จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 49

Page 1

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 1

12/21/12 8:42:01 AM


เซ็ต ชุดละ ๕๐ บาท เล่มเล็ก ๓ เล่ม + ถุงของขวัญ เซ็ต ชุดละ ๑๐๐ บาท - ฉลาดทำบุญ + น้ำใส ใจเย็น + ถุงของขวัญ - ฉลาดทำใจ + เล่มเล็ก ๓ เล่ม + ถุงของขวัญ - จิตเบิกบาน งานสัมฤทธิ์ + สร้างพลังบุญ + ถุงของขวัญ - สุขเหนือสุข + ของขวัญแห่งความสุข - น้ำใส ใจเย็น + จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ - รักษาใจให้ไกลทุกข์ + น้ำใส ใจเย็น + เล่มเล็ก ๑ เล่ม + ถุงของขวัญ เฉพาะช่วงปีใหม่นี้เท่านั้น สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ เครือข่ายพุทธิกา ๐๒-๘๘๒-๔๓๘๗, ๐๒-๘๘๖-๐๘๖๓, ๐๘๑-๖๕๘๗๒๔๑ หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.budnet.org

ธรรมะข้างเตียง

ราคา ๖๐ บาท โดยพระไพศาล วิสาโล พิเศษสำหรับสมาชิก (เฉพาะช่วงปีใหม่จ้า เหลือเพียง ๓๕ บาท ฟรีค่าจัดส่ง) NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 2

12/21/12 8:42:45 AM


เมื่อวันที่ ๑-๘ ธันวาคมที่ผ่านมา คณะสงฆ์บนเทือกเขาภูโค้ง จังหวัด ชัยภูมิ และองค์กรอีกมากมายได้จัด “ธรรมยาตราเพื่อชีวิตและธรรมชาติ ลุ่มน้ำละปะทาว” ขึ้น งานนี้เป็นงานประจำปีของภูโค้งก็ว่าได้ เพราะจัด ติดต่อมาทุกปีนับแต่ปี ๒๕๔๓ ครั้งนี้มีคำขวัญว่า “เฉลิมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” ธรรมยาตราดังกล่าวจัดเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนบนหลังเขาตระหนักถึง ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว คือไม่เพียงมุ่งฟื้นฟูธรรมชาติเท่านั้น หากยังฟื้นฟูธรรมะในใจไปพร้อมกันด้วย เพราะธรรมะกับธรรมชาตินั้นแยกจากกันไม่ออก หลายคนได้พบว่าธรรมยาตราไม่เพียงช่วยให้ปอดและหัวใจแข็งแรง เท่านั้น แต่ยังช่วยขยายใจให้ใหญ่ขึ้น คือ นอกจากจะกล้าเอาชนะอุปสรรค ไม่ ก ลั ว ความยากลำบากแล้ ว ยั ง มี น้ ำ ใจเอื้ อ เฟื้ อ เผื่ อ แผ่ ผู้ อื่ น คิ ด ถึ ง ผู้ อื่ น มากกว่ า ตั ว เอง ใจยิ่ ง กว้ า งมากเท่ า ไร ตั ว ตนก็ ยิ่ ง หดแคบลงมากเท่ า นั้ น ขณะเดียวกันหากมีสติตามรู้ขณะที่เดิน ก็จะช่วยให้ใจมีความลุ่มลึกขึ้นคือ รู้ความจริงเกี่ยวกับจิตใจของตนเองมากขึ้น เห็นว่าสุขหรือทุกข์นั้นแท้จริงอยู่ ที่ใจ จิตใจที่หยั่งลึกย่อมพบความสุขจากภายใน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงใจให้มี ความพากเพียรพยายาม เดินแม้เหนื่อยกาย แต่ใจเป็นสุข แม้จะประสบทุกข์ ก็ยังพบความสุขที่ใจ การเดินกลางแดดระยะทางร่วม ๑๑๐ กิโลเมตร ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ ถึงแม้อากาศจะร้อน ทางจะไกล ผู้เดินก็ได้รับคำแนะนำว่า อย่าลืมเก็บเกี่ยว ความสุขที่มีอยู่สองข้างทางหรือที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า เช่น ฟ้าใส เมฆสวย รอยยิ้มของเด็กน้อย หรือดอกไม้ที่บานสดใส หากใจมัวแต่หงุดหงิด บ่นว่า ดินฟ้าอากาศและแดดที่ร้อนระอุ นึกตำหนิใครต่อใครที่อยู่รอบข้าง หรือ เฝ้าคำนึงว่าเมื่อไหร่จะถึง ใจจะปิดรับสิ่งงดงามที่ผัดเวียนเข้ามา แม้กระทั่ง

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 1

12/21/12 8:42:46 AM


สายลมเย็นที่พัดผ่านมากระทบกาย ก็ไม่รับรู้ว่ามันให้ความสุขเพียงใด แต่ถ้า ใจเปิ ด กว้ า ง ไม่ จ มอยู่ กั บ ความทุ ก ข์ ก็ จ ะสั ม ผั ส ได้ ทั น ที ถึ ง ความสุ ข ที่ ม า ทักทายผ่านสายลม ในเมื่อเหนื่อยกายแล้ว จะซ้ำเติมตัวเองด้วยการหมกมุ่นในอารมณ์ที่ เป็นลบไปทำไม การทำเช่นนั้นก็ยิ่งทำให้ตัวเองเป็นทุกข์มากขึ้น หากจะทุกข์ ก็ขอให้ทุกข์อย่างเดียวคือทุกข์กาย แต่ใจเป็นปกติ หรือดียิ่งกว่านั้นก็คือจิตใจ เป็นสุข เพราะมีสติและสมาธิกับการเดิน รู้ทันความหงุดหงิดที่ผ่านเข้ามา แล้ ว ปล่ อ ยให้ มั น ผ่ า นเลยไป แต่ ถ้ า ไม่ รู้ เ ท่ า ทั น จิ ต ใจของตน ก็ จ ะเก็ บ กั ก อารมณ์นั้นไว้ให้เผาลนตนเอง แดดเผากายก็ไม่ทำให้ทุกข์มากเท่ากับโทสะที่ เผาลนจิตใจ ประสบการณ์ที่หลายคนพบจากธรรมยาตราก็ขึ้น สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น ร่มเงาของต้นไม้จะกลายเป็นสิ่งที่มีความหมายขึ้นมาทันที เราจะเห็นคุณค่า ของต้นไม้ และอยากขอบคุณต้นไม้ ความรู้สึกแบบนี้ยากที่จะเกิดขึ้นได้เวลา นั่งรถ ในทำนองเดียวกัน เราจะรักสายลมมาก เพราะเพียงแค่สายลมที่พัด ผ่าน ก็ให้ความสุขอย่างมาก เป็นความสุขอย่างง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้เงินเลย หลายคนที่เดินธรรมยาตราจะพบว่า ความสุขนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ยากก็ เพราะใจของเราเอง จะว่าไปแล้วศิลปะการเดินธรรมยาตราก็เป็นอันเดียวกับศิลปะการ ดำเนินชีวิต ถ้าเดินกลางแดดด้วยใจที่เป็นสุขได้ เราก็สามารถทำงานอย่าง เป็นสุข เผชิญกับอุปสรรคและความยากลำบากโดยใจไม่เป็นทุกข์ ที่จริงเรา ควรทำให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นประหนึ่งธรรมยาตรา ที่เป็นไปเพื่อธรรม โดยธรรม และในอารักขาแห่งธรรม กล่าวคือดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีความ พากเพียรพยายาม รู้จักเปลี่ยนทุกข์ให้เป็นสุข เปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา มองเห็นธรรมจากทุกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น จนสามารถค้นพบความสุขจาก ภายใน หล่อเลี้ยงใจให้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นและอุทิศตนเพื่อส่วนรวม อย่างไม่รู้จักท้อ

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 2

12/21/12 8:42:46 AM


พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๔๙ ปีที่ ๑๓ มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๖

๑ ฝกใจให้เป็นไทแก่ตัว

อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา (ตอนจบ)

โลกอนิจจัง

๑๖

วิกฤติภาษาที่กำลังสาบสูญ

๒๒

ผู้นำชาวพุทธทั่วโลก ต่อต้านความรุนแรงทางชาติพันธุ์ในพม่า

๒๖

ธรรมนั้นมีทุกหย่อมหญ้า

๓๐ ๓๓ ๓๘ ๔๒

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 3

12/21/12 8:42:47 AM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ทุ ก วั น นี้ ชี วิ ต มี แ ต จ ะสะดวกสบายยิ่ ง ขึ้ น ของถู ก ปาก ถูกใจหากินไดงายกวาแตกอน แถมมีหลากหลายและอรอย กว า เดิ ม จะทำอะไรก็ อ อกแรงน อ ยลง ไปไหนมาไหนแทบ ไมตองเดินเลยก็ได จับจายใชสอยก็สะดวก แคกดแปนพิมพ คอมพิ ว เตอร เ ท า นั้ น เที่ ย วห า งถึ ง จะไม มี เ งิ น ก็ ยื ม เงิ น จาก อนาคตมาใชกอนไดอยางสะดวกดาย ขณะที่ความบันเทิง มีใหเสพ ๒๔ ชั่วโมงโดยไมจำตองออกจากบานเลย 4

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 4

12/21/12 8:42:48 AM


แตความสะดวกสบายมากหลายอยางนี้กำลังสรางปญหาใหแก ผูคนเปนอันมาก หลายคนพบวารางกายอวนเอาๆ เพราะกินตลอดวัน โดยไมไดออกกำลังกาย จนโรคภัยนานาชนิดถามหา แถมมีเวลานอน นอยลงเพราะมัวแตนั่งหนาจอโทรทัศนหรือจอคอมพิวเตอรวันละหลาย ชั่วโมง ขณะที่หนี้สินพอกพูนเพราะรูดบัตรเครดิตจนเพลิน ทั้งๆ ที่ ขาวของก็ลนบานแลว ยังไมตองพูดถึงคนที่ติดอบายมุข ไมวา เหลา บุหรี่ การพนัน ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นเพราะชองทางเสพมีมากมายและ สะดวกกวาแตกอนมาก รูทั้งรูวาควรเปลี่ยนพฤติกรรม แตสวนใหญก็หามใจไมได ยังคง กิน เสพ และช็อปเหมือนเดิม จนสุขภาพกายและฐานะการเงินย่ำแย แมตั้งใจวาจะลดหรือเลิก แตก็เหลวทุกที นักช็อปบางคนถึงกับหาทาง ควบคุมพฤติกรรมของตนดวยการเอาบัตรเครดิตใสแกวน้ำแลวไปไวใน ชองแชแข็ง เพื่อวาหากอยากจะช็อปปงเมื่อไหร ก็ตองรอใหน้ำแข็ง ละลายเสียกอน จึงจะเอาบัตรเครดิตไปใชได ถึงตอนนั้นก็หวังวาความ อยากช็อบจะหดหายไปและกลับมามีสติเหมือนเดิม ความไม ส ามารถควบคุ ม ตนเองท า มกลางสิ่ ง เร า เย า ยวนที่ มี มากมายและเขาถึงงาย กำลังเปนปญหาของคนยุคนี้ สมัยกอนแมใจ จะออนแตก็ยังมีครอบครัวหรือชุมชนชวยรั้งชวยดึงเอาไว ผิดกับสมัยนี้ ตางคนตางอยูกันมากขึ้น หากไมสามารถควบคุมตนเองแลวก็เสียคน ไดงายมาก

