๑๒ ปี แห่งการก่อสร้าง โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่

Page 1

๑๒ ปี แห่งการก่อสร้าง โลหะปราสาท

พระธาตุศรีเมืองปง วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

b


๑๒ ปี แห่งการก่อสร้าง

โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

๑๒ ปี แห่งการก่อสร้าง

โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท). โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่.-- เชียงใหม่ : Fluke Graphic Design & Printing, 2561. 180 หน้า. 1. พระธาตุศรีเมืองปง. 2. โลหะปราสาท--เชียงใหม่. 3. วัดอรัญญวาส. I. ณัฎฐ์ธิดา จารีย์ลัคน์, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง. 294.3135 ISBN 978-616-478-628-8 จัดพิมพ์โดย พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) วัดอรัญญวาส (บ้านปง) 99 หมู่ที่ 2 ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 พิมพ์ครั้งที่ 1 จ�ำนวน 1,000 เล่ม พิมพ์ที่ FLUKE Graphic Design & Printing 227/385 ม.3 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 โทรศัพท์ 080 496 9946 Email : fluke.th@gmail.com www.facebook.com/flukegraphic


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

รูปวัด


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2549 เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ ในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชครบ 60 ปี


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

“...ธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นคำ�สอนที่แสดงสัจธรรม ความแท้จริงของสภาวธรรมทุกสิ่ง ดังนั้น ถึงหากสังคมจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ไม่เกินไปกว่าที่ชาวพุทธจะพิจารณารู้เท่าทันได้ เมื่อได้ปฏิบัติ อยู่ในธรรมะของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยถูกต้อง มั่นคงแล้ว ความเปลี่ยนแปลงใดๆ ในสังคม ก็ไม่ใช่ เหตุที่ควรวิตกอีกต่อไป...”

ความตอนหนึ่งในพระบรมราโชวาท พระราชทานในพิธีเปิดการประชุมใหญ่สมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๔


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

สารบัญ ๑

กว่าจะมาเป็น “โลหะปราสาท” 1

ประวัติวัดบ้านปง (อรัญญวาส) และชุมชนบ้านปง 55

ชีวประวัติท่านเจ้าอาวาส วัดอรัญญวาส พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) 97

งานประเพณีประจำ�ปี 109


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

สารบัญ ๕

ประวัติครูบาฯ ทั้งสี่ ที่นับถือสักการะของชาวล้านนา 127

พุทธบริษัท 4 ครบองค์ ณ โลหะปราสาทฯ 139 เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภิกษุณีในประเทศไทย 144

คณะกรรมการ 146


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คำ�นำ� โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง เริ่มสร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ในมหามงคลสมัยที่พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาล ที่ ๙ ทรงครองสิริราชย์สมบัติครบ ๖๐ ปี จวบจนถึงเวลาปัจจุบัน พุทธศักราช ๒๕๖๑ในรัชกาลที่ ๑๐ แม้ว่าการก่อสร้างจะยังไม่แล้ว เสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่และตั้งอยู่บนยอดเขา ต้องอาศัยความเพียรและงบประมาณในการก่อสร้างจำ�นวนมาก แต่ ก็ถือได้ว่ามีความคืบหน้าไปอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนโครงสร้าง หลักทีค่ อ่ นข้างสมบูรณ์ อาทิเช่น การติดตัง้ ปลียอดปราสาทในแต่ละ ชั้น การติดตั้งเพดานกระจกสเตนกลาส, การติดฝ้าเพดานทั้งสอง ยังคงเหลือในส่วนของการประดับตกแต่งและรายละเอียดต่างๆ เช่น การประดับเรือนยอดปราสาทด้วยฉัตรและช่อดอกไม้ทิพย์, การกรุยอดปราสาทด้วยแผ่นทองจังโก้, การประดิษฐานพระพุทธ รูปประจำ�ซุ้มจรนำ�, การประดับรูปปั้นเทวดา ฯลฯ หนังสือเล่มนี้จัดทำ�ขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๒ ปี แห่งการ ก่อสร้างโลหะปราสาทพระธาตุศรีเมืองปง เพื่อจะได้ถ่ายทอดเรื่อง ราวและรวบรวมรูปภาพของการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มแรก ที่ได้ผ่าน ความยากลำ�บาก ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในแต่ละช่วง จวบจนถึง ปลายปีพุทธศักราช ๒๕๖๑ร่วมสมัยจนถึงในขณะนี้

แม้วา่ วัดอรัญญวาส (บ้านปง) จะมีประวัตคิ วามเป็นมาเก่า แก่ยาวนานกว่าร้อยปี แต่เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมา ไม่เคยมีการรวบรวม หลั ก ฐานจั ด พิ ม พ์ เ ป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษรมาก่ อ น จึ ง ได้ มี ก าร รวบรวมประวัติวัดบ้านปง คำ�อธิบายเสนาสนะและเกร็ดความ รู้ต่างๆ เกี่ยวกับวัดเข้าไว้ด้วยกันเพื่อมิให้ข้อมูลต่างๆ สูญหายไป ตามกาลเวลา หนังสือเล่มนีจ้ งึ เสมือนหลักฐานอันทรงคุณค่าทัง้ ใน ด้านการบันทึกประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าพัฒนาการวัดตั้งแต่อดีต รวมถึงแสดงความเป็นไปในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นประจักษ์พยาน แห่งสาระอันเป็นประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เป็นวันครบรอบ ๑๒ ปี แห่งการ สร้างโลหะปราสาทพระธาตุศรีเมืองปง จึงถือโอกาสนี้จัดงาน ทำ�บุญเฉลิมฉลองสมโภช และจัดทำ�หนังสือประวัติศาสตร์แห่ง การสร้างโลหะปราสาทล้านนา มอบเป็นที่ระลึกให้แก่ผู้มีจิต ศรัทธาที่ร่วมทำ�บุญบำ�รุงพระพุทธศาสนาร่วมกันด้วยดีเสมอ มา ขออำ�นวยอวยพรให้ทุกคนทุกท่านที่มีส่วนร่วมในวิหารทาน ครั้งนี้ จงประสพแต่ความสุขความเจริญ และเพียบพร้อมไป ด้วย มนุษย์สมบัติ บริวารสมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ จงทุกประการด้วยเทอญ ฯ

พระครูอาชวปรีชา เจ้าอาวาสวัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ตุลาคม ๒๕๖๑





โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

กว่าจะมาเป็น “โลหะปราสาท” พระธาตุ เ จดี ย ์ ศ รี เ มื อ งปง เดิ ม ที แ ล้ ว ไม่ มี ห ลั ก ฐาน ปรากฏเด่นชัดแน่นอนว่า สร้างในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง และมีลักษณะรูปร่างแบบไหนหรือใช้ศิลปะอิงยุคใดในการ ก่อสร้าง

แสงสว่าง ลอยพุ่งมาจากทิศต่างๆ แล้วมารวมตัวกันตรง บริเวณกองอิฐ ซึ่งมีต้นไม้ต้นใหญ่อยู่ตรงกลาง แล้วกลุ่มแสง สว่างก็ลอยตัวสูงขึ้นและต�่ำลง จนเกิดความสว่างไสวไปทั่ว สามารถมองเห็นต้นไม้ทุกกิ่งก้านสาขาจากระยะไกล ผู้คน ที่มีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ ต่างรู้ด้วยสัญญา และเข้าใจตรงกันว่า เป็นปรากฏการณ์ “พระธาตุเสด็จ”

ซึ่งในอดีต บริเวณที่ตรงนี้เป็นแต่เพียงยอดเขาที่มีอิฐ มอญ ขนาด 20x30 เซนติเมตร ทับถมกันเป็นจ�ำนวนมาก จนชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า “ป๊อกดินกี่” (เนินอิฐ) ซึ่ง ยังคงเป็นค�ำถามที่ยังอาจหาค�ำตอบไม่ได้ว่า “...ใครน�ำมา ทิ้งไว้ตรงนี้?...เอาอิฐจ�ำนวนมากขึ้นมาไว้ตรงนี้ได้อย่างไร?... และน�ำมาไว้ที่นี่เพื่ออะไร ?... ทั้งๆที่เมื่อก่อนยังไม่มีทางขึ้น สร้างความฉงนใจแก่ชาวบ้านที่รู้เห็นมานานเป็นอย่างมาก และที่ส�ำคัญไปกว่านั้นคือ ค�ำบอกเล่าถึงปรากฏการณ์ที่มี

เวลาผ่านล่วงเลยมานานยังไม่มีใครท�ำอะไรกับบริเวณ นั้น จนถึงปี พ.ศ.2536 พระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต (อาจารย์ดวงจันทร์ ขอดแก้ว) ท่านเจ้าอาวาสในสมัยนั้น มี โ ครงการที่ จ ะสร้ า งเจดี ย ์ บ รรจุ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ ไ ว้ ในบริ เ วณวั ด เพื่ อ ให้ ศ รั ท ธาประชาชนได้ มี โ อกาสกราบ ไหว้สักการบูชา โดยมีพ่อครูประสิทธิ์ อินเสาร์ คหบดีผู้มี ความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปวารณาที่จะเป็น ประธานในการก่อสร้าง

จากกองอิฐ... สู่ เจดีย์

1


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โดยแรกเริ่มเดิมทีได้วางแผนผังจะขุดหลุมสร้างพระ เจดีย์ตรงบริเวณทิศเหนือของพระอุโบสถ แต่แล้วในวันรุ่ง ขึ้น กลับกลายเป็นว่าต้องเปลี่ยนที่สร้างเจดีย์ใหม่ ด้วยเหตุ ที่ไม่ใช่เกิดจากความบังเอิญ แต่เป็นธรรมจัดสรรตามหลัก อิทัปปัจจยตา (เพราะสิ่งนี้มีมาแล้วสิ่งนี้จึงเกิดขึ้นอีก ) จาก ค�ำพูดของสามเณรตัวน้อยที่จู่ๆ ก็พูดทีเล่นทีจริงกับเจ้า อาวาสองค์ก่อนว่า “ตุ๊ปี้ครับถ้าเฮาแป๋งพระธาตุบนดอย ป๊อกดินกี่ได้ท่าจะดีแต้” (หลวงพี่ครับ ถ้าเราสร้างพระธาตุ ไว้ที่เนินดินสูงบนยอดดอยได้ คงจะดีนะครับ)

เวลาในการก่อสร้างนานถึง 2 ปี และเป็นไปอย่างทุลักทุเล เนื่องจากยังไม่มีทางขึ้น ต้องมีการขนวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง อ้อมไปไว้ด้านหลังเขา ซึ่งห่างจากวัดไปประมาณ 4-5 กิโล แล้วใช้รถยนต์กระบะเก่าๆ ค่อยๆ ขนเคลื่อนย้ายสิ่งของ ต่างๆ ไต่ทางสันหลังเขามาบริเวณก่อสร้างพระเจดีย์ ชาว บ้านบางคนแบกปูน แบกก้อนอิฐ เดินขึ้นเขาทางด้านหน้า ก็มี นับเป็นบทพิสูจน์พลังศรัทธาในการสร้างบุญบารมีของ ชาวบ้านเป็นอย่างดี จากนั้นไม่นาน พระธาตุเจดีย์องค์นี้ก็สร้างส�ำเร็จและ ได้ฉลองสมโภชถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ยังความปีติ สุขและความอิม่ เอมใจในบุญกุศลครัง้ นี้ แก่ศรัทธาประชาชน ชาวบ้านปงเป็นอย่างมาก

ค�ำพูดดังกล่าว เปรียบประดุจการหว่านเมล็ดพันธุ์ แห่ ง มหากุ ศ ลลงไปในผื น นาบุ ญ ที่ ยั ง ว่ า งอยู ่ ใ ห้ บ ริ บู ร ณ์ พระอาจารย์ (อดีตเจ้าอาวาส) ถึงกับชะงักและครุ่นคิดอยู่ ชั่ ว ขณะหนึ่ ง แล้ ว ก็ ก ล่ า วออกมาว่ า “ก็ อ ยากจะสร้ า ง เหมือนกั๋น ศรัทธาเปิ้นเล่าสืบต่อกันมาว่า จั่งมีพระธาตุ ออกในวันเดือนเป็ง” (อยากจะสร้างเหมือนกัน ศรัทธา ประชาชนได้เล่าสืบต่อกันมาว่า มักจะมีองค์พระธาตุลอย แสดงปาฏิหาริยบ์ นยอดเขาให้เห็นในคืนเดือนเพ็ญอยูบ่ อ่ ยๆ) สามเณรน้ อ ยในตอนนั้ น ปั จ จุ บั น คื อ ท่ า นพระครู อาชวปรีชา เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ซึ่งจากค�ำถามในครานั้น ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างพระธาตุเจดีย์ไว้บน ยอดเขา ณ บริเวณที่มีก้อนอิฐมอญทับถมกันเป็นจ�ำนวน มาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์จากซากปรักหัก พังขึ้นมาเป็น “พระธาตุเจดีย์องค์ใหม่” ก็ว่าได้ โดยได้ใช้ 2


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

แต่ ท ว่ า ความสุ ข ทุ ก ข์ มั ก จะอยู ่ กั บ เราได้ ไ ม่ น าน ทุกอย่างมันไม่เที่ยงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อปี พ.ศ.2538 อัคคีภัยได้เผาผลาญพระวิหารใหญ่อันเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจ�ำวัด มีนามว่า “หลวงพ่อสุข” จนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก สร้างความเศร้าสลด ใจและความหดหู่ใจแก่ศรัทธาประชาชนชาวบ้านปงยิ่งนัก พระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต (อาจารย์ดวงจันทร์ ขอด แก้ว) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้รวบรวมพลังศรัทธา ชาวบ้าน ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมพระวิหารขึ้นมา ใหม่ จนส�ำเร็จในปีอีกปีต่อมา คือ พ.ศ.2540 จากนั้นท่าน ก็ได้ลาสิกขาไป พระณัฐชัย อภิชวานนฺโท ในขณะนั้นจ�ำเป็น ต้องขึ้นมาด�ำรงต�ำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส

พระณัฐชัยได้ใช้เวลาครุ่นคิดอยู่นานพอสมควรว่าจะ กระท�ำการใดหรือมีวิธีการใดที่จะสามารถท�ำให้ศรัทธาชาว บ้านปงกลับมาสามัคคีกันดังเดิม ท่านจึงได้เข้าไปนั่งใน พระวิหารหลวง ตรงหน้าพระประธานซึ่งมีอายุกว่า 160 ปี ด้วยพุทธบารมีท่ีเปี่ยมด้วยเมตตาได้แผ่ญาณวิถี หรือ เป็นบุพนิมิต หรือจะเป็นอุปาทาน (คิดไปเอง) ก็มิอาจบอก ได้ ท่านพิจารณาเห็นว่า มีหนทางเดียวที่จะท�ำให้ศรัทธา ชาวบ้านปงสามัคคีปรองดรองกันได้นั้นต้องอาศัยพระพุทธ บารมีด้วยการสร้างพระประธานทรงเครื่องไว้ให้คนและ เทวดาทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา ท่านจึงได้น�ำเอานิมิตนี้ไป ปรึกษาหารือกับกลุ่มพุทธศิลปกรรมล้านนา ซึ่งมีอาจารย์ ไชยพร ผ่องพักตร์ เป็นหัวหน้ากลุ่ม และได้ตกลงร่วมกัน ที่จะด�ำเนินพิธีหล่อพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ล้านนา ศิลปะเชียงแสน ขนาดหน้าตักกว้าง 25 นิ้ว ในวันที่ 5 เดือน มกราคม พุทธศักราช 2546

ระหว่างปีพุทธศักราช 2540-2545 มีความขัดแย้งกัน ขึ้นระหว่างศรัทธาชาวบ้านปงหมู่ที่ 1 และ หมู่ 2 ในหลายๆ เรื่อง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ระบบการบริหารบ้านเมือง ระบบเศรษฐกิจ การศึกษา และ ความเจริญทางวัตถุที่พรั่งพรูเข้ามาในสังคมชนบทจนไม่ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์ได้ทัน อันเป็นผลให้ สังคมทีร่ กั กันฉันท์พนี่ อ้ งต้องมาขัดแย้งกันด้วยระบบทุนนิยม ที่ไม่พึงประสงค์ น�ำมาซึ่งความหนักใจยิ่งแก่ผู้น�ำชุมชน ผู้น�ำทางด้านจิตวิญญาณคือรักษาการเจ้าอาวาสในขณะนั้น ที่จะต้องหาวิธีช่วยท�ำให้ศรัทธาชาวบ้านปงหันมาปรองดอง กันเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

พระพุทธนิมิตศรัทธาสามัคคี 160 ปี ศรีเมืองปง 3


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ณ เจดีย์เก่าที่มีเรื่องราวแห่งความศักดิ์สิทธิ์มาแต่ครั้งโบราณบนเขาแห่งนี้นี่เอง จึงเป็นที่มาแห่งการก่อสร้าง “โลหะปราสาททิพยวิมานค�ำ” ครอบเจดีย์ไว้ ดังที่ปรากฏแก่สายตาท่านทั้งหลายในปัจจุบัน 4


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

และในคืนซึ่งเป็นวันประกอบพิธีเททองหล่อพระนั้น เอง ก็ได้เกิดเหตุการณ์น่าอัศจรรย์ใจต่างๆ มากมาย อาทิ เช่น ฝนตกทั้งวันทั้งๆที่เป็นช่วงฤดูหนาว แต่พอถึงช่วง เวลาที่จะท�ำการเททองหล่อพระจริงๆ ฝนกลับหยุดตก ดั่ง เปิดทางให้การประกอบพิธีเททองหล่อพระในขณะนั้นให้ ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี แต่หลังจากนั้นฝนก็ตกลงมาอีกตลอด ทั้งคืนการหล่อหลอมทองสร้างพระพุทธรูปซึ่งต้องอาศัย ทั้งก�ำลังคนและก�ำลังทรัพย์จ�ำนวนมากได้ส่งผลที่ส�ำคัญ ที่สุดต่อมาก็คือ ชาวบ้านที่เคยแตกแยกกัน ก็เสมือนต่างได้ หล่ อ หลอมรวมจิ ต รวมใจให้ ก ลั บ มาศรั ท ธาและสามั ค คี ปรองดองกันอีกครั้งหนึ่งจากการประกอบกุศลกรรมร่วม กันในครั้งนั้น ต่ อ มาก็ ไ ด้ พ ร้ อ มใจกั น จั ด พิ ธี อ บรมสมโภชเบิ ก พระเนตรพระพุทธรูปใหม่ ตามจารีตประเพณีตามแบบ ล้านนา ในคืนวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2546 รวมทั้งได้ขนาน พระนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า “พระพุทธนิมิตศรัทธา สามัคคี 160 ปี ศรีเมืองปง” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรง เครื่องกษัตริย์ล้านนาที่หล่อด้วยเนื้อทองส�ำริดนี้ และยังคง ประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญดุจดั่งอนุสรณ์แห่งความสามัคคีและ ศรัทธาชาวบ้านที่มีต่อวัดบ้านปงอยู่ในพระวิหารเคียงข้าง หลวงพ่อสุขจวบจนปัจจุบันนี้ ในคืนเบิกพระเนตรนั้น ยังมีปรากฎการณ์ไม่คาดคิด เกิดขึ้นอีก คือ เวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 13 มีนาคม ท่านพระครูอาชวปรีชาหรือพระณัฐชัย อภิชวานนฺโท ใน

สมัยนั้น ได้ออกไปยืนโทรศัพท์บริเวณหน้าวัด เพื่อโทรตาม หาคณะสวดเบิก (คณะสวดเบิกวัดศรีโสดา) ที่จะมาสวดเบิก พระเนตรพระพุทธรูปใหม่ในตอนรุ่งสาง เมื่อโทรคุยเสร็จ ท่านก็หันหลังเดินกลับเข้าวัด แต่ในขณะที่เดินกลับเข้าวัด ท่านก็ได้เห็นแสงสีขาวสว่างจ้าดวงใหญ่ ลอยอยู่เหนือเจดีย์ ที่อยู่บนยอดเขา แล้วหายเข้าไปในพระเจดีย์ สร้างความปีติ และความอัศจรรย์ใจให้กับท่านเป็นอย่างมาก เพราะที่ผ่าน มา ท่านเคยได้ยนิ แต่ชาวบ้านเล่าให้ฟงั เกีย่ วกับปรากฏการณ์ พระธาตุเสด็จมาโดยตลอด แต่ไม่เคยเห็นด้วยตาตัวเองสัก ครั้ง จนกระทั่งได้ประสบกับเหตุการณ์ด้วยตนเองในครั้งนี้ ท่านจึงมั่นใจว่า บนยอดเขาลูกนี้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และ เคยเป็นที่ตั้งของพระธาตุเจดีย์ในสมัยโบราณมาก่อนจริง ท่านจึงได้ตั้งจิตอธิษฐานบารมีว่า “หากตัวท่านมีบุญบารมี จริง และพระธาตุเป็นของดีจริง ขอให้สามารถสร้างบันได และถนนขึ้นไปไหว้พระธาตุได้ส�ำเร็จเถิด” ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้มีการรวมก�ำลัง ชาวบ้านให้ช่วยกันท�ำบันไดและถนนขึ้นไปไหว้พระธาตุฯ ซึ่งก็สามารถสร้างบันไดขึ้นไปได้ส�ำเร็จจริงสมกับค�ำสัจจะ อธิษฐาน ด้วยความร่วมมือของชาวบ้านปงและศรัทธาทั่วไป โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน 17 คืน/วันเท่านั้นรวมทั้งได้ปรับ สภาพป่าข้างๆเจดีย์ ท�ำให้มองเห็นพระธาตุเจดีย์ได้จากด้าน ล่างหรือแม้จากระยะไกล พระธาตุเจดีย์ก็มีความสูงเด่นมอง จากทิศไหนก็เห็นอยู่บนเขา เป็นศรีสง่าของภูมิทัศน์บ้านปง จึงเป็นทีม่ าของการขนานนามให้เป็น “พระธาตุศรีเมืองปง” 5


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หลักฐานข้อมูลและแนวสืบค้นเกี่ยวกับที่มาของพระธาตุเจ้าศรีเมืองปง โดย.. พระครูอาชวปรีชา

เจดีย์ดั้งเดิมที่กล่าวมา ปัจจุบันเรียกว่า “พระ ธาตุ เ จ้ า ศรี เ มื อ งปง” ได้ ส ร้ า งขึ้ น มาใหม่ จ ากการ รวบรวมกองอิฐที่กระจัดกระจายในบริเวณยอดเขา เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ตรงกับขึ้น 11 ค�ำ่ เดือน 12ในสมัยของพระมหาดวงจันทร์ จนฺทโช โต (ขอดแก้ว) อดีตเจ้าอาวาส ผู้มีบทบาทส�ำคัญใน การพัฒนาวัดบ้านปง พระธาตุฯ ตั้งอยู่บนยอดภูเขา สูงประมาณ 460 เมตร ทางด้านทิศตะวันตกของวัด ภูเขาลูกนี้ชาวบ้านต่างเรียกกันว่า “ป๊อกดินกี่” (ป๊อก = ลูก ,เนินเขา / ดินกี่ = อิฐมอญ) หรือรวมกันเรียก ว่า “เนินอิฐมอญ”

ผู้เขียนได้พยายามวิเคราะห์ข้อมูลจากสภาพ ภูมิประเทศที่ตั้งพระธาตุเจดีย์ในปัจจุบันหลักฐานที่ ปรากฏ การสัมภาษณ์และสอบถาม ฯลฯ ซึ่งพอจะ สรุปถึงที่มาของพระธาตุ ฯ ให้เห็นพอสังเขป ได้ดังนี้ ลักษณะสภาพภูมปิ ระเทศทีต่ งั้ พระธาตุเจดียใ์ น ปัจจุบัน มีลักษณะเป็นเนินเขาที่ไม่สูงมากนัก มีความ โดดเด่นคือ มีแม่น�้ำท่าช้างไหลผ่านด้านหน้า ประดุจ น�ำความชุม่ ฉ�ำ่ อุดมสมบูรณ์พนู ผลมาให้ มีเนินเขาสลับ ซับซ้อนเสมือนเป็นหนึ่งก�ำแพงแข็งแกร่งป้องกันอยู่ ด้านหลัง สงบ ร่มรืน่ และชุม่ ฉ�ำ่ ในยามเหมันต์วสันต์ฤดู

6


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หลักฐานทีป่ รากฏ พระบรมสารีรกิ ธาตุ บรรจุใน กระบอกไม้ไผ่ มีสัณฐานคล้ายเมล็ดถั่วหัก ประมาณ 15 องค์ ซึ่งอยู่คู่กับวัดมาหลายชั่วอายุคน ก่อนที่จะ ได้ท�ำการบรรจุไว้ในพระเจดีย์ บนเนินดินนั้นมีก้อน อิฐโบราณขนาดใหญ่ ประมาณ 15x30 เซนติเมตร อยู่ จ�ำนวนมากทั้งบนดินและใต้ดินทั่วบริเวณนั้น มีต้นไม้ เปา (ไม้เต็ง) ขนาดใหญ่ 9 ต้น (ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ต้น) มี “ผาต๊ะ” หรือ “ป๋าทะ” ภาษาเหนือ หมายถึง รอยร่องหินคล้ายกับรอยเท้าซึ่งชาวบ้านเล่าสืบกันมา และเชื่อกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

เล่าจากศรัทธาชาวบ้านปงหลายต่อหลายคนเกี่ยวกับ ความเป็นมาของวัดและพระธาตุเจ้าศรีเมืองปง ซึง่ ก็ได้ ค�ำตอบที่ใกล้เคียงกันมาก อาทิเช่น พ่ออุ๊ยแดง อินติ ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า “ป้ออุ๊ย เกิดมาก่อหันมีวัดอยู่ตั๊ดตี้นี้ เป๋นวัดตี้แป๋งมาเมินหลาย เจ่นคนแล้ว เพราะป้อของป้อๆ อุ๊ยเล่าหื้อฟังว่าเกิดมา ก่อหันวัดแล้ว” (ตาเกิดมาก็เห็นมีวัดอยู่ตรงนี้ เป็นวัด ที่สร้างมานานหลายชั่วอายุคนแล้ว เพราะทวดของ ทวดของโยมพ่อของตา ก็เล่าให้ฟังว่าเกิดมาก็เห็นมี วัดอยู่ตรงนี้ / ขณะสัมภาษณ์อายุ 75 ปี ปัจจุบันเสีย ชีวิตแล้ว)

การสอบถาม / ค�ำบอกเล่า เมื่อครั้งผู้เขียนยัง เป็นสามเณรอยู่ได้ท�ำการสอบถาม และได้ฟังค�ำบอก

