Al-Hikmah Journal

Page 1



วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา Al-Hikmah Journal of Yala Islamic University


บทบรรณาธิการ วารสาร อั ล -ฮิก มะฮฺ มหาวิ ทยาลัย อิ สลามยะลา เป็น วารสารที่ ตี พิม พ์ เพื่ อ เผยแพร่ บ ทความวิ ชาการ (Article) บทความวิจัย (Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย ในการเป็นสื่อส่งเสริมการสร้างองค์ ความรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีความคิด สร้ า งสรรค์ ด้ า นผลงานวิ ชาการและงานวิ จั ย สู่สั ง คม และเพื่อ เป็น สื่ อ กลางการนํา เสนอสาระน่า รู้ ด้ านวิ ชาการต่ า งๆ แก่ นักวิชาการและบุคคลทั่วไป บทความที่ได้ปรากฏในวารสารฉบับนี้ทุกบทความได้ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิตรงตาม สาขาวิชา (Peer Review) วารสารฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 ปีที่ 2 ประจําปี 2555 ประกอบด้วยบทความ จํานวน 8 บทความ กับ 1 บทวิพากษ์หนังสือ (Book Review) ซึ่งมีแขนงวิชาด้านต่างๆ ได้แก่ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ การวัดและประเมินผล อิสลาม ศึกษา รัฐศาสตร์การเมือง วิทยาศาสตร์ มีเป้าหมายมุ่งพัฒนาเป็นวารสารที่มีมาตรฐานและคุณภาพการตีพิมพ์บทความ ตาม เกณฑ์และข้อกําหนด ในนามของกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่านที่ให้ ความสนใจลงตีพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความประจําฉบับที่ไ ด้สละและให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการตลอดจนคณะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ที่ให้การสนับสนุนการจัดทําวารสารฉบับนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณาจารย์ นักวิชาการ และผู้อ่านจะได้รับประโยชน์และข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ หากท่านมีข้อคิดเห็นหรือคําแนะนําประการใดที่จะนําไปสู่การพัฒนาปรับปรุงวารสารให้มีคุณภาพ ดียิ่ง ขึ้น กองบรรณาธิ การวารสาร อัล -ฮิก มะฮฺ มหาวิท ยาลั ยอิส ลามยะลา ยิ นดี รับคํ าแนะนํา ด้วยความขอบคุณ ยิ่ง และ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้วารสารฉบับนี้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี และขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

บรรณาธิการ วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


เจ้าของ

มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 135/8 ม.3 ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 94160 โทร 0-7341-8611-4 โทรสาร 0-7341-8615-6

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและงานวิจัย 2. เพื่อเป็นสื่อส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ 3. เพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีความคิดสร้างสรรค์ด้านผลงานวิชาการและงานวิจัยสู่สังคม

ขอบเขตงาน

เป็นวารสารวิชาการที่ครอบคลุมในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์และอื่นๆ โดยนําเสนอในรูปแบบ 1. บทความวิชาการ 2. บทความวิจัย 3. เวทีนําเสนอผลงานวิชาการ

คณะที่ปรึกษาวารสาร นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ คณบดีบณ ั ฑิตวิทยาลัย คณบดีคณะอิสลามศึกษา คณบดีคณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผู้อํานวยการสถาบันอัสสลาม ผู้อํานวยการสํานักวิทยบริการ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี ผู้อํานวยการสํานักบริการการศึกษา ผู้อํานวยการสํานักพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้อํานวยการสํานักงานจัดหาทุนและพัฒนาบุคลากร บรรณาธิการ

ผศ.ดร.มุฮําหมัดซากี เจ๊ะหะ

รองบรรณาธิการ ดร.อิบรอเฮม สือแม กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุสลัน อุทยั ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาเดร์ สะอะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษตรชัย และหีม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกสรี ลัดเลีย ดร.อะห์มัด ยีส่ ุนทรง ดร.มูหามัดรูยานี บากา ดร.กัลยานี เจริญช่างนุชมี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุกรี หลังปูเต๊ะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จีระพันธ์ เดมะ ดร.อิดรีส ดาราไก่ ดร.อับดุลเลาะ ยูโซ๊ะ ดร.ปนัสย์ นนทวานิช Prof. Dr. Mohd Nasran Mohamad Dato’ Assoc. Prof. Dr. Mohd. Rodi Usman


ผู้ประเมินบทความประจําฉบับ (Peer Review) รองศาสตราจารย์ ดร.อิศรา ศาสนติศาสน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภริ มย์ศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุฮําหมัดซากี เจ๊ะหะ ผู้ช่วยศาตราจารย์ สุกรี หลังปูเต๊ะ ดร.ซาการียา หะมะ อาจารย์นิมัศตูรา แว อาจารย์กูมัจดี ยามิรูดิง พิสูจน์อกั ษร

ดร.อิบรอเหม เต๊ะแห อาจารย์อับดุลรามันห์ โตะหลง อาจารย์วิไลวรรณ กาเจร์ อาจารย์คอลีเย๊าะ ลอกาซอ

ฝ่ายจัดการ

นายฟาริด อับดุลลอฮ์หะซัน นายมาหะมะ ดาแม็ง นายอาสมิง เจ๊ะอาแซ

รูปแบบ

นางสาวรอฮานิง หะนะกาแม นายมูฮมั หมัด สนิ นางสาวกามีละ สะอะ

กําหนดออก

ปีละ 2 ฉบับ

การเผยแพร่

แจกจ่ายฟรีแก่ห้องสมุดของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ

ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม

การบอกรับและติดต่อ สํานักงานกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ตู้ ปณ.142 อ.เมือง จ.ยะลา 95000 โทรศัพท์ (073) 418611-4 ต่อ 124 โทรสาร (073) 418615-6 Email: gs@yiu.ac.th รูปเล่ม

โครงการจัดตั้งสํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา

พิมพ์ที่

โรงพิมพ์มิตรภาพ เลขที่ 5/49 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตําบลรูสะมิแล อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 โทร (073) 331429

ข้อกําหนดวารสาร 1.ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบแต่ อย่างใดของคณะบรรณาธิการ 2.ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา


สารบัญ อิสรภาพของตุลาการศาลอิสลามและศาลไทย เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์ ............................................................................................................................................. 1-9 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุลมาเลเซียในการเป็นผู้นํา ณรงค์ หัศนี ..................................................................................................................................................... 11-30 RISE AND DEVELOPMENT OF LANGUAGE METHODOLOGY: A HISTORICAL PERSPECTIVE Mohamed Ibrahim Dahab ................................................................................................................. 31-39 กีตาบญาวี : การนําเสนอทัศนะเรื่องความศรัทธาในเชิงปรัชญา ไฟซ็อล หะยีอาวัง ........................................................................................................................................... 41-50 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชนในพื้นทีพ่ หุวัฒนธรรม สุกรี หลังปูเต๊ะ ................................................................................................................................................ 51-57 อิสลามและมนุษย์ สุมิตรา แสงวนิชย์ ........................................................................................................................................... 59-69 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุม่ น้อย : ศึกษากรณีชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทยและชาวพุทธเชื้อสายไทยในรัฐชายแดนเหนือประเทศมาเลเซีย สุริยะ สะนิวา................................................................................................................................................. 71-83 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยทักษิณ โสรัตน์ อับดุลสตา........................................................................................................................................... 85-97 บทวิพาทย์ / Book Review คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน อานุวา มะแซ, แวยูโซะ สิเดะ ................................................................................................................. 99-103



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

1

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

Article The Freedom of Islamic Judge and Thai Judge Jehloh Khaekphong M.A. (Shariah ), Lecturer Department of Shariah ,Faculty Academy and Arabic Studies Princess of Narathiwas University Abstract This article is aimed to study freedom of judge in trying and deciding the case according to Islamic law and Thai law. The article analyses the meaning and identity which demonstrate the freedom of the judge in Islamic law and Thai law. These analysis are derived from Islamic sources such as the Holy Quran, the Prophet’s tradition and relevant opinions of Muslim scholars. The analysis are also taken from Thai law sources including Constitution, Civil Procedure Code and Criminal Procedure Code which constitute as main legal sources of Thailand. The outcomes of study reveal that Islamic court is based on Islamic provisions and principles of faith to God. Therefore, the freedom of judge is protected by God. This is different from Thai court which is based on man-made law. The freedom of judge is altered according to periodic and politic development as well as system of administration. After the promulgation of the Constitution in 1997, it is recognized that Thai judges have real freedom in trying and deciding cases. It is observed that the present freedom of Thai judge which is protected by Constitution is similar to the freedom of Muslim judge which has been protected over 1,400 years ago even though the details of these two judicial systems are different. Keyword : Court,Judge,Freedom,Islamic,Law,Justice,ComparativeLaw


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

2

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

บทความวิชาการ อิสรภาพของตุลาการศาลอิสลามและศาลไทย เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์ M.A. ( ชะรีอะฮฺ ), อาจารย์ สาขาวิชากฎหมายอิสลาม, สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งศึกษาถึงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการในการดําเนินกระบวนพิจารณาพิพากษา อรรถคดีในระบบศาลอิสลามและศาลไทย โดยการวิเคราะห์ความหมายและเอกลักษณ์บางประการที่สะท้อนถึง อิสรภาพของผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลอิ สลามและศาลไทย จากแหล่งวิทยาการอิส ลามทั้งคัมภีร์อัลกุรอาน ประมวลวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด และทัศนะที่เกี่ยวข้องของนักวิชาการมุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลทาง กฎหมาย ทั้งรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็น กฎหมายหลักของประเทศ ในการศึกษาพบว่าศาลอิสลามวางอยู่บนรากฐานแห่งบทบัญญัติอิสลามและหลักการ ศรัทธาต่อพระเจ้า อิสรภาพของผู้พิพากษาในระบบศาลอิสลามได้รับการรับรองคุ้มครองจากพระองค์ แตกต่างจาก ศาลไทยที่วางอยู่บนหลักกฎหมายที่แยกออกจากหลักศาสนา อิสรภาพของผู้พิพากษาเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไป ตามยุคสมัยและระบบการเมืองการปกครอง กระทั่งหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เป็นที่ยอมรับว่าผู้ พิพากษาหรือตุลาการในระบบศาลไทยมีอิสระที่แท้จริงมากยิ่งขึ้น อันเป็นที่น่าสังเกตว่าความอิสระของผู้พิพากษาตุลา การในระบบศาลไทยที่พัฒนาถึงขั้นสูงส่งยิ่งในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายคลึงกับความอิสระของผู้พิพากษาในระบบศาล อิสลามซึ่งได้รับการรับรองคุ้มครองมาเป็นเวลากว่าหนึ่ งพันสี่ร้อยปี แม้รายละเอียดแห่งสารั ตถะของศาลทั้งสอง แตกต่างกัน คําสําคัญ : ศาล,ผู้พิพากษา,อิสรภาพ,กฎหมายอิสลาม,ความยุติธรรม,กฎหมายเปรียบเทียบ

บทนํา


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

ศาลเป็นองค์กรตุลาการที่มีอยู่คู่สังคมมนุษย์มา เป็นเวลาช้านาน บรรดาศาสนทูตในอิสลามนับแต่ศาสดา อาดัม(ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)มาจนกระทั่งศาสดา ท่านสุดท้ายคือมุฮัมมัด เป็นผู้ประกาศสัจธรรมแห่ง ศาสนาและผู้พิพากษาในเวลาเดียวกัน โดยยึดหลักความ ยุติธรรมและเที่ยงธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ดังนัยแห่งอัลกุรอานความว่า "และเมื่อพวกเจ้าตัดสิน ระหว่างผู้คน พวกเจ้าจงตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม" (อันนิซาอฺ, 4: 58) "และสําหรับทุกประชาชาติมีศาสน ทู ต และเมื่ อ ศาสนทู ต ของพวกเขาได้ ม าแล้ วกิ จ การ ระหว่างพวกเขาก็ถูกตัดสินโดยเที่ยงธรรม" (ยูนุส, 4: 47) เพราะความอยุติธรรม คือบ่อเกิดแห่งความหายนะ อิบนุตัยมียะฮฺกล่าวว่า “โลกนี้จะยังคงดํารงอยู่ ได้หากมีความยุติธรรมแม้ไร้การศรัทธาในพระเจ้า แต่ โลกนี้จะไม่อาจดํารงอยู่ได้แม้มีการศรัทธาต่อพระเจ้า ถ้าไร้ความยุติธรรม เพราะความยุติธรรมคือระบบของ ทุกสิ่ง” (มุ ฮั ม มั ด อั ซ ซุ ฮั ย ลี ย์ , 2002: 23) ศาลซึ่ ง มี บทบาทสําคัญยิ่งต่อการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมจะรักษา บทบาทนี้ไว้ได้ต่อเมื่อมีอิสรภาพในการพิจารณาพิพากษา อรรถคดี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติจึงเห็นชอบให้ ประเทศต่าง ๆ บัญญัติประกันความอิสระของผู้พิพากษา หรื อตุ ล าการไว้ ใ นรั ฐธรรมนู ญ หรื อกฎหมายสู ง สุ ด ของ ประเทศ (คณิต ณ นคร, 2546: 64) ประเทศไทยก็ได้ บั ญ ญั ติ หลั ก ประกั น ดั ง กล่ า วไว้ ใ นรั ฐ ธรรมนู ญ ทุ ก ฉบั บ ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเป็นต้นมา และได้มี การปฏิ รู ป ศาลให้ มี ค วามเป็ น อิ ส ระมากยิ่ ง ขึ้ น ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ก็ไ ด้บั ญญัติ หลัก ประกัน ดัง กล่า วไว้ เช่ น เดี ย วกั น ดั ง ปรากฏในมาตรา 18 บั ญ ญั ติ ว่ า "ผู้ พิ พ ากษา และตุ ล าการ มี อิ ส ระในการพิ จ ารณา พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ให้ เป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญนี้" ความอิสระของผู้พิพากษาจึงมีความสําคัญอย่าง ยิ่ง เพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความยุติธรรมในการ พิจ ารณาพิ พ ากษาคดี ดัง นี้ การศาลในอิ ส ลามซึ่ ง มี ม า

3

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

ก่ อ นหน้ า สมั ช ชาสหประชาชาติ นั บ พั น ปี เป็ น ศาลที่ มุ่ ง เน้ น ถึ ง ความยุ ติ ธ รรมและเที่ ย งธรรมได้ บั ญ ญั ติ หลั ก ประกั น ความเป็ น อิ ส ระของผู้ พิ พ ากษาไว้ เพี ย งใด หรือไม่ เป็นเรื่องที่ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง บทความนี้ จึงมุ่งที่จะนําเสนอในประเด็นดังกล่าวควบคู่ไปกับความ เป็นอิสระของศาลไทย โดยอาศัยแหล่งข้อมูลอิสลามจาก คัมภีร์อัลกุรอาน ประมวลวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด แ ล ะ ทั ศ น ะ ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง ข อ ง นั ก วิ ช า ก า ร มุ ส ลิ ม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูลทางกฎหมายจากรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความแพ่งและวิธีพิจารณา ความอาญาและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ความหมายของศาลในอิสลาม “ศาล” ในอิสลามตรงกับถ้อยคําในภาษาหรับ ว่า “อัลเกาะฎออฺ” (‫ )ﺍﻟﻘﻀﺎﺀ‬นักนิติศาสตร์อิสลามมัซฮับ ต่างๆ ได้ให้คํานิยามคําว่า “อัลเกาะฎออฺ” ไว้แตกต่างกัน แต่เมื่อได้พิจารณารายละเอียดแต่ละนิยามแล้วพบว่ามี เนื้อหาและความมุ่งหมายใกล้เคียงกัน กล่าวโดยสรุปคือ “กระบวนการพิ จ ารณาพิ พ ากษาอรรถคดี โ ดยผู้ พิพากษาตามวิธีการและขั้นตอนที่กําหนดไว้โดยเฉพาะ ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายอิสลาม” ด้วยเหตุนี้ การยุติ ข้ อ พิ พ าทและการพิ พ ากษาที่ มิ ไ ด้ ดํ า เนิ น ไปตาม กระบวนการที่กํา หนดไว้ในกฎหมายอิสลามย่อมไม่ถื อ เป็นการพิพากษาของศาลหรืออัลกอฏออฺในอิสลาม ความหมายของศาลในกฎหมายไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (1) บัญญัติว่า “ศาล” หมายความว่า ศาลยุติธรรมหรือ ผู้พิพากษาที่มีอํานาจพิจารณาคดีแพ่ง ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จ ารณาความอาญา มาตรา 2 (1) บั ญ ญั ติ ว่ า “ศาล” หมายความถึ ง ศาล ยุ ติ ธ รรมหรื อ ผู้ พิ พ ากษาซึ่ ง มี อํ า นาจทํ า การเกี่ ย วกั บ คดีอาญา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 233 บัญญัติว่า “การพิจารณาพิพากษาคดี เป็นอํานาจของศาล...” คําว่า “ศาล” ในที่นี้มีผู้อธิบายว่า หมายถึ ง ผู้ พิ พ ากษา เพราะความจริ ง ผู้ พิ พ ากษาก็ คื อ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

“ศาล” แต่ ไม่เรีย กชื่อเป็น “ศาล” เท่า นั้น (หยุด แสง อุทัย, 2542: 209) จึงกล่าวได้ว่า "ศาล" ตามกฎหมายไทย มีสอง ความหมายด้วยกัน คือ ความหมายหนึ่ง หมายถึงสถานที่ สํ า หรั บ พิ จ ารณาคดี เ รี ย กว่ า ศาลยุ ติ ธ รรม และอี ก ความหมายหนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่ให้ความ ยุติธรรมเรียกว่า ผู้พิพากษา ส่วน “ระบบศาล” หมายถึงกระบวนการและ ขั้ น ตอนต่ า งๆ ทางศาล หรื อ ระหว่ า งศาล เพราะ “ระบบ” หมายถึง กลุ่มของสิ่งซึ่งมีลักษณะประสานเข้า เป็นสิ่งเดียวกันตามหลักแห่งความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกัน ด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่ น ระบบประสาท ระบบจั ก รวาล ระบบสั ง คม (ราชบัณฑิตยสถาน (2542: 933) เมื่อรวมเป็นระบบศาล จึง หมายถึ ง การจั ด ระเบี ยบศาลที่ มี ลั ก ษณะซั บ ซ้ อนให้ ประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อปฏิบัติภารกิจผดุง ความยุติธรรมให้กับสังคม ความแตกต่ า งระหว่ า งศาลในอิ ส ลามกั บ ศาลใน กฎหมายไทย เมื่อได้พิเคราะห์ความหมายของศาลในอิสลาม กับศาลในกฎหมายไทยดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า “อัล เกาะฏออฺ ” หรื อ “ศาล” ในอิ ส ลาม มี ค วามหมาย แตกต่ า งกั บ คํ า ว่ า “ศาล” ตามประมวลกฎหมายวิ ธี พิจ ารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธี พิจ ารณา ความอาญา กล่ า วคื อ มี จุ ด เน้ น ที่ แ ตกต่ า งกั น เพราะ “ศาล” ในอิ ส ลามมี นั ย สํ า คั ญ เกี่ ย วกั บ กระบวนการ วิธีการ และหลักเกณฑ์ของการพิจารณาพิพากษาอรรถ คดีของผู้พิพากษาหรือตุลาการมากกว่าที่จะมุ่งหมายถึง ตัวผู้ พิพ ากษาหรื อสถานที่ พิจ ารณา พิ พากษาคดี ทั้ง นี้ แม้ ว่ า ทั้ ง สถานที่ แ ละผู้ พิ พ ากษาถื อ เป็ น องค์ ป ระกอบ สําคัญของกระบวนการศาลในอิสลามด้วยก็ตาม ดังนั้น เมื่อกล่าวคําว่า “ศาล” ในอิสลามจึงมีนัย กว้างและครอบคลุ มกว่า “ศาล” ตามความหมายของ กฎหมายไทย และดูเหมือนจะมีความหมายใกล้เคียงกับ คําว่า “ระบบศาล” หรือ “กระบวนการยุติธรรม” เพราะ ศาลในอิสลามมุ่งถึงกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถ คดี ที่ มี ค วามยุ ติ ธ รรมตามกฎหมายอิ ส ลามเพื่ อ พิ ทั ก ษ์

4

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

รั ก ษาความยุ ติ ธ รรมในสั ง คม แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามเป็ น ที่ ยอ ม รั บ ทั่ ว ไ ป ว่ า ผู้ พิ พ า ก ษ า ห รื อ ตุ ล า ก า ร ก็ เ ป็ น องค์ ป ระกอบสํ า คั ญ เพราะกระบวนการพิ จ ารณา พิพากษาอรรถคดีไม่อาจเกิดขึ้นโดยปราศจากผู้พิพากษา หรื อ ตุ ล าการ และแม้ ว่ า ศาลในอิ ส ลามและศาลตาม กฎหมายไทยเป็นองค์กรที่ใช้อํานาจตุลาการเหมือนกัน แต่กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินของแต่ละ ศาลแตกต่างกัน กล่าวคือ ศาลในอิสลามต้องใช้กฎหมาย อิสลามในการตัดสินคดี ส่วนศาลไทยก็ต้องตัดสินคดีไป ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ เป็นต้น การศาลของไทยจึงมีลักษณะแยกออกจากหลัก ศาสนา เพราะยึ ดหลัก กฎหมายที่แ ยกศาสนาออกจาก บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง กฎหมายแม้ ใ นการพิ พ ากษาคดี ศ าล จะต้ อ งยึ ด หลั ก จริ ย ธรรมซึ่ ง มี ที่ ม าจากศาสนาก็ ต าม แตกต่างจากกฏหมายอิสลามที่ไม่แยกศาสนาออกจาก บทบัญญัติแห่งกฏหมายไทย ดังนั้นศาลในอิสลามจึงต้อง ยึ ด หลั ก กฎหมายอิ ส ลามอั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของศาสนา ตําแหน่งผู้พิพากษาในศาลอิสลามจึงถือเป็นตําแหน่งทาง ตุ ล าการและทางศาสนาไปด้ ว ยในเวลาเดี ย วกั น การ ปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีก็ถือเป็น การปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ หรื อ อิ บ าดะฮฺ ต่ อ อั ล ลอฮฺ กระบวนการทางศาลทั้งหมดทุกขั้นตอนจึงได้วางอยู่บน รากฐานของกฎหมายอิ สลามและความเชื่อมั่ นศรัท ธา ต่ออัลลอฮฺ (มุฮัมมัด อัซซุหัยลีย์ (2545) : 28) อิสรภาพของผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลอิสลาม อิสรภาพของผู้พิพากษาหรือตุลาการ หมายถึง การดําเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยอิสระ ตามความเห็น และดุ ลยพินิ จของผู้พิ พากษาเองภายใต้ บทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง อั ล กุ ร อานและสุ น นะฮฺ อั น เป็ น ทางนํ า จากอัลลอฮฺและศาสนทูตของพระองค์ โดยปราศจากการ แทรกแซงจากอํานาจใด ความเป็นอิสระของผู้พิพากษา หรือตุลาการในศาลอิสลามจึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งและ ได้รับการคุ้มครองตลอดมาตั้งแต่ในยุคของท่านนบีมุฮัม หมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่านและครอบครัว) ซึ่งใน ฐานะศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอํานาจสูงสุดในการ ใช้อํา นาจอธิป ไตยแห่งรั ฐทั้ง ในด้ านนิติ บัญญั ติ บริหาร


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

และตุลาการ กล่าวคือ ด้านนิติบัญญัติ ท่านนบีมุฮัมมัด คือผู้ได้รับวะหฺยูจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นธรรมนูญสูงสุดมา เผยแผ่แก่มวลมนุษยชาติในฐานะศาสนทูตแห่งพระองค์ ด้านการบริหารท่านนบีมุฮัมหมัด (ขอความสันติสุขจงมี แด่ท่านและครอบครัว) เป็นผู้ทรงอํานาจสูงสุดในการ บริหารกิจการต่าง ๆ เป็นผู้คอยขจัดทุกข์บํารุงสุข สร้าง ความเป็นธรรมและความถูกต้องแท้จริงตามแนวนโยบาย อั น เลิ ศ ล้ํ า ที่ ม าจากอั ล ลอฮฺ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า แห่ ง สากล จั ก รวาล และด้ า นตุ ล าการท่ า นนบี มุ ฮั ม มั ด เป็ น ผู้ ใ ช้ อํานาจตุลาการในการตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน ยุคสมัยของท่าน โดยยึดถืออัลกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุด ในระยะแรกท่ า นนบี มุ ฮั ม มั ด ทํ า การ พิ จ ารณาพิ พ ากษาอรรถคดี ด้ ว ยตนเองแต่ ผู้ เ ดี ย ว เนื่องจากเป็นช่วงที่อาณาจักรอิสลามเพิ่งสถาปนาเป็ น อาณาจั ก รเล็ ก ๆ ประกอบด้ ว ยสมาชิ ก จํ า นวนไม่ ม าก สามารถปกครองดูแลและพิพากษาได้อย่างทั่วถึง ต่อมา เมื่ออาณาจักรอิสลามขยายกว้างขึ้น ท่านนบีมุฮัมหมัด (ขอความสั น ติ สุ ข จงมี แ ด่ ท่ า นและครอบครั ว ) จึ ง ได้ มอบหมายภารกิ จบางอย่างให้เศาะฮาบะฮฺ ดํา เนิน การ ช่วยเหลือตามความจําเป็นรวมทั้งงานด้านตุลาการ (มัน นาอฺ อัลกอฏฏอน, 1993: 18) อาทิ ส่งมุอาซอิบนุญะบัล ( เ ร ะ ฏี ยั ล ล อ ฮฺ ฮุ อั น ฮู ) แ ล ะ อ า ลี อิ บ นุ อ บี ฏ อ ลิ บ (เราะฏี ยั ล ลอฮฺ ฮุ อัน ฮู ) ไปเป็ น ผู้ พิ พ ากษาประจํ า เมื อ ง เยเมน และแต่งตั้งอัตตาบอิบนุ อุสัยดฺ (เราะฏียัลลอฮฺฮุ อันฮู) เป็นผู้ปกครองดูแลนครมักกะฮฺภายหลังการพิชิต มักกะฮฺได้สําเร็จ เป็นต้น ท่านนบีมุฮัมมัด ได้วางหลักความเสมอภาค ให้ ทุก คนมีค วามเท่ าเทีย มกัน ภายใต้ก ฎหมายและการ พิ พ ากษาของศาลไม่ ยิ น ยอมให้ มี อํ า นาจอิ ท ธิ พ ล ผลประโยชน์ หรื อ แม้ แ ต่ ค วามใกล้ ชิ ด สนิ ท สนมมามี อิทธิพลครอบงําการพิพากษาอรรถคดี ดังเช่นเมื่อครั้งที่ ท่านนได้ทําการพิพากษาให้ลงโทษตัดมือสตรีผู้หนึ่งซึ่งได้ กระทํ า ความผิ ดฐานลั กทรัพ ย์ (มุส ลิ ม: หะดีษ เลขที่ 4366) แต่ด้วยฐานั นดรศั กดิ์อันสูงส่ ง ครอบครั วของ นางจึงได้วิ่งเต้นให้อุซามะฮฺ อิบนุซัยดฺ ผู้เป็นที่รักยิ่งของ ท่า นนบี เป็ น ผู้ติ ด ต่อขอให้เปลี่ ย นคํ า พิพ ากษาและ ระงั บ การลงโทษ เมื่ อ อุ ซ ามะฮฺ ไ ด้ ร้ อ งขอต่ อ ท่ า นนบี ท่า นนบี ไ ม่ พอใจอย่ า งมากกระทั่ง ใบหน้ า เปลี่ ย นเป็ น สี

5

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

เลือด และกล่าวว่า “เจ้าประสงค์จะช่วยให้คนผิดรอด พ้ น จากบทลงโทษของอั ล ลอฮฺ กระนั้ น หรื อ ...” จากนั้นท่านนบี จึงได้ลุกขึ้นประกาศ ดังมีความตอน หนึ่งว่า “หากแม้นว่าฟาฏิมะฮฺบุตรสาวของมุฮัมหมัด ลักขโมย ฉันจะพิพากษาให้ลงโทษตัดมือ ของเธออย่าง แน่นอน" (มุสลิม: หะดีษเลขที่ 4364) ท่านนบีมุฮัมมัด ได้ส่งเสริมให้เศาะหาบะฮฺมี ความกล้าที่จะทําการพิพากษาคดี ดังปรากฏในหลายหะ ดีษ เช่น “เมื่อผู้พิพากษาได้ทําการพิพากษา แล้วเขาได้ ทําการวินิจฉัย ถ้าการวินิจฉัยนั้นถูกต้องเขาจะได้รับ สองกุ ศ ลบุ ญ และเมื่ อ เขาได้ ทํ า การพิ พ ากษา แต่ ผิดพลาดในการวินิจฉัย เขาก็จะได้รับหนึ่งกุศลบุญ” (อัตติรมิซีย์: หะดีษเลขที่ 1324) ในขณะเดียวกันท่านนบีมุฮัดมัด (ขอความสันติ สุขจงมีแด่ท่านและครอบครัว)ได้เตือนให้ระวังตนจากการ พิพากษา ดังปรากฏในหะดีษหนึ่งความว่า “บุคคลใดที่ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาระหว่างมนุษย์ แน่แท้ เขาได้ถูกเชือดด้วยสิ่งอื่นจากมีด” (อะบูดาวูด: หะดีษ เลขที่ 3572) อีกหะดี ษหนึ่งความว่า “ผู้พิพากษามี 3 ประเภท ประเภทหนึ่งอยู่ในสวรรค์ และอีกสองประเภท อยู่ ใ นนรก สํ า หรั บ ประเภทที่ อ ยู่ ใ นสวรรค์ คื อ ผู้ พิพากษาที่รู้สัจธรรมแล้วตัดสินไปตามสัจธรรมที่ตนรู้ นั้ น ส่ ว นผู้ พิ พ ากษาที่ รู้ สั จ ธรรมแต่ อ ธรรมในการ พิ พ ากษานั่ น คื อ ผู้ ที่ จ ะอยู่ ใ นนรก และผู้ พิ พ ากษาที่ พิพากษามนุษย์ด้วยความเขลา เขาก็คือ ผู้ที่จะอยู่ใ น นรก” (อะบูดาวูด: หะดีษเลขที่: 3574) การดําเนินการในฐานะผู้ใช้อํานาจตุลาการของ ท่านนบีเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เหล่าเศาะฮาบะฮฺของท่าน และประชาชาติ อิ ส ลามทุ ก ยุ ค สมั ย ได้ เ จริ ญ รอยตาม เพราะนั่นคือแนวทางเดียวที่อัลลอฮฺ ทรงรับรองถึง ความถู ก ต้ อ งดี ง าม ดั ง ปรากฏในอั ล กุ ร อานความว่ า “แท้จริงใน ศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺนั้นมีแบบฉบับอันดี งามสําหรับพวกเจ้า” (อัลอะหฺซาบ, 33: 21) เคาะลีฟะฮฺ หรื อ ผู้ นํ า รั ฐ อิ ส ลามจึ ง ต้ อ งใช้ อํ า นาจตุ ล าการอย่ า ง ยุ ติ ธ รรมและเป็ น อิ ส ระเพื่ ออั ล ลอฮฺ เสมื อนเช่ น ที่ ท่านนบีได้กระทําเป็นแบบอย่าง และหากเคาะลีฟะฮฺได้มี การแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลอื่ น เป็ น ผู้ พิ พ ากษาก็ ต้ องให้ คุ้ ม ครอง


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

ความเป็นอิสระของผู้พิพากษามิให้ถูกแทรกแซงจากทุก ฝ่ายรวมทั้งเคาะลีฟะฮฺเอง ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารศาลในอิ ส ลามระบุ ว่ า ผู้ พิพากษาและตุลาการศาลอิสลามมีความเป็นอิสระอย่าง มาก และบ่อยครั้งที่เคาะลีฟะฮฺถูกพิพากษาให้เป็นฝ่าย แพ้คดี อาทิ ท่านชุรอยหฺ ได้ตัดสินคดีระหว่างเคาะลีฟะฮฺ อุมัร อิบนุ อัลค๊อฏฏอบ (เระฏียัลลอฮฺฮุอันฮู) กับเจ้าของ ม้ารายหนึ่ ง โดยท่ านชุรอยฮฺได้พิพากษาให้เคาะลีฟะฮฺ อุมัร (เระฏียัลลอฮฺฮุอันฮู)เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด กระทั่ง ท่า นอุ มั ร (เระฏี ยั ล ลอฮฺ ฮุ อัน ฮู )ประทั บใจในความกล้ า หาญและความฉลาดหลักแหลม จึงได้แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้ พิพากษาแห่งเมืองกูฟะฮฺ อัลมาวัรดีย์ (1971: 644) กล่าวว่า “เมื่อได้รับ การแต่งตั้งให้ทําการพิพากษา ผู้พิพากษาจําเป็น (วา ยิ บ ) ที่ จ ะต้ อ งพิ พ ากษาอรรถคดี ด้ ว ยการวิ เ คราะห์ วินิจฉัย(อิจญฺติฮาด)ของตนเอง” จะตัดสินคดีตามการ วิ นิ จ ฉั ย ของผู้ อื่น ไม่ ไ ด้ ในขณะที่ นั ก นิ ติ ศ าสตร์ อิส ลาม มัซฮับหะนาฟีมีความเห็นว่า ผู้พิพากษามีอิสระที่จะเลือก ทําการวินิจฉัยคดีเองหรือจะตัดสินตามการวินิจฉัยของ นักปราชญ์ท่านอื่นที่มีความรอบรู้มากกว่าตน หรือตัดสิน คดีตามมัซฮับที่ตนสังกัดก็ได้ (อัลกอซีมีย์, 1992: 2/187) เหล่านี้ล้วนเป็นการรับรองความอิสระของผู้พิพากษาและ ความยุติธรรม อิสรภาพของผู้พิพากษาหรือตุลาการศาลไทย กล่าวกันว่า ประเทศไทยยอมรับหลักการความ เป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการมาแต่ดั้งเดิม แม้ใน สมั ย สมบู ร ณาญาสิ ท ธิ ร าชย์ ก็ ป รากฏหลั ก ฐานว่ า พระมหากษัตริย์ทรงอนุญาตให้ผู้พิพากษาตุลาการปฏิบัติ หน้าที่ของตนอย่างอิสระ พระองค์จะเข้าไปเกี่ยวข้องรู้ เห็นก็เฉพาะในคดีที่สําคัญมาก ๆ หรือในคดีอุทธรณ์ ฎีกา ร้องทุก ข์ว่ าผู้พิ พากษาตุล าการปฏิบั ติหน้า ที่โดยมิ ชอบ เท่านั้น ตัวอย่างเช่น พระอัยการลักษณะตระลาการ ใน คั ม ภี ร์ พ ระธรรมศาสตร์ ไ ด้ บั ญ ญั ติ เกี่ ย วกั บ หลั กในการ พิ จ ารณาพิ พ ากษาคดี ไ ว้ ว่ า “ตุ ล าการต้ อ งตั้ ง ตนเป็ น อิสรภาพหนึ่ ง เอาตัวโจทก์จําเลยเป็นอิส รภาพในคดี หนึ่ ง ให้ ฟั ง เอาแต่ ถ้ อ ยคํ า สํ า นวนโจทก์ จํ า เลยเป็ น อิสรภาพในคดีหนึ่ ง และจงวินิจฉัย คดีโดยสั จจะตาม

6

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

พระธรรมศาสตร์หนึ่ง วินิจฉัยคดีโดยอันเสนอตามพระ ธรรมศาสตร์หนึ่ง” (วิษณุ เครืองาม, ม.ป.ป.: 422) ใ น “ ห ลั ก อิ น ท ภ า ษ ” ข อ ง คั ม ภี ร์ พ ร ะ ธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงคติธรรมซึ่งผู้พิพากษาตุลาการ จะต้องยึดมั่น คือ ผู้พิพากษาและตุลาการทุกคนจะต้อง พิจารณาพิพากษาคดีโดยปราศจากอคติ 4 คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ และภยาคติ ในหลักอินทภาษยังกล่าว เปรียบเปรยบาปกรรมของผู้พิพากษาตุลการที่พิจารณา พิพากษาคดีโดยไม่เที่ยงธรรมไว้ด้วยว่า “อนึ่งแม้บุคคล ใจบาปพิฆาฏฆ่าเสียซึ่งหมู่นิกรนาสีนางอันหาผิดบ่มิได้ และฟันฆ่าพราหมณ์อันทรงพรหมจรรย์ได้ถึงสิบร้อย ฆ่าคชสารโคคาวีได้ถึงพัน และกองบาปกองกรรมนั้นก็ เป็นอันหนัก ถึงฉะนั้นก็ไม่เท่าบาปกรรมอันบุคคลบังคับ ความมิได้เที่ยงตรง” (วิษณุ เครืองาม, ม.ป.ป.: 423) ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น ระบอบประชาธิ ป ไตยใน พ.ศ.2475 รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย พุ ท ธศั กราช 2475 บั ญ ญั ติ รั บ รอง ความเป็นอิสระของศาลและตุลาการไว้ในมาตรา 58 ว่า “การพิ จารณาพิ พากษาอรรถคดี ท่า นว่ า เป็น อํ า นาจ ของศาลโดยเฉพาะซึ่งจะต้องดําเนินการตามกฎหมาย และในนามพระมหากษัตริย์” และในมาตรา 60 ว่า “ผู้ พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ให้เป็นไปตามกฎหมาย” แต่แม้กระนั้นความอิสระก็ยัง ไม่สมบูรณ์อยู่นั่นเอง เนื่องจากระบบการบริหารบุคคล ของตุลาการยังคงเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนอํานาจของ เสนาบดี ก ระทรวงยุ ติ ธ รรมให้ ม าเป็ น อํ า นาจของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเท่านั้น ต่ อ มา ความเป็ น อิ ส ระของศาลและตุ ล าการ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติให้ใช้ พระธรรมนู ญ ศาลยุ ติ ธ รรม พุ ท ธศั ก ราช 2477 และ พระราชบัญญัติข้าราชการตุลาการ พุทธศักราช 2477 โดยมีการแบ่งสายงานของศาลออกเป็นสองฝ่าย คือ งาน ฝ่ า ยธุ ร การ และงานฝ่ า ยตุ ล าการ กํ า หนดให้ รัฐ มนตรี กระทรวงยุติธรรเป็นผู้มีอํานาจจํากัดเฉพาะงานธุรการ เท่านั้น ส่วนงานตุลาการที่เกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษา คดีเป็นอํานาจของผู้พิพากษาโดยเฉพาะ รัฐมนตรีจะเข้า ไปเกี่ยวข้องไม่ได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

เ มื่ อ มี ก า ร ป ร ะ ก า ศ ใ ช้ รั ฐ ธ ร ร ม นู ญ แ ห่ ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ส่งผลให้มีการปฏิรูปศาลมี อิสระกว่าเดิม โดยกําหนดให้มีสํานักงานธุรการเป็นของ ตนเองพ้นจากกระทรวงยุติธรรม ดังปรากฏในมาตรา 249 และมาตรา 275 ด้วยบทบั ญญั ติแห่ งรัฐ ธรรมนู ญ สองมาตราที่กล่าวข้างต้น ทําให้อํานาจหน้าที่ของศาล ไทยในส่ ว นของผู้ พิ พ ากษาและตุ ล าการแยกออกจาก กระทรวงยุติธรรมอย่างชัดเจน เพราะงานด้านตุลาการ ของศาลยุ ติ ธ รรมมี ก ารตั้ ง เลขาธิ ก ารสํ า นั ก งานศาล ยุติธรรมทําหน้าที่แทนกระทรวงยุติธรรมที่เคยปฏิบัติมา ยังผลให้การดําเนินงานของศาลไทยมีอิสระอย่างแท้จริง มากขึ้นพ้นจากกระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการศาลยุ ติ ธ รรม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจ านุเบกษา เมื่ อวัน ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และกําหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 60 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้นนับ จากวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ศาลยุติธรรมซึ่งเคย สังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมมานานกว่า 108 ปี ได้แยก ออกเป็นองค์กรอิสระ โดยมี “สํานักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานอิสระมีฐานะเป็นนิติบุคคลทําหน้าที่ฝ่าย ธุรการ มีเลขาธิการสํานักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บริหาร สูงสุดขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาศาลอิสลามและศาลไทย โดยทั่ ว ไปหลั ก เกณฑ์ ที่ จ ะคุ้ ม ครองความเป็ น อิสระของผู้พิพากษาและตุลาการมีหลายรูปแบบแตกต่าง กั น ออกไปในแต่ ล ะประเทศ แต่ ห ลั ก เกณฑ์ ต่ า ง ๆ ที่ สําคัญพื้นฐานประกอบด้วย (1) การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอํานาจ ของศาลโดยเฉพาะ (2) ผู้พิพากษาตุลาการมีอิสระในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย (3) ฝ่ า ยนิ ติ บั ญ ญั ติ ห รื อ ฝ่ า ยบริ ห ารจะตั้ ง กรรมการสอบสวนการพิจารณาคดีของศาลไม่ได้

7

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

(4) มีหลักประกันการโยกย้าย ถอดถอนเลื่อน ตําแหน่ง และเลื่อนเงินเดือนของผู้พิพากษา (5) สภาจะออกกฎหมายบังคับเฉพาะกรณีหนึ่ง กรณีใดไม่ได้ จะต้องออกกฎหมายเป็นการทั่วไป และให้ ศาลใช้บังคับในทุกกรณี (วิษณุ เครืองาม, ม.ป.ป.: 423) หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าศาลในอิสลามและศาลไทยต่างก็มีอิสรภาพที่ ได้รับประกันคล้ายคลึงกันแม้จะมีรายละเอียดที่แตกต่าง กันซึ่งอธิบายโดยสังเขปได้ดังนี้ ประการแรก ศาลในอิสลามและศาลไทยต่าง เป็ น องค์ ก รตุ ล าการที่ มี อํ า นาจพิ จ ารณาพิ พ ากษาคดี โดยเฉพาะ องค์กรอื่นไม่มีอํานาจดังกล่าว เพียงแต่ศาล ไทยในยุคที่มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อํ า นาจสิ ท ธิ ข าดเป็ น ของพระมหากษั ต ริ ย์ แ ต่ ผู้ เ ดี ย ว ลั ก ษณะผิ ว เผิ น คล้ า ยกั บ ศาลอิ ส ลามในยุ ค ของท่ า น รอซูลุ้ลลอฮฺ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันสําคัญตรงที่ ท่านรอซู้ล(ขอความสันติจงมีแด่ท่านและครอบครัว) มิได้ เป็ น เจ้ า ของอํ า นาจตุ ล าการแบบเบ็ ด เสร็ จ เหมื อ น พระมหากษัตริย์หากเป็นแต่เพียงผู้ใช้อํานาจนั้นเท่านั้น เจ้าของอํานาจที่แท้จริงคืออัลลอฮฺ ประการที่สอง ศาลในอิสลามและศาลไทยต่าง มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี ดังปรากฏในซุนนะฮฺ ของท่ า นนบี เคาะลี ฟ ะฮฺ อุ มั ร และประวั ติ ศ าสตร์ ศ าล อิ ส ลามดั ง กล่ า วข้ า งต้ น เหล่ า นั้ น สะท้ อ นถึ ง ความมี อิสรภาพในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของตุลาการ ศาลอย่ า งสมบู ร ณ์ ในขณะที่ ศ าลไทยก็ มี บั ญ ญั ติ แ ห่ ง รัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระ ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ประการที่สาม ศาลในอิสลามและศาลไทยไม่ อยู่ใ นฐานะที่ จะถู กสอบสวนการพิจ ารณาพิพ ากษาคดี โดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร เพราะศาลเป็นองค์กร ตุลาการที่มีสถานะเท่าเทียมกับฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย บริ ห าร ตุ ล าการศาลในอิ ส ลามขึ้ น ตรงต่ อ เคาะลี ฟ ะฮฺ เช่นเดียวกับวาลีหรือผู้ปกครองหัวเมืองซึ่งทําหน้าที่ฝ่าย นิติบัญญัติและหรือบริหาร ในขณะที่ศาลไทยรัฐธรรมนูญ บั ญ ญั ติ ไ ว้ ชั ด เจนว่ า ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นพระปรมาภิ ไ ธย พระมหากษัตริย์ ส่วนอํานาจนิติบัญญัติหรือบริหารมิได้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

ระบุเช่นนั้น ดังนั้น ในบางมิติจึงดูเหมือนสถาบันตุลาการ มีค วามประเสริ ฐ และสู ง ส่ งกว่ า เพราะเป็ น องค์ ก รที่ ทํ า หน้าที่พิทักษ์รักษาความยุติธรรม ในระบบศาลอิสลาม เช่นเดียวกันมีหะดีษรับรองว่าการวินิจฉัยคดีผิดไม่ต้องรับ โทษอั น ใดแต่ จ ะได้ รั บ กุ ศ ลบุ ญ ตอบแทนทั้ ง นี้ ห ากผู้ พิพากษาตุลาการนั้นมีความรอบรู้และคุณสมบัติครบถ้วน อย่ า งก็ ต าม อิ ส รภาพของตุ ล าการศาลไม่ ไ ด้ หมายความว่ า ผู้ พิ พ ากษาตุ ล าการจะมี อิ ส รภาพไร้ ขอบเขตและปราศจากการควบคุมหรือควบคุมไม่ได้ ใน ระบบอิสลามผู้พิพากษาตุลาการเป็นดังตัวแทนของเคาะ ลีฟะฮฺในการใช้อํานาจตุลาการ จึงเป็นการสมควรอย่าง ยิ่งที่เคาะลีฟะฮฺหรือผู้ได้รับมอบหมาย เช่น ผู้พิพากษา สูงสุด (กอฎีกุฏอต) จะได้สอดส่องติดตามการทํางานของ บรรดาผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้แทนของตน หาไม่แล้วเคาะ ลี ฟ ะฮฺ จ ะมี ค วามบกพร่ อ งในหน้ า ที่ แต่ ทั้ ง นี้ ต้ อ งไม่ กระทบกระเทือนความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการ พิจารณาพิ พากษาอรรถคดี ” (อิบนุฟั รหูน , ฮ.ศ.1301: 77) ในศาลไทยก็ เ ช่ น เดี ย วกั น รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ร า ช อ า ณ า จั ก ร ไ ท ย พ . ศ . 2 5 4 0 กํ า ห น ด ใ ห้ มี คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม “ก.ต.” เป็นองค์กร ที่มีบทบาทในการควบคุมผู้พิพากษาและข้าราชการตุลา การ ประการที่ สี่ ศาลไทยตามรั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีหลัก ประกัน เกี่ยวกั บ การโยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตําแหน่ง และเลื่อนเงินเดือน ของผู้พิพากษาตุลาการที่ชัดเจนมากขึ้น ในขณะที่ตุลา การศาลอิสลาม นักนิติศาสตร์อิสลามมีความเห็นแตกต่าง กันเกี่ยวกับการถอดถอนผู้พิพากษาในกรณีที่ผู้พิพากษามี คุณสมบัติครบถ้วนปราศจากความผิดหรือข้อบกพร่อง โดยทัศนะหนึ่งซึ่งเป็นทัศนะของมัซฮับชาฟิอีย์ มัซฮับมา ลิกีย์ และรายงานหนึ่งของมัซฮับฮันบาลีย์มีความเห็นว่า ไม่อนุญ าตให้เคาะลีฟ ะฮฺป ลดหรือถอดถอนผู้ พิพากษา ออกจากตําแหน่ง เพราะการแต่งตั้งผู้พิพากษาเป็นพันธะ สั ญ ญาที่ เ คาะลี ฟ ะฮฺ ไ ด้ ก ระทํ า ขึ้ น เพื่ อ ประโยชน์ ข อง ประชาชนโดยส่วนรวม แม้ผู้พิพากษาจะเป็นตัวแทนของ คอลี ฟ ะฮฺ แ ต่ เ นื่ อ งจากมี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั บ ประโยชน์ ส่วนรวม จึงไม่อาจปลดออกจากตําแหน่งได้ตราบใดที่ผู้ พิพากษามีคุณสมบัติครบถ้วนไม่บกพร่อง อีกทัศนะหนึ่ง

8

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

ซึ่งเป็นทัศนะของมัซฮับหะนะฟีย์ มัซฮับฏอฮิรีย์ มัซอับ มาลิกีย์ และอีกรายงานหนึ่งของอิมามฮันบาลีย์เห็นว่า อนุญาตให้เคาะลีฟะฮฺปลดผู้พิพากษาออกจากตําแหน่งได้ ดังนั้นหากพิจารณาตามทัศนะแรกผู้พิพากษาหรือตุลา การในศาลอิสลามได้รับการประกันอย่างมั่นคงยิ่ง และ หากจะพิจารณาตามความเห็นหลังก็มิได้หมายความว่า อิสรภาพของผู้พิพากษาจะไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะ เคาะลี ฟ ะฮฺ จ ะต้ อ งดํ า เนิ น การภายใต้ บ ทบั ญ ญั ติ แ ห่ ง อิสลามที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความยุติธรรมและเที่ยงธรรม มิใช่ด้วยอําเภอใจ อนึ่ ง ค่ า ตอบแทนหรื อ เงิ น เดื อ นสํ า หรั บ ผู้ พิ พ ากษาในอิ ส ลาม นั ก นิ ติ ศ าสตร์ อิส ลามมี ค วามเห็ น แตกต่างกัน กล่าวคือบางท่าน เช่น อัลกอสิม อิบนุ อัลดุร รอห์มาน ผู้พิพากษาแห่งเมืองกูฟะฮฺ เห็นว่าไม่อนุมัติโดย กล่าวว่า “สี่ประการที่ไม่อนุญาตให้รับค่าตอบแทน คือ การพิพากษา การอะซาน การจัดการแบ่งปัน และอัลกุ รอาน” (หุสัยนฺ นัศศอร, 1992: 77) ใน ขณะที่ นั ก วิ ช า กา รอิ ส ลา มบ า งท่ า น มี ความเห็นว่าการรับค่าตอบแทนจะเป็นสิ่งอนุมัติหรือไม่ อยู่ ที่ ฐ านะทางเศรษฐกิ จ ของผู้ พิ พ ากษา คื อ ถ้ า หากผู้ พิ พ ากษามี ฐ านะยากจนอนุ ญ าตให้ รั บ ค่ า ตอบได้ ใ น ปริมาณที่จะทําให้สามารถดํารงชีพอยู่ได้อย่างเพียงพอ ส่วนผู้พิพากษาที่มีฐานะร่ํารวยไม่เป็นการสมควร (มักรูฮฺ) ที่จะรับค่าตอบแทน เนื่องจากการพิพากษาเป็นอิบาดะฮฺ ประเภทหนึ่งซึ่งต้องกระทําเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อ อัลลอฮฺ จึงเป็นการไม่สมควรที่จะรับค่าตอบแทนโดย ปราศจากความจําเป็น นักวิ ชาการอิ สลามอี กส่ว นหนึ่ งมี ความเห็ นว่ า อนุมัติให้ผู้พิพากษารับค่าตอบแทนแม้ว่าจะมีฐานะร่ํารวย ก็ตาม เช่น ชุรอยหฺอิบนุอัลหาริษ ผู้พิพากษาประจําเมือง กู ฟ ะฮฺ ได้ ก ล่ า วถึ ง สถานะของตั ว เองว่ า “ข้ า พเจ้ า นั่ ง พิพากษาอรรถคดีให้แก่พวกเขา ข้าพเจ้ากักตัวเองอุทิศ แก่พวกเขา แล้วจะไม่ให้ฉันได้รับปัจจัยเลี้ยงชีพกระนั้น หรือ ! (วะกีอฺ, 2001: 492) เพราะผู้พิพากษาต้องจํากัด ชีวิตของตนอยู่เฉพาะงานด้านการพิพากษาจึงควรมีสิทธิ ที่จะได้รับค่าตอบแทน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เจ๊ะเหล๊าะ แขกพงศ์

นักวิชาการร่วมสมั ยหลายท่ านในปัจจุบันต่างมี ความเห็นว่า ผู้พิพากษาควรรับค่าตอบแทนอันเนื่องมาจาก การที่ ได้ ประกอบการงาน คื อ การพิ พากษาอรรถคดีเพื่ อ ประโยชน์ของปวงชนโดยส่วนรวม โดยไม่คํานึงว่าจะมีฐานะ ยากจนหรือร่ํารวย เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมซะกาต ที่มีสิทธิได้รับซะกาตเป็นค่าตอบแทนโดยไม่คํานึงถึงฐานะ ของผู้รับ ดั งนั้ น หากพิ จารณาตามความเห็ นแรก ค่าตอบแทนหรือเงินเดือนย่อมไม่ใช่สาระสําคัญสําหรับผู้ พิพากษาตุลาการในศาลอิสลาม จะมีการประกันหรือไม่ก็ไม่ แตกต่ างกั น แต่ ถ้ าหากพิ จารณาตามความเห็ นหลั งการ ประกันเรื่องเงินเดือนค่าตอบแทนอาจมีความหมายอยู่บ้าง แม้ไม่มากนัก เพราะเป้าหมายที่แท้จริงของผู้พิพากษาคือ การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า ประการที่ห้า กฎหมายอิสลามมีลักษณะเป็นการ ทั่วไปและตุลาการศาลมีอํานาจใช้บังคับในทุกกรณี กฎหมาย บ้ านเมื องของไทยก็ เช่ นเดี ยวกั น เพี ยงแต่ กฎหมายไทย อาจจะมี ข้ อยกเว้ นอยู่ บ้ าง เช่ น พระมหากษั ตริ ย์ จะถู ก ฟ้องร้ องในทางใด ๆ มิได้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ สมาชิกวุฒิสภาในระหว่างสมัยประชุม ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตาม กฎหมายรัฐธรรมนูญ ทูตและบุคคลในคณะและเจ้าหน้าที่ องค์การระหว่างประเทศหรือสหประชาชาติ ได้รับเอกสิทธิ์ ตามกฎหมายระหว่างประเทศมิต้องอยู่ภายใต้ของกฎหมาย ประเทศที่ตนประจําอยู่ ในขณะที่กฎหมายอิสลามมีความ ครอบคลุมเสมอภาคโดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว หรือ ยศศั กดิ์ แม้ กระทั่ งศาสนทู ตและธิ ดาของท่ านก็ ต้ องอยู่ ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายเดียวกัน ดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จึงให้เห็นว่าอิสรภาพของศาลในอิสลามและ ศาลไทยมีลักษณะทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิ สรภาพของศาลไทยภายหลั งการปฏิ รู ประบบศาลตาม รั ฐธรรมนู ญแห่ งราชอาณาจั กรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่ งเป็ น อิสรภาพที่ผ่านการต่อสู้และพัฒนามาหลายร้อยปี สุดท้าย ใกล้เคียงกับอิสรภาพของศาลในระบบอิสลามที่มีมาก่อน หน้ านั บพั นปี เป็ นอิ สรภาพที่ สมบู รณ์ มาแต่ แรกเริ่ มโดย ปราศจากการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เป็นอิสรภาพทีไ่ ด้มาด้วย การศรั ทธาในพระเจ้ าที่ แม้ จะคล้ ายคลึ งกั บศาลไทยแต่ คล้ายกันแค่เปลือกผิว เนื้อแท้ยังมีความห่างไกล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเนื้อแท้แห่งการศรัทธาที่จะกระตุ้นให้ผู้พิพากษาตุลา

9

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 อิส รภาพของตุ ลาการศาลอิส ลามและศาลไทย...