5

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 5

12/21/12 8:42:49 AM


การควบคุมตนเองนั้นหากบมเพาะแตวัยเด็ก จะเปนปจจัยแหง ความสุ ข และความสำเร็ จ อย า งสำคั ญ ในช ว งทศวรรษ ๑๙๖๐ นั ก วิชาการแหงมหาวิทยาลัยสแตนฟอรดไดทำการทดลองซึ่งมีชื่อเสียงมาก มีการนำเอาเด็กอายุสี่ขวบจำนวนหนึ่งเขามาในหอง ซึ่งมีขนมมากมาย หลายชนิดเรียงรายอยูบนโตะ ขนมเหลานี้เด็กทุกคนสามารถหยิบมากิน ได โดยมีเงื่อนไขวา ถากินเดี๋ยวนั้นจะกินไดแคชิ้นเดียว แตถารอสักพัก จนผูใหญกลับเขามาในหอง เด็กจะไดกินสองชิ้น แลวผูทดลองก็เดิน ออกจากหองไป ทั้งๆ ที่รูวาถารอก็จะไดกินขนมสองชิ้น แตเด็กสวนใหญรอไมไหว กินขนมทันที มีเพียง ๑ ใน ๓ ที่รอจนผูทดลองกลับเขามาในหอง ๑๕ นาทีหลังจากนั้น หลายปตอมาไดมีการติดตามเด็กเหลานี้ซึ่งโตเปน ผูใหญและเขาเรียนในมหาวิทยาลัย สิ่งที่เขาพบก็คือ เด็กที่หามใจไวได นั้นมีผลการเรียนในระดับดี และไดคะแนนสอบสูงกวาเด็กกลุมแรกมาก ยิ่งกวานั้นเมื่อติดตามตอไป ก็พบวาเด็กกลุมหลังเรียนจบเปนสวนใหญ 6

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 6

12/21/12 8:42:49 AM


ขณะที่กลุมแรกลาออกกลางคันเปนจำนวนมาก รวมทั้งติดเหลาติด อบายมุขมากกวา และเมื่อเขาทำงานก็ประสบความสำเร็จนอยกวา กลุมหลัง อยางไรก็ตามถึงแมวาจะปลอยตัวปลอยใจมาจนกลายเปนผูใหญ ก็ยังไมสายที่จะปรับเปลี่ยนชีวิตของตนเอง เคยมีการทดลองนำผูคน จำนวนหนึ่ ง ออกกำลั ง กายเป น ประจำทุ ก วั น หรื อ บางที ก็ แ ค อ าทิ ต ย ละครั้ง ในเวลาไมกี่เดือนก็พบวา นอกจากสุขภาพของคนเหลานี้จะดีขึ้น แลว พฤติกรรมดานอื่นๆ ก็เปลี่ยนไป เชน กินอาหารขยะและสูบบุหรี่ ดื่มเหลานอยลง ใชเครดิตการดนอยลง นั่งหนาจอโทรทัศนนอยลง ทำงานไดดีขึ้น อดทนเพื่อนรวมงานและคนในครอบครัวมากขึ้น ขณะที่ ความเครียดนอยลง อะไรทำใหชีวิตของเขาดีขึ้นทั้งการกิน การเสพ และการใชจาย คำตอบก็คือ เขาสามารถควบคุมตัวเองไดดีขึ้น อันเปนผลจากการ เคี่ยวเข็นตนเองใหออกกำลังสม่ำเสมอ ทำใหกำลังจิตเขมแข็งขึ้น และ อดทนตอสิ่งลอเราเยายวนไดดีขึ้น การทดลองอีกหลายครั้งไดพบวา นอกจากการออกกำลังกายแลว การมีวินัยในการใชเงิน ตลอดจนการมีวินัยในการเรียน หากทำเปน กิจวัตร เพียงแคไมกี่เดือนสามารถสงผลใหพฤติกรรมดานอื่นๆ ทั้งการ เสพ การบริโภคดีขึ้นดวย ทั้งหมดนี้ชี้ใหเห็นวา การควบคุมตนเองใหได แมเพียงดานใดดานหนึ่ง ยอมสามารถสงผลใหชีวิตเปลี่ยนแปลงไปใน ทางที่ดีขึ้น แตการควบคุมตนเองจะเกิดขึ้นไดก็จากการยอมฝนใจทำ สิ่งดีๆ อยางตอเนื่องเทานั้น หากไมยอมฝนใจทำแลว ชีวิตก็มีแตจะ เปนทาสของสิ่งเราอยางยากจะเปนไทแกตัวได 7

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 7

12/21/12 8:42:50 AM


นิ ธิ เ อี ย ว ศ รี ว ง ศ์

ตอนจบ

เนื้อหาโดยย่อ ตอนที่ ๑ ร่าง พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาของสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ, พรรครัฐบาล และ ปชป. กำลังจะเข้าสภา ร่าง พ.ร.บ. ทั้งสามฉบับล้วนมีโทษทางอาญาประกอบอยู่ด้วย และ

ล้วนเป็นโทษที่ค่อนข้างหนักทั้งสิ้น ข้อกำหนดเหล่านี้ละเมิดรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างรุนแรง กำลังเป็นที่ถกเถียง อภิ ป รายกั น อยู่ ทั่ ว ไปอยู่ เ วลานี้ ผมจะไม่ ข อนำมาพู ด อี ก ในที่ นี้ แต่

ใคร่จะตั้งคำถามว่าพระพุทธศาสนาที่นักการเมืองและข้าราชการใน สำนักงาน กำลังอยากจะอุปถัมภ์และคุ้มครองนั้น คืออะไร? และ

วิธีอุปถัมภ์คุ้มครองแบบนั้น จะส่งผลอย่างไรต่อพระพุทธศาสนาใน ประเทศไทย

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 8

12/21/12 8:42:51 AM


ตอนที่ ๒ เมื่ อ ความเปลี่ ย นแปลงของสั ง คมไทยขยายตั ว มากขึ้ น พระ พุทธศาสนาที่เป็นทางการก็ยิ่งไม่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของผู้คน ที่ดำรง อยู่ได้ก็ด้วยอำนาจบังคับของรัฐ เช่น บรรจุลงในหลักสูตรการศึกษา หรือราชพิธีและรัฐพิธีต่างๆ แต่สังคมไทยก็ไม่ได้ปล่อยให้พระพุทธศาสนาไร้ความหมายลงไปโดยไม่ทำอะไรเลย มีความพยายามของทั้ง พระภิ ก ษุ แ ละฆราวาส ในการให้ ห รื อ ฟื้ น ความหมาย ที่ มี นั ย ยะต่ อ ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันอยู่หลายครั้งและหลายอย่าง จะขอพูดถึงที่ ค่อนข้างจะรู้กันดีอยู่แล้วดังนี้ คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุทำให้ เป้าหมายทางโลกุตรธรรม ซึ่งพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการละเลย กลับมามีความสำคัญใหม่ นิพพานเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถกระทำให้ แจ้งแก่ตนได้ “ที่นี่และเดี๋ยวนี้” นัยยะก็คือ ปลดปล่อยพระพุทธศาสนาออกจากวัด เพราะการปฏิบัติธรรมไม่ได้จำกัดความหมายให้ เหลือเพียงการเป็นพระภิกษุเท่านั้น (ที่มาของบทความ : นสพ. มติชน)

9

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 9

12/21/12 8:42:56 AM


ในสภาพที่พระศาสนาอ่อนแอเช่นนี้ หากต้องการจะ “อุปถัมภ์ และคุ้มครอง” พระพุทธศาสนา พึงทำอย่างไร ๑. ต้องหย่าขาดจากอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจรัฐหรืออำนาจเงิน ในโลกสมั ย ใหม่ อำนาจกลั บ ทำให้ ศ าสนาเสื่ อ ม หรื อ ทำให้ เ กิ ด สงครามกลางเมือง (ดูตัวอย่างได้ดีจากประวัติศาสตร์ยุโรป) อำนาจที่ ห้ามหมิ่นศาสดาของศาสนาในกฎหมายอาญานั้น ไม่น่าจะมีเป้าหมาย ที่การ “อุปถัมภ์และคุ้มครอง” พระพุทธศาสนา แต่มีเป้าหมายเพื่อ ความสงบสุขของสังคม จึงคุ้มครองศาสดาของทุกศาสนา ศาสนาในโลกปัจจุบัน ดำรงอยู่ได้ด้วยความสามารถที่จะตอบสนอง การท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท้าทายจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือการท้าทายจากการตีความหลักธรรม และไม่ว่าจะทำโดยศาสนิก หรือคนนอกศาสนา ถ้าไร้ความสามารถที่จะตอบสนองการท้าทายนั้น ศาสนาก็เสื่อมความนิยม คริสต์ศาสนาในหลายสังคมใช้เวลานานมาก ในการเผาหนังสือ, เก็บหนังสือ, จับคนเข้าคุก ฯลฯ ด้วยอำนาจรัฐ แต่ ในที่สุดการท้าทายนั้นเช่นทฤษฎีดาร์วิน กลับยิ่งแพร่หลาย ในที่สุดจึง จับประเด็นได้ และหันมาตอบสนองการท้าทายด้วยสติปัญญา แทน อำนาจ อำนาจจึงเป็นตัวบ่อนทำลายศาสนายิ่งกว่าสิ่งใด หากจะอุปถัมภ์ คุ้มครองศาสนาใด อย่าให้อำนาจ ถึงอำนาจทางโลกย์ที่มีมาก่อนก็พึง ถอนออกเสีย เพื่อบังคับให้ศาสนานั้นๆ ต้องตอบสนองการท้าทายด้วย สติปัญญา โดยวิธีนี้เท่านั้น ยิ่งถูกท้าทายมาก ศาสนานั้นจะยิ่งแข็งแกร่ง แต่ศาสนาใดที่หลีกเลี่ยงการท้าทายด้วยการถืออำนาจ ศาสนานั้นจะยิ่ง อ่อนแอ 10