7


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

“พระธาตุก่อเหมือนกั๋น เปิ่นจั่งออกวันเดือนเป็ง ใสงามขนาด บึ้ดใหญบึ้ดน้อย คนตี่มีบุญนักเต้าอั้น จิ่ม จะได้หันเปิ่น ป้ออุ๊ยเกยหันเตื้อเดียว” (พระธาตุก็เช่น เดียวกัน มักจะแสดงปาฏิหาริยใ์ ห้เห็นในคืนวันเพ็ญขึน้ 15 ค�่ำ ดวงใสงดงาม บางครั้งดวงเล็กบางครั้งดวงใหญ่ สลับไปมา คนที่มีบุญเท่านั้นจึงจะได้เห็น ตาก็เคยเห็น แค่ครั้งเดียว ) ประสบการณ์จริง จากข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้ยกมาน�ำเสนอ และตัวผู้เขียนเองก็เคยประสบกับ เหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ใจเกี่ยวกับพระธาตุองค์นี้ ด้วยตนเองมาแล้วคือ เมือ่ คืนวันที่ 13 มีนาคม 2546 เวลา 02.00 น.ผู้เขียนได้ออกไปยืนคุยโทรศัพท์ติดต่อกับ คณะพระสงฆ์ที่จะมาสวดเบิกพระเนตรพระพุทธรูป ที่หน้าวัด อันเป็นประเพณีทางภาคเหนือเมืองล้านนา เสร็จกิจแล้ว ขณะก�ำลังจะเดินกลับเข้าไปในวิหาร หลวง จู่ ๆ ก็เห็นแสงสีขาวเจิดจ้านวลใสบริเวณเหนือ องค์พระธาตุเจดีย์บนยอดเขา ท�ำให้ข้าพเจ้าถึงกับ เกิดปีติขนลุกพองทั่วทั้งสัพพังกาย นึกในใจว่าคงจะ เป็นทิพย์ญาณที่พระบรมธาตุได้แผ่ให้เป็นสักขีพยาน

8

อนุโมทนาบุญในครั้งนี้ จึงตะโกนเรียกกรรมการวัดที่ อยู่ในศาลาบาตรข้างก�ำแพงวัดในคืนนั้นให้รีบวิ่งออก มาดู แต่ทุกคนก็ไม่ทันได้เห็น เพราะแสงได้พลันหาย ไปก่อนหน้านั้นเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ผู้เขียนจึงได้ ยกมือขึ้นประนมพร้อมกับตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “หากข้าพเจ้ามีบุญวาสนาบารมีและพระบรม ธาตุมีความศักดิ์สิทธิ์จริงขอให้สามารถสร้างบันได ขึ้นไปนมัสการสักการบูชาพระบรมธาตุได้ส�ำเร็จใน เร็ววันด้วยเทอญ” ปรากฏว่า...ในเวลาไม่นานต่อมา ก็สามารถสร้าง บันไดขึ้นไปได้ส�ำเร็จจริงสมกับค�ำสัจจะอธิษฐาน ด้วย ความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านปงและศรัทธาทั่วไป โดยใช้เวลาเพียง 7 เดือน 17 คืนและวันเท่านั้นผู้เขียน พิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการแล้วจึงเชื่อว่ายอดภูเขา ลูกนี้ต้องเป็นที่ตั้งของพระบรมสารีริกธาตุดั้งเดิมหรือ เคยเป็นศาสนสถานส�ำคัญอย่างใดอย่างหนึ่งในทาง พระพุทธศาสนาที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐานของศรัทธาชาวบ้านปงแห่งนี้เป็นแน่แท้


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

9


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

10


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

การสร้างบันไดทางเดินขึ้น... สู่พระธาตุศรีเมืองปง ในการก่อสร้างบันได ได้เริ่มประชาสัมพันธ์เชิญชวน ญาติโยมภายในหมู่บ้านร่วมกันเป็นเจ้าภาพขั้นบันได ขั้นละ 300 บาท ชาวบ้านต่างร่วมกันรับเป็นเจ้าภาพ ได้ปจั จัยเบือ้ ง ต้นสามหมื่นกว่าบาท จากนั้นก็ได้จัดให้มีการวางศิลาฤกษ์ ลงจอบแรก บวงสรวงขอบารมีพระครูบาเจ้าศรีวิชัย และ ทอดผ้าป่าสามัคคีเป็นกองทุนก่อสร้างเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2546 ซึ่งได้ปัจจัยทวีคุณขึ้นเป็นจ�ำนวนเงินสามแสนกว่า บาท จึงได้เริ่มลงมือก่อสร้าง โดยใช้แรงงานชาวบ้านช่วย กันหาบหินหาบทราย หาบน�้ำ แบกปูน แบกเหล็ก ผสม ปูน และค่อยๆเทบันไดขึ้นไปเป็นขั้นๆ จนถึงขั้นที่สามร้อย กว่า ชาวบ้านเริ่มเหนื่อยและท้อ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างต้อง แบกต้องหามขึ้นเขาไปวิธีเดียว พระณัฐชัยจึงได้อธิษฐานขอ บารมีองค์พระธาตุศรีเมืองปงอีกครั้งว่า “ถ้าหากพระธาตุ ศรีเมืองปงเป็นของดีจริง ขอให้มีคนเอาปั๊มน�้ำมาถวาย... มาช่วยตัดถนนให้ทีเถิด” และแล้ว ก็มีคนเอามาถวายและ มาตัดถนนให้จริงๆดังค�ำอธิษฐาน ท�ำให้ง่ายต่อการก่อสร้าง บันไดอีกครั้ง จึงได้เทบันไดขึ้นไปจนถึงขั้นที่ 600 กว่า ปั๊ม น�้ำเริ่มหมดแรงก�ำลังส่ง ถนนก็ยังไกลอีก ท�ำให้การก่อสร้าง ล่าช้าชาวบ้านหมดแรงท้อแท้ทา่ นจึงได้อธิษฐานขอบารมีอกี ครัง้ และก็ได้สมความปรารถนา คือมีคนมาสนับสนุนสิง่ ต่างๆ ท�ำให้สะดวกต่อการเทบันไดขึ้นไปอีกเรื่อยๆ 11


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ชาวบ้านสามัคคีช่วยกันเทบันไดทางขึ้นพระธาตุฯ 954 ขั้น ทั้งกลางวันและกลางคืน 12


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ในช่วงเวลาการเทบันได พระณัฐชัยท่านเจ้าอาวาสได้ขึ้นไป ปลูกกุฏิอยู่บริเวณลานหน้าพระธาตุศรีเมืองปงเพื่อขึ้นไปปฏิบัติ ธรรม ไหว้พระสวดมนต์ และคอยเป็นก�ำลังใจแก่ญาติโยมชาวบ้าน ที่มาช่วยกันเทบันไดทั้งกลางวันกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง 254 ขั้นสุดท้ายชั้นบนก่อนจะถึงลานพระธาตุศรีเมืองปงนั้น ได้ใช้ เวลาในช่วงตอนกลางคืนเทบันได มีชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้ง หญิงและชายได้ช่วยกันผสมปูนเทลงรางสังกะสี และเขี่ยปูนที่ติด ขอบรางสังกะสีฯลฯ เป็นภาพที่แสดงออกถึงความร่วมแรงร่วมใจ และสมานสามัคคีกันของคนในชุมชนได้อย่างน่าชื่นชมยิ่งนัก 13


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

14


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ในคราวแรกที่จะเริ่มก่อสร้างบันไดทางขึ้นนั้น ทางวัด และชาวบ้านได้มีมติที่ประชุมร่วมกันว่า จะสร้างบันไดทางเดิน ขึ้นไปบรรจบกับลานพระธาตุศรีเมืองปง เสร็จแล้วจะวางฤกษ์ สร้างศาลาระเบียงคตรอบพระธาตุศรีเมืองปง และท�ำการบูรณ ปฏิสงั ขรณ์พระธาตุฯ เพียงเท่านัน้ ยังไม่ได้มคี วามคิดทีจ่ ะสร้าง เป็น “โลหะปราสาท” ครอบพระธาตุฯดังที่เห็นแบบปัจจุบัน หากหลังจากที่สร้างบันไดขึ้นมาถึงลานพระธาตุศรี เมืองปงเสร็จและได้ท�ำพิธีวางศิลาฤกษ์เพื่อจะสร้างศาลา ระเบียงคตรอบพระธาตุเจดีย์ รวมทั้งทอดผ้าป่าหาทุนฯได้ งบประมาณ 160,000 บาท เป็นทุนก่อสร้างศาลาเบื้องต้น แล้ว เวลาผ่านไปอีกหลายเดือน ก็ยงั ไม่ได้สร้างศาลาดังกล่าว ด้วยเหตุขัดข้องหลายประการ 15


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

16


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ระหว่างนั้นพระณัฐชัยซึ่งได้อยู่ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ ภาวนาในกุฏบิ นลานพระธาตุเจดีย์กไ็ ด้มนี ิมติ เกิดขึน้ ในระหว่าง การปฏิบัติถึง 3 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกันอันเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ โดยในครั้งแรกนั้น ท่านได้เห็นภาพตัวเองอยู่ในห้องโถง ใหญ่ สงบเงียบ อากาศเย็นมาก และสามารถมองเห็นตัวเอง ได้รอบทิศทางเพราะในห้องโถงนั้นเป็นเสมือนห้องกระจกใส สะท้อนเงาได้ทุกด้าน ครั้งที่ 2 ท่านได้เห็นตัวเองอีกครั้งในที่ เดิม แต่ตรงกลางห้องโถงนั้น ปรากฏพระพุทธรูปทรงเครื่อง ใหญ่ มี รั ศ มี พ ระวรกายขาวนวลเปล่ ง ปลั่ ง งดงามมาก และ ครั้งที่ 3 ท่านเห็นเป็นอาคารตั้งสูงตระหง่านอยู่ตรงหน้ามี หลังคาลดลั่นเป็นชั้นๆ มียอดแหลมเป็นร้อยๆยอด ยิ่งใหญ่และ มีความงดงามวิจิตรตระการตาอย่างยิ่ง เมื่ อ พิ จ ารณาถึ ง นิ มิ ต ที่ เ กิ ด ขึ้ น ถึ ง สามครั้ ง สามครา ประกอบกั บ ความเป็ น จริ ง ที่ เ ห็ น สภาพขององค์ เ จดี ย ์ บ รรจุ พระธาตุที่มีอายุยืนนานกว่าร้อยปีเริ่มช�ำรุดทรุดโทรมไปตาม กาลเวลา เนื่องจากความยากล�ำบากในการขึ้นไปควบคุมการ ก่อสร้างบนยอดเขาและงบประมาณที่จ�ำกัดในคราวนั้นอาจ ท�ำให้การก่อสร้างไม่ได้เป็นไปตามแบบแปลนหรือถูกต้องตาม แบบแผนจารีตประเพณีท้องถิ่นมากนัก ...นี่อาจเป็นนิมิตที่มีนัยยะส�ำคัญ ว่าถึงวาระแล้วที่องค์ พระธาตุเจดีย์อันเป็นถาวรวัตถุทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ของวัดบ้านปง สมควรจะได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้ง 17


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

18


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

จาก เจดีย์ สู่..โลหะปราสาท ....หลั ง จากนิ มิ ต แล้ ว ท่ า นจึ ง ได้ โ ทร ไปถามอาจารย์ ส ายั ณ ห์ เขื่ อ นแก้ ว เจ้ า ของ โรงหล่ อ พระพุ ท ธคุ ณ ว่ า พอจะรู ้ จั ก คนเขี ย น แบบพระธาตุ เ จดี ย ์ บ ้ า งหรื อ ไม่ ซึ่ ง ก็ ไ ด้ รั บ ค� ำ แนะน�ำถึงเพื่อนชาวเชียงรายคนหนึ่ง หลังจาก นั้ น สามวั น ก็ ไ ด้ มี ก ารนั ด พบกั น ที่ วั ด บ้ า นปง โดยมี ช่างสุชัย สุพัชนี, ช่างชัยยุทธ ประยูรศร อ.ดร.พรศิลป์ รัตนชูเดช มาพร้อมกับน�ำแบบ ก่อสร้างมาให้ดูทั้งหมด 7 แบบ ปรากฏว่าแบบ ที่ 6 ตรงกับลักษณะที่พระณัฐชัยเห็นในนิมิต ทุกประการ ซึ่งช่างได้บอกว่าแบบนี้ยังไม่เคย มีใครกล้าน�ำไปสร้างที่ไหนมาก่อนเพราะใหญ่ โตต้องลงทุนสูงและเสี่ยงอันตรายมาก เรียกว่า เป็น “โลหะปราสาท” (คาดว่าเขาคงได้เคยไป อินเดียหรือได้แรงบันดาลใจจากที่เคยเห็นซาก ปรักหักพังในศรีลังกามาบ้าง จึงมีความคิดใน การวาดแบบนี้ขึ้นมาเผื่อจะมีที่ใดสนใจสร้างใน เมืองไทยบ้าง) ด้วยความที่ท่านเจ้าอาวาสมีความสนใจ และตั้งใจที่จะสร้างแบบตามที่เห็นในนิมิต ช่าง สุชยั จึงได้ถวายแบบการก่อสร้างให้ พร้อมกับขอ ให้ช่างชัยยุทธ ประยูรศร เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง ในครั้งนี้ให้ด้วย 19


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

20


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หลังจากที่เห็นแบบวาดว่าตรงกับสิ่งที่ปรากฏในนิมิต แล้ว จึงได้นัดประชุมคณะกรรมการวัดเพื่อขอมติในการสร้าง “โลหะปราสาท” ครอบเจดีย์องค์เดิม เพื่อเป็นการรักษาและ บูรณะโบราณสถานไว้ให้คงอยู่คู่กับชุมชน อีกทั้งเพื่อถวาย เป็นพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปี ในวาระนั้น (พ.ศ.2549) ค�ำว่า “โลหะปราสาท” ในอายุกาล ของพระพุทธศาสนาซึ่งผ่านมา 2500 กว่าปีแล้ว มีเพียง 3 หลังเท่านั้นในโลกนี้ และทั้งสามหลังล้วนแต่สร้างบนพื้นราบ แต่ส�ำหรับที่วัดอรัญญวาส (พระธาตุศรีเมืองปง) แห่งนี้ จะตั้ง อยู่บนยอดเขาและจะได้ผสมผสานสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ ของชาวล้านนาซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าพิสูจน์พลังศรัทธา แห่งพุทธศาสนิกชนยิ่งนักในการที่ทุกคนทุกฝ่ายจากทุกภาค ส่วน จะได้มีส่วนร่วมมือร่วมใจกันในการก่อสร้างพุทธสถาน อันยิ่งใหญ่ถวายเป็นพุทธบูชาไว้บนยอดเขา ณ บ้านปงแห่งนี้ 21


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โลหะปราสาททิพยวิมานคำ� แห่งเมืองล้านนา (The First Lohaprasada of Lanna) โลหะปราสาทล้านนาหลังแรกของโลก

โลหะปราสาท (Lohaprasada) เป็นชื่อดั้งเดิม ของอินเดีย เรียกมาแต่สมัยครั้งพุทธกาล สมเด็จกรม พระยาด�ำรงราชานุภาพทรงประทานความหมายว่า “ตึกที่มียอดเป็นโลหะ” เป็นโบราณสถานที่มีอยู่เพียง 3 แห่งในโลกนี้เท่านั้น คือ

มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีได้สร้างถวายพระพุทธเจ้า จากการประมูลราคาเครือ่ งประดับของตนทีช่ อื่ “มหา ลดาประสาธน์” ได้เงินมา 9 โกฏิ 1 แสน แล้วน�ำเงิน มาสร้างถวายเป็นสถานปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ มี ลักษณะเป็นปราสาทใหญ่ 2 ชั้น มี 1,000 ห้อง ยอด ปราสาทท�ำด้วยทองค�ำ ปัจจุบนั ปราสาทหลังนีป้ รักหัก พังจนเหลือเพียงฐานราก

โลหะปราสาทหลัง แรก สร้างขึ้นในประเทศ อินเดียสมัยครั้งพุทธกาล มีชื่อว่า มิคารมาตุปราสาท อยูใ่ นวัดบุพพาราม เมืองสาเกต ด้านทิศตะวันออกของ กรุงสาวัตถี โดยนางวิสาขามหาอุบาสิกาบุตรีธนัญชัย

โลหะปราสาทหลังที่ 2 ประดิษฐานอยู่ในเมือง อนุราธปุระ ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน สร้างโดย

22


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โลหะปราสาทหลังที่ 1 เมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย เหลือเป็นซากเนินดิน

โลหะปราสาทหลังที่ 2 เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา เหลือเป็นโครงสร้างเสาพันกว่าต้น

พระเจ้าทุฎฐคามณีอภัย กษัตริย์แห่งกรุงอนุราชปุระ เมื่อประมาณ พ.ศ.2382 ตามค�ำท�ำนายในแผ่นดิน สุพรรณบัฐของพระมหินทรเถระที่ทรงได้พบ โปรดฯ ให้สร้างตามแบบทิพยวิมานทีไ่ ด้ทอดพระเนตร มีดา้ น กว้างและด้านสูงแต่ละด้าน 100 ศอก มี 9 ชั้น 1,000 ห้อง หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับ ด้วยหินมีค่าและงาช้าง พระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่แต่ละ ชั้นตามความรู้คือ ผู้มีสมณศักดิ์สูงอยู่ชั้นบน จากนั้น ก็ลดหลัน่ ลงมาตามล�ำดับ เนือ่ งจากหลังคาบุดว้ ยแผ่น

โลหะปราสาทหลังที่ 3 วัดราชนัดดาราม กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ทองแดง เมื่ออสุนีบาตตกจึงเกิดเพลิงไหม้ได้รับความ เสียหายหลายครั้ง พระเจ้าสัทธาติสสะ จึงโปรดฯให้ สร้างใหม่ให้สูงเพียง 7 ชั้น ปราสาทหลังนี้ภายหลัง ถูกโจรท�ำลาย ปัจจุบันยังคงเหลือซากปราสาท ซึ่ง ประกอบด้วยเสาหินประมาณ 1,600 ต้น โลหะปราสาทหลั ง ที่ 3 สร้ า งขึ้ น ที่ วั ด ราช นัดดาราม กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยวัดนี้สร้างเพื่อพระราชทานให้พระเจ้าหลานเธอ

23


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม ถือเป็นโลหะปราสาท ที่ยังสมบูรณ์แห่งเดียวในโลก

24


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พระองค์ เ จ้ า โสมนั ส วั ฒ นาวดี ในส่ ว นของโลหะ ปราสาท ได้ทรงโปรดฯ ให้ช่างออกแบบ เมื่อ พ.ศ. 2389 คื อ ปี ที่ เ ริ่ ม การก่ อ สร้ า งเพื่ อ เป็ น พุ ท ธสถาน ปฏิ บั ติ ธ รรมและเผยแผ่ พ ระพุ ท ธศาสนาแห่ ง กรุ ง รัตนโกสินทร์ รายละเอียดมีในค�ำบรรยายในหนังสือ มหาวงศ์ มีฐานกว้าง 23 วา ตัวอาคารมี 7 ชั้น ลด หลั่นกัน ชั้นที่ 7 ส่วนบนสุดเป็นยอดปราสาทจตุรมุข บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ยอดปราสาทโดยทั้งหมดมี 37 ยอด ได้รับ การบูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ถือเป็นโลหะปราสาทหลังเดียวของโลกที่ยังคง สภาพสมบูรณ์และประดิษฐานอยูอ่ ย่างสง่างามจวบ จนปัจจุบันนี้

พระพุทธศาสนาแห่งภาคเหนือ โดยใช้เทคนิคการ ออกแบบจากวิศวกรผู้มีความรอบรู้และช�ำนาญใน งานพุทธศิลปกรรม ซึ่งได้น�ำเอาเจดีย์และวิหารมา ประยุกต์ใช้งานร่วมกันได้อย่างลงตัว เพราะชั้นล่าง จะเป็นห้องโถงโล่ง สามารถบรรจุผู้ปฏิบัติธรรมได้ไม่ ต�่ำกว่า 300 คน ส่วนด้านบนมีลักษณะเป็นเจดีย์รูป ทรงปราสาทศิลปะล้านนา แปลนฐานปราสาทเป็น รูปสีเ่ หลีย่ มมีลานประทักษิณโดยรอบ หลังคาปราสาท มุงด้วยแผ่นโลหะปิดทอง ลดหลั่นกัน 3 ชั้น ชั้นที่ 3 เป็นยอดปราสาทที่หุ้มด้วยทองค�ำส�ำหรับบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า แต่ละชั้นจะมีซุ้มจรน�ำ 4 ด้านที่กรุด้วยโลหะดุล ลวดลายปิดทองเรียงรายลดย่อเป็นช่อชั้นจากฐานขึ้น ไปจนถึงยอดสูงสุด งานปูนปั้นและประดับแต่งเป็นไป ตามแนวคติล้านนาประยุกต์ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จะถือได้ว่าเป็น “โลหะปราสาททรงล้านนาหลังแรก ของโลก” นับเป็นผลงานสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า ร่วมสมัยที่จะตกทอดเป็นมรดกของแผ่นดินไทยสืบไป ตราบนานเท่านาน

โลหะปราสาทหลังที่ 4 ก�ำลังด�ำเนินการก่อสร้าง ขึ้นที่วัดอรัญญวาส (พระธาตุศรีเมืองปง) อ.หางดง จ.เชี ย งใหม่ เพื่ อ ครอบเจดี ย ์ เ ดิ ม ซึ่ ง เป็ น ที่ บ รรจุ พระบรมสารี ริ ก ธาตุ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อ ายุ ก ว่ า ร้ อ ยปี และ ประดิษฐานพระพุทธเจ้า 28 พระองค์เพื่อการสักการ บูชาอันสูงสุดรวมทัง้ เป็นสถานปฏิบตั ธิ รรมและเผยแผ่

25


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ปราสาทในความหมายของชาวล้านนา “ปราสาท” มีความหมายโดยรวมว่าสิ่งปลูก สร้างในรูปเรือนยอดหรือมีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น มีการตกแต่งอย่างวิจิตร โดยทั่วไปหมายเอาว่าเป็น ที่อยู่ของเทวดาหรือกษัตริย์และราชวงศ์ ซึ่งไม่มีราย ละเอียดบันทึกไว้ว่ามีลักษณะแน่นอนอย่างไร แต่ เมื่อดูจากการใช้งานโดยทั่วไปในล้านนาแล้ว สามารถ จ�ำแนก โดยสรุปได้ดังนี้

อาจหมายถึง วิหาร วัด ซุ้มพระ หรือที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปอย่างใดอย่างหนึง่ ซึง่ ยังไม่ชดั เจน เพียงแต่ มีการใช้ค�ำ “ปราสาทพระ” ซึ่งแปลว่าที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป เป็ น ธั ม มาสนะ ปราสาทในแง่ ที่ ห มายถึ ง ธั ม มาสนะหรื อ สิ่ ง ปลู ก สร้ า งซึ่ ง พระภิ ก ษุ ใ ช้ เ ป็ น ที่ แสดงธรรมนั้น หมายเอาสิ่งที่สร้างเป็นอาคาร ซึ่งอาจ กล่าวโดยรวมได้ว่ามี 3 ส่วน คือ ส่วนฐานที่สูงจากพื้น ประมาณ 1 เมตร ส่วนที่เป็นห้องเทศน์กว้างและยาว ประมาณ 1 เมตร สูงประมาณ 1.70 เมตร กับส่วนยอด ที่ท�ำเป็นชั้นๆ สูงประมาณ 2 เมตร ทั้งหมดนี้มักสร้าง ด้วยไม้สัก มีการแกะสลักฉลุลายประดับเป็นรูปต่างๆ ตามที่เห็นว่างาม มีการลงรักปิดทองทาชาด นอกจาก

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป แม้เกือบจะไม่มี การกล่าวถึงปราสาทในแง่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธ รูปแต่ก็ได้มีศิลาจารึกว่า ใน พ.ศ.2046 มหาสามีเจ้า ญาณเทพ วัดบ้านดอนและสัตบุรุษ มีศรัทธาให้ทาน ทาสไว้กับวัดหนอง โดยระบุว่าข้าวของและทาสนั้น ไว้ให้ดูแลปราสาทพระ ซึ่ง “ปราสาทพระ” ในที่นี้

26


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

นี้ยังประกอบด้วยสิ่งประดับอย่างใบโพธิ์ ระฆัง ผ้า ปักลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ภิกษุผู้แสดงธรรมจะขึ้น หรือลงจากปราสาทธัมมาสนะโดยทางบันได ซึ่งมัก จะท�ำกรอบบันไดเป็นรูปพญานาค โดยส่วนหางของ นาคจะสัมผัสกับส่วนเข้าออกของธัมมาสนะ และ ส่วนอกของนาคจะแตะอยู่กับพื้น

ประทุนไม้ไผ่สานหุ้มด้วยผ้าขาว ซึ่งอาจมีสัปทนกาง ไว้ด้วยก็ได้ เป็ น ที่ ป ระทั บ ของกษั ต ริ ย ์ แ ละราชวงศ์ มี การกล่าวอ้างถึงปราสาทในฐานะเป็นที่ประทับของ กษัตริย์และราชวงศ์ในต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตอนที่กล่าวถึงนายสามเด็กย้อยหาทางให้ท้าวลก (พระเจ้าติโลกราช) ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ครั้งนั้น “...ยังมีเสนาเจ้าพระญาสามประหญาผู้ 1 ชือ่ นาย สามเด็กย้อย หื้อกินเข้ารองตั่งชู่ที่ มันบ่ซื่อแก่เจ้า ตน มันจิ่งค�้ำชูเจ้าท้าวลกกินเมืองเชียงใหม่ ... ยัง มีในวัน 1 ยามจักใกล้เที่ยงคืน นายสามเด็กย้อย เอาไฟเจาะปราสาทเจ้าพระญาสามประหญายัง เวียงเจ็ดลินเสียนับเสี้ยง...”