การได้รู้สึกซาบซึ้งในอรรถรสแห่งอิสรภาพที่แท้จริงจากพระ ผู้เป็นเจ้า เป็นอิสรภาพที่ปราศจากความรู้สึกหวาดกลัวหรือ หวั่นเกรงต่ออํานาจใดๆ ทั้งปวงแห่งโลกนี้ เอกสารอ้างอิง คณิต ณ นคร. 2546. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ: วิญญูชน. ประมวลกฎหมายวิ ธี พิ จารณาความแพ่ ง และประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ร า ช บั ณ ฑิ ต ย ส ถ า น . 2 5 4 2 . พ จ น า นุ ก ร ม ฉ บั บ ราชบั ณฑิ ต ยสถาน. กรุ ง เทพ: นานมี บุ ค ส์ พับลิเคชั่นส์. วิษณุ เครื องาม อุ สาห์ โกมลปาณิ ก และเกษม เวชศิ ลป์ . ม.ป.ป. เอกสารชุดวิชา กฎหมายมหาชน. เล่มที่ 1 หน่วยที่ 1-7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สมหมาย จันทร์เรือง. 2546. ระบบศาลและพระธรรมนูญศาล ยุติธรรม. กรุงเทพฯ: วิญญูชนจํากัด. หยุด แสงอุทัย. 2542. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพฯ: ประกายพรึก. Abu Dawud, Sulaiman ibnu al-Ashicth al-Asdiy. n.d. Sunan Abi Dawud. Dar Aihya' alturath al-carabiyy. Al-Zuhayliy, Muhammad. 2002. al-Tanzim alQadaiyy fi al-fiqh al-Islamiy. Damashk: Dar al-Fikr. c Mana al-Qitan. 1993. al-Nizam al-Qadaiyy fi alc ahdi al-Nabawiy wa cahdi al-kulafah al-Rashidah. Al-Qahirah: Maktabat alWahbah. Muslim, Ibnu Hajaj al-Qushayriy al-Naysaburiy. 1992. Sahih Muslim. Dar: al-Kutub alIslamiyyah. c Waki . 2001. Akbar al-Qada' rajicah. Sacid Muhammad al-laham, Bayrut: calim alkutub. Husayn Nasara, 1993. Safhat min al-Qada' alIslamiyy. al-Qahirah: Mannar al-carabiyy.



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

11

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

Article The way to success of a takaful in Malaysia to be a leader of Islamic insurance. Narong Hasanee M.A. (Islamic Economic), Lecturer Department of Economic of Money and Banking, Faculty of Liberal Arts and Social Sciences Yala Islamic University Abstract The objective of the research is to understand and examine the process ire structure of Takaful in Malaysia. The researchers also study on the possible way to success of a takaful in Malaysia to be a leader in the field of Islamic insurance. In this study, the researchers apply two research methologies which are interview and observation. By using these methologies, the researchers interview officers and observe from the following companies: Syarikat Takaful Malaysia Berhad, Takaful Nasional Sdn. Berhad, and Takaful Ikhlas Sdn. Berhad. From the study, it can be concluded that there are 3 categories of the administration and management of Takaful system in Malaysia; Mudharabah, Wakalah, and the combination between these two, and the mail factors which lead Malaysia to be the leader of insurance are both internal and external factors. The internal factors are an awareness and understanding among the Muslims in Malaysia about Islam, and an encouragement and support from the government. The external factors are the fact that Malaysia has observed and followed the Islamic revivalism in term of economics, and the last factor is that the customers are convinced by the products and the modern administrative structure of Takaful system itself, and this factor seems to be the most important one. The result of this study can be applied in any insurance companies in Thailand, and it is very useful for Thai government in making monetary policy as well as an understanding on how to improve and develop the economics, especially among the Muslims in Thailand. Keyword: Insurance, Takaful, Islam, Malaysia, Financial Institution


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

12

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

บทความวิชาการ เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุลมาเลเซียในการเป็นผู้นํา ณรงค์ หัศนี MA. [เศรษฐศาสตร์อิสลาม], อาจารย์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินและการธนาคาร, คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ โครงการศึ กษาวิจัย เกี่ ยวกั บปัจ จัย ที่ส่ง ผลให้ต ะกาฟุล ในมาเลเซี ยเป็ นผู้ นําทางการประกันภั ยอิ สลาม มี วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อทําความเข้าใจกับโครงสร้างการดําเนินการของตะกาฟุลในประเทศมาเลเซีย นอกจากนั้น ผู้วิจัยได้ทําการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีส่วนปลักดันให้มาเลเซียประสบความสําเร็จในการเป็นผู้นําทางการประกันภัย ในการศึกษาผู้วิจัยได้ทําการสัมภาษณ์และการสังเกตจาก 3 บริษัทตะกาฟุล คือ (1) บริษัท Syarikat Takaful Malaysia Berhad, (2) บริษัท Takaful Nasional Sdn Berhad, (3) บริษัท Takaful Ikhlas Sdn Berhad จากผลการศึกษาสรุปได้การบริหารจัดการตะการฟุลในประเทศมาเลเซียได้มีรูปแบบการบริหารจัดการอยู่ 3 โมเดลหลัก คือ โมเดลมุฎอรอบะห์ โมเดลวากาละห์ และโมเดลผสม (ระหว่างมุฎอรอบะห์และวากละห์) ส่วนปัจจัยที่ ส่งผลให้เป็นผู้นําทางการประกันภัย คือ ปัจจัยภายในประเทศเกี่ยวกับความเข้าใจและการตื้นตัวของชาวมาลายูมุสลิม เกี่ยวกับอิสลาม และรัฐบาลให้การสนับสนุนหรือให้การอุปถัมภ์ ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศคือประเทศมาเลเซียได้ ติดตามและยอมรับต่ออิทธิพลของขบวนการฟื้นฟูอิสลามในด้านเศรษฐกิจ ปัจจัยสุดท้ายที่มีความสําคัญมากคือความ เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการที่ทันสมัย ผลจากการศึกษานี้ สามารถนํามาประยุกต์ใช้กับการบริษัทประกันภัยในประเทศไทยได้ และมีประโยชน์ต่อ รัฐบาลในการวางนโยบายทางการเงินและสามารถทําความเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนา ทางเศรษฐกิจที่ต้องการ ตอบสนองความต้องการประชาชนมุสลิมในชายแดนใต้โดยเฉพาะและมุสลิมและชาวไทยโดยทั่วไปได้ คําสําคัญ: การประกันภัย ตะกาฟุล อิสลาม มาเลเซีย สถาบันการเงิน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

บทนํา ตะกาฟุลเป็นรูปแบบการประกันภัยที่สอดคล้อง ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ซึ่งหากดูจากการเกิดขึ้น ของการประกันภัยนั้น เกิดจากความคิดที่จะช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน ในการรั บความเสี่ ยงหรื อความขาดทุน ที่จ ะ เกิดขึ้น George E. Rejda มีความเห็นว่าการแบ่งปัน ความเสี่ยงเป็นหัวใจสําคัญของการประกันภัย “Pooling or the sharing of losses is heart of insurance” (E.Rejda, 1982) และการเกิดขึ้นของการประกันภัยถือ เป็นปัจจัยสําคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็น การช่วยให้เกิดการระดมทุนของประชาชน โดยนําเอา รายได้ ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ส ะสมนั้ น มาใช้ ใ นการลงทุ น การ ประกันภัยมีส่วนทําให้อาชีพต่างๆ เช่น อาชีพการค้า การ อุตสาหกรรม มีความมั่นคงมากขึ้นอันเนื่องมาจากทํา การประกันภัย เมื่ออาชีพนั้นมีความมั่นคง การประกอบ อาชีพก็จะดําเนินต่อไปได้ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติ โดยส่วนรวม (วัลลิโภดม, 2544) วิวัฒนาการของการประกันภัยได้มีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นในรูปของการแสวงหากําไร (Maximizing profit) และได้วางอยู่บนพื้นฐานของการ คํ า นวณทางธุ ร กิ จ สิ่ ง เหล่ า นี้ ดู ไ ด้ จ ากความไม่ ส มดุ ล ระหว่างบริษัทประกันภัยกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ซึ่งทาง บริ ษั ท ประกั น ภั ย ส่ ว นใหญ่ ยึ ด หลั ก ที่ ว่ า ใครรั บ ผิ ด ชอบ มากกว่าย่อมได้รับส่วนแบ่งมากกว่า (The law of large number) ถ้าดูตามหลักการนี้แล้วก็น่าจะสมเหตุสมผล แต่ ความจริงแล้วจะเห็นได้ว่าลูกค้าในหลักการดังกล่าวจะ ได้รับส่วนแบ่งจาก (cross subsidy) คือเงินที่บริจาค ร่วมกัน หากเกิดการความเสี่ยงเกิดขึ้น ส่วนเงินที่เป็น สิทธิของผู้บริโภคอีกส่วนหนึ่งที่หายไปคือเงินกําไรที่ทาง บริษัทได้มาจากการรวบรวมเงินไปลงทุน เงินก้อนนี้ถือ เป็นต้นทุนไม่ใช่เงินเสี่ยงที่ต้องหายไปในสนามของการ เล่นการพนัน และยิ่งไปกว่านั้นก็คือการที่ทางบริษัทได้นํา เงินดังกล่าวไปลงทุนในรูปแบบต่างๆ จนได้กําไรมาอย่าง ไม่ ค งที่ แต่ ท างบริ ษั ท ได้ แ บ่ ง กํ า ไรให้ กั บ ผู้ บ ริ โ ภคด้ ว ย ระบบดอกเบี้ยที่มีส่วนแบ่งคงที่ (fixed rate)(Fikti et al., 1997)

13

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

อิสลามเป็นศาสนาหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ ดอกเบี้ยในการประกอบธุรกิจหรือกิจการใดๆ จึงทําให้ นั ก วิ ช าการอิ ส ลามสมั ย ใหม่ มี ก ารคิ ด ค้ น จากหลั ก การ อิสลามที่มี อยู่เอามาประยุกต์ ใช้กั บรูปแบบองค์ก รทาง การเงินสมัยใหม่ อย่างเช่น การประกันภัย หลักการที่ใช้ ในการประกันภัยอิสลามได้มีชื่อเรียกว่า “ตะกาฟุล” ซึ่งมี การเรียกแทนคําว่าการประกันภัยในอิสลาม ชื่อเรียกนี้มี การรู้จักและแพร่หลายมากขึ้นในปัจจุบัน ตะกาฟุ ล คื อ ธุ ร กิ จ การประกั น (Insurance) แบบอิ ส ลาม ธุ ร กิ จ ตะกาฟุ ล เกิ ด ขึ้ น ในฐานะเป็ น ธุ ร กิ จ คู่ ข นานกั บ ธนาคารอิ ส ลาม ซึ่ ง ได้ เ ริ่ ม ต้ น ครั้ ง แรกที่ ประเทศซูดานในปี 1979 และหลังจากนั้นหนึ่งปีได้ขยาย ไปยังประเทศซาอุดีอารเบีย ในปี 1980 ต่อมาที่ประเทศ ลักเซมเบิร์ก ในปี 1983 และขยายไปยังประเทศอื่นๆ เรื่ อยมา ในส่ ว นของกลุ่ ม ประเทศอาเซี ย นนั้ น ประเทศ มาเลเซียเป็นประเทศแรกที่ได้นําหลักตะกาฟุลมาใช้ใน ธุรกิจการประกัน ในปี 1984 โดยที่มาเลเซียได้ออกแบบ นวั ต กรรมทางการเงิ น อิ ส ลามจนเป็ น ที่ ย อมรั บ ของ นั ก วิ ช าการมุ ส ลิ ม และนํ า ไปใช้ กั บ ประเทศอื่ น ในเวลา ต่อมา ตะกาฟุลเป็นการบูรณาการศาสนากับธุรกิจเข้า ด้วยกัน โดยทั่วไปการดําเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวัน จะต้องประสบปัญหาความเสี่ยงมากมาย ทั้งที่ประสบกับ ตนเอง กั บครอบครั วหรื อกิ จ การที่ ดํ า เนิ น อยู่ เมื่ อเป็ น เช่ น นั้ น มนุ ษ ย์ พ ยายามหาทางออกเพื่ อ เฝ้ า ระวั ง กั บ เหตุ ก ารณ์ ที่ เกิ ด ขึ้ น ในการที่ เฝ้ า ระวั ง นั้ น อาจจะด้ ว ย วิธีการออมทรัพย์หรือวิธีการอื่น แต่บางครั้งเหตุการณ์ ความเสี่ยงที่ประสบกับตนนั้น ถึงจะมีเงินออมสะสมอยู่ก็ ไม่สามารถที่จะทดแทนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุ นั้นความคิดที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้เกิดขึ้น และ วิธีการหนึ่งที่นํามาใช้ในยุคปัจจุบันนั้นก็คือการประกันภัย ระบบการประกันภัยในอิสลามมีต้นกําเนิดมา จากประเพณีปฏิบัติของชาวอาหรับโบราณเผ่าต่างๆ ซึ่งมี ประเพณีปฏิบัติที่ว่าเมื่อสมาชิกในเผ่าถูกฆาตกรรมโดย สมาชิกของเผ่าอื่น ทายาทของผู้ตายจะได้รับสินไหม ชดเชยจากญาติผู้ใกล้ชิดของฆาตกรบรรดาญาติสนิทของ ฆาตกร หรือ “Aqilah” จําเป็นต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชย


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

แทนฆาตกร ดังนั้นชาวอาหรับโบราณจําเป็นต้องมีความ พร้อมในการระดมเงินสนับสนุน เพื่อเป็นการชดเชย ให้แ ก่ทายาทของผู้ตายแทนฆาตกร (ฟินั นซ่า ชารี อะฮ์ , 2550) ระบบนี้ต่อมาได้นํามาดําเนินใช้ในช่วงต้นของ อิสลามในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ระหว่าง กลุ่มมุฮาญีรีน (ผู้อพยพจากเมืองมักกะฮ์) และกลุ่มอัน ศอร(ชาวเมื อ งมาดี น ะฮ์ ) โดยยึ ด หลั ก “อากี ล ะ” คื อ ระบบการทดแทนการขาดทุน หรื อความเสี่ ย งโดยการ รับผิดชอบร่วมกันของกลุ่มคนหลายๆ คน (Fikti et al., 1997) โดยทั่วไปแล้วรูปแบบการประกันภัยที่มีใช้กัน ในโลกตะวันตก โดยมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการ รับความเสี่ยงนั้น มีความเหมือนกันกับระบบอากีละที่ใช้ ในอิสลาม สิ่งที่นักวิชาการอิสลามไม่เห็นด้วยกับระบบ การประกันภัยในขณะนี้ก็คือ รูปแบบการดําเนินการที่ นํ า มาใช้ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ หลั ก การศาสนา เช่ น ความ คลุมเครือ หรือ ความไม่แน่นอน (gharar) ในสัญญาซื้อ ขายประกัน การพนันหรือเกมแห่งโอกาส (maisir) ใน สัญญา ดอกเบี้ย (riba) และรายได้จากการลงทุนใน ธุร กิ จที่ ขั ดกั บ หลั ก ศาสนา และได้มี นั กวิ ช าการมุ ส ลิ ม ท่า นหนึ่ง คือ Dr.Muhammad Muslehuddin ใน หนังสือของท่านที่ชื่อว่า Insurance and Islamic Law ได้ทําการวิเคราะห์เปรียบและได้นําเสนอทางเลือกใหม่ ตามหลักการอิสลาม และยังมีนักวิชามุสลิมอีกหลายท่าน ได้นําเสนอหลักการประกันภัยที่ถูกต้องตามหลักอิสลาม ในปลายศตวรรษที่ 20 คลื่นแห่งการมุ่งมั่นที่จะ ฟื้นฟูวิถีชีวิตอิสลามขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง การจัดการองค์กร ทางการเงินและเศรษฐกิจก็เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่น ดั ง กล่ า ว ซึ่ ง ก็ ร วมไปถึ ง การแก้ ปั ญ หาเกี่ ย วกั บ การ ประกันภั ยและปัญ หาของการธนาคารด้วย (ซิด ดีกี , 2548) การนําเอาหลักการอิสลามาดําเนินใช้ในสถาบัน การเงินอิสลามได้แพร่หลายขึ้น ทั้งในประเทศมุสลิมหรือ ไม่ใช่มุสลิมก็ตาม ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศหนึ่งที่มี ความมุ่ ง มั่ น อย่ า งสม่ํ า เสมอมาในการพั ฒ นาสถาบั น การเงินอิสลาม หนึ่งในสถาบันการเงินอิสลามในประเทศ มาเลเซียที่นับได้ว่าเป็นที่ยอมรับของชาวโลก ก็คือ การ

14

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ประกั น ภั ย ตะกาฟุ ล ตามการสํ า รวจของหนั ง สื อพิ ม พ์ รายวัน Republika ของอินโดนีเซีย ฉบับ 3/9/1993 หน้า 16 ได้มีรายงานว่า ประกันภัยตะกาฟุลที่ดีที่สุด คือ Syarikat Takaful Malaysia (อ้างถึงใน Muhamad, 2000) การประกันภัยตะกาฟุลในประเทศมาเลเซียได้ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1985 ใต้การกํากับดูแลของธนาคาร แห่ ง ชาติ ม าเลเซี ย (BNM) ก่ อนการอนุ ญ าตการก่ อ ตั้ ง ประกั น ตะกาฟุ ล ขึ้ น ทางรั ฐ บาลมาเลเซี ย ได้ กํ า หนด พ.ร.บ.ประกันภัยตะกาฟุลแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1984 โดย ที่ กํ า หนดเงิ น ทุ น เบื้ อ งต้ น 100 ล้ า นริ ง กิ ต (Khairat, 2550) จนขณะนี้มี 7 บริษัทที่ทางธนาคารแห่งชาติได้ใน การอนุมัติ คือ Syarikat Takaful Malaysia Berhad, Takaful Nasional Sdn Berhad, Takaful Ikhlas Sdn Berhad, Mayban Takaful Berhad, Prudential BSN Takaful Berhad, Commerce Takaful Berhad dan HSBC Amanah Takaful (Malaysia) Sdn. Berhad. ระบบการประกั น ภั ย ตะกาฟุ ล มาเลเซี ย แบ่ ง ออกเป็ น สองประเภท คื อ ตะกาฟุ ล เพื่ อ ครอบครั ว “family takaful business” (Islamic "life" insurance) และตะกาฟุลทั่วไป “general takaful business” (Islamic general insurance) โดยที่ตะ กาฟุลเพื่อครอบครัวจะให้ก ารบริการการวางแผนส่ว น บุ ค คล เช่ น สุ ข ภาพ การศึ ก ษา การเดิ น ทาง แผน ครอบครั ว และวากั ฟ (การมอบทรั พ ย์ ใ ห้ กั บ ส่ ว นรวม) ด้านกลุ่มสินเชื่อ เช่นกลุ่มครอบครัว การรักษาพยาบาล กลุ่ม และด้านสวัสดิการ เช่น กองทุนอนาคตของลูกจ้าง (เงินเกษียณอายุ) การที่ถูกไล่ออกจากงาน ส่วนตะกาฟุล ทั่ว ไปจะให้ บริ การประกัน รถยนต์ การประกัน อัค คีภั ย การประกั น ภั ย ทางทะเล และการประกั น เบ็ ต เตล็ ด (BNM, 2550) ดังตัวอย่างประเภทธุรกิจ การบริการและ ชนิ ด บริ ก ารของตะกาฟุ ล ตามตาราง 1.1 ตั ว อย่ า ง ประเภทของตะกาฟุล


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ประเภทธุรกิจ 1. ตะกาฟุลเพื่อครอบครัว Takaful business)

15

การบริการ (family Individual plan

Group plan Annuity

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ชนิดบริการ Mortgage Health Education Travel Family plan Waqaf Group family Group medical Employees Provident Fund Retirement

2. ตะกาฟุลทั่วไป (general takaful Motor business) Fire Marine, aviation and transit Miscellaneous Includes: Personal accident Workmen corporation Liability Engineering House owners นอกจากการแบ่งประเภทการประกันภัยตะกา ฟุ ล ออกเป็ น สองประเภทแล้ ว ในการจั ด การกั บ เบี้ ย ประกัน (Premium) ทางตะกาฟุลมีกลไกในการบริหาร จัดการเบี้ยประกัน โดยการแยกเงินดังกล่าวออกเป็นสอง กลุ่ ม ด้ ว ยกั น คื อ ส่ ว นหนึ่ ง ใช้ สํ า หรั บ เป็ น เงิ น กองทุ น ที่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเรียกว่า “เงินตะบัรรออ์” และอีก ส่วนหนึ่งเป็นเงินที่ทางตะกาฟุลจะนําไปใช้ในการลงทุน ประกอบธุรกิจ ซึ่งการบริหารจัดการประกันภัยตะกาฟุล จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ มูฎอรอบะห์โมเดล วา กาละห์โมเดล และแบบผสมระหว่างมุฎอรอบะห์โมเดล และวากาละห์โมเดล ตะกาฟุ ล มาเลเซี ย มี ก ารเติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง รายงานประจําปีของธนาคารแห่งชาติมาเลเซียปี 2005 ได้รายงานว่า อุตสาหกรรมตะกาฟุลได้บุกตลาดเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 5.1 ในปี 2004 เป็นร้อยละ 5.6 ในปี 2005

และได้ ค รอบครองตลาดอุ ต สาหกรรมการประกั น ภั ย เพิ่มขึ้นจากปี 2004 ครอบครองตลาดร้อย 5.6 ในปี 2005 ครอบครองตลาดร้อยละ 5.7 จากตลาดการ ประกันภัยของประเทศ และสิน ทรัพย์ทั้งหมดของการ ประกันภัยอิสลามทั้งหมดในปี 2005 คือ 5878.4 ล้าน เหรียญสหรัฐ ทางมาเลเซียมีการวางแผนที่จะให้อุตสาหกรรม การประกันภัยตะกาฟุลเติบโตภายในปี 2007 อยู่ที่ร้อย ละ 20 ภายใต้นโยบายของธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย โดยผ่ า น master plan ของประเทศที่ ว างไว้ (Republika, 2006) จะเห็ น ได้ ว่ า การพั ฒ นาของสถาบั น การเงิ น อิสลามในประเทศมาเลเซียมีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารอิสลาม หรือการประกันภัยอิสลาม หรือสถาบัน อื่ น ๆ ก็ ต าม จนทํ า ให้ ม าเลเซี ย เป็ น ศู น ย์ ท างการเงิ น


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

อิสลาม นอกจากมีการพัฒนาภายในประเทศแล้วก็มีการ ขยายไปยังประเทศต่างๆ และนอกจากจะเปิดกิจการเอง แล้ วตะกาฟุ ล มาเลเซี ย ยัง คอยให้ การปรึก ทางด้า นการ ประกันภั ยอิส ลามให้กั บบริ ษัทการประกั นภัย ที่จะเปิ ด กิจการในรูปแบบอิสลามอีกด้วย ในประเทศไทยหลั ง จากที่ ไ ด้ ก่ อ ตั้ ง ธนาคาร อิ ส ลามและสหกรณ์ อิ ส ลามแล้ ว ก็ ไ ด้ มี ก ารประกั น ภั ย อิส ลามเกิ ดขึ้ น โดยที่ต ะกาฟุล ในประเทศไทย จะแบ่ ง ออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) การประกันชีวิต เริ่มโดย บริษัท ฟินันซ่าประกันชีวิต เมื่อปี 2549 ประกอบด้วย ตะกาฟุ ล กลุ่ ม ตะกาฟุ ล เพื่ อครอบครั ว ประเภทสามั ญ สัญญาตะกาฟุลอุบัติเหตุส่วนบุคคล (2) การประกันวินาศ ภัย เริ่มโดยบริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด เมื่อปี 2548 ประกอบด้ ว ย การประกั น อั ค คี ภั ย การประกั น ภั ย อุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยถือเป็นธุรกรรมหนึ่งที่สําคัญดังที่ ท่าน Rachmat Husein ได้กล่าวว่า กิจการต่างๆ ที่ทาง ธนาคารอิสลามได้ทําการลงทุนแล้ว นอกจากจะต้องเป็น โครงการที่เหมาะสมในการลงทุนแล้ว (feasible) ก็ จํ า เ ป็ น ที่ จ ะ ไ ด้ รั บ ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ด้ ว ย (insurance protection) (Fikti et al., 1997) การคุ้มครองก็จําเป็น ที่ ต้ อ งให้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ หลั ก การศาสนาเพื่ อ ให้ สอดคล้ อ งกั บ เจตนาเดิ ม ของการเกิ ด ขึ้ น ของธนาคาร อิสลามและสหกรณ์อิสลาม จา กกา รที่ ม า เลเซี ย มี ก า รพั ฒ นาในด้ า น ประกั น ภั ย ตะกาฟุ ล อย่ า งต่ อเนื่ อง ด้ ว ยเหตุ นี้ ผู้ วิ จั ย จึ ง เล็ ง เห็ น ถึ ง ความสํ า คั ญ ของการประกั น ภั ย ตะกาฟุ ล มาเลเซียเป็นอย่างมาก มีความสนใจในด้านรูปแบบการ ดํ า เนิ น งานและการที่ ม าเลเซี ย สามารถเป็ น ผู้ นํ า การ ประกันภัยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

16

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รบั การวิจัยในครั้งนี้ได้เพิ่มความรู้ความเข้าใจที่มาก ขึ้ น เกี่ ย วกั บ ตะกาฟุ ล และปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลให้ ต ะกาฟุ ล ใน มาเลเซี ย เป็ น ผู้ นํ า ทางการประกั น ภั ย อิ ส ลาม และ นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ประโยชน์ แ ก่ ว งวิ ช าการและแก่ หน่วยงานที่เป็นผู้ปฏิบัติอีกด้วย

วิธีการศึกษา 1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล สามารถจําแนก ได้ตามประเภทของข้อมูลดังนี้ ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ได้แก่ข้อมูล พื้ น ฐานด้ า นนโยบาย ด้ า นโครงสร้ า งและด้ า นการ ดํ า เนิ น งาน โดยรวบรวมจากหน่ ว ยงานต่ า งๆ เช่ น สถาบั น การประกั น ภั ย มาเลเซี ย (The Malaysia Insurance Institute) หรือ สถาบันการเงินและการ ธนาคารอิ สลามมาเลเซีย (Islamic Banking and Finance Institute Malaysia) หรือจากห้องสมุดสถาบัน และ Web site ต่างๆ ในรูปของบทความ รายงานการ วิจัย ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) ซึ่งเป็นเก็บ รวบรวมข้ อ มู ล โดยการสั ม ภาษณ์ ก ลุ่ ม บุ ค คลต่ า งๆ ที่ เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หรือลูกค้าของ บริษัท ในการเก็ บ ข้ อ มู ล ผู้ วิ จั ย ได้ ทํ า การลงพื้ น ที่ เป็นสองระยะด้วยกัน คือระยะที่หนึ่งลงพื้นที่ในระหว่าง วันที่ 22 – 26 มีนาคม 2551 เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น โดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ การเดินทางในครั้งนี้ ได้ เดิ นไปยั ง ห้องสมุ ดของมหาวิท ยาลั ยอิ สลามนานาชาติ มาเลเซียและบริษัทตะกาฟุล ได้แก่ (1) บริษัท Syarikat Takaful Malaysia Berhad (2) บริษัท Takaful Nasional Sdn Berhad (3) บริษัทที่สาม คือ บริษัท วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการดําเนินการของการประกันภัย Takaful Ikhlas Sdn Berhad ระยะที่สองลงพื้นที่ใน ระหว่างวันที่ 7 – 21 กันยายน 2551 เพื่อทําการเก็บ ตะกาฟุลในมาเลเซีย ข้อมูลเพิ่มเติม สถานที่ในการเดินทางในครั้งนี้ นอกจาก 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลให้ตะกาฟุลใน ห้องสมุดและบริษัททั้งสามแล้ว ผู้วิจัยได้เดินทางไปยัง มาเลเซียเป็นผู้นําทางการประกันภัยในอิสลาม หน่วยงานสนับสนุนการประกันภัยและตะกาฟุล ได้แก่ สถาบั น การประกั น ภั ย มาเลเซี ย (The Malaysia Insurance Institute) หรือ สถาบันการเงินและการ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ธนาคารอิ สลามมาเลเซีย (Islamic Banking and Finance Institute Malaysia) 2. เครื่องมือในการวิจัย การสัมภาษณ์ ได้ทําการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และลูกค้าของบริษัท การสั ง เกต ได้ ทํ า การสั ง เกตสภาพทั่ ว ไปของ สถานที่ตั้งของบริษัท การบริการและการติดต่อระหว่าง ลูกค้ากับเจ้าหน้าที่ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ เริ่มจากการนําข้อมูลในส่วนที่เป็นงานวิจัย บทความและ เอกสารต่างๆ ได้วิเคราะห์ในลักษณะที่นํางานเหล่านี้มา สังเคราะห์ (synthesize) และนําเสนอผลการวิเคราะห์ ในรู ป แบบรายงานเชิ ง พรรณาวิ เคราะห์ (Descriptive Analysis) ข้ อค้ น พบในการวิ จั ย ในการรายงาน ผลการวิจัยครั้งนี้ได้รายงานเป็นความเรียง เชิงบรรยาย ประกอบกับข้อความสําคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์และ การสังเกต ขอบเขตของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยที่ได้ทําการศึกษาเกี่ยวกับตะกาฟุลใน มาเลเซียนี้ ไม่ได้เป็นงานวิจัยที่มีลักษณะมุ่งพิสูจน์ทฤษฎี หรือวิเคราะห์ปรากกฎการตามทฤษฎี ถึงแม้ว่าจะมีการ อ้างอิงแนวคิดหรือทฤษฎีอยู่บ้างก็ตาม การศึกษาวิจัยใน ครั้งนี้ต้องการทราบข้อมูลการดําเนินการของตะกาฟุลใน ประเทศมาเลเซี ยว่ ามี ปั จจั ยอะไรบ้า งที่ทํ าให้ ตะกาฟุ ล มาเลเซียประสบความสําเร็จที่นําไปสู่การเป็นผู้นําทาง ประกันภัยอิสลามเป็นที่ยอมรับของประเทศมุสลิมและ สามารถปลักดันในมาเลเซียเป็นศูนย์กลางทางการเงิน อิสลามได้ ประชากรเป้าหมายของวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ (1) บริษัท Syarikat Takaful Malaysia Berhad เป็นบริษัท แรกที่เปิดดําเนินการ โดยยึดรูปแบบการบริหารจัดการใน ลักษณะมุฎอรอบะฮ์โมเดล และ (2) บริษัท Takaful Nasional Sdn Berhad เป็ น บริ ษั ท ที่ ส องที่ เปิ ด ดําเนินการ แต่บริษัทแรกที่ยึดรูปแบบการบริหารจัดการ ในลักษณะผสมระหว่างมูฎอรอบะห์โมเดลและวากาละห์

17

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

โมเดล เดิมทีเดียวในการเริ่มต้นกิจการของบริษัทนั้น ทาง บริษัทได้ดําเนินการโดยใช้หลั กมุฎอรอบะห์โมเดล แต่ ต่อมาได้ทําการเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ (3) บริษัทที่สาม คือ บริษัท Takaful Ikhlas Sdn Berhad บริษัทนี้จะใช้ รูปแบบการจั ดการโดยยึด หลั กวากาละห์โ มเดล ซึ่ งทั้ ง สามบริษัทถือเป็นบริษัทมั่นคงและได้เป็นบริษัทแนวหน้า ในประเทศมาเลเซีย ผลการวิจัย “ตะกาฟุ ล ” เป็ น ชื่ อเรี ย กของการประกั น ภั ย อิสลามที่ทางประเทศมาเลเซียได้นํามาใช้จนเป็นที่รู้จัก ของคนในประเทศและนานาประเทศ ด้วยการที่มาเลเซีย มีความสม่ําเสมอในการพัฒนาการประกันภัยอิสลามด้วย ชื่อ “ตะกาฟุล” อย่างต่อเนื่องจึงเกิดเป็นเอกลักษณ์ของ มาเลเซี ย พัฒนาการนํ าหลักอิส ลามมาใช้ในระบบการ ประกั น ภั ย มี วิ วั ฒ นาการมาเป็ น เวลาอั น ยาวนาน พอสมควร ก่อนการก่อตั้งบริษัทตะกาฟุลตั้งแต่ปี 1969 จนถึงปี 1984 ใช้เวลาถึง 15 ปี และตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 1984 จนถึงปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 20 กว่าปีมาแล้ว เพื่อให้เห็นภาพรวมของการดําเนินการของตะกาฟุลใน มาเลเซียว่า ในระยะเวลาต่างๆ ได้เจอปัญหาอะไรบ้าง แล้วมาเลเซียได้แก้ปัญหาอย่างไร ใครมามีบทบาทในการ จั ด การอุ ป สรรคต่ า งๆ ดั ง นั้ น เพื่ อ ให้ เ ห็ น ภาพปั จ จั ย ความสําเร็จของตะกาฟุล ทางคณะผู้วิจัยจึงขอนําเสนอ ผลการศึกษาเกี่ยวกับสภาพความสําเร็จของตะกาฟุลใน ปัจ จุบั น เป็ น ประเด็ นแรก และหลัง จากนั้น จะนํ า เสนอ เกี่ ย วกั บ ปรากฏการต่ า งๆ ก่ อนการก่ อตั้ ง ตะกาฟุ ล ใน มาเลเซียประเด็นที่สอง ต่อจากนั้นจะนําเสนอประเด็น เกี่ยวกับการดําเนินการช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งตะกาฟุล จนประสบความสําเร็จในการเป็นผู้นําทางการประกันภัย อิสลามในปัจจุบันเป็นประเด็นสุดท้าย ความสําเร็จของตะกาฟุลในปัจจุบัน อุตสาหกรรมตะกาฟุลมาเลเซียได้มีการเติบโต อย่ า งมาก เมื่ อเที ย บกั บ ปี 1985 ซึ่ ง ในสมั ย นั้ น มี เพี ย ง บริษั ทเดีย วที่ เปิด ให้ บริ การคือ บริษั ทชะรีกั ตตะกาฟุ ล มาเลเซีย โดยมีการดําเนินการด้วยผลิตภัณฑ์ที่จํากัด แต่ ตะกาฟุ ล ก็ ส ามารถดํ า เนิ น ไปได้ ด้ ว ยดี ทางรั ฐ บาล


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

18

มาเลเซียจึงได้อนุมัติบริษัทตะกาฟุลเพิ่มเติมในปี 1990 และปีต่อๆ มา จนถึงปี 2004 มีทั้งหมด 4 บริษัทด้วยกัน ในปี 2008 นั้นทางบริษัทชะรีกัตตะกาฟุลได้ทําการเปิด สาขาให้ บ ริ ก ารทั่ ว ประเทศไม่ ต่ํ า กว่ า 100 สาขา (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2552) ซึ่งหากดูจาก

ข้ อ มู ล ทางธนาคารแห่ ง ชาติ ม าเลเซี ย ได้ ร ายงานบท วิเคราะห์ “20 ปี อุตสาหกรรมตะกาฟุลในมาเลเซี ย 1984 – 2004” ในช่วงเวลา 20 ปีของตะกาฟุล ได้มี ผู้ดําเนินการตะกาฟุลดังตาราง 4.1 ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 4.1 ผู้ดาํ เนินการตะกาฟุลตั้งแต่ปี 1985 – 2004 จํานวนผู้ดาํ เนินการตะกาฟุล จํานวนสาขา จํานวนตัวแทน

1985 1990 1995 1 1 2 31 42 - 1,210 แหล่งที่มา : ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย

2000 2 124 4,567

2004 4 133 16,316

ส่วนผลการดําเนินการ เมื่อดูจากด้านเงินสมทบ ละ 5.6 และสามารถเจาะตลาดได้ถึงร้อยละ 5.1 จากการ จะเห็นได้ว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของการประกันภัย ดําเนินการของ 4 บริษทั ตะกาฟุลในปี 2004 ดังตารางที่ โดยรวมในปี 2004 เท่ากับร้อยละ 5.1 แต่หากดูจากด้าน 4.2 ดังต่อไปนี้ สินทรัพย์จะเห็นได้วา่ ส่วนแบ่งทางการตลาดจะสูงถึงร้อย ตารางที่ 4.2 แสดงผลการดําเนินการ1 เงินสมทบ ครอบครัว ทั่วไป ส่วนแบ่งตลาดอุตสาหกรรมการประกัน สินทรัพย์ ครอบครัว ทั่วไป ส่วนแบ่งตลาดอุตสาหกรรมการประกัน การเจาะตลาด3

19862 1.6 0.6 1.0 ...... 1.4 0.6 0.8 ...... ......

1990 28.4 8.4 20.0 0.8 38.2 15.5 22.7 0.4 0.1

แหล่งที่มา : ธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย

1

ในจํานวนล้านริงกิต สิ้นสุดปีงบการเงินครั้งที่หนึ่ง คือ ปี 1986 3 จํานวนกรมธรรม์ตะกาฟุลหารกับจํานวนประชากร ถือว่ายังน้อย 2

1995 2000 2004 94.9 522.7 1,123.1 37.0 373.0 794.4 57.9 149.7 328.7 1.0 3.8 5.1 183.3 1,872.9 5,028.7 94.2 1,542.4 4,305.1 89.1 723.5 330.5 0.7 5.6 0.3 5.1 3.7 2.5


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ในปี 2004 อุต สาหกรรมตะกาฟุ ล มาเลเซี ย มี เพี ย ง 4 บริ ษัท แต่ใ นช่ ว งที่ ท างคณะผู้ วิจั ย ลงพื้ น ที่ นั้ น จํ า นวนบริ ษั ท ได้ เ พิ่ ม ขึ้ น โดยทางคณะผู้ วิ จั ย ได้ ข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม จากสมาคมตะกาฟุล มาเลเซี ย ปรากฏว่ า ในปี 2005 ได้มีบริษัทตะกาฟุลที่มีรายชื่อยู่กับสมาคมตะกาฟุล มาเลเซีย คือ (1) Syarikat Takaful Malaysia Berhad, (2) Takaful Nasional Sdn Berhad, (3) Takaful Ikhlas Sdn Berhad, (4) Mayban Takaful Berhad, (5) Commerce Takaful Berhad และในปี 2006 ทาง ธนาคารแห่งชาติมาเลเซียได้ออกใบอนุญาตเพิ่มอีกคื อ (1) HSBC Amanah Takaful (Malaysia) Sdn. Berhad (2) Hong Leong Bank, Millea Asia (Japan) Pte.lte., และ Hong Leong Assurance (3) Bank Simpanan Nasional และ Prudential Holding Limited (Prudential BSN Takaful Berhad) (4) MAA Holdings Berhad และ Solidarity Co.,Bahrain ปั จ จุ บั น บริ ษั ท ชะรี กั ต ตะกาฟุ ล มาเลเซี ย มี สาขาทั่วประเทศ 103 สาขา และมีหุ้นส่วนกับบริษัทการ ประกั น ภั ย อิ ส ลามในต่ า งประเทศ เช่ น (1) ASEAN Retakaful International (l) Ltd (70%), (2) P.T.Syarikat Takaful Indonesia (56%), (3) Arabian Malaysian Takaful Co/Saudi Arabia (49%), (4) Amanah Takaful Limited/Sri Lanka (20%) นอกจากนี้ยังเป็นที่ปรึกษานอกจากนี้ทางมาเลเซียได้เป็น แบบอย่างของตะกาฟุลในการศึกษาดูงานให้กับประเทศ ต่างๆ และเป็นที่ปรึกษาหรือ technical advisor ให้กับ บริษัทตะกาฟุลในหลายประเทศ ไม่ว่าในตะวันออกกลาง หรื อ ในเอเชี ย ซึ่ ง ประเทศไทยก็ เ ป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ มี มาเลเซี ย เป็ น ปรึ ก ษาจากในการดํ า เนิ น การตะกาฟุ ล (สั ม ภาษณ์ เมื่ อวั น ที่ 19 กั น ยายน 2552) การประสบ ความสําเร็จของตะกาฟุลในมาเลเซียทางคณะผู้วิจัยมอง ว่ า มาเลเซี ย เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ก ารพั ฒ นาตะกาฟุ ล อย่ า งไม่ ห ยุ ด นิ่ ง โดยที่ รั ฐ บาลเข้ า มามี บ ทบาทในการ พัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อให้เห็นภาพการขับเคลื่อนของตะ กาฟุลตั้งแต่ในอดีตจนประสบความสําเร็จ ทางคณะผู้วิจัย จึงได้นําเสนอภาพก่อนการก่อตั้ง ช่วงเริ่มการก่อตั้ง ช่วง การเปลี่ยนแปลงและอนาคตของตะกาฟุลในมาเลเซี ย ดังที่จะเสนอต่อไปนี้

19

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ก่อนการก่อตั้งตะกาฟุลในมาเลเซีย จากการศึกษาความเป็นมาของการประกันภัย อิสลามจะพบว่า การประกันภัยที่อนุมัติและได้นํามาใช้ กั น ในสั ง คมมุ ส ลิ ม เรื่ อ ยมาคื อ การประกั น ภั ย ที่ ใ ห้ สวั ส ดิ ก ารทางสั ง คม เช่ น กองทุ น มายาต (กองทุ น ช่วยเหลือในการจัดการศพ) ที่มีตามมัสยิดต่างๆ ส่วนการ ประกันภัยในเชิงธุรกิจนั้น นักวิชาการมุสลิมได้มีทัศนะที่ แตกต่างออกกันไป ประเด็นข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับการ ประกั น ภั ย ทั่ ว ไปว่ า ได้ ห รื อ ไม่ ไ ด้ นั้ น เป็ น ปรากฏการที่ เกิดขึ้นในสังคมมุสลิม คณะผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่าปรากฏ การนี้เกิดขึ้นหรือไม่ในมาเลเซีย ทางคณะผู้วิจัยได้คําตอบ จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการกับตะกาฟุลนาชัล นาล ได้เล่าให้ฟังว่า “ตะกาฟุลเป็นเรื่องใหม่สําหรับสังคม มุสลิม เมื่อก่อนนั้นมีมุสลิมเราบางส่วนก็ใช้บริการบริษัท ประกั น ภั ย ทั่ ว ไปที่ มี อ ยู่ เพราะถื อ ว่ า มี ค วามจํ า เป็ น หรือฏอรูเราะห์4 แต่กระนั้นก็ตามมีมุสลิมจํานวนมากที่ เห็นว่าไม่ได้และไม่จําเป็นต้องใช้บริการบริษัทประกันภัย และสถานภาพมุสลิมในสมัยนั้นยังจัดอยู่ในกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่ใช้บริการการประกันภัยส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจหรื อ ผู้ประกอบการ แต่มุสลิมเราในสมัยนั้นยังมีไม่มากนัก” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552) ทางคณะผู้วิจัย ได้ ส อบถามผู้ ต อบคํ า ถามท่ า นอื่ น ซึ่ ง ได้ คํ า ตอบที้ คล้ายคลึงกัน ผู้ตอบคําถามท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “ความ คิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ การประกั น ภั ย มี ค วามหลากหลายใน สมั ย ก่ อ น บางคนบอกว่ า ได้ บางคนบอกว่ า ไม่ ไ ด้ เนื่องจากนักวิชาการมุสลิมไม่ได้ให้คําตัดสินอย่างชัดเจน เกี่ ย วกั บ ปั ญ หานี้ ” (สั ม ภาษณ์ เ มื่ อ วั น ที่ 15 กั น ยายน 2552) ข้อสังเกตของคณะผู้วิจัยได้พบว่าประเด็นความ แตกต่างทางทัศนะนี้เหมือนกับที่ทางคณะผู้วิจัยได้สัมผัส ในประเทศไทย และสอดคล้ อ งกั น กั บ ข้ อ ค้ น พบของ นักวิชาการมุสลิมทั่วโลก คณะผู้วิจัยอยากทราบว่าทําไม สิ่งนี้จึงได้เกิดขึ้นในมาเลเซีย จึงได้คําตอบจากผู้บริหาร ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า “มุสลิมโดยทั่วไปในมาเลเซียในสมัย 4

ฏอรูเราะห์ คือ สถานะที่ขับขันหรือจําเป็น เป็นหลักการหนึ่งทีอ่ ิสลามให้มี ขึ้น เพือ่ ใช้ในกรณีทเี่ กิดความจําเป็นจริงๆ หากสิ่งทีอ่ นุมัติไม่ไม่มี หรือหากไม่ กระทําการอย่างอื่นหรือละทิ้งแล้วอาจเกิดความเสียหายที่ร้ายแรงได้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

นั้นมี ความเข้า ใจเกี่ย วกับ การประกั นภัย ในรูปของการ ประกันภัยในแบบของกองทุนมายาตที่มีตามมัสยิดต่างๆ ส่วนในรูปของการประกันภัยในเชิงธุรกิจมุสลิมมีส่วนร่วม น้อยมาก เนื่องจากประกัน ภัยมีก ารจ่ ายดอกเบี้ย และ มุ ส ลิ ม ส่ ว นใหญ่ ใ นประเทศเป็ น เกษตรกร ไม่ ไ ด้ ใ ห้ ความสํ า คั ญ กั บ การประกั น ภั ย มุ ส ลิ ม ที่ ใ กล้ ชิ ด กั บ ประกันภัยคือนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ หากพวกเขา เข้าใช้บริการการประกันภัยก็ถือว่ามีความจําเป็นในทาง ธุรกิจ” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) ผู้ ต อบคํ า ถามได้ เ ล่ า ต่ อ ว่ า “เมื่ อ มุ ส ลิ ม เข้ า สู่ วงการธุร กิจ มากขึ้น ความจํ าเป็น ต่อการประกั นภั ยได้ เกิดขึ้น เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับการประกันภัยมีความ ชัด เจน ประเด็น ของการประกั น ภัย ได้นํ า ไปเสนอในที่ ประชุ ม อิ ส ลามมาเลเซี ย ขึ้ น ในปี 1969 ผลของมติ ที่ ประชุ ม เห็ น ว่ า การป ระกั น ภั ย เป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ อ นุ ม ติ ต่อจากนั้นสภามุฟตี5มาเลเซียได้นําไปพิจารณาต่อในปี 1972 “(สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) ประเด็นความแตกต่างทางความคิดเกี่ยวกับการ ประกันภัยเป็นประเด็นแรกที่ทางคณะผู้วิจัยได้ค้นพบใน การศึ ก ษาก่ อนการก่ อตั้ ง ตะกาฟุ ล ต่ อมาเมื่ อมี ก ารนํ า ประเด็นความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกั นภัยสู่เวทีการ ประชุมนักวิชาการแล้ว ได้มีประเด็นใหม่คือ การศึกษา หาทางออกเพื่อนําหลักการอิสลามมาใช้ในการประกันภัย ซึ่งผู้ ตอบคํา ถามอีกท่ านหนึ่ง ได้ กล่ าวว่ า “นัก วิชาการ มุ ส ลิ ม ได้ พ ยายามหาทางออกเกี่ ย วกั บ การประกั น ภั ย เพื่อให้การประกันภัยมีความสอดคล้องกับศาสนา ในการ ค้นหาทางออกได้มีการจัดตั้งฝ่ายศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การประกันภัย ในส่วนของธนาคารอิสลามมาเลเซียก็ได้ มอบหมายให้ดาโต๊ะ ฟัดลี ยูโซฟ และทีมงาน เดินทางไป ศึกษาเกี่ยวกับการประกันภัยที่ประเทศซูดาน ในส่วนของ ฝ่า ยการเมื องก็ ไ ด้ ปลั ก ดั น ให้ เกิ ด พรบ การประกั น ภั ย อิสลามขึ้น จนปี 1984 พรบ ตะกาฟุล จึงได้ผ่านมติการ เห็นชอบทางรัฐภา และได้นําไปใช้ในปีต่อมา” (สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) ตะกาฟุลเป็นสถาบันการเงินที่ทําธุรกรรมเป็น ฐานความเชื่อมั่ น ของประชาชนเป็ นสํ า คั ญ ดั ง นั้น ทาง 5

มุฟตี คือ ผู้ที่ตดั สินปัญหาทางศาสนาให้กับประชาชนทราบ

20

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

คณะผู้วิจัยจึงให้ความสําคัญกับประเด็นนี้เป็นอย่างมาก จากการศึ กษาพบว่ า ก่อนเริ่มดําเนิ นการของตะกาฟุ ล ทางรัฐบาลมาเลเซียได้กําหนดให้ผู้บริหารตะกาฟุลต้องมี ความพร้ อมเกี่ ย วกั บ ฝ่ า ยผู้ เชี ย วชาญ ต้ องมี ร ะบบการ บริ ห ารและระบบสารสนเทศที่ ดี เ ยี่ ย ม ซึ่ ง ในหนั ง สื อ Buku Panduan Asas Takaful (คู่มือพื้นฐานตะกาฟุล) เป็ น หนั ง สื อ ที่ เ รี ย บเรี ย งโดยสถาบั น การธนาคารและ การเงินมาเลเซีย (Islamic Bankin and Institute Malaysia, 2007) ได้เขียนสรุปงานต่างๆ ที่ทางผู้บริหาร ตะกาฟุลต้องเตรียมไว้ดังนี้ 1.ด้านเทคนิค ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค เช่น actualrial, pengunderaitan การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การลงทุนและการร้องเรียน ถือเป็นความจําเป็น เพราะ ด้านต่างๆ เหล่านี้เป็นหน้าที่พื้นฐานของการค้าขายของ ตะกาฟุล ผู้ บริ หารตะกาฟุ ล จํา เป็ นต้ องมีผู้ เชี่ ยวชาญที่ พอเพี ย งในด้ า นเหล่ า นี้ ด้ ว ยโปรแกรมการฝึ ก อบรมที่ สมดุลในการสร้างการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ 2.ชะรี อ ะห์ การแต่ ง ตั้ ง ฝ่ า ยประสานงานชะ รีอะห์ เป็นสิ่งจําเป็น เพื่อสร้างให้เกิดความมั่นใจว่าการ บริ ห ารการค้ า ขายตะกาฟุ ล นั้ น เคารพต่ อ หลั ก การชะ รีอะห์ ตามที่ฝ่ายชะรีอะห์ได้สั่งการไว้ การแต่งตั้งฝ่ายชะ รีอะห์จะผ่านการเห็นชอบจากธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย 3.เทคโนโลยีข่าวสารและสารสนเทศ ทางฝ่าย ผู้บริหารตะกาฟุลต้องมีระบบข่าวสารและสารสนเทศที่มี ประสิทธิภาพ ประการนี้เป็นประเด็นสําคัญในการปลัก ดันให้การบริหารทั่วถึงและยกระดับการส่งเรียกและเพื่อ เป็ น การปรั บ ปรุ ง การได้ ข่ าวสารที่ แ น่ น อนและตรงกั บ เวลาของระบบการรายงานงบการเงินและการติดตาม การควบคุมตะกาฟุล ปัญหาและอุปสรรคในช่วงเริ่มต้นของการดําเนินการ ก่อตั้งตะกาฟุล การปลั ก ดั น ให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง ตะกาฟุ ล ขึ้ น ใน มาเลเซี ย ได้ ผ่ า นการถกเถี ย งกั น มาเป็ น เวลายาวนาน พอสมควร กว่าจะได้ก่อตั้งตะกาฟุลขึ้นมาได้ไม่ใช่สิ่งที่ง่าย และเมื่อมีการจัดตั้งขึ้นมาแล้ว การที่จะทําให้ประชาชน ยอมรั บ และเข้ ามาใช้ บริ ก ารต้ องมีก ระบวนการในการ จัดการที่ดี และประเด็น ที่ทางคณะผู้วิจั ยมี ความสนใจ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

เป็นอย่างมากในการศึกษาในครั้งนี้คือ เมื่อทางมาเลเซีย ได้จัดตั้งตะกาฟุลขึ้นมาแล้วมีปัญหาอะไรบ้าง มีการตอบ รับของประชาชนเป็นอย่างไรในช่วงแรกๆ ของการก่อตั้ง แล้วมาเลเซียมีวิธีการอย่างไรจนประสบความสําเร็จ และ ในช่วง 20 ปี ของการก่อตั้งตะกาฟุลมีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรบ้าง สิ่งแรกที่คณะผู้วิจัยต้องการได้คําตอบคือ อยาก รู้ว่าช่วงแรกๆ ของการก่อตั้ง ผลตอบรับจากประชาชน เป็นอย่างไร คณะผู้วิจัยพบว่า กลุ่มคนที่ให้การตอบรับที่ ดีคือคนเชื้อสายจีน กลุ่มคนมาลายูกลับมีการตอบรับไม่ดี นัก ดังที่ผู้บริหารบริษัทตะกาฟุลท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า “ช่วงแรกของการจัดตั้งบริษัท คนเชื้อสายจีนขอเข้าร่วม โครงการเป็นจํานวนมาก เนื่องจากคนจีนนั้นคลุกคลีอยู่ กับธุรกิจอยู่นาน เมื่อเห็นกําไรที่มีความแตกต่างจากการ ประกันภัยทั่วไป ก็ขอเข้าร่วมโครงการ ต่างจากคนมาลา ยูที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร จึงไม่ได้ให้ความสําคัญกับตะ กาฟุลมากนัก” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) คําตอบดังกล่าวสอดคล้องกับการบอกเล่าของผู้บริหาร อี ก ท่ า นหนึ่ ง ได้ เ ล่ า ให้ ฟั ง ว่ า “คนเชื้ อ สายจี น เป็ น กลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งที่ขอเข้าร่วมโครงการเป็นจํานวน มากกับตะกาฟุลของบริษัทจนถึงปัจจุบัน แต่ช่วงหลังๆ สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นคนมาลายูจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว เนื่องจากการประชาสัมพันธ์และการให้ความรู้ อย่างต่อเนื่องจากบริษัทและรัฐบาล จึงทําให้ประชาชนมี ความเข้าใจเกี่ยวกับตะกาฟุลมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่ ม ผู้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการส่ ว นใหญ่ เป็ น กลุ่ ม ผู้ มี เงิ น เช่ น ข้าราชการ พนักงานบริษัทเป็นต้น ส่วนกลุ่มเกษตรกรยัง มีน้อย” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) อย่างไร ก็ตามจากการศึกษาจากข้อมูลและการสัมภาษณ์จะเห็น ได้ว่าไม่มีบริษัทใดที่ทําการแบ่งกลุ่มเชื้อชาติของผู้เข้าร่วม โครงการของบริษัทตะกาฟุล เนื่องจากตะกาฟุลเป็นธุรกรรมทางการเงินใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี การแนะนํ า สิ น ให้ กั บ ประชาชนให้ รั บ รู้ ในประเด็ น นี้ คณะผู้วิจัยพบว่า การแนะนําตะกาฟุลให้เป็นที่ยอมรับ ของประชาชนในมาเลเซียนั้น รัฐบาลถือเป็นผู้ที่มีบทบาท สําคัญ จากการสอบถามลูกค้าของตะกาฟุลอิกลาศคน หนึ่ง ได้กล่าวว่า “เมื่อก่อนไม่ได้สนใจกับตะกาฟุลเลย

21

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

เนื่องจากตนเองก็ได้ออมเงินกับธนาคารอิสลามอยู่แล้ว แต่ต่อมาได้ติดตามกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเงินอิสลาม ที่ทางรัฐบาลได้จัดให้มีขึ้น เช่น Islamic HUB มีสื่อ โฆษณาต่างๆ เช่น ทางโทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา และ อื่ น ๆ จึ ง ได้ ใ ห้ ค วามสนใจกั บ ตะกาฟุ ล และเข้ า ร่ ว ม โครงการกับตะกาฟุล” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552) ประเด็นต่อมาที่คณะผู้วิจัยให้ความสนใจมาก ประเด็ น หนึ่ ง คื อ ความคิ ด เห็ น ของนั ก วิ ช าการศาสนา เกี่ยวกับหลักการตะกาฟุล ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับหลักการของตะกาฟุล แต่ก็มีนักวิชาการกลุ่ม น้อยที่ไม่เห็นด้วย ในช่วงเริ่มต้นของการดําเนินกิจการนั้น นักวิชาการกลุ่มนี้มองว่าตะกาฟุลนั้นยังไม่ได้ เนื่องจาก จัดอยู่ในกลุ่มการประกันภัยเชิงธุรกิจ หรือเรียกว่า “ตะอ์ มีน อัต-ตีญารีย์” ตามทัศนะของนักวิชาการกลุ่มนี้ การ ประกันภัยที่อนุมัติคือการประกันภัยที่ให้สวัสดิการทาง สังคม หรือเรียกว่า “ตะอ์มีน อัต-ตะอาวุนีย์” แต่อย่างไร ก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างทางความคิดมี ไม่มากนัก เนื่องจากตะกาฟุลเกิดจากความเห็นชอบของ นักวิชาการทางศาสนาที่ได้ปลักดันเข้าสู่สภา หลังจาก ทํ า การศึ ก ษาค้ น คว้ า กั น มาระยะเวลาหนึ่ ง แล้ ว ส่ ว น นักวิชาการกลุ่มที่มีความเห็นต่างเมื่อทราบว่า การแยก ส่วนของเงินออกอย่างชัดเจนระหว่างเงินบริจาคกับเงิน ลุงทุนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยในภายหลัง ผู้เข้าร่วมโครงการ กั บ ชะรี กั ต ตะกาฟุ ล มาเลเซี ย ท่ า นหนึ่ ง ได้ ก ล่ า วว่ า “เมื่อก่อนตอนที่บริษัทชะรีกัตตะกาฟุลเปิดใหม่ๆ ผมก็ ทราบมาว่ามีนักวิชาการบางส่วนไม่เห็นบ้าง แต่ต่อมาก็ เงียบไป เนื่องจากว่าตะกาฟุลได้รับการควบคุมจากคณะ ที่ปรึกษาชะรีอะห์ระดับชาติของมาเลเซีย” (สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2552) ช่วงการเริ่มต้นของตะกาฟุลในมาเลเซียตั้งแต่ปี 1985 – 1995 มีเพียงบริษัทเดียวที่อนุมัติให้ดําเนินการ และมี โ มเดลเดี ย วที่ อนุ มั ติ ใ ช้ ใ นสมั ย นั้ น คื อ โมเดลมุ ฏ อรอบะห์ ผู้บริหารท่านหนึ่งของบริษัทชะรีกัตตะกาฟุลได้ กล่าวว่า “ถือว่าเป็นโอกาสดีของบริษัทชะรีกัตตะกาฟุล ในมาเลเซียผู้เป็นผู้บุกเบิกด้านตะกาฟุลโดยที่ไม่มีคู่แข็ง แต่ บ ริ ษั ท ต้ อ งรั บ ภาระในการประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ กั บ ประชาชน เนื่องจากบริษัทไม่มีระบบตัวแทนขายประกัน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

