จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 44

Page 1


ด้วยหนังสือชวนอ่าน ของพระไพศาล วิสาโล

• จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ ๕๙ บาท • ความสุขที่แท้ สมทบค่าจัดพิมพ์ ๑๐ บาท (ค่าจัดส่ง ๕ บาท) • ธรรมะสำหรับผู้ป่วย ๑๐๐ บาท

มนุษย์เราทุกคนล้วนรักความสุขเกลียดความทุกข์กันทั้งนั้น สิ่งที่ มนุษย์พยายามทำกันตลอดชีวิตก็คือการเข้าหาความสุข พยายามหนี จากความทุกข์ เมื่อพบทุกข์ก็พยายามขจัดปัดเป่าออกไป หรือพยายาม ป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น ถือว่าเราโชคดีกว่าคนสมัยก่อนเพราะเทคโนโลยี ในการขจัดปัดเป่าความทุกข์มีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราสามารถ หนีความทุกข์ ขจัดปัดเป่า หรือบรรเทาความทุกข์ได้มากมายเพียงใด แต่ว่ายังมีความทุกข์อีกหลายอย่างที่เราหนีไม่พ้น เราทำได้เพียงชะลอ หรือหน่วงเหนี่ยวให้เกิดขึ้นช้าลง ลูกตาย เมียตาย ผัวตาย เรื่องนี้เกิดได้กับทุกคน นอกจากนั้น

ยังต้องเจอกับคำนินทาว่ากล่าว ไม่ว่ายิ่งใหญ่แค่ไหนก็ต้องเจอกับความ ไม่สมหวัง ต้องเจอความแก่ความเจ็บความตาย อันนี้คือความทุกข์ที่ ไม่มีใครหนีพ้น แม้ว่าเราจะตัดเรื่องความแก่ความเจ็บความตายออกไป ก็ยังเจอกับความทุกข์อีกหลายอย่าง เช่นงานการที่ไม่สำเร็จ หรือความ ผิดหวัง ถ้าคนเราคิดแต่จะหนีความทุกข์ หรือหาทางปัดเป่าบรรเทา ความทุกข์ตลอดเวลา ก็เตรียมใจทุกข์ได้เลย เพราะว่ายังมีความทุกข์

อีกหลายอย่างที่เราต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขจัดปัดเป่าไปเพียงใด

ก็ไม่สำเร็จ

ส ม า ชิ ก พุ ท ธิ ก า

ล ด ๓๐%

โอนเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ชื่อบัญชีเครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย และแฟกซ์หลักฐานพร้อมแจ้งชื่อ เบอร์โทร ที่อยู่ ส่งเครือข่ายพุทธิกา โดย Fax : ๐๒-๘๘๒-๕๐๔๓ (รายละเอียดที่อยู่ของเครือข่ายพุทธิกา ดูที่ปกหลัง)

ในเมื่อความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราหนีไม่พ้น เราจึงต้อง เรียนรู้ที่จะอยู่กับมันให้ได้ ไม่ใช่ด้วยความอดทน ดีกว่านั้นก็คืออยู่กับมัน โดยอาศัยสติ คือรู้ทันใจที่ปรุงแต่งเวลามีความทุกข์กาย จนใจเป็นปกติ ได้แม้กายจะทุกข์ก็ตาม การปรุงแต่งจะไม่เกิดขึ้นถ้าเรามีสติ ถ้าเรา


ดูกาย ดูใจ ดูเวทนาเวลามันเกิดขึ้นโดยไม่ปรุงแต่งมัน หรือไม่มีปฏิกิริยา ต่อมัน ก็จะเห็นว่ามันมีอยู่ แต่ทำอะไรใจเราไม่ได้ แม้กายจะทุกข์ แต่ใจ ไม่ทุกข์ ต่อไปเราก็จะเป็นมิตรกับความทุกข์ ความเหงา ความเศร้าได้ เพราะต่างคนต่างอยู่ ไม่มารังควาญใจเรา ถ้าเรารู้จักอยู่กับความทุกข์ได้ เมื่อถึงคราวที่เราจะตาย เราก็จะ ยอมรับมันได้ ความตายก็ทำอะไรเราไม่ได้ เราสามารถเป็นมิตรกับ

ความตายได้ ถึงตอนนั้นความตายจะไม่ใช่สิ่งน่ากลัวต่อไป นี้เป็นศิลปะ ในการดำเนินชีวิต อะไรก็ตามที่เราหนีไม่พ้น เราควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับ

มันให้ได้ นี้คือศิลปะการอยู่ในโลกนี้อย่างไม่ทุกข์

พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๒๒ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔

ก่อนสายใยจะขาดสะบั้น

ดูแล “ตัวกู” ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง

๑๗

ใจหนอใจ

๒๓

๒๕

๓๔

๔๐

๔๓


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ย้อนหลังไปเมื่อ ๑๐ ปีก่อน ไม่กี่วันหลังจากเปลี่ยน ศักราชใหม่ ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่หลายประการที่สร้าง ความประหลาดใจและความตื่นเต้นแก่คนไทยค่อนประเทศ เมื่ อ ผลการเลื อ กตั้ ง วั น ที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๔ ออกมา ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทยได้ สส.จำนวนกึ่งหนึ่งของสภา

นับเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ไทย ทำให้สามารถเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสียงท่วมท้น ในสภาได้ แม้จะเป็นรัฐบาลผสมก็ตาม เป็นนิมิตหมายว่า รัฐบาลพลเรือนที่ขาดเสถียรภาพอันเป็นปัญหาเรื้อรังของ การเมืองไทยกำลังจะกลายเป็นอดีต นั่นหมายความว่าการ ปฏิรูปการเมืองอันมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนเป็นแม่บท กำลังจะบังเกิดผลแล้ว

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศพร้อมกับการสร้าง ความหวังให้แก่ประชาชนไทยว่าเมืองไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ประวัติศาสตร์ หน้ า ใหม่ เขาไม่ เ พี ย งนำชั ย ชนะมาให้ แ ก่ พ รรคไทยรั ก ไทยโดยอาศั ย นโยบายที่ “โดนใจ” ประชาชนเท่ า นั้ น หากยั ง พยายามทำนโยบาย

ดังกล่าวให้เกิดผลตามที่สัญญา ไม่กี่เดือนหลังจากที่เขาได้นั่งทำเนียบ คนจนทั่วประเทศก็มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามนโยบาย ๓๐ บาท รั ก ษาทุ ก โรค หลั ง จากนั้ น นโยบายประชานิ ย มอื่ น ๆ ก็ ต ามมา รวมทั้ ง กองทุนหมู่บ้าน และโครงการเอื้ออาทรนานาชนิด ใช่แต่เท่านั้นเขายังมี โครงการใหม่ๆ อีกมากมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้าน ต่างๆ ของโลก ไม่ว่า ด้านอาหาร แฟชั่น การท่องเที่ยวและบริการ ฯลฯ การทำงานด้วยความรวดเร็ว ฉับไว และกล้าตัดสินใจ ได้สร้างความ

ตื่นตาตื่นใจให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ ขณะเดียวกันความสามารถใน

การควบคุมพรรคให้เป็นเอกภาพ จนไม่มีกลุ่มก๊วนใดกล้าก่อคลื่นใต้น้ำ ทำให้ผู้คนมีความหวังว่าการเมืองไทยนับแต่นี้ไปจะเข้มแข็งและขับเคลื่อน เมืองไทยให้รุดหน้าอย่างมั่นใจท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์อันเชี่ยวกราก หลังจากที่ล้มฟุบไปพักใหญ่ในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง อย่างไรก็ตามเมื่อผ่านไปเพียง ๕ ปี สถานการณ์ก็แปรเปลี่ยนไป ความหวังได้กลายเป็นความผิดหวังในหมู่ผู้คนเป็นอันมาก เสียงวิพากษ์ วิจารณ์กระหึ่มดังมากขึ้น โดยมีจุดร่วมอยู่ที่การใช้อำนาจในทางมิชอบของ พ.ต.ท.ทักษิณ อาทิ การเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวก และการคอร์รัปชั่น

ทางนโยบาย ความไม่ พ อใจขยายตั ว อย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนเกิ ด การชุ ม นุ ม ประท้ ว งครั้ ง แล้ ว ครั้ ง เล่ า ผู้ ค นร่ ว มสมทบอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจนบางครั้ ง มี จำนวนเรือนแสน การเมืองที่เคยมั่นคงมีเสถียรภาพเริ่มเรรวนและปริร้าว เมืองไทยที่เคยรุดหน้าก็สะดุดหยุดกับที่ แม้จะมีการยุบสภาและเลือกตั้ง ใหม่ แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ตรงข้ามกลับการแบ่งขั้วแบ่งข้างใน หมู่ ป ระชาชนที่ ส นั บ สนุ น และต่ อ ต้ า น พ.ต.ท.ทั ก ษิ ณ ปรากฏชั ด เจนขึ้ น

ทั่วประเทศ จนเกือบจะเป็นการเผชิญหน้า


การรัฐประหารที่ตามมา แม้จะยึดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณได้ แต่ หาได้ ท ำให้ บ้ า นเมื อ งสงบลงไม่ ตรงกั น ข้ า มกลั บ แตกร้ า วหนั ก ขึ้ น ใน

ทุกระดับและทุกวงการ ไม่เพียงมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจในแวดวงระดับสูง เท่านั้น หากยังมีการเคลื่อนไหวมวลชนสนับสนุนชนชั้นนำทั้งสองฝ่าย ควบคู่ไปกับการผลักดันให้มีการเปลี่ยนระบบการเมืองตามอุดมการณ์

ของตน ความพยายามที่จะช่วงชิงชัยชนะของแต่ละฝ่าย โดยไม่ยอม ประนีประนอม นำไปสู่การประท้วงที่เข้มข้น ดุดัน ยืดเยื้อ อย่างไม่เคย

มีมาก่อน เพื่อสร้างแรงกดดันอย่างหนักหน่วงให้แก่อีกฝ่าย ความรุนแรง

ที่เกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจากฝ่ายใด ยิ่งซ้ำเติมความรู้สึกเคียดแค้นชิงชังและ ผลั ก คนไทยให้ ก ลายเป็ น ปฏิ ปั ก ษ์ ต่ อ กั น ยิ่ ง กว่ า เดิ ม แต่ ส ถานการณ์ จ ะ

ไม่เลวร้ายกว่านี้หากไม่เกิดเหตุการณ์นองเลือดระหว่างการชุมนุมของ

คนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคมปีที่แล้ว ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ร่วม ๑๒๐ คน บาดเจ็บร่วม ๓,๐๐๐ คน อันเป็นความสูญเสียที่มากที่สุด เท่าที่เคยมีจากการชุมนุมประท้วงกลางกรุงเทพมหานคร มาถึงวันนี้ไม่ผิด หากจะกล่าวว่าผู้คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นอนาคตที่สดใสของเมืองไทย มีแต่ ความหวาดวิตกว่าสิ่งเลวร้ายกำลังรออยู่ข้างหน้า

เมื่อปี ๒๕๔๔ คงไม่มีใครที่คิดว่าในชั่วเวลาเพียง ๑๐ ปี ความหวัง ของผู้คนจะเลือนหาย การเมืองไทยจะล้มลุกคลุกคลานและถอยหลังอย่าง วันนี้ จะว่าไปแล้วความเสื่อมถอยดังกล่าวมิใช่ของใหม่สำหรับการเมืองไทย ซึ่งผ่านรัฐประหาร-เผด็จการ และประชาธิปไตยครึ่งใบมาหลายครั้งตลอด ช่วงเวลาเกือบ ๘๐ ปีที่ผ่านมา แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และ เป็นเรื่องที่น่าวิตกยิ่งกว่าก็คือ สำนึกร่วมในความเป็นชาติ หรือสายใย

ที่เคยเชื่อมโยงผู้คนให้รู้สึกผูกพันกันและเกาะเกี่ยวอยู่ในชุมชนเดียวกันที่ เรียกว่า “ชาติ” นั้น กำลังถูกบั่นทอนและใกล้จะขาดสะบั้น เป็นที่รู้กันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาความแตกแยกอันเนื่องจาก

การแบ่งฝ่ายทางการเมืองได้เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางตั้งแต่ระดับ ครอบครัว ที่ทำงาน ชุมชน ละแวกบ้าน สถาบันหรือองค์กร (เช่น ทหาร ตำรวจ กระทั่งคณะสงฆ์) ไปจนถึงระดับจังหวัด แม้แต่ภาคเหนือ ภาค อีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ก็แบ่งเป็นขั้วทางการเมืองอย่างชัดเจน ความร้าวฉานได้เกิดขึ้นทั้งประเทศอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้ ขณะที่ความเห็นต่างทางการเมืองแพร่หลายและลงลึกนั้น สิ่งซึ่ง เคยเป็นที่ยอมรับนับถือ หรือเป็นจุดร่วมของผู้คนทั้งประเทศ นับวันจะ รวมใจคนทั้งชาติได้น้อยลง ไม่สามารถยึดโยงหรือเชื่อมร้อยผู้คนให้เป็น หนึ่งเดียวกันได้ การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ครั้งหนึ่งเคยเป็น

