จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 50

Page 1

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 1

3/22/13 8:43:11 PM


รับฟรี ๑ เล่ม

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 2

3/22/13 8:43:21 PM


เมื่อมือซ้ายเจ็บปวด เช่น โดนค้อนทุบ โดนแมลงต่อ ปฏิกิริยาอย่าง แรกที่ เ กิ ด ขึ้ น คื อ มื อ ขวาจะรี บ ไปกุ ม มื อ ซ้ า ยทั น ที นี้ ไ ม่ ใ ช่ เ แค่ ป ฏิ กิ ริ ย า อัตโนมัติธรรมดา แต่มีการทดลองมานานแล้วว่า เวลามือซ้ายปวดแล้ว มือขวาไม่ได้ไปทำอะไรกับมือซ้ายเลย ความปวดจะมากขึ้น แต่ทันทีที่ มือขวาไปสัมผัสหรือกุมมือซ้ายไว้ จะช่วยลดความปวดลงได้ ท่านติช นัท ฮันห์ ได้บรรยายเรื่องนี้ไว้เป็นคติสอนธรรมได้ดีว่า เมื่อมือซ้ายได้รับความเจ็บปวดขึ้นมาโดยฉับพลัน มือขวาจะรีบไป ช่วยเหลือมือซ้ายทันที โดยที่ไม่ถามว่าตัวเองจะได้อะไร ไม่ถามว่ามือซ้าย เป็นใคร ไม่มีความรังเกียจรังงอนว่ามือซ้ายไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ เลย ไม่มีการเปรียบเทียบหรือน้อยเนื้อต่ำใจว่าฉันถูกเอาเปรียบ ฉันทำงาน หนั ก กว่ า เธอ มื อ ขวากลั บ ไปช่ ว ยทั น ที มื อ ซ้ า ยก็ เ ช่ น เดี ย วกั น เวลาเห็ น มือขวาปวดก็ไม่ได้คิดตั้งแง่ว่า เจ้านายรักมือขวามากกว่า มีอะไรก็ใช้แต่ มือขวา ไม่สนใจมือซ้าย แถมยังใช้ฉันในทางไม่ค่อยสวยงาม เช่น เวลาจะ ล้างก้นก็ใช้แต่มือซ้าย มือซ้ายไม่ได้คิดแบบนั้น เวลาเห็นมือขวาปวดก็รีบ เข้าไปช่วยทันที เป็นการช่วยแบบไม่มีเงื่อนไข ท่านเปรียบเทียบให้เห็นความสัมพันธ์ของมือซ้ายกับมือขวา เพื่อที่ จะโยงไปถึงความเมตตากรุณาที่มนุษย์พึงมีต่อกัน คนเราควรจะปฏิบัติต่อกันทำนองเดียวกัน คือเข้าไปช่วยเหลือกัน ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่มีการตั้งข้อรังเกียจใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งมองให้ดีก็เป็น ความสัมพันธ์แบบ “ไม่มีตัวกูของกู” นั่นเอง

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 1

3/22/13 8:43:22 PM


ถ้ามือซ้ายและมือขวามีความรู้สึกว่าฉันจะได้อะไร แล้วเธอเป็นใคร คิดแบบนี้คืออาการตัวกูของกูแบบหนึ่ง นั่นคือมีความรู้สึกแบ่งเขาแบ่งเรา ท่านยังสอนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันอีกว่า ไม่ควร จะมีความรู้สึกแบ่งเขาแบ่งเรา หรือตัวกูของกู หากทำได้จะทำให้เกิดความ เมตตากรุณาอย่างเต็มที่ไม่มีเงื่อนไข นำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตรง กับที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ความเมตตาที่ไม่มีประมาณเกิดจากการมี ปัญญาอย่างถึงที่สุด จนกระทั่งเห็นว่าตัวกูนั้นไม่มีอยู่จริง ปัญญาและเมตตากรุณานั้นมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันมาก ปัญญา คือสิ่งที่ทำให้คนเราสามารถขจัดมายาภาพเกี่ยวกับตัวกูของกู หากเรารู้จักลดละตัวกูของกู จะเกิดความเมตตากรุณาอย่างไม่มีที่สุด ไม่มี ประมาณ ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างเราและศัตรู ซึ่งเป็นอุดมคติของชาว พุทธ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทรงมีเมตาต่อพระราหุลอย่างไร ก็ทรงมีเมตตาต่อพระเทวทัตอย่างนั้น โลกนี้จะน่าอยู่อย่างยิ่งหากเราปฏิบัติต่อกันเหมือนมือขวากับมือซ้าย โดยเริ่มต้นที่คนใกล้ชิดก่อน คือเพื่อนกับเพื่อน พี่กับน้อง สามีกับภรรยา แล้วขยายไปยังเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงคนแปลกหน้า โดย

ไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา และภาษา แม้เป็นเรื่องยากแต่เป็นสิ่งที่ทำได้ นี้คืออุดมคติที่มนุษย์ที่ควรทำต่อกัน เช่นเดียวกับที่พระพุทธเจ้าและพระ อรหันต์ทั้งหลายได้แสดงเป็นแบบอย่างแก่เรา

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 2

3/22/13 8:43:23 PM


พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๕๐ ปีที่ ๑๓ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๖

๑ พลังใจ

สนทนาธรรมกับองค์ทาไลลามะ “หนึ่งจุดหมายหลายหนทาง”

สนทนาค้นความหมายศาสนากับพระไพศาล วิสาโล

๑๗

จัดการความกลัว

๒๕

นาทีสุดท้ายของหลวงปู่เสาร์

๓๐ ๓๔ ๓๗ ๔๒

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 3

3/22/13 8:43:26 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เมื่อปี ๒๕๔๙ นักวิจัยชาวออสเตรเลียสองคน คือ ไมเคิล โอเท็น และ เค็น เช็ง ได้ชักชวนอาสาสมัครประมาณ ๒๔ คน อายุระหว่าง ๑๘-๕๐ ปี เข้าโครงการออกกำลังกายเป็นเวลาสอง เดือน กิจกรรมมีทั้งยกน้ำหนักและเต้นแอโรคบิค ส่วนใหญ่ไม่เคย ออกกำลังกายแบบนี้มาก่อน เพราะชอบนั่งๆ นอนๆ มากกว่า จึง ต้องเคี่ยวเข็นตนเองอย่างมากทุกครั้งที่เข้าโรงยิม เมื่อสองเดือนผ่านไป ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาชีวิตของทั้ง ๒๔ คนเพื่อดูว่าการออกกำลังกายส่งผลอย่างไรต่อชีวิตของเขาบ้าง สิ่งที่เขาพบก็คือ ไม่เพียงทรวดทรงของเขาจะดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังมี ความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ดื่มกาแฟ และกินอาหารขยะน้อยลง ใช้เวลากับการทำการบ้าน มากขึ้น ดูโทรทัศน์น้อยลง รวมทั้งซึมเศร้าน้อยลงด้วย 4

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 4

3/22/13 8:43:27 PM


ต่อมาทั้งสองได้ทำการทดลองอีกครั้ง คราวนี้ให้คน ๒๙ คนมาเข้า โครงการบริหารเงินเป็นเวลาสี่เดือน โดยให้ทุกคนตั้งเปาว่าจะเก็บเงินเป็น จำนวนเท่าใด และขอให้งดสิ่งฟุ่มเฟอย เช่น กินอาหารในภัตตาคารหรือ ดูหนัง รวมทั้งทำบัญชีการใช้จ่ายอย่างละเอียด แน่ น อนว่ า สถานะการเงิ น ของทุ ก คนดี ขึ้ น แต่ ที่ น่ า แปลกใจก็ คื อ นอกจากพวกเขาจะดื่มเหล้า ดื่มกาแฟ กินอาหารขยะ และสูบบุหรี่น้อยลง แล้ว (บางคนสูบน้อยลงถึง ๑๕ มวน) ยังทำงานหรือมีผลการเรียนดีขึ้น ทั้งสองคนยังไม่พอใจเพียงเท่านั้น การทดลองต่อมาเขาให้นักศึกษา ๔๕ คนเข้าโครงการปรับปรุงการศึกษา ซึ่งเน้นการสร้างนิสัยใหม่เกี่ยวกับ การเรียน ปรากฏว่าผลการเรียนของทุกคนดีขึ้นตามคาด แต่พฤติกรรม ด้านอื่นๆ ก็ดีขึ้นด้วย เช่น สูบหรี่และดื่มเหล้าน้อยลง ดูโทรทัศน์น้อยลง ออกกำลังกายมากขึ้น และกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะมากขึ้น พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว แม้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องสุขภาพ เป็นส่วนใหญ่ แต่ใช่ว่าจะเป็นผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมออกกำลังกาย เป็นประจำเสมอไป ก็หาไม่ เพราะการทดลองสองครั้งหลังไม่ได้เกี่ยวกับ การออกกำลั ง กายเลย ถ้ า เช่ น นั้ น อะไรเป็ น ป จ จั ย หลั ก ที่ ท ำให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลง

5

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 5

3/22/13 8:43:29 PM


โอเท็นและเช็งสรุปว่า พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเป็นผลจาก “พลังใจ” (will power) ที่เพิ่มมากขึ้น เพราะการทดลองทั้งสามประเภท นั้นล้วนแล้วแต่เป็นการฝกให้อาสาสมัครเคี่ยวกรำตนเอง ต้องฝนทำในสิ่ง ที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบ ต้องอดทนอดกลั้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ผลก็คือมีพลัง ในการควบคุมตนเองมากขึ้น พลังดังกล่าวเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่หยุดอยู่ เฉพาะกิ จ กรรมที่ ถู ก กำหนดให้ ท ำ แต่ ข ยายไปสู่ กิ จ กรรมอื่ น ๆ ในชี วิ ต ประจำวัน ทั้งๆ ที่ไม่มีใครบังคับ เช่น การกินอาหาร การดูโทรทัศน์ การ ทำงาน ฯลฯ การทดลองดังกล่าวให้ผลสอดคล้องกับการทดลองที่หลายคนได้ทำ ก่อนหน้านั้น เช่น เมื่อมีการชักชวนให้ผู้คนออกกำลังกายสม่ำเสมอ แม้ ไม่ทุกวัน แต่ทำแค่อาทิตย์ละครั้ง พฤติกรรมด้านอื่นๆ ของเขาก็เปลี่ยนไป เช่น สูบบุหรี่น้อยลง กินอาหารที่ถูกอนามัยมากขึ้น ใช้เครดิตการ์ดน้อยลง มีความอดทนกับเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งมีความเครียดน้อยลง ด้วย การทดลองเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า พลังใจหรือความสามารถในการ ควบคุม (และเคี่ยวเข็น) ตนเองนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตของเรา มันไม่เพียงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีในบางเรื่องที่กำลังฝกฝนเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมด้านอื่นๆ ในชีวิตประจำวันของเราอีกด้วย ไม่ว่า การบริโภค การทำงาน หรือความสัมพันธ์

