จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 46

Page 1

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i1 1

3/8/12 10:58:34 PM


สายด่วน...ให้คำปรึกษา การดูแลจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 10.00 - 16.00 น. NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i2 2

3/8/12 10:58:37 PM


๗ มีนาคม ศกนี้ สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว เป็นเพียงวันหยุดอีกหนึ่งวัน เท่านั้น แม้อาจจะรู้ว่าเป็นวันมาฆบูชา แต่ก็มองไม่เห็นความสำคัญมากไป กว่านั้น มีส่วนน้อยที่เห็นว่าเป็นวันสำคัญทางศาสนา ที่เป็นโอกาสสำหรับการ ทำบุญเช่น ใส่บาตร หรือไม่ก็ร่วมพิธีทางศาสนา เช่น การเวียนเทียน น้อย

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือคนที่รู้ว่าวันมาฆบูชามีความเป็นมาอย่างไร และคงมีน้อยมากๆ ที่รู้ว่าวันนั้นเมื่อเกือบ ๒,๖๐๐ ปีที่แล้ว พระพุทธองค์ตรัสสอนอะไรบ้าง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าศาสนาพุทธสอนให้ “ละชั่ว ทำดี” แต่ถ้ารู้ว่า พระพุ ท ธองค์ ท รงสอนอะไรในวั น เพ็ ญ เก้ า เดื อ นหลั ง จากการตรั ส รู้ ข อง พระองค์ ก็จะเข้าใจดีว่า นอกเหนือจาก “การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศล ให้ถึงพร้อม” แล้ว “การชำระจิตของตนให้ผ่องใส” ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ชาว พุทธพึงปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จริยาประการหลังนั้นมักถูกละเลยไป ผลก็คือ ชาวพุทธจำนวนไม่น้อย เป็นทุกข์เพราะการทำความดี เช่น ท้อแท้ที่ทำดีแล้วไม่ได้ดี ไม่มีคน เห็น หรือชื่นชมสรรเสริญ หาไม่ก็ทุกข์ใจที่คนอื่นไม่ทำความดีเหมือนตน

หรือทำความดีอย่างที่ตนคาดหวัง หนักกว่านั้นก็คือเกิดอาการยกตนข่มท่าน มองเห็นคนอื่นว่าไม่ดีเหมือนตน จนตีตราว่าเขาเป็นคนเลว และพร้อมที่จะ ทำอะไรกับเขาก็ได้ในนามของคุณธรรมความดี ความดีนั้นหากยึดติดถือมั่นจนหลง ก็สามารถทำความทุกข์ให้ทั้งแก่ ตนเองและผู้อื่นได้ง่ายมาก ดังนั้นการฝึกจิตให้มีรู้เท่าทันตนเองมองเห็นกิเลส ที่มาครองใจ และสามารถขจัดออกไปจากจิตใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วย เสริมให้การละชั่ว ทำดีนั้น เป็นประโยชน์เกื้อกูลทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอย่าง แท้จริง ยิ่งสามารถเจริญปัญญาจนเห็นว่าไม่มีอะไรที่ยึดติดถือมั่นว่าเป็นฉัน

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i1 1

3/8/12 10:58:38 PM


หรือของฉันได้เลย ก็จะช่วยให้ไม่สำคัญผิดว่า “ตัวกู” คือ “ความดี” หรือ

ยึดว่าคนอื่นต้องดีเหมือน “กู” เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ ไม่เอาความดีไปทำร้าย ผู้อื่น ขณะเดียวกันก็ปิดกั้นไม่ให้ความดีทำร้ายตนเอง หรือถูก “ความดีกัด เจ้าของ” อย่างที่ท่านพุทธทาสภิกขุได้เตือนเอาไว้ การฝึกจิตเจริญปัญญา ยังช่วยให้เราสามารถอยู่ในโลกนี้ได้โดยไม่ ทุกข์ อย่าลืมว่าแม้ละชั่ว ทำดีมากมายเพียงใด ก็หนีความพลัดพรากสูญเสีย รวมทั้งความแก่ ความเจ็บ และความตายไม่พ้น หลายคนพอประสบโรคร้าย หรือสูญเสียคนรัก ก็ร้องไห้ฟูมฟาย ก่นด่าชะตากรรมว่า “ทำไมต้องเป็นฉัน” แต่คนที่เจริญปัญญาจนเข้าใจความจริงของชีวิตและโลกว่าเต็มไปด้วยความ ไม่แน่นอน จะไม่เป็นทุกข์เมื่อประสบเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะเขาตระหนัก

ดีว่า สักวันหนึ่งก็ต้องเป็นคราวของฉัน หรือรู้ดีว่า “ทำไมจะเป็นฉันไม่ได้” ยิ่งผู้ที่เจริญปัญญาจนเห็นชัดว่าไม่มีอะไรที่เป็น “ตัวกู ของกู” เลย เมื่อ

เจ็บป่วย ก็เห็นแต่ความเจ็บป่วย แต่ไม่มี “ผู้ป่วย” เมื่อจะตายก็รู้ว่าไม่มี

“ผู้ตาย” ดังนั้นจึงไม่เป็นทุกข์แต่อย่างใด วันมาฆบูชาจึงเป็นวันที่เราพึงย้ำเตือนตนเองให้ไม่เพียงละชั่ว และ

ทำดีให้เพิ่มพูนเท่านั้น แต่พึงชำระขัดเกลาจิตใจของตนให้สะอาด และเข้าถึง ความสงบและความสว่างอย่างแท้จริง เพื่อช่วยให้บรรลุทั้งประโยชน์ตนและ เกื้อกูลประโยชน์ท่านได้อย่างเต็มที่

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i2 2

3/8/12 10:58:38 PM


พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๒๔ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๕

มองแต่ไม่เห็น

พร้อมรับความสูญเสีย

ดำรงอยู่อย่างพุทธะ

๑๔

มอบสิ่งดีที่สุดเพื่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย

๒๑

ทักท้วงความคิด

๓๒

๓๔

๓๙

๔๒

๔๕

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i3 3

3/8/12 10:58:39 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ขณะที่เขาขับมอเตอร์ไซค์ใกล้ถึงสี่แยก ก็เห็นสัญญาณ ไฟเขียว จึงพุ่งไปข้างหน้า แต่พอถึงกลางสี่แยก รถเก๋งซึ่งแล่น มาจากทิศทางตรงกันข้าม ก็เลี้ยวซ้ายแล้วชนเขาอย่างจัง เขา กระเด็นจากรถกระแทกพื้น โชคดีที่เขาเพียงแต่ดั้งจมูกหัก และเสียฟันไปสองสามซี่ อย่างไรก็ตามเขาถูกปรับเนื่องจาก

ไม่สวมหมวกกันน็อค ส่วนคนขับรถเก๋งถูกปรับที่ไม่ยอมให้ทาง รถมอเตอร์ไซค์ เหตุการณ์นี้ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่ว่าเมืองเล็กเมืองใหญ่ สาเหตุนั้นมักสรุปกันว่า เป็นเพราะความประมาทของคนขับไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่ง หรือ ทั้งสองฝ่าย แต่บ่อยครั้งทั้งคู่ยืนยันว่าตนขับด้วยความระมัดระวัง คนขับรถเก๋งหลายคนยืนยันว่าไม่เห็นรถมอเตอร์ไซค์เลยก่อน ที่จะพุ่งชน บางคนถึงกับบอกว่า “ผมให้สัญญาณไฟเลี้ยวก่อน

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i4 4

3/8/12 10:58:42 PM


แล้ว หนำซ้ำยังดูจนแน่ใจว่าถนนว่าง จึงเลี้ยว จู่ๆ ก็มีอะไรมาชนรถของผม มารู้อีกทีก็เห็นคนนอนแผ่อยู่บนถนนพร้อมกับมอเตอร์ไซค์” ส่วนคนขับ มอเตอร์ไซค์ก็พูดทำนองว่า “ผมขับอยู่ดีๆ รถคันนั้นก็พุ่งมาชนผม แถมคนขับ ยังมองมาที่ผมด้วยซ้ำ” เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมากจนยากที่จะสรุปว่าเป็นเพราะความ ประมาทอย่างเดียว ในที่สุดนักวิชาการคู่หนึ่งเชื่อว่าตนพบคำตอบ คริสโตเฟอร์ ชาบริส และดาเนียล ไซมอนส์ ได้ทำการทดลองที่มีชื่อเสียงมาก เขานำ

วีดีโอคลิปความยาวไม่ถึง ๑ นาทีมาให้คนกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าชม วีดีโอนั้นเป็น ภาพนักกีฬา ๒ ทีมเดินสลับกันไปมาในวง ระหว่างนั้นก็โยนลูกบาสเกตบอล ให้แก่เพื่อนในทีมไปด้วย ทีมหนึ่งใส่เสื้อสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่เสื้อสีดำ รวมแล้ว มีไม่ถึงสิบคน สิ่งที่ผู้ชมได้รับมอบหมายให้ทำก็คือ นับ ในใจว่าทีมเสื้อขาวนั้นโยนลูกให้กันกี่ครั้ง โดย

ไม่ต้องสนใจทีมเสื้อดำ เมื่อฉายวีดีโอเสร็จ ผู้ฉาย ก็ถามว่า มีการโยนลูกกี่ครั้ง แน่นอนว่าคำตอบ ค่อนข้างหลากหลาย แต่ที่จริงนั่นไม่ใช่ประเด็น สำคัญ ประเด็นสำคัญอยู่ที่คำถามข้อที่สองว่า “ระหว่างที่นับลูกนั้น มีใครเห็นกอริลล่าบ้าง” ประมาณครึ่งหนึ่งรู้สึกงงงันว่า เขากำลังพูดถึง เรื่องอะไร ดังนั้นจึงมีการฉายคลิปวีดีโอนั้นซ้ำ

อี ก ครั้ ง คราวนี้ ทุ ก คนไม่ ต้ อ งนั บ แล้ ว และให้ สังเกตว่าเห็นอะไร ไม่นานทุกคนก็พบคำตอบ เพราะพอคลิปวีดีโอฉายได้ไม่ถึง ๓๐ วินาที ก็มี คนแต่งชุดกอริลล่าเดินเข้ามากลางวงปะปนอยู่ กับทั้งสองทีม แถมยังหันหน้าให้กล้อง และตบ อกก่อนที่จะเดินจากไป

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i5 5

3/8/12 10:58:42 PM


“กอริลล่า” นั้นปรากฏกลางจอนาน ๙ วินาที แต่ เกื อ บครึ่ ง ของผู้ ช มมองไม่ เ ห็ น เลย ทำไมถึ ง เป็ น เช่ น นั้ น

คำตอบก็คือ เมื่อใจเราจดจ่ออยู่กับอะไรสักอย่าง มีแนวโน้ม ที่เราจะมองไม่เห็นสิ่งที่ไม่คาดคิด ทั้งๆ ที่มันอยู่ต่อหน้าเรา แท้ๆ มีการทดลองทำนองนี้อยู่หลายครั้ง โดยนักวิชาการ คนละกลุ่ม คราวหนึ่งเปลี่ยนจากคนเล่นบาสเกตบอล มา เป็นตัวอักษรสีขาวและสีดำ คนดูเพียงแต่นับอักษรสีขาวที่ เคลื่อนมาแตะริมจอคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องสนใจสีดำ ปรากฏ ว่าร้อยละ๓๐ มองไม่เห็นกากบาทสีแดงที่เคลื่อนมากลางจอ ทั้งๆ ที่สีแดงเป็นสีที่โดดเด่น ต่างจากกอริลลาสีดำซึ่งเป็น

สีเดียวกับของอีกทีมหนึ่งที่โยนบาสเกตบอลในการทดลอง ก่อนหน้านั้น มี ก ารทดลองอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ซึ่ ง เชื่ อ มโยงกั บ การเกิ ด อุบัติเหตุทางรถยนต์โดยตรง คราวนี้กำหนดให้อาสาสมัคร ขั บ รถโดยใช้ เ ครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ จ ำลองสถานการณ์ จ ริ ง (simulator) ทุกคนได้รับโจทย์ว่า เมื่อถึงสี่แยก ให้มองหา ลูกศรสีน้ำเงินซึ่งชี้ว่าให้เลี้ยวไปทางไหน ทั้งนี้ไม่ต้องสนใจ ลู ก ศรสี เ หลื อ ง ขณะที่ ร ถวิ่ ง มากลางสี่ แ ยก ก็ ใ ห้ ร ถ มอเตอร์ไซค์อีกคันหนึ่งแล่นสวนมาแล้วหยุด การทดลอง พบว่ า หากคนขั บ มอเตอร์ ไ ซค์ ส วมเสื้ อ สี น้ ำ เงิ น ซึ่ ง เป็ น

