของทฤษฎีสมคบคิด คือ ทฤษฎีสมประโยชน์ที่ตอบสนองความต้องการตามสัญชาตญาณ ของมนุษย์ เมื่อได้ประโยชน์สมหวังตั้งใจเพื่อครอบครองวัตถุ ทรัพย์ ไว้เพื่อความมั่นคง จึงยืนหยัดต่อสู้ป้องกัน - ๑๙ -
รักษาไว้ซึ่งระบอบทุนนิยมนี้ โดยไม่ใส่ใจว่า การได้มามากซึ่งทรัพย์ของเราจะเชือดเฉือนทำร้ายทำลายใครบ้าง ตถาคตตรัสว่า ผลย่อมมาจากเหตุเสมอ เหตุเป็นปัจจัยแห่งผล ตามหลักอิทัปปัจจยตา เพราะมันมีสิ่ง ที่เป็นเหตุ จึงเกิดสิ่งนั้นเป็นผลตามมาเป็นสัจธรรมแท้ สัญชาตญาณเสรีของมนุษย์ คือ ความโลภเป็นเบื้องต้น มากระตุ้นส่งเสริมจนเป็นสัญชาตญาณ แห่งพฤติกรรม และอาจถึงขั้นเปลี่ยน DNA ให้เกิดสัญชาตญาณชีวิตคิดคำนึงในการสะสมเอาความโลภ ถ่ายทอดส่งต่อในสายพันธุกรรม เมือ่ ความโลภของมนุษย์ถกู พัฒนาให้กลายเป็นเรือ่ งถูกต้องตามอุปาทานหมูใ่ หม่ทางโลก รวยคือถูก จนคือผิด จึงมีระบบคิดทฤษฎีเพิ่มความโลภ ด้วยอำนาจ และอารมณ์ คือ สัญชาตญาณของความโกรธ อำนาจ อารมณ์ และการปกครอง จึงเป็นโทสะ คือ พลังความโกรธที่ยิ่งใหญ่ ในการผลักไสผู้ต่อต้านให้เป็นศัตรู หรือเป็นเหยื่อ หรือเป็นเครื่องมือแสวงหาความโลภให้แก่ตน พัฒนาการสัญชาตญาณจากความโลภ จึงเป็นการสร้างอำนาจ จนกลายเป็นการหลงในอวิชชา สร้างสัญชาตญาณใหม่ให้แก่ชีวิต ต้องแสวงหาให้มีอำนาจในการปกครอง จัดการเพือ่ สนองความโลภในการสะสมทรัพย์ของตนอย่างไม่มที ส่ี น้ิ สุด เมือ่ ใครขัดขวางก็ใช้อำนาจ และความโกรธ จัดการให้พ่ายแพ้ พังภินท์ หรือให้ตกในภาวการณ์จำยอม สยบยอมต่ออำนาจนั้น การดำรงอยู่ในกระบวนการนี้ ผสานเป็นเนื้อเดียวกับการปกครองระบบประชาธิปไตยเสรีทุนนิยม สังคมวัตถุนิยม ครอบครองโลกแห่งความเป็นจริง ทั้งโลกวัตถุและโลกทัศน์ ตามอุปาทานหมู่ใหม่ รวยคือถูก จนคือผิดโดยดุษฎี การเติบโตมัน่ คงทางเศรษฐกิจด้วยอำนาจทุนนิยมเช่นนี้ ได้ทำร้าย ทำลายทรัพยากรธรรมชาติสง่ิ แวดล้อม ให้ย่อยยับ และทำลายวิถีชีวิต ความเชื่อในความเรียบง่ายสามัญ และคุณค่าชีวิตที่สงบ สันติสุข มันได้เปลี่ยน มนุษย์ไปอย่างกู่ไม่กลับแล้ว
แผนภูมิที่ ๑ พัฒนาการความโลภ สู่อำนาจ และหลงผิดในอวิชชาทุนนิยม โลภ
สัญชาตญาณ
เสรีภาพ
โกรธ
วัตถุนิยม
สมคบคิด
หลง
สัญชาตญาณ
- ๒๐ -
ประชาธิปไตย/ ทุนเสรี/ อุปทานใหม่หมู่ “รวยคือถูก จนคือผิด”
วิธีการอันเฉลียวฉลาด
อำนาจ
ได้มาซึ่งวัตถุ
ผลประโยชน์
ความมั่งคั่งของกลุ่มพวก ระบบบรรษัท และกลุ่มการเมือง
วัตถุนิยม
สมประโยชน์
อวิชชา
ทุนนิยม
ล่มสลายของวิถีชนบท ศีลธรรม สิ่งแวดล้อม
๓. ปลายทางการล่มสลายของสังคมมนุษย์ สู่ยุคอุตสาหกรรม สัตว์ชั้นสูง
เมื่อระบบทุนนิยมยึดอำนาจ ซึ่งหมายถึง ยึดเอาทุกสิ่งทุกอย่าง การซื้อขาย หรือประมูลอำนาจในการ จัดการ เช่น ใช้อำนาจเงินเข้าปกครองประเทศ แล้ววางกฎเกณฑ์ให้เกิดประโยชน์กลุ่มพวกตนเอาเปรียบ กลุ่มพวกผู้อื่น ระบบทุนจะยึดเอาทุกสิ่ง ตั้งแต่ทรัพยากรบนดิน ใต้ดิน ในทะเล ใต้มหาสมุทร บนท้องฟ้า และคลื่นสัญญาณในอวกาศ รวมถึงทักษะ ความสามารถ แรงงาน ที่ดิน ผลผลิต ปัจจัยการผลิต พลังงาน น้ำ ป่า ฯลฯ หรือแม้นแต่เส้นเสียงและจังหวะดนตรี เมื่อกลุ่มทุนได้มาซึ่งทุกอย่างด้วยอำนาจ ผ่านการเงิน สู่การครอบครอง จึงสร้างกระบวนการจัดการ สังคมมนุษย์ในรูปแบบที่เขาต้องการ ให้ทุกคนต้องซื้อ ต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่จัดสร้าง และต้องทำงานหนัก เพื่อกระตุ้นการใช้ทรัพยากรที่เป็นสินค้า อันจะทำให้ระบบทุนเกิดกำไรสูงสุด แล้วสะสมใช้ไปเพิ่มอำนาจ หรือสร้างอำนาจต่อรองกับดินแดนอื่น กลุ่มอื่น ที่มีระดับเดียวกันในโลกกว้าง มนุษย์จึงเป็นเสมือนลูกจ้างของ ระบบอุตสาหกรรมชีวิต โดยที่โลกเป็นโรงงาน วิถีชีวิตที่ถูกจัดระบบ คือ สายพานการผลิตที่หยุดนิ่งไม่ได้ เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสัตว์ชั้นสูงเป็นวัตถุดิบ แม้นจะไม่เอาเลือด เนื้อ กระดูก บดย่อยเป็นผลผลิตก็ตาม แต่กเ็ ป็นส่วนหนึง่ ของการผลิตสินค้าจากโรงงานเพือ่ แสวงหากำไร ตามทางของระบบทุน อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และยากเกินที่จะต้านทาน หยุดยั้ง การเป็นปัจเจกชน เสรีชน ความเชื่อศรัทธาในคุณค่าชีวิตที่สงบ สันติสุข จะถูกละเมิด และกลืนหายไป คุณค่ามนุษย์จึงปราศจากความหมายใดๆ แห่งความเสรีที่จะบอกว่าเกิดมาเพื่อค้นหาปลายทางอันหลุดพ้น จากสภาวะโลกียะ กลับกลายมาเป็นเพียงสัตว์ตัวหนึ่งที่ถูกกำหนดชะตาชีวิตไว้พร้อมเสร็จ ดำรงอยู่และตายไป อย่างไม่ได้สืบค้นหาปลายทางที่ควรจะเป็น ปลายทางที่ท้าทายของสังคมมนุษย์
๔. ข้อสงสัยแห่งความเป็นมนุษย์
• สิ่งที่ทำให้มนุษย์สงสัย คืออะไร หายไปไหนหมดแล้วหรือ • มนุษย์เกิดมาเพื่ออะไร หรือแค่กิน ขับถ่าย สืบพันธุ์ ตายไปแบบสัตว์เท่านั้นหรือ • เราอยู่ภายใต้การควบคุมของธรรมชาติ ของสัญชาตญาณ หรือของใคร • การจัดการสังคมมนุษย์ ปัจจุบันเป็นศาสตร์ หรือทฤษฎีใคร ปลายทางไปถึงไหน อย่างไร • ชีวิต และวิถีมนุษย์ควรจะเป็นเช่นไร • ความเป็นธรรม ที่ควรแสวงหา คืออะไร • ความสุขแท้ที่ควรแสวงหา คือ คุณค่าความหมายของมนุษย์ใช่ไหม • ปลายทางของมนุษยชาติ ควรจะไปสู่จุดหมายอันใด • เรามีศาสนาไว้เพื่ออะไร ทำไมหลายพันปี จึงยังมีคนเชื่อศรัทธา • จุดร่วมของทุกศาสนา คืออะไร จะไปถึงไหม และอะไร คือ ศัตรูร่วม • ยุคต่างๆ เช่น พระศรีอารยเมตไตรย เมสิอาร์ ดารุสสลาม คืออะไร จริงไหม - ๒๑ -
๕. ปลายทางที่ควรไปให้ถึง
อ.พุทธทาส เคยกล่าวว่า “ความเอร็ดอร่อยจากการเสพกาม คือ ค่ารางวัลในการดำรงเผ่าพันธุข์ องมนุษย์” เพื่อสืบทอดให้มนุษย์รุ่นต่อไปได้เข้าถึงภาวะธรรม แม้นรุ่นนี้อาจจะตายไปโดยไม่เข้าใจ หมายถึง มนุษย์ควรมี จุดมุ่งหมายให้ถึงสภาวธรรมสักรุ่นหนึ่ง ถ้ามีความเฉลียวฉลาดพอ ทำไมคนสมัยโบราณจึงกล้าที่จะมีเป้าหมายชีวิต ในการกำหนดภพหน้าให้เกิดมาในศาสนาพระศรีอารย์ คนยุคปัจจุบันอาจคิดว่าเป็นความงมงายโง่เขลาตื้นเขินที่หวังเช่นนั้น แต่เราก็ยังเห็นความฝันของคนสมัยก่อน ว่า ปลายทางชีวิตมีจุดหมาย ณ จุดหนึ่งจุดใด แต่คนแห่งยุคสมัยแทบจะไม่มีจุดหมายปลายทางของชีวิตว่า จะไปให้ถึงจุดหมายใด คงเกิดมาใช้ชีวิต และตายไปไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ควรมีปลายทางชีวิตที่ สงบ สันติสุข และควรมีช่วงชีวิตที่เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เพียงแค่สันติสุข ตอนใกล้ตาย ความสงบสันติสขุ ของมนุษย์คอื อะไร ถ้าไม่ใช่การมีชวี ติ ทีเ่ สรี เรียบง่าย สามัญ ด้วยหลักธรรมนูญชีวติ พรหมจรรย์ คฤหัสถ์ วนปรัช สันยาสี พรหมจรรย์ คือ คฤหัสถ์ คือ วนปรัช คือ สันยาสี คือ
ชีวิตที่บริสุทธิ์เสรี ไม่ยึดติดทั้งปวง การครองเรือนหรืออยู่ร่วมพวกกลุ่ม สงบร่มเย็นเสมอเพื่อน มีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขภาวะที่ธรรมชาติเกื้อกูลชีวิต การได้ค้นหาความสวย ความงาม ศิลปะ ดนตรี การพักผ่อน หรือการเดินทางค้นหาจังหวะ ความหมายของชีวิตอย่างเสรีชน การได้เดินทาง เพื่อเห็น ได้ยิน ยกระดับจิตตัวเองและผู้อื่น
การวางหมุดจุดหมายปลายทางไว้ที่ศาสนาพระศรีอารย์ และการไขว่คว้าศาสนาพระศรีอารย์ของมนุษย์ จึ ง เป็ น อุ ด มการณ์ ข องมนุ ษ ย์ ท ี ่ จ ะอยู ่ ร ่ ว มกั บ เพื ่ อ นมนุ ษ ย์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งสงบ สั น ติ ส ุ ข ถ้าศาสนาของพระศรีอารย์ เป็นปริศนาธรรม หมายถึง สภาวะทีม่ นุษย์อยูร่ ว่ มกันด้วยความรัก เมตตา ต่อกัน เสมอเพือ่ น ไม่ให้นำ้ หนักความสำคัญใครมากกว่าใคร คือ เท่าเทียมกันระหว่างตนกับผูอ้ น่ ื ทุกๆ คน สภาวะทีช่ มุ ชน บ้านเมืองมนุษย์ถกู ห้อมล้อมด้วยธรรมชาติทส่ี มบูรณ์ยง่ั ยืน มีตน้ ไม้ทอ่ี ายุยนื ห้อมล้อม เกือ้ กูลความผาสุก ให้กับชีวิต และสังคมมนุษย์อย่างยั่งยืน จึงน่าจะเป็นปลายทางที่ควรจะหวัง และสร้างให้เป็นจริงได้ ในช่วงที่ยังมีชีวิต และหากทำได้ นั่นหมายถึง เราได้คว้าเอาพระศรีอารย์มาอยู่ใกล้ และนำพาตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้น คือ ภาวะที่มนุษย์อยู่ร่วมกับมนุษย์ อย่างมีความสงบ สันติสขุ คือ ภาวะทีม่ นุษย์อยูร่ ว่ มกับธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม อย่างมีความสงบงาม เป็นมรรคผล หรือปฏิเวธของการดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา
- ๒๒ -
๖. แผนการจัดสังคมมนุษย์ของศาสดาเอกทั้งหลาย
เป็นความสงสัยมายาวนาน และยากที่จะหาคำตอบให้สิ้นสงสัยได้กับคำถาม • ทำไมปลายทางชีวิตต้องถึงศาสนาพระศรีอารย์? และคำถามตามมา คือ ถ้าไม่ถึงจุดหมายนั้น • เราเกิดมาเพื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง ณ ที่ใด? ตามมาด้วยคำถามว่า • เราจะพัฒนาสังคมมนุษย์ให้ถึงปลายทาง ณ จุดไหน? จึงเลยเถิดเกิดความสงสัยหนักขึ้นว่า • แล้ววันนีเ้ ราพัฒนาสังคมมนุษย์ กับความเชือ่ ทฤษฎีของใคร? และจะถึงจุดหมายปลายทางแบบไหน? หลังจากสืบค้นด้วยพุทธวิธวี ทิ ยา ในกระบวนการศึกษาเรียนรูอ้ ย่างเต็มกำลัง และเกิดอาการโยนิโสมนสิการ หรือการไตร่ตรองด้วยตนเองอย่างแยบคาย ซึ่งอาจดูเป็นอหังการ์ที่ถึงกับใช้การศึกษาเรียนรู้แบบพระพุทธเจ้า มาค้นหาปัญญามาตอบ และพบว่าวันนีโ้ ลกมนุษย์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทนุ นิยมเสรีจากตะวันตก ในการพัฒนา สังคมมนุษย์ให้เข้าสูเ่ ป้าหมาย ปลายทางทีม่ นุษย์จะต้องพึง่ พาระบบทีถ่ กู วางกับดักไว้ของระบบทุน มนุษย์จงึ ถูก ต้อนให้เคลื่อนไหลเข้าอยู่ร่วมกันในเมืองใหญ่ มีอาหาร พลังงานมาป้อน ละทิ้งชนบทให้เป็นพื้นที่ผลิตอาหาร พลังงานอันกว้างใหญ่ของเจ้าของรายใหญ่ แต่ชนบทล่มสลาย การอยูแ่ บบแอบอิงพึง่ พิงธรรมชาติกลายเป็นอดีต ไม่เชือ่ ว่าแนวทางการพัฒนาสังคมมนุษย์แบบนีเ้ ป็นเรือ่ งถูกต้อง เพราะ ประการแรก ไม่มคี ำยืนยันว่าแนวทางนี้ จะพาให้มนุษย์พบกับความสุขแท้ตามหลักศาสนาใดๆ เลย ประการที่สอง ทำให้มนุษย์ห่างไกลจากการ อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสันติสุขสวยงาม เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่เป็นสัจจะแห่งมัน จึงลองสืบค้นว่า แล้วศาสดาทั้ง พุทธ คริสต์ อิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาใหญ่ของโลก ทั้ง ๓ ท่าน ที่สอนคน ให้เชื่อมายาวนานนั้น ไม่ว่า พระพุทธเจ้า พระเยซูคริสต์ ท่านนบีมูฮัมหมัด ได้วางแผนหรือบัญญัติหลักการ ในการจัดการสังคมมนุษย์ไว้หรือไม่อย่างไร และกำหนดจุดหมายปลายทางไว้ ณ จุดใด พบว่า ศาสนาพุทธบัญญัติไว้ในพุทธวจนะ ในไตรปิฎก และในพุทธตำนาน ตลอดจนในลายแทง หาขุมทรัพย์ปริศนาธรรมชาดกนัน้ หากมนุษย์เพียรปฏิบตั ติ ามคำสอนแล้วจะเข้าสูป่ ลายทางศาสนาพระศรีอารย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย
ศาสนาคริสต์ บัญญัติ และสร้างเป้าหมายไว้ที่ปลายทางยุคเมสิอาร์ หรือ ยูโทเปีย ศาสนาอิสลาม บัญญัติ เป้าหมายไว้ที่ยุคสิ้นโลก ถ้าไม่ปฏิบัติตาม และยุคดารุสสลาม ถ้าปฏิบัติตาม
ถามว่าเราควรมีเป้าหมายอันใดหรือ เมื่อทบทวนภาวะจริงแท้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขณะ เราแทบจะหา ความจริง และปัญญาจากแนวคิดทฤษฎีทเ่ี ป็นปัญญาแท้ไม่ได้เลย แม้จากสำนักวิชาการไหนก็ตาม ซึง่ ล้วนแล้วแต่ สอนให้สะสมทรัพย์ไว้มากจะร่ำรวยมั่นคง สร้างโอกาสที่ได้เปรียบจะมั่นคง โดยไม่เคยคิดย้อนถามว่า เรามีมาก ใครจะเหลือน้อย เราได้เปรียบ ใครจะเสียเปรียบ เราร่ำรวยจากกำไร แล้วใครขาดทุน เพราะทุกความขาดทุน ทุกความเสียเปรียบ คือ ความเจ็บช้ำน้ำใจ และสั่งสมไว้ ซึ่งความคับแค้นพร้อมจะลุกขึ้นต่อสู้และเข่นฆ่า - ๒๓ -
หมายถึง สันติภาพโลกคลอนแคลน และมันกำลังเปลี่ยน สร้างอุปาทานหมู่ใหม่ของโลก จาก ดีคือถูก ชั่วคือผิด มาเป็น รวยคือถูก จนคือผิด จึงไม่เชื่อภูมิรู้ยุคปัจจุบันที่เป็นของทุนนิยม วัตถุนิยม และมันเป็นดั่ง การเรียนรู้ แบบหมาหางด้วน ด้วยรับมรดกทางธรรมจาก อ.พุทธทาสมาทั้ง ๓ ข้อ และปฏิบัติตามอย่างสาวกของ อ. พุทธทาส ที่ว่า ข้อ ๑ จงทำความเข้าใจในศาสนาแห่งตน ข้ อ ๒ จงทำความเข้ า ใจในศาสนาอื ่ น ที ่ ต ่ า งออกไป แล้ ว อี ก ไม่ น านจะเป็ น ศาสนาเดี ย วกั น คื อ ศาสนาพระศรีอารย์ ข้อ ๓ จงหลุดพ้นเสียจากวัตถุนิยม ชุดความรู้จากที่ไหน สำนักไหนก็ตาม ที่ขัดแย้งกับมรดกธรรมนี้ จึงไม่เชื่อ ไม่ทำตามเด็ดขาด ตัดสินใจ เชื่อปัญญาที่เป็นหลักศาสนา และเกิดคำถามว่า เราเป็ น นั ก พั ฒ นา นั ก เคลื ่ อ นไหวทางสั ง คม ที ่ ล งมื อ ลงแรงพั ฒ นาชุ ม ชนและสั ง คมมาทั ้ ง ชี ว ิ ต เราจะนำพาพวกเขาไปทางไหน มีจุดหมายหรือไม่ และจะถึงเมื่อใด มีตัวแบบจุดหมายปลายทางให้เห็นเป็น ตัวแบบ (Model) หรือไม่ ในหลักศาสนาคริสต์-ยูดายเห็นตัวแบบ (Model) ยูโทเปียอยู่ใกล้ๆ และมียุคเมสิอาร์ ของศาสนาพุทธ มียุคพระศรีอารยเมตไตรย ได้วางตัวแบบเป้าหมายปลายทางการพัฒนามนุษย์สู่สิ่งนั้น และเป็นประหนึ่ง วิสัยทัศน์ของพระพุทธเจ้า และวิสัยทัศน์ร่วมของชาวพุทธ ภาพยุคพระศรีอารยเมตไตรย หรือ ยุคพระศรีอารย์ เราจะพบได้ตามวัดวาอาราม จิตรกรรมฝาผนัง ที่ได้เขียนไว้ ปัจจุบันพบได้ในอีสานตอนกลาง เช่น วัดใน อ.เสลภูมิ อ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด และหลายวัด ใน จ.กาฬสินธุ์ การไล่เรียงภาพ แบบกัณฑ์เทศน์ มี ๑๓ ภาพ เกี่ยวกับการต่อสู้ทางจริยธรรมด้วยความเพียร อย่างบริสทุ ธิ์ และการให้อย่างไม่หวังผล จนถึงภาพที่ ๑๔ เป็นภาพภาวะพุทธะ ตืน่ รูแ้ จ้ง แล้วต่อด้วยภาพทีส่ ำคัญ ที่สุด คือ ภาพการเกิดยุคพระศรีอารยเมตไตรย ในภาพเขียนเป็นดังนี้ มีชุมชนบ้านเมืองตรงกลาง มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ ๔ มุมเมือง ชาวบ้านชาวเมืองไม่ต้องทำการงานอะไร มากไปกว่าวิถีสัมมาชีพ ต้องการทรัพย์สิ่งอันใดก็ไปสอยมาจากต้นกัลปพฤกษ์ ทั้งอาหาร ทั้งปัจจัยการผลิต พลังงาน และยา ฯลฯ จนเป็นทีม่ าของการทำบุญแล้วมาสอยกัลปพฤกษ์ ซึง่ เป็นปริศนาธรรมยุคพระศรีอารยเมตไตรย หมายถึง เมือ่ เราพัฒนามนุษย์ดว้ ยการสอนให้ตอ่ สูท้ างจริยธรรม ไม่สยบยอมต่อความไม่ถกู ต้องเป็นธรรม มีความเพียรอย่างบริสทุ ธิ์ และมีการให้โดยไม่หวังผล เราจะพบความรูแ้ จ้ง และสังคมมนุษย์ จะพบกับสังคมอุดมคติ คือ บ้านเมืองยุคนี้ต้องมีต้นไม้ห้อมล้อมรอบทิศทาง และต้นไม้อันเป็นทรัพย์ก็จะเกื้อกูลปัจจัยต่างๆ ให้มนุษย์อยู่ท่ามกลางต้นไม้อย่างศานติสุข ความยั่งยืนของธรรมชาติ สงบงาม จึงเป็นประหนึ่งตัวแบบ และแผนพัฒนาสังคมมนุษย์สู่สังคมพระศรีอารย์ ที่ได้ชี้ไว้ให้มานานนัก - ๒๔ -
๗. ศาสนาพระศรีอารย์ บทบัญญัติ ปริศนา และรูปธรรมความจริง
อ.พุทธทาส ได้มอบมรดก อันเป็นปณิธาน ๓ ข้อ ของท่านก่อนจากโลกไปว่าให้คนรุ่นหลังเดินตาม ๑. ทำความเข้าใจในศาสนาแห่งตน ๒. ทำความเข้าใจในระหว่างศาสนา แล้ววันหนึ่ง จะเหลือเพียงศาสนาเดียว คือ ศาสนาพระศรีอารย์ ๓. จงหลุดพ้นเสียจากวัตถุนิยม นัยนีห้ มายความว่า ทุกศาสนาไม่ใช่ศตั รูตอ่ กัน ทว่าศัตรูขา้ ศึกแท้ของทุกศาสนา คือ วัตถุนยิ ม หรือทุนนิยม รวมถึ ง ปริ ศ นา ลายแทง ตำนานชาดก จะแสดงให้ เ ห็ น ว่ า มนุ ษ ย์ ป ฏิ บ ั ต ิ ด ี ช อบ จะมี ป ั ญ ญารู ้ ถ ึ ง สุ ข แท้ และจะถึงจุดหมายพระศรีอารย์ แม้แต่แผ่นทองแผ่นเงินที่แขวนใช้ปลายยอดพระบรมธาตุที่นครศรีธรรมราช จารึกว่า “แม้นตายสักครั้ง ขอให้พบศาสนาพระศรีอารย์” อะไรก็พระศรีอารย์ และคำว่า เมสิอาร์ ในคัมภีรพ์ ระคริสต์ อ.พุทธทาสว่ากล่าวว่า คล้ายจะเป็นคำเดียวกันกับ ศรีอริยเมตไตร (ศรี แปลว่า สิ่งดีประเสริฐ รัก, อริย แปลว่า หลุดพ้นโลก จากข้าศึกศัตรู, เมตไตร แปลว่า มิตร เพื่อน เมตตา ) จึงเป็นคำใหญ่ที่ปรากฏในห้วงความคิดคำนึงอยู่ ไม่เคยจางหายไป และคิดเองว่าต้องเป็นปลายทาง การพัฒนาสังคมมนุษย์ ให้สสู่ งั คมพระศรีอารย์ อันเป็นความสุขแท้ทท่ี กุ ผูน้ ำศาสนาสอน และจะนำพาไปถึงจุดนัน้ จึงยึดเอา “พระศรีอารย์” มาเป็นจุดหมาย และเรื่องที่ต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อไปหาเช่นกัน และเมื่อลองค้นดู ตามหลักฐาน ในไตรปิฏก เขียนว่า ในยุคนั้นมนุษย์รักใคร่กันเสมือนเพื่อน ไม่เบียดเบียนกัน มีสภาวะทิพย์และในชุมชน บ้านเมืองนี้มีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ ๔ มุมเมือง ในจิตรกรรมผนังตามวัดวาอาราม ที่วัดโบราณอีสานตอนกลาง แถวร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ กล่าวถึงศาสนา พระศรีอารย์ จำนวน ๑๕ ภาพ ภาพที่ ๑-๑๓ จะกล่าวถึงกัณฑ์เทศน์ต่างๆ หมายถึง การต่อสู้ทางจริยธรรม อย่ า งอาจหาญ ด้ ว ยความเพี ย รอย่ า งบริ ส ุ ท ธิ ์ และการเสี ย สละอย่ า งถึ ง ที ่ ส ุ ด ให้ ท านอย่ า งไม่ ย ึ ด ติ ด แล้วภาพที่ ๑๔ เป็นภาพภาวะพุทธ คือ ความรู้แจ้ง และภาพที่ ๑๕ เป็นภาพศาสนาพระศรีอริยปลายทาง ในภาพมีต้นกัลปพฤกษ์อยู่ ๔ ต้น ประชาชนอยู่ตรงกลาง ต้องการทรัพย์สิ่งใดก็ไปสอยมาจากต้นกัลปพฤกษ์ นั่นคือ ภาพในศาสนาพระศรีอารย์ รูปธรรมความจริง ศาสนาพระศรีอารย์อยู่แค่ปลายจมูก ท่านพุทธทาส จึงหมายถึง ปลายทางศาสนา พระศรีอารย์ ที่ถูกสอนให้ไปถึงเพราะอยู่ใกล้แค่ปลายจมูก ด้วยความเพียรพยายาม มนุษย์ต้องลุกขึ้นต่อสู้ ทางจริยธรรมอย่างเข้มแข็ง ด้วยความพากเพียรที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง และให้ทานเสียสละอย่างไม่เหลือ ซึง่ การยึดมัน่ ถือมัน่ แล้วมนุษย์จะเห็นทางทีถ่ กู ต้องแท้ และคือความเป็นธรรมทีแ่ ท้จริงใส บริสทุ ธิ์ ในภาวะพุทธะ สุดท้ายจึงเข้าสูย่ คุ ศาสนา พระศรีอริย กล่าวคือ ทุกคน สิน้ โลภ โกรธ หลง อยูด่ ว้ ยความรัก ความเข้าใจเสมอเพือ่ น และมีธรรมชาติต้นไม้ที่ยั่งยืนเป็นทรัพย์ ห้อมล้อมรอบทุกทิศทาง คอยเกื้อกูลความผาสุกให้สังคมมนุษย์ ทุกชนชาติ - ๒๕ -
๘. แผนปฏิรูปประเทศฉบับพระศรีอารย์
เมื่อปลายทางของศาสนาล้วนมาจากจุดเริ่มต้นที่เป็นเหตุปัจจัยที่ดีงาม คือ การลุกสู้เพื่อความเป็นธรรม ด้วยความเพียร และเสียสละ คือ กระบวนการสูจ่ ดุ หมาย อันเป็นผลของเหตุ ทำให้เกิดภาวะศานติสขุ ของมวลมนุษย์ ในยุคปลายทางนั้น คือ พระศรีอารย์ หรือเมสิอาร์ หรือ ดารุสสลาม แล้วเราจะเริ่มต้นพัฒนาสังคมมนุษย์ด้วยรูปแบบใดอีก ถ้าไม่ใช่แนวนี้ หรือเราจะคลำทางด้วยการพัฒนา ด้วยศาสตร์วัตถุนิยมตะวันตกที่ยังหาจุดหมายไม่พบ รังแต่จะพังภินท์ไปทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม หากจะนำปริศนาธรรมมาทำให้กระจ่างเป็นจริงในแง่การลงมือปฏิบัติเราจะทำได้จริงหรือ การต่อสู้ทางจริยธรรม หมายถึง การรู้สร้างความชัดเจนให้เกิดความเป็นธรรมแท้แก่ทุกฝ่าย ทั้งมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งความเป็นธรรม แปลให้ง่าย คือ การไม่เอาเปรียบ รังแกผู้อื่น และไม่ให้ผู้อื่นเอาเปรียบ รังแกเรา ผู้อื่น หมายถึง เพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม (ด้วยการรักษาศีล) ความเพียรอย่างบริสุทธิ์ หมายถึง ความพยายามลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม ด้วยความตั้งใจตั้งสติ มั่น ไม่คิดเรื่องประโยชน์ตน ต้องมีความบริสุทธิ์ใจอย่างยิ่งต่อความถูกต้อง เป็นธรรม อันเป็นทางสายกลาง การเสียสละอย่างไม่เหลือ หมายถึง การไม่ยึดมั่นถือมั่นในการครอบครอง หรือสันโดษ เสียจากทรัพย์ การให้ความรักผู้อื่น เสมอตนเอง เสมอเพื่อน จึงเข้าสูภ่ าวะพุทธะ คือ รูแ้ จ้งแห่งปัญญา ขณะเดียวกัน ก็จะพัฒนาไปสูใ่ นองค์ประกอบศาสนาพระศรีอารย์ มีตน้ กัลปพฤกษ์ ๔ มุมเมือง หมายถึง ธรรมชาติทย่ี ง่ั ยืน ต้นไม้ทอ่ี ายุยนื และยาวนาน อยูร่ อบทุกทิศทาง การไปสอย เอาทรัพย์พึงประสงค์ของประชาชน หมายถึง ความเกื้อกูล หรือให้ประโยชน์จากต้นไม้ หรือทรัพย์จากต้นไม้ จากธรรมชาติรายรอบทั้งอาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต ยารักษาโรค อากาศ ฯลฯ หากจะเอาความอันเป็นปริศนา และคำถอดความมาเปรียบเป็นแผนการดำเนินชีวติ และพัฒนาสังคมมนุษย์ ให้เกิดผลเป็นจริงของโลกปัจจุบัน อาจกระทำได้โดยการนำเอากรอบของความเป็นจริง และแนวทางในทิศทาง พระศรีอารย์มาผสานสอดรวมให้ลงตัวดังนี้ ในหลักศาสนาทุกศาสนา แยกแบ่งเรื่องราวการจัดการสังคมมนุษย์ไว้ ๓ ภาค คือ ภาคของมนุษย์ คือ สังคม ภาคของสรรพสิ่ง คือ สิ่งแวดล้อม และเรื่องเครื่องมืออันประเสริฐระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า เศรษฐกิจ ; คำว่าเศรษฐ คือ ประเสริฐ เครื่องมืออันประเสริฐในการอยู่ร่วมกันของสังคมกับสิ่งแวดล้อม
- ๒๖ -
เมื ่ อ มนุ ษ ย์ ม ี เ ครื ่ อ งมื อ อั น ประเสริ ฐ ในการอยู ่ ร ่ ว มมนุ ษ ย์ แ ละสิ ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งยั ่ ง ยื น นั ่ น คื อ ศาสนาพระศรีอารย์ ประเด็นปัญหาที่สามารถขบคิดและเฉลยให้สิ้นสงสัยได้คือ ความข้างต้นพิมพ์เขียวการปฏิรูป หรือพัฒนา สังคมมนุษย์ สู่ภาวะสันติสุข สู่ศาสนา พระศรีอารย์ในภาคสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมได้ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างแผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ภาคหลัก ๑. ด้านสังคม - สภาคู่
๒.ด้านเศรษฐกิจ - สร้างทางคู่ขนาน ของเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์
รูปแบบ และแนวทาง
หน้าที่
วิธีการ
สภาเสียงส่วนใหญ่
บริหารกำหนดนโยบาย
สภาศีลธรรม
กำกับศีลธรรมให้คะแนน
เศรษฐกิจกระแสหลัก
- สร้างสัมมาชีพแนวทางพัฒนา ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและ และนวัตกรรม การค้า และกรอบการใช้ทรัพยากร - จัดการควบคุมการสะสมทรัพย์ ให้เป็นธรรม และเงินของเศรษฐกิจกระแสหลัก
เศรษฐกิจพอเพียง และพึ่งตน
-สร้างทรัพย์และเงินจากมูลค่า ต้นไม้และคาร์บอน - ส่งเสริม สนับสนุนสัมมาชีพ ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
๓.ด้านสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมมนุษย์ - สองแนวสมดุลนิเวศ วิศวกรรมธรรมชาติ
ปฏิรูปการเลือกตั้ง โดยให้ประชาชน มีสิทธิ์ในการเลือก หรือ ไม่เลือกใคร ให้ช่อง Vote No มีน้ำหนัก ถ้าชนะ ช่องอื่นต้องแพ้ หมดสิทธิ์ลงเลือกตั้ง ๕ ปี สรรหา คุณสมบัติเป็นผู้เข้าใจ หลักการแห่งศีลธรรม
- สร้างความมั่นคงทางฐานเศรษฐกิจ แบบยั่งยืนโดยการสร้างทรัพย์จากต้นไม้ คาร์บอน เพื่อสิ่งแวดล้อม - สร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ใหม่จากมูลค่าต้นไม้และมวล คาร์บอน ควบคู่กับเงิน หรือทองคำ
สร้างนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือที่สร้าง เพื่อผสาน ๒ แนวทาง กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูล มนุษย์บนความพอดี สืบค้นวิธีการและหลักธรรมชาติ - เคารพหลักการทางธรรมชาติและ พัฒนาวิธีการอยู่กับธรรมชาติ อย่างยั่งยืน - ส่งเสริมการปลูกต้นไม้อย่างหลากหลาย ทุกพื้นที่ด้วยกระบวนการสร้างแรงจูงใจ เชิงบวก
- ๒๗ -
ยุทธศาสตร์การนำไปสู่ความสำเร็จและปลายทางสู่แผนปฏิรูปประเทศฉบับพระศรีอารย์ บันไดสามขั้นสู่ศาสนา พระศรีอารย์
สภาวะพุทธะ
วิสัยทัศน์ในศาสนาพระศรีอารย์
• สร้างปัญญาให้ลุกขึ้นสู้ทาง จริยธรรม • เพียรอย่างบริสุทธิ์ • เสียสละ จาคะ และเว้นการเอา เปรียบอย่างแท้จริง จนหมดภาวะ ความเห็นแก่ตัว
• ความถูกต้องความจริงแท้ • ความว่างจากการยึดมั่น ถือมั่น ในวัตถุ และตัวตน
• ธรรมชาติห้อมล้อมชุมชนรอบ ทุกทิศทาง และเกื้อกูลความผาสุก ให้มวลมนุษย์อยู่ร่วมกันเสมอเพื่อน
วิสัยทัศน์การปฏิรูปฉบับพระศรีอารย์ - สร้างหลักการแห่งความถูกต้อง สมดุล ๘ ประการ แห่งมรรค ๘ : เพื่อให้เกิดการระงับ กาย ใจ ของมนุษย์ สู่ความเป็นกลางและพอดี ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา - ในชนบทสร้างเศรษฐกิจพอเพียง มีความมั่นคงในอาหาร และที่ดิน o พึ่งตนเอง ด้านอาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต และชุดความเชื่อ o แบ่งปัน และเกื้อกูล o จัดระบบผลผลิตอย่างยุติธรรมจำกัด หรือโควต้าการถือครอง และสะสม - พื้นที่เกษตรทั่วประเทศเป็นเกษตรอินทรีย์ o ผลผลิตทางการเกษตรต้องเพียงพอแต่ไม่ล้นเกิน o ผลผลิตทางการเกษตร และต้นไม้ เป็นทั้งอาหารพลังงาน o สมดุลระบบนิเวศ พื้นที่เกษตรด้วยความหลากหลายของต้นไม้ และพืชพรรณ
- สร้างสังคมการพัฒนาคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม
- สร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ ให้คาร์บอนในต้นไม้เป็นทรัพย์ควบคู่ทรัพย์ตามกระแสโลก
- สร้างสังคม ศีลธรรมคู่กับการพัฒนาในกระแสโลก
- ๒๘ -
- ปฏิรูปงบประมาณและภาษีเป็นธรรมาภิบาลทั้งส่วนปกครอง และท้องถิ่น ประชาชนจ่ายภาษีไป ต้องเข้าใจและทราบว่าจ่ายไปรวมเท่าใด กลับมาปริมาณเท่าใด ใช้จ่ายแก่ข้าราชการ นักการเมืองอย่างไร - สร้างหลักธรรมาภิบาลป้องกันการโกง หรือทุจริตได้ทั้งระบบราชการ หรือประชาชน โดยการตรวจสอบ จากสาธารณะและสภาประชาธรรม
- การเมืองการปกครอง ด้วยศีลธรรมกำกับสังคม
ในเบือ้ งต้น ภาวะของสังคม ต้องให้มกี ารปกครองโดยธรรม ให้ฝา่ ยธรรมควมคุมโลกียะ กล่าวคือ ทุกระดับ สังคมต้องมีสภาคู่ คือ สภาจากการเลือกตั้ง และสภาแห่งศีลธรรม คอยกำกับ เรียกว่า สภาประชาชน โดยการคัดสรรหาเอง จากคนที่มีความเป็นธรรม โดยปราศจากผลประโยชน์ และอำนาจใดๆ ซึ่งในอดีต เรามี รูปแบบการจัดการสังคมแบบนี้ เช่น ระดับหมูบ่ า้ นมีผใู้ หญ่บา้ นจะมีเจ้าอาวาสคอยกำกับศีลธรรม ถึงระดับกษัตริย์ ก็จะมีสังฆราชกำกับศีลธรรม เป็นการสร้างสภาคู่กันของอำนาจกับศีลธรรม สิ่งแวดล้อม การจัดการใดๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต้องเคารพความเป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด อาจเรียกว่า วิศวกรรมธรรมชาติ ให้สูงกว่าวิศวกรรมของมนุษย์ ด้านเศรษฐกิจ ต้องสร้างเครื่องมือ ทางเศรษฐศาสตร์ใหม่ ให้เป็นเครื่องมืออันประเสริฐ และเป็นการ เอาสิ่งแวดล้อมมาสร้างเศรษฐกิจ คือ การให้ต้นไม้ที่มีชีวิต มีมูลค่าเป็นทรัพย์ใช้เป็นหลักทรัพย์แทนโฉนดที่ดิน แทนโลหะ ทองคำ เงิน หรือใช้คาร์บอนในต้นไม้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ โดยการจัดตั้งธนาคารต้นไม้ เพื ่ อ รั บ รองต้ น ไม้ ม ี ช ี ว ิ ต ให้ เ ป็ น ทรั พ ย์ และจั ด การลั ก ษณะสั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ทรั พ ย์ ไ ว้ ใ ห้ ม ี ม ู ล ค่ า แทนเงิ น ในธนาคารเหมือนทรัพย์สิน และใช้คู่กันกับทรัพย์อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้มนุษย์ สร้างเครื่องมืออันประเสริฐ เพิ่มขึ้นในโลกในแผ่นดิน เพื่อเกื้อกูลความผาสุกให้เหมือนปลายทางศาสนาพระศรีอารย์ เพราะต้นไม้ ให้ทั้งความร่มเย็นแก่ระบบนิเวศ ให้น้ำ ให้ที่อยู่ ให้พลังงาน
“ยิ่งเจริญด้วยวัตถุ (ก็) ยิ่งเจริญด้วยกิเลส ยิ่งเจริญด้วยกิเลส (ก็)
ยิ่งเห็นแก่ตัว”
พุทธทาสภิกขุ - ๒๙ -
บทที่ ๓
แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
ถ้ามนุษย์ถามตัวเองว่า ปัจจุบันนี้เราพัฒนาสังคมมนุษย์ด้วยทฤษฎีความเชื่อของใคร ด้วยเป้าหมายอะไร และปลายทางไปถึงไหน มีตัวแบบ (Model) ให้เห็นหรือไม่ แทบตอบได้ว่า เราพัฒนาสังคมมนุษย์ด้วยทฤษฎี ตะวันตก ด้วยอุปาทานใหม่วา่ รวยคือถูก จนคือผิด มีปลายทาง คือ ชนบทล่มสลาย ธรรมชาติถกู ทำลาย มนุษย์มาอยูร่ วมกัน ที่เมืองใหญ่อย่างยากลำบาก อยู่ภายใต้การพึ่งพิงของมนุษย์มีอำนาจ และแข็งแรง ในวันวานของอดีต ผูน้ ำศาสนาได้ใส่ความเชือ่ เสมือนอุปาทานหมูว่ า่ ดีคอื ถูก ชัว่ คือผิด ทำให้สงั คมสงบงาม มายาวนาน ในหลักของทุกศาสนา แบ่งแยกภาคเรื่องราวในการจัดการสังคม มนุษย์ ไว้ ๓ ภาค ได้แก่ ภาคที่ ๑ เรื่องของมนุษย์ หรือ เรียกว่า เรื่องสังคม ภาคที่ ๒ เรื่องของสิ่งของ นอกเหนือจากมนุษย์ เรียกว่า ภาคสิ่งแวดล้อม และภาคที่ ๓ เป็นเรื่องของเครื่องมืออันประเสริฐ ในการเป็นอยู่ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ภาคเศรษฐกิจ สามภาคนี ้ คื อ สั ง คม เศรษฐกิ จ สิ ่ ง แวดล้ อ ม จึ ง เป็ น กรอบใหญ่ ข องการจั ด การสั ง คมมนุ ษ ย์ และในสังคมมนุษย์นน้ั ตัวปัญหา คือ การใช้เครือ่ งมือในการดำรงอยูข่ องมนุษย์กบั สิง่ แวดล้อม บางยุคสมัยก็พอดี เป็นธรรม ไม่เบียดเบียนทัง้ มนุษย์และสิง่ แวดล้อม โลกจึงสงบงาม สันติสขุ ด้วยความเชือ่ หลักศาสนา คือ ดีคอื ถูก ชั่วคือผิด แต่เมื่อสังคมมนุษย์ ได้รับการปลดปล่อยสัญชาตญาณความเห็นแก่ตัวออกจากมนุษย์ ผู้ฉลาดแข็งแรง จึงสร้างอุปาทานหมู่เป็นความเชื่อครั้งใหม่ รวยคือถูก จนคือผิด แล้วใช้ความได้เปรียบ ทำการตักตวงสะสมวัตถุ เป็นของคนภายใต้ลทั ธิการปกครองทัง้ ประชาธิปไตย และสังคมนิยม ซึง่ คือ วัตถุนยิ ม ทุนนิยมนัน่ เอง จนเกิดการ เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นำไปสู่การต่อสู้ เข่นฆ่า ทำลายจนเกิดความทุกข์ของมนุษย์ทั่วทั้งโลก - ๓๑ -
หากจะสร้างแบบแผนทีอ่ ยูใ่ นกรอบความเชือ่ อุปาทานหมูใ่ หม่ คือ รวยคือถูก จนคือผิด ก็จะเป็นเพียงการแก้ปญ ั หา เฉพาะหน้าไม่มีทางสันติสุขยืนยาว เพราะเหตุปัจจัย ล้วนนำไปสู่ผลที่มีคนแข็งแรงได้มาก และคนอ่อนแอ เหลือน้อยจนขาดแคลน หากว่ามนุษย์วันนี้ยังสับสน วกวนกับการเดินทางหาจุดหมาย และผิดครั้งแล้วครั้งเล่าบนความเจ็บปวด สูญเสียทั้งคน ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ จงหาทางที่ผู้นำศาสนาเคยได้ชี้แนะไว้น่าจะสู่จุดหมายสันติสุขได้ นั่นคือ พิมพ์เขียวศาสนาพระศรีอารย์ ที่สังคมมนุษย์ต้องช่วยกันค้นคว้าไขว่หาให้ได้เพื่อไปถึง การใช้แนวทางสืบค้นหาทุกข์ให้พบ และหาทางหลุดพ้นตามหลักอริยสัจสี่ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงใช้ และสอน จึงเป็นทางสำคัญ โดยการนำเรื่องราวความทุกข์ยากในสังคมมนุษย์หลากหลายประเด็น มาจัดกรอบ เข้ากับภาคใหญ่ คือ สังคม เศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม แล้วแยกแยะให้เห็นประเด็น ทุกข์ ว่ามีสาเหตุ สมุทยั มาจากไหน เพือ่ ค้นหาวิธดี ำรงอยูท่ พ่ี น้ ทุกข์ นิโรธ ว่าจะต้องใช้ มรรควิธี การใดทีเ่ ป็นสายกลาง เป็นทางแห่งปัญญา และยัง่ ยืน บนความเป็นธรรมแก่สงั คมมนุษย์ และสิง่ แวดล้อม รวมถึงการสร้างตัวแบบรูปธรรมทางการจัดการสังคมมนุษย์ เพื่อเป้าหมายให้มนุษย์รักกันเสมอเพื่อน มีต้นไม้ และธรรมชาติยั่งยืนอันเป็นทรัพย์เกื้อกูลความผาสุก ให้กับสังคมมนุษย์มีตัวแบบอยู่ในร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ พ.ศ....
อุปาทานหมู่เก่า... จากดีคือถูก จากชั่วคือผิด มาเป็นอุปาทานหมู่ใหม่ รวยคือถูก จนคือผิด โดยดุษฎี - ๓๒ -
๓.๑ แนวทางการปฏิรูประบบการเมืองการปกครอง นับตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้สมบูรณ์แบบ แต่อย่างไรก็ตามในหลายช่วง บางเวลาได้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยหยุดชะงักลง ต่างเหตุการณ์และสถานการณ์ แต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งจากรัฐธรรมนูญฉบับแรกในปี ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีการปรับปรุงแก้ไข รัฐธรรมนูญมาแล้วถึง ๑๙ ฉบับ มีนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ ๒๘ คน โดยที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ละครัง้ มีเหตุการณ์และสถานการณ์ทแ่ี ตกต่างกันไป อาทิ มีการกบฏ ปฏิวตั ิ รัฐประหาร ทำให้ตอ้ งมีการแก้ไข รัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ปัญหาจะเกิดจากการไม่เข้าใจในระบบการเมือง การปกครอง การแสวงหาอำนาจผลประโยชน์เพือ่ ตนและพวกพ้อง ซึง่ เรียกว่า การคอรัปชัน่ โกงกิน รวมไปถึงการ ไม่เท่าเทียมกันในสังคม หรือที่เรียกว่า ความไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยได้ใช้หลักความเป็นธรรม ของประชาชนทุกระดับอย่างเท่าเทียม โดยยึดหลักกฎหมายข้อบังคับควบคู่กับหลักศีลธรรมของไทยที่มีมา แต่เดิม โดยใช้ศีลธรรมนำการเมือง หรือปัจจุบัน เรียกว่า ระบบธรรมาภิบาล แต่ที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาขึ้น ในสังคมของผู้ที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกเป็นวงกว้างขึ้นในสังคม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการเมืองการปกครองของไทยใหม่ เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป ทั้งนี้ ก่อนรัฐธรรมนูญในปี ๒๕๕๐ การเลือกตัง้ ในลักษณะแบบผูกขาด การเข้ามาของนักการเมืองทุกระดับ ต้องอาศัย ทุนเป็นปัจจัยหลัก การเลือกตั้งหลังปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา จึงเป็นการเลือกตั้งแบบทุนนิยม และระบบเศรษฐกิจ และการบริหารเชิงธุรกิจ แบบการตลาด ภายใต้ระบบทุนนิยมประชาธิปไตยมีไว้ขาย ให้ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด ได้ครอบครองระบอบประชาธิปไตย การผูกขาดอำนาจทางการเมืองของนักการเมืองทุกระดับชั้น ล้วนทำให้เกิด วงจรอุบาทว์ในการพัฒนาประเทศชาติ คนดีอ่อนแอ คนมีความสามารถท้อแท้ ประชาชนสิ้นหวัง นักการเมือง ไม่สามารถเป็นตัวแทนได้อย่างเต็มภาคภูมิ เพราะถูกทุนนิยมครอบงำ การจัดทำแผนปฏิรูปฉบับพระศรีอารย์ โดยใช้หลักธรรมะในพุทธศาสนาที่สำคัญ มาทำการสังคายนา หลักการด้านการเมืองการปกครองให้มีพลานุภาพอย่างเป็นธรรม สร้างหลักการขึ้นมาเพื่อใช้ปฏิบัติร่วมกัน แบบการรักษาศีล การปฏิบัติธรรม และสามารถนำมาประยุกต์เพื่อช่วยให้เกิดการปฏิรูปการเมืองได้อย่างยั่งยืน คือ อริยสัจสี่ มาเป็นกรอบในการพิจารณาถึง ปัญหา สาเหตุ แนวทางในการแก้ปัญหา ตามหลักพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ สร้างประชาธิปไตยที่ต้องเดินคู่ศีลธรรม คือ การทำให้ศีลธรรมกลับมา เป็นรากฐานของประชาธิปไตย หากประเทศชาติได้คนดีมีศีลธรรมมาเป็นผู้นำแล้ว บ้านเมืองจะเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขอย่างสมบูรณ์ - ๓๓ -
ปัญหาการเมือง การปกครอง (ทุกข์) ที่ทำให้ประชาชนเป็นทุกข์ ประชาชนไม่มีทางเลือก เพราะมีกลุ่มพวกตระกูลนักการเมืองรวบโอกาส แม้นในกฎหมายเลือกตั้งให้แสดงออก ช่องไม่ประสงค์จะเลือกใคร แต่ไม่มีบทลงโทษ จึงไม่มีผลจากการเลือก ประชาชนถูกหลอกและถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่มีตัวแทนในการปกครองอย่างแท้จริง ตัวแทนของประชาชน ไม่วา่ ระดับประเทศ หรือจังหวัด หรือท้องถิน่ หรือท้องที่ ล้วนแต่ถกู ทุนนิยมเข้าแทรกแซงและหล่อหลอมให้เป็น เนือ้ เดียวกันกับระบบการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย ทำให้อำนาจประชาชนถูกเอาไปใช้ในทางทีผ่ ดิ จึงพบว่า กฎหมายที่ออกโดยนักการเมืองสร้างความไม่เป็นธรรมกับประชาชน ทำให้การจัดการผลประโยชน์ในชาติ ไม่ เ ป็ น ธรรมกั บ ประชาชน และความต้ อ งการของประชาชนไม่ ไ ด้ ร ั บ การตอบสนองอย่ า งเป็ น ธรรม การเสียเปรียบได้เปรียบ และไม่เป็นธรรมด้านความเป็นอยู่ของคนในสังคม จนในที่สุดสร้างความแตกแยก ในสังคม
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) ประชาชนขาดความเท่าทันนักการเมือง และไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน ร่วมขบวนการซื้อขายเสียง และการซื้อขายกลายเป็นค่านิยม ทำให้คนดีไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ตลอดจนการควบคุมระบบ การเลือกตั้งมาจากการเมืองใหญ่ โดยการผูกขาดตัวนักการเมืองเป็น กลุ่ม พรรค ตระกูล จึงทำให้การปลด และเอานักการเมืองออกทำได้ยาก ระบบอุปถัมภ์เชิงกฎหมาย เช่น ผูใ้ หญ่ กำนัน อยูใ่ นตำแหน่งได้ถงึ อายุ ๖๐ ปี เกิดการผูกขาด การสร้างอิทธิพล ค่านิยมการเมืองระดับล่างแยกกลุ่มขั้วแค่ ๒ ฝ่าย ตามการเมืองใหญ่ มีนโยบายสนองวัตถุนิยม หรือทุนนิยม ระบบทุนเข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้งและนโยบายทางการเมือง หลอกประชาชนให้หลงผิด นักการเมืองขาดคุณธรรมศีลธรรมและไม่มีระบบกำกับศีลธรรม เปิดโอกาส ให้การบริหารทางการเมืองทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องสิทธิอำนาจ และบุญคุณนโยบายท้องถิ่น ถูกกำหนดจากระดับบน จึงเกิดระบบทุนและนักการเมืองระดับบนกุมสภาพการเมืองทุกระดับ นอกจากนี้แล้วสร้างกระแสโจมตีทางการเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม ใช้อิทธิพลบีบบังคับทั้งอำนาจและการเงิน การรวมกลุ่มของระบบทุนเป็นนักการเมือง กลุ่มการเมือง กลุ่มพรรคการเมือง ไม่มีอุดมการณ์เพื่อประชาชน แต่เพือ่ ประโยชน์ของพวกพ้อง ใช้อำนาจต่อรองกับประชาชนในการรับรองและอนุญาต ตลอดจนการหลอกหลวง ประชาชน ไม่รักษาสัญญาที่หาเสียง การสร้างนโยบายที่ขาดความถูกต้องทางจริยธรรม ทำให้เกิดการใช้งบประมาณไม่สนองความเป็นอยู่ ของประชาชน แต่สนับสนุนระบบทุนและพวกพ้อง และนโยบายประชานิยมทำให้ประชาชนเสพติด โดยสรุปการเมืองไม่สร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน และระบบการเมืองสร้างค่านิยมให้ประชาชนพึ่งพิง นักการเมือง และทำให้ประชาชนเห็นแก่อามิส การตรวจสอบนักการเมืองขาดประสิทธิภาพ ทำให้อำนาจหลักในการปกครอง คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ไม่เป็นอิสระต่อกัน การเมืองที่ลอกเลียนแบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก และไม่มีศีลธรรมกำกับ - ๓๔ -
ในการปกครอง อาจเป็นประชาธิปไตยตะวันตกที่ใช้กฎหมายที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะขาดและขัด ต่อศีลธรรม ขาดหลักธรรมาภิบาลในการจัดการเศรษฐกิจ ภาพรวม ทั้งคมนาคม การค้า กองทุน พลังงาน การจัดเก็บภาษี การจัดการแรงงาน การอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) ประชาชนต้ อ งการระบบการเมื อ งการปกครองมี ค ุ ณ ธรรม มี ค ุ ณ ภาพ ประชาชนไม่ ถ ู ก เอาเปรี ย บ และประชาชนไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีทางเลือกที่หลากหลายในตัวแทน ไม่ผูกขาดกลุ่มการเมืองเฉพาะกลุ่มทุน พวก ตระกูล มีระบบการเมืองที่รับฟังประชาชน ประชาชนมีอำนาจโดยตรงมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความเข็ม แข็ง เข้าใจสิทธิหน้าที่ในการปกครองการจัดการตนเอง เป็นไปความต้องการของประชาชน และได้รับ การตอบสนองอย่างแท้จริง บ้านเมืองควรมีองค์กรอิสระที่มีอิสระจากการเมืองจริง และมีนักการเมืองที่มีอิสระ ในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของประชาชน เพื่อเกิดการถ่วงดุลทางการเมือง ด้วยการตรวจสอบจากสาธารณะ ทำให้การเมืองปราศจากการควบคุมของกลุ่มทุนและระบบอำนาจ สร้างความสามัคคี และความเข้าใจ ในการอยูร่ ว่ มกันของคนในชาติ ให้เกิดและมีระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข มีศลี ธรรม ความดีเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ อันเป็นแบบฉบับความเชื่อของสังคมไทย และมีหลักธรรมาภิบาลให้สังคม ที่เท่าทัน เท่าเทียม ไม่มีการเอาเปรียบซึ่งกันและกันในการทำหน้าที่ และดำรงชีพประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ได้เสียมีส่วนร่วมในการออกและกำหนดกฎ
แนวทางปฏิรูป (มรรค) การสร้างความสงบสุขในระบบประชาธิปไตยจะต้องมีกฎหมายเลือกตั้งที่มีความเท่าทันนักการเมือง กฎหมายเลือกตั้งต้องป้องกันขบวนการควบคุมของระบบทุน นายทุน และขจัดกลุ่มนายทุนที่มีอิทธิพล โดยกำหนดกฎหมายและบทลงโทษจากการเลือกตั้งที่ประชาชนลงมติว่า ไม่เลือกผู้ใด (Vote No) มีผล ต่อการลงโทษนักการเมือง ถ้า Vote No ชนะผู้สมัครต้องแพ้ และหยุดเว้นวรรคทางการเมือง ๕ ปี และสร้าง ความรู้ความเข้าใจเชิงปัญญาแก่ประชาชนถึงสิทธิหน้าที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของทุกคนตั้งแต่วัยเยาว์ รวมถึง สร้างค่านิยมเลือกคนดี การใช้แนวทางศีลธรรม นักการเมืองต้องพัฒนาเรียนรู้ด้านจริยธรรมและศีลธรรม โดยการสร้ า งสภาคู ่ คื อ สภาศี ล ธรรม กำกั บ สภาเสี ย งส่ ว นใหญ่ ใ นทุ ก ระดั บ ที ่ ม ี ส ภาจากการเลื อ กตั ้ ง มีสภาศีลธรรมทุกระดับ เรียก สภาประชาธรรม เพือ่ กำกับศีลธรรมแก่ทกุ สภา และนักการเมือง แต่ผทู้ ม่ี าทำหน้าที่ ในสภาศีลธรรมต้องไม่มีผลประโยชน์ ให้มีกรอบการจัดการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้มี ๒ วาระ ให้ยกเลิก ตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลไป ในแง่การกำกับดูแล ประชาชนมีสิทธิ์เสนอปลดนักการเมืองนอกวาระ และเพื่อความไม่ผูกขาดระยะเวลา ในการดำรงไม่เกิน ๒ วาระ ในทุกระดับการเมือง ทัง้ ต้องสร้างระบบป้องกันการสมคบคิดกับข้าราชการในการทุจริต ขจัดตัวแทนระบบทุนทีเ่ ข้ามาคุมสภาพการเมือง การควบคุมไม่ให้นกั การเมืองท้องถิน่ ต้องไม่สงั กัดพรรคการเมือง การบริหารที่ไม่ซ้ำซ้อนเปลืองงบประมาณ ยกเลิกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีพื้นที่เป็นของตัวเอง (อบจ.) - ๓๕ -
ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบบัญชีรายชื่อ ต้องระบุให้ครอบคลุมสาขาอาชีพ และความ สามารถโดย ส.ส.เขต ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง เพื่อทำให้ซื้อเสียงได้ยาก และให้ทางเลือก แก่ประชาชน ในการเลือกสมาชิกวุฒสิ ภามี ๒ ประเภท สรรหาจากหลากหลายอาชีพและหลากหลายระดับ จำนวน ๑๐๐ คน จากการเลือกตั้งเขตใหญ่ ๑๐ เขตๆ ละ ๑๐ คน รวม ๑๐๐ คน เพื่อจะได้คนที่เป็นกลางอย่างแท้จริงปราศจาก การควบคุมจากนักการเมือง และอยู่ได้ ๑ สมัย เพื่อการส่งเสริมประชาชนโดยตรง ต้องให้ประชาชน ๒๐,๐๐๐ รายชื่อ เสนอกฎหมายได้ทุกหมวด และเป็นกรรมาธิการทั้ง ๒ สภา ยกเว้นหมวดพระมหากษัตริย์ ให้มกี ารตรวจสอบความถูกต้อง และศีลธรรมของนโยบายทางการเมืองก่อนการประกาศหาเสียง ตรวจสอบ ทุจริตการเลือกตั้งอย่างเข้มแข็ง และหลากหลาย รวมถึงสร้างบทลงโทษต่อองค์กรที่ควบคุมการเลือกตั้ง ถ้าหากจับทุจริตไม่ได้ และยังต้องสร้างระบบการร้องเรียนการเลือกตั้งที่ชาญฉลาด มีประสิทธิภาพ และองค์กร ผู้รับผิดชอบสามารถใช้อำนาจได้โดยไม่ต้องมีการร้องขอ และบทลงโทษในการซื้อขายสิทธิ์ให้ถึงขั้นติดคุก และในระหว่างถูกลงโทษตามกฎหมายเลือกตั้งทุกระดับ ไม่ให้มีสิทธิ์ไปลงรับสมัครเลือกตั้งในระดับอื่น ส่วนที่เป็นแบบฉบับของไทยควรดำรงไว้ โดยการสร้างความเข้าใจให้ประชาชนว่าด้วยประชาธิปไตย แบบที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์และศีลธรรมเป็นตัวกำกับตามความเชื่อของสังคมไทย มีมาตรการปกป้อง องค์กรอิสระให้มิอิสระจริง รวมถึงการสร้างมาตรการให้อิสระแก่ ๓ สถาบันหลักทางประชาธิปไตย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อันเป็นความสำคัญที่สุดในการตรวจสอบ ถ่วงดุลอำนาจให้อยู่ในศีลธรรม และความก้าวหน้า ของประเทศสร้างรูปแบบการเมืองการปกครองแนวใหม่ธรรมิกสังคมนิยม สร้างหลักประกันให้เกิดหลักธรรมาภิบาล ด้านเศรษฐกิจโดยรวม ได้แก่ การคมนาคม การค้า การลงทุน พลังงาน การจัดเก็บภาษี การจัดการแรงงาน การจัดการอุตสาหกรรม ทีอ่ ยูอ่ าศัย และด้านอืน่ ๆ โดยการให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนรวมออกกฎเกณฑ์ จนเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนในชาติ เพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
- ๓๖ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : การเมืองการปกครอง การจัดกลุ่ม สังคม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา ๑. ประชาชนไม่มีทางเลือก ๒. ประชาชนถูกหลอกและถูก เอาเปรียบ
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
๑. การควบคุมระบบการ เลือกตั้งมาจากการเมืองใหญ่
๑. ระบบการเมืองการปกครอง มีคุณธรรม มีคุณภาพ ประชาชน ไม่ถูกเอาเปรียบ และประชาชน ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
๒. การซื้อขายเสียง
๓. ประชาชนไม่มีตัวแทนใน การปกครองที่แท้จริง
๓. ค่านิยมการเอาคืน ของนักการเมือง
๔. อำนาจประชาชนถูกเอาไป ใช้ในทางที่ผิด
๔. ความไม่เท่าทันนักการเมือง
๕. กฎหมายที่ออกโดยนักการ เมืองสร้างความไม่เป็นธรรม กับประชาชน ๖. การจัดการผลประโยชน์ใน ชาติไม่เป็นธรรมกับประชาชน ๗. สร้างความแตกแยก ในสังคม ๘. ความต้องการของประชาชน ไม่ได้รับการตอบสนอง อย่างเป็นธรรม ๙. การเสียเปรียบได้เปรียบ และไม่เป็นธรรมด้านความ เป็นอยู่ของคนในสังคม
๒. มีทางเลือกที่หลากหลายใน ตัวแทน ไม่ผูกขาดกลุ่มการเมือง เฉพาะกลุ่มทุน พวก ตระกูล
๓. ระบบการเมืองที่รับฟัง ๕. ไม่รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน ประชาชน ประชาชนมีอำนาจ โดยตรงมากขึ้น ๖. ผูกขาดตัวนักการเมือง เป็น กลุ่ม พรรค ตระกูล ๔. ประชาชนมีความเข็มแข็ง เข้าใจสิทธิหน้าที่ในการปกครอง ๗. การซื้อขายกลายเป็น การจัดการตนเอง ค่านิยม ๕. ความต้องการของประชาชน ๘. คนดีไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่ง ได้รับการตอบสนองอย่างแท้จริง ทางการเมือง ๖. นักการเมืองมีอิสระในการ ๙. ระบบอุปถัมภ์เชิงกฎหมาย ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของ เช่น ผู้ใหญ่ กำนัน อยู่ในตำแหน่ง ประชาชน ได้ถึงอายุ ๖๐ ปี เกิดการผูกขาด การสร้างอิทธิพล ๗. เกิดการถ่วงดุลทางการเมือง ด้วยการตรวจสอบจากสาธารณะ ๑๐. การปลดและเอานักการเมือง ออกทำได้ยาก ๘. การเมืองปราศจากการควบคุม ของกลุ่มทุนและระบบ ๑๑. ค่านิยมการเมืองระดับล่าง อำนาจ แยกกลุ่มขั้วแค่ ๒ ฝ่าย ตามการ เมืองใหญ่ ๙. ความสามัคคี และความ
๑๒. นโยบายสนองวัตถุนิยม หรือทุนนิยม
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๑. กฎหมายเลือกตั้งที่มีความ เท่าทันนักการเมือง ๒. กฎหมายเลือกตั้งต้องป้องกัน ขบวนการควบคุมของระบบทุน นายทุน และขจัดกลุ่มนายทุนที่ มีอิทธิพล ๓. กำหนดกฎหมายและบท ลงโทษจากการเลือกตั้งที่ ประชาชนลงมติว่า ไม่เลือกผู้ใด (Vote No) มีผลต่อการลงโทษ นักการเมือง ถ้า Vote No ชนะ ผู้สมัครต้องแพ้ และหยุดเว้น วรรคทางการเมือง ๕ ปี ๔. สร้างความรู้ความเข้าใจเชิง ปัญญาแก่ประชาชนถึงสิทธิ หน้าที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องของ ทุกคนตั้งแต่วัยเยาว์ ๕. สร้างค่านิยมเลือกคนดี ๖. นักการเมืองต้องพัฒนาเรียนรู้ ด้านจริยธรรมและศีลธรรม
๗. สร้างสภาคู่ คือ สภาศีลธรรม กำกับสภาเสียงส่วนใหญ่ใน ทุกระดับที่มีสภาจากการเลือกตั้ง มีสภาศีลธรรมทุกระดับ เรียก สภาประชาธรรม เพื่อกำกับ ศีลธรรมแก่ทุกสภา เข้าใจในการอยู่ร่วมกันของคน และนักการเมือง แต่ผู้ที่มาทำ หน้าที่ในสภาศีลธรรมต้องไม่มี ในชาติ ผลประโยชน์
- ๓๗ -
กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
๑๓. ระบบทุนเข้ามามีบทบาท ในการเลือกตั้ง
๑๐. ระบบประชาธิปไตยที่มี ศีลธรรม ความดีเป็นที่ยึดเหนี่ยว ทางจิตใจ อันเป็นแบบฉบับ ความเชื่อของสังคมไทย
๑๔. การเมืองท้องถิ่นมีการ ควบคุมโดยระบบพรรคการเมือง ๑๕. นักการเมืองขาดคุณธรรม ศีลธรรม ๑๖. ไม่มีระบบกำกับศีลธรรม ๑๗. นโยบายทางการเมือง หลอกประชาชนให้หลงผิด ๑๘. การบริหารทางการเมือง ทำให้ประชาชนเข้าใจ คลาดเคลื่อน เรื่องสิทธิอำนาจ และบุญคุณ สมคบกับข้าราชการ คอรัปชั่นหลากหลายรูปแบบ ๑๙. นโยบายท้องถิ่นถูกกำหนด จากระดับบน ๒๐. ระบบทุนและนักการเมือง ระดับบนกุมสภาพการเมือง ทุกระดับ
- ๓๘ -
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๘. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้มี ๒ วาระ ให้ยกเลิกตำแหน่งแพทย์ ประจำตำบลไป
๙. ประชาชนมีสิทธิ์เสนอปลด ๑๑. มีหลักธรรมาภิบาลให้สังคม นักการเมืองนอกวาระ ที่เท่าทัน เท่าเทียมไม่มีการ เอาเปรียบซึ่งกันและกันในการ ๑๐. ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ทำหน้าที่ และดำรงชีพ ประชาชน ไม่เกิน ๒ วาระในทุกระดับ ผู้เกี่ยวข้องได้เสียมีส่วนร่วม การเมือง ในการออกและกำหนดกฎ ๑๑. สร้างระบบป้องกันการ สมคบคิดกับข้าราชการในการ ทุจริต ๑๒. ขจัดตัวแทนระบบทุนที่เข้า มาคุมสภาพการเมือง ๑๓. นักการเมืองท้องถิ่นต้องไม่ สังกัดพรรคการเมือง ๑๔. ยกเลิกองค์การปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่ไม่มีพื้นที่เป็น ของตัวเอง (อบจ.)
