จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 42

Page 1


ช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิญี่ปุ่น หาข้อมูลหรือบริจาค

เบอร์โทรฉุกเฉิน สายด่วนแรงงานไทยในญี่ปุ่น โทร.๑๖๙๔ สอบถามและยอบถามผู้สูญหาย ศูนย์สถานการณ์ฉุกเฉินกรณีแผ่นดินไหวและสึนามิ สถาน เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว โทร : ๐๓-๓๒๒๒-๔๑๐๑ ต่อ ๒๐๐, ๒๗๕ หรือ โทร :

๐๓-๓๒๒๒-๔๑๒๑, โทรสาร : ๐๓-๓๒๒๒-๔๑๒๒, Email และ MSN : rtetokyo@hotmail.com, Twitter : @rtetokyo, Facebook: @อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย มูลนิธิมายาโคตมี และมูลนิธิพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก โทร. ๐๒–๓๖๘ ๓๙๙๑ (๕

คู่สาย) หรือโอนเข้าบัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ (มหาชน) สาขาย่อยเซ็นต์หลุยส์ ๓ ชื่อ วัดสุนันทวนาราม เลขที่ ๐๘๗-๒-๐๙๙๓๓-๒ กระทรวงการต่างประเทศ ชื่อบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น” ธ.กรุงไทย สาขาสามยอด บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์ เลขที่ ๐๐๒-๐-๒๗๑-๔๖-๘ หรื อ บริ จ าคผ้ า ห่ ม ที่ : กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา หรือกรมการกงสุล ถ.แจ้งวัฒนะ ทุกวัน ไทยทีวีสีช่อง ๓ ชื่อบัญชี “ครอบครัวข่าว ๓ ช่วยผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น” ธ.กรุงเทพ สาขา

เอ็มโพเรี่ยม บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ ๐๙๖-๓-๐๑๕-๙๙๕ สภากาชาดไทย ธ.กรุงไทย สาขาสุรวงศ์ บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ ๐๒๓-๖๐๖๗๙๙-๐ ติดต่อ pr-fund-rc@hotmail.com โทร. ๐๒-๒๕๖๔๔๔๐ หรือ สายด่วน ๑๖๖๔ มู ล นิ ธิ ส ยามกั ม มาจล ชื่ อ บั ญ ชี “มู ล นิ ธิ ส ยามกั ม มาจล-ไทยพาณิ ช ย์ เ พื่ อ ผู้ ป ระสบภั ย ”

ธ.ไทยพาณิชย์ บัญชีเดินสะพัด เลขที่ ๑๑๑-๓-๙๐๙๑๑-๕ โรงพยาบาลศิริราช บริเวณชั้น ๑ ตึก ๑๐๐ ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ทุกวัน หรือตึก

ผู้ป่วยนอก เวลาราชการ กลุ่มเพื่อนญี่ปุ่น : รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย, รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และตัวแทนศิษย์เก่านักเรียนญี่ปุ่น ชื่อบัญชี “เงินบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในญี่ปุ่นกับ ส.ส.ท.” ธ.กรุงเทพ สาขาสุขุมวิท ๔๓ บัญชีสะสมทรัพย์เลขที่ ๑๗๒-๐-๙๔๕๒๖-๘ เทศบาลนครเชียงใหม่ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งศูนย์รับบริจาคเงินสด หน้าสำนักงานเทศบาลและสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ติดตามข้อมูล โทร.๑๙๒ และ www.ndwc.go.th ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย สายด่วนสอบถามข้อมูล โทร. ๐-๒๖๒๑-๙๗๐๓-๕ สายด่ ว นสนามบิ น สุ ว รรณภู มิ สายด่ ว นสอบถามข้ อ มู ล เดิ น ทาง Call Center โทร.

๐๒-๑๓๒-๑๘๘๘

กลางเดือนนี้ผู้เขียนมีโอกาสไปฟังธรรมจากท่านทะไลลามะที่เมือง

ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย การแสดงธรรมดังกล่าวเกิดขึ้นจากการนิมนต์ ของกลุ่มคนไทย ซึ่งท่านได้ให้เมตตาอย่างมาก นอกจากแสดงธรรมภาคเช้า แล้ว ยังเปิดโอกาสให้ชาวไทยได้เข้าเฝ้าและซักถามท่าน โดยท่านได้ตอบ อย่างเป็นกันเองมาก ในการแสดงธรรมทั้งเช้าและบ่าย ประเด็นหนึ่งที่ท่านเน้นมากได้แก่ เมตตากรุณา ทั้งในฐานะที่เป็นหลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา และคุณค่า

พื้นฐานของมนุษย์ทั้งโลก ท่านได้ชี้ว่าเมื่อเรามีเมตตากรุณาต่อใครก็ตาม

มิใช่ผู้อื่นเท่านั้นที่มีความสุข เราเองก็พลอยมีความสุข จิตใจเยือกเย็นไปด้วย แต่ท่านไม่ได้พูดเพียงเท่านั้น หากยังพาเราพิจารณาให้มองลึกต่อไปด้วยว่า เมตตากรุณานั้นเกิดขึ้นได้ยากหากผู้คนมีความยึดติด เพราะเมื่อใดที่มีความ

ยึ ด ติ ด ก็ เ กิ ด ความหวงแหน และนำไปสู่ ค วามโกรธเกลี ย ดเมื่ อ มี ใ ครมา

กระทบกับสิ่งที่ตนหวงแหน ท่านยังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมตตากรุณากับอนัตตาด้วย เรา จะมีเมตตาได้มากเมื่อความเห็นแก่ตัวน้อย ยิ่งเห็นถึงขั้นว่า “ตัวฉัน” นั้นไม่มี อยู่จริง ก็จะยิ่งมีเมตตาอย่างไม่มีประมาณ เพราะจะไม่มีความเห็นแก่ตัวเลย หลักธรมเรื่องอนัตตายังเป็นปฏิปักษ์กับความโกรธเกลียดอีกด้วย คนเราเมื่อ โกรธใครก็ตามก็มักเห็นว่าเขาเป็นคนเลว และเมื่อเห็นเช่นนั้นก็ทำให้โกรธ

มากขึ้น แต่หากเรามองทะลุหรือข้ามพ้นความเป็นตัวเขา ก็จะเห็นทั้งความดี และความไม่ดีในตัวเขา ไม่เห็นเขาเป็นคนเลวร้อยเปอร์เซ็นต์อีกต่อไป การ เห็นความดีของเขาทำให้เราคลายความโกรธ และมีกรุณามาแทนที่


การมีปัญญาเห็นถึงความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหรืออิทัปปัจจยตา ก็ ทำให้เรามีเมตตากรุณาต่อกันได้มากขึ้น เพราะเราจะพบว่าความสุขของเรา นั้นแยกไม่ออกจากความสุขของผู้อื่น เมื่อผู้อื่นมีความสุขเราก็พลอยมีความสุข ด้วย ดังนั้นถ้าเราอยากมีความสุข ก็ควรช่วยให้ผู้อื่นมีความสุขด้วย อย่าง น้อยก็ไม่เบียดเบียนหรือสร้างความทุกข์แก่เขา ท่านยังแนะให้เรามีเมตตากรุณาอย่างไม่มีประมาณ ไม่ว่าคนใกล้หรือ ไกล แต่ก็ชี้ด้วยว่าความยึดติดหลงใหลในคนใกล้ (พูดอย่างท่านอาจารย์

พุทธทาสก็คือ ความยึดติดถือมั่นว่าเป็น “ของกู”) ย่อมทำให้เรายากจะมี เมตตากรุณาต่อคนไกลได้ ท่านจึงแนะให้เราลดความยึดติดในคนใกล้ เพื่อ

ใจเราจะได้เปิดกว้างและมีเมตตาต่อผู้อื่นได้อย่างแท้จริง คราวหนึ่งมีสาวชาวอังกฤษมาบวชเป็นสามเณรีธิเบต เธอมีความมุ่งมั่น ในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมมาก เมื่อได้พบท่านทะไลลามะ เธอถาม ท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะเข้าถึงธรรมได้อย่างสมบูรณ์ เธอคิดว่าท่านจะให้

คำแนะนำที่ลึกซึ้ง แต่ท่านกลับตอบสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “Be good and be very kind.” คำตอบของท่านสั้นและง่ายก็จริง แต่อย่าดูแคลนว่าเป็นสิ่งผิวเผิน เพราะหากจะทำให้ได้อย่างนั้นก็ต้องกล้าล้วงลึกไปถึงอัตตาตัวตน จนเห็นว่า “ตัวกู” นั้นไม่มีจริง หรืออย่างน้อยก็ต้องรู้เท่าทันกิเลสภายใน จึงจะมีเมตตา กรุณาได้อย่างแท้จริง แต่หากไม่ทำอย่างนั้น ก็ยากที่จะมีเมตตากรุณาได้ และหากขาดเมตตากรุณาแล้ว ความเป็นศาสนิกชนจะมีความหมายอะไร

พุ ท ธิ ก า

ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๔๒ เดือนเมษายน ๒๕๕๔

อยากดังฟังทางนี้

ความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคมไทย

๑๐

พรปีใหม่จากหลวงปู่

๒๒

ทำตัวให้เหมือนหมา

๒๔

๒๘

๓๓

๓๘

๔๑


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

จอห์ น เลนนอน นั ก ร้ อ งชื่ อ ก้ อ งโลก ถู ก ยิ ง จนถึ ง แก่ ชี วิ ต หน้ า อพาร์ทเมนท์ของเขาเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว มาร์ค แช็ปแมน วัยรุ่นที่สังหาร

เลนนอนมิได้มีเรื่องโกรธเคืองเขาแม้แต่น้อย ที่จริงแช็ปแมนเป็นแฟนเพลง ของเลนนอนด้วยซ้ำ แต่ที่เขาก่อเหตุสะเทือนขวัญครั้งนั้นก็เพราะ “ผมรู้สึก ว่า ถ้าได้ฆ่าจอห์น เลนนอน ผมจะกลายเป็น somebody” การฆ่าใครสักคนเพียงเพราะอยากมีชื่อเสียงนั้น เป็นการกระทำที่ดู

ไร้เหตุผลอย่างยิ่งในความรู้สึกของคนทั่วไป เพราะนอกจากทำให้คนๆ หนึ่ง ต้ อ งสิ้ น ชี วิ ต ทั้ ง ๆ ที่ มิ ไ ด้ ท ำผิ ด ใดๆ แล้ ว ยั ง เป็ น การสร้ า งความเดื อ ดร้ อ น นานัปการมาสู่เจ้าตัว อาจถึงขั้นถูกประหารชีวิตด้วยซ้ำ แต่สำหรับแช็ปแมน แล้วการเจอโทษทัณฑ์เหล่านั้นอาจจะดีเสียกว่าการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้โดยเป็น แค่ nobody เพราะการอยู่โดยไร้คนรู้จัก หรือไม่อยู่ในสายตาของใครเลยนั้น จะว่าไปก็ไม่ต่างจากการตายทั้งเป็น สู้อยู่ในคุกถูกตีตรวนแต่เป็นที่รู้จักของ คนทั้งโลกไม่ได้ อันที่จริงก่อนหน้านั้นเขาเคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว ล้มเหลวทั้งด้านครอบครัว การศึกษา อาชีพการงาน แม้แต่จะฆ่าตัวตายก็ยังล้มเหลว ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความ

รู้สึกไร้คุณค่าในตนเองจะรบกวนจิตใจเขามากเพียงใด

มิใช่มีแต่แช็ปแมนคนเดียวที่รู้สึกเช่นนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่พร้อมจะ ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตนมีชื่อเสียง หลังจากแช็ปแมนแล้ว ฆาตกรต่อเนื่อง