6

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 6

3/22/13 8:43:30 PM


มองในทางกลับกัน การที่ผู้คนมีพฤติกรรมที่เป็นโทษต่อตนเองและ ผู้อื่นนั้น สาเหตุสำคัญก็คือการขาดพลังใจหรือความสามารถในการควบคุม ตนเองนั่นเอง ไม่ใช่เป็นเพราะเขาไม่รู้ว่าการทำเช่นนั้นไม่ดี หลายคนก็รู้ว่า บุหรี่ สุรา และอาหารขยะ นั้นเป็นโทษต่อร่างกาย แต่ที่ยังเลิกไม่ได้ก็ เพราะขาดพลังที่จะต่อต้านมัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้มีพลังในการยั่วยวน เช่นเดียวกับอะไรต่ออะไรอีกหลายอย่าง เช่น การเที่ยวห้าง การพนัน เกมออนไลน์ หรือแม้แต่เฟซบุค ในสหรัฐอเมริกามีคนจำนวนมากที่หยุดช็อปปงไม่ได้ มีเครดิตการ์ด กี่ใบก็รูดหมดจนมีหนี้สินมากมาย รู้ทั้งรู้ว่าไม่ดี แต่ก็ห้ามใจไม่ได้เสียที มี บางคนหาทางแก้ด้วยการเอาบัตรเครดิตใส่ไว้ในแก้วแล้วเอาแก้วนั้นไปใส่ ช่องแช่แข็ง เมื่อใดก็ตามที่อยากจับจ่าย ก็ต้องรอให้น้ำแข็งในแก้วละลาย ก่อนจึงจะเอาบัตรเครดิตไปใช้ได้ ถึงตอนนั้นความอยากก็จะลดลงไป และ สติกลับคืนมา ทำให้เปลี่ยนใจไม่ไปช็อปปง นี้เป็นทางออกของหลายคนที่รู้ว่าพลังใจนั้นมีไม่พอที่จะต้านความ อยาก จึงต้องอาศัย “ตัวช่วย” จากภายนอก เช่น ถ้าจะเลิกเหล้าหรือการ พนัน ก็ต้องผลักไสตัวเองไปอยู่วัดหรือที่ไกลๆ จะได้ไม่สามารถทำตาม ความอยากได้ แต่ตราบใดที่พลังใจไม่เข้มแข็ง เมื่อใดที่สบโอกาส ก็มัก พ่ายแพ้แก่กิเลส และอดโมโหตัวเองไม่ได้ที่พ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า นี้เป็นปญหาใหญ่ของคนยุคนี้ก็ว่าได้ คือ รู้ว่าอะไรดี แต่ห้ามใจไม่ได้ สมกับวลีที่ว่า “ดีชั่วรู้หมด แต่อดใจไม่ได้” ทั้งนี้เป็นเพราะการถูกเลี้ยงดู อย่างตามใจมาตั้งแต่เล็ก ครั้นโตขึ้นก็ปล่อยตัวปล่อยใจง่ายเกินไป ประกอบ กับทุกวันนี้มีสิ่งยั่วยวนมากมาย ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจสูงมาก ยากที่จะต่อต้าน ได้ แม้มันจะให้ความสุขที่รวดเร็วทันใจ แต่ส่งผลเสียตามมาในระยะยาว

7

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 7

3/22/13 8:43:31 PM


ทุกวันนี้มีคุณค่าใหม่ๆ ที่ได้รับความสำคัญมากขึ้น เช่น ความคิด สร้างสรรค์ การเป็นตัวของตัวเอง ความรักอิสระ แต่คุณค่าเก่าๆ สมัยปู่ย่า ตายาย เช่น การรู้จักควบคุมตนเอง ก็ยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง หากขาด สิ่งนี้ไปแล้ว ก็ยากที่จะนำพาชีวิตไปในทางที่เจริญงอกงามได้ เมื่อ ๔๐ ปีก่อน วอลเตอร์ มิสเชล แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการทดลองที่มีชื่อเสียงมาก โดยนำเด็กอายุ ๔-๖ ขวบเข้าไปในห้อง ซึ่งมีขนมมากมาย ผู้ทดลองบอกแก่เด็กว่า ขนมเหล่านี้เด็กทุกคนสามารถ กินได้หนึ่งชิ้นทันที แต่หากรอ ๑๕ นาทีก็สามารถกินได้สองชิ้น ปรากฏว่า เด็กส่วนใหญ่รอไม่ไหว ขอกินก่อน มีเพียงหนึ่งในสามที่รอได้ถึง ๑๕ นาที เพื่อจะได้กินสองชิ้น มีเด็กร่วมการทดลองนี้ร่วม ๖๐๐ คน สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เมื่อเด็ก เหล่านี้เติบโตเป็นวัยรุ่น เขาได้พบว่าเด็กที่รู้จักอดทนรอคอยนั้น โดยเฉลี่ย มีผลการเรียนที่ดีถึงดีมาก รวมทั้งทำคะแนนสอบเข้า (SAT score) ได้

สูงกว่าเด็กที่เหลือถึง ๒๑๐ คะแนน อีกทั้งยังมีเพื่อนเยอะ และเสพยา

น้อยกว่า เสรีภาพนั้นไม่ใช่การตามใจ จะว่าไปแล้วการตามใจหรือการปล่อยใจ ไปตามอารมณ์ กลับทำให้ตนเองสูญเสียเสรีภาพ ยากที่จะดำเนินชีวิตไป ตามที่ปรารถนาได้ เพราะตกอยู่ในอำนาจของสิ่งยั่วยวนมากมาย ทั้งๆ ที่รู้ ว่าเป็นโทษ แต่ก็ปฏิเสธมันไม่ได้ เพราะไม่มีเรี่ยวแรงต่อต้านขัดขืน ดังนั้น หากปรารถนาเสรีภาพ นอกจากความรักอิสระแล้ว ยังต้องมีพลังใจเพื่อ สามารถผลักดันชีวิตไปยังจุดหมายที่ต้องการ แม้อุปสรรคจะมีมากมาย เพียงใดก็ตาม

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 8

3/22/13 8:43:31 PM


โ ก วิ ท ย์ ผ ดุ ง เ รื อ ง กิ จ

เก็บความและเรียบเรียง เนชันแนลจีโอกราฟฟิก ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

“ ห นึ่ ง จุ ด ห ม า ย ห ล า ย ห น ท า ง ”

องค์ทาไลลามะ ประมุขทางจิตวิญญาณของชาว ทิเบต ประทานพระเมตตาให้คณะภิกษุสงฆ์และฆราวาส ชาวไทย ภายใต้การนำของหอจดหมายเหตุพุทธทาส เข้าเฝ้าสนทนาธรรม ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๕

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 9

3/22/13 8:43:31 PM


สาระสำคัญบางส่วน แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง อาตมาไม่เคยพยายามเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาตมาเป็นชาว พุทธก็จริง แต่ขณะเดียวกัน อาตมาก็ไม่ควรยึดติดกับความเป็นพุทธของ ตนเอง ไม่เช่นนั้นอาตมาก็ไม่สามารถมองเห็นคุณค่าในศาสนาอื่น ความ ท้าทายหรือสิ่งที่อาตมาให้ความสำคัญคือ การให้แต่ละคนรักษาหรือยึดถือ ศาสนาของตนไว้ แทนที่จะเปลี่ยนศาสนา อาตมาเดินทางสอนในโลก ตะวันตกทั้งยุโรปและอเมริกาและมักบอกกับผู้คนในประเทศเหล่านั้นว่า พวกคุณนับถือศาสนาคริสต์ ศาสนายิว ก็ขอให้รักษาไว้ บางครั้งการ เปลี่ยนศาสนาอาจก่อให้เกิดความสับสนมากขึ้น เว้นเสียแต่ว่า ปัจเจกบุคคลผู้นั้นศึกษาศาสนาใหม่อย่างลึกซึ้ง และพิจารณาเห็นว่า เหมาะกับ

10

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 10

3/22/13 8:43:32 PM


จริตหรือทัศนคติของเขาหรือเธอมากกว่าเช่นนั้นก็ถือว่ายอมรับได้ หาก ปราศจากความเข้าใจนี้แล้ว ก็อาจเกิดปัญหา เป็นต้นว่า พุทธศาสนาเป็น ศาสนาอเทวนิยม ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าผู้สร้างโลก หรือแนวคิดเรื่องตัวตน ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมและเหตุปัจจัย ต่างจากศาสนาเทวนิยม นี่คือ ความแตกต่างสำคัญที่ต้องเข้าใจ เราเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้โดยไม่จำเป็น ต้องเปลี่ยนศาสนา ความท้าทายของศาสนาในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด อาตมาคิดว่าประการแรกที่สุด ถึงเวลาแล้วที่เรา ต้องคิดถึงมนุษยชาติโดยรวม ไม่เกี่ยงว่าคุณจะนับถือศาสนาใด หรือไม่นับถือศาสนาใดเลยก็ตาม พวกเราพี่น้องมนุษยชาติ ทั้งชายหญิงต้องอาศัยอยู่ในโลกนี้ด้วยกัน หากโลกนี้เป็นสุข มากขึ้น สันติมากขึ้น ทุกคนล้วนย่อมได้ประโยชน์ รวมถึง สัตว์โลกด้วย อาตมาคิดว่าสิ่งนี้คือภาระหรือความจำเป็นเร่งด่วน ของเรา ด้วยเหตุนี้ อาตมาจึงพยายามหาหนทางช่วยเหลือ อาตมาใช้หลักปรัชญาหรือแนวคิดของอินเดียว่าด้วยจริยธรรม ทางโลก (secular ethics) โดยไม่ยึดหรืออิงกับศาสนาใด ศาสนาหนึ่ง แต่มาจากสามัญสำนึกหรือประสบการณ์ร่วมกัน มุ่งเน้นการปฏิบัติเรื่องเมตตาและกรุณาเพื่อสร้างสันติภายใน บ่มเพาะความมั่นใจและความเข้มแข็งภายในตนเอง มีงาน วิจัยยืนยันว่าคนที่ปฏิบัติคิดถึงแต่ตนเองมากเกินไป มีแต่จะ สร้างความกลัวและความกังวล แต่เมื่อเราคิดหรือคำนึงถึง สวัสดิภาพของผู้อื่น จิตใจย่อมไม่มีพื้นที่สำหรับความกลัว ความสงสัยและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ 11

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 11

3/22/13 8:43:33 PM


ความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับนักวิทยาศาสตร์ มีส่วนช่วยในการเผยแผ่ธรรมอย่างไรบ้าง ตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปี ที่ผ่านมา อาตมาติดต่อสื่อสาร กับนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะด้านจักรวาลวิทยา (Cosmology) เพราะพระอภิธรรมในพุทธศาสนาก็พูดถึงจักรวาลวิทยาด้วย เช่นกัน หรือเรื่องของประสาทชีววิทยา (Neurobiology) ซึ่งคัมภีร์ใน พุทธศาสนาโดยเฉพาะสายตันตระก็มีการพูดถึง ดังนั้น การแลกเปลี่ยน กับนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นประโยชน์มาก แล้วยังมีศาสตร์อย่าง ควอนตั ม ฟิ สิ ก ส์ (Quantum Physics) ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ทาง พุทธศาสนาที่ว่า สรรพสิ่งประกอบด้วยอนุภาคหรือจะเป็นจิตวิทยาที่เรา สามารถเที ย บเคี ย งได้ กั บ หลั ก ปฏิ บั ติ ส มถกรรมฐานและวิ ปั ส สนาใน พุทธศาสนาจากศาสตร์โบราณของอินเดีย ซึ่งรวมถึงพุทธศาสนาด้วย เรา อาจแบ่งพุทธศาสนาออกกว้างๆ ได้เป็นพุทธศาสตร์ (Buddhist Science) พุ ท ธปรั ช ญา (Buddhist Philosophy) และพุ ท ธศาสนา (Buddhist Religion) สองประการแรกคือหลักสากล ส่วนประการหลังสุดเป็นเรื่อง ชาวพุทธ แนวทางการแก้ปัญหาความรุนแรงและปัญหาสังคมอื่นๆ ในโลกยุคปัจจุบัน ศตวรรษที่ยี่สิบเต็มไปด้วยความขัดแย้งและสงคราม ว่ากันว่า มีผู้คนล้มตายจากความรุนแรงถึงสองร้องล้านคน ด้วยวิธีการประหัตประหารมากมายหลายรูปแบบรวมถึงอาวุธนิวเคลียร์ คำถามคือความ รุนแรงเหล่านั้นช่วยจัดระเบียบโลกให้ดีขึ้นจริงหรือ หลายคนบอกว่าความ 12