๒๑. สร้างกระแสโจมตีทาง การเมืองต่อฝ่ายตรงข้าม
๑๕. ผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระบบ บัญชีรายชื่อ ต้องระบุให้ ครอบคลุมสาขาอาชีพ และ ความสามารถ
๒๒. ใช้อิทธิพลบีบบังคับทั้ง อำนาจและการเงิน
๑๖. ส.ส.เขต ไม่จำเป็นต้องสังกัด พรรคการเมือง
๒๓. ใช้อำนาจต่อรองกับ ประชาชนในการรับรอง และอนุญาต
๑๗. กำหนดเขตเลือกตั้งให้ใหญ่ ขึ้น
กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๒๔. การรวมกลุ่มของระบบทุน เป็นนักการเมือง กลุ่มการเมือง ๒๕. กลุ่มพรรคการเมืองไม่มี อุดมการณ์เพื่อประชาชน แต่เพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง ๒๖. หลอกหลวงประชาชน ไม่รักษาสัญญาที่หาเสียง ๒๗. สร้างความแตกแยก แบ่งกลุ่ม พวก ฝ่าย พรรค ๒๘. สร้างนโยบายที่ขาด ความถูกต้องทางจริยธรรม ๒๙. การใช้งบประมาณไม่สนอง ความเป็นอยู่ของประชาชนแต่ สนับสนุนระบบทุน และพวกพ้อง ๓๐. นโยบายประชานิยมทำให้ ประชาชนเสพติด ๓๑. การเมืองไม่สร้างความ เข้มแข็งให้ประชาชน ๓๒. ระบบการเมืองสร้างค่านิยม ให้ประชาชนพึ่งพิงนักการเมือง ๓๓. สร้างกระบวนการสมคบคิด และการสมประโยชน์ ๓๔. ขาดการตรวจสอบ นักการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๑๘. การเลือกสมาชิกวุฒิสภา มี ๒ ประเภท - สรรหาจากหลากหลาย อาชีพและหลากหลายระดับ จำนวน ๑๐๐ คน - จากการเลือกตั้งเขตใหญ่ ๑๐ เขตๆ ละ ๑๐ คน รวม ๑๐๐ คน เพื่อจะได้คนที่เป็นกลาง อย่างแท้จริง ปราศจากการ ควบคุมจากนักการเมือง และ อยู่ได้ ๑ สมัย ๑๙. ให้ประชาชน ๒๐,๐๐๐ รายชือ่ เสนอกฎหมายได้ทกุ หมวด และเป็นกรรมาธิการทั้ง ๒ สภา ยกเว้นหมวดพระมหากษัตริย์ ๒๐. ตรวจสอบความถูกต้อง และศีลธรรมของนโยบายทาง การเมืองก่อนการประกาศหา เสียง ๒๑. ตรวจสอบทุจริตการเลือกตั้ง อย่างเข้มแข็ง และหลากหลาย ๒๒. สร้างบทลงโทษต่อองค์กร ที่ควบคุมการเลือกตั้งถ้าหากจับ ทุจริตไม่ได้ ๒๓. สร้างระบบการร้องเรียน การเลือกตั้งที่ชาญฉลาด มี ประสิทธิภาพ และองค์กร ผู้รับผิดชอบสามารถใช้อำนาจ ได้โดยไม่ต้องมีการร้องขอ
๓๕. ประชาชนเห็นแก่อามิส
- ๓๙ -
กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๓๖. การเมืองที่ลอกเลียนแบบ ประชาธิปไตยแบบตะวันตก และ ไม่มีศีลธรรมกำกับในการ ปกครอง ๓๗. ประชาธิปไตยตะวันตกที่ใช้ กฎหมายที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะขาดและขัดต่อศีลธรรม ๓๘. อำนาจหลักในการปกครอง คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ไม่เป็นอิสระต่อกัน ๓๙. ขาดหลักธรรมาภิบาล ในการจัดการเศรษฐกิจ ภาพรวม ทั้งคมนาคม การค้า กองทุน พลังงาน การจัดเก็บภาษี การจัดการแรงงาน การอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๒๔. บทลงโทษในการซื้อขาย สิทธิ์ให้ถึงขั้นติดคุก และใน ระหว่างถูกลงโทษตามกฎหมาย เลือกตั้งทุกระดับ ไม่ให้มีสิทธิ์ไป ลงรับสมัครเลือกตั้งในระดับอื่น ๒๕. สร้างความเข้าใจให้ ประชาชนว่าด้วยประชาธิปไตย แบบที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ และศีลธรรมเป็นตัวกำกับตาม ความเชื่อของสังคมไทย ๒๖. มีมาตรการปกป้ององค์กร อิสระให้มีอิสระจริง ๒๗. มาตรการให้อิสระแก่ ๓ สถาบันหลักทางประชาธิปไตย นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ๒๘. สร้างรูปแบบการเมือง การปกครองแนวใหม่ ธรรมิกสังคมนิยม ๒๙. สร้างหลักประกันให้ เกิดหลักธรรมาภิบาล ด้าน เศรษฐกิจโดยรวม ได้แก่ การคมนาคม การค้า การลงทุน พลังงาน การจัดเก็บภาษี การจัดการแรงงาน การจัดการอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย และด้านอื่นๆ โดยการให้ประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนรวม ออกกฎเกณฑ์ จนเกิดความเป็นธรรม กับประชาชนในชาติ เพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม
- ๔๐ -
๓.๒ แนวทางการปฏิรูปความเหลื่อมล้ำทางสังคม เมื่อมนุษย์สร้างเงิน ทองคำ เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ ด้วยมุ่งหมายจะใช้เป็นค่ากลางแทนทุกสิ่งที่ ต้องแลกเปลี่ยนอย่างสะดวก ประหยัด ตรงความต้องการตามนัยยะแห่งความหมาย เศรษฐ คือ เครื่องมือ อันประเสริฐทีม่ นุษย์ใช้อยูร่ ว่ มกับเพือ่ นมนุษย์และกับสิง่ แวดล้อม แต่แทนทีจ่ ะประเสริฐกลับกลายเป็นเครือ่ งมือ ในการทำร้ายทำลายกัน เนื่องจากเงิน ทองคำ เป็นเครื่องมือส่งเสริมสัญชาตญาณให้มนุษย์สะสมส่วนเกิน จนทำให้ผู้แข็งแรงได้เปรียบเบียดเบียนสะสมส่วนเกินไว้มากล้น เพื่ออำนวยความสุขสบายแก่ตน ด้วยอำนาจ แห่งการสะสมจึงเกิดความขาดแคลนในหมู่ชนผู้อ่อนแอกว่า ทำให้เกิดความสูญเสีย คับแค้น ต้องต่อสู้ แย่งชิง และเข่นฆ่า เพื่อให้เกิดความพอดีเท่าเทียม แต่ตราบที่กฎยังคงให้โอกาสผู้แข็งแรง การสะสมมากเกินทำให้เกิด ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำยิ่งขึ้น ทั้งมีทีท่าว่าจะสร้างช่องว่างและความเหลื่อมล้ำให้กว้างขึ้นๆ
ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม (ทุกข์) มนุษย์เกิดมาอย่างเท่าเทียม แต่ถูกกักขังอยู่ในโซ่ตรวนของสังคม เป็นการกล่าวของนักจิตวิทยาสังคม บางคน ซ่อนนัยยะว่า การเป็นมนุษย์ควรจะเท่าเทียมจากการเกิด แต่กฎเกณฑ์ของสังคมทำให้ไม่เท่าเทียมกัน จนเห็นความต่างสูงต่ำ ยกย่อง เหยียดหยัน แบ่งชนชั้น จนเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และสร้างความรู้สึก ทนไม่ได้ คือ สภาพทุกข์ของคนที่ต่ำต้อย เพราะการจัดวางระบบผลประโยชน์ของชนชั้น กลุ่ม พวก คือ การเอาเปรียบเบียดเบียนกัน ความแตกต่างทางสังคมระหว่างคนรวย คนจน คนมีอำนาจ และคนไร้อำนาจ ผู้แข็งแรง ผู้อ่อนแอ เป็นสองขั้วความต่างที่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ จนผู้อ่อนแอโดนการกดขี่ ดูแคลน และเอาเปรียบเบียดเบียน คนขาดแคลนและขาดโอกาสจึงตกอยู่กับผู้อ่อนแอในสังคม ทั้งถูกเบียดเบียนทางทรัพยากรให้อยู่ใน สภาพสิ้นไร้ เกิดภาวะคุณภาพชีวิตต่ำ แต่ทว่าสังคมที่ถูกวางระบบว่า สิทธิเสรีและความเท่าเทียมในระบอบ ประชาธิปไตย ประชาชนกลุ่มที่ด้อยโอกาสจึงถูกทำให้อยู่ภายใต้ต้องพึ่งพานายทุน และผู้มีอำนาจ ทำให้ ไม่สามารถหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ จนแวะหาทางเอาชนะด้วยการต่อต้านสังคม ต่อต้านคุณธรรมความดี เป็นลัทธิแก้โดยเดินเข้าสู่อาชีพที่เป็นอบายมุขที่แสดงออกเสมือนเท่าเทียมด้วยอบายมุข
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) ตราบทีม่ นุษย์วดั ความสูงต่ำ ความดีดว้ ยมาตรวัดของ รวยคือถูก จนคือผิด แทนการวัดด้วยดีคอื ถูก ชัว่ คือผิด มนุษย์จงึ สะสมส่วนเกินทำให้เกิดการเอาเปรียบซึง่ กันและกัน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการสะสมทรัพย์ ทำให้คนแข็งแรงได้ทรัพย์มากเกินไป คนอ่อนแอขาดแคลน ซึ่งเกิดมาจากกติกาของสังคมให้โอกาสแต่ละกลุ่ม ไม่เท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้ผู้แข็งแรงเอาเปรียบผู้อ่อนแอ รวมถึงการได้รับการบริการอย่างไม่เป็นธรรม เมือ่ สังคมขาดการสร้างมาตรฐานในรายได้ และสิทธิในทีด่ นิ ทำกิน และสังคมขาดศีลธรรม และขาดความ เมตตาธรรมต่อกัน จะส่งเสริมสัญชาตญาณความเห็นแก่ตวั และสะสมส่วนเกินด้วยระบบคิดวัตถุนยิ ม อุปาทานหมู่ - ๔๑ -
“รวยคือถูก จนคือผิด” ส่งเสริมภาวะเห็นแก่ตวั และการแย่งชิง ทำให้ผอู้ อ่ นแอกลายเป็นประชาชนไร้การพึง่ ตนเอง ไร้อาหาร ไร้ที่ดินทำกิน ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตต่ำ และขาดการสร้างมาตรฐานการดำรงชีพ และคุณภาพชีวิต จนเมื่อประชาชนไร้ทางออกจึงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และสังคมขาดการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาสัมมาชีพ ภาวการณ์จัดชนชั้นค่านิยมในการดูแคลน และเหยียดอาชีพจึงก่อเกิดเพิ่มภาวะทุกข์ และคับแค้น จากการถูกเหยียดหยาม ดูแคลน ประชาชนกลุ่มดังกล่าวจึงท้อแท้ และโดยพฤติกรรมความไม่เท่าเทียมกัน ในการสะสมทรัพย์ ทำให้คนแข็งแรงได้ทรัพย์มากเกินไป คนอ่อนแอขาดแคลน ขาดความขยันหมั่นเพียร ในการทำกินเพื่อพึ่งตนเอง
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) ถ้ามนุษย์มีจิตใจที่สูงตามนัยยะของคำว่ามนุษย์ การวัดคุณค่า และสร้างภาวะพึงพอใจจึงควรจะเกิดจาก สั ง คมสร้ า งโอกาสให้ ค นเท่ า เที ย มกั น ในการสะสมทรั พ ย์ ไม่ อ นุ ญ าตให้ ผ ู ้ แ ข็ ง แรงเอาเปรี ย บผู ้ อ ่ อ นแอ เฉกเช่นเดรัจฉาน จะทำให้เกิดสังคมแห่งความรัก และเมตตาธรรม เปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงทรัพยากร อย่างเท่าเทียม บนความพอเพียงและยั่งยืน คือ รูปแบบที่สามารถพึ่งตนเองด้านอาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต และชุดความรู้ เป็นทางสายกลางระหว่างทุนนิยมกับอัตตานิยม เป็นภาวะเศรษฐกิจพอเพียง การทำให้ประชาชน มีสมั มาชีพ อาหาร และทีด่ นิ ทำกินอย่างพอดีและมัน่ คง และสังคมทีป่ ราศจากอบายมุข จึงเป็นภาวะพึงประสงค์ ของมนุษย์ที่จะเท่าเทียมรักกันเสมอเพื่อน ในแบบฉบับของสังคมยุคพระศรีอารยเมตไตรย
แนวทางการปฏิรูป (มรรค) สร้างกติกาการได้มาซึ่งทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน มนุษย์ควรหาค่ากลางที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือทาง เศรษฐศาสตร์ใหม่ทท่ี ำให้มนุษย์มสี ทิ ธิเสมออย่างเท่าเทียม เสรี ไม่ทำลายล้าง ไม่ทำให้เกิดช่องว่าง และไม่กอ่ เกิด ความวิบัติแก่สิ่งอื่น การที่มนุษย์ใช้เงินตรานั้น การได้มาไม่เท่าเทียม เอาเปรียบทำลายล้าง สร้างอำนาจ และเมื่อคนหนึ่งสะสมมาก คนอื่นจะเหลือน้อย จำเป็นที่มนุษย์ต้องสร้างกติกาการได้มาซึ่งทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และสร้างทางเลือกในการสะสมทรัพย์ที่ไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนจากการสะสมทรัพย์ที่เป็นคาร์บอนในต้นไม้ สร้างหลักประกันรายได้ สัมมาชีพ และคุณภาพชีวิต เป็นการทำให้มนุษย์สามารถสร้างทรัพย์ได้ อย่างเท่าเทียม เพราะว่าไม่ว่าอยากดีมีจน ต้นไม้ของทุกคน จะสะสมคาร์บอนเท่าเทียมกัน และการสะสมมาก ไม่ทำให้คนอืน่ เหลือน้อย เนือ่ งจากสามารถดึงดูดมาจากอากาศ ถ้าสะสมมากก็ไม่ทำให้โลกเดือดร้อน ซึง่ ยังทำให้ ดีขน้ึ จากการสะสมคาร์บอน เพือ่ พืน้ ฐานการมีทรัพย์เท่าเทียมกัน จะนำไปสูก่ ารสร้างหลักประกันรายได้ สัมมาชีพ และคุณภาพชีวิต
- ๔๒ -
สร้างสังคมที่มีเมตตาธรรม รักผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้อภัย และไม่มีความเห็นแก่ตัว ตลอดจนมีมาตรการ ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มข้น ความเหลือ่ มล้ำทีส่ ำคัญของสังคมทีส่ ามารถสร้างความเท่าเทียมได้ทนั ที คือ สร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม เมือ่ สร้างค่านิยมให้คา่ คนดีคอื ถูก คนชัว่ คือผิด ต่อต้านค่านิยม รวยคือถูก จนคือผิด จะทำให้สังคมเกิดสร้างระบบตรวจสอบทางสังคม ป้องกันการเอาเปรียบกดขี่ แต่รากเหง้า ของปัญหา คือ ค่านิยมในอุปาทานใหม่ รวยคือถูก จนคือผิด ป้องกันระบบค้ากำไรเกินควร ทั้งเอกชน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ และเพื่อป้องกันการเอาเปรียบของผู้แข็งแรง ต้องสร้างมาตรการพื้นฐานคุ้มครองให้ประชาชน มีอาหาร และที่ทำกินอย่างพอดี และเพื่อความยั่งยืนของความเท่าเทียม ต้องส่งเสริมสัมมาชีพ และสังคม ที่ปลอดอบายมุข
ภาพโดย : กลุ่มตากล้องหลังสวน
- ๔๓ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การจัดกลุ่ม สังคม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
๑. ความแตกต่างทางสังคม ๑. ความไม่เท่าเทียมกันในการสะสม ระหว่างคนรวยกับคนจน ทรัพย์ ทำให้คนแข็งแรงได้ทรัพย์มาก คนมีอำนาจกับคนไร้อำนาจ เกินไป คนอ่อนแอขาดแคลน ผู้แข็งแรงกับผู้อ่อนแอ ๒. กติกาของสังคมให้โอกาสแต่ละกลุ่ม ๒. การกดขี่ ดูแคลนและเอา ไม่เท่าเทียมกัน เปิดโอกาสให้ผู้แข็งแรง เปรียบเบียดเบียน เอาเปรียบผู้อ่อนแอ รวมถึงการได้รับ การบริการอย่างไม่เป็นธรรม ๓. คนขาดแคลนและขาด โอกาส ๓. ขาดการสร้างมาตรฐานในรายได้ และสิทธิในที่ดินทำกิน ๔. คุณภาพชีวิตต่ำ ๔. สังคมขาดศีลธรรม ๕. ต้องพึ่งพานายทุน และ และความมีเมตตาธรรมต่อกัน ผู้มีอำนาจ ๕. ระบบคิดวัตถุนิยม อุปาทานหมู่ “รวยคือถูก จนคือผิด” ส่งเสริมภาวะ เห็นแก่ตัว และการแย่งชิง
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
๑. คนเท่าเทียมกันในการ ๑. สร้างกติกาการได้มาซึ่งทรัพย์ที่ สะสมทรัพย์ เท่าเทียมกัน ๒. มีคุณภาพชีวิตอย่าง พอเพียงและยั่งยืน
๒. สร้างหลักประกันรายได้ สัมมาชีพ และคุณภาพชีวิต
๓. สังคมแห่งความรัก และเมตตาธรรม
๓. สร้างทางเลือกในการสะสมทรัพย์ ที่ไม่ก่อเกิดความเดือดร้อนจากการ สะสมทรัพย์ที่เป็นคาร์บอนในต้นไม้
๔. การเข้าถึงทรัพยากร อย่างเท่าเทียมบนความ พอเพียงและยั่งยืน ๕. การใช้ชีวิตตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง ๖. มีสัมมาชีพ อาหาร และที่ดินทำกิน อย่าง พอดี และมั่นคง
๖. ประชาชนไร้การพึ่งตนเองไร้อาหาร และที่ดินทำกิน และอยู่อาศัย เป็นเหตุ ๗. สังคมที่ปราศจาก ให้คุณภาพชีวิตต่ำ อบายมุข ๗. ขาดการสร้างมาตรฐานการดำรงชีพ และคุณภาพชีวิต ๘. ขาดการส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาสัมมาชีพ ๙. ค่านิยมในการดูแคลน และเหยียด อาชีพ ๑๐. ขาดความขยันหมั่นเพียรในการ ทำกินเพื่อพึ่งตนเอง ๑๑. การเกิดอาชีพที่เป็นอบายมุข
- ๔๔ -
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ
๔. สร้างสังคมที่มีเมตตาธรรม รักผู้อื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้อภัย และไม่มีความ เห็นแก่ตัว ๕. สร้างโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร อย่างเท่าเทียม ๖. มีมาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจ พอเพียงอย่างเข้มข้น ๗. สร้างระบบตรวจสอบทางสังคม ป้องกันการเอาเปรียบ กดขี่ ๘. สร้างค่านิยมให้ค่าคนดีคือถูก คนชั่วคือผิด ต่อต้านค่านิยม รวยคือถูก จนคือผิด ๙. ป้องกันระบบค้ากำไรเกินควร ทั้งเอกชน ราชการ และรัฐวิสาหกิจ ๑๐. สร้างมาตรการพื้นฐานคุ้มครองให้ ประชาชนมีอาหาร และที่ทำกินอย่าง พอดี ๑๑. ส่งเสริมสัมมาชีพ และสังคมทีป่ ลอด อบายมุข
๓.๓ แนวทางการปฏิรูประบบราชการ ระบบราชการและข้าราชการมีความสำคัญในการขับเคลื่อน และการเปลี่ยนแปลงประเทศทั้งในเชิงบวก และเชิงลบอย่างยิง่ เพราะประเทศไทยวางระบบราชการให้เป็นกลไกสำคัญในการจัดทำแนวทาง และเป้าหมาย ของประเทศในรูปแบบของแผนพัฒนา การศึกษา สร้างการปกครอง การค้า การจัดการทรัพยากร การพลังงาน และครอบคลุมทุกด้านอื่นๆ ของประเทศ ภายใต้ระบบให้ภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการ ระบบราชการจึงมีความ สัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม โดยระบบราชการเป็นส่วนหนึ่ง ของสถาบันการเมืองการปกครองในฐานะเป็นองค์การทางสังคมทั้งจำนวนประชากร บุคลากรในราชการ ราว ๑ใน ๑๐ ของประชากรประเทศ ทำหน้าที่ในการจัดให้บริการแก่คนในสังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย ในสังคม การรักษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การจัดสรรทรัพยากร การสนับสนุนพัฒนา และสร้าง ความเจริญเติบโตให้กับระบบเศรษฐกิจ ระบบราชการจึงเป็นเสมือนผู้ออกแบบ ผู้สร้าง และครอบคลุมสังคม
ปัญหาระบบราชการ (ทุกข์) การควบคุ ม ที ่ เ บ็ ด เสร็ จ กลายเป็ น อำนาจแสวงหาผลประโยชน์ ระบบราชการกลายเป็ น รากเหง้ า ของปัญหาทัง้ ปวง การทำงานของข้าราชการไม่รบั ใช้ประชาชนอย่างสมบูรณ์ ประชาชนได้รบั การบริการทีล่ า่ ช้า และไม่มีประสิทธิภาพ ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่เอาเปรียบเบียดเบียนประชาชน และข้าราชการด้วยกัน ไม่ ใ ห้ ค วามเป็ น ธรรมอย่ า งเท่ า เที ย ม การจั ด สรรตำแหน่ ง ความก้ า วหน้ า ผลตอบแทนในระบบราชการ ที่ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบที่ถูกต้องและเป็นธรรม ในปริมาณข้าราชการที่มากเกิน และบุคลากรราชการ ตลอดจนการทำงานของข้าราชการใช้งบประมาณชาติมากเกินไป ซึง่ งบประมาณทีใ่ ช้ตอ้ งเก็บภาษีมาจากประชาชน
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) ระบบราชการและการทำงานของข้าราชการไม่ให้ความเท่าเทียมกัน ประชาชนยังได้รับการเลือกปฏิบัติ ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ในส่วนของประชาชนยังขาดความคิดว่า เป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้ราชการ ข้าราชการจึงไม่มีอุดมคติในการรับใช้ประชาชน ยังมีค่านิยมการเป็นเจ้านาย ประชาชน และใช้อำนาจหน้าที่เป็นเครื่องมือจัดการแสวงหาผลประโยชน์จากประชาชน โดยระบบการกระจายอำนาจที่ขาดการควบคุมศีลธรรมทำให้เป็นช่องทางให้ข้าราชการระดับล่าง มีผลประโยชน์จากประชาชน มีการเก็บส่วยและเปอร์เซ็นต์อย่างเป็นปกติจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดระเบียบแบบแผนไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม การคอรัปชั่นและทุจริตในหน้าที่อย่างเป็น วงจรในเกือบทุกโครงการ เพื่อได้มาซึ่งผลประโยชน์ของตนเอง พวกพ้อง และทำงานสนองนักการเมือง ระบบการทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการพัฒนาประสิทธิภาพ ระบบตรวจสอบไม่มีประสิทธิภาพ เพราะการตรวจสอบเป็นระบบลวง ขาดการตรวจสอบประเมินจากสาธารณะ - ๔๕ -
ยั ง ใช้ ร ะบบเป็ น ศู น ย์ ร วมอำนาจทำให้ ร ะบบการบริ ห ารมี ค วามซั บ ซ้ อ น ไม่ ค ุ ้ ม ค่ า การก้ า วหน้ า ในทางราชการไม่เป็นธรรม ใช้ระบบเส้นสาย มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ทำให้ข้าราชการขาดขวัญ และกำลังใจในการทำงาน ข้าราชการระดับผู้บริหารองค์กรไม่เป็นแบบอย่างที่ดีให้ข้าราชการในองค์กร อีกทั้ง ข้าราชการมีจำนวนมากเกินไปทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณชาติ ทั้งการทำงานของราชการต้องใช้งบประมาณ มากกว่าการทำงานของส่วนอื่นๆ
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) การปฏิรูประบบราชการให้เป็นระบบคุณธรรม ศีลธรรม มีธรรมาภิบาล สร้างความเสมอภาคด้วย หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความเป็นกลางทางการเมือง ซึ่งเป็นการสร้างความเป็นธรรม ให้ เ กิ ด ขึ ้ น ในการทำงานของระบบราชการและข้ า ราชการ ข้ า ราชการมี ส ำนึ ก ในหน้ า ที ่ ยึ ด ประชาชน และผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ระบบราชการมีความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ รับผิดชอบต่อสาธารณะ ถูกต้องดีงาม มีประสิทธิภาพสูงในการปฏิบัติหน้าที่ ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า ข้าราชการมีรายได้พอเพียง ในการเลี้ยงชีพเพื่อให้มีขวัญกำลังใจในการทำงาน
แนวทางการปฏิรูป (มรรค) ระบบราชการจะต้องอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรม โดยมีสภาประชาธรรม คือ ให้มี การตัง้ สภาคูข่ นานระหว่างระบบเสียงส่วนใหญ่ และระบบบริหารราชการในทุกระดับ ตัง้ แต่ หมูบ่ า้ น ตำบล อำเภอ จั ง หวั ด จนถึ ง ระดั บ ชาติ โดยสภาประชาธรรมจะเป็ น เสมื อ นสภาศี ล ธรรม คอยกำกั บ ดู แ ลการทำงาน ของนักการเมือง และข้าราชการในระดับต่างๆ ให้มีศีลธรรมในการทำงาน รวมไปถึงการออกกฎหมาย หรือรัฐบัญญัตติ า่ งๆ นโยบายต่างๆ จะต้องมีสภาประชาธรรมกำกับดูแลให้เป็นไปตามหลักศีลธรรม ยกตัวอย่างเช่น ให้สภาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เป็นสภาประชาธรรมกำกับการทำงานของสภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และการทำงานของรัฐบาล ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม รวมถึงในระดับท้องถิ่นทุกระดับชั้น จะต้องมี สภาประชาธรรมกำกับอยูท่ ง้ั สิน้ โดยสภาประชาธรรม จะต้องปราศจากผลประโยชน์และเป็นกลาง ด้วยการคัดเลือก ผูท้ ม่ี คี ณ ุ วุฒทิ เ่ี หมาะสม มีความรูค้ วามสามารถ เป็นผูท้ ม่ี ศี ลี ธรรมซึง่ เป็นทีป่ ระจักษ์แก่สาธารณชน โดยผูท้ เ่ี ข้ามา ทำงานเป็นตัวแทนในสภาประชาธรรม จะไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ เพื่อให้ประชาชนรู้สึกศรัทธาและเชื่อมั่น ในการทำงานของข้าราชการ สภาประชาธรรม จะเป็นระบบตรวจสอบ และระบบประกันคุณภาพของระบบ ราชการและการทำงานของข้าราชการ ยกเลิกระบบการทำงานแบบรวมศูนย์ และถ่ายโอนกระจายอำนาจภาระงานไปสู่ประชาชนและเอกชน มากขึ้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วในการได้รับบริการของประชาชน การปรับรูปแบบและวิธี การบริหารงานใหม่ มุ่งบริการที่มีคุณภาพสนองความต้องการของประชาชน ต้องทำให้ระบบราชการหลุดพ้น จากการตกเป็นเครือ่ งมือจากฝ่ายการเมือง และระบบทุน ระบบราชการจะต้องทำงานอย่างบูรณาการทัง้ ในส่วน ของงานราชการเอง และการให้ บ ริ ก ารประชาชน มี ร ะบบตรวจสอบสาธารณะคอยควบคุ ม ตรวจสอบ - ๔๖ -
ให้การทำงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส โดยประชาชนมีส่วนร่วมในระบบการทำงานของราชการ และสามารถ ตรวจสอบการทำงานได้ตลอดเวลา ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมค่านิยมให้ปรับตัว ในการทำงานด้วยความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีอุดมคติในการทำงานว่า ประชาชนเป็นนายและรักประชาชนเสมอเพื่อน ไม่ควรช่วยเหลือกลุ่มอิทธิพลและอำนาจมืด มีกฎระเบียบการ ลงโทษที่จริงจังทั้งข้าราชการและประชาชนผู้ร่วมกระทำความผิด ขจัดระบบอุปถัมภ์และความสัมพันธ์เชิง อำนาจทางการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีทำงานเพื่อประชาชนอย่างที่แท้จริง ชี้แจง หลักฐานการใช้จ่ายอย่างชัดเจน การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย เป็นไปตามกฎระเบียบที่ถูกต้องและเป็นธรรม เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำงานของข้าราชการชั้นผู้น้อย มีการสร้างทัศนคติที่ดี เป็น “ข้าราชการไทย หัวใจประชาชน” มีอุดมการณ์ในการทำงานเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ตอบสนองความต้องการของประชาชน และประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
- ๔๗ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : ระบบราชการ การจัดกลุ่ม สังคม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
๑. ข้าราชการไม่รับใช้ประชาชน อย่างสมบูรณ์
๑. ระบบราชการและการไม่ให้ ๑. ข้าราชการสำนึกในหน้าที่ ความเท่าเทียมกันของประชาชน รับใช้ประชาชนอย่างทั่วถึง
๒. ประชาชนได้รับการบริการ ที่ล่าช้า ไม่มีประสิทธิภาพ
๒. ประชาชนขาดการคิดว่าเป็น ผู้จ่ายค่าจ้างให้ราชการ
๓. ใช้อำนาจหน้าที่เอาเปรียบ เบียดเบียนประชาชน และ ข้าราชการด้วยกัน
๓. ข้าราชการไม่มีอุดมคติในการ รับใช้ประชาชน ๓. ระบบราชการเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้จากสาธารณะ ๔. ค่านิยมการเป็นเจ้านาย ประชาชน ๔. การจัดการองค์กร และบริหาร ระบบราชการรวมถึงการบริการ ๕. มีประโยชน์จากโครงสร้าง ประชาชน ต้องรวดเร็วสะดวก อำนาจ และเป็นธรรม ไม่มีผลประโยชน์
๔. ไม่ให้ความเป็นธรรมอย่าง เท่าเทียม ๕. การจัดสรรตำแหน่งความ ก้าวหน้าและผลตอบแทนใน ระบบราชการที่ไม่เป็นธรรม ๖. ใช้งบประมาณชาติมาก เกินไป ซึ่งต้องเก็บภาษีจาก ประชาชน
๖. เป็นเครื่องมือจัดการผล ประโยชน์กับนักการเมือง
๕. จำนวนข้าราชการน้อยลง และมีประสิทธิภาพ
๗. การกระจายอำนาจที่ขาด ๖. ข้าราชการมีรายได้พอเพียง การควบคุมศีลธรรมเป็นช่องทาง ในการเลี้ยงชีพ และมีขวัญ ให้ข้าราชการระดับล่างมี กำลังใจในการทำงาน ผลประโยชน์จากประชาชน ๘. การกำหนดระเบียบแบบแผน ต้องใช้ราชการเป็นผู้กำหนด โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วม ๙. ระบบการรับรองและอนุญาต เป็นช่องทางหาผลประโยชน์ ทางราชการ ๑๐. การคอรัปชั่นมีเกือบทุก โครงการ ๑๑. มีเงื่อนไขที่ไม่สะดวก ต่อการติดต่อกับราชการ
- ๔๘ -
๒. ใช้งบประมาณคุ้มค่าเกิด ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และประชาชน
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๑. สร้างระบบการตรวจสอบให้มี ประสิทธิภาพโดยให้สาธารณะ มีส่วนร่วม ๒. สร้างจริยธรรมคุณธรรม แก่ข้าราชการ ๓. มีองค์กรสภาศีลธรรมที่มาจาก ประชาชนและข้าราชการ ทุกระดับ อยู่ควบคู่กับองค์กร คอยกำกับศีลธรรมการปฏิบัติ ราชการ ๔. มีระเบียบขั้นตอนการบริการ ประชาชนทีเ่ ป็นธรรม และเกิดจาก ความต้องการของประชาชน ๕. ข้าราชการมีประสิทธิภาพ ในการทำงาน ๖. ลดจำนวนข้าราชการให้นอ้ ยลง ๗. ประชาชนมีส่วนร่วมในหน้าที่ ของราชการ ๘. ถ่ายโอนส่งเสริมให้ภารกิจ ของราชการเป็นของประชาชน และสาธารณะ เอกชน ๙. มีระบบประกันความสำเร็จ และการปรับในการทำหน้าที่ ผิดพลาด รวมถึงบทลงโทษ ที่ควรแก่เหตุ
กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๑๒. มีระบบขุนนางและไม่ให้ ความเท่าเทียมกันของประชาชน ๑๓. ระบบราชการไม่ตอบสนอง ประชาชน ๑๔. ขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน ไม่ทันสมัย ๑๕. ทุจริตในหน้าที่เพื่ออำนาจ และผลประโยชน์ของตนเอง พวกพ้อง ๑๖. เกื้อกูลพรรคพวกทำเป็นกลุ่ม ผลประโยชน์ ๑๗. ระบบการทำงานไม่มี ประสิทธิภาพขาดการพัฒนา ประสิทธิภาพ ๑๘. ข้าราชการทำงานสนอง นักการเมือง ๑๙. ขาดการตรวจสอบประเมิน จากสาธารณะ ระบบตรวจสอบ ไม่มีประสิทธิภาพ ๒๐. ระบบการตรวจสอบเป็น ระบบลวงอย่างมีระบบ ๒๑. เป็นศูนย์รวมอำนาจ การบริหารซับซ้อนไม่คุ้มค่า ๒๒. ข้าราชการมีผลประโยชน์ เกินปกติ การเก็บส่วย และเปอร์เซ็นต์จากระดับล่าง อย่างเป็นปกติสามัญจนเป็น วัฒนธรรมองค์กร
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๑๐. เสริมสร้างค่านิยมให้ขา้ ราชการ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็น ข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๑๑. สร้างระบบขจัดทุจริต ให้รวดเร็วและหลากหลาย ๑๒. ลงโทษข้าราชการ และประชาชนที่มีส่วนร่วม ในการทุจริต ๑๓. ตัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และผลประโยชน์จากนักการเมือง ในระบบอุปถัมภ์ ๑๔. ต้องมีการอธิบายชี้แจง ตัวเลขงบประมาณที่ใช้ใน ทุกโครงการอย่างโปร่งใส ต้องชี้แจงงบประมาณ โดยละเอียดแก่สาธารณะ ๑๕. ผู้บริหารระดับสูงต้องมี หลักฐานในการใช้จ่ายเงินทั้งใน ราชการ และส่วนตัว ๑๖. สร้างอุดมคติการรับใช้ ประชาชนแก่ราชการ ๑๗. มีระบบตรวจสอบ และลงโทษ ที่ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม ๑๘. ทุกขั้นตอนการอนุญาต การรับรองประชาชนต้องตรวจสอบ อำนาจและกระบวนการได้
