จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 41

Page 1


เป็นเวลา ๑๐ ปีแล้วที่คนกลุ่มหนึ่งเคลื่อนขบวนธรรมยาตรารอนแรม ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในจังหวัดชัยภูมิครั้งละ ๗-๘ วัน เพื่อเชิญชวนและ

ให้กำลังใจผู้คนในการอนุรักษ์ธรรมชาติซึ่งกำลังเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว เขาเหล่านี้เลือกที่จะเดินแทนการนั่งรถ เพื่อแสดงถึงความตั้งใจมั่นและ พร้อมจะลำบากเพื่อเป็นปากเสียงให้แก่ป่าเขาลำเนาไพร ขณะเดียวกัน

ก็ถือเป็นการปฏิบัติธรรมไปด้วยในตัว ตามประเพณีจาริกบุญที่มีมาแต่ โบราณ ทุกคนได้รับการเชิญชวนให้เดินอย่างสงบ สำรวมกายวาจา และ

มีสติในทุกขณะที่ก้าวเดิน แม้แดดร้อนแรงหรือทางไกลเพียงใด ก็รักษาใจ ไม่ให้ทุกข์ “เหนื่อยแต่กาย ใจเบิกบาน” “กายร้อน ใจไม่ร้อน” เป็นทั้ง คำขวัญและคติเตือนใจผู้เดิน ธรรมยาตรามิ ใ ช่ เ ป็ น แค่ ก ารเดิ น ทางผ่ า นภู มิ ป ระเทศนานาชนิ ด เท่านั้น หากยังเป็นภาพสะท้อนของเดินทางของจิตใจด้วย เป็นมากกว่า การพาตัวให้ถึงที่หมายเท่านั้น หากยังเป็นการพาใจให้ถึงธรรมด้วย จะว่า ไปแล้วธรรมยาตรามิใช่เป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่งที่รวมตัวกันมาเดินกลาง แดดปีละครั้งหรือนานๆ ครั้งเท่านั้น หากธรรมยาตรายังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับเราทุกคนด้วย ใช่ ห รื อ ไม่ ว่ า ชี วิ ต ของเราทุ ก ขณะเปรี ย บเสมื อ นการเดิ น ทาง เรา

แต่ละคนต้องเลือกเส้นทางของตัวเอง จริงอยู่บางครั้งเราถูกผลักดันให้

ต้องเลือกเส้นทางที่ไม่ได้ใฝ่ฝันหรือปรารถนา แม้กระนั้นเราก็ยังสามารถ ทำให้การเดินทางของเราเป็นเสมือนธรรมยาตรา นั่นคือเดินทางมิใช่เพื่อ

จุดหมายปลายทางที่เป็นรูปธรรม เช่น มีการงานและการเงินที่มั่นคง มี สถานะหรือตำแหน่งที่สูงเด่น มีชื่อเสียงเกียรติยศที่กำจาย ฯลฯ แต่เพื่อ ความเปลี่ยนแปลงภายใน นั่นคือการขัดเกลาจิตใจให้สะอาด หรือยกใจให้ สูงขึ้น โดยพร้อมที่จะทวนกระแสกิเลส แม้ต้องประสบกับความยากลำบาก


ไม่สะดวกสบาย แต่ก็มีความสุขใจเป็นรางวัล อย่าลืมว่า ที่สุดของการเดิน ทวนน้ำคือต้นน้ำที่ใสสะอาดและฉ่ำเย็นฉันใด ที่สุดของการทวนกระแส กิเลส คือต้นธารแห่งความสุขที่หล่อเลี้ยงใจให้สงบเย็น แต่แม้จะยังไม่ถึง ต้นน้ำ ธารใสระหว่างทางก็สามารถดับกระหาย ระงับความรุ่มร้อน หรือ ชำระใจให้สะอาดได้ ไม่ ว่ า เราจะอยู่ ที่ ไ หน มี อ าชี พ อะไร ก็ ส ามารถทำให้ ชี วิ ต ของเรา ดำเนินบนเส้นทางธรรมได้ นั่นคือมีธรรมเป็นจุดหมาย ขณะเดียวกันก็มี ธรรมเป็นมรรควิธี กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ “เพื่อธรรมและโดยธรรม” ธรรมนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน การมีธรรมเป็นจุดหมาย

ก็คือการบรรลุถึงประโยชน์ตนและถึงพร้อมด้วยประโยชน์ท่าน จะทำเช่นนั้น ได้ก็ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีเมตตากรุณา มีความพากเพียร รู้จัก อดกลั้น และหมั่นไตร่ตรองด้วยปัญญา การดำเนินชีวิตด้วยธรรม ย่อม

ช่วยให้มีพลังในการก้าวข้ามอุปสรรคทั้งปวง ไม่พ่ายแพ้ต่อความทุรกันดาร ที่พานพบ ไม่ระย่อต่อความยากลำบาก สามารถเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดี หรือพบสุขท่ามกลางความทุกข์ได้ เมื่อมีธรรมย่อมไม่กลัวความยากลำบาก ซ้ำยังแปรเปลี่ยนอุปสรรค ให้ ก ลายเป็ น ของดี ที่ มี คุ ณ ประโยชน์ ต่ อ จิ ต ใจ แม้ มี ทุ ก ข์ ม ากระทบก็ ไ ม่ กระเทือนถึงใจ พรหรือสิ่งประเสริฐที่แท้จริงจึงมิใช่ อายุ วรรณะ สุขะ

พละ และธนะ แต่อยู่ที่ธรรมต่างหาก เพราะเมื่อดำเนินชีวิต เพื่อธรรม

และโดยธรรมแล้ว ย่อมอยู่ในอารักขาของธรรมอย่างแน่นอน ปีใหม่นี้แทนที่จะเรียกหาแต่อายุ วรรณะ สุขะ พละ และธนะ ไม่ดี กว่าหรือที่จะแสวงหาธรรมเพื่อนำมากำกับชีวิต หรือตั้งจิตมั่นที่จะยาตรา บนทางธรรมโดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคทั้งปวงที่รออยู่ข้างหน้า

พุ ท ธิ ก า

ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๔๑ เดือนมกราคม ๒๕๕๔

ความคิดที่อันตราย

ชาวนาลูกคลื่นที่ ๖

๑๒

มุ่งไปสู่หนใด

๑๖

๒๕

๒๘

๒๙

๓๔

๓๗


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ความคิดที่ว่า คนใกล้ตายนั้นกำลังชดใช้กรรม ดังนั้นเราจึง ควรปล่อยเขาไป (ตามบุญตามกรรม) ไม่ควรยื่นมือไปช่วยเหลือเขา เป็นความคิดที่อันตรายมาก เพราะถ้าเห็นด้วยกับความคิดนี้ ต่อไป เมื่อเห็นใครกำลังจมน้ำตาย เราก็ไม่ควรไปช่วยเขา เห็นคนประสบ อุ บั ติ เ หตุ บ นท้ อ งถนน นอนรอความตาย ก็ ไ ม่ ค วรพาเขาส่ ง

โรงพยาบาล เห็นใครที่กำลังตายเพราะน้ำท่วมไฟไหม้ ก็ต้องปล่อย เขาไป ถือเสียว่าเป็นกรรมของสัตว์ ในการบรรยายคราวหนึ่ง ข้าพเจ้าได้รับคำถามจาก แพทย์หญิงท่านหนึ่งว่า หากผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต เธอควร

ทำอย่างไร เนื่องจากมีผู้เตือนว่า หากเธอช่วยเหลือเขา จะ เป็นการแทรกแซงกรรมของเขา การกระทำของเธอนั้นแม้ เป็นบุญ ก็เป็น “บุญสีดำ” ซึ่งจะเป็นผลร้ายต่อเธอ แม้ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินเรื่อง “บุญสีดำ” มาก่อน (คุ้นแต่คำว่า กรรมดำ กรรมขาว) แต่ไม่รู้สึกแปลกใจกับ ความเห็ น ดั ง กล่ า ว เนื่ อ งจากระยะหลั ง ได้ ยิ น บ่ อ ยขึ้ น ก่อนหน้านี้ก็ได้ยินอาจารย์พยาบาลท่านหนึ่งพูดว่า การ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ ป่ ว ยระยะสุ ด ท้ า ยนั้ น อาจทำให้ “เจ้ า กรรม นายเวร” ของเขาไม่พอใจ และมาทำร้ายเราได้ เธอมี

ความเห็นว่า คนใกล้ตายนั้นกำลังชดใช้กรรม ดังนั้นจึงควร ปล่อยให้เขารับกรรมไป เธอคงหมายความต่อไปว่า หาก เขายังไม่หมดบุญหมดกรรม ก็คงยังไม่ตายง่ายๆ

ถ้าคิดต่อไปตามตรรกะของความเชื่อดังกล่าว ก็หมายความว่า ใครที่กำลังประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนแม้จะยังไม่ใกล้ตาย เรา

ก็ไม่ควรช่วยเขา เพราะเขากำลังใช้กรรม (ที่อาจทำไว้ในอดีตชาติ) หากเห็นผู้หญิงกำลังถูกฉุดคร่าอนาจารหรือกระทำชำเรา ก็ควรนิ่งเฉย หรือทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น เห็นคนหิวโหย หรือประสบภัยพิบัติ ก็ต้อง ปล่อยเขาให้เขาเผชิญทุกข์ตามลำพัง ความคิดดังกล่าวถ้ามองให้

สุดสาย ก็เห็นได้ไม่ยากว่า ถ้าคนไทยคิดแบบนี้กันหมด เมืองไทย

ก็เป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นดินแดนอนารยะสมบูรณ์แบบ เพราะ ผู้คนอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไม่มีความเมตตาปรานีต่อกันเลย


แม้จะไม่มีความรู้ทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องกฎแห่งกรรม เลย ก็น่าจะเห็นได้ไม่ยากว่าความคิดดังกล่าวมีจุดอ่อนอย่างมาก ใครก็ตามที่มีความคิดดังกล่าว ลองนึกภาพว่าหากลูกสาว หรือ

น้องสาวของตน ถูกฉุดคร่าอนาจารหรือทำร้าย ถ้ามีคนเห็นเหตุการณ์ ต่อหน้าต่อตา คุณอยากให้คนเหล่านั้นนิ่งเฉยหรือไม่ และหากเขา