ที่ยอมรับร่วมกันว่าเป็นวิถีทางแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่ดีที่สุด แต่ ปัจจุบันกลับถูกปฏิเสธโดยคนจำนวนไม่น้อย ส่วนคนที่เหลือก็ตั้งคำถาม กับสถาบันหรือกลไกระดับชาติ เช่น สถาบันตุลาการ หรือกระบวนการ ยุติธรรม และองค์กรอิสระ มิไยต้องเอ่ยถึงสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งสูญเสีย ศรัทธาของประชาชนไปนานแล้ว มิใช่แต่จุดร่วมในเชิงการเมืองการปกครองเท่านั้น สิ่งที่เลือนหายไป จากเมืองไทยยังรวมถึงจุดร่วมในทางวัฒนธรรม จิตสำนึก หรือแม้แต่

ผลประโยชน์ ทุกวันนี้ความเป็นไทยไม่สามารถหล่อหลอมผู้คนให้เป็น


หนึ่งเดียวกันได้ เพราะถูกตีความไปต่างๆ นานา จนแม้แต่ซื้อของฝรั่ง

กินอาหารญี่ปุ่น แต่งตัวแบบเกาหลีก็ยังเรียกว่าเป็นไทยได้อย่างเต็มปาก สิ่ ง ที่ รั ฐ กำหนดให้ เ ป็ น “วั ฒ นธรรมแห่ ง ชาติ ” (รวมทั้ ง ภาษาไทยแบบ มาตรฐาน) แทบไม่มีความหมายในทางปฏิบัติ เช่นเดียวกับสถาบันแห่ง ชาติอีกมากมายที่ขาดการยอมรับอย่างกว้างขวาง

ดังกล่าวมีความเป็นมาที่ยาวไกลกว่านั้น และเชื่อมโยงกับโครงสร้างทาง เศรษฐกิจการเมืองที่ฝังรากลึกมานาน ประสมกับความเปลี่ยนแปลงขนาน ใหญ่ที่มาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์ เป็นแต่ว่าความขัดแย้งทางการเมือง ที่ผ่านมาได้ซ้ำเติมปัญหานี้ให้รุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อสาวไปให้ถึงที่สุด ก็จะพบว่าความขัดแย้งนี้มีรากเหง้าอันเดียวกันกับปัญหาดังกล่าว

กระทั่ง “ผลประโยชน์แห่งชาติ” นับวันจะมีความหมายพร่าเลือน และขาดมนต์ขลัง ไม่สามารถเชิญชวนเรียกร้องให้ผู้คนพร้อมใจเสียสละ

ได้ เพราะไม่เชื่อว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นนั้นจะตกแก่ส่วนรวม มิใช่แค่แก่คน บางกลุ่มเท่านั้น ขณะที่อีกส่วนหนึ่งรู้สึกว่า ประเทศชาติมิใช่เป็นของตน ไม่รู้สึกร่วมใน “ชาติ” ที่ผู้ปกครองประเทศเอ่ยอ้างถึง ด้วยเหตุนี้เสียง กระตุ้นให้ “รักชาติ” จึงไม่สามารถระดมผู้คนให้สมัครสมานสามัคคีได้ เหมือนก่อน ในขณะที่หลายคนตั้งคำถามว่ารักชาติแล้วได้อะไร เพราะ

ปากท้องของตนสำคัญกว่า ส่วนจำนวนไม่น้อยถามว่ารักชาติไปทำไม ใน เมื่อทุกครั้งที่มีเสียงเรียกร้องให้รักชาติเสียสละเพื่อประเทศ พวกเขากลับ ต้องสูญเสียที่ดิน พลัดที่นาคาที่อยู่ และมีชีวิตลำบากมากขึ้น ส่วนคนอื่น กลับอยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายกว่าเดิม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่คน เสื้อแดงที่มาชุมนุมประท้วงรัฐบาลที่กรุงเทพฯ เมื่อปีที่แล้ว มีเพียงร้อยละ ๒ เท่านั้นที่ตอบว่าตนเป็น “ผู้รักชาติ” (ประภาส ปิ่นตบแต่ง “การลุกขึ้น สู้ของคน “ยอดหญ้า”: บทวิเคราะห์ในเชิงมิติการเมืองใน แดง ทำไม (สำนักพิมพ์ openbooks)) เชื่อแน่ว่าทัศนคติดังกล่าวยังเกิดแก่คนกลุ่มอื่น ที่อยู่ในระดับล่างของสังคม ไม่จำเพาะกับคนเสื้อแดงเท่านั้น

การพัฒนาเศรษฐกิจที่ผ่านมาตลอด ๕๐ ปี แม้จะกระตุ้นให้เกิด

การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนรายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้น ถึง ๕๐ เท่า (จาก ๒,๒๓๘ บาทในปี ๒๕๐๓ เป็นแสนบาทเศษในปัจจุบัน) แต่ในเวลาเดียวกัน โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองที่เติบใหญ่จากการ พัฒนาดังกล่าวก็ทำให้ช่องว่างระหว่างคนไทยด้วยกันถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อปี ๒๕๔๙ พบว่า กลุ่มคนรวยสุดมีทรัพย์สินมากเป็น ๖๙ เท่าของ

กลุ่มคนที่จนสุด ยิ่งกว่านั้นยังพบว่า ร้อยละ ๔๒ ของเงินฝากในธนาคาร ทั้งประเทศ (ซึ่งมีค่าประมาณ ๑ ใน ๓ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของชาติ) เป็นของคนเพียง ๓๕,๐๐๐ คนเท่านั้น (ประมาณ ๑ ใน ๒,๐๐๐ ของ ประชากรทั้งประเทศ) หรืออาจน้อยกว่านั้นด้วยซ้ำ

สำนึกร่วมในความเป็นชาติกำลังเลือนหาย สายใยที่ยึดโยงผู้คนให้ รู้สึกถึงความเป็นเพื่อนร่วมชาติ หรือมีชะตากรรมร่วมกันในประเทศนี้ กำลังขาดสะบั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้แสดงตัวอย่างชัดเจนในช่วงไม่

กี่ ปี ที่ ผ่ า นมา แต่ ก็ มิ ไ ด้ ห มายความว่ า มั น เป็ น ผลพวงจากความขั ด แย้ ง ทางการเมืองระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับฝ่ายตรงข้าม แท้ที่จริงปัญหา

10

เห็นได้ชัดว่าความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทยมีสูงมาก สิ่งที่ตามมาอย่าง หลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ ก็ คื อ ความไม่ เ ป็ น ธรรมทาง สังคมที่เกิดกับคนระดับล่าง อาทิ การถูกเลือก ปฏิบัติ ไม่ได้รับความเสมอภาคตามกฎหมาย ไม่ ไ ด้ รั บ โอกาสที่ เ ท่ า เที ย มกั บ คนที่ ร วยกว่ า (เช่น โอกาสในการศึกษา การเข้าถึงแหล่ง

เงิ น ทุ น หรื อ ทรั พ ยากรของรั ฐ ) รวมทั้ ง ต้ อ งประสบกั บ การใช้ อ ำนาจ

บาตรใหญ่ หรือการดูถูกเหยียดหยามแม้กระทั่งจากเจ้าหน้าที่รัฐ ในบริบทเช่นนี้เอง พ.ต.ท.ทักษิณจึงได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เมื่อผลักดันนโยบายประชานิยม ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อคนระดับล่าง 11


อาทิ ชาวนา ชาวไร่ แรงงานนอกระบบ และผู้ประกอบการรายย่อย คน

เหล่านี้ไม่เพียงถูกละเลยจากรัฐบาลชุดแล้วชุดเล่าก่อนหน้านั้นเท่านั้น หาก

ยังเป็นผู้รับภาระจากการพัฒนาเศรษฐกิจตลอด ๕๐ ปีที่ผ่านมามากกว่า

คนกลุ่ ม ใด อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ รั บ ประโยชน์ น้ อ ยมากจากโครงสร้ า งเศรษฐกิ จ การเมืองที่เป็นอยู่ ตรงข้ามกับคนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับประโยชน์อย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วย ภายใต้โครงสร้างที่มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากเช่นนี้ รัฐบาล ทักษิณจึงกลายเป็นความหวังของประชาชนระดับล่าง ซึ่งไม่เพียงกระจาย หยิบยื่นผลประโยชน์จากส่วนกลางมาให้แก่พวกเขาอย่างเป็นรูปธรรม เท่านั้น หากยังช่วยปราบปรามผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และทำให้พวกเขา รู้ สึ ก ว่ า มี ที่ พึ่ ง พาในยามที่ มี ปั ญ หากั บ ข้ า ราชการที่ ใ ช้ อ ำนาจบาตรใหญ่

ดังนั้นแม้เสียงวิจารณ์รัฐบาลทักษิณจะดังเพียงใด มีการประท้วงต่อต้าน หนักขนาดไหน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจพวกเขาได้ การก่อรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดจนการ พยายามกำจัดเขาและพรรคพวกออกจากวงการเมืองด้วยวิธีการต่างๆ

ได้ ต อกย้ ำ ให้ ค นระดั บ ล่ า งจำนวนไม่ น้ อ ยที่ ส นั บ สนุ น เขารู้ สึ ก ถึ ง ความ

ไม่เป็นธรรม หรือ “สองมาตรฐาน” ที่มีอยู่ในประเทศ แต่ถึงจะไม่มี เหตุการณ์ดังกล่าว ความรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมในหมู่คนระดับล่างก็มี อยู่ แ ล้ ว และมี แ นวโน้ ม จะเพิ่ ม มากขึ้ น จนอาจถึ ง กั บ เกิ ด ความรู้ สึ ก ว่ า ประเทศชาตินี้มิใช่เป็นของเขา เขาเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น ควบคู่กับความรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของชาติอย่างสนิทใจ ก็คือความ รู้สึกเหินห่างจนถึงกับแปลกแยกระหว่างคนในชาติด้วยกัน โดยเฉพาะ ระหว่ า งคนรวยกั บ คนจน ความเหลื่ อ มล้ ำ ทางเศรษฐกิ จ ที่ ม ากล้ น และ โอกาสที่แตกต่างกัน ทำให้คนสองกลุ่มมีวิถีชีวิตที่ต่างกันราวฟ้ากับดิน มี รสนิยมและความคิดไปคนละทาง คนรวยในไทยกลับมีความรู้สึกใกล้ชิด กับคนรวยในสิงคโปร์หรืออังกฤษ มากกว่าที่จะรู้สึกใกล้ชิดกับคนจน (หรือ แม้แต่คนชั้นกลางระดับล่าง) ที่เป็นไทยด้วยกัน สภาพเช่นนี้นักวิชาการ 12

บางท่านเรียกว่า “หนึ่งรัฐ สองสังคม” คือแม้จะอยู่ในประเทศเดียวกัน

แต่ผู้คนแตกขั้วออกเป็นสอง ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่เป็นธรรมใน สังคม ทำให้สังคมแตกตัวหรือแบ่งแยกในแนวตั้งตามระดับรายได้ คือ รวยกับจน กระแสโลกาภิวัตน์ที่ไหลบ่าก็ทำให้เกิดการแตกตัวในแนวราบ กล่าวคือ แม้ในหมู่คนรวย หรือคนชั้นกลางที่มีรายได้ระดับเดียวกัน ก็ยัง

มีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามรสนิยม การดำเนินชีวิต ความคิดความเชื่อ และผลประโยชน์ ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะโลกาภิวัตน์ได้ทำให้ผู้คนเข้าถึง สื่อที่หลากหลาย (โทรทัศน์ ๑๐๐ ช่อง เว็บไซต์นับล้าน) และมีทางเลือก มากมายในการบริโภค (เสื้อผ้านับพันยี่ห้อ) ในเวลาเดียวกันการเปิดตลาด เสรี ก็ น ำมาซึ่ ง ความเปลี่ ย นแปลงทางเศรษฐกิ จ อย่ า งรวดเร็ ว มี อ าชี พ

หลากหลายมากขึ้น จึงมีวิธีคิดและผลประโยชน์แตกต่างกันมากขึ้น ยิ่ง คบค้ า สมาคมในกลุ่ ม คนที่ มี วิ ถี ชี วิ ต รสนิ ย ม ความคิ ด ความเชื่ อ และ