- ๔๙ -
กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๒๓. การก้าวหน้าในทางราชการ ไม่เป็นธรรม และมีความ เหลื่อมล้ำด้านรายได้ และด้าน ขวัญและกำลังใจ ๒๔. คนมีผลงานและคุณธรรม ไม่ก้าวหน้า ๒๕. ใช้ระบบเส้นสายเติบโต ในวงการราชการ ๒๖. จำนวนข้าราชการมาก เกินไป ๒๗. ข้าราชการระดับผู้บริหาร องค์กร สร้างตัวอย่างที่ไม่ดี ให้ข้าราชการในองค์กร
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ๑๙. ต้องชี้แจงตั้งแต่โยกย้าย บรรจุทุกระดับต่อสาธารณะ และสร้างระบบสาธารณะ การรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นธรรม และรวดเร็ว ๒๐. ยกเลิกระบบราคากลาง โดยใช้การเปรียบเทียบ กับราคาจริง ๒๑. ประเมินประสิทธิภาพ โดยองค์กรสาธารณะและชุมชน อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ๒๒. การแต่งตั้งผู้บริหารราชการ ต้องมีระบบการฟังเสียงจาก ข้าราชการในองค์กรอย่างเป็น ธรรม ๒๓. การแต่งตั้งการจัดสรร ตำแหน่ง และความก้าวหน้า ตาม ประสบการณ์ และผลงาน ที่ประจักษ์
- ๕๐ -
๓.๔ แนวทางการปฏิรูประบบการศึกษา การศึ ก ษา มี เ ป้ า หมายเพื ่ อ ใช้ เ ป็ น เครื ่ อ งมื อ พั ฒ นามนุ ษ ย์ ใ ห้ ส มบู ร ณ์ ให้ ม นุ ษ ย์ อ ยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ ก ั บ เพื่อนมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในอดีตนั้นมนุษย์ได้ใช้การศึกษาเพื่อวางรากฐานกำกับพฤติกรรม ของคนในสังคมให้อยูร่ ว่ มกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกันทัง้ เพือ่ นมนุษย์เอง และธรรมชาติ ด้วยการผสมผสาน การศึกษาภายใต้แนวทางความเชื่อ การปฏิบัติตามหลักศาสนาทำให้สังคมมนุษย์สงบสุขมาอย่างยาวนาน เป็นภูมิปัญญาอันประเสริฐของมนุษย์ยุคหนึ่ง จนมายุคหนึ่งมนุษย์ใช้การศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ให้สะดวก สุขสบาย พัฒนาเทคโนโลยี เพื่อจัดการเอาทรัพยากรธรรมชาติมารับใช้สนองความต้องการของมนุษย์ การศึกษาจึงเปลี่ยนเป้าหมาย จากการให้เกิดการอยูร่ ว่ มกันอย่างสงบงาม สันติสขุ เรียบง่ายสามัญ เป็นส่วนหนึง่ ของธรรมชาติ มาเป็นการศึกษา เพื่อแสวงหา สะสมทรัพย์ เพื่อมาอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ และความได้เปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยขาดการคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ยั่งยืนของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ระบบการศึกษาจึงหล่อหลอมมอมเมาให้หมกมุ่นในการแข่งขัน แก่งแย่ง เพื่อเป้าหมายการได้เปรียบ และเห็นประโยชน์ส่วนตน ละทิ้งหลักการสำคัญในการศึกษาที่ปลูกฝังโดยศาสนาและศีลธรรมจึงเป็นกระแส ไหลไปทั้งโลกให้หลงใหลวัตถุนิยม และอวิชชาที่จะทำให้มนุษย์ไร้ความสงบสันติอย่างถ้วนทั่ว
ปัญหาระบบการศึกษา (ทุกข์) การศึกษาของไทยจึงเกิดปัญหาหลายด้าน สร้างความเหลื่อมล้ำในการได้รับโอกาสทางการศึกษา ทัง้ ค่าใช้จา่ ยในการศึกษาสูง ระบบการศึกษายังขาดจริยธรรม และศีลธรรมเป็นตัวควบคุม ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ ในสิ ่ ง ที ่ ผ ิ ด ทำให้ เ กิ ด อวิ ช ชา ไม่ ส ามารถแยกแยะความถู ก ต้ อ งดี ง าม ทำให้ ร ะบบการศึ ก ษาเสมื อ น เป็นการส่งเสริมความเห็นแก่ตัวให้แก่ผู้เรียน ทำให้ระบบการศึกษาด้อยคุณภาพ และขาดปัญญา
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) โอกาสทางการศึ ก ษาในสถาบั น การศึ ก ษาของไทยยั ง ถู ก จำกั ด ไว้ เ ฉพาะกลุ ่ ม มาตรฐานวิ ช าการ และองค์ความรู้ที่มีอยู่ในระบบการศึกษาไทยไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีองค์ความรู้ตามภูมิสังคม และความด้อย คุณภาพของระบบสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ระบบการถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งครูผู้สอนตั้งเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนองวัตถุนิยม เป็นการส่งเสริมให้คนเกิด ความเห็นแก่ตัว โดยการศึกษาที่รับเอา และลอกเลียนแบบพฤติกรรมวัฒนธรรมตะวันตกมากเกินไป ซึ่งความเจริญ ของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ขาดการจัดระเบียบ และควบคุม ทำให้เกิดตัวอย่างที่ไม่ดีทางสังคม จากพฤติกรรม การรับสื่ออย่างมอมเมา ไม่สามารถแยกแยะได้ ระบบการศึกษาที่ทำให้ผู้เรียนขาดความรู้รักสามัคคี โดยมุ่งเน้น - ๕๑ -
ในการแข่งขันทางการศึกษามากเกินไป ผู้เรียนจึงเกิดความคิดที่มุ่งเอาเปรียบผู้อื่น ระบบการวัดระดับ และประเมินผลทางการศึกษาไทยยังบกพร่องด้านศีลธรรม จึงทำให้ด้อยคุณภาพทางการศึกษา และความ ไม่เป็นธรรมในระบบการประเมินและวัดผล อีกทั้งปัญหาเด็กฝากทำให้เป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งทำให้เกิดปัญหา ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) การปฏิรปู ทางการศึกษาทีม่ งุ่ เน้นให้เกิดความเท่าเทียมทางโอกาสในการศึกษา มีสวัสดิการทางการศึกษา ตลอดชีวิต ส่งเสริมการเรียนอย่างมีความสุข มุ่งเน้นให้บุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพมาตรฐานทั้งด้าน ความรู้และศีลธรรม เมื่อสำเร็จการศึกษาจะเป็นคนที่มีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม หลุดพ้นจากวัตถุนิยม มีปัญญา และรักผู้อื่น สร้างระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถ ไตร่ตรองความรู้ มีปัญญาด้วยตน พิจารณาความรู้และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแยบคาย ระบบการศึกษา สามารถบูรณาการเชื่อมโยงวิชาการสู่ทักษะในการปฏิบัติจนเกิดความสมบูรณ์ ทำให้คนมีอุดมการณ์รักผู้อื่น ตามหลักศีลธรรมและหลุดพ้นจากวัตถุนิยม
แนวทางการปฏิรูป (มรรค) แนวทางที่จะนำไปสู่ภาวะหลุดพ้นจากปัญหา ต้องสร้างความเท่าเทียมและโอกาสทางการศึกษาสร้าง ระบบการศึกษาเรียนรูค้ วบคูศ่ ลี ธรรม มุง่ ขจัดความเห็นแก่ตวั สร้างสวัสดิการด้านการศึกษาอย่างสมบูรณ์ตลอด ระบบการศึกษา ด้วยการใช้หลักการเรียนรู้สร้างปัญญาตามหลักศาสนา นำไปสู่การสร้างระบบการเรียนรู้ ให้บูรณาการ เกิดปัญญาสู่การปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ถึงพร้อม สร้างกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ เพื่อให้หลุดพ้นจากวัตถุนิยมแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา สร้างระบบการศึกษาเรียนรู้ที่รักษารากเหง้าและวิถีวัฒนธรรมตามบริบทของสังคมไทย เพื่อป้องกันและสร้าง ภูมิคุ้มกันการรุกรานของวัฒนธรรมตะวันตก ระบบการศึกษาต้องมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา ให้ตอบสนองระบบการศึกษาที่มีความรู้คู่คุณธรรม
“...ผู้ที่เป็นครูอาจารย์นั้น ใช่ว่าจะมีแต่ความรู้ในทางวิชาการและในทาง การสอนเท่านั้นก็หาไม่ จะต้องรู้จักอบรม เด็กทั้งในด้านศีลธรรม จรรยาและ วัฒนธรรมรวมทั้งให้มีความสำนึกรับผิดชอบในหน้าที่ด้วย...” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๒ - ๕๒ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : การศึกษา การจัดกลุ่ม สังคม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
๑. ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๑. โอกาสทางการศึกษาในสถาบัน ทางการศึกษาถูกจำกัดไว้เฉพาะกลุม่ ๒. การศึกษาขาดจริยธรรม และศีลธรรม ๒. วิชาการและองค์ความรู้ที่มีอยู่ ในระบบการศึกษาไทยไม่ส่งเสริม ๓. เรียนรู้ในสิ่งที่ผิด อวิชชา องค์ความรู้ตามภูมิสังคม ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว ๓. ความด้อยคุณภาพของระบบ ๔. ค่าใช้จ่ายในการศึกษาสูง สนับสนุนการเรียนรู้ เช่น การใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้าง ๕. การศึกษาด้อยคุณภาพ บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ระบบ และขาดปัญญา การถ่ายทอดความรูร้ วมทัง้ ครูผสู้ อน
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ ๑. ความเท่าเทียมทางโอกาส และการเรียนอย่างมีความสุข
๑. สร้างความเท่าเทียม และโอกาสทางการศึกษา
๒. บุคลากรทางการศึกษามี ๒. สร้างระบบการศึกษาเรียนรู้ คุณภาพ มาตรฐานทั้งด้านความรู้ ควบคูศ่ ีลธรรมมุ่งขจัด และศีลธรรม ความเห็นแก่ตัว ๓. ผู้สำเร็จการศึกษาเป็นคนที่มี คุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม หลุดพ้นจากวัตถุนิยม
๓. สร้างสวัสดิการด้านการศึกษา อย่างสมบูรณ์ตลอดระบบ การศึกษา
๔. มีปัญญาและรักผู้อื่น
๔. ใช้หลักการเรียนรู้สร้างปัญญา ตามหลักศาสนา
๔. ตัง้ เป้าหมายการศึกษาเพือ่ สนอง ๕. มีสวัสดิการทางการศึกษา วัตถุนิยม ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว ตลอดชีวิต ๕. การศึกษารับเอา และเลียน แบบพฤติกรรมวัฒนธรรม ตะวันตกมากเกินไป
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ
๕. สร้างระบบการเรียนรู้ให้ บูรณาการปัญญาสู่การปฏิบัติ ๖. การศึกษาเพื่อพัฒนาความคิด อย่างสมบูรณ์ถึงพร้อม การเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (สันทิฏฐิโก) สามารถไตร่ตรอง ๖. สร้างกระบวนทัศน์การศึกษา ความรู้และปัญญาด้วยตน ใหม่ เพื่อให้หลุดพ้นจากวัตถุนิยม อย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) แก่ครูและผู้ให้การศึกษา
๖. ความเจริญของเทคโนโลยี การสื่อสารที่ขาดการจัดระเบียบ และควบคุมตัวอย่างทีไ่ ม่ดที างสังคม ๗. การศึกษาสามารถบูรณาการ เชื่อมโยงวิชาการสู่ทักษะในการ ๗. การแข่งขันทางการศึกษาที่ ปฏิบัติจนเกิดความสมบูรณ์ มุ่งเอาเปรียบ (วิชชาจะระณะสัมปันโน)
๗. สร้างระบบการศึกษาเรียนรู้ ทีร่ กั ษารากเหง้าและวิถวี ฒ ั นธรรม เพื่อเกิดภูมิคุ้มกันการรุกราน ของวัฒนธรรมตะวันตก
๘. การวัดระดับ และผลการศึกษา ๘. สังคมคนมีอุดมการณ์รักผู้อื่น ๘. พัฒนาบุคลากรด้านการศึกษา ที่บกพร่องด้านศีลธรรม ตามหลักศีลธรรมและหลุดพ้น ให้ตอบสนองความรู้คู่คุณธรรม จากวัตถุนิยม ๙. พฤติกรรมการรับสื่อ อย่างมอมเมาของสังคม ๑๐. ขาดการศึกษาที่มีความรู้รัก สามัคคี ๑๑. ปัญหาเด็กฝาก
- ๕๓ -
๓.๕ แนวทางการปฏิรูปพลังงาน พลังงานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ยุคปัจจุบัน และเป็นปัจจัยพื้นฐานในการสร้างเสริมความสะดวกสบาย และคุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พลังงาน มีส่วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมของชาติ ประเทศไทยมีพลังงานที่มีคุณค่า ทางเศรษฐกิจหลายแหล่ง เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ ซึ่งพลังงานเหล่านี้จะนำไปสู่การยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ได้อย่างไม่ขาดแคลน แต่ด้วยการจัดการด้านพลังงานที่ขาดความโปร่งใส จึงเกิดปัญหา และข้อถกเถียง ในสังคม
ปัญหาพลังงาน (ทุกข์) การบริหารจัดการของรัฐที่ผ่านมาทำให้ประชาชนในประเทศรู้สึกได้ถึงความไม่เป็นธรรมในเรื่องพลังงาน ประชาชนผูบ้ ริโภคถูกเอาเปรียบในการบริหารจัดการ โดยเชือ่ ว่าพลังงานมีอยูอ่ ย่างมากมาย แต่กลับมีไม่เพียงพอ ให้คนในประเทศใช้ และไม่มีการส่งเสริมพัฒนา ค้นคว้าพลังงานทดแทน ซึ่งจะเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ อย่างจริงจัง การที่ประชาชนไม่มีทางเลือกที่หลากหลาย ทั้งราคาพลังงานในประเทศค่อนข้างแพง เมื่อเทียบ กับราคาในประเทศอืน่ และรายได้ของประชาชน และการใช้พลังงานขาดการควบคุมอย่างรอบด้าน ทำให้กอ่ เกิด มลพิษรบกวนสิ่งแวดล้อมและประชาชน
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) เพราะระบบการผูกขาดจากบริษัทยักษ์ใหญ่และบริษัทข้ามชาติ ทั้งการผลิตและจำหน่ายพลังงานใน ประเทศ ทำให้ขาดความหลายหลากที่จะเป็นทางเลือกให้ประชาชน เมื่อการบริหารจัดการพลังงานตกอยู่ในมือ ของเอกชน แต่ใช้ความเป็นธุรกิจของรัฐ ใช้ความเป็นรัฐวิสาหกิจมาผูกขาด หารายได้แล้วแบ่งผลกำไรออกไป รัฐจึงสูญเสียรายได้ที่พึงมีพึงได้ โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการ ด้านพลังงานอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม ประเด็นที่ทำให้คนไทยรู้สึกเดือดร้อนมากที่สุด คือ เรื่องพลังงานที่มีราคาแพง การที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ในการผลิต และต้นทุนจากการที่ไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ทำให้มีการใช้น้ำมันดิบสูงขึ้น อีกทั้ง การไม่ประหยัดพลังงาน มีการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยในส่วนอื่นๆ ทำให้ประเทศไทยต้องสั่งน้ำมันดิบเข้ามา มีมูลค่ามหาศาล เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้พลังงาน เมื่อราคาน้ำมันดิบสูงจึงทำให้ราคาน้ำมันแพง ประเทศไทยซึ ่ ง มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละแหล่ ง พลั ง งานที ่ อ ุ ด มสมบู ร ณ์ มี น ้ ำ มั น ก๊ า ซธรรมชาติ หรือแร่ธาตุอื่นๆ ที่เพียงพอใช้กับประชากรได้ทั้งประเทศ แต่ประชากรในประเทศกลับต้องอยู่อย่างยากจน ขาดแคลน ยิ่งกว่าประเทศที่มีทรัพยากรน้อย การให้สัมปทานแก่เอกชนเกิดการผูกขาด และต้องแบ่งผลกำไร ให้กับกลุ่มทุนเอกชนที่เข้ามาถือหุ้น ทำให้ประชาชนเริ่มให้ความสนใจข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในเรื่องพลังงาน
- ๕๔ -
มากขึ้น และตระหนักถึงความเดือดร้อนจากราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม และทำให้รัฐเสียผลประโยชน์อย่าง มหาศาล ซึ่งสาเหตุที่สำคัญความไม่โปร่งใสในภาคพลังงาน นักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องและมีผลประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานและบริหารจัดการด้านพลังงาน แต่ภาระตกเป็นของประชาชน ที่ต้องใช้พลังงานในราคาแพง และรัฐสูญเสียผลประโยชน์ ขาดงบประมาณมาพัฒนาประเทศ
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) การปฏิรูปด้านพลังงาน จึงต้องมีการจัดการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายปลายทาง คือ การมีพลังงานเพิ่ม อย่างหลากหลาย และราคาพลังงานที่เป็นธรรม ให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้พลังงาน และสามารถ พึ่งตนเองได้ในด้านพลังงาน ปราศจากมลพิษ และมีส่วนร่วมในการจัดการ และเป็นเจ้าของพลังงาน
แนวทางการปฏิรูป (มรรค) รัฐต้องแก้ไขปัญหา ลดการผูกขาดในระบบการบริหารจัดการพลังงาน จะแก้ไขและปฏิรูปกฎหมาย ในการจัดการพลังงานได้สะดวก โดยการจัดการกำหนดราคาซื้อขายพลังงานในราคากลางที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อประชาชน และบริหารจัดการให้มปี ริมาณพลังงานใช้อย่างเพียงพอและมีคณ ุ ภาพทีด่ ี สอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และสามารถ ตอบสนองความต้องการใช้ในกิจกรรมการผลิตต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ โดยเน้นให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพลังงานโดยมีสภาศีลธรรมกำกับการ บริหารด้านการพลังงาน เพือ่ สร้างความโปร่งใสในภาคพลังงาน เพือ่ ประโยชน์สขุ ของประชาชน และความมัน่ คง มั่งคั่งของประเทศชาติ ตลอดจนสร้างระบบการกักเก็บคาร์บอนจากต้นไม้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชน มีส่วนร่วม และคิดค้นวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อม การส่งเสริมการจัดการ โรงไฟฟ้าให้เหมาะกับพลังงานที่มีอยู่ของชุมชน มีการจัดการมลพิษและผลประโยชน์ด้านพลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ ตลอดจนส่งเสริมการผลิตพลังงานจากชีวมวล ใช้วัสดุทางการเกษตรและชิ้นส่วนจากต้นไม้ และพัฒนารูปแบบการประหยัดพลังงาน
- ๕๕ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : พลังงาน การจัดกลุ่ม เศรษฐกิจ กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
๑. ผู้บริโภค ถูกเอาเปรียบ
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
๑. ผูกขาดโดยกลุ่ม บริษัท ๑. มีพลังงานเพิ่มอย่าง ยักษ์ใหญ่ และบริษัท หลากหลายและราคา ข้ามชาติมีกำไร พลังงานที่เป็นธรรม ๒. มีไม่เพียงพอ เกินตัว ๒. มีทางเลือกและพึ่ง ๓. ไม่มีทาง ๒. ขาดความหลากหลาย ตนได้ด้านพลังงาน เลือก ของพลังงาน ขาดพลังงาน ทดแทน ขาดพลังงาน ๓. มีพลังงานสำรอง ๔. ราคาแพง ทางเลือก หลากหลายเพียงพอ เมื่อเทียบ กับรายได้ ๓. ขาดความโปร่งใสใน ๔. ปราศจากมลพิษ กับประเทศอื่นๆ การจัดการด้านพลังงาน จากการใช้พลังงาน ทำให้เกิดต้นทุนสูง ๕. มีมลพิษ ๕. ประชาชนได้มี จากการ ๔. การใช้พลังงาน ส่วนร่วมในการ ใช้พลังงาน ไม่ประหยัด จัดการและเป็น เจ้าของพลังงาน ๕. ไม่คิดค้นวิจัยหา พลังงานด้านอื่น ๖. ไม่พัฒนาเทคโนโลยี ที่เหมาะสม ๗. ขาดการมีส่วนร่วม และความเป็นเจ้าของ พลังงานของประชาชน ในชาติ ๘. ไม่มีประสิทธิภาพ ในการควบคุม การปล่อย มลพิษจากการใช้ พลังงาน
- ๕๖ -
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ
๑. ลดต้นทุนการผลิต และลดกำไร ๒. สร้างความโปร่งใสราคาต้นทุนในการผลิตพลังงาน ๓. คิดค้นวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสภาพแวดล้อม ๔. การส่งเสริมการจัดการโรงไฟฟ้าให้เหมาะกับพลังงานที่มีอยู่ ของชุมชน ๕. การจัดการมลพิษและผลประโยชน์ด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ๖. สร้างระบบการจัดการราคาซื้อขายที่เป็นธรรม ๗. แก้ไขและปฏิรูปกฎหมายให้การจัดการพลังงานได้สะดวก ๘. ส่งเสริมการผลิตพลังงานจากชีวมวล ใช้วัสดุทางการเกษตร และชิ้นส่วนจากต้นไม้ ๙. รัฐสร้างแรงจูงใจในการซื้อวัตถุดิบด้านพลังงานจากประชาชน ในราคาที่เป็นธรรม ๑๐. พัฒนารูปแบบการประหยัดพลังงาน ๑๑. มีสภาศีลธรรมกำกับการบริหารด้านการพลังงาน ๑๒. สร้างระบบการกักเก็บคาร์บอนจากต้นไม้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนมีส่วนร่วม ๑๓. พัฒนาระบบการจัดการและการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้า ของของประชาชน
๓.๖ แนวทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหาการเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ทุกข์) เกษตรกรเป็นสัมมาชีพที่เป็นผู้ผลิตอาหารหล่อเลี้ยงพลโลกที่น่าจะได้รับการเคารพยกย่องจากสังคม และผู้คน แต่กลับกลายเป็นบุคคลและอาชีพที่ถูกเอาเปรียบจากผู้บริโภค พ่อค้า นักการเมือง ระบบราชการ จนแทบเกิดสภาพการณ์เหยียดอาชีพว่าเกษตรกร คือ อาชีพที่ต่ำต้อย ด้วยความเสียเปรียบและเป็นผู้ให้ จึงถูกปลุกเร้าให้สร้างความเท่าเทียมในโอกาสทางการเงิน โดยการสร้างหนี้สินจนอยู่ในสภาพเป็นหนี้สินล้นพ้น จากการผลิตที่ถูกเอาเปรียบรอบด้าน ทั้งต้นทุนการผลิตจนขาดทุนและไม่คุ้มทุน เกษตรกรจึงตกอยู่ ในภาวะงานหนักค่าตอบแทนต่ำ ด้วยการยุยงส่งเสริมสร้างค่านิยมให้เพิ่มผลผลิตด้วยการใช้สารกระตุ้นที่เป็น เคมีภณ ั ฑ์ทางการเกษตร จนเกิดเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ เกษตรกรไทยจึงตกในสภาพเลือดเขียว หมายถึง ในกระแสเลือดเต็มไปด้วยสารพิษจนอยูใ่ นสภาพคนป่วย ต้องมีภาระค่าใช้จา่ ยสูงเกินกว่าธรรมดาของเกษตรกร จะรับได้ นำไปสู่การใช้ที่ดินไปค้ำประกันการกู้ยืม ในที่สุดถูกยึดที่ดินทำกินจนกลายสภาพเป็นคนถูกยึดที่ดิน ทำกิน สภาวะทุกข์เกินทนของเกษตรกรเห็นเป็นที่ประจักษ์จนลูกหลานหลีกหนีไม่ประสงค์ที่จะสืบต่ออาชีพ ผู้ผลิตที่ทรงเกียรติ์อีกต่อไป
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) การเกษตรตามทฤษฎีสมคบคิดของทุนนิยมตะวันตก ส่งเสริมให้สร้างผลผลิตสูงสุดด้วยการเกษตรเคมี เชิงเดี่ยว ทำให้ผลผลิตไม่หลากหลายเกิดภาวะตกต่ำ และผลผลิตเกินล้นตลาด ราคาตกต่ำ อันเนื่องมาจาก นโยบายส่วนใหญ่เกิดจากรัฐให้ลดเพิ่มผลผลิต ด้วยการควบคุมการผลิตแต่ละช่วงเวลา ทำให้ต้นทุนสูง และการกระตุ้นให้เกษตรกรใช้สารเคมีและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ทำให้เพิ่มความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ระบบเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวใช้สารเคมีมากทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีในระดับอันตราย จนเป็นอาชีพที่ป่วยไข้ จากสารเคมีสูงสุด ระบบการจัดการต้องการผลผลิตสูงสุดแบบทุนนิยม สุดท้ายผูแ้ ข็งแรงต้องยึดทีด่ นิ ของประชาชน รัฐละเลย ต่อการคุ้มครองอาชีพและที่ดิน และไม่สร้างทางเลือกในการสร้างหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สิน จึงทำให้ที่ดิน ของเกษตรกรเกิดความเสี่ยงจนตกอยู่ในระบบนายทุน และธนาคารเอารัดเอาเปรียบจากการใช้ที่ดินเป็นหลัก ประกัน และสามารถยึดที่ดินทำกินของเกษตรกร สุดท้ายเกษตรกรถูกยึดหลักประกัน คือ ที่ดินทำกินจนเปลี่ยน สภาพเป็นคนสิน้ ไร้ สภาพสังคมทุนนิยมขาดการคุม้ ครองอาชีพและทีด่ นิ ของเกษตรกร และไม่มมี าตรการป้องกัน การซื้อขายที่ดินทำให้เกษตรกรสูญเสียที่ดิน รูปแบบการเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวที่ขยาย และกระจายไปทั่วทั้งประเทศทำให้ขาดสมดุลระบบนิเวศ ทำให้นำ้ ท่วม น้ำแล้ง โรคระบาด และในทางสังคมทีเ่ ห็นแก่ประโยชน์จากการลดต้นทุนการผลิต ทำให้การจัดการ แรงงานและรายได้ในอาชีพไม่เคารพในวิถีชุมชน รวมทั้งนิยมใช้แรงงานราคาถูกจากต่างด้าวในระบบ การเกษตรเสรีที่ไม่เคยปรารถนาดีจริงต่อเกษตรกร จึงขาดมาตรการส่งเสริมควบคุมผลผลิต และการประกัน - ๕๗ -
รายได้อย่างเป็นธรรม กลไกการตลาดถูกผูกขาดครอบงำ และในทีส่ ดุ ประชาชนหมดทีด่ นิ ทำกินต้องรุกทีส่ ว่ นรวม และครอบครองทำกินโดยมิชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง เกษตรกรจึงตกอยู่ในภาวะขาดการ แก้ปัญหาที่ดินทำกินที่ยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) สิ่งที่ทำให้แผ่นดินประเทศไทยและเกษตรกรหลุดพ้นจากภาวะที่โดนเอาเปรียบ และยืนหยัดต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด มั่นคง เกษตรกรต้องทำเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ เพื่อความสมดุลนิเวศในการเกษตร และให้ปลูกต้นไม้ในพื้นที่เกษตรและรัฐรับรองต้นไม้ที่มีชีวิตที่เป็นทรัพย์ เกิดการเท่าเทียมที่มีต้นไม้เป็นทรัพย์ และเป็ น หลั ก ประกั น ในการกู ้ ย ื ม อั น จะทำให้ เ กษตรกรสามารถมี อ าหาร และที ่ ด ิ น ที ่ ม ั ่ น คงพึ ่ ง ตนเองได้ อย่างปลอดภัย พอเพียง มีสุขภาวะปลอดภัยจากสารพิษ การเกษตรที่เคารพผู้ผลิตจะให้ค่าตอบแทนที่สมดุล ไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ให้ผู้อื่นเอาเปรียบ และเนื่องจากเกษตรกรถูกรุกจนถอยไปถือครองที่ดินส่วนรวมที่มี สภาพเป็นป่ามาก่อนเป็นที่ทำกินและอยู่ในสภาพผู้ครอบครองอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงต้องทำให้การ ถือครองที่ดินทำกินชอบด้วยกฎหมายตามแนวทางที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
แนวทางปฏิรูป (มรรค) เพือ่ เปลีย่ นแปลงไปสูอ่ าชีพการเกษตรและการใช้ประโยชน์พฒ ั นาทีย่ ง่ั ยืน มัน่ คงเป็นธรรม แนวทางโดยรวม จึงต้องสร้างสมดุลในพืน้ ทีใ่ ห้เกิดความหลากหลายโดยการปลูกต้นไม้ และสร้างเกษตรแบบป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง หรือวนเกษตร ตามแนวพระราชดำริที่ทรงคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างคารวะวิถีธรรมชาติ และความอยู่รอดของวิถีชีวิตป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง มีส่วนผสมของการปลูกต้นไม้ รัฐต้องสร้าง หลักประกันแก่เกษตรกรด้วยการสร้างต้นไม้ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์ และเป็นหลักประกันแทนและควบคู่กับที่ดิน เพื่อสร้างความภูมิใจในอาชีพ และสร้างมาตรการคุ้มครองอาชีพที่ดิน ปัจจัยการผลิตและอาหารแก่เกษตรกร สร้างเกษตรอินทรีย์ทุกพื้นที่จะเป็นการสร้างระบบการผลิตที่หลากหลาย พอดี และค่าตอบแทนที่คุ้มค่าสมดุล และลดการใช้สารเคมีทุกประเภท สามารถสร้างผลผลิตที่หลากหลายในหลายช่วงเวลา ทำให้ขจัดระบบผูกขาด การตลาดโดยใช้สหกรณ์ ถ้าสามารถสร้างกลุม่ เกษตรกรให้เคารพการอยูร่ ว่ มกันในสิทธิบคุ คลของระบบสหกรณ์ และการคิดคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม ต้องสร้างมาตรการจัดการแรงงานที่เคารพวิถีชุมชน และสร้างรายได้คุ้มค่ากับแรงงานในชาติก่อนแรงงานต่างด้าว และเคารพความจริงของสังคมที่คนครอบครอง ที่ดินทำกินทั้งชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมายล้วนเกิดมาจากการถูกบีบคั้น รัฐจำเป็นที่จะต้องรับรองพื้นที่ทำกิน ให้ชอบด้วยกฎหมายอย่างมีเงือ่ นไข โดยให้มที ด่ี นิ ของรัฐ ผลผลิตเป็นของเกษตรกรและในพืน้ ทีส่ งู ให้ปลูกต้นไม้ เป็นผลผลิตทางการเกษตร
- ๕๘ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : การเกษตรและการใช้ประโยชน์ที่ดิน การจัดกลุ่ม เศรษฐกิจ กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา
๑. ถูกเอาเปรียบ ๑. ผลผลิตไม่หลากหลายและผลผลิตเกิน ล้นตลาด ราคาตกต่ำอันเนื่องมาจากนโยบาย ๒. เป็นหนี้สิน ๒. ต้นทุนสูง และการกระตุ้นให้เกษตรกร ๓. ขาดทุน ใช้สารเคมีและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม และไม่คุ้มทุน ๓. เกษตรเคมีเชิงเดี่ยวใช้สารเคมีมาก ทำให้ ๔. งานหนัก ร่างกายได้รับสารเคมีในระดับอันตราย ค่าตอบแทนต่ำ ๔. การไม่คุ้มครองและไม่สร้างทางเลือกในการ ๕. เจ็บป่วยจาก สร้างหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้สิน การประกอบ อาชีพ ๕. ระบบนายทุนและธนาคารเอารัดเอาเปรียบ จากการใช้ที่ดินเป็นหลักประกันและสามารถ ๖. ถูกยึดที่ดิน ยึดที่ดินทำกินของเกษตรกร ทำกิน ๖. ขาดการคุ้มครองอาชีพและที่ดินของ ๗. ไร้ที่ดินทำกิน เกษตรกร ๗. ไม่มีมาตรการป้องกันการซื้อขายที่ดินทำให้ เกษตรกรสูญเสียที่ดิน ๘. ขาดสมดุลระบบนิเวศทำให้น้ำท่วม น้ำแล้ง โรคระบาด ๙. การจัดการแรงงานและรายได้ในอาชีพ ไม่เคารพในวิถีชุมชน รวมทั้งนิยมใช้แรงงาน ราคาถูกจากต่างด้าว ๑๐. ขาดมาตรการส่งเสริมควบคุมผลผลิต และการประกันรายได้อย่างเป็นธรรม ๑๑. กลไกการตลาดถูกผูกขาดครอบงำ ๑๒. ขาดการแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่ยังไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย
นิโรธ มรรค ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ ภาวะที่ต้องการ ๑. เกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ ๒. ความสมดุลนิเวศในการ เกษตร
๑. สร้างสมดุลในพื้นที่ให้เกิดความ หลากหลายโดยการปลูกต้นไม้ และสร้างเกษตรแบบป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง หรือวนเกษตร
๓. เกิดการเท่าเทียมที่มีต้นไม้ ๒. สร้างหลักประกันแก่เกษตรกรด้วย เป็นทรัพย์และเป็นหลัก การสร้างต้นไม้ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์และ ประกันในการกู้ยืม เป็นหลักประกันแทนและควบคู่ กับที่ดิน ๔. มีอาหารและที่ดินที่มั่นคง พึ่งตนเองได้อย่างปลอดภัย ๓. สร้างความภูมิใจในอาชีพ และสร้าง พอเพียง มีสุขภาวะปลอดภัย มาตรการคุ้มครองอาชีพที่ดิน จากสารพิษ ปัจจัยการผลิตและอาหารแก่เกษตรกร ๕. ค่าตอบแทนที่สมดุล ๖. ถือครองที่ดินทำกินอย่าง ชอบด้วยกฎหมายตามแนว ทางที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
๔. สร้างเกษตรอินทรีย์ทุกพื้นที่ และ สร้างมาตรฐานวิถีชีวิต พึ่งตนตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๕. สร้างระบบการผลิตที่หลากหลาย พอดี และค่าตอบแทนที่คุ้มค่าสมดุล ๖. ลดการใช้สารเคมีทุกประเภท ๗. ขจัดระบบผูกขาดการตลาดโดยใช้ สหกรณ์ ๘. สร้างมาตรการจัดการแรงงานที่ เคารพวิถีชุมชนและสร้างรายได้คุ้มค่า กับแรงงานในชาติก่อนแรงงาน ต่างด้าว ๙. รับรองพื้นที่ทำกินให้ชอบด้วย กฎหมายอย่างมีเงื่อนไขโดยให้มีที่ดิน ของรัฐ ผลผลิตเป็นของเกษตรกรและ ในพื้นที่สูง ให้ปลูกต้นไม้เป็นผลผลิต ทางการเกษตร
- ๕๙ -
๓.๗ แนวทางการปฏิรูปการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื ่ อ มนุ ษ ย์ ผ ู ้ แ ข็ ง แรงกอบโกยแย่ ง ชิ ง เอาทรั พ ย์ จ ากผู ้ อ ่ อ นแอจนหมดทางไป มนุ ษ ย์ ผ ู ้ ไ ร้ ท างเลื อ ก ย่อมจะต้องรุกรานสิ่งที่อ่อนแอกว่า คือ ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวันหนึ่งเมื่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมถูกรุกราน ทำลายมากเกินขอบเขต จะเกิดภัยพิบัติ และภาวะยากเข็ญข้นแค้นของมนุษย์ และเป็น วันไร้ทางออกอย่างสิ้นเชิงของมนุษยชาติ เหตุทั้งหลายมาจากการทรยศและขบถต่อคำสั่งสอนของเหล่าศาสนา ที่พร่ำสอนให้มนุษย์ใช้ชีวิตและความเป็นอยู่อย่างพอดี ไม่เอาส่วนเกินมาสะสมเพราะเป็นการเอาเปรียบเบียด เบี ย นทั ้ ง เพื ่ อ นมนุ ษ ย์ และสิ ่ ง แวดล้ อ ม ในโลกมนุ ษ ย์ ย ุ ค สมั ย แห่ ง วั ต ถุ น ิ ย มมุ ่ ง สะสมส่ ว นเกิ น เพื ่ อ เกิ ด ความสุขสบายมากจนเกินเหตุ มิจฉาทิฐิ อหังการ์ ทระนง โดยขาดความเคารพต่อวิถีธรรมชาติ ผลทีป่ รากฏต่อมนุษย์ผเู้ บียดเบียน คือ ต้องเผชิญกับทุกข์นานัปการเกินทีจ่ ะแก้ไขเยียวยา หากยังใช้ชดุ ความรู้ และเป้าหมายเดิมที่หวังสนองความสุขเพียงช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่เคารพหลักการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่าง มนุษย์ กับทรัพยากรสิ่งแวดล้อม
ปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทุกข์) ความทุกข์ที่มนุษย์ต้องเผชิญโดยรวมอย่างไม่เลือกหน้าและยากจะหลีกเลี่ยงซึ่งพบเห็นได้อย่างชัดแจ้ง คือ ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ อันประกอบด้วยอุทกภัยทีร่ วดเร็วรุนแรงเหนือการคาดการณ์ ภัยแล้งทีม่ าอย่างรวดเร็ว เป็นความแล้งร้อนร้าย ทำให้ระบบสรรพชีวิตต้องล้มตายอย่างน่าพรั่นพรึง การรุกทำลายความสมดุลของมนุษย์ยังส่งผลยิ่งใหญ่ทั้งโลกให้ร้อนร้าย เปลี่ยนสภาวะโลกให้กลายเป็น ภาวะสูญพันธุ์ของพืชและสรรพสัตว์ และลำแสงพิษส่องโลกจนชั้นบรรยากาศเป็นช่องโหว่อย่างน่าหวาดหวั่น เกิดโรคภัยพิสดารเพิ่มขึ้น โรคระบาดสะเทือนโลก ทั้งมนุษย์ สัตว์ พืช อาจถึงขึ้นล้มตายและสูญสิ้นสายพันธุ์ ในวันข้างหน้า ยังมีสารพิษรอบด้านที่ก่อเกิดจากความมักง่ายจนเดือนร้อนถ้วนทั่ว แม้คนที่ไม่ได้ลงมือกระทำ แต่ต้องรับกรรมด้วย บรรยากาศและสภาพพื้นที่ขาดสมดุลนิเวศโดยทั่วทำให้แผ่นดินขาดความร่มเย็นเป็นสุข ทั้งทางนิเวศ และทางสังคม จนในที่สุดความขาดแคลนซึ่งทรัพยากรที่จะประทังและเกื้อกูล หรือแม้แต่การจัดการที่ไร้ ความเป็นธรรมทำให้คนอ่อนแอไม่อาจเข้าถึงทรัพยากร ประหนึ่งว่าทรัพยากรนั้นมีเพียงเพื่อยังประโยชน์ ให้แก่ชนชั้นผู้แข็งแรงเท่านั้น
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) การณ์ทั้งหลายเป็นผลมาจากเหตุที่ล้วนแต่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ขาดสมดุลนิเวศทั้งในพื้นที่เล็ก และพื้นที่ ใหญ่ทั้งลุ่มน้ำ ด้วยการรุกล้ำทำลายจากการถูกรุกเบียดต่อมาเป็นลูกโซ่ จำนวนต้นไม้ในประเทศมีน้อย ไม่เพียงพอต่อสมดุลนิเวศ ทำให้ก่อเกิดภัยพิบัติ และยิ่งไปกว่าสิ่งใด การขาดสมดุลในพื้นที่เกษตรจากการ ทำเกษตรแบบเคมีเชิงเดี่ยว ด้วยความโลภที่ต้องการผลผลิตสูงสุดเพื่อการสะสมส่วนเกินแห่งกำไร - ๖๐ -
กฎหมาย และกฎทางสังคมปิดโอกาส และไม่สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนในการจัดการทรัพยากร ทำให้ เอาเปรียบซึง่ กันและกัน การจัดการสิง่ แวดล้อมยังขาดกระบวนการมีสว่ นร่วมของประชาชน และความไม่เคารพ วิถีธรรมชาติ เมื่อประชาชนถูกรุกรานสิทธิ์จากกฎทางสังคมทุนนิยม จึงต้องเอาที่ดินทำกินไปแลก แล้วจบลง ที่ประชาชนสูญเสียที่ดินทำกิน จึงเกิดการบุกรุกพื้นที่ส่วนรวมเพราะความไม่เสมอภาคเท่าเทียมและไร้ทางออก จึงก่อเกิดอวิชชา คิดการณ์อยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติแค่เวลาสั้นๆ เฉพาะหน้า จึงพบกับความจริงว่า ประชาชนขาดสำนึกอนุรักษ์ในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และด้วยความทระนง อหังการ์ของมนุษย์ จึงได้คิดค้นวิธีที่พิสดารเพื่อความอยู่รอดบนการเอาชนะธรรมชาติ ประชาชนขาดสำนึกอนุรักษ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อมล้วนเป็นเหตุแห่งปัญหาก่อเกิดทุกข์แท้แก่มนุษยชาติ
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) ปลายทางทีส่ งั คมประสงค์จะอยูร่ ว่ มกับทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอย่างสงบสันติ คือ ภาวะทีเ่ กิด สมดุลระบบนิเวศทุกพื้นที่ทั่วประเทศอย่างยั่งยืน ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ความอุดมสมบูรณ์ของส่วนเสี้ยวหนึ่งใด ของประเทศ และยังต้องร่วมกันลงมือทำให้มีต้นไม้ปริมาณมากพอทั่วประเทศ ทั้งพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และในป่า เพราะต้นไม้เป็นวิศวกรรมธรรมชาติทพ่ี ระเจ้าประทานเพือ่ สันติสขุ แก่สรรพสิง่ และต้นไม้เปรียบเสมือน พระโพธิสัตว์ผู้คอยให้ความรักเมตตาด้วยความบริสุทธิ์ สงบ ในความสงบงามและเท่าเทียม โอกาสทางกฎหมายทีป่ ระชาชนเข้าถึงทรัพยากรและมีใช้อย่างพอเพียง และการทำให้ประชาชนมีจติ สำนึก รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์จะได้เห็นทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า ที่ยั่งยืนเกื้อกูล ความสมดุลให้แก่วิถีชีวิตและแผ่นดิน
แนวทางปฏิรูป (มรรค) แนวทางอันถูกต้องสมดุลและเป็นกลาง เคารพวิถีธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่จะทำให้ต้องกล้าที่จะเกิด การสร้างสมดุลนิเวศในพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตร และพื้นที่ทำกินโดยให้ปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายโดยการ สร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ โดยการรับรองต้นไม้ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์ และได้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม ซึ่งจะทำให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในพื้นที่เกษตรกระจายอย่างครอบคลุมรวดเร็ว ทั้งควรตั้งองค์กรจัดการต้นไม้ เป็นของประชาชน เช่น ธนาคารต้นไม้ ส่วนสำคัญต้องขจัดข้อปัญหาอุปสรรคต่อการปลูกต้นไม้ โดยปรับปรุง และแก้ไขกฎหมายให้เป็นการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ และจัดการผลผลิตไม้ สร้างรูปแบบและกระบวนการกักเก็บ และการควบคุมการปลดปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นธรรม ในส่วน ของสั ง คมคนในชาติ ต ้ อ งส่ ง เสริ ม การจั ด การทรั พ ยากรและสิ ่ ง แวดล้ อ มที ่ เ ป็ น ธรรมด้ ว ยการน้ อ มนำเอา พระราชดำริปลูกต้นไม้ในใจคนให้มีสำนึกอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากร และทำให้ประชาชนปลูกต้นไม้ลง ในแผ่นดินเสมือนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า และมนุษย์ ต้ อ งอ่ อ นน้ อ มต่ อ ความยิ ่ ง ใหญ่ ข องธรรมชาติ ด ้ ว ยการสร้ า งรู ป แบบการจั ด การสิ ่ ง แวดล้ อ ม ดิ น น้ ำ ป่ า ที่เคารพหลักธรรมชาติ - ๖๑ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดกลุ่ม สิ่งแวดล้อม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา ๑. ภาวะภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง โลกร้อน โรคระบาด
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๑. ขาดสมดุลนิเวศทั้งใน พื้นที่เล็ก และพื้นที่ใหญ่ ทั้งลุ่มน้ำ
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ
๑. เกิดสมดุลระบบนิเวศทุกพื้นที่ ทั่วประเทศอย่างยั่งยืน
๑. สร้างสมดุลนิเวศในพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่เกษตร พื้นที่ทำกินโดยให้ปลูกต้นไม้อย่างหลากหลาย
๒. มีต้นไม้ปริมาณมากพอทั่ว ๒. จำนวนต้นไม้ในประเทศ ประเทศทั้งพื้นที่ทำกิน ที่อยู่ มีน้อยไม่เพียงพอต่อสมดุล อาศัย และในป่า ๒. มลพิษรอบ นิเวศ ทำให้ก่อเกิดภัยพิบัติ ด้าน ๓. โอกาสทางกฎหมาย ๓. ขาดสมดุลในพื้นที่ ที่ประชาชนเข้าถึงทรัพยากร ๓. ขาดความ เกษตรจากการทำเกษตร และมีใช้อย่างพอเพียง สมดุลนิเวศ แบบเคมีเชิงเดี่ยว และความร่มเย็น ๔. ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ ๔. กฎหมาย และกฎ สัตว์ป่าที่ยั่งยืนเกื้อกูลความสมดุล ๔. ขาดแคลน ทางสังคมปิดโอกาส ให้แก่วิถีชีวิตและแผ่นดิน และไม่สามารถ และไม่สร้างแรงจูงใจ เข้าถึงทรัพยากร ให้ประชาชนในการจัดการ ๕. ประชาชนมีจิตสำนึกรัก และ ทรัพยากร หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ๕. การจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมยังขาด กระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชน และความไม่ เคารพวิถีธรรมชาติ ๖. ประชาชนสูญเสียที่ดิน ทำกินจึงบุกรุกพื้นที่ส่วนรวม ๗. ประชาชนขาดสำนึก อนุรักษ์ในการจัดการ สิ่งแวดล้อม ๘. การใช้วิศวกรรมและ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ธรรมชาติเกินขอบเขต
- ๖๒ -
๖. การใช้วิศวกรรมและ เทคโนโลยีที่เคารพวิถีธรรมชาติ ๗. ปราศจากมลพิษ
๒. สร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ โดยการรับรอง ต้นไม้ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์ และได้ค่าตอบแทนที่เป็น ธรรม ๓. ตั้งองค์กรจัดการต้นไม้เป็นของประชาชน เช่น ธนาคารต้นไม้ ๔. ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายให้เป็นการส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ และจัดการ ผลผลิตไม้ สร้างรูปแบบและกระบวนการกักเก็บ และการควบคุม การปลดปล่อยคาร์บอนอย่างเป็น ธรรม ๕. ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็น ธรรม ๖. ปลูกต้นไม้ในใจคนให้มีสำนึกอนุรักษ์ และหวงแหน ทรัพยากร ๗. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้ สัตว์ป่า ๘. สร้างรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า ที่เคารพหลักธรรมชาติ ๙. สร้างระบบการควบคุมมลพิษ ด้วยเทคโนโลยี ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๑๐. ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงนิเวศ
๓.๘ การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินตามแนวทางธนาคารต้นไม้ ปัญหาการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินตามแนวทางธนาคารต้นไม้ (ทุกข์) การสูญเสียจุดยืนที่สำคัญที่สุดของเกษตรกร และคนในชนบท คือ การสูญเสียที่ดินทำกิน ทักษะชีวิต และการพึ่งตนด้านอาหาร ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ทั่วโลก ว่าด้วยระบบทุนนิยมเสรีเกษตรกรรายย่อย และคนชนบทต้องสูญเสียที่ดิน ในระบบนี้ประชาชนถูกเอาเปรียบและไม่มีทางเลือกที่ยั่งยืนมั่นคง เนื่องจากระบบทุนนิยมบีบบังคับให้ ที่ทำกินเป็นหลักทรัพย์ และหลักประกันในการกู้ยืม เพื่อการลงทุนและดำรงชีพ จนสูญสิ้นไม่มีทรัพย์สินถาวร ทำให้ต้องสิ้นไร้อาชีพและรายได้ที่เพียงพอ จึงพาตัวเองไปรับใช้แรงงานในสังคมเมือง ทำให้สังคมเสื่อมทรุด ไม่มีคนดูแลคนวัยชราและเด็กในชนบท เกิดภัยพิบัติน้ำท่วม น้ำแล้ง ความร้อนร้ายจากภาวะโลกร้อน น่าจะหาทางเยียวยา แก้ไขด้วยการปลูกต้นไม้ให้สมดุลนิเวศ แต่ถูกจำกัดสิทธิ ขาดอิสระในการปลูกต้นไม้ และจัดการผลผลิตจากไม้ ทำร้ายทำลาย สร้างอุปสรรคในแรงจูงใจ ด้วยการออกกฎหมายหลากหลายรูปแบบ สกัดตัดสิทธิ์ไม่ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนเอง จนทำให้ไม่มีไม้เพียงพอในการใช้ และขาดแคลน สมดุลนิเวศ ตลอดจนความมั่นคงทางอาหาร พลังงานทางเลือกอย่างสิ้นเชิง
เหตุแห่งปัญหา (สมุทัย) การสร้ า งหนี้สินจากการส่งเสริมจูงใจของภาครัฐ โดยให้ใช้ที่ดินทำกินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นเหตุหลักของการสูญเสียที่ดิน รัฐไม่สร้างทางเลือกให้ประชาชนให้ต้นไม้ได้เป็นทรัพย์ขณะที่ยังมีชีวิต ประชาชนไร้ทางเลือก จึงต้องใช้ที่ดินเป็นทรัพย์ในการค้ำประกัน และรัฐออกกฎหมายละเมิดสิทธิในการปลูก และจัดการผลผลิตไม้ ทำให้มีอุปสรรคและข้อจำกัดในการปลูก และจัดการผลผลิตไม้จากกฎหมาย และการ ปฏิบตั ไิ ม่เห็นคุณค่าของต้นไม้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ จึงขาดการสร้างแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ ปริมาณต้นไม้นอ้ ย และขาดความหลากหลาย ประชาชนทีเ่ ป็นเกษตรกรจึงพึง่ ตนไม่ได้ ในพืน้ ฐานความพอเพียงเบือ้ งต้น คือ อาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต และชุดความรู้ ความเชื่อ จึงนำไปสู่สังคมล่มสลายในที่สุด
ภาวะพึงประสงค์ (นิโรธ) ถ้าหากรัฐชาติกล้าหาญที่จะปฏิวัติความคิดทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมด้วยมิติใหม่ เอาต้นไม้ซึ่งเป็น ประดุจพระโพธิสตั ว์ผใู้ ห้ทกุ สิง่ แก่มวลมนุษย์ดว้ ยความเมตตา บริสทุ ธิ์ ถูกต้อง อดทน ด้วยการทำให้ตน้ ไม้ทม่ี ชี วี ติ ของประชาชนได้รับการรับรองมูลค่าให้เป็นทรัพย์ ลักษณะอสังหาริมทรัพย์เชิงซ้อนสามารถนำทรัพย์จากต้นไม้ ทั้งเนื้อไม้ มวลคาร์บอน และการบริการทางนิเวศไปใช้แทนหลักทรัพย์อื่น เช่น โฉนด ทองคำ เงินตรา ประชาชน จะไม่สูญเสียที่ดินอีกเลย และจะทำให้ประชาชนปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายในพื้นที่ทำกิน ทั้งจะเกิดสมดุล ระบบนิเวศ ด้วยต้นไม้เกื้อกูลความผาสุก อาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต ทำให้มีความมั่นคงในอาชีพ และที่ดิน มีพลังงานทางเลือกจากไม้หลากหลายรูปแบบ สร้างสังคมที่สงบสันติสุขได้ด้วยต้นไม้ ด้วยบรรยากาศ - ๖๓ -
ของสัมมาชีพจากต้นไม้ เราจะมีพื้นที่สีเขียวกระจายในทุกภูมินิเวศอย่างหลากหลาย และมีการจัดการผลผลิต ไม้อย่างเป็นธรรมเสรี ก่อเกิดการพึ่งตนและเกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจยั่งยืนเสมือนสังคมยุคพระศรีอารย์ ที่มีต้นกัลปพฤกษ์ ๔ มุมเมือง ประชาชนไปสอยเอาทรัพย์อย่างผาสุกยั่งยืน หมายถึง บ้านเมือง และชนบท ที่อยู่ของมนุษย์ มีต้นไม้อายุยืน ธรรมชาติยั่งยืนห้อมล้อมรอบทุกทิศทาง และเป็นทรัพย์เกื้อกูลความผาสุก ให้มนุษย์ได้อย่างสมบรูณ์ และมีความรักกันเสมอเพื่อน จากการที่ประชาชนมีความเท่าเทียมในการมีทรัพย์ จากต้นไม้ เพราะการได้มาซึ่งทรัพย์จากต้นไม้จะทำให้ทุกคนมีโอกาสโดยเท่าเทียมกันจากการเติบโตของต้นไม้ และการได้ ม าของทรั พ ย์ ก ็ ไ ม่ ท ำให้ ผ ู ้ อ ื ่ น เสี ย ทรั พ ย์ เพราะทรั พ ย์ ม าจากการสะสมคาร์ บ อนของต้ น ไม้ ตลอดจนทำให้โลกเย็นลง
แนวทางปฏิรูป (มรรค) การออก พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้ที่มีชีวิตมีมูลค่าเป็นทรัพย์ สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์แทนที่ดิน เพือ่ ป้องกันการสูญเสียทีด่ นิ และอืน่ ๆ โดยเพิม่ เติม และสร้างแรงจูงใจโดยให้คา่ ตอบแทนการปลูกและดูแลต้นไม้ และรับรองต้นไม้ทป่ี ระชาชนปลูกเป็นไม้ทถ่ี กู ต้องตามกฎหมาย ด้วยการส่งเสริมการปลูกต้นไม้อย่างหลากหลาย และเสรี โดยส่งเสริมให้มีการจัดการผลิตที่เสรี เช่น พืชเกษตรอื่นๆ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ โดยกลุ่มประชาชน และให้สิทธิในการปลูกในที่ดินทำกินทุกประเภท รับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ โดยมีเงื่อนไขจากการ ปลูกต้นไม้ ส่งเสริมการใช้ไม้ทั้งเนื้อไม้ เพื่อก่อสร้างเครื่องใช้ และพลังงานชีวมวลอย่างจริงจัง ปรับปรุงแก้ไข กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพในการปลูก และจัดการผลผลิตจากต้นไม้ ซึ่งประชาชนชาวธนาคารต้นไม้ทั่วประเทศ กว่า ๓๐๐,๐๐๐ ราย รวมเป็นธนาคารต้นไม้สาขากว่า ๓,๐๐๐ สาขา ได้ทำตัวอย่างการจัดการโดยการปลูก ต้นไม้ในที่ดินทำกินของตนเองมานานแล้ว และเสนอร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ที่ขยาย และผสานมิติการปฏิรูป ประเทศทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม อย่างกลมกลืน
ปฏิวัติความคิดทางเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ด้วยวิศวกรรมธรรมชาติ สร้างต้นไม้เป็นทรัพย์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ
“พอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน” - ๖๔ -
หัวข้อและประเด็นนำเสนอ : การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินตามแนวทางธนาคารต้นไม้ การจัดกลุ่ม สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กรอบอริยสัจสี่ ทุกข์ ปัญหา ๑. สูญเสียที่ดิน ของเกษตรกร
สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ๑. หนี้สินจากการใช้ที่ดินไป ค้ำประกันหนี้
๒. ภัยพิบัติน้ำท่วม ๒. ใช้พื้นที่ทำกินทำการเกษตร น้ำแล้ง โลกร้อน เคมีเชิงเดีย่ ว ทำให้ขาดสมดุลนิเวศ เนื่องจากปริมาณต้นไม้ที่น้อย ๓. ประชาชน และขาดความหลากหลาย ถูกเอาเปรียบ และไม่มีทางเลือก ๓. มีอุปสรรคและข้อจำกัด ที่ยั่งยืนมั่นคง ในการปลูก และจัดการผลผลิต ไม้จากกฎหมาย และการปฏิบัติ ๔. ไม่มีไม้เพียงพอ ไม่เห็นคุณค่าของต้นไม้ในเชิง ในการใช้ เศรษฐศาสตร์
นิโรธ ภาวะหลุดพ้น ผลปลายทาง ภาวะที่ต้องการ
มรรค ชีวิตแนวทาง เครื่องมือสู่ภาวะนิโรธ
๑. ต้นไม้ที่มีชีวิตของประชาชน ได้รับการรับรองมูลค่าให้เป็น ทรัพย์ ลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เชิงซ้อน
๑. ออก พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้ ที่มีชีวิตมีมูลค่า เป็นทรัพย์สามารถใช้เป็น หลักทรัพย์แทนที่ดิน เพื่อป้องกันการสูญเสีย ที่ดิน และอื่นๆ
๒. ประชาชนปลูกต้นไม้อย่าง หลากหลายในพื้นที่ทำกิน
๒. สร้างแรงจูงใจโดยให้ค่าตอบแทนการปลูก และดูแลต้นไม้
๓. เกิดสมดุลระบบนิเวศ
๓. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้อย่างหลากหลาย และเสรี
๔. ต้นไม้เกื้อกูลความผาสุก อาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต
๕. มีความมั่นคงในอาชีพและ ๕. ไม่มีทรัพย์สิน ๔. ขาดการสร้างแรงจูงใจในการ ที่ดิน ถาวร ปลูกต้นไม้ ปริมาณต้นไม้น้อย และขาดความหลากหลาย ๖. มีพลังงานทางเลือกจากไม้ ๖.ขาดแคลน หลากหลายรูปแบบ พลังงานทางเลือก ๕. ต้นไม้ไม่เป็นทรัพย์ขณะที่ มีชีวิต ประชาชนไร้ทางเลือก ๗. สร้างสังคมที่สงบสันติสุขได้ ๗. สังคมเสื่อมทรุด จึงต้องใช้ที่ดินเป็นทรัพย์ในการ ด้วยต้นไม้ ไม่มีคนดูแล ค้ำประกัน คนวัยชรา และเด็ก ๘. การจัดการผลผลิตไม้อย่าง ในชนบท ๖. ไม่มีการส่งเสริมให้ใช้พลังงาน เป็นธรรมเสรี ก่อเกิดการ จากชีวมวลอย่างจริงจัง พึ่งตน และเกิดการฟื้นฟู ๘. ถูกจำกัดสิทธิ ทั้งกฎหมายที่เป็นอุปสรรค เศรษฐกิจยั่งยืน ขาดอิสระใน ในการใช้พลังงานชีวมวล การปลูกต้นไม้ และ ๙. ความเท่าเทียมในการมีทรัพย์ จัดการผลผลิต ๗. ลูกหลานขาดความมั่นใจ จากต้นไม้ จากไม้ ในอาชีพและที่ดินจึงเดินทาง จากครอบครัวไปเพื่อประกอบ ๙. ไร้อาชีพ อาชีพอื่น และรายได้ ๘. รัฐออกกฎหมายละเมิดสิทธิ์ ในการปลูกและจัดการผลผลิตไม้
๔. ส่งเสริมให้มีการจัดการผลผลิตที่เสรี เช่น พืชเกษตรอื่น ๕. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้โดยกลุ่มประชาชน ๖. รับรองต้นไม้ที่ประชาชนปลูกเป็นไม้ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ๗. ให้สิทธิ์ในการปลูกในที่ดินทำกินทุกประเภท ๘. รับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ โดยมี เงื่อนไขจากการปลูกต้นไม้ ๙. ส่งเสริมการใช้ไม้ทั้งเนื้อไม้ เพื่อก่อสร้าง เครื่องใช้ และพลังงานชีวมวลอย่างจริงจัง ๑๐. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สิทธิเสรีภาพ ในการปลูก และจัดการผลผลิตจากต้นไม้
- ๖๕ -
บทคัดย่อธนาคารต้นไม้ โดย นายพงศา ชูแนม ผู้จัดการใหญ่ธนาคารต้นไม้
ความหมาย : ธนาคารต้นไม้เป็นองค์กรภาคประชาชน รวมตัวกันจัดตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ให้หลากหลายในพื้นที่เกษตรที่เป็นที่ดินทำกินของตนเอง แล้วจัดทำทะเบียนข้อมูล ต้นไม้ประเภทไม้ป่าที่ใช้เนื้อไม้ได้กับธนาคารต้นไม้สาขา ตลอดจนการประเมินมูลค่าต้นไม้ในขณะที่มีชีวิต ให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ ด้วยกระบวนการใช้พลังกลุ่ม เรียกร้อง ผลักดันให้รัฐรับรอง แล้วนำมูลค่าต้นไม้ไปใช้กับรัฐ และธนาคารของรัฐ ความเป็นมา : การกำเนิดคำ และแนวคิดธนาคารต้นไม้เมือ่ ๒๕๔๘ โดย พงศา ชูแนม ด้วยหลักคิดว่าต้นไม้ ควรมีมูลค่าขณะมีชีวิต สร้างมูลค่าต้นไม้เป็นทรัพย์เชิงซ้อนในที่ดิน และใช้เป็นเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ แก้ปัญหาวิกฤตการณ์มนุษยชาติทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และสร้างแนวทางการนำคาร์บอน ที ่ ส ะสมในต้ น ไม้ เ ป็ น ค่ า กลางในการแลกเปลี ่ ย นของมนุ ษ ย์ แ ทน บนพื ้ น ฐานความเชื ่ อ ว่ า ต้ น ไม้ คื อ วิ ศ วกรรมธรรมชาติ ท ี ่ เ ป็ น ตั ว แปรกุ ญ แจสำคั ญ ของโลก หากจะฟื ้ น คื น ความสั น ติ ส ุ ข ให้ ก ั บ ประชาชน ก็จะต้องทำให้มีต้นไม้ มีป่าไม้มากขึ้นเท่านั้นเอง แต่ปัญหาที่ภาครัฐไม่สามารถทำให้ประชาชนปลูกต้นไม้ให้มี มากขึ้นได้ เพราะมีจุดอ่อน ๒ ประการ กล่าวคือ รัฐไม่มีแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ และประชาชนไม่รู้สึก ถึงความเป็นเจ้าของต้นไม้ ธนาคารต้นไม้จงึ แก้จดุ อ่อนด้วยการให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในพืน้ ทีท่ ำกินของตัวเอง จะได้รสู้ กึ เป็นเจ้าของ และให้รัฐรับรองมูลค่าต้นไม้ขณะมีชีวิตให้เป็นทรัพย์ เป็นแรงจูงใจ กอปรกับปัญหาการเป็นหนี้ของเกษตรกร ไทยเกิ ด จากการเกษตรเคมี เ ชิ ง เดี ่ ย วทำให้ ข าดทุ น เป็ น หนี ้ สุ ด ท้ า ยต้ อ งสู ญ เสี ย ที ่ ด ิ น ทำกิ น ให้ น ายทุ น แล้วหันตัวเองเข้าบุกรุกป่าที่เป็นทรัพย์ส่วนรวมของคนทั้งโลก เพื่อแผ้วถาง สร้างที่ทำกินใหม่ ส่งผลกระทบ ต่อระบบนิเวศอย่างสูงยิ่ง จุดเริ่มต้น : ปี ๒๕๔๙ จึงนำแนวปฏิบัติธนาคารต้นไม้ร่วมกับโครงการปลูกต้นไม้ใช้หนี้ของรัฐบาล แล้วขับเคลื่อนภายใต้องค์กรธนาคารต้นไม้ มีสโลแกนว่า “พอเพียง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
- ๖๖ -
โครงสร้างองค์กร : กระบวนการขับเคลื่อนขององค์กรธนาคารต้นไม้ประกอบด้วยธนาคารต้นไม้ สำนักงานใหญ่ และธนาคารต้นไม้สาขา โดยการจัดเวทีปลูกต้นไม้ในใจคน สร้างความเข้าใจ และจัดตั้ง ธนาคารต้นไม้สาขา ในแต่ละหมู่บ้าน ชุมชน ให้มีสมาชิกอย่างน้อย ๕๐ คน และกรรมการได้ทำพิธีเปิด ธนาคารต้นไม้สาขาคลองเรือ ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร เป็นแห่งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ แล้วขยายผลไปทั่วประเทศ ปัจจุบันมีกว่า ๓,๐๐๐ สาขา สมาชิกกว่า ๓๐๐,๐๐๐ คน การผลักดันสู่นโยบายรัฐ : ใช้พลังสมาชิกธนาคารต้นไม้ ผลักดันให้รัฐบาลประกาศเป็นนโยบายเมื่อ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๒ โดยดำเนินการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้จนได้แผนปฏิบัติการ ธนาคารต้นไม้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพือ่ ให้รฐั บาลดำเนินการ แต่รฐั บาลไม่ดำเนินการต่อ (ซึง่ ในแผนดังกล่าวสามารถให้สมาชิก ๒.๕ ล้านราย ปลูกต้นไม้ ๑,๗๕๐ ล้านต้น ในพื้นที่ ๔๓.๗๕ ล้านไร่ ภายในเวลา ๑๐ปี) แต่ประชาชนยังคงต่อสู้ ผลักดันต่อไป เพื่อให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน สาระสำคัญ : ประชาชนที่ปลูก หรือดูแลรักษาต้นไม้ในที่ดินทำกินของตนเอง และรวมกลุ่มกันเป็น องค์กรธนาคารต้นไม้สาขา รัฐพึงต้องรับรองมูลค่าต้นไม้ขณะมีชีวิตของผู้นั้นให้เป็นทรัพย์ ตามราคาที่ ธนาคารต้นไม้กำหนด โดยช่วงอายุ ๑-๑๐ ปี ให้รบั รองตามราคาทุน ๑๐ ปีขน้ึ ไปให้รบั รองตามราคาจริง แล้วนำมูลค่า ไปใช้ในรูปแบบบัญชีธนาคาร นำไปใช้กับรัฐแทนทรัพย์สินอื่นๆ โดยให้รัฐจ่ายค่าตอบแทนอัตราร้อยละ ๕ ของมูลค่าต้นไม้ทกุ ปี และให้ธนาคารของรัฐลดดอกเบีย้ เหลือร้อยละ ๕ สำหรับลูกหนีท้ น่ี ำต้นไม้ไปค้ำประกันหนี้ จุ ด หมายปลายทาง คื อ การใช้ ต ้ น ไม้ เป็ น เครื ่ อ งมื อ ทางเศรษฐศาสตร์ สร้ า งแรงจู ง ใจเพื ่ อ สร้ า งสมดุ ล ของระบบนิเวศ แก้ปัญหาวิกฤตการณ์ด้านภัยพิบัติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ท่ามกลางกระแส การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
- ๖๗ -
หัวใจสำคัญ และสิทธิประโยชน์ประชาชนตาม พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ พ.ศ....
