จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 47

Page 1

เปิด สายด่วนให้คำปรึกษาทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย

02-882-4952


“ครอบครัวอุปถัมภ์” เป็นครอบครัวที่รับเด็กไปดูแลที่บ้านเสมือนเป็นบุตรหลานคนหนึ่งโดย เด็กๆ เหล่านี้มาจากครอบครัวที่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ เหลือแต่แม่บ้าง เครือญาติบ้าง หรือไม่ก็มีแม่หรือพ่อต้องโทษ หรือติดเชื้อเอช.ไอ.วี. หรือไม่ก็มีปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ ขณะนี้

สหทัยมูลนิธิมีครอบครัวอุปถัมภ์จำนวน ๑๐๐ ครอบครัว ที่ช่วยเลี้ยงดูเด็กเหล่านี้ จากสถานการณ์ น้ ำ ท่ ว มใหญ่ ปี ที่ แ ล้ ว สร้ า งความเสี ย หายต่ อ บ้ า นของครอบครั ว อุ ป ถั ม ภ์ ใ น จ.อยุ ธ ยา ปทุ ม ธานี นนทบุรี อย่างหนัก ต้องซ่อมแซมขนานใหญ่ บางรายต้องสร้างใหม่ทั้งหลัง ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ต้องรับภาระหนักยิ่ง พระไพศาล วิสาโล (ประธานเครือข่ายพุทธิกา) และสหทัยมูลนิธิ จึงขอ

เรียนเชิญท่านร่วมทำบุญผ้าป่า บริจาคเพื่อซ่อมแซมบ้านครอบครัวอุปถัมภ์ โอนเงินไปที่ • ธ.กสิกรไทย สาขานานาเหนือ บัญชี “สหทัยมูลนิธิ” เลขที่ ๐๖๓๒๐๗๗๑๖๕ • ธ.กรุงเทพ สาขานานาเหนือ บัญชี “สหทัยมูลนิธิ” เลขที่ ๑๙๗๐๑๒๓๕๕๘ และส่งสำเนาการโอน พร้อมเขียนระบุว่าโครงการผ้าป่าฯ ที่โทรสาร : ๐๒-๓๘๑๘๘๓๗ ติดต่อโทร : ๐๒-๓๘๑๘๘๓๔-๖, ๐๒-๒๙๒๙๓๙๗, ๐๒-๓๘๑๐๙๗๙, ๐๒-๓๘๑๑๓๑๘ e-mail : info@sahathai.org

รักษาใจให้ไกลทุกข์ พระไพศาล วิสาโล เล่มละ ๕๐ ราคา พรวันใหม่ ชีวิตใหม่ พระไพศาล วิสาโล เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง)

ปีนี้เป็นปีพิเศษสำหรับชาวพุทธ เพราะเป็นปีที่ครบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า วันวิสาขบูชาปีนี้จึงมีความพิเศษกว่า

ปีก่อนๆ แม้จะผ่านไปแล้ว แต่ก็ยังมีวันอาสาฬบูชาอีกวันที่มีความสำคัญ พอๆ กัน เพราะเป็นวันครบรอบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการแสดงปฐมเทศนา ของพระพุทธเจ้า กล่าวอีกนัยหนึ่งพุทธศาสนาจะมีอายุครบ ๒,๖๐๐ ปี ในวันเพ็ญเดือน ๘ ที่กำลังจะมาถึงนี้ (ซึ่งตรงกับวันที่ ๒ สิงหาคม) เพราะเป็นวันที่มีการประกาศศาสนาเป็นครั้งแรก การแสดงปฐมเทศนาครั้งนั้นเป็นเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ พุทธศาสนาเพราะเป็นเหตุให้มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก (เริ่มต้น

จากพระอัญญาโกณฑัญญะ) ทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์สาม ขณะ เดี ย วกั น ธรรมที่ ท รงแสดงในวั น นั้ น ได้ ก ลายเป็ น คำสอนสำคั ญ ใน

พุ ท ธศาสนาที่ ช าวพุ ท ธรู้ จั ก หรื อ คุ้ น เคยกั น ดี อาทิ อริ ย สั จ สี่ ทาง

สายกลาง อริยมรรคมีองค์แปด คำสอนเหล่านี้ไม่ได้มีความหมายต่อ ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อผู้คนในยุค ปัจจุบัน เพราะยังสามารถเป็นกุญแจไขไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ หรือแม้จะ ยังไม่ปรารถนาถึงพระนิพพาน ก็สามารถช่วยบรรเทาความทุกข์ในชีวิต ได้ เพียงแค่ทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าทางสายกลางนั้นคืออะไร ก็จะ ช่วยให้หลีกเลี่ยงทางสุดโต่งได้ไม่น้อย และห่างไกลจากความทุกข์ได้มาก เพราะทุกวันนี้ผู้คนส่วนใหญ่ยังพัวพันอยู่กับทางสุดโต่งอยู่มาก ด้านหนึ่ง ก็หลงใหลในกามสุข หมกมุ่นกับบริโภคนิยม อีกด้านหนึ่งก็ติดจมอยู่

ในความทุกข์ และคอยซ้ำเติมโบยตีจิตใจให้ทุกข์หนักขึ้นไม่หยุดหย่อน


พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๒๕ กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๕๕

กลายเป็ น ว่ า หมกจมทั้ ง สุ ข และทุ ก ข์ ตราบใดที่ ยั ง ไม่ ต ระหนั ก ว่ า ตน

หลงอยู่ในทางสุดโต่ง ก็ยากที่จะถอนตนออกมาจากความทุกข์ได้ ยิ่ง การนำเอาอริยมรรคมีองค์ ๘ มาใช้กับชีวิตด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นเรื่องยาก

ทุกวันนี้ความสุดโต่งได้ขยายไปสู่ทัศนคติในการมองโลก รวมไปถึง การมองผู้คนเป็นฝักฝ่ายอย่างชัดเจน แม้กระทั่งคุณค่าที่ดีงาม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต กับความยุติธรรม ก็ถูกแบ่งออกเป็นคนละฝ่าย ทำนองเดี ย วกั บ คุ ณ ธรรม กั บ ประชาธิ ป ไตย ก็ ถู ก แบ่ ง แยกว่ า เป็ น “อุดมการณ์” ของกลุ่มการเมืองคนละกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกัน ทั้งๆ ที่ มนุษย์ย่อมต้องการคุณค่าทั้งสองอย่าง ไม่อาจขาดอันใดอันหนึ่งได้

“พุทธชยันตี” หรือชัยชนะของพระพุทธเจ้า ไม่ควรเป็นโอกาส สำหรับการเฉลิมฉลอง ๒๖ ศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

และการประกาศธรรมของพระองค์เท่านั้น แต่ควรเป็นโอกาสที่เราจะได้ ใคร่ครวญทบทวนชีวิตของเรา และนำเอาคำสอนของพระองค์มาใช้

เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งชีวิต โดยไม่คลาดจากธรรม หรือ

พลัดหลงไปตามกระแสแห่งความละโมบ โกรธเกลียด และความหลง งมงาย ซึ่งกำลังเชี่ยวกรากอยู่ในปัจจุบัน

อย่าผัดผ่อน

๑๙ ๒๔

อาการหลงตนเองบนเฟสบุ๊ค

๒๗

ที่นี่มืดจริงหนอ

๒๙

การปรองดองที่ถูกมองข้าม

อภัยวิถี...สันติวิธีปรองดอง อาจไม่ใช่แค่ออกกฎหมาย

อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา อะไร และอย่างไร ตอนที่ ๑

๑๓

๓๑

๓๕

๓๘

๔๑


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ตรงข้ามกับเดือนตุลาคม พฤษภาคมไม่เคยเป็นเดือนที่ ชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงในประวัติศาสตร์การเมืองไทย สมั ย ใหม่ เ ลย จนกระทั่ ง เมื่ อ ๒๐ ปี ที่ แ ล้ ว พฤษภาคมปี นี้ นอกจากจะเป็ น วาระครบสองทศวรรษเหตุ ก ารณ์ น องเลื อ ด

ปี ๓๕ แล้ว ยังครบสองปีการปราบปรามผู้ชุมนุมปี ๕๓ อีกด้วย ทั้งสองเหตุการณ์กินเวลาหลายวัน และคร่าชีวิตผู้คนไป มากมาย แต่ในขณะที่เหตุการณ์ปี ๓๕ ลงเอยด้วยชัยชนะของ ประชาชนและความพ่ายแพ้ของอดีตคณะรัฐประหาร (ที่หวัง

สืบต่ออำนาจผ่านพรรคการเมือง) เหตุการณ์ปี ๕๓ ไม่มีฝ่ายใด เป็นผู้ชนะเลย ต่างพ่ายแพ้และสูญเสียบอบช้ำทั้งคู่ ตามมาด้วย ความแตกร้าวของสังคมไทยยิ่งกว่าเดิม

หลังจากเหตุการณ์ปี ๓๕ ซึ่งเป็นการรวมพลังเพื่อประชาธิปไตย ครั้งใหญ่ที่สุดหลัง ๑๔ ตุลา ๑๖ เคยเชื่อ (และหวัง) กันว่าจะไม่เกิด เหตุการณ์นองเลือดในเมืองไทยอีก เพราะผู้กุมอำนาจได้รับบทเรียน สำคั ญ ว่ า การใช้ ค วามรุ น แรงไม่ อ าจแก้ ปั ญ หาได้ จ ริ ง ไม่ ว่ า จะใช้ วิ ธี รัฐประหารหรือปราบปรามผู้ชุมนุมก็ตาม ในที่สุดย่อมส่งผลเสียสะท้อน กลับมาสู่ผู้ใช้ความรุนแรงเสมอ การกลับมาของประชาธิปไตย โดยเฉพาะ หลังจากที่มีการวางรากฐานด้วยรัฐธรรมนูญปี ๔๐ “ฉบับประชาชน” ทำให้เชื่อว่าเหตุการณ์นองเลือดจากความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติเสียที แต่ดูเหมือนว่าความคิดแบบอำนาจนิยมจะฝังลึกในหมู่คนไทย การใช้อำนาจหรือความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาจึงเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าปัญหาผู้ก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รวมทั้ง กรณี ก รื อ เซะและตากใบ) ปั ญ หายาเสพติ ด (ฆ่ า ตั ด ตอน) รวมทั้ ง “ปัญหาทักษิณ” (ซึ่งถูกจัดการด้วยวิธีรัฐประหาร) ดังนั้นเมื่อเกิดความ ขัดแย้งทางการเมืองครั้งใหญ่อันเนื่องมาจากการปักหลักประท้วงอย่าง ยืดเยื้อของคนเสื้อแดง ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะยุติง่ายๆ การใช้ความรุนแรง เพื่อสลายการชุมนุมจึงเกิดขึ้นอีกครั้งจนเกิดการบาดเจ็บล้มตายมากมาย เหตุการณ์ดังกล่าวได้ตอกย้ำว่า ความรุนแรงเป็นปัญหาที่ฝังลึก ของสังคมไทย มันกลายเป็นวิถีทางการเมืองอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ผูกติดอยู่ กั บ ระบบเผด็ จ การเท่ า นั้ น แม้ เ ป็ น ประชาธิ ป ไตย ความรุ น แรงก็ ยั ง สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากทัศนคติที่แพร่หลายใน หมู่ผู้คน อาทิ ความคิดแบบอำนาจนิยม รวมทั้งความคิดที่ว่า คนผิด


