วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา Al-Hikmah Journal of Yala Islamic University
บทบรรณาธิการ วารสาร อั ล -ฮิก มะฮฺ มหาวิ ทยาลัย อิ สลามยะลา เป็น วารสารที่ ตี พิม พ์ เพื่ อ เผยแพร่ บ ทความวิ ชาการ (Article) บทความวิจัย (Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ในการเป็นสื่อส่งเสริมการสร้างองค์ ความรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีความคิด สร้ า งสรรค์ ด้ า นผลงานวิ ชาการและงานวิ จั ย สู่สั ง คม และเพื่อ เป็น สื่ อ กลางการนํา เสนอสาระน่า รู้ ด้ านวิ ชาการต่ า งๆ แก่ นักวิชาการและบุคคลทั่วไป บทความที่ได้ปรากฏในวารสารฉบับนี้ทุกบทความได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตรงตาม สาขาวิชา (Peer Review) วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 1 ปีที่ 1 ประจําปี 2554 ประกอบด้วยบทความ จํานวน 9 บทความ กับ 1 บทวิพากษ์หนังสือ (Book Review) ซึ่งมีแขนงวิชาด้านต่างๆ ได้แก่ สังคมศึกษา การวัดและประเมินผล อิสลามศึกษา ภาษาศาสตร์ สุขศึกษา ภาษาศาสตร์ มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาเป็นวารสารที่มีมาตรฐานและคุณภาพการตีพิมพ์บทความ ตาม เกณฑ์และข้อกําหนด ในนามของกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ให้ ความสนใจลงตีพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความประจําฉบับที่ไ ด้สละและให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการตลอดจนคณะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ที่ให้การสนับสนุนการจัดทําวารสารฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือคําแนะนําประการใดที่จะนําไปสู่การพัฒนาปรับปรุงวารสารให้มีคุณภาพ ดียิ่ง ขึ้น กองบรรณาธิ การวารสาร อัล -ฮิก มะฮฺ มหาวิท ยาลั ยอิส ลามยะลา ยิ นดี รับคํ าแนะนํา ด้วยความขอบคุณ ยิ่ง และ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้วารสารฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
บรรณาธิการ วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
เจ้าของ
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 135/8 ม.3 ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 94160 โทร 0-7341-8611-4 โทรสาร 0-7341-8615-6
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย 2. เพื่อเป็นสื่อส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ 3. เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีความคิดสร้างสรรค์ด้านผลงานวิชาการและงานวิจัยสู่สังคม
ขอบเขตงาน
เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ โดยนําเสนอในรูปแบบ 1. บทความวิชาการ 2. บทความวิจัย 3. เวทีนําเสนอผลงานวิชาการ
คณะที่ปรึกษาวารสาร นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย คณบดีคณะอิสลามศึกษา คณบดีคณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผู้อํานวยการสถาบันอัสสลาม ผู้อํานวยการสํานักวิทยบริการ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี ผู้อํานวยการสํานักบริการการศึกษา ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้อํานวยการสํานักงานจัดหาทุนและพัฒนาบุคลากร บรรณาธิการ
ผศ.ดร.มุฮําหมัดซากี เจ๊ะหะ
รองบรรณาธิการ ดร.อิบรอเฮม สือแม กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุสลัน อุทยั ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาเดร์ สะอะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษตรชัย และหีม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกสรี ลัดเลีย ดร.อะห์มัด ยีส่ ุนทรง ดร.มูหามัดรูยานี บากา ดร.กัลยานี เจริญช่างนุชมี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุกรี หลังปูเต๊ะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จีระพันธ์ เดมะ ดร.อิดรีส ดาราไก่ ดร.อับดุลเลาะ ยูโซ๊ะ ดร.ปนัสย์ นนทวานิช Prof. Dr. Mohd Nasran Mohamad Doto’ Assoc. Prof. Dr. Mohd. Rodi Usman
ผู้ประเมินบทความประจําฉบับ (Peer Review) รองศาสตราจารย์ ดร.รัตติยา สาและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกีนา อาแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุสลัน อุทยั ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จีระพันธ์ เดมะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ ผู้ช่วยศาตราจารย์ สุกรี หลังปูเต๊ะ พิสูจน์อกั ษร
ดร.อิบรอเหม เต๊ะแห อาจารย์อับดุลรามันห์ โตะหลง อาจารย์วิไลวรรณ กาเจร์ อาจารย์คอลีเย๊าะ ลอกาซอ
ฝ่ายจัดการ
นายฟาริด อับดุลลอฮ์หะซัน นายมาหะมะ ดาแม็ง นายอาสมิง เจ๊ะอาแซ
รูปแบบ
นางสาวรอฮานิง หะนะกาแม นายมูฮมั หมัด สนิ นางสาวกามีละ สะอะ
กําหนดออก
ปีละ 2 ฉบับ
การเผยแพร่
แจกจ่ายฟรีแก่ห้องสมุดของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาริน สะอีดี ดร.มูฮามัสสกรี มันยูนุ ดร.สุริยะ สะนิวา ภ.ญ.ซอฟียะห์ นิมะ อาจารย์กูมัจดี ยามิรูดิง อาจารย์มสั ลัน มาหะมะ
ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม
การบอกรับและติดต่อ สํานักงานกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตู้ ปณ.142 อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ (073) 418611-4 ต่อ 124 โทรสาร (073) 418615-6 Email: gs@yiu.ac.th, fariddoloh@gmail.com รูปเล่ม
โครงการจัดตั้งสํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์มิตรภาพ เลขที่ 5/49 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตําบลรูสะมิแล อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 โทร (073) 331429
ข้อกําหนดวารสาร 1.ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบแต่ อย่างใดของคณะกองบรรณาธิการ 2.ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
สารบัญ สภาพและแนวทางการส่งเสริมการดําเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จารุวัจน์ สองเมือง, เกษตรชัย และหีม, คอเหล็ด หะยีสาอิ,มะรูยานี บากา, และฮาเซ็ม อัชอารี ......................1-11 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางาน ในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย มะดาโอะ ปูเตะ, เภาซัน เจ๊ะแว ............................................................................................................. 13-21 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรมมาเลเซียกับความพยายามในการพัฒนาการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน มัฮซูม สะตีแม ........................................................................................................................................ 23-33 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการและการปฏิบัตใิ นทัศนะอิสลาม ธีรวัช จาปรัง ........................................................................................................................................... 35-44 ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี, และนิสากร จารุมณี ........................................................................... 45-57 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล, และสุภาพร อุตสาหะ .............................................................. 59-67 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกบั การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดปัตตานี อริญชยา จรุงกิตติกลุ , วันชัย ธรรมสัจกา, และอุมาพร มุณีแนม ............................................................. 69-81 ศึกษาปัญหาการออกเสียงบากูของนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซะ .................................................................................................................................... 83-89 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิน่ ในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี พารีดา หะยีเตะ ..................................................................................................................................... 91-107 บทวิพาทย์ / Book Review ศึกษาเปรียบเทียบมะฮัรในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทัง้ สี่ มะนูรี ยูโซ๊ะ, มุฮําหมัดซากี เจ๊ะหะ........................................................................................................ 109-112
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
1
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
Research The Condition and Recommendations for Promoting Internal Quality Assurance for Private Islamic Schools Jaruwat Songmeung*, Kasetchai Laeheem*, Maruyani Baka**, and Hasem Asharee*** *Lecturer, Department of Teaching Profession, Liberal Arts and Social Sciences, YIU ** Officer, the Inspector General Office of the 12th Region *** Lecturer, Department of Islamic Studies, College of Islamic Studies, PSU Abstract As part of the research on system and mechanism of internal quality assurance for private Islamic schools, the paper aims to present the condition of the internal quality assurance of private Islamic schools and to propose recommendations for conducting the internal quality assurances for private Islamic schools. According to the research findings, it is indicated that each school differently conducted three aspects of internal quality insurance covering quality control, quality monitoring and quality assessment. School personnel are divided into 4 groups based on their roles: executives, viceexecutives, quality assurance officers and other officers. They all understand and participate in quality assurance differently. Recommendations for promoting the quality assurance in private Islamic schools are as follows: (1) developing quality assurance to cover all school, (2) adjusting some indicators that contrast to Islamic education, (3) supporting the cooperation and developing quality assurance instruments which are in accord with school, (4) developing the school personnel to be equipped with knowledge and skills of quality assurance, and (5) developing school’s administration knowledge based on Islamic principles. Keywords: internal quality assurance, Islamic private schools, southernmost provinces
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
2
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
บทความวิจัย สภาพและแนวทางการส่งเสริมการดําเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลาม จารุวัจน์ สองเมือง*, เกษตรชัย และหีม*, คอเหล็ด หะยีสาอิ*, มะรูยานี บากา** และฮาเช็ม อัชอารี*** * อาจารย์ประจําสาขาวิชาชีพครู คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ** สํานักผู้ตรวจราชการประจําเขตตรวจราชการที่ 12 *** อาจารย์ประจําภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทคัดย่อ บทความนําเสนอผลการวิจัยส่วนหนึ่งจากการวิจัยระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในสําหรับโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอสภาพการดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามและแนวทางส่งเสริม การดําเนินการด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาภายในสําหรั บ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาสภาพการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในพบว่า โรงเรียนมีการดําเนินงาน ทั้งสามส่วน คือ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ แตกต่างกัน โดยบทบาทของ ผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับรอง ผู้รับผิดชอบงานประกัน และ บุคลากรฝ่ายอื่นๆ ซึ่งมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการทํางานด้านประกันคุณภาพต่างกัน และแนวทางการสนับสนุน การดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาสําหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม คือ 1) พัฒนาระบบประกัน คุณภาพให้ครอบคลุมทุกพันธกิจของโรงเรียน 2) ปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ที่ขัดกับแนวทางการจัดการศึกษาในอิสลาม 3) ส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาเครื่องมือการประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับโรงเรียน 4) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และทักษะด้านการประกันคุณภาพ และ 5) พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการโรงเรียนตามแนวทางอิสลาม คําสําคัญ: การประกันคุณภาพภายใน, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม, จังหวัดชายแดนภาคใต้
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
บทนํา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กํ า หนดให้ ส ถาบั น การศึ ก ษาในทุ ก ระดั บ การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา เพื่ อ เป็ น กลไกหนึ่ ง ในการสร้ า ง คุณภาพของการจัด การศึ กษา โดยอาศัย หลั กการและ วิธีการบริหารและการจัดการคุณภาพสมัยใหม่ที่เน้นการ สร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคน จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ โดยที่ ค วามมั่ น ใจนั้ น ต้ อ งอยู่ บ นรากฐานของหลั ก วิ ช า ข้อเท็จจริง หลักฐานเชิงประจักษ์และความสมเหตุสมผล เป็นสําคัญ โดยโรงเรียนต้องดําเนินการในสองรูปแบบ คือ การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพ ภายนอก มาตรา 48 ของพระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กําหนดให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็น ส่ ว นหนึ่ ง ของกระบวนการบริ ห ารการศึ ก ษาที่ ต้ อ ง ดํ า เนิ น การอย่ า งต่ อเนื่ อ ง โดยมี ก ารจั ด ทํ า รายงาน ประจํ า ปี เ สนอต่ อหน่ ว ยงานต้ น สั ง กั ด หน่ ว ยงานที่ เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนําไปสู่การ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาเพื่อรองรับการ ประกันคุณภาพภายนอก ซึ่งสภาพระบบและกลไกการ ประกัน คุณ ภาพโรงเรีย นเอกชนสอนศาสนาอิส ลามใน ปัจจุบันยังไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคุณภาพ ที่ แ ท้ จ ริ ง ในโรงเรี ย นได้ ทั้ ง นี้ อ าจเกิ ด จากระบบการ ประกั น คุ ณ ภาพที่ ใ ช้ อ ยู่ ไ ม่ ไ ด้ เ อื้ อ ต่ อ อั ต ลั ก ษณ์ ข อง โรงเรี ย นที่ มี ค วามแตกต่ า งจากโรงเรี ย นโดยทั่ ว ไป ใน ขณะเดียวกันบุคลากรในโรงเรียนขาดความตระหนักและ การมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพของการจัดการศึกษา ของโรงเรียน ดังนั้นเพื่อให้การประกันคุณภาพมีประสิทธิ ในการผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลงการ บริหารจัดการเพื่อสร้างกลไกคุณภาพในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิ ส ลามอย่ า งแท้ จ ริ ง จึ ง จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จะต้ อ งมี ก ารพั ฒ นาระบบและกลไกเพื่ อ การประกั น คุณภาพการศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ใหม่ โดยประยุกต์จากแนวคิดทางการศึกษาอิสลาม ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญา เป้าหมายและอัตลักษณ์ของ
3
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
โรงเรียน ตลอดจนเป็นกลไกเพื่อการกระตุ้นการมีส่วน ร่วมของบุคลากรในโรงเรียนในการพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษาต่อไป การวิ จั ย เรื่ อ ง ระบบและกลไกการประกั น คุณ ภาพภายในโรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนาอิ ส ลามจึ ง เกิ ด ขึ้ น โดยการสนั บ สนุ น ของสนั บ สนุ น จากโครงการ ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการศึกษาจังหวัด ชายแดนภาคใต้ (สคศต.) และสํ า นั ก งานกองทุ น สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งบทความวิจัยนี้จะนําเสนอ ผลบางส่วนของงานวิจัยนี้ โดยนําเสนอสภาพการดําเนิน กิจกรรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิ ส ลาม กั บ แนวทางส่ ง เสริ ม การ ดํ า เนิ น งานด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ โรงเรียน อันเป็นองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาระบบ และกลไกการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาภายในของ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามต่อไป วัตถุประสงค์ 1. เพื่ อศึ ก ษาสภาพการดํา เนิน การประกั น คุณ ภาพการศึ ก ษาภายในโรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนา อิสลาม 2. เพื่อวิเคราะห์แนวทางส่งเสริมการดําเนินการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผ่องศรี วาณิ ช ย์ ศุ ภ วงศ์ และวาสนา แสงงาม (2546) ได้ ทํ า การศึ ก ษาการประกั น คุ ณ ภาพภายใน สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดปัตตานี โดยวิ ธี ก ารวิ จั ย ภาพอนาคตชาติ พั น ธุ์ นํ า เสนอผล การศึ ก ษาสรุ ป ได้ ว่ า แนวทางการประกั น คุ ณ ภาพ การศึ ก ษาของสถานศึ ก ษาระดั บ ขั้ น พื้ น ฐานในจั ง หวั ด ปัตตานี มีแนวทางคล้ายคลึงกันแต่มีการปฏิบัติต่างกัน ตาม กรม ต้นสังกัด สถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จะได้รับการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพและมาตรฐาน การศึ ก ษาจากองค์ ก รภายนอก สถานศึ ก ษาสั ง กั ด สํ า นั ก งานคณะกรรมการประถมศึ ก ษาแห่ ง ชาติ จ าก หน่ ว ยงานระดั บ เหนื อ ขึ้ น ไป และสถานศึ ก ษาสั ง กั ด คณะกรรมการการศึกษาเอกชนจากกรมต้นสังกัดเท่านั้น
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
ซึ่งความแตกต่ างดัง กล่า วทํ าให้การดํ าเนินการประกั น คุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนแต่ละโรงเรียนมีความ แตกต่างไปด้วยเช่นกัน สุวิ ม ล เขี้ ย วแก้ ว และคณะ (2545) ได้ ศึ ก ษา รูป แบบการบริ หารงานวิ ช าการในเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา สํ า หรั บ ห้ า จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ แ ละนํ า เสนอผล การศึกษาในส่วนของการประกันคุณภาพว่า งานประกัน คุณภาพการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาจะต้องทําหน้าที่ เป็ น หน่ ว ยประเมิ น ภายนอกของสถานศึ ก ษา และทํ า หน้าที่ประเมินภายในของเขตพื้นที่การศึกษาด้วย โดยจัด ให้ มี ค ณะกรรมการประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ซึ่ ง มี บทบาทหน้ า ที่ คื อ การกํ า หนดนโยบายด้ า นประกั น คุณภาพของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา กําหนด มาตรฐาน ตั ว บ่ ง ชี้ แ ละเกณฑ์ ใ ห้ ส อดคล้ อ งกั บ เกณฑ์ มาตรฐานของสํานักงานรับ รองมาตรฐานและประเมิ น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา (สมศ.) รวมทั้ ง คํ า นึ ง ถึ ง ความ เหมาะสมของเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา และมี หน้ า ที่ ใ นการ ประชาสั ม พั น ธ์ ประชุ ม อบรมให้ บุ ค ลากรทุ ก ฝ่ า ยที่ เกี่ยวข้องในการประกันคุณภาพการศึกษา มูฮัมมัดฮิลมี อูซิน (2549) ได้ศึกษาสภาพ ปัญหาปั จจุบัน ของโรงเรีย นเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ทางด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพจากการศึ ก ษา พบว่ า สถานศึ ก ษาเอกชนโดยรวมส่ ว นใหญ่ ดํ า เนิ น งานตาม ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาได้ในระดับมากทุก องค์ประกอบ ยกเว้นองค์ประกอบที่ 8 การรายงาน คุณภาพการศึกษาที่ดําเนินการได้ในระดับน้อย และเป็น องค์ ป ระกอบที่ มี ส ถานศึ ก ษาทุ ก กลุ่ ม ตั ว แปรไม่ ไ ด้ ดําเนินการมากที่สุด องค์ประกอบที่ 5 การดําเนินงาน ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นองค์ประกอบที่ สถานศึกษาส่วนใหญ่ดําเนินการได้ดีกว่า คือ มีค่าเฉลี่ยสูง กว่าทุกองค์ประกอบ สถานศึกษาที่มีครู/บุคลากรที่มี ความรู้เรื่องการประกันคุณภาพจํานวนมากกว่าร้อยละ 80 ดําเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดีกว่าสถานศึกษาทุกกลุ่มตัวแปร ส่วนสถานศึกษาที่ ดําเนินการได้น้อยกว่าสถานศึกษาทุกกลุ่มตัวแปร คือ สถานศึ ก ษาขนาดเล็ ก สถานศึ ก ษาที่ ผู้ บ ริ ห ารมี ความสามารถระดับปานกลาง และสถานศึกษาที่มีครู/ บุคลากรที่มีความรู้เรื่องการประกันคุณภาพจํานวนน้อย
4
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
กว่าร้อยละ 50 ในการดําเนินงานตามรายการในแต่ละ องค์ประกอบ โรงเรียนโดยรวมส่วนใหญ่มีปัญหาอุปสรรค ในการดําเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยปัญหาที่ พบมากที่สุดเป็นปัญหาเดียวกัน คือ ภาระงานของ ผู้บริหาร /ครู /บุคลากรมีมากจนไม่สามารถปฏิบัติงาน ทุกงานที่ได้รับมอบหมายได้ดี รองลงมา คือ ผู้บริหาร/ ครู / บุคลากรไม่เข้าใจการจัดเตรียมเอกสาร/หลักฐาน ต่างๆ สําหรับการประเมินภายนอก ผู้บริหาร/ ครู / บุ ค ลากรมี ค วามรู้ ค วามสามารถไม่ เ พี ย งพอต่ อ งานที่ รับผิดชอบ งบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สถานศึกษากําหนด และการ ชี้แจง / การให้ความรู้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ตรงกันทําให้สถานศึกษาสับสน ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และคณะ (2548) โดย ได้ทําการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเชิงระบบเพื่อปฏิรูปการ เรียนรู้และคุณภาพโรงเรียน โดยในส่วนของการพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพในโรงเรียน ได้ผลการพัฒนาคือ 1) ด้ า นกระบวนทั ศ น์ แ ละการจั ด ตั้ ง องค์ ก รคุ ณ ภาพ โรงเรียนส่วนใหญ่สามารถดําเนินการได้ในระดับดีมาก โดยมีก ารทําความเข้าใจกั บทีมบริ หารทุ กระดับ ในการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาเป็นการพัฒนาระบบต่างๆ ประสานการประเมิน อีกทั้งทีมหรือบุคคลที่รับผิดชอบ การประกันคุณภาพในสถานศึกษาเปลี่ยนความคิดและ วิธีการทํางานใหม่ 2) การจัดทําแผนพัฒนาของโรงเรียน สามารถดําเนินการได้ในระดับดีมาก โดยโรงเรียนส่วน ใหญ่มีการวิเคราะห์สภาพการณ์เฉพาะที่ชี้ให้เห็นสภาพ ชุม ชนและครอบครั ว ของนั ก เรี ย น ความคาดหวั ง และ ความต้ อ งการของชุ ม ชนที่ มี ต่ อโรงเรี ย นและยั ง มี ก าร ปรับปรุงวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์เฉพาะ ที่ ได้วิเคราะห์ไว้และสาระของวิสัยทัศน์มีพลังต่อการดําเนิน องค์กรไปสู่ความสําเร็จในระยะเวลาที่กําหนดไว้ชัดเจน 3) ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนอยู่ในระดับดี โดยโรงเรียน มี ก ารวางระบบความสั ม พั น ธ์ กั บ ชุ ม ชน การกํ า หนด ช่องทางและการวางบทบาทชุมชน ผู้ปกครองและศิษย์ เก่าเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียน 4) การวางระบบคุ ณ ภาพ โรงเรี ย นส่ ว นใหญ่ ส ามารถ ดํ า เนิ น ก า ร ไ ด้ ร ะดั บ ดี มา ก คื อ มี ก า ร ออ กแ บ บ กระบวนการทํ า งานของระบบย่ อ ยที่ ส อดคล้ อ งกั บ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
มาตรฐานและตั ว ชี้ วั ด มี ก ารวิ เ คราะห์ ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้กับระบบย่อยที่เป็นจุดเน้น ของโรงเรี ย น 5) โรงเรี ย นส่ ว นใหญ่ มี ก ารสร้ า งความ ตระหนักและการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนส่งเสริมการ ทํา งานเป็ นที ม อยู่ ใ นระดั บ ดี และ 6) ในส่ว นของการ ประเมินทบทวนนั้น โรงเรียนสามารถดําเนินการได้ใ น ระดับดี และสามารถนําผลการประเมินมาใช้ปรับเกณฑ์ โรงเรียนและตัวชี้วัดระบบได้ในระดับพอใช้ ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และคณะ (2550) ได้ศึกษา เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามวิถีอิสลาม ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพื่อบูรณภาพสังคม ในสามจังหวั ดชายแดนภาคใต้ ผลการศึก ษาสรุ ปได้ว่ า ปัญหาอุปสรรคที่โรงเรียนส่วนใหญ่ประสบอยู่ในปัจจุบัน ได้ แ ก่ คุ ณ ภาพการศึ ก ษาที่ เ กิ ด จากระบบการบริ ห าร จั ด การ ระบบการจั ด การเรี ย นรู้ และระบบการจั ด กิ จ กรรมพั ฒ นาผู้ เ รี ย น ส่ ง ผลให้ ผู้ เ รี ย นส่ ว นใหญ่ มี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับที่ไ ม่น่าพอใจ ปัญหา เหล่านี้ ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากขาดการพัฒนาระบบการ บริหารจัด การ ประกอบกั บโรงเรีย นไม่ ค่อยได้รั บการ พัฒนาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ครูส่วนใหญ่ได้รับการ พัฒนาน้อยมาก โรงเรียนต้องพัฒนาด้วยตนเองเป็นหลัก และโดยอาศั ย ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งหน่ ว ยงาน หรื อ องค์การทั้งภายในและต่างประเทศที่มีความรู้ความเข้าใจ ในการจัดการศึกษาตามหลักการศาสนาอิสลาม เพื่อให้ สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรม วิถีชี วิต และตอบสนอง ความต้องการของชุมชนได้ วิธีการวิจัย การวิ จั ย ระบบและกลไกการประกั น คุ ณ ภาพ ภายในโ รงเรี ย นเอกช นสอนศา สนาอิ ส ลามเป็ น โครงการวิ จั ย และพั ฒ นา (Research and Development) แต่สําหรับผลการวิจัยที่นํ าเสนอใน บทความวิจัยนี้เป็นผลของการวิจัยในส่วนแรก ซึ่งใช้การ วิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) โดยมีวิธีการวิจัย ดังนี้ 1. ประชากร คือ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้
5
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
2. กลุ่ มตั วอย่ าง คือ โรงเรี ยนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัด ปัตตานี จํานวน 15 โรงเรียน จังหวัดยะลา จํานวน 11 โรงเรียน และจังหวัดนราธิวาส จํานวน 9 โรงเรียน รวม ทั้งสิ้น 35 โรงเรียน โดยมีขั้นตอนการเลือกโรงเรียนดังนี้ - การแสวงหาโรงเรี ย นนํ า ร่ อ ง โดยการ ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดเวทีสัมมนา เว็บไซด์ การจัดทําแผ่นพับแนะนําโครงการ โดยโรงเรียน ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์กลับมายังสํานักงาน โครงการ - การคัดเลือกโรงเรียนนําร่อง คณะผู้วิจัยได้ทํา การคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโดยพิจารณาจาก แบบแจ้งความจํานงเข้าร่วมเป็นโรงเรียนนําร่อง สอบถาม ความคิดเห็นทางโทรศัพท์เกี่ยวกับแนวคิดในการประกัน คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของโรงเรี ย นและความพร้ อ มทาง กายภาพ เช่น ที่ตั้งของโรงเรียน สภาพของโรงเรียน เป็น ต้น - การชี้แจงทํ าความเข้าใจเกี่ ยวกั บการวิจั ย คณะผู้ วิจั ยได้จั ดประชุ มชี้ แจงโรงเรี ย นนํ าร่ องเกี่ ยวกั บ เป้ า หมายและแนวทางการดํ า เนิ น งานของการวิ จั ย ตลอดจนบทบาทของคณะผู้วิจัยและโรงเรียนนําร่อง 3. ขั้นตอนการวิจัย 1) ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนนี้เพื่อรวบรวมผลการศึกษาสภาพและปัญหา ของโรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนาอิ ส ลาม ตลอดจนถึ ง สภาพการดําเนินการประกันคุณภาพของโรงเรียน 2) สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล และศึกษาทัศนคติ บทบาทและความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้ที่เกี่ยวข้อง กั บ โรงเรี ย น ในการสั ม ภาษณ์ จ ะใช้ ก ารสุ่ ม ตั ว อย่ า ง โรงเรียนจํานวน 6 โรงเรียนโดยพิจารณาจากขนาดของ โรงเรียน ใหญ่ กลางและเล็ก อย่างละ 2 โรง 3) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการ ดํ า เนิ น การด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ โรงเรี ย นเอกชนสอนศาสนาอิ ส ลาม การจั ด เวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมได้นําเสนอ ภาพความสําเร็จและปัญหาจากการดําเนินการประกัน
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
คุณภาพการศึกษาในโรงเรียน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและ มี ค วามถู ก ต้ อ งชั ด เจน และถอดบทเรี ย นเพื่ อ การ พั ฒ นาการดํ า เนิ น การประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษา ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนามาตรฐาน และตัว บ่ งชี้ สํ าหรั บการประกัน คุ ณภาพการศึ ก ษาของ โรงเรียน ผลการวิจัย บทความนี้นําเสนอผลการวิจัยใน 2 ประเด็น คือ 1) สภาพการดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในโรงเรี ย น และ 2) แนวทางการส่ ง เสริ ม การ ดําเนิน งานด้ านการประกั นคุ ณภาพของโรงเรีย น ซึ่ง มี ผลการวิจัย ดังนี้ 1. สภาพการดําเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ภายในโรงเรียน จากการศึ ก ษาพบว่ า โรงเรี ย นที่ เ ข้ า ร่ ว ม โครงการวิ จั ย มี ส ภาพการดํ า เนิ น การประกั น คุ ณ ภาพ ภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอกแตกต่างกัน ทั้งนี้ความแตกต่างดังกล่าวไม่ได้เกิดจากขนาดหรือที่ตั้ง ของโรงเรียน แต่พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จใน การดําเนินการ คือ 1.1 การยอมรับต่องานประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนโดยส่วนใหญ่มีแนวทางการดําเนินงานที่ยึดติด กับแนวคิดดั้งเดิม แต่โดยส่วนใหญ่กลับเห็นว่าการประกัน คุ ณ ภาพภายในเป็ น สิ่ ง ที่ จ ะก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ โรงเรี ย น ไม่ เ พี ย งแค่ เ ป็ น การปฏิ บั ติ ใ ห้ เ ป็ น ไปตามที่ กฎหมายกําหนดเท่านั้น ดังที่ผู้บริหารโรงเรียน นร.01 ได้ กล่าวว่า “โรงเรียนจะต้องมีคุณภาพ ถึงแม้ไม่มีกฎหมาย มาบังคับ เราก็จะต้องสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เพียงแต่การสร้างคุณภาพตามแนวทางที่กําหนดนี้เป็นสิ่ง ที่ทางโรงเรียนต้องทําความเข้าใจ และปัจจุบันโรงเรียน ยังขาดความเข้าใจในการดําเนินการในเรื่องนี้อยู่มาก” และหัวหน้าครูกลุ่มวิชาศาสนา โรงเรียน ปน.03 กล่าวว่า “การทํางานให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการเรียนการสอน เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับครูทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูสอน ศาสนา เพราะนี้คือเรื่องของศาสนาที่เราทุกคนจะต้องถูก สอบสวนในวันกียามะฮฺ”
6
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
1.2 ความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการดําเนิน กิ จ กรรม การดํ า เนิ น การของงานประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษาภายในโรงเรียนเริ่มต้นด้วยความพยายามใน การสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายในโรงเรียน แต่พบว่า โดยส่ ว นใหญ่ ไ ม่ ค่ อ ยประสบความสํ า เร็ จ ในเรื่ อ งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือจากครูกลุ่มวิชาศาสนา ทั้ง นี้ พบว่ า บุ ค ลากรกลุ่ ม วิ ชาศาสนาก็ไ ม่ ได้ ขั ด แย้ ง กั บ แนวคิดการประกันคุณภาพภายใน แต่เหตุผลสําคัญคือ การขาดกลวิ ธีเพื่ อสร้ างการมี ส่ว นร่ว ม การขาดทั ก ษะ พื้ น ฐานเพื่ อ การดํ า เนิ น งานตามเงื่ อ นไขการประกั น คุณภาพภายในและอีกสาเหตุที่มีความสําคัญคือ การขาด การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างผู้บริหารที่รับผิดชอบ งานประกันคุณภาพกับบุคลากรกลุ่มวิชาศาสนา ปัญหาการมีส่วนร่วมของการประกันคุณภาพ ภายในโรงเรียน หากพิจารณาอย่างผิวเผิน อาจสรุปได้ว่า มีสาเหตุจากการปฏิเสธสิ่งใหม่ๆ ของครูกลุ่มวิชาศาสนา แต่เมื่อทําการศึกษาเชิงลึก พบว่า งานเอกสารของกลุ่ม วิชาศาสนาที่ใช้ภาษาอาหรับและภาษามลายู ตลอดจน ข้อจํากัดในการใช้ภาษาไทยของครูผู้สอนกลุ่มวิชาศาสนา คืออุปสรรค์สําคัญของผู้ประเมินจากภายนอก ทําให้การ ให้ความสําคัญต่อการดําเนินงานของครูกลุ่มวิชาศาสนา น้อยลงไป ทั้งนี้ตัวแทนครูสอนกลุ่มวิชาศาสนาโรงเรียน ปน.03 ให้ ค วามเห็ น ว่ า “ความจริ ง เวลาผู้ ป ระเมิ น ภายนอกมาที่ โ รงเรี ย น เขาไม่ ได้ ใ ห้ ความสนใจกับ วิ ช า ศาสนาเลย ดูไปเขาก็ดูไม่รู้เรื่องว่า ครูสอนศาสนาทําอะไร กันบ้าง เพราะแผนการสอน โครงการต่างๆ เป็นภาษา มลายู ทั้ ง หมด แต่ จ ะให้ เราแปลทั้ ง หมดเป็ น ภาษาไทย ทั้งหมดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน ที่สําคัญเขาไม่เข้าใจ เลยว่ า กิ จ กรรมที่ เ ราทํ า มั น เกี่ ย วข้ อ งกั บ งานประกั น อะไรบ้าง เขาเลยดูแต่วิช าสามัญและกิจ กรรมทั่วๆ ไป สุดท้ายเราก็ต้องปรับปรุงตามข้อเสนอแนะเยอะมาก บาง ทีถ้าเขาเข้าใจภาษามลายู เขาอาจจะให้คะแนนถึงยอด เยี่ยมกับเราก็ได้” 1.3 บุคลากรด้านการประกันคุณภาพภายใน บุ ค ลากรในโรงเรี ย นมี ส่ ว นสํ า คั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การ ดํ า เนิ น การงานประกั น คุ ณ ภาพของโรงเรี ย น จาก การศึ ก ษาพบว่ า งานประกั น คุ ณ ภาพมี โ ครงสร้ า งการ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
บริหารเช่นเดี ยวกับงานอื่น ๆ ของโรงเรี ยน ซึ่ง บทบาท ของบุคลากรในโรงเรียนต่องานประกันคุณภาพมีดังนี้ 1) ผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น โดยทั่ ว ไป ผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด ที่ มี อํ า นาจในการตั ด สิ น และถื อ ว่ า เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ สํ า คั ญ ของโรงเรี ย นมี เ พี ย งท่ า นเดี ย ว คื อ เจ้าของโรงเรียนหรือผู้รับใบอนุญาต หรือผู้จัดการ ซึ่งจะ เป็ น บุ ค คลสํ า คั ญ ในการกํ า หนดทิ ศ ทางการบริ ห าร โรงเรียนโดยรวม และมีบทบาทในการสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ปกครองของนักเรียนและชุมชน แต่สําหรับการ บริ ห ารงานภายในโรงเรี ย นส่ ว นใหญ่ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ รองลงมาจะมี บ ทบาทมากยิ่ ง ขึ้ น เช่ น ครู ใ หญ่ ผู้ ช่ ว ย ครู ใ หญ่ และหั ว หน้ า ฝ่ า ยต่ างๆ เป็ น ต้ น ดั ง นั้ น ในการ ดํ า เนิ น งานประกั น คุ ณ ภาพ ผู้ บ ริ ห ารในระดั บ ครู ใ หญ่ ผู้ช่วยครูใหญ่ และหัวหน้าฝ่ายต่างๆ จะเป็นผู้มีบทบาท มากที่สุด 2) ผู้ปฏิบัติงาน พบว่า โรงเรียนส่วน ใหญ่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการดําเนินงานประกัน คุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการจะประกอบด้วยหัวหน้าฝ่าย ต่ า งๆ แต่ จ ะพบว่ า การปฏิ บั ติ ง านจริ ง บทบาทของ ผู้ ป ฏิ บั ติ ง านจะมี รู ป แบบที่ แ ตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะ โรงเรียน เช่น ผู้บริหารเป็นผู้ดําเนินงานเอง หัวหน้าฝ่าย หรือหัวหน้างานเป็นผู้ดําเนินงาน ผู้รับผิดชอบงานประกัน คุณภาพ 3) บุคลากรในโรงเรียน พบว่า ส่วน ใหญ่ เ ข้ า ใจถึ ง ความสํ า คั ญ ของการประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษา แต่ก็ไม่ทราบถึงรายละเอียดวิธีการดําเนินการ มากนัก เพียงแต่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และ เข้ า ใจว่ า คํ า สั่ ง เหล่ า นั้ น จะมี ส่ ว นช่ ว ยในการประกั น คุณภาพการศึกษาของโรงเรียน นอกจากนี้ การให้ความรู้ กับบุคลากรเกี่ยวกับการประกันคุณภาพมีการดําเนินการ น้อยมาก แต่จะเน้นการประชุมชี้แจงการดําเนินงานใน ส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละฝ่ายเท่านั้น 1.4 รู ป แบบการดํ า เนิ น งาน การประกั น คุณภาพภายในจะต้องครอบคลุม 3 กระบวนการหลั ก คือ การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการ ประเมินคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า 1) การควบคุ ม คุ ณ ภาพ พบว่ า โรงเรียนเริ่มต้นกิจกรรม ด้วยการจัดทําหรือการศึกษา
7
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
ธรรมนู ญโรงเรียน การจัดทําแผนกลยุทธ์ข องโรงเรีย น แ ล ะ จั ด ทํ า แ ผ น ป ฏิ บั ติ ง า น ป ร ะ จํ า ปี มี ก า ร ตั้ ง คณะกรรมการด้ า นการประกั น คุ ณ ภาพ ซึ่ ง กิ จ กรรม ข้างต้นมีหลักฐานการดําเนินการที่ชัดเจน ดังที่ผู้บริหาร โรงเรียน ยล.01 กล่าวว่า “แผนของโรงเรียนจะต้องตอบ โจทย์ของการประกันคุณภาพการศึกษาให้ได้ มิฉะนั้นก็ บอกได้ เ ลยว่ า สิ่ ง ที่ ทํ า ก็ จ ะกลายเป็ น สิ่ ง ที่ สู ญ เปล่ า ” เพียงแต่การดําเนินการในขั้นตอนเหล่านี้ บางโรงเรียน อาจจะยังขาดความสมบูรณ์ เช่น การมีส่วนร่วมของผู้ที่ เกี่ ย วข้ อ ง ความเข้ า ใจต่ อ กิ จ กรรมที่ ดํ า เนิ น การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของแผนปฏิบัติงานซึ่งบางครั้ง ยังขาดการศึกษาความเป็นไปในการปฏิบัติจริง ซึ่งส่วน ใหญ่ มี ส าเหตุ จ ากการขาดแคลนงบประมาณ แต่ ทั้ ง นี้ ผู้บริหารส่วนใหญ่เน้นการให้ความสําคัญต่อการกระจาย งบประมาณให้ครอบคลุมทุกพันธกิจของแผน การติ ด ตามและสั่ ง การโดยตรงของผู้ บ ริ ห าร โรงเรี ย น ถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ สํ า คั ญ ในการควบคุ ม การ ดําเนินงานของโรงเรียน ทั้งนี้บทบาทสําคัญอยู่ที่ผู้บริหาร โรงเรียน นอกจากนี้แ ล้ว การประชุม ประจํ าเดือนของ ผู้ บ ริ หารกั บ หั ว หน้ า ฝ่ า ยต่ า งๆ ก็ เป็ น อี ก หนึ่ ง เครื่ องมื อ สําคัญสําหรับการควบคุมคุณภาพของการดําเนินงาน ซึ่ง ผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น ปน.01 กล่ า วว่ า “การประชุ ม ประจํ า เดื อน ถึ ง แม้ จ ะไม่ ใ ช่ เ รื่ องเกี่ ย วกั บ การประกั น โดยตรง แต่หากมีอะไรที่เป็นประเด็นบ้างก็จะหยิบยกมา คุยกัน ซึ่งทําให้ผู้บริหารงานและหัวหน้าฝ่ายต่างๆ ได้รู้ สถานภาพของงานที่ทํากันอยู่ และการปรับเปลี่ยนแผน เพื่อป้องกันจุดอ่อนก็จะเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้” 2) ก าร ตร วจ ส อบ คุ ณ ภา พ ใ น กระบวนการนี้ ส่วนใหญ่โรงเรียนดําเนินการในรูปแบบที่ คล้ายคลึงกัน คือ การตรวจสอบตามที่สํานักงานเขตพื้นที่ การศึกษากําหนดให้ โดยโรงเรียนจะไม่มีการออกแบบ กระบวนการอื่นอีก ทั้งนี้เพื่อลดภาระและความซ้ําซ้อน ของงาน เพราะทางโรงเรี ย นจะต้ อ งทํ า รายงานไปยั ง หน่ ว ยงานต้น สั ง กั ด เป็น ประจํ า และต่ อเนื่ อง แต่ พ บว่ า การตรวจสอบยั ง ขาดความชั ด เจนในการนํ า ไปสู่ ก าร ปรับปรุง เนื่องจากการทํางานในขั้นตอนนี้เป็นการทํางาน ของฝ่ า ยที่ รั บ ผิ ด ชอบ และขาดการสะท้ อ นกลั บ ไปยั ง หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
การรายงานต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของโรงเรียนใน ปัจจุบันอาจจะเป็นเพียงการรายงานไปยังหน่วยงานต้น สั ง กั ด แต่ ยั ง ไม่ ร วมไปถึ ง การเผยแพร่ ข้ อ มู ล สํ า หรั บ ผู้ปกครองหรือสาธารณชน ทั้งนี้ผู้บริหารบางส่วนเห็นว่า ไม่มีความจําเป็นใดๆ เนื่องจากโรงเรียนอยู่ได้ด้วยความไว้ เนื้อเชื่อใจของผู้ปกครองและชุมชนอยู่แล้ว ลักษณะของ การดํ าเนิน กิจกรรมสํ าหรับ การตรวจสอบ พบว่า ส่ว น ใหญ่เน้นการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานการดําเนินต่างๆ และมี ผู้ ดํ า เนิ น การตรวจสอบเพี ย งไม่ กี่ ค น ไม่ ไ ด้ ดําเนินการในรูปของคณะกรรมแต่อย่างใด 3) การประเมิ น คุ ณภาพ พบว่ า โรงเรียนส่วนใหญ่ประเมินคุณภาพในทุกปี การศึกษาและ จัดส่งรายงานการประเมินคุณภาพไปยังหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่ ง รู ป แบบการประเมิ น เป็ น ไปตามแบบที่ กํ า หนดโดย หน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งต้องใช้ข้อมูลที่ละเอียดมาก และการ ดําเนิ นการของโรงเรี ยนหลายอย่ างไม่สอดคล้ องกั บแบบ ประเมินดังกล่าว ทั้งๆ ที่หากพิจารณาที่เป้าหมายแล้วจะ บอกได้ว่ามีเป้าหมายที่สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ในการประกัน คุ ณภาพเช่ นกั น ดั งที่ ผู้ รั บ ผิ ดชอบงานประกั นคุ ณภาพ โรงเรี ยน ยล.03 ไห้ ความเห็ นไว้ ว่ า “แบบประเมิ นที่ เขต พื้นที่ให้มา จําเป็นต้องใส่ข้อมูลดิบลงไปให้ครบก่อน ยุ่งยาก มาก ดูเหมือนว่าเป็นงานที่จะต้องทําตลอดต่อเนื่องกันมา ตลอดปี แต่ก็อาจจะยังได้ข้อมูลไม่ครบถ้วนเหมือนกัน” หลายโรงเรี ย นมี ก ารปรั บ ปรุ ง เครื่ อ งมื อ การ ประเมินที่หน่วยงานต้นสังกัดส่งมาให้ เนื่องจากหากใช้ เครื่ องมื อดั ง กล่ า วอาจจะทํ า ให้ ก ารจั ด ทํ า รายงานการ ประเมินไม่ทันกําหนด แต่ทั้งนี้จะยังคงยึดมั่นในหลักการ เดิ ม ผู้ บ ริ ห ารโรงเรี ย น ปน.01 กล่ า วว่ า “แบบฟอร์ ม ต่า งๆ ที่ ท างเขตส่ ง มาให้ เรา ปั จ จุ บั น มั น ก็ ยั ง เป็ น เรื่ อง ยุ่งยากอยู่ ซึ่งหากมีการพัฒนาเครื่องมือที่ทําให้งานพวกนี้ ง่ายขึ้ นจะดีมาก ที่สํ าคัญ การดํ าเนิ นงานบางอย่า งของ โรงเรียน เราก็ยังไม่รู้ว่าจะใส่ในแบบฟอร์มพวกนี้ยังไง” 2. แนวทางการส่งเสริมการดําเนินงานด้านการประกัน คุณภาพของโรงเรียน จากการวิ จั ย พบแนวทางการส่ ง เสริ ม การ ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพของโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม ดังนี้
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
8
2.1 พั ฒนากรอบการประกั นคุ ณภาพที่ ครอบคลุมทุกมิติของการดําเนินงานของโรงเรียน โรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามเป็นโรงเรียนที่ดําเนินการสอนทั้ง วิชาศาสนาและวิชาสามัญ ที่พัฒนามาจากปอเนาะในอดีต ซึ่งเดิมเป็นการจัดการเรียนการสอนเฉพาะวิชาศาสนา และ เน้นการเรียนการสอนแบบฮัลเกาะฮฺ1 มากกว่าการเรียนการ สอนในชั้นเรียน นักเรียนจะพักอยู่ที่โรงเรียน จึงมีการจัด กิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งกิจกรรม เหล่ านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาผู้เรียนในด้ านต่ างๆ ด้วยเงื่อนไขและรูปแบบของการประกันคุณภาพในปัจจุบัน ทําให้หลายโรงเรียนมุ่งเน้นการดําเนินงานเพื่อตอบสนองต่อ การประกันคุณภาพ และละเลยการดําเนินงานตามพันธกิจ สําคัญที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของโรงเรียน ซึ่งส่งผลกระทบ หลายประการต่อโรงเรียนและยังส่งผลต่อความร่วมมือของผู้ ที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงานของโรงเรียนในอนาคต ด้วยเหตุ นี้ ระบบการประกั นคุ ณภาพสํ าหรั บโรงเรี ยนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามจะต้องได้รับการพัฒนาให้สะท้อนภาพความ เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและตอบสนองต่อทุก พันธกิจของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธกิจที่เกี่ยวข้อง กั บการศึ กษาในอิ สลาม ดั งที่ ครู สอนศาสนาท่ านหนึ่ งตั้ ง ประเด็นคําถามว่า “การทํากลุ่มฮัลเกาะห์และการละหมาด ร่วมกันของนักเรียนที่บาลาเสาะฮฺ2 ทําไมผู้ประเมินบอกว่า ไม่ใช่การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้ช่วยพัฒนาผู้เรียนได้มาก และเป็นหัวใจสําคัญ ของการจัดการเรียนการสอนของมุสลิม” และครูอีกท่าน หนึ่งตั้งประเด็นว่า ในวันหยุด โรงเรียนจะจัดให้นักเรียนที่ เรียนศาสนาชั้นสูงๆ ไปสอนตามโรงเรียนตาดีกา3 ถือว่าเป็น การพัฒนาผู้เรียนได้หรือเปล่า 2.2 ปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ที่ขัดกับแนวทางการ จัดการศึกษาในอิสลาม จากการศึกษาพบว่า ในบางตัว บ่ ง ชี้ มี ค วามไม่ ส อดคล้ อ งกั บ หลั ก คํ า สอนของศาสนา อิสลาม เช่น ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมี 1
เป็นการศึกษาแบบเป็นกลุ่ม โดยสมาชิกในกลุ่มแบ่งหน้าทีก่ ันศึกษาและ นําเสนอในกลุ่ม 2 เป็นสถานที่ใช้ในการละหมาดร่วมกันและเรียนจากบาบอเจ้าของโรงเรียน หรือครูสอนศาสนา 3 ตาดีกา คือสถานทีเ่ รียนศาสนาขัน้ บังคับสําหรับเยาวชนในแต่ละหมู่บ้าน โดยส่วนใหญ่จะสอนในวันหยุด
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
ผลงานด้ า นดนตรี / นาฏศิ ล ป์ ซึ่ ง เรื่ อ งของดนตรี แ ละ นาฏศิลป์เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการสนับสนุนด้วยหลักคําสอน ของศาสนาในหลายประเภท ดังนั้นในโรงเรียนส่วนใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงที่จะไม่ให้ความสําคัญหรือจัดให้มีการเรียน การสอน แต่ เ มื่ อ ต้ อ งถู ก นํ า มาสู่ ก ารประกั น คุ ณ ภาพ การศึ ก ษา จึ ง กลายเป็ น ปั ญ หาในทางปฏิ บั ติ โดยบาง โรงเรี ย นยอมที่ จ ะไม่ ผ่ า นในตั ว บ่ ง ชี้ นี้ ในขณะที่ บ าง โรงเรียนส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน เช่น ปัญจะซีลัต ซึ่ง ครู ท่ า นหนึ่ ง ให้ ค วามเห็ น ว่ า “ต้ องตรวจสอบถึ ง ความ ถูกต้องของหลักคําสอนของศาสนาด้วย โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกรณีที่นักเรียนผู้หญิงเป็นผู้แสดงด้วย ทั้งนี้ถึงแม้การ แสดงนาฏศิลป์บางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนใน สามจั ง หวั ด แต่ ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก หลักการของศาสนา ซึ่งหน้าที่สําคัญของโรงเรียนคือการ นํ า เสนอหลั ก การศาสนาที่ ถู ก ต้ อง” ด้ ว ยเหตุ นี้ จํ า เป็ น อย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ที่ไม่สอดคล้องกับ หลั ก การศาสนาด้ ว ย เพื่ อ ไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาในการ ดําเนินงานของโรงเรียน 2.3 ส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาเครื่องมือ การประกัน คุ ณภาพที่ ส อดคล้อ งกั บโรงเรี ยน ด้ ว ย มาตรฐานและตัวบ่งชี้ส่วนใหญ่เมื่อพิจารณาแล้วมีส่วนที่ เกี่ยวข้องไปยังกลุ่มวิชาศาสนาน้อย และในการประเมินที่ ผ่านมา ผู้ประเมินจากภายนอกไม่ได้ให้ความสนใจข้อมูล จากกลุ่มวิชาศาสนา ทําให้การมีส่วนร่วมของครูกลุ่มวิชา ศาสนาในการประกันน้อยลงไป และมองว่างานประกัน คุณภาพการศึกษาเป็นงานเฉพาะของกลุ่มวิชาสามัญ ใน ขณะเดียวกันก็เกิดคําถามจากครูกลุ่มวิชาสามัญว่า ทําไม งานประกันจึงเป็นเรื่องเฉพาะครูกลุ่มวิชาสามัญ ทั้งๆ ที่ เป็ น เรื่ องของโรงเรี ย นทั้ ง โรงเรี ย น ซึ่ ง ประเด็ น เหล่ า นี้ นําไปสู่การขาดความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานประกัน คุณภาพการศึกษาในโรงเรียน ในขณะเดียวกับ เครื่องมือ ที่ โ รงเรี ย นใช้ ใ นปั จ จุ บั น สามารถตอบคํ า ถามของการ ประกันคุ ณภาพการศึ กษาในมิ ติเดี ยว คือ มิติ ของกลุ่ ม วิ ช าสามั ญ จึ ง กลายเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ รูปแบบการดําเนินงานที่แท้จริงของโรงเรียน ดังกรณีของ ครู ผู้ ส อนตามตั ว บ่ ง ชี้ ที่ 9.7 ที่ กํ า หนดไว้ ว่ า จะต้ อ งมี จํานวนครูแ ละบุค ลากรสนับสนุน ที่เพียงพอ ซึ่ง ในการ คํานวณยังไม่มีแนวทางที่จะนําครูกลุ่มวิชาศาสนามาร่วม
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
9
ในการคํานวณให้ถูกต้องได้เนื่องจากการจัดช่วงชั้นเรียน ไม่สอดคล้องกัน ในขณะที่จํานวนครูกลุ่มวิชาสามัญและ กลุ่มวิชาศาสนาในโรงเรียนมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และมี ภารกิจในการการดูแลนักเรียนเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ จําเป็นต้องต้องมีการพัฒนาเครื่องมือการประกันคุณภาพ ที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดความ ร่วมมือจากทุกส่วนในโรงเรียน 2.4 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะ ด้า นการประกั น คุ ณ ภาพ บุ คลากรในโรงเรี ย นจํ า เป็ น อย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพการศึกษา แต่พบว่า การให้ความรู้เรื่องดังกล่าว ดํ า เนิ น อยู่ ใ นขอบจํ า กั ด ในขณะเดี ย วกั น ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ การ อบรมมาแล้วกลับขาดทักษะในการนํามาสู่การปฏิบัติจริง ในโรงเรี ย น ซึ่ ง ทํ า ให้ ไ ม่ เ กิ ด การดํ า เนิ น กิ จ กรรมการ ประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาจริ ง ในโรงเรี ย น ด้ ว ยเหตุ นี้ จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งมี ก ารพั ฒ นาบุ ค ลากรของ โรงเรียนอย่างต่อเนื่องและนําไปสู่การจัดการความรู้ของ โรงเรียนตอไป 2.5 พัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนตามแนวทางอิสลาม องค์ความรู้ในอิสลามที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการจะเป็นเครื่องมือสําคัญใน การขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่โรงเรียนได้ ทั้งนี้ เนื่ องจากโรงเรี ย นผู กโยงกั บ พั น ธกิ จ ตามหลั ก การของ ศาสนา การนําองค์ความรู้ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับหลักคําสอน ของศาสนาทําให้เกิดผลในการปฏิบัติได้น้อย ดังนั้นเมื่อ คณะผู้ วิ จั ย นํ า เสนอแนวคิ ด ในการพั ฒ นาระบบการ ประกั น คุณ ภาพการศึ ก ษาตามหลั ก การของศาสนาจึ ง ได้รับการตอบรับและให้การสนับสนุนจากโรงเรียน ทั้งนี้ ผู้บริหารโรงเรียน ปน.06 ได้กล่าวว่า “องค์ความรู้จาก หลั ก คํ า สอนของศาสนาเป็ น เรื่ อ งสํ า คั ญ และจะต้ อ ง นํามาใช้ในการบริหารโรงเรียนให้ได้ เพราะถ้าทุกการงาน คืออีบาดะฮ์4แล้ว ทุกคนก็ปฏิเสธที่จะไม่ทําไม่ได้ ที่สําคัญ มุสลิมต้องใช้คําสอนของศาสนาในการดําเนินชีวิต”
4
หมายถึง คําสั่งใช้หรือคําสั่งห้ามสําหรับมุสลิมที่จะต้องปฏิบัติ ซึ่งจะได้รับ ผลตอบแทนในการปฏิบัตินั้น
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
สรุปและอภิปรายผล โรงเรียนนําร่องที่เข้าร่วมโครงการวิจัยยอมรับ ว่า งานประกันคุณภาพก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา โรงเรี ย น ทั้ ง นี้ ส ภาพการดํ า เนิ น การของงานประกั น คุณภาพการศึกษาภายในโรงเรี ยน เป็ นภาพของความ พยายามในการสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่ายในโรงเรียน แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ประสบความสําเร็จในการสร้างการมี ส่ ว นร่ ว มของบุ ค ลากรในงานประกั น คุ ณ ภาพ อั น เนื่องจากการขาดกลวิธีในการสร้างการมีส่วนร่วม การ ขาดทั กษะพื้นฐานเพื่ อการดําเนินงานตามเงื่ อนไขการ ประกั น คุ ณ ภาพภายในและการขาดการสื่ อ สารที่ มี ประสิทธิภาพระหว่างผู้บริหารที่รับผิดชอบงานประกัน คุณภาพ สํ า หรั บ บุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งานประกั น คุณภาพ พบว่า ผู้บริหารระดับรอง เช่น ครูใหญ่ ผู้ช่วย ครูใหญ่ และหัวหน้าฝ่ายต่างๆ มีบทบาทสําคัญในการ บริหารงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียน และในการ ดําเนินงานประกันคุณภาพ ผู้บริหารมีบทบาทสําคัญใน ฐานะเป็น ผู้กําหนดรู ปแบบการประกันคุณ ภาพภายใน โรงเรียน เป็นผู้ควบคุมและติดตามการปฏิบัติงาน เป็นที่ ปรึกษาการดําเนินงานประกัน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการดําเนินงานประกันคุณภาพ ซึ่งคณะกรรมการจะประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายต่างๆ แต่ จะพบว่า การปฏิบัติงานจริง บทบาทของผู้ปฏิบัติงานจะ มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน เช่น ผู้บริหาร เป็นผู้ดําเนินงานเอง หัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้างานเป็น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ ซึ่ ง ในบางโรงเรี ย นอาจจะมี ผู้ ช่ ว ยหรื อ เจ้ า หน้ า ที่ ใ นฝ่ า ยร่ ว มปฏิ บั ติ ง าน สํ า หรั บ บทบาทของ บุคลากรด้านอื่นๆ ของโรงเรียนต่อการมีส่วนร่วมในการ ดําเนินงานการประกันคุณภาพภายใน พบว่า ส่วนใหญ่ เข้าใจถึงความสําคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา แต่ ก็ไ ม่ ทราบถึ ง รายละเอีย ดวิ ธี การดํา เนิน การมากนั ก เพียงแต่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และเข้าใจว่า คํ า สั่ ง เหล่ า นั้ น จะมี ส่ ว นช่ ว ยในการประกั น คุ ณ ภาพ การศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนดําเนินการประกันคุณภาพภายในใน ทิศทางเดียวกัน แต่จะมีความก้าวหน้าที่แตกต่างกัน โดย ในการควบคุมคุณภาพ พบว่า โรงเรียนมีการดําเนินการที่
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
10
ชั ด เจน สํ า หรั บ การตรวจสอบคุ ณ ภาพ โรงเรี ย น ดําเนินการตรวจสอบตามที่สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา กําหนด โดยโรงเรียนไม่มีการออกแบบกระบวนการอื่น เพิ่ ม เติ ม อี ก เพื่ อ ลดภาระและความซ้ํ า ซ้ อ นของงาน เพราะทางโรงเรี ย นต้ องส่ ง รายงานไปยั งหน่ วยงานต้ น สังกัดต่อไป แต่ทั้งนี้พบว่าในการตรวจสอบยังขาดความ ชัดเจนในการนําไปสู่การปรับปรุง เนื่องจากการทํางานใน ขั้นตอนนี้เป็นการทํางานของฝ่ายที่รับผิดชอบ และขาด การสะท้ อ นกลั บ ไปยั ง หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ลักษณะของการดํ าเนินกิจ กรรมสํา หรับการตรวจสอบ พบว่า ส่วนใหญ่เน้นการตรวจสอบเอกสาร หลักฐานการ ดําเนินต่างๆ และมีผู้ดําเนินการตรวจสอบเพียงไม่กี่คน ไม่ได้ดําเนินการในรูปของคณะกรรมแต่อย่างใด และใน ขั้ น การประเมิ น คุ ณ ภาพ พบว่ า โรงเรี ย นส่ ว นใหญ่ ประเมินคุณภาพในทุกปีการศึกษาและจัดส่งรายงานการ ประเมินคุณภาพไปยังหน่วยงานต้นสังกัด หลายโรงเรียน มีการปรับปรุงเครื่องมือการประเมินที่หน่วยงานต้นสังกัด ส่งมาให้ เนื่องจากหากใช้เครื่องมือที่ทางหน่วยงานต้น สังกัดส่งมาให้ จะทําให้การจัดทํารายงานการประเมินไม่ ทันกําหนด สําหรับ แนวทางการสนับสนุนการดําเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษา สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) พัฒนา ระบบประกั น คุ ณ ภาพให้ ค รอบคลุ ม ทุ ก พั น ธกิ จ ของ โรงเรียน 2) ปรับเปลี่ยนตัวบ่งชี้ที่ขัดกับแนวทางการจัด การศึกษาในอิสลาม 3) ส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนา เครื่องมือการประกันคุณภาพที่สอดคล้องกับโรงเรียน 4) พัฒนาบุ คลากรให้มี ความรู้ และทัก ษะด้านการประกั น คุณภาพ และ 5) พั ฒนาองค์ ความรู้ด้ านการบริหาร จัดการโรงเรียนตามแนวทางอิสลาม เอกสารอ้างอิง ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ และคณะ. 2550. รายงานการวิจัย การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามวิถี อิสลามในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เพื่ อบู รณภาพสั งคมในสามจั งหวัด ชายแดน ภาคใต้. สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา จารุวัจน์ สองเมือง และคณะ
ผ่ องศรี วาณิ ช ย์ ศุ ภ วงศ์ และ วาสนา แสงงาม. 2546. การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับ การศึ ก าษขั้ น พื้ น ฐานในจั ง หวั ด ปั ต ตานี . วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคมเมษายน หน้า 100-112 มูฮัมมัดฮิลมี อูซิน. 2549. “ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะ การบริ ห ารงานกั บ การปฏิ บั ติ ง านตาม กระบวนการการประกั น คุ ณ ภาพภายใน สถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน เอกชนสอน ศาสนาอิสลาม ในจังหวัดปัตตานี”. วิทยานิ พนธศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าการ วั ด ผ ล แ ล ะ วิ จั ย ก า ร ศึ ก ษ า , มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ และคณะ. 2548. รายงานการ วิ จั ย ฉบั บ สมบู ร ณ์ โครงการการพั ฒ นาเชิ ง ระบบเพื่ อ ปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ แ ละคุ ณ ภาพ โรงเรียน. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สุวิมล เขี้ยวแก้ว, ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ชิดชนก เชิงเชาว์, สุรชัย มีชาญ และ เบญจนาฏ ดวงจิโน. 2545. รูปแบบการบริหารงานวิช าการในเขตพื้น ที่ การศึกษาสําหรับห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายนธันวาคม หน้า 259-272
11
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 สภาพและแนวทางการส่ ง เสริ ม ...