บริ ษั ท ต้ อ งลงทุ น ในการเปิ ด สาขาต่ า งๆ เหมื อ นกั บ ธนาคารอิสลาม ด้วยรูปแบบการตลาดนี้ก็ยังเป็นส่วนดี อยู่ ม ากในความรู้ สึ ก ของประชาชนที่ เ ห็ น ถึ ง ความต่ า ง ระหว่างตะกาฟุลกับการประกันทั่วไป” สิ่งที่ทางบริษัท ชะรี กั ต ตะกาฟุ ล มาเลเซี ย ต้ อ งเผชิ ญ ในฐานะที่ เ ป็ น ผู้ บุกเบิกก็คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดการ ผู้บริหารอีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าว่า “เนื่องจากโมเดลมุฏอรอบะห์ นั้นค่าใช้จ่ายในการจัดการขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ดําเนินการ ไม่สามารถเอามาจากกองทุนของเงินสบทบของสมาชิก ได้นั้น ทางบริษัทจําเป็นต้องรับภาระในส่วนนี้อยู่มาก” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2552) ด้วยปัญหาที่ทางบริษัทชะรีกัตตะกาฟุลได้เผชิญ อยู่นั้น ได้มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ทําการศึกษาค้นคว้า รูปแบบการจัดการการเงินในรูปแบบใหม่ โดยนําเสนอ โมเดลวาดี อะห์ ส่ ว นการจั ด การทางการตลาดโดยขอ อนุมัติให้มีตัวแทนขายตะกาฟุลเหมือนกับที่มีตัวแทนขาย ประกันทั่วไป รูปแบบใหม่นี้มีขบวนการการจัดการเงิน และการตลาดมี ค วามคล้ า ยกั บ การประกั น ภั ย มากขึ้ น ในขณะที่ดําเนินการศึกษาอยู่นั้น ทางรับบาลได้อนุมัติ บริษัทตะกาฟุลอีกบริษัทหนึ่งเปิดดําเนินการในปี 1993 คือ บริษั ทตะกาฟุลเนชั นนาล ซึ่ งช่ วงแรกของการเปิ ด กิจการได้ดําเนินการตามรูปแบบของการดําเนินการของ บริษัทชะรีกัตตะกาฟุลมาเลเซีย แต่ต่อมาเมื่อมีการอนุมัติ ให้ใช้โมเดลวากาละห์จึงได้มีการประยุกต์ใช้โมเดลวากา ละห์และมูฏอรอบะห์เข้าด้วยกัน หรือที่เรียกโมเดลนี้ว่า “โมเดลผสม” ทางผู้ตอบคําถามได้กล่าวว่า “เมื่อมีการ อนุมัติใช้โมเดลวากาละห์ ทางบริษัทตะกาฟุลนาชันนาล ไม่ได้มีการเปลี่ยนทั้งหมดเลย แต่ทางบริษัทได้นําโมเดล ใหม่มาปรับตามความเหมาะสมระหว่างทั้งสองโมเดลเข้า ด้วยกัน” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2552) ด้วย กา รเกิ ด ขึ้ น ของตะกา ฟุ ล น าชั น นา ลถื อ เป็ น กา ร เปลี่ยนแปลงสู่ตลาดการแข่งขันของตะกาฟุลในมาเลเซีย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 1984 – 2004 ก่ อ นการก่ อ ตั้ ง ตะกาฟุ ล ขึ้ น ในมาเลเซี ย ทาง รัฐบาลได้มีการร่างพระราชบัญญัติตะกาฟุลขึ้นมา และได้ มีเปลี่ยนแปลงนโยบายต่า งๆ ขึ้นตามสถานการณ์และ ความเข็ ม แข้ ง ของบริ ษั ท ตะกาฟุ ล ที่ ไ ด้ จั ด ตั้ ง ขึ้ น แล้ ว

22

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

รัฐ บาลมาเลเซี ย ใช้ เวลาในการสร้ างความพร้ อมให้ กั บ บริษัทตะกาฟุล บริษัทแรกเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คือตั้งแต่ ปี 1984 – 1993 จึงอนุมัติให้บริษัท MNI Takaful Sdn ได้เริ่มเปิดบริการเป็นบริษัทที่สอง และใช้เวลาอีกเกือบ 10 ปี เช่นกันก่อนอนุมัติให้บริษัท Takaful Ikhlas Sdn Berhad และบริษัท Mayban Takaful Berhad เปิด ดําเนินการเป็นบริษัทต่อมา คือ ใช้เวลาตั้งแต่ปี 1993 – 2002 และหลั ง จากนั้ น ก็ ไ ด้ เพิ่ ม บริ ษั ท ตะกาฟุ ล ขึ้ น มา เรื่อยๆ ผู้ตอบคําถามท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า “การเปิด เสรีทางการตลาดของตะกาฟุล เป็นการเปิดทางในนัก ธุ ร กิ จ ผู้ มี เ งิ น ได้ มี ส่ ว นร่ ว มในการพั ฒ นาตะกาฟุ ล ใน มาเลเซีย และนอกจากนี้ เมื่อเห็นถึงโอกาสและการตอบ รับที่ ดีของลูก ค้ากลุ่มเป้าหมายที่ไ ม่ใช่ มุสลิ ม จึ งได้ เปิ ด กว้ า งขึ้ น ให้ กั บ ลู ก ค้ า ที่ ไ ม่ ใ ช่ มุ ส ลิ ม ” ตามรายงานบท วิเคราะห์ “20 ปี อุตสาหกรรมตะกาฟุลในมาเลเซี ย 1984 – 2004” การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1984 – 2004 จะเห็นได้จากตารางที่ 4.3 ดังต่อไปนี้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

23

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ตารางที่ 4.3 การเปลี่ยนแปลงของตะกาฟุล ตั้งแต่ปี 1984 – 2004 ปี/กิจกรรม ผู้ดําเนินการ ผู้ลงทุน/ผู้ถือหุ้น

รัฐบาล/ที่ปรึกษา ผลิตภัณฑ์

ลูกค้า สายทางการจ่าย สายการลงทุน

1984 ผู้ดําเนินการมีเพียงหนึ่งเดียว ด้วย เงินทุนเบื้องต้น 10 ล้านริงกิต ธนาคารอิสลามพร้อมด้วย คณะกรรมการอิสลามและมูลนิธิ อิสลามของประเทศ

2004 มี 4 ผู้ดําเนินการ ด้วยเงินทุนขัน้ ต่ํา 100 ล้านริงกิต เพื่อเพิ่มการแข่งขัน ผู้ลงทุนจากหลายฝ่าย เช่น จากผู้ลงทุน เอกชน กลุ่มธนาคาร ผู้รับผิดชอบด้าน ประกันภัย และรีประกันภัย และมีหนึ่ง การประกันภัยที่ขายหุน้ ในตลาด หลักทรัพย์ จัดเตรียมพื้นฐานเบื้องต้นในการ ได้จัดบรรยากาศที่สามารถพัฒนา ทําความรู้จักกับตะกาฟุล โดยจัด อุตสาหกรรมตะกาฟุล โดยได้กําหนด ให้มีที่ปรึกษา เป้าหมายระยะกลางและระยะยาว ผลิตภัณฑ์ทจี่ ํากัด และเจาะจงกับ มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตะกาฟุลรถยนต์ อัคคีภัยและ ตะกาฟุลครอบครัวได้ครอบครองตลาด จํานําสัญญา อยู่ที่ 71% (จากด้านเงินสมทบ) ตะกาฟุลทัว่ ไปได้ครอบครอง ตลาดอยู่ที่ 63% (จากด้านเงิน สมทบ) ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มสุ ลิม ด้วยความ ต้องการ ความจําเป็น อุปสงค์ที่ หลากหลาย สํานักงานสาขาและเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ย สํานักงานสาขา เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด การตลาด ตัวแทน บร็อกเกอร์ อินเตอร์เน็ตและ ความสัมพันธ์ยุทธศาสตร์ มุ่งไปที่การฝากอิสลามและ การลงทุนที่หลากหลายที่ออกโดยรัฐบาล หลักทรัพย์อิสลามของรัฐ และเอกชน

การพัฒนาตะกาฟุลในมาเลเซีย หน่วยงานหนึ่ง ที่สําคัญในการพัฒนาระบบการเงินอิสลาม คือธนาคาร แห่งชาติมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia) ในการ พั ฒ นาอุ ต สาหกรรมตะกาฟุ ล ในมาเลเซี ย ธนาคาร แห่ ง ชาติ ม าเลเซี ยได้ ดํ า เนิ น การเป็ นช่ ว งๆ ซึ่ ง สามารถ แบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกันดังต่อไปนี้ ช่วงที่ I (1984 – 1992) โดยเริ่มจากการร่าง พ.ร.บ. การควบคุมตะกาฟุลนั้น ก็คือ พ.ร.บ. ตะกาฟุ ล 1984 และได้ ก่ อตั้ ง ตะกาฟุ ล ขึ้ น มาเป็ น บริ ษั ท แรกในปี 1984 ความมุ่งมั้นหลักในช่วงแรกนี้คือการตระเตรียม

ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานสําหรับอุตสาหกรรมตะ กาฟุล พ.ร.บ. ที่ใช้กันจนถึงวันนี้ได้ทําการพิจารณาอย่าง ครอบคลุ ม เพื่ อ เป็ น การควบคุ ม ทํ า ธุ ร กิ จ ของตะกาฟุ ล และเพื่ อให้บ ริษัทตะกาฟุต ได้มีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้ น พ.ร.บ. นี้เช่นกันได้ตระเตรียมเพื่อการแต่งตั้งหน่วยงาน ชะรีอะห์ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นการยืนยันว่าบริษัทตะกาฟุล ต่างๆ จะดําเนินตามหลักชะรีอะห์ในทุกยุคทุกสมัย ช่วงที่ II (1993 – 2000) เป็นช่วงที่เริ่มการ แข่งขันในอุตสาหกรรมตะกาฟุลด้วยการเพิ่มบริษัทตะ กาฟุลขึ้ นมาอี กบริษัท หนึ่ง ในช่วงนี้เช่น กันได้ย กระดั บ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ความร่วมมือด้านตะกาฟุลในภูมิภาค โดยการก่อตั้งกลุ่ม ตะกาฟุ ล ASEAN ในปี 1995 และได้ ก่ อตั้ ง ASEAN Retakaful Intornational (L) Ltd. ในปี 1997 นี้ได้ทํา ให้มีความง่ายขึ้นในการจัดระเบียบเกี่ยวกับรีตะกาฟุลใน หมู่ของบริษัทตะกาฟุลในมาเลเซียและในภูมิภาคนี้ เช่น บรูไน อินโดนีเซีย และสิงค์โปร ช่วงที่ III (2001 – 2010) เป็นช่วงที่ทําความ รู้จักกับ Pelan Induk Sektor Kewangan (PISK) ในปี 2001 ด้วยการมีจุดมุ่งหมายหลายอย่าง ส่วนหนึ่งคือ เพื่อ การทํางานของตะกาฟุลที่ดีขึ้นและเพื่อเพิ่มความเข้มแข็ง ทางด้านกฎหมาย ชะรีอะห์และการควบคุมส่วน PISK ที่ เกี่ยวกับธนาคารอิสลาม และตะกาฟุลถือเป็นยุทธศาสตร์ ที่นําไปสู่วามมุ่งที่จะให้มาเลเซียเป็นศูนย์การเงินอิสลาม นานาชาติ ในระดับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาและ การแข่งขั น โดยที่ไ ด้ให้ อนุญ าติต่ อบริษั ทตะกาฟุ ลเพิ่ ม มากขึ้น เพื่อเป็นการปลักดันให้อุตสาหกรรมตะกาฟุลม การพัฒนา สมาคมตะกาฟุลมาเลเซีย (MTA) ซึ่งเป็น สมาคมของบริ ษั ท ตะกาฟุ ล ได้ ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี 2002 สมาคมตะกาฟุ ล มาเลเซี ย มี ค วามมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะทํ า การ ควบคุ ม อุ ต สาหกรรมตะกาฟุ ล โดยจั ด การตลาดใน รูปแบบเดียวกันและปลักดันให้มีการร่วมมือในระดับที่ สู ง ขึ้ น ในหมู่ บ ริ ษั ท ตะกาฟุ ล และพยายามพั ฒ นา อุตสาหกรรมตะกาฟุล ปัจจัยสู่ความสําเร็จของตะกาฟุลในมาเลเซีย การนําตะกาฟุลมาใช้ในประเทศมาเลเซียได้เริ่ม ตั้งแต่ปี 1984 จนถึงปัจจุบัน ใช้เวลาประมาณ 20 กว่าปี มาแล้ว ซึ่งปัจจุบันประเทศมาเลเซียได้เป็นที่ยอมรับของ นานาประเทศเกี่ยวกับตะกาฟุลและการเงินอิสลาม และ การที่ ม าเลเซี ย จะได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ประเทศต้ น แบบผู้ นํ า ทางการประกันภัยได้มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ความ เข้ า ใจและการตื้ น ตั ว ของชาวมาลายู มุ ส ลิ ม เกี่ ย วกั บ อิ ส ลาม รั ฐ บาลให้ ก ารสนั บ สนุ น หรื อ ให้ ก ารอุ ป ถั ม ภ์ อิทธิพลของขบวนการฟื้นฟูอิสลามในด้านเศรษฐกิจ และ ความเชื่ อ มั่ น ในผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละการบริ ห ารจั ด การที่ ทันสมัย เป็นต้น

24

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

1.ความเข้ า ใจและการตื้ น ตั ว ของชาวมาลายู มุ ส ลิ ม เกี่ยวกับอิสลาม ความสําเร็จของตะกาฟุลในมาเลเซียต่อการเป็น ผู้ นํ า ทางการประกั น ภั ย อิ ส ลามประการแรก เกิ ด จาก ความต้องการของมุสลิมและความเข้าใจของมุสลิมต่ อ หลักการอิสลาม ดังที่ทางธนาคารแห่งชาติมาเลเซียได้ รายงานบทวิเคราะห์ “20 ปี อุตสาหกรรมตะกาฟุลใน มาเลเซีย 1984 – 2004” โดยกล่าวว่า วิวัฒนาการของอุตาหกรรมตะกาฟุลในมาเลเซีย ในต้นปี 1983 มีผลมาจากความต้องการของประชาชาติ อิ ส ลามในสมั ย นั้ น เพื่ อ เป็ น ทางเลื อ กหนึ่ ง จากการ ประกันภัยที่มีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชะรีอะห์ พร้อมกันนั้น เพื่อเป็นส่วนเติมเต็มให้กับการประกอบการ ของธนาคารอิสลามที่ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1983 การเกิด ขึ้น ของอุ ตสาหกรรมตะกาฟุ ลนั้ น สื บ เนื่ อ งมาจากมติ ท างฝ่ า ยฟั ต วา (ฉั น ทามติ ) แห่ ง ชาติ มาเลเซีย ที่มีมติว่า การประกันชีวิตในรูปแบบที่มีอยู่ถือ ว่าไม่เศาะ (ไม่ถูกต้อง) เนื่องจากมีของความไม่แน่นอน Gharar ดอกเบี้ย (รีบา) และเกมการพนัน (Maisir) ทีมเจ้าหน้าที่เฉพาะได้จัดตั้งโดยรัฐบาล ได้มีขึ้น ในปี 1982 เพื่อทําการศึก ษาแนวทางการจัดตั้ง บริษั ท การประกันภัยอิสลาม ตามข้อเสนอของทีมดังกล่าว พระราชบัญญัติ เกี่ยวกับตะกาฟุลได้เกิดขึ้นในปี 1984 และผู้ดําเนินการ ตะกาฟุลแรกได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายนปี 1984 การดํ า เนิ น กิ จ การทางการประกั น ภั ย อิ ส ลาม หรือตะกาฟุลในมาเลเซียไม่สามารถดําเนินการไปได้ หาก ประชาชนขาดความเข้าใจและการตื้นตัวเกี่ยวกับอิสลาม การแสดงจุด ยื น ทางการเมื องของพรรคพาส หลั ง การ แยกตัวออกจากพรรคอัมโนในปี 1957 ได้ใช้ศาสนาเป็น ประเด็นนําในการหาเสียง ถือเป็นความชัดเจนประการ หนึ่งของการแสดงออกถึงการเป็นอิสลามทางการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งการการรักษาอัตลักษณ์ของความ เป็ น อิ ส ลามเอาไว้ และพรรคพาสสามารถต่ อ รอง ผลประโยชน์ของอิสลามในหลายๆ ด้าน การมีบทบาท ทางการเมืองของพรรคพาสที่เน้นศาสนาเป็นการย้ําเตือน ให้ รั ฐ บาลค่ อ ยระวั ง และให้ ค วามสํ า คั ญ ต่ อ ศาสนาอยู่


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

เรื่ อ ยมา แต่ ก ระนั้ น ก็ ต ามพรรคพาสถู ก มองในเชิ ง การเมืองว่าต้องการ “สร้างรัฐอิสลาม” การเรียกร้องอิสลามและความต้องการที่จะให้ ประชาชนและรัฐบาลมีความเข้าใจอิสลามอย่างถ่องแท้ นั้นไม่เพียงแต่พรรคพาสเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มขบวนการ เยาวชนอิสลาม ABIM ที่เกิดขึ้นในปี 1971 สมาคมอูลา มาแห่งมาเลเซีย นักศึกษาและปัญญาชนมุสลิม ก็มีส่วน สํ า คั ญ ในการเรี ย กร้ องอิ ส ลาม จนเกิ ด การเปลี่ ย นทาง สังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับอิสลาม การกล่าวถึงการประกันอิส ลามนั้นได้เริ่มจาก การประชุมอิสลามมาเลเซีย (Persidang Islam seMalaysia) ในปี 1969 เป็นปีเดียวกันกับที่เกิดวิกฤตการ ทางเผ่าพันธุ์ขึ้น การเกิดการจลาจลขึ้นในปีดังกล่าวเกิด จากความไม่เท่าเทียบกันของแต่ละเชื่อชาติ จนปัญหาถึง ขั้นปั้นปลายที่แก้ไม่ตก การประชุมอิสลามมาเลเซียเป็น แนวทางหนึ่งของการเผยแพร่อิสลาม และในการประชุม ดั ง กล่ า วนั้ น ได้ ย กประเด็ น ทางเศรษฐกิ จ เกี่ ย วกั บ การ ประกั นขึ้ น มา และได้ม ติต ามที่ กล่ า วมาแล้ว ในบทที่ 3 หากดูนัยจากสองเหตุการณ์นี้แล้ว จะเห็นว่าการประชุม ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการยกฐานะ ทางเศรษฐกิ จ ของชาวมาลายู แต่ ผู้ วิ จั ย ไม่ ส ามารถหา หลั ก ฐานในเชิ ง ประจั ก ของความสั ม พั น ธ์ ข องสอง เหตุการณ์นี้ได้ ผู้วิจัยเห็นว่าในการประชุมดังกล่าวเป็น จุดเริ่มต้นของการทําความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัย อิสลามในระดับอุลามาและนักวิชาการ จากมติของการ ประชุมในครั้งนี้ได้ พัฒนาไปเรื่อยๆ จนเกิดการประชุ ม ครั้งต่ อๆ มาในปี 1972 และ 1979 จนเกิ ดคณะกรรม เฉพาะในการศึกษาเกี่ยวกับการประกันภัยขึ้นในปี 1982 ในที่สุ ด ก็มี ก ารร่ างพระราชบั ญญั ติ ตะกาฟุ ล ขึ้น มาในปี 1984 และการจัดตั้งบริษัทตะกาฟุลขึ้น อุตสาหกรรมตะกาฟุลมาเลเซียได้มีการเติบโต อย่ า งมาก เนื่ องจากบทบาทจากพรรคการเมื อง กลุ่ ม เยาวชน ปัญญาชน นักวิชาการและอุลามาที่เป็นตัวขับ เคลื่อนที่สําคัญในการทําความเข้าใจอิสลามและตะกาฟุล จากที่ ต ะกาฟุ ล มี เ พี ย งบริ ษั ท เดี ย วในปี 1982 ที่ ดําเนินการด้วยผลิตภัณฑ์ที่จํากัด แต่ตะกาฟุลก็สามารถ ดําเนินไปได้ด้วยดี จนสามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด ของการประกันภัยได้มาขึ้นเรื่อยๆ

25

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

2. รัฐบาลให้การสนับสนุนหรือให้การอุปถัมภ์ ประการที่สองที่ ส่งผลให้ตะกาฟุลในมาเลเซี ย เป็นผู้นําทางการประกันภัยอิสลาม นั้นก็คือรัฐบาล เป็น คํ า ตอบแรกที่ ผู้ ต อบคํ า ถาม ไม่ ว่ า จะเป็ น ผู้ บ ริ ห าร เจ้าหน้าที่ หรือลูกค้าของบริษัทตะกาฟุล มีความเห็นไป ในทางเดียวกันว่ารัฐบาลมีบทบาทสําคัญในความสําเร็จ ของบริษัทตะกาฟุลในมาเลเซีย เนื่องจากบริษัทตะกาฟุ ลบริษัทแรกทางการประกันภัยอิสลามที่รัฐเป็นผู้ลงทุน โดยผ่านธนาคารอิสลามมาเลเซีย และบริษัทต่อๆ มาเป็น การควบคุมและการให้ความสะดวกของรัฐบาลโดยการ ดูแลให้การปรึกษาโดยผ่านธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย ธนาคารอิสลามมาเลเซียจํากัด (Bank Islam Malaysia Berhad) เป็นธนาคารอิสลามธนาคารแรกที่ ได้ก่อตั้งขึ้นในมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1983 ได้ ดําเนินกิจการเหมือนกับธนาคารพาณิชย์ทั่วๆ ไป แต่ใช้ หลักการของชะรีอะห์ หลังจากนั้นทางธนาคารอิสลามได้ มีบริษัทลูกที่ดําเนินกิจการตามหลักชะรีอะห์ คือ บริษัท Syarikat Al-Ijarah Sdn. Bhd. ที่ดําเนินการด้านการ เก็บภาษีทรัพย์สินถาวร บริษัท Syarikat Nominees Sdn. Bhd. ที่ดําเนินการด้านการให้บริการแก่บริษัท เครือข่าย และ บริษัท Syarikat Takaful Malaysia Sdn. Bhd. ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้การคุ้มครองทางด้านการ ประกัน ภั ยทั้ ง การประกัน วิ น าศภั ยและการประกั น ภั ย ทั่วไป ก่ อ นการก่ อ ตั้ ง ตะกาฟุ ล ขึ้ น ในมาเลเซี ย ทาง รัฐบาลได้มีการร่างพระราชบัญญัติตะกาฟุลขึ้นมา และได้ มีเปลี่ยนแปลงนโยบายต่า งๆ ขึ้นตามสถานการณ์และ ความเข็ ม แข้ ง ของบริ ษั ท ตะกาฟุ ล ที่ ไ ด้ จั ด ตั้ ง ขึ้ น แล้ ว รัฐ บาลมาเลเซี ย ใช้ เวลาในการสร้ างความพร้ อมให้ กั บ บริษัทตะกาฟุล บริษัทแรกเป็นเวลาเกือบ 10 ปี คือตั้งแต่ ปี 1984 – 1993 จึงอนุมัติให้บริษัท MNI Takaful Sdn ได้เริ่มเปิดบริการเป็นบริษัทที่สอง และใช้เวลาอีกเกือบ 10 ปี เช่นกันก่อนอนุมัติให้บริษัท Mayban Takaful Berhad เปิดดําเนินการ และต่อมาได้เปิดตลาดเสรีของ ตะกาฟุลขึ้น การให้การสนับสนุนและการอุปถัมภ์ของรัฐต่อ มาลายูมุสลิม ได้มีมานานแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง ของนโยบายเศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) ที่


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

เกิดการปรับโครงทางสังคมโดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่ง รัฐบาลเห็นว่าปัญหาเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการที่เชื้อชาติถูก ผูกติดอยู่กับหน้าที่และการงาน กล่าวคือ ชาวมาลายูจะ เป็นชาวนาและอาศัยอยู่ตามชนบท ชาวจีนและอินเดีย จะเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ หรือพนักงานตามสํานักงานต่างๆ และอาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้นจึงเกิดความไม่เท่าเทียมกัน ทางเศรษฐกิ จ ระหว่ า งเชื้ อชาติ นั้ น คื อ ชาวมาลายู จ ะ ยากจน ส่วนชนเชื้อชาติอื่นจะร่ํารวย รับจึงจําเป็นต้อง ช่ ว ยแก้ ไ ขความไม่ เป็ น ธรรมทางเศรษฐกิ จ นี้ ดั ง นั้ น จึ ง จําเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งตามความคิด ของรัฐบาลคือ การผลักดันให้ชาวมาลายูเข้าไปมีส่วนร่วม ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการงานอื่นๆ อันจะนํามา ซึ่งความร่ํารวยให้กับกลุ่มนี้ ส่วนวิธีการที่รัฐนํามาใช้เพื่อ แก้ ปั ญ หานี้ คื อ การปรั บ และกระจายการจ้ า งงานและ การศึกษาให้แก่ชาวมาลายูโดยเฉพาะ แต่การปรับเปลี่ยน ที่สําคัญคือ ความพยายามที่จะทําให้ชาวมลายูได้เข้าถือ หุ้นในบรรษัทของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ก่อตั้งขึ้น (ชัยโชค จุลศิริวงศ์, 2542) การสนั บ สนุ น ของรั ฐ ในยุ ค ของนโยบาย เศรษฐกิจใหม่ (New Economic Policy) จะเป็นการ ช่วยเหลือในนามของเชื้อชาติมาลายูมากกว่า ไม่ได้เน้นถึง ความเคร่งครัดทางศาสนาหรือการนําศาสนามาใช้ในการ ดํ า เนิ น ชี วิ ต ในด้ า นต่ า งๆ แนวคิ ด ความเคร่ ง ครั ด ทาง ศาสนาอิส ลามได้ เด่ น ชัด ขึ้ นในวิ ถี ชีวิ ตของสาธารณชน เมื่อพรรคพาสได้ประสบความสําเร็จในการเลือกตั้ง และ เมื่ อ มหาธี ร์ไ ด้ ขึ้ น มาดํ า รงตํ า แหน่ ง นายกรั ฐ มนตรี ใ นปี 1981 เขาได้อุดหนุนการสัมมนาในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับ การพั ฒ นาในศาสนาอิ ส ลาม (The Concept of Development in Islam) และได้ประกาศใช้นโยบาย การเปลี่ ย นแปลงไปสู่ อิ ส ลามในปี 1984 จึ ง เป็ น แรง กระตุ้นให้รัฐบาลและประชาชนสนใจอิสลามมากขึ้น ใน ด้านเศรษฐกิจก็มีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาให้สอดคล้อง สมดุลกับการพัฒนาทางด้านจิตวิญาณ การประกาศว่า ระบบเศรษฐกิจมาเลเซียควรกําหนดรูปแบบให้สอดคล้อง กับอิสลามจึงเกิดขึ้น และตะกาฟุลเป็นส่วนหนึ่งของการ เปลี่ ย นแปลงสู่ร ะบบเศรษฐกิ จ อิ สลามที่ รัฐ บาลให้ ก าร สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

26

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ตะกาฟุลในมาเลเซียจะเกิดขึ้นมาอย่างสง่างาม ไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมาเลเซีย เริ่ม ตั้งแต่จัดร่าง พ.ร.บ 1984 เพื่อเป็นการสนับสนุนอย่าง เป็นทางการ หลังจากรัฐบาลมาเลเซีย ได้มอบอํานาจให้ ธนาคารแห่ ง ชาติ ม าเลเซี ย กํ า กั บ ดู แ ลอี ก ครั้ ง หนึ่ ง นอกจากนี้ทางมาเลเซียได้วางวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการเป็น ศูนย์กลางทางการเงินอิสลามอย่างชัดเจน คือ วิสัยทัศน์ปี 2020 มาเลเซียจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินอิสลาม การนําไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินของ มาเลเซียในปี 2020 จะเห็นได้จากการเตรียมความพร้อม หลายๆ ด้ า น ด้ า นที่ สํ า คั ญ อย่ า งหนึ่ ง คื อ สถาบั น หรื อ องค์กรสนับสนุนที่จะนําไปสู่ทิศทางที่กําหนดไว้ นอกจาก การจัดตั้งสถาบันชะรีอะห์แล้ว ทางมาเลเซียปลักดันให้ เกิดสมาคมที่เกี่ยวกับสถาบันการเงินอิสลามและตะกาฟุล นั้นหลายองค์กรด้วยกัน เช่น สมาคมตะกาฟุลมาเลเซีย (MTA) สมาคม เป็นต้น ทางการมาเลเซียให้ความสําคัญ ต่อการพัฒนาด้านการเงินอิสลามและตะกาฟุลเป็นอย่าง มาก จะเห็นได้จากการพยายามก่อตั้งสถาบันสนับสนุน อื่นๆ อีก เช่น IBFIM, INCEIF, FMB, MIB ISM, และ MRC เป็นต้น 3. อิทธิพลจากขบวนการฟื้นฟูอิสลามของโลกในด้าน เศรษฐกิจ ความประสบความสํ า เร็ จ ของตะกาฟุ ล ใน มาเลเซียอีกประการหนึ่ง เนื่องมาจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ภายนอกของขบวนการฟื้ น ฟู อิ ส ลามที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อิสลาม จากที่โลกอิสลามต้อง ประสบกับยุคที่แสนมืดที่สุดในประวัติศาสตร์ ในศตวรรษ ที่ 18 19 และครึ่งหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ยุโรป ได้เข้า มาครอบครองโลกของมุสลิม เข้ามาขโมยทรัพยากรที่มา อยู่ เอาวัฒนธรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงแนวความคิดทําให้ เกิดลิ สซึม (ลัท ธินิย ม) ต่ างๆ แนวความคิดที่ เกิด ขึ้นใน ขณะนั้ น มี 3 แนวคิ ด ใหญ่ ๆ ที่ ทํ า การแข่ ง ขั น กั น อย่ า ง รุ น แรง คื อ อิ ส ลาม คอมมิ ว นิ ส ต์ และเซกกุ ล าริ ส ซึ ม (ชาติ นิยม) ทางด้ านเศรษฐกิจ ก็มีอิสลาม ทุ นนิย มและ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

สังคมนิยม และเราจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่ได้รับชนะ ในประเทศมุสลิมคือ สังคมนิยมและทุนนิยม การเคลื่ อ นไหวของอิ ส ลามได้ แ พ้ ใ นหลาย สมรภูมิของการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ความเป็นจริงแล้ว การเคลื่อนไหวอิสลามก็ยังดําเนินต่อไป ตั้งแต่สมัยของ ญาลาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี อับดุลเราะห์มาน อัล-กาวากีฟี มู ฮั ม หมั ด อั บ ดุ ห์ รอชี ด รี ฏ อ จนถึ ง ฮาซั น อั ล บั น นาที่ อียิปต์ ยามาลุดดีน อัลอัฟฆอนี และอัลกาวากีบย์จะเน้น การเมือง ส่วนมูฮัมหมัด อับดุห์ และรอซีครีฏอ จะเน้น ด้านความคิดและการศึกษา ถึงแม้ว่าการฟื้นของแต่ละ คนไม่ ค รอบคลุ ม ในทุ ก ด้ า น แต่ ก ารฟื้ น ฟู อิ ส ลามก็ เ ริ่ ม เกิดขึ้น จนมาถึงยุคของฮาซัน อัลบันนา ก็ได้พยายามทํา การฟื้นฟูในภาพองค์รวมและทําให้เกิดอิสลามานุวัฒน์ใน ทุกๆ ด้านเกิดขึ้น จากอิทธิพลของการฟื้นฟูอิสลามเกิดขึ้นในโลก ของอิสลาม ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดําเนินชีวิต ของมุส ลิ ม ในด้ านต่ า งๆ ด้ านหนึ่ง ที่ มี การเปลี่ ย นแปลง อย่างมากคือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งการฟื้นฟูหรือการอิสลาม มานุ วัฒ น์ ใ นด้ า นเศรษฐกิ จ ได้ ผ่ า นวิ วั ฒนาการ 4 ช่ ว ง ด้วยกันคือ ช่วงที่หนึ่ง ช่วงของการเปรียบ ในช่วงนี้ได้มี งานเขี ย นที่ เ ปรี ย บเที ย บระหว่ า งอิ ส ลามกั บ ระบบ เศรษฐกิ จ อื่ น ๆ เช่ น สั ง คมนิ ย มและทุ น นิ ย ม เป็ น การ ตอบสนองต่อจิ ตวิ ทยาและความเป็น เหตุ เป็ นผล ส่ ว น หนึ่ ง ของนั ก เขี ย นในสมั ย นี้ คื อ ซั ย ยิ ด กุ ฏ บ เขี ย นเรื่ อง หลักการอิสลามเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม (ความ ยุติธรรมในสังคมอิสลาม) ดร. มุสตอฟา อัล-ซีบาอี นักคิด อิสลามจากซีเรีย เขี ยนเปรี ยบเทีย บระหว่างอิส ลามกั บ สังคมนิยมในหนังสือ “อิสติรอกียะห์ อัล-อิสลาม” (สังคม นิยมอิสลาม) เชค มูฮัมหมัด อัลฆอซาลี อูลามะและนัก คิดอิสลามจากอียิปต์ ในปี 94 เขียนหนังสือ “อัล-อิสลาม วาอั ล -เอาฏออ อั ล -อิ ญ ติ ศ อดี ย ะห์ ” (อิ ส ลามและ สถานภาพทางเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน) แล้วยังมี ดร. อับ ดุลกอดีร เอาดะห์ จากประเทศอียิปต์ อบูล อะอ์ลา อัล เมาดูดี จากประเทศปากีสถาน มูฮัมหมัด บากีส อัล-ศอ ดร จากประเทศอิรัก อบูล ฮาซัน อาลี อัล-ฮาซานี อัลนาดาวี จากประเทศอินเดีย ช่วงที่ 2 ช่ วงการสร้ า งหลั ก การ ช่ ว งแรกได้ กระตุ้ น ให้ นั ก ปรั ช ญาชนมุ ส ลิ ม ตื่ น ตั ว มี ค วามประสบ

27

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ความสําเร็จเป็นอย่างสูง ในช่วงต่อมาประมาณปี 1960 เริ่มมีงานเขียนในเชิงของการสร้างหลักการเกิดขึ้น เช่น งานเขียนของ ดร. อีซา อับดุฮ เขียนเกี่ยวกับ (ดอกเบี้ย ทุ น ) และเศรษฐกิ จ การเมื อ ง และในปี 1973 ในการ ประชุมสภายุวมุสลิมโลก (wamy) ได้เสนอให้มีการ ประชุมเรื่องเศรษฐศาสตร์ขึ้น และในปี 1976 ได้มีการ จั ด ประชุ ม ด้ า นเศรษฐศาสตร์ ขึ้ น ที่ มั ก กะฮ์ และได้ จั ด ต่อเนื่องอีกในหลายเวทีโลก ช่วงที่ 3 ช่วงของก่อตั้งสถาบัน ในช่วงที่มีการ พูดถึงการสร้างหลักการนั้น ก็ได้มีสถาบันทางเศรษฐกิจ เกิ ด ขึ้ น เริ่ ม ในปี 1763 ได้ มี ก ารก่ อตั้ ง ธนาคาร mayt Ghamr bank และหลังจากนั้นได้มีการจัดตั้งธนาคาร อิสลามขึ้นอีกในอียิป ต์ ในปี 1971 คือ Bank social nasser ต่อมาในปี 1975 ได้มีการจัดตั้งธนาคารเพื่อการ พัฒนาอิสลาม (Islamic Deverlopment Bank- IDB) การขยายตัวของธนาคารอิสลามได้ขยายไปยังประเทศ ต่า งๆ ทั่ ว โลก ทั่ งที่ เป็ น ประเทศมุ สลิ ม และไม่ ใช่ มุส ลิ ม นอกจากธนาคารอิ ส ลามแล้ ว ก็ ไ ด้ เ กิ ด การประกั น ภั ย อิสลามขึ้นในประเทศซูดานในปี 1979 และประเทศอื่นๆ เป็นธุรกิจคู่ขนานของธนาคารอิสลามไป ช่ ว งสุ ด ท้ า ย ช่ ว งที่ 4 ช่ วงปั จ จุ บั น เป็ น ช่ ว ง ของการติดตามผลและการพัฒนา จากประสบการณ์ที่ ได้ ดํ า เนิ น การของสถาบั น ทางเศรษฐกิ จ และการเงิ น อิสลามมาระยะเวลากว่า 20 กว่าปีมา ซึ่งเป็นช่วงที่มีการ ประเมินผลการดําเนินการติดตามและประเมินผลของ การอิสลามานุวัฒน์ทางด้านเศรษฐกิจขึ้น ท่านกรุซิค อะ หมัด นักเศรษฐศาสตร์อิสลามจากปากีสถานได้กล่าวไว้ ว่าอย่างน้อยต้องมี 3 ขั้นตอนในการพัฒนาการ ดังกล่าว คือ หนึ่ง รวบรวมนักกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกด้านขึ้น สอง ทํ า การวิ เ คราะห์ จ ากประสบการณ์ แ ละทํ า การ ทบทวนหลักการและความสามารถการประยุกต์ใช้ และ วิเคราะห์ความถูกต้องของหลักการที่มีการดําเนินใช้ สาม จากหลั ก การทฤษฎี พร้ อมประสบการณ์ ม าใช้ ใ นด้ า น เศรษฐกิจ เช่น ธนาคารอิสลาม ต้องมีความสัมพันธ์กับ หลักคุณค่าพื้นฐานของอิสลามในภาพรวมด้วย จากช่ ว งระยะเวลาของการอิ ส ลามานุ วั ฒ น์ ทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโลกอิสลามนั้น จะเห็นได้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

ว่ า ในประเทศมาเลเซี ย ได้ มี ก ารขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ อิสลามตามกระแสที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถือได้ว่า ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความสม่ําเสมอในการ พัฒนาทางเศรษฐกิจอิสลาม จะเห็นได้จากการพัฒนาทาง วิชาการ สถาบันการเงิน รวมถึงธนาคารอิสลามและตะ กาฟุ ล ด้ ว ย โดยเฉพาะอย่ า งทางด้ า นตะกาฟุ ล นั้ น มาเลเซียนอกจากได้ขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ ทางมาเลเซียยังได้เป็นที่ปรึกษาให้กับประเทศต่างๆ ที่ ต้องการดําเนินการด้านตะกาฟุล 4. ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการที่ ทันสมัย ประการต่ อมาที่เป็ น ประเด็ น ความมั่ นใจและ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อหลักการที่นํามาใช้ในตะ กาฟุลว่าถูกต้องตามหลักการอิสลาม ด้วยการทํางานที่ เป็นเอกภาพของนักวิชาการและผู้ปฏิบัตงานในประเทศ มาเลเซี ย ทํ า ให้ ป ระชาชนมี ค วามเชื่ อ มั่ น ต่ อ สถาบั น การเงินอิสลามมากขึ้น ประเด็นแรกที่ทําให้ประชาชนมี ความเชื่ อ มั่ น ต่ อ ตะกาฟุ ล คื อ ก่ อ ตั้ ง สถาบั น ชะรี อ ะห์ ขึ้นมาดูแลการดําเนินกิจการ และการออกระเบียบให้ทุก บริ ษั ท มี ก รรมการชะรี อะห์ ค วบคุ ม ดู แ ลอี ก ที หนึ่ ง เพื่ อ ความถูกต้องตามหลักการศาสนา ประเด็นที่สองที่ทําให้ การเชื่ อ มั่ น คื อ การกํ า กั บ ดู แ ลโดยธนาคารแห่ ง ชาติ มาเลเซีย มาเลเซียได้มีการพัฒนาทางด้านตะกาฟุลอย่าง จริงจัง ทั้งทางด้านการผลิตภัณฑ์และการบริหารจัดการที่ ให้ ทั น สมัย จนเป็น ที่ ย อมรั บ ของนานาประเทศ ซึ่ ง ช่ ว ง เริ่มต้นของการดําเนินการตะกาฟุลในมาเลเซียนั้น การ ดําเนินการของบริษัท Syarikat Takaful Malasia Berhad ได้ดําเนินกิจการบนฐานของโมเดลมุฎอรอบะห์ เท่านั้น แต่ต่อมาทางมาเลเซียได้คิดค้น รูปแบบบริหาร จัดการแบบใหม่ขึ้นมา คือโมเดลวากาละห์ และแบบผสม ขึ้น นี้เป็นพัฒนาการที่ดีเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่ หยุดหยั่งของตะกาฟุลในมาเลเซีย ซึ่งรูปแบบการบริการ จัดการของตะกาฟุลผู้วิจัยได้นําเสนอมาแล้วในบทที่ผ่าน มา

28

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากการศึ ก ษาวิ จั ย ในครั้ ง นี้ คณะผู้ วิ จั ย ได้ มี ข้อสังเกตในการดําเนินการของตะกาฟุลในมาเลเซียที่มี นัยสําคัญต่อประเทศไทยในการจัดการต่อสถาบันการเงิน อิ ส ลามในประเทศ ซึ่ ง คณะผู้ วิ จั ย เห็ น ว่ า ควรมี ก าร ดําเนินการดังต่อไปนี้ ประการที่ ห นึ่ ง การดํ า เนิ น การของสถาบั น การเงิ น อิ ส ลามต้ องได้ รั บ การควบคุ ม ดู แ ล และมี ก าร วางแผนอย่ า งชั ด เจน อาจจะมี ก ารวางระยะการ ดําเนินงานเป็นช่วงๆ เช่น ช่วงริเริ่มของการก่อตั้งต้องมี การวางเป้ า หมายอย่ า งชั ดเจนเป็ นระบบ รูป แบบการ ดําเนินงานของสถาบันการเงินต้องนิ่งในระดับหนึ่งเพื่อที่ ก้ า วไปสู่ ร ะดั บ สอง ทางรั ฐ บาลอาจจะต้ อ งกํ า หนด ระยะเวลาที่ ชั ด เจนในระดั บ นี้ ต่ อ ไปอาจจะพิ จ ารณา เพื่อให้เข้าสู่ตลาดเสรีของสถาบันการเงินอิสลาม เพื่อการ แข่งขันที่จะลูกค้าได้รับการบริการที่ดีขึ้น จากข้อค้นพบในการวิจัยเกี่ยวกับตะกาฟุล จะ เห็นได้ว่ามาเลเซียได้ให้การควบคุมและปล่อยให้มีการ ดําเนิน การเพียงบริษัทเดียวในช่วงของการดําเนินการ ของตะกาฟุลในช่วงแรก แต่ต่อมาได้เปิดให้มีการแข่งขัน ในตลาดเสรีขึ้ น โดยอนุญาตให้บริษัทอื่น ดําเนินการได้ เพิ่มขึ้น ประการที่ สอง ทางรัฐบาลควรให้มี การจัดตั้ ง สภาชารี อะห์ หรื อเดวั น ชะรี อะห์ แ ห่ ง ชาติ ขึ้ น เพื่ อเป็ น เอกภาพในการตัดสิ นใจเกี่ ยวกับประเด็ นทางศาสนาที่ เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์และการดําเนินการที่สอดคล้อง ตามหลักอิสลาม นอกจากนี้แล้วจะทําให้สถาบันการเงิน อิ ส ลามจะได้ รั บ การไว้ ว างใจจากประชาชนมากขึ้ น เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักการอิสลาม หน่วยงาน ดังกล่าวอาจจะอยู่ใต้กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานที่ เห็ น ว่ า มี ค วามเหมาะสม การดู แ ลทางด้ า นชะรี อ ะห์ อาจจะมีอยู่ทั้งระดับการดําเนินงานในบริษัทต่างๆ ก็ได้ แต่จําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการดูแลและควบคุมโดย สภาชะรีอะห์ระดับชาติด้วย ดังข้ อค้ นพบในการวิจั ยในครั้ง นี้ จะเห็ นได้ว่ า ทางมาเลเซียได้มีก ารจั ดตั้งสภาชะรีอะห์ระดับชาติขึ้ น เพื่ อ การพิ จ ารณาประเด็ น ทางศาสนาและการคิ ด ค้ น


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

29

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ๆ ที่ ส อดคล้ อ งตามหลั ก การศาสนา สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2542. อัลกุรอ่านพร้อม นอกจากนี้เช่นกัน ในระดับบริษัทก็ได้หน่อยงานชะรีอะห์ ความหมายภาษาไทย. กรุ ง เทพมหานคร: อยู่ เพื่อทําการควบคุมการดําเนินการตามหลักศาสนา สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ และหากมีการค้นพบใหม่ๆ ขึ้น ทางหน่วยงานชะรีอะห์นี้ สามารถนําเสนอเพื่อการพิจารณาในการดําเนินการได้อีก หนังสือต่างประเทศ ด้วย I.Mehr Robert. 1979. Life Insurance. Illinois USA: Learning System Company. เอกสารอ้างอิง Mohd. Ma’sum Billah. 2003. Islamic Insurance (Takaful). Selangor: Ilmiah Publishers คณะกรรมการชุดผลิตชุดวิชาหลักการประกันภัย. 2533. Sdn. Bhd. หลักการประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: Wahbah Al-Zuhayli. 2007. Financial สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช Transactions in Islamic Jurisprudence. ชั ย โชค จุ ล ศิ ริ ว งศ์ . 2542. การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และ Volume 1 & 2. Second edition. การเมืองมาเลเซีย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: Damascus Syria: Dar al Fikr in Damascus. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ ซิดดีกี, ม.น. 2548. ประกันภัยในเศรษฐกิจอิสลาม. Asmak Abd Rahman et al. 2008. Sistem Takaful di Malaysia: Isu Kontemporari. Kuala กรุงเทพฯ: อิสลามิคอะเคเดมี. Lumpur: Penerbit University Malaya บาร์บารา วัตสัน อันดายา และ ลีโอนาร์ วาย. อันดายา. 2549. ประวัติศาสตร์มาเลเซีย.พิมพ์ครั้งที่1. Azman Bin Ismail dan Kamaruzaman Bin Abdullah. 2000. Takaful: Teory & กรุงเทพ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และ Praktis. Kuala Lumpur: The Malaysia มนุษยศาสตร์ Insurance Institute dan Takaful Nasional ประภาศรี อมรสิน วัลลภ นิมมานนท์ และ พัชรินทร์ กิจ Sendiran Berhad ศิ ริ พ รชั ย . 2524. การขายประกั น ชี วิ ต . BNM. 2550. Overview of Takaful in Malaysia. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์พิทักษ์อักษร E.Rejda, G. 1982. Principles of insurance. ผศ. ศิริวรรณ วัลลิโภคม. 2544. การประกันภัยและการ Glenview, Lllinois: Scott, Foresmen and จั ด การธรุ กิ จ ประกั น ภั ย . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 1. Company. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สมาคมส่งเสริม Fikti, A., Saefuddin, A. M., Batubara, A. R., Matta, เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) M. A., Tadjuddin, M. K., Antonio, M. S. i., สถาบั น เอเซี ย ศึ ก ษา. 2542. วิ ก ฤตการณ์ ม าเลเซี ย et al. 1997. Wawasan Islam dan เศรษฐกิ จ การเมื อ ง-วั ฒ นธรรม. กรุ ง เทพ: ekonomi. Jakarta: Fakultas ekonomi สถาบันเอเซียศึกษา Universitas Indonesia. สมาคมประกันภัย. อนุกรรมการส่งเสริมกรประกันภัย ประจําปี 2548-50 คู่มือการประกันภัย. พิมพ์ Islamic Banking And Finance Institute Malaysia. 2007. Buku Panduan Asas Takaful. ครั้ ง ที่ 1 .กรุ ง เทพมหานคร: โรงพิ ม พ์ แ ห่ ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Cetakan Peratama. Kuala Lumpur: Islamic Banking and Finance Institute Malaysia (IBFIM)


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ณรงค์ หัสนี

Mohd Fadli Yusof. 2002. Takaful: Sistem Insurans Islam. Terbitan Pertama. Kuala Lumpur: Utusan Publication & Distribution Sdn Bhd Mohd Fadli Yusof. 2006. Mengenal Takaful. Cetakan Pertama. Selangor: IBS Buku Sdn Bhd Muhamad. 2000. Lembaga-lembaga keuangan umat kontemporer. Yogyakarta: UII Press. Muhammad Muslehuddin. 1999. Menggugat Asuransi Modern. Jakarta: PT. Lentera Basritama Muhammad Rawwas Qal’ahji. 2005. Urusan Kewangan Semasa: Menurut Perspektif Syariah Islam. Cetakan Pertama. Kuala Lumpur: Al-Hidayah Publishers Muhamad Syakir Sula. 2004. Asuransi Syariah (Life and General). Jakarta: Gema Insani Mustafa Dakian. 2005. Sistem Kewangan Islam: Instrumen Mekanisme dan Pelaksanaannya di Malaysia. Terbitan Pertama. Kuala Lupur: Utusan Publication & Distributors Sdn Bhd. Ulumul Qur’an No.2 VII/1996. Asuransi Perpektif Islam Warkum Sumitro (2002). Asas-asas perbankan Islam dan Lembaga-lembaga terkait. Cetakan 3. Jakarta: PT.Raja Grafindo Persada

30

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 เส้นทางสู่ความสําเร็จของตะกาฟุล...


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

31

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

Article Rise and Development of Language Methodology: a Historical Perspective Mohamed Ibrahim Dahab Ph.D. (Ed.) Curriculum & Instruction, Lecturer Department of Arabic , Faculty of Liberal Arts and Sciences Yala Islamic University. Abstract All teaching methods are similar. Each method focused on reaching certain level of language proficiency. Failure to do so, another method will take over, and so on. Shift in theories of nature of language and language teaching and learning took place continuously, to date. Most of the recent issues of foreign language teaching, are in-fact rooted in the contemporary methods. In order to understand the present better, we should understand the past too. By having a glance through the past centuries, we can see how the foreign language teaching (FLT) methods were. Since the decline of the Latin in the 16th century, innovations in the methods of FL teaching had started. This will further promote teachers’ professional knowledge (TPK) in foreign language education (FLE). This paper, will review the history of FL methodology. Its main aims are: to uncover the reality of FL methodology in the past, and to provide a better professional knowledge and teaching ability at classroom level, to all FL teachers. Key Words: Latin language, Intellectual ability, Traditional method TM, Reform movement, Applied Linguists, Gouin’s theory.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

32

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

บทความวิชาการ การพัฒนาการและวิวัฒนาการทางด้านภาษาวิธีการสอน : แนวคิดประวัติศาสตร์ Ph.D. ( ก ) ,

! , "#$ %& '%$ (" ! ) % % $%

บทคัดย่อ ทุกวิธีการสอนเหมือนกันหมด แต่ละวิธีมุ่งเน้นเพื่อจะให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่ล้ําเลิศในด้านภาษา ถ้าไม่สําเร็จวิธี หนึ่งวิธีใด จะใช้วิธีอื่นต่อไป เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทฤษฏีธรรมชาติของภาษา การเรียนการสอนจะคงอยู่ต่อไปจน ทุกวันนี้ ศตวรรษที่แล้วมา เราสามารถมองเห็น วิธีการสอนภาษาต่างประเทศ (FLT) โดยผ่านๆ ตั้งแต่การเคลื่อนไหว ของภาษาลาติ น (Latin)ในศตวรรษที่ 16 นวั ต กรรมวิ ธี ก ารสอน (FL) ได้ ริ เ ริ่ ม ทุ ก ประเด็ น ปั ญ หาการสอน ภาษาต่างประเทศ ปัจจุบันนี้ สาเหตุที่แท้จริงมาจากวิธีการปฏิบัติแบบอย่างอดีต เพื่อทําความเข้าใจในปัจจุบันที่ดีกว่า เราควรเข้าใจ อดีตกาลด้วย ทั้งนี้เพื่อผลิตครู อาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้านการศึกษาภาษาต่างประเทศ การวิจัยนี้ จะเขียนถึงประวัติศาสตร์วิธีการสอน (FL) จุดประสงค์ หลักคือ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง วิธีการสอน ภาษาต่างประเทศ ในอดีต เพื่อผลิตครู อาจารย์ ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และ ศักยภาพในการสอน ในแต่ละชั้น เรียน แก่อาจารย์ภาษาต่างประเทศ FL ทุกๆ ท่าน คําศัพท์หลัก: ภาษาลาติน,ศักยภาพในความคิด, วิธีการสอนแบบอดีต, การปฏิรูปแนวคิดใหม่, วิชาการสอนภาษาเชิง ปฏิบัติ, ทฏษฎีของคอยส์ (Gouin’s theory).


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

1. INTRODCUTION Since the Lain1 was the dominant language in Europe and the Western world, there was no a specific foreign language (FL) teaching method that had survived without being challenged by another. However, it is said “no method is perfect”, all methods are same and all emphasis on linguistic ability or proficiency. The so-called “modern methods” were products of traditional methods (TM). Kelly and Howatt, argued that many current issues in FL are not particularly new, they reflect contemporary responses to questions that have been posed later (Kelly, L., 1969: 20; Howatt, A., 1984:16). All foreign languages approaches focus on certain level of language proficiency to be achieved. Richard and Rodgers said: “Changes in language methods throughout the history have reflected changes in kind of proficiency that learners need. Such moves toward Oral proficiency rather than Reading comprehension as a goal, also included in the theories of nature of language and language learning”(Richard, J., and T. Rodgers,1986: 1) One of the language teaching requirements is the teachers’ professional knowledge (TPK). Our present FL education systems, do pay very little attention to the history of FL methodology, and that teachers know very little about it!! Teachers should know both (theory) and (practice) in order to have a better teaching skills and abilities. As such, many questions were raised nowadays, such as: What is the teachers’ professional knowledge? How far useful it is?, Why many FL teachers 1

Latin: language of ancient Rome, spoken by Latin people, Little Oxford Dictionary, Oxford:

33

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

nowadays do not know the history of FL methodology? Etc. This paper, addresses the above problems, and will trace the “trends” of the L2\FL methodology. The paper’s aims are: (a) to raise teachers’ awareness in their profession, (b) to relate the profession knowledge of language teachers with the process of teaching at classroom level, or to upgrade teachers ability at classroom level, and (c) to improve students ability in all language skills at “achievement” and “proficiency” levels. The paper will present the results in relation to the following topics: (a) Background of Latin language (Its rise and decline, and its new role), and (b) Background of contemporary teaching methods (Origin and nature of grammar translation method ‘GTM’, direct method ‘DM’, oral approach ‘OA’, and audiolingual method ‘ALM’). 2. METHODOLOGY 2.1 Research Problem Language education will be better planed for future only by tracing the educational condition and reality in the past. Our present foreign language education systems nowadays, do not include the background or history of L2\FL methodology as main part of any text, and the teachers pay very little attention about it!! The consequence of this is reflected on the weakness of teachers in their quality of teaching. Teachers aught to know both (theory) and (practice) and relate them, in order to have a better teaching skills or application. All these processes bring about ‘‘teacher-awareness’’.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

2.1 Research Approach The paper adopts a “historical research approach” of FL education in line with its nature. Its also adopts “descriptive research approach” in which characteristics of FL education are described as they were taking place in the past. In addition, the paper describes the L2\FL methodology historically, in order to upgrade language education system quantitatively and quantitatively. It further, adopts “comparative approach” to language education as it compares and contrasts FL teaching events in the past with the one at present.

34

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

than seventy percent (70%) of the Western population was heading towards bilingualism and multilingualism. The phenomenon of bilingualism and multilingualism, had been significant and a heated issue in the West throughout the history of foreign language (FL) education. This brought about the need for the study of FL in the West. As the result, languages other than Latin, such as: French, Italian, and English emerged in Europe due to changes in political situation there. These languages challenged the Latin which dominated the Western world during the 15th century. As a result, the importance of Latin had been declined. Richards and Rodgers described the status of Latin after other European languages had appeared, they said: “As the status of Latin diminished from being a living language to an occasional subject only in school curriculum, its study took new functions.