มีสิทธิเป็นศูนย์ คือ เมื่อตัดสินใครว่า “ผิด” แล้ว ก็สามารถจะทำ อย่างไรกับเขาก็ได้ รวมทั้งฆ่าเขา โดยไม่ต้องสนใจกระบวนการยุติธรรม สาเหตุอีกส่วนหนึ่งที่หนุนเสริมให้เกิดความรุนแรงได้ง่าย ก็คือ ความไม่เป็นธรรมหรือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลือกปฏิบัติ ในระดับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น หากยังมีโครงสร้างและกลไกต่างๆ รองรับ สนับสนุน เช่น โครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์สู่ส่วนกลาง ซึ่ง

ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบและความคับแค้นใจในหมู่ผู้คนในท้องถิ่น ต่างๆ ลำพังช่องว่างที่ถ่างกว้างขึ้นระหว่างคนระดับบนกับระดับล่าง ก็ ทำให้ฝ่ายหลังเกิดความไม่พอใจอยู่แล้ว ยิ่งมาพบว่าตนสิทธิมีเสียงน้อย กว่าคนระดับบน หรือนักการเมืองที่ตนสนับสนุนต้องมีอันเป็นไปด้วย กลวิธีต่างๆ ก็ยิ่งเกิดความคับแค้นใจ ดังนั้นจึงง่ายมากที่จะโดนใจกับคำ ว่า “ไพร่-อำมาตย์” หรือ “สองมาตรฐาน” จนพร้อมที่จะลุกขึ้นมา ประท้ ว งเพื่ อ เรี ย กหาความเป็ น ธรรม การประท้ ว งนั้ น ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ ง ลงเอยด้วยความรุนแรงเสมอไปก็จริง แต่มักนำไปสู่การเผชิญหน้าจน ง่ายที่จะเกิดการปะทะและลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้ โดยเฉพาะเมื่อมีความเชื่อว่าความรุนแรงจะแก้ปัญหาได้

สองปีแล้ว แต่ก็ไม่มีวี่แววว่าเหตุปัจจัยทั้งสองระดับจะได้รับความใส่ใจ อย่างจริงจังแต่อย่างใด แม้จะมีความพยายามหาหนทางปรองดองเพื่อ ลดความแตกแยกก็ตาม จริงอยู่การปรองดองเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่ถึงแม้ จะสำเร็จ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดจะไม่ เกิดขึ้นอีกตราบใดที่เหตุปัจจัยทั้งสองระดับยังคงอยู่ อย่ า งไรก็ ต ามปั ญ หาเฉพาะหน้ า ที่ ก ำลั ง เกิ ด ขึ้ น ก็ คื อ ความ แตกแยกของผู้ ค นในสั ง คม ซึ่ ง ยั ง ไม่ มี ที ท่ า ว่ า ลดลง แม้ จ ะไม่ ถึ ง ขั้ น

เผชิญหน้าด่าทอในลักษณะกลุ่มชน แต่ก็ขยายตัวไปในรูปลักษณ์อื่น กล่ า วคื อ ไม่ เ พี ย งแบ่ ง ฝั ก แบ่ ง ฝ่ า ยในเชิ ง บุ ค คลเท่ า นั้ น แต่ ยั ง มี ก าร

แบ่งฝักแบ่งฝ่ายในเชิงคุณค่าด้วย เช่น แบ่งแยกหรือจัดฝ่ายว่า “คุณธรรม” หรือ “ความดี” เป็นเรื่องของคนเสื้อเหลือง ส่วน “ประชาธิปไตย” หรือ “ความเป็นธรรม” เป็นของคนเสื้อแดง คนเสื้อเหลืองจำนวนไม่น้อยรู้สึก เป็นลบหรือถึงกับรังเกียจหากมีการพูดถึงประชาธิปไตย หรือความเป็น ธรรม ส่วนคนเสื้อแดงหลายคนก็มีอาการอย่างเดียวกันหากมีการพูดถึง คุณธรรม หรือความดี พูดอีกอย่างคือ ตอนนี้ไม่ใช่แต่ตัวบุคคลเท่านั้น

ที่ถูกประทับตราอย่างง่ายๆ แม้แต่คุณค่าก็ถูก “ใส่สีสวมเสื้อ” ว่าเป็น เหลืองหรือแดงเช่นกัน การแบ่ ง ฝั ก แบ่ ง ฝ่ า ยดั ง กล่ า วมี แ นวโน้ ม จะขยายไปถึ ง ประเด็ น ปัญหาต่างๆ ด้วย เช่น ถ้าเป็นเรื่องคอร์รัปชั่น หรือ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

กล่าวโดยสรุปก็คือ เหตุปัจจัยแห่งความรุนแรงนั้น ในด้านหนึ่ง

มีรากเหง้าอยู่ที่ทัศนคติหรือจิตสำนึกของผู้คน อีกด้านหนึ่งก็แฝงฝังอยู่ ในโครงสร้างที่ห้อมล้อมครอบคลุมผู้คนเอาไว้ นั่นหมายความว่าเมือง ไทยจะก้าวข้ามความรุนแรงถึงขั้นนองเลือดได้ก็ต่อเมื่อแก้ไขเหตุปัจจัย ทั้งสองระดับ น่าเสียดายที่แม้เหตุการณ์นองเลือดครั้งล่าสุดผ่านไปได้


สั ม ภ า ษ ณ์ พิ เ ศ ษ “ชั ย วั ฒ น์ ส ถ า อ า นั น ท์”

ก็ถูกมองว่าเป็นประเด็นของคนเสื้อเหลือง แต่ถ้าเป็นเรื่องความเหลื่อมล้ำ หรือการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ก็มองว่าเป็นเรื่องของคนเสื้อแดง ใครที่

ต่อต้านเขื่อน พูดเรื่องการโกงกิน จึงมีแนวโน้มที่จะถูกตีตราว่าเป็นเสื้อ เหลือง (หรือสลิ่ม) ส่วนใครที่เสนอแก้ ม.๑๑๒ ก็ถูกตีตราว่าเป็นคน

เสื้อแดง จริงอยู่แม้คนเสื้อเหลืองและเสื้อแดงจะชูคุณค่าที่ต่างกัน หรือถึง กับใช้คุณค่าดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกล่าวหาอีกฝ่าย (เช่น ไม่ใช่

คนดี หรือต่อต้านประชาธิปไตย) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณค่าเหล่านี้ จะถู ก ผู ก ขาดโดยฝ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง หรื อ เป็ น คุ ณ ค่ า ที่ อ ยู่ ค นละขั้ ว

คุณธรรมกับประชาธิปไตย หรือความดีกับความเป็นธรรม เป็นคุณค่าที่ สำคัญทั้งคู่ ต่างเสริมสมบูรณ์ให้แก่กันและกัน ไม่ว่าบุคคลหรือสังคม ย่อมไม่อาจขาดคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งไปได้ การเชิดชูสิ่งหนึ่ง และ ปฏิเสธอีกสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้ชีวิตยากไร้ สังคมถดถอย จะว่าไปแล้วใน ส่วนลึกของเราทุกคนย่อมมีใจใฝ่ในคุณค่าทั้งสองประการ แต่หากมี ความเข้าใจไปว่าคุณค่าอันใดอันหนึ่งเป็นของฝ่ายตรงข้าม ที่เราไม่ควร สมาทานหรื อ เชิ ด ชู ด้ ว ยแล้ ว สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ตามมาก็ คื อ การปฏิ เ สธ

ด้านหนึ่งของตัวเอง คนที่ปฏิเสธตัวเองย่อมรู้สึกพร่องและบั่นทอนพลัง ของตนเอง ดังนั้นจึงยากที่จะนำพาชีวิตให้เจริญงอกงามและสร้างสรรค์ ประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมได้ การเห็นว่าคนแต่ละฝ่ายมีความเป็นมนุษย์เหมือนกับตน แม้จะมี

สีเสื้อหรืออุดมการณ์ต่างกันก็ตาม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรองดอง แต่ ที่ ส ำคั ญ ไม่ น้ อ ยไปกว่ า การปรองดองของคนทุ ก ฝ่ า ยก็ คื อ การ

ปรองดองระหว่างคุณธรรมกับประชาธิปไตย ไม่มองว่าคุณค่าทั้งสอง

เป็ น ศั ต รู ที่ อ ยู่ ค นละข้ า ง การปรองดองเชิ ง คุ ณ ค่ า ดั ง กล่ า ว ไม่ เ พี ย ง

ทำให้เกิดการปรองดองภายในตนเองเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นฐานของการ

ปรองดองในสังคมไทยอีกด้วย

แม้ ร ายงานของ “คณะกรรมาธิ ก ารวิ ส ามั ญ พิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่ง ชาติ” โดยอดีตหัวหน้าคณะรัฐประหาร พล.อ.สนธิ

บุญยรัตกลิน พรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน ผ่านความ

เห็นชอบ แต่กระบวนการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นการ เร่งรัด และเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร กำลังจะกลายเป็นจุดกำเนิด “ความขัดแย้ง”.. “.....การให้อภัยสำคัญของมันไม่ได้อยู่ที่การลืม เพราะว่าคุณจะให้อภัยอะไร ถ้าคุณลืม ซึ่งเงื่อนไขการ

ให้อภัยจะต้องจำ แต่จำแล้วให้อภัย.....” ดร.ชั ย วั ฒ น์ สถาอานั น ท์ อาจารย์ ค ณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของรางวัล ศรีบูรพา ประจำปี ๒๕๕๕ ในฐานะผู้ศึกษาและแต่ง ตำราแนวทางสันติวิธีและความสมานฉันท์ ให้ความ เห็นหนทางสู่ความปรองดอง ว่า


ความขัดแย้งมีหลายมิติใช่ไหม

“กฎหมายปรองดอง”

จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้หรือไม่ ผมไม่แน่ใจว่าการปรองดองในประเทศจะเกิดขึ้น ได้ ด้ ว ยการออกกฎหมาย ผมไม่ ค่ อ ยเชื่ อ ตามที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง บอกว่าการออกกฎหมายจะแก้ ปัญหาได้ การปรองดองอย่างที่เห็นเป็นกระบวนการ ทางกฎหมายที่ เ กิ ด บนพื้ น ฐานว่ า คนอี ก จำนวนหนึ่ ง

ไม่ยินยอมทำตาม แม้เป็นเสียงส่วนน้อยในสภา แต่ก็ เป็นตัวแทนของคนจำนวนมากนอกสภา จึงไม่แน่ใจว่า จะสามารถทำได้ แต่ถ้าเข้าใจหลักการปรองดอง แค่ ว่าเรื่องนิรโทษกรรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

10

ถ้ า ย้ อ นไปดู ร ายงานที่ ห ลายคน

ช่วยกันทำสมัยเราศึกษาเรื่องชายแดนภาคใต้ คุณอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ แห่งชาติ (กอส.) เคยให้หลักการไว้ว่า ๑. ต้องหาความจริงให้ชัด แต่ เปิดเผยหรือไม่นั้นมีคำถามได้ ๒. พอมีความจริงแล้วต้องนำไปสู่ความ ยุติธรรม ๓. มีสิ่งที่เราเรียกว่าความพร้อมรับผิด แปลว่าถ้าคุณเป็นคน ทำร้ายผู้อื่น ทำผิดอะไรต้องรับความผิดนั้น แต่ความพร้อมรับผิดไม่แน่ ว่าจะนำไปสู่การลงโทษ ในโมเดลการสมานฉันท์ไม่ใช่เรื่องการลงโทษ แต่ต้องให้อภัย ซึ่งสิ่งที่ต่อจากความพร้อมรับผิดคือการให้อภัย ดังนั้น ความจริง สัจจะ ความพร้อมรับผิดและให้อภัย ซึ่งการให้อภัยสำคัญของ มันไม่ได้อยู่ที่การลืม เพราะว่าคุณจะให้อภัยอะไร ถ้าคุณลืม ซึ่งเงื่อนไข การให้อภัยจะต้องจำ แต่จำแล้วให้อภัย ผมเขียนเรื่องอภัยวิถี คือให้อภัย มีเครื่องมือ ๒ อย่าง คือ สันติวิธี และสานเสวนา สองอย่างนี้ต้องใช้ในการสร้างความสมานฉันท์ เพื่อ

