จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 40

Page 1

ผู้คนส่วนใหญ่มักอยากให้ชีวิตยืนยาว แต่ชีวิตมิใช่เส้นตรง หากยังมีมิติ อื่นๆ ด้วย หากเปรียบชีวิตดังกระแสน้ำ ชีวิตก็ต้องมีอย่างน้อยสามมิติ คือ

ยาว กว้ า ง และลึ ก ดั ง นั้ น การมี อ ายุ ยื น ยาวจึ ง ไม่ ช่ ว ยให้ ชี วิ ต สมบู ร ณ์ แต่

จะต้องมีความกว้างด้วย นั่นคือ มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจต่อ

เพื่อนมนุษย์รู้สึกเชื่อมโยงกับสรรพชีวิต และรับผิดชอบส่วนรวม ชีวิตที่ยืนยาว แต่ใจแคบจิตเล็ก คิดถึงแต่ตัวเอง ไม่อาทรเพื่อนมนุษย์ หรือไม่สนใจส่วนรวม เลย ย่อมเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ไม่ได้ แต่นอกเหนือจากความกว้างแล้ว ชีวิตที่ดีต้องมีความลึกด้วย นั่นคือ

มีความลุ่มลึกในจิตใจ สามารถหยั่งถึงความสุขภายใน รวมทั้งประจักษ์แจ้งถึง ความจริงที่ลึกซึ้งที่สุดของมนุษย์ นั่นคือ ความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ความจริง ดังกล่าวซุกซ่อนอยู่ในส่วนลึกที่สุดของมนุษย์ ที่ยากจะหยั่งถึงได้หากขาดการ ใคร่ครวญด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง โดยปราศจากอคติและด้วยใจที่เป็นกลาง อย่างแท้จริง ตราบใดที่มองไม่เห็นความจริงดังกล่าว เราก็จะถูกครอบงำด้วย ความหลงและเกิดความสำคัญมั่นหมายในตัวตน หวงแหนในตัวตนและเห็นแก่ตัว เป็นอย่างยิ่ง ผลก็คือจิตใจคับแคบ ชีวิตตื้นเขิน แม้จะมีชีวิตยืนยาวแต่ก็หาประโยชน์มิได้ กลับสร้างปัญหา มากมายให้แก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ชีวิตลุ่มลึกได้ก็เพราะมีปัญญาฉันใด จิตใจกว้างขวางได้ก็เพราะมีเมตตา ฉันนั้น ปัญญาและเมตตาจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่เติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์ แต่ก็ ไม่ใช่ง่ายที่ปัญญาและเมตตาจะบังเกิดขึ้นมาในใจ เพราะทุกวันนี้รอบตัวล้วน อบอวลด้ ว ยบรรยากาศแห่ ง ความโกรธ เกลี ย ด กลั ว ระคนด้ ว ยสิ่ ง ยั่ ว ยุ ใ ห้

หมกหมุ่นใน กิน กาม เกียรติ ในยามนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสติ หาไม่ก็จะ ถูกอกุศลทั้ง ๖ ก.นั้นครอบงำจิตใจ กิน กาม เกียรตินั้น เป็นปัญหาของสังคมไทยมานานแล้วนับแต่กระแส บริโภคนิยมไหลบ่า แต่ในช่วงไม่กี่ปีหลัง โกรธ เกลียด กลัว ได้ปกคลุมจิตใจ ของผู้ ค นมากขึ้ น ทำให้ เ กิ ด การแบ่ ง ฝั ก แบ่ ง ฝ่ า ยและแตกแยกอย่ า งรุ น แรง

NewsletterPutVol.40 l.indd 1

10/25/10 10:25:38 PM


จนพร้อมจะห้ำหั่นทำร้ายกัน อย่างน้อยก็ด้วยวาจา โดยไม่สนใจเหตุผลและ ความถู ก ต้ อ ง (หาไม่ ก็ เ อาความถู ก ต้ อ งมาผู ก ติ ด กั บ ตั ว เองหรื อ พวกของตั ว

ดังนั้นใครที่คิดหรือทำต่างจากตน ก็กลายเป็นผิดไปหมด หรือหนักกว่านั้นคือ อะไรที่ตนหรือพวกตนทำ ย่อมถูกต้อง แต่หากสิ่งเดียวกันนั้นกระทำโดยผู้อื่น หรือพวกอื่น ย่อมกลายเป็นผิดไปหมด) หากไม่ชอบใคร ก็อย่าเอาผู้นั้นเป็นครู หรือเลียนแบบการกระทำของเขา ถึงเขาจะด่าเราอย่างเสียๆ หายๆ นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราควรจะด่ากลับ ท่าน อาจารย์พุทธทาสเตือนใจได้ดีมากเมื่อท่านพูดว่า หมาเห่า อย่าเห่าตอบ เพราะ จะทำให้มีหมาเพิ่มอีกหนึ่งตัว ถึงจะไม่ชอบใคร ก็อย่าเหมารวมว่าเขาผิดหรือเลว และถึงแม้เขาจะ

ทำผิด ก็อย่าลืมว่าเขาเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับเรา รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนเรา รวมทั้งมีสิทธิเสรีภาพบางอย่างที่เราไม่อาจละเมิดได้ เช่น สิทธิเสรีภาพในชีวิต เราจึงไม่ควรมองเขาเป็นปีศาจหรือตัวเลวร้ายที่เราจะทำอย่างไรกับเขาก็ได้ ความคิดว่า “คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์” ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อผู้อื่นเท่านั้น หาก ยังเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง เพราะมันสามารถกัดกร่อนความเป็นมนุษย์ใน

ตัวเรา ทำให้ความโกรธเกลียดครอบงำจิตใจ จนสามารถทำสิ่งเลวร้ายหรือ สนับสนุนให้เกิดการกระทำอันเลวร้ายได้ ซึ่งในที่สุดย่อมนำไปสู่ความรุนแรงใน สังคม ดังที่เกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว โดยเฉพาะเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙

ไล่มาจนถึงเหตุการณ์นองเลือดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ความขัดแย้งที่ขยายตัวเป็นความรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่าคือเครื่องบ่งชี้ถึง ความพิกลพิการบางอย่างในสังคมไทย มันมิใช่ความพิกลพิการในทางโครงสร้าง อันจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วนเท่านั้น หากยังสะท้อนถึงความพิกลพิการ ทางจิตสำนึกหรือทางวัฒนธรรม ที่ต้องได้รับการแก้ไขด้วยเช่นกัน สังคมไทยต้องการการปรับเปลี่ยนอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง ด้วยวิธีนี้ เท่านั้นสังคมไทยจึงจะมีอนาคตที่ยืนยาวได้

NewsletterPutVol.40 l.indd 2-3

พุ ท ธิ ก า

ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๔๐ เดือนตุลาคม ๒๕๕๓

คนผิดก็มีสิทธิได้รับความเมตตา

ความไม่เป็นธรรมที่ต้องปฏิรูป

๑๕

ความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่

๒๓

๓๐

๓๑

๓๒

๓๘

๔๑

10/25/10 10:25:39 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

สองสามวันหลังกรณีตากใบซึ่งจบลงด้วยความตาย ของผู้ชุมนุม ๗๙ คนบนรถบรรทุกระหว่างถูกลำเลียงไปยัง ค่ า ยทหาร ข้ า พเจ้ า ได้ พ บกั บ มิ ต รผู้ ห นึ่ ง ซึ่ ง จู่ ๆ ก็ พู ด ถึ ง เหตุการณ์ดังกล่าว พร้อมกับแสดงความเห็นว่า “น่าจะตาย มากกว่านี้” ความรู้สึกอย่างแรกที่เกิดกับข้าพเจ้าคือประหลาดใจ เนื่ อ งจากมิ ต รผู้ นั้ น ไม่ เ พี ย งสนใจการปฏิ บั ติ ธ รรมเท่ า นั้ น หากยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงชวนคนมาทำกรรมฐาน ถึงกับตั้ง ศูนย์ปฏิบัติธรรมบนที่ดินของตน ส่วนการให้ทานรักษาศีล เขาก็บำเพ็ญอย่างแข็งขัน ข้าพเจ้าคาดไม่ถึงว่ามิตรผู้นี้จะมีความคิดเช่นนั้น ก็ เนื่องจากคาดหวังว่าผู้ที่ใฝ่ศีลใฝ่ธรรมน่าจะมีเมตตากรุณา มากกว่าคนทั่วไป แม้จะไม่ถึงกับมีความเอื้ออาทรต่อมนุษย์ ทั้งปวง แต่อย่างน้อยก็ไม่ควรยินดีในความตายของผู้อื่น แม้จะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเขาก็ตาม

NewsletterPutVol.40 l.indd 4-5

เมื่อความตายเกิดกับใครก็ตาม นั่นมิใช่สิ่งที่พึงยินดีในทัศนะของ ชาวพุทธ เพราะความตายนั้นตัดรอนโอกาสที่บุคคลจะได้ทำความดี แม้ เขาจะทำความเลวมามาก แต่ทุกคนก็สามารถหวนกลับมาทำความดีได้ เสมอตราบใดที่เขายังมีลมหายใจ ใช่แต่เท่านั้นความตายของเขา ยัง หมายถึงความทุกข์ของผู้คนอีกมากมาย เพราะเขามีพ่อแม่ญาติพี่น้อง คนรักและลูกหลานที่ไม่เพียงเศร้าโศกเสียใจเพราะการจากไปของเขา เท่านั้น แต่อนาคตของหลายคนอาจดับวูบลงเพราะไม่มีใครให้พึ่งพา อาศัยอีกต่อไป คนทั่วไปนั้นย่อมคิดนึกไปตามอำนาจของอารมณ์และอคติ แต่นั่น มิใช่วิสัยของผู้ประพฤติธรรม แม้จะมีความโกรธเกลียดชิงชังเกิดขึ้นในใจ อันเป็นธรรมดาของปุถุชน แต่การทำสมาธิภาวนาน่าจะช่วยให้เรารู้เท่าทัน อารมณ์ดังกล่าว ไม่ปล่อยให้มันครอบงำใจ จนรู้สึกสะใจเมื่อเห็นความ พินาศของคนอื่น หรือเห็นดีเห็นงามไปกับการทำร้ายผู้อื่น อย่างน้อยก็ ยังควรมีสำนึกในความถูกต้องเที่ยงธรรม ไม่เบี่ยงเบนผันแปรตามความ ชอบหรือชัง อย่าว่าแต่ผู้ชุมนุมประท้วงเลย แม้เป็นอาชญากรก็ไม่สมควร ตายเพราะถูกวางซ้อนทับหลายชั้นราวกับสิ่งของจนขาดใจตายในการ ควบคุมของเจ้าหน้าที่ ถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยกับเขา แต่เขาก็ควรได้รับ สิทธิพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมมิใช่หรือ ข้าพเจ้าพบในเวลาต่อมาว่า มิตรผู้นั้นมิใช่กรณียกเว้น ชาวพุทธที่ เป็นนักปฏิบัติธรรมจำนวนไม่น้อยก็มีความรู้สึกนึกคิดในทำนองเดียวกับ เขา ทำให้ข้าพเจ้าอดสงสัยใจไม่ได้ว่าเหตุใดการปฏิบัติธรรมจึงไม่ช่วย