ผลประโยชน์ที่คล้ายกัน ก็ยิ่งเกิดความเหินห่างจนอาจถึงกับแปลกแยกกับ คนกลุ่มอื่นที่มีวัฒนธรรมหรือผลประโยชน์ต่างกัน ทั้งนี้ยังไม่ต้องเอ่ยถึง

ผลกระทบจากเศรษฐกิจไร้พรมแดนตามกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ทำให้คนรวย ได้รับประโยชน์มากขึ้น ในขณะที่คนระดับล่างเดือดร้อนยิ่งกว่าเดิม (เช่น เกษตรกรเชี ย งใหม่ ข ายกระเที ย มไม่ อ อกเนื่ อ งจากถู ก กระเที ย มจากจี น

ตีตลาด) จึงยิ่งเพิ่มความเหลื่อมล้ำและขยายช่องว่างระหว่างคนในชาติ

ให้ถ่างกว้างขึ้น 13


ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและผลประโยชน์ไม่จำเป็นต้องหมายถึง ความแตกแยกของสังคมหรือคนในชาติ แต่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่เป็นธรรมในสังคมนั้นเป็นปัญหาอย่างแน่นอน เพราะสามารถ บั่นทอนสายใยแห่งความเป็นชาติได้ ทำให้ผู้คนรู้สึกเหินห่างหมางเมิน หรื อ เกิ ด อคติ ต่ อ กั น จนกลายเป็ น ความเคี ย ดแค้ น ชิ ง ชั ง เพี ย งแค่ มี สิ่ ง กระตุ้นเร้าความโกรธเกลียด ผู้คนก็สามารถทำร้ายเข่นฆ่ากันได้ การเรียกร้องให้รักชาติ หรือให้คนไทยสามัคคีกันนั้น ไม่มีประโยชน์ ตราบใดที่ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมยังดำรงอยู่และตอกย้ำให้ ผู้ ค นมี ค วามรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ในทางตรงข้ า ม สำนึ ก ร่ ว มในความเป็ น ชาติ จ ะ มั่นคงเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้ เกิดขึ้น จะทำเช่นนั้นได้ก็ต้องสาวไปให้ถึงตัวการสำคัญที่ทั้งเสริมสร้างและ ค้ำจุนความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด นั่นคือโครงสร้าง อำนาจที่รวมศูนย์ไว้กับส่วนกลาง หลายทศวรรษที่ผ่านมาการรวมอำนาจที่ส่วนกลาง ได้เอื้อให้คน ส่ ว นน้ อ ย ใช้ อ ำนาจนั้ น ในการวางนโยบายและจั ด การทรั พ ยากรเพื่ อ

เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มของตัว โดยผลักภาระให้แก่คนระดับล่าง ซึ่งมัก ลงเอยด้วยการสูญเสียทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต จนต้องละทิ้ง วิถีชีวิตดั้งเดิมของตน ขณะเดียวกันแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมที่ออกมา จากส่ ว นกลาง ยั ง ทำให้ ท้ อ งถิ่ น อ่ อ นแอลง ไม่ ส ามารถจั ด การตนเอง

แม้กระทั่งเรื่องพื้นฐาน ผลก็คือ นอกจากช่องว่างระหว่างผู้คนในสังคม

จะถ่างกว้างขึ้นแล้ว ยังเกิดช่องว่างระหว่างเมืองกับชนบท และระหว่าง เมืองหลวงฯ กับเมืองอื่น จนเป็นปัญหาเรื้อรังกระทั่งทุกวันนี้ ทางออกก็ คื อ การปฏิ รู ป โครงสร้ า งอำนาจรั ฐ โดยให้ ก ระจายสู่

ท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจในการจัดการชีวิตและชุมชน ของตนได้ ประโยชน์ย่อมจะตกแก่คนในท้องถิ่นมากขึ้น ทำให้มีฐานะความ เป็นอยู่ดีกว่าเดิม ขณะเดียวกันศักยภาพที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องรับผิดชอบ 14

ตนเอง จะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถปกป้องตนเองจากกระแสโลกาภิวัตน์ได้ มากขึ้ น โดยเฉพาะในยามนี้ ที่ รั ฐ บาลมี อ ำนาจน้ อ ยลงในการปกป้ อ ง ประชาชนจากอิทธิพลข้ามชาติ (แม้จะยังมีอำนาจบังคับบัญชาประชาชน อยู่มากก็ตาม) นี้เป็นประเด็นที่คณะกรรมการปฏิรูปซึ่งมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็ น ประธานให้ ค วามสำคั ญ มาก ดั ง ได้ เ สนอให้ มี ก ารปฏิ รู ป โครงสร้ า ง อำนาจรัฐ โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค แล้วโอนอำนาจการ บริหารจัดการตนเองไปให้ท้องถิ่นตั้งแต่ระดับจังหวัดลงไปจนถึงตำบล กล่าวคือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัดการทรัพยากร ท้องถิ่น เป็นผู้จัดการศึกษา ดูแลรักษาความสงบพื้นฐาน และวางแผน พัฒนาเอง รวมทั้งมีอำนาจในการจัดระบบการคลังของตน เช่น การลงทุน การกู้ยืม การร่วมทุน ตลอดจนมีอำนาจในการจัดเก็บภาษีบางประเภท นอกจากการโอนอำนาจการจัดการตนเองให้ อปท. แล้ว รัฐยังต้อง

เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับ อปท. ในการบริหารจัดการ ตนเองด้วย ทั้งในด้านทรัพยากร ศิลปวัฒนธรรม การให้บริการสาธารณะ และการวางแผนพัฒนา อีกทั้งยังสามารถกำกับตรวจสอบ อปท. ได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อมิให้อำนาจที่กระจายจากส่วนกลาง มากระจุกอยู่ที่ อปท. แต่ยัง กระจายไปถึงประชาชนอย่างแท้จริง การปฏิ รู ป ตามแนวทางดั ง กล่ า ว จะช่ ว ยให้ ท้ อ งถิ่ น เข้ ม แข็ ง ขึ้ น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเพราะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่น อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย การศึกษาจะสอดคล้องกับความต้องการของ ชุ ม ชนมากขึ้ น แทนที่ จ ะสนองนโยบายจากส่ ว นกลางอย่ า งที่ เ ป็ น อยู่ วัฒนธรรมซึ่งเคยถูกครอบงำจากส่วนกลาง จะฟื้นฟูและทำให้ประชาชนมี ความภาคภู มิ ใ จในตนเองมากขึ้ น การพั ฒ นาท้ อ งถิ่ น จะตอบสนอง ประโยชน์ของท้องถิ่นเป็นหลัก 15


การให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการจัดการตนเอง ยังเป็นการเปิดพื้นที่ ให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่มีวัฒนธรรมและผลประโยชน์แตกต่างกันมา ต่อรองและจัดสรรทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมใน ท้ อ งถิ่ น มากขึ้ น ขณะเดี ย วกั น การใช้ อิ ท ธิ พ ลจากภายนอกเพื่ อ แย่ ง ชิ ง ทรัพยากรท้องถิ่นก็จะลดลง ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลจากส่วนกลางหรือทุน ขนาดใหญ่ก็ตาม วิธีนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นต่างๆ สามารถรับมือกับกระแส โลกาภิวัตน์ได้มากขึ้น แทนที่จะถูกกระทำแต่ฝ่ายเดียว โดยอาศัยข้อตกลง ที่ทำไว้กับส่วนกลาง หรืออาศัยอำนาจจากรัฐบาล อย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ อำนาจเมื่อกระจายสู่ท้องถิ่น ย่อมก่อให้ความเปลี่ยนแปลงที่ส่วนกลาง จากเดิมที่เคยใช้อำนาจกับท้องถิ่น ก็จะเปลี่ยนมาเป็นการปรึกษาหารือหรือ ชักจูงโน้มน้าวแทน พร้อมกันนั้นก็ทำให้การเมืองระดับชาติที่มุ่งชิงอำนาจ จากส่วนกลาง มีความเข้มข้นดุเดือดหรือเอาเป็นเอาตายน้อยลง เพราะ อำนาจและผลประโยชน์ที่จะได้จากการเป็นรัฐบาลจะลดลง หากมีมาตรการอื่นๆ เข้ามาเสริม เช่น การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูป เกษตรกรรม การปฏิรูปภาษี และการเพิ่มโอกาสสำหรับผู้มีรายได้น้อยใน การเข้าถึงแหล่งทุนและการศึกษา ก็จะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำระหว่าง เมืองกับชนบท เมืองหลวงกับเมืองเล็ก และคนรวยกับคนจน ลดลง

มากขึ้น และที่จะขาดไม่ได้คือการรักษาและเสริมสร้างระบบประชาธิปไตย ให้เข้มแข็ง โดยเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่คนทุกคน เสียงทุกเสียง และ

กลุ่มทุกกลุ่ม การกระจายอำนาจและโอกาสในการต่อรองให้แก่คนกลุ่ม ต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งการรักษาหลักนิติธรรมให้เป็นที่เคารพของ สถาบันต่างๆ อันเป็นหลักของชาติ ก็จะเป็นการตอกย้ำสำนึกแก่ผู้คน

ทั้ ง ประเทศว่ า ประเทศชาติ เ ป็ น ของเขาด้ ว ย หาใช่ ผู้ อ าศั ย เท่ า นั้ น ไม่ ประชาธิปไตย ความเป็นธรรมในสังคม และการมีศรัทธาร่วมกันในสถาบัน ต่างๆ ของชาติเท่านั้นที่จะเสริมสร้างสายใยแห่งความเป็นชาติให้เหนียวแน่น ทุกวันนี้มีเหตุปัจจัยต่างๆ มากมายที่สามารถฉุดดึงหรือแบ่งแยก ผู้คนให้เหินห่างจากกัน การพัฒนาเศรษฐกิจแบบไม่สมดุลทำให้ชุมชน อ่อนแอ คนหนุ่มสาวต้องทิ้งหมู่บ้านไปขายแรงงาน ขณะที่ชาวบ้านต่างคน ต่างอยู่มากขึ้น ขณะเดียวกันครอบครัวก็แตกสลายมากขึ้น พ่อแม่แยกทาง กัน ทิ้งลูกให้อยู่กับตายาย หาไม่ก็มีเวลาพูดคุยกันน้อยแม้อยู่บ้านเดียวกัน เพราะมีชีวิตไปคนละทิศละทาง ซ้ำยังมีเทคโนโลยีนานาชนิด (โดยเฉพาะ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์และอินเตอร์เน็ต) มาขวางความสัมพันธ์ในบ้าน แย่งชิงเวลาไปจากกันและกัน หล่อหลอมโลกทัศน์และสร้างค่านิยมไป คนละแบบ ยิ่งวัฒนธรรมบริโภคนิยมไหลบ่า ผู้คนก็นึกถึงแต่การเสพสุข เฉพาะตน มีชีวิตแบบปัจเจกชนมากขึ้น ร้ายกว่านั้นก็คือพร้อมจะเอา เปรียบเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ส่วนตนล้วนๆ ในระดับกลุ่มชน

อั ต ลั ก ษณ์ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไม่ ว่ า เชื้ อ ชาติ ศาสนา ภาษา กลั บ กลายเป็ น

กำแพงที่ขวางกั้นซึ่งกันและกัน เท่านั้นยังไม่พอ การแย่งชิงอำนาจอย่าง

ดุเดือดทำให้ความแตกต่างทางความคิดกลายเป็นการแบ่งขั้วแบ่งข้าง ทางการเมืองทั้งประเทศ ผู้คนแตกแยกอย่างหนักถึงกับมุ่งร้ายต่อกัน โดย มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้และความไม่เป็นธรรมทางสังคมเป็นเชื้อให้ ความโกรธเกลียดลุกลามขยายตัว ใช่แต่เท่านั้นความเหินห่าง แปลกแยก หรือแตกแยก ยังได้ลามไป จนถึงในใจของผู้คน นั่นคือเกิดความรู้สึกแปลกแยกกับตนเอง ไม่รู้สึกเป็น มิตรกับตนเอง ทนอยู่กับตนเองได้น้อยลงเรื่อยๆ รู้สึกเป็นทุกข์ อ้างว้าง