รายหนึ่งถูกจับได้ในสหรัฐอเมริกา เขาให้สัมภาษณ์ว่า “ผมจะต้องฆ่าคนสัก

กี่คนถึงจะมีชื่อในหนังสือพิมพ์หรือได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศ” เขา บ่นว่ากว่าจะได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนเขาก็ต้องลงมือฆ่าไปแล้วหกคน คนที่สังหารผู้บริสุทธิ์เพียงเพราะอยากมีชื่อเสียงนั้น ย่อมอยู่ในข่าย เป็นโรคจิตเพราะขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีเพียง คนโรคจิตเท่านั้นที่ยอมทำสารพัดสิ่งเพื่อเป็น somebody ในโลกทุกวันนี้ม ี คนมากมายที่พร้อมจะทำอะไรต่ออะไรเพื่อให้ตนเป็นที่รู้จัก จะว่าไปแล้วความ อยากเป็น somebody ล้วนมีอยู่ในทุกคน เพราะเป็นธรรมชาติของอัตตาที่ ต้องการประกาศตัวตนให้ใครๆ รับรู้ ท่านอาจารย์พุทธทาสเรียกแรงขับชนิดนี้ ว่า “ปมเขื่อง” ปมเขื่องทำให้ผู้คนมีความรู้สึกอยากโดดเด่นเหนือผู้อื่น แต่หากตัวเอง อยู่ในสถานะที่ต่ำต้อย ถูกบดบังหรืออยู่ใต้เงาของผู้อื่น หรือยิ่งกว่านั้นคือ

ไม่เป็นที่สนใจของใครเลย อัตตาย่อมทนไม่ได้ มันย่อมพยายามทำทุกอย่าง เพื่อแสดงตัวตนให้ปรากฏ หากใช้วิธีที่ถูกต้องหรือสังคมยอมรับแล้วไม่ได้ผล ก็พร้อมทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากเด่นทางดีไม่ได้ ก็ต้องเด่น ทางร้าย สังคมทุกวันนี้ได้กระตุ้นแรงขับดังกล่าวให้รุนแรงขึ้น ในด้านหนึ่งวิถี ชีวิตของสังคมสมัยใหม่ทำให้ผู้คนอยู่แบบตัวใครตัวมันมากขึ้น สายสัมพันธ์ ดั้งเดิม เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือในชุมชน ถูกบั่นทอนหรือถึงกับ ขาดสะบั้น ทำให้ผู้คนอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้างมากขึ้น แม้อยู่ท่ามกลาง

ฝู ง ชนในเมื อ ง แต่ ก็ เ หมื อ นอยู่ ตั ว คนเดี ย ว ยิ่ ง ไม่ มี ส ถานภาพหรื อ ความ สามารถอันโดดเด่นเป็นที่รู้จักแล้ว ก็ยิ่งรู้สึกเสมือนว่าถูกกลืนหายไปในฝูงชน


หรือเมืองใหญ่ สภาพเช่นนี้ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกเป็น nobody จึงมี ความทุกข์ทรมานในจิตใจเป็นอย่างยิ่ง ในเวลาเดียวกันค่านิยมของสังคมที่ถูกขับเน้นผ่านสื่อนานาชนิด ก็ให้ ความสำคัญอย่างมากแก่ความเป็นปัจเจกชน เช่น ความเป็นตัวของตัวเอง มีอัตลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร ใครที่เป็นคนเก่ง ประสบความสำเร็จในชีวิต ย่อม เป็นที่สรรเสริญ นับหน้าถือตา ค่านิยมเช่นนี้ย่อมกระตุ้นปลุกเร้าปมเขื่องของ ผู้คน ทำให้ดิ้นรนขวนขวายที่จะโดดเด่นเหนือผู้อื่น แต่คนที่จะทำเช่นนั้นได้ มักเป็นคนส่วนน้อยเสมอ ขณะที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าตนเป็นผู้แพ้ ไร้คุณค่า รู้สึกเจ็บปวดเพราะปมเขื่องนั้นย้อนกลับมาทำร้ายตนเอง อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ความรู้สึกเป็นผู้แพ้หรือรู้สึกด้อยกว่าคนอื่น คง ไม่ถึงกับผลักดันให้คนอย่างแช็ปแมนกลายเป็นฆาตกรทั้งๆ ที่รู้ว่าอะไรจะ

เกิดขึ้นแก่ตนตามมา สิ่งที่กัดกินใจเขามากกว่านั้นก็คือความรู้สึกว่าตนเองนั้น ไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้ เพราะไม่เป็นที่รู้จักของใคร จริงอยู่เขาอาจมีพ่อแม่ ญาติมิตร แต่นั่นจะมีความหมายอะไรหากรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าในสายตา ของคนเหล่านั้น เมื่อไม่อยู่ในสายตาของใครเลย จะต่างอะไรกับการไม่มี

ตัวตนอยู่ในโลกนี้ การเป็น nobody มิได้หมายถึงการเป็นคนเล็กคนน้อย ไร้คุณค่า ไม่ เด่นไม่ดัง ถูกกลืนหายไปในฝูงชนเท่านั้น ที่สุดของ nobody ก็คือ ความ

รู้สึกว่าตัวเองไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้ นั่นเป็นสิ่งที่อัตตาทนไม่ได้เลย เพราะ

มันเลวร้ายยิ่งกว่าความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่นเสียอีก จริงอยู่ความ รู้สึกด้อยกว่าคนอื่น ก็เป็นเรื่องที่เจ็บปวดอยู่แล้ว แต่อย่างน้อยมันก็ยังให้ ความรู้สึกว่ามีตัวตนอยู่ในโลกนี้

มั ก พู ด กั น ว่ า สิ่ ง ที่ ค นเรากลั ว มากที่ สุ ด คื อ ความตาย แต่ ถ้ า พู ด ให้

ถูกต้องแล้ว ความรู้สึกว่าไม่มีตัวตนหรือตัวตนสูญหายไปต่างหาก ที่คนเรา กลัวมากที่สุด คนจำนวนไม่น้อยเดินหน้าเข้าหาความตายโดยไม่กลัว เพราะ เชื่อว่าตัวตนยังคงสืบเนื่องต่อไป เช่น ได้ไปเกิดใหม่ในสวรรค์หรือโลกหน้า แม้คนในยุคนี้เชื่อนรกสวรรค์น้อยลง แต่ก็ยังพร้อมสละชีวิตเพื่อชาติหรือเพื่อ อุดมการณ์ ไม่ใช่เพียงเพราะว่าชาติหรืออุดมการณ์เป็นตัวตนอย่างหนึ่งที่ตน ยึดมั่นสำคัญหมายเท่านั้น แต่ยังเพราะเชื่อว่า แม้ตายก็ตายแต่ร่างกาย

แต่ ตั ว ตนยั ง สื บ เนื่ อ งต่ อ ไป ในรู ป ชื่ อ เสี ย ง มี เ กี ย รติ ป ระวั ติ จ ารึ ก ไว้ ใ น ประวัติศาสตร์ หรือมีอนุสาวรีย์ให้ (ดังมีสำนวนว่า “ตัวตายแต่ชื่อยัง”) การมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานต่อไปชั่วกัลปาวสานนั้น เป็นอีกรูปแบบ หนึ่งของความเป็นอมตะ ลองเฟลโลว์ กวีอเมริกัน สะท้อนทัศนะดังกล่าว อย่างชัดเจนเมื่อพูดถึงไมเคิลแองเจโลว่า “เขาจะตายได้อย่างไรในเมื่อเขาอยู่ อย่างเป็นอมตะในหัวใจของผู้คน” แต่ก่อนที่จะเป็นอมตะ หรือเป็นที่กล่าว ขานหลั ง หมดลม อย่ า งแรกที่ ทุ ก คนปรารถนาก็ คื อ มี ชื่ อ เสี ย งตั้ ง แต่ ยั ง มี

ลมหายใจอยู่ ไม่ใช่แค่เพราะอยากดังด้วยอำนาจของปมเขื่องเท่านั้น เหตุผล ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเป็นที่รู้จักของผู้คนนั้นเป็นเครื่องยืนยันว่า “ตัวกู” มีอยู่จริง


คนเราจะมั่นใจว่าเป็นคนเก่ง มีความสามารถ หน้าตาสะสวย หรือ หล่อเหลา ก็ต่อเมื่อมีผู้คนยืนยันหรือยกย่องสรรเสริญ ฉันใด เราจะมั่นใจว่า “ตัวกู” มีอยู่จริง ก็ต่อเมื่อมีผู้คนยืนยันหรือรู้จัก ฉันนั้น ยิ่งมีผู้คนยืนยัน

มากเท่าไร ก็ยิ่งมั่นใจมากเท่านั้น ดังนั้นชื่อเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ของผู้คนโดยเฉพาะในยุคนี้ที่ส่วนใหญ่กลายสภาพเป็นปัจเจกไร้หน้าค่าตา ท่ามกลางฝูงชนนับล้าน

ทำไมเราต้องการสิ่งยืนยันว่า “ตัวกู” มีอยู่จริง ก็เพราะในส่วนลึกของ จิตใจนั้น ผู้คนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าตัวกูมีอยู่จริงหรือ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อธิบายแบบพุทธก็คือ แท้จริงแล้วตัวตนหามีจริงไม่ แต่เป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่ง ขึ้นมาแล้วก็ยึดมั่นถือมั่นอย่างเหนียวแน่น จนเกิดความรู้สึกว่ามีตัวกูอยู่ โดย ยึดกายและใจว่าเป็น “ตัวกู ของกู” บ่อยครั้งก็ลามไปยึดสิ่งอื่นนอกตัว เช่น ทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน วงศ์ตระกูล พวกพ้อง หรือแม้แต่ประเทศชาติ ว่า

เป็น “ตัวกู ของกู” ด้วย อย่างไรก็ตามในส่วนลึกของจิตใจ ย่อมมีความสงสัยว่า อัตตาหรือ “ตัวกู” นั้นมีอยู่จริงหรือ เพราะความเป็นตัวกูนั้นแปรเปลี่ยนตลอดเวลา

บางครั้งกูก็เป็นลูก แต่ประเดี๋ยวก็เป็นพ่อแม่ และเป็นคนไทย บางครั้งกูเป็น ชายชาติทหาร แต่ต่อมาก็กลายเป็นกูคนป่วย แม้แต่ความรู้สึกนึกคิดที่ยึดว่า เป็น “ตัวกู ของกู” ก็เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ ความสงสัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่อัตตา ยอมรับไม่ได้ ด้านหนึ่งก็พยายามกดข่มเอาไว้ไม่ให้มารบกวนจิตใจ แต่อีก

ด้านหนึ่งก็พยายามหาสิ่งต่างๆ มายืนยันว่า “ตัวกู”มีอยู่จริง หนึ่งในนั้นก็คือ การเป็นที่รู้จักของผู้คน 10

ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง ไม่ น่ า แปลกใจที่ ผู้ ค นในยุ ค นี้ ต่ า งขวนขวายไล่ ล่ า หา

ชื่อเสียง พยายามทำทุกอย่างให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งมักหนีไม่พ้นการทำตนให้เป็น ข่าว เป็นจุดสนใจของสื่อนานาชนิด รวมทั้งการแข่งขันกันเป็นดารา นักร้อง นางแบบ ไม่เว้นแม้แต่การเขียนชื่อตามกำแพงหรือสถานที่ท่องเที่ยวทั้งนี้เพื่อ ประกาศว่า “มีกูอยู่ในโลกนี้ด้วยนะ” เมื่อยังมีชีวิตอยู่ แรงขับส่วนลึกของผู้คนในยุคนี้ก็คือการประกาศ