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 10

12/21/12 8:42:57 AM


๒. องค์กรศาสนาใดที่จะเหลือรอดในโลกปัจจุบันได้ ต้องมีฐาน ความรู้ที่แข็งแกร่ง แบ่งอย่างหยาบๆ ความรู้มีอยู่สองอย่าง คือความรู้ ทางโลกย์และความรู้ทางธรรม พระสงฆ์ในพุทธศาสนาต้องจับประเด็น ความทุกข์ของโลกปัจจุบันได้อย่างเป็นระบบ สามารถมองเห็นความ เชื่อมโยงของความทุกข์ที่แต่ละปัจเจกบุคคลมี กับระบบการเมือง, ความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ระบบสังคม, เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม ปัญหาไม่ได้อยู่เพียงว่า ความรู้ทางโลกย์เป็นสิ่งที่ใครๆ เขาก็รู้กัน ฉะนั้นพระในพุทธศาสนาจึงต้องรู้บ้าง เพื่อไม่ให้เขาดูถูก ที่จริง พระต้อง รู้ความรู้เหล่านี้อย่างเป็นระบบยิ่งกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ เพราะพระไม่ได้ ศึกษาเล่าเรียนเพื่อไปรับจ้างใครทำงานกินเงินเดือน พระจึงต้องเรียน เพื่อความเข้าใจที่ปรุโปร่ง จนสามารถสร้างญาณทรรศนะที่ล้ำลึกของ ตนเอง ในเรื่องที่เรียกว่าทาง “โลกย์” ส่วนความรู้ทางธรรมนั้น ต้องเข้าใจด้วยว่า ในปัจจุบันการศึกษา พระพุทธศาสนาในโลกได้ก้าวรุดหน้าไปมาก พระไทยต้องตามความรู้ เหล่านี้ให้ทัน พร้อมกับสร้างฐานให้แข็งแกร่งพอจะสร้างความรู้ใหม่ๆ ได้เองด้วย ไทยต้องผลิตนักปราชญ์พุทธระดับโลก ซึ่งไม่ได้มีความรู้ เพียงภาษาบาลี แต่ต้องรู้สันสกฤต, ทิเบต, จีน, ญี่ปุ่น, พม่า, มอญ, เขมร อย่างแตกฉาน สามารถวินิจฉัยข้อธรรมซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันใน 11

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 11

12/21/12 8:43:01 AM


วงวิชาการได้ จนเป็นที่รับฟังของปราชญ์พุทธทั่วโลก ในขณะเดียวกัน ความรู้เหล่านี้ก็จะเป็นฐานให้แก่การปฏิบัติของชาวพุทธ และเป็นฐาน วิชาการให้แก่ปัญญาชนชาวพุทธในการเสนอความเห็นบนเวทีโลกด้วย แม้แบ่งออกเป็นความรู้สองอย่าง แต่ที่จริงแล้วก็แยกออกจากกัน ไม่ได้ ธรรมที่ไม่วางอยู่บนฐานข้อเท็จจริงในทางโลกย์เลยก็คงสื่อความ กับใครในโลกปัจจุบันไม่ได้ และในทางกลับกัน ข้อเท็จจริงในทางโลกย์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร หากไม่มีการให้ความหมายแก่ข้อเท็จจริงเหล่านั้น พุทธศาสตร์คือการรวมสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน จะให้ความหมายทาง พุทธธรรมแก่ข้อเท็จจริงทางโลกย์อย่างไร ไม่ใช่เพียงประทับตรายี่ห้อ พุทธเท่านั้น การให้ความหมายเชิงพุทธธรรม ต้องทำให้ความเข้าใจต่อ ความรู้ทางโลกย์มีความลุ่มลึกขึ้น หรือเปิดแนวทางใหม่ในวิธีการมอง ปัญหา การศึ ก ษาของพระสงฆ์ จึ ง ไม่ อ าจฝากไว้ กั บ การศึ ก ษาที่ จั ด ให้ ฆราวาส หรือไม่อาจกอบปี้จากสถาบันการศึกษาของฆราวาสได้ ปัญหา ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาของวิชาความรู้ เท่ากับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการ ศึกษาแนวพุทธน่าจะมีแนวทางพิเศษของตนเอง

12

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 12

12/21/12 8:43:06 AM


หากองค์ ก รศาสนาของไทยเรี ย นรู้ จ นเกิ ด ความเข้ า ใจชั ด เจน เกี่ยวกับการศึกษาแนวพุทธ ซึ่งไม่ใช่แค่สวดมนต์ทำวัตรเช้า หรือวิชา ศีลธรรมทุกวัน หรือโรงเรียนที่เหมือนของกระทรวงศึกษาฯ เพียงแต่วัด เป็นผู้อุปถัมภ์ ก็น่าจะที่สร้างการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับกุลบุตร กุลธิดาชาวพุทธในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ปกครองมีทางเลือกเกี่ยวกับการ ศึกษาของลูกหลาน การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ควรหมายถึงการทุ่มเททรัพยากร เพื่อทำให้เกิดการศึกษาเชิงพุทธ ทั้งของสงฆ์และฆราวาส แต่จะทุ่มเท ทรัพยากรอย่างไรจึงจะบังเกิดผล การให้งบประมาณลงไปมากๆ แก่ ระบบการศึกษาภายใต้มหาเถรสมาคม อาจไม่เกิดผลอะไรเลยก็ได้ อาจ จำเป็นต้องสร้างระบบการศึกษาที่เป็นอิสระทั้งจากรัฐและจากมหาเถรสมาคมขึ้น โดยทำในลักษณะร่วมมือกันเป็นภาคีเสมอภาค ระหว่างรัฐ และสังคมก็ได้ ๓. เพื่ออุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา รัฐควรส่งเสริม เสรีภาพทางศาสนาของพลเมืองไทย เสรีภาพทางศาสนาหมายความ ว่าการเลือกนับถือศาสนา เป็นเสรีภาพที่ไม่มีใครมีอำนาจไปละเมิดได้ ไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้ยังหมายถึงการเลือกไม่นับถือ ศาสนาใดเลย ก็เป็นเสรีภาพที่ไม่มีใครมีอำนาจไปละเมิดได้เหมือนกัน ต้องทำให้ชาวพุทธและองค์กรของพุทธศาสนาที่เป็นทางการสำนึกว่า ตนไม่มีอภิสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นหากผู้ใดแสดงความเห็นอันบริสุทธิ์ เกี่ยวกับศาสนาใด ก็เป็นหน้าที่ของศาสนิกนั้นจะชี้แจงหรือปกป้องเอง รัฐไม่อาจให้อำนาจไปปกป้องแทนได้

13

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 13

12/21/12 8:43:07 AM


๔. ช่วยให้คำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นกระแสใด ก็ตาม ได้มีโอกาสเผยแพร่ผ่านสื่อ โดยเฉพาะสื่อใหม่หรือสื่อทางเลือก

ให้มากขึ้น ที่ต้องเป็นสื่อใหม่ก็เพราะไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องฟังหรือชม เวลานี้คำสอนของพุทธศาสนาเพียงสองกระแสเท่านั้น ที่มีโอกาสเผยแพร่ ผ่านสื่อเก่าอยู่ คือกระแสพุทธศาสนาที่เป็นทางการ และธรรมกาย รัฐ

จึงควรส่งเสริมให้กระแสอื่นๆ ได้มีโอกาสเผยแพร่คำสอนของตนบ้าง ๕. พระพุ ท ธศาสนาที่ เ ป็ น ทางการ มี อ ำนาจที่ จ ะกำหนดได้ ว่ า

ใครเป็นหรือไม่เป็นพระภิกษุของพระพุทธศาสนาในกระแสนี้ แต่ภิกษุ (และภิกษุณี) อื่นที่บวชเรียนต้องตามพระวินัย ย่อมเป็นภิกษุในพระ พุทธศาสนาอย่างแน่นอน แม้ไม่ต้องตรงตามพระวินัยของเถรวาท ก็ยัง ต้องนับว่าเป็นภิกษุ (เช่นพระภิกษุจีน, ญวน, ญี่ปุ่น เป็นต้น) อยู่นั่นเอง ส่วนใครจะเลือกนับถือพระภิกษุประเภทใด ย่อมเป็นสิทธิของพลเมือง

ทุกคน เป็นธรรมดาที่ย่อมเกิดมีพระภิกษุเถรวาทที่ไม่สังกัดมหาเถรสมาคม อันเป็นองค์กรปกครองของพระพุทธศาสนาที่เป็นทางการเท่านั้นขึ้นอย่าง แน่นอน พระพุทธศาสนาที่เป็นทางการต้องทำตัวให้เป็นที่เคารพเลื่อมใส ของพุทธศาสนิกในเมืองไทยเอง และอันที่จริงก็มีทุนเดิมที่จะทำได้ง่าย อยู่แล้วหลายอย่าง ทั้งทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางเศรษฐกิจ ความ

ไม่ มั่ น คงนี่ แ หละคื อ การอุ ป ถั ม ภ์ แ ละคุ้ ม ครองที่ ไ ด้ ผ ลที่ สุ ด เพราะ

ผ้าเหลืองนั้น คนไม่ได้เคารพที่เป็นตัวผ้า แต่เคารพเพราะมันครอง บุคคลที่น่าเคารพเลื่อมใสต่างหาก พูดง่ายๆ ก็คือปลดทุนทางการเมืองของพระพุทธศาสนาที่เป็น ทางการออกเสีย คณะสงฆ์ของกระแสนี้จะขวนขวายปรับตัวให้มีคุณค่า แก่สังคมอย่างขมีขมันแน่นอน 14

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 14

12/21/12 8:43:07 AM


๖. รัฐควรอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนา แต่รัฐไม่ควรใช้อำนาจของ ตนไปปกปองศาสนาใดๆ จากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือการท้าทาย ด้วยความคิดทางศาสนาที่แตกต่าง อันที่จริงบุคลากรในพระพุทธศาสนา ที่เป็นทางการ ก็วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาอื่นอยู่เสมอ เช่นเห็นว่าศาสนา ที่มีพระเจ้าอาศัยแต่ความศรัทธาเท่านั้น ไม่ได้ใช้ปัญญานำศรัทธาเลย เป็นต้น ไม่มีครั้งใดในประวัติศาสตร์โลก ที่ศาสนาทุกศาสนาต้องเผชิญ การท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเท่ายุคสมัย ปัจจุบัน แค่ทำให้ตัวเลขเงินฝากเป็นเป้าหมายของชีวิตเพียงอย่างเดียว พระนิพพานและพระเจ้าก็ไม่มีที่อยู่บนโลกนี้แล้ว อำนาจรัฐไม่เคยขจัด การท้าทายไปได้ ตรงกันข้าม เสรีภาพต่างหากที่จะทำให้ศาสนาอยู่ได้ เพราะศาสนาจำเป็นต้องใช้สติปัญญาในการเสริมสร้างศรัทธาของผู้คน สนทนา (แปลว่า “เทียบ” คือทั้งสองฝ่ายได้พูด) กับผู้คน และมีคำตอบ แก่ผู้คน ไม่มีฝ่ายใดมีอำนาจที่จะฟังเฉพาะที่ตัวอยากฟังเท่านั้น 15

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 15

12/21/12 8:43:12 AM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ยุคนี้เป็นยุคที่รักสะอาดเป็นอย่างยิ่ง อุปกรณ์ทำความสะอาดทั้ง ร่างกายและเครื่องใช้ ไม่ว่าสบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน

กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ยังไม่นับสินค้าตัวใหม่ๆ ที่ทยอย ออกมาไม่หยุด อาทิ น้ำยาล้างมือ สเปรย์ระงับกลิ่นปาก ฯลฯ ทั้งหมด นี้เพื่อต่อสู้กับศัตรูที่ซุกซ่อนอยู่รอบตัวและแทรกซึมทุกหนทุกแห่ง นั่นคือ เชื้อโรค แม้แต่ปุ่มโทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ จอไอแพ็ด ก็เป็นที่