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 12

3/22/13 8:43:35 PM


รุนแรงเหล่านั้นเป็นสิ่งคุ้มค่า อาตมาไม่คิดเช่นนั้น เพราะมีความทุกข์ยาก และความเกลียดชังมากขึ้น จึงถึงเวลาแล้วที่เราต้องคิดใหม่เลิกคิดเสียทีว่า วิถีของโลกก็เป็นอย่างนั้นเอง เราต้องคิดหาวิธีเพื่อรับมือกับความเป็นจริง เสียใหม่ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอย่างโลกร้อน ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ช่องว่าง ระหว่างคนรวยกับคนจน และปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งอย่างหลังสุดเป็นเรื่อง ที่น่าวิตก หลายปีก่อน อาตมาไปบรรยายธรรมให้นักศึกษาอินเดียฟังที่ เมืองโชธปุระ นักศึกษาคนหนึ่งถาม คอร์รัปชั่นถือว่าเป็นเรื่องปกติใน ประเทศนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หากเขาไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคอร์รัปชั่น ชีวิตคงไม่มีทางประสบความสำเร็จ ไม่กี่วันหลังจากนั้น อาตมาพบนักธุรกิจ คนหนึ่งในมุมไบ เขาพูดในทำนองเดียวกันว่า ถ้าคุณไม่เข้าไปยุ่ง ธุรกิจ ของคุณไม่มีวันเติบโต อาตมาฟังแล้วตกใจมาก ถ้าผู้คนทั่วไปคิดอย่างนี้แล้ว โลกเราจะเป็นอย่างไร เราต้องยืนยันอย่างหนักแน่นว่า พฤติกรรมนี้เป็นสิ่ง ที่ไม่อาจยอมรับได้ อาตมาขอใช้คำว่า คอร์รัปชั่นคือมะเร็งรายชนิดใหม ของโลก อาตมาคิดว่าเรื่องสำคัญในตอนนี้คือความมีวินัยในตนเอง เราจะ ปลูกฝังความมีวินัยในตนเองอย่างไร ที่ผ่านมา ศีลธรรมที่อิงกับศาสนาดู จะไม่พอ ดังนั้น ทุกวันนี้สิ่งที่เราต้องการคือจริยธรรมทางโลกซึ่งส่งผลดีใน หลายระดับ เป็นต้นว่า ถ้าเราซื่อสัตย์ ตัวเราจะมีความสุข สุขภาพแข็งแรง ดีขึ้น ชุมชนสังคมก็ดีตาม ด้วยการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมนี้ วินัยใน ตนเองจึงจะเกิดขึ้นตาม เราจะสอนเรื่องนี้อย่างไร โดยไม่อิงกับศาสนาก็ ต้องอาศัยสามัญสำนึก การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และประสบการณ์ร่วมกัน นี่คือการส่งเสริมหลักศีลธรรมผ่านการศึกษาทางโลก

13

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 13

3/22/13 8:43:37 PM


บ่มเพาะสันติภายในเพื่อสร้างสันติภายนอก

14

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 14

สันติในโลกต้องมาจากสันติภายใน หาก ปราศจากสันติภายในแล้ว สังคม ชุมชน และโลกที่สุข สงบย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้น เราต้องให้การศึกษาแก่ผู้คน เกี่ยวกับการบ่มเพาะสันติภายใน สันติภายในต่างหาก คือกุญแจสำคัญที่สุด ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ เรา สอนสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยระบบการศึกษาปกติ การศึกษา เป็นเรื่องสากล ศาสนาไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีวันเป็นสากล ในเมื่อปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาร่วมกันของมนุษยชาติ การแก้ปัญหาจึงเป็นเรื่องสากลและต้องอาศัยความร่วม มือจากทั่วโลก อาตมาคิดเช่นนี้ มิตรสหายของเราบาง คนเริ่มลงมือทำแล้ว ด้วยการหาหนทางในการส่งเสริม หลักจริยธรรมในระบบการศึกษาสมัยใหม่ อาตมาขอ เชิ ญ ชวนพวกท่ า นในฐานะที่ เ ราเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ มนุ ษ ยชาติ นี่ คื อ ความรั บ ผิ ด ชอบและผลประโยชน์ ร่วมกันของเราทุกวันนี้ เราจำเป็นต้องปลูกฝังจิตสำนึก ความรับผิดชอบร่วมกันระดับโลก โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความตระหนั ก ที่ ว่ า มนุ ษ ยชาติ นั้ น เป น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น ความแตกต า งทางศาสนา เชื้ อ ชาติ วัฒนธรรม สิ่งเหลานี้ถือวาเปนเรื่องรอง สิ่งสำคัญคือ เราต่างก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน เมื่อพระพุทธองค์ทรง สั่งสอนธรรม พระองค์ไม่เคยทรงเลือกว่าต้องทำกับคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หากมนุษยชาติ แม้แต่พวกเราชาวพุทธ เวลาสวดมนต์แผ่เมตตา เรา ไม่เคยพูดว่าเพื่อมนุษยชาติเท่านั้น หากเผื่อแผ่ครอบคลุม ถึงสรรพชีวิตทั้งมวล

3/22/13 8:43:39 PM


สำหรับผู้คนอีกนับไม่ถ้วนในโลก สันติภายในไม่ต่างจากสิ่งหรูหรา ในเมื่อท้องยังหิวและต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอด อาตมาคิดว่า เราต้องแยกแยะระหว่างความต้องการ (desire) กับความโลภ (greed) สองอย่างนี้แตกต่างกัน ความต้องการในบางสิ่งที่ดี ในแง่นี้เราทุกคนเท่าเทียมกัน จริงๆ แล้ว พวกเราชาวพุทธยังบ่มเพาะความ ต้องการหรือความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมหรือพุทธภูมิ ความเขาใจผิด อยางหนึ่งคือการพูดวา พุทธศาสนามุงกำจัดความตองการหรือความอยาก ให ห มดไป นี่ คื อ ความเข้ า ใจที่ ผิ ด ความต้ อ งการที่ ป รุ ง แต่ ง ด้ ว ยอคติ บางอย่างกลายเป็นสิ่งไม่ดี แต่ความต้องการที่ถูกต้องและมีเหตุมีผลไม่ใช่ เรื่ อ งเสี ย หายอะไร เช่ น ความปรารถนาที่ จ ะบรรลุ ธ รรมหรื อ หลุ ด พ้ น ทำนองเดียวกัน เราปรารถนาชีวิตที่มีความสุขอย่างถูกทำนองคลองธรรม แต่หากเราปรารถนาความสุขด้วยการใช้ประโยชน์จากผู่อื่น ทำร้ายหรือโกง ผู้อื่น เช่นนั้นคือความต้องการที่ผิด ความต้องการโดยตัวเองเป็นเรื่อง กลางๆ แรงจูงใจบางอย่างทำให้ความต้องการเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ทำนอง เดียวกับความโกรธถ้าเป็นความโกรธที่เกิดจากความเมตตา ความเป็นห่วง เป็นใยในสวัสดิภาพของผู้อื่น เช่นนั้นความโกรธก็อาจเป็นความที่ดีได้ แต่ ความโกรธที่เกิดจากความรู้สึกแง่ลบต่อคนอื่น ความโกรธนั้นย่อมไม่ดี นี่คือธรรมชาติของทุกอารมณ์ที่อิงอาศัยกันและเป็นเหตุปัจจัยของกันและกัน อารมณ์หนึ่งในสถานการณ์หนึ่งอาจเป็นเรื่องไม่ดี แต่อารมณ์เดียวกันใน สถานการณ์ที่แตกต่างกันอาจกลายเป็นเรื่องดีก็ได้ เมื่อเราพูดว่าถึงสันติภายในเป็นเรื่องสำคัญมาก นั่นไม่ได้หมายความ ว่า เราไม่จำเป็นต้องมีการพัฒนาทางวัตถุ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อพระพุทธองค์ ทรงละชีวิตทางโลก แต่เพื่อความจำเป็นพระองค์ก็ยังทรงต้องมีข้าวของ เครื่องใช้อย่างอัฐบริขารสำหรับสมณสารูป ในทำนองเดียวกัน การพัฒนา ทางวัตถุยังจำเป็นต้องมี อาตมาไมเห็นความขัดแยงระหวางการบมเพาะ 15

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 15

3/22/13 8:43:40 PM


สันติภายในกับการพัฒนาวัตถุ เราต้องเข้าใจว่าสำหรับคนที่ยังขาดแคลน ท้องยังหิว เขายังยากลำบาก พวกเขาอาจยังไม่พร้อมสำหรับการปฏิบัติ ธรรม เราจึงต้องปรับปรุงหรือพัฒนาสภาพเงื่อนไขของพวกเขาเสียก่อน ในเรื่องนี้อาตมาขอยกหลักธรรมว่าด้วยสังคหวัตถุ ๔ สองข้อแรก ได้แก่ ทานคือการให้เพื่อแบ่งเบาหรือปัดเป่าความลำบากทางกาย ใจ และปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะ แนะนำหนทางที่ถูกต้องเพื่อให้พวกเขาเดินตาม ผู้หญิงควรมีบทบาทอย่างไรในการปลูกฝังศีลธรรมและเมตตาธรรม ในสังคมมนุษย์ยุคแรกๆ ความแข็งแรงทางกายคือปัจจัยสำคัญ ของความเป็นผู้นำ นั่นคือจุดเริ่มต้นของสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ ต่อมาเมื่อ การศึกษาค่อยๆ พัฒนาขึ้น ความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงจึงเกิดขึ้น ตามมา ปัจจุบัน เราต้องให้ความสำคัญมากขึ้นกับการบ่มเพาะเมตตาธรรม ในจิตใจ นอกเหนือจากการศึกษาทางโลก เมื่อพูดถึงในเชิงชีววิทยา เรา ต้องยอมรับว่า ผู้หญิงมีความละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ชายในเรื่องความทุกข์ ยากของผู้อื่น ดังนั้น ในการปลูกฝังเมตตาธรรมในสังคมมนุษย์ ผู้หญิง จึงควรมีบทบาทมากขึ้น อาตมาอยากยกตัวอย่างแม่ของอาตมา ซึ่งเป็น ผู้หญิงชาวบ้านอ่านเขียนไม่ได้ ไร้การศึกษา เป็นชาวไร่ชาวนา แต่แม่มี หัวใจที่อ่อนโยน ทุกครั้งที่เห็นขอทาน แม่มักร้องไห้ ลูกๆ ไม่เคยเห็นใบหน้า โกรธขึ้งของแม่เลย ลูกๆ จึงถูกเลี้ยงดูขึ้นมาในบรรยากาศแบบนี้ อาตมาย้ำ ว่า ในชีวิตมนุษย์ การศึกษาสำคัญมาก แตความรักนั้นสำคัญยิ่งกวาการ ศึกษาเสียอีก อาตมาไม่คิดว่ามีนักวิทยาศาสตร์คนไหนพูดว่า ยิ่งมีการ ศึกษามาก สุขภาพยิ่งดี แต่จิตใจที่อ่อนโยนดีงามต่างหากที่ส่งเสริมให้เรา มีสุขภาพดี 16

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 16

3/22/13 8:43:41 PM


อั พ เ ด ท

ต อ น ที่

ความหมายทางพุทธศาสนา กับคุณค่าทางวิทยาศาสตร์

บทสัมภาษณ์นี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารอัพเดต ฉบั บ เดื อ นมกราคม-กุ ม ภาพั น ธ์ ๒๕๔๑.... เนื้ อ หาน่ า สนใจยั ง ใช้ ไ ด้ กั บ สั ง คมปั จ จุ บั น โดย แบ่งการนำเสนอเป็น ๔ ตอน..