นิ่งดูดาย โดยให้เหตุผลว่า ลูกสาวหรือน้องสาวของคุณกำลังใช้กรรม จึงไม่อยากแทรกแซงกรรม คุณจะรู้สึกกับคนเหล่านั้นอย่างไร จะว่า ไปแล้วไม่ต้องคิดให้ไกลตัว คนที่มีความคิดดังกล่าว หากเห็นลูก

ของตนกำลังถูกทำร้ายอยู่ต่อหน้า คุณจะอยู่นิ่งเฉยเพราะเห็นว่าลูก กำลังชดใช้กรรมหรือไม่ ถ้าคุณไม่ยอมนิ่งเฉย อีกทั้งไม่อยากให้ใครนิ่งเฉยปล่อยให้ลูก ของคุณถูกทำร้ายด้วยเหตุผลดังกล่าว ควรหรือไม่ที่คุณจะนิ่งเฉย เวลาเห็นลูกของคนอื่นเดือดร้อนหรือกำลังจะตายด้วยเหตุผลเดียวกัน

ความคิดดังกล่าวนอกจากจะทำให้ผู้คนไม่อยากเป็นพลเมืองดี

แล้ว ยังทำให้คนไทยไม่อยากทำหน้าที่ของตนให้ถึงที่สุดด้วย โดย เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ช่วยชีวิตผู้อื่น เช่น หมอ พยาบาล ไม่ต้องสงสัย เลยว่าหากความคิดเช่นนี้แพร่หลายในหมู่หมอและพยาบาล อะไรจะ เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย (ที่จริงอาจต้องถาม

ต่อไปว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับอาชีพหมอและพยาบาล เพราะในเมื่อ เป็นอาชีพที่ต้อง “เสี่ยง” กับการถูกเจ้ากรรมนายเวรหรือ “บุญสีดำ” เล่นงาน จะมีอาชีพนี้ทำไม สู้ไปเป็นวิศวกร ทนายความ หรือนักร้อง นักแสดงไม่ดีกว่าหรือ) ที่ น่ า เป็ น ห่ ว งก็ คื อ ความคิ ด ดั ง กล่ า วถู ก ขยายความให้ ครอบคลุมไปถึงความพยายามทุกอย่างที่เป็นการช่วยชีวิตผู้คน แม้ จะไม่ใช่การลงมือช่วยด้วยตัวเอง แต่เป็นการช่วยในเชิงนโยบาย ก็ ถือว่าเป็นการแทรกแซงกรรม ที่ส่งผลให้ผู้ช่วยเหลือเดือดร้อนด้วย เมื่อสามปีที่แล้ว แพทย์ใหญ่ท่านหนึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ก็มี

การพูดกันในหมู่แพทย์จำนวนหนึ่งว่าเป็นเพราะท่านผลักดันนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรคจนสำเร็จ ทำให้ผู้คนจำนวนมากรอดตาย

เจ้ากรรมนายเวรของคนเหล่านั้นจึงหันมาทำร้ายท่านแทน ทุกวันนี้ “เจ้ากรรมนายเวร” เป็นสิ่งที่คนไทยสะพรึงกลัวกัน มาก และถูกมองว่าเป็นต้นเหตุแห่งความวิบัตินานาประการของผู้คน แต่ไม่เคยมียุคใดที่ฤทธานุภาพของเจ้ากรรมนายเวรจะขยายขอบเขต กว้างขวางอย่างทุกวันนี้ จนสามารถทำร้ายคนดีที่ช่วยเหลือผู้อื่น โดยมีพฤติกรรมไม่ต่างจากเจ้าพ่อหรือนักเลงที่หากแก้แค้นศัตรูของ ตนไม่ได้ ก็หันมาเล่นงานคนที่ช่วยเหลือศัตรูของตน


ความคิ ด แบบนี้ จั ด ว่ า เป็ น ของใหม่ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ไม่ น านมานี้ เ อง และไม่สอดคล้องกับหลักการของพุทธศาสนา จริงอยู่พุทธศาสนา สอนว่า ความชั่วเมื่อได้ทำลงไป ย่อมส่งผลให้ประสบความทุกข์ร้อน หากทำร้ายใครก็ย่อมประสบผลร้ายในเวลาต่อมา ในชาดกมีเรื่องราว มากมายเกี่ยวกับผู้เคยมีเวรมีกรรมหรือถูกกระทำในชาติก่อน แล้ว มาแก้แค้นกันในชาติถัดมา นั่นคือที่มาของคำว่า เจ้ากรรมนายเวร แต่เจ้ากรรมนายเวรในแง่นี้มิใช่อำนาจมืดที่ทรงฤทธานุภาพและเต็ม ไปด้ วยความโกรธเกรี้ ย วพร้ อ มจะทำร้ า ยใครก็ ต ามที่ ขั ดขวางการ

แก้แค้นของตนอย่างที่เข้าใจในคนบางกลุ่มเวลานี้ แนวคิดเรื่องเจ้ากรรมนายเวร หากเชื่อแล้วทำให้คนกลัวบาป ไม่ ก ล้ า เบี ย ดเบี ย นผู้ อื่ น ย่ อ มเป็ น สิ่ ง ที่ ดี แต่ ห ากเชื่ อ แล้ ว ทำให้

นิ่งดูดาย หรือไม่กล้าช่วยเหลือผู้ประสบทุกข์ ย่อมเป็นอันตราย

อย่างยิ่ง อีกทั้งยังขัดกับคำสอนทางพุทธศาสนาที่เน้นเรื่องเมตตา กรุณา และการทำความดี เพราะ “ทำดีย่อมได้ดี” หากทำความดี อุทิศตัวเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ได้รับผลตอบแทนคือประสบเคราะห์ จากกรรมนั้น ก็เท่ากับขัดแย้งกับพุทธพจน์ที่ว่า “ธรรมย่อมรักษาผู้ ประพฤติธรรม”

10

การช่ ว ยเหลื อ ผู้ อื่ น ที่ ป ระสบความทุ ก ข์ ย ากนั้ น หาใช่ ก าร แทรกแซงกรรมหรือกฎแห่งกรรมไม่ เพราะถึงอย่างไรกฎแห่งกรรมก็ ไม่มีใครสามารถแทรกแซงหรือขัดขวางได้อยู่แล้ว เนื่องจากเป็นกฎ ธรรมชาติที่แน่นอนตายตัว จริงอยู่ทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมีเหตุปัจจัย แต่ก็ไม่สมควรที่เราจะเหมารวมว่า ใครก็ตามที่ประสบความทุกข์ ร้อน นั่นเป็นเพราะเขาเคยทำความไม่ดีในอดีตชาติ ดังนั้นจึงต้อง ปล่อยให้เขารับกรรมไป ใครที่มีความเชื่อเช่นนั้น ก็แสดงว่ากำลัง สมาทานลัทธินอกพุทธศาสนาที่ชื่อ “ลัทธิกรรมเก่า” (คือความเชื่อที่ ว่า สิ่งใดก็ตามที่ประสบ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ ล้วนเป็นเพราะกรรมที่ได้ ทำไว้ในปางก่อน) คนไทยจำนวนมากสมาทานลัทธิกรรมเก่า (ปุพเพกตเหตุวาท) โดยสำคัญผิดว่าเป็นคำสอนทางพุทธศาสนา ดังหลายคนเชื่อว่า ความเจ็บป่วยนั้นเป็นผลแห่งกรรมในอดีตชาติ (ทั้งๆ ที่พระพุทธองค์ ตรัสว่าคนเราเจ็บป่วยด้วยหลายสาเหตุ ไม่ใช่เพราะกรรมอย่างเดียว) แต่น่าแปลกก็ตรงที่ว่าคนที่มีความเชื่อแบบนี้ เวลาล้มป่วยแทนที่จะ อยู่นิ่งเฉย กลับแสวงหาการรักษาพยาบาล หรือไม่ก็พยายามเยียวยา ตนเอง โดยไม่คิดว่าเป็นการแทรกแซงกรรมแม้แต่น้อย แต่เหตุใด เวลาคนอื่นประสบความทุกข์ยาก จึงกลับวางเฉย ด้วยเหตุผลว่า

ไม่ต้องการแทรกแซงกรรมของเขา

11


เมื่อเห็นคนประสบความทุกข์ยาก ปุถุชน อย่ า งเราย่ อ มไม่ มี ท างรู้ ไ ด้ เ ลยว่ า เขากำลั ง รั บ

ผลกรรมจากอดีตชาติหรือไม่ แต่ถึงรู้ก็สมควรที่ เราจะยื่ น มื อ ให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เพราะนั่ น เป็ น

คุณธรรมและหน้าที่ที่มนุษย์พึงมีต่อกัน มองอย่างเห็นแก่ตัว หากเรา ไม่ทำ นั่นก็แสดงว่าเรากำลังสร้างกรรมใหม่ที่เป็นอกุศลกรรมให้แก่ ตนเอง ใครจะไปรู้ว่าในวันหน้าหากเราประสบเหตุร้ายแบบเดียวกัน คนอื่ น อาจเมิ น เฉยอย่ า งเดี ย วกั บ ที่ เ ราเคยทำกั บ ผู้ อื่ น หากเราไม่ ปรารถนาให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเรา ก็ไม่ควรทำสิ่งเดียวกันนี้กับผู้อื่น จริงอยู่ผู้ประสบเภทภัยหรือผู้ป่วยใกล้ตาย อาจกำลังรับผล แห่งกรรมหนักที่เคยทำไว้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่เราควรจะนิ่งดูดาย แต่หากทำเต็มที่แล้ว ไม่สามารถเยียวยารักษาหรือช่วยเหลือได้ ก็ ต้องทำใจปล่อยวาง ถึงตอนนั้นจะบอกว่าเป็นกรรมของเขา เราไม่อาจ ฝืนกรรมของเขาได้ ก็มิใช่เรื่องเสียหาย ดีกว่าที่จะวางเฉยแต่แรก โดยอ้างว่าเป็นกรรมของสัตว์

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งเมตตากรุณา กฎแห่งกรรมคือ ความจริงที่พระพุทธองค์นำมาสอนเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนทำความดี

หนีความชั่ว หมั่นสร้างบุญกุศล และเอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น รวมทั้ง ฝึ ก ฝนจิ ต ใจเพื่ อ ให้ ล ดละความเห็ น แก่ ตั ว จนหลุ ด พ้ น จากความ