สิงสถิตของแบคทีเรียนานาชนิด ไม่แปลกหากอีกไม่นานน้ำยาฆ่าเชื้อใน อุปกรณ์เหล่านี้จะเป็นที่นิยม 16

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 16

12/21/12 8:43:13 AM


วั ฒ นธรรมรั ก สะอาดที่ แ พร่ ไ ปทั่ ว โลกนั้ น มี ต้ น ตอมาจากไหน

คำตอบหาได้ไม่ยาก ในยุโรปและอเมริกานั้นพฤติกรรมรักสะอาดจนถึง ขั้นอนามัยจัดเป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไป ไม่ว่า ในบ้านเรือน ที่ทำงาน สถานที่ สาธารณะ รวมทั้งตามเนื้อตัว การรักษาความสะอาดเป็นเรื่องใหญ่มาก น่ า แปลกก็ ต รงที่ ย้ อ นหลั ง ไปไม่ ถึ ง ๘๐ ปี ฝรั่ ง หาได้ มี นิ สั ย

รักสะอาดอย่างที่เห็นทุกวันนี้ไม่ ยอร์จ ออร์แวล นักเขียนชื่อดังชาว อังกฤษตั้งข้อสังเกตว่า “นิสัยอาบน้ำทั้งตัวเป็นประจำทุกวันเป็นสิ่งที่

ใหม่มากๆ ในยุโรป” เขายังพูดต่อไปว่า “ชาวอังกฤษนับวันจะสะอาดขึ้น และคงหวังได้ว่าภายในหนึ่งร้อยปี เขาจะสะอาดเกือบเท่าคนญี่ปุ่น” ถอยหลังไป ๑๕๐ ปีก่อน คนยุโรปไม่สนใจความสะอาดเลย

ก็ว่าได้ รายงานของกระทรวงศึกษาธิการของฝรั่งเศสเมื่อปี ๑๘๘๔ ระบุ ตอนหนึ่งว่า “แม้กระทั่งชนชั้นที่มีฐานะ ก็ไม่เคยทำความสะอาดร่างกาย ส่วนอื่นเลยยกเว้นส่วนที่อยู่นอกร่มผ้าเท่านั้น” พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่เรื่องผิดยุคผิดสมัย หากเป็นมรดกที่มี ความสืบเนื่องมายาวนานหลายร้อยปี โดยเฉพาะนับแต่คริสต์ศตวรรษ

ที่ ๑๖ เพราะตอนนั้นมีความเชื่อว่าน้ำเป็นพาหะนำโรคมาสู่ผิวหนัง ส่วน ฝุ่ น ผงนั้ น หากอุ ด รู ขุ ม ขนจะช่ ว ยป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ โ รคเข้ า มาในร่ า งกายได้ ดังนั้นผู้คนจึงไม่นิยมอาบน้ำไม่ว่าชาวบ้าน ชนชั้นสูง หรือแม้แต่พระเจ้า แผ่นดิน ว่ากันว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๓ นั้นไม่เคยอาบน้ำเลยจนเมื่ออายุ เกือบ ๗ ขวบ ส่วนพระเจ้าเฮนรีที่ ๔ แห่งฝรั่งเศส ก็เป็นที่เลื่องลือว่า

ส่งกลิ่นนานาชนิด ทั้งกลิ่นเหงื่อ กลิ่นคอกสัตว์ และกลิ่นอับที่เท้า ใน อังกฤษก็ไม่ต่างกันเท่าไร พระราชินีเอลิซาเบธ อาบน้ำเพียงเดือนละครั้ง ขณะที่พระเจ้าเจมส์ที่หนึ่ง ซึ่งครองราชย์ลำดับถัดมา แค่ล้างนิ้วเท่านั้น 17

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 17

12/21/12 8:43:13 AM


แต่ถ้าเกิดโรคระบาดเมื่อใด ผู้คนถึงกับไม่แตะน้ำชำระกายเลย แม้แต่น้อย เพราะมีความเชื่อว่า การอาบน้ำก็ดี หรือแม้แต่การมีเหงื่อ ออกก็ดี จะเปิดรูขุมขุนในร่างกาย และทำให้โรคร้ายเข้าไปก่ออันตราย แก่ร่างกายได้ เมื่อไม่อาบน้ำ วิธีที่ชนชั้นผู้ดีใช้ในการจัดการกับความสกปรก ก็ คือ ใส่เสื้อที่ทำด้วยลินิน เพื่อปัดฝุ่นผงออกจากร่างกายและดูดซับเหงื่อ ด้วย ขณะเดียวกันก็ใช้น้ำหอมกลิ่นแรงๆ และน้ำมันเพื่อปกปิดกลิ่น เหม็นตามเนื้อตัว

1

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 18

12/21/12 8:43:15 AM


พฤติกรรมดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ และ โรเบิร์ต ค็อก นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังปลายศตวรรษที่ ๑๙ พบว่า โรค ที่คร่าชีวิตผู้คนจนล้มตายมากมายนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเติบโต ในที่สกปรก วิธีจัดการกับเชื้อโรคดังกล่าวได้ดีที่สุดก็คือ ใช้ความร้อน กับการรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและที่พักอาศัย นั่นคือจุดเริ่มต้น ของการหวนกลับมาอาบน้ำ อย่างที่ชาวกรีกและโรมันได้ทำกันอย่าง เป็นล่ำเป็นสัน แต่กว่าวัฒนธรรมรักสะอาดจะเข้มแข็งมั่นคงในยุโรป ก็ ใ ช้ เ วลาหลายสิ บ ปี ดั ง เห็ น ได้ ว่ า ลุ ล่ ว งจนถึ ง ปี ๑๙๔๐ ครั ว เรื อ น อเมริกันเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีห้องอาบน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ ส่วนใน อังกฤษ จนถึงปี ๑๙๕๑ ครัวเรือนเกือบ ๒ ใน ๕ ไม่มีห้องอาบน้ำใช้เลย ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว ความ รักสะอาดได้กลายเป็นวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ผู้มีอัน จะกิ น การรณรงค์ ต่ อ ต้ า นความสกปรกประสบความสำเร็ จ อย่ า งยิ่ ง เมื่อนักธุรกิจได้เข้ามาขับเคลื่อนผลักดันผ่านการโฆษณา ที่ทำให้ผู้คน ไม่เพียงแต่กลัวความสกปรกเท่านั้น แต่ยังรู้สึกถึงภาพลักษณ์ที่ดูดีขึ้น เมื่อใช้สินค้าต่างๆ ที่นำเสนอขาย ผลก็คืออุตสาหกรรมเกี่ยวกับความ สะอาดเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้ทั่วโลกใช้เงินถึง ๒๔,๐๐๐ ล้าน ดอลลาร์ในการซื้อสบู่ก้อนและสบู่เหลว ไม่รวมอีก ๑๐๖,๐๐๐ ล้าน เหรียญสำหรับการทำความสะอาดเสื้อผ้า จานชาม ห้องน้ำ ตรงข้ามกับยุโรปเมื่อ ๔๐๐ ปีก่อน ทุกวันนี้ผู้คนจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะคนชั้นสูงหรือคนมีฐานะ พากันรังเกียจฝุ่นผง กลัวเชื้อโรค ถึ ง ขนาดต้ อ งทำความสะอาดใบหน้ า และมื อ เท้ า วั น ละหลายๆ ครั้ ง หลายคนคงนึกไม่ถึงว่าฝรั่งซึ่งรักสะอาดและอนามัยจัดนั้น สมัยหนึ่งเคย 19

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 19

12/21/12 8:43:16 AM


มีความเชื่อว่าความสกปรกไม่ใช่สิ่งน่ารังเกียจ การอาบน้ำชำระร่างกาย ต่างหากที่น่ารังเกียจ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ผู้คนทั้งโลกหันมาเชิดชูความสะอาดและ ต่อต้านความสกปรกถึงขั้นไล่ล่าอย่างเอาจริงเอาจัง ตอนนี้พฤติกรรม

ดังกล่าวกำลังถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่าสุดโต่งเกินไปหรือไม่ เนื่องจากมี การค้นพบอย่างต่อเนื่องว่า แบคทีเรียนั้นมีประโยชน์ต่อมนุษย์อยู่ไม่น้อย เด็กที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรคตั้งแต่เล็ก เช่น อยู่ในไร่นา หรือเป็น

ลูกคนเล็ก ที่ได้รับเชื้อแบคทีเรียจากพี่ๆ มีแนวโน้มที่จะไม่เป็นโรคหอบ หืดและโรคภูมิแพ้ ในทำนองเดียวกันโรคภูมิแพ้นานาชนิดที่ระบาดใน ประเทศที่ร่ำรวยนั้น กลับเกิดขึ้นน้อยมากในประเทศที่ยากจนกว่า นี้อาจ เป็ น เหตุ ผ ลว่ า ทำไมเด็ ก ที่ ไ ด้ รั บ การเลี้ ย งดู แ บบอนามั ย จั ด จนแม้ แ ต่

เดินเท้าเปล่าก็ทำไม่ได้ จึงมีโอกาสเป็นโรคมือเท้าปากได้มากกว่าเด็ก ชนบทหรือเด็กสลัมที่เล่นหินดินทรายเป็นประจำ แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้ก็คือ การส่งเสริมให้คนหันมาสัมผัส กับดินและฝุ่นมากขึ้น “ฝุ่นนั้นดี” เป็นข้อความโฆษณาของผงซักฟอก ยี่ห้อหนึ่งซึ่งผลิตโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ยูนิลีเวอร์ มีการรณรงค์ให้เด็กได้ เล่นดินและคลุกฝุ่นบ้าง เพราะ “ฝุ่นผงเป็นการแสดงออกซึ่งเสรีภาพ” ครั้งหนึ่งฝรั่งที่ได้รับอิทธิพลกรีกและโรมัน รักการอาบน้ำเป็นชีวิต จิตใจ แต่ในเวลาต่อมาฝรั่งกลับเกลียดการอาบน้ำและพอใจที่จะอยู่ อย่ า งสกปรก บั ด นี้ หั น มารั ก ความสะอาด มี ค วามสุ ข กั บ การอาบน้ ำ

(โดยเฉพาะน้ำอุ่น)และรังเกียจฝุ่นผงกับเชื้อโรคเป็นที่สุด แต่แนวโน้มที่ กำลังเกิดขึ้น คือ การหวนกลับไปหาฝุ่นผงและขี้ดินอีกครั้ง นี้ก็เช่นเดียว กับพฤติกรรมหลายๆ อย่างในโลกนี้ ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกรังเกียจ แต่กลับ 20