ให้ เ ขามี เ มตตากรุ ณ าหรื อ มี ส ำนึ ก ในความถู ก ต้ อ งเที่ ย งธรรมมากกว่ า

คนทั่วไป มีความผิดพลาดตรงไหนจึงทำให้เขาไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจที่

10/25/10 10:25:40 PM


ยินดีในความตายของผู้คนทั้งๆ ที่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธหรือนัก ปฏิบัติธรรม อย่าว่าแต่คนที่คิดต่างจากเรา หรือทำสิ่งที่ไม่ถูกใจเราเลย แม้กระทั่ง คนที่มุ่งร้ายต่อเรา หรือเบียดเบียนเรา วิสัยของชาวพุทธคือ นอกจาก

จะไม่ตอบโต้ด้วยความรุนแรงแล้ว ยังมิพึงโกรธตอบหรือสาปแช่งให้เขา ได้ รั บ ความฉิ บ หาย หากยั ง ทำยิ่ ง กว่ า นั้ น คื อ แผ่ เ มตตาให้ เ ขา ตั้ ง จิ ต ปรารถนาดีต่อเขา ดังมีพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย หากพวกโจรผู้ประพฤติต่ำทราม จะพึงใช้เลื่อยที่มี ที่จับ ๒ ข้างเลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้มีจิตคิดร้ายแม้ในโจรพวกนั้น ก็

ไม่ชื่อว่าทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อดกลั้นไม่ได้นั้น แม้ใน

ข้อนั้นเธอทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรผัน เรา จักไม่เปล่งวาจาชั่วหยาบ จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ อยู่อย่าง ผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ เราจักแผ่เมตตาจิตไปให้บุคคลนั้น และเราจัก แผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์เป็นมหัคคตา ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความ เบียดเบียนไปยังสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า อันเป็นอารมณ์ของเมตตาจิตนั้นอยู่”

ใช่แต่เท่านั้น พญาวานรยังคงอาสาพาพราหมณ์ผู้นั้นเดินออกจากป่าดัง

ที่รับปากไว้ โดยให้พราหมณ์เดินทิ้งระยะห่างจากพญาวานรเพื่อความ ปลอดภัย จนสามารถออกจากป่าได้ในที่สุด จริงอยู่เมตตาอย่างไม่มีประมาณดังกล่าวเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่ก็ ควรถือเป็นอุดมคติที่ชาวพุทธทั้งหลายโดยเฉพาะผู้ใฝ่ธรรมเพียรไปให้ถึง หรือเข้าใกล้ให้ได้มากที่สุด แม้ยังทำไม่ได้ เพราะพ่ายแพ้ต่อความโกรธ เกลียด แต่อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าการพูดและทำด้วยความโกรธเกลียด

หรือสะใจในความพินาศของผู้อื่นนั้น มิใช่วิสัยของชาวพุทธ มันมิใช่

เป็นโทษแก่ผู้อื่นเท่านั้น หากยังเป็นโทษต่อเราเองด้วย เพราะนอกจาก

จะทำให้เราเป็นทุกข์ ร้อนรุ่มใจแล้ว มันยังทำให้จิตใจเราแข็งกระด้าง เย็นชาต่อความทุกข์ของผู้อื่น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ยิ่งยินดีในความพินาศ ของผู้อื่นมากเท่าไร ความเป็นมนุษย์ในใจเราก็จะยิ่งเหลือน้อยลง ควรย้ำในที่นี้ว่าเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณนั้นมิได้หมายความ ว่า ไม่ต้องแยกแยะระหว่างคนถูกกับคนผิด หรือระหว่างความถูกกับ ความผิด ทั้งคนถูกและคนผิดสมควรได้รับความเมตตาจากเราในฐานะ

เมตตาของชาวพุทธคือเมตตาที่ไม่มีประมาณ ไม่แบ่งแยก แผ่ กว้างไปยังสรรพสัตว์ ไม่เลือกว่าเป็นมิตรหรืออมิตร เป็นผู้มีบุญคุณ

หรือผู้ประทุษร้าย เป็นพวกเราหรือพวกเขา ในชาดกมีเรื่องราวมากมาย

ที่แสดงถึงเมตตาอันไม่มีประมาณดังกล่าว อาทิ มหากปิชาดก เป็นเรื่อง ของพญาวานรที่ช่วยพราหมณ์ผู้หนึ่งพาขึ้นมาจากซอกเขา แต่ถูกพราหมณ์ ลอบทำร้ายเพื่อหวังเอาเนื้อมาเป็นอาหาร แม้กระนั้นพญาวานรก็ไม่โกรธ หากยังตั้งจิตปรารถนาดีต่อพราหมณ์ผู้นั้นว่า “ขอท่านอย่าประสบเวทนา อันเผ็ดร้อนเลย ขอบาปธรรมอย่าได้ฆ่าท่านเหมือนขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่เลย”

NewsletterPutVol.40 l.indd 6-7

10/25/10 10:25:40 PM


ชาวพุทธผู้เจริญรอยตามบาทพระศาสดาก็จริง แต่หากใครจะได้รับโทษ โดยสมควรแก่ความผิดของเขา ก็เป็นเรื่องที่เราพึงวางใจเป็นอุเบกขา

ไม่ควรขวางกั้นกระบวนการดังกล่าว แต่หากมีอะไรที่เราสามารถช่วยเหลือ เขาได้ในระหว่างที่รับโทษทัณฑ์ก็สมควรทำในฐานะเพื่อนมนุษย์ สำนึกในความถูกต้องไม่ควรถูกเบี่ยงเบนโดยเมตตากรุณาที่เจือ อคติ (เช่นฉันทาคติ) จนกลายเป็นการช่วยเหลือคนผิดในทางที่ไม่ถูกต้อง แต่ที่ต้องระวังไม่น้อยกว่ากันก็คือความยึดมั่นในความถูกต้องจนขาด เมตตากรุณา เช่น ยึดติดกับความถูกความผิดจนเห็นคนผิดมิใช่มนุษย์ ดังนั้นจึงไม่สมควรได้รับความเมตตากรุณาจากเรา ชาวพุทธที่เคร่งครัดในความถูกต้องทางศีลธรรมมีจำนวนไม่น้อย

ที่พลัดตกในกับดักดังกล่าว ผลก็คือไม่เพียงยินดีที่เห็นความตายของคน ผิดคนเลว (ในสายตาของเขา) เท่านั้น หากยังไม่รู้สึกรู้สาเมื่อคนเหล่านั้น ถูกกระทำด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง จะว่าไปแล้วทัศนคติดังกล่าวแพร่หลาย แม้กระทั่งในหมู่คนทั่วไป จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า “อำนาจนิยมทางศีลธรรม” นั่นคือมีทัศนะว่า “คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์” กล่าวคือไม่มีสิทธิเรียกร้อง ความยุติธรรม ไม่มีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ แม้แต่สิทธิใน ชีวิตของตนก็ไม่สมควรมีด้วยซ้ำ ดังนั้นใครจะทำอะไรกับเขาก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องคำนึงถึงกฎหมาย หลักนิติธรรม หรือกระบวนการยุติธรรมใดๆ ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงรู้สึกเป็นเรื่องธรรมดาเมื่อได้ยินว่าผู้ต้องหาฆ่า ข่มขืนถูกประชาชนรุมประชาทัณฑ์จนสลบหรือถึงตายระหว่างไปทำแผน ประกอบคดี โดยหลายคนที่ร่วมประชาทัณฑ์นั้นหาได้รู้สึกผิดไม่ ทำนอง เดียวกันเมื่อนักโทษก่อการชุมนุมประท้วงเพราะทนกับสภาพเลวร้ายใน คุกไม่ได้ ประชาชนจำนวนมากรู้สึกว่าเป็นเรื่องสมควรแล้วหากผู้นำการ

NewsletterPutVol.40 l.indd 8-9

ชุมนุมจะถูกเจ้าหน้าที่ยิงตาย (หรือตายอย่างเป็นปริศนา) ทั้งๆ ที่มีการ ยอมจำนนแล้ว วิสามัญฆาตกรรรมกลายเป็นพฤติกรรมที่ประชาชนคุ้นชิน และแอบสนับสนุนอยู่ในใจทั้งๆ ที่รู้ว่าผู้ตายนั้นถูกฆ่าโดยไม่ได้ยิงสู้กับ ตำรวจแม้แต่นัดเดียว เพราะเห็นว่า “มัน” เป็นโจร ยังไงก็สมควรตายอยู่ดี ด้วยเหตุผลเดียวกันประชาชนทั้งประเทศจึงสรรเสริญรัฐบาลทักษิณเมื่อ มีการ “ฆ่าตัดตอน” ผู้ค้ายาขนานใหญ่จนมีคนตายถึง ๒,๕๐๐ คนใน

ชั่วเวลาไม่กี่เดือน ทัศนคติที่ว่า “คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์” จึงกลายเป็นการสนับสนุน ให้ ใ ช้ ค วามรุ น แรงเกิ น ขอบเขตกั บ คนที่ ถู ก มองว่ า ทำผิ ด ศี ล ธรรมหรื อ