2.3 Data Collection and Analysis Procedures Data were gathered by surveying related references in FL education in the past and present. After the (historical) and (pedagogical) information are gathered, facts are analyzed and discussed. The analysis included main factors: Background of Latin, The New Role of Latin Language Latin, said to be declined during the background of cotemporary teaching methods th 16 century as a dominant language in the (CTM), and later methods. West But it remained strong and powerful for the following Methodological justifications: 3. PRESENTATION OF RESULTS First: It was wildly believed that Latin 3.1 Background of Latin Language develops learners’ “intellectual abilities” and Rise and Decline of Latin Language Some languages in the West were more its study is an “educational end” itself. Mallison powerful than the others, as in the case of cited in Titone saying: “When once Latin English today. Latin emerged during the 15th tongue failed to be normal vehicle for century as the most powerful and dominant communication, and was replaced by the language in the Western world2. Latin was the vernacular languages, it became a mental language of education, commerce, religion, gymnastic only” (Titone, 1968: 26). Brown communication, government, etc. Later, more added that foreign language education in schools in the Western world was synonymous with the learning of Lain or Greeks. It was 2 Includes: Europe, U.S., France, Germany, Italy, etc. strongly believed that Latin promotes


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

intellectuality through mental gymnastics. Latin was taught by means of what had been later called classical method which focused on: grammatical rules, memorization of vocabulary, conjunctions, translation of texts, and written exercises (Brown, H. D., 2001: 18).

35

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

languages (MEUL) in the 18th century, began to enter into common school curriculum (CSC). However, no any commonality in education had been achieved!! Instead, they again, implemented same methods of teaching traditional Latin! Textbooks contained grammatical rules, lists of vocabulary, sentences for translation, etc. Speaking skill was not the goal, and Oral practice was done in form of Reading aloud sentences which they already translated. The sentences were grammatically constructed without any link to real-communication, what so ever. Titone, cited the following samples of these sentences which to be translated:

Second: Another new function for Latin was that, it became the basis for FL school curriculum in Europe. Pioneer studies on classical Latin writings and analysis of its grammar and rhetoric, later became a model for FL education as from 16th to 19th centuries. Children attending the so-called “grammar schools” from 16th- 18th centuries in England, were: first, given a tough introduction to Latin 1.The philosopher pulled the lower jaw grammar. The introduction was taught through rote methods. Latin school syllabus included of the hen. 2.My sons have brought the mirrors of grammatical rules, conjugations, translation, practical drills with sample sentences, and use the duke. 3.The cat of my aunt is more of parallel bilingual texts and dialogues. treacherous than the dog of your uncle. When children reached the basic The above sentences show that, they proficiency level, they were then introduced to were only grammatically constructed. The advanced grammar and rhetoric. Schooling was sentences have no any sense of real harsh and deadly experience to the children. communication or internal relationship. This is Teaching methods were tough and hard, as simply because the theory of language was children were punished for any misconduct. As mainly “grammatical”. foreign language education approaches as such, Fourth: By the 19th century, these many attempts have been made for reform. Kelly and Howatt put: “There were occasional approaches of teaching Latin became the attempts to promote alternative approaches to standard forth the study of foreign languages. In language teaching”. Some methodologist in the mid-19 century, typical school textbooks 16th and 17th centuries had submitted their had consisted of chapters of grammar. The proposals for curriculum reform, including the grammar units contained explanations on how to use them, with sample sentences. Textbooks way Latin should be taught. writers during this period such as Seidenstucker Third: As a result of the reform and Plotz, coded their contents into movement attempts, modern European (morphology) and (syntax), explained them, and


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

then let them be memorized. There were no any Oral drills, instead, there were few Writing and Reading drills as well. Seidenstucker and Plotz, also divided their texts into two parts: Part one: which contains grammatical rules. Part two: which contains French sentences for their translation into German, and German into French. Titone cited the following examples of typical “Sentences ready for translation”: 1. Thou hast a book, 2. The house is beautiful, 3. He has a book and a dog. 4. We have a brad, 5. He has a kind dog, 6. The door is black. The above sentences are not communicative-based, because the approach of language was “to understand grammar” and “to translate” only. All these approaches of teaching, later known as “grammar translation method GTM”. 3.2 Background of Contemporary Teaching Methods (CTM) Origin and Nature of Grammar Translation Method (GTM) In its definition, Rouse had quoted in Kelly saying: “grammar translation method: is to know everything about something rather than the thing itself” (Kelly,1969: 53). It was earlier established that Latin traditional methods (LTM) were the origin of the grammar translation method (GTM). Rather, according to Richard and Rodgers, grammar translation method was originated in Germany by German scholars. Another argument put by Stern which says: “The grammar translation method was in fact first known in the US as Prussian-method,

36

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

this claim is supported by a book written by B. Sears (an American classic teacher) published in 1845”(Stern,1983:455). Whether these claims were right or wrong, the GTM remained a powerful one during its time. Howatt stated “7 major characteristics” for GTM, they are: 1. Its prime goal is to learn the language for intellectual reading, and analyze grammar. 2. Reading and writing skills are the major focus, and speaking skill is ignored. 3. Vocabularies are selected from texts that have been read, and words are taught through bilingual word-lists, and memorization. 4. Sentences are the major ‘units’ and bases for teaching\learning practices. 5. Accuracy is emphasized. Students are expected to attain high standards in translation, etc. 6. Grammar is taught deductively (by presentation, then study of the grammar rules. 7. Students’ native language is the medium of instruction. GTM had dominated Europe as from 1840s to 1940s, and still remains to be used in many parts of the world today. However, in the mid-19th century, some factors contributed to the decline of GTM, they are: 1. The increasing linguistics demands not only among Europeans but countries allover the world. 2. The demands focused on Oral interaction and communication for more and better understanding. 3. This brought about the reform movement among both “linguists” and


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

37

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

“applied linguists” which led by F. Gouin and 8. Correct pronunciation and grammar others (Gouin, F.1892:66). were taught. The reform movement that followed Belitz cited in Titone the following “11 the GTM, suggested that language is better guidelines and steps” for teaching Oral skill leant “naturally” and “directly” and without under direct method DM: any translation, like a child does. The reform 1.Never translate but dominate. also suggested Oral approach, and Audio2.Never explain but act. lingual method. 3.Never make a speech but ask questions. Origin and Nature of Direct Method (DM) 4.Never imitate the mistakes but Direct method: means to teach the correct. L2\FL directly without the use of translation to 5.Never speak with single words but native or any other language, and same as child use sentences. does. DM was first known as ‘Natural method’ 6.Never speak too quickly but speak as it was named by Gouin. Frenchman F. Gouin naturally. (1831-1896) was father of the traditional 7.Never speak too loudly but speak theories, Frenchman and an Englishman naturally. Prendergast, had their justifications in taking the 8.Never speak too much but make the Child as a model for teaching any L2\FL students speak much. language program to adult learners. Gouin 9.Never go too fast but keep pace with made observation on child linguistic behavior the students. and concluded that L2\FL could be taught or 10.Never use the book but use your learnt like the first language (L1). Gouin later lesson plan. established his theories and principles based on 11.Never be impatient but take it easy. child’s linguistic experiences. Brown on the other hand, stated “8 Major principles” for Origin and Nature of Oral Approach (OA)& direct method, they are: Audio-Lingual Method (OLM) 1.Classroom is conducted in the target The use of DM had weakened then language. declined in Europe by early 20th century. 2.Only daily vocabulary was taught. Consequently, the so called Oral approach and Audio-lingual method emerged. The origin of 3.Oral communication was graded. 4.Grammar was taught inductively. Oral approach was originated from the works of 5.New teaching points were taught by British “applied linguists” in the 1920s and modeling and practicing. 1930s. During this period, number of applied 6.Vocabulary was taught through linguists developed their methodological principles in language teaching, the two most demonstration and showing of objects. 7.Both speaking and listening famous were (Chanstain, K.,1969), and (Palmer,H.,1923). The origin of Audio-lingual comprehension were taught.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

38

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

method goes back to 1929 when ‘‘Coleman Report’’ recommended the “Reading-based Approach”, to be used in the American schools and collages. It also emphasized teaching “comprehension” of text besides the reading.

approach, Direct method, Oral approach, Audiolingual method, Communicative approach etc. These facts on FL pedagogy are important for all L2\FL teachers, for better professional knowledge and teaching skills.

4. DISCUSSION In general, each area or aspect of knowledge has its own background. Foreign language education (FLE) always refers to its historical background in order to have a better picture for both past and present, for upgrading purpose. Through the past we can know the present better, using the method of “tracing the history” which is a “scientific method”. In-fact, all present issues of L2\FL education, are reflection of the past. The background of FL pedagogy goes to Latin language which dominated the Western world during the 15th century. Despite the fact that “no teaching method is perfect”, Latin was the most powerful language at a time. It was the only official language for the Western world, however, it had declined!! But why Latin declined? This happened simply because of the changes in the political structure that took place in the European countries. Consequently, the European languages emerged, and that importance of Latin had steadily weakened, decreased, then finally diminished, but was stile powerful! Latin viewed nature of language as “language is a mental activity”. Its curriculum included: mental gymnastic, translation, and memorization. This method led to the emergence of GTM. Efforts of the reform movements by applied linguists brought about new approaches and methods. Innovation in FL pedagogy went on to include: Natural

5. CONCLUSION This research paper, had briefly traced the historical contemporary trends of foreign language FL pedagogy. It was established that, Latin was the only language which dominated the West during the early 15th century. However, the main reason for its decline was ‘‘the emergence of the European languages’’ that challenged the Latin later. Despite this, Latin remained unchallenged for it was the father of all subsequent FL methods that emerged later, to date. The major roles which played by the Latin language were: (a) It developed learners’ “intellectual abilities, (b) It later became a model for FL education in the West as from 16th to 19th centuries, (c) Modern European languages (MEUL) in the 18th century implemented same traditional methods of Latin which based on Translation, (d) approaches of teaching Latin later became the Standard for the study of foreign languages, beginning from the mid19th century. The translation method of Latin led to the emergence of GTM. The paper also stated that the Reform Movement that followed the GTM, suggested that language is better leant “Naturally” and “Directly” without any translation, like a child does. Methods that succeeded GTM and the reforms were: Direct method, Oral approach, Audio-lingual method, Communicative approach etc. Hence, we can conclude that the historical-journey of FL methodology Originated from Latin.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา มุฮัมมัด อิบรอฮีม ดาฮับ

References language of ancient Rome, spoken by Latin people. 1998. Little Oxford Dictionary, Oxford: Oxford University Press. Kelly, L. G. 1969. 25 Centuries of language teaching, Mass: Newbury House. See also Howatt, A. P.1984. A history of English language teaching. Oxford: Oxford University Press. Richard, J. C., and T. S. Rodgers. 1986. proaches and methods in language teaching. Cambridge: Cambridge, University Press. Titone, R.1968. Teaching foreign languages: An historical sketch. Washington, D. C.: Georgetown University Press. Brown, H. D. 2001. Teaching by principles: An integrative approach to language pedagogy. 2nd ed., San Francisco: San Francisco University, Longman: The title of book was, Ciceronian or the Prussian Method of teaching the elements of the Lain language. See also, Richard and Rodgers, n.9. Stern, H. H.1983. Fundamental concepts of language teaching Oxford: Oxford Gouin, F.1892. The art of teaching and studying languages. London: George Philip& Sons. Chanstain, K.1969. The audio-lingual habit theory versus the cognitive codetheory: some theoretical consideration. International Review of Applied Linguistics. 7: 79-106. Palmer, H.1923. The oral method of teaching languages, Cambridge: Hefer.

39

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

41

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

Article Kitab Jawi : Verifying Philosophical Method in Islamic Theology Faisol Haji Awang Ph.D.[Candidate] (Islam Civilization), Lecturer in Philosophy and Islamic Studies Department of Usulluddin (Islamic Creed) Department of Usulluddin ,Faculty of Islamic Studies Yala Islamic University Abstract The main propose of this study is to identify the methodology employed by the Malay Muslim Scholars especially Shaikh Da’ud al-Fatani in his major work “al-Durr al-Thamin” in discussing and presenting the problem of faith and creed in Islam. The result of the study obviously showed that: in discussing and presenting the problem of faith and creed in Islam, the original methodology prescribed in al-Qur’an and al-Sunnah must be strictly followed. However, according to Shaikh Da’ud al-Fatani’s, he conceived that beside what had been prescribed in the vital Islamic primary sources, the logical and dialectical method could be also used for discussing the principle of Islamic faith i.e., to proof the Existence of Allah, the concept of Tahhid, the Essence of Allah, the Names and the Attributes of Allah as well. Keywords: Philosophy of Religion, Ultimate Reality, Islamic Theology (‘Ilm al-Kalam), The Attribute of God, Ontological Proof,


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

42

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

บทความวิชาการ กีตาบญาวี : การนําเสนอทัศนะเรื่องความศรัทธาในเชิงปรัชญา ไฟซ็อล หะยีอาวัง Ph.D. [Candidate] (อารยธรรมอิสลาม), อาจารย์ สาขาวิชาอุศูลุดดีน (หลักการศรัทธาในอิสลาม),คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ ประเด็นปัญหาหลักของการศึกษาครั้งนี้มุ่งอยู่ที่ปัญหาปรัชญาศาสนา เรื่องวิธีการนําเสนอหลักการศรัทธาใน อิสลามตามทัศนะของปวงปราชญ์มลายู ซึ่งเน้นศึกษาทัศนะของท่านเช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิง เอกสาร (Documentary research) ในการรวบรวมข้อมูลจาก กีตาบญาวี “al-Durr al-Thamin” และจากหลักคํา สอนปฐมภูมิอิสลามที่ถกปัญหาเรื่องความศรัทธาเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อนํามาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เห็นถึงความเหมือน และความแตกต่างในเรื่องวิธีการนําเสนอหลักการศรัทธาในอิสลาม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า วิธีการและเครื่องมือการนําเสนอหลักการศรัทธาตามแนวของหลักคําสอนปฐมภูมิอิสลามนั้นจะยึดหลักการที่ ปรากฏในอัล-กัรอ่าน และอัล-ฮาดีษ เท่านั้น สําหรับเช็คดาวูดนั้นท่านมีทัศนะว่านอกจากหลักการที่ปรากฏในทั้งสองแหล่งคําสอนของอิสลามที่สําคัญ (อัล-กุรอ่านและอัล-หะดีษ) แล้ว กฎเกณฑ์ทางปัญญาและการถกปัญหาเชิงวิภาษวิธี (Dialectical Method) ก็ สามารถนํามาใช้ในการนําเสนอและถกปัญหาเรื่องความศรัทธา โดยเฉพาะการยืนยันเพื่อพิสูจน์สถานภาพการมีอยู่ ของอัลลอฮฺ และการถกปัญหาเกี่ยวกับความเป็นเอกะ ซาต (Zat) คุณลักษณะ และพระนามแห่งพระองค์อัลลอฮฺ เช่นกัน คําสําคัญ: ปรัชญาศาสนา, ความจริงสัมบูรณ์, อิลมฺ อัล-กาลาม (cIlm al-Kalam), คุณลักษณะแห่งพระองค์อัลลอฮฺ, การพิสูจน์ในเชิงภาวะวิทยา,


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

บทนํา แต่ ล ะศาสนาในโลกนี้ มี วิ ธี ก ารนํ า เสนอหรื อ อธิบายแนวความคิดและหลักคําสอนด้วยวิธีที่แตกต่าง กัน บางศาสนาอาจใช้ หลั กการและเหตุผลทางปั ญญา หรือข้อโต้แย้งทางตรรกวิทยา หรือแม้แต่ข้อพิสูจน์ทาง วิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันความจริง ความเป็นไปได้ของ หลักคําสอน และแนว ความคิดของศาสนานั้นๆ ดังกรณี ของพุทธศาสนาที่สอนให้ศาสนิกเชื่อในเรื่องผลแห่งการ กระทําของมนุษย์ โดยการนําทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับเรื่อง กรรมมาอธิบายให้เห็นภาพว่า กรรมนั้นมีจริงและจะมีผล ติดตามตัวผู้ กระทํ าตลอดไปทั้ งในทางความรู้สึ กนึกคิ ด และในทางปฏิบัติ ซึ่งผลในทางจิตใจนั้น คือหากใคร ประพฤติไม่ดี หรือผิดหลักคําสอนของศาสนาแล้ว เขาจะ มีความรู้สึกติดตรึงตราอยู่ในใจตลอดเวลา ส่วนในทาง ปฏิบัตินั้น คือผลแห่งความชั่วที่ผู้กระทําต้องรับผิดชอบ ในรูปของบทลงโทษทั้งทางตรงและทางอ้อม (อุทัย จิรธมฺโมม, 2534 : 17) ในขณะเดียวกันนั้น ยังมีอีกหลายศาสนาที่ไม่ได้ อธิบายหลักคําสอน หรือความเชื่อของศาสนาด้วยเหตุผล ทางปัญญา และข้อโต้แย้งเชิงตรรกวิทยาเพื่อโน้มน้าวให้ ผู้คนศรัทธาในหลักคําสอน เพียงแต่บอกให้ทราบว่าสิ่งใด ควรยึ ด มั่ น และปฏิ บั ติ เ ท่ า นั้ น เช่ น คํ า สอนของศาสนา คริสต์นิกายคาธอลิค ที่สอนให้ชาวคาธอลิคร่วมกันไปทํา พิ ธี ส วดมนต์ อ้ อ นวอนพระเจ้ า ที่ โ บสถ์ เพราะเชื่ อ ว่ า พระองค์จะทรงล้างบาปที่ติดมากับตัวมนุษย์ตั้งแต่กําเนิด อันเนื่องมาจากมนุษย์คนแรก (อาดัม) ได้กระทําไว้ ซึ่ง ความศรั ท ธาของชาวคาธอลิ ค ในหลั ก คํ า สอนดั ง กล่ า ว เป็น การสมควรแล้ วด้ วยเหตุผ ลสํ าหรับ พวกเขาในการ ปฏิบัติต ามหลั กคําสอนของศาสนาที่พวกเขานั บถืออยู่ (Alston, 1967: 286) อิ ส ลามในฐานะศาสนาแห่ ง พระองค์ อั ล ลอฮฺ (ซุบฮานาฮู วาตาอาลา)1 (อัล-กุรอาน, อาลิอิมรอน: 19) ก็เช่นกัน เป็นศาสนาที่ถือกําเนิดขึ้นมาเพื่อประกาศแนว คํ า สอนที่ สํ า คั ญ บนพื้ น ฐานของหลั ก ความศรั ท ธา 6 ประการคือ ศรัทธาในเอกองค์อัลลอฮฺ ศรัทธาในบรรดา 1

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

43

เป็นคําสรรเสริญอัลลอฮฺ ในภาษาอาหรับ ซึ่งมีความหมายว่า “มหาบริสุทธิ์และสูงส่ง ยิ่งจงมีแด่พระองค์”

เทวทูต (มาลาอิกะฮฺ)แห่งพระองค์ ศรัทธาในคัมภีร์แห่ง พระองค์ ศรั ท ธาในศาสนทูต หรื อศาสดาแห่ งพระองค์ ศรัทธาในวันปรโลกหรือวันแห่งการตัดสิน และศรัทธาใน กฎสภาวะที่พระองค์ทรงกําหนด2 ซึ่งในบรรดาหลักการ ศรัทธาทั้งมวลนั้น ความศรัทธาในพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรง เอกะ คือหลักการศรัทธาที่สําคัญที่สุด เสมือนยอดสูงสุด ของปิรามิดแห่งความศรัทธาในอิสลาม หลักการศรัทธา อีก 5 ประการในลําดับที่ตามมานั้น ล้วนแล้วแต่มีความ ผูกพันและเกี่ยวเนื่องกับพระองค์อัลลอฮฺ ในฐานะพระผู้ เป็นเจ้า ผู้อภิบาลแห่งสากลโลก วิวัฒนาการทัศนะเรื่องความศรัทธาในอิสลาม อายะหฺ หรือโองการอัล-กุรอานที่พระองค์อัลลอ ฮฺ (ซุบฮานาฮู วาตาอาลา) ได้ประทานลงมาให้กับท่าน ศาสดามู ฮั ม มัด (ขอความสั น ติสุ ข จงมี แ ด่ ท่า น) ในช่ ว ง แรกๆ ของการเผยแผ่ อิ ส ลามนั้ น จะเน้ น ประเด็ น ที่ เกี่ยวกับหลักการศรัทธาเกือบทั้งสิ้น จุดประสงค์คือการ ตอกย้ําให้มนุษย์เชื่อ และศรัทธาในความเป็นเอกะของ พระองค์อัลลอฮฺ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์จากการตั้งภาคี ใดๆ) โดยที่ อิสลามมิไ ด้ใ ห้เหตุผ ล หรื อข้อพิสู จน์ ในเชิ ง ภาวะวิทยาและข้อโต้แย้งทางตรรกวิทยา (Ontological and Logical Proof) เพื่อพิสูจน์สถานภาพการมีอยู่ของ พระองค์ อั ล ลอฮฺ ใ นฐานะความจริ ง สู ง สุ ด (Ultimate Reality) นอกจากจะเชิญชวนให้มวลมนุษยชาติเชื่อ และ ศรัทธามั่นในพระองค์ในฐานะพระเจ้าผู้ทรงเอกะ ผู้ทรง สร้ า งสรรพสิ่ ง ผู้ ท รงรอบรู้ แ ละปรี ช าญาณยิ่ ง ผู้ ท รง อภิ บ าลแห่ ง สากลโลก ฯลฯ การเชิ ญ ชวนของท่ า น ศาสดามูฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ในขณะนั้น มีทั้ ง ผู้ย อมรั บ ศรั ท ธาในพระองค์ อัล ลอฮฺ และผู้ ปฏิ เสธ โดยที่ท่านศาสดามูฮัมมัดไม่ได้ให้คําอธิบายที่สลับซับซ้อน ด้วยเหตุผลทางปัญญาหรือข้อโต้แย้งเชิงตรรกวิทยา เพื่อ พิ สู จ น์ ส ถานภาพการมี อ ยู่ แ ห่ ง พระองค์ อั ล ลอฮฺ หรื อ อธิบายคุณลักษณะแห่งความยิ่งใหญ่และเกรียงไกรของ พระองค์ให้ชาวอาหรับในสมัยนั้นเชื่อและศรัทธา ท่าน เพี ย งเชิ ญ ชวนด้ ว ยคํ า กล่ า วว่ า “โอ้ ม วลมนุ ษ ย์ เจ้ า จง กล่าวเถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ และมูฮัม 2

ใจความอัล-ฮาดีษ,รายงานโดยมุสลิม


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

มั ด คื อ ศาสนทู ต แห่ ง พระองค์ แล้ ว พวกเจ้ า จะได้ รั บ ความสําเร็จ” (al-Buti, 1991: 62) ท่านศาสดามูฮัมมัด ได้ใ ช้เวลาประมาณ 23 ปี ในการเชิญ ชวนชาวอาหรั บ ทั่วดินแดนอาราเบียให้ศรัทธาในพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงเอ กะ (มหาบริสุทธิ์ยิ่งพระองค์จากการตั้งภาคีใดๆ) ต่ อ มา อา ณ า จั ก รอิ ส ลา มไ ด้ ข ยา ยอา ณ า เขตกว้ า งออกไปยั ง ดิ น แดนอื่ น ๆ ซึ่งเคยได้ รับอารย ธรรมกรีกและโรมัน(ตะวันออก) หรือไบเซ็นไทน์มาก่อน การขยายดิ น แดนดั ง กล่ า วนั้ น ได้ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด การ ประสานกลมกลืน (Assimilation) ทางด้านศิลปวิทยา การอิ ส ลามและวั ฒ นธรรมอาหรั บ กั บ ต่ า งชาติ ใน ขณะเดียวกันนั้นกิจกรรมการแปลตําราสาขาวิชาต่างๆ ก็ ได้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสาขาวิชาปรัชญาซึ่ง เคยได้รับ การส่งเสริม และสนับ สนุน อย่า งดีจ ากผู้ ครอง นครรัฐอิสลามสมัยนั้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้วิทยาการ ต่างชาติ คือเทววิทยาคริสเตียน (Christian Theology) และปรัชญากรีก (Greek Philosophy) เข้ามามีอิทธิพล ต่อวิธีการนําเสนอและอธิบายขยายความแนวความคิด อิสลาม3 (Islamic Thought) เรื่องหลักการศรัทธา (Principle of Islamic Faith) และคุณลักษณะแห่ง พระองค์อัลลอฮฺ (Daudy, 1986, 5-6) ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 2 แห่ งศักราชอิสลาม (ฮ.ศ.) หรือประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8-9 เป็นต้นมา การ ถกปัญหาทางเทววิทยาอิสลาม4 หรือที่เรียกว่าวิชา “อิลมฺ อัล-กาลาม” [‘Ilm al-Kalam] (Discourse on Islamic Theology) ได้ เริ่ ม ขึ้ น ในหมู่ นั ก ปราชญ์ มุ ส ลิ ม อย่ า ง แพร่ ห ลาย ซึ่ ง ต่ า งฝ่ า ยต่ า งก็ มี วิ ธี ก ารอธิ บ ายและแนว ทางการนําเสนอปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับความศรัทธาในความเป็นเอ 3

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

44

คําว่าแนวความคิดอิสลาม (Islamic Thought) นั้น คือผลที่เกิดขึ้นจากความ พยายามของปวงปราชญ์ (‘Ulma’) มุสลิมที่มีความรอบรู้ในสาขาวิชาเฉพาะทางของ แต่ละคน ในการอธิบายขยายความหลักคําสอนของอิสลาม ตามหลักการที่ได้กําหนด ไว้ (Bin Ngah, 1983) 4 การใช้ ศั พ ท์ คํ า ว่ า “เทววิ ท ยาอิ ส ลาม” ซึ่ ง ตรงกั บ ศั พ ท์ บั ญ ญั ติ ที่ แ ปลมาจาก ภาษาอังกฤษว่า “Islamic Theology” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง อิสลามเป็นศาสนาที่นับ ถือเทวดาเหมือนกับศาสนาอื่นใด หากแต่เป็นการพิจารณาตามหลักของศาสนาศาสตร์ ที่ จํ า แนกอิ ส ลามเป็ น ศาสนาซึ่ ง จั ด อยู่ ใ นกลุ่ ม เอกเทวนิ ย ม (Monotheism) ที่ นั บ ถืออัลลอฮฺ ในฐานะพระเจ้า (God) ผู้ทรงเอกะ ( กีริติ บุญเจือ. 2524; C. Reess, William, 1980; Frolov, I, 1984) ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คําว่า “อัล-กาลาม” (al-Kalam) แทนคําว่า “เทววิทยาอิสลาม”

กะแห่งพระองค์อัลลอฮฺ หรือ เตาฮีด (Tauhid) และ คุณลักษณะแห่งพระองค์อัลลอฮฺ (Sifatul-Lah) นับตั้งแต่นั้นมานักปราชญ์มุสลิมถูกแบ่งออกเป็น สองกลุ่ ม หรื อสํ านั กคิ ดใหญ่ ๆ5 ตามทฤษฎี และวิ ธี การ อธิบายประเด็นปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถืออยู่ สํานักคิดแรก นั้ นเป็ นกลุ่ มที่ ยึ ดหลั กการศรั ทธาในความเป็ นเอกะและ คุณลักษณะแห่งพระองค์อัลลอฮฺ ตามแนวคําสอนปฐมภูมิ ของอิสลาม โดยจะไม่ พยายามตีความหมาย หรืออธิ บาย ขยายความเพิ่มเติม ส่วนสํานักคิดที่สองนั้น เป็นกลุ่มที่ยึด หลั ก การและเหตุ ผ ลทางปั ญ ญา และข้ อ โต้ แ ย้ ง เชิ ง ตรรกวิ ทยาในการอธิ บายทํ าความเข้ าใจปั ญหาดั งกล่ าว (Nasution, 1986: 23) อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า อิทธิพล ของสํานักคิดที่ใช้หลักการและเหตุผลทางปัญญา และข้อ โต้แย้งเชิงตรรกวิทยาได้เข้ามามามีบทบาทในโลกมลายูแห่ง ภู มิ ภาคเอเชี ยตะวั นออกเฉี ยงใต้ หรื อที่ รู้ จั กกั นในนาม “นูซันตารา” (Nusantara) พร้อมๆ กับการเผยแผ่ศาสนา อิสลามจากดิ นแดนอาราเบียก่อนสํ านักคิดที่ยึ ดหลักการ ตามแนวคํ าสอนปฐมภู มิ แห่ งอิสลาม คื อประมาณปี ฮ.ศ. 500 หรือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 (Wanteh, 1991: 10) ประมาณคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 15-17 อาณาจั ก ร ปั ต ตานี ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ในศู น ย์ ก ลางทางด้ า นวิ ท ยาการ อิสลามของโลกมลายู แห่ง เอเชีย ตะวั นออกเฉี ยงใต้ (A. Malek, 1994 : 91-128; 91-128; Wanteh, 1991:10) ปวงปราชญ์มลายูสมัยนั้น ส่วนใหญ่รับแนวความคิดของ ฝ่ายที่ยึดเหตุผลทางปัญญาและการโต้แย้งโดยใช้หลักการ เชิงตรรกวิทยาในการอธิบายประเด็นปัญหาความศรัทธา ใน อัลลอฮฺ และคุณลักษณะแห่งพระองค์ (ซุบฮานาฮู วา ตาอาลา) ต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 เช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี (Shaik Da’ud al-Fatani, 1769-1847) คือ หนึ่งในบรรดาปวงปราชญ์มลายูชาวปัตตานีที่มีผลงาน

5

กลุ่มแรกรู้จักในนาม “ซาลัฟ” (Salaf) ซึ่งมีความหมายในเชิงนิรุกติศาสตร์ว่า ผู้ที่มา ก่อน หรือชนรุ่นก่อน และกลุ่มที่สองนั้น จะรู้จักกันในนามว่า “คอลัฟ” (Khalaf) อัน หมายถึง ผู้ที่มาหลัง หรือชนรุ่นหลัง (al-Silly, 1993: 25-28) จากสํานักคิดทั้งสอง ค่ายใหญ่ๆ ดังกล่ าวนั้ น ยัง มีสํานั กคิดย่ อยๆ ในแต่ละเครือข่ ายอี กมากมายเกิดขึ้ น ตามมา


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

ด้านการประพันธ์กีตาบญาวี (Kitab Jawi)6 ได้แต่งตํารา หลายสาขาวิชา อาทิ วิชาฟิกฮฺ (กฎหมายอิสลาม) วิชาตารีคอิสลามี (ประวัติศาสตร์อิสลาม) วิชาอัล-ฮาดีษ (วจนะของท่านศาสดา) และที่สําคัญคือ วิชาอุศูลุดดีน (หลักการศรัทธาในอิสลาม) กีตาบญาวี ของท่านเช็คดาวูดที่มีชื่อว่า “อัล-ดุรฺ อัล-ษามีน” (al-Durr al-Thamin) ซึ่ งถกปัญหาเรื่อง ความศรัทธาในอิสลามนั้น เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ในโลกมลายูแห่งเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ (Che Daud, 1988) และได้รับการยอมรับให้เป็นตําราหลักในการเรียน การสอนวิ ช าหลั ก การศรั ท ธาอิ ส ลามในสถาบั น ศึ ก ษา อิสลามแบบดั้งเดิม หรือที่รู้จักกันในนามของ “ปอเนาะ” (Pondok) ส่ ว นใหญ่ ซึ่ ง การนํ า เสนอทั ศ นะเรื่ องความ ศรัทธาของเช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี ตามที่ปรากฏในกีตาบ “อัล-ดุรฺ อัล-ษามีน” ดังกล่าวนั้น นับว่าเป็นผลงานด้าน วิชาการที่สําคัญยิ่งของปราชญ์มลายูชาวปัตตานีทา่ นหนึง่ ในสาขาวิชาหลักการศรัทธาและอารยธรรมอิสลาม ดั ง นั้ น การศึ ก ษาทั ศ นะของเช็ ค ดาวู ด อั ล ฟาฏอนี ตามที่ท่านได้นําเสนอไว้ในกีตาบญาวี “อัล-ดุรฺ อัล-ษามีน” นอกจากจะเป็นการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักการศรัทธาแห่งอิสลามแล้ว ยังเป็ น การศึกษาถึงวิธีการนําเสนอและการถกปัญหาในรูปแบบ ของการผสมผสานระหว่ า งวิ ธี ก ารทางศาสนา หรื อวิ ธี ประกาศิต (Dogmatic Method) (กีริติ บุญเจือ, 2518) กั บ วิ ธี ก ารทางปรั ช ญาในการอธิ บ ายประเด็ น ปั ญ หา ดั ง กล่ า ว อั น เป็ น ลั ก ษณ ะเด่ น ข องกา ร นํ า เสน อ แนวความคิ ด ของปวงปราชญ์ ม ลายู ใ นภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ใ นช่ ว งคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 18-20 ที่ น่าสนใจอีกด้วย

6

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

45

ในเชิงนิรุกติศาสตร์ คําว่า “กีตาบ” ในภาษามลายูนั้นหมายถึงตําราหรือหนังสือ และคําว่า “Jawi” หมายถึงคนชวาที่อาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามคํา ว่า “Jawi” ดังกล่าวยังหมายรวมถึงชาวมลายูทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนูซันตารา อีกด้วย เพราะชาวอาหรับในอดีตมักเข้าใจว่าคนที่อาศัยอยู่ในโลกมลายูแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้นั้นคือ “คนชวา” ดังนั้นตําราหรือหนังสือที่แต่งขึ้นมาโดยชาวมลายู ด้วยภาษามลายูอักขระอาหรับ จะถูกเรียกว่า “Kitab Jawi” (Jawi Script) ต่อมา ความเข้าใจในคําว่า “กีตาบญาวี” นั้นถูกเจาะจงเฉพาะตําราที่แต่งขึ้นด้วยอักขระ อาหรับโดยปวงปราชญ์มลายูมุสลิม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิชาการอิสลามเท่านั้น (R. Roolvink, 1975:2)

ปวงปราชญ์ ม ลายู กั บ การนํ า เสนอทั ศ นะเรื่ อ งความ ศรัทธาในเชิงปรัชญา เนื่ อ งจากการศึ ก ษาครั้ ง นี้ จ ะเน้ น ประเด็ น เกี่ ย วกั บ ปั ญ หาปรั ช ญาศาสนา เรื่ องความศรั ท ธาตาม ทัศนะของปราชญ์มลายู โดยการศึกษาวิเคราะห์ทัศนะ ของ เช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี จากกีตาบญาวี อัล-ดุรฺ อัลษามีน (al-Durr al-Thamin) ของท่านเป็นหลัก เพื่อ นํ า มาวิ เ คราะห์ เ ปรี ย บเที ย บกั บ หลั ก คํ า สอนปฐมภู มิ อิ ส ลามในด้ า นการนํ า เสนอ และการอธิ บ ายประเด็ น ปัญ หาเกี่ ย วกั บ หลั ก การศรั ท ธาในความเป็ น เอกะแห่ ง พระองค์ อั ล ลอฮฺ ซึ่ ง ประเด็ น สํ า คั ญ ๆ ที่ จ ะหยิ บ ยกมา กล่ า วในครั้ ง นี้ ไ ด้ แ ก่ แหล่ ง ที่ ม าของหลั ก คํ า สอนและ แนวความคิด เครื่องมือ ตลอดจนวิธีการนําเสนอประเด็น ปัญหา อั ล-กาลาม (Islamic Theology) โดยเฉพาะ อย่างยิ่งประเด็นปัญหาเรื่องความศรัทธาในคุณลักษณะ และพระนามแห่ ง พระองค์ อั ล ลอฮฺ (มหาบริ สุ ท ธิ์ ยิ่ ง พระองค์จากการตั้งภาคีใด ๆ) 1. แหล่งที่มาของหลักคําสอนและแนวความคิดอิสลาม เช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี ในฐานะนักปราชญ์มลายู ท่านหนึ่ง ที่มีทัศนะเกี่ยวกับความศรัทธาในเชิง อัล-กา ลาม (al-Kalam) ตามแนวคําสอนของสํานักคิด “อัล-อัช อารียยะหฺ” (al-‘Ash‘ariyah) 7 เช่นเดียวกับปวงปราชญ์ มลายูร่วมสมัยท่านอื่นๆ (Ibn ‘Abd Allah Ibn Idris, 1812: 3; Bin Ngah, 1983: 9; Che Daud, 1988: 12; Haji Abdullah, 1990: 106, 115-116) จากพื้นฐานแนวความคิดในเชิง อัล-กาลาม ที่ โน้มไปทางสํา นักคิด อัล- อั ชอารียฺยะห์ ท่านเช็คดาวู ด อัล-ฟาฏอนี จึงมีทัศนะเกี่ยวกับแหล่งที่มาของความรู้และ แนวความคิดเกี่ยวกับความศรัทธาในอิสลามว่า นอกจาก หลักคําสอนปฐมภูมิของอิสลามแล้ว ปัญญาและเหตุผล 7

อัล-อัชอารียฺยะห์ คือหนึ่งในสํานักคิด อัล-กาลาม (Madhhab al-Kalam) ที่ก่อตั้ง ขึ้นโดยท่านอีหม่าม อาบู อัล-ฮาซัน อัล-อัชอารียฺ (Abu al-Hasan al-‘Ash‘ariy, 935 A.H.) โดยที่ทัศนะของสํานักคิดดังกล่าวมีลักษณะเด่นคือ การนําเสนอประเด็นปัญหา หลักการศรัทธาอิสลามด้วยวิธีการทางปรัชญาแบบวิภาษ (Dialectical Method) ซึ่ง เน้นการใช้เหตุผลทางปัญญาและข้อโต้แย้งเชิงตรรกวิทยาในการถกปัญหาอภิปรัชญา (Metaphysical problem) มาผสมผสานกับวิธีการของ อัล-กาลาม (al-Kalam) ใน การยืนยัน โต้ตอบ และปกป้องข้อเท็จจริงอันเกี่ยวเนื่องกับหลักการศรัทธาในอิสลาม และคุณลักษณะอันสัมบูรณ์ (Ultimate Reality) แห่งพระองค์อัลลอฮฺ (Hanafi, 1983: 12-13 ; Nasution ,1986 : 61-75)


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

46

คือแหล่งที่มาของความรู้และแนวความคิดที่สําคัญเช่นกัน ซึ่งแนวความคิดของท่านเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏให้ เห็นอย่างชัดเจนในกีตาบ “อัล-ดุรฺ อัล-ษามีน” ว่าด้วยคํา จํากัดความของวิชาหลักการศรัทธา (Islamic Principle of Faith) และทฤษฎีความรู้ (Epistemology) (Frolov, 1984, 128) ในอิสลาม ดังที่ท่านเช็คดาวูดได้อธิบายเพื่อ ยื น ยั น ในเรื่ อ งดั ง กล่ า วว่ า “วิ ช า อุ ศู ลุ ด ดี น หรื อ วิ ช า หลักการศรัทธาในอิสลามนั้น คือวิชาที่ว่าด้วยการยึดมั่น ในหลักการศรัทธาแห่งอิสลาม ซึ่งความศรัทธาดังกล่าว เกิ ด ขึ้ น ได้ เ พราะมี ห ลั ก ฐานต่ า งๆ ที่ เ ชื่ อ ถื อ ได้ ม า สนับสนุน” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 3) คําว่าหลักฐานต่างๆ ที่เชื่อถือได้ตามทัศนะของ ท่ า นเช็ ค ดาวู ด อั ล -ฟาฏอนี ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น หมายถึ ง หลักฐานต่างๆ ที่ได้จากหลักคําสอนปฐมภูมิของอิสลาม และข้อโต้แย้งที่ได้จากกระบวน การคิดและอ้างเหตุผลใน เชิงตรรกวิทยา (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 4) นอกจา กนี้ ท่ า น เช็ ค ดา วู ด ยั ง ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง ความสํ า คั ญ ของการใช้ ส ติ ปั ญ ญาและเหตุ ผ ลในฐานะ แหล่งที่มาของความรู้ที่สําคัญของมนุษย์ในคําอธิบายของ ท่านว่า “...สําหรับคนที่มีความศรัทธามั่นเพราะการรอบ รู้นั้น คือผู้ที่ได้รับความรู้จริงผ่านหลักฐานที่ถูกต้อง ซึ่ง สอดคล้องกับหลักคําสอนที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺและ ท่านศาสดาแห่งพระองค์ และข้อพิสูจน์ต่างๆ (ที่เกิดจาก กระบวนการคิดและเหตุผลทางปัญญาเป็นหลัก) ” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 5) นอกจากนี้ เช็คดาวูดได้ หยิ บ ยกหลั ก ฐานจาก อั ล -ฮาดี ษ เพื่ อ ยื น ยั น ว่ า ท่ า น ศาสดามู ฮัม มัด (ขอความสั นติ สุข จงมี แด่ ท่า น) ได้เชิ ญ ชวนให้ มุ ส ลิ ม เรี ย นรู้ วิ ช าหลั ก การโต้ แ ย้ ง (‘Ilm alMunazarah) เพื่อประโยชน์ในการยืนยันหลักการศรัทธา ที่ ป รากฏอยู่ ใ นหลั ก คํ า สอนปฐมภู มิ อิ ส ลาม (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 4) ความว่า “จงเรียนวิชา หลักการโต้แย้ง (เพื่อยืนยันและรับรองหลักการศรัทธาใน อิ ส ลาม) กั น เถิ ด เพราะพวกเจ้ า ทุ ก คนจะต้ อ งเป็ น ผู้รับผิดชอบ (ในเรื่องดังกล่าว)8 8

อัล-ฮาดีษ หรือวจนะของท่านศาสดาดังกล่าว ผู้เขียนไม่สามารถจะสืบค้นสาย รายงานที่ชัดเจนได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถที่จะระบุสถานะภาพของ อัล-ฮาดีษ ดังกล่าว ว่า ถูกต้อง “ศอฮีหฺ” (sahih) หรือไม่ เช่นไร

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

ยั ง มี คํ า อธิ บ ายจากเช็ ค ดาวู ด ที่ ชั ด เจนกว่ า นี้ เกี่ ย วกั บ ความสํ า คั ญ ของการใช้ ปั ญ ญาและเหตุ ผ ลใน ฐานะแหล่ ง ที่ ม าของความรู้ ที่ สํ า คั ญ ในอิ ส ลามว่ า “แหล่ ง ที่ ม าของความรู้ สํ า หรั บ มนุ ษ ย์ นั้ น มี ทั้ ง หมด 3 แหล่งด้วยกันคือ ประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อมูล ความรู้ที่ เชื่อถือได้ และ สติสัม ปชัญ ญะ...” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 6) ดังนั้นเราสามารถสรุปทัศนะของท่านเช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี ในเรื่องแหล่งที่มาของความรู้ (ญาณวิทยา อิสลาม) ได้ว่านอกจาก อัล-กุรอาน และอัล-ฮาดีษของ ท่านศาสดามูฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) แล้ว ปัญญาและเหตุผลก็นับว่าเป็นแหล่งที่มาของความรู้และ แนวความคิดอิสลามเช่นกัน 1.เครื่องมือและวิธีการนําเสนอแนวความคิด ดัง ที่ไ ด้ก ล่ าวมาแล้ ว ข้า งต้ น ว่า ท่ านเช็ค ดาวู ด อัล-ฟาฏอนี ได้รับแนวความคิด อัล-กาลาม มาจากสํานัก คิด อัล-อัชอารียฺยะห์ ซึ่งให้ความสําคัญกับการใช้เหตุผล ทางปั ญ ญาและข้ อโต้ แ ย้ ง เชิ ง ตรรกวิ ท ยา (Syllogism) ฉะนั้ น เพื่ อ ปู ท างไปสู่ ค วามเข้ า ใจปั ญ หา อั ล -กาลาม โดยเฉพาะประเด็ น เกี่ ย วกั บ คุ ณ ลั ก ษณะแห่ ง พระองค์ อัลลอฮฺ (Attributes of God) หรือ “ซีฟาติลลาฮฺ” (Sifatul-Lah) เช็คดาวูดได้นําเสนอเครื่องมือและระเบียบ วิ ธี เชิ ง ตรรกวิ ท ยาที่ จํ า เป็ น สํ า หรั บ การศึ ก ษาทํ า ความ เข้าใจปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น โดยที่ท่านได้ให้คําจํากัด ความและคําอธิบายเครื่องมือและวิธีการต่างๆ เหล่านั้น ในบทนํ าของ กีตาบ อัล-ดุ รฺ อัล-ษามีน (al-Durr alThamin) อย่างละเอียดชัดเจนก่อนเข้าสู่กระบวนการถก ปัญหา อัล-กาลาม ที่ลึกลงไปเป็นรายประเด็น เครื่องมือทางตรรกวิทยาดังกล่าวท่านเรียกว่า “ฮุกมฺ อักลฺ” (Hukm ‘Aql) อันหมายถึงกฎเกณฑ์ทาง ปัญญา (The Law of Reason) ซึ่งแบ่งออกเป็นสาม ประการใหญ่ๆ ดังนี้ 1.วาญีบ (Wajib) หมายถึง จําต้องยอมรับด้วย ปัญญา 2.มุสตาฮีล (Mustahil) หมายถึง ยอมรับด้วย ปัญญาไม่ได้ 3.ญาอีซ (Ja’iz) หมายถึงยอมรับได้ด้วยปัญญา


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

47

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

กฎเกณฑ์ท างปั ญญาทั้ง สามประการดั ง กล่ า ว ท่านเช็คดาวูดได้ประยุกต์ใช้เพื่อถกปัญหา อัล-กาลาม (Theological Problem) เท่ า นั้น และจะไม่มี ผ ล ในทางศาสนบัญญัติแต่อย่างใด กล่าวคือไม่ว่าปัญญาจะ รั บ ได้ ห รื อ ไม่ ก็ ต าม ก็ จ ะไม่ มี ผ ลต่ อ บาป บุ ญ คุ ณ โทษ ในทางศาสนาอิสลาม (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 7-9) นอกจากกฎเกณฑ์ทางปัญญาแล้ว ความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับที่มาและธาตุแท้ของสรรพสิ่ง คืออีกหนึ่ง ข้อตกลงเบื้องต้นที่จัดอยู่ในเครื่องมือสําคัญของท่านเช็ค ดาวู ด ที่ จํ า เป็ น ต้ อ งใช้ ใ นการถกปั ญ หา อั ล -กาลาม (Theological Problem) โดยเฉพาะเรื่องความศรัทธา ในคุณลักษณะและพระนามแห่งพระองค์อัลลอฮฺ (มหา บริสุทธิ์ยิ่งจงมีแด่พระองค์) ดังนั้นเราจึงพบว่า เช็คดาวูด อัล-ฟาฏอนี ได้ อธิ บ ายถึ ง ที่ม าและธาตุแ ท้ ของสรรพสิ่ ง ที่ มี สถานะ แตกต่างกันดังนี้ คือ 1.อะอฺยาน (‘Ayan) หมายถึงสิ่งที่มีอยู่บนพื้นฐานของ ตัวเอง ซึ่งแบ่งออกเป็นสองชนิดได้แก่ 1.1 สิ่ ง ที่ มี อ ยู่ ไ ด้ ด้ ว ยต้ น เองโดยไม่ ต้ อ งการ ส่ว นประกอบจากสิ่ ง อื่ น ๆ ในการแสดงตนในรู ป ของสี กลิ่น รส ที่ว่างและห่วงเวลา (Space and Time) หรือ กาละ เทศะนั้น เรียกว่า “ญิเซ็ม” (Jism) หรือสสารวัตถุ (Substance) 1.2 สิ่งที่มีขึ้นจากส่วนประกอบหลายๆ ส่วน ของสิ่งอื่น (นิวเคลียส) เรียกว่า “เญาฮัรฺ” (Jauhar) หรือ อะตอม (Atom) และสิ่งที่เกิดขึ้นจากส่วนประกอบแบบ โครงสร้างเดี่ยวที่ไม่อาจแยกตัวออกจากกันได้ เรียกว่า “เญาฮัรฺ ฟัรดฺ” (Jauhar-fard) หรือหน่วยที่เล็กกว่า อะตอม คือนิวเคลียส (Nucleus)นั้นเอง 2.อะอฺรอฎ (‘Arad) หรือ (Accidence) คือสิ่งที่ต้อง พึ่งพาส่วนประกอบของอะตอมและนิว เคลี ยสเพื่ อการ ปรากฏตัว ของมันเองในรูป ของสี กลิ่ น รส กาละ และ เทศะ (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 7-9) การหยิ บ ยกแหล่ ง ที่ ม าของแนวความคิ ด เกี่ยวกับความศรัทธาในอิสลาม ซึ่งนอกเหนือจากหลักคํา สอนปฐมภู มิ ข องอิ ส ลาม (อั ล -กุ ร อาน และอั ล -ฮาดี ษ ) และการกําหนดเครื่องมือที่สําคัญทั้งสองชนิดของท่าน

เช็ ด ดาวู ด นั้ น แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การใช้ แ หล่ ง ที่ ม าและ เครื่ อ งมื อ สํ า หรั บ การนํ า เสนอปั ญ หา อั ล -กาลาม ใน รูป แบบของการผสมผสานระหว่ า งวิ ธีก ารตามแนวคํ า สอนปฐมภู มิ ข องอิ ส ลามกั บ วิ ธี ก ารทางปรั ช ญาอย่ า ง ชั ด เจน โดยที่ ท่ า นเช็ ค ดาวู ด ได้ บู ร ณาการวิ ธี ก ารทาง ปรัชญาในรูปแบบของการโต้แย้ง หรือการอ้างเหตุผลทาง ปัญญาและกฎเกณฑ์ทางตรรกวิทยา เพื่อยืนยันประเด็น ปั ญ หาและโต้ ต อบข้ อโต้ แ ย้ ง ต่ า งๆ ในเชิ ง อั ล -กาลาม กล่ า วคื อการใช้ วิ ธี ก ารโต้ แ ย้ ง ด้ ว ยการอ้ า งเหตุ ผ ลทาง ปั ญ ญาและตรรกวิ ท ยา พร้ อ มๆ กั บ วิ ธี ก ารอ้ า งอิ ง หลักฐานจากหลักคําสอนปฐมภูมิของอิสลามควบคู่กัน เสมอในการถกปัญหาดังกล่าว อย่ า งไรก็ ต าม แม้ ทั้ ง สองวิ ธี ก ารดั ง กล่ า วจะมี ความแตกต่ า งอย่ า งชั ด เจนในเรื่ อ งรู ป แบบและ กระบวนการนํ า เสนอ หากแต่ ทั้ ง สองวิ ธี ก ารนั้ น ดู เหมื อ น ว่ า สามารถที่ จ ะนํ า มาใช้ บ น พื้ น ฐาน ของ จุ ด ประสงค์ อัน เดี ย วที่ ส อดรั บ กั น ได้ กล่ า วคื อการอ้ า ง เหตุผลทางปัญญาและตรรกวิทยานั้น จะถูกใช้ในรูปแบบ ของการถกปัญหาและยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งได้มาจากหลัก คําสอนปฐมภูมิของอิสลามหรือจากหลักฐานที่ปรากฏอยู่ ใน อั ล -กุ ร อาน หรื อ อั ล -ฮาดี ษ หรื อ จากทั้ ง สองแหล่ ง พร้อมๆ กันนั้นเอง ดั ง จะเห็ น ได้ จ ากวิ ธี ก ารนํ า เสนอของท่ า น เกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาในคุณลักษณะแห่งพระองค์ อัล ลอฮฺ ใ นรู ปแบบที่ ส มบู ร ณ์ โดยการนํ าหลั กฐานและ กฎเกณฑ์ทางปัญญาหรือ “ดาลีลฺ อัล-อักลฺ” (Reasoning Proof) (Zaqzuq, 1984) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่มาและ ธาตุแท้ของสรรพสิ่ง (Proof from Essence) และการ นํ า หลั กฐานจากคํ า สอนปฐมภู มิ (ดาลี ลฺ อั ล -นั ก ลฺ ) มา อ้างอิงพร้อมๆ กัน ดังที่ปรากฏในคําอธิบายของท่านว่า “พระองค์อัลลอฮฺทรงมีอยู่ด้วย “ซาต” (Zat) [อาตมัน] แห่งพระองค์เอง (ซึ่ง) หลักฐานการมีอยู่ของ พระองค์นั้น คือการมีอยู่ของจักรวาลและสรรพสิ่ง ล้วน แล้วแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ (สําหรับ) สิ่งที่เกิดขึ้นมา ใหม่นั้น จําเป็นต้องมีผู้สร้างให้มันเกิดขึ้น และไม่มีใคร สามารถสร้ า งมั น ได้ น อกจากพระผู้ ท รงสร้ า งที่ มี คุณลักษณะสัมบูรณ์ยิ่ง (Ultimate Reality) (อัลลอฮฺ) และสําหรับสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น สามารถพิสูจน์ได้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

48

จากตัวมันเองที่ต้องรับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา และมันยังมีคุณสมบัติของการครองที่หรือเทศะ (space) และอยู่ในห้วงเวลา (time) อีกด้วย” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 19) “อัลลอฮฺ ทรงมีอยู่ด้วย “ซาต” (Zat) แห่ง พระองค์เอง ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ใน อัล- กุรอ่าน ความว่ า “...พระองค์ คื อ ผู้ ท รงสร้ า งฟากฟ้ า และหน้ า แผ่นดิน และสรรพสิ่งที่มีอยู่ในระหว่างทั้งสอง ภายใน ห้วงเวลา 6 วัน” (อัล-กุรอาน, อัล-ซัญดะหฺ : 4 ) ดังนั้น พระองค์คือพระผู้ทรงสร้าง และไม่ใช่สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา” (Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, 1812: 20) สรุป ตามหลักคําสอนปฐมภูมิแห่งอิสลาม หลักการ ศรัทธาตามที่ได้ประกาศโดยศาสดาแห่งอิสลามท่านแรก จนถึงท่านสุดท้ายนั้น ไม่เคยปรากฏความแตกต่างและ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ในเรื่องหลักการหรือแก่นสารของ ความศรั ท ธา คื อ ความศรั ท ธาในความเป็ น เอกะแห่ ง พระองค์อัลลอฮฺในฐานะพระเจ้าผู้ทรงเอกะ การที่ อิสลามยืน หยัดอยู่บนพื้ นฐานของความ ศรัทธาที่มั่นคงดังกล่าว ทําให้เราทราบถึงความจริงอัน เป็ น ลั ก ษณะเด่ น ของศาสนาอิ ส ลามประการหนึ่ ง ว่ า อิสลามคือศาสนาแห่งพระองค์อัลลอฮฺ และมนุษย์นั้นไม่มี สิ ท ธิ หรื ออํ า นาจใดๆ ที่ จ ะมากระทํ า การเปลี่ ย นแปลง หลักการศรัทธาที่มาจากพระองค์อัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ ดัง ที่อัลลอฮฺทรงยืนยันถึงเรื่องดังกล่าวใน อัล-กุรอาน ความ ว่า “แท้จริงนั้นศาสนาในทัศนะแห่งพระองค์อัลลอฮฺคือ อัล-อิสลาม” (อัล-กุรอาน, อาลิ อิมรอน : 19) และคํา ตรั ส ของพระองค์ อีก ความว่ า “ศาสนาทู ต และมวลผู้ ศรัทธานั้น ย่อมศรัทธาในสิ่ง (คัมภีร์) ที่ถูกประทานลง มายังพวกเขา จากองค์อภิบาลของพวกเขา และทุกคน ต่างก็ มีความศรั ทธามั่นในพระองค์ อัลลอฮฺ...” (อัล-กุ ร อาน, อัล-บากอเราะหฺ : 285) และพระองค์ทรงตรัสอีก ความว่า “...เพราะว่ าได้ มีบรรดาศาสนทูต มาประกาศ ศาสนายังพวกเขา ต่อหน้าพวกเขาและเบื้องหลังพวกเขา พร้อมทั้งได้ห้ามปรามพวกเขาว่า ท่ านทั้งหลายจงอย่ า นมัสการสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอฮฺ...” (อัล-กุรอาน, ฟุศศิลัต, :14)

ตามคํ า สอนปฐมภู มิ แ ห่ ง อิ ส ลาม หลั ก การ ศรั ท ธาอิ ส ลามนั้ น มี ทั้ ง หมด 6 ประการ ในจํ า นวน หลักการศรัทธาที่เหลืออีก 5 ประการนั้น ล้วนแต่ผูกพัน กั บ หลั ก การศรั ท ธาในพระองค์ อั ล ลอฮฺ ทั้ ง สิ้ น เพราะ พระองค์อัลลอฮฺ คือผู้เป็นเจ้าของสารแห่งความศรัทธาใน อิ ส ลามทั้ ง หมด ฉะนั้ น หากมี ค วามศรั ท ธาในเอกองค์ อัลลอฮฺแล้ว ย่อมจะมีความศรัทธาในหลักศรัทธาอีก 5 ประการด้ ว ย ในทางกลั บ กั น นั้ น หากไม่ ศ รั ท ธาใน พระองค์อัลลอฮฺ ในฐานะพระผู้เป็น เจ้า ผู้ท รงเอกะแล้ ว ความศรัทธาในหลักการอื่นๆ ก็จะไม่มีความหมาย เพราะ จุดมุ่งหมายอันสูงสุดและความหมายของศาสนาอิสลาม นั้น คือการนอบน้อม จํานนตนต่อเอกองค์อภิบาลผู้ทรง เอกะ อย่างไรก็ตามหลังจากสมัยของศาสดามูฮัมมัด แล้ ว (ขอควา มสั น ติ สุ ข จงมี แ ด่ ท่ า น ) ปั ญ หา อั น ละเอี ย ดอ่ อ นปลี ก ย่ อยเกี่ ย วกั บ ความศรั ท ธาได้ ท วี คู ณ เรื่อยๆ เพราะอิทธิพลที่มาจากทั้งภายในและภายนอก จึง ทําให้เกิดความหลากหลายในการตีความและทําความ เข้าใจหลักการศรัทธาแห่งอิสลามปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน สําหรับการใช้เหตุผลทางปัญญาและข้อโต้แย้ง เชิงตรรกวิทยานั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีการทางปรัชญา อย่ า งชั ด เจน เพราะโดยพื้ น ฐานแล้ ว ปรั ช ญา คื อ สาขาวิชาที่ว่าด้วยการใช้ปัญญาและเหตุผลประกอบกัน ส่วนตรรกวิทยานั้น คือสาขาวิชาหนึ่งของปรัชญาบริสุทธิ์ ที่สําคัญอีกด้วย 9 สําหรับปวงปราชญ์มลายู รวมทั้งเช็คดาวูด อัลฟาฏอนี ซึ่ ง นิ ย มการใช้ เ หตุ ผ ลทางปั ญ ญาและวิ ธี ก าร ตรรกวิทยาเป็นเครื่องมือในการนําเสนอและถกประเด็น ปั ญ หาความศรั ท ธานั้ น มี ทั ศ นะว่ า ความศรั ท ธาใน พระองค์อัลลอฮฺที่ถูกต้องนั้น ควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของ การรั ก ษาและปกป้ อ งความบริ สุ ท ธิ์ แ ห่ ง พระองค์ จ าก คุณลักษณะต่างๆ (ที่สามารถจะนํามาเทียบเคียง และมี ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันกับสรรพสิ่งที่ถูกสร้างโดย พระองค์เอง) อันมิควรอย่างยิ่งสําหรับพระองค์อัลลอฮฺใน 9

ปรัชญาบริสุทธิ์แบ่งออกเป็น 4 สาขาใหญ่ๆ คือ 1) อภิปรัชญา (Metaphysics) 2) ญาณวิทยาหรือทฤษฎีความรู้ (Epistemology) 3) ตรรกวิทยา (Logic) 4) คุณค่า วิทยาและจริยศาสตร์ (Axiology and Ethics) (กีริติ บุญเจือ, 2518; Douglas J., 1992 : 25; Frank, 1967.)


