จดหมายข่าวพุทธิกา ฉบับที่ 52

Page 1

สั ม ภ า ษ ณ์ พิ เ ศ ษ • •

พระไพศาล วิสาโล : ถ้าไม่ปฏิรูปวงการสงฆ์ ระวังถึงจุดเสื่อม เสกสรรค์ ประเสริฐกุล : ตามหาสุขแท้

สมัครสมาชิกใหม่ ๒๐ ท่านแรก

รับฟรี กระเป๋าผ้า


ในทัศนะของพุทธศาสนา ชีวิตจะเจริญงอกงามและประสบความผาสุก ต้อง

เริ่มต้นจากการรู้จักให้

สมัครสมาชิกจดหมายข่าวพุทธิกา เฉพาะ ๒๐ ท่านแรก

ด้วยเหตุนี้ คำสอนเรื่องบุญกิริยาวัตถุหรือการทำบุญ จึงเริ่มต้นด้วยข้อแรกคือ “ทาน” ตามด้ ว ยศี ล และภาวนา การจะทำบุ ญ ให้ ค รบถ้ ว น ต้ อ งเริ่ ม ที่ ท าน หลั ก

ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ก็เริ่มต้นที่ทาน เพราะทานเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ

ความดี และช่วยให้ชีวิตเรามีความสมดุล ความสุ ข จะเกิ ด ขึ้ น ได้ ก็ ต่ อ เมื่ อ เกิ ด ดุ ล ยภาพในชี วิ ต ดุ ล ยภาพจะเกิ ด ขึ้ น ได้

ก็เริ่มต้นจากสมดุลระหว่างการรับกับการให้หรือการสละ ร่างกายที่เอาแต่รับหรือรับมาก แต่สละน้อยจะป่วยได้ง่าย สุขภาพอ่อนแอ เช่น น้ำหนักเกิน ไขมันเยอะ จึงจำเป็นต้อง

ไปออกกำลังกาย เพื่อให้เหงื่อไขมันและแคลอรี่ถูกเผาผลาญ นี่เป็นส่วนหนึ่งของการ ทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างการรับกับการสละ ที่จริงไม่ต้องดูอื่นไกล ถ้าเราหายใจเข้าอย่างเดียวโดยไม่หายใจออกเลย ก็อยู่

ไม่ได้ ฉะนั้น วิถีของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความผาสุก ราบรื่น สอดคล้องเป็นปกติได้ จะ ต้องมีสมดุลระหว่างการรับและการให้หรือสละออกไป แหล่งน้ำที่เอาแต่รับแต่ไม่ถ่ายเท ไม่ระบายออกไป ไม่นานก็กลายเป็นน้ำเน่า แหล่งน้ำที่มีทั้งรับและให้ คือระบายถ่ายเท ออกไปเท่านั้น จึงจะเป็นแหล่งน้ำที่น่าใช้สอยเพราะน้ำไม่เน่าไม่เสีย เป็นสถานที่ที่งดงาม ทำไมน้ำตกจึงงดงาม ก็เพราะน้ำตกรับน้ำเท่าไหร่ ก็ส่งต่อออกไปเท่านั้น เงินก็เช่นกัน

ถ้าเอาแต่เก็บ ไม่ใช้หรือให้ผู้อื่น เงินนั้นก็กลายเป็นพิษภัยต่อเจ้าของเองด้วย ถ้าเราลองสังเกตวิถีของธรรมชาติ ความราบรื่น ปกติ และความอุดมสมบูรณ์ เกิดขึ้นได้เพราะมีทั้งการรับและการให้ ต้นไม้เป็นตัวอย่างที่ดี เมื่อยังเป็นต้นกล้าก็ดูดเอาน้ำ ดูดเอาปุ๋ยจากแผ่นดิน

ทีละน้อยๆ เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ขึ้น ต้นไม้ก็จะเป็นฝ่ายให้ ที่จริงแล้ว ต้นไม้เริ่มให้ตั้งแต่เป็นต้นกล้า เช่น คายน้ำสู่ฟ้า หรือ ทิ้งกิ่งใบสู่ดินให้กลับคืนเป็นปุ๋ย นับได้ว่าต้นไม้เป็นแบบอย่างของการรับและการให้ ซึ่งทำให้โลกเป็นไปอย่างผาสุก ถ้า ต้นไม้เอาแต่รับไม่ให้เลย เมฆฝนก็เกิดขึ้นได้ยาก ผลไม้ก็ไม่เกิดขึ้น ความอดอยาก หิวโหยก็จะระบาดไปทั่ว เดือดร้อนทั้งสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่


ฉันใดก็ฉันนั้น ชีวิตของแต่ละคนจะสมดุลได้ก็ต้องรู้จักให้ เพราะตั้งแต่วินาทีแรก ที่เราเกิดมาลืมตาดูโลกเรารับอย่างเดียว รับน้ำนมจากแม่ ความปลอดภัยจากพ่อ และ ความเอาใจใส่จากญาติๆ ถ้าเรารับอย่างเดียวก็จะกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่ถ้าเรา

รู้จักให้ ความเห็นแก่ตัวก็ลดลงและทำให้เรามีความสุขได้ง่าย คนที่เอาแต่รับแล้วไม่ให้จะ เป็นคนที่มีความสุขได้ยาก ทุกข์ง่าย เพราะว่าได้เท่าไหร่ก็ไม่พอ การให้ ทำให้ได้ความสุขใจ เวลาเราให้ด้วยความเมตตาปรารถนาดี เห็นผู้รับ

มีความสุข เราก็พลอยมีความสุขด้วย รู้สึกปีติที่ได้ทำสิ่งที่มีประโยชน์ มีคุณค่า มีสามี ภรรยาคู่หนึ่งที่ประเทศแคนาดา ถูกลอตเตอรี่ ๑๑ ล้านดอลลาร์ (ประมาณ ๓๕๐ ล้าน บาท) แค่นี้ก็เป็นข่าวแล้ว แต่ที่เป็นข่าวใหญ่กว่านั้นคือ สามีภรรยาคู่นี้ซึ่งอายุประมาณ ๗๐ – ๘๐ ปี บริจาคเงินที่ได้ ๙๘ เปอร์เซ็นต์ให้โรงพยาบาล โรงเรียน โบสถ์ และ องค์กรการกุศล หน่วยงานที่ทำกิจกรรมสาธารณะ เช่น สถานีดับเพลิง (พนักงาน

ดับเพลิงในเมืองนอกจะได้รับความเคารพนับถือมาก) สามีภรรยาคู่นี้พูดเอาไว้ดีมาก

เขาบอกว่าเงินที่ได้มานี้ไม่มีความหมาย เพราะเราต่างมีกันและกัน มีแค่นี้ก็พอแล้ว เขา บอกว่ามีเงินมากๆ ทำให้ปวดหัว คอยกังวลว่าจะมีคนมาเอาเปรียบ หาประโยชน์ เพราะ ฉะนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการแจกไปหมด เก็บเอาไว้แค่ ๒ เปอร์เซ็นต์ เผื่อจะต้องใช้

ในยามลำบาก เพราะภรรยาก็เป็นมะเร็ง เงินที่ได้ก็นำไปให้โรงพยาบาลและสถาบันมะเร็ง ด้วย แกยังพูดอีกว่า เงินทำให้มีความสุข รู้สึกดีที่ได้แจกจ่ายเงินออกไป ได้ทำความดี หลายอย่างด้วยเงินก้อนนี้ ในขณะที่คนส่วนมากมีความสุขเพราะได้เสพ ได้บริโภคมากขึ้น แต่สามีภรรยา

คู่นี้มองตรงข้าม คือยอมรับว่าเงินทำให้มีความสุข แต่เป็นความสุขเพราะได้แจกออกไป แม้เงินจะซื้ออะไรได้หลายอย่าง แต่สามีภรรยาคู่นี้บอกว่าเงินไม่สามารถซื้อความสุขหรือ สุขภาพได้ มีความสุขต่อเมื่อได้บริจาคให้คนอื่น นี่เป็นตัวอย่างของความสุขที่เกิดจากการให้ เป็นความสุขที่เติมเต็มจิตใจ อย่าง ที่วัตถุสิ่งเสพให้ไม่ได้ ปีใหม่นี้ถ้าอยากมีความสุขใจ ก็อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว ควรเป็นผู้ให้ ด้วย แล้วความสุขจะตามมา นี้แหละคือพรแห่งชีวิตที่เราสามารถสร้างเองได้ โดย

ไม่ต้องขอจากใคร

พุ ท ธิ ก า

ฉบับที่ ๕๒ ปีที่ ๑๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๕๖

ปล่อยวาง ไม่วางเฉย

ปรารภบุญ

ถ้าไม่ปฏิรูปวงการสงฆ์ ระวังถึงจุดเสื่อม

๑๕

ตามหาสุขแท้กับเสกสรรค์ ประเสริฐกุล

๒๗

สนทนาค้นความหมายกับพระไพศาล วิสาโล สังคม พ่อแม่ มีบทบาทในการอ่านหนังสือ และเข้าถึงธรรมอย่างไร

๓๓

นิ่งได้ไม่หวั่นไหว

๓๖

๓๘

๔๐

๔๒


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

การที่นักศึกษาเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับพฤติกรรมของนาย ก. แสดงอย่าง ชัดเจนว่าในทัศนะของนักศึกษาเหล่านี้ คำสอนของพุทธศาสนาเป็นเรื่องของ การ “ทำจิต” เท่านั้น ดังนั้นเมื่อมีปัญหาอะไร สิ่งเดียวที่ทำได้คือ “ปล่อยวาง” ความคิ ด เห็ น ดั ง กล่ า วสะท้ อ นถึ ง ความเข้ า ใจที่ ค ลาดเคลื่ อ นเกี่ ย วกั บ

คำสอนในพุทธศาสนา ซึ่งแพร่หลายอยู่มากไม่เฉพาะนักศึกษากลุ่มนี้เท่านั้น แท้จริงแล้วพุทธศาสนาไม่ได้สอนแค่ “การทำจิต” เท่านั้น หากยังให้ความ สำคัญแก่ “การทำกิจ” ด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ เมื่อพระพุทธองค์

ทรงเตือนให้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ในด้านหนึ่งก็ทรงสอนให้ ปล่อยวาง ดังพุทธพจน์ที่เรารู้จักกันดี นั่นคือ “สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มี ความเกิดขึ้นและเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความสงบ วางแห่งสังขารเหล่านั้นเป็นสุข”

เช้าวันหนึ่ง นาย ก. อ่านคำสอน “สิ่งทั้งหลายทั้งปวง

ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ควรยึดถือเป็นตัวเราของเรา” หน้าหิ้งพระ รู้สึกปล่อยวางและเบาสบาย ก่อนออกจากบ้าน นาย ก. หยิบขยะ ไปทิ้ง และสังเกตเห็นว่าซอยข้างบ้านเต็มไปด้วยขยะที่คนใน ชุ ม ชนข้ า งซอยเอามากองทิ้ ง ไว้ บ่ า ยวั น นั้ น ฝนตก น้ ำ ชะขยะ

ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วบริเวณ นาย ก. เห็นเหตุการณ์นี้ครั้งแล้ว

ครั้งเล่า รู้สึกทุกข์ใจ และรำคาญใจกับสภาพและกลิ่นขยะใน ขณะเดียวกัน แต่นาย ก. ก็ตระหนักว่า “ความทุกข์เกิดขึ้นเมื่อ คุณไม่ปล่อยวางและยึดมั่นถือมั่น”

แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ทรงสอนให้หมั่นเพียรในการทำกิจ ดังตอนหนึ่งใน ปัจฉิมโอวาท “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจง บำเพ็ญกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท” พุทธพจน์ทั้งสองไม่ได้ขัดกันแต่เน้น “จริยธรรม” คนละด้าน ซึ่งเราพึง ปฏิบัติควบคู่กันไป เช่น เมื่อเรารู้ว่าสักวันหนึ่งเราต้องตาย เอาอะไรไปไม่ได้ แม้แต่น้อย ดังนั้นจึงต้องรู้จักปล่อยวาง หาไม่จะตายสงบได้ยาก แต่ขณะ เดียวกันเราก็ควรเร่งทำความดี หมั่นทำหน้าที่ให้แล้วเสร็จ ไม่เพิกเฉย หรือ ปล่อยให้ค้างคา เพราะเราอาจจะตายวันนี้วันพรุ่งก็ได้

วิจักขณ์ พานิช เคยออกข้อสอบวิชาพุทธศาสนาข้อหนึ่ง

มีข้อความข้างต้น โดยถามนักศึกษาว่าเห็นด้วยกับความคิดและ การกระทำของนาย ก. ว่า เป็นการตีความถูกต้อง “ตรงตาม พระคัมภีร์” หรือไม่ ปรากฏว่านักศึกษากว่าร้อยละ ๘๐ เห็นด้วย 4

5


ใช้มันอยู่และอยู่ในวิสัยที่ซ่อมได้ อย่างนี้แหละเรียกว่า วางเฉย หรือปล่อยปละ ละเลย ไม่ใช่ปล่อยวาง การปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของการทำจิต เพื่อไม่ให้ทุกข์ใจ แต่ไม่ได้ หมายความว่าไม่ควรทำอะไรมากกว่านั้นหากทำได้ เมื่อคนรักตายจากไป เรา

ไม่สามารถทำให้เขาฟื้นขึ้นมาได้ สิ่งที่เราทำได้ในกรณีนี้ก็คือ การทำจิต หรือ ปล่อยวางเท่านั้น แต่หากเราล้มป่วย นอกจากการทำจิต คือ ไม่บ่นโวยวายหรือ ตีโพยตีพาย หากแต่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือพิจารณาว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา แล้ว เรายังควรทำกิจด้วย คือ เยียวยารักษาร่างกายให้หายป่วย หรือถึงแม้

จะยังไม่ป่วย สุขภาพยังดีอยู่ ในด้านหนึ่งก็ควรเผื่อใจว่าอะไรก็ไม่เที่ยง จะได้

ไม่ทุกข์ใจเมื่อต้องล้มป่วย แต่พร้อมกันนั้นก็ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ ใส่ใจ ในคุณภาพของอาหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ล้มป่วยเร็วเกินไป ใครที่ ท ำใจอย่ า งเดี ย ว โดยไม่ ท ำกิ จ เลย ย่ อ มเรี ย กว่ า เป็ น อยู่ อ ย่ า ง

ไร้ปัญญา จริงอยู่กล่าวในทางปรมัตถ์แล้ว ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงสิ่ง