ตัวตนว่ามีกูอยู่ในโลกนี้ และเมื่อจะตายก็ปรารถนาให้คนข้างหลังไม่ลืมตน จะด้วยการทำอนุสาวรีย์ จารึกชื่อ ประกาศเกียรติคุณ หรือตั้งมูลนิธิก็แล้วแต่ ทหารคนหนึ่งเมื่อรู้ว่าตนต้องตายอย่างแน่นอน คำพูดสุดท้ายที่บอกเพื่อน มิใช่คำสั่งเสียหรือล่ำลา แต่เป็นการตอกย้ำว่า “ถ้าฉันตาย อย่าลืมฉันนะ” ในเมื่ อ จะตายแล้ ว ทำไมจึ ง อยากให้ ค นอื่ น จดจำตน นั่ น ก็ เ พราะตั ว ตน ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะดำรงอยู่ต่อไปเป็นอมตะ ตราบใดที่ผู้คนยังจดจำ ตัวเองได้ ก็มีหวังว่าตัวตนจะเป็นอมตะ แต่ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ สักวันหนึ่งเราทุกคนก็จะถูกลืม ไม่ใช่หลัง ตายเท่านั้น แม้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงจะมีชื่อเสียงเพียงใด ไม่ช้าไม่นาน ผู้คนก็จะลืมเลือน เพราะมีคนอื่นที่ดังกว่ามาแทนที่ นี้คือธรรมดาโลก แต่ถ้า หากเราเข้าถึงความจริงที่ยิ่งกว่านั้น นั่นคือตัวกูไม่มีอยู่จริงตั้งแต่แรก ถึงจะ

ไม่เด่นดัง ไม่มีใครรู้จัก เป็นแค่ nobody ก็หาเป็นทุกข์ไม่ เพราะในเมื่อไม่มี ตัวกูผู้ทุกข์ แล้วจะมีใครล่ะที่เป็นทุกข์ 11


ผ า สุ ก พ ง ษ์ ไ พ จิ ต ร

ภาพรวมความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้ง อัตราการเติบโตที่วัดโดย GDP สะท้อนการพัฒนาของไทย จากปี พ.ศ.๒๔๙๓ จนถึงปี ๒๕๓๙ เพิ่มขึ้น เมื่อไทยปรับเปลี่ยนจากสังคมเกษตร เป็นสังคมอุตสาหกรรมใหม่ ปี ๒๕๓๐ ธนาคารโลกกล่าวถึงเมืองไทยว่าจะ เป็นเศรษฐกิจมหัศจรรย์ตามอย่างสี่เสือเอเชีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง เป็นลำดับประเทศรายได้ปานกลางไม่ใช่ประเทศยากจนอีกต่อไป แต่ ผลก็คือวิถีชีวิตเปลี่ยนไป เกิดความลักลั่น โครงสร้างรากฐานที่ไม่ได้นำไปสู่ ชี วิ ต มี ค วามมั่ น คงขึ้ น เฉกเช่ น ที่ เ กิ ด ในสั ง คมอื่ น เช่ น ญี่ ปุ่ น ทรั พ ยากร ธรรมชาติถูกใช้ผลิตอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม พึ่งต่างประเทศนำเข้าเทคโนโลยี และพึ่งตลาดส่งออกเป็นหลัก ยุทธ์ศาสตร์นี้ ชักนำโครงสร้างผลิตผู้มีงานทำในลักษณะเฉพาะ ใช้คนน้อย

ปี พ.ศ.๒๕๕๒ จึงพบว่าสินค้าอุตสาหกรรมมีถึงร้อยละ ๙๐ ของ สินค้าส่งออกทั้งหมด แต่จ้างงานเพียงร้อยละ ๑๑ ของผู้มีงานทำทั้งประเทศ ภาคเกษตรลดความสำคัญลง ผู้มีงานทำหลักเป็นเกษตรกร บางส่วนมีงาน ทำในภาคเศรษฐกิจนอกระบบเป็นคนงานชั่วคราว เกิดธุรกิจขนาดเล็กขนาด ย่อม หาบเร่แผงลอย บริการต่างๆ รายได้ไม่แน่นอน ผู้ที่หางานทำไม่ได้

หรือได้รายได้ไม่เพียงพอ หลายคนไปหางานทำ ไปตายเอาดาบหน้าที่ต่างแดน ไกลโพ้น แรงงานเกษตรและภาคเศรษฐกิจนอกระบบในเมือง อาจเป็นกลุ่ม เดียวกันอพยพไปมา โดยรวมกันมีมากถึงร้อยละ ๖๐ ของทั้งหมด เมื่อ

เที ย บรายได้ เ ฉลี่ ย ต่ ำ และเข้ า ถึ ง สวั ส ดิ ก ารสั ง คมและสิ น ค้ า และบริ ก าร สาธารณะได้น้อยกว่ากลุ่มคนงานมีการศึกษาที่เรียกว่าคนงานคอปกขาวหรือ ชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางเป็นพวกที่ทำงานในสำนักงาน เช่น บริหารจัดการ คอมพิวเตอร์ ธุรกิจเอกชน ระบบราชการ ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ร้อยละ ๒๖ ของ ทั้งหมด รายได้ของกลุ่มนี้ที่อยู่ในภาคเอกชนอาจเทียบเคียงได้กับประเทศที่ พัฒนาเช่น อังกฤษและอเมริกาได้ ขณะที่ญี่ปุ่นมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่ แตกต่าง ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปที่ดิน พัฒนานายทุนระดับท้องถิ่น

และนโยบายการศึกษาที่เข้มข้นได้ผล

เรียบเรียงจากฉบับเต็ม ปาฐกถาเสาหลักของแผ่นดิน ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒ ก.พ. ๒๕๕๔ เรื่อง ภาพรวมของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม ในการเข้าถึงทรัพยากรและบริการพื้นฐาน ของประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร

12

13


ปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจไทยที่มีผลให้โครงสร้างสังคมคนส่วนใหญ่ คนทำงานภาคเกษตรและเศรษฐกิจนอกระบบไร้ความมั่นคงเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น มีสาเหตุสำคัญคือยุทธศาสตร์การพัฒนา นโยบายความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจมุ่งอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีและเงินลงทุนจากต่างประเทศ ละเลย พัฒนาเทคโนโลยีและการปฏิรูปในภาคเกษตร ขาดการพัฒนาแรงงานฝีมือ อย่างพอเพียง ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้และความมั่นคง อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งไม่มีนโยบายที่จะป้องกันความลักลั่นต่างๆ ใน ที่ สุ ด กลายเป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาที่ เ อาเปรี ย บคนงาน เพราะเน้ น ใช้ แรงงานทักษะน้อยราคาถูก ละเลยเกษตร และไม่มีการปฏิรูปที่ดิน สื่อต่างๆ ให้ภาพคนเสื้อแดงเป็น “คนจนจากชนบท” ภาพนี้มีส่วน จริง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ผู้สนับสนุนขบวนการเสื้อแดงมาจากหลากหลายอาชีพ ส่วนหนึ่งมีฐานะค่อนข้างดี แม้ในกลุ่มที่จนก็ไม่จนเท่ากับคนรุ่นก่อนหน้า แต่ ขาดโอกาสหรือลู่ทางพัฒนาต่อไป แม้มีเป้าหมายทางการเมืองเฉพาะหน้าชัด คือให้รัฐบาลยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ แต่เบื้องลึกคือการปะทุขึ้นของความ

ผิดหวังที่สะสมกลายเป็นความไม่พอใจ มาจากรากฐานที่ถูกเลือกปฏิบัติ ความรู้สึกว่าสิทธิและอำนาจทางการเมืองถูกกดไว้ ท้ายที่สุดส่งผลต่อความ เหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจไทย ช่วงปี พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๔๘ รายได้ ต่อหัวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ๓ เท่า แต่การเติบโตทางเศรษฐกิจถูกแบ่งปันอย่าง ลั ก ลั่ น ความมั่ ง คั่ ง กระจุ ก อยู่ ที่ ค นจำนวนน้ อ ย เมื่ อ เที ย บกั น ในอาเซี ย น

ระดับความไม่เท่าเทียมกันในรายได้แย่กว่าประเทศอื่นๆ ทั้งหมด ช่องว่างมีถึง ๑๓ เท่า

14

สัดส่วนความต่างด้านรายได้ระหว่างจนสุด และรวยสุด ประเทศ ร้อยละ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ไทย

๓.๔ ๔.๒ ๑๒.๒ ๑๓.๐

พ.ศ.๒๕๕๐ สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับความมั่งคั่ง ของครัวเรือนไทยเป็นครั้งแรก โดยครอบคลุมเรื่องการเป็นเจ้าของที่ดิน บ้าน รถ ทรัพย์สิน การเงินและอื่นๆ พบว่าช่องว่างระหว่างกลุ่มคนมั่งมีกับคนมี น้อยที่สุดถึง ๖๙ เท่า ที่ดินนับว่าเป็นทรัพย์สินที่แสดงความมั่งคั่งสำคัญที่สุด ข้อมูลจากสำนักงาน ป.ป.ช. ชี้ว่า ส.ส. ส.ว. เป็นกลุ่มคนที่มีการสะสมที่ดิน มาก สาเหตุมาจากนโยบายภาษีที่ดินที่ไม่เป็นผล ปี ๒๕๕๓ ส.ส. และ ส.ว. ถือครองที่ดินเฉลี่ยคนละ ๑๒๑ และ ๑๓๓ ไร่ ตามลำดับ การถือครองที่ดินของส.ส – ส.ว. ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ชื่อพรรค-สังกัด แจ้งถือครอง (คน) เนื้อที่ (ไร่) มูลค่า(ล้านบาท)

เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ภูมิใจไทย สมาชิกวุฒิสภา

๑๗๓ ๑๖๐ ๓๑ ๑๔๕

๒๑,๐๗๙ ๑๕,๑๘๑ ๓,๘๕๓ ๑๙,๓๑๑

๔,๗๙๕.๕ ๕,๘๒๙.๖ ๗๓๓ ๑๐,๔๒๙

15


เสียงเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงโดยการปฏิรูปมีมานานแล้ว นับตั้งแต่ กองทัพมองขบวนการประชาชนว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” ดำเนินการปราบปราม จนกระทั่ ง ปี ๒๕๓๐ ประชาชนที่ มี ปั ญ หาและไม่ พ อใจแสดงตนด้ ว ยการ รณรงค์และเดินขบวนประท้วง จนมีการประท้วงปีละพันกว่าครั้งเฉลี่ย ๓

ครั้งต่อวัน ช่วงสูงสุดคือหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๔๐ ชาวบ้าน คนงาน เกษตรกรยึดพื้นที่ในกรุงเทพฯปักหลักประท้วงรัฐบาลเรียกร้องการแก้ปัญหา ต่างๆ ผู้ใช้แรงงานนัดหยุดงาน จุดหักเหสำคัญทางการเมืองคือผู้เดือดร้อน หาทางออกผ่านการเลือกตั้งแทนการประท้วงในปี ๒๕๔๓ และ ๒๕๔๘

ความลั ก ลั่ น จากอำนาจที่ เ หลื่ อ มล้ ำ มี ม าแต่ ใ นอดี ต รั ฐ ไทยเป็ น รั ฐ

รวมศูนย์อำนาจมาโดยตลอดอยู่ที่กรุงเทพฯ แม้มีพ.ร.บ.การกระจายอำนาจสู่ ท้ อ งถิ่ น ผู้ มี อ ำนาจน้ อ ยเข้ า ไม่ ถึ ง ระบบตุ ล าการหรื อ ข้ า ราชการได้ เ ต็ ม ที่ เหตุผลหนึ่งเป็นเรื่องเงิน ถ้ามีเงินจ่ายได้ก็ไม่มีปัญหา และเข้าไม่ถึงอำนาจ ส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดความลักลั่นสูงในเรื่องการกระจายสินค้าและบริการ สาธารณะ กรุงเทพฯ มีหมอ ๑ คนต่อประชากร ๘๕๐ คน ที่ จ.เลย หมอ

๑ ต่อ ๑๔,๐๐๐ คน โรงเรียนมัธยมต่างจังหวัดมีคุณภาพด้อยกว่า ครัวเรือน ร้อยละ ๘๐ ยังไม่มีน้ำประปาใช้ในบ้าน เหยียดศักดิ์ศรี ดูถูกดูแคลนคน