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
13
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
Research The movement of Malay-Muslim labors from southern border provinces of Thailand into northern states of Malaysia Madao’ Puteh*, Paosan Je’wae** *Lecturer, Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts Social Science, YIU **Lecturer, Department of Malayu Languages, Faculty of Liberal Arts Social Science, YIU Abstract The objectives of this research “The movement of Malay-Muslim labors from southern border provinces of Thailand into northern states of Malaysia” were to study the effects of travelling, to study the documents of each state for travelling, and the wage-rates and rights including the data of the Thais who working in the northern Malaysian states. To do this research, the author studied on the sampling group concerned with the Malay-Muslims in the southern border provinces from 3 groups: first group, the staff from immigration and labor recruitment offices of each state; second group, the entrepreneurs; the third, the southern Thai Malay-Muslim labors who working in northern Malaysian states. It was processed in a qualitative method by indepth interviews and observations. Statistical data and concerned documents were the tool utilized to collect the research data. It has found the factors effective for the movement of the Malay-Muslim labors working in northern states of Malaysia that majority of the labors concerned with the incomes in Malaysia that better than in Thailand; secondly, the same culture and better relationship; in addition, thirdly, the security in life and properties. Regarding the travelling, majority of the labors utilized ‘Border Pass’ into Malaysia; secondly, ‘Passport’; and some of them entered Malaysia without documents. The documents used to be able to request for endorsement in each state are not the same. For the labors from 5 southern border provinces, they used Border Pass. The wagerates and rights, the wages depended on an agreement between the employer and the employee that the employee received 6,000-30,000 Baht per month. In addition, the employee received their rights on free hostels and food. Regarding the Thais working in the northern Malaysia from the endorsement statistics of temporary in 2009 found that mostly working in Perlis in agriculture 1,984 people, in Kelantan in agriculture 1,597 people, and in Perak in services 217 people. Keywords: Malay-Muslim Labors, Southern Border Provinces, Thailand, Malaysia.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
14
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
บทความวิจัย การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางาน ในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย มะดาโอะ ปูเตะ* , นายเภาซัน เจ๊ะแว** *อาจารย์ประจําสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา **อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษามลายู คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเรื่อง “การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ ไทยเข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย” เพื่อศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อการเดินทางเข้าไปทํางาน ศึกษาเอกสาร ที่ใช้ในการเดินทางเข้าไปทํางาน และเอกสารที่สามารถใช้ทําใบอนุญาตทํางานของแต่ละรัฐ ศึกษาอัตราค่าจ้างและ สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตลอดจนข้อมูลคนไทยที่เข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ในการศึกษาครั้ง นี้ผู้วิจัย ได้ทําการศึก ษาข้อมู ลจากกลุ่มเป้ าหมายที่มีส่ว นเกี่ย วข้องในการจ้างงานแรงงานมลายูมุส ลิมจากจังหวั ด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยทําการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มซึ่งประกอบด้วย กลุ่มแรกคือ เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ ย วข้ อ งทั้ ง จากสํ า นั ก งานตรวจคนเข้ า เมื อ งประจํ า รั ฐ และสํ า นั ก งานจั ด หางานประจํ า รั ฐ กลุ่ ม ที่ ส องคื อ กลุ่ ม ผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ มีการจ้างงานแรงงานต่างชาติ และกลุ่มที่สามคือ แรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวั ด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การ สัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์ การศึกษาข้อมูลทางสถิติ และเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยทีมีผลต่อการเดินทางเข้าไปทํางานของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัด ชายแดนภาคใต้ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย พบว่า ส่ วนใหญ่ มีปัจ จัยด้า นรายได้ที่ดีก ว่าทํา งานใน ประเทศไทย เอกสารการเดินทางเข้าไปทํางาน พบว่า แรงงานส่วนใหญ่นิยมใช้ใบเบิกทางผ่านแดน (Border Pass) ส่วนเอกสารที่สามารถใช้ทําใบอนุญาตทํางานของแต่ละรัฐจะมีการถือปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน สําหรับกลุ่มแรงงานที่มา จากห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วสามารถใช้ใบเบิกทางผ่านแดนได้ อัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ค่าจ้างจะ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตอนทําสัญญาจ้าง ซึ่งจะมีรายได้ประมาณ 6,000 – 30,000 บาทต่อเดือน นอกจากนั้นลูกจ้างจะ ได้รับสิทธิประโยชน์ที่อยู่อาศัยและอาหารการกินฟรีอีกด้วย ส่วนข้อมูลคนไทยที่เข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของ มาเลเซีย จากสถิติการขอใบอนุญาตทํางานชั่วคราว ในปี 2009 พบว่าแรงงานที่มาขอใบอนุญาตทํางานมากที่สุด ใน รัฐเปอร์ลิส มีการจ้างงานประเภทการเกษตร (สวน) 1,984 คน ในรัฐกลันตัน งานประเภทการเกษตร 1,597 คน ใน รัฐเปรัค งานประเภทงานบริการ 217 คน คําสําคัญ: แรงงานมลายูมุสลิม, จังหวัดชายแดนภาคใต้, ไทย, มาเลเซีย
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
Pendahuluan มาเลเซี ยเป็น ประเทศที่ นํา เข้ าแรงงานสู งราย หนึ่งในภูมิภาคเอเชีย โดยมีแรงงานต่างชาติมากกว่า 2 ล้า นราย ส่ วนใหญ่ เป็ น แรงงานจากอิ น โดนีเซี ยและ ประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจ้างแรงงาน ต่ า งช าติ ข องมา เลเซี ย ได้ มี ก ารปรั บ เป ลี่ ย นตา ม สถานการณ์ ท างเศรษฐกิ จ และสั ง คมภายใน จากช่ ว ง ภาวะวิ ก ฤติ ท างเศรษฐกิ จ ในปี พ.ศ.2540 มาเลเซี ย เข้มงวดการนําเข้าแรงงานต่างชาติเป็นอย่างมาก แต่จาก การที่มาเลเซียขาดแคลนแรงงานในระดับล่างดังกล่าว ข้ า งต้ น ทํ า ให้ รั ฐ บาลมาเลเซี ย จํ า เป็ น ต้ อ งผ่ อ นปรน นโยบายการจ้ า งแรงงานต่ า งชาติ ล่ า สุ ด ทางรั ฐ บาล มาเลเซียอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาทํางานใน ระดับล่างใน 6 สาขาอาชีพ ได้แก่ แม่บ้าน ก่อสร้าง อุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ และการเกษตร (เพาะปลูก ประมง) โดยกํ า หนดให้ แ รงงานต่ า งชาติ เ ข้ า ฝึ ก อบรม ภา ษ า วั ฒ น ธ ร ร ม แ ล ะ ก ฎ หม า ย ข อ งม า เ ล เ ซี ย (Induction Course) จากประเทศต้นทางก่อนเข้ามา ทํางานในประเทศมาเลเซีย (ยกเว้นประเทศอินโดนีเซีย) ปั จ จุ บั น มาเลเซี ย มี แ รงงานต่ า งชาติ ที่ ถู ก กฎหมาย ประมาณ 2 ล้ า นคน อยู่ ใ นภาคอุ ต สาหกรรมจํ า นวน ประมาณ 1.3 ล้ า นคน และภาคธุ ร กิ จ บริ ก ารจํ า นวน ประมาณ 7 แสนคน ร้ อ ยละ 66 เป็ น แรงงานจาก อินโดนีเซีย ร้อยละ 11 มาจากเนปาล และร้อยละ 7.5 มาจากอิ น เดี ย ที่ เ หลื อก็ เป็ น แรงงานจาก บั ง คลาเทศ พม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ไทย เขมร และลาว ปัจจุบันมี แรงงานไทยที่ เ ข้ า มาทํ า งานโดยติ ด ต่ อ ผ่ า นกระทรวง แรงงานไทย มีประมาณ 4,000 คน และที่เข้ามาทํางาน โดยติ ด ต่อกับ นายจ้ างโดยตรงมีป ระมาณ 14,000 คน รวมทั้งสิ้นประมาณ 18,000 คน (สํานักงานแรงงานไทย ประจํ า สถานเอกอั ค รราชทู ต ณ กรุ ง กั ว ลาลั ม เปอร์ , ม.ป.ป.: 1) ข้ อ มู ล จากฝ่ า ยแรงงานต่ า งชาติ ในปี 2550 คนงานไทยเข้ามาทํางานในประเทศมาเลเซียรวมรัฐซา บาห์และซาราวักอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาเลเซีย ซึ่ง ได้จดทะเบียนกับสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย มี ทั้งสิ้นจํานวน18,456 คน รวมทํางานในภาคต่างๆ ดังนี้ ประเภทประกอบการ แม่ บ้ า น จํ า นวน 426 คน
15
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
ก่อสร้าง จํานวน 1,122 คน โรงงานอุตสาหกรรม จํานวน 793 คน บริการ จํานวน 15,532 คน เพาะปลูก จํานวน 53 คน และ ภาคการเกษตร จํานวน 530 คน ส่ ว นแรงงานไทยที่ ทํ า งานอยู่ ใ นประเทศมาเลเซี ย นั้ น กระทรวงแรงงานฯ คาดว่ า มี แ รงงานไทยในมาเลเซี ย ประมาณ 36,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและ มีภูมิลําเนาอยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสามารถใช้ บัตรผ่านแดน (Border pass) เข้าไปทํางานตามชายแดน ในจํานวนนี้ประมาณ 10,000 คน เดินทางเข้าไปทํางาน สวนปาล์มน้ํามัน ยางพารา และไร่อ้อย โดยไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ แต่ได้รับใบอนุญาตให้ ทํางานถูก ต้องตามกฎหมายของ มาเลเซีย ส่วนอีกประมาณ 10,000 คน ลักลอบทํางาน ในมาเลเซียโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายตามร้านอาหาร โรงงานขนาดเล็ก สวนผักผลไม้ งานก่อสร้าง สําหรับ แรงงานไทยที่เดินทางไปทํางานโดยถูกต้องตามกฎหมาย มีประมาณ 6,500 คน ส่วนใหญ่แจ้งการเดินทางด้วย ตนเอง และบริษัทจัดหางานจัดส่งไปทํางาน แรงงานไทย กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บ เสื้อผ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ และเกษตรกรรม (กองเอเซียตะวันออก1 กรมเอเชีย ตะวันออก, ม.ป.ป.) นอกจากนี้ มีการประมาณการว่าแรงงานไทยที่ เข้ า มาทํ า งานในประเทศมาเลเซี ย โดยไม่ มี ใ บอนุ ญ าต ทํางานอย่างถูกต้องตามกฎหมายมีประมาณ 1 แสนคน โดยกลุ่มเหล่านี้จะเดินทางเข้าประเทศมาเลเซียโดยใช้วี ซ่าประเภทท่องเที่ยวหรือใบอนุญาตผ่านแดน (Border pass) ซึ่งจะพักในมาเลเซียได้ไม่เกิน 30 วัน โดยส่วน ใหญ่ จ ะเข้ า มาทํ า งานทางด้ า นการเกษตร การประมง แม่ บ้า น พนั ก งานขายและพนั กงานร้า นอาหาร ดัง นั้ น หากสามารถทํา ให้ แรงงานไทยเหล่า นี้ ทํางานได้อย่า ง ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ก็จะมีส่วนช่วยแก้ไข เยียวยา ตลอดจนสามารถแก้ ปั ญ หาที่ เ กิ ด จากผลกระทบ เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้นอกจาก จะใช้ ห นั ง สื อเดิ น ทางในการเข้ า ไปทํ า งานในประเทศ มาเลเซี ย แล้ ว ยั ง นิ ย มทํ า ใบเบิ ก ทางผ่ า นแดน (Border Pass) เพื่ อ เดิ น ทางเข้ า ไปทํ า งานในประเทศมาเลเซี ย
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
เพราะว่าการดําเนินการจัดทําง่าย สะดวก รวดเร็ว และ ประหยัด การออกใบเบิกทางผ่านแดน (Border Pass) เป็ น ไปตามความตกลงว่ า ด้ ว ยการเจรจาข้ า มเขตแดน ระหว่างมลายู อังกฤษ กับประเทศไทย พ.ศ. 2483 ซึ่ง การออกใบเบิกทางผ่านแดน (Border Pass) นั้น จะออก ให้ กั บ ราษฎรในจั ง หวั ด ที่ มี ช ายแดนติ ด กั บ ประเทศ มาเลเซีย คือ จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส ยกเว้นจังหวัดปัตตานี แม้จะไม่มีชายแดนติดกับประเทศ มาเลเซี ย ราษฎรของจั ง หวั ด ปั ต ตานี ก็ ส ามารถขอรั บ ใบเบิกทางผ่านแดนได้ โดยให้ยื่นคําร้องขอรับใบเบิกทาง ผ่า นแดนได้ ณ ที่ ว่ า การอํ า เภอที่ ตั ว เองมี ภู มิ ลํา เนาอยู่ หลังจากนั้นก็ให้นําคําร้องที่ได้รับการพิจารณาอนุญาต แล้วไปยื่นขอรับใบเบิกทางผ่านแดน ณ ที่อําเภอชายแดน ที่มีพื้นที่ติดกับประเทศมาเลเซีย การเข้าไปทํางานของ แรงงานมลายู มุ ส ลิ ม ดั ง กล่ า วเป็ น แนวทางหนึ่ ง ในการ แก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จาก สภาพปัญหาดังกล่าว ทําให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษา เรื่อง “การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางานในรัฐทาง ตอนเหนือของมาเลเซีย” ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อการเดิน ทางเข้า ไปทํ างานของแรงงานมลายู มุ สลิ ม จากจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย
16
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
2. ทําให้ทราบถึงเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้า ไปทํางานของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดน ภาคใต้ประเทศในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย และ เอกสารที่สามารถใช้ทําใบอนุญาตทํางาน 3. ทํ า ให้ ทรา บ ถึ ง อั ต รา ค่ า จ้ า งแ ละสิ ท ธิ ประโยชน์ที่ได้รับตลอดจนข้อมูลคนไทยที่เข้าไปทํางานใน รัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านประชากรกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ วิจัย การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาข้อมูลจาก กลุ่ ม เป้ า หมายที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งในการจ้ า งแรงงาน ต่ า ง ช า ติ ใ น รั ฐ ท า ง ต อ น เ ห นื อ ข อ ง ม า เ ล เ ซี ย อั น ประกอบด้วยรัฐกลันตัน เปรัค เปอร์ลิส และเคดาห์ ซึ่ง ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ มี จํ า นวนกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง 3 กลุ่ ม ประกอบด้ ว ย เจ้ า หน้ า ที่ ที่ เ กี่ ย วข้ องทั้ ง จากสํ า นั ก งาน ตรวจคนเข้ า เมื อ งประจํ า รั ฐ และสํ า นั ก งานจั ด หางาน ประจํารัฐของแต่ละรัฐ กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ มีการจ้างงานแรงงานต่างชาติ และกลุ่มแรงงานมลายู มุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไป ทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้ ใช้เวลาประมาณ 10 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2553 โดย แบ่งการรวบรวมข้อมูล ค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บ ข้ อ มู ล ภาคสนามโดยการสั ง เกตการณ์ แ ละทํ า การ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การศึกษาข้อมูลทางสถิติ ทําการ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล
วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อการเดินทางเข้าไป ทํ า งานของแรงงานมลายู มุ ส ลิ ม จากจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย 2. เพื่อศึกษาเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้าไป ทํ า งานของแรงงานมลายู มุ ส ลิ ม จากจั ง หวั ด ชายแดน ภาคใต้ประเทศในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย นิยามศัพท์เฉพาะ และ เอกสารที่สามารถใช้ทําใบอนุญาตทํางาน การจ้ า งงาน หมายถึ ง การจ้ า งงานของ 3. เพื่อศึกษาอัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ นายจ้างมาเลเซียต่อลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นการจ้างรายชิ้น ได้รับตลอดจนข้อมูลคนไทยที่เข้าไปทํางานในรัฐทางตอน รายชั่วโมง รายสัปดาห์ รายเดือน หรือเป็นการจ้างแบบ เหนือของประเทศมาเลเซีย เหมาจ่ายก็ได้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั แรงงานมลายูมุสลิม หมายถึง กลุ่มแรงงานที่ 1. ทํ า ให้ ท ราบถึ ง ปั จ จั ย ที มี ผ ลต่ อ การเดิ น เป็นคนมลายูและนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีภูมิลําเนาอยู่ ทางเข้า ไปทํ างานของแรงงานมลายู มุ สลิ ม จากจั ง หวั ด ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสามารถใช้ใบผ่าน ชายแดนภาคใต้ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย แดนในการเดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม หมายถึง การเดินทางเข้าไปทํางานในประเทศมาเลเซียของแรงงาน มลายู มุ ส ลิ ม ทางภาคใต้ ข องประเทศไทย ทั้ ง ที่ เ ข้ า มา ถูกต้องตามกฎหมายและเข้ามาทํางานโดยการลักลอบ หรือเป็นแรงงานที่ไม่ได้ทําหนังสืออนุญาตทํางานอย่าง เป็นทางการ รัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย หมายถึง รัฐที่มี อาณาเขตติดกับชายแดนทางภาคใต้ของประเทศไทยซึ่ง ประกอบด้วย รัฐกลันตัน เปรัค เปอร์ลิส และเคดาห์
17
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
ได้ตามลักษณะของผู้ถูกสัมภาษณ์ทั้งเจ้าหน้าที่ นายจ้าง และลูกจ้างที่เป็นแรงงานมลายูมุสลิม โดยอาศัยวิธีการตั้ง คําถามที่มีความเข้าใจง่าย เป็นคําถามปลายเปิด โดยใช้ สมุดและเครื่องอัดเสียง (MP3) สําหรับบันทึกข้อมูล ใน การสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องนั้น ผู้สัมภาษณ์จะ ทําการสัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชาสูงสุดและผู้ที่รับผิดชอบ งานด้ า นการจ้ า งแรงงานต่ า งชาติ โ ดยตรง ทั้ ง จาก สํ า นั ก งานตรวจคนเข้ า เมื อ งและสํ า นั ก งานจั ด หางาน ประจํารัฐ ส่วนข้อมูลที่ทําการสัมภาษณ์จากนายจ้างและ ลูกจ้างนั้นจะขอความช่วยเหลือจากบุคคลในท้องถิ่นเป็น คนประสานและนําทาง การวิเคราะห์ข้อมูล กาวิ เ คราะห์ ข้ อมู ล ของผลการศึ ก ษาในครั้ ง นี้ ผู้ วิ จั ย ได้ นํ า ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ จ ากการสั ม ภาษณ์ เ จาะลึ ก มา วิเคราะห์เนื้อหา และจัดหมวดหมู่ โดยการวิเคราะห์ตาม วัตถุประสงค์ของการศึกษา ตามทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ข้อมูล ที่ ไ ด้ นั้ น จะมาจากกลุ่ ม ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ที่ ต่ า งกั น คื อ จาก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมือง ประจํ า รั ฐ และสํ า นั ก งานจั ด หางานประจํ า รั ฐ โดยวิ ธี เจาะจงเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารที่สามารถใช้ทํา ใบอนุ ญ าตทํ า งาน ทํ า การศึ ก ษาข้ อมู ล จํ า นวนการขอ ใบอนุ ญาตจ้างแรงงานของแต่ล ะรัฐ พร้อมค่า ใช้จ่ ายใน การขอใบอนุ ญ าตในแต่ ล ะภาคอาชี พ ส่ ว นข้ อมู ล ด้ า น ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การเดิ น ทางเข้ า ไปทํ า งานในประเทศ มาเลเซีย ได้ทําการเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการหรือ นายจ้ า งที่ มี ก ารจ้ า งงานแรงงานต่ า งชาติ และกลุ่ ม แรงงานมลายู มุ ส ลิ ม จากจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ข อง ประเทศไทยเข้ า ไปทํ า งานในรั ฐ ทางตอนเหนื อ ของ มาเลเซียโดยวิธีบังเอิญ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกจ้างที่ ทําใบอนุญาต ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับตลอดจน การปฏิบัติ ที่ไม่เป็น ธรรม หลังจากนั้ นได้ทําการใส่รหั ส และขั้ น สุ ด ท้ า ยจะเป็ น การวิ เ คราะห์ ผ ลโดยจะทํ า การ ตรวจสอบความแม่นยําของข้อมูล และสรุปผลต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุ ณภาพ โดย เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลภาคสนาม เกี่ยวกับการเดินทางเข้าไปทํางาน ในประเทศมาเลเซียของแรงงานมลายูมุสลิมทางภาคใต้ ของประเทศไทย เพื่ อ เป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐาน และการ สัมภาษณ์เชิงลึกจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสําคัญ การศึก ษาครั้ งนี้ผู้วิจัยได้ ทําการศึกษาข้อมู ล จากกลุ่ ม เป้ า หมายที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งหรื อ ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล หลักสําคัญ (Key Informant) โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูล จาก 3 กลุ่มซึ่งประกอบด้วย กลุ่มแรกคือ เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้องทั้งจากสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองประจํารัฐ และสํานักงานจัดหางานประจํารัฐของแต่ละรัฐ กลุ่มที่ สองคือ กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่มีการจ้าง งานแรงงานต่างชาติ และกลุ่มที่สามคือ แรงงานมลายู มุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้า ไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย จํานวน ประชากรกลุ่ มตั วอย่ างนั้ นจะเก็ บข้ อมู ลจนกว่ าจะได้ ข้อมูลที่ต้องการและเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเพียงพอ ต่อการวิเคราะห์ผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ป ระกอบด้ ว ย ผลการวิ จั ย และอภิ ป รายผลปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การเดิ น แนวคําถามในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เป็นเครื่องมือที่ ทางเข้าไปทํางานและเอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้าไป ผู้ วิ จั ย สร้ า งขึ้ น โดยการศึ ก ษาประเด็ น คํ า ถามจาก ทํางานในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการศึ ก ษา แนวคิ ด และทฤษฎี ที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา เนื้อหาของคําถามสามารถปรับ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
ปัจจัยที่มีผลต่อการเดินทางของมลายูมุสลิมที่ เข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ผลจากการศึกษาในภาคสนามพบว่า ส่วนใหญ่ แรงงานมลายูมุสลิมเดินทางเข้ามาทํางานด้วยปัจจัยด้าน รายได้ที่ดีกว่าทํางานในประเทศไทย รองลงมาปัจจัยด้าน ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และปัจจัยด้าน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นลําดับ รูปแบบ การเดินทางเข้าไปทํางานของแรงงานมลายูมุสลิมจาก จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่เข้าไปทํางานใน รั ฐ ทางตอนเหนื อ ของประเทศมาเลเซี ย นั้ น พบว่ า แรงงานส่ ว นใหญ่ นิ ยมใช้ใ บเบิ กทางผ่ านแดน (Border Pass) เข้าไปทํางาน รองลงมานิยมใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และบางคนมีการลักลอบเข้าไปทํางานโดยไม่ มีเอกสารการเดินทาง ขั้นตอนการจ้า งแรงงานต่า งชาติของประเทศ มาเลเซีย หากเป็นงานระดับสูงนายจ้างจะต้องประกาศ รับ สมั ค รคนหางานในท้ องถิ่น เป็ น อั น ดั บ แรก โดยการ ประกาศรับสมัครงานทางหนังสือพิมพ์ ทั้งภาษามาเลเซีย และภาษาอังกฤษ และหากไม่มีผู้สมัครภายใน 2 สัปดาห์ และเป็นงานในสาขาอาชีพที่ได้รับอนุญาตให้คนต่างชาติ ทํางานได้ จึงจะสามารถขออนุญาตต่อ กระทรวงมหาดไทยของมาเลเซี ย เพื่ อ จ้ า ง แรงงานต่ า งชาติ ไ ด้ แต่ ห ากเป็ น แรงงานระดั บ ล่ า งจะ สามารถขออนุ ญ าตได้ ทั น ที ในการขออนุ ญ าตนั้ น นายจ้างต้องมีหลักฐานเอกสารจากสํานักงานจัดหางาน มาเลเซีย (Department of Employment) กระทรวง ทรัพ ยากรมนุ ษย์ที่ แสดงว่า ไม่ส ามารถจั ดหาคนงานใน ท้องถิ่นตามที่นายจ้างต้องการมาประกอบการขออนุมัติ ด้วย และเมื่อได้รับอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยของ ประเทศมาเลเซียแล้ว นายจ้างต้องนําหลักฐานที่แสดง รายละเอียดคนงาน (ถ่ายสําเนาหน้าหนังสือเดินทางของ คนหางาน ใบตรวจโรค รูปถ่าย) และตําแหน่ งงานที่ ได้รับอนุญาตให้นําเข้าแรงงานไปติดต่อที่สํานักงานตรวจ คนเข้าเมือง เพื่อขออนุมัติวีซ่าประเภททํางานให้คนงาน และชําระเงินประกันค่าวีซ่า ค่าภาษีในการจ้างคนงาน ต่างชาติ รวมทั้งทําประกันเงินค่าทดแทนให้กับคนงาน ด้วย (สํานักงานแรงงานไทยประจําสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์, ม.ป.ป., 2)
18
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่สํานักงานจัดหา งานประจํารัฐพบว่า ขั้นตอนในการจ้างงานในมาเลเซีย จะใช้กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกันจะต่างกันตรงที่ว่า บางรั ฐ จะมี ค วามพิ เศษที่ ต่ างกั น โดยเฉพาะรั ฐ ที่ ติ ด กั บ ชายแดนของประเทศไทย ส่วนการที่จะว่าจ้างแรงงาน ต่างชาติของแรงงานที่มาจากทางภาคใต้ของประเทศไทย ถือว่ามีความพิเศษ หรือบางตําแหน่งมีการกําหนดเฉพาะ แรงงานที่ต้องมาจากทางภาคใต้ของไทยเท่านั้น และใช้ เอกสารใบผ่านแดนในการเดินทางเข้าประเทศและเป็น เงื่อนไขในการขอเอกสารใบอนุญาตทํางานชั่วคราว เอกสารที่สามารถใช้ทําใบอนุญาตทํางานชั่วคราวของ แต่ละรัฐ ในการเดินทางเข้าไปทํางานในประเทศมาเลเซีย นั้นสามารถใช้เอกสารหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ หนั ง สื อ ใบผ่ า นแดน (Border Pass) ได้ (Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia, Kementerian Sumber Manusia, 2006) แต่จะมีงาน บางประเภทที่บังคับต้องใช้เอกสารอย่างเดียวเท่านั้นใน การขออนุ ญ าตนั่ น คื อ หนั ง สื อ ใบผ่ า นแดน (Border Pass) และเจาะจงเฉพาะแรงงานต่างชาติที่มาจากทาง ภาคใต้ของไทยเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มแรงงานประเภท ธรรมเนียมปฏิบัติ (Traditional) โดยแต่ละภาคงานจะมี ความแตกต่างในส่วนของระเบียบ ขั้นตอนและเงื่อนไขใน การขอใบอนุ ญ าตจ้ า งแรงงานต่ า งชาติ หลั กฐานและ เอกสารที่นายจ้างจะต้องเตรียมและยื่นให้กับสํานักงาน ตรวจคนเข้ าเมื องมาเลเซี ย หรื อสํ านั กงานตรวจคนเข้ า เมืองประจํารัฐ บางรัฐจะต้องใช้เอกสารที่เหมือนกันแต่ บางภาคอาชีพต้องเตรียมเอกสารที่ต่างกัน จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่สํานักงานจัดหา งานประจํารัฐพบว่า ขั้นตอนในการจ้างงานในมาเลเซีย จะใช้กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกันจะต่างกันตรงที่ว่า บางรัฐจะใช้ระเบียบและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ ประเภทงานที่จะรับแรงงานต่างชาติที่แตกต่างกันด้วย อัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับตลอดจนข้อมูล คนไทยที่เข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มาเลเซีย
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
อั ต ราค่ า จ้ า งและสิ ท ธิ ป ระโยชน์ ที่ พึ ง ได้ รั บ1. ค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงตอนทําสัญญาจ้างระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างจะมีรายได้ประมาณ 6,000 – 30,000 บาทต่อเดือน ส่วนสิทธิประโยชน์อื่นๆ หาก เป็นงานประเภทกรีดยาง ถ้านายจ้างมีบ้านพักเล็กๆ ก็จะ ไห้ลูกจ้างอาศัยอยู่ฟรี อัตราค่าจ้างจะแบ่งคนละครึ่งกับ ลูก จ้ าง สํา หรั บงานบริ ก ารในร้า นอาหาร นายจ้า งจะ2. เตรี ย มที่ พั ก และอาหารให้ สํ า หรั บ งานในโรงงานสวน ปาล์มก็จะมีบ้านพัก ค่าไฟ ค่าน้ํา บริการให้ฟรี สําหรับ แรงงานที่เข้ามาทํางานโดยไม่มีใบอนุญาตทํางาน หาก เกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุใดๆ ลูกจ้างที่ไม่ได้ทําประกันชีวิต จะต้องเป็นคนรับผิดชอบความเสียหายเอง บางทีนายจ้าง ก็ ไ ม่ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ดั ง นั้ น รั ฐ บาลต้ อ ง หาทางช่วยให้แรงงานมลายูมุสลิมที่มีความประสงค์จะ เข้าไปทํางานในประเทศมาเลเซียให้มีการทําใบอนุญาต ทํา งานที่ถู กกฎหมายพร้อมให้ มีก ารทํ าประกั นชี วิต กั บ บริษัทประกันที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2548 จํานวน 24 บริษัทต่อไป ส่วนข้อมูลคนไทยจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้า ไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย จากสถิติการขอ ใบอนุญาตทํางานชั่วคราว พบว่า ในปี 2009 แรงงานที่มาขอ ใบอนุ ญาตทํ างานของคนงานแบบธรรมเนี ยมปฏิ บั ติ ใน รัฐเปอร์ลิส มีการจ้างงานประเภทงานภาคการเกษตร (สวน) มากที่สุด 1,984 คน รองลงมาประเภทการเกษตร (ไร่) 1,0053. คน งานบริการ 965 คน และ ภาคการก่อสร้าง 82 คน ใน รัฐกลันตัน พบว่างานประเภทการเกษตร 1,597 คน และ งานบริการ 678 คน ในรัฐเปรัค พบว่า งานประเภทงาน บริการ 217 คน อุตสาหกรรมการผลิต 13 คน การเกษตร (สวน) 4 คน งานแม่บ้าน 3 คน และการเกษตร (ไร่) 1 คน หากดู จ ากจํ า นวนผู้ ข อใบอนุ ญาตทํ างานที่ ถู กต้ องตาม กฎหมายแล้วปรากฏว่า จํานวนแรงงานที่เข้าไปทํางานในรัฐ ทางตอนเหนือส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานที่ผิดกฎหมายไม่มี หนังสืออนุญาตทํางาน บทสรุปและข้อเสนอแนะ การเดินทางของแรงงานมลายูมสุ ลิมจากจังหวัด ชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางานในรัฐทาง ตอนเหนือของมาเลเซีย สามารถสรุปได้ดังนี้
19
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
แรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เดินทางเข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มาเลเซียส่วนใหญ่ มีปัจจัยด้านรายได้ที่ดีกว่าทํางานใน ประเทศไทย รองลงมาคือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์และ วัฒนธรรมที่เหมือนกัน และปัจจัยด้านความปลอดภัยใน ชีวิตและทรัพย์สินเป็นลําดับ เอกสารที่ใช้ในการเดินทางเข้าประเทศ แรงงาน ส่ ว นใหญ่ นิ ย มใช้ ใ บเบิ ก ทางผ่ า นแดนเข้ า ไปทํ า งาน รองลงมานิ ย มใช้ ห นั ง สื อ เดิ น ทาง และบางคนมี ก าร ลักลอบเข้าไปทํางานโดยไม่มีเอกสารการเดินทาง ส่วน ขั้นตอนการจ้างแรงงานต่า งชาติของประเทศมาเลเซี ย หากเป็นงานระดับสูงนายจ้างจะต้องประกาศรับสมัคร คนหางานในท้ องถิ่ น เป็ น อั น ดั บ แรก หากไม่ มี ผู้ ส มั ค ร ภายใน 2 สั ป ดาห์ จึ ง จะสามารถขออนุ ญ าตต่ อ กระทรวงมหาดไทยของมาเลเซี ย เพื่ อจ้ า งคนงานจาก ต่ า งชาติ ไ ด้ ขั้ น ตอนในการจ้ า งงานในมาเลเซี ย จะใช้ กฎหมายแรงงานฉบับเดียวกันจะ ต่างกันตรงที่ว่าบางรัฐ จะมีความพิเศษที่ต่างกันโดยเฉพาะรัฐที่ติดกับชายแดน ของประเทศไทย จะมีง านบางประเภทที่ บัง คับ ต้องใช้ เอกสารหนังสือใบผ่านแดนเท่านั้นในการขออนุญาต และ เจาะจงเฉพาะแรงงานต่างชาติที่มาจากทางภาคใต้ของ ไทยเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มแรงงานประเภทธรรมเนียม ปฏิบัติ อัตราค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ค่าจ้าง จะขึ้นอยู่กับข้อตกลงตอนทําสัญญาจ้างระหว่างนายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งจะมีรายได้ประมาณ 6,000–30,000 บาท ต่อเดือน นอกจากนั้นลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่อยู่ อาศัยและอาหารการกินฟรีอีกด้วย ส่วนข้อมูลคนไทยที่ เข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือของมาเลเซีย จากสถิติ การขอใบอนุ ญ าตทํ า งานชั่ ว คราว พบว่ า ในปี 2009 แรงงานที่มาขอใบอนุญาตทํางานของคนงานแบบธรรม เนียมปฏิบัติมากที่สุด พบว่าในรัฐเปอร์ลิส มีการจ้างงาน ประเภทการเกษตร 1,984 คน ในรั ฐ กลั น ตั น งาน ประเภทการเกษตร 1,597 คน ในรัฐเปรัค งานประเภท งานบริการ 217 คน จากการเก็ บ ข้อมู ล ภาคสนามจะพบว่า ปั ญ หา การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิมจากจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของประเทศไทยเข้าไปทํางานในรัฐทางตอนเหนือ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
ของมาเลเซี ย นั้ น ส่ ว นหนึ่ ง แรงงานจะไม่ มี ใ บอนุ ญ าต ทํ า งานที่ ถู ก ต้ องตามกฎหมาย จึ ง มี ก ารเสนอแนะควร ปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1.ปัญหาการไม่มีใบอนุญาตทํางาน สาเหตุมา จากการขอใบอนุญาตทํางานที่ต้องมีขั้นตอนและเอกสาร ที่ต้องแสดงจํานวนมาก อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการขออนุญาต ค่าธรรมเนียม และภาษีการทํางานของแรงงานต่างชาติ สูง ไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับรายได้ที่ได้รับ ดังนั้นหากรัฐบาล ไทยมีการเจรจาและประสานงานกับฝ่ายมาเลเซียเพื่อขอ ลดค่ า ทํ า ใบอนุ ญ าตทํ า งานจะเป็ น การดี ทํ า ให้ ทั้ ง สอง ประเทศได้ผลประโยชน์ร่วมกัน 2.แรงงานมลายูมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศ ไทยที่ ไ ปทํ า งานในประเทศมาเลเซี ย ส่ ว นใหญ่ ไ ม่ มี หลั ก ประกั น ทางกฎหมายใดๆ ขึ้ น อยู่ กั บ ข้ อตกลงโดย วาจาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ถ้านายจ้างไม่ปฏิบัติตาม ข้ อ ตกลงก็ ไ ม่ ส ามารถเรี ย กร้ อ งจากหน่ ว ยงานภาครั ฐ หน่ ว ยงานใดได้ ทั้ ง ไทยและมาเลเซี ย ดั ง นั้ น อยากให้ รัฐบาลเข้าถึงกลุ่มแรงงานให้มากขึ้น 3.ควรจัดให้มีการทําคู่มือการเดินทางไปทํางาน ต่างประเทศ หรือจัดให้มีการเผยแพร่กฎหมายแรงงาน ของมาเลเซียที่ต้องปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องของเอกสารที่ ต้องเตรียมในการยื่นขอใบอนุญาตทํางานเพื่อให้ถูกต้อง ตามกฎหมาย โดยจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยและภาษายาวี เผยแพร่ต่อไป 4.ในการเผยแพร่กฎหมายแรงงานของมาเลเซีย ดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือระหว่างจัดหางานจังหวัด และผู้นําท้องถิ่นในท้องที่นั้นๆ เพราะผู้นําท้องถิ่นย่อมรู้ดี ว่าหมู่บ้านไหน มีกลุ่มแรงงานไปทํางานต่างประเทศกี่คน และทํางานประเภทไหนบ้าง 5.จัดให้มีการอบรม ชี้แจงและทําความเข้าใจใน เรื่องข้อมูลและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทํางานของ แรงงานไทยในต่างประเทศให้กับผู้นําชุมชน ผู้นําศาสนา และอาสาสมัครแรงงานทุกพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง แก่ผู้ที่จะเดินทางเข้าไปทํางานในประเทศมาเลเซียความ ปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของกลุ่ ม แรงงานมลายู มุสลิมที่ทํางานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนของประเทศ ไทยยั ง ไม่ ไ ด้ รั บ การประกั น ถึ ง ความปลอดภั ย การ ประกอบอาชีพทํางานในป่าหรือกรีดยางบนภูเขา กลุ่ม
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
20
แรงงานไม่มั่นใจในความปลอดภัย เพราะบางพื้นที่ในป่า จะเต็มไปด้วยตํารวจ ทหารและทหารพราน หากจะมีการ เปิดร้านรวมกลุ่มในเมือง แรงงานบางกลุ่มก็ยังมีความ ระแวง ทางเลือกหนึ่งจึงเป็นการเดินทางเข้าไปทํางานใน ประเทศมาเลเซียปลอดภัยกว่า ดังนั้นรัฐบาลต้องเข้าถึง และรับประกันความปลอดภัยสําหรับแรงงานที่ประกอบ อาชีพในพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อไม่ต้องมีการเดินทางออกไป ทํางานยังต่างประเทศ บรรณานุกรม กองเอเชียตะวันออก 1 กรมเอเชียตะวันออก. ม.ป.ป.. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย. สืบค้น เ มื่ อ 09 ธั น ว า ค ม 2 5 5 2 เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก http://www.extraholidaysthailand. com/malaysia-guide/3 1 7 -maleysiaguide-5.html จารุวัจน์ สองเมื อ ง. ม.ป.ป. สั ง เคราะห์ ง านวิ จั ย : แรงงานร้า นอาหารไทยในมาเลเซีย . สื บ ค้ น เมื่ อ 12 สิ ง หาคม 2552 เข้ า ถึ ง ได้ จ า ก http://researchers.in.th/blog/ismedia/164. ชิดชนก ราฮิมมูลา และคณะ. ม.ป.ป. แนวทางการจัด สวัสดิการ การกําหนดค่าธรรมเนียมที่มีผลต่อ การสร้างแรงจูงใจให้แรงงานร้านอาหารไทย ผัน เข้า สู่ ระบบการจ้ า งแรงงานต่ า งด้ า วของ มาเลเซี ย อย่ า งถู ก กฎหมาย. สื บ ค้ น เมื่ อ 12 สิ ง หาคม 2552 เข้ า ถึ ง ได้ จ าก http://www. siamhrm.com/?name=news&file=readne ws&max=4601 ชิดชนก ราฮิมมูลา และคณะ. ม.ป.ป. พบแรงงานไทย ผิดกม. ในมาเลย์กว่า 2 แสนราย – ส่งเงิน กลับเดือนละ 400 ล้าน – จี้รัฐเร่งแก้ปัญหา. สื บ ค้ น เมื่ อ 09 ธั น วาคม 2552 เข้ า ถึ ง ได้ จ าก http://www.oknation.net/blog/print.php ?id=212346 ทุ ก หน่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงแรงงาน จั ง หวั ด นราธิวาส. ม.ป.ป. ปัญหาสถานภาพคนไทยใน มาเลเซีย. เอกสารประกอบการสัมมนา. เสนอ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะดาโอะ ปูเตะ และ เภาซัน เจ๊ะแว
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา ติดตามและ แก้ไขปัญหาสถานภาพคนไทยในมาเลเซีย พรพัน ธุ์ เขมคุณ าศัย และศุภ รัต น์ พิ ณสุ ว รรณ. ม.ป.ป. ผู้หญิงมลายูมุสลิมชายแดนภาคใต้: แรงงาน รั บ จ้ า งนอกระบบในประเทศมาเลเซี ย . รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เภาซัน เจ๊ะแว และคณะ. 2552. ผู้นําชุมชนไทยใน มาเลเซียกับภาษามลายูในฐานะภาษาราชการ : ศึกษากรณีชุมชนตุมปัต รัฐกลันตัน ประเทศ มาเลเซี ย . รายงานวิ จั ย ฉบั บ สมบู ร ณ์ ข อง สํ า นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การวิ จั ย (สกว.). ค ณ ะ ศิ ล ป ะ ศ า ส ต ร์ แ ล ะ สั ง ค ม ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สํานั กงานกองทุ นสนั บสนุ นการวิ จัย. ม.ป.ป. ต้มยํ ากุ้ ง อาชีพหนุนเศรษฐกิจภาคใต้ เส้นทางแรงงาน 3 จว. ภาคใต้สู่มาเลเซีย. สืบค้นเมื่อ 09 ธันวาคม 2 5 5 2 เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก http://www.smemedia.com/index.php?lay =show&ac=article&Id=137424&Ntype=2 สํานักแรงงานไทย ประจําสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุง กั ว ลาลั ม เปอร์ . (ม.ป.ป.). สถานการณ์ แ ละ ตลาดแรงงานในมาเลเซีย. สืบค้ นเมื่ อ 09 สิ ง หาคม 2552 เข้ า ถึ ง ได้ จ าก http://www. mol. go.th/ news_malay_apr2408.html. สุ ภ างค์ จั น ทวานิ ช . ม.ป.ป. แรงงานไทยในประเทศ มาเลเซีย . สื บค้ นเมื่ อ 12 สิง หาคม 2552 เข้าถึงได้จาก http://www.geocities.com/tomyamlabor /article/article1.html. อดิศร เกิดมงคล. ม.ป.ป. ปรากฎการณ์การย้ายถิ่นของ แรงงานข้ามชาติจากประเทศพม่า. สืบค้นเมื่อ 6 ตุ ล า ค ม 2 5 5 2 เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก http://gotoknow.org/blog /migrantworkers/16225 อดิศร เกิดมงคล. ม.ป.ป. แรงงานข้ามชาติ (1) การย้าย ถิ่ น ของผู้ ลี้ ภั ย ความผู ก พั น กั บ สั ง คมไทย. สื บ ค้ น เมื่ อ 6 ตุ ล าคม 2552 เข้ า ถึ ง ได้ จ าก
21
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การเดินทางของแรงงานมลายูมุสลิม...