ที่ “หยิบยืม” มาใช้ชั่วคราว แต่ตราบใดที่มันยังอยู่ในการดูแลของเรา เราก็ มีหน้าที่ดูแลมันให้ดีที่สุด เช่นเดียวกับโทรศัพท์หรือรถยนต์ที่เราหยิบยืมมาจาก เพื่อน แม้มันไม่ใช่ของเรา เราก็ต้องดูแลรักษาให้ดี ใครที่ปล่อยปละละเลย เอาแต่ใช้แต่ไม่ดูแล ด้วยเหตุผลว่า มันไม่ใช่ของเรา ย่อมเรียกได้ว่าเป็นผู้ไร้ ความรับผิดชอบ เอาแต่ได้ ไม่น่าคบหาเลย

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชา สุภัทโท เดินผ่านกุฏิของพระรูปหนึ่ง ท่านสังเกต เห็ น หลั ง คาแหว่ ง ไปครึ่ ง หนึ่ ง เพราะถู ก พายุ ฝ นกระหน่ ำ แต่ พ ระรู ป นั้ น ไม่ ขวนขวายที่จะซ่อมหลังคาเลย ปล่อยให้ฝนรั่วอย่างนั้น ท่านจึงถามเหตุผลของ พระรูปนั้น คำตอบที่ได้ก็คือ ผมกำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่นครับ หลวงพ่อชา จึงตำหนิว่า นี่เป็นการทำโดยไม่ใช้หัวสมอง แทบไม่ต่างจากการวางเฉยของ ควายเลย ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของการทำจิตเพราะเข้าใจความจริงของชีวิตว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ จัดว่าเป็นวิถีแห่งปัญญา ส่วนวางเฉยหรือปล่อยปละละเลยนั้นเป็นความบกพร่องในการทำกิจเพราะ

ไม่เข้าใจว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ หรือเพราะสำคัญผิดว่าเป็นการทำจิต จึงไม่ใช่วิถีแห่งปัญญา

ผู้คนมักเข้าใจว่า ปล่อยวางหมายถึงวางเฉย หรือปล่อยปละละเลย นี้เป็น ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เกิดจากความสับสนระหว่าง “ทำจิต” กับ “ทำกิจ” ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของการทำจิต มุ่งแก้ความทุกข์ทางใจ แต่คนเราไม่ได้

มีแต่ความทุกข์ทางใจ เรายังมีความทุกข์ทางกาย ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ที่อยู่ รอบตัว ซึ่งต้องอาศัยการทำกิจควบคู่กับการทำจิต เช่น ถ้ารถเสียหรือหลังคา รั่วก็ต้องซ่อม ขณะเดียวกันก็ควรรักษาใจไม่ให้ทุกข์ ตรงนี้แหละที่การทำจิต

เข้ามามีบทบาท แต่ถ้ารถเสียหรือหลังคารั่วแล้วไม่ทำอะไรเลย ทั้งๆ ที่ยังต้อง

6

7


ดังนั้นเมื่อนาย ก. พบว่าซอยข้างบ้านเต็มไปด้วยขยะและส่งกลิ่นเหม็น จนรู้สึกรำคาญและทุกข์ใจนั้น การที่เขาทำใจปล่อยวาง (เช่น มีสติเห็นความ รู้สึกรำคาญ และปล่อยวางมัน ไม่ยึดติดถือมั่นจนเกิดตัวกูผู้รำคาญขึ้นมา) ย่อมช่วยให้ความทุกข์ใจบรรเทาเบาบางลง แต่ทำเพียงเท่านี้ยังไม่พอ เขาควร ตระหนักว่านี้เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ย่อมเป็นอันตรายต่อ สุขภาพไม่เฉพาะของตนเท่านั้น แม้จะไม่ห่วงตนเองแต่ก็ควรมีสำนึกในหน้าที่ ต่ อ ส่ ว นรวม อั น เป็ น วิ สั ย ของชาวพุ ท ธ ดั ง นั้ น เขาจึ ง ควรทำกิ จ ด้ ว ย นั่ น คื อ พยายามลดขยะในซอย เช่น แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาเก็บขยะ หรือชักชวนผู้คนให้ ทิ้งขยะเป็นที่ (อันที่จริง หากเขาทำใจปล่อยวางอย่างเดียว ก็ไม่ควรเอาขยะ

ของตนเองไปทิ้ง ควรทนอยู่กับขยะที่สุมกองอยู่ในบ้านต่อไป ถ้าทนกลิ่นเหม็น ของขยะในบ้ า นตนไม่ ไ ด้ แต่ ว างเฉยต่ อ ขยะที่ อ ยู่ น อกบ้ า น แสดงว่ า ไม่ ไ ด้

ปล่อยวางจริง แต่เป็นการปล่อยปละละเลยปัญหาของส่วนรวมมากกว่า) ทุกวันนี้ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยสนใจแต่ทำจิต แต่ไม่ทำกิจ จึงเกิดปัญหา มากมาย เช่น มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ก็ทำใจอย่างเดียว แต่ไม่คิดที่จะไป คุยหรือปรับความเข้าใจกัน ปัญหาจึงหมักหมมและลุกลาม จนทำใจไม่ไหว

ในที่สุดก็ระเบิดออกมาเป็นความรุนแรงทั้งวจีกรรมและมโนกรรม ไม่ใช่แต่ ปัญหาส่วนตัวเท่านั้นที่ลุกลาม ปัญหาส่วนรวมก็กำลังพอกพูนมากมาย ทั้ง มลภาวะ อาชญากรรม ความไม่เป็นธรรม คอรัปชั่น การเอาเปรียบเบียดเบียน ทั้งนี้ก็เพราะผู้คนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าพุทธศาสนาสอนให้ทำจิตเท่านั้น หรือ สับสนระหว่างการปล่อยวางกับการวางเฉย จึงเปิดช่องให้ความเห็นแก่ตัว ครอบงำจิตโดยคิดว่ากำลังทำตามคำสอนของพระพุทธองค์ ถ้าชาวพุทธในเมืองไทยรู้จักทำกิจควบคู่กับทำจิตอย่างถูกต้อง หรือ ตระหนักชัดว่าปล่อยวางไม่ได้หมายถึงวางเฉย คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น และสังคม จะสงบสุขมากกว่านี้อย่างแน่นอน 8

นิ ธิ เ อี ย ว ศ รี ว ง ศ์

สมั ย นี้ พู ด อะไรเกี่ ย วกั บ พระพุ ท ธศาสนา กลายเป็ น เครื่ อ ง ประกาศความเป็นคนดีของตัวเอง ผมจึงขอบอกไว้ก่อนว่า ที่จะพูด ต่อไปนี้เป็นคำพูดของปุถุชนคนบาปครับ ทีวีช่องหนึ่ง ตั้งปัญหาในรายการข่าวว่า การไปทำบุญในวัน สำคัญทางศาสนา แล้วถ่ายรูปส่งข่าวให้เพื่อนๆ ออนไลน์รู้ว่าตัวไป ทำบุญ เพื่อนๆ ก็กดไลค์กลับมาเพื่ออนุโมทนา ถามว่าการอนุโมทนา เช่ น นี้ ไ ด้ บุ ญ หรื อ ไม่ อย่ า งน้ อ ยในบุ ญ กิ ริ ย าวั ต ถุ ก็ มี เ รื่ อ ง “ปั ต ติ ทานมัย” ซึ่งท่านแปลว่าเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น และ “ปัตตานุโมทนามัย” ซึ่งท่านแปลว่ายินดีในความดีของผู้อื่น ผมคิ ด ว่ า เป็ น คำถามที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ความสั บ สนในเรื่ อ ง “บุญ” ของชาวพุทธในปัจจุบันได้ดี เพราะหากเข้าใจแล้ว คำถามนี้

ก็ไม่ต้องถามแต่แรก 9


หนึ่งในคำแปลของคำว่า “บุญ” ก็คือ การกระทำที่ชำระจิตใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ถามว่าสะอาดบริสุทธิ์จากอะไร ตอบอย่างสรุปก็คือสะอาดบริสุทธิ์จาก ความเห็นแก่ตัว หรือยึดมั่นถือมั่นในตัว (เพราะนี่คือความไม่สะอาดที่จรมา จับใจที่เป็นประภัสสรของเรา) ฉะนั้น หากกดไลค์ด้วยใจที่ยินดีกับการทำดีของ ผู้อื่น หรือด้วยใจที่ยินดีว่าสิ่งดีๆ ในโลก (คือพระศาสนา) จะดำรงอยู่ต่อไปเพื่อ ประโยชน์สุขของผู้อื่น คือไม่ได้คิดถึงตนเอง แต่คิดถึง “ผู้อื่น” อย่างแคบๆ เฉพาะบุคคล หรืออย่างกว้างคือมวลสรรพสัตว์ทั้งหมดก็ตาม ย่อมเป็นบุญ อย่างไม่ต้องสงสัย ตรงกันข้าม หากกดไลค์ เพื่อเอาใจเพื่อน เพราะกลัวเขา จะโกรธเรา หรือกดเพื่อทำให้

ผู้อื่นเห็นว่าตัวเป็นคนดีมีธรรมะ จะได้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น ก็ ไม่ได้บุญ แต่อาจได้เพื่อน สรุปก็คือทำอะไรแล้วจะ ได้ บุ ญ หรื อ ไม่ ไม่ ไ ด้ อ ยู่ ที่ ก าร กระทำ แต่อยู่ที่ใจของผู้ทำว่า ทำด้วยทัศนคติอย่างไร ตรงกับ ความเห็นของผู้ทำบุญท่านหนึ่งซึ่งทีวีไปสัมภาษณ์ แล้วตอบว่า กดไลค์ด้วยจิต

ที่ เ ป็ น กุ ศ ลหรื อ อกุ ศ ลเล่ า หากเป็ น กุ ศ ลย่ อ มได้ บุ ญ เป็ น ธรรมดา (ผู้ รู้ ท าง

พุทธศาสนาท่านหนึ่ง เคยบอกผมว่า ทั้งหมดของพุทธศาสนาคือเรื่องทัศนคติ หรือท่าทีต่อชีวิต) แล้วทีวีก็ไปถามพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านก็ตอบว่าได้บุญเพราะตรงกับ

คำบาลีว่าอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ได้บุญไม่เท่ากับการไปทำบุญเอง (ที่วัดกระมัง เพราะคำถามเริ่มต้นจากการไปทำบุญที่วัด) แต่ท่านไม่ได้พูดเรื่องใจเลย 10

อันที่จริงเราสามารถทำบุญตามคติพระพุทธศาสนาได้ทุกวัน และทุก เวลานาทีด้วยซ้ำ โดยไม่ต้องไปวัดเลยก็ได้ ขับรถด้วยความสำนึกถึงประโยชน์ ตนประโยชน์ท่านให้พร้อม จะจอดรถให้คนอื่นออกจากซอยได้ ก็ต้องดูหลังว่า คันหลังเขาจะจอดทันไหม ดูหน้าว่าเป็นจังหวะให้รถวิ่ง หรือถึงแล่นไปก็ติด

ข้างหน้าเห็นๆ อยู่ เพราะสิทธิบนถนนไม่ใช่ของเราคนเดียว ที่จะเที่ยวยกให้ใคร ได้ตามใจชอบ ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง เพราะลดความเห็นแก่ตัวลงได้ ซ้ำยัง ต้องทำบุญโดยใช้สติและปัญญาด้วย ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า อะไรเกิดขึ้นกับตัวไม่ว่าดีหรือร้าย ย่อมตั้งสติรำลึกพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไว้ให้มั่น จนมองเห็นว่าโลกก็เป็นเช่นนี้เอง นับเป็นการ ทำบุญยิ่งใหญ่ เพราะความยึดมั่นถือมั่นย่อมลดลงเป็นธรรมดา และฝึกให้รู้

เท่าทันความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตไปพร้อมกัน (นี่ก็เป็นการทำบุญที่

ยิ่งใหญ่มาก โดยไม่ต้องไปวัดเลย) คำตอบของพระภิกษุเกี่ยวกับเรื่องบุญในทีวีที่กล่าวข้างต้น จึงสะท้อน อะไรสองอย่างที่น่าวิตกในพุทธศาสนาไทยปัจจุบัน ประการแรก เรื่องของจิตใจหรือทัศนคติดูเหมือนจะหายไปจากองค์กรที่ เป็นทางการของพุทธศาสนาเสียแล้ว และนี่คือส่วนหนึ่งของคำอธิบายการ ทำบุญทางวัตถุกันอย่าง “บ้าคลั่ง” ที่เป็นปรากฏการณ์ทางศาสนาในปัจจุบัน งานวิจัยของอาจารย์ที่นิด้าชิ้นหนึ่งบอกว่า ในบรรดาวัดกว่าสามหมื่นของไทย นั้น มีรายได้จากการทำบุญถึงปีละประมาณ ๑๒๐ ล้านบาท (รวมกันกว่า ๓๖๐,๐๐๐ ล้านบาท) วัดจึงมักใหญ่และแพงกว่าโรงเรียน, โรงพยาบาล, ระบบชลประทาน, ระบบขจัดขยะ ฯลฯ ท้องถิ่น จะแปลกใจทำไมว่า มีภิกษุบางรูปฉ้อฉลคดโกงเงินบริจาคเหล่านี้ไป

เป็นประโยชน์ส่วนตัว และจะแปลกใจทำไมที่วัดต่างๆ พากันสร้างสิ่งก่อสร้าง นานาชนิดเพื่อ “บอกบุญ” ชาวบ้านอยู่เป็นประจำ 11


มีคำอธิบายที่มองการ “ทำบุญ” กันอย่างมโหฬารเช่นนี้ในฝ่ายทายก ทายิกาว่า ความสัมพันธ์หลักในระบบทุนนิยมคือการซื้อขายแลกเปลี่ยนซึ่งต้อง ผ่านเงิน ความสัมพันธ์กับศาสนาก็หนีไม่พ้นรูปแบบดังกล่าว ผู้คนเลือกรูปแบบ ความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยมซึ่งเขาเคยชินไปใช้กับศาสนา ข้อนี้จะจริงเท็จอย่างไรก็ตาม แต่ผมคิดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้น ไม่ได้ หรือเกิดในอาณาบริเวณกว้างขวางเท่านี้ไม่ได้ หากทางฝ่ายสงฆ์เอง