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

49

ฐานะพระเจ้าผู้ทรงเอกะ ผู้ทรงสร้างและผู้อภิบาลแห่ง สากลโลก โดยการกํ า หนดคุ ณ ลั ก ษณะเฉพาะแห่ ง พระองค์ อี ก 20 คุ ณ ลั ก ษณะ ซึ่ ง นอกเหนื อ จา ก คุณลักษณะที่พระองค์ทรงตรัสไว้ด้วยพระองค์เองใน อัลกุรอาน ตามนัยยะของพระนามแห่งพระองค์อัลลอฮฺอัน วิ จิ ต รทั้ ง หมด 99 พระนาม กั บ อี ก หนึ่ ง พระนามคื อ “อัลลอฮฺ” จึงรวมกันเป็น 100 พระนามพอดี นอกจากนี้ บ รรดาปราชญ์ ม ลายู ส่ ว นหนึ่ ง รวมทั้ ง ท่ า นเช็ ค ดาวู ด อั ล -ฟาฏอนี ยั ง ได้ นํ า วิ ธี ก าร “Ta’wil” หรือการตีความเชิงเบี่ยงเบน (Metaphorical Method) มาใช้ในการตีความคุณลักษณะแห่งพระองค์ อั ล ลอฮฺ ที่ อ าจมี ค วามหมายกํ า กวม คลุ ม เครื อ หรื อ คล้ า ยคลึง (Anthropomorphism) กั บ ลั กษณะของ สรรพสิ่งอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่เคยปรากฏ ในรายงานว่า ท่านศาสดาและบรรดาซอฮาบะฮฺ (สาวก) หลังจากท่านเคยใช้มาก่อนก็ตาม (พระองค์อัลลอฮฺเท่านั้นคือผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง) เอกสารอ้างอิง กี ร ติ บุ ญ เจื อ . 2518 . ปรั ช ญาสํ า หรั บ ผู้ เ ริ่ ม เรี ย น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์. -------------. 2524. ศั พ ท์ ป รั ช ญาและตรรกศาสตร์ . กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน อุ ทั ย จิ ร ธ มฺ โ ม . 2 5 3 4 . “ทั ศ น ะ เ รื่ อ ง ก ร ร ม ใ น พระพุทธศาสนาเถรวาทและปัญหาเรื่องกรรม ในสัง คมชาวพุ ท ธไทยปั จ จุบั น ”. วิ ทยานิพ นธ์ พุ ท ธศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าปรั ช ญา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (สําเนา) al-Buti, Sa’id Ramadan. 1991. Fiqh Sirah alNabawiyyah. (11th ed). Damascus: Dar al-Fikr. Al-Silly, Abd al-‘Aziz. 1993. al-‘Aqidah alSalafiyyah baina al-Imam Ibn Hanbal wa al-Imam Ibn Taimiyyah. Cairo : Dar al-Mannar.

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .

Alston, William P. and Edward, Paul, eds. 1967. “Philosophy of Religion: Problem of Central Aims”, Encyclopedia of Philosophy. 6, 286. A. Malek, Mohd. Zamberi. 1994. Pattani dalam Tamadun Melayu. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Bin Ngah, Mohd. Nor. 1983. Kitab Jawi : Islamic Thought of Malay Muslim Scholars. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies. C. Reess, William. 1980. Dictionary of Philosophy and Religioun. USA: s.n. Che Daud, Ismail, ed. 1988. Tokoh-Tokoh Ulama’ Semenanjung Melayu. Vol. I. Kuala Lumpur : Majlis Ugama Islam dan Adat Istiadat Melayu Kelantan. Daudy, Ahmad. 1986. Kuliah Falsafah Islam. Jakarta : Bulan Bintang. Douglas J. Soccio, 1992. Archetypes of Wisdom and Introduction to Philosophy. New York : The Free Press. Frank, Tillman, ed. 1967. Introductory Philosophy. USA : s.n. Frolov, I., ed. 1984. Dictionary of Philosophy. Mosco : Progress Publishers. Haji Abdullah, Abdul Rahman. 1990. Pemikiran Umat Islam di Nusantara: Sejarah dan Perkembangannya hingga Abad ke19. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Hanafi, A. 1983. Theology Islam (Ilmu Kalam), Johore Bahru : Thinker’s Liblary. Ibn ‘Abdullah Ibn Idris, Shaikh Da’ud al-Fatani. 1812. al-Durr al-Thamin. Bangkok : Maktabah wa Matba’ah al-Nahdi wa alAulad.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ไฟซ็อล หะยีอาวัง

50

Nasution, Harun. 1986. Teologi Islam. Jakarta: UI-Press. Roolvink. R. 1975. Bahasa Jawi. Leiden: Universitaire Pers Leiden Wanteh, Wan Hashim. 1991. “Dunia Melayu dan Tersebar Luasnya Rumpunan Bangsa Melayu”, in Dunia Melayu, p. 10. Hasan, Mohd. Yusof, ed. Kuala Lumpur: Dewan Bahasa dan Pustaka. Zaqzuq, Muhammad Hamdi. 1984. Daur alIslam fi Tatauwur al-Fikr wa al-Falsafi. Cairo: Maktabah al-Wahbah.

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 กี ต า บ ญ า วี . . .


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

51

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

Article A National Policy for Health System Development in Multi-Cultural Communities Sukree Langputeh* M.A. (Political Science) Lecturer Department of Political Science, Faculty of Liberal Arts and Social Science Yala Islamic University Abstract The unrest problem in the three southernmost provinces and the four districts of Sonkhla is a critical issue requiring prudent and gentle solutions. Southern Border Provinces Administration Centre (SBPAC), the Southern Health Systems Research Institute, Prince of Songkla University, Yala Islamic University, the Health Assembly networks in the three provinces, and the Southern Political Science Network jointly developed a national policy for health system development in multicultural communities to be proposed to the 1st Health Assembly. This was to seek solutions appropriate to the multi-cultural context of the area with the cooperation of the public sector, community/people, and academics. The following stages were carried: (1) review, analysis and synthesis of literature on reformations of area-based administrative structure, justice, education, economy, society, culture and tradition; (2) group discussion where stakeholders both from the public and civil society sectors could share, recommend and consider opinions; (3) policy proposal drafting; (4) a stage of policy criticism for proposing to community and religious leaders, SBPAC and local stakeholders; (5) concluding and preparing the proposal. The outcomes present 5 policy recommendations: area-based administrative structure reform, justice reform, education reform, economic reform, and social, traditional and cultural reform. Keywords: policy, health system, multi-culture


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

52

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

บทความวิชาการ นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพของชุมชนในพื้นที่พหุวัฒนธรรม สุกรี หลังปูเต๊ะ M.A. (รัฐศาสตร์), อาจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลาเป็นประเด็นที่ต้องการการ แก้ ปั ญ หาอย่ า งสุ ขุ ม นุ่ ม นวล ศู น ย์ อํา นวยการบริ หารจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ สถาบั น วิ จั ย ระบบสุ ข ภาพภาคใต้ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มหาวิ ท ยาลั ย อิ ส ลามยะลา เครื อข่ า ยสมั ช ชาสุ ข ภาพในสามจั ง หวั ด เครื อข่ า ยรั ฐ ประศาสนศาสตร์ภาคใต้ ได้ร่วมกันพัฒนานโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่อ เสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามบริบทของพื้นที่พหุ วัฒนธรรม ภายใต้ความร่วมมือของภาครัฐ ชุมชน/ประชาชน และนักวิชาการโดยอาศัยกระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1) การทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์วรรณกรรม เกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ การปฏิรูป ระบบความยุติธรรม การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม 2) การจัด เวทีเสวนากลุ่ม โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคประชาสังคม เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ และพิจารณา 3) การยกร่างข้อเสนอนโยบาย 4) การจัดเวทีวิพากย์ข้อเสนอนโยบายเพื่อนําเสนอแก่ผู้นํา ชุมชน ผู้นําศาสนา ศอ.บต. หน่วยงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ และ 5) การสรุปและจัดทําข้อเสนอนโยบายเพื่อ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ การปฏิรูประบบความยุติธรรม การปฏิรูประบบการศึกษา การ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม ผลการดําเนินงานจึงเกิดข้อเสนอเชิงประเด็นนโยบายคือ 1) การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ 2) การปฏิรูปความยุติธรรม 3) การปฏิรูปการศึกษา 4) การ ปฏิรูประบบเศรษฐกิจ 5) การปฏิรูประบบสังคม ประเพณี วัฒนธรรม คําสําคัญ: นโยบาย, ระบบสุขภาพ, พหุวัฒนธรรม


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

บทนํา

53

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

สร้างสันติภาพในพื้นที่ สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการจัดบริการสุขภาพ สร้างระบบการดูแลตนเอง ของชุมชน สร้างหลักสูตรการแพทย์ในวิธีมุสลิม การเพิ่ ม ประสิทธิภาพในระบบบริการสุขภาพ ทั้งนี้กลไกการทํางาน เพื่อการแก้ปัญหาควรจะต้องมีโครงสร้างทีมทํางานเฉพาะ เกาะติดสถานการณ์ สร้างช่องทางการเชื่อมต่อ การพัฒนา ระบบร่ ว มคิ ด ระบบข้ อ มู ล ข่ า วสาร การติ ด ตามการ แก้ปัญหา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องศึกษาวิจัยและ พัฒนาระบบที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ความรุนแรง ทั้งนี้ เพราะมาตรการที่ดําเนินอยู่อาจไม่ใช่คําตอบหรือแนวทางที่ ดีที่สุด การสร้างความร่วมมือและทําให้เกิดความตระหนัก เป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง นอกจากปั ญ หาด้ า นสุ ข ภาพอนามั ย แล้ ว จํา เป็ น ต้องมองถึ งปั ญ หาหรือปัจ จั ยอื่ นที่ เกี่ย วข้ อง คื อ องค์ ป ระกอบด้ า นการศึ ก ษา เศรษฐกิ จ ตามวิ ถี มุ ส ลิ ม เพราะศาสนาอิสลามมีความเคร่งครัดในเรื่องการปฏิบัติ มีบทบัญญัติที่ครอบคลุมการดําเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย อย่ า งที่ เรี ย กว่ า “ตั้ ง แต่ ใ นเปลจนหลุ ม ฝั ง ศพ” ศาสนา อิสลามมีบทบัญญัติด้านกฎหมายอิสลามของตนเอง มี การจัดการด้ านการเงินการคลังตามบทบัญญัติศาสนา และตามกฎหมายอิสลาม ดังนั้นในการจัดการใดๆเพื่อ ความไม่สงบนี้ อาจต้องทบทวนในเรื่องดังกล่าวด้วย กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1.กลุ่ ม นั ก วิ ช าการ ประกอบด้ ว ยนั ก วิ ช าการ ศาสนา นักวิชาการกฎหมาย นักวิชาการด้านสาธารณสุข นัก วิ ช าการด้ า นเศรษฐศาสตร์ นั ก วิ ช าการอิ ส ระ และ ผู้แทนจาก สวรส. ภาคใต้ มอ. 2.ภาคประชาสั งคม ประกอบด้ วยผู้ แ ทนจาก กลุ่มประชาชน ผู้นําศาสนา 3.ภาครั ฐ ประกอบด้ ว ย ผู้ แ ทนจาก ศอ.บต. ผู้นําท้องถิ่น ผู้นําทางธรรมชาติ และผู้แทนจากองค์การ บริหารส่วนท้องถิ่น

วิก ฤตความรุ นแรงของสถานการณ์ ในจั งหวั ด ชายแดนภาคใต้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะอย่างรุนแรงทั้ง ทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ การรวบรวมข้อมูล อย่ า งต่ อ เนื่ อง เริ่ ม เดื อ นมี น าคม 2547 โดยใช้ ก าร สอบถามและการสัมภาษณ์ รวมถึงการจัดการสนทนา กลุ่มและเวทีระดมสมอง ใช้วิธีการประชุมกลุ่มเพื่อการ วิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม 2547 จนถึง เดือนสิงหาคม 2549 มีการก่อเหตุความรุนแรงรวมทั้งสิ้น 5,460 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 1,730 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2,513 คน ในจํานวนนี้เป็นบุคลากรสาธารณสุข 22 คน และอาสาสมั ค รสาธารณสุ ข 31 คน และแนวโน้ ม เหตุการณ์จะมีความรุนแรงมากขึ้น โรงพยาบาลทุกแห่ง ในพื้นที่ต้องปรับตัวตามสถานการณ์ บุคลากรต้องระวัง ตัวมากขึ้นโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การงดสวม เครื่องแบบ การปรับเวลาทํางาน ลดงานบริหารเชิงรุก โดยเฉพาะงานสร้างเสริมสุขภาพ และงานป้องกันโรค ซึ่ง อาจจะส่งผลกระทบในระยะยาว คือจะมีการซ่อมสุขภาพ มากกว่าสร้างสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มระบบรักษา ความปลอดภัย การสํารองอาหาร บางพื้นที่จัด อสม.มา ปฏิบัติงานคู่กับเจ้าหน้าที่อนามัยเพื่อความอุ่นใจ มีการ ดูแลขวัญและกําลังใจซึ่งกันและกัน สิ่งยึดโยงให้บุคลากร ยังคงอยู่ปฏิบัติงานได้ต่อไปคือศรัทธาจากชุมชนและการ เป็นคนในพื้นที่ ปริ ม าณผู้ ป่ ว ยนอกและผู้ ป่ ว ยในโรงพยาบาล ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่ปริมาณผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่สถานี อนามัยลดลง และมีการมาคลอดที่โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และผู้ป่วยโรงเรื้อรัง มารับเข้าเป็นผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น ผู้ป่วย ภาวะแปรปรวนทางจิตและพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ ชัด ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร พบว่าการสูญเสียและ การทดแทนใกล้ เ คี ย งกั น และยั ง คงขาดแคลนแพทย์ เฉพาะทางบางสาขา จํานวนพยาบาลวิชาชีพกําลังจะเป็น ปัญหามากขึ้นหากเหตุการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย รัฐพยายาม วิธีดําเนินการ วางมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น คือ การแก้ปัญหาความ 1) ทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์วรรณกรรม ปลอดภัย ในชี วิต การสร้ า งระบบสนับ สนุน ด้ว ยการให้ เกี่ยวกับการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะ คําปรึกษา การส่งต่อ จัดบุคลากรเสริม และการรักษา พื้ น ที่ การปฏิ รู ป ระบบความยุ ติ ธ รรม การปฏิ รู ป บุคลากรให้คงอยู่ ส่วนมาตรการระยะยาว คือ การเร่ง


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

การศึกษา การปฏิรูประบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม ประเพณี วัฒนธรรม 2) จัดเวทีเสวนากลุ่ม โดยเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้ง ในส่ ว นภาครั ฐ ภาคประชาสั ง คม เข้า มามี ส่ ว นร่ ว ม แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ และพิจารณา 3) ยกร่างข้อเสนอนโยบายเพื่อนําเสนอแก่ผู้นํา ชุ ม ชน ผู้ นํ า ศาสนา ศอ.บต. หน่ ว ยงานและผู้ ที่ มี ส่ ว น เกี่ยวข้องในพื้นที่ 4) จัดเวทีวิพากย์ข้อเสนอนโยบายเพื่อนําเสนอ แก่ผู้นําชุมชน ผู้นําศาสนา ศอ.บต. หน่วยงาน และผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ 5) สรุปและจัดทําข้อเสนอนโยบายเพื่อการ ปฏิ รู ป โครงสร้ า งการบริ ห ารจั ด การเฉพาะพื้ น ที่ การ ปฏิรูประบบความยุติธรรม การปฏิรูประบบการศึกษา การปฏิ รูป ระบบเศรษฐกิ จ การปฏิ รู ปสั ง คม ประเพณี วัฒนธรรม ระยะเวลาดําเนินการ 1 เดือน ระหว่างวันที่ 4 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2551 ผลการศึกษา ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบั น วิ จั ย ระบบสุ ข ภาพภาคใต้ ห าวิ ท ยาลั ย สงขลา นครินทร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เครือข่ายสมัชชา สุ ข ภาพในสามจั ง หวั ด เครื อข่ า ยรั ฐ ประศาสนศาสตร์ ภาคใต้ ได้ร่วมกันพัฒนานโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา ระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่อเสนอต่อสมัชชา สุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 มีข้อเสนอนโยบายแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาระบบสุขภาพในพื้ นที่ พหุวั ฒนธรรมสํา หรั บ พิจารณารับไปดําเนินการในด้านต่างๆโดยหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องดังนี้ 1.ข้อเสนอในการจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและ ส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1.1 ตราพระราชบัญ ญัติ จั ดตั้ ง “ทบวงการ บริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” (Southern Border Provinces Development Administration Bureau- SBPAB) ฐานะเทียบเท่ากระทรวง แต่เป็นการ ปกครองส่ว นภูมิ ภาค และการบริหารงานส่ว นท้องถิ่ น

54

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

แบบพิเศษ โดยมีรัฐมนตรีทบวงเป็นผู้ดูแลนโยบาย ส่วน ระดับข้าราชการประจํามีปลัดทบวง รองปลัดทบวง และ ผู้ อํา นวยการเขตทํ า หน้ า ที่ ดู แ ลในแต่ ล ะพื้ น ที่ ใ นฐานะ ข้ า ราชการส่ ว นภู มิ ภ าค แบบพิ เ ศษ ควบคู่ ไ ปกั บ การ ปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ทุ ก ระดั บ สํ า หรั บ เป็ น องค์ ก ร ประสานงานการบริหารและการปกครองจังหวัดชายแดน ใต้ ในลั กษณะคล้ ายกั บศูน ย์อํา นวยการบริหารจั งหวั ด ชายแดนใต้ (ศอ.บต) เพื่อให้เป็นองค์กรหลักที่มีอํานาจ หน้า ที่ในการอํา นวยการและการแก้ปั ญหานโยบายใน การบริ ห ารในสามจั ง หวั ด ภาคใต้ และขั บ เคลื่ อ น ยุท ธศาสตร์ ที่ชั ดเจนที่ร วมพลัง ภาคประชาสัง คม ภาค ท้องถิ่น และภาครัฐเข้าด้วยกัน 1.2 จัดให้มี “สมัชชาประชาชนจังหวัดชายแดน ภาคใต้” (Chamber of Southern Border ProvincesCSBP) หรือสภาประชาชนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเป็ น องค์ ก ารตามบทบั ญ ญั ติ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ ใน ลัก ษณะสภาที่ ป รึ กษาและกลั่ น กรองนโยบายโดยการ คัดเลือก หรือเลือกตั้งจากกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนที่ หลากหลาย ผู้ นํ า ท้องถิ่ น เป็ น ผู้ ป ระสานนโยบายและ แผน ที่ผ่านกระบวนการจัดทําแผนชุมชน อํานวยความ ยุติธรรม รวมทั้งดูแลตรวจสอบบุคลากร งบประมาณที่ นํา ลงไปสู่จั ง หวั ด อํา เภอ และหน่ว ยการปกครองส่ ว น ท้องถิ่นในทุกระดับ 1.3 ให้มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับ ตํ า บล และเทศบาลเหมื อนรู ป แบบเดิ ม ที่ ม าจากการ เลือกตั้งโดยประชาชนในท้องถิ่น มีอํานาจในการเก็บภาษี และบริ ห ารงบประมาณการคลั ง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น เต็ ม ที่ มี อํานาจในการออกข้อบัญญัติ รวมทั้งเพิ่มอํานาจในการ จั ด การท้ อ งถิ่ น ในเรื่ อ งทางศี ล ธรรม วั ฒ นธรรมและ ประเพณีให้มากขึ้น เช่นการกําหนดเขตปลอดอบายมุข ตํารวจศีลธรรม ประกาศห้ามเยาวชนออกนอกบ้านใน ยามวิกาลเว้นแต่มีผู้ปกตรองอยู่ด้วย ฯลฯ 1.4 .ในระดับพื้นที่ ควรมีองค์กรสภาผู้รู้ทาง ศาสนา หรื อ ปราชญ์ ช าวบ้ า นในระดั บ ตํ า บลโดยการ กําหนดนโยบายระดับท้องถิ่นจะต้องได้รับการรับรองจาก สภาผู้รู้ทางศาสนา และประชาชน สมาชิกสภานี้ได้มา จากการเสนอชื่อและการเลือกสรรจากคณะกรรมการ ชุ ม ชนผู้ นํ า ทางศาสนา องค์ ก รภาคประชาชนและ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

55

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

1) เป็นองค์กรอิสระที่มีความเป็นอิสระอย่าง แท้จริง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี หรือ ศอ.บต 2) เป็นองค์กรที่ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ 3) เป็นองค์กรที่ประชาชนสามารถไว้วางใจ เข้าถึงง่าย และใช้ภาษาถิ่นได้ 4) เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงกับองค์กร ทางศาสนาในชุมชน 2.2 จัดตั้ง “ศาลแผนกคดีครอบครัวและมรดก มุส ลิม ” เป็ นแผนกหนึ่ งในศาลยุ ติธ รรม โดยมีลั กษณะ สําคัญคือ 1) มีความเป็นอิสระในการดําเนินการต่างๆ ทางคดีตามที่กฏหมายอิสลามบัญญัติอย่างสมบูรณ์ 2) กําหนดให้ “ศาลแผนกคดีครอบครัวและ มรดกมุสลิม” มี 2 ชั้นคือ ศาลชั้นต้น และศาสชั้นฎีกา 3) ให้ดาโต๊ะยุติธรรมเป็นผู้มีอํานาจแต่ฝ่ายเดียว ในการตัดสินชี้ขาดตัดสินคดีในศาสนาอิสลาม 4) ปรับปรุงแก้ไข”หลักกฎหมายอิสลาม” ที่ใช้ อยู่ ใ นปั จ จุ บั น โดยจั ด ทํ า “หลั ก กฎหมายสารบั ญ ญั ติ อิสลาม” และ “หลักกฎหมายวิธีสบัญญัติอิสลาม และ ควรกําหนดกรอบแนวทางคือ 4.1 ให้เป็นหลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยเรื่อง ครอบครั ว และมรดก และบทบั ญ ญั ติ ลั ก ษณะอื่ น ที่ เกี่ยวข้องด้วยเท่าที่จะทําให้มุสลิมดําเนินการทางศาลได้ โดยมิต้องฝ่าฝืนหลักกฎหมายอิสลาม 4.2 ให้ยึดถือหลักศาสนบัญญัติตามแนวทาง (มั ซ ฮั บ ) ชาฟิ อี เป็ น สํ า คั ญ ในการจั ด ทํ า หลั ก กฎหมาย “หลักกฎหมายสารบัญญัติอิสลาม” และ “หลักกฎหมาย วิธีสบัญญัติอิสลาม” 5) ให้คดีที่โจทย์และจําเลยเป็นมุสลิม และคดีที่ จํ า เลยฝ่ า ยเดี ย วเป็ น มุ ส ลิ ม อยู่ ภ ายใต้ อํ า นาจของศาล อิสลาม หรือ “ศาลคดีครอบครัวและมรดกมุสลิม” ด้วย 2.3.ให้มีบทบัญญัติเรื่องทนายความ ผู้เชี่ยวชาญ 2. ข้อเสนอนโยบายด้านการปฏิรูประบบความยุติธรรม และผู้ช่วยดาโต๊ะยุติธรรม และการประนีประนอมไกล่ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกลี่ย บรรจุอยู่ในหลักกฎหมายวิธีสบัญญัติด้วย 2.1 จัด ตั้ง “คณะกรรมการรับ เรื่องราวร้อง 2.4 .ให้ มี ก ารผลิ ตและพัฒ นาบุค ลากรทาง ทุกข์” เป็นองค์กรที่มีลักษณะสําคัญคือ กฎหมายอิสลาม ในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก มากขึ้น สถาบัน การศึ กษาในท้ องถิ่น สภาผู้ รู้ฯ เป็ นที่ ปรึ กษาใน กิจการศาสนาและศีลธรรมของสังคมขององค์กรบริหาร ส่ ว นท้ อ งถิ่ น สมาชิ ก ที่ ม าจากการคั ด สรรนี้ ค วรเป็ น กรรมการโดยตําแหน่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จํานวน 1 ใน 3 ของสมาชิกสภาท้องถิ่นเพื่อให้มีอํานาจ ในการยับยั้งในกรณีที่ผู้นําท้องถิ่นกระทําผิดทางนโยบาย และเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบ 1.5 พัฒนาระบบกฎหมายอิสลามและกฎหมาย ตามประเพณี หรื อ ระบบยุ ติ ธ รรมทางเลื อ ก ระบบ ยุติธรรมชุมชน โดยการประสานกับองค์กรสันติยุติธรรม สร้ า งความชอบธรรมในอํ า นาจการเมื องการปกครอง (Legitimate political authority) เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นไว้วางใจต่ออํานาจ 1.6 ส่วนการปกครองและการบริหารกิจการใน ระดับหมู่บ้านและชุมชน จะต้องปลอดภัยและมั่นคงด้วย โดยกระทรวงยุ ติ ธ รรมรั บ ผิ ด ชอบในการพั ฒ นาแผน ยุทธศาสตร์ยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้สามารถ อํ า นวยการให้ เ กิ ด การใช้ ก ฎหมายอิ ส ลามที่ เ กี่ ย วกั บ ครอบครัวและมรดก 1.7 มีระบบการจัดการความมั่นคงของหมู่บ้าน และชุมชนแบบบูรณาการตามพระราชบัญญัติลักษณะ การปกครองส่วนท้องที่ พ.ศ. 2551 ตามโครงสร้างใหม่ ของกฎหมายฉบับนี้ ผู้ใหญ่บ้านมีอายุการดํารงตําแหน่ง จนเกษียณอายุ 60 ปี ควรมีการปรับปรุงการทํางานของ คณะกรรมการหมู่บ้ า นให้ มีค วามมั่ นคงและมีส่ ว นร่ ว ม มากขึ้น 1.8 เชื่อมโยงระบบย่อยที่ประกอบด้วยระบบ ผู้ นํ า ระบบการปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ระบบยุ ติ ธ รรม ระบบการศึ ก ษา ระบบราชการ ระบบการพั ฒ นา เศรษฐกิ จ ระบบวั ฒ นธรรม ระบบการจั ด การความ ขัดแย้งและความมั่นคงในชุมชน รวมทั้งระบบสวัสดิการ สังคมบนฐานของชุมชน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

56

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

2.5 ให้มีการจัดตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์อย่าง 4.3 ให้ ออกกฎ ระเบี ย บคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค น้อย 1 ศูนย์ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือพื้นที่ อาหารฮาลาล และจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลในพื้นที่ ใกล้เคียง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นและมาตรฐานของอาหารฮาลาลใน ประเทศไทย และต้ อ งบั ญ ญั ติ ก ฏหมายเกี่ ย วกั บ การ 3. ข้อเสนอนโยบายด้านการศึกษา คุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคมุ ส ลิ ม ในประเทศไทยให้ ไ ด้ รั บ การ 3.1 ปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาใน คุ้มครองบริโภคอาหารฮาลาลตามหลักการของอิสลาม พื้นที่ โดยให้มีหน่วยงานระดับอําเภอและระดับจังหวัด โดยหากมีการปลอมแปลงและปนเปื้อนในอาหารฮาลาล เพื่ อทํ า หน้ า ที่ ดู แ ลและการจั ด การศึ ก ษาของโรงเรี ย น จะต้ อ งมี ก ารรั บ ผิ ด ชอบจากผู้ ป ระกอบการในทาง เอกชนสอนศาสนา และให้ ค นในพื้ น ที่ เ ข้ า ใจศาสนา กฎหมาย อิสลามที่ลุ่มลึก และมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาใน 4.4 บัญญัติกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์อิสลาม พื้นที่เป็นอย่างดีเป็นผู้อํานวยการหน่วยงาน เป็นประเภทหนึ่งของรูปแบบสหกรณ์และให้สามารถทํา 3.2 จั ด ตั้ ง กองทุ น กู้ ยื ม ปราศจากดอกเบี้ ย ธุรกรรมทางการเงินได้หลายประเภทมากขึ้นเพื่อรองรับ สําหรับโรงเรียนตาดีกา และสถาบันการศึกษาปอเนาะ ความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และจัดให้มีกองทุนเพื่อการศึกษาที่ปราศจากดอกเบี้ยใน 4.5 ให้รัฐจัดให้มีสิ่งอํานวยความสะดวกในการ ระดับบัณฑิตศึกษา จัดเก็บผลิตผลทางการเกษตรและประมง เช่น ยุ้ง ฉาง 3.3 ให้โรงเรียนของรัฐทุกโรงเรียนจัดตารางการ ห้องเย็น และอื่นๆที่จําเป็น เรียนการสอนที่เอื้อให้เด็กได้ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างเป็น รูปธรรม 5.ข้อเสนอเชิง นโยบายด้ า นการปฏิ รู ป สั ง คม ประเพณี 3.4 เปิดโอกาสให้โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สามารถ วัฒนธรรม กําหนดวันศุกร์และวันเสาร์หรือวันสําคัญทางศาสนาอื่นๆ 5.1 เสนอให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับองค์กร เป็นวันหยุดเรียนประจําสัปดาห์ของโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ ปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ จัด สอดคล้ องกับ วิถีชี วิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่ น และ ระเบี ย บสั ง คมให้ ส อดคล้ อ งตามหลั ก การศาสนา โดย เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการยอมรั บ ความหลากหลายทาง กําหนดให้เป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติดและแหล่งอบายมุข วัฒนธรรม 5.2 กําหนดให้วันรายออีดิลฟิตรี วันรายออีดิลอ 3.5 ให้บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับสันติศึกษาวิถีชีวิต อัฏฮา และวันขึ้นปีใหม่ของอิสลามเป็นวันหยุดราชการใน ท้องถิ่น และศาสนาเปรียบเทียบในหลักสูตรแกนกลาง พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.3 กําหนดให้วัน ศุกร์ หรือวันใดวันหนึ่งใน 3.6 สนับสนุนให้มีโรงเรียนพิเศษ หรือห้องเรียน สัปดาห์เป็นวันที่งดเว้นจากการซื้อขายสุรา และให้สถาน พิเศษในโรงเรียนเพื่อจัดการศึกษาให้เด็กในพื้นที่ บันเทิงหยุดบริหารในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. ข้อเสนอนโยบายด้านเศรษฐกิจ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความสมัครใจ และสอดคล้องกับบริบท 4.1 ให้มีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจชายแดนใต้ ของแต่ละพื้นที่ เพื่อทํ าหน้ าที่กํ าหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ให้กั บ 5.4 ให้กระทรวงหรือหน่วยงานต้นสังกัดออกกก รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ กระทรวงหรือคําสั่งอนุญาตให้มุสลิมได้รับการยกเว้นการ 4.2 บัญญัติกฎหมายให้มีองค์กรหรือสถาบัน เข้าร่วมพิธีกรรม หรือกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับศาสนา จัดการทรัพยากรที่เป็นอิสระ ที่มีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย อื่นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น ตัวแทนองค์กร 5.5 เสนอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความ ประมงพื้นบ้าน ตัวแทนองค์กรประมงพาณิชย์ เพื่อทํ า มั่ น คงของมนุ ษ ย์ กระทรวงสาธารณสุ ข ร่ ว มกั บ หน้าที่ควบคุมให้มีการบัญญัติตามกฎหมาย ออกนโยบาย คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดในพื้นที่ 5 จังหวัด และมาตรการในการจัดการทรัพยากรในทะเล


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

ชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง โดยจัดให้มีหลักสูตร เพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิต คู่ การเข้ าใจถึ งสิ ทธิข องสามีภ รรยา รวมถึ ง การตรวจ สุ ข ภาพ การอบรมเลี้ ย งดู บุ ต รตามหลั ก การศาสนา กองทุนครอบครัว การดูแลทางสุขภาพของครอบครัว 5.6 เสนอให้ ก รมประชาสั ม พั น ธ์ ร่ ว มกั บ กระทรวงวั ฒ นธรรมจั ด ให้ มี ส ถานี โ ทรทั ศ น์ สํ า หรั บ รายการเสริมสร้างสถาบันครอบครัวโดยเฉพาะ 5.7 เสนอให้ออกกฏหมายอนุญาตให้มีกองทุน ประกันภัยที่สอดคล้องกับหลักการศาสนาอิสลามและจัด ให้มีก องทุ นซะกาตเป็นสวัสดิ การสังคมโดยมีกฎหมาย รองรับ 5.8 เสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมจัดให้มีสถาบัน พัฒนาผู้นําทางศาสนาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.9 เสนอให้มีศูนย์วัฒนธรรมและภาษามลายู ปัตตานี ซึ่งครอบคลุมสามจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีหน้าที่ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารใช้ ภ าษามลายู ปั ต ตานี ตลอดจนมีการตรวจสอบการให้ภาษามลายูปัตตานีให้มี ความถูกต้อง 5.10 เสนอให้มีการจัดทําแผนแม่บทการพัฒนา สื่อมวลชนในท้องถิ่น โดยเน้นในเรื่องเนื้อหาการใช้ภาษา มลายูปัตตานี และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น รวมทั้งการ ใช้สื่อมวลชนเพื่อให้มีการสื่อสารความจริงจนเกิดความ น่าเชื่อถือ สรุปผลการศึกษา การพั ฒ นานโยบายแห่ ง ชาติ เ พื่ อ การพั ฒ นา ระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพื่อเสนอต่อสมัชชา สุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 1 ดําเนินการร่วมกันโดย ศูนย์ อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันวิจัย ระบบสุ ข ภาพภาคใต้ มหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เครือข่ายสมัชชาสุขภาพใน สามจังหวัด เครือข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ภาคใต้นั้น ได้ ทํา ให้มี ข้ อเสนอเชิ งนโยบายที่เกี่ ยวข้ องกั บ การปฏิ รู ป โครงสร้างการบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ การปฏิรูประบบ ความยุ ติ ธ รรม การปฏิ รู ป ระบบการศึ ก ษา การปฎิ รู ป ระบบเศรษฐกิ จ การปฏิ รู ป ระบบสั ง คม ประเพณี วัฒนธรรม ทั้ง นี้เพื่อเสนอให้ แนวทางการพั ฒนาระบบ

57

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...

สุ ข ภาพในพื้ น ที่ พ หุ วั ฒ นธรรมมี ค วามชั ด เจนและเป็ น เอกภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทําให้กระบวนการขับเคลื่อน นโยบายสู่การปฏิบัติในพื้น ที่มีความเป็น เอกภาพอย่า ง ต่อเนื่อง และบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้อเสนอแนะสําหรับผู้บริหาร 1.ประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่สรุปจากพื้นที่ มีความจํ าเพาะ หากเรื่องของผู้นั บถือศาสนาอิสลามก็ อาจจะต้องพิจารณาการใช้ข้อเสนอนี้กับประชาชนที่นับ ถือศาสนาอิสลามหรือเฉพาะในพื้นที่พิเศษ 2. การกลั่นกรองข้อเสนอแนะ อาจต้องมีคณะ กรรมกรทํ า หน้ า ที่ ก ลั่ น กรองข้ อ เสนอแนะ เพื่ อให้ เ กิ ด ความรู้สึกไม่แตกแยกระหว่างกลุ่มชนในการอยู่ร่วมกันใน พื้นที่พหุวัฒนธรรม 3. ควรต้องมีการจัดลําดับของข้อเสนอแนะว่า ข้อใดจําเป็นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด โดยคณะทํางาน 3 ฝ่ายเช่นเดียวกัน ร่วมกับการนําเสนอในสมัชชาประชาชน หรือการเสนอข้อมูลกลับให้ประชาชนพิจารณา เพื่อลด ความแตกแยกในประเทศ และ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อําเภอในจังหวัดสงขลา เอกสารอ้างอิง เลหล้ า ตรี เ อกานุ กู ล . 2549. การปรั บ ตั ว เข้ า กั บ วั ฒ นธรรมไทยและผลกระทบของการถู ก จํ า กั ด สิ ท ธิ์ ที่ มี ต่ อ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของบุ ค คลไร้ สั ญ ชาติ ไ ทยชาวไทยใหญ่ จั ง หวั ด เชี ย งราย. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. สังคมวิทยา. มหาวิทยาลัย รามคําแหง ผจงจิตต์ อธิคมนันทะ. 2543. การเปลี่ยนแปลงสังคม และวั ฒ นธรรม. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 10. กรุ ง เทพฯ. สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง นิเทศ ติน ณะกุ ล. 2546. การเปลี่ ย นแปลงทางสัง คม และวั ฒ นธรรม. กรุ ง เทพมหานคร. แอ็ ค ที ฟ พริ้นท์. สนิท สมัครการ. 2542. การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กับ การพั ฒ นาการของสั ง คม. พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 3. กรุงเทพมหานคร. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์. โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุกรี หลังปูเต๊ะ

สอบต. 2554. วาระนโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา ระบบสุ ข ภาพฯ. สมั ช ชาสุ ข ภาพภาคใต้ . 29 ธันวาคม 2554. สสส. 2551. นวัต กรรมสร้างสุ ขประเด็นพหุ ปัญญาสู่ สั ง คมพหุ วั ฒ นธรรม. จั ด พิ ม พ์ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพใต้. 2554. รอบรู้สุขภาพ ใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดพิมพ์

58

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนา...



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

59

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

Article Islam and Man Sumitra Saengwanich M.S. (Agriculture), Lecturer Department Science Faculty of Science and Technology Yala Islamic University Abstract According to Islam, Human beings were created by Allah Subhanahuwataala. The first man was Adam, created from clay whereas descendants were created from sperms and eggs. However the theory of evolution said that all living things and human beings came from a single cell or non living things. The man in Islam is created to worship Allah and he do as his vicegerent on earth and they are separated in to two groups; the belelievers or Muslim and the nonbelievers or Kafir. Keyword: Islam, Man, Charles Darwin, Evolution


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

60

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

บทความวิชาการ อิสลามและมนุษย์ สุมิตรา แสงวนิชย์ วท.ม. (เกษตรศาสตร์), อาจารย์ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ ในทัศนะของอิสลาม มนุษยชาติล้วนถูกสร้างมาจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทั้งสิ้น โดยมนุษย์คนแรก เป็นผู้ชาย คืออาดัม ถูกสร้างมาจากดิน ขณะที่ลูกหลานของอาดัมถูกสร้างมาจากอสุจิและไข่ แต่ทัศนะของทฤษฎี วิวัฒนาการนั้นสิ่งมีชีวิตทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วยล้วนวิวัฒนาการมาจากเซลล์เดียวหรือเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต มนุษย์ ในอิสลามถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเคารพภักดีต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฯ และเป็นผู้แทนหรือผู้ปกครองของพระองค์บนโลกนี้ และมนุษย์แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มผู้ศรัทธาหรือกลุ่มมุสลิม และกลุ่มผู้ปฎิเสธหรือกลุ่มกาฟิร คําสําคัญ: อิสลาม, มนุษย์, ชาร์ลส ดาร์วิน, วิวัฒนาการ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

61

บทนํา เรื่องราวของมนุษย์ได้แสดงไว้อย่างชัดแจ้งใน คั ม ภี ร์ อั ล กุ ร อานและสุ น นะฮฺ ข องท่ า นนบี มุ ฮั ม มั ด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทุกวันนี้ ข้อมูลต่างๆที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ มนุ ษ ย์ ไ ด้ ถู ก เปิ ด เผยจากการพิ สู จ น์ ด้ ว ย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) ไม่ว่าจะ เป็ น การสื บ พั นธุ์ ข องมนุ ษ ย์ การเกิ ด ของมนุ ษ ย์ ระบบ ต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ ทั้งหมดล้วนเป็นไปตามวิถี ของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสัจธรรม ที่ ไ ม่ มี ข้ อ ขั ด แย้ ง ใดๆ และไม่ มี ศ าสนาใดที่ จ ะกล่ า วถึ ง มนุษย์ได้ชัดเจนเท่าศาสนาอิสลาม ขณะนี้จึงเป็นที่แน่ชัด แล้วว่า ศาสนาอิสลามคือแนวทางอันเที่ยงตรงที่มนุษย์ สมควรที่จะน้อมรับโดยดุษฎี มนุษย์ ในทางภาษาศาสตร์ตรงกับคํ าในภาษา อาหรับว่า “อินซาน” ซึ่งอยู่ในรูปเอกพจน์ และตรงกับคํา ว่า “นาซ” หรือ “อินซฺ” ในรูปพหูพจน์ ซึ่งหมายถึง บุคคล คน ผู้คน มนุษย์ มนุษยชาติ ซึ่งคําทั้งสามปรากฎ อยู่ ต่ า งที่ ต่ า งวาระทั้ ง ในอั ล กุ ร อานและสุ น นะฮฺ อ ย่ า ง มากมาย เช่น ในอัลกุรอาน อัลลอฮฺ ซุบฯ ตรัสว่า ‫ﻖ‬ ‫ﻠ‬‫ﺧ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻢ‬ ‫ﻨ ﹸﻜ‬‫ﻒ ﻋ‬  ‫ﺨ ﱢﻔ‬  ‫ﻳ‬ ‫ﻪ ﹶﺃ‬ ‫ﺪ ﺍ ﻟﹼﻠ‬ ‫ﻳ ﹺﺮ ﻳ‬ ‫ﻴﻔﹰﺎ‬‫ﺿﻌ‬  ‫ﺎ ﹸﻥ‬‫ﺍﻹِﻧﺴ‬

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

จุดกําเนิดที่แท้จริงของมนุษย์ในทัศนะอิสลามนั้น คือ อัลลอฮฺ ซุบฯ พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ซึ่งมนุษย์และ สรรพสิ่งทั้งหลาย รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่างๆล้วนเกิดขึ้นมา จากการสร้างของอัลลอฮฺ ซุบฯ ทั้งสิ้น ไม่ได้เกิดขึ้นเอง หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์หรือ พระประสงค์ของอัลลอฮฺ ซุบฯ การดํารงอยู่ของสรรพสิ่ง ทั้งหลาย เป็นส่วนหนึ่งของพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ซุบฯ (เสรี พงศ์พิศ และคณะ 2524: 125 ; เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี 2539: 2647-2648 ; อนัส แสง อารีย์ 2546: 25) ซึ่งพระองค์ ซุบฯ ตรัสว่า ُ ‫ﻴ ﹲﻞ‬‫ﻭﻛ‬ ‫ﻲ ٍﺀ‬ ‫ﺷ‬ ‫ﻋﻠﹶﻰ ﹸﻛ ﱢﻞ‬ ‫ﻮ‬ ‫ﻫ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻲ ٍﺀ‬ ‫ﺷ‬ ‫ﻖ ﹸﻛ ﱢﻞ‬ ‫ﻟ‬‫ﺎ‬‫ﺍﻟﻠﱠﻪ ﺧ‬ ความว่า “อัลลอฮฺ ซุบฯ เป็นผู้สร้างทุกสิ่ง และพระองค์เป็นผู้ดูแลคุ้มครองทุกสิ่ง” (อัลกุรอาน อัซซุมัร: 62) ‫ﻤﻠﹸﻮ ﹶﻥ‬ ‫ﻌ‬ ‫ﺗ‬ ‫ﺎ‬‫ﻭﻣ‬ ‫ﻢ‬ ‫ﺧﹶﻠ ﹶﻘ ﹸﻜ‬ ‫ﻪ‬ ‫ﺍﻟﱠﻠ‬‫ﻭ‬ ความว่า “และอัลลอฮฺ ซุบ ฯ ได้สร้าง พวกท่ า น และสิ่ ง ที่ พ วกท่ า นได้ ทํ า ขึ้นมา” (อัศศ็อฟฟาต: 96)

ในขณะที่ ตํ า ราของชาร์ ล ส ดาร์ วิ น ที่ ชื่ อ จุ ด กําเนิดของสิ่งมีชีวิต (The Original of Species) ได้ กล่าวว่า “สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาจนมีลักษณะที่ต่างกัน” นอกจากนี้ ชาร์ ล ส ดาร์ วิ น ยั ง ได้ นํ า เสนอทฤษฎี ส่วนในทางวิชาการ มนุษย์ หมายถึง ผู้ปกครอง วิ วั ฒ นาการของสิ่ ง มี ชี วิ ต ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า สิ่ ง มี ชี วิ ต ทั้ ง หลาย หรื อ ผู้ แ ทนของอั ล ลอฮฺ ซุ บ ฯ ซึ่ ง มาจากคํ า ว่ า “เคาะ วิวัฒนาการมาจากเซลล์เดี ยวในระยะแรกเริ่มของโลก ลีฟะฮฺ” ในภาษาอาหรับ (ยูโลน เภอหีม 2541: 14) หรื อ สิ่ ง มี ชี วิ ต เกิ ด จากสิ่ ง ไม่ มี ชี วิ ต (Spontaneous ซึ่งปรากฎหลักฐานในอัลกุรอานว่า อัลลอฮฺ ซุบ generation) และมีขบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ฯ ตรัสว่า (Natural Selection) คือสิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนผันแปร มี ‫ﻴ ﹶﻔ ﹰﺔ‬‫ﺧﻠ‬ ‫ﺽ‬ ‫ﺭ ﹺ‬ ‫ﻲ ﺍ َﻷ‬‫ﻋ ﹲﻞ ﻓ‬ ‫ﺎ‬‫ﻲ ﺟ‬‫ﹺﺇﻧ‬ ความสามารถในการถ่ า ยทอดลั ก ษณะและคุ ณ สมบั ติ และมี ก ารดิ้ น รนแข่ ง ขั น เพื่ อความอยู่ ร อด (Campbell ความว่า“แท้จริงข้า (อัลลอฮฺ ซุบฯ) จะ and et al: 9-10) ให้ มี ผู้ ป กครอง คน หนึ่ ง ใน พิ ภ พ ” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 30) ขั้นตอนในการสร้างมนุษย์ กําเนิดมนุษย์ ค ว า ม ว่ า “อั ล ล อ ฮฺ ซุ บ ฯ ท ร ง ปรารถนาที่ผ่อนผันให้แก่พวกเจ้า และ มนุษย์นั้น (อินซาน) ถูกบังเกิดขึ้นใน สภาพที่อ่อนแอ” (อันนิซาอฺ: 28)


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

62

ในอิสลาม มนุษย์ถือเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์สูงสุดใน บรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย อิสลามถือว่าการพิจารณาถึง ชี วิ ต มนุ ษ ย์ เ ป็ น เงื่ อ นไขที่ นํ า ไปสู่ ก ารรู้ จั ก และการ เข้าถึงอัลลอฮฺ ซุบฯ การที่มนุษย์รู้จักตัวเองย่อมนําไปสู่ การดําเนินชีวิตที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับการมีอยู่ของ เขาและธรรมชาติของเขา และการดําเนินไปของเขา (อนัส แสงอารีย์ 2546: 26) ในอิสลาม มนุษย์ทั้งหมดมีต้นกําเนิดมาจากพ่อแม่ คนเดียวกัน โดยมนุษย์คนแรกเป็นผู้ชาย (อาดัม) ได้ถูก สร้างขึ้นมาจากดิน ส่วนมนุษย์คนที่สองเป็นผู้หญิง (ฮา วา) ได้ถูกสร้างจากอาดัมเพื่อเป็นคู่ครอง และจากทั้งสอง นี้ มนุ ษ ย์ ก็ ไ ด้ แ พร่ ข ยายออกไป โดยสามารถสรุ ป ขบวนการสร้างและการแพร่ขยายมนุษย์ได้ 3 ขั้นตอน (เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี, 2539 หน้า 316-

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

317 : ยูโลน เภอหีม, 2541 หน้า 28-34, 62-69 : และอนัส แสงอารีย์, 2546 หน้า 26-32) ดังนี้คือ 1. การสร้างมนุษย์จากวัตถุต้นกําเนิด ซึ่งมี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกคือดิน ซึ่งเป็นวัตถุต้นกําเนิดของมนุษย์คน แรกเท่านั้น ชนิดที่สอง คืออสุจิและไข่ (ดังภาพที่ 1) ซึ่ง เป็นวัตถุต้นกําเนิด ลูกหลานของอาดัมจนถึงปัจจุบัน, ซึ่ง พระองค์อัลลอฮฺ ซุบฯ ทรงตรัสว่า ‫ﺝ‬ ‫ﺎ ﹴ‬‫ﻣﺸ‬ ‫ﺔ ﹶﺃ‬ ‫ﻧ ﹾﻄ ﹶﻔ‬ ‫ﻦ‬‫ﺎ ﹶﻥ ﻣ‬‫ﺎ ﺍ ﹾﻟﹺﺈ ﻧﺴ‬‫ﺧﹶﻠ ﹾﻘﻨ‬ ‫ﺎ‬‫ﹺﺇ ﻧ‬ ً‫ﲑﹰﺍ‬‫ﺑﺼ‬ ‫ﻴﻌﺎ‬‫ﺳﻤ‬ ‫ﻩ‬ ‫ﺎ‬‫ﻌ ﹾﻠﻨ‬ ‫ﺠ‬  ‫ﻪ ﹶﻓ‬ ‫ﻴ‬‫ﺘﻠ‬‫ﺒ‬‫ﻧ‬ ความว่ า “แท้ จ ริ ง เราได้ ส ร้ า งมนุ ษ ย์ จากน้ําเชื้อผสมหยดหนึ่ง เพื่อเราจะได้ ทดสอบเขา ดังนั้นเราจึงทําให้เขาเป็น ผู้ได้ยิน เป็นผู้ได้เห็น” (อัลอินซาน: 2)

ภาพที่ 1. แสดงถึงอสุจิของเพศชายกําลังจะเข้าสู่การปฎิสนธิ (Fertilization) กับไข่ของเพศหญิง โดยมีอสุจิเพียงตัวเดียว เท่านั้นที่จะผสมพันธุ์ (Gottfried 1993)

2. การทําให้เป็นรูปร่างสัณฐานมนุษย์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ 2.1 การสร้างรูปร่างสัณฐานที่มีวัตถุต้น กํ า เนิ ด มาจากดิ น อั ล ลอฮฺ ซุ บ ฯทรงรวบรวมดิ น จาก สถานที่ต่างๆ แล้วนํามาผสมกับน้ํากลายเป็นดินเหนียว ต่อมาพระองค์ทรงหมักดินเหนียวไว้ระยะหนึ่ง กลายเป็น ดินดํา หลังจากนั้นดินดําได้แปรสภาพเป็นดินเนื้อละเอียด หลังจากนั้นพระองค์ทรงนําไปบรรจุเบ้าหลอมเฉพาะเป็น รูปร่างสัณฐานของมนุษย์ และพระองค์ทรงปล่อยทิ้งไว้ จนแห้งเสมือนดินเผา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงรูปร่างสัณฐาน ของมนุษย์ (อาดัม) จากดินที่จับตัวกันแน่น

2.2 การสร้างรูปร่างสัณฐานของมนุษย์ (ลูกหลานของอาดัมจนถึงปัจจุบัน) จากอสุจิ โดยเชื้ออสุจิ และไข่ที่มีชีวิตทําการปฎิสนธิ ต่อมาเข้าสู่ระยะที่เป็นก้อน เลือด โดยเชื้อที่ได้รับการผสมเข้าไปฟักตัวอยู่ในมดลูก ต่อมาเข้าสู่ระยะก้อนเนื้อ ซึ่งเป็นระยะที่ก้อนเลือดเริ่มมี การเปลี่ยนแปลงเป็นรูปร่าง (ตัวอ่อน) ต่อมาเข้าสู่ระยะ กระดูก โดยการทําให้ตัวอ่อนพัฒนาการรูปร่างเป็นศีรษะ มือ และแขนทั้งสอง มีเส้นประสาท และเส้นเลือดเกิดขึ้น ต่อมาเข้าสู่ระยะการเป็นเนื้อ (ดังภาพที่ 2) ซึ่งเป็นระยะที่ มีก ารเปลี่ ยนแปลงหลายประการเกิด ขึ้น กับ ตั วอ่ อน ที่ สํา คัญ และเด่ นชั ด ที่สุ ดในระยะนี้ก็ คื อ การเปลี่ย นจาก รูปร่างไปยังการมีกระดูก ทําให้อวัยวะหลายๆส่วนเกิดขึ้น แต่ยังไม่สมบูรณ์ เช่น ปาก จมูก ใบหู เท้า แขน ขา เป็น