เป็ น ที่ ป ระทั บ ของเทวดาปราสาท ซึ่ ง ท� ำ หน้าที่เป็นที่ประทับของเทวดานี้ มีทั้งปราสาทแบบ ชั่วคราวและปราสาทแบบถาวร ปราสาทชั่วคราว ของเทวดาเห็นได้จากการท�ำพิธีที่ต้องการความถูก ต้อง แต่ไม่ให้ความส�ำคัญด้านรายละเอียดของสถาน ที่ เช่น ในการขึน้ ท้าวทังสีห่ รือสังเวยท้าวจตุโลกบาล นั้น ปราสาทหรือที่วางเครื่องสังเวยส�ำหรับมหาเทพ แต่ละองค์ เป็นแท่นไม้หรือชิ้นหยวกกล้วยที่ยื่น ออกไปจากแท่งไม้หรือหยวกกล้วยที่อยู่ตรงกลาง ปราสาทของท้าวปัชชุนเทพบุตร ซึ่งอัญเชิญมาใน พิธีขอฝนนั้น ก็เป็นแป้นไม้ตอกบนหลัก ส�ำหรับวาง เครื่องสังเวยเท่านั้น ทั้งนี้รวมไปถึงปราสาทหรือหอ พระอุปคุตเถรที่นิมนต์มาเพื่อระงับเหตุร้ายในงาน ฉลองกองการกุศลต่าง ๆ ก็เป็นกระบะคานหาม มี

เป็นทีบ่ รรจุศพ ตามธรรมเนียมเดิมของล้านนา แล้ว ศพที่อาจให้บรรจุในปราสาทหรือเมรุ เพื่อน�ำ ไปส่งสการได้นั้น จะต้องเป็นศพของเจ้านาย พระ เถระและบุคคลส�ำคัญของบ้านเมืองเท่านั้น ศพของ ประชาชนทั่วไปไม่นิยมบรรจุในปราสาท คงวางศพ บนแคร่คานหาม มีโครงไม้ไผ่สานที่เรียกว่า “แมว” ครอบและมีการประดับตามสมควรเท่านั้น 27


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

28


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เริ่มดำ�เนินการ หลั ง จากได้ แ บบการก่ อ สร้ า งแล้ ว จึ ง น� ำ แบบนั้ น เข้ า ที่ ป ระชุ ม กรรมการวัดและต่อมาจึงได้แจ้งข่าวแก่ศรัทธาประชาชนให้ทราบว่า วัดจะใช้แบบก่อสร้างนี้เป็นแนวทางในการบูรณะพระธาตุศรีเมืองปง โดย การสร้างอาคารนี้จะครอบพระธาตุศรีเมืองปงไว้ด้านในอีกที ต่อมาจึงได้ มีการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2549 ตรงกับวันขึ้น 1 ค�่ำ เดือน 12 (ก่อนหน้านี้มีโครงการจะสร้าง ศาลารอบพระเจดียเ์ ท่านัน้ และได้วางฤกษ์ครัง้ แรกไป เมือ่ วันที่ 1 สิงหาคม 2547 แต่การก่อสร้างยังไม่ทันได้เริ่ม) โดยมีเจ้าภาพอุปถัมภ์การก่อสร้าง ในเบื้องต้นจ�ำนวน 12 ท่าน เป็นปฐมมูลศรัทธาประกอบไปด้วย 29


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

30


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

• ตระกูลอินดวง และ ตระกูลสีขาว โดยคุณจตุรวัฒน์ คุณธัญวรัชญ์ อินดวง • ตระกูลว่องวานิช และ ตระกูลโปม่าร์ โดยคุณล้วน ชาย, คุณปาเมล่า ว่องวานิช • ตระกู ล รั ก ศรี อั ก ษร โดย คุ ณ วิ ชั ย -คุ ณ เอมอร รั ก ศรี อั ก ษร (ศรี วั ฒ นประภา), ตระกู ล บุ ญ ขั น ธ์ , ตระกูลตรีวิชาพรรณ • ตระกูลพงษ์เกียรติกอ้ งโดย คุณวีระวรรณ พงษ์เกียรติ ก้อง, คุณชาลิก แก้วโบราณ • ตระกูลนาคสุขโดยคุณอารีย์ คุณอัญชนา นาคสุข • ตระกูลวีรวัฒนพันธ์ ล้อท โดยคุณแม่โกศล วีรวัฒน พันธ์ • ตระกูลจันทร์โรจนพันธ์ และตระกูลเจียระไนรุง่ โรจน์ โดยคุณเสถียร-คุณวรวรรณา จันทร์โรจนพันธ์ พร้อมบุตรธิดา • ตระกูลเรือนค�ำศรี และศิษยานุศษิ ย์โดย แม่ชดี วงมณี เรือนค�ำศรี

• ตระกูลเพชรแสงใส และตระกูลเปียทองโดย คุณอนุชา-คุณรัชต์พิสุทธิ์ เพชรแสงใส • ตระกูลกฤติเกียรณ และตระกูลเสนีวงศ์ ณ อยุธยา โดย คุณยุทธพงศ์-คุณจารุยา กฤติเกียรณ • ตระกูลเกียรติดุริยกุล และตระกูลอินทรมงคลโดย คุณพีระพัฒน์-คุณชวลีย์ เกียรติดุริยกุล, • พ่อธงชัย แม่รสสุคนธ์ อินทรมงคล • ตระกูลสุวิทย์ศักดานนท์ โดย คุณอุดม สุวิทย์ศักดานนท์ • ตระกูลเชาวน์ประยูร และตระกูลเนตรศิลป์โดย คุณผ่องพรรณ เชาวน์ประยูร • พ่อปู่เทพเทวฤาษีเจ้าพ่อพญาขุนสามชน และศิษยานุศิษย์ โดย คุณประพันธ์ คณะปัญญา ต่อมา ได้มีการจัดทอดผ้าป่าสามัคคีหาทุนในการเริ่ม ด�ำเนินการก่อสร้างเป็นปฐมฤกษ์ด้วย จากนั้นได้มีการเตรียม คน-ตั้งคณะกรรมการดูแลและควบคุมการก่อสร้าง เมื่อได้เริ่ม งานจริงในปี พ.ศ.2549 (รายชื่ออยู่ท้ายเล่ม) 31


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

32


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

การสร้างถนนรถขึ้น .... ถนนเส้นแรกเดิมทีจริงๆ แล้วไม่ใช่เส้นที่ใช้งานใน ปัจจุบันแต่เป็นถนนเส้นที่ตัดขึ้นมาจากหมู่บ้านห้วยส้มป่อย หมู่ที่ 9 ซึ่งอยู่ด้านหลังเขา ห่างจากจุดที่ก่อสร้างพระธาตุ เจดีย์หลายกิโลเมตร ถนนนั้นใช้เวลาสร้างกันในตอนกลาง คืน และใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน โดยใช้รถแบคโฮเบิกทาง และ รถไถปรับตามอีกครัง้ มีนายกอบแก้ว อินเสาร์ ซึง่ เป็นลูกชาย ของพ่อครูประสิทธิ์ อินเสาร์ คหบดี มหาอุบาสกผูอ้ ปุ ถัมภ์วดั เป็นผูด้ ำ� เนินการเปิดถนนในสมัยนัน้ เมือ่ ปี พ.ศ.2536 ซึง่ เรา ได้ใช้เส้นทางนีด้ ำ� เนินการก่อสร้างพระธาตุเจดียจ์ นแล้วเสร็จ ต่อมาเมือ่ ปี พ.ศ.2538 ได้มกี ารตัดถนนจากบนเขาด้าน หลังพระธาตุเจดีย์ลงมาเชื่อมกับถนนทางด้านทิศตะวันตก ของวัด จึงได้ใช้เส้นทางนีใ้ นการขนวัสดุอปุ กรณ์ขนึ้ ไปด�ำเนิน การก่อสร้างโลหะปราสาท จนถึงชั้นที่ 3 33


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

34


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หลังจากนั้นปี พ.ศ.2553 ได้มีการตัดถนนเส้นใหม่ ขึ้นไป เป็นถนนเส้นที่ต�่ำกว่าถนนเส้นเดิมและมีระยะทางสั้น กว่าใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ซึ่งก็คือถนนเส้นที่ใช้เป็นทาง รถขึ้นสู่โลหะปราสาทในปัจจุบันนั่นเอง การตัดถนนเส้นนี้ ต้องใช้ความพยายามอุตสาหะเป็นอย่างมาก เพราะตลอด เส้นทางมีแต่โขดหินก้อนใหญ่ ต้องเจาะด้วยแชลง และใช้ ระเบิดไดนาไมเปิดทางขึ้นไปเกือบ 400 ลูก ซึ่งได้รับความ อนุเคราะห์เครื่องจักรจาก ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดล�ำธาร คอน สตรัคชั่น โดยนายมงคล ล�ำธาร พ่อก�ำนันประเสริฐ อินต๋า พ่อเลี้ยงวุฒิโชติ ปาแฮ พ่อเลี้ยงทวีศักดิ์ แก้วฟู พ่อเลี้ยงคะแนน สุภา และศรัทธาประชาชนชาวบ้านปงทุกท่าน ปี พ.ศ.2557 ได้มีการร่วมดันเทถนนคอนกรีตขึ้นไป โดยใช้แรงงานชาวบ้านทั้งหมด ใช้งบประมาณไป 2 ล้าน 5 แสน กว่าบาท พร้อมกับดึงไฟฟ้าขึ้นไปบนเขาและติดตั้งระบบไฟกริ่งให้แสงสว่างตลอดทาง ด้วยงบประมาณอีก 6 แสนกว่าบาท 35


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

36


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

การดำ�เนินการก่อสร้าง ในรอบสิบสองปีแรก ของโลหะปราสาท (พ.ศ.2549-2561)

• หลวงปู่พระครูพิศิษฐชโลปการ (หลวงปู่เกลี้ยง) วัดเนินสุทธาวาส จ.ชลบุรี • พระภาวนาธรรมาวิรัช วิ. วัดร�่ำเปิง ตโปทาราม • พระครูอาทรวิสุทธิคุณ เจ้าคณะอ�ำเภอหางดง • พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท)

สถาปนิก วิศวกร ช่าง คนออกแบบตกแต่ง คุมการ ก่อสร้าง • • • • • •

อาจารย์ ดร.พรศิลป์ รัตนชูเดช ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ ดร.กิติยา อุทวิ ที่ปรึกษาโครงการ อาจารย์ สายัณห์ เขื่อนแก้ว ที่ปรึกษาโครงการ นายธีระเดช เชาว์ดี วิศวกรที่ปรึกษา สย.4193 นายสุชัย สิริวรีกูล สถาปนิกผู้ออกแบบ ภสถ.4381 นายชัยยุทธ ประยูรศร สถาปนิกผู้ออบแบบ ภสถ. 4381 • นายก�ำพล ทาเขียว นายพันธ์ติ๊บ ปิ่นแก้ว นายจันทร์แก้ว ทาเขียว ช่างก่อสร้าง • นายปพน อ่าวสุคนธ์ ผู้ออกแบบการตกแต่งภายใน (interior designer) • พระครูอาชวปรีชา, นายสมศักดิ์ ขัติวงค์ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง

....... นับตั้งแต่การวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2549 และยกเสามงคล ในวันที่ 18 มกราคม 2550 เป็นต้น มา ก็ได้ด�ำเนินการก่อสร้างฐานราก ฐานแผ่ เทเสาและคาน ชั้นที่ 1โดยชั้นนี้ใช้เวลานาน 1 ปี ด้วยเหตุ 2 ประการ ประการแรก คือ งบประมาณมีจ�ำกัด ซึ่งในการเริ่ม โครงการครั้งแรกมีเพียง 160,000 บาท จากนั้นจึงได้จัด ทอดผ้าป่าในวันยกเสามงคลชั้นที่ 1 ได้งบประมาณเพิ่มอีก 800,000 กว่าบาท จึงค่อยๆ ด�ำเนินงานต่อไป ชั้นนี้หมดค่า ก่อสร้างไป 1 ล้านกว่าบาท ประการที่สองคือ พื้นที่ก่อสร้างทางด้านทิศใต้และ ตะวันออกของพระธาตุเจดีย์นั้นตกเขา ต้องท�ำเสาและคาน ยื่นออกไปเพื่อให้ได้พื้นที่ตามต้องการ จึงต้องใช้เวลาใน การท�ำเสาคาน และพื้น ประกอบกับช่วงฤดูฝนพอดี ถนน ลื่น การขึ้นลงล�ำบาก การก่อสร้างจึงใช้เวลานานกว่าปกติ ก่อสร้างฐานราก ต้องแข่งกับฝน เพราะเสี่ยงกับถนนลื่น รถมิกซ์ รถเครน ขึ้นไม่ได้ ดินพังทลายบ้าง

* ลงเสาเอก เมื่อวันที่ ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2550 โดย... • หลวงปู่พระพรหมมงคล วิ. (หลวงปู่ทอง สิริมงฺคโล) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรี จอมทองวรวิหาร 37


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ในวันที่ 5 มกราคม 2551 ได้จัดพิธีเทเสามงคลชั้นที่ 2 ขององค์โลหะปราสาท ซึง่ มีจำ� นวน 36 ต้น พร้อมกับจัดทอด ผ้าป่าสามัคคีสมทบทุนอีกครั้ง โดยได้ด�ำเนินการเทเสาจน ครบทั้งหมด 36 ต้น พร้อมกับเทพื้นอาคารชั้นที่ 2 ตอนนั้น งบประมาณก่อสร้างมีไม่มาก จึงปล่อยทิ้งไว้อีกหลายเดือน จากนั้นในปี 2552 ได้มีการเทบันไดขึ้นทั้ง 4 ทิศ และ ปล่อยทิ้งไว้หลายเดือนเช่นเดิมตามงบประมาณที่มีจ�ำกัด ต่อมาได้มีการจัดงานท�ำบุญถวายทานเรือส�ำเภาเงินส�ำเภา ทองบนเขาที่ตั้งโลหะปราสาทจึงระดมทุนได้อีกครั้ง และได้ เปลี่ยนแผนจากการท�ำคานชั้นที่ 3 มาก่อผนังชั้นที่ 1 แทน จนเสร็จครบทั้ง 4 ด้านในปี 2553 ต่ อ มาในปี 2554 ด้ ว ยเหตุ อั น น่ า อั ศ จรรย์ ที่ ท� ำ ให้ คุณธรรมนูญ กษิรสกุล และครอบครัว เจ้าของบริษัทรับ เหมาก่อสร้างที่จังหวัดชลบุรี ได้มาท�ำบุญที่วัด เกิดความ ศรัทธาจึงได้ให้ยืมนั่งร้านมาด�ำเนินการก่อสร้างงานที่ค้าง ต่อ คือตั้งแต่การท�ำคานชั้นที่ 3 เรื่อยไปจนถึงเสายอดโลหะ ปราสาท โดยใช้เวลาก่อสร้าง 1 ปี โครงสร้างเสาและคาน จึงแล้วเสร็จ ในปี 2555 ได้ท�ำการเทเสาปูนปลายยอดปราสาทและ หาทุนก่อสร้างด้วยการทอดผ้าป่าลอยผ้า รวมทั้งได้ด�ำเนิน การฉาบผนังชั้นที่ 1และก่อผนังชั้นที่ 2 จนครบทั้ง 4 ด้าน ปี 2556 ฉาบผนังชั้นที่ 2 และก่อซุ้มประตูท้ัง 4 ทิศ แล้วเสร็จในปี 2557 38


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

39


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

40


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ปี 2558 ได้สร้างปราสาทบริเวณทั้ง 4 ทิศ และก่อผนังตัว ปราสาทใหญ่ ติดตั้งปลียอดโลหะในแต่ละชั้น ปี 2559 ได้ยกปลียอดทองค�ำ ขึ้นไปประดิษฐาน ก่อฉาบ ตัวปราสาทใหญ่และในคืนวันวิสาขบูชาได้ท�ำพิธีเททองหล่อปลี ยอดปราสาทเฟื่องอีก 28 ยอด จากนั้นได้สร้างปราสาทเฟื่อง ล้อมรอบปราสาทใหญ่อีก 28 องค์ พร้อมติดตั้งปลียอดโลหะ แล้วเสร็จปลายปี 2559 และทาสีรองพื้นตั้งแต่เรือนยอดลงมา ถึงชั้นที่ 3 ปี 2560 ได้ท�ำการสร้างก�ำแพงแก้วทั้ง 4 ทิศ จนแล้วเสร็จ พร้อมกับทาสีรองพื้นปราสาทชั้นที่ 2 ปัจจุบันได้ปั้นรูปพญา ราชสีห์ จ�ำนวน 8 ตน และพญาช้างค�้ำ 8 เชือกประดับชั้นที่ 1 โดยนายช่างปัญญา กองอาษา และก�ำลังติดตั้งเพดานและระบบ ไฟฟ้า ติดตั้งบานประตู ชั้นที่ 1 เสริมแต่งเสาชั้นที่ 2 วั น ที่ 16 เมษายน 2560 ได้ ป ระกอบพิ ธี เ ททองหล่ อ พระพุ ท ธนวบพิ ต รจั ก รวั ต ติ ม งคล จ� ำ นวน 17 องค์ เพื่ อ ประดิษฐานยังซุ้มจรน�ำองค์โลหะปราสาท ปี 2561 เดือนมกราคม ได้อัญเชิญพระพุทธนวบพิตรจักร วัตติมงคล (พระประจ�ำซุ้มจรน�ำ) จากโรงหล่อ จ�ำนวน 17 องค์ มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในศาลาใหญ่ และได้มีการอบรม สมโภชระหว่าง วันที่ 1-3 มกราคม 61 ทีผ่ า่ นมา ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม 2561 ได้ท�ำการหล่อยอดฉัตรทองค�ำและพระพุทธ รูปทองค�ำ น�้ำหนักรวม 231 บาท เพื่อประดับยังยอดฉัตรสูงสุด ขององค์โลหะปราสาท 41


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

วั น ที่ 16 เมษายน พ.ศ.2561 ได้ ป ระกอบพิ ธี เ ท ทองหล่อพระพุทธนวบพิตรจักรวัตติมงคล จ�ำนวน 17 องค์ เพื่อประดิษฐานยังซุ้มจรน�ำองค์โลหะปราสาท ในกลางปี 2561 ได้ดำ� เนินการติดตัง้ กระจกสเตนกลาส และท�ำฝ้าเพดาน เพ้นท์สีเพดาน เริ่มทาสีภายในองค์โลหะ ปราสาทชั้นที่ 1 มีการติดตั้งราวสแตนเลส ส�ำหรับแขวน

ระฆังจ�ำนวน 144 ลูก รอบองค์ปราสาท และปัจจุบันก�ำลัง แก้ไขปัญหาน�้ำรั่วซึมจากฝ้าเพดานซึ่งท�ำให้เพดานด้านใน ตัวปราสาทได้รับความเสียหาย ในส่วนโครงสร้างด้านนอก ก�ำลังวางแผนสู่งานหุ้มองค์ปราสาทด้วยโลหะประเภททอง เหลืองและจะด�ำเนินการบูรณะพระเจดีย์ศรีเมืองปงองค์ เดิมที่อยู่ด้านในด้วย 42


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ฉัตรเอก ๙ ชั้น รูปทรงแปดเหลี่ยม ใช้เทคนิคดุน ลายและฉลุลาย ท�ำด้วยสแตนเลส ลงรักปิดทอง ยอดสูงสุดหล่อด้วยทองค�ำหนัก ๒ กิโลครึ่ง ประดับด้วยอัญมณีและลูกแก้วจุยเจีย ส�ำหรับติดตั้ง บนยอดสูงสุดขององค์โลหะปราสาท 43


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พ.ศ.2549

พ.ศ.2550 พ.ศ.2550

พ.ศ.2552

พ.ศ.2551

พ.ศ.2553-54

44


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พ.ศ.2557

พ.ศ.2558

พ.ศ.2559

พ.ศ.2560

พ.ศ.2561

45


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ความหมายในส่วนโครงสร้างโลหะปราสาท ทิพยวิมานคำ� แห่งเมืองปงยั้งม้า มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนา มี หลังคาซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น มีซุ้มจรน�ำทั้ง 4 ชั้น 4 ด้าน มียอดทั้งหมด 120 ยอด

• พระสรณังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลก • พระทีปงั กรพุทธเจ้า ผูท้ รงพระปัญญาสว่างไสว • พระโกณฑั ญ ญะพุ ท ธเจ้ า ผู ้ ท รงเป็ น พระ ประมุขของหมู่ชน • พระมงคลพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบุรุษประเสริฐ • พระสุมนะพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นปราชญ์ มีพระทัยดี • พระเรวัตพุทธเจ้า ผู้ทรงเพิ่มพูนความยินดี • พระโสภิตพุทธเจ้า ผูท้ รงสมบูรณ์ดว้ ยพระคุณ • พระอโนมทั ส พุ ท ธเจ้ า ผู ้ ท รงเยี่ ย มยอดใน หมู่ชน • พระปทุมพุทธเจ้า ผู้ทรงท�ำโลกให้สว่าง

หลังคา 3 ชั้น หมายถึง โครงสร้างหลักของ พระพุทธศาสนา อันประกอบด้วย พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์สว่ นยอดสุดเป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ ซุ้มปราสาท 28 ซุ้ม หมายถึง พุทธบัลลังก์ หรือ สถานทีป่ ระดิษฐานพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ อันได้แก่ • พระตัณหังกรพุทธเจ้า ผู้เป็นวีรบุรุษยิ่งใหญ่ • พระเมธังกรพุทธเจ้า ผู้มีพระยศใหญ่

46


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

• พระนารทพระพุ ท ธเจ้ า ผู ้ ท รงเป็ น สารถี ประเสริฐ • พระปทุมตุ ตระพุทธเจ้า ผูท้ รงเป็นหลักของสัตว์ • พระสุเมธพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบ • พระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เลิศในโลกทั้งปวง • พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้เป็นชนประเสริฐ • พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงประกอบด้วย พระกรุณา • พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงขจัดความมืด • พระสิทธัตถะพุทธเจ้า ผู้ไม่มีบุคคลเสมอใน โลก • พระติสสะพุทธเจ้า ผูป้ ระเสริฐกว่านักปราชญ์ ทั้งหลาย

• พระปุสสะพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานพระธรรม อันประเสริฐ • พระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้ • พระสิขพี ทุ ธเจ้า ผูเ้ ป็นพระบรมศาสนาเกือ้ กูล แก่สัตว์ • พระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานความสุข • พระกกุสันธะพุทธเจ้า ผู้น�ำของหมู่สัตว์ • พระโกนาคมนะพุทธเจ้า ผู้ทรงละความชั่ว อันเป็นข้าศึก • พระกัสสปพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยสิริ • พระโคตมะพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าในวงศ์ ศากยะ

47


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

สัตตภัณฑ์ หรือ สัตบริภัณฑ์ หมายถึง ทิว เขาทั้ ง 7 ที่ ล ้ อ มรอบเขาพระสุ เ มรุ อั น ได้ แ ก่ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัศ เนมินธร วินตกะ และ อั ส กั ณ ตามคติ จั ก รวาลของไทยที่ ไ ด้ รั บ มาจาก อินเดียในอดีต ส�ำหรับในล้านนา เป็นค�ำเรียกเชิง เทียนรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ท�ำด้วยไม้แกะสลักปิด ทองงดงามมีที่ส�ำหรับปักเทียนไล่จากยอดถึงฐาน ทั้งสองด้านรวม 7 ที่ และถือว่าเป็นเครื่องสักการะ ชั้นสูง บันได 4 ทิศ กล่าวคือ รสธรรมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ลึกซึ้งกินใจเป็นที่ซาบซึ้งแก่คนและ เทวดาทั้งหลาย เป็นที่น่าใคร่ชวนใจเข้าไปสดับ ตรับฟังยิ่งนัก โลกุตระภูมิ 31 อันประกอบด้วย เทวดา 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน ล้อมรอบปราสาทและฐาน

มรรค 8 ประการ คือ สัมมาทิฐิ, สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันโต, สัมมาอาชีโว, สัมมา วายาโม, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ ทางขึ้น - ลง 1 ทาง นัยยะแห่งธรรมะเอการิ ยมรรค คือ มัชฌิมปฎิปทา (ทางสายกลาง) ยอดฉัตร จ�ำนวน 60 ยอด คือ นัยยะแห่งการ เสด็จขึ้นครองราชย์ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ช่อดอกไม้ทิพย์ จ�ำนวน 60 ยอด คือ นัยยะ แห่งการแสดงความจงรักภักดี ที่มีต่อพระเจ้าอยู่หัว ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ทรงครองราชย์ ช้างค�้ำจ�ำนวน 8 เชือก คือ นัยยะที่แสดงถึง ชัยชนะของพระพุทธเจ้าทั้ง 8 ประการ ช้างเอราวัณ 8 เชือก คือ นัยยะที่แสดงให้ รู้ว่า ปราสาทหลังนี้ ไม่ได้เป็นเพียงที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุและอรหันตธาตุเท่านั้น แต่ยัง เป็นที่สถิตชุมนุมของเหล่าเทพยดา อินทร์ พรหม ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุจักรวาลนี้ด้วย

ฐาน 4 เหลี่ยม นัยยะแห่งธรรมะจตุราริยสัจ 4 อันประกอบด้วย ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ฐาน 8 เหลี่ยม นัยยะแห่งธรรมะอัฏฐาริย

48


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

49


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

50


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

51





โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ประวัติวัดบ้านปง (อรัญญวาส) และชุมชนบ้านปง วัดบ้านปง เป็นชื่อที่เรียกตามชื่อของหมู่บ้าน คือ บ้าน ปง (ค�ำว่า “ปง” ภาษาเหนือหมายถึง ที่ริมฝั่งน�้ำ ที่ลุ่มน�้ำ ขัง) ตัววัดตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบเชิงเขามีภูเขาล้อมรอบ และ มีแม่น�้ำท่าช้างไหลผ่านบริเวณด้านหน้าวัด ท�ำให้บริเวณนี้มี ลักษณะเป็นแอ่ง หรือปลักบริเวณรอบริมน�้ำ ซึ่งมักมีเกลือแร่ ที่สัตว์ต่างๆ จะมาหากินกัน อันมีความสอดคล้องกับต�ำนาน พืน้ บ้านแถบนี้ เรือ่ ง “กวางค�ำ” ทีเ่ จ้านายฝ่ายเหนือขีม่ า้ ไล่ลา่ กวางสีทองผ่านมาทางนี้ แล้วต้องมีการหยุดพักตามรายทาง ตรงจุดต่างๆ ของแต่ละหมู่บ้านที่กวางค�ำวิ่งผ่านขึ้นไปจนถึง เขตอ�ำเภอสะเมิง เมื่อผ่านมาบริเวณบ้านปงนี้ก็จะหยุดพัก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านปงยั้งม้า” (ยั้ง=จอด,พัก) คือเป็นจุดพักม้า พักการเดินทางในครั้งอดีต

สันนิษฐานว่าวัดบ้านปง สร้างขึ้นในสมัยพระครูบา จินนา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2386 (ประวัติวัดทั่วราช จักร เล่มที่ 10) เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายมีพื้นที่ใน อดีตประมาณ 7 ไร่ 2 งานทิศเหนือติดกับล�ำแม่น�้ำท่าช้างทิศ ใต้ติดกับที่ดินของประชาชนทิศตะวันออกติดกับที่ดินของ ประชาชน และทิศตะวันตกติดกับเขตป่าสงวน วัดบ้านปงอยู่ในเขตอ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากประวั ติ ม หาดไทยส่ ว นภู มิ ภ าคจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ได้ กล่าวถึงประวัติการปกครองในเขตนี้ไว้ว่า อ�ำเภอหางดง เมื่อแรกตั้งขึ้นใน “ร.ศ.120” (ตรงกับ พ.ศ.2445) ยังเรียก ว่า “แขวงแม่ท่าช้าง” ซึ่งมีบ้านเรือนไม่มากนัก มีพญาโย เจ้าน้อย และพระยาประจักษ์เป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อเจ้า 55


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อวัดจาก “วัดบ้านปง” มาเป็น “วัดอรัญญวาส” มาตั้งแต่ครั้งที่ได้รับพระราชทาน วิ สุ ง คามสี ม า เมื่ อ พ.ศ.2498 ด้ วยฝ่ า ยบริ ห ารงานการ ปกครองคงเห็นว่าบริเวณวัดติดกับเขาและอยูใ่ นป่า จึงให้ชอื่ ว่าวัด “อรัญญวาส” เป็นชื่อทางการ อันแปลว่า วัดในป่า ซึ่งมีความสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศตามความเข้าใจ ของภาษาภาคกลาง