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 20

12/21/12 8:43:16 AM


เป็นสิ่งที่น่าชื่นชนในปัจจุบัน และสิ่งที่น่าชื่นชมในอดีต กลายเป็นสิ่งที่ น่ารังเกียจในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งการถ่มน้ำลายถือว่าเป็นกิริยาที่สูงส่ง ใช้ในการบวงสรวง เทพเจ้าหรือเมื่อสาบานและทำสัญญาต่อกัน แต่บัดนี้การกระทำเช่นนั้น กลับเป็นกิริยาที่หยาบคายไปแล้ว ครั้งหนึ่งฝินและมอร์ฟีนหาได้อย่างง่ายดายในยุโรปและอเมริกา ขณะที่เหล้าถูกโจมตีว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ทุกวันนี้ฝินและมอร์ฟีน กลาย เป็นสิ่งชั่วร้ายไปแล้ว ส่วนเหล้าหาซื้อได้ทั่วไป ครั้งหนึ่งคำว่า “กู” ไม่ใช่คำหยาบ ส่วนคำหยาบเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน คือคำว่า “ติดเนื้อต้องใจ” และที่หยาบคายมากที่สุดคือ “ไว้เนื้อ เชื่อใจ” “ขึ้นเนื้อขึ้นใจ” และ “วางเนื้อวางใจ” จนกระทั่งรัชกาลที่ ๔ ต้องออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาห้ามไม่ให้ประชาชนนำมาใช้เขียน หรือพูดอย่างเด็ดขาด ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคำสุภาพหรือคำสามัญในวันนี้ คงมีหลายคำที่กลายเป็นคำหยาบหรือคำอุจาดในวันหน้า ขณะที่คำหยาบ ในวันนี้อาจกลายเป็นคำที่นิยมใช้ในอนาคต โลกนี้หาความจีรังยั่งยืนไม่ได้ แปรเปลี่ยนเป็นนิจ สิ่งที่เรายกย่อง เชิดชูว่าดีวิเศษในวันนี้ สามารถกลายเป็นอื่นในวันหน้า นี้เป็นธรรมดา ของสิ่งที่เรียกว่าสมมติ ใครที่ยึดติดถือมั่นกับสมมติ ปักใจเชื่อว่ามันต้อง ดีไปตลอด ย่อมเป็นทุกข์เมื่อเจอความเปลี่ยนแปลง

21

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 21

12/21/12 8:43:17 AM


รั ส ส์ ไ ร เ ม อ ร์ เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก

ทุ ก ๆ ๑๔ วั น จะมี ภ าษาหนึ่ ง ตายลง เมื่ อ ถึ ง ศตวรรษหน้า เกือบครึ่งหนึ่งของภาษา ราว ๗,๐๐๐ ภาษาทั่วโลกอาจสูญสิ้นไปตลอด กาล เพราะผู้คนและชุมชนท้องถิ่นพากันละทิ้งภาษาแม่ ไปใช้ภาษาอังกฤษ จีนกลาง หรือสเปนแทน เมื่อภาษาหนึ่งไร้คนพูดอีกต่อไป เราจะสูญเสีย อะไรไปบ้าง เช้าวันหนึ่งในต้นฤดูใบไม้ร่วง อันเดรย์ มอนกุช กั บ พ่ อ แม่ เ ริ่ ม เตรี ย มอาหารเย็ น พวกเขาเลื อ กแกะ ตัวหนึ่งมาจากฝูง แล้วจับมันนอนหงายบนผ้าพลาสติก บ้ า นของครอบครั ว นี้ ตั้ ง อยู่ ใ นป่ า สนไทกาไซบี เ รี ย ริมทุ่งหญ้าสเตปปอันกว้างไกลสุดสายตา ข้ามขอบฟ้า ไปคื อ เมื อ งคื ย ซิ ล เมื อ งหลวงของสาธารณรั ฐ ตู ว าใน 22

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 22

12/21/12 8:43:18 AM


สหพันธรัฐรัสเซีย เดิมทีชาวตูวาเป็นชนเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์ที่โยกย้าย อาล หรือกระโจม ฝูงแกะ วัว และกวางเรนเดียร์ไปตามทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ตามฤดูกาล หากมองในแง่ภูมิศาสตร์ ครอบครัวนี้อาศัยอยู่ใกล้ใจกลาง ของทวีปเอเชีย แต่ในแง่ภาษาและความสัมพันธ์กับชุมชน พวกเขาอยู่ ตรงชายขอบซึ่งเป็นแนวพรมแดนระหว่างความเจริญกับประเพณีดั้งเดิม เมื่อผมถามนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เมืองคียซิลว่า มีคำอะไรใน ภาษาตูวาที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหรือรัสเซียไม่ได้บ้าง พวกเขานึกถึง คำว่าเฮอเมย์ เพราะคำๆ นี้เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของชาวตูวา อย่างใกล้ชิด ชนิดที่ว่ามีแต่ชาวพื้นเมืองเท่านั้นที่จะเข้าใจ อีกคำหนึ่งคือ โฮยอือเซรี หรือวิธีล้มแกะของชาวตูวา ถ้าเรามองว่าการฆ่าปศุสัตว์เป็น ส่วนหนึ่งของความใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับสัตว์แล้ว คำคำนี้คงสื่อถึง ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะเป็นการทำให้สัตว์ หมดลมด้วยการล้วง เข้าไปในรอยกรีดที่หนังแกะ แล้วใช้นิ้วเด็ดเส้นเลือดใหญ่ให้ขาด สัตว์ จะตายอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้ตัวและเป็นการตายอย่างสงบ ในภาษา ของชาวตูวา คำว่าโฮยอือเซรี ไม่ได้แปลว่าการฆ่าสัตว์เป็นอาหารเพียง อย่างเดียว แต่ยังหมายถึงเมตตาธรรมและมนุษยธรรม เป็นพิธีกรรมที่ ครอบครัวหนึ่งจะปลิดชีวิต ถลกหนัง และแล่แกะเป็นชิ้นๆ ก่อนจะเอา เกลือทาหนัง นำเนื้อมาปรุงอาหาร และทำไส้กรอกด้วยเลือดที่รองไว้ และเครื่องในที่ล้างจนสะอาด กระบวนการทั้งหมดจะทำอย่างประณีต โดยใช้เวลาถึงสองชั่วโมง ขณะลงมือ ผู้ฆ่าจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดและ ต้ อ งระวั ง ไม่ ใ ห้ เ ลื อ ดกระเซ็ น แม้ แ ต่ ห ยดเดี ย ว คำว่ า โฮยอื อ เซรี จึ ง หมายถึงสัมพันธภาพระหว่างคนกับสัตว์ และเป็นเครื่องวัดนิสัยใจคอ ของคน 23

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 23

12/21/12 8:43:23 AM


ตูวาเป็นหนึ่งในภาษาย่อยมากมายหลายภาษาทั่วโลก ในจำนวน ประชากรโลกเจ็ดพันล้านคน มีภาษาพูดอยู่ราว ๗,๐๐๐ ภาษา ตาม สถิตินี้ ถ้าแบ่งเท่าๆ กันน่าจะมีคนพูดในอัตราหนึ่งภาษาต่อหนึ่งล้านคน แต่ภาษาเองก็ไม่ต่างไปจากชีวิต นั่นคือไม่มีสิ่งใดเท่าเทียม ร้อยละ ๗๘ ของคนทั้งโลกพูดภาษาหลักๆ ๘๕ ภาษา ส่วนภาษาย่อย ๓,๕๐๐ ภาษา มีคนพูดเพียง ๘.๒๕ ล้านคน ดังนั้นขณะที่มีผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษา ที่หนึ่ง ๓๒๘ ล้านคน ภาษาจีนกลาง ๘๔๕ ล้านคน ผู้พูดภาษาตูวา ในรัสเซียกลับมีเพียง ๒๓๕,๐๐๐ คนเท่านั้น นักภาษาศาสตร์ประมาณ ว่า ภายในหนึ่งร้อยปี เกือบครึ่งหนึ่งของภาษาที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้อาจ สูญหายไป ซึ่งปัจจุบันมีกว่า ๑,๐๐๐ ภาษาที่เข้าข่ายวิกฤติหรือใกล้ สูญสิ้นเต็มที ในยุคที่โลกเชื่อมต่อและหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้นทุกวัน เขตแดนของประเทศหรือพรมแดนทางธรรมชาติไม่อาจปกป้องภาษาในที่ ห่างไกลให้รอดพ้นจากภาษาที่ทรงอิทธิพลในโลกแห่งการสื่อสารและการ ค้าได้อีกต่อไป ภาษาจีนกลาง อังกฤษ รัสเซีย ฮินดี สเปน และอาหรับ

24

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 24

12/21/12 8:43:23 AM


คืบคลานเข้าสู่ทุกหมู่บ้าน แย่งชิงพื้นที่ภาษาตูวา ภาษายาโนมามี และ ภาษาอัลไตอิก ไปทีละครัวเรือน พ่อแม่ตามหมู่บ้านชนเผ่าต่างๆ มัก ส่งเสริมให้ลูกหลานเลิกใช้ภาษาของบรรพบุรุษที่พูดกันในวงแคบ แล้ว หันไปใช้ภาษาที่จะทำให้ได้รับการศึกษาและประสบความสำเร็จมากกว่า แต่ใครเล่าจะตำหนิพวกเขาได้ ยิ่งมีโทรทัศน์ที่ทำให้เห็นภาพโลก วัตถุนิยมอันชวนหลงใหล และความมั่งคั่งดูเหมือนจะพูดภาษาอังกฤษ เสียด้วย นักภาษาศาสตร์คนหนึ่งพยายามให้คำจำกัดความของภาษาว่า ภาษาถิ่น จะกลายเป็นภาษาหลักได้ก็ต่อเมื่อมีกองทัพหนุนหลัง ทุกวันนี้ ภาษาใดที่มีสถานีโทรทัศน์และสกุลเงินจะสามารถลบล้างภาษาที่ไม่มีสิ่ง เหล่านี้ได้ ดังนั้น ชาวตูวาจึงต้องพูดภาษารัสเซียหรือจีนหากต้องการมี ปฏิสัมพันธ์กับโลกรอบตัว การครอบงำของภาษารัสเซียเหนือภาษาตูวา เห็นได้อย่างชัดเจนในการพูดของชาวตูวารุ่นที่เติบโตในช่วงกลางศตวรรษ ที่ ยี่ สิ บ ซึ่ ง เป็ น ยุ ค ที่ ผู้ ค นนิ ย มพู ด อ่ า น และเขี ย นภาษารั ส เซี ย แทน ภาษาถิ่น แต่ภาษาตูวายังจัดว่าเข้มแข็งกว่าภาษาถิ่นอื่นๆที่เปราะบางกว่า มาก บางภาษามีคนพูดเพียงหนึ่งพันคน บางภาษาไม่ถึงสิบคน หรือ อาจเหลือเพียงคนเดียว ภาษาถิ่นอย่างภาษาวินทูในรัฐแคลิฟอร์เนีย ภาษาสเลตซ์เตนีในรัฐออริกอน หรือภาษาอามูร์ดักซึ่งเป็นภาษาของพวก อะบอริจินในรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีของออสเตรเลีย มีคนพูดได้คล่อง หรือเกือบคล่องอยู่เพียงหนึ่งหรือสองคน เมื่อไร้คู่สนทนา ผู้พูดภาษา คนสุดท้ายคงต้องทนกล้ำกลืนอยู่ในโลกอย่างอ้างว้างเดียวดาย จะมี วัฒนธรรมแง่ใดสูญหายไปหากมีการแปลภาษานั้นๆ เป็นภาษาหลักอื่นๆ และภูมิปัญญาใดที่จะหมดไปจากโลกหากขาดความหลากหลายทาง ภาษา 25