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

63

ต้ น ต่ อมาระยะรู ป ร่ า งหน้ า ตา และการทํ า ให้ ส มบู ร ณ์ เป็นระยะ รูปร่างที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นระยะที่มีการปรับ ให้ มี ค วามสมดุ ล ให้ แ ต่ ล ะคนมี รู ป ร่ า งหน้ า ตาที่ มี ลักษณะเฉพาะของตัวเอง ที่โน้มเอียง หรือคล้ายคลึงกับ พ่ อแม่ ญาติ ๆ หรื อ มี ห น้ า ตาที่ ไ ม่ เหมื อ นใคร สวยงาม หรือไม่สวยงาม สูงหรือต่ํา เพศชายหรือเพศหญิง เป็นต้น ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฯ ทรงตรัสว่า ‫ﻌﹶﻠ ﹶﻘ ﹶﺔ‬ ‫ﺎ ﺍ ﹾﻟ‬‫ﺨﹶﻠ ﹾﻘﻨ‬  ‫ﻋﹶﻠ ﹶﻘ ﹰﺔ ﹶﻓ‬ ‫ﻨ ﹾﻄ ﹶﻔ ﹶﺔ‬‫ﺎ ﺍ ﻟ‬‫ﺧﹶﻠ ﹾﻘﻨ‬ ‫ﻢ‬ ‫ﹸﺛ‬ ‫ﺎ‬‫ﻮ ﻧ‬ ‫ﺴ‬  ‫ﻋﻈﹶﺎﻣﹰﺎ ﹶﻓ ﹶﻜ‬ ‫ﻐ ﹶﺔ‬ ‫ﻀ‬  ‫ﻤ‬ ‫ﻦ ﺍ ﹾﻟ‬ ‫ﺧﹶﻠ ﹾﻘ‬ َ ‫ﻐ ﹰﺔ‬ ‫ﻀ‬  ‫ﻣ‬ ‫ﺮ‬ ‫ﺧ‬ ‫ﺧﻠﹾﻘﺎ ﺁ‬ ‫ﻩ‬ ‫ﺎ‬‫ﺸ ﹾﺄ ﻧ‬  ‫ﻢ ﺃﹶﻧ‬ ‫ﻤﹰﺎ ﹸﺛ‬‫ﻡ ﹶﻟﺤ‬ ‫ﻌﻈﹶﺎ‬ ‫ﺍ ﹾﻟ‬ ‫ﲔ‬  ‫ﻘ‬ ‫ﻟ‬‫ﺎ‬‫ﻦ ﺍﹾﻟﺨ‬ ‫ﺴ‬  ‫ﺣ‬ ‫ﻪ ﹶﺃ‬ ‫ﻙ ﺍﻟﱠﻠ‬ ‫ﺭ‬ ‫ﺎ‬‫ﺘﺒ‬‫ﹶﻓ‬

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

ความว่า “แล้วเรา (อั ลลอฮฺ ซุบฯ)ได้ ทําให้เชื้ออสุจิกลายเป็นก้อนเลือด แล้ว เราได้ ทํ า ให้ ก้ อนเลื อดกลายเป็น ก้ อน เนื้ อแล้ ว เราได้ ทํ า ก้ อนเนื้ อกลายเป็ น กระดูก แล้วเราหุ้มกระดูกนั้นด้วยเนื้อ แล้วเราได้เป่าวิญญาณให้เขากลายเป็น อี ก รู ป ร่ า งหนึ่ ง ดั ง นั้ น อั ล ลอฮฺ ท รง จํ า เริ ญ ยิ่ ง ผู้ ท รงเลิ ศ แห่ ง ปวงผู้ ส ร้ า ง” (อัลกุรอาน อัลมุอฺมินูน :14)

ภาพที่ 2 แสดงระยะการพัฒนาตัวอ่อนในมนุษย์ (Human Development) A. เกิดการปฎิสนธิ B. ระยะก้อนเลือด C. ระยะก้อนเนื้อ (Gottfried 1993) D. ระยะกระดูก (Gunstream 2000) E. ระยะการเป็นเนื้อ (Krogh 2002) 3. การทําให้มีชีวิต โดยการที่อัลลอฮฺทรงเป่า ทั้งหลายเคลื่อนไหวได้ แต่ยังหมายถึงลักษณะต่างๆ ของ วิ ญ ญาณของพระองค์ เ ข้ า ไปในรู ป ร่ า งเหล่ า นั้ น ซึ่ ง มนุษย์ที่ทําให้เขามีความสํานึก มีความคิด มีดุลพินิจ และ วิ ญ ญาณไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง แค่ เ พี ย งชี วิ ต ที่ ทํ า ให้ สิ่ ง มี ชี วิ ต การตั ด สิน ใจ มีก ารมองเห็ น มี การจํ า แนกแยกแยะ ซึ่ ง


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

64

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

อบีอับดิรเราะฮฺมาน อับดิลลาฮฺ อิบนิ มัสอู๊ด รอ คุณสมบัติของสิ่งเหล่านี้เองที่ทําให้มนุษย์ถูกแยกออกจาก สิ่งมีชีวิตอื่นๆ บนโลก และกลายเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี ฯ ได้กล่าวว่า ท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ได้กล่าวว่า และควรค่าแก่การเป็นตัวแทนของอัลลอฮฺ ซุบฯ ดังนั้น “โดยที่ท่านเป็นผู้พูดจริง ซึ่งได้รับการยืนยันว่า องค์ประกอบของมนุษย์จึงมี 2 อย่างคือ ร่างกายและ แท้จริงคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้น การบังเกิดของเขา วิญญาณ ซึ่งอัลลอฮฺ ซุบฯ ตรัสว่า จะถูกให้รวบรวมขึ้นในครรภ์มารดาของเขา สภาพเป็น อสุจิเป็นเวลา 40 วัน หลังจากนั้นก็เป็นเลือดก้อนใน ‫ﺮﹰﺍ‬‫ﺑﺸ‬ ‫ﻖ‬ ‫ﻟ‬‫ﺎ‬‫ﻲ ﺧ‬‫ﺔ ﹺﺇﻧ‬ ‫ﺋ ﹶﻜ‬‫ﻤﻠﹶﺎ‬ ‫ﻟ ﹾﻠ‬ ‫ﻚ‬  ‫ﺑ‬‫ﺭ‬ ‫ﹺﺇ ﹾﺫ ﻗﹶﺎ ﹶﻝ‬ จํ า นวนเวลาดั ง กล่ า ว หลั ง จากนั้ น ก็ เ ป็ น เนื้ อ ก้ อ นใน ‫ﻦ‬‫ﻪ ﻣ‬ ‫ﻴ‬‫ﺖ ﻓ‬  ‫ﺨ‬  ‫ﻧ ﹶﻔ‬‫ﻭ‬ ‫ﻪ‬ ‫ﺘ‬‫ﻳ‬‫ﻮ‬ ‫ﺳ‬ ‫ﲔ ﹶﻓﹺﺈﺫﹶﺍ‬ ‫ﻃ ﹴ‬ ‫ﻦ‬‫ﻣ‬ จํานวนเวลาเช่นเดีย วกัน หลังจากนั้นมะลั กก็จ ะถู กส่ ง ‫ﻦ‬ ‫ﻳ‬‫ﺎ ﹺﺟﺪ‬‫ﻪ ﺳ‬ ‫ﻮﺍ ﹶﻟ‬‫ﻲ ﹶﻓ ﹶﻘﻌ‬‫ﻭﺣ‬‫ﺭ‬ มายั งเขา แล้ว ก็ไ ด้เป่า วิญ ญาณเข้ าไป และจะถู กใช้ใ ห้ บันทึก 4 ถ้อยคําด้วยกัน โดยให้บันทึกเกี่ยวกับเครื่อง ความว่ า “จงรํ า ลึ ก ถึ ง ขณะที่ พ ระเจ้ า ยังชีพของเขา กําหนดอายุของเขา การงานของเขา และ (อั ล ลอฮฺ ซุ บ ฯ)ตรั ส แก่ ม ลาอิ ก ะฮฺ ว่ า เป็นคนชั่วหรือคนดี ... (อัลหะดิษ : บุคอรีและมุสลิม อ้าง แท้ จริ ง ข้า จะสร้า งมนุ ษ ย์ค นหนึ่ งจาก ในสมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ 2541: 19-20) ดิน ดังนั้น เมื่อข้าได้ทําให้เขามีรูปร่าง ในทางตรงกั นข้ าม นั กวิทยาศาสตร์ บางกลุ่ มได้ สมส่วนและได้เป่าวิญญาณจากข้าเข้า กล่าวถึงจุดกําเนิดของมนุษย์โดยใช้ทฤษฎีวิวัฒนาการของ ไปในตั ว เขา ฉะนั้ น พวกเจ้ า จงก้ ม ลง ชาร์ลส ดาร์วิน ซึ่งกล่าวว่า มนุษย์ในปัจจุบันกําเนิดมาจาก สุญูดต่อเขา” (อัลกุรอาน ศอด: 71สัตว์คล้ายลิงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ซึ่งมีกระบวนการ 72) เปลี่ยนแปลงรูปลักษณะบางอย่ าง 4 ขั้นคือ (Gottfried 1993: 477-481 ; Johson 2003: 480-483) ‫ﺪﹶﺃ‬ ‫ﺑ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻪ‬ ‫ﺧﹶﻠ ﹶﻘ‬ ‫ﻲ ٍﺀ‬ ‫ﺷ‬ ‫ﻦ ﹸﻛ ﱠﻞ‬ ‫ﺴ‬  ‫ﺣ‬ ‫ﺬ ﻱ ﹶﺃ‬ ‫ﺍ ﱠﻟ‬ 1. ออสเตรโลพิ เ คคั ส (Australopithecus) ‫ﻪ‬ ‫ﺴﹶﻠ‬  ‫ﻧ‬ ‫ﻌ ﹶﻞ‬ ‫ﺟ‬ ‫ﻢ‬ ‫ﲔ ﹸﺛ‬ ‫ﻃ ﹴ‬ ‫ﻦ‬‫ﻥ ﻣ‬ ‫ﺎ‬‫ﻖ ﺍ ﻟﹾﺈﹺﻧﺴ‬ ‫ﺧ ﹾﻠ‬ เกิ ด ขึ้ น เมื่ อ 3.6 -3.8 พั น ล้ า นปี ก่ อ นโดยพิ สู จ น์ จ าก ‫ﺦ‬ ‫ﻧ ﹶﻔ‬‫ﻭ‬ ‫ﻩ‬ ‫ﺍ‬‫ﺳﻮ‬ ‫ﻢ‬ ‫ﲔ ﹸﺛ‬ ‫ﻣ ﹺﻬ ﹴ‬ ‫ﺎﺀ‬‫ﻦ ﻣ‬‫ﺔ ﻣ‬ ‫ﺳﻠﹶﺎﹶﻟ‬ ‫ﻦ‬‫ﻣ‬ รอยเท้า และโครงกระดูก ฟอสซิลที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ที่ 3.5 ล้านปีก่อน ยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น ‫ﻊ‬ ‫ﻤ‬ ‫ﺴ‬  ‫ﻢ ﺍ ﻟ‬ ‫ﻌ ﹶﻞ ﹶﻟ ﹸﻜ‬ ‫ﺟ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻪ‬ ‫ﺣ‬ ‫ﺭ ﻭ‬ ‫ﻦ‬‫ﻴﻪ ﻣ‬‫ﻓ‬ 2. โฮโม ฮาบิลิส (Homo habilis) เป็นขั้นที่ ‫ﻭ ﹶﻥ‬‫ﺸ ﹸﻜﺮ‬  ‫ﺗ‬ ‫ﺎ‬‫ﻼ ﻣ‬ ‫ﻴ ﹰ‬‫ﺪ ﹶﺓ ﹶﻗﻠ‬ ‫ﺌ‬‫ﺍﹾﻟﹶﺄ ﹾﻓ‬‫ﺭ ﻭ‬ ‫ﺎ‬‫ﺑﺼ‬‫ﺍﹾﻟﹶﺄ‬‫ﻭ‬ จัดเป็นมนุษย์ขั้นแรก เกิดเมื่อประมาณ 2 พันล้านปีก่อน ถูก เรี ยกว่ า เป็ น มนุษ ย์ ที่ มีทั ก ษะ โดยพิ จ ารณาจากการ ความว่า “ผู้ทรงทําให้ทุกสิ่งที่พระองค์ สร้างเครื่องมือและเครื่องนุ่งห่ม ทรงสร้างมันให้ดีงาม และพระองค์ทรง 3. โฮโม อีเรคตัส (Homo erectus) เป็น เริ่มการสร้างมนุษย์จากดิน แล้วทรงให้ ฟอสซิ ล ที่ พ บในระยะเวลา 1.6 พั น ล้ า นปี ก่ อ น และ การสื บ ตระกู ล ของมนุ ษ ย์ ม าจากน้ํ า พิจ ารณาจากการก่ อสร้ า ง การแก้ ไ ขปั ญ หา การใช้ ไ ฟ (อสุจิ) อันไร้ค่า แล้วทรงทําให้เขามี และบางทีอาจมีการสื่อสารโดยใช้ภาษา สั ด ส่ ว นที่ ส มบู ร ณ์ และทรงเป่ า รู หฺ 4. โฮโม เซเปียน (Homo sapiens) หรือ (วิญญาณ) ของพระองค์เข้าไปในเขา เรียกว่ามนุษย์ยุคใหม่ เป็นขั้นที่อยู่ที่ระยะเวลา 200,000 และทรงให้ พ วกเจ้า ได้ ยิ น และได้ เห็ น ปีก่อน คล้ายกับมนุษย์ในปัจจุบันนี้ และให้มีจิตใจ (สติปัญญา) ส่วนน้อย เท่ า นั้ น ที่ พ วกเจ้ า ขอบคุ ณ ”(อั ซ ซั จ ญ อํานาจและหน้าที่ของมนุษย์ ดะฮฺ: 7-9) ในอิสลาม มนุษย์เป็นสิ่งถูกสร้างของอัลลอฮฺ ซุบฯ โดยพระองค์ได้สร้างขึ้นโดยไม่มีเป้าหมายอื่นใดนอกจาก


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

65

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

เพื่อให้มนุษย์เคารพภักดีต่อพระองค์เท่านั้น(อบูอามีนะฮฺ ตนเองโดยการควบคุมอารมณ์ ด้านการปฎิบัติต่อผู้อื่นใน ฐานะสมาชิกของสังคม รวมไปถึงการปฎิบัติต่อทรัพย์สิน บิลาล ฟิลิปส์ 2541: 46) ซึ่งอัลลอฮฺ ซุบฯ ตรัสว่า และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม มนุษย์มีเสรีภาพ ‫ﻥ‬ ‫ﻭ‬‫ﺒﺪ‬‫ﻌ‬ ‫ﻴ‬‫ﻟ‬ ‫ﺲ ﹺﺇﻟﱠﺎ‬  ‫ﺍﹾﻟﺈﹺﻧ‬‫ﻦ ﻭ‬ ‫ﺠ‬ ‫ﺖ ﺍﹾﻟ ﹺ‬  ‫ﺧﹶﻠ ﹾﻘ‬ ‫ﺎ‬‫ﻭﻣ‬ ในการเลื อ กตั ด สิ น ใจ ซึ่ ง เป็ น รากฐานสํ า คั ญ ในการมี หน้าที่และความรับผิดชอบของมนุษย์ซึ่งมีอํานาจในการ “และข้ า มิไ ด้ สร้ า งญิ น และม ตั ด สิ น ใจระดั บ หนึ่ ง โดยมี ค วามรู้ ว่ า ตนเองตั ด สิ น ใจ นุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดี อย่างไร และสามารถเล็งผลล่วงหน้าจากสิ่งที่ตนกระทํา ต่อข้า”(อัลกุรอาน อัซซาริยาต : 56) ได้ ความเป็นอิสระของมนุษย์ เป็นรากฐานให้มนุษย์ต้อง ด้วยเป้าหมายอันนี้ มนุษย์ยังได้รับการยกย่อง รับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อศีลธรรม ซึ่งอิสลามถือ และเชิดชูเกียรติให้ทําหน้าที่เป็นตัวแทนหรือผู้ปกครอง ว่าเจตนาเป็นสิ่งสําคัญที่จะกําหนดผลการกระทําของคน ของพระองค์บนโลกนี้อีกด้วย โดยปฎิบัติหน้าที่ของการ แต่ละคน เพราะฉะนั้น คนแต่ละคนต้องรับผิดชอบต่อ เป็นตัวแทนตามครรลองที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ ซึ่ง การตัดสินใจดําเนินชีวิตของคน การกระทําที่ดีเกิดจาก พระองค์ ตรัสว่า เจตนาที่ดี การกระทําดีเพี ยงรูปแบบภายนอกโดยไม่ มี เจตนาที่ดี อันเกิดจากความเห็นแก่ตัวหรือการบังคับ ไม่ ‫ﻲ‬‫ﻋ ﹲﻞ ﻓ‬ ‫ﺎ‬‫ﻲ ﺟ‬‫ﺔ ﹺﺇﻧ‬ ‫ﺋ ﹶﻜ‬‫ﻼ‬ ‫ﻤ ﹶ‬ ‫ﻟ ﹾﻠ‬ ‫ﻚ‬  ‫ﺭﺑ‬ ‫ﻭﹺﺇ ﹾﺫ ﻗﹶﺎ ﹶﻝ‬ อยู่ ใ นเงื่ อนไขที่ จ ะช่ ว ยให้ ผู้ ป ฎิ บั ติ ป ระสบความสํ า เร็ จ ‫ﻦ‬‫ﺎ ﻣ‬‫ﻴﻬ‬‫ﻌ ﹸﻞ ﻓ‬ ‫ﺠ‬  ‫ﺗ‬ ‫ﻴ ﹶﻔ ﹰﺔ ﻗﹶﺎ ﻟﹸﻮ ﹾﺍ ﹶﺃ‬‫ﺽ ﺧﻠ‬ ‫ﺭ ﹺ‬ ‫ﺍ َﻷ‬ ตามที่ศาสนาต้องการ ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงไม่ให้บังคับให้ นับถือศาสนา ‫ﻦ‬ ‫ﺤ‬  ‫ﻧ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﺎ ﺀ‬‫ﺪ ﻣ‬ ‫ﻚ ﺍ ﻟ‬  ‫ﻔ‬ ‫ﺴ‬  ‫ﻳ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﺎ‬‫ﻴﻬ‬‫ﺪ ﻓ‬ ِ‫ﻳ ﹾﻔﺴ‬ อย่ า งไรก็ ต าม ถึ ง แม้ ม นุ ษ ย์ จ ะมี อิ ส ระในการ ‫ﻲ‬‫ﻚ ﻗﹶﺎ ﹶﻝ ﹺﺇ ﻧ‬  ‫ﺱ ﹶﻟ‬  ‫ﺪ‬ ‫ﻧ ﹶﻘ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻙ‬ ‫ﺪ‬ ‫ﻤ‬ ‫ﺤ‬  ‫ﺢ ﹺﺑ‬ ‫ﺒ‬‫ﺴ‬  ‫ﻧ‬ ดําเนินชีวิต หรือเลือกกระทํา แต่มนุษย์มีอํานาจที่จํากัด ‫ﻮ ﹶﻥ‬‫ﻌﹶﻠﻤ‬ ‫ﺗ‬ ‫ﺎ ﹶﻻ‬‫ﻢ ﻣ‬ ‫ﻋﹶﻠ‬ ‫ﹶﺃ‬ ในหลายทาง และอัลลอฮฺ ซุบฯ ทรงเข้ามากําหนดชะตา กรรมของมนุษย์ มนุษย์จึงไม่สามารถได้รับสิ่งต่าง ๆ ตาม ความว่า “และจงรําลึกถึงขณะที่พระ ความปรารถนา และอํ า นาจของตนทุ ก อย่ า ง มนุ ษ ย์ มี เจ้ า ของเจ้ า ได้ ต รั ส แก่ ม ลาอิ ก ะฮฺ ว่ า อํานาจที่จะกระทําสิ่งต่างๆ ในโลก แต่ไม่สามารถเปลี่ยน แท้จริงข้าจะให้มีผู้แทนคนหนึ่งในพิภพ เงื่อนไขของสิ่งต่างๆที่อัลลอฮฺทรงกําหนดให้เป็นแบบแผน มลาอิกะฮฺได้ทูลขึ้นว่า พระองค์จะทรง ของชีวิตและโลก เช่นคนสามารถเลือกกระทําความดีและ ให้มีขึ้นในพิภพซึ่งผู้ที่บ่อนทําลาย และ ความชั่ว แต่ไม่สามารถล้มล้างเงื่อนไขที่ว่าถ้าทําดีย่อม ก่อการนองเลือดในพิภ พกระนั้นหรื อ ได้รับผลดีเป็นรางวัลตอบแทนจากอัลลอฮฺ ซุบ ฯ และ ทั้งๆ ที่พวกข้าพระองค์ให้ความบริสุทธิ์ หากทําชั่วย่อมได้รับผลเสีย เป็นการลงโทษจากอัลลอฮฺ พร้อมด้วยการสรรเสริญพระองค์ และ ซุบ ฯ มนุษย์ไม่สามารถทําชั่วเพื่อความพอใจของตนเอง เทิ ด ทู น ความบริ สุ ท ธิ์ ใ นพระองค์ แล้วหนีพ้นการลงโทษ หรือเปลี่ยนแปลงการลงโทษมา พระองค์ตรัสว่า แท้จริงข้ารู้ยิ่งในสิ่งที่ เป็นการให้รางวัลได้ พวกเจ้าไม่รู้”(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 30) นอกจากนี้มนุษย์ยังมีขีดความสามารถที่จํากัดใน ดังนั้นมนุษย์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ อีกหลายทางในการใช้ชีวิตในโลกนี้ เช่น ข้อจํากัดในด้าน ปกครองโลกพร้อมทั้งได้รับอํานาจทางด้านร่างกายและ กําลังกาย สติปัญญา ทรัพย์สิน เป็นต้น ตลอดจนแรงบีบ จิตใจ เป็นปัจจัยสําหรับการทําภารกิจดังกล่าวให้สําเร็จ คั้นจากสภาพแวดล้อมอีกหลายอย่าง เป็นเหตุให้มนุษย์ ลุล่วง โดยได้รับ มอบหมายหน้าที่แ ละความรับผิดชอบ ไม่อาจได้รับสิ่งต่างๆทั้งหมดตามความต้องการเสมอไป หลายด้าน เช่น ด้านการปฎิบัติต่ออัลลอฮฺ ซุบฯ โดยตรง ในทัศนะอิสลาม มนุษย์ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ ด้วยการละหมาด และการถือศีลอด ด้านการปฎิบัติต่อ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

66

ถ้าหากอัลลอฮฺ ซุบ ฯ ไม่ทรงประสงค์ให้เป็นไปได้โดย การเอื้ออํานวยสิ่งต่าง ๆ ให้ เนื่องจากมนุ ษย์ มีขี ดความสามารถจํา กัด ตาม อั ต ภาพของตน ในฐานะสิ่ ง ที่ ถู ก สร้ า งดั ง กล่ า ว โดย ส่วนรวม และแตกต่างกันโดยส่วนบุคคล มนุษย์จึงได้ถูก กํ า หนดขี ด จํ า กั ด ในความรั บ ผิ ด ชอบของตนตาม สมรรถภาพ การเผชิญกับสภาพต่างๆของตนเองและโลก ด้วยอํานาจอันจํากัดของมนุษย์นั้น เป็นการทดสอบหรือ การทดลอง ด้ว ยเหตุนี้ การทดสอบจึง มีค วามหมายต่ อ มนุ ษ ย์ อย่ า งน้ อยในแง่ ที่ ว่ า มนุ ษ ย์ จ ะทํ า หน้ า ที่ ไ ด้ โ ดย อาศัยปัจจัยต่างๆที่ตนได้รับมา เพื่อทําหน้าที่และมีความ รับผิดชอบ การทดสอบเป็นหนทางที่มนุษย์จะสามารถ พัฒนาตนเอง ยกระดับชีวิตของตนเองจนเป็นมนุษย์ ที่ สมบูรณ์ด้วยคุณธรรม และมีความผาสุขทั้งในโลกนี้และ โลกหน้า ในการพั ฒ นาตนเองจนบรรลุ ผ ลสํ า เร็ จ นั้ น มนุษย์ต้องใช้ความพยายามและความอดทน สิ่งทดสอบ ไม่ ว่ า จะเป็ น ความมั่ ง คั่ ง ด้ ว ยฐานะ อํ า นาจ สติ ปั ญ ญา ทรั พ ย์ บริ ว าร ฯลฯ หรื อการสู ญ เสี ย สิ่ ง เหล่ า นั้ น เป็ น เครื่ อ งจํ า แนกว่ า ใครจะดํ า เนิ น การ หรื อ มี ท่ า ที ต่ อ สิ่ ง เหล่ า นั้ น อย่า งไร เป็น คนมี คุ ณ ธรรมหรื อขาดคุ ณ ธรรม เป็นหนทางที่ทําให้มนุษย์ได้รู้จักตัวเองและเพื่อนมนุษย์ ซื่อตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบตามสมรรถภาพของตน เพี ย งใด ซึ่ ง ในการทํ า หน้ า ที่ มนุ ษ ย์ จํ า เป็ น ต้ อ งอาศั ย ศาสนาเป็นเครื่องช่วย ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความสามารถ จํากัดด้วยประการทั้งปวง แต่มีภารกิจในการปกครองสิ่ง ต่างๆพร้อมกับความรับผิดชอบตามเงื่อนไขของชีวิตและ โลกที่อัลลอฮฺ ซุบ ฯ ทรงกําหนดไว้ มนุษย์จึงจําเป็นต้อง ได้รับความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ซุบ ฯ โดยอาศัยศาสนา ที่พระองค์ทรงประทานให้เป็นแนวทางในการดําเนินชีวิต ต้องการกฎเกณฑ์สําหรับความประพฤติจากอัลลอฮฺ ซุบ ฯ เป็นกฎเกณฑ์ที่สามารถช่วยให้มนุษย์สามารถพ้นทุกข์ ทั้ ง ในโลกนี้ และโลกหน้ า หรื อ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ สภาวะทั้ ง หมดตามแบบแผนของชี วิ ต และโลกในทุ ก ขั้นตอน จะละเลยสภาพความเป็นอยู่ช่วงใดของชีวิตไม่ได้ โดยเป้าหมายของอัลลอฮฺ ซุบ ฯ ในการให้ศาสดามาสั่ง สอนศาสนาแก่ ป ระชาชาติ ทุ ก ประชาชาติ เพื่ อ ให้ ค น อาศั ย ศาสนามาขจั ด และป้ องกั น ความหวาดกลั ว และ

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

ความทุ ก ข์ ต่ า งๆของตนเอง ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ เพิ่ ม พู น ความ สมบู ร ณ์ ใ ห้ แ ก่ อั ล ลอฮฺ ซุ บ ฯ (เสรี พงศ์ พิ ศ และคณะ 2524: 141-143) ประเภทของมนุษย์ ตามที่มนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะที่จะ ดําเนินชีวิตไปในสภาพที่แตกต่างกันสองอย่าง สภาพหนึ่ง ก็คือสภาพที่มนุษย์พบว่าตัวเขาเองต้องดําเนินไปตามกฎ ที่อัลลอฮฺ ซุบฯ ได้กําหนดไว้โดยสิ้นเชิง แต่ในอีกสภาพ หนึ่ ง ของการดํ า เนิ น ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ เหตุ ผ ลและ สติปัญญา มีอํานาจที่จะคิดและตัดสิน มีอํานาจที่จะเลือก และปฎิเสธ มีอํานาจที่จะยอมรับและปฎิเสธ มีเสรีภาพที่ จะเลือกดําเนินชีวิต อย่างไรก็ได้ตามที่ตัวเองต้องการ จะ ยอมรับความศรัทธาใดๆ และดําเนินชีวิตตามอุดมการณ์ อะไรที่ตัวเองชอบก็ได้ จะจัดเตรียมความประพฤติของ ตัวเองหรือจะยอมรับสิ่งที่คนอื่นกําหนดให้ก็ได้ กล่าวโดย สรุ ป ก็ คื อ มนุ ษ ย์ ไ ด้ รั บ เจตนารมณ์ เสรี ที่ ทํ า ให้ ม นุ ษ ย์ มี เสรีภาพที่จะคิดที่จะเลือกและปฎิบัติอย่างไรก็ได้ ซึ่งการ ใช้เสรีภาพนี้แหละที่ทําให้มนุษย์แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สองประเภท คือ กลุ่มผู้ศรัทธา (หรือกลุ่มมุสลิม) และ กลุ่มผู้ปฎิเสธ (หรือกลุ่มกาฟิร) กลุ่มผู้ศรัทธา หมายถึง บุคคลใดก็ตามที่เลือก จะยอมรับอัลลอฮฺ ซุบ ฯ พระผู้ทรงสร้างเขาขึ้นมา และ ยอมรับว่าพระองค์ คือ นายของเขา และยอมจํานนต่อ กฎและคําสั่งของพระองค์และพร้อมที่จะปฎิบัติตามอย่าง ซื่อตรง การที่บุคคลดังกล่าวตัดสินใจอย่างมีจิตสํานึกที่จะ เชื่อฟังและ ปฎิบัติตามอัลลอฮฺ ซุบฯในขอบเขตที่เขา ได้ รั บ เสรี ภ าพในการเลื อ กนี้ เ องที่ ทํ า ให้ เ ขาได้ รั บ “อิสลาม” โดยสมบูรณ์ นั่นคือ เขาได้เป็น “มุสลิม” โดย สมบู ร ณ์ ซึ่ ง การนอบน้ อมยอมจํ า นนตั ว เองทั้ ง หมดต่ อ เจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ ซุบ ฯ ก็คือ “อิสลาม” นั่นเอง ส่วนกลุ่มที่สอง กลุ่มผู้ปฎิเสธ (กาฟิร) หมายถึง ตามแนวคิดของอิสลาม มนุษย์ทุกคนเกิดมาเป็นมุสลิม เพราะร่างกายของเขาทั้งหมดยอมจํานนต่ออัลลอฮฺ ซุบ ฯ ทั้งสิ้น โดยดําเนินไปตาม กฎเกณฑ์ของอัลลอฮฺ ซุบ ฯ ทุกประการ แต่อย่างไรก็ตาม เขากลับไม่ใช้ความสามารถ ทางด้ า นสติ ปั ญ ญา การใช้ เ หตุ ผ ล และสั ญ ชาตญาณ ยอมรับอัลลอฮฺ ซุบฯ พระผู้อภิบาลและพระผู้ทรงสร้าง


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

67

เขา ไม่เพียงแต่เท่านั้น เขายังใช้เสรีภาพในการเลือกไป ในทางที่ ผิด โดยการเลื อกที่ จ ะปฎิ เสธพระองค์ บุ ค คล ประเภทนี้ คื อ ผู้ ป ฎิ เ สธพระเจ้ า ซึ่ ง ในทางวิ ช ากการ อิสลาม เรียกว่า “กาฟิร” (เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี 2541: 2-6 ; มุ ฮัมมั ด อิบนฺ อับ ดิล วะฮฺ ฮ้า บ 2531: 43-55 ) ด้ ว ยเหตุ นี้ ในรั ฐ อิ ส ลาม ซึ่ ง ปกครองด้ ว ย กฎหมายอิสลามให้ความสําคัญกับการศรัทธาในอิสลาม เป็ น ลํ า ดั บ แรก จึ ง ได้ แ บ่ ง พลเมื องของรั ฐ ออกเป็ น สอง ประเภท คือ พลเมืองที่เป็นมุสลิม และที่ไม่ใช่มุสลิม ซึ่ง วางพื้ น ฐานในการแบ่ ง พลเมื อ งอยู่ บ นความแตกต่ า ง ทางด้านความคิด ความเชื่อ และหลักการ เท่านั้น มิได้ นําความแตกต่างทางด้านภาษา ชาติตระกูล สีผิว ฐานะ ทางเศรษฐกิจ เผ่าพันธุ์ และอื่น ๆ มาเป็นเกณฑ์ในการ แบ่ ง ประเภทของพลเมื อ งของรั ฐ แต่ อ ย่ า งใด เพราะ คุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลง ได้ และไม่ ส ามารถที่ จ ะเลื อ กเองได้ แต่ ท ว่ า ความคิ ด ความเชื่อและหลักการของแต่ละบุคคลเป็นคุณลักษณะที่ เปลี่ยนแปลงได้ และที่สําคัญ คือ เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นคิด เลื อกและตั ด สิ น ใจเอง ซึ่ ง นั่ น คื อการใช้ สิ ท ธิ เสรี ภ าพที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด ของเขาที่ ก ฎหมายอิ ส ลามได้ บั ญ ญั ติ เอาไว้ เพราะสิทธิเสรีภาพอื่น ๆ วางรากฐานอยู่บนสิทธิเสรีภาพ ในการเลือกที่จะยอมรับหรือปฎิเสธศรัทธาอิสลามนั่นเอง (ศอลิหฺ หุสัยน์ อัลอายิด 2548: 17-24 ; Sayyid Abul Ala Al-Maududi 1987: 67-71) สรุปและวิจารณ์ ต้นกําเนิดที่แท้จริงของมนุษย์ในอิสลามนั้นเกิด ขึ้นมาจากการสร้างของอัลลอฮฺ ซุบฯ มนุษย์ถือเป็นสิ่งที่ มหัศจรรย์สูงสุดในบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย โดยมนุษย์ คนแรกเป็นผู้ชาย (อาดัม) ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากดิน ส่วน มนุษย์คนที่สองเป็นผู้หญิงได้ถูกสร้างมาจากอาดัมเพื่อมา เป็นคู่ครอง และจากทั้งสองนี้เอง มนุษย์ก็ได้แพร่ขยาย ออกไปโดยมีต้นกําเนิด คืออสุจิที่มีชีวิตได้ปฎิสนธิกับไข่ และพัฒนาจนกลายเป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ในอิสลามมี สถานะเป็นตัวแทนหรือผู้ปกครองของพระองค์อัลลอฮฺ ซุบฯ บนโลกนี้ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มี ลัก ษณะที่ จะดํ าเนิ นชี วิ ตไปในสภาพที่ แตกต่า งกัน สอง

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

อย่าง คือการดําเนินไปตามกฎอัลลอฮฺ ซุบฯ ตามกฎทาง กายภาพของธรรมชาติ และอีกสภาพหนึ่งคือการได้รับ เหตุผลและสติปัญญา มีอํานาจที่จะคิดและตัดสินใจ หรือ มีเสรี ภ าพนั่ น เอง ซึ่ ง การใช้ เสรี ภ าพของมนุ ษ ย์ จ ะแบ่ ง ออกเป็ นสองกลุ่ม คื อ กลุ่ ม ผู้ ศรั ท ธา (หรื อกลุ่ม มุ ส ลิ ม ) และกลุ่ม ผู้ป ฎิเสธด้ วยเหตุนี้ ในรั ฐอิ ส ลาม ซึ่ง ปกครอง ภายใต้ ก ฎหมายอิ ส ลาม จึ ง ได้ แ บ่ ง พลเมื อ งของรั ฐ ออกเป็นสองประเภท คื อ พลเมืองที่เป็นมุส ลิม และที่ ไม่ใช่มุสลิม โดยวางพื้นฐานการแบ่งพลเมืองในด้านความ แตกต่ า งทางความคิ ด ความเชื่ อ และหลั ก การศรั ท ธา ในขณะที่วิทยาศาสตร์ได้พยายามพิสูจน์หาหลักฐานการ เกิ ด ของมนุ ษ ย์ โดยการสั ง เกตความหลากหลายของ สิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตบางกลุ่มมีลักษณะที่คล้ายคลึง กันจึงจัดให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งความ จริงแล้วการจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตให้เป็นหมวดหมู่จะทําให้ เราสามารถศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตได้ง่าย ขึ้น แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนได้คิดว่าการคล้ายคลึงกัน ของสิ่ ง มี ชี วิ ต กลุ่ ม หนึ่ ง น่ า จะมาจากวิ วั ฒ นาการของ สิ่ ง มี ชี วิ ต เหล่ า นั้ น และตั้ ง เป็ น ทฤษฎี ขึ้ น มาโดยดู จ าก ร่องรอยของรอยเท้า โครงกระดูกฟอสซิลที่มีการพิสูจน์ ว่ า มี ร ะยะเป็ น พั น ล้ า นปี เครื่ อ งใช้ ไ ม้ ส อยต่ า งๆ และ จิ น ตนาการภาพที่ เ กิ ด ขึ้ น โดยการคาดเดาถึ ง รู ป ร่ า ง ลักษณะที่พบจากโครงร่างฟอสซิล และเครื่องใช้ไม้สอย ต่างฟ ปัจจุบันผลการศึกษาเหล่านี้ได้มีการลบล้างหรือ เกิดความขัดแย้งขึ้นมา (Harun Yahya 2003: 75-78) เช่น ทฤษฎีสิ่งมีชีวิตเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (Spontaneous generation) พบว่าถูกล้มล้างไปในปี 1860 โดยหลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasture) นักเคมีชาวฝรั่งเศส ที่ได้ทํา กา รทดลองด้ ว ยวิ ธี ท างวิ ท ยา ศา สตร์ (Scientific method) (Krogh 2002) หรื อ การกล่ า วถึ ง ทฤษฎี วิวั ฒ นาการของมนุ ษ ย์ ปั จ จุ บั น วิ ท ยาศาสตร์ใ นสาขา พันธุศาสตร์ (Genetics) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรมของ สิ่ ง มี ชี วิ ต พบว่ า สิ่ ง มี ชี วิ ต ทุ ก ชนิ ด จะมี พั น ธุ ก รรมที่ มี ลักษณะเฉพาะในแต่ละชนิดของสิ่งมีชีวิตถูกบรรจุอยู่ในดี เอ็น และพบว่ าโอกาสที่พัน ธุกรรมของสิ่ งมีชีวิต จะเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงหรื อรหั ส พัน ธุ ก รรมเปลี่ ย นไปในทาง ธรรมชาติ อ ยู่ ใ นอั ต ราที่ ต่ํ า มากคื อ 10 -6 หรื อ 10 -5 (ประดิษฐ์ พงศ์ ทองคํา และคณะ 2548: 111) ดังนั้ น


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

68

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์

เมาลานา ซัยยิด อบุล อะลา เมาดูดี. 2539. ความหมาย คัมภีร์อัลกุรอาน เล่ม 1. แปลโดยบรรจง บิน กาซัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม. _______. 2539. ความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน เล่ม 2. แปลโดยบรรจง บินกาซัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ หนังสืออิสลาม. _______. 2539. ความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน เล่ม 5. แปลโดยบรรจง บินกาซัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ หนังสืออิสลาม. _______. 2539. ความหมายคัมภีร์อัลกุรอาน เล่ม 7. แปลโดยบรรจง บินกาซัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ หนังสืออิสลาม. _______. 2541. มาเข้าใจอิสลามกันเถิด. แปลโดย บรรจง บินกาซัน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม. มุฮัมมัด อิบนฺ อับดิลวะฮฺฮ้าบ. 2531. แฉข้อคลุมเครือ ต่าง ๆ และสารที่สร้างประโยชน์. แปลโดย มุฮัมมัด เหมอนุกูล. กรุงเทพฯ: วิคตอรี่เพาเวอร์ พอยท์. ยูโลน เภอหีม. 2541. “มนุษย์ในอิสลาม: ศึกษาวิเคราะห์ ความว่ า “และที่ พ ระองค์ (อั ล ลอฮฺ ปฐมกําเนิดของมนุษย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ซุบฯ)นั้นมีบรรดากุญแจแห่งความเร้น โท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ลั บ โดยที่ ไ ม่ มี ใ ครรู้ กุ ญ แจเหล่ า นั้ น ศอลิหฺ หุสัยน์ อัลอายิด. 2548. สิทธิของชนต่างศาสนิก นอกจากพระองค์เท่านั้นและพระองค์ ในประเทศอิสลาม. แปลโดยอุสมาน อิดรีส. ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และในทะเล ปัตตานี: วิทยาลัยอิสลามยะลา. และไม่มีใบไม้ใดร่วงหล่นลง นอกจาก สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2541. พระมหาคัมภีร์อัลกุ พระองค์ จ ะทรงรู้ มัน และไม่ มีเมล็ ด รอานพร้อมความหมายภาษาไทย. แปลโดย พืช ใด ซึ่ งอยู่ ใ นบรรดาความมื ด ของ สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. ซาอุดิอาราเบีย: แผ่นดิน และไม่มีสิ่งที่อ่อนนุ่มใด และ ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน. สิ่งที่แห้งใด นอกจากจะอยู่ในบันทึก สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2543. คําอธิบายหะดีษ อันชัดแจ้ง” (อัลอันอาม: 59) อัรบะอีน อันนะวะวียะฮฺ. แปลโดยสมาคม บรรณานุกรม นักเรียนเก่าอาหรับ. กรุงเทพฯ: สมาคมนักเรียน ประดิ ษ ฐ์ พงศ์ ท องคํ า , สุ ริ น ทร์ ปิ ย ะโชคณากุ ล และ เก่าอาหรับ. สมศั ก ดิ์ อภิ สิ ท ธิ ว าณิ ช . 2548. ชี ววิ ท ยา 3. เสรี พงศ์พิศ, วิจิตร เกิดวิสิษฐ์, พิเชฎฐ์ กาลามเกษตร พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุทธากา และ บันฑร อ่อนคํา. 2524. คนในทรรศนะ รพิมพ์ จํากัด. ของพุ ท ธศาสนา อิ ส ลามและคริ ส ตศาสนา. กรุงเทพฯ: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อ การพัฒนา

โอกาสของการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต จึงเป็นเรื่องที่ยากแก่การพิสูจน์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และได้ ผ ลการทดลองที่ ถู ก ต้ อง เนื่ องจากระยะเวลาที่ ยาวนานและหลักฐานที่ไม่ชัดเจน จึงไม่ควรที่จะชี้ชัดว่า มนุษย์ มีกําเนิดหรือวิวั ฒนาการมาจากสัตว์ ประเภทลิ ง อย่างไรก็ตาม หลักความจริงพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ ต้ อ งยอมรั บ หรื อ เป็ น ข้ อ ตกลงเบื้ อ งต้ น ถึ ง การศึ ก ษา ธรรมชาติ โ ดยวิ ธี ก ารทางวิ ท ยาศาสตร์ นั้ น คื อ มนุ ษ ย์ สามารถทํ า ความเข้ า ใจในธรรมชาติ ไ ด้ เ พี ย งบางส่ ว น เท่านั้น เนื่องจากข้อจํากัดทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ (สุวัฒก์ นิยมค้า 2531: 89-94) ซึ่งอัลลอฮฺ ซุบฯ ทรง ตรัสว่า ‫ﻮ‬ ‫ﻫ‬ ‫ﺎ ﹺﺇ ﱠﻻ‬‫ﻤﻬ‬ ‫ﻌﹶﻠ‬ ‫ﻳ‬ ‫ﺐ ﹶﻻ‬ ‫ﻴ ﹺ‬‫ﻐ‬ ‫ﺢ ﺍﹾﻟ‬ ‫ﻣﻔﹶﺎﺗ‬ ‫ﻩ‬ ‫ﺪ‬ ‫ﻨ‬‫ﻭﻋ‬ ‫ﻂ‬ ‫ﺴ ﹸﻘ ﹸ‬  ‫ﺗ‬ ‫ﺎ‬‫ﻭ ﻣ‬ ‫ﺤ ﹺﺮ‬  ‫ﺒ‬‫ﺍ ﹾﻟ‬‫ﺮ ﻭ‬ ‫ﺒ‬‫ﻲ ﺍ ﹾﻟ‬‫ﺎ ﻓ‬‫ﻢ ﻣ‬ ‫ﻌﹶﻠ‬ ‫ﻳ‬‫ﻭ‬ ‫ﻲ‬‫ﺔ ﻓ‬ ‫ﺒ‬‫ﺣ‬ ‫ﻭ ﹶﻻ‬ ‫ﺎ‬‫ﻤﻬ‬ ‫ﻌﹶﻠ‬ ‫ﻳ‬ ‫ﺔ ﹺﺇ ﱠﻻ‬ ‫ﺭ ﹶﻗ‬ ‫ﻭ‬ ‫ﻦ‬‫ﻣ‬ ‫ﺲ‬ ‫ﺎﹺﺑ ﹴ‬‫ﻭ ﹶﻻ ﻳ‬ ‫ﺐ‬ ‫ﺭ ﹾﻃ ﹴ‬ ‫ﻭ ﹶﻻ‬ ‫ﺽ‬ ‫ﺭ ﹺ‬ ‫ﺕ ﺍ َﻷ‬  ‫ﺎ‬‫ﹸﻇﹸﻠﻤ‬ ‫ﲔ‬ ‫ﻣﹺﺒ ﹴ‬ ‫ﺏ‬ ‫ﺎ ﹴ‬‫ﻛﺘ‬ ‫ﻲ‬‫ﹺﺇ ﱠﻻ ﻓ‬


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุมิตรา แสงวนิชย์

69

สุ วั ฒ ก์ นิ ย มค้ า . 2531. ทฤษฎี และทางปฎิ บั ติ ใ นการ สอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เจเนอรัลบุ๊คส์ เซนเตอร์. อนั ส แสงอารี ย์ . 2546. เด็ ก ในทั ศ นะอิ ส ลาม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ภาษาธรรม. อบูอามีนะฮฺ บิลาล ฟิลิปส์. 2547. สู่ความเข้าใจ แก่น คําสอนอิสลาม เตาฮีด เอกภาพของพระเจ้า. แปลโดย อบุลลัยษฺ. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการ วิชาการอิสลาม. Gottfried, S.S. 1993. Biology today. USA: Mosby-Year book, Inc. Gunstream, S.E. 2000. Anatomy and physiology. 2nd ed. USA: The Mc-Graw Hill Company. Harun Yahya. The religion of darwinism. Saudi Arabia : Abul-Qasim Publishing house. Johnson, M.D. 2003. Human biology. 2nd ed. U.S.A: Benjamin cummings, Inc. Krogh, D. 2002. Biology: A guide to the natural world. [CD-ROM]. USA: Prentice Hall, Inc. Neil, A.C.; Simon , E.J; Reece, J.B. 2002. Essential biology. 2nd ed. USA. International edition. Sayyid Abu cAla Al-Maududi. 1987. PrinsipPrinsip Utama Negara Islam. Malaysia: Hizbi.

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 อิ ส ล า ม แ ล ะ ม นุ ษ ย์



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

71

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

Research The Politics of Ethnic Representation: Malay-Muslims in Southern Thailand and Thai Buddhists in Northern Malaysia Suriya Saniwa Ph.D. (Political Science), Lecturer Department of Public Administration, Faculty of Liberal Arts Social Sciences Yala Islamic university. Abstract This study is about the political representation of ethnic minority groups. It’s objective is to examine how ethnic minority groups are represented in their respective parliamentary democratic systems focusing the ethnic Malay-Muslims in southern Thailand and the ethnic Thai Buddhists in northern Malaysia as our field work. This thesis explores qualitatively the political representation of these minority groups using seven independent variables such as liberalization of a system, globalization of communication, styles of leadership, knowledge of religion, better standards of living, better education, and attitude change. And, the dependent variable is “political representation in their community.” It aims to discover some probable values which might be connected with the political representation of these two ethnic groups. The secondary data are from documents concerned and the primary data from our interviews and structured questionnaires that involved 60 respondents: 30 from ethnic Malay-Muslims in Pattani and Narathiwat (southern Thailand) and 30 from ethnic Thai Buddhists in Kelantan and Kedah (northern Malaysia). All the answers from respondents were analyzed in the forms of frequencies and percentages obtained from the relations between independent variables and the dependent variable. The biggest percentage in the results from these seven independent variables will be the most probable value that can clarify the question of how ethnic minority groups are represented in their communities. This study has found that liberal leadership and better education are the most probable values that concern the political representation of the ethnic Malay-Muslims in southern Thailand and the ethnic Thai Buddhists in northern Malaysia. It is also found that the strategy of ethnic minority representation depends on the reactions by the dominant powers towards their ethnic minority groups. It is clearly seen that the Thai Buddhists in northern Malaysia were never supportive of radicalization because Malaysian government has never used forced policies to control the ethnic minority group. Regarding the other variables used in the thesis, the study found that there were obvious differences in the perceptions of the respondents from the two ethnic minority groups studied. Keyword: Ethnic Representation, Liberal Leadership and Better Education,Reaction,Reaction by Dominant Powers


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

72

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

บทความวิจัย ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย : ศึกษากรณีชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในจังหวัดชายแดน ใต้ประเทศไทยและชาวพุทธเชื้อสายไทยในรัฐชายแดนเหนือประเทศมาเลเซีย สุริยะ สะนิวา Ph.D. (ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์), อาจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะศิลปะศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ การวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเป็นผู้แทนด้านการเมืองของชนกลุ่มน้อย มีความมุ่งหมายที่จะ สื บ ค้ น ถึ ง คํ า ถามที่ ว่ า “ชนกลุ่ ม น้ อ ยมี ผู้ แ ทนทางเมื อ งอย่ า งไรในการที่ จ ะดํ า เนิ น กิ จ กรรมให้ บ รรลุ ถึ ง เป้ า หมาย ผลประโยชน์ของชุมชนที่ได้กําหนดไว้?” โดยใช้ชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูทางใต้ของประเทศไทยและชาวพุทธเชื้อ สายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเป็นสนามตรวจสอบ การวิจัยฉบับนี้จึงเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ปัจจัย อิสระเจ็ดปัจจัยคือ การมีอิสรภาพในระบบการเมือง การสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ รูปแบบของการเป็นผู้นํา การเป็นผู้รู้ ในศาสนา สภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การศึกษาสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ เพื่อค้นหาค่าความเป็นไปได้ โดยมีตัวแปรตามคือ “วิธีการที่ชนกลุ่มน้อยเป็นผู้แทนด้านการเมือง” จึงมีการใช้แหล่งข้อมูลทั้งที่เป็นปฐมภูมิจากการ สัมภาษณ์ และที่เป็นทุติยภูมิจากการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ซึ่งได้จัดทําชุดคําถามหนึ่งชุดสอบถามความคิดเห็น แล้ว ทํา การวิ เคราะห์ หาความสัม พัน ธ์ร ะหว่า งตั วแปรอิสระกั บตั วแปรตาม ซึ่ง ตัว แปรอิ สระตั วไหนที่มี ระดับ ของ ความสัมพันธ์พิจาณณาดูจากความถี่และร้อยละ ค่าของร้อยละที่มากที่สุดจะถือเป็นการยอมรับสมมุติฐานที่ได้กําหนด ไว้ ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้พบว่า ผู้นําที่มีหัวเสรีและการศึกษาสูงมีค่าความเป็นไปได้สูงสุด อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ความ เคลื่อนไหวในการเป็นผู้แทนทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของความรุนแรงหรือการเดินสายกลาง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ผู้นําหัวเสรีและสถานภาพการศึกษาสูง แต่จะขึ้นอยู่กับทิศทางการตอบสนองของรัฐบาลที่มีต่อชนกลุ่มน้อยนั้นเอง สิ่ง ที่น่าสังเกตุคือ ขณะที่ชุมชนมุสลิมเชื้อสายมลายูมีทั้งกระบวนการก่อความความรุนแรงและเดินสายกลาง แต่ชุมชน พุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของมาเลเซียไม่เคยรสนับสนุนความรุนแรงเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า รัฐบาลมาเลเซีย ไม่เคยมีการใช้นโยบายควบคุมที่บังคับชุมชนชาวไทยในประเทศของตนนั้นเอง ส่วนปัจจัยอื่นๆ อีกหกปัจจัยนั้นพบว่า มีความเห็นที่แตกต่างกันจากผู้ตอบคําถามจากทั้งสองกลุ่มศึกษา คําสําคัญ: ผู้แทนกลุ่มชาติพันธ์,ผู้นําเสรีนิยมและการศึกษาสูง,ปฏิบัติการจากกลุ่มอํานาจรัฐ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

73

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

บทความนี้เป็นบทความเชิงคุณภาพโดยพื้นฐาน มี ก ารสื บ หาคํ า ตอบของคํ า ถามที่ ว่ า “ชนกลุ่ ม น้ อ ยมี ผู้ แ ทนทางเมื องอย่ า งไรในการที่ จ ะดํ า เนิ น กิ จ กรรมให้ บรรลุถึ งเป้า หมายผลประโยชน์ข องชุม ชนที่ ได้ กํา หนด ไว้?” ก่อนอื่น เราควรทําความรู้จักกับคํานิยามที่ว่า การเป็นผู้แทนก่อน เพราะว่านักปราชญ์แต่ละท่านอาจ ให้ความหมายแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามคําว่า “การ เ ป็ น ผู้ แ ท น ” ที่ ต ร ง กั บ ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ที่ ว่ า “representation” ก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สองกลุ่มหรือสองพรรค ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า “two parties” คือ กลุ่มผู้แทนกับกลุ่มที่ถูกแทนตน (representatives and represented) นั้นเอง ซึ่ง ผู้แทนจะมีอํานาจกระทําการตัดสินใจแทนกลุ่มที่ถูกแทน ตน ฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองกลุ่มดังกล่าว จึ ง เป็ น ความสั ม พั น ธ์ ท างสั ง คมจิ ต วิ ท ยาเพราะว่ า ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับชาติพันธ์ ศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ มาตรภูมิ อย่างนี้ เป็นต้น คํ า นิ ย ามอี ก คํ า หนึ่ ง ที่ น่ า สนใจคื อ คํ า ว่ า “ชน กลุ่มน้อย” ตามหลักรัฐศาสตร์นั้น ชนกลุ่มน้อยไม่ได้ หมายถึ ง กลุ่ ม ชนหรื อ ชุ ม ชนที่ มี จํ า นวนน้ อ ย แต่ จ ะ หมายถึง ชุมชนที่มีอํานาจทางด้านการเมืองที่ด้อยกว่า การที่ชุมชนของตนมีอํานาจด้อยในด้านการเมืองนั้นเอง ทําให้ต้องดิ้นรนเพื่อให้มีผู้แทนด้านการเมืองในการที่จะ ปกป้ องสิ ท ธิ ผ ลประโยชน์ ข องชุ ม ชน ตั ว อย่ า งที่เห็ น ได้ อย่างชัดเจนก็คือ ชนกลุ่มน้อยสีผิวชาวอัฟริกาใต้ คิดว่า เราคงจําได้เมื่อสมัยที่มีการใช้นโยบายกีดกันผิวที่เรียกว่า apartheid policy ก่อนปี 2533 คือห้ามมิให้ชาวผิวสีลง เลือกตั้ง ทั้งๆ ที่ชาวผิวสีมีอัตราส่วนมากกว่าคนผิวขาว ถึงร้อยละ 90 แต่ชนกลุ่มน้อยก็ยังเป็นคนผิวสี และชน กลุ่มใหญ่คือ คนผิวขาวนั้นเอง นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ชุมชน ที่มีอํานาจด้านการเมืองด้อยกว่าคือชนกลุ่มน้อย ปรากฏการณ์ของชนกลุ่มน้อยนั้น นักวิจัยที่ ชื่อว่า Abdul A. Said & Luiz R. Simmons (1976:10) ได้แนะนําให้เราทราบว่า มีเพียง 12 ประเทศเท่านั้นที่ อาจพิ จ ารณาว่ า เป็ น ethnically homogeneous

states คือ ประเทศที่มีกลุ่มเชื้อชาติเดียวในประเทศ โดยคิดรวมยอดจากประเทศเอกราชต่างๆ จํานวน 132 ประเทศ นอกจาก 12 ประเทศดังกล่าวนั้นแล้วก็เป็น ประเทศ ethnically heterogeneous states คือ เป็นประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์แบบพหุสังคมทั้งสิ้น นอกจากนี้ ประเภทของชนกลุ่มน้อยก็ยังมีการ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้คือ 1) กลุ่มอพยพเข้ามาจากที่อื่นเพื่อหางานทํา (immigrants) ซึ่งเกิดจากนโยบายคัดเลือกคนงานเข้ามา ทํ า งานในดิ น แดนอาณานิ ค มในยุ ค ล่ า อาณานิ ค ม ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ชาว Afro-Americans ในสหรัฐอเมริกา ชาวจีนในกลุ่มประเทศตะวันออกเฉียง ใต้ ชาว Africans ในประเทศ Guyana อย่างนี้เป็นต้น ซึ่ ง ความรู้ สึ ก ของชุ ม ชนประเภทนี้ ที่ มี ต่ อการแบ่ ง แยก ดินแดนในการก่ อตั้ งเป็น ประเทศอิ สระนั้ นค่ อนข้า งจะ อ่อนแอ 2) ช น ก ลุ่ ม น้ อ ย พื้ น เ มื อ ง (indigenous minority groups) ชนกลุ่มน้อยประเภทนี้เกิดขึ้นอัน เนื่องมาจากอาณาเขตของตนที่อาศัยอยู่นั้นได้ถูกกลุ่มล่า อาณานิคมยึดครอง จึงทําให้ชุมชนของตนถูกขับไล่ออก จากถิ่นเดิมของตนเข้าสู่ป่าลึกหรือถูกจํากัดบริเวณ จึงทํา ให้ ชุม ชนของตนกลายเป็ นชนกลุ่ ม น้อยในดิ นแดนของ ตนเอง ชนกลุ่มน้อยประเภทนี้บางแห่งมีการลุกขึ้นต่อสู้ เพื่อทวงดินแดนคืน จุดประสงค์ก็เพื่อความอยู่รอดในการ ดํ า เนิ น ชี วิ ต ของชุ ม ชน แต่ ก็ ไ ม่ มี พ ลั ง อํ า นาจเพี ย งพอ มิหนําซ้ํายังถูกมองไปว่า กําลังต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินดิน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ชาว Aborigines ใน ออสเตรเลีย ชาว American Indians ในสหรัฐ ชาว Innuites ในแคนาดา ทั้งนี้อาจรวมไปถึงชาวเขาต่างๆ ที่ อยู่ กั น กระจั ด กระจายในประเทศไทยตามแนวเขา ชายแดนไทย-พม่าดังนี้เป็นต้น 3) ชนกลุ่ ม น้ อ ยตามภู มิ ป ระวั ติ ศ าสตร์ (geographical groups) ชนกลุ่มน้อยประเภทนี้ เป็น ชุมชนที่มีความเจริญมาก่อน มีเจ้าเมืองเป็นของตนเอง มีอํานาจในการบริหารการปกครองเป็นของตนเอง ชาติ พัน ธุ์ช นกลุ่ม น้อยประเภทนี้จ ะมี ความเป็น ชาตินิ ยมสู ง มาก มี ค วามรู้ สึ ก ด้ า นลบต่ อกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ที่ มี อํา นาจ เหนือกว่าที่กําลังปกครองตน คิดอยู่เสมอว่าอธิปไตยของ