สาระสำคัญ หัวใจร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ นี้มี ๔ ข้อ ๑. ต้นไม้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ขณะมีชีวิต ลักษณะอสังหาริมทรัพย์เชิงซ้อนของที่ดินสามารถแยกทรัพย์ ออกจากที่ดินได้ ๒. ต้นไม้และไม้ตาม พ.ร.บ.นี้มิใช่ต้นไม้ และไม้ตาม พ.ร.บ.อื่น และต้นไม้นี้เป็นของประชาชน ๓. มีองค์กรบริหารจัดการที่มาจากกลุ่มตัวแทนเจ้าของต้นไม้อย่างมีขั้นตอน ๔. เป็นกฎหมายสนับสนุน และสร้างแรงจูงใจ มิใช่การบังคับ อนุญาตโดยรัฐต้องจ่ายค่าตอบแทน แก่เจ้าของต้นไม้เพื่อสร้างแรงจูงใจ
สิทธิประโยชน์ของประชาชน ธนาคารต้นไม้เป็นการจัดตั้งองค์กรลักษณะพิเศษตาม พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ เพื่อกำกับดูแล และส่งเสริม การปลูกต้นไม้ตามแนวทางธนาคารต้นไม้ โดยยึดหลักสาระสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนดังต่อไปนี้ ๑. ประชาชนคนไทย ใครก็ตามที่ปลูกต้นไม้ หรือดูแลต้นไม้บนผืนแผ่นดินไทย ที่เป็นที่ดินทำกิน ของตนเองแล้ว รวมกลุ่มเข้าเป็นองค์กรธนาคารต้นไม้ รัฐพึงต้องรับรองมูลค่าต้นไม้ของผู้นั้นให้เป็นทรัพย์ ตามมูลค่าราคาที่ธนาคารต้นไม้กำหนด คือ ต้นไม้อายุ ๑-๑๐ ปี ให้ประเมินและรับรองตามราคาทุน คือ ต้นละ ๑๐๐ บาท ต่อปี และเพิม่ ขึน้ ปีละ ๑๐๐ บาท ทุกปี จนถึงปีที่ ๑๐ ต้นละ ๑,๐๐๐ บาท ทั้งนี้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ต้นไม้อายุเกิน ๑๐ ปี ประเมินและรับรองตามราคาจริงโดยการคิดคำนวณปริมาตรเนือ้ ไม้ โดยให้นำมูลค่า ไม้ที่เป็นทรัพย์ไปใช้กับรัฐ ๕ ประการดังนี้ ๑.๑) ใช้ประกันตน ๑.๒) ใช้เป็น Bank การันตี ๑.๓) ใช้เป็นสวัสดิการกับรัฐ เช่น ค่าเล่าเรียน ฯลฯ ๑.๔) ใช้เป็นหลักประกันหนี้สินกับธนาคารของรัฐแทนที่ดิน หรือทรัพย์สิน หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ๑.๕) ใช้เป็นเงินฝาก เงินออม เหมือนพันธบัตรรัฐบาล ๒. รัฐพึงต้องจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของต้นไม้เสมือนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๕ ของมูลค่าไม้ทุกปี ๓. รัฐต้องกำกับธนาคารของรัฐ (ธกส., กรุงไทย, ออมสิน, ธอส.) ให้ลดดอกเบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ปลูกต้นไม้ ไปค้ำประกันหนี้ให้เหลือร้อยละ ๕ - ๖๘ -
เหตุผลต้องมี พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ พื้นที่ประเทศ ๓๒๐.๗ ล้านไร่ เป็นป่า ๑๐๓ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๓๒ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ อืน่ ๆ เช่น ถนน เขือ่ น คลอง แม่นำ้ ฯลฯ นอกจากนัน้ เหลือเป็นพืน้ ทีเ่ กษตร และทีอ่ ยูอ่ าศัย ซึง่ ตัวเลขทีน่ า่ จะอยูร่ าว ๒๐๐ ล้านไร่ ทั้งมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน และยังไม่มี ในพื้นที่ ๒๐๐ ล้านไร่ เกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่เกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ขาดความหลากหลายและความสมดุล ระบบนิเวศ เป็นสาเหตุหลักในการเกิดปัญหาภัยพิบัติน้ำท่วม น้ำแล้ง ส่วนพื้นที่ที่เป็นป่า ๑๐๓ ล้านไร่ เป็นพื้นที่ สมดุลระบบนิเวศ ไม่ได้มีปัญหาการขาดสมดุลนิเวศจนทำให้เกิดภัยพิบัติแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้พื้นที่ที่ควรจะต้องจัดการให้เกิดสมดุลนิเวศ คือ พื้นที่เกษตร ๒๐๐ ล้านไร่นั่นเอง ซึ่งในการสร้าง สมดุลนิเวศ คือ การปลูกต้นไม้ให้หลากหลาย ผสมกับพืชเกษตรในพื้นที่เกษตร ลักษณะป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ตามพระราชดำริ หรือวนเกษตร การรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกต้นไม้ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการปลูก ในพื้นที่ป่า ๑๐๓ ล้านไร่ หรือรัฐยึดที่ดินทำกินของประชาชนมาปลูกป่า ล้วนเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ยังมีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายมากมายที่เป็นอุปสรรคในการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในพื้นที่ ทำกิน ประชาชนจึงไม่มีแรงจูงใจ และไม่รู้สึกในความเป็นเจ้าของต้นไม้ การรณรงค์ส่งเสริมที่ผ่านมาจึงไร้ผล และยังทำให้พื้นที่ป่าลดลงจนเกิดความขาดแคลนไม้ที่จะใช้ในประเทศ หากปิดจุดอ่อนที่ประชาชนไม่มีแรงจูงใจ และไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของต้นไม้ โดยการให้ประชาชน ปลูกต้นไม้ในที่ดินของตนเอง ประชาชนจะรู้สึกในความเป็นเจ้าของ แล้วรัฐรับรองต้นไม้ให้เป็นของประชาชน และรับรองมูลค่าต้นไม้ ที่มีชีวิตให้เป็นทรัพย์ และให้ค่าตอบแทนในการปลูกต้นไม้ จะเป็นการสร้างแรงจูงใจ ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ ลงในพื้นที่เกษตรอย่างหลากหลายและกระจายไปครอบคลุมทั้งประเทศอย่างรวดเร็ว ธนาคารต้นไม้ ได้ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ ให้หลากหลายในพื้นที่เกษตร ที่เป็นที่ดิน ทำกินของตนเอง แล้วจัดทำทะเบียนข้อมูลต้นไม้ประเภทไม้ป่าที่ใช้เนื้อไม้ได้กับธนาคารต้นไม้สาขา ตลอดจน การประเมินมูลค่าต้นไม้ในขณะที่มีชีวิตให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ ด้วยกระบวนการใช้พลังกลุ่ม เรียกร้อง ผลักดัน ให้รฐั รับรองมูลค่าต้นไม้ทม่ี ชี วี ติ ให้เป็นทรัพย์ แล้วนำมูลค่าต้นไม้ไปใช้กบั รัฐและธนาคารของรัฐ ทำให้ประชาชน ร่วมกันสร้างตัวอย่างการปลูกต้นไม้ดังกล่าว โดยมีสมาชิกธนาคารต้นไม้จำนวนกว่า ๓,๐๐๐ สาขา จำนวนกว่า ๓๐๐,๐๐๐ ราย กระจายไปทั่วประเทศ โดยธนาคารต้นไม้ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา และได้ผลักดัน อย่างต่อเนื่องในทุกรัฐบาลที่ผ่านมา จนมีการประกาศวาระแห่งชาติ และตั้งคณะกรรมการอนุกรรมการระดับ ชาติ เข้ามาร่วมหาข้อสรุปหลายครัง้ การส่งเสริมการปลูกต้นไม้ โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของ และรัฐรับรองมูลค่า ให้เป็นทรัพย์ จะส่งผลต่อการแก้ปัญหาความทุกข์ของประชาชน และเกิดการปฏิรูปประเด็นปัญหาต่างๆ ได้แก่ การสูญเสียทีด่ นิ ทำกิน และความมัน่ คงทางอาหาร การป้องกันภัยพิบตั ิ การขาดแคลนพลังงาน รูปแบบการเกษตร ฯลฯ การส่งเสริมการปลูกต้นไม้เช่นนี้ จะเป็นเสมือนการใช้ต้นไม้ปฏิวัติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยความเชือ่ ว่าความใน พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้จะเป็นการทำให้มสี งั คมคนปลูกต้นไม้ มีสงั คมปรองดอง มีองค์กร จัดการ และแนวปฏิบัติที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าลักษณะป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ผสานกับวิถีชีวิต ก่อเกิดผล - ๖๙ -
ผลิตทางเศรษฐกิจโดยรวม เกิดความสมดุลนิเวศยั่งยืนของผืนแผ่นดิน และบนอุดมการณ์ความเชื่อว่า “เมื่อ ต้นไม้ทป่ี ลูกและเติบโตในทีด่ นิ ของประชาชน ได้รบั การรับรองมูลค่าให้เป็นทรัพย์ขณะมีชวี ติ จะทำให้ เกิดความเท่าเทียมกันในทรัพย์ของมนุษย์ทุกคน ตั้งแต่การได้มา การสะสม การใช้ที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นการผสานเอาคุณค่า และมูลค่าไว้ด้วยกัน เพื่อก่อเกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นอย่างถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท เป็นความมั่นคงทางนิเวศ ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางพลังงานของโลกยุคนี้ และยุคอนาคต และนี่คือการปฏิวัติความเป็นอยู่ระหว่างสังคมกับสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง”
ผลที่จะก่อเกิดหากมี พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ • มีแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ และความรู้สึกเป็นเจ้าของต้นไม้ • ขจัดปัญหาอุปสรรคต่อแรงจูงใจ ในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทำกินของประชาชน • และหากดำเนินการตามแผนปฏิบัติการธนาคารต้นไม้ ๒๕๕๓ • การปลูกต้นไม้ ประเภทไม้มีคุณค่า ใช้เนื้อไม้ได้ กระจายไปอย่างหลากหลาย ในพื้นที่เกษตรประเภท ต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวนธนาคารต้นไม้ ๒๕,๐๐๐ สาขา เพิ่มพื้นที่ป่าได้อีก ๔๓.๗๕ ล้านไร่ ภายใน ๑๔ ปี โดยไม่มีใครสูญเรื่องที่ดินทำกิน และไม่สร้างปัญหาสังคม • ป้องกันการสูญเสียที่ดินของประชาชนทั่วไป และเกษตรกร ๒.๕ ล้านราย ๔๓.๗๕ ล้านไร่ • ประชาชนมีหลักทรัพย์เป็นต้นไม้ เพิ่มขึ้นจำนวน ๒.๕ ล้านล้านบาท • ประชาชนมีรายได้จากค่าตอบแทนร้อยละ ๕ ของมูลค่าต้นไม้ ๕๐๙,๖๒๕ ล้านบาท • มีต้นไม้เพิ่มขึ้น ๑,๗๕๐ ล้านต้น หรือสมาชิกธนาคารต้นไม้ ๒.๕ ล้านราย • ความสมดุลนิเวศ ในพื้นที่เกษตรร้อยละ ๑๔ ของพื้นที่ประเทศ หรือ ๔๓.๗๕ ล้านไร่ • สร้างระบบการขึ้นทะเบียนต้นไม้ทั่วประเทศ • ป้องกันภัยพิบัติโดยการดูดซับน้ำยามวิกฤตได้ ๓๐,๐๘๐ ล้านลบ.ม๓ หรือ ไร่ละ ๖๘๗.๕๔ ม๓ • เก็บกักน้ำไว้ในดิน ๓ หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ป้องกันภัยแล้งได้อย่างถาวร • ลดภาวะโลกร้อนด้วยการเก็บกักคาร์บอน ๒๖.๖๘๗ ล้านตันคาร์บอนต่อปี (๐.๖๑ ตันคาร์บอนต่อไร่ตอ่ ปี) • ธุ ร กิ จ ต่ อ เนื ่ อ งการแปรรู ป ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ม้ จากผลผลิ ต ไม้ เ ศษวั ส ดุ จ ากไม้ ท ี ่ เ หลื อ จากไม้ แ ปรรู ป ผลิตพลังงานเชื้อเพลิงชีวมวล • เกิดการจัดการแรงงานในท้องถิ่น • มีคนปกป้องการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ เพราะผู้ปลูกและเจ้าของต้นไม้ต้องการขายผลผลิต ของต้นไม้ของตนเอง • เกิดสวัสดิการแก่สังคมคนปลูกต้นไม้ • มีองค์กรภาคประชาชนผู้ปลูกต้นไม้ที่เข้มแข็ง ๒๕,๐๐๐ สาขาๆ ละ ๑๐๐ คน • สร้างความมั่นคงในครัวเรือนเกษตร ๒.๕ ล้านราย • ลดการนำเข้าไม้จากต่างประเทศ และสามารถส่งผลผลิตไม้ส่งขายต่างประเทศอย่างต่อเนื่องยั่งยืน - ๗๐ -
ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ พ.ศ.... หลักการ ต้นไม้ควรจะมีมูลค่าขณะที่มีชีวิตและเป็นทรัพย์สินได้ ประชาชนต้องมีสิทธิตามกฎหมายในต้นไม้ที่ปลูก หรือดูแลรักษาในที่ดินทำกินของตน และพื้นที่ประเทศควรมีต้นไม้มากขึ้น เพื่อสมดุลระบบนิเวศ
เหตุผล พืน้ ทีท่ ำกินของประชาชนกว่า ๒๐๐ ล้านไร่ หรือร้อยละ ๖๒ ของประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรเคมีเชิงเดีย่ ว ขาดความสมดุลนิเวศ ทำให้เกิดภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง จึงต้องฟื้นฟูให้มีต้นไม้อย่างหลากหลายผสมผสาน และกระจายโดยทั่ว แต่ประชาชนขาดแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ เนื่องจากข้อกฎหมายและการปฏิบัติ ของเจ้าหน้าที่เป็นอุปสรรค มีการจำกัดสิทธิ์ในการปลูกต้นไม้และจัดการผลผลิตไม้ การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ในทีด่ นิ ทำกินของตนเอง แล้วรัฐรับรองมูลค่าต้นไม้ทม่ี ชี วี ติ ให้เป็นทรัพย์ และให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของต้นไม้ จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่มีแรงจูงใจในการสร้างหลักทรัพย์ จากต้นไม้อย่างเท่าเทียมและไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทั้งสามารถสร้างสมดุลนิเวศใช้ป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกันการสูญเสียที่ดิน และปกป้องอาชีพเกษตรกรไว้ได้ ตลอดจนต้นไม้และผลผลิตไม้ จะสามารถสนอง ความต้องการใช้เนือ้ ไม้ และพลังงานได้อย่างพอเพียง และยังสามารถสร้างรายได้ สร้างการเติบโตของเศรษฐกิจ ของชาติได้อย่างยั่งยืน
- ๗๑ -
(ร่าง) พระราชบัญญัติ ธนาคารต้นไม้ พ.ศ.... ภูมิพลอดุลเดช ป.ร. ให้ ณ วันที่......................................... เป็นปีที่............ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยธนาคารต้นไม้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้จากการเสนอรายชื่อของประชาชนตาม รัฐธรรมนูญ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ เรียกว่า พระราชบัญญัติ ธนาคารต้นไม้ พ.ศ. .... มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติธนาคารต้นไม้ “ธนาคารต้นไม้” ไม่ใช่ ธนาคารตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ “ธนาคารต้นไม้” หมายความว่า องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งเป็นองค์กรลักษณะพิเศษภายใต้ชื่อ ธนาคารต้นไม้ และหมายถึงธนาคารต้นไม้ระดับต่างๆ ที่ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคารต้นไม้ พ.ศ.... “ต้นไม้และไม้” รวมถึงการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับต้นไม้และไม้ ตามพระราชบัญญัติธนาคารต้นไม้มิใช่ ต้นไม้ หรือไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช ๒๔๘๔ หรือพระราชบัญญัติอื่นใดตามกฎหมายว่า ด้วยการป่าไม้ “ต้นไม้” หมายความว่า ต้นไม้ที่มีชีวิต ของสมาชิกที่ได้ปลูก หรือดูแลรักษา และจัดทำทะเบียนต้นไม้เป็น ของสมาชิกธนาคารต้นไม้แล้ว เป็นชนิดไม้ที่เติบโตแล้วสามารถใช้เนื้อไม้ที่แปรรูปได้ ตามชนิดที่ธนาคาร ต้นกำหนดขึ้น และมิใช่ ต้นไม้ที่เป็นพืชเกษตรปกติทั่วไป และไม่ใช่เป็นการปลูกแบบเกษตรเชิงเดี่ยว และไม่ใช่ ชนิดไม้ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม “ไม้” หมายความว่า บรรดาส่วนต่างๆ ของไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ ตามพระราชบัญญัตินี้ - ๗๒ -
“การกำหนดชนิดไม้” หมายความว่า บัญชีรายชื่อต้นไม้ที่ธนาคารต้นไม้จัดทำขึ้นตามหลักเกณฑ์ ว่าด้วยการ กำหนดชนิดไม้ตาม พ.ร.บ.นี้ “พืชเกษตรเชิงเดี่ยว” หมายความว่า การเพาะปลูกพืชเกษตรหรือต้นไม้ เพียงชนิดเดียวในพื้นที่หนึ่งๆ “ที่ดินทำกิน” หมายความว่า ที่ดินทุกประเภทที่ประชาชน หรือชุมชนได้ถือครองใช้ประโยชน์ในการ ประกอบสัมมาชีพทำมาหากินอย่างปกติและต่อเนื่องจะมีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ก็ได้ ทั้งที่เป็นเจ้าของผู้ครอบครอง หรือได้จากการเช่าโดยชอบ หรือได้รับด้วยวิธีการอื่น โดยชอบด้วยกฎหมาย “สมาชิกธนาคารต้นไม้” หมายความว่า บุคคล นิติบุคคล หน่วยงาน องค์กร กลุ่ม ชุมชน วัด สำนักสงฆ์ มูลนิธิ สมาคม ชมรม ที่สมัครเป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้สาขา และได้จัดทำทะเบียนธนาคารต้นไม้สาขาแล้ว “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ในระดับต่างๆ ที่ได้จัดตั้งตามพ.ร.บ. นี้ “อสังหาริมทรัพย์ เชิงซ้อน” หมายถึง ต้นไม้ที่ขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ.นี้ และยังยืนต้นมีชีวิต สามารถแยก จากความเป็นทรัพย์ส่วนควบได้แต่สภาพความเป็นอสังหาริมทรัพย์เชิงซ้อนเมื่อยังอยู่ติดกับที่ดินเท่านั้น มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ หรือประกาศเพื่อปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติ
หมวดที่ ๑ การจัดตั้ง หลักการ ของธนาคารต้นไม้ มาตราที่ ๕ การจัดตัง้ ธนาคารต้นไม้ ให้รฐั ตัง้ องค์กรลักษณะพิเศษ เรียกว่าธนาคารต้นไม้ ชือ่ ย่อ ธตม. ชือ่ ภาษาอังกฤษว่า TREEBANK THAI เพื่อให้รับรองสิทธิ์ของชุมชนและประชาชน ผู้ปลูกต้นไม้ ให้ต้นไม้ที่มีชีวิต มีมูลค่าเป็นทรัพย์ ในลักษณะอสังหาริมทรัพย์ เชิงซ้อน และเพื่อส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้มีการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ในพื้นที่ อันเป็นพื้นที่ทำกิน ของประชาชนและชุมชนมากขึ้นทั่วประเทศ อันจะได้นำต้นไม้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้ธนาคารต้นไม้ (๑) ให้ตั้งธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ ๑ แห่ง และสามารถตั้งสำนักงานธนาคารต้นไม้ในระดับต่างๆ ในภูมิภาคและจังหวัด ได้ตามความเหมาะสม ในธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ให้มีการบริหารธนาคารต้นไม้ โดย ผู้จัดการใหญ่ รองผู้จัดการใหญ่ และเจ้าหน้าที่ ฝ่ายต่างๆ ตามที่ได้กำหนดโดยคณะกรรมการบริหาร ธนาคารต้นไม้ระดับชาติ โดยกำหนดอัตราเงินเดือนค่าจ้างอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทั้งฝ่ายบริหาร และฝ่ายปฏิบัติการ - ๗๓ -
(๒) ธนาคารต้นไม้เป็นองค์การที่ไม่ผูกพันกับหนี้สินใดๆ (๓) ธนาคารต้นไม้ต้องดำเนินการส่งเสริมการปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ของประชาชนและชุมชน และต้องรับรองมูลค่าต้นไม้ขณะที่มีชีวิตให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ และสร้างสิทธิ์ในมูลค่าให้เป็นของประชาชน และชุมชน เฉกเช่น อสังหาริมทรัพย์ และให้รับรองการนำมูลค่าไปใช้กับรัฐ ธนาคารของรัฐ หรือสหกรณ์ หากมีการตกลงกันระหว่างสหกรณ์กับธนาคารต้นไม้ (๔) เมื่อประชาชน ตั้งแต่ ๕๐ คนขึ้นไป ที่รวมตัวกันเป็นลักษณะชุมชนผู้ปลูกต้นไม้สามารถรับสมาชิก ทัง้ ตัง้ ธนาคารต้นไม้สาขาได้โดยเสรีและสามารถนำต้นไม้มาขึน้ ทะเบียนสาขากับธนาคารต้นไม้ ได้ตามหลักเกณฑ์ กรณี องค์กร หรือ นิติบุคคล หรือกลุ่มอื่นๆ นับการเป็นสมาชิกตามจำนวนคนได้ มาตราที่ ๖ หลักการของธนาคารต้นไม้ตามพระราชบัญญัติธนาคารต้นไม้ คือ ต้นไม้ที่ประชาชนทำการปลูก หรือดูแลรักษา และได้จัดทำทะเบียนรับรองโดยธนาคารต้นไม้ย่อมมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ สิทธิในการดูแลรักษา ประเมินมูลค่า การตัดโค่นเพื่อใช้สอยหรือเป็นสินค้า ในขณะต้นไม้มีชีวิต ย่อมเป็นทรัพย์ลักษณะอสังหาริมทรัพย์เชิงซ้อนของประชาชนหรือชุมชน ซึ่งไม่ว่า ต้นไม้และไม้ดังกล่าวจะขึ้นอยู่ในที่ดินประเภทใด ที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรืออยู่ระหว่างการรอการ พิสูจน์สิทธิ์ และหากต้นไม้อยู่ในที่ดินของรัฐ ต้นไม้และไม้ให้ผูกพันกับ พระราชบัญญัตินี้ ส่วนที่ดินยังคงเป็น ของรัฐ และผลผลิตไม้หรืออื่นๆ จากต้นไม้ย่อมเป็นทรัพย์ของเจ้าของต้นไม้ตาม พ.รบ.นี้ โดยอนุโลม
หมวดที่ ๒ สิทธิ และประโยชน์ของประชาชนและชุมชนตาม พระราชบัญญัติธนาคารต้นไม้ มาตรา ๗ ให้ต้นไม้มีมูลค่าขณะมีชีวิตและเป็นอสังหาริมทรัพย์เชิงซ้อน สามารถแยกความเป็นทรัพย์จากที่ดินได้ ในความเป็นทรัพย์ของต้นไม้ห้ามมิให้ทำเป็นสินค้า ซื้อขายล่วงหน้า เว้นแต่ทำสัญญาซื้อขายภายในระยะเวลา ๑ ปี สำหรับต้นไม้ที่โตได้ขนาดจำหน่ายได้เท่านั้น ในระหว่างนำต้นไม้ไปทำนิติกรรม ห้ามมิให้มีการทำนิติกรรม ในการจำหน่าย โอน ที่ดินที่ต้นไม้นั้นตั้งอยู่ เว้นแต่การจำนองกับธนาคารของรัฐ ให้ต้นไม้ที่มีชีวิตเป็นทรัพย์ที่เป็นมรดกตกทอดตามกฎหมายได้ มาตรา ๘ ชุมชนหรือประชาชนคนไทยใครก็ตามทีป่ ลูก หรือดูแลรักษาต้นไม้ในทีด่ นิ ทำกินของตนเอง หรือของชุมชน และเป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้ และธนาคารต้นไม้ได้รับรองต้นไม้ให้เป็นของสมาชิกตามหลักเกณฑ์แล้ว รัฐพึ-งต้อง - 74
(๑) รับรองมูลค่าต้นไม้ของผู้นั้นให้มีมูลค่าเป็นทรัพย์ขณะที่มีชีวิตตามมูลค่าที่ธนาคารต้นไม้กำหนด คือ ช่วงที่ ๑ ต้นไม้อายุ ๑-๑๐ ปีให้รัฐรับรองมูลค่าตามราคาทุน เริ่มจากปีที่ ๑ ต้นละ ๑๐๐ บาท และ เพิ่มขึ้นทุกปีๆละ ๑๐๐ บาท จนถึงปีที่ ๑๐ ต้นละ ๑,๐๐๐ บาท แต่ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ช่วงที่ ๒ ต้นไม้อายุ ๑๐ ปีขึ้นไป หรือได้ขนาดเป็นสินค้าได้ให้รับรองมูลค่าตามความจริงโดยการคำนวณ ปริมาตรและมูลค่าไม้ มวลคาร์บอนที่สะสมหรือคุณค่าด้านอื่นๆ ตามที่ธนาคารต้นไม้ กำหนดให้สอดคล้อง กับความเป็นจริง หรือความเหมาะสมในแต่ละภูมินิเวศน์ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า ต้นละ ๑,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ต้นไม้ ดังกล่าวต้องได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนกับธนาคารต้นไม้สาขา และจะต้องสุ่มตรวจตามหลักเกณฑ์ก่อน ตลอดจนได้รับรองโดยธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่แล้ว และมูลค่าต้นไม้ตาม(๑)นั้น (๒) ให้นำมูลค่าต้นไม้ไปใช้กับรัฐ สถาบันการเงินหรือ ธนาคารของรัฐได้เช่นเดียวกับทรัพย์อย่างอื่น โดยให้ใช้ในการ ประกันตน, หลักทรัพย์ที่ให้ธนาคารค้ำประกันเพื่อใช้ทำสัญญา(Bank Guarantee), ค้ำประกัน หนี้แทนหรือร่วมกับอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ (๓) ในมูลค่าต้นไม้ตาม (๑) รัฐพึงต้องให้ค่าตอบแทนแก่เจ้าของต้นไม้ อัตราร้อยละ ๕ ของมูลค่าไม้ทุกปี แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐ ต้น ของสมาชิกแต่ละราย โดยกำหนดเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี และอาจเพิ่มเวลา ตามแต่ความจำเป็นและเหมาะสม (๔) รัฐพึงต้องกำกับธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐให้กำหนดอัตราดอกเบี้ยแก่ลูกหนี้ที่ใช้ต้นไม้ ค้ำประกันหนี้ใน อัตราไม่เกินร้อยละ ๕ ต่อปี การนำต้นไม้ไปคำประกันหนี้สิน กระทำได้ไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของมูลค่าต้นไม้ (๕) ในกรณีที่ได้ใช้พื้นที่ของรัฐเป็นพื้นที่ปลูกต้นไม้ ประชาชนหรือ ชุมชน ที่เป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้ พึงได้รับสิทธิในการอยู่อาศัยหรือจัดการผลผลิตจากต้นไม้และพื้นที่ตลอดจนประกอบสัมมาชีพ ที่พอเพียง เรียบง่ายไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เป็นไปตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาตรา ๙ การขึ้นทะเบียนการรับรองมูลค่าต้นไม้ (๑) หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน การประเมิน และการรับรองมูลค่าต้นไม้และการตรวจสอบให้กำหนดโดย คณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ
- ๗๕ -
(๒) การรับรองมูลค่าให้จัดทำเป็นบัญชีรับรองมูลค่าต้นไม้โดยรวมและมีรายละเอียดกำกับของต้นไม้ แต่ละต้นตามหลักเกณฑ์และลงนามโดยผู้จัดการใหญ่ธนาคารต้นไม้ หรือผู้ได้รับมอบหมาย (๓) การสู ญ หายของอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เ ชิ ง ซ้ อ นหรื อ ต้ น ไม้ เ ป็ น ความรั บ ผิ ด ชอบของเจ้ า จองต้ น ไม้ และไม่ผูกพันกับผู้รับรอง มาตราที่ ๑๐ ต้นไม้และไม้ตามพระราชบัญญัตินี้ สมาชิกและธนาคารต้นไม้สาขาสามารถดำเนินการใดใดได้อย่าง ได้อย่างเสรีตามหลักเกณฑ์ของธนาคารต้นไม้โดยมิต้องผูกพันกับต้นไม้ และไม้ตามพระราชบัญญัติอื่นใด ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ มาตรา ๑๑ รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการจัดการผลผลิตจากต้นไม้และไม้ให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ตลอดจนรัฐต้องมีบทบาท ส่งเสริมการใช้ผลผลิตจากไม้ทดแทนวัสดุอื่นๆ อย่างจริงจังโดยการทำเป็นประกาศ กฎกระทรวง หรืออืน่ ใดและ รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมให้นำต้นไม้ของธนาคารต้นไม้ไปสูก่ ระบวนการแก้ปญ ั หา สภาวะโลกร้อน ทั้งนี้เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ มาตรา ๑๒ รัฐต้องจัดหางบประมาณสนับสนุนการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารต้นไม้ให้เพียงพอต่อการ ใช้จา่ ยตามแผนงบประมาณ โดยอาจดำเนินการจัดหามาจากมาตรการทางภาษีทส่ี ง่ ผลกับสิง่ แวดล้อม การค้าไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ การส่งเสริมการปลูกป่าภาครัฐและองค์กรต่างๆ และอาจรวมถึงการนำเงินจากค่าปรับในคดีเกี่ยว กับการป่าไม้
หมวดที่ ๓ คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ การบริหารและการดำเนินการ มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับต่างๆ มีคุณสมบัติและการสิ้นสุด ได้แก่ (๑) คณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ จำนวนไม่เกิน ๑๕ คน โดยคัดเลือกมาจาก ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัด ที่กระจายตามภูมิภาค(เขต) จำนวน ๑๐ ภาคๆ ละ ๑ คน แต่ไม่เกิน ๒ คน กรณีที่บางภาคไม่มี - ๗๖ -