ไม่ละเลยมิติด้านจิตใจของพระพุทธศาสนา จะออกเงินสร้างพระแก้วมรกต จำลองไปทำไม ถ้าไม่ทำให้ความเห็นแก่ตัวของผู้บริจาคลดลง (จนถึงที่สุดจะ สร้างพระแก้วมรกตจำลองไปทำไม) ประการที่สอง คำสอนของพระพุทธศาสนาในประเทศไทยขาดมิติทาง สังคม (ยกเว้นเรื่องเดียวคือเพื่อยกย่องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์) มิติทาง สังคมของการทำบุญจึงไม่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “คนอื่น” ในความหมายถึง สังคมในวงกว้าง หรือมวลมนุษยชาติ อันที่จริงมิติทางสังคมนั้นเป็นหลักสำคัญ อย่างหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า (“ชนเหล่าใดปลูกสวน ปลูกป่า สร้าง สะพาน จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงามทั้งคืนทั้งวัน...”) ส่วนนี้ในศาสนาแบบไทยแต่ก่อน ฝากไว้กับ ความเชื่อเรื่องผีเป็นส่วนใหญ่ ครั้นรัฐกล่อมให้เราเลิกนับถือผี พระพุทธศาสนา ก็ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า มาแทนที่ หรื อ แทนที่ อ ย่ า งฉลาด คื อ ต้ อ งปรั บ ให้ เ ข้ า กั บ ความ เปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย (ควรกล่าวไว้ด้วยว่า ก่อนการปฏิรูปคณะสงฆ์ใน ร.๕ วัดไม่เคยผูกขาดความเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางศาสนาของคนไทยมาก่อน) ผมคิดว่าสองเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ใหญ่กว่าพระนั่งเจ็ตส่วนตัว หรือสวม แว่นกันแดดราคาแพง หรือนอนกับผู้หญิง และฉ้อโกง แต่มันใหญ่เสียจนไม่มี ใครรับผิดชอบ สำนักงานพระพุทธศาสนาเห็นว่าอยู่พ้นอำนาจหน้าที่ของตน เพราะตัวมีหน้าที่เพียงเป็นไวยาวัจกรของคณะสงฆ์เท่านั้น มหาเถรสมาคมก็ไม่ 12

คิดว่าตนมีอำนาจหน้าที่เหมือนกัน ก็ไม่มีอะไร ผิดวินัยนี่ครับ ผิดเมื่อไรค่อยว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป แต่เรื่องมันใหญ่กว่าพระรูปนั้นรูปนี้ประพฤติ ล่วงพระวินัย หากเป็นเรื่องของคุณค่าและความหมายของพระพุทธศาสนาใน สังคมสมัยใหม่ ซึ่งนั่งท่องแต่คุณสมบัติของพุทธธรรมว่า “อกาลิโก” อย่าง เดียว ไม่แก้ปัญหาอะไร พระปรมัตถธรรมอาจเป็นอกาลิโก แม้กระนั้นก็ยังต้องมีการตีความให้ เข้ากับยุคสมัยอยู่นั่นเอง เล่นหุ้นอย่างไรจึงจะไม่ลืมพระไตรลักษณ์ ทำบุญ อย่างไรจึงจะได้ชำระล้างจิตใจให้สะอาด (จากตัวตน) เจตนาเลี่ยงภาษีให้ไม่

ผิ ด กฎหมายเป็ น อทิ น นาทานหรื อ ไม่ ถื อ หุ้ น ในบริ ษั ท ชำแหละเนื้ อ สั ต ว์ เ ป็ น ปาณาติบาตหรือไม่ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนต้องการการตีความจากผู้รู้ซึ่งส่วนหนึ่ง

คงเป็นนักบวชในพระศาสนา คิดดูก็แปลกดี มหาเถรสมาคมนั้นเพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในสยามตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๔๕ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นหัวหอกในการ “ปฏิรูป” ศาสนา และเป้าหมายของการ “ปฏิรูป” ก็คือ ผนวกเอาพระสงฆ์สยามทั้งหมด ไว้ภายใต้การกำกับของสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม แม้กระนั้นก็มีผลกระทบ ต่อการตีความหลักธรรมคำสอนอย่างมาก เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปถึง บัดนี้ ศักยภาพในการนำเพื่อตีความของมหาเถรสมาคมได้เสื่อมสลายไปหมด แล้ว เมื่อองค์กรทางศาสนาไม่ทำงานที่สำคัญอย่างนี้ จึงเป็นธรรมดาที่ผู้คน พากันไปแสวงหาธรรมะจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะสำนักปฏิบัติธรรมของพระ ภิกษุและฆราวาส ความทุกข์ของโลกทุนนิยมมันเปลี่ยนไป ต่างคนต่างต้องการ คำตอบให้แก่ความทุกข์เฉพาะหน้าของตน จึงเป็นธรรมดาที่สำนักทั้งหลายย่อม เน้นการแก้ทุกข์ระดับปัจเจกเป็นสำคัญ ละเลยมิติด้านสังคมเหมือนเดิม 13


ส ำ นั ก ข่ า ว อิ ส ร า

คนชั้นกลางระดับบนอาจไปสำนักที่สอนวิปัสสนากรรมฐาน คนชั้นกลาง ระดับกลางอาจเดินทางไปแสวงบุญในอินเดีย (ซึ่งถูกเรียกอย่างน่าอัศจรรย์ว่า “พุทธภูมิ”) คนชั้นกลางระดับล่างอาจทำบุญเก้าวัด หรือนมัสการอัฐิหลวงพ่อ หลวงปู่ต่างๆ ซึ่งได้รับการตัดสินจากฆราวาสว่าเป็นพระ “อรหันต์” ทั้งหมดนี้ คือการ “ปฏิบัติธรรม” ทั้งนั้น แตกต่างตามนิสัยปัจจัยของผู้ทำบุญ การจัดองค์กรทางศาสนาเวลานี้ จัดการได้แต่ปัญหาเล็ก แต่จัดการกับ ปัญหาใหญ่ไม่ได้ ซ้ำยังจัดการปัญหาเล็กสายเกินไปทุกที ถึงเวลาแล้วที่ควร

หันกลับมาทบทวนการจัดองค์กรพุทธศาสนากันใหม่ ไม่แต่เพียงการปกครอง คณะสงฆ์เท่านั้น แต่คิดทบทวนตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับรัฐ และ ศาสนากับสังคม ให้เหมาะกับสภาพที่เป็นจริง มีปัญหาสำคัญๆ ที่ควรถกเถียงกันหลายประเด็น นับตั้งแต่เราควรแยก ศาสนาออกจากรัฐให้เด็ดขาดไปหรือไม่ แต่รัฐจะต้องปฏิบัติต่อศาสนาและ องค์กรศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน จะคืนวัดให้กลับมาเป็นของประชาชนและอยู่ ภายใต้การกำกับของประชาชนได้อย่างไร การจัดองค์กรในพระพุทธศาสนา

อาจมีได้หลายรูปแบบ และดังนั้นจึงปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมได้เสมอ (อันที่จริงเวลานี้ก็เป็นอยู่แล้ว หากคิดถึงสันติอโศกและธรรมกาย แต่เป็น เสรีภาพที่ไม่ได้ประกันไว้แก่ “สำนัก” อื่นๆ ทั้งหมด ที่ไม่มีพลังทางการเมือง และ/หรื อ ทรั พ ย์ เ ท่ า สองสำนั ก นี้ ) ทำอย่ า งไรสั ง คมจึ ง มี พ ลั ง พอจะควบคุ ม องค์กรศาสนาได้จริง ความเป็นเถรวาทนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ และนักบวชใน พระพุทธศาสนาไทยมีเสรีภาพที่จะไม่เป็นเถรวาทได้หรือไม่ จะเชื่ อ มโยงการศึ ก ษาทางโลกและทางธรรมให้ ไ ด้ ผ ลอย่ า งไร จะมี นักบวชหลายระดับที่ทำหน้าที่ต่อสังคมแตกต่างกันได้หรือไม่ และอย่างไร ฯลฯ 14

กรณีอื้อฉาว “หลวงปู่เณรคำ” แฝงตัวในผ้าเหลืองหาประโยชน์และ พฤติกรรมอื้อฉาว พระหลายรูปมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สร้างความเสื่อม ศรัทธาไม่น้อย สำนักข่าวอิสราขอสัมภาษณ์ “พระไพศาล วิสาโล” ในการ

มองปัญหาของวงการผ้าเหลืองและทางออกต่อวิกฤตนี้

มองปัญหาเณรคำอย่างไร พฤติกรรมอย่างเณรคำเกิดขึ้นมาโดยตลอดกับวงการพระในเมืองไทย

ในช่วง ๒๐ ปีที่ผ่านมา แต่ที่น่าสนใจ คือทำไมถึงปล่อยให้มีความผิดเกิดขึ้น

เนิ่นนานอย่างนั้น อีกทั้งมีการแห่แหน เชิดชูสักการะอย่างมาก ทั้งที่ไม่ได้มี

คุณวิเศษใดๆ ปรากฏให้เห็น แม้กระทั่งคำสอนก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น นอกจาก การพูดถึงคุณวิเศษของตน 15


อาตมาคิดว่า พฤติกรรมของเณรคำไม่ได้พิเศษอะไร แต่ที่เด่นดังมีผู้คน นับถือมากมายส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีการใช้สื่อต่างๆ ไปในทางที่ปั่นคุณวิเศษ

ไม่ต่างจากการปั่นหุ้น มีการปั่นบารมีหรือคุณวิเศษของเณรคำขึ้นมาให้กลาย เป็นพระอรหันต์ เรื่องนี้อาจเป็นเพราะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องมาก เลย ทำให้คนอย่างเณรคำกลายเป็นพระอรหันต์ได้ภายในช่วงเวลาไม่กี่ปีทั้งที่ อายุ

ก็ยังน้อย และทั้งที่มีพฤติกรรมน่าเคลือบแคลงมากมาย แต่ก็มีการปิดงำ ไม่ให้ คนล่วงรู้ หรือที่ล่วงรู้ก็ปล่อยเลยตามเลย เรื่องนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของคณะสงฆ์ในเชิงโครงสร้าง แต่ก่อน เรามักจะมองว่า นี่เป็นปัญหาตัวบุคคล แต่ที่ผ่านมามีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น

เยอะมาก ถึงแม้ส่วนใหญ่จะไม่เด่นดังเท่าเณรคำ หรือไม่มีวิธีการที่อุกอาจอย่าง เณรคำ ก็เลยไม่เป็นข่าวเท่าไร แต่เมื่อมันมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้ว

ซ้ำเล่า มันก็ฟ้องอยู่ในตัวว่า นี่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่เฉพาะของคณะ สงฆ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์กับฆราวาส คือ ฆราวาสก็ปล่อยปละละเลย ให้มีพระอลัชชีเกิดขึ้นมากมาย เห็นได้ชัดว่าบุคคลที่แวดล้อมได้ผลประโยชน์จากเณรคำ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เณรคำมี พ ฤติ ก รรมอย่ า งไร แม้ ก ระทั่ ง ชาวบ้ า นหลายคนก็ รู้ ถึ ง แม้ จ ะไม่ มี

ผลประโยชน์ เช่น พอผู้สื่อข่าวไปสัมภาษณ์เรื่องเณรคำ ชาวบ้านหลายคนก็ บอกว่า รู้พฤติกรรมของเขามานานแล้ว แต่ไม่อยากพูดถึง แสดงว่า มีการ ปล่อยปละละเลย อาจเป็นเพราะกลัวอิทธิพลของเณรคำด้วย ปัญหาเหล่านี้ ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ แม้จะจับเณรคำสึกได้ ก็จะมีปัญหา ตามมาอีก เพราะคณะสงฆ์ไม่ตื่นตัวที่จะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนก็อาจถูกใช้เพื่อสร้างกระแสให้เกิดมีพระอรหันต์หรือผู้วิเศษคนใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน

16

ศาสนากับบริโภคนิยมเกี่ยวข้องกันอย่างมาก หลายคนเข้าหาศาสนา เพราะหวังประโยชน์จากศาสนา ไม่ใช่ประโยชน์ในเชิงธรรมะ แต่เป็นประโยชน์ ในเชิงวัตถุ เช่น อยากร่ำรวย มีโชคลาภ บุคคลอย่างเณรคำก็รู้ดีว่า คนเข้ามา ทำบุญเพราะอะไร จึงสนองกิเลสคนเหล่านั้นด้วยการให้คำมั่นสัญญา หรือ

สร้างความหวังให้คนเหล่านั้น ปลุกกระแสเพื่อสร้างบารมีให้คนแห่แหนเข้ามา

กราบไหว้และทำบุญกับตัวเองมากขึ้น เพราะอยากได้ผลประโยชน์ อยากร่ำรวย มีโชคลาภ อันที่จริงความต้องการแบบนี้เป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่ปัจจุบัน

มีมากขึ้น เพราะระบบบริโภคนิยมมีอิทธิพลต่อผู้คนมาก อีกทั้งศาสนาก็ไป

ส่งเสริมกิเลสส่วนนี้ด้วย บุญกลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ทำให้เกิดตลาดบุญ ซึ่งเป็นตลาดที่มีเงิน หมุนเวียนจำนวนมาก ไม่ต่างจากตลาดหุ้น หรือตลาดสินค้าชนิดอื่นๆ มีการ

ปั่นราคา โฆษณาชวนเชื่อ เก็งกำไร เป็นตลาดที่ถูกขับเคลื่อนด้วยความโลภ

นี่เป็นปรากฏการณ์อย่างใหม่ในยุคนี้ที่แตกต่างจากสมัยก่อน

ความแตกต่างของ “ตลาดบุญ” สมัยนี้กับสมัยก่อน เป็นอย่างไร สมัยก่อนไม่มีตลาดบุญ บุญไม่ใช่สินค้าที่มาเสนอขายหรือโฆษณาอย่าง เอิกเกริกให้คนซื้อ หวังความร่ำรวย ความมั่งมี เดี๋ยวนี้บุญกลายเป็นสินค้า

ชนิดหนึ่ง โฆษณาว่า ถ้าคุณทำบุญกับฉัน คุณจะร่ำรวย วัดพระธรรมกาย ประสบความสำเร็จมากที่ทำให้บุญกลายเป็นสินค้า คือยิ่งบุญราคาแพงมาก เท่าไร ก็เชื่อว่าจะมีอานิสงส์มากเท่านั้น เหมือนสินค้าจะเป็นของดีก็ต้องราคา แพง เช่น หลุยส์วิตตอง ราคาเป็นหมื่นเป็นแสน ใครซื้อก็ภูมิใจว่า ได้ของดี

มีคุณภาพ ถ้าเป็นของราคาถูก ก็รู้สึกว่าไม่มีคุณภาพ

17


ทุกวันนี้บุญก็ถูกนำเสนอในลักษณะเดียวกัน ใช้ หลักการตลาด กระตุ้นให้คนมาซื้อบุญมากมาย มีการ ออกบุญตัวใหม่ๆ และโฆษณาว่าบุญตัวนี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ให้มาซื้อบุญตัวนี้ เรื่องแบบนี้สมัยก่อนไม่มี หรืออย่างน้อย ก็ไม่มีถึงขนาดนี้