http://www.stateless person.com/www/?q =node/1670 หนังสือต่างประเทศ Haji Tajuddin Bin Haji Hussein. 2009. Malaysia Negara Kita. Edisi 2009. Kuala Lumpur: MDC Publishers Sdn Bhd. Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia, 2006. Buku Panduan, Dasar Prosedur dan Syarat-Syarat Penggajian Pekerja Asing di Malaysia. Kementerian Sumber Manusia: Pusat Pentadbiran Kerajaan Persekutuan, Putrajaya. Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia, 2009. Analisis Aduan 2007 & 2008. Kementerian Sumber Manusia: Bahagian Standard Perburuhan Ibu Pejabat Tenaga Kerja Semenanjung malaysia, Putrajaya. Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia, 2006. Buku Panduan, Proses Kerja Aktiviti Utama Jabatan Tenaga Kerja Semenanjung Malaysia. Kementerian Sumber Manusia: Pusat Pentadbiran Kerajaan Persekutuan, Putrajaya. Kamal Halili Hassan, 1994. Hubungan UndangUndang Majikan dan Pekerja. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Kamal Halili Hassan, 2007. Pengenalan undang-Undang Pekerjaan di Malaysia. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Penasihat Undang-Undang MDC, 2007. Akta Pekerjaan dan Peraturan-Peraturan. Kuala Lumpur: MDC Publishers Sdn Bhd. Siti Zaharah Jamaluddin. 1997. Pengenalan Kepada Akta Kerja 1955. Kuala Lumpur: Penerbit Universiti Malaya.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
23
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
Article Educational Concept of a Multicultural Nation, Malaysia, and its Endeavour in the Development of Basic Education Mahsoom Sateemae* *Lecturer, Department of English , Faculty of Liberal Arts and Social Sciences, Yala Islamic University Abstract Malaysia has faced many challenges as a multicultural society. As part of its objective to consolidate and develop a single national identity with a multicultural foundation, it has developed the National Philosophy of Education which is based upon principles of diversity and pluralism. As the educational framework, the National Philosophy of Education allows for the use of a localized curriculum if appropriate to the context. The National Curriculum of Basic Education which are KBSR and KBSM curriculum thus are designed to reflect Malaysia’s diversity, and the different philosophical origins and lifestyles of Malaysia’s diverse student population. At the same time it embraces diversity, it also aims to instill within students a unifying national identity with which all of Malaysia’s students can identify with. Keywords: Malaysia’s Educational Concepts Multicultural Society National Philosophy of Education
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
24
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
บทความวิชาการ มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรมมาเลเซียกับความพยายาม ในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน มัฮซูม สะตีแม* *อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ มาเลเซียเป็นประเทศพหุลักษณ์ซึ่งได้เผชิญสิ่งท้าทายต่างๆตั้งแต่อดีต เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวและ สร้างอัตลักษณ์แห่งชาติบนพื้นฐานแห่งความเป็นพหุวัฒนธรรม มาเลเซียจึงได้สถาปนาปรัชญาการศึกษาแห่งชาติที่มี พื้นฐานของสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย ในฐานะที่เป็นกรอบแนวคิดทางการศึกษา ปรัชญาการศึกษาแห่งชาติ เปิดช่องทางให้สถานศึกษาปรับใช้หลักสูตรแกนกลางได้ตามความเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐานอันได้แก่ หลักสู ตรบู รณาการสํ าหรับ โรงเรียนประถมศึก ษา(เคบีเอสอาร์ ) และหลัก สูตรบู รณาการสํ าหรั บ โรงเรียนมัธยมศึกษา (เคบีเอสเอ็ม) จึงสะท้อนความหลากหลายของชาติมาเลเซียในแง่พื้นฐานด้านปรัชญา และวิถีการ ดํารงชีวิตที่แตกต่างของนักเรียน ขณะเดียวกัน มุ่งปลูกสร้างอัตลักษณ์ร่วมในความเป็นชาติแก่นักเรียนชาวมาเลเซียทุก ชาติพันธุ์ คําสําคัญ: แนวคิดทางการศึกษา สังคมพหุวัฒนธรรม ปรัชญาการศึกษาแห่งชาติ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
บทนํา ตามความเข้าใจทั่ วไป ปรั ชญาการศึ กษาเป็ น เพียงแนวคิดหรือทฤษฎีที่นักการศึกษาใช้เป็นกรอบหรือ แนวทางในการออกแบบระบบการศึกษาใดระบบหนึ่ ง เป็ น เพี ย งความคิ ด ที่ เ ป็ น นามธรรมซึ่ ง นั ก การศึ ก ษา พยายามแปลงให้ เ ป็ น รู ป ธรรมในระบบการศึ ก ษา บ่ อยครั้ ง ที่ แ นวคิ ด ทฤษฎี ก ารศึ ก ษาไม่ ส ามารถนํ า ไปสู่ ภาคปฏิบัติ เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษาเป็นได้แค่ เพีย งอุ ดมคติ ที่ย ากต่อการประยุ กต์ ใช้ ทั ศนะนี้ ถูก ต้อง มากน้ อ ยเพี ย งใดสํ า หรั บ การศึ ก ษาภาคบั ง คั บ ของ มาเลเซี ย เมื่ อ รั ฐ บาลพยายามที่ จ ะนํ า เอาอุ ด มการณ์ การศึกษาแห่งชาติที่เรียกว่าเอฟพีเค (FPK: Falsafah Pendidikan Kebangsaan:) หรือปรั ชญาการศึ ก ษา แห่ ง ชาติ ที่ เ กิ ด จากบริ บ ททางสั ง คม เศรษฐกิ จ และ วัฒนธรรมของชาติมาเลเซียมาสู่การประยุกต์ใช้อย่างเป็น รูปธรรมในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความสําคัญของปรัชญาการศึกษาแห่งชาติจะ เห็นได้จากการที่พระราชบัญญัติการศึกษาปี ค.ศ.1996 ซึ่งใช้อยู่จนถึงปัจจุบันยึดปรัชญาการศึกษาแห่งชาติเป็น แหล่งอ้างอิงสําหรับเป้าหมายการศึกษาของชาติมาเลเซีย จากที่ในอดีตปรัชญาการศึกษาที่เรียกว่า “ฟัลวาฟะฮ์ปึน ดีดิกกันเนอฆารอ.” (Falsafah Pendidikan Negara) ไม่เป็นไปตามบริบทที่แท้จริงของชาติมาเลเซีย และมิได้มี การจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรในทางราชการ(Choong Lean Keow,2008:44) แต่เมื่อมีการออกแบบปรัชญา การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ขึ้ น มาใหม่ ทิ ศ ทางการศึ ก ษาของ ประเทศมาเลเซีย แผนงานต่างๆหรือความพยายามทาง การศึ ก ษาทั้ ง ปวงของประเทศมาเลเซี ย ก็ ไ ด้ รั บ การ ออกแบบให้เป็นไปในแนวเดียวกันภายใต้เจตนารมณ์แห่ง ปรั ช ญาการศึ ก ษาเดี ย วกั น และกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร มาเลเซียซึ่งเป็นกระทรวงที่ดูแลการศึกษาภาคบังคับ ก็ ยึดถือปรัชญาการศึกษานี้เป็นบรรทัดฐานสําหรับการจัด การศึ ก ษาของประเทศ พร้ อ มทั้ ง เป็ น กรอบในการ วิเคราะห์แ นวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคต ซึ่งได้ สะท้อนชัดเจนจากการที่ได้มี การนํ าปรัช ญาการศึกษา แห่งชาติมาเป็นกรอบในการสร้างหลักสูตรการศึกษาขั้น พื้ น ฐาน ทั้ ง หลั ก สู ต รบู ร ณาการสํ า หรั บ โรงเรี ย น ประถมศึ กษาหรือ เคบี เอสอาร์ (KBSR: Kurikulum
25
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
Bersepadu Sekolah Rendah )และหลักสูตรบูรณา การสําหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาหรือเคบีเอสเอ็ม (KBSM: Kurikulum Bersepadu Sekolah Menengah) และมี การบูรณาการแนวคิดแห่งปรัชญาในทุกกระบวนการที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การพั ฒ นาครู แ ละนั ก เรี ย น ปรั ช ญา การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ จึ ง เปรี ย บเสมื อ นคบเพลิ ง ที่ ส่ อ ง ทางการศึ ก ษาของชาติ ม าเลเซี ย ภายใต้ ก ารชี้ นํ า ของ รัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่งเป็นเสมือนเครื่องฉายเจตนารมณ์ ของรั ฐ บาลมาเลเซี ย สํ า หรั บ ความพยายามทั้ ง ปวงที่ เกี่ย วข้ องกับการศึก ษาของประเทศมาเลเซีย (Choong Lean Keow,2008: 166) 1.ความเป็นมาของปรัชญาการศึกษาแห่งชาติมาเลเซีย ประเทศมาเลเซี ย ได้ จั ด ทํ า ปรั ช ญาการศึ ก ษา ขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานอุดมการณ์แห่งชาติมาเลเซีย เพื่อให้ เป้าหมายการศึกษาของชาติมีความสอดคล้องกับบริบท ทางสังคม เศรษฐกิจและแนวโน้มการพัฒนาตามที่รัฐบาล มาเลเซี ย ทํ า การศึ ก ษาวิ เคราะห์ ไ ว้ และได้ ป ระกาศใช้ ปรั ช ญาการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ อย่ า งเป็ น ทางการในปี ค .ศ. 1988 (Choong Lean Keaw,2008: 116) แท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว ความคิ ด ที่ จ ะจั ด ทํ า ปรั ช ญา การศึกษาเพื่อเป็นกรอบการศึกษาแห่งชาติมาเลเซียเริ่ม เกิ ด ขึ้น ในปี ค .ศ.1979 โดยคณะมนตรีวิ เคราะห์ ก าร ดําเนินนโยบายการศึกษา (Jawatankuasa Kabinet Mengkaji Pelaksanaan Dasar Pelajaran) ได้มี ข้อตกลงว่ารัฐบาลจะจัดทําปรัชญาการศึกษาแห่งชาติ จึง มี ก ารพิ จ ารณาเอกสารราชการต่ า งๆที่ สํ า คั ญ ของชาติ มาเลเซี ย เพื่ อ นํ า มาเป็ น กรอบแนวคิ ด ของปรั ช ญา การศึ ก ษา กรอบแนวคิ ด ที่ นํ า มาใช้ ใ นการออกแบบ ปรัชญาการศึกษามีดังนี้ 1.1รู ก นเนอฆารอ (Rukunnegara) รู ก น เนอฆารอคือคํา สัต ย์ ปฏิ ญาณแสดงความจงรั กภั กดี ต่ อ ชาติมาเลเซีย มีเนื้อหาสําคัญคือความยึดมั่นในศาสนาที่ ตนนับถือ การเคารพภักดีต่อพระมหากษัตริย์หรือสุลต่าน ความมีอธิปไตยแห่งชาติโดยประชาชนต้องยอมรับนับถือ กฎหมายสูงสุดของประเทศและให้คุณค่าต่อวัฒนธรรม ของชาติ การรักษาความบริสุทธ์ยุติธรรมแห่งกฎหมาย โดยทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย การดํารงไว้ซึ่งความมี
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
จรรยามารยาทที่ดีงาม ทั้งนี้ทุกคนต่างต้องปฏิบัติหน้าที่ ในความรับผิดชอบของตนและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม แห่งการอยู่ร่วมกันและไม่ก้ าวล้ําในสิทธิของผู้อื่น และ ดํารงตนในกรอบศีลธรรมอันดีงาม รูกนเนอเนอฆารอถูก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปีค.ศ.1970 ถือว่าเป็น ความพยายามหนึ่งของรัฐบาลมาเลเซียในการสร้างความ สมานฉันท์ระหว่างพลเมืองต่างชาติพันธุ์เพื่อประสานร้อย ร้ า วที่ เกิ ด ขึ้ น จากการจลาจลระหว่ า งพลเมื องเชื้ อสาย มลายู จีน และอินเดียเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ.1969 1.2นโยบายเศรษฐกิจใหม่ (Dasar Ekonomi Baru) นโยบายเศรษฐกิจใหม่เน้นแนวคิดความเสมอภาค และการลดความแตกต่ า งทางสั ง คมและเศรษฐกิ จ ระหว่างพลเมืองที่มีชาติพันธุ์แตกต่างกัน เพื่อปรับปรุง โครงสร้ า งทางสั ง คมพหุ วั ฒ นธรรมมาเลเซี ย นโยบาย เศรษฐกิ จ ใหม่ นี้ ไ ด้ ก ลายเป็ น พื้ น ฐานของปรั ช ญา การศึก ษาแห่ งชาติที่ กํ าหนดให้ เป้ า หมายการศึ ก ษาซึ่ ง นอกจากจะมุ่ ง พั ฒ นาผู้ เ รี ย นตามความต้ อ งการของ ประเทศในด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังต้องตอบสนองการสร้าง เอกภาพของชาติอีกด้วย ดังนั้นหลังจากที่ประเทศได้รับ เอกราช รั ฐ บาลจึ ง เปลี่ ย นให้ ภ าษามลายู เ ป็ น ภาษา สื่อกลางในการเรียนการสอนแทนภาษาอังกฤษเพื่อแสดง ถึงความมีเอกภาพทางภาษาและการสื่อสาร อย่างไรก็ ตามไม่มีการห้ามการใช้ภาษาแม่เป็นสื่อกลางในโรงเรียน ประเภทชุมชน (National Type Schools) กล่าวคือ โรงเรี ย นของชุ ม ชนชาวจี น ยั ง สามารถใช้ ภ าษาจี น โรงเรียนชุมชนอินเดียก็ให้ใช้ภาษาทมิฬตามที่เคยปฏิบัติ นโยบายเศรษฐกิ จ ใหม่ ยั ง กํ า หนดให้ ร ะบบ การศึกษามีบทบาทในการทําหน้าที่พัฒนาอุปนิสัย วิธีคิด จิตสํานึกในศาสนาที่ผู้เรียนนับถือโดยเน้นกระบวนการ เรียนรู้ทั้งในหลักสูตรและในวัฒนธรรมโรงเรียน และให้ ระบบการศึ ก ษามี บ ทบาทในการลดความแตกต่ า ง ระหว่ า งชาติ พั น ธุ์ ส่ ง เสริ ม ความสมานฉั น ท์ ร ะหว่ า ง พลเมืองเชื้อสายต่างๆให้มีการยอมรับซึ่งกัน จากนโยบาย นี้ รั ฐ บาลมาเลเซี ย ได้ กํ า หนดทิ ศ ทางการศึ ก ษาของ ประเทศมาเลเซียไว้ว่ามุ่งสร้างเสริมความสมานฉันท์ใน ชาติเป็นประการสําคัญ (Abdul Fatah Hasan,2007: 142)
26
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
1.3 นโยบายการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (Dasar Pendidikan Negara) นโยบายการศึกษาของประเทศ มาเลเซียที่ระบุในพระราชบัญญัติการศึกษา ปีค.ศ.1996 มีพื้ น ฐานจากนโยบายการศึก ษาที่ ร ะบุ ใ นเอกสารแห่ ง ประวัติศาสตร์คือราซัครีพอร์ท (Razak Report of 1956) และพระราชบัญญัติการศึกษาปีค.ศ.1961 ซึ่งเป็น พื้นฐานในการสร้างระบบการศึกษาแห่งชาติมาเลเซียใน รัฐบาลสมัยต่อๆมา เป้าหมายของการศึกษาที่ระบุชัดเจน ในเอกสารแห่งประวัติศาสตร์เหล่านั้นคือการสร้างสังคม ที่มีเอกภาพและมีระเบียบวินัยและการผลิตกําลังคนที่ ผ่านการฝึกอบรมและมีความรู้ สามารถตอบสนองความ ต้องการของชาติยามต้องการ จากนโยบายการศึกษาที่ให้ ความสํา คัญ กับ เป้ าหมายดั ง กล่ าวได้ กลายเป็ นแนวคิ ด พื้นฐานของปรัชญาการศึกษาแห่งชาติมาเลเซียซึ่งเป็น กรอบแนวคิ ด ของหลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานของ มาเลเซีย ทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา 2.ปั จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ แนวคิ ด ทางการศึ ก ษาของ ประเทศมาเลเซีย เหตุใดการศึกษามาเลเซียจึงให้ความสําคัญต่อ ปรัชญาการศึกษาแห่งชาติมากถึงเพียงนี้ จากการศึกษา สามารถสรุ ป ได้ ว่ า แนวคิ ด เชิ ง ปรั ช ญาของการศึ ก ษา มาเลเซียมีที่มาจากบริบทความเป็นชาติมาเลเซียดังนี้ 2.1 บริบททางศาสนา ศาสนาอิสลามเป็ น ศาสนาประจําชาติของประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมี ศาสนาที่ สํ าคั ญ อื่ น ๆที่ รัฐ ธรรมนู ญมาเลเซี ยอนุ ญ าตให้ พลเมืองสามารถนับถือได้ เช่นศาสนาพุทธ คริสต์ ฮินดู ปัจจัยทางศาสนามีส่วนในการกําหนดปรัชญาการศึกษา ของชาติมาเลเซียซึ่งสะท้อนจากเนื้อความแห่งปรัชญา ที่ ว่ า “ผลิ ต มนุ ษ ย์ ที่ มี ดุ ล ยภาพในด้ า นสติ ปั ญ ญา จิ ต วิญญาณ อารมณ์และกาย บนพื้นฐานความศรัทธาและ ความนอบน้อมต่อคําสอนของพระผู้เป็นเจ้า” รัฐบาลจึง กํา หนดให้ มี เนื้อหาทางศี ล ธรรมในหลั ก สูต รการศึ ก ษา แห่ ง ชาติ แ ละจะต้ อ งเป็ น เนื้ อ หาทางศี ล ธรรมที่ เ ป็ น ที่ ยอมรับในคําสอนของทุกศาสนา จากปัจจัยทางศาสนาจึง นําไปสู่การปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรใหม่ของการศึกษา ภาคบังคับให้ครอบคลุม เนื้อหาด้านค่านิยมแห่งศีลธรรม จรรยา หรือที่เรียกว่า คุณค่าอันบริสุทธิ์ (Nilai Murni)
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
2.2 บริบททางสังคมและประวัติศาสตร์ สังคม มาเลเซียประกอบด้วยพลเมืองชาติพันธุ์ต่างๆหลายชาติ พั น ธุ์ ซึ่ ง ต่ า งก็ มี ส่ ว นร่ ว มในการสร้ า งชาติ ม าเลเซี ย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้เพื่อให้ได้รับเอกราชและการ พัฒนาสังคมหลังได้รับเอกราชเป็นต้นมา ประสบการณ์ ของชาติมาเลเซียในด้านความแตกแยกระหว่างเชื้อชาติ มิได้ยังประโยชน์ให้กับชนกลุ่มใดๆในประเทศ กลับทําให้ รั ฐ บาลเกิ ด ความยุ่ ง ยากในการบริ หารพั ฒ นาประเทศ เช่นเดียวกับชาติอื่นๆในโลก ความรัก ความสมานฉันท์ และความผาสุกของชาติจะขึ้นอยู่กับความมีจิตใจผ่อน ปรน ความประนีประนอม ความร่วมมือและความเคารพ ซึ่งกันและกันของพลเมืองทุกหมู่เหล่า รัฐบาลมาเลเซียจึง ถือว่าความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติเป็นปัจจัยสําคัญ ที่จะนํ าชาติมาเลเซียให้รุด หน้า ทัดเทียมอารยประเทศ เจตนารมณ์นี้ได้สะท้อนในปรัชญาการศึกษาแห่งชาติดัง ความที่ว่า“ผลิตพลเมืองมาเลเซียผู้ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการ สร้างความสมานฉันท์และความผาสุกแก่ประเทศชาติ” ด้วยลักษณะของความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม นี้เอง หลักสูตรการศึกษาที่เกิดจากปรัชญาการศึกษาเอฟ พีเคจึงมีองค์ประกอบหลักของการดํารงไว้ซึ่งความเป็น ชาติ พ หุ วั ฒ นธรรมอย่ า งเด่ น ชั ด เช่ น การบู ร ณาการ แนวคิดสมานฉันท์ข้ามสาระวิชา การเปิดรายวิชาภาษา แม่ของกลุ่มชาติพันธุ์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.3 บริ บททางการเมื อง การปกครอง และ เศรษฐกิจ ผู้มีอํานาจทางการเมืองแต่ละยุคสมัยมีบทบาท สํ า คั ญ ในการถ่ า ยทอดอุ ด มการณ์ แ ห่ ง ชาติ สู่ พ ลเมื อ ง มาเลเซียโดยการสานต่อนโยบายต่างๆที่จะนําชาติมาเลเซีย ไปสู่ ความก้ า วหน้ าทั้ ง ในทางสั งคมและเศรษฐกิ จ เช่ น นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้เป็นหนึ่งใน ภู มิ ภาคเอเชี ย เนื้ อหาของปรั ชญาการศึ กษาเอฟพี เคจึ ง ครอบคลุ มคุ ณสมบั ติ สํ าคั ญที่ ผู้บริ หารประเทศได้ ทํ าการ วิเคราะห์ กล่ าวคื อ “ผลิ ตพลเมืองมาเลเซี ยที่ มี ความรู้ มี ความเชี่ ยวชาญ มี ความรั บผิ ดชอบ” เป็ นเจตนารมณ์ ที่ ต้องการผู้ที่ผ่านการฝึกฝนด้วยความรู้และทักษะที่จะรองรับ กิจกรรมทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองตามวาระต่างๆ ของรัฐบาล 2.4 ปั จ จั ยด้ า นการพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ กระบวนการศึกษาอบรมที่มีคุณภาพจะสามารถยกระดั บ
27
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
ศักยภาพของปัจเจกชนในหลายๆด้านเป็นคุณสมบัติสําคัญ ของทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ที่ ป ระเทศมาเลเซี ย ต้ อ งการดั ง เจตนารมณ์ของรัฐบาลมาเลเซียที่ระบุในรายงานคณะมนตรี วิเคราะห์ การดํ าเนินนโยบายการศึ กษาปี ค.ศ.1979 ซึ่ ง สะท้อนความจําเป็นที่มาเลเซียยุคฟื้นฟูประเทศต้องผลิ ต ผู้เรี ยนที่ พรั่ งพร้ อมด้วยความรู้ ทั กษะและเจตคติที่ดี เพื่ อ เป็นกําลังสําคัญของชาติ ดังนั้นเมื่อมีการปรับปรุงปรัชญา การศึกษาจึงปรากฏแนวคิดการพัฒนาศักยภาพของปัจเจก ชนแบบองค์รวมในปรัชญาการศึกษาแห่งชาติของมาเลเซีย และถื อ เป็ น แนวคิ ด ที่ สํ า คั ญ มากทั้ ง นี้ เ พราะมี ค วาม ครอบคลุมความต้องการสามด้านได้แก่ความต้องการของ ผู้ เรี ยน ความต้ องการของสั งคม และความต้ องการของ ประเทศ 2.5 ความเป็นโลกาภิวัตน์ การศึกษามาเลเซีย มิ ได้ แตกต่ างไปจากบริ บทการศึ กษาอื่ นๆในโลกที่ ได้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากแนวคิ ด ด้ า นการพั ฒ นาการศึ ก ษาที่ มี ก าร อภิ ปรายบนเวที วิชาการนานาชาติเช่ นแนวคิ ดการศึกษา ต่อเนื่อง(Continual Education/Lifelong Learning) การศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All) จากเวทีวิชาการ ของยูเนสโก แนวคิดอิสลามานุวัตองค์ความรู้ (Islamization of Knowledge)จากที่ประชุมวิชาการโลกมุสลิม ตลอดจน การเกิ ดขึ้ นของแนวคิ ดทฤษฎี และวิ ธี การเรี ยนการสอน ใหม่ๆในวงการศึกษาทั่วโลกและมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน กันบนโลกวิชาการ ดังนั้นเนื้อหาของปรัชญาการศึกษาจึงได้ ผนวกเอาแนวคิดต่างๆเหล่านี้ เป็นผลให้หลักสูตรการศึกษา อันเป็นผลผลิตที่ตามมาได้รับการออกแบบด้วยแนวคิดทาง การศึ ก ษาสากลที่ หลากหลายในกรอบของความเป็ น มาเลเซีย นักการศึกษาชาวมาเลเซีย อับดุลรอฮ์มาน อารอฟ และ ซาการี ยา กาซา(Abdul Rahman Aroff and Zakariya Kasa)ได้กล่าวถึงปรัชญาการศึกษาของประเทศ มาเลเซียว่าเป็นปรัชญาการศึกษาที่เกิดจากการผสมผสาน จากแนวคิดที่หลากหลายแต่มีความเป็นตัวของตัวเองตาม บริบทของประเทศมาเลเซีย ( Mok Soon San,2008: 16) 3.แนวคิดทางการศึกษา ปรัชญาการศึกษาแห่งชาติของประเทศมาเลเซีย มีแนวคิดที่สําคัญดังนี้
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
3.1แนวคิดการพัฒนาแบบองค์รวม ชุง ลีน เกียว นักการศึกษาชาวมาเลเซียได้ให้ คํา อธิ บายแนวคิด การพัฒ นาแบบองค์ร วมตามนั ยของ ปรั ช ญาการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ม าเลเซี ย ว่ า ความถนั ด ศักยภาพ และความสามารถของตัวบุคคลนั้นไม่อาจที่จะ แยกการพัฒนาเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น แต่ในทาง ตรงข้ า ม ต้ อ งพั ฒ นาไปพร้ อ มๆกั น หรื อ ให้ มี ค วาม สอดคล้องระหว่างกัน และในการนี้ต้องให้ครอบคลุมการ พัฒ นาทั้ ง สี่ด้ า นได้ แก่ ทางด้า นสติ ปั ญญา จิ ต วิญ ญาณ อารมณ์ และกาย ทั้ ง นี้ เ พื่ อ สร้ า งมนุ ษ ย์ ที่ มี ดุ ล ยภาพ (Choong Lean Keow,2008:122-123) คุณ ซุ ลกิ ฟ ลี บาฮรุ ดดี น เจ้ า หน้ า ที่ฝ่ า ยพั ฒ นา หลักสูตรประจําศูนย์หลักสูตรแห่ งชาติกล่า วเช่นกันว่ า “หลั กการพั ฒนาปัจ เจกชนแบบองค์ รวมในบริ บ ทของ หลักสูตรแห่งชาติคือการเรียนการสอนที่มีบทบาทในการ ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งทางกาย อารมณ์ จิ ต และสติ ปั ญ ญา ดั ง นั้ น ทุ ก วิ ช าในหลั ก สู ต รแห่ ง ชาติ จะต้องออกแบบเพื่อเป้าประสงค์ดังกล่าว และการพัฒนา ด้านจิตใจและอารมณ์อันหมายถึงการปลูกฝังจริยธรรม ทัศนคติที่ดีแก่ผู้เรียนนั้น มีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าการ พัฒนาด้านสติปัญญาและทักษะความคล่องแคล่วในการ ปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างผู้เรียนให้รู้รักสามัคคี และมี นิ สั ย ผ่ อนปรน ให้ อภั ย ต่ อกั น และยอมรั บ ความ คิ ด เห็ น ของผู้ อื่ น เพราะมาเลเซี ย เป็ น ประเทศพหุ วัฒนธรรม” (ซุลกิฟลี บาฮรุดดีน, 28 กุมภาพันธ์ 2551, สัมภาษณ์) ในความพยายามที่ จ ะพั ฒ นาศั ก ยภาพของ ปั จ เจกชนทางด้ า นจิ ต วิ ญ ญาณและอารมณ์ ต าม เจตนารมณ์ แ ห่ ง ปรั ช ญาการศึ ก ษาแห่ ง ชาติ หลั ก สู ต ร แห่งชาติมาเลเซียทั้งหลักสูตรบูรณาการสําหรับโรงเรียน ประถมหรือเคบีเอสอาร์และหลักสูตรบูรณาการสําหรับ โรงเรียนมัธยมหรือเคบีเอสเอ็มไม่เพียงแต่เน้นการเรียน การสอนวิชาศาสนาและจริยธรรมศึ กษาเฉพาะในวิช า เท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตการบูรณาการค่านิยมที่พึง ปรารถนาของสั ง คมมาเลเซี ย ที่ เรี ย กว่ า นี ลั ย มู ร ณี ข อง สังคมมาเลเซีย ( Nilai Murni Masyarakat Malaysia) ข้ามสาระวิชาและกิจกรรมนอกหลักสูตรโดยวิธีการสอน แบบบูรณาการอีกด้วย ค่านิยมและศีลธรรมจริยธรรม 16
28
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
ประการนี้ไ ม่ขัด แย้ งกับ ศาสนา วัฒ นธรรมและบรรทั ด ฐานของสังคมมาเลเซีย ( Rosnani Hashim,1996:136) แต่เป็ นจริย ธรรมที่มีอยู่ ในศาสนาทุ กศาสนาและเป็น ที่ ยอมรับในสากลโลก ได้แก่ความรัก ความเมตตาความ ประนีประนอม ความรู้จักประมาณตน ความกล้าหาญ ความถ่อมตน ความซื่อสัตย์ ความบริสุทธิ์ใจและกาย ความมี เหตุ ผ ล ความขยั น ความมี ใ จสาธารณะ ความ เคารพนับถือต่อตนเองและผู้อื่น ความยุติธรรม ความรัก ในอิสรภาพ ความร่วมมือสามัคคี และ ความกตัญญูรู้คุณ ตามทั ศ นะของอั บ ดุ ล ฟาตะห์ ฮาซั น นั ก การศึกษาชาวมาเลเซีย การบูรณาการศีลธรรมอันเป็น เป้าหมายหนึ่งของการศึกษามาเลเซียเป็นการเอื้อต่อการ อยู่ ร่ว มกั นในสัง คมพหุ วั ฒนธรรม (Abdul Fatah Hasan2007: 145) ต่อความพยายามนี้ แม้ว่าไม่อาจที่จะ ทราบได้ถึงความตั้งใจที่แท้จริงของรัฐบาลมาเลเซียในการ นํ า เสนอหลั ก สู ต รศี ล ธรรม อาจจะเป็ น กลยุ ท ธ์ ท าง การเมืองเพื่อสร้างความนิยมแก่พรรครัฐบาล หรือหวังผล ในการปกครองสั ง คมที่ มี ค วามแตกต่ า งทางชาติ พั น ธุ์ ศาสนาหรือจะเป็นความบริสุทธิ์ใจในการยกย่องศีลธรรม ในระบบการศึกษาของชาติตามเจตนารมณ์แห่งปรัชญา การศึ ก ษาที่ บั น ทึ ก ไว้ ในมุ ม มองของการออกแบบ การศึ ก ษานั้ น ความพยายามนี้ นั บ ได้ ว่ า เป็ น ความ พยายามที่ น่ า ชื่ น ชมประการหนึ่ ง ของระบบการศึ ก ษา มาเลเซี ย ที่ กํ า หนดบทบาทที่ เ ป็ น รู ป ธรรมแก่ หลั ก สู ต ร การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นเบ้าหลอมเยาวชนของชาติ นอกเหนือจากการให้ความรู้และทักษะตามบทบาทปกติ ของหลักสูตรการศึกษา 3.2 แนวคิดการบูรณาการ ตามความคิ ด เห็ น ของเจ้ า หน้ า ที่ ฝ่ า ยพั ฒ นา หลักสูตร การบูรณาการหมายถึงเทคนิคการผสมผสาน องค์ ป ระกอบต่ า งๆที่ เป็ น เนื้ อหาความรู้ ทั ก ษะ ภาษา และค่ า นิ ย ม ในรายวิ ช าต่ า งๆที่ เ ปิ ด สอนในโรงเรี ย น นัยสําคัญของแนวคิดการบูรณาการคือเมื่อนักเรียนได้รับ ความรู้ทางวิชาการ ขณะเดียวกันนักเรียนก็จะได้ซึมซับ เอาค่านิยม ศีลธรรมที่ดีงาม พร้อมกันนั้นนักเรียนก็จะได้ ฝึ ก ความคล่ อ งตั ว ในการใช้ ทั ก ษะ ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากว่ า องค์ ป ระกอบต่ า งๆที่ เป็ น เนื้ อหาความรู้ ทั ก ษะ ภาษา และค่ า นิย มได้ สอดแทรกเข้า ไปในบทเรี ย นในรายวิ ช า
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
ต่างๆ โดยผ่านกระบวนการบูรณาการ ผู้เรียนจะได้รับ การพั ฒ นาไม่ เ ฉพาะด้ า นสติ ปั ญ ญาหรื อ ทั ก ษะทาง วิชาการเท่านั้น แต่จะได้รับการยกระดับศักยภาพทางจิต วิญญาณ จิตใจ อารมณ์ และกายไปพร้อมกัน ความเห็น นี้สอดคล้องกับความเห็นของผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนา หลั ก สู ต รที่ ก ล่ า วว่ า “ในบริ บ ทของหลั ก สู ต รแห่ ง ชาติ มาเลเซีย การบูรณาการหลักสูต รหมายถึงการรวมเอา ความรู้ ทักษะ และค่านิยมต่างๆที่พึงปรารถนามาอยู่ใน โครงสร้างเดียวกันของหลักสูตร และวิธีการบูรณาการ (Integrated Approach) เป็นการบูรณาการระหว่าง เนื้อหาและทักษะ (Contents and Skills Based Approach) โดยกําหนดหัวข้อหลัก (Themes)และ หั ว ข้ อเรื่ อ ง (Topics) และกํ า หนดทั ก ษะการเรี ย นรู้ ที่ นักเรียนจะต้องได้รับเมื่อได้เรียนในหัวข้อนั้นๆ” ทฤษฎี ที่ อ ยู่ เ บื้ องหลั ง การออกแบบหลั ก สู ต ร บูรณาการของมาเลเซียคือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructivist) ซึ่ งใช้เทคนิค การสอนที่ส่ งเสริ มให้ นักเรียนพัฒนาสร้างสรรค์ความรู้และทักษะด้วยตนเอง เพื่อค้นพบความถนัดของตนและนําไปสู่การพัฒนาต่อไป แบบเรี ย นตามหลั ก สู ต รภายใต้ ก รอบทฤษฎี นี้ เ ตรี ย ม กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ต ามทฤษฎี พ หุ ปั ญ ญา (Multiple Intelligences) ที่สามารถส่ งเสริมศักยภาพของผู้เรีย น ด้านต่างๆ กิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสผู้เรียนไปสู่ การค้นพบความถนัดของตนเองดังกล่าวนี้ มักจะเป็นการ เรี ย นในรู ป แบบการลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง มี ก ารสํ า รวจ ค้นคว้า และนําเสนอผลการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เป็น การเรี ย นรู้ ที่ บู ร ณาการทั้ ง ความรู้ แ ละทั ก ษะปฏิ บั ติ ขณะเดียวกันส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทํางานแบบร่วมมือกัน เพื่อเกิดความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อ แก้โจทย์ปัญหา โดยยึดหลักการบูรณาการความรู้สาขา ต่างๆที่จําเป็นและประสบการณ์ทั้งในห้องเรียนและนอก ห้องเรียน หลักสูตรบูรณาการของมาเลเซียได้ประยุกต์ใช้ ทฤษฎีการเรียนรู้สมัยใหม่อื่นๆอีกได้แก่ การเรียนรู้ผ่าน กิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม หรือวิถีชีวิตของผู้เรียน (contextual learning) แนวคิด การเรียนรู้ตลอดชีพ (learning as a life-long effort) นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการหลักการเรียนรู้สี่ประการ
29
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
ขององค์ ก ารยู เนสโก ได้ แ ก่ การเรี ย นรู้ เพื่ อที่ จ ะเข้ า ใจ (learning to know) การเรียนรู้ที่จะลงมือปฏิบัติได้เอง (learning to do) การเรียนรู้ที่จะเป็น (learning to be) และการเรี ย นรู้ที่ จ ะอยู่ ร่ว มกั น (learning to live together) แนวคิดต่างๆดังกล่าวถูกแปลงไปสู่หลักสูตร การศึกษาแห่งชาติมาเลเซียโดยการบูรณาการกับเนื้อหา วิชาการต่างๆที่กําหนดในหลักสูตร นอกจากนี้การบูรณา การยังต่อเนื่องในหลักสูตรนอกห้องเรียนเช่นโครงการ พิเศษต่างๆที่ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดขึ้นเป็นประจําได้แก่ โครงการยาเสพติ ด ศึ ก ษา สิ่ ง แวดล้ อ มศึ ก ษา สุ ข ภาพ ครอบครัวศึกษา ค่านิยมศึกษา กิจกรรมการเรียนรู้กับ องค์กรสาธารณกุศล ชมรมและสมาคมต่างๆ การกีฬา และเกมส์การแข่งขัน หลักสูตรที่ครอบคลุมแนวคิดต่างๆ เหล่ า นี้ ไ ด้ เริ่ มนํ า มาใช้ ใ นโรงเรี ย นทั่ ว ประเทศในปี ค .ศ. 2002 เป็นต้นมา กล่ า วโดยสรุ ป ว่ า หลั ก สู ต รบู ร ณาการของ มาเลเซีย นอกจากจะมีเนื้อหาด้านความรู้วิชาการและ ทั ก ษะที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ วิ ช านั้ น ๆแล้ ว ยั ง มี เ นื้ อ หาที่ เ ป็ น แนวคิด ค่านิยมและอุดมการณ์ รวมทั้งความคาดหวังของ สังคมมาเลเซียต่อเยาวชนของชาติ เป็นเบ้าหลอมสําหรับ การพัฒนาปัจเจกชนที่จะเป็นพลเมืองตามที่ชาติมาเลเซีย คาดหวัง 3.3 แนวคิดความเป็นเอกภาพ สังคมที่ประกอบด้วยผู้คนที่มีความหลากหลาย ทางภาษา วั ฒ นธรรม และ ความคิ ด ความเชื่ อ เป็ น ปรากฏการณ์ในหลายประเทศทั่วโลก การรวมกลุ่มชน ต่ า งๆให้ อ ยู่ ใ นระบบเดี ย วกั น เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความสมั ค ร ส า มั ค คี ใ น ช า ติ จึ ง เ ป็ น ภ า ร กิ จ สํ า คั ญ ที่ ท้ า ท า ย ความสามารถของผู้ ป กครองประเทศ มาเลเซี ย ก็ เช่นเดียวกัน เป็นประเทศที่ประกอบด้วยพลเมืองหลาย เผ่าพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตแตกต่างกันซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจจะ นํา ไปสู่ค วามขั ดแย้ง ได้ ง่า ย อั บดุ ลเราะหมาน อัร ชาด( Abdul Rahman Arshad,2007)กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง เอกภาพและการศึ ก ษาในมาเลเซี ย ( Unity and Education in Malaysia) ว่า ชาติเอกราชแห่งมาเลเซีย จําเป็นต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องนี้เพื่อให้ได้มาซึ่ง เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญทางสังคมและ เศรษฐกิจ การศึกษาของมาเลเซียจึงต้องให้ความสําคัญ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
กั บ การสร้ า งเอกภาพ การสร้ า งเอกภาพของชาติ จึ ง กลายเป็นเป้าหมายทางการศึกษา อุดมการณ์รักชาติและ ความสมานฉันท์จึงเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อหนึ่งใน หลั ก สู ต รการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานภายใต้ ส าระการเรี ย นรู้ พลเมืองศึกษา (Civic Education) ซึ่งบูรณาการในทุก รายวิชาและในทุกกิจกรรมเสริมหลักสูตรผ่านการสอน แบบบูรณาการ จึงจะเห็นได้ว่าการสร้างความเป็นหนึ่งใน ความหลากหลาย หรือสร้างความเหมือนในความต่างให้ เกิดขึ้นในหมู่พลเมืองเชื้อชาติต่างๆกลายเป็นเอกลักษณ์ ของหลักสูตรการศึกษามาเลเซียที่นอกจากจะเป็นเน้น ความรู้ ทักษะ บรรทัดฐาน ค่านิยม เจตคติ วัฒนธรรม ความคิดความเชื่อของชาวมาเลเซีย เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียน ทางกาย จิ ต วิ ญ ญาณ สติ ปั ญ ญาและอารมณ์ พ ร้ อมทั้ ง ปลูกฝังและพัฒนาค่านิยม ศีลธรรมที่พึงปรารถนาแล้ว ยั ง มี จุ ด ประสงค์ ก ารเรี ย นรู้ อี ก ประการคื อ การสร้ า ง เอกภาพแห่งชาติหรือความสมานฉันท์ในชาติ มีข้ อสั งเกตประการหนึ่ งในนโยบายการสร้ า ง เอกภาพความสมานฉันท์ของมาเลเซีย กลับเป็นการสร้าง เอกภาพความสมานฉั น ท์ ด้ ว ยแนวคิ ด ความเป็ น ประชาธิปไตยด้วยการให้ทางเลือกการศึกษาแก่พลเมือง แนวคิ ด นี้ ส ะท้ อนจากการที่ รัฐ บาลไม่ ก้ า วก่ า ยสิ ท ธิ ขั้ น พื้นฐานด้านการใช้ภาษาแม่ของประชาชน โดยเฉพาะ การใช้ภาษาแม่ของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นภาษากลางในการ เรี ย นการสอนของโรงเรี ย นประเภทชุ ม ชน (National Type School)ทั้งนี้ในฐานะที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรมอัน ประกอบด้วยพลเมืองที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาแตกต่า งกั น มาเลเซี ยถื อว่า การอนุ ญาตให้ โรงเรียนรัฐบาลที่เป็นโรงเรียนของกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือ จีน และอิน เดี ย ใช้ภ าษาแม่ในการเรี ยนการสอน เป็ น ความพยายามหนึ่ ง ของรั ฐ บาลในการสร้ า งระบบ การศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและเป็น การแสดงให้ เห็ น ว่ า รั ฐ บาลได้ ใ ช้ หลั ก ประชาธิ ป ไตยใน การศึกษาของปวงชน แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายการสร้าง เอกภาพของชาติ ม าเลเซี ย ผ่ า นการสถาปนาภาษา มาเลเซียเป็นภาษารวมชาติและหวังจะให้โรงเรียนรัฐบาล ที่ ใ ช้ ภ าษามาเลเซี ย มี บ ทบาทในการสร้ า งความเป็ น เอกภาพในชาติ ก็ ต าม แต่ ดู เ หมื อ นว่ า รั ฐ บาลมี ค วาม ยืดหยุ่นในจุดนี้ โดยยังคงระบบโรงเรียนจีนและโรงเรียน
30
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
อินเดียไว้จนกระทั่งปัจจุบันเพื่อรักษาน้ําใจและความรู้สึก ของเพื่อนร่วมชาติที่เคยเป็นชนชาติที่ถูกอพยพเข้ามาให้ ร่ ว มอาศั ย และร่ ว มพั ฒ นาแผ่ น ดิ น มลายู ท่ า มกลาง ประวั ติ ศ าสตร์ อั น แสนขมขื่ น ร่ ว มกั น และเป็ น การให้ ทางเลือกแก่ผู้ปกครองที่ต้องการให้บุตรหลานได้ศึกษาใน ระบบโรงเรียนตามวัฒนธรรมของตนอันเป็นกระบวนการ หนึ่งของการสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ อย่างไรก็ตามมี ผู้วิจารณ์ว่ากระบวนการสร้า ง ความสมานฉัน ท์ด้วยการแยกสถานศึกษาของเยาวชน ของชาติเป็นมรดกทางความคิดของรัฐบาลอาณานิคมใน อดีตและไม่เป็นการสร้างความสมานฉันท์อย่างแท้จริง เพราะนั ก เรี ย นต่ า งชาติ พั น ธุ์ ไ ม่ มี โ อกาสได้ ป ะทะ สร้างสรรค์กันและมีผลในแง่ลบต่อโอกาสทางการศึกษา ของนักเรียนในระดับมัธยมปลายและระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ภาษามาเลเซียในการเรียนการสอน ในขณะที่บาง กระแสสนั บ สนุ น แนวคิ ด ของระบบโรงเรี ย นดั ง กล่ า ว เพราะถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหลานจีนและอินเดีย ได้ดํารงรักษาอัตลักษณ์แห่งภาษาและวัฒนธรรมของตน ท่ า มกลางกระแสที่ ส วนทางนี้ รั ฐ บาลในฐานะผู้ ถื อ พวงมาลั ย การขั บ เคลื่ อ นความสมานฉั น ท์ อั น เป็ น องค์ ป ระกอบสํ า คั ญ ของการสร้ า งชาติ ก้ า วหน้ า ตาม นโยบายแห่งชาติจึงได้นําแนวคิดของการที่เยาวชนของ ชาติ ไ ด้ วิ่ ง เล่ น และเรี ย นรู้ พร้ อ มทั้ ง แลกเปลี่ ย น ประสบการณ์ ร ะหว่ า งกั น ในรั้ ว รอบเดี ย วกั น โดยไม่ แบ่งแยกว่าใครจะมาจากครอบครัวเชื้อสายใด มาทําให้ เป็ น รู ป ธรรมในระบบการศึ ก ษาภายใต้ รู ป แบบเซอโก เลาะฮ์วาวัสซัน (Sekolah Wawasan) หรือโรงเรียน วิสัยทัศน์ (Vision School) ภายใต้แนวคิดนี้ โรงเรียน ของชุมชนมลายู จีน อินเดียกําหนดให้อยู่ในอาณาบริเวณ เดียวกันภายใต้ชื่อวิชั่นสคูลคอมเพล็กซ์ (Vision School Complex) โรงเรียนแต่ละโรงจะแยกการบริหารจัดการ ออกจากกันและมีรูปแบบการดําเนินการเรียนการสอน ตามธรรมชาติและวัฒนธรรมของตน ไม่มีการก้าวก่ายซึ่ง กั น และกั น แต่ จ ะใช้ เ ครื่ อ งอํ า นวยความสะดวกทาง การศึกษาร่วมกัน นัยภายใต้แนวคิดนี้คือการสร้างความ เป็นเอกภาพของชาติบนพื้ นฐานความหลากหลายเพื่ อ คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ของเยาวชนของชาติที่มี พื้ น เพต่ า งกั น เพื่ อ นั ก เรี ย นที่ มี วั ฒ นธรรม ภาษาและ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
ศาสนาต่างกันจะได้มีปฏิสัมพันธ์กันในช่วงเวลาพักจาก การเรียนและในเวลาทํากิจกรรมนอกห้องเรียน โดยหวัง ว่านักเรียนจะได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นําไปสู่ จิตสํานึกในความเป็นพี่น้องร่วมชาติมาเลเซีย 3.4แนวคิดการศึกษาต่อเนื่องหรือการศึกษา ตลอดชีพ ตามแนวคิ ด ทางการศึ ก ษาของมาเลเซี ย การศึกษาเป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งความรู้และทักษะ พร้ อ มทั้ ง กระบวนการซึ ม ซั บ จริ ย ธรรมเพื่ อ จะได้ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ที่ มี ค วา มรู้ มี ทั ก ษะความเชี่ ย วชา ญ และ กิริยามารยาทที่ดีงาม กระบวนการนี้เป็นกระบวนการ ศึกษาที่ไม่หยุดยั้งซึ่งผู้เรียนจะต้องมีการปรับตนเองให้เข้า กับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ที่เปลี่ยนแปลงตาม ยุ ค สมั ย และมี ก ารพั ฒ นาอยู่ ต ลอดเวลาเพื่ อยกระดั บ ประสิท ธิภาพของการเรี ยนรู้ ซึ่ง จะนําไปสู่ คุณภาพของ ผลงานการศึกษาที่จะตามมา แนวคิดนี้เป็นแนวคิด สําคั ญที่ สะท้อนไว้ ในปรั ชญาการศึ กษาแห่งชาติ ซึ่ งให้ แนวทางไว้ ว่ า การศึ ก ษาจะเริ่ ม ต้ น จากที่ บ้ า น จากนั้ น รัฐบาลจะจัดการศึกษาตามระบบภายใต้การดูแลของรัฐที่ สถานศึกษาอนุบาล ต่อเนื่องถึงระดับประถม และระดับ มัธยม และส่งเสริมให้เยาวชนได้ศึกษาต่อไปหลังระบบ การศึกษาขั้นพื้นฐานอาจจะเป็นสถาบันอุดมศึกษา ใน สถานที่ ทํ า งาน และชุม ชน หรื อจะเป็ น การศึ ก ษาด้ ว ย ตัวเองผ่านสื่อต่างๆในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รัฐจึง ต้องจัดเตรียมหลักสูตรและสิ่งอํานวยความสะดวกที่เอื้อ ต่อนโยบายการศึกษาตลอดชีพ การประยุ ก ต์ ใ ช้ แ นวคิ ด การศึ ก ษาตลอดชี พ ที่ สะท้อนในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของมาเลเซียคือ การบู ร ณาการเทคนิ ค การแสวงหาความรู้ ส มั ย ใหม่ ใ น สาขาวิชาต่างๆทั้งทางด้านสามัญอาชีพและศาสนา และ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เรี ย นกล้ า เผชิ ญ กั บ การศึ ก ษาในรู ป แบบที่ หลากหลาย และทันยุคสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง พื้ น ฐานที่ เ ข้ ม แข็ ง สู่ ค วามเชี่ ย วชาญด้ า นเทคโลโลยี ส า ร ส น เ ท ศ ใ น อ น า ค ต แ ล ะ ก า ร ส ร้ า ง พื้ น ฐ า น ภาษาต่ า งประเทศที่ แ ข็ ง แกร่ ง พอที่ จ ะเป็ น เครื่ อ งมื อ สํ า หรั บ การแสวงหาความรู้ แ ละพั ฒ นาศั ก ยภาพของ ผู้ เ รี ย นในโลกกว้ า งต่ อ ไป ภายใต้ แ นวคิ ด การศึ ก ษา ต่อเนื่องหรือการศึกษาตลอดชี พนี้ หลั กสูตรการศึกษา
31
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
มาเลเซียได้ให้ความสําคัญที่เด่นชัดแก่ปัจจัยสองประการ ที่จะเอื้อให้ พลเมืองมาเลเซียสามารถดําเนิ นการศึกษา ต่อเนื่องได้ อย่า งมีป ระสิทธิ ภาพตามที่รัฐบาลมาเลเซี ย คาดหวัง กล่าวคือการบู รณาการทั กษะด้านการเข้าถึ ง ข้ อมู ล ในโลกยุ ค ข้ อมู ล ข่ า วสารไร้ พ รมแดนผ่ า นการใช้ คอมพิ ว เตอร์ แ ละเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการใช้ ภาษาต่ า งประเทศโดยเฉพาะภาษาอั ง กฤษอย่ า งมี ประสิ ทธิ ภ าพ ซึ่ ง ปัจ จั ย สองประการนี้ น อกจากจะเอื้ อ ประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้เรียน แล้วยังเป็นช่องทาง สําหรับเยาวชนมาเลเซียในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนร่วม ชาติ ที่ มี พื้ น ฐานทางวั ฒ นธรรมแตกต่ า งกั น อั น นํ า ไปสู่ การบูรณาการทางสังคมซึ่งเป็นความหวังหนึ่งของชาติ มาเลเซียที่ต้องการให้ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ไม่เป็น อุ ป สรรคต่ อ การอยู่ ร่ ว มกั น ได้ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ บ น อุดมการณ์แห่งชาติเดียวกัน ภายใต้แนวคิดการศึกษาตลอดชีพ การเตรียม พลเมื องในอนาคตเพื่อมุ่งสู่ สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประเด็นที่เห็นได้ชัด เป็นรูปธรรมในนโยบายการศึกษาของรัฐบาลมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียมุ่งที่จะสร้างระบบการศึกษามาเลเซียให้ สอดคล้ องกั บ ยุค สมั ย โดยใช้เทคโนโลยี มาส่ ง เสริ ม การ เรีย นรู้ ของเยาวชนให้เกิด ประสิ ทธิ ภาพมากยิ่ง ขึ้น และ เตรี ย มการให้ พ ลเมื อ งมาเลเซี ย เป็ น ผู้ รั ก การแสวงหา ความรู้อย่างต่อเนื่อง รัฐบาลได้ถ่ายทอดเจตนารมณ์นี้สู่ หลักสูตรโดยให้มีการเตรียมพร้อมการเปลี่ยนสภาพจาก โรงเรียนแบบเก่าเป็นโรงเรียนแบบใหม่ภายใต้โครงการ โรงเรี ย นเบสตารี ห รื อ สมาร์ ท คู ล (Smart School Project) จากการที่รัฐบาลมาเลเซียได้มีความพยายามมา โดยตลอดในการที่ จ ะปรั บ ปรุ ง ระบบการศึ ก ษาให้ เหมาะสมกั บ ยุ ค สมั ย มาเลเซี ย ต้ อ งการสร้ า งระบบ การศึ ก ษาที่ ส อดคล้ อ งกั บ เจตนารมณ์ ข องปรั ช ญา การศึกษาแห่งชาติที่ตั้งไว้และเป็นการศึกษาที่ไปควบคู่ กับการพัฒนาประเทศตามวาระแห่งชาติ วิสัยทัศน์แห่งปี 2020 (Wawasan 2020) โดยคาดหวังว่าจะได้ทรัพยากร มนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาองค์รวมทั้งด้านสติปัญญา จิต วิญญาณ อารมณ์ และทางกาย ผ่านการศึกษาอบรมแบบ บูรณาการและสามารถก้าวทันกระแสการเปลี่ยนแปลง
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากจะปรับ ปรุ ง พัฒนาหลักสูตรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่หยุดยั้งแล้ว รัฐบาลมาเลเซียยังได้ปรับปรุงสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนภายในสถานศึกษาอีกด้วย ในปี ค.ศ. 2000 รั ฐ บาลก็ ไ ด้ ริ เ ริ่ ม โครงการโรงเรี ย น ต้ น แบบที่ เ รี ย กว่ า เซอโกเลาะฮ์ เ บสตารี (Sekolah Bestari/ Smart School) ซึ่งเป็นโครงการเด่นอีก โครงการหนึ่ ง ภายใต้ โ ครงการระดั บ ชาติ มั ล ติ มิ เ ดี ย ซุปเปอร์คอริดอร์(Multimedia Super Corridor: MSC) โครงการโรงเรียนต้นแบบที่ว่านี้ได้ดําเนินการไม่เพียงแต่ ในโรงเรียนประถมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงโรงเรียนมัธยมอีก ด้วย โดยเริ่มแรกได้มีการปรับปรุงหลักสูตรของโรงเรียน กลุ่มทดลองเก้าสิบโรง กําหนดให้ในสี่รายวิชาได้แก่วิชา ภาษามลายู ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดําเนินการเรียนการสอนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สํ า หรั บ วั ส ดุ ป ระกอบการเรี ย นการสอนที่ ใ ช้ ใ นสี่ วิ ช า ดังกล่าวได้รับการออกแบบโดยความร่วมมือระหว่างศูนย์ พัฒนาหลักสูตรแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (Pusat Perkembangan Kurikulum) และกรมเทคโนโลยี การศึกษา (Bahagian Teknologi Pendidikan) การนํา แนวคิ ด การเรี ย นการสอนผ่ า นระบบเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ นี้ เป็ น การพั ฒ นาอี ก ก้ า วหนึ่ ง ของ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานของมาเลเซี ย สู่ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ศตวรรษที่21 ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการ เรียนการสอนตามหลักสูตรแห่งชาติทั้งระดับประถมและ ระดับมัธยม ในการนี้มาเลเซียคาดหวังว่าภายในปีค.ศ. 2010 โรงเรียนจํานวน 10,000 โรงทั่วประเทศจะเปลี่ยน สภาพเป็นโรงเรียนเบสตารี (Smart schools) แนวคิดทางการศึกษาของโรงเรียนเบสตารีคือ การเปลี่ ย นวั ฒ นธรรมการเรี ย นรู ป แบบเก่ า ที่ เน้ น การ ท่องจําและการเรียนเพื่อการสอบมาเป็นวัฒนธรรมการ เรี ย นรู้ ด้ว ยการคิ ด วิ เคราะห์ สร้ า งสรรค์ แ ละแก้ ปั ญ หา นอกจากนี้ยังเน้นการพัฒนานักเรียนแบบองค์รวมตาม แนวปรัชญาการศึกษาแห่งชาติพร้อมกับการเปิดประตู การเรียนรู้ของนักเรียนด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ ข้ามมิติห้องเรียนและ ตํารา สู่โลกแห่งข้อมูลข่าวสารไร้ พรมแดน
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
32
สรุป การอภิ ป รายข้ า งต้ น เป็ น การปู พื้ น ฐานความ เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรแห่งชาติมาเลเซียในเชิงมโนทัศน์ ที่เป็น กรอบสํ า หรั บหลั กสู ต รและการเรี ย นการสอนใน รายวิชาต่างๆภายใต้โครงสร้างหลักสูตรแห่งชาติ สะท้อน วิ ธี คิ ด ในการจั ด การศึ ก ษาของรั ฐ บาลในสั ง คมพหุ วั ฒ นธรรมมาเลเซี ย ยุ ค โลกาภิ วั ฒ น์ โดยรั ฐ บาลผู้ ถื อ พวงมาลัยนําประเทศไปสู่ทิศทางการพัฒนาตามที่รัฐบาล ได้วิเคราะห์เป็นหลัก จึงกล่าวได้ว่ารัฐบาลมาเลเซียแสดง บทบาทชั ด เจนเป็ น รู ป ธรรมในการดํ า เนิ น นโยบาย การศึกษาที่จะแก้ปัญหาของคนหลายกลุ่มซึ่งล้วนมีภูมิ หลังที่แตกต่างกันทั้ งในทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองและวิถีชีวิตเพื่อการมีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม ยุคโลกาภิวัฒน์ ความพยายามทางการศึกษาต่างๆล้วน เป็ น การชี้ นํ า โดยรั ฐ บาลที่ ป ระกอบขึ้ น มาจากตั ว แทน ประชาชนกลุ่ ม ต่ า งๆซึ่ ง เป็ น ผู้ ทํ า การวิ เ คราะห์ ค วาม ต้ อ งการและความจํ า เป็ น ของประเทศส่ ง ผลให้ ร ะบบ การศึกษาของมาเลเซียมีลักษณะอิงบริบทอย่างเด่นชัด ตามมโนทัศน์การศึกษาภาคบังคับของประเทศ มาเลเซีย หลักสูตรบูรณาการทั้งเคบีเอสอาร์ ออกแบบ เพื่อสะท้อนปรัชญาการศึกษาแห่งชาติ แต่ความสําเร็จ ของหลั ก สู ต รดั ง กล่ า ว ซุ ล กิ ฟ ลี บาฮรุ ด ดี น เจ้ า หน้ า ที่ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรกล่าวด้วยความหวังที่ เต็มเปี่ยมว่า “ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้หลักสูตรจะสามารถเติม เต็มเจตนารมณ์ของเอฟพีเคที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการ พัฒนาอย่างความสมดุลทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ล ะส ติ ปั ญ ญ า ไ ด้ ม า ก น้ อ ย เ พี ย ง ใ ด กระบวนการใช้หลั ก สูต รที่ เริ่ ม ตั้ง แต่ ชั้น ปี แรกในระดั บ ประถมศึกษาจนกระทั่งระดับมัธยมศึกษาจะต้องเน้นการ เรียนที่ครบวงจรทั้งประสบการณ์ในและนอกห้องเรียนที่ มุ่งเน้นให้นักเรียนได้รับทั้งความรู้ ทักษะ พร้อมทั้งการ กระตุ้ น ให้ เกิ ด การพั ฒ นาค่ านิ ยม ศีล ธรรมที่ ดีง ามผ่ า น เนื้ อ หาความรู้ แ ละกิ จ กรรมการเรี ย นการสอนทั้ ง ใน หลักสูตรและนอกหลักสูตร ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้ง บรรดาครู นักเรียน พ่อแม่ต่างร่วมมือกัน ก็แน่นอนว่าเรา จะบรรลุถึงเป้าหมายของเอฟพีเค และระบบการศึกษา ของประเทศเราก็ จ ะสามารถเที ย บเคี ย งกั บ ประเทศ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มัฮซูม สะตีแม
พัฒนาอื่นๆในโลก” (ซุลกิฟลี บาฮรุดดีน, 28 กุมภาพันธ์ 2551, สัมภาษณ์) เอกสารอ้างอิง Abdul Fatah Hasan. 2007. Mengenal Falsafah Pendidikan [Introduction to Educational Philosophy]. Kuala Lumpur:Utusan Publications & Distributors Sdn.Bhd Abdul Rahman Arshad. 2007. Unity and Education in Malaysia. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Choong Lean Keow. 2008. Falsafah dan Pendidikan Di Malaysia Untuk Program Ijazah Sarjana Muda Perguruan Dengan Kepujian Institut Pendidikan Guru Malaysia (Program Perguruan Pendidikan Rendah Pengajian Empat Tahun) [Philosophy and Education in Malaysia for the BA Program in Malaysia’s Teaching Profession]. Kuala Lumpur: Kumpulan Budiman Sdn Bhd. Mok Soon San. 2008. Pengurusan Kurikulum[Curriculum Development]. Kuala Lumpur: Multimedia Sdn.Bhd. Rosnani Hashim. 1996. Educational Dualism in Malaysia: Implications for Theory and Practice. Kuala Lumpur:. Oxford University Press Zulkifli Bahruddeen. 2008. Curriculum Development. 28 February. Center Ministry of Education Malaysia. Interview
33
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 มโนทัศน์การศึกษาของชาติพหุวัฒนธรรม...