ผิดกฎหมาย แม้ว่าความรุนแรงดังกล่าวทำไปในนามของความถูกต้อง แต่กลับกลายเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเสียเอง อีกทั้งยังขาดความเที่ยง ธรรมเพราะเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยผู้เป็นเหยื่อไม่มีโอกาส พิสูจน์ตัวเอง หรือได้รับโทษทัณฑ์ตามสมควรแก่ความผิด

10/25/10 10:25:41 PM


ทัศนคติดังกล่าวนับวันจะผลักดันสังคมไทยไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้น จนถึงขั้นชักนำให้คนไทยต้องเข่นฆ่ากันเอง ดังเหตุการณ์นองเลือดเมื่อ เดือนเมษา-พฤษภาที่ผ่านมา การมองว่าคนเสื้อแดงทำผิดกฎหมาย รับจ้างมาปกป้องคนผิดที่โกงบ้านโกงเมือง รวมทั้งมีกองกำลังติดอาวุธ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องการล้มเจ้า ฯลฯ ทำให้ผู้คนจำนวนมาก (รวมทั้งผู้ยึดมั่นในความถูกต้อง) พิพากษาในใจว่าคนเสื้อแดงสมควร ตาย และดังนั้นจึงไม่รู้สึกอะไรเมื่อเห็นทหารใช้กระสุนจริงกับผู้ชุมนุมจน มีคนล้มตายกว่า ๘๐ คน ไม่นับบาดเจ็บอีกนับพันคน จริงอยู่มีผู้ชุมนุม บางคนที่ขว้างประทัดและระเบิดเพลิงใส่เจ้าหน้าที่ แต่ก็ไม่สมควรที่ถูก ตอบโต้ด้วยอาวุธสงครามจนถึงแก่ความตาย และถึงแม้จะมีผู้ชุมนุมถูก ยิงตายขณะใช้อาวุธปืนต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ความตายของบุคคลเหล่านั้นก็ มิใช่เรื่องที่น่ายินดีแต่อย่างใด เพราะนอกจากจะเป็นการซ้ำเติมญาติมิตร ของผู้สูญเสียแล้ว มันยังกัดกร่อนจิตวิญญาณหรือมโนธรรมสำนึกของ เราอีกด้วย ถึงจะทำผิดศีลธรรมหรือผิดกฎหมาย เขาก็มีสิทธิในชีวิตของเขา

มีสิทธิได้รับความยุติธรรมและการคุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งมีสิทธิ

ได้รับความเมตตาจากเรา เพราะถึงอย่างไรเขาก็เป็นมนุษย์ ไม่ว่าเราจะ เป็นฝ่ายถูกเพียงใด ก็ไม่มีสิทธิทำอะไรกับเขาตามอำเภอใจ แต่ถึงที่สุด แล้วเราก็จำต้องถามตัวเองด้วยว่า แน่ใจอย่างไรว่าเราถูกและเขาผิด ผู้ที่ รุมฆ่าและทำร้ายนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ ๖ ตุลา ล้วนทำไปด้วย ความเข้าใจว่าตนกำลังปกป้องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ แต่บัดนี้ได้ถูกจารึก

ในประวั ติ ศ าสตร์ ว่ า เป็ น ฆาตกรโหดเหี้ ย มที่ ส ร้ า งความอั ป ยศให้ แ ก่ ประเทศชาติ ในทางตรงข้ามผู้ที่ถูกทำร้ายเหล่านั้นล้วนเป็นคนบริสุทธิ์ หาใช่ผู้คิดร้ายต่อชาติและราชบัลลังก์ไม่ 10

NewsletterPutVol.40 l.indd 10-11

ความคิดว่า “คนผิดมีสิทธิเป็นศูนย์” ไม่เพียงเป็นอันตรายต่อ ประเทศชาติ แ ละเพื่ อ นร่ ว มชาติ เ ท่ า นั้ น หากยั ง สามารถย้ อ นกลั บ มา ทำร้ายเราเองได้ในภายหลัง ใครจะไปรู้ว่าสักวันหนึ่งเราอาจกลายเป็น เหยื่อของการใช้ความรุนแรงตามอำเภอใจในนามของความถูกต้องก็ได้ หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ามีความเกี่ยวพันกันอย่างมากระหว่างการ สนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนของรัฐบาลทักษิณเมื่อ ๗ ปีก่อน กับการ สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงกับคนเสื้อแดงเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งสอง กรณีนอกจากเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว ยังมี ปัจจัยร่วมอีกอย่างหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ ทัศนคติที่ว่า “คนผิดมีสิทธิ เป็นศูนย์” หรือ “คนผิดสมควรตาย” คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่าการ สนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนมีส่วนในการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงกับ คนเสื้อแดง แต่ความจริงที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้นก็คือ กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ สนับสนุนนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลทักษิณอย่างแข็งขันคือกลุ่มคน

เสื้อแดงนั่นเอง (ข้อมูลจากการวิจัยของดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย เมื่อ เร็วๆ นี้) ใช่หรือไม่ว่าการสนับสนุนนโยบายดังกล่าวคือการตอกย้ำความเชื่อ ว่า “คนผิดสมควรตาย” ซึ่งในที่สุดได้ย้อนกลับมาทำร้ายคนเสื้อแดงเอง คนเสื้อแดงไม่ใช่เหยื่อรายสุดท้ายของทัศนคติดังกล่าว ยังจะมี เหยื่ อ รายอื่ น ๆ ตามมาอี ก ตราบใดที่ เ รายั ง ปล่ อ ยให้ ทั ศ นคติ ดั ง กล่ า ว

พร่หลายในสังคมไทย บ้ า นเมื อ งยากที่ จ ะสงบสุ ข จนกว่ า เราจะเห็ น ว่ า คนผิ ด หรื อ คนที่

คิดต่างจากเรานั้น มีความเป็นมนุษย์ที่สมควรได้รับความเมตตาและ ความยุติธรรมจากเรา สำหรับชาวพุทธ ทัศนคติดังกล่าวคือสิ่งหนึ่งที่

ชี้วัดว่าการปฏิบัติธรรมของตนก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด

11

10/25/10 10:25:41 PM


๑-๘ ธันวาคม จากตัวเมืองถึงบ้านตาดรินทอง ภูหลง จ.ชัยภูมิ “เดินทวนกระแส” ทวนน้ำ ทวนกิเลส ทวนบริโภคนิยม ธรรมยาตราเป็นการเดินเท้าเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โดย ผู้เดินจะเดินตัวเปล่า (สัมภาระจะมีรถขนของบริการ) ไปตาม หมู่ บ้ า นที่ อ ยู่ ต ามทางผ่ า นของลำปะทาว เริ่ ม ออกเดิ น เท้ า ใน

ตอนเช้าหลังจากที่พระฉันอาหารเช้ารวมทั้งเราด้วย ไปยังหมู่บ้าน ต่อไปแล้วหยุดพักเพื่อทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ รวมถึงการฉันเพลของพระและมื้อกลางวันของเราด้วย แล้วเริ่ม ออกเดินเท้าในช่วงบ่ายเพื่อไปยังหมู่บ้านต่อไปโดยจะมีกิจกรรม ร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ ทั้งในช่วงที่ไปถึงและช่วงค่ำ

ธรรมยาตราวิถ ี มีกิจกรรมธรรมะ ทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรมและภาวนา เป็นกิจกรรมแบบทุกคนมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมจะได้เข้าไปอยู่ ในกลุ่มย่อย ร่วมทำกิจกรรมของกลุ่มตน ตามที่ได้รับหน้าที่ในวัน นั้นๆ เช่น งานบริการ (น้ำ), การแสดง, ฯลฯ 12

NewsletterPutVol.40 l.indd 12-13

จะได้พบปะสัมผัสชาวบ้านที่มาทำบุญ ร่วมธรรมยาตรา ถวายอาหารและเลี้ยงคณะธรรมยาตรา อยู่อย่างเรียบง่าย พัก นอนตามวัด เลือกกางเต็นท์ตาม อัธยาศัย เตรียมแต่ของใช้จำเป็น เช่น ขวดน้ำ ไฟฉาย เต็นท์ (ถ้ามี) ยาประจำตัว หมวก เครื่องกันหนาว ฯลฯ สามารถร่วมกี่วันก็ได้ (ดีกว่าไม่มาเลย)

13

10/25/10 10:25:42 PM


กิจกรรมในธรรมยาตรา

• เดินอย่างมีสติร่วมขบวนธรรมยาตรา • ทำบุญตักบาตร ฟังธรรม สวดมนต์ภาวนา • นิทรรศการที่เกี่ยวกับชีวิตและสิ่งแวดล้อม • สำรวจคุณภาพน้ำทางชีวภาพ โดยศึกษาจากวงจรชีวิต

ของสัตว์เล็กน้ำจืด • บริการตรวจสุขภาพและตรวจสารเคมีในเลือด • การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ • ชมวีดีทัศน์ เรื่องการพึ่งตนเองกับธรรมชาติ • เวทีชาวบ้าน ดูรายละเอียดในเวปไซด์พระไพศาล วิสาโล http://www.visalo.org/DhammaWalk/index.htm หรือติดต่อสอบถามรายละเอียด • ศูนย์ประสานงานโครงการธรรมยาตราลุ่มน้ำลำปะทาว ม.๘ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐ โทร. ๐๘๗-๓๗๓-๕๑๒๔ • ชมรมเด็กรักนก เลขที่ ๘ ม.๑๑ ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐ โทร. ๐๔๔-๑๓๒-๕๗๙, ๐๘๕-๐๒๖๓๖๘๒ Email : youngbirdsclub@hotmail.com