สีเดียวกับลูกศรที่ต้องมอง คนขับรถเก๋งจะสังเกตเห็นและ หยุดทัน แต่ถ้าคนขับมอเตอร์ไซค์สวมเสื้อสีเหลือง ร้อยละ ๓๖ จะพุ่งขับชน โดยที่บางคนไม่ได้แตะเบรกเลยด้วยซ้ำ การทดลองเหล่านี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า คนเรามิได้เห็น ทุกอย่างที่

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i6 6

3/8/12 10:58:43 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ชีวิตคนเราล้วนวนเวียนอยู่กับเรื่องได้-เสีย มีเรื่อง ได้ - เสี ย เป็ น ตั ว ขั บ เคลื่ อ นชี วิ ต ทั้ ง ในทางดี แ ละทางร้ า ย ทั้งนี้เพราะสุขหรือทุกข์ของคนเราล้วนขึ้นอยู่กับได้หรือ เสีย ถ้าได้ก็มีความสุข แต่หากเสียก็มีความทุกข์ ได้คือสุข เสียคือทุกข์ นี้คือสมการชีวิตที่ทุกคน

คุ้นเคยกันดี แต่สมการนี้แปลกตรงที่ ตามตรรกะแล้ว เวลาได้สิ่งหนึ่งมาแล้วสูญเสียสิ่งนั้นไป สุขกับทุกข์ที่เกิดขึ้น ตามมา น่าจะเท่ากัน เพราะเกี่ยวเนื่องกับของชิ้นเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ เราสังเกตไหม ว่า สิ่งๆ เดียวกันนั้นเวลาเราได้มา ความสุขที่เกิดขึ้นมัก จะน้อยกว่าความทุกข์เมื่อสูญเสียสิ่งนั้นไป แดเนียล คาเนแมน (Daniel Kahneman) ซึ่ง

ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อเร็วๆ นี้ กับคณะ ได้ทำการทดลองจนได้ข้อสรุปว่า การสูญเสียสิ่งหนึ่งไปนั้น ทำให้เรามีความทุกข์เป็นสองเท่าของความสุขเมื่อได้มัน มา การทดลองอย่างหนึ่งที่เขาทำขึ้นก็คือ แบ่งนักศึกษา ในชั้ น เรี ย นเป็ น สองกลุ่ ม กลุ่ ม หนึ่ ง ได้ รั บ ถ้ ว ยกาแฟซึ่ ง

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i7 7

3/8/12 10:58:45 PM


ประทับตรามหาวิทยาลัย ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนั้นได้แต่เพียงยืนดูถ้วยกาแฟ จาก นั้นก็เปิดโอกาสให้มีการซื้อขายกัน การซื้อขายนั้นไม่ได้ใช้เงินจริงๆ เพียงแต่ ตอบคำถามว่ า “จำนวนเงิ น เท่ า ใดที่ คุ ณ ยิ น ดี จ ะขายหรื อ ซื้ อ ถ้ ว ยกาแฟ”

ผลปรากฏว่า เจ้าของพร้อมสละถ้วยกาแฟหากได้เงินเป็นสองเท่าของจำนวน ที่ผู้ซื้อยินดีจ่าย การทดลองนับสิบๆ ครั้งให้ผลสรุปทำนองเดียวกัน ซึ่งชี้ให้ เห็นว่า ความไม่อยากสูญเสียถ้วยกาแฟนั้นมีมากเป็นสองเท่าของความอยาก ได้ถ้วยกาแฟ ดังนั้นหากต้องสูญเสียถ้วยกาแฟไปฟรีๆ จึงมีความทุกข์เป็น สองเท่าของความสุขเมื่อได้ถ้วยกาแฟนั้น การทดลองอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตั้งโจทย์ว่า หากมีการเสี่ยงโชคด้วยการ โยนเหรียญ ถ้าออกก้อยต้องเสีย ๑๐๐ เหรียญ แต่ถ้าออกหัวจะได้.....

เหรียญ ถามว่าต้องเติมเงินในช่องว่างนั้นเป็นจำนวนเท่าไหร่คุณถึงจะยอม เล่น? คำตอบของคนส่วนใหญ่อยู่ราวๆ ๒๐๐ เหรียญ แต่ก็มีบางคนที่แม้ ออกหัวได้ ๒๐๐ เหรียญก็ยังไม่ยอมเล่น ทั้งๆ ที่มีโอกาส ๕๐ เปอร์เซ็นต์

ที่จะได้ ทั้งนี้ก็เพราะไม่อยากเสีย ๑๐๐ เหรียญนั่นเอง การทดลองดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า คนเรากลัวความสูญเสียและพยายาม หลีกเลี่ยงมันให้ไกล เว้นแต่มีสิ่งแลกเปลี่ยนที่คุ้มค่า (คือดีกว่าหรือมากกว่า) ไม่ว่าทำอะไรก็ตามถ้าโอกาสเสียกับได้มีเท่าๆ กัน เราจะไม่ทำเลยถ้าเลือกได้ ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะการสู ญ เสี ย นั้ น ทำให้ เ รามี ค วามทุ ก ข์ ม ากกว่ า ความสุ ข ที่ ไ ด้

สิ่งเดียวกันนั้นมา (นี้กระมังเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงจดจำคนที่ขโมยหรือ

โกงเงินเราได้แม่นยำหรือยาวนานกว่าคนที่ให้เงินเราในจำนวนเท่าๆ กัน) มองตามตรรกะ ความสุขที่ได้จากเงิน ๑๐๐ บาท กับความทุกข์ที่

เสียเงิน ๑๐๐ บาท น่าจะเท่ากันหรืออยู่ในระดับเดียวกัน แต่ทำไมความทุกข์ ที่เสียเงิน ๑๐๐ บาทจึงมากกว่าความสุขที่ได้เงิน ๑๐๐ บาท คำตอบจะเห็น ชัดมากขึ้นเมื่อย้อนกลับไปที่การทดลองเกี่ยวกับถ้วยกาแฟ ตอนที่ยังไม่ได้ ถ้วยกาแฟมานั้น ผู้คนไม่ค่อยกระตือรือร้นที่จะซื้อมัน จึงมักให้ราคาที่ไม่สูง นัก แต่เมื่อได้ถ้วยกาแฟมาแล้ว ผู้คนไม่อยากเสียมันไป ดังนั้นจึงตั้งราคาสูง

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i8 8

3/8/12 10:58:45 PM


ถามว่าทำไมถึงไม่อยากเสียมันไป เหตุผลสำคัญน่าจะเป็นเพราะเมื่อได้มันมา แล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกยึดมั่นว่ามันเป็น “ของฉัน” ความยึดมั่นดังกล่าวนี้ เองทำให้เราทุกข์เมื่อต้องสูญเสียมันไป ตรงข้ามกับตอนที่ยังไม่ได้มันมา ยัง ไม่มีความยึดมั่นสำคัญหมายว่ามันเป็น “ของฉัน” ดังนั้นเมื่อได้มันมาความ ดี ใ จจึ ง ไม่ ม ากเท่ า กั บ ความเสี ย ใจยามที่ ต้ อ งสู ญ เสี ย มั น ไป ด้ ว ยเหตุ ผ ล เดียวกัน เงิน ๑๐๐ บาทที่ได้มากับเสียไป แม้จำนวนเท่ากัน แต่ความรู้สึก ผูกพันต่อเงินสองก้อนนั้นไม่เท่ากัน ตอนที่ยังไม่ได้มันมานั้น เงินจำนวนนั้น ไม่ใช่ของฉัน แต่เมื่อได้มาแล้ว ก็เกิดความยึดมั่นทันทีว่าเป็นเงินของฉัน เมื่อ ต้องเสียมันไป จึงเกิดความเสียดายหรือเป็นทุกข์ขึ้นมาในระดับที่มากกว่า ความดีใจตอนที่ได้มันมา

การทดลองอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ นักศึกษากลุ่มหนึ่งได้ถ้วย กาแฟ อีกกลุ่มหนึ่งได้ช็อกโกแลตแท่งใหญ่ ซึ่งมีราคาเท่ากับถ้วยกาแฟ การ สอบถามความเห็นก่อนการทดลองทำให้ทราบว่านักศึกษาแต่ละคนชอบของ สองอย่างไม่เท่ากัน เมื่อเริ่มการทดลองหลายคนได้สิ่งที่ตนเองชอบน้อยกว่า แต่เมื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนจากถ้วยกาแฟเป็นช็อกโกแลต หรือ กลับกัน ปรากฏว่ามีเพียงหนึ่งในสิบที่ขอเปลี่ยน

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i9 9

3/8/12 10:58:46 PM


นี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ว่าคนเราไม่ชอบการสูญเสีย ถึงแม้ว่าตอนที่ ยังไม่ได้มานั้น อาจจะชอบไม่มากนัก แต่เมื่อได้มาแล้วก็ไม่อยากเสียมันไป แม้จะเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่ชอบมากกว่าก็ตาม สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็ เพราะพอได้มันมาก็เกิดความยึดติดถือมั่นว่าเป็นของฉันทันที จึงไม่อยากเสีย มันไป ความรังเกียจและพยายามหลีกเลี่ยงการสูญเสียนั้น เป็นสัญชาตญาณ ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ มันช่วยให้เราหวงแหนและปกป้องทรัพย์สมบัติซึ่ง จำเป็นต่อความอยู่รอดของเรา อีกทั้งยังทำให้เราไม่หลงใหลสิ่งใหม่ๆ จนยอม เสี่ยงที่จะสูญเสียเงินทองข้าวของที่มีอยู่ แต่บางครั้งมันก็เป็นโทษต่อตัวเรา มิใช่น้อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ นักเล่นหุ้นที่รู้ทั้งรู้ว่าหุ้นในมือของตนนั้น ราคาตกลงเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ยอมขายเพราะกลัวขาดทุน และหวังว่าราคามันจะ ดีขึ้นในที่สุด ผลก็คือถือหุ้นตัวนั้นจนกลายเป็นขยะคามือ ซึ่งทำให้เขาขาดทุน ยิ่งกว่าเดิม เช่นเดียวกับนักธุรกิจที่ทำกิจการจนขาดทุนอย่างหนักแต่ไม่ยอม เลิกเพราะเสียดายเงินที่ลงไป กลับกู้เงินซ้ำเล่าซ้ำเล่ามาค้ำจุนกิจการที่ไม่มี อนาคต ด้วยความหวังล้มๆ แล้งๆ ว่ามันจะดีขึ้น สุดท้ายเขาก็เป็นหนี้ท่วมหัว จนล้มละลาย ความกลัวสูญเสียบางครั้งจึงทำให้เราตกอยู่ในสภาพไม่ต่างจากคนที่ กอดหีบสมบัติที่กำลังจมน้ำ ด้วยความหวังว่าจะกู้มันขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่ในยาม นั้นการปล่อยหีบสมบัติเป็นวิธีเดียวที่ช่วยให้สูญเสียน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เรา จึงไม่ควรปล่อยให้ความกลัวสูญเสียครอบงำจิตใจจนขาดสติหรือบดบังปัญญา ดั ง ได้ ก ล่ า วแล้ ว ว่ า ความกลั ว สู ญ เสี ย นั้ น มี ข้ อ ดี อย่ า งน้ อ ยก็ ท ำให้ เ ราไม่

นิ่งนอนใจ พยายามหาทางป้องกันและรักษาทรัพย์สมบัติที่มี แต่ความจริง อย่างหนึ่งของชีวิตที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ความสูญเสียพลัดพรากนั้นเป็นเรื่อง ธรรมดา เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียพลัดพรากไปได้ตลอด ดังนั้น เมื่อถึงคราวต้องสูญเสียพลัดพราก จึงควรรู้จักทำใจยอมรับความจริง การ

ไม่ยอมรับความจริงเพราะกลัวหรือรังเกียจความสูญเสียนั้น นอกจากทำให้ เราทุกข์ใจจนอาจกินไม่ได้นอนไม่หลับหรือล้มป่วยแล้ว ยังอาจผลักให้เรา

ก่อปัญหาหนักกว่าเดิม เช่น ทำให้เกิดความสูญเสียหนักขึ้น 10

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i10 10

3/8/12 10:58:46 PM


การมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ของตนนั้น ช่วยให้ใจไม่ถูกครอบงำด้วยความ กลัวสูญเสีย อย่างน้อยก็ทำให้ไม่เผลอทำให้ปัญหาเลวร้ายลง สติยังช่วยให้ได้ คิดหรือเกิดปัญญา สามารถไตร่ตรองด้วยเหตุผลหรือข้อเท็จจริง จนเห็นโทษ ของการหวงแหนปกป้องทรัพย์สมบัติอย่างไม่ลืมหูลืมตา เช่น ทำให้นักลงทุน เห็นชัดว่า การขายหุ้นที่กำลังตกตอนนี้แม้จะขาดทุนแต่ก็ยังดีกว่าการถือไว้