๑. สร้างสังคมให้มีจินตนาการใหม่ที่เข้มแข็งขึ้น เพราะสังคมตอนนี้

มันร้าว ให้เป็นจินตนาการที่ต้องนำไปสู่ความเอื้ออาทร ๒. จัดการกับ ความทรงจำของคนทั้งหลายที่รับทุกข์รับโศก บาดเจ็บล้มตาย ไม่ว่าจะ เป็นทหารหรือพลเรือน และ ๓. กระบวนการปรองดองและสมานฉันท์ ทุกแห่งในโลก คำนึงถึงหลักการสุดท้ายคือความเสี่ยง ถ้าคุณจะทำเรื่องความสมานฉันท์ เรื่องปรองดองย่อมมีความ เสี่ยง เช่น พอพูดความจริงแล้วทนรับได้หรือไม่ ที่สังคมไทยน่าเกลียด น่ากลัว จะทนได้หรือไม่ หากพวกที่ยิงกันในความขัดแย้งครั้งก่อนๆ

เป็นพวกเดียวกันเอง 11


นิ ธิ เ อี ย ว ศ รี ว ง ศ์

มักมีผู้เสนอให้ใช้รูปแบบคำสั่ง ๖๖/๒๓

ที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เคยใช้สำเร็จ ผมเคยเขียนในวาระครบรอบ ๒๐ ปีคำสั่ง ๖๖/๒๓ ผมคิดว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยน เมื่อ ๑๒ ปีที่แล้วเมื่อเจอความขัดแย้งใหม่ๆ จะ

มี ก ารรวมตั ว ของประชาชนเต็ ม

ไปหมด คนจำนวนหนึ่ ง ก็ บ อกว่ า พวกนี้ไม่ดีเชื่อมกับพรรคคอมมิวนิสต์ เก่ า ผมอธิ บ ายว่ า ความขั ด แย้ ง เปลี่ ย นไปแล้ ว ประเทศไทยใช้ นวั ต กรรมเผชิ ญ หน้ า ความขั ด แย้ ง อย่างน่าสนใจให้กับคนทั่วโลก ถาม ว่านโยบาย ๖๖/๒๓ จะพอเอามา ใช้ได้ไหม นโยบายนี้เป็นนโยบายใจใหญ่ไม่ใช่นโยบายใจแคบ ครั้งนั้น นโยบายใจใหญ่มั่นใจกับสังคมไทยว่าอ้อมกอดกว้างพอจะกอดคนทุกคน ได้ วันนี้ไม่รู้ว่าสังคมไทยมีใจขนาดไหนและมั่นใจกับอ้อมกอดตัวเอง ขนาดไหน นี่คือปัญหาใหญ่ที่เรากำลังเจอ

สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นรวดเร็วในการสร้างความปรองดอง

ไม่ ท ราบ เงื่ อ นไขอั น หนึ่ ง ของการปรองดองและสมานฉั น ท์ คื อ ความเสี่ยง ปัญหาของเราคือพร้อมรับความเสี่ยงหรือไม่ ไม่พร้อมรับ ความเสี่ยงก็คือไม่พร้อมรับอะไรใหม่ๆ ตกอยู่ในความคิดเดิมก็ไปไหน

ไม่รอด ความขัดแย้งก็จะปะทุขึ้นในรูปอื่นซึ่งเราไม่อยากจะเห็น 12

ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, พรรครัฐบาล และพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งสามฉบับนี้ต่างมีโทษทาง อาญาประกอบ ซึ่งเป็นโทษที่หนัก ข้อกำหนดเหล่านี้ ละเมิดรัฐธรรมนูญและละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างรุนแรง กำลังเป็นที่ถกเถียงอภิปรายกันอยู่ทั่วไปอยู่ เวลานี้ คำถามก็คือพระพุทธศาสนาที่จะอุปถัมภ์และ คุ้มครองนั้น คืออะไร วิธีอุปถัมภ์คุ้มครองแบบนั้น จะ

ส่งผลอย่างไรต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย 13


“พระพุทธศาสนา” ที่ใครๆ เรียกทั้งในเมืองไทยและในโลกนี้มี ความหลากหลายมาก ไม่เพียงแต่เถรวาทและมหายานซึ่งมีหลายนิกาย เท่านั้น เฉพาะในเมืองไทย พระพุทธศาสนาก็มีหลายกระแสความเชื่อ และการปฏิบัติมาแต่โบราณ พระพุทธศาสนาที่เรียนในโรงเรียนนั้น เป็น เพียงกระแสเดียวและมีอำนาจรัฐหนุนหลัง ขอเรียกว่าพระพุทธศาสนาที่ เป็นทางการ พระพุทธศาสนาที่เป็นทางการนี้มาจากไหน หรือถือกำเนิดขึ้นมา ได้อย่างไร ตอบอย่ า งตรงไปตรงมาก็ คื อ เพิ่ ง เกิ ด ขึ้ น ในสมั ย ร.๕ นี้ เ อง เป้าประสงค์ที่จะใช้พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพระสงฆ์ เป็นการขยาย อำนาจของราชบั ล ลั ง ก์ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ พ ระภิ ก ษุ น ำการแข็ ง ข้ อ หรื อ ใช้ อุดมการณ์ของพระศาสนาในการแข็งข้อต่อส่วนกลาง วิธีการและผลพวงแห่งวิธีการเหล่านั้นคืออะไร บังคับให้ภิกษุทั่วประเทศมาอยู่ภายใต้องค์กรคณะสงฆ์ที่เป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ด้วยการออก พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๔๕ รั ฐ อาศั ย พ.ร.บ.นี้ สร้ า งองค์ ก รคณะสงฆ์ ใ ห้ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วทั่ ว

ราชอาณาจักรเป็นครั้งแรกให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์

สมณศักดิ์ในสมัยโบราณถูกเปรียบกับ “ยศช้าง” มีความหมายแก่ เชือกที่ได้รับยศ แต่ไม่มีความหมายอย่างไรแก่ช้างเชือกอื่น อํานาจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของรัฐที่มากับ พ.ร.บ.นี้ก็คือ รัฐเท่านั้น ที่จะเป็นผู้แต่งตั้งพระภิกษุขึ้นเป็นพระอุปัชฌายาจารย์ได้ ในสมัยก่อน พระที่มีคุณสมบัติต้องตามพระวินัยคือเป็นพระเถระ (บวชมาไม่ต่ำกว่า ๑๐ ปี) ก็อาจเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ทุกรูป แต่ในทางปฏิบัติ พระที่มี

ชื่อเสียงเป็นที่นับถือทั้งของพระภิกษุเองและชาวบ้านเท่านั้น ที่จะทำ

หน้าที่อุปัชฌาย์ โดยมีวัดบริวารขึ้นอยู่กับวัดของท่านจำนวนหนึ่ง ซึ่ง

ส่งคนมาบวชกับพระอาจารย์ที่ “หัววัด” ทุกปี การกำกับดูแลภิกษุใน

วัดบริวารจึงอยู่ภายใต้พระอาจารย์ นั่นก็คือเครือข่ายของสำนักอาจารย์ หนึ่งๆ เป็นโครงสร้างหลักของการปกครองคณะสงฆ์ เพราะภิกษุทุกรูป ในเครือข่ายล้วนเป็น “ศิษย์” ของท่านทั้งสิ้น รัฐแทบจะไม่เกี่ยวอะไรเลย และยังมีประสิทธิภาพกว่าการกำกับดูแล ให้การศึกษาที่มาจากอำนาจ ส่วนกลางเท่านั้น วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์สามเณรที่ถูกติฉินนินทาทั่วไปในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลมาจากการรวมศูนย์นั่นเอง ยิ่งกว่านั้นการกำกับดูแลภายใต้ ระบบสำนักอาจารย์และเครือข่ายยังทำให้เกิดความยืดหยุ่นไปตามสภาพ

บางท่านอาจคิดว่า องค์กรปกครองเช่นนี้มีมาแต่โบราณแล้ว ที่ จริงในสมัยโบราณมีแต่ทำเนียบสมณศักดิ์ คือพระมหากษัตริย์อาจทรง ยกย่องพระภิกษุบางรูปให้มียศ และได้ราชูปถัมภ์บางประการเป็นพิเศษ เท่านั้น ส่วนอำนาจปกครองก็มีจำกัดเฉพาะบางวัดขึ้นอยู่กับวัดหลวงที่ พระราชาคณะเป็นเจ้าอาวาส ลักษณะเดียวกับการปกครองโดยผ่าน สำนักอาจารย์ที่เคยมีในคณะสงฆ์มาแต่โบราณแล้ว ที่สำคัญกว่านั้น อำนาจปกครองกำกับดูแลพระสงฆ์ของรัฐนั้น ถึงจะมีก็จำกัดอยู่เฉพาะ เขตใกล้พระนครและหัวเมืองเท่านั้น 14

15


ท้องถิ่น อันเป็นผลให้วัดไม่แปลกแยกจากชาวบ้าน เช่น พระในอีสาน ช่วยชาวบ้านเกี่ยวข้าว (แล้วไปปลงอาบัติเองภายหลัง) ระบบปกครอง พระสงฆ์สมัยที่อาศัยเครือข่ายของสำนักอาจารย์นี้เอง พระพุทธศาสนา ไทยในปัจจุบันจึงมีความหลากหลายทั้งในแง่พิธีกรรม แบบปฏิบัติ เช่น ทำนองการสวด แม้แต่หลักคำสอนก็เน้นหลักธรรมต่างกัน นี่คือเหตุผล ที่พระพุทธศาสนาไทยมีพลังในการผสมกลมกลืนกับศาสนาท้องถิ่นที่มี อยู่ก่อนได้สูง ทำให้พระพุทธศาสนาแทรกเข้าไปในวิถีชีวิตของผู้คนได้ มาก โดยไม่มีใครจำเป็นต้องประกาศตนเป็นชาวพุทธ อำนาจของ พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ ๒๔๔๕ อีกอย่างหนึ่งก็คือ กลไกราชการแบบใหม่ ซึ่ ง เพิ่ ง สร้ า งขึ้ น ก่ อ นหน้ า นั้ น ทำให้ ข้ า ราชการ ปกครองสามารถกลั่นแกล้งรังแกภิกษุที่ไม่ยอมอยู่ในปกครองของรัฐ