ส่วนที่ ๒ ผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ คน มาจากการสรรหาและคัดเลือกโดยคณะกรรมการในส่วนที่ ๑ และให้ คณะกรรมการตัวแทนแต่ละส่วนมีวาระ ๔ ปี โดยให้หมดวาระพร้อมกัน และมีหน้าที่ (๑.๑) จัดทำแนวทางปฏิบัติงาน จัดทำแผนการปฏิบัติงานและงบประมาณ ตามนโยบาย ธนาคารต้นไม้ ของธนาคารต้นไม้ทุกระดับ เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ทุกระดับทราบ และนำไปปฏิบัติ โดยให้ประชุมกันอย่างน้อยปีละ ๖ ครั้ง (๑.๒) กำหนดวิธปี ฏิบตั ิ มาตรการและหลักเกณฑ์ตา่ งๆ ของธนาคารต้นไม้ทกุ ระดับ พร้อมกำกับ ดูแลบริหารจัดการให้ดำเนินงานของธนาคารต้นไม้ทุกระดับเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตลอดจนกำหนด หลักเกณฑ์ในการขึ้นทะเบียนต้นไม้ การประเมินมูลค่าต้นไม้ และการรับรองมูลค่าไม้ (๑.๓) สนับสนุนการขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้ให้สำเร็จตามเป้าหมาย (๑.๔) ให้คำปรึกษาแก่ธนาคารต้นไม้ ระดับต่างๆ (๑.๕) ตั้งสำนักงานคณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้และบริหารโดยประธานคณะกรรมการ (๑.๖) แต่งตั้งและปลดผู้บริหารองค์กร คือ สำนักงานใหญ่ ได้แก่ ตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ รองผู้จัดการใหญ่ (๑.๗) ให้คณะกรรมการบริหารตั้งคณะกรรมการบริหารคนหนึ่งคนใดเป็นผู้จัดการใหญ่ และเป็นรองผู้จัดการใหญ่ ไม่เกิน ๔ คน อยู่ในวาระได้ไม่เกินคราวละ ๔ ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้อีก ถ้ า ได้ ร ั บ การคั ด เลื อ ก ผู ้ จ ั ด การใหญ่ ต ้ อ งจั ด ทำทะเบี ย นรั บ รองธนาคารต้ น ไม้ ส าขาอย่ า งเป็ น ทางการ แก่ธนาคารต้นไม้ ทีข่ อจดทะเบียน ตลอดจนการรับรองมูลค่าต้นไม้ให้สมาชิกทีผ่ า่ นการตรวจสอบถูกต้องมาแล้ว (๑.๘) มีคุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ก. คุณสมบัติ ๑. มีสัญชาติไทย ๒. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบรูณ์ ๓. เป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้สาขาหนึ่งสาขาใด ๔.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ข. การพ้นจากตำแหน่ง ๑. ตาย ๒. ลาออก ๓. คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับ ที่ดำรงตำแหน่งมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า ๒ใน ๓ ของจำนวนคณะกรรมการที่มีอยู่ ๔. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงทีส่ ดุ ให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันกระทำโดยประมาท หรือลหุโทษ
- ๗๗ -
(๒) คณะกรรมการขับเคลื่อนและกำกับธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ประกอบด้วย จำนวนไม่เกิน ๙๙ คน โดยมาจาก คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัด จากคณะกรรมการสาขา ทุกจังหวัดที่มีธนาคารต้นไม้ จำนวน ๗๗ คน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องจาก ๒๒ คน ที่สรรหา และคัดเลือกโดยคณะกรรมการ ส่วนที่มาจากธนาคารต้นไม้ (๗๗ คน) คณะกรรมการขับเคลื่อนและกำกับนโยบายธนาคารต้นไม้ระดับชาติมีหน้าที่ (๒.๑) กำหนดนโยบายธนาคารต้นไม้ (๒.๒) พิจารณาแก้ไขปรับปรุง และรับรองแผนงานของคณะกรรมการบริหาร ธนาคารต้นระดับชาติ (๒.๓) ขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานธนาคารต้นไม้ (๒.๔) ให้ดำเนินงานเสนอแนะแก่คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ทุกระดับ (๒.๕) ประชุมกันอย่างน้อยปีละ ๔ ครั้ง (๒.๖) พิจารณารับรองหลักเกณฑ์ข้อกำหนดและวิธีปฏิบัติต่างๆ ของธนาคารต้นไม้ ตามที่คณะกรรมการ บริหารธนาคารต้นไม้เสนอ (๒.๗) พิจารณาประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหาร (๒.๘) มีคุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของคระกรรมการขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ให้ใช้คุณสมบัติ และการสิ้นสุดตามมาตรา ๑๓ (๑.๘)มาใช้โดยอณุโลม (๓) คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัด ประกอบด้วยตัวแทนที่เป็นคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ สาขา สาขาละ ๑ คน หรือมากกว่า มารวมตัวกันไม่น้อยกว่า ๑๕ คน แต่ไม่เกิน ๑๕๐ คน มีหน้าที่ (๓.๑) บริหารจัดการ จัดประชุม หารือเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้ ตามหลักเกณฑ์ที่ตกลง ของแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ให้เป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารต้นไม้กำหนด (๓.๒) ขั บ เคลื ่ อ นโครงการธนาคารต้ น ไม้ ใ นจั ง หวั ด ให้ เ กิ ด ความเข้ า ใจของประชาชนและเกิ ด ธนาคารต้นไม้สาขา ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (๓.๓) ตรวจนับประเมิน และรับรองแปลงปลูกและมูลค่าต้นไม้ให้สมาชิกธนาคารต้นไม้ในธนาคารต้นไม้ สาขาต่างๆ และยกเลิกการรับรองมูลค่าต้นไม้ของธนาคารต้นไม้สาขาใดสาขาหนึ่ง ทั้งสาขาได้ ทั้งนี้ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารต้นไม้กำหนด (๓.๔) รายงานข้อมูลการประเมินและรับรองมูลค่าต้นไม้ให้ธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ทราบ ทางสื่ออิเล็คทรอนิคของสำนักงานธนาคารต้นไม้ และแจ้งข้อมูลต่างๆ แก่ธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ (๓.๕) กำหนดชนิดพรรณไม้ จัดกลุม่ พรรณไม้ ของธนาคารต้นไม้ในจังหวัดแล้วเสนอให้ธนาคารต้นไม้ทราบ (๓.๖) สนับสนุนธนาคารต้นไม้สาขาให้เกิดความเข้มแข็งมีพลัง (๓.๗) ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด หรือจังหวัดอื่นตามความเหมาะสม - ๗๘ -
(๓.๘) มีคุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของคระกรรมการขับเคลื่อนธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ให้ใช้คุณสมบัติ และการสิ้นสุดตามมาตรา ๑๓ (๑.๘)มาใช้โดยอณุโลม (๔) คณะกรรมการธนาคารต้ น ไม้ ส าขา ประกอบด้ ว ย ตั ว แทนที ่ เ ป็ น สมาชิ ก ๙-๑๕ คน ประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ ประธานกรรมการ รองประธาน ผูจ้ ดั การ รองผูจ้ ดั การ คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เลขานุการ ทีป่ รึกษา มีหน้าทีด่ ำเนินการส่งเสริมจัดการตอบรับรองสมาชิก และต้นไม้ของสมาชิกเบือ้ งต้น ประชุม แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่สมาชิก และคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับต่างๆ มีคุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่ง มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป และอื่นๆให้ใช้ตามมาตรา ๑๓ (๑.๘) โดยอณุโลม มาตรา ๑๔ ให้ตั้งธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ โดยมีผู้บริหารองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้ง ตามมาตรา ๑๓ (๑.๖) และ (๑.๗) มีหน้าที่ (๑) บริหารจัดการองค์กร ประเมิน ลงโทษ แก่พนักงานในองค์กรกำกับดูแลและทำฐานข้อมูล จัดทำ ทะเบียนรับรองมูลค่าต้นไม้ให้แก่สมาชิก ดำเนินการด้านธุรการของธนาคารต้นไม้ และสามารถออกข้อกำหนด ระเบียบ หลักเกณฑ์ บทลงโทษในการดำเนินการกิจกรรมของธนาคารต้นไม้ ตั้งแต่การตรวจสอบ ประเมิน ทั ้ ง นี ้ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามหลั ก การ วั ต ถุ ป ระสงค์ และข้ อ เสนอของคณะกรรมการธนาคารต้ น ไม้ ร ะดั บ ต่ า งๆ โดยได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ (๒) ให้มีผู้จัดการใหญ่ธนาคารต้นไม้ เป็นผู้บริหารองค์กร และสามารถตั้งผู้บริหารและพนักงานตำแหน่ง ต่างๆ ตามความเหมาะสม และจำเป็น ทั้งนี้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติเห็นชอบ (๓) มีคุณสมบัติและการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการใหญ่ และรองผู้จัดการใหญ่ ก. คุณสมบัติ ๑. มีสัญชาติไทย ๒. อายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ ๓. เป็นคณะกรรมบริหารธนาคารต้นไม้ระดับชาติ ๔. มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับหน้าที่การศึกษาไม่ต่ำกว่า ปริญญาตรี ๕. ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผูด้ ำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิน่ ผูบ้ ริหารท้องถิน่ หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ๖. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำของราชการ ส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ - ๗๙ -
๗. ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช ๘. ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ ๙. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ๑๐.ไม่เคยถูกจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ได้พ้นโทษดังกล่าวมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี หรือเป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ข. การพ้นจากตำแหน่ง ๑. ตาย ๒. ลาออก ๓. คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับ ที่ดำรงตำแหน่งมีมติให้สิ้นสุด หรือออกจากตำแหน่ง ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ใน ๓ของจำนวนคณะกรรมการที่มีอยู่ ๔. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษา ถึงที่สุด ให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันกระทำโดยประมาทหรือ ลหุโทษ
หมวดที่ ๔ ทุน รายได้ ทรัพย์สิน และการให้ค่าตอบแทนแก่สมาชิกธนาคารต้นไม้ มาตรา ๑๕ ทุน และทรัพย์สินในการดำเนินการกิจการของธนาคารต้นไม้ประกอบด้วย (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมา
(๒) เงินที่รัฐบาลจ่ายให้
(๓) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดการให้ตามแผนงบประมาณเป็นรายปี
(๔) เงินที่รัฐอาจหามาจากมาตรการทางภาษีด้านสิ่งแวดล้อม,การค้าไม้ และประดิษฐ์กรรมไม้หรือ งบประมาณด้านการส่งเสริมการปลูกต้นไม้และปลูกป่า
- ๘๐ -
มาตรา ๑๖ ค่าตอบแทนร้อยละ ๕ ของมูลค่าไม้ตามมาตรา ๘ (๓) รัฐบาลต้องจ่ายให้สมาชิกตามหลักเกณฑ์ ของธนาคารต้นไม้กำหนด ซึ่งจ่ายหลังจากได้ทำการประเมินและรับรองมูลค่าต้นไม้โดยธนาคารต้นไม้ สำนักงานใหญ่แล้ว โดยให้รัฐบาลโอนผ่านธนาคารต้นไม้ สำนักงานใหญ่ ตามที่ได้จัดทำแผนประมาณการ ยอดมูลค่าต้นไม้ และหากเหลือให้เก็บสะสมไว้เป็นค่าตอบแทนในปีตอ่ ไป และให้ธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ โอนเข้าบัญชีแก่สมาชิกโดยตรง ในการนี้ทั้งสมาชิกและธนาคารต้นไม้สำนักงานใหญ่ต้องแจ้ง การโอนให้ ธนาคารต้นไม้สาขา สำนักงานธนาคารต้นไม้จังหวัดทราบและจัดทำเป็นฐานข้อมูล ไว้ให้ทราบโดยทั่วกัน อย่างเปิดเผย มาตรา ๑๗ เมือ่ ได้เกิดภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติกอ่ ให้เกิดการเสียหายแก่ตน้ ไม้ซง่ึ เป็นทรัพย์สนิ ของประชาชนคือทรัพย์สนิ ของชาติ รัฐต้องชดเชยค่าเสียหายตามสมควรทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการ บริหารธนาคารต้นไม้ มาตรา ๑๘ ต้นไม้เป็นทรัพย์สินของสมาชิก โดยการรับรองของรัฐในนามธนาคารต้นไม้สามารถนำไปใช้กับรัฐได้ เช่นเดียวกับอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งต้องตรวจสอบประเมินตามหลักเกณฑ์ทุก ๑ ปี หรือไม่เกิน ๒ ปี
หมวดที่ ๕ การตรวจสอบและการกำกับดูแล มาตราที่ ๑๙ ให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการดำเนินการกิจการ ธนาคารต้นไม้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับ หลักการ วัตถุประสงค์ ของธนาคารต้นไม้ นโยบาย ของรัฐและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับธนาคารต้นไม้ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ธนาคารต้นไม้ ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของธนาคารต้นไม้ หากเห็นว่าการดำเนินการไม่เป็นไป ตามหลักการของพระราชบัญญัตนิ ้ี ตลอดจนสัง่ สอบสวนข้อเท็จจริงของธนาคารต้นไม้ได้ และให้ธนาคารต้นไม้ รายงานผลปฏิบัติงานต่อรัฐสภาทุกปี และรูปแบบเอกสารรายงานให้กำหนดโดยคณะกรรมกรรบริหารธนาคาร ต้นไม้ระดับชาติ
- ๘๑ -
หมวดที่ ๖ บทลงโทษ
มาตราที่ ๒๐ หากสมาชิกธนาคารต้นไม้สาขาใด รายหนึ่งรายใด กระทำการทุจริตในการจัดทำข้อมูลต้นไม้อันเป็นเท็จ เกินร้อยละ ๑๐ ของปริมาณต้นไม้ของสมาชิกแต่ละรายนั้น ธนาคารต้นไม้ระดับจังหวัดต้องเสนอ ยกเลิก การรับรองมูลค่าต้นไม้ในปีนั้น และให้คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับชาติพิจารณายกเลิกการรับรองมูล ต้นไม้ ตลอดจนผลประโยชน์อื่นใด ในปีนั้น บางส่วนหรือทั้งสาขาก็ได้ แล้วแต่กรณี มาตราที่ ๒๑ หากสมาชิกธนาคารต้นไม้ นำต้นไม้นอกเหนือพื้นทำกินของตนเองมาขึ้นทะเบียนโดยเจตนา ให้ยกเลิก การรับรองของรายนั้น ทั้งหมด ไม่น้อยกว่า ๒ ปี ไม่ว่าต้นไม้นั้นจะอยู่ใน หรือนอกเหนือพื้นที่ทำกินของตนเอง มาตราที่ ๒๒ สมาชิกรายใดตัดโค่น ทำลาย ทำให้ตน้ ไม้ทข่ี น้ึ ทะเบียนแล้ว เสียหายก่อนได้รบั อนุญาตจากธนาคารต้นไม้ สาขาที่กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ คณะกรรมการธนาคารต้นไม้ สามารถยกเลิกการรับรองต้นไม้ และมูลค่าเป็นเวลา ๒ ปี หรือจนกว่าได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนใหม่ สมาชิกรายใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ที่ธนาคารต้นไม้กำหนดขึ้น คณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ มีสิทธิ์ลงโทษโดยการยกเลิกการรับรองต้นไม้นั้นเป็นรายๆ หรือทั้งสาขาก็ได้ ผูใ้ ดกระทำการอันให้เสียหาย แก่ตน้ ไม้ ถือเป็นการทำลายทรัพย์ ต้องชดใช้คา่ เสียหายตามมูลค่าทรัพย์นน้ั มาตราที่ ๒๓ การนำไปค้ำประกันหนี้กระทำได้ไม่เกินที่ธนาคารต้นไม้กำหนด หากเกินโดยเจตนาทุจริต ธนาคารต้นไม้ จะยกเลิกการรับรองเสียทั้งหมดก็ได้
- ๘๒ -
บทเฉพาะกาล ต้นไม้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ ยกเว้นไม้สักและไม้ยาง เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้ ทันที ไม้สักและไม้ยาง เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วเป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้ หลังจากขึ้นทะเบียนแล้ว ๒ ปี ต้นไม้ทุกชนิดที่ปลูก หรืออยู่บนที่ดินของรัฐทุกประเภท จะเป็นไปตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องขึ้นทะเบียนมาแล้วอย่างน้อย ๕ ปี กรณีต้นไม้อยู่ในพื้นที่ทำกินของประชาชน แต่ที่ดินเป็นของรัฐให้เจ้าของต้นไม้ มีสิทธิในต้นไม้และไม้ ทุกชนิดประเภท ทั้งรัฐต้องหามาตรการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ทุกประการ ให้กว้างขวางและหลากหลายมากที่สุด
- ๘๓ -
“...ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครที่จะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครอง บ้านเมือง และคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๑๒
- ๘๔ -
บทที่ ๔
บทสรุป แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์
๔.๑ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ของผูจ้ ดั ทำ เพือ่ ให้มแี ผนปฏิรปู ประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ ทีเ่ ป็นไปตามหลักธรรม แห่งศาสนา ในสภาปฏิรปู ที่ คสช. ตัง้ ขึน้ สร้างคนเท่าเทียมเป็นธรรม และความรักกันเสมอเพือ่ น แก่สังคมมนุษย์ ให้สังคมสาธารณชนรับรู้ตัวแบบพัฒนาสังคมมนุษย์ ตามหลักศาสนาพระศรีอารยเมตไตรย สร้างตัวแบบการ นำพามนุษย์ให้หลุดพ้นจากวัตถุนยิ ม เสนอแผนปฏิรปู ประเทศสูส่ ภาปฏิรปู แห่งชาติยคุ คสช. กลุม่ นวชีวนั และมีคณะทำงานภายใต้กลุ่มนวกะ โดยร่วมกับมูลนิธิธนาคารต้นไม้ เป้าหมาย คือ เพื่อรวบรวม ความคิดเห็น ข้อเสนอ เรือ่ งราวปัญหาทีป่ รากฏในสังคม จัดทำเป็นแผนปฏิรปู โดยใช้กระบวนการจัดกรอบความรู้ ตามหลักศาสนา คือ หลักอริยสัจสี่ การเดินหลุดออกจากวัตถุนยิ มตามตัวแบบทฤษฎีการพัฒนาให้ของวัตถุนยิ ม แบบตะวันตก ทำตามปณิธาน ๓ ข้อ ของ อ.พุทธทาส และสร้างตัวแบบการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามหลัก ของศาสดาเอกของโลกทั้งหลาย คือ โมเดลพระศรีอารยเมตไตรย หรือ เมสิอาร์ หรือ ดารุสสลาม เรียกว่า “แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์” ๔.๒ แนวคิดและวิธีการ จัดทำแผนปฏิรูปพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ กลุ ่ ม นวชี ว ั น โดย พงศา ชู แ นม และคณะจั ด ทำแผนปฏิ ร ู ป ประเทศพิ ม พ์ เ ขี ย วฉบั บ พระศรี อ ารย์ ด้วยการสร้างคำถาม และค้นหาคำตอบทีเ่ ป็นสิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ ทีม่ นุษย์ควรจะไปถึง กล่าวคือ ตัง้ คำถามว่าโลกปัจจุบนั พั ฒ นาสั ง คมมนุ ษ ย์ ด ้ า นความเชื ่ อ ทฤษฎี ใ คร มี เ ป้ า หมายอั น ใด และปลายทางจะไปที ่ ไ หน มี ต ั ว แบบ ณ จุดหมายปลายทาง หรือไม่อย่างไร ได้คำตอบชัดว่า โลกวันนีพ้ ฒ ั นาสังคมมนุษย์ ด้วยทฤษฎีความเชือ่ จากสำนักตะวันตก ด้วยอุปาทานหมูใ่ หม่ ของโลก รวยคือถูก จนคือผิด หลงวัตถุนิยม หลงความเห็นแก่ตัว ทำให้สุดขั้วไปทางสุขสบายตนจนเกินเหตุ (กามสุขขัลลิกานุโยค) ด้วยการสะสมวัตถุทรัพย์ เพื่อความมั่งคั่ง มั่นคง แล้วขยายลัทธิวัตถุนิยม เป็นทุนนิยม - ๘๕ -
สังคมนิยม ตลาดเสรี ฯลฯ ปลายทางจะพาสังคมมนุษย์เคลื่อนจากชนบททิ้งความล่มสลายของวิถีชีวิต ทักษะ ความเรียบง่ายสามัญการพึง่ พิงกันและกันกับธรรมชาติไว้เบือ้ งหลัง ไปอยูต่ กึ สูงในเมืองใหญ่ ภายใต้การควบคุม จัดการของระบบทุนนิยมและอำนาจ โดยมีเส้นทางลำเลียงอาหาร พลังงานที่ดูดกลืนทรัพยากรจากท้องถิ่น ห่างไกล เข้ามาหล่อเลี้ยงอย่างฟุ้งเฟ้อวุ่นวาย สัญชาตญาณความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ถูกปลดปล่อยให้ผู้แข็ง แรงเอาเปรียบผู้อ่อนแอโดยชอบ ประดุจเดรัจฉาน พร้อมกับการค้นคิดวิธีการอันใหม่หลากหลายพิสดารแยบยล เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างแย่งชิง ต่อสู้เบียดเบียน เชื่อว่าเป็นเส้นทางการจัดการและพัฒนาสังคมมนุษย์ที่ผิด และขัดแย้งกับหลักการสำคัญของทุกศาสนา ที่กล่าวว่า ความเลวร้ายที่สุดของสังคมมนุษย์ คือ ความเห็นแก่ตัว และสิ่งที่ดีที่สุด คือ ความรักกันเสมอเพื่อน เมื่อเห็นว่าเป็นความเชื่อ วิธีการ เส้นทาง และเป้าหมายที่ผิด จึงสืบค้นหาความเชื่อ วิถีเส้นทาง และเป้าหมายปลายทางใหม่ที่มีตัวแบบ ณ ปลายทางแห่งสันติสุข ตามหลักศาสนา พบว่า ทุกศาสนามีบริบท ของแผนการพัฒนาสังคมมนุษย์สู่จุดหมายปลายทางที่สมบูรณ์ มีตัวแบบไว้ให้มนุษย์เห็น กล่าวคือ พุทธศาสนา มีตัวแบบในสังคมศาสนาพระศรีอารยเมตไตรย หรือ พระศรีอารย์ คริสต์ศาสนา มีตัวแบบ ยุคเมสิอาร์ อิสลาม มีตัวแบบ ยุคดารุสสลาม ซึ่งแปลความได้ตรงกันว่า หากมนุษย์เชื่อ ศรัทธา หลักการแห่งคำสอนด้วยปัญญา แล้ว ผลแห่งปลายทางพบกับยุคที่สังคมมนุษย์รักกันเสมอเพื่อน มีธรรมชาติเกื้อกูลความผาสุกให้มวลมนุษย์ ได้อย่างยั่งยืนเป็นหมื่นปี จึงจัดทำแผนปฏิรปู บนฐานความเชือ่ แผนการจัดการสังคมมนุษย์ของหลักศาสนาทัง้ หลาย เพือ่ ปลายทาง ให้สังคมมนุษย์หลุดจากความเห็นแก่ตัว สู่ความรักกันเสมอเพื่อน มีต้นไม้และธรรมชาติเป็นทรัพย์ เกื้อกูลความ ผาสุกให้สังคมมนุษย์อย่างยั่งยืน โดยใช้พระศรีอารย์เป็นตัวแบบ ๔.๓ แผนปฏิรูปประเทศพิมพ์เขียวฉบับพระศรีอารย์ จัดทำแผนโดยรวม ด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม กลุ่มนวชีวัน ใช้กรอบพุทธวิทยาเป็นวิธีวิทยาที่หลุดจากกรอบคิดตะวันตก มาใช้การจัดกรอบปัญหา ที่มีการแยกแยะ (ภควา) เรื่องหลักบนโลกได้ ๓ ภาค ได้แก่ ภาคของมนุษย์ เรียกว่า ภาคสังคม ภาคของสภาพ สิง่ นอกเหนือจากมนุษย์ คือ ภาคสิง่ แวดล้อม และภาคของเครือ่ งมือสร้างความเป็นอยูร่ ะหว่างมนุษย์กบั สิง่ แวดล้อม อย่ า งประเสริ ฐ เรี ย กว่ า ภาคเศรษฐกิ จ โดยใช้ ภ าคเศรษฐกิ จ หรื อ เครื ่ อ งมื อ อั น ประเสริ ฐ ดึ ง มนุ ษ ย์ กับสิ่งแวดล้อม มาผสานกันอย่างลงตัวกลมกลืน ไม่เบียดเบียน คารวะกันเสมอเพื่อน กำหนดประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้ได้ ประเด็นได้แก่ การเมืองการปกครอง ความเหลื่อมล้ำ ทางสั ง คม ราชการ การศึ ก ษา พลั ง งาน การเกษตรและการใช้ ป ระโยชน์ ท ี ่ ด ิ น การจั ด การ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการปลูกต้นไม้ในที่ทำกินเพื่อให้เป็นทรัพย์ตามแนวคิดธนาคารต้นไม้ นำแต่ละประเด็นมาจัดการความรู้ตามกรอบอริยสัจสี่ ให้เห็นว่าแต่ละประเด็นปัญหา มีที่สิ่งที่ทนได้ยาก เป็น ทุกข์เป็นปัญหาอย่างไร เหตุแห่งทุกข์ สมุทยั จากไหน เป้าหมายปลายทางภาวะพึงประสงค์ หรือความหลุดพ้น จากทุกข์ นิโรธ เป็นเช่นไร ด้วยมรรควิธีใด มีแบบปฏิบัติอย่างไร ในแผนปฏิรูปจึงพบ และนำเสนอ ประดุจ พิมพ์เขียวย่อๆ ดังนี้ - ๘๖ -
ภาคสังคม : ประเด็นปัญหาการเมือง การปกครอง ความทุกข์ ของประชาชน คือ ถูกเอาเปรียบด้วยระบบ การเมือง และอำนาจการปกครองที่ไม่เป็นธรรม เกิดความแตกแยกไร้ทางเลือก คอรัปชั่น ฯลฯ มี สมุทัย จากระบบ การเลือกตั้งนักการเมืองที่เห็นแก่ตัว แก่พวกพ้อง รวบอำนาจสร้างนโยบาย สนองวัตถุนิยม ภาวะพึงประสงค์ หรือ นิโรธ คือ ความสามัคคีปรองดองให้สงั คมรักกัน มีการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล ประชาชนไม่ถกู เอาเปรียบ มี ร ะบบประชาธิ ป ไตยที ่ ม ี ศ ี ล ธรรมกำกั บ ด้ ว ย มรรควิ ธ ี สร้ า งกฎหมายเลื อ กตั ้ ง ที ่ เ ท่ า ทั น นั ก การเมื อ ง ขจัดระบบการเมือง ๒ ฝ่าย ควบคุมทุกระดับ ให้ประชาชนมีทางเลือกในการลงมติไม่เลือกผู้ใด ในช่อง No Vote ถ้าความประสงค์ไม่เลือกผูใ้ ด มีชยั ชนะมีผลต้องให้ชอ่ งอืน่ แพ้ และหมดสิทธิล์ งสมัคร ๕ ปี ตลอดจนสร้างค่านิยม ด้านศีลธรรมแก่ประชาชน และนักการเมือง ให้มีสภาคู่ คือ สภาจากการเลือกตั้ง และสภาแห่งศีลธรรม เรียกว่า สภาประชาธรรม กำกับทุกระดับสภา ขยายเขตการเลือกตั้งให้ใหญ่ขึ้นทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โดย ส.ว. ให้เป็นเขตกลุ่มจังหวัด ๑๐ เขตๆ ละ ๑๐ คน รวมถึงยกเลิกองค์การปกครองท้องถิ่นที่ไม่มีพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด และนำไปสู่การใช้ศีลธรรมในการเมือง การปกครอง ตามแนวทางธรรมิกสังคมนิยม ประเด็นปัญหาราชการ ความทุกข์ ของประชาชน และราชการ คือ จำนวนข้าราชการมากเกินต้องเป็นภาระ การเก็บภาษีจากประชาชน ประชาชนถูกเอาเปรียบ และได้รบั การบริการไม่เท่าเทียม ฯลฯ เหตุแห่งปัญหา สมุทยั มาจากการขาดอุดมการณ์ รับใช้ประชาชน ขาดหลักธรรมาภิบาลในราชการ การทุจริต การเอือ้ ประโยชน์พวกพ้อง และสนองนักการเมือง รวมศูนย์อำนาจ ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ คือ ข้าราชการมีอดุ มคติ สำนึกรับใช้ประชาชน จั ด การองค์ ก รอย่ า งมี ห ลั ก ธรรมาภิ บ าล มรรควิ ธ ี ให้ ม ี ส ภาศี ล ธรรมกำกั บ การบริ ห ารองค์ ก ร เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน และราชการ สร้างระบบการตรวจสอบราชการ ที่มีมาตรฐาน ประชาชนมี ส ่ ว นร่ ว ม ลดจำนวนข้ า ราชการให้ น ้ อ ยลง สร้ า งอุ ด มการณ์ ร ั บ ใช้ ป ระเทศชาติ ประชาชน ด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สร้างสภากำกับศีลธรรมไปทุกองค์กรราชการ สอดคล้องกับตัวอย่างในอดีต มีผู้ใหญ่บ้านบริหาร มีเจ้าอาวาสกำกับศีลธรรม มีกษัตริย์ มีสังฆราชกำกับศีลธรรม ประเด็นปัญหาความเหลือ่ มล้ำทางสังคม ความทุกข์ ของประชาชน คือ ภาวะแตกต่าง รวย จน มีอำนาจ ไร้อำนาจ ความขาดแคลนคุณภาพชีวติ ต่ำ และต้องตกอยูใ่ นภาวะพึง่ พิง ฯลฯ เหตุแห่งทุกข์ สมุทยั เกิดจากความไม่เท่าเทียม ในการสะสมทรัพย์ ด้อยโอกาส และกฎทางสังคม สังคมขาดศีลธรรม หมกมุน่ ในความเชือ่ ใหม่ รวยคือถูก จนคือผิด ประชาชนอยูใ่ นอบายมุข ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ สังคมมีความเท่าเทียมในการสะสมทรัพย์ มีคณ ุ ภาพชีวติ พึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีสัมมาชีพ เป็นสังคมแห่งเมตตาธรรม ปราศจากอบายมุข ฯลฯ ด้วย มรรควิ ธ ี สร้างหลักประกันในรายได้ สัมมาชีพ คุณภาพชีวิต สร้างทางเลือกในการสะสมทรัพย์ จากคาร์บอนในต้นไม้ มีมาตรการปกป้อง คุ้มครอง และให้โอกาสคนอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมและสร้างมาตรการ สู่ภาวะเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มแข็ง