ในมือไปเรื่อยๆ หรือทำให้นักธุรกิจเห็นชัดว่าเลิกกิจการตอนนี้ดีกว่ามัวกู้หนี้

มาต่ออายุกิจการอย่างไร้อนาคต สติและปัญญาช่วยให้เราเห็นว่าการกอด

หีบสมบัติที่กำลังดิ่งลงน้ำนั้น ในที่สุดย่อมลงเอยด้วยการสูญเสียทั้งชีวิตและ หีบสมบัติ อย่างไรก็ตาม ได้กล่าวแล้วว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เรากลัวความสูญเสีย ก็คือ ความยึดติดถือมั่นว่าเป็นของเรา หรือที่ท่านอาจารย์พุทธทาสเรียกว่า ความยึดมั่นใน “ตัวกู ของกู” ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ความกลัวสูญเสียครอบงำ ใจ นอกจากการใช้สติและปัญญารับมือกับเหตุการณ์แล้ว การทำใจให้คลาย ความยึดมั่นในตัวกูของกู ก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเรายึดติดถือมั่นในทรัพย์สิน

น้อยลง ความกลัวสูญเสียก็จะน้อยลงตามไปด้วย

11

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i11 11

3/8/12 10:58:47 PM


วิธีหนึ่งที่ช่วยลดความยึดมั่นในตัวกูของกู ก็คือ การให้ทานหรือสละ ทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้อื่นหรือส่วนรวม ถ้าเราคิดแต่จะเอา ไม่ยอมให้ ความ

ยึดมั่นในตัวกูของกูย่อมเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อคิดจะให้ ทีแรกจะมีแรงต้านทาน อันเกิดจากความยึดติดถือมั่น แต่เมื่อให้บ่อยๆ ความยึดติดถือมั่นในทรัพย์ สมบัติก็จะลดลง โดยเฉพาะการให้ที่ไม่หวังประโยชน์เข้าตัวเลย หากมุ่ง

เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นหรือส่วนรวมล้วนๆ แต่ถ้าให้เพราะอยากร่ำรวยอยาก ถูกหวยแล้ว อย่างที่ผู้คนมักอธิษฐานเวลาทำบุญ ความยึดมั่นในทรัพย์มีแต่ จะพอกพูนขึ้น ผู้ที่ให้เป็นนิจ ไม่ว่าให้แก่ผู้เดือดร้อน นักบวช หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ เมื่อถึงคราวที่ต้องสูญเสียทรัพย์ด้วยเหตุจำเป็น ก็พร้อมจะเสียโดย

ไม่บ่ายเบี่ยงหลีกเลี่ยงชนิดที่ก่อให้เกิดโทษ ขณะเดียวกันก็ไม่ทุกข์ใจ เพราะ

ไม่ได้ยึดติดถือมั่นกับมันอย่างเต็มที่ หากจำเป็นต้องเสียทรัพย์เพื่อรักษา อวัยวะหรือชีวิต ก็พร้อมจะทำ ไม่เผลอเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อรักษาทรัพย์ เช่น ในยามที่ถูกโจรปล้นจี้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง การไม่ยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์ว่าเป็น “ของกู” ทำให้เราเป็นนายมัน ไม่ใช่มันเป็นนายเรา ตรงกันข้าม การยึดติด ถือมั่นว่ามันเป็นของเรา มีแต่จะทำให้เรากลายเป็นของมันไป การหมั่นระลึกถึงความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ เรายึดติดถือมั่นในสิ่งต่างๆ น้อยลง เพราะตระหนักได้ว่าไม่ช้าไม่นานมันก็ ต้องจากเราไป ไม่มีอะไรที่เป็นของเราอย่างแท้จริง ทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ทั้งนั้น ยิ่งระลึกถึงความจริงที่ว่า เราเกิดมามือเปล่า และเมื่อสิ้นลม เราก็ต้อง

12

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i12 12

3/8/12 10:58:48 PM


จากไปมือเปล่า ทรัพย์สมบัติที่เกิดขึ้นระหว่างนั้นจึงเป็นเสมือนกำไร หาก

สูญไปจนหมดก็แค่เท่าทุน ไม่อาจเรียกว่าขาดทุนหรือสูญเสียด้วยซ้ำ เพราะ มันไม่ได้เป็นของเราตั้งแต่แรก การระลึกเช่นนี้ยังกระตุ้นให้เราหมั่นให้ทาน หรือสละทรัพย์ให้ผู้อื่น ไม่คิดจะเก็บเอาไว้กับตัวเอง เพราะรู้ว่าตายแล้วก็เอา ไปไม่ได้แม้แต่อย่างเดียว นอกจากการให้ทานและระลึกถึงความไม่เที่ยงแล้ว การหมั่นมองตน จนเห็นใจที่ยึดมั่นในตัวกูของกูอยู่เนืองๆ ก็ช่วยให้เราเป็นอิสระเหนือทรัพย์ มากขึ้น และไม่กลัวการสูญเสีย จะว่าไปแล้วการยึดติดถือมั่นว่ามี “ตัวกู”

นี้แหละเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เราดิ้นรนแสวงหาสิ่งต่างๆ อย่างไม่รู้จัก

จบสิ้น ทั้งนี้เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่แห่งตัวตน ดังนั้นเมื่อต้องสูญเสีย

สิ่งหนึ่งสิ่งใดไป จึงกลายเป็นการกระทบตัวกู ทำให้ความยิ่งใหญ่แห่งตัวกู

ลดน้อยถอยลง หรือถึงกับรู้สึกว่าตัวกูถูกคุกคาม การทำทุกอย่างเพื่อหลีกเลี่ยง ความสูญเสีย จึงมิใช่เป็นแค่การปกป้องทรัพย์สมบัติที่ยึดมั่นว่าเป็นของกู เท่านั้น หากยังเป็นการปกป้องตัวกูหรือความยิ่งใหญ่แห่งตัวกูด้วย เป็นเพราะหวงแหนตัวตน ผู้คนจึงหวงแหนทรัพย์สมบัติและอะไรต่อ อะไรอีกมากมาย ทั้งๆ ที่ไม่มีอะไรสักอย่างที่เที่ยงแท้ยั่งยืนหรืออยู่กับเราไป ตลอด ร้ายกว่านั้นก็คือ ตัวตนที่หวงแหนนั้น แท้จริงหามีไม่ หากเป็นสิ่งที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเองด้วยอวิชชา เมื่อใดที่ เราเห็นชัดด้วยปัญญาว่าตัวกูนั้นไม่มีอยู่จริง ความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกูก็ ดับไปเอง ถึงตอนนั้นก็ไม่มีอะไรต้องกลัวอีกต่อไป ไม่ว่าความสูญเสียทรัพย์ หรือแม้แต่ความสูญเสียชีวิต ไม่ว่าความผันผวนปรวนแปรใดๆ เกิดขึ้นกับ ชีวิต ก็ไม่ทุกข์อีกต่อไป จะได้หรือเสียก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะจิต

อยู่เหนือการได้และเสียอย่างสิ้นเชิง แต่ตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาถึงขั้นนั้น เราก็ควรฝึกใจให้เป็นทุกข์น้อย ที่สุดเมื่อประสบความสูญเสีย โดยไม่มัวหลีกเลี่ยงหรือปฏิเสธความสูญเสีย อย่างหลับหูหลับตา

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i13 13

13

3/8/12 10:58:48 PM


ก ช ก ร อ อ ศิ ริ ชั ย เ ว ท ย์ แ ป ล แ ล ะ เ รี ย บ เ รี ย ง

มาจากบทความเรื่อง Enlightened existence นสพ.บางกอกโพส ฉบับวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๕

ชาวพุทธอังกฤษ มีความสุขจากการทำงาน เพื่อชาวอินเดียชายขอบที่ถูกทอดทิ้ง ธรรมจารี โลกมิตรา ไม่มีงานอดิเรกใดๆ แต่ หากต้ อ งเอ่ ย ถึ ง สั ก อย่ า ง เขาคงจะกล่ า วว่ า งาน อดิเรก และงานที่ทำ ก็คือสิ่งเดียวกัน ธรรมจารี โลกมิตรา เขาคือผู้อุทิศตนเพื่อ

ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างพุทธศาสนิกชนในประเทศ อินเดีย “ก่ อ นบวชเป็ น พระภิ ก ษุ ใ นพุ ท ธศาสนา ความฝั น ของผมคื อ การช่ ว ยเหลื อ ผู้ ค นให้ ไ ด้ ม าก ที่สุดเท่าที่จะทำได้” โลกมิตรากล่าวอย่างจริงจัง พร้อมรอยยิ้มอันอ่อนโยนบนใบหน้า

14

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i14 14

3/8/12 10:58:49 PM


โลกมิ ต รา เดิ ม ชื่ อ เจอรามี่ กู๊ ด ดี้ เกิ ด ในกรุ ง ลอนดอนเมื่ อ ปี พ.ศ.๒๔๙๐ ต่ อ มาบวชเป็ น ธรรมจารี ใ นนิ ก ายพุ ท ธตะวั น ตก [Western Buddhist Order (WBO)] เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ และได้รับฉายาว่า โลกมิตรา ซึ่งมีความหมายว่า “มิตรของโลก” ภายใต้การชี้แนะของท่านสังฆรักษิตา

ผู้เป็นอาจารย์ โลกมิตราได้เดินทางไปยังอินเดียในปี พ.ศ.๒๕๑๘ และไม่เคย หวนกลับอีกเลยหลังจากนั้น “ผมไปถึงที่นั่นโดยไม่รู้เลยว่าเป็นช่วงของการเฉลิมฉลองครบรอบ

๒๑ ปี ที่ดร.อัมเบ็ดการ์เปลี่ยนมาถือพุทธ พร้อมผู้ดำเนินรอยตามท่านอีก กว่า ๕ แสนคน ณ สถานที่เดิมที่เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้น” ดร.อัมเบ็ดการ์เป็นผู้ก่อตั้งขบวนการ “พุทธศาสนาแนวใหม่” (New Buddhism) ของอินเดีย ทั้งยังเป็นบุคคลต้นแบบทางจิตวิญญาณของชาติ

คนหนึ่ง โดยเฉพาะสำหรับผู้ด้อยโอกาส ดร.อัมเบ็ดการ์เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๔ ในวรรณะจัณฑาล ซึ่งเป็นชนชั้นต่ำสุดในระบบวรรณะของฮินดู ในช่วงวัยเด็ก ท่านต้องผ่านความทุกข์จากการถูกเลือกปฏิบัติและอุปสรรคทางสังคม แต่ อย่างไรก็ดี ต้องขอบคุณการศึกษาภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร ที่ทำให้ท่านกลายเป็นหนึ่งในชาวจัณฑาลกลุ่มแรกที่สามารถสำเร็จการศึกษา และต่อมาได้กลายเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกฎหมายคนแรกของอินเดีย ภายหลังได้รับเอกราช ดร.อัมเบ็ดการ์ได้ก่อตั้งพุทธศาสนารูปแบบใหม่ ซึ่งผนวกรวมทั้งเถรวาท และมหายานเข้าด้วยกัน เพื่อปรับปรุงสถานะของคนวรรณะจัณฑาลจำนวน ๔๐ ล้านคนที่ถูกละเลยให้ดีขึ้น “ดร.อัมเบ็ดการ์ทำงานหนักเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคน ยากไร้และผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติให้ดีขึ้น แต่ท่านรู้ดีว่าลำพังแค่การปรับปรุง สภาพความเป็นอยู่ภายนอกยังไม่เพียงพอ” โลกมิตรากล่าว การพัฒนาทาง จิตวิญญาณนั้นก็มีความสำคัญต่อการสร้างความสุขเช่นกัน 15

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i15 15

3/8/12 10:58:50 PM


ดร.อัมเบ็ดการ์เสียชีวิตหลังจากที่ท่านบวชได้เพียง ๖ สัปดาห์ งานศพ ของท่านเป็นงานพิธีระดับชาติ ด้วยมีผู้คนซึ่งดำเนินรอยตามท่านมาร่วมงาน ถึ ง กว่ า ๕ แสนคน ท่ า นได้ ว างรากฐานที่ มั่ น คงในการทำงานเพื่ อ ชนชั้ น “จัณฑาล” สำหรับผู้ดำเนินรอยตามท่าน คนแรกคือท่านสังฆรักษิตา และ

ต่อมาคือโลกมิตรา ท่านสังฆรักษิตาทำงานในประเทศอินเดียนานกว่า ๒๐ ปี ก่อนที่จะ

เดินทางกลับประเทศอังกฤษ และส่งมอบภารกิจต่อให้โลกมิตรา นับตั้งแต่วันที่เดินทางไปถึง โลกมิตราได้ทำงานในประเทศอินเดียมา