ชายขอบ ชาวบ้านเดินทางมากรุงเทพฯเป็นแรงงานอพยพ สิ่งที่ปรากฏทาง

ทีวี ละคร คนรวยกลุ่มใหม่ๆ ปรากฏการณ์แท็กซี่ มอเตอร์ไซด์รับจ้างกลาย เป็นส่วนหนึ่งของแกนนำผู้สนับสนุนเสื้อแดง งานวิจัยของทีดีอาร์ไอพบว่ากว่า ๓ ใน ๔ เชื่อว่ามาจากช่องว่างที่รายได้สูงเกินไป ๑ ใน ๓ คิดว่า ห่างกัน

มากจนรับไม่ได้ เกิดความคาดหวังสูง ความผิดหวังสะสมสืบเนื่องมาจาก ความลักลั่นกันในหลายมิติ 16

เมืองไทยมีระบบการเมืองแบบรัฐสภาประชาธิปไตยสลับกับรัฐประหาร มาหลายทศวรรษ แต่รัฐสภาเป็นเพียงสมาคมของผู้มั่งมี คนธรรมดาทั่วไป ไม่รู้สึกว่าได้ประโยชน์เท่าใด มี ๒ จุดหักเหสังคมไทยที่น่าสนใจ อันแรก ทศวรรษ ๒๕๓๐ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น มีการเลือกตั้งปีละ ๔-๕ ครั้ง เลือกกำนันผู้ใหญ่บ้าน กระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านได้ บทเรียนว่า การออกเสียงเลือกตั้งทำให้มีตัวแทนเข้าไปแทนการแต่งตั้งใน อดีตเป็นอำนาจและเครื่องมือที่จะนำทรัพยากรของประเทศที่พวกเขามีส่วน ก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปปรับปรุงชีวิตของตนเองและลูกหลานให้ดี กว่าเดิม อันที่สอง การเมืองกับการเลือกตั้งยึดโยงกัน ทักษิณ ชินวัตร มี

ส่วนหักเหแนวทางของการเมืองไทยดั้งเดิม สัญญากับประชาชนในช่วงหา เสียง และปัจจัยแวดล้อมสำคัญอื่นๆ คือวิกฤตเศรษฐกิจ ๒๕๔๐ ชนชั้นนำ เกิดการแตกขั้วทุกระดับ ผู้ใช้แรงงานและคนระดับล่างถูกกระทบอย่างแรง ไม่สามารถประทังชีวิต ส่งผลให้เกิดความคาดหวังมีผู้นำแบบอัศวินขี่ม้าขาว มาช่วย

17


ระบบการเมืองไทยมีลักษณะเป็นคณาธิปไตย ปกครองโดยคนกลุ่ม น้อยซึ่งไม่เคยถูกท้าทายจากมวลชนอย่างถึงรากถึงโคนมาก่อน มีสายสัมพันธ์ แบบเครื อ ข่ า ยอุ ป ถั ม ภ์ ผ ลประโยชน์ เ อื้ อ กั น ข้ า ราชการกั บ รั ฐ ศั ก ดิ น า คณาธิปไตยมีอุดมการณ์รัฐและวัฒนธรรมจารีตของศักดินาสมัยก่อน ๒๔๗๕ เป็นแกน เป็นระบบรัฐรวมศูนย์อำนาจ อุดมการณ์ชาติ-กษัตริย์นิยม จนถึง ทศวรรษ ๒๕๒๐ ชนชั้นนำทหารพุ่งสู่จุดสูงสุดสู่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ชนชั้นนำฝ่ายธุรกิจเข้ามา ความมั่งคั่งและการคมนาคมสมัยใหม่เริ่ม กระจายสู่ต่างจังหวัด นักธุรกิจภูธรเข้ามาร่วมขบวน มีการลงทุนสร้างระบบที่ ใช้เงินมากในการหาเสียง รัฐสภาจึงกลายเป็นสมาคมของคนรวย สถาบัน หลักของเครือข่ายคณาธิปไตย จนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.๒๕๔๐ เปิดช่อง ท้าทายโครงสร้างอำนาจคณาธิปไตย ผู้ที่อยู่ในอำนาจถูกลดความน่าเชื่อถือ พลังนอกคณาธิปไตยผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมือง รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่เมื่อปี ๒๕๔๐ ให้กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภาวะเศรษฐกิจวิกฤตยิ่ง ผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงของชนชั้นล่างนอกกลุ่มคณาธิปไตย แต่กว่าจะได้ เห็นเป็นรูปธรรมต้องใช้เวลา ทักษิณ ชินวัตร ผันตัวเองเป็นหัวขบวน ท้าทาย บางส่วนของระบบคณาธิปไตยเดิม แต่ไม่แตะรัฐรวมศูนย์อำนาจกับอุดมการณ์ ชาติ-กษัตริย์นิยม พุ่งเป้าไปที่พรรคประชาธิปัตย์และระบบราชการ ทักษิณ พื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้เป็นสมาชิกของประเทศโออีซีดี ลดความสำคัญของ ระบบราชการ ปฎิรูปเป็นระบบบริหารใหม่ นักธุรกิจ ชนชั้นกลางสนับสนุน เต็มที่ การท้าทายนี้ส่งผลให้ข้าราชการหลายส่วนไม่พอใจต่อต้าน ทักษิณรู้ดี ว่าภัยของนักปฏิรูปคือรัฐประหาร เขาพยายามเข้าควบคุมกองทัพ แต่ไม่เก่ง จึงสร้างศัตรูในกลุ่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสูงและเป็นชนชั้นนำฟาก สำคัญของกองทัพ ช่วงแรกๆ นักธุรกิจต่างตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลง จน

มาพบว่ า ผลประโยชน์ ก ระจุ ก ตั ว กั บ กลุ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ ที่ ห้ อ มล้ อ มทั ก ษิ ณ และ ครอบครัวจึงเริ่มไม่พอใจ 18

สภาวการณ์ดังกล่าวพัฒนาเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำด้วย กันเอง แต่ต่างไปจากเดิม ตัวแปรใหม่เกิดขึ้นคือเสียงเรียกร้องจากมวลชน ระดับกลางและล่างต้องการมีส่วนร่วม มีชีวิตและครอบครัวที่ดีขึ้น ทักษิณ ฉวยโอกาสหาประโยชน์จากพลังสังคมเหล่านี้นำพาไปสู่อำนาจ พ.ศ.๒๕๔๔ เขาชนะการเลือกตั้งจากการนำเสนอนโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรค พักชำระ หนี้เกษตรกรและโครงการสินเชื่อ ๑ ล้านบาท ๑ ตำบล นโยบายเหล่านี้เขา ไม่ได้คิดเอง แต่มีสหายเก่าๆ ช่วยคิดให้ เมื่อชนชั้นนำเดิมส่งเสียงไม่เห็นด้วย ทักษิณรีบดำเนินนโยบายที่สัญญาไว้อย่างรวดเร็วจนได้คะแนนนิยมท่วมท้น โดยเฉพาะจากมวลชนที่ภาคเหนือ อีสานและชนชั้นกลางและล่างบางส่วนใน เมืองด้วย ทักษิณเสนอนโยบายอื่นๆ ในทำนองเดียวกันเป็นระลอก สัญญา

จะขจัดความจน ดำเนินนโยบายอุดหนุนราคาพืชผลเกษตร พ.ศ.๒๕๔๗๒๕๔๘ เขาต้องเผชิญกับแรงต่อต้านจากกลุ่มคณาธิปไตยเดิมและผู้เคย สนับสนุนเขามากขึ้นๆ ทักษิณท้าทายต่อไป โดยเสนอตัวเองเป็นนักการเมือง แนวประชานิยมอิงความชอบธรรมสู่อำนาจ เพราะได้รับเสียงเลือกตั้งจาก ประชาชน เขาเน้นภาพพจน์นักการเมืองที่อุทิศตนเพื่อ “ประชาชน” เป็น ปรปักษ์กับกลุ่มที่พยายามปกป้องอำนาจเดิม อันได้แก่ ข้าราชการ นายธนาคาร นักวิชาการ นักหนังสือพิมพ์ และผู้พิพากษา สังเกตเสียงเรียกร้องจาก มวลชนชั้นล่างเป็นแรงผลัก การเลือกตั้งครั้ง ที่สองเขาชนะแบบถล่มทลาย 19


เขาให้สัญญากับผู้สนับสนุนว่า จะเป็นรัฐบาลถึง ๒๕ ปี ตามแบบอย่างของมา หาเดที่มาเลเซีย และ ลี กวน ยู ที่สิงคโปร์ มีความพยายามที่จะดีดทักษิณ ออกไปจากสารบบ ชนชั้นกลางชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ จุดเริ่มต้นสนับสนุน โครงการของทักษิณ แต่ภายหลังไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะแนวประชานิยม เพราะตระหนักดีว่าเขาเสียเปรียบ เกรงว่าจะเป็นภัยกับสถานะของพวกเขาใน อนาคต ขบวนการคนเสื้อเหลืองจึงถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๔๘ เพื่อ ปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นกลางเมือง กลุ่มคนเสื้อเหลืองอ้างว่าทักษิณเป็นภัยกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่ อ หาแนวร่ ว ม ทั ก ษิ ณ ระวั ง ที่ จ ะไม่ โ จมตี ส ถาบั น แต่ ถู ก โพนทะนาว่ า มี แผนการล้ ม เจ้ า ที่ ฟิ น แลนด์ เสื้ อ เหลื อ งประกาศตนเป็ น ผู้ ป กป้ อ งสถาบั น การเมืองไทยก่อนหน้านี้เมื่อเกิดความขัดแย้งในระดับชนชั้นนำด้วยกันจะ ตัดสินด้วยการรัฐประหาร เดือนกันยายน ๒๕๔๙ รัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ กองทัพไทยขาดประสบการณ์ จึงสูญเสียความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยโยงกับเศรษฐกิจโลกอย่างแนบแน่น และสังคมโลกไม่ยอมรับ รัฐประหารจึงต้องสถาปนารัฐบาลมาจากการเลือกตั้งโดยเร็ว มีความพยายาม รณรงค์ไม่ให้พรรคทักษิณชนะการเลือกตั้ง แต่ทักษิณก็ชนะ ได้จัดตั้งรัฐบาล

20

การโจมตีทักษิณและนโยบายประชานิยมขยายตัวและรุนแรงมากขึ้น ถึงขั้นไม่ยอมรับหลักการ ๑ คน ๑ เสียงเป็นวิธีกำหนดผู้เป็นรัฐบาล รัฐบาล แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารร่าง รธน. ฉบับใหม่ ลดอำนาจของรัฐสภา และเพิ่ม อำนาจให้กับกองทัพและฝ่ายตุลาการ กลุ่มคนเสื้อเหลืองขณะนั้นได้กลาย เป็น“ม็อบ” ที่มีกองทัพหนุนอยู่เบื้องหลัง เข้ายึดรัฐสภา ฝ่ายตุลาการตัดสิน ให้ ๒ รัฐบาลเป็นโมฆะ รมต. ขาดคุณภาพที่จะเป็น รมต. ยุบพรรคการเมือง ๓ พรรค และตัดสิทธิ์ ส.ส. ๒๒๐ คน จากการเมืองเป็นเวลา ๕ ปี สิ่งที่