ผูค้ รองนครเชียงใหม่ (ซึง่ ขณะนัน้ คือ เจ้าอินทวโรรสสุรยิ วงษ์ พ.ศ.2442-2452) กล่าวกันว่า ในสมัยก่อน เมื่อเจ้านายนคร เชียงใหม่เดินทางไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยใช้ช้างใช้ม้าเป็น พาหนะ มักต้องมาข้ามล�ำน�้ำสายหนึ่งซึ่งไหลผ่านท้องที่เป็น ประจ�ำหรือใช้เป็นที่พักช้าง จึงเรียกล�ำน�้ำนั้นว่า “แม่ท่า ช้าง” และเรียกนามแขวงแม่ท่าช้างตามชื่อล�ำน�้ำดังกล่าว ใน พ.ศ.2457 (ตรงกับยุคของเจ้าแก้วนวรัฐ พ.ศ. 2454-2482) ทางการได้เปลี่ยนชื่อจาก แขวงแม่ท่าช้างเป็น อ�ำเภอหางดง ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยได้อธิบายถึงที่มา ของชื่อ “หางดง” ไว้ว่า เพราะในท้องที่มี “ดงกรรม” ดง หนึ่งเป็นดงไม้สัก (ดงกรรม หมายถึง บริเวณป่าทึบที่ชาว บ้านใช้ท�ำพิธีเลี้ยงผี) และที่ว่าการอ�ำเภอตั้งอยู่ท้ายดงกรรม ดังกล่าว ออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 1,500 เมตร ค�ำว่า “หาง” หมายความว่า “ท้าย” คืออยู่ท้ายดง กรรม

วัดบ้านปง (อรัญญวาส) ถือได้วา่ เป็นวัดทีม่ คี วามส�ำคัญ อีกแห่งหนึ่งในแง่ของประวัติศาสตร์สังคมและการเมือง การปกครองของอาณาจักรล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่บทบาททางการเมืองการปกครองและ วัฒนธรรมจากส่วนกลางและจากพม่าก�ำลังแข่งขันกันอยู่ใน ภาคเหนือขณะนั้น โดยได้มีการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ จากหลักฐานชิ้นส�ำคัญของชุมชน นั่นคือ งานจิตรกรรมฝา ผนังในวิหารของวัดบ้านปงแต่ดั้งเดิม เมื่อปีพุทธศักราช 2529-2530 โดย ศ.ม.ล.สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ อาจารย์ ประจ�ำคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท�ำให้เรา ทราบว่า วัดบ้านปงเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีงานพุทธศิลป์อันทรง คุณค่าทั้งในด้านสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนัง ถึง แม้ว่าจะเป็นเพียงวัดเล็กๆ ในชนบท แต่งานพุทธศิลป์ที่ สรรค์สร้างออกมานั้น บ่งบอกได้ถึงความศรัทธาในพระพุทธ ศาสนาของคนในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะงานจิตรกรรม ฝาผนังในวิหาร ได้ใช้สีคราม (น�้ำเงิน) ตัดกับสีด�ำวาดรูปเป็น

ต่อมาใน ในสมัยรัชกาลที่ 5 องค์การคณะสงฆ์ส่วน กลาง น�ำโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ วโรรส ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อปรับปรุง “การปกครองคณะ สงฆ์” ทั่วประเทศให้สอดคล้องกับทางฝ่ายบ้านเมือง ซึ่ง ปรากฎชื่อ “วัดบ้านปง” ขึ้นอยู่กับหมวดอุโบสถวัดหนอง ควาย ขึ้นกับแคว้นบ้านปง ขึ้นกับเชียงใหม่ นิกายเชียงใหม่ เช่นเดียวกับวัดบ้านเกว๋น (วัดต้นเกว๋น) ในท้องที่อ�ำเภอ หางดงปัจจุบัน 56


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

งานจิตรกรรมฝาผนังในวิหารเดิมได้ใช้สีคราม ซึ่งเป็นสีมีราคาแพงต้องน�ำเข้าจากจีน สันนิษฐานว่าน่าจะมีคหบดีและพ่อค้าชาวพม่า จีน อุปถัมภ์การก่อสร้างวิหาร

ส่วนใหญ่ ซึ่งในสมัยนั้นสีคราม เป็นสีที่มีราคาแพง ต้องน�ำเข้า จากประเทศจีน จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดบ้านปง น่าจะมีคหบดี ทั้งที่อยู่ในชุมชนและคหบดีพ่อค้าชาวพม่า ชาวจีน ที่นับถือ พระพุทธศาสนาได้สัญจรเดินทางมาค้าขายในแถบนี้ให้การ อุปถัมภ์การก่อสร้างวิหาร เพราะล�ำพังเพียงชาวบ้านในชุมชน คงจะไม่มีก�ำลังสร้างวัดได้ขนาดนี้

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งว่า วิหารหลังเก่าได้ ถูกรื้อลงตามระบบสังคมทุนนิยมโดยได้มีการสร้างวิหาร หลั ง ใหม่ แ ทนในบริ เ วณเดิ ม ไปแล้ ว ท� ำ ให้ ห ลั ก ฐานทาง ประวัตศิ าสตร์ชนิ้ ส�ำคัญของประเทศชาตินไี้ ด้สญ ู หายไปด้วย อย่างไม่อาจเรียกคุณค่าคืนกลับมาได้อีกเลย 57


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

งานจิตรกรรมฝาผนังในวิหารเดิมได้ใช้สีคราม ซึ่งเป็นสีมีราคาแพงต้องน�ำเข้าจากจีน สันนิษฐานว่าน่าจะมีคหบดีและพ่อค้าชาวพม่า จีน อุปถัมภ์การก่อสร้างวิหาร

58


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

รายนามเจ้าอาวาส

พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน 59

1. พระครูบาจินนา 2. พระอธิการกันธา 3. พระครูบาโปธา 4. พระอธิการจันทร์ 5. พระอธิการหมวกคุโณ 6. พระอธิการค�ำ 7. พระอธิการสวัสดิ์ 8. พระอินตาสุภาจาโร 9. พระสุรพลกิติกา 10. พระอธิการบุญยัง 11. พระมหาดวงจันทร์จนฺทโชโต (พ.ศ.2530 - 2540) 12. พระปันอิทฺธิญาโณ รก. (พ.ศ.2540 - 2542) 13. พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) (พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน)


9

5

6

4

10

15

8

2

11 14

3

7 1

12

13

16

17


20

แผนผังวัดอรัญญวาส (บ้านปง) 19

18

1. ซุ้มประตูโขงและก�ำแพงเมืองโบราณ 2. วิหาร 3. บ่อนํ้าศักดิ์สิทธิ์ 4. ศาลาต้อนรับอาคันตุกะ 5. หอธรรมนิทัศน์ 6. ศาลาพระสีวลี 7. วิหารหลวงพ่อทันใจ 8. อุโบสถ 9. หอฉัน 10. กุฏิสงฆ์ 11. ศาลาการเปรียญ 12. ศาลาท้าวจตุโลกบาล 13. ศาลาศีลและประตูสวรรค์ 14. ศาลาพระศรีวินายะกา 15. หอพระเสื้อเมือง 16. หอครูหลวง 17. ซุ้มประตูชัยมงคล 18. ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติศรีเมือง 19. ศาลาพระอุปคุตทันใจ 20. โลหะปราสาททิพยวิมานค�ำ (บนเขา)


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

62


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ถาวรวัตถุที่ส�ำคัญภายในวัด 1. ซุม้ ประตูโขงและก�ำแพงเมืองโบราณ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2555 โดยพระอธิการณัฐชัย

อภิชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) เป็นผู้ออกแบบ และ ช่างก�ำพล ทาเขียว เป็นผู้รับเหมา ก่อสร้างช่างบรรณวัฒน์ จ่อวาลู เป็นผู้ปั้นปูนสด ติดลวดลายประดับ โดยมีลักษณะเป็น รูปทรงชฎาหรือกระโจมหัวของกษัตริย์ล้านนา ประดับด้วยยอดฉัตร แก้วกระจกหลากสี ประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มจรน�ำแต่ละชั้น มีทางลอดผ่านตรงกลางเป็นทางเข้า - ออก ของวัด ทาสีแดงด�ำเลียนแบบการลงรักลงชาดแบบสมัยโบราณ ตามนิมิตของเจ้าอาวาส มี บานประตูเปิด-ปิด กรุด้วยไม้สัก ประดับด้วยเครื่องทองเหลืองสไตล์อินเดีย ออกแบบและ ถวายเครื่องประดับโดย ร้านบ้านทองเหลือง ในนาม Mr.Yan Shibing และคุณพรพิมล ศรีสมุทร การได้ลอดผ่านซุ้มประตูโขงเข้ามาในวัด ถือเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต 63


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

64


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

2. วิหาร รูปทรงศิลปะล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นในสมัย

ของพระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต อดีตเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.2530 มีขนาดความกว้าง 9 x 20 เมตร มีฐานชุกชี เป็นทีป่ ระดิษฐานพระพุทธรูป มีนามว่า “หลวงพ่อสุข” ซึง่ เป็นประธานเก่าแก่ของวัด ผูค้ นมักจะมากราบไหว้ขอ พรให้ครอบครัวอยู่ร่มเย็นเป็นสุขเป็นประจ�ำ และยังมี ภาพจิตกรรมฝาผนัง เรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร ชาดกที่งดงาม และยังใช้เป็นที่ท�ำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น ของพระภิกษุสามเณรภายในวัดอีกด้วย 65


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

3. บ่อน�้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน�้ำเก่าแก่ คู่กับวัดมานาน ที่ ขจัดปัดเป่าเสนียดจัญไรหรือคุณไสย ชาวบ้านสามารถมา เคยใช้ส�ำหรับอุปโภคบริโภคภายในวัดมาก่อน ปัจจุบันได้รับ การบูรณะขึ้นมาใหม่ ในการนี้ ได้มีการจารึกแผ่นยันต์มนต์ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนก้อนอิฐ แล้วโยนลงไปในก้นบ่อ เพื่อแช่เป็น มนต์ยนั ต์ทใี่ ห้คณ ุ ลักษณะพิเศษทางด้าน เมตตามหานิยม และ

66

อธิษฐานขอน�ำ้ ในบ่อน�ำ้ เก่าแก่แห่งนี้ ไปดืม่ กิน หรือประพรม เพื่อขจัดทุกข์โศกโรคภัย หรือน�ำไปประพรมบ้านเรือนที่อยู่ อาศัยให้เป็นสิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุข ตามคติความเชื่อความ ศรัทธาของแต่ละบุคคล


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หอธรรมนิทัศน์

4. ศาลาต้อนรับอาคันตุกะ เป็นอาคารชั้นเดียว ศิลปะล้านนา พระหินหยก (พม่า)

ผสมไทลื้อ และเป็นที่ประดิษฐานพระหินหยก (พม่า) ที่แกะสลัก เป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบรอบ 165 ปี ของวัดบ้านปง ศาลานี้เป็น ส�ำนักงานของเจ้าคณะต�ำบลบ้านปง จึงใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะ ทั้ ง ส่ ว นของพระผู ้ ใ หญ่ แ ละฆราวาสที่ ม าติ ด ต่ อ ธุ ร ะกั บ ทางวั ด นอกจากนี้ ยังเป็นทั้งที่พักรับรอง มุมหนึ่งเป็นที่สนทนาธรรม ฉัน น�้ำปานะ ดื่มน�้ำชากาแฟส�ำหรับฆราวาส

5. หอธรรมนิทัศน์ (หอพิพิธภัณฑ์กลางน�้ำ) รูปแบบทรงยุ้งข้าว

ศาลาต้อนรับอาคันตุกะ

ล้านนา ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดยพระอธิการณัฐชัย อภิ ชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) เมื่อปีพุทธศักราช 2551 เป็นที่เก็บ รักษาหีบพระธรรมและธรรมมาส ที่ถูกค้นพบในถ�้ำบริเวณเหมือง หินเก่า บ้านทุ่งโป่ง คาดว่ามีอายุไม่ต�่ำกว่า 300 ปี และยังใช้เป็น ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกที่สามารถแจ้งความจ�ำนงขึ้นไปศึกษาได้ 67


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ศาลาพระสีวลี 68


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

6. ศาลาพระสีวลี สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2553 เป็นศาลาไม้มุง

ด้วยกระเบื้องดินขอล้านนาเป็นงานศิลปะล้านนาประยุกต์ผสมศิลปะจีน (เก๋งจีน) รูปทรงแปดเหลีย่ มหลังคาสองชัน้ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระสีวลี ซึง่ ชาวพุทธได้ให้ความเคารพบูชา และเชื่อกันว่า เป็นพระผู้มีลาภมาก เมื่อ ผู้ใดได้สักการบูชาแล้วจะมีโชคลาภ มั่งมีศรีสุข การสักการบูชาพระสีวลี มีคติธรรมสอนใจเรื่องการให้ทาน และการแสวงหาทรัพย์ ผู้ที่ให้ทานเป็น ประจ�ำ ย่อมได้รับความรักความเคารพนับถือยกย่องจากคนโดยทั่วไป เพราะเป็นคนมีน�้ำใจไมตรีต่อผู้อื่น ถ้าเราอยากได้สิ่งใดจากคนอื่น เรา เองต้องเป็นผู้ให้สิ่งนั้นก่อน ด้วยอานิสงค์ที่ท่านเป็น “ผู้ให้” ท่านจึงจะ ได้กลายเป็น “ผู้รับ” ในที่สุดดังเช่นพระสีวลีที่ท่านได้สั่งสมบุญบารมี มาหลายภพชาติ โดยเฉพาะการให้ทาน ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญใน ลาภ ไม่อดอยาก เพราะโภคทรัพย์โชคลาภ ที่ได้มาไม่ใช่ฟ้าบันดาล หาก มาจากความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ มีความพอเพียงกับ สถานะที่เป็นอยู่ จึงจะกลายเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติในที่สุด 69


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

วิหารหลวงพ่อทันใจ 70


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

7. วิหารหลวงพ่อทันใจ สร้างขึ้นในสมัยของพระครู

อาชวปรีชา เมื่อปีพุทธศักราช 2558 รูปทรงศิลปะ ล้านนา โดยมีวิหารของวัดต้นเกว๋น อ.หางดง และ วั ด ปราสาท อ.เมื อ ง จ.เชี ย งใหม่ เป็ น แม่ แ บบใน การก่ อ สร้ า ง วิ ห ารเป็ น ไม้ สั ก ทั้ ง หลั ง โดยได้ รั บ ความอุปถัมภ์จากตระกูลศรีวัฒนประภาและตระกูล บุ ญ ขั น ธ์ ส นั บ สนุ น งบประมาณในการก่ อ สร้ า ง ครอบครัวพ่ออินศวร แม่วัฒนา วงศ์แสนใจ ได้บริจาค ไม้สัก และญาติโยมชาวบ้านปงและศรัทธาอื่นๆได้ช่วย กันบริจาคเงินรวมทั้งอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ภายในเป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐาน “พระเจ้ า ทั น ใจ” พระพุทธรูปปูนปั้นด้วยมือท�ำส�ำเร็จภายในวันเดียวที่ มีพทุ ธลักษณะงดงามเปีย่ มเมตตาและมีความศักดิส์ ทิ ธิ์ มาก จนได้รับการขนานนามว่า “พระพุทธรูปส�ำเร็จ ทันใจ” หรือ “หลวงพ่อทันใจ” พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2547 ในโอกาสครบรอบ 161 ปี ของวัดบ้านปง ปัจจุบันมีผู้คนจากทุกทั่วสารทิศเดิน ทางมากราบไหว้ขอพรด้วยเชื่อว่าหลวงพ่อทันใจวัด บ้านปงมีความศักดิ์สิทธิ์และสามารถอ�ำนวยพรตาม ที่อธิษฐาน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่บุคคลนั้นๆ ได้ท�ำหรือสั่งสมไว้เป็นเสบียงบุญมาก่อน ประกอบกับ คุณความดีและความเพียรพยายามอันมีสัมมาทิฐิใน ปัจจุบันด้วย

พระพุทธรูปส�ำเร็จทันใจ” หรือ “หลวงพ่อทันใจ 71


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

อุโบสถ 72


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

อุโบสถ

9. หอฉัน รูปทรงล้านนาประยุกต์ ออกแบบและสร้างขึ้น

8. อุโบสถ รูปทรงศิลปะล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นในสมัย

ในสมัยของพระอธิการณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอาชว ปรีชา) เมื่อ พ.ศ.2548 ใช้เป็นสถานที่ประกอบอาหารและ ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณร

ของพระอธิการบุญยัง เมื่อ พ.ศ.2526 มีขนาดความกว้าง 6 x 10 เมตร ภายในอุ โ บสถห้ อ งโถงโล่ ง มี ฐ านชุ ก ชี ประดิษฐานพระพุทธรูป ใช้เป็นที่ท�ำสังฆกรรมของพระสงฆ์ เช่น การอุปสมบท การฟังพระปาฏิโมกข์ เป็นต้น อุโบสถ ของวัดบ้านปงปกติจะปิดไว้ตลอดและไม่อนุญาตให้สตรีขึ้น ไปด้วยเป็นพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ จิ ในหมูส่ งฆ์ จะเปิดใช้กต็ อ่ เมือ่ มีการ ท�ำสังฆกรรมเกิดขึ้นเท่านั้น

10. กุฏิสงฆ์ รูปทรงล้านนาประยุกต์ ออกแบบและสร้าง

ขึ้นในสมัยของพระอธิการณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอา ชวปรีชา) เมื่อ พ.ศ.2548 มีขนาดความกว้าง 7 x 24 เมตร ใช้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร 73


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

74


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

11. ศาลาการเปรียญ รูปทรงศิลปะล้านนาประยุกต์ สร้าง

ขึ้นในสมัยพระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต เมื่อ พ.ศ.2538 แต่ มาแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพุทธศักราช 2545 ในสมัยของ พระณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) เมื่อครั้งยัง เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส เป็นศาลาบ�ำเพ็ญบุญที่มี ขนาดใหญ่มีขนาดความกว้าง 12 x 36 เมตร สามารถบรรจุ ผู้มาท�ำบุญได้ถึง 600 คน ภายในศาลามีองค์พระประธาน ที่มีพระพักตร์งดงามอย่างยิ่ง คือ หลวงพ่อดับภัย และยังมี ภาพจิตรกรรมลงรักปิดทองด้านหลังองค์พระประธาน ราย รอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับประเพณีท�ำบุญ ใน 12 เดือน ของชาวล้านนาให้ได้ศึกษากันด้วย 75


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ศาลาท้าวจตุโลกบาล

ศาลาศีลและประตูสวรรค์ 76


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

12. ศาลาท้าวจตุโลกบาล รูปทรงสี่เหลี่ยม หลังคา 2 ชั้น ศิลปะ

บาหลี เป็นที่ประดิษฐานองค์พระ อัมรินทร์และท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์ ท้าวเทวดา ผู้รักษาโลกทั้ง 4 ทิศ คือ ท้าวธตรฐะ ผู้รักษาโลกด้าน ทิศตะวันออก ท�ำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์, ท้าววิรูฬหก รักษาโลก ด้านทิศใต้ ท�ำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์, ท้าววิรูฬปักข์ รักษาโลกด้าน ทิศตะวันตก ท�ำหน้าที่ปกครองพญานาค, ท้าวกุเวร ผู้รักษาโลกด้าน ทิศเหนือ ท�ำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวกุเวร มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ท้ า วเวสวั ณ ” หรื อ ท้ า วเวสสุ ว รรณ ชาวเหนื อ นิ ย มบู ช าท้ า ว จตุโลกบาลทั้ง 4 เมื่อมีกิจกรรมงานบุญงานกุศลเกิดขึ้นในชุมชน ก็จะ มีพิธีบอกกล่าว ถวายเครื่องสังเวยบูชาและอัญเชิญท้าวทั้ง 4 มาเป็น สักขีพยาน ให้ท่านมารับบุญ ร่วมอนุโมทนาบุญ และปกป้องคุ้มครอง ให้งานพิธีนั้นๆ ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

13. ศาลาศีลและประตูสวรรค์ เป็นซุ้มประตูขนาดเล็กและทางเดิน

รูปทรงวิหารโถงล้านนา ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เลียนแบบศิลปะ วัดต้นเก๋วน อ.หางดง และประยุกต์จ�ำลองรูปแบบซุ้มประตูจากวัด ไหล่หิน จ.ล�ำปาง ทั้งสองหลังสามารถเดินลอดผ่านเข้า-ออก ไปสู่ หอ พระเสื้อวัด หอครูหลวง บันไดนาค ศูนย์ปฏิบัติธรรมศรีเมืองปง เหตุ ที่เรียกว่าศาลาศีลและประตูสวรรค์นั้น เพราะเชื่อมระหว่างวัดกับ สถานที่ปฏิบัติธรรม ดังนั้นผู้ที่จะลอดผ่าน ณ จุดนี้ไป จะต้องส�ำรวจ ตรวจดูตัวเอง ส�ำรวมกาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยเป็นปกติก่อน จึงจะ ลอดผ่านเข้า-ออกไปสู่สถานที่ต่างๆ เพื่อไปกราบครูบาอาจารย์ หรือ ปฏิบัติธรรมได้ ศาลาศีลและประตูสวรรค์ 77


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ศาลาพระศรีวินายะกา 78


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หอพระเสื้อวัด

14. ศาลาพระศรีวินายะกา (พระผู้คอยปกป้องคุ้มครองโลก) สร้างขึ้น

เมื่อปีพุทธศักราช 2553 เป็นศาลาไม้มุงด้วยกระเบื้องดินขอล้านนา เป็น งานศิลปะผสมผสานระหว่างล้านนาและบาหลี เป็นที่ประดิษฐานองค์ พระพิฆเณศ หรือพระปิสนู ในภาษาล้านนา และเชื่อว่าเป็นบรมครูแห่ง ศาสตร์และศิลป์ในทุกแขนงทุกสาขาวิชา ส�ำหรับที่นี่ไม่เพียงประดิษฐาน ท่านไว้ให้เป็นที่สักการบูชาและขอพรเท่านั้น แต่ประดิษฐานไว้ให้เป็น คติธรรมสอนใจ และเป็นแบบอย่างในการรักษาศีล เพราะบุคคลผู้มีศีล มีธรรม มีสัจจะ ท�ำสิ่งใดย่อมส�ำเร็จสมบูรณ์ดั่งที่ตั้งใจ และย่อมเป็นที่ เคารพนับถือของหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

15. หอพระเสื้อวัด รูปทรงแปดเหลี่ยม มีน�้ำล้อมรอบ สร้างขึ้นในสมัย

หอพระเสื้อวัด

ของพระอธิการณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) เมื่อปี 2546 เป็นที่สถิตของเทวดามเหศักดิ์ผู้ปกปักรักษาวัด มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ สักการะ 79


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หอครูหลวง 80


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

16. หอครูหลวง (หอสัจจะบารมี) เป็นงานสถาปัตยกรรมล้านนา

ผสมผสานกั บ ไทใหญ่ โดยใช้ ไ ม้ ส ร้ า งทั้ ง หลั ง ซึ่ ง ออกแบบโดย อาจารย์วิศาลทัศน์ (ครูบอย) และควบคุมการก่อสร้างโดยพระ อธิการณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) และใช้เวลาในการ ก่อสร้างเพียง 18 วันเท่านั้น เพื่อถวายเป็นอาจาริยบูชา ในโอกาสที่ ท่านเจ้าอาวาส ท่านได้รบั รางวัลจากมูลนิธคิ รูบาเจ้าศรีวชิ ยั ในฐานะ เป็นพระนักพัฒนาตัวอย่าง ผู้เจริญรอยตามพระครูบาเจ้าศรีวิชัย เมื่อปีพุทธศักราช 2552 หอครูหลวงแห่งนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐาน รูปพระบฏเก่าแก่ และรูปเหมือนของเหล่าครูบาอาจารย์ทุกสายที่ ท่านเจ้าอาวาส ได้ให้ความเคารพนับถือ และมักจะใช้เป็นทีต่ งั้ สัจจะ อธิษฐานเวลาจะท�ำกิจกรรมการงานของทางวัดและของญาติโยม ที่มาปฏิบัติธรรมอีกด้วย ทางวัดจะจัดให้มีการไหว้ครูบูชาบูรพาจารย์เป็นประจ�ำทุกปี ในช่วงวันขึ้น 13 ค�่ำ เดือน 4 เหนือ (ประมาณช่วงปลายปีถึงต้นปี ธ.ค. หรือ ม.ค. ของศักราชสากล) 81


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ซุ้มประตูชัยมงคล 82


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

17. ซุ้มประตูชัยมงคล เป็นซุ้มรูปทรงล้านนา เพื่อลอดสู่

ทางบันไดเดินขึ้นโลหะปราสาทพระธาตุศรีเมืองปง สร้าง ขึ้นในสมัยของพระอธิการณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครู อาชวปรีชา) เมื่อปี พ.ศ.2546 จ�ำลองแบบมาจากวัดพระ ธาตุลำ� ปางหลวง มีลวดลายปูนปัน้ สไตล์จนี ทีง่ ดงาม สีขาว โดดเด่นเป็นสง่า เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความเป็นมงคลและ ชัยชนะของการเดินเท้าขึ้นไปบนเขาเพื่อนมัสการพระ ธาตุฯ ด้วยบันไดนาคจ�ำนวน 954 ขั้น 83


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติศรีเมืองปง 84


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

18. ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติศรีเมืองปง

สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2556 โดยความ ด�ำริของท่านพระครูอาชวปรีชาเจ้าอาวาสองค์ ปัจจุบัน หลังจากที่ท่านได้ผ่านโครงการอบรม พระวิปัสสนาจารย์ ของคณะสงฆ์ภาค 7 ที่วัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร โดยมีพระเดช พระคุ ณ พระพรหมมงคล เป็ นอาจารย์ ส อน วิปัสสนา ท่านจึงอยากเผยแผ่แนวทางในการ เจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 (พองหนอ-ยุบหนอ) ทีไ่ ด้ศกึ ษาและปฏิบตั มิ าให้ แก่ผู้ที่สนใจ ซึ่งตอนแรกได้เริ่มเปิดสอนโดยใช้ ศาลาการเปรียญเดิมเป็นที่ฝึกปฏิบัติฯ ต่อมาก ลุ่มเหมืองฝายได้ยกที่ดินที่ติดกับฝายน�้ำล้นให้ วัดเป็นผู้ดูแล ท่านพระครูฯ จึงได้ปรึกษากับ คณะกรรมการวัดและร่วมมือกับกลุ่มสถาปนิก ล้ า นนา โดยมี คุ ณ วรวุ ฒิ พจนเสนี ย ์ เป็ น ผู ้ อ อกแบบอาคารปฏิ บั ติ ธ รรมในรู ป แบบ ล้านนาประยุกต์เน้นความสงบ สะอาด เรียบ ง่าย เป็นธรรมชาติ มีการออกแบบกลุ่มอาคาร ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอาคารปฏิบัติธรรม กลุ่มอาคารโรงอาหาร และ กลุ่มอาคารที่พัก ซึ่งมีลานปฏิบัติ (สวนเซ็น) อยู่ด้านหน้าเมื่อเดิน ข้ามสะพานมาจากอีกฝั่งของวัด 85


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

86


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ศูนย์ปฎิบัติธรรมฯ ได้ท�ำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2558 โดยมีพระพรหมมงคล (หลวงปู่ทอง สิริมงคโล) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร เป็นประธานในพิธี หลังจากนั้นก็ได้มีการเปิด อบรมปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐาน 4 ในทุกสุดสัปดาห์ที่สอง ของเดือน (ศุกร์-เสาร์- อาทิตย์) ชั้นบนเป็นโถงส�ำหรับสวด มนต์และปฏิบัติบูชา ชั้นล่างสามารถใช้จัดกิจกรรมเสริมการ เรียนรู้ธรรมะ เช่น โยคะภาวนา กิจกรรมภาษาอังกฤษเชิง พุทธ โยคะกับธรรมะส�ำหรับเด็กในช่วงปิดเทอม หรือจัด กระบวนการเรียนรู้ด้านธรรมะรูปแบบต่างๆ มีหน่วยงาน สนใจมาเข้าร่วมปฏิบัติ เช่น เทศบาล, อบต., มหาวิทยาลัย, โรงเรียน, บริษัท เป็นต้น 87