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
35
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
Article The Communication in Organization and using the Principles & practices in Islamic Perspective Thirawat Japrang M.A. (Management), Lecturer Department of Management, Yala Islamic University Abstract This article aims of studying The Communication in Organization and using the Principles &practices in Islamic Perspective The article; in its study, Nowaday the communication is more and more influen for Society. This article airms to study the principles & practices development processing effective in term of communication and combining the principle & modeling of Phophet (S.W.). The importance of Communication as the Al-Quran: And Among His Signs is the creation of the heavens and the earth, and the variation in your languages and your colours : verily in that are Signs for those who know. (Al-Quran 30:22) We sent not a messenger expect (to teach) in the language of this (own) people, in order to make (things) clear to them. Now Allah leaves straying those whom he pleases and guides whom he pleases : and he is Exalted in power, full of Wisdom.( Al- Quran 14:4) Keywords: Commuication, Principles, Practices, Islamic
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
36
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
บทความวิชาการ การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการและการปฎิบัติในทัศนะอิสลาม ธีรวัช จาปรัง* *ปริญญาโท (การจัดการ) อาจารย์ประจําสาขา วิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารภายในองค์กร กับการประยุกต์หลักการและการ ปฎิบัติในทัศนะอิสลาม ในปัจจุบันการสื่อสารภายในองค์กร นับวันยิ่งเพิ่มความสําคัญมากยิ่งขึ้น ดังนั้นบทความนี้จึง เน้นการศึกษาหลักการและหลักปฏิบัติ วิวัฒนาการ กระบวนการ วิธีการ ประสิทธิภาพของการสื่อสาร และรวมรวบ แหล่งที่มาของการสื่อสาร และแบบอย่างจากการปฎิบัติของท่านศาสดา (ซ.ล) เพื่อสร้างความมั่นคงทางสัมคม แม้ว่า จะเป็นสังคมที่มีขนาดไม่ใหญ่ แต่การสื่อสารภานในองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลนั้น นํามาซึ่งความสงบ สุขของสังคมเช่นกัน ดังที่กรุอานกล่าว : และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ การสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และความแตกต่าง ของภาษาของพวกเจ้า และผิวพรรณของพวกเจ้า แท้จริงในการนี้แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณสําหรับบรรดาผู้รู้ (30: 22) และเรามิได้ส่งร่อซูลคนใด นอกจากด้วยภาษาชนชาติของเขา เพื่อจะได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแก่พวกเขา อัลลอ ฮฺจะทรงให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์หลงทาง และทรงชี้แนะทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์เป็นผู้เดชานุ ภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัลกรุอาน, 14:4) คําสําคัญ: การสื่อสาร, การประยุกต์, ปฏิบัติ, อิสลาม
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
บทนํา โลกกาภิ วั ฒน์ นั้ นทํ าให้ โลกของเราเล็ กลง การ ติดต่อสื่อสารนั้นทําได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่มีอิทธิพล สําคัญ การสื่อสาร เช่นโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และอื่นๆ ความก้ าวหน้ าด้านการติดต่ อสื่อสารนั้ นมี มากขึ้ น บุ คคล ธรรมดาสามารถเข้าถึ งการสื่อสารได้โดยง่ าย หรื อแม้ แต่ บางครั้งบุคคลไม่มีความต้องการ ก็ยังมีการบังคับ ยัดเยียด ให้บริโภคข่าวสารนั้น ซึ่งบางครั้งข่าวสารนั้นไม่มีแหล่งที่มา หรือแม้กระทั่งข้อเท็จจริง (ข่าวลือ) นั้นแสดงให้เห็นว่าการ สื่อสาร หากเป็นการสื่อสารที่มีจริยธรรม ความจริงใจ และ เหมาะสมกับเวลา สถานที่ ย่อมนํามาซึ่งความสงบสุขของสังคม แต่หากเป็นไปในทาง ตรงกั นข้ ามผลที่ เกิ ดขึ้ นย่ อมส่ งผลที่ เสี ยหายใหญ่ หลวง เช่นกัน การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร แม้ ปั จ จุ บั น จะมี ช่ อ งทาง มากมายในการสื่ อสาร แต่เป็นการยากยิ่ งในการคัดกรอง กระทั้ งองค์ กรต่ างๆ ที่ มี การสื่ อสารกั นอยู่ เป็ นประจํ า มี วัฒนธรรมขององค์กร มีการกํากับ ระบบโครงสร้าง หน้าที่ ที่ชัดเจน และแน่นอน การดําเนินการ เพื่อความก้าวหน้า ขององค์กร นั้นยังมีอุปสรรคในการสื่อสาร ซึ่งต้องมีการพัม นาต่ อ ไป การสื่ อ สารในทั ศ นะอิ ส ลามนั้ น รู ป แบบ กระบวนการ และการดําเนินการนั้นโดยทั่วไปแล้วมิได้ระบุ เป็ นการชั ดเจน แต่ วางกรอบสํ า หรั บการยึ ดถื อปฎิ บั ติ เนื่องจากการสื่อสาร ของอิสลามนั้นได้ ให้ความหมายกว้าง ครอบคลุมการดําเนินชีวิต และจะให้ความสําคัญกับหลัก จริยธรรม โดยมีรากฐาน มาจาก อัลกรุอาน และซุนนะเป็น เสมือนกรอบในการสื่อสารระหว่ากัน ดังเช่น กรุอาน กล่าว: โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย! แท้จริงเราได้สร้างพวก เจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยก เป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติ ในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยําเกรงใน หมู่ พ วกเจ้ า แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ นั้ น เป็ น ผู้ ท รงรอบรู้ อ ย่ า ง ละเอียดถี่ถ้วน (กรุอาน 49:13) ความหมายและความสําคัญของการสื่อสาร การสื่อสาร (Communication) เป็นการส่ง มอบสารสนเทศและสิ่งที่มีความหมายต่างๆ จากฝ่ายหนึ่ง ไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง โดยการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกัน
37
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
(Bateman and Snell. 1999) หรือเป็นการแลกเปลี่ยน สารสนเทศและการส่งมอบสิ่งที่ มีความสําคัญ (Dessler. 1998: 674) อ้างในหนังสือ องค์การและการจักการ: 255 Keith Davis (1972) กล่า วไว้ ว่ า การ ติ ด ต่ อ สื่ อ สาร หมายถึ ง กระบวนการหรื อ ขั้ น ตอนที่ เกี่ ย วกั บ การส่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสาร และความเข้ า ใจจาก บุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นๆ Schermerhon, Hunt และ Osborn (1995) กล่ า วไว้ ว่ า การติ ต่ อ สื่ อ สารในองค์ ก าร หมายถึ ง กระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อทําการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ และเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน (Lewis, 1987) กล่าวไว้ว่า การสื่อสารใน องค์กร คือ การแบ่งปันข่าวสาร ความคิดและทัศนคติใน องค์กร ระหว่างผู้จัดการ พนักงาน และทีมงาน โดยมีการ ใช้เทคโนโลยีสื่อสารหรือสื่อสารมวลชนเพื่อแลกเปลี่ยน ข่าวสารกัน อ้างในหนังสือ การจัดการ: 201 การสื่อสารภายในองค์กร เป็นการแลกเปลี่ยน ข่ า วสารระหว่ า ง บุ ค คล ทุ ก ระดั บ ทุ ก หน่ ว ยงาน โดย ความสั ม พั น ธ์ กั น ซึ่ ง สามารถปรั บ เปลี ย น่ ไ ปตาม สถานการณ์ บุคคล หรือวั ตถุประสงค์ข องการสื่อสาร เช่น การสนทนา การสัมภาษณ์ การประชุม การประกาศ การใช้ สื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ เ พื่ อ การสื่ อ สาร ระหว่ า งผู้ ร่ ว มงาน ผู้บริหารไปยังพนักงาน หรือพนักงานไปยังผู้บริหาร การสื่ อ สารในองค์ ก รมี ค วามสํ า คั ญ ต่ อ การ บริหาร เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์อันดีหรือ ในทางตรงกันข้าม สามารถทําให้เกิดการประสานงาน ร่ ว มมื อ หรื อ สร้ า งความแตกแยกของบุ ค ลากรหรื อ หน่วยงาน ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทํางานหรือ ความล้มเหลว ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสร้างขวัญและ กําลังใจในการทํางานหรือสร้างความท้อแท้ใน การร่วมมือ ดังนั้นการสื่อสารถือได้ว่ามีส่วนความสําคัญ ต่อการก้าวหน้าหรือทดถอยขององค์กร การสื่อสารที่เกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ นิยม สนองต่อหลักการบริหารการสื่อสาร (communication administration) เพราะมุ่งเน้นอิทธิพลของการสื่อสาร ในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการอํานวยความสะดวกให้การ บริหารและการจัดการดําเนินไปอย่างราบรื่นเพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ของหน่วยงานท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
เปลี่ ย นแปลงไป (ตามหลั ก communication of administration) ในขณะเดียวกันก็เป็นทั้งเป้าหมายที่ หน่วยงานจะหันมาบริหารหรือการจัดการและพัฒนาการ สื่อสารขององค์การให้เท่าทันต่อสภาพการณ์และความ ต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้วย (ตามหลัก administration of communication) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการสื่อสาร โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารเปรียบเสมือนเป็นแหล่งพลังงาน ในการขั บ เคลื่ อ นหน่ ว ยงานไม่ ว่ า ในแง่ ก ารผลิ ต การ ให้บริการ และการส่งเสริมความคิด/ความรู้ให้กับผู้ที่มี ยุคสมัย เก่าแก่และล้าสมัย การจัดการตามหลัก วิทยาศาสตร์ การบริหารการจัดการ การปฎิสัมพันธ์ พฤติกรรม การกระจายอํานาจ เหตุการที่อาจเกิดขึ้นได้
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
38
ส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน (stakeholders) พนักงานใน องค์ ก าร ผู้ เปิ ด รั บ สาร และผู้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น ไม่ ว่ า ที่ เป็ น วั จ นภาษาหรื อ อวั จ นภาษาแล้ ว ยั ง รวมหมายถึ ง กิจกรรมทั้งปวงเพื่อใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสาร กับผู้รั บสารเช่น ผู้บังคั บบัญชา/ผู้ใ ต้บังคั บบัญชา และ หน่วยงานกับลูกค้า เป็นต้น เพื่อเป็นการเสริมความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการ สื่ อ สาร จํ า เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งเรี ย นรู้ วิ วั ฒ นา การ คุณลักษณะ และการสื่อสาร ดังตารางข้างล่างนี้
คุณลักษณะ เริ่มต้นการพยายามติดต่อซึ่งกัน และกัน ชัดเจนในการกําหนดภาระหน้าที่ มีการกําหนดช่วงเวลาที่แน่นอน มี การปฎิบัติตามกฎอย่างเคร่งคร้ด ให้ความสําคัญกับอํานาจและกฎ ข้อบังคับ ให้ความสําคัญเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดการกับ พนักงาน มีความซับซ้อนในการเข้าใจ องค์กรและการยอมรับการสื่อสาร กระจายอํานาจสู่ทุกคนในองค์กร มีความเป็นอิสระในหน้าที่การงาน องค์กรและบุคคล
จากพัฒนาการของการสื่อสารจากอดีตจนถึ ง ปัจจุบัน การสื่อสารของมนุษย์นั้นได้มีการพัฒนามาเป็น ลําดับ หากพิจารณาจะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของการ สื่อสารแต่ละยุค แต่ละสมัย นั้นมุ่งเน้นให้ผู้ที่สื่อสาร กับ ผู้ รั บ สารมี ค วามเข้ า ใจที่ ต รงกั น มากที่ สุ ด แม้ ว่ า ใน ช่วงแรกๆของการสื่อสารจะเป็นการสื่อสารที่ผู้รับสาร ไม่ มีบทบาท หรือมีส่วนร่วมในกระบวนการ เช่นการโต้ตอบ หรื อ แสดงความคิ ด เห็ น ดั ง นั้ น ประสิ ท ธิ ภ าพในการ สื่อสารอาจจะมีความไม่สมบูรณ์ และในยุคปัจจุบัน การ พัฒนา การสื่อสารที่นิยมใช้มีดังนี้
การติดต่อสื่อสาร การบันทึกโดยการขียน สื่อสารทางเดียว มีความไว้วางใจในการ เขียนโครงงานและกฎข้อบังคับ สื่อสารดียวทางเดียว มีความไว้วางใจใน การเขียนโครงงานและข้อบังคับ การรับฟัง และการสื่อสารสองทาง ยากในการประยุกต์ใช้ การสื่อสารสองทาง พนักงานเป็นผู้ปฎิบัติ กลยุทธ์การสื่อสารขึ้นอยู่กับสถานการณ์
การสื่อสารในองค์กรมีการไหลเวียนของข่าวสารใน 4 ลักษณะคือ การสื่อสารจากผู้บริหารไปยังบุคคลากรระดับ ต่างๆ หรือเรียกว่า การสื่อสารในแนวดิ่ง (Downward Communication ) จะอยูในรูปแบบของการสั่งงาน การ กํ า กั บ ดู แ ล การออกนโยบายสู่ บุ ค ลากรในระดั บ ปฎิบัติ งาน และปัญหาที่มั กพบด้วยเสมอ คือ เป็ นการ สื่อสารทางเดียว การสื่ อสารจากบุ คลากรในระดั บ ต่า งๆ ไปยั ง ผู้ บ ริ ห าร หรื อ เรี ย กว่ า การสื่ อ สารแนวตั้ ง (Upward
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
Communication) เป็ น การสื่ อ สารที่ เ ปิ ด โอกาสให้ บุค ลากรในระดับ ล่า งได้แ สดงความคิ ด ความเห็ หรื อส ภาพปัญหาต่างใรชนการทํางานสู่ผู้บริหาร และมักเป็น การสื่อสาร 2 ทาง เพราะผู้บริหารจะสื่อสารตอบกลับ เพื่อให้ข้อมูลแก่บุคลากร การสื่อสารแนวนอน เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้น ระหว่างบุคลากรในระดับเดียวกัน เรียกว่า การสื่อสาร แบบคู่ขนานหรือการสื่อสารระดับเดียวกัน ( Lateral Communication) เป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลและมี ความเข้ มแข็งมากที่สุด จุ ดเน้ นของการสื่อสาร คื การ ร่ว มมื อและการประสานการทํ า งาน รวมถึ ง การแก้ ไ ข ปัญหาและข้อคับข้องใจต่างๆในการทํางาน การสื่ อ สารที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในองค์ ก รเป็ น การ สื่ อ สารเพื่ อ แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ข้ า มหน้ า ที่ กั น ระหว่ า ง บุ ค คลที่ ต่ า งหน้ า ที่ กั น หรื อ ระหว่ า งบุ ค คลที่ อ ยู่ ต่ า ง หน่วยงาน โดยการรวมเอาทุกช่องทางการสื่อสารมาอยู่ รวมกัน โดยจะต้องมีการ Diagonal Communication การสื่อสารข้ามสายงาน และข้ามระดับ (ลักษณะทแยง มุม) การสื่อสารที่ดี ควรเป็นการสื่อสารทั้ง 2 ทาง คือมีทั้งรับและส่ง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันละกัน ข้อมูลที่ส่งออกไป ต้องกระชับ ชัดเจน มีสาระและ ใจความครบถ้วน และมีความสม่ําเสมอ ผู้ที่ทําการสื่อสาร ควรเปิดกว้างที่จะรับฟังข้อโต้แย้งที่จะกลับมาด้วยใจเป็น กลาง ปราศจากอคติเพราะข้อมูลที่ส่งออกไป สามารถ เป็นผลดี หรือเป็นผลเสียก็ได้ ขึ้นอยู่กับตัวผู้ส่งและผู้รับ ด้วยเช่นกันเมื่อใดที่ต้องการทําการสื่อสาร มีข้อควร คํานึงถึงดังนี้คือ ฝ่ายบริหารต้องการจะสื่ออะไรฝ่าย พนักงานอยากทราบอะไร และปัญหาที่เคยเกิดขึ้นของ การสื่ อสารคืออะไรมีส าเหตุมาจากอะไรวิเคราะห์จาก หัวข้อ 3 ข้อดังกล่าว จะช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น และลดผลกระทบในทางลบที่จะเกิดขึ้นได้ ประการแรก สิ่งที่ฝ่ายบริหารต้องการสื่อสารไป ยังพนักงาน คือความคาดหวังที่องค์กรมีต่อพนักงาน ฝ่าย บริหารต้องการสื่อให้พนักงานทราบเพื่อให้ทิศทางในการ ทํางานของพนักงานทุกคนตรงกัน เป็นการขอความ ร่วมมือร่วมใจจากพนักงานในการช่วยกันผลักดันความ
39
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
คาดหวังขององค์กรนั้นให้ประสบผลสําเร็จ แต่จะทํา อย่า งไรให้ พนั กงานเข้า ใจ และนํา ไปปฏิ บัติไ ด้อย่า ง ถูกต้องผู้ที่ทําการสื่อสารต้องแน่ใจว่าข้อมูลที่ส่งออกไป ถูกต้อง ชัดเจน มีความเป็นไปได้และได้สร้างแรงจูงใจ ให้แก่พนักงานด้วย ทัศนคติของผู้บริหารก็เป็นเรื่องที่ สําคัญเช่นกัน ฝ่ายบริหารต้องปรับมุมมองที่มีต่อพนักงาน ตัวแทนพนักงานและสหภาพแรงงานด้วยว่า พวกเขา ไม่ได้เป็นฝ่ายตรงข้ามแต่เราเป็นครอบครัวเดียวกัน และ ตัวแทนจากพนักงานเหล่านี้จะเป็นช่องทางการสื่อสาร จากระดับบนลงสู่ระดับล่าง และจากระดับล่างขึ้นสู่ ระดับ บนที่มี ประสิ ทธิภาพมากที่สุดอี กช่องทางหนึ่งใน ขณะเดียวกัน การสื่อสารแบบ 2 ช่องทางที่มีอยู่ใน องค์กร โดยทั่วไปมักเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความ คิดเห็นกลับมา (Feedback) หรือให้พนักงานได้มีส่วน ร่วมในการกําหนดนโยบายแผนงานต่างๆ แต่หากฝ่าย บริหารไม่นําข้อมูลจากพนักงานมาปฏิบัติให้เกิดผลจริงๆ Feedback จากพนักงานนั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร และ จะทําให้ความศรัทธาเชื่อถือในองค์กรลดน้อยลงอีกด้วย หากสิ่งที่พนักงานเสนอมานั้น ทําไม่ได้หรือแก้ไขไม่ได้ อย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด ฝ่ า ยบริ ห ารต้ อ งชี้ แ จงเหตุ ผ ลให้ แ ก่ พนักงานทราบ สิ่งที่สําคัญที่สุดคือสิ่งที่ฝ่ายบริหารปฏิบัติ ให้พนักงานเห็นนั้นสามารถสื่อสารได้ดีกว่าคําพูดของฝ่าย บริหาร ประการที่สอง สิ่งที่พนักงานต้องการทราบ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับผลกระทบต่อตัวพนักงาน โดยตรง เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน ผลตอบแทน สภาพแวดล้อมใน การทํางาน ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการทํางาน การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน เป็นต้น ประการสุดท้าย การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น จากการสื่อสารที่ผ่านมา มีอะไรบ้าง มี สาเหตุมาจาก อะไรและเกิดขึ้นในระหว่างการสื่อสารหรือหลังจากที่ได้ สื่อสารไปแล้ว ปัญหาที่พบ ส่วนใหญ่ สามารถแบ่งเหตุปัจจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัว บุคคลกับจากการสื่อสารกระบวนการและวิธีการในการ สื่อสารนั้น จะนํามาซึ่งประสิทธิภาพของการสื่อสาร การ สื่อสารในสถานการณ์ที่แตกต่างกระบวนการและวิธีย่อม แตกต่างเช่นกัน
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
40
ประสิทธิภาพของวิธีการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ สถานการณ์ 1. ข้อมูลที่ต้องการให้บุคลากรปฏิบัติ ตามคําสัง่ ทันที 2. ข้อมูลที่ต้องการให้บุคลากรปฏิบัติ ตามคําสัง่ ใน วันข้างหน้า 3. ข้อมูลที่เป็นคําสั่งหรือประกาศใน เรื่องทั่วๆไปไม่ เฉพาะเจาะจง 4. ข้อมูลที่เป็นคําสั่งหรือคําบัญชา ขององค์กร 5. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง นโยบายที่ สําคัญขององค์กร 6. ข้อมูลที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา โดยตรง เกี่ยวกับเรื่องความก้าวหน้าของงาน 7. ข้อมูลที่เกี่ยวกับการรณรงค์ให้ รักษาความ ปลอดภัย 8. ข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเสนอแนะให้ บุคลากรทํางาน ให้ดีขึ้น 9. ข้อมูลที่เป็นการตําหนิว่ากล่าว บุคลากรที่ทาํ งาน ไม่มีคุณภาพ 10. ข้อมูลที่ต้องเวียนให้บุคลากรทุก คนทราบ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ทํางาน การสื่อสารในทัศนะอิสลาม
ประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ประสิทธิภาพต่ําสุด ด้วยหนังสืออย่างเดียว
ด้วยหนังสืออย่างเดียว
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยหนังสืออย่างเดียว
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยวาจาแล้วตามด้วยหนังสือ
ด้วยหนังสืออย่างเดียว
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยหนังสืออย่างเดียว
ด้วยวาจาอย่างเดียว
ด้วยหนังสืออย่างเดียว
อิสลาม ครอบคลุมถึงการดําเนินชีวิต โดยการ ชี้แนะและแนะนําจากอัลลอฮฺ โดยการแนะนําสําหรับการ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
พัฒนาการสื่อสารกันของมนุษย์ ในกรอบความคิดของ อิ ส ลามเกี่ ย วกั บ การสื่ อ สารระหว่ า งกั น ภายในองค์ ก ร พยายามในเป็นไปตามผู้บริหาร อิสลามให้ความสําคัญ เกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ ศาสนาแสดงให้เห็นว่าการ สื่อสาร คือ ของขวัญอัน ล้ําค่า ซึ่งอั ลลอฮฺ ได้มอบให้แ ก่ มนุษย์หลังจากการสร้าง ดังกรุอาน กล่าวว่า: พระผู้ ทรงกรุณ าปราณี พระองค์ท รงสอนกรุ อาน พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงสอนเขาให้ เปล่งเสียงพูด (55:1-4) ในทัศนะอิสลาม มนุษย์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ จากการสื่อสารโดยไร้ขอบเขต ดังที่เขาพอใจ เขาต้องมี เหตุผลอธิบาย สิ่งที่เขาได้กระทําในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ ดังนั้น มนุษย์จําเป้นที่จะต้องระมัดระวัง เคร่งครัด และ รับผิดชอบ ต่อการสื่อการของเขาออกไป อัลกรุอาน ได้ เตือนไว้ว่า “แท้จ ริงการได้ หู และตา และหั วใจ ทุกสิ่ ง เหล่านั้นจะถูกสอบสวน (ในวันคิดบัญชี)” (17:36) มีปัจจัยหลากหลายที่มีความเกี่ยวข้องกับการ สื่ อสารในทั ศ นะอิ ส ลาม ส่ ว นหนึ่ ง ที่ จ ะนํ า มาอภิ ป ราย ดังต่อไปนี้ การแสดงของมนุษย์โดยคําพูด: พระผู้ทรงกรุณา ปราณี พระองค์ทรงสอนกรุอาน พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงสอนเขาให้เปล่งเสียงพูด (55:1-4) ความหลากหลายของภาษา: และหนึ่งจาก สั ญ ญาณทั้ ง หลายของพระองค์ คื อ การสร้ า งชั้ น ฟ้ า ทั้งหลายและแผ่นดิน และความแตกต่างของภาษาของ พวกเจ้ า และผิ ว พรรณของพวกเจ้ า แท้ จ ริ ง ในการนี้ แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณสําหรับบรรดาผู้รู้ (30: 22) และเรามิไ ด้ส่งร่ อซูล คนใด นอกจากด้วยภาษาชนชาติ ของเขา เพื่อจะได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแก่พวกเขา อัลลอฮฺ จะทรงให้ ผู้ ที่ พ ระองค์ ท รงประสงค์ หลงทาง และทรง ชี้แนะทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์เป็นผู้ เดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณ (อัลกรุ อาน, 14: 4) การสื่ อ สารโดยใช้ ภ าษาที่ ง่ า ยและค่ อ ยเป็ น ค่อยไป: ท่านศาสดา (ซ.ล) ส่ง มูอาซ ไปยัง ประเทศ เยเมน และได้ให้คําแนะนําแก่มูอาซ: “ ท่านเดินทางไป ยังดินแดนผู้คนที่ศรัธาในคัมภีร์ เชื้อเชิญพวกเขา ให้เป็น พยานว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และฉัน(ซ.ล)
41
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
คือผู้นํา สาร หากพวกเขายอมรับ มัน แจ้งแก่พ วกเขา ว่าอัลลอฮฺทรงมีบัญชา ให้พวกเขาทําการละหมาด 5 ครั้ง ต่อวัน หากพวกเขายอมรับ แจ้งแก่พวกเขาว่า อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชา ให้พวกเขาจ่ายภาษี(ซากาต) เพื่อเป็นการ กระจายความมั่งคั่งนั้นสู่คนจน หากพวกเขายอมรับมัน ห้ามเอาสิ่งมีค่าจากพวกเขา จงระมัดระวังการสาบแช่ง จากปกครองด้วยการกดขี่ เพราะจะไม่มีสิ่งใดบดบังการ สาปแช่งจากอัลลอฮฺ ใคร่ครวญในการสื่อสารที่เป็นการสร้างความ เสื่อมเสีย : สิ่งที่จําเป็นคือ การสื่อไปตามข้อเท็จจริง พูด ในสิ่งที่ดีต่บุคคลอื่น และจดจํา เรา เอาข้อตกลงจากเด็ก ชาวอิ ส ราเอล (จากผลกระทบนี้ ) ไม่ มี ก ารสั ก การะ แต่ อัล ลอฮฺ จ ะรั ก ษาด้ ว ยการปฎิ บั ติ ที่ ดี ต่ อบิ ด ามารดา และญาติ มิ ต ร เด็ ก กํ า พร้ า และเหล่ า นั้ น หากต้ อ งการ เพิ่มขึ้น การใช้วาจาที่ไพเราะต่อบุคคล แน่นอน คือการ สักการะ และการบริจาค หลังจากนั้นเขากลับไป เว้นแต่ ส่ ว นน้ อยจากเขา และเขา คื อ ผู้ ที่ มี ค วามผิ ด พลาดที่ เกิดขึ้นหลังพยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม(แม้กระทั่ง ปัจจุบัน) ความดี เ ยี่ ย มของการใช้ ว าจาที่ ไ พเราะ: รายงานจาก อบูฮูรอยเราะห์: ท่านศาสดา (ซ.ล.) กล่าว ว่า: การใช้วาจาที่ไพเราะ คือ การบริจาค (Sadaqah) รายงานจาก มาลิก: ผู้ใดศรัทธาในอัลลอฮฺและ วันสุดท้ายของการตัดสิน ควรจะพูดสิ่งที่ดี หรือไม่ก็นิ่ง เงียบ ( เช่น การละเว้นการพูดในสิ่งที่ไม่ดี ชั่วร้าย และ ควรคิดก่อนพูด) ความเป็นเลิศในการกล่าวพระนามของอัลลอ ฮฺและการท่องจํากรุอาน : รายงานโดย อบู มูซา: ท่าน ศาสดา (ซ.ล) กล่ าวว่า , ตั วอย่ างของการศรัท ธา, ผู้ ใ ด ท่องจํากรุอาน เสมือนมะงั่ว (ผลไม้สีเหลืองอ่อนลักาณะ คล้ายมะนาว) ที่มีรสชาติที่อร่อยและมีกลิ่นที่หอม และผู้ ศรั ท ธาใดที่ ไ ม่ ท่ อ งจํ า กรุ อ าน เสมื อน ผลอิ ท ผลั ม ทึ มี รสชาติอร่อยแต่ไร้ซี่งกลิ่น และสําหรับผู้ที่ไม่ศรัทธา ผู้ใด ที่ท่องจํากรุอาน เสมือน (Arrihana) พืชชนิหนึ่งที่มีกลิ่น หอม แต่ มี ร สชาติ ข ม และสุด ท้ า ยตั ว อย่ า งสํ า หรั บ ผู้ ไ ม่ ศรัทธา เสมือน Colocynth ไร้ซึ่งรสชาติและไร้ซึ่งกลิ่น หลีกเลี่ยงการสร้างความสับสบ: รายงาน จาก อัสวาส: อิบนู อัส ซูบัย กล่าวต่อฉัน: อาอิชะฮ์ ได้กล่าว
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
ความลับเกี่ยวกับตัวเลข อะไรที่เธอบอกกับท่านเกี่ยวกับ Ka’aba? หล่อนบอกกับฉัน ครั้งหนึ่งท่านศาสดา (ซ.ล) กล่าวว่า โอ! อาอิชะฮ์ มีหรือไม่ บรรดาบุคคลอยู่ในช่วง ก่อนการมาของอิสลามที่ไม่มีความรู้ ฉันควรจะแยกออก Ka’aba และควรมีสองประตูในมัน: ประตูที่หนึ่งสําหรับ การเข้า และอีกประตูหนึ่งสําหรับการออก การใช้สื่อสารที่ไม่ใช่คําพูด: รายงานโดย อิบนู อับบาส: บางคนพูดกับท่านศาสดา (ซ.ล) ในระหว่างการ ทําฮัญครั้งสุดท้าย “ฉันได้ฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ก่อน การทํ า Ram’i(การเดิ น 7รอบระหว่ า ง ภู เ ขา ซอฟา และมัรวะฮ์ช่วงทําฮัญ) ท่านศาสดา(ซ.ล) ส่งสัญญาณ โดยใช้มื อ และกล่ า วว่ า สิ่ง เหล่า นั้ นไม่เป้น ที่ ต้องห้ า ม รายงาน โดย อบู ฮูรัยเราะฮ์ : ท่านศาสดา (ซ.ล) กล่าวว่า “(ศาสนา) ความรู้ จ ะจ่ า งหาย (จากการตายของผู้ รู้ ) ลักษณะที่ปฎิบัติในการสื่อสาร เมตตากรุณา และความรักไปสู่ผู้อื่น ความสุภาพอ่อนโยน ความน้อบน้อม พูดในสิ่งที่เป็นจริง และตรงไปตรงมา ชัดเจน และกระชับ กล่าวซ้ําในประเด็นสําคัญ การสื่อสารสองทาง ตรวจสอบหาความจริงเกี่ยวกับข่าวลือ จริงใจซึ่งกันและกัน มั่นใจ สื่อสารโดยกริยาท่าทาง ทักทาย และแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่น
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
42
ความไม่ รู้ ( ศาสนา) และโรคภั ย ไข้ เ จ็ บ จะปรากฎ และ harj ที่จะมีมากขึ้น”เขาถาม “อะไรคือ harj ที่จะมี มากขึ่ น ” เขาถาม “อะไ ร คื อ harj”ท่ า น ศาสดา ของอั ล ลอฮฺ ? ท่ า นศาสดา ตอบกลั บ โดยการ ส่ ง สัญญาณโดยใช้มือ บ่งบอกถึง การฆ่ากัน แหล่งที่มาของการสื่อสารในอิสลาม อิสลามให้ความสําคัญกับประสิทธิผลของการ สื่อสารในช่วงชีวิตของมนุษย์ มีข้อจํากัด มีลักษณะเฉพาะ และมีการชี้แนะ รายละเอียด โดยพระเจ้าคือแหล่งที่มา แหล่งทีมานั้นเป็นสากล และไม่เปลี่นแปลงการนําไปใช้ ดังเช่น ต้นฉบับจากแหล่งที่มา โดยปฎิบัติตามการอธิบาย แหล่งทีมา จาก อัลกรุอาน และซุนนะห์
ลักษณะที่หลีกเลี่ยงในการสื่อสาร พูดให้ร้าย ทําลายชื่อเสียง หลีกเลี่ยงความสงสัย การหลอกลวง พูดมากกว่าทํา สบประมาท หรือ เยาะเย้ย การสนทนาที่ไร้สาระ โกรธ และใช้อารมณ์ ให้ความสําคัญกับความสัมพันธ์ ซุบซิบในกลุ่มเล็กๆ พูออย่างเร่งรีบ และหยุดชะงักบ่อยครั้ง การกลับไปกลับมา (เปลี่ยนแปลง)
ลั ก ษณะสํ า คั ญ ที่ พึ ง ปฏิ บั ติ แ ละลั ก ษณะที่ พึ ง หลี ก เลี่ ย งนั้ น อาจจะมี ม ากมายกว่ า ที่ ไ ด้ นํ า เสนอ เนื่ องจากกการสื่ อสารในทัศ นะอิ สลามมี ความหมายที่ ครอบคลุ ม กว้ างกว่ า การสื่ อสารทั่ว ไป การสื่ อสารใน ทัศนะอิ สลามกล่า วถึง การสื่อสารที่ อัลลอฮฺ ทรงสื่อสาร มายังมนุษย์ โดยผ่านผู้นําสาส์น คือท่าน ศาสดา (ซ.ล) และการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกัน โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้น จากส่วนใหญ่ของการสงสัย แท้จริงการสงสัยบางอย่าง
นั้นเป็นบาป และพวกเจ้าอย่าสอดแนม และบางคนใน หมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวก เจ้าชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้น หรือ? พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน และจงยําเกรงอัลลอฮฺเถิด แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผูทรงเมตตาเสมอ (กรุอาน 49:12) สรุป โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย! แท้จริงเราได้สร้างพวก เจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยก
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
เป็นเผ่า และตระกูลเพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติ ในหมู่พวกเจ้า ณ ที่อัลลอฮฺนั้น คือผู้ที่มีความยําเกรงใน หมู่ พ วกเจ้ า แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ นั้ น เป็ น ผู้ ท รงรอบรู้ อ ย่ า ง ละเอียดถี่ถ้วน (กรุอาน 49:13) การสื่อสาร นั้นมีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิต เพราะเครื่องมือหนึ่งในการแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร โดยเฉพาะภายในองค์กรนั้น การสื่อสารย่อมมีอิทธิพล ต่ อการก้ า วหน้ า หรื อ ทดถอย ขององค์ ก ร ดั ง นั้ น การ สานสัมพันธ์หรือการมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กรโดยใช้ การสื่อสารจึงมีความสําคัญ ยิ่ง ซึ่งปัจจัยที่จะทําให้การ สื่ อ สารภายในองค์ ก รมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดั ง นี้ โดยการ ประยุกต์ จาก 4 P ในวิชาการตลาด คือ Place-เปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ มี ก ารสื่ อ สารระหว่ า งกั น กล่ า วคื อ เปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ ทั้ ง สองฝ่ า ยหรื อ มากกว่ า ได้ มี สถานที่ บริเวณ หรือ ช่องทางที่ ทุกฝ่ายมีความรู้สึกว่า ปลอดภัยในการสื่อสาร ไม่มีการแทรกแซง คุกคาม หรือ อื่นๆที่บีบบังคับให้ต้องทําการสื่อสารที่บิดเบือนไปจาก ข้อเท็จจริง People-สื่อสารกับบุคคลที่ต้องการสื่อ และรับ สาร กล่าวคือ การที่บุคคลทั้งสองฝ่ายหรือมากกว่า ได้มี การสื่อสารกันนั้น ทุกฝ่ายจะต้องไม่มีตั้งกําแพง หรือตั้ง/ สร้างอุปสรรคหรับการสื่อสาร เช่น การมีอคติซึ่งกันและ กัน การไม่เปิดใจกว้างรับฟังข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะจาก บุคคลอื่น Purpose- วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ใ น ก า ร สื่ อ ส า ร กล่าวคือ การสื่อสารในแต่ละครั้ง วัตถุประสงค์และความ มุ่ ง หมายในการสื่ อ สารถื อ เป็ น หั ว ใจสํ า คั ญ หากกการ สื่อสารนั้นขาดซึ่งวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน และไม่ ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย แน่นอนผลของการสื่อสารนั้น ย่อม ถือว่าล้มเหลว และขาดประสิทธิภาพ Priority-จัดความลําดับความสําคัญ กล่วคือ ปั จ จุ บั น การสื่ อ สารระหว่ า งกั น นั้ น มี เนื้ อ หา ข้ อ มู ล วัตถุประสงค์ กระบวนการสื่อ บุคคลที่จะสื่อ และสาระที่ แตกต่างกัน การจัดเรียงลําดับความสําคัญในการสื่อสาร นั้น ย่อมมีความสําคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนด้วยเช่นกัน เพราะ หากการสื่อสารที่มี องค์ประกอบทุกอย่างครบถ้วน แต่ ช่ว งเวลาในการสื่อสารไม่ เหมาะสม ดั งนั้ น การสื่อสาร
43
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
อาจจะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ ค่ อ นข้ า งจะนํ า มาซึ่ ง ความ ล้มเหลว ผู้ใดศรัทธาในอัลลอฮฺและวันสุดท้าย พวกเขาจง พูดในสิ่งที่ดี หรือไม่ก็นิ่งเงียบ (รายงาน โดย อัลบุคอรีย์ และมุสลิม) เอกสารอ้างอิง ณัฎฐพัน ธ์ เขจรนันทน์ และ ฉัต ยาพร เสมอใจ. 2547, การจัดการ .พิ มพ์ ที่ บ. ส.เอเซี ย เพรส 1989 จํากัด สมาคมนั ก เรี ย นเก่ า อาหรั บ แห่ ง ประเทศไทย. ปี ฮิ จ ญ์ เราะฮฺ ศั ก ราช 1419. (พุ ท ธศั ก ราช 2542). พระมหาคัมภีร์อัลกรุอาน พร้อมความหมาย ภาษาไทย. ราชอาณาจักร ซาอุดิอารเบีย (อัล มาดีนะฮฺ อัลมุเนาวาเราะฮฺ): ศูนย์กษัตริย์ฟะฮัต เพื่อการพิมพ์อัลกรุอาน พูนสุข สังข์รุ่ง. 2550. มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. กรุงเทพ: บริษัท วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น จํากัด. สมยศ นาวีการ. 2544. การติดต่อสื่อสารขององค์การ. กรุงเทพ: สํานักพิมพ์ บรรณกิจ. เสนาะ ติเยาว์. 2541. การสื่อสารในองค์การ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศิริ ว รรณ เสรรี รั ต น์ แ ละคณะ 2545, องค์ ก รและการ จัดการฉบับมาตรฐานปรับปรุงใหม่. พิมพิ์ที่ บ. ธรรมสาร จํากัด 83 AbdurRahman O. Olayiwala. 1993. Interpersonal Communication,Human Interaction and Societal Relationships in Islam. Africa Media Review Vol.7 No. 3 1993 An-Nawawi. 1976. Forty Hadith: An Anthology of the Sayings of the Phophet Muhammad. Translated by E. Ibrahim and D.Johnson –Davies. Abdul Wadoud, Beirut: The Holy Koran Publishing House.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ธีรวัช จาปรัง
Merrier,Patricia. 2000. Business Communication. Ohio: South-Western Educational Publishing Lesikar, Raymond Vincent. 1993. Basic Business Communication. 6th ed. Burr Ridge: Irwin. Khaliq Ahmad, 2008. Management from Islamic Perspective: Principle& practices. IIUM Press, IIUM Yusuf Macit, n.d. some of Prophet Muhanmad’s Principles of Commuincation. Syed Mohammad Ather, Farid Ahammad Sobhani. 2007. Managerial Leadership: An Islamic Perspective. IIUC STUDIES
44
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การสื่อสารภายในองค์กรกับการประยุกต์หลักการ...