ส่วนกลางได้ง่าย โดยเฉพาะพระที่เรียกกันว่า “พระป่า” หลักคำสอน ใหม่นี้ขจัดความเชื่อที่ถือว่าเป็นสิ่งเหนือธรรมชาติออกไปทั้งหมด แม้แต่ ที่ปรากฏในคัมภีร์มาแต่เดิมก็ถือว่าเป็นเพียง “บุคลาธิษฐาน” เท่านั้น ชาดกซึ่งเป็นแก่นสารสำคัญในการเทศน์แต่เดิมมา จึงถูกลดความสำคัญลง เป็นเพียงเหมือนนิทานอีสป ในด้านหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา ก็เน้นแต่ธรรมะของ ผู้ครองเรือนและพระวินัย มีความระแวงกับทุกมิติของด้านปฏิบัติ นับ

ตั้ ง แต่ ก ารเจริ ญ สมาธิ ภ าวนา ไปจนถึ ง การจั ด องค์ ก รของภิ ก ษุ แ ละ ฆราวาสของผู้ปฏิบัติธรรม หรือแม้แต่คำสอนระดับโลกุตรธรรม ก็เห็น กันว่าเกินจำเป็น หนึ่งในรูปของการ “ปฏิรูป” หลักธรรมคำสอนก็คือ การเน้นคุณค่าของรัฐราชาธิปไตย การอุปถัมภ์ของกษัตริย์กับการดำรง อยู่ของพระพุทธศาสนากลายเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ ดังนั้น ภิกษุใน 16

บังคับขององค์กรสงฆ์แห่งชาติ จึงต้องรับใช้อุดมการณ์และนโยบายของ รัฐ แม้เมื่อรัฐไทยได้เปลี่ยนไปจากรัฐราชาธิปไตยแล้วก็ตาม พระพุทธ ศาสนาที่เป็นทางการของไทยจึงกลายเป็นเครื่องมือของรัฐเต็มตัว สามารถ รับใช้รัฐได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรัฐทรราช, ราชาธิปไตย, เผด็จการทหาร, หรือระบอบเลือกตั้ง จะหาคณะสงฆ์ของศาสนาใดที่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ยิ่งไปกว่าคณะสงฆ์ไทยได้ยาก ความเคร่งครัดในแบบพิธีมีความสำคัญมากกว่าความเคร่งครัดใน หลักธรรมคำสอน องค์กรคณะสงฆ์ภายใต้บังคับของรัฐในพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการ ระแวดระวังกับความเคร่งครัดตามการตีความ

พระวินัยของตน แต่ไม่สู้จะใส่ใจกับการตีความพระธรรมเท่าไรนัก เหตุผลนั้นเห็นได้ชัด จะควบคุมมิให้พระภิกษุกระด้างกระเดื่องต่อ รัฐ แบบปฏิบัติของพระภิกษุ (เช่นการบวช, การตั้งสำนักสงฆ์, การฉัน ภัตตาหาร ฯลฯ) จึงมีความสำคัญกว่าการตีความหลักธรรมคำสอน ใน แง่หนึ่งก็เท่ากับเปิดให้ความหลากหลายของพระพุทธศาสนายังมีต่อไป ในด้านหลักธรรมคำสอน แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทำให้องค์กรคณะสงฆ์แห่งชาติ ไม่ต้องเผชิญ กับการท้าทายด้านหลักธรรมคำสอน ซึ่งเป็นแก่นสารสำคัญที่สุดของ ศาสนา (ก่อนจะมาถึงหลักปฏิบัติที่สอดคล้อง กับหลักธรรมคำสอน) ในอีกแง่หนึ่ง ตัวหลักธรรม คำสอนของพระพุทธศาสนาเอง ก็อาจทำให้ บุคคลเป็นอิสระจากอำนาจทางการเมืองด้วย การเน้ น ให้ พ ระภิ ก ษุ เ ป็ น หลั ก ในการ เผยแผ่คำสอน ทำให้บุคคลอีกมากซึ่งเป็นผู้ทำ หน้าที่นี้ร่วมด้วยมาแต่อดีตหมดความสำคัญลง 17


เช่น ชีปะขาว, หนานหรือทิด, ฤๅษี, และกลุ่มฆราวาสซึ่งปฏิบัติธรรม ฯลฯ คนเหล่านี้ล้วนอยู่นอกการบังคับบัญชาขององค์กรคณะสงฆ์ส่วน กลาง ผลก็คือทำให้พระพุทธศาสนาถูกขังอยู่ในวัด นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ ทำให้พระพุทธศาสนาห่างไกลจากวิถีชีวิตของผู้คน ยิ่งเมื่อสังคมเปลี่ยนจนทำให้ “เวลา” ของวัดกับ “เวลา” ของ ชาวบ้าน ไม่ตรงกัน (เช่นเมื่อกลองเพลดังขึ้น จำนวนมากของชาวบ้าน ติดอยู่ที่ที่ทำงาน ไม่อาจนำภัตตาหารไปถวายและปรนนิบัตพิ ระได้) หลัก ธรรมคำสอนของพระศาสนายิ่งอยู่ห่างไกลจากชีวิตของชาวบ้านมากขึ้น นี่คือเนื้อหาหลักของพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการ ซึ่งเกิดและ ดำรงอยู่ในช่วงหนึ่งของการเมือง, เศรษฐกิจ, และสังคมของไทย เมื่อสิ่ง เหล่านั้นเปลี่ยนไป พระพุทธศาสนาที่เป็นทางการก็ไร้ความหมายลงทุกที เพราะไม่ได้ตอบสนองต่ออะไรสักอย่างเดียว แม้แต่ปัญหาของรัฐตาม สายตาของชนชั้นนำเอง ยังไม่พูดถึงปัญหาที่เกิดกับชีวิตคนส่วนใหญ่ ภายใต้การแย่งชิงทรัพยากรของกระแสโลกาภิวัตน์

ริ น ใ จ

พยาบาลผู้หนึ่งเล่าว่า วันนั้นเธอกำลังทำงานอยู่ น้ อ งชายวั ย รุ่ น มาหาและชวนเธอคุ ย ทั้ ง สองคนสนิ ท

กั น มาก โดยเฉพาะน้ อ งชายค่ อ นข้ า งติ ด พี่ ส าว จู่ ๆ

น้องชายก็ถามพี่สาวว่า “พี่รักผมไหม?” แต่เธอกำลัง พัวพันกับงาน จึงรู้สึกรำคาญ เลยพูดตัดบทไปว่า อย่ามา ยุ่งได้ไหม ตอนนี้ไม่ว่าง น้องชายจึงเลิกตอแย สักพัก

ก็ ขั บ รถมอเตอร์ ไ ซค์ ก ลั บ บ้ า น แต่ ไ ม่ ทั น ถึ ง ที่ ห มาย ก็ ประสบอุบัติเหตุ ตายคาที่ เธอใจหายวาบทันทีที่ทราบ ข่าว แม้ต่อมาจะทำใจได้ที่น้องชายจากไป แต่ทุกวันนี้เธอ ก็ยังรู้สึกเสียใจ อดโทษตัวเองไม่ได้ว่าทำไมวันนั้นไม่บอก เขาว่า “พี่รักน้อง”

ดังนั้น ก่อนจะออกกฎหมายอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ขอให้นักการเมืองมีความเข้าใจที่ชัดเจนก่อนว่า “พระพุทธศาสนา” ที่ ต้องการจะอุปถัมภ์และคุ้มครองนั้น คือพระพุทธศาสนาอะไร สมควร หรือไม่ที่จะสังเวยทั้งทรัพยากรของชาติ และสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่ออุปถัมภ์และคุ้มครอง เมื่ อ อุ ป ถั ม ภ์ แ ละคุ้ ม ครองด้ ว ยมาตรการรุ น แรงดั ง ปรากฏใน

ร่าง พ.ร.บ.แล้ว พระพุทธศาสนาเช่นนั้น จะมิยิ่งกลายเป็นฟอสซิลหนัก ขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ละหรือ เราควรทำอะไรที่ฉลาดและสุขุมได้

อีกบ้างในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว คุยต่อในฉบับหน้า 18

19


หญิงสาวอีกรายเล่าว่า เย็นวันหนึ่งลูกพี่ลูกน้องมาขอร้องให้เธอ

ไปนอนเป็นเพื่อน ฟังจากน้ำเสียงแล้ว เธอรู้สึกว่าลูกพี่ลูกน้องคนนั้น

มีความทุกข์ใจ แต่ตัวเธอเองมีงานต้องทำ จึงปฏิเสธไป วันรุ่งขึ้นเธอ ตกใจเมื่อได้ทราบข่าวว่า ลูกพี่ลูกน้องคนนั้นผูกคอตายในคืนนั้นเอง เนื่องจากน้อยใจที่ถูกพี่สาวด่าว่าอย่างรุนแรง ผ่านไปหลายปีเธอก็ยังรู้สึก ผิดที่ปฏิเสธคำขอของลูกพี่ลูกน้อง เหตุร้ายคงไม่เกิดขึ้นหากเธอตอบ ตกลงในคืนนั้น ความเจ็บปวดในชีวิตบางครั้งเกิดจากการที่เราละเลยที่จะทำสิ่ง

ที่ควรทำกับคนที่เรารัก กว่าจะรู้ตัวว่าได้ทำความผิดพลาดลงไป การณ์

ก็ ส ายเกิ น กว่ า ที่ จ ะแก้ ไ ขแล้ ว ทั้ ง สองคนที่ เ ล่ า เรื่ อ งนี้ ไ ด้ รั บ บทเรี ย น

ราคาแพงอย่างยิ่งว่า ควรทำดีที่สุดกับคนที่อยู่ต่อหน้าเรา หรือคนที่เรา กำลังเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลผู้เป็นที่รักของเรา หาไม่ แล้วก็อาจจะต้องเสียใจในภายหลังเพราะไม่มีโอกาสจะทำเช่นนั้นได้อีก ตอนนั้นทั้งสองคนยอมรับว่าใจกำลังนึกถึงงาน จึงไม่ได้ให้ความ ใส่ใจอย่างเต็มที่กับบุคคลที่กำลังสนทนาด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเห็นว่า งานนั้นเป็นความรับผิดชอบที่ต้องรีบทำให้เสร็จ ส่วนเรื่องของน้องชาย หรือลูกพี่ลูกน้องนั้นผัดผ่อนได้ เอาไว้คุยวันหลังก็ไม่สาย แต่ความจริง อย่างหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน อย่างยิ่ง เห็นหน้ากันอยู่หลัดๆ ปุบปับก็จากไปอย่างไม่มีวันกลับ ความ คิดที่ว่าการปฏิบัติต่อคนที่เรารักนั้นผัดผ่อนไปวันหลังก็ได้ นับว่าเป็น ความประมาทอย่างหนึ่ง เพราะเขาอาจไม่อยู่ให้เราทำดีกับเขาก็ได้ ชายผู้ ห นึ่ ง เล่ า ประสบการณ์ ค ล้ า ยๆ กั น ว่ า ระหว่ า งที่ ท ำงาน

ต่างจังหวัด ภรรยาโทรศัพท์ทางไกลไปหาเพราะมีความในใจอยากจะ สนทนาด้วย ตอนนั้นโทรศัพท์มือถือยังไม่แพร่หลาย ส่วนโทรศัพท์ทาง ไกลก็นาทีละ ๑๒ บาท พอคุยกันได้สักพัก สามีก็ตัดบทว่า ถึงบ้านแล้ว 20