16

17


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

แม้อยู่ท่ามกลางผู้คนและแวดล้อมด้วยทรัพย์สมบัติและสิ่งเสพมากมาย

นี้คือสภาพที่เกิดขึ้นกับเมืองไทยวันนี้ ในสภาพเช่นนี้การเรียกร้องให้รักกันหรือเป็นมิตรกัน ย่อมไม่แก้ ปัญหา (เพราะแม้แต่จะเป็นมิตรกับตัวเองยังทำได้ยาก) การเสริมสร้าง จิตสำนึกให้ปรารถนาดีต่อกัน ลดละอคติระหว่างกัน และหันหน้าเข้าหา กัน เป็นสิ่งที่ดี แต่ยังไม่พอ สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยก็คือการสร้างเงื่อนไข ทางสั ง คมเพื่ อ ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ ค นอยู่ ร่ ว มกั น อย่ า งสั น ติ นั่ น คื อ ลดการ เบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกัน แม้มีผลประโยชน์ต่างกัน ก็หันมาเจรจา ต่อรองกัน แทนที่จะใช้อำนาจแย่งชิง (ไม่ว่าถูกหรือผิดกฎหมายก็ตาม)

จะทำเช่นนั้นได้ก็ด้วยการทำให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำน้อยลง มีความ

เป็นธรรมมากขึ้น กระจายอำนาจอย่างทั่วถึงเพื่อให้การเอาเปรียบผ่าน กลไกต่างๆ ลดน้อยลง และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดูแลและป้องกัน ตนเองได้มากขึ้น การเปิดพื้นที่ให้ผู้คนในชุมชนต่างๆ มาร่วมกันบริหาร จัดการตนเอง ยังจะช่วยให้ผู้คนหันมาปรึกษาหารือกัน ทำให้เกิดความ

ร่ ว มมื อ กั น เกิ ด สำนึ ก ต่ อ ส่ ว นรวมมากขึ้ น ไม่ นิ่ ง ดู ด ายหรื อ เฉื่ อ ยเนื อ ย

ขณะเดียวกันเมื่อกลุ่มต่างๆ มีโอกาสต่อรองที่ใกล้เคียงกัน ก็จะหันมา เจรจากันด้วยเหตุผลมากขึ้น แทนที่จะใช้อำนาจ ความรุนแรงก็จะลดลง และมีโอกาสที่จะทำงานร่วมกันได้ สังคมที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมเข้มแข็งและมีความปกติสุข มากขึ้น เป็นเงื่อนไขให้ผู้คนมีความสงบเย็นภายใน ยิ่งศาสนธรรมหรือ

ภูมิปัญญาดั้งเดิมได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ระดับท้องถิ่นขึ้นมา ไม่ถูกทำลาย ด้ ว ยวั ฒ นธรรมบริ โ ภคนิ ย ม ความงอกงามของชี วิ ต ด้ า นในก็ เ ป็ น ไปได้ ประเทศที่ประกอบด้วยสังคมเข้มแข็ง ผู้คนสงบเย็น ย่อมเป็นประเทศที่ มั่นคงและก้าวหน้าอย่างแน่นอน

18

หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร เป็นเจ้าอาวาสคนแรกของวัดถ้ำยายปริก เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ท่านเล่าว่าตอนมาบุกเบิกถ้ำยายปริกใหม่ๆ นั้น ประสบความลำบากมาก เพราะนอกจากน้ำกินน้ำใช้จะหายากแล้ว ยังถูก รังควานจากนักเลงเจ้าถิ่นบนเกาะสีชัง ที่ต้องการครอบครองที่ดินของวัด ท่านเองโดนคนเหล่านั้นด่าว่าบ่อยๆ แต่ท่านก็หาได้หวั่นไหวไม่ คราวหนึ่งท่านเดินผ่านหน้าบ้านของนักเลงคนหนึ่ง เขาเห็นเป็น โอกาส จึงออกมายืนด่าท่านด้วยถ้อยคำที่หยาบคายทันที แต่แทนที่ท่าน

จะโกรธหรือทำหูทวนลม ท่านกลับเดินเข้าไปหาแล้วจับแขนเขา ทำท่า ขึงขังแล้วพูดว่า “มึงด่าใคร มึงด่าใคร” “ก็ด่ามึงน่ะสิ” เขาตอบกลับ ท่านยิ้มรับแล้วพูดว่า “อ๋อ แล้วไป ที่แท้ก็ด่ามึง ดีแล้ว อย่ามาด่ากูก็แล้วกัน” ว่าแล้วท่านก็เดินออกมา ปล่อยให้ นักเลงผู้นั้นยืนงงอยู่พักใหญ่ 19


คำด่ า นั้ น ไม่ ว่ า จะรุ น แรงแค่ ไ หนก็ ไ ม่ ท ำให้ เ ราทุ ก ข์ ต ราบใดที่ มั น

ไม่ เ กี่ ย วข้ อ งอะไรกั บ เรา แต่ ห ากคำด่ า นั้ น มุ่ ง มาที่ เ รา (หรื อ เพื่ อ นพ้ อ ง

ของเรา) เราจะโมโหโกรธาขึ้นมาทันที ด่าใครก็ไม่สำคัญเท่ากับ “ด่ากู” เพราะ “ตัวกู” เป็นสิ่งที่ต้องพะเน้าพะนอ จะยอมให้อะไรมากระทบไม่ได้ ไม่ใช่แต่ “ตัวกู” เท่านั้น หากยังรวมถึง “พวกกู” และ “ของกู” ด้วยที่ ต้องปกป้องมิให้อะไรมาแผ้วพานหรือกระทบกระทั่ง คนที่รู้เท่าทันนิสัยของตัวกูและไม่ทุกข์ร้อนกับคำด่าอย่างหลวงพ่อ ประสิ ท ธิ์ นั้ น มี น้ อ ยมาก แทนที่ จ ะมองว่ า เขา “ด่ า มึ ง ” ไม่ ใ ช่ “ด่ า กู ”

ส่วนใหญ่แล้วมักสมยอมรับเอาคำด่าเหล่านั้นมาเป็น “ของกู” เสร็จแล้ว

ก็เป็นทุกข์เป็นร้อนเอง อย่าว่าแต่คำด่าเลย แม้กระทั่งคำวิจารณ์หรือคำติติงที่มิได้เกี่ยวข้อง อะไรกับตัวเรา แต่มุ่งหมายไปที่สิ่งของของเรา (เช่น เสื้อผ้า โทรศัพท์ รถยนต์) ก็สามารถทำให้เราเป็นฟืนเป็นไฟขึ้นมาได้ เพราะ “ของกู” ก็คือ “ตัวกู” นั่นเอง เป็นธรรมชาติของตัวกูที่มักยึดมั่นสำคัญหมายสิ่งต่างๆ ว่า เป็น “ของกู” และดังนั้นจึงเป็น “ตัวกู” ไปด้วย ความยึดมั่นสำคัญหมายดังกล่าวเป็นรากเหง้าแห่งความทุกข์ของ ผู้คน ทำให้ตกอยู่ในอำนาจแห่งถ้อยคำและการกระทำของผู้คน ทั้งมิตร และอมิตร อย่างมิอาจสลัดได้ อีกทั้งยังทำให้ไม่อาจยอมรับความจริงของ โลกและชี วิ ต ที่ มี ค วามผั น ผวนปรวนแปรเป็ น ธรรมดา ดั ง นั้ น เมื่ อ ต้ อ ง

สูญเสียพลัดพรากจากสิ่งที่ถือว่าเป็น “ของกู” จึงทำใจไม่ได้ แทนที่จะ

เสียของอย่างเดียว ก็เสียใจซ้ำเข้าไปอีก ขณะเดียวกันเมื่อถูกวิจารณ์หรือ

มีคนชี้ให้เห็นความผิดพลาดของความคิดและการกระทำของตน ก็ไม่ ยอมรับความจริงหรือเปิดใจยอมรับสิ่งที่ดีกว่า เพียงเพราะมันไม่ใช่ความ คิด “ของกู” หรือตรงกับความคิด “ของกู” 20

คนเราถ้ า ไม่ เ อา “ตั ว กู ” หรื อ “ของกู ” เป็ น ตั ว ตั้ ง จิ ต ใจก็ จ ะ

เปิ ด กว้ า งยอมรั บ ความจริ ง ที่ ไ ม่ น่ า พิ ส มั ย ได้ ม ากมาย รวมทั้ ง ความ

พลั ด พรากสู ญ เสี ย และคำวิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ โดยไม่ ทุ ก ข์ ร้ อ น อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถทำสิ่งดีงามได้อีกมากมายอย่างแทบไม่มีขอบเขตเลยก็ว่าได้ ริชาร์ด ดอว์กินส์ นักวิทยาศาสตร์และนักเขียนชื่อดัง ได้เล่าถึง ศาสตราจารย์อาวุโสผู้หนึ่งแห่งคณะสัตววิทยา มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด เป็นผู้ที่ได้รับการเคารพนับถืออย่างมากในวงการชีววิทยา ท่านผู้นี้มีความ มั่นใจและสอนลูกศิษย์มานานหลายปีว่า Golgi Apparatus (กลไกอย่าง หนึ่งภายในเซลล์) ไม่มีอยู่จริง เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดไปเอง แล้ววันหนึ่ง

นักชีววิทยาหนุ่มผู้หนึ่งจากอเมริกามาบรรยายที่อ็อกซฟอร์ด โดยมีอาจารย์ จากคณะสัตววิทยาไปร่วมฟังทั้งคณะ นักชีววิทยาผู้นี้ได้นำเสนอหลักฐาน อย่างหนักแน่นและน่าเชื่อถือเพื่อยืนยันว่า Golgi Apparatus นั้นมีอยู่จริง เมื่อเขาบรรยายจบ ศาสตราจารย์ท่านนี้เดินไปหาเขา เขย่ามือเขา และพูด ด้วยความรู้สึกยินดีว่า “เพื่อนรัก ผมขอขอบคุณ ผมผิดมาถึง ๑๕ ปี”

พูดจบทั้งห้องก็ตบมือดังสนั่น ศาสตราจารย์ ท่ า นนี้ ไ ม่ รู้ สึ ก เสี ย หน้ า ที่ พ บว่ า ความคิ ด ของตนนั้ น

ผิดพลาด ท่านกลับยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบาน เพราะท่านเอา “ความรู้” หรื อ “ความจริ ง ” เป็ น ใหญ่ “ตั ว กู ” จึ ง ไม่ มี โ อกาสเผยอหน้ า ขึ้ น มา

อาละวาดหรือแก้ตัว แต่คนส่วนใหญ่นั้นมักเอา “ตัวกู” เป็นตัวตั้ง หาก

พบว่าความคิด “ของกู” ถูกท้าทายหรือมีคนชี้ให้เห็นข้อผิดพลาด ก็จะ

ไม่พอใจ ไม่ยอมรับความจริง แม้จำนนด้วยเหตุผล ก็ไม่ยอมรับความ

ผิดพลาด เพราะขัดกับความต้องการของ “ตัวกู” ที่ต้องการประกาศ

ความยิ่งใหญ่ และปรารถนาจะยืนยันร่ำร้องว่า “กูเก่ง” “กูถูก” “กูแน่” 21


เมื่อเอาความรู้ ความจริง หรือความถูกต้องเป็นใหญ่ เราก็พร้อม แสวงหา เปิดรับและชื่นชมสิ่งนั้นจากทุกคน โดยไม่เลือกว่าเป็นหญิงหรือ ชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ จบ ป.๔ หรือปริญญาเอก คนจนหรือคนรวย แต่

เมื่อใดที่เอา “ตัวกู” เป็นใหญ่ หน้าตา ศักดิ์ศรี และสถานภาพก็กลายเป็น สิ่งสำคัญ ขณะเดียวกันก็เกิดการถือ “เรา” ถือ “เขา” หรือ “พวกเรา” กับ “พวกเขา” ขึ้นมา จะฟังใครก็ต้องดูก่อนว่าเป็นพวกเราหรือพวกเขา หากเป็นพวกเรา พูดอะไรก็ถูกหมด แต่ถ้าเป็นพวกเขา พูดอะไรก็ผิดไปหมด

เมื่อยึดติดถือมั่นในตัวกูและมีการแบ่งเรา แบ่งเขา หากได้ยินได้ฟังอะไร อย่างแรกที่เรา สนใจก็ คื อ “คนพู ด เป็ น ใคร เป็ น พวกเรา

หรือไม่” แต่ไม่สนใจที่จะถามว่า “สิ่งที่เขา

พูดนั้นเป็นความจริงหรือไม่” เพราะหากเป็น พวกเราพูด ก็พร้อมจะเชื่อว่าเป็นความจริง

ตั้งแต่ต้น โดยไม่ต้องพินิจพิจารณา โดยเฉพาะ หากเป็นการพูดที่ถูกใจเราหรือสอดคล้องกับ ความคิดความเชื่อของเรา ในทางตรงข้าม หากเป็นคนละฝ่ายกับเรา

ไม่ว่าจะพูดอะไร เราก็ตั้งท่าปฏิเสธไว้ก่อน ยิ่งสิ่งที่พูดนั้นขัดแย้งกับความ เชื่อของเราด้วยแล้ว ก็ไม่สนใจแม้แต่จะฟังด้วยซ้ำ ทำให้ความจริงจาก