ลักษณะของพระอย่างเณรคำมีอีกเยอะไหมในวงการสงฆ์ มีมาตลอดโดยเฉพาะช่วง ๒๐-๓๐ ปีที่ผ่านมา มีพระมากมายที่ทำตัว เป็นผู้วิเศษและมีความร่ำรวยจากการเร่ขายบุญในลักษณะต่างๆ มีการสร้างบุญ ตัวใหม่ๆ หรือ gimmick ใหม่ขึ้นมา เช่น จตุคามรามเทพ พระพิฆเนศ

พระราหู ชูชก นี่คือการเสนอสินค้าตัวใหม่ๆ เพื่อให้คนมาบริโภค เป็นการ

ซื้อความหวังว่า ถ้าคุณทำบุญกับฉันแล้ว คุณจะรวย แคล้วคลาดจากอันตราย นี้คือการตลาดในวงการศาสนาที่เห็นทั่วไป ทุกวันนี้มีวิธีการต่างๆ มากมายในการโปรโมทบุญ แต่ก็หนีไม่พ้นการ

อ้างตัวเป็นผู้วิเศษหรือมีคุณวิเศษ เช่น เป็นพระอรหันต์ เป็นช่องทางให้ร่ำรวย ได้ง่าย สิ่งที่ตามมาคืออิทธิพลในทางโลก เช่น มีเส้นสายกับ ตำรวจ ทหาร

มีเส้นสายกับพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ทำให้ได้รับการปกป้อง หรือได้รับการเลื่อน สมณศั ก ดิ์ แล้ ว ก็ ส ามารถใช้ อิ ท ธิ พ ลเหล่ า นั้ น ขยายผลประโยชน์ ข องตั ว เอง

มากขึ้นเรื่อยๆ หรือข่มขู่ผู้อื่น ใครฟ้องร้องหรือขัดผลประโยชน์ของเขา ก็จะถูก เล่นงานกลับ เราจะได้ยินข่าวทำนองนี้อยู่เรื่อยๆ แต่ว่าเป็นข่าวแค่ ๑-๒ วันแล้ว ก็หายไปไม่ดังเหมือนเณรคำ ซึ่งมีสานุศิษย์เยอะ ร่ำรวย แล้วยังมีพฤติกรรมที่ โจ่งแจ้ง เช่น โชว์ความร่ำรวยของตนจนเกินเลย มีรถหรูราคาหลายสิบล้าน เดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ทส่วนตัว แถมยังมีพฤติกรรมที่ล่อแหลมมาก อันนี้

นับว่าโดดเด่นกว่าพระรูปอื่น แต่โดยเนื้อหาสาระแล้ว ก็ไม่ได้แตกต่างจากกรณี อื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นมา

18

กรณีเณรคำ ธรรมกายก็อีกแบบหนึ่ง ปัญหาที่มากขึ้น ซับซ้อนขึ้น กิเลสมากขึ้น สะท้อนอะไร สะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึ ง ความผิ ด พลาด ความบกพร่ อ งใน วงการศาสนาและวงการสงฆ์ ข องไทย คื อ ถ้ า ไม่ มี ค วาม

ผิดพลาดมากขนาดนี้ คนอย่างเณรคำจะเกิดขึ้นได้ยาก อย่าง น้อยเขาก็จะไม่ถลำตัวทำสิ่งผิดพลาดมากมายขนาดนี้ อาจจะ ถูกสกัดตั้งแต่ ๖-๗ ปีที่แล้วก็ได้ แต่เนื่องจากไม่มีใครสกัดหรือขัดขวางเขา ปล่อยให้ สร้างเส้นสายทั้งในวงการสงฆ์ และวงการตำรวจ ทหาร ทำให้ เณรคำเกิดความเหิมเกริม ชะล่าใจ ทำสิ่งที่อุกอาจ เพราะไม่มี ใครค้าน ไม่มีใครทักท้วงตักเตือน มีแต่คนไปอวยด้วย ก็เลย ทำสิ่งที่อุกอาจมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่แค่การฉ้อโกง แต่ถึงขั้น ปาราชิก และผิดกฎหมายบ้านเมือง หลายเรื่องก็ไม่มีการ ปกปิดหรือเม้มเลย เช่น ภาพถ่ายต่างๆ ที่เป็นข่าว ก็ล้วนแต่ เอามาจากเว็บไซต์ของเณรคำและลูกศิษย์ทั้งนั้น เขาไม่เห็นว่า เป็นสิ่งที่ผิดต่อสมณสารูปเลย เช่น ภาพเที่ยวห้าง หรือว่า ทำท่าแอบแบ๊วตามสถานที่ต่างๆ ภาพเหล่านี้ไม่ใช่ภาพแอบถ่าย แต่เป็นลูกศิษย์ถ่ายแล้วเอาขึ้นเว็บไซต์ตัวเอง โดยที่ไม่รู้สึก สะดุ้งสะเทือนว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แสดงว่าตัวเองมีเกราะ ป้องกัน หรือไม่ก็เพราะไม่รู้สึกนี่เป็นสิ่งผิด นั่นแปลว่า คงทำ เป็นอาจิณ และมีคนเออออห่อหมกด้วย เลยทำเป็นประจำ นี่ไม่ใช่ปัญหาของคณะสงฆ์ แต่เป็นปัญหาของชาวพุทธ ไทยด้วย

19


บริโภคนิยม สิ่งยั่วยวนแพร่เข้าไปถึงกุฎิ เพราะเดี๋ยวนี้พระมีโทรศัพท์มือถือ

อินเตอร์เนต โทรทัศน์ ดีวีดี ดังนั้น ถ้าพระไม่ฝึกจิตภาวนา จิตใจก็จะถูก

กามราคะครอบงำได้ง่าย แล้วอาจลืมตัวจนกระทั่งขาดจากความเป็นพระไป

นี่เป็นประเด็นใหญ่ๆ สองประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาคณะสงฆ์ คือโครงสร้าง

การปกครองที่รวมศูนย์และอิงรัฐมาก อีกทั้งย่อหย่อนในเรื่องการศึกษา ทำให้ คณะสงฆ์อ่อนแอมาก

ความผิดพลาดของระบบเกิดจากอะไร สงฆ์ หรือ ฆราวาส ถ้าพูดถึงปัญหาโครงสร้างของสงฆ์ไทยเวลานี้ มีสองเรื่องใหญ่ๆ คือ ปั ญ หาการปกครองคณะสงฆ์ และปั ญ หาการศึ ก ษาคณะสงฆ์ ปั ญ หาการ ปกครองคณะสงฆ์ เช่น มีการรวมศูนย์เข้าสู่ส่วนกลางมาไว้ที่ มหาเถรสมาคม ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างคณะสงฆ์กับรัฐ ที่ใกล้ชิดเกินไป การไม่มีระบบ

กลั่นกรองและกล่อมเกลา ใครจะเข้ามาบวชก็บวชได้ อันนี้ที่จริงยังไม่เป็น

ปัญหามากเท่าไร ถ้าวัดมีการกล่อมเกลาที่ดี ก็ไม่เกิดปัญหามาก ข้อนี้โยงมาถึง ปัญหาการศึกษาของคณะสงฆ์ที่อ่อนแอมาก พระไม่มีความรู้ในทางธรรม และ ไม่มีแรงจูงใจที่จะศึกษาธรรม ตอนนี้การศึกษาของคณะสงฆ์เรียกได้ว่าล้มเหลว ไม่ว่าระบบนักธรรมหรือบาลี การทุจริตในการสอบมีเยอะมาก เพราะพระเณร ไม่มีแรงจูงใจที่จะเรียน คือไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม ฉะนั้น ผลสอบจึงตกกันเยอะ มาก นี่เป็นปัญหาที่มีมานานและไม่มีการพูดถึงกันเลย ความรู้ในทางธรรมะก็ไม่ค่อยมี เนื่องจากใช้วิธีท่องจำเอา การที่จะมา ประยุกต์ใช้กับตัวเอง หรือใช้สอนญาติโยมก็ไม่สามารถทำได้ นอกจากนั้น

การศึกษาของสงฆ์ก็ไม่ให้ความสำคัญกับการฝึกจิตภาวนา ฝึกกรรมฐาน พระ สมัยก่อน ไม่ว่าบวชระยะสั้นหรือระยะยาว ก็ต้องได้ฝึกจิตภาวนา อย่างน้อยก็มี การฝึกเรื่องวินัยและการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย ถ้ามีการฝึกจิตภาวนา จิตจะมี ภูมิคุ้มกันต่อกามราคะหรือ สิ่งยั่วยุทางกามซึ่งปัจจุบันมีมาก เพราะยุคนี้เป็นยุค 20

ทีนี้ยังมีปัญหาอีกอย่างคือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์กับฆราวาสที่ เหินห่างกัน สมัยก่อน พระมีความสัมพันธ์กับรัฐ และกับชุมชนพอดีกัน คือ

ใกล้ชิดกับชุมชนแต่เหินห่างจากรัฐ แต่ตอนหลังโดยเฉพาะนับแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา คณะสงฆ์ใกล้ชิดกับรัฐมาก แต่เหินห่างกับสังคมและประชาชน ฉะนั้น การตรวจสอบ ควบคุม โดยประชาชน จึงมีน้อยลง พระไม่ค่อยตระหนัก ว่าตนเป็นพระของชาวบ้าน แต่เป็นพระของระบบราชการที่เรียกว่าราชการคณะ สงฆ์ หรือเป็นพระของรัฐ พระกลายเป็นข้าราชการกลายๆ เพราะว่าถูกครอบ ด้วยระบบราชการ คราวนี้เมื่อพระถูกครอบด้วยระบบราชการ ก็จะไม่รู้สึกว่า ตัวเองเป็นพระของชาวบ้าน สนใจแต่การตอบสนองคำสั่งของมหาเถรสมาคม หรือนโยบายของรัฐ มากกว่าสนใจความเป็นไปของชุมชนรอบวัด ตอนหลังพระก็สนใจเรื่องการวิ่งเต้นต่อเส้นสายกับผู้ปกครองคณะสงฆ์ เพื่อการเลื่อนสมณศักดิ์ และไม่ค่อยสนใจปัญหาชาวบ้าน ยิ่งรูปไหนมีเส้นสาย

ที่ดี ได้รับการปกป้องจากเจ้าคณะ ก็สามารถทำอะไรก็ได้ โดยที่ชาวบ้านทำ

อะไรไม่ได้หรือไม่กล้าแตะต้อง เปิดช่องให้พระที่ทำตัวผิดวินัย หรือไม่คำนึงถึง โลกวัชชะ มีเพิ่มขึ้น พระหลายรูปมีความร่ำรวยมากขึ้น หรือมีความสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องกับ ญาติโยม แม้มีเมีย มีลูกก็ยังลอยนวลอยู่ได้ เพราะชาวบ้านไม่สนใจ หรือถ้า

ชาวบ้านสนใจ ก็ไม่สามารถทำอะไรกับพระเหล่านั้นได้ ไม่เหมือนสมัยก่อน

ชาวบ้านจะรวมตัวกันขับไล่และจับสึกเลย

21


เราควรปฏิรูปอย่างไร เพื่อแก้ปัญหาการรวมศูนย์ที่ของมหาเถรสมาคม การกระจายอำนาจออกจากมหาเถรสมาคม เป็นเรื่องเร่งด่วน โดยต้อง กระจายให้พระสงฆ์ในพื้นที่ดูแลกิจการคณะสงฆ์ของเขาเอง คือตอนนี้การ ปกครองของคณะสงฆ์ใช้วิธีการเดียวกับการปกครองในสมัย ร.๕ คือ รวมศูนย์ แบบมณฑลเทศาภิบาล กล่าวคือ ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ไปปกครองตาม มณฑลต่างๆ ซึ่งปัจจุบันก็เปลี่ยนเป็นการส่งผู้ว่าราชการจังหวัดจากส่วนกลางไป แต่ของคณะสงฆ์ยังล้าหลังกว่านั้น คือแทบจะไม่ต่างจากสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ เจ้าคณะภาคอยู่ในกรุงเทพฯ มีอำนาจเหนือเจ้าคณะจังหวัด ความจริงควรมีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น รวมทั้งมีการ จัดตั้งสภาสงฆ์ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ทำงานร่วมกับเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ซึ่งก็ควรมีการ ทำงานในรูปกรรมการมากกว่าที่ทำแบบรวมศูนย์ที่ตัวบุคคล ขณะเดียวกันควรให้ฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมดูแลความเป็นไปของคณะ สงฆ์ในทุกระดับ เช่น มีสภาชาวพุทธในระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับ อำเภอ ไปจนถึงระดับตำบล เพื่อดูแลเอาใจใส่เรื่องต่างๆ ของพระ เช่น การ ประพฤติปฏิบัติของพระ การศึกษา ความเป็นอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นตื่นตัว เรื่องการความเป็นไปของคณะสงฆ์ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐหรือสำนัก พุทธศาสนาแห่งชาติเท่านั้น จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการกระจายอำนาจจากมหาเถรสมาคมออก ไป ไม่ใช่มารวมศูนย์อยู่ที่พระ ๒๐-๓๐ รูป ซึ่งแต่ละรูปก็อายุ ๗๐ ปีขึ้นไป

ท่านเหล่านี้แทบไม่มีกำลัง ทำอะไรแล้ว นอกจากไปแสดงธรรม หรือเปิดป้าย

22

ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามทำให้คณะสงฆ์อิงรัฐน้อยลง โดยเฉพาะใน ช่วงร้อยปีมานี้ คณะสงฆ์อิงรัฐมาก อันนี้เป็นผลจากการที่รัชกาลที่ ๕ ปฏิรูป

การปกครองคณะสงฆ์ เป็นการรวมศูนย์มาอยู่ที่พระองค์ ในบางช่วง รัชกาลที่ ๕ มีบทบาทเหมือนสังฆราชอยู่ถึง ๑๑ ปี โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา เท่านั้น ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เกิดเอกภาพในคณะสงฆ์ แต่ทุกวันนี้โครงสร้างแบบนี้ ไม่สามารถทำให้เกิดเอกภาพได้แล้ว การรวมศู น ย์ นั้ น ละเลยการมี ส่ ว นร่ ว ม ของท้องถิ่น ทั้งพระและชาวบ้าน อีกทั้งทำให้ คณะสงฆ์ เ หิ น ห่ า งหรื อ ตั ด ขาดจากชุ ม ชน