เป็นเวลา ๓๒ ปีแล้ว โดยมุ่งขจัดการไม่รู้หนังสือให้หมดสิ้นและลดอิทธิพล ของระบบชนชั้นวรรณะลง

16 16 NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i16 16

3/8/12 10:58:51 PM


งานของโลกมิตรายังรวมถึงการตั้งโรงเรียนในแหล่งชุมชนแออัด การ สร้างห้องเรียนเพื่อสอนพุทธศาสนาเบื้องต้น การอุทิศตนเพื่อช่วยบรรเทา

ภัยพิบัติ และการสร้างมิตรภาพระหว่างประชาชนต่างเชื้อชาติให้เกิดขึ้น อย่ า งไรก็ ดี ไม่ ว่ า จะทำสิ่ ง ใดก็ ต าม เขาจะดำเนิ น รอยตามแนวทางที ่ ดร.อัมเบ็ดการ์และอาจารย์ของเขาได้วางไว้อย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับชาวอินเดีย ชายขอบที่ถูกละเลยเหล่านี้ การทำงานกับความยากจน การไม่รู้หนังสือ ความเจ็บปวดทรมาน และภัยพิบัติ ไม่ได้ทำให้โลกมิตราเป็นคนแข็งกร้าวเลย ภายใต้แว่นตาที่

สวมใส่ โลกมิตราผู้มีรูปร่างสันทัด ยังคงอ่อนโยน มีเสน่ห์ และมองโลกใน

แง่ดีเสมอมา “ในช่วงแรก เรามีข้อจำกัดเรื่องทุนมาก และจำต้องสอนในตู้รถไฟที่

ไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือตามระเบียงดาดฟ้าของสถานีตำรวจที่สร้างไม่เสร็จ”

โลกมิ ต ราพู ด ด้ ว ยน้ ำ เสี ย งแผ่ ว เบา แต่ ยั ง ยิ้ ม แย้ ม ราวกั บ ว่ า กำลั ง พู ด ถึ ง ประสบการณ์อันน่ารื่นรมย์ หรือการงานของคนอื่น กิจกรรมของเขาได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรช่วยอินเดีย (Aid for India) และกองทุนกรุณา (Karuna Trust) ในกรุงลอนดอน ซึ่งก่อตั้งโดย อาจารย์ของเขา ท่านสังฆรักษิตา องค์กรเหล่านี้ได้ยืนหยัดเป็นผู้สนับสนุน หลักด้านงบประมาณตลอด ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา แม้ผู้บริจาคในประเทศจะ

มีส่วนสนับสนุนอยู่ด้วยก็ตาม

17

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i17 17

3/8/12 10:58:51 PM


เมื่อเร็วๆ นี้ โลกมิตราได้มาแสดงปาฐกถาที่กรุงเทพฯ เกี่ยวกับแนวคิด ความเชื่อของเขา และแนวคิดทางพุทธศาสนาของดร.อัมเบ็ดการ์ และท่าน

สังฆรักษิตา โดยเขาได้นำผู้ฟังก้าวเข้าสู่โลกของ “จัณฑาล” ผ่านภาพยนตร์ สารคดีหลากหลายชุด ในสารคดีชุดแรก เด็กชายวัย ๖ ขวบ ที่เกิดในครอบครัว “จัณฑาล” ถูกตำรวจ ๒ นายไล่ล่าตลอดวัน เพียงเพราะเด็กน้อยออกจากบ้านในช่วง “เวลาอันไม่สมควร” “พวกเราไม่ได้รับอนุญาตให้ไปโรงเรียน พวกเราเป็นเพื่อนได้ก็แต่กับ เด็กๆ ที่มีพื้นเพเดียวกัน ไม่มีใครแม้แต่จะเหยียบเข้ามาในบ้านของเรา”

เด็กชาย “จัณฑาล” ผู้หนึ่งกล่าว เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะมีหน้าที่กำจัดซากวัว สุนัข และแมว ตลอดจน ทำงานต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสิ่งปฏิกูลโสโครก พวกเขาไม่สามารถ เข้าถึงการศึกษาหรือโอกาสในการทำงานที่ดีได้ ชนชั้น “จัณฑาล” เหล่านี้

ยังถูกบังคับให้ต้องถอดรองเท้าแตะ เมื่อเดินผ่านถนนบางสายในหมู่บ้านของ ตนอีกด้วย

18

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i18 18

3/8/12 10:58:52 PM


สถานการณ์ของเด็กหญิงชาว “จัณฑาล” ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้น โลกมิตรา

บอกเล่ า เรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ เด็ ก ผู้ ห ญิ ง ที่ ถู ก ข่ ม ขื น แล้ ว ฆ่ า โดยน้ ำ มื อ ของคน

ในหมู่บ้านเดียวกับเธอ ด้วยเหตุผลเพียงเพราะเธอเป็นคนที่มีการศึกษามาก ที่สุดในชุมชนนั้น แม้ว่าในช่วงระยะแรกๆ การช่วยเหลือชนชั้น “จัณฑาล” จะเป็นเพียง ภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ของเขาเท่านั้น แต่ต่อมามันได้กลายมา เป็นพันธกิจที่โลกมิตรากำหนดขึ้นเอง นอกเหนือจากการให้การศึกษาแก่ชาว จัณฑาลแล้ว ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ เขาได้ก่อตั้งกองทุนชมพูทวีป (Jambudvipa Trust) เพื่อกระตุ้นให้ปัจเจกชนและองค์กรต่างๆ จากกลุ่มผู้ด้อยโอกาสใน อินเดีย หันมาริเริ่มและปรับปรุงสถานภาพความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น “พุทธศาสนานิกายมหายานมุ่งเน้นการพัฒนาตนเองเพื่อจุดมุ่งหมาย ในการช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มคนชายขอบเหล่านั้นต้องลงมือทำ

ในตอนนี้” โลกมิตราแสดงความเห็น หลังจากเป็นพระภิกษุได้ประมาณ ๑๐ พรรษา เขาก็หวนกลับไปสู่ชีวิต ฆราวาสและได้แต่งงานกับสตรีชาวพุทธอินเดีย ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ปัจจุบัน

ทั้งสองมีลูกที่โตแล้ว ๒ คน

19

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i19 19

3/8/12 10:58:52 PM


“ผมโชคดีเหลือเกินที่ภรรยาคอยให้ความช่วยเหลืองานที่ผมทำอย่าง มาก ทั้งที่จริงๆ แล้ว ผมเป็นเพียงแค่สามีและพ่อที่ทำงานไม่เต็มเวลา”

โลกมิตรากล่าวหน้าตาย ทำให้ดูราวกับว่ากำลังล้อเล่นอยู่ แม้ ว่ า จะมี ค รอบครั ว แล้ ว แต่ เ ขาก็ มั ก จะปลี ก ตั ว ไปภาวนาเหมื อ น

เมื่อก่อน นาน ๑ เดือนทุกปี ในบริเวณใกล้กับหมู่บ้านที่ครอบครัวอาศัยอยู่ “ภรรยาของผมก็ ป ลี ก ตั ว ไปภาวนาบ้ า งเช่ น กั น ทุ ก ปี ผมตั้ ง ใจจะ สนับสนุนเธอ ดังเช่นที่เธอสนับสนุนผม” โลกมิตรากล่าวพร้อมยิ้มกว้างอีกครั้ง ปั จ จุ บั น สามี ภ รรยาคู่ นี้ ก ำลั ง ทำงานเพื่ อ ก่ อ ตั้ ง สถาบั น นาครชุ น (Nagarjuna Institute) ในเมืองนาคปุระ (Nagpur) เพื่อฝึกอบรมพุทธศาสนาทั้งภาคปริยัติและปฏิบัติขั้นพื้นฐานให้กับชาวพุทธจากที่ต่างๆ ทั่ว อินเดีย “ผมไม่สามารถเข้าถึงผู้ที่อาจจะเป็นพุทธศาสนิกชนได้ทั้งหมด แต่

หวังว่านักเรียนเหล่านั้นจะทำได้” โลกมิตรากล่าว “พวกเขากำลั ง พั ฒ นากองทุ น ชมพู ท วี ป (Jambudvipa Trust)

ในเมืองปูเน (Pune) ของอินเดียเช่นกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้คน

ให้ได้มากขึ้น” “ผมปรารถนาจะประสานความเข้าใจกันระหว่างพุทธศาสนิกชนใน อินเดีย พวกเขาต่างมาจากพุทธศาสนาคนละสาย แต่สมควรเรียนรู้ที่จะ ทำงานและใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสมานฉันท์กลมกลืน” ดุจดัง “มิตรของโลก” โลกมิตรายังอุทิศตนเพื่อส่งเสริมมิตรภาพ ระหว่างชาวพุทธอินเดียกับญาติธรรมชาวพุทธทั่วโลกอีกด้วย “ผมมองไม่เห็นเขตแดนทางภูมิศาสตร์ในความเป็นพุทธ พุทธศาสนา เป็นมรดกของโลก ยิ่งศาสนาพุทธเข้าถึงผู้คนได้มากเท่าไร ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น” 20

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i20 20

3/8/12 10:58:53 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เมื่อคนรักหรือคนใกล้ชิดป่วยหนักจนหมดสติและ อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต คนส่วนใหญ่เลือกที่จะยื้อชีวิต หรือยืดลมหายใจของเขาให้นานที่สุด ด้วยการขอร้องให้ หมอทำทุกอย่างกับร่างกายของผู้ป่วย แม้นั่นจะหมายถึง การก่อความทุกข์ทรมานแก่เขาอย่างมากก็ตาม เหตุผลนั้น มีหลายประการ เช่น ญาติยังทำใจไม่ได้กับการจากไปของ คนรั ก หรื อ เป็ น เพราะยั ง มี ค วามหวั ง ว่ า ปาฏิ ห าริ ย์ อ าจ

เกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นยังมีเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ ญาติมีความเข้าใจว่าการทำเช่นนั้นเป็นสิ่งดีที่สุดที่จะ สามารถทำให้แก่ผู้ป่วยได้ ยิ่งผู้ป่วยเป็นพ่อแม่หรือญาติ ผู้ใหญ่ด้วยแล้ว ก็ถือว่านี้เป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ผู้มีความ กตัญญูจะพึงกระทำในสถานการณ์ดังกล่าว

21

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i21 21

3/8/12 10:58:53 PM


แต่จริงหรือที่การยื้อชีวิตผู้ป่วยอย่างสุดความสามารถเป็นสิ่งดีที่สุด สำหรับเขา การมีลมหายใจยืนยาวอีกไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือนด้วย ความทุกข์ทรมาน ย่อมไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์เป็นแน่ หากความตายจะต้อง

มาถึงตัวอย่างแน่แท้แล้ว จะไม่ดีกว่าหรือถ้าเขาจะมีชีวิตในช่วงสุดท้ายอย่าง ไม่ทุกข์ทรมานและจากไปอย่างสงบ บ่อยครั้งที่เราพบว่าสาเหตุที่ญาติขอร้องให้หมอยื้อชีวิตผู้ป่วยให้นาน ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะไม่รู้ว่ามีวิธีอื่นที่ดีกว่านั้น หลายคนเมื่อรู้ว่ามีวิธีที่

ดีกว่าก็เปลี่ยนใจไม่ขอร้องให้หมอทำทุกอย่างกับร่างกายของผู้ป่วย คุณหมอ สุมาลี นิมมานนิตย์ แพทย์อาวุโสและปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของโรงพยาบาล ศิริราช (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) เล่าว่า เคยดูแลคนไข้ผู้หนึ่งซึ่งป่วยเป็นโรค ไตวายฉับพลัน อีกทั้งระบบต่างๆ ในร่างกายไม่ทำงานแล้ว วันหนึ่งได้รับแจ้ง จากพยาบาลว่า ลูกสาวทั้งสี่คนฝากบอกมาว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ขอให้

ปั๊มหัวใจเต็มที่ ท่านจึงขอพบลูกสาวทั้งสี่คน และชี้แจงว่า ภาวะไตวายนั้น เป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่เกิดกับคนไข้ แม้จะฟอกเลือดให้ คนไข้ก็

ไม่ดีขึ้น และอาจเกิดอันตรายขึ้นด้วยซ้ำ

22

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i22 22

3/8/12 10:58:54 PM


เมื่ออธิบายในทางการแพทย์จบ คุณหมอสุมาลีก็ให้คำแนะนำต่อไปว่า แม้จะไม่ฟอกเลือด ลูกก็ยังสามารถทำอะไรให้แม่ได้อีกมาก ที่สำคัญก็คือ การทำให้แม่มีใจสงบ เช่น คุยกับแม่ในเรื่องบุญกุศล หรือเรื่องที่ท่านฟังแล้ว สบายใจ หากท่านจะต้องจากไป ก็จะไปด้วยดี คุณหมอสุมาลียังย้ำว่า แม้แม่