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

88


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

แนวคิดในการออกแบบ “สวนพุทธิปัญญา” ออกแบบโดย นายปพน อ่าวสุคนธ์ นักออกแบบและตกแต่งภายใน (อิสระ) ทางเดินเข้ามาในสวน อันเป็นวงกลมรอบนอกนัน้ ใช้ประโยชน์เป็นทาง เดินเชื่อมเพื่อเข้ามาสู่ส่วนต่าง ๆ ของอาคาร และสวนพักผ่อนซึ่งเส้นวงนอก นี้ เปรียบเสมือน..ทางโคจรของดาราจักร โดยมีเราทุกคนเป็นดั่งดวงดาวที่ โคจรมาเยือน และมีประติมากรรมด้านในที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง เราจะใช้เส้นโคจรวงนอกนี้ ส�ำหรับเป็นทางเดินจงกรม ซึ่งในระหว่าง ทางโคจร ท่านอาจจะพบเห็นก้อนหินอุกาบาตน้อยใหญ่ตามรายทาง เราก็ จะใช้ประโยชน์ส�ำหรับเป็นฐานที่นั่งสมาธิ ส่วนขอบสระบัวเป็นวงกลมด้าน ในเยื้องกัน ได้ออกแบบให้สามารถเป็นที่นั่งผ่อนพักได้เหมือนกัน ในส่วนงานประติมากรรมที่มีลูกดิ่งห้อยบนแท่งเหล็กนั้น ทรงกลมขาว โผล่พน้ น�ำ้ เปรียบเสมือนโลกและบนโลกจะมีสญ ั ลักษณ์แท่งเหล็กตัง้ เป็นเส้น ตรงขึ้นมาด้านหนึ่ง เปรียบดั่งฝั่งเหตุผลส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นเส้นโค้ง เปรียบ ดั่งความรู้สึกนึกคิดจินตนาการซึ่งทั้งสองฝั่งนี้เปรียบเสมือน “ทวิภาวะ” ของโลก คือสภาวะขั้วตรงข้าม เช่น ความแข็งความอ่อน ร้อนเย็น ด�ำขาว เป็นต้นระหว่างขั้วทั้งสองฟากนี้ มีก้อนผลึกปริซึมทรงหกเหลี่ยมลอยอยู่ ตรงกลางซึ่งเปรียบเป็น “อายาตนะทั้ง6” (ตา-เห็น หู-ได้ยิน จมูก-ได้กลิ่น ลิ้น-ลิ้มรส กาย-สัมผัส ใจ-ธรรมารมณ์)ที่ท�ำการสะท้อนภาพที่เห็นตามจริง โดยปราศจากความปรุงแต่งยึดมั่นถือมั่น 89


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

90


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

“ข้าพเจ้าได้รับแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา นิกายเซน ในการทิ้งพื้นที่ว่างระหว่างทางเดินวงนอก มาถึงขอบสระ และใช้กรวดท�ำลวดลายคลื่นด้วยคราด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงลวดลายได้อยู่เสมออันแสดงสัจจะ ภาวะของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏ ให้เห็นในระหว่างพื้นที่ว่างนี้” ...งานปฏิมากรรมชิ้นนี้ก�ำลังจะสื่อว่า ขณะที่ผู้คน มากมายบนโลกต่างถกเถียงกันว่าทางของฉันดีกว่าทาง โน้น วิธีการของฉันถูก(ตรง) วิธีการนั้นผิด(โค้ง)แต่ความ เป็นขัว้ ทัง้ สองทีด่ ตู า่ งกันอย่างสิน้ เชิงนัน้ อาจมีวธิ กี ารบาง อย่างที่ท�ำให้มีการเชื่อมประสานและมาบรรจบเป็นหนึ่ง เดียวกันได้เฉกเช่นงานประติมากรรมชิ้นนี้ ที่มีความต่าง กันของเส้นทั้งสองด้าน แต่กลับพบว่ามันตั้งตรงสมดุล

อย่างงดงาม นั่นก็เพราะอายตนะ 6 ที่ต้องอยู่เหนือโลก ปราศจากการปรุงแต่งหรือยึดติดว่าสิ่งนี้ถูกสิ่งนี้ผิด ...ในระหว่างความเป็นขั้วทั้งสอง พระพุทธองค์ทรง ค้นพบ “มรรควิถี” ที่จะน�ำไปสู่ทางออกอันสมดุลอยู่ เหนือทุกสิ่งด้วยปัญญาที่ไม่โอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง นั่นคือ ทางสายกลาง หรือ การหลุดพ้น ในที่สุดดังนี้ ฯ ... อย่างไรก็ดี ทั้งหมดข้างต้นที่ข้าพเจ้ากล่าวมานี้ ก็ยังเป็นเพียงการอรรถาธิบายความตามข้อจ�ำกัดอันคับ แคบของภาษาและสมมติ ซึ่งในความจริงแล้วทุกท่านที่ ได้มาสัมผัส ณ ที่แห่งนี้ อาจสามารถไขปริศนาธรรมใน “สวนพุทธิปัญญา” แห่งนี้ ได้มากกว่าที่ข้าพเจ้ากล่าว มาเบื้องต้น ด้วยตัวของท่านเอง....

91


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

92


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

19. ศาลาพระอุปคุตทันใจ พระอุปคุตทันใจ ปั้นขึ้นเมื่อวันที่

24 พฤศจิกายน พ.ศ.2558 ตรงกับวันขึ้น 15 ค�่ำเดือนยี่เหนือ โดยทีมงานนายช่างสายัณห์ เขื่อนแก้ว ปั้นส�ำเร็จภายใน 1 วัน แล้วท�ำพิธสี มโภชเสร็จภายใน 1 คืน (ใช้เวลาทัง้ หมด 24 ชัว่ โมง ในการสร้างจนส�ำเร็จ จึงเรียกว่า “ทันใจ”) ประดิษฐานไว้ใน ศาลากลางแม่น�้ำท่าช้างผู้คนทั่วไปมักมากราบไหว้เพื่อให้ท่าน ช่วยป้องกันหรือขจัดเหตุเภทภัยอุปสรรคต่างๆในชีวิต และ บางครั้งจะมีประเพณี “ตักบาตรเที่ยงคืน” ในวันเพ็ญที่ตรง กับวันพุธ หรือที่คนล้านนาเรียกว่า “เป็งปุ๊ด” (ซึ่งปีหนึ่งอาจ มีวันเพ็ญพุธเพียง 1-3 วันเท่านั้น) ด้วยมีความเชื่อกันว่าพระ อุปคุต อรหันต์ผู้มีฤทธิ์มากจะออกจากฌานสมาบัติใจกลาง มหาสมุทร ขึน้ มาโปรดญาติโยมโดยแปลงกายเป็นสามเณรน้อย ออกบิณฑบาตยามเที่ยงคืน ซึ่งหากใครเผอิญได้ใส่บาตรกับ พระอุปคุตก็จะเป็นผู้ได้ลาภได้ทรัพย์ มีคนให้ความเคารพเกรง ขาม เจริญด้วยโภคสมบัติ พระอุปคุตเป็นพระผูม้ หี น้าทีป่ กป้อง คุม้ ครอง รักษาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุง่ เรืองตราบจนถึงครบ 5,000 ปี ดังนั้นการบูชาพระอุปคุตของที่นี่ จึงมีคติธรรมสอน ใจให้ผู้บูชาได้ตระหนักรู้ถึงหน้าที่ที่มีต่อพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในการท�ำนุบ�ำรุง ปกป้องรักษา สืบทอด สืบต่อ ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักค�ำสอนและช่วยกัน เผยแผ่หลักธรรมค�ำสอนในทางพระพุทธศาสนา ไม่ปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งจะเป็นส่วนส�ำคัญที่จะ ช่วยให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้ตราบจนถึง 5,000 ปี 93


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

94


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

20. “โลหะปราสาททิพยวิมานค�ำ” สร้างขึ้นตามนิมิต

ของ พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อินเป็ง) ตั้งอยู่บนยอด เขาสูงประมาณ 2,000 ฟุต ทางด้านทิศตะวันตกของวัด เดิมเป็นที่ตั้งของเจดีย์รูปทรงศิลปะล้านนาประยุกต์ ที่ ถูกบูรณะขึ้นมาจากเนินดินที่มีกองอิฐทับถมกันบนยอด เขาในสมัยของพระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต เมื่อ พ.ศ. 2536 ซึง่ ภายในเจดียบ์ รรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุทมี่ ปี ระวัติ ความเป็นมายาวนานหลายร้อยปี สมัยก่อนยังไม่มีทาง 95

ขึ้นจากหน้าวัด แต่ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมมือร่วมใจกัน สร้างทางขั้นบันไดส�ำหรับเดินขึ้นทั้งหมด 954 ขั้นโลหะ ปราสาทฯ ได้สร้างขึน้ ครอบเจดียเ์ ก่าเพือ่ อนุรกั ษ์พระบรม สารีริกธาตุที่อยู่คู่วัดมาแต่ครั้งโบราณ มีความศักดิ์สิทธิ์ สง่างามอยู่บนเขาเมื่อมองมาแต่ไกล ปัจจุบัน มีทางถนน ส� ำ หรั บ รถยนต์ ขึ้ น โดยโอบไปทางซ้ า ยมื อ จากหน้ า วั ด ทางขึ้นมีความคดเคี้ยว สูงชัน ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร



โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ชีวประวัติท่านเจ้าอาวาส วัดอรัญญวาส (บ้านปง) พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) พระกรรมกร

ชาติภูมิ

ชีวิตในวัยเยาว์

พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) สถานเดิมชือ่ “สะอาด/ณัฐชัย อินเป็ง” เป็นคนบ้านปงและเชียงใหม่โดย ก�ำเนิด เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 8 ตุลาคม 2521 ณ บ้านเลข ที่ 19/1 บ้านปงเหนือ หมู่ที่ 2 ต�ำบลบ้านปง อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรชายคนโตของ พ่อจันทร์แก้ว และ แม่ยุพิน อินเป็ง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน ได้แก่

เด็กชายสะอาด/ณัฐชัย อินเป็ง เป็นเด็กทีม่ คี วามเฉลียว ฉลาด มีจิตใจโอบอ้อมอารี และมีภาวะความเป็นผู้น�ำสูงมา ตั้งแต่วัยเยาว์ จึงเป็นที่รักของคุณครูและกลุ่มเพื่อนๆ หลัง จากจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปงแล้ว เด็ก ชายสะอาด/ณัฐชัย จึงได้ผนั ตัวเองออกมาท�ำงานรับจ้างขาย แรงงาน เป็นคนงานในโรงงานแปรรูปไม้ไผ่อยู่ประมาณ 2 เดือนกว่า

1. พระครูอาชวปรีชา 2. นายพงศกร อินเป็ง 3. นางวาสินี เกียรติรัมย์

ในช่วงเวลานั้น (ราวปี พ.ศ.2533) พระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต หรืออาจารย์ดวงจันทร์ ขอดแก้ว อดีตเจ้าอาวาส วัดบ้านปง ผู้เป็นดุจพ่อคนที่สองในทางธรรม ได้เห็นความ 97


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

สามารถและความมุ่งมั่นในตัวของเด็กชายสะอาด/ณัฐชัย ท่านจึงได้มาปรึกษาหารือกับพ่อจันทร์แก้ว แม่ยุพิน อิน เป็ง เพื่อขอตัวเด็กชายสะอาด/ณัฐชัยไปเป็นเด็กวัด และให้ ไปเรียนสามเณรสิกขา ซึ่งถ้าหากสามารถสอบผ่านหลักสูตร สามเณรสิกขาได้ ก็จะได้รับการบรรพชาให้เป็นสามเณรโดย ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

เรียนนักธรรมบาลี พร้อมกับศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ วัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ และอยู่ปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน รวมทั้ง อุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์ คือ พระมหาดวงจันทร์ ขอด แก้ว เป็นเวลาหนึ่งพรรษา จากนั้นอาจารย์ดวงจันทร์ ก็น�ำ สามเณรสะอาด/ณัฐชัย พร้อมกับเพื่อนอีก 2 คน ไปเข้ารับ การศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนเชตุพน ศึกษา (วัดเชตุพน) ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งก็ได้ ศึกษาจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งจบนักธรรมชั้นเอก ด้วยในคราวเดียวกัน

ในสมัยนัน้ จะมีการสอบสามเณรสิกขาทีส่ ำ� นักเจ้าคณะ อ�ำเภอ เด็กวัดทุกวัดจะต้องท่องจ�ำบทสามเณรสิกขา บท เสขิยวัตรต่างๆ ให้ได้อย่างแม่นย�ำ เพราะต้องสอบให้ผ่าน จึงจะได้รับอนุญาตให้บวชเป็นสามเณรในวัดนั้นๆ เด็กชาย สะอาด/ณัฐชัย เป็นเด็กตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอักขระภาษา พื้นเมืองล้านนากับพระมหาดวงจันทร์ จนสามารถอ่านและ เขียนได้เป็นอย่างดี อาจารย์ดวงจันทร์ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นลูกศิษย์มคี วามขยันหมัน่ เพียรตัง้ ใจศึกษา จึงให้บรรพชา เป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 11 ปี ร่วมกับเพื่อนรุ่นเดียวกันอีก 2 คน คือ เด็กชายบุญคิด ก๋าวิ และเด็กชายวิสุทธิ์ วงศ์เขื่อน แก้ว ซึ่งตรงกับวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2533 ณ วัดบ้านปง (อรัญญวาส) แห่งนี้ โดยมีพ่อครูประสิทธิ์ อินเสาร์ เป็นเจ้า ภาพบรรพชาให้ และมี พระครูสถิตธรรมานุรักษ์ เจ้าคณะ อ�ำเภอหางดง เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาในปี พ.ศ.2540 ถือได้ว่าเป็นปีวิกฤตและเป็น โอกาสแห่งชีวิตของสามเณรสะอาด/ณัฐชัยก็ว่าได้ ที่โดยไม่ คาดคิด พระมหาดวงจันทร์ จนฺทโชโต (อาจารย์ดวงจันทร์) ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาส ได้ประกาศลาสิกขาแบบกระทันหัน แทบจะตั้งตัวไม่ทัน เพราะที่วัดขณะนั้นไม่มีพระเลย มีแต่ สามเณรเท่านั้น วัดจึงอยู่ในภาวะขาดผู้น�ำ สามเณรสะอาด/ ณัฐชัย จ�ำต้องรับภาระหน้าที่เป็นผู้ดูแลวัด และเป็นผู้รักษา การแทนเจ้าอาวาสในขณะที่ก�ำลังเป็นสามเณรอยู่เมื่ออายุ เพียง 19 ปี เท่านั้น แต่วิกฤตนี้ก็ได้ถูกผันให้เป็นโอกาส ในการแสดงความสามารถของท่าน โดยการเป็นผู้น�ำการ ก่อสร้างศาลาการเปรียญที่ยังสร้างไม่ส�ำเร็จ ให้แล้วเสร็จใน เวลาต่อมาอีก 5 ปี และได้ท�ำการเฉลิมฉลองสมโภชท�ำบุญ ถวายศาลาฯ ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2546

หลังจากได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรสะอาด/ ณัฐชัย ก็ได้ตั้งศึกษาเล่าเรียนสวดมนต์ 7 ต�ำนาน 12 ต�ำนาน 98


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

หลังจากอุปสมบทแล้ว พระณัฐชัย ได้ใช้เวลา 6 ปี ใน การรับผิดชอบท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา เสนาสนะ วัดวา อาราม อบรมพัฒนาศีลธรรมจริยธรรมแก่ศรัทธาประชาชน ชาวบ้านปง ตลอดจนช่วยกิจการงานคณะสงฆ์ได้เป็นอย่าง ดี จนเป็นที่ยอมรับและเคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ในเวลาต่อมา และ เมื่อวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2548 จึงได้มีการ แต่งตั้งให้ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 13 แห่งวัด อรัญญวาส (บ้านปง) พระณั ฐ ชั ย ได้ ทุ ่ ม เทแรงกายแรงใจปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ น ความเป็นเจ้าอาวาสอย่างมุ่งมั่น ด้วยการพัฒนาคน พัฒนา วัตถุทั้งภายในวัดและนอกวัด รวมถึงการส่งเสริมให้ศรัทธา ประชาชนน� ำ เอาข้ อ ธรรมะไปประยุ ก ต์ ป รั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจ�ำวัน กระนั้น ภาระหน้าที่ด้านอื่นท่านก็ไม่ได้ละเลย ได้ปฏิบัติควบคู่กันอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง อาทิ งานด้าน คณะสงฆ์ ต�ำบลบ้านปง และคณะสงฆ์อ�ำเภอหางดง พระ ณัฐชัยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ทางคณะสงฆ์ด้วยดี และ บ�ำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างแข็งขัน จนเป็น ที่ประจักษ์แก่ทั้งทางคณะสงฆ์อ�ำเภอหางดงและฆราวาส ทั่วไปเสมอมา ด้วยความตั้งมั่นในธรรม ข้อวัตรปฏิบัติที่ดี งาม มีผลงานการอบรมสัง่ สอนลูกศิษย์และศรัทธาประชาชน ตลอดจนการปรับปรุงพัฒนาถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ท�ำให้ผู้ที่ได้มาเยี่ยมเยือนวัดบ้าน ปงเห็นผลงานและเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ท่านจึงเป็นที่

การอุปสมบท : มารไม่มี บารมี ไม่เกิด จากการที่สามเณรสะอาด/ณัฐชัย อินเป็ง ได้เข้ามามี บทบาทในการบริหารจัดการวัด จึงได้น�ำเอาความรู้ความ สามารถของตนเองที่ได้ศึกษาร�ำ่ เรียนมาประยุกต์ใช้กับการ บริหารวัด ด้วยความทีเ่ ป็นคนรุน่ ใหม่ กล้าคิดกล้าท�ำ กล้าน�ำ และกล้าแสดงออก มีแนวคิดที่แตกต่างสร้างสรรค์ ชอบการ ประยุกต์และบูรณาการ แต่ไม่ท�ำลายแบบอย่างประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามที่มีมาแต่เดิม ท�ำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม ไม่ชอบไม่พอใจ กล่าวโทษว่าร้าย และไม่สนับสนุนให้มีการ อุปสมบทแก่สามเณรสะอาด/ณัฐชัย จนพ่อครูสมยงค์ และ แม่ครูผอ่ งพรรณี ค�ำอ้าย (ครูผสู้ อนในสมัยเรียนอยูท่ โี่ รงเรียน บ้านปง) ทนไม่ไหวกับเหตุการณ์ในคราวนั้น จึงตั้งใจที่จะพา สามเณรสะอาด/ณัฐชัย ไปอุปสมบทที่กรุงเทพฯ แต่ก็ถูกพ่อ จู ศิริป้อ ซึ่งเป็นคุณตาของสามเณรสะอาด/ณัฐชัย ห้ามไว้ และกล่าวว่า “ถ้าไม่มีใครสนับสนุนให้อุปสมบท ก็สึกออก มาเถอะ ดีกว่าจะให้เขาดูถูกเรา” ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ ได้ไปถึงหูโยมพ่อ/โยมแม่บุญธรรมของสามเณรสะอาด/ณัฐ ชัย คือ พ่อจตุรวัฒน์ แม่ธัญวรัชญ์ อินดวง (พ่อชม แม่กัลยา) ท่านทั้งสองจึงรับเป็นเจ้าภาพงานอุปสมบทให้ทั้งหมด เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ณ พัทธสีมา วัดอรัญญวาส โดยมีพระครูวรธรรมโชติ อดีตเจ้าคณะต�ำบลหนองควาย อดีตเจ้าอาวาสวัดตองกาย เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครู สะอาด อินฺทวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดศรีโพธิ์ทอง เป็นพระกรรม วาจารย์ และพระวิศิษฐ์ ปญฺญาธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 99


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายโดยทั่วไปทั้งใน เชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ความที่พระณัฐชัยมีบทบาทในการเป็นผู้น�ำ เป็นพระ นักพัฒนาที่ทุ่มเทท�ำงานหนักเพื่อสาธารณชนมาโดยตลอด กอปรด้วยศีลาจริยาวัตรอันงดงาม สมบูรณ์ไม่ด่างพร้อย มีผลงานพัฒนาเป็นที่ยอมรับ ในเวลาต่อมาท่านจึงได้รับ พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้า อาวาสวัดราษฏร์ ชั้นโท (จร.ชท) ที่ “พระครูอาชวปรีชา” (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) เมื่อวันที่ 5 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2556

การศึกษาทางธรรม • • • •

ปี พ.ศ.2533 จบนักธรรมชั้นตรี ปี พ.ศ.2535 จบนักธรรมชั้นโท ปี พ.ศ.2538 จบนักธรรมชั้นเอก ปี พ.ศ.2556 จบหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ ใน โครงการทุนเล่าเรียนหลวง ของคณะสงฆ์ภาค 7

การศึกษาทางโลก

• ปี พ.ศ.2533 จบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จาก โรงเรียนบ้านปง • ปี พ.ศ.2540 จบ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียน เชตุพนศึกษา • ปี พ.ศ.2545 จบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา 100


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

• ปี พ.ศ.2555 จบประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ครู จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขต ล้านนา

5. ปี พ.ศ.2547 สร้างซุ้มประตูโขง, ศาลาพระครู บาศรีวิชัย, บันไดนาค 999 ขั้น ด้วยงบประมาณ 2,000,000 บาท 6. ปี พ.ศ.2548 สร้างศาลาปฏิบัติธรรม 2 ชั้น ด้วยงบ ประมาณ 800,000 บาท 7. ปี พ.ศ.2548 สร้างหอฉัน จ�ำนวน 1 หลัง ด้วยงบ ประมาณ 400,000 บาท 8. ปี พ.ศ.2548 สร้างห้องน�้ำบนลานพระธาตุเจดีย์ จ�ำนวน 1 หลัง ด้วยงบประมาณ 120,000 บาท 9. ปี พ.ศ.2549 เริม่ สร้างโลหะปราสาทครอบ พระธาตุ ศรีเมืองปง ด้วยงบประมาณ 35 ล้าน บาท (ปัจจุบนั ใช้งบไป 21 ล้าน ) 10. ปี พ.ศ.2550 สร้างหอธรรมนิทัศน์ (ศาลากลาง น�้ำ) ด้วยงบประมาณ 230,000 บาท 11. ปี พ.ศ.2551 สร้างศาลาพระสีวลี, ศาสาพระ พิฆเณศ ด้วยงบประมาณ 200,000 บาท 12. ปี พ.ศ.2552 ซื้อที่ดินขยายวัด จ�ำนวน 1 ไร่ 2 งาน ด้วยงบประมาณ 1,500,000 บาท 13. ปี พ.ศ.2552 สร้างศูนย์ธรรมศึกษา, ศรช.ต�ำบล บ้านปง ด้วยงบประมาณ 2,000,000 บาท 14. ปี พ.ศ.2552 สร้างหอครูหลวง (เรือนไม้ 2 ชั้น) ด้วยงบประมาณ 250,000 บาท 15. ปี พ.ศ.2553 สร้างซุ้มประตูและก�ำแพงวัด ด้วย งบประมาณ 2,500,000 บาท

ลำ�ดับสมณศักดิ์ • 1 ตุลาคม พ.ศ.2548 ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดอรัญญวาส (วัดบ้านปง) รูปที่ 13 • 5 ธั น วาคม พ.ศ. 2556 พระครู สั ญ ญาบั ต ร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ ชั้นโท (จร.ชท) ที่ “พระครู อาชวปรีชา” (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) • 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ด�ำรงต�ำแหน่งเป็นเจ้าคณะ ต�ำบลบ้านปง

ผลงานการพัฒนาถาวรวัตถุ (เฉพาะภายในวัด)

1. ปี พ.ศ.2540 สานต่ อ โครงการก่ อ สร้ า งศาลา การเปรี ย ญจนแล้ ว เสร็ จ ด้ ว ยงบประมาณ 2,380,621 บาท 2. ปี พ.ศ.2542 สร้างก�ำแพงและหอพระเสื้อวัด ด้วย งบประมาณ 178,959 บาท 3. ปี พ.ศ.2545 สร้างพระพุทธนิมิตศรัทธาสามัคคี (พระเจ้าฝนแสนห่า) ด้วยงบประมาณ 120,000 บาท 4. ปี พ.ศ.2545 สร้าง ห้องน�้ำ 1 หลัง จ�ำนวน 20 ห้อง ด้วยงบประมาณ 345,297 บาท 101


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

102


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

16. ปี พ.ศ.2554 ซื้อที่ดินขยายวัด จ�ำนวน 4 ไร่ 3 งาน ด้วยงบประมาณ 5,000,000 บาท 17. ปี พ.ศ.2555 สร้างศาลาบ�ำเพ็ญบุญ 2 ชั้น ด้วย งบประมาณ 2,100,000 บาท 18. ปี พ.ศ.2556 สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ ศรีเมืองปง ด้วยงบประมาณ 5,000,000 บาท 19. ปี พ.ศ.2558 สร้างวิหารหลวงพ่อทันใจ (วิหารไม้ สักทอง) ด้วยงบประมาณ 3,500,000 บาท 20. ปี พ.ศ.2559 สร้างอาคารปฏิบัติธรรม 2 ชั้น ด้วย งบประมาณ 2,520,000 บาท

ผลงานโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนบ้านปง และในชุมชนบทอื่นๆ

โครงการหมูบ้านรักษาศีลห้า

นอกจากพระครูอาชวปรีชา จะด�ำรงต�ำแหน่งเป็น เจ้าอาวาสวัดอรัญญวาสแล้ว ท่านยังได้ด�ำรงต�ำแหน่งเป็น ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจ�ำต�ำบลบ้านปง ซึ่งมี บทบาทและภาระหน้าที่ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ น�ำพาพัฒนา บ้าน วัด โรงเรียน ทั้งในชุมชนบ้านปงและใน ถิ่นทุรกันดาร ตลอดระยะเวลา 15 ปี พระครูอาชวปรีชา ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่องานพระพุทธศาสนาชุมชนและ สังคมมาโดยตลอด ก่อให้เกิดโครงการต่างๆ มากมาย อาทิ เช่น ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ได้จัดสร้างห้องสมุดชุมชน เมื่อปี พ.ศ.2553 เพื่อให้เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล ความรู้ต่างๆ แก่ประชาชนในพื้นที่ จัดโครงการบรรพชา