ยึดติดถือมั่นในตัวตน ทำให้มีเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์อย่างไม่มี ประมาณ ที่น่าเป็นห่วงก็คือ นับวันกฎแห่งกรรมถูกใช้เพื่อส่งเสริม ความเห็นแก่ตัว อยู่อย่างตัวใครตัวมัน ไร้น้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์และ สรรพสัตว์ ขณะที่บุญกุศลถูกตีความเพื่อส่งเสริมความโลภ (เช่น ทำบุญเพื่อให้ถูกหวยรวยพนัน หรือถวาย ๑๐๐ บาทแต่หวังรวย

เป็นล้าน) มุ่งเอาเข้าตัวยิ่งกว่าจะเผื่อแผ่ผู้อื่น ทัศนคติดังกล่าวลุกลามไปจนถึงขั้นมีความเชื่อในคนบางกลุ่ม ว่า เราไม่ควรแผ่ส่วนบุญให้ใครมากนัก เพราะจะทำให้บุญของเรา เหลือน้อยลง (คนที่คิดเช่นนี้ไม่เข้าใจแม้กระทั่งคำสอนพื้นฐานเรื่อง บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปัตติทานมัย หรือ การทำบุญด้วยการการแผ่ส่วนบุญให้ผู้อื่น ซึ่งหมายความว่ายิ่งแผ่ ส่วนบุญให้ผู้อื่น เราก็ยิ่งได้บุญมากขึ้น) สัตว์ที่กำลังรอถูกเชือด หากเราช่วยไถ่ชีวิตเขาออกมาได้ ย่อม ถือว่าเป็นบุญฉันใด การช่วยเหลือผู้ใกล้ตายให้มีชีวิตรอด หรือจาก ไปอย่างสงบ ก็ถือว่าเป็นกุศลฉันนั้น ชาวพุทธไม่มีความคิดว่าการ

ไถ่ชีวิตสัตว์เป็นการแทรกแซงกรรมฉันใด ก็ไม่ควรมองว่าการช่วย ชีวิตเพื่อนมนุษย์เป็นการขัดขวางกฎแห่งกรรมฉันนั้น

12

13


อ ภิ ช า ต ท อ ง อ ยู่

แม้ว่าสังคมบ้านเราในยุคนี้ให้ความสำคัญ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว สินค้าที่ ตอบสนองมักเป็นสินค้าที่ให้รายได้ดี ข้าวไม่ได้ จัดอยู่ประเภทดังกล่าว ทั้งที่ความเป็นชุมชนที่ เข้มแข็งแฝงอยู่ในกลุ่มที่เป็นชาวนามาตั้งแต่ใน อดีตของสังคมไทย แต่อนาคตของคลื่นเศรษฐกิจ ลูกที่ ๖ ชาวนาอาจจะได้ขึ้นมาผงาดอีกครั้งก็ได้

จาก ไทยโพสต์ ...๑๗ พ.ย. ๒๕๕๓ 14

ในการจำแนกการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นคลื่นลูกต่างๆ นั้น คลื่นที่เรายังหลงเหลือผู้มีประสบการณ์ในลูกที่ ๔ ช่วงปี ๑๙๑๐๑๙๗๐ ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และ ธุ ร กิ จ กลุ่ ม น้ ำ มั น อย่ า งมหาศาล จนมาถึ ง ลู ก ที่ เ คลื่ อ นเข้ า สู่ ยุ ค

สารสนเทศในช่วงปี ๑๙๖๐-๒๐๒๐ ปัจจุบันคือกลุ่มอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลาย ต่อจากนั้น

ลูกคลื่นที่ ๖ ก้าวที่จะไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจใหญ่ เป็นการขับเคลื่อนด้วยนาโนเทคโนโลยีและเทคโนโลยีชีวภาพ ใน ช่วงปี ๒๐๑๐-๒๐๖๐ ที่ยังรวมไปถึงวิทยาการทางการแพทย์ในการ ยืดชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลแห่งความ มั่ ง คั่ ง นี้ ด้ ว ย หากมี ก ารวางแผนจั ด การที่ ดี แ ละสร้ า งผลผลิ ต ที่

สนองตอบได้ จากปรากฏการณ์ในความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ที่แสดงผลกระทบเชื่อมต่อกันอย่างมีนัยสำคัญในโลก ตลอดเวลาที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ทัศนะและความรู้แม่บทแบบเดิมๆ ที่ แยกส่ ว นเป็ น ชุ ด ๆ ท่ อ นๆ ไม่ มี พ ลั ง เพี ย งพอ ไม่ เ ท่ า ทั น สภาวะ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปมากอีกต่อไป ระบบชีวการศึกษา จะเป็นแบบแผนการเรียนรู้แนวใหม่ของการ ศึกษา ช่วยทำให้เข้าใจโครงสร้าง กลไก การจัดการและแรงขับเคลื่อน สังคมเศรษฐกิจที่ต่างไปจากสภาวะเดิม กลุ่มสังคมเศรษฐกิจชาวนา ในคลื่นเศรษฐกิจใหม่ ไม่ว่าภาพลักษณ์ของชาวนาและสังคมของ ชาวนาจะถูกฝังไว้ใต้ภาพของความอ่อนด้อยล้าหลังเพียงใด (ที่รัฐได้ สร้างขึ้นและยัดเยียดใส่ชาวนาในตลอดเวลาการพัฒนาประเทศที่ 15


ผ่านมา) ถ้าสามารถมองเห็นถึงคลื่นเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังหลุดออก จากการสร้างความมั่งคั่งให้อุตสาหกรรมยุคสารสนเทศสู่คลื่นลูกที่ ๖ การบริหารประเทศย่อมต้องหันมาใส่ใจความเคลื่อนไหวของ สังคมเศรษฐกิจชาวนาอย่างจริงจังในทัศนะใหม่ โดยทัศนะที่มีต่อ ชาวนา ผลผลิตของชาวนา สังคมเศรษฐกิจและโลกแวดล้อมของ ชาวนา ที่ดำรงอยู่ต้องเป็นมุมมองที่เป็นเรื่องของ “โอกาสใหม่” ไม่ใช่เรื่องของ “วิกฤติแบบเก่าๆ” อีกต่อไป ซึ่งภายใต้กรอบทัศนะที่ ว่านี้ รัฐจะต้องสร้างแนวทางในทางปฏิบัติให้สนองตอบต่อวิสัยทัศน์ ใหม่ที่สอดรับกับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นจริงและ ต่อเนื่อง ปัจจัยสำคัญ ๔ ส่วนสำคัญและผลักดันให้เกิดขึ้นคือ นวัตกรรม

และเทคโนโลยีการผลิต ทุนและการเข้าถึงทุน ระบบการบริหาร จั ด การใหม่ และระบบสนั บ สนุ น การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และ โครงสร้างเศรษฐกิจครัวเรือนชาวนา ที่ต้องสร้างขึ้นมานี้ จะเป็น กลไกในการกระตุ้นสร้างการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญให้กับกลุ่มสังคม ฐานรากให้พ้นออกจากปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” ที่เป็นบาดแผล ของสังคมได้ พื้นฐานเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการ ผลิต เป็นเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ช่วยปรับกระบวนระบบการผลิตด้าน เกษตรกรรมของชาวนาและเกษตรกรทั้งหลาย เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่ม ผลผลิต ลดต้นทุนในการผลิต และขจัดปัญหาการใช้แรงงานที่มาก

16

เกินไป รวมทั้งระบบแวดล้อม ในไร่ น าต้ อ งสนั บ สนุ น ให้ มี การจั ด การร่ ว มกั น อย่ า งมี ประสิทธิภาพ เรื่องนี้สามารถ

ใช้แบบจำลองจากชาวนาใน หลายพื้นที่ทั้งในภาคกลาง อีสาน และเหนือได้อย่างดี ในด้ า นระบบการบริ ห ารจั ด การใหม่ การรวมกลุ่ ม สร้ า ง

เครือข่ายการผลิต การตลาด และความร่วมมือระหว่างชาวนาด้วย กัน ภาคส่วนอื่นๆ ต้องเสริมต่อยอดให้เกิดความเข้มแข็งจากพื้น ฐานที่เป็นอยู่ โยงใยสัมพันธ์ในแนวราบ ดูแลกันเองได้ และเชื่อมต่อ กับสถาบันทางสังคมอื่นๆ ได้ด้วยตัวเอง สุดท้ายเรื่องคุณภาพชีวิตและโครงสร้างเศรษฐกิจครัวเรือน ชาวนา รัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องสวัสดิการเชิงวิชาชีพของ ชาวนา และหลั ก ประกั น ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต สวั ส ดิ ก าร

ครัวเรือนและคุณภาพชีวิตต้องตั้งอยู่บนฐานของการมุ่งสร้างความ เข้ ม แข็ ง ให้ กั บ อาชี พ และยกฐานะทางสั ง คมให้ กั บ กลุ่ ม ชาวนา

หลักเกณฑ์เดียวกันกับสภาอาชีพอื่นๆ ที่ก้าวหน้า ซึ่งเรื่องนี้จะเป็น องค์ประกอบสำคัญที่ปรับเปลี่ยนชาวนาออกจากมุมอับของสังคม เศรษฐกิจสู่การมีที่ยืนในสังคมอย่างเป็นตัวของตัวเอง และกลับเข้ามา มีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่สามารถขจัดสภาวะ ความเหลื่อมล้ำลงได้ ทั้ง ๔ องค์ประกอบสำคัญที่กล่าวมาจะ ช่วยพลิกวิกฤติเป็นโอกาส สร้างความมั่นคงให้กับชาวนาในคลื่น เศรษฐกิจใหม่

17


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

คงมีน้อยคนที่รู้ว่าภูฐานเริ่มมีการพัฒนาประเทศ พร้อมๆ กับไทย คือ ปี ๒๕๐๔ โดยมีแผนห้าปีเช่น เดียวกัน แต่ในขณะที่ไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มี การสร้างถนน เขื่อน และโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย ท่ามกลางคำขวัญ “น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ” ภูฐานกลับพัฒนาอย่างเชื่องช้า ในช่วงสิบปีแรกนั้นเน้น

ที่การสร้างถนน โรงเรียน และอาคารสำหรับหน่วยงาน รัฐบาล เพราะก่อนหน้านั้นอย่าว่าแต่สนามบินเลย แม้ แ ต่ โ รงพยาบาล บริ ก ารไปรษณี ย์ โทรศั พ ท์ โรงเรียนประชาบาล ภูฐานไม่มีแม้แต่อย่างเดียว 18