จะไม่รู้สึกตัว ก็สามารถได้ยินคำพูดของลูกได้ พอพูดมาถึงตรงนี้ ประกายตา ของลูกสาวทั้งสี่ก็วาววับขึ้นมา เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่านี้เป็นสิ่งที่ลูกสามารถ ทำให้แม่ได้ ทั้งหมดขอตัวไปเยี่ยมแม่ทันที หลังจากพูดคุยกับแม่พักใหญ่ ก็

กลับมาบอกพยาบาลว่า ถ้าแม่หัวใจหยุดเต้น ก็ไม่ต้องปั๊มหัวใจแล้ว เขา เข้าใจแล้ว ทุกวันนี้ผู้คนให้ความสนใจแต่เรื่องของร่างกาย จนมองข้ามความสำคัญ ของจิตใจไป ดังนั้นเมื่อจะช่วยเหลือผู้ป่วย จึงคิดถึงแต่การดูแลเยียวยา

ทางกาย และถ้าหมดหนทางที่จะเยียวยากายได้ ก็จะมุ่งแทรกแซงร่างกาย สถานเดียว หรือไม่ก็วางมือไม่ทำอะไรเลย ทั้งๆ ที่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำได้และ ควรทำเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือ การให้ความช่วยเหลือทางจิตใจ เช่น ช่วยน้อมใจ ให้สงบ มีที่พึ่งทางใจหรือพร้อมรับกับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น การช่วยเหลือด้านจิตใจนั้นเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าหมอ พยาบาล และที่สำคัญก็คือ ญาติมิตร โดยไม่ต้องรอผู้เชี่ยวชาญจากไหน ใน อดีตการนำจิตใจผู้ป่วยให้ไปอย่างสงบนั้น เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งของพระภิกษุ แต่ก็มิได้หมายความว่ามีแต่พระภิกษุเท่านั้นที่จะทำเช่นนี้ได้

23

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i23 23

3/8/12 10:58:54 PM


แท้จริงแล้วหมอ พยาบาล และญาติมิตรก็สามารถทำได้ และใน

บางกรณีก็ทำได้ดีกว่าพระด้วย เนื่องจากมีความคุ้นเคยใกล้ชิดและเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วยได้ดีกว่า หลักการสำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยพบกับความสงบในวาระสุดท้าย ของชีวิตนั้น มีไม่กี่ข้อ และสามารถทำได้ไม่ยาก ได้แก่ ๑) ให้ ค วามรั ก ความเมตตาแก่ ผู้ ป่ ว ย คื อ มี ใ จอยากช่ ว ยเหลื อ เขา พร้อมที่จะแบ่งเบาความทุกข์ของเขาด้วยความเต็มใจ ยินดีรับฟังความทุกข์ ของเขา รวมถึงพร้อมที่จะเข้าใจเขา โดยไม่คิดแต่จะสอนเขาหรือแนะนำด้วย ความเคยชินติดปากว่าให้ “อดทน” “ทำใจ” หรือปลอบใจว่า “ไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย” (ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ผู้ป่วยได้ยินซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนไม่มีความหมาย) ๒) ชวนให้นึกถึงสิ่งดีงาม เช่น นึกถึงพระรัตนตรัยหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่

เขานับถือ รวมทั้งบุญกุศลที่ได้บำเพ็ญ สำหรับคนที่ไกลวัดไกลศาสนา ก็ชวน ให้เขานึกถึงความดีที่ได้ทำ หรือสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของเขา ที่ช่วยให้ รู้สึกว่าชีวิตของตนนั้นมีคุณค่า นอกจากนั้นยังอาจชวนเขาทำสังฆทาน หรือ แจ้ ง ให้ เ ขาทราบว่ า ได้ ไ ถ่ โ คกระบื อ ในนามของเขาเพื่ อ อุ ทิ ศ บุ ญ กุ ศ ลให้ แ ก่

เจ้ากรรมนายเวร ๓) ช่วยให้เขาปล่อยวางความกังวลหรือปลดเปลื้องสิ่งค้างคาใจ ไม่ว่า จะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน คู่ครอง งานการ เช่น สามีให้คำมั่นแก่ภรรยา ว่าจะดูแลลูกๆ ให้ดี น้องๆ ให้คำมั่นแก่พี่ว่าจะช่วยดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า หรือ สร้างความมั่นใจแก่เขาว่าลูกหลานจะอยู่ได้ด้วยดีแม้ไม่มีเขา รวมทั้งมีการ

ขอขมาขออโหสิต่อกันและกัน เพื่อจะได้ไม่มีสิ่งติดค้างใจกัน ๔) สร้างบรรยากาศแห่งความสงบ เช่น สวดมนต์หรือนั่งสมาธิรอบ เตียงเขา หรือเปิดเพลงเบาๆ ที่เขาชอบ ไม่ควรมีการร้องไห้ฟูมฟายหรือ ทะเลาะเบาะแว้งกันในห้อง พึงตระหนักว่าแม้เขาจะอยู่ในภาวะโคม่า ก็ยัง สามารถรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ 24

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i24 24

3/8/12 10:58:55 PM


ผู้ ป่ ว ยแต่ ล ะคนนั้ น มี ภู มิ ห ลั ง เฉพาะตั ว อี ก ทั้ ง นิ สั ย ใจคอและการ

ให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆ ก็ต่างกัน (รวมทั้งความยึดติดถือมั่น) คนที่น่าจะรู้ดี ที่สุดก็คือญาติมิตรที่คุ้นเคย ดังนั้นเมื่อพบว่าคนรักและคนใกล้ชิดเจ็บป่วย ใกล้เสียชีวิต ญาติมิตรที่คุ้นเคยจึงเป็นผู้หนึ่งที่สามารถช่วยให้เขาจากไป

อย่างสงบได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือทางจิตใจแก่ผู้ใกล้ตาย มาก่อน ก็สามารถเรียนรู้หรือหาประสบการณ์ได้ ทั้งจากหนังสือหรือจากผู้รู้ ว่าจำเพาะหนังสือด้านนี้ก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ (ล่าสุดก็คือ เพื่อรอยยิ้มเมื่อ สิ้นลม ซึ่ง สง่า ลือชาพัฒนาพร กลั่นกลองจากประสบการณ์ยาวนานกว่า ๒๐ ปี ข องกานดาวศรี ตุ ล าธรรมกิ จ พยาบาลผู้ เ ปี่ ย มด้ ว ยเมตตาแห่ ง

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หาดใหญ่) ที่น่ายินดีก็คือ เร็วๆ นี้เครือข่ายพุทธิกาจะเปิดโครงการ “สายด่วนให้

คำปรึกษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย” ผู้ที่มีปัญหาในการให้ความช่วยเหลือทางจิตใจ แก่ผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถติดต่อได้ที่ ๐๒-๘๘๒๔๙๕๒ ทุกวันจันทร์– ศุกร์ เวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๐๐ น. เริ่มตั้งแต่วันที่ ๕ มีนาคมนี้เป็นต้นไป 25

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i25 25

3/8/12 10:58:55 PM


ข้อคิดต่างๆ ของคนเขียนบนเฟสบุ๊คที่น่าสนใจ Vanchai Tantivitayapitak หลายปีที่ผ่านมา เวลาที่มีเรื่องร้ายแรงในสังคมแทบทุกเรื่อง สื่อสุดขั้วทั้งสองฝ่ายยังไม่ทันจะหาข้อเท็จจริง แต่จะฟันธงว่าผู้อยู่เบื้องหลังคือผู้มีบารมีนอกระบบ ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายมีผู้มีบารมีนอกระบบ อย่างเสมอภาคโดยถ้วนหน้า

Phra Paisal Visalo

Geert Wilders นักการเมืองขวาจัดชื่อดังชาวดัตช์ โจมตีศาสนาหนึ่งว่าเป็นอุดมการณ์ “ฟาสซิสต์แบบเบ็ดเสร็จ” (Totalitarian fascist) ว่าแล้วเขาก็เรียกร้องให้ “กำจัด” สัญลักษณ์ของศาสนานั้น รวมทั้งศาสนสถาน และปิดโรงเรียนสอนศาสนาดังกล่าวให้หมด เขาจะรู้ตัวหรือไม่ว่าในขณะที่กล่าวหาคนอื่นว่าเป็นฟาสซิสต์นั้น เขากำลังทำตัวเป็นฟาสซิสต์อย่างชัดเจน เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์ว่า คนที่โจมตีใครหรืออะไรก็ตามว่าเป็นตัวเลวร้าย ง่ายมากที่เขาจะทำ (หรือสนับสนุนให้ทำ) สิ่งเลวร้ายเสียเอง 26

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i26 26

3/8/12 10:58:56 PM


Vira Somboon การเมืองที่ดีและเป็นธรรม ไม่ใช่พื้นที่สำหรับการพิสูจน์ หลักการที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว แต่เป็นพื้นที่สำหรับ การหาทางออกในทางปฏิบัติ เพื่อให้หลักการที่แตกต่าง หรือแม้กระทั่งตรงข้ามกัน สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ต้องทำลายล้างกัน ทั้งยังสามารถถ่วงดุลย์และ เกื้อหนุนกัน เพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมหนึ่งๆ เท่าที่จะสามารถบรรลุได้ในสภาพการณ์ระยะยาวช่วงหนึ่ง -- (สรุปจากมากมายครับ)

27

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i27 27

3/8/12 10:58:56 PM


Kasian Tejapira ที่ว่าแผ่นเสียงตกร่องของนักสันติวิธี.. เมื่อคุณตกเป็นเหยื่อ ของอำนาจ และการต่อสู้เพื่อสิ่งที่คุณเชื่อกำลังดุเดือดเข้มข้น บีบรัด เป็นธรรมดาที่คุณจะรู้สึกได้ที่จะรำคาญนักสันติวิธี ผมก็เคยรู้สึกแบบนี้ โดยเฉพาะเวลาปักใจเชื่อในความชอบธรรม ของพลังการเมืองฝ่ายหนึ่งที่เป็นฝ่ายถูกเอารัดเอาเปรียบ อย่างไม่เป็นธรรม และยังเห็นพวกเขาถูก...อำนาจรัฐ/อำนาจทุน รังแกข่มเหงคาตา ผมโกรธมากที่เพื่อนอาจารย์นักสันติวิธี ไม่เลือกข้าง มันต้องนานจริงๆ เมื่อพายุข้างนอกและ ในใจสงบลงแล้วที่คุณจะเห็นได้ถึงความจำเป็น ที่พวกเขาบางคนไม่เลือกข้าง ไม่เลือกข้าง ไม่ได้แปลว่าไม่ทำอะไร ในท่ามกลางการฆ่ากัน อย่างเมามันไม่ฟังเสียงปราม ในท่ามกลางอันตรายของลูกหลง ความเข้าใจผิด และความเกลียดชัง (ผมหมายถึงระหว่างเวลา อย่างเมษา-พฤษภาอำมหิต เป็นต้น) นักสันติวิธีที่ผมรู้จัก เดินหน้าทำงานหาทางออกให้ผู้คนไม่ต้องฆ่ากันอย่างไม่หยุด อย่างกล้าหาญ อย่างยืนหยัด อย่างอดทน คุณจะเอาอะไรล่ะ? ตั้งแต่วิ่งเข้าพูดคุยกับผู้มีอำนาจสั่งการทั้งสองฝ่าย, ติดต่อหาทางพาคนออกจากที่ชุมนุมไปยังเขตอภัยทานที่สร้างขึ้น, นัดประชุมแกนนำทุกฝ่ายเพื่อพูดคุยหาจุดร่วมและทางลง เท่าที่เป็นไปได้ ทั้งก่อนขัดแย้ง ระหว่างขัดแย้ง และหลังขัดแย้ง แม้แต่ข้อเสนอต่างๆ ที่ให้มีพื้นที่พูดเรื่องนี้, ให้ได้ประกันตัว แก่ผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์ ฯลฯ ก็ริเริ่มโดยพวกเขา เงียบๆ น่าเสียดายที่พวกเขาไม่ได้ออกมาโฆษณาบอกกล่าวป่าวร้อง 28