14

NewsletterPutVol.40 l.indd 14-15

ความไม่ เ ป็ น ธรรมในสั ง คมเป็ น เรื่ อ งที่ ถู ก นำมา

พูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งเพราะเป็นเหตุของปัญหาสังคม ทำให้คณะกรรมการปฏิรูปโดย นายอานันท์ ปันยารชุน กำหนดทิ ศ ทางของการปฏิ รู ป สั ง คมไทยว่ า จะต้ อ ง เปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างทางสังคม โดยให้ความสำคัญ อยู่ที่การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่ความเป็นธรรมจะเกิดขึ้นได้ จักต้องเสริมอำนาจให้กับ ประชาชนที่ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้มีพลังขับเคลื่อน ทางสังคม มิใช่จากรัฐบาลหรือคณะกรรมการชุดใดชุดหนึ่ง แต่การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมนั้น เป็นเรื่องที่ ต้ อ งทำความเข้ า ใจว่ า มี ค วามซั บ ซ้ อ นและสั ม พั น ธ์ กั บ ปัจจัยต่างๆ มาก จะพบว่าความไม่เป็นธรรมที่สำคัญมี ๕ ด้าน คือ

15

10/25/10 10:25:44 PM


๑) ด้านเศรษฐกิจ จากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้ และการถือครองทรัพย์สิน รวมถึง ความเหลื่อมล้ำในการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อการสร้าง

รายได้ เช่น ที่ดิน เงินทุน ความรู้และทักษะของแรงงาน แม้ว่ากลไก ตลาดภายใต้ระบบทุนนิยมจะทำหน้าที่ได้ดีในการสร้างความเจริญเติบโต และความมั่งคั่งโดยรวมให้แก่ประเทศ แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นประจักษ์พยานว่า เราไม่สามารถอาศัยกลไกตลาดใน การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นรัฐจึงจำเป็นต้องมีบทบาทใน

การกระจายรายได้ เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากเกินไปจนบ่อนทำลาย เสถียรภาพของสังคม การขาดแคลนเงินทุนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประชาชนจำนวนมาก มีปัญหาหนี้สิน ทั้งในแง่หนี้สินเกษตรกร หนี้สินในระบบ และหนี้สิน

นอกระบบ ซึ่งปัจจุบันภาครัฐพยายามหามาตรการต่างๆ มาแก้ไขปัญหานี้ ปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกินทำให้เกิดข้อพิพาทและความขัดแย้ง

ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน นอกระบบส่วนใหญ่ขาดความรู้ และ/หรือทักษะที่จะพัฒนาตนเองให้ก้าว ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุน ระหว่างประเทศ รวมทั้งยังขาดหลักประกันทางสังคมที่พึงมีดังเช่นแรงงาน ในระบบ นโยบายที่มุ่งสร้างเสริมการเติบโตในอดีตที่ผ่านมามักส่งเสริม เจ้าของทุนมากกว่าผู้ใช้แรงงาน รัฐจึงควรมีกฎกติกาที่กำกับดูแลมิให้

ผู้ใช้แรงงานและเกษตรกรรายย่อยถูกเอารัดเอาเปรียบ และป้องกันมิให้

16

NewsletterPutVol.40 l.indd 16-17

ผู้ ป ระกอบการรายใดใช้ อ ำนาจผู ก ขาดหรื อ อำนาจตลาดเหนื อ ผู้ อื่ น

ในการเอารั ด เอาเปรี ย บผู้ ป ระกอบการรายย่ อ ยหรื อ ผู้ บ ริ โ ภค ข้ อ มู ล

จากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ พบว่า กลุ่มประชากรร้อยละ ๒๐ ที่มีรายได้สูงสุด

มีส่วนแบ่งรายได้ถึงร้อยละ ๕๔.๙ ในขณะที่กลุ่มประชากรร้อยละ ๒๐

ที่มีรายได้ต่ำสุดมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ ๔.๔ เท่านั้น ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่รุนแรงมากคือ ในกลุ่มที่มีรายได้

ต่ำสุดนี้ มีคนยากจนที่มีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีวิตด้วยสิ่งจำเป็น พื้นฐานถึงประมาณ ๕.๔ ล้านคน ในฐานะที่ ประเทศไทยสามารถผลิตและส่งออกอาหารไปสู่ ตลาดโลกได้ เราจึ ง ไม่ ค วรมี ค นยากจนที่ ต้ อ ง

อดอยาก และควรมี ม าตรการให้ ค นยากจน สามารถสร้างรายได้ และมีโอกาสในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและลูกหลานให้หลุดพ้นจาก

ความยากจนได้ และเนื่องจากคนยากจนส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในชนบท จึงจำเป็นต้องเสริมสร้างฐาน เศรษฐกิจของชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ ให้มีความ เข้มแข็ง และมีความสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ การพัฒนาประเทศไม่ควรหมายถึง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะหมายถึง ควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สิ่ง แวดล้อมดีขึ้น และความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ ของคนในฐานะที่เป็น พลเมืองของสังคมควรจะน้อยลง

17

10/25/10 10:25:44 PM


๒) ด้านที่ดินและทรัพยากร ที่ ดิ น และทรั พ ยากรธรรมชาติ เ ป็ น ปั จ จั ย การผลิ ต และฐานชี วิ ต

ที่สำคัญสำหรับคนทุกคน แต่การครอบครองที่ดินในประเทศไทยยังมี ความกระจุกตัว และทรัพยากรถูกทำให้เสื่อมโทรมจากการพัฒนา ทั้งยัง

เชื่อมโยงกับปัญหาหนี้สิน ที่อาจทำให้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรมาก

ยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน มีที่ดินที่ปล่อยให้ทิ้งร้างว่างเปล่าจำนวนมาก ซึ่ง กลายเป็นความสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน จึงมีข้อพิพาทหรือความขัดแย้งในเรื่องที่ดินและทรัพยากร ทั้งระหว่างรัฐกับชุมชนและระหว่างเอกชนกับเกษตรกร รัฐจึงต้องให้ ความสำคัญกับ “สิทธิชุมชน” การมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าถึง การจัดการและการได้รับประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน ภาครัฐควรเน้นกลไกการบริหารและการใช้มาตรการ ทางภาษี เพื่อลดการกระจุกตัว การเก็งกำไรในที่ดินและการปล่อยที่ดิน ทิ้งร้างว่างเปล่า รวมทั้งมาตรการที่จะช่วยเหลือเกษตรกรก่อนที่ดินจะ หลุดมือ และช่วยให้เกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของที่ดินได้มากขึ้น ส่ ว นกรณี ค วามขั ด แย้ ง จากโครงการของรั ฐ หน่ ว ยงานรั ฐ ต้ อ ง เคารพในสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญโดยการประเมินผลกระทบทาง สิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างรอบด้าน ทั้งในระดับแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ และระดับโครงการ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่สามารถ กำหนดทางเลือกของการพัฒนาได้ด้วยตนเอง 18

NewsletterPutVol.40 l.indd 18-19

๓) ด้านโอกาส โอกาสเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาศักยภาพและการใช้ศักยภาพ ของตนเอง และเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ผู้คนสามารถใช้สิทธิของตน และมีอำนาจต่อรองกับผู้อื่น โอกาสด้านการศึกษา รัฐธรรมนูญได้ประกันสิทธิให้คนไทยทุกคน

ได้รับการศึกษา ๑๒ ปีอย่างมีคุณภาพและไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ปัจจุบัน เด็กและเยาวชนในวัยเรียนยังตกหล่นจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยเหตุแห่งความพิการ ความยากไร้ เชื้อชาติ และปัญหาอุปสรรคอื่นๆ อีกทั้งยังเน้นระบบโรงเรียน ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งได้รับการศึกษาโดยเฉลี่ยเพียง ๘.๗ ปี ขาดโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต คุณภาพของคนไทยและของผู้สำเร็จการศึกษาแต่ละระดับต้อง

ได้รับการดูแล คนไทยยังขาดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และคิดวิเคราะห์ อ่อนแอทางคุณธรรมจริยธรรม ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและ รากเหง้าทางวัฒนธรรม ทั้งยังขาดภูมิต้านทานและด้อยความรู้ความ ชำนาญที่จะเผชิญความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันอย่างรู้เท่าทัน สภาพที่เกิดขึ้นเป็นผลจากเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงจากปัญหาการ อบรมเลี้ยงดูในครอบครัวที่ไม่เหมาะสมทำให้เด็กตั้งแต่ปฐมวัยมีปัญหา โภชนาการและพัฒนาการที่ล่าช้า ชุมชนและสังคมไม่มีบทบาทในการ ขัดเกลาทางสังคมหรือสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้เท่าที่ควร บ่อยครั้ง ยังมีส่วนถ่ายทอดแบบอย่างและค่านิยมที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย 19

10/25/10 10:25:44 PM


ที่ ส ำคั ญ ระบบการศึ ก ษายั ง มุ่ ง ตอบสนองความต้ อ งการทาง เศรษฐกิจ หรือเป็นเครื่องมือยกฐานะทางสังคม แม้จะมีการปฏิรูปต่อ เนื่องมากว่า ๑๐ ปี แต่ระบบการศึกษายังมีลักษณะรวมศูนย์ ขาดความ

ยืดหยุ่น ไม่มีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ให้คุณค่าแก่ประสบการณ์จริง ยังมีความเหลื่อมล้ำในคุณภาพของสถานศึกษา ครู และบริการ ทั้งยัง

ไม่ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการศึกษาภาคประชาชนและ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างจริงจัง โอกาสด้านสุขภาพ ระบบหลักประกันสุขภาพค่อนข้างครอบคลุม

ทั่วถึง แต่ยังมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านทรัพยากรทางการแพทย์และ การสาธารณสุข ปัญหาความเหลื่อมล้ำของชุดสิทธิประโยชน์และการ

เข้าถึงของระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะเป็นปัญหาในด้าน ความไม่เป็นธรรม คุณภาพ และประสิทธิภาพแล้ว ยังมีผลกระทบต่อ ภาระทางการคลังของประเทศ ยังมีปัญหาช่องว่างระหว่าง องค์กรวิชาชีพกับประชาชน และการมุ่งพึ่งพาเทคโนโลยี เป็นหลักทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ เสื่อมลง การบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ลดลง ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัญหาที่ทำลาย สุขภาพ เช่น สภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ถนนหนทางและ ระบบการจราจรที่ไม่ปลอดภัย อาหารและยาที่ไม่ปลอดภัย ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แม้มีกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่งานด้าน นี้ยังทำได้น้อย เช่น การส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของ เด็กและเยาวชน การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในโรงงานและใน 20