อีกฝ่ายยากที่จะเข้าถึงใจของเราได้ การแบ่งเราแบ่งเขาหากมีความโกรธเกลียดเป็นมูลฐานด้วยแล้ว ย่อมก่อให้เกิดกำแพงแห่งอคติอันแน่นหนา ซึ่งไม่เพียงปิดกั้นความคิดเห็น หรือแม้แต่ความจริงจากคนที่อยู่คนละฝ่ายกับเราเท่านั้น หากยังทำให้เรา ปฏิเสธทุกอย่างที่เป็นของเขา ซึ่งรวมถึงความเป็นมนุษย์ในตัวเขาด้วย

นั่นคือมองเห็นเขาเป็นตัวเลวร้าย เชื่อถือไม่ได้ ไร้คุณธรรม ฉวยโอกาส

มุ่งเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ มีการติดป้ายใส่ยี่ห้อเพื่อทำลายความเป็นมนุษย์ ในตัวเขา ด้วยการแสดงความดูหมิ่นดูแคลนหรือประนามหยามเหยียด 22

การกระทำดังกล่าวได้ตอกย้ำทำให้อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเขากลายเป็น สิ่งเลวร้ายไปหมดในสายตาของเรา ไม่เว้นแม้แต่คุณค่าที่เขาเชิดชูหรือ ยึดถือ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมืองเป็น เหลืองและแดงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อันเป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้ง ในเรื่องรูปแบบทางการเมืองที่พึงปรารถนา ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องต้องการ ประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับเสียงข้างมาก อีกฝ่ายต้องการการเมือง

ที่มีคุณธรรม ไร้การคอร์รัปชั่น ท่ามกลางความขัดแย้งดังกล่าวได้มีการ กล่าวประนามหยามเหยียดจนเกิดความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรง ถึง ขั้นสนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกัน จนเกิดเหตุการณ์นองเลือด ระหว่ า งการล้ อ มปราบของฝ่ า ยรั ฐ มี ก ารสู ญ เสี ย ชี วิ ต เป็ น จำนวนมาก

โดยเฉพาะในฝ่ายของคนเสื้อแดง นอกจากการโจมตีต่อต้านจุดยืนทางการเมืองของกันและกันแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กันก็คือ ท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคุณค่าที่แต่ละฝ่ายยึดถือ ด้วย คนเสื้อเหลืองจำนวนไม่น้อยรู้สึกรังเกียจกับคำว่าประชาธิปไตย ความ ยุติธรรม (และแสลงหูกับคำว่าสองมาตรฐาน ความเหลื่อมล้ำ) ขณะ เดียวกันคนเสื้อแดงจำนวนไม่น้อยก็รังเกียจกับคำว่า คุณธรรม ความดีงาม ความซื่อสัตย์สุจริต (และแสลงหูกับคำว่า คอร์รัปชั่น) ทั้งนี้ก็เพราะถ้อยคำ และคุณค่าเหล่านี้ถูกมองว่าผูกโยงอยู่กับฝ่ายตรงข้ามกับตน จึงมีความ รู้สึกในทางลบจนเห็นว่าเป็นสิ่งเลวร้ายไปเลย นั่นเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะทั้งประชาธิปไตย ความยุติธรรม

รวมทั้งคุณธรรมความดี ความซื่อสัตย์สุจริต ล้วนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ มนุษย์ทุกคนและจำเป็นสังคมไทยในยุคนี้ ใช่แต่เท่านั้นมันยังเป็นคุณค่า

ที่ฟูมฟักอยู่แล้วในใจของทุกคนไม่ว่าเหลืองหรือแดง การปฏิเสธคุณค่า เหล่านี้ไม่ว่าอันใดอันหนึ่ง หมายถึงการปฏิเสธสิ่งที่มีอยู่ในตนเอง รวมทั้ง ปิดโอกาสที่คุณค่าเหล่านี้จะเจริญงอกงามในใจตนเพื่อชีวิตที่มีคุณค่า 23


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เกษียร เตชะพีระ นักรัฐศาสตร์ที่ติดตามการเมืองไทยมานาน พูด ไว้อย่างน่าฟังว่า “ชีวิตคนเราซับซ้อนเกินกว่าจะมีเพียงสีเดียว ถ้าตีความสี ว่า “เหลือง” เป็นการต่อสู้คอร์รัปชั่น ไม่ยอมรับอำนาจผูกขาดโดยการ

ใช้อำนาจไม่เป็นธรรมซึ่งเราก็อาจมีตรงนั้นอยู่ในตัว ขณะเดียวกันเราก็มี

สีแดง (คือ) การเมืองประชาธิปไตย ยึดหลักเสียงส่วนมาก สิ่งที่น่าเศร้า คื อ ความขั ด แย้ ง ทางการเมื อ งบั ง คั บ ให้ เ ราเป็ น สี เ ดี ย ว บางที เ ราชอบ

ส่วนหนึ่งของเหลืองและส่วนหนึ่งแดงด้วย” เกษียร ได้ชี้ว่าการเห็นอีกฝ่ายเป็นศัตรู จนมุ่งร้ายต่อเขาและปฏิเสธ

ทุกอย่างที่เป็นตัวเขานั้น ได้ส่งผลร้ายย้อนกลับมาที่ตัวเราเอง “ความ รุนแรงอย่างแรกที่กระทำคือกระทำกับตัวเอง เพราะในท่ามกลางความ

ขัดแย้งเราทำลายสีอื่นที่อยู่ในตัวเอง เราอยากเป็นเหลืองเราทำลายความ เป็นแดง คุณอยากเป็นแดงคุณทำลายความเป็นเหลือง ก่อนที่คุณจะ ทำลายคนอื่นคุณทำร้ายตัวเอง คุณก็เป็นมนุษย์น้อยลง เหลือมิติเดียว

ถ้าไม่รู้จักหยุดตรงนั้น คุณจะเกลียดส่วนนั้นของชีวิตและทำร้ายคนอื่น

ใช้ความรุนแรงต่อคนอื่น” การยึดติดถือมั่นกับการแบ่งเราแบ่งเขานั้น ในที่สุดย่อมบั่นทอน

ชีวิตจิตใจของเราเอง ยิ่งเราเห็นอีกฝ่ายมีความเป็นมนุษย์น้อยเพียงใด ความเป็นมนุษย์ของเราก็ยิ่งน้อยลงเพียงนั้น โดยที่กำแพงแห่งอคติจะ

ยิ่งปิดกั้นมิให้เราได้สัมผัสกับความจริง ความดีงาม ที่ใฝ่หาเลย หรืออาจ ถึงกับกัดกร่อนคุณค่าที่เคยยึดถือแต่เดิมก็ได้ การแบ่งเราแบ่งเขาและ กำแพงแห่ ง อคติ นั้ น ไม่ ไ ด้ ม าจากไหน หากมาจากการยึ ด ถื อ “ตั ว กู ”

เป็นใหญ่นั่นเอง ต่อเมื่อรู้เท่าทันมัน และพยายามเอาความจริง ความ

ดีงามเป็นตัวตั้ง มันจึงจะอยู่เป็นที่เป็นทางและยากที่จะก่อผลร้ายทั้งต่อ ตนเองและผู้อื่น 24

ในปี ๒๕๒๐ หลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง ได้รับ นิ ม นต์ ใ ห้ ไ ปแสดงธรรมที่ ป ระเทศอั ง กฤษ นั บ เป็ น ครั้ ง แรกที่ ท่ า น

เดินทางไปต่างประเทศด้วยเครื่องบิน คราวนั้นมีเหตุการณ์ระทึกขวัญเกิดขึ้น เนื่องจากขณะที่เครื่อง กำลังร่อนลง ได้เกิดอุบัติเหตุยางระเบิด ๑ เส้นกลางอากาศ กัปตัน จึงประกาศให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดอยู่กับที่ พร้อมทั้งถอดรองเท้าและ แว่นตา แม้กระทั่งฟันปลอมก็ต้องถอดออก เมื่อทุกคนทำตามเสร็จ

ก็นั่งเงียบกริบทั้งเครื่องบิน ด้วยกังวลว่าวาระสุดท้ายใกล้จะมาถึง

แล้วหรือนี่ หลวงพ่อชาได้พูดถึงความรู้สึกนึกคิดตอนนั้น “เป็นครั้งแรก

ที่เราได้เดินทางมาเมืองนอกเพื่อสร้างประโยชน์แก่ศาสนา จะเป็น

ผู้มีบุญอย่างนี้เทียวหรือ” เมื่อระลึกได้เช่นนั้นแล้วก็ตั้งสัตย์อธิษฐาน มอบชีวิตให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็กำหนดจิตรวมลง

ในสถานที่ควรอันหนึ่ง แล้วก็ได้รับความสงบเยือกเย็นดูคล้ายกับไม่มี อะไรเกิดขึ้น พักในที่ตรงนั้น สักพักเครื่องบินก็ลดระดับและถึงพื้นดินโดยสวัสดิภาพ พอ

รู้ว่าปลอดภัยผู้โดยสารก็ปรบมือดังลั่นด้วยความดีใจ หลวงพ่อชาเห็น พฤติกรรมของคนเหล่านั้นแล้วรู้สึกแปลก ดังท่านตั้งข้อสังเกตว่า 25


“ขณะเมื่อเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุ ต่างคนก็ร้องเรียกว่า หลวงพ่อ

ช่ ว ยปกป้ อ งคุ้ ม ครองพวกเราทุ ก คนด้ ว ย แต่ เ มื่ อ พ้ น อั น ตรายแล้ ว

เดินลงจากเครื่องบิน เห็นประณมมือไหว้พระเพียงคนเดียวเท่านั้น นอกนั้นไหว้แอร์โฮสเตสทั้งหมด”

ธรรมะ ไม่ได้มีไว้ บูชาบนหิ้ง

เวลามีภัยคุกคาม คนเราอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อม ทำทุกอย่างเพื่อให้รอดตาย แต่เมื่อพ้นภัยแล้ว ก็มักลืมไปว่าได้สัญญา หรือวิงวอนอะไรไว้ จะว่าไปมิใช่แต่อันตรายถึงตายเท่านั้น แม้กระทั่ง เวลามีความทุกข์ใจ ก็นึกถึงพระธรรม แต่พอความทุกข์หายไป ใจก็ เปลี่ยน หลวงพ่อชาเล่าว่าที่วัดหนองป่าพง มักมีโยมผู้หญิงมาขอบวชชี คนละหลายเดือน บ้างก็ว่าจะขออยู่วัดตลอดชีวิต เพราะเบื่อโลก เหลือเกิน ส่วนใหญ่เป็นเพราะมีเรื่องทะเลาะกับสามี กับคนเหล่านี้ หลวงพ่อมักจะแนะว่า ให้มาทดลองอยู่สักพักก่อน แล้วค่อยตัดสินใจ อย่าเพิ่งปักใจว่าจะอยู่นานๆ แต่หลายคนก็ยืนยันว่าจะขอบวชไปจนตาย ไม่มีวันกลับบ้านแน่นอน แต่หลังจากอยู่ได้ไม่กี่วัน พอสามีมางอนง้อ ก็หอบผ้าหอบผ่อนกลับบ้านทันที บางคนอยู่ได้แค่ไม่กี่เดือน เกิด คิดถึงลูกและสามีขึ้นมา ก็ทิ้งวัดกลับไปอยู่กับครอบครัวตามเดิม หลวงพ่อชาจึงมักเตือนคนเหล่านี้เสมอว่า “อย่าไปเชื่อนะ จิต ของเราน่ะ” 26

โอ๊ะ โอ๋ ปุจฉา : หนูมีเรื่องอยากถามคะ ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบ หรือรู้สึกโกรธแล้วเราตั้งจิต แล้ ว ท่ อ งอิ ติ ปิ โ สตลอดเวลาที่ เ รารู้ สึ ก แบบนี้

เราจะได้บุญหรือเปล่าคะ แล้วผิดหรือเปล่าที่ เราเอาธรรมะมาท่องแบบนี้นะค่ะ ขอบคุณคะ หลวงพ่อพระไพศาลช่วยตอบหนูด้วยนะคะ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ธรรมะนั้นไม่ได้มีไว้บูชาบนหิ้ง แต่มี เพื่อเอามาใช้เพื่อให้กาย วาจา ใจ สะอาด สว่าง และสงบ ดังนั้นเมื่อเกิด ความโกรธเกลียดขึ้นมาในใจ แล้วใช้ธรรมะนั้นเพื่อชำระใจให้หายโกรธ เกลียด ล้วนดีทั้งนั้น จัดว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง (ชื่อภาวนามัย) การท่อง