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 25

12/21/12 8:43:24 AM


ต่อความรุนแรงทางชาติพันธุ์

เพื่อต่อต้านชาวมุสลิมในเมียนมาร์ที่กำลังเติบโตขึ้น

ถึงพี่น้องชาวพุทธในเมียนมาร์

ในฐานะผู้นำชาวพุทธทั่วโลก พวกเราขอส่งความรักความเมตตา และความห่วงใยมายังประชาชนชาวเมียนมาร์ผู้เผชิญกับความทุกข์ยาก ในเวลานี้ ในขณะที่เวลานี้เป็นห้วงยามแห่งการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่ ยิ่งใหญ่ในเมียนมาร์ พวกเรากลับรู้สึกกังวลต่อความรุนแรงทางชาติพันธุ์ ที่มุ่งเป้าต่อชาวมุสลิมในรัฐยะไข่ และความรุนแรงต่อชาวมุสลิมและ ชนกลุ่ ม น้ อ ยทั่ ว ประเทศที่ ก ำลั ง เติ บ โตขึ้ น ชาวพม่ า เป็ น ผู้ มี คุ ณ ธรรม อีกทั้งชาวพุทธพม่าเป็นผู้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและอย่างลึกซึ้งใน การอุปถัมภ์ค้ำจุนธรรมะ 26

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 26

12/21/12 8:43:25 AM


พวกเราปรารถนาที่จะตอกย้ำจุดยืนต่อโลกและสนับสนุนพวกท่าน ในการปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาขั้นพื้นฐานที่สุด อันได้แก่ การไม่ เบียดเบียน ความเคารพซึ่งกันและกัน และความเมตตา หลักการพื้นฐานที่พระพุทธองค์ตรัสสอนเหล่านี้ คือแก่นแกนการ ปฏิบัติของพุทธศาสนา : คำสอนของพุทธศาสนาอยู่บนพื้นฐาน ของการงดเว้นจากการฆ่าและประทุษร้าย คำสอนของพุทธศาสนาอยู่บนพื้นฐาน ของความเมตตาและการดูแลกันและกัน คำสอนของพุทธศาสนาให้ความเคารพแก่ทุกผู้คน อย่างไม่คำนึง ถึงชนชั้น วรรณะ เผ่าพันธุ์ หรือความเชื่อ พวกเราขออยู่เคียงข้างการหยัดยืนอย่างกล้าหาญของท่านต่อ หลักพุทธศาสนาเหล่านี้ แม้กระทั่งในยามที่ผู้อื่นสร้างภาพปีศาจหรือ ประทุษร้ายชาวมุสลิม รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ มีเพียงความเคารพ ซึ่งกันและกัน ความสมานฉันท์ และความอดทนอดกลั้นต่อกันเท่านั้น ที่จะทำให้เมียนมาร์กลายเป็นชาติสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่ อย่างเป็นผลดีต่อ ประชาชนทุกคน และเป็นตัวอย่างอันสว่างไสวแก่โลก ไม่ว่าท่านจะเป็นวิปัสสนาจารย์ พระหนุ่ม แม่ชีน้อย หรือเป็น ฆราวาส โปรดเปล่งเสียง ยืนหยัด ตอกย้ำพุทธสัจจะเหล่านี้ และเกื้อกูล ทุกผู้คนในเมียนมาร์ด้วยความเมตตา อย่างมีศักดิ์ศรี และด้วยความ เคารพตามคำสอนของพระพุทธองค์ พวกเราจะอยู่เคียงข้างท่านในพระธรรม 27

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 27

12/21/12 8:43:25 AM


ติ ช นั ท ฮั น ห์ ผู ไ ด รั บ การเสนอชื่ อ เข า รั บ รางวั ล โนเบลสาขา สันติภาพ เวียดนาม โพธิภิกขุ ประธานชาวพุทธสากลเพื่อการบรรเทาทุกข์ ศรีลังกา / สหรัฐอเมริกา ดร.อารียรัตเน ผูกอตั้งขบวนการสรรโวทัย ผูไดรับรางวัลคานธี เพื่อสันติภาพ ศรีลังกา พระราชสุเมธาจารย์ วัดปารัตนวัน ประเทศไทย พระไพศาล วิสาโล ประธานเครือขายพุทธิกา ประเทศไทย อาร์ เ จี ย ริ น โปเช ที่ ๘ เจ า อาวาสศู น ย์ วั ฒ นธรรมชาวทิ เ บต มองโกล มองโกเลีย / สหรัฐอเมริกา โชโด ฮาราดะ โรชิ เจาอาวาสวัดโซเกนจิ รินไซ เซน ญี่ปุน ศาสตราจารย์ซิมเมอร์ บราวน์ มหาวิทยาลัยนาโรปะ สหรัฐอเมริกา พระอาจารย์อมโรมหาเถระ เจาอาวาสวัดอมราวดีวิหาร ประเทศ อังกฤษ โฮซัน เซโนเก เครือขายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคมนานาชาติ ยุงเก คาชาบ รินโปเช ที่ ๘ เจาอาวาสวัดยุงเก ดรอดุล ลิง แคนาดา ติช นู ชาน กง ประธานหมูบานพลัม ฝรั่งเศส / เวียดนาม ดร.แจ็ค คอร์นฟลด์ กรรมการสภาคณาจารย์ชาวพุทธตะวันตก สหรัฐอเมริกา ลามะสูรยาดาส มูลนิธิดซอกเชนนานาชาติ ทิเบต / สหรัฐอเมริกา โซเกตสึ ฟสเชอร์ โซโต โรชิ อดีตเจาอาวาสชุมชนเซนที่ใหญที่สุด ในตะวันตก สหรัฐอเมริกา / ญี่ปุน 2

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 28

12/21/12 8:43:26 AM


ตุ ล กู เชอร์ ด อร์ ริ น โปเช ผู อ ำนายการสถาบั น สว า งป ญ ญา แคนาดา ศาสตราจารย์ โ รเบิ ร์ ต เทนซิ น เทอร์ แ มน ศู น ย์ พุ ท ธศึ ก ษา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ทะไล ลามะ ที่ ๑๔ ผูไดรับรางวัลโนเบล ทิเบต / อินเดีย

แม้ไม่สามารถติดต่อพระองค์เพื่อลงพระนามในจดหมายฉบับนี้ได้ ทันเวลา แต่องค์ทะไล ลามะ ได้แถลงซ้ำอย่างเปิดเผยถึงความกังวล เกี่ยวกับชาวมุสลิมโรฮิงญาในเมียนมาร์ ท่านได้กระตุ้นเตือนให้ทุกคน ปฏิบัติการณ์ไร้ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องและรักษาความสมานฉันท์ ระหว่างศาสนาซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมอันเก่าแก่และน่านับถือของ พวกเราไว้

29

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 29

12/21/12 8:43:27 AM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ทุกวันนี้น้อยคนจะรู้ว่าเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว “พระป่า” หาได้ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ นั บ ถื อ อย่ า งกว้ า งขวางเช่ น ปั จ จุ บั น ไม่ ตรงกั น ข้ า มกลั บ ถู ก มองด้ ว ยสายตาหวาดระแวง ยิ่ ง พระป่ า สายอี ส านที่ เ ป็ น ลู ก ศิ ษ ย์ ข องหลวงปู่ มั่ น ภู ริ ทั ต โตด้ ว ยแล้ ว ผู้ป กครองสงฆ์ ในเวลานั้นถื อว่ าเป็นตั วปั ญหา ที่ต้ องจัด การ หรือไม่ก็ต้องขับไล่ออกไปให้พ้นจากเขตปกครองเลยทีเดียว เพราะมองว่าพระเหล่านั้นนอกจากอยู่อย่างไม่เป็นหลักแหล่ง ไม่สังกัดวัดที่แน่นอนแล้ว ยังไม่สนใจศึกษาพระปริยัติธรรม อัน เป็นนโยบายสำคัญของคณะสงฆ์ขณะนั้น มิหนำซ้ำยังชักชวน พระจำนวนไม่น้อยให้ละทิ้งปริยัติธรรม หันมาฝักใฝ่ในวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่ ง ผู้ ป กครองสงฆ์ จ ำนวนไม่ น้ อ ยเห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ ง งมงายไม่เป็นเหตุผลตามหลักพุทธศาสนา 30

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 30

12/21/12 8:43:28 AM


เหตุการณ์หนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานกันในเวลานั้นก็คือ การ ขั บ ไล่ ค ณะศิ ษ ย์ ข องหลวงปู่ มั่ น ออกจากจั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ในปี ๒๔๖๙ คราวนั้นพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็น ศิษย์คนสำคัญของหลวงปู่มั่นนำพระป่ากว่า ๕๐ รูปเดินธุดงค์ มาปักกลดในป่าบ้านหัวตะพาน โดยมีแม่ชีและฆราวาสนับร้อย ร่วมคณะมาด้วย เมื่อทราบข่าวเจ้าคณะมณฑลอีสาน ได้สั่งการ ให้เจ้าคณะอำเภอและเจ้าหน้าที่จากอำเภออำนาจเจริญและ ม่วงสามสิบขับไล่ท่านเหล่านั้นออกจากป่า ขณะเดียวกันก็ห้าม มิให้ประชาชนใส่บาตรให้คณะธุดงค์ แต่พระอาจารย์สิงห์ปฏิเสธ ที่จะออกจากพื้นที่ โดยยืนยันว่าท่านเป็นชาวอุบล และไม่ได้ ก่อปัญหาใดๆ เรื่องยุติลงได้เมื่อเจ้าคณะจังหวัดได้มีลิขิตถึง นายอำเภอให้ผ่อนปรนในเรื่องนี้ หลังจากที่ได้รับการร้องขอจาก ศิษย์หลวงปู่มั่น อาทิ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เจ้ า คณะมณฑลอี ส านท่ า นนี้ คื อ พระโพธิ ว งศาจารย์ (อ้วน ติสโส) อย่างไรก็ตามเมื่อท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระพรหมมุนี ทัศนคติของท่านต่อพระป่าก็เปลี่ยนไปอย่าง สิ้นเชิง ท่านหันมาศรัทธาเลื่อมใสหลวงปู่มั่นและพระป่า สาเหตุ สำคั ญ ก็ เ พราะท่ า นได้ ป ระจั ก ษ์ ถึ ง คุ ณ ค่ า ของสมาธิ ภ าวนา ก่อนหน้านั้นท่านล้มป่วยมาเป็นเวลานาน แต่ได้รับการเยียวยา จนหายขาดจากพระอาจารย์ฝั้น ซึ่งไม่เพียงใช้สมุนไพร หากยัง อาศัยสมาธิภาวนาในการรักษาด้วย และยิ่งมีศรัทธาปสาทะ ในกรรมฐานมากขึ้ น เมื่ อ ได้ รั บ คำแนะนำจากพระอาจารย์ ลี 31