โครงการคนดีศรีเมืองปง 103


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โครงการสามเณรปลูกป่า 104


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

สามเณรปิดภาคฤดูร้อน โครงการซัมเมอร์แค้มป์ จัดตั้ง กลุ่มคนดีศรีเมืองปง เยาวชนอนุรักษ์ดนตรีและวัฒนธรรม ล้านนา เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนในท้องที่ได้ใช้เวลา ว่างให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน ได้มีโอกาสพัฒนา องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรม รวมถึง การเดินทางไปช่วยสร้างอาคารเรียน อาคารเอนกประสงค์ โรงอาหาร ห้ อ งน�้ ำ ให้ กั บ โรงเรี ย นในชุ ม ชนและในถิ่ น ทุรกันดารอีกด้วย ส่วนด้านการส่งเสริมอาชีพ ความเป็นอยู่ของศรัทธา ประชาชน ท่านพระครูฯ ก็ได้จัดตั้งศูนย์สังฆเมตตาเพื่อ เด็กและคนชราในชนบท ได้มีการสรรหาที่ดินส�ำหรับการ ท�ำเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมให้ศรัทธาประชาชนมาช่วยกันลง แขกด�ำนาปลูกข้าว ปลูกผักอินทรีย์ และแบ่งปันผลผลิต ให้กับสมาชิกที่เข้าโครงการฯ อย่างเท่าเทียมกัน ด้านการ ส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม ท่านพระครูฯ ได้จัดโครงการ ธรรมะสัญจรในระดับต�ำบลและในระดับหมู่บ้าน เพื่อช่วย เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ด้วยการใช้หลักเข้าใจ เข้า ถึง และพัฒนา แนะน�ำให้เอาหลักธรรมค�ำสอนไปประยุกต์ ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน พร้อมทั้งบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคที่ ญาติโยมน�ำมาถวาย ให้แก่ผู้ยากไร้ในท้องที่นั้นๆ ด้วย จวบ จนถึงวันนี้ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวฯ ด้วยมาโดย ตลอด จนท่านได้รับรางวัลประธานหน่วยอบรมประชาชน ประจ�ำต�ำบลดีเด่น ในระดับหน จากคณะสงฆ์ภาค 7 หน

โครงการสร้างโรงเรียนพัฒนาชาวเขา 105


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โครงการสังฆเมตตา ท�ำนา 106


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เหนือ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ อดีตเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ วัดปากน�ำ้ ภาษีเจริญ (หน เหนือ มี 16 จังหวัด) เป็นผู้ประทานรางวัลให้ เมื่อปี พ.ศ.2556 ณ หอประชุมวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ผลงานและรางวัลที่ ได้รับ 1. รางวั ล เจ้ า อาวาสดี เ ด่ น จากคณะสงฆ์ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2549 2. รางวัลพระนักพัฒนาเจริญรอยตามพระ ครูบาเจ้าศรีวิชัย จากมูลนิธิพระครูบาเจ้า ศรีวิชัย เมื่อปี พ.ศ.2552 3. รางวั ล คนดี ศ รี แ ผ่ น ดิ น จากกระทรวง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ.2556 4. รางวัลประธานหน่วยอบรมประชาชนดี เด่น ระดับหน จากคณะสงฆ์ภาค 7 หน เหนือ เมื่อปี พ.ศ.2556 5. รางวัลวัดงามตา ประชาชื่นใจ “วัด 5 ส.” จากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2559

107


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

108


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

งานประเพณีประจำ�ปี ประเพณีสรงน้ำ�พระธาตุศรีเมืองปง ประเพณีสรงน�้ำพระธาตุศรีเมืองปง จะจัดขึ้นระหว่าง วันที่ 30 ธันวาคม-3 มกราคม ของทุกปี เพราะถือเป็นช่วง เทศกาลวันหยุดยาวของเมืองไทย ทั้งนี้เป็นการเปิดโอกาส ให้พุทธศาสนิกชนและผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสชื่นชมและ สรงน�้ำพระบรมสารีริกธาตุอย่างใกล้ชิด การสรงน�้ำพระ ธาตุของวัดบ้านปง จะใช้น�้ำสะอาดที่ผสมกับฝักส้มป่อยและ น�้ำอบไทย เทลงรางรินรูปพญานาค ให้ไหลรดสัมผัสกับองค์ พระธาตุโดยตรง ถือเป็นการขอขมาต่อพระพุทธเจ้าและเพือ่ ความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ในช่วงเวลานั้น จะมีการนิมนต์ พระสงฆ์แต่ละวัดในเขตอ�ำเภอหางดงและอ�ำเภอใกล้เคียง มาเจริญพระพุทธมนต์อบรมสมโภชพระธาตุ และประโคม ด้วยเครื่องดุริยะดนตรี ตลอดทั้งวันและคืน 109


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

110


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ประเพณีเตียว (เดิน) ขึ้นดอย ศรีเมืองปง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันวิสาขบูชาของทุกปี ในช่วง เวลาเช้าจะมีการท�ำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร แด่พระ ภิกษุสามเณร ช่วงสายๆ ชาวบ้านปง จะมาช่วยกันแต่งดา เครื่องสักการบูชาตามแบบฉบับของชาวล้านนา อาทิเช่น หมากสุ่ม หมากเบง ต้นผึ้ง ต้นเทียน ช่อน้อย ตุงชัย ตลอด ทั้งวัน ช่วงค�่ำจะมีการตั้งขบวนแห่เครื่องสักการบูชาจากใน วัดยาวไปจนถึงหน้าวัด แล้วพร้อมใจกันเดินเป็นริ้วขบวนแห่ ขึน้ ไปตามถนนจนถึงบนยอดเขา เพือ่ ถวายเครือ่ งสักการบูชา และถวายผ้าห่มพระธาตุศรีเมืองปง 111


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

112


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ประเพณี ไหว้ครูบูชาบูรพาจารย์ พิธีไหว้ครูบูชาบูรพาจารย์ ของวัดอรัญญ วาส จะจัดในวันขึ้น 13 ค�่ำ เดือน 4 เหนือ ของ ทุกปี เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของครูบา อาจารย์และอดีตเจ้าอาวาส ผู้ท�ำคุณประโยชน์ให้ แก่วัด และเป็นโอกาสอันดีที่เหล่าลูกศิษย์ลูกหา จะได้กลับมาเยี่ยมวัดโดยจะมีการบูชาด้วยเครื่อง สักการะที่เรียกว่า พานครู หรือ “ขันครู” ใน ล้านนา ซึง่ ประกอบด้วย ดอกไม้ธปู เทียน หมากพลู ข้าวเปลือกข้าวสาร ผ้าขาวผ้าแดง น�้ำผึ้ง จัดเรียง และรวมไว้ในภาชนะที่มีความเหมาะสม แล้วยก ขึ้นวางไว้บนหิ้งหรือแท่นบูชา จากนั้นจะจัดเครื่อง พลีกรรม อันประกอบด้วย อาหารคาวหวาน ผลไม้ น�ำ้ ดืม่ ตัง้ ไว้ในทีๆ่ เหมาะสม พร้อมกับกล่าวค�ำบูชา คุณของครูบาอาจารย์ และอัญเชิญครูบาอาจารย์ มารับเครื่องสังเวยบูชาเป็นอันเสร็จพิธี 113


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

114


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ประเพณีปุพพเปตพลี (ถวายทานเรือสำ�เภาเงินสำ�เภาทอง) ประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทางเหนือนี้ เป็นการท�ำบุญเพื่ออุทิศถึงผู้ตาย จะจัดขึ้นในช่วงเดือน 12 ของล้านนา หรือในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี โดยจะจัด ช่วงวันหยุดศุกร์เสาร์อาทิตย์ ขึ้น 1 ค�่ำ ถึงเดือนแรม 14 ค�่ำ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่ำ ของเดือน 12 ด้วยถือกันว่าเป็นวัน ที่พญายมราชได้ปล่อยวิญญาณสัตว์ผู้ตายกลับสู่เมืองมนุษย์ ให้มาขอรับส่วนบุญกุศลจากญาติพี่น้องลูกหลานเพื่อจะได้ พ้นจากภาวะเปรตอสูรกาย การท�ำบุญตามประเพณีนี้ ถือเป็นการแสดงออกซึ่ง ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เพื่อให้บรรพบุรุษผู้ล่วง ลั บไปแล้ วได้ รั บบุ ญ กุ ศลในปรโลก นอกจากจะเป็ น การ สืบสานประเพณีเก่าแก่ที่ได้ปฏิบัติต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นแล้ว ยังเป็นการสร้างความอบอุ่นในหมู่ญาติสนิทมิตรสหาย และ เสริมสร้างความสามัคคีรวมพลังของชุมชนคนในหมู่บ้าน มหาทานแบบฉบับครูบาหลวง การประกอบพิธีปุพพเปตพลีที่วัดอรัญญวาส (บ้าน ปง) ได้ปฏิบัติตามแบบฉบับมหาทานครูบาหลวง ซี่งเดิม เป็นของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนา) ต่อมา สืบทอดโดยหลวงปู่ครูบาเจ้าวงศาพัฒนา (ครูบาวงศ์แห่ง วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม) อ.ลี้ จ.ล�ำพูน ศิษย์เอกผู้หนึ่งของ ครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งภายในงานจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นดังนี้ 115


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

116


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พิธีตานไส้ - ตานแตน (ทานใช้ ทานแทน) อัน ได้ แ ก่ การช� ำ ระหนี้ ส งฆ์ แ ละการช� ำ ระแก่ เ จ้ า กรรม นายเวร-เจ้าบาปนายบุญ–เจ้าคุณนายโทษ พิ ธี ถ วายต้ น เงิ น สุ ด ล� ำ ต้ น ค� ำ สุ ด ยอด (ต้ น กัลปพฤกษ์) ท่านสามารถน�ำปัจจัยเงินทองของกิน ของใช้ (ปัจจัย 4) แขวนติดไว้กับต้นไม้ไผ่ทั้งต้น ไล่ขึ้นไป จนสุดล�ำไผ่ ประดับตกแต่งให้ตระการตา น้อมถวายแก่ พระสงฆ์ เพื่ออุทิศผลบุญกุศลให้แก่ผู้มีพระคุณที่ล่วงลับ ต้นเงินต้นทองจะถูกจัดตั้งอย่างใหญ่โตมโหฬาร ตั้งเรียง กันหลายต้น (ตามหลัก 7 ต้นขึน้ ไปหรือมากกว่านัน้ ก็ได้) พิธีลอย “สะเปาเงิน สะเปาค�ำ” (ส�ำเภาเงิน ส�ำเภาทอง) หมายถึง ทานนาวา หรือเรือทาน มีชอื่ เรียก ตามบทสวดพระคาถาว่า ทานะนาวัง สัมมาลุยหัง แปล ว่า ท�ำทานบรรทุกส�ำเภาอธิษฐานลอยไว้ในพระพุทธ ศาสนา ท่านสามารถน�ำเอาวัตถุสิ่งของที่นับเนื่องใน ปัจจัย 4 ใส่ไว้ในภาชนะบุญ คือ เรือส�ำเภาเงินหรือทองที่ ประดับตกแต่งท�ำขึ้นมา พร้อมกับเขียนค�ำปรารถนาใน การอุทิศผลบุญมาใส่รวมกันไว้ในเรือ น้อมถวายแก่พระ สงฆ์ตวั แทนแห่งพระพุทธเจ้า เพือ่ อุทศิ ผลบุญกุศลให้แก่ ผู้มีพระคุณทั้งหลายที่ล่วงลับ และกลายเป็นเสบียงบุญ ของท่านส�ำหรับการเดินทางไปในภพหน้า

117


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

118


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

• มีการอุปโลกเจ้ากรรมนายเวรเป็นรูปปั้นสัตว์ต่างๆ หากผู้ใดเคยท�ำกรรมกับสิ่งใดให้น�ำตัวปั้นนั้นน�ำ มาใส่ถาด พร้อมกรวยดอกไม้ธูปเทียนบูชาและน�้ำ ส้มป่อย จากนัน้ น�ำไปวางทีป่ ากหลุมตัดกรรมทีส่ าน ด้วยไม่ไผ่ สวดบทขออโหสิกรรม จากนั้นเขียนชื่อ เจ้าภาพผู้อุทิศและผู้ตายลงในกระดาษ น�ำไปให้ พระสงฆ์อ่าน กรวดน�้ำ อุทิศแผ่ส่วนบุญกุศลและ ให้พร

พิธีถวายตานตุงหลวง (ตุงเงินตุงค�ำ) ก�๊ำป๋าระมี ตุง หมายถึง ธง ตามภาษาไทยภาคกลางนั่นเอง “ตุง” จัดเป็น เครือ่ งสักการะอย่างหนึง่ ของล้านนาไทย มีลกั ษณะเป็นแผ่น ยาวลงมามีลวดลายเรียงเป็นชั้นๆประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงาน พิธีถวายเป็นพุทธบูชา วัสดุที่ใช้ท�ำตุงนั้นหลากหลายตาม ก�ำลังที่จะหามาได้ อาทิเช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ แผ่น เงิน ใบลาน ฯลฯ โดยจะมีขนาด รูปร่าง และรายละเอียดด้าน วัสดุตกแต่งต่างกัน มีความหมายตามความเชือ่ และพิธกี รรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น ส�ำหรับงานพิธีนี้ผู้ ศรัทธาจะน�ำปัจจัยสอดใส่ในซองพลาสติกที่ท�ำเป็นตุง (ธง) หางยาวขนาด 99 ชั้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยชาวล้าน นาทัง้ ชาวไทยยวน ไทลือ้ มีความเชือ่ ว่า การถวายตุงหางยาว นี้ จะบังเกิดผลานิสงค์บุญอุทิศหนุนน�ำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ รวมทั้งเป็นปัจจัยส่งกุศลให้ตนเอง หากตายไปแล้วจะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์

ขั้นตอนพิธีกรรม • วันแต่งดา จะมาช่วยกันแต่งดาเครื่องไทยทาน โดย เจ้าภาพจะน�ำเอาไทยทานบางส่วนที่ไม่ใช่อาหาร สุก มาใส่รวมกันไว้ในเรือส�ำเภาเงินส�ำเภาทอง ส่วน อาหารสุกจะน�ำมาใส่ในวันถวายทาน • วันถวายทานสังฆทาน เริ่มต้นด้วยการกราบพระ ประธานในวิหารก่อน จากนัน้ ก็ไปใส่ขนั ดอกไม้บชู า พระรัตนตรัย เสร็จแล้วก็ไปร่วมท�ำบุญบริจาคตาม จุดต่างๆ ที่ทางวัดจัดไว้ให้ตามจิตศรัทธา - พิธีถวายทานเรือสะเปาเงินสะเปาค�ำ (ส�ำเภาเงิน ส�ำเภาทอง) - พิธีถวายทานต้นเงินสุดล�ำ ต้นค�ำสุดยอด (ต้นกัลปพฤกษ์) - พิธถี วายตุงเงินตุงค�ำ (ธงเงินธงทอง) 99 ชัน้ - พิธีถวายสังฆทาน

พิธถี วายสังฆทานหลวง คือการจัดเตรียมถวายเครือ่ ง สังฆทานชุดใหญ่อย่างดีพิเศษ อันประกอบไปด้วย บาตรจีวร- ตาลปัตร- ร่ม- รองเท้า –กาน�ำ้ -กระโถน-คนโท –เครือ่ ง สังฆทานดิบ- สังฆทานแห้ง และวัตถุสิ่งของอันนับเนื่องใน ปัจจัย 4 ซึ่งเป็นของใช้ที่จ�ำเป็นส�ำหรับพระภิกษุสามเณร เครื่องประกอบพิธี • ดอกไม้ ธูป เทียน • เครื่องอุปโภคบริโภค ปัจจัยเงินทอง ตามจักหามาได้ 119


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

120


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ญาติโยมจะเข้าไปนั่งในศาลา ไหว้พระสมาทานศีลและฟังพระสวดทักษิณานุปทานกุศล อย่างตั้งใจ จากนั้น น้อมจิตให้เป็นกุศลพร้อมใจกันกล่าวค�ำ ถวายมหาสังฆทาน และภัตตาหารเพล แด่พระสงฆ์ทั้งปวง แล้วตัง้ ใจรับพร พร้อมกับตัง้ จิตอธิษฐานแผ่สว่ นบุญกุศลแด่ผู้ ล่วงลับ และเจริญสมาธิภาวนา แผ่ส่วนบุญกุศลไปให้ไพศาล ขั้นตอนสุดท้ายที่ส�ำคัญ คือ พระสงฆ์ประธานพิธีการ จะท�ำพิธี “ตัดเวรตัดกรรม” โดยจะมายังหลุมไม้ไผ่ที่ชาว บ้านได้น�ำดินปั้นรูปสัตว์ต่างๆ ดอกไม้ธุปเทียนบูชาวางไว้ คณะสงฆ์สวดอโหสิกรรมและอุทิศแผ่ส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ พร้อมกับตัดเชือกให้แท่นไม้ไผ่และเครื่องบูชานั้นตกลงใน หลุม เพื่อเป็นตัดเวรตัดกรรม เป็นการขออโหสิกรรมซึ่งกัน และกันในทุกภพชาติ และนับเนือ่ งจากทานบารมีอนั ยิง่ ใหญ่ นี้ ไม่ว่าภพใด ๆ ขอให้ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาจนกว่า จะได้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นภพสุดท้ายนั่นเอง 121


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

122


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ประเพณีถวายผ้าจุลกฐิน คณะสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอกฉันท์ ให้เป็นผู้รับกฐินนั้น

ที่มาของค�ำว่า กฐิน: เนื่องจากสมัยก่อนยังมิได้มี อุตสาหกรรมโรงงานทอผ้าอย่างเช่นปัจจุบัน เมื่อย้อนกลับ ไปสมัยพุทธกาล พระสงฆ์ต้องเสาะหาผ้าที่ชาวบ้านไม่ใช้ แล้ว รวมทั้งผ้าห่อศพมารวมๆ กัน แล้วเย็บต่อด้วยมือ โดย ใช้กรอบไม้ขึงผ้าให้ตึง เพื่อสะดวกแก่การเย็บให้ร่องผ้ามี ตะเข็บตรงกัน กรอบไม้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกว่าไม้ “กฐิน” ซึ่งก็หมายถึง สะดึง ที่ใช้ขึงผ้าให้ตึงเวลาเย็บนั่นเอง และเรา เรียกผ้าจีวรที่ได้ว่า ผ้ากฐิน

พิธีทอดผ้ากฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง จัดเป็นกาล ทาน หมายถึง ถวายตามกาลเวลา ปีหนึ่งท�ำได้ครั้งเดียว ต้องถวายภายในเวลาจ�ำกัด คือ ภายใน 29 วัน นับแต่วัน ออกพรรษาคือ ตั้งแต่แรม 1 ค�่ำ เดือน 11 ไปจนถึงขึ้น 15 ค�่ำเดือน 12 วัดหนึ่งสามารถรับได้ครั้งเดียวและต้องท�ำตาม ก�ำหนดเวลา และผู้ทอดก็ต้องตระเตรียมจัดท�ำเป็นงาน ใหญ่ ต้องมีผู้ช่วยเหลือหลายคน จึงนิยมกันว่าเป็นพิธีบุญ ที่อานิสงส์แรง และได้บริวารสมบัติ เพราะได้บอกบุญแก่ ญาติมิตรให้มาร่วมการกุศล พระที่รับกฐินต้องเป็นพระที่ จ�ำพรรษาวัดนั้น พรรษาไม่ขาดและต้องมีไม่น้อยกว่า 5 รูป ต้องลงรับกฐินโดยพร้อมเพรียงกัน

การต่ อ ผ้ า จี ว รในสมั ย โบราณ ถ้ า ภิ ก ษุ ท� ำ เองก็ ถื อ เป็นการใหญ่ และมีการจัดงานเอิกเกริก ดังเช่น มีต�ำนาน กล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระเถรรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบตุ ร พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสส ปะ แม้พระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วยภิกษุสามเณรอืน่ ๆ ก็ ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน�้ำดื่ม เป็นต้น มาถวายพระสงฆ์

กฐินมี 2 ประเภท คือ กฐินราษฎร์ กฐินหลวง และ มีอีกหนึ่งประเภทที่เรียกว่าเป็นกฐินพิเศษ คือ “จุลกฐิน” จุลกฐิน หมายถึงการทอดกฐินที่ใช้เวลาจ�ำกัด โดย ต้องทอ ตัด เย็บย้อมผ้าให้เสร็จแล้วถวายภายในวันเดียว มูลเหตุเกิดจากสมัยก่อน เคยมีวัดที่ยังไม่ได้รับกฐินจนใกล้ วันหมดเขต จึงมีการต้องรีบร้อนขวนขวายท�ำผ้ากฐินให้เสร็จ ทันถวายภายในวันเดียว เป็นประเพณีที่มีมาเก่าแก่แต่ครั้ง โบราณ และท�ำได้ยากกว่าการถวายกฐินธรรมดาที่มีเวลา ตระเตรียมงานนาน และมีบริวารกฐินมาก

..ต่อมาพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พทุ ธบริษทั ท�ำ “ผ้า กฐิน” ถวายพระภิกษุ นางวิสาขามหาอุบาสิกาทราบเรือ่ ง จึง ได้ถวายผ้ากฐินแด่พระภิกษุสงฆ์เป็นครั้งแรก และได้มีการ สืบสานกันต่อมาจนกลายเป็นประเพณีดังเช่นทุกวันนี้ การ ทอดกฐิน ก็คอื การน�ำผ้ากฐินไปวางไว้ตอ่ หน้าพระสงฆ์อย่าง ต�ำ่ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รปู ใดรูปหนึง่ ทีไ่ ด้รบั มอบหมายจาก 123


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

124


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ส่วนการจัดงาน “จุลกฐิน” นั้นต้องท�ำด้วยความรีบ ด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจ�ำนวนมาก เพือ่ ผลิตผ้าไตรจีวรให้สำ� เร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์ กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย�่ำรุ่งของอีก วันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงถือกันว่าการท�ำจุลกฐินมีอานิสงส์ มากยิ่งนัก เพราะต้องใช้ความอุตสาหพยายามมากกว่ากฐิน ธรรมดา เพราะต้องระดมภูมปิ ญ ั ญาจากชาวบ้านทุกๆฝ่ายใน การร่วมจัดงาน ตกแต่ง เตรียมข้าวปลาอาหารแก่ผู้มาร่วม อนุโมทนาบุญ เพื่อสมโภชงานมหากุศลนี้ในเวลาอันจ�ำกัด

ท�ำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะ ผู้มีจีวรเก่าใช้การ เกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้า เสด็จมาทรงช่วยการท�ำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สน เข็มในการท�ำจีวรครั้งนั้นด้วย ส�ำหรับการท�ำผ้าจุลกฐินของวัดอรัญญวาส (บ้านปง) จะไม่มีขั้นตอนการทักถอผ้า แต่เราจะใช้ผ้าฝ้ายดิบมาตัด แล้วท�ำการเย็บย้อมให้เสร็จภายในหนึ่งวัน โดยอาศัยความ ร่วมมือของคนในชุมชนและญาติโยมเจ้าภาพผ้าจุลกฐิน ซึ่งวันเวลาในการจัดทอดผ้าจุลกฐินนั้นไม่ได้มีการก�ำหนด วันเวลาที่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ภายในหนึ่งเดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้ เป็นประเพณีที่พบเฉพาะ ในประเทศไทยและลาว ไม่ ป รากฏประเพณี ก ารทอด กฐิ น ชนิ ด นี้ ใ นประเทศพุ ท ธเถรวาทประเทศอื่ น ส� ำ หรั บ ประเทศไทยมีหลักฐานว่า มีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่ สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือค�ำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า “ถึงวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 12 โปรดให้ท�ำจุลกฐิน”

นับเป็นหนึ่งในความพยายามที่จะอนุรักษ์ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการท�ำผ้า “จุลกฐิน” ในอดีตซึ่ง เกือบจะสูญหายไปตามยุคสมัย ให้กลับมาสืบสาระแห่ง การประกอบกิจกุศลและผสานความสามัคคี ชาวบ้าน เพื่อ ให้เกิดความส�ำเร็จในการท�ำผ้ากฐินจีวรในแต่ละปี ถือเป็น มหากุศลที่ต้องอาศัยอิทธิบาทธรรมทั้งสี่แห่งมหาชน เพื่อ ความส�ำเร็จในกุศล จึงกล่าวได้ว่า จุลกฐินนั้นได้บุญกุศล มาก หากได้ร่วมแม้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ก็ถือเป็นการสืบสาน ประเพณี และได้ร่วมบ�ำรุงกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้ ส�ำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้นสืบไป

ปั จ จุ บั น ประเพณี ก ารท� ำ จุ ล กฐิ น นิ ย มท� ำ กั น เฉพาะ ชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียก กฐินชนิดนี้ว่า “กฐินแล่น” (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏ ในพระวิ นั ย ปิ ฎ ก) เค้ า มู ล ของการท� ำ จี ว รให้ เ สร็ จ ในวั น เดียวปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่ พระพุทธเจ้ารับสัง่ ให้คณะสงฆ์ในวัดพระเชตะวัน ร่วมมือกัน 125



โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ปกิณกะ ประวัติครูบาฯ ทั้งสี่ ที่นับถือสักการะของชาวล้านนา ครูบาศรีวิชัย หรือ พระสีวิ ไชย

พ.ศ.2421 ทีบ่ า้ นปาง ต�ำบลแม่ตนื (ปัจจุบนั คือต�ำบลศรีวชิ ยั ) อ�ำเภอลี้ จังหวัดล�ำพูน เป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มี พี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนที่สาม

พระมหาเถระซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สร้างถนนทางขึ้น วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ ปี พ.ศ.2477 ได้รับการขนานนามว่า ตนบุญแห่งล้านนา หมายถึงนักบุญแห่งล้านนา

เด็ ก ชายอิ น ท์ เ ฟื อ นอาศั ย และเติ บ โตอยู ่ ใ นหมู ่ บ ้ า น กันดาร มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาวกะเหรี่ยง ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจ�ำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อ อายุได้ 17 ปี ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ “ครูบาขัตติยะ” หรื อ ที่ ช าวบ้ า นเรี ย กว่ า “ครู บ าแฅ่ ง แฅะ” (หมายถึ ง ขาพิการ เดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่าน มาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้อยู่ประจ�ำที่บ้านปาง แล้วก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจ�ำพรรษา เด็กชาย

ครูบาศรีวชิ ยั เดิมชือ่ “เฟือน” หรือ “อินท์เฟือน” บ้าง ก็วา่ “อ้ายฟ้าร้อง” เนือ่ งจากในขณะทีท่ า่ นเกิด มีปรากฏฝน ฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิด กัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่าน เกิดในปีขาล เดือน 9 เหนือ (เดือน 7 ของภาคกลาง) ขึ้น 11 ค�่ำ จ.ศ.1240 เวลาพลบค�่ำ ตรงกับวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 127


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

อินท์เฟือน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้ บรรพชาเป็นสามเณรที่อารามแห่งนี้ โดยมีครูบาขัตติยะเป็น พระอุปัชฌาย์ สามปีต่อมา (พ.ศ.2442) ได้เข้าอุปสมบท ณ วัดบ้านโฮ่งหลวง อ�ำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดล�ำพูน โดยมี ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับ นามฉายาในการอุปสมบทว่า “สีวิเชยฺโย” มีนามบัญญัติ ว่า พระศรีวิชัย

ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอัน สูงสุดดังปรากฏจากค�ำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า “...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอา พระนิพพานสิ่งเดียว...” มักปรากฏความปรารถนาดังกล่าว ในตอนท้ายของ คัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง ท่ า นเป็ น พระนั ก พั ฒ นาที่ มี ผู ้ เ คารพนั บ ถื อ ให้ เ ป็ น “ครูบา” ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ขณะนั้นครูบาศรีวิชัยอยู่ในต�ำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ จึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ท�ำให้ครูบา ศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จ�ำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้ เป็นฐานก�ำลังส�ำคัญในการด�ำเนินกิจกรรมทางศาสนาและ งานสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้าน อ�ำนาจจากส่วนกลาง เพราะการที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมี สิทธิ์บวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ใน เวลาต่อมา กลับเกิดเป็นความขัดแย้งกับพระราชบัญญัตกิ าร ปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 (พ.ศ.2446) เพราะในพ.ร.บ.ดัง กล่าวก�ำหนดว่า พระอุปชั ฌาย์ทจี่ ะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รบั การแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลาง เท่านั้น โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้นๆ เป็นผู้คัด เลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึง

เมื่ออุปสมบทแล้ว พระศรีวิชัย ได้กลับมาจ�ำพรรษา ที่อารามบ้านปาง 1 พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อ�ำเภอแม่ทา จังหวัดล�ำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอย ค�ำ และครูอีกท่านก็คือ ครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศรีวิชัยกลับมาอยู่ที่อารามบ้านปาง จนถึง พ.ศ.2444 อายุได้ 24 ปี พรรษาที่สี่ ครูบาขัตติยะได้ จาริกออกจากบ้านปางไป (บางท่านว่ามรณภาพ) พระศรี วิชัย จึงรักษาการแทนในต�ำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบ พรรษาที่ 5 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้าย วัดไปยังสถานที่ที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้ดีกว่า คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน โดยได้ ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า “วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง” แต่ ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า “วัดบ้านปาง” ตามชื่อของ หมู่บ้านที่คุ้นเคย 128


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

จะน�ำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ เพื่อด�ำเนินการ แต่งตั้งต่อไป จึงเกิดประเด็นปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระ อุปชั ฌาย์โดยมิได้รบั แต่งตัง้ ตามพระราชบัญญัตนิ ี้ และมีการ จับกุมครูบาศรีวิชัยไปสอบสวน กรณีนี้ได้สร้างปมยุ่งยากให้ ครูบาเจ้าศรีวิชัยที่ท่านยังยึดถือขนบปฏิบัติแบบล้านนาอยู่ ท�ำให้ถกู เพ่งเล็งจากส่วนกลาง เนือ่ งจากเป็นพระทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อความเชื่อความศรัทธาของชาวบ้านสูง น�ำไปสู่การจับกุม ครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น 3 ช่วง เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 30 ปี จากการที่ไม่ปฏิบัติตาม ค�ำสั่งของเจ้าคณะแขวง ตลอดจนไม่ให้ความร่วมมือกับ พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่

ในปณิธานเดิมในการด�ำรงรักษาเอกลักษณ์และสืบสานขนบ แห่งความเป็นล้านนาดั้งเดิมอยู่ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติธรรม มากกว่าที่จะสนใจในระเบียบแบบแผนใหม่ ท่านยังยึดมั่น กับจารีตแบบแผนดั้งเดิมและปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ที่อาจารย์ พระอุปัชฌาย์สั่งสอนมา การต้องอธิกรณ์ในช่วงแรกจนถึง ช่วงทีส่ อง แทนทีป่ วงชนจะเสือ่ มความศรัทธาในตัวครูบาเจ้า ศรีวชิ ัย กลับเป็นว่า ความศรัทธาเพิม่ ขึน้ กว่าเดิมตามแรงบีบ คัน้ จากส่วนกลาง ท่านยังคงแน่วแน่ในการประกอบกิจอันน่า เลื่อมใส เมื่อเดินทางไปแห่งหนใดก็มีศรัทธาสาธุชนเคารพ เชื่อถือ จากที่ได้ธุดงค์ไปทั่วแผ่นดินล้านนาและได้พบเห็น โบราณสถานสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คู ่ บ ้ า นคู ่ เ มื อ งเก่ า แก่ ท รุ ด โทรม ลงเป็นอันมาก ท่านจึงได้ร่วมกับสาธุชนบูรณปฏิสังขรณ์ ซ่อมแซมวัดวาอารามทั่วแผ่นดินล้านนามากมายหลายแห่ง อาทิ บริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุ หริภญ ุ ชัยวรมหาวิหาร จังหวัดล�ำพูน (พ.ศ.2463) บูรณะพระ เจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อ�ำเภอฮอด (พ.ศ.2464) สร้างวิหาร วัดศรีโคมค�ำพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา (พ.ศ.2465) บูรณะพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย บูรณะพระธาตุ ช่อแฮ จังหวัดแพร่ (พ.ศ.2466) วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2467) สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปางพระธาตุ เกตุสร้อยแก่งน�้ำปิง (พ.ศ.2468) รวบรวมพระไตรปิฏกฉบับ อักษรล้านนาจ�ำนวน 5,408 ผูก (พ.ศ.2469-2471) บูรณะ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ.2474)

ส�ำหรับครูบาศรีวิชัยนั้น ท่านยึดถือปฏิบัติในแนวของ นิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่าง ต่างจากนิกายอื่นๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่ เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประค�ำ ถือ ไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแต โดยอ้าง ว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา แม้ท่านจะต้องอธิกรณ์หลายครั้งจากการตีความตาม วินัยสงฆ์ของภาคกลาง และถึงแม้ว่าอิทธิพลของส่วนกลาง จะเข้ามามีอ�ำนาจควบคุมสงฆ์ในล้านนาจนเกิดการแบ่ง ก๊กแบ่งเหล่าในหมู่สงฆ์ล้านนา สิ่งเหล่านี้ก็มิได้ท�ำให้ท่าน สมยอมต่ออ�ำนาจรัฐจากส่วนกลาง ครูบาศรีวิชัยยังคงตั้งมั่น 129


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ เชิงดอยสุเทพด้านห้วยแก้ว โดยมี พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็นผู้ขุดจอบเป็นปฐมฤกษ์ การ สร้างถนนสายนี้ล้วนเกิดจากพลังศรัทธาในครูบาศรีวิชัย และลูกศิษย์คนส�ำคัญคือ ครูบาวงศ์ฯ ครูบาขาวปี ที่ต่างเดิน ทางจากทั่วสารทิศมาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างถนนวันละไม่ ต�่ำกว่า 5,000 คน ถ้าคิดมูลค่าแรงงานเป็นเงินก็คงมากมาย มหาศาลทีเดียว แต่ทงั้ ก�ำลังกายและก�ำลังทรัพย์จำ� นวนมาก ต่างมาร่วมกันโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ ใช้เวลาเพียง 5 เดือน กับ 22 วัน ก็แล้วเสร็จตามสัจจวาจา และเปิดให้รถ ขึ้นลงได้ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2478 นอกจากนี้ ท ่ า นยั ง ได้ ส ร้ า งวิ ห ารวั ด บ้ า นปาง (พ.ศ. 2478 เสร็จปี พ.ศ.2482) วัดจามเทวี (พ.ศ.2479) สุดท้าย คือ สะพานศรีวิชัย เชื่อมระหว่างล�ำพูน (ริมปิง)-(หนองตอง) เชียงใหม่ (พ.ศ.2481) ที่มาสร้างเสร็จภายหลังจากที่ครูบา ศรีวิชัยมรณภาพ วัดต่างๆ ที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยไปบูรณ ปฏิสังขรณ์รวมกว่า 108 วัด ในภายหลังครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ออกจากความขัดแย้ง ในเมืองเชียงใหม่ ไปอยู่ที่วัดบ้านปาง อ�ำเภอลี้ จังหวัดล�ำพูน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2481 (เมื่อก่อน นับศักราชใหม่ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้น ปี พ.ศ.2482) สิริอายุได้ 60 ปี ตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปาง เป็น เวลา 1 ปี จึงได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ ณ วัดจามเทวี อ�ำเภอ

โค้งหักศอกทางขึ้นดอยสุเทพ

และผลงานชิ้นอมตะของครูบาศรีวิชัยก็คือ การสร้าง ถนนทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อ.เมือง จังหวัด เชียงใหม่ ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้รับค�ำเรียกร้องจากศรัทธา ประชาชนให้ช่วยด�ำริและจัดการเรื่องนี้ จึงเริ่มลงมือสร้าง 130


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เมืองล�ำพูน จังหวัดล�ำพูน จนกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนมาร่วม ในพิธีพระราชทานเพลิงศพจ�ำนวนมาก และประชาชนเหล่า นั้นได้เข้าแย่งชิงอัฐิธาตุของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ไฟยังไม่มอด สนิท แม้แต่แผ่นดินตรงที่ถวายพระเพลิง ก็ยังมีผู้ขุดเอาไป สักการบูชา อัฐิธาตุของท่านที่เจ้าหน้าที่สามารถรวบรวมได้ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ส่วน แบ่งไปบรรจุตามสถานที่ต่างๆ ทั่วแผ่นดินล้านนาดังนี้

บัวแก้ว ต๊ะแหงม เป็นบุตรคนที่ 3 ในจ�ำนวน 9 คน เมื่ออายุได้ 12 ปี ด.ช.ชัยวงศ์ ได้ไปฝากตัว เป็นศิษย์วัดก้อท่า หรือวัดแม่ ปิงเหนือ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 6 พ.ศ.2468 ตรงกับ วันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 8 เหนือ (เดือน 6 ใต้) ณ วัดแก่งสร้อย ต.มืดกา อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ครูบาชัยยะวงษาพัฒนา (ครูบาวงศ์) โดยมีพระครูบาชัยลังกา เป็น พระอุปัชฌาย์ ตั้งชื่อให้ว่า “ชัยยะลังก๋าสามเณร” ท่าน เป็นศิษย์อีกรูปหนึ่งที่เจริญรอยปฏิบัติธรรมตามแนวหลัก ของครูบาเจ้าศรีวิไชย ครูบาวงศ์ เมื่อครั้งยังมีชีวิตนอกจาก จะเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีศีลาจริยาวัตรที่ดีงาม แล้ว ยังเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเป็นช่างสถาปนิก ก่อสร้างทั้งงานปูนและงานไม้ ได้เป็นเยี่ยม อีกด้วย

ส่วนที่ 1 บรรจุที่ วัดจามเทวี จ.ล�ำพูน ส่วนที่ 2 บรรจุที่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ ส่วนที่ 3 บรรจุที่ วัดพระแก้วดอนเต้า จ.ล�ำปาง ส่วนที่ 4 บรรจุที่ วัดศรีโคมค�ำ จ.พะเยา ส่วนที่ 5 บรรจุที่ วัดพระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ ส่วนที่ 6 บรรจุที่ วัดน�้ำออกรู จ.แม่ฮ่องสอน ส่วนที่ 7 บรรจุที่ วัดบ้านปาง อ�ำเภอลี้ จ.ล�ำพูน

เมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดย มีครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้าเป็นอุปัชฌาย์ ได้รับ ฉายาว่า “ชัยยะวงษา” ในระหว่างนั้น ท่านได้อยู่ปฏิบัติ และศึกษาธรรมะกับครูบาพรหมจักร ในบางโอกาสท่านก็ จะเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในที่ต่างๆ ทั้งลาวและพม่า ต่อ มาจึงได้กราบลาครูบาพรหมจักรออกจาริกธุดงค์ไปแสวงหา สัจธรรมความหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งนี้เพียงล�ำพังองค์

ครูบาชัยยะวงษาพัฒนา (ครูบาวงศ์) ประวั ติ ข องพระครู บ าชั ย ยะวงษาพั ฒ นา เกิ ด ใน ครอบครัวชาวนาที่มีฐานะยากจน นามเดิมชื่อ ด.ช.ชัยวงศ์ ต๊ะแหงม เกิดเมือวันอังคาร ที่ 22 เมษายน พ.ศ.2456 ตรง กับวันแรม 2 ค�่ำเดือน 7 เหนือ (เดือน 5 ใต้) ปีฉลู ณ ที่บ้าน ก้อหนอง หมู่ 2 ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ล�ำพูน บิดาพ่อน้อยจันทะ- แม่ 131


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เดียวต่อ เพื่อเผยแพร่สั่งสอนธรรมะขององค์สมเด็จ-พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าให้กับพวกชาวเขาในที่ต่างๆ

ครูบาชัยยะวงษาพัฒนา เป็นผู้ที่มีความส�ำคัญทาง พระพุทธศาสนาที่ชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ ใน ต�ำบล นาท ราย และทั่วภาคเหนือตอนบนให้ความเคารพและศรัทธา ยิ่ง รวมทั้งพุทธศาสนิกชนในจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพฯ ในช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ ได้สร้างศาสนวัตถุ ศาสนสถานไว้ มากมาย อาทิเช่น วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม พระมหาธาตุ เจดี ย ์ ศ รี เ วี ย งชั ย เพื่ อ ปลุ ก จิ ต ศรั ท ธาให้ เ กิ ด ในพระพุ ท ธ ศาสนา ท่านเป็นบุคคลส�ำคัญที่สร้างความเจริญให้แก่วัด และ ชุมชนพระบาทห้วยต้ม ต.นาทราย อ.ลี้ นอกจากนี้ยัง เผยแพร่คำ� สอนทางพระพุทธศาสนาให้แก่ชาวบ้าน และสอน ให้ชาวบ้านเลิกฆ่าสัตว์เพื่อกินเนื้อ ด้วยแรงศรัทธาท�ำให้ชาว บ้านชุมชนพระบาทห้วยต้ม ไม่ทานเนื้อสัตว์กันทั้งหมู่บ้าน มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นผู้ริเริ่มหมู่บ้านรักษาศีล 5 แห่ง แรกของประเทศไทย จนกระทั่งได้ถือเป็นแนวปฏบัติอยู่ใน ปัจจุบันทั่วประเทศขณะนี้

เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้เดินทางกลับมาหาครูบาศรี วิชัยพร้อมกับชาวกะเหรี่ยงที่เป็นศิษย์ของท่าน เพื่อช่วย ครูบาศรีวิชัยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ในครั้งนี้ครูบาศรีวิชัย ได้เมตตาให้ท่านเป็นก�ำลังส�ำคัญท�ำงานร่วมกับครูบาขาวปี ในการควบคุมชาวเขาช่วยสร้างทางอยู่เสมอ โดยเฉพาะใน ช่วงที่ยากล�ำบาก เช่น การสร้างถนนในช่วงหักศอก ก่อนที่ จะถึงดอยสุเทพซึ่งได้มีหินก้อนใหญ่มากติดอยู่ใกล้หน้าผา จะใช้กำ� ลังคนหรือช้างลากเช่นไรก็ไม่ทำ� ให้หนิ นัน้ เคลือ่ นไหว ได้ มีเรือ่ งเล่าว่าชาวกะเหรีย่ งทีท่ ำ� งานอยูน่ นั้ ได้ไปกราบเรียน ให้ครูบาศรีวชิ ยั ทราบ ท่านจึงให้คนไปตามครูบาวงศ์ซงึ่ ก�ำลัง สร้างทางช่วงอื่นอยู่ เมื่อมาถึงท่านได้ยืนพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้เดินไปผลักหินก้อนนั้นลงสู่หน้าผานั้นไป ผู้ที่อยู่ใน เหตุการณ์ต่างแปลกใจไปตามๆ กันที่เห็นครูบางวงศ์ใช้มือ ผลักหินนั้นโดยไม่อาศัยเครื่องมือใดๆ ครูบาศรีวิชัยได้ยืนยิ้ม อยู่ข้างๆท่านด้วยความพอใจ ด้วยบารมีและความตั้งมั่นใน การท�ำความดีของครูบาศรีวชิ ยั ทีม่ ตี อ่ พระพุทธศาสนาท�ำให้ พุทธบริษัททั้งชาวบ้านและชาวเขาจากในที่ต่างๆ จ�ำนวน มากมาช่วยสร้างทางขึ้นดอยสุเทพได้ส�ำเร็จสมความตั้งใจ โดยใช้เวลาสร้างเพียง 5 เดือนเศษเท่านั้น โค้งหักศอกทาง ขึ้นดอยสุเทพ

ครูบาชัยยะวงษาพัฒนา มรณภาพ เมื่อวันที่ 17 พ.ศ. 2543 ซึ่งตรงกับ (วันวิสาขะบูชา) รวมสิริอายุได้ 87 ปี 67 พรรษา แม้ 17 ปีล่วงไปแล้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งที่ร่างของครู บาวงศ์ฯ ที่ยังเก็บไว้ในโลงแก้วให้ได้สักการะที่วัดพระบาท ห้วยต้มนั้นยังไม่มีการเน่าเปื่อยแต่อย่างใด ในทุกปีเมื่อ ถึ ง วั น ครบรอบการมรณภาพ จะมี ก ารท� ำ บุ ญ พิ ธี เ ปลี่ ย น 132


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ผ้า ห่มสรีระร่างศพของท่านครูบาฯ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้ แสดงออกซึ่งความกตัญญูและเคารพศรัทธา รวมทั้งมีการ ท�ำบุญฉลองมณฑปเพื่ออุทิศแด่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา อีกด้วย (มีรูปภาพ)

เมื่ อ ถึ ง พรรษาที่ 13 ท่ า นถู ก กลั่ น แกล้ ง และถู ก จั บ ด� ำ เนิ น คดี ใ นข้ อ หาหลบ เลี่ยงการเกณฑ์ทหาร จนต้อง ถู ก บั ง คั บ ให้ สึ ก และครองผ้ า ขาวเป็ น ครั้ ง แรก ในขณะที่ ท่านติดคุกท่านได้ริเริ่มสร้าง โรงพยาบาลล� ำ พู น จนแล้ ว เสร็ จ เมื่ อ ออกจากคุ ก แล้ ว ครูบาอภิชัย (ขาวปี) ครู บ าเจ้ า ศรี วิ ชั ย ได้ ท� ำ การ อุปสมบทให้แก่ทา่ นเป็นครัง้ ทีส่ อง เมือ่ บวชแล้วท่านได้กราบ ลาพระอุปัชฌาย์ไปบูรณะวัดวาอารามต่างๆ ต่อมาท่านได้ ถูกกลั่นแกล้งกล่าวหาว่าเรี่ยไรเงินสร้างโบสถ์ จนถูกจับสึก นุ่งผ้าขาวอีกเป็นครั้งที่สอง

ครูบาอภิชัย (ขาวปี) ครูบาขาวปี เดิมชื่อ “จ�ำปี” เกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2443 เป็นบุตรของพ่อเม่า และแม่จันตา ท่านก�ำพร้า บิดาตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ต่อมาเมื่ออายุได้ 16 ปี มารดาได้น�ำ ไปฝากให้เป็นศิษย์ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดบ้านปาง ท่าน จึงได้เริ่มเรียนหนังสือ โดยเป็นผู้มีนิสัยขยัน เล่าเรียนอย่าง จริงจัง ว่านอนสอนง่ายและนอบน้อม ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงได้ อบรมกล่อมเกลา ถ่ายทอดความรู้ให้ด้วยความเมตตาขณะ รับใช้ใกล้ชิด จนสามารถอ่านออกเขียนได้ เพิ่มพูนความรู้ ขึ้นเป็นล�ำดับ และมีทักษะในการสวดมนต์ได้ดี นอกจาก นี้ในงานก่อสร้าง ท่านก็มิได้นิ่งดูดาย หมั่นสังเกตพิจารณา งานการช่างและเข้าไปช่วยท�ำงานนั้นๆ อย่างตั้งอกตั้งใจ จน มีความรู้ความช�ำนาญในการช่าง

เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้สร้างถนนขึ้นวัดพระบรมธาตุ ดอยสุเทพ ครูบาขาวปีได้พาชาวกะเหรี่ยง 500 คน ไปช่วย ท�ำถนนจนแล้วเสร็จ และได้กลับมาพ�ำนักกับครูบาเจ้าศรี วิชัย ณ วัดพระสิงห์ ต่อมาได้มีผู้ขอร้องให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ท�ำการอุปสมบทให้แก่ท่านเพื่อเป็นภิกษุอีกครั้งหนึ่ง ณ วัดศรีโสดา ซึ่งในการอุปสมบทครั้งนั้นเป็นเหตุให้ครูบาเจ้า ศรีวิชัยต้องอธิกรณ์อีกครั้ง ส่วนครูบาขาวปีก็ต้องสึกนุ่งผ้า ขาวอีกครั้ง และได้กลับไปที่วัดพระพุทธบาทตะเมาะ แม้

เมื่อถึงเวลาอันสมควร ท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุได้ 22 ปี ได้รับฉายา ว่า “อภิชัยขาวปี”

133


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ครูบาขาวปีจะนุ่งผ้าขาว แต่ท่านก็มีวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด และถื อ ศี ล เหมื อ นพระภิ ก ษุ ทุ ก ประการ ท� ำ ให้ มี ศ รั ท ธา สาธุชนเลื่อมใส โดยเฉพาะเมื่อครูบาศรีวิชัยมรณภาพแล้ว ครูบาขาวปีจึงเปรียบเสมือนทายาทธรรมที่มีผู้มาขอความ เมตตาไปเป็ น ประธานในการบู ร ณะวั ด วาอารามต่ า งๆ มากมาย

ครูบาอภิชัยขาวปี ที่วัดพระพุทธบาทผาหนาม ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ล�ำพูน และมีประเพณีเปลี่ยนผ้าห่อสรีระเป็นประจ�ำในวัน ที่ 3 มีนาคม ของทุกปี

ครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสวโร พระครู บ าเจ้ า บุ ญ ชุ ่ ม ถื อ ก� ำ เนิ ด เมื่ อ วั น อั ง คารที่ 5 มกราคม พ.ศ.2508 เวลา 09.00 น. ขึน้ 3 ค�ำ่ เดือน 4 วัยเยาว์ มีชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างขัดสน บิดาเสียชีวิตเมื่อท่าน มีอายุได้เพียง 4 ปี และเมื่อมารดาได้สมรสใหม่มีบุตร-ธิดา อีก 2 คน บิดาเลีย้ งก็เสียชีวติ ลงเช่นกัน แม่แสงหล้าประกอบ อาชีพรับจ้างเกีย่ วข้าว ปลูกผัก ได้รบั ค่าแรงเป็นข้าวสารและ เผือกมัน หากแม่เจ็บป่วยท่านและน้องต้องระเหเร่รอ่ นไปขอ แบ่งปันอาหารจากเพื่อนบ้าน ได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะต่างก็ ฐานะยากจนกันเป็นส่วนใหญ่

ต่ อ มาครู บ าขาวปี ไ ด้ ไ ปบู ร ณะวั ด พระพุ ท ธบาท ผาหนาม อ�ำเภอลี้ จังหวัดล�ำพูน และได้จำ� พรรษาอยูท่ นี่ นั่ มา โดยตลอด ขณะเดียวกันท่านก็ได้เป็นประธานในการบูรณะ วัดวาอารามสร้างโรงเรียน และโรงพยาบาล อีกหลายแห่ง อาทิเช่น โรงเรียนบ้านสามหลัง (อภิชัยบูรณะ) อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2514 คณะศรัทธาวัดสันทุ่งแฮ่ม จังหวัด ล�ำปาง ได้มานิมนต์ท่านไปนั่งเป็นประธานในการก่อสร้าง จนแล้วเสร็จ ต่อมาคณะศรัทธาวัดต้นธงชัย จังหวัดสุโขทัย มานิมนต์ท่านเพื่อขอความเมตตาไปเป็นประธานในการ สร้างพระวิหาร ท่านเดินทางไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2520 และเมื่อไปถึงวัดท่าต้นธงชัยได้เพียงวันเดียว ท่านก็ได้ มรณภาพโดยอาการสงบ เมื่อวันขึ้น 14 ค�่ำเดือน 6 เหนือ ตรงกับวันพฤหัสที่ 3 มีนาคม 2520 เวลา 16.00น สิริรวม อายุได้ 89 ปี

แม่แสงหล้าเป็นคนใจบุญสุนทาน แม้ยากไร้แต่ก็หมั่น จัดเตรียมอาหารไปถวายพระที่วัด ส่วนยายก็สอนให้ไหว้ พระสวดมนต์ และภาวนาพุทโธฯ ท่านได้คลุกคลีอยู่กับวัด ตั้งแต่ตัวน้อยๆ จึงมีความผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนา ตั้งแต่เด็ก แม้การด�ำเนินชีวิตของท่านจะล�ำบากทุกข์ยาก ต่างๆ แต่กลับท�ำให้ทา่ นมีความเข้มแข็งอดทนเป็นนักสู้ ด้วย ความยากจนแม่แสงหล้าจึงได้น�ำท่านไปฝากไว้ที่บ้าน “พ่อ ลุงน้อยจันตา” ขณะอายุ 7-8 ปี ซึง่ ช่วยให้ทา่ นมีโอกาสเรียน หนังสือถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และต่อมาได้ย้ายไปอยู่กับ

ทุกวันนี้ยังได้เก็บพระสรีระร่างของท่านไว้ ณ โลง ศพแก้ว ในหอปราสาทรักษาศพ ที่จัดสร้างให้โดยครูบา วงศ์ (ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา) เพื่อเก็บพระสรีระร่างของ 134


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ป้าชื่อ “แสงดา” จนเรียนหนังสือจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่ออายุได้ 11 ปี

พระธาตุวัดพระเจ้าล้านทอง อ�ำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ ในพม่า เช่น พระธาตุง�ำ เมืองท้าววังนั่ง ต�ำบลเมืองพง พระธาตุดอยดอกค�ำ ต�ำบล เมืองพง / พระธาตุจอมยอง เมื อ งยอง / พระธาตุ จ อม สวรรค์ บ ้ า นโปร่ ง และดอย เวียงหว้า สร้างศาลาและ แท่ น แก้ ว พระธาตุ จ อมพง พระธาตุจอมศรีดับเภมุง เมืองพง ฯลฯ

ต่ อ มาท่ า นได้บวชเณรตามปณิธานที่ตั้งไว้ ตั้ง แต่ วัย เยาว์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2519 ขึ้น 11 ค�่ำ เดือน 8 ณ วัดศรีบญ ุ ยืน ต.ศรีดอนมูล (ป่าถ่อน) อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมีพระครูหิรัญเขตคณารักษ์ วัดศรีบุญเรือง เจ้าคณะ อ�ำเภอเชียงแสน เป็นองค์พระอุปัชฌาย์ สามเณรบุญชุ่มได้ มาจ�ำวัด ณ วัดบ้านด้าย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยปฏิบัติ กิจทุกอย่างในวัด และจ�ำเริญศีลภาวนามิได้ขาด ประมาณ เดือนเศษชาวบ้านต่างร�่ำลือกันว่า “มีเณรน้อยต๋นบุญมา เกิดที่วัดบ้านด้าย” เมื่อใครมีทุกข์ร้อนหรือเจ็บไข้ได้ป่วยจึง พากันมากราบไหว้ ให้ท่านช่วยขจัดทุกข์ภัยให้ สามเณรบุญ ชุ่มจึงสอนให้ทุกคนหมั่นท�ำบุญ รักษาศีล ประพฤติปฏิบัติ ในสิ่งที่ดีงามอันจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ท่านได้รับนิมนต์ ให้ไปเผยแพร่พุทธศาสนา โดยเฉพาะหลายจังหวัดในภาค เหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา ฯลฯ รวมทั้ง เมืองพง เมืองแฮะ เมืองขัน ประเทศพม่า ช่วงเข้าพรรษา ในแต่ละปีท่านได้ไปบ�ำเพ็ญศีลภาวนา ณ พุทธสถานส�ำคัญ หลายแห่ง และได้สัมผัส “ธรรมนิมิต” นานัปการ ตลอด ระยะเวลา 10 ปีแห่งการเป็นสามเณรนั้นท่านได้สร้างธรรม นุสรณ์จากการอนุโมทนาบุญของพุทธศาสนิกชนหลายแห่ง อาทิเช่น พระวิหารวัดบ้านด้ายธรรมประสิทธิ์ ต�ำบลป่าสัก อ�ำเภอเชียงแสน พระธาตุดอยเวียงแก้ว ต�ำบลศรีดอนมูล