NewsletterPutVol.40 l.indd 20-21

ครัวเรือน การส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทั้งในสถานประกอบการ สถานศึกษา การป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เช่น การขาดสารไอโอดีน การป้องกันภาวะโภชนาการเกิน และการละเลยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ เป็นมิตรกับผู้พิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส โอกาสด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการศึกษาและสุขภาพ ผู้คนยัง ต้องการโอกาสในการพัฒนาศักยภาพและการใช้ศักยภาพของตน เพื่อ ให้ เ กิ ด ความมั่ น คงและความก้ า วหน้ า ในการประกอบอาชี พ และการ ดำเนิ น ชี วิ ต แต่ โ อกาสในการเข้ า ถึ ง แหล่ ง ทรั พ ยากร ข้ อ มู ล ข่ า วสาร สร้างสรรค์กิจกรรม งบประมาณสนับสนุน กระบวนการยุติธรรม ยังคง

มี ค วามแตกต่ า งกั น มาก โดยเฉพาะระหว่ า งผู้ ที่ อ ยู่ ใ นกรุ ง เทพฯ กั บ

ต่างจังหวัด ระหว่างผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจกับผู้ที่ยากจน

๔) ด้านสิทธิ แม้ รั ฐ ธรรมนู ญ มี ก ารรองรั บ สิ ท ธิ พื้ น ฐานของบุ ค คลและชุ ม ชน

อย่างกว้างขวาง แต่ประชาชนจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงหรือใช้สิทธิอย่าง เท่าเทียมกัน เนื่องจากความไม่รู้เรื่องสิทธิของตนเองและการใช้อิทธิพล เถื่อน การเพิกเฉยและใช้อำนาจที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ข้อจำกัดทาง กฎหมายและระเบียบ รวมถึงการตีความกฎหมายซึ่งขัดกับหลักการแห่ง สิทธิตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมาย อุ ท ยานแห่ ง ชาติ ที่ ขั ด กั บ สิ ท ธิ ชุ ม ชนในการมี ส่ ว นร่ ว มจั ด การทรั พ ยากร

ธรรมชาติตามรัฐธรรมนูญ มีปัญหากระบวนการที่ล่าช้า สร้างความ

ร้ า วฉานแก่ ทั้ ง สองฝ่ า ย เช่ น การฟ้ อ งร้ อ งระหว่ า งผู้ ป่ ว ยและแพทย์

อันเนื่องจากความผิดพลาดในการให้บริการทางการแพทย์ 21

10/25/10 10:25:45 PM


สังคมไทยจะต้องพัฒนาระบบยุติธรรมทางเลือกช่วยเหลือเยียวยา ไกล่เกลี่ย และหาข้อยุติ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และเพื่อ การอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคม

๕) ด้านอำนาจต่อรอง

สังคมไทยประกอบด้วยกลุ่มชนที่มีความหลากหลายทางความคิด วัฒนธรรม และมีลักษณะผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน โดยนับวันความ

แตกต่างดังกล่าวยิ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น ดังนั้นการสร้าง กระบวนการเจรจาต่อรองและการสร้างสมดุลในด้านอำนาจต่อรองเพื่อ แก้ไขความขัดแย้ง จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพความเหลื่อมล้ำในความสัมพันธ์ทาง อำนาจดังที่ดำรงอยู่ อำนาจต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกันจึงมักเป็นสาเหตุหนึ่ง

ที่ทำให้การเจรจาหาข้อตกลงระหว่างคู่กรณีไม่ประสบความสำเร็จ หรือ

ไม่เป็นที่ยอมรับโดยฝ่ายผู้เดือดร้อน ด้วยเหตุนี้การเสริมอำนาจต่อรองให้กับกลุ่มชนที่ตกเป็นฝ่ายถูก กระทำ ถูกละเมิดสิทธิหรือเป็นผู้เสียเปรียบในกรณีพิพาทจึงเป็นเรื่อง จำเป็น ด้วยการปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อเพิ่มฐานะต่อรอง ของกลุ่มผู้เสียเปรียบ การเข้าถึงสื่อสาธารณะ การสนับสนุนการจัดตั้ง รวมตัวของผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วยมาตรการต่างๆ การสนับสนุน ด้านทรัพยากร การปกป้องคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอกว่ามิให้ถูกอิทธิพลเถื่อน หรือถูกข้าราชการของรัฐข่มขู่คุกคาม 22

NewsletterPutVol.40 l.indd 22-23

ในยามที่บ้านเมืองเผชิญวิกฤตทางสังคมที่มีความ ขัดแย้งสูง แต่ความพยายามหนึ่งที่กำลังขับเคลื่อนคือการ ทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป โดยนายอานันท์ ปันยารชุน

ในช่วง ๓ ปีนี้ โดยมีเป้าหมายคือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ที่พึงปรารถนาอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการพัฒนากลไก เชิงสถาบันที่เหมาะสม เพื่อให้สังคมสามารถปฏิรูปหรือมี กลไกการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในด้านต่างๆ

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน

การปฏิรูปเกิดขึ้นควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสั ง คม ซึ่ ง ที่ ผ่ า นมาสั ง คมไทยมี ก ารเปลี่ ย นแปลงมา อย่างต่อเนื่อง และยังคงต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลง ต่อไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 23

10/25/10 10:25:45 PM


การปฏิรูป หมายรวมถึง ความพร้อมของสังคมในการรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การพิจารณาประเด็นใดของคณะกรรมการ ปฏิรูป จะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคมควบคู่ไปด้วยเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงด้าน

• โครงสร้างประชากร • โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ • โครงสร้างการทำงาน ซึ่งปัจจุบันการทำงานนอกภาคเกษตร

มากกว่าภาคเกษตร • ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมและชุมชน เนื่องจากสังคมไทย

กำลังเป็นสังคมเมืองมากขึ้น • ทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และภูมิอากาศ • ทางวัฒนธรรม วิธีคิด และวิถีชีวิตของผู้คน • เทคโนโลยี • ทางการเมือง

อุดมคติคุณภาพชีวิตของคนไทย การปฏิรูปเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าทั้งที่ทราบและไม่ทราบล่วงหน้า จึงจำเป็นที่จะ ต้องกำหนดเป้าหมายเชิงอุดมคติเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไทย เพื่อ ให้เป็นทิศทางหลักในการปฏิรูป ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำ การกำหนดอุดมคติคุณภาพชีวิตของคนไทย เป็นกระบวนการที่ ต้องรับฟังและกลั่นกรองจากความเห็นของทุกๆ ส่วนของสังคม จนกว่า จะตกผลึ ก ออกมาเป็ น อุ ด มคติ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของคนไทย ในเบื้ อ งต้ น คุณภาพชีวิตของคนไทยมีเป้าหมายในระดับอุดมคติ ดังนี้ • ชีวิตมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ มีส่วนร่วม ทางสังคม มีสำนึกต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม และมีโอกาสในการ พัฒนาศักยภาพของตน ทั้งในทางกาย ใจ ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณ • ชีวิตที่สงบสุขตามวิถีวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ปราศจากภัย คุกคามจากผู้อื่น หรือการคุกคามซึ่งกันและกัน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ • ชีวิตที่มีหลักประกันในด้านเงื่อนไขการครองชีพ และมีกลไกการ คุ้มครองทางสังคม

24

NewsletterPutVol.40 l.indd 24-25

25

10/25/10 10:25:46 PM


ยุทธศาสตร์การปฎิรูป การปฏิรูปประเทศที่มีเป้าหมายในการสร้างความเป็นธรรมเพื่อ

ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับการปรับเปลี่ยนความ สัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ ระหว่างรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ปั ญ หาทางเศรษฐกิ จ การเมื อ ง และสั ง คมส่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากการ เปลี่ ย นแปลงที่ ค วบคุ ม ได้ ย าก อี ก ส่ ว นหนึ่ ง เกิ ด จากการใช้ อ ำนาจรั ฐ

โดยเฉพาะจากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐที่ครอบคลุมไปยังทุกส่วนของ สังคม มีผลให้ปัจเจกบุคคลและชุมชนมีความอ่อนแอ ไม่สามารถมีพลัง เพียงพอในการจัดการชีวิตและทรัพยากรของตนเองได้ ความไม่เป็น ธรรมทางเศรษฐกิจหลายประการมีผลมาจากการจัดสรรทรัพยากรของ

รัฐ ที่เน้นภารกิจของกลไกของรัฐแทนที่จะกระจายลงไปสู่พื้นที่ ความ เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจึงมาจากการกระทำของรัฐโดยตรง สำหรับ ความเป็นธรรมด้านโอกาส ด้านสิทธิ และด้านอำนาจการต่อรองเช่นกัน ตราบใดที่อำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชนยังเป็น ของรัฐและทุนอยู่ ปัญหาด้านต่างๆ ของประชาชนจึงไม่อาจแก้ไขได้

อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เงื่อนไขที่จะทำให้การปฏิรูปเป็นผลสำเร็จได้ ก็คือ การนำ เอาเรื่องการกระจายอำนาจมาเป็นทั้งยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของการ เปลี่ยนแปลง แต่จะต้องเป็นการกระจายอำนาจไปสู่สังคมอย่างแท้จริง แทนที่ จ ะเป็ น การโอนถ่ า ยอำนาจระหว่ า งองค์ ก รของรั ฐ หรื อ องค์ ก ร ปกครองท้องถิ่นที่รัฐยังสามารถควบคุมได้ การกระจายอำนาจสู่สังคม รวมถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนสำคัญในการจัดการ ศึกษา ทรัพยากรของชุมชน ตลอดจนการพัฒนาองค์กร 26

NewsletterPutVol.40 l.indd 26-27

ประชาชนให้เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา การกระจายอำนาจใน ความหมายนี้จึงเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนมีความ รับผิดชอบในการจัดการกับชีวิตของเขาเอง ลดอำนาจของรัฐลง และ ปรั บ เปลี่ ย นการจั ด สรรงบประมาณเสี ย ใหม่ ใ ห้ ล งสู่ พื้ น ที่ เพื่ อ ให้ เ กิ ด

ความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายด้าน คุณภาพชีวิต และจัดทำแผนการพัฒนาด้วยตนเอง การเสริมอำนาจ

ของประชาชนและการกระจายอำนาจจึงเป็นกระบวนการเดียวกัน

สรุป ยุทธศาสตร์และกรอบการทำงาน ของคณะกรรมการปฏิรูป เป้าหมายของการปฏิรูป คือ การสร้างความเป็นธรรม เพื่อลด ความเหลื่อมล้ำในสังคม เนื่องจากสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด เวลา การปฏิรูปจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมของสังคมในการรับมือกับ ความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้การปฏิรูปจะบังเกิดผลได้ก็ต่อเมื่อมีแรงขับเคลื่อน ของสังคมและเมื่อมีการเสริมอำนาจของประชาชนที่ยังไม่ได้รับความเป็น ธรรมด้วย 27

10/25/10 10:25:46 PM


การกำหนดเป้าหมายเชิงอุดมคติเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนไทย ถือเป็นทิศทางหลักในการปฏิรูป ซึ่งประกอบด้วยเป้าหมาย ๓ ประการ คือ ๑) เป็นชีวิตที่มีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกันในฐานะความเป็นมนุษย์ มี ส่วนร่วมทางสังคม มีสำนึกต่อประโยชน์สุขของส่วนรวม และมีโอกาส

ในการพัฒนาศักยภาพของตนทั้งในทางกาย ใจ ภูมิปัญญา และจิต วิญญาณ ๒)เป็นชีวิตที่สงบสุขตามวิถีวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ปราศจาก ภัยคุกคามจากผู้อื่นหรือการคุกคามซึ่งกันและกัน ตลอดจนอยู่ในสภาพ แวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะ ๓) เป็นชีวิตที่มีหลักประกันใน ด้านเงื่อนไขการครองชีพและมีกลไกการคุ้มครองทางสังคม ประเด็นสำคัญที่การปฏิรูปควรจัดการแก้ไข คือ ความเป็นธรรม ด้านเศรษฐกิจและสังคม ความเป็นธรรมด้านที่ดินและทรัพยากร ความ เป็นธรรมด้านโอกาส ความเป็นธรรมด้านสิทธิ และความเป็นธรรมด้าน อำนาจต่อรอง ประเด็ น เหล่ า นี้ มี ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ งหลายด้ า นทั้ ง ที่ ม าจากการ ดำเนินการของภาครัฐ ภาคเอกชน และแรงผลักดันจากภายนอกซึ่ง ควบคุมได้ยาก ดังนั้นยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปก็คือ การปรับเปลี่ยน ความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่ระหว่างฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ การลดอำนาจรัฐ มีการกระจายอำนาจไปสู่สังคม เปิดโอกาสให้ประชาชน

มีส่วนสำคัญในการจัดการศึกษา จัดการทรัพยากรของชุมชน ส่งเสริม

ให้องค์กรประชาชนให้เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา การกระจายอำนาจ จึงเป็นการเพิ่มอำนาจและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนด เป้าหมายด้านคุณภาพชีวิต และจัดทำแผนการพัฒนาด้วยตนเอง 28

การปรับเปลี่ยนดุลอำนาจใหม่ย่อมส่งผลให้เกิดการถ่วงดุลและ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างทั่วด้าน ซึ่งจะทำให้นักการเมืองและ ข้าราชการต้องทำงานอย่างรับผิดชอบมากขึ้น กับทั้งลดโอกาสที่จะมี

การฉ้อราษฎร์บังหลวงและการใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ ส่วนตัวด้วย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาที่แท้จริงของสังคมการเมืองไทย ไม่ใช่ความ เหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ แต่เป็นความเหลื่อมล้ำทางการเมืองมากกว่า ดังนั้น การปฏิรูปจะก่อให้เกิดระบบการเมืองที่โปร่งใสและรับผิดชอบ ก่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดี และโอกาสการพัฒนาที่ กระจายไปยังทั่วทุกส่วนของสังคม อันจะนำไปสู่การเป็นสังคมที่ความ

ขัดแย้งน้อยลง อยู่ร่วมกันอย่างสันติและยั่งยืน “กลุ่มชนชั้นนำหลักๆ ของไทย ได้แก่ กลุ่มนักธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มนิยมเจ้า หรือคนชั้นกลางส่วนหัวจำนวนหนึ่ง ยัง พอใจที่จะพึ่งกองทัพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเมือง ในสังคมไทยถ้า เป็นอย่างนี้ เราจะมีปัญหาอยู่เรื่อยๆ จึงอยากจะคอยดูว่าคณะกรรมการ ทั้ง ๒ ชุด พูดถึงบทบาทของกองทัพอย่างไรบ้าง” ดร.ผาสุก กล่าว อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของ คณะกรรมการปฎิรูป ยังไม่ปรากฏว่าจะมีเรื่องการปฎิรูปกองทัพอยู่ใน กรอบการทำงาน

29

NewsletterPutVol.40 l.indd 28-29

10/25/10 10:25:47 PM


“เปลื อ กไข่ ” ที่ ใ ครๆ พากั น ทิ้ ง หารู้ ไ ม่ ว่ า ที่ เ รา

รับประทานไข่เป็นเมนูโปรดทุกๆ เช้านั้นมีคุณค่าช่วย โลกได้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา พบว่า เปลือกไข่ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตก๊าซไฮโดรเจนที่จะไปผสมกับก๊าซออกซิเจนกำเนิดเป็น พลังงานไฟฟ้าได้แถมต้นทุนถูกลง ไม่มีไอเสียที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ของยานยนต์ต่างๆ ซึ่งจะไม่มีผลทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น เขาจึงเติมเปลือกไข่ลงไปในขั้นตอนการผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วย เพราะ องค์ประกอบหลักๆ ของเปลือกไข่คือแคลเซียมออกไซด์จะกลับมาช่วย ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ทำให้กระบวนการผลิตสะอาดขึ้น และ เมื่อนำเปลือกไข่ที่ใช้แล้วไปฝังดิน ก็จะเป็นการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นออก โดยไม่ปล่อยมันสู่ชั้นบรรยากาศด้วย “วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย ลดขั้นตอนจากวิธีเก่ามาก จึงช่วยประหยัด พลังงาน อีกทั้งยังช่วยผู้ผลิตไข่ประหยัดค่าใช้จ่าย ๔๐ เหรียญ/ตันใน การทิ้งเปลือกไข่ในที่ทิ้งขยะอีกด้วย” ยอดปีที่ผ่านมา คนอเมริกันสร้าง ขยะเปลือกไข่ไว้ทั่วประเทศถึง ๔๕๕,๐๐๐ ตันทีเดียว งานวิจัยสรุปด้วยว่า ปริมาณเปลือกไข่ข้างต้นนั้นมากพอที่จะผลิต ก๊าซไฮโดรเจนได้มากถึง ๓๕ พันล้านลูกบาศก์ฟุตเมื่อเทียบเท่ากับก๊าซ ถ่านหิน ขณะที่รถยนต์เครื่องยนต์เซลล์เชื้อเพลิงจากค่าย “ฮอนดา” ของญี่ปุ่นก็กินก๊าซไฮโดรเจนเพียง ๖ ลูกบาศก์ฟุตจากการแล่น ๒๗๐ ไมล์เท่านั้น 30

NewsletterPutVol.40 l.indd 30-31

31

10/25/10 10:25:48 PM


มีงานวิจัยเชิงลึกของแผนกคอนซูเมอร์อินไซต์ บริษัท แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) เอเยนซี่โฆษณาแถวหน้า ที่น่าสนใจ ชื่อ “มอง ชนบทแบบ ๓๖๐ องศา...เจาะลึกวิถีชีวิตชนบทยุคใหม่” โดยลงพื้นที่ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ มี ป ระชากรอาศั ย อยู่ ม ากที่ สุ ด โดยกลุ่ ม ตัวอย่าง ๑๘-๔๐ ปี พบวิถีชีวิตที่ต่างกัน คนเมืองเช้าตื่นไปทำงาน

ตกค่ำกลับบ้าน ขณะที่คนในชนบทปักหลักทำมาหากินอยู่ที่บ้าน ทำไร่

ทำนา และทอผ้า เป็นวิถีชีวิตแบบเดียวกันทุกวัน โดยไม่มีวันหยุด แต่

สิ่งที่ปรากฏความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ลดลง แตกต่างไปจากอดีตโดยสิ้นเชิง เหตุผลก็คือ คนในชุมชนไม่ได้เอื้อเฟื้อกันเหมือนเดิม และหันมาให้ความ สำคัญกับวัตถุสิ่งของเพิ่มขึ้น ต้องการรถมอเตอร์ไซค์ โทรศัพท์มือถือ ทั้งที่อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง แต่ก็อยากมีรถกระบะ

เพื่อแสดงออกซึ่งฐานะทางสังคม สำหรับกลุ่มวัยรุ่นในชนบทนั้น ยึดติดกับค่านิยมทางวัตถุ และ อยากได้สินค้าตามสมัยนิยม เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้อง

ดิจิทัล ฯลฯ ขณะที่กลุ่มคนทำงานอยากได้ รถกระบะ ที่ดินปลูกบ้าน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน” เพราะถึงจะดำเนินชีวิตแบบพอเพียง แต่ก็อยากมีรถปิกอัพ เพราะสะท้อนถึงหน้าตา !!! แมคแคนชี้ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จำเจของคนในชนบท ทำให้ ชีวิตไม่ค่อยเจอกับสิ่งที่แปลกใหม่ และสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดยังคงเป็น โทรทัศน์ที่เป็นศูนย์กลางของทุกคนในบ้าน รายการที่ให้ความสนใจคือ 32