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i28 28

3/8/12 10:58:56 PM


ให้สังคมทราบ สังคมจึงหมั่นไส้โกรธเคืองพวกเขานัก ว่าไม่ทำอะไร แผ่นเสียงตกร่อง ไม่เลือกข้าง ด้วยความเคารพ ผมยังไม่เห็นคนกลุ่มไหนแคร์คุณค่าชีวิตมนุษย์ และริเริ่มสร้างสรรค์ในท่ามกลางการทำร้ายฆ่าฟันกัน เทียบเท่าพวกเขาเลย แน่นอน นักสันติวิธีมีหลายกลุ่ม หลายแนวคิด บางกลุ่มก็อาจไม่สร้างสรรค์ ท่องคาถาสำเร็จรูป หรือกระทั่งรับใช้อำนาจ ให้ความชอบธรรมกับระเบียบอธรรม ของอำนาจ แต่ไม่ใช่ทุกกลุ่ม ดังนั้นเราไม่ควรเหมารวม เราไม่ชอบที่ใครมาเหมารวมพวกเรา เราถือว่าการที่มาตราหน้า เหมารวมว่าพวกเราคิดเหมือนกัน กล่าวหาเสียๆ หายๆ โดยฝ่ายอำนาจนั้นไม่ชอบธรรม เราก็ไม่ควรทำเช่นนั้นกับคนอื่น รวมทั้งนักสันติวิธี

สภาพทางการเมืองในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมามีพลวัตสูง บางด้านก็เปลี่ยนแปลงเร็วยิ่ง แต่บางด้านก็ไม่เปลี่ยน ยังติดหล่ม ติดกับดัก และเป็นตัวก่อปัญหาความเสี่ยงต่อความรุนแรงอยู่ ในขณะที่ไม่จำต้องยืนยันยอมรับหรือปกป้องทุกอย่าง ที่นักสันติวิธีกลุ่มต่างๆ พูดหรือเสนอ แต่เป็นไปได้ไหมว่า ที่เนื้อหาบางส่วนในข้อเสนอของพวกเขาฟังดูซ้ำซาก จำเจ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง ก็เพราะความเป็นจริงบางส่วน ก็ตกร่องด้วย คนจำนวนมากไม่เปลี่ยนวิธีคิดพฤติกรรม อันสุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง แผ่นเสียงของผมตกร่องมานานปี ตั้งแต่ผมเดินออกจากป่าและตัดสินใจวางปืนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ เป็นโชคดีในชีวิตผม ที่ในช่วงจังหวะนั้น ผมพบนักสันติวิธี ที่เป็นครู เป็นเพื่อ น เป็นกัลยาณมิตร ที่ทำงานทั้งเบื้องหน้า และทำงานเบื้องหลังอีกเยอะแยะมากมายยิ่งกว่าเบื้องหน้า 29

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i29 29

3/8/12 10:58:57 PM


ในฐานะคนที่เคยอยู่ในสถานการณ์สงครามที่คนฆ่าคนด้วยกัน และได้ผ่านเหตุการณ์ที่คนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันกลางเมือง เพราะเหตุผลทางอุดมการณ์และการเมืองมา ๔-๕ ครั้งแล้ว สำหรับผม ขอพูดจากประสบการณ์ว่า อุดมการณ์อาจจะสำคัญ แต่สันติวิธีสำคัญกว่าอุดมการณ์ มันแปลทางปฏิบัติว่า ทุกฝ่ายสู้เพื่ออุดมการณ์ตัวเองได้ โดยไม่ต้องฆ่ากัน เผื่ออุดมการณ์ผิด จะได้มีชีวิตไปเรียนรู้ และต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ใหม่ได้

30

ดังนั้น ประเด็นสำคัญใน ๕ ปีที่ผ่านมา และยังเป็นความจริง ตกร่องอยู่ ให้แผ่นเสียงต้องตกร่องตาม คืออันนี้ครับ ๑) อันตรายของอาการคลั่งลัทธิคับแคบสุดโต่ง เพราะในนามของการแสวงหาเป้าหมายในอุดมคติอันหนึ่ง มันกลับมองข้าม ละเลยและทำร้ายอุดมคติอื่นทั้งหมด ทั้งที่เอาเข้าจริงชีวิตมนุษย์มีหลากหลายมิติและไม่อาจอยู่ อย่างมีความสุขและความหมายได้ในโลกที่แห้งแล้งบริสุทธิ์ ภายใต้อุดมคติหนึ่งเดียว ๒) วิธีการสำคัญกว่าเป้าหมาย เพราะวิธีการคือหน่ออ่อนของเป้าหมายที่กำลังคลี่คลาย ขยายตัวไปประจักษ์เป็นจริง ฉะนั้นวิธีการที่ผิดพลาดชั่วร้าย ย่อมไม่อาจนำไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องดีงามได้ ๓) ไม่มีหลักการนามธรรมใดในโลกมีค่าควรแก่การเอาชีวิตผู้อื่น ไปสังเวย แผ่นเสียงของผมตกร่องอยู่ตรงนี้มา ๕ ปีแล้ว เพราะความเป็นจริงก็ตกร่องอยู่ตรงนี้มา ๕ ปีเช่นกัน ฝ่ายต่างๆ ในความขัดแย้งยังมีลักษณะบ้าลัทธิคับแคบสุดโต่ง, ไม่เลือกวิธีการ, และพร้อมจะเอาชีวิตมนุษย์ ทั้งของฝ่ายตนเอง และฝ่ายตรงข้ามไปสังเวยหลักการนามธรรมที่ตนเชื่อ เก่งจริงมาช่วยกันไปให้พ้น ๓ ข้อนี้สิ แล้วจะเปิดแผ่นใหม่

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i30 30

3/8/12 10:58:57 PM


Sulak Sivaraksa FC “การดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายของพระย่อมจะช่วยให้เกิด สภาพสังคมที่เอื้อเฟื้อกัน และเกิดความสมดุลของสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้พระธรรมดายังมีเวลาให้กับการเรียนรู้ ศาสตร์สาขาต่างๆ อันจะช่วยให้มนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งปวงหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้”

มูลนิธิ พันดารา อย่าปล่อยให้ชีวิตของเราเหมือนกับวัชพืช เหมือนกิ่งไม้แห้งที่ล่องลอย ตามแรงกระแสน้ำไป ให้เรารู้จักมองหาความหมายของชีวิต ให้ทุกเวลานาทีเป็นเวลาแห่ง ปัญญาที่.. เราจะได้ทำความเข้าใจตัวเรา รู้จักสัจธรรม และเมื่อถึงเวลาที่เกิด การเปลี่ยนแปลงขึ้น เราจะไม่เสียใจ เพราะเราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น คือ ธรรมชาติ ขอให้พวกเราภาวนาถึงความเป็นอนิจจังตามแต่วิธีการที่แต่ละคนถนัด แต่ให้เอาประสบการณ์ที่เคยประสบในชีวิตประจำวัน หรือเหตุการณ์ที่เคย เกิดขึ้นในโลกมาขบคิด การทำสมาธิในที่นี้คือการที่เราขบคิดเกี่ยวกับเรื่อง นั้นๆ จนกระทั่งเราเกิดความรู้สึกตื่นรู้จากภายในและเข้าใจอย่างถ่องแท้ ขอให้เราดำรงอยู่อย่างมีความหมายมากที่สุด การดำรงชีวิตอยู่อย่าง

มีความหมาย หมายความว่าให้เราปฏิบัติธรรม นั่นคือความหมายที่ดีที่สุดของชีวิต พระอาจารย์ลาตรี เคนโป เกเช ญีมา ทรักปา ริมโปเช 31

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i31 31

3/8/12 10:58:57 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ตอนที่หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ ได้รับนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัด ภูเขาทอง เมื่อปี ๒๕๒๐ นั้น บ้านท่ามะไฟหวานได้ชื่อว่าเป็น “ดงเลือด” เพราะนอกจากจะ ดกดื่นด้วยอบายมุข โดยเฉพาะสุรา และการพนันแล้ว ยังมีการตีรัน

ฟันแทงและชกต่อยกันเป็นประจำ เนื่องจากเป็นบ้านป่าบนหลังเขา ไกลหูไกลตาเจ้าหน้าที่ จึงมีโจรผู้ร้ายมาหลบซ่อนพักพิงและก่อเรื่อง ทะเลาะวิวาทกันอยู่เสมอ แต่เมื่อหลวงพ่อไปเป็นประธานสงฆ์ที่นั่น ได้ พยายามชักนำชาวบ้านให้ตั้งอยู่ในธรรม มีทั้งชักชวนให้เข้าวัดถือศีล และออกไปสอนธรรมในหมู่บ้าน บ่อยครั้งท่านยังทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย

ชาวบ้าน ที่วิวาทบาดหมางให้คืนดีกัน ความที่ท่านมีศีลาจารวัตรงดงาม เปี่ยมด้วยเมตตากรุณา และ

มีจิตใจเยือกเย็นหนักแน่นมั่นคง อันเป็นผลจากกรรมฐานที่ท่านบำเพ็ญ อย่างช่ำชอง หลวงพ่อคำเขียนจึงเป็นที่นับถือศรัทธาของชาวบ้านและ

ได้รับการเคารพเชื่อฟัง แม้กระทั่งในหมู่คนที่เคยเป็นผู้ร้ายมาก่อน ความสุขสงบที่เกิดขึ้นได้ทำให้ท่ามะไฟหวานเติบใหญ่จนทุกวันนี้ได้รับ การยกฐานะเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ หลวงพ่ อ คำเขี ย นมี วิ ธี ก ารที่ นุ่ ม นวลในการชั ก จู ง ผู้ ค น ขณะ เดี ย วกั น ก็ มี ค วามเข้ า ใจในจิ ต ใจของผู้ ค นเป็ น อย่ า งดี จึ ง สามารถ

ชี้ ท างออกหรื อ เตื อ นสติ ใ ห้ แ ก่ ช าวบ้ า นในยามที่ ป ระสบปั ญ หาได้

คราวหนึ่ ง มี ช ายหนุ่ ม วั ย ฉกรรจ์ ม าบวชและพำนั ก กั บ ท่ า น หลวงพ่ อ

จึงสอนกรรมฐานและแนะนำให้พระรูปนั้นหมั่นเดินจงกรม ไม่กี่วันพระ รูปนั้นก็มาขอลาสิกขา โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากปฏิบัติธรรม เพราะ

ไม่ได้มาบวชเพื่อเดินจงกรม แต่ที่มาบวชก็เพราะพี่มาขอให้บวช

32

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i32 32

3/8/12 10:58:58 PM


หลวงพ่อปฏิเสธที่จะทำตามคำขอของพระรูปนั้น และแนะให้

ไปเดิ น จงกรมต่ อ พระใหม่ อ อกไปเดิ น ได้ สั ก พั ก ก็ ก ลั บ มาขอสึ ก อี ก หลวงพ่อทำทีไม่สนใจ ไล่ให้กลับไปเดินต่อ ทีนี้พระใหม่ยืนกรานขอสึกให้ได้ หลวงพ่อจึงถามว่า “อะไรพาให้คุณมาหาผม?” “ความคิดครับ” พระใหม่ตอบ “มันคิดแล้วต้องทำตามความ คิ ด ทุ ก อย่ า งหรื อ ? ถ้ า คุ ณ ทำตาม ความคิดทุกอย่าง ไม่แย่หรือ?” หลวงพ่ อ แนะให้ พ ระใหม่ ดู ความคิ ด และคอยทั ก ท้ ว งความคิ ด

ในใจตนบ้าง ได้ ยิ น เช่ น นั้ น พระรู ป นั้ น ก็ เ ดิ น หายไป รุ่ ง เช้ า ก็ ม าหาหลวงพ่ อ พร้อมทั้งกราบหลวงพ่ออย่างนอบน้อม และเปิดเผยว่า ถ้าหลวงพ่อ

ไม่ทัดทานเขาเมื่อวันก่อน เขาก็จะต้องฆ่าคนแน่ เพราะตั้งใจว่าจะสึกไป ฆ่าคนสองคนให้หายแค้น เขาวางแผนแล้วว่า จะไปเอาปืนและรถที่ไหน เพื่อจัดการกับสองคนนั้น แต่เมื่อหลวงพ่อแนะให้เขาดูความคิด เขาจึง ได้สติขึ้นมา เปลี่ยนใจไม่สึกดีกว่า พระรูปนั้นจึงบวชต่อ เวลาผ่านไปร่วม ๒๐ ปีก็ยังครองเพศ บรรพชิตอยู่ มีชีวิตที่สงบเย็น ทั้งนี้เพราะมีจุดเปลี่ยนสำคัญในวันที่ หลวงพ่อแนะนำให้เขาทักท้วงความคิดนั่นเอง 33