ก่อนยุคพัฒนา ภูฐานมีสภาพไม่ต่างจากเมืองไทยเมื่อ ๑๕๐ ปีก่อน แม้เมื่อเริ่มพัฒนาประเทศ ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่าง ช้าๆ ไม่ใช่เพราะว่าทั้งประเทศเต็มไปด้วยป่าเขาอันทุรกันดาร อีกทั้ง ยั ง ขาดทุ น รอนและการช่ ว ยเหลื อ จากประเทศมหาอำนาจอย่ า ง สหรัฐอเมริกาเท่านั้น หากยังเป็นความตั้งใจของผู้ปกครองประเทศที่ ต้องการให้การพัฒนาดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะตระหนักดี ถึงผลเสียของการเปิดรับเทคโนโลยีและเชื่อมต่อกับเศรษฐกิจจาก ภายนอกอย่างเต็มที่ นโยบายเปิดประตูแบบแง้มๆ ของภูฐานเห็นได้ ชัดจากการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีละไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ คน หลังจากพัฒนาประเทศไปแล้วเกือบ ๓๐ ปี ภูฐานจึงเริ่มมี สถานีโทรทัศน์ประจำชาติเป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับการเปิดใช้

อินเตอร์เน็ตและเคเบิลทีวี หลังจากนั้นอีก ๑๐ ปีจึงมีการจัดเก็บ ภาษีเงินได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๕ แม้จะห่างไกลจากประเทศ ไทยมากในแง่ ค วามเจริ ญ ทางวั ต ถุ แต่ ใ นด้ า นคุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ประชากรแล้ว ภูฐานล้ำหน้ากว่าไทยในหลายด้าน อาทิ ประชากร ร้อยละ ๙๘ มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง แม้รายได้ของประชาชน

จะอยู่ในระดับต่ำหากวัดเป็นตัวเงิน (ร้อยละ ๒๓ มีรายได้ต่ำกว่า

เส้นยากจน) แต่นั่นเป็นเพราะการซื้อขายมีไม่มาก ชาวบ้านสามารถ

19


ผลิตปัจจัยสี่เลี้ยงตัวเองได้ คนอดอยากหรือยากไร้จึงมีน้อยมาก สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาคนภายนอกก็คือ บ้านเรือนของคนภูฐานที่แม้อยู่ ในชนบทห่ า งไกลก็ แ ต่ ก็ มี ส ภาพดี แ ละมี ข นาดใหญ่ โ ต กระท่ อ ม ซอมซ่อนั้นเห็นได้น้อยมาก ส่วนในเมืองก็ไม่สู้มีคนขอทานหรือคน

ไร้บ้าน คนว่างงานซึ่งมีมากในประเทศพัฒนาทั้งหลาย กลับไม่เป็น ปัญหาในภูฐานเลย กล่าวได้ว่าภูฐานไม่มีคนว่างงานเลยเพราะชนบท ยังสมบูรณ์และที่ทำกินยังมีอีกมาก สภาพดังกล่าวตรงข้ามกับประเทศไทย หลังจากพัฒนามา ๕๐ ปี ปัญหาที่ดินได้ลุกลามจนกลายเป็นวิกฤต ปัจจุบันมีเกษตรกร ไร้ที่ทำกินกว่า ๘ แสนครัวเรือน เกือบ ๕ ล้านครอบครัวมีที่ทำกิน

ไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่มีที่ดินถึง ๓๐ ล้านไร่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้

ทำประโยชน์เพราะมีการซื้อตุนเพื่อเก็งกำไร ใช่แต่เท่านั้นการสูญเสีย ที่ดินยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัญหาหนี้สิน แม้คนไทย

ที่มีรายได้จัดว่ายากจนมีเพียงร้อยละ ๖ แต่เกือบทั้งประเทศมีปัญหา หนี้สิน (เฉลี่ยเกือบแสนบาทต่อครัวเรือน) โดยเฉพาะเกษตรกร

20

มีหนี้สินเกือบ ๒ แสนบาทต่อราย แทบทุกปีต้องประสบกับการ ขาดทุนเพราะราคาพืชผลตกต่ำขณะที่ต้นทุนสูงขึ้นไม่หยุด จำนวน ไม่น้อยต้องทิ้งไร่นาไปเป็นกรรมกร สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือการล่มสลาย ของชนบท ในขณะที่ที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือคนจำนวนน้อยมากขึ้น ทุกที (ประมาณว่าที่ดินร้อยละ ๙๐ อยู่ในมือคนเพียงร้อยละ ๑๐ เท่านั้น) ในขณะที่ประเทศไทยปล่อยให้มีการสูญเสียที่ดินอย่างอิสระ เสรีนั้น ภูฐานกลับทำสิ่งตรงข้าม คือส่งเสริมให้ที่ดินกระจายสู่มือ ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ในอดีตนั้นองค์กรสงฆ์มีที่ดิน

อยู่ในครอบครองเป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านั้นเป็นแหล่งรายได้ที่ สำคัญของวัด สิ่งที่รัฐบาลภูฐานทำก็คือ ให้องค์กรสงฆ์หันมารับเงิน สนับสนุนจากรัฐบาลแทน ส่วนที่ดินขององค์กรสงฆ์ รัฐบาลก็ขอซื้อ เพื่อเอาไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนซึ่งขาดแคลนที่ทำกิน โดยเริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ 21


แม้ชีวิตในชนบทภูฐานจะไม่สะดวกสบาย เพราะถนนหนทาง ไม่สะดวก ไฟฟ้าก็ไม่ทั่วถึง แต่ชนบทภูฐานก็ยังมีชีวิตชีวาอยู่มาก ครอบครัวอบอุ่น มีคนหลายรุ่นอยู่ด้วยกัน คนหนุ่มสาวไม่จำเป็น

ต้องไปหางานทำในเมือง เพราะที่ดินและงานการไม่ขาดแคลน ที่ สำคัญคือธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก นั่นเป็นเพราะรัฐบาล

มีนโยบายอนุรักษ์ธรรมชาติมาตั้งแต่แรก ภูฐานจึงมีพื้นที่ป่ามากถึง ร้อยละ ๗๒ โดย ๑ ใน ๓ ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ต้องถือว่าเป็นเพราะเห็นการณ์ไกลรัฐบาลจึงมีนโยบายเช่นนี้ ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ป่าไม้ถูกตัดอย่างมโหฬาร

ตั้งแต่เริ่มพัฒนาประเทศ เพราะต้องการส่งไม้ไปขายต่างประเทศ เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แม่น้ำลำคลองกลายเป็นที่ รองรับมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมก็เพื่อความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ จนแม้กระทั่งทุกวันนี้ธรรมชาติก็ยังถูกทำลายในนามของ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไม่สนใจว่าจะเกิดผลร้ายใน

22

ระยะยาวต่อประชาชนอย่างไรบ้าง ไม่ใช่แต่เฉพาะชาวบ้านรอบชุมชน อุตสาหกรรมอย่างมาบตาพุดเท่านั้นที่มีสุขภาพย่ำแย่ หากชาวบ้านที่ เคยพึ่งพาความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติแวดล้อมเพื่อการยังชีพ และการทำมาหากินก็เดือดร้อนถ้วนหน้า มิไยต้องเอ่ยถึงคนในเมือง ที่ต้องกินอาหารที่เต็มไปด้วยสารพิษอันเป็นผลจากการใช้สารเคมี ทางเกษตร ซึ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นเนื่องจากธรรมชาติเสื่อมโทรม อย่างรวดเร็ว นโยบายดังกล่าวแม้จะทำให้เงินไหลมาเทมาในเวลาอันสั้น

แต่ได้สร้างปัญหาระยะยาวไว้มากมายหลายประการ ที่สำคัญคือ

การผลักภาระนานาประการให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ ในขณะที่คน ส่วนน้อยได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะเม็ดเงิน ที่กระจุกอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าว ผลก็คือเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่าง คนในชาติ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนถ่างกว้างขึ้น กล่าวคือ คนร้อยละ ๒๐ ซึ่งเป็นกลุ่มรวยที่สุดมีรายได้มากกว่าคนกลุ่มจนที่สุด เกือบ ๑๓ เท่า และหากคำนวณจากทรัพย์สินครัวเรือนแล้ว ความ แตกต่างก็ยิ่งชัดเจนขึ้น ประมาณว่าครัวเรือนร้อยละ ๒๐ ซึ่งรวย ที่สุดมีสินทรัพย์มากกว่าครัวเรือนที่จนที่สุดถึง ๖๙ เท่า เมื่อมอง

จากค่าดัชนีความเหลื่อมล้ำของรายได้แล้ว เมืองไทยอยู่ในระดับที่

ไม่ต่างจากประเทศกำลังพัฒนาในแอฟริกา เช่น ไนเจอร์ มาลี หรือ แซมเบียมากนัก 23


ธุรกิจชาวตะวันตกผู้หนึ่งที่อยู่ในเมืองบุมทังกล่าวว่า เขาสามารถทิ้ง เงินสด ๑ ล้านเหรียญไว้บนโต๊ะในสำนักงานได้โดยไม่มีใครแตะต้อง เลย นักท่องเที่ยวต่างชาติล้วนรู้สึกแปลกใจเมื่อกลับมายังที่พักของ ตน แล้วพบว่ากุญแจห้องไม่ได้อยู่ที่โต๊ะรับรอง แต่เสียบคาไว้ที่ประตู ห้องของตน ทั้งนี้เพราะพนักงานโรงแรมแน่ใจว่าจะไม่มีใครมาเปิด ห้องนั้นนอกจากแขก ภายในชั่วเวลา ๔๒ ปี คือนับแต่ปี ๒๕๐๘ ถึงปี ๒๕๕๐

รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยได้เพิ่มขึ้นถึง ๒๕ เท่า แต่ความสุข นอกจากไม่ได้เพิ่มขึ้นแล้ว กลับลดลงด้วยซ้ำ ดูจากสัดส่วนคนที่มี ปัญหาทางจิตเพิ่มมากขึ้น (เมื่อปี ๒๕๕๒ พบว่าประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป มีปัญหาสุขภาพจิตร้อยละ ๑๒ หรือประมาณ ๕ ล้านคน) และมีการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น (ปี ๒๕๓๖ คนไทยฆ่าตัวตาย ๒.๗ คน ต่อประชากรแสนคน ๑๖ ปีต่อมา ตัวเลขเพิ่มเป็น ๕.๗ คนต่อ ประชากรแสนคน) ตรงกันข้ามกับภูฐานซึ่งมีปัญหาเหล่านี้น้อยมาก แม้ว่ารายได้เฉลี่ยต่อหัวจะไม่ถึงครึ่งของไทยก็ตาม แต่กล่าวได้ว่า