ครูบาบุญชุ่ม

ต่อมาท่านได้เข้าอุปสมบทเมือ่ วันที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2529 ตรงกับเดือน 8 เหนือขึ้น 11 ค�่ำวัน เวลา 9.19 น. ในโบสถ์วหิ ารพระเจ้าเก้าตือ้ วัดสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พระราชพรหมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระครูเวสุวันพิทักษ์ เป็นพระอนุสาวนา จารย์ พระครูศรีปริยัตินุรักษ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลัง จากนั้นท่านได้จ�ำพรรษายังที่ต่างๆหลังอุปสมบทหลายแห่ง อาทิ วัดพระธาตุจอมศรีดับเภมุงเมือง วัดพระนอน วัดพระ ธาตุดอนเรือง เมืองพง พม่า / ถ�้ำห้วยรัง บ้านมูเซอ จ่ากู่ / ถ�้ ำ พระพุ ท ธบาทผาช้ า ง ระหว่ า งเมื อ งแฮะ-เมื อ งขั น / ถ�้ำน�้ำตก เมืองแสนหวี สีป้อ ชายแดนพม่า กับประเทศจีน / ถ�้ำผาจุติง ประเทศภูฐาน จนใน พ.ศ.2548 ท่านได้มา 135


จ�ำพรรษาที่ 20 ณ ถ�้ำผาแดง บ้านล่อม ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ในช่วงเข้าพรรษาท่านจะอยู่ในถ�้ำ อธิษฐานไม่เปล่ง วาจาและไม่พบบุคคลใดๆ โดยไม่ออกจากถ�้ำเลยตลอด พรรษา มีอยู่ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.2553ท่านจ�ำพรรษาใน ถ�้ำราชคฤห์ อ.งาว จ.ล�ำปาง นานถึง 3 ปี 3 เดือน และ 3 วัน จึงได้ออกจากถ�ำ้ วันทีอ่ อกจากปฏิบตั ธิ รรมเข้ากรรมฐาน พลังศรัทธาจากไทย จีน พม่า ไทยใหญ่ หลั่งไหลมาชมบารมี พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร อย่างล้นหลาม บริเวณหน้าถ�้ำ มีการตั้งโรงทาน แจกเสื้อกันหนาว ผ้าห่ม อาหารแห้ง ตุ่ม ใส่น�้ำตลอดจนปัจจัยให้กับทุกครอบครัว และต่างได้รับพร จากครูบาบุญชุ่มกันอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ท่านได้ปฏิบัติแบบนี้มาตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปัจจุบันไม่เคยขาด ถือเป็นการปฏิบัติธรรมพระกรรม ฐานเพื่อแสวงหาธรรมอันสูงสุดตามค�ำสอนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ครูบาบุญชุ่มมักบอกลูกศิษย์ว่า ในโลกจักรวาลนี้ไม่มี อะไรเป็นแก่นสาร ทุกสิ่งทั้งปวงเกิดดับตามเหตุปัจจัยไหล ไปผ่านมาและผ่านไป ไม่มีอะไรเหลืออยู่ ไม่ควรไปยึดมั่นถือ มั่นด้วยสิ่งใดทั้งโลกนี้และโลกหน้า จงตั้งจิตอุทิศชีวิตที่เหลือ อยู่น้อยนี้ ถวายเป็นพุทธบูชา น้อมจิตภาวนาให้รู้แจ้งใน รูปนามและสังขารอันไม่เที่ยงทุกข์ เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน

เราเขาอะไร รู้แจ้งด้วยปัญญาตามความจริงว่าทุกสิ่งทุก อย่างในโลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไร...ขอให้ทุกคนตั้งใจจริงท�ำจริงปฏิบัติจริงต่อธรรมะ อย่าท้อถอย ธรรมะทุกอย่างรวมอยู่ที่จิตดวงเดียว เมื่อจิต รู้ จิตตื่น จิตเบิกบานอย่างยิ่งแล้วย่อมพ้นจากทุกข์ การ บ�ำเพ็ญธรรมนี้ไม่ได้หวังเพื่ออะไรเป็นอะไรสักอย่าง แต่เป็น ไปเพื่ออยู่เย็นเป็นสุขในชีวิตประจ�ำวัน เพื่อความหมดห่วง หมดอาลัยในโลกทั้งสาม เพื่อนิพพานเท่านั้น พระครูบาบุญชุ่ม ปัจจุบัน อายุ 53 ปี ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 60 ที่ผ่านมา ลูกศิษย์ชาวไทย ลาว พม่า และจาก สิบสองปันนา ประเทศจีน รวมทั้งภูฏาน ได้เดินทางมารอ กราบครูบาบุญชุ่ม ร่วมส่งท่านเดินทางไปจ�ำพรรษาในถ�้ำ เมืองแกส อ.เมืองสาด รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และปิด วาจา 3 เดือน ซึ่งพระครูบุญบาบุญชุ่ม ได้น�ำสวดมนต์พร้อม ทั้งให้พร สร้างความอิ่มเอมให้กับผู้มีจืตศรัทธากันถ้วนหน้า

อ้างอิงจาก • www.wikipedia.com • http://www.mod-amulet.com • https://www.thairath.co.th/content/ 1000060 • http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/171023


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

137



โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พุทธบริษัท 4 ครบองค์ ณ โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง พระบรมสารีริกธาตุ และต้นโพธิ์จากศรีลังกา ..มูลเหตุแห่งการน�ำให้ พุทธบริษัทสี่ อันได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา รวมกันครบองค์ ณ โลหะ ปราสาทพระธาตุศรีเมืองปง... ไม่อาจอธิบายได้ว่าเป็นเหตุบังเอิญหรือฟ้าบันดาล เป็นความมหัศจรรย์ที่ในช่วงเริ่มแรกของการรวบรวมข้อมูล และประสานงานเพื่อท�ำหนังสือโลหะปราสาทและประวัติ วัดบ้านปงเล่มนี้ ตรงกับปี พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ คุณณัฎฐ์ธิดา จารีย์ลัคน์ บรรณาธิการ ผู้เขียนและเรียบเรียง บทความในหนังสือเล่มนี้ ได้มโี อกาสเข้าร่วมพิธบี รรพชาเป็น สามเณรี (สายศรีลงั กา) ทีอ่ ารามภิกษุณนี โิ รธราม อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ที่ได้จัดขึ้นเป็นเวลา 9 วันเพื่อร่วมฉลองปีมหา มงคลพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า โดยได้รบั ความเมตตาจากท่านพระภิกษุณี

สุมิตรา พระปวัตตินี (หรือพระอุปัชฌาย์ฝ่ายภิกษุณี) เจ้า อาวาสวัดศรีละวาสะ (Seelavasa) เดินทางมาจากประเทศ ศรีลังกา เป็นประธานในการประกอบพิธีบรรพชา พร้อมกับ ท่านพระภิกษุณีวิจิตรนันทะ เจ้าอาวาสแห่งวัดศากยธิดา (Sakyaditha Meditation and Training Centre) เมือง มานาทูรา ประเทศศรีลังกา โดยก่ อ นหน้ า นี้ ไ ด้ มี ก ารประสานงานบอกเล่ า ถึ ง เจตนารมณ์และความพยายามในการก่อสร้างโลหะปราสาท ถวายเป็ น พุ ท ธบู ช า รวมทั้ ง ความตั้ ง ใจในการท� ำ งาน เผยแผ่พุทธศาสนาและการพัฒนาชุมชนของท่านพระครู อาชวปรีชา ท่านเจ้าอาวาสวัดอรัญญวาส (บ้านปง) ให้กับ ท่านภิกษุณีนันทญาณี แห่งอารามภิษุณีนิโรธารามมาโดย ตลอด และแล้วด้วยความช่วยเหลือประสานงานของสิกขมา นาสุวิดา (ปัจจุบัน คือ ภิกษุณีสุวิดา วชิรญาณี) ที่ได้แนะน�ำ 139


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

140


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ถึงโลหะปราสาทล้านนาแห่งนีใ้ ห้กบั พระภิกษุณวี จิ ติ รนันทะ ที่จะมาประกอบพิธีบรรพชาที่เมืองไทย ท่านจึงมีเมตตาจิต น้อมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและหน่อโพธิ์จากพุทธคยา ประเทศอินเดีย มามอบให้ประดิษฐาน ณ โลหะปราสาทหลัง ที่ 4 ของโลก แห่ง จ.เชียงใหม่นี้ ดังนั้น เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2557 คณะภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี อุบาสก อุบาสิกาจากอารามภิกษุณี นิ โ รธารามจึ ง ได้ น� ำ ขบวนแห่ พ ร้ อ มกั บ คณะศรั ท ธาที่ วัดอรัญญวาส (บ้านปง) เพือ่ น้อมอัญเชิญพระบรมสารีรกิ ธาตุ และต้นโพธิ์จากศรีลังกามาประดิษฐาน ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งใน ขณะนั้นสามเณรีณัฎฐ์ธิดาก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแล หน่อต้นโพธิ์ พระบรมสารีริกธาตุ และเป็นหนึ่งในสามเณรี ที่ร่วมขบวนในการครั้งส�ำคัญนั้นด้วย นับเป็นขบวนแห่ของ เหล่าภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี กว่า 80 รูป ที่เกิดขึ้นเป็น ครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ไทย คณะสงฆ์และชาวบ้าน ปงได้ให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ ยังความปลื้มปีติแก่ ผู้เข้าร่วมพิธีที่ได้มีโอกาสพบเห็นนักบวชสตรีผู้มีศีลาจริยา วัตรอันงดงามมารวมตัวกันจ�ำนวนมากอย่างที่ไม่เคยเกิด ขึ้นมาก่อน อนึ่ ง ตามประวั ติ ศ าสตร์ โ ลก ได้ มี ก ารสร้ า งโลหะ ปราสาทหลังที่ 2 ขึ้น ที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา (ปั จ จุ บั น เหลื อ เพี ย งซากเสาปรั ก หั ก พั ง หนึ่ ง พั น กว่ า ต้ น ) ...เป็นไปได้ไหมว่า ความสัมพันธ์ศรีลังกากับโลหะปราสาท ล้านนาแห่งนี้ อาจมีความเชื่อมโยงกันมาอยู่ก่อน...

ภายหลังพิธี คณะนักบวชและศรัทธาจากนิโรธารามฯ ได้เดินทางรถขึ้นเขาไปชมโลหะปราสาทที่อยู่ระหว่างการ ก่อสร้าง โดยท่านพระครูอาชวปรีชาได้น�ำอธิบายและ สนทนาปราศรัยอย่างเป็นมิตรไมตรี เป็นความปลาบปลื้มที่ ได้เห็นภาพการรวมตัวกันของพุทธบริษทั สี่ ณ โลหะปราสาท (พระธาตุศรีเมืองปง) เป็นครั้งแรก โดยที่ไม่ได้มีการวางแผน กันมาก่อนล่วงหน้า ปั จ จุ บั น พระบรมสารี ริ ก ธาตุ จ ากศรี ลั ง กาได้ น� ำ ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ ส่วนต้นโพธิ์ได้รับการอัญเชิญและ ประดิษฐานลงบนลานดินหน้าโลหะปราสาท เพื่อเป็นที่ ตั้งแห่งความระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม และหมู่ คณะสาวกของพระพุทธเจ้า (ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์) ที่ได้ มาบรรจบครบองค์กัน ณ พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์ “โลหะ ปราสาททิพยวิมานค�ำ” ในยุคร่วมสมัยกับพวกเราทุกท่าน ในปัจจุบันนี้ 141


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

142


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

143


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับภิกษุณีในประเทศไทย ในประเทศไทยไม่ มี ก ารอุ ป สมบทภิ ก ษุ ณี ม า นานมากแล้วและไม่มีกฎหมายรองรับการอุปสมบท ในบ้านเรา แต่นั่นมิได้หมายความว่าภิกษุณีไม่มีอีก แล้วในยุคสมัยนี้ ประเทศพุทธศาสนาอื่นๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น ยังคงมีการสืบสายการอุปสมบทภิกษุณี แต่เป็น สายมหายาน ประเทศธิเบตเป็นสายวชิรยาน ส่วน ประเทศไทยนับถือพุทธศาสนาสายหินยาน (เถรวาท) ซึ่งมีการสานสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับประเทศศรีลังกามา แต่ครั้งประวัติศาสตร์ และที่แห่งนั้นยังมีการสืบสาย ภิกษุณีด้วยการอุปสมบทโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย โดยมีองค์ อุปัชฌาย์ (พระปวัตตนี) ที่ได้รับการแต่งตั้งและเป็นที่ ยอมรับ ในยุคปัจจุบันที่ผู้หญิงมีความใฝ่รู้ในธรรมและ ต้องการพัฒนาตนขึ้นเป็นนักบวชอย่างแน่วแน่จริงจัง

(การบวชชี นับเป็นอุบาสิกาผู้ปลงผม ถือพรหมจรรย์ รักษาศีล 8) สตรีที่มีความมุ่งมั่นในการศึกษาปฏิบัติ ธรรมตามหนทางการเป็นบุตรสาวแห่งพระพุทธองค์ จึงได้เดินทางไปประกอบพิธีบรรพชาและอุปสมบท ที่ประเทศศรีลังกา ซึ่งในเบื้องแรกจะเป็นเพียงการ บรรพชาเป็น “สามเณรี” (ถือศีล 10) เท่านั้น หา ได้เป็นภิกษุณีเลยไม่ เมื่อสามเณรีมีความพร้อม มี ความตั้งใจแน่วแน่ที่จะถือเพศบรรพชิตอุปสมบทเป็น ภิกษุณีต่อไป ต้องมาขอสิกขาสมมุติจากภิกษุณีสงฆ์ ผู้ที่ตนอาศัยอยู่ด้วย เพื่อเป็น “สิกขมานา” โดยจะ ต้องรักษาศีล 6 ข้อแรกอย่างเคร่งครัดไม่บกพร่อง ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี หากผิดข้อใดข้อหนึ่งใน 6 ข้อ นั้น ต้องมาสมาทานกับภิกษุณี และเริ่มต้นนับใหม่ใน

144


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

วันนั้น ระหว่างนั้นเรียกว่าเป็น “สิกขมานา” (ผู้ศึกษา ในศีลของตนให้ครบถ้วนบริสุทธิ์ตลอด 2 ปี) เมื่อรักษา ศีล 6 ข้อติดต่อกันโดยไม่บกพร่องได้ครบ 2 ปีแล้ว สิกขมานาผู้นั้นจึงมีสิทธิ์มาขอ “วุฏฐานสมมติ” จาก ภิกษุณีสงฆ์ คือ ออกจากความเป็นสิกขมานา เพื่อเป็น “อุปสัมปทาเปกขะ” คือ ผู้เพ่งจะอุปสมบทเป็นภิกษุณี จะต้องเดินทางเข้าสู่พิธีอุปสมบทเป็นภิกษุณีโดยสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ และ ภิกษุณีสงฆ์ ที่ประเทศศรี ลังกา (ถือศีล 43ข้อ คือ จุลศีล 26 มัชฌิมศีล 10 มหาศีล 7 และรักษาพระวินัยบัญญัติ 311 ข้อ ) เพื่อประกอบ พิธีอย่างถูกต้องตามพระวินัยต่อไป

เมื่ อ อุ ป สมบทแล้ ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น สามเณรี ห รื อ ภิกษุณี ถือว่าเป็นนักบวชในพุทธศาสนาสายศรีลังกา ซึ่งได้กลับมาปฏิบัติธรรมประพฤติพรหมจรรย์ในเมือง ไทย ส�ำหรับอารามภิกษุณีนิโรธาราม อ.จอมทอง และ อารามภิ ก ษุ ณี สุ ท ธจิ ต ต์ อ.ดอยสะเก็ ด จ.เชี ย งใหม่ นักบวชสตรีจะอยู่ภายใต้การปกครองดูแลของท่าน พระอาจารย์นนั ทญาณีภกิ ขุนี ประธานภิกษุณสี งฆ์ และ ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากคณะพระภิกษุสงฆ์ เชียงใหม่ โดยเฉพาะคณะสงฆ์ อ.จอมทอง และคณะ สงฆ์อ.ดอยสะเก็ด ให้ความเมตตาสนับสนุนให้ภิกษุณี สงฆ์ได้ท�ำบุพพกิจก่อนลงปาติโมกข์ ด้วยการขอโอวาท และถามวันอุโบสถทุกครึ่งเดือน

145


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุศรีเมืองปง และก่อสร้างโลหะปราสาททิพยวิมาน เฉลิมพระเกียรติฯ รัชกาลที่ 9 • ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ล�ำธาร คอนสตรัคชั่น • กลุ่มพุทธศิลปกรรมล้านนา วัดบ้านปง • นายล้วนชาย ว่องวานิช • นายกเทศมนตรีต�ำบลบ้านปง • อาจารย์พรศิลป์ รัตนชูเดช • อาจารย์สายัณห์ เขื่อนแก้ว • อาจารย์กิติยา อุทวิ • นายสุชัย สิริรวีกุล • นายชัยยุทธ ประยูรศร ประธานด�ำเนินโครงการ • พระณัฐชัย อภิชวานนฺโท (พระครูอาชวปรีชา) ประธานฝ่ายบรรพชิต • นายประเสริฐ อินต๋า ก�ำนันต�ำบลบ้านปง ประธานฝ่ายฆราวาส รองประธานด�ำเนินโครงการ • นายค�ำ อินก้อน ประธานคณะกรรมการวัด • นายเวช ถาค�ำวงษ์ รองประธาน ฯ คณะกรรมการฝ่ายเลขานุการ • นายสมาน ละม่อม • นายพงศกร อินเป็ง • นายสราวุธ หลวงดี • น.ส.ภาริณี ผักหวาน

คณะอนุกรรมการด�ำเนินงาน

ประธานกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ • พระเทพวิสุทธิคุณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (มรณะภาพแล้ว) รองประธานกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ • พระราชเขมากร (พระเทพปริยัติ) เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ • พระธรรมวรสิทธาจารย์ (พระธรรมเสนาบดี) รองเจ้าคณะภาค 7 กรรมการที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ • พระครูอาทรวิสุทธิคุณ เจ้าคณะอ�ำเภอหางดง • พระครูรัตนธรรมพินิต รองเจ้าคณะอ�ำเภอหางดง • พระครูปัญญาวัชราวุธ รองเจ้าคณะอ�ำเภอหางดง • พระครูพมิ ลศีลสุนทร ทีป่ รึกษาเจ้าคณะต�ำบลบ้านปง • เจ้าอาวาสทุกวัดในต�ำบลบ้านปง ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส • นายอุดม สุวิทย์ศักดานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดเชียงใหม่ • นายสมบูรณ์ ไชค�ำ อดีตก�ำนันต�ำบลบ้านปง คณะกรรมการที่ปรึกษาและอุปถัมภ์ • ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด เชียงใหม่ 49 คอนสตรัคชั่น 146


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะกรรมการฝ่ายบัญชีและการเงิน • นางเบญจพร ถานะวร • นางนุชจรินทร์ ปิมปา • นางณิชานันท์ อินเสาร์ • นางสาวอ�ำภา อินเป็ง • นางสม ราเพชร (เสียชีวิตแล้ว) • นายเกตุ วงค์ขัด คณะกรรมการฝ่ายอนุมัติงบประมาณ • พระสิทธิศักด์ สิทธิปญฺโญ • นายค�ำ อินก้อน (เสียชีวิตแล้ว) • นายเวช ถาค�ำวงษ์ • นางสม ราเพชร (เสียชีวิตแล้ว) คณะกรรมการฝ่ายจัดหาวัสดุอุปกรณ์ • นายบุญศรี หม่อมป๊ะ • นายวุฒิโชติ ปาแฮ • นายทาชล อินใจมา • นายประเสริฐ อินต๋า คณะกรรมการฝ่ายควบคุมการก่อสร้าง • นายสมศักดิ์ ขัติวงค์ (เสียชีวิตแล้ว) • นายบุญเลิศ ศิริป้อ (เสียชีวิตแล้ว) • นายก๋อง ปะเปิ้น • นายปิยะดนัย บัวเรียว • นายจันทร์แก้ว อินเป็ง

คณะกรรมการฝ่ายด�ำเนินงาน • นายพัฒน์ อินใจมา • นายสวัสดิ์ ตันฟู • นายสมพร แก้วหน้อย (เสียชีวิตแล้ว) • นายจันทร์แก้ว อินเป็ง • นายสุนทร สุโรพันธ์ • นายวรพงษ์ ปิ่นแก้ว • นายเมืองใจ ปัญจะเรือง • นายบุญธรรม อินดวง คณะกรรมการฝ่ายประเมินผลโครงการ • นายจันทร์แก้ว อินต๋า • นายเมืองใจ แสงหล้า • นายไชยพร ผ่องพักตร์ • นายสายัณห์ เขื่อนแก้ว • นายไชยา แสงแก้ว คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ • นายพิมล ปัญญาค�ำ • นายวรวิทย์ อินก้อน • นายชัยวัฒน์ บุญชัย • นายสมพร ปัญญา • นายสายัณห์ อินสัน • นายประพันธ์ วิชัยค�ำ คณะศรัทธาวัดอรัญญวาส (บ้านปง) ทุกคน เป็นคณะอนุกรรมการโดยต�ำแหน่ง 147


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะกรรมการ (แถวบน จากซ้ายไปขวา) พระมหาสมพร สํวรปุตฺโต พระจ่อย แสงค�ำ พระปังกร ชยวุฑโฒ พระสีทน วิสุทฺธิเมธี พระครูอาชวปรีชา พระอุดสา อชิโต พระจักรกฤษ์ อภิชาโต พระอุไลวัน จนฺทโก พระเริงฤทธิ์ สุจิตฺโต (แถวล่าง จากซ้ายไปขวา) สามเณรวัชรพงษ์ ทองติ๊บ สามเณรจอน สามเณรภัทรพล ปัญญา พระพิมพา วอนมา สามเณรชัยวัฒน์ ใจแดง สามเณรตี๋ สามเณรอ่อง ลุงยุ้น

148


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะกรรมการ (แถวบน จากซ้ายไปขวา) นายปั๋น อินสิงห์ นายติ๊บ กิติกุศล นายจันทร์แก้ว อินต๋า นายทร ถาค�ำวงษ์ นายสิงห์ค�ำ อินก้อน พระครูอาชวปรีชา นายแก้ว กาวิไชย นายปัน อินกุนะ นายบุญช่วย เตชะเต่ย นายอินตา สมเมือง นายสิงห์ค�ำ อินติ (แถวกลาง จากซ้ายไปขวา) นางลัดดา ศิริป้อ นางดวง อินดวง นางปา อินดวง นางบัวค�ำ อินทจักร นางยุพิน อินเป็ง นางค�ำ อินใจมา นางพรแก้ว แดนเจริญ นางบ้วจันทร์ ใบมะลิ นางวัฒนา วงศ์แสนใจ (แถวล่าง จากซ้ายไปขวา) นางเฮือนค�ำ สายมะโน นางเหรียญ ล�ำธาร นางใจ๋ อินเสาร์ นางค�ำปัน อินใจมา นางสุข ไทยใหม่ นางด้วง ศิริป้อ นางผัด ล�ำธาร นางบุญปั๋น อินติ นางเอ้ย อินเป็ง 149


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

กลุ่มผู้บุกเบิกทำ�ทางถนนขึ้นโลหะปราสาท (จากซ้ายไปขวา) นายจันทร์แก้ว อินเสาร์ นายผัด อินเป็ง นายดวงแก้ว อินเป็ง นายวุฒิโชติ ปาแฮ นายสุพันธ์ อินก๋า นายตาน อินก๋า นายขันแก้ว บัวเรียว

150

นายปั๋น อินเป็ง นายยศ ต�่ำทา


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะกรรมการ (แถวบน จากซ้ายไปขวา) นายหวัด ตันฟู นายบุญศรี หม่อมป๊ะ นายพัฒน์ อินใจมา นายเกตุ วงศ์ขัด นายสมบูรณ์ ใจโต นายดวงค�ำ อินเสาร์ นายสุนทร สุโรพันธ์ พ่อหลวงประพันธ์ วิชัยค�ำ นายจันทร์ อินจินา นายทองสุข ไชยวรรณ (แถวกลาง จากซ้ายไปขวา) นายบุญรัตน์ อินจินา นายเมืองใจ แสงหล้า นายสุข ไชยวรรณ ก�ำนันประเสริฐ อินต๋า นายจีระยุทธ วงศ์แสนใจ นายพนม อินเป็ง นายเมืองใจ ปัญจะเรือง (แถวล่าง จากซ้ายไปขวา) นางนุชจรินทร์ ปิมปา นางสาวอนุสรา กันทรวิลาวัลย์ นางวันเพ็ญ ศิริป้อ นางณิชนันท์ อินเสาร์ นายจันทร์แก้ว อินเป็ง 151


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

กิจกรรมงานบุญ

152


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

กิจกรรมงานบุญ

153


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

บรรจุหัวใจสิงห์

154


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

พิธีเททองหล่อพระพุทธนวบพิตรจักรวัตติมงคล

155


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

โครงการบรรพชาสามเณร ภาคฤดูร้อน

156


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะศรัทธา

157


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะศรัทธา

158


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

คณะศรัทธา

159


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

160


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

161


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

162


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

163


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

164


โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

165




โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ผู้เขียน พระครูอาชวปรีชา (ณัฐชัย อภิชวานนฺโท) ณัฎฐ์ธิดา จารีย์ลัคน์ บรรณาธิการ ณัฎฐ์ธิดา จารีย์ลัคน์ ถ่ายภาพ ตันติกร ศิริอางค์ อภิญญา เสียงสืบชาติ วัชรพงษ์ ใจพุธ ภาพปก / ภาพมุมสูง Bird’s Eye View ตรีรัตน์ ว่องวรภัทร ออกแบบ / พิมพ์ FLUKE Graphic Design & Printing เจ้าของลิขสิทธิ์ วัดอรัญญวาส (บ้านปง) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ Id Line : 086 189 1948 Facebook : โลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีจิตศรัทธาร่วมกุศลครั้งใหญ่ในการสร้างโลหะปราสาท พระธาตุศรีเมืองปง พุทธสถานแห่งล้านนาศูนย์กลางแห่งการเผยแผ่พุทธศาสนาในเอเชีย อันจะเป็นสมบัติของแผ่นดินไทย สืบไป 168


วัดอรัญญาวาส (บ้านปง) 99 หมู่ 2 ต.บ้านปง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230

Id Line 086-1891948



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.