เกิดขึ้นเป็นเส้นขนานคือ กลุ่มคนเสื้อเหลืองสร้างเหตุผล สนับสนุนอุดมการณ์ ที่เป็นรากฐานโจมตีฝ่ายทักษิณ โดยชี้ว่า นักการเมืองส่วนมากโกงกิน ที่ชนะ การเลือกตั้งเพราะใช้เงินซื้อเสียง ดังนั้น ผลการเลือกตั้งจึงขาดความชอบ ธรรม เสนอให้ใช้ระบบการแต่งตั้ง ส.ส. ทดแทนระบบการออกเสียงเลือกตั้ง ให้มีระบบตัวแทนตามสาขาอาชีพ หรือให้โอนอำนาจกลับไปสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ ระบบราชการ และตุลาการ ขบวนการคนเสื้อแดงผุดขึ้นเพื่อคานกับกลุ่มคนเสื้อเหลือง ก่อนหน้านี้ มีขบวนการที่ใช้สีแดงเพื่อต่อต้านรัฐประหารมาตั้งแต่หลัง ๑๙ ก.ย. ๒๕๔๙ แกนนำเริ่มแรกเป็นผู้นิยมทักษิณ ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่มาจากภาคเหนือและ อีสานรวมทั้งคนงาน อพยพที่กรุงเทพฯ ผู้สนับสนุนจากนักวิชาการและชนชั้น กลางที่ไม่ได้รักทักษิณแต่เชื่อว่าต้องเข้าร่วมเพื่อปกป้องประชาธิปไตย บางคน ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร ๒๕๔๙ จึงเข้าร่วม ขบวนการนี้ใช้สื่อมวลชนที่โยง กั บ วิ ท ยุ ชุ ม ชน และโทรทั ศ น์ ด าวเที ย ม เช่ น เดี ย วกั บ เสื้ อ เหลื อ ง ปลายปี

พ.ศ.๒๕๕๒ ก่อตั้งโรงเรียนการเมือง นปช. กลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนในพื้นที ่ จัดกิจกรรมหาเงินบริจาคและรณรงค์เพื่อระดมมวลชนเป็นประจำ

21


ส่วนหนึ่งของผู้สนับสนุนเสื้อแดงเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ต่อสู้เพื่อทักษิณ แต่อยากเห็นประชาธิปไตย ผู้สนับสนุนที่นิยมระบบสาธารณรัฐและสังคมนิยมเป็นส่วนน้อย เป้าตีคือโครงสร้างอำนาจ นักวิเคราะห์รายหนึ่งเห็นว่า

เสื้อแดงเป็นขบวนการมวลชนขบวนการแรกของสังคมไทย กลางปี พ.ศ.๒๕๕๑ กลุ่มเสื้อแดงและเหลืองปะทะกันอยู่ประปราย เสื้อเหลืองอ้างตนเป็นผู้ปกป้อง สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ เสื้ อ แดงอ้ า งตนปกป้ อ งประชาธิ ป ไตย ปลายปี

พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลฝ่ายทักษิณซึ่งชนะการเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๕๐ ถูกบีบให้ ออกด้วยแรงผลักดันจากฝ่ายกองทัพ คำพิพากษาของศาล และกระบวนการ รัฐสภา ตั้งแต่นั้นมา ข้อเรียกร้องหลักของกลุ่มเสื้อแดงคือให้การเลือกตั้ง ทั่วไปภายใต้หลักการ ๑ คน ๑ เสียง เป็นตัวกำหนดว่าใครจะเป็นรัฐบาล นอกจากนั้นยังต้องการแก้รัฐธรรมนูญกลับไปหาฉบับ ๒๕๔๐ สร้างวาทกรรม เรียกตัวเองว่าไพร่ และเรียกฝ่ายตรงข้ามว่าอำมาตย์ อีกทั้งประณามระบบ สองมาตรฐาน วาทกรรมเหล่านี้ มีนัยยะว่าไม่พอใจความลักลั่นทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม อำนาจ และโอกาส วิกฤตการเมือง สรุปมีองค์ประกอบของความขัดแย้งชนชั้นนำ และ การท้าทายโครงสร้างอำนาจเดิมจากพลเมืองที่เรียกร้องสิทธิทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย ทักษิณและพรรคพวกตั้งใจลดทอนอำนาจของระบบ ราชการและคณาธิปไตยเดิมที่มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทน แต่ความ

ขัดแย้งดังกล่าวนี้ ไปไกลกว่ากลุ่มชนชั้นนำทักษิณ กลายเป็นตัวแทนของ พลเมืองระดับล่างและกลางที่ต้องการสังคมที่ไม่เลือกปฏิบัติ พลังพลเมือง ตรงนี้เองก็ได้ผลักดันให้ทักษิณกลายเป็นนักการเมืองแนวประชานิยมเหมือน ที่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ มาก่อนหน้า เช่นที่ลาตินอเมริกา แต่เป็นเรื่อง

ใหม่ในเมืองไทย ทักษิณผันตัวเอง เป็นนักการเมืองประชานิยมที่อ้างอิงความ ชอบธรรมจากแรงสนับสนุนของประชาชน ดังนั้นเขาจึงกลายเป็นเสมือน “คบไฟ” ให้มวลชนได้ใช้เสียงเลือกตั้งเป็นเครื่องมือปรับปรุง ชีวิตและสถานะ 22

ของพวกเขา แต่การใช้ประชานิยมเพื่อก้าวสู่อำนาจประกอบกับความมั่งคั่ง มหาศาลของทั ก ษิ ณ ทำให้ ช นชั้ น กลางต้ อ งการยึ ด โยงกั บ สถาบั น เดิ ม เช่ น กองทัพและสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการระดมมวลชนของเสื้อเหลืองให้ ขยายจำนวน ความขัดแย้งจึงได้ขยายการเคลื่อนไหวหาผู้สนับสนุน ต่างถกเถียงกัน ในประเด็นที่ว่า การเมืองของไทยควรพัฒนาไปแนวทางใด? คนเสื้อแดง ต้องการปกป้องระบบการเลือกตั้ง ใช้กรอบกติกาในรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐

เป็ น หลั ก เกณฑ์ ใ นการจั ด ตั้ ง รั ฐ บาล แต่ ก ลุ่ ม คนเสื้ อ เหลื อ งตั้ ง ประเด็ น ที่ ประชาธิปไตยขาดระบบตรวจสอบและการคานอำนาจ ระบบไร้เสถียรภาพ ต้องมีระบบกฎหมายที่เข้มแข็งและหลักการศีลธรรมที่สูงกว่านี้ เพื่อกำกับ ควบคุมการคอร์รัปชันและการแสวงหากำไรเกินควรอย่างโจ่งแจ้งของนัก

การเมือง การที่ขบวนการทางสังคมทั้งสองโยงกันอยู่ มีทักษิณเป็นตัวเชื่อม ได้เพิ่มความสลับซับซ้อนให้กับปัญหา เพราะว่าทักษิณมีบุคลิกเป็นบุคคล หลายแพร่งซึ่งขัดแย้งในตัวเอง แพร่งหนึ่งเขาเป็นผู้นิยมความสมัยใหม่และ เป็นนักธุรกิจซึ่งผันตัวเองเป็นนักการเมืองประชานิยม อีกแพร่งหนึ่งเขาเป็น บุ ค คลที่ ห ยามเหยี ย ดประชาธิ ป ไตยเป็ น ที่ สุ ด แต่ ก ลายเป็ น ผู้ ป กป้ อ ง ประชาธิปไตย อีกแพร่งหนึ่ง เขาโกงกินจากเงินภาษีของประชาชนได้อย่าง หน้าเฉยตาเฉย อีกทั้งหาประโยชน์จากระบบ “สองมาตรฐาน” ตลอดเวลา แต่ให้ภาพว่าก่นด่าคอร์รัปชันและ สองมาตรฐาน แต่ประวัติศาสตร์ก็เต็มไป ด้วยบุคคลที่มีบุคลิกย้อนแย้งในตัวเองแบบนี้

23


ถอดความ : จุฑามาศ นุตราวงศ์ เรียบเรียง : สมจินตนา เปรมปราชญ์

เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความสงบสันติและความกรุณาขึ้น โดยการเชื้อเชิญ กลุ่มที่มีความขัดแย้งมาแบ่งปันความทุกข์และรับฟังความทุกข์ของกันและกัน เพื่อลดทอนความทุกข์ของแต่ละฝ่ายลง ให้พวกเขาได้มีโอกาสอยู่ร่วมกันกับ เรา นั่งสมาธิร่วมกัน หายใจร่วมกัน เพื่อที่จะให้พวกเขาได้มีโอกาสสงบจิตใจ และความรู้สึกต่างๆ ที่ครุกรุ่นในใจของเขาได้สงบลง และนี้คือสิ่งหนึ่งที่นักข่าวทำได้ โดยการเกื้อกูลให้พวกเขามารวมกัน

ในโอกาสที่หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ได้จาริกธรรมมายังประเทศไทยใน ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เมื่อวันที่ ๓๐ ต.ค. ๒๕๕๓ ในงานทอดผ้าป่าเพื่อ สร้างสถานปฏิบัติธรรม ท่านผ่านสื่อมวลชนที่มาสัมภาษณ์ขอพรปีใหม่ให้

คนไทยกำลังมีความทุกข์มากในช่วงปีที่ผ่านมา ท่านขอให้คนไทยรับฟังซึ่งกันและกัน ถือว่าเป็นการฝึกปฏิบัติที่สำคัญ มากที่สุดในขณะนี้ “ฉันรู้ว่าฉันมีความทุกข์ในตัวฉัน และเธอก็มีความทุกข์ในตัวเธอ ใน ฐานะที่ฉันเป็นนักปฏิบัติธรรมชาวพุทธ ฉันจะฟังความทุกข์ภายในก่อน เมื่อ ฉันเข้าใจความทุกข์ของตัวเองแล้ว ฉันก็จะเป็นทุกข์น้อยลงและมีความกรุณา มากขึ้น และฉันอยากจะเข้าใจความทุกข์ของเธอ เพราะฉันรู้ว่าเธอเองก็เป็น ทุกข์ ฉันตั้งใจที่จะไม่กล่าวโทษเธอ เพราะฉันรู้ว่าเธอเองก็เป็นทุกข์เหมือนกับ ฉัน ฉันอยากจะรับฟังเธอ เพราะฉันอยากจะเข้าใจความทุกข์ของเธอ หากฉัน เข้าใจเธอได้ ฉันคงไม่แสดงท่าทีดังที่เคยทำมา ถ้าฉันเข้าใจความทุกข์ของ

เธอ ฉันก็คงจะช่วยเธอได้” หลวงปู่คิดว่า หากผู้ใหญ่ในบ้าน เมือง พร้อมทั้งพระมหาเถระ นักบวช ชาย นักบวชหญิง ร่วมกันจัดงานภาวนา 24

ในสัปดาห์แรก ควรให้พวกเขาได้ฝึกสติร่วมกัน นั่งสมาธิ เดินสมาธิ และปลดปล่อยความตึงเครียดทั้งในร่างกายและจิตใจ และขอให้พวกเขา

งดเว้นการกล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมือง หากต้องการ ภิกษุภิกษุณีจากหมู่บ้านพลัมมานำภาวนา เราก็ยินดี ช่วยเกื้อกูล ในสัปดาห์ที่สอง เชื้อเชิญให้แต่ละฝ่ายได้บอกเล่า ความทุกข์ในใจของตน หลีกเลี่ยงการประณามหรือ การกล่าวโทษอีกฝ่าย เพื่อที่อีกฝ่ายมีโอกาสรับฟังและเข้าใจความทุกข์ได้

ง่ายขึ้น และสามารถเผยแพร่เรื่องราวแห่งความทุกข์นี้ไปสู่สาธารณชน เพื่อ

ให้สังคมร่วมรับฟังและแบ่งปันความทุกข์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นพวกเขาก็รู้สึก ดีขึ้น เป็นทุกข์น้อยลงเป็นอย่างมาก สุดท้ายคือควรมีกลุ่มที่สามด้วย คือ กลุ่มคนที่ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใด

ฝ่ายหนึ่ง ได้มาอยู่ร่วมกัน และเชื้อเชิญให้ได้พูดเช่นเดียวกัน หลวงปู่คิดว่างานภาวนาเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศไทยได้กลับเป็นหนึ่ง เดียวกันอีกครั้ง ช่วยฟื้นความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น หากเราสามารถทำได้ สิ่งที่