17

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 17

3/22/13 8:43:45 PM


Update: ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกับการนำศาสนาไปโยงกับคำว่า วิทยาศาสตร์ ที่ใช้ชักจูงคนรุ่นใหม่ให้มานับถือ ความหมาย สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ศาสนาพุทธมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนว่ามีความพยายามสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้น พระไพศาล : อาตมาเห็ น ว่ า การนำพุ ท ธศาสนามาทำให้ เ ป็ น วิทยาศาสตร์ ทำให้พุทธศาสนาถูกลดทอนด้อยค่าลง ตอนนี้อาตมากำลัง ค้นคว้าอยู่ กำลังสาวไปยังสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นนักคิดไทยรุ่นแรกที่ พยายามทำให้ศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ เลิกเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ และสิ่ง

ที่หายไปด้วยคือ โลกุตรธรรม คือเรื่องนิพพาน เรื่องการปฏิบัติธรรม ค่อยๆหายไปเรื่อยๆ เพราการทำให้ศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุผล เป็นเรื่องที่ประจักษ์ได้ในชีวิตนี้ในโลกนี้ เรื่อง

ชาติ เรื่องจิตวิญญาณก็หายไป เพราะวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับเรื่องพวกนี้

18

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 18

3/22/13 8:43:46 PM


ไปๆ มาๆ พุทธศาสนาก็กลายเป็นเรื่องเกี่ยวกับทางโลกล้วนๆ แค่ทำดีได้ดี ทำดีแล้วจะไม่ยากจน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ แต่มิติทางด้านการพัฒนา จิตให้เหนือดีเหนือชั่ว ให้พ้นทุกข์สิ้นเชิงหรือปล่อยวางนี่จะหายไป ถ้าทำให้ ศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ พุทธศาสนาก็จะถูกตัดทอนสาระบางอย่างทิ้งไปเพื่อ จะให้เป็นวิทยาศาสตร์ สาระที่ถูกตัดทอนนั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ตอนนี้พุทธศาสนาก็เลยค่อนข้างจะตื้น เพราะถูกทำให้เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าต้องเอาวิทยาศาสตร์มาเป็นตัวเทียบเคียง มาเป็น

กรอบเป็นเกณฑ์ถือว่าให้เราเป็นของเรา เรารักษาแก่นของเราเอาไว้ แล้วจะ ไปตรงกับวิทยาศาสตร์หรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง เหมือนกับสมัยหนึ่ง เขาถามกั น ว่ า พุ ท ธศาสนาเป็ น ปรั ช ญาหรื อ เปล่ า เถี ย งกั น อยู่ นั่ น แหล่ ะ

คำตอบอยู่ที่ว่าแล้วแต่เราตีความนิยามของปรัชญาแค่ไหน ถ้าปรัชญา หมายถึงวิถีชีวิตด้วย พุทธศาสนาก็เป็นปรัชญา แต่ปรัชญามีความหมาย เพียงแค่การขบคิด การเก็งคาดเดาด้วยสมองล้วนๆ พุทธศาสนาก็ไม่ใช่ ปรัชญา ก็ปล่อยให้เขาถกเถียงกันไปเถอะ แต่ขอให้เรารักษาแก่นของเรา อย่าให้คลาดเคลื่อน ถึงตรงนี้อาตมาคิดว่าศาสนาเป็นคนละอันกัน แต่

มีบางอย่างร่วมกัน และมนุษย์เราคงจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ เราขาด วิทยาศาสตร์ไม่ได้ แต่วิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับความหมาย ของชีวิต วิทยาศาสตร์ถือว่าตัวเองปลอดพ้นจากเรื่องคุณค่า มีความเป็น

กลาง ใครจะเอาไปใช้อะไรก็ได้ ใครจะเอาควอนตัมฟิสิกส์ไปทำระเบิด ปรมาณูก็ได้ ใครจะเอาไปเผยแพร่ศาสนาก็ได้ จุดยืนวิทยาศาสตร์คือเป็น

กลาง จึงไม่ให้คำตอบแก่คน แต่ไม่ว่าคนจะเก่งทางวิทยาศาสตร์แค่ไหน

ก็ต้องการคำตอบว่าชีวิตนี้มีเพื่ออะไร เกิดมาเพื่ออะไร เราควรจะเลือก

อะไรระหว่าง เงินทอง ชื่อเสียงหรือความสัมพันธ์ในครอบครัว วิทยาศาสตร์

ให้คำตอบไม่ได้ แต่ศาสนาให้ได้ มนุษย์จึงต้องการทั้งสองอย่าง อย่า พยายามรวบหัวรวบหางให้ศาสนากับวิทยาศาสตร์เป็นอันเดียวกันเลย

ต่างคนต่างอยู่ก็ดีแล้ว เพียงแต่ว่า เราควรจะเรียนรู้และเคารพซึ่งกันและกัน 19

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 19

3/22/13 8:43:46 PM


ที่ผ่านมาศาสนาก็พยายามครอบงำวิทยาศาสตร์ อย่างสมัยกาลิเลโอที่บอก พระเจ้าเป็นผู้สร้างชีวิต ไม่มีวิวัฒนาการ หลายโรงเรียนในอเมริกาก็ห้าม สอนทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วิน สอนแต่ว่าพระเจ้าสร้างโลก บอกว่าโลก เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณหกพันกว่าปีที่แล้ว เพราะศึกษาในไบเบิลว่าพระเจ้า สร้ า งก่ อ นคริ ส ตกาลประมาณ ๔,๐๐๐ ปี คื อ พยายามจะครอบงำ วิทยาศาสตร์ในแง่ที่ว่าห้ามสอนวิทยาศาสตร์ในความหมายที่ขัดกับศาสนา จริงๆ ไม่ควรครอบงำซึ่งกันและกัน แต่ปัญหาตอนนี้อยู่ที่วิทยาศาสตร์มี อหังการมากและยังไม่หมด เช่น การแสดงออกในเรื่อง bioengineering เรื่อง genetic รวมทั้งพวก artificial intelligence เพราะมีสมอง แต่ไม่ พัฒนาจิตก็จะนำไปสู่อหังการได้ ต้องพัฒนาจิตด้วยจึงจะมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้ว่าสิ่งที่เราไม่รู้มีมากกว่าที่รู้ U p d a t e อหังการของนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ท่านคิดว่าสมควรหรือไม่ พระไพศาล : อหังการทำให้เราปฏิเสธ ใจแคบ ทำให้เราคิดว่าเรา ถูก และคนอื่นผิด ถ้าเราไม่มีอหังการ เราเปิดใจให้กว้าง อันนี้น่าจะเป็น ทัศนคติของวิทยาศาสตร์มากกว่า วิทยาศาสตร์ก็คือการไม่เอาสมมติฐาน เป็นสัจจะ สมมติฐานต้องผ่านการตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจว่า เป็นความจริงจึงค่อยรับ นี่เป็นหลักของกระบวนการวิทยาศาสตร์ แต่คน จำนวนมากเอาสมมติฐานมาเป็นสัจจะเลย ก็เลยไม่ยอมรับความคิดเห็น ของคนอื่น

20

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 20

3/22/13 8:43:46 PM


U p d a t e ในความคิดเห็นของท่าน การวิจัยอย่างเช่น การตัดต่อยีน โคลนนิ่งจะนับเป็นอหังการที่นักวิทยาศาสตร์สมควรทำหรือไม่ พระไพศาล : นักวิทยาศาสตร์ควรจะตระหนักถึงความรับผิดชอบ ของตัวเองที่มีต่อสังคมด้วย นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากปฏิเสธ ถือว่า

ตัวเองศึกษาไป แล้วที่เหลือก็เป็นเรื่องของรัฐบาล เป็นเรื่องของบริษัทที่จะ เอาไปใช้ เขาเองทำหน้าที่ค ้นคว้าอย่างเดียว นักวิทยาศาสตร์ตัดตอนความ รับผิดชอบตรงนี้ ถือว่าตัวเองรับผิดชอบลุยทางเทคโนโลยีและความรู้อย่าง เดียว แต่ลึกๆ แล้ววิทยาศาสตร์เกิดอหังการในแง่ที่ตัวเองเป็นพระเจ้า

ขึ้นมา อาตมาคิดว่าตอนนี้วิทยาศาสตร์ก็คิดว่าตัวเองเป็นตรีมูรติ คือ พระเจ้า ๓ องค์ เหมือนกัน สมัยก่อนตอนที่สร้างระเบิดปรมาณูได้ อันนั้น คือ พระนารายณ์คือผู้ปราบทำลาย ตอนนั้นพระพรหมมาแล้วคือ genetic สร้ า งโลก นั ก วิ ท ยาศาสตร์ จ ำนวนมากคิ ด อย่ า งนั้ น จริ ง ๆ พระศิ ว ะคื อ artificial intelligence แม้ว่าระเบิดปรมาณูจะถูกต่อต้าน แต่ ๒ อย่างหลัง ก็ยังผงาดอยู่ อาตมาว่านักวิทยาศาสตร์ไม่ควรคิดว่าตัวเองเป็นพระเจ้า เดี๋ยวนี้ปัญหาทางจริยธรรมเกิดขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโคลนนิ่ง ปัญหา คนไข้ ป างตายแล้ ว เราจะปล่ อ ยให้ ค นไข้ ต ายโดยการถอดสายออกไป

ถูกไหม ผิดไหม หรือฉีดยาเพื่อให้เขาตายอย่างสงบ เรื่องสิทธิการตาย ปัญหาเหล่านี้คนต้องคิดให้เป็น ไม่ใช่ว่าจะรอคำตอบจากพระคัมภีร์ ซึ่ง

ในพระคัมภีร์ไม่มี ตอนนี้ต้องเริ่มคิดได้แล้ว เพราะในอนาคตจะมีปัญหา มาก เช่น ทำแท้งถูกหรือผิด การฆ่าคนเพื่อรักษาชาติถูกหรือผิด พวกนี้ ต้องคิดให้เป็น อย่างที่ทมิฬสิงหลในศรีลังกาฆ่ากันตาย ฝ่ายสิงหลคือ

พุทธก็บอกว่า จำเป็นต้องฆ่าทมิฬเพื่อรักษาพระพุทธศาสนา โคลนนิ่งถูก หรือผิด เรื่องนี้รอใครมาบอกไม่ได้ ศาสนามีโป๊ปเป็นคนบอก แต่ศาสนา 21

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 21

3/22/13 8:43:47 PM


พุทธ พระพุทธเจ้าไม่ได้มอบหมายให้ใครเป็นศาสดา พระสังฆราชก็ไม่ใช่ ศาสดา จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิด และต้องคิดให้เป็น อย่างโคลนนิ่ง อาตมา คิดว่าไม่ได้ขัดกับหลักพุทธศาสนา แต่แรงจูงใจในการทำโคลนนิ่งคืออะไร เพื่อสนองความโลภหรือเปล่า หรือทำไปเพื่ออยากรู้ แล้วใครรับผิดชอบต่อ สิ่งที่เกิดขึ้น พุทธศาสนายอมรับว่าโคลนนิ่งมีชีวิต แม้กระทั่งคอมพิวเตอร์ ถ้าทำจนกระทั่งมันมีชีวิต พุทธศาสนาก็ยอมรับว่านี่คือชีวิต และเผลอๆ

มี วิ ญ ญาณด้ ว ย เพราะพุ ท ธศาสนาเห็ น ว่ า ถ้ า เหตุ ปั จ จั ย ทางวั ต ถุ พ ร้ อ ม วิญญาณธาตุก็มาจุติได้ คือพุทธศาสนาไม่มีแนวคิดเรื่องผู้สร้าง อย่าง โคลนนิ่ ง ขั ด แนวคิ ด เรื่ อ งพระผู้ ส ร้ า ง คื อ จะถื อ ว่ า ทุ ก อย่ า งมี แ ต่ พ ระเจ้ า เท่านั้นที่สร้างได้ มนุษย์จะทำตัวเป็นพระเจ้าโดยการทำโคลนนิ่งถูกไหม ซึ่ง เขาถือว่าผิดหลักศาสนาเพราะขัดกับหลักพระผู้สร้าง แต่พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของเหตุและปัจจัย ถือว่าไม่มีผู้สร้างจักรวาล พุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ไม่ใช่ผลผลิตของพระเจ้า มนุษย์ก็คือสัตว์ในความหมายกว้าง ไม่ใช่ animal แต่เป็น being ในความหมายที่ว่ามีชีวิต เทวดา ต้นไม้ก็เป็นสัตว์ U p d a t e ในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการเพาะพันธุ์กบไร้หัว เพื่อที่ว่า ในอนาคตอาจจะทำได้ถึงขั้นทำมนุษย์ไร้หัว เพื่อนำอวัยวะมา เป็นอะไหล่เปลี่ยนในมนุษย์ ถือว่าผิดหลักพุทธศาสนาหรือเปล่า พระไพศาล : ถ้าเขาเป็นมนุษย์เขาก็ควรจะมีสิทธิ์รับผิดชอบชีวิตเขา แม้ว่าจะเป็นมนุษย์ไร้หัวก็ตาม แล้วเราจะไปฆ่าเขาเอาหัวใจมาใช้ได้ไง มัน ผิดแล้ว และคำถามพื้นฐานก็คือว่าเรามีสิทธิ์อะไรที่จะสร้างให้เขาเป็นคน ไม่มีหัว ไม่มีสิทธิ์ แม้ว่าเราจะคิดว่าเรามีสิทธิ์เพราะเราคือผู้สร้าง แต่ใน 22