เพราะไปอิ ง กั บ รั ฐ มาก ก็ เ ลยไม่ คิ ด ที่ จ ะพึ่ ง ตนเอง เมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็รอแต่ว่า เมื่อ ไหร่รัฐจะยื่นมือมาแก้ไข นอกจากนั้นคณะสงฆ์ ก็ยังพึ่งพางบประมาณจากรัฐ และพึ่งพาอำนาจ รัฐในการจัดการกับพระที่ผิดวินัย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่พระควรจัดการกันเอง แต่ คณะสงฆ์กลับเรียกหาอำนาจจากรัฐเข้ามาจัดการเรื่องภายในของคณะสงฆ์ สมัยก่อนมีอะไรเกิดขึ้นกับพระ คนก็นึกถึงอธิบดีกรมศาสนา ตอนนี้ก็เรียกร้อง ให้สำนักพุทธศาสนามาจัดการกับเณรคำ ทั้งที่เรื่องแบบนี้พระต้องเป็นผู้ริเริ่ม จัดการแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยให้ตำรวจหรือฝ่ายบ้านเมืองเข้ามาจัดการ

ใครต้องเป็นผู้ปฏิรูป

สมัยก่อน ผู้ปฏิรูปที่สำคัญคือพระมหากษัตริย์ เป็นสมัยราชาธิปไตยหรือ ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ยุคปัจจุบันหน้าที่นี้ควรเป็นของรัฐบาล แต่เราก็ หวังไม่ได้ และที่จริงก็ไม่ควรเป็นเช่นนั้นด้วย เพราะรัฐบาลก็อาจทำเพื่อผล ทางการเมืองของตนมากกว่าเพื่อประโยชน์ของพระศาสนา ดังนั้นการปฏิรูปควร มาจากคณะสงฆ์ 23


แต่คณะสงฆ์ในเมืองไทยมีประวัติการปฏิรูปตัวเองน้อยมาก ยกเว้นสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่ง เป็นโอรสรัชกาลที่ ๔ และเป็นอนุชารัชกาลที่ ๕ ในอดีตที่ผ่านมา เรา มีแต่การปฏิรูปคณะสงฆ์จากชายขอบ คือจากพระที่ไม่อยู่ในศูนย์กลาง อำนาจ ถ้าเป็นสมัยนี้ ก็ได้แก่ท่านอาจารย์พุทธทาส รวมไปถึงสันติอโศก แต่ตอนนี้การปฏิรูปจากชายขอบดูจะเกิดขึ้นได้ยาก ภาระจึงมาอยู่ที่ สังคมหรือประชาชน เราก็ได้แต่หวังว่าประชาชนจะตื่นตัวและผลักดัน ให้มีการปฏิรูป แต่ประชาชนก็มีความเข้าใจในปัญหาคณะสงฆ์น้อย ตกลงตอนนี้จึงอยู่ในสภาพที่ยังหาเจ้าภาพไม่ได้

ตอนนี้ก็มีคนเรียกร้องให้ยกเลิก พรบ. สงฆ์ ฉบับปัจจุบัน ก็เป็นประเด็น ที่น่าถกเถียงกันว่า ถ้ายกเลิก พรบ. สงฆ์ ซึ่งหมายความว่า รัฐจะหมดบทบาท ในการเป็นผู้คุ้มครองคณะสงฆ์ ซึ่งหมายความว่าคณะสงฆ์ก็ต้องพึ่งตัวเองแล้ว หรือหันมาพึ่งพิงประชาชนมากขึ้น เงื่อนไขแบบนี้ผลักดันให้คณะสงฆ์ต้องปฏิรูป ตัวเอง ไม่เช่นนั้นก็จะขาดการสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันก็จะมี องค์กรสงฆ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อดึงดูด ศรัทธาญาติโยม พูดง่ายๆ คือมีคู่แข่ง

มากขึ้น เพราะถ้าเลิก พรบ. สงฆ์ฉบับปัจจุบัน ก็หมายความว่าความเป็นคณะ สงฆ์ไทยที่ถูกผูกขาดโดยองค์กรสงฆ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ก็จะหมดไป อันนี้ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย

เจ้าภาพจริงๆ คือคณะสงฆ์ แต่คณะสงฆ์อ่อนแอ อีกทั้งผู้นำ

ก็ยังได้รับประโยชน์จากโครงสร้างที่เป็นอยู่แล้วเขาจะปฏิรูปทำไม ยัง ไม่ต้องพูดถึงความขัดแย้งในวงการสงฆ์เองเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว มีความ พยายามปฏิรูปมหาเถรสมาคมแต่ก็ถูกต่อต้านจากพระสงฆ์ด้วยกัน

จนกระทั่งรัฐบาลต้องเอาแผนปฏิรูป หรือ ร่าง พรบ. สงฆ์ฉบับแก้ไข เก็บใส่ลิ้นชักไป

นี่เป็นประเด็นที่ต้องมาถกเถียงกันว่า การเปิดเสรีทางศาสนา จะมีผลดี ผลเสียอย่างไร ผลดีก็มีไม่น้อย เหมือนกับช่วงสิบปีที่แล้ว ที่รัฐบาลเปิดเสรีทาง เศรษฐกิจ มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำไมถึงทำเช่นนั้น ก็มีเหตุผลว่า ถ้า รั ฐ วิ ส าหกิ จ ยั ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากรั ฐ เช่ น มี อ ำนาจผู ก ขาดก็ จ ะทำให้ รัฐวิสาหกิจขาดทุนไม่หยุดหย่อน เพราะไม่ยอมเติบโตเสียที เนื่องจากไม่ต้อง แข่งกับใคร ดังนั้นจึงมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อไปแข่งขันกับธุรกิจอื่นๆ ใน ตลาดเสรี อันนี้ ก็เป็นวิธีที่ทำให้ธุรกิจหรือกิจการที่เคยเป็นรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น ต้องหันมาปฏิรูปตัวเอง เรื่องนี้ก็มีข้อดีข้อเสียอย่างที่เห็นอยู่ น่าคิดว่าถ้าเอา แนวคิดนี้มาใช้กับวงการสงฆ์ จะช่วยให้คณะสงฆ์มีการปฏิรูปมากน้อยเพียงใด

ถ้าปฏิรูปไม่ได้จะเกิดอะไร ก็จะเกิดระส่ำระสาย จนกลายเป็นภาวะอนาธิปไตยในวงการ สงฆ์มากขึ้น เช่น มีพระที่ทำตัวผิดธรรมวินัยมากขึ้น หรือมีเจ้าลัทธิ ต่างๆ เกิดขึ้น ขณะเดียวกันด้านดีก็มีอยู่ คือพระที่ต้องการปฏิรูป ก็ สามารถทำงานได้มากขึ้น หรืออาจแยกเป็นเอกเทศอย่างกลายๆ เพื่อ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งสันติอโศกก็พยายามทำ ตอนหลังก็มีภิกษุณีเกิด มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายในเรื่องการนับถือศาสนา

แน่นอนว่าการเปิดเสรีแบบนี้ก็จะทำให้มีองค์กรใหม่ๆ เกิดขึ้น จนอาจมา มี บ ทบาทแทนคณะสงฆ์ ที่ เ ป็ น อยู่ ใ นปั จ จุ บั น ก็ ไ ด้ อย่ า งไรก็ ต ามเปิ ด เสรี ท าง ศาสนาที่ว่า ไม่ใช้หมายถึงการเปิดแบบไม่มีกฎเกณฑ์ ควรมีกฎหมายที่มาดูแล ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งส่งเสริมให้พระสงฆ์ปกครองกันเอง ด้วย โดยไม่ต้องพึ่งรัฐ องค์กรใหม่ๆ ที่จะมามีบทบาทแทนคณะสงฆ์ที่เป็นอยู่นั้น มีทั้งข้อดี

ข้อเสีย เช่น ถ้าเปิดเสรีทางศาสนา เครือข่ายวัดพระธรรมกายก็จะโดดเด่น

24

25


เ ค รื อ ข่ า ย พุ ท ธิ ก า

ขึ้นมาเลยเพราะทุกวันนี้ธรรมกายเป็น องค์กรในคณะสงฆ์ที่เข้มแข็งมาก จัดการ อย่างเป็นระบบ มีพระในสังกัดมากมาย มีทั้งเงินและญาติโยมที่อุปถัมภ์อย่าง แน่นหนามั่นคง ซึ่งถ้าคณะสงฆ์พังครืนเมื่อไร ธรรมกายก็จะเข้ามาแทนที่ อันนี้ เป็นแนวโน้มที่น่าห่วง เพราะการสอนของธรรมกายในพุทธศาสนานั้นผิดเพี้ยน ไปจากหลักธรรมอยู่มาก

คำถามดังๆ ต่อวงการสงฆ์ขณะนี้คืออะไร จะต้องมีการปฏิรูปอย่างจริงจังได้แล้ว การที่มีปัญหาพระสงฆ์เกิดขึ้น

วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า มันฟ้องให้เห็นว่า คณะสงฆ์อ่อนแอเต็มที่ และ เป็นการอ่อนแอที่เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่เรื่องตัวบุคคล ถ้าไม่ปฏิรูปโครงสร้าง ทั้งเรื่องการปกครอง และการศึกษา คณะสงฆ์ก็ จะมีความหมายน้อยลงต่อสังคมไทย สุดท้ายก็ทำให้เกิดความเสื่อมศรัทธาใน พระพุทธศาสนา เปิดช่องให้เกิดภาวะอนาธิปไตยในวงการศาสนา คือจะมีกลุ่ม สงฆ์ กลุ่มนักบวชต่างๆ เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่ดีและไม่ดี และนี่จะ ทำให้ความสับสน และความเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายโครงสร้างอย่างนี้ก็จะกลายเป็นตัวทำลายศาสนาพุทธเสียเอง ดังนั้นจะ ไปโทษ มุสลิม หรือคริสต์ ว่า บ่อนทำลายศาสนาพุทธไม่ได้ เพราะเป็นชาวพุทธ ด้วยกันเองที่ไม่ใส่ใจในการปฏิรูปเพื่อทำให้คณะสงฆ์เป็นเสาหลักด้านศาสนาได้ ปัญหาความเสื่อมของศาสนานั้นมันเกิดจากปัจจัยภายในทั้งสิ้น ปัจจัย ภายนอกเป็นแค่ปัจจัยรอง กรุงศรีอยุธยาแตก เพราะมันแตกสามัคคี จากความ ปั่นป่วนข้างใน ไม่ใช่พม่ามีอานุภาพมากกว่า เมื่อดูความเสื่อมสลายของศาสนา อาณาจักร ในหลายประเทศก็เกิดจากปัจจัยภายในทั้งสิ้น ความเละเทะข้างใน ฉะนั้น ถ้าเราไม่ตระหนักตรงนี้ไม่รีบปฏิรูปเพื่อให้ปัจจัยภายในเข้มแข็ง มิเช่นนั้น ก็จะเสื่อมสลายในที่สุด 26

..สังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จากสังคมโบราณกระโดดมา เป็นสังคมทุนนิยมสมัยใหม่ จากทุนนิยมท้องถิ่นกลายเป็นทุนโลกาภิวัตน์ ในเวลาไม่กี่ปี สภาพเช่นนี้ได้ส่งผลกระทบต่อจิตวิญญาณคนมหาศาล เพราะทุนนิยมเป็นระบบที่มุ่งหาผลประโยชน์ส่วนตัวอย่างไร้ขอบเขต ส่วน สังคมโบราณกลับเน้นเรื่องขอบเขตของประโยชน์ส่วนตัว มีทั้งขอบเขตทาง ศีลธรรมและขอบเขตทางวัฒนธรรม ที่สอนกันมาคนโบราณมีความรัก เพื่อนพี่น้องอีกทั้งยังกลัวบาปกลัวกรรม ถ้าใครบังเอิญมั่งมีขึ้นมาก็ถูกสอน ให้รู้จักแบ่งปัน ถูกสอนให้ดูแลชุมชน อะไรทำนองนั้น สิ่งเหล่านี้มันเป็น อุปสรรคของการหาผลประโยชน์ส่วนตัว จนมาถึงโลกของทุนนิยมเมื่อถึง จุดหนึ่ง ระบบทุนนิยมจะเร่งยกเลิกศีลธรรม คุณธรรมทั้งปวงที่สอนกันมา แต่โบราณ เพื่อไม่ให้มันเป็นอุปสรรคต่อการบริโภค การเอากำไรสูงสุด พูดง่ายๆ ไม่ให้เป็นสิ่งกีดขวางการขยายตัวของระบบทุน 27


28

เขาไม่ ไ ด้ ม าบอกตรงๆ ให้ ย กเลิ ก

คุณธรรมดั้งเดิม แต่จะออกมาในรูปปรัชญา ใหม่ หลักการใหม่ ทฤษฎีใหม่ทางสังคมเช่น ลัทธิปัจเจกชนนิยม ลัทธิเสรีนิยมใหม่ หรือ แม้แต่แนวคิดโพสต์โมเดิร์น แนวคิดเหล่านี้ อธิ บ ายความยื ด หยุ่ น ทางศี ล ธรรมมากขึ้ น เรื่อยๆ กระทั่งในที่สุดก็หลุดไปเลย สภาพ เช่นนี้ การเป็นลูกผู้ชายที่ซื่อสัตย์ จริงใจ รักษาสัจวาจา รักเพื่อนพ้อง รวมทั้งไม่ก้ม ให้กับสิ่งที่ผิด กลายเป็นความล้าหลังในทัศนะของกระแสหลัก

ผมเคยเขี ย นเรื่ อ ง “ผู้ ช ายที่ ก ำลั ง จะสู ญ พั น ธ์ุ ” ความจริ ง ไม่ ใ ช่

ตามไม่ทันเขาแต่มันขัดแย้งกันโดยตรง บุคลิกภาพอย่างผมมัน

เข้ากันไม่ได้กับระบบที่แข่งขันเอารัดเอาเปรียบ เพราะเราเชื่อเรื่อง ความสมถะสำรวม เชื่อเรื่องแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มันจึง

เกิดสภาพที่เรารู้สึกถูกกดดันและถูกตามล่าตามล้างเหมือนที่ผม เขียนไว้ในเรื่อง “คนกับเสือ” ไม่ว่าเราจะอยู่ตรงไหน มันเหมือน

กับว่าเราไม่เคยพบกับการต้อนรับที่ดี เข้ากับเขาไม่ได้

ช่ ว งหลั ง ปี ๒๕๔๐ เศรษฐกิ จ ไทยอยู่ ใ นสภาวะฟองสบู่ แ ตก สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ไม่น้อย ไอเอ็มเอฟกดดันให้เปิดประเทศ เสรี ทั่ ว ด้ า น ขณะเดี ย วกั น ก็ มี รั ฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ใหม่ เ ปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ ทั้ ง การเมืองภาคประชาชนและกลุ่มทุนใหญ่เข้ามากุมอำนาจ พูดกันสั้นๆ คือ เป็นจังหวะที่สังคมไทย อาจจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ถ้ารู้จัก เรียนรู้จากวิกฤตที่เกิดขึ้น