เกิดขึ้นก็จะเป็นตัวอย่างให้กับประเทศอื่น เช่น ประเทศทางตะวันออกกลาง หัวใจของคำอวยพรที่หลวงปู่ก็คือ “ขอให้เรารับฟังซึ่งกันและกัน” 25


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หรือหลวงพ่อโต เป็นพระ มหาเถระที่ขึ้นชื่อในด้านเมตตา เป็นที่พึ่งพาของผู้ทุกข์ยาก ใคร มีปัญหา ไม่รู้จะแก้อย่างไร ก็มักนึกถึงหลวงพ่อโต คราวหนึ่งพระเทศ แห่งวัดชนะสงคราม มีเรื่องผิดใจกับ พระครูอุดมฌานผู้เป็นเจ้าอาวาส รู้สึกรุ่มร้อนใจจนอยู่วัดนั้น

ไม่ไหว จึงพายเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาที่วัดระฆัง ด้วยหวัง หนีร้อนมาพึ่งเย็น เมื่อพบหลวงพ่อโต พระเทศก็แนะนำตัวและแจ้งความ ประสงค์ว่า “เกล้ากระผมมีเรื่องไม่สบายใจ พยายามระงับความ รุ่มร้อนในใจก็ไม่สำเร็จ จนร้อนผ้าเหลือง จึงขอความกรุณาจาก ใต้เท้า ขอพักที่วัดระฆังสักระยะหนึ่ง”

26

ได้ฟังเพียงเท่านี้ หลวงพ่อก็พูดขึ้นมาว่า “อยากสบาย

ก็ให้ทำตัวเหมือนหมาซีจ๊ะ” พระเทศงงงันนั่งอึ้งอยู่นาน เพราะไม่เข้าใจคำพูดของ หลวงพ่อ หลวงพ่อจึงถามว่า “ท่านทะเลาะกับพระครูอุดมฌาน

มาใช่ไหม” พระเทศฟังแล้วก็สะดุ้ง อดสงสัยไม่ได้ว่าหลวงพ่อรู้เรื่อง นี้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เล่าอะไรให้ท่านฟังเลย แล้วหลวงพ่อก็ขยายความว่า “เข้าใจไหมจ๊ะ ธรรมดา หมาเมื่อเกิดกัดกันขึ้นแล้ว ถ้าตัวหนึ่งทำแพ้และนอนหงายเสีย ปล่อยให้เจ้าตัวชนะคร่อมอยู่ข้างบน ให้มันคำรามทำอำนาจเสีย ก็หมดเรื่อง” 27


พระเทศฟังแล้วก็เข้าใจ จึงเปลี่ยนใจไม่ขออยู่วัดระฆัง พายเรื อ กลั บ วั ด ชนะสงคราม นั บ แต่ นั้ น ก็ ท ำตามที่ ห ลวงพ่ อ แนะนำ คือยอมเจ้าอาวาส ท่านจะว่าอะไรก็ไม่โต้เถียง ไม่นาน ความขัดแย้งก็ยุติ พระเทศอยู่วัดชนะสงครามได้อย่างมีความสุข หลวงพ่อโตมิได้มีแต่เมตตาเท่านั้น ท่านยังเปี่ยมด้วย ปัญญา จึงรู้ว่าความขัดแย้งนั้นมิอาจระงับได้หากต่างฝ่ายต่าง แข็งเข้าหากัน ยิ่งฝ่ายหนึ่งเป็นผู้น้อยด้วยแล้ว ก็ยากที่จะลงเอย ด้วยดี ท่านจึงแนะให้พระเทศยอมโอนอ่อน ซึ่งช่วยให้อีกฝ่าย

ลดความแข็งกร้าว ทำให้มีอคติต่อกันน้อยลง สามารถเปิดใจ

รับฟังกันได้มากขึ้น ที่จริงอย่าว่าแต่ผู้น้อยกับผู้ใหญ่เลย แม้เพื่อนกับเพื่อน สามีกับภรรยา หากมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ยากที่จะคลี่คลาย ได้ด้วยการเอาผิดเอาถูก หรือใช้เหตุผลยืนยันความถูกของตน (หรื อ ชี้ ชั ด ความผิ ด ของอี ก ฝ่ า ย) เพราะต่ า งฝ่ า ยต่ า งไม่ ย อม

เปิ ด ใจกั น ต่ อ เมื่ อ ลดอคติ แ ละความเป็ น ปฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ กั น ก่ อ น

ด้วยการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมโอนอ่อน การรับฟังเหตุผลของ กันและกันจึงจะเกิดขึ้นได้ และสามารถระงับความขัดแย้งได้

ในที่สุด 28

ขอเชิญร่วมทอดผ้าป่า เพื่อเป็นทุนการศึกษาเด็กดอย และเด็กด้อยโอกาส ในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๔ ณ วัดน้อย ม.๗ บ้านป่าเท้อ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ โดยบริจาคกองทุนละ ๙๙๙ บาท หรือตามแต่ศรัทธา เข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อ สถาบันอ้อผะหญา ธนาคารกสิกรไทย สาขาแม่แจ่ม เลขที่ ๔๑๙-๒-๓๐๒๙๑-๔ หรือ ธนาคารกรุงไทย สาขาจอมทอง เลขที่ ๕๒๖-๐-๓๓๓๘๐-๒ หรือธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค ชื่อ สถาบันอ้อผะหญา เลขที่ ๑๑๘ ม.๗ ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๗๐ ติดต่อสอบถาม โทร. ๐๘๙-๐๓๘-๐๐๔๗, ๐๕๓-๔๘๕-๓๙๒ หรือ orphya@gmail.com หรือ www.orphya.org 29


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

คนเราไม่ได้มีแต่กิเลส หรือความเห็นแก่ตัวเท่านั้น หากเราทุกคนยังมีคุณธรรมความดี รวมทั้งเมตตา กรุณาในใจ

30

สมานใจด้วยความดี ปลูกไมตรีในผองชน

คุณธรรมความดีนี้เอง ที่ทำให้เรารู้สึกเห็นใจ คนที่ตกทุกข์ได้ยาก ทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ แต่ยื่นมือไปช่วยเหลือเขา

อย่าปล่อยให้ความดีงามนี้ ซุกซ่อนในจิตใจของเรา เปิดโอกาสให้ความดีงามนี้ออกมา เพื่อสร้างความงดงามให้แก่ชีวิต และเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตของเรา ให้เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกูลผู้อื่น

อีกทั้งรู้สึกปลาบปลื้มตื้นตันใจ เมื่อเห็นผู้อื่นช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

เราทุกคนสามารถดึงความดีงามออกมา จากใจได้ ด้วยการเปิดใจและก้าวเข้าหา ผู้ที่ประสบความทุกข์ ช่วยเหลือเขา รับฟังความทุกข์ของเขา ตลอดจนรับฟังเรื่องราวดีๆ ที่น่าประทับใจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการบ่มเพาะ หล่อเลี้ยง เพิ่มพูนความดีงามในจิตใจของเรา และทำให้เรามีพลังที่จะดำเนินชีวิต อย่างมีคุณค่า มีความหมาย

แต่การดึงความดีงามออกมาจากใจของเรา อย่างเดียวคงไม่พอ เราควรพยายามดึงความดีงาม ออกมาจากใจของผู้อื่นด้วย ไม่ว่าผู้นั้นเป็น คนใกล้ตัว หรือคนที่อยู่ไกล แม้กระทั่งคน ที่เหินห่างหมางเมิน หรือมุ่งร้ายต่อเรา

31


เราสามารถเชิญชวนความดีงาม ออกมาจากใจของเขาได้ ด้วยการเปิดใจฟังความต้องการ และเรื่องราวความทุกข์ของเขา สงบนิ่งเมื่อเขากราดเกรี้ยว ยิ้มให้เมื่อเห็นเขามีความสุข

ยิ่งเราระดมความดีงาม ออกมาจากจิตใจของผู้คนได้มากเท่าไร ก็จะยิ่งเกิดพลังในการขับเคลื่อนสังคม ให้ก้าวไปข้างหน้า นี่คือพลังอันยิ่งใหญ่ ที่สามารถนำพาสังคมสู่ความสงบสุขได้ 32

คนทุกคนมีความดีงามอยู่ในจิตใจ แม้บางคนจะมีจิตใจแข็งกระด้าง แต่ก็มีความอ่อนโยนอยู่ภายใน เหมือนก้อนหินที่ยังมีพื้นที่ ให้ต้นกล้าต้นน้อยๆ ได้เติบโต

หยิบยื่นน้ำใจไมตรีให้แม้เขาจะหันหลังให้ ยื่นมือช่วยเหลือเมื่อเห็นเขาเดือดร้อน ชื่นชมเมื่อเห็นเขาทำความดี และขอโทษ เมื่อเราพลั้งเผลอหรือทำผิดพลาด

ขอเพียงแต่เราร่วมมือกัน ด้วยใจที่เปิดกว้าง มีขันติธรรม แม้เราจะมีความแตกต่างกัน เพียงใดก็ตาม ความแตกต่างนั้น หาได้เป็นอุปสรรคแห่งการร่วมมือกันไม่ หากว่าเรานำความดีมาประสานใจ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเราทำความดีมีน้ำใจไมตรีต่อกัน เราก็จะเห็นความเป็นมนุษย์ของกันและกัน เห็นความเหมือนมากกว่าความต่าง จนสามารถก้าวข้ามความแตกต่าง และความเกลียดชังกันได้ เมื่อเราร่วมกันทำความดี ไม่เพียงก่อให้เกิด พลังสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุขเท่านั้น แต่ยังสามารถนำความสุขมาสู่ชีวิตของเรา ความสุขที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากใฝ่เสพ ใฝ่บริโภค แต่เกิดจากการที่เราทำความดี ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เราย่อมมีความสุข เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข รู้สึกภาคภูมิใจ ที่ชีวิตของเรามีคุณค่าขึ้นมา

33


ความสุขไม่จำเป็นต้องเกิดจากการหลบลี้หนีหน้าผู้คน หรือปลีกตัวอยู่แต่ผู้เดียวตามลำพัง ความสุขเกิดขึ้นได้จากการที่เราเข้าไปหาผู้คน และช่วยเหลือเขาให้พ้นจากความทุกข์

นี้เป็นความสุขที่ทำให้จิตใจของเราโปร่งโล่ง เบาสบาย เพราะได้ลดความเห็นแก่ตัว เพราะได้ปล่อยวางตัวตน ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวว่า “สุขแท้มีอยู่แต่ในงาน” แน่นอนต้องเป็นงานที่สร้างสรรค์ เกื้อกูลผู้อื่น ความดีงามสร้างสรรค์นี่แหละ ที่ทำให้เราได้สัมผัสถึงความสุข เป็นความสุขที่อยู่ท่ามกลางผู้คน หากเราทำงานอย่างมีสติและปัญญา ย่อมพบว่าท่ามกลางความยุ่งเหยิงสับสน คือความโปร่งโล่ง ใจกลางแห่งความวุ่น คือความว่าง เป็นความว่างที่เต็มเปี่ยม ไปด้วยคุณค่าและความหมาย

ทั่วโลกทบทวนนิวเคลียร์หลังระเบิดจากภัยสึนามิญี่ปุ่น ระเบิดที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นหลังสึนามิถล่ม ๑๑ มีนาคม ทำให้มีการ ทบทวนมาตรการความปลอดภัย ที่เยอรมนี รัฐมนตรีต่างประเทศออกมาเรียกร้อง

จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อประเมินความปลอดภัย หลังจากรัฐบาลชุดที่แล้ว สั่งให้ปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด ๑๗ แห่งภายในปี ๒๐๒๑ แต่นายกรัฐมนตรี

อังเกล่า เมอร์เคลในรัฐบาลชุดปัจจุบันสั่งเลื่อนไปอีก ๑๒ ปี ที่สหภาพยุโรปเรียก ประชุมมีมติให้มีการประเมินการเตรียมพร้อมในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินเหมือนกรณี

ที่ญี่ปุ่น นายนิโคลอส เบอร์ลาโควิช รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมออสเตรียก็ได้ออกมา