NewsletterPutVol.40 l.indd 32-33

วาไรตี้โชว์ ละคร ซิตคอม ข่าวบันเทิง ข่าว ส่วนรูปแบบสื่อใหม่ๆ ที่เข้ามามี บทบาทในชีวิตคนชนบทของภาคอีสานมากขึ้นคือ เคเบิลทีวีท้องถิ่น ทีวี ดาวเทียม และวิทยุชุมชน เหตุผลหลักๆ มาจากเนื้อหาที่ใกล้ตัวและเข้า ถึงวิถีชีวิตผู้คนในชนบทมากกว่ารายการที่ผลิตจากสื่อในส่วนกลาง จึงน่าเป็นห่วงว่าแม้การรับรู้ข่าวสารทำให้เปิดหูเปิดตา แต่ข่าวสาร ที่รับจากสื่อท้องถิ่นที่เข้าถึงง่ายดายนั้น เป็นช่องทางของการให้ข้อมูลที่ เอื้อประโยชน์ต่อผู้ให้ด้วย เพราะที่ผ่านมาพื้นที่เหล่านั้นถูกหยิบฉวย ประโยชน์ให้กับการเมือง และผลประโยชน์ทางธุรกิจทางการค้า ตราบใด ที่ยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมดูแลการออกอากาศของทีวีดาวเทียม โดยตรง นี่ยังไม่นับผลกระทบทางสังคมชนบทที่ได้รับตามมา ที่เป็น ปัญหาค่านิยม และการใช้ชีวิต ความตื่นตัวแก้ปัญหาตัวตายเกิดขึ้นหลังมีข่าวสลดเกิดขึ้นที่เมือง ปทุมธานี มีผู้สูงอายุผูกคอตายภายในบ้านพักกลางทุ่งนา มีน้ำท่วมขัง บริเวณรอบพื้นที่ ที่ชั้นสองหน้าต่างบ้านพบร่างนางฉลวย แสงโชติ อายุ ๗๑ ปี ใช้ผ้าขาวม้าผูกคอห้อยกับหน้าต่างบ้านเสียชีวิตมาแล้วกว่า ๒ ชั่วโมง จากการสอบสวนลูกสาววัย ๔๓ ปี ให้การว่าที่แม่ผูกคอตาย เพราะเครียดที่ออกจากบ้านไปไหนมาไหนไม่ได้มาหลายวันเนื่องจาก

ฝนตกหนักน้ำท่วมทุ่ง 33

10/25/10 10:25:48 PM


จากสถิ ติ ข ององค์ ก ารอนามั ย โลกพบอั ต ราการฆ่ า ตั ว ตายของ ประชากรโลกอยู่ที่ ๑๖ คนต่อประชากรแสนคน ในขณะที่ของไทย ๖ คนต่อประชากรแสนคน หรือ กว่า ๓,๖๐๐ คน ๕ จังหวัดที่สูงอันดับ แรก ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน เชียงราย เชียงใหม่ และระยอง เป็น

ผู้หญิงสูงกว่าผู้ชาย ๓ เท่า โดยผู้ชายจะทำสำเร็จสูงกว่าผู้หญิง ๓.๕ เท่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเครียด รองลงมาเป็นโรคซึมเศร้า ติดยา เสพติด และการเจ็บป่วยทางกาย สำหรับโรคซึมเศร้านั้นสามารถรักษา ให้หายขาดได้ ที่สำคัญคือการป้องกันและวิธีการดูแลรักษา การป้องกัน ที่ดีคือการหาสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ สร้างความมั่นคงให้กับจิตใจ ฝึกทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต ปัญหาส่วนตัว ความขัดแย้งต่างๆ ซึ่ง ครอบครัวจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการฆ่าตัวตายได้ ในส่วนของ กระทรวงสาธารณสุข มีบริการให้คำปรึกษาที่เข้าถึงง่าย ที่สายด่วน สุขภาพจิต ๑๓๒๓ เว็บไซต์ของโรงพยาบาลศรีธัญญาสำหรับตอบคำถาม ส่วนต่างจังหวัดมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดย อสม. เป็นผู้ช่วย ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพ

ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและ หลอดเลือด สาเหตุสำคัญมาจาก ๒ เรื่องใหญ่ ได้แก่ กินอาหารไม่ เหมาะสม และขาดการออกกำลั ง กาย ข้ อ มู ล ผู้ ป่ ว ยโรงพยาบาลทั่ ว ประเทศ ปี ๒๕๕๐ สำรวจใน ๙ ล้านคนพบว่า เป็นผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย 34

NewsletterPutVol.40 l.indd 34-35

มากถึง ๖ ล้านคน หรือร้อยละ ๖๗ ในขณะที่คนขยันออกกำลังกาย ติดต่อกันมากกว่า ๓ เดือน จะมีอัตราป่วยเพียงร้อยละ ๑๗ แต่คนที่ ออกกำลังกายน้อยกว่า ๑ เดือน จะมีอัตราป่วยสูงกว่าคือร้อยละ ๒๔ พบว่าคนไทยอายุ ๑๑ ปีขึ้นไปมี ๕๕ ล้านคนนั้น ไม่ออกกำลังกายถึง ๓๙ ล้านคน พฤติกรรมกินอาหาร ประเภทเสี่ยงมักพบในอายุ ๖ ปีขึ้นไป ร้อยละ ๙๐ กินอาหารที่มีไขมัน กว่าครึ่งกินขนมกรุบกรอบ ที่พบมาก ที่สุดในกลุ่มเด็กอายุ ๖-๑๔ ปี อีกร้อยละ ๑๔ กินอาหารฟาสต์ฟูดส์ และร้อยละ ๓๑ ดื่มน้ำอัดลม น้ำหวาน พบมากในวัยทำงานอายุ ๒๕๕๙ ปี จากการตรวจสุขภาพค้นหาโรคเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมดังกล่าว ในปี ๒๕๕๓ พบคนไทยอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ ไม่ใช่เกิดจากกรรมพันธุ์ และความดันโลหิตสูงรวมกว่า ๔ ล้านคน และ มีน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงผิดปกติ เสี่ยงจะป่วยเพิ่มอีก

๔ ล้านคน คนไทยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมี ๖๓๕,๘๕๐ คน การร่ำรวยโรคจะทำให้อายุขัยคนไทยสั้นขึ้น เพราะต้อง เสียชีวิตไปก่อนถึงวัยอันควร กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ออกกำลังกายอย่างน้อย ๓ วัน

ต่อสัปดาห์ กินอาหารรสไม่จัด ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่มีไขมันสูง ผักผลไม้ ไม่หวานมีกากใย ไม่ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาเกินจริงว่าช่วย

ขั บ ถ่ า ยดี เพราะในระยะยาวจะเกิ ด ปั ญ หาอ้ ว นหรื อ มี ไ ขมั น สะสมใน

หลอดเลือด 35 10/25/10 10:25:49 PM


กระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยผลสำรวจพบว่า เด็กไทยมีระดับ

ไอคิวค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับมาตรฐานสากล เด็กอายุระหว่าง ๖-๑๒ ปี พบว่า มีระดับไอคิวอยู่ที่ ๘๗ จุด เด็กอายุระหว่าง ๑๓-๑๘ มีระดับ ไอคิวที่ ๘๘ จุด นอกจากนี้ เด็กอายุ ๖-๑๒ ปี ยังพบว่า มีระดับต่ำ

ด้านความอดทน การมีระเบียบวินัย, สมาธิ และการพึ่งพาตัวเอง ขณะที่ เด็กอายุ ๑๓-๑๘ ปี จะขาดแคลนความคิดสร้างสรรค์, ความสามารถ ในการวิเคราะห์ สติปัญญา ทักษะในการแก้ปัญหา และการควบคุม อารมณ์ นายวัชระกล่าวด้วยว่า สาเหตุที่ไอคิวต่ำเช่นนี้เนื่องจากพ่อแม่ และผู้ปกครองปล่อยให้ครูพัฒนาลูกหลานพวกเขาเพียงฝ่ายเดียว ขณะที่ ครูไม่ได้รับการฝึกให้ขยายศักยภาพของเด็กอย่างเต็มที่ในวัยที่เหมาะสม ด้วย นายแพทย์หม่อมหลวงสมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปกติแล้ว คนที่มีไอคิวในระดับต่ำกว่า ๗๐ จุด ถือว่าไร้ความ สามารถทางสติปัญญา ปีที่ผ่านมามีการจัดทำแผนพัฒนาสติปัญญาเด็ก ใน ๒๐ จังหวัด แนะนำวิธีการสร้างทักษะต่างๆ ของเด็กให้แก่ครูระดับ อนุบาล และมารดาควรเพิ่มไอคิวให้แก่ลูก ด้วยการรับประทานอาหารที่ ครบหลักโภชนาการ ระหว่างตั้งครรภ์ และกระตุ้นการพัฒนาเด็กในวัยที่ เหมาะสมด้วย

36

NewsletterPutVol.40 l.indd 36-37

คณะอนุกรรมาธิการการศึกษาปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ วุฒิสภา เผย “ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อสุขภาวะ” ในช่วง ๓๐ ปี ๒๕๑๓-๒๕๔๔ พบว่า ทั่วโลกเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงและมีความถี่ เพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการแก้ไขคาดว่าจะมีความสูญเสีย ๕% คิดเป็น มูลค่า ๔.๕ แสนล้านบาท ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก เป็นอันดับที่ ๓๑ ของโลก หรืออันดับ ๔ ของอาเซียน ทำให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของไทยสูงขึ้น ระดับน้ำทะเลมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น ๒๐ มิลลิเมตรต่อปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๐๓ เป็นเหตุให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยถึงขั้นวิกฤติ กระทบต่อสุขภาพ นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์ เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่ง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงใน ประเทศไทยที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ส่งผลให้จำนวนวันที่ร้อนกว่า ๓๕ องศา มีมากขึ้น ภาคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงกลางวันคือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือตอนล่าง ในช่วงเดือนเมษายน จะมีอุณหภูมิ ประมาณ ๔๒-๔๓ องศา ส่วนคืนที่เย็นจะหายไปเรื่อยๆ นพ.สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักโรคจากการ ประกอบอาชี พ และสิ่ ง แวดล้ อ ม กระทรวงสาธารณสุ ข เเกล่ า วว่ า