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 22

3/22/13 8:43:47 PM


พุทธศาสนาถือว่ามันเป็นชีวิตแล้ว แล้วเรามีเจตนาที่จะทำให้เขามีชีวิตที่

ไม่สมบูรณ์ก็ไม่ถูกต้อง คือมีจิตเห็นแก่ตัวเหมือนกับพ่อแม่ต้องการมีลูก เพื่อเอาลูกไปขาย มันเป็นอกุศลจิตแล้ว เราถือว่าสิ่งเหล่านี้มีชีวิตแล้ว

ทั้งนั้น แล้วพอเป็นชีวิตก็จะดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ถ้าเราไปพรากชีวิต ทำให้เขาเกิดความทุกข์ขึ้นมา ตอนนี้เราก็ยังไม่แน่ใจนะว่า พวกนี้อาจจะ

มี ค วามรั บ รู้ ก็ ไ ด้ แต่ ใ นทางพุ ท ธศาสนาถื อ ว่ า พวกนี้ มี ชี วิ ต เราจะไป เบียดเบียนเขาไม่ได้ แต่ก็ยังน่าสงสัยว่า ในทางพุทธศาสนาถือว่าเมื่อเป็น ตัวอ่อนอยู่ในท้องแม่แค่ ๔ เซลล์ก็ถือว่ามีชีวิตแล้ว แล้ว ๑ เซลล์จะ

มีชีวิตมั้ย ก็น่าคิดเหมือนกัน ต้องคิดกันต่อไป U p d a t e ถ้าอย่างนี้แล้วท่านคิดว่าจิตใจกับสมองนี่แยกกันอย่างไร ในทางพุทธศาสนามองอย่างไร พระไพศาล : จิ ต ใจเป็ น มากกว่าสมอง คือจิตใจไม่ได้เป็น กระบวนการทางชีวเคมีหรือฟิสิกส์ ที่มีสมองเป็นฐาน แต่ต้องเกี่ยวข้อง กับสมอง หมายความว่า อย่างน้อย จิ ต ใจต้ อ งอาศั ย สมองเป็ น สื่ อ

ในการรั บ รู้ และเป็ น สื่ อ ในการ แสดงออก เป็นตัวกลางในการสื่อ กับโลกภายนอก เพราะจิตใจเป็น อายตนะทั้ ง ห้ า คื อ ตา หู จมู ก 23

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 23

3/22/13 8:43:47 PM


ลิ้น กาย มันรวมศูนย์กันที่สมอง จิตใจไม่มีตัวตน เป็นนามธรรม แต่ว่ามัน มีอยู่ ภาษาพระเรียกว่า วิญญาณธาตุ ที่เมื่อมีสมอง แต่ไม่มีวิญญาณธาตุ เข้าไปอยู่มันก็ไม่มีชีวิต แต่ถ้าพร้อมก็กลายเป็นชีวิต เคลื่อนไหวได้ เดินเหิน ได้ นึกคิดได้ สมองก็เป็นเพียงแค่สื่อกลางระหว่างวิญญาณกับโลกภายนอก วิญญาณอาจจะเห็นอะไรไม่ชัด ถ้าไม่ผ่านตา วิญญาณจะบอกอะไรไม่ได้

ถ้าไม่บังคับให้ปากพูด วิญญาณกับสมองจึงเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่ใช่เป็น

อันเดียวกัน แม้กระทั่งทุกวันนี้วิทยาศาสตร์ยังเถียงกันอยู่เลยว่าความจำ อยู่ที่ไหน เราคิดว่าอยู่ที่สมอง แต่แนวคิดแบบองค์รวมบอกว่ามันอาจจะอยู่ นอกสมองก็ได้ เราอาจจะบอกได้ว่าสมองส่วนนี้เก็บความจำเกี่ยวกับคำว่า ส้ม แอปเปิ้ล แต่มีความทรงจำอีกหลายอย่างที่เราไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหน ทำไมคนที่แขนขาดยังรู้สึกเจ็บที่แขนข้างที่ขาด รู้สึกได้อย่างไร นี่เป็นเรื่อง

ที่อธิบายได้ยาก ทางศาสนาพุทธก็อธิบายว่ามันเกี่ยวเนื่องกัน แต่ฟังก์ชั่น

ของจิตทุกอย่างไม่ใช่อยู่ที่สมอง แต่จิตจะทำหน้าที่ได้ดีต้องอาศัยสมอง คนที่ตายไปแล้วจิตจะคิดอะไรได้ไม่ดี มองอะไรก็ไม่ชัดเจน เพราะเขาขาด สมอง ในทางพุทธศาสนาถือว่าคนตายไปแล้วจะเหลือแต่วิญญาณธาตุที่

ไม่ค่อยมีสติ คิดอะไรไม่ชัด หวั่นไหวง่าย โกรธง่าย นี่คือความเชื่อแบบ ทิเบต แล้วจิตนั้นจะมีดีอย่างเดียวคือรับรู้อะไรได้ไง เช่นเสียงดังแค่นี้จิต

จะดังเป็นพิเศษ ๗ เท่า จิตจะเห็นทุกคนที่อยู่รอบศพ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก เพราะคนที่ผ่านประสบการณ์ใกล้ตายเขาจะรู้สึกเหมือนร่างลอยอยู่ข้างบน แล้วจะเห็นหมอ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังทดสอบอยู่โดยการเอาของไป ซ่อนแล้วดูว่าเขาจะเห็นมั้ย อีกไม่นานคงจะได้ทราบผลการทดลองกัน

24

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 24

3/22/13 8:43:48 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ใครๆ ก็ไม่ชอบความเบื่อ ถ้าเกิดขึ้นกับตนเองเมื่อใด ก็จะรู้สึกเป็น ทุกข์ และอยากหนีห่าง แต่ถ้าหนีไม่ได้ก็จะรู้สึกกระสับกระส่ายทันที และ แทบทนไม่ได้ที่เห็นเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้า ขณะที่โลกรอบตัวก็ดูจืดชืด ไร้ชีวิตชีวา ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย แต่มองอีกแง่หนึ่ง ความเบื่อคือ “ข่าวดี” เพราะแสดงว่าชีวิตเรา

ยังเป็นปกติ ไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้น ลองคิดดูว่าหากเราพบว่าตัวเองเป็น มะเร็ง สูญเสียคนรัก การงานล้มเหลว รถหาย บ้านถูกยึด ถูกด่าว่า เรา

จะรู้สึกเบื่อหรือ ใช่หรือไม่ว่าความเบื่อเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อชีวิตเราดำเนินไป อย่างเรียบๆ จนรู้สึกซ้ำซากจำเจ เทียบกับอารมณ์อื่นแล้ว ความ เบื่อสร้างความทุกข์ให้เราน้อยมาก ลอง นึกถึงตัวเองเวลาเศร้าโศก โกรธแค้น อิจฉา พยาบาท อารมณ์เหล่านี้กัดกร่อน เผาลนจิ ต ใจยิ่ ง กว่ า ความเบื่ อ มากนั ก อีกทั้งยังสามารถทำร้ายสุขภาพของเรา จนล้มป่วยได้อีกด้วย ความกลัวเป็นอีกหนึ่งอารมณ์ที่น่ากลัวยิ่งกว่าความเบื่อ และนั่นเป็น เหตุผลหนึ่งที่ทำให้หลายคนยอมทนอยู่กับความเบื่อ ย่ำอยู่กับความซ้ำซาก จำเจต่อไป ไม่กล้าที่จะไปเจอสิ่งแปลกใหม่ เพราะกลัวว่าจะต้องเจอกับ ความยากลำบาก หรือสภาพที่ย่ำแย่กว่าเดิม 25

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 25

3/22/13 8:43:48 PM


การทำอะไรซ้ำเดิมอยู่ทุกวี่ทุกวัน ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายในตัวมันเอง อาจ เป็นสิ่งดีด้วยซ้ำ เด็กต้องคัดอักษรนับพันๆ ครั้งจนกว่าจะเขียนเป็นตัว

นักดนตรีต้องซ้อมเพลงซ้ำแล้วซ้ำเล่ากว่าจะเล่นได้ไพเราะ นักปฏิบัติธรรม ต้องเดินจงกรมกลับไปกลับมานับหมื่นเที่ยวกว่าจะมีสติต่อเนื่องและสมาธิ แน่วแน่ แต่บางครั้งการอยู่กับสิ่งเดิมๆ นั้น ทำให้เราย่ำเท้าอยู่กับที่ และ ไม่มีการพัฒนาตนเอง ความกลัวนั้นมักเป็นกรงขังที่ตีกรอบผู้คนให้ยอมทนอยู่กับสภาพ เดิมๆ โดยไม่คิดที่จะเผชิญสิ่งท้าทายหรือความยากลำบาก ทั้งๆ ที่รู้ว่ามัน

มีผลดีต่อตัวเอง หลายคนอยากออกไปสัมผัสกับความงามและสงบสงัด ของธรรมชาติ แต่กลัวที่ต้องนอนกลางดินกินกลางทรายในป่า จึงเก็บตัว อยู่แต่ในป่าคอนกรีตที่แสนวุ่นวาย หนุ่มสาวไม่มีความสุขกับงานที่ทำอยู่ แต่ก็ไม่กล้าไปหางานใหม่เพื่อตนจะได้ใช้ศักยภาพเต็มที่ เพราะกลัวว่าจะมี

เงินเดือนน้อยลงหรือได้ตำแหน่งต่ำกว่าเดิม ส่วนนักธุรกิจรุ่นใหม่ก็ลงทุน แต่ในกิจการที่ใครๆ ก็แห่ทำกัน แต่ไม่กล้าทำอะไรแปลกใหม่ที่สร้างสรรค์ เพราะกลัวความล้มเหลว ในความรู้สึกของผู้คนเป็นอันมาก ความยากลำบาก มีรายได้น้อย ความล้มเหลว ล้วนเป็นสิ่งน่ากลัวเพราะเกิดขึ้นกับใครย่อมทำให้เป็นทุกข์ แต่หากพิจารณาให้ดี ความทุกข์ที่แท้นั้นเกิดจากใจที่หวาดกลัวหรือรู้สึก เป็นลบต่อสิ่งเหล่านั้นต่างหาก ทำนองเดียวกับเด็กที่กลัวความมืด แท้จริง

26

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 26

3/22/13 8:43:51 PM


แล้วความมืดหาได้ทำให้ใครเป็นทุกข์ไม่ แต่ที่เด็กเป็นทุกข์เวลาอยู่ในที่มืด

ก็เพราะใจที่กลัวหรือต่อต้านความมืดต่างหาก พูดอีกอย่าง ความมืดไม่

น่ากลัว ความกลัวความมืดต่างหากที่น่ากลัว สิ่งที่เด็กควรทำจึงไม่ใช่หลีกหนีความมืด แต่อยู่ที่เลิกกลัวความมืด ทำอย่างไรเด็กจึงจะหายกลัวความมืด คำตอบก็คือ ต้องออกไปสัมผัสกับ ความมืด อยู่คนเดียวในที่มืดจนคุ้นเคยกับมัน เมื่อคุ้นเคยกับความมืด ก็ จะพบว่าความมืดนั้นไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ถึงตอนนั้นก็จะไม่กลัวความมืด อีกต่อไป ในทำนองเดียวกัน ความยากลำบาก การมีรายได้น้อย หรือความ ล้มเหลว ตลอดจนสิ่งร้ายๆ ที่ใครๆ กลัวนั้น ไม่ได้เป็นปัญหามากเท่ากับ ความรู้สึกกลัวสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นแทนที่จะคิดหลีกหนีสิ่งเหล่านั้น สิ่งที่