เรียกร้องให้ตรวจสอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยุโรป ขณะที่กรีนพีซกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ออกมาเตือนว่าโศกนาฎกรรมสามารถเกิดขึ้นได้ในยุโรป ซึ่งล่าสุดสวิตเซอร์แลนด์ได้ สั่งระงับโครงการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรี

วลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียยังยืนยันแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ ยุโรป ขณะนี้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ดำเนินการแล้ว ๑๙๕ แห่งและอีก ๑๙ แห่งอยู่ใน ระหว่างการก่อสร้าง รัสเซียมีมากที่สุดถึง ๑๑ แห่ง, บัลแกเรีย, สโลวาเกียและ ยูเครนมีประเทศละ ๒ แห่ง, ฟินแลนด์และฝรั่งเศสมีประเทศละ ๑ แห่ง โดยยุโรป ตะวันออกนั้นเร่งสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพราะต้องการเป็นอิสระทางพลังงานจะได้ ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานจากรัสเซีย ส่วนที่สหรัฐยังคงยืนยันจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไปอ้างว่าเป็นแหล่ง พลังงานสะอาด ออกมาแสดงความมั่นใจถึงมาตรการความปลอดภัยของตน

34

35


ปี ๕๓ เลวร้ายสุดของเกษตรกร : คดีที่ดิน หนี้สิน น้ำท่วม ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการฉายา “ดร.เกษตรกร” ๑ ในคณะ กรรมการปฏิรูปเปิดเผยกับโต๊ะข่าวเพื่อชุมชนว่ารอบปีที่ผ่านมาความเดือดร้อนของ ชาวบ้านเกิดจาก ๓ เรื่องใหญ่ เรื่องแรกคือคดีที่ดิน ชาวบ้านถูกจับข้อหาบุกรุกที่ดิน รัฐทั้งที่อยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวนป่าอนุรักษ์ ถูกตัดสินจำคุก ๕๐๐ ราย อยู่ระหว่างคดีอีกนับเป็นหมื่น ซึ่งสะท้อนว่ากระบวนการยังไม่เป็นธรรมกับ

ชาวบ้าน เรื่องที่สอง ภัยน้ำท่วมที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้พื้นที่การเกษตรกกว่า ๘ ล้านไร่ บางคนไม่ได้รับค่าชดเชยตามเกณฑ์ เพราะท่วมไม่หมดแต่เหลือที่ทำกิน เล็กน้อย ผลผลิตลดลง ราคาข้าวตก ต้องเป็นหนี้เท่าตัว เรื่องที่สามหนี้สิน ปีนี้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแทบจะไม่คืบหน้า เพราะรัฐบาลใช้วิธีการให้ธนาคาร และสถาบันการเงินไปจัดการหนี้สินเกษตรกรเองโดยไม่ผ่านกองทุนฯ แทนที่จะตัดต้น ครึ่งหนึ่งยกดอกทั้งหมดตามเงื่อนไข ทำให้เกษตรกรเป็นล้านๆ ครอบครัวต้องแบกรับ ภาระดอกเบี้ย สถานการณ์มลพิษ นายสุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม แถลงสรุ ป สถานการณ์ ม ลพิ ษ ประเทศไทย

ปี ๒๕๕๓ ว่าภาพรวมไม่เปลี่ยนแปลงจากปี ๒๕๕๒ โดยอันดับแรกที่ยังคงมีแนวโน้ม แย่ลงอย่างต่อเนื่องมา ๓ ปีคือคุณภาพแม่น้ำสายหลักเสื่อมโทรมทั้งภาคเหนือ กลาง และใต้ จากเดิมร้อยละ ๓๓% เป็น ๓๙% เนื่องจากช่วงต้นปีมีภาวะแล้ง และปลายปี มีปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งช่วง ๒ ปีมานี้ยังไม่มีการจัดสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวมชุมชน เพิ่ ม เติ ม คุ ณ ภาพน้ ำ ทะเลชายฝั่ ง ก็ มี แ นวโน้ ม เสื่ อ มโทรมลง โดยเฉพาะบริ เ วณ

36

ปากแม่น้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง และแม่น้ำแม่กลอง รวมทั้งอ่าวไทยตอนใน อันดับสองคือปัญหาขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น ๐.๔% ปริมาณขยะ ๑๕.๒ ล้านตัน ต่อปี เป็นขยะที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีแค่ ๕.๘ ล้านตันหรือแค่ ๓๘% ขณะที ่ แนวโน้มการนำเข้าสารเคมีอันตรายและผลิตในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น ๔๐.๕ ล้านตัน ส่งผลต่อตัวเลขความเจ็บป่วยจากสารเคมี ๕๙๐ ราย อุบัติเหตุจากสารเคมีเกิดขึ้น ๒๘ ครั้ง เป็นโรงงานอุตสาหกรรมและโกดังเก็บสารเคมี ๑๑ ครั้ง การขนส่งสารเคมี ๓ ครั้งและการลักลอบทิ้งของเสียอันตราย ๑๑ ครั้ง นอกจากนี้ยังมีตัวเลขจากกรม ควบคุมโรคที่มีรายงานการเจ็บป่วยของเกษตรกรที่รับพิษจากสารเคมี ๑,๙๘๒ ราย ส่ ว นคุ ณ ภาพอากาศโดยรวมแนวโน้ ม ดี ขึ้ น แต่ ที่ ใ นพื้ น ที่ ภ าคเหนื อ ๘ จั ง หวั ด

โดยเฉพาะแม่ฮ่องสอน มีฝุ่นละอองจากการเผาไหม้พื้นที่เกษตรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ จ.ระยอง ตลอด ๒ ปีที่ ผ่านมาร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ภาคประชาชน และผู้ประกอบการ สารไนโตรเจน-

ไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลดลงอย่างต่อเนื่อง และจะมีการสำรวจและ กำหนดจุดตรวจสอบตามความยาวตลอดลำคลองเพื่อให้รู้แหล่งว่ามลพิษดังกล่าว

ถูกปล่อยมาจากโรงอุตสาหกรรมไหน ขณะที่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คณะกรรมการ สิ่ ง แวดล้ อ มฯ มอบหมายให้ ก ารนิ ค มอุ ต สหากรรมแห่ ง ประเทศไทยสร้ า งฝายดั ก ตะกอนก่อนจะไหลลงทะเล อีกด้วย สำหรับการร้องเรียนปัญหามลพิษมายังกรมควบคุมมลพิษในปี ๕๓ มีทั้งสิ้น ๔๑๘ เรื่อง ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่ร้องเรียนมากที่สุดคือมลพิษทางอากาศและเสียง ร้อยละ ๘๔ รองลงมาเป็นน้ำเสียร้อยละ ๑๑ และกากของเสียร้อยละ ๔ ตามลำดับ จังหวัดที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 37


สังคมไทยยอมรับพฤติกรรมการโกงกิน ทุจริตคอรัปชั่นมากขึ้น! นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “ทัศนคติ อันตรายในช่วงรัฐบาลชุดปัจจุบันว่าด้วย การยอมรับรัฐบาลทุจริต

คอรัปชั่นแต่ทำให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ตนเองได้ประโยชน์ด้วย” นั้นระบุว่า ในปี ๒๕๕๔ นี้ประชาชนมีแนวโน้มยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นคือ

ร้อยละ ๖๔ เปรียบเทียบกับการสำรวจช่วงตุลาคมปี ๒๕๕๑ ก่อนรัฐบาลอภิสิทธิ์พบ ว่า มากกว่า เดิม ซึ่งมีอ ยู่ร้อ ยละ ๖๓.๒ เป็ นกลุ่ มเด็ก และเยาวชนที่เ ป็ นคนรุ่นใหม่ ประมาณครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ ๕๐.๒ และผู้ใหญ่ในทุกช่วงอายุส่วนใหญ่หรือเกินกว่า ร้อยละ ๖๐ ขึ้นไปที่ยอมรับ ทัศนคติดังกล่าวกระจายไปสู่ประชาชนในทุกสาขาอาชีพ เป็นนักเรียนนักศึกษาเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ ๕๔.๕ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๖๓.๑ พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ ๖๒ พ่อค้านักธุรกิจ

ร้อยละ ๖๕.๓ เกษตรกรรับจ้างแรงงานทั่วไปร้อยละ ๖๖.๘ และแม่บ้าน เกษียณอายุ ร้อยละ ๕๘.๔

สอนธรรมแก้ไขวิกฤติสังคม

เมื่อวันที่ ๒ ก.พ. นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา เผยแผนส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม เพื่อเสริมความรู้ให้แก่พระธรรมวิทยากรที่อบรมศีลธรรมแก่เด็ก และเยาวชนว่า ขณะนี้ประเทศไทยเกิดวิกฤติการณ์ ๖ ด้าน ได้แก่ วิกฤติธรรมชาติ คือ คนทำลายธรรมชาติ น้ำเน่าเสีย วิกฤติธรรมนิยม คือ คนไม่ปฏิบัติ ไม่บูชา

หลักธรรม ตั้งแต่ระดับสภาลงมา วิกฤติธรรมทายาท คือ พระสงฆ์ สามเณร ฆราวาส หย่อนยานในการปฏิบัติ วิกฤติธรรมนูญ คือ คนขาดการยึดถือระเบียบ กฎหมาย วิกฤติธรรมิกสังคม คือ สังคม การเมือง การปกครอง หย่อนยาน และวิกฤติ ธรรมเนียม คือ คนลืมคำสอนขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม โดยหวังให้เด็กและ เยาวชนรุ่นใหม่มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต และจะช่วยรักษาชาติให้พ้นวิกฤติต่างๆ 38

ได้ด้วย ส่วนรูปแบบการสอนที่ไม่ยากไปหรือตลก สนุกแต่ไม่ได้หลักธรรม และทำ

เป็ น เครื อ ข่ า ย จั ด ตั้ ง กลุ่ ม พระธรรมวิ ท ยากรประจำจั ง หวั ด ขึ้ น ให้ ส อดคล้ อ งกั บ

ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรม จริยธรรม ที่อยู่ทุกจังหวัดด้วย เพื่อให้หน่วยงานที่สนใจ

ได้มาประสานงานนำหลักธรรมไปเผยแผ่ กรมการศาสนาฝากพระธรรมวิทยากรช่วย จัดหมวดหมู่หลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้เหมาะสมกับช่วงอายุของเด็กและเยาวชน เพื่อที่จะจัดทำเป็นคู่มือให้แก่พระวิทยากรทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีอยู่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม่-ทารก ใต้วิกฤติ

เผยผลสำรวจใน ๓ จังหวัดภาคใต้ อัตราการตายของมารดาและอัตราการ ตายของทารกในเหตุการณ์ความไม่สงบ อัตราการตายของมารดาใน จ.ปัตตานี และ ยะลา พบว่า เมื่อปี ๒๕๔๖ ใน จ.ปัตตานี เพิ่มจาก ๒๖ คนเป็น ๕๑ คน ต่อการ เกิดมีชีพ ๑ แสนคน ในปี ๒๕๔๙ ส่วนที่ จ.ยะลา อัตราการตายของมารดา ในปี ๒๕๔๖ เพิ่มจาก ๑๙.๘ คนเป็น ๔๙.๒ คนต่อการเกิดมีชีพ ๑ แสนคน ในปี

๒๕๔๙ ขณะที่อัตราการตายของทารก ๓ จังหวัด ในปี ๒๕๔๖ เพิ่มจาก ๑๑.๑ คน เป็น ๑๑.๗ คน ต่อการเกิดมีชีพ ๑ พันคน ในปี ๒๕๔๙ นอกจากนี้ยังพบว่า ทารก แรกคลอดในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวนมากที่มีน้ำหนักแรกคลอด

ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ๒๕๐๐ กรัม แต่พบเด็กแรกคลอดน้ำหนักต่ำสุดถึง ๘๐๐ กรัม ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการเติบโตของเด็กในอนาคตอย่างมาก สาเหตุสำคัญเพราะ สถานการณ์ความรุนแรงทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงพื้นที่ให้บริการได้ตามปกติ