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 31

12/21/12 8:43:29 AM


ธัมมธโร แห่งวัดอโศการาม ซึ่งเป็นลูกศิษย์อีกท่านหนึ่งของ หลวงปู่มั่น อานิสงส์ของสมาธิภาวนานั้นประจักษ์แก่ท่านอย่าง ชัดเจน จนถึงกับอุทานว่า “ตลอดชีวิตของเรา เราไม่เคยนึก มาก่อนเลยว่า สมาธิภาวนาจะมีประโยชน์ถึงเพียงนี้” ในเวลาต่ อ มาท่ า นได้ เ ลื่ อ นสมณศั ก ดิ์ เ ป็ น สมเด็ จ พระ มหาวี ร วงศ์ ดำรงตำแหน่ ง สั ง ฆนายก ทำหน้ า ที่ ป กครองทั้ ง สังฆมณฑล ตามกฎหมายคณะสงฆ์ในเวลานั้น ในช่วงนี้เองที่ ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น หลังจากที่ได้ยินกิตติศัพท์ของท่าน มานานผ่านลูกศิษย์ของท่าน เมื่อได้สนทนาธรรมกับหลวงปู่มั่น สมเด็ จ ฯ อดพิ ศ วงไม่ ไ ด้ ใ นความลุ่ ม ลึ ก แห่ ง ธรรมของท่ า น ขณะเดียวกันก็แปลกใจว่าหลวงปู่มั่นเข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้งได้ อย่างไร ในเมื่อท่านเรียนปริยัติธรรมน้อยมาก นอกจากไม่ได้ เป็นเปรียญแล้ว ยังไม่สำเร็จนักธรรมเอกด้วย ในทัศนะของ สมเด็จฯ คนเราจะเข้าใจธรรมได้ก็ต้องผ่านการศึกษาจากตำรา ตั ว ท่ า นเองก็ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาในทางปริ ยั ติ ธ รรมสู ง ถึ ง ระดั บ เปรี ย ญโท แต่ ก็ ยั ง มี ค วามรู้ ท างธรรมไม่ เ ท่ า หลวงปู่ มั่ น ซึ่ ง ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็น “พระจรจัด” ด้วยความสงสัยดังกล่าว สมเด็จฯ จึงถามหลวงปู่มั่นว่า ในเมื่อท่านอยู่แต่ในป่า ไม่มีตำรา จะเรียนรู้ธรรมจนสอนพระ และญาติโยม ได้อย่างไร หลวงปู่มั่นตอบสั้นๆ ว่า “ธรรมนั้น มีอยู่ทุกหย่อมหญ้าสำหรับผู้มีปัญญา” 32

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 32

12/21/12 8:43:30 AM


ขอโทษ เพราะอยากให้เรื่องจบๆ ไป อุทุมพร กะลินเกา ปุจฉา : หากเราไม่ผิดแล้วถูกกล่าวโทษ การ หาเหตุผลชี้แจงกลับมองว่าเถียง หากเป็นเช่นนี้ การกล่าวคำขอโทษ อาจจะทำให้อีกฝ่ายไม่ขุ่นมัว แต่ทางกลับกัน อาจทำให้อีกฝ่ายกลายเป็น คนนิสัยเสีย มักคิดเสมอว่าตนไม่เคยผิด การกล่าวคำขอโทษให้กับ คนแบบนี้จะเป็นการสนับสนุนให้เขามีนิสัยที่มองไม่เห็นความผิดของ ตนเอง แบบนี้มันจะถูกต้องหรือเปล่าคะ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : หากเราถูกกล่าวโทษโดยไม่ผิด ก็ ควรชี้แจงเหตุผลและข้อเท็จจริง บางครั้งเราอาจผิดพลาดโดยไม่รู้ตัว ก็ได้ แต่หากเราไม่ผิดจริงๆ แล้วเขาไม่ฟัง ก็ลองกลับมาดูสักหน่อยว่า เราชี้แจงกระจ่างหรือเปล่า ใช้อารมณ์หรือไม่ ท่าทีเป็นอย่างไร หากเรา ชี้แจงด้วยเหตุผลและท่าทีที่สุภาพ แล้วเขายังไม่ฟัง นั่นก็เป็นปัญหาของ เขาแล้ว ไม่ใช่ปัญหาของเรา อย่างไรก็ตามการพูดหรือชี้แจงให้ได้ผลนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า นอกจากพูดจริง ด้วยเมตตาและวาจาสุภาพแล้ว ต้องเป็นประโยชน์และ พูดให้ถูกกาลเวลาด้วย องค์ประกอบข้อหลังสุดเป็นสิ่งที่พึงใส่ใจด้วย หากว่าเวลานั้นยังไม่เหมาะจะชี้แจง ก็ควรหาเวลาและโอกาสอื่น

33

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 33

12/21/12 8:43:33 AM


อาตมาไม่เห็นด้วยกับการขอโทษเพียงเพื่อให้เขาสบายใจ ในเมื่อ คุณไม่ได้ทำอะไรผิดหรือเป็นเหตุให้เขาเดือดร้อน ยิ่งเขาเองเป็นฝ่ายผิด ด้วยแล้ว ก็ไม่สมควรที่คุณจะเป็นฝ่ายขอโทษ สำหรับคนที่ชอบโทษ

คนอื่นนั้น หากคุณตามใจเขาคือขอโทษให้เขาสบายใจ หรือเพื่อให้เขา

ไม่ขุ่นเคืองคุณ นั่นจะกลายเป็นการพะนออัตตาเขา และเสริมสร้างนิสัย ไม่ดีให้แก่เขา อีกทั้งยังสร้างนิสัยไม่ดีแก่คุณเองด้วย (เช่น ทำให้คุณ

ไม่มีหลักการ ไม่ยืนยันในความถูกต้อง โอนอ่อนไปตามแรงกดดันอยู่ ร่ำไปเพียงเพื่อให้ตนเองเป็นที่พึงพอใจของผู้อื่นเท่านั้น)

อยากเลิกบุหรี่

Nu Un ปุจฉา : กราบพระอาจารย์ครับ (๑) เราควรปฏิบัติ อย่างไร ที่ต้องอยู่คนเดียวโดยไม่ต้องพึ่งพา วัตถุภายนอก (๒) ผม

ติดบุหรี่อย่างหนัก ปรึกษาแพทย์แล้ว การสวดมนต์ นั่งสมาธิภาวนา

ทุ ก วั น เช้ า เย็ น จะช่ ว ยได้ ไ หมครั บ คงมี ป ระโยชน์ ต่ อ ส่ ว นรวมด้ ว ย

กราบครับ สาธุ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา: คนเราจะอยู่คนเดียวอย่างมีความสุข ต่อเมื่อใจไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้กายไม่กระสับกระส่าย แต่หากใจฟุ้งซ่าน

เมื่อไหร่ จะกระสับกระส่ายจนทุรนทุรายในที่สุด โบราณจึงบอกว่า “อยู่ คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา” คนทั่วไปเวลาใจ

34

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 34

12/21/12 8:43:33 AM


ฟุ้ ง ซ่ า น กระสั บ กระส่ า ย ก็ จ ะไปหาสิ่ ง เสพจาก ภายนอก หรือทำโน่นนี่ รวมทั้งพูดคุยกับใครต่อใคร ทั้งตัวต่อตัว และผ่านเทคโนโลยีทั้งหลาย เพื่อระงับ ความฟุ้ ง ซ่ า น แต่ ไ ม่ มี วิ ธี ใ ดดี ก ว่ า การทำสมาธิ ห รื อ เจริญสติ อยู่คนเดียวก็ตามลมหายใจไป หรือตามดู รู้กายและจิต ใหม่ๆ ก็ทำยาก แต่ทำไปนานๆ ก็จะคุ้น และอยู่กับตัวเองได้อย่างมีความสุข นั่นแหละจึงจะ เรียกว่าเป็นมิตรกับตัวเองอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องติดบุหรี่นั้น การสวดมนต์ นั่งสมาธิ ภาวนา ทุกวัน เช้า-เย็น น่าจะช่วยได้ อย่างน้อยก็ ทำให้กำลังจิตเข้มแข็ง สามารถต้านทานความอยาก ได้ และหากได้ รั บ ความสงบเย็ น ก็ จ ะเป็ น สุ ข หล่อเลี้ยงใจ ซึ่งดีกว่าความสุขจากบุหรี่ ทำให้จิตใจ โหยหาบุหรี่น้อยลง อย่างไรก็ตามควรอาศัยวิธีอื่นด้วย เพื่อช่วยลดอาการทางกายขณะที่เลิกบุหรี่ ไหนๆ ก็ จ ะใกล้ ปี ใ หม่ แ ล้ ว คุ ณ ควรตั้ ง จิ ต แน่วแน่ว่าตั้งแต่ ๑ มกราคม ปีหน้าจะไม่แตะบุหรี่อีก ถือเป็นการให้ของขวัญแก่ตนเอง คือ การมีสุขภาพดี เพื่ อ ชี วิ ต ที่ ยื น ยาว และหากนั่ ง สมาธิ แ ละสวดมนต์ สม่ำเสมอ สติและสมาธิที่เกิดขึ้นย่อมเป็นของขวัญอัน ประเสริฐสำหรับตัวคุณเองอีกประการหนึ่งด้วย

35

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 35

12/21/12 8:43:34 AM


เปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้อนรับปีใหม่ Suopor Petsangharn ปุจฉา : พระอาจารย์คะ ขอสอบถามว่า บางครั้งเซ็งๆ ในชีวิต ให้เวลาที่ควรทำอะไร ก็ไม่ทำค่ะ ขี้เกียจทำนู่น ทำนี่ รึว่าขี้เกียจก้ามข้ามอุปสรรค จะแก้ไขอย่างไรคะ จะมองดูจิตดูใจ อย่างไรดีคะ พระไพศาล วิ ส าโล วิ สั ช นา : ในช่ ว งที่ เ ซ็ ง อยู่ นั้ น หากไม่ มี พื้นฐานการปฏิบัติที่เข้มแข็ง การดูจิตจะยังไม่ช่วยเท่าไหร่ เพราะดูไป ใจกลั บ จมปลั ก ในความเซ็ ง ลึ ก ขึ้ น ทางที่ ดี คื อ พยายามทำตั ว ให้ กระฉับกระเฉง อย่าอยู่นิ่งเฉย หรือแน่นิ่งตามอารมณ์ ต้องฝืนใจลุกขึ้น มาทำกิจการงานต่างๆ รวมทั้งอย่ามัวแต่นอนซึมเซา พยายามตื่นเช้า เข้านอนเป็นเวลา ออกกำลังกายทุกเช้าหรือเย็นด้วยยิ่งดี หากทำบ่อยๆ จิตจะค่อย ๆ ตื่นตัว และขับไล่ความเซ็งออกไป ถ้าให้ดีควรขอแรง เพื่อนๆ หรือคนในบ้านกระตุ้นให้ตื่นตัวด้วย รวมทั้งทำกิจกรรมร่วมกับ เขา เขาจะได้ดึงคุณให้พ้นจากความเซ็งได้ อย่างไรก็ตามคุณควรหันมามองตนด้วยว่า กำลังเซ็งเรื่องอะไร ใจที่ท้อแท้ เห็นอุปสรรคมากมาย ก็ทำให้เซ็งได้ แต่ถ้าปลุกใจไม่ให้ท้อ หรือเห็นว่าอุปสรรคไม่ใช่เรื่องเลวร้าย ไม่ได้หนักหนาอย่างที่คิด ก็อาจ มีกำลังใจลุกขึ้นมาสู้กับปัญหาใหม่