คนภูฐานมีความสุขกว่ามาก เคยมีการทำดัชนีวัดความสุขของทุก ประเทศทั่วโลก ปรากฏว่าภูฐานมาเป็นที่ ๘ จาก ๑๗๘ ประเทศ

สภาพเช่นนี้สูญหายไปจากเมืองไทยนานแล้ว อาชญากรรม และความรุนแรงเกิดขึ้นทั่วไป อย่าว่าแต่ตามท้องถนนเลย แม้กระทั่ง บ้ า นเรื อ นของตนก็ ห าใช่ ส ถานที่ ป ลอดภั ย อย่ า งสิ้ น เชิ ง ไม่ ข้ อ มู ล

จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมตำรวจ กระทรวงสาธารณสุข ระบุ ตรงกันว่าปัจจุบันนอกจากเด็กจำนวนมากถูกพ่อแม่ทอดทิ้งแล้ว ยัง ถูกทำร้ายจากในบ้านมากกว่านอกบ้าน ทั้งจากผู้เป็นพ่อแม่ คนรู้จัก ขณะเดียวกันภรรยาที่ถูกสามีทำร้ายก็กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว เมืองไทยนับวันจะกลายเป็นเมืองแห่งความรุนแรงทุกขณะ เหตุ ก ารณ์ น องเลื อ ดเมื่ อ เดื อ นพฤษภาคมมิ ใ ช่ อ ะไรอื่ น หากคื อ

ส่วนขยายจากความรุนแรงในทุกระดับ ตั้งแต่ในครอบครัวจนถึง อาชญากรรม บนท้องถนนที่สั่งสมมานาน เมื่อผนวก

ใครที่ได้ไปภูฐานย่อมอดประทับใจไม่ได้ในน้ำใจไมตรีของผู้คน ที่ นั่ น ผู้ ค นยิ้ ม แย้ ม แจ่ ม ใสและไว้ ว างใจคนแปลกหน้ า ความ

ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินก็มีมากกว่า คดีอุกฉกรรจ์แทบไม่ ปรากฏ ขณะที่การลักขโมยก็มีน้อยมากโดยเฉพาะในชนบท นัก 24

25


กับความเหลื่อมล้ำในสังคม ความคับแค้นใจทางการเมือง และ อำนาจนิยมโดยรัฐ ความรุนแรงก็พร้อมจะระเบิดกลางเมืองจนทำให้ ผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก และไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่ายๆ ใช่ ห รื อ ไม่ ว่ า นี้ คื อ ผลพวงของการพั ฒ นาที่ เ น้ น ความเจริ ญ เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรีบเร่ง ซึ่งนอกจากจะไม่คำนึงถึงมิติอื่นๆ

ที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิตแล้ว ยังเป็นการพัฒนาที่ไร้ความเป็นธรรม เพราะมุ่งอำนวยประโยชน์แก่คนส่วนน้อย ลำเอียงต่อภาคอุตสาหกรรม

บริการ และเมืองโดยผลักภาระให้แก่ภาคเกษตรกรรมและชนบท ทั้ ง หมดนี้ แ ยกไม่ อ อกจากการรวบอำนาจไว้ ที่ ส่ ว นกลาง ทำให้

ผลประโยชน์ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่ทำให้

ทั้งประเทศตกอยู่ในภาวะตึงเครียดและแตกแยกจนถึงขั้นวิกฤต ภู ฐ านและเมื อ งไทยเป็ น ตั ว อย่ า งที่ แ ตกต่ า งอย่ า งเด่ น ชั ด ระหว่างการพัฒนาที่เน้น “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” กับการ พัฒนาที่เน้น “ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ” แม้หวังได้ยากที่

เมื อ งไทยจะเปลี่ ย นจุ ด หมายการพั ฒ นาไปเป็ น ความสุ ข มวลรวม ประชาชาติ แต่ยังไม่สายที่เราจะหันมาเสริมสร้างดุลยภาพภายใน ประเทศให้มากขึ้นเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ แทนที่จะมองแต่

ข้างนอกเพื่อแข่งขันให้ทันหรือล้ำหน้าประเทศอื่นในทางเศรษฐกิจ เท่านั้น เพราะการเร่งรีบอย่างผิดทิศผิดทางนั้นในที่สุดอาจทำให้ เมืองไทยไม่ต่างจากรถแข่งที่กำลังพุ่งสู่หุบเหวเบื้องหน้าก็ได้ 26

ช้ น้ำา

ในแต่ละวัน น้ำถูกใช้เฉลี่ยคนละราว ๕๐ ลิตร หรือเทียบเท่า น้ำดื่มขวดใหญ่ขนาด ๑.๕ ลิตร ๓๓ ขวด องค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ปัจจุบันประชากร ๔๐๐ ล้านคนทั่วโลกกำลังประสบภาวะ ขาดแคลนน้ ำ อย่ า งรุ น แรง และเมื่ อ ถึ ง ปี ๒๐๕๐ โลกจะมี ค น ขาดแคลนน้ำถึง ๔,๐๐๐ ล้านคน ขอชวนคนรักษ์โลก - ปิดก๊อกน้ำตอนแปรงฟัน ถูสบู่ โกนหนวด เพราะเปิดก๊อกน้ำ ทิ้งไว้จะสูญเสียน้ำถึง ๑๐,๒๒๐ ลิตรต่อปี ถ้าใช้แก้วรองน้ำขณะ แปรงฟัน จะใช้น้ำเพียง ๐.๕-๑ ลิตร ประหยัดไป ๒๐ ๓๐ ลิตร - ใช้ฝักบัวที่เปิดน้ำไม่แรงนัก และควรปิดฝักบัวขณะถูสบู่ - ตรวจชักโครกโดยเติมสีผสมอาหารลงในถังพักน้ำ หากน้ำ ในโถเปลี่ยนสี แสดงว่ารั่วไหล - ใช้ถังใบเล็กๆ ใส่หินหรือขวดน้ำเปล่าเติมน้ำ ถ่วงลงในถัง

พักน้ำชักโครกเพื่อลดปริมาณน้ำ - ตรวจก๊อกน้ำว่ารั่วซึมหรือไม่ก๊อกที่รั่วไหลทำให้สูญเสียน้ำถึง ๑.๕๐๐ ลิตรต่อเดือน

*ใน National Geographic 27


เ ลื อ ก ข อ ง ใ ช้

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ทุ ก วั น นี้ ส่ ว นใหญ่ ผ ลิ ต จากสารเคมี เ ป็ น พิ ษ ต่ อ

สิ่ ง แวดล้ อ มและทำลายสุ ข ภาพ ระคายเคื อ งผิ ว หนั ง แสบตา

วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือสะสมพิษในร่างกาย จึงควร เลือกใช้เท่าที่จำเป็น แต่จะให้ดีเลือกที่มาจากธรรมชาติก่อน คน

รักษ์โลกขอแนะนำ - สเปรย์ปรับอากาศ ระวังพวกกลิ่นหอมๆ มักจะมีพิษภัย เพราะสารฟอร์มาลดีไฮด์ที่เป็นส่วนประกอบ มีฤทธิ์ทำลายระบบ ประสาท ระคายเคืองต่อระบบการหายใจ แถมอาจมีสารประกอบ บางตัวที่ก่อมะเร็ง ทางที่หลีกเลี่ยงได้ดี ทำห้องให้ปลอดกลิ่น เปิด หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท หรือจะใช้มะนาวผ่าซีกวางทิ้งไว้ก็ได้กลิ่น หอมอ่อนๆ ตามธรรมชาติ - ยาฆ่าแมลง ไม่ว่าจะเป็นสเปรย์หรือสูตรน้ำ ถ้าฆ่าแมลงได้ คนก็อาจจะไม่ปลอดภัยได้ ลองหันมารักษาความสะอาดภายในบ้าน จัดเก็บให้เรียบร้อย ไม่มีเศษอาหารเรี่ยราดตามพื้นครัว รวมทั้งใช้ การบูรแทนเพื่อป้องกันมดและแมลงสาบ - น้ ำ ยาขั ด พื้ น โดยทั่ ว ไปมี ฤ ทธิ์ กั ด กร่ อ น นอกจากจะเป็ น อันตรายต่อผู้ใช้ เมื่อชะล้าง สารพิษจะปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำ ลอง ทำเองเป็ น น้ ำ ยาเอนกประสงค์ ด้ ว ยการใช้ น้ ำ ส้ ม สายชู ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) และน้ำ มาผสมกันใช้แทน - ผงซักฟอก ส่วนประกอบสำคัญคือฟอสเฟตที่เป็นต้นเหตุ ของน้ำเน่าเสีย ใช้ผงฟูแทนในปริมาณใกล้เคียงกับที่เคยใช้ผงซักฟอก ถึงผงฟูจะไม่มีฟอง แต่น้ำผงฟูลื่นๆ ช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดีอย่าง ไม่น่าเชื่อ 28

มื อ ถื อ

ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ พบผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกมีถึง ๓,๒๕๐ ล้านราย ครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ในประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไปมีโทรศัพท์มือถือใช้ร้อยละ ๒๘.๒ และ

เพิ่มขึ้นในปี ๒๕๕๑ อีกร้อยละ ๔๗.๒ หันมาหาวิธีใช้อย่างไรเกิด โทษน้อยที่สุด - ไม่เปลี่ยนรุ่นบ่อย เพราะส่วนประกอบของมีโลหะหนักหลาย ชนิด เช่น ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และอื่นๆ ทิ้งไปเมื่อไรจะแปร สภาพเป็นกากของเสียที่อันตรายนั่นหมายความว่า ยิ่งโทรศัพท์