ควรทำมากกว่าก็คือ การจัดการกับความกลัว และวิธีที่ได้ผลชะงัดก็คือ เข้าไปสัมผัสกับสิ่งที่ตนเองกลัว พระพุทธองค์ตรัสว่า หากกลัวสิ่งใด ต้องเข้าไปหาสิ่งนั้น จึงจะ

หายกลัว สมัยที่พระองค์บำเพ็ญสมณธรรมนั้น ทรงมีความหวาดกลัว

ป่าเปลี่ยวจนขนลุกชูชัน สิ่งที่พระองค์ทำก็คือ เข้าไปในป่า เมื่อความกลัว เกิดขึ้นไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใด พระองค์ทรงอยู่ในอิริยาบถนั้นจนหายกลัว จนในที่สุดไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน พระองค์ก็ไม่มีความกลัวอีกต่อไป อะไรที่เรากลัว หากได้สัมผัสกับมันจนคุ้นเคยและรู้จักมันดีพอ ก็จะ พบว่ามันไม่น่ากลัวอย่างที่เคยรู้สึก มารี คูรี นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาว โปแลนด์ พูดไว้อย่างน่าคิดว่า “ในชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่น่ากลัว มีแต่สิ่งที่ต้อง ทำความเข้าใจ” ทัศนะดังกล่าวสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า เรา กลัวเพราะไม่รู้ หรือเพราะความหลง เมื่อมีปัญญา ก็หายกลัว แต่ปัญญา จะเกิ ด ขึ้ น ได้ ไ ม่ ใ ช่ เ พราะคิ ด เอา หากเป็ น เพราะได้ สั ม ผั ส มั ก คุ้ น กั บ มั น

จนรู้จักมันเป็นอย่างดี 27

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 27

3/22/13 8:43:52 PM


นักธุรกิจคนหนึ่งเล่าว่า เมื่อเรียนจบเขาเลือกทำแต่ธุรกิจที่ไม่เสี่ยง คือให้ผลกำไรอย่างแน่นอน และเป็นธุรกิจที่ใครๆ ก็ทำกัน เพราะเขากลัว ความล้มเหลวอย่างยิ่ง แต่แล้วจู่ๆ ธุรกิจที่เขาคิดว่า “ชัวร์” ก็ขาดทุน จนต้องเลิกกิจการ แม้จะผิดหวังและเป็นทุกข์ แต่เขาก็พบว่าความล้มเหลว ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เขาคิด ถึงอย่างไรฟ้าก็ไม่ถล่ม โลกก็ไม่ทลาย นับแต่ วันนั้นเขาก็ไม่กลัวความล้มเหลวอีกเลย และรู้สึกสนุกกับการทำธุรกิจมากขึ้น เพราะกล้าทำอะไรใหม่ๆ ที่เสี่ยง โดยไม่มีความวิตกว่ามันจะล้มเหลว ความกลั ว ลำบากก็ เ ช่ น กั น ไม่ อ าจจะหายได้ จนกว่าเราจะลองสัมผัสกับความยากลำบากดูบ้าง เช่น ไปค้างแรมอยู่ในป่า นอนกลางดินกินกลางทราย หรือ ใช้ชีวิตเรียบง่ายสัก ๓-๔ วัน ก็จะพบว่ามันไม่ได้เลวร้าย อย่างที่คิด อาจจะมีรสชาติชวนสนุกด้วยซ้ำ ในทำนอง เดียวกัน เซเนก้า นักปราชญ์ชาวโรมัน แนะนำคนที่ กลัวสูญเสียทรัพย์สมบัติ ว่า “ลองใช้เวลาสักช่วงหนึ่ง อยู่แบบอัตคัดและใช้ของถูกที่สุด ใส่เสื้อผ้าเนื้อหยาบ แล้วบอกกับตัวเองว่า “นี่หรือคือสิ่งที่ฉันกลัว” นักเขียนชาวอเมริกันคนหนึ่งเล่าว่าเขาเป็นคนกลัวขายหน้ามาก วันหนึ่ง จิตแพทย์ชื่อดัง อัลเบิร์ต เอลลิส (Albert Ellis)เล่าว่า เคยแนะนำให้คนไข้ ของเขานั่งรถไฟใต้ดินในนิวยอร์ค เมื่อผ่านสถานีใดให้ส่งเสียงเรียกชื่อสถานี นั้นดังๆ โดยไม่ต้องสนใจว่าใครจะมองอย่างไร เขาจึงทดลองทำดูบ้างเมื่อ นั่งรถไฟใต้ดินในลอนดอน แม้จะรู้สึกประหม่าและพรั่นพรึ่งขณะที่ส่งเสียงดัง ท่ามกลางผู้คนแน่นขนัด แต่ปรากฏว่าไม่มีใครด่าหรือทำร้ายเขาเลย มี บางคนเท่านั้นที่มองเขาด้วยสายตาประหลาด นับแต่วันนั้นความกลัวขายหน้า ได้ลดลงมาก สิ่งที่เรากลัวนั้นไม่ทำให้เราทุกข์มากกว่าความกลัว ความเจ็บป่วย ไม่ทำให้เราทุกข์มากกว่าความกลัวเจ็บป่วย ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนไม่น้อยยิ้มแย้ม 2

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 28

3/22/13 8:43:56 PM


แจ่มใส ในขณะที่คนมีสุขภาพดีหลายคนกลับรู้สึกย่ำแย่เมื่อคิดว่าตัวเอง อาจเป็นโรคร้าย ความตายก็เช่นกัน ความตายไม่น่ากลัวเท่ากับความกลัว ตาย หากไม่กลัวตายเสียแล้ว ก็พร้อมรับความตายได้ด้วยใจสงบ ตรงข้าม กับคนที่กลัวตาย แม้ยังไกลจากความตาย แต่พอนึกถึงความตายเมื่อใด ก็เหมือนตกนรก สิ่งที่เราควรทำ จึงไม่ใช่การพยายามดิ้นรนหนีความตาย เพราะหนี อย่างไรก็ไม่พ้น แต่ควรพยายามจัดการกับความกลัวตายมากกว่า เช่น เดียวกับความกลัวประเภทอื่นๆ ความกลัวตายบรรเทาได้ด้วยการทำใจให้ คุ้นชินกับความตาย เช่น นึกถึงความตายของตนเองบ่อยๆ ที่เรียกว่า มรณสติ ใหม่ๆ ใจจะต้าน แต่ทำบ่อยๆ ก็จะยอมรับความตายได้มากขึ้น และกลัวความตายน้อยลง จะว่าไปแล้วการระลึกถึงความตายบ่อยๆ ยังทำให้ความกลัวอย่างอื่นๆ ลดลงไปด้วย เหตุร้ายต่างๆ ที่เรากลัวนั้นจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อยไปทันที เมื่อเปรียบเทียบกับความตาย สตีฟ จ็อบส์ เคยกล่าวว่า “เกือบทุกสิ่ง ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวัง ความภูมิใจ ความกลัวการหน้าแตก และความผิดพลาดทั้งหลาย ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลยเมื่อเทียบกับ ความตาย” ไม่ใช่การหนีสิ่งที่เรากลัว การหันหน้ามาเผชิญกับมันต่างหาก คือ สิ่งที่ควรทำ เพราะจะทำให้เราหายกลัว เมื่อนั้นมันจะไม่มีพิษสงอีกต่อไป และทำให้เราเป็นอิสระอย่างแท้จริง 2

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 29

3/22/13 8:43:59 PM


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

ในแวดวงพระกรรมฐานสายวั ด ป่ า โดยเฉพาะภาค อีสาน ส่วนใหญ่แล้วยกย่องนับถือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็น บู ร พาจารย์ จำนวนไม่ น้ อ ยสามารถสื บ สายครู บ าอาจารย์ ย้อนหลังไปถึงหลวงปู่มั่น แต่หากถามว่าใครเป็นอาจารย์ของ หลวงปู่มั่น คำตอบก็คือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยกย่องหลวงปู่เสาร์ ว่า เป็น “พ่อพระกรรมฐานภาคอีสาน” ท่านมีอัธยาศัยน้อม ในทางสมาธิภาวนา และใฝ่ความสงบวิเวก จึงออกธุดงค์เป็น ประจำ ปักกลดอยู่ในป่าหรือในถ้ำเป็นนิจ หลังจากที่ประสบ ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ท่านก็มาเปิดสำนักปฏิบัติธรรมที่ วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อันเป็นบ้านเกิด ของท่าน

30

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 30

3/22/13 8:44:00 PM


หลวงปู่เสาร์เป็นพระมหาเถระที่ไม่ชอบพูด เวลาเทศน์

ก็กล่าวเพียงไม่กี่ประโยค ก็ลงจากธรรมาสน์ ว่ากันว่าทั้งวัน ท่านพูดกับใครไม่เกินสองประโยค แต่ท่านมีเมตตาสูงมาก

ไม่เคยแสดงอาการโกรธเคืองใครเลย ใครได้พบเห็นก็รู้สึก เย็นใจ ท่านจึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระเณรมาก ศิ ษ ย์ ข องท่ า นผู้ ห นึ่ ง ก็ คื อ หลวงปู่ มั่ น หลวงปู่ มั่ น เคย ประสบอุปสรรคในการปฏิบัติ ถึงกับเกิดสัญญาวิปลาส ก็ได้ อาศัยหลวงปู่เสาร์ช่วยแก้วิปลาสให้จนสำเร็จเป็นที่อัศจรรย์แก่ ลูกศิษย์ อย่างไรก็ตามท่านเป็นพระที่ถ่อมตนมาก ไม่อวด

คุณวิเศษ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เล่าว่า ระหว่างที่ได้อุปัฏฐาก ท่านคราวหนึ่ง ได้ยินท่านเปรยขึ้นมาว่า “เวลานี้จิตข้ามันไม่ สงบ มันมีแต่ความคิด” หลวงพ่อพุธแปลกใจ จึงถามว่า “จิต มันฟุ้งซ่านหรือไงอาจารย์” หลวงปู่เสาร์ตอบสั้นๆ ว่า “ถ้าให้ มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า” หลวงพ่อพุธเล่าว่า กว่าจะเข้าใจ ความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี กล่าวคือท่านหมายความ ว่า เวลาปฏิบัติถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไป อย่า ไปรบกวนมัน ถ้ามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียว เป็นตัวตั้งตัวตี

31

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 31

3/22/13 8:44:00 PM


หลวงปู่เสาร์มีวัตรปฏิบัติอยู่ข้อหนึ่งคือ เมื่อออกพรรษา ท่านจะพาศิษย์ออกธุดงค์เป็นเวลาหลายเดือน ส่วนใหญ่มักไป ที่ประเทศลาว แล้วกลับมาจำพรรษาที่เมืองไทย จนแม้ชรา แล้วท่านก็ยังบำเพ็ญธุดงควัตรดังกล่าว ในปี ๒๔๘๔ ขณะที่ ท่านอายุ ๘๒ ปี ท่านได้พาศิษย์ไปธุดงค์ที่จำปาศักดิ์ และ

ปากเซ ประเทศลาวเช่นเคย แต่ปีนั้นท่านอาพาธตั้งแต่ก่อน ออกพรรษาแล้ว เรื่องของเรื่องก็คือบ่ายวันหนึ่งขณะที่ท่าน