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
45
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Research The Relationships between English Ability, Attitudes and Motivation among First Year PSU Students fromP Islamic Religious Schools Khaleeyoh Jehdo*, Thanyapa Chiramanee**, Nisakorn Charumanee*** *M.A. (Applied Linguistics), Lecturer of English Department, Faculty of Liberal Arts and Social Sciences, Yala Islamic University **Department Languages and Linguistics, Faculty of Liberal Arts, PSU ***Department Languages and Linguistics, Faculty of Liberal Arts, PSU Abstract This study investigated the relationships between English ability, attitudes, and motivation in learning English of first year students from Islamic religious schools at Prince of Songkla University Hat Yai (PSU). A 28-item survey questionnaire was administered to 90 PSU students graduating from Islamic religious schools in the three southern provinces of Thailand. The study revealed that the students generally had low English ability but held positive attitudes toward learning English and toward native speakers and their cultures. They tended to be instrumentally motivated to study English. Both at the beginning and at the end of the semester, the English ability of all the students from Islamic religious schools who participated in the study was weakly but significantly associated with overall attitudes and there was a moderate significant correlation between attitudes and motivation. Based on the comparison of the students’ attitudes and motivation across time and groups, no significant difference between attitudes and motivation as measured at the beginning of the semester and at the end of the semester were found. Keywords: English ability; Attitudes; Motivation
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
46
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
บทความวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ทัศนคติ และแรงจูงใจในการเรียน ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม คอลีเยาะห์ เจะโด*, ธัญพา ศิระมณี**, นิสากร จารุมณี*** *ปริญญาโท (หลักภาษาศาสตร์), อาจารย์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ, คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ **อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ***อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัต ถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัม พันธ์ระหว่างความสามารถด้ านภาษาอังกฤษ ทัศนคติ และ แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม การวิจัยนี้ได้ดําเนินการในระหว่างภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จํานวน 90 คน ซึ่งจบการศึกษา จากโรงเรียนสอนศาสนา อิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส โดยใช้แบบสอบถามนักศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติและ แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษจํานวน 28 ข้อเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มี ความสามารถด้านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ํา อย่างไรก็ตามนักศึกษามีทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนภาษาอังกฤษ และ วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา นักศึกษามีแรงจูงใจในการเรียนค่อนข้างสูงและเป็นแรงจูงใจเชิงเครื่องมือ นอกจากนี้ พบว่าในช่วงต้นและช่วงปลายภาคเรียนของภาคเรียนแรก ทัศนคติโดยรวมของนักศึกษาทั้งหมดมีความสัมพันธ์ใน ระดับต่ํากับความสามารถด้านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติโดยรวมของ นักศึกษาทั้งหมดกับแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทาง นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบหา ความแตกต่างของทัศนคติและแรงจูงใจระหว่างช่วงต้นและช่วงปลายภาคการเรียน พบว่าทัศนคติและแรงจูงใจ ระหว่างต้นภาคเรียนและปลายภาคเรียนไม่มีความแตกต่างกัน และพบว่าทัศนคติและแรงจูงใจระหว่างกลุ่มนักศึกษา ความสามารถต่ําและปานกลางไม่มีความแตกต่างกันเช่นกัน คําสําคัญ: การใช้ภาษาอังกฤษ, แรงจูงใจ, ทัศนคติ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
Introduction In Thailand, most Islamic religious schools are situated in the three southern provinces: Pattani, Yala and Narathiwat. These schools follow the same educational policy as that of the other types of schools. However, the management system is different and that makes Islamic religious schools unique. The teaching and learning management of these schools is divided into 2 parts: Islamic studies and general subject matter. There have been some research studies reporting problems relating to students in Islamic religious schools. One of these problems is students’ low proficiency. This was suggested by Cheangchau et al (1998) who reported the results of the achievement tests of Mathayomsuksa 3 students from Islamic religious schools in five southern border provinces in 6 general subjects: science, mathematics, social science, Thai language, health education and English. Their test scores in these subjects were lower than those of students from general schools in the same region. Lanui et al (1995) also found that students at secondary level in Islamic religious schools in five southern border provinces had insufficient basic knowledge of English. Above all, many students at lowersecondary level in Islamic religious schools had negative attitudes towards English. They thought that learning other languages such as Arabic and Malay was more useful than learning English (Lanui et al, 1995; Rattanayart, 2007). Despite these problems, an increasing number of students from Islamic religious schools in the southern border provinces are currently accepted in universities especially in Prince of Songkla University. In particular at Hat Yai and
47
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Pattani, the two main campuses, there were around 1,282 students from the three southern provinces in the 2005 academic year and 1,312 in the 2006 academic year (PSU Registration Office, 2006). Generally, students enrolling in PSU at Hat Yai campus are required to take two Foundation English courses (FE I & FE II ). In order to be better prepared for Foundation English I, students whose English O-NET scores are 33 or below (out of 100) have to take the Preparatory Foundation English course in the first semester because of their low English proficiency. Those whose English O-NET scores are above 33 can take Foundation English I in the first semester. Most students from Islamic religious schools who are admitted to the Hat Yai campus have quite low English O-NET scores. In the 2006 academic year, 226 students from Islamic religious schools enrolling at the Hat Yai campus had the average O-NET English score of 28.5 (PSU Registration Office, 2006 ). One hundred and eighty-one out of the 226 students (80%) had to take Preparatory Foundation English because their English O-NET scores was 33 or below. Of those 181 students, 48 failed the Preparatory Foundation English course. Forty-five students (20%) whose English O-NET scores were above 33 took FE I and approximately half of them got fairly low grades (C, D+, and D ) while the rest failed (grade E ) (Department of Languages and Linguistics, 2006 ). Thus, it is clear that these students had problems with English proficiency which may lead to problems in their tertiary study. Motivation and attitude are important factors, which help to determine the level of proficiency achieved by different learners (Ellis,
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
1985). This study aimed to investigate the relationships between English ability, attitudes, and motivation in learning English of the first year PSU students from Islamic religious schools and attempted to answer the following research questions: 1. What are the students’ English ability, attitudes, and motivation when they first start their tertiary education and are there any relationships among these? 2. What are the students’ English ability, attitudes, and motivation after the first semester and are there any relationships among these? 3. Are the students’ attitudes and motivation significantly different when they first start their tertiary education and after the first semester at the university? Review of Literature There are several affective factors which can influence second language proficiency and second language acquisition (SLA). Among these are motivation and attitude (Krashen, 1981). Motivation and attitude are important factors, which help to determine the level of proficiency achieved by different learners (Ellis, 1985). Motivation is one of the main determinants of second / foreign language learning achievement (Dornyei, 1994). Motivation has been classified in various ways according to different perspectives of psycholinguists. Gardner and Lambert (1972) define ‘motivation’ in terms of the second language learner’s overall goal or orientation. Gardner (1985, cited in Gardner and Tremblay, 1995) defines motivation to learn a second language as “the extent to which the individual
48
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
works or strives to learn the language because of a desire to do it and the satisfaction experienced in this activity” (p.10). Gardner’s socio educational motivation theory (Gardner and Lambert 1972; 1985) suggests two broad classes of motivation in terms of learners’ purpose of second language learning: integrative and instrumental motivation. The term integrative motivation refers to a desire to learn the second language in order to have contact with and perhaps to become similar valued members of that the second language community. Instrumental motivation, on the other hand, refers to a desire to achieve proficiency in a new language for some practical goals; for example, passing an examination, or furthering career opportunities. In other words, integratively motivated learners are mainly interested in the second language community and its culture whereas instrumentally motivated learners are concerned with success in general language skills such as grammar and vocabulary. Instrumentally motivated learners are less likely to succeed in communication compared with integratively motivated learners who tend to be more successful in aural-oral proficiency. Research methodology Participants The population of Muslim students who graduated from Islamic religious schools in the 3 southern provinces of Thailand and who were currently studying in their first year in 2007 academic year at PSU was 140. Fifty students were excluded because of unavailable English O-NET scores. Thus, 90 students participated in
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
49
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Gardner (1972) and Dornyei (1994). Five items (numbers 1, 5, 8, 13, 14) investigated the integrative motivation of the students , that is their desire to learn English due to an interest in English speaking people and their culture. Some modifications were made in order to better suit the learning context in Thailand where English is learned as a foreign (rather than a second language). The “instrumental” items (numbers 2, 3, 4, 6, 7, 9, 10, 11, 12) investigated the efforts of students to learn English for a functional reason, for example to pass examinations or to get a better job, or a place at university. Most of the items were of the closed type in which the students were presented with a list of statements to rate their motivation and attitudes on a five-point Likert Scale ranging from 5 “ strongly agree” to 1 “strongly disagree”. There were also a number of open-ended questions of the ‘Others (Please specify)’ type. The coefficient alpha reliability of the responses to the attitudinal and motivational items was found to be satisfactory at 0.81. The structured-interview A Structured interview was used to elaborate the students’ answers to the questionnaire items. The questions for the interview were written in Thai and checked by the researcher’s supervisory committee. English scores The 2007 English O-NET scores of the subjects in this study were obtained from the Registration Office of Hat Yai campus. These scores were used to divide the subjects into two groups of low and average ability. The Questionnaire A questionnaire was used to collect data scores were also taken as an indicator of the about students’ attitudes and motivation. The students’ English ability before starting their motivational items used in this study were tertiary education. Their English O-NET scores adopted from the questionnaires developed by
this study. Among these, 39.4% were from Yala, 35.9% were from Narathiwat and 24.5% were from Pattani. They were studying in various faculties at Prince of Songkla University Hat Yai campus. The majority studied at the Faculty of Sciences while the others were from the Faculties of Engineering, Nursing, Natural Resources, Management Sciences, Economics, Liberal Arts, Medicine, and the Traditional Thai Medicine Establishment project. These students were admitted into this campus by different methods. Most of them were accepted through the admission system of the Commission on Higher Education while some were recruited directly by PSU. The participants were divided into 2 groups on the basis of their English ability. Nineteen students whose English O-NET scores were above 33 were placed in “average group” while 71 students whose score were 33 or below were placed in “low group”. In their first semester at PSU, the average group took Foundation English 1 whereas the low group took Preparatory Foundation English. Instruments and data collection The study employed two research instruments, namely, a questionnaire about attitudes and motivation, and a structuredinterview. English scores to represent the students language ability were also collected by the researcher.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
ranged between 17 and 54. The average score was 31.94 out of 100%. In addition, the students’ scores from the Preparatory Foundation English and Foundation English 1 mid-term and final tests were obtained from the Department of Languages and Linguistics, Faculty of Liberal Arts, Prince of Songkla University, Hat Yai campus at the end of the first semester (October, 2007), and these scores were used as the indicator of the students’ ability at the end of the first semester Procedure The data were collected during the first semester of the 2007 academic year (JuneOctober 2007). First, at the beginning of the semester, the English O-NET scores of the participants were collected, and the questionnaire was administered to them. At the end of the semester, the questionnaire was administered for the second time and 20 students were randomly selected for interviews. Statistical analysis To answer the research questions, the various methods of analysis were used. -Pearson Product Moment Correlation Coefficient was employed to determine the relationships among students’ English ability, attitudes, and motivation. -Paired sample t-tests were used to determine whether the attitudes and motivation of students at the beginning of their tertiary education and after the first semester were significantly different or not. -Since the tests which the students took before the beginning and at the end of
50
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
the semester were not the same, standardized t-scores were calculated to determine their English ability. Results and Discussion Correlational relationship among English scores at the beginning and at the end of the semester In order to compare the relative levels of ability of the students in the average and low groups, standardized (norm-referenced) tscores were calculated based on the O-NET scores of the subjects in the low and average groups separately to indicate the levels of relative ability of each student within their respective groups at the beginning of the semester. For the low group, the t-scores based on the mid-term and end of term Preparatory Foundation English test were calculated, and for the average group t-scores based on the mid-term and end of term Foundation English 1 test were calculated separately to indicate the levels of relative ability of each student within their respective groups after the first semester.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
51
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Table 1: Correlational relationship among English scores at the beginning and at the end of the semester Variables Average group t-scores_beginning t-scores_ end Low group t-scores_beginning t-scores_ end
t-scores_beginning
t-scores_ end
1 .394
.394 1
1 .403*
.403* 1
* Significant at the 0.05 level (2-tailed) Overall, the findings presented in Table 1 groups and an overall correlation is therefore not show that for the average group there was no possible. significant correlation between their t-scores at the Attitudes towards learning English beginning and t-scores at the end of the semester. In order to establish the students) attitudes However, there was a moderate significant towards English speakers and their cultures, the correlation for the low group between their English mean scores were computed. For the 12 items O-NET scores at the beginning and at the end of the relating to attitudes towards learning English and the semester. It should be noted that since the scores for 2 items relating to attitudes towards native speakers the two groups were derived from different tests the and their culture with values for negative items levels of difficulty of which could not be equated, the adjusted accordingly, the results are shown in Table scores are not comparable as between the two 2.
Table 2: The students’ attitudes Variables Attitudes towards learning English At the beginning At the end Attitudes towards native speaker and their culture At the beginning At the end 3.41-4.20 =Agree/positive attitudes 2.61-3.40 =Moderately agree/moderately positive attitudes
Mean scores of each group Average group Low group All 3.84 3.77
3.63 3.57
3.68 3.61
3.08 3.03
3.14 3.65
3.13 3.09
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
On the whole, the total means score in Table 2 shows that students from Islamic religious schools held positive attitudes towards English learning and towards native speakers and their cultures although they held more positive attitudes towards learning English than towards native speakers and their cultures. This might be due to the fact that the setting in which English learning takes place is in a formal classroom and students from Islamic religious schools rarely have experience with the target language community or the English language in their daily life and therefore do not have clearly articulated attitudes towards that community. The participating students from
52
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Islamic religious schools held positive attitudes toward learning English, as was found in Rattanayart (2006 )’s study. Students from Islamic religious schools in Yala have strongly positive attitudes towards English learning. They accept that English is important in the globalized world.
6.3 Motivation in learning English The students’ motivation in learning English was presented in Table 3. Table 3: the students’ motivation to learn English Mean scores Variables Average group Low group Instrumental motivation 4.29 4.28 At the beginning At the end 4.19 4.24 Integrative motivation At the beginning 3.81 3.64 At the end 3.68 3.62 3.41-4.20 = Agree 2.61-3.40 = Moderately agree Overall, the findings presented in Table 3 shows that the students have greater instrumental motivation than integrative motivation both at the beginning and at the end of the semester suggesting that the most popular reasons for learning English are those generally associated with the instrumental type of motivation. Students are more concerned
All 4.29 4.23 3.68 3.63
about learning English for purposes related to their careers or occupations than with being close to native speakers or their cultures. They strongly agreed that English can help them find jobs easily. This is consistent with Lui (2007)’s study in which Chinese students’ attitudes towards English were more instrumentally than integratively motivated.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
53
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
6.4 The relationship among English ability, attitudes and motivation of students from Islamic religious schools Variables At the beginning English ability Average group Low group All Attitudes Average group Low group All Motivation Average group Low group All At the end English ability Average group Low group All Attitudes Average group Low group All Motivation Average group Low group All
English ability
Attitudes
Motivation
.059 .167 .229*
-.044 -.157 -.016 .531* .447* .464*
.059 .167 .229* -.044 -.157 -.016
.531* .447* .464* .332 .251* .320**
.549* .594* .558*
.322 .251* .320** .306 .097 .105
* Significant at the 0.05 level (2-tailed) ** Significant at the 0.01 level (2-tailed)
.306 .097 .105
.549* .594* .558*
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
54
The results illustrated in Table 4 show that at the beginning of the semester, among all students there was weak and significantly correlation between English ability and attitudes (r = .229, p < 0.05 ) and a moderately and significantly correlation between attitudes and motivation (r = .464, p < 0.05 ). Among the average group, no other significant correlations between English ability and the other variables were found whereas the attitudes and motivation were moderately and significantly correlated (r = .531, r = .447, p < 0.05) while there were no significant correlations between other variables. At the end of the semester, in the average group, the correlation coefficients between attitudes and motivation showed a moderate correlation (r =. 549, p < 0.05) whereas no other significant correlations between the other variables were found. In the low group, weak to moderate correlations were
found between certain variables. There was a weak but significant correlation between English ability and attitudes (r = .251, p < 0.05) and a moderate and significant correlation between attitudes and motivation (r =. 594, p < 0.05). 6.5 The comparison of English ability, attitudes and motivation Although it can be seen from the mean scores included in Table 5 that the students from Islamic religious schools indicated their attitudes and motivation to be at the same level when they first started their tertiary education at the university and after the first semester, a series of t-tests were performed to confirm whether their attitudes, motivation and English ability of the students were significantly different at the beginning and at the end of the semester.
Table 5: The comparison of attitudes and motivation across time Groups Variables Attitudes At the beginning At the end Motivation At the beginning At the end
Average S.D x
Low x
df
T
P
S.D.
3.77 4.12
.317 3.56 .367 4.05
.367 .413
88
1.802 .601
.075 .549
3.65 4.01
.237 3.50 .391 4.02
.348 .493
88
1.870 -.080
.065 .936
The data in Table 5 seems to show that the mean scores for attitudes and motivation of the average group at the beginning of the semester were higher than those of the low
group. However, t-tests confirmed that there were no significant differences between the attitudes and motivation of the low and average groups (p<0.05) either at the beginning
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
55
or the end of the semester. All the participating Further, the comparison between the students from Islamic religious schools attitudes and motivation across time was maintained positive attitudes and motivation shown in the Table 6. throughout the semester and were satisfied with the new teaching approach they experienced in the university. Table 6: The comparison of attitudes and motivation across groups Variables Low group Attitudes At the beginning At the end Motivation At the beginning At the end Average group Attitudes At the beginning At the end Motivation At the beginning At the end
x
S.D
df
T
3.56 3.50
.367 .343
70
1.50
.138
4.05 4.02
.413 .493
70
.614
.514
3.73 3.65
.317 .237
18
.985
.338
4.12 4.01
.427 .392
18
1.22
.237
The results of the t-tests indicated that there were no significant differences in attitudes (t = 1.50, p = .138) or motivation (t = .614, p = .514) at the beginning and at the end of the semester within the low group. The students held positive attitudes and motivation for the whole semester. Among the average group, there were no significant differences between attitudes (t = .985, p = .338) and motivation (t = .1.22, p = .237) at the beginning and at the end of the semester. This is similar to the findings of Kim (1990), who attempted to examine the
Sig (2tailed )
differences between a high proficiency group and a low proficiency group and found that there was no difference in attitudes and motivation. Conclusions This study investigated the attitudes and motivation in learning English of first year university students from Islamic Religious schools and the correlations between these measured variables and the students’ English ability. The results of the study reveal that the students generally had low English ability. They
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
held positive attitudes toward learning English and toward native speakers and their culture. They tended to be instrumentally motivated to study English. The investigation into the relationships among English ability, attitudes and motivation indicated that at both the beginning and end of the semester, there was a weak, although significant correlation between English ability and attitudes. Based on the comparison of the students’ attitudes and motivation across time or groups, no significant difference between the attitudes of students from Islamic religious schools measured at the beginning of the semester and those measured at the end of the semester were found. Pedagogical Implication Pedagogically, the findings of this study are useful to teaching and learning languages in the following aspects. Firstly, it is obvious that the English ability of students from Islamic religious schools at PSU when they first started their tertiary education was low. The educational authority both at the Islamic religious schools and the university should provide the bridging program, effective treatment or special English courses to improve their basic knowledge of English. Secondly, the positive attitudes and motivation of students from Islamic religious schools found in this study suggested that English teachers should maintain and accelerate the student’ positive attitudes and motivation. It might not be difficult to promote the autonomous learning among them by improving or developing a selfaccess center as a resource for independent study. Further, students tend to have instrumental motivation. Consequently, English
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
56
teachers should encourage the integrative motivation type. Giving them opportunities to meet native speakers or to discuss some topics related to the natives’ culture would help promoting this type of motivation. References Cheangchau et al. 1998. The Analysis of the Factors Affecting the Quality of Islamic Religious Schools in the Three Southern Provinces. Pattani: Prince of Songkla University, Research and Development Centre. Lanui, K. et al 1995. The Study of Problems in the Teaching of English through Communicative Approach at Secondary Level in Islamic Religious Schools in Five Southern Border. Provinces. Unpublished master’s thesis, Prince of Songkla University, Pattani, Thailand. Rattanayart, W. 2007. A Study of Attitudes and Problems in Teaching and Learning English in Islamic Religious Schools in Yala. Unpublished master’s thesis. Prince of Songkla University, Songkhla, Thailand. Krashen, S. D. 1981. Second Language Acquisitions and Second Language Learning. USA: Pergamon Press Inc. Ellis, R. 1985.Understanding Second Language Acquisition. Oxford: Oxford University Press. Dornyei, Z. 1994. Motivation and Motivating in the Foreign Language Classroom. Modern Language Journal, 78, 273-284. Gardner, R. C., & Lambert, W. E. 1972. Attitudes and Motivation in Second- Language Learning. Newbury: Rowley.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คอลีเยาะห์ เจะโด, ธัญพา ศิระมณี และ นิสากร จารุมณี
Gardner, R., & Tremblay, P. 1985. Expanding the Motivation Construct in Language Learning. The Modern Language Journal, 79 (6), 506-517. Lui, M. 2007. Chinese Students’ Motivation to Learn English at the Tertiary Level. Asian EFL Journal, 9. Kim J. D. 1990. Relationships between Attitudes, Motivation and English the Attainted English Language Proficiency of Korean University Students in Korea. Ph.D.Thesis. Oklahoma Stage University. Oklahoma.
57
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
59
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
Article The Development of Nursing Practice Guideline for Teenage Pregnancy Prapaporn langputeh, Tasnee Na Pikul, Supaporn Autasaha Abstract Pregnancy in teenage puts both the girl and the baby at risk of complications during antepartum, intra-partum and postpartum phases. The first phase of this research was aimed at developing a nursing practice guideline for teenage pregnancy. Seven steps of guideline development of the Thailand center for evidence-based Nursing and Midwifery were used as follows; 1) analyzed topic problem by stakeholders 2) set the results or further outcomes needed 3) searched for the evidence based nursing of concerning issues. 4) Assembled and evaluated evidences. Twenty studies were met the criteria. 5) Developed a nursing practice guideline, commented by multidisciplinary team and recommended by four experts. The 6 and 7 steps are guideline implementation and evaluation which will be conducted on the second phase. The Nursing Practice Guideline for Teenage Pregnancy can be summarized into 4 aspects as follows ; nursing policy , nursing care on prenatal , intra-partum and post-partum period. This nursing practice guideline for teenage pregnancy should be evaluated the processes and outcomes in a pilot study to adjust the guideline to be more suitable with the contextual phenomena of the setting. Furthermore, the guideline should be developed and integrated into nursing practice for nursing quality improvement and to continue the quality care for teenage pregnancy. Keyword: (Nursing Practice Guideline) (Teenage Pregnancy)
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
60
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
บทความวิชาการ การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล, สุภาพร อุตสาหะ บทคัดย่อ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทําให้สตรีตั้งครรภ์และทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด การวิจัยในระยะแรกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้กระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติโดยอาศัยหลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ ที่เสนอโดยศูนย์ความรู้เชิง ประจักษ์ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งประเทศไทย เป็นกรอบแนวคิดในการทําวิจัย ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กําหนดปัญหาทางการปฏิบัติ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 2) กําหนดผลลัพธ์หรือการ เปลี่ยนแปลงที่ต้องการ 3) การสืบค้นหลักฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ 4) วิเคราะห์และประเมินคุณภาพของ หลักฐาน ได้หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ตรงกับประเด็นปัญหาทั้งหมด จํานวน 20 เรื่อง 5) ยกร่างแนวปฏิบัติตาม หลักฐานอ้างอิงที่เลือกและวิพากย์แนวปฏิบัติโดยทีมสหสาขาที่เกี่ยวข้อง จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของ ผู้ทรงคุณวุฒิ และจัดทําแนวปฏิบัติที่สมบูรณ์ ส่วนขั้นตอนที่ 6 และ 7 ได้แก่การนําแนวปฏิบัติไปทดลองใช้และการ สรุปผลการทดลองใช้แนวปฏิบัติจะดําเนินการวิจัยในระยะที่สองต่อไป ทั้งนี้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ได้ มีสาระสําคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ นโยบายการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่นในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด การนําแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นฉบับนี้ไปใช้ ควรมีการศึกษานําร่อง (Pilot study) เพื่อประเมินกระบวนการและผลลัพธ์จากการใช้แนวปฏิบัตินี้ ร่วมกับการปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของ หน่วยงานก่อนนําไปใช้จริง รวมถึงการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล เพื่อให้กลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการดูแลที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ต่อไป คําสําคัญ: แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
บทนํา จากสภาพสั ง คมที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงอย่ า ง รวดเร็วในปัจจุบัน สิ่งยั่วยุทางกามารมณ์มีการเผยแพร่ ทางสื่อต่างๆ และทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทําให้มีการ รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ ค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศ การดําเนินชีวิต การ ใช้เวลาว่างของหนุ่มสาวและวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงไป (วรพงศ์ ภู่พงศ์, 2548) ประกอบกับวัยรุ่นเป็นวัยที่อยาก รู้ อ ยา กเห็ น อยา กทดลอง จึ ง กระตุ้ น ให้ วั ย รุ่ น มี เพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันสมควร และขาดความรู้เกี่ยวกับ การป้องกันการตั้งครรภ์และการคุมกําเนิดที่เหมาะสมทํา ให้เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น ทั้งนี้พบว่า อายุเฉลี่ยของการมี เพศสัมพันธ์ครั้งแรกใน นักเรียนมัธยมศึกษา เพศหญิง ใน ปี 2550 เท่ า กั บ 13.4 ปี ส่ ว นในนั ก ศึ ก ษาระดั บ ประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ พบว่ า อายุ เ ฉลี่ ย ของการมี เพศสัมพันธ์ค รั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 16 ปี (สํานั ก ระบาดวิ ท ยา กรมควบคุ ม โรค,2551) ส่ ว นการศึ ก ษา อุบัติการณ์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในจังหวัดเชียงราย พบว่า สตรีวัยรุ่นหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเมื่ออายุเฉลี่ย 14.3 ปี การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์พบมากในกลุ่มวัยรุ่น จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและตัดสินใจยุติการ ตั้งครรภ์ด้วยการทําแท้ง (สมบูรณ์ศักดิ์ ญาณไพศาล, 2544) การตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่นที่มีอายุต่ํากว่า 20 ปี มีแนวโน้มเพิ่มจํานวนสูงขึ้น โดยในปี 2548 มีมารดาที่ อายุน้อยกว่า 20 ปีมาคลอดบุตรร้อยละ 13.5 และ เพิ่มขึ้นในปี 2549 เป็นร้อยละ 14.7 (สํานักงานส่งเสริม สุขภาพ กรมอนามัย, 2550) ส่วนจังหวัดเชียงราย มีสตรี อายุ ต่ํ า กว่ า 20 ปี ค ลอดในปี 2550 และปี 2551 ประมาณ ร้อยละ 13.5 และร้อยละ 9.8 ตามลําดับ ซึ่งใน จํานวนนี้คลอดที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 13.5 และร้ อ ยละ 13.7 ตามลํ า ดั บ (สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย, 2551) ทั้งนี้การ ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นไม่ควรเกินร้อยละ 10 (กรมอนามัย, 2550) การตั้ ง ครรภ์ ใ นสตรี วั ย รุ่ น มี ค วามเสี่ ย งทั้ ง ใน ระยะตั้ งครรภ์ ขณะคลอดและหลัง คลอด ทั้ งทางด้ า น ร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังเช่น ความกลัว ความอาย
61
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
และการไม่ ย อมรั บการตั้ ง ครรภ์ ทํ าให้ มีก ารฝากครรภ์ ล่าช้า หรือไม่ฝากครรภ์เลย มีผลทําให้เกิดการคลอดก่อน กําหนด โลหิตจาง ความดันโลหิตสูง และทารกน้ําหนัก ตัวน้อย และจากการที่สภาพร่างกายของสตรีวัยรุ่นกําลัง อยู่ ใ นวั ย เจริ ญ เติ บ โต ทํ า ให้ ก ล้ า มเนื้ อและกระดู ก เชิ ง กรานยืดขยายไม่สมบูรณ์ อาจทําให้เกิดการคลอดล่าช้า และเป็ น อั น ตรายต่ อ ทารกในครรภ์ เช่ น ภาวะขาด ออกซิเจนในขณะคลอด และภาวะเลือดคั่งในสมองทารก (Ladewig, London, & Davidson, 2006) และมีโอกาส เสี่ ย งต่ อ การคลอดด้ ว ยวิ ธี ผ่ า ตั ด อี ก ด้ ว ย จากสถิ ติ ข อง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ. 2550-51 พบสตรี ตั้ ง ครรภ์ อายุ ต่ํ า กว่ า 20 ปี คลอดก่ อนกํ า หนด ประมาณร้ อยละ 21 ทารกน้ํ า หนั ก ตั ว น้ อยร้ อยละ 17 และภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด 65 ต่อ 1,000 การเกิ ด มี ชี พ ซึ่ ง เกิ น ค่ า มาตรฐานตั ว ชี้ วั ด ที่ ก ระทรวง สาธารณสุ ข กํ า หนดไว้ โดยอุ บั ติ ก ารณ์ ก ารคลอดก่ อ น กําหนดไม่เกินร้อยละ 10 ภาวะน้ําหนักตัวน้อยไม่เกิน ร้อยละ 7 และการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดอยู่ที่ 30 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ ส่วนผลกระทบจากการ ตั้ ง ครรภ์ ใ นวั ย รุ่ น ต่ อด้ า นจิ ต ใจและสั ง คมนั้ น หากการ ตั้งครรภ์นั้นเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ต้องปกปิด พบว่ า สตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น มี ค วามเสี่ ย งที่ จ ะเกิ ด ภาวะ เครียด วิตกกังวลหรือซึมเศร้าได้ ประกอบกับการขาด รายได้เป็นของตนเองทําให้มีปัญหาทางการเงิน ซึ่งอาจ นํ า ไ ป สู่ ก า ร ทํ า แ ท้ ง ที่ ผิ ด ก ฎ ห ม า ย อ า จ เ กิ ด ภาวะแทรกซ้อนจากการทําแท้งตามมาได้ (วรพงศ์ ภู่ พงศ์, 2549) สตรีวัยรุ่นบางคนอาจต้องออกจากโรงเรียน หรื อขาดเรี ย นไม่ มี อ าชี พ ขาดรายได้ นํ า ไปสู่ ภ าวะ ครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ หย่าร้าง ทารกถูกทอดทิ้ง หรือถูก ทารุณกรรม ก่อให้เกิดปัญหาสังคมในระยะยาวได้ จากปั จ จัย ดั งกล่ าวข้ างต้น เป็น เหตุ ส่ งเสริม ให้ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่ถูกต้อง และไม่ เหมาะสมได้ ทั้ ง นี้ การปฏิ บั ติ ต นเพื่ อดํ า รงไว้ ซึ่ ง ภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นสิ่งจําเป็นและ สําคัญอย่างยิ่ง เพราะการที่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและทารก ในครรภ์ จ ะคลอดได้ อ ย่ า งปลอดภั ย นั้ น ขึ้ น อยู่ กั บ พฤติ ก รรมการดู แ ลตนเอง และภาวะสุ ข ภาพของสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาท
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
สําคั ญในการให้ค วามรู้ และคํา แนะนํ าในการปฏิบั ติตั ว ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยการปฏิบัติการพยาบาลที่มี ประสิทธิภาพนั้น เกิดจากการบูรณาการความรู้ งานวิจัย หรือหลักฐานเชิงประจักษ์เข้ากับความชํานาญทางคลินิก เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ป้ อ งกั น และลดความเสี่ ย งต่ อ การเกิ ด ภาวะแทรกซ้อนในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและทารก ทั้งใน ระยะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด ปัจจุบัน การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล โดยใช้ ห ลั ก ฐานเชิ ง ประจั ก ษ์ ได้ รั บ ความนิ ย มอย่ า ง แพร่หลาย ทั้งนี้เนื่องจาก แนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่ ได้จากหลั กฐานเชิง ประจักษ์ เป็น วิธีก ารที่ไ ด้ผลดีที่สุ ด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด จากเหตุผลดังกล่าวทีมผู้วิจัย จึ ง ได้ จั ด ทํ า โครงการวิ จั ย เพื่ อศึ ก ษาผลของแนวปฏิ บั ติ ทางการพยาบาลสํ า หรั บ สตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น ต่ อภาวะ สุ ข ภาพของสตรี วั ย รุ่ น และทารก โดยการวิ จั ย ครั้ ง นี้ แบ่ ง เป็ น สองระยะ ซึ่ ง ในระยะแรกนี้ เป็ น การวิ จั ย เพื่ อ พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์ วั ย รุ่ น และระยะที่ ส องเป็ น การวิ จั ย เพื่ อ ประเมิ น แนว ปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ทั้งนี้ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่ได้จะนําไปใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติการพยาบาลแก่สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นสําหรับ พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ให้ เป็ น ไปในแนวเดี ย วกั น และเป็ นระบบ ทั้ ง นี้ เพื่ อ ส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และทารกทั้งในระยะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยในระยะที่ 1 เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น วิธีดําเนินการวิจัย ก า ร วิ จั ย นี้ เ ป็ น ก า ร วิ จั ย เ ชิ ง พั ฒ น า (Developmental Research) เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลสํ า หรั บ สตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น โดยใช้ รูปแบบการทบทวนวรรณกรรม (Integrative Review) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรเป็นบทความ งานวิจัย และหลักฐาน เชิ ง ประจัก ษ์ ที่ เกี่ ยวข้ องกั บการปฏิ บัติ ก ารพยาบาลใน
62
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
กลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึงปัจจุบัน ที่สามารถสืบค้นได้ในฐานข้อมูลทาง อิเลคทรอนิกส์ และการสืบค้นด้วยมือจากศูนย์บรรณสาร และสื่ อ การเรี ย นการสอน มหาวิ ท ยาลั ย แม่ ฟ้ า หลวง ห้องสมุด ศูนย์แพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลเชียงรายประชา นุ เ คราะห์ และห้ อ งสมุ ด สํ า นั ก วิ ช าพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จํานวนทั้งสิ้น 57 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างเป็นบทความและงานวิจัยที่ผ่าน การวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือและประเมินคุณภาพของ หลักฐานตามแนวทางของ Closkey & Grace, 1997; Suzanne & Leslie, 1998 (อ้างใน สายพิณ เกษมกิจ วัฒนา, 2547) จํานวนทั้งสิ้น 20 ฉบับ โดยเป็นภาษาไทย 3 ฉบับและ ภาษาอังกฤษ 17 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการสังเคราะห์และวิเคราะห์ ข้อมูลเพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่น ซึ่งทีมผู้วิจัยได้พฒ ั นาขึน้ เป็นตารางตาม หัวข้อดังนี้ แหล่งข้อมูล วัตถุประสงค์ การออกแบบวิจัย ระดับของหลักฐาน กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ การตัดสินใจนําผลการวิจัย ไปใช้ ความเป็นไปได้ในการนําไปใช้ ขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบตั ิทางการพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) โดยใช้ กระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติของศูนย์ความรู้เชิง ประจักษ์ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งประเทศ ไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ เสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติโดยอาศัย หลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ ทัง้ หมด 7 ขั้นตอน (พิกุล นันทชัยพันธ์, 2547) ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1: การกําหนดปัญหาทางการปฏิบัติ โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยเข้าปรึกษากับพยาบาลวิชาชีพหัวหน้างาน ห้องคลอดและงานฝากครรภ์อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากนั้นได้ชักชวนเข้าร่วมทีม วิ จั ย และค้ น หาปั ญ หา โดยเริ่ ม จากการระบุ ป ระเด็ น ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงาน และปัญหาที่มีผลกระทบ ต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารก พบว่าการตั้งครรภ์
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
ในสตรีวัยรุ่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้อง และมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันแนวทางการดูแลรักษาพยาบาลใน กลุ่มสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นยังมีรูปแบบที่ไม่ชัดเจน จึงได้ ข้อสรุปตรงกัน ในการพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล สําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จากนั้นนําประเด็นดังกล่าว เข้ า ปรึ ก ษากั บ ผู้ บ ริ ห ารทางการพยาบาล เพื่ อ เรี ย น ปรึกษา รับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และขออนุญาต ดําเนินการ แล้วจึงได้กําหนดคณะทํางานพัฒนาแนว ปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นขึ้น ขั้ น ตอนที่ 2 การกํ า หนดผลลั พ ธ์ ห รื อ การ เปลี่ยนแปลงที่ต้องการ ที ม พั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลได้ กําหนดผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล สําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้ภาวะสุขภาพของสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลัง คลอด และภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิดเป็นเกณฑ์ใน การกําหนดผลลัพธ์ ขั้นตอนที่ 3: การสืบค้นหลักฐานการปฏิบัติที่ เป็นเลิศจากแหล่งต่างๆ 1. กําหนดคําสําคัญที่ ใช้ในการสืบค้น (Key wards) ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษได้ แ ก่ การ ตั้งครรภ์ (pregnancy) วัยรุ่น(teenage, adolescent) สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น(teenage pregnancy, adolescent pregnancy) แนวปฏิ บั ติ (guideline) การพยาบาล (nursing) และแนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาล (nursing guideline) 2. กํ า หนดแหล่ ง สื บ ค้ น ข้ อมู ล ที ม ผู้ วิ จั ย ได้ กําหนดแหล่งสืบค้นข้อมูลดังนี้ 2.1 การสืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพต่างๆ ได้แก่ EBSCO, CINAHL, Proquest Digital Dissertation, Pub-med, Med-line, Science Direct & Springer link และการสืบค้นจากเวบไซด์ ต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ www.cochrane.org, www.joannabrigg.org, & www.guideline.gov 2.2 การสืบค้นด้วยมือ จากศูนย์บรรณสารและ สื่อการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ห้องสมุด และศู น ย์ แ พทย์ ศ าสตร์ ศึ ก ษา โรงพยาบาลเชี ย งราย
63
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
ประชานุเคราะห์ ห้ องสมุด สํานัก วิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น พยาบาลสาร วารสารสภา การพยาบาล Midwifery, Maternal & child health nursing, Journal of Obstetric, Gynecologic and Neonatal nursing, Journal of adolescent health, British Journal of Midwifery เป็นต้น 3. กําหนดเงื่อนไขความทันสมัยของหลักฐาน ทั้ ง นี้ บ ทความ หรื อ งานวิ จั ย ต้ อ งตี พิ ม พ์ ร ะหว่ า ง พศ. 2542-ปัจจุบัน ผลการสื บ ค้ น ได้ บ ทความและงานวิ จั ย ที่ เกี่ยวข้ องทั้ง สิ้น จํา นวน 57 ฉบับ แยกเป็น เอกสาร ภาษาไทย 12 ฉบับ ภาษาอังกฤษ 45 ฉบับ ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพ ของหลักฐานอ้างอิง บทความและงานวิจัยที่เข้าข่ายในการนํามาใช้ พั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลจํ า นวนทั้ ง สิ้ น 20 ฉบับ โดยเป็นภาษาไทย 3 ฉบับและ ภาษาอังกฤษ 17 ฉบั บ (ภาคผนวก) โดยสั ง เคราะห์ เนื้ อหาลงในตาราง สั ง เคราะห์ แ ละวิ เ คราะห์ ข้ อมู ล เพื่ อพั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ทีมผู้วิจัยได้ พั ฒ นาขึ้ น และวิ เ คราะห์ ห ลั ก ฐาน ตามแนวทางของ Closkey & Grace, 1997; Suzanne & Leslie, 1998 อ้างใน สายพิณ เกษมกิจวั ฒนา, 2547 (ภาคผนวก) พบว่า -ระดับ 1a งานวิจัยเชิงทดลองที่มีการสุ่มกลุ่ม ตัวอย่างและมีกลุ่มควบคุม (randomize controlled trial) จํานวน 2 ฉบับ -ระดับ 1b งานวิจัยเชิงทดลองเดี่ยวที่มีการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างและ มีกลุ่มควบคุม จํานวน 1ฉบับ -ระดับ 2a งานวิจัยเชิงทดลองที่มีกลุ่มควบคุม แต่ ไ ม่ มี ก ารสุ่ ม กลุ่ ม ตั ว อย่ า ง (controlled study without randomization) จํานวน 2 ฉบับ -ระดั บ 3 งานวิ จั ย เชิ ง เปรี ย บเที ย บ เชิ ง ค ว า ม สั ม พั น ธ์ แ ล ะ เ ชิ ง พ ร ร ณ า (comparative, correlation, and descriptive studies) จํานวน 10 ฉบับ -ระดับ 4 ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ฉบับ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
64
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
ขั้ น ตอนที่ 5 การยกร่ า งแนวปฏิ บั ติ ท างการ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง จากนั้นผู้วิจัยนําไปให้ ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 4 คน ตรวจสอบความถูกต้องของ พยาบาล ทีมยกร่างแนวปฏิบัติทางการพยาบาล นําข้อมูล เนื้ อ หา ประกอบด้ ว ย ผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ จ ากสาขาการ ที่ได้จากการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักฐาน พยาบาล จํานวน 3 คน และสาขาแพทย์ 1 คน โดยใช้ อ้ างอิ งที่ เลื อก มาบู รณาการเข้ ากั บความชํ านาญ ความ แบบประเมินแนวปฏิบัติทางการพยาบาลที่ดัดแปลงจาก คิดเห็นและ ประสบการณ์ของทีมพัฒนาแนวปฏิบัติ โดย แบบประเมิ น ประเมิ น แนวปฏิ บั ติ ท างคลิ นิ ก ที่ ใ ช้ อย่ า ง เนื้ อหาที่ ได้ แบ่ งเป็ น 4 ประเด็ นได้ แก่ ประเด็ นด้ าน แพร่หลายคือ Appraisal of Guidelines for นโยบายการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น การพยาบาล Research and Evaluation [AGREE instrument] สําหรับสตรีตั้ งครรภ์วั ยรุ่ นในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด แปลเป็นภาษาไทยโดย ฉวีวรรณ ธงชัย (2548) มีค่า และระยะหลั ง คลอด จากนั้ น นํ า เนื้ อ หาที่ ไ ด้ ไ ปขอรั บ คะแนนความสอดคล้องโดยรวมเท่ากับ 1 คํ า ปรึ ก ษาและข้ อเสนอแนะในการพั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ผลการวิจัย ทางการพยาบาลจากทีมที่ปรึกษา แล้วนํามาพิจารณาถึง แนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลสํ า หรั บ สตรี ความเป็ นไปได้ ใ นการนํ า แนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาล ตั้งครรภ์วัยรุ่นประกอบด้วย 3 ส่วนดังต่อไปนี้ สําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นไปใช้ในหน่วยงาน (feasibility) ส่วนที่1. ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย รายชื่อ ความคุ้ มค่ าและคุ้ มทุ น (cost-benefit) ความเสี่ ยงที่ คณะที่ ป รึ ก ษา รายชื่ อ ที ม พั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ท างการ อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้แนวปฏิบัติ ทรัพยากรที่จําเป็นใน พยาบาล วั ต ถุ ป ระสงค์ ความหมายของคํ า สํ า คั ญ การนําแนวปฏิบัติไปใช้ ความพร้อมของบุคลากร และการ กลุ่ ม เป้ า หมาย ผู้ ใ ช้ แ นวปฏิ บั ติ ประโยชน์ ที่ ค าดว่ า จะ ยอมรับทางจริยธรรม โดยใช้เกณฑ์ของ Joanna Briggs ได้รับ และขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติ Institute (2008) (ภาคผนวก) ส่วนที่ 2. สาระสําคัญของแนวปฏิบัติทางการ แนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลสํ า หรั บ สตรี พยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น สามารถแบ่งเนื้อหา ตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการวิพากย์และหาข้อสรุประหว่าง ออกเป็ น 4 ด้ า น ได้ แ ก่ นโยบายการพยาบาลสตรี หลักการทางวิชาการและความเป็นไปได้ในทางปฏิบั ติ ตั้งครรภ์วัยรุ่น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นในระยะ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด และการ และตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหา ภาษาและรูปแบบโดย ประเมินผลลัพท์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 4 คน จากนั้นจึงสรุปผลการพัฒนา แนวปฏิ บั ติ ทางการพยาบาลโดยการวิ เคราะห์ ผ ล เชิ ง การประเมินผล กระบวนการและผลลัพธ์ และจัดทําแนวปฏิบัติทางการ 1. ประเมิ น ภาวะสุ ข ภาพของสตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น และ พยาบาลฉบับสมบูรณ์ ทารก ในระยะต่างๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 6 การทดลองใช้แนวปฏิบัติและ 1.1 ระยะตั้งครรภ์ ขั้ น ตอนที่ 7 การสรุ ป ผลการวิ จั ย และการ - อุบัติการณ์การเกิดโรคโลหิตจาง น้อยกว่าร้อย เผยแพร่ ละ 10 ดํ า เนิ น การในระยะที่ ส องของการวิ จั ย ทั้ ง นี้ - ระดั บ คะแนนความเครี ย ดในสตรี ตั้ ง ครรภ์ เนื่องจากการนําไปทดลองใช้ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ต้องใช้ วัยรุ่นระดับปานกลางขึ้นไป เวลาประมาณ 9-12 เดือน คือเริ่มตั้งแต่สตรีตั้งครรภ์ ครั้งที่สอง ลดลงจากครั้งแรกมากกว่าร้อยละ 80 วัยรุ่นมาฝากครรภ์จนกระทั่งคลอด 1.2 ระยะคลอด การควบคุมคุณภาพของแนวปฏิบัติ - ระดับความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของ แนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลในสตรี ตั้ ง ครรภ์ มดลูกในระยะรอคลอด วัยรุ่นที่พัฒนาขึ้น มีการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
65
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์ วั ย รุ่ น บ น ห ลั กฐ า น ค วา ม รู้ เชิ ง ป ร ะจั ก ษ์ โ ด ย ใ ช้ กระบวนการพั ฒ นาแนวปฏิ บั ติ ข องศู น ย์ ค วามรู้ เ ชิ ง ประจักษ์ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งประเทศ ไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย เชีย งใหม่ ได้ เสนอรูปแบบกระบวนการพัฒนาแนวปฏิ บัติโดยอาศั ย หลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ ทั้งหมด 7 ขั้นตอน (พิกุล นันทชัยพันธ์, 2547) ได้แก่ 1) การกําหนดปัญหา ทางการปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง 2) การกําหนดผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่ ต้องการ 3) การสืบค้นหลักฐาน การปฏิบัติที่เป็นเลิศจาก แหล่งต่างๆ 4) การวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของ หลั กฐานอ้ า งอิ ง 5) การยกร่ า งแนวปฏิ บั ติ ท างการ พยาบาล 6) การทดลองใช้แนวปฏิบัติ 7) การสรุป ผลการวิจัยและเผยแพร่ ทีมพัฒนาแนวปฏิบัติประกอบไปด้วยพยาบาล วิชาชีพงานฝากครรภ์ งานห้องคลอด สูติกรรม และนรี เวชกรรมจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ และ ทีมผู้วิจัย รวมทั้งสิ้น 8 คน แนวปฏิบัติทางการพยาบาล สํ า หรั บ สตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น ที่ ไ ด้ มี เนื้ อหาสาระสํ า คั ญ 4 ด้าน ได้แก่ นโยบายการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น การ พยาบาลสตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น ในระยะตั้ ง ครรภ์ การ พยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นระยะคลอด และการพยาบาล สตรี ตั้ ง ครรภ์ วั ย รุ่ น ระยะหลั ง คลอด รวมถึ ง การ ประเมิ น ผล ทั้ ง นี้ แ นวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลสตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการวิพากย์จากทีมสหสาขาวิชาชีพที่ เกี่ ย วข้ อง และตรวจสอบความถู กต้ องของเนื้ อหาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 4 ท่าน ก่อนนําไปทําการการวิจัย เพื่ อประเมิน คุ ณภาพของแนวปฏิบั ติ ทางการพยาบาล สําหรับสตรีตั้งครรภ์ในระยะที่สองต่อไป ข้อจํากัดของการวิจัย 1. แนวปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรี ตั้ง ครรภ์ วัย รุ่ นที่ พั ฒนาขึ้น จากหลั กฐานเชิ งประจั ก ษ์ ที่ สืบค้นได้ ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ พยาบาลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นทั้งหมด และพัฒนาขึ้นจาก สรุปผลการวิจัย บริบทของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เท่านั้น กา ร วิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น ก า รวิ จั ยเ ชิ งพั ฒ น า 2. เครื่องมือที่ใช้ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ (Developmental Research) มีวัตถุป ระสงค์เพื่ อ วั ย รุ่ น ตามแนวปฏิ บั ติ ท างการพยาบาลสํ า หรั บ สตรี ภายหลั ง ได้ รั บ การจั ด การกั บ ความเจ็ บ ปวด ลดลงมากกว่าร้อยละ 80 - สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการจัดการกับความ เจ็บปวดในระยะรอคลอด อย่างเหมาะสม มากกว่าร้อย ละ 80 - ภาวะทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย น้อยกว่า ร้อยละ 7 - การคลอดก่อนกํ าหนด น้ อยกว่ าร้ อยละ 10 1.3 ระยะหลังคลอด - อุบัติการณ์การตกเลือดหลังคลอด น้อยกว่า ร้อยละ 5 - ภาวะซึมเศร้าในสตรีวัยรุ่นหลังคลอด เท่ากับ 0 - Latch score > 7 คะแนน และ ปริมาณ น้ํานมระดับ 3 ก่อนจําหน่าย จากโรงพยาบาล เท่ากับ ร้อยละ 100 - Exclusive breast feeding ก่อนจําหน่าย ออกจากโรงพยาบาล มากกว่าร้อยละ 90 - พฤติ กรรมการดู แลตนเองหลัง คลอดของ มารดาวัยรุ่น ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 - อุบัติการณ์การทอดทิ้งบุตร ร้อยละ 0 - ภาวะตั ว เหลื อ งจาก Exclusive breast feeding ในทารกแรกเกิด น้อยกว่า ร้อยละ 15 2.การประเมินความพึงพอใจในบริการพยาบาล ตามแนวปฏิบัติ - ความพึงพอใจในบริการพยาบาลตามแนว ปฏิบัติระดับมากขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ประกอบไปด้วยเกณฑ์ ประเมินคุณภาพของหลักฐานงานวิจัย เกณฑ์ประเมิ น ข้อเสนอแนะในการนําหลักฐานใช้ เนื้อหาที่ได้จากการ สังเคราะห์หลักฐานอ้างอิง เอกสารแนบแนวคิด หลักการ และเครื่ อ งมื อ ประกอบการใช้ แ นวปฏิ บั ติ ฯ รายนาม ผู้เข้าร่วมวิพากย์แนวปฏิบัติ รายนามผู้ทรงคุณวุฒิ และ แบบประเมิน แนวปฏิ บัติ ท างการพยาบาลสํา หรับ สตรี ตั้งครรภ์วัยรุ่นสําหรับผู้ทรงคุณวุฒิ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
ตั้งครรภ์วัยรุ่นบางเครื่องมือยังไม่ได้ขออนุญาตจากต้น สังกัด และเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเองยังไม่ได้นําไปทดสอบ ความเชื่อมั่นเนื่องจากระยะเวลาจํากัด ทั้งนี้ทีมผู้วิจัยจะ ดําเนินการขออนุญาตและนําไปทดสอบความเชื่อมั่นก่อน นําไปใช้ในระยะที่สองต่อไป การนําผลการวิจัยไปใช้ 1. ควรสอบถามความเป็นไปได้ในการนําแนว ปฏิบัติทางการพยาบาลไปใช้ จากพยาบาลวิชาชีพผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น และปรับให้ เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถานพยาบาลก่อนนําแนว ปฏิบัติทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นไปใช้ 2. ควรมีการอบรมพยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ให้ มี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจเกี่ ย วกับ การตั้ง ครรภ์ใ นวั ย รุ่ น การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ และการนําแนวปฏิบัติทางการ พยาบาลไปใช้ ก่ อนนําแนวปฏิ บัติ ทางการพยาบาล สําหรับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นไปใช้ในการปฏิบัติจริง ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในอนาคต 1. ควรมี ก ารทบทวนและพิ จ ารณาความ เหมาะสมจากผู้ใ ช้แ นวปฏิ บัติแ ละผู้ที่ เกี่ ยวข้ องทุก ฝ่า ย เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม กับบริบทของหน่วยงานต่อไป 2. ควรมี ก ารศึ ก ษาและทบทวนความรู้ เชิ ง ประจักษ์ใหม่ๆ อย่างสม่ําเสมอ และปรับปรุงแนวปฏิบัติ ทางการพยาบาลสําหรับสตรีตั้ง ครรภ์วัยรุ่ นฉบับนี้ให้ มี ความทั น สมั ย สอดคล้ อ งกั บ สถานการณ์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพสูงสุดกับสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น รวมทั้งมีการ เผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้สนใจอย่าง สม่ําเสมอ 3. ควรศึ ก ษาวิ จั ย ในประเด็ น ที่ มี ค วาม เฉพาะเจาะจงและเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์ วัยรุ่ น เพื่อให้เกิดความชัดเจน สามารถแก้ปั ญหาได้ ตรง ประเด็น และเกิดประโยชน์กับสตรีตั้งครรภ์วัยรุนมากที่สุด
66
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
ปลั ด กระทรวง. กระทรวงสา ธา รณสุ ข . แหล่งข้อมูล http://rh.anamai.moph.go.th/static.htm วันที่สืบค้น 14 มิถุนายน 2552. สํานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2550. สถิติสาธารณสุข. กรมอนามัยสํานักงาน ปลั ด กระทรวง. กระทรวงสา ธา รณสุ ข . แหล่งข้อมูล http://rh.anamai.moph.go.th/static.htm วันที่สืบค้น 14 มิถุนายน 2552 ฉวีวรรณ ธงชัย . 2549. การประเมิน คุณภาพของการ พัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก. เชียงใหม่ คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. พิ กุ ล นั น ทชั ย พั น ธ์ . 2547. การพั ฒ นาคุ ณ ภาพการ พยาบาลโดยอาศั ย หลั ก ฐานความรู้ เ ชิ ง ประจักษ์. เอกสารประกอบการบรรยาย จัดโดย ศูนย์ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและ ผดุ ง ครรภ์ แ ห่ ง ประเทศไทย, คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วรพงศ์ ภู่ พ งศ์ . 2548. การตั้ ง ครรภ์ ใ นวั ย รุ่ น . ใน วีระพล จันทร์ดียิ่ง และจิติ หาญประเสริฐพงษ์ บรรณาธิการ. นรีเวชวิยาเด็กและวัยรุ่น. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์ สายพิ ณ เกษมกิ จวั ฒนา. 2547. Evidence-based practice: มิติใหม่ชองการพัฒนาคุณภาพการ พยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการ สาธารณสุขศูนย์อาเซียน, หน้า 1-13. สํานัก งานสาธารณสุขจั งหวั ดเชี ยงราย. 2551. สถิ ติ คลอด. มปท. สมบู ร ณ์ ศั ก ดิ์ ญาณไพศาล. 2544. สภาพปั ญ หาการ ตั้ ง ครรภ์ ไ ม่ พึ ง ประสงค์ ใ นจั ง หวั ด เชี ย งราย. เอกสารประกอบการสั มมนาเรื่อง "ปั ญหายุ ติ การตั้งครรภ์" โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอน เอกสารอ้างอิง เวนชั่น; กรุงเทพมหานคร. กรมอนามั ย กระทรวงสาธารณสุ ข . 2549. สถิ ติ AGREE Collaboration. 2004. AGREE criteria. Retrieved from, ส า ธ า ร ณ สุ ข . ก ร ม อ น า มั ย สํ า นั ก ง า น http://www.agreecollaboration.org/1/agr eeguide/criteria.html on 28 Sep 2008.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ, ทัศนีย์ ณ พิกุล และ สุภาพร อุตสาหะ
Joanna Briggs Institue [JBI]. 2008. History of JBI Level of Evidence and Grade of Recommendation. Retrieved from, http://www.joannabriggs.edu.au/pdf/ab out/Levels_History.pdf. on 28 Sep 2008. Ladwig P.A.W., London M. L. & Davidson, M.R. 2006. Contemporary MaternalNewborn Nursing Care (6th Ed.). Pearson Prentice Hall. New Jersy.