มือถือมีอายุการใช้งานสั้นเพียงใด หรือเปลี่ยนรุ่นบ่อยเท่าไร กาก ของเสียอันตรายก็จะมีปริมาณมากขึ้นเท่านั้น - ทิ้ ง ให้ ถู ก ที่ คนไทยส่ ว นใหญ่ ทิ้ ง มื อ ถื อ เครื่ อ งเก่ า และ แบตเตอรี่ใช้แล้วปะปนไปกับขยะ เฉพาะกรุงเทพฯแห่งเดียว มีขยะ ประเภทนี้สูงถึง ๙,๐๐๐ ตันต่อปี ถ้านำไปกำจัดแบบเดียวกับขยะ ทั่วไป บด อัด แล้วฝังกลบหรือเผา สารอันตราย โลหะหนักต่างๆ จะแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม และตกค้างอยู่ในห่วงโซ่อาหารนาน หลายสิบปี หากปนเปื้อนสู่แหล่งน้ำหรือดิน - ใช้ยามจำเป็น ความถี่ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ คือไม่เกิน ๒ mG แต่ความถี่ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ประมาณ ๔๓ mG ถ้า

หลีกเลี่ยงได้เป็นดี ใช้มือถือเท่าที่จำเป็น หรืออุปกรณ์เสริมประเภท แฮนด์ฟรี หรือช่องทางการใช้ที่ห่างคลื่นความถี่ได้

29


นพ.ปีเตอร์ สมิธ ออสเตรเลีย กุมารแพทย์ ชี้แนวโน้มภูมิแพ้ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบทารกทั่วโลกพุ่งสูงกว่า ๕๐๐% สาเหตุ สำคัญมาจากอาหาร นมวัว เช่น ไข่ไก่ ถั่ว ข้าวสาลี สัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ส่วนในไทยเด็กแพ้ไข่กับนมมากที่สุด ผู้ใหญ่แพ้อาหารทะเล เหตุผลสำคัญที่คนแพ้อาหาร และภูมิแพ้มากขึ้นนั้น เพราะ

ไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตที่สะดวกสบาย เน้นความ สะอาดจนเกินไปทำให้เด็กไม่เคยได้รับเชื้อเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน อีกทั้ง การผ่ า ท้ อ งคลอดที่ ม ากขึ้ น ทำให้ เ ด็ ก ไม่ ไ ด้ รั บ เชื้ อ จุ ลิ น ทรี ย์ จ ากการ คลอดธรรมชาติ เมื่อป่วยก็ให้ยาปฏิชีวนะกับเด็ก ทำให้ฆ่าเชื้อโรคที่ดี ไปหมด ดร.กอบกุล สุดสวนศรี ผู้เชี่ยวชาญ ชี้การปรับทัศนคติต่อโรค ออทิสติกว่า ไม่ใช่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย แต่เป็นโรคที่ต้องการการ รักษาต่อเนื่องจริงจัง เด็กที่เป็นออทิสติกมีสาเหตุแตกต่างกันไป พบ ว่ามาจากความผิดปกติทางชีวเคมีร้อยละ ๘๐ และอื่นๆ เช่น การ อักเสบของสมอง ทางเดินอาหาร ถ้าได้รับการตรวจหาสาเหตุได้ก่อน อายุ ๔ ขวบจะรักษาได้ถึงร้อยละ ๖๐ - ๗๐ ร้อยละ ๑๕ - ๒๐ มี สาเหตุมาจากครอบครัว

30

31


ปัจจุบันพบเด็กป่วยเป็นโรคออทิสติกเพิ่มมากขึ้น ที่อเมริกาพบ ๑ คนใน ๑๐๐ คน ในไทยพบ ๒-๖ คน ใน ๑,๐๐๐ คน หรือ

มีภาวะออทิสติกประมาณ ๒ แสนคน ชายมากกว่าหญิงถึง ๔ เท่า

วิธีสังเกตในระยะเริ่มแรก ดูที่การสื่อสาร พูดแบบย้ำคิดย้ำทำ ใช้ อารมณ์ ท้องผูก ท้องเสีย ส่วนใหญ่เด็กจะมาพบแพทย์ในช่วงอายุ ๒ ขวบขึ้นไป นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิเพื่อพัฒนาการแพทย์ ทางเลือก กล่าวว่า วงการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคออทิสติก แต่สิ่งแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ รพ.ปิยะเวท ให้ข้อสังเกตว่าปัจจุบันพบมากขึ้นไม่เฉพาะในครอบครัวที่ มีฐานะแล้ว ดร.วรรณี แกมเกตุ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยงานวิจัยทำในปี ๒๕๕๒ จากการสอบถาม ๕,๘๖๕ คน รวมใน ๑๓ จังหวัด พบพฤติกรรมการอ่านของคนไทยระบุว่า คนไทยใช้เวลา อ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ ๙๔ นาทีต่อวัน โดยเด็กและเยาวชนใช้เวลา ว่างในการอ่านมากที่สุด ขณะที่คนอายุ ๔๙ ปีขึ้นไปใช้เวลาว่างอ่าน น้อยที่สุด อาชีพข้าราชการอ่านมากที่สุด รองลงมาอื่นๆ เช่น ภิกษุ

แม่ บ้ า น ทหารเกณฑ์ ใ ช้ เ วลาว่ า งอ่ า นน้ อ ยที่ สุ ด คนเขตเมื อ งอ่ า น

32

มากกว่านอกเมือง ส่วนสาเหตุเด็กและเยาวชนไม่อ่านมาจากความ

ขี้เกียจ เฉลี่ยอ่านประมาณ ๔ วันต่อสัปดาห์ การศึกษาระดับสูงกว่า ปริญญาตรีอ่านมากที่สุดเฉลี่ยประมาณ ๕-๖ วันต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายการอ่านมีตั้งแต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการอ่านเลยจนถึง ๙,๐๑๐ บาท โดยเฉลี่ยประมาณ ๕๒๓ บาท แยกเป็นอายุ ๒๐-๒๙ มากที่สุด ส่วนอายุมากกว่า ๔๙ ปีขึ้นไปน้อยที่สุด เมื่อพิจารณาถึงการ อ่านคล่องหรือไม่ พบว่าอายุมากกว่า ๔๙ ปีขึ้นไปมีความคล่องแคล่ว ในการอ่านน้อยที่สุด สำรวจชัด เด็กมหาวิทยาลัยจำนวน ๕๓% เริ่มสูบบุหรี่เพราะ อยากลอง อี ก ๒๓.๔% ตามเพื่ อ น ๒.๘% เริ่ ม สู บ อายุ ๑๘ ปี พฤติกรรมการลอกเลียนแบบการสูบบุหรี่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ที่ สำคัญคือ พื้นฐานครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม และมีแนวโน้มว่า วัยรุ่นอยากทดลองสูบบุหรี่ง่ายเมื่อถูกเพื่อนชักชวนหรือเห็นเพื่อนสูบ ทั้งนี้ สสส.ได้สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคม ไทยปลอดบุหรี่มานานกว่า ๖ ปี มีเครือข่ายบุคลากรด้านสาธารณสุข ๑๘ สาขาวิชาชีพ ทำงานร่วมกันเพื่อเผยแพร่ข้อมูลและข้อเท็จจริง เกี่ยวกับพิษภัยของบุหรี่ต่อสุขภาพ การป้องกัน ฟื้นฟู ให้คำปรึกษา ให้ บ ริ ก ารผู้ อ ยากเลิ ก สู บ บุ ห รี่ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ซึ่ ง การสร้ า งคน 33


ต้นแบบจะทำให้เยาวชนไทยมีแบบอย่างในการปฏิเสธอบายมุข จาก ผลการสำรวจของ สสส.ร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทย ปลอดบุหรี่ ในปี ๒๕๕๒ ส่วนเหตุผลถ้าจะเลิกสูบบุหรี่สำหรับผู้ชาย เพราะบุหรี่ราคาแพง ส่วนในผู้หญิงถ้าคนใกล้ชิดแนะนำ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการความปลอดภัยทาง ถนน (ศวปถ.) เปิดเผยผลสำรวจว่า อุบัติเหตุทางถนน ปี ๒๕๕๓ คน ไม่รู้ว่ารัฐบาลกำหนดให้การแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นวาระแห่ง ชาติ “กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหรือ ๔๙.๘% ไม่เคยทราบว่าอุบัติเหตุ ทางถนนทำให้มีคนตายเฉลี่ยวันละ ๓๐ คน หรือปีละ ๑๑,๐๐๐ คน สูงกว่าอาชญากรรม ๔ เท่า ประชาชน ๗๐.๗% รู้ตัวว่าเสี่ยงได้รับ

บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพราะต้องใช้รถใช้ถนน

เป็นประจำ ประกอบกับคนส่วนมากประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร” ที่น่าเป็นห่วงคือ เชื่อว่าการเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องของโชคชะตาคราว เคราะห์ และประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าวิธีช่วยสร้างความปลอดภัย

บนท้องถนนของประชาชนคือ ดื่มไม่ขับ การสวมหมวกนิรภัย คาด เข็มขัดนิรภัย ไม่ขับรถย้อนศร ง่วงไม่ขับ ใช้ความเร็วตามที่กฎหมาย กำหนด ทั้งนี้ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มมาตรการเพื่อลดอุบัติเหตุ มากที่สุด คือ เพิ่มการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง

เอแบคโพลล์ และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์เผยผลสำรวจการ พัฒนาประเทศกับแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยช่วงวันที่ ๑๐๒๗ พย.นี้ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ ติดตามข่าวสารบ้านเมือง

เป็นประจำทุกสัปดาห์ อุปสรรคที่เป็นปัญหาพัฒนาประเทศคือความ แตกแยกของคนในชาติ รองลงมาคือการทุจริตคอรัปชั่น พฤติกรรม นักการเมืองมุ่งประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง พฤติกรรมข้าราชการ

ชิงดีชิงเด่น อยู่ใต้อิทธิพลนักการเมืองและกลุ่มนายทุน สาเหตุสำคัญ มาจากอำนาจการตัดสินใจเป็นแบบรวมศูนย์ เจ้าหน้าที่รัฐทำงานไม่ เชื่อมประสานกัน และการเมืองยังมีการปฏิวัติ ยึดอำนาจ นักการเมือง สับเปลี่ยนหมุนเวียนอำนาจที่ไม่ได้มาจากเสียงของประชาชนอย่าง แท้จริง ในส่วนของพฤติกรรมของกลุ่มนายทุนมีการเอารัดเอาเปรียบ กอบโกย ไม่ใส่ใจผู้บริโภค เป็นเพราะคุณภาพระบบการศึกษาต่ำ และ ปัญหาของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ไม่มีอำนาจต่อรองที่เข้มแข็ง กลายเป็นเครื่องมือในการต่อรอง เกิด เป็น “วัฏจักรแห่งความเลวร้าย” ในสังคมไทย สถานการณ์ปัจจุบัน สรุปได้ว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนลดลง และมีอาการที่แกว่งไกว่ ขึ้นลง ไม่คงที่