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i33 33

3/8/12 10:58:58 PM


แคร์เพื่อนมากไป

สนใจเพื่อน ปุจฉา : จนไม่มีสุข หนูมีเรื่องรบกวนปรึกษาค่ะ พระอาจารย์เจ้าคะ หนูควร จะวางใจอย่างไรดี หนูมีความ น้อยใจเพื่อนเรื่องหนึ่งค่ะ คือว่าหนูจะต้องคอยแคร์เพื่อนตลอดเวลา บางเรื่อง ทั้งๆ ที่หนูไม่ได้ผิดอะไร และที่สำคัญ มันก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนอะไรกับ เขาด้วยซ้ำ แต่มันกลับกลายเป็นว่าหนูต้องขอโทษเขา บางครั้งหนูเหนื่อยค่ะ ที่ทำไมพวกเราไม่คบกันคนละครึ่งทาง ปรับตัวเข้าหาซึ่งกันและกัน บางครั้ง หนูทำอะไร เขาก็คิดไปต่างๆ นานาแต่ไม่เคยคิดจะถามหนูว่าหนูทำอย่างนั้น จริงหรือไม่ เพราะอะไร มันเลยเหนื่อยค่ะ แต่ว่ามันใกล้จะจบแล้ว และก็ต้อง ทำงานหลายๆ อย่างร่วมกันอีก เลยทำให้หนูแอบกังวลในใจ หนูควรทำอย่าง ไรดีคะ ขอบคุณมากค่ะ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ปัญหาส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการที่คุณ แคร์เขามากไป ยอมตามเขาไปทุกเรื่อง เขาก็เลย “ได้ใจ” กลายเป็นคนทำ ตามใจตัวเองเวลามีคุณอยู่ด้วย เพราะรู้ว่ายังไงคุณก็ไม่กล้าขัดเขา แต่จะ คล้อยตามเขาเสมอ อาตมาเชื่อว่าเขาคงไม่ทำเช่นนี้กับเพื่อนที่กล้าพูดกล้า แย้งเขา ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากทุกข์ไปกว่านี้ และไม่อยากให้เขาเป็นคนนิสัย เสี ย มากไปกว่ า นี้ ก็ ค วรกล้ า พู ด กล้ า ท้ ว ง หรื อ กล้ า แสดงความคิ ด เห็ น ที่

แตกต่างจากเขาบ้าง พูดง่ายๆ คือคุณต้องเป็นตัวของตัวเองมากกว่านี้ ลึกๆ คุณคงกลัวว่าเขาจะไม่ชอบคุณ หรือกลัวว่าเขาจะไม่พอใจคุณ

คุณก็เลยตามใจเขาทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องที่คุณไม่ผิด คุณก็ต้องขอโทษเขา ถามว่าทำไมคุณกลัวเขาไม่ชอบคุณ ก็คงเพราะคุณต้องการพึ่งพาเขาในทาง จิตใจ คุณคงไม่เชื่อมั่นในตัวเอง หรือไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง แต่จะรู้สึกว่า

34

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i34 34

3/8/12 10:59:00 PM


ตัวเองมีคุณค่าต่อเมื่อคนอื่นยอมรับในตัวคุณ ความคิดเช่นนี้จึงทำให้คุณแคร์ ความรู้สึกของคนอื่นเสมอ อาตมาคิดว่าคุณต้องหันมาเห็นคุณค่าของตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง ถ้าคุณทำได้ คุณจะพึ่งพาความพอใจหรือการยอมรับของคนอื่นน้อยลง แล้ว คุณจะมีความสุขมากขึ้น อาตมาไม่ได้แนะนำให้คุณเลิกคำนึงถึงความรู้สึก ของคนอื่นเสียทีเดียว หากคุณทำเช่นนั้นคุณก็อาจจะกลายเป็นคนเอาแต่ใจ ตัวเอง เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นสิ่งไม่ดีเพราะจะทำให้คุณทุกข์และ

คนอื่นก็จะทุกข์เพราะคุณด้วย

กลัวผี

เอเชียวูแมน เค เอส ปุจฉา : ดิฉัน ศึกษาธรรมะมือใหม่จากอินเตอร์เน็ทมา ๕ เดือนได้แล้ว ชีวิตดีขึ้นเรื่อยเรื่อย พบแต่สิ่งที่ดีดิฉันสนใจตั้งใจ แต่เมื่อ อาทิตย์ที่แล้วเพียงแค่หนึ่งอาทิตย์ไปฟังเรื่องภูตผีวิญญาณ ด้วยความเป็น

คนสนใจอะไรแล้วจะศึกษาอย่าจริงจริง พอเชื่อว่าวิญญาณมีจริงผีมือจริง เกิดอาการหลอนหวาดกลัวได้ยินเสียงโน้นนี่ เห็นโน่นเห็นนี่ อาจจะใช้คำว่า จิตตกได้เลย สองวันมาแล้วทำอะไรไม่ได้ ช่วยหาวิธีปรับจิตใจให้หน่อยได้ ไหมค่ะ ทรมานเหลือเกิน อยากให้จิตใจดีเหมือนเดิม ไม่รู้จะเป็นแบบนี้

อีกนานไหม นอนเปิดไฟ ๒๔ชั่วโมงมาสองวันแล้ว ดิฉันอยู่คนเดียวยังไม่มี งานทำ ก็ต้องอยู่บ้านตลอดเวลา แล้วความกลัวมันทำให้เดินระแวงอยู่ในบ้าน คนเดียวปรึกษาใครก็ดีขึ้นแปบเดียวแล้วก็กลัวอีกแล้ว ช่วยแนะนำเอาบุญ หน่อยเถอะค่ะ กำลังใจที่เคยมี การแผ่เมตตาที่เคยทำก็หยุดหมด เกิดอาการ กลัวว่ายิ่งทำแล้วเดี๋ยวจะเจอสิ่งที่อยากเจอมาใกล้ตัวมากขึ้น คิดดูเอาเถอะค่ะ ว่าตอนนี้ประสาทกินไปถึงไหนแล้ว 35

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i35 35

3/8/12 10:59:00 PM


พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ไม่ใช่ผีหรือวิญญาณหรอกที่ทำให้คุณ กลัวจนทุกข์ร้อนหวาดระแวงนั้น แต่เป็นเพราะใจของคุณเองที่ปรุงแต่งไป ต่างๆ นานา แค่หยุดความปรุงแต่งเสีย คุณก็จะเป็นสุข ลองหันมาดูใจของ ตน เห็นอาการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นกับใจคุณ สังเกตไหมว่าเวลาคุณหวนไปคิด เรื่องอื่น ความกลัวจะหายไป ดังนั้นจึงอย่าปล่อยใจฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไป อย่างไร้ทิศทาง วิธีหนึ่งที่ช่วยได้ก็คือสวดมนต์ การสวดมนต์นอกจากทำให้

ใจคุณไม่ปรุงแต่งถึงผีหรือวิญญาณแล้ว ยังทำให้ใจคุณระลึกถึงพระรัตนตรัย เกิดศรัทธาและความอิ่มเอิบ รวมทั้งเกิดแกล้วกล้าอาจหาญในธรรมด้วย เวลาเกิดความกลัวเมื่อใดก็ควรสวดมนต์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับคุณของพระ รัตนตรัย (เช่น อิติปิโส พาหุง) ก็จะช่วยลดความกลัวและความปรุงแต่ง

ได้ ถ้าคุณมั่นใจในอานุภาพของพระรัตนตรัยรวมทั้งเชื่อมั่นในบุญกุศลหรือ คุณงามความดีที่คุณบำเพ็ญแล้ว ก็ไม่มีอะไรต้องกลัว อันที่จริงการเจริญเมตตาก็ช่วยได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงนิยมให้สวดบท กรณียเมตตสูตร เมตตาที่เกิดขึ้นสามารถระงับความกลัวได้ ไม่ว่าจะมีภัย

จากสัตว์ชนิดใดมาคุกคาม นอกจากการตั้งสติแล้ว การมีจิตเมตตา ปรารถนาดี ต่อสัตว์เหล่านั้น ก็ช่วยให้ใจสงบและส่งผลต่อสัตว์เหล่านั้นด้วย อีกวิธีหนึ่งก็คือให้หมั่นรู้เท่าทันใจของตน โดยเฉพาะเมื่อความกลัว

เกิดขึ้น แทนที่จะส่งจิตออกนอกหรือระแวงสิ่งที่อยู่รอบตัว ให้หันมาดูใจของ ตน ดูความกลัวที่เกิดขึ้น นั่นคือมีสติ พยายามมองมันด้วยใจที่เป็นกลาง

ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ความกลัวนั้นถ้าปล่อยให้มันเกิดขึ้น โดยไม่มีสติรู้ทัน มัน

ก็จะอาละวาดทำร้ายจิตใจของคุณได้ร้อยแปดพันเก้า มีพุทธพจน์ว่า “จิตที่ ตั้งไว้ผิดย่อมนำความเสียหายให้ ยิ่งกว่าศัตรูต่อศัตรูหรือคนจองเวรต่อคน จองเวร จะพึงทำให้กันเสียอีก” เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ก็ควรกำกับจิตให้ตั้งไว้ใน

ทางที่ถูก 36

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i36 36

3/8/12 10:59:01 PM


ควรสร้างบารมี แบบไหนก่อน

จันลักษณ์ พุทธายกมังกร ปุจฉา : มนุษย์เราควรที่จะแสวงหา บารมีทางโลกหรือทางธรรมก่อน

ดีครับ

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ไม่ทราบว่า “บารมี” ที่คุณถามนั้น

หมายถึงอะไร ถ้าหมายถึงอำนาจวาสนา ชื่อเสียงเกียรติยศ หรือทรัพย์สมบัติ อันนี้มีความหมายต่างจากบารมีในพุทธศาสนา ซึ่งหมายถึง “คุณความดีที่ บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง” (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของพระพรหมคุณาภรณ์) บารมีอย่างหลังซึ่งคงตรงกับบารมีทางธรรมที่คุณ พูดถึงนั้น ได้แก่ ทาน ศีล ปัญญา วิริยะ ขันติ เมตตา อุเบกขา เป็นต้น เป็น สิ่งที่เราควรทำตลอดเวลาเพราะสามารถให้ความสุขแก่เราได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ส่วนบารมีทางโลกนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เสื่อมสลายหรือถูกแย่งชิงได้ อีกทั้งยังเป็นที่หมายปองของคนอื่น จึงทำให้คุณมีศัตรูโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น

จึงเป็นที่มาแห่งความทุกข์ อีกทั้งยังอาจชักนำคุณไปในทางเสื่อมได้เพราะ

ลุ่ ม หลงในสิ่ ง นั้ น จนเกิ ด ความประมาทหรื อ หลงตั ว ลื ม ตน แต่ ก็ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าเป็นสิ่งที่คุณควรปฏิเสธ หากคุณรู้จักใช้หรือเกี่ยวข้องกับมัน อย่างถูกต้อง (เช่นไม่ยึดติดหรือลุ่มหลงมัน) มันก็เป็นโทษน้อย เป็นคุณมาก จะทำเช่นนั้นได้คุณต้องมีธรรมะ หรือบารมีในทางพุทธศาสนาอย่างที่ว่า ถ้าจะตอบคำถามของคุณตรงๆ ก็อยากจะบอกว่า ควรบำเพ็ญบารมี

ในทางพุทธศาสนาก่อนเพื่อเป็นเครื่องกำกับบารมีทางโลกให้เป็นไปในทางที่ ถูกต้อง ก่อทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวม 37

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i37 37

3/8/12 10:59:01 PM


ไม่ชอบเรียนวิชา บางวิชา

เบื่อเรียน ปุจฉา : ทำอย่างไรเมื่อ จำเป็นต้องเรียนในวิชาที่ไม่ชอบและไม่ถนัด และจัดการความทุกข์ขณะเรียนอย่างไร

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ความไม่ชอบกับความไม่ถนัดมักจะมา ด้วยกัน เมื่อไม่ชอบ ก็เลยไม่สนใจ ไม่อยากเรียน จึงไม่ถนัดในวิชานั้น ขณะ เดียวกันเมื่อไม่ถนัด ทำได้ไม่ดี ก็เลยไม่ชอบวิชานั้น ทีนี้จะทำอย่างไร ก็ต้อง เริ่มต้นที่ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก่อน เช่น ถ้าไม่ถนัดวิชาใด ก็ต้องใส่ใจเรียน วิชานั้นให้มากขึ้น รวมทั้งหมั่นทบทวนและขยันทำแบบฝึกหัด ยิ่งทำ ความ ถนัดก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น เมื่อทำแล้วได้ผลดี ทั้งในแง่ของ ความรู้ความเข้าใจและเกรดที่ออกมา ก็จะชอบวิชานั้นในที่สุด อยากให้คุณตระหนักว่าความถนัดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาเองหรืออยู่ได้ ลอยๆ แต่ ต้ อ งอาศั ย การฝึ ก ฝนหรื อ ความเพี ย รพยายามอย่ า งสม่ ำ เสมอ แม้แต่นักดนตรีที่เก่งหรือนักฟุตบอลที่สามารถ ก็ยังต้องฝึกฝนทุกวัน ขณะเดียวกันเวลาเรียนวิชาที่ไม่ชอบ ก็ให้หมั่นสังเกตใจที่ไม่ชอบด้วย อย่าปล่อยให้ความรู้สึกนั้นครอบงำใจของคุณ ไม่เช่นนั้นมันจะคอยรบกวน จิตใจคุณตลอดเวลาที่เรียนวิชานั้น ลองสังเกตอาการผลักไส ต่อต้าน ขัดขืน ที่เกิดขึ้น ถ้าคุณไม่รู้เท่าทันมัน มันจะทำให้คุณเป็นทุกข์กับการเรียน อ่านอะไร