อิติปิโสก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยทำให้ใจสงบ จึงถือว่าเป็นบุญเช่นกัน หาก

อยู่ว่างๆ จะสวดมนต์ หรือสาธยายมนตร์โดยเฉพาะบทที่น้อมใจให้ระลึกถึง คุณพระรัตนตรัยก็ได้ ดีกว่าปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านหรือเปล่งวาจาที่ก่อปัญหา แก่ผู้อื่น

ประวิทย์ ธูปแก้ว ปุจฉา : มีเพื่อน ของผมคนหนึ่งได้ทำผิดกับบิดาด้วยการ ตีบิดาที่ป่วยอยู่ ด้วยความโมโหที่บิดา ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้ ที่ทำไปไม่ได้มีเจตนาจงใจกับบิดา เป็นเพราะเหนื่อยจึงทำอะไรที่ลุแก่โทสะ ลงไป อย่างนี้เพื่อนของข้าพเจ้าจะเป็น บาปมากไหมขอรับพระคุณเจ้า

บันดาลโทสะ แก่ผู้มีพระคุณ

27


คนอย่างแจ่ม แจ่ม ปุจฉา : ถ้าเราทำกรรมในชาตินี้เพิ่มโดยไม่รู้เนื้อ รู้ตัว กระทำลงไปโดยไม่ได้มีเจตนาทำไป ด้วยความโมโห โทโส เหนื่อย เครียด ต่อเพื่อน พี่ น้อง ผู้มีพระคุณหรือใครๆ ในโลกนี้ก็ตามันจะเป็นบาป มากไหมและต้องชดใช้ กรรมในชาตินี้หรือชาติหน้าถ้าหากมีโอกาสเกิดเป็น มนุษย์อีกแล้วจะทำบุญชดใช้สิ่งที่เราทำลงไปได้หรือไม่เจ้าคะพระคุณเจ้า พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : บิดาและมารดานั้นเป็นเสมือนพระ ของลูก จึงควรเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพของลูก ยิ่งท่านเจ็บป่วยด้วยแล้ว ก็ยิ่งควรได้รับความเมตตากรุณาจากลูก อย่างน้อยก็ควรได้รับความเข้าใจ หรือความเห็นอกเห็นใจ จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดูแลผู้ป่วยที่ไม่

รู้เนื้อรู้ตัวหรือช่วยตัวเองได้ ดังนั้นลูกๆ จึงจำเป็นต้องมีความอดทนด้วย หากบิดาและมารดาอยู่ในสภาพดังกล่าว แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้หากลูก จะอารมณ์ เ สี ย เวลาดู แ ลท่ า นจนเหนื่ อ ย อาจลื ม ตั ว ทำสิ่ ง ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง อย่างไรก็ตามขึ้นชื่อว่าทำร้ายผู้มีพระคุณย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทั้งสิ้น แต่ เมื่อทำไปแล้วก็ควรสำนึกผิด และกำชับตัวเองไม่ให้ทำเช่นนั้นอีก แต่หากครุ่นคิดอยู่กับเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วปล่อยใจให้จมอยู่ใน ความรู้สึกผิด โบยตีหรือทำร้ายจิตใจตนเองไม่เลิก ก็ไม่ถูกเช่นกัน เพราะ ทำให้ตนจมปลักอยู่ในความทุกข์มากขึ้น จิตใจเป็นอกุศลและไม่เกื้อกูลต่อ การทำความดี อาจทำให้ตนเองมีโทสะมากขึ้น และเผลอทำร้ายทั้งตนเอง และผู้อื่น การฝังใจในการกระทำที่ไม่ดีนั้นจะว่าไปก็ไม่ต่างกับการหวนกลับ ไปทำสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แทนที่จะทำบาปครั้งเดียวก็เลยทำบาปหลายครั้ง (แม้จะเป็นการทำบาปในใจก็ตาม) ดังนั้นจึงอยากแนะเพื่อนของคุณว่า ให้ถือเอาเหตุการณ์ดังกล่าวเป็น บทเรี ย นและกำชั บ ตั ว เองไม่ ใ ห้ ท ำอี ก แทนที่ จ ะจมปลั ก อยู่ กั บ อดี ต ที่

ผิดพลาด ควรมองไปข้างหน้าและตั้งใจทำความดีกับท่านอย่างเต็มที่เพื่อ ทดแทนความผิดพลาด พร้อมกันนั้นก็ควรมีความอดกลั้นทั้งต่ออารมณ์ ของตนและของท่านให้มากขึ้นด้วย

28

ถวายเงินสด ใส่บาตรพระ มีความผิด บาปไหม

สมชาย ทีภารัก ปุจฉา : ผมขอ อนุญาตถามว่า เวลาใส่บาตร อาหารคาว หวานและของหวานใส่บาตรพระแล้วเราจะ ถวายเงินสด ๒๐-๓๐ บาท แก่พระภิกษุ สงฆ์ โดยใส่ไปในบาตรในคราวเดียวกัน ทำได้หรือไม่ครับ ผมเคยได้ฟังมาว่าเป็น บาปจริงหรือไม่ครับ และควรทำอย่างไร ครั บ เพราะตอนเช้ า พระไม่ มี ย่ า มสะพาย กราบขอบพระคุณครับ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ถวายเงินสดใส่บาตรพระ ไม่เป็นบาป หรอก แต่ไม่เอื้อกับวินัยของพระสงฆ์ เพราะมีสิกขาบทข้อหนึ่งที่ห้ามพระ

รับเงินหรือจับต้องเงิน การถวายเงินใส่บาตรพระแม้จะเป็นความตั้งใจดี ของโยม แต่จะกลายเป็นปัญหาแก่พระที่เคร่งวินัยโดยเฉพาะสิกขาบทข้อนี้ ได้ ผู้รู้บางท่านจึงท้วงติงเรื่องนี้ ซึ่งที่จริงแล้วไม่เกี่ยวกับว่าใส่บาตรหรือ

ใส่ย่ามหรอก แต่บางท่านอาจจะมองว่าเงิน (ไม่ว่าเหรียญหรือธนบัตร) นั้น ไม่สะอาด เพราะผ่านมาหลายมือ หากใส่ลงในบาตรก็จะแปดเปื้อนอาหาร เช่น ข้าวได้

จิรา วงษ์พัวพันธ์ ปุจฉา : หนูคิดว่าท่าน น่าจะมีคำตอบดีๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ คนขี้อิจฉา

มีกรรมนะคะไม่มีความสุขเลย จะทำอย่างไรให้ ไม่อิจฉาคนที่ดีกว่าเราคะ

ขี้อิจฉา ควรทำ อย่างไร 29


พระไพศาล วิ ส าโล วิ สั ช นา : ความอิ จ ฉามั ก เกิ ด ขึ้ น จากการ

เปรียบเทียบ ไม่ว่าเราจะมีมากมายเพียงใด มีดีแค่ไหน เราก็จะอิจฉา

(และตามมาด้วยความทุกข์เสมอ) เมื่อเห็นคนอื่นมีมากกว่าเรา มีดีกว่าเรา ได้โชคได้ลาภเพียงใด ก็ไม่มีความสุขเมื่อรู้ว่าคนอื่นเขาได้มากกว่าเรา

(ไม่ว่าเงินเดือน โบนัส ถูกหวย เลื่อนขั้นหรือคำชม) ถ้าไม่อยากเป็นทุกข์ เพราะความอิจฉา ก็ลองหยุดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น แล้วหันมา ชื่นชมสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (ไม่ว่ารูปธรรมหรือนามธรรม) พูดอีกนัยหนึ่งคือ “พอใจสิ่งที่มี ยินดีสิ่งที่ได้” จากนั้นก็ลองหันมาฝึกใจให้ชื่นชมยินดีที่ผู้อื่นได้ดีหรือได้มากกว่าเรา

อั น นี้ เ รี ย กว่ า มี มุ ทิ ต าจิ ต มุ ทิ ต านั้ น เป็ น ปฏิ ปั ก ษ์ กั บ ความอิ จ ฉา หาก

มี มุ ทิ ต ามาก ความอิ จ ฉาก็ จ ะลดลง แล้ ว คุ ณ จะมี ค วามสุ ข ได้ ง่ า ยขึ้ น

สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เกิดมุทิตาจิตได้ก็คือ การมองเขาคนนั้นด้วยความเข้าใจ และมีเมตตา เช่น เห็นว่าเขาทุ่มเทเสียสละมามาก ก็สมควรแล้วที่เขาจะได้ รับคำชื่นชมหรือรางวัล หรือมองว่าเขาได้ขึ้นเงินเดือนก็ดีแล้วเพราะเขา กำลังเดือดร้อนเรื่องเงิน พ่อแม่ก็เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล ฯลฯ

สัจจะกับ อธิษฐาน ต่างกัน ตรงไหน

เมย์ ธัมมะ ปุจฉา : ขอถาม สัจจะกับ อธิษฐาน จุดต่างคือตรงไหนคะ เมื่อหลวงพ่อ เคยบอกว่า แท้จริงแล้ว อธิษฐานคือ การตั้งใจ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งโยมคิดว่า นั่น น่าจะเป็น สัจจะ แต่ทำไมถึงเป็นอธิษฐาน โยมไม่เข้าใจค่ะ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : อธิษฐานหมายถึง “ความตั้งใจมั่น

การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว ความตั้งใจมั่นแน่วแน่ที่จะทำการนั้นๆ ให้สำเร็จ

30

และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดม่งหมายของตน” (จากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์) อธิ ษ ฐานนั้ น เล็ ง ถึ ง ความตั้ ง ใจและความมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะทำตามความ

ตั้งใจนั้นๆ ส่วนสัจจะหมายถึง การพูดจริงและทำจริง (คือพูดว่าจะทำอะไร ก็ ทำอย่างนั้น รับปากใคร ก็ทำอย่างที่พูด) สัจจะใน ความหมายหลังนั้น

ต่างจากอธิษฐานตรงที่ว่า อธิษฐานเป็นเรื่องของการตั้งใจส่วนตัว นึกไว้

ในใจผู้เดียว ไม่ได้พูดหรือรับปากใครว่าจะทำอะไร อธิษฐานนั้นเป็นบารมีข้อหนึ่งเช่นเดียวกับสัจจะ อย่างไรก็ตามมี ธรรมหมวดหนึ่งชื่อ “อธิษฐานธรรม” หมายถึงธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจเพื่อให้ บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ ประการ สัจจะเป็น ๑ ในนั้น นอกเหนือจาก ปัญญา จาคะ และอุปสมะ (ความสงบ)

ธนยอด รักในหลวง ปุจฉา : กราบเรียนถามหลวงพ่อครับ ผม เป็นประเภทที่ถ้าง่วงนอนแล้วจะ นั่งสมาธิไม่ได้เลย ใจจะไม่สงบ แต่ ก็ ไ ม่ ส ามารถนั่ ง หลั บ ขณะ

นั่งสมาธิได้ (ถ้าอยู่บ้านก็จะนอน เลย แต่ถ้าไปสถานที่ปฏิบัติธรรม ก็ต้องนั่งง่วงรำคาญใจอยู่อย่างนั้น จนกว่าจะหมดช่วง ๒-๓ ชม.) ผมควรทำอย่างไรดีครับ

นั่งสมาธิแล้วง่วง 31


พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ก่อนนั่งสมาธิ ควรนอนหรือพักผ่อน ให้พอ แต่ถ้าพักผ่อนแล้ว นั่งสมาธิยังง่วงอยู่ ก็ลองลืมตาเพียงน้อยๆ

น่าจะช่วยให้ความง่วงลดลงได้ หรือไม่ก็เปลี่ยนอิริยาบถเป็นเดินสลับกับนั่ง ถ้ายังง่วงอยู่ ลองเอาน้ำลูบหน้าจะได้สดชื่นขึ้น

สัมโพธิสุข กับ สัมโพธิญาณ

มาร์ค เพียถนอม ปุจฉา : ขอ เรียนถามว่าสัมโพธิสุขกับสัมโพธิณาณ เหมือนหรือต่างกันอย่างไรครับ

พระไพศาล วิ ส าโล วิ สั ช นา : สั ม โพธิ สุ ข กั บ สั ม โพธิ ญ าณ

ไม่ เ หมื อ นกั น แต่ เ กี่ ย วข้ อ งกั น คื อ เมื่ อ เกิ ด ญาณอั น เป็ น เครื่ อ งตรั ส รู้

มีปัญญาเข้าใจพระไตรลักษณ์แจ่มแจ้ง หรือเกิดสัมโพธิญาณ ก็ย่อมเกิด สัมโพธิสุข คือสุขที่เป็นอิสระจากความผันผวนปรวนแปรในชีวิต