36

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 36

12/21/12 8:43:34 AM


วันนี้เป็นวันปีใหม่ ปีใหม่ทั้งทีขอให้มีชีวิตที่ใหม่กว่าเดิม สดใส กว่าเดิม ไม่มีอะไรที่เป็นของขวัญอันประเสริฐมากเท่านี้อีกแล้ว ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้คุณใช้โอกาสนี้ทำสิ่งดีๆ ให้แก่ตนเอง ด้วยการสลัด อารมณ์เก่าๆ ออกไปจากใจพร้อมกับปีเก่า ไม่ว่าความเซ็ง ความท้อแท้ หรื อ ความวิ ต กกั ง วล ขณะเดี ย วกั น ก็ ข อให้ ป ลุ ก จิ ต ของตนให้ ก ระชุ่ ม กระชวย ทำสิ่งต่างๆ ด้วยความกระฉับกระเฉง เดินหน้าเข้าหาความดี และมองไปข้างหน้าด้วยใจที่สดใส ไม่ถูกครอบงำด้วยอดีตจนหม่นหมอง มืดมน แต่เปิดใจรับปัจจุบันด้วยความรู้สึกสดใหม่สว่างไสว และไม่ ยึดติดอารมณ์ใดๆ ให้หมกหมมจนเป็นพิษแก่จิตใจ จิตที่สดใหม่นี้แหละที่จะทำให้ปีใหม่นี้มาพร้อมกับชีวิตใหม่อย่าง แท้จริง อีกทั้งยังทำให้ทุกวันเป็นวันใหม่ของชีวิต แม้กิจวัตรประจำวัน ยั ง เหมื อ นเดิ ม แต่ ทุ ก ชั่ ว โมง ทุ ก นาที และทุ ก วิ น าที จ ะใหม่ เ สมอ สามารถนำความสุขและสิ่งดีๆ มาสู่ใจคุณ แม้จะยังอยู่บ้านหลังเดิม ขับรถคันเดิม ใช้ของเดิมๆ แต่ก็มีความสุขได้ทุกขณะ

37

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 37

12/21/12 8:43:35 AM


มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เผยงานวิจัยดีเด่นปี ๒๕๕๔ เรื่อง “หลักกรรมทางพระพุทธศาสนาในวิถีชีวิตของสังคมไทย” ระบุ ค วามเชื่ อ และการปฏิ บั ติ เ รื่ อ งกรรมในชี วิ ต ประจำวั น พบเรื่ อ งที่ เ ชื่ อ มากที่สุด ร้อยละ ๗๙ คือ ผลกรรมจากการรังแกสัตว์ การเบียดเบียน ผู้อื่นทำให้มีโรคภัย เรื่องการตัดกรรม หรือการทำให้กรรมในอดีตหมดไป นั้นพบว่าร้อยละ ๕๑.๔ ไม่เชื่อว่าเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ ขณะที่พุทธศาสนิกชนร้อยละ ๑๙ เชื่อเรื่องการตัดกรรม ร้อยละ ๓๐.๖ เชื่อเรื่อง คนที่มีญาณวิเศษสามารถสแกนกรรม หรือสำรวจกรรมได้ ร้อยละ ๓๕.๗ ไม่เชื่อ ร้อยละ ๓๑.๕ เชื่อว่า ใครๆ ก็สามารถบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผลกรรมในอดีตชาติ ส่วนผู้ที่ไม่เชื่อมีร้อยละ ๓๘.๘ และร้อยละ ๒๑.๑ เชื่อว่าการทำชั่ว เช่น การทุจริต ฉ้อโกง คอร์รัปชัน สามารถลดทอนกรรมได้ด้วยการทำบุญบริจาค ส่วนกิจกรรมหรือพฤติกรรม ที่เลือกปฏิบัติที่เชื่อว่าเพื่อลดกรรม ๕ อันดับแรก ได้แก่ อันดับ ๑ ร้อยละ ๒๕.๕ สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ อันดับ ๒ ร้อยละ ๒๑.๘ ถวายสังฆทาน อันดับ ๓ ร้อยละ ๒๑.๑ ให้ทานแก่คนขอทาน อันดับ ๔ ร้อยละ ๒๐.๘ ถือศีลในวันพระ และอันดับ ๕ ร้อยละ ๑๒.๒ บวชชีพราหมณ์

3

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 38

12/21/12 8:43:51 AM


พระสุธีธรรมานุวัตร ผู้วิจัย สะท้อนพฤติกรรมคนไทยเชื่อเรื่องกรรม ว่ า เป็ น มุ ม มองที่ เ ปลี่ ย นไปจากเดิ ม กลายเป็ น นิ ย มทำบุ ญ เพราะคิ ด ว่ า เป็นการก่อกรรมดี ช่วยทุเลาเบาบางผลของกรรมชั่วที่ได้กระทำทั้งปัจจุบัน และชาติก่อน ซึ่งผิดจากหลักพุทธศาสนาที่สอนว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตาม กรรม ถ้าทุจริตฉ้อโกงแล้วนำไปบริจาคถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาไม่บริสุทธิ์ ย่ อ มไม่ ไ ด้ อ านิ ส งส์ จ ากการทำบุ ญ เหมื อ นกั บ ทรั พ ย์ ที่ ห ามาได้ โ ดยการ ประกอบอาชีพโดยสุจริต

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานข้อมูลขององค์กรเพื่อความโปร่งใส สากล เปิดเผยผลการจัดทำดัชนีตรวจสอบการทุจริตประจำปี ปรากฏว่า ประเทศเดนมาร์ก, ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีการทุจริต คอร์รัปชันน้อยที่สุด หรือมีการทำงานโปร่งใสมากที่สุด ๙๐ คะแนน จาก คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน ครองอันดับ ๑ ร่วมกัน จากทั้งหมด ๑๗๖ ประเทศ ส่วนอันดับ ๔ คือประเทศสวีเดน ได้ ๘๘ คะแนน อันดับ ๕ สิงคโปร์ ได้ ๘๗ คะแนน ขณะที่ประเทศไทยไทยได้ ๓๗ คะแนน อยู่ อันดับที่ ๘๘ นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ ประเทศ โซมาเลีย, เกาหลีเหนือ, อัฟกานิสถาน ได้ ๘ คะแนนเท่ากัน 39

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 39

12/21/12 8:44:16 AM


สถาบันวิจัยเยอรมันว็อทช์ ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เผย ประเทศที่เผชิญกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพราะภัยธรรมชาติสูงที่สุด ในโลก ประจำปี ๒๕๕๔ ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาติดอันดับหนึ่งของ โลก คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียราว ๗๕,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๒.๓ ล้านล้านบาท) สาเหตุจากภัยธรรมชาติพายุ น้ำท่วม ดินถล่มและไฟป่า รองลงมาได้แก่ จีนสูญเสียทางเศรษฐกิจ ๑๓,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๓.๙ แสนล้านบาท) ปากีสถาน ๕.๘๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (๑.๗๔ แสนล้ า นบาท) บราซิ ล ๔,๗๐๐ ล้ า นดอลลาร์ ส หรั ฐ (ราว ๑.๔๑ แสนล้านบาท) ประเทศไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดในโลก หลังเกิด ภัยพิบัติน้ำท่วมพื้นที่ ๖๕ จาก ๗๗ จังหวัด ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ ๙๐๐ ราย และกว่า ๑๓.๖ ล้านคนได้รับผลกระทบ พื้นที่เกษตรเสียหายกว่า ๒๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร รองลงมา คือ ประเทศกัมพูชา ปากีสถาน เอลซัลวาดอร์ ฟิลิปปินส์ บราซิลและสหรัฐฯ

การจัดอันดับการศึกษาในระหว่างปี ๒๕๔๙ และ ๒๕๕๓ สถาบัน เพียร์สัน จัดอันดับการศึกษา จาก ๔๐ ประเทศ พบประเทศที่ติดอันดับดี จะให้ความสำคัญกับครูผู้สอน มีวัฒนธรรมด้านการศึกษาที่ดี เริ่มจาก ประเทศที่ดีที่สุด ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ ฮ่องกง (จีน) ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยเป็ น ชาติ ท างเอเซี ย ถึ ง ๔ ประเทศ ส่ ว นไทยอยู่ ใ นอั น ดั บ ที่ ๓๗ 40

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 40

12/21/12 8:44:46 AM


สาเหตุประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญกับ การศึกษามากเป็นพิเศษ ผู้ปกครองพร้อมที่จะทุ่มเทให้บุตรหลานได้รับการ ศึกษาที่ดีและมีคุณภาพ เพื่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิต แต่สิ่งที่สะท้อน สำคัญคือการให้คุณค่าต่อการศึกษาในระดับสูง โดยการคาดหวังของ ผู้ปกครอง ประเทศฟินแลนด์และเกาหลีใต้ มีความแตกต่างกันหลาย ประการ แต่มีปัจจัยร่วมกันคือความเชื่อทางสังคม ให้ความสำคัญต่อการ ศึกษาและจุดมุ่งหมายทางด้านศีลธรรมแฝงอยู่

ทำอย่างไรให้ชีวิตในวาระสุดท้าย แม้ป่วยทางกาย แต่ใจไม่ทุกข์ด้วย สายด่วนให้คำปรึกษาช่วยเหลือทางจิตใจ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย เปดมือถือให้บริการแล้วที่ ๐๘๖-๐๐๒๒-๓๐๒ ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

41

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 41

12/21/12 8:45:01 AM


เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

42

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 42

12/21/12 8:45:14 AM


ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

รักษาใจ ให้ไกลทุกข์ (ฉบับปรับปรุง) พระไพศาล วิสาโล เขียน ๒๐ บาท บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท

น้ำใส ใจเย็น พระไพศาล วิสาโล และ ภาวัน ๗๙ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใสบาตรใหไดบุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คูมือ การชวยเหลือผูปวย ระยะสุดทายดวยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตดวยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท - พรวันใหม ชีวิตใหม เล่มละ ๑๕ บาท (จัดส่งฟรี) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ (มี ๖ แผน) แผนละ ๕๐ บาท

ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย สั่งจ่ายธนาณัติในนาม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา 43 หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒ NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 43

12/21/12 8:45:25 AM


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนพร้อมใบสมัครและจ่าหน้าซอง สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ หรือโทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ ติดต่อโทร : ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ 44

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 44

12/21/12 8:45:26 AM


เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 45

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 45

12/21/12 8:45:27 AM


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ เครือข่ายพุทธิกามีโครงการที่น่าสนใจ : ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา, สุขแท้ด้วยปัญญา, สายด่วน ๐๘๖-๐๐๒๒-๓๐๒ ให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซือ้ หนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • รับรู้ข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายพุทธิกาได้ก่อนใคร

12/21/12 8:45:29 AM

NewsletterPutVol 49.p.1-48.indd 46


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.