บทนํา


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

74

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

ตนเองได้ถูกต่างชาติยึดครอง มีความรู้สึกอคติต่อสภาพที่ ถูกจัดการเปลี่ยนแปลงอํานาจการบริหารการปกครอง จากการกระจายอํานาจสู่การรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งมองการรวมอํานาจเข้าสู่ส่วนกลางเป็นการทําลายอัต ลักษณ์ของชาติพันธุ์ เป้าหมายสําคัญของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มนี้ก็คือ การแยกตัวออกจากวัฒนธรรมของต่างชาติที่ กําลังปกครองตน บางครั้งอาจถู กมองไปว่า กําลังรีย ก ร้องแบ่งแยกดินแดน ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจคือ ชาว Basques ในสเปน ชาว Moros ในฟิลิปปินส์ ชาว Quebecois ในแคนาดา และชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูใน จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทย พูดถึงความสัมพันธ์ทางด้านสังคมจิตวิทยาแล้ว สิ่ ง ที่ เกิ ด ขึ้ น ตามมาก็ คื อ การมี พ ฤติ ก รรมที่ เคลื่ อนไหว ทางการเมืองตามยุทธศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชน กลุ่มน้อย ตรงนี้เองที่ ชวนให้เราต้องนึกถึง ทฤษฎีความ แปรผันของกลุ่มชาติพันธ์ที่ Anthony D. Smith กล่าว ไว้ เมื่ อปี ค.ศ. 1981 (พ.ศ.2524) ในตํา ราที่ ชื่อว่ า “Ethnic Revival” ซึ่งเขียนไว้ว่า กลุ่มชาติพันธุ์นั้นจะมี การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น เรื่อยๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ 6 ระดับด้วยกัน คื อจาก isolationist and accommodationist strategies สู่ communalism, autonomism, separatism, and irredentism ทั้งนี้ หมายความว่า จะเคลื่อนไหวจากระดับที่ต่ําสุดคือสถานภาพความเป็น ทาส (isolation) ในระดับที่หนึ่งสู่สถานภาพความเป็นอยู่ ที่ปลอดภัยกว่า มีการอพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีกลุ่มเชื้อ ชาติเดียวกันอาศัยอยู่ (accommodation) ซึ่งเป็นระดับ ที่สอง แล้วจะเคลื่อนไหวเข้าสู่ระดับที่สาม คือมีการขอ ร่ว มบริหารหรื อร่ วมกํา หนดนโยบายเพื่ อที่ จะคุ้ม ครอง ผลประโยชน์ ชุ ม ชนของตน โดยเริ่ ม มี ก ารจั ด ตั้ ง กลุ่ ม ผลประโยชน์ต่างๆ (communalism) ในระดับที่สาม แล้วจะเข้าสู่ระดับที่สี่คือ มีอํานาจบางส่วนในการบริหาร กิจการภายใน อาจมีลักษณะที่เป็นเขตปกครองพิเศษ (autonomism) นั้นเอง ซึ่งขั้นต่อไปก็จะเข้าสู่ระดับที่ห้า คือ แยกออกจากรั ฐ เดิ ม ไปเป็ น รั ฐ อิส ระ (separatism) แล้ ว จะเข้ าสู่ ร ะดั บ สุ ดท้ า ยคือ การรวมกลุ่ม ชาติพั น ธุ์ ที่ กระจั ด กระจายอยู่ ต่ า งแดนตามดิ น แดนของรั ฐ หรื อ ประเทศต่างๆ ให้กลับมารวมชาติโดยจะมีการจัดตั้งเป็น

ประเทศขึ้นมาใหม่ที่ใหญ่ก ว่าและมี พลังอํานาจที่แกร่ ง กว่าในที่สุด (irredentism) ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า ทําไมชน กลุ่มน้อยจึงมีการเคลื่อนไหวด้านการเมือง? ทําให้ต้องลง ลึกสืบหาเรื่องราวไปอีกว่า ปัจจัยต่างๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง กับปัจจัยดังกล่าวอย่างเช่น สภาวการณ์ของผู้นํากลุ่มชน มีพฤติก รรมเช่น ไร การมี การศึ กษาสู งของชุม ชนมีผ ล หรือไม่ ความรู้ด้านศาสนาของชุมชนที่มากขึ้นจะมีความ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงของชุมชนจะ มีความสําคัญหรือไม่ ระบบของอํานาจรัฐมีผลกระทบ ต่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของชนกลุ่มน้อยหรือไม่ และการสนองตอบจากฝ่ายรัฐที่มีต่อชนกลุ่มน้อยนั้นมีผล ต่อการเคลื่อนไหวหรือไม่ ในบทความบทนี้ เราตกลงกั น ว่ า จะมี ก าร กล่าวถึงสองกลุ่มชาติพันธ์คือ ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูใน ภาคใต้ ข องประเทศไทยกั บ ชาวพุ ท ธเชื้ อ สายไทยใน ภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเราจะเริ่มอภิปราย ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในภาคใต้ของประเทศไทยก่อน แล้วต่อกันด้วยการอภิปรายถึงชาวพุทธในภาคเหนือของ ประเทศมาเลเซีย ที่จริงแล้ว เกี่ยวความสัมพันธ์ไทย-มลายูเคยมีผู้ ได้ทําวิจัยมาแล้ว อย่างเช่น Suwanthat-Pian (1988), ในงานวิจัยของท่านพบว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชน กลุ่มน้อยชาวมลายูและชาวไทยพุทธนั้นเกิดมาจากการ เข้ามาแผ่อํานาจของ British ในภูมิภาคนี้ในยุคล่าอาณา นิคมนั้นเอง ช่วงนั้น อังกฤษได้เซ็นสัญญาหลายอย่างกับ เกื อ บทุ ก ประเทศในภู มิ ภ าคนี้ ร วมทั้ ง ประเทศสยาม ดังนั้น ผลจากการเซ็นสัญญา British Bowring Treaty ในปีค.ศ. 1902 ทําให้ทั้ง Kedah และ Kelantan ซึ่งเป็น ของ British Malaya ในสมัยนั้น เกิดชนกลุ่มน้อยชาว ไทยใน British Malaya และเกิดชนกลุ่มน้อยชาวมลายู ใน Siam (Suwanthat-Pian 1988: 480) ทั้งๆ ที่ในอดีต นั้น ชุ ม ชนทั้ ง สองเชื้ อสายนี้ เคยข้ ามไปมาอย่ า งอิ ส ระ แต่กลับถูกจํากัดจากผลของสัญญา British Bowring Treaty นั้นเอง ท่าน Ayuwattana 2004: 353) งานของท่านที่ เกี่ยวกับชาวไทยในมาเลเซีย เห็นว่า หลักสูตรภาษาไทย ของโรงเรียนไทยในมาเลเซียได้ถูกยกเลิก และแทนที่ด้วย หลักสูตรของมาเลเซียโดยจํากัดชั่วโมงสอนภาษาไทยให้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

75

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

เหลือเพียงวันละชั่วโมง ปัจจุบันนี้มีการสอนภาษาไทย เพียงอาทิตย์ละครั้ง จึงทําให้ความสามารถของคนไทย ใน กา รพู ด และเขี ย น ภาษาไ ทยไ ด้ ค่ อ น ข้ า งน้ อ ย พฤติกรรมอย่างอาจเข้าเกณฑ์ของการกลืนชาติจากชน กลุ่มใหญ่ได้เหมือนกัน ท่าน Syed Serajul Islam (2005) งานของ ท่านที่เกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความเห็นว่ า การที่ ทางการไทยเรี ยก “ภาษามลายู ” เป็น “ภาษาท้องถิ่น” ในทางตอนใต้ของประเทศไทยนั้น เป็นพฤติกรรมของการกลืนชาติของชาวมุสลิมเชื้อสาย มลายูนั้นเอง หากเราย้อนกลับไปดูในอดีต ชาวมุสลิมเชื้อสาย มลายู ต กอยู่ ใ นสภาวการณ์ ที่ ห วาดกลั ว ในช่ ว งปี ค .ศ. 1932-1979 (พ.ศ. 2475-2522) จากเหตุการณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) จนถึงปัจจุบันก็คงไม่ต่างเท่าไหร่ นั ก อาการหวาดกลั ว นั้ น อาจเกิ ด มาจากการใช้ ค วาม รุนแรงในการแก้ไขปัญหาของชาติหรือพูดง่ายๆ ก็คือการ ใช้การทหารนําการเมืองนั้นเอง จะเห็นว่านโยบายที่สร้าง ปัญหาให้แก่ชุมชนมุสลิมในท้องถิ่นก็คือ การใช้นโยบาย รัฐนิยมในสมัยท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถังแดงใน สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ นิคมสร้างตนเองในสมัยจอม พลถนอม กิตติขจร และมีการประกาศใช้พระราชกําหนด ฉุกเฉินในสมัยท่านพันตํารวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร พูดถึง สภาวการณ์ที่น่ ากลั วนั้น ไม่ไ ด้หมายถึ ง ชาวพุทธเชื้อสายไทยในภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย ไม่มีสภาวการณ์ความเป็นอยู่ที่น่ากลัว ที่นั่นก็มีลักษณะ อย่างนั้นเช่นกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปีค.ศ. 1960s (พ.ศ. 2503) ที่เกิดขึ้นแก่ชาวพุทธเชื้อสายไทยในรัฐเค ดาห์ (Kedah) นั้น คนไทยถูกกวาดต้อนให้เข้าไปอยู่ใน ค่ า ยกั ก กั น เพื่ อ ที่ จ ะแยกแยะคนดี อ อกจา กกลุ่ ม คอมมิวนิสต์จีนมาลายา ซึ่งการปฏิบัติงานในการกวาด ล้างจากฝ่ายรัฐบาลในครั้งนั้น มีบ้านเรือน วัดวาอาราม ทรัพย์สินมีค่าซึ่งเป็นมรดกทางตกทอดวัฒนธรรมของคน ไทยถูกทําลายไปมากมาย ถิ่นฐานของคนไทยถูกชนกลุ่ม อื่น ๆ เข้ า ครอบครองไปหมด การถื อสั ญชาติ ของชาว พุทธเชื้อสายไทยก็ไม่สามารถทําได้สะดวก ทําให้คนไทย มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น แต่ที่เป็นคําถามคาใจเรา นั้ น จึ ง อยู่ ที่ ว่ า ทํ า ไมชาวพุ ท ธเชื้ อสายไทยในประเทศ

มาเลเซีย ไม่ มี การลุ ก ขึ้น ต่ อสู้ โ ดยวิ ธี รุ นแรงหรือตรงกั บ ภาษาอังกฤษว่า radicalization อย่างที่เกิดขึ้นทาง ภาคใต้ของประเทศไทย? เนื่องจากว่าเรามีพื้นที่และเวลาที่จํากัด ทําให้ ต้องรวบรัดให้กระชับและสั้นลง ฉะนั้น เพื่อให้เกิดความ กระจ่าง เราจึงขอเปรียบเทียบความเป็นไปที่เกี่ยวข้องกัน ระหว่างสองกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งจะขอเริ่มต้นที่ชาว มุสลิมเชื้ อสายมลายูก่อนชุมชนมุสลิมเชื้อสายมลายูใ น ภาคใต้ของประเทศไทยนั้น เป็นเจ้าของพื้นที่ในท้องถิ่น แห่ ง นี้ ม าก่ อ นชาวสยาม และตั้ ง รกรากอยู่ ใ นท้ อ งถิ่ น ภาคใต้ เ กื อ บพั น ปี ม าแล้ ว มี เ จ้ า เมื อ งต่ า งๆ ปกครอง ตนเองมาก่อน ก่อนที่อยุธยาจะมาตีเมืองและเผาเมืองไป ซึ่ง สภาพมั สยิ ด กรือเซะที่ บ านาในอํ า เภอเมือง จัง หวั ด ปัตตานีได้เป็นหลักฐานอย่างแน่ชัดว่า ปัตตานีเคยถูกตี และเผาเมืองมาก่อน ไม่ใช่ถูกสาปแช่งของลิ้มโกเหนี่ยวที่ พี่ชายของลิ้มโกเหนี่ยวที่ชื่อว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมเข้ารับอิสลาม ในอดีตกาลแต่อย่างใด เพราะนั่นเป็นการป้ายสีดูเหมือน จะทําไปเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ชาวจีนเข้ามาท่องเที่ยวมากกว่าเหตุผลอื่นใด ซึ่งทําให้ ประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือนไปมาก แท้ที่จริงนั้น ชาวมลายู ในพื้ น ที่ ท างภาคใต้ ข องประเทศไทยในปั จ จุ บั น เคยมี ระบบเจ้าเมืองมาก่อน และเพิ่งเลิกไปในสมัยที่กรมพระ ยาดํารงราชานุภาพในสมัยรัชกาลที่ห้า เข้าไปมีบทบาท ในการจัดการบริหารหัวเมืองและเปลี่ยนแปลงระบบการ บริ ห ารการปกครองเสี ย ใหม่ ใ นรู ป แบบของการรวม อํ า นาจเข้ า สู่ ส่ ว นกลางเพื่ อให้ เกิ ด ความสะดวกในการ บริหารปกครองที่เป็นรูปแบบของระบบรัฐเดี่ยว ทําให้ ต้ อ งล้ ม เลิ ก ระบบเจ้ า เมื อ งต่ า งๆ ไปในที่ สุ ด ซึ่ ง มี บ าง กระแสรายงานว่าในสมัยนั้น คือขณะที่อยุธยามีอํานาจ มากขึ้นๆ แต่ปัตตานีกลับมีอํานาจลดลงๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ลูกหลานของเจ้าเมืองปัตตานีไม่ได้รับการส่งเสริมให้ มี การศึกษาสูงนั้นเอง ไม่ได้รับการศึกษาด้านการบริหาร การปกครองจากประเทศยุ โ รปอย่ า งที่ เ จ้ า เมื อ งของ อยุธยากระทํากันในสมัยนั้นนั่นเอง (Che Man 1983) พูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ มีความด้อยทางด้านการศึกษา นั้นเอง จึงทําให้กิจการด้านการบริหารการปกครองถูก อยุ ธ ยาเข้ า มาเผาเมื อ งและครอบครองดิ น แดนแห่ ง นี้ และปกครองอย่างเบ็ดเสร็จตั้งแต่ปีค.ศ. 1902 (พ.ศ.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

76

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

2445) หลังจากที่มีการทําสัญญาเบาริงกับผู้แทนจาก อั ง กฤษในสมั ย ของรั ช กาลที่ ห้ า เป็ น ต้ น มา สิ่ ง ที่ เห็ น ได้ อย่า งชัด เจนก็คื อ การกระด้า งกระเดื่องของชาวมลายู ปัตตานีที่มีต่อชาวสยาม เพราะว่าชาวปัตตานีในอดีตนั้น มี ค ว า ม สั ม พั น ธ์ ใ ก ล้ ชิ ด กั บ ม ะ ล ะ ก า ม า ก่ อ น มี ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ คล้า ยคลึ งกั น ซึ่ งมะละกาก็ เรืองอํานาจในช่วงประมาณศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงที่ ไล่เลี่ยกันกับสมัยที่อยุธยาเรืองอํานาจ เพราะชาวสยาม ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต่างกันนั้นเอง จึงทําให้มี ความรู้สึกของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันว่าเป็นผู้รุกราน สังคมชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูจะ มีความเป็นอยู่อย่างกลมเกลียว มีความเป็นชาตินิยมสูง มาก ทั้งอดีตและปัจจุบันได้มีการก่อตั้งขบวนการต่างๆ ต่อสู้กับชาวสยามทั้งในระบบและนอกระบบ ทั้งนี้ก็เพื่อ ปกป้ อ งสิ ท ธิ ผ ลประโยชน์ ด้ า นการเมื อ งการปกครอง ด้ า นเศรษฐกิ จ ด้ า นการศึ ก ษาที่ ยึ ด เหนี่ ย วอยู่ กั บ วัฒนธรรมมลายูอิสลาม และด้านสังคมวัฒนธรรมมลายู ของตน ที่สําคัญจะเห็นว่า ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูจะไม่ ชอบการที่ ตนเองถูก ประณามว่า เป็น ชาวสยาม ฉะนั้ น ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูจึงมีการเรียกร้องความเป็นอัต ลักษณ์ของตนที่แสดงถึงสัญลักษณ์ความเป็นมลายูของ ตนสูงมาก ที่ปรากฏเด่นชัดก็คือ การต่อต้านนโยบายรัฐ นิยมและมีการเรียกร้องให้มีการปรับปรุงการบริหารการ ปกครองของหะญี สุ ห ลงในช่ ว งปี ค .ศ. 1940s-1950s (พ.ศ. 2483-2493) หะญีสุหลง ถือเป็นผู้แทนด้านการเมืองของชาว มุส ลิ ม เชื้ อสายมลายู เป็ น คนแรก ที่ คั ด ค้ า นนโยบายรั ฐ นิยมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งการกระทําที่มีผล อัน เนื่ องมาจากนโยบายรั ฐนิ ยมโดยสรุป ก็คื อ ได้ มีก าร เปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูใ น ประเทศไทยจากเชื้อชาติมลายูสัญชาติสยามในสมัยนั้น ไปเป็ น เชื้ อ ชาติ ไ ทยสั ญ ชาติ ไ ทยมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น นอกจากนี้ ก็ให้มีการนุ่งเสื้อผ้าโจงกระเบน สวมหมวก และมารยาทการรั บ ประทานอาหารตามวั ฒ นธรรม ตะวั น ตก การห้ า มทู ล ของบนหั ว แต่ ใ ห้ แ บกของบนบ่ า แทน ห้ามกินหมากพลู ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่รวมทั้งครูสอน ในโรงเรี ย นสามั ญ ของรั ฐ ที่ มี ก ารปฏิ บั ติ ต นที่ ค อยห้ า ม ปรามการพู ด หรื อ การเรี ย นภาษามลายู มี ก ารปิ ด หรื อ

ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสถาบันการเรียนการสอนทาง ศาสนาที่เรียกว่า “ปอเนาะ” อย่างนี้เป็นต้น หะญีสุหลง จึ ง เสนอข้ อ เรี ย กร้ อ งเพื่ อ ปกป้ อ งสิ ท ธิ ผ ลประโยชน์ ดังกล่าวดังต่อไปนี้คือ ร้อยละ 80 จากภาษีบํารุงท้องที่ในสี่จังหวัด ชายแดนใต้จะต้องนํามาพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ การเป็น ข้ า ราชการในท้ อ งถิ่ น จะต้ องได้ รั บ ความเห็ น ชอบจาก คณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ร้อยละ 80 ของ ข้ า ราชการในท้ องถิ่ น จะต้ องเป็ น มุ ส ลิ ม เชื้ อ สายมลายู จะต้ องมี ศ าลชารี อะห์ บั ง คั บใช้ ใ นท้ องถิ่ น ภาษามลายู จะต้องเป็นภาษาราชการควบคู่กับภาษาไทย ภาษามลายู จะต้องมีการสอนในโรงเรียนของรัฐ และเชื้อชาติมลายู จะต้องประกาศใช้เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ จากความรู้สึกของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูเห็น ว่า รัฐบาลในสมัยอดีตนั้นมีการเอารัดเอาเปรียบเรื่อง การกระจายงบประมาณเข้ า สู่ ท้ อ งถิ่ น มี ก ารนํ า เอา งบประมาณบํารุงท้องที่จากส่วนที่ต้องบํารุงพื้นที่ในเขต ของชาวมลายูไปพัฒนาภาคอื่นๆ ของประเทศ ทําให้การ พัฒนาเกือบทุกด้านออกไปอยู่ส่วนอื่นๆ ของประเทศแต่ ไม่ ใ ช่ ใ นพื้ น ที่ ข องชาวมุ ส ลิ ม เชื้ อสายมลายู จึ ง เกิ ด การ ว่างงานกันเป็นจํานวนมาก มีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ซึ่งตรงนี้เอง จะเห็นว่าวัยรุ่นจากท้องถิ่นแห่งนี้ต้องออกไป หางานทําในต่างแดนคือประเทศมาเลเซีย ทํ า ไมจึ ง เสนอประเด็ น การเป็ น ข้ า ราชการใน ท้องถิ่ นจะต้ องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ อิสลามประจําจังหวัด ประเด็นนี้มีความสําคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการสะท้อนภาพพจน์ให้เห็นว่า ข้าราชการที่ เข้ามาปฏิบัติงานในสมัยนั้นเป็นข้าราชการที่ถูกทําโทษ จากที่อื่นมา ผลที่ตามมาก็คือ มีการปฏิบัติต่อประชาชน ในพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรม ดูเหมือนประชาชนในถิ่นนี้จะ ไม่ได้รับการปฏิบัติดังพลเมืองชาวไทยอย่างที่ควรจะเป็น หากจะพูดอย่างไม่มีความเกรงใจก็คือ ข้าราชการรังแก ประชาชนนั้นเอง หากเราหลับตานึกคิดให้ดี จะเห็นว่า สภาพการณ์ที่ข้าราชการรังแกประชาชนนั้น จะมีความ โหดเหี้ยมปานไหน ขอให้ลองนึกภาพดูการเสนอข่าวทั่วๆ ไปจากสื่ อต่า งๆ จากต่ า งประเทศที่เสนอถึง ความทุ ก ข์ ทรมาณของชาวบอสเนี ยในช่วงที่ป ระเทศยู โกสลาเวี ย แตกสลายใหม่ ๆ ชาวปาเลสไตน์ ที่ ถู ก ทรมานจาก


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

77

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

อิสราเอลผู้ยึดครอง และชาวอิรักที่ถูกต่างชาติยึดครองว่า เป็นอย่างไร คิดว่าก็คงไม่ไกลนักจากสภาพความรู้สึกของ ประชาชนที่แหล่งต่างๆ ที่มีชาวมุสลิมถูกทารุณกรรม ประเด็นร้อยละ 80 ของข้าราชการในท้องถิ่น จะต้องเป็นมุสลิมเชื้อสายมลายู ประเด็นนี้ก็น่าสนใจ เรา จะเห็นว่า ในสมัยนั้นมีการมองถึงการเรียกร้องให้มีการใช้ ระบบ proportional representation (PR) ออกมาใช้ ประชาชนได้มองเห็นแล้วว่า การกระจายอํานาจที่ไม่เป็น ธรรมนั้นเกิดขึ้นในเมืองไทยที่ปัตตานีประมาณ 60 ปี มาแล้ว การใช้ระบบ merit system คือ มือใครยาวก็ สาวได้สาวเอา ใครมือสั้นก็ปล่อยให้อดตาย คิดดูอีกทีก็ คล้ า ย ๆ กั บ อุ ด ม ก า ร ณ์ ขอ ง ต ะ วั น ต ก ต า ม ท ฤ ษ ฎี Darwinism ซึ่งเป็นระบบที่ผู้อ่อนแอก็ต้องตายไป ปล่อย ให้ ผู้ ที่ แ ข็ ง แรงกว่ า ยื น ยงคงกระพั น และครอบครอง กรรมสิทธิ์ในสิทธิผลประโยชน์ต่างๆ บนโลกใบนี้แต่เพียง ผู้เดียว มีการใช้เหตุผลต่างๆ นานาเพื่อรุกรานประเทศ ด้ อ ยพั ฒ นาทั้ ง หลายอยู่ เ นื อ งนิ จ ในที่ สุ ด จากการใช้ merit system นี้เอง ที่ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูไม่ สามารถที่ จ ะเข้ า ร่ ว มเสนอและกํ า หนดนโยบายที่ อาจ ปกป้ อ งสิ ท ธิ ผ ลประโยชน์ ข องตนได้ เ ลย จะเห็ น ว่ า อั ต ราส่ ว นการทํ า งานในตํ า แหน่ ง ข้ า ราชการในท้ อ งที่ การเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย การมีสัดส่วนที่ เป็นผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์มลายูเข้าสู่สภา รวมถึงการมีส่วน ร่วมบริหารประเทศในคณะรัฐมนตรีจะไม่มีสัดส่วนที่เป็น ธรรมได้เลย ประเด็ น ที่ จ ะต้ อ งมี ศ าลชารี อ ะห์ บั ง คั บ ใช้ ใ น ท้ อ งถิ่ น ก็ ถื อ ว่ า สํ า คั ญ เพราะความเป็ น อิ ส ลามนั้ น หมายถึ ง การมี ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ต ามระบอบแห่ ง การ ดําเนินชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าที่กําหนดไว้ ซึ่งมีพระมหา คัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นธรรมนูญแห่งการดําเนินชีวิต อัลหะ ดี ษ เป็ น หลั ก การปฏิ บั ติ และฟั ต วาหรื อ คํ า ตั ด สิ น ของ นักปราชญ์เป็นแนวทางปฏิบัติตัดสินคดีในส่วนที่เป็นคดี ความปลีก ย่อยหรื อยั ง ไม่ มี ความชั ดเจนจากอัล กุ รอ่ า น และอั ล หะดิ ษ ฉะนั้ น อิ ส ลามจะไม่ มี ก ารยอมรั บ การ ตั ด สิ น คดี ใ ดๆ ที่ แ ตกต่ า งไปหรื อ คั ด ค้ า นจากทั้ ง สาม หลั ก การดั ง กล่ า วข้ า งต้ น เพราะเหตุ นี้ แ หละจึ ง ต้ อ งมี กฎหมายชะรี อะห์ ขึ้น มารองรับ ในสั งคมมุ สลิ ม ซึ่ งศาส ชารีอะห์จะเป็นองค์กรในการตัดสินคดีคู่ความต่างๆ ที่

เกิ ด ขึ้ น ระหว่ า งมุ ส ลิ ม กั บ มุ ส ลิ ม หรื อระหว่ า งมุ ส ลิ ม กั บ ต่างศาสนิกชน ไม่ว่าจะเป็นคดีความซึ่งเป็นปัญหาที่เกิด จากการแต่ง งาน ปั ญหาที่ ว่ าด้ วยทรัพ ย์สิ นมรดก หรื อ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ภาษามลายูจะต้องเป็นภาษาราชการควบคู่กับ ภาษาไทย ประเด็ น นี้ เ ป็ น หลั ก สากลที่ ป ระเทศยุ โ รป ปฏิบัติกันเพื่อดํารงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ด้านภาษาของชนกลุ่ม น้อยในชาติ ถือเป็นการเคารพอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่ ร่ ว มกั น บริ ห ารประเทศชาติ จะเห็ น ว่ า แคนาดา ประกาศใช้ภาษาฝรั่ งเศสของชาวควิเบซัวในรัฐควิเบก เป็น ภาษาราชการควบคู่กั บภาษาอั งกฤษซึ่ง เป็น ภาษา ของกลุ่มชาติพันธุ์ของชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประเทศ สวิส เซอร์แ ลนด์ มีก ารประกาศใช้สี่ ภาษากลุ่ม ชาติ พัน ธุ์ เบลเยี่ยมมีการประกาศใช้สองภาษากลุ่มชาติพันธุ์ และที่ ใกล้ บ้ า นเราคื อ ประเทศมาเลเซี ย ก็ มี ก ารส่ ง เสริ ม ใช้ ภาษาจี นและภาษาทมิ ฬซึ่งเป็ นภาษาของชนกลุ่มน้อย ชาวจีนและชาวอินเดียเป็นทางการควบคู่กับภาษามลายู ซึ่งเป็นภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ในประเทศชาติ ภาษามลายูจะต้องมีการสอนในโรงเรียนของรัฐ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่แสดงให้เห็นว่า ในอดีตนั้น มีการ ไม่ให้เกียรติในการใช้ภาษาของชนกลุ่มน้อยในชาติ และ ประเด็นนี้ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูไม่ นิยมส่งเสริมส่งบุตรหลานให้เข้าไปเรียนในโรงเรียนของ รัฐ ความหมายของชาวมุสลิมในท้องถิ่นก็คือ รัฐกําลัง กลืนชาติของความเป็นมลายูของชุมชนในท้องถิ่นนั้นเอง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ การที่รัฐพยายามเรียกชื่อภาษา มลายู ใ นท้ องถิ่ น เป็ น “ภาษาท้ อ งถิ่น ” แทนที่จ ะเรี ย ก “ภาษามลายู” ซึ่งเป็นคําที่ใ ช้เรียกภาษาของกลุ่มชาติ พันธุ์มลายูอย่างถูกต้อง เชื้อชาติมลายูจะต้องประกาศใช้เป็นอัตลักษณ์ ของกลุ่ มชาติ พัน ธุ์ ประเด็น นี้เป็น ประเด็น ที่เราปฏิ เสธ ไม่ได้เลยว่า รัฐกําลังลบล้างเชื้อชาติมลายูของกลุ่มชาติ พันธุ์มลายูในประเทศ พูดให้ตรงประเด็นก็คือ กําลังกลืน ชาตินั้นเอง แทนที่จะส่งเสริมเพื่อให้เกิดความหลากหลาย ทางด้านวัฒนธรรม ฉะนั้น จะเห็นว่า ประเทศชาติของเรากําลังขาด โอกาสทองที่ จ ะนํ า เศรษฐกิ จ จํ า นวนมหาศาลเข้ า สู่ ประเทศ เพราะจากประสบการณ์ของผู้เขียนจะเห็นว่า


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

78

เรายังไม่ได้ประยุกต์ใช้จากสภาพธรรมชาติของกลุ่มชาติ พันธุ์ที่เป็นอยู่ให้เป็นโอกาสทองเท่าที่ควร ประเทศที่อยู่ ติดชายแดนกับ เราอย่ างมาเลเซีย นั้น ได้ใ ช้ภาษาและ กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ซึ่ง มี ทั้ งชาวจี นและชาวอิ น เดี ย ให้ดํ า เนิ น ธุรกิจด้านการค้ากับจีนแผ่นดินใหญ่และติดต่อการค้ากับ อินเดียซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรบริโภคสินค้าเกือบทุก ชนิดมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสองของโลก ซึ่ง มาเลเซียได้ประสบผลสําเร็จอย่างงดงาม แต่เรากลับเห็น ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ที่กําลังเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ไปเป็นพวกขบถไปเสียหมด ในที่สุด ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูถูกปราบปราม อย่างรุนแรง มีโต๊ะครูรวมถึงหะญีสุหลงถูกอุ้มหายตัวไป และถู ก ฆ่ า ตายไปเป็ น จํ า นวนมาก ชาวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สาย มลายู บ างส่ ว นต้ อ งอพยพไปอาศั ย ในรั ฐ ต่ า งๆ ของ มาเลเซี ย ในช่ ว งนี้ เองคือ ปี ค.ศ. 1950-1970 (พ.ศ. 2493-2513) ที่เริ่มมีการก่อตั้งขบวนการต่างๆ เพื่อทํา การต่อสู้ปลดแอกรัฐปัตตานี ปัจจุบันได้ปะทุขึ้นมาอีก ตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ได้มีการอุ้ม ทนาย สมชาย นี ล ะไพจิ ต ร หรื ออี ก ชื่ อหนึ่ ง ของท่ า นคื อ “อบู บักร” หายตัวไปขณะที่ท่านสมชายอยู่ในระหว่างว่าความ คดี ค วามมั่ น คงที่ ช าวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายมลายู กํ า ลั ง ถู ก กล่าวหา ซึ่งนับว่าท่านได้ถูกอุ้มหายตัวไปในขณะที่กําลัง ปฏิบัติหน้าที่ว่าความตามระบบกลไกของรัฐ ที่ปกป้อง ชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูผู้บริสุทธิ์ให้ได้รับความเป็นธรรม แต่ท่านสมชายกลับหายตัวไปโดยทางการไม่สามารถจับ ตัวผู้กระทําผิดได้ ในเวลาที่ไล่เลี่ยกันกับการหายตัวของ ท่านสมชาย ได้เกิดความไม่สงบขึ้นในภาคใต้ของประเทศ และก็ไม่แน่ใจว่า นโยบายที่ประเทศชาติกําลังแก้ปัญหา อยู่ในขณะนี้นั้น ได้มีการใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาชนกลุ่ม น้อยที่เป็นสากลหรือไม่ หากมีการทบทวนการแก้ปัญหา จากฝ่ายรัฐอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เราจะเห็นว่าประสบ ผลสําเร็จได้ไม่มากนัก พูดง่ายๆ ก็คือ สาเหตุที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นหัวใจสําคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขปัญหายังไม่มีการ ปฏิบัติอย่างจริงจังคือ “เรายังขาดความจริงใจ ขาดการ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ขาดการน้อมรับในพระราชดํารัส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ในการแก้ ปั ญ หา อย่างบริสุทธิใจ” นั้นเอง จึงทําให้เกิดการเลือกปฏิบัติกัน อย่ า งกว้ างขวาง ไม่ ว่ า จะเป็น ด้ า นการดํ า เนิน นโยบาย

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ด้านการคัดเลือกเข้ารับการ ทํางานในอาชีพราชการ ด้านการส่งเสริมอาชีพ และด้าน การศึกษาในสาขาอาชีพที่จําเป็นต่างๆ ต่อสังคม ต่อไปนี้ เราลองหันไปดูชาวพุทธเชื้อสายไทยใน ประเทศมาเลเซียกันบ้าง มีการบันทึกจากตําราของคุณ ธํารงศักดิ์ อายุวัฒนะ (ฉบับปรับปรุงปีค.ศ. 2004) ว่ามี ชาวพุทธเชื้อสายไทยอพยพเข้าไปอยู่ในดินแดนมลายูเมื่อ ประมาณ 300-500 ปีมาก่อนแล้ว ซึ่งตรงกับช่วงที่สยาม ยาตราทั พ เข้ า ไปยึ ด เมื อ งปาหั ง (Pahang) ผู้ ที่ ติ ด ตาม พร้อมกับกองทัพสยามได้เข้าไปอยู่อย่างกระจัดกระจาย ท่านได้บันทึกไว้ว่าชาวไทยพุทธเชื้อสายไทยอพยพเข้าไป ในรัฐกลันตันหรือทางตะวันออกตอนเหนือของคาบสมุท ธมลายูประมาณ 300 ปีแล้ว และอพยพเข้าไปอยู่ใน รัฐเคดาห์ (Kedah) หรือตะวันตกตอนเหนือของคาบสมุท ธมลายูประมาณ 500 ปีมาก่อนแล้ว ปัจจุบันได้เริ่มมี การก่อตั้งองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมายที่กําลังเรียกร้อง ความเป็นธรรมคือ ความเป็นบุมีปุตรา (เจ้าของแผ่นดิน) สมัยอดีตประมาณปี 1960s (พ.ศ. 2503) นั้นเริ่มมี สมาคมสยามเคดาห์ -เปอร์ ลิ ส (Kedah-Perlis) ที่ พยายามต่อสู้เพื่อคงไว้ซึ่งภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยใน มาเลเซีย มีการเปิดโรงเรียนสอนภาษาไทยและมีการ ส อ น ใ ห้ รั ก ช า ติ ไ ท ย รั ก ศ า ส น า พุ ท ธ เ ทิ ด ทู ล พระมหากษัตริย์ไทยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยาเดช มีการยกธงชาติไทยควบคู่กับธงชาติ มาเลเซีย แต่จะไม่มีขบวนการที่เคลื่อนไหวนอกระบบ หรือวิธีการที่รุนแรงอย่างที่เกิดขึ้นจากชาวมุสลิมเชื้อสาย มลายู ใ นภาคใต้ ข องประเทศไทยข้ อ เรี ย กร้ อ งที่ เ ป็ น ประเด็นสําคัญๆ และนําเสนอผ่านสมาคมไทยกลันตัน และสมาคาสยามมาเลเซียมายังรัฐบาลก็คือ การขอมีสิทธิ เป็นบุมีปุตรา การขอมีพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดให้เป็นที่ สักการะบูชาของชาวพุทธจากทั่วโลก การขอแก้ไขให้มี การระบุชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยในแบบฟอร์มการ ขอเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ การขอประกาศวัฒนธรรม ไทยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งชาติ การขอประกาศ วันสงกรานต์เป็นวันหยุดราชการ การขอมีสิทธิในกองทุน ช่วยเหลือด้านการศึกษาและด้านการประกอบทางธุรกิจ ตลอดจนการขอมีสิทธิเป็นสมาชิกของพรรค UMNO


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

79

ประเด็นการขอมีสถานภาพเป็นบุมีปุตราถือว่า สําคัญที่สุด ตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียถือว่า บุคคลที่ สืบเชื้อสายเป็นชาวมลายูหรือสืบเชื้อสายเป็นชาวซาบาห์ หรื อ ชาวซาราวั ค ในมาเลเซี ย เท่ า นั้ น ที่ เ ป็ น บุ มี บุ ป รา นอกจากนั้นจะไม่ใช่บุมีปุตรา ฉะนั้น จะมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่ เป็ น บุ มี ปุ ต ราเพี ย งสองกลุ่ ม เท่ า นั้ น คื อ กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ มลายูและกลุ่มชาติพันธุ์คาดาซานจากรัฐซาราวัคและซา บาห์ ส่วนลูกหลานที่เป็นบุมีปตราก็จะต้องมีบิดาหรือ มารดาที่สืบเชื้อสายมลายูหรือชาวซาบาห์หรือซาราวัค เท่ า นั้ น ผู้ ที่ ถื อสิ ท ธิ เป็ น บุ มี ปุ ต ราจะถื อว่ า เป็ น พลเมื อง ชั้นหนึ่ง จะมีสิทธิพิเศษมากมายนับว่าเหนือกว่ากลุ่มชาติ พั น ธุ์ อื่น ๆ ในมาเลเซี ย ทุ ก กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ จึ ง ต้ องดิ้ น รน เพื่อให้ได้สถานภาพบุมีปุตรา อย่างไรก็ตาม จากการต่อสู้ ทางสายกลางของชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น นับว่าประสบ ความสําเร็จอย่างงดงาม เพราะว่าชาวพุทธเชื้อสายไทย ถึ ง แม้ ว่ า ไม่ มี ส ถานภาพเป็ น บุ มี ปุ ต รา แต่ สิ ท ธิ ต่ า งๆ หมายถึ ง สิ ท ธิ ด้ า นการเมื อ งเศรษฐกิ จ และสั ง คม จะ เหมือนกับบุมีปุตราที่เป็นชาวมลายูทุกประการ ปัจจุบันนี้ ชาวพุทธเชื้อสายไทยจึงมีสถานภาพพิเศษซึ่งถือว่าเป็น สถานภาพที่สูงกว่าชาวจีนและชาวอินเดียในมาเลเซีย การขอมี พ ระพุ ท ธรู ป ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ให้ เ ป็ น ที่ สักการะของชาวพุทธจากทั่วโลก ก็ถือเป็นประเด็นสําคัญ ปัจ จุ บั นนี้ ประเทศมามาเลเซีย มี พ ระพุ ท ธรู ป ทรงนั่ ง ที่ ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกรองจากพระพุทธรูปทรง นั่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพระพุทธรูปทรงนั่งในประเทศ มาเลเซี ย จะประดิ ษ ฐานอยู่ ที่ วั ด มั ช ชิ ม าราม หมู่ บ้ า น Tereboh อําเภอ Tumpat รัฐ Kelantan ผู้ที่เดิน ทางเข้าประเทศมาเลเซียจากฝั่งอําเภอตากใบ จังหวั ด นราธิ วาส ก็ จะพบเห็ น พระพุ ทธรูป ดัง กล่ าวทางด้ า น ซ้ายมือห่างจาก Pengkalan Kubor ริมฝั่งแม่น้ําตรงกัน ข้ามอําเภอตากใบประมาณ 5-8 กิโลเมตร การขอแก้ไขให้มีการระบุชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวไทยในแบบฟอร์ ม การขอเข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ของรั ฐ ประเด็นนี้ก็ถือว่าสําคัญ เพราะว่า หากไม่มีการระบุกลุ่ม ชาติพันธุ์ที่ชัดเจน จะทําให้ลูกหลานชาวพุทธเชื้อสายไทย หมดสิทธิในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันของรัฐ เพราะการ เข้าสถาบันการศึกษาของรัฐในมาเลเซียนั้นมีการจัดการ

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

เข้าศึกษาตามระบบ PR ซึ่งเป็นอัตราส่วนตามจํานวน กลุ่มชาติพันธุ์ การขอประกาศวัฒนธรรมไทยเป็นส่วนหนึ่งของ วัฒนธรรมแห่งชาติ และการขอประกาศวันสงกรานต์เป็น วั น หยุ ด ราชการ ทั้ ง สองประเด็ น ดั ง กล่ า วถื อว่ า สํ า คั ญ เพราะการที่ไม่ได้แสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มชาติ พันธุ์ในชาตินั้น ส่อให้เห็นว่า วัฒนธรรมของชาวพุทธเชื้อ สายไทยกํ า ลั ง ถู ก กลื น จากกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ก ลุ่ ม ใหญ่ รัฐบาลมาเลเซียจึงประกาศให้วัฒนธรรมการละเล่นกลอง ยาว การฟ้อนรําไทย และประเพณีวันสงกรานต์เป็ น วัฒนธรรมแห่งชาติ การขอมีสิทธิในการกู้ยืมกองทุนช่วยเหลือด้าน การศึ ก ษาและด้ า นการประกอบทางธุ ร กิ จ รั ฐ บาล มาเลเซียได้ให้สิทธิการขอทุนทั้งการศึกษาอย่างเช่น ทุน MARA ซึ่งเป็นทุนพิเศษสําหรับชาวมลายู และทุนการ ประประกอบทางธุรกิจอย่างเช่น ASB และ ASN ซึ่งเป็น กองทุนทางธุรกิจสําหรับชาวมลายูและพลเมืองแห่งชาติ แก่ชาวพุทธเชื้อสายไทยเท่ากับชาวมลายูในมาเลเซียทุก ประการ การขอมี สิ ท ธิ เ ป็ น สมาชิ ก ของพรรค UMNO ประเด็ น นี้ถื อว่ า เป็น ประเด็น สํ า คั ญ เพราะว่า ประเทศ มาเลเซียนั้น พรรค UMNO ซึ่งเป็นพรรคของชาวมลายู เป็ น พรรคการเมื อ งที่ ผู ก ขาดในการบริ ห ารปกครอง ประเทศ ผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรค UMNO จะได้รับ ผลประโยชน์ แ ละสิ ท ธิ ต่ า งๆ มากกว่ า พรรคอื่ น ๆ สําหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น นับตั้งแต่มีการต่อสู้การ เรียกร้องสิทธิทางการเมือง คุณเจริญ อินทร์ชาติ คุณซิว ชุน เอมอัมไพซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติล้วนแต่เป็น สมาชิกของพรรค UMNO ทั้งสิ้น ที่แตกต่างกันในการดําเนินนโยบายที่มีต่อชน กลุ่ ม น้ อ ยชาวพุ ท ธเชื้ อ สายไทยนั้ น จะเห็ น ว่ า รั ฐ บาล มาเลเซี ยตอบสนองด้ วยการให้มี การจัดตั้ งองค์กรกลุ่ ม ชาติพันธ์ชาวพุทธเชื้อสายไทยที่ถูกต้องตามกฎหมาย จึง เกิดสมาคมสยามมาเลเซียและสมาคมไทยกลันตันที่ทํา การต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธ์ รัฐบาลมาเลเซียมีการให้คํามั่นแก่ชาวพุทธเชื้อสายไทยถึง การสงวนสิทธิในตําแหน่งสภานิติบัญญัติไว้สําหรับชาว พุทธเชื้อสายไทยหนึ่งที่นั่งตามประชากรจํานวนประมาณ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

80

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

60,000 คน และผู้ที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติคนแรกที่ เป็นชาวพุทธเชื้อสายไทยในปีค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) ก็ คือ ประธานของสมาคมสยามมาเลเซีย ชื่อว่าคุณเจริญ อินทร์ชาติ ปัจจุบันนี้ผู้ที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติต่อ จากคุณเจริญ อินทร์ชาติ โดยเริ่มจากปีค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) คือ คุณซิวชุน เอมอัมไพจน ท่านเป็นสุภาพสตรี ชาวพุทธเชื้อสายไทย ซึ่งในอดีตท่านเคยเป็นรองประธาน ของสมาคมสยามมาเลเซี ย และที่ป รึก ษาของมุ ข มนตรี แห่งรัฐเปอร์ลิสนั้นเอง คราวนี้ เรามาถึงประเด็นสําคัญคือ “ชนกลุ่ม น้ อ ยมี ผู้ แ ทนทางเมื อ งอย่ า งไรในการที่ จ ะดํ า เนิ น กิจกรรมให้บรรลุถึงเป้าหมายผลประโยชน์ของชุมชนที่ ได้กําหนดไว้?” ทําไมชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูในประเทศ ไทยจึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง ดําเนินกิจกรรมทางการเมือง นอกระบบ แต่ ช าวพุ ท ธเชื้ อ สายไทยในมาเลเซี ย มี พฤติกรรมที่เป็นสายกลาง ดําเนินกิจกรรมทางการเมือง ภายในระบบของรัฐ? ผลจากการวิ จั ย ที่ วิ เคราะห์ ออกมาจากปั จ จั ย ต่างๆ คือ การศึกษาที่สูงขึ้น? ความรู้ด้านศาสนาที่มาก ขึ้น ? การสื่อสารยุคโลกาภิวัตน์? พฤติกรรมของผู้นํา กลุ่มชาติพันธุ์? เสรีภาพของระบบรัฐ? สถานภาพทาง เศรษฐกิจดีขึ้น? และทัศนคติที่เปลี่ยนแปลง? ว่ามี ความสัมพันธ์กับวิธีการหรือรูปแบบที่ชนกลุ่มน้อยเป็น ผู้ แ ทนทางการเมื อ งมากน้ อ ยเพี ย งใดนั้ น ปรากฏผล ดังต่อไปนี้ การศึกษาที่สูงขึ้นนั้น มีคนมุสลิมเชื้อสายมลายู ทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 70 และคนพุทธ เชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อยละ 100 ยอมรับว่า การศึกษาที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุที่มีอิทธิพล ต่อยุทธศาสตร์การเป็นผู้แทนด้านการเมือง ความรู้ด้านศาสนาที่มากขึ้น มีคนมุสลิมเชื้อสาย มลายูทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 30 และคน พุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อย ละ 100 ยอมรับว่า ความรู้ทางด้านศาสนาที่มากขึ้นเป็น สาเหตุ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารเป็ น ผู้ แ ทนด้ า น การเมือง การสื่อสารยุคโลกาภิวัตน์ มีคนมุสลิมเชื้อสาย มลายูทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 70 และคน

พุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อย ละ 83.3 ยอมรับว่า ปัจจัยการสื่อสารยุคโลกาภิวัตน์ที่ แพร่ ห ลายกั น มากขึ้ น เป็ น สา เหตุ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ยุทธศาสตร์การเป็นผู้แทนด้านการเมือง พฤติกรรมของผู้นํากลุ่มชาติพันธุ์ มีคนมุสลิม เชื้อสายมลายูทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 80 และคนพุ ท ธเชื้ อ สายไทยทางตอนเหนื อ ของประเทศ มาเลเซียร้อยละ 100 ยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้นํากลุ่ม ชาติ พั น ธุ์ ที่ มี หั ว เสรี ม ากขึ้ น เป็ น สาเหตุ ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารเป็ น ผู้ แ ทนด้ า นการเมื อ งในระบอบ ประชาธิปไตย เสรีภาพของระบบรัฐ มีคนมุสลิมเชื้อสายมลายู ทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 40 และคนพุทธ เชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อยละ 86.7 ยอมรั บ ว่ า เสรี ภ าพของระบบรั ฐ เป็ น สาเหตุ ที่ มี อิทธิพลต่อยุทธศาสตร์การเป็นผู้แทนด้านการเมือง สถานภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น มีคนมุสลิมเชื้อ สายมลายู ทางชายแดนใต้ ของประเทศไทยร้อยละ 60 และคนพุ ท ธเชื้ อ สายไทยทางตอนเหนื อ ของประเทศ มาเลเซียร้อยละ 86 ยอมรับว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจ ดีขึ้นเป็นสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์การเป็นผู้แทน ด้านการเมือง ทั ศ นคติ ที่ เ ปลี่ ย นแปลง มี ค นมุ ส ลิ ม เชื้ อ สาย มลายูทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 10 และคน พุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อย ละ 100 ยอมรับว่า ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุที่มี อิทธิพลต่อยุทธศาสตร์การเป็นผู้แทนด้านการเมือง ผ ล ลั พ ธ์ ที่ ไ ด้ ม า จ า ก ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ คื อ พฤติกรรมของผู้นํากลุ่มชาติพันธุ์ (มีคนมุสลิมเชื้อสาย มลายูทางชายแดนใต้ของประเทศไทยร้อยละ 80 และคน พุทธเชื้อสายไทยทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซียร้อย ละ 100 ยอมรับว่า พฤติกรรมของผู้นํากลุ่มชาติพันธุ์ที่มี หัวเสรีมากขึ้นเป็นสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์การ เป็นผู้แทนด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตย) และ การศึ ก ษาที่ สู ง ขึ้ น นั้ น ทํ า ให้ เ กิ ด การเคลื่ อ นไหวทาง การเมืองของชนกลุ่มน้อย (เพราะว่ามีร้อยละ 70 ของ ผู้นําชุมชน จากจํานวน 60 ท่าน = 100% ซึ่ง ชาวมุสลิม เชื้อสายมลายูใ นชายแดนใต้ ประเทศไทยยอมรั บ และ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

81

ร้อยละ 100 ของชาวพุทธเชื้อสายไทยในชายแดนเหนือ ประเทศมาเลเซี ย เห็ นพ้ องต้ องกั น) ส่ว นปัจ จัย ตั วอื่ น ๆ นั้ น มี ค วามขั ด แย้ ง กั น ระหว่ า งสองกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ นี้ ค่อนข้างสูงมาก อย่างไรก็ตาม ทิศทางการเคลื่อนไหว ที่ว่า จะเป็นความรุนแรงหรือสายกลางนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่ กับการศึก ษาสู งแต่ อย่า งใด แต่ จะขึ้ นอยู่ กับรู ปแบบ การตอบสนองจากฝ่ายรัฐที่มีต่อประชาชนนั้นเอง ประเทศไทยเราดูเหมือนจะไม่ให้ความสําคัญกับ กลุ่มชาติพันธุ์ของชนกลุ่มน้อยในชาติ มากเท่าที่ควร ที่ จริงแล้ว ชาวมุสลิมเชื้ อสายมลายูในประเทศไทยเพีย ง กลุ่มชาติพันธุ์เดียวก็มีเป็นสิบๆ เชื้อชาติแล้ว อย่างเช่น มี ช าวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายมลายู ชาวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายอิ น เดี ย ชาวมุสลิมเชื้อสายจีน ชาวมุสลิมเชื้อสายปากีสถาน ชาว มุสลิมเชื้อสายเปอร์เซีย และชาวมุสลิมเชื้อสายสยามดังนี้ เป็ น ต้ น แต่ ช าวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายอื่ น ๆ นั้ น จะอยู่ อ ย่ า ง กระจั ด กระจายและก็ ไ ม่ ใ ช่ ก ลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ต ามภู มิ ประวัติศาสตร์ ซึ่งผิดกับชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่เป็น กลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ ท างภู มิ ป ระวั ติ ศ าสตร์ และมี จํ า นวน ประชากรมากถึงสามล้านคน จัดอยู่ในอัตราส่วนกลุ่มชาติ พันธ์ชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่มาก โดยเฉลี่ยแล้วประมาณร้อย ละ 15 ของประชากรในชาติทีเดียว และมีการรวมตัวกัน อยู่ในสี่จังหวัดชายแดนใต้คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตู ล กั บ อี ก สามอํ า เภอในจั ง หวั ด สงขลาคื อ จะนะ นาทวี และสะบ้าย้อย คําถามจึงอยู่ที่ว่า เราพร้อมแล้ว หรื อ ยั ง ที่ จ ะมี ก ารจั ด ระบบการปกครองเสี ย ใหม่ โ ดย คํานึงถึงกลุ่มชาติพันธุ์เป็นหลัก และมีการใช้ระบบ PR ใน การจัดการบริหารแผ่นดิน โดยใช้หลักการที่ว่าประเทศ ไทยเป็นประเทศรัฐเดี่ยวที่มีหลักการบริหารบางส่วนที่ หลากหลายไปตามกลุ่ ม ชาติ พั น ธุ์ และที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด ที่ นับว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานก็คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด จะต้ องมาจากการเลื อ กตั้ ง ตามระบอบประชาธิ ป ไตย อย่างที่ประเทศแคนาดาปกครองจังหวัดควิเบก ที่ดําเนิน กิจการการบริหารการปกครองที่มีความหลากหลายเป็น พิเศษเพื่อให้พลเมืองควิเบกเคารพและหวงแหนในความ เป็นชาติของแคนาดา ฉะนั้น การเจรจากันทั้งสองฝ่ายคือ ตั ว แทนฝ่ า ยชาวมุ ส ลิ ม เชื้ อ สายมลายู กั บ ตั ว แทนของ รัฐบาลจึงเป็นสิ่งสําคัญเพื่อที่จะได้พัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศชาติ ซึ่ง จะทํ าให้ เกิ ดประโยชน์ต่ อประชาชนผู้

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

บริสุทธิ์อีกมากมาย ที่กําลังสวดมนต์ขอความโปรดปราน จากเอกองค์อัลลอฮเจ้าเพื่อให้ดลบันดาลจิตใจให้ผู้ที่กําลัง เข่นฆ่ าผู้บริ สุทธิ์ทั้ งหลายหันมาหาสาเหตุ ที่แท้จ ริงและ กําจัดวิธีการที่ไม่พึงปรารถนาให้ออกไปจากดินแดนแห่งนี้ หันมาสนับสนุนในสิ่งที่เป็นกุศลและเกิดประโยชน์ต่อทั้ง สองฝ่ า ยโดยหั น มาร่ ว มกั น พั ฒ นาเศรษฐกิ จ ของชาติ โดยรวม แทนที่จะมีการรบพุ่งกันเอง คิดว่าหากเรายึดถือ สุภาษิตที่ว่า “ร่วมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย” จะดีกว่า เป็ น ไหนๆ เพราะว่า เศรษฐกิ จ ของเราบอบช้ํ ามามาก พอแล้ว!!! เราลองกลับไปดูที่มาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย ไม่เคยมีความคิดและแสดงออกถึงการกระทําในลักษณะ ที่เป็นการกลืนชาติของชนกลุ่มน้อย แต่กลับยอมรับกลุ่ม ชาติ พั น ธุ์ ข องชนกลุ่ ม น้ อ ยและอนุ ญ าตให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง องค์กรทางการเมืองด้านเชื้อชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ จะเป็นการง่ายต่อการกระจายซึ่งสิทธิผลประโยชน์ ตามสัดส่วนของระบบ PR จะเห็นว่ารัฐปีนังกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวจีนมีถึงร้อยละ 60-70 ก็อนุญาตให้ดร. โกสุกุน ซึ่ง เป็นชาวมาซียเชื้อสายจีนไปเป็นผู้ว่าการรัฐทําการบริหาร ปกครองรั ฐ ปีนั ง แต่ทั้ ง นี้ทั้ ง นั้น ก็ เพื่ อผลประโยชน์ข อง ประเทศมาเลเซียโดยรวม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุนี้เองที่กลุ่ม ชาติพันธุ์ชาวพุทธเชื้อสายไทยไม่เคยมีประวัติที่จะก่อตั้ง ขบวนการต่างที่ปฎิบัติการอย่างรุนแรงสร้างปัญหาให้แก่ ประเทศชาติเลยแม้แต่น้อย โดยสรุปแล้วผู้เขียนมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่ง ว่า ประเทศไทยเราไม่ได้เลวร้ายไปทุกอย่าง หากแต่เรา ยังไม่ได้มีผู้ที่มีอํานาจอย่างแท้จริง มือสะอาดอย่างแท้จริง มี ค วามจริ ง ใจเป็ น เลิ ศ มี ค วามกล้ า หาญที่ ส ามารถ ปรับปรุงกลไกของประเทศชาติอย่างมีเหตุมีผล และถึง เมื่อนั้นเอง วิกฤตกาลที่เลวร้ายต่างๆ ก็จะกลับเป็นดีได้ใน ที่สุด อินชาอัลลอฮ


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

82

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...