ส่ ง ผลให้ ก ารดู แ ลรั ก ษาสุ ข ภาพอนามั ย น้ อ ยลง นอกจากนี้ ยั ง มี ปั ญ หาขาดแคลน บุคลากรทางการแพทย์สูงถึงร้อยละ ๕๐ และผลกระทบด้านจิตใจของประชาชนและ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เนื่องจากมีอาการหวาดกลัว ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล และหวาดระแวง บุคลากรสถานีอนามัยลดลง กิจกรรมเชิงรุกในด้านรักษาการตรวจ เยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่ลดลงร้อยละ ๖๐ จึงมีการปรับใช้แผนยุทธศาสตร์ซอกแซกทุก ซอกซอย ให้ อสม.เกาะติดผู้หญิงท้อง 39


เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท

40

ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ โดย พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท

เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)

แนะนำ ฟังซีด ี ซีดีเสียงเผชิญความตายอย่างสงบชุดที่ ๑ บทภาวนา รวมเป็นชุดใส่กล่อง มี ๖ แผ่น ๒๕๐ บาท หรือแบบ MP3 รวมในแผ่นเดียว ๑๐๐ บาท

ซีดี รวมบทความ มองย้อนศร แผ่นละ ๓๐ บาท ซีดี รวมบทความมองอย่างพุทธ แผ่นละ ๓๐ บาท ดีวีดี สู่ความสงบที่ปลายทาง บทเรียนชีวิตในยามเจ็บป่วย แผ่นละ ๕๐ บาท

41


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก สมัครใหม่ สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................) หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาคลองสาน ชื่อบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ ๑๕๑-๐๕๙ ๗๗๔-๑ โปรดส่งหลักฐานการโอนและใบสมัครมายังเครือข่ายพุทธิกาด้วย สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ 42

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้ง เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาเครือข่ายพุทธิกาได้จัดสัมมนาประจำปี จุดมุ่งหมายเพื่อทบทวน

งานเก่าต่อยอดงานเดิมสร้างสรรค์งานใหม่ มีคณะทำงานเข้าร่วม ๒๕ คน

ได้งานกลับมาทำกันเพียบ! เย็นฤดีขออนุญาตนำข่าวมารายงานนะคะว่าปี ๕๔ เครือข่ายพุทธิกาจะทำอะไรกันบ้าง ...เริ่ ม ด้ ว ยโครงการฉลาดทำบุ ญ ด้ ว ยจิ ต อาสา ปี นี้ ปั ก ธงเดิ น หน้ า ลุย(แม้ไม่ได้ทุน) ขยายงานจากเดิมให้มีความหลากหลายในด้านกิจกรรม

เข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มภาคีภาครัฐ-สถาบันการศึกษาและเอกชนบริษัทที่สนใจมิติด้านจิตใจ หากผู้อ่านท่านใดมีองค์กรหน่วยงานที่สนใจอยาก ให้ทีมงานได้ไปขายไอเดียและร่วมทำงานด้วยกันแจ้งกันมาได้นะคะ และนี่คือ ตัวอย่างกิจกรรมที่ทุกท่านสามารถเข้าร่วมได้เลย - กิจกรรมรวมมิตรจิตอาสา จัดทุกวันอาทิตย์ที่ ๓ ของเดือน ตั้งแต่ เวลา ๐๙.๓๐–๑๗.๐๐ น. ณ สำนักงานเครือข่ายพุทธิกา ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ : ลักษณะกิจกรรมช่วงเช้าปฏิบัติธรรมสมาธิภาวนาโดยมีพระสงฆ์หรือ ฆราวาสนำสวดมนต์ ต่อด้วยการสนทนาธรรมร่วมสมัยกับวิทยากรผู้ทรง

คุณวุฒิ อาทิ พระไพศาล วิสาโล ท่าน ว. วชิรเมธี อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม พระจากหมู่บ้านพลัม ฯลฯ - กิจกรรมฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา (เครือข่ายพุทธิกาเป็นแม่งาน) คื อ อาสาเพื่ อ ผู้ พิ ก ารทางสายตา, อาสาพบธรรมสำนั ก สงฆ์ ป ลายนา จ.ปทุมธานี อาสาพบธรรมวัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ, จิตอาสาวันพุธ - กิจกรรมขององค์กรภาคีสามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.budnet.org 43


ล่าสุดโรงเรียนอัสสัมชันคอนแวนต์มีความสนใจให้ทีมงานไปร่วมจัด กิจกรรม-สอนว่าด้วยฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสาจะมีการวางแผนเป็นวิชาหนึ่ง ของโรงเรียนด้วย เป็นไงบ้างคะพอเรียกน้ำย่อยได้บ้างไหม เพียงท่านมีใจและเวลาก็ สามารถร่วมสร้างสรรค์สังคมด้วยกันได้แล้วค่ะ ต่อด้วยโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ งานขยับจากปีที่แล้วคือ การจั ด อบรมแบบเร่ ง รั ด ๒ วั น ท่ า นที่ เ ข้ า อบรมจะได้ รั บ ความรู้ แ ละ ประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการเสริมพลังด้านจิตใจที่หลากหลายจากวิทยากรที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญเฉพาะด้ า น และที่ ส ำคั ญ การขยายแนวคิ ด ไปสู่ ส ถาบั น ทางการแพทย์เพื่อนำหลักสูตรการอบรมของโครงการเผชิญความตายอย่าง สงบบรรจุลงในการเรียนการสอนหรือการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการ แพทย์ แต่งานเดิมคือ “อาสาข้างเตียง”, อบรมเชิงปฏิบัติการเผชิญความ ตายอย่างสงบ” หลักสูตร ๓ วัน ก็ยังทำอย่างต่อเนื่อง สนใจกิจกรรมไหน ต้ อ งรี บ โทรสอบถามรายละเอี ย ดและสำรองที่ เ พราะของเขาขายดี จ ริ ง ๆ

ขอบอก! ส่วนโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา ปีนี้เข้าสู่ปีที่ ๓ แล้วยังคงดำเนินไปได้ ด้วยดี แว่วๆ ว่าจะได้เผยแพร่เรื่องราวผ่านทางสถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ๑๓ ตอนๆ ละ ๕ นาที ในชื่อรายการ “สุขแท้ด้วยปัญญา” ท่านผู้อ่านสามารถ

รับชมได้ตามอัธยาศัย ส่วนวันและเวลาออกอากาศเย็นฤดีจะรายงานให้ทราบ นะคะ

44

ตามด้วยกิจกรรม “โครงการเรื่องเล่าจากแดนประหาร” เป็นกิจกรรม ที่โครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ร่วมกับเครือข่ายพุทธิกา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อพัฒนาฝีมือด้านการเขียนแก่

ผู้ต้องขังในแดนประหาร เรือนจำกลางบางขวาง ต่อเนื่องเป็นเวลา ๔ เดือน (เรียนสัปดาห์ละ ๑ วัน) จบลงด้วยดีเมื่อวันที่ ๗ มีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จประทานใบประกาศนียบัตร ให้แก่ผู้ผ่านการอบรมจากนั้นก็เป็นกิจกรรมอำลาระหว่างศิษย์และครูเย็นฤดี

ก็อยู่ร่วมในเหตุการณ์ครั้งนั้นยังแอบเช็ดน้ำตาด้วยความประทับใจปนใจหาย อย่างไรไม่รู้ ผลที่ได้จากการอบรมคือ ต้นฉบับงานสารคดี ๓๐ ชิ้น หลังจาก นั้นครูผู้สอนคือ อรสม สุทธิสาคร วิวัฒน์ พันธวุฒิวิทยานนท์ และวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง จะทำการคัดเลือกผลงานที่ดีที่สุดเพื่อนำมารวมเล่มเผยแพร่กับ สังคมต่อไป คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายเดือนเมษายนศกนี้ อีกโครงการคือ การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคม เป็นการ

ร่วมมือกับหลายภาคส่วน เริ่มต้นขึ้นจากการมองว่าความขัดแย้งสามารถ คลี่ ค ลายได้ ห ากมี ก ารสื่ อ สารที่ น ำความเข้ า ใจมาสู่ คู่ ขั ด แย้ ง ด้ ว ยการนำ

เครื่องมือการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่หลากหลาย อาทิ การสื่อสารอย่างสันติ ไดอะล็อก การเป็นคนกลาง สตรีนิยมฯ เข้าอบรมให้อาสาสมัครและกลุ่ม

ผู้อยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งได้รู้จักการทำงานด้วยเครื่องมือเหล่านี้ และ ได้นำไปใช้ในพื้นที่ความขัดแย้งทั้งกับตนเองและคู่ขัดแย้ง พร้อมการติดตาม สังเคราะห์ข้อมูล และถอดบทเรียนการทำงานกับความขัดแย้ง นำมาสื่อสาร กับสังคมให้สามารถเห็นรูปแบบการคลี่คลายความขัดแย้งในบริบทต่างๆ ของ สังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่การมีทางเลือกที่หลากหลายในการคลี่คลายความ

ขัดแย้ง 45


ท้ า ยสุ ด ฝากกิ จ กรรมน้ อ งใหม่ อ ย่ า ง โครงการศิ ล ปะเพื่ อ ชี วิ ต และ อิ ส รภาพของคนรุ่ น ใหม่ มี กิ จ กรรมที่ น่ า สนใจที่ ค นรุ่ น ใหม่ ไ ม่ ค วรพลาด กิจกรรมงาน “มหกรรมป่วน” ครั้งที่ ๑ วันที่ ๖–๘ พฤษภาคม จัดที่

หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๙ มิถนายน–

๓ กรกฏาคม ๒๕๕๔ จัดที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หลังจาก นั้นยังมีการเวิร์กชอปเสริมพลังมิติด้านจิตใจอย่างต่อเนื่องจำนวน ๕ ครั้ง แล้วเจอกันนะคะ ปีนี้เครือข่ายฯ ยังคงมีนโยบายดีๆ คือการส่งเสริมและพัฒนาคน ทำงานให้มีความสุขทั้งภายนอกภายใน อาทิ การส่งเสริมให้คนทำงานได้ไป ปฏิบัติธรรมไม่ถือเป็นวันลา-ยังได้สิทธิหยุดเท่าวันที่ไป และหากใครสนใจ อยากพัฒนาตนเองเรื่องอะไรก็ยังมีทุนให้อีกด้วย อีกทั้งยังให้แต่ละเดือน

มีวัน “ขี้เกียจ” ๑ วัน หมายความว่า วันนั้นคนทำงานไม่ต้องทำงานตาม หน้าที่ แต่มีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่นเมื่อ ๒๒ มีนาคมที่ผ่านก็ช่วยกันทำความ สะอาดสำนั ก งาน ทำกั บ ข้ า วกิ น ด้ ว ยกั น เห็ น ไหมค่ ะ นอกจากสำนั ก งาน

สะอาดขึ้นความสัมพันธ์ระหว่างกันยังแน่นปึ๊กตามมา (ที่ขาดไม่ได้คือได้

กิ น ข้ า วร่ ว มกั น อิ่ ม และสนุ ก ไปเลย - อั น นี้ เ ย็ น ฤดี ช อบมากค่ ะ ) ไม่ ส งวน ลิขสิทธิ์หากใครสนใจนำไปใช้ต่อนะคะ สวัสดีและพบกันใหม่ฉบับหน้า เย็นฤดี

46

เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 47


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ กิจกรรมเครือข่ายพุทธิกามีให้ร่วมน่าสนใจมากมาย : จิตอาสา, อาสาข้างเตียง, สุขแท้ด้วยปัญญา ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซื้อหนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร สนใจสมัครด่วน ได้รับ “รู้ใจไกลทุกข์” เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล หนังสือใหม่ ฟรี! ช้าหมด

48


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.