เมื่ อ ๑๐ ปี ที่ แ ล้ ว ผมเขี ย นงานประเภทนี้ ไ ว้ ม าก ยุ ค เศรษฐกิจฟองสบู่ระหว่างทศวรรษ ๒๕๓๐ กว่าๆ ถึง ๒๕๔๐ ผม รู้สึกแปลกแยก โดดเดี่ยวมาก คิดอะไรไม่เหมือนเพื่อนพ้องคน

รอบข้าง ช่วงนั้นผมเข้าป่าออกทะเลตลอดในเมื่ออยู่กับคนอื่นไม่ได้ ต้องหลีกเร้นไปปลีกวิเวก งานเขียนชิ้นที่ผมใส่คำถามไว้มากที่สุด อาจจะอยู่ในหนังสือชื่อ “เพลงเอกภพ” ประมาณปี ๒๕๓๕ – ๓๖ และ “คนกับเสือ” ในปี ๒๕๓๙ ทั้งหมดนี้เป็นงานเชิงความคิด เป็นคำถามต่อสังคมที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ทุนนิยมแบบสุดขั้ว และ เป็นคำถามต่อความหมายของชีวิตตัวเองในโลกแบบนี้ด้วย

โดยส่วนตัวช่วงนั้นผมรู้สึกเหนื่อยล้าอย่างยิ่ง แม้ยังมีมิตรสหาย กดดันผมให้ไปนำกลุ่ม ป x ป (ประชาธิปไตยเพื่อประชาชน) ผมแทบ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องบ้านเมืองเลย การเผชิญความทุกข์อันเนื่อง มาจากการคิ ด ต่ า งจากกระแสหลั ก การยื น ต้ า นสั ง คม ในมิ ติ ท าง วัฒนธรรมและจิตวิญญาณมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นำพาผมมาถึงจุด ที่หมดแรง กระทั่งนำไปสู่ชีวิตส่วนตัวที่ล้มเหลว หลัง ๒๕๔๐ ไม่นาน ผมกับภรรยาได้แยกทางเดินกัน แม้เราจะไม่ได้โกรธเกลียดกัน เรา เปลี่ยนความสัมพันธ์มาเป็นเพื่อน แต่มันก็สั่นคลอนความรู้สึกนึกคิด ของผมอย่างถึงราก 29


ตอนนั้นผมเริ่มเข้าสู่วัย ๕๐ กว่าแล้ว ผมต้องถามตัวเองว่ายืนต้าน กระแสหลักในสังคมแบบที่ผ่านมาแล้วสะสมความเจ็บปวดขมขื่นต่อไปหรือควร เปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมเสียใหม่เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ มันมีหนทางไหนบ้าง

ที่เราไม่ต้องทุกข์ทรมานขนาดนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ เราไม่เห็นด้วย ช่วงนั้นผมได้ลงลึกเข้าไปสำรวจวิจารณ์ตัวเองอย่างเอาเป็น เอาตาย ในที่สุดผมพบว่ามันอาจจะมีอะไรไม่ถูกในวิธีคิดของผมเอง กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง ที่ผ่านมา ผมยึดถือในการต่อสู้และมองโลกเป็นความ

ขั ด แย้ ง มากเกิ น ไปซึ่ ง ทางธรรมะเขาเรี ย กว่ า ทวิ นิ ย ม (Dualism) คื อ เห็ น ว่ า

ทุกอย่างดำรงอยู่เป็นคู่ มีดีมีชั่ว มีขาวมีดำ แล้วก็ไปยืนเลือกข้างใดข้างหนึ่ง

อยู่ตลอดเวลา ต่อสู้กันมากมันก็เหนื่อยมาก ตัวผมเองทั้งถูกทำร้ายและทำร้าย ผู้อื่นมาอย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง ผมเริ่มมองเห็นว่าอะไรหลายๆ อย่างที่ผมยึดถือเป็นเรื่อง ที่ผมคิดไปเอง เป็นอัตวิสัย ที่โลกเขายังไม่พร้อมที่จะเห็นด้วย เราพยายามเอา ตัวเองไปบังคับโลก เมื่อไม่ได้ดังใจก็ผิดหวังเศร้าโศก แล้วยังโดนเขาตอบโต้

มาแรงๆ กระทั่งคนใกล้ตัวคนใกล้ชิดเขาก็ปฏิเสธสภาพแบบนี้ เพราะฉะนั้น

เหตุแห่งทุกข์ จึงอยู่ในอัตตาของเราเองด้วยไม่ว่าจะเรียกมันว่าอุดมคติหรือ อุดมการณ์อะไรก็ตาม

การวิจารณ์ตัวเองในลักษณะนี้ได้พาผมย้ายความคิดจากทาง โลกมาสู่ทางธรรมมากขึ้นแบบรู้ตัวบ้างไม่รู้ตัวบ้าง แต่นั้นยังไม่มีผล เปลี่ยนแปลงผมเท่ากับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นระยะนั้น ประสบการณ์ดังกล่าวมีพลังมากกว่าเหตุผลและความคิดใดๆ พูดให้ชัดขึ้นก็คือ ความที่เจ็บปวดกับชีวิตมาก ผมจึงพลัดหลง เข้าไปสู่อนัตตาหรือสภาวะว่างตัวตนโดยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ผมขอใช้ คำว่าพลัดหลง เพราะไม่อยากให้เข้าใจผิดว่ามาอวดอ้างอะไร ตอนนั้น พอทนเจ็บไม่ไหวผมเลยพานเลิกคิดว่าผมเป็นใคร เมื่อไม่เป็นใครก็เลิก มีความต้องการใดๆ ไปด้วย ผมเลิกคิดว่าตัวเองเป็นใคร เพราะความ

มีตัวตนมันผูกติดอยู่กับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นบาดแผลของชีวิต อันที่จริง ผมไม่เพียงหยุดคิดเรื่องอดีตเท่านั้น แม้แต่อนาคตก็ไม่คิดถึง เนื่องจาก ทุกอย่างที่เคยคิดว่าเป็นชีวิตของเรามันพังพินาศไปหมดแล้ว นอกจากนี้ ผมก็ไม่ได้แชร์ความคิดเรื่องอนาคตกับใครอีกต่อไป บวกรวมแล้วผม เลยกลายเป็นคนที่อยู่กับปัจจุบันขณะไปโดยไม่ได้ตั้งใจ อยู่ทีละนาที อยู่ทีละห้วงขณะ โดยไม่รู้ตัว ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ การเลิกคิดว่าตัวเอง เป็นใครก็ดี กับการเลิกอยู่กับอดีตกับอนาคต แล้วอยู่กับปัจจุบันก็ดี ผมมารู้ทีหลังว่ามันคือการทำสมาธินั่นเอง ในตอนแรกผมทำสิ่งนี้ไปเพื่อหาทางดับทุกข์ด้วยตัวเอง โดย ไม่ มี ท ฤษฎี ใ ดชี้ น ำ แต่ ท ำแล้ ว รู้ สึ ก ว่ า มั น ช่ ว ยให้ อ ยู่ ร อดในช่ ว งที่ เ รา

อาจจะอยู่ไม่รอด ก็เลยยึดไว้เป็นแนวทาง พอไม่คิดว่าตัวเองเป็นใคร

30

31


บ ก. อั พ เ ด ท

ความรู้สึกทุกข์ร้อนมันหายไปมาก ข้อแรก ไม่เดือดร้อนว่าคนอื่นจะมองเรา อย่างไร ข้อสอง ไม่มีความเห็นว่าโลกและชีวิตควรเป็นอย่างไร เราไม่มีข้อ

เรียกร้องทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น เช่นเดียวกับการที่เราไม่เอาอดีตมากลุ้มและเอา อนาคตมากังวล มันทำให้เราไม่มีสิ่งที่ผิดหวัง ไม่มีสิ่งที่เสียใจ ผมทำอย่างนี้อยู่ พักใหญ่ ทีแรกก็เหมือนกับหลอกตัวเองด้วยการปิดกั้นความทุกข์โศกไม่ให้มัน เข้ามาคิด แต่พอทำไปมากขึ้น ปรากฏว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตขึ้นมา

โดยไม่ ค าดฝั น คื อ ตื่ น ขึ้ น มาวั น หนึ่ ง ผมรู้ สึ ก มี ค วามสุ ข อย่ า งไม่ มี เ หตุ มี ผ ล

เป็นความสุขที่มาจากข้างใน อยู่ในตัวผม เป็นความปลื้มปีติที่ไม่เกี่ยวกับโลก ภายนอกเลย เรื่องราวทุกข์โศกที่เคยมีดูเหมือนมลายไป จากนั้นความรู้สึกที่มีต่อโลกรอบๆ ตัวก็เปลี่ยนไปด้วย ผมเริ่มไปนับญาติ กับต้นไม้ จิ้งจก นก หนู กระรอกที่อยู่ในบริเวณที่พักอาศัย พูดกับพวกเขา เหมือนกับคนด้วยกัน จิ้งจกตกไปในโถส้วมก็คอยช่วย มดขึ้นชามอาหารที่ผม

ให้หมา ก็เคาะให้มันออก ไม่เอาน้ำราด มันรู้สึกขึ้นมาเองว่าไม่อยากทำร้าย

ชีวิตใดๆ แปลกใจตัวเองมาก เดิมเป็นคนที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ทำบาปไว้มาก วันดี คืนดีพบตัวเองมีจิตใจแบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่ามาได้อย่างไร ที่สำคัญ ในความ เบิกบานจากข้างในนี้ ผมเลิกรู้สึกพ่ายแพ้ขมขื่นกับชีวิตโดยสิ้นเชิง ผมไม่รู้สึกว่า ตั ว เองมี อ ะไรที่ น่ า สงสาร ไม่ ทุ ก ข์ ร้ อ นที่ เ คยแพ้ ส งครามปฏิ วั ติ ห รื อ มี ปั ญ หา

ส่วนตัวอะไรทั้งสิ้น เป็นครั้งแรกที่ผมมองอดีตของตัวเองได้ทุกเรื่องด้วยความ รู้สึกนิ่งเฉย ..ชีวิตที่ทุกข์สุขขึ้นอยู่กับมุมมองมาก บ่อยครั้งเรามักเอาความคิดสารพัด มาปรุงแต่งจนรกรุงรังไปหมด กระทั่งหาแก่นแท้ไม่เจอ บางคนยึดติดเงื่อนไข ภายนอก มุ่งหาวัตถุ การยอมรับชื่นชมจากคนอื่น ส่วนผมไม่ยึดถือวัตถุมาก เท่ากับยึดติดในอุดมคติต่างๆ จนทำให้เกิดอารมณ์ทางลบสูงมาก ต้านทุกอย่าง ที่ไม่เป็นไปตามคิด ผูกตัวเองไว้กับตัวความคิดแล้วหลงความคิด จิตใจจึงมีแต่ ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน ทะเลาะเบาะแว้ง ทุกข์ร้อนอยู่ตลอดเวลา ผมดีใจที่หลุดจาก

ตรงนั้นได้ 32

ต อ น ที่

สังคม พ่อแม่มีบทบาทในการอ่านหนังสือ และการเข้าถึงธรรมของวัยรุ่นอย่างไร

บทสัมภาษณ์นี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารอัพเดต ฉบับเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑.... ทางเราเห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจที่ยังคงตอบสังคม ปัจจุบัน โดยแบ่งการนำเสนอทั้งสิ้น ๕ ตอน.. ..ทีมงาน บก.จดหมายข่าวพุทธิกา

33


Update

ในฐานะที่ท่านคลุกคลีอยู่กับงานหนังสือมามาก คิดว่าการอ่าน หนังสือของบ้านเราเป็นอย่างไร พระไพศาล : ก็ดูเหมือนว่าไม่ค่อยพัฒนาขึ้นเท่าไหร่ แล้วคู่แข่งก็เยอะขึ้น พวกสื่อมัลติมีเดียก็ดึงคนไปเยอะเลย ก็อาจจะเป็นเหมือนต่างประเทศ อย่าง

ในอเมริกา พอสื่อเหล่านี้เข้ามา คนก็อ่านหนังสือน้อยลงมาก แต่ของเขายังมี ทางเลือก มีหนังสือหลากหลายมาก ของไทยลำบาก ทางเลือกน้อยและไม่ค่อย หลากหลาย แต่ส่วนหนึ่งมันเป็นวัฒนธรรมที่สะสมมาว่าเราให้คุณค่ากับความ คิดความอ่านแค่ไหน แล้วส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของการฝึกให้เด็กรู้จักคิด ถ้าเขา รู้จักคิดเขาก็จะเห็นว่าหนังสือนี้เป็นแหล่งความรู้ให้ข้อมูลได้ แล้วจะมีความสุข กับการใช้ความคิด การค้นคว้า ถ้าเราไม่มีความสุขกับเรื่องนี้ หนังสือก็จะกลาย เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ยกเว้นหนังสือการ์ตูนที่เพลินๆ แต่การ์ตูนก็สู้พวกมัลติมีเดีย ไม่ได้ เพราะหนังสือไม่เคลื่อนไหว ถึงเด็กยุคใหม่จะสนใจคอมพิวเตอร์มาก็จะ เป็นในเชิงบันเทิงมากกว่าการแสวงหาความรู้ เช่น พวกเกม ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็จะ สนใจพวกพิลึกพิสดารไปเลย การอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้นก็จริงแต่ยังน้อยอยู่ U p d a t e คิดว่าพ่อแม่ควรจะอบรมลูกอย่างไรในเรื่องนี้ พระไพศาล : พ่อแม่ต้องมีเวลา แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่มีก็เลยทดแทนลูก โดยการให้เงิน หรือหาวิดีโอเกมให้ ต้องมีเวลาให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ เอาการ์ตูน เอานิยายภาพ มาสอนเด็กตั้งแต่ขวบสองขวบ ถ้าทำอย่างนี้เด็กก็จะมีนิสัย

รักการอ่าน แต่ถ้าปล่อยเด็กตามใจชอบ เขาก็จะเข้าหาโทรทัศน์ บางทีพ่อแม่

ก็ชอบ เพราะเด็กจะได้ไม่วุ่นวาย ไม่ซน 34

Update

แล้วสำหรับวัยรุ่นปัจจุบันนี่ท่านคิดว่าเขาห่างเหิน จากธรรมะมากขึ้นหรือไม่ พระไพศาล : อาตมาคิดว่าจำนวนคนที่ห่างเหินหรือ สนใจธรรมะจะเพิ่มขึ้นพอๆ กัน แต่ก็ไม่รู้ว่าสัดส่วนเท่าไหร่ แต่ ถ้าดูภาพรวมแล้วก็ดูเหมือนว่าผู้ที่สนใจธรรมะจะมีน้อย แต่ก็มี เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสมัยก่อน หนังสือธรรมะก็ยังเป็นหนังสือที่ ขายได้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผู้ใหญ่อ่าน แต่ส่วนหนึ่งก็คิดว่าวัยรุ่นเริ่ม สนใจด้วย อาตมาคิดว่ามีความเคลื่อนไหวในส่วนนี้แต่ก็ยังถือว่า ไม่พอเพียง ส่วนหนึ่งเพราะเขาไม่เข้าใจว่าธรรมะนี่โยงเข้ากับ ชี วิ ต ของเขาได้ อ ย่ า งไร ส่ ว นหนึ่ ง คื อ เด็ ก ก็ ไ ม่ ค่ อ ยมี เ วลาคิ ด เพราะมี สิ่ ง เร้ า เป็ น วั ต ถุ เ ข้ า มาเสนอสนองมาก หนั ง สื อ พิ ม พ์