นั่งสมาธิอยู่ใต้โคนต้นยาง มีเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบเอารังผึ้งซึ่งอยู่ บนต้นยางต้นนั้น รวงผึ้งส่วนหนึ่งตกลงมาใกล้ๆ กับที่ท่านนั่ง อยู่ ผึ้งจึงรุมกัดต่อยท่านหลายตัว จนท่านต้องเข้าไปหลบใน มุ้งกลด นับแต่นั้นท่านก็อาพาธมาโดยตลอด เมื่อท่านออกธุดงค์เข้าไปในเมืองลาวได้พักใหญ่ ก็ป่วย หนัก ศิษย์จึงพาท่านกลับมายังนครจำปาศักดิ์ ระหว่างนั้น ท่านนั่งหลับตามาตลอด เมื่อถึงที่หมาย ท่านลืมตาขึ้นแล้วพูด ว่า “ถึงแล้วใช่ไหม ให้นำเราไปยังอุโบสถเลย เพราะเราจะไป ตายที่นั่น” ศิษย์ได้ประคองท่านเข้าไปในอุโบสถ แล้วท่านสั่งให้เอา ผ้าสังฆาฏิมาพาด นั่งสมาธิพักใหญ่ แล้วท่านก็กราบพระสาม ครั้ง พอกราบครั้งที่สาม ท่านก็นิ่งงัน ไม่ขยับเขยื้อน ลูกศิษย์ เห็นท่านกราบนานผิดสังเกต จึงเอามือแตะที่จมูกท่าน ปรากฏ ว่าท่านหมดลมหายใจแล้ว ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๔ คือวันที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพ เป็นการมรณภาพที่แปลกไม่เหมือนใคร คือมรณภาพในท่านั่ง กราบหน้าพระพุทธรูป 32

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 32

3/22/13 8:44:01 PM


“ผมอยากเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ก่อนถึงวาระสุดท้ายมาถึงจริงๆ ต้องทำอย่างไร” “แม่ป่วยจนระยะสุดท้ายแล้ว ไม่อยากไปโรงพยาบาล จะดูแลอย่างไร”

“ที่บอกว่าเจริญสติ ช่วยคนเจ็บปวดทรมานได้ ถ้าดิฉันจะแนะนำคนไข้ จะบอกอย่างไรดี” คุณอาจเป็นคนใกล้ชิด คนดูแลหรือคนป่วยเอง ต้องการปรึกษาช่วยเหลือ ทางด้านจิตใจ ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ติดต่อได้ที่ โทร. ๐๘๖-๐๐๒๒-๓๐๒ เปิดบริการจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. หรือแวะดูความเคลื่อนไหวแลกเปลี่ยนเรียนรู้

: สายด่วนให้คำปรึกษาช่วยเหลือทางจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย (หนึ่งในโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา) 33

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 33

3/22/13 8:44:02 PM


พยาบาลขี้โกรธ พยาบาล ปุจฉา : เมื่อคืนดิฉันขึ้นเวรบ่ายค่ะ มีคำพูดของเพื่อน ร่วมงานที่ทำให้ดิฉันรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ และแล้วดิฉันก็หลุดค่ะท่าน ใช้ คำพูดไปโดยมีจุดมุ่งหมายที่ทำให้เขาเป็นทุกข์เหมือนกัน โดยพูดไปซัก ๔-๕ ประโยค ก็ตั้งสติได้ หยุดการกระทำที่จะทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เสีย ก็ คงจะดีกว่านี้ ถ้าดิฉันจะไม่เดือดเลยและไปถามเขาดีๆ ว่าเขาพูดแบบนี้ เขาต้องการอะไรและตอนนี้มันมีอะไรที่เขาควรได้แล้วดิฉันไปมีส่วนที่ทำให้ เขาไม่พอใจหรือไม่ได้ตรงไหนอย่างไร เฮ้อ! กว่าจะคิดได้ กว่าจะตั้งสติได้ก็หลง และหลุดกระจายความ ทุกข์นั้นให้ผู้อื่นอีกตั้งนาน ช่วยให้คำแนะนำดิฉันหน่อยเถอะค่ะท่าน ทำ อย่างไร ดิฉันจึงจะไม่ให้ โทสะร้ายโมหะเลวครอบงำ สาธุ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : การที่คุณคิดได้อย่างที่เล่ามา แม้ หลังเหตุการณ์ไปแล้ว ก็ดีกว่าไม่ได้คิดเลย หรือหาเหตุผลมาสนับสนุนกา รกระทำด้วยอารมณ์ของตน หากคุณคิดได้เช่นนี้บ่อยๆ ต่อไปก็จะคิดได้ ไวขึ้น จนสามารถรู้ทันก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ทำให้อดกลั้นวาจาได้ดีขึ้น ถึงแม้จะยังมีความขุ่นเคืองอยู่ก็ตาม สิ่งที่คุณน่าจะทำเพิ่มขึ้นก็คือ พยายามไม่พูดอะไรออกไปเมื่อได้ยิน คำพูดของเขา โดยอาจจะหันมาตามลมหายใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออก ยาวๆ สัก ๕ ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อบรรเทาความขุ่นเคืองใจ จากนั้นค่อย 34

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 34

3/22/13 8:44:03 PM


คิดว่าควรจะพูดอย่างไร หรือไม่ก็นับ ๑-๑๐ จะนึกถึงพุทโธ (หายใจเข้าพุท หายใจออก-โธ) สัก ๑๐ ครั้งก่อนพูดก็ได้ ถ้าอดกลั้นไม่ไหวจริงๆ

ก็เดินออกจากที่นั้นไปก่อน เมื่อสงบอารมณ์ได้แล้วจึงค่อยไปถามเขาว่า ทำไมถึงพูดอย่างนั้น การทำอย่างนี้บ่อยๆ จะช่วยให้คุณเท่าทันอารมณ์ โกรธได้ไวขึ้น คือมีสติเห็นความโกรธ แต่ใจไม่ถึงกับร้อนรุ่มจนหักห้ามใจ

ไม่ได้ ต่อไปก็จะปล่อยวางได้เร็ว โดยไม่ต้องถึงกับกดข่มมัน

ความโกรธ และ สาเหตุ

I’Me Tha ปุจฉา : ขอกราบนมัสการพระคุณเจ้าเพื่อขอสอบถาม ครับว่า จะทำอย่างไร “ให้ไม่โกรธ” และความโกรธเกิดจากสาเหตุใดครับ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ความโกรธเกิดขึ้นจากความยึดติด

ถือมั่นในบางสิ่ง แล้วต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นไป หรือประสบกับเหตุการณ์ ที่ไม่เป็นไปดั่งใจ ถ้าปล่อยวางได้ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ยาก แต่วิสัยปุถุชน ย่อมมีความยึดมั่นเป็นธรรมดา ดังนั้นจึงปฏิเสธความโกรธได้ยาก แต่เมื่อ เกิดขึ้นแล้วควรมีสติเท่าทันความโกรธ อย่าให้มันครองใจ ขณะเดียวกันก็ควรตระหนักชัดในโทษของความโกรธ คนส่วนใหญ่ ไม่เห็นโทษของมัน จึงประคบประหงมมันไว้ ไม่ยอมปล่อย แม้แต่จะให้ อภัยก็ไม่ยอม ทั้งๆ ที่ความโกรธเผาลนใจ แต่เมื่อใดที่เห็นโทษของความ โกรธ ใจก็หาทางระงับหรือบรรเทาความโกรธ เช่น แผ่เมตตา หรือให้อภัย รวมทั้งหมั่นเจริญสติเป็นนิจ เพื่อรักษาใจไม่ให้ความโกรธย่ำยีบีฑา NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 35

35

3/22/13 8:44:04 PM


ลำบากใจ เพราะมีให้ไม่มากพอ Pat Supassara ปุจฉา : อยากช่วยเหลือ แต่เราไม่มีให้ แบบนั้น เรียกว่าเห็นแก่ตัวไหมคะ? และเราให้เท่าที่เราจะมีไห้ แต่คนรับบอกว่า

น้อยไป บางคนคนให้ก็ท้อแท้ค่ะ เพราะกว่าจะให้ได้เราก็ต้องลำบากเช่นกัน เหนื่อยและท้อแท้จังบางครั้ง........สาธุค่ะ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : การให้ความช่วยเหลือ โดยเฉพาะ

การให้ทานนั้น สิ่งสำคัญที่สุดอยู่ที่เจตนาหรือความตั้งใจ ไม่ได้อยู่ที่จำนวน เงิน พูดง่ายๆ คือ อยู่ที่คุณภาพ มิใช่ปริมาณ ดังนั้นหากมีความตั้งใจที่จะ ให้ โดยไม่หวังประโยชน์ส่วนตัว เป็นการให้ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ การให้นั้น ย่อมเป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา ไม่อาจเรียกว่าเป็นความเห็นแก่ตัวได้ อย่างไรก็ตามถ้าวางใจถูก แม้การให้นั้นจะก่อให้เกิดความเหน็ดเหนื่อยหรือประสบความยากลำบาก ก็สามารถก่อให้เกิดการพัฒนาตนได้ เช่น ทำให้เข้มแข็ง ลดละตัวตน หรือเป็นโอกาสให้ฝึกฝนการปล่อยวาง ถือว่าเป็นการก่อประโยชน์ตน ควบคู่ไปกับการก่อประโยชน์ท่าน จึงไม่ควร รังเกียจหรือปฏิเสธความเหน็ดเหนื่อยหรือความอยากลำบาก อย่าลืมว่า ทุกข์กายแต่ใจเป็นสุขนั้น เราทุกคนสามารถทำได้

36

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 36

3/22/13 8:44:04 PM


สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงวัยแล้ว จากประชากรทั้งสิ้น ๖๔ ล้านคน ผู้สูงวัย ๖๕ ปีขึ้นไปมี ๖ ล้าน ๓ แสนคน หรือร้อยละ ๑๐ ถือว่าสูงสุดในแถบประเทศ อาเซียนด้วย สหประชาชาติระบุว่าประเทศที่มีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป เกิน ร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งประเทศให้ถือว่ากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ต่อจากนั้น ๑๐ ปีถัดไปเพิ่มเป็นร้อยละ ๑๔ จะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ และ ถ้า ๒๐ ปีเพิ่มถึงร้อยละ ๒๐ ก็จะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอด จะพบ ประชากร ๕ คน มีผู้สูงวัย ๖๕ ปี ๑ คน และเป็นประชากรวัยกลางคน ๔๓ ปี ขึ้นไปกว่าครึ่งประเทศ นั่นคือ สภาพที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ปั จ จุ บั น มี แ ล้ ว คื อ ญี่ ปุ่ น ที่ ถึ ง ระดั บ สุ ด ยอดคื อ เพิ่ ม ขึ้ น ถึ ง ร้ อ ยละ ๒๔ ส่วนในระดับโลกนั้น แนวโน้มประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเพิ่มร้อยละ ๘% หรือ ๕๖๕ ล้านคน จากประชากรโลก ๗,๐๕๘ ล้านคน กลุ่ ม โรคที่ พ บมากที่ สุ ด ในผู้ สู ง วั ย ของไทยคื อ โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจ หลอดเลือดสมอง ไตเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง รองลงมาคือ สมองเสื่อม และสุดท้ายคือโรคซึมเศร้า ประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่ แพงที่สุดคือ โรคหัวใจและมะเร็ง ปัจจุบันยังรักษาที่ปลายเหตุ โรงพยาบาลเอกชน ให้ความสนใจลงทุนมากเพราะเก็บเงินได้มาก ค่ารักษาจะอยู่ที่คนละ ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาทต่อโรค ส่วนโรคสมองเสื่อมกับโรคซึมเศร้ายังไม่ค่อยได้รับความสนใจ คุณภาพชีวิตต่ำ ปัญหาในอนาคต ใครจะดูแลผู้สูงอายุที่ไม่มีใครเอา ครอบครัว เล็กลง กลุ่มโรคชราเรื้อรังจะต้องตกเป็นภาระของสังคม ต้นทุนค่ารักษาโรคชรา ทั้งหมดอาจประมาณการไม่ได้ มีผู้คาดการณ์อย่างน่าเป็นห่วงว่าสังคมที่เปลี่ยน