ค่อยคุยแล้วกัน จะได้ไม่เปลืองค่าโทรศัพท์ ปรากฏว่าวันรุ่งขึ้นภรรยา

ก็เสียชีวิตด้วยโรคปัจจุบันทันด่วน สามีรู้สึกเสียใจที่ไม่ให้เวลาภรรยา

เต็มที่ตั้งแต่คืนนั้น บทเรียนที่เขาได้รับก็คือ หากมีอะไรที่อยากคุย หรือ

มีเรื่องสำคัญที่ต้องปรึกษาหารือ ก็ควรให้เวลาเต็มที่ตั้งแต่ตอนนั้นอย่า ผัดผ่อน เพราะอาจไม่มีโอกาสเช่นนั้นอีก การทำดีกับใครก็ตาม ไม่เหมือนกับการทำงาน การทำงานนั้นมัก มีเส้นตายหรือกำหนดเสร็จ ส่วนการทำดีกับผู้คนนั้นไม่มีกำหนดหมาย ว่าต้องทำเมื่อนั้นเมื่อนี้ (ยกเว้นวันเกิดหรือวันสำคัญตามประเพณี) ด้วย เหตุนี้ผู้คนจึงมักให้เวลากับการทำงานก่อนส่วนการทำดีกับคนนั้น ผัดไป วันหลังได้ เพราะคิดว่ายังมีเวลา ความคิดเช่นนี้เป็นที่มาแห่งความ เสียใจและความรู้สึกผิดกับผู้คนมามากต่อมากแล้ว เพราะวันหลังอาจ ไม่มีจริงก็ได้ แม้แต่วันพรุ่งนี้ก็เถอะ ภาษิตธิเบตกล่าวไว้น่าคิดมากว่า “ระหว่างพรุ่งนี้กับชาติหน้า ไม่มีใครรู้ว่า อะไรจะมาก่อน” หากอยากทำดีกับใคร จึงควรรีบทำเสียแต่วันนี้ หรือขณะที่เขายัง อยู่ต่อหน้าเรา ใครที่รีบทำขณะที่มีโอกาส อาจจะพบในเวลาต่อมาว่าตน ตัดสินใจถูกต้องแล้ว หาไม่ก็อาจจะต้องเสียใจจนวันตาย นักศึกษาผู้หนึ่งไปเข้าค่ายอาสาพัฒนา ระหว่างนั้นได้ทะเลาะกับ เพื่อนสนิทอย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่มีสาเหตุจากเรื่องเล็กน้อย วันรุ่งขึ้นซึ่ง

เป็นวันสุดท้ายของการทำค่าย เหมือนมีอะไรมาดลใจ เขาจึงขอโทษ เพื่อน วันต่อมาเขาได้กลับไปหอพัก แต่เพื่อนผู้นั้นไม่กลับหอ ผ่านไป สามวันก็ยังไม่มีวี่แววของเขา เขารู้สึกผิดสังเกตจึงไปตามหา ปรากฏว่า พบร่างไร้วิญญาณของเขาในสระเนื่องจากถูกฆาตกรรม วันที่ไปงานศพ ของเพื่อนนั้น พ่อของเพื่อนมากอดเขาเป็นคนแรก เขาเองก็รู้สึกดีใจ

ได้ขอโทษเพื่อนก่อนตาย หาไม่จะรู้สึกผิดไปอีกนาน 21


วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราไม่รั้งรอที่จะทำความดีกับคนรัก ผู้มีพระคุณ หรือผู้ที่อยู่ต่อหน้าเรา ก็คือ ปฏิบัติกับเขาเหล่านั้นราวกับว่าวันนี้เป็น

วันสุดท้ายที่เขาได้อยู่กับเรา เมื่อใดก็ตามที่เราระลึกถึงความจริงว่าพรุ่งนี้ ไม่เราหรือเขาอาจจะต้องพรากจากกัน เราจะไม่เอาแต่ใจตัว ทำตาม อำเภอใจ ใช้อารมณ์กับเขา หรือเพิกเฉยเขา แต่จะปฏิบัติด้วยความ

ใส่ใจ รับฟังเขาและคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดต่อเขา ซึ่งไม่เพียงช่วยให้ เขามีความสุขเท่านั้น เราเองก็จะมีความสุขด้วยเช่นกันเพราะมีความ รู้สึกดีกับเขา ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือความสัมพันธ์ที่ราบรื่นกลมกลืน อีกทั้งยังเป็นหลักประกันว่า นอกจากการขอโทษแล้ว การแสดงความขอบคุณหรือบอกรัก โดยเฉพาะกับผู้มีพระคุณ เป็นความดีที่ไม่ควรรั้งรอ เพราะโอกาสที่เปิด มานานนั้นอาจปิดกะทันหันอย่างที่นึกไม่ถึงก็ได้ คนจำนวนไม่น้อยมัก เห็นว่าการให้เวลากับคนรัก โดยเฉพาะพ่อแม่นั้นเป็นสิ่งที่รอได้ ตอนนี้ ขอทำงานสะสมเงินทองก่อน แต่คนที่เสียใจจนยากแก่การไถ่ถอนเพราะ คิดแบบนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถอยู่รอจนถึง

วันนั้นได้ แม้กระนั้นก็มีหลายคนที่พยายามฝืนกระแส ซึ่งมักลงเอยด้วย การสร้างความทุกข์ให้แก่บุพการี ดังมักปรากฏอยู่บ่อยๆ ว่า เมื่อพ่อแม่ ป่วยหนักอยู่ในระยะสุดท้าย ลูกที่ไม่ค่อยมีเวลามาเยี่ยมหรือดูแลพ่อแม่ เลย แทนที่จะปล่อยให้พ่อแม่ไปอย่างสงบ กลับเป็นผู้ที่เรียกร้องให้

ยื้อชีวิตของท่านให้นานที่สุด ยอมทุ่มเทเงินมากมายเพื่อนำเทคโนโลยี นานาชนิดมาแทรกแซง ซึ่งมักสร้างความทุกข์ทรมานให้แก่ท่าน ทั้งนี้ เพราะเขาทำใจไม่ได้ที่พ่อแม่จะจากไปโดยที่เขาไม่ทันได้ตอบแทนบุญคุณ ของท่านอย่างเต็มที่ แต่การตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ในลักษณะนั้นกลับ เป็นโทษมากกว่าคุณ ใช่แต่เท่านั้นเมื่อพ่อแม่จากไป คนที่ไม่สามารถ ทำใจได้เศร้าโศกเสียใจเป็นปีๆ ก็มักจะได้แก่ลูกที่ไม่มีเวลาให้แก่พ่อแม่

จนมาได้คิดเมื่อสายไปแล้ว 22

หากพรุ่งนี้เรากับเขาต้องพรากจากกัน แม้จะมีความเศร้าโศก เสียใจเป็นธรรมดา แต่ก็ไม่มีความรู้สึกผิดติดค้างใจ อีกทั้งยังจะมีความ ปลื้มปีติที่ได้ทำดีที่สุดกับเขาแล้ว ชีวิตนี้แม้จะเต็มไปด้วยความ

ไม่ แ น่ น อน แต่ สิ่ ง ที่ แ น่ น อนก็ คื อ ปัจจุบันขณะ ดังนั้นหากจะทำความดี ก็ ค วรทำเสี ย แต่ วั น นี้ ห รื อ เดี๋ ย วนี้ โดยเฉพาะกับคนที่อยู่เบื้องหน้าเรา ยิ่งเป็นคนที่สำคัญต่อชีวิตเราด้วย แล้ ว อย่ า มั ว ผั ด ผ่ อ นหรื อ รั้ ง รอ เพราะโอกาสที่เราจะทำดีกับเขานั้น แม้ จ ะมี ม ากมายเพี ย งใดในอดี ต

ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีมากมาย ในอนาคต พ้นจากวันนี้หรือเดี๋ยวนี้ แล้ ว โอกาสทองอาจหมดไปเลย ก็ได้ ใครจะรู้ 23


Phra Paisal Visalo

ดูๆ แล้ว น่าเศร้า ที่การคิดและทำแบบนี้ รวมทั้งการเห็นดีเห็นงามกับการกระทำแบบนี้ กำลังแพร่หลายในวงวิชาการและหมู่ “ปัญญาชน” ปัจจุบัน :- ใครเห็นต่างจากกู ใครไม่อยู่ข้างกู มันต้องโดน “ลอบสังหารความเป็นบุคคล - character assassination” หรือลดทอนความเป็นคน

Vira Somboon

24

นัยจาก เต๋า เตอ จิง ผู้ชนะที่ไม่รู้จักหยุด เมื่อถึงเวลาพึงหยุด ในที่สุดย่อมประสบความพ่ายแพ้ยับเยิน ดวงตะวันยังมีเวลาลับหาย พายุฝนยังต้องจางคลาย สัจธรรมเรียบง่ายเพียงนี้ ไยจึงมิอาจมองเห็น

Phra Paisal Visalo “ธรรม” นั้น ไม่ได้อยู่ในวัด บนธรรมาสน์ หรือในคัมภีร์เท่านั้น หากยังอยู่ในชีวิตจิตใจของผู้คน และปรากฏแสดงเป็นการกระทำและความสัมพันธ์กับผู้คน ธรรมที่น้อมนำเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตจิตใจนี้แหละ ที่สามารถบันดาลความสุขความสงบเย็นให้แก่เรา อีกทั้งยังเป็นพลังขับเคลื่อนชีวิตให้เกื้อกูลผู้อื่นและ ร่วมชักนำสังคมให้เป็นไปในทางที่ดีงาม ชีวิตที่ดีงามย่อมต้องอิงอาศัยธรรม ขณะเดียวกันชีวิตที่ดีงามกับสังคมที่สงบสุข ก็ไม่อาจแยกขาดจากกันได้ นั่นหมายความว่า ธรรมกับชีวิตที่ดีงาม และสังคมที่สงบสุข ล้วนสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น

Phra Paisal Visalo

มนุษย์ถือกำเนิดในแอฟริกาเมื่อหลายล้านปีก่อน จนเมื่อ ๕๕,๐๐๐ ปีที่แล้วนี้เองที่มนุษย์กลุ่มหนึ่ง ได้อพยพออกจากแอฟริกาไปยังดินแดนอื่นๆ จนมีลูกหลานกระจายไปทั่วโลก ไม่น่าเชื่อว่า 25


ประชากรกว่า ๖,๐๐๐ ล้านคนที่อยู่นอกทวีปแอฟริกานั้น สืบสายมาจากคนเพียง ๑๕๐ คนในครั้งนั้น ที่กล้าออกไปเผชิญโชคโดยไม่คิดมาก่อนว่า จะเป็นการเดินทางที่พลิกโฉมโลกอย่างใหญ่หลวง ในเวลาต่อมา

Vira Somboon

26

ปฏิจจสมุปบาท กับ facebook... ได้ไปทำบุญฟังพระสวดงานครบร้อยวันมรณภาพของคุณป้า “ปฏิจจสมุปบาท” ... “อวิชชาปัจจยา สังขารา ฯลฯ” ไม่ได้ฟังบทนี้มานาน ท่านสวดไพเราะ จับใจ อยู่ในความคิดคำนึงสืบมา.... ... ตอนนี้ พอจะเริ่ม post, comment, link, share อะไร เริ่มตระหนักว่า อาจกำลังก่อ “ภพ” ใหม่ ครั้นเมื่อคลิกไปแล้ว ก็เป็น “ชาติ” ใหม่ (“การเกิด” ในวงจรใหม่ตามหลักปฏิจจสมุปบาทแบบปัจจุบันขณะ) จากนั้น ชรา มรณะ และกองทุกข์ -- ความยินดียินร้าย ความระเริง ความสับสน ความกังวล ความประหวั่น ฯลฯ -- ก็อาจตามมาในจิต สืบเนื่องต่อไปอีก ส่งผลสู่ อวิชชาและสังขาร ในขณะต่อๆ ไป อาจยาวนานข้ามวันข้ามคืน หรือนานกว่านั้น... บางที การ update status ก็คือการ update ภพ ของตัวเองในขณะหนึ่งๆ facebook ก็คือ นามรูปและวิญญาณ ซึ่งก่อให้เกิด อายตนะและผัสสะ ฯลฯ ในอีกทางหนึ่ง.....