บรรณานุกรม

Huntington, Samuel P. 1991. The third wave: democratization in the late Anurugsa, Panomporn. 1984. Political twentieth century. Norman: University integration policy in Thailand: the of Oklahoma Press. case of the Malay Muslim minority. Doctoraldissertation, University of Texas at Austin. Magill, Frank N. 1996. International Ayoob, Mohammad (ed.). 1981. The politics encyclopedia of government and politics, (2) 794-1510. Singapore: of Islamic reassertion. London:Croom Toppan Company Pte. Helm. Ayuwattana, Thamrongsak. 2004. Thais in Manning, D.J. 1971. Liberalism. New York:St. Malaysia. Bangkok: Samnakphim Martin’s Press and London: Dent. Bannakij. Moolnithi Haji Sulong. 1994. A souvenir for Bangkok Post. 2001. Problems in the South. Haji Sulong hospital. Bangkok: Borisat 30 September. Natcha Bangkok Post. Muslim militants. Friday, 30 Publishing. April: 2. Bangkok Post. Bloodshed, mayhem in South. Pojjanaworawong, Nakorn & Pojjanaworawong, Ukrit. 1999. Thai history:elections 27 October:1. from 1932 and forming governments Che Man, W.K. 1983. Muslim elites and in all reigns. Bangkok: Thai Wattana politics in southern Thailand. Phanit. Master’s Thesis, Universiti Samakom Thai Kelantan. 1998. Resolusi Sains Malaysia. seminar kepimpinan masyarakat Che Man, W.K. 1990. Muslims Separatism: Siam Malaysia. Booklet. Kota Bharu: the Moros of southern Philippines Wat Ariya, Kg. Aril, 11 September. and the Malays of Smith, Adam. 1950. An inquiry into the Southern Thailand. nature and causes of the wealth of nations. Edited by Edwin Cannan. 6th Hawkesworth, Mary & Kogan, Maurice (eds.). ed. London: Menthuen. 1996. Encyclopedia of government and politics (2). London: Routledge.

Smith, Anthony D. 1981. The ethnic revival. Cambridge: Cambridge University Press. Kibat, Katni Kamsono. 1986. Asas ilmu politik. Selangor: Biroteks, Institut Teknologi Mara.


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา สุริยะ สะนิวา

83

Suwannathat-Pian, Khobkhua. 1988. ThaiMalay relations: traditional intraregional relations from the seventeenth to the early twentieth centuries. Singapore: Ocford University Press. Syed Serajul Islam. 2005. The politics of Islamic identity in Southeast Asia. Singapore: Thomson Learning. Tohmeena, Den. 1998. New aspiration and Islamic Bank. Bangkok :Muslim News.

ปีที่ 2 ฉบับที่ 3 มกราคม-มิถุนายน 2555 ผู้แทนทางการเมืองของชนกลุ่มน้อย...



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

85

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

Research A Study of Thaksin University the Third-Year English-Major Students’ Critical Reading Ability Sorat Abdulsata M.Ed. (English), Lecturer Department of English,Faculty Liberal Arts and Social Sciences Yala Islamic university. Abstract The purpose of this study was to examine the critical reading ability of the third-year English-major students, Faculty of Humanities and Social Sciences of Thaksin University, Songkhla. The sample of the study was 40 third-year English-major students in the second semester of 1999 academic year who took EN 322 Critical Reading Course in the first semester of 1999 academic year. The instrument for the study was a 60-item critical reading test, investigating five subskills in reading critically. The data were analyzed for percentage, mean, and standard deviation. The data analysis indicated that the average score of the students’ critical reading ability was 51.46%. Based on subskills, the highest score obtained by students was from the skill of differentiating between facts and opinions (84.25%), followed by reading for main ideas (51.75%), reading for understanding figurative language (51.00%), reading for drawing conclusions and recognizing cause-effect relations (43.00%), and reading for making inferences (39.38%) respectively. The results revealed that as a whole, the level of students’ critical reading ability did not reach the 75% criterion. For individual skills, the level of students’ critical reading ability in four subskills did not reach the 75% criterion. Keyword: Critical reading ability, differentiating between facts and epinions,reading for main ideas, reading for drawing conclusions, and recognizing cause-effect,relations,reading for making inferences, reading for understanding figurative language


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

86

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

บทความวิจัย การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยทักษิณ โสรัตน์ อับดุลสตา ก.ศม.ภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ,คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาวิจัยคือ นักศึกษาวิชาเอก ภาษาอังกฤษ จํานวน 40 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา อก 322 การอ่านเชิงวิจารณ์ ประจําปีการศึกษา 2542 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อสอบการอ่านเชิงวิจารณ์ จํานวน 60 ข้อ เพื่อค้นหาทักษะการอ่านย่อยทั้งห้าทักษะใน การอ่านเชิงวิจารณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา เท่ากับร้อยละ 51.46 และคะแนนเฉลี่ย จากการอ่านในทักษะย่อยทั้งห้าทักษะที่ได้คะแนนสูงสุด คือ การอ่านเพื่อแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ร้อยละ 84.25 การอ่านเพื่อจับใจความสําคัญ ร้อยละ 51.75 การอ่านเพื่อความเข้าใจการอุปมาอุปไมยร้อยละ 51.00 การอ่านเพื่อสรุปความและหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ร้อยละ 43.00 และการอ่านเพื่อการอนุมาน ร้อยละ 39.38 ตามลําดับ ผลจากการศึกษาระบุว่า โดยรวมแล้วระดับความสามารถการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา ไม่ถึงร้อยละ 75.00 ตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่นเดียวกันกับทักษะการอ่านย่อยทั้งห้าทักษะไม่ถึงร้อยละ 75.00 คําสําคัญ: การอ่านเชิงวิจารณ์, การอ่านเพื่อแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง, กับความคิดเห็น, การอ่านเพื่อจับใจความ สําคัญ, การอ่านเพื่อการอนุมาน, การอ่านเพื่อสรุปความและหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล, การอ่านเพื่อความ เข้าใจการอุปมาอุปไมย


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

1. Introduction English is considered an international language. In Thailand, English is becoming an important language because nowadays English is taught at every level of education: primary school, secondary school, and college or university, in order to improve all four skills: listening, speaking, reading, and writing. Of all these skills, reading should be an important one for students because Baker (1959: 1) proposed that to advance in knowledge one must forever learn more, study more, and reason more. Reading helps to accomplish this. In college about eighty-five percent of all learning involves reading. If, as it certainly does, progress comes through study, then reading is perhaps the students’ chief means of academic progress. Dallmann, Rouch and others (1974: 4) also noted, “In spite of competing mass media, reading in our Space Age is becoming increasingly important. The role of the reading teacher is not less, but more strategic as he guides boys and girls in applying techniques of critical evaluation emphasized in reading instruction to what is seen and heard on the radio and television and through other mass media of communication.” It can be seen reading is important as Tangbanjerdsook (1983: 1) analyzed in communicative approach: reading is considered the most important skill compared to listening, speaking, and writing because almost all information is written in English which can only be understood by reading. Sangthongjeen (1986: 1) stated that in communicative approach reading is the most important aspect,

87

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

particularly today the world becomes globalized, so most mass media are written in English. Therefore, reading is becoming increasingly important. At higher level, communicative approach is also important, for the teachers who would like to improve the four skills: listening, speaking, reading, and writing. At this level, reading is crucial and also necessary to students since they have to read a lot. However, the English reading ability of Thai students is unsatisfactory, even though they have studied English for many years. Their reading skill is still poor. Saritdikool (1988: 1) noted the level of reading ability of Thai students was low. This problem is a serious one as Sukamolsan (1989: 66) found that there were many problems in English reading ability of college students such as vocabulary, idioms, sentence structures, and culture. These elements make up the basic knowledge which can help the students to read critically. From Sukamolsan’s ideas, it can be seen culture is one of the problems which affects the reading ability of Thai students. In addition, Chaloeysap (1986: 195-196) proposed that reading is important to human beings, but that each nation has a different standard of reading habit. In America and Japan, the people read a lot in comparison with Thai people because the Americans and the Japanese are taught and encouraged to read since they were young as well as to realize how reading is important in life. Thus, reading becomes their habit. On the other hand, Thai people do not usually see how reading is important in their daily life and they also lack motivation in reading. Jerngklinchan (1998 : 34-35) proposed, although today Thai people read more


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

than they did in the past, the standard of reading is still low. From the information above, one can see that it is very difficult to change Thai people to be readers since they are used to being able to survive without reading. Hence, reading effectively is one of the problems, especially reading critically. Reading critically is a rigorous and demanding process. Reading actively, thoughtfully, and critically can be one of the most challenging human activities, for it tests the limits of our energy, patience, and intellect. Reading critically is often harder than it needs to be, however, because so few readers know how to approach difficult reading. (Axelrod. 1990: 1). Critical reading is the level of advanced reading which is the most difficult skill for Thai students. Readers at this level must have good background knowledge in English: grammar, sentence structures, idioms, vocabulary, language styles, culture, etc. These elements help readers not only to understand but also to criticize and analyze texts after reading. At the lowest level they should be able to distinguish between facts and opinions, and to assess the opinions. As the researcher talked to the teachers of the critical reading course and students who took this course, as well as looking at their final examination results, the results showed that students’ reading achievement was unsatisfactory. Hence, this problem motivated the researcher to conduct more research on critical reading to find out what particular problems were in critical

Level

Means

88

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

reading for third-year English-major students during the second semester of the 1999 academic year. The Purpose of the Study 1. To find out whether or not the critical reading ability of the third-year English major students reaches the 75% criterion. 2. To find out what the third-year English-major students’ particular problems in critical reading are. Hypotheses The third-year English-major students of Thaksin University are able to read critically and understand the inferences of mood, tone, purpose or point of view in different types of reading material at 75% criterion. The Definitions of Terms 1. Critical reading means being able to read critically, analytically and evaluatively writers’ thoughts and messages including their writing styles. 2. Critical reading ability means the level of performance of critical reading. 3. Students means the third-year English-major students, Faculty of Humanities and Social Sciences of Thaksin University, Songkhla, in the second semester of 1999 academic year, who took EN 322 Critical Reading Course in the first semester of 1999. 4. 75% criterion means the level of students’ ability in critical reading reaches the 75% criterion which is the equivalence of grade “B” according to An Educational Handbook of Thaksin University 1999. (Thaksin University. 1999 : 5 ). Interval

Average


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

A B+ B C+ C D+ D E

Excellent Very Good Good Fairly Good Fair Poor Very Poor Fail

2. Review of the Literature Related Critical Reading Materials Critical reading is the level of understanding which entails the distinguishing of fact from opinion, the recognition of an author’s intent, attitude, or bias, the drawing of a conclusion, the making of inferences, and the forming of critical judgment. Critical reading is a more sophisticated level of understanding than literal comprehension. In other words, an understanding beyond the literal level is necessary for thorough comprehension. (Adams. 1993: 286 - 287). Russell (1956: 206) suggested that there are four conditions essential for critical reading: 1. a knowledge of the field in which the reading is being done, 2. an attitude of questioning and suspended judgment, 3. some application of the methods of logical analysis or scientific inquiry, and 4. taking action in light of the analysis or reasoning. Robinson (1964: 3) analyzed critical reading as the ability to apply relevant criteria in evaluating a selection. It is the judgment of the “veracity, validity and worth of what is read, based on criteria or standards developed through

89

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

90-100 85-89 75-79 67-74 60-66 50-59 45-49 Lower than 45

4.0 3.5 3.0 2.5 2.0 1.5 1.0 0.0

previous experiences” In addition, Reynolds (1995: 331) stated that critical reading involves literal comprehension, but it also demands that the reader evaluate or pass judgment on the quality, logic, reliability, value, accuracy, and truthfulness of what is read; it involves the evaluation of the validity and intellectual worthwhileness of printed materials. Cheek (1985: 113) considered critical reading skills as another level of comprehension skills. At this level, are analyzed and evaluated ideas. Furthermore, Bowen, Madsen and others (1985: 243) analyzed that reading critically presupposes basic skills in understanding and interpreting meaning: (1). understanding literal meanings, (2). paraphrasing the content, (3). getting the main thought and the details, (4). distinguishing among fact, inference, and opinion, (5). seeing relationships, (6). predicting outcomes, (7). drawing conclusion, (8). making generalizations, (9). understanding figurative language, and (10). recognizing propaganda. As can be seen critical reading is an advanced-level which requires the reader to make an evaluative judgment about something that has been read. The judgment is based on


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

the reader’s own values, prior experiences, and knowledge. In other words, reading critically means to distinguish fact from opinion, recognize an author’s intent, attitude, and tone, understand figurative language, draw conclusions, etc. Thus, five subskills are being utilized in the research study: 1. Differentiating between Facts and Opinions. 2. Reading for Main Ideas. 3. Reading for Drawing Conclusions and Recognizing Cause-Effect Relations. 4. Reading for Making Inferences. 5. Reading for Understanding Figurative Language. These skills are the important aspects which can help the reader to make an evaluative judgment about something that has been read. Each will be discussed separately as follows: 1. Differentiating between Facts and Opinions In critical reading, both fact and opinion are used persuasively to support positions. A statement of fact is one that can definitely be proven or checked for its accuracy, or tested by experiment while a statement of opinion cannot usually be proven true or false. It usually expresses the personal beliefs, feelings, attitudes, values, or judgements someone has about a subject. A fact as a statement based on actual evidence. It can be checked or proven to be either true or false. On the other hand, an opinion is a statement of personal feeling or judgment. (Smith. 1989: 370). 2. Reading for Main Ideas

90

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

Reading for main idea is also important in critical reading, for it refers to the central thought or idea that is represented in a paragraph. The main idea helps the reader to understand what the paragraph is about; it can be both stated and implied. Wassman and Rinsky (1993: 133) maintained that within most paragraphs, there is often one sentence that specifically states the main idea. It can appear anywhere in the paragraph or be implied. 3. Reading for Drawing Conclusions and Recognizing Cause-Effect Relations Reading for drawing conclusions and recognizing cause-effect relations is higher than the first two levels mentioned above. Drawing conclusions and recognizing cause-effect relations become big parts of critical reading. Adams (1993: 378) analyzed that drawing conclusions is based on what information authors provide. Besides understanding the main idea, recognizing fact from opinion, and understanding intent, attitude, and inference, readers have to draw conclusions of their own. In addition, Flemming (1997: 177) stated that recognizing cause and effect relations describes how one event or series of events leads to another event or series of events. Therefore, to accomplish in critical reading one should really know both drawing conclusions and recognizing cause and effect relations. 4. Reading for Making Inferences Cooper (1988: 39) advocated another process that readers must learn to use as a part of becoming effective comprehenders is that of inferencing. Making inferences is the most important factor in critical reading. At this level, readers use the details provided by the author plus their own prior experiences to determine


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

information that is not stated by the author. Harris and Smith (1976: 314- 315) analyzed this type of critical reading to be a more sophisticated level of reading that deals with motives, feelings, and judgment. Hence, critical reading cannot occur without understanding how to make inferences. 5. Reading for Understanding Figurative Language One other aspect usually mentioned in critical reading is figurative language. Figurative language or figure of speech means something other than what it actually says; it does not mean to be interpreted literally, and carries implied meaning. Wassman and Rinsky (1993: 328-330) stated figurative language is used to give stronger impact to ideas and opinions, often using comparisons to clarify or enrich abstract ideas, create emotional responses, or make ideas more interesting and colorful. In addition, Smith (1989: 321-322) analyzed figurative language, in a sense, as another language because it is a different way of using “regular language” words so that they take on new meaning. It is not quite easy to understand figurative language, thus one who would like to be a good critical reader should make a special attempt to know figurative language very well. From the information above, it appears that all the five subskills are considered crucial elements which are commonly found in critical reading. They are the basic skills which can help readers to read critically. 3. Methodology The data were obtained from the critical reading test for the 40 third-year English-

91

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

major students, Faculty of Humanities and Social Sciences of Thaksin University, Songkhla, in the second semester of 1999 academic year who took EN 322 Critical Reading Course in the first semester of 1999. Data Analysis The data were analyzed as follows: 1. The students’ scores were checked for correctness: one mark for a correct item and a zero mark for an incorrect item. 2. The scores were analyzed for difficulty, discrimination, and reliability indexes. 3. The scores were analyzed for percentage, mean, and standard deviation in order to compare with the 75% criterion of Thaksin University’s from An Educational Handbook of Thaksin University 1999


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

92

Statistics for Data Analysis The statistics for data analysis utilized were as follows: 1. Difficulty Index Formula : P=

R N

2. Discrimination Index Formula : D=

Ru − RL N 2

3. Reliability Index Formula : rtt =

{N ∑ X

N ∑ XY − ∑ X ∑ Y 2

}{

− (∑ X ) N ∑ Y − (∑ Y ) 2

2

}

4. Mean Formula : X =

∑X N

5. Standard Deviation N

Formula :

∑ (X S=

6. Percentage Formula :

P=

n × 100 N

− X)

2

i

i =1

n −1


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

93

4. Findings The findings of the study are tabulated. All the five subskills of critical reading ability are reported in percentage, mean, and standard deviation. Altogether, there are 2 tables, reporting all findings of the study. Table 1 shows the critical reading ability of the 40 third-year English-major students.

Table 2 shows their critical reading ability in each skill Under each table some explanations are given. Table 1 : Critical reading ability ( 60 marks ) were analyzed for mean, standard deviation, and percentage.

Critical Reading Ability N 40

∑Χ

Χ

1235

30.88

Table 1 shows that the scores of critical reading ability of the third-year English-major students were 1235; the mean scores were 30.88 or 51.46%. Their critical reading ability does not reach the 75% criterion.

Skills Differentiating Between Facts and Opinions Main Ideas Reading for Reading for Drawing Conclusions and Effect Relations Recognizing CauseReading for Making Inferences Reading for Understanding Figurative Language

SD 5.33

% 51.46

Table 2: Critical reading ability of the third-year English-major students divided into five subskills analyzed for the scores, mean, standard deviation, and percentage in each skill.

Total Scores

∑Χ

Χ

SD

%

10

337

8.43

1.39

84.25

10

207

5.18

1.85

51.75

10

172

4.30

1.49

43.00

20

315

3.93

2.41

39.38

20

315

3.93

2.41

39.38


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

Table 2 reveals that there are four skills of which the percentage did not reach the 75% criterion. The highest score obtained by the students was for the skill of differentiating between facts and opinions; the mean scores were 8.43 or 84.25%. This was followed by reading for main ideas, in which the mean scores were 5.18 or 51.75%. Next, reading for understanding figurative language, with the mean scores of 5.10 or 51.00%. Reading for drawing conclusions and recognizing causeeffect relations showed the mean scores of 4.30 or 43.00%. And the lowest score was from the skill of reading for making inferences in which the mean scores were 3.93 or 39.38%. Hence, it can be seen that almost all the skills seemed problematic to the third-year Englishmajor students. The most problematic skills were reading for making inferences, reading for drawing conclusions and recognizing causeeffect relations, reading for understanding figurative language, and reading for main ideas, respectively. 5. Conclusion and Discussion Summary of the Findings The findings of the study can be summarized as follows: 1. The critical reading ability of the third-year English-major students did not reach the 75% criterion. 2. The critical reading ability of the third-year English-major students in four subs kills did not reach the 75% criterion: reading for making inferences, reading for drawing conclusions and recognizing cause-effect relations, reading for understanding figurative language, and reading for main ideas.

94

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

Discussion As previously mentioned, this study aimed to analyze the critical reading ability of the third-year English-major students and what their particular problems were in critical reading. The results of the study revealed that the third-year English-major students’ ability in critical reading was unsatisfactory. As a whole, the levels of students’ ability in critical reading are under the criterion; the mean scores were 30.88 or 51.46%. Thus, their critical reading ability did not reach the 75% criterion. For individual skills, the level of students’ ability in critical reading also did not reach the 75% criterion, except one skill: differentiating between facts and opinions. However, their overall critical reading achievement is still poor. From the study, it reveals that there are four major types of particular problems mostly found in the third-year English-major students’ critical reading ability: 1. Reading for Making Inferences The problems in making inferences are quite frequently found in the students’ critical reading achievement. Making inferences is the most important aspect in critical reading; it can also be considered the heart of reading critically. An inference is an idea that the author does not state openly, but intend the readers to understand anyway. Inference is used for readers’ judgment or evaluation based on the statement. Sometimes, the inference is obvious but very seldom. At this level, students have to use their own prior experiences or background knowledge to judge and evaluate information that is not directly mentioned by the author. To be critical readers, certainly, the students must know how to make inferences


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

but from the study it can be predicted that it is very difficult to be good critical readers since they get the lowest scores at reading for making inferences. The problem is that the students do not understand mood, tone, purpose or point of view of different types of reading material while reading. They understand merely in the surface meaning but not in the deep meaning. Thus, they cannot do quite well in this skill, it causes them to get the lowest scores. The students did quite well at distinguishing facts from opinions, but not at making inferences. (Rujirake. 1981: 47 - 48). 2. Reading for Drawing Conclusions and Recognizing Cause-Effect Relations Drawing conclusions, the students would really understand what they were reading as well as using their own ideas to criticize and synthesize before drawing conclusions. (Sinserbpon. 1984: 47). Likewise, recognizing cause-effect relations is also important in critical reading. To know vocabulary, structural forms, and grammatical rules were needed at this level, for they could help the students to comprehend the cause and effect relations after reading. (Senwanit. 1985: 94). However, it seems that the students do not have enough basic knowledge which can help them to draw conclusions and recognizing cause-effect relations. Their achievement in this skill was merely 43.00%, it was as similarly as reading for making inferences 3. Reading for Understanding Figurative Language Figurative language or figure of speech is something more than it actually says. The author expresses his ideas by utilizing another

95

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

language or different way of using regular language in order to give new meaning. It is necessary to hardly think and realize when figurative is used in any reading texts. The students cannot interpret literally because it carries implied meaning. For instance, “He has a stone face”. The unchanging expression on his face is indirectly compared with the immobility of stone or “I had to kill three hours before the plane left, so I went to a movie”. Literally, “kill” means “cause death”; but in this example it is mataphorized to means “spend time”. (Chuancheewee. 1996: 82). From the study the students cannot interpret the author’s ideas which are implicitly stated. Therefore, they obtained low scores in this skill. 4. Reading for Main Ideas Main idea refers to the central thought which is presented in a paragraph. Paragraph reading is more than just reading individual sentences that have been grouped together but it contains a set of inter-related sentences. To understand a paragraph students need to recognize “who” or “what” a paragraph is about. If they can find out what a paragraph is focusing on, this means that they can find the main idea of it. On the contrary, the students cannot find the main idea or thesis sentence in a paragraph thus they do not understand what a paragraph is about. In other words, they just reading without knowing what main idea is in a paragraph. Hence, their reading achievement in this skill was unsatisfactory. Harris (1976: 542) stated that reading for main idea was one of an important elements in reading comprehension because the readers could differentiate what the main point was really expressed in a paragraph. Knowing vocabulary, and sentence


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

structure were very important. It can be assumed that the students could not do it well at reading for main idea because their basic knowledge in grammatical rules was not good enough. In conclusion, the four subskills which have been discussed above mostly found in reading critically and they seemed problematic to the students. Even though the students did quite well at differentiating between facts and opinions, it does not mean their overall critical reading skill is satisfactory. Therefore, as a whole or for each subskill, the level of the third-year English-major students’ ability in critical reading does not reach the 75% criterion. References สฤษดิกุล. 2531. การศึกษาเปรียบเทียบ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ใ น ก า ร อ่ า น แ ล ะ เ ขี ย น ภาษาอังกฤษของนักศึกษาวิชาเอกการสอน ภาษาอังกฤษระหว่างมหาวิทยาลัยรามคําแหง และสถาบันผลิตครูอื่นๆในกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคําแหง. ประภาศรี ตั้งบรรเจิดสุข. 2526. ความสามารถในการ อ่ า นภาษาอั ง กฤษขั้ น ตี ค วามของนั ก เรี ย น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โปรแกรมภาษาอังกฤษใน จั ง ห วั ด ชั ย น า ท .วิ ท ย า นิ พ น ธ์ ศ ศ .ม . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วีณา สังข์ทองจีน. 2529. ระดับความสามารถด้านการ อ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระมัธยมศึกษา ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ค.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. 2542. การอ่านและการสร้าง นิสัยการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพานิช, ฉวีวรรณ

96

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...

Adams, W. Royce. 1993. Developing Reading Versatility. 6th ed. Forth Worth: Harcourt Brace College. Aegler, Carl A. “The Direct Teaching of Thinking Skills for Improvement of Reading Comprehension Skills”.Dissertation Abstracts International. 2519-A, 1994. Axelrod, Rise B. 1990. Reading Critically, Writing Well: A Reader and Guider. 2nd ed. New York: St. Martin’s Press. Baker, William. 1959. Reading Skills. New York: Richard C. Owen Publishing. Bowen, J. Donald. 1985. Madsan, Harold and Hilferty, Ann. TESOL Techniques and Procedures. Boston: Heinle & Heinle. Chalermpatarakul, Chuancheewee. 1986. Systematic Reading I. 4th ed. Bangkok: Language Institite, Thammasat University. Cooper, J. David. 1988. The What and How of Reading Instruction. 2nd ed. Columbus: Merrill. Dallmann, Matha. 1974. Rouch, Roger L., Chang, Lynette Y.C. and Doboer John J. The Teaching of Reading. 4th ed., New York : Holt, Rinehart and Winston, Inc., Flemming, Laraine E. 1997. Reading for Thinking. 2nd ed. Boston: Houghton Miffin. Harris, David P. 1969. Teaching English as a Second Language. New York: McGraw-Hill. Harris, Larry A. and Smith, Carl Bernard. 1992. Reading Instruction: Diagnostic Teaching in the Classroom. 2nd ed. New York: Holt, Rinehart and


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา โสรัตน์ อับดุลสตา

Winston,1976. 2nd ed. Boston: Allyn and Bacon, Russell, Robin Harris. 1956. Children’s Thinking. Boston, Mass : Ginn and Company. Saiyot, Luan and Angsana Saiyot. 1996. Techniques in Evaluation. 3rd ed. Bangkok, Senwanit, Samoot. 1985. Techniques for English Reading Skill and Comprehension Development for Thai Students. 4th ed. Bangkok: Language Institute. Thammasat University. Smith, Brenda D. 1989. Bridging the Gap College Reading. 3rd ed. United States of America: Harper Collins. University, Thaksin. 1999. An Educational Handbook of Thaksin University 1999. Songkhla: Lim Brother Printing. Valette, Rebecca. 1967. Modern Language Testing: A Handbook. New York: Harcourt Brace Jovanovich. Wassman, Rose and Lee Ann, Rinsky. 1993. Effective Reading in a Changing World. Englewood Cliffs, N.J.: PrenticeHall.

97

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 การศึกษาการอ่านเชิงวิจารณ์ของนักศึกษา...



วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อานุวา มะแซ

99

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 วิพากษ์เรื่อง คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน...

Book Review การวิพากษ์หนังสือ คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน ผู้เขียน ผู้วิพากษ์

:วินัย สะมะอุน :อานุวา มะแซ*, แวยูโซะ สิเดะ** *นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์และอารยธรรมอิสลาม คณะอสิลามศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา **ดร. (ประวั ติ ศ าสตร์ ) สาขาวิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ แ ละอารยธรรมอิ ส ลาม คณะอสิ ล ามศึ ก ษา มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อานุวา มะแซ

มัสยิดเป็นสถาบันทางศาสนาอิสลาม ที่รับรอง ในอัลกรุอานโดยระบุถึงในหลายแห่งด้วยกัน การศึกษา ถึงบทบาทมัสยิ ดมีค วามสัมพัน ธ์กับ ประวัติศ าสตร์ของ อิสลาม และจริยวัตรของท่านนบีมูฮัมมัด มัสยิดไม่ได้ มีความหมายเพียงสถานที่ปฏิบัติศาสนาเท่านั้น แต่ตาม ประวั ติ เป็ น องค์ ก ารบริ ห ารอิ ส ลามโดยตรง โดย เพี ย บพร้ อ มด้ ว ย การปฏิ บั ติ ศ าสนา การเมื อ งการ ปกครอง การทูต การตัดสินคดีความต่างๆ ทุ ก มั ส ยิ ด จะมี คณะกรรมการอิ ส ลามประจํ า มัสยิด ได้รับการเลือกโดยสัปบุรุษของมัสยิดนั้น จํานวน ไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 15 คน โดยมีอีหม่านเป็น ประธานโดยตํ าแหน่ งและคอเต็บเป็นรองประธานโดย ตํ า แหน่ ง การดํ า เนิ น กิ จ การมั ส ยิ ด จะต้ องสอดคล้ อ ง บทบัญญัติตามกฎหมาย ซึ่งมีหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับ มัสยิด เช่น พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พระราชกฤฏี กาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอน กรรมการอิสลามประจํามัสยิด คุณสมบัติของผู้บริหารมัสยิด ในกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มั ส ยิ ด ได้ ร ะบุ คุณสมบัติของกรรมการมัสยิดไว้กว้างๆ ที่ได้ปรากฏใน “ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจํา มัสยิด พ.ศ. 2534” ข้อ 6 ผู้ที่จะดํารงตําแหน่งกรรมการอิสลาม ประจํามัยิดต้องมีคุณสมบัติดังนี้ ก.เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม ข.มีอายุไม่ต่ํากว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ค.มี ค วามประพฤติ เ รี ย บร้ อ ยและปฏิ บั ติ ต าม บทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ง.ไม่ เ ป็ น ผู้ ที่ มี ร่ า งกายทุ พ พลภาพหรื อ ไร้ ความสามารถ หรือเป็นโรคอันสังคมพึงรังเกียจ จ.ไม่ เ คยถู ก ถอนออกจากตํ า แหน่ ง กรรมการ อิสลามประจํามัสยิด เว้นแต่พ้นจากการถูกถอดถอนไม่ น้อยกว่าสี่ปี ฉ.ไม่เคยต้องโทษจําคุกพิพากษาถึงที่สุดเว้นแต่ เป็ น โทษจากความผิ ดฐานลหุ โ ทษหรื อการกระทํ า โดย ประมาท หรือพ้นจากการรับโทษจําคุกมาแล้วไม่น้อย กว่าสี่ปี

100

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 วิพากษ์เรื่อง คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน...

ช.มีชื่อในทะเบียนสัปปุรุษประจํามัสยิดนั้นไม่ น้อยกว่าหกเดือน และมีชื่อในทะเบียนสัปปุรุษประจํา มัส ยิ ดนั้ น ตลอดเวลาที่ ดํา รงตํ า แหน่ งกรรมการอิ สลาม ประจํามัสยิด ซ.มีความรู้ความสามารถประกอบพิธีนมัสการ ได้ถูกต้องามหลักการของศาสนาอิสลามและรักษาจารีต ประเพณีอันดีงามของศาสนาอิสลาม ฌ.ผู้ ดํ า รงตํ า แหน่ ง กรรมการอิ ส ลามประจํ า มัสยิดต้องเป็นผู้ชาย วิธีการบริหารมัสยิด มีร ะบุ ใ น พระราชบั ญ ญั ติ มั ส ยิ ด อิ ส ลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7 คณะกรรมการมั ส ยิ ด มี หน้ า ที่ จั ด การ ทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิด มาตรา 9 ในการ ดําเนินงานของคณะกรรมการมัสยิด ให้เป็นตามเสียงข้าง มากของคณะกรรมการมัสยิด แสดงว่ า อํ า นาจการจั ด การ และอํ า นาจการ ดํา เนิ น งานเป็ น ของคณะกรรมการมั ส ยิ ด โดยส่ ว นรวม มิใช่เป็นของอิหม่านหรือของใคร เป็นส่วนตัว ดังนั้น การ จะตั้ ง ใครให้ ทํ า หน้า ที่ ใ ดๆ นอกจากที่ ร ะบุ ใ นกฎหมาย เช่ น ตั้ ง เลขานุ ก าร ตั้ ง เหรั ญ ญิ ก นายทะเบี ย นหรื อ ตําแหน่งอื่นๆ จะต้องตั้งโดยความเห็นชอบของส่วนมาก ของคณะกรรมการมัสยิด จะแอบตั้งโดยอีหม่านคนเดียว ไม่ ได้ เพราะฉะนั้น วิธี ก ารบริ หารมั สยิ ด เราจึง ต้ องใช้ หลักการที่ว่า คือ ต้องเป็นความเห็นชอบของกรรมการ ส่ ว นมาก ซึ่ ง หลั ก การเช่ น นี้ สอดคล้ อ งกั บ หลั ก การ อิสลาม การจะทราบว่าส่วนมากจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ก็ต้องการสอบถาม มีการพูดคุยซึ่งนั้นก็คือ “ประชุม” นั้นเอง ประชุมอาจจะเรียกมาคุยพร้อมกัน หรือออกไป สอบถามเป็นรายบุคคลก็ได้ โดยไม่ต้องมีการบันทึกและ ลงลายชื่ อ กรรมการมั ส ยิ ด ที่ เ ข้ า ประชุ ม หรื อ ที่ ใ ห้ ความเห็นเป็นรายบุคคล การประชุม วิธีการประชุมไม่มีการระบุในกฎหมาย ดังนั้น การตกลงกันของคณะกรรมการมัสยิด เพียงแต่มีบันทึก เก็บไว้ พร้อมกับลายมือชื่อของกรรมการที่เห็นด้วยกับ ข้อตกลง ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว แต่โดยความนิยมทั่วไป การ ประชุมจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อานุวา มะแซ

1.ประธาน (อิหม่าน) สั่งให้เลขานุการ นัดวัน เวลา สถานที่ โดยหนังสือ หรือโดยบอกด้วยวาจา กับ กรรมการทุกคน 2.ดําเนินการประชุม โดยอิหม่านเป็นประธาน ถ้าอิหม่านไม่อยู่ ให้คอเต็บทําหน้าที่แทน ดําเนินการ ประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้

101

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 วิพากษ์เรื่อง คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน...

ทะเบียนอยู่แล้ว การย้าย การเกิด การตาย ต้องรายงาน ให้นายทะเบียนทราบ โดยประกาศให้เป็นที่ทราบอย่าง ทั่วถึงในหมู่สัปปุรุษใน” ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอน กรรมการอิ ส ลามประจํ า มั ส ยิ ด พ.ศ.2532 ข้ อ 24 ให้ คณะกรรมการอิ ส ลามประจํ า มั ส ยิ ด จั ด ทํ า ทะเบี ย น สัปปุรุษประจํามัสยิดขึ้นตามที่ได้กล่าวไว้”

2.บันทึกการประชุม ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องแจ้งเพื่อทราบ เมื่อมีการประชุม จะต้องบันทึกและเก็บไว้ให้ดี ปกติ การเสนอเรื่องแจ้งให้ทราบ ประธานจะ เป็ น ผู้ เสนอ ซึ่ ง ประธานอาจแบ่ ง ให้ หัว หน้ า ฝ่ า ยต่ า งๆ เพื่อเป็ นหลักฐานเมื่อเกิ ดมีปั ญหาภายหลั ง บัน ทึก การ ประชุมจะจัดเป็นเล่มหรือใช้พิมพ์โรเนียว เย็บเข้าแฟ้ม เสนอเรื่องที่ตนรับผิดชอบ ก็ได้ ตามลําดับการประชุมเก็บให้เรียบร้อย พร้อมที่จะค้นคว้า ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ได้ในทุกเวลา การรั บ รองรายงานการประชุ ม เพื่ อป้ องกั น ความผิดพลาดในการบันทึกการประชุม และป้องกันการ 3.บัญชีทรัพย์สิน ให้จัดทําบัญชีทรัพย์สิน ระบุการได้มา ราคาเมื่อ สอดใส่สิ่งที่ไม่ได้ประชุมเข้ามา เลขานุการจะทําหน้าที่ อ่านให้ที่ประชุมฟัง พร้อมทั้งเสนอแก้ไข จนจบทุกหน้า แรกครอบครอง ได้ ม าเมื่ อใด จั ด เข้ า อั น ดั บ ให้ ชั ด เจน และเก็บรักษาให้ดี ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องจาการประชุมครั้งที่ 4.บัญชีใช้จ่ายเงินสด แล้ว ทําบัญชีใช้จ่ายเงินสดตามความเป็นจริง อย่าง เรื่องที่ยังค้างจากการพิจารณา ในการประชุม ครั้งที่แล้วให้นํามาพิจารณาในวาระนี้ต่อไป ถ้ายังไม่จบ ชัดเจน อย่าคลุมเครือ สิ้น ก็นําไปพิจารณาในการประชุมคราวต่อไปได้ 5.หนังสือขอเบิกเงิน ควรกํ า หนดรู ป แบบหนั ง สื อขอเบิ ก เงิ น ใช้ ใน ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอใหม่ กิจการของมัสยิ ด ลงชื่ อผู้เบิก ชื่อผู้มีอํานาจสั่ งจ่าย ผู้ ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถยื่นยันกันได้ กับบัญชี เงินสด เป็นการควบคุมการใช้จ่าย การบันทึกการประชุม สามารถเลือกทําได้ 3 วิธี 1.บันทึกทุกถ้อยคําโดยละเอียด 6.ใบเสร็จรับเงิน 2.บันทึกเฉพาะประเด็นสําคัญ เมื่อมีการรับเงิน จะต้องบันทึกหลักฐาน ซึ่งควร 3.บันทึกเฉพาะ เหตุผล และมติ ทําเป็นใบเสร็จ ให้ตัวจริงแก่ผู้จ่ าย และสําเนาเก็บไว้ ที่ การจัดเอกสารที่เกี่ยวกับการบริหารมัสยิด การบริหารมัสยิด ต้องเอกสารประกอบหลาย รายการ ผู้บริหารต้องเตรียมไว้ ให้ครบถ้วน ตามสาย งานที่กําหนดขึ้น และตามกฎหมายที่กําหนดไว้ เช่น

เหรัญญิกเมื่อครบปี หรือครบรอบเดือน ตามที่จะตกลง ให้เหรัญญิกทําบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างละเอียดแล้วติด ประกาศให้สัปปุรุษทราบทั่วกัน

7.เอกสารแต่งงาน เมื่อมีการแต่งงาน มัสยิดควรมีแบบบันทึก และ 1.ทะเบียนสัปปุรุษประจํามัสยิด ควรให้นายทะเบียนตรวจสอบทะเบียนสัปปุรุษ ทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานในการแต่งงาน ประจํามัสยิด ให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งรายละเอียดมีปรากฏใน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อานุวา มะแซ

8.การหย่าร้าง การหย่าร้าง ก็ควรบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

102

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 วิพากษ์เรื่อง คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน...

2.จะต้ องเป็ น มั สยิ ด ที่ จ ดทะเบีย นถู ก ต้ องตาม กฎหมาย

3.ติ ด ต่ อ ขอแบบฟอร์ ม สํ า รวจข้ อ มู ล มั ส ยิ ด 9.การเข้าศาสนาอิสลาม ประสบวิ น าศภั ย ได้ ที่ สํ า นั ก งานเขต/ที่ ว่ า การอํ า เภอที่ เมื่อมีการปฏิญาณเข้ารับอิสลาม ควรทําบันทึก มั ส ยิ ด ตั้ ง อยู่ ห รื อ ที่ ก องศาสนู ป ถั ม ภ์ กรมการศาสนา ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแสดงในกรณีเกิดปัญหากับญาติใน กระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังและเพื่อเป็นสถิติ 4.มัสยิดกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มพร้อม ประมานการค่าใช้จ่าย จํานวน 3 ชุด ให้อิหม่าม ลงชื่อ 10.การตาย บันทึกการตาย และทําทะเบียนฝังที่สุสาน โดย รับรองข้อมูลแล้วเก็บไว้เป็นสําเนา 1 ชุด และส่งอําเภอ 2 ชุด ขอหลักฐานการตายของผู้ตายเก็บสําเนาไว้ 5.ศึ ก ษาธิ ก ารเขต/อํ า เภอลงชื่ อ รั บ รองความ 11.การแบ่งมรดก เสียหายและส่งกรมศาสนา 1 ชุด เมื่ อ มี ก ารตกลงในเรื่ อ งแบ่ ง มรดก ให้ ทํ า 6.กรมกา รศา สนา จะจั ด ส่ ง เจ้ า หน้ า ที่ ไ ป หลักฐานเก็บไว้ โดยทําหนังสือสมยอมของทายาท ให้อิ ตรวจสอบความเสียหายและประมาณค่าใช้จ่าย หม่านหรือกรรมการมัสยิดคนใด เป็นผู้แบ่งมรดก ตาม 7.กรมการศาสนาจะจัดสรรเงินสําหรับบูรณะ หลักการอิสลาม และทายาทลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน ซ่อมแซมให้ตามความเหมาะสมต่อไป 8.เมื่อมัสยิดได้รับเงินและดําเนินการบูรณะส่วน 12.หนังสือรับรองรับสัปบุรุษ ถ้าสัปบุรุษต้องการหนังสือรองรับสัปปุรุษ ควรมี ที่ เ สี ย หายเรี ย บร้ อ ยแล้ ว จะต้ อ งรายงานผลการ ดําเนินการพร้อมรูปถ่า ยส่วนที่ ได้บูรณะให้กรมศาสนา แบบมาตรฐานเดียวกัน ทราบภายใน 2 เดือน กฎหมาย/หลักการ เกี่ยวกับการบริหารมัสยิด ภาวะผู้นํา ในมาตรา 37 ของพระราชบัญญัติการบริหาร ทายๆบทผู้เขียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้นํา ซึ่ง องค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ได้กล่าวไว้ว่าอิหม่าน เป็นคุณสมบัติพื้นฐาน ดังต่อไปนี้ มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1.ความกล้าหาญ เข้มแข็ง กล้าตัดสินใจ อัล กุ 1.ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนา รอานระบุ 9/19 “และเขาไม่กลัวใครนอกจากอัลลอฮ” อิสลาม 2.ปกครองดูแลและแนะนําเจ้าหน้าที่ของมัสยิด ในหะดีษมุสลิมได้ระบุไว้ว่า “ท่านบี ซ.ล ได้กล่าวแก่ อบู ซัรริน ว่า อบูซัรรินเอ๋ยฉันเห็นท่านเป็นคนอ่อนแอ และ ปฏิบัติงานในหน้าที่เรียบร้อย 3.แนะนํ า ให้ สั ป ปุ รุ ษ ประจํ า มั ส ยิ ด ปฏิ บั ติ ใ ห้ ฉันรักเพื่อท่านเหมือนกับฉันรักเพื่อฉัน ท่านอย่าเป็นผู้นํา แม้ แ ก่ ค นสั ก สองคนก็ ต ามและท่ า นอย่ า ครอบครอง ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามและกฎหมาย 4.อํ านาจความสะดวกแก่มุ สลิ มในการปฏิบั ติ ทรัพย์สินเด็กกําพร้า” 2.ความซื่อสัตย์ นับเป็นภาวะผู้นําที่สําคัญ ศาสนกิจ 3.ความสัจจะ ผู้นําต้องมีสัจจะไกลจากการพูด 5.สั่ ง สอนและอบรมหลั ก ธรรมทางศาสนา โกหก ในเมื่ อ ผู้ นํ า ไร้ ค วามสั จ จะ ความเชื่ อ ถื อ ในหมู่ อิสลามแก่บรรดาสัปปุรุษประจํามัสยิด ประชาชนจะไม่มี หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุนบูรณะมัสยิดประสบ 4.มี ค วามรอบรู้ ปฏิ ภ าณ เฉี ย บคม สามารถ วินาศภัย 2535 แก้ปัญหาต่างๆได้อย่างฉับพลัน ฉลาดหลักแหม มีเหตุผล 1.มั สยิ ดที่ ประสงค์ จะขอรั บเงิ นบู รณะต้ องเป็ น มัสยิดที่ประสบวินาศภัย เช่น อุทกภัย วาตภัยหรืออัคคีภัย และหลักการ ที่พร้อมได้รับการพิสูจน์ 5.ความนอบน้อม สุภาพอ่อนโยน


วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา อานุวา มะแซ

6.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น 7.ความบริสุทธิ์ใจ มีจิตสะอาด ปราศจากอิจฉา ริษยาไม่มีความลําพอง 8.ความมั่ น ใจ ผู้ นํ า ต้ อ งมี ค วามมั่ น ใจในการ ทํางานจะลังเลสงสัยไม่ได้ 9.ให้อภัย ไม่อาฆาต แค้น เมื่อใครทําผิด 10.การสื่ อสาร หรือการเผยแพร่ ผู้ นําจะต้อง รู้จักวิธีการสื่อความต้องการของตนไปสู่ผู้อื่น การเลือกผู้นํา การเลือกผู้นํานั้นไม่มีระบุวิธีการโดยตรง จึงต้อง ย้ อ นกลั บ ไปใช้ ห ลั ก ฐานทางสั ง คมจากอั ล กุ ร อานที่ ไ ด้ บัญญัติไว้นั้นคือ “การประชุมปรึกษา” เราสรุปได้ว่า การเฟ้นตัวผู้นําในระบอบอิสลาม สามารถทําได้หลายวิธี เช่น 1.การปรึ ก ษาอย่ า งกว้ า งขวาง เช่ น การเชิ ญ ประชาชนทั้งหมดมาปรึกษา 2.ปรึกษาในวงจํากัด โดยจัดตั้งคณะผู้อาวุโสทํา หน้าที่คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม 3.การแต่ตั้งโดยผู้นําคนเดิม วิธีใดที่สามารถบรรลุเป้าหมาย โดยไม่มีความ แตกแยกเราก็นํามาปฏิบัติในสังคมมุสลิมไทย เรามีผู้นํา สังคมของเรา แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ผู้นําด้านการบริหาร และผู้นําทางด้านวิชาการ ผู้นําทางด้านบริหารในสังคม ของเรา แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ 1.ระ ดั บ พื้ น ที่ ไ ด้ แ ก่ อิ ห มา น มั ส ยิ ด ซึ่ ง มี กรรมการมัสยิดร่วมเป็นองค์คณะ 2.ระดับจังหวัด ได้แก่ประธานกรรมการอิสลาม ประจําจังหวัด โดยมีคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัด ร่วมเป็นองค์คณะ 3.ระดับประเทศ ได้ แก่ จุฬาราชมนตรี โดยมี คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยร่วมเป็นองค์ คณะส่วนผู้นําทางด้านวิชาการได้แก่ผู้รู้ทางศาสนา ซึ่งมี กระจายอยู่ทั่ว ไปในสังคมของเรา ซึ่งบางคนมีลักษณะ การนําที่เด่นชัด มีผู้ตามเป็นจํานวนมาก ผู้รู้บางคนไม่มี ลักษณะการนํา คงทําหน้าที่เป็นผู้สอน อบรมเพียงด้าน เดียวไม่มีผลงานริเริ่ม จึงไม่มีผู้ตามเป็นจํานวนมากการ นําทางด้านบริหารและด้านวิชาการ จะต้องสอดคล้อง

103

ปี ที่ 2 ฉบั บ ที่ 3 มกราคม-มิ ถุ น ายน 2555 วิพากษ์เรื่อง คู่มือการบริหารมัสยิดและชุมชน...

ปรองดองกั น หากทั้ง สองส่ว นนี้ ขัด แย้ง กัน หรือในส่ว น หนึ่งส่วนใดยัดแยงกันเอง ผลที่จะเกิดขึ้นในสังคมของเรา ก็คื อ ความแตกแยกของสั งคม ตามด้ ว ยความอ่ อนแอ และจบด้ ว ยความหายนะวิ ธี ก ารเฟ้ น ตั ว ผู้ นํ า ในสั ง คม มุสลิมไทย แบ่งได้เป็นระดับดังนี้ 1.ใช้ประชาชนปรึกษาอย่างกว้างขวาง นั่นคือ การเฟ้นคณะกรรมการมัสยิด ซึ่งใช้วิธีเชิญบุรุษทั้งหมด ของมัสยิดนั้นมาประชุมเลือก โดยเปิดเผย หรือโดยลับ เมื่ อ ทํ า โดยลั บ ก็ จ ะใช้ วิ ธี ก ารลงบั ต รคะแนนเสี ย ง ถ้ า เปิดเผยใช้วิธียกมือ 2.ใช้วิธีการปรึกษาในวงจํากัด ได้แก่ การเฟ้น ตําแหน่งจุฬาราชมนตรี เรียกประธานกรรมการอิสลาม ประจําจังหวัดมาเลือก ไม่ได้ใช้มุสลิมทั้งประเทศเลือก 3.ใช้วิธีการแต่งตั้ง ได้แก่การแต่งตั้งกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยจุฬาราชมนตรีเสนอ ชื่อบุคคลที่เหมาะสม เพื่อทรงโปรดกล้าฯแต่งตั้ง



หลักเกณฑ์และวิธีการเขียนบทความวิชาการ บทความวิจัย ในวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา รูปแบบและคําแนะนําสําหรับผูเ้ ขียน วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา (Yala Islamic University Al-Hikmah Journal) เป็นวารสาร ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณประโยชน์ ที่ไ ด้รวบรวมผลงานวิชาการด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ซึ่งจัดตีพิมพ์เป็นราย 6 เดือนต่อฉบับ บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ จะต้องเป็นวารสารที่ไม่เคยเผยแพร่และตีพิมพ์ในวารสารอื่นๆ มาก่อน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน บทความดังกล่าวต้องชี้แจงให้กับกองบรรณาธิการวารสาร เพื่อพิจารณาสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทํา การประเมินบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีสาขาชํานาญการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความ การเตรียมต้นฉบับสําหรับการตีพิมพ์ รับตีพิมพ์ผลงานทั้งที่เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษามลายูญาวี และภาษามลายูรูมี ต้นฉบับต้อง พิมพ์ในกระดาษ ขนาด A4 พิมพ์ 2 คอลัมน์ ยกเว้นบทคัดย่อพิมพ์แบบหน้าเดียว ซึ่งการเขียนจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ ละภาษาดังนี้ หน้ากระดาษ 1.หน้ากระดาษบนมีความกว้าง 2.หน้ากระดาษล่างมีความกว้าง 3.หน้ากระดาษซ้ายและขวามีความกว้าง 4.ความกว้างของคอลัมน์เท่ากัน การใช้ตัวอักษร 1.ภาษาไทย 2.ภาษาอังกฤษ กับ ภาษามลายูรูมี 3.ภาษาอาหรับ 4.ภาษามลายูญาวี

3.81 เซนติเมตร 3.05 เซนติเมตร 2.54 เซนติเมตร 7.71 เซนติเมตร มีระยะห่างระหว่างคอลัมน์ 0.51 เซนติเมตร

ใช้อักษร TH SarabunPSK ใช้อักษร TH SarabunPSK ใช้อักษร Traditional Arabic ใช้อักษร Adnan Jawi Traditional Arabic

ขนาด 15 พ. ขนาด 15 พ. ขนาด 16 พ. ขนาด 16 พ.

ประเภทของบทความ 1.บทความวิชาการ (Article) ประมาณ 8-10 หน้า ต่อบทความ 2.บทความวิจัย (Research) ประมาณ 6-8 หน้า ต่อบทความ 3.บทความปริทรรศน์ (Review Article) ประมาณ 6-8 หน้า ต่อบทความ 4.บทวิพาทย์หนังสือ (Book Review) ประมาณ 3-4 หน้า ต่อบทความ ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความ ชื่อผู้เขียน 1.ชื่อเต็ม-นามสกุลของผู้เขียนครบทุกคนตามภาษาที่เขียนบทความ และต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษเสมอ 2.ผู้เขียนหลักต้องใส่ที่อยู่ให้ละเอียดตามแบบฟอร์มที่สํานักงานกองบรรณาธิการวารสารจัดเตรียม 3.ให้ผู้เขียนทุกคนระบุวุฒิการศึกษาที่จบ ณ ปัจจุบัน (ถ้ามีตําแหน่งทางวิชาการให้ระบุด้านชํานาญการ) พร้อม ตําแหน่งงานและสถานที่ทํางานปัจจุบัน สังกัด หน่วยงาน เป็นต้น บทคัดย่อ 1.จะปรากฏนําหน้าตัวเรื่อง ทุกๆ ภาษาที่เขียนบทความต้องมีบทคัดย่อภาษาที่เขียน และบทคัดย่อภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษเสมอ มีความยาระหว่าง 200 ถึง 250 คํา จะต้องพิมพ์แบบหน้าเดียว


คําสําคัญ ให้มีระบุคําสําคัญท้ายบทคัดย่อไม่เกิน 5 คํา ทั้งที่เป็นภาษาที่เขียนบทความ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รูปภาพ ให้จัดรูปภาพ ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้รูปภาพจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ ตาราง ให้จัดตาราง ให้พอดีกับหน้ากระดาษ โดยจะต้องให้ตารางจัดอยู่ในหน้าเดียวของหน้ากระดาษ และให้ระบุลําดับที่ ของตาราง พร้อมรายละเอียดต่างๆ ของตาราง เอกสารอ้างอิง 1.ให้ระบุเอกสารอ้างอิงตามที่ได้ค้นคว้าวิจัยในบทความเท่านั้น เพื่อนํามาตรวจสอบความถูกต้อง 2.ต้องจัดเรียงลําดับตามตัวอักษรนํา ของแต่ละบทความนั้นๆ 3.การอ้างอิงในเนื้อหาของบทความต้องอ้างอิงแบบนามปีเท่านั้น (ให้ระบุ ชื่อผู้แต่ง, ปี: หน้า) ยกเว้นคําอธิบายคํา สามารถทําในรูปแบบของเชิงอรรถได้ และให้อ้างอิงตามรูปแบดังนี้ (1) หนังสือ มัสลัน มาหะมะ. 2550. ลุกมานสอนลูก: บทเรียนและแนวปฏิบัติ. ยะลา. วิทยาลัยอิสลามยะลา Best, John W. 1981. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc. (2) บทความ วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ. 2010. “กระบวนการดํารงอัตลักษณ์มุสลิม”, อัล-นูร. ฉบับที่ 9 (กรกฎาคม-ธันวาคม) หน้า 55-66 (3) สารอิเล็กทรอนิกส์ อัล บุนยาน. 2552. มุ่งมั่นสู่การปฏิรูปตนเองและเรียกร้องเชิญชวนผู้อื่นสู่การยอมจํานงต่ออัลลอฮฺ. จากอินเตอร์เน็ต. http://www.iqraforum.com/oldforum1/ www.iqraonline.org/ (ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2552). การส่งต้นฉบับ ส่งต้นฉบับสําเนา 3 ชุด และแผ่นข้อมูลลง CD 1 แผ่น ส่งมายัง สํานักงานกองบรรณาธิการวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา บัณฑิตวิทยาลัยและการวิจัย เลขที่ 135/8 หมู่ 3 ตําบลเขาตูม อําเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี 94160 หรือ ตู้ปณ. 142 อําเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 Tel. (073) 418611-4 / Fax. (073) 418615-6


แบบเสนอต้นฉบับเพื่อลงตีพิมพ์ ในวารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา ข้าพเจ้า (นาย/นาง/นางสาว.......................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องตามภาษาที่เขียนบทความ................................................................................................................................................. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องภาษาไทย:………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ:………………………….………………………………………………………………………………………………………………………. ....................................................................................................................................................................................................... ชื่อ-สกุลผู้แต่งหลัก: (1) ชื่อภาษาไทย…………..….……………………………………………………………………………………………………………. (2) ชื่อภาษาอังกฤษ....................................................................................................................................... ที่อยู่:…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… เบอร์โทรศัพท์:……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. เบอร์โทรสาร:………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………. E-mail address:………………………………………………………………………………………………………………………………………………………. ชื่อ-สกุลผู้แต่งร่วม (1) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (2) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (3) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ (4) ชื่อภาษาไทย..……………………………………………………………………………………………………………. ชื่อภาษาอังกฤษ........................................................................................................................ ระบุประเภทของต้นฉบับ บทความวิชาการ (Article) บทความวิจัย (Research) บทความปริทรรศน์ (Review Article) บทวิพาทย์หนังสือ (Book Review) ลงชื่อ…………………………………………………… ( ) วันที่...........................................................





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.