ก็ไม่เข้าหัว อีกทั้งยังรู้สึกท้อแท้ง่าย ใจไม่สู้ ลองตั้งใจใหม่ว่า ใจมันจะงอแง อย่างไร ฉันก็ไม่สนใจ จะอ่านจะเรียนจบจบชั่วโมงหรือตามเวลาที่กำหนด อยากจะเพิ่มเติมว่า ในช่วงแรก แม้จะขยันเพียงใด ผลการเรียนอาจ จะออกมาไม่ดี เพราะไม่ถนัด แต่ก็อย่าท้อถอย อย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น

โดยเฉพาะคนที่เก่งกว่าคุณ ไม่เช่นนั้นคุณจะท้อได้ง่าย ถ้าจะเปรียบ ก็ควร เปรียบกับตอนที่คุณไม่ขยัน หากขยันแล้วผลออกมาดีกว่าเดิม ก็ควรพอใจ และภูมิใจ หากทำใจอย่างนี้ได้คุณจะมีกำลังใจที่จะทุ่มเทความเพียรยิ่งกว่า เดิม ขอให้แน่ใจว่าเมื่อขยันไม่หยุด คุณจะเรียนเข้าใจมากขึ้น ทำแบบฝึกหัด ได้ดีขึ้นและผลการเรียนจะดีขึ้นตามมา ในที่สุดความไม่ชอบวิชานั้นก็จะ

ลดลง จนบางทีอาจกลายเป็นชอบไปก็ได้ 38

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i38 38

3/8/12 10:59:02 PM


เอียน แพสโค บริษัทแกรนท์ธอร์นตันเปิดเผยผลสำรวจระดับผู้บริหาร กลุ่มประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหลักในเรื่องความเครียดพบว่าผู้บริหาร ไทยมีความเครียดอยู่ในอันดับ ๕ ของโลกในปีที่ผ่านมา รองจากประเทศกรีซ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม โดยเฉพาะในเดือนพฤศจิกายนช่วงที่ประเทศไทย กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ผู้บริหารเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นจากปี ๕๓ ที่มี ๑๐% เป็น ๕๕% ในปี ๕๔ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริหารไทยลาหยุดพักร้อน เพียงแค่ ๘ วัน ในปี ตามหลังญี่ปุ่นที่ลาพักร้อนเฉลี่ยที่ ๕ วัน และจีน ๗

วัน ต่างกับเนเธอร์แลนด์ รัสเซีย และเดนมาร์ก มีตัวเลขการลาหยุดพักร้อน สูงที่สุดและมีระดับความเครียดต่ำที่สุด เผยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เยาวชนไทยตามกระแสโลกาภิวัตน์ แบบแผนชีวิตเปลี่ยนไปตามแบบบริโภคนิยม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง ขาดกิจกรรมสร้างสรรค์ ยิ่งสถาบันทางสังคมและครอบครัวอ่อนแอ ทำให้ เยาวชนและครอบครัวมีปัญหาด้านสุขภาพ ผลสำรวจสุขภาพในปี ๒๕๕๑๒๕๕๒ พบคนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปน้ำหนักเกิน ๑.๖ ล้านคน รวมผู้ใหญ่ ลงพุ ง ๑๖.๒ ล้ า นคน สู บ บุ ห รี่ ๑๒ ล้ า นคน ดื่ ม สุ ร าและเครื่ อ งดื่ ม

39

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i39 39

3/8/12 10:59:02 PM


แอลกอฮอล์ ๒๓ ล้านคน ด้านสติปัญญาและพัฒนาการของวัย ๑๕ ปีขึ้นไป ประมาณ ๑ ใน ๕ มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป พบในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรม ที่บั่นทอนสุขภาพ โดยประมาณ ๒ ใน ๓ มีนอนดึก พักผ่อนน้อย และ ๑

ใน ๔ มีปัญหาความเครียด เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง และยังมีพฤติกรรมเสี่ยงทาง เพศและตั้งครรภ์ก่อนวัยอันสมควร มีแนวโน้มปัญหาที่ทวีความรุนแรง อลิ ธ ซาเบธ โมสสต็ อ ฟสกี้ ที ม วิ จั ย ศู น ย์ ก ารแพทย์ Beth Israel Deaconess ในเมืองบอสตัน เผยว่าผู้ที่เพิ่งสูญเสียคนรักและใกล้ชิดมีโอกาส เป็นหัวใจวายเพิ่มขึ้น ๒๑ เท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงปกติ แนวโน้มยิ่งเสี่ยง

เพิ่ ม ขึ้ น ในวั น ถั ด ๆ มา ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ท ำให้ เ กิ ด ความรู้ สึ ก เศร้ า โศกเสี ย ใจ

หลังการเสียชีวิตของคนสนิท ได้แก่อารมณ์ทางลบต่างๆ ที่เป็นเหตุให้ระดับ การเต้นของหัวใจให้ถี่ขึ้น เช่น ซึมเศร้า โกรธ เครียด ทำให้ความดันเลือด โลหิตสูงขึ้น ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่ออาการหัวใจวายในเวลาต่อมา 40

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i40 40

3/8/12 10:59:03 PM


สวนดุสิตโพลเผยผลสำรวจช่วงต้นเดือนมกราคมเกี่ยวกับกระบวนการ ยุติธรรมพบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อบุคลากรที่เกี่ยวข้องอันดับ ๑ คือ ผู้พิพากษา/อัยการ เพราะเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพศรัทธาของคนทั่วไป ,ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด, อยู่ในกรอบของศีลธรรมและ กฎหมาย ดำรงไว้ ซึ่ ง ความยุ ติ ธ รรม ฯลฯ รั้ ง ท้ า ยด้ ว ยอั น ดั บ ๔ ตำรวจ อย่างไรก็ตาม ความต้องการของประชาชนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา/ อัยการ ที่มากที่สุดคือ ให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ส่วนความต้องการต่อตำรวจคือ ความซื่อสัตย์ต่อ หน้าที่ ผดุงความยุติธรรม รับใช้ประชาชน เปิดเผยผลวิจัยเอแบคเรื่องที่ห่วงมากที่สุดจากการปลุกระดมทำลาย สถาบันหลักของชาติคือความแตกแยกรุนแรงของคนในชาติ และรู้สึกว่ามีแต่ เรื่องวุ่นวายไม่จบสิ้น เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านกำลังพัฒนาไปได้ด้วยดี ส่วนที่เป็นเรื่องใหญ่ในสังคมไทยระบุว่า ระบบเด็กเส้น เด็กฝากในการแต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการเป็นปัญหาใหญ่เกิดขึ้นในทุกรัฐบาลทำให้ประชาชนไม่ได้รับ การปฏิ บั ติ ที่ ดี เพราะข้ า ราชการเด็ ก ฝากเหล่ า นั้ น ไม่ ย อมทำงานและมุ่ ง

เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ และข้าราชการที่ถูกเอาเปรียบท้อแท้เพราะถูกเด็กฝาก เด็กเส้นทำลายระบบคุณธรรม 41

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i41 41

3/8/12 10:59:04 PM


เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

42

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i42 42

3/8/12 10:59:14 PM


ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท

ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใส่บาตรให้ได้บุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท้ เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ (มี ๖ แผ่น) แผ่นละ ๕๐ บาท ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒ 43

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i43 43

3/8/12 10:59:23 PM


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนและใบสมัครมายังเครือข่ายพุทธิกาด้วย สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ 44

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i44 44

3/8/12 10:59:24 PM


สวัสดีค่ะกลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ เย็นฤดีมีเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันกันเช่นเคยนะคะ

• โครงการฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา : บุญที่ทุกคนทำได้ มี กิจกรรมดีๆ ที่ทุกคนไม่ควรพลาดเพราะเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ใน การทำบุญด้วยการเสียสละเวลา แรงกายและสติปัญญามาร่วมสร้างสรรค์

สิ่ ง ดี ใ ห้ กั บ สั ง คม ดั ง เช่ น ที่ ผ่ า นมาเมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๑๒ กุ ม ภาพั น ธ์ “โครงการอาสาสร้างสุขให้เด็กในสถานสงเคราะห์” ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งใน

โครงการฯ ได้จัดเปิดตัวโครงการและเปิดรับอาสาสมัครเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม กับเด็กในสถานสงเคราะห์ ๔ แห่ง อาทิ บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด บ้านพญาไท บ้านเฟื่องฟ้า และบ้านราชวิถี (อาสาต้องมีเวลาต่อเนื่อง ๔ เดือน) นอกจากนี้

ยังมีกิจกรรมระยะสั้นให้ท่านเลือกทำตามความสะดวกอีกมากมาย ท่านที่ สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.budnet.org รับรองว่าท่าน

จะไม่ผิดหวังอย่างแน่นอนค่ะ • โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ : มี ข่ า วดี ม าบอก สำหรั บ ท่ า นที่ ต้ อ งการเตรี ย มตั ว เตรียมใจ ของตน หรือต้องการดูแลคนป่วยในระยะ สุดท้ายที่เป็นคนรัก ญาติพี่น้อง เพื่อนในการเผชิญ ความตายอย่างสงบ แต่ไม่แน่ใจหรืออยากได้ข้อมูล โทรคุยกับเราได้ที่ “สายด่วนให้คำปรึกษาดูแลจิตใจ

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ๐๒–๘๘๒-๔๙๕๒” 45

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i45 45

3/8/12 10:59:24 PM


• สำหรับท่านที่กำลังเตรียมตัวเขียนโครงการ เพื่อขอทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ ทางโครงการ สุ ข แท้ ด้ ว ยปั ญ ญา กำลั ง ยื่ น เอกสารนำเสนอต่ อ

กรรมการ สสส. เพื่อต่อระยะที่ ๒ คาดว่าไม่นานเกินรอ ก็จะรู้ผลว่าจะได้ทำต่อหรือเปล่านะคะ (ท่านที่สนใจก็

เตรี ย มๆ เขี ย นโครงการไว้ ไ ด้ เ ลยนะคะไม่ เ สี ย หลาย แน่นอนค่ะ)

• ตบท้ า ยด้ ว ย โครงการส่ ง เสริ ม พระสงฆ์ โ รงพยาบาลและ ชุมชนในการเยียวยาจิตใจผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ผ่านมาได้ อบรมทีมดูแลผู้ป่วย ครบทั้ง ๔ ภูมิภาคแล้ว และเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์

ที่ ผ่ า นมาทางที ม งานได้ ล งไปเยี่ ย มโรงพยาบาลบุ รี รั ม ย์ โ ดยมี คุ ณ เกื้ อ จิ ต ร

แขรัมย์ ซึ่งเป็นพยาบาลที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย อีกทั้งเป็นวิทยากรให้กับเครือข่ายพุทธิกาได้มาต้อนรับและแนะนำให้เรารู้จัก กิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (Community Of Practice COP) ซึ่งเป็นกิจกรรม

ที่เปิดพื้นที่ให้สมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นพยาบาลในแต่ละวอร์ดมาเล่าประสบการณ์ ดูแลผู้ป่วยโดยเพิ่มมิติทางด้านจิตใจ นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล แบบองค์รวมแล้วยังทำให้พยาบาลผู้ดูแลได้เข้าใจคนไข้มากขึ้นและย้อนกลับมา เห็นคุณค่าของตนเอง กิจกรรมดีๆ อย่างนี้คุณเกื้อจิตรยังได้ขยายออกไปใน

โรงพยาบาลระดับอำเภอด้วยถ้าใครสนใจลองติดต่อมาสอบถามที่โครงการฯ ของเราได้ที่หมายเลข ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗ พบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ เย็นฤดี

46

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i46 46

3/8/12 10:59:25 PM


เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธสิ ายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 47

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i47 47

3/8/12 10:59:26 PM


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ กิจกรรมเครือข่ายพุทธิกามีให้ร่วมน่าสนใจมากมาย : จิตอาสา, อาสาข้างเตียง, สุขแท้ด้วยปัญญา ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซื้อหนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร สนใจสมัครด่วน ได้รับ “ธรรมะสำหรับผู้ป่วย” เขียนโดย พระไพศาล วิสาโล (เฉพาะ ๒๐ ท่านเท่านั้น) หนังสือใหม่ ฟรี! ช้าหมด

3/8/12 10:59:27 PM

NewsletterPutVol 46.p.1-48 B&W.i48 48


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.