- ๘๗ -
ประเด็นปัญหาการศึกษา ความทุกข์ ของประชาชน คือ โอกาสของการศึกษาไม่เท่าเทียม ค่าใช้จา่ ยสูง การเรียนรูท้ ข่ี าดหลัก ศีลธรรม สร้างภาวะเห็นแก่ตวั คือ ด้อยคุณภาพทางปัญญา ฯลฯ เหตุแห่งปัญหา สมุทยั เกิดจาก สถาบัน การศึกษาชั้นนำถูกจำกัดเฉพาะกลุ่ม การตั้งเป้าหมายการศึกษาเพื่อสนองวัตถุธรรม มุ่งเน้นการแข่งขัน และส่งเสริมความเห็นแก่ตวั และอวิชชา ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ มีความเท่าเทียมในโอกาสของการศึกษา มีสวัสดิการตลอดชีวิต เรียนรู้ตัวอย่าง ที่มีจุดมุ่งหมายสู่สังคมศีลธรรม มีอุดมการณ์เพื่อผู้อื่น ผู้เรียนผู้สอน หลุดพ้นจากวัตถุนิยม โดยแนวทาง มรรควิธี สร้างกระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ให้ใช้รากเหง้า วิถีวัฒนธรรม และสร้างอุดมการณ์ เพื่อความสงบสันติสุข ด้วยปัญญา มีความมุ่งหมายการศึกษาที่ขจัดความเห็นแก่ตัว สร้างโอกาสอันเท่าเทียมเสมอภาคในการศึกษาของคนในชาติ
ภาคเศรษฐกิจ : ประเด็ น ปั ญ หาพลั ง งาน ความทุ ก ข์ คือ ประชาชนรู้สึกได้ถึงการจัดการของรัฐที่ไม่เป็นธรรม ราคาแพงไม่มีพลังงานทางเลือกอื่นที่หลากหลาย และมลพิษจากการใช้พลังงาน ฯลฯ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย จากการจัดการพลังงานที่เป็นการผูกขาด สร้างต้นทุนให้ราคาสูงทั้งการผลิต การนำเข้า ฯลฯ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ ประเทศต้องมีพลังงานเพิ่มอย่างหลากหลาย ราคาที่เป็นธรรม เมื่อเทียบกับรายได้ มีพลังงานพึ่งตน ด้วย มรรควิธี ลดการผูกขาดระบบบริหารจัดการพลังงาน สร้างมาตรการให้เกิดการสมดุลระหว่างราคากับรายได้ จัดการสร้างความหลากหลายในการพึง่ ตนด้านพลังงาน เช่น พลังงานจากชีวมวลจากวัสดุทางการเกษตรต้นไม้ จัดการมลพิษ และ การกักเก็บคาร์บอนจากต้นไม้ และพัฒนาระบบการจัดการสร้างระบบ พลังงานให้ประชาชน มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ประเด็นปัญหาการเกษตรและการใช้ประโยชน์ทด่ี นิ ทุกข์ ของประชาชน คือ เกษตรกรถูกเอาเปรียบ มีหนีส้ นิ งานหนัก ค่าตอบแทนต่ำ ภาวะเจ็บป่วย ที่ดินถูกยึด ฯลฯ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย เกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ต้นทุนสูง ราคาผลผลิตไม่คมุ้ ทุน ขาดสมดุลนิเวศ เกิดภัยพิบตั ิ การจัดการแรงงานไม่เป็นธรรม รัฐไม่มมี าตรการปกป้องทีด่ นิ และอาชีพเกษตรกร ฯลฯ ภาวะพึงปรารถนา นิโรธ มีเกษตรอินทรีย์ทั่วประเทศ เกิดสมดุลในพื้นที่เกษตร ถือครองที่ดินชอบด้วยกฎหมาย มีความเท่าเทียมในทรัพย์ด้วยต้นไม้เป็นหลักทรัพย์ มีค่าตอบแทนที่สมดุล พึ่งตนเองได้ และสุขภาวะที่ปลอดภัย มรรควิธี สร้างสมดุลในพื้นที่เกษตรด้วยป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ตามแนวพระราชดำริ สร้างหลักทรัพย์ให้เกษตรกรด้วยต้นไม้ สร้างมาตรการสู่เกษตรอินทรีย์ สร้างมาตรการ รับรองพืน้ ทีท่ ำกิน ให้ได้รบั การคุม้ ครอง ขจัดระบบผูกขาดด้วยสหกรณ์ จัดการแรงงานอย่างสมดุลบนฐานวิถชี วี ติ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- ๘๘ -
ภาคสิ่งแวดล้อม : ประเด็นปัญหาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทุกข์ ของประชาชน คือ ภาวะภัยพิบัติ มีมลพิษรอบด้าน ขาดสมดุลนิเวศ ขาดแคลน และสามารถเข้าถึงเกษตรกร เหตุแห่งทุกข์ ขาดสมดุลนิเวศ ทุกระดับพื้นที่ และเข้าถึงทรัพยากร เนื่องจากจำนวนต้นไม้น้อย กฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการจัดการและเข้าถึง ทรัพยากรของประชาชน ขาดการมีสว่ นร่วม ประชาชนสูญเสียทีด่ นิ ทำกิน จึงรุกทรัพย์สว่ นรวม และขาดจิตสำนึก รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม เปลี่ยนแปลงธรรมชาติเกินขอบเขต ภาวะพึ ง ปรารถนา นิ โ รธ มีความสมดุลนิเวศทุกพื้นที่ทั่วประเทศด้วยปริมาณต้นไม้ที่มากและยั่งยืน มีโอกาสทางกฎหมายในการจัดการ ทรัพยากรประชาชนมีจิตสำนึก และมีทรัพย์เกื้อกูล ความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างพอดี มีการใช้เทคโนโลยี ที่เคารพธรรมชาติตลอดจนภาวะที่ปราศจากมลพิษ มรรควิธี สร้างมาตรการเพื่อสมดุลนิเวศทั้งพื้นที่เกษตร และพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้โดยการรับรองต้นไม้ทม่ี ชี วี ติ ให้เป็นทรัพย์ และให้คา่ ตอบแทน ที่เป็นธรรม ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เกิดการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการจัดการ ทรัพยากร สร้างมาตรการการจัดการสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ล่วงเกินธรรมชาติ ประเด็ น ปั ญ หาการปลู ก ต้ น ไม้ ใ นที ่ ด ิ น ทำกิ น โดย ภาวะพึ ง ประสงค์ หรื อ นิ โ รธ รวมจะขจัดสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในสังคมมนุษย์ คือ ความเห็นแก่ตัว ทำให้สังคมมนุษย์ก้าวเข้าสู่ภาวะที่มีความรัก เมตตากัน เสมอเพื่อน มีต้นไม้และธรรมชาติเป็นทรัพย์ เกื้อกูลความผาสุก ให้แก่มนุษย์ และสรรพสิ่งอย่างยั่งยืน ตามปลายทางยุคพระศรีอารย์ ทุกข์ ของประชาชน คือ ประชาชนสูญเสียที่ดินทักษะชีวิต เกิดภาวะภัยพิบัติ ไม่มีไม้ใช้สนองตามความต้องการ ถูกจำกัดสิทธิในการปลูก และจัดการผลผลิตไม้ เหตุแห่งทุกข์ สมุทัย การใช้ที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหนี้ทำให้สูญเสียที่ดินต่อไป การเกษตรเคมีเชิงเดี่ยวทำให้ขาดสมดุลนิเวศ สู่ภาวะภัยพิบัติ มีอุปสรรคและข้อจำกัดในการปลูก และจัดการผลผลิตไม้ ไม่มีกฎหมายรับรองต้นไม้ให้เป็น ทรัพย์ และไม่มีแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ ภาวะพึงประสงค์ นิโรธ ต้นไม้ที่มีชีวิตของประชาชนได้รับ การรับรองให้เป็นหลักทรัพย์ใช้เป็นหลักประกันแทนทรัพย์อื่น มีต้นไม้กระจายอย่างหลากหลาย ทุกพื้นที่นิเวศ และเกื้อกูลให้มนุษย์มีอาหาร พลังงาน ปัจจัยการผลิต คุณค่าอื่น ฯลฯ มรรควิธี ออก พ.ร.บ.ธนาคารต้นไม้ จะทำให้ต้นไม้ที่มีชีวิตมีมูลค่าเป็นทรัพย์สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ทว่ั ทุกพืน้ ที่ ส่งเสริมการจัดการ ผลผลิตไม้ให้ตอบสนองด้านเศรษฐกิจ เป็นการใช้เนือ้ ไม้ในการก่อสร้าง และพลังงาน ส่งเสริมการสร้าง ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ตามแนวพระราชดำริ
- ๘๙ -
๔.๔ แนวปฏิรป ู ฉบับพระศรีอารย์ สร้างทางคูข่ นานในการจัดการสังคม เศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม ด้านสังคม สภาคู่ ได้แก่ สภาเสียงส่วนใหญ่ และสภาศีลธรรม สภาเสียงส่วนใหญ่บริหารกำหนด นโยบายปฏิรูปการเลือกตั้ง โดยให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการเลือก หรือไม่เลือกใครให้ช่อง Vote No มีน้ำหนัก ถ้าชนะช่องอื่นต้องแพ้ หมดสิทธิ์ลงเลือกตั้ง ๕ ปี สภาศีลธรรมกำกับศีลธรรม ให้คะแนน สรรหา คุณสมบัติ เป็นผู้เข้าใจหลักการแห่งศีลธรรม ด้านเศรษฐกิจ สร้างทางคู่ขนานของเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจกระแสหลักสร้างสัมมาชีพ แนวทางพัฒนาและนวัตกรรม จัดการควบคุมการสะสมทรัพย์และเงินของเศรษฐกิจกระแสหลัก ส่งเสริม การเติ บ โตทางเศรษฐกิ จ และการค้ า และกรอบการใช้ ท รั พ ยากรให้ เ ป็ น ธรรม สร้ า งเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง และพึ่งตน สร้างทรัพย์ และเงินจากมูลค่าต้นไม้และคาร์บอน ส่งเสริม สนับสนุน สัมมาชีพที่รักษาสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงทางฐานเศรษฐกิจแบบยั่งยืนโดยการสร้างทรัพย์จากต้นไม้ คาร์บอน เพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ใหม่จากมูลค่าต้นไม้ และมวลคาร์บอน ควบคู่กับเงิน หรือทองคำ ด้านสิ่งแวดล้อม สองแนวสมดุลนิเวศ สมดุลด้วยวิศวกรรมมนุษย์ สร้างนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อผสาน ๒ แนวทาง ส่งเสริมการพัฒนาเครื่องมือที่สร้างกระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกื้อกูลมนุษย์ บนความพอดี สมดุลด้วยวิศวกรรมธรรมชาติ สืบค้นวิธีการและหลักธรรมชาติเคารพหลักการทางธรรมชาติ และพั ฒ นาวิ ธ ี ก ารอยู ่ ก ั บ ธรรมชาติ อ ย่ า งยั ่ ง ยื น ส่ ง เสริ ม การปลู ก ต้ น ไม้ อ ย่ า งหลากหลายทุ ก พื ้ น ที ่ ด้วยกระบวนการสร้างแรงจูงใจเชิงบวก ๔.๕ มีตัวแบบที่ผสานการจัดการปัญหาทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิรูปในร่าง พ.ร.บ.ธนาคารต้ น ไม้ ท ี ่ ส ามารถใช้ เ ป็ น ประเด็ น ปฏิ ร ู ป ประเทศในด้ า นต่ า งๆ ได้ แ ก่ ปฏิ ร ู ป การเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปฏิรูปเศรษฐกิจ (การกระจายรายได้ และการสะสมทรัพย์) ปฏิรูปรูปโครงสร้าง สังคม ปฏิรูปความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปฏิรูปสิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบนิเวศ ปฏิรูปการป้องกันวิกฤตการณ์ ทางธรรมชาติ ปฏิรูประบบสวัสดิการ ปฏิรูปการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปฏิรูปการใช้ทรัพยากร ปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปความมั่นคงทางอาหาร
- ๙๐ -
- ๙๑ -
- 92 -
เอกสารอ้างอิง พุทธทาสภิกขุ ๒๕๔๙ ; การเมือง คืออะไร หนทางรอดของมนุษย์ คือ ธรรมิกสังคมนิยม; สวนโมกข์ พุทธทาสภิกขุ; พุทธทาสลิขิต ๑,๒,๓ สวนโมกข์ พุทธทาสภิกขุ ๒๕๓๘;ธรรมานุกรม ธรรมโฆษณ์ กทม. พุทธทาสภิกขุ ;ภาษาคน ภาษาธรรม ; อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี พุทธทาส พุทธทาสภิกขุ ๒๕๔๓ ;โลกพระศรีอารย์อยูแ่ ค่ปลายจมูก ; กรุงเทพฯ คณะกรรมการบริหารธนาคารต้นไม้ ๒๕๕๓ ; แผนปฏิบัติการธนาคารต้นไม้ ๒๕๕๓ www.treebankthai.com โลกยุคหลังบรรษัท ชีวิตหลังทุนนิยม ๒๕๔๕; เดวิท ซี. คอร์เท็น, สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ๒๕๔๕
- ๙๓ -
ภาคผนวก ก. ประเด็นการปฎิรูปประเทศด้วยธนาคารต้นไม้ ธนาคารต้นไม้ปฏิรูปอะไรบ้าง (เรื่องที่จะปฏิรูป)
รูปแบบและสาระเดิม
สาระปฏิรูปของธนาคารต้นไม้
๑. ปฏิรูปการเกษตร และการใช้ประโยชน์ที่ดิน
จากเคมีเชิงเดี่ยวต้องการผลผลิตสูงสุด ทำให้ผลผลิตล้นเกิน ถูกกดราคา และต้องใช้ปุ๋ยยาจนทำให้เกิดมลพิษ และต้นทุนสูง
สร้างการเกษตรเชิงนิเวศผสมด้วยต้นไม้ ที่หลากหลายไม่ต้องการผลผลิต อย่างหนึ่งอย่างใดสูงสุดแต่ต้องการ ความพอประมาณ และรายได้สมดุล ในระบบนิเวศหนึ่ง
๒. การปฏิรูป เศรษฐกิจ (การกระจายรายได้ และการสะสมทรัพย์)
o รูปแบบการกระจายรายได้ การสะสมทรัพย์ เคยสะสมเป็นค่าเงิน ที่เป็นกำไร โดยต้องมีคนขาดทุนเสมอ ทำให้คนสะสมไว้มากจะร่ำรวย คนที่ถูกฉกฉวย ขาดทุน ยากจน เกิดช่องว่าง และความเหลื่อมล้ำ o หนี้สิน ทุนนิยมผูกโครงสร้างหนี้สิน โดยใช้ที่ดิน เป็นหลักประกัน เมื่อแก้ปัญหา หนี้สินไม่ได้ จะทำให้เจ้าหนี้ยึดที่ดิน ทำให้สูญเสียที่ดินทำกิน
o สร้างรูปแบบการกระจายรายได้ การสะสมทรัพย์โดยใช้ต้นไม้เป็นทรัพย์ มีกำไรได้โดยไม่มีคนขาดทุน เพราะกำไร เกิดจากการเติบโตของต้นไม้ ของตนเอง โดยไม่ทำให้ต้นไม้ของผู้อื่นเล็กลง และคนชนบทสามารถสร้างทรัพย์และกำไร ได้โดยเสมอภาคกันเมื่อใช้ต้นไม้เป็นเครื่องมือ o ทำการรับรองมูลค่าต้นไม้ให้เป็น อสังหาริมทรัพย์ นำไปค้ำประกันหนี้สิน แทนที่ดิน จะทำให้คนชนบทไม่สูญเสียที่ดิน อีกต่อไป เพราะสามารถใช้ต้นไม้ไปค้ำประกัน แทน หากถูกยึดก็ให้ยึดต้นไม้ที่ค้ำประกันไป แต่ก็สามารถปลูกใหม่ได้หากที่ดินยังคงอยู่
๓. ปฏิรูปรูปสังคม
o สังคมชนบทเริ่มล่มสลายกลายเป็น สังคมเมือง ผู้คนรุ่นใหม่อพยพจากชนบท สู่เมือง o ระบบอุตสาหกรรมการเกษตรทำให้ คนชนบทประกอบอาชีพอย่างเดียวขาดการ พึ่งตน เปลี่ยนความคิดคนทำให้เดินออกจาก ชนบททิ้งถิ่น และทำให้โครงสร้างในครัวเรือน ผิดรูป
ธนาคารต้นไม้มีเงื่อนไขให้สังคมรวมกลุ่มกัน เป็นธนาคารต้นไม้สาขา เพื่อช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน หากไม่ร่วมมือกันการปลูกต้นไม้ ก็จะแก้ปัญหาให้ผู้นั้นไม่ได้ เป็นการดึงคน ให้อยู่กับชนบท หรือดึงกลับสู่ชนบท เพราะมี ทรัพย์จากการปลูกต้นไม้ และมีรายได้ จากทรัพย์สินดังกล่าวในอนาคต ของคนรุ่นต่อไป มีความมั่นคงเพราะต้นไม้ เป็นต้นทุน
๔. ปฏิรูปความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ความแตกต่างกันระหว่างคนรวยกับคนจน เกิดจากการสะสมทรัพย์ไม่เท่ากัน คนหนึ่ง กำไรมากมีทรัพย์มาก ร่ำรวยคนหนึ่งขาดทุน ยากจน เหตุเพราะใช้เงินที่เป็นกำไร เป็นทรัพย์สินเทียบเคียง จึงจะเกิดช่องว่าง ที่ถ่างขึ้นมากกว่านี้ในอนาคต
ทำให้คนชนบทมีรายได้เท่าเทียมกับคนเมือง หากรับรองมูลค่าต้นไม้ของคนชนบทให้อยู่ใน บัญชีธนาคารได้ เช่นเดียวกับทรัพย์อื่นๆ เมื่อคนชนบทกับคนเมืองมีทรัพย์เท่ากัน จะทำให้ความเหลื่อมล้ำหมดไป
- ๙๕ -
ธนาคารต้นไม้ปฏิรูปอะไรบ้าง (เรื่องที่จะปฏิรูป)
รูปแบบและสาระเดิม
สาระปฏิรูปของธนาคารต้นไม้
๕. ปฏิรูปสิ่งแวดล้อม
o วันนี้โลกและประเทศต้องการต้นไม้ แต่การปลูกต้นไม้กว่า ๑๐๐ ปี โดยทางการ ไม่มีต้นไม้เหลืออยู่จริงและในห้วงเวลา ที่ผ่านมา ไม่มีแรงจูงใจให้ประชาชน ปลูกต้นไม้ และประชาชนไม่รู้สึกว่า ได้เป็นเจ้าของต้นไม้ จึงไม่ทำให้ประชาชน ปลูกต้นไม้ในประเทศ
ปิดจุดอ่อนที่ขาดแรงจูงใจและความรู้สึก ไม่เป็นเจ้าของ และสร้างแรงจูงใจโดยให้ ประชาชนจะปลูกต้นไม้ในที่ดินทำกิน ของตนเอง ทั้งมีเอกสารสิทธิ์ และไม่มี แล้วให้ รัฐรับรองต้นไม้ที่ประชาชนปลูกให้เป็น ของประชาชน ประชาชนจะปลูกต้นไม้ร่วมกับ พืชเกษตรอื่น กระจายไปทั้งประเทศ อย่างรวดเร็ว; เป็นการปฏิรูปให้ประชาชน ปลูกต้นไม้แทนภาครัฐ เพราะให้โอกาส และเวลามากว่า ๑๐๐ ปีแล้ว
๖. ปฏิรูประบบนิเวศ
ระบบนิเวศเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ทำให้เกิด ระบบเกษตรกรรมตามแนวทางของธนาคาร การชะล้าง เกิดความแห้งแล้ง เกิดโรคระบาด ต้นไม้ จะเกิดป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ขาดสมดุลอย่างยิ่ง ตามอย่างพระราชดำรัส เกิดความหลากหลาย ในพื้นที่การเกษตรกรรม เมื่อระบบนิเวศ กลับคืนมาความอุดมสมบรูณ์ทั้งดิน น้ำ ป่า และความยั่งยืนของสังคมจะกลับคืนมา
๗. ปฏิรปู การป้องกันวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ ภัยธรรมชาติเริ่มรุนแรงทั้งน้ำท่วม ภัยแล้ง โลกร้อน โรคระบาด และมลพิษ ฯลฯ เกิดจากความไม่สมดุลระบบนิเวศ และการจัดการแก้ปัญหาด้วยการใช้ เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม ยื่นหลักการ ตามธรรมชาติ เช่น การสร้างเขื่อน ขุดลอกคลอง ทำอ่างเก็บน้ำ การเกษตรเคมีเชิงเดี่ยว ฯลฯ
ธนาคารต้นไม้สามารถสร้างกระบวนการ ปลูกต้นไม้ทำให้มีต้นไม้กระจายอยู่ทั่วถึง จะทำให้ระบบนิเวศฟื้นคืน การเก็บกักตะกอนดิน จะเกิดขึ้นอย่างทัน กับการชะล้าง สามารถป้องกันภัยแล้ง น้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน การเก็บซับคาร์บอน และมลพิษอย่างทันการณ์
๘. ปฏิรูประบบสวัสดิการ
การใช้ต้นไม้เป็นสวัสดิการมีการเพิ่มมูลค่า อยู่ในตัว ทุกคนสร้างขึ้นมาได้เอง ไม่ต้อง หักค่าใช้จ่ายของใครมา เป็นระบบสวัสดิการ ทีม่ น่ั คงบนผืนแผ่นดินของตนเอง ไม่เป็นภาระ ผู้อื่น และไม่ให้ผู้อื่นเอาเปรียบทั้งจะเกิด ประโยชน์เป็นสวัสดิการต่อตนเอง และ สวัสดิการต่อส่วนรวมคือความอุดมสมบรูณ์
- ๙๖ -
การเก็บเงินรายได้จากประชาชนไปเข้า กองทุน ทำให้รายได้ถูกเบียดเบียน และรายได้ที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงไป ทั้งคนไทยไม่ค่อยยินยอมให้รัฐเก็บเงิน ล่วงหน้า
ธนาคารต้นไม้ปฏิรูปอะไรบ้าง (เรื่องที่จะปฏิรูป)
รูปแบบและสาระเดิม
สาระปฏิรูปของธนาคารต้นไม้
๙. ปฏิรูปการถือครองและการใช้ประโยชน์ ที่ดิน
ที่ดินทำกินของประชาชนถูกเปลี่ยน เป็นหลักทรัพย์ และไปสู่ธนาคาร และสุดท้ายสูญเสียการถือครองไปสู่ LAND LORD: ระบบทุนทำให้เกิดระบบการเกษตร แบบฟาร์มใหญ่ เมื่อที่ดินเป็นของนายทุน ซึ่งเกษตรระบบนี้ต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก
เมื่อใช้ต้นไม้เป็นเครื่องมือทางการเงินแทน ที่ดินได้ ประชาชนจะปลูกต้นไม้ รัฐรับรอง ให้มีมูลค่านำไปใช้กับธนาคารแทนที่ดิน จะเป็นการปฏิรูปให้ที่ดินของคนในชนบท มีความยั่งยืน และทำให้ชนบทยั่งยืนโดยใช้ ต้นไม้เป็นเครื่องมือรักษาที่ดินทำกิน
๑๐. ปฏิรูปการใช้ทรัพยากร
ปัจจุบันไทยต้องซื้อไม้ ซื้อวัตถุดิบ จากต่างประเทศกว่า ๖ หมื่นล้านบาท และซื้อเหล็กเกือบแสนล้านบาท เพื่อใช้เป็น วัสดุก่อสร้าง, และซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิต พลังงานอีกมากมาย เป็นการเคลื่อนย้าย ทรัพยากร ที่ต้องสูญเสียทั้งเงิน และพลังงาน
เป็นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นแบบพึ่งพา ตนเองบนพื้นฐานทรัพยากรที่ได้เปรียบของ ประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีดิน น้ำ แสงแดดดีมาก ทำให้ต้นไม้โตเร็วสามารถ นำมาใช้แทนวัตถุดิบจากต่างประเทศ และจากโรงงานอุตสาหกรรม หากชนบทไทย สามารถใช้ไม้ทดแทนวัสดุนำเข้า จากต่างประเทศทำให้ไม่ต้องสูญเสียค่าขนส่ง และเสียเงินค่าจัดซื้อ
๑๑. ปฏิรูปพลังงาน
ปัจจุบันใช้พลังงาน ฟอสซิล (FOSSIL) แก๊ส ซึ่งเป็นทรัพยากรที่หมดไปได้ และต้องซื้อ พลังงานทดแทนรูปแบบอื่นๆ อีกต่อไป
เมื่อคนปลูกต้นไม้กระจายอยู่ทั่วประเทศ สามารถใช้เศษกิ่งไม้ทำโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นฟืนเป็นถ่าน แทนแก๊สหุงต้ม กระจาย ไปทัว่ ตามพืน้ ทีท่ ว่ั ประเทศ ทำให้มคี วามมัน่ คง และพึ่งตนเองในด้านพลังงานอย่างยั่งยืน
๑๒. ปฏิรูปความมั่นคงทางอาหาร
การผลิตอาหารเป็นของระบบทุน o การปลูกต้นไม้จะทำให้ประชาชนรักษาทีด่ นิ และเป็นเครื่องมือของระบบทุนถูกผูกขาด ผลิตอาหารไว้ได้ และพื้นที่เกษตรจะปรับรูป โดยระบบทุนทำลายทักษะในการผลิตอาหาร แบบเป็นเกษตรอินทรีย์ พึ่งตน ประชาชนมีแนวโน้มสูญเสียที่ดิน o ทักษะ และปัจจัยการผลิตเป็นของเกษตร ให้ระบบทุนจนหมด เกิดการกระจายการผลิตอย่างเพียงพอ o เกิดการพึ่งตนเองด้านอาหาร
- ๙๗ -
ภาคผนวก ข. คณะผู้จัดทำ กลุ่มนวชีวัน
- ๙๘ -
๑. คุณพงศา ๒. รศ. ดร.ชัยวัฒน์ ๓. คุณศรีสุดา ๔. คุณปริญดา ๕. คุณทรงพล ๖. คุณอนัตดา ๗. คุณชลัญธร ๘. คุณอรไท ๙. คุณอัจจิมา ๑๐. คุณพิทักษ์ ๑๑. คุณเนติ ๑๒. คุณสุมิตร ๑๓. คุณสมศักดิ์ ๑๔. คุณปฐภพ ๑๕. คุณสิทธิศักดิ์ ๑๖. คุณสำเภา ๑๗. คุณเสรี ๑๘. คุณรติกร ๑๙. คุณอรรถวุฒิ ๒๐. คุณอุทัยวรรณ
ชูแนม คงสม ประราศรี กิตติมานนท์ ชื่นอารมณ์ ต่ายทอง พรศรี สุทัศนะจินดา แก้วทิพย์ ธเนศถาวรกุล สัจจวิโส คะเณย์ ษมาเศรษฐ์ สุคนธจร แก้วรักษา ศัทธาพงษ์ อุ่นยวง วรรณบวร ครุฑปักษี น้อยเทพา
คณะทำงานกลุ่มนวกะ
ชื่อ - สกุล ที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์
นายพงศา ชูแนม เลขที่ ๑๓๒ หมู่ ๖ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ๐๘๑-๘๙๔-๑๙๗๓
การศึกษา จบการศึกษาจากโรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่ รุ่นที่ ๒๗ ปริญญาตรี สาขาการพัฒนาชุมชน สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์การทำงาน อดีตหน.หน่วยอนุรักษ์ และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร บทบาททางสังคม ผู้ริเริ่มโครงการคนอยู่ ป่ายัง ผู้จัดการใหญ่และประธานมูลนิธิธนาคารต้นไม้ คนต้นคิดธนาคารต้นไม้ คณะกรรมการบริหาร สถาบันลูกโลกสีเขียว รางวัลที่เคยได้รับมา ปี ๒๕๓๕ ได้รับรางวัลจากองค์กรโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ปี ๒๕๔๒ ได้รบั รางวัลลูกโลกสีเขียว (คนแรก) ในฐานะบุคคลดีเด่นด้านการอนุรกั ษ์ ปี ๒๕๕๐ ได้รับ รางวัลค้นฅนดี จากรายการคนค้นฅน ปี ๒๕๕๗ ได้รับรางวัล เพชรจรัสแสง (รางวัลข้าราชการตัวอย่าง) จนได้รับ ฉายาว่า “ข้าราชการหัวใจประชาชน”
ชื่อ – สกุล ที่อยู่ปัจจุบัน ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน การศึกษา บทบาททางสังคม
นายทรงพล ชื่นอารมณ์ ๑๕๒/๓๙ หมู่ ๔ ซอยแสงอรุณ ถนนดอนนก อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รับราชการ ตำแหน่งนายช่างภาพชำนาญงาน สถานีวทิ ยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดสุราษฎร์ธานี (NBT) สำนักประชาสัมพันธ์ เขต ๕ กรมประชาสัมพันธ์ ปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ผู้บรรยายธรรมะในหัวข้อ “สงบ-กรุณา วัดศานติ-ไมตรี” - ๙๙ -
ชื่อ – สกุล นางสาวอนัตดา ต่ายทอง ที่อยู่ปัจจุบัน ๓๘๘ หมู่ ๖ ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน บทบาททางสังคม
กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเอเชีย อินไซท์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ประธานกองทุนบทบาทสตรี ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจติ ร
ชื่อ – สกุล นางสาวชลัญธร พรศรี ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ ๗๔/๓ ถนนต้นโพธิ์ ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา บทบาททางสังคม
- ๑๐๐ -
พนักงานกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติงานแผนกทันตกรรม โรงพยาบาลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริญญาตรี (ศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขารัฐศาสตร์การปกครอง) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย กรรมการชุมชนท้ายควน ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อ – สกุล นางสาวอรไท สุทัศนะจินดา ที่อยู่ปัจจุบัน ๑๔๘/๙๔๕ หมู่บ้านรินทร์ทอง ซอยรามคำแหง ๑๙๐ ถ.รามคำแหง แขวง/เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา บทบาททางสังคม
ประกอบธุรกิจส่วนตัว (ร้านหนังสือ) ปริญญาตรี นิเทศศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เข้าร่วมกิจกรรม “โครงการห้องสมุดเสียง (Nation Digital Voice)” ของ วิทยุเนชั่น ร่วมกับมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
ชื่อ – สกุล นายพิทักษ์ ธเนศถาวรกุล ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ ๕๐/๑ หมู่ ๓ ตำบลจอมปะทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา บทบาททางสังคม
เจ้าของธุรกิจส่วนตัว โรงงานแปรรูปมะพร้าวขนาดเล็ก ปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ที่ปรึกษาคณะทำงานโครงการพระราชดำริ จังหวัดปัตตานี กรมราชองครักษ์
- ๑๐๑ -
ชื่อ – สกุล นางสาวอัจจิมา แก้วทิพย์ ที่อยู่ปัจจุบัน ๘๗/๔๗๒ หมู่บ้านภัสสร ๗ ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
ตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบัน ประวัติการศึกษา บทบาททางสังคม
คุณสิทธิศักดิ์ แก้วรักษา คุณอรรถวุฒิ ครุฑปักษี คุณอุทัยวรรณ น้อยเทพา
- ๑๐๒ -
นักบัญชี (อิสระ) Master of International Tourism and Hotel Management (Southern Cross University) ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงินการธนาคาร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ให้คนรุ่นใหม่
- ๑๐๓ -