ใครมีเพื่อนในเฟสบุ๊คเยอะบ้าง? ยกมือขึ้น มีงานวิจัย

พบว่า คนที่มักจะชอบเขียนปรับปรุงประวัติสถานะตนเองใน

เฟสบุ๊คบ่อยๆ มีแนวโน้มคล้ายอาการ “หลงตัวเอง” บ้างแล้ว งานวิ จั ย นี้ ม าจากมหาวิ ท ยาลั ย เวสเทิ ร์ น อิ ลิ น อยส์ สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างจำนวนเพื่อน ในเฟสบุ๊คและความถี่ในการเข้าไปเล่นในเฟสบุ๊ค ทำให้เกิดการ แยกตัวออกจากสังคม และก็เกิดอาการ “หลงตัวเอง” งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ความแตกต่างของ ปัจเจกชนและบุคลิกภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมาวิจัยแบบเจาะลึก ๓๐๐ คน ซึ่งได้ตอบคำถามซึ่งเป็นคลังคำถามวิจัยเกี่ยวกับ บุคลิกภาพที่หลงตัวเองจำนวนมาก และพบว่า บุ ค คลที่ มี เ พื่ อ นในเฟสบุ๊ ค จำนวนมาก และมั ก จะใส่ รูปภาพของตนเองลงในเฟสบุ๊คและมักจะปรับปรุงข้อมูลประวัติ ของตนเองแทบตลอดวัน มักจะมีบุคลิกลักษณะประเภทที่เรียก ว่า “หลงตัวเอง” 27


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

นักวิจัยที่ชื่อ คริส คาร์เพนเทอร์ ผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้ได้ กล่าวว่า “คนที่มีความต้องการมากที่จะให้ตนเองมีความรู้สึกดี มักจะมองไปยังที่เฟสบุ๊ค และมีการทำให้ประวัติและรูปของ

ตนเองดูดีตลอดเวลา” “เฟสบุ๊คนี่แหละทำให้คนมีแนวโน้ม “หลงตัวเอง” คือมักจะหาโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากเฟสบุ๊ค เพื่อให้ได้รับผลการตอบรับตามที่ตนเองต้องการและเป็นจุด สนใจ” ผู้ที่ใช้เฟสบุ๊คเพื่อ “โปรโมต” หรือช่วยให้ตนเองโด่งดัง ขึ้ น บนเว็ บ มั ก จะมี อ าการและพฤติ ก รรมสองลั ก ษณะ คื อ ลักษณะแรก ประเภทชอบแสดงอวด ซึ่งหมายถึงคนที่ต้องการ ให้ ต นเองเป็ น จุ ด สนใจ อี ก ลั ก ษณะหนึ่ ง คื อ ประเภทต้ อ งการ

ชื่อเสียงเพื่อให้ได้รับการยอมรับ ทั้งสองอาการ ดร.คาร์เพนเทอร์ เรียกว่า “คนหลงตัวเอง” ในงานวิจัยยังไม่มีการระบุเส้นแบ่งให้ ชัดเจนเลยว่าจะต้องมีเพื่อนมากกี่คนขึ้นไปหรือมีการเข้าเฟสบุ๊ค ไปปรับปรุงข้อมูลหรือรูปตัวเองสักกี่ครั้งต่อวัน ต่อเดือน จึงจะ เรียกได้ว่า “คนหลงตัวเอง” โดยสังเกตจากข้อความที่มักใช้คำ แทนเรียกตนเอง เช่น ผม เราทำโน่น ทำนี่อะไรมากมาย งานวิ จั ย เรื่ อ งคนหลงตั ว เองในเฟสบุ๊ ค นี้ เ คยทำเมื่ อ ปี

ค.ศ.๒๐๑๐ มาแล้ว โดยมหาวิทยาลัยยอร์ค ประเทศคานาดา โดยได้ศึกษาว่าผู้หญิงและผู้ชายชอบ “โปรโมต” ตนเองต่างกัน ผู้ชายชอบคุยโอ้อวดเรื่องตนเอง ส่วนผู้หญิงมักจะใช้รูปภาพที่มี ลักษณะแต่งตัวรูปร่างหน้าตาเป็นส่วนใหญ่ 28

ก่ อ นหลวงพ่ อ โตจะได้ รั บ สถาปนาเป็ น สมเด็ จ

พระพุฒาจารย์นั้น ท่านมีสมณศักดิ์เป็นพระเทพกวี เมื่อ

ถึงปลายสมัยรัชกาลพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านจึงได้รับ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นสมเด็จ ตอนนั้นท่านชราภาพมาก แล้ว คืออายุ ๗๘ ปี สามปีหลังจากนั้นพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็สวรรคต พระราชโอรสขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้ า อยู่ หั ว ตอนนั้ น พระองค์ ยั ง มี พ ระชนมายุ เ พี ย ง ๑๕ ปี เท่านั้น ฐานะยังง่อนแง่นมาก เพราะขุนนางและพระบรมวงศานุ ว งศ์ ล้ ว นอยู่ ใ นอำนาจของสมเด็ จ เจ้ า พระยาบรม

มหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการ เวลานั้นเป็นที่หวั่นเกรงกันมากจนมีเสียงล่ำลือว่าจะ

มีการก่อกบฏเพื่อยึดอำนาจจากพระยุพราช เมื่อหลวงพ่อโต ทราบเรื่องดังกล่าว วันหนึ่งจึงถือไต้พร้อมตาลปัตรไปที่จวน สมเด็จเจ้าพระยาฯ ตอนกลางวันแสกๆ แล้วเดินรอบบ้าน

29


ทุกข์ใจเพราะแม่ใกล้ตาย สมเด็จเจ้าพระยาฯ เห็นเช่นนั้นจึงถามหาสาเหตุ หลวงพ่ อ โตตอบว่ า “อาตมภาพได้ ยิ น ว่ า ทุ ก วั น นี้

แผ่นดินมืดมัวนัก ด้วยมีคนคิดร้ายจะเอาแผ่นดิน ไม่ทราบ เท็ จ จริ ง จะเป็ น ประการใด ถ้ า แม้ เ ป็ น ความจริ ง แล้ ว ไซร้ อาตมภาพก็ใคร่จะขอบิณฑบาตเขาเสียสักครั้งหนึ่งเถิด” สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงตอบว่า “โยมไม่ สู้ มื ด ดอกเจ้ า คุ ณ โยมนี้ มี ใ จแน่ น แฟ้ น ใน พระพุทธศาสนา แน่นอนมั่นคงเสมอ อนึ่งโยมทะนุบำรุง แผ่ น ดิ น โดยเที่ ย งธรรม และตั้ ง ใจประคั บ ประคองสนอง

พระเดชพระคุณโดยตรงโดยสุจริต เป็นที่ตั้งตรงอยู่เป็นนิตย์ ขอเจ้าคุณอย่าปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุ นิมนต์กลับได้” สมเด็ จ เจ้ า พระยาฯ ได้ รั ก ษาคำพู ด มิ ไ ด้ ก่ อ เหตุ

เภทภัยต่อยุวกษัตริย์ จนทิวงคตในปี ๒๔๒๕ ส่วนหลวงพ่อ โตนั้ น ได้ ม รณภาพ ๑๐ ปี ก่ อ นหน้ า นั้ น แล้ ว คื อ ปี ๒๔๑๕ รวมสิริอายุ ๘๔ ปี

30

โนกินา หลิน ปุจฉา : กราบนมัสการค่ะ แม่หนูป่วยเป็นโรค

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หนูรู้ว่าทุกคนต้องตาย แต่พอนึกถึงแม่ หนู ทำใจไม่ได้ ตั้งแต่แม่ป่วยหนักไม่มีความสุขเลย หนูเป็นลูกคนเดียว

พึ่งทำงานได้ปีกว่า มาทำงานไกลบ้าน หนูช่วยอะไรแม่ไม่ได้ หนูรู้สึก

เจ็บปวดมาก หนูทำได้เพียงกลับบ้านไปหาแม่ทุกอาทิตย์ หนูควรจะคิด ในแง่บวกยังไงบ้างคะ เพื่อให้หนูรู้สึกดีขึ้นกว่านี้ วิ สั ช นา : เมื่ อ ตอนที่ โ ยมแม่ ข องอาตมาประสบอุ บั ติ เ หตุ จ น กะโหลกร้าว สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงและเสียชีวิต หลังจากนั้นไม่ถึงอาทิตย์ แม้เป็นเรื่องที่ไม่คาดฝัน แต่อาตมารู้สึกว่า

ยังดีที่โยมแม่ไม่เสียชีวิตกะทันหัน ยังอยู่ต่อมาอีกหลายวันให้ลูกๆ มี เวลาทำใจ รวมทั้งมีโอกาสปรนนิบัติแม่และพูดความในใจให้แม่รับรู้ ตลอดจนขอขมาต่อแม่ด้วย แม้ตอนนั้นท่านอยู่ในภาวะโคม่าแล้ว แต่ พวกเราก็เชื่อว่าท่านรับรู้ทุกอย่างที่เราทำให้ท่าน กรณีคุณแม่ของคุณยังนับว่าดีกว่าโยมแม่ของอาตมามาก เพราะ ท่านยังสามารถดำเนินชีวิตได้ไม่ต่างจากคนทั่วไปมากนัก อย่างน้อยก็ยัง สามารถพูดคุยสื่อสารกับคุณได้ อีกทั้งยังสามารถรับรู้ความรักที่คุณมี

ต่อท่านได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังสามารถทำสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเองได้ เช่น ทำบุญ สวดมนต์ เจริญสมาธิ รวมทั้งการเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อ รับมือกับวาระสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ 31


ไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะเปรียบเทียบความทุกข์ของตนเองกับความ ทุกข์ของคนอื่น เพราะความทุกข์ที่เกิดกับใครล้วนเป็นเรื่องใหญ่สำหรับ เขาทั้งนั้น โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวพันกับพ่อแม่และผู้มีพระคุณ แต่ก็อย่าลืม ว่ า ถ้ า คุ ณ จมอยู่ ใ นความทุ ก ข์ คุ ณ จะพลาดโอกาสสำคั ญ นั่ น คื อ การ

เก็บเกี่ยวความสุขทางใจในขณะที่คุณแม่ยังอยู่กับคุณ ในเมื่อเวลาที่คุณแม่จะได้อยู่กับคุณนั้นมีน้อยลงเรื่อยๆ แทนที่คุณ จะใช้เวลาที่เหลือน้อยนิดจมอยู่ในความทุกข์ความเจ็บปวด ไม่ดีกว่าหรือ ที่คุณจะใช้เวลาดังกล่าวสร้างสุขให้แก่กันและกัน เช่น พูดคุยถึงความ ซาบซึ้งประทับใจในอดีตที่คุณได้รับจากคุณแม่ ร่วมกันทำสิ่งดีๆ ที่ให้ ความสุขแก่กัน อาทิ การไปเที่ยวในที่ๆ คุณแม่ชอบ หรือไปทำบุญร่วม กัน นี้คือเวลาที่คุณกับคุณแม่จะได้แช่มชื่นและมีรอยยิ้มให้แก่กันและกัน แต่ถ้าหากคุณปล่อยใจจมปลักในความทุกข์ นอกจากความทุกข์ จะปิ ด กั้ น ใจคุ ณ ไม่ ใ ห้ พ บสั ม ผั ส กั บ ความสุ ข ซึ่ ง มี อ ยู่ ร อบตั ว แล้ ว และ ละเลยเวลาที่มีค่าแล้ว ยังพลอยทำให้คุณแม่ของคุณเป็นทุกข์ ไม่มีแม่