67
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาล...
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 69
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
Research The good management of governance and public participation in the preparation of the Local Development plan Organization in Pattani province. Arinchya jarungkitigung*, Wanchai Tamsachakan**, Aumaporn Muninam*** * Graduate students. (M.A.) Department Human and Social Development. Faculty of Arts, Prince of Songkla University **Assoc. Prof. Ph.D. Faculty of Arts, Prince of Songkla University ***Ph.D. Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University Abstract The purposes of this research were (1) to investigate public participation toward good governance of subdistrict administrative organization and (2) to study a process, problems, and problems management concerning the public participation in local development planning of good governance sub-district administrative organizations in Pattani, in order to show how the public participation in local development planning influenced the good governance, and also studied other factors which related to good governance of the organizations. Qualitative research methods included interview and observation were used to collect the data which was managed through the collective process. The obtained data then analyzed employing data summarization. Results of the research revealed that the public participation of people in urban area was at a low level. People in rural area had more public participation than people in urban area. It was found that people’s understanding of the public participation in local development planning, understanding in the subdistrict administrative organizations, and people’s understanding of their roles in the subdistrict administrative organizations hardly influenced the public participation. Attitude towards the subdistrict administrative organizations was the main factor influenced the public participation. Certainly, the attitude came from what people have got from the subdistrict administrative organizations.Thai Buddhism people and Thai Muslim people attended community meetings in mostly equal amounts. Urban people attended the meetings fewer than rural people. Buddhism people were alert to submit developing projects more than Muslim people. People’s performance during the public meeting was good. The public participation in local development planning had no direct influence on being good governance subdistrict administrative organizations because there were many other factors used to evaluate good governance organizations. But the public participation affected the suitability of good governance subdistrict administrative organizations. Key Words: Good governance, public participation, local development planning
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 70
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
บทความวิจัย การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตําบล จังหวัดปัตตานี อริญชยา จรุงกิตติกุล*, วันชัย ธรรมสัจการ**, อุมาพร มุณีแนม*** *นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ **รศ.ดร., คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ***ดร., คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบล รวมทั้งศึกษากระบวนการ สภาพปัญหาและการจัดการสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดีในจังหวัดปัตตานีเพื่อชี้ให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทํ าแผนพั ฒนาท้องถิ่ นที่ส่ งผลต่ อการเป็นองค์ การบริ หารส่วนตํ าบลที่มี การบริ หารจัดการที่ดี รวมถึ งปั จจัยอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องต่อการเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (interview) จากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทําแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตําบล จํานวน 8 คน และกลุ่มที่เป็นประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตําบลเป้าหมาย จํานวน 15 คน รวมทั้งวิธีการ สังเกต (observation) การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตําบลเป้าหมาย ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนชนบทโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดีกว่าประชาชนใน ชุมชนเมือง โดยพบว่าความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมและ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตําบล และบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การ บริหารส่วนตําบลไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่สิ่งที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนคือทัศนคติของ ประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบลในพื้นที่ของตนเอง โดยทัศนคตินั้นเกิดจากสิ่งที่ประชาชนได้รับจากองค์การ บริหารส่วนตําบลและส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในที่สุด โดยประชาชนไทยพุทธมาร่วมในการจัดประชุม ประชาคมในจํานวนที่ใกล้เคียงกับประชาชนไทยมุสลิม แต่ประชาชนไทยพุทธจะมีความตื่นตัวในการนําเสนอโครงการ มากกว่าประชาชนไทยมุสลิม ประชาชนในชุมชนเมืองจะมาร่วมในการจัดประชุมประชาคมน้อยกว่าประชาชนใน ชุมชนชนบท ปฏิกริยาของประชาชนระหว่างการประชุมประชาคมอยู่ในระดับดี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประชาชนกลุ่ม เดิมที่เคยเข้าร่วมประชุมประชาคม และอาจได้รับการสนองตอบตามข้อเสนอจึงมาเข้าร่วมประชุมอีกครั้งจึงสามารถ ปฏิบัติตามขั้นตอนได้ดี ทั้งนี้ ถึงแม้จะพบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นจะไม่มีผล โดยตรงต่อการเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี เนื่องจากมีตัวชี้วัดอื่นๆ อีกมากมายในการ ประเมินองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนา ท้องถิ่นมีผลต่อความเหมาะสมในการเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี คําสําคัญ: การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี, การมีส่วนร่วมของประชาชน, การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 71
บทนํา องค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่นถื อกําเนิ ดขึ้นจาก ความต้องการที่จะกระจายอํานาจในการบริหารจัดการ ประเทศลงไปสู่ ท้ องถิ่ น โดยมี หัว ใจสํ า คั ญ อยู่ ที่ ก ารคื น อํ า นาจในการบริ ห ารจั ด การชุ ม ชนให้ อ ยู่ ภ ายใต้ ก าร ตัดสินใจและการมีส่วนร่วมรับผิดชอบของประชาชนใน ชุม ชน องค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลจึ ง ถื อเป็ น หน่ว ยงาน ระดับท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับชุมชนและประชาชนมากที่สุด มี ห น้ า ที่ ทั้ ง การบริ ห ารจั ด การองค์ ก รและการบริ ห าร จัดการชุมชนให้เกิดการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม แม้ ว่ า องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลจะเป็ น หน่ ว ยงานที่ มี ขนาดเล็กแต่ก็จําเป็นที่จะต้องเป็นฐานในการรองรับการ กระจายอํานาจ โดยเห็นว่าการปกครองท้องถิ่นจะบรรลุ เป้ าหมายได้นั้ นต้ องยึด หลั ก พื้น ฐานประชาธิป ไตย คื อ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการท้องถิ่นของตน นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ (2545:378) กล่าวว่า การ กระจายอํานาจเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะทําให้รัฐสามารถ จั ด บริ ก ารสาธารณะได้ อย่ า งทั่ ว ถึ ง และตรงตามความ ต้ อ งการของประชาชนในพื้ น ที่ ซึ่ ง การจะบรรลุ เป้าประสงค์ที่กล่าวข้างต้นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วม ของประชาชน (public participation) การมีส่วนร่วม ของประชาชนจึ งมีความสําคัญ ต่อองค์ การบริ หารส่ว น ตําบลตามหลักการกระจายอํานาจ เห็นได้จากแนวคิด ธรรมาภิบาล (good governance) ที่ได้นําเรื่องของการ มีส่วนร่วมมาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการบรรลุซึ่งผลสัมฤทธิ์ ในการบริหารจัดการ (วิชล มนัสเอื้อศิริ. 2547:22) สําหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจุบันได้มี การวางหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้ วยหลักเกณฑ์และวิธี การบริหาร กิ จ การบ้ า นเมื อ งที่ ดี พ.ศ.2546 โดยได้ มี ก ารกํ า หนด แนวทางปฎิบัติเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุ เป้าหมายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หลักธรรมาภิ บาลและการมีส่วนร่ วมของประชาชนจึ งเป็นแนวคิด ที่ ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น หลั ก การสํ า คั ญ ใน “ระบอบ ประชาธิปไตย” และหลักการเรื่อง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” และหนึ่ง ในอํานาจและหน้ าที่ขององค์กรปกครองส่ว น ท้องถิ่นที่กําหนดไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วย การกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แ ก่
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พ.ศ. 2542 นั่ น ก็ คื อ “อํานาจและหน้าที่ในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของ ตนเอง” ซึ่งในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการ จัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ได้ให้ความสําคัญกับภาคประชาชนในการเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับองค์กร ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ไม่ ว่ า จะเป็ น การมี ส่ ว นร่ ว มใน รู ป แบบของคณะกรรมการ หรื อ การร่ ว มประชุ ม ประชาคมท้ อ งถิ่ น แต่ ก ลั บ พบว่ า ที่ ผ่ า นมานั้ น การ ดําเนินงานขององค์การบริหารส่วนตําบลยังขาดการเปิด โอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองใน กระบวนการทั้ ง 4 ด้ า น คื อ ด้ า นร่ ว มคิ ด ด้ า นร่ ว ม ตั ด สิ น ใจ ด้ า นร่ ว มปฏิ บั ติ ก ารตามโครงการ และด้ า น ติดตามประเมินผล (นเร เหล่าวิชยา และคณะ. 2539 อ้างใน ดุสิดา แก้วสมบูรณ์. 2545:4) อีกทั้งการจัด ประชุม ประชาคมยั งไม่ เป็ น ไปตามหลั กการประชาคม การจัดทําแผนพัฒนาที่มาจากประชาคมไม่เกิดขึ้นอย่าง จริงจัง ขณะเดียวกันองค์การบริหารส่วนตําบลก็ไม่ได้ให้ ความสําคัญกับการลงพื้นที่จัดทําประชาคมด้วยตนเองจะ รอจากการเสนอของประชาคมเท่านั้น (นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ. 2545:398) ปัญหาและเหตุผลประการหนึ่งที่ ทําให้การพัฒนาที่ผ่านมาไม่สามารถเกิดประโยชน์แก่คน ยากคนจนในชนบทได้ นั่นก็คือ “การขาดการมีส่วนร่วม ของประชาชน” (โกวิทย์ พวงงาม. 2541:68) ดังนั้น การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อ สร้ า งการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนในขั้ น ตอนของการ จัดทําแผนพัฒนาจึงเป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก การวางแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมโดยการให้กลุ่ม และองค์ ก รชุ ม ชนในตํ า บลเข้ า มามี บ ทบาทในรู ป ของ ประชาคมจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลได้ และทํ า ให้ แ ผนพั ฒ นา ท้องถิ่นเป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกกลุ่มในตําบล หาก ไม่มีการจัดทําแผนพัฒนาที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วม ของประชาชน องค์การบริหารส่วนตําบลก็จะไม่สามารถ ดําเนินงานโครงการพัฒนาต่างๆ เพื่อนําพาชุมชนสู่ความ เจริญก้าวหน้าก่อประโยชน์สูงสุดตามความต้องการของ ประชาชน และไม่ เ ป็ น ไปตามหลั ก การบริ ห ารกิ จ การ บ้านเมืองที่ดี
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 72
วิธีดําเนินการวิจัย ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ เก็ บ รวบรวมข้ อมู ล จาก องค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดปัตตานี จํานวน 3 แห่ ง ซึ่ ง เป็ น องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล บริ หารจั ด การที่ ดี ใ นปี พ.ศ.2549-2551 คื อ องค์ ก าร บริหารส่วนตําบลรูสะมิแล อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี องค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลบานา อํ า เภอเมื อง จั ง หวั ด ปัตตานี และองค์การบริหารส่วนตําบลนาประดู่ อําเภอ โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 1.ขั้นตอนการศึกษา 1.1 เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากเอกสาร งาน วิ ช าการ และงานวิ จั ย ต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งที่ ทํ า การศึ ก ษา ข้ อ มู ล พื้ น ฐานขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น ตําบล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดคําถามในการ เก็บรวบรวมข้อมูล และเป็นการเตรียมความรู้ความ เข้าใจทางวิชาการของผู้วิจัยเกี่ยวกับประเด็นที่ศึกษาวิจัย 1.2 การเก็ บ รวบรวมข้ อมู ล ภาคสนามด้ ว ย วิธีการสัง เกต (observation) เป็น อันดั บแรก เป็ นการ ร่ ว มสั ง เกตการณ์ ก ารจั ด ประชุ ม ประชาคมเพื่ อ จั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บล เป้าหมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ สภาพ ปัญหา และการจัดการสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับ การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น 1.3 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตําบลเป้าหมาย ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (interview) มีซึ่ง ในส่ ว นนี้ จ ะได้ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนที่ มี ต่ อองค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลเป้ า หมาย กระบวนการ สภาพปัญหาและการจัดการสภาพปัญหาที่ เกี่ ย วกั บ การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ องถิ่ น แบบมี ส่ ว นร่ ว ม และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนา ท้ อ งถิ่ น ต่ อ การเป็ น องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลที่ มี ก าร บริหารจัดการที่ดี 1.4 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลที่เป็น ประชาชนทั่ ว ไปที่ อาศั ย อยู่ ในเขตองค์ ก ารบริ หารส่ ว น ตํา บลเป้ า หมาย ด้ ว ยวิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ (interview) เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข้ อมู ล เกี่ ย วกั บ การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชน
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับองค์การบริหาร ส่วนตําบลและบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การ บริ ห ารส่ ว นตํ า บล ความรู้ ค วามเข้ า ใจของประชาชน เกี่ ย วกั บ การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ องถิ่ น แบบมี ส่ ว นร่ ว ม และทั ศ นคติ ข องประชาชนที่ มี ต่อองค์ การบริ หารส่ ว น ตําบลในพื้นที่ของตนเอง 1.5 ผู้วิจัยให้ความสําคัญกับการจัดการข้อมูล ที่ได้เก็บรวบรวมมาในแต่ละครั้ง โดยจะนํามาจัดระเบียบ ข้อมูล สําหรับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ผู้วิจัยจะทํา การบั น ทึ ก ระหว่ า งการลงพื้ น ที่ เ ก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล ใน ลักษณะข้อมูลเชิงบรรยาย ส่วนข้อมูลที่ได้จากการบันทึก เทป ผู้วิจัยจะนํามาทําการถอดเทปแบบคําต่อคําโดยนํา ข้ อ มู ล มาเรี ย บเรี ย งเป็ น ข้ อ มู ล เชิ ง บรรยาย และจั ด ประเภทหรือจัดกลุ่มข้อมูลที่ตรงกับประเด็นการศึกษาใน แต่ละประเด็นเป็นการให้รหัสข้อมูลโดยจะอ่านข้อความ จากการถอดเทปทั้งหมดเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และ ความครอบคลุมประเด็นการศึกษา โดยดูว่าข้อมูลที่ได้ยัง คลุ ม เครื อ ไม่ ค รบถ้ วนส่ ว นใดหรือไม่ รวมทั้ ง หาข้ อมู ล สําคัญใหม่ๆ มาตั้งคําถามที่เป็นประโยชน์ต่อการได้มาซึ่ง ข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจะลงพื้นที่ทําการเก็บ รวบรวมข้อมูลอีกครั้งจนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ 2.ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทํา แผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตําบล และเป็นบุคคล ที่สามารถให้ข้อมูลในการศึกษาได้ดี ได้แก่ นายกองค์การ บริหารส่วนตําบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล และ เจ้ า หน้ า ที่ วิ เคราะห์ น โยบายและแผน ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ใน คณะกรรมการพั ฒ นาองค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บล และ คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทําแผนพัฒนาองค์การ บริหารส่วนตําบล รวมทั้งสิ้นจํานวน 8 คน กลุ่มที่ 2 เป็น ประชาชนทั่ ว ไปที่ อาศั ย อยู่ ในเขตองค์ ก ารบริ หารส่ ว น ตําบลเป้าหมาย รวมทั้งสิ้นจํานวน 15 คน โดยผู้วิจัยจะ เลือกผู้ให้ข้อมูลที่เป็นทั้งประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม เพื่อศึกษาความแตกต่างของข้อมูลที่ ต้องการศึกษาจาก 2 กลุ่ม โดยในแต่ละตําบล ผู้วิจัยจะ คัดเลือกหมู่บ้านไทยพุทธ 1 หมู่บ้าน และหมู่บ้านไทย มุสลิม 1 หมู่บ้าน ให้ทุกหมู่บ้านมีโอกาสเป็นตัวแทนเท่าๆ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 73
กั น โดยใช้ วิ ธี ก ารจั บ ฉลาก (lottery) เมื่ อ ได้ ห มู่ บ้ า น เป้ า หมายแล้ ว ผู้ วิ จั ย ใช้ ก ารเลื อ กกลุ่ ม ตั ว อย่ า งแบบ เจาะจง (purposive sampling) ในลัก ษณะการสุ่ ม ตัวอย่างแบบลูกโซ่ (Snowball Sampling) โดยเป็นการ เลื อ กกลุ่ ม ตั ว อย่ า งโดยอาศั ย การแนะนํ า ของหน่ ว ย ตั ว อย่ า งที่ ไ ด้ เ ก็ บ ข้ อ มู ล ไปแล้ ว จากนั้ น จะไปทํ า การ สัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากบุคคลที่ผู้ให้ข้อมูลคนแรกแนะนํา มา และจะใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการค้นหาผู้ให้ข้อมูลคน ต่อๆ ไปจนได้ข้อมูลที่อิ่มตัวเพียงพอต่อการตอบคําถาม การศึกษาครั้งนี้ 3.วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิ ธีการวิจั ยเชิ งคุณ ภาพ เก็บรวบรวมข้ อมู ล ด้ ว ยวิ ธี ก ารสั ม ภาษณ์ (interview) และการสั ง เกต (observation) ซึ่งเป็นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยไม่ มี ป ฏิ กิ ริ ย าโต้ ต อบ (passive participation) เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ สภาพปัญหาและ การจัดการสภาพปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนา ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ (interview) เพื่อให้ได้ข้อมูลในส่วนของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งเกี่ ยวกั บระดั บการมีส่ วนร่ว มของประชาชน ความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วน ตําบลและบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การบริหาร ส่วนตําบล ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการ จัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม และทัศนคติของ ประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบลในพื้นที่ของ ตนเอง รวมถึ ง ใช้ ใ นการเก็ บ ข้ อ มู ล การมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนในการจั ดทํ า แผนพั ฒ นาท้ องถิ่น ต่ อการเป็ น องค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี และ ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลและอภิปรายผล การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วน ร่วมของประชาชน การมีส่ วนร่ วมของประชาชนทั้ ง 4 ขั้ น ตอน ได้ แ ก่ การร่ ว มคิ ด เพื่ อ การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นา ท้องถิ่น การร่วมตัดสินใจในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น (ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนจะอยู่ในกระบวนการจัดทําแผนพัฒนา ท้ อ งถิ่ น ที่ ใ ช้ ใ นการศึ ก ษา) การร่ ว มปฏิ บั ติ ก ารตาม แผนพัฒนาท้องถิ่น และการร่วมติดตามและประเมินผล
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
แผนพัฒนาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนโดย ภาพรวม พบว่าการมีส่ วนร่วมของประชาชนในชุ มชน ชนบทในกระบวนการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นซึ่งอยู่ใน ขั้นตอนการร่วมคิดเพื่อการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น และ การร่วมตัดสินใจในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้นอยู่ใน ระดับ ดี กว่ า ประชาชนในชุม ชนเมือง อาจเนื่ องมาจาก ประชาชนในชุม ชนชนบทยั งมี สภาพสั งคมแบบดั้ง เดิ ม พึ่ ง พาอาศั ย กั น ในลั ก ษณะของเครื อ ญาติ และมี ก าร ประกอบอาชี พที่ค ล้า ยคลึ งกัน คือเกษตรกรรม ซึ่ง จะมี เวลาว่ า งตรงกั น จึ ง สามารถมาเข้ า ร่ ว มการประชุ ม ประชาคมได้มากกว่าประชาชนในชุนชนเมืองซึ่งค่อนข้าง มีภ ารกิ จ การงานที่ ม ากกว่ า มี สภาพสั ง คมที่ ไ ม่ มี ค วาม สนิทสนมใกล้ชิดกันเหมือนสังคมในชนบท และอาจเป็น ประชาชนที่อพยพมาจากพื้นที่อื่นเพื่อมาประกอบอาชีพ จึ ง ทํ า ให้ ไ ม่ ใ ห้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การมี ส่ ว นร่ ว มเท่ า ที่ ค วร ยกเว้นสตรีชาวไทยมุสลิมในชุมชนชนบทที่ยังคงมีส่วน ร่วมน้อย ซึ่งอาจมาจากการถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม ประเพณีท างศาสนาอย่า งเคร่ งครัด จนมีก ารปิด ตัว เอง จากสังคมภายนอกมากกว่าเพศชาย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการตามแผนพัฒนา ท้องถิ่นของประชาชนในชุมชนชนบทก็ถือว่าอยู่ในระดับ ดีเช่นกัน แต่การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาท้องถิ่นยังมีน้อย อาจเนื่องจากประชาชนใน ชุ ม ชนชนบทมี พื้ น ฐานสภาพความเป็ น อยู่ ข องความ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน เมื่อเลือกผู้นําท้องถิ่นเข้ามาแล้วจึง เชื่อถือในตัวผู้นําและสิ่งที่ผู้นํากระทํา ยกเว้นประชาชน กลุ่มปัญญาชน หรือนักวิชาการซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน เขตชุมชนเมืองที่จะมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล และตรวจสอบการทํางานขององค์การบริหารส่วนตําบล มากกว่าขั้นตอนอื่น เนื่องมาจากคนกลุ่มนี้มีความรู้มาก จึงรู้ ว่า ตนเองสามารถเข้า ไปตรวจสอบการทํางานของ องค์การบริหารส่วนตําบลได้ และเมื่อเห็นข้อบกพร่องก็ จะมีการนําเสนอทันที ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ องกั บ การมี ส่ ว นร่ ว มนั้ น พบว่ า ความรู้ ค วามเข้ า ใจของประชาชนเกี่ ย วกั บ การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น แบบมี ส่ ว นร่ ว ม และความรู้ ค วาม เข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตําบล และบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การบริหารส่วน
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 74
ตําบลไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เห็นได้จาก ประชาชนในชุ ม ชนเมื อ งโดยเฉพาะกลุ่ ม ปั ญ ญาชน นักวิชาการ ที่ถือว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การ บริหารส่วนตําบล และบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อ องค์การบริหารส่วนตําบลมากกว่าประชาชนกลุ่มอื่นๆ แต่ก ลับเข้า มามี ส่ว นร่ว มกั บองค์การบริหารส่ วนตํ าบล น้อย ส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง หลังจากนั้นก็ จะไม่ค่อยให้ความสํา คัญกับองค์ การบริหารส่วนตําบล เท่าที่ควร จะเป็นในรูปแบบของการร้องเรียน ติติงการ ทํางานมากกว่าการร่วมลงมือปฏิบัติงาน ทั้งนี้ จุฑารัตน์ บุ ญ ญานุ วั ต ร์ (2546:133) เห็ น ว่ า ชุ ม ชนที่ ค นส่ ว นใหญ่ เป็น ชนชั้ นกลาง แม้ ว่าจะเป็ นกลุ่ มคนที่มี ความรู้แ ละมี ศักยภาพในการนําความรู้มาพัฒนาตนเองได้ แต่สมาชิก อาจไม่เห็นความจําเป็นในการรวมกลุ่มจึงทําให้ระดับการ มีส่วนร่วมน้อย ซึ่งตรงข้ามกับประชาชนในชุมชนชนบท ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตําบล และบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การบริหารส่วน ตําบลยังไม่ดีเท่าที่ควร แต่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับองค์การ บริหารส่วนตําบลมากกว่า ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าประชาชน ในชุมชนชนบทมีสภาพทางสังคมในลักษณะของความ เป็นเครือญาติ ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า ปิยะนุช เงิน คล้ า ย และคณะ (2540:16) กล่ า วว่ า ความใกล้ ชิ ด ระหว่างประชาชนจะทําให้มีความตื่นตัวในผลประโยชน์ ของชุ ม ชนและการร่ ว มกระทํ า การโดยเฉพาะทาง การเมืองเพื่อแก้ไขปัญหามีมากขึ้น ดั ง นั้ น การที่ ป ระชาชนเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มกั บ องค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลจึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ส่ ง ผลต่ อความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทําแผนพัฒนา ท้ อ งถิ่ น แบบมี ส่ ว นร่ ว มและความรู้ ค วามเข้ า ใจของ ประชาชนเกี่ ย วกั บ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บล และ บทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบล มากกว่า ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “มีบางส่วนที่ไม่พอใจ แต่ก็ ไม่ถึงกับขนาดโวยวายเป็นเรื่องใหญ่ เขาก็แค่ไม่เข้าใจว่า ทํ า ไมโครงการเขาตั้ ง นานแล้ ว ยั ง ไม่ ไ ด้ เลย…เราก็ ต้ อ ง พยายามทําให้เขาเข้าใจว่าตามระเบียบมันเป็นแบบนี้นะ ขึ้นอยู่กับสภา อยู่กับคณะผู้บริหาร” แสดงให้เห็นว่าเมื่อ ประชาชนยั งไม่ไ ด้เข้า มามีส่ วนร่ว มจะไม่เข้า ใจในเรื่อง ดังกล่ าว แต่เมื่อได้มาเข้า ร่วมจะทํา ให้ป ระชาชนได้รั บ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เมื่อประชาชน ในชุ ม ชนเมื อ งซึ่ ง ไม่ ไ ด้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ทํ า แผนพั ฒนาท้ องถิ่ น จึ งทํ า ให้ มีค วามรู้ ใ นเรื่องการจั ด ทํ า แผนพัฒนาท้องถิ่นน้อยกว่าประชาชนในชุมชนชนบทซึ่ง เข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า บุญเลิศ เลียวประไพ และคณะ (2546:รายงานแนบท้ า ยฉบั บ ที่ 1) กล่ า วว่ า เมื่ อ ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมของอบต.มากขึ้นจะทําให้ มีความรู้เกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของอบต.เพิ่มขึ้นด้วย เป็นการซึมซับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอบต. ไปพร้อมๆ กับ การมี ส่ ว นร่ ว มฯ ซึ่ ง เป็ น ทั ก ษะที่ ดี ใ นการเรี ย นรู้ จ าก ประสบการณ์จริง เพราะเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แต่จากการศึกษาพบว่าสิ่งที่ส่งผลต่อการมีส่วน ร่วมของประชาชนแท้จริงแล้วก็คือทัศนคติของประชาชน ที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบลในพื้นที่ของตนเอง โดย ทัศนคติที่เกิดขึ้นทั้งในเชิงบวกและเชิงลบนั้นเกิดจากสิ่งที่ ประชาชนได้รับจากองค์การบริหารส่วนตําบล จุฑารัตน์ บุญญานุวัตร์ (2546:92) กล่าวว่าเงื่อนไขสําคัญของการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชน คือความตระหนักถึงปัญหา หรือการได้รับผลกระทบร่วมกัน และการมีผลประโยชน์ ร่วมกัน โดยมองว่าประโยชน์ที่ประชาชนคาดหวังว่าจะ ได้รับเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนเข้ามาร่วมในการแก้ปัญหา เมื่อประชาชนได้รับการตอบสนองก็จะมีทัศนคติที่ดีต่อ องค์การบริหารส่วนตําบล ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่สามารถ ตอบสนองได้ ต้ องตรงกั บ ความต้ องการของประชาชน หรื อ การเข้ า ถึ ง ประชาชนของคณะผู้ บ ริ ห ารองค์ ก าร บริหารส่วนตําบล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล และเจ้ า หน้ า ที่ รวมทั้ ง การสร้ า งความน่ า เชื่ อ ถื อ ของ องค์กรโดยรวม ขณะเดียวกันหากองค์การบริหารส่ว น ตําบลไม่สามารถทําเช่นนั้นได้ ประชาชนย่อมมีทัศนคติที่ ไม่ดีต่อองค์การบริหารส่วนตําบล และนั่นย่อมส่งผลต่อ การมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชน ศุ ภ สวั ส ดิ์ ชั ช วาล (2545:26) กล่ า วว่ า หากในบางสั ง คมประชาชนไม่ มี ความรู้ สึ ก ที่ ต้ อ งการเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการปกครอง ตนเองเท่าที่ควร สิ่งที่อาจจําเป็นและต้องดําเนินการไป พร้ อมๆ กั บ การกระจายอํ า นาจก็ คื อ การกระตุ้ น และ ปรับเปลี่ยน “ทัศนคติ” ของคนในท้องถิ่นให้มีความ ตื่นตัวและต้องการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม ซึ่งใกล้เคียงกับ แนวคิดของ อลงกต วรกี (2543:11) ที่กล่าวว่า การแก้ไข
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 75
ปัญ หาความขัด แย้ งในท้ องถิ่น ที่ย ากที่สุ ดคื อ “อคติ ”… เพราะทุกฝ่ายต้องล้มล้างทัศนะแบบเดิมๆ ที่ขัดขวางการ อยู่ร่วมกัน…การดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในท้องถิ่นก็จะมีโอกาสประสบความสําเร็จได้มากขึ้น ซึ่ง แสดงให้ เ ห็ น ว่ า ทั ศ นคติ ข องประชาชนที่ มี ต่ อ องค์ ก าร บริหารส่วนตําบลในพื้นที่ของตนเองนั้นมาจากปัจจัยที่ เกิดขึ้นภายในองค์การบริหารส่วนตําบลนั่นเอง ในช่ ว งที่ ผู้ วิ จั ย ทํ า การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล นั้ น องค์การบริหารส่วนตําบลเป้าหมายได้มีการจัดทําเฉพาะ แผนพัฒนาสามปี ไม่ได้มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนา ผลการวิจัยในส่วนของกระบวนการ สภาพปัญหา และการจัดการสภาพปัญหาจึงเป็นข้อมูลที่ได้จึงมาจาก การจัดประชุมประชาคมเพื่อจัดทําแผนพัฒนาสามปี ซึ่ง พบว่าการจัดประชุมประชาคมหมู่บ้านแบบลงพื้นที่แต่ละ หมู่บ้าน ประชาชนจะมีความสะดวกและมารวมตัวกันได้ เร็วกว่าและมีจํานวนมากกว่าการจัดประชุมประชาคม แบบให้ ป ระชาชนมารวมตั ว กั น ที่ อ งค์ ก ารบริ หารส่ ว น ตําบล เนื่องจากประชาชนพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว ทําให้เดินทางมาร่วมประชุมประชาคมได้อย่างสะดวก วิ ชยานี ชุมทอง (2549:127) กล่าวว่า การมีส่วนร่วมของ ประชาชน จะปรากฏชั ด ในส่ ว นการเข้ า ร่ ว มประชุ ม ประชาคม ในระดับหมู่บ้าน การเสนอข้อมูลสภาพปัญหา การเสนอความเดื อดร้ อนและความต้ อ งการ การร่ ว ม กําหนดวิสัยทั ศน์ และแนวทางการพัฒนาร่วมกัน การ เสนอโครงการ/กิจกรรม ในระดับหมู่บ้านประชาชนจะได้ เข้าร่วมอย่างเต็มที่ แต่ในระดับอบต. จะมีประชาชนเพียง บางส่ ว นที่ เ ป็ น ตั ว แทนเข้ า ร่ ว ม และการจั ด ประชุ ม ประชาคมตําบลขึ้นอีกครั้งมีความเหมาะสมกว่าการจัด ประชุ ม ประชาคมตํ า บลในวั น เดี ย วกั บ การจั ด ประชุ ม ประชาคมหมู่ บ้ า น เพราะการจั ด ประชุ ม ประชาคม รูปแบบหลังจะใช้เวลานานทํา ให้ประชาชนเกิด อาการ เบื่อหน่ายและไม่สามารถมีส่วนร่วมได้จนเสร็จสิ้นขั้นตอน เนื่องจากภารกิจส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่องค์การบริหารส่วน ตํ า บลจะนิ ย มจั ด ประชุ ม ประชาคมในช่ ว งเดื อ นเดื อ น เมษายน-ต้ น เดื อ นมิ ถุ น ายน เนื่ อ งจากตามระเบี ย บ กระทรวงมหาดไทย ว่า ด้ วยการจัด ทํา แผนพัฒ นาของ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น พ.ศ. 2548 กํ า หนดให้ แผนพั ฒ นาสามปี ต้ องจั ด ทํ า ให้ แ ล้ ว เสร็ จ ภายในเดื อ น
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
มิถุนายน และจะมีการนัดประชุมประชาคมในช่วงเวลาที่ ประชาชนสะดวกซึ่งส่วนใหญ่ในชุมชนชนบทจะเป็นช่วง ที่ประชาชนเสร็จสิ้นภารกิจด้านการเกษตร คือช่วงบ่าย และในชุ ม ชนเมื อ งก็ จ ะจั ด ในช่ ว งเวลาที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไปตามเหมาะสมของแต่ละชุมชน องค์การบริหารส่วนตําบลจะเรียกประชุมโดย ผ่าน 2 ช่องทาง คือตัวบุคคล เช่น สมาชิกสภาองค์การ บริ หารส่ ว นตํ าบล ผู้ นํ า ชุ ม ชน กํ า นั น ผู้ ใหญ่ บ้ า น อาจ เนื่ อ งมาจากมี ค วามทั่ ว ถึ ง และความน่ า เชื่ อถื อ ของตั ว บุคคลจะทํ าให้ สามารถเกณฑ์ คนมาร่วมการประชุมได้ ช่ องทางที่ 2 จะเป็ น ช่ องทางเสริ ม โดยการใช้ อุป กรณ์ เครื่องมือต่างๆ เช่น หอกระจาย หรือใบปลิว ซึ่งในการ จัดประชุมประชาคมจะมีผู้เข้าร่วมดําเนินการประชุมเป็น คณะกรรมการพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น และคณะกรรมการ สนับสนุนการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น แต่คณะกรรมการ ทั้ง 2 ชุดก็ไม่ได้มาเข้าร่วมทุกคนจะเป็นในลักษณะของ ตั ว แทนมากกว่ า อาจเนื่ อ งมาจากองค์ ป ระกอบของ คณะกรรมการมาจากหลายภาคส่วน และมีเวลาที่สะดวก ไม่ตรงกันตามภารกิจงานของแต่ละบุคคล ซึ่งก็อาจเป็น เหตุผลเดียวกันกับการเข้ามาร่วมหรือไม่ร่วมการประชุม ประชาคมของหน่ ว ยงานอื่ น ๆ เช่ น กั น ทั้ ง นี้ องค์ ก าร บริหารส่วนตําบลจะมีการสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมาเข้าร่วมประชุมประชาคมให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงอาหาร เครื่องดื่ม แจกสิ่งของ การ รั บ ส่ ง ประชาชนที่ อ ยู่ ห่ า งไกล หรื อ แม้ แ ต่ ก ารจ่ า ย ค่ า ตอบแทนเป็ น ค่ า พาหนะในการเดิ น ทาง แต่ พ บว่ า จํานวนประชาชนที่มาเข้าร่วมประชุมประชาคมก็ยังไม่ เป็ น ไปตามเป้ า หมายที่ กํ า หนดไว้ ร้ อ ยละ 5-10 ของ จํานวนประชากรในหมู่บ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตําบล ยั ง ไม่ ส ามารถจั ด การสภาพปั ญ หาเกี่ ย วกั บ จํ า นวน ผู้เข้าร่วมประชุมประชาคมได้ จึงต้องใช้ความเหมาะสม ของจํ า นวนผู้ ม าเข้ า ร่ ว มประชุ ม ประชาคมมากกว่ า ให้ เป็ น ไปตามเกณฑ์ ที่ กํ า หนดไว้ เนื่ อ งมาจากองค์ ก าร บริ ห ารส่ ว นตํ า บลได้ มี ก ารวางแผนการดํ า เนิ น งานใน ขั้ น ตอนต่ า งๆ หลั ง การจั ด ประชุ ม ประชาคมเอาไว้ ใ น ลักษณะที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้ การเลื่อนการจัดประชุม ประชาคมของหมู่บ้านหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการจัด ประชุ ม ประชาคมของหมู่ บ้ า นอื่ น ๆ และแผนการ
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 76
ดํ า เนิ น งานในขั้ น ตอนต่ อ ไป ที่ อ าจส่ ง ผลให้ ก ารจั ด ทํ า แผนพัฒนาท้องถิ่นไม่สามารถเสร็จทันกําหนดเวลา ถึงแม้จํานวนจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กําหนด แต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่มาเข้าร่วมประชุมประชาคมก็มี ความตื่นตัว กระตือรือร้นในการปฏิบัติตามขั้นตอนการ ประชุมประชาคม อาจเนื่องมาจากประชาชนอยากได้ใน สิ่งที่ตนเองต้องการ และก็อาจเป็นได้ว่าสิ่งที่ประชาชนได้ เคยขอไปนั้นก็ได้รับการตอบสนองจากองค์การบริหาร ส่วนตําบลเช่นกัน โดยพบว่าคนไทยพุทธมาร่วมในการจัด ประชุมในจํานวนที่ใกล้เคียงกับคนไทยมุสลิม แต่จํานวน ประชาชนในชุ ม ชนเมื อ งจะมาร่ ว มในการประชุ ม ประชาคมน้อยกว่าประชาชนในชุมชนชนบท นอกจากนี้ ยั ง พบว่ า คนไทยพุ ท ธจะมี ค วามตื่ น ตั ว ในการนํ า เสนอ ปัญหา/ความต้องการ (โครงการ) มากกว่าคนไทยมุสลิม ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ ที่อยู่ในชุมชนชนบทจะอ่านเขียนหนังสื อ ภาษาไทยไม่ ไ ด้ หรื อ อาจยั ง มี ทั ศ นคติ ที่ ไ ม่ ดี ต่ อ ระบบ ราชการ “ผมว่าในส่วนของชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ เขาจะรู้ บ ทบาทตรงนี้ แต่ ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ในส่ ว นของ ศาสนาอิสลามเนี้ยบางส่วนยังไม่รู้บทบาทของอบต. ที่ แท้จริง ยังไม่เข้าใจ เอาเป็นว่าศาสนาพุทธนี้เขาอ่านออก เขียนได้นะ เขาฟังข่าวฟังอะไรเขาก็อัพเดทข้อมูลอะไร ได้ เ ร็ ว ส่ ว นของอิ ส ลามคนแก่ ๆ ก็ ไ ม่ รู้ เ รื่ อ ง ไม่ รู้ ฟั ง ภาษาไทยอะไรอย่ า งนี้ ตรงนี้ ก็ จ ะมี ผ ล” ซึ่ ง คล้ า ยคลึ ง กับอิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต และคณะ (2548:120) ที่ กล่าวว่าการที่องค์กรมุสลิมมีส่วนร่วมทั้งการเมืองและ การบริ ห ารน้ อย เป็ น เพราะประชาชนชาวมุ ส ลิ ม ยั ง มี ทัศนคติที่ไม่ค่อยดีต่อองค์การบริหารส่วนตําบล อีกทั้ง ความรู้ขององค์กรมุสลิมก็ยังอยู่ในระดับต่ํา สํ า หรั บ วิ ธี ก ารเสนอปั ญ หา/ความต้ อ งการ (เสนอโครงการ) ในการจั ด ประชุ ม ประชาคมหมู่ บ้ า น พบว่า มี 3 วิ ธี การแตกต่ า งกั น ออกไปในแต่ล ะแห่ ง คื อ วิธีการที่ 1 จะให้ประชาชนเขียนโครงการในแบบเสนอ โครงการที่ จั ด เตรี ย มไว้ ใ ห้ โดยมี เ จ้ า หน้ า ที่ ค อยให้ คํา แนะนํ า ช่ วยเหลื อ และเรี ย งลํ าดั บ ความสํ าคั ญของ โครงการที่ เ สนอมา นํ า ส่ ง แบบเสนอโครงการให้ แ ก่ เจ้าหน้าที่เพื่อดําเนินการในขั้นตอนต่อไป วิธีการที่ 2 ให้ ประชาชนเสนอโครงการมาเป็นด้านๆ ตามที่ประชาชน เข้าใจเพื่อให้ง่ายในการนําเสนอโครงการ โดยเจ้าหน้าที่
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
เป็นผู้บันทึกข้อมูลโครงการที่ประชาชนนําเสนอ และให้ ประชาชนพิจารณาจัดลําดับความสําคัญของโครงการที่ นําเสนอมาอีกครั้ง โดยจะทําวิธีการนี้ให้เสร็จสิ้นในแต่ละ ด้ า นไปจนครบทุ ก ด้ า น และเจ้ า หน้ า ที่ จ ะเป็ น ผู้ จั ด โครงการลงในแต่ละยุทธศาสตร์ต่อไป และวิธีการที่ 3 ให้ ประชาชนพิจารณาจัดลําดั บความสําคัญโครงการตาม รายยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นโครงการที่มีอยู่เดิมในแผนพัฒนา สามปี และยังไม่ได้ดําเนินการก่อน แล้วจึงให้ประชาชน เสนอโครงการใหม่ ตามรายยุทธศาสตร์พร้อมพิจารณา จัดลําดับความสําคัญ โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้บันทึกข้อมูล โครงการที่ประชาชนนําเสนอมา เมื่อองค์การบริหารส่วน ตํ า บลได้ รั บ โครงการที่ ป ระชาชนเสนอมาจากการจั ด ประชุมประชาคมหมู่บ้านแล้ว องค์การบริหารส่วนตําบล ก็จะนําไปดําเนินการในขั้นตอนการจัดประชุมประชาคม ตํ า บลต่ อ ไป ซึ่ ง เมื่ อ ให้ ป ระชาชนเสนอปั ญ หา/ความ ต้องการ (เสนอโครงการ) ประชาชนในบางหมู่ไม่ได้มีการ สํ า รวจปั ญ หา/ความต้ อ งการของตนเองหรื อ เตรี ย ม โครงการมาเสนอล่วงหน้า ทําให้ไม่สามารถนึกออกได้ว่า มีปัญหา/ความต้องการอะไรบ้างที่ตนเองอยากจะเสนอ จึ ง มี โ ครงการที่ นํ า เสนอเพี ย งไม่ กี่ โ ครงการและไม่ ครอบคลุมทุกด้าน ส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านโครงสร้าง พื้นฐาน ซึ่งอาจเนื่องมาจากเมื่อให้ประชาชนพิจารณาถึง ความน่าอยู่ของเมืองแล้ว คนส่วนใหญ่มักมองปัญหาด้าน กายภาพเป็ น อั น ดั บ แรก ปั ญ หาเรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มทาง กายภาพ อั น ได้ แ ก่เรื่ องคู ร ะบายน้ํ า ปั ญ หาเรื่ องความ สะอาด จึ งเป็ นปัญหาที่ไ ด้รับ การแก้ไขเป็น อันดั บต้น ๆ (จุ ฑ ารั ต น์ บุ ญ ญานุ วั ต ร์ . 2546:133) จึ ง เป็ น เหตุ ใ ห้ องค์การบริหารส่วนตําบลสามารถแสดงผลงานในด้านนี้ ให้ประชาชนเห็นอย่างเป็นรูปธรรมได้ในเวลาอันรวดเร็ว และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ ได้ทันที ต่อมาเมื่ อ ประชาชนเห็ น ว่ า องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลสามารถ ตอบสนองความต้องการของตนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปธรรมมากกว่าด้านอื่น จึงสนใจ เสนอแต่โครงการด้านนี้ไปในที่สุด ดังเช่นปรี ชา เรือง จัน ทร์ (2542:42) กล่ า วว่ า ในทางปฏิ บั ติ จ ริ ง ผู้ บ ริ หาร และประชาชนยั ง เคยชิ น ต่ อ ระบบดั้ ง เดิ ม คื อ เน้ น การ พั ฒ นาด้ า นโครงสร้ า งพื้ น ฐานต่ า งๆ เช่ น ถนน ฝาย สะพาน เป็ น ต้ น องค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลจึ ง ต้ อ งนํ า
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 77
โครงการที่ได้เสนอมาในที่ประชุมไปดําเนินการในขั้นตอน ต่อไปก่อน และให้โอกาสประชาชนไปสํารวจโครงการ เพิ่มเติมหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมในครั้งนี้ และนํามา เสนอภายใน 1-2 วัน รวมทั้งจะต้องหาวิธีการต่างๆ มาใช้ กระตุ้นให้ประชาชนสนใจในการนําเสนอโครงการด้าน อื่ น ๆ เพื่ อ กระตุ้ น ให้ ป ระชาชนเห็ น ความสํ า คั ญ ของ โครงการด้านอื่นๆ นอกจากนี้พบว่ามีประชาชนประชาชนบางส่วน ที่ไม่กล้าพูด ไม่กล้านําเสนอในที่ประชุม โดยเฉพาะสตรี ชาวไทยมุส ลิม จึ งพบว่ าประชาชนไทยพุ ทธจะมีค วาม ตื่น ตั วในการนํ าเสนอโครงการมากกว่า ประชาชนไทย มุสลิม ซึ่งงานวิจัยของอิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต และ คณะ (2548:119) พบว่าในภาพรวมแล้วองค์กรมุสลิมมี ส่วนร่วมทางการเมืองและทางการบริหารขององค์การ บริหารส่วนตําบลในระดับน้อย จะเป็นรูปแบบของการให้ ความร่ ว มมื อ ในเชิ ง กิ จ กรรมในลั ก ษณะของการรั บ ผลประโยชน์จากการเข้าร่วมมากกว่าที่จะเข้าร่วมอย่าง เต็มรูปแบบในการบริหาร และเป็นไปได้ว่าการจัดประชุม ประชาคมอย่างเป็นทางการทําให้ประชาชนไม่กล้าแสดง ความคิดเห็น เจมส์ แอล เครตัน (2545. 215-216) กล่าวว่ามีคนจํานวนมากที่มีความหวาดวิตกที่จะพูดต่อ หน้ากลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งเขาอาจจะมีเรื่องสําคัญและสร้างสรรค์ ที่ จ ะพู ด แต่ เ ขาก็ จ ะไม่ พู ด ในที่ ป ระชุ ม สาธารณะ ซึ่ ง เป็นไปได้ว่าเกิดจากการที่ไม่สามารถอ่าน-เขียนหนังสือได้ การเสนอโครงการตามรู ป แบบที่ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น ตําบลกําหนดไว้จึงเป็นการยาก ต้องให้ประชาชนเสนอ โครงการตามที่ ป ระชาชนสะดวก และเข้ า ใจ และ เจ้ า หน้ า ที่ ข ององค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บลจะเป็ น ผู้ เก็ บ รวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากประชาชน และคาดว่าในการ จัดประชุมประชาคมในปีต่อไปจะใช้การแจกกระดาษให้ คนที่ไม่กล้าพูดกล้านําเสนอในที่ประชุมได้เขียนโครงการ ในกระดาษแทน โดย เจมส์ แอล เครตัน (2545:216) กล่าวว่า ถ้าเป้าหมายของการประชุมคือการพยายามที่ จะให้เกิดข้อตกลง (การพูดคุยกันในระหว่างกลุ่ม) การจัด ประชุมขนาดใหญ่ก็ไม่น่าที่จะมีประสิทธิภาพ การประชุม เชิงปฏิบัติการหรือรูปแบบอื่นๆ ของการประชุมอาจจะ ก่ อ ให้ เกิ ด ปฏิ สั ม พั น ธ์ อย่ า งมากได้ ซึ่ ง ก็ อ าจจะนํ า ไปสู่ ข้อตกลงได้ดีกว่า ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตําบลควร
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ต้องเปลี่ยนรูปแบบการจัดประชุมประชาคมในลักษณะที่ เป็ น ทางการเป็ น ลั ก ษณะของการจั ด ประชุ ม ที่ ไ ม่ เ ป็ น ทางการในลักษณะของการนั่งพูดคุยกัน ซึ่งการมีส่วนร่วม ของประชาชนในลั ก ษณะของความขั ด แย้ ง ก็ มี ใ ห้ เ ห็ น เช่นกันโดยเฉพาะการเสนอโครงการของผู้เข้าร่วมประชุม ประชาคมที่มีลักษณะและงบประมาณใกล้เคียงกัน แต่ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลสามารถสนั บ สนุ น ได้ เ พี ย ง โครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น เนื่องมาจากข้อจํากัด ด้ า นงบประมาณที่ จ ะต้ อ งจั ด สรรไปใช้ ใ นกิ จ กรรม/ โครงการอื่นๆ ด้วยเช่นกัน งานวิจัยของธีรวรรณ เทพ รักษ์ (2544:131-135) พบว่า ปัจจุบันประชาชนทั่วไปมี ความตื่นตัวในการปกครองในรูปแบบของการปกครอง ท้องถิ่นมากขึ้น จึงเข้าร่วมในกระบวนการวางแผนพัฒนา ขององค์การบริหารส่วนตําบล แต่เนื่องจากงบประมาณ ขององค์การบริหารส่วนตําบลยังได้รับค่อนข้างน้อย จึง ทํา ให้ มีปั ญหาอุ ปสรรคในการปฏิ บัติ ตามแผนนโยบาย องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลจึ ง ใช้ วิ ธี ก ารจั ด การสภาพ ปัญหานี้โดยการให้ประชาชนผู้เข้าร่วมประชุมพิจารณา ตัดสินใจคัดเลือกโครงการที่เห็นว่ามีความจําเป็นมากกว่า โดยการยกมือลงคะแนนเสียง(โหวต) และนายกองค์การ บริ ห ารส่ ว นตํ า บลจะนํ า โครงการที่ ไ ด้ รั บ การคั ด เลื อ ก บรรจุไว้ในปีแรก และที่ไม่ได้รับการคัดเลือกบรรจุไว้ในปี ถัดไป เนื่องจากปัจจุบันการจัดสรรงบประมาณถือว่ายัง อยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอ เป็นผลมาจากรายได้ที่จัดเก็บ เองกับรายได้ที่รัฐจัดสรรมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการ ดําเนินการตามโครงการกิจกรรมในแผนยุทธศาสตร์การ พั ฒ นา วิ ธี ก ารแก้ ไ ขจึ ง สามารถทํ า ได้ โ ดยการกํ า หนด โครงการกิจกรรมในปริมาณที่เหมาะสมกับงบประมาณ หรื อ อาจจะขอรั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจาก หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง (อาริ ย า สิ ท ธิ ว รรณวงศ์ . 2550:112) ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลจะ ยอมรับทุกโครงการที่ประชาชนนําเสนอ แต่มีการชี้แจง ให้ ป ระชาชนทราบถึ ง กระบวนการในการจั ด ทํ า แผนพัฒนาที่จะต้องผ่านการพิจารณาในขั้นตอนต่อไป สําหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอน หลั ง เสร็ จ สิ้ น การจั ด ประชุ ม ประชาคมเพื่ อ จั ด ทํ า แผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมนั้น ประชาชนจะเข้า มามีส่วนร่วมในลักษณะของการเสนอโครงการเพิ่มเติม
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 78
และเปลี่ ย นแปลงแก้ ไ ขโครงการที่ ไ ด้ นํ า เสนอมาแล้ ว มากกว่าการร่วมพิจารณาโครงการที่ได้มีการนําเสนอมา จากที่ประชุมประชาคม อาจเนื่องมาจากตามระเบีย บ กระทรวงมหาดไทยว่ า ด้ ว ยการจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ไม่ได้กําหนดไว้ อย่างชัดเจนว่าให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมใน เรื่ องใดได้บ้ า งหลั ง จากเสร็ จ สิ้ นขั้ น ตอนการจั ด ประชุ ม ประชาคมเพื่อจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม การดํ า เนิ น การขั้ น ตอนหลั ง เสร็ จ สิ้ น การจั ด ประชุ ม ป ร ะ ช า ค ม จึ ง เ ป็ น ห น้ า ที่ ค ว า ม รั บ ผิ ด ช อ บ ข อ ง คณะกรรมการจัดทําแผนทั้ง 2 คณะ คือ คณะกรรมการ พัฒนาท้องถิ่น และคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทํา แผนพั ฒนาท้ องถิ่น ดั งนั้ น การเสนอโครงการเพิ่ มเติ ม รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโครงการนั้นอาจกลายเป็น สภาพปั ญ หาที่ ส่ ง ผลให้ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลไม่ สามารถจั ดทํา แผนพั ฒนาท้องถิ่นให้แล้ว เสร็ จตรงตาม กําหนดเวลาได้ แต่องค์การบริหารส่วนตําบลก็มีความ จําเป็นที่จะต้องรับข้อเสนอเพิ่มเติมจากประชาชน อาจ เป็นเพราะว่าหากองค์การบริหารส่วนตําบลไม่ยอมรับฟัง ประชาชนหลั งจากการจัด ประชุม ประชาคมเพื่ อจัดทํ า แผนพัฒ นาท้องถิ่ นแบบมีส่ ว นร่ว มเสร็ จ สิ้ นแล้ ว ก็ อาจ สร้ า งความไม่ พึ ง พอใจให้ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ประชาชน เพราะ โครงการที่บรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่นอาจไม่ต้องตรงและ ครอบคลุ ม ตามความต้ อ งการของประชาชนที่ แ ท้ จ ริ ง เนื่องจากประชาชนย่อมเป็นผู้ที่รู้ดีว่าตนต้องการอะไร มี ปัญหาอะไร และอยากแก้ปัญหาอะไร การให้ประชาชนมี ส่วนร่วมย่อมทําให้โครงการต่างๆ สนองความต้องการ ของประชาชนที่แท้ จริงได้ดี กว่า (ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ํา . 2540:49) และหากไม่ ส ามารถสร้ า งความพึ ง พอใจกั บ ประชาชนได้ก็จะส่งผลต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อ องค์การบริหารส่วนตําบลจนนํามาซึ่งการไม่ยอมเข้ามามี ส่ ว นร่ ว มในการจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ องถิ่ น ในครั้ ง ต่ อไป รวมถึงการมีส่วนร่วมในเรื่องอื่นๆ ได้เช่นกัน จากผลการศึ กษาใน 2 ส่ว นข้ างต้น ได้ นํา มาสู่ การวิเคราะห์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่เกี่ยวข้อง กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนา ท้องถิ่น พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทํา แผนพัฒนาท้องถิ่นนั้นไม่ใช่ตัวชี้วัดเพียงตัวเดียวที่มีผลต่อ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
การเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ ดีโ ดยตรง เนื่องจากองค์ การบริ หารส่ วนตํ า บลที่ มี ก าร บริหารจัดการที่ดีก็ยังคงประสบกับสภาพปัญหาของการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น อยู่ซึ่งต้องมีการจัดการสภาพปัญหาด้านนี้เสมอมา และ ประกอบกับในการประเมินองค์การบริหารส่วนตําบลที่มี การบริหารจัดการที่ดียังมีตัวชี้วัดอื่นๆ อีกมากมายที่ใช้ใน การประเมิน รวมทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นภายในองค์กรต้องมี ความพร้ อ มก่ อ นจึ ง จะนํ า ไปสู่ ก ารมี ส่ ว นร่ ว มของ ประชาชนก็ตาม แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้นมีผลต่อความเหมาะสมของ องค์การบริหารส่วนตําบลในการเป็นองค์การบริหารส่วน ตํ า บลที่ มี ก ารบริ ห ารจั ด การที่ ดี เนื่ อ งจากหลั ง จากที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของตนเข้ามา บริหารงานแล้ว การมีส่วนร่วมที่สําคัญประการต่อมาก็ คือการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น เพราะ องค์การบริหารส่วนตําบลต้องใช้แผนพัฒนาท้องถิ่นเป็น ตัวขับเคลื่อนการดําเนินกิจกรรม/โครงการขององค์การ บริหารส่วนตําบล หากองค์การบริหารส่วนตําบลต้องการ จะผ่านการประเมินเพื่อเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มี การบริหารจัดการที่ดีนั้น ก็ควรต้องผ่านตัวชี้วัดเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งในเรื่องของการมีส่วนร่วม ในการจั ดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น และการมีส่ วนร่วมใน เรื่องอื่นๆ ผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “คือจริงๆ แล้วจังหวัดเขา ประเมินในส่วนของอบต. ไม่ได้ลงประเมินในพื้นที่ ในเมื่อ ทางอบต. เรื่ อ งเอกสาร ถ้ า เรามี แ นวคิ ด ว่ า จะหลอก จังหวัด เราก็ทําเอกสารส่งไปว่าเราทําอันนี้เกี่ยวกับยา เสพติ ด ส่ ง ไปก็ ไ ม่ แ ปลกที่ จ ะได้ รั บ รางวั ล คื อ ต่ อ ให้ ประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมก็ทําได้ แต่ก็ไม่ภูมิใจนะ ได้ อย่ า งนั้ น ไม่ เ อาดี ก ว่ า ไม่ ส บายใจเหมื อ นกั บ หลอก” องค์การบริหารส่วนตําบลจึงต้องมีการจัดทําแผนพัฒนา ท้องถิ่ นที่ ผ่า นการมี ส่ว นร่ ว มของประชาชน และมีก าร จัด การกั บ สภาพปั ญ หาในเรื่องของการมีส่ ว นร่ว มของ ประชาชนในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มี ความเหมาะสมที่ จะผ่านการประเมิน เพื่อเป็ น องค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี จากผลการศึ ก ษาผู้ วิ จั ย สามารถอภิ ป ราย ผลการวิ จั ย ได้ ว่ า ความรู้ ค วามเข้ า ใจของประชาชน
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 79
เกี่ ย วกั บ การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ องถิ่ น แบบมี ส่ ว นร่ ว ม และความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับองค์การ บริหารส่วนตําบล และบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อ องค์การบริหารส่วนตําบลไม่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทํ าแผนพั ฒนาท้องถิ่น แต่ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตําบลในพื้นที่ ของตนเอง มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ประชาชนได้รับ จากองค์การบริหารส่วนตําบล เมื่อประชาชนได้รับก็จะมี ทัศนคติที่ดีต่อองค์การบริหารส่วนตําบล ขณะเดียวกัน หากองค์การบริหารส่วนตําบลไม่สามารถทําเช่นนั้นได้ ประชาชนย่อมมีทั ศ นคติ ที่ ไม่ ดี ต่ อองค์ก ารบริ หารส่ ว น ตํ า บลเช่ น กั น และการมี ส่ ว นร่ ว มของประชาชนใน กระบวนการจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น นั้ น ถื อว่ า อยู่ ใ น ระดับดี ประชาชนมีความตื่นตัวในการนําเสนอ ยกเว้น ประชาชนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งองค์การบริหารส่วน ตําบลก็มีวิธีการจัดการสภาพปัญหาที่เกิดจากการมีส่วน ร่ว มที่ แ ตกต่ า งกั น ออกไป โดยเฉพาะที่ ป ระสบมากคื อ เรื่องของจํา นวนประชาชนที่ม าเข้า ร่ว มประชุม ไม่ ผ่า น เกณฑ์ที่กําหนด แต่ก็พบว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น ไม่ มี ผ ลต่ อ การเป็ น องค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดีถึงแม้ จะประสบปัญหาก็ตาม แต่มีผลต่อความเหมาะสมของ องค์การบริหารส่วนตําบลในการเป็นองค์การบริหารส่วน ตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดี หากองค์การบริหารส่วน ตํ า บลต้ อ งการจะผ่ า นการประเมิ น เพื่ อ เป็ น องค์ ก าร บริหารส่วนตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดีนั้น ก็ควรต้อง ผ่านตัวชี้วัดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งใน เรื่องของการมีส่วนร่วมในการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น และการมี ส่ ว นร่ ว มในเรื่ อ งอื่ น ๆ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น ตําบลจึงต้องมีการจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ผ่านการมี ส่วนร่วมของประชาชน และมีการจัดการกับสภาพปัญหา ในเรื่ องของการมีส่ ว นร่ ว มของประชาชนในการจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น อยู่ ต ลอดเวลา เพื่ อ ให้ มี ค วาม เหมาะสมในทุกด้านในการเป็นองค์การบริหารส่วนตําบล ที่มีการบริหารจัดการที่ดี ข้อเสนอแนะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานการประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีให้มี การพัฒนา ปรับปรุงรูปแบบการประเมินองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีใน 3 ด้าน ด้านที่ หนึ่ง ได้แก่ หลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดการประเมิน ถึงแม้ แบบประเมิ น ที่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น องค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่ น ที่ มี ก ารบริ หารจั ด การที่ ดี นั้ น จะมี ค วามถู ก ต้ อง เหมาะสม แต่ควรนํามาใช้ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นทุกแห่งมีศักยภาพที่เหมือนกัน ซึ่งในสภาพความ เป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ ละแห่ ง มี ค วามแตกต่ า งกั น จึ ง ควรมี ก ารกํ า หนด หลักเกณฑ์ และตัวชี้วัดการประเมินขึ้นใหม่ โดยการแยก ตามขนาดขององค์ ก ารบริ หารส่ ว นตํ า บล (ขนาดเล็ ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่) หรือแยกตามสภาพพื้นที่ และ หรือบริบทอื่นๆ ขององค์การบริหารส่วนตําบลที่มีความ แตกต่าง โดยจัดประเภท และหมวดหมู่ใหม่ เช่น แยก ตามองค์การบริหารส่วนตําบลพื้นที่เมือง องค์การบริหาร ส่วนตําบลพื้นที่ชนบท หรือองค์การบริหารส่วนตําบลที่ อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และให้นํายุท ธศาสตร์ข ององค์การ บริ ห ารส่ ว นตํ า บลในแต่ ล ะยุ ท ธศาสตร์ ม าประเมิ น ความสําเร็จในการดําเนินงานตามยุทธศาสตร์นั้นๆ ด้วย เช่นกัน ด้านที่สอง ได้แก่ คณะกรรมการตรวจประเมินที่ ควรมีการเพิ่มมาตรฐานของคณะกรรมการตรวจประเมิน จากที่ เ ป็ น อยู่ ใ ห้ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ขึ้ น โดยการเปลี่ ย น รู ป แ บ บ ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ต ร ว จ ป ร ะ เ มิ น ที่ ใ ห้ บุคคลภายนอก หรือองค์กร/หน่วยงานอื่นๆ ที่มีความรู้ เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นมาเป็นคณะกรรมการ ตรวจประเมิน หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคย ได้ รั บ รางวั ล บริ หารจั ด การที่ ดี หลายปี ซ้ อนมาร่ ว มเป็ น คณะกรรมการตรวจประเมินตามแบบตรวจประเมินที่ได้ มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้วข้างต้น และด้านสุดท้าย ได้แก่ ด้านวิธีการประเมิน ซึ่งสามารถสรุปได้ 4 วิธีการประเมิน คือ วิธีการที่ 1 การประเมินร่วมกัน 3 ฝ่าย โดยต้องการ ให้มีการประเมินโดยการสอบถามจากประชาชน ร่วมกับ การประเมิน จากคณะกรรมการตรวจประเมิ น และให้ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ องถิ่ น ประเมิ น ตั ว เองที่ ท างหนึ่ ง (คณะกรรมการ + ประชาชน + องค์ ก รปกครองส่ ว น ท้องถิ่น) วิธีการที่ 2 ให้คณะกรรมการตรวจประเมินทํา
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 80
การตรวจสอบเอกสารเป็นเบื้องต้นเพื่อคัดเลือกองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์ และลงพื้นที่สอบถาม ความคิดเห็นจากประชาชนเฉพาะองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่ นที่ผ่ านการประเมิ นเหล่ านั้น (คณะกรรมการ + ประชาชน) วิธีการที่ 3 คณะกรรมการตรวจประเมินควร ลงพื้ น ที่ ป ระเมิ น องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น จาก ประชาชนในชุมชน โดยการสุ่มถามประชาชนเพื่อเป็น การประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากหลักฐานที่ เกิ ด ขึ้ น จริ ง และไม่ ส ามารถสร้ า งขึ้ น มาได้ เ หมื อ นการ ตรวจสอบจากเอกสาร (ประชาชน) และวิธีการที่ 4 หาก การลงพื้นที่เพื่อดูการปฏิบัติงานจริงเป็นไปได้ยาก ก็ควร หาวิธีการปรับปรุง พัฒนาการประเมินโดยการตรวจสอบ จากเอกสารให้ดีขึ้นกว่าเดิม (คณะกรรมการ) สํ า หรั บ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลที่ รั บ การ ประเมินต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับการประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีตาม รูป แบบที่ใ ช้ อยู่ ในปั จ จุ บัน โดยเตรี ย มความพร้ อมของ หลักฐานไว้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากองค์การบริหารส่วนตําบล ทุกแห่งต่างรับทราบกันดีอยู่แล้วว่าจะต้องมีการประเมิน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีใน ทุกปี เมื่อรู้ว่าปี ที่ผ่านมาเอกสาร หลักฐานตามแบบ ประเมินส่วนใดที่หน่วยงานของตนไม่ผ่านการประเมิน ก็ ควรลงมื อ ทํ า ในส่ ว นนั้ น เพื่ อ สามารถนํ า มาใช้ เ ป็ น หลักฐานประกอบการประเมินในครั้งต่ อไปได้ ซึ่งผลที่ ตามมาก็คือ หน่วยงานก็จะมีความเป็นระบบระเบียบ มี ความพร้อมตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีครบ ทั้ง 7 ด้าน และจะนําไปสู่การเป็นองค์การบริหารส่วน ตําบลที่มีการบริหารจัดการที่ดีในที่สุด และเมื่อองค์การ บริ ห ารส่ ว นตํ า บลมี ค วามตั้ ง ใจที่ จ ะรั บ รางวั ล องค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วนั้น ก็ ควรมีความพร้อมของเอกสารในทุกด้าน และทุกตัวชี้วัด เมื่อนําเอกสาร หลักฐานต่างๆ เหล่านั้นให้คณะกรรมการ ตรวจประเมินทําการตรวจสอบ จึงมีความเหมาะสมที่จะ ผ่านการประเมินเป็นองค์การบริหารส่วนตําบลที่มีการ บริหารจัดการที่ดี โดยเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วน ตํ า บลจะต้ องเอาใจใส่ และจริ ง จั ง ในการเตรี ย มความ พร้อมของเอกสาร หลักฐานต่างๆ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ควรมีการ ศึกษาวิจัยแบบเจาะลึกในประเด็นอื่ นๆ ที่เกี่ยวข้องต่ อ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ซึ่งนอกเหนือจากการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยอาจใช้กลุ่มตัวอย่างที่ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น เช่น เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เนื่องจากเรื่อง ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่สําหรับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จึงยังคงเป็นประเด็นที่มีความน่าสนใจในการ ศึกษาวิจัยเพื่อดูวิวัฒนาการของการบริหารจัดการของ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในประเด็ น ต่ า งๆ ตาม หลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีซึ่งจะนํามาสู่ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นสู่การเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดีต่อไป บรรณานุกรม โกวิทย์ พวงงาม. 2550. การปกครองท้องถิ่นไทย. พิมพ์ ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: วิญญูชน. จุฑารัตน์ บุญญานุวัตร์. 2456. “การสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมของประชาชนในโครงการสงขลาเมือง น่าอยู่ของเทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ก า ร จั ด ก า ร สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สําเนา) เจมส์ แอล เครตัน. 2545. คู่มือการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการตั ด สิ น ใจของชุ ม ชน. แปล และเ รี ย บ เรี ย ง โ ดย วั น ชั ย วั ฒ น ศั พ ท์ . ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท. ดุสิด า แก้ว สมบูร ณ์. 2545. “การมี ส่ว นร่ วมของ ประชาชนในโครงการพัฒนาตําบลขององค์การ บ ริ ห า ร ส่ ว น ตํ า บ ล ใ น จั ง ห วั ด ส ง ข ล า ” วิ ท ยานิ พ นธ์ รั ฐ ประศาสนศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต ค ณ ะ วิ ท ย า ก า ร จั ด ก า ร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สําเนา) ทะนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ํา. 2540. หลักการพัฒนาชุมชน, Principle Community Development. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อริญชยา จรุงกิตติกุล, วันชัย ธรรมสัจการ และอุมาพร มุณีแนม 81
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...
ธีรวรรณ์ เทพรักษ์. 2543. “ปัญหาและอุปสรรคใน อลงกต วรกี. 2543. “การแก้ปัญหาความขัดแย้งใน ท้ อ งถิ่ น ”. นิ ต ยสารท้ อ งถิ่ น , 40(11), กระบวนการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วน พฤศจิกายน 2543. หน้า 11-17. ตําบล: ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่ว น ตํ า บลในจั ง หวั ด สงขลา” วิ ท ยานิ พ นธ์ รั ฐ อาริยา สิทธิวรรณวงศ์. 2542. “ปัญหาและอุปสรรคใน การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ขององค์การบริหาร ประศาสนศาสตรมหาบั ณฑิต คณะวิ ทยาการ ส่วนตําบลในจังหวัดยะลา” วิทยานิพนธ์รัฐ จัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สําเนา) ประศาสนศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต คณะวิ ท ยาการ นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ. 2546. “การมีส่วนร่วม ของประชาชนในการตรวจสอบการดําเนินงาน จัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (สําเนา) ของอบต.” โครงการวิจัยของสํานักงานป้องกัน อิบราเฮ็ม ณรงค์รักษาเขต และคณะ. 2548. “การมี ส่วนร่วมขององค์กรมุสลิมในการส่งเสริมธรรม และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ The รัฐองค์การบริหารส่วนตําบลในจังหวัดชายแดน United States Agency for International Development. ภาคใต้” โครงการวิจัยมูลนิธิเอเชีย วิทยาลัย อิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. บุญเลิศ เลียวประไพ และคณะ. 2546. “การใช้การมี (สําเนา) ส่วนร่วมของประชาชนเป็นกลยุทธ์ในการบรรลุ สภาวะการบริ ห ารจั ด การที่ ดี ณ อบต. จ. กาญจนบุ รี : การวิ จั ย เชิ ง ปฏิ บั ติ ก าร” โครงการวิ จั ย ของสถาบั น วิ จั ย ประชากรและ สั ง คม มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล และศู น ย์ วิ จั ย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. (สําเนา) ปิยะนุช เงินคล้าย และคณะ. 2540. “การมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชน: ศึกษาเปรียบเทียบ ประชาชนในเขตเมื อ งกั บ ประชาชนในเขต ช น บ ท ” โ ค ร ง ก า ร วิ จั ย ค ณ ะ รั ฐ ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง. (สําเนา) ปรีชา เรืองจันทร์. 2540. “องค์การบริหารส่วนตําบลใน ปี 2563”. วารสารเทศาภิบาล, 92(3), มีนาคม 2540. หน้า 37-44. วิชยานี ชุมทอง. 2549. “การจัดทําแผนพัฒนา และ โครงการขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลใน จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ” วิ ท ยานิ พ นธ์ สั ง คม ส ง เ ค ร า ะ ห์ ศ า ส ต ร ม ห า บั ณ ฑิ ต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (สําเนา) วิชล มนัสเอื้อศิริ. 2547. “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ ดี”. วารสารพัฒนาชุมชน, 43(1), มกราคม 2547. หน้า 21-25. ศุภสวัสดิ์ ชัชวาล. 2545. การปกครองท้องถิ่นกับการมี ส่วนร่วมของประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท: ม.ป.พ.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
83
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
Research A Study on Problems of Baku Pronunciation among Yala Islamic University (YIU) Students Assumani Maso Abstract The Baku pronunciation is the standard of Malayu language. It is an essential factor in Malayu teaching as it indicates the speaker’s language proficiency. YIU students’ Baku pronunciation is non-standard and requires improvement. The problem was examined through Baku pronunciation of vowels and consonants both by Thai-speaking students and Pattani dialectspeaking students. Sound units were also analyzed. It is concluded that the Baku pronunciation problem among YIU students was resulted from the effects of their native language in their daily life. Baku is only applied in typical situations. Keywords: Baku, YIU students
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
84
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
บทความวิจัย ศึกษาปัญหาการออกเสียงบากูของนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซะ บทคัดย่อ การออกเสียงบากูเป็นการออกเสียงที่เป็นมาตรฐานในภาษามลายู เป็นปัจจัยที่สําคัญในการเรียนการสอน ภาษามลายู เป็ น สิ่ ง ที่ จ ะบ่ ง ชี้ ว่ า ผู้ พู ด มี ค วามเชี่ ย วชาญในภาษา สํ า หรั บ นั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย อิ ส ลามยะลา ความสามารถในการออกเสียงบากูยังไม่ได้มาตรฐาน ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น ปัญหาการออกเสียงบากูได้ สังเกตทั้งนักศึกษาที่พูดภาษามลายูและภาษาไทย โดยออกเสียงบากู ส่วนของเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และวิเคราะห์ หน่วยเสียง สรุปว่าปัญหาการออกเสียงบากูสําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เกิดจากอิทธิพลของภาษาที่ หนึ่งที่นักศึกษาที่ใช้ในชีวิตประจําวัน การออกเสียงบากูนั้นจะใช้ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเท่านั้น คําสําคัญ: บากู, นักศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
85
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
Masalah Pengajaran Sebutan Baku Bagi Pelajar Universiti Islam Yala Assumani Maso ABSTRAK Sebutan baku atau sebutan standard merupakan aspek yang penting dalam pengajaran dan pembelajaran bahasa Melayu. Ia boleh mencerminkan seseorang itu sudah menguasai bahasa Melayu Melayu atau tidak kerana kefasihan seseorang itu tergantung kepada sebutannya. Bagi pelajar Universiti Islam Yala, penguasaan sebutan baku masih tidak memuaskan dan perlu kepada mendedah kepada perubahan yang lebih baik. Bagi sebutan baku yang masih gagal pada kalangan pelajar akan dilihat kepada beberapa faktor. Yang pertama, golongan pelajar yang dibuat pemerhatian iaitu pelajar yang bertutur bahasa Melayu sebagai bahasa pertama dan satu golongan lagi ialah pelajar yang bercakap bahasa Thai. Yang kedua, aspek sebutan baku pula dilihat pada sebutan vokal, sebutan konsonan dan analisis fonemis. Kesalahan sebutan baku di kalangan pelajar Universiti Islam Yala dapat dirumuskan bahawa pelajar dipengaruhi dengan bahasa pertama mereka kerana bahasa pertama lebih rapat dengan pengguaan harian mereka sedangkan sebutan baku itu hanya digunakan dalam majlis yang formal sahaja Keyword: Baku, pelajar Universiti Islam Yala
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
Pendahuluan Pengajaran bahasa Melayu di Selatan Thailand sudah berkurun dimulakan ini terbatas kepada murid Melayu sahaja. Manakala tempat diajarnya iaitu di sekolah-sekolah agama, balaibalai atau di masjid. Tujuan pengajaran tersebut adalah untuk muridnya menguasai bahasa Melayu. Dengan penguasaan bahasa Melayu maka murid-murid ini boleh mendalami pelbagai ilmu khususnya ilmu agama. Sehubung dengan itu, hasil dari pengajaran bahasa melayu pada kalangan murid di sini agak berbeza mengikut institusi yang mereka pelajari dan lingkungan yang mereka berada. Di samping itu, pembelajaran bahasa melayu terhenti apabila mereka sudah tamat belajar. Apa yang pentingnya, mereka itu sudah mempunyai asas dalam bahasa Melayu pada satu pringkat. Walau bagaimanapun, Apabila kita melihat kedudukan pengajaran bahasa Melayu di Universiti Islam Yala secara umumnya beberapa perkara yang menarik telah muncul: 1.Mahasiswa bahasa Melayu sangat berbeza latar belakang. Pihak Jabatan Bahasa Melayu membahagi mahasiswa kepada dua kelompok melalui ujian keterampilan bahasa. Pelajar yang tidak lulus akan diwajibkan mengambil Kursus Intensif Bahasa Melayu manakala pelajar yang lulus itu tidak diwajib. 2.Wujudnya sikap pelajar yang menganggap mata pelajaran bahasa Melayu itu tidak penting dengan tidak mengambil berat berbanding dengan mata pelajaran lain. 3.Pelajar masih keliru antara bahasa Melayu baku dengan bahasa dialek dari segi perkataan mahu pun sebutan.
86
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
Ini adalah antara fenomena-fenomena yang amat ketara yang menyebabkan proses pengajaran dan pembelajaran, hasilan-hasilan yang diharapkan dan teknik-teknik mengajar tidak memuaskan. Konsep Sebutan Baku Apabila kita bercakap tentang bahasa Melayu baku, maka ada beberapa komponen seperti tatabahasa, ejaan, laras bahasa, istilah, ejaan dan laras yang tercakap dalam bahasa baku. Oleh hal yang demikian, bahasa baku bermaksud bahasa yang betul dari segi tatabahasa, ejaan, laras, istilah dan sebutan. Seperti yang dinyatakan di atas, aspek sebutan menjadi satu komponen dalam bahasa baku. Dalam pembinaan dan pengembangan bahasa Melayu sebagai bahasa yang standard dan moden, aspek sebutan baku amat penting. Sesuatu bahasa tidak boleh dikatakan baku atau standard, kalau sebutannya masih tidak teratur dan kucar kacir. Sebutan pula, menurut Abdul Aziz Abdul Talib (1988) ialah cara menyebut atau membunyikan sesuatu perkataan. Sebutan yang standard ialah cara sesuatu perkataan itu disebut menurut cara rasmi dalam sesuatu bahasa. Dengan kata lain, sebutan baku bahasa Melayu bermakna cara rasmi membunyikan atau melafazkan sesuatu perkataan menurut ejaan baku bahasa Melayu atau menurut nilai bunyi bahasa Melayu. Lazimnya, setiap bahasa mempunyai sistem bunyi atau fonologi yang tersendiri. Oleh itu, sistem bunyi bahasa Melayu sudah tentunya mempunyai bentuk bunyi yang tersendiri yang pasti berbeza daripada sistem
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
sebutan bahasa Inggeris, Cina, Tamil, Iban ataupun Thai. Mengikut prinsip fonemik bahasa Melayu, vokal, konsonan dan diftong yang terdapat dalam bahasa Melayu dibunyikan seperti berikut: (i) Vokal /a/ dilafazkan [a] pada mana posisipun, sama ada di awal, di tengah atau di akhir perkataan seperti dalam [a + bah], dan [su + ka]. (ii) Vokal /e/ yakni /e/ taling atau /e/ pepet dilafazkan menurut bunyi asal sesuatu perkataan itu seperti dalam [sə + maʔ] dan [se + maʔ] serta [pə + raŋ] dan [pe + raŋ] (iii) Vokal /i/ dilafazkan [i] dan bukan [e] seperti dalam perkataan [pi + lih] dan bukan [pi + leh]. (iv) Vokal /o/ di lafazkan [o] seperti dalam perkataan [to + loŋ]. (v) Vokal /u/ dilafazkan [u] dan bukan [o] seperti dalam kata [su + luh] dan bukan [su + loh]. (vi) Diftong /ai/, /au/, /oi/ harus dibunyikan sebagai satu lafaz dalam satu suku kata seperti dalam perkataan [pa + kai], [ka + lau] dan [se + poi]. (vii) Semua konsonan mempunyai satu nilai bunyi seperti [p] dalam [pintu], [b] dalam batu,[t] dalam [talam] dan sebagainya. Gugusan konsonan yang terdapat dalam bahasa Melayu, iaitu /gh/, /kh/, /ng/, /ny/ dan /sy/ dibunyi dengan satu nilai bunyi walau pun dilambangkan oleh dua huruf. Huruf /k/ pula dibunyikan dua cara, iaitu [k] dan [ʔ]. Lambang
87
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
[ʔ] digunakan untuk melambangkan hentian glotis seperti dalam perkataan [bu + daʔ]. Analisis Kegagalan Sebutan Menurut Abdullah Hassan (1996) menyatakan bahawa sebutan menghadapi dua jenis masalah, pertama dalam bahasa Malaysia itu sendiri dan kedua masalah dari luar. Dari dalam bahasa Malaysia sendiri, terdapat masalah menentukan sebutan baku berbanding dengan sebutan dialek. Sebenarnya kontroversi ini tidak besar. Sebutan kata-kata bahasa Malaysia memang tidak banyak berbeza, yang menjadi perbalahan ialah pada bunyi /a/ pada suku kata akhir terbuka, sama ada patut diucapkan /a/ atau /e/. Dalam kontek di selatan Thai khususnya di Universiti Islam Yala, sudah kita ketahui bahawa mahasiswa Bahasa Melayu Universiti Islam Yala mempunyai latar belakang yang berbeza. Mereka terpengaruh dengan bahasa Dialek Patani yang menjadi bahasa pertama dan bahasa Thai yang menjadi bahasa rasmi Negara Thai. Pengaruh tersebut memberi kesan langsung terhadap penguasaan bahasa baku atau bahasa standard. Menurut pemerhatian penulis, pelajar yang berkaitan itu merupakan pelajar Jurusan Bahasa Melayu dan pelajar umum yang mengambil kursus GE 219-803 Bahasa Melayu Komunikasi I dan GE 219-804 Komunikasi II. Pelajar tersebut kalau dibahagikan mengikut latar belakang terbahagi kepada pelajar yang menutur bahasa Melayu dari selatan Thailand dan pelajar yang menutur bahasa Thai yang datang selain daripada selatan Thailand. Walau
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
bagaimanapun kedua-dua kelompok ini masalah sebutan mereka itu pun berbeza. Pemerhatian sebutan bahasa Melayu pada kumpulan pertama iaitu pelajar daripada Jurusan Bahasa Melayu sendiri. Pelajar mempunyai pengalaman berbahasa Melayu di sekolah masing-masing. Mereka melalui pembelajaran bahasa Melayu secara langsung iaitu mata pelajaran bahasa Melayu dan juga bahasa Melayu sebagai medium dalam mengantar ilmu-ilmu agama itu secara tidak langsung. Sehubungan dengan itu, didapati bahawa kebanyakan pelajar tidak nampak kecenderungan yang tinggi untuk menggunakan sebutan baku. Mereka terpengaruh dengan sebutan dialek yang mereka sudah biasa selama ini. Malah, sebutan baku itu perkara yang baharu bagi mereka. Ada beberapa contoh yang penulis akan kemukakan di bawah ini:
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
88
[parampuan] empat
disebut
[ampat] Disamping itu, sebutan konsonan pun ada kesalahan. Sebagai contoh, /ny/ yang berbunyi
[ ɲ ] kebanyakan dibunyi [y] seperti dalam perkataan /banyak/ disebut [bayɔʔ], /r/ dalam perkataan /beri/ disebut [beɤi] dan perkataan /nyamuk/ disebut [yamɔʔ]. Manakala pemerhatian terhadap pelajar yang bercakap bahasa Thai yang belajar bahasa Melayu hanya di dalam kelas sahaja. Antara konsonan yang kerap berlaku kesalahan ialah /g/, /j/, /ny/dan /z/. Konsonan tersebut dilafaz [k], [c], [y] dan [s] mengikut urutan. Contohnya:
pergi disebut [pərki] baja disebut [baca] nyala disebut [yala] ziarah disebut [siarah] Vokal /a/ dilafaz [ɔ] pada suku kata Waktu berucap di dalam kelas, tidak sedikit juga akhir terbuka pelajar Universiti Islam Yala terus melafazkan bunyi dalam sebutan dialek dengan tidak tahu Contohnya: bapa disebut [bapɔʔ] menyebut dengan sebutan baku. Bunyi-bunyi bawa disebut [bawɔʔ] dialek ini sudah terdapat pengguguran dan Vokal /u/ dilafaz [o] pada suku kata penukaran bunyi. Contoh-contoh di bawah akhir tertutup. ialah perbandingan antara sebutan baku Contohnya: bubuh disebut [buboh] dengan sebutan dialek. sepuluh disebut [sepuloh] Vokal /e/ taling dan /e/ pepet itu selalu Pengguguran bunyi sengau dikeliru kunci disebut [kuci] angka : [aka] Contohnya: belok disebut [bəloʔ] kuntum : [kutung] enak disebut [ənaʔ] Pengguguran bunyi kosonan selepas Vokal /e/ juga ada dilafaz [a] bunyi sengau serta gugur konsonan tertutup Contohnya: perempuan disebut bandar disebut [bana] endol : [ceno]
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา แอสศูมานี มะโซ
89
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 ศึก ษาปั ญหาการออกเสีย งบากู...
sambal : [sama] bahasa Melayu patutlah bagi penutur semua Pengguguran bunyi /r/ pada suku kata patuh kepada norma bahasa baku yang ditetapkan. akhir ɤ benar disebut [bena] tikar : [tika] selipar : [selipa] Penukaran bunyi sengau /m/ dan /n/ kepada /ng/ kuntum disebut [kutung] kebun : [kebung] bangun : [bangung] penukaran bunyi /as/ menjadi /ah/ luas disebut [luah] puas : [puah] panas : [panah] Gejala ini boleh diatasi dengan mendedahkan sebutan baku kepada pelajar dan juga disetai dengan latihan yang terus menerus. Manakala guru harus memberi contoh sebutan yang betul kepada pelajar kerana proses pengajaran dan pembelajara itu berperanan penting, apabila keluar dari kelas mereka dipengaruhi oleh bahasa tempatan masing-masing pula. Kesimpulan Sudah kita ketahui bahawa bahasa Melayu di selatan Thailand sedang membangun dan perlu mengungkapkan segala yang baru yang ditemuinya. Bagi mereka yang mahir bahasa Melayu tidak menimbulkan sebarang masalah. Bagi mereka yang tidak mahir akan menimbulkan kekacauan terutamanya sebutan kerana ia memcerminkan kefasihan berbahasa bagi seseorang. Oleh itu, untuk menyatukan
Bibliografi: Abdullah Hassan. 1996. Isu-isu Pembelajaran dan Pengajaran Bahasa Malaysia. KL: DBP. Atiah Hj. Mohd. Salleh. 2003. Pengajaran Bahasa Melayu Untuk Penutur Asing. KL: DBP. Azman Wan Chik. 1993. Mengajar Bahasa Melayu. KL: DBP. Ismail Bin Dahaman. 2000. Pedoman Ejaan dan Sebutan Bahasa Melayu. KL: DBP S. Nathesan. 1999. Pendekatan dan Teknik Pendidikan Bahasa Melayu. KL: DBP.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 91 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Research Penghilangah Konsonan Dalam Dialek Melayu Patani Pareeda Hayeeteh* * Sarjana Sastera (Kajian Bahasa Melayu). Lecturer Department of Malayu Languages, Faculty of Faculty of Humanities and Social Sciences Yala Rajabhat University Abstract This study was aimed to analyze the phonological issues of deletion of consonants in Patani Malay dialect. The deletion phenomena studied were the lost of consonants in the nasal obstruent homorganic cluster. The phonological issues discussed were analyzed using the CV Model of the Autosegmental Theory. Based on data collected from the Nasa, Mayo District of Pattani, the study showed that the deletion of a consonant in the nasal obstruent homorganic cluster was related to the [+/- voicing] factor and as a result of delinking rule. Key words: phonological, consonants, Patani Malay
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 92 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
บทความวิจัย การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี พารีดา หะยีเตะ* * ปริญญาโท (การศึกษาภาษามลายู) อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบเสียงในภาษาประเด็นการลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียง ภาษามลายูปัตตานี โดยมุ่งเน้นศึกษาพยัญชนะนาสิกประจําวรรคเสียงกัก โดยใช้ CV Model จากทฤษฎีสัทวิทยา เพิ่มพูน (Autosegmental Theory) มาทําการวิเคราะห์ เก็บข้อมูลจากชาวบ้านตําบลนาสา อําเภอมายอ จังหวัด ปัตตานี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการลบเสียงพยัญชนะในสําเนียงการออกเสียงพยัญชนะนาสิกประจําวรรคเสียง กักมีความสัมพันธ์กับปัจจัยการไม่เชื่อมโยง (การเกิดเสียง +/-) ที่ก่อให้เกิดกฎการไม่เชื่อมโยงขึ้นมา คําสําคัญ: พยัญชนะ, สําเนียง, มลายูปตั ตานี
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 93 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Abstrak Kajian ini bertujuan untuk menghuraikan persoalan penghilangan salah satu konsonan pada gugusan nasal obstruen homorganik. Gejala fonologi dalam kajian ini dianalisis menerapkan Teori Autosegmental Fonologi Model KV. Berdasarkan data yang dipungut di Kampung Nasa, Daerah Mayo, Wilayah Pattani, kajian ini mendapati bahawa penghilangan salah satu konsonan pada gugusan nasal obstruen homorganik adalah disebabkan oleh proses delinking yang ada kaitan dengan foktor penyuaraan pada obstruen tersebut. Didapati apabila gugusan obstruen itu memiliki fitur [+suara], obstruen itu dihilangkan. Namun, apabila obstruen yang hadir pada gugusan tersebut memiliki fitur [-bersuara] konsonan nasal yang dihilangkan. Key Words: Penghilangan, Konsonan obstruen homorganik, Melayu Patani
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
Pendahuluan Bagi manusia, penguasaan bahasa merupakan anugerah yang mempunyai potensi yang luar biasa bila dibandingkan dengan makhluk lain. Setiap manusia mempunyai potensi untuk menguasai bahasa, sedangkan makhluk lain tidak mempunyai potensi ini. Potensi yang membolehkan manusia menguasai bahasa bukan sekadar faktor keturunan, malah faktor keinginan dan juga desakan seseorang untuk mengadakan hubungan sesama mereka. Mengikut Samsuri (1975:03), keinginan manusia adalah disebabkan naluri, akan tetapi kemampuan manusia berbahasa bukan naluri tetapi adalah suatu pembawaan. Bahasa tidak terpisah dari manusia. Mulai saat bangun sehingga tidur malah masa tidur sekalipun kadang-kadang manusia menggunakan bahasa dalam mimpi mereka, kerana bahasa ialah alat yang dipakai untuk membentuk fikiran dan perasaan, keinginan dan perbuatan; alat yang dipakai untuk mempengaruhi dan dipengaruhi. Bahasa dapat melambangkan keperibadian seseorang, yang baik mahupun sebaliknya serta melambangkan keluarga dan bangsa. Pembicaraan seseorang dapat melambangkan keinginannya, pergaulannya, adat istiadatnya dan sebagainya. Bahasa adalah milik umum bagi sesebuah masyarakat. Manusia menggunakan bahasa dalam bentuk kumpulan untuk berinteraksi sesama mereka. Sebahagian besar kegiatan manusia melibatkan bahasa. Namun, sama seperti sifat manusia, bahasa juga memperlihatkan kepelbagaian. Kepelbagaian atau perbezaan yang terdapat dalam sesuatu bahasa merupakan salah satu perkara yang
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 94 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
menarik perhatian manusia dan para pengkaji bahasa. Perbezaan yang wujud dalam sesuatu bahasa boleh bersifat fonetik, fonologi, morfologi, sintaksis, leksikal, semantik dan gaya. Variasi kebahasaan yang wujud dalam sesuatu bahasa baik dari segi nahu, dan leksikal namun masih mengekalkan kesalingfahaman antara penuturnya dan digunakan di kawasan tertentu dikenali sebagai dialek. Terdapat beberapa dialek Melayu di semenanjung Malaysia. Salah satunya ialah dialek Melayu Patani. Dialek ini digunakan di tiga wilayah di selatan Thailand, iaitu di Wilayah Yala, Naratiwat dan Pattani. Dialek ini memperlihatkan beberapa ciri linguistik yang berbeza daripada dialek-dialek Melayu lain, seperti pengguguran dan penambahan fonem dalam lingkungan tertentu. PERMASALAHAN KAJIAN DAN ULASAN KOSA ILMU Penghilangan adalah proses fonologi. Gejala ini terdapat dalam dialek Melayu Patani dan telah pun dibincangkan oleh beberapa pengkaji, antaranya Maneerat Chotikakamthorn (1981) dan Waemaji Paramal (1991). Maneerat (1981) dalam tesisnya yang membandingkan sistem fonologi dialek Melayu Satun dengan dialek Melayu Patani, telah membicarakan tentang gejala penghilangan yang berlaku dalam dialek Patani. Maneerat(1981) mengemukakan beberapa contoh perkataan yang mengalami penghilangan suku kata pertamanya. Beliau mengemukakan beberapa contoh seperti:
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
Bahasa Melayu Baku /buwah/ /duduk/ /əmas/
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 95 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Dialek Melayu Patani /w h/ /do?/ /mah/
Namun, gejala penghilangan konsonan, beliau tidak menghuraikan bagaimana gejala ini boleh terjadi. Gejala penghilangan dalam dialek Melayu Patani juga dibincangkan oleh Waemaji Paramal (1991). Beliau mengemukakan beberapa gejala penghilangan fonem, suku kata dan morfem dalam dialek ini. Salah satu aspek penghilangan fonem yang terjadi dalam dialek Bahasa Melayu Baku /bəndaŋ/ /paŋgaŋ/ /kampuŋ/ /bantal/
ini adalah penghilangan nasal atau letupan pada gugusan konsonan nasal letupan homorganik. Sekiranya bunyi nasal itu diikuti oleh letupan homorganik bersuara, bunyi letupan itu yang digugurkan. Namun, sekiranya bunyi nasal itu diikuti oleh bunyi letupan homorganik tidak bersuara, bunyi nasal yang digugurkan, seperti:
Dialek Melayu Patani /bənε/ /paŋε/ /kapoŋ/ /bata/
Namun, perbincangan Waemaji (1991) juga bersifat deskriptif. Beliau hanya mengemukakan contoh-contoh perkataan yang memperlihatkan wujudnya gejala fonologi tersebut tanpa menjelaskan motivasi atau sebab musabab kenapa bunyi tersebut dihilangkan atau digugurkan. Gejala penghilangan konsonan nasal atau konsonan letupan pada gugus konsonan nasal letupan homorganik setakat ini tidak dianalisis dengan berpada, iaitu analisis mereka tidak mencapai tahap kepadaan yang memuaskan kerana mereka tidak menganalisis gejala tersebut secara sistematik, malah lebih merupakan pernyataan atau deskripsi sahaja. Berdasarkan hakikat ini, kajian ini berusaha untuk menjelaskan gejala fonologi tersebut dengan lebih berpada. Untuk itu teori fonologi
Makna buah duduk emas
Makna bendang panggil kampung bantal
autosegmental model KV akan diterapkan dalam menganalisis gejala fonologi ini kerana diandaikan teori ini mampu menjelaskan gejala fonologi ini dengan lebih berpada, iaitu mampu memperlihatkan justifikasi linguistik tentang kejadian gejala ini. OBJEKTIF KAJIAN Kajian ini bertujuan untuk menyelesaikan persoalan fonologi iaitu menghuraikan penghilangan salah satu konsonan pada gugusan konsonan nasal obstruen homorganik. METODOLOGI KAJIAN Dua kaedah kajian diguna pakai dalam kajian ini, iaitu kaedah perpustakaan dan kaedah lapangan. Kaedah Perpustakaan
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
Kaedah perpustakaan digunakan untuk mencari maklumat tentang kajian lepas, teori yang berkaitan serta bahan-bahan yang berkaitan dengan masyarakat dan budaya Patani. Untuk mencapai matlamat ini beberapa perpustakaan dikunjungi, antaranya Perpustakaan Tun Seri Lanang (UKM), Perpustakaan Akademi Pengajian Melayu (UM), Perpustakaan Prince of Songkla Universitity, Pattani dan Bilik Sumber Pusat Bahasa dan Linguistik (UKM). Kajian Lapangan Untuk mendapat dan mensahihkan data, satu kajian lapangan dilakukan di kampung Nasa iaitu salah sebuah kampung di Mukim Lubukjerai, Daerah Mayo, Wilayah Patani. Kawasan ini dipilih kerana didapati kawasan ini memenuhi ciri sebuah kawasan yang sesuai dari sudut kajian dialek. Penulis memilih 3 orang penutur jati yang terdiri daripada 2 orang lelaki dan seorang perempuan. Semua mereka adalah golongan dewasa yang berumur antara 45-55 tahun. Informan yang berumur telah dippilih bertujuan untuk memperoleh bentuk bahasa asal dan konservatif. Kaedah yang digunakan untuk mendapatkan data ialah kaedah budaya benda dan kaedah senarai kata. Kaedah budaya benda ialah cara mendapatkan data dengan menghuraikan sesuatu benda dengan terperinci, sama ada dari segi saiz, ketinggian, warna, kegunaan, dan sebagainya. Kadangkadang penulis menunjukkan benda kepada informan. Seperti bagi perkataan ‘gunting’ ‘lembu’, ‘pisang’, penulis menunjukkan benda itu kemudian menanyakan informan apakah panggilan untuk benda ini. Informan menyebutkan /gutiŋ/, /ləmu/, /pisε/ dan
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 96 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
sebagainya. Penulis menanya lagi di manakah makcik pergi sekarang, iaitu pada waktu pagi dan petang. Informan menjawab /pagi gi lε gətih pətε gi bənε/ iaitu ‘pagi pergi ke kebun getah petang pergi ke bendang’. Soalan ini dikemukakan bertujuan untuk mengetahui kata ‘bendang’ dalam dialek Patani, iaitu /bənε/ Selain kaedah budaya benda, kaedah senarai kata juga digunakan untuk mendapatkan kata yang tepat dan cepat. Melalui kaedah ini satu senarai kata disediakan sebelum pengkaji berjumpa dengan informan. Pengkaji kemudian menanyakan bagaimanakah sebutan bagi kata ‘gambar’ dalam dialek Patani. Apabila informan menyebutkan kata-kata yang telah ditanya, pengkaji akan mencatat sebutan tersebut. Penulis akan menanya sehingga habis senarai kata yang telah disediakan. INFORMAN Untuk menjayakan sesebuah kajian bahasa informan adalah penting dalam membantu penyelidik untuk mendapatkan data. Dalam kajian ini penulis memilih tiga orang informan berdasarkan kriteria berikut: a) Penutur jati dialek Melayu Patani yang menetap di kampung Nasa. b) Umur dalam lingkungan 45-55 tahun. - Informan 1 (51 tahun) - Informan 2 (55 tahun) - Informan 3 (46 tahun) c) Sihat dan mempunyai organ pertuturan yang baik. d) Tidak pernah mendapat pendidikan formal.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
Kriteria pemilihan informan di atas adalah bersesuaian dengan keperluan kajian. (lihat lampiran C) Teori Autosegmental Teori Autosegmental (TA) mula diperkenalkan oleh Goldsmith dalam tesis Ph.Dnya bertajuk ‘Autosegmental Phonology’ pada tahun 1976. TA merupakan satu anjakan dari fonologi generatif. TA terbahagi kepada tiga model iaitu model X, model KV dan model Mora. Goldsmith memperkenalkan teori non linear ini dalam menganalisis beberapa bahasa di Afrika. Model yang digunakan ialah model X dan model KV. Pada peringkat awal penonjolannya, TA diaplikasikan untuk menangani fenomena yang berlaku hanya dalam aspek fonologi, seperti fenomena pemanjangan kompensatori, fenomena kontur tona, fenomena harmoni vokal, fenomena nasalisasi vokal dan lain-lain. Setelah ia berkembang, teori ini mula diaplikasikan kepada aspek morfologi, terutamanya untuk menangani masalah fenomena yang berhubung dengan morfologi pola dan akar dalam bahasa semitik dan reduplikasi atau penggandaan (Zaharani:2000). (Sila lihat dalam lampiran A) ANALISIS DATA Sebelum kita menganalisis dan membuat generalisasi umum tentang penghilangan salah satu konsonan dalam dialek Patani (sila lihat lampiran B) kita harus melihat dahulu fenomena penghilangan dalam dialek ini. Salah satu fenomena penghilangan yang didapati ialah penghilangan salah satu konsonan pada gugusan nasal-obstruen dalam lingkungan tertentu.