ฉบับหนึ่งเคยสัมภาษณ์ว่า อะไรที่จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจใน ตนเอง เขาก็จะนึกถึงสเก็ตบอร์ดหรือรองเท้ายี่ห้อดัง คือนึกถึง แต่เรื่องการมีวัตถุ ซึ่งสมัยอาตมาตอนเด็กๆ เวลาพูดถึงว่าอะไร ทำให้เราไม่อาย เรามักจะนึกถึงว่า ถ้าเราไม่ทำความชั่วเราจะ

ไม่อาย แต่เดี๋ยวนี้เขาคิดแต่เรื่องการมี มีอะไรบ้างที่ทำให้เขา

ไม่อาย เขาให้ความสำคัญกับการมีมากกว่าการเป็น คุณค่าของ ตั ว เองอยู่ ที่ ว่ า มี อ ะไร ไม่ ไ ด้ อ ยู่ ที่ เ ป็ น อะไร เป็ น คนดี หรื อ

ขยันหมั่นเพียรแค่ไหน ซึ่งมันก็กลายเป็นเรื่องวัตถุไปเต็มที่เลย ส่วนหนึ่งก็เพราะมีวัตถุมาเสนอสนองเยอะมาก แต่ส่วนหนึ่ง

ก็ เ ป็ น เพราะเศรษฐกิ จ บู ม ได้ อ ะไรมาง่ า ยๆ พ่ อ แม่ ไ ม่ มี เ วลา

ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะหาเงิน 35


พ ร ะ ไ พ ศ า ล วิ ส า โ ล

เน่าเปื่อย ตอนนั้นไม่มีความคิดจะโต้ตอบกลับเลย ยืนนิ่งให้พระรูปนั้น ฟาดกระหน่ำ แทนที่จะโกรธ ท่านกลับมองดูจีวรของท่านที่ชุ่มเลือด

แล้วนึกในใจว่า “เออ ดีเหมือนกัน เอาเลือดเราออก จะได้ล้างธรณีสงฆ์”

ก่ อ นอุ ป สมบท หลวงพ่ อ ประสิ ท ธิ์ ถาวโร อดี ต เจ้ า อาวาส

วัดถ้ำยายปริก เกาะสีชัง จ.ชลบุรี เคยเป็นชาวนาชาวไร่ ต่อมาได้ผันตัว มาเป็นพ่อค้า มีร้านเล็กๆ อยู่ที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เมื่ออายุได้ ๓๘ ปี ชะตาชีวิตก็พลิกผัน วันหนึ่งเกิดลุแก่โทสะ ขาดสติถึงกับฆ่าภรรยา

ตายคามือ เนื่องจากระแวงว่าเธอจ้างคนมาฆ่า เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ท่านถูกตัดสินจำคุก ๑๒ ปี หลังจากพ้นโทษท่านได้ตัดสินใจออกบวช และครองเพศบรรพชิตจนวาระสุดท้ายของชีวิต ชีวิตของท่านเป็นชีวิตที่โลดโผน มิใช่แต่ตอนเป็นฆราวาสเท่านั้น แม้ครองเพศสมณะแล้ว ก็ยังมีเหตุการณ์ร้ายๆ หลายอย่างเกิดขึ้นกับ ท่านอย่างที่พระน้อยรูปจะได้รับ เช่น ถูกนักเลงท้องถิ่นรังควาน ทั้งด่าว่า และกลั่นแกล้ง ต่างๆ นานา เพราะอยากได้ที่ดินวัด แต่สิ่งที่เปลี่ยนไป จากเดิม คือท่านมีความสงบนิ่งเพราะมีสติมั่นคง ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่ง ที่มากระทบ แม้บางครั้งจะต้องเจอสิ่งที่สร้างความทุกขเวทนาให้อย่าง มาก ท่ า นเล่ า ว่ า คราวหนึ่ ง ถู ก “พระนั ก เลง” ทำร้ า ยร่ า งกายด้ ว ย

ไม้หน้าสาม ก่อนจะตีพระรูปนั้นถามว่า “ท่านแน่หรือ” ท่านไม่อยาก

มีเรื่องจึงตอบไปว่า “ผมไม่แน่” ขนาดยอมถึงอย่างนั้น พระรูปนั้น

ก็ยังเอาไม้หน้าสามมาตีท่านอย่างแรง แต่ท่านมีสติตามทัน ทันทีที่

ถูกไม้ฟาดจนแผลแตกเลือดอาบก็พิจารณาว่า เนื้อหนังมังสาเป็นของ

สักพักโยมที่วัดก็มาเห็น จึงดึงพระรูปนั้นออกมา แล้วพาหลวงพ่อ ประสิทธิ์ไปส่งโรงพยาบาล ท่านถูกเย็บสิบเข็ม ส่วนพระรูปนั้นถูกจับสึก ภายหลังมาขอกราบเท้าท่าน ท่านไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองแต่อย่างใด

ได้แต่บอกเขาไปว่า “โยม เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร อาตมาไม่

ถือโทษหรอก แต่กรรมมันย่อมสนองกรรมเป็นธรรมดานะ” เวลาลูกศิษย์ลูกหา ไม่ว่าพระเณร แม่ชี หรือญาติโยมทะเลาะกัน ท่านก็ใช้หลักเดียวกันนี้ตักเตือนเพื่อให้หยุดทำร้ายกัน ท่านเคยพูดว่า “หากขัดแย้งกันเมื่อไร ลองถามกันดูซิว่า มึงต้องตายไหม แล้วถาม

ตัวเองว่า กูต้องตายไหม ในเมื่อทั้งสองฝ่ายก็ต้องตายด้วยกันทั้งคู่

แล้วทะเลาะกันทำไม มันได้อะไรขึ้นมา คำพูดที่ด่ากันก็เป็นลมเป็นแล้ง สูญสลายไปมดแล้วแม้แต่ด่ากันอยู่เวลานั้น มันก็ดับทุกคราวที่พูดจบ” คนส่ ว นใหญ่ มั ก มี ป ฏิ กิ ริ ย าต่ อ ผู้ ค นหรื อ สิ่ ง ต่ า งๆ สุ ด แท้ แ ต่ ว่ า

จะมีอะไรมากระทบ หากเขาด่ามา ก็ด่าไป เขาโกรธเรา เราก็โกรธเขา

กลับคืน พูดง่ายๆ คือ แรงมา ก็แรงไป โดยไม่สนใจว่าปฏิกิริยาที่ สะท้อนกลับไปนั้นจะก่อปัญหาหรือสร้างทุกข์แก่เราและผู้อื่นมากน้อย เพียงใด ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่จึงมีชีวิตเสมือนตกอยู่ภายใต้การครอบงำ กำหนดของสิ่งรอบตัว ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงเราสามารถเลือกได้ว่าเมื่อ มีอะไรมากระทบ เราจะตอบโต้หรือนิ่งสงบ จะหวั่นไหวหรือเป็นปกติ จะโกรธหรือไม่โกรธ รวมทั้งจะทุกข์หรือสุข เราเลือกได้เพราะมีทั้งสติ และปัญญา ใช่หรือไม่ว่านี้คือสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์


ไปในที่อโคจร จะเป็นบาปไหม

Mintnidz Seventies ปุจฉา : นมัสการพระคุณเจ้า หนูมี

ข้อสงสัยที่อยากจะถามพระอาจารย์หน่อยค่ะ คือหนูเป็นเด็กวัยรุ่น

คนหนึ่งที่เที่ยวที่อโคจร ผับ ร้านเหล้า เป็นต้น แต่เวลาไปเที่ยวกับ เพื่อนๆ หนูก็ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เลยนะคะ ไม่สูบบุหรี่ หรือยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขด้วย.. แต่แค่อยากไปเปลี่ยนบรรยากาศในการ ทานอาหาร ดื่มน้ำเปล่า น้ำโค้ก ฟังเพลงเฉยๆ หนูเลย... อยากทราบว่า การที่หนูไปเที่ยวที่แบบนั้นแต่ไม่ได้ทำผิดศีล หนูจะบาปหรือเปล่าคะ? พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ที่คุณเล่ามานั้น ยังไม่ถือว่า เป็นการกระทำที่ผิดศีล ๕ แต่การอยู่ในสถานที่อย่างนั้นย่อมเสี่ยงต่อ การผิดศีลได้เพราะมีบรรยากาศที่โน้มน้าวให้ทำเช่นนั้นได้ง่าย จึงควร ระมัดระวัง และตั้งจิตให้มั่นเพื่อรักษาศีลได้อย่างที่ตั้งใจไว้

สื่อ ดื้อจริงจริง ปุจฉา : พระอาจารย์ ครั บ อั น ว่ า กรรมเก่ า กรรมใหม่ คื อ อะไร

แตกต่างกันอย่างไร และเกี่ยวข้องกันไหม

กรรมเก่า กรรมใหม่

พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : กรรมเก่าคือการกระทำในอดีต ซึ่งอาจ หมายถึงในชาตินี้ก็ได้ เมื่อทำไปแล้ว แก้ไขไม่ได้ ส่วนกรรมใหม่นั้นคือกรรมที่ กระทำในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่เราจะเลือกได้ว่า จะทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว กรรมเก่านั้นสามารถส่งผลเป็นวิบากที่อาจมีอิทธิพลต่อกรรมใหม่ได้ เช่น กินเหล้าจนสุขภาพเสื่อมโทรม หรือขับรถประมาทจนร่างกายพิการ จึงทำให้ ทำการงานหรือปฏิบัติธรรม (อันเป็นกรรมใหม่) ได้ไม่สะดวก แต่ถ้ามีความ เพียร (ซึ่งเป็นกรรมใหม่เช่นกัน) ความเจ็บป่วยหรือความพิการก็ไม่ใช่อุปสรรคที่ 38

สำคัญ ด้วยเหตุนี้กรรมใหม่จึงสำคัญกว่ากรรมเก่า เราจึงไม่ควรกังวลกับกรรม เก่า แต่ควรใช้เวลาที่มีอยู่ในขณะนี้เพื่อสร้างกรรมใหม่ที่เป็นกุศลให้มากที่สุด นายเชย มากๆ ปุจฉา : นมัสการ ต้องมีบุญไหม พระคุณเจ้า กระผมอยากไขข้อข้องใจใน จึงจะได้บวช การบวช นอกจากปัจจัยทางโลกเป็นส่วน สนั บ สนุ น ให้ ค นที่ อ ยากจะบวชมี ค วาม พร้อมจะบวชแล้วนั้น ในอีกทางหนึ่งว่าด้วยบุญกุศลทานบารมี มีส่วนสนับสนุน หรือเป็นปัจจัยให้ได้บวช หรือไม่อย่างไร ครับกระผม พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : อาตมาคิดว่าบุญกุศล ซึ่งไม่จำกัดจำเพาะ ทานมัยหรือบุญจากการให้ทาน มีส่วนสนับสนุนให้ได้บวช แต่สิ่งสำคัญที่สุด

ก็คือความตั้งใจและเหตุปัจจัยในปัจจุบัน ซึ่งหากไม่พร้อมก็ควรสร้างให้มีขึ้น อย่ารอหวังผลบุญที่เคยทำมาอย่างเดียว Yanapat Nid ปุจฉา : พระอาจารย์คะ

บัติมาหลายปี ชอบอ่านหนังสือของ นิ่งเกินไป มีท่าโอกาสปฏิ นมากคะ กรณีเรานิ่งเกิน ดีมั้ยคะ ไม่ค่อยสนใจ อะไร โดยเฉพาะคำพูดคน เพราะเด็กที่ร้านไม่กล้า คุยด้วย ขอคำแนะนำด้วยค่ะ พระไพศาล วิสาโล วิสัชนา : ใจนิ่งสงบ ไม่หวั่นไหวไปตามสิ่งที่มา กระทบ เป็นเรื่องดี ทำให้เป็นสุขได้ง่าย แต่ก็ควรใส่ใจในผู้คนรอบตัวด้วย หาก เขามีความทุกข์ความเดือดร้อน ก็ควรช่วยเหลือเขา หรือแม้เขาไม่ได้เดือดร้อน อะไร เราก็ควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน เพราะว่าชีวิตและงานของเราย่อมต้อง เกี่ยวข้องกับผู้อื่น ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวราวกับเกาะกลางทะเลได้ หรือแม้

ไม่มีเหตุเกี่ยวข้องกับใคร การยิ้มให้เขาก็เป็นเรื่องที่ดี หาไม่แล้วอาจเกิดความ เข้าใจผิดได้ เช่น เข้าใจว่าเราไม่พอใจเขา หรือถือเนื้อถือตัว 39


สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯเผยการสำรวจประชาชนจากจำนวน ๒๓,๙๐๗ ราย พบการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี ๒๕๔๔ ที่มีจำนวนการ

ใช้งานอินเทอร์เน็ต ๑๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่ปี ๒๕๕๖ นี้เป็น ๓๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นิยม ใช้ผ่านโน้ตบุ๊ก สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต จากเดิมที่ใช้ผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะพีซี เพราะ การใช้ชีวิตแบบออนไลน์ได้ตลอดเวลา ส่วนผลสำรวจการใช้อินเทอร์เน็ตในกลุ่มเด็กและ เยาวชนที่ชอบเล่นอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะช่วงเวลาหลักเลิกเรียนจนถึงค่ำ พบว่าส่วนใหญ่ใช้ เพื่อความบันเทิงทั้งเล่นเกมออนไลน์และดาวน์โหลดสื่อบันเทิง ที่มีบริการตามอินเทอร์เน็ต คาเฟ่ และกว่า ๙๐% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้โซเชียลมีเดีย มีเฟซบุ๊กได้รับความนิยม สูงสุด ทางด้าน Zocial Rank เว็บไซต์เก็บสถิติ Social Network ก็ได้เผยข้อมูลพฤติกรรม ของคนไทยในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา ประชากรไทย ๖๖ ล้านคน ใช้อินเตอร์เน็ต ๒๕ ล้านคน ใช้ Social Network ๑๘ ล้านคน แบ่งประเภทที่ติดต่อพบว่าอันดับ ๑ ใช้ Facebook

คิดเป็น ๘๕%, Twitter ๑๐% และ Instagram ๕% และช่วงเวลามากที่สุดคือ ๒๒.๐๐ น. พบสถิติผู้ป่วยคลุ้มคลั่งจำนวนมาก จากสถิติสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.)