37

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 37

3/22/13 8:44:23 PM


ไปจากผู้ที่เคยทำการผลิตได้ไปเป็นผู้บริโภค คนจะต้องทำงานถึงอายุ ๗๙ ปี จึงจะเกษียณได้ เพราะไม่มีใครเลี้ยงใครอีกต่อไป และยังพบว่าโรคที่จะเป็น ภาระหนักสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุมี ๒ โรค คือ หลังอัมพาต และโรคสมองเสื่อม ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้เตรียมรับมือปัญหาของสังคมผู้สูงอายุเท่าที่ควร สิ่งที่จะ ช่วยได้ คือ ปรับค่านิยมใหม่ว่าผู้สูงอายุที่เท่จะต้องดูแลตัวเองได้ ปัจจุบันมีที่ตื่นตัวบางแห่ง อาทิ มหาวิทยาลัยมหิดลเตรียมจัดตั้งศูนย์ เรียนรู้เพื่อพัฒนาสุขภาวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร และบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย ที่ ต.หนองพลับ หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเป็นต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะท้ายให้ได้รับความสะดวกสบาย และใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่างมี ความสุข คาดว่าจะเสร็จในปี ๒๕๕๙ และที่กรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันมีประชากร ผู้สูงอายุ ๗๒๘,๖๙๕ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๑๒.๘๔ คาดว่าในปี ๒๕๖๓ ประชากรผู้สูงอายุจะเพิ่มเป็น ๑๑ ล้านคน กรุงเทพฯ จึงเตรียมแผนการจัดตั้ง โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนขึ้น โดยใช้งบลงทุน ๓ พันล้านบาท

รายงานจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสว่า นักวิจัยชาวอเมริกันระบุว่า อายุขัยเฉลี่ยของประชากรโลกในปัจจุบันยืนยาวกว่าเมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อนมาก แต่สภาพร่างกายอาจไม่แข็งแรงเท่า สาเหตุจากโรคร้ายและเชื้อไวรัสชนิดใหม่ที่ ถือกำเนิดมากขึ้น นายจอช ซาโลมอน แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด หนึ่งในคณะ นักวิจัย ตีพิมพ์ผลงานในวารสารการแพทย์ “แลนเซ็ต” ว่ามีผู้เชี่ยวชาญกว่า ๕๐๐ คน ใน ๕๐ ประเทศ ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ อาทิ ผลการตรวจวินิจฉัย โรค การชันสูตรศพ และสถิติทางการแพทย์ต่างๆ จาก ๑๘๗ ประเทศทั่วโลก ระหว่างปี ๒๕๓๓-๒๕๕๓ ปรากฏว่า ผู้ชายมีอายุยืนขึ้น “โดยทั่วไป” เฉลี่ย

3

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 38

3/22/13 8:44:51 PM


๑๑.๑ ปี เมื่อเทียบกับช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ (ระหว่างปี ๒๕๑๓-๒๕๒๒) ส่วนอายุเฉลี่ยของผู้หญิงมากขึ้น ๑๒.๑ ปี หรือคิดเป็น ๕ ปีโดยเฉลี่ย ตลอด ระยะเวลา ๒๐ ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการมีอายุยืนขึ้น “พร้อม กับมีสุขภาพดี” กลับอยู่ที่ ๔ ปีโดยเฉลี่ยเท่านั้น เพราะปัจจัยหลักที่บั่นทอนสุขภาพ มาจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียชนิด ใหม่ ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อันเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน และเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตของประชากรโลกถึง ๒ ใน ๓ เมื่อปี ๒๕๕๓ เพิ่มขึ้นกว่า ๕๐% เมื่อเทียบกับปี ๒๕๓๓ ประเทศบอสวานา แอฟริกาใต้ แซมเบีย และซิมบับเว มีอัตราการเสียชีวิตในประชากรอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปีมากที่สุด ขณะที่ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ประชากรอายุยืนที่สุดในโลก เฉลี่ย ๘๕.๙ ปี รองลงมาคือ ไอซแลนด์ เฉลี่ย ๘๐ ปี ส่วนเฮติเป็นประเทศที่อัตราการมีอายุยืนของประชากร ต่ำที่สุด เป็นประชากรชายอายุเฉลี่ย ๓๒.๕ ปี ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ ๔๓.๖ ปีเท่านั้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติหรือ สสช. เผยความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ ภัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๕๖ พบประชาชนร้อยละ ๗๙.๘ เห็นด้วย กับการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้เสียภาษีหากจะมีการ เก็บภาษีสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ซื้อต้องรับภาระที่บรรจุภัณฑ์กลายเป็นขยะ ภาษีจาก การปล่อยมลพิษทางน้ำตามปริมาณมลพิษที่ปล่อย ร้อยละ ๗๒.๖ เห็นด้วยกับ มาตรการของรัฐในการควบคุมมลพิษ และร้อยละ ๓๓.๙ สร้างจิตสำนึกและ ตระหนักถึงปัญหามลพิษ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึง

3

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 39

3/22/13 8:45:20 PM


อันตรายที่เกิดจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก เช่น ไบโอดีเซล แกสโซฮอลล์ น่าจะช่วยควบคุมมลพิษได้ ผลสำรวจระบุว่าในรอบปี ๕๕ ประชาชน ร้อยละ ๕๗.๒ ประสบภัย ธรรมชาติ โดยแยกเป็นผู้ประสบอุทกภัย ร้อยละ ๗๑.๑ ภัยแล้งร้อยละ ๓๒.๖ วาตภัยร้อยละ ๘.๘ ภัยหนาวร้อยละ ๕.๓ ภัยจากไฟป่าและหมอกควันร้อยละ ๔.๔ ดินโคลนถล่ม/ดินสไลด์ ร้อยละ ๑.๕ แผ่นดินไหวร้อยละ ๑.๓ และ คลื่นพายุซัดฝังร้อยละ ๐.๒ ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ พบว่า ร้อยละ ๗๓.๒ ได้รับความช่วยเหลือ/เยียวยา โดยได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ ๙๗.๙ องค์กร มูลนิธิ ร้อยละ ๑๒.๘ และสื่อมวลชนร้อยละ ๗.๐ ประชาชนร้อยละ ๓๒.๐ ประสบปัญหามลพิษในรอบปีที่ผ่านมา มาก ที่สุดเป็นมลพิษทางอากาศ ร้อยละ ๕๒.๙ รองลงมาเป็นขยะ น้ำ ที่เห็นว่าได้รับ การแก้ไขปัญหามลพิษมีเพียงร้อยละ ๕๒.๗ โดยระบุว่ามากที่สุดคือขยะและน้ำ

ธวัชชัย ยงกิตติกุล คณะกรรมการองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น (ประเทศ ไทย) เปิดเผยว่า กลุ่มรณรงค์สร้างความโปร่งใสทางการเงิน (จีเอฟไอ) ได้ จัดเก็บข้อมูลของการลักลอบนำออกจากประเทศกำลังพัฒนา ๑๔๓ ประเทศใน รอบ ๑๐ ปี (๒๐๐๑–๒๐๑๐) พบว่าประเทศไทยให้อยู่ในอันดับที่ ๑๓ ที่มีการ ลักลอบนำเงินออกนอกประเทศ โดยไทยมีการนำเงินออกนอกประเทศในช่วง ๑๐ ปีที่มีการสำรวจกว่า ๒ ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นปีละ ๒ แสนล้านบาท ซึ่งจากรายงานนั้นระบุชัดเจนว่าเงินเหล่านี้มาจากการคอรัปชั่น และการค้า ยาเสพติด 40

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 40

3/22/13 8:45:48 PM


ประเทศอื่นที่อยู่ในทวีปเอเชียมี ๕ ประเทศ คือ จีนอยู่อับดับที่ ๑ มาเลเซียอยู่ในอันดับที่ ๓ ฟิลิปปินอยู่ในอันดับที่ ๖ อินเดียอันดับที่ ๘ และ อินโดนีเซียอันดับที่ ๙ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น เผยแผนงานในปี ๒๕๕๖ จะตรวจสอบความโปร่งใส่ของโครงการก่อสร้างที่มี มูลค่าโครงการที่สูงมาก อาทิ โครงการลงทุนพื้นฐาน ๒.๒ ล้านล้านบาท และ แผนการบริหารจัดการน้ำ ๓.๕ แสนล้านบาท อาจเป็นช่องทางให้เกิดการ คอร์รัปชั่น

ผลสำรวจของกัลลัพอิงค์ พบว่า ชาวลาตินอเมริกามองโลกในแง่ดีที่สุด ในโลก โดยมีถึง ๘ ประเทศในภูมิภาคดังกล่าวติดใน ๑๐ อันดับแรก ชาว ปานามาและปารากวัยอยู่ในอันดับหนึ่งร่วม ขณะที่ชาวสิงคโปร์ อาร์เมเนีย และ อิรัก มองโลกในแง่ดีน้อยที่สุด ๓ อันดับแรกตามลำดับ ส่วนชาวไทยมองโลก ในแง่ดีมากเป็นอันดับ ๖ ของโลกเมื่อปีก่อน ขณะที่คนในประเทศกลุ่มลาตินอเมริกากวาดหมด ๕ อันดับแรก ส่วนชาวสิงคโปร์มองโลกในแง่ดีเป็นอันดับ สุดท้ายของโลก วิธีที่เขาวัด สอบถามคนใน ๑๔๘ ประเทศๆ ละ ๑,๐๐๐ คน ด้วย คำถามว่า ในวันก่อนสำรวจมีความสุขเบิกบานใจหรือไม่ รู้สึกว่าได้รับความ เคารพหรือไม่ ได้พักผ่อนเต็มที่หรือไม่ ได้ยิ้มหรือหัวเราะหรือไม่ ได้เรียนรู้หรือ ทำอะไรที่น่าสนใจหรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ดัชนีทางเศรษฐกิจเสมอไป

41

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 41

3/22/13 8:46:14 PM


เป็นไท เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท แก้เงื่อน ถอดปม ความรุนแรงในสังคมไทย โดย พระไพศาล วิสาโล, ประเวศ วะสี และคณะ ๗๒ หน้า ๕๐ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

42

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ราคา ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 42

3/22/13 8:46:25 PM


ระลึกถึงความตายสบายนัก พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท

สุขสุดท้ายที่ปลายทาง กรรณจริยา สุขรุง เขียน ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท

รักษาใจ ให้ไกลทุกข์ (ฉบับปรับปรุง) พระไพศาล วิสาโล เขียน ๒๐ บาท บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท

น้ำใส ใจเย็น พระไพศาล วิสาโล และ ภาวัน ๗๙ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใส่บาตรให้ได้บุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท้ - พรวันใหม่ ชีวิตใหม่ เล่มละ ๑๕ บาท (จัดส่งฟรี) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ (มี ๖ แผ่น) แผ่นละ ๕๐ บาท

ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย สั่งจ่ายธนาณัติในนาม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา 43 หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒ NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 43

3/22/13 8:46:34 PM


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ ๐๑๖-๔๓๓๙๖๙-๒ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนพร้อมใบสมัครและจ่าหน้าซอง สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ หรือโทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ ติดต่อโทร : ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ 44

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 44

3/22/13 8:46:35 PM


เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 45

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 45

3/22/13 8:46:35 PM


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ บรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณา สุพจน์ อัศวพันธ์ธนกุล ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ เครือข่ายพุทธิกามีโครงการที่น่าสนใจ : ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา, สุขแท้ด้วยปัญญา, สายด่วน ๐๘๖-๐๐๒๒-๓๐๒ ให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ ๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ • จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซือ้ หนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • พิเศษ สมัครสมาชิก ๒ ปี รับฟรีหนังสือ ๑ เล่ม เขียนโดยพระไพศาล

3/22/13 8:46:36 PM

NewsletterPutVol 50.p.1-48.indd 46


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.