พสิษฐ์ พิทยารัตกิจ ปุจฉา : นมัสการพระอาจารย์ครับ กระผมใคร่

ขอความกระจ่างในปัญหามีอยู่ว่า การนอนสวดมนต์เป็นบาปไหมครับ สมควรปฏิบัติหรือไม่อย่างไรครับ กราบนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ มากครับ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : การสวดมนต์เป็นกุศล เช่นเดียวกับ

การเจริญสติหรือทำสมาธิ ดังนั้นจะทำเวลาใดในอิริยาบถใด ก็ถือว่าดี

ทั้งนั้น หากว่าทำด้วยใจที่สงบสำรวม มีสติอยู่กับสิ่งที่ทำ อย่างไรก็ตามผลจะมากหรือน้อยนั้นก็ขึ้นอยู่กับอิริยาบถด้วย เช่น ถ้าจะทำสมาธิ ก็ควรทำในอิริยาบถนั่ง หากจะเจริญสติ อิริยาบถนั่งหรือ เดิ น ก็ มั ก ให้ ผ ลดี ก ว่ า อิ ริ ย าบถอื่ น การสวดมนต์ ก็ เ ช่ น กั น หากทำใน

อิริยาบถนั่ง จะช่วยให้สงบสำรวมได้มากกว่า แต่หากจำเป็น จะนอนสวดมนต์ ก็ได้ แต่ถ้านอนสวดมนต์เพราะขี้เกียจ ย่อมไม่เหมาะและเกิดประโยชน์น้อย

อนุพงศ์ ทองจันทร์ ปุจฉา : ขอเรียนถามท่านพระอาจารย์ ครับ ก่อนนอนควรสวดมนต์บท ไหนดีครับ

ก่อนนอนควร สวดมนต์บทไหนดี

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ควรสวดบททำวัตรเย็น ซึ่งมีการ

จัดวางไว้เป็นมาตรฐานแล้ว หาอ่านได้จากหนังสือทำวัตรสวดมนต์ทั้งหลาย แต่ จ ะสวดบทอิ ติ ปิ โ ส หรื อ บทอื่ น ๆ ที่ เ ป็ น พุ ท ธวจนะ หรื อ คั ด มาจาก

32

พระไตรปิฎกก็ได้ ขึ้นชื่อว่าพุทธวจนะแล้ว เมื่อสวดหรือระลึกนึกถึง ย่อม เป็นมงคลทั้งสิ้น

ประยงค์ อั ฒ จั ก ร ปุ จ ฉา : นมั ส การครั บ ผมอยากค้ น คว้ า ว่ า

พุทธศาสนามีท่าทีต่อหนี้สินอย่างไร ได้ที่ไหนครับ ในพระไตรปิฎกมีไหม ครับ

พุทธศาสนา มีท่าทีต่อหนี้สิน อย่างไร

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : พุทธศาสนามองว่า ความยากจน

และการเป็นหนี้นั้นเป็นความทุกข์ของมนุษย์ ดังมีพุทธภาษิตว่า “ความจน เป็นทุกข์ในโลก” และ “การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก” 33


มีคำสอนของพระพุทธองค์ เพื่อหลีกพ้นจากความยากจนและเป็นหนี้ เช่น โภควิภาค คือการแบ่งโภคทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ๑ ส่วน

ใช้เลี้ยงตน ๒ ส่วนใช้ลงทุนประกอบการงาน และอีก ๑ ส่วนเก็บไว้ใช้ใน คราวจำเป็น มีที่มาในทีฆนิกายปาฏิกวรรค ดีเจตุ๊กตา รักในหลวง ปุจฉา : กราบนมัสการพระคุณเจ้า ดิฉันมีเรื่อง

จะถามสั ก เล็ ก น้ อ ย คุ ณ แม่ ข องดิ ฉั น

เล่นแชร์กับคนในหมู่บ้าน โดยมีผู้หนึ่ง เปียแชร์ไปตามกติกา แต่มารู้ภายหลังว่า เค้าเอาเงินที่เปียแชร์ไปทำแท้ง คุณแม่ ของดิฉันจะบาปด้วยหรือไม่คะ

กรรม จะดีหรือไม่ อยู่ที่เจตนา

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : เนื่องจากไม่มีเจตนาหรือไม่รู้ว่าเขาจะ

เอาเงินนั้นไปทำอะไร จึงไม่เป็นบาป กรรมนั้นจะดีหรือไม่ อยู่ที่เจตนาเป็น สำคัญ

อยากบวช แต่ห่วง ไปหมด

เจนวิทย์ เปี่ยมปิติสุขสกุล ปุจฉา : เรียนถามพระอาจารย์ครับ ผมมีใจที่อยากจะ บวชครับ แต่ติดตรงห่วง แฟนห่วงน้องห่วง แม่ ผมควรจะทำยังไงดีครับ คิดไว้ว่าจะบวช โดยที่ จ ะไม่ ล าสิ ก ขาครั บ ผมรู้ สึ ก ว่ า การใช้ ชีวิตทุกวันนี้ไม่คุ้มค่า

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : อยู่ในสถานะใดก็สามารถทำประโยชน์ ให้แก่พระศาสนาได้เหมือนกัน แต่ถ้าพูดถึงการฝึกตนเพื่อลดละกิเลสและ เพื่อเกิดปัญญาแล้ว การบวชย่อมมีโอกาสทำได้มากกว่าหรือง่ายกว่า (ทั้งนี้ 34

ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วย หากไปบวชในวัดที่มีพระหรือคนไม่ดีอยู่มากๆ ก็ กลับทำได้ยากกว่า) แต่หากยังไม่มีโอกาสบวช การปฏิบัติธรรมในเพศ ฆราวาสก็ยังทำได้ อย่าไปคิดว่าจะปฏิบัติธรรมได้ต้องหลีกหนีจากภารกิจ ทางโลก ท่านอาจารย์พุทธทาสย้ำเสมอว่า “การทำงานคือการปฏิบัติ ธรรม” ถ้ า คุ ณ ทำงานอย่ า งมี ส ติ มี เ มตตาต่ อ ผู้ ค น ใส่ ใ จส่ ว นรวม ไม่

เห็นแก่ตัว พยายามอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่หลงใหลในแสงสีสิ่งเย้ายวน

นั่นแหละคือการปฏิบัติธรรมแล้ว ในกรณีของคุณหากยังมีภาระต่อน้องและแม่ น่าจะทำภารกิจนั้นให้ เรียบร้อยในระดับหนึ่งก่อน จากนั้นจึงค่อยบวช หากบวชโดยที่ยังมีภาระ ค้างคา ก็อาจทำให้ไม่สบายใจระหว่างบวช จนอาจบวชได้ไม่นาน หาไม่ก็ อาจจะเสียใจในภายหลัง โดยเฉพาะในยามที่ไม่มีโอกาสตอบแทนบุญคุณ บุพการีหรือทำหน้าที่ต่อน้อง

ขอบทำบุญ แต่ขี้หงุดหงิด

เป้ รักที่สุดคือในหลวง ปุจฉา : กราบนมัสการพระอาจารย์ ถ้าชอบทำบุญ แต่ว่า ชอบหงุดหงิด รำคาญ ไม่พอใจ ง่าย ต้องทำอย่างไรดีคะ เพื่อนบอกว่า จะทำบุญทำไม ทำแล้วเป็นแบบนี้จะได้ บุญได้ยังไง ขอบคุณค่ะ

พระไพศาล วิ ส าโล วิ สั ช นา : ทำบุ ญ นั้ น มี ห ลายอย่ า งทำได้ ห ลายวิ ธี ไม่ ใ ช่ มี แ ค่ ก ารให้ ท าน ใส่ บ าตร ถวาย สังฆทานเท่านั้น การทำบุญที่ประเสริฐที่สุด คือการทำใจให้เป็นกุศล เช่น การเจริญเมตตาจิต รวมถึงการทำสมาธิภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา ดังนั้น หากชอบทำบุญจริงๆ จึงควรหมั่นฝึกจิตสม่ำเสมอ เพื่อให้รู้จักอดกลั้น ไม่ หงุดหงิดง่าย รู้จักให้อภัยหรือปล่อยวาง ดูเพิ่มเติมในบุญกิริยา ๑๐ 35


ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็น

ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ

ความเชื่ อ และวิ ถี ป ฏิ บั ติ ข องบุ ค คลและ สังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นใน ความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่า จะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทานเป็นการ ช่ ว ยขั ด เกลาความเห็ น แก่ ตั ว ความคั บ แค้ น ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้ สิ่ ง ของที่ เ ราแบ่ ง ปั น ออกไปก็ จ ะเป็ น ประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๕. ช่ ว ยเหลื อ สั ง คมรอบข้ า ง

ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการ ความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการ ฝึ ก ฝน ที่ จ ะ ลด ละ เลิ ก ความชั่ ว ไม่ ไ ป เบี ย ดเบี ย นใคร มุ่ ง ที่ จ ะทำความดี เอื้ อ เฟื้ อ

เผื่ อ แผ่ ผู้ อื่ น เป็ น การหล่ อ เลี้ ย งบ่ ม เพาะให้ เ กิ ด ความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดี หรือทำบุญของผู้อื่น การ ชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนาไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดี ของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้ จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็น คุณค่าสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่ เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น ๔. อ่ อ นน้ อ มถ่ อ มตน ผู้ น้ อ ยอ่ อ นน้ อ ม

ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมี เมตตาต่ อ ผู้ น้ อ ย และต่ า งก็ อ่ อ นน้ อ มต่ อ ผู้ มี

คุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพ

ในความแตกต่ า งซึ่ ง กั น และกั น ทั้ ง ในความคิ ด 36

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงานก็ เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการ อุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่อง

ที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็น

ความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย) ๙. แสดงธรรม ให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำ ธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิต ที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย) ๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็น สัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วย เช่นกัน (ทิฏฐุชุกรรม) ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับ

บุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้นๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตาม ความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง 37


กรมสุขภาพจิตเปิดข้อมูลฆ่าตัวตาย กล่าวว่า จากสถิติการฆ่าตัวตาย ประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๔๐-๒๕๕๓ พบว่า การฆ่าตัวตายของไทยลดลงเหลือ ๓,๗๐๐ ราย/ปี ยังถือว่าเป็นอัตราที่สูง ภาคเหนือสูงมากที่สุด และปรากฏที่ จ.เชียงใหม่ ๒๐๔ คน สาเหตุมาจากวัฒนธรรมกลัวเสียหน้า และโดดเดี่ยว

ผู้สูงอายุฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มีรายงานการศึกษา เพื่อดูปัจจัยที่เป็นสาเหตุการ

ฆ่าตัวตายพบว่า วัฒนธรรมมีส่วนในการตัดสินใจ คนในภาคเหนือตอนบน

กลัวเสียหน้า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจึงไม่อยากปรึกษาใคร หรือเล่าปัญหาให้ใคร ฟัง เพราะกลัวคนรู้ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่คนภาคอื่นไม่เป็น ส่งผลให้มีอัตราการ ฆ่าตัวตายสูง ซึ่งวัฒนธรรมเช่นนี้มีผลต่อสุขภาพจิตค่อนข้างมาก ประกอบกับ คนภาคเหนือไม่มีพื้นที่พูดคุยเหมือนกับคนในภาคอื่นๆ อย่างวัฒนธรรมการ

จิบน้ำชากาแฟเพื่อพูดคุย ทำให้ไม่มีพื้นที่ในการระบายออก และจุดเปลี่ยน สังคมที่สำคัญยังพบว่าคนสูงอายุมีอัตราการฆ่าตัวตายมากขึ้น ปี ๒๕๔๙ เริ่ม แซงหน้ากลุ่มวัยทำงาน กลุ่มอายุ ๗๕-๗๙ ปี มีจำนวนการฆ่าตัวตายมากที่สุด สาเหตุหลักมาจากการคิดว่าไม่รู้จะอยู่ไปทำไม ไม่มีญาติหรือลูกหลานดูแล

ไม่อยากอยู่คนเดียว เอแบคโพลล์ เผย “อิทธิพลของสื่อต่อเด็กและเยาวชนไทย ในยุคโลก

ไร้พรมแดน” พบวัยรุ่นส่วนใหญ่ติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านโทรทัศน์ “อินเทอร์เน็ต” มาแรงเป็นอันดับสอง รองลงมาเป็นหนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ/SMS วิทยุ และนิตยสาร ตามลำดับลงมา สิ่งที่ติดตามเป็นประจำ พบว่าส่วนใหญ่เป็น 38