คนไหนจะมีความสุขได้ถ้าลูกเป็นทุกข์ แต่ถึงแม้จะเจ็บป่วย เราก็ยังมี ความสุขได้หากได้รับสิ่งดีๆ จากคนรอบข้าง รวมทั้งได้ทำสิ่งดีๆ ร่วมกัน หากทำได้เช่นนี้ แม้วันที่ความพลัดพรากมาถึง คุณก็สามารถจะ ยิ้มได้ทั้งน้ำตาเพราะมั่นใจว่าได้มอบสิ่งดีที่สุดให้แก่คุณแม่ และไม่ทิ้ง โอกาสให้ผ่านไปอย่างไร้ค่าแม้แต่น้อย ตรงกันข้ามหากคุณเอาแต่ทุกข์ และไม่สามารถทำสิ่งดีๆ ให้แก่ คุณแม่ได้อย่างเต็มที่ เมื่อวันนั้นมาถึง คุณจะเสียใจว่าทำไมคุณถึงปล่อย โอกาสดีๆ ให้หลุดมือไป สรุปก็คือ อย่ามัวเป็นห่วงกังวลกับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จนละเลยที่จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุด หรือใช้ประโยชน์จากปัจจุบันอย่าง เต็มที่ 32

วัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ สิริยา วงศ์รักไทย ปุจฉา : กราบนมัสการพระคุณเจ้าคะ มีข้อ สงสัยอยู่ ๔ เรื่องเจ้าค่ะ ๑. พระสงฆ์สามารถยื่นของให้ฆราวาสผู้หญิง โดยตรง โดยไม่มีการสัมผัสมือกันจะได้ไหม ๒. พระใช้ที่พรมน้ำมนต์ เคาะศีรษะฆราวาสผู้หญิงได้ไหม ๓. หากพระสงฆ์เห็นอาหารที่ยังไม่ได้ ปรุงแล้วกล่าวว่า น่าจะเอาไปทำอาหารโน่นนี่ หรือกล่าวว่าไม่ชอบอาหาร ชนิดโน้นนี้ กับแม่ครัวของวัด ถือว่าผิดวินัยไหมเจ้าคะ ๔. การเจิม

หน้ า ผาก เคาะศี ร ษะ เพื่ อ ความเป็ น สิ ริ ม งคลแก่ ฆ ราวาสชายหญิ ง

พระอาจารย์มีความคิดเห็นเช่นไร กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ วิ สัชนา : ตามธรรมเนี ยมไทยนั้ น พระภิก ษุไ ม่ควรยื่ นของให้

ผู้หญิงโดยตรง แม้ไม่สัมผัสมือก็ตาม (แต่ถ้าพูดถึงพระวินัย ไม่มีข้อห้าม เรื่องนี้) ส่วนการใช้ที่พรมน้ำมนต์เคาะศีรษะผู้หญิง ก็ไม่สมควรเช่นกัน ในเรื่องอาหารนั้น พระวินัยอนุญาตให้พระภิกษุขออาหารจาก ญาติโยมได้เฉพาะผู้ที่ปวารณา (ยอมให้ขอ) ไว้ก่อน แต่แม้จะขอได้ก็

ไม่ควรไปกำหนดหรือเรียกร้องว่าต้องเป็นอาหารอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะ พระภิกษุควรเป็นผู้ที่เลี้ยงง่าย ไม่ควรรบกวนญาติโยมหรือเจ้ากี้เจ้าการ ในเรื่ อ งอาหาร แต่ ถ้ า มี เ หตุ จ ำเป็ น เช่ น ร่ า งกายไม่ ถู ก กั บ อาหาร

บางประเภท หรือมีปัญหาด้านสุขภาพ จำเป็นต้องได้รับอาหารบางชนิด ก็สามารถบอกเขาได้ สำหรับการเจิมหน้าผากหรือเคาะศีรษะ หากกระทำกับผู้หญิงก็

ไม่เหมาะ เรื่องสิริมงคลนั้น พุทธศาสนามองว่ามงคลอันสูงสุดคือการ ทำความดี ดังพระพุทธองค์ได้ทรงจำแนกไว้ ๓๘ ประการ ส่วนมงคล 33


แบบอื่นนั้น ไม่ว่าน้ำมนต์ เจิมหน้าผาก เคาะศีรษะ แม้จะเป็นมงคลหรือ มีผลดีต่อจิตใจแต่ก็ไม่ยั่งยืนหรือประเสริฐเท่าการทำความดี ทำดีบังหน้า Panit Saksripanit : กราบนมั ส การครั บ พระอาจารย์ ผมมี

ข้อสงสัยครับว่า การที่คนๆ หนึ่งทำความดีบังหน้าความผิดของตนเอง หรื อ ทำความดี เ พี ย งหน้ า สื่ อ แต่ ลั บ หลั ง กลั บ กระทำความผิ ด อย่ า ง

ร้ า ยแรง หรื อ ไม่ ไ ด้ เ ป็ น คนดี อ ย่ า งที่ ไ ด้ ว าดไว้ และยั ง กลั บ กลายเป็ น

แรงบันดาลใจให้ผู้อื่นทำความดี (ฉากหน้า) ที่ตนเองสร้างไว้ ได้ทำตาม และถูกกล่าวยกย่องเชิดชู การกระทำเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ ได้บุญ หรือบาป คนที่นำไปเป็นแรงบันดาลใจผิดหรือไม่ กราบขอบพระคุณ

พระอาจารย์ครับ วิสัชนา : การทำความดี หากไม่ได้ทำด้วยเจตนาดีหรือความ บริสุทธิ์ใจ แต่เพราะหวังผลประโยชน์ เช่น เพื่อสร้างภาพพจน์หรือ ปกปิดความผิดของตน ย่อมไม่ใช่ความดีแท้ แต่ก็ยังไม่เรียกว่าผิดศีล หรือเป็นบาป (อย่างน้อยก็ในทางกายกรรม) แต่จิตนั้นไม่เป็นกุศลแน่ บุญหรือบาปนั้นอยู่ที่เจตนาเป็นสำคัญ ถ้าเจตนาไม่ดีแล้ว การกระทำ

นั้ น ย่ อ มไม่ อ าจเรี ย กว่ า เป็ น บุ ญ ได้ ส่ ว นคนที่ ท ำความดี เ พราะได้ รั บ

แรงบันดาลใจจากบุคคลดังกล่าว เขาทำด้วยเจตนาดี มีความบริสุทธิ์ใจ การกระทำของเขาย่อมเป็นบุญ 34

คนไทยป่ ว ยเป็ น โรคเรื้ อ รั ง เพิ่ ม ขึ้ น เรื่ อ ยๆ มาจากพฤติ ก รรมการ

กินอาหารที่ไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย กินมากเกินไป รสจัด หวาน เค็ม เช่น ส้มตำ ต้มยำ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และพวกไขมันสูง ขาด

การออกกำลังกาย มีความเครียดสะสม ขาดเลือดไปเลี้ยงไต จนเกิดปัญหา ไตวาย พบในคนไทยป่วยเรื้อรัง ๗ ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้าย ๓๕,๐๐๐ ราย และจะต้องฟอกไตหรือผ่าตัดเปลี่ยน

ไตใหม่ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่กรมอนามัยและองค์กรยูนิเซฟพบ เปิดเผยว่า

คนไทยกิ น เกลื อ โซเดี ย มคลอไรด์ จ าก ๒ ทาง คื อ น้ ำ ปลา ซี อิ๊ ว กะปิ

ปรุงรสอาหาร ถนอมอาหารเฉลี่ยวันละ ๑๒ กรัม และพวกปรุงรสที่ไม่เค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู เฉลี่ย ๔.๓ กรัมต่อวัน สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก กำหนด ๒ เท่า กระทรวงสาธารณสุขจึงรณรงค์ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง คนไทย

ไตไม่วาย” คือปรุงอาหารไม่ให้เค็มมาก ไม่เติมผงชูรส ถ้ากินก๋วยเตี๋ยว

กินน้ำซุปแต่น้อย เพราะมีโซเดียมสูง กระทรวงสาธารณสุขเผยเด็กทารกเสียชีวิตภายใน ๒๘ วันหลังคลอด ปีละกว่า ๓,๐๐๐ ราย เฉลี่ย ๔.๑ คนต่อ ๑,๐๐๐ คน สถิติสูงที่สุดพบ

ที่ภาคใต้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากเด็กมีน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด

35


ดุสิตโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นผู้พักอาศัยในวันครอบครัวของ ไทยพบปัญหาที่พบบ่อยในครอบครัวอันดับ ๑ คือการเงินที่ไม่พอใช้ มีหนี้สิน ต้องผ่อนชำระ มาจากสาเหตุค่าครองชีพสูง ๔๒.๐๗% อันดับ ๒ การทะเลาะ เบาะแว้งใช้ความรุนแรง ๒๖.๘๙% อันดับ ๓ ไม่มีเวลาให้กับครอบครัว ๒๑.๓๘% ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่พบไม่มากนักได้แก่ เรื่องที่อยู่อาศัย ความ ปลอดภัย ปัญหาพฤติกรรมของลูก ผลสำรวจจากเว็บไซด์ท่องเที่ยวระบุฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีพลเมือง แสดงพฤติกรรมหยาบคายต่อนักท่องเที่ยวมากที่สุด ร้อยละ ๑๙.๒๙ ตาม ด้ ว ยรั ส เซี ย ๑๖.๕๖ อั ง กฤษ ๑๐.๔๓ เยอรมนี ๙.๙๓ รองลงมามี จี น

อเมริ ก า สเปน อิ ต าลี ฯลฯ ในด้ า นกลั บ กั น ประเทศที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ

นักท่องเที่ยวคือ บราซิล หมู่เกาะทะเลคาริบเบียน ฟิลิปปินส์ ไทย และ โปรตุเกส โดยไทยนั้นได้รับการยอมรับว่าต้อนรับดีที่สุด สหประชาชาติเผยรายงานระบุว่า ประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลกคือ กลุ่มประเทศยุโรปเหนือ ๓ อันดับแรก คือ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ และนอร์เวย์ ส่วนประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดคือ ประเทศโตโก ประเทศในเอเชียที่มี ความสุขที่สุดคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามด้วยซาอุดีอาระเบีย และคูเวต ส่วนไทยถูกจัดให้อยู่อันดับที่ ๕๒ มีความสุขเป็นอันดับที่ ๓ ในอาเซียน เป็น 36

รองสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้น อย่างไรก็ดี ภูฏาน ซึ่งเป็นชาติที่ใช้การวัด ดัชนีความสุขมวลรวม (จีเอ็นเอช) เป็นค่าชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ กลับ ไม่ได้ถูกรวมอยู่ด้วย มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูของแคนาดาเปิดเผยผลการวิจัยล่าสุด พบว่า แม้คนญี่ปุ่นจะฉลาดตั้งแต่ยังอายุน้อย ทว่า ความฉลาดนั้นจะไม่เพิ่มขึ้นเลย หลังเลยอายุ ๒๕ ปี ไปแล้ว ตรงกันข้าม ชาวอเมริกันตอนอายุ ๗๕ ปี นั้น ฉลาดกว่าตอนอายุ ๒๕ ปี ถึง ๒๒% นักวิเคราะห์เผยว่า สาเหตุหลักที่

ชาวอเมริกันฉลาดขึ้นตามเวลานั้นเพราะวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่ต่างกันกับ ชาวญี่ปุ่น โดยหากเทียบกันแล้ว วัยรุ่นญี่ปุ่นมักทุ่มเทให้กับการเรียนตั้งแต่ยัง อายุน้อย เผยสื่ อ จากสำนั ก ข่ า วในอเมริ ก าเปลี่ ย นไปใช้ เ น๊ ต กั น แล้ ว คิ ด เป็ น สัดส่วน ๑ ใน ๗ หรือร้อยละ ๑๔.๒ ของสำนักข่าวทั้งหมด เพราะความ ก้าวหน้าของระบบดิจิตอลที่นับวันมาแรงและเร็ว ถือเป็นแนวโน้มใหม่ของ การเผยแพร่ข่าวที่ทำให้ผู้อ่านทั่วโลกเข้าถึงทางอินเตอร์เน๊ตได้ด้วย

37


ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท

บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท

แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

38

ข่ายใยมิตรภาพ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๘๐ หน้า ๔๐ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใส่บาตรให้ได้บุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท้ เล่มละ ๑๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ (มี ๖ แผ่น) แผ่นละ ๕๐ บาท

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒ 39


วิ ห ค เ หิ น ห า ว

ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนพร้อมใบสมัครและจ่าหน้าซอง สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ หรือโทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ ติดต่อโทร : ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ 40

เย็นฤดี ผู้ประสานงานเครือข่ายพุทธิกาขอวางมือชั่วคราวไปทำ หน้าที่แม่ลูกอ่อนเพิ่งคลอดต้นพฤษภาคมน่ะค่ะ วิหคเหินหาวมวยแทนมา เล่าว่า ช่วง ๓ เดือนที่ผ่านมา มีนาคม–พฤษภาคม เครือข่ายพุทธิกาและ เพื่อนพ้องน้องพี่ มีกิจกรรมอะไรบ้าง

สายด่วนให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย โทร. ๐๒-๘๘๒-๔๙๕๒ เป็นโครงการใหม่ล่าสุดของเครือข่ายพุทธิกา นับตั้งแต่เริ่มเปิดบริการ วันที่ ๕ มีนาคม ผู้โทรมีทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และคนรู้จัก ส่วนใหญ่ต้องการ ระบายโดยมีคนรับฟัง บางคนพอรู้ข่าวร้ายว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน ไม่ยอม บอกคนใกล้ตัว เจ็บปวดทุกข์ทรมาน การพูดคุยปรึกษาทางโทรศัพท์จึงเป็น ช่องทางที่สะดวก พบว่ามีคนให้ความสนใจสายด่วนให้คำปรึกษาทางใจโทร เข้าไปมากเมื่อมีสื่อมวลชนนำเสนอโครงการให้สาธารณชนรับรู้ โครงการ

มี ค วามพยายามประชาสั ม พั น ธ์ ใ ห้ มี ค วามต่ อ เนื่ อ ง ต่ อ มาโครงการจึ ง ทำ กิจกรรมในที่ต่างๆ เพื่อเผยแพร่โครงการ ที่สวนโมกข์ รถไฟ กทม. ทำ กิจกรรม ตอบคำถามว่าถ้ามีชีวิตเหลือแค่ ๓ วันคุณจะทำอะไร มีคนสนใจ มาก ล่าสุดในงานวัดลอยฟ้าที่สยามพารากอน โครงการให้ทำกิจกรรมเขียน การ์ดให้กำลังใจน้องหนูที่ป่วยเรื้อรังที่โรงพยาบาลเด็ก ปรากฏว่ามีคนเข้าร่วม จำนวนมาก แต่อย่างที่บอกล่ะค่ะ เป็นโครงการน้องใหม่ ต้องประชาสัมพันธ์ ให้มาก ช่วยกันบอกต่อน่ะค่ะว่าสายด่วน ๐๒-๘๘๒-๔๙๕๒ ให้คำปรึกษา ทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นเพื่อนให้กำลังใจหรือแบ่งปันบทเรียนในการ ช่ ว ยเหลื อ ทางจิ ต ใจคนป่ ว ยระยะสุ ด ท้ า ยทุ ก วั น จั น ทร์ ถึ ง ศุ ก ร์ ๑๐.๐๐– ๑๖.๐๐ น. 41


สุขแท้ด้วยปัญญา ผ่านพ้นไปแล้วกับการพิจารณาสนับสนุน ทุนโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา ปีนี้มีโครงการดีดีมากมาย จนเป็นที่หนักใจของคณะกรรมการพิจารณาโครงการกันเลยทีเดียวเชียว สำหรับพวกเราทีมงานสุขแท้ฯ ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับ โครงการที่ผ่านการพิจารณาด้วย ส่วนโครงการที่ไม่ผ่าน ก็ไม่ต้องเสียใจ ถือซะว่าเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้บ่มเพาะ สั่งสมประสบการณ์ หรือจะไปร่วมแจมกับเพื่อนๆ โครงการที่ได้รับทุน และดูว่าเพื่อนๆ เค้าทำกันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำกลับมาปรับใช้ กับงานของเราต่อไปนะคะ อย่างไรก็ดี ติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรม ของสุขแท้ได้ที่เว๊บไซด์เครือข่ายพุทธิกา

น่าจะให้ประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้ได้บ้างค่ะ

ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ โรงพยาบาล และชุมชน ในการเยียวยาจิตใจ ผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย ช่วงมีนาคม-พฤษภาคม โครงการเดินสายไปเยี่ยมทีมโรงพยาบาล ที่ผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย เพื่อรวบรวมประสบการณ์และหนุนเสริมให้กำลังใจ เริ่มตั้งแต่นครราชสีมา โรงพยาบาลครบุรี หัวทะเล ปากช่องนานา และปักธงชัย ขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ เยี่ยมโรงพยาบาลนครพิงค์และ ลูกข่ายในเขตอำเภอแม่ริม ไปทางอีสานที่โรงพยาบาลสุรินทร์ แลัวล่องใต้ไปชุมพรเยี่ยมโรงพยาบาลปะทิว ท่าแซะ และชุมพร พบความน่าประทับใจก็คือ การทำงานอย่างมุ่งมั่นทั้งของพยาบาล จิตอาสา และพระสงฆ์ แทบไม่เห็นความท้อถอย เห็นอย่างนี้แล้วอยากจะหาทางสนับสนุน การขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป 42

ฉลาดทำบุญ “รวมมิตรจิตอาสา” งานประจำปีที่เพิ่งผ่านไปด้วยความอิ่มใจทั้งทีมงาน และผู้เข้าร่วม ปีนี้มาในแนวคิด “บุญที่ทุกคนเริ่มได้” ต้องการสื่อให้เห็นว่า เราทุ ก คนล้ ว นมี ค วามสามารถที่ จ ะสร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมดี ๆ เพื่ อ สั ง คมได้

ด้วยตัวเองโดยใช้ต้นทุนที่แต่ละคนมีอยู่ ภายในงานประกอบด้วยเรื่องเล่า

แรงบันดาลใจของนักจัดกิจกรรม การแลกเปลี่ยนมุมมองของอาสาสมัครที่มา เข้าร่วม พร้อมลงมือทำกิจกรรมจิตอาสาที่หลากหลาย งานนี้ต้องขอขอบคุณ เพื่อนๆ “บุญภาคี” จากแต่ละองค์กร รวมถึงผู้ร่วมงานทุกท่าน หวังว่าจะได้ พบกันอีกในโอกาสต่อไป เรายังเปิดกิจกรรมจิตอาสาอยู่เรื่อยๆ ผู้สนใจ สามารถติดตามข่าวกิจกรรมในเว็บไซด์เครือข่ายพุทธิกาน่ะค่ะ 43


สื่อพุทธิกา ขอถือโอกาสขอบคุณผู้สนใจสื่อของเครือข่ายพุทธิกาที่ผลิตเองและ ของเพื่อนพ้องด้วย ปรากฏว่ายอดการผลิตเพิ่มขึ้นทุกเดือนเพราะความ ต้องการเข้ามาเรื่อยๆ โดยเฉพาะสื่อพกพาเหมาะสำหรับใช้แทบทุกงานบุญ แจกจ่ายในโอกาสต่างๆ อย่างเล่มล่าสุดชื่อพรวันใหม่ ออกมาร้อนๆ จาก

โรงพิ ม พ์ ก็ มี ค นสั่ ง ทั น ที เ ลยค่ ะ หนั ง สื อ ที่ เ ครื อ ข่ า ยพุ ท ธิ ก าแนะนำให้ มี ไ ว้

ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนทำจิตที่เป็นกุศลด้วยการสร้างปัญญาเข้าถึงปัญหา และทางออกได้ด้วยตนเอง หรือสร้างกำลังใจ ที่สำคัญเน้นการให้อนุสติการ ใช้ชีวิตด้วยการมรณสติจากหนังสือแนวทัศนคติการตายดี..เชิญอ่านตัวอย่าง บทความในเว็ปไซด์เครือข่ายพุทธิกาดูน่ะค่ะ หรือแวะอ่านที่เครือข่ายพุทธิกา ดูก่อนก็ได้น่ะค่ะ ท้ายสุด ขออภัยในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการตรวจปรู๊ฟฉบับ

ที่แล้ว บทความเรื่อง มองแต่ไม่เห็น โดย พระไพศาล วิสาโล ในจดหมาย ข่าวพุทธิกา ฉบับที่แล้ว เดือนเมษายน–มิถุนายน ๒๕๕๕ มีข้อผิดพลาด

ที่ตีพิมพ์เนื้อหาไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ตกบทสรุปตอนท้ายของบทความ ดังนี้ค่ะ …..การทดลองเหล่ า นี้ ชี้ ใ ห้ เ ห็ น ชั ด เจนว่ า คนเรามิ ไ ด้ เ ห็ น

ทุกอย่างที่อยู่ต่อหน้า หากเป็นสิ่งที่ไม่คาดหวังว่าจะเจอหรือไม่อยู่ ในความสนใจ ก็มีแนวโน้มที่จะมองไม่เห็น นั่นหมายความต่อไปว่า สิ่งที่เราไม่เห็น ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นไม่มี ดังนั้นจึงอย่าเชื่อสายตา ของเรามากนัก เพราะมันมีข้อจำกัดมากมาย

44

บ่อยครั้งที่ผู้คนทะเลาะกันเพราะเชื่อสายตาของคนมากไป แต่ถ้าเราไม่ยึดมั่นสำคัญหมายว่าสิ่งที่เราเห็นเท่านั้นที่เป็นความจริง เราคงจะทะเลาะกันน้อยลง และฟังกันมากขึ้น แล้วพบกันใหม่น่ะค่ะ วิหคเหินหาว

เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 45


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ เครือข่ายพุทธิกามีโครงการที่น่าสนใจ : ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา, สุขแท้ด้วยปัญญา, สายด่วน ๐๒-๘๘๒-๔๙๕๒ ให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซือ้ หนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.