ปี ๒๕๕๕ มีผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการช่วยเหลือจากอาการคลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท และอารมณ์ ๑๑,๖๕๒ ครั้ง และในปี ๒๕๕๖ นี้ ๗,๕๘๘ ครั้ง (ครึ่งปี) ชี้สภาวะสังคม

มี ปั จ จั ย แวดล้ อ มที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเครี ย ด จากปั ญ หาเศรษฐกิ จ สั ง คม ครอบครั ว

กรมสุขภาพจิต ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคจิตมารับการรักษา ๑,๐๗๖,๑๕๕ คน ลักษณะของการ ป่วยโรคจิตที่น่าเป็นห่วงคืออาการคลุ้มคลั่ง ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น แพทย์แนะนำ สังเกตคนใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงมีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เคยเรียบร้อยกลายเป็นคนที่มี อารมณ์รุนแรง ไม่ชอบอาบน้ำ สะสมขยะ พูดจาหรือหัวเราะอยู่คนเดียว ควรรีบพาไปพบ จิตแพทย์ หรือแจ้งสายด่วน ๑๖๖๙ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

ธรรมกายใช้ช่องทางอินเตอร์เน๊ตผ่านเฟสบุ๊คพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ ผู้ช่วย

เจ้ า อาวาสวั ด พระธรรมกาย ล่ อ รางวั ล กดไลค์ แชร์ และกรอกชื่ อ ที่ ติ ด ต่ อ ด้ ว ยรางวั ล

พระทองคำหนัก ๑๐ บาท ประกาศในวันเข้าพรรษา มีคนเข้ามากดแล้วกว่า ๒.๕ ล้านคน โดยโฆษณาอ้างว่าจะเป็นสิริมงคลและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตระกูลแก่ผู้ที่ช่วยกันแชร์

นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กลับเห็นว่า ไม่ผิด ช่วยให้คนหันมาสนใจธรรมะ และอ้างวัดอื่นๆ ก็ทำ เช่น เข้าอบรมในช่วงวันหยุด

ปิดเทอม จะแจกลูกอม ดินสอ เครื่องเขียน แก่นักเรียนที่ตอบคำถามธรรมะได้ จึงไม่

เข้าข่ายการพนัน ทางด้าน ดร.วิเชียร ตันศิริคงคล มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้วิจัยเรื่องบ่อน

การพนัน ชี้กฎหมายถือว่าเข้าข่ายการพนัน และการกดส่งข้อความไปเรื่อยๆ จะเพิ่มโอกาส

ที่ได้รางวัล เป็นอุบายขยายฐานลูกค้าให้เข้ามาติดตามเว็บไซต์ของวัดธรรมกาย ญี่ปุ่นเผยว่าในปีที่ผ่านมาหัวขโมยร้านค้าในโตเกียวที่จับได้ ๓,๓๒๑ คน เป็น ๑ ใน ๔ ของหัวขโมยทั้งหมด มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป ซึ่งถูกทอดทิ้งมากขึ้นทุกวัน ด้วยความเป็น

เมืองสมัยใหม่ ที่ไม่มีสายสัมพันธ์ในครอบครัว ญี่ปุ่นมีประชากรราว ๑๒๘ ล้านคน และ ๑ ใน ๔ มีอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไป ขณะที่อัตราการเกิดอยู่ที่ ๑.๓๙ ต่อสตรี ๑ คน ซึ่งถือว่า

ต่ำเป็นอันดับท้ายๆ ของโลก และประชากรสูงวัยนี้เป็นสตรี ๓.๕ ล้านคน ชาย ๑.๔ ล้านคน ปราศจากลูกหลานดูแล

40

41


สุขสุดท้ายที่ปลายทาง ระลึกถึงความตายสบายนัก กรรณจริยา สุขรุ่ง เขียน พระไพศาล วิสาโล ๒๓๖ หน้า ๑๙๐ บาท เขียน/เรียบเรียง ๙๑ หน้า ๔๐ บาท รักษาใจ ให้ไกลทุกข์ (ฉบับปรับปรุง) พระไพศาล วิสาโล เขียน ๒๐ บาท บทเรียนจากผู้จากไป น.พ.เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี และ อโนทัย เจียรสถาวงศ์ บรรณาธิการ น้ำใส ใจเย็น ๑๐๐ หน้า ๑๐๐ บาท พระไพศาล วิสาโล และ ภาวัน ๗๙ บาท

เป็นไทย เป็นพุทธ และเป็นสุข พระไพศาล วิสาโล เขียน ๑๕๒ หน้า ๗๕ บาท

มองอย่างพุทธ พระไพศาล วิสาโล และคณะ ๑๒๐ หน้า ๗๕ บาท ฝ่าพ้นวิกฤตศีลธรรมด้วยทัศนะใหม่ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๘ หน้า ๘๐ บาท จิตใส ใจสุข โดย พระไพศาล วิสาโล ๘๕ บาท

ฉลาดทำใจ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๒๐๘ หน้า ๙๙ บาท

- ๓๐ วิธีทำบุญ - สอนลูกทำบุญ - ฉลาดทำใจ - สุขสวนกระแส - ใส่บาตรให้ได้บุญ - ธรรมะในงาน ธรรมะในใจ - คู่มือ การช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะสุดท้ายด้วยวิธีแบบพุทธ - เติมเต็มชีวิตด้วยจิตอาสา - ความสุขที่ปลายจมูก - ความสุขที่แท้ - พรวันใหม่ ชีวิตใหม่ - เจอทุกข์ ใจไม่ทุกข์ - อยู่ทุกที่ก็...มีสุข

ฉลาดทำบุญ พระชาย วรธมฺโม และ พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง ๑๑๒ หน้า ๖๐ บาท คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น ฉบับสวนโมกขพลาราม ๘๐ หน้า ๓๕ บาท เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๑ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๒๑๖ หน้า ราคา ๑๒๐ บาท

42

เผชิญความตายอย่างสงบ เล่ม ๒ : ข้อคิดจากประสบการณ์ พระไพศาล วิสาโล และคณะ เขียน ๑๖๐ หน้า ๙๙ บาท เหนือความตาย : จากวิกฤตสู่โอกาส พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๗๖ หน้า ๑๒๐ บาท ความตายในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ พระดุษฎี เมธังกุโร, สันต์ หัตถีรัตน์ และคณะ ๙๗ หน้า ๗๐ บาท ธรรมะสำหรับผู้ป่วย พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๑๒๘ หน้า ๑๐๐ บาท จิตเบิกบานงานสัมฤทธิ์ พระไพศาล วิสาโล เขียน/เรียบเรียง ๘๐ หน้า ๕๙ บาท

เล่มละ ๑๕ บาท (จัดส่งฟรี) ซีดี MP3 ชุดเผชิญความตายอย่างสงบ ชุดที่ ๑ ดีวีดี เรื่องสู่ความสงบที่ปลายทาง แผ่นละ ๕๐ บาท (มี ๖ แผ่น) แผ่นละ ๕๐ บาท

พิเศษ เฉพาะสมาชิกพุทธิกา จะได้ลด ๓๐% ยกเว้นหนังสือฉบับพกพา และซีดี / ดีวีดี (การสมัครเป็นสมาชิก ดูในหน้าใบสมัคร) สั่งซื้อโดยโอนเงินเข้าบัญชี เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอรุณอมรินทร์ เลขที่ ๑๕๗-๑-๑๗๐๗๔-๓ ประเภทออมทรัพ43 ย์ ส่งหลักฐานไปที่เครือข่ายพุทธิกา หรือสั่งจ่ายธนาณัติในนาม น.ส.มณี ศรีเพียงจันทร์ ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒


ใบสมัคร/ต่ออายุสมาชิกพุทธิกา

หรือดาวโหลดใบสมัครได้ที่ www.budnet.org ชื่อผู้สมัคร................................................................................. นามสกุล............................................................................................. เพศ................................................................. อายุ.................. อาชีพ..................................................................................................... ที่อยู่จัดส่ง.......................................................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................

รหัสไปรษณีย์..........................................

โทรศัพท์....................................................... โทรสาร....................................................... อีเมล...................................................... ระยะเวลา...............ปี (ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ เล่ม) เริ่มตั้งแต่ฉบับที่........................................ ประเภทสมาชิก

สมัครใหม่

สมาชิกเก่า (หมายเลขสมาชิก...........................)

หรือ อุปถัมภ์พระ/แม่ชี/โรงเรียน ระยะเวลา...............ปี สถานที่จัดส่ง..................................................... รหัสไปรษณีย.์ ........................................

.........................................................................................................................................................

โทรศัพท์................................................................................ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น............................................บาท โดย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงิน เช็ค เงินสด โอนเข้าบัญชีธนาคาร สั่งจ่ายในนาม นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ (ปณ.ศิริราช ๑๐๗๐๒) เช็คต่างจังหวัดเพิ่มอีก ๑๐ บาท หรือโอนเข้าบัญชี นางสาวนงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เลขที่ ๔๖๓-๑-๒๓๑๑๒-๑ ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาศิริราช เลขที่ ๐๑๖-๔๓๓๙๖๙-๒ ประเภทออมทรัพย์ โปรดส่งหลักฐานการโอนพร้อมใบสมัครและจ่าหน้าซอง สมาชิกพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ หรือโทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ ติดต่อโทร : ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๒-๔๙๕๒, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ 44

เครือข่ายพุทธิกา

เพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม การรักษาพระศาสนาให้ยั่งยืนนั้นมิใช่เป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งหรือบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ทั้งมิใช่เป็นความรับผิดชอบที่จำกัดอยู่กับพระสงฆ์หรือ รัฐบาลเท่านั้น หากเป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคนและเป็นความรับผิดชอบที่พระ-

พุ ท ธองค์ ท รงมอบให้ แ ก่ พุ ท ธบริ ษั ท ทั้ ง หลาย ดั ง นั้ น เมื่ อ ถึ ง คราวที่ พุ ท ธศาสนา ประสบวิกฤต จึงควรที่ชาวพุทธทุกคนจะร่วมมืออย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อ ฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เจริญงอกงามและกลับมามีความหมายต่อสังคมไทย รวมทั้ง ยังประโยชน์แก่สังคมโลก ด้วยเหตุนี้ “เครือข่ายพุทธิกา” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการมีองค์กร ประสานงานในภาคประชาชน สำหรับการเคลื่อนไหวผลักดันให้มีการฟื้นฟูพุทธศาสนา อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เครือข่ายพุทธิกา ประกอบด้วยองค์กรสมาชิก ๙ องค์กร ได้แก่ มูลนิธิ โกมลคีมทอง, มูลนิธิเด็ก, มูลนิธิพุทธธรรม, มูลนิธิสุขภาพไทย, มูลนิธิสานแสงอรุณ, มูลนิธิสายใยแผ่นดิน, เสมสิกขาลัย, มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์ และเสขิยธรรม แนวทางการดำเนินงาน ที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในระดับ บุคคล และสังคม หลักธรรมสำคัญเรื่องหนึ่งคือ “บุญ” บ่อยครั้งการทำบุญใน ปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งๆ ที่หลักธรรมข้อนี้นำมาใช้ในการ สร้างสรรค์ชีวิตและสังคมที่ดีงาม จึงผลิตโครงการสุขแท้ด้วยปัญญา และโครงการ เผชิญความตายอย่างสงบ จัดเป็นกิจกรรมและมีงานเผยแพร่ สถานที่ติดต่อ เครือข่ายพุทธิกา ๔๕/๔ ซอยอรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๒-๔๙๕๒, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓ โทรสาร ๐-๒๘๘๒-๕๐๔๓ อีเมล์ b_netmail@yahoo.com • http://www.budnet.org . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ก า ร ฟื้ น ฟู พุ ท ธ ศ า ส น า ป ร ะ ช า ช น ต้ อ ง มี ส่ ว น ร่ ว ม 45


จดหมายข่าวพุทธิกา ๔๕/๔ ซ.อรุณอมรินทร์ ๓๙ (เหล่าลดา) ถ.อรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๐-๒๘๘๒-๔๓๘๗, ๐-๒๘๘๒-๔๙๕๒, ๐-๒๘๘๖-๐๘๖๓

จดหมายข่าวฉบับ พุทธิกา ๏ จัดทำโดย เครือข่ายพุทธิกา ๏ สาราณียกร พระไพศาล วิสาโล ๏ กองสาราณียกร นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์, มณี ศรีเพียงจันทร์, พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ, ณพร นัยสันทัด ๏ ปก สรรค์ภพ ตรงศีลสัตย์ : รูปเล่ม น้ำมนต์ ๏ อัตราค่าสมาชิก ปีละ ๑๐๐ บาท จำนวน ๔ ฉบับ วิธีสั่งจ่ายหรือโอนเงินดูในใบสมัครภายในเล่ม

กรุณาส่ง

สิ่งตีพิมพ์

๏ บุคคลหรือองค์กรใดสนใจจัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ “ฉลาดทำบุญ” เพื่อแจกจ่ายแก่วัด ห้องสมุด

โรงเรียน เด็กและเยาวชน หรือในงานสาธารณกุศลอื่นๆ ผู้จัดพิมพ์ยินดีดำเนินการจัดพิมพ์ให้ใน

ราคาทุน หรือกรณีสั่งซื้อจำนวนมากตั้งแต่ ๑๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๐% ๒๐๐ เล่มขึ้นไปลด ๓๕%

โปรดติดต่อเครือข่ายพุทธิกา ๏ เครือข่ายพุทธิกามีโครงการที่น่าสนใจ : ฉลาดทำบุญด้วยจิตอาสา, เผชิญความตายอย่างสงบ, สายด่วน ๐๘๖-๐๐๒๒-๓๐๒ ให้คำปรึกษาทางใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย ฯลฯ

๏ สมัครสมาชิกพุทธิกา ๑๐๐ บาท ได้รับ (สมัครช่วงนี้ รับฟรี กระเป๋าผ้า ๑ ใบ เฉพาะ ๒๐ ท่านแรกเท่านั้น)

• จดหมายข่าวพุทธิกา รายสามเดือน ๑ ปี ๔ ฉบับ • ซือ้ หนังสือเครือข่ายพุทธิกาลดทันที ๓๐ % • ซื้อหนังสือสำนักพิมพ์อื่น ลด ๑๐ % (เฉพาะที่เครือข่ายพุทธิกา) • พิเศษ สมัครสมาชิก ๒ ปี รับฟรีหนังสือ ๑ เล่ม เขียนโดยพระไพศาล


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.