34

35


เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท

36

ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ โดย พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท

เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)

แนะนำ ฟังซีด ี ซีดีเสียงเผชิญความตายอย่างสงบชุดที่ ๑ บทภาวนา รวมเป็นชุดใส่กล่อง มี ๖ แผ่น ๒๕๐ บาท หรือแบบ MP3 รวมในแผ่นเดียว ๑๐๐ บาท

ซีดี รวมบทความ มองย้อนศร แผ่นละ ๓๐ บาท ซีดี รวมบทความมองอย่างพุทธ แผ่นละ ๓๐ บาท ดีวีดี สู่ความสงบที่ปลายทาง บทเรียนชีวิตในยามเจ็บป่วย แผ่นละ ๕๐ บาท

37


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...................................................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์............................................................................... รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น.............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาคลองสาน ชื่อบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๕๑-๐๕๙ ๗๗๔-๑ โปรดส่งหลักฐานการโอนและใบสมัครมายังเครือข่ายพุทธิกาด้วย สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓, ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐๕๔๕๘, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ 38

กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ ฉบับนี้คงเป็นฉบับส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ กิจกรรมของเครือข่ายพุทธิกาก็ยังดำเนินมาอย่าง

ต่อเนื่องทั้งที่ใกล้สิ้นปี และกำลังย่างเข้าปีใหม่ ไม่มีทีท่าว่าจะลด น้อยลงเลย ขอโอกาสทบทวนกิจกรรม – งานของเครือข่ายพุทธิกากันอีกครั้ง

นะคะ (กลัวผู้อ่านลืมค่ะ) สรุปให้เข้าใจง่ายๆ แล้วกันนะคะ เครือข่าย พุทธิกามีวัตถุประสงค์ในการทำงานคือ ส่งเสริมการนำธรรมะมา ประยุ ก ต์ ใ ช้ อ ย่ า งสมสมั ย อาทิ ห ลั ก ธรรมเรื่ อ ง “บุ ญ ” (ฉลาด ทำบุญ), “ความตาย” (เผชิญความตายอย่างสงบ) และ “ความสุข” (สุขแท้ด้วยปัญญา) ซึ่งเครือข่ายฯ เล็งเห็นว่าเป็นหลักธรรมที่ใกล้ชิด กับคนในสังคมมากที่สุด แต่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอยู่มาก มาดูกันเลยแล้วกันค่ะ ว่าเราทำอะไรกันบ้างในรอบ ๖ เดือน (ก.ค. – ธ.ค. ๕๓) ที่ผ่านมา ...เข้าถึงความตายได้เดี๋ยวนี้.. จาก “โครงการเผชิญความ ตายอย่างสงบ” มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง แม้ไม่มีทุน ล่าสุดเตรียม จะทำ “โครงการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์” เป็นกิจกรรมเล็กๆ แต่ ไม่ง่ายนักถือว่าเป็นเรื่องท้าทายเพราะกลุ่มเป้าหมายหลักคือพระสงฆ์ ปัจจุบันสถานภาพ วัด-พระ ห่างจากชุมชน/สังคมมากขึ้นทุกขณะ เราได้แต่คาดหวังว่าพระสงฆ์ท่านจะกลับมามีบทบาทกับชุมชน/สังคม อีกครั้งดังที่เคยเป็นมาในอดีต ส่วนกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 39


“เผชิญความตายอย่างสงบ” ที่จัดให้กับคนที่สนใจทั่วไป และกลุ่ม เฉพาะที่ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรสาธารณสุข มีคิวยาวไปถึงสิ้นปี ๕๔ แล้ว และกิจกรรมที่ยังได้รับความนิยมไม่แพ้กันคือ “อาสาข้างเตียง” แม้รับอาสาสมัครได้ครั้งละไม่มากเนื่องจากพื้นที่ของโรงพยาบาลมี จำกัดในการอนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปทำกิจกรรมได้ ข่าวว่า กำลังปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง แม้ไม่มีเครือข่ายฯ เป็นแกนนำ! ...จิตอาสาทำได้ ง่ายนิดเดียว นับแต่เปิดตัวโครงการมาตั้ง แต่ช่วงเข้าพรรษา “โครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา” ก็ได้รับ ความสนใจจากบุคคลทุกเพศ ทุกวัย อย่างท่วมท้น หลายกิจกรรม

โดยเฉพาะ “อาสาเพื่อเด็กตาบอด” “อาสาเพื่อเด็กออทิสติก” “อาสาเก็บผักตบชวา” “อาสาปลูกผักดาดฟ้า” “อาสาทำผ้าพันคอ” “อาสาตกแต่งกระเป๋า” “อาสานวดเด็ก” ฯลฯ ต่างได้รับความสนใจ อย่างล้นหลาม มีการลงทะเบียนเป็นตัวสำรองก็ยอม... นอกจาก การเข้าร่วมตามกิจกรรมที่ตนเองสมัครแล้ว ยังมีกิจกรรมเรียกน้ำ ย่อยและเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริงนั่นคืองาน “รวมมิตร จิตอาสา” จัดเดือนละครั้ง ภายในงานมีกิจกรรมจิตอาสาใช้เวลาไม่ มากมาให้อาสาสมัครทำด้วย เท่านั้นยังไม่พอยังได้เรียนรู้การเตรียม ความพร้อมด้านร่างกายและจิตใจ ปัญหาอุปสรรคที่อาสาสมัครจะ ต้องพบเจอเมื่อไปทำจริง...นอกจากนั้นโครงการฉลาดทำบุญด้วย

จิตอาสายังได้เปิดโอกาสให้กับตนเองเพื่อเข้าไปเรียนรู้กับองค์กรภาค 40

ธุรกิจ และสถานศึกษา ล่าสุดที่ผ่านมา (๒-๔ ธันวาคม ๒๕๕๓) ได้จับมือกับบริษัทโอกิลวี่ แอนด์ เมเธอร์ สาขาของบริษัท ดับบลิว พีพี (ประเทศไทย) จำกัด แผนกครีเอทีฟ ไปรวมหัวกันทาสีอาคาร เรียนพร้อมมอบสื่อการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนบ้านเขาตะเครา อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี บรรยากาศเต็มไปด้วยสนุกสนาน และ

อบอุ่ น เป็ น กั น เอง ตอนจบซาบซึ้ ง จนน้ ำ ตาไหลทั้ ง ผู้ ใ ห้ แ ละผู้ รั บ ...ก่อนหน้านั้นเมื่อวันที่ ๑๖, ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ก็ได้ไป

จั ด กิ จ กรรมให้ กั บ นั ก ศึ ก ษาปี ๑ ของมหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๑,๐๐๐ คน – เป็นงาน ใหญ่ที่ท้าทายใช้กระบวนการทั้งสิ้น ๒๘ ชีวิต... อีกงานที่ผูกพันกับ เรามาอย่างต่อเนื่องคือกิจกรรม “ผ้าพันคอเพื่อน้อง” ทำร่วมกับ โครงการ EGAT Young Generation Development Program (EYDP) – Revise II ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตประเทศไทย (กฟผ.) จัด ๔ ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๒๐๐ คน เป็นกิจกรรมที่ทีมงาน ประทับใจมากกิจกรรมหนึ่งเพราะผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย ไม่เคย ทำสิ่งที่เป็นงานบ้านงานเรือนเช่นการเย็บปักถักร้อย แต่คนที่ทำ สำเร็ จ ส่ ว นใหญ่ ก ลั บ เป็ น ผู้ ช ายและทำด้ ว ยความตั้ ง ใจอย่ า งมาก อาสาสมัครท่านหนึ่งสะท้อนวงใหญ่ในช่วงสุดท้ายก่อนเราจากกันว่า “ผมจะไม่ต่อเลยหากต้องไปซื้อผ้าพันคอที่ไหน เพราะผมรู้แล้วว่า กว่ า จะได้ ม านั้ น มั น ลำบากและต้ อ งใช้ เ วลามากมายขนาดไหน” ข่าวดีปี ๕๔ ทางโครงการฯ ฝากแจ้งมาว่าจะเปิดรับจิตอาสาตั้งแต่ ต้นปี ไม่ต้องรอช่วงเทศกาลเข้าพรรษาแล้วค่ะ 41


...นี่ก็ย่างเข้าปี ๓ สำหรับโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา โปรเจค ใหญ่สุดของเครือข่ายพุทธิกา เพราะมีภาคี/โครงการจากทั่วประเทศ ร่วมกันสร้างสรรค์สุขภาวะของสังคมไทยทั้งสิน ๕๘ องค์กร/โครงการ โครงการฯ มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ๔ ประการ คือ ๑) การ คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง ๒) การไม่พึ่งพึงความสุขทางวัตถุเพียง อย่างเดียว ๓) การเชื่อมั่นในความเพียรไม่หวังลาภ ลอยไม่คอย โชคลาภ ๔) การรู้ จั ก คิ ด อย่ า งมี เ หตุ ผ ลเป็ น ประโยชน์ เ กื้ อ กู ล กิจกรรมเริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน ๕๓ แล้ว มีกลุ่มเป้าหมาย (หลัก – รอง) เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาวที่ผ่านกิจกรรมแล้วประมาณ ๕,๘๐๐ คน ไม่นับรวมถึงผลกระทบทางสังคมในวงกว้างอีกไม่น้อย โดยมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุน เครือข่ายพุทธิกาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่พวกเราทำคงเกิด ประโยชน์ต่อสังคมไม่มากก็น้อยไม่สูญเปล่า ...ตามด้วยกิจกรรมน้องใหม่ “โครงการเรื่องเล่าจาก แดนประหาร” เป็นกิจกรรมที่โครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กับเครือข่ายพุทธิกา ร่วมมือ กันทำ จุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาฝีมือด้านการเขียนแก่ผู้ต้องขังในแดน ประหาร เรือนจำกลางบางขวาง เป็นเวลา ๔ เดือน โดยเรียนและ ฝึกสัปดาห์ละ ๑ วันอย่างต่อเนื่อง จากวิทยากรผู้มากด้วยฝีมือด้าน การเขียนสารคดี อรสม สุทธิสาคร วิวัฒน์ พันธวุฒิวิทยานนท์ 42

และวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง มาให้ความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ มีผู้ต้องขังที่สนใจและผ่านการคัดเลือก ๓๑ คน ผลเป็นอย่างไร เย็นฤดีจะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไปนะคะ ...และท้ายสุดเป็นจดหมายจากผู้อ่านที่เขียนถึง “จดหมาย ข่าวพุทธิกา” เย็นฤดีอ่านแล้วได้แต่ซาบซึ้งและเกิดกำลังใจในการ ทำงานอย่างยิ่ง เนื้อความในจดหมายมีแต่ความงดงามในน้ำจิต น้ำใจของผู้เขียน เชิญอ่านไปพร้อมกันเลยค่ะ “เมื่อวานนี้ดิฉันได้ไปซื้อหนังสือที่ร้านเครือข่ายพุทธิกา ได้ ห นั ง สื อ ดี ๆ ของท่ า นมามากเลย ดิ ฉั น ได้ ห ยิ บ แผ่ น พั บ สี น้ำตาลที่เขียนว่า “ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา” มาอ่าน พอ อ่านเสร็จวันรุ่งขึ้นดิฉันก็ได้ไปเป็นอาสาที่โรงพยาบาลรามาไป พูดคุยและให้กำลังใจกับเด็กที่ป่วย ดิฉันปั้นดินน้ำมันแล้วให้ เด็กๆ ทายว่าสิ่งที่ปั้นคืออะไร เขามีจินตนาการที่ล้ำลึกจน

บางครั้งดิฉันคิดไม่ถึง พวกเขาสนุกสนานมากเลยค่ะ ได้เห็น รอยยิ้ ม ของพวกเขาด้ ว ย ดิ ฉั น จะไปเยี่ ย มเขาวั น เว้ น วั น ค่ ะ เพราะดิฉันทำงานเดือนหนึ่งแค่ ๑๕ วัน ขอบคุณนะคะ ที่ ท่านช่วยเป็นสะพานบุญให้ 43


หนังสือที่พระคุณเจ้าเขียนมีประโยชน์ทุกเล่มค่ะ ดิฉัน อ่านแล้วไม่เคยเก็บไว้คนเดียว จะแบ่งปันให้คนอื่นอ่านด้วยค่ะ ดิ ฉั น จะนำหนั ง สื อ ของพระคุ ณ เจ้ า ทุ ก เล่ ม วางไว้ ที่ ร้ า น ดิ ฉั น

ขายของ ดิฉันจะนำหนังสือธรรมะดีๆ ใส่ไว้ในตะกร้าประมาณ ๓๐ เล่ม แล้วตอนเช้าก็จะถือตะกร้าเพื่อไปส่งหนังสือให้เพื่อนๆ อ่าน โดยที่เพื่อนไม่ต้องมาที่ร้าน (อำนวยความสะดวกให้เขา) ที่บ้านดิฉันมีหนังสือธรรมะประมาณพันกว่าเล่มค่ะ ดิฉันอ่าน หมดทุกเล่ม ไม่เคยนำหนังสือไปดองไว้ พออ่านจบถึงอ่านเรื่อง ใหม่ เพราะถ้าไปดองไว้ ก็จะไม่ได้อ่านสักที สำหรับพระรูปใหม่ที่ ดิ ฉั น ศรั ท ธาในการเผยแพร่ ศ าสนาก็ มี พ ระคุ ณ เจ้ า และท่ า น ว.วชิรเมธีค่ะ เพราะท่านทั้งสองทุ่มเวลาให้ศาสนาอย่างเต็มที่ ดิ ฉั น ชอบธรรมะดิ ฉั น ก็ เ ลยอุ ทิ ศ ตนให้ กั บ ศาสนาค่ ะ นอกจากทำงานเพื่อเลี้ยงแม่ เลี้ยงปากเลี้ยงท้องแล้ว เวลาที่ เหลื อ ทั้ ง หมดดิ ฉั น อุ ทิ ศ ให้ กั บ ศาสนาและสั ง คมค่ ะ (แต่ เ น้ น ศาสนามากกว่า) ดิฉันเป็นอาสาสมัครให้กับหนังสือพิมพ์ธรรมะ ๔ ฉบับ ทำทั้งหมด ๖ คอลัมน์ ตอบปัญหาชีวิตทางโทรศัพท์ (เน้นธรรมะเป็นพื้นฐาน) ตอบปัญหาชีวิตทางอีเมล ทำทาน

ทุกวันดิฉันจะแลกเศษสตางค์ไว้ทุกวันเพื่อทำทาน เวลาไปห้าง ไปโรงพยาบาล หรือมูลนิธิต่างๆ ดิฉันก็จะหยอดกระปุกทำบุญ ค่ะไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว บางทีก็หยอดในร้านแฟมิลี่มาร์ท ร้านทำฟัน ห้างบิ๊กซี ถ้าเราจะค้นหามันมีทุกที่ค่ะ

44

เวลา ๑๕ วันที่ขายของช่วงที่ลูกค้ายังไม่เข้าร้าน ดิฉันก็ จะอ่านหนังสือพิมพ์เพื่อหาเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้เด็กฟัง (วัน อาทิตย์ดิฉันไปสอนหนังสือให้กับเด็กที่ด้อยโอกาส) สิ่งที่สอน คือเน้นคุณธรรมเป็นหลัก อย่างอาทิตย์ก่อนนั้นดิฉันได้นำข่าว พระรูปหนึ่งที่มีความกตัญญูเลี้ยงแม่ที่เป็นอัมพาตและน้องที่ ป่วยทางจิต จนไม่มีเวลาไปบิณฑบาต ชาวบ้านศรัทธาก็เลยนำ อาหารมาถวายที่วัด แล้วอีกข่าวก็ผู้หญิงแก้ปัญหาชีวิตด้วยการ โดดตึกตาย ดิฉันจะให้พวกเขาช่วยคิดว่า สิ่งที่ผู้หญิงคนนี้

ทำถูกหรือผิด แล้วผิดศีลข้อไหน พยายามสอนให้เขาคิดค่ะ บางครั้งก็นำเรื่องกฎแห่งกรรมที่เกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด มาเล่าให้เขาฟัง ดิฉันจะบอกเขาว่าคนเราต้องเวียนตายเวียน เกิด ฉะนั้นเมื่อมีชีวิตอยู่ให้สร้างความดีไว้ อย่าเบียดเบียนใคร รู้จักให้อภัยและเมตตา เด็กๆ ปลูกฝังง่ายมากค่ะ เพราะเขา

เป็นไม้อ่อน หลังจากสอนเสร็จดิฉันจะมีความสุขใจมาก เพราะ เราได้ชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้อง ดิฉันส่งอีเมลธรรมะวันละ ๑,๕๐๐ อีเมลโดยไม่มีวันหยุด ข้ อ ความที่ น ำมาส่ ง ดิ ฉั น จะพิ ม พ์ เ องจากหนั ง สื อ ที่ มี อ ยู่ ทุ ก ข้อความที่ส่งเลือกมาแล้วทั้งสิ้น เป็นข้อความที่ไม่ยาวมากนัก อาจจะ ๔-๕ บรรทัด เช่น จากหนังสือของพระคุณเจ้า ท่าน ว.วชิ ร เมธี อาจารย์ ว ศิ น อิ น ทสระ พระพรหมคุ ณ าภรณ์

หลวงพ่อชา หลวงพ่อพุทธทาส ท่านก.เขาสวนหลวง อุบาสิกา รัญจวน ฯลฯ ดิฉันคิดว่าความดีเป็นสิ่งที่ทำไม่ยากเลยทำแล้วมี ความสุข แต่น่าเสียดายที่คนหลายคนมักคิดว่าการทำความดีต้อง ไปที่วัด 45


เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม

มีคนมาถามเรื่องความดีกันเยอะ เขาบอกว่าเขาไม่มี เวลาที่จะทำบุญเขาต้องช่วยแม่ขายของ ดิฉันก็ได้ตอบเขาไป ว่านั้นคือความดีที่เขากำลังทำอยู่ การช่วยแม่ขายของก็คือ การสร้างความดี บางคนบอกว่าไม่มีเงินไม่รู้จะทำบุญอย่างไร เขาหารู้ไม่ว่าบุญบาปอยู่รายรอบตัวเองทั้งสิ้น เขามองข้ามไป ว่าการให้อภัย การเสียสละ ความเมตตาล้วนแต่ก็คือบุญ” แอ๊ว

ท่านผู้อ่านจดหมายข่าวเครือข่ายพุทธิกา สมาชิกทุกท่าน มี เรื่องใดเล่าสู่กันฟังอย่างคุณแอ๊ว ช่วยเขียนมาให้เพื่อนอ่านกันบ้าง น่ะค่ะ คอลัมน์นี้จะเป็นสะพานเชื่อมให้ค่ะ สวัสดีปีใหม่ค่ะ เย็นฤดี ๖ ธันวาคม ๒๕๕๓

46

การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูก ต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งใน ระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการ ทำบุญในปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ใน การสร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงามด้วยการเผยแพร่สื่อ และผลักดันโครงการ ต่างๆ ล่าสุดคือโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และอีกแนวคิดหนึ่งที่สำคัญคือการ ทำความ เข้าใจเกี่ยวกับชีวิตและความตาย เครือข่ายฯ ได้จัดทำโครงการเผชิญ ความตาย อย่างสงบขึ้น โดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่มีมิติทางจิตวิญญาณหรือด้าน ในของชีวิต สามารถเผชิญความตายได้ทั้งกับตนเอง และการช่วยเหลือผู้อื่น สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓, ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐๕๔๕๘, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 47


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓, ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐๕๔๕๘, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม ๏ สำนักงาน ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓, ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๘๖-๓๐๐๕๔๕๘, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ กิจกรรมเครือข่ายพุทธิกามีให้ร่วมน่าสนใจมากมาย : จิตอาสา, อาสาข้างเตียง, สุขแท้ด้วยปัญญา ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซื้อหนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร สนใจสมัครด่วน ได้รับ “รู้ใจไกลทุกข์” เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล หนังสือใหม่ ฟรี! ช้าหมด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.