เพลง รองลงมาเป็นละคร ตามมาด้วยเกม การ์ตูน แฟชั่น กีฬา ซุบซิบดารา

ซีรี่ย์ต่างๆ และถามความรู้สึกจากการชมละครพบว่า โกรธ เศร้า เกิดความ ต้องการ สำหรับการเล่นเน็ตมีตั้งแต่อายุ ๑๐-๑๕ ปี เล่นที่บ้านเพื่อหาข้อมูล แชทผ่านทวิสเตอร์ เฟสบุ๊ค ดาวน์โหลดเพลง/ภาพยนตร์ เล่นเกม รับ-ส่ง

อีเมล์ ส่วนการนัดเจอกับคนที่เพิ่งรู้จักทางเน็ตประมาณร้อยละ ๔ พฤติกรรมที่ แสดงคือโกหกหรือให้ข้อมูลเท็จกับคนที่เพิ่งรู้จัก จากการสำรวจการเลียนแบบ เวบไซด์ที่มีเนื้อหารุนแรง เพราะมองว่า เรื่องระเบิด รุนแรงในเวปเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ เด็กและเยาวชนไทยในกรุงเทพและปริมณฑลใช้ยาเสพติด มีถึง ๓๒๗,๖๘๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๓.๔ เยาวชนร้อยละ ๑๒.๖ เคย

ถ่ายรูป คลิปโป๊ผ่านมือถือ ลักเล็กขโมยน้อย และประมาณว่ามีขายบริการ

ทางเพศ ๒๓๒,๙๑๒ คน อยู่ ใ นช่ ว งอายุ ๑๒–๒๔ ปี ส่ ว นพฤติ ก รรมที่

พบประจำวั น ในรอบ ๓๐ วั น คื อ การพู ด คำหยาบ ถั ด ลงมาเป็ น กิ น เหล้ า

เพศสัมพันธ์ เล่นการพนัน สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ เอแบคโพลล์ พบประชาชนตั้งความหวังไว้สูงมากกับรัฐบาลชุดใหม่ และ ทวงให้ทำตามสัญญานโยบายที่ใช้หาเสียง โดยเร่งแก้ไขปัญหาค่าครองชีพ และ เพิ่มรายได้ให้ประชาชน รองลงมาเรื่องปรองดองเช่น การจัดงานยิ่งใหญ่เพื่อ แสดงความจงรักภักดี กระบวนการยุติธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติ ยึดกฎหมาย

มากกว่ากฎหมู่ ช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในเรื่องที่ทำกินและราคาพืชผลการเกษตร และนายกรัฐมนตรีแสดงวุฒิภาวะความเป็นผู้นำสามารถควบคุมความวุ่นวาย ต่างๆ ได้ ย้ำทำนโยบายที่ใช้หาเสียงได้แก่ สร้างความปรองดอง แก้ปัญหา

ค่าครองชีพ ค่าจ้างขั้นต่ำวันละ ๓๐๐ บาท ปรับเพดานเงินเดือนข้าราชการ 39


พนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานบริษัทเอกชนขั้นต่ำ เริ่มที่ ๑๕,๐๐๐ บาท ยกเลิกกองทุนน้ำมันและทำให้ราคาน้ำมันลดลงลิตรละ ๗ บาท สร้างเขื่อน ป้องกันน้ำท่วมและถมทะเล สร้างเมืองใหม่ตลอดแนวชายฝั่งตั้งแต่จังหวัด สมุทรปราการถึงสมุทรสาคร ๓๐ บาทรักษาทุกโรคได้จริง การรับจำนำข้าว

ขั้นต่ำเกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท รถไฟฟ้า ๑๐ สายใน กทม. เก็บ ๒๐ บาท

ทุกสาย สร้างรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมือง ขจัดความยากจนใน ๔ ปี คืนภาษีให้

ผู้ซื้อรถคันแรก ลดหย่อนให้ผู้ซื้อบ้านหลังแรก ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเลต แจกนักเรียนชั้น ป.๑ ทั่วประเทศ ลดภาษีนิติบุคคลจาก ๓๐% เหลือ ๒๓% เพิ่มงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒๕% การตั้งกองทุนพัฒนาสตรี จังหวัดละ ๑๐๐ ล้านบาท การพักหนี้เกษตรกร การรีไฟแนนซ์หนี้ส่วนบุคคล การเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุจากเดือนละ ๕๐๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท ฯลฯ ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยผลสำรวจสถานการณ์คอร์รัปชั่น ไทย ปี ๒๕๕๔ เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ พบแย่ลง โดยมีความ กังวลเพิ่มขึ้นถึง ๔๙% จากเดิมอยู่ที่ ๑๗% และไม่เห็นด้วยที่ว่าการทุจริต คอร์รัปชั่นเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ได้เกี่ยวกับตัวเองโดยตรง ๗๑% เพิ่มจากเดิมที่ ๖๒% สำหรับประสิทธิภาพการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พบว่าดีถึง ๔๖% เพิ่มขึ้น จากเดิมอยู่ที่ ๔๐% แม้ภาพรวมการคอร์รัปชั่นจะไม่ดีขึ้น แต่ประชาชนเริ่ม

ตื่นตัว จากดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี หาก

ไม่ดำเนินการใดๆ ความรุนแรงจะเพิ่มขึ้น คาดว่าการคอร์รัปชั่นงบประมาณ

ของภาครัฐขยายตัวเพิ่มจากปัจจุบันที่มีมูลค่า ๒-๓ แสนล้านบาทต่อปี เป็น

40

๕ แสนล้านบาทต่อปี ภายใน ๕ ปีข้างหน้าแน่นอน ประธานสภาหอการค้า

แห่ ง ประเทศไทยในฐานะประธานภาคี เ ครื อ ข่ า ยต่ อ ต้ า นคอร์ รั ป ชั่ น (ภตค.) เตรียมผลักดันโครงการนำร่องเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ร่วมกับภาคราชการ

ที่เกี่ยวข้อง เช่น อัยการสูงสุด ป.ป.ช. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในการกำหนดข้อตกลงต่อต้านทุจริตต่างๆ ทำให้เกิดความมั่นใจว่าโปร่งใสและ เป็นธรรม โดยมูลค่าโครงการที่ตรวจสอบจะเริ่มต้นที่ ๕๐๐ ล้านบาท นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคใน กิจการโทรคมนาคม (สบท.) เผยข้อมูลของ IARC หน่วยงานขององค์การ อนามัยโลก ยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็ง ส่วนการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่น

แม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง ๑๐๐ เท่า หรือใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสายหรือหูฟัง จะช่วยลดการได้รับพลังงานที่ สมองลงประมาณร้อยละ ๑๐ แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอด เวลาเมื่ อ ไม่ ไ ด้ ใ ช้ ง าน และถ้ า ใช้ โ ทรศั พ ท์ 3G จะปล่ อ ยพลั ง งานน้ อ ยกว่ า โทรศัพท์ GSM ถึง ๑๐๐ เท่า โดยระบุว่า การถือโทรศัพท์แนบหูทำให้เกิดการ ดูดซับพลังงานที่สมอง ยิ่งสมองเด็กด้วยแล้วจะรับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ถึง ๒ เท่า และไขกระดูกของกะโหลกศีรษะเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ ๑๐ เท่า มีงานศึกษาพบว่าใช้โทรศัพท์มากกว่า ๑,๖๔๐ ชั่วโมง จะเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งสมองหรือเนื้องอกในสมอง ข้างที่ใช้โทรศัพท์ สอดคล้องกับเอแบคโพล พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นสัญญาณ เพราะร้อยละ ๖๔.๕ วางมือถือที่หัวเตียง ร้อยละ ๔๑.๖ ใส่ในกระเป๋าเสื้อผ้าที่สวมอยู่ 41


ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท

บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท

แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

42

ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใส่บาตรให้ได้บุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท้ เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ (มี ๖ แผ่น) แผ่นละ ๕๐ บาท

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒ 43


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนและใบสมัครมายังเครือข่ายพุทธิกาด้วย สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ 44

สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ เย็นฤดีมีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปัน ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา : บุญที่ทุกคนทำได้ เปิดรับอาสาสมัคร เข้าร่วมกิจกรรมตลอดปีนี้จนถึงปีหน้า ท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียด เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ www.budnet.org รั บ รองว่ า ท่ า นจะไม่ ผิ ด หวั ง อย่ า ง แน่นอนค่ะ หากต้องการตายอย่างสงบต้องเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ จะได้เตรียมตัวใจได้ถูกต้อง โครงการเผชิญความตายอย่างสงบยังคงเปิดอบรมเชิงปฏิบัติ การอย่างต่อเนื่องและมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมล้นหลาม หากใครที่พลาด เพราะคอร์สเต็ม ทางโครงการยังมีกิจกรรมรองรับ (แต่ยังไม่เปิดเป็น ทางการ-รอจังหวะเหมาะสม) เปิดให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์หากมีความ คืบหน้าจะรีบรายงานให้ทราบโดยเร็ว ที่ผ่านมาเย็นฤดีได้มีโอกาสเข้า-ออกเรือนจำเป็นว่าเล่นไม่ว่าจะเป็น ที่เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางราชบุรี-แดนหญิง และทัณฑสถาน หญิ ง ธนบุ รี ครั้ ง แรกก็ คิ ด ว่ า ตนเองไปให้ ผู้ ต้ อ งขั ง ไม่ ว่ า จะเป็ น ความรู้ สิ่งของ-อุปกรณ์ รอยยิ้ม ความจริงใจ แต่พอกิจกรรมเริ่มขึ้นกลับกลายว่า เราเป็ น ผู้ รั บ ซะงั้ น ที่ ว่ า เป็ น ผู้ รั บ คื อ ได้ ทั้ ง ความรู้ ใ นแง่ เ รื่ อ งราวชี วิ ต ประสบการณ์อันโชกโชน ความอบอุ่น ความไว้วางใจจากผู้ต้องขังตอบแทน ยอมรับว่าเหนื่อยกายเพราะต้องไปหลายที่แต่ก็สุขใจเป็นที่สุด...

45


โครงการสุ ข แท้ ด้ ว ย ปั ญ ญา กำลั ง ขมั ก เขม้ น ใน การเตรียมเอกสารเพื่อนำเสนอ ต่ อ กรรมการ สสส. เพื่ อ ต่ อ ระยะที่ ๒ ต้องลุ้นกันต่อว่าจะ ได้รับการสนับสนุนต่อหรือไม่ แต่สำหรับคนทำงานแล้วคงต้อง ฉลาดทำใจไปพรางๆ นะคะ

โครงการส่งเสริมพระสงฆ์โรงพยาบาลและชุมชนในการเยียวยา จิตใจผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ผ่านมาได้อบรมทีมดูแลผู้ป่วยเรื้อรังระยะ สุดท้าย รุ่นที่ ๑ (พยาบาล พระสงฆ์ และจิตอาสา) จากโรงพยาบาล ๖ แห่ง ในเขตจังหวัดขอนแก่นไปแล้ว และขณะนี้กำลังเตรียมอบรมทีมดูแล

ผู้ป่วยฯ รุ่น ๒ จากโรงพยาบาล ๑๑ แห่งในเขตภาคอีสาน ซึ่งได้แก่ จั ง หวั ด โคราช บุ รี รั ม ย์ ชั ย ภู มิ สุ ริ น ทร์ ในวั น ที่ ๕-๗ ตุ ล าคม ๕๔

ณ โรงแรมโคราชรีสอร์ท เห็นแล้วชื่นใจนะคะ อย่างน้อยก็รู้แล้วว่าเรามี

คนนำทางในช่วงวาระสุดท้ายแน่นอนแล้ว... “จะสุขจะทุกข์อยู่ที่วางจิตวางใจเป็น” เป็นคำกล่าวที่เย็นฤดีคิดว่า ตรงความจริงที่สุด แต่การจะทำได้นั้นต้องมีการฝึกฝนไม่น้อย พวกเรา

ชาวเครือข่ายพุทธิกาก็กำลังอยู่ในขั้นฝึกฝนตนเองเพราะที่ผ่านมา ๑๓–๑๙ กันยายน ได้ไปปฏิบัติธรรมประจำปีมา ที่วัดป่ามหาวัน จังหวัดชัยภูมิ

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโลเป็นผู้ฝึกสอนค่ะ พบกันใหม่ฉบับหน้า เย็นฤดี 46

เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 47


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ กิจกรรมเครือข่ายพุทธิกามีให้ร่วมน่าสนใจมากมาย : จิตอาสา, อาสาข้างเตียง, สุขแท้ด้วยปัญญา ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซื้อหนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร สนใจสมัครด่วน ได้รับ “ธรรมะสำหรับผู้ป่วย” เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล (เฉพาะ ๒๐ ท่านเท่านั้น) หนังสือใหม่ ฟรี! ช้าหมด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.