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 97 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Penghilangan konsonan pada gugusan nasalobstruen Fenomena penghilangan konsonan dalam dialek Patani terjadi pada gugusan konsonan nasal – obstruen (sila rujuk lampiran B (1.1 dan 1.2)). Data-data pada lampiran B (1.1) memperlihatkan penghilangan konsonan nasal apabila konsonan tersebut diikuti oleh konsonan letupan tak bersuara yang berhomorgan dengannya. Contohnya kata /bantal/ menjadi [bata] dan /təmpat/ menjadi /təpa?/. Kedua-dua maklumat di atas menunjukkan proses penghilangan nasal begitu terbatas sifatnya. Fenomena penghilangan nasal bagi kata-kata tersebut dapat dianalisis seperti berikut:
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
1. /bantal/ > [bata] a) Representasi dalaman Tingkat suku kata
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 98 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
‘bantal’ σ
σ
Tngkat KV
K
V
K
V
K
Tingkat segmen Tingkat nasal
b
a
n t a [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
l
b) Pemetaan prosodi Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
b
a
K n
V t
K a
l
[koronal] [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
Tingkat nasal
c) Penghilangan nasal Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
b
a
Tingkat nasal
σ
σ K
n =
V t
[koronal] [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
K a
l
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 99 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
d) Penghilangan konsonan sisian di akhir kata Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
b
a
K
Tingkat segmen
V
K
t
Ø e) Representasi permukaan Tingkat suku kata Tngkat KV
σ
a
σ K
V b
Representasi dalaman pada derivasi (a) terdiri daripada tingkat suku kata, tingkat KV, tingkat segmen dan tingkat nasal. Representasi fonologi diwakili oleh tingkat segmen iaitu /bantal/. Pada tingkat KV pula segmen K dan V diwakili oleh KVKVK. Tingkat suku kata diwakili oleh dua simbol kata (σ). Derivasi kedua (b) melibatkan proses pemetaan prosodi yang menhubungkan kesemua unit fonologi. Nukleus dibina dengan menhubungkan segmen V dengan rima suku kata. Konsonan yang berhubung di sebelah kiri dengan vokal akan menjadi onset. Konsonan di sebelah kanan vokal menjadi koda. Proses penghubungan dilakukan dari kanan ke kiri mengikut acuan template. Proses penghubungan dimulakan pada tingkat nasal yang melibatkan [±nasal] di tingkat segmen. Tingkat segmen pula melibatkan gatra vokal dengan V dan gatra konsonan dengan K di tingkat KV. Kemudian tingkat KV dihubungkan dengan tingkat suku kata.
σ K
a
l
V t
a
Derivasi ketiga (c) melibatkan penghilangan nasal di posisi onset suku kata kedua. Konsonan yang dihilangkan pada onset di sini ialah konsonan nasal /n/ yang diikuti oleh konsonan obstruen tak bersuara /t/ yang berhomorgan antara satu sama lain iaitu /-nt-/ berkungsi fitur koronal, seperti dalam peta berikut:
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 100 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
/n/
/t/
[nasal]
[-vokoid]
[-vokoid]
Kaviti oral
Kaviti oral
[-kontinuan] Daerah K [koronal]
[-kontinuan] Daerah K [koronal]
Peta 2.1: Representasi Autosegmental Hentian nasal /n/ dan obstruen /t/. (Dipetik dan diubahsuai dalam Zaharani Ahmad (2006:119)) Mengikut Peter dalam Adi Yasran dan Zaharani (2006: 131) nasal adalah lebih lemah daripada obstruen kerana dalam kes pertembungan nasal-obstruen, pengguguran nasal lebih banyak berlaku daripada pengguguran obstruen. Mengikut beliau, kejadian ini bukan hanya berlaku dalam dialek Patani atau Kelantan, malah turut berlaku dalam bahasa Venda, Swahili, Maore dan bahasa kanak-kanak dalam bahasa Inggeris. Di sini juga dapat diperhatikan bahawa faktur penyuaraan memainkan peranan dalam menentukan proses penghilangan pada gugusan konsonan nasal obstruen. Konsonan yang tak bersuara mempunyai peranan yang lebih kuat daripada konsonan yang bersuara. Oleh itu yang dihilangkan pada fenomena ini ialah nasal kerana nasal ialah konsonan bersuara. Segmen K yang tidak dihubungkan dengan mana-mana konsonan, dengan sendirinya akan digugurkan melalui konvensi umum yang dikenali sebagai Stray Erasure. Stray Erasure menyatakan
mana-mana fonem yang tidak dapat dihubungkan dengan gatra K atau V dengan sendirinya akan digugurkan. Oleh itu segmen konsonan nasal /n/ akan digugurkan. Sekiranya berlaku proses penghilangan obstruen tak bersuara seperti derivasi (f) /bantal/ */bana/. Derivasi tersebut tidak pernah wujud dalam dialek Melayu Patani.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 101 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
(f) */bana/ Tingkat suku kata
σ
Tingkat KV
K
V
Tingkat segmen
b
a
σ K
n
V t a
K l
= [koronal] [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
Tingkat nasal Derivasi (d) ialah penghilangan sisian di akhir kata. Konsonan sisian /l/ dihilangkan kerana syarat koda suku kata dialek Kelantan hanya membenarkan segmen [?, h, ŋ] menduduki posisi koda pada suku kata akhir (Adi Yasran dan Zaharani (2006:81). Begitu juga halnya dengan dialek Melayu Patani. Segmen K yang tidak dihubungkan dengan mana-mana konsonan, dengan sendirinya akan digugurkan melalui konvensi umum yang dikenali sebagai Stray Erasure. 2. /ləmbu/ > [ləmu] a) Representasi dalaman Tingkat suku kata Tngkat KV Tingkat segmen Tingkat nasal
Stray Erasure menyatakan mana-mana fonem yang tidak dapat dihubungkan dengan gatra K atau V dengan sendirinya akan digugurkan. Oleh itu segmen konsonan sisian /l/ akan digugurkan. Derivasi (e) merupakan output yang dihasilkan. Pengguguran nasal /n/ berlaku pada gugusan nasal /n/ dengan obstruen tak bersuara /t/. Maka, berlakulah penghilangan konsonan nasal itu, dan didapati bentuk [bata] dalam representasi permukaan.
‘lembu’ σ K l
σ V K ə m b [+nasal] [-nasal] [+suara] [+suara]
V u
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 102 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
b) Pemetaan prosodi Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
l
ə
σ K
V
m
b
u
[labial] [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
Tingkat nasal c) Penghilangan obstruen Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
l
ə m
σ K
V b u =
[labial] [+nasal] [-nasal] [+suara] [-suara]
Tingkat nasal d) Representasi permukaan Tingkat suku kata
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
l
ə
σ K
V m
u
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 103 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Representasi dalaman pada derivasi (a) terdiri daripada tingkat suku kata, tingkat KV, dan tingkat segmen. Representasi fonologi diwakili oleh tingkat segmen iaitu /ləmbu/. Pada tingkat KV pula segmen K dan V diwakili oleh KVKV. Tingkat suku kata diwakili oleh dua simbol kata (σ). Derivasi kedua (b) melibatkan proses pemetaan prosodi yang menhubungkan kesemua unit fonologi. Nukleus dibina dengan menhubungkan segmen V dengan rima suku kata. Konsonan yang berhubung di sebelah kiri dengan vokal akan menjadi onset. Konsonan di sebelah kanan vokal menjadi koda. Proses penghubungan dilakukan dari kanan ke kiri mengikut acuan template. Proses penghubungan dimulakan pada tingkat nasal yang melibatkan [±nasal] di tingkat segmen. Tingkat segmen pula, segmen yang melibatkan gatra vokal dengan V dan gatra konsonan dengan K di tingkat KV. Kemudian tingkat KV dihubungkan dengan tingkat suku kata. Derivasi ketiga (c) melibatkan proses penghilangan obstruen bersuara. Konsonan (f) */ləbu/ Tingkat suku kata
yang dihilangkan di sini ialah konsonan obstruen bersuara /b/ yang didahului oleh konsonan nasal yang berhomorgan antara satu sama lain, iaitu /mb/ berkungsi fitur labial. Segmen K yang tidak dihubungkan dengan mana-mana konsonan, dengan sendirinya akan digugurkan melalui konvensi umum yang dikenali sebagai Stray Erasure. Stray Erasure menyatakan mana-mana fonem yang tidak dapat dihubungkan dengan gatra K atau V dengan sendirinya akan digugurkan. Oleh itu segmen konsonan obstruen bersuara /b/ akan digugurkan. Di sini juga dapat diperhatikan bahawa kedua-dua gugusan konsonan nasal obstruen adalah [+suara]. Oleh itu faktur penyuaraan di sini bukan persoalan untuk dihilangkan, tetapi yang dihilangkan ialah obstruen bersuara, iaitu bunyi /b/ bukan nasal /m/. Sekiranya berlaku proses penghilangan nasal pada gugusan nasal obstruen bersuara seperti derivasi (f) /ləmbu/ */ləbu/. Derivasi tersebut tidak pernah wujud dalam dialek Melayu Patani.
σ
Tngkat KV
K
V
Tingkat segmen
l
ə
σ K m
V b u
= Tingkat nasal
[labial] [+nasal] [-nasal] [+suara] [+suara]
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
Derivasi (d) merupakan output yang dihasilkan. Penghilangan konsonan /m/ berlaku pada gugusan nasal /m/ dengan obstruen bersuara /b/. Maka, berlakulah penghilangan konsonan obstruen itu, dan didapati bentuk [ləmu] dalam representasi permukaan. Representasi 1 dan 2 ini bertujuan untuk membahaskan mengapa penghilangan berlaku pada gugusan konsonan nasal obstruen ini berbeza, iaitu pada gugusan konsonan nasal obstruen tak bersuara, nasal yang dihilangkan manakala pada gugusan konsonan nasal obstruen bersuara, konsonan obstruen bersuara dihilangkan. Analisis yang didapati dapatlah jawapan dengan jelas bahawa pada gugusan nasal dengan obstruen tak bersuara, kedua-dua konsonan tersebut mempunyai ciri yang berbeza iaitu suara. Konsonan nasal /m,n,ŋ/ tergolong dalam konsonan bersuara manakala konsonan obstruen /p,t,k/ tergolong dalam obstruen tak bersuara. Apabila gugusan nasal obstruen tak bersuara hadir bersuama, nasal mengalami penghilangan. Manakala pada gugusan nasal dengan obstruen bersuara /b,d,g/, kedua-duanya mempunyai ciri yang sama iaitu bersuara. Apabila gugusan nasal obstruen bersuara hadir bersama, obstruen bersuara yang mengalami penghilangan. Melalui penghilangan yang didapati di sini dapatlah disimpulkan bahawa dalam dialek Patani pada gugusan nasal obstruen tak bersuara, nasal akan mengalami penghilangan. Manakala bagi gugusan nasal obstruen bersuara, obstruen bersuara yang mengalami penghilangan. RUMUSAN Persoalan penghilangan salah satu konsonan nasal obstruen homorganik dapat dianalisis dengan berpada melalui TA model
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 104 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
KV. Analisis ini lebih berpada daripada yang dikemukakan oleh pengkaji sebelum ini, seperti Maneerat Chotikakamthon (1981) dan Waemaji Paramal (1991). Walaupun mereka bersependapat bahawa dalam dialek Melayu Patani wujud proses penghilangan, namun pemerian mereka adalah bersifat deskriptif, kerana mereka sekadar memaparkan data dan tidak dapat menjelaskan motivasi linguistik kenapa gejala ini terjadi dan bagaimana pula berlakunya proses penghilangan salah satu konsonan obstruen homorganik. Melalui kajian ini, persoalan penghilangan konsonan nasal dan penghilangan konsonan obstruen bersuara pada gugusan nasal obstruen, dapat dihuraikan dengan berpada melalui TA model KV. Gejala penghilangan nasal atau obstruen bersuara pada gugusan nasal-obstruen terjadi akibat faktor penyuaraan. Ini dapat diperhatiakan bahawa faktor penyuaraan dapat menentukan penghilangan. Apabila gugusan nasal [+suara] hadir bersama obstruen [-suara], yang mengalami penghilangan ialah [+suara], iaitu nasal. Manakala pada nasal [+suara] yang hadir bersama obstruen [+suara], yang mengalami penghilangan ialah obstruen. Penghilangan pada tingkat tertentu menyebabkan template mangalami kekosongan atau stray. Mengikut TA, template yang kosong dapat ditangani dengan rumus pengguguran. CADANGAN Dalam penelitian fonologi dialek Melayu Patani masih lagi kekurangan kajian yang berbentuk ilmiah, oleh itu disarankan supaya lebih ramai para pengkaji meneliti isu-isu yang melibatkan aspek fonologi dengan menerapkan
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 105 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
TA. Isu-isu ini bukan sahaja tertumpu kepada Asiah Daud. 1990. Dialek Patani dan dialek gejala penghilangan konsonan tetapi masih lagi Kelantan: satu dialek yang sama atau mempunyai beberapa gejala yang harus berbeza. Latihan Ilmiah Sarjana Muda, diselesaikan, seperti gejala penambahan Jabatan Bahasa dan Linguistik, Fakulti konsonan nasal di akhir kata, pemendekan Sains Sosial dan Kemanusiaan, beberapa kata menjadi satu kata, dan Universiti Kebangsaan Malaysia. sebagainya. Hal ini bukan sahaja dapat Asmah Hj. Omar. 2001. Kaedah penyelidikan menambahkan lagi khazanah ilmu linguistik bahasa di lapangan. Kuala Lumpur: bahasa Melayu tetapi menyumbang ke arah Dewan Bahasa dan Pustaka. memantapkan lagi ilmu tentang dialek Melayu Collins, Jame T. 1989. Antologi kajian dialek Patani yang masih lagi kekurangan kajian yang Melayu. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa berbentuk ilmiah. dan Pustaka. Daniel Parera, Jos. 1994. Morfologi bahasa. Edisi kedua. Jakarta: PT Garamedia Pustaka Utama. Abdul Hamid Mahmud. 1994. Sintaksis dialek Kelantan. Kuala Lumpur: Dewan Darwis Harahap. 1994. Binaan makna. Kuala Bahasa dan Pustaka. Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Adi Yasran Abdul Aziz. 2005. Aspek fonologi Dewan Bahasa dan Pustaka. 1995. Dialek dialek Kelantan: satu analisis teori memperkaya bahasa. Bandar Seri optimaliti. Tesis M.A., Jabatan Bahasa Begawan: Dewan Bahasa dan Pustaka. dan Linguistik, Fakulti Sains Sosial dan Dewan Bahasa dan Pustaka. 1997. Kamus Kemanusiaan, Universiti Kebangsaan dewan. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa Malaysia. dan Pustaka. Adi Yasran Abdul Aziz & Zaharani Ahmad. 2006. Kelegapan fonologi dalam rima suku Dewan Bahasa dan Pustaka. 2001. Bahasa jiwa bangsa. Jilid 3. Bandar Seri Begawan: kata tertutup dialek Kelantan. Jurnal Dewan Bahasa dan Pustaka. Bahasa 6 (1): 76-96. Ajid Che Kob. 1985. Dialek geografi Pasir Mas. Dewan Bahasa dan Pustaka. 2001. Bahasa jiwa Bangi: Universiti Kebangsaan Malaysia. bangsa. Jilid 4. Bandar Seri Begawan: Aminah binti Awang Basar. 2004. Aspek Dewan Bahasa dan Pustaka. fonologi bahasa Bisaya. Suatu analisis autosegmental. Tesis M.A., Jabatan Goldsmith, J.A. 1976. Autosegmental and metrical phonology. Cambridge: Basil Bahasa dan Linguistik, Fakulti Sains Blackwell, Inc. Sosial dan Kemanusiaan, Universiti Goldsmith, J. A. 1990. Autosegmental and Kebangsaan Malaysia. metrical phonology. Oxford: Basil Blackwell. REFERENCES
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 106 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Kemasyarakatan. Universiti Brunei Maneerat Chotikakamthorn. 1981. A Darussalam. comparative study of phonoloy in Satun Malay & Pattani Malay. Tesis Phaithoon Masminta Chaiyanara. 1983. Dialek Melayu Patani dan bahasa Melayu. sarjana. Mahidol University. Satu perbandingan dari segi fonologi, Mataim Bakar. 2000. Morfologi dialek Brunei. morfologi dan sintaksis. Tesis sarjana. Brunei Darussalam: Dewan Bahasa dan Universiti Malaya. Pustaka. Mataim Bakar. 2001. Proses asimilasi nasal Samsuri. 1975. Analisis bahasa. Jakarta: Erlangga. dalam dialek Brunei. Bahasa jiwa bangsa. Bandar Seri Begawan: Dewan Salasiah Hj. Wadaud. 1997. Subdialek Patani yang dituturkan di kampung Sera, Bahasa dan Pustaka. Pulai dan kampung Bok Bak, Kupang, Md. Suhada bin Kadar. 2003. Bahasa rahsia: Baling. Perbandingan fonologi dan Suatu analisis autosegmental. Tesis leksikal. Latihan ilmiah, Jabatan Bahasa M.A. Jabatan Bahasa dan Linguistik, dan Linguistik, Fakulti Sains Sosial dan Fakulti Sains Sosial dan Kemanusiaan, Kemanusiaan, Universiti Kebangsaan Universiti Kebangsaan Malaysia: Bangi. Malaysia. Mohd. Adnan Kamarudin. 1998. Bahasa Melayu Patani Larut Matang dan Salama Suhaimi Mohd. Salleh. 1998. Penghilangan konsonan nasal di tengah dan akhir Perak. Latihan Ilmaiah. Universiti kata dasar dalam dialek Kelantan. Malaya. Jurnal Dewan Bahasa. 682-688. Mohd. Rain Shaari. 2003. Fenomena dalam Dialek Kelantan: suatu analisis teori Teoh Boon Seong. 1986. Fonologi – Satu pendekatan autosegmental. Jurnal autosegmental. Dewan Bahasa 3 (6): Dewan Bahasa. 29(8):731-743. 7-13. Nik Safiah Karim. 1988. Linguistik transformasi Teoh Boon Seong. 1989. Syarat koda suku generatif. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa kata dalam Bahasa Melayu. Jurnal dan Pustaka. Dewan Bahasa. 33(11):843-850. Nik Safiah Karim, Farid M. Onn, Hashim Hj. Musa Teoh Boon Seong. 1989. Sistem vokalik Bahasa dan Abdul Hamid Mahmood. 1995. Melaysia - satu pemerian Tatabahasa Dewan. Edisi baru. Kuala autosegmental. Jurnal Dewan Bahasa. Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. 33(6):447-461. Pareeda Hayeeteh. 2003. Pengimbuhan kata Waemaji Paramal. 1991. Long consonants in nama dan kata kerja dialek Melayu Patani Malay: The result of word and Patani. Latihan Ilmiah. Jabatan Bahasa phrase shortening. A Thesis Submitted dan Linguistik, Fakulti Sains Sosial dan
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา พารีดา หะยีเตะ
in Partial Fulfillment of the Degree of Master of Arts. Mahidhol Universiti. Zaharani Ahmad. 1989. Analisis sempadan dalam kajian fonologi bahasa Melayu. Jurnal Dewan Bahasa. 33 (12): 884-891. Zaharani Ahmad. 1991a. Masalah menentukan representasi dalaman dalam kajian fonologi. Jurnal Dewan Bahasa. 35(12): 1095-1105. Zaharani Ahmad. 1993. Fonologi generatif : teori dan penerapan. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Zaharani Ahmad. 1994. Epentesis schwa dalam bahasa Melayu : Suatu analisis fonologi non-linear. Jurnal Dewan Bahasa. 38(8): 676-689. Zaharani Ahmad. 1996. Teori optimaliti dan analisis deretan vokal bahasa Melayu. Jurnal Dewan Bahasa. 40(6): 512-527. Zaharani Ahmad. 1999. Struktur suku kata dasar bahasa Melayu : Pematuhan dan pengingkaran onset. Jurnal Dewan Bahasa. 44(12): 1058-1076. Zaharani Ahmad. 2000. Penggandaan separa bahasa Melayu: Suatu analisis autosegmental. Jurnal Dewan Bahasa. 44(7): 722-736. Zaharani Ahmad (pnyt.). 2006. Aspek nahu praktis bahasa Melayu. Bangi: Universiti Kebangsaan Malaysia. Zainon Ismail. 1990. Penggunaan bahasa Melayu di kalangan komuniti Melayu di kampong Jabi, Narathiwat, selatan Thail: satu kajian sosiolinguistik.
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 107 การลบพยัญชนะภาษาท้องถิ่นในสําเนียงภาษามลายูปัตตานี...
Latihan Ilmiah Sarjana Muda. Jabatan Bahasa dan Linguistik, Fakulti Sains Sosial dan Kemanusiaan, Universiti Kebangsaan Malaysia.
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะนูรี ยูโซ๊ะ
109
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 วิพากษ์เรื่อ ง ศึ ก ษาเปรีย บเทีย บมะฮั ร ...
Book Review การวิพากษ์งานวิทยานิพนธ์ ศึกษาเปรียบเทียบมะฮัรในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ ผู้วิจัย แหล่งที่มา ผู้วิพากษ์
:มะสักรี กาเจ :วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ :มะนูรี ยูโซ๊ะ*, มุฮําหมัดซากี เจ๊ะหะ** *นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชะรีอะอฺ (กฎหมายอิสลาม) คณะอสิลามศึกษา มหาวิทยาลัย
อิสลามยะลา **Ph.D. (in Law), ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจําสาขาวิชาชะรีอะฮฺ (กฎหมายอิสลาม) คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะนูรี ยูโซ๊ะ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาสงขลานครินทร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึ ก ษาตามหลั ก สู ต รศิ ล ปศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าอิ ส ลามศึ ก ษาในปี พ.ศ. 2548 เป็ น การวิ จั ย เอกสารที่ มุ่ ง เน้ น ศึ ก ษาและวิ เ คราะห์ บ ทบั ญ ญั ติ แ ละ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับมะฮัร (ค่าสมรส) ในกฎหมาย อิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ ซึ่งนับว่ามีความสําคัญและ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่บรรดามุสลีมีน ผู้ วิ จั ย ได้ ทํ า การศึ ก ษาในเรื่ องนี้ ลึ ก พอสมควร จากอัลกุรอาน อัลหะดีษ และหนังสือฟิกพร้อมระบุ สถานภาพของหะดีษที่ยกมาเป็นหลักฐานหากเป็นหะดีษ ที่รายงานโดยบุคคลอื่นนอกเหนือจากบุคอรีย์หรือมุสลิม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประกอบด้วยหกบท: บทที่ 1 บทที่ 2 นิยามของมะฮัร บทที่ 3 อัตรามะฮัร บทที่ 4 ประเภทของมะฮั ร บทที่ 5 เปรี ย บเที ย บมะฮั ร ใน กฎหมายอิ ส ลามตามทั ศ นะมั ซ ฮั บ ทั้ ง สี่ และบทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ ในบทที่ 1 บทนํา ผู้วิจัยได้พูดถึงความสําคัญ และที่มาขอปัญหาว่า มัซฮับทั้งสี่มีแนวคิดและทัศนะที่ กว้างขวางและรอบด้านในเรื่องของมะฮัร ดังนั้นเพื่อให้ ผู้คนได้รับ รู้บทบัญญัติ ต่างๆที่เกี่ยวข้องกั บเรื่ องนี้ และ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสแก่พวกเขาให้สามารถเลือกทัศนะ ใดทัศนะหนึ่งของนักกฎหมายอิสลามที่เห็นว่าถูกต้องและ เหม า ะ สมที่ สุ ด ที่ จ ะมา ป ร ะยุ ก ต์ ใ ช้ ใ น สั ง คม จึ ง ทําการศึกษาในเรื่องนี้ ส่ ว นประเด็ น ในการทํ า การศึ ก ษานั้ น ผู้ วิ จั ย มี ประเด็นหลักหกประเด็นที่จะนํามาเปรียบเทียบ: ประเด็ นที่หนึ่ง : ศึกษาเปรียบเทียบนิ ยามของ มะฮัร ประเด็นที่สอง: ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับ จํานวนของมะฮัรในอัตราที่สุดและน้อยที่สุด ประเด็นที่สาม: ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับสิ่งที่ สามารถนํามาใช้เป็นมะฮัรได้ ประเด็นที่สี่: ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับมะฮัร เป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขของการสมรสหรือไม่ ประเด็นที่ห้า: ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับมะฮัร มุสัมมาและเงื่อนไขที่ต้องใช้กับมะฮัรมุสัมมา
110
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 วิพากษ์เรื่อ ง ศึ ก ษาเปรีย บเทีย บมะฮั ร ...
ประเด็นที่หก: ศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับมะฮัร มิษิลและเงื่อนไขที่ต้องใช้กับมะฮัรมิษิล ในการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้: 1.ศึกษาความหมายและความสําคัญของมะฮัร ในกฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ 2.ศึกษาเกี่ยวกับบทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับ มะฮัรตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ 3.ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เปรี ย บเที ย บข้ อ ที่ มี ค วาม แตกต่ า งและข้ อ ที่ เ ห็ น ว่ า เหมื อ นกั น เกี่ ย วกั บ มะฮั ร ใน กฎหมายอิสลามตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ จากความสําคัญและที่มาของปัญหา ประเด็นใน การทํ า การศึ ก ษา และวั ต ถุ ป ระสงค์ ส ามารถเข้ า ใจว่ า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการนําเสนอทัศนะของบรรดาอุ ละมาอทั้งสี่มัซฮับในเรื่องของมะฮัร เพื่อให้ผู้คนสามารถ เลือกได้ตามที่พวกเขาเห็นว่าถูกต้องและเหมาะสมที่สุดที่ จะมาประยุ ก ต์ใ ช้ใ นสั ง คม ซึ่ งเป็ นแนวคิด ที่ น่า ส่ง เสริ ม และสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ส่ ว นขอบเขตของการวิ จั ย ในครั้ ง นี้ ผู้ วิ จั ย ได้ ทําการศึกษาข้อระเบียบและบทบัญญัติต่างๆที่เกี่ยวกับ มะฮัรในกฎหมายอิสลามเฉพาะในทัศนะของนักกฎหมาย อิ ส ลามที่ สั ง กั ด มั ซ ฮั บ ทั้ ง สี่ เ ท่ า นั้ น งานวิ จั ย ครั้ ง นี้ เ ป็ น งานวิจัยอกสาร ดังนั้นผู้วิจัยจึงทําการรวบรวมข้อมูลจาก เอกสารอย่ างเป็นระบบแล้วจึงทํ าการศึกษา วิเคราะห์ ตามหัวข้อได้กําหนด และเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่าง และ เหมือนกันในระหว่างมมัซฮับทั้งสี่เพื่อออกมาเป็นข้อสรุป ในบทที่ 2 ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับนิยาม ของมะฮั ร ทั้ ง เชิ ง ภาษาและเชิ ง วิ ช าการตามทั ศ นะ ของมัซฮับทั้งสี่ และได้นําเสนอคําหลายคําที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับมะฮัรแต่มีความหมายเดียวกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มิได้ ทําการศึกษาอย่างลึกซึ้งคงยากที่จะเข้าใจ คําเหล่านั้น คือ: 1. เศาะดาก หรือศิดาก หรือเศาะดุก หรือศุดเกาะฮ 2.อั น นิ หละฮ 3.อั ล อุ ญ ร 4.อั ล มะฮั ร 5.อั ล อะลี เ กาะฮ 6.อัลอักด 7.อัลอุกร 8.อัลหิบาอ 9.อัตเตาล 10.อันนิกาห ในบทนี้ เช่ น กั น ผู้ วิ จั ย ได้ นํ า หลั ก ฐานจากอั ล กุ รอาน หะดิษ และอิญมาอชี้ให้เห็นว่ามะฮัรเป็นสิ่งที่วา ญิบแก่สามีที่จะต้องจ่ายให้แก่ภริยา
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะนูรี ยูโซ๊ะ
ส่วนปรัชญาในการบัญญัติมะฮัรนั้น ผู้วิจัยได้ นําเสนอทัศนะของอุละมาอว่า การบัญญัติมะฮัรไม่ใช่เป็น การตอบแทนเสมือนการซื้อขาย และไม่ใช่เป็นการตอบ แทนเสมื อนการเช่ า แท้ จ ริ ง การบั ญ ญั ติ ม ะฮั ร เป็ น การ แสดงให้เห็นว่าการทําสัญญาสมรสเป็นการให้เกียรติแก่ สตรี ไม่ ใ ช่ เ ป็ น การตอบแทน และไม่ ใ ช่ เ ป็ น การ แลกเปลี่ยนที่สามารถได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน การนําเสนอของผู้วิจัยเกี่ยวกับประเด็นนี้ถือว่ามี ความสําคัญ เพราะหลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับประเด็น นี้ ซึ่ ง ทํ า ให้ เ กิ ด ปั ญ หายุ่ ง ยากในการทํ า การแต่ ง งาน ระหว่างคู่บ่าวสาว อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้วิจัยได้นําเสนอในบทนี้คือ ใครเป็ น ผู้ มี หน้ า ที่ จ่ า ยมะฮั ร และใครเป็ น ผู้ ที่ มี สิ ท ธิ ใ น มะฮัร ในประเด็น นี้จ ะเห็ นว่ า ผู้วิ จัย ได้ทํ าการศึก ษา ละเอียดพอสมควร เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองอีกหลายคน ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องนี้ ในบทที่ 3 ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับทัศนะ ของนักกฎหมายอิสลามทั้งสี่มัซฮับเกี่บวกับอัตรามะฮัรที่ มากที่ สุ ด ซึ่ ง พอจะสรุ ป ได้ ว่ า นั ก กฎหมายอิ ส ลามทั้ ง สี่ มั ซ ฮั บ มี ทั ศ นะที่ ส อดคล้ อ งกั น ว่ า ไม่ มี ข อบเขตและ จํานวนจํากัดในส่วนของอัตรามะฮัรที่มากที่สุด ส่วนอัตรามะฮัรที่น้อยที่สุด ผู้วิจัยได้นําทัศนะ ของนักกฎหมายอิสลามทั้งสี่มัซฮับที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้: 1.มัซฮับหะนะฟีย์ได้ให้ทัศนะว่า: อัตรามะฮัรที่ น้อยที่สุดคือ หนึ่งดีนาร หรือสิบดิรฮัม หรือทรัพย์สินที่มี ราคาเทียบเท่าหนึ่งดีนาร หรือสิบดิรฮัม 2.มัซฮับมาลิกีย์ได้ให้ทัศนะว่า: อัตรามะฮัรที่ น้อยที่สุดคือ 1/4ดีนาร หรือสามดิรฮัม หรือทรัพย์สินที่มี ราคาเทียบเท่า ¼ ดีนาร หรือสามดิรฮัม 3.มัซฮับชาฟิอีย์และหัมบะลีย์ได้ให้ทัศนะว่า: ไม่ มี ข อบเขตและจํ า นวนจํ า กั ด ที่ แ น่ น อนส่ ว นในประเด็ น มะฮัรเป็นองค์ประกอบและเงื่อนไขของการสมรสหรือไม่ นั้น นัก กฎหมายอิสลามทั้ง สี่มั ซฮั บมีค วามแตกต่า งกั น แบ่งออกเป็นสองทัศนะดังนี้: 1.มัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับชาฟิอีย์และหัมบะลีย์ ได้ให้ทัศนะว่า: มะฮัรนั้นเป็นสิ่งที่วาญิบต้องจ่ายตอนทํา
111
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 วิพากษ์เรื่อ ง ศึ ก ษาเปรีย บเทีย บมะฮั ร ...
สัญญาสมรส แต่ว่าไม่ไม่ใช่เป็นองค์ประกอบและเงื่อนไข ของการสมรส 2.มั ซ ฮั บ มาลิ กี ย์ ไ ด้ ใ ห้ ทั ศ นะว่ า : มะฮั ร เป็ น องค์ประกอบหนึ่งของการสมรส กล่าวคือ การสมรสจะ ไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมายอิสลามหากการสมรสนั้นมี เงื่อนไขไม่ให้มีมะฮัรจะเห็นว่าทั้งสี่มัซฮับเห็นพ้องกันว่า การแต่งงานต้องมีมะฮัร เพียงแต่มีทัศนะที่แตกต่างกัน เกี่ ย วกั บ อั ต ราที่ น้ อ ยที่ สุ ด และเป็ น องค์ ป ระกอบและ เงื่อนไขของการสมรสหรทอไม่เท่านั้น ในบทที่ 4 ผู้ วิ จั ย ได้ ทํ า การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ประเภทของมะฮั ร ซึ่ ง สรุ ป ว่ า มะฮั ร แบ่ ง ออกเป็ น สอง ประเภทคื อ มะฮั ร มุ สัม มาและมะฮั ร มิ ษิ ล และทั้ ง สอง ประเภทก็มีเงื่อนไข ซึ่งผู้วิจัยสรุปได้ชัดเจนพอสมควร ส่ ว นในบทที่ 5 ผู้ วิ จั ย ได้ ทํ า การเปรี ย บเที ย บ ประเด็นต่อไปนี้ตามทัศนะมัซฮับทั้งสี่ ซึ่งรายละเอียดนั้น ผู้วิจัยได้พุดกึ่งแล้วในบทที่ 2 บทที่ 3 และบทที่ 4 เป็น การเพียงพอแล้วสําหรับใครที่ต้องการอย่างรวดเร็ว: 1.เปรียบเทียบนิยามของมะฮัร 2.เปรียบเทียบบทบัญญัติของมะฮัร 3.เปรียบเทียบปรัชญาในการบัญญัติมะฮัร 4.เปรียบเทียบผู้มีหน้าที่จ่ายมะฮัร และผู้มีสิทธิ ในมะฮัร 5.เปรียบเทียบมะฮัรในอัตรามากที่สุดและน้อย ที่สุด 6.เปรียบเทียบสิ่งที่สามารถเป็นมะฮัรได้ 7.เปรี ย บเที ย บมะฮั ร เป็ น องค์ ป ระกอบและ เงื่อนไขของการสมรสหรือไม่ 8.เปรียบเทียบเงื่อนไขที่ต้องใช้กับมะฮัรมุสัมมา และมะฮัรมิษิล ส่ ว นบทที่ 6 บทสุ ด ท้ า ย ซึ่ ง เป็ น บทสรุ ป และ ข้อเสนอแนะ จะเห็นว่าผู้วิจัยได้ค้นพบสิ่งดังต่อไปนี้ ซึ่ง ตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย: 1. นิยามของมะฮัร 2. คําที่ใช้เรียกมะฮัร 3. หุกมหรือบทบัญญัติของมะฮัร 4. ผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายมะฮัรให้แก่สตรี 5. มะฮัรเป็นกรรมสิทธิของภริยาเพียงผู้เดียว 6. อัตรามะฮัรที่มากที่สุด และน้อยที่สุด
วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มะนูรี ยูโซ๊ะ
7. สิ่งที่มีค่า สิทธิและผลประโยชน์สามารถ กําหนดเป็นมะฮัรได้ สําหรับข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยได้เสนอว่า: ถึงแม้ว่ามะฮัรไม่มี จํานวนจํากัดในอัตราที่สูงที่สุดแต่ก็ควรที่จะเรียกในอัตรา ที่ไม่สูงนัก เพราะการที่เรียกมะฮัรในอัตราที่แพงมากนั้น อาจจะเป็นปัญหาหนึ่งที่จะทําให้ชายและหญิงไม่สามารถ ที่จะทําการสมรสได้ และจะกลายเป็นปัญหาของสังคมใน เวลาต่อมา เพื่อเป็นการปิดท้ายการวิพากษ์งานวิทยานิพนธ์ ฉบับนี้ ผู้วิพากษ์เห็นว่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีความสําคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่บรรดามุสลิมีนในประเทศ ไทย สามารถแก้ปัญหาสังคมส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการเรียก เก็ บ มะฮั รในอั ต ราที่ สู ง ซึ่ ง กํ า ลั ง เป็ น ปั ญ หาในปั จ จุ บั น บางคนหาทางออกเพื่อหลีกเลี่ยงมะฮัรดังกล่าวโดยการ หนีออกจากบ้านเมื่อเกิดชอบรักกัน แล้วขอให้ใครที่เขา เห็นว่าพอจะช่วยทําการแต่งงานให้กับเขาทั้งสองได้ช่วย จัดการให้ และวิทยานิพนธ์ฉบับนี้หากสรุปเป็นบทความ ได้น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากกว่านี้
112
ปี ที่ 1 ฉบั บ ที่ 1 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2554 วิพากษ์เรื่อ ง ศึ ก ษาเปรีย บเทีย บมะฮั ร ...
หลักเกณฑ์และวิธีการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย ในวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รูปแบบและคําแนะนําสําหรับผูเ้ ขียน วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (Yala Islamic University Al-Hikmah Journal) เป็นวารสาร ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณประโยชน์ ที่ไ ด้รวบรวมผลงานวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งจัดตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือนต่อฉบับ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ จะต้องเป็นวารสารที่ไม่เคยเผยแพร่และตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ มาก่อน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน บทความดังกล่าวต้องชี้แจงให้กับกองบรรณาธิการวารสาร เพื่อพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทํา การประเมินบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสาขาชํานาญการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ การเตรียมต้นฉบับสําหรับการตีพิมพ์ รับตีพิมพ์ผลงานทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษามลายูญาวี และภาษามลายูรูมี ต้นฉบับต้อง พิมพ์ในกระดาษ ขนาด A4 พิมพ์ 2 คอลัมน์ ยกเว้นบทคัดย่อพิมพ์แบบหน้าเดียว ซึ่งการเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ ละภาษาดังนี้ หน้ากระดาษ 1.หน้ากระดาษบนมีความกว้าง 2.หน้ากระดาษล่างมีความกว้าง 3.หน้ากระดาษซ้ายและขวามีความกว้าง 4.ความกว้างของคอลัมน์เท่ากัน การใช้ตัวอักษร 1.ภาษาไทย 2.ภาษาอังกฤษ กับ ภาษามลายูรูมี 3.ภาษาอาหรับ 4.ภาษามลายูญาวี
3.81 เซนติเมตร 3.05 เซนติเมตร 2.54 เซนติเมตร 7.71 เซนติเมตร มีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.51 เซนติเมตร
ใช้อักษร TH SarabunPSK ใช้อักษร TH SarabunPSK ใช้อักษร Traditional Arabic ใช้อักษร Adnan Jawi Traditional Arabic
ขนาด 15 พ. ขนาด 15 พ. ขนาด 16 พ. ขนาด 16 พ.
ประเภทของบทความ 1.บทความวิชาการ (Article) ประมาณ 8-10 หน้า ต่อบทความ 2.บทความวิจัย (Research) ประมาณ 6-8 หน้า ต่อบทความ 3.บทความปริทรรศน์ (Review Article) ประมาณ 6-8 หน้า ต่อบทความ 4.บทวิพาทย์หนังสือ (Book Review) ประมาณ 3-4 หน้า ต่อบทความ ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความ ชื่อผู้เขียน 1.ชื่อเต็ม-นามสกุลของผู้เขียนครบทุกคนตามภาษาที่เขียนบทความ และต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษเสมอ 2.ผู้เขียนหลักต้องใส่ที่อยู่ให้ละเอียดตามแบบฟอร์มที่สํานักงานกองบรรณาธิการวารสารจัดเตรียม 3.ให้ผู้เขียนทุกคนระบุวุฒิการศึกษาที่จบ ณ ปัจจุบัน (ถ้ามีตําแหน่งทางวิชาการให้ระบุด้านชํานาญการ) พร้อม ตําแหน่งงานและสถานที่ทํางานปัจจุบัน สังกัด หน่วยงาน เป็นต้น บทคัดย่อ 1.จะปรากฏนําหน้าตัวเรื่อง ทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาที่เขียน และบทคัดย่อภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษเสมอ มีความยาระหว่าง 200 ถึง 250 คํา จะต้องพิมพ์แบบหน้าเดียว
คําสําคัญ ให้มีระบุคําสําคัญท้ายบทคัดย่อไม่เกิน 5 คํา ทั้งที่เป็นภาษาที่เขียนบทความ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รูปภาพ ให้จัดรูปภาพ ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้รูปภาพจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ ตาราง ให้จัดตาราง ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้ตารางจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ และให้ระบุลําดับที่ ของตาราง พร้อมรายละเอียดต่างๆ ของตาราง เอกสารอ้างอิง 1.ให้ระบุเอกสารอ้างอิงตามที่ได้ค้นคว้าวิจัยในบทความเท่านั้น เพื่อนํามาตรวจสอบความถูกต้อง 2.ต้องจัดเรียงลําดับตามตัวอักษรนํา ของแต่ละบทความนั้นๆ 3.การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความต้องอ้างอิงแบบนามปีเท่านั้น (ให้ระบุ ชื่อผู้แต่ง, ปี: หน้า) ยกเว้นคําอธิบายคํา สามารถทําในรูปแบบของเชิงอรรถได้ และให้อ้างอิงตามรูปแบดังนี้ (1) หนังสือ มัสลัน มาหะมะ. 2550. ลุกมานสอนลูก: บทเรียนและแนวปฏิบัติ. ยะลา. วิทยาลัยอิสลามยะลา Best, John W. 1981. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc. (2) บทความ วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ. 2010. “กระบวนการดํารงอัตลักษณ์มุสลิม”, อัล-นูร. ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม-ธันวาคม) หน้า 55-66 (3) สารอิเล็กทรอนิกส์ อัล บุนยาน. 2552. มุ่งมั่นสู่การปฏิรูปตนเองและเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่นสู่การยอมจํานงต่ออัลลอฮฺ. จากอินเตอร์เน็ต. http://www.iqraforum.com/oldforum1/ www.iqraonline.org/ (ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2552). การส่งต้นฉบับ ส่งต้นฉบับสําเนา 3 ชุด และแผ่นข้อมูลลง CD 1 แผ่น ส่งมายัง สํานักงานกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย เลขที่ 135/8 หมู่ 3 ตําบลเขาตูม อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160 หรือ ตู้ปณ. 142 อําเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 Tel. (073) 418611-4 / Fax. (073) 418615-6
แบบเสนอต้นฉบับเพื่อลงตีพิมพ์ ในวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว.......................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องตามภาษาที่เขียนบทความ................................................................................................................................................. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องภาษาไทย:………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ:………………………….………………………………………………………………………………………………………………………. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อ-สกุลผู้แต่งหลัก: (1) ชื่อภาษาไทย…………..….……………………………………………………………………………………………………………. (2) ชื่อภาษาอังกฤษ....................................................................................................................................... ที่อยู่:…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เบอร์โทรศัพท์:……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เบอร์โทรสาร:………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………. E-mail address:………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ชื่อ-สกุลผู้แต่งร่วม (1) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (2) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (3) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (4) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ ระบุประเภทของต้นฉบับ บทความวิชาการ (Article) บทความวิจัย (Research) บทความปริทรรศน์ (Review Article) บทวิพาทย์หนังสือ (Book Review) ลงชื่อ…………………………………………………… ( ) วันที่...........................................................