ประเทศไทยมีผู้เจ็บป่วยจากความร้อนเพิ่มขึ้น จังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุดคือ มุกดาหาร ตามด้วยนครราชสีมา และกาญจนบุรี ส่วนผลกระทบจาก มลพิษทางอากาศที่เกิดจากปัญหาหมอกควัน ซึ่งในภาคเหนือ มีผู้ป่วย จากระบบทางเดินหายใจถึง ๑ แสนราย จ.แม่ฮ่องสอน มีผู้ป่วยด้วยโรค ถุงลมโป่งพองสูงสุด เพราะมีปริมาณฝุ่นสูงสุด ตามด้วย จ.น่าน และ พะเยา 37

10/25/10 10:25:49 PM


ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง โอภาส เชฏฐากุล บรรณาธิการ จำนวน ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง จำนวน ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ จำนวน ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี, นิธิ เอียวศรีวงศ์, เกษียร เตชะพีระ, รสนา โตสิตระกูล จำนวน ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ จำนวน ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน จำนวน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา จำนวน ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง จำนวน ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก

ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง จำนวน ๘๘ หน้า ๘๐ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน จำนวน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ โดย พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์, เอกวิทย์ ณ ถลาง, นิธิพัฒน์ เจียรกุล, สุวรรณา สถาอานันท์ และ ประชา หุตานุวัตร จำนวน ๙๗ หน้า ๗๐ บาท เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน จำนวน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง จำนวน ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท

38

NewsletterPutVol.40 l.indd 38-39

เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)

แนะนำ ฟังซีด ี ซีดีเสียงเผชิญความตายอย่างสงบชุดที่ ๑ บทภาวนา รวมเป็นชุดใส่กล่อง มี ๖ แผ่น ๒๕๐ บาท หรือแบบ MP3 รวมในแผ่นเดียว ๑๐๐ บาท

ซีดี รวมบทความ มองย้อนศร แผ่นละ ๓๐ บาท ซีดี รวมบทความมองอย่างพุทธ แผ่นละ ๓๐ บาท ดีวีดี สู่ความสงบที่ปลายทาง บทเรียนชีวิตในยามเจ็บป่วย แผ่นละ ๕๐ บาท

39

10/25/10 10:25:52 PM


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่......................................... ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก....................................................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์............................................................................... รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น..............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาคลองสาน ชื่อบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๕๑-๐๕๙ ๗๗๔-๑

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน • เริ่ ม ข่ า วแรกกั น ช่ ว งปลายเดื อ นวั น แม่ ที่ ผ่ า นมา (๒๕–๓๑ สิงหาคม) ชาวพุทธิกา ๒๐ ชีวิต ได้มีโอกาสไปปฏิบัติธรรมประจำปีกัน

ที่วัดป่าสุคะโต บ้านใหม่ไทยเจริญ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ กับพระไพศาล วิสาโล ซึ่งเป็นปีที่ ๒ ของชาวพุทธิกาในการได้ไปปฏิบัติธรรมร่วมกัน นอกเหนือจากการปฏิบัติธรรมแล้ว เรายังมีกระบวนการกระชับความ สัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่เก่าและเจ้าหน้าที่ใหม่ด้วย เบิกบานกันถ้วนหน้า • ข่าวดีที่ทุกท่านไม่ควรพลาดคือ โครงการฉลาดทำบุญด้วยจิต อาสา เปิดรับสมัครอาสาสมัครเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสังคมส่วนรวม หลังจากห่างหายไประยะหนึ่งเพราะไม่มีทุน แต่

เครือข่ายพุทธิกาเห็นว่าเรื่องจิตอาสาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนไทย จึง ได้รื้อฟื้นริเริ่มกันขึ้นอีกครั้ง แม้จะไม่ได้ทุนก็ตาม โดยเริ่มจากเข้าพรรษา ปีนี้เป็นต้นไป มีกิจกรรมต่างๆ ดังตารางข้างล่างนี้ ถ้าหากท่านใดสนใจ โทรมาสอบถามได้ที่พุทธิกานะคะ

โปรดส่งหลักฐานการโอนและใบสมัครมายังเครือข่ายพุทธิกาด้วย สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓, ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐๕๔๕๘, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ 40

NewsletterPutVol.40 l.indd 40-41

41

10/25/10 10:25:53 PM


กิจกรรม

ระยะเวลา

สถานที่

อาสาทำดี ที่วัดญาณเวศกวัน จัดทุกเดือน วัดญาณเวศกวัน อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เก็บขยะ ผักตบชวา และทำเผือก ปี ๒๕๕๓ ๒๕ กันยายน, ๓๐ ตุลาคม, คลองลัดมะยม, คลองบางระมาด, คลองบ้านไทร, กั้นผักตบชวาในคลอง (ชุมชนคลองลัดมะยม) ๒๗ พฤศจิกายน, ๒๕ ธันวาคม คลองบางน้อย และคลองบางพรม ปี ๒๕๕๔ ๒๙ มกราคม, ๒๖ กุมภาพันธ์, ๒๖ มีนาคม อาสาเพื่อเด็กออทิสติก (เครือข่ายพุทธิกา) ๒๖ กันยายน ๒๕๕๓, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ พาน้องขึ้นรถไฟฟ้า ลงเรือ กรุงเทพฯ ศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็ก ๖–๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ กลุ่มไม้ขีดไฟ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา - ทำบ้านดินขนาด ๔ x ๖ เพื่อเป็น ศูนย์เรียนรู้สำหรับเด็ก (กลุ่มไม้ขีดไฟ) อาสาทำหุ่นมือ (ม.อาสาสมัครเพื่อสังคม) ๓ ตุลาคม ๒๕๕๓ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ชั้น ๔ ค่าย ๓ วัน ๒ คืน (กลุ่ม Dosati9) ๘-๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๓ สวนแสงอรุณ จ.ปราจีนบุรี ค่าย I Need Care ๑๕-๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ จ.ราชบุรี (ม.เครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน) อาสาปรับปรุงซ่อมแซมโรงเรียนบ้านยางแดง ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ รร.บ้านยางแดง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา (ม.อาสาสมัครเพื่อสังคม) อาสาเพื่อเด็กตาบอด (เครือข่ายพุทธิกา) ๑๖-๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๓, ๑๘-๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ สวนผีเสื้อ จ.กรุงเทพมหานคร อาสาพบธรรมที่สวนโมกข์ (เครือข่ายพุทธิกา) ๒๒-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓, ๓-๗ ธันวาคม ๒๕๕๓ สวนโมกข์ จ.สุราษฎร์ธานี อาสาสมัครคัดแยกหนังสือ/คีย์ข้อมูล จันทร์–ศุกร์ (๑๐.๐๐-๑๘.๐๐ น.) สำนักงานมูลนิธิกระจกเงา เขตจตุจักร กรุงเทพฯ (ม.กระจกเงา) Volunteer to share (ม.กระจกเงา) จันทร์–ศุกร์ (๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น.) สำนักงานมูลนิธิกระจกเงา เขตจตุจักร กรุงเทพฯ อาสาสร้างสุข (อาสาสมัครในโรงพยาบาล) วันพุธ (๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.) โรงพยาบาลรามาธิบดี - ศิลปะ, ดนตรี, เล่านิทาน, สอนการบ้านฯ วันพฤหัสฯ (๑๓.๐๐-๑๕.๓๐ น.) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ โรงพยาบาลแด็ก (ม.กระจกเงา) อาสาสมัครนวดเด็ก ทุกวันพุธ, พฤหัสบดี, เสาร์ และอาทิตย์ บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด จ.นนทบุรี (ทารกอายุ ๕ เดือน - ๑ ปี ๕ เดือน) (๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.) (เลือกปฏิบัติ ๑ วัน สัปดาห์ละครั้ง) อาสาสมัครสอนน้องอ่านหนังสือ 42

NewsletterPutVol.40 l.indd 42-43

จำนวน ๕๐ คน ๒๐–๓๐ คน

๒๐ คน ๒๐ คน ๖๐ คน ๑๐ คน ๑๐–๑๕ คน ๕๐ คน ๒๐ คน ๓๐ คน ๑๐ คน ๕ คน ๕ คน ๑๕ คน ๔๐ คน ๖๐ คน 43

10/25/10 10:25:53 PM


กิจกรรม

ระยะเวลา

สถานที่

จำนวน

อาสาสมัครนวดเด็ก ทุกวันศุกร์ และเสาร์ บ้านเด็กอ่อนพญาไท ๓๐ คน (ทารกอายุ ๕ เดือน - (๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ น.) จ.นนทบุรี ๑ ปี ๕ เดือน) (เลือกปฏิบัติ ๑ วัน สัปดาห์ละครั้ง) อาสาสมัคร ๒๐ คน สอนน้องอ่านหนังสือ (ม.สุขภาพไทย) อาสาปลูกผักดาดฟ้า ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓ – สำนักงานมูลนิธิโลกสีเขียว ๒๐–๒๕ คน (ม.โลกสีเขียว) เดือนเมษายน ๒๕๕๔ *อาจมีการเปลี่ยนแปลง หากต้องการร่วมกิจกรรมใด โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกาก่อนนะคะ

• ส่วนโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา หลังจากเปิดรับโครงการปีที่ ๓ ซึ่งหมดเขตรับสมัครไปเมื่อสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา จะได้มีการคัดเลือก โครงการที่จะได้รับทุนทั้งหมด ๓๕ โครงการ ส่วนโครงการไหนที่ได้รับทุน

ติดตามได้ในเว็บไซต์ www.budnet.org ค่ะ • สุดท้าย โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ตารางการอบรม กำหนดมาแล้ว ผู้ใดที่สนใจเข้าร่วมการอบรม สามารถโทรมาสมัครได้ที่ เบอร์ ๐๒-๘๘๒-๕๐๔๓ ติดต่อคุณณพร นัยสันทัด เปิดอบรมทั่วไป เพียงเดือนละ ๑ ครั้งเท่านั้น รับจำนวนจำกัด รีบติดต่อด่วนนะคะ แล้วเจอกันใหม่ค่ะ สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าค่ะ

44

NewsletterPutVol.40 l.indd 44

10/